#3 คู่มือสอนน้องรู้กฎจราจร

Page 1

คู่มือสอนน้องรู้กฎจราจร โครงการสนามจราจรเยาวชน เสริมสร้างจิตสำ�นึกความปลอดภัย

กรมการขนส่งทางบก


คู่มือสอนน้องรู้กฎจราจร โครงการสนามจราจรเยาวชน เสริมสร้างจิตสำ�นึกความปลอดภัย (คู่มือการใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัย สำ�หรับเด็กและเยาวชน)

กรมการขนส่งทางบก


คำ�นำ� คู่ มื อ “สอนน้ อ งรู้ ก ฎจราจร” เป็ น สื่ อ ประกอบการอบรม นั ก เรี ย น ที่ เข้ า ร่ ว มกิ จ กรรมภายใต้ โ ครงการสนามจราจรเยาวชน เสริมสร้างจิตสำ�นึกความปลอดภัย ที่กรมการขนส่งทางบกจัดทำ�ขึ้น โดยเนื้อหาภายในเล่มนั้น นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้รถใช้ถนน และกฎจราจรที่ ถู ก ต้ อ ง รวมทั้ ง ความมี น้ำ � ใจและวิ นั ย จราจรในการ ใช้รถใช้ถนนร่วมกันในสังคม โ ค ร ง ก า ร ส น า ม จ ร า จ ร เ ย า ว ช น เ ส ริ ม ส ร้ า ง จิ ต สำ � นึ ก ความปลอดภัย เป็นหนึ่งในหลากหลายกิจกรรมของกรมการขนส่งทางบก ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการ ใช้รถใช้ถนน (กปถ.) ซึ่งมีเจตนารมณ์ในการวางรากฐานด้านจิตสำ�นึก ความปลอดภัย ควบคู่ไปกับการปลูกฝังความมีน้ำ�ใจและวินัยจราจร ด้ ว ยแนวคิ ด “สำ � นึ ก ความปลอดภั ย เริ่ ม ได้ แ ต่ วั ย เยาว์ ” โดยการ เติ ม ความรู้ แ ละเสริ ม สร้ า งประสบการณ์ ก ารเรี ย นรู้ จ ากสนามจราจร จำ�ลองที่สามารถพบเห็นได้จริงในชีวิตประจำ�วัน กรมการขนส่งทางบกหวังเป็นอย่างยิ่งว่า คู่มือ “สอนน้องรู้กฎ จราจร” และโครงการสนามจราจรเยาวชนฯ จะเป็นส่วนหนึ่งในการ ช่ ว ยปู พื้ น ฐานและเสริ ม สร้ า งภู มิ คุ้ ม กั น ความปลอดภั ย จากการใช้ ร ถ ใช้ถนนแก่นักเรียน และเป็นฟันเฟืองที่ช่วยขับเคลื่อนให้เกิดสวัสดิภาพ บนท้องถนนเมืองไทย กรมการขนส่งทางบก


สารบัญ หน้า บทที่ 1 การเดินเท้า

1

บทที่ 2 การข้ามถนน

9

บทที่ 3 การ โดยสารรถ

23

★ การ โดยสารรถประจำ�ทาง

24

การ โดยสารรถยนต์

33

การ โดยสารรถจักรยานยนต์

33

บทที่ 4 การขี่รถจักรยาน

35

บทที่ 5 อุบัติเหตุ

47

บทที่ 6 ประเภทเครื่องหมายจราจร

53

เครื่องหมายจราจรประเภทป้ายบังคับ

54

เครื่องหมายจราจรประเภทป้ายเตือน

56

เครื่องหมายจราจรบนพื้นทาง

58



บทที่

1

การเดินเท้า


การเดินเท้า

1

2

ถนนที่มีทางเท้าหรือฟุตบาท ให้เดินบนทางเท้าหรือฟุตบาท

เท่านั้น ไม่ควรลงเดินในช่องทางเดินรถ

คู่มือสอนน้องรู้กฎจราจร


2

ถนนที่ไม่มีทางเท้าหรือฟุตบาท ให้เดินชิดขอบทางด้านขวา

ของถนน โดยให้เดินสวนทางกับรถที่สวนมา ทั้งนี้เพราะผู้ขับขี่ สามารถมองเห็นคนเดินถนน และคนเดินถนนสามารถมองเห็น รถที่แล่นสวนมาได้ ทำ�ให้แต่ละฝ่ายเพิ่มความระมัดระวังในการ ใช้ถนนยิ่งขึ้น

คู่มือสอนน้องรู้กฎจราจร

3


3

4

การเดินถนนในบริเวณทีม่ ดื ไม่มแี สงเพียงพอ ควรสวมใส่เสือ้ ผ้า

สีออ่ น ๆ เพือ่ ให้มองเห็นได้ชดั เจน และเพือ่ ให้ปลอดภัยมากยิง่ ขึน้ ควรถือไฟฉายติดมือไปด้วยเพื่อช่วยในการส่องทาง

คู่มือสอนน้องรู้กฎจราจร


4

การเดินเป็นกลุ่ม เช่น เวลาโรงเรียนเลิก หรือลูกเสือเนตรนารี

เดินทางไกลโดยมีอาจารย์ควบคุมหรือไม่ก็ตาม ควรเดินเป็น แถวตอนเรียงหนึ่ง และไม่หยอกล้อเล่นกันในแถว เพราะอาจ ทำ�ให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้

