สวนยกร่อง มรดกวัฒนธรรมเกษตร เพื่ อรับมืออนาคต โครงการฟนฟูระบบนิเวศสวนยกรองรับมือภัยพิบัติ
สวนยกร่อง มรดกวัฒนธรรมเกษตร เพื่อรับมืออนาคต เรียบเรียง ณิวุฒิ หลายเจริญโชคชัย และอังคณา ราชนิยม ภาพประกอบ อนิรุธ บุญยัง และมูลนิธิชีววิถี พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม 2563 จำ�นวนพิมพ์ 1,000 เล่ม ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ ณิวุฒิ หลายเจริญโชคชัย. สวนยกร่อง : มรดกวัฒนธรรมเกษตรเพื่อรับมืออนาคต. -- นนทบุรี : มูลนิธิชีววิถี, 2563. 128 หน้า.
1. การทำ�สวน. 2. สวน -- รูปแบบ. I. อังคณา ราชนิยม, ผู้แต่งร่วม. II. ชื่อเรื่อง.
633 ISBN 978-616-93599-2-0
ออกแบบปกและรูปเล่ม มูลนิธิชีววิถี เจ้าของและผู้จัดพิมพ์ มูลนิธิชีววิถี (BIOTHAI Foundation) 3/12 ม.6 ซ.บางอ้อ 2 ถนนรัตนาธิเบศร์ ต.ไทรม้า อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 โทรศัพท์ 0-2985-3837-8 โทรสาร 0-2985-3836 อีเมล info@biothai.net เว็บไซต์ www.biothai.net www.food4change.in.th www.food-resources.org พิมพ์ หจก. สามลดา เลขที่ 9/1205 หมู่ 1 ถนนสะแกงาม แขวงแสมดำ� เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ 10150 โทรศัพท์ 0-2462-0303 โทรสาร 0-2462-0380 ราคา 150 บาท
บทนำ� หนังสือ “สวนยกร่อง : มรดก วั ฒ น ธ ร ร ม เ ก ษ ต ร เ พื่ อ รั บ มื อ อนาคต” เป็นหนังสือที่จัดทำ�ขึ้นโดย โครงการฟื้นฟูระบบนิเวศสวนยกร่อง รับมือภัยพิบัติ ซึ่งเป็นโครงการได้รับ การสนับสนุนจาก สำ�นักงานกองทุน สนั บ สนุ น การสร้ า งเสริ ม สุ ข ภาพ (สสส.) โครงการนี้ มี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ ศึกษาภูมิปัญญา การจัดการ ปัญหา เรื่ อ งน้ำ � ท่ ว ม และภั ย แล้ ง ในระบบ นิเวศสวนยกร่อง พัฒนาพื้นที่นำ�ร่อง สวนยกร่องต้นแบบ พัฒนาเครือข่าย การมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูระบบสวน ยกร่องรับมือภัยพิบัติ และเผยแพร่ ข้ อ มู ล ความรู้ เ กี่ ย วกั บ บทบาทและ ความสำ � คั ญ ของสวนยกร่ อ งต่ อ เกษตรกร ประชาชนที่ ส นใจ และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเนื้ อ หาในหนั ง สื อ เล่ ม นี้ มาจากผลการศึกษาและการทำ�งาน ร่วมกับผู้นำ�เกษตรกร และชุมชนใน สวนยกร่อง พื้นที่ตำ�บลไทรม้า และ ตำ�บลบางรักน้อย อำ�เภอเมือง จังหวัด นนทบุรี ระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม 2562-30 กันยายน 2563 เอกสาร
และงานวิ จั ย ที่ เ กี่ ย วข้ อ ง รวมทั้ ง ข้ อ มู ล คำ � แนะนำ � จากนั ก วิ ช าการ ผู้ เชี่ ย วชาญที่ เ กี่ ย วข้ อ งหลายท่ า น ได้แก่ รศ.ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม นัก ประวัติศาสตร์ อ.ชนวน รัตนวราหะ อดี ต ผู้ ต รวจการ กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ อ.พรชั ย จุ ฑ ามาศ รองผู้ อำ � นวยการโครงการอนุ รั ก ษ์ พันธุกรรมพืชในพระราชดำ�ริสมเด็จ พระเทพฯ คุณเดชา ศิรภิ ทั ร ประธาน มู ล นิ ธิ ข้ า วขวั ญ มล.ผศ.วุ ฒิ พ งษ์ ทวีวงศ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม . เ ก ษ ต ร ศ า ส ต ร์ ศ . ด ร . ศิ วั ช พงษ์เพียจันทร์ สถาบันบัณฑิตพัฒน บริ ห ารศาสตร์ ผศ.ดร.ธรรมรั ต น์ พุ ท ธไทย คณะสิ่ ง แวดล้ อ มและ ทรั พ ยากรศาสตร์ ม.มหิ ด ล คุ ณ บุ รุ ษ รั ต น์ อ้ น อุ่ น สวนยกร่ อ ง ริมคลองบางประทุน และเกษตรกร ในพื้นที่ ต้องขอขอบคุณพี่หนึ่งฤทัย ที่ ใ ห้ คำ� ปรึ กษาและนำ � พาให้ รู้ จักกั บ พี่เล็กอนิรุธ ปราชญ์ชาวสวนไทรม้า ทั้ ง สองท่ า นมี ส่ ว นสนั บ สนุ น การ ดำ � เนิ น โครงการฯ เป็ น อย่ า งมาก ให้ ค วามร่ ว มมื อ อย่ า งเต็ ม ที่ ใ นทุ ก กิจกรรมของโครงการ ป้าเสมอและ Ⅲ
พี่แนน พี่อุทิศ ที่ให้ความเป็นกันเอง พี่ดำ�และพี่อารี สองศรีพี่น้องผู้ถ่อม ตน ครูไพศาลและลุงแสวง ผู้ใหญ่ ใจดี แ ห่ ง บางรั ก น้ อ ย ที ม ผู้ ช่ ว ยวิ จั ย น้ อ งเกมและน้ อ งอาร์ ม ลู ก หลาน ชาวสวนได้มาร่วมเรียนรู้กระบวนการ ศึ ก ษาวิ จั ย ในบ้ า นเกิ ด ของเขาเอง หวังว่าจะจุดประกายให้ทำ�สิ่งดีๆ ใน ชุมชนสืบสานการทำ�สวนต่อไป และ ชาวสวนผู้ เ มตตาเอื้ อ เฟื้ อ ทุ ก ท่ า น ซึ่งขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้ ขอขอบพระคุ ณ สำ � นั ก งาน กองทุ น สนั บ สนุ น การสร้ า งเสริ ม สุขภาพ (สสส.) ที่ได้ให้การสนับสนุน การจั ด ทำ � โครงการฟื้ น ฟู ร ะบบ นิ เ วศสวนยกร่ อ งรั บ มื อ ภั ย พิ บั ติ จนเป็นที่มาของหนังสือนี้ หวั ง เป็ น อย่ า งยิ่ ง ว่ า เนื้ อ หา ในหนั ง สื อ “สวนยกร่ อ ง : มรดก วัฒนธรรมเกษตรเพื่อรับมืออนาคต” จะเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ที่ ทำ � ให้ สั ง คมไทย ตระหนักในความสำ�คัญของ “ระบบ สวนยกร่ อ ง” ซึ่ ง ถื อ ว่ า เป็ น หนึ่ ง ในมรดกวั ฒ นธรรมเกษตรกรรมที่ โดดเด่ น มากที่ สุ ด รู ป แบบหนึ่ ง ของ Ⅳ
ประเทศไทยและของโลก และนำ � ประสบการณ์ แ ละความรู้ เ กี่ ย วกั บ เรื่องนี้ ไปใช้ประโยชน์ในการเผชิญ หน้ า กั บ ปั ญ หาการเกษตร และสิ่ ง แวดล้อม ได้ไม่มากก็น้อย มูลนิธิชีววิถี ตุลาคม 2563
สารบัญ บทบรรณาธิการ
3
บทที่ 1 ความอุดมสมบูรณ์ของสวนผลไม้ในบริเวณบางกอก
9
บทที่ 2 สถานการณ์ปัจจุบันของพื้นที่ตำ�บลไทรม้า และบางรักน้อย
19
บทที่ 3 สวนยกร่องทุเรียนนนท์ ไทรม้าและบางรักน้อย
31
บทที่ 4 ความภาคภูมิใจและคุณค่าของสวนยกร่อง
41
บทที่ 5 เรื่องเล่าจากชาวสวนเมืองนนท์
51
บทที่ 6 ความท้าทาย สวนยกร่องกับการพัฒนา
87
บทสรุป
95
บทความพิเศษ
98
101 อภิธานศัพท์ชาวสวน
113
123
126
บรรยากาศความคึ ก คั ก ของตลาดขายทุ เรี ย น ที่ ท่าน้ำ�นนท์ในอดีต คนขายพายเรือไปจอดขายกัน เต็มแน่นท่าน้ำ� นำ�ผลหมากรากไม้หลากหลายชนิด ในสวนยกร่อง จัดวางมาเต็มลำ�เรือ บ้างใส่กระจาด บ้ า งใส่ ต ะกร้ า อย่ า งสวยงาม แล้ ว ชาวสวนต้ อ ง แต่งตัวสวย หล่อกันทุกคนด้วยนะเออ
“สวนผลไม้ที่บางกอกนั้น มีอาณาบริเวณยาวไปตามชายฝั่งแม่น้ำ� โดยทวนขึ้นไปสู่เมืองสยาม (กรุงศรีอยุธยา) ถึง 4 ลี้ กระทั่งจรดตลาดขวัญ (นนทบุรี) ทำ�ให้เมืองหลวงแห่งนี้อุดมไปด้วย ผลาหาร ซึ่งคนพื้นเมืองชอบบริโภค กันนักหนา ข้าพเจ้าหมายถึงผลไม้ นานาชนิดเป็นอันมาก” เมอซิเออร์ เดอ ลา ลูแบร์
บทที่ 1
ความอุดมสมบูรณ์ของสวนผลไม้ ในบริเวณบางกอก จากบันทึกการเดินทางของเมอซิเออร์ เดอ ลา ลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศส ของพระเจ้ า หลุ ย ส์ ที่ 14 ที่ เข้ า มา เจริ ญ สั ม พั น ธไมตรี กั บ อยุ ธ ยา ราว ปี พ.ศ.2230 ในสมั ย สมเด็ จ พระ นารายณ์มหาราช ได้บันทึกเรื่องสวน ผลไม้ทบี่ างกอก แสดงให้เห็นถึงความ หลากหลายของชนิ ด พื ช พั น ธุ์ และ เป็ น คลั ง อาหารที่สำ�คัญให้กับ เมือ ง อยุธยามายาวนาน นับเป็นพืน้ ทีส่ ร้าง ความมั่นคงทางอาหารที่สำ�คัญ ซึ่งใน สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมี การสร้างป้อมวิชาเยนท์เพื่อปกป้อง อาณาจักรอยุธยา แต่ส่วนหนึ่งก็เพื่อ ป้องกันพื้นที่อาหารของเมืองหลวง ด้วย พื้ น ที่ ริ ม ฝั่ ง แม่ น้ำ � เจ้ า พระยา เป็ น พื้ น ที่ ท่ี มี ค วามสำ � คั ญ ทางด้ า น เกษตรกรรมและเป็นพื้นที่เขตชุมชน มาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนกลาง จาก หลักฐานการขุดคลองลัดแม่น�้ำ (แม่น�้ำ
เจ้ า พระยา) โดยเฉพาะคลองลั ด นนทบุรีซึ่งถูกขุดขึ้นในปี พ.ศ.2178 สมั ย สมเด็ จ พระเจ้ า ปราสาททอง (พ.ศ.2172-2199) โดยมีการขุดคลอง ลัดเริ่มจากทิศใต้ของวัดท้ายเมืองไป จนถึงวัดเขมาภิรตาราม ปากคลอง บางกรวย เพราะแม่ น้ำ � เจ้ า พระยา เดิมนั้นมีความคดโค้ง เมื่อขุดคลอง ลัดแล้วก็กลายเป็นแม่น้ำ�เจ้าพระยา สายใหม่ แม่น้ำ�เจ้าพระยาสายเดิมจึง กลายเป็นคลอง ประกอบด้วย คลอง อ้อมนนท์ คลองบางกอกน้อยและ คลองบางกรวย เกิดการตั้งบ้านเรือน เป็นชุมชนริมน้�ำ ทีส่ �ำ คัญคือตลาดขวัญ ทางฝัง่ ตะวันออกของแม่น�้ำ เจ้าพระยา บริเวณวัดหัวเมืองถึงวัดท้ายเมือง ในปี พ.ศ.2208 สมเด็ จ พระ นารายณ์ ม หาราชมี พ ระราชดำ � ริ ว่ า แนวแม่น้ำ�เจ้าพระยาที่สั้นลงจะทำ�ให้ ข้าศึกเข้าสู่กรุงศรีอยุธยาได้ง่ายขึ้น จึง โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองนนทบุรีจาก 9
บ้านตลาดขวัญไปตัง้ บริเวณปากคลอง อ้อม บ้านบางศรีเมือง (พิศาล1, 2560) และให้สร้างกำ�แพงเมืองรวมทั้งป้อม ปราการขึ้น 2 ป้อม คือ “ป้อมแก้ว” ตั้งอยู่ที่บ้านตลาดแก้ว สันนิษฐานว่า อยู่ที่วัดปากน้ำ�ในปัจจุบัน และ “ป้อม ทั บ ทิ ม ” ตั้ ง อยู่ บ ริ เวณวั ด เฉลิ ม พระ เกี ย รติ ใ นปั จ จุ บั น แต่ ถู ก รื้ อ กำ � แพง และป้ อ มหมดแล้ ว ในช่ ว งนี้ ส ภาพ เศรษฐกิ จ ของเมื อ งนนทบุ รี มี ค วาม มั่นคงมาก ทั้งการค้าขายและการทำ� สวนผลไม้ ความอุดมสมบูรณ์ของสวนใน แหล่งปลูกผลไม้รสดีเยี่ยมจากความ อุดมสมบูรณ์ของดิน และการมีคคู ลอง ธรรมชาติ ที่ ก ระจายอยู่ ทั่ ว บริ เ วณ เมื อ งบางกอกและบริ เวณใกล้ เ คี ย ง ได้สร้างความประทับใจให้กับชาวต่าง ชาติที่เข้ามา (วัลลี2, 2555) อย่างนาย ยอช ไวทต์ (George White) พ่อค้า บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ ที่ เข้ า มาทำ � การค้ า ในกรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยา เมื่อ พ.ศ.2221 ได้กล่าวว่า หมาก นั้ น มี ที่ ส วนสำ � หรั บ เป็ น ที่ เ พาะปลู ก ในระหว่างเมืองนนทบุรีและปากน้ำ� ใกล้ เ มื อ งบางกอก ในสวนเหล่ า นี้ เก็บได้ปีหนึ่งประมาณ 25,000 หาบ นอกจากนี้ ช าวต่ า งชาติ ยั ง ได้ ก ล่ า ว ถึงรสชาติอันเลิศของผลไม้ของเมือง บางกอก บาทหลวงตาชาร์ด (Pere
Tachart) ชาวฝรั่ ง เศสที่ ไ ด้ ก ล่ า วถึ ง ไว้ ใ นจดหมายบั น ทึ ก การเดิ น ทาง ครั้ ง ที่ 2 เมื่ อ พ.ศ.2230-2231 ซึ่ ง เดินทางเข้ามาในรัชกาลสมเด็จพระ นารายณ์ ฯ ความว่ า บางกอกเป็ น เมื อ งสวนของประเทศสยาม ซึ่ ง มี ผลไม้ ร สเยี่ ย มทั่ ว ราชอาณาจั ก รมา รวมกันอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ เขาจึง นำ�มาเป็นของกำ�นัลแก่เราเข่งหนึง่ ใน ช่วงเวลานั้น พื้นที่สวนผลไม้รสชาติ ดีนานาชนิดและจากสภาพที่ดินที่มี ความอุดมสมบูรณ์มีส่วนส่งเสริมต่อ การตั้งถิ่นฐานของผู้คนมากขึ้น จนส่ง ผลให้พื้นที่เกษตรกรรมของบางกอก ได้ ข ยายไปยั ง บริ เวณชุ ม ชนตอนใน ของแม่น้ำ�เจ้าพระยา ซึ่งเป็นแหล่ง เพาะปลูกขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นขนาน ควบคู่ไปกับเส้นทางน้ำ�ที่เป็นเส้นทาง คมนาคมหลัก และยังเป็นทีต่ งั้ ถิน่ ฐาน ของผูค้ นทัง้ การปลูกเรือนแพ และการ ปลูกบ้านเรือนบริเวณริมน้ำ�เพื่ออยู่ อาศัยอีกด้วย ฟรังซัวส์ อังรี ตุรแปง (Francois Henri Turpin) ชาวฝรั่งเศสที่รวบรวม เรื่ อ งราวของราชอาณาจั ก รสยาม ไว้เมื่อ พ.ศ.2314 ได้กล่าวว่า เมือง บางกอกอยู่ห่างทะเล 7 ลิเออ และ มีชื่อเรียกว่าฟู ในภาษาสยาม อาณา บริ เวณเมื อ งบางกอกสวยงามด้ ว ย เรื อ กสวนอั น ร่ ม รื่ น ที่ ผ ลิ ต ผลไม้
พิศาล บุญผูก. 2560. นนทบุรีศรีมหานคร Nonthaburi, stories of a city. โครงการพัฒนาและเผยแพร่ สารสนเทศจากภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านนนทบุรีศึกษาเพื่อส่งเสริมบริการห้องสมุดสู่ชุมชน สำ�นักบรรณสารสนเทศ. วรนุช สุนทรวินิต บรรณาธิการ. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 383. 2 วัลลี นวลหอม. 2555. เอกสารลำ�ดับที่ 83 ประกาศคณะปฏิวัติฉบับ 24 (วันที่ 21 ธันวาคม 2514) เรื่อง ตั้งนครหลวงกรุงเทพธนบุรี: 204 ปี “ธนบุรีศรีมหาสมุทร”. ใน 100 เอกสารสำ�คัญ: สรรพสาระประวัติศาสตร์ไทย ลำ�ดับที่ 20 (เอกสารเกี่ยวกับประวัติศาสตร์กรุงเทพมหานคร). สยาม ภัทรานุประวัติ, อรพินท์ คำ�สอน, ศุภการ สิริไพศาล และ ธิษณา วีรเกียรติสุนทร บรรณาธิการ. พิมพ์ครั้งที่ 1. ศักดิโสภาการพิมพ์. 166. 1
10
มากมาย ให้ ช าวบ้ า นชาวเมื อ งกิ น และเขาก็ชอบยิ่งกว่าอาหารอย่างอื่น ทั้งสิ้น พื้นที่ของเมืองบางกอกอุดม สมบูรณ์และมีตน้ ผลไม้เป็นชนิดต่างๆ อย่างเป็นที่น่าชื่นชม จากหนังสือพิมพ์ The Singapore Chronicle ที่สนใจประเทศเพื่อนบ้าน และได้พิมพ์บทความ เมืองหลวงใหม่ ของสยาม ฉบับวันที่ 3 มีนาคม 1825 (พ.ศ.2368) ซึ่ ง ตรงกั บ รั ช กาลที่ 2 ของกรุงรัตนโกสินทร์ (เพชรรุง่ 3, 2555) ได้บรรยายสภาพภูมิศาสตร์ของเมือง ไว้อย่างละเอียด กล่าวเฉพาะพื้นที่ สวน เมื อ งบางกอก และบริ เ วณ โดยรอบมีทั้งแม่น้ำ� ลำ�ประโดง และ คลองตั ด ออกให้ ไ ปมาได้ นั บ ร้ อ ย ทิ ศ ทาง ผื น แผ่ น ดิ น ปลู ก ไม้ ผ ลชิ ด ติดกันไปหนาแน่นจนมองเหมือนเป็น ป่าไป การติดต่อกันใช้เรือเป็นปกติ แต่ก็มีทางเท้าตัดผ่านเข้าไปในเมือง กับมีถนนหรือทางที่ดีสายหนึ่ง และ ก็เป็นเพียงสายเดียวเท่านั้น จนเกิด ขนานนามบริ เวณกรุ ง เทพว่ า เป็ น เมืองเวนิสแห่งตะวันออก ที่ ตั้ ง เมื อ งนนทบุ รี อ ยู่ บ ริ เ วณ ปากคลองอ้ อ มนนท์ ม านานจนถึ ง สมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ถึงย้ายมาฝั่งตลาดขวัญและย้ายต่อ มาจนอยู่ในตำ�แหน่งปัจจุบัน พื้นที่ บริ เวณปากคลองอ้ อ มนนท์ ยั ง พบ
เสาหลั ก เมื อ ง (เดิ ม ) ตั้ ง อยู่ นอก จากนี้ บ ริ เ วณวั ด ไทรม้ า เหนื อ ยั ง มี บ้านพักจวนผูว้ า่ ราชการเมืองนนทบุรี พื้นที่บริเวณฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ� เจ้ า พระยามี ก ารเปลี่ ย นแปลงเป็ น ชุมชนเมือง พื้นที่สวนหายไปเกือบ หมด ขณะที่ ฝั่ ง ตะวั น ตกหรื อ เมื อ ง นนทบุรี บริเวณปากคลองอ้อมนนท์ ยังคงมีพนื้ ทีส่ วนอยูม่ าก และเป็นพืน้ ที่ ที่สำ�คัญ เมืองหลวงของผลไม้ โดย เฉพาะสวนทุ เรี ย นนนท์ ที่ ป ลู ก ใน รู ป แบบเฉพาะระบบสวนยกร่ อ ง ซึ่ ง เป็ น อั ต ลั ก ษณ์ ข องเมื อ งนนทบุ รี นับเป็นภูมิปัญญา มรดกทางวัฒนธรรมการเกษตรและเป็นแหล่งผลิต ผลไม้ที่สำ�คัญที่ใกล้เมืองหลวง ผศ.มล.วุ ฒิ พ งษ์ ทวี ว งศ์ 4 ได้ เสนอในวงเสวนาสาธารณะ เรื่ อ ง บทบาท ความสำ�คัญและอนาคตของ สวนยกร่ อ ง ว่ า ความอุ ด มสมบู ร ณ์ ด้วยพลาอาหารของสวนใน ซึ่งไม่ใช่ แค่สวนทั่วไปแต่ว่าสวนมีคุณค่าเชิง ประวั ติ ศ าสตร์ นั บ เนื่ อ งมาตั้ ง แต่ สมั ย อยุ ธ ยา เรี ย กว่ า เป็ น ภู มิ ทั ศ น์ ที่ มี ม าตั้ ง แต่ ส มั ย โบราณ หากบอก ว่ า เป็ น โบราณสถานหรื อ พื้ น ที่ ที่ มี ประวัติศาสตร์ สวนยกร่องนี่ก็นับว่า เป็นโบราณสถานเช่นกัน
เพชรรุ่ง เทียนปิ๋วโรจน์ 2555. เอกสารลำ�ดับที่ 79 ข่าวสิงคโปร์ ครอนิเคิลล์ (The Sinngapore Chronicle). ใน 100 เอกสารสำ�คัญ: สรรพสาระประวัติศาสตร์ไทย ลำ�ดับที่ 20 (เอกสารเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ กรุงเทพมหานคร). สยาม ภัทรานุประวัติ, อรพินท์ คำ�สอน, ศุภการ สิริไพศาล และ ธิษณา วีรเกียรติสุนทร บรรณาธิการ. พิมพ์ครั้งที่ 1. ศักดิโสภาการพิมพ์. 166 4 บทความพิเศษ เรื่อง ระบบนิเวศสวนยกร่องยกเป็นพื้นที่โบราณสถาน ความเปราะบาง พัฒนาการและคุณค่า เชิงประวัติศาสตร์ 3
11
หลายมุมมองต่อสวนยกร่อง
เจ้ า พระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค)5 (2471) ได้จำ�แนกคำ�ว่าสวน อย่างชัดเจนว่า สวนเป็นนามศัพท์ คือ ที่แผ่นดินซึ่งขุดร่องยกเป็นคัน ก็เรียก ว่าเป็นสวนคู่กับคำ�ว่านา ไร่ เพราะ สวนสำ � หรั บ ปลู ก ไม้ ด อกไม้ ผ ล นา ปลูกข้าว ไร่ปลูกไม้ล้มลุก สวนนั้นมี ประเภทต่างๆ ตามคำ�คุณศัพท์ตาม หลัง เช่น สวนใหญ่ สวนจาก สวน ดอกไม้ เป็นต้น สวนยกร่ อ งให้ ผ ลผลิ ต ที่ ดี แ ละ เป็ น รายได้ ห ลั ก ที่ ห ลวงจั ด เก็ บ ภาษี เข้าท้องพระคลังได้มาก ส่วนหนึ่งของ ระบบเศรษฐกิจของประเทศ มีการเก็บ ภาษีอากรที่ดินที่สวน ที่ใดซึ่งปลูกต้น ผลไม้ อันเป็นไม้ยืนต้นเข้าอากรใหญ่ มีไม้ผล 7 ชนิด ได้แก่ ทุเรียน มังคุด มะม่วง มะปราง ลางสาด หมากและ พลูค้างทองหลาง เข้าอากรพลากร มีไม้ผล 8 ชนิด ได้แก่ ขนุน สะท้อน เงาะ ส้ ม ต่ า งๆ มะไฟ ฝรั่ ง สาเก และสั บ ปะรด ที่ เ ป็ น ไม้ ล้ ม ลุ ก เสง เครงเข้ า อากรสมพั ก ศรเช่ น กล้ ว ย อ้ อ ย มะขาม น้ อ ยหน่ า เป็ น ต้ น สวนใหญ่ นั้ น เป็ น แผนกหนึ่ ง จากที่ แผ่ น ดิ น ทั้ ง ปวง (ประเภทหนึ่ ง ของ การใช้ประโยชน์ที่ดิน) มีอยู่ในแขวง กรุงเทพฯ เมืองนนทบุรี ประทุมธานี นครเขื่ อ นขั น ธ์ สมุ ท ปราการ สมุ ท สาคร นครไชยศรี สมุ ท สงคราม
ราชบุรี เพ็ชร์บุรี และฉะเชิงเทรา รวม 11 เมือง ทั้งในกรุงเทพฯ ที่แผ่นดิน ซึ่งเป็นสวนใหญ่นี้ รูปแบบเกษตรกรรมแบบระบบ สวนยกร่องในประเทศไทยมีขอ้ สังเกต จาก อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม6 ที่ ปรึกษามูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ว่า รูปแบบการจัดการพื้นที่เพาะปลูก และการจัดการน้ำ�ในลักษณะของการ ขุดยกเป็นร่องสวนและลำ�ประโดงนั้น มีความคล้ายคลึงกับวิถีชาวสวนของ ผู้คนในมณฑลกวางตุ้งและกวางสี ซึ่ง อยู่ทางตอนใต้ของจีน สอดคล้องกับ ความคิดเห็นของสุจิตต์7 (2549) ที่ให้ คำ�จำ�กัดความว่าสวน หมายถึง พื้นที่ การเกษตรที่ มี ก ารยกร่ อ ง ซึ่ ง เป็ น เทคโนโลยีการผลิตที่รับมาจากจีนอีก ทอดหนึ่งตั้งแต่สมัยอยุธยา จีนที่ว่า หมายถึงพวกจีนทางตอนใต้ ไม่ใช่จีน ปักกิ่ง ศ.ระพี สาคริก ได้บันทึกส่วนตัว เรื่อง เกษตรอินทรีย์ทำ�ไมหายหน้า ไปไหนหมด (2557) เกี่ยวกับระบบ เกษตรที่มีมานานแต่ได้หลงลืมกันไป เกษตรระบบสวนยกร่องเป็นเกษตร แบบอินทรีย์อย่างชัดเจน และยังเป็น หลั ก ฐานที่ ช่ ว ยยื น ยั น เทคโนโลยี นี้ มาจากคนจี น สมั ย อาจารย์ ยั ง เป็ น เด็ ก ก่ อ นจะมี ก ารสร้ า งอนุ ส าวรี ย์ ชัยสมรภูมิเสียอีก แถวสนามเป้าเป็น สวนยกร่อง คนจีนมาอาศัยอยู่แถว
เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค). 2471. เรื่องทำ�สวน. ในลัทธิธรรมเนียมต่างๆ ภาคที่ 3. โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร เรียบเรียงถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปีชวด พ.ศ.2431. 6 สุภาภรณ์ จินดามณีโรจน์. 2554. ประวัติศาสตร์สังคมของชุมชนลุ่มน้ำ�ท่าจีน. บริษัท สำ�นักพิมพ์สร้างสรรค์ จำ�กัด, กรุงเทพฯ. 196 หน้า. 7 สุจิตต์ วงษ์เทศ. 2549. กรุงเทพ.มาจากไหน. กรุงเทพฯ. 5
12
นั้น ทำ�สวนยกร่องปลูกผัก พื้นที่เป็น ดิ น เหนี ยวก็ทำ�ให้โ ปร่ง โดยยกร่อ ง ระบายน้ำ� ส่วนในท้องร่องนำ�ข้าวมา ดำ�และเลี้ยงเป็ดเลี้ยงปลาด้วย รวม ทั้งน้ำ�ที่มีคุณสมบัติเป็นด่างเล็กน้อย ช่วยให้การระบายน้ำ�ของดินดียิ่งขึ้น ทำ�ให้ดินโปร่ง ส่วนการเลี้ยงเป็ดเลี้ยง ไก่กไ็ ด้ทงั้ ขีเ้ ป็ดขีไ้ ก่ลงท้องร่องสวน นัน่ ทำ�ให้คนสมัยก่อนได้กินผักงามมาก เพราะใช้เกษตรอินทรีย์วิธีนี้ อาจารย์ระพีได้กล่าวถึงชาวสวน ผลไม้ฝั่งธนบุรีว่า “สมัยก่อนปลูกผลไม้ นับตั้งแต่ ทุเรียน มังคุด เงาะ ชมพู่ และอื่นๆ เขาปลู ก ได้ ผ ลงามดี ม าก รวมถึ ง ได้ รสชาติ ที่ ดี ด้ ว ย มั น ต้ อ งมี ข องดี อยู่ ใ นนั้ น แต่ เ รามองได้ ไ ม่ ถึ ง ใช่ หรื อ เปล่ า นั่ น เพราะเขารู้ จั ก ใช้ พื ช ตระกู ล ถั่ ว ปลู ก สลั บ อยู่ ใ นนั้ น ด้ ว ย โดยเฉพาะต้ น ทองหลางที่ มี แร่ ธ าตุ เป็ น อาหารต้ น ไม้ อ ยู่ ห ลายอย่ า ง ปักก็ขึ้นง่าย ใบก็กินได้ ดินที่นั่นจึง ปลูกอะไรก็งาม เพราะเวลาฝนตกมัน ก็ ช ะเอาใบทองหลางลงไปหมั ก อยู่ ในท้ อ งร่ อ งเต็ ม ไปหมด ครั้ น ถึ ง ฤดู แล้ ง เขาก็ ส าดโคลนขึ้ น มาบนหลั ง ร่ อ งอั น นั บ ได้ ว่ า คื อ การใส่ ปุ๋ ย หมั ก ให้ แ ก่ ต้ น ผลไม้ อ ย่ า งเป็ น ธรรมชาติ คุ ณ เข้ า ใจหรื อ เปล่ า ครั บ ถ้ า ยั ง ไม่ เข้าใจโปรดทำ�ความเข้าใจให้ดี และ อย่าไปดูถูกคนสมัยก่อนถ้าเรายังทำ� 8
ไม่เป็น ถ้าคุณเกรงไปว่าชนรุ่นหลัง เขาจะดูถูกคุณ” อาจารย์ระพี ท้าทายผู้อ่านถึง การมองสิ่ ง ที่ ดู ธ รรมดาว่ า มี ค วาม พิเศษและจำ�เพาะตามกลไกของระบบ นิเวศ ซึ่งเกิดจากการเฝ้าสังเกตุของ ชาวสวนและการคิ ด ที่ จ ะพั ฒ นาให้ สวนผลไม้ เจริ ญ เติ บ โตงอกงามอยู่ ตลอดเวลา สอดคล้องกับคุณอนิรุธ บุ ญ ยั ง เกษตรกรจากชุ ม ชนตำ � บล ไทรม้ า ที่ ก ล่ า วถึ ง ว่ า ชาวสวนนนท์ สมั ย รุ่ น ปู่ รุ่ น พ่ อ นั้ น ใช้ เวลาทั้ ง วั น มากกว่ า 8 ชั่ ว โมงอยู่ ใ นสวน จึ ง พบเห็น สังเกตและคิดทีจ่ ะทำ�สวนของ ตนให้ดูดี เรียบร้อย สวยงาม เจริญใจ เวลาเข้าสวนเริ่มตั้งแต่เช้า ประมาณ 6 โมงเช้า จนถึงประมาณ 11 โมง กลั บ บ้ า นมากิ น ข้ า วที่ บ้ า น และพั ก ผ่อนกลางวันเพราะอากาศร้อน พอ ประมาณบ่าย 2 โมงจึงจะเข้าสวนอีก ครั้ง แล้วกลับบ้านบางครั้ง 5 โมงเย็น บางครั้งก็ดึกดื่นมืดค่ำ�เลย ขึ้นอยู่กับ กิจกรรมภายในสวน ลักษณะสวนยกร่อง
เจ้ า พระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค)8 ได้อธิบายว่าสวนมีโฉนด ตราสารเป็นสำ�คัญสำ�หรับทีส่ วนนัน้ ๆ โดยแบ่งออกเป็นอะเลอ “อะเลอหนึ่ง ไม่กำ�หนดจะกว้างยาวเท่าใด สุดแต่มี โฉนดตราสารสำ�หรับทีน่ นั้ ฉบับ 1 เป็น
อ้างแล้ว
13
คูหรือท้องร่องในสวนยกร่อง
สำ�คัญ แล้วก็เรียกว่าอะเลอ 1 สวน อะเลอหนึ่งก็แบ่งออกเป็นขนัด ขนัด สวนนั้ น ก็ มิ ไ ด้ ป ระมาณกว้ า งยาว เหมือนกัน สุดแต่มีร่องขวางแล้วนับ เป็นขนัด สวนอะเลอหนึ่งบางทีก็มี เพียงสองร่อง สามร่อง ที่ไม่เป็นขนัด บ้าง ที่เป็นขนัดก็นับตั้งแต่ 1 ขนัด ไปจน 12 ขนัด หรือมากกว่าขึ้นไป 14
ก็ มี แ ต่ น้ อ ย มั ก จะอยู่ ใ น 12 ขนั ด เสี ย โดยมาก ผู้ ถื อ สวนอะเลอหนึ่ ง ต้องรับโฉนดตราสารจากเจ้าพนักงาน ไว้ เ ป็ น คู่ มื อ หวงห้ า มที่ นั้ น ไว้ เ พาะ ปลูกได้ ก็ต้องเสียค่าอาการที่ดิน” จะ เห็นได้ว่าการเรียกสวนยกร่อง มีการ เรี ย กสวนว่ า อะเลอตามหน้ า โฉนด พระราชทานในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่ง
จะมี 1-3 ขนัดสวน ระยะการนับสวน อะเลอคือหัวและท้ายสวนมีคลองหรือ คลองซอยหรือลำ�ประโดง ขนัดสวน ที่อยู่ในสวนอะเลอจะแบ่งด้วยคันดิน เท่านั้น และในสวนแต่ละขนัดจะมี ร่องน้ำ�หรือร่องสวนที่เชื่อมต่อกัน ระบบการทำ � สวนในบริ เวณนี้ มั ก มี ก ารขุ ด คู ห รื อ ท้ อ งร่ อ ง ตั ด กั น ไปมาขนาดกว้ า งพอคนข้ า มได้ จุ ด ประสงค์ก็เพื่อยกระดับพื้นดินให้สูง ขึ้น ป้องกันมิให้น้ำ�ท่วมบ่อยเกินไป การยกร่องดังกล่าวจะขนานกันหลาย ร่องแล้วเว้นที่ไว้รอบๆ ร่องนั้น ทำ� ทางระบายน้ำ � เข้ า ออกในท้ อ งร่ อ ง ถ้าน้ำ�มากก็ปิดปากทาง พื้นที่ที่เว้น ไว้รอบสวนนี้ก็คือ คันกั้นน้ำ� มิให้น้ำ� ท่วมต้นไม้ สวนที่ยกร่องและมีคันดิน รอบได้แปลงหนึ่งๆ นี้เรียกว่า สวน หนึ่งขนัด จำ�นวนที่ดินมากน้อยไม่มี กำ�หนดแล้วแต่ลักษณะของพื้นที่ การ ยกร่องสวนถือเป็นการจัดการระบบ ชลประทานในระดับชาวบ้าน เพื่อให้ สอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศที่เอื้อ ต่อการเพาะปลูก โดยเฉพาะการแก้ ปัญหาน้ำ�ท่วมขัง ขณะเดียวกันก็เป็น เครื่องหมายที่แสดงให้เห็นว่า มีการ พั ฒ นาอาชี พ การทำ � สวนอย่ า งเป็ น การเฉพาะ (สุนทรี9, 2537) จากบั น ทึ ก การเดิ น ทางเข้ า มา ของชาวต่ า งชาติ ตั้ ง แต่ ส มั ย อยุ ธ ยา สมเด็ จ พระนารายณ์ ม หาราช ซึ่ ง บันทึกภูมสิ ถานบ้านเรือนระหว่างการ เดินทางด้วยเรือไปเมืองหลวงอยุธยา
เห็นสภาพความเป็นอยูแ่ ละเรือกสวน ตลอดทั้งสองฝั่งริมแม่น้ำ�เจ้าพระยา แผ่กระจายกว้างขวางและมีคูคลอง ที่เชื่อมโยงกันนับร้อยทิศทาง ปลูก ผลไม้ ชิ ด แน่ น เต็ ม ไปหมดจนมอง คล้ า ยป่ า และเป็ น ผลไม้ ร สชาติ ดี เยี่ยม จนเกิดชื่อเรียกสวนในบางกอก และสวนนอกบางช้ า ง ต่ อ เนื่ อ งมา จนถึงกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ จึง เริ่ ม มี ก ารกล่ า วถึ ง ลั ก ษณะของสวน ว่ า เป็ น แผ่ น ดิ น ซึ่ ง ขุ ด ร่ อ งยกเป็ น คั น และระบบยกร่ อ งสั น นิ ษ ฐานว่ า มา จากทางจีนตอนใต้ สวนยกร่องปลูก ผลไม้ ที่ มี ค่ า ทางเศรษฐกิ จ ในสมั ย นั้น จนสามารถเก็บภาษีอากรได้มาก โดยเฉพาะอากรใหญ่ มีไม้ผล 7 ชนิด ได้แก่ ทุเรียน มังคุด มะม่วง มะปราง ลางสาด หมากและพลูค้างทองหลาง จากประวัติศาสตร์ระบบสวนยกร่อง ที่ มี ม ายาวนาน ก็ น่ า จะนั บ ว่ า เป็ น โบราณสถาน แต่ด้วยการพัฒนาของ ประเทศหลายด้าน ทำ�ให้สวนยกร่อง มีปัจจัยคุกคามมากมาย จึงเป็นความ ท้ า ทายของคนรุ่ น เราว่ า จะยั ง คง รั กษา ฟื้ นฟู และเรีย นรู้ภู มิปัญ ญา ของชาวสวนที่เป็นมรดกวัฒนธรรม ด้านเกษตรกรรมได้อีกนานเท่านาน
สุนทรี อาสะไวย์. 2537. พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของ “ธนบุรี” ในฐานะส่วนหนึ่งของดินดอนสามเหลี่ยม ปากแม่น้ำ�เจ้าพระยา. วารสารธรรมศาสตร์, 20(3).
