º·¤ÇÒÁÊÃéÒ§ÊÃäì
มิิติ มุมมองและการสร้างสรรค์รูปด้าน ในการออกแบบภายใน
อาจารย์ ณัฐรฐนนท์ ทองสุทธิพีรภาส ภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
บทความสร้างสรรค์
มิติ มุมมองและการสร้างสรรค์รูปด้าน ในการออกแบบภายใน
อาจารย์ณัฐรฐนนท์ ทองสุทธิพีรภาส ภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
1
มิติ มุมมองและการสร้างสรรค์รูปด้านในการออกแบบภายใน โดย อาจารย์ณัฐรฐนนท์ ทองสุทธิพีรภาส ภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร บทคัดย่อ การนาเสนอผลงานเป็นการสื่อสารความคิดและจินตนาการ เพื่อนาเอาสิ่งที่นึกคิดออกมาผ่านวิธีการต่าง ๆ เพื่อสื่อสารออกมาให้ผู้อื่นได้เข้าใจ ในงานออกแบบภายในมักถูกถ่ายทอดออกมาผ่านภาษาภาพด้วยการวาดและการเขียน แบบทั้ง 2 มิติและ 3 มิติ เพื่อนาสิ่งที่ตนคิดออกมาให้ผู้อื่นได้เข้าใจ ด้วยเทคนิคต่าง ๆ ทั้งการเขียนทัศนียภาพ แปลน รูป ด้าน รูปตัด รายละเอียดต่าง ๆ ทั้งสองมิติและสามมิติ ด้วยการเขียนด้วยมือจนกระทั่งการทาด้วยเทคนิคคอมพิวเตอร์ งานออกแบบภายในมักอาศัยการเขียนทัศนียภาพ (Perspective) เพื่ออธิบายผลงานการออกแบบ เพราะ สามารถสื่อสารได้ง่ายผู้มองจะเห็นมิติต่าง ๆ ในรูปแบบสามมิติทาให้เข้าใจได้ง่าย ในขณะที่รูปด้าน (Elevation) มักจะใช้ใน ขั้นตอนการพัฒนาแบบ (Design Development) และเขียนแบบเพื่อการก่อสร้าง แต่ก็มีมัณฑนากรส่วนหนึ่งได้เลือก นาเสนอด้วยเทคนิคการเขียนรูปด้าน ทั้งแบบขาวดาแสดงแสงเงา และลงสีเพื่ออธิบายรูปแบบงานออกแบบภายใน การใช้รูปด้านในการเสนอผลงานการออกแบบภายใน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะรูปด้านสามารถอธิบายถึงมิติความ กว้าง ความสูงที่แท้จริงสามารถบอกขนาดได้เพราะมีการเข้ามาตราส่วน (Scale) สามารถเทียบสัดส่วน (composition)1 ของมนุษย์และงานออกแบบภายในได้อย่างถูกต้องแม่นยาสามารถวัดได้ สามารถควบคุมจังหวะ แสงเงารวมทั้งสามารถ แสดงความสัมพันธ์เชื่อมโยงในแนวตั้ง ความต่อเนื่องกับงานสถาปัตยกรรม รูปตัดภายในของอาคาร และงานระบบอาคาร ต่าง ๆ ได้ ในปัจจุบันการนาเสนอด้วยรูปด้านในการออกแบบภายใน ได้ถูกประยุกต์ดัดแปลงและผสมผสานเข้ากับการนาเสนอ ในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อการสร้างแนวความคิดเพิม่ มิติมุมมองใหม่ ๆ ในการนาเสนอจากเดิมที่มีทมี่ าจากการเขียนด้วยมือด้วย อุปกรณ์เขียนแบบ จนมาถึงการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบทาให้การนาเสนอด้วยรูปด้านมีสีสัน มีมิติมมุ มองและ พัฒนาการที่น่าสนใจ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้กับงานออกแบบภายในได้เป็นอย่างดี บทนา รูปด้าน (Elevation) ในงานออกแบบภายในนั้นส่วนใหญ่ใช้เพื่ออธิบายถึงขนาด ระยะ สัดส่วน ในกระบวนการ ออกแบบเพื่อพัฒนารูปแบบของงานให้ออกมาถูกต้องสวยงาม ตามจินตนาการของมัณฑนากรที่ได้คิดไว้ รวมทั้ง การ 1
นิธิ สถาปิตานนท์. คุยกับต้นกล้า สถาปนิก. (กรุงเทพฯ : ลายเส้น พับบลิชชิ่ง, 2550), 160 - 161.
