lesson4

Page 1

Lettering Design 17

รูปแบบตัวอักษร Type Classification

4

รูปแบบตัวอักษร


18

การออกแบบตัวอักษร

4

รูปแบบตัวอักษร


Lettering Design 19

บทที่ 4 รูปแบบตัวอักษร Type Classification

ตัวอักษรที่ใช้ในปัจจุบัน มีนับพันนับหมื่นแบบและยังคงมีการออกแบบตัวอักษร แบบใหม่ๆ ออกมาอยูเ่ สมอ ในทางการออกแบบนัน้ นิยมเรียกแบบของตัวอักษรว่า ฟอนต์ (Fonts) ตั ว อั ก ษรแต่ ล ะฟอนต์ ก ็ จ ะมี ร ู ป แบบเฉพาะตั ว ที ่ แ ตกต่ า งกั น ไป นั ก ออก แบบควรศึกษารูปแบบของฟอนต์ต่างๆ อย่างลึกซึ้ง แล้วจัดแบ่งออกเป็นพวกๆ การจำ แนกฟอนต์ออกเป็นกลุม่ นีจ้ ะช่วยให้เลือกใช้ฟอนต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

1. รูปแบบตัวอักษรภาษาอังกฤษ การแบ่งกลุม่ ฟอนต์ภาษาอังกฤษมีเกณฑ์ทใ่ี ช้ในการพิจารณา 3 ประการด้วยกัน คือ เชิงของตัวอักษร (Serif) ความสม่ำเสมอของเส้น และวงใน ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้ “เชิง” คือ เส้นสัน้ ๆ ทีต่ อ่ อยูก่ บั ปลายเส้นของตัวอักษร มี 2 แบบ คือ แบบมีโค้งรับ เรียกว่า Bracketed Serif แบบไม่มโี ค้งรับ เรียกว่า Unbracketed Serif

Brackete ser

Unbrackete se วงใน คือเส้นรอบวงด้านในของอักษรทีม่ รี ปู ทรงกลม เช่น อักษร O, C, และ Q เป็นต้น วงในมี 2 ประเภท ˙§ คือ วงในทีม่ รี ปู ทรงเอียง กับวงในทีร่ ปู ทรงตัง้ ตรง

˙§ ความหนาของเส้นอักษรบางฟอนต์มกี ารเปลีย่ นแปลงความหนา ของเส้นอย่างรุนแรง บางฟอนต์มกี ารเปลีย่ นแปลงความหนาของ เส้นเล็กน้อย แต่บางฟอนต์กไ็ ม่มกี ารเปลีย่ นแปลงความหนาของเส้น

4

รูปแบบตัวอักษร


20

การออกแบบตัวอักษร

1.1 แบบโอลด์สไตล์ ตัวอักษรแบบโอลด์สไตล์ (Oldstyle) มีลกั ษณะทีส่ ำคัญคือ มีเชิง (Serif) ทีป่ ลายเส้นของ ตัวพิมพ์เล็ก เป็นเชิงทีม่ ลี กั ษณะเฉียงและมีโค้งรับ (Bracketed Serif) มีการเปลีย่ นแปลง ความหนาของเส้นในระดับปานกลาง นอกจากนีย้ งั มีวงในเอียงด้วย ตัวอย่างฟอนต์ใน กลุม่ โอลด์สไตล์ ได้แก่ Baskerville, Garamond, Goudy, Palatino และ Times เป็นต้น ฟอนต์ในกลุม่ นีเ้ หมาะสำหรับทัง้ เป็นตัวพืน้ และหัวเรือ่ ง

1.2 แบบไฮทรานสิชน่ั ตัวอักษรแบบไฮทรานสิชน่ั (Hi-transition) มีลกั ษณะสำคัญคือ เชิงของตัวพิมพ์เล็กจะมี ลักษณะเป็นเส้นบาง ๆ ในแนวนอน มีการเปลีย่ นแปลงความหนาของเส้นอย่างรุนแรง และมีวงในอยูใ่ นแนวตัง้ ตัวอย่างของฟอนต์ในกลุม่ นี้ ได้แก่ Bodoni และ Madrone ฟอนต์ในกลุม่ นี้ ไม่เหมาะกับข้อความจำนวนมาก เช่น ส่วนทีเ่ ป็นเนือ้ เรือ่ งมีขนาดเล็ก เพราะตัวอักษรทีม่ กี ารเปลีย่ นแปลงความหนาของเส้นอย่างรุนแรง จะทำให้อา่ นยาก และทำให้ผอู้ า่ นลายตาได้งา่ ย