9
15
การฟื้นฟูสวนยกร่องหลังเหตุการณ์มหาอุทกภัยน้ำ� ท่วมปี 2554 โดยการเสียบยอดจากทุกสายพันธุ์ ทุเรียนทีป่ ลูกไว้ทงั้ หมด แล้วขยายเป็นกลุม่ วิสาหกิจ ชุมชนอนุรักษ์ทุเรียนนนท์ไทรม้า เพื่ออนุรักษ์สาย พันธุ์ทุเรียนนนท์ในตำ�บลไทรม้า-บางรักน้อย ให้คง อยู่คู่เมืองนนทบุรีสืบต่อไป
“ไทรม้าน่าอยู่ มีสภาพแวดล้อมที่สะอาด สวยงาม ประชาชนมีความเอื้ออาทรต่อกัน มีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถพึ่งตนเองได้ และชุมชนมีความเข้มแข็ง” วิสัยทัศน์เทศบาลตำ�บลไทรม้า (แผนพัฒนาชุมชน, 2560)
“เมืองแห่งที่อยู่อาศัย งานบริการก้าวไกล รักษาสืบไว้ภายใต้สิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตที่ดี” วิสัยทัศน์องค์การบริหารส่วนตำ�บลบางรักน้อย (แผนพัฒนาชุมชน, 2560)
18
บทที่ 2
สถานการณ์ปัจจุบัน ของพื้นที่ตำ�บลไทรม้า และบางรักน้อย จากวิสัยทัศน์ของทั้ง 2 ตำ�บล จะเห็นว่าเป็นไปในทิศทางเดียวกัน กับวิสัยทัศน์ของจังหวัดนนทบุรีที่ว่า “จังหวัดนนทบุรีเป็นเมืองที่อยู่อาศัย คุณภาพดีและมีเศรษฐกิจสร้างสรรค์” มี เ ป้ า หมายเพื่ อ พั ฒ นาเป็ น เมื อ งที่ น่าอยู่ รองรับการอยู่อาศัยของคน ทุ ก ระดั บ เป็ น เมื อ งแห่ ง เศรษฐกิ จ สร้ า งสรรค์ เ พิ่ ม มู ล ค่ า ให้ กั บ สิ น ค้ า และภาคบริ ก ารให้ มี คุ ณ ภาพและมี มาตรฐานสากล และพัฒนาเมืองให้ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเน้นการ พั ฒ นาโครงสร้ า งพื้ น ฐานการขนส่ ง สาธารณะและระบบสาธารณูปโภค รองรับการขยายตัวของเมืองจากทาง กรุ งเทพฯ ซึ่ง อาจจะขัดกับ พื้นฐาน หลักของจังหวัดที่เป็นเกษตรกรรมมา ตลอด อีกทั้งอุปสรรคของการพัฒนา ประการสำ � คั ญ คื อ ปั ญ หาภั ย พิ บั ติ จากประวัติศาสตร์จังหวัดนนทบุรีได้ รับผลกระทบจากภัยพิบัติทั้งน้ำ�ท่วม
น้ำ � แล้ ง น้ำ � เค็ ม มาโดยตลอด และ หลังจากเกิดความเป็นเมืองขึน้ ปัญหา สิง่ แวดล้อมก็จะเพิม่ ขึน้ ทัง้ ขยะมูลฝอย สิง่ ปฏิกลู และมลพิษต่างๆ น้�ำ เสีย รวม ถึงมลพิษทางอากาศด้วย
19
2557 2545 2549 2554
2538 2526
น้ำ�ท่วม
2485 2502 2505
น้ำ�เค็ม
ลำ�ดับเหตุการณ์น้ำ�ท่วม และน้ำ�เค็มในพื้นที่ตำ�บลไทรม้า และบางรักน้อย
ประวัติศาสตร์น�้ำท่วมและน�้ำเค็ม พื้นที่ลุ่มน�้ำเจ้าพระยาตอนล่าง
เริม่ จากปี พ.ศ.2485 เกิดน้�ำ ท่วม ครั้ ง ใหญ่ ต ามธรรมชาติ ท่ั ว ทั้ ง ที่ ลุ่ ม เจ้าพระยาตอนล่าง หลายจังหวัด ที่ ทำ�ให้สวนในฝั่งตะวันตกแทบทั้งหมด จมอยู่ ใ ต้ น้ำ � นานถึ ง 3 เดื อ นเต็ ม ต้ น ทุ เรี ย นขนาดใหญ่ ถึ ง กั บ ยื น ต้ น ตาย แทบทุกสวนในจังหวัดนนทบุรี เริ่ ม นั บ หนึ่ ง ของการฟื้ น ฟู ส วนปลู ก ทุเรียนรอบใหม่นี้ อีกทั้งช่วงนั้นไทย เข้าสู่สงครามอินโดจีนและสงคราม มหาเอเชียบูรพาด้วย มีการทิ้งระเบิด ทำ�ให้ชาวสวนหลายครอบครัวต้องทำ� หลุมหลบภัยในสวนอีกด้วย ประสบ ปัญหาข้าวยากหมากแพง ได้มีการ ซื้ อ ขายสวน จำ � นอง และขายฝาก กันมาก เปลี่ยนมือไปอยู่กับเจ้าของ สวนเหนือน้ำ� ในปี พ.ศ.2494 ช่วง หลั ง สงครามโลกครั้ ง ที่ 2 รั ฐ บาล สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ใน 20
ขณะนั้นมีแนวคิดที่จะสร้างโรงไฟฟ้า ขนาดใหญ่ โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าพลัง น้ำ� ซึ่งสามารถนำ�ไฟฟ้าเข้าสู่ระบบ ได้อย่างรวดเร็ว จึงมีการจัดตั้ง “คณะ กรรมการพิจารณาสร้างโรงไฟฟ้าทั่ว ราชอาณาจักร” ขึ้น เพื่อสำ�รวจพื้นที่ สร้างโรงไฟฟ้าทั่วประเทศ ซึ่งพบว่า ในลำ�น้ำ�ปิงบริเวณหุบเขาย่านรีหรือ ยันฮี อำ�เภอสามเงา จังหวัดตาก มี ความเหมาะสมต่อการสร้างเขือ่ นเป็น อย่างยิง่ นำ�มาสูก่ ารสร้าง “เขือ่ นยันฮี” ขึน้ ในปี พ.ศ.2496 และในปีเดียวกันนี้ เองก็มกี ารตัง้ “การไฟฟ้ายันฮี” (กฟย.) เพื่อรับผิดชอบการสร้างเขื่อน และ ผลิตไฟฟ้าให้กับภาคกลางและภาค เหนือ ต่อมาเปลีย่ นเป็นการไฟฟ้าฝ่าย ผลิตแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ.2500 พระบาทสมเด็จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดช รั ช กาลที่ 9 ทรงพระราชทานพระ ปรมาภิไธยให้เป็นชื่อเขื่อนว่า “เขื่อน
ภูมิพล” และในวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ.2507 ได้เสด็จพระราชดำ�เนิน พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เพื่อทรงประกอบ พิ ธี เ ปิ ด เขื่ อ นและทรงกดปุ่ ม ขนาน เครื่ อ งกำ � เนิ ด ไฟฟ้ า เครื่ อ งที่ 1 เข้ า ระบบ เริม่ กักเก็บน้�ำ และบริหารจัดการ น้ำ�ตั้งแต่ปี พ.ศ.2507 โดยกักเก็บน้ำ� ในช่วงฤดูฝนเพื่อนำ�มาบริหารจัดการ ให้เพียงพอกับความต้องการในช่วงฤดู แล้ง สามารถจัดสรรน้�ำ เพือ่ การเกษตร ได้กว่า 10 ล้านไร่ ครอบคลุมพื้นที่ จ.ตาก กำ�แพงเพชร และนครสวรรค์ นอกจากนัน้ น้�ำ ทีร่ ะบายออกจากเขือ่ น ยังใช้ประโยชน์ในการรักษาระบบนิเวศ เช่น ผลักดันน้ำ�เค็มในพื้นที่บริเวณ ปากอ่าวไทย แต่ระหว่างการก่อสร้าง เขื่อน ในปี พ.ศ.250210 เกิดภาวะน้ำ� เค็มรุนแรง ดังคำ�ปราศรัยของจอมพล ประภาส จารุเสถียร ว่า ปีไหนฝน แล้ง น้�ำ เหนือมายันน้�ำ ทะเลได้ไม่มาก น้ำ � ทะเลหนุ น ทำ � ให้ เ กิ ด น้ำ � เค็ ม และ ประกอบกับเขื่อนยันฮีเพิ่งสร้างเสร็จ กักเก็บน้ำ�เอาไว้เพื่อผลิตไฟฟ้า น้ำ� เค็มหนุนสูงอีกครั้งในปี พ.ศ.250511 ครั้งนี้นาน 6-7 เดือน ทำ�ให้ผลผลิต ไม่ดี ต้นโทรม บางสวนมีผลผลิตน้อย มาก ชาวสวนมีวิธีแก้ไขต้นทุเรียนที่ โทรมโดยการใส่ปุ๋ยช่วยบำ�รุงต้น เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ของเทศบาลนครกรุงเทพ
นอกจากนี้จะไม่ปล่อยให้ต้นโทรมติด ผลเลย เพราะถ้าปล่อยให้ติดผล ต้น อาจจะตายได้ ในปี พ.ศ.252612 ก็เกิดน้ำ�ท่วม ใหญ่อีกครั้ง ก่อให้เกิดความเสียหาย มากกว่ า ทุ ก ครั้ ง ที่ ผ่ า นมาเพราะฝั่ ง ตะวันตกของเจ้าพระยา เริ่มมีความ เป็ น เมื อ งเพิ่ ม ขึ้ น รั ฐ บาลได้ จั ด สรร งบประมาณในการป้องกันน้�ำ ท่วมเป็น จำ�นวนเงินถึง 1 พันล้านบาท ซึ่งทาง นนทบุรีก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน จากการพู ด คุ ย กั บ ชาวสวนที่ ทำ � สวนจิ ง เลน (สวนมี ลั ก ษณะเป็ น ดิ น อ่ อ น ใกล้ ช ายแม่ น้ำ � สายหลั ก เช่น แม่น้ำ�เจ้าพระยาหรือคลองอ้อม นนท์) ว่าน้ำ�ท่วมปี 2526 นั้นทำ�ให้ สวนล่มต้องปลูกทุเรียนกันใหม่ พอ เริ่ ม ได้ ผ ลผลิ ต ปี 2531-2532 แล้ ว เก็บเกี่ยวได้เพียง 6-7 ปี ก็เกิดน้ำ� ท่วมอีกช่วงปลายปี พ.ศ.2538 น้ำ� ท่วมขังอยู่ 3 เดือน สวนล่มอีกครั้ง และหลายสวนก็เลิกทำ� ขายเปลี่ยน มือให้กับหมู่บ้านจัดสรรเป็นจำ�นวน มาก โดยเฉพาะในตำ�บลบางรักน้อย ที่มีการกว้านซื้อที่ดินขนานใหญ่จาก นั ก พั ฒ นาอสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ สวนที่ พอมีก�ำ ลังก็เริม่ ปลูกทุเรียนใหม่อกี ครัง้ ปี พ.ศ.2539 ถึงปี พ.ศ.2545 พอทุเรียน เริ่มออกดอก น้ำ�ก็ท่วมอีก ต้นทุเรียน ปลูกใหม่ตายทั้งหมด และน้ำ�ท่วมอีก
กมล สมิติรัต. 2549. การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชาวสวนในคลองบางกรวย นนทบุรี ระหว่าง พ.ศ.24452511. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 11 ปราโมทย์ อินทอง. 2507. การสำ�รวจพันธุ์ทุเรียนในเขตอำ�เภอเมือง จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์กสิกรรม และสัตวบาลบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 12 วิสูตร เด่นอริยะกูล. 2529. การประเมินผลความเสียหายจากน้ำ�ท่วมขังฝั่งธนบุรี พ.ศ.2526. วิทยานิพนธ์ วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาวิศวกรรมสุขาภิบาล, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 10
21
สวนทุเรียนของคุณยายประยูร บุญยัง และสวนลุงน้อม บุญด้วง ที่ได้รับความเสียหายจาก น้ำ�ท่วมใหญ่ปี 2554
ครั้งปี 2549 สวนจิงเลนจะได้รับผล กระทบจากน้ำ�ท่วมอย่างมากเพราะ อยู่ห่างจากคลองหลักไม่มาก จนกระทั่ง ปี พ.ศ.2554 นับเป็น น้ำ�ท่วมใหญ่อีกครั้ง หรือมหาอุทกภัย ที่ เ กิ ด ความเสี ย หายทุ ก หย่ อ มหญ้ า ครั้งนี้รุนแรงและร้ายแรงที่ทำ�ให้สวน ล่มแล้วแทบลุกขึ้นไม่ได้ จากข้อมูล ของสำ � นั ก งานเศรษฐกิ จ การเกษตร พบว่าตัง้ แต่ปี พ.ศ.2546 ถึง พ.ศ.2556 ในจั ง หวั ด นนทบุ รี ก ารใช้ ป ระโยชน์ ที่ดินเพื่อการเกษตรมีพื้นที่ลดลง โดย 22
เฉพาะพื้นที่ไม้ผลและไม้ยืนต้นลดลง มากที่สุด จากปี พ.ศ.2546 มีพื้นที่ 58,252 ไร่ ลดลงอย่างต่อเนื่อง จน ในปี พ.ศ.2556 เหลื อ พื้ น ที่ เ พี ย ง 20,525 ไร่ 19 กันยายน ปี 2554 โครงการ อนุ รั ก ษ์ พั น ธุ ก รรมพื ช ในสมเด็ จ พระเทพฯ มาขอขลิ บ ยอดทุ เรี ย นนนท์ ทัง้ หมด เพราะว่าท่านมองการณ์ ไกลว่ า ทุ เรี ย นนนท์ อ าจจะสู ญ พั น ธุ์ ประมาณวันที่ 19-20 ตุลาคม ปี 2554 ปริ ม าณน้ำ � ขึ้ น สู งสุ ด ที่ 2 เมตร 50
เซนติเมตร วันที่ 23 ตุลาคม ปี 2554 น้ำ�ท่วมทั้งจังหวัดนนทบุรี พี่เล็ก อนิรุธ บุญยัง13 ได้เล่าไว้ ในวงเสวนาหาแนวทางการฟื้นฟูสวน ยกร่ อ งภายใต้ ส ถานการณ์ ปั จ จุ บั น เมือ่ 21 มิถนุ ายน ปี 2562 ว่า ปริมาณ น้ำ�ท่วมในปี 2538 น่าจะใกล้เคียง กับปี 2554 เพราะว่าตอนนั้นยังไม่มี ระบบป้ อ งกั น น้ำ � น้ำ � จึ ง กระจาย ครอบคลุมไปหมด พอปี 2554 ถูก จำ � กั ด หลายๆ ด้ า น ประตู กั้ น น้ำ � คลองอ้อมนนท์สร้างเสร็จในปี 2552 ช่ ว ยป้ อ งกั น น้ำ � ท่ ว มตามแนวคลอง อ้อมนนท์ได้ แต่น้ำ�ได้ไหลผ่านพื้นที่ ลุ่ ม ต่ำ � ทางด้า นตะวันตกของอำ�เภอ บางรักน้อยมาตามคลองบางรักใหญ่ น้ำ � จึ ง มาสมทบในคลองอ้ อ มนนท์ ขณะที่ ป ระตู กั้ น น้ำ � คลองอ้ อ มนนท์ ปิ ด อยู่ เ พื่ อ ป้ อ งกั น น้ำ � ที่ มี ร ะดั บ สู ง จากแม่น้ำ�เจ้าพระยา ทำ�ให้น้ำ�เอ่อ ล้ น ตลิ่ ง เข้ า ท่ ว มพื้ น ที่ ส วนทั้ ง หมด ท่วมหลายเดือน จนต้นทุเรียนตาย น่าจะเหลือสวนที่รอดน้ำ�ท่วมเพียง ร้อยละ 3 ของพื้นที่สวนทั้งจังหวัด บางสวนล้ ม หาย ขายเปลี่ ย น มือ เพราะท้อและเหนื่อยล้ากับการ ฟื้นฟูสวน อีกทั้งทุกครั้งที่ฟื้นฟูสวน ก็ จ ะตามมาด้ ว ยหนี้ สิ น และอายุ ของเจ้าของสวนก็มากแล้ว บางสวน จึ ง กั ด ฟั น สู้ ฟื้ น ฟู ส วนขึ้ น มาอี ก ครั้ ง พอปี 2557 ภาวะน้ำ�แล้ง น้ำ�ทะเล หนุนสูงก็เกิดภาวะน้�ำ เค็มอย่างรุนแรง ขึ้นอีกครั้ง ไม่มีการแจ้งข่าวสารใดๆ จากหน่ ว ยงานของรั ฐ ให้ ช าวสวนรู้
หรือเตรียมตัวได้ทัน ชาวสวนก็ปฏิบัติ เช่ น เดิ ม มาตลอด เปิ ด -ปิ ด ท่ อ ตาล (ท่อตาลทำ�มาจากต้นตาลทะลวงไส้ ออก ฝังอยู่ใต้แนวคันดินเพื่อนำ�น้ำ� เข้ าออกจากร่ องสวนกั บ ลำ � ประโดง หรือคลองธรรมชาติ) นำ�น้ำ�เข้าออก สวนเป็นประจำ� แต่พอนำ�น้ำ�ในท้อง ร่องสวนรดต้นทุเรียนแล้ว ก็พบว่าต้น ค่อยๆ แห้งเหี่ยวและตายลงในที่สุด ต้นทุเรียนไม่สามารถทนความเค็มได้ เกิน 0.02 ppm และยังส่งผลต่อดิน ทำ�ให้ดนิ เค็ม แข็ง ซึง่ ทำ�ให้ผลผลิตของ ชาวสวนผลไม้คุณภาพลดลง และไม่ เพียงพอต่อความต้องการของตลาด หลั ง จากนั้ น ชาวสวนต้ อ งพึ่ ง ตนเอง โดยการซื้ อ เครื่ อ งวั ด น้ำ � เค็ ม วั ด ค่ า ความเค็มของน้ำ�ในท้องร่องก่อนจะ รดน้�ำ ทุกครัง้ ต่อมาทางเทศบาลตำ�บล ไทรม้าก็เริ่มมีการเก็บข้อมูลค่าความ เค็มทั้ง 6 หมู่ เริ่มปี 2558 จากปัญหาอุทกภัย ทำ�ให้พชื พันธุ์ หลายชนิดยืนต้นจมน้�ำ ตาย และมีพชื บางชนิดสูญพันธุ์ไป เช่น ลิ้นจี่พันธุ์ ศาลากุล กระท้อนพันธุ์ทับทิม พันธุ์ นิ่มนวล พันธุ์เขียวหวาน มะม่วงพันธุ์ ตลับนาค พันธุ์กะล่อนเขียว เป็นต้น การทำ�สวนทุเรียนของชาวสวนนนท์ ประสบปั ญ หาภั ย พิ บั ติ ม าอย่ า งต่ อ เนื่อง แต่ทุกครั้ง ชาวสวนจำ�นวนมาก ก็จะฟืน้ ฟูสวนกลับมา ด้วยพลังใจและ จิตวิญญาณชาวสวน และมีความภาค ภูมิใจอย่างมากในการเป็นชาวสวนที่ ปลูกทุเรียนนนท์ซงึ่ เป็นอัตลักษณ์ของ คนเมืองนนทบุรี
ปราชญ์ชุมชนไทรม้า และประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอนุรักษ์ทุเรียนนนท์ ตำ�บลไทรม้า
13
23
ประวัติชุมชนบ้านบางประดู่
ชุ ม ชนบ้ า นบางประดู่ ม.6 ต.ไทรม้า และ ต.บางรักน้อย อ.เมือง จ.นนทบุรี ซึง่ เป็นชุมชนเป้าหมายของ การศึกษา เดิมเป็นชุมชนเดียวกันแต่ ถู ก แบ่ ง ตามเขตการปกครองท้ อ งที่ เท่านั้น ความสัมพันธ์ยังคงเป็นเครือ ญาติที่มีความเป็นพี่น้องกันมาตลอด หลายชั่วรุ่น บ้านของเจ้าของสวนเดิม ใน ต.ไทรม้า มักจะมีบ้านอยู่อาศัยใน ต.บางรักน้อย และฝั่งตรงข้ามคลอง อ้อมนนท์ ต.บางศรีเมือง และ ต. บางกร่างอีกด้วย จากงานศึกษาเรื่อง การประเมินโครงการกองทุนหมู่บ้าน และชุมชนเมือง กรณีศึกษากองทุน หมู่บ้านบางประดู่ หมู่ 6 (หนึ่งฤทัย,14 2545) ได้สัมภาษณ์ประวัติชุมชนจาก นายบุ ญ ยิ่ ง บุ ญ ยั ง ปราชญ์ ชุ ม ชน พบว่ า หมู่ บ้ า นบางประดู่ ต ลอดทั้ ง หมู่ บ้ า นมี ค ลองอ้ อ มไหลผ่ า นทั้ ง หมูบ่ า้ น คลองอ้อมนีถ้ อื ว่าเป็นเสมือน เส้นเลือดใหญ่ เพราะทุกบ้านต้องใช้ ประโยชน์จากคลองนี้ คำ�ว่า “บาง” เป็นคำ�เรียกพื้นที่กลุ่มบ้านที่มีมาแต่ โบราณและทำ � ให้ เ ห็ น ลั ก ษณะของ ภู มิ นิ เวศด้ ว ย บางเป็ น พื้ น ที่ ที่ มี ดิ น บางหรือดินตื้น มักอยู่ใกล้น้ำ� หาก มีน้ำ�หลาก พื้นที่บางเหล่านี้ก็มักจะ น้ำ�ท่วม คลองอ้ อ มนนท์ ปั จ จุ บั น นี้ คื อ แม่น้ำ�เจ้าพระยา (สายเก่า) ในอดีต ที่ ตั้ ง ของบ้ า นบางประดู่ ใ นปั จ จุ บั น
คือกลางแม่น้ำ�เจ้าพระยา หรือเคย มี ส ภาพเป็ น พื้ น ที่ ช ายเลนมี พั น ธุ์ ไ ม้ ป่าชายเลนขึ้นอยู่มาก ยังพบเห็นพืช ที่แสดงถึงป่าชายเลนบ้าง เช่น หวาย ลิง ลำ�พู ลำ�แพน และต้นจาก มีการ ขุ ด พบต้ น ลำ � พู ต ามชายน้ำ � หรื อ คันดินสวน ซึ่งอยู่ห่างจากคลองนั้น ขึ้ น ไปประมาณ 800 เมตร โดยมี ดินเขียวซึ่งเป็นดินเลนทับถมอยู่ แต่ ก่อนเป็นผืนป่าใหญ่ คลองอ้อมนนท์เกิดการตื้นเขิน และการทับถมของดินตะกอนทำ�ให้ ดินงอกออกมา จึงเกิดการตั้งหมู่บ้าน ขึ้ น การเลื อ กตั้ ง ถิ่ น ฐานบ้ า นเรื อ น ของคนในอดีตมักเลือกตั้งอยู่ริมน้ำ� สะดวกในการสัญจร และการหากิน ทั้งจับปลา และการเกษตร แหล่งน้ำ� ในหมูบ่ า้ นมีแม่น�้ำ จำ�นวน 1 สาย และ คลอง 6 แห่ง ได้แก่ คลองเอี่ยวหนู คลองยายเตียบ คลองตาผล คลอง บางอ้อ 1 คลองบางอ้อ 2 และคลอง ตาพ่วง ซึ่งเป็นแหล่งน้ำ�ที่ใช้ได้ตลอด ทัง้ ปี เพือ่ การอุปโภค บริโภค และเพือ่ การเกษตรภายในหมู่บ้าน เช่น การ เลี้ยงสัตว์ ทำ�สวน เป็นต้น ปี 2545 จำ � นวนครั ว เรื อ นใน หมู่บ้านบางประดู่ทั้งหมด 285 ครัว เรื อ น มี ป ระชากรทั้ ง หมด 1,030 คน ประชากรเพิ่มขึ้นมาตามลำ�ดับ ปี 2561 สำ�รวจพบ 679 ครัวเรือน ประชากรรวม 1,716 คน ชาย 798 คน หญิง 918 คน (เทศบาลตำ�บล
หนึ่งฤทัย สังข์รุ่ง. 2545. การประเมินโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง กรณีศึกษากองทุนหมู่บ้าน บางประดู่ หมู่ 6. สารนิพนธ์ประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาการจัดการและประเมินโครงการ, สถาบันราชภัฏพระนคร. กรุงเทพ.