คู่มือสอนน้องรู้กฎจราจร

5


5

6

การจู ง เด็ ก เดิ นถนน ควรจั บ มื อ เด็ ก ให้ แ น่ น และให้ เ ด็ ก เดิ น ด้านใน เพื่อป้องกันมิให้เด็กวิ่งออกไปในทางเดินรถ

คู่มือสอนน้องรู้กฎจราจร


6

การเล่นกีฬาหรือกิจกรรมใด ๆ ก็ตาม ไม่ควรเล่นในทางเดินรถ

หรือบนทางเท้า ควรเล่นในสนามที่จัดไว้เฉพาะกิจกรรมนั้น

คู่มือสอนน้องรู้กฎจราจร

7



บทที่

2

การข้ามถนน


การข้ามถนน การข้ามถนนให้ปลอดภัยต้องข้ามในที่ที่จัดไว้ให้โดยเฉพาะ

1

การข้ามทางม้าลาย เป็นการข้ามถนนซึ่งอาจมีอันตรายอยู่บ้าง

ถ้ า ผู้ ขั บ ขี่ ไ ม่ มี วิ นั ย และมารยาท คนข้ า มถนนจึ ง ต้ อ งมี ค วาม ระมัดระวัง และควรรอให้รถหยุดสนิทก่อน จึงเดินข้ามถนน

แท็กซี่

10

คู่มือสอนน้องรู้กฎจราจร


2

การข้ามสะพานลอย เป็นการข้ามถนนที่ปลอดภัยที่สุด เพราะ

ไม่ต้องเสี่ยงกับรถที่อาจฝ่าฝืนกฎจราจร และไม่ยอมหยุดรถให้ คนข้ามถนน

แท็กซี่

คู่มือสอนน้องรู้กฎจราจร

11


3

12

การข้ามถนนบริเวณที่มีตำ�รวจจราจรควบคุม เป็นการข้าม

ถนนที่ปลอดภัยอีกทางหนึ่ง โดยตำ�รวจจราจรจะห้ามรถที่วิ่ง ให้หยุด แล้วให้สัญญาณคนเดินข้าม ซึ่งสัญญาณที่ตำ�รวจใช้มี 2 อย่าง ได้แก่ สัญญาณมือ และสัญญาณนกหวีด

คู่มือสอนน้องรู้กฎจราจร


สัญญาณมือ มีดังนี้

1. เมื่ อ พนั ก งานเจ้ า หน้ า ที่ ยื่ น และเหยี ย ดแขนซ้ า ยออกไปเสมอ ระดั บ ไหล่ ผู้ ขั บ ขี่ ซึ่ ง ขั บ รถมาทางด้ า นหลั ง ของพนั ก งานเจ้ า หน้ า ที่ ต้ อ ง หยุดรถ แต่ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ลดแขนข้างที่เหยียดออกไปนั้นลงและ โบกมือไปข้างหน้า ให้ผู้ขับขี่ซึ่งหยุดรถอยู่ทางด้านหลังขับรถผ่านไปได้ 2. เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ยื่นและเหยียดแขนข้างใดข้างหนึ่งออกไป เสมอระดับไหล่และตั้งฝ่ามือขึ้น ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถมาทางด้านนั้นต้องหยุดรถ แต่ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่พลิกฝ่ามือที่ตั้งอยู่นั้นแล้วโบกผ่านศีรษะไปทาง ด้านหลัง ให้ผู้ขับขี่ซึ่งหยุดรถอยู่นั้นขับรถผ่านไปได้

คู่มือสอนน้องรู้กฎจราจร

13


3. เมื่ อ พนั ก งานเจ้ า หน้ า ที่ ยื่ น และเหยี ย ดแขนทั้ ง สองข้ า งออกไป เสมอระดับไหล่และตั้งฝ่ามือขึ้น ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถมาทั้งสองด้านของพนักงาน เจ้าหน้าที่ต้องหยุดรถ 4. เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ยื่นและยกแขนขวาตั้งฉากกับแขนท่อนบน และตั้งฝ่ามือขึ้น ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถมาทางด้านหน้าของพนักงานเจ้าหน้าที่ต้อง หยุดรถ แต่ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่พลิกฝ่ามือที่ตั้งอยู่นั้นโบกไปด้านหลัง ให้ผู้ขับขี่ซึ่งหยุดรถอยู่ทางด้านหน้าของพนักงานเจ้าหน้าที่ขับรถผ่านไปได้ 5. เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ยื่นและยกแขนขวาท่อนล่างตั้งฉากกับ แขนท่อนบนและตั้งมือขึ้น ส่วนแขนซ้ายเหยียดออกไปเสมอระดับไหล่ ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถมาทางด้านหน้าและด้านหลังของพนักงานเจ้าหน้าที่ต้อง หยุดรถ