2
เขียนแบบเพื่อก่อสร้างงานออกแบบภายใน การเขียนเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของงานรวมทั้งเป็นเครื่องมือในการ นาเสนอผลงานถ่ายทอดจินตนาการออกมาให้ผู้อื่นสัมผัสได้ด้วยความถูกต้อง ในการเรียนการสอนด้านการออกแบบภายใน รูปด้านเป็นพื้นฐานและเครื่องมือสาคัญในการถ่ายทอดจินตนาการ เพื่อกาหนดบรรยากาศ สัดส่วน มิติ ต่างๆ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องแม่นยาในการกาหนด สัดส่วน สี วัสดุ รูปแบบ ของการออกแบบภายใน อาจารย์สามารถตรวจสอบความคิดอ่านของนักศึกษาผ่านการเขียนรูปด้านของนักศึกษาได้ ตั้งแต่ในสมัยแรกเริ่มที่มีการเรียนการสอนด้านการออกแบบภายในในประเทศไทย รูปด้านก็ถูกนามาใช้ในการนาเสนอผลงาน ดังจะเห็นในภาพด้านล่างเป็นผลงานของนักศึกษาคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งเป็นสถาบันแรกที่เปิดสอน ด้านการออกแบบภายใน ในประเทศไทย
ภาพที่ 01 รูปด้านของ ผศ. พงศ์ศักดิ์ อารยางกูร เมื่อสมัยเป็นนักศึกษาที่คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่มา : การแสดงงานศิลปการตกแต่งของนักศึกษา ครั้งที่ 3 15 มิถุนายน 2509 คณะมัณฑนะศิลป์ หน้า 13
ภาพที่ 02 รูปด้านภัตตาคารในท่าอากาศยาน (ผลงานนักศึกษาคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร) ที่มา : นิทรรศการการออกแบบตกแต่ง ครั้งที่ 8 25 พฤษภาคม ถึง 5 มิถุนายน 2517 หน้า 20
3
ในระดับวิชาชีพการออกแบบภายใน รูปด้านถูกนาไปใช้ในขั้นตอนต่าง ๆ ของการออกแบบภายในทั้งเพื่อพัฒนา รูปแบบงานของมัณฑนากร การทาแบบก่อสร้างเพื่อสื่อสารกับนักออกแบบในส่วนต่าง ๆ ทั้งวิศวกร ผู้รับเหมา รวมทั้ง การนาเสนอผลงานกับเจ้าของโครงการ ทั้งการเขียนด้วยลายเส้นมือ การลงสีน้า สีหมึก สีโปสเตอร์ ในยุคสมัยที่ คอมพิวเตอร์ยังไม่มีบทบาทมากนัก จนกระทั่งในปัจจุบันรูปด้านถูกพัฒนาขึ้นมาพร้อมกับเทคโนโลยีและความก้าวหน้า การ เขียนด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในลักษณะต่างๆ รูปด้านยังคงมีความสาคัญในการออกแบบภายในอยู่อย่างต่อเนื่อง โดย สามารถแบ่งออกเป็นขั้นตอนและหัวข้อต่าง ๆ ได้ดังนี้
ภาพที่ 03 การเขียนรูปด้านด้วยสีน้าและสีโปสเตอร์ ของคุณทีปกร แย้มกสิกร ที่มา : สถาปนิก 49. ลายเส้น 2. (กรุงเทพฯ : สถาปนิก 49, 2534), 50. 1. การออกแบบภายใน 1.1 ในกระบวนการพัฒนาแบบ ในกระบวนการออกแบบรูปด้านมักจะอยู่ในขั้นตอนของการพัฒนาแบบ (Design Development) เพื่อ ปรับปรุงงานออกแบบภายในให้สัมพันธ์กับที่ว่างภายใน เกิดเอกภาพความกลมกลืนของงานทั้งหมด ควบคุมให้ระยะขนาด ได้ตามมาตราส่วนพัฒนาองค์ประกอบภายในให้สมบูรณ์ สารวจความถูกต้องเพื่อสรุปผลงานออกแบบ อาจพัฒนา รูปแบบหลาย ๆ แบบเพื่อให้เจ้าของโครงการเลือกได้เช่นภาพตัวอย่างด้านล่าง