14
24
ไทรม้า, 2561) พื้นที่บ้านบางประดู่ ม.6 ต.ไทรม้า มีขนาด 511 ไร่ 2 งาน 20 ตารางวา หรื อ 0.818 ตาราง กิ โ ลเมตร แต่ ห ากรวมพื้ น ที่ บ้ า น บางประดู่ ม.6 ต.บางรักน้อย จะมี ขนาดที่ใหญ่ขึ้น สภาพเศรษฐกิ จ ค่ อ นข้ า งดี มี หลากหลายอาชีพ ทั้งค้าขาย รับจ้าง ลู ก จ้ า งบริ ษั ท เอกชน รั บ ราชการ ผู้วิจัยสังเกตว่า ทุกครอบครัวมีอาชีพ รองคือ เกษตรกร อาชีพเกษตรกร เป็นอาชีพเสริมที่สามารถสร้างรายได้ ช่ ว ยเหลื อ จุ น เจื อ คนในครอบครั ว ได้เท่านั้น เพราะการทำ�สวนมีต้นทุน ค่ าใช้ จ่ ายที่สูง และทุนรอนที่สั่ง สม มาจากรุ่ น ปู่ ย่ า ตายายจนถึ ง พ่ อ แม่ และส่ ง ต่ อ ให้ รุ่ น ลู ก เริ่ ม ร่ อ ยหรอ และหมดไปจากการประสบภัยพิบัติ เช่น น้ำ�ท่วม น้ำ�แล้ง น้ำ�เค็ม ทำ�ให้ สวนเสี ย หาย การฟื้ น ฟู จำ � เป็ น ต้ อ ง ใช้ทุนที่สะสม หรือบางรายต้องกู้หนี้ ยื ม สิ น ก้ อ นใหญ่ ม าฟื้ น ฟู ส วน แล้ ว กว่ า ผลงานจะผลิ ด อกออกผลให้ ได้ เ ก็ บ เกี่ ย วก็ ยั ง ต้ อ งอาศั ย เวลาอี ก หลายปี ฉะนั้ น จึ ง ไม่ ไ ด้ ทุ่ ม เทเวลา ทำ � สวนที่ จ ะอาศั ย เป็ น รายได้ ห ลั ก ของครอบครัว แต่เลือกที่ทำ�อาชีพ อื่ น ๆ เพื่ อ ให้ มี ร ายได้ ป ระจำ � เข้ า มาเลี้ ย งดู ต นเองและครอบครั ว ก่ อ น ทุ ก ครอบครั ว จะทำ � สวนใน แบบนี้ แ ทบทุ ก ครั ว เรื อ น ผลไม้ ที่ ขึ้นชื่อ คือ ทุเรียนเมืองนนท์ มีทั้ง สายพั น ธุ์ ห มอนทอง ชะนี กระดุ ม ก้านยาว ซึ่งหนึ่งในสายพันธุ์ที่ได้รับ การยอมรับเรือ่ งคุณภาพ คือ ก้านยาว บุญยัง รูปทรงสวย เนื้อหวานมัน
นอกจากนี้ ใ นหมู่ บ้ า นยั ง เคยมี สวนทุ เรี ย นประวั ติ ศ าสตร์ อ ายุ นั บ ร้อยปี สวนแห่งนี้ได้เปิดรับนักท่อง เที่ยวเข้าชมทุกวัน พอหลังปี 2554 น้ำ � ท่ ว มใหญ่ ต้ น ทุ เรี ย นขนาดใหญ่ ล้ ม ตายเป็ น จำ � นวนมาก บางสวน ต้ น ไม้ ต ายหมด จนไม่ มี ทุ น ต่ อ ลม หายใจสวน ต้ อ งปล่ อ ยทิ้ ง ร้ า งแล้ ว เปลี่ ย นการใช้ ป ระโยชน์ จ ากพื้ น ที่ เกษตรเป็นพื้นที่อยู่อาศัย เป็นต้น ประชาชนในชุ ม ชนบ้ า นบาง ประดู่ หมู่ที่ 6 ต.ไทรม้า ได้ร่วมกัน ฟื้นฟูสวนทุเรียน โดยมีการรวมตัวกัน จัดตั้งขึ้นเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เช่น กลุ่ ม วิ ส าหกิ จ ชุ ม ชนอนุ รั ก ษ์ ทุ เรี ย น นนท์ต�ำ บลไทรม้า และวิสาหกิจชุมชน อนุรกั ษ์ผลไม้และพันธุไ์ ม้ เพือ่ อนุรกั ษ์ สายพันธุท์ เุ รียนนนท์ดงั้ เดิมทีเ่ คยปลูก ตั้งรุ่นปู่ย่าตายาย
25
2453
2562
ต.ไทรม้า พื้นที่สวน ต.ไทรม้า ต.บางรักน้อย พื้นที่สวน ต.บางรักน้อย
การเปลี่ยนแปลงพื้นที่สวน และนา ตำ�บลไทรม้า และบางรักน้อย
การเปลี่ยนแปลงของพื้นที่สวน ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
การเปลีย่ นแปลงของพืน้ ทีศ่ กึ ษา มีมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ เกษตร ที่นา ที่สวนมีแนวโน้มลดลง จากเหตุ ปั จ จั ย หลายประการ ผล จากการแปลภาพถ่ า ยทางอากาศ เปรียบเทียบปี 2453 (เทิดศักดิ์และ ศิริวัฒน์15, 2007) และปี 2562 พบว่า พื้นที่เกษตรหายไป 64% เมื่อเทียบ กับปี 2453 หรือร้อยสิบปีที่ผ่านมา ดังแสดงในภาพ หากนับจุดเริม่ ต้นของ การเปลีย่ นแปลงพืน้ ทีส่ วน ในปี 2528 ที่มีการสร้างสะพานพระนั่งเกล้า เพื่อ ขยายความเจริ ญ จากทางฝั่ ง ตะวั น ออกมายังฝั่งตะวันตก พื้นที่ค่อยๆ ถู ก เปลี่ ย นเป็ น ที่ อ ยู่ อ าศั ย หมู่ บ้ า น จั ด สรร ส่ ว นพื้ น ที่ สี เขี ย วที่ เ ห็ น ใน ปั จ จุ บั น มี ทั้ ง ที่ ส วนและพื้ น ที่ ร กร้ า ง
หรือพื้นที่ว่างที่รอการเปลี่ยนแปลง พื้ น ที่ สี เขี ย วถู ก ทำ � ให้ แ ตกกระจาย เป็นเกาะสีเขียว ซึ่งสิ่งนี้จะส่งผลต่อ การดำ�รงอยู่ของสวนอื่นๆ ลุงแสวง นาคนาค บ้านบางประดู่ ตำ�บลบางรัก น้ อ ย เคยกล่ า วว่ า ต้ น ทุ เรี ย นหรื อ ต้นไม้อะไรก็ตาม มันปลูกเดีย่ วๆ ไม่ได้ ตายหมด มันต้องมีเพื่อน เหมือนกับ คนที่ต้องอยู่ร่วมกันเป็นสังคม ในปีนี้ (2563) จะสังเกตได้ว่า พื้ น ที่ ส วนรกร้ า งหลายขนั ด มี ก าร ทำ�สวนต่อ เช่นปลูกกล้วย มะม่วง ทุเรียน น่าจะเป็นผลจากมาตรการ เก็ บ ภาษี ที่ ดิ น ปี 2563 ที่ เ ก็ บ ภาษี ที่ดินรกร้างค่อนข้างสูง ทำ�ให้เจ้าของ ที่ ดิ น เลื อ กปรั บ ปรุ ง เป็ น สวนเกษตร ปลู ก ต้ น ไม้ ซึ่ ง จะได้ รั บ การยกเว้ น ทางภาษี เป็นการลงทุนที่น้อยแต่ให้ คุ ณ ประโยชน์ แ ก่ สิ่ ง แวดล้ อ ม แต่
เทิดศักดิ์ เตชะกิจขจรและศิริวัฒน์ สาระเขตต์, 2007. แผนที่บริเวณลุ่มแม่น้ำ�เจ้าพระยา พ.ศ.2449-2484.
15
26
ในอนาคตก็ ยั ง ไม่ แ น่ น อนว่ า จะเลิ ก ทำ � สวน แล้ ว เปลี่ ย นใช้ ป ระโยชน์ อย่ า งอื่ น เมื่ อ ใด อี ก ทั้ ง ที่ ดิ น นั้ น ตั้ ง อยู่ ใ นเขตผั ง เมื อ งแบบใด ซึ่ ง จาก ประกาศผังเมืองนนทบุรปี จั จุบนั พบว่า พื้นที่สีเขียวเหลืออยู่เพียง 1,900 ไร่ หรือลดลง อีก 40% เมื่อเทียบกับ ปี 62 พื้ น ที่ ส วนบริ เ วณปากคลอง อ้อมนนท์ ตำ�บลไทรม้า บางศรีเมือง บางกร่ า ง และบางรั ก น้ อ ย นั บ ว่ า เป็นเมืองหลวงของผลไม้ สวนทุเรียน ที่ ป ลู ก ในระบบยกร่ อ งที่ นี่ มี ม าก เป็นรองเพียงอำ�เภอบางกรวย จาก ประวั ติ ศ าสตร์ น้ำ � ท่ ว มและน้ำ � เค็ ม ที่ชาวสวนต้องประสบ ตั้งแต่หลังปี พ.ศ.2485 ชาวสวนหลายคนได้เลิก ทำ � สวน ทุ ก ครั้ ง ที่ เ กิ ด ภั ย พิ บั ติ พื้ น ที่ สวนก็จะลดลงไป แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีเจ้าของสวนอีกมากที่มีแนวคิด อนุรักษ์สวนอันเป็นที่รัก เป็นมรดก
ตกทอดสืบย้อนได้ไกลถึงรุ่นย่าทวด ทุกสวนมีประวัติศาสตร์และการปรับ ตัวมาอย่างต่อเนื่อง จึงน่าสนใจว่า แต่ละสวนมีวิธีการอย่างไร
27
1
1. แผนที่บริเวณลุ่มแม่น้ำ�เจ้าพระยา พ.ศ.2453 ร.ศ.128 2. ผลการแปลภาพถ่ายอ้างอิงแผนที่ เป็นพืน้ ทีส่ วน และทุ่งนาทั้งหมด 3. ผลการแปลภาพถ่ายทางอากาศปี 2562 มีพื้นที่ สวนและที่ว่าง ลดลงจากอดีตถึงร้อยละ 64 4. ผังเมืองอนาคต พื้นที่สีเขียวที่เป็นพื้นที่สวนจะ ลดลงกว่าปี 2562 อีกร้อยละ 40
2
3
4
“จะปลูกต้นไม้แต่ละชนิด ต้องอ่านมันให้ลึก ให้ถึงก้นบึ้ง เรียกว่าไม่ใช่อ่านกันเพลินๆ ต้องรู้จักนิสัยใจคอ อ่านมันให้ออก มันก็เหมือนคน บางทีต้นไม้แต่ละชนิดแต่ละพันธุ์ นิสัยมันก็ไม่เหมือนกัน” ลุงแสวง นาคนาค 26 มกราคม 2563
30
บทที่ 3
สวนยกร่องทุเรียนนนท์ ไทรม้า และบางรักน้อย ลุ ง แสวง ปราชญ์ ท้ อ งถิ่ น ที่ มี ประสบการณ์การปลูกทุเรียนมายาว นานกว่า 70 ปี ทดลองแนวคิดใหม่ๆ เสมอ เรียนรู้เทคโนโลยีสมัยใหม่แล้ว นำ�มาปรับใช้ในสวน ใช้เวลาอยูใ่ นสวน ทำ�ความเข้าใจต้นไม้และเรียนรู้จาก ธรรมชาติ คุณลุงเล่าถึงบรรยากาศ สวนในอดีตว่า ในบริเวณสวนยกร่อง มีความอุดมสมบูรณ์คล้ายป่าดงดิบ อากาศเย็นตลอดทั้งปี ในคูคลองมีกุ้ง ปลา แค่เอาสวิงลงช้อนที่ท่าน้ำ�หน้า บ้านเพียงสักครูก่ ไ็ ด้กงุ้ ปลา มาทำ�แกง ทำ�กับข้าวกินแล้ว ไม่ต้องซื้อ ช่วงหลัง น้ำ�ลดเดือน 12 นำ�ควายย่ำ�ลงคลอง พอน้ำ�ขุ่น กุ้งก็ลอยขึ้นจับง่าย และ ควายช่วยทำ�ให้คลองลึกขึ้นอีกด้วย
ชนิ ด พื ช ที่ ป ลู กก็ มี ความแตกต่ างกั น นำ�มาสู่การจัดการสวน ดินและน้ำ�ที่ ต่างกัน
สวนตีนเลนหรือสวนจิงเลน สวนประเภทนี้ เป็ น ที่ ดิ น อ่ อน ชายน้ำ� น้ำ�ขึ้นถึง ตั้งอยู่ห่างจากคลอง สาธารณะเส้ น ทางหลั ก เช่ น แม่ น้ำ � เจ้าพระยา คลองอ้อมนนท์ ไม่เกิน 400 เมตร ประสบกั บ น้ำ �ท่ ว มสวน ในฤดู น้ำ � เหนื อ หลากแทบทุ ก ปี ทำ � สวนลักษณะยกร่อง ใช้ปลูกผลไม้ เช่น ชมพู่สีนาก มะไฟ มะพร้าว ละมุด กล้วย อ้อย โดยยกคันสวนสูงมากเพือ่ ป้องกันน้ำ� สำ�หรับในท้องร่องที่ยังมี น้ำ�ขังอยู่ มีท่อเปิด-ปิด น้ำ�เข้า-ออก ได้ สามารถปลูกข้าว ผักกระเฉด ผักบุง้ และยังมีกุ้ง หอย ปู ปลา หลากหลาย สวนจิงเลนและสวนดอน สวนยกร่ อ งแบ่ ง ออกเป็ น 2 ชนิ ด เข้ า มาอาศั ย เมื่ อ ตอนน้ำ � ท่ ว ม ประเภท ตามลักษณะที่ตั้งสวนใกล้ ตกค้างอยู่จำ�นวนมาก จึงเป็นอาหาร ไกลแม่น้ำ�หรือคลองสายหลัก และ และรายได้เสริมสำ�หรับชาวสวน ดิน 31
เชิงเลนเป็นดินโคลน ขุดลงไปไม่เจอ ดินดาน ชาวสวนจะนำ�ขึ้นมาพอกบน ต้นไม้เป็นสารอาหารหรือปุย๋ แก่ตน้ ไม้ สวนเชิงเลนไม่นิยมขุดร่องน้ำ�ในสวน รอบคันสวนทั้งสี่ด้าน จะมีเพียงหนึ่ง หรื อ สองด้ า นเพื่ อ ที่ จ ะอาศั ย ยั น น้ำ � ช่วงน้ำ�หลากไม่ให้คันนาสวนล้ม ปัจจุบนั พืน้ ทีส่ วนจิงเลนในตำ�บล ไทรม้าและบางรักน้อยเปลี่ยนเป็นที่ อยูอ่ าศัยบริเวณริมน้�ำ ถัดมาเป็นสวน ถูกปล่อยทิ้งรกร้าง ถัดขึ้นไปส่วนที่ติด กับสวนดอน มีการปรับเปลีย่ นปลูกไม้ ผลยืนต้นในลักษณะเดียวกับสวนดอน และมีการทำ�คันดินที่สูงขึ้น สวนดอน สวนประเภทนีต้ งั้ อยูถ่ ดั เข้ามาใน แผ่นดินต่อจากสวนตีนเลนหรือจิงเลน ห่างจากคลองสาธารณะเส้นหลักเกิน 400 เมตร บางส่วนที่ไกลมากมักจะ เป็ น ทุ่ ง นา และนาบางแปลงก็ ป รั บ เปลี่ยนเป็นสวนยกร่อง ชาวสวนจะ ทำ�คันดินกัน้ น้�ำ ติดกับคลองธรรมชาติ หรือคลองขุดขึ้นเป็นคลองซอยย่อย หรือลำ�ประโดง ซึ่งเชื่อมต่อกับคลอง สาธารณะเส้นหลัก ชาวสวนนิยมปลูก พืชผลไม้ยืนต้นประเภททุเรียน ส้มโอ มะนาว ส้ ม เขี ย วหวาน กระท้ อ น มะปราง มังคุด มะม่วง ลิ้นจี่ ขนุน มะไฟ มะพร้าว เป็นต้น ชาวสวนมัก จะขุดท้องร่องสวนให้ใหญ่และลึกเพือ่ กักเก็บน้ำ�ช่วงฤดูแล้ง ลำ�ประโดง เป็ น แหล่ ง น้ำ � สาธารณะที่ ช าว สวนร่วมมือกันขุดขึ้นเพื่อใช้เป็นทาง 32
ระบายน้ำ�เข้าออกสวนของตน โดย ขุดระหว่างรอยต่อของสวนแต่ละเจ้า ที่เชื่อมต่อจากแม่น้ำ�ลำ�คลองเข้าไป ผ่านสวนแต่ละขนัด ลำ�ประโดง เป็น ทางน้ำ�สาธารณะ ไม่เป็นของบุคคล ใดบุ ค คลหนึ่ ง ซึ่ ง ชาวสวนต้ อ งช่ ว ย กั น ดู แ ลรั ก ษามิ ใ ห้ ตื้ น เขิ น นั บ เป็ น ภู มิ ปั ญ ญาอย่ า งหนึ่ ง ในการพึ่ ง พา อาศัยและการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ระหว่างกันของชาวสวน เจ้าของสวนแต่ละสวนประสบ ปัญหาจากภัยพิบัติไม่เหมือนกันตาม ประเภทสวน วิธีการปรับตัว และการ ฟื้นฟูสวนแตกต่างกัน จากการเก็บ ข้อมูลจากชาวสวน 6 ท่าน ซึ่งเป็น เจ้าของทีด่ นิ รับสืบทอดมรดกสามารถ สืบย้อนได้ไกลถึงรุ่นคุณย่าทวด และ ยังคงหลงเหลือต้นไม้อายุเกือบร้อย ปีที่รอดพ้นจากน้ำ�ท่วมใหญ่ 2 ครั้ง คือในปี 2485 และ 2554 โดยการ สำ�รวจสวนมีทั้ง 2 ลักษณะ คือสวน จิ ง เลนและสวนดอน แทบทุ ก สวน ปลู ก ทุ เรี ย นเป็ น พื ช หลั ก และปลู ก พืชอื่นเสริมเป็นไม้เปลือกสวน (ไม้ เปลื อ กสวน คื อ ไม้ ผ ล ผั ก ยื น ต้ น และไม้ ยื น ต้ น ที่ ช าวสวนปลู ก แทรก ตามที่ ว่ า งภายในสวนจนเต็ ม พื้ น ที่ นับเป็นภูมิปัญญาการเลือกชนิดพันธุ์ ไม้ที่เหมาะสมภูมิทัศน์สวนยกร่อง) ที่ผ่านมาการทำ�สวนต้องเผชิญ กับปัญหาภัยพิบัติมาโดยตลอด ทั้ง น้ำ�ท่วม น้ำ�เค็มหนุน จนบางสวนล่ม โดยเฉพาะสวนจิงเลนทีป่ ระสบปัญหา บ่ อ ยครั้ ง ซึ่ ง จะพบเห็ น หลายสวน ปล่อยทิ้งร้าง
1
องค์ประกอบสวนยกร่อง
องค์ประกอบสำ�คัญทีแ่ สดงความ เป็นสวนยกร่อง แสดงตำ�แหน่งของ แต่ละองค์ประกอบดังภาพที่ 1 และ 2 ดังนี้ 1) คันดินหรือคันนา มีรอบสวน เพื่อป้องกันน้ำ�ท่วม โดยมีขนาดของ คั น ดิ น ที่ แ ข็ ง แรง ฐานของคั น ดิ น กว้ า งประมาณ 6.26-11.25 เมตร และความสู ง ประมาณ 1.4-3.25 เมตร บนคั น ดิ น เป็ น ทางเดิ น ร่ ว ม สาธารณะ ความกว้างประมาณ 98155 เซนติ เ มตร และนิ ย มปลู ก ไม้ กันลม ไม้ทนเค็ม เช่น มะม่วงยายกล่�ำ ไผ่ มะปราง ชมพู่มะเหมี่ยว มะไฟ ละมุด มะพร้าว เป็นต้น 2) ร่องดิน มักพบเป็นเลขคี่ เช่น 3, 5, 9 ร่อง และต่ำ�กว่าคันดิน ขนาด ความกว้ า งของฐานร่ อ งแต่ ล ะร่ อ ง
ประมาณ 4.77-10.58 เมตร ความสูง 1.05-1.48 เมตร บนร่องดินมีความ กว้างประมาณ 2.79-9.12 เมตร ทั้งนี้ พบการถมดินในร่องน้ำ�เพื่อเพิ่มพื้นที่ ร่องดิน ปลูกพืชผลไม้ที่มีมูลค่าเพิ่ม มากขึ้น เช่น ส้มเขียวหวาน มังคุด ส้มโอ โดยเฉพาะทุเรียน นิยมปลูกโดย การทำ�โคกซึ่งมีขนาดฐานกว้างเฉลี่ย 3.60 เมตร สูงเฉลีย่ 63.45 เซนติเมตร รวมทั้งปลูกไม้พี่เลี้ยงช่วยกันลมและ บั ง แดดให้ ต้ น ทุ เรี ย นขณะที่ ยั ง เล็ ก ได้แก่ ต้นทองหลางน้ำ� และกล้วย 3) ร่องน้ำ�หรือร่องสวน มักขุด เชื่ อ มต่ อ กั น ทุ ก ร่ อ ง ขนาดของร่ อ ง น้ำ�มีความกว้างประมาณ 1.50-2.27 เมตร ความกว้างฐานร่อง 1.07-1.1 เมตร และมีความลึกประมาณ 4565 เซนติเมตร สามารถกักเก็บน้ำ�ฝน รักษาความชืน้ สัมพัทธ์ในอากาศ และ
1. Profile diagram หรือภาพ ตัดขวาง ตัวอย่างสวนคุณอุทิศ ย่ำ�เที่ยง
33
2
2. การวางท่อตาล ตัวอย่างสวนพี่อุทิศ ย่ำ�เที่ยง
ให้ความชุ่มชื้นในดิน จะมีการบริหาร จัดการน้ำ�โดยการนำ�น้ำ�เข้า-ออก สู่ คลองสาธารณะผ่ า นท่ อ ตาล และ ลอกเลนนำ�ปุ๋ยหมักธรรมชาติขึ้นมา ใช้ประโยชน์แก่ต้นไม้ โดยเครื่องมือที่ สำ�คัญที่ใช้ในการรดน้ำ�คือแครงรดน้ำ� ใช้ลอกเลนคือขนาดสาดเลน ขนาดสาดเลน คือเครือ่ งมือหนึง่ ที่เอาไว้ใช้จัดการดินเลนในร่องสวน ลักษณะเป็นทรงหวด ทำ�จากสังกะสี หรื อ อลู มิ เ นี ย มขึ้ น รู ป กั บ โครงเหล็ ก ในอดีตจะทำ�มาจากไม้ไผ่สาน 4) ท่อตาล ในอดีตท่อตาลทำ�มา จากต้นตาลขนาดใหญ่ ยาวประมาณ 5-6 ศอก ให้ยาวกว่าคันดิน ทะลวง เอาไส้แกนตาลออกให้กลวงเหมือน ท่อน้ำ� วางขวางคันดิน เสมอท้องร่อง สวนหรือท้องคลอง ตำ�แหน่งที่วางใน สวนมักมี 1-2 แห่ง บริเวณคันดินที่ 34
ติ ด คลองสาธารณะหรื อ ลำ � ประโดง หากมี 2 แห่งจะแบ่งหน้าที่ชัดเจนว่า ท่อไหนนำ�น้ำ�เข้าสวน ท่อไหนนำ�น้ำ� ออกสวน ลูกท่อ เป็นตัวควบคุมการเปิดปิ ด น้ำ � เข้ า ออกสวน ซึ่ ง ทำ � มาจาก หลายอย่ า งเช่ น ต้ น ทองหลาง ต้นใหญ่ยาว 3-4 ศอก หรือลำ�ต้น กล้ ว ย ปลายด้ า นหนึ่ ง ถากให้ ก ลม เล็กกว่าท่อน้ำ�ประมาณ 2 ศอก ทำ� กระบังเป็นวงกลมหนาขนาดฝ่ามือ ปลายอีกด้านถากเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า หนาจนสุดปลายไม้ ด้านนี้เจาะรูตรง กลางเป็นวงกลมให้ไม้ไผ่ลำ�ใหญ่สอด ได้ ใ กล้ กับ กระบั ง เอาใบหมากแห้ ง ล้อมเป็นวงกลม เอาใบตองแห้งพัน รอบใบหมาก ความกว้างของวงกลม ให้สอดด้านที่เป็นไม้สี่เหลี่ยมได้ เรียก ว่า เสวียน มีคุณสมบัติเหมือนแผ่น
ปะเก็ น ถ้ า ต้ อ งการน้ำ � เข้ า สวนเอา ลูกท่อไว้ด้านในสวน เอาลูกท่อด้านที่ ถากให้ ก ลมสวมเข้ า ไปในท่ อ น้ำ � เอาเสวียนใส่ด้านสี่เหลี่ยมให้ชิดกับ กระบั ง ด้ า นใน เอาไม้ ไ ผ่ ส อดไปที่ วงกลมปั ก ลงไปในท้ อ งร่ อ งเพื่ อ ยึ ด ลูกท่อไม่ให้เคลื่อนที่ เสวียนจะแนบ กับกระบัง เสวียนช่วยกันน้�ำ ไม่ให้ไหล เข้าหรือออก ตรงข้ามถ้าจะให้น�้ำ ออก จากสวนเอาลูกท่อไว้นอกสวน เสวียน ต้องหมัน่ สังเกตและคอยเปลีย่ นเสมอ เมื่อใบตองแห้งเปื่อย อุปกรณ์ปิดปากท่อตาลอีกชนิด หนึ่ ง เรี ย กว่ า จอหนั ง โดยทำ � จาก กระสอบฟาง หรือกระสอบปุ๋ย ผูก กับไม้ 2 ข้างแล้วขึงกระสอบเหมือน จอหนัง เมือ่ ปักไม้ลงไปบริเวณปากท่อ น้ำ�จะดันเข้าไปปิดปากท่อพอดี น้ำ� ก็จะไม่เข้าแล้ว ซึ่งเปิด-ปิดนำ�น้ำ�เข้า ออกสวนง่ายกว่าลูกท่อ ปั จ จุ บั น ตั ว ท่ อ ตาลหลายสวน เปลี่ ย นเป็ น ท่ อ ซี เ มนต์ ใ ยหิ น ขนาด เส้ น ผ่ า นศู น ย์ ก ลางอย่ า งน้ อ ย 30 เซนติเมตรหรือท่อพีวีซีขนาด 8 นิ้ว และยังคงใช้ลกู ท่อหรือจอหนังเป็นตัว ควบคุมเปิด-ปิดท่ออยู่ โมเดลการจัดการสวนจัดการน�้ำ ที่โดดเด่น
จากงานศึ ก ษาของโครงการ ฟื้ น ฟู ร ะบบนิ เวศสวนยกร่ อ งรั บ มื อ ภัยพิบัติ ปี 2562-2563 พบสวนที่มี ความโดดเด่ น ในด้ า นการอนุ รั ก ษ์ พันธุกรรมพืช โดยเฉพาะทุเรียนสาย พันธุ์นนท์ดั้งเดิม และด้านการจัดการ น้ำ�โดยมีบ่อน้ำ�สำ�รอง เป็นตัวอย่างที่
น่าสนใจ เรียนรู้และนำ�ไปประยุกต์ใช้ ให้เหมาะสมกับพื้นที่ของตนเอง ด้านการอนุรักษ์ความหลากหลาย ทางพันธุกรรมพืช ความหลากหลายของสายพันธุ์ ทุ เรี ย น นั บ เป็ น ความโดดเด่ น ของ พื้นที่สวนทุเรียนนนท์มานานแล้ว ซึ่ง ปั จ จุ บั น นั บ ว่ า หายากที่ ส วนใดสวน หนึ่ ง จะรวบรวมอนุ รั ก ษ์ ส ายพั น ธุ์ ทุเรียนไว้ในสวนได้มาก เพราะพื้นที่ สวนเริ่ ม มี จำ � กั ด และความต้ อ งการ ผลผลิตจำ�หน่ายได้ง่ายจึงเลือกปลูก เฉพาะสายพันธุ์ที่คนนิยมกินกัน เช่น ก้านยาว และหมอนทอง สวนพี่หนึ่ง หนึ่งฤทัย สังข์รุ่ง นับว่าแตกต่างจาก สวนอื่ น ด้ ว ยความตั้ ง ใจมั่ น ว่ า จะ อนุรักษ์สายพันธุ์ทุเรียนเอาไว้ให้มาก ที่สุดดังที่เคยมีก่อนน้ำ�ท่วมปี 54 และ ได้ ทำ � การตั ด ยอดไปเสี ย บ อนุ บ าล ต้ น กล้ า หน่ อ อ่ อ นที่ จั น ทบุ รี ช่ ว งเกิ ด น้�ำ ท่วม และนำ�กลับมาปลูกใหม่ พืน้ ที่ สวนมีเพียง 1 ไร่ 2 งาน ถือว่าขนัดเล็ก สุด แต่จากการสำ�รวจกลับพบต้นไม้ถงึ 193 ต้น โดยเฉพาะทุเรียนมี 51 ต้น 11 สายพันธุ์นับว่ามากที่สุดในกลุ่ม ตัวอย่าง ในสวนยังพบต้นทุเรียนพันธุ์ กบทองคำ�ซึ่งได้รับเมล็ดพระราชทาน จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้าฯ เมือ่ ปี 2556 อี ก สวนหนึ่ ง ที่ มี ค วามหลาก หลายของชนิ ด พื ช คื อ สวนครู ส าน ประสาน จัน่ ลา มีพนื้ ทีส่ วน 4 ไร่ ปลูก ทุเรียนสายพันธุน์ ยิ มคือก้านยาว และ หมอนทอง และส้มเขียวหวานเป็น หลั ก พื้ น ที่ ว่ า งก็ ป ลู ก ไม้ ผ ลชนิ ด อื่ น 35
แซม เช่น มังคุด มะเฟือง น้อยหน่า มะขาม เป็นต้น ไม้ยืนต้นที่ช่วยให้ ร่มเงาและกันลม เช่น ขี้เหล็ก จำ�ปี จิกน้ำ� ข่อย อะราง มะเดื่อ สะเดา และบางต้นยังเป็นผักยืนต้นอีกด้วย เช่น มะรุม กินฝักอ่อนนำ�ไปแกงส้ม มะม่ ว งหิ ม พานต์ กิ น ยอดเป็ น ผั ก จิ้มน้ำ�พริก ยอบ้าน กินใบนำ�ไปทำ� ห่อหมกหรือแกงใบยอ เป็นต้น จากการศึกษาของอาจารย์และ นิสิตภาควิชาการจัดการป่าไม้ คณะ วนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พบจำ�นวนไม้ยืนต้นถึง 54 ชนิด ทั้งนี้ ยังไม่นับพืชล้มลุก พืชผักสวนครัวอีก หลายชนิด ด้านการจัดการน้ำ� จากปัญหาน้ำ�เค็มรุกสวน ทำ�ให้ ไม่ ส ามารถใช้ น้ำ � ในคลองธรรมชาติ สาธารณะหรือลำ�ประโดงได้ ทำ�ให้ ชาวสวนหลายคนต้องใช้น้ำ�ประปาซึ่ง เพิม่ ต้นทุนการดูแลสวน ทางออกหนึง่ ที่ก ลุ่มชาวสวนปรึ กษากั น คื อบ่ อน้ำ � สำ�รอง สวนพี่อุทิศ ย่ำ�เที่ยง เป็นสวน หนึง่ ทีป่ รับตัวขุดบ่อน้�ำ สำ�รองขึน้ สวน นี้เป็นมรดกตกทอดมาจากพ่อตาคือ หมอทองคำ� ระงับภัย ซึง่ เป็นคนแรกๆ ในตำ � บลไทรม้ า ที่ ป ลู ก ทุ เรี ย นพั น ธุ์ หมอนทองอย่างเดียวมานานจนมีชื่อ เสียง ต้นสูงใหญ่ ผลผลิตได้มากเป็น พันๆ ลูก แต่ล่มไปเมื่อน้ำ�ท่วมใหญ่ปี 2485 พื้นที่สวนแห่งนี้เป็นสวนจิงเลน จึงได้รับผลกระทบทั้งน้ำ�ท่วมและน้ำ� เค็มหลายครั้ง นับได้เกือบ 7-8 ครั้ง ในช่วงชีวติ ของพีอ่ ทุ ศิ น้�ำ มาทุก 4-5 ปี 36
ทุกครั้งก็จะเสริมคันดินโดยรอบสวน จึงขุดดินจากข้างบ้านซึ่งอยู่ใกล้สวน เพียง 25 เมตร นำ�มาเสริมคันดินให้ สูงขึน้ กว่าระดับน้�ำ ทีเ่ คยท่วมครัง้ ก่อน จนเกิดบ่อน้�ำ ทีก่ กั เก็บน้�ำ ฝนเป็นแหล่ง น้ำ � สำ � รองสำ � หรั บ สวนไปเลย พื้ น ที่ สวนมีขนาด 4 ไร่ ปลูกทุเรียนพันธุ์ หมอนทองเป็ น หลั ก บ่ อ น้ำ � สำ � รอง ขนาด 25x20x3 เมตร เก็บกักน้ำ�ฝน ได้ปริมาณ 1,250 ลูกบาศก์เมตร และ ดิ น ที่ ขุ ด มาเพิ่ ม ระดั บ คั น ดิ น จนสู ง ถึง 3.24 เมตร และร่องน้ำ�ในสวนยัง สามารถจุน้ำ�ได้ 190 ลูกบาศก์เมตร ต่อ 2 ไร่ จากปัญหาน้ำ�เค็ม น้ำ�เสีย จึงได้ปิดท่อตาลสนิท ร่องน้ำ�ในสวน ใช้รองรับน้�ำ ฝนเท่านัน้ หากบางปีทฝี่ น ตกมาก น้ำ�ในท้องร่องสูงเกินระดับที่ เหมาะสมก็จะใช้เครื่องสูบน้ำ�สูบออก มาเก็บไว้ในบ่อเก็บน้ำ� จนเมื่อเข้าสู่ ช่วงฤดูแล้งน้ำ�ในร่องสวนเริ่มแห้งก็จะ สูบน้�ำ จากบ่อมาเติมในร่องสวนจนถึง ระดับที่เหมาะสม คนทัว่ ไปมักเข้าใจว่าทุเรียนนนท์ ได้ ผ ลดี ต ลอด แต่ ส วนนี้ ป ลู ก เพื่ อ อนุรักษ์สายพันธุ์ทุเรียนเอาไว้ ปลูก มาแล้ว 16-17 ปี ยังไม่มีรายได้เป็น กอบเป็นกำ�จากทุเรียนเลย มีแต่ลงทุน ปลู ก แล้ ว ต้ อ งรอ 8-10 ปี กว่ า จะ ออกดอกติ ด ผลเต็ ม ที่ พอผลออก เต็มที่ก็จะมีโจรขโมยมาลักอีก แล้ว อีกสัก 2 ปี น้ำ�ก็จะมาล้างสวน “เรา สู้กับน้ำ�แบบนี้” เหนื่อย เอาอยู่บ้าง ไม่อยู่บ้าง อีกสวนหนึ่งที่มีการปรับตัวเรื่อง น้ำ�มาอย่างต่อเนื่องคือสวนลุงแสวง นาคนาค เป็นสวนดอนติดกับคลอง