สัญญาณนกหวีด มีดังนี้

1. เมื่ อ พนั ก งานเจ้ า หน้ า ที่ ใช้ เ สี ย งสั ญ ญาณนกหวี ด ยาวหนึ่ ง ครั้ ง ให้ผู้ขับขี่หยุดรถทันที 2. เมื่ อ พนั ก งานเจ้ า หน้ า ที่ ใช้ เ สี ย งสั ญ ญาณนกหวี ด สั้ น สองครั้ ง ติดต่อกัน ให้ผู้ขับขี่รถผ่านไปได้

14

คู่มือสอนน้องรู้กฎจราจร


4

การข้ามถนนที่มีไฟสัญญาณจราจรควบคุม การข้ามถนนต้องปฏิบัติตามสัญญาณไฟจราจร และต้องระวัง ให้รถหยุดสนิทเสียก่อน ขณะกำ�ลังเดินข้ามถนนให้ระมัดระวังรถ ที่กำ�ลังเลี้ยวเข้าหาตัว

คู่มือสอนน้องรู้กฎจราจร

15


สั ญ ญาณไฟจราจรแบ่ ง ออกเป็ น 2 ประเภท คื อ สั ญ ญาณ

ไฟจราจรสำ � หรั บ รถ และสั ญ ญาณไฟจราจรสำ � หรั บ ควบคุ ม คนเดิ น เท้ า ที่จะข้ามถนน

สัญญาณไฟจราจรสำ�หรับรถ มี 3 สี ดังนี้

ไฟสีแดง หมายถึง ให้รถหยุด คนเดินข้ามได้ ไฟสีเหลือง หมายถึง ให้รถเตรียมตัวหยุด ไฟสีเขียว หมายถึง ให้รถไปได้ คนเดินเท้าหยุดรอ

สัญญาณไฟจราจรสำ�หรับควบคุมคนเดินเท้าที่จะข้ามถนน มี 2 สี

ดังนี้ ไฟสี แ ดง (มี รู ป คนยื น อยู่ ข้ า งใน) หมายถึ ง ให้ ค นเดิ น เท้ า หยุ ด รอบนทางเท้ า บนเกาะแบ่ ง ช่ อ งทางเดิ น รถ หรื อ ในเขตปลอดภั ย ถ้าไม่มีทางเท้าให้หยุดรอบนไหล่ทางหรือขอบทาง

16

คู่มือสอนน้องรู้กฎจราจร


ไฟสีเขียว (มีรูปคนกำ�ลังเดินอยู่ข้างใน) หมายถึง ให้คนเดินเท้า ข้ามทางเดินรถได้ โดยในบางแห่งอาจจะมีไฟสีเขียวกะพริบ หมายถึง ให้คนเดินเท้าที่ยังไม่ได้ข้ามให้หยุดรอก่อน แต่ถ้ากำ�ลังเดินข้ามก็ให้เดิน อย่างเร็ว เพราะสัญญาณไฟกำ�ลังจะเปลี่ยนเป็นสีแดง ห้ามข้าม แล้ว

คู่มือสอนน้องรู้กฎจราจร

17


วิธีข้ามถนนอย่างปลอดภัย

1. ก่อนข้ามทางให้หยุดรอบนทางเท้า บนเกาะแบ่งช่องทางเดินรถ หรือในเขตปลอดภัยก่อนก้าวลงไปในช่องทางเดินรถ 2. ให้ ม องดู ร ถทางด้ า นขวามื อ ก่ อ น แล้ ว หั น กลั บ ไปมองดู ร ถ อีกด้านหนึ่งของถนนว่ามีรถมาหรือไม่ และที่สำ�คัญต้องหันกลับมามองดู ทางด้านขวาอีกครั้ง ถ้าไม่มีรถหรือมีรถวิ่งในระยะไกลพอที่จะข้ามได้อย่าง ปลอดภัยจึงเดินข้ามถนน 3. การเดินข้ามถนน ห้ามวิ่งหรือหยอกล้อกันในขณะเดินข้ามถนน ให้เดินข้ามถนนด้วยความรวดเร็ว

18

คู่มือสอนน้องรู้กฎจราจร


ข้อควรคำ�นึงและปฏิบัติเวลาข้ามถนน

1

การเดินข้ามถนน แม้ ว่ า จะมี ร ถหยุ ด ให้ ข้ า ม แต่ อ าจมี ร ถคั น อื่ น แซงขวาออกมา จึงควรระมัดระวังอย่าประมาท

การข้ า มทางที่ ร ถเดิ น ทางเดี ย ว ต้ อ งดู ใ ห้ แ น่ ใจเสี ย ก่ อ นว่ า รถมา จากทางไหน และให้ระวังรถที่วิ่งผิดกฎจราจร เช่น ฝ่าฝืนช่องทางเดินรถ ทางเดี ย ว หรื อ ช่ อ งทางเดิ น รถทางเดี ย วที่ มี ช่ อ งทางเดิ น รถประจำ � ทาง อย่ า ประมาทคิ ด ว่ า รถเดิ น ทางเดี ย ว ช่ อ งทางสำ � หรั บ รถประจำ � ทางนั้ น จะตีเส้นสีเหลืองไว้ช่องริมบนผิวจราจร คู่มือสอนน้องรู้กฎจราจร

19


2

3

20

อย่ า เดิ น ข้ า มถนนโดยออกจากที่ กำ � บั ง ตั ว เช่ น ออกจาก

ซอกรถที่จอดอยู่ หรือท้ายรถประจำ�ทาง เพราะจะทำ�ให้รถที่วิ่งมา จากอีกทางหนึ่งมองเห็นไม่ทัน