1.3 แบบอียปิ ต์ ตัวอักษรแบบอียปิ ต์ (Egyptian) เรียกอีกอย่างว่า แบบสแลบแซริฟ (Slab Serif) เหตุทเ่ี รียกแบบอียปิ ต์เพราะเกิดขึน้ ในยุคทีก่ ระแสความนิยมอียปิ ต์กำลังแพร่หลาย ตัวอักษรแบบอียปิ ต์เป็นตัวอักษรทีม่ เี ชิงเช่นเดียวกับ 2 แบบแรก แต่เป็นเชิงทีห่ นา อยูใ่ นแนวนอนและเป็นเชิงทีไ่ ม่มโี ค้งรับ (Unbracketed Serif) มีวงในอยูใ่ นแนวตัง้ ส่วนการเปลีย่ นแปลงความหนาของเส้นมีเพียงเล็กน้อยเท่านัน้ ตัวอย่างของฟอนต์ ในกลุม่ นีไ้ ด้แก่ Athens, City และ Lubalin Graph เป็นต้น ตัวอักษรในกลุม่ นีเ้ ป็นแบบทีอ่ า่ นง่าย เพราะมีการเปลีย่ นแปลงความหนาของเส้นน้อย สามารถใช้กบั ข้อความทีม่ จี ำนวนมากได้

4

รูปแบบตัวอักษร


Lettering Design 21

1.4 แบบแซนแซริฟ San มาจากภาษาฝรัง่ เศส หมายถึง ไม่มี ตัวอักษรแบบแซนแซริฟ (San Serif) จึงเป็นอักษรแบบไม่มเี ชิง อักษรในกลุม่ นีจ้ ะมีความหนาของเส้นสม่ำเสมอ (ยกเว้นบางแบบอาจมีการเปลีย่ นแปลงความหนาของเส้นบ้างเล็กน้อย) และวงในตัง้ ตรง เป็นแบบทีเ่ หมาะสำหรับทัง้ ตัวพืน้ และหัวเรือ่ งแต่หากต้องการใช้เป็นตัวพืน้ ควรเลือกแบบ ทีม่ เี ส้นบาง ตัวอย่างของอักษรในกลุม่ นี้ ได้แก่ Avant Garde, Franklin Gothic และ Gill Sans เป็นต้น

1.5 แบบสคริปต์ Script หมายถึง ลายมือ ตัวอักษรแบบสคริปต์ (Script) จึงมีลกั ษณะคล้ายกับการเขียนด้วยมือ โดยใช้พกู่ นั หรือวัสดุอน่ื ๆ ทีม่ ลี กั ษณะแบน ซึง่ ความหนาของเส้นก็จะเปลีย่ นเมือ่ ทิศทางของเส้นเปลีย่ นไป ฟอนต์แบบสคริปต์บาง ฟอนต์จะมีเส้นเชือ่ ระหว่างตัวอักษรด้วย และมักจะเป็นตัวเอียง ตัวอักษรในกลุม่ นี้ ไม่เหมาะกับข้อความทีจ่ ำนวนมาก แต่หากนำมาใช้เพียงบางตัว แล้วขยายให้มี ขนาดใหญ่เป็นพิเศษ จะมีรปู ทรงทีส่ วยงามและใช้ตกแต่งหน้าสิง่ พิมพ์ได้ดี ตัวอย่างของอักษรกลุม่ นีไ้ ด้แก่ Old English, Reency Script และ Tekton เป็นต้น

1.6 แบบแฟนซี ตัวอักษรแบบแฟนซี (Fancy) มีบคุ ลิกทีแ่ ตกต่างจากลุม่ อืน่ ๆ อย่างชัดแจน เป็นกลุม่ ทีไ่ ม่มโี ครงสร้างแน่นอน อาจเรียกว่า เป็นแบบอิสระ (Free Styles) ก็ได้ ตัวอักษรในกลุม่ นี้ ไม่เหมาะสำหรับข้อความขนาดยาว นิยมใช้ในการตกแต่งหน้าเป็น ส่วนใหญ่ ตัวอย่างตัวอักษรในกลุม่ นี้ ได้แก่ Flintstones, Critter และ Juniper เป็นต้น