บางประดู่เล็ก สืบทอดต่อจากพ่อแม่ ซึง่ เป็นแบบอย่างการทำ�สวนและสอน สั่งมาโดยตลอด พ่อเคยสั่งว่า “ถ้า ปลูกทุเรียน เอ็งต้องตัง้ คันนาให้สงู ไว้” และยังสั่งไว้อีกว่า “พันธุ์ทุเรียนไอ้อี หนักอย่าปลูกมาก ไอ้หนักสงคราม หรืออีล่า ขั้วมันเล็ก มันยาว มันขาด อายุเยอะ อย่าปลูกมาก” พื้นที่สวนมีขนาด 4 ไร่ 1 งาน ทำ�สวนมานานกว่า 70 ปี มีระบบ การจัดการน้ำ�โดยการนำ�น้ำ�เข้า-ออก ร่องสวนเป็นประจำ� เป็นวิถชี วี ติ ดัง้ เดิม เกิดประโยชน์ที่เห็นผลในปัจจุบันคือ ได้ ดิ น ตะกอนจากน้ำ � ที่ ไ หลเข้ า ออก ช่วงเดือน 11 และ 12 ทำ�ให้ดนิ ในสวน เพิ่มขึ้นทุกปี และยังได้นำ�ดินเลนนี้ มาเสริมคันดินป้องกันน้ำ�ท่วม วัดได้ สูงถึง 2.74 เมตร และร่องดินสูง 1.48 เมตร วัดจากจุดลึกสุดของร่องสวน จนถึงจุดสูงสุดบนหลังร่องดิน ปลูก ทุ เรี ย นแบบยกโคกขนาดใหญ่ เส้ น ผ่านศูนย์กลาง 2.44 เมตร สูง 50 เซนติเมตร ซึง่ ไม่ตอ้ งซือ้ ดินเลย คุณลุง ประมาณการดินเลนที่เกิดขึ้นในสวน น่าจะไม่ต่ำ�กว่า 100 คิว หากคิดเป็น เงินก็นับว่ามากโขทีเดียว ปั จ จุ บั น ชาวสวนหลายรายปิ ด ท่อตาลสนิท ไม่น�ำ น้�ำ เข้าออกสวนเลย เพราะกลัวน้ำ�เค็ม น้ำ�เสีย ปล่อยให้ ท้องร่องแห้งน้ำ� และรดน้ำ�ต้นทุเรียน ด้วยน้ำ�ประปา ซึ่งคุณลุงแสวงคิดว่า การปล่ อ ยท้ อ งร่ อ งแห้ ง จะไม่ เ กิ ด ผลดีกับต้นทุเรียนที่ต้องการความชื้น สูง แล้วการรดน้ำ�ด้วยน้ำ�ประปาเพียง อย่ า งเดี ย วก็ ไ ม่ อ าจทำ � ให้ ค วามชื้ น สัมพัทธ์ในอากาศเพียงพอ 37
1
1. พื้นที่ตำ�บลไทรม้าและบางรักน้อย 2. ขนัดสวนที่ทำ�การศึกษา
2
“ประมาณปี 51 ได้ขายต้นทุเรียนให้กับคุณป้าท่านหนึ่ง อายุประมาณ 70 ปี อาศัยอยู่หมู่บ้านจัดสรร ตรงข้ามตลาดพระราม 5 ป้าบอกซื้อไปคงไม่ได้กินหรอก ปี 54 น้ำ�ท่วมหมู่บ้าน แต่ต้นทุเรียนที่ปลูกท่วมไม่นาน ต้นไม่ตาย พอปี 57 ป้าคนเดิม หิ้วผลทุเรียน มาให้กินพูนึง ป้าบอกว่าได้ผลตั้ง 8 ลูกนะ” สัมภาษณ์พี่หนี่งฤทัย สังข์รุ่ง 12 ตุลาคม 2562
บทที่ 4
ความภาคภูมิใจ และคุณค่าของสวนยกร่อง ความภาคภู มิ ใ จในความเป็ น ชาวสวนทำ�ให้ยังคงรักษาสวนยกร่อง ไว้ได้ถึงปัจจุบัน แล้วสวนได้ทำ�หน้าที่ ของมันสร้างคุณค่า บริการทางระบบ นิเวศ คุณประโยชน์ให้กบั ชุมชน สังคม อย่างมากมายหลายด้าน ทั้งความ มั่นคงทางอาหาร ปอดของเมือง ให้ ความร่มเย็น สบายตา สบายใจแก่ ผู้ผ่านพบ อีกทั้งช่วยสร้างเศรษฐกิจ ชุมชนให้เกิดความมั่นคงยั่งยืน
สวนยกร่องมีความหลากหลาย ทางชีวภาพสูง
ความหลากหลายทางสายพันธุ์ ทุเรียน • ปี 2507 16 ตำ � บลที่ ทำ � สวน ทุ เรี ย นมากในเขตอำ � เภอเมื อ ง คื อ 1. บางไผ่ 2. ตลาดขวัญ 3. ไทรม้า 4. บางศรีเมือง 5. บางกร่าง 6. บางเขน 7. บางรักน้อย สำ�รวจเฉพาะ ต.ไทรม้า 131 ไร่ 4,061 ต้น • ปี 254617 สำ�รวจ ต.บางรัก น้อย 65 ไร่ มากกว่า 443 ต้น • สายพันธุ์ทุเรียนที่นิยมปลูก 5 ลำ�ดับแรก คือ 1. ลวง 2. กระดุมทอง 3. กบแม่เฒ่า 4. กบตาขำ� 5. ก้านยาว
ปราโมทย์ อินทอง. 2507. การสำ�รวจพันธุ์ทุเรียนในเขตอำ�เภอเมือง จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์กสิกรรม และสัตวบาลบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 17 อังกาบ เพ็ชรพวง. 2547. การสืบทอดอาชีพชาวสวนทุเรียนในจังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร มหาบัณฑิต (ไทยศึกษา), มหาวิทยาลัยรามคำ�แหง. 16
41
มังค่า เข็ม มะดัน คล้า ชะพลู ลิ้นจี่ ละมุด ตะไคร้ โมก เต่าร้าง พุด มะอึก ฟักข้าว มะพลับ มะกล่ำ� มะเกลือ ขี้เหล็ก สะเดา ส้มเขียวหวาน มะเขือพวง มะกรูด มะกอกน้ำ� ข่อย กระท้อน จิกน้ำ� สะตอ มะหวด ขนุน มะเดื่อ กระท่อม สัปปะรด ส้มเช้ง ข่า พลู ยอ ส้มโอ มะนาว หมาก ชมพู่ มะปราง พริก ไผ่ มะพร้าว มะม่วง มังคุด ทุเรียน กล้วย ทองหลางน้ำ�
กราฟแสดงจำ�นวนต้นของพืช แต่ละชนิดที่สำ�รวจพบ
42
1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 2 2 2 2 2 2 3 3 3 3 3 3 3 4 6 6 7 8 9
12 12 14
19 21 24 26
69
98
ทั้ง 2 ตำ�บลมีการสำ�รวจพบทุเรียน รวม 44 สายพันธุ์ แต่จากการสำ�รวจของโครงการ ฟื้นฟูระบบนิเวศสวนยกร่องรับมือภัย พิบัติ 2562 • ปี 2562 สำ�รวจ 2 ตำ�บล 12 ไร่ 181 ต้น • พันธุ์นิยม คือ 1. ก้านยาว 2. หมอนทอง พบทุ เรี ย นรวม 15 สายพันธุ์ ซึ่งมีสายพันธุ์ยอดนิยมใน ปัจจุบันที่ไม่เคยมีปลูกมาก่อน เช่น
180
218
233
จันทน์ 3, พวงมณี, หลงลับแล และ หลินลับแล เป็นต้น ถึงแม้วา่ สายพันธุท์ เุ รียนจะลดลง ร้อยละ 66 เมื่อเทียบกับในอดีต แต่ สวนยังไม้ผลชนิดอื่นและไม้เปลือก สวนอี ก หลายชนิ ด จากการสำ � รวจ พื ช ชนิ ด อื่ น ๆ พบว่ า มี ถึ ง 27 วงศ์ 43 สกุล 55 ชนิด 43 สายพันธุ์ รวม 1,016 ต้น เช่น ทองหลางน้ำ� กล้วย สำ � รวจพบถึ ง 5 สายพั น ธุ์ ได้ แ ก่ กล้วยไข่, กล้วยน้ำ�ว้า, กล้วยหอม,
เม็ดในยายปราง พวงมะณี ชายมะไฟ กำ�ปั่นพวง กระดุมสีนาค กระดุมเขียว กบทองคำ� ชะนี จันทร์ 3 ก้านยาววัดสัก กระดุม กบชายน้ำ� กบสุพรรณ ก้านยาว หมอนทอง
1 1 1 1 1 1 1 2 2 2 3 3 4
68
89
จำ�นวนต้นทุเรียนแต่ละสายพันธุ์
จำ�นวนชนิดสัตว์ที่สำ�รวจพบ ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2560 มกราคม 2561
กล้ ว ยตานี และกล้ ว ยเล็ บ มื อ นาง มั ง คุ ด มะม่ ว งยายกล่ำ � (เป็ น สาย พั น ธุ์ ห นึ่ ง ที่ บ่ ง ชี้ ท างภู มิ ศ าสตร์ ข อง จั ง หวั ด นนทบุ รี ) มะม่ ว งน้ำ � ดอกไม้ มะพร้าวไฟ มะพร้าวแกง ไผ่รวก ไผ่ตง พริก มะปราง มะยงชิด ชมพู่ พบถึง 6 สายพันธุ์ ได้แก่ มะเหมี่ยว, สีนาก, เพชร, น้ำ�ดอกไม้,ทับทิมจันทร์ และ ซาลาเปา หมาก และมะนาวไข่และ แป้ น เป็ น ต้ น การสำ � รวจนี้ คิ ด เป็ น ร้อยละ 0.1 ของพื้นที่สวนยกร่องทั้ง
2 ตำ�บล ซึ่งยังไม่ครอบคลุมเพียงพอ จำ�เป็นต้องศึกษาเพิม่ เติม ทำ�เป็นฐาน ข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ ของพืชเพื่อให้ชุมชนสามารถจัดการ นำ�มาใช้ประโยชน์ได้ในอนาคต ความหลากหลายด้านสัตว์ จากการสำ�รวจชนิดสัตว์ระหว่าง เดื อ นกรกฎาคม 2560 ถึ ง เดื อ น มกราคม 2561 บริเวณตำ�บลไทรม้า และบางรักน้อย แสดงกราฟดังภาพที่ 43
พบสิ่งมีชีวิตที่น่าสนใจมากมายที่ไม่ เคยคิดมาก่อนว่าจะเจอได้ใกล้เมือง ขนาดนี้ ซึ่งปกติจะพบเห็นได้ในป่า อย่างนกหัวขวานเขียวป่าไผ่ และหัว ขวานสามนิ้วหลังทอง พื้นที่สวนยก ร่องมีตน้ ใหญ่อยูม่ ากและมีพชื อาหาร หลากหลาย ทำ�ให้เป็นที่อยู่อาศัย ทำ� รังวางไข่และหากินเป็นประจำ�ของนก ประจำ�ถิน่ รวมถึงนกอพยพ นกประจำ� ถิ่นอย่าง กระเต็นใหญ่ธรรมดา นก ตีทอง ฝูงนกแขกเต้าที่อาศัยประจำ� อยู่ที่วัดเฉลิมพระเกียรติก็ได้ใช้พื้นที่ สวนบริเวณนีเ้ ป็นพืน้ ทีห่ ากินช่วงกลาง วัน นกอพยพ เช่น เหยี่ยวกิ้งก่าสีดำ� นกจับแมลงจุกดำ� เป็ดแดง กระเต็น หัวดำ� รวมถึงนกอพยพผ่าน เช่น แอ่น ทุ่งใหญ่ แต้วแล้วธรรมดา คัคคูเหยี่ยว ใหญ่ เป็นต้น กลุ่มสัตว์เลื้อยคลานมีน่าสนใจ หลายชนิด เช่น งูงวงช้าง งูเขียวหาง ไหม้ เต่านา เป็นต้น
ความมั่นคงทางอาหาร ว่า ประมาณ ปี 2554 เกิดน้ำ�ท่วมหนัก ผู้ที่ออก นโยบายแจ้งว่าจะหาพื้นที่ 1 ล้านไร่ เพื่อทำ�พื้นที่แก้มลิง ต้องใช้เงินเป็น พันล้าน แต่หากเอาเงินนี้มาทำ�สวน เกษตรยกร่อง ในพืน้ ทีท่ นี่ �้ำ ท่วม พืน้ ที่ 1 ล้านไร่ สามารถแบ่งพืน้ ทีเ่ ป็นรายละ 15 ไร่ จะทำ�ให้มฟี าร์มทัง้ หมด 67,000 ฟาร์ม ร่องสวนขนาดกว้าง 1 เมตร ลึก 1 เมตร ยาว 40 เมตร จะสามารถ กักเก็บน้ำ�ได้ 380 ลูกบาศก์เมตรต่อ 1 ไร่ ฟาร์มหนึง่ 15 ไร่ รวมน้�ำ ในคลอง ข้างฟาร์ม จะสามารถเก็บน้�ำ ได้ 7,560 ลูกบาศก์เมตร ลองคำ�นวณดูว่าถ้าทำ� ฟาร์มแบบสวนยกร่อง จะทำ�ให้เก็บกัก น้ำ�ได้ทั้งหมด 506.5 ล้านลูกบาศก์ เมตร มากกว่าเขือ่ นขุนด่านปราการชล เสี ย อี ก ระบบกั ก เก็ บ น้ำ � ในสวนยก ร่องสามารถกักเก็บน้ำ�ได้เท่ากับเขื่อน ขนาดกลาง สวนยกร่องเป็นแก้มลิง ที่ทำ�การเกษตรได้
สวนยกร่องรับน�้ำ พื้นที่แก้มลิง ช่วยป้องกันน�้ำท่วมเมือง
สวนยกร่องช่วยบรรเทาฝุ่นละออง ขนาดเล็ก PM2.5
ส ว น ย ก ร่ อ ง เ ป็ น ร ะ บ บ ชลประทานขนาดเล็ ก ที่ ดำ � เนิ น การ โดยชุ ม ชนชาวสวน ช่ ว ยกั น ขุ ด ดิ น ยกร่อง แยกดินและน้ำ�ให้อยู่ และใช้ ประโยชน์ จ ากผื น ดิ น ปลู ก ผลหมาก รากไม้ อาจารย์ชนวน รัตนวราหะ18 ได้บรรยายไว้ในวงเสวนา คุณค่าของ สวนยกร่อง เพื่อรับมือปัญหาฝุ่น สิ่ง แวดล้อม ระบบนิเวศในเมือง และ
ระบบสวนยกร่องมีการปลูกพืช ที่ ห ลากหลายชนิ ด ซึ่ ง ต้ น ไม้ แ ต่ ล ะ ชนิดมีลักษณะใบที่แตกต่างกัน เมื่อ มวลอากาศผ่านเข้ามาในสวนยกร่อง ต้นไม้แต่ละต้น แต่ละใบ จะทำ�หน้าที่ ของมันอย่างเต็มที่ เป็นดัง่ เครือ่ งกรอง อากาศสี เขี ย วชนาดใหญ่ ข องเมื อ ง ศ.ดร.ศิวชั พงษ์เพียจันทร์ และ ผศ.ดร. ธรรมรัตน์ พุทธไทย ได้อธิบายไว้ใน
อดีตผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
18
44
ต้นทุเรียนพันธุ์ย่ำ�มะหวาด รุกขมรดกของแผ่นดินต้นแรก ของจังหวัดนนทบุรี
บทความพิเศษเรือ่ งสวนยกร่องรับมือ ภัยพิบัติรูปแบบใหม่ฝุ่นละอองขนาด เล็ก มีตัวอย่างพืชพรรณไม้ที่สามารถ ดักจับฝุ่นได้ดี (หน้า 113) คุณค่าด้านพื้นที่สีเขียวของเมือง และท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
จากการประกวดต้นไม้ “รุกขมรดกของแผ่ น ดิ น ปี 2562” ลำ � ดั บ ที่ 29. ทุเรียนพันธุ์ย่ำ�มะหวาด สวน เพ็งสุข หมู่ 4 ต.บางรักน้อย อ.เมือง จ.นนทบุรี ต้นแรกของจังหวัดนนทบุรี
รอดพ้นน้ำ�ท่วมใหญ่มา 2 ครั้ง แต่ยัง มีอปุ สรรคว่าเป็นทีด่ นิ ส่วนบุคคล และ ต้นทุเรียนมีความอ่อนไหวง่าย ต่างกับ ต้นไม้ชนิดอื่น ทางเจ้าของสวนจึงยัง ไม่พร้อมที่จะเปิดรับนักท่องเที่ยว นอกจากนี้ ทุกสวนก็นา่ จะมีตน้ ไม้ สำ�คัญประจำ�สวน ต้นไม้ที่เป็นความ ทรงจำ � ดี ๆ ต้ น ไม้ ที่ เ คยขึ้ น ปี น ป่ า ย ตั้ ง แต่ ยั ง เด็ ก ต้ น ไม้ ที่ ใ ห้ ผ ลรสชาติ หวานฉ่ำ�ชื่นใจ ในแง่นี้ ต้นไม้ทุกต้น จึงมีค่าเสมือนมรดกของแผ่นดินทั้ง สิ้นนั่นเอง 45
สวนยกร่อง สร้างความมั่นคงทาง อาหารและเศรษฐกิจชุมชน
ผลผลิตจากสวนยกร่องมีหลาก หลายชนิด นอกเหนือจากทุเรียนที่ เป็ น พื ช หลั ก แล้ ว ไม้ เ ปลื อ กสวนยั ง ให้ ผ ลตามฤดู ก าล สลั บ หมุ น เวี ย น ได้ ต ลอดทั้ ง ปี แต่ ปั ญ หาสำ � คั ญ คื อ ชาวสวนไม่ มี ที่ จำ � หน่ า ย พื้ น ที่ ข าย พ่อค้าคนกลางเข้ามารับซื้อก็กดราคา และชาวสวนเองก็มีความรู้สึกว่าการ ออกไปขายตลาดนอกชุมชนทำ�ให้มี ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ทางชุมชนบ้านบาง ประดู่ ม.6 ต.ไทรม้ า จึ ง มี แ นวคิ ด ที่ จะสร้างตลาดชุมชนท้องถิ่นขึ้น เป็น ตลาดที่แสดงถึงอัตลักษณ์วิถีชาวสวน และความเป็ น ธรรมชาติ เป็ น พื้ น ที่ สื่อสารสาธารณะถึงความงาม สงบ เรี ย บง่ า ย ความมี น้ำ � ใจของชุ ม ชน ชาวสวน ทั้งนี้สวนยังอิงกับวัดที่เป็น ศูนย์กลางทางจิตใจของชุมชน จึงตั้ง ชื่ อ ตลาดอิ ง วั ด อิ ง สวน และได้ เ ปิ ด 46
นั ด ทดลองตลาดอิ ง วั ด อิ ง สวนขึ้ น เมื่ อ วั น เสาร์ ท่ี 29 สิ ง หาคม 2563 ณ สวนชีววิถี ที่ผ่านมา ซึ่งผลตอบรับ ดีมาก มีผู้สนใจเข้ามาเดินในตลาด มากกว่า 500 คน โดยเหตุผลสำ�คัญ ประการหนึง่ คือเรือ่ งความหลากหลาย และความปลอดภัยของอาหารที่ผลิต จากชุมชนที่ยังคงรูปแบบการผลิตที่ ไม่ใช้สารเคมี
ตลาดอิงวัดอิงสวน วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม 2563 ณ สวนชีววิถี
47
วิธีการสำ�รวจขนัดสวนยกร่อง โดยการวางแปลง สำ�รวจพืช วัดขนาดร่องสวน วัดความโต ความสูง ของต้นไม้
“คุณสมบัติของชาวสวน 4 ประการ 1. จะต้องมีทุน คือเงินที่จะได้ออกใช้สอย ในสิ่งที่ควรต้องการ 2. แรงหรือมือเพื่อที่จะได้ทำ�งาน ที่ต้องการ 3. ความรู้ในทางดีที่สุดแห่งการงานที่ทำ� 4. แลความฉลาดเพื่อที่จะได้บัญชาใช้ ทุนแลแรงที่จะต้องออกต้องทำ�” เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) 2471
บทที่ 5
เรื่องเล่าชาวสวนเมืองนนท์
คำ�กล่าวของเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) แสดงให้เห็นว่า ทุ น แรงงาน ความรู้ เป็ น สิ่ ง เรา สามารถหาจากภายนอกได้ และความ ฉลาด ความตั้งใจ ความอดทนที่เป็น คุณสมบัติติดตัวนั้น เกิดจากภายใน ชาวสวนแต่ ล ะคน แรงบั น ดาลใจ กำ�ลังใจทีต่ อ้ งสร้างให้ตนเองสม่�ำ เสมอ จะช่ ว ยทำ � ให้ มี พ ลั ง ต่ อ ลมหายใจ สวนยกร่ อ งต่ อ ไป การส่ ง ต่ อ ให้ ลู ก หลานไม่เพียงแต่จะให้ทุนทรัพย์เป็น เบื้องต้น ให้ความรู้การทำ�สวน การ จั ด การหรื อ ความรู้ จ ากที่ เ รี ย นมา แล้วมาประยุกต์ใช้ แต่ต้องถ่ายทอด ลักษณะนิสัยที่เป็นคุณสมบัติสำ�คัญ ของชาวสวนอีกด้วย
51
บทสัมภาษณ์ ส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น
่ ชีวิตจิตใจ “สวนเป็นดัง ่ ่ อท�ำ” พี่ ขอสานต่อสิ่งทีพ
หนึ่งฤทัย สังข์รุ่ง (พี่หนึ่ง)
โดยส่ ว นตั ว แล้ ว พี่ ทำ � สวนมา ประมาณ 20 ปี สวนเป็นมรดกของ ยายทวด เป็นสวน “จิงเลน” (สวนทีอ่ ยู่ ใกล้แม่น้ำ� ลำ�คลองเส้นหลักลึกเข้ามา ไม่เกิน 400 เมตร) สมัยก่อนเคยเป็น สวนส้ม ส้มเมืองนนท์ เป็นพันธุ์จาก บางมด แต่ถูกน้ำ�ท่วมเมื่อปี 2526 พอปี 2534 คุณแม่ได้รับมรดก ต่อมา จึงได้ปรับปรุงเปลี่ยนเป็นสวน ทุเรียน มีการปรับแนวร่องน้ำ�ในสวน ใหม่ จากเดิมวางแนวเหนือ-ใต้ มา เป็น ตะวันออก-ตะวันตก ดังที่เห็น ในปัจจุบัน และซื้อดินมาถมเพิ่มคัน ดินรอบสวน เพราะคันดินเดิมต่ำ�อาจ ทำ�ให้น้ำ�เข้าท่วมสวนได้ แต่พอปี 2538 น้ำ�ท่วมอีกครั้ง ท่วมขัง นานอยู่ 3เดื อน ต้ น ทุ เรี ย น ตายทั้งหมด ปี 2539 เราปลูกทุเรียน ใหม่ แต่พอถึงปี 2545 พอทุเรียนเริ่ม ออกดอก น้�ำ ก็ทว่ มอีก ต้นทุเรียนตาย ทั้งหมด ตอนนั้นน้ำ�มาตอนประมาณ 5 ทุ่ม เราได้พายเรือบดไปดูสวน แล้ว 52
เห็ น ว่ า คั น ดิ น ที่ เ สริ ม กระสอบทราย แล้วรอบสวน ทั้ง 4 ด้านอาจจะพัง ลง เพราะไม่สามารถต้านทานแรงน้ำ� ได้ อีกทั้งสวนเรามีขนัดสวนที่ต่ำ� จึง ตัดสินใจ ทั้งที่น้ำ�ตาตกใน ว่า “ถ้า ไหนๆ จะพังแล้ว ก็ขอพังด้วยตัวเอง เถอะ” จึงตัดสินใจเปิดกระสอบทราย ให้น้ำ�เข้าสวน หลั ง จากนั้ น เราปลู ก ใหม่ อี ก ครั้งช่วงปลายปี 2546 ซึ่งซื้อพันธุ์มา จากระยอง โดยพี่ได้เข้ามาปลูกเอง เพราะพ่อกับแม่ท�ำ ไม่ไหวแล้ว โดยหา ความรู้แบบครูพักลักจำ�จากปราชญ์ ท้องถิ่น คือ คุณตายิ่ง บุญยัง, คุณ ประยูร บุญยัง ที่คอยดูและสอนวิธี การปลูกทุเรียน แล้วจึงนำ�ความรู้ที่ ได้มาลองผิดลองถูกในสวนเอง จน ได้ผลผลิตครั้งแรกช่วงปี 2550-2551 เป็นทุเรียนพันธุ์กระดุมสีนาก 46 ลูก พันธุ์หมอนทอง 28 ลูก พันธุ์ก้านยาว 2 ลูก และ พันธุ์ชะนี 1 ลูก เหตุที่ให้ ผลผลิตเร็ว พี่คิดว่าเป็นเพราะ 1) เรา ดูแลเอง 2) ความชืน้ สัมพัทธ์ในอากาศ ค่อนข้างสูง และ 3) น้ำ�ไม่เค็ม
ภาพชั้นเรือนยอด และภาพปกคลุมของพืช สวนพี่หนึ่ง
แต่พอปี 2554 ก็เกิดเหตุการณ์ น้ำ�ท่วมอีกครั้ง โดยครั้งนั้น วันที่ 19 กันยายน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ (ขณะนั้น) ได้ทรงมีรับสั่งให้เจ้า หน้าทีม่ าขลิบยอดทุเรียนนนท์ทงั้ หมด ไว้ก่อน เพราะว่าท่านมองการณ์ไกล ว่าทุเรียนนนท์จะสูญพันธุ์ พอวันที่ 23 ตุลาคม น้ำ�ก็เข้าท่วมทั้งจังหวัด นนทบุรี ส่ ว นตั ว พี่ กั บ พี่ เ ล็ ก (คุ ณ อนิ รุ ธ บุ ญ ยั ง ) ได้ ร่ ว มกั น ขลิ บ ยอดทุ เรี ย น นนท์ไว้ รวมทั้งหมด 7 ครั้ง แล้วเช่า พืน้ ทีท่ จี่ นั ทบุรเี พือ่ ทำ�เรือนอนุบาลต้น กล้า โดยการนำ�ไปเสียบยอด ฉะนั้น พันธุท์ เุ รียนนนท์จงึ ยังคงสมบูรณ์ เมือ่ มี ก ารฟื้ น ฟู ส วนกั น ใหม่ ใ นปี 2555 ชาวสวนละแวกบางอ้ อ จึ ง ได้ ซื้ อ กิ่ ง พันธุ์กลับไปปลูกใหม่ ซึ่งรู้กันว่าเป็น พันธุ์ดั้งเดิมทั้งหมด ส่วนสวนพี่เองปลูกใหม่อีกครั้ง ปี 2555 เมื่อวันที่ 18 เมษายน โดย ซื้ อ พั น ธุ์ จ ากพี่ เ ล็ ก เช่ น กั น และเริ่ ม ได้ผลผลิตครั้งแรกปี 2562 ซึ่งถือว่า ช้ า กว่ า แต่ ก่ อ นมาก พี่ คิ ด ว่ า เป็ น
เพราะปัญหาอากาศเสีย น้ำ�เค็ม และ น้ำ�เสีย สภาพพื้ น ที่ ส วนโดยรอบเป็ น ของญาติและทำ�สวนแน่นอน ไม่ขาย ที่สวน จึงยังคงเห็นสภาพในพื้นที่ ที่ ยังเป็นสวนอยู่ หากมองอนาคต อาจ จะเหลื อ สวนอยู่ น้ อ ยมาก ในกลุ่ ม ตระกูลใหญ่ๆ ที่มีทุนทรัพย์ และต้อง มีใจรักด้วย “ประโยชน์ของสวนยก ร่อง นอกจากกักเก็บน้ำ�แล้ว ยังทำ�ให้ ดินโปร่ง อากาศในดินดี ร่องน้ำ�ก็ใช้ เลี้ยงปลาได้” เราควรส่ ง เสริ ม ให้ ทุ ก บ้ า นใน หมู่ บ้ า นจั ด สรรปลู ก ทุ เรี ย นหลั ง ละ 1 ต้น แทนการปลูกมะม่วงหรือไม้ ประดับ เพื่อให้ “ทุเรียนนนท์คงยังอยู่ คู่เมืองนนท์” ให้ความรู้การปลูกและ ดูแลต้นทุเรียน เมื่อประมาณปี 2551 พี่ได้ขาย ต้นทุเรียนให้กับคุณป้าท่านหนึ่งอายุ ประมาณ 70 ปี อาศั ย อยู่ ห มู่ บ้ าน จัดสรรตรงข้ามตลาดพระราม 5 คุณ ป้าบอกซื้อไปคงไม่ได้กินหรอก ตอน ปี 2554 น้�ำ ท่วมหมูบ่ า้ น แต่ตน้ ทุเรียน 53
ภาพถ่ายมุมบนสวนพี่หนึ่ง
ที่ปลูกท่วมไม่นาน ต้นไม่ตาย พอปี 2557 คุณป้าคนเดิมหิ้วผลทุเรียนมา ให้กินพูนึง ป้าบอกว่าได้ผลตั้ง 8 ลูก นะ นั่นคือความภูมิใจของเรา
120 วัน เนือ้ จะสวยงาม รสชาติดมี าก แต่เมื่ออากาศเปลี่ยน ความชื้นน้อย ความสมบูรณ์ของดินน้อยลง “รสชาติ ความอร่อยไม่สู้เหมือนเดิม” ทุเรียนดี ต้องเนื้อละเอียด และเส้นใยน้อย ช่วงทุเรียนออกดอก ผสมเกสร เป็ น ช่ ว งเดื อ นธั น วาคมถึ ง มกราคม แต่ปลายใบมีอาการไหม้ ทำ�ให้การ ออกดอกชะงัก คาดว่าอาการปลาย ใบทุเรียนไหม้ สาเหตุหนึ่งน่าจะมา จากความร้อนของการปล่อยไอน้ำ�ใน กระบวนการผลิ ต ไฟของโรงไฟฟ้ า ฝ่ายผลิตที่อำ�เภอบางกรวยตอนล่าง ระยะห่างโดยประมาณ 15 กิโลเมตร ซึ่ ง ตรงส่ ว นนี้ ท างโรงไฟฟ้ า มองว่ า ไม่ อ ยู่ ใ นวงของผู้ ไ ด้ รั บ ผลกระทบ ที่ จำ � เป็ น เร่ ง ด่ ว น คื อ รั ศ มี 5 และ 10 กิ โ ลเมตร เราอยากเสนอว่ า หน่วยงานภาครัฐควรจะต้องมีเครื่อง วัดอากาศมาตั้งในชุมชนด้วย
คิดว่าการพัฒนาต่างๆ ในพื้นที่มี ผลกระทบต่อสวนยกร่องในพื้นที่ อย่างไรบ้าง? พี่ เ ห็ น ว่ า มี ทั้ ง ข้ อ ดี แ ละข้ อ เสี ย ข้อดีคือนำ�ความเจริญเข้ามาในชุมชน การขยายถนน 8 เมตรจะทับที่ดิน บางส่วนของสวนซึ่งจะได้ค่าเวนคืน ที่ดินจากรัฐ และจะได้นำ�เงินทุนก้อน ใหม่นี้ใช้หนี้สิน หล่อเลี้ยงครอบครัว ซึ่งก็อาจจะทำ�ให้ทำ�สวนต่อได้ แต่ข้อ เสียคือจะมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ ประโยชน์ที่ดินจากพื้นที่เกษตรเป็น เมือง แบบนี้ “ทุเรียนจบแน่นอน” เมื่ อ ก่ อ นการเก็ บ เกี่ ย วทุ เรี ย น ปกติหมอนทองที่ 120 วัน แต่ปจั จุบนั ตั ด เร็ ว ขึ้ น ที่ 109-110 วั น เพราะ อากาศแห้ง ความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ� ถ้า ปัจจุบันมีการดูแลสวนอย่างไร? ตัดที่ 120 วัน ทุเรียนจะห้าว ห้าวคือ ปั จ จุ บั น ต้ อ งใช้ เ ทคโนโลยี ช่ ว ย แกน กินไม่ได้เลย เมื่อก่อนต้องตัดที่ ผสมเกสร เร่งปิดตาใบ เปิดตาดอก 54
แต่อดีตชาวสวนจะมีการเลีย้ งผึง้ หลวง หรื อ ชั น โรงไว้ ใ นสวนเพื่ อ ช่ ว ยผสม เกสร แต่ปัจจุบันแทบไม่เหลือแล้ว ปกติ ก ารจั ด การสวนจะมี ก าร เปิ ด ปิ ด น้ำ � ผ่ า นท่ อ ตาลเป็ น ประจำ � ช่ ว งน้ำ � ขึ้ น หรื อ น้ำ � ดี เข้ า มาเก็ บ กั ก ร่องน้�ำ ในสวนไว้เพือ่ รดน้�ำ แต่ปี 2557 มีปัญหาน้ำ�เค็มรุกในพื้นที่ ชาวสวน สังเกตเห็นต้นทุเรียนเริ่มใบแห้ง ร่วง มาก จึงคิดว่าขาดน้ำ�แล้วก็รดน้ำ�เพิ่ม มากขึ้ น กว่ า เดิ ม จนต้ น ยื น ตาย จึ ง คุยกับเพื่อนชาวสวนบางกร่าง เขา ก็ เ ป็ น เหมื อ นกั น เพราะปั ญ หาน้ำ � เค็ม ชาวสวนจึงได้ซอื้ เครือ่ งวัดน้�ำ เค็ม ส่วนตัวมาวัดน้ำ�ในร่องสวนเลย ถึง รู้ว่าค่าความเค็มสูงถึง 4.7 ppm ซึ่ง โดยเกณฑ์ปลอดภัยสำ�หรับต้นทุเรียน คื อ 0.25 ppm นั่ น คื อ สู ง มากกว่ า 200 เท่า การแก้ปัญหาคือไม่ใช้น้ำ�ในท้อง ร่องเลย แล้วมาใช้น้ำ�ประปาทั้งหมด ตัง้ แต่ปี 2558 ยังคงมีน�้ำ ไว้ในท้องร่อง สวนจะไม่ปล่อยให้แห้งเลย เพือ่ รักษา ระบบนิ เวศ ทำ � ให้ ดิ น ชุ่ ม ชื้ น รั ก ษา ความชืน้ สัมพัทธ์ในอากาศภายในสวน และปิ ด ท่ อ ตาลถาวร แต่ เ มื่ อ ใช้ นำ้ � ประปาก็ตามมาด้วยค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น โดยเฉพาะช่วงฤดูแล้ง ค่าน้ำ�ประปา สูงถึง 8,000 บาทต่อเดือน ขณะที่ได้ รับส่วนลดค่าน้ำ�แล้วตามปริมาณน้ำ� ที่จำ�กัดไว้ ซึ่งหากใช้เกินก็จะถูกคิดใน อัตราปกติ การแก้ปัญหาอีกทางหนึ่ง ก็คือการขอความอนุเคราะห์น้ำ�จาก เทศบาลตำ�บลไทรม้า สำ � หรั บ ประตู กั้ น น้ำ � ในพื้ น ที่ มี ผลโดยตรงต่อการนำ�น้ำ�เข้าสวนและ