อย่าเดินข้ามถนนตามผู้อื่นโดยไม่คำ�นึงถึงความปลอดภัย

คู่มือสอนน้องรู้กฎจราจร


4

5

การเดินข้ามถนนที่มีเกาะกลางถนน ต้องเดินข้ามทีละครึ่ง โดย

ข้ามครึง่ แรกแล้วให้หยุดรอบนเกาะกลางเสียก่อน เมือ่ มองเห็นว่า ปลอดภัยจึงเดินข้ามต่อไป

ในระหว่ า งเดิ น ข้ า มถนน หากมี สิ่ ง ของตกหล่ น กลางถนน อย่าก้มลงเก็บในทันที ให้รีบเดินข้ามไปยังฝั่งตรงข้ามให้เรียบร้อย เสียก่อน เมื่อมองเห็นว่าปลอดภัยแล้ว จึงเดินมาเก็บของที่ตก ในภายหลัง

คู่มือสอนน้องรู้กฎจราจร

21



บทที่

3

การโดยสารรถ การ โดยสารรถประจำ�ทาง การ โดยสารรถยนต์ การ โดยสารรถจักรยานยนต์


การโดยสารรถ ★

รถ โดยสาร

รถยนต์

รถจักรยานยนต์

การ โดยสารรถประจำ�ทาง การขึ้นหรือลงรถโดยสารประจำ�ทาง

1

24

ต้องขึ้นหรือลงรถโดยสารประจำ�ทางที่ป้ายหยุดรถโดยสารประจำ�ทาง เท่านัน้ และเพือ่ ความปลอดภัย ควรยืนรอบนทางเท้าหรือฟุตบาท อย่าลงมายืนรอในทางเดินรถ

คู่มือสอนน้องรู้กฎจราจร


2

ต้องรอให้รถหยุดสนิทเสียก่อนจึงขึ้นหรือลงรถโดยสาร ในกรณี รถโดยสารประจำ�ทางมี 2 ประตู คือ ประตูด้านหน้าและประตู ด้านหลัง ควรจะขึ้นหรือลงประตูด้านหน้าจะปลอดภัยกว่า ทั้งนี้ เพราะผู้ ขั บ รถมองเห็ น ได้ ชั ด เจนกว่ า การขึ้ น หรื อ ลงประตู ด้านหลัง

คู่มือสอนน้องรู้กฎจราจร

25


3

26

ควรรอให้ผู้โดยสารลงจากรถให้เรียบร้อยก่อน จึงค่อยขึ้นรถ ไม่ควรแย่งขึ้นหรือลงรถโดยสาร

คู่มือสอนน้องรู้กฎจราจร


ข้อควรปฏิบัติเมื่อโดยสารรถประจำ�ทาง ไม่ควรยื่นแขน ขา หรือศีรษะ ออกนอกตัวถังรถ หรือนั่งหลับ โดยไม่มีผู้ดูแล จะก่อให้เกิดอันตรายได้

1

คู่มือสอนน้องรู้กฎจราจร

27


2

28

ไม่ควรเกาะห้อยโหนที่บันไดรถ จะทำ�ให้พลัดตกจากรถหรือ ถูกเฉี่ยวชนได้

คู่มือสอนน้องรู้กฎจราจร


3

ไม่กล่าววาจาที่ไม่สุภาพ เสียดสี ดูหมิ่น ก้าวร้าว ส่งเสียงอื้ออึง หรือกระทำ�การใด ๆ ในลักษณะที่ก่อความรำ�คาญแก่ผู้อื่น

คู่มือสอนน้องรู้กฎจราจร

29


4

30

ไม่ นำ � สิ่ ง ของที่ มี ก ลิ่ น แรงขึ้ น รถ เว้ น แต่ จ ะได้ จั ด เก็ บ ให้ มิ ด ชิ ด ปราศจากกลิ่นนั้นเสียก่อน

คู่มือสอนน้องรู้กฎจราจร


5

ไม่นำ�ดอกไม้เพลิง ลูกระเบิด หรือวัตถุสารเคมีที่มีพิษกัดกร่อน ขึ้นบนรถ

6

ไม่ บ้ ว นหรื อ ถ่ ม น้ำ � ลาย น้ำ � หมาก หรื อ เสมหะ สั่ ง น้ำ � มู ก ถ่ายอุจจาระ เทหรือทิ้งสิ่งใด ๆ ลงบนรถ