ภาพที่ 00 รูปด้านโถงลิฟท์โครงการ The Vertical Aree โดยบริษัท แสนสิริ จากัด (มหาชน) ที่มา : ณัฐรฐนนท์ ทองสุทธิพีรภาส
4
1.2 ระยะ สัดส่วน การทารูปด้านเป็นเครื่องมือสาคัญในการกาหนดสัดส่วน ระยะ ความสูง ของพื้นที่ภายใน ช่องเปิดต่าง ซุ้มประตู ทางเดิน รวมทั้งเครื่องเรือนต่าง ๆ ให้มีขนาดที่เหมาะสมกับผู้ใช้ มีความสัมพันธ์กลมกลืนไปทั้งห้อง เช่นในรูป ด้านล่างเป็นรูปด้านงานออกแบบภายในห้องจัดเลี้ยง ภายในพระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร ที่แสดงให้เห็นถึงความสาคัญ ของสัดส่วนในการกาหนดขนาดความสูง ความกว้างของช่องเปิดระหว่างเสา ขนาดของบัวพื้น บัวเพดานและลวดลาย ต่างๆ ในงานนีโอคลาสสิค (Neoclassical) ที่สัดส่วนจะต้องมีความสัมพันธ์กลมกลืนกันทั้งหมด ในรูปด้านจะต้อง กาหนดสัดส่วนเหล่านี้ให้ถูกต้องสวยงาม
ภาพที่ 04 ความสาคัญของรูปด้านในการกาหนดระยะ สัดส่วน ในงานออกแบบภายใน ที่มา : ณัฐรฐนนท์ ทองสุทธิพีรภาส. นิทรรศการผลงานสร้างสรรค์ของคณาจารย์ มัณฑนศิลป์ ’54 : 55 ปี แห่ง การสร้างสรรค์นวัตกรรม. (กรุงเทพฯ : คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2554), 9. 1.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์กับบริบทโดยรอบ การทารูปด้านงานออกแบบภายในสามารถทาประสานไปกับงานภูมิทัศน์ ธรรมชาติและสภาพแวดล้อม โดยรอบได้เพื่อแสดงให้เห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยง ระหว่างงานภายในกับงานภายนอกที่มีความเกี่ยวเนื่องกันด้วยช่องเปิด ที่รับ แสงและลมจากธรรมชาติเข้ามาสู่งานออกแบบภายใน เงาของต้นไม้ที่ส่งผ่านช่องเปิดเข้ามาถึงภายใน วิวทิวทัศน์ที่ สามารถมองเห็นได้จากภายใน ความต่อเนื่องของทั้งโครงการที่ทา สามารถทาให้เห็นภาพโดยรวมได้ในส่วนนี้
5
ภาพที่ 05 รูปด้านบ้านเนินเขา จังหวัดราชบุรี ที่มา : ณัฐรฐนนท์ ทองสุทธิพีรภาส ประโยชน์อีกประการหนึ่งของการทารูปด้านคือการเลือกช่องเปิดหน้าต่าง การเจาะช่องแสงเพื่อเลือก มุมมองและทัศนียภาพที่ต้องการ กรอบของการมองทัศนียภาพเช่น ต้นไม้ ท้องฟ้า ภูเขาที่ต้องการนาเข้ามาเป็น องค์ประกอบในการออกแบบภายใน2 1.4 บรรยากาศ สีและพื้นผิว การทารูปด้านสามารถกาหนดบรรยากาศไปพร้อมกับสัดส่วนทีถ่ ูกต้อง การเลือกสีและวัสดุที่สัมพันธ์ กลมกลืนกันทั้งงาน สามารถเห็นปริมาณของวัสดุและสีที่ใช้ในงานได้ เช่น วอลล์เปเปอร์ หินกรุผนัง สีทาผนัง สัดส่วน ความยาวความสูงของวัสดุและสีที่ใช้ในงาน ส่วนนี้สามารถเพิ่ม ลด หรือเปลี่ยนวัสดุเพื่อปรับปรุงจังหวะของผนังในงาน ออกแบบภายในได้
ภาพที่ 06 งานออกแบบภายใน Panburi Apartment ที่มา : ณัฐรฐนนท์ ทองสุทธิพีรภาส 2
Ching, Francis D.K. Interior Design Illustrated. (New York : Van Nostrand Reinhold Company, 1987), 206.