ระบายน้ำ�ออก ทำ�ให้ที่ไม่เป็นไปตาม วั ฏ จั ก รการขึ้ น ลงของน้ำ � แร่ ธ าตุ ดี มาจากตะกอนน้ำ� พอมีประตูกั้นน้ำ� ก็ กั น ตะกอนด้ ว ย อี ก ทั้ ง คลองหรื อ ลำ�ประโดงยังเป็นทางระบายน้ำ�เสีย ของหมู่บ้านจัดสรรอีก ยิ่งทำ�ให้ทั้งน้ำ� และตะกอนดินในคลองเสียไปหมด ส่วนประตูกนั้ น้�ำ คลองอ้อมนนท์ นั้น เห็นว่าช่วยลดความเสี่ยงจากน้ำ� ท่วมได้ เพราะปิดทุกเส้นทางน้ำ�จาก คลองบางกอกน้อยที่เชื่อมด้วยคลอง บางกร่ า ง แต่ ยั ง คงไม่ ส ามารถกั้ น น้ำ�เค็มได้ โดยผลกระทบจากน้ำ � ท่ ว มปี 2554 ทำ�ให้ลักษณะกายภาพของดิน เปลี่ยนไป ดินเมืองนนท์เสีย ลักษณะ ดิ น แน่ น เกิ น ไป และสวนเป็ น สวน จิ ง เลน ติ ด คลองใกล้ กั บ ปากคลอง อยู่หลังประตูกั้นน้ำ� จึงเป็นหน้าด่าน ของการปะทะกั บ น้ำ � เค็ ม ปี 2557 ถึงแม้วา่ จะปิดท่อตาลแล้ว น้�ำ เค็มก็ยงั ซึมผ่านชั้นดิน เข้ามาสะสมความเค็ม อยู่ในดินเลนท้องร่องสวน ทำ�ให้ลอก เลนไม่ได้ โดยในส่ ว นของน้ำ � เสี ย จาก หมู่ บ้ า นก็ มี ผ ลกระทบเช่ น กั น แต่ แก้ไขโดยใช้วิธีการของในหลวง ร.9 ในการแกล้งดิน ด้วยการใช้แกลบดิบ และมูลวัว ขุดหลุมระหว่างต้นทุเรียน ลึกประมาณ 70-80 ซม. ความกว้าง แล้วแต่ระยะห่างของต้นทุเรียนที่จะ ไม่กระทบราก โดยใส่แกลบดิบสลับ กั บ มู ล วั ว เป็ น ชั้ น ๆ ก็ สั ง เกตเห็ น ว่ า ต้นทุเรียนดูแข็งแรงขึ้น เพราะมีการ ปรับโครงสร้างดิน และทำ�ทุก 4 เดือน แต่ย้ายตำ�แหน่งหลุมใหม่ 55
ภาพปกคลุมของพืชสวนพี่หนึ่ง
สำ�หรับการแก้ปญ ั หาดินเค็มจาก ผลพวงของเปิ ด น้ำ � เข้ า สวนแล้ ว ไม่ รู้ ว่าเค็ม และน้�ำ เค็มทีซ่ มึ ผ่านชัน้ ดินเข้า มาผสมน้ำ�ในท้องร่อง ได้ใช้ปูนขาว เพื่อช่วยดูดซับความเค็มในดิน และ ได้ทดลองทำ�ดูเมื่อปลายปี 62 ซึ่งยัง ไม่สามารถวัดผลได้ ส่ ว นตั ว มองว่ า หากจะปลู ก พื ช ที่ ส วนเดิ ม กั บ สภาพดิ น ที่ เ ค็ ม ต้ อ ง เลือกปลูกพืชตระกูลส้ม แต่ถ้ามองใน มุมความคุ้มค่าการลงทุน ของราคา ผลผลิตต่อราคาที่ดินที่สูงมาก ก็อาจ จะไม่คุ้มค่านัก ผลผลิตไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย ที่ลงทุนไปในระหว่างรอผลผลิตเลย ตลอด 7 ปี ซึ่งปี 62 ได้ผลทุเรียน 2 ลูก คือก้านยาว 1 ลูก กระดุมสีนาก 1 ลูก ถ้าเทียบความคุ้มค่า ชาวสวน แทบไม่มีรายได้ มีแต่ค่าใช้จ่ายในการ บำ � รุ ง รั ก ษาดู แ ลค่ อ นข้ า งสู ง แต่ ยั ง คงทำ�เพื่อการอนุรักษ์ แต่จะอนุรักษ์ ได้ น านอี ก เท่ า ไรไม่ รู้ เพราะเหตุ 56
ปัจจัยเสี่ยงมากเหลือเกิน เริ่มรู้สึกท้อ และปั ญ หาสุ ข ภาพที่ เจ็ บ ป่ ว ยบ่ อ ย ทำ�ให้การขายผลทุเรียนปีนี้ถูกหักเงิน จากผลทุเรียนที่แกนหรือเสีย 1 พู ถูก หักเงินกว่า 4,000 บาท โดยปัจจุบัน การขายผลทุ เรี ย นเป็ น ลั ก ษณะจอง ลูกต่อลูก หลังน้ำ�ท่วมปี 2554 ต้องกู้เงิน เพิม่ ที่ ธ.ก.ส. (ธนาคารเพือ่ การเกษตร และสหกรณ์ ) เพื่ อ ฟื้ น ฟู ปรั บ ปรุ ง รักษาสวนทุเรียนนนท์เอาไว้
“อยู่บ้านก็ไม่ได้ท�ำอะไร ไปสวนยังได้ท�ำก๊อกก๊อก...แก๊กแก๊ก ได้ออกก�ำลังกาย ่ ั กผ่อนของคนแก่” เหมือนทีพ
ณรา ไชยชนะ (พี่แนน)
ที่ บ้ า นทำ � สวนอยู่ ห ลายขนั ด ปลูกทุเรียน มาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายาย ระยะทางจากบ้านไปสวนประมาณ 300 เมตร เดิ น ทางด้ ว ยจั ก รยาน สามล้อหรือรถยนต์ สวนนี้ซื้อต่อมา ในรุ่นคุณพ่อคุณแม่ ดั้งเดิมเขาปลูก ส้มและมะไฟ พอน้ำ�ท่วมสวนล่ม จึง ปลูกทุเรียน ปี 2554 น้�ำ ท่วมสวนล่ม ทุกอย่าง ตายหมด กล้วยก็ตาย มีหญ้าอย่าง เดียวที่ไม่ตาย น้ำ�ขังนานกว่า 2 เดือน เหลือรอดคือต้นมะม่วงยายกล่ำ� ที่ ปลูกด้วยเมล็ดบนคันดิน คุณแม่คือ ผู้ฟื้นฟูสวนทุเรียนขึ้นมาอีกครั้ง โดย ได้รับกล้าพันธุ์ทุเรียนแจกจากจังหวัด นนท์บา้ ง เทศบาลบ้าง หรือหน่วยงาน ภาครัฐและเอกชนบางแห่ง แต่ปลูกไป ได้ 4-5 ปี ต้นกล้าเจริญเติบโตไม่คอ่ ยดี บางต้นยืนต้นตาย ขณะเดียวกันพีเ่ อง ได้ลาออกจากงานประจำ�ที่ธนาคาร กรุงไทยเมือ่ ปี 2558 มาดูแลพ่อกับแม่ และลูกสาว จึงได้เข้ามาช่วยพ่อและ แม่ท�ำ สวนต่อ โดยซือ้ กล้าพันธุท์ เุ รียน ทีม่ อี ายุมากกว่า 1 ปีความสูงมากกว่า
1 เมตร ซึ่งราคาอาจสูงถึง 6-7 ร้อย บาทต่ อ ต้ น โดยซื้ อ มาจากหลาย แหล่ง เช่น กลุม่ วิสาหกิจชุมชนอนุรกั ษ์ ทุเรียนนนท์ ไทรม้า สวนอภิรัญญา ที่ซอยช้าง บางรักน้อย รวมถึงร้าน ขายต้นไม้ที่จันทบุรี เพื่อปลูกทดแทน ต้นทีต่ าย แนวคิดในการทำ�สวนมักมา จากเพื่อนชาวสวนที่ท่าใหม่ จันทบุรี โดยต้องปลูกทุเรียนในที่โล่ง อากาศ ถ่ายเท จึงได้ตัดลานต้นทองหลางน้ำ� ต้นกล้วย ต้นหมากออกจนโล่ง และ นำ�กิง่ ไม้ ลำ�ต้นไปถมร่องน้�ำ และซือ้ ดิน มาถมเพื่อเพิ่มร่องดินปลูกต้นไม้ สมั ย ก่ อ นพื้ น ที่ ร อบสวนเป็ น สวนยกร่ อ งปลู ก ผลไม้ ห ลากหลาย คล้ายป่า ทำ�ให้อากาศเย็นดี มีความ ชุ่ ม ชื้ น แต่ พ อมี ห มู่ บ้ า นจั ด สรรเข้ า มามากขึ้นอยู่รายรอบพื้นที่สวน ทุก บ้ า นมี เ ครื่ อ งปรั บ อากาศ เมื่ อ เปิ ด ก็จะทำ�ให้อากาศร้อนขึ้น อีกทั้งน้ำ� ท่วม น้ำ�เค็มทำ�ให้หลายสวนเลิกปลูก ปล่อยทิง้ ร้าง และขายทีด่ นิ ไป เปลีย่ น วิ ถีชี วิ ตสู่ สังคมเมื อง ใช้ เ งิ น ทองจน หมดก็ย้ายไปอยู่ที่อื่นเลย หากที่สวน ถูกรายรอบด้วยหมู่บ้านจัดสรร อาจ จะคิดทบทวนอีกครั้งแล้วค่อยตัดสิน 57
ภาพชั้นเรือนยอด และภาพปกคลุมของพืช สวนป้าเสมอและพี่แนน
ใจ หากได้ราคาเป็นที่พึงพอใจ เพราะ ว่ า ถึ ง แม้ ว่ า จะปลู ก ทุ เรี ย นก็ อ าจจะ ไม่ได้ผลดีแล้วเพราะสภาพแวดล้อม สภาพอากาศ ความร้อนสะสม แสง สะท้อน ต้นไม้อยู่ไม่ได้ ยิ่งถ้าน้ำ�ใน คลองที่ ติ ด กั บ สวนเป็ น น้ำ � เสี ย มาก ขายสวนเสี ย ดี ก ว่ า เพราะเชื่ อ ว่ า ต้องปลูกทุเรียนอย่างเดียว ถ้าไม่ปลูก ขายก็ปลูกพืชอื่น เช่น มังคุด มะม่วง กล้วย ปลูกเพื่อให้ที่ดินไม่ว่างเปล่า รายได้ แ ค่ พ ออยู่ ไ ด้ จะไม่ ไ ด้ ร ายได้ เป็นกอบเป็นกำ�เหมือนทุเรียน รุ่นนี้ปลูกมาตั้งแต่ปี 2554 ยังไม่ ได้ผลผลิตเลยสักลูก ลงทุนอย่างเดียว บางต้นอายุ 8 ปีแล้ว ก็โดนปลวกชอน ไชลำ�ต้น บางต้นทีต่ ดิ ลูกแล้วเมือ่ ไม่ได้ ใส่ปุ๋ย ต้นอยู่ในที่ร่ม ก็สลัดลูกทิ้งหมด ต้น ตอนนี้ พื้ น ที่ ป ลู ก ทุ เ รี ย นเป็ น สวนน้อยลง ถูกเปลี่ยนเป็นหมู่บ้าน จัดสรร สมมุติบ้านหนึ่งหลังขนาด 50 ตารางวา มี พื้ น ที่ ว่ า งหน้ า บ้ า นเล็ ก 58
น้ อ ย เมื่ อ ก่ อ นจะนิ ย มปลู ก มะม่ ว ง เพื่อกิน ถ้าปลูกทุเรียน ได้กิน 2-3 ลูก ก็นับว่าดีแล้วและยังเป็นทุเรียนนนท์ อี ก ด้ ว ย หาซื้ อ ยาก ขณะที่ ม ะม่ ว ง มี ข ายตลอดทั้ ง ปี แต่ อ ย่ า งไรก็ ต าม มองว่าการปลูกทุเรียนในบ้านจัดสรร ก็ มี ส ภาพแวดล้ อ มที่ ไ ม่ เ หมาะสม มากนัก เหมือนจับสัตว์ป่าไปอยู่ใน สวนสัตว์ เป็นได้แค่ไม้ประดับ ส มั ย ก่ อ น ถ้ า เ ป็ น ช่ ว ง ห น้ า ผลทุเรียนออกต้องมาเฝ้าสวน ดูผล ทุกวัน ไม่อย่างนั้นผลทุเรียนอาจหาย ไปได้ มีวธิ ใี นการจัดการสวนอย่างไรบ้าง? ทุเรียนเป็นพืชไม่ทนน้ำ�ขัง แต่ก็ ขาดน้ำ�ไม่ได้ หากน้ำ�ท่วมขังโคนต้น ไม่เกิน 7 วัน ใบจะแห้ง ร่วง แล้วถ้า น้ำ � ลดลงก็ พ อที่ จ ะฟื้ น ฟู ต้ น ได้ การ ปลูกทุเรียนจึงจำ�เป็นต้องยกโคกให้สงู จากหลังร่องเมือ่ เวลารดน้�ำ หรือฝนตก น้ำ � จะไม่ ขั ง โคนต้ น แล้ ว ไหลลงราง
ภาพถ่ายมุมบนสวนป้าเสมอ และพี่แนน
เพิ่ ม ความชุ่ ม ชื้ น ในดิ น และสั บ ต้ น และใบกล้วย หรือกิง่ ทองหลางเป็นชิน้ เล็กใส่ไว้ในรางรอบโคก สำ�หรับกิง่ พันธุต์ อ้ งเลือกกิ่งพันธุ์ ที่ เ ป็ น กิ่ ง ทาบพั น ธุ์ ดี แต่ ก็ ย อมรั บ ว่าการเพาะเมล็ดต้นทุเรียนจะเหมาะ กับพืน้ ที่ แต่ทไี่ ม่เลือกเพราะให้ผลผลิต ช้า อาจจะนานถึง 10 ปี ข้อเสียของ กิ่งทาบคือไม่มีรากแก้ว ต้นอาจจะไม่ สามารถต้านทานพายุลมแรงได้ ส่วนกำ�จัดวัชพืชปีละ 4 ครัง้ โดย จ้างแรงงาน 1-2 คน ใช้เวลา 2-3 วัน ต่อครัง้ รวมถึงจ้างพรวนดิน จ้างใส่ปยุ๋ ปีละ 2 ครั้งไปพร้อมกัน ค่าใช้จ่าย 4-5 พันบาทต่อครั้ง ปลูกทุเรียนต้องตั้งโคก โดยซื้อ ดินใหม่ ขุดเอาดินเก่าออกเล็กน้อย รองก้นหลุมด้วยกิ่งไม้ทองหลาง หรือ ลำ�ต้นกล้วยสับเป็นท่อน วางเรียง ใส่ เศษใบไม้ลงไปจนเกือบเต็ม เตรียม ต้นทุเรียนโดยกรีดรอบก้นถุง แล้วนำ� ต้นกล้าไปวางตรงกลางหลุม ดึงถุงขึ้น
มาตรงๆ แล้วใส่ดนิ ใหม่ เพราะดินใหม่ ทำ�ให้รากทุเรียนหากินง่ายขึ้น ดีขึ้น แล้วจึงใช้ดินเลนกลบด้านบน ขุดร่อง รอบโคกให้ลึกครึ่งหนึ่งของหน้าจอบ เมื่อต้นทุเรียนเริ่มตั้งตัวได้ จึงจะจัด รากตะขาบให้แผ่กระจายรอบทิศทาง เพื่อช่วยพยุงลำ�ต้นให้แข็งแรงในปีที่ 2 และก็นำ�เศษกิ่งไม้ ใบไม้ที่ได้จาก ตัดแต่งต้นไม้ในสวนมาคลุมโคน และ ขยายร่องรอบโคกให้กว้างขึ้น เรื่องรดน้ำ� อดีตญาติพี่น้องจะ ช่วยกัน 2-4 คน จะเดินถือแครง ถือ ขนาด จากบ้านไปสวน แบ่งกันคนละ ร่อง ยืนเว้นร่อง โดยยืนคร่อมร่องน้ำ� แล้ววิดน้ำ�รดต้นไม้ทั้ง 2 ฝั่ง แล้วค่อย ขยั บ ถอยหลั ง ต้ น หนึ่ ง จะรด 8-10 แครง แล้ ว จะมี ก ารแข่ ง ขั น กั น เล็ ก น้อยว่าใครจะรดเสร็จก่อน เพิ่มความ สนุกสนาน การเปิ ด ท่ อ ตาลนำ � น้ำ � เข้ า สวน จะดู น้ำ� ในคลองอ้ อมมนนท์ ขึ้น หรื อ น้ำ�เกิด ช่วงหน้าน้ำ�หลาก น้ำ�เค็มจะ 59
ภาพปกคลุมของพืชสวนป้าเสมอ และพี่แนน
ไม่หนุนขึ้นมา น้ำ�ขึ้นเต็มตลิ่ง โบราณ ว่ า น้ำ � ขึ้ น เต็ ม ตลิ่ ง ให้ รี บ ตั ก จึ ง เปิ ด น้ำ�เข้าสวน ยกจอหนัง พอน้ำ�คลอง ไหลลง ก็ ย กจอหนั ง ให้ น้ำ � ร่ อ งสวน ไหลออก เป็นการหมุนเวียนน้�ำ แร่ธาตุ ทำ�ช่วงหลังออกพรรษาถึงปีใหม่ แล้ว จึ ง ปิ ด ท่ อ ปล่ อ ยให้ มี น้ำ � ในท้ อ งร่ อ ง ครึ่ ง หนึ่ ง ปั จ จุ บั น ปิ ด ท่ อ ตาลสนิ ท เพราะช่วงน้�ำ เค็มนานเกือบ 10 เดือน ต่อปี ท่อตาลเปลี่ยนเป็นท่อซีเมนต์ ใยหิน หน้า 30 เซนติเมตร แล้วลูก ท่อทำ�จากท่อนไม้ทองหลาง ตัดไม้ ทองหลางทีม่ ขี นาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ใกล้เคียงกับรูท่อ ยาวประมาณศอก หนึ่ง แล้วบั้งเป็นแฉก แล้วใช้กระสอบ ผ้า ห่อ หุ้มให้ มิ ด ใช้ เชื อกพั น รอบไม้ คล้ า ยพั น ตระกรุ ด อั ด เข้ า ไปในท่ อ ป้องกันน้ำ�เข้าและออก แต่พอถึงช่วง ฤดูฝน น้ำ�ในท้องร่องสวนจะมากก็จะ เปิดท่อระบายน้ำ�ลงคลองตาพ่วง ปัจจุบันใช้เทคโนโลยีการเกษตร สมั ย ใหม่ ปั๊ ม น้ำ � แบบเติ ม น้ำ � มั น เครื่องยนต์ 4 จังหวะ ต่อท่อสายยาง ขนาด 1 นิ้ ว ดู ด จากบ่ อ เก็ บ น้ำ � ในท้ อ งร่ อ ง ช่ ว งรดน้ำ � จะรดวั น เว้ น 60
1-2 วัน ขึ้นอยู่กับอากาศ ร้อนหรือ ไม่ ปริ ม าณฝนตก มากหรื อ น้ อ ย หากฝนตกมากอาจจะเว้นได้ 2-3 วัน เริ่ ม รดน้ำ � หลั ง 8 โมงเช้ า ใช้ เวลา รดครั้งละ 3-4 ชั่วโมงจนชุ่ม โดยแบ่ง รดน้ำ�ครั้งละครึ่งสวน ซึ่งอาจจะสร้าง มลภาวะจากควันเครือ่ งยนต์ ใช้เครือ่ ง มันไม่เข้ากับวิถีสมัยโบราณ แต่แรง สู้ไม่ไหวแล้ว ใช้เทคโนโลยีช่วยทุ่นแรง และงานเสร็จเร็วขึ้น ต้นทุเรียนได้น้ำ� เต็มที่ ต้นโตเร็วขึ้น สำ�หรับเรื่องน้ำ�เค็ม หลังปี 2557 มี ก ารตรวจวั ด น้ำ � เค็ ม ด้ ว ยเครื่ อ งวั ด ค่ า ความเค็ ม ของตนเองก่ อ นการ รดน้ำ�ทุกครั้ง เพราะความเค็มมักถูก ละลายออกมาจากดินจึงทำ�ให้น้ำ�ใน ท้องร่องเค็ม ได้แก้ไขโดยการนำ�น้ำ� ประปาปล่อยไหลในท้องร่องเพื่อเจือ จางความเค็ม กอปรกับฟังข่าวสาร ประกาศค่ า ความเค็ ม ของน้ำ � จาก เสี ย งตามสายของเทศบาล วั น ละ 2 ช่วงเวลา คือ ช่วงเช้า 10.00 น. และช่ ว งเย็ น 16.00 น. โดยค่ า ความเค็มที่เหมาะสมคือ 0.25 ppm แต่ ที่ ส วนค่ า ความเค็ ม ที่ 0.5 ppm
ก็รดได้ ช่ ว งที่ น้ำ � เค็ ม จะต้ อ งใช้ น้ำ � ประปาทั้ ง หมด โดยนำ � น้ำ � เข้ า ถั ง พั ก น้ำ � ขนาด 2,000 ลิ ต ร 3 ถั ง เพื่ อ ให้ ค ลอรี น สลายตามช่ ว งอายุ 1-2 วัน แล้วปล่อยลงท้องร่องสวน ในลักษณะคล้ายบ่อ โดยขุดร่องน้ำ� ให้ ลึก มากกว่า ปกติ 1 เท่า และใช้ แผ่ น กระเบื้ อ งกั้ น กึ่ ง กลางร่ อ งสวน บ่ อ เก็ บ น้ำ � นี้ จ ะยาวประมาณ 6-7 เมตร ซึ่ ง ที่ ส วนได้ เข้ า ร่ ว มโครงการ ก า ร ป ร ะ ป า ช่ ว ย เ ห ลื อ ช า ว ส ว น ทุ เรี ย นนนท์ ตั้ ง แต่ ปี 2555-2556 ทำ � ให้ ไ ด้ ส่ ว นลดค่ า น้ำ � ประปา ค่ า ใช้ จ่ า ยโดยเฉลี่ ย เดื อ นละ 3,0004,000 บาท ส่วนเรื่องลอกเลนหรือสาดเลน สมัยก่อนทำ�กันเอง ญาติพี่น้องเข้า มาช่วยกัน ทำ�ช่วงหน้าแล้งหรือก่อน ฤดูฝน หรือหลังเก็บเกี่ยวผลทุเรียน แล้ว ตัง้ แต่หลังวันสงกรานต์ไป เอาดิน เลนขึน้ มาตากแดด ค่าความเค็มในดิน ก็จะเจือจาง เป็นการทำ�ความสะอาด คู ค ลอง ท้ อ งร่ อ งสวนเพื่ อ รอรั บ น้ำ � ใหม่ ช่วงฤดูฝน แต่ปจั จุบนั จะเป็นการ จ้างแรงงานในพื้นที่ คนรู้จัก โดย 2 ปี สาดเลนครั้ ง หนึ่ ง ขึ้ น อยู่ กั บ เลนใน ท้องร่องสูงมากน้อยแค่ไหน ณ ตอนนี้ คิดว่าจะถมร่องน้ำ�เพื่อเพิ่มพื้นที่ปลูก ทุเรียน โดยถมร่องเว้นร่อง
นนท์ ผลเท่าลูกฟุตบอลราคาสูงถึง 2-3 หมื่นบาท หมอนทองลูกละ 4-5 พันบาท เพราะปริมาณผลผลิตทุเรียน นนท์แท้มีน้อยและผู้บริโภคมีค่านิยม ทุเรียนแท้ต้องที่นนทบุรี ส่ ว นค่ า ใช้ จ่ า ยเฉลี่ ย ต่ อ ทุ เรี ย น 1 ต้น จะอยู่ที่ประมาณ 3,000 บาท ต่อปี ระยะเวลา 8 ปี รวม 24,000 บาท ถ้าผลผลิตปีแรกได้ 5 ลูกต่อต้น ก็นับว่าคุ้มค่ากับต้นทุนแล้ว ปีถัดไป ถือเป็นกำ�ไรที่จะเก็บออมเพื่อลงทุน ต่อไป
ทุเรียนนนท์แตกต่างจากทุเรียนที่ อื่นอย่างไร? ทุเรียนนนท์ขายเป็นลูก ต่างจาก ทุเรียนทีจ่ นั ทบุรหี รือระยองทีข่ ายเป็น กิโลกรัม ตอนนี้ราคาทุเรียนก้านยาว 61
”ปี 54 ทุเรียนต้นใหญ่ๆ ยืนตาย ล้างสวนปลูกใหม่ก็ยังตายอีก น�ำ้ เค็ม ปี 57 บังเอิญในสวนมีต้นส้มซ่าอยู่ 4-5 ต้น ก็เอามาลองตลาดดู ่ ้องการของตลาดมาก ถึงรู้ว่าเป็นทีต จึงได้ปรับสวนใหม่เลย” ประเสริฐ โชติมูล (พี่ด�ำ)
สวนนี้เป็นของพี่สาว แต่ผมเป็น คนดูแลทุกสวนของพี่น้อง เป็นสวน มรดกของพ่อ ส่วนสวนมรดกทางแม่ จะอยูท่ างฝัง่ บางอ้อ 1 บางอ้อ 2 สมัย ก่อนปลูกทุเรียนเป็นหลัก ขนัดนี้ 2 ไร่ 1 งาน ผมจะเข้าสวนทุกวัน มีพี่สาว มาทำ�ด้วย ระยะทางจากบ้านมาสวน นี้ประมาณ 1.4 กิโลเมตร จะใช้รถถีบ ซาเล้งเป็นพาหนะ สมัยก่อน ตอนเรียน มศ.5 ยัง ไม่รู้เลยว่าพ่อทำ�สวนอยู่ตรงไหน เริ่ม กลับมาทำ�สวนเมือ่ อายุ 30 กว่าจะ 40 แล้ว เป็นสวนทุเรียนก้านยาว ขายได้ ลูกละ 3,000-4,000 บาท แล้วมีนับ เป็นพันลูก เพราะต้นโตใหญ่ สวนเป็น สวนดอน (ที่ดอน) พอหลังน้ำ�ท่วมปี 2554 ก็ปลูก ทุ เรี ย นอี ก ครั้ ง ทั้ ง ขนั ด และตายลง จากน้ำ � เค็ ม การดู แ ลค่ อ นข้ า งยาก มาก ปัญหามากมาย จึงเริ่มหันมา สนใจปลูกพืชตระกูลส้มทดแทน และ ค้นหาข้อมูล ความต้องการของตลาด จากอินเตอร์เน็ต ก็มาพบว่าต้นส้มซ่า น่าจะเป็นทางรอด เพราะดูแลง่ายกว่า 62
ทุเรียนมาก ทนเค็มและน้ำ�ท่วม และ บังเอิญอีกสวนขนัดหนึ่งมีต้นส้มซ่า เดิมขึ้นอยู่ 7-8 ต้น อายุน่าจะ 50-60 ปีแล้ว ทรงพุ่มแผ่ใหญ่กว้าง เกิดจาก กิ่งตอน ซึ่งรอดพ้นจากน้ำ�ท่วมและ น้�ำ เค็ม และให้ผลดกเต็มต้นนับได้เป็น ร้อยๆ ลูก ปัจจุบันเหลืออยู่ต้นเดียว จึงนำ�ผลผลิตมาลองตลาด ประมาณ 50 ลู ก และค้ น หาร้ า นค้ า โรงแรม หรือตลาดไหนที่รับซื้อส้มซ่าบ้าง ก็ เอาไปขายที่สนามหลวง ปากคลอง ตลาด ได้เงิน 1,000 บาท ก็รู้สึกว่า ผลลูกส้มซ่าขนาดเท่านิ้วโป้ง ในสวน นี่ไม่มีราคาเลย แต่ราคาในตลาดดีที เดียว จึงเริ่มค้นหาข้อมูลแหล่งรับซื้อ เพิ่มมากขึ้น ทั้งตลาด อตก. และโทร หาฝ่ายจัดซือ้ โรงแรมในกรุงเทพฯ เพือ่ สอบถามราคา จะได้ตงั้ ราคาขายหน้า สวนได้ โดยมีราคาตั้งแต่ลูกละ 10-80 บาท นอกจากนี้ยังตระเวนหาผู้รับซื้อ ในพืน้ ทีแ่ ละพืน้ ทีใ่ กล้เคียงก็พบพ่อค้า ย่านบางกรวย ที่บางกรวยมีชาวสวน ปลูกต้นส้มซ่า 4-5 ร้อยต้น ระยะห่าง 1x1 เมตร ให้ผลผลิตดกเต็มต้น จึงได้ ขอซื้อกิ่งพันธุ์ 200 กิ่งมาปลูกที่สวน และแบ่งขายให้เพื่อนที่เชียงใหม่ด้วย
ภาพชั้นเรือนยอดสวนพี่ดำ�
100 กิ่ง จึงคิดว่าตลาดส้มซ่าน่าจะ มีโอกาสมากทีเดียว สวนนี้มีกิ่งพันธุ์ ทีม่ าจากตอนกิง่ ต้นเดิมในสวนอีกขนัด และที่ซื้อจากทางบางกรวย เดิมโดย รอบสวนเป็นของญาติ แต่ปัจจุบันได้ ขาย เปลี่ยนเจ้าของมาแล้ว 1-2 ราย และปล่อยทิ้งร้าง โดยส่ ว นตั ว แล้ ว คิ ด ว่ า อยาก ให้ชาวสวนปลูกส้มซ่ามากๆ เพราะ สามารถช่วยสังคมได้ ผลผลิตต่อยอด ทำ�ธุรกิจได้หลายอย่าง เช่น หมี่กรอบ เครื่องดื่มส้มซ่า หรือแปรรูป เชื่อม ดอง ความรูค้ วามเชือ่ ทีเ่ ขียนถ่ายทอด มาในตำ�ราว่าสามารถรักษาโรคต่างๆ ได้ ต่อยอดนำ�ไปทำ�ยาสมุนไพรรักษา ช่วยเหลือคนป่วย ยิ่งชาวสวนปลูก มากยังสามารถช่วยลดโลกร้อน และ ได้บุญทำ�ให้คนอื่นเกิดธุรกิจมีรายได้ มากขึ้น สำ�หรับสวนทีท่ �ำ อยูต่ นไม่เคยคิด จะขายสวน ขอทำ�ต่อจนกว่าจะหมด ลมหายใจ ไม่มีวันขายแน่นอน ต่อให้ ความเจริญเข้ามาแบบกรุงเทพฯ เลย ตรงข้ามจะเป็นหมู่บ้านจัดสรร ปาก ซอยมีโลตัสเข้ามา มีรถไฟฟ้าสายสี ม่วงผ่าน จะมีสะพานข้ามคลองอ้อม
นนท์ ความเจริญจะหลั่งไหลมาจาก ทุกทิศทาง ก็จะไม่ขายที่ดินเด็ดขาด เพราะไม่รู้จะเอาเงินไปใช้ทำ�อะไร มองส้มซ่าเทียบกับทุเรียนนนท์? พื้นฐานเดิมจังหวัดนนทบุรีเป็น ดินตะกอนชายทะเล มีแร่ธาตุสงู ปลูก ต้นทองหลางช่วยเพิ่มฮิวมัสในดินให้ สูงยิ่งขึ้น เมื่อปลูกทุเรียนจึงได้รสชาติ ที่ดี ประกอบกับมีการประชาสัมพันธ์ มากทำ�ให้ทุเรียนสูง ราคาลูกละหลาย หมื่นบาทยังมีคนซื้อ และไม่ขายเป็น กิโลกรัมแต่ขายเป็นลูก เพราะมันเป็น ศักดิ์ศรี ความภาคภูมิของชาวสวน ขายให้คนกรุงเทพฯ คนรวยกระจุกตัว อยู่ในกรุงเทพฯ เขากินอาหารมื้อละ 2-3 พันบาท ถ้าในเมนูอาหารมีการ ใส่ส้มซ่าลงไป แล้วประชาสัมพันธ์ดี ก็จะเป็นการเพิ่มกำ�ลังการซื้อผลผลิต จากชาวสวน เราขายเพียงลูกละ 10 บาท เขาก็ยังไม่ซื้อเลย กลับไปซื้อลูก ละ 50 บาท 80 บาท
63
ภาพถ่ายมุมบนสวนพี่ดำ�
ปัจจุบนั มีการจัดการดูแลสวนส้มซ่า อย่างไร? สิ่งที่ต้องระวังเวลาเข้าสวนคือ งู บางทีเป็นงูเห่า งูหลาม มะพร้าวร่วง กระรอกแทะแล้วห้อยค้างบนต้น พอ ลมแรงก็อาจจะร่วงลงมาใส่หัวได้ เข้า สวนต้องยึดหลักความปลอดภัย ใส่ รองเท้าบูททุกครั้ง สำ�หรับการขยายพันธุส์ ม้ ซ่าจะใช้ ตอนกิ่ง เลือกกิ่งส้มซ่าที่ใบใหญ่ เขียว เข้มเพราะจะให้ลูกใหญ่ กิ่งเขียว แข็ง แรง เสียบกับตอใช้ตอต้นตระกูลส้ม เช่น ตอมะนาว ตอส้มโอ (ทดลอง) โดยส้มซ่าสามารถบังคับให้ออกดอก ได้ ต ลอดทั้ ง ปี โดยทำ � ต้ น ให้ ใ บแห้ ง เหี่ยว หรือตัดแต่งกิ่ง ก็จะออกดอก เต็มต้นเลย แต่ผลผลิตมักจะไม่เพียง พอต่อความต้องการของตลาด การขยายพันธุอ์ กี วิธคี อื การตอน กิ่ง ใช้เวลาประมาณ 7 วัน โดยเลือก กิ่งกึ่งอ่อนกึ่งแก่ ผิวเปลือกเริ่มเป็นสี น้ำ�ตาล ควั่นรอบกิ่ง 2 แนว แล้วกรีด เอาเปลือกนอกออก นำ�ดินมาพอก 64
แล้ ว เอากาบมะพร้ า วที่ แช่ น้ำ � แล้ ว 7 วัน มาหุ้ม เอาใบตองแห้งมาห่อ แล้วรัดด้วยเชือกกล้วยหรือตอกก็ได้ ประมาณ 7 วันรากจะแทงออกมาน อกใบตองเลย แนะนำ�ให้ตอนช่วงฤดู ฝน ส่วนการปลูกส้มซ่าง่ายมาก เริ่ม จากขุดหลุมไม่ต้องลึก รองก้นหลุม ด้วยกิ่งก้านใบทองหลางน้ำ� วางต้น ส้มซ่าแล้วเอาดินเลนซึ่งมีเศษใบไม้ ใบหญ้ามากลบ ปลูกเพียงไม่กี่เดือนก็ ออกลูกเลย สามารถไว้ผลได้ทนั ที ขาย ได้รายได้ดีกว่ากันเยอะ ถ้าประกอบ อาชีพส่วนตัว ทำ�หมี่กรอบขายเล็ก น้ อ ย ก็ ป ลู ก ต้ น ส้ ม ซ่ า เอาไว้ ใ นบ้ า น 5-10 ต้น แต่ถา้ ทำ�ธุรกิจการท่องเทีย่ ว โรงแรม ก็อาจจะต้องปลูกเป็นร้อยเป็น พันต้น ปกติ ส้ ม ซ่ า จะออกดอกติ ด ผล มากช่วงฤดูฝน เดือนพฤษภาคมถึง มิถุนายน แต่ความต้องการของตลาด ในกรุงเทพฯ มากที่สุดคือช่วงเดือน ธันวาคมถึงกุมภาพันธ์ เพราะเป็นช่วง
ภาพปกคลุมของพืชสวนพี่ดำ�
ฤดูกาลท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวชาว จีนนิยมบริโภคเพราะเชือ่ ว่าเป็นผลไม้ มงคล แต่ปัจจุบันตลาดค่อนข้างเงียบ เพราะนักท่องเที่ยวลดลง โรคที่สำ�คัญคือโรคโคนเน่า เกิด จากการใส่ปุ๋ยเคมี ที่สวนก็จะไม่ใส่ปุ๋ย ใดๆ เลย เพียงแค่ดนิ เลนจากร่องสวน ก็เป็นปุย๋ ธรรมชาติทเี่ พียงพอแล้ว หรือ อาจเกิดจากคลุมฟางแล้วไม่ดแู ล จะมี ปลวกมากัดที่โคน แล้วทำ�ให้เกิดเชื้อ รา แก้ไขด้วยการเขีย่ ฟางทีค่ ลุมให้ออก ห่างจากโคน ถ้าเห็นมดแดงไม่ต้อง พยายามเอาออกเพราะช่วยป้องกัน กระรอก แต่ก็อาจจะพาเพลี้ยมาด้วย อีกโรคคือ โรคใบแก้ว พอมีบ้าง แต่น้อยมาก เพราะในสวนปลูกต้นไม้ หลากหลายชนิ ด มี ต้ น ไม้ ใ หญ่ ซึ่ ง ต้ อ งแต่ ง กิ่ ง ให้ โ ปร่ ง ให้ ต้ น ส้ ม ซ่ า ได้ แผ่กิ่งเต็มที่ ข้างล่างปลูกพืชสวนครัว เช่นพริก ขิงข่า ตะไคร้ กระชาย ต้น ส้มซ่าหากดูแลดี ต้นจะอายุยืน อาจ มากกว่ า 80 ปี และยั ง ให้ ผ ลผลิ ต มากขึ้น (สอดคล้องกับที่คุณลุงแสวง
นาคนาคเคยเล่าถึงตอนเด็ก สมัยรุ่น ปู่ย่าตาทวดปลูกส้มเขียวหวานไว้ ต้น สูงใหญ่ แผ่กว้าง ดอกส่งกลิ่นหอม กระจายไปถึงบ้าน ผลดกมาก เด็กๆ โอบต้นส้มแทบไม่ได้ เพราะลำ�ต้นโต) การผสมพันธุเ์ ป็นแบบธรรมชาติ ใช้ชนั โรงเป็นตัวช่วยผสมเกสร สำ�หรับ การการดูแลผล ไม่มีการห่อกันแมลง กันกระรอก ปล่อยธรรมชาติจัดการ ตัวเอง พยายามรดน้ำ�สม่ำ�เสมอให้ เกิดความชุ่มชื้น ลูกจะมีขนาดใหญ่ ส่วนน้ำ�เค็มไม่มีผลกระทบด้านลบกับ ส้มซ่า กลับเป็นผลดีด้วยซ้ำ�ทำ�ให้ส้ม ซ่ารสชาติดี หวานหอม เพราะในอดีต การปลูกส้มซ่า ชาวสวนยังต้องหาปุ๋ย เกลือมาใส่ เช่นแถวบางมด ส้ ม ซ่ า ทนน้ำ � ท่ ว มได้ อย่ า งที่ โคราช สวนบารมี ปลูกส้มซ่าจากเมล็ด โคนต้นแช่น้ำ�ตลอดทั้งปี ยังไม่ตาย และยังให้ผลผลิตดกมาก “โคตรมหา ดก” ส่วนช่วงหน้าแล้ง ที่สวนเตรียม พร้อมน้�ำ ประปา ค่าน้�ำ เดือนทีผ่ า่ นมา 139 บาท และลอกเลนแล้วเพือ่ รับน้�ำ 65
ฝนเมื่อฤดูก่อน น้ำ�ฝนดีที่สุด และปิด ท่อตาลไม่ให้น�้ำ สกปรกจากคลองทีต่ ดิ สวนเข้ามาในท้องร่องได้ ส้มซ่าเป็นพืชไม่ต้องการน้ำ�มาก ไม่ต้องรดน้ำ�บ่อย “ปล่อยไว้แบบนี้” และถ้ า ทุ ก คนปลู ก มะนาวในวงบ่ อ ซีเมนต์ได้ ต้นส้มซ่าก็ปลูกได้เช่นกัน และตลาดยังต้องการมาก ตอนนี้ รั บ ซื้ อ ผลผลิ ต จากย่ า น บางกรวยด้วย เพือ่ ส่งตลาดปากคลอง อตก. และห้องอาหาร ซึ่งผลผลิตจาก สวนเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอต่อ ความต้องการของลูกค้า แต่ก็ส่งได้ไม่ มากเพราะมีปัญหาเรื่องสุขภาพ เคย เกิดอาการตัวแข็งคล้ายอัมพาต และ หมอนรองกระดู ก ทั บ เส้ น ประสาท รั ก ษาตั ว ที่ ร พ.พระนั่ ง เกล้ า โดยการ ฝังเข็ม อาการดีขึ้นเป็นลำ�ดับ กินยา คลายกล้ามเนื้อ ยาบำ�รุงปลายเส้น ประสาท และออกกำ�ลังกายควบคู่มา โดยตลอด โดยปกติ ก ารขนส่ ง ผลผลิ ต จะ ต้องทำ�ให้ให้เร็วที่สุดหลังจากตัดลูก จากต้นแล้ว โดยรับคำ�สั่งซื้อมาและ เก็บผลผลิตตั้งแต่เช้า หากลูกค้าอยู่ ในกรุงเทพฯ จะนำ�ไปส่งเองเพราะ การคมนาคมสะดวก หลากหลาย มี รถไฟฟ้า เรือด่วน เช่นห้องอาหาร โบราณแถวทองหล่อ โรงแรมสุโขทัย โรงแรมเมโทร ปริมาณที่เคยส่งมาก สุด สัปดาห์ละ 500 ลูก หรือจัดส่ง พัสดุแบบด่วน ภายในวันเดียวถึง เช่น Kerry, flash ซึง่ อยูป่ ากซอย ราคาขาย แพงที่ สุ ด ในช่ ว งฤดู ห นาวลู ก ละ 20 บาท เพราะของมีน้อย แต่เฉลี่ยจะ ขายได้ไม่ต่ำ�กว่าลูกละ 10 บาท ทุก 66
ไซด์ทุกขนาด นอกจากนี้ยังมีรายได้ อืน่ จากสวนอีกคือการตัดใบตองกล้วย ตานี ขนาดผลของลูกส้มซ่าทีจ่ �ำ หน่าย โรงแรมจะมีขนาดมาตรฐานคือเส้นผ่า ศูนย์กลางประมาณ 6-7 เซนติเมตร หรือไซด์กลาง และผลเขียว ไม่เหลือง ผิวไม่ลายและไม่มจี ดุ ดำ� รวมทัง้ อตก. ด้วย เพราะผิวเปลือกส้มซ่าช่วยชูกลิน่ รสหอมของอาหาร ซึ่งไซด์ขนาดนี้มัก จะเป็นผลแก่สุก ที่มีสีเขียวใช้ได้จะมี ปริมาณน้อย ส่วนใหญ่ไซด์จะเล็ก จึง ขายคละไซด์ คุณภาพผลผลิตส้มซ่า อาจจะไม่แตกต่างจากที่อื่น แต่มัน เป็นความรูส้ กึ ว่า ส้มซ่าปลูกเมืองนนท์ มันเป็นความรู้สึกความเชื่อของผู้รับ สาร
“ไม่เฉพาะทุเรียนหรอก หมาก ชมพู ่ กล้วย อ้อย คนโบราณเขาปลูกหมด ทีเ่ ป็นของขายกินได้ ไม่มีทีว่ ่าง”
อุทิศ ย�่ำเที่ยง (พี่อุทิศ)
ทำ�สวนที่เป็นมรดกมาตั้งแต่รุ่น ปู่ย่าตายาย พ่อแม่พาทำ�สวนตั้งแต่ เด็ก เข้าสวนบ้างไม่เข้าบ้าง ปัจจุบัน เข้ า สวนทุ ก วั น ช่ ว งเช้ า ครึ่ ง วั น คน โบราณปลูกหมาก มังคุด กล้วย มีที่ ว่างเขาปลูกหมดที่เป็นของกินได้ แต่ ไม่ได้ปลูกพร้อมกัน สมมุติต้นทุเรียน โตดีแล้ว ข้างล่างว่าง ก็ปลูกกล้วย พลู พริก พริกไทย เต็มสวนไปหมด เงาะ ยังมีเลย แต่เดีย๋ วนีไ้ ม่ปลูกอะไรกันเลย นอกจากทุเรียน ทุเรียนเลยไม่มีเพื่อน สวนนี้ เ ป็ น สวนของพ่ อ ของ แม่ ย ายคื อ หมอทองคำ � ระงั บ ภั ย ปลูกทุเรียนหมอนทองอย่างเดียวมา นาน จนชาวสวนทุกคนในเมืองนนท์ รูจ้ กั ต้นใหญ่ ผลผลิตได้มากเป็นพันๆ ลูก สวนเป็นสวนจิงเลน ระยะห่างจาก บ้านมาถึงสวน 25 เมตร ได้รับผลก ระทบจากน้ำ�ท่วมหลายครั้ง ตั้งแต่ปี 2518, 24, 36, 38, 45, 49 ประมาณ 4-5 ปี มาสั ก ครั้ ง น้ำ � เยอะจริ ง แต่ สามารถกู้สวนกลับมาได้ เมื่อคันนา หัก ก็ช่วยกันขนดินมาป้องกันแล้วติด ตัง้ เครือ่ งสูบน้�ำ สูบออกจากสวน ส่วน
กระสอบทรายที่ใช้ป้องกันสวนนั้นนำ� มาใช้ปี 2538 ซึ่งน้ำ�ท่วมสูงมาก เอา ไม่อยู่ ทำ�ให้ต้นทุเรียนยืนตายทั้งขนัด จนถึงปี 2554 ก็สวนล่มอีกครัง้ พอน้�ำ ลดก็นำ�ดินในร่องดินและสวนที่ไม่ล่ม มาเสริมคันนาให้สูงขึ้นมากกว่าระดับ น้�ำ ท่วม พอปี 2557 ก็มนี �้ำ เค็มตามมา ซึ่งก็ไม่รู้มาก่อนว่าน้ำ�เค็มเพราะไม่มี เครื่องวัด ไม่มีหน่วยงานราชการแจ้ง ข่าวสารใดๆ เพื่อเตือนชาวสวน แล้ว ปีนั้นน้ำ�แล้งด้วย จึงเปิดท่อตาลนำ� น้ำ�เข้าสวนเต็มที่ พอรดต้นไม้ สังเกต เห็นต้นทุเรียนโทรมลงเรือ่ ยๆ ยิง่ รดยิง่ ตาย จนมีเพือ่ นชาวสวนมาบอกว่าน้�ำ เค็ม จึงได้ซื้อเครื่องวัดความเค็มมาไว้ ใช้วัดค่าน้ำ�ในท้องร่องสวน ต้นทุเรียน บางต้นทีโ่ ทรมมาก แก้ไขฟืน้ คืนไม่ได้ก็ ตัดออก แล้วนำ�ต้นกล้าปลูกมาใหม่อกี ครัง้ และผลจากน้�ำ เค็มทำ�ให้ตน้ มังคุด กล้วย การเจริญเติบโตหยุดชะงักไป ปีถึง 2 ปี ปัจจุบันทุเรียนหมอนทองเริ่มให้ ผลผลิตบ้าง เคยร้องเรียน สอบถาม ไปที่เกษตรอำ�เภอเมืองนนทบุรี ถาม เขาว่าคุณทำ�งานกับเกษตรกรชาวสวน นี่ เ กิ ด ปั ญ หาน้ำ � เค็ ม นะ คุ ณ รู้ ห รื อ 67
ภาพชั้นเรือนยอด และภาพปกคลุมของพืช สวนพี่อุทิศ
ไม่ เขาตอบไม่รู้ ตั้งแต่นั้นมาก็หมด ศรัทธากับการทำ�งานของหน่วยงาน ราชการที่ ล่ า ช้ า ไม่ มี ก ารแจ้ ง หรื อ ให้ข้อมูลข่าวสารใดๆ แก่เกษตรกร ชาวสวนเลย ทางเทศบาลไทรม้าก็มีให้ความ ช่วยเหลือโดยการแจกกิ่งพันธุ์ ไปรับ เอามาปลูกในสวน แต่กิ่งพันธุ์ที่เขา แจกส่วนมากมาจากจันทบุรี การขนส่ง จำ�นวนมากและไม่ระวัง เมื่อมาถึง ชาวสวนกล้าไม้ก็บอบช้ำ�มาก บางที รากลอยออกมาจากถุงเลย จะเลือก ซือ้ ร้านทีข่ ายกิง่ พันธุด์ ี ถูกใจ ส่วนใหญ่ เป็นพันธุห์ มอนทองกับก้านยาว ขับรถ ไปดูร้านที่ห้วยสะท้อน จันทบุรี ไปกับ พี่เล็ก (คุณอนิรุธ บุญยัง) ร้านขายพันธุไ์ ม้สว่ นใหญ่จะนิยม ขายต้นกล้าทีท่ าบกิง่ คือ นำ�กิง่ ทุเรียน พั น ธุ์ ดี ม าทาบกั บ ต้ น ทุ เรี ย นที่ เ พาะ เมล็ด แต่พอี่ ทุ ศิ มีความเห็นทีแ่ ตกต่าง ว่ากิ่งตอนนั้นเหมาะสมกับพื้นที่ปลูก ที่นนทบุรีมากกว่ากิ่งทาบ เพราะสวน 68
นนท์เป็นสวนยกร่อง มีท้องร่องน้ำ� ระดั บ น้ำ � ใต้ ดิ น สู ง ถ้ า เป็ น ต้ น กล้ า ที่ เพาะจากเมล็ดเหมาะกับดินที่มีระดับ น้�ำ ใต้ดนิ ไม่สงู มาก รากแก้วจะหยัง่ ลึก และแผ่ออก ขณะทีก่ งิ่ ตอนจะไม่มรี าก แก้วทำ�ให้เหมาะกับดินที่มีระดับน้ำ� ใต้ดนิ สูงหรือสวนยกร่องนี้ อีกประการ หนึ่งต้นที่ปลูกจากกิ่งตอนจะมีลำ�ต้น ทัง้ สูงและใหญ่ แข็งแรง ให้ผลผลิตมาก ราคากิ่งพันธุ์ที่กิ่งทาบกับกิ่งตอน กิ่ง ตอนมีราคามากกว่ากิ่งทาบ 2-3 เท่า แต่ปัจจุบันผู้ขยายกิ่งพันธุ์จำ�หน่ายไม่ นิยมขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่งแล้ว เพราะใช้เวลานานกว่ากิ่งทาบ และกิ่ง ตอนมีโอกาสไม่เกิดรากสูง หากทำ�ไม่ ถูกวิธี คนทั่วไปเข้าใจว่าทุเรียนนนท์ได้ ผลดีตลอด แต่นปี่ ลูกเพือ่ อนุรกั ษ์พนั ธุ์ ทุเรียนเอาไว้มาแล้ว 16-17 ปี ยังไม่มี รายได้เป็นกอบเป็นกำ�จากทุเรียนเลย มีแต่ลงทุน ปลูกแล้วต้องรอ 8-10 ปี กว่าจะออกดอกติดผลเต็มที่ พอผล
ภาพถ่ายมุมบนสวนพี่อุทิศ
ออกเต็ ม ที่ ก็ จ ะมี โจรขโมยมาลั ก อี ก แล้วอีกสัก 2 ปี น้ำ�ก็จะมาล้างสวน “เราสู้กับน้ำ�แบบนี้” เหนื่อย เอาอยู่ บ้างไม่อยู่บ้าง ถึงรอบสวนจะไม่มีการทำ�สวน จริงจัง มีการเปลีย่ นกรรมสิทธิเ์ จ้าของ ที่ดินแล้ว ก็จะไม่ขายที่เด็ดขาด เก็บ ที่ดินเอาไว้ให้ลูก แต่หากพูดถึงการ ปลูกทุเรียนต่อคงเป็นเรื่องยาก ปลูก ใหม่ก็ตายหมด ส่วนมากลูกชาวสวน ใช้ให้เข้าสวน ช่วยยกของในสวนยังไม่ ไปเลย ต้ น ทุ เรี ย นที่ ป ลู ก ปั จ จุ บั น มี ก าร เจริญเติบโตช้ากว่าที่เคยปลูกในอดีต การดูแลก็ยากมากขึ้น อาจเกิดจาก ดิ น และน้ำ � ที่ ไ ม่ ดี ดิ น ไม่ อ ร่ อ ย ดิ น ไม่มีรสชาติ ต้นไม้จึงไม่ค่อยโต ตาย ก็ไม่ตาย น้ำ�ก็เค็มปี๋ เหมือนกับคนเรา ที่ กิ น อาหารไม่ อ ร่ อ ยทำ � ให้ ไ ม่ อ ยาก กิ น อาหารไม่ ดี กิ น แล้ ว ไม่ ไ ด้ ส าร อาหารหล่อเลี้ยงร่างกาย ร่างกายก็ ทรุดโทรม
เรื่ อ งโจรขโมยผลผลิ ต ในสวน เจ้าของสวนจะต้องสร้างอิทธิพลเป็น นักเลง พกปืนยกปืนหน่อย ขโมยก็ไม่ กล้าเข้าแล้ว เจ้าของต้องโหด หากใจดี มักโดนขโมยของหมดสวน คือห้าม วางอุปกรณ์ที่มีราคาเอาไว้ในสวนที่ ไม่การเฝ้าดูแล ในส่วนของการดูแล การกำ�จัด โรคและแมลงศัตรูพชื จะไม่ใช้สารเคมี เลย เทศบาลเคยแจกแต่กไ็ ม่เคยได้ จะ ซื้อก็ไม่ซื้อเพราะมันแพง เพิ่มต้นทุน การผลิต จะใช้สารอินทรีย์ มีลักษณะ เป็นแคปซูลละลายน้ำ� คล้ายน้ำ�หมัก ชีวภาพ ใช้มานานแล้วได้ผลดี วิธีใช้ 2 แคปซูลละลายในน้ำ� 1 ลิตร เขย่า คน ให้เข้ากันแล้วผสมกับน้�ำ 200 ลิตร ฉีด พ่นทั้งขนัด 2 ไร่ ช่วยป้องกันแมลงกัด ใบอ่อนทุเรียน ป้องกันรา 2-3 เดือน ครั้ ง แต่ ถ้ า ไม่ มี โรคก็ ไ ม่ ฉี ด เลย ฉี ด ช่วงเช้าก่อน 10 โมง ถ้าหลัง 10 โมง แล้วห้ามฉีด ไม่ฉีดกลางวันหรือบ่าย เพราะแดดร้อน ต้นไม้ไม่ชอบ ถ้าช่วง 69
ภาพปกคลุมของพืชสวนพี่อุทิศ
เย็นก็ต้องหลัง 4 โมงไปแล้ว สารนี้ไม่ อันตรายต่อคน ไม่ต้องสวมใส่อะไร กันเยอะ และเป็นคนฉีดเองทั้งขนัด มีแรงงานช่วยแต่ไม่ถูกใจ ไม่เหมือน ทำ�เอง และแถวนีค้ นรับจ้างฉีดยาไม่มี แล้ว โดยในสวนตอนนีจ้ ะออกแบบมา ให้มีทุเรียนสลับกับมังคุด และมีกล้วย หอมแทรก ส่ ว นการดายหญ้ า ช่ ว งฤดู ฝ น หญ้าขึ้นเร็วจะตัดทุก 2 เดือนครั้ง พอ แล้งก็ห่างหน่อย 3 เดือนครั้ง ปีหนึ่ง เฉลี่ยดายหญ้า 4-5 ครั้ง ใช้แรงงาน ประมาณ 4 คนในแต่ละครัง้ จ้างคนละ 400 บาท ใช้เวลา 4-5 วันต่อครั้ง ใน พืน้ ทีท่ งั้ หมด 4 ไร่ คนงานนำ�เครือ่ งตัด หญ้ามาเอง แต่เราจ่ายค่าน้ำ�มัน รวม ค่าแรงค่าน้�ำ มันก็เสียค่าใช้จา่ ย 8,0009,000 บาทต่อครัง้ และถ้าชักท้องร่อง คือตัดหญ้าช่วงแคมร่องจนถึงน้�ำ แล้ว นำ�เศษใบไม้กิ่งไม้ ผักบุ้ง จอกแหนขึ้น 70
มาคลุมโคนต้น จะเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม อีกเพราะต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้น ขึ้นอยู่ กับวัชพืชขึ้นหนาแน่นหรือไม่ รกไม่ รก รวมน่าจะใช้เวลาเป็น 1 สัปดาห์ แรงงานเป็นคนแถวละแวกนี้ ไม่รบั คน ไม่รู้จัก ปลูกทุเรียนต้องตั้งโคก เพราะ พืน้ ทีจ่ งั หวัดนนท์สว่ นมากดินค่อนข้าง เหนียว หากปลูกที่ราบเมื่อรดน้ำ�แล้ว การกระจายของน้ำ�จะขังอยู่ด้านบน นานกว่าจะซึมลงดิน ทำ�ให้โคนเน่า รากเน่าได้ ต้นจะโตได้ไม่ดี หากยกดิน สูงขึ้น พูนโคน เวลารดน้ำ� น้ำ�จะไม่ขัง และค่อยซึมลงไป โคนไม่แฉะ อย่างที่ จันทบุรีเขาปลูกบนดินทราย รดน้ำ�ไป ซึมเร็วไม่ขังแฉะ สำ�หรับการผสมเกสรดอกทุเรียน ปล่อยธรรมชาติ ให้ชันโรง ผึ้งหลวง ช่วยผสมพันธุ์ และมีวิธีการล่อแมลง เหล่ า นี้ เ พื่ อ เพิ่ ม โอกาสผสมเกสรให้
ติดผลมากขึ้น โดยการติดหลอดไฟ ตะเกี ย บ 1 ดวงที่ ต้ น ทุ เรี ย น แล้ ว เปิ ด ไฟไม่ พ ร้ อ มกั น สมมุ ติ เ ปิ ด ไว้ 5 ดวง สัก 10-20 นาทีแล้วดับ และ เปิดอีกชุดหนึ่ง 5 ดวง สักครึ่งชั่วโมง ทำ � สลั บ กั น ไปจนครบทั้ ง สวน เริ่ ม เปิดตอนช่วงเริ่มมืดหัวค่ำ� 2-3 ทุ่ม ก็เลิก เพื่อให้แมลงได้เจอดอกจนครบ ทั้งสวน ถ้าเป็นการปัดเกสรโดยคน มั ก จะทำ � ได้ แ ค่ ต้ น หรื อ 2 ต้ น แต่ ถ้าปลูกมากทำ�ไม่ไหวหรอก และช่วง ผสมเกสรดี ที่ สุ ด คื อ ช่ ว งเย็ น หั ว ค่ำ � ไม่เกิน 3 ทุ่ม แมลงมีมากและดอก ทุเรียนบาน เพื่อชาวสวนได้ทดลอง แล้ ว บอกเล่ า ต่ อ กั น มาว่ า ทำ � การ ผสมช่ ว งเวลานี้ ไ ด้ ผ ลดี จะทำ � แบบ นี้ประมาณสัก 3-4 คืน เพราะดอก ทุเรียนร่วงหมดแล้ว ทำ�แค่ช่วงระยะ ดอกบาน มีการจัดการน้ำ�ในแปลงอย่างไร? อดีตมีการเปิด-ปิดท่อตาลด้วย ลูกท่อ ลูกท่อทำ�มาจากใบตองแห้ง ม้วนให้มีขนาดใหญ่กว่ารูท่อตาลเล็ก น้อย แล้วอัดเข้ารูทอ่ ตาลเพือ่ ปิด และ มีการพัฒนามาเป็นจอหนัง จอหนัง ทำ�ด้วยการขึงผ้าใบหรือกระสอบปุ๋ย ที่น้ำ�ไม่สามารถผ่านได้ โดยใช้ไม้ไผ่ ปักเป็นหลัก 2 ข้าง ขึงผ้าให้ตึง แล้ว ใช้ปิดบริเวณปากท่อ เมื่อน้ำ�มา แรง ดันจะดันผ้าให้เข้ามาในท่อและถูกตรึง อยู่อย่างนั้น น้ำ�จะไม่เข้าท่อตาลเลย แต่ตอนนี้ไม่ได้ใช้ทั้ง 2 อย่างแล้ว ปั จ จุ บั น ปิ ด ท่ อ ตาลสนิ ท ด้ ว ย ลูกท่อ ไม่นำ�น้ำ�เข้าออกเลยถึงแม้ว่า จะติ ด กั บ คลองนายมู ล รอน้ำ � ฝน
อย่ า งเดี ย ว พอฝนตกก็ เ ก็ บ กั ก ไว้ หากน้ำ � มากเกิ น หลั ง ร่ อ งดิ น ก็ จ ะ สูบออกใส่บ่อกักเก็บน้ำ� ทำ�ให้น้ำ�ใน ท้องร่องอยู่ในระดับที่พอดี พอเข้า ช่วงแล้ง น้ำ�ในท้องร่องสวนแห้ง ก็ จะสู บ น้ำ � จากบ่ อ เก็ บ น้ำ � เติ ม เข้ า ใน ท้ อ งร่ อ งสวน ระยะห่ า งจากบ่ อ กั ก เก็บน้ำ�ถึงร่องสวนเพียง 10 กว่าเมตร โดยผ่ า นท่ อ เพื่ อ นำ � น้ำ � เข้ า ออกสวน ได้ ง่ า ย (บ่ อ เก็ บ กั ก น้ำ � ขนาด 25x 20x3 เมตร ประมาณ 1,250 ลูกบาศก์ เมตร ขุ ด มานานแล้ ว และเอาดิ น มาทำ � คั น นาหรื อ คั น ดิ น รอบสวน) สำ � หรั บ ช่ ว งฤดู แ ล้ ง เทศบาลมี ช่ ว ย เหลื อ ชาวสวนเรื่ อ งน้ำ � ช่ ว งฤดู แ ล้ ง ต้องเขียนคำ�ร้องขอ และรอคิว ซึ่งให้ บริการน้ำ�ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยส่ ว นตั ว ปกติ จ ะไม่ ไ ด้ ฟั ง ผลการตรวจวั ด ค่ า น้ำ � เค็ ม จากเสี ย ง ตามสายของเทศบาล แต่จะใช้เครื่อง วั ด ของตนเองทุ ก ครั้ ง ที่ จ ะรดน้ำ � ต้ น ทุเรียน เพราะมั่นใจมากกว่า ส่วนการลอกเลนจะทำ� 2-3 ปี ครั้ง ลอกทุกปีไม่ได้ ไม่มีเลนให้ลอก เมื่อก่อนเลนมีสีดำ� พอช่วงน้ำ�ท่วม น้ำ � เค็ ม มา เลนสี อ อกขาว ยิ่ ง พอ เลนแห้ ง จะเห็ น ขาวโพลน คล้ า ย เกลือตกผลึก และหากว่าเปิดท่อตาล นำ � น้ำ � เข้ าออกสวน ตะกอนมาจาก น้ำ�ในคลอง ท้องร่องสวนก็จะมีเลน แต่ พ อปิ ด ท่ อ ตาลสนิ ท ทำ � ให้ ไ ม่ มี ตะกอนเลนเข้ามาในร่องสวน ไม่มี การหมุนเวียนของน้ำ� มีแต่น้ำ�ขัง ซึ่ง จะส่ ง ผลต่ อ ความอุ ด มสมบู ร ณ์ ข อง ปุ๋ ย ธรรมชาติ ทำ � ให้ ต้ อ งใส่ ปุ๋ ย เคมี สู ตรเสมอเพิ่ ม เล็ กน้ อย ต้ น ใหญ่ ใ ห้ 71
กะลาหนึ่ ง ต้ น เล็ ก ให้ แ ค่ ค รึ่ ง กำ � มื อ หว่านรอบต้น ช่วงหลังเก็บเกี่ยวผล ทุเรียนแล้ว ช่วยเพิ่มธาตุอาหารให้ ทุเรียน และมีน้ำ�หมักชีวภาพทำ�เอง ด้วย หมักจากผัก เปลือกไข่ ฉีดลง ดิน ทำ�ให้ใบเขียวเข้มขึ้น ใหญ่ขึ้น โรค แมลงไม่รบกวน ป้องกันราไฟทอป ธอร่าอีกด้วย ปั จ จุ บั น มี วิ ธี ก ารจั ด การผลผลิ ต อย่างไร? สมั ย ก่ อ นผลผลิ ต มี เ ยอะมากก็ จะมีแม่ค้ามารับซื้อไปขายต่อที่ท่าน้ำ� นนท์ แต่ ต อนนี้ มี เ พี ย ง 5 ลู ก 10 ลู ก ใครจองเราก็ เ ก็ บ ไว้ ใ ห้ ทุ เรี ย น นนท์ ข ายกั น โดยไม่ ชั่ ง กิ โ ล เหมื อ น กะด้วยสายตารู้ว่าลูกขนาดนี้จะหนัก ประมาณ 3 กิโลกรัม ลูกนี้ประมาณ สัก 2 กิโลกรัม แต่เวลาขายไม่ได้บอก ขายเป็นกิโลกรัมนะ ขายเป็นลูกเป็น ผล ขนาดลูกใหญ่ลกู เล็ก และตัดแก่จดั หากขายเป็นกิโลกรัมจะเสียน้ำ�หนัก ผลผลิ ต ในสวนตอนนี้ มี ห ลาย อย่างเช่น มังคุด กล้วยหอม มะพร้าว ไฟ แต่ไม่ได้ขาย มีแค่พอกิน พอเหลือ เผื่ อ แจกเพื่ อ นบ้ า น เพราะผลผลิ ต น้อย ไม่มีพ่อค้าแม่ค้าเข้ามารับซื้อ ขโมยก็เยอะ ค่ า ใช้ จ่ า ยเฉลี่ ย เดื อ นละหมื่ น ถึง 2 หมื่นบาท เป็นค่าจ้างดายหญ้า ค่าไฟ ในสวนมีปั๊มน้ำ� ค่าน้ำ�ประปา เฉลี่ยเดือนละ 4-5 พันบาท แต่ถ้า ช่วงฤดูแล้ง เดือนเมษายน-มิถุนายน 3 เดื อ นนี้ ใช้ ม ากกว่ า 5 พั น บาท เพราะรดไปแล้วมันไม่ชุ่มเลย ความ ชื้นสัมพัทธ์ต่ำ�ด้วย 72
“ท�ำสวนต้องอาศัยใจรัก ความทุ่มเท ความอดทนรอคอย และต้องสร้างก�ำลังใจ ให้ตัวเองเสมอ”
ไพศาล จั่นลา (ครูสาน)
สวนนี้ เ ป็ น สวนมรดกตกทอด สมัยปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ แม่ทำ�สวน แต่ ส่งลูกๆ ให้เรียนหนังสือหมด ส่วนตัว จบมาเป็นครู ทำ�งานมา 30 ปี ทำ�ให้ ไม่ได้ทำ�สวนเลย พอหมดรุ่นพ่อ แม่ ก็ปล่อยสวนรกร้าง สมัยนั้นปลูกผสม ผสาน โดยมีทุเรียนเป็นไม้ประธาน และมีชมพู่ มะพร้าว ซึ่งให้ผลผลิต ระหว่างรอทุเรียนต้นยังเล็ก ช่วยให้มี รายได้ ทุเรียนเดิมสูงใหญ่ 5-10 เมตร ให้ผลดกเป็นร้อยๆ ลูกต่อต้น ที่ ส วนเป็ น สวนจิ ง เลน ขนั ด นี้ 4 ไร่กว่า น้ำ�ท่วมปี 2538 ไม่รุนแรง ป้ อ งกั น ได้ แต่ ปี 2554 ต้ น ทุ เรี ย น ตายหมด เพราะน้ำ�ท่วมขัง 3-5 วัน จากนั้นได้เริ่มปลูกใหม่ และนำ�ดินมา ถมเพิ่มด้วย สังเกตว่าต้นกล้าโตช้า คาดว่าดินอาจจะไม่ดี น่าจะเป็นสาร เคมีจากตอนบนของแม่น้ำ�และดินถม ใหม่ ที่ เราไม่ รู้ ว่ า มาจากไหน มี ก าร ปรับปรุงดิน โดยปลูกทองหลางน้ำ� แบบถี่ ล้อม 4 มุมของต้นทุเรียน เพื่อ ช่วยเร่งปรับปรุงสภาพดิน พอทุเรียน โตเริ่ ม ให้ ผ ลก็ ตั ด ทองหลางทิ้ ง ครึ่ ง
หนึ่ง เอากิ่งไม้มาหมักทำ�ปุ๋ย อีกครึ่ง หนึ่งแต่งกิ่งให้โปร่ง ช่วยพรางแสงต้น ทุเรียนต่อ ส่วนกล้าทุเรียนซื้อมาจาก จันทบุรี ระยอง เป็นกิง่ ทาบ จนทุเรียน เริ่ ม ให้ ผ ลผลิ ต รุ่ น แรกปี 60 ขายได้ หลักหมื่น ปีต่อมาได้หลักแสนบาท ต้นยิง่ โตขึน้ คุณภาพผลก็ดขี นึ้ ตามอายุ ปลูกทุเรียนให้ผลตอบแทนทีค่ มุ้ ค่ากับ การลงทุน ส่วนใหญ่จะทำ�สวนช่วงเช้าและ เย็น เพราะแดดไม่ร้อนมาก เหตุที่ ลูกหลานไม่สืบสานต่อ เพราะทำ�สวน จะต้องมีใจรักจริง รอเวลา ความอดทน สูง และต้องสร้างกำ�ลังใจให้ตนเอง เสมอ ถ้าเป็นครูยังมีเงินบำ�นาญทำ� สวนอยูไ่ ด้ ค่าใช้จา่ ยในสวนเฉลีย่ เดือน ละ 5,000 บาท ครูมีลูกสาว 2 คน คนโตจบคณะสถาปัตยกรรม คนเล็ก จบอักษรศาสตร์จุฬาฯ ทีท่ �ำ สวนอยูน่ เี้ พราะเกษียณแล้ว “ใจรักและพอมีตัง” กำ�ไรที่ได้ต่อปีคือ ไม่ต้องไปหาหมอเพราะมีโรคเหนื่อย หอบง่ายประจำ�ตัว ลองคำ�นวณว่า ถ้าต้องหาหมอจะใช้ค่าใช้จ่ายรักษา พยาบาลปีละ 50,000 บาททีเดียว แต่ พอทำ�สวนแล้วอาการต่างๆ ดีขนึ้ มาก 73
ภาพชั้นเรือนยอดสวนครูไพศาล
นั่นคือไม่ต้องจ่าย 50,000 บาทนั้น อันนี้เป็นกำ�ไรแล้ว และทำ�สวนแล้วก็ สบายใจด้วย และโดยรอบยั ง มี ส วนอยู่ บ้ า ง พอมี ลู ก หลานสื บ ทอด แต่ อ าจจะ ทำ�ไม่เต็มที่เพราะเขาทำ�งานประจำ� กัน มีบางสวนที่ขายไปไม่มาก ต้อง นับหลังจากมีการขายที่สวนกันขนาน ใหญ่หลังน้ำ�ท่วมปี 2538 โดยขายให้ กับบริษัทเพอร์เฟค เพื่อทำ�หมู่บ้าน จัดสรรขนาดใหญ่ และยังคงมีชาวสวน กลุ่มหนึ่งที่มุ่งมั่นรักษาที่สวนเอาไว้ ส่วนตัวครูไม่ขายสวนนี้เด็ดขาด เพราะจะยกให้เป็นมรดกลูก แล้วแต่ เขาว่ า จะทำ � ต่ อ หรื อ จะขาย ตอนนี้ กำ�ลังวางแผนปรับปรุงสวน โดยปลูก ไม้ยืนต้น ผักยืนต้นที่กินได้ตลอดปี พืชสวนครัว วางขายหน้าสวนเพิ่มให้ มีรายได้รายวัน และอาจจะชวนเพือ่ น บ้านมาขายขนม ของกินพื้นบ้าน นัด กันทุกวันอาทิตย์ ช่วงเช้า หากรอผล ทุเรียนอย่างเดียวซึ่งเป็นรายได้ราย ปี ค งไม่ ไ หว แต่ ล ะวั น แต่ ล ะเดื อ นก็ มีค่าใช้จ่ายประจำ�ที่ต้องใช้จ่าย จัด กิจกรรม “วาดรูปในสวน พูดคุยกับลุง ป้าชาวสวน” เพราะเป็นครูมาก่อนก็ 74