คู่มือสอนน้องรู้กฎจราจร

31


7

ไม่สูบบุหรี่หรือสิ่งที่มีลักษณะทำ�นองเดียวกัน

8

ไม่นำ�สัตว์ สิ่งมีชีวิตที่อาจเป็นอันตรายปะปนไปกับผู้โดยสาร บนรถ

32

คู่มือสอนน้องรู้กฎจราจร


การ โดยสารรถยนต์ การโดยสารรถยนต์ซึ่งอาจเป็นรถยนต์ส่วนตัว หรือรถยนต์รับจ้าง ก็ตาม ผู้โดยสารควรมีมารยาท และปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะ เกิดขึ้นในขณะโดยสาร ดังนี้ 1. ควรนั่ ง ให้ เ ป็ น ที่ เ ป็ น ทางด้ ว ยความเรี ย บร้ อ ยและระมั ด ระวั ง เพราะอาจเกิดอันตรายได้ 2. ควรคาดเข็มขัดนิรภัย เพื่อป้องกันอันตรายขณะรถเกิดอุบัติเหตุ เพราะอาจถูกเหวี่ยงกระเด็นไปโดนกระจกหน้ารถจนได้รับอันตรายถึงแก่ ชีวิตได้ 3. ไม่กระทำ�การใด ๆ ให้ผู้ขับรถมองไม่เห็นทางโดยสะดวก เช่น ยืนบนเบาะหลัง หรือยื่นแขนออกไปปิดบังกระจกมองข้างรถ เป็นต้น

การ โดยสารรถจักรยานยนต์ 1. ควรนั่งบนอานที่จัดไว้สำ�หรับคนโดยสาร 2. กอดรัดเอวผู้ขับขี่ให้กระชับ เพื่อป้องกันการตกหล่น 3. ต้องสวมหมวกกันน็อค เพื่อป้องกันอันตรายในขณะโดยสาร 4. ไม่ควรสวมใส่กระโปรงที่ยาวเกินไป เพราะอาจทำ�ให้ชายกระโปรง ปลิวเข้าไปติดในล้อจนเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้

คู่มือสอนน้องรู้กฎจราจร

33



บทที่

4

การขี่รถจักรยาน


การขี่รถจักรยาน อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยในการขี่รถจักรยาน

1. กระดิ่งที่ให้เสียงสัญญาณได้ยินในระยะไม่น้อยกว่า 30 เมตร 2. เบรกใช้การได้ดี 3. โคมไฟติดหน้ารถจักรยาน แสงสีขาวอย่างน้อย 1 ดวง 4. โคมไฟติดท้ายรถจักรยาน แสงสีแดงอย่างน้อย 1 ดวง

การเลือกรถจักรยานที่จะขี่

1. เลือกขนาดที่เหมาะสมกับตัวบุคคลที่จะขี่ 2. เลือกซื้อจักรยานที่ได้มาตรฐานและมีอุปกรณ์ครบถ้วน 3. ไม่ควรนำ�ไปดัดแปลง แก้ไขอุปกรณ์ที่มีมาพร้อมกับรถจักรยาน

36

คู่มือสอนน้องรู้กฎจราจร


ข้อห้ามในการขี่รถจักรยาน

1

ห้ามขับขี่โดยประมาทหรือน่าหวาดเสียว อันอาจเกิดอันตราย แก่บุคคลหรือทรัพย์สิน

คู่มือสอนน้องรู้กฎจราจร

37


2

38

ห้ามขับขี่โดยไม่จับคันบังคับรถ

คู่มือสอนน้องรู้กฎจราจร


3

ห้ามขับขี่ขนานกันเกินสองคัน เว้นแต่ขับขี่ในทางที่จัดไว้สำ�หรับ รถจักรยาน

คู่มือสอนน้องรู้กฎจราจร

39


4

ห้ามขับขี่โดยนั่งบนที่อื่นอันมิใช่อานที่จัดไว้เป็นที่นั่งตามปกติ

5

ห้ามขับขี่โดยบรรทุกบุคคลอื่น

40

คู่มือสอนน้องรู้กฎจราจร


6

ห้ามบรรทุกหรือถือสิ่งของ หีบห่อ หรือของใด ๆ ในลักษณะ ที่ เป็ นการกีดขวางการจับคันบังคับรถ หรื ออาจเกิด อั นตราย แก่บุคคลหรือทรัพย์สิน

7

ห้ามเกาะหรือพ่วงรถอื่นที่กำ�ลังแล่นอยู่

คู่มือสอนน้องรู้กฎจราจร

41


จักรยานที่ปลอดภัยต้องมีอุปกรณ์ดังนี้

กระดิ่ง

เบรก ทับทิมหรือไฟท้าย

บังโคลน บังโซ่

42

คู่มือสอนน้องรู้กฎจราจร

ไฟหน้า


หน้าที่ของอุปกรณ์ของรถจักรยาน

1. กระดิ่ง เพื่อให้สัญญาณเตือน 2. เบรก เพื่อใช้ชะลอความเร็ว 3. ไฟหน้า เพื่อให้เห็นถนนในเวลากลางคืน 4. บังโคลน เพื่อป้องกันโคลน 5. บังโซ่ เพื่อป้องกันกระโปรง หรือขากางเกงติดโซ่ 6. ทับทิมหรือไฟท้าย เพื่อสะท้อนแสงให้รถหรือคนมองเห็น

คู่มือสอนน้องรู้กฎจราจร

43


หมวกกันน็อค

หมวกกันน็อคหรือหมวกนิรภัย เป็นสิง่ สำ�คัญทีส่ ดุ ในการป้องกันศีรษะ (สมอง) จากการกระแทกเมื่อเวลาล้ม จึงควรใส่โดยเลือกให้พอดีกับศีรษะ และมีสายรัดคาง