6
1.5 มิติสัมพันธ์น้าหนัก แสงเงาที่เกิดขึ้น รูปด้านสามารถบอกได้ถึงระยะ ความลึก มิติที่เกิดขึน้ ในระนาบ สามารถตรวจสอบงานออกแบบภายใน กับแสงธรรมชาติและแสงประดิษฐ์ จังหวะของดวงไฟกับงานออกแบบภายในในรูปด้าน สามารถเลือกเน้นหรือสร้าง เอกภาพในกับงานออกแบบภายใน ไปพร้อมกับมิติความลึกและเงาที่เกิดขึ้นในงาน ในอาจพัฒนาแบบโดยการเพิ่มหรือลด จานวนดวงไฟ เปลี่ยนชนิดของหลอดหรือเทคนิคการซ่อนไฟต่างๆที่จะช่วยส่งเสริมงานออกแบบภายในให้ตรงตามความ ต้องการ ส่วนนี้สามารถดูหลายๆ องค์ประกอบไปพร้อมกันได้
ภาพที่ 07 Grand hyatt Chengdu ที่มา : Grand hyatt Chengdu [Online], accessed 31 july 2012. Available from http://www.tonychi.com/ 2. การนาเสนอผลงาน 2.1 รูปแบบ การนาเสนอรูปด้านในงานออกแบบภายในสามารถทาได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจินตนาการ และความสร้างสรรค์ของผู้ออกแบบ โดยจะต้องดูที่วัตถุประสงค์ของการนาเสนอเป็นหลัก เช่นหากต้องการเน้นนาเสนอใน เรื่องของที่ว่างและประโยชน์ใช้สอย การนาเสนอจะต้องเน้นไปที่ภาพรวมของที่ว่างทั้งหมด หรือเน้นไปที่การนาเสนอวัสดุ สีสัน ภายในงานก็อาจทาในมาตราส่วนที่ใหญ่ขึ้นมาหน่อยเพื่อให้เห็นสีสัน พื้นผิวน้าหนักของวัสดุได้อย่างชัดเจน หรือ หากโครงการที่มีการงานออกแบบหลายๆส่วนไปพร้อมกันก็สามารถรวมการนาเสนอให้เป็นเรือ่ งราวเดียวกันได้ ทั้งงาน ออกแบบภายใน ตัวอาคาร และงานออกแบบภูมิทัศน์ เช่นในภาพตัวอย่างด้านล่าง
7
ภาพที่ 08 รูปด้านร้านอาหาร ที่นาเสนองานออกแบบภายใน ตัวอาคารและภูมิทัศน์หลาย ๆ ส่วนไปพร้อมกัน ที่มา : ณัฐพล วงศ์ทัศนดิลก 2.2 ขนาดของผลงาน โดยทั่วไปควรทารูปด้านขนาดมาตราส่วน 1:25 ติดบนบอร์ดขนาด A3 หรือ A2 เพื่อให้เห็นได้อย่าง ชัดเจนและมีขนาดไม่ใหญ่มากนักพกพาสะดวก หรือหากฉากสไลด์ขึ้นจอภาพก็สามารถมองเห็นได้ ถ้าเป็นโครงการที่มี เนื้อหาขนาดใหญ่ก็สามารถทาขนาดใหญ่หรือทาเป็นแนวยาวหรือแนวตั้ง ตามความต่อเนื่องของพื้นที่ในงานออกแบบได้
ภาพที่ 09 The Four Seasons Resort and Spa at West Lake, Hangzhou, China ที่มา : Bensley Design Studio & T.R.O.P.