มักจะมีลูกศิษย์ลูกหา เพื่อนครู แวะ เวียนมาเยี่ยมบ่อยๆ ที่สวนมีการออกแบบสวนอย่างไร? มีการออกแบบวางผังการปลูก ทุ เรี ย นและไม้ ผ ลชนิ ด อื่ น แทรก ถ้ า ทุเรียนจะปลูกระยะห่างกัน 5 เมตร โดยปลูกส้มเขียวหวานแทรก โดยรอบ ปลูกมังคุด มะพร้าว มะม่วงยายกล่ำ� ส้มโออีก 10 กว่าต้น กล้วย ซึ่งมังคุด ขายได้ราคาดี กิโลละ 180-200 บาท ในปัจจุบัน และต้นไม้ทุกต้นจะมีราย ละเอียดวันทีป่ ลูก ตำ�แหน่งปลูก พันธุ์ อะไร ทำ�ให้สามารถติดตามผลการปลูก ได้ สวนขนั ด นี้ ป ลู กทุ เรี ย นก้ า นยาว ทั้ ง หมด 186 ต้ น อั ต ราการรอด ร้อยละ 65-70 ขณะทีท่ เุ รียนหมอนทอง มี อั ต ราการรอดมากกว่ า ก้ า นยาว ทุ เรี ย นก้ า นยาวเป็ น พั น ธุ์ บ อบบาง พร้อมจะตายทุกเวลา นอกจากนี้ยังมี พันธุ์เม็ดในยายปรางด้วย จัดการบำ�รุงดูแลรักษาสวนอย่างไร บ้าง? การปลูกต้นทุเรียนใหม่ จะต้อง ล้างดินออกจากต้นให้หมด ตัดราก
ภาพถ่ายมุมบนสวนครูไพศาล
ที่ ข ดงอก้ น ถุ ง เพาะชำ � ออก หากมี รากแก้วก็ต้องตัดออกคล้ายกิ่งตอน เพราะรากแก้วจะหยั่งลึกลงแล้วเจอ กับน้ำ�ใต้ดิน อาจทำ�ให้รากเน่า ระยะ ตั ด รากต้ อ งดู ค วามแข็ ง แรงของราก และตารากที่ จ ะแตกออกเป็ น ราก แขนงช่วงใกล้โคน ซึง่ จะถูกบังคับให้หา อาหารเอง รากทุเรียนจะหากินตาม ผิวดิน สำ�คัญช่วงแรกต้องรดน้ำ�ทุก วัน หากลืมอาจตายได้ เตรียมดินให้ดี ร่วนซุยโปร่ง เพราะรากต้องการอากาศ และความชุ่มชื้นในดิน และอาจจะ เพาะลงเข่งก่อน พอได้ขนาดเหมาะสม ก็นำ�ลงปลูกในหลุมทั้งเข่งเลย ซึ่งวิธีนี้ จะแย้งกับความเชือ่ วิธกี ารเดิม ทีเ่ วลา ปลูกกลัวตุม้ ดินแตก ปลูกดินแห้งไม่ได้ แต่วธิ นี ที้ ดลองแล้วอัตราการรอดตาย ของต้นกล้าสูงถึงร้อยละ 65-70 เมื่อก่อน การให้น้ำ�ใช้น้ำ�ในท้อง ร่องรดต้นไม้ทุกครั้งจะตรวจสอบว่า น้ำ � เค็ ม หรือ ไม่ด้วยเครื่อ งวัดน้ำ�เค็ม ส่วนตัว และจะเปิดท่อนำ�น้ำ�เข้าสวน ก็ ต่ อ เมื่ อ มั่ น ใจแน่ น อนว่ า น้ำ � ไม่ เ ค็ ม การรดน้ำ � จะใช้ แ ครงสานด้ ว ยไม้ ไ ผ่ เป็นอุปกรณ์รดน้ำ� น้ำ�หนักเบา และ ลูกหลานทุกคนจะมีประจำ�ตัว แต่สมัย
ก่อนไม่มีเครื่องวัดน้ำ�เค็ม สังเกตจาก สีน้ำ� ถ้าเปลี่ยนไปมาก็จะปิดท่อ หรือ ชิมน้ำ�ในร่องสวน กระโดดเล่นน้ำ�ใน ท้องร่องสวนก็จะรู้แล้ว แต่ ต อนนี้ ปิ ด ท่ อ สนิ ท เพราะ คลองทีต่ ดิ กับสวนน้�ำ เสีย น้�ำ สีด�ำ สนิท ส่งกลิน่ เหม็น ซึง่ เป็นน้�ำ เสีย ทำ�ให้ตอ้ ง ใช้น้ำ�ประปาและน้ำ�ฝนที่กักเก็บไว้ใน สวน รดต้นไม้ ผ่านระบบสปริงเกอร์ โดยติดตั้งปั๊มน้ำ�ดูดจากในท้องร่อง การรั ก ษาระดั บ น้ำ � ในท้ อ งร่ อ ง เป็นการรักษาระดับน้ำ�ใต้ดินในสวน ให้ระดับน้ำ�มีความสูงที่จะไม่ท่วมราก ทุเรียนด้วย สมั ย ก่ อ นลอกเลนจะเอาแรง คนในบ้าน มีจา้ งแรงงานบ้าง การสาด เลนเป็ น เรื่ อ งสนุ ก มากสำ � หรั บ ลู ก ๆ หลานๆ แต่เดี๋ยวนี้จ้างทั้งหมด เมื่อ ก่อนตอนรุ่นเด็กประถมนี่คือในสวน มีปลามีกุ้งมีสัตว์ให้จับเล่นเยอะมาก บางทีก็จับมาทำ�อาหารกินกัน และ จะสาดเลนหลั ง เก็ บ เกี่ ย วผลทุ เรี ย น หมด เลนคือซากใบไม้ที่ถูกทับถมอยู่ ในร่องสวน สาดเลนคือกระบวนการ เพิ่มปุ๋ยในดิน ปรับปรุงดิน การสาด เลนยังทำ�ให้เก็บน้ำ�ได้เพิ่มขึ้น 75
ภาพปกคลุมของพืช สวนครูไพศาล
บางตำ�ราว่าเลนที่เกิดจากการ หมักเศษใบไม้กิ่งไม้ทองหลางเป็นปุ๋ย ธรรมชาติไม่ดีเพราะมีก๊าซมีเทน ใน ความเห็นของครูคิดว่าไม่มีผลกระทบ กับทุเรียนเลย นอกจากนี้ ยั ง มี ก ารให้ ปุ๋ ย เพิ่ ม นอกจากการสาดเลนด้วย โดยจะเป็น ปุย๋ น้�ำ หมักชีวภาพ หมักจากปลา และ ปุ๋ยหมักสูตรแม่โจ้ 1 ใช้เศษหญ้าหลัง จากดายหญ้ามาหมักกับขี้วัวที่ซื้อมา จากร้านทัว่ ไป ศึกษาจากอินเตอร์เน็ต ค้นหาจากเว็บกูเกิล นำ�มาทดลองทำ� ในสวน ใช้แล้วได้ผลดี ต้นทุนถูกเพราะ ใช้วัสดุที่หาง่ายในสวน ในพื้นที่ ส่วนการผสมเกสร มีการเลี้ยง ชันโรงในกล่องไม้เพื่อช่วยผสมเกสร ทุ เรี ย น ซึ่ ง ชั น โรงมี อ ยู่ ใ นสวนตาม ธรรมชาติอยู่แล้ว อาศัยอยู่ตามรูไม้ รูปูน เพียงแต่มาทำ�กล่องไม้ปิดทึบ เจาะรูเล็กตรงกลาง เพื่อเป็นทางเข้า 76
ออกของชันโรง และทำ�ช่องเลื่อนเปิด ด้านบน หากต้องการน้ำ�ผึ้งก็สามารถ เก็บได้ทางช่องนี้ เมือ่ ระยะดอกทุเรียน บานก็นำ�ไปแขวนไว้ในพุ่มต้นทุเรียน นั้น ตลอดทั้งปีชันโรงจะหาน้ำ�หวาน จากดอกไม้อื่นๆ น้ำ�ผึ้งจากชันโรงจึง เป็นยา มีปริมาณน้อยและมีราคาแพง มาก ส่วนของผลผลิตทุเรียนนนท์ จะ ขายเป็นลูก การตัดผลทุเรียนจะตัด สุกแก่เต็มที่ ทั้งนับวัน ดูสีผล ดูตา หนามห่าง ดูขั้ว ดูปลิง ชัดเจนว่าแก่ จัด น้ำ�หนักจะเบา รสชาติจะเข้าเนื้อ หวานมันจัด และลูกค้าจะจองเป็นลูก แล้วแต่ความพอใจของลูกค้า ถ้าถูกใจ ลูกค้าบางทีก็ลดราคาให้ และยินดีคืน เงินโดยไม่มีข้อแม้หากสินค้าไม่ดี กิน ไม่อร่อย
่ วๆ ไม่ได้ “ทุเรียนมันปลูกเดีย ...ตายหมด มันต้องมีเพื่ อน มีทองหลาง มังคุด ่ ้องอยู่ร่วมกัน เหมือนกับคนทีต เป็นสังคม” แสวง นาคนาค (ลุงแสวง)
ที่ดินเป็นมรดกของพ่อ แม่ ซึ่งมี หลายแปลง ลุงเป็นพี่ชายคนโต เลย แบ่งให้พี่น้อง 4 คน ทุกคนเรียนกัน หมด แต่ลุงจบ ม.6 อายุ 17 ปี ตัดสิน ใจไม่เรียนต่อ ทำ�สวนเต็มตัว พีน่ อ้ งคน อื่นก็เรียนต่อกัน ลุงเริ่มเข้าสวนตั้งแต่ อายุ 7-8 ขวบ จุ ด ตั ด สิ น ใจตอนนั้ น มาจากครู ใหญ่โรงเรียนศรีบญ ุ ยานนท์ ท่านถาม นักเรียนว่าจบไปแล้วจะเป็นอะไรกัน ก็มีเพื่อนตอบกัน ว่าเป็นทหารบ้าง ตำ�รวจบ้าง ครูบ้าง “ครูใหญ่เลยถาม ว่าไม่มีใครคิดจะทำ�สวนบ้างหรือ” ลุง จึงตัดสินใจว่าไม่เรียนแล้ว และตอน นั้นพ่อป่วยด้วย ตอนที่เรียนหนังสือ ลุงขับเรือไปส่ง และช่วยแม่ขายทุเรียน ที่ท่าน้ำ�นนท์ ยังเป็นเขื่อนหิน ขาย ทุเรียนวันนึง 10 กว่าเข่ง ไปส่งตี 2 กลับมาถึงบ้านตี 4 คนมารุมซื้อมาก ขายช่วงเวลาสั้นๆ วันนั้นวันเดียวได้ เงินตั้ง 2-3 พันบาท เป็นเงินสด ขณะ ที่เงินเดือนข้าราชการเดือนละ 600 บาท ทำ�ให้มั่นใจว่าการทำ�สวนดีกว่า ทำ�อาชีพอื่นแน่นอน จึงขอที่สวนพ่อ
และแม่ ซึ่งเขาก็ยกที่ของแม่ให้ เดิม ที่สวนเคยปลูกส้มมาก่อน ลุงก็ปลูก ทุ เรี ย นแทรกไป โดยกิ่ ง ที่ ต อนเอง จากสวนของพ่อ พอออกรากก็นำ�มา ล้างราก แล้วปลูกลงหลุม จัดรากให้ แผ่กระจายโดยรอบ จากการสังเกต เห็นว่าถ้าสวนใดปลูกส้มมาก่อน แล้ว ปลูกทุเรียนเสริม ทุเรียนจะขึ้นยอด ติดดีมากกว่าทีจ่ ะทำ�สวนทุเรียนอย่าง เดียว น้องชายทีเ่ รียนจบมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ เป็นครูสอนวิชาเกษตร เขาบอกว่าส้มชอบกินเค็ม ทุเรียนชอบ กินจืด พอส้มกินเค็มหมดต้นทุเรียนจึง ขึ้นงามดี ลุงเกิดปี 2485 เกิดน้ำ�ท่วมใหญ่ สวนล่ม ทุเรียนและส้มตายหมด ก่อน ปี 2485 ชาวสวนส่วนใหญ่ยังไม่นิยม ปลู ก ทุ เรี ย นกั น เป็ น สวน มี ส วนส้ ม สวนลิ้นจี่ สวนอ้อย สวนหมากพลู ซึ่ง ปลูกทุเรียนแซมบ้าง ต้น 2 ต้น ต้นสูง ใหญ่มาก ปลูกกันแทบทุกสวนมอง ไปคล้ายป่าเลย แต่พ่อก็เลือกจะปลูก ทุ เรี ย นใหม่ โดยไปเก็ บ เม็ ด ทุ เรี ย น ทีต่ ลาดสีแ่ ยกมหานาค เป็นเม็ดทุเรียน ที่ ค นจี น กิ น แล้ ว ทิ้ ง ก็ เ อามาปลู ก ปลูกทุเรียนเม็ด มันกลายพันธุ์ เช่น 77
ภาพชั้นเรือนยอด และภาพปกคลุมของพืช สวนลุงแสวง
กบตาขำ� กบตามาก กบตาเหมย พอ ปลูกเสร็จพ่อก็ตั้งคันนาสูงเลย และ สอนสั่ ง ตั้ ง แต่ ยั ง มี ชี วิ ต ว่ า “ถ้ า ปลู ก ทุเรียน เอ็งต้องตัง้ คันนาให้สงู ไว้” และ ยังสั่งไว้อีกว่า “พันธุ์ทุเรียนไอ้อีหนัก อย่าปลูกมาก ไอ้หนักสงครามหรือ อีล่า ขั้วมันเล็ก มันยาว มันขาดอายุ เยอะ อย่าปลูกมาก” สมั ย ก่ อ นมี ทุ เรี ย นหลายพั น ธุ์ เช่น ชะนี ก้านยาว พันธุ์ก้านยาวทรง หวดนีน่ า่ จะมาจากไทรม้า โดยตาพริง้ ฤทธิ์ แ ตง ได้ ต อนกิ่ ง ทุ เรี ย นไว้ ก่ อ น น้�ำ ท่วมใหญ่ปี 2485 ใส่หม้อขนน หรือ หม้ อ ตาล ลอยแพด้ ว ยหยวกกล้ ว ย ตาผล จารุวรรณ บ้านงาช้าง ไทรม้า ได้ซื้อกิ่งพันธุ์ ในราคากิ่งละ 25 บาท เลยทำ�ให้ตาผลมีชื่อเสียง ส่วนพันธุ์ หมอนทองนี่ตาเทียม คนบางรักน้อย อยู่ข้า งวัดบางรั กน้ อย เป็ น เจ้ าของ พั น ธุ์ หมอนทองเกิ ด จากเพาะเม็ ด 78
กำ�ปั่นเหลือง ลักษณะเด่นคือตูดเป็น ก้นหอย แหลมนิดๆ ออกผลดก เนือ้ สี เหลืองกว่าหมอนทองอืน่ แต่คนทัว่ ไป รับรู้ว่าหมอนทองเป็นของหมอคำ� เมื่อก่อนบรรยากาศ ความอุดม สมบูรณ์บริเวณรอบสวนและคูคลอง ลำ�ประโดง คล้ายป่าดงดิบ อากาศ เย็นตลอดทั้งปี ในคูคลองมีกุ้ง ปลา แค่เอาสวิงลงช้อนที่ท่าน้ำ�หน้าบ้าน เพียงสักครู่ก็ได้กุ้ง ปลามาทำ�แกง ทำ� กับข้าวกินแล้ว ไม่ต้องซื้อ ช่วงหลังน้ำ� ลดเดือน 12 นำ�ควายลุงลงคลอง พอ น้ำ�ขุ่น กุ้งก็ลอยขึ้นจับง่าย และควาย ช่วยทำ�ให้คลองลึกขึ้นอีกด้วย ยอมรับว่าการทำ�สวนในปัจจุบนั มี ค วามยุ่ ง ยากมากกว่ า ในอดี ต มาก ต้องใส่พลังแรงกายแรงใจมาก และ ต้นทุนที่สูงขึ้นตามยุคสมัย จึงทำ�ให้ รู้สึกเหนื่อย เหนื่อยสุดๆ แต่ก็ไม่หยุด เพราะสวนเป็นสิง่ ทีร่ กั มาก เหมือนเรา
ภาพถ่ายมุมบนสวนลุงแสวง
รักใครสักคนเราก็อยากทีจ่ ะดูแลเขาไป ตลอดทั้งชีวิตนั่นละ ตอนนีท้ �ำ สวนเพือ่ ออกกำ�ลังกาย ไม่ให้ชวี ติ เปล่าประโยชน์ ทำ�ได้บา้ งไม่ ได้บ้าง ถึงได้น้อยมันก็ยังได้ ลุงปลูก เกือบทุกอย่าง ใครเขาไม่มี ลุงมี ใคร เขามีมาก ลุงก็พอมี ใครไม่รู้จะทำ�ให้ ติดผลยังไง ลุงช่วย “จะปลู ก ต้ น ไม้ แ ต่ ล ะชนิ ด ต้ อ ง อ่านมันให้ลึก ให้ถึงก้นบึ้ง เรียกว่า ไม่ใช่อ่านกันเพลินๆ ต้องรู้จักนิสัย ใจคอ อ่านมันให้ออก มันก็เหมือนคน บางทีตน้ ไม้แต่ละชนิดแต่ละพันธุน์ สิ ยั มันก็ไม่เหมือนกัน” “ลุงก็เหมือนกัน ต้องเก็บกวาด มีวินัย บริหารตนเอง ต้องทำ�แบบนี้ เพราะทำ�สวนตัง้ แต่เล็ก ไม่มใี ครบังคับ ลุง ลุงต้องบังคับตัวเอง ทำ�สวน ดาย หญ้าก็ต้องให้เสร็จหนึ่งร่องถึงจะเลิก เวลานี้ต้องทำ�อะไร เวลานั้นไปที่ไหน
ต้องวางแผน ไม่อย่างนั้นลุงไม่รอด หรือโตมาได้ขนาดนี้หรอก คนที่ไม่ บังคับตนเองอย่างไปเป็นลูกน้องเขา เจ้านายต้องสั่ง ต้องทำ�อย่างนั้น” ส่วนของการสืบทอด ลุงได้ยกที่ สวนให้ลูกทั้งหมดแล้ว แต่ตอบแทน ลูกไม่ได้ว่าจะทำ�หรือไม่ เพราะเป็น สิทธิข์ องเขา เขามีเงินเดือนประจำ� จะ ไม่วา่ ถ้าเขาจะไม่ท�ำ หรือขาย เพราะลุง ตายแล้ว ไม่รับรู้แล้ว ไม่มีข้อห้าม ความเชื่อในสวน จะเน้นการจัดการสวนมากกว่า มีตั้ง ศาลเจ้าที่บริเวณใต้ต้นตะเคียน แต่ ปั จ จุ บั น ศาลล้ ม แล้ ว เพราะหมู่ บ้ า น จัดสรรมาขอทำ�ถนนสาธารณะ จึงตัด ต้นตะเคียนขายแล้ว 3 ต้น ซึ่งเคยคิด จะตัดเมื่อลูกจะเอาไม้ไปปลูกบ้านแต่ ลูกไม่ปลูกแล้ว ลุ ง วางแผนปลู ก เป็ น ระเบี ย บ เรียบร้อย พอน้�ำ ท่วมและน้�ำ เค็มทำ�ให้ 79
มี ต้ น ตายบ้ า ง ไม่ ต ายบ้ า ง ทุ เรี ย น ที่ปลูกใหม่หลัง ปี 2554 ซื้อมาจาก ซอยช้าง และก็มรี บั จากหน่วยงานของ รัฐแจก โดยจะเลือกซือ้ ต้นสูงประมาณ 80 เซนติเมตร ถึง 1 เมตร มีการออกแบบและการจัดการสวน อย่างไร? ทุเรียนไม่ชอบที่โล่งแจ้ง ทุเรียน ชอบอยู่กับป่า ชอบความชุ่มชื้น มี ต้นไม้หลากหลาย แต่ต้นไม้เหล่านั้น ต้องไม่ไปรบกวนเขา ช่วยพรางแสง ลุงเคยเขียนหนังสือว่าเมือ่ ก่อนนีเ้ มือง นนท์นั้นเป็นป่าทุเรียน ทุกคนทุกบ้าน ปลู ก กั น หมด ต่ า งคนต่ า งให้ ค วาม อบอุ่น ให้ความชุ่มชื้นแก่กัน ทำ�ให้ ต้นไม้งามทีเดียว แต่เดี๋ยวนี้อากาศ ร้อน เหมือนกับคนต่อสู้กันอยู่ อยู่ กันแบบว้าเหว่ น่าจะอยู่กันแบบสงบ อบอุ่นกันดีกว่า ตอนปลูกจะปลูกทองหลางก่อน แล้วแทรกด้วยมังคุด กล้วย ส้ม ไผ่ ปลู ก บนคั น นาช่ ว ยกั น ลม ช่ ว ยกั น โรคแมลง ช่วยให้เกิดการจัดการสมดุล ภายในสวน หมุ น เวี ย นแร่ ธ าตุ ถ้ า ปลูกทุเรียนเชิงเดีย่ ว ใบร่วงของทุเรียน ย่ อ ยสลายเป็ น ปุ๋ ย ให้ ตั ว ทุ เรี ย นเอง ไม่พอ ก็ต้องไปหาซื้อปุ๋ย ซื้อยาเพิ่ม ต้ น ทุ น การผลิ ต อี ก เหมื อ นกั บ คน ก็ต้องกินอาหารที่หลากหลาย จะกิน แต่หมูหรือไก่อย่างเดียว ร่างกายอยู่ ไม่ได้หรอก ทว่าต้นทุเรียนมีหนอน เจาะกิ่ง ก็จะตัดกิ่งนั้นทิ้งเลย เพราะ คิ ด แล้ ว ว่ า อาจจะไม่ คุ้ ม ค่ า กั บ เงิ น และสุขภาพที่เสียไปจากที่ต้องใช้ยา ฉีด 80
การปลูกต้นทุเรียนใหม่ ถ้าวาง ต้นทุเรียนบนดินแล้วพูนดินขึน้ ทัง้ หมด อัตราการรอดน้อย ปลูก 10 ต้น ตาย สัก 8 ต้น ต้องปรับวิธกี ารปลูกโดยการ ขุดหลุมลงไปสักหน่อย ใส่กงิ่ ทองหลาง ผุ กาบมะพร้ า วสั บ แต่ ก็ ต้ อ งระวั ง ปลวกด้วย แล้วใส่เลนจากท้องร่อง วางต้นทุเรียนแล้วจึงกลบ คลุมด้าน บนด้วยใบ กาบกล้วยสับคลุมบนดิน อีกชั้นหนึ่ง รดน้ำ�ให้ชุ่ม จะใช้ไม้หลัก หรือไม่ใช้ก็ได้ เทคนิคการผสมเกสรดอกทุเรียน ก้านยาวด้วยวิธีการปัดเกสร จะต้อง นำ�เกสรตัวผูท้ เุ รียนสายพันธุอ์ นื่ มาปัด เช่น กระดุม หมอนทอง หากใช้เกสร ตัวผูพ้ นั ธุเ์ ดียวกันจะไม่ตดิ ผลเลย หาก ดอกดกมากจะต้องช่วยตัดออก เพื่อ ให้ดอกที่เหลือสมบูรณ์ การไว้ลูกห้ามเอาไว้มากเพราะ ผลจะมีขนาดเล็ก สมัยก่อนลุงจะตัด ลูกกลมใหญ่ทิ้ง และเหลือผลเบี้ยว เพราะคนจีนชอบและได้ราคาดีกว่า ลูกกลม เม็ดเล็กและเนื้อเยอะ เมื่อ ติ ด ผลขนาดเท่ า นิ้ ว ก้ อ ย พิ จ ารณา ตัดทิ้งจากลักษณะผล ถ้าผลลักษณะ เบี้ยว ไม่กลมซึ่งเกิดจากผสมเกสรติด ไม่ทั้งหมด จะเก็บเอาไว้ แต่ถ้าผสม เกสรติดทั้งหมดจะได้ผลเต็มพูเกินไป จะตัดทิ้ง ตำ�แหน่งที่ติดผล เลือกผล ที่ติดใกล้กับโคนกิ่งถึงกลางกิ่ง และ กำ�หนดจำ�นวนผลต่อต้น ตามขนาด ของต้น สมมุติเอาผลไว้ 20 ลูกก็จะ เผื่ออีกเล็กน้อย เพราะเมื่อผลโตขึ้น อาจจะร่วงเพิ่ม แต่เดี๋ยวนี้ลูกค้านิยม ลักษณะลูกกลมเพราะดูสวยแต่เม็ด ใหญ่และเนื้อน้อย
ภาพปกคลุมของพืชสวนลุงแสวง
การรางรอบโคก สมัยก่อนจะทำ� เพื่อกันพวกรากทองหลาง รากของ ต้นไม้อื่นเข้าไปแย่งอาหารรากทุเรียน แต่เดี๋ยวนี้ทำ�ไม่ไหวแล้ว การเฝ้าสวนป้องกันขโมย ช่วง ผลผลิตทวายออกมาก จำ�เป็นต้อง นอนเฝ้าทุกคืน จนกว่าผลผลิตจะสุก แก่เต็มที่ ซึ่งเสี่ยงต่อชีวิตแต่ก็ต้องทำ� เพื่อครอบครัว โจรไม่เห็นใจเราหรอก บางครั้ ง ไม่ ตั ด แต่ ก ระตุ ก ผลทำ � ให้ เปลือกกิ่งฉีกเป็นทางยาว ซึ่งโจรจะ เอาไปผูกรวมกันได้ ลุงนอนเฝ้าสวน บนห้างมีอาวุธปืนติดตัว บางทีเคย นอนในบ่อเพื่อจับโจร และมีหมาที่ เลีย้ งเอาไว้เฝ้าสวน มีครัง้ หนึง่ หมาเห่า ไม่หยุด ก็ฉายไฟส่องเจองูสามเหลีย่ ม ตัวใหญ่มาก และการเฝ้าสวนต้องไม่ เข้าเป็นเวลา ไม่ซ้ำ�วันเดิม เพราะโจร อาจจับสังเกตได้ และถ้าเฝ้าสวนแล้ว ต้องไม่กลับกลางดึก แล้วเส้นทางกลับ บ้านต้องไม่กลับเส้นทางเดิม บ้านอยู่
บางรักน้อยบางครั้งต้องเดินอ้อมไป ไทรม้า สมั ย ก่ อ นมั น มี น้ำ � เค็ ม แตกต่ า ง จากสมัยนี้มาก คือ มีน้ำ�เค็มช่วงสั้นๆ ระหว่างเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม และก็เข้าหน้าฝนแล้ว ขุดท้องร่องให้ ลึ ก หน่ อ ยกั ก เก็ บ น้ำ � ฝนพอใช้ จ นถึ ง ปี น้ำ�ยังไม่ทันแห้งร่อง น้ำ�เค็มก็จะ มาแต่ก็ปิดท่อตาลที่ต่อกับคลองบาง ประดู่เล็กกั้นน้ำ�ไม่ให้เข้าสวน แล้วก็ เข้าฤดูฝนถัดไปพอดี ต่างจากปี 2557 พอหลังปีใหม่ ลุงเปิดน้ำ�เข้าสวนเป็น ปกติ ต้นที่ปลูกไว้งาม ก็มาตายแทบ หมด ยิ่งปี 2563 น้ำ�เค็มมาตั้งแต่หลัง วันลอยกระทงเมื่อปีที่แล้ว มาก่อนปี ใหม่อีก นั่นคือน้ำ�เหนือมีน้อยทำ�ให้ น้ำ�เค็มหนุนขึ้นมาเร็วขึ้น ตอนปี 2554 น้ำ�ท่วม ระดับสูง กว่าคันนานิดเดียว ซึ่งลุงได้ขอความ ช่วยเหลือเรื่องทรายจากทาง อบต. แต่ก็ไม่ได้ทันท่วงที จนหลังน้ำ�ท่วม 81
สวนเป็นเดือนแล้วจึงได้ทรายมา ลุง นึกย้อนไปก็ยังน้อยใจว่าลุงช่วยสร้าง ชื่ อ เสี ย งทุ เ รี ย นนนท์ ใ ห้ ตำ � บล ให้ จั ง หวั ด นนทบุ รี ม ากมาย แต่ พ อขอ ความช่ ว ยเหลื อ เพี ย งเล็ ก น้ อ ยเพื่ อ จะรักษาสวนซึ่งเป็นพื้นที่ดูงานของ จังหวัดกลับไม่ให้ความใส่ใจ ไม่เร่งรีบ รักษา พอมาปี 2563 นี้ เ ป็ น ปี แรกที่ ใช้น้ำ�ประปา เพราะน้ำ�ในคลองบาง ประดู่เล็กเริ่มเสีย ก็คล้ายว่าต้องปิด ท่อตาลตลอด จะเปิดก็ต่อเมื่อระบาย น้ำ�ฝนที่มากเกินกักเก็บไว้ในท้องร่อง ลุงยังเดินรดน้ำ�ต้นไม้ทุกต้นด้วยแครง เพราะรดแล้ ว ให้ ค วามรู้ สึ ก ว่ า ต้ น ไม้ ได้รับความชุ่มฉ่ำ�แตกต่างจากระบบ สปริ ง เกอร์ ที่ เ ปิ ด รดแล้ ว เพี ย งสั ก ครู่ ก็แห้งเหมือนเดิม รดน้ำ�ต้นละ 2-3 แครง ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ ถ้าร้อน แล้งมากก็เพิ่มจำ�นวนแครง และเอา หญ้าคลุมดินช่วยรักษาความชุม่ ชืน้ ใน ดิน ถ้าไม่มหี ญ้าคลุม ดินจะแน่นรดน้�ำ ไม่ลง เรียกว่าดินหัวกะทิ การปล่ อ ยให้ ท้ อ งร่ อ งแห้ ง น้ำ � ลุ ง คิ ด ว่ า ไม่ เ กิ ด ผลดี กั บ ต้ น ทุ เ รี ย น ที่ต้องการความชื้นสูง ซึ่งการรดน้ำ� ด้วยน้ำ�ประปาเพียงอย่างเดียวก็ไม่ อาจทำ�ให้ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ เพียงพอ สมั ย ก่ อ น ชาวสวนรุ่ น แก่ ส าด เลนช่ ว งหลั ง เก็ บ เกี่ ย วผลทุ เรี ย น ผู้ หลักผู้ใหญ่เขาทำ�กันอย่างนี้มาตลอด แต่ลุงเป็นเด็กใหม่ เห็นปัญหาว่าพอ เก็บทุเรียนหมดจะเข้าฤดูฝน ซึ่งพอ สาดเลนเสร็จฝนตกชะเลนกลับลงมา ในท้องร่องหมด เสียทั้งค่าจ้าง เสีย 82
ทั้งเลน ลุงเลยทดลองสาดเลนตอน ทุ เ รี ย นเริ่ ม ออกดอก ก็ มี ช าวสวน รุ่นแก่บอกว่าสาดเลนอย่างนี้ทุเรียน จะดอกร่วงหมด ไม่ได้กินหรอก ลุงคิด ว่าต้องลองดู พอสาดเลนแล้ว เลนแห้ง ดอกทุ เรี ย นร่ ว งหมดจริ ง แต่ ส่ ว นที่ ติดผลแล้วเหลือบนต้นกลับให้ผลผลิต ดี ผลใหญ่ ผลติดดีไม่ร่วง ทีนี้ใครๆ ก็ เอาอย่างลุง แต่ตอนนี้ 2-3 ปีสาดครั้ง หนึง่ เพราะค่าจ้างแรงงานแพงขึน้ มาก ลูกหลานก็มีงานประจำ�ของเขา การทำ�ปุ๋ยอย่างดี ง่ายๆ สมัย ก่ อ นชาวสวนจะดายหญ้ า แล้ ว เผา และหญ้าริมตลิ่งหรือหญ้าตีนติด มัก จะไม่ดาย ลุงก็ให้คนดายหญ้า ดาย แล้วเอาหญ้าใส่ลงท้องร่องเลย ลุงก็ ลงไปย่�ำ ให้หญ้ามันจมใต้เลน แล้วเอา เลนขึ้นมาพูนโคนทุเรียนที่ปลูกใหม่ ปรากฎว่าต้นตั้งยอดเจริญเติบโตเร็ว มาก คนทีด่ ายหญ้าแก่กว่าลุงอีก ตอน นั้นลุงอายุ 17-18 ปี ก็ว่าลุงมีหัวคิด แปลกดี ตอนเราปลูกทุเรียนใหม่ๆ ท้อง ร่องกว้าง แต่พอทุเรียนโตมากขึ้นราก ขยายแล้วก็สาดเลนทับอีกรากก็ขยาย อีก ก็จะทำ�ให้ท้องร่องแคบลง เรื่อง ดินถมเพื่อเพิ่มระดับความสูงของร่อง ดินและคันนา สวนลุงไม่มีเลย ลุงคิด ว่าดินมาตามน้ำ� เมื่อก่อนลุงเปิดปิด ท่อตาลนำ�น้ำ�เข้าออกตลอดและสาด เลนเป็ น ประจำ � ทุ ก ปี ม าตลอดที่ ทำ � สวน และก็สังเกตเห็นดินในสวนเพิ่ม ทุกปี น่าจะเป็น 100 คิว สมัยนั้นคิว ละ 50 บาท รวม 5,000 บาท ก็นับว่า มากโขทีเดียว (ยืนยันด้วยความสูงของ คันนาจากการสำ�รวจแปลงปลูก คันนา
มีความสูงถึง 3 เมตร สูงกว่าสวนอืน่ ที่ อีกทางหนึ่งด้วย รากต้นไม้ที่อยู่ข้าง เก็บข้อมูล) น้�ำ ไหลตามธรรมชาติจะมา บ่อก็จะเดินดี มากช่วงเดือน 11-12 พอเริ่มมีเขื่อน มีการจัดการน้ำ� แล้วบางปีระบายน้ำ� มาก บางปีระบายน้ำ�น้อย ไม่เป็นไป ตามธรรมชาติก็ทำ�ให้เกิดปัญหา และ ยิง่ เดีย๋ วนีม้ เี ขือ่ นประตูกนั้ น้�ำ ตามปาก คลองต่างๆ อีก ทำ�ให้สวนจิงเลนน้ำ� จะท่วมบ่อยขึ้น ที่เคยปลูกอ้อย ปลูก กล้วยได้ เดี๋ยวนี้ก็ปลูกอะไรแทบไม่ได้ เลย ปล่อยรกร้างกันหมด คุ ณ ภาพดิ น ธาตุ อ าหาร ลุ ง คิ ด ว่ า ต้ น ไม้ นำ � มาใช้ อ ยู่ ต ลอดเวลา ธาตุ อ าหารย่ อ มลดลง ในอดี ต ปุ๋ ย ธรรมชาติไหลมากับน้ำ� พวกซากพืช ซากสัตว์ ตะกอนเลน พอช่วงหน้าน้ำ� หลากก็เปิดเข้าท้องร่อง แต่พอการ พัฒนาเมือง สร้างถนนหนทางขวาง ทางน้ำ� กลายเป็นการดักตะกอน ธาตุ อาหารต่างๆ แล้วเหลือน้อยกว่าจะ มาถึงสวนที่เป็นปลายน้ำ� เราก็ต้องไป หาซื้อมาเพิ่ม ลุงใช้วิธีเพิ่มธาตุอาหาร ด้วยการเก็บเศษใบไม้ใบหญ้า เปลือก ผลไม้ตามข้างทางไม่เหลือให้ อบต.มา เก็บขยะ นำ�มาหมักในท้องร่องเพิ่ม เช่นเปลือกขนุน เพื่อให้เกิดการย่อย สลายด้วยจุลินทรีย์ธรรมชาติ ใช้เวลา เดือนกว่า จะไม่ปล่อยให้น้ำ�ในท้อง ร่ อ งเน่ า เสี ย และซากหมาตายข้ า ง ถนนก็เอามาฝังโคนต้นไม้ ดินทีใ่ ช้เสริมคันนาให้สงู จะนำ�มา จากร่องดินในสวนบริเวณที่ว่างของ ต้นทุเรียน ซึ่งจะแน่นแข็ง โดยการขุด เป็นบ่อ และบ่อนั้นก็จะนำ�เศษกิ่งไม้ ใบไม้ที่ตัดสางในส่วนใส่ลงไปแล้วนำ� เลนขึ้นมาทับ ก็จะเป็นปุ๋ยธรรมชาติ 83
การสำ�รวจขนัดสวนยกร่อง โดยการวางแปลงสำ�รวจ พืชและเก็บตัวอย่างดินน้ำ�
“...ทางธนบุรีหรือนนทบุรี ซึ่งที่ปลูกทุเรียนได้ดีเลิศ หลายแง่หลายมุมนั้น คาดการต่อไปภายหน้าว่า อาจเป็นที่โรงงานอุตสาหกรรม และมีถนนหนทาง ตึกรามไปเสียหมด...” หน้า 29 พระยาแพทยพงศาวิสุทธาธิบดี (สุ่น สุนทรเวช)19. 2423-2508.