44

คู่มือสอนน้องรู้กฎจราจร


ประโยชน์ในการขี่จักรยาน 1. ประหยัด 2. ทำ�ให้ร่างกายแข็งแรง 3. สนุก 4. ทำ�ให้นอนหลับง่าย 5. กระตุ้นการทำ�งานของสมอง ทำ�ให้ความจำ�ดี

คู่มือสอนน้องรู้กฎจราจร

45



บทที่

5

อุบัติเหตุ


อุบัติเหตุ สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุจากการจราจรทางบก

1. เกิดจากคน 2. เกิดจากรถ 3. เกิดจากสภาพถนน 4. เกิดจากสิ่งแวดล้อม

48

คู่มือสอนน้องรู้กฎจราจร


สาเหตุที่เกิดจากคน

ผู้ขับขี่รถ ★ ขับขี่รถด้วยความประมาท ปราศจากความระมัดระวัง ★ ไม่มีความรู้เกี่ยวกับรถดีพอ ★ ไม่มีความรู้เรื่องกฎจราจร ★ ไม่มีความชำ�นาญในการขับรถ ★ ไม่มีจิตสำ�นึกแห่งความปลอดภัย ★ ไม่มีมารยาทในการขับรถ ★ ขับรถในขณะที่ร่างกายหรือจิตใจไม่ปกติ ★ ขับรถในขณะมึนเมาสุรา ★ ใช้ยากระตุ้นประสาท (ยาบ้า) ขณะขับรถ คนเดินเท้า ★ ขาดความรู้เรื่องการเดินอย่างปลอดภัย ★ ไม่เดินข้ามถนนในที่ปลอดภัย ★ ไม่สวมเสื้อผ้าสีอ่อนที่มองเห็นได้ง่ายเวลากลางคืน ★ ไม่ใช้ไฟฉายหรือวัตถุสะท้อนแสงติดตัวเวลาเดินทางกลางคืน

สาเหตุที่เกิดจากรถ

★ ใช้รถที่มีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรง

★ สภาพช่วงล่างของรถอยู่ในสภาพไม่ดี ★ ระบบพวงมาลัยไม่ดี

★ สภาพยางและลมยางไม่เหมาะสมกับรถ ★ ระบบเบรกไม่ดี

★ เครื่องยนต์และอุปกรณ์ส่วนควบของรถต้องไม่ชำ�รุด คู่มือสอนน้องรู้กฎจราจร

49


สาเหตุที่เกิดจากสภาพถนน

★ สภาพถนนชำ�รุด ★ ถนนลื่น

เป็นหลุม เป็นคลื่น

★ สภาพถนนลาดชัน

ลาดเอียง ★ ถนนกำ�ลังก่อสร้างหรือซ่อมแซม

สาเหตุที่เกิดจากสิ่งแวดล้อม

★ อุปกรณ์ความปลอดภัยบกพร่อง

เช่น ป้ายเครื่องหมายจราจร ★ สีทาบนถนน สีทาขอบทาง ไฟแสงสว่าง ไฟกะพริบไม่มี ★ ทัศนวิสัยไม่ดี เช่น ฝกตก หมอกลงจัด น้ำ�ท่วมทาง ★ มีหมอกควันจากการเผาหญ้า เผาฟางข้าวข้างทาง ★ การปล่อยสัตว์เลี้ยงเกะกะกีดขวางทาง

ศิลปะการขับขี่รถให้ปลอดภัย การขับรถให้ปลอดภัยโดยมีอันตรายเกิดขึ้นน้อยที่สุดนั้น เป็นศิลปะ อย่างหนึ่ง ซึ่งทุกคนสามารถเรียนรู้ ฝึกฝน และพึงปฏิบัติตนให้ชำ�นาญได้ เมื่อมีเหตุการณ์เฉพาะหน้าเกิดขึ้น มีองค์ประกอบที่สำ�คัญ 3 ประการ คือ 1. ความไม่ประมาท จิตใจและสายตาควรอยู่บนถนนตลอดเวลา จะช่วยให้สามารถคาดคะเนเหตุการณ์ได้ล่วงหน้า และมีเวลาในการตัดสินใจ เมื่อมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้น 2. ความมีสติมั่นคง ไม่ตกใจง่าย สามารถควบคุมสติได้ ทำ�ให้ตัดสินใจ ได้ถูกต้องฉับไวไม่ผิดพลาด 3. ความชำ � นาญในการควบคุ ม รถ และสามารถเลื อ กใช้ วิ ธี แ ก้ สถานการณ์เฉพาะหน้าได้ถูกต้อง 50

คู่มือสอนน้องรู้กฎจราจร


กรณีรถเกิดอุบัติเหตุหรือรถเสียในทางเดินรถ

ให้นำ�รถจอดเข้าข้างทาง หรือเข็นไปจอดในที่ที่มีแสงสว่างเพียง พอให้ ร ถที่ ผ่ า นไปมาสั ง เกตเห็ น ได้ ชั ด เจน และจะต้ อ งเปิ ด สั ญ ญาณไฟ ฉุกเฉิน หรือไฟเหลืองกะพริบเตือนให้รถอื่นเห็น หากไฟฉุกเฉินเสียให้ใช้ ไฟฉายหรือจุดโคมไฟ ให้ใช้กิ่งไม้กองไว้ห่างจากด้านหน้าและด้านหลังรถ พอสมควร เพื่อเตือนให้รถที่วิ่งผ่านไปมาได้เห็นจะได้ระมัดระวัง