4

รูปแบบตัวอักษร


22

การออกแบบตัวอักษร

ลักษณะตัวอักษรภาษาอังกฤษ ตัวอักษรภาษาอังกฤษมีความกว้างหรือความแคบของตัวอักษรแตกต่างกันไป ซึง่ พอจะจำแนกลักษณะรูปร่างออกได้ 4 ประเภทด้วยกัน คือ 1. ตัวธรรมดา ได้แก่ A B C D E F G H K N O P Q R S U V X Y Z 2. ตัวแคบ ได้แก่ L T 3. ตัวกว้าง ได้แก่ M W 4. ตัวบาง ได้แก่ I J ทัง้ 4 ประเภทนีเ้ ป็นรูปร่างลักษณะทัว่ ๆ ไป ของตัวอักษรในแต่ละชุด ซึง่ มีความกว้าง (width) ทีแ่ ตกต่างกันออกไป นอกจากนีย้ งั สามารถออกแบบให้แตกแขนงออกไปได้อกี หลายแบบ ตามลักษณะ ความหนา บาง และทิศทางของเส้น เช่น ตัวเอน(Italic) ตัวธรรมดา(Normal) ตัวบางพิเศษ(Extra Light) ตัวแคบ(Condensed) ตัวบาง(Light) ตัวหนา(Bold) ตัวเส้นขอบ(Outline) ตัวหนาพิเศษ(Extra-Bold) ตัวดำ(Black)

4

รูปแบบตัวอักษร


Lettering Design 23

2. รูปแบบตัวอักษรภาษาไทย ตัวอักษรภาษาไทยนั้นมีโครงสร้างซับซ้อนกว่าตัวอักษรภาษาอังกฤษ อีกทัง้ การออกแบบ ฟอนต์ภาษาไทยก็ทำในลักษณะต่างคนต่างทำ ไม่มีมาตรฐาน จึงไม่สามารถจัดหมวด หมู่ในลักษณะเดียวกันกับอักษรในภาษาอังกฤษได้ ในทีน่ จ้ี งึ แบ่งหมวดหมูฟ่ อนต์ภาษาไทยออกเป็น 6 กลุม่ ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้

2.1 แบบมาตรฐาน ตัวอักษรในกลุ่มนี้จะมีโครงสร้างถูกต้องตามหลักภาษาไทยทุกประการ ได้แก่ มีหัวชัดเจน มีการม้วน และหยักครบถ้วนตามหลักการเขียนที่ถูกต้อง ตัวตั้งตรงและ ความหนาของเส้นสม่ำเสมอยกเว้นบางฟอนต์อาจมีการเปลีย่ นแปลงความหนาของเส้นบ้าง เล็กน้อย ตัวอักษรแบบมาตรฐานเป็นแบบทีอ่ า่ นง่าย มีทง้ั แบบเส้นบางและเส้นหนาเหมาะ สำหรับใช้เป็นตัวพืน้ เป็นกลุม่ ทีม่ แี บบให้เลือกมากทีส่ ดุ ตัวอย่างของฟอนต์ในกลุม่ นี้ ได้แก่ LSirichana, LThongterm1, LSaowapa, RTPChiangsaen และ RTPMaedokdang เป็นต้น ตัวอักษรในกลุ่มนี้มีความคล้ายคลึงกันมาก ควรเลือกใช้ เพียงตัวใดตัวหนึ่งก็พอ

แบบมาตรฐาน แบบมาตรฐาน แบบมาตรฐาน 2.2 แบบตัวเขียน ตัวอักษรแบบตัวเขียนในภาษาไทยเทียบได้กับแบบสคริปต์ในภาษาอังกฤษ มีลักษณะ คล้ายลายมือ ตัวอักษรในกลุ่มนี้มักจะเป็นตัวเอียงและโครงสร้างอาจไม่ถูกต้องตาม หลักภาษาไทยนัก เป็นแบบที่ให้ความรู้สึกผ่อนคล้ายและไม่เป็นทางการ ตัวอย่าง ของ ตัวอักษรในกลุม่ นีไ้ ด้แก่ Keanpakka, Laisen, Niyaipap และ RTPPimThaiEight เป็นต้น

4

รูปแบบตัวอักษร


24

การออกแบบตัวอักษร ตัวอักษรแบบตัวเขียนเหมาะสำหรับข้อความที่ไม่ใช่ตัวพื้น เช่น คำบรรยายภาพ หมายเหตุและเลขกำกับหน้า เป็นต้น ฟอนต์ในกลุม่ นีม้ กั มีลวดลายทีอ่ อ่ นช้อย เหมาะสมที่จะตกแต่งหน้าสิ่งพิมพ์ เช่น ใช้สำหรับอักษรตัวแรกของย่อหน้าแล้วขยาย ให้มีขนาดใหญ่กว่าปกติ ก็จะช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้กับสิ่งพิมพ์ได้ดี