8
3. การก่อสร้าง 3.1 ตรวจสอบกับงานระบบอาคาร รูปด้านในงานออกแบบภายในเป็นเครื่องมือสาคัญในการตรวจสอบความถูกต้องระหว่าง งานออกแบบ ภายในกับงานระบบอาคาร เพราะรูปด้านจะแสดงรูปตัดของฝ้าเพดาน ผนัง และพื้น ซึ่งมีระบบต่างๆของอาคารซ่อนอยู่ ภายใน พื้นที่ในส่วนนี้ทางวิศวกรหรือผู้รับเหมาจะสามารถนาไปใช้ทางานรวมทั้งตรวจสอบ วางแผนและแก้ไขปัญหาต่อได้ เช่นในตัวอย่างภาพล่างที่แสดงให้เห็นถึงพื้นที่บนฝ้าที่มีการซ่อนไฟและช่องลมแอร์ ที่ถูกซ่อนอยู่บนฝ้าเพดาน
ภาพที่ 10 เอกสารประกอบการสอนวิชา Interior Graphic ที่มา : ณัฐรฐนนท์ ทองสุทธิพีรภาส 3.2 ตรวจสอบกับโครงสร้างอาคาร ในส่วนโครงสร้างอาคารที่มีความเกี่ยวข้องและต่อเนื่องกับงานออกแบบภายใน การทารูปตัดและรูปด้าน อาคารกับงานออกแบบภายในจึงมีความสาคัญ เพื่อให้สามารถเห็นถึงปัญหาหรือจุดบกพร่องที่เกิดขึ้นระหว่างการ พัฒนาแบบได้ เช่น ความต่อเนื่องของช่องเปิดหน้าต่างอาคารกับผนังทั้งตัววัสดุและขนาด พืน้ หรือฝ้าเพดานระหว่างชั้นที่ ต่อเนื่องกัน3 งานออกแบบที่มีชนั้ ลอยหรืองานออกแบบบันไดที่ซับซ้อน ในส่วนนี้สามารถแก้ปญ ั หาและแสดงให้เห็นถึงความ ซับซ้อนและเกี่ยวเนื่องกันระหว่างพื้นที่ได้
3
Ching, Francis D.K. Architectural Graphics. (New York : John Wiley & Sons,inc. 2003), 56-57.
9
ภาพที่ 11 รูปตัด รูปด้านอาคารที่แสดงความเกี่ยวเนื่องกันของที่ว่างในการออกแบบภายใน ที่มา : Building renovations proceeding despite snow [Online], accessed 31 july 2012. Available from http://benchmarks.rockefeller.edu/viewArticle.php?id=359&issue_id=107 4. การพัฒนารูปแบบและการประยุกต์ใช้ 4.1 การผสมผสานกับหลักการทัศนียวิทยา การทารูปด้านเพื่อนาเสนอผลงานนั้นไม่จาเป็นต้องมีลักษณะตายตัว รูปด้านสามารถประยุกต์เข้ากับ หลักทัศนียวิทยาได้ โดยการดึงระยะให้เกิดระนาบ หน้า-หลัง ที่ต่างกันเพื่อแสดงความชัดลึกของภาพ เช่น ในตัวอย่างภาพ ด้านล่างที่นาเอาเก้าอี้และคนออกมาจากระนาบผนังเป็นการใส่หลักทัศนียวิทยาเข้าไปในการนาเสนอรูปด้าน
ภาพที่ 12 รูปด้านนาเสนอร้าน Greyhound Café โดยคุณวิฑูรย์ คุณาลังการ IAW ที่มา : นิธิ สถาปิตานนท์. คุยกับต้นกล้า สถาปนิก. (กรุงเทพฯ : ลายเส้น พับบลิชชิ่ง, 2550), 148.
10
4.2 การผสมผสานกับการทาหุ่นจาลอง เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจมิติที่ว่าง เนื่องจากรูปด้านโดยหลักการแล้วเป็นงานในลักษณะ 2 มิติการ ประยุกต์นาเอาหุ่นจาลองเข้ามาผสมเข้าด้วยกันสามารถเพิ่มมิติความสมจริงได้มากขึน้ ช่วยให้ เจ้าของโครงการ มัณฑนา กร ผู้รับเหมาและผู้เกี่ยวข้องต่าง ๆ สามารถทาความเข้าใจพัฒนารูปแบบต่อไปได้ง่ายขึ้น สามารถแสดงความซับซ้อนของ ที่ว่างได้
ภาพที่ 13 หุ่นจาลองแสดงรูปตัดอาคารและรูปด้านของงานออกแบบภายใน ที่มา : japanese-home-ideas [Online], accessed 31 july 2012. Available from http://www.besthousedesign.com/2011/11/25/japanese-home-ideas-hansha-reflection-house/print/ 4.3 การผสมผสานกับงานในลักษณะอื่นๆ งานออกแบบภายในเป็นงานสร้างสรรค์ซึ่งสามารถออกแบบเปลีย่ นแปลง ปรับปรุง พัฒนาเพื่อให้งาน ออกแบบภายในมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง อาจนาไปผสมผสานกับรูปแบบงานนาเสนออื่นๆ เช่นการเขียน Obligue4 การทาหุ่นจาลอง การเขียนทัศนียภาพหรือเทคนิคคอมพิวเตอร์ได้
ภาพที่ 14 ตัวอย่างรูปด้าน-รูปตัด ที่ผสมผสานงานออกแบบในหลายๆส่วนเข้าด้วยกัน ที่มา : japanese-home-ideas [Online], accessed 31 july 2012. Available from http ://www.archdaily.com/22553/ordos-100-40-slade-architecture/154486294_section-02/ 4
Yee, Rendow. Architectural Drawing A Visual Compendium of Types and Methods. (New Jersey : John Wiley & Sons,inc., 2007), 171.