ข้อแนะนำ�เมื่อพบเห็นอุบัติเหตุรถชนกัน

1. รีบแจ้งเหตุให้ตำ�รวจท้องที่หรือตำ�รวจทางหลวงทราบโดยเร็วที่สุด 2. ให้ความช่วยเหลือตามสมควร 3. เตื อ นรถที่ ผ่ า นไปมาให้ ร ะวั ง เพื่ อ ไม่ ใ ห้ เ กิ ด อุ บั ติ เ หตุ ซ้ำ � เติ ม โดยทำ�เครื่องหมายหรือสิ่งกีดขวางให้มองเห็นได้ชัดเจน 4. ให้การช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ โดยมีขั้นตอนดังนี้ ★ ห้ามเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บ จนกว่าจะแน่ใจว่าผู้บาดเจ็บไม่มี กระดูกหัก ★ ถ้ามีอาการเลือดออกต้องห้ามเลือดก่อน ★ ถ้าหยุดหายใจต้องทำ�การผายปอด ★ ในกรณีผู้บาดเจ็บยังไม่รู้สึกตัว ห้ามมิให้ดื่มน้ำ�หรือยาใด ๆ เป็นอันขาด ★ พยายามให้ ผู้ ป่ ว ยนอนศี ร ษะหงาย ตะแคงหน้ า ไปด้ า นใด ด้านหนึ่ง เงยคางไว้ ถ้ามีอาเจียนเต็มปากต้องควักออกให้หมด ★ ผู้ ทำ � การปฐมพยาบาลต้ อ งรอบรู้ แ ละมี ค วามรู้ เ กี่ ย วกั บ การปฐมพยาบาล มีสติรู้จักดัดแปลงของใช้ เช่น ไม้กระดาน ผ้าเช็ดหน้า ผ้าปูโต๊ะ เศษผ้า เชือก นำ�มาใช้ให้เป็นประโยชน์ ★ ส่งผู้ป่วยไปรับการรักษาที่ถูกต้องต่อไป ณ โรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด หมายเหตุ การปฐมพยาบาลที่ผิดวิธี โดยเฉพาะในรายที่กระดูกคอหัก กระดูกสันหลังหัก อาจทำ�ให้ผู้บาดเจ็บต้องพิการตลอดชีวิต คู่มือสอนน้องรู้กฎจราจร

51



บทที่

6

ประเภทเครื่องหมายจราจร เครื่องหมายจราจรประเภทป้ายบังคับ เครื่องหมายจราจรประเภทป้ายเตือน เครื่องหมายจราจรบนพื้นทาง