2.3 แบบไทยเดิม ตัวอักษรแบบไทยเดิมพัฒนามาจากการคัดลายมือ เป็นแบบที่มีหัวเช่นเดียวกับแบบ มาตรฐาน แต่เป็นหัวเหลี่ยมรูปทรงข้าหลามตัดและที่ตัดก็เป็นเหลี่ยมเช่นเดียวกัน บางแบบมีการตวัดหางเหมือนกับการเขียนด้วยมือ มีทั้งแบบเส้นหนาและเส้นบาง ตัวอย่างของอักษรในกลุม่ นีไ้ ด้แก่ KianThaiShong, Rittirong, และ RTPPim Thaiseven เป็นต้น ตัวอักษรแบบไทยเดิมไม่เหมาะสำหรับการออกแบบสิง่ พิมพ์ทว่ั ไป แต่เป็นแบบที่ให้ความรู้สึกขลัง เป็นพิธีการเหมาะกับสิ่งพิมพ์ที่ใช้ในพิธีการ เช่น บัตรเชิญ ประกาศนียบัตร ตลอดจนงานพิมพ์อน่ื ๆ ทีต่ อ้ งการให้สอ่ื ถึงความเป็นไทย

2.4 แบบหัวบอด ตัวอักษรในกลุ่มนี้จะใช้เส้นหนาและลดส่วนประกอบบางส่วนลง เช่นไม่มีการม้วนและ ลดรูปของส่วนหัวลงกลายเป็นเชิง(Serif)แทนตัวอักษรในกลุ่มนี้มีทั้งแบบปลายมนและ ปลายตัดตรง ส่วนใหญ่จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงความหนาของเส้น ตัวอย่างฟอนต์ใน กลุม่ นี้ ได้แก่ RTPBoldDoisaket, RTPJedyord และ Pipatana เป็นต้น

4

รูปแบบตัวอักษร


Lettering Design 25

2.5 แบบไม่มหี วั ตัวอักษรในกลุม่ นีม้ ลี กั ษณะใกล้เคียงกับตัวอักษร แบบแซนแซรีฟ ในภาษาอังกฤษ คือ เป็น ตัวอักษรทีไ่ ม่มหี วั ไม่มเี ชิง ปลายตัดตรง มีเส้นหนา เช่นเดียวกับแบบหัวบอดและ ส่วนใหญ่จะไม่มกี ารเปลีย่ นแปลงความหนาของเส้น ยกเว้นฟอนต์ Ahhadech และ RTPDararutsamee ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงความหนาของเส้นอย่างรุนแรง ตัวอย่างฟอนต์ในกลุม่ นีไ้ ด้แก่ Chutkaw, Grophico, Mcmanop และ RTPKaelang เป็นต้น ตัวอักษรแบบนี้ เหมาะกับข้อความทีต่ อ้ งการเน้น เช่น ชือ่ เรือ่ ง หัวข้อ เป็นต้น

2.6 แบบอิสระ ตัวอักษรในกลุ่มนี้ไม่มีลักษณะตายตัว เหมาะกับงานเฉพาะอย่างเช่น ฟอนต์ Jomyouth มีลกั ษณะคล้ายตัวอักษรภาษาจีน และฟอนต์ Satapanikมีรปู ทรง คล้ายบ้าน เป็นต้น

ลักษณะตัวอักษรภาษาไทย ตัวอักษรภาษาไทยมีความกว้างหรือความแคบของตัวอักษรแตกต่างกันไป ซึง่ พอจะจำแนกลักษณะรูปร่างออกได้ 3 ประเภทด้วยกัน คือ 1. ตัวธรรมดา ได้แก่ ก ค ฉ ผ เป็นต้น 2. ตัวแคบ ได้แก่ ข ง จ ธ ร เป็นต้น 3. ตัวกว้าง ได้แก่ ฌ ญ ฒ ณ เป็นต้น

4

รูปแบบตัวอักษร

ทัง้ 3 ประเภทนีเ้ ป็นรูปร่างลักษณะทัว่ ๆ ไป ของตัวอักษรในแต่ละชุด ซึง่ มีความกว้าง (width) ทีแ่ ตกต่างกันออกไป นอกจากนีย้ งั สามารถออกแบบให้แตกแขนงออกไปได้อกี หลายแบบ ตามลักษณะ ความหนา บาง และทิศทางของเส้น เช่น ตัวเอน(Italic) ตัวธรรมดา(Normal) ตัวบางพิเศษ(Extra Light) ตัวแคบ(Condensed) ตัวบาง(Light) ตัวหนา(Bold) ตัวเส้นขอบ(Outline) ตัวหนาพิเศษ(Extra-Bold) ตัวดำ(Black)


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.