11
บทสรุป ในปัจจุบันนัน้ การนาเสนอรูปด้านในการออกแบบภายในกาลังได้รับความนิยมจากมัณฑนากร ด้วยเพราะเป็นงาน ในส่วนที่จะต้องทาการเขียนแบบก่อสร้างอยู่แล้ว และด้วยการที่ต้องเข้ามาตราส่วนเพื่อบอกขนาดต่างๆ ทาให้รูปด้านมี ความถูกต้องตามจริงมากกว่าการนาเสนอในรูปแบบอื่นๆ รูปด้านสามารถทาให้เห็นบรรยากาศพื้นที่หลัก ๆ ของงาน ออกแบบภายใน รูปด้านสามารถทาให้เห็นถึงความต่อเนื่องของพื้นที่ต่อพื้นที่ สัดส่วนในการใช้งานของเฟอร์นิเจอร์ต่อ พื้นที่ มัณฑนากรสามารถตรวจสอบความถูกต้องได้ง่าย รวมทั้งคนทั่วไปสามารถเข้าใจได้ง่ายหากมีการลงสีที่สมจริง สวยงาม และยังสามารถตรวจสอบกับโครงสร้าง งานระบบอาคารต่างๆ ด้วยประโยชน์หลากด้านทาให้รูปด้านได้รับความ นิยมในการใช้เพื่อการนาเสนอผลงาน และด้วยมิติของที่ว่างที่เปลี่ยนแปลงไป งานออกแบบภายในรวมทั้งงานนาเสนอที่เกี่ยวข้องล้วนถูกใช้เป็น เครื่องมือและองค์ประกอบต่าง ๆ ในการพัฒนารูปแบบงาน รูปด้านได้ถูกพัฒนาตามเทคโนโลยีที่ทันสมัยด้วยโปรแกรม คอมพิวเตอร์ สามารถทาให้การทารูปด้านรวดเร็วและสวยงามมากยิ่งขึ้น รูปด้านถูกประยุกต์กับเทคนิคต่าง ๆ เพื่ อ ตอบสนองการนาเสนอที่ว่างที่มีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆจาก 3 มิติ สู่ 4 มิติ และพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง5 ดังนั้น มัณฑนากรควรจะต้องตรวจสอบและพัฒนารูปแบบของรูปด้านหรืองานนาเสนออื่น ๆ เพื่อให้ทันหรือนาต่อการพัฒนา รูปแบบของที่ว่างเพราะในอนาคตรูปด้านอาจถูกลดบทบาทหรือมีบทบาทมากขึ้นก็ยังไม่อาจทราบได้
5
เอกชาติ จันอุไรรัตน์ “พื้นที่ว่างมิติของ SPACE,” วารสารวิชาการคณะมัณฑนศิลป์ 1,1 (2547) : 31.
12
เอกสารอ้างอิง ภาษาไทย นิธิ สถาปิตานนท์. คุยกับต้นกล้า สถาปนิก. กรุงเทพฯ : ลายเส้น พับบลิชชิ่ง, 2550. สถาปนิก 49. ลายเส้น 2. กรุงเทพฯ : สถาปนิก 49, 2534. เอกชาติ จันอุไรรัตน์ “พื้นที่ว่างมิติของ SPACE,” วารสารวิชาการคณะมัณฑนศิลป์ 1,1 (2547) : 26-31. ภาษาต่างประเทศ Ching, Francis D.K. Interior Design Illustrated. New York : Van Nostrand Reinhold Company, 1987. Ching, Francis D.K. Architectural Graphics. New York : John Wiley & Sons,inc., 2003. Yee, Rendow. Architectural Drawing A Visual Compendium of Types and Methods. New Jersey : John Wiley & Sons,inc., 2007. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ http://www.tonychi.com/ http://benchmarks.rockefeller.edu/viewArticle.php?id=359&issue_id=107 http://www.besthousedesign.com/2011/11/25/japanese-home-ideas-hansha-reflectionhouse/print/ http ://www.archdaily.com/22553/ordos-100-40-slade-architecture/154486294_section-02/