เครื่องหมายจราจรประเภทป้ายบังคับ หยุด

ให้ทาง

ให้รถสวนทาง มาก่อน

ห้ามแซง

ห้ามเข้า

ห้ามกลับรถ ไปทางขวา

ห้ามกลับรถ ไปทางซ้าย

ห้าม เลี้ยวซ้าย

ห้าม เลี้ยวขวา

ห้ามเปลี่ยน ช่องเดินรถ ไปทางซ้าย

ห้ามเปลี่ยน ช่องเดินรถ ไปทางขวา

ห้าม เลี้ยวขวาหรือ กลับรถ

ห้าม เลี้ยวซ้ายหรือ กลับรถ

ห้าม รถยนต์ผ่าน

ห้าม รถบรรทุกผ่าน

ห้าม รถจักรยานยนต์ผ่าน

ห้าม รถพ่วงผ่าน

ห้าม รถยนต์สามล้อผ่าน

ห้าม รถสามล้อผ่าน

ห้าม รถจักรยานผ่าน

ห้าม ล้อเลื่อน ลากเข็นผ่าน

ห้าม รถยนต์ที่ใช้ ในการเกษตรผ่าน

ห้าม เกวียนผ่าน

ห้าม รถจักรยานยนต์ และรถยนต์ผ่าน

ห้ามรถจักรยาน รถสามล้อ และ ล้อเลื่อนลากเข็นผ่าน

54

คู่มือสอนน้องรู้กฎจราจร


ห้ามรถจักรยานยนต์ และรถยนต์สามล้อผ่าน

ห้าม ใช้เสียง

ห้าม คนผ่าน

ห้าม จอดรถ

ห้าม หยุดรถ

หยุดตรวจ

จำ�กัดความเร็ว

ห้ามรถหนัก เกินกำ�หนดผ่าน

ห้ามรถกว้าง เกินกำ�หนดผ่าน

ห้ามรถสูง เกินกำ�หนดผ่าน

ห้ามรถยาว เกินกำ�หนดผ่าน

ให้เดินรถ ทางเดียว

ให้เดินรถ ทางเดียว ไปทางซ้าย

ให้เดินรถ ทางเดียว ไปทางขวา

ให้ชิดซ้าย

ให้ชิดขวา

ให้ชิดซ้าย หรือชิดขวา

ให้เลี้ยวซ้าย

ให้เลี้ยวขวา

ให้เลี้ยวซ้าย หรือเลี้ยวขวา

ให้ตรงไป หรือเลี้ยวซ้าย

ให้ตรงไป หรือเลี้ยวขวา

วงเวียน

ช่องเดินรถ ประจำ�ทาง

ช่องเดินรถ มวลชน

ช่องเดินรถ จักรยานยนต์

ช่องเดินรถ จักรยาน

เฉพาะคนเดิน

ความเร็ว ขั้นต่ำ�

สุดเขตบังคับ

คู่มือสอนน้องรู้กฎจราจร

55


เครื่องหมายจราจรประเภทป้ายเตือน ทางโค้งต่าง ๆ

ทางโค้งต่าง ๆ

ทางแยกต่าง ๆ

ทางแยกต่าง ๆ

วงเวียน ข้างหน้า

ทางแคบ ทั้งสองด้าน

ทางแคบ ด้านซ้าย

ทางแคบ ด้านขวา

สะพานแคบ

ช่องจราจรปิด ด้านซ้าย

ช่องจราจรปิด ด้านขวา

ทางข้ามทางรถไฟ ไม่มีเครื่องกั้นทาง

ทางข้ามทางรถไฟ มีเครื่องกั้นทาง

ทางข้ามทางรถไฟ ติดทางแยก

ทางแคบ

ทางลอดต่ำ�

ทางขึ้น ลาดชัน

ทางลง ลาดชัน

เตือนรถกระโดด

56

คู่มือสอนน้องรู้กฎจราจร


ผิวทางขรุขระ

ทางเป็นแอ่ง

สะพาน เปิดได้

ระวัง คนข้ามถนน

ทางลื่น

เปลี่ยนช่องทางจราจร

ผิวทางร่วน

ระวังหินร่วง

ออกทางขนาน

เข้าทางหลัก

ทางร่วม

ทางคู่ข้างหน้า

สิ้นสุดทางคู่

จุดกลับรถ

สัญญาณจราจร

หยุด ข้างหน้า

ให้ทาง ข้างหน้า

ระวังสัตว์

ระวังเครื่องบิน บินต่ำ�

ระวังอันตราย

โรงเรียน ระวังเด็ก

เขตห้ามแซง

ทางเดินรถสองทาง

เตือนแนวทางต่าง ๆ

เตือนแนวทางต่าง ๆ

เตือนแนวทางต่าง ๆ

สลับกันไป

คู่มือสอนน้องรู้กฎจราจร

57


เครื่องหมายจราจรบนพื้นทาง เครื่องหมายจราจรบนพื้นทางประเภทบังคับ เส้นแบ่งทิศทางจราจรห้ามแซง เส้นทึบสีเหลืองเดี่ยว

เส้นแบ่งทิศทางจราจรปกติ

เส้นแบ่งทิศทางจราจรห้ามแซงเฉพาะด้าน

เส้นทึบสีเหลืองคู่

เส้นแบ่งช่องเดินรถ หรือเส้นแบ่งช่องจราจร

เส้นห้ามเปลี่ยนช่องเดินรถ หรือเส้นห้ามเปลี่ยนช่องจราจร

เส้นแบ่งช่องเดินรถประจำ�ทาง

เส้นประสีเหลือง กว้างและถี่ กรณีสวนกระแสการจราจรปกติ

58

คู่มือสอนน้องรู้กฎจราจร

เส้นประสีขาว กว้างและถี่ กรณีทิศทางเดียวกับกระแสการจราจรปกติ


เครื่องหมายห้ามจอดรถ

เส้นแนวหยุด

เส้นทะแยงห้ามหยุดรถ

เครื่องหมายห้ามหยุดรถ

เส้นให้ทาง

ลูกศร (ตัวอย่าง)

เส้นทางข้าม

ช่องเดินรถมวลชน

ให้ทาง

เขตปลอดภัย หรือเกาะสี

เส้นช่องจอดรถ

ข้อความบังคับบนพื้นทาง

คู่มือสอนน้องรู้กฎจราจร

59


เครื่องหมายจราจรบนพื้นทางประเภทเตือน เส้นขอบทาง

เส้นทึบสีขาว

เส้นประสีขาว

เส้นทึบสีเหลือง

เส้นประสีเหลือง

เส้นทางรถไฟผ่าน

เส้นแนวช่องจราจรผ่านทางแยก

60

คู่มือสอนน้องรู้กฎจราจร

Look Right

Look Right

มองทางขวา

มองทางขวา

ข้อความเตือน หรือแนะนำ�บนพื้นทาง

เส้นชะลอความเร็ว

เครื่องหมายขาวดำ�


บันทึกช่วยจำ�

คู่มือสอนน้องรู้กฎจราจร

61


บันทึกช่วยจำ�

62

คู่มือสอนน้องรู้กฎจราจร


บันทึกช่วยจำ�

คู่มือสอนน้องรู้กฎจราจร

63


บันทึกช่วยจำ�

พิมพ์ที่

โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำ�กัด 79 ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 โทร. 0-2561-4567 โทรสาร 0-2579-5101 นายโชคดี ออสุวรรณ ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา พ.ศ. 2558


งานพัฒนาบุคลากรการขนส่ง ส่วนส่งเสริมความปลอดภัย สำ�นักสวัสดิภาพการขนส่งทางบก กรมการขนส่งทางบก โทรศัพท์ 0-2271-8620 www.dlt.go.th


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.