พระยาแพทยพงศาวิสุทธาธิบดี (สุ่น สุนทรเวช) อ้างใน พระบรรเจิดวิชาชาญ (ชม บุณยาคม). 2498. ความรู้ ทุเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 1, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 100
19
บทที่ 6
ความท้าทาย สวนยกร่องกับการพัฒนา ปัจจัยเสี่ยงจากภายนอก
จากวิสัยทัศน์การพัฒนาความ เป็นเมือง เพื่อตอบสนองการพัฒนา ทางเศรษฐกิจของจังหวัด และปัญหา ภัยพิบัติ จึงทำ�ให้อยากรู้ว่าชาวสวน และผู้ที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านจัดสรรมี ความคิดเห็นต่อปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่ ส่งผลกระทบต่อการคงอยูห่ รือหายไป ของสวนยกร่องอย่างไร ผลการศึกษาของโครงการฟื้นฟู ระบบนิเวศสวนยกร่องรับมือภัยพิบัติ 2562-2563 ได้สำ�รวจความคิดเห็น ปัจจัยและเงื่อนไขที่ส่งผลต่อการคง อยู่หรือหายไปของสวนยกร่อง ด้วย เครื่องมือแบบสัมภาษณ์ กับกลุ่มผู้นำ� ชุ ม ชน และผู้ ที่ อ าศั ย อยู่ ใ นหมู่ บ้ า น จัดสรรในพื้นที่ศึกษา ตำ�บลไทรม้า และบางรักน้อย อำ�เภอเมือง จังหวัด นนทบุรี พบว่า ปัจจัยเสี่ยงภายนอก ที่สำ�คัญที่สุดคือภัยพิบัติ สวนยกร่อง กำ�ลังจะหายไปเนื่องจากได้รับผลกระ
ทบจากน้ำ�ท่วมมาหลายครั้ง ชาวสวน ล้มแล้วลุกกันหลายรอบ และครั้งที่ ร้ายแรงที่สุด คือ มหาอุทกภัยน้ำ�ท่วม เมื่อปี 2554 ที่ทำ�ให้พื้นที่การเกษตร หรือพื้นที่สีเขียวของจังหวัดนนทบุรี ลดลงไปกว่าครึ่ง อีกทั้งปัญหาน้ำ�แล้ง ในช่วงปี 2556-2558 ทำ�ให้น้ำ�ทะเล หนุนสูง ส่งผลให้น้ำ�ที่ชาวสวนใช้ใน สวนยกร่องเค็ม จากปัญหาภัยพิบัติ ทางธรรมชาติดังที่กล่าวมาแล้วล้วน ส่งผลกระทบ ทำ�ให้ความหลากหลาย ชนิดพันธุ์พืชลดลง ซึ่งส่งผลต่อความ มั่นคงทางอาหารของชุมชนเมือง ถึง แม้ว่าสวนยกร่องจะเป็นแหล่งกักเก็บ น้ำ�ช่วงแล้ง สร้างความชุ่มชื้น ร้อยละ 32.63 ลดอุณหภูมิให้กับบริเวณโดย รอบ ร้อยละ 30.46 แต่ชาวสวนจะ ไม่ได้กักเก็บน้ำ�จนล้นเกินหลังร่องดิน เพราะอาจจะทำ�ให้ตน้ ทุเรียนเน่าตาย ได้ รวมถึงต้นไม้อื่น จะระบายน้ำ�ส่วน เกินออก ให้ได้ระดับน้�ำ ทีเ่ หมาะสมกัก 87
เก็บไว้ในท้องร่อง ทัง้ นีต้ อ้ งสร้างความ รู้ความเข้าใจระบบนิเวศของสวนยก ร่องเพิ่มขึ้นด้วย ร้อยละ 21.75 การขยายตัวของชุมชนเมืองที่ มีผลกระทบอย่างมากต่อพื้นที่สวน ยกร่อง ทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจ ระดับจังหวัดที่เปลี่ยนจากฐานภาค การเกษตรเป็ น ภาคการบริ ก ารและ ภาคอุตสาหกรรม ทำ�ให้ชุมชนเดิมถูก เปลี่ยนเป็นชุมชนกึ่งเมือง มีหมู่บ้าน จัดสรร ร้อยละ 38.44 รวมถึงแผน ยุทธศาสตร์ทั้งระดับจังหวัด ตำ�บล ก็ ขาดแผนปฏิ บั ติ ก ารสนั บ สนุ น พื้ น ที่ สวนยกร่องอย่างจริงจัง ร้อยละ 23.07 รวมทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพือ่ รองรับการขยายตัวของเมืองและ การกำ�หนดผังเมืองที่ไม่ตรงกับการ ใช้ประโยชน์ที่ดินจริงร้อยละ 21.78 สอดคล้องกับการศึกษาของพันธวัศ20 (2541) เรือ่ งผลกระทบทีม่ ตี อ่ ระบบวน เกษตรแบบสวนบ้านหรือสวนยกร่อง บริเวณอำ�เภอเมือง จังหวัดนนทบุรี อันเนือ่ งมาจากการขยายตัวของสังคม เมือง พบว่าสาเหตุการลดลงของพืน้ ที่ สวนบ้านเนื่องมาจากการคมนาคมที่ ขยายตัวมากขึน้ โดยถนนรัตนาธิเบศร์ เป็ น ปั จ จั ย สำ � คั ญ ที่ ทำ � ให้ ก ารขยาย ตัวของสังคมเมืองสะดวกสบายมาก ขึ้ น จนเกิ ด การอพยพย้ า ยถิ่ น ข้ า ม ฝั่ ง แม่ น้ำ � เจ้ า พระยา ทำ � ให้ พื้ น ที่ น า และพื้นที่สวนลดลงอย่างมาก ปัจจัย
รองคือเรื่องปัญหาน้ำ�เสียตามคลอง ต่างๆ ที่ใช้ในการเกษตร ประกอบกับ น้ำ�ท่วมใหญ่ที่เคยเกิดขึ้นในปี 2526 และ 2538 ที่ส่งผลกระทบต่อความ อุดมสมบูรณ์ของดิน ทำ�ให้เกษตรกร บางรายถึงกับต้องเลิกทำ�สวนไป บาง รายที่ยังคงยึดอาชีพทำ�สวนผลไม้อยู่ ต้องเปลี่ยนชนิดพืชที่ปลูกเป็นกล้วย มะม่วง หรือส้ม แทนทุเรียนซึ่งเคย ปลูกเป็นพืชหลัก นอกจากนี้ การมี ร ะบบประตู กั้นน้ำ�ตามคู คลอง ลำ�ประโดงและ คลองอ้อมนนท์นั้นลดศักยภาพเครือ ข่ า ยเส้ น ทางน้ำ � ที่ เ ป็ น ใยแมงมุ ม ใน พื้นที่สวนยกร่องลงอย่างมาก ร้อย ละ 16.66 สอดคล้องกับผลการศึกษา ของ หญิง21 (2552) เรือ่ งโครงสร้างของ ระบบนิเวศภูมทิ ศั น์และการบริการเชิง นิเวศของภูมิทัศน์ กรณีศึกษาลำ�ประ โดงและร่องสวนในโครงข่ายเส้นทาง น้ำ�คลองอ้อมนนท์ บางใหญ่ นนทบุรี พบว่ า การเปลี่ ย นแปลงของโครง ข่ า ยเส้ น ทางน้ำ � เกิ ด จากการเปลี่ ย น ประเภทของการใช้ที่ดินเดิม และการ พัฒนาพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมกับสภาพ ภูมิทัศน์ของพื้นที่ลุ่มน้ำ� เช่นการทำ� ถนนบนแนวลำ�ประโดง ละเลยความ สำ�คัญของโครงข่ายทางน้ำ� ลักษณะ โครงสร้ า งภู มิ ทั ศ น์ ท างกายภาพถู ก เปลี่ยนแปลงทำ�ให้ขาดการเชื่อมต่อ และไม่ทั่วถึงทำ�ให้ไม่มีประสิทธิภาพ
พันธวัศ สัมพันธ์พานิช. 2541. ผลกระทบที่มีต่อระบบวนเกษตรแบบสวนบ้าน บริเวณอำ�เภอเมือง จังหวัด นนทบุรี อันเนื่องมาจากการขยายตัวของสังคมเมือง. สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 21 หญิง ผโลปกรณ์. 2552. โครงสร้างของระบบนิเวศภูมิทัศน์และการบริการเชิงนิเวศของภูมิทัศน์ กรณีศึกษา ลำ�ประโดงและร่องสวนในโครงข่ายเส้นทางน้ำ�คลองอ้อมนนท์ บางใหญ่ นนทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 20
88
และกระทบพื้นที่เกษตรกรรม และยัง มีผลต่อสภาวะน้�ำ ท่วมขัง การประเมิน ภูมิทัศน์โครงข่ายทางน้ำ�เพื่อวางแผน และรับมือกับการเปลีย่ นแปลงใดๆ ที่ จะเกิดขึน้ กับโครงสร้างของภูมทิ ศั น์ใน อนาคต เพื่อรักษาประสิทธิภาพการ ไหลเวียนของน้ำ�ในโครงข่ายเส้นทาง น้ำ�นี้ไว้ จึงเป็นสิ่งสำ�คัญ การศึ ก ษานี้ ไ ด้ ชี้ ใ ห้ เ ห็ น ความ สำ � คั ญ ของโครงข่ า ยเส้ น ทางน้ำ � กั บ ลั ก ษณะภู มิ ทั ศ น์ เ กษตรกรรมแบบ ร่ อ งสวน ที่ น้ำ � เป็ น ปั จ จั ย สำ � คั ญ ใน การเกษตร การควบคุมระดับน้ำ�ใน สวนโดยสามารถดึงน้ำ�เข้ามาใช้และ ระบายออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้ ว ยระบบลำ � ประโดงและร่ อ งสวน เมื่อมีการขยายตัวของหมู่บ้านจัดสรร รุกเข้ามาพื้นที่เกษตรกรรมแบบสวน ยกร่องนั้น ทำ�ให้ระบบการไหลเวียน ของน้ำ�นี้สูญเสียไป เกิดปัญหาน้ำ�เน่า เสียและน้�ำ ในลำ�ประโดงใช้ไม่ได้ ส่งผล ให้ชาวสวนต้องใช้น�้ำ ประปาเพือ่ แก้ไข ปัญหาเบือ้ งต้น ซึง่ ทำ�ให้ตน้ ทุนการทำ� สวนของเกษตรกรเพิ่มสูงขึ้น ปัจจัยเสี่ยงภายใน
ในสังคมชาวสวนและลูกหลาน ชาวสวนทีเ่ ริม่ เปลีย่ นแปลงวิถชี วี ติ จาก ชุมชนชนบทเป็นชุมชนกึ่งเมืองและ เมือง ทำ�ให้ระบบคุณค่าของสังคมก็ เปลี่ยนแปลง ค่านิยมด้านวัตถุนิยม ความทันสมัย จนละทิ้งรากเหง้าเดิม ของวิถีชาวสวน ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยง ทีจะทำ�ให้สวนยังคงอยู่หรือหายไป ชาวสวนส่วนใหญ่ขาดลูกหลาน สืบทอดภูมปิ ญ ั ญาทำ�สวนยกร่องและ
วัฒนธรรมชาวสวนเป็นปัจจัยสำ�คัญ ที่สุด ถึงร้อยละ 30.58 เพราะพื้นที่ สวนเป็นพื้นที่ส่วนตัว หากลูกหลาน ไม่ทำ�ต่อหรือมีการเปลี่ยนแปลงการ ใช้ประโยชน์ สวนก็จะไม่เป็นสวนอีก ต่อไป กอปรกับเจ้าของสวนก็มีอายุ มากแล้ว จากการพูดคุยกับเจ้าของ สวนคุณป้าเสมอ อายุ 72 ปี คุณป้า เล่าว่า “...จะเลิกทำ�สวนแล้ว ลูกชาย บอกให้ขาย แต่ฉันไม่อยากขายหรอก ขายไปแล้วจะให้ฉันทำ�อะไร...” เพราะน้ำ�ท่วมปี 2554 ที่ทำ�ให้ ต้ น ทุ เรี ย นตายยกสวนซึ่ ง การปลู ก ฟื้ น ฟู ใ หม่ ต้ อ งลงทุ น มาก และต้ อ ง ดูแลเป็นพิเศษ แต่ก็ต้องเจอปัญหา น้ำ�ทะเลหนุนสูงนานถึง 5 เดือนอีก ช่วงปลูกทุเรียน 3-4 ปีแรก ทำ�ให้ต้น ทุเรียนปลูกใหม่ตายและเกิดปัญหา ดินเค็มตามมา อีกทั้งน้ำ�ในร่องสวน ก็มีลักษณะเค็ม จึงจำ�เป็นต้องใช้น้ำ� ประปารดน้ำ � และปล่ อยลงร่ องสวน เพื่ อ เจื อ จางความเค็ ม อี ก ประการ คือจ้างแรงงาน แต่ก็ประสบปัญหา คื อ ไม่ มี แรงงานและค่ า แรงสู ง ถึ ง วั น ละ 500 บาท ทำ�ให้มีต้นทุนค่าใช้จ่าย สูงขึ้น รวมทัง้ แรงจูงใจด้านมูลค่าทีด่ นิ ที่ มีราคาสูง ร้อยละ 41.41 เป็นแรงผลัก ดันทีท่ �ำ ให้เกิดการเปลีย่ นมือ เพราะที่ สวนอยู่ใกล้เขตชุมชนเมือง ตัวอย่าง เช่นในซอยวัดเพลง-วัดบางนา มีทดี่ นิ ประกาศขายขนาด 2 ไร่ 40 ตารางวา ราคาสูงถึง 28 ล้านบาท โดยเจ้าของ สวนขายผ่านบริษัทรับขาย ถึงแม้ว่า 89
ผลผลิ ต จากสวนยกร่ อ งจะมี ห ลาก หลายชนิดแต่ชาวสวนส่วนมากก็มัก จะรอผลทุเรียนเป็นสำ�คัญ จึงทำ�ให้ มี ร ายได้ เ พี ย งเล็ ก น้ อ ยจากการขาย ผลผลิตไม้เปลือกสวนระหว่างรอผล ทุเรียนที่สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ� จะเห็นได้ว่าปัจจัยที่คุกคามการ คงอยู่ของระบบสวนยกร่อง ซึ่งเป็น รูปแบบเฉพาะของการผลิตในพื้นที่ มาจากหลายปั จ จั ย ทั้ ง ภั ย พิ บั ติ ท าง ธรรมชาติ น้�ำ ท่วม น้�ำ แล้ง น้�ำ เค็ม และ การขยายตัวของชุมชนเมืองที่ก่อให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ ที่ดิน การเปลี่ยนแปลงโครงข่ายเส้น ทางน้ำ� ตลอดจนภาวะทางเศรษฐกิจ สัง คมของตั ว เกษตรกรเองล้ ว นเป็ น ปั จ จั ย ที่ ส่ ง ผลกระทบต่ อ การคงอยู่ ของระบบสวนยกร่องในพื้นที่ ซึ่งถือ เป็นพื้นที่แหล่งผลิตอาหารชั้นดีให้กับ ชุมชนเมืองเมื่อเกิดภัยพิบัติ การสนับสนุนและฟืน ้ ฟูสวนยกร่อง
ชาวสวนรักในอาชีพทำ�สวน รัก ในแผ่นดินเกิด หากไม่ถูกบีบบังคับ มากเกิ น ไปก็ จ ะยั ง คงรั ก ษาผื น ดิ น ที่ เป็นมรดกตกทอดสืบต่อถึงลูกหลาน แนวทางสำ � คั ญ จึ ง เริ่ ม ที่ ค รอบครั ว ก่ อ น คื อ ไม่ ข ายที่ ดิ น ที่ ส วน และ สนับสนุนให้ลูกหลานทำ�ต่อโดยสร้าง มูลค่าของผลผลิตให้มีราคาสูงและมี มากพอ ให้เขาอยู่ได้มีกิน มีใช้ เลี้ยง ตัวเองได้ ปลูกจิตสำ�นึกให้เขารักพื้นที่ สมบัติของพ่อแม่ แล้วจึงรวมกลุ่มกัน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การป้องกัน ภัยพิบัติ การเพิ่มผลผลิต เพิ่มมูลค่า ของสินค้าและขยายตลาด ดึงหน่วย 90
งาน สถาบันวิชาการจากภายนอกให้ เข้ามาร่วมแก้ไขปัญหา เช่นเรื่องการ ปรับปรุงสายพันธุใ์ ห้มคี วามเหมาะสม กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเฝ้าระวัง ดูแลเรื่องน้ำ�ใช้ในสวน ให้ เ พี ย งพอและมี คุ ณ ภาพ รณรงค์ ให้ ช่ ว ยกั น รั ก ษาแม่ น้ำ � ลำ � คลอง ไม่ ทิ้งขยะลงคลอง ไม่สร้างสิ่งกีดขวาง คลอง มีระบบควบคุมตรวจสอบระบบ บำ�บัดน้�ำ เสียจากหมูบ่ า้ นจัดสรรอย่าง ถาวร และสร้างระบบแจ้งเตือนภัย พิบัติที่มีประสิทธิภาพ ให้ชาวสวนรับ รู้ทั่วถึงเพื่อเตรียมการป้องกันได้ทัน ท่วงที สร้างการรับรู้ ความรู้ ความ เข้าใจเรื่องสวนยกร่องให้กว้างขวาง มากยิง่ ขึน้ สุดท้ายเรียกร้องหน่วยงาน ของจังหวัดนนทบุรี ตระหนักและให้ ความสำ � คั ญ กั บ พื้ น ที่ สวนยกร่ อ งซึ่ ง ผลิตทุเรียนนนท์ที่มีช่ือเสียง กำ�หนด แผนพัฒนา งบประมาณและแผนการ ดำ�เนินการที่ชัดเจน จากการมีส่วน ร่วมของชาวสวนผู้ผลิตทุเรียนอย่าง จริงจัง ขณะเดี ย วกั น ผู้ ที่ อ าศั ย อยู่ ในหมู่ บ้ า นจั ด สรรใกล้ กั บ พื้ น ที่ ส วน ก็ พ ร้ อ มที่ จ ะสนั บ สนุ น ผลผลิ ต จาก ชาวสวนในพื้ น ที่ ที่ ผ ลิ ต ในรู ป แบบ สวนยกร่อง ให้ความร่วมมือกับคนใน ชุ ม ชนเพื่ ออนุ รั กษ์ พื้น ที่ สวนยกร่ อ ง และเรียกร้องหน่วยงานภาครัฐและ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเช่นกัน กำ�หนดนโยบายพืน้ ทีส่ เี ขียวให้ชดั เจน ควบคุ ม การขยายตั ว ของหมู่ บ้ า น จัดสรร หากมีกฎหมายที่เกี่ยวกับการ ควบ คุ ม การขยายตั ว ของหมู่ บ้ า น จัดสรรก็พร้อมที่จะร่วมผลักดัน
การทำ�พนังกั้นน้ำ�ท่วมบริเวณ สวนยกร่องเพื่อป้องกันเมือง http://oknation.nationtv.tv/ blog/dongtaan/2011/10/12/ entry-1
แนวทางการฟื้นฟูระบบนิเวศ สวนยกร่องรับมือภัยพิบัติ
1. ฟื้ น ฟู ส วนยกร่ อ งรั บ มื อ ภั ย พิบัติ มี 2 นัยยะคือ หนึ่ง พื้นที่สวนยกร่องเป็นพื้นที่ รองรับน้ำ�ท่วม น้ำ�หลาก ในช่วงฤดู น้ำ�หลาก (ตุลาคม-ธันวาคม ของทุก ปี) เพื่อป้องกันน้ำ�ท่วมเขตเศรษฐกิจ ชั้นในของเมือง สอง พื้ น ที่ ส วนยกร่ อ งมี ก าร ป้องกันน้ำ�ท่วม น้ำ�เค็ม น้ำ�เสีย หรือ ภัยพิบัติอื่นๆ ที่อาจจะทำ�ให้ผลผลิต เกิดความเสียหาย โดยการทำ�คันดิน กั้นน้ำ�ให้สูงขึ้น หรือขุดร่องน้ำ�ในสวน ให้ลกึ ขึน้ เพือ่ รองรับน้�ำ เพิม่ โดยไม่เกิน จุดวิกฤติของต้นไม้ที่จะสามารถอยู่ ร่วมกับน้ำ�ได้ ขุดลอกลำ�ประโดงและ คลองที่เชื่อมโยงกันในเครือข่าย เพื่อ เพิ่มความจุของร่องน้ำ� 2. สวนยกร่ อ งนำ � ร่ อ งต้ น แบบ คือ สวนยกร่องที่มีการฟื้นฟู ปรับตัว
ให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิ อากาศ และบริหารจัดการโดยแนวคิด รับมือภัยพิบัติตามนัยยะที่สอง มีการ ปลูกพืชพันธุ์ไม้หลากหลายชนิด ไม่ เฉพาะทุเรียน ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่ สำ�คัญของพื้นที่ตำ�บลไทรม้า-บางรัก น้อย อำ�เภอเมือง จังหวัดนนทบุรี การปรับตัวของชาวสวน
สวนพี่ดำ� ประเสริฐ โชติมูล เป็น ตั ว อย่ า งหนึ่ ง ด้ า นการปรั บ ตั ว เลื อ ก ปลูกพืชที่เหมาะกับสภาพการณ์ที่มี น้ำ�ท่วม น้ำ�เค็มเกือบตลอดทั้งปี โดย ปรับเปลีย่ นปลูกพืชจากทุเรียนเป็นส้ม ซ่า ซึ่งหลังจากน้ำ�ท่วมใหญ่ได้ฟื้นฟู สวน ปลูกทุเรียน ซึ่งดูแลรักษาไม่ง่าย เหมือนในอดีต อีกทั้งเกิดปัญหาน้ำ� เค็มอีก 3 ปีถดั มา ทำ�ให้เป็นจุดเปลีย่ น สำ�คัญ ทดลองหาชนิดพืชใหม่ ทีต่ ลาด ต้องการ ราคาดี พอเลี้ยงชีพได้ ดูแล ไม่ยากเพราะอายุก็เพิ่มขึ้นทุกวันอาจ 91
ดูแลไม่ทั่วถึงและให้ผลตอบแทนเร็ว จึงเลือกส้มซ่าทดลองตลาด และตลาด ก็ตอบรับดี จึงได้ขยายพันธุจ์ ากต้นทีม่ ี อยูเ่ ดิมในสวนอายุมากกว่า 60 ปี ปลูก เต็มพื้นที่ 2 ไร่กว่า แล้วก็ยังคงรักษา ความหลากหลายของพืชในสวนเพื่อ ให้เป็นพี่เลี้ยงต้นส้มซ่า การสร้างการตระหนักรู้ถึงความ สำ�คัญของสวนยกร่อง ไม่เฉพาะเพียง สร้างรายได้ให้กับครอบครัว แต่ยังมี ประโยชน์ทางอ้อม เช่น เป็นพื้นที่สี เขียว ช่วยลดคาร์บอน เครื่องกรอง ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 และ เมื่อเรารักษาสิ่งเหล่านี้ไว้หากกลไก การจ่ายผลตอบแทนของผู้ใช้บริการ ระบบนิเวศที่เรารักษาไว้เกิดผลจริงใน ทางปฏิบัติเราก็จะมีรายได้ทางอ้อม และเป็ น ความสุ ข ใจอี ก ด้ ว ย สร้ า ง ความรู้ความเข้าใจ สื่อสารในวงกว้าง มากขึ้น และช่วยลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่นการจัดการน้ำ�ท่า ทั้งการปล่อย น้ำ�และการกักเก็บน้ำ�เหนือเขื่อน ซึ่ง สวนยกร่องเป็นผู้ใช้น้ำ�ปลายน้ำ� การ 92
ตรวจสอบ ควบคุม ระบบบำ�บัดน้ำ� เสี ย ของหมู่ บ้ า นจั ด สรรด้ ว ยการมี ส่วนร่วมของชาวสวน ฝ่ายปกครอง ท้องที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง บังคับ ใช้อย่างจริงจัง เพื่อให้สวนยกร่องยัง ดำ�รงอยู่ได้
93
สรุป ระบบสวนยกร่อง เป็นหนึ่งใน มรดกวัฒนธรรมเกษตรที่สำ�คัญของ โลก ชาวสวนในลุ่มน้ำ�เจ้าพระยาได้ สื บ ทอดและพั ฒ นาการจั ด การดิ น น้ำ� ความหลากหลายทางชีวภาพจะ สามารถทำ � ให้ พื้ น ที่ น้ำ � ท่ ว ม และมี สภาพดินเหนียวไม่ร่วนซุย สามารถ ปลูกไม้ผลเมืองร้อน และเป็นแหล่ง อาหารสำ�คัญมาจนถึงปัจจุบัน โดยสรุ ป ชาวสวนสามารถจั ด การระบบนิเวศให้เหมาะสมกับไม้ผล เมืองร้อนอย่างทุเรียน และพืชอื่นๆ ได้โดย ประการแรกสุด คือ การจัดการ ดิ น และน้ำ � โดยการสร้ า งคั น ดิ น กั น น้ำ�ท่วม ยกระดับดินขึ้นเป็นร่องเพื่อ ระบายน้ำ�และระบายอากาศ รวมทั้ง เอื้ออำ�นวยในการปรับปรุงบำ�รุงดิน ประการที่สอง จัดการแสงแดด ลม และความชื้นในอากาศ โดยการ ปลูกพืชพี่เลี้ยง เช่น ทองหลาง หรือ กล้วย (พืชประเภทนี้ทำ�หน้าที่หลาย อย่ า ง เช่ น เป็ น พื ช นำ � ร่ อ งในการ ปรับปรุงบำ�รุงดิน แม้กระทัง่ ให้ผลผลิต ที่ใช้เป็นอาหาร) ในพื้นที่ราบลุ่มภาค กลาง ระดับความชื้นในอากาศน้อย
กว่าในระบบนิเวศแบบเดิมทีเ่ ป็นแหล่ง กำ�เนิดของไม้ผลประเภททุเรียน หรือ มังคุด การจัดการให้เกิดระบบนิเวศที่ เหมาะสมจึงค่อยๆ พัฒนาขึ้น ประการทีส่ าม การจัดการระบบ การปลู ก พื ช เช่ น พื ช ที่ ต้ อ งการ แสงแดดมาก หรือมีร่มเงามาก จะถูก จัดให้ปลูกในบริเวณคันดินรอบนอก ส่วนด้านในก็ปลูกพืชประเภทต่างๆ ที่ ต้องการร่มเงา ความชื้น หรือน้ำ� ตาม ความเหมาะสม ประการที่ สี่ ซึ่ ง เกี่ ย วข้ อ งกั บ หัวข้อก่อนหน้านี้คือ การทดลองนำ� ชนิดพืช และการพัฒนาสายพันธุ์พืช มาปลูกในระบบสวนยกร่อง ซึง่ จะเห็น ว่า ไม่เพียงแต่ไม้ผลเมืองร้อนที่ต้อง อาศัยความชื้นสูงเท่านั้ัน แต่มีการนำ� ไม้ผลซึ่งต้องการช่วงอากาศเย็น เช่น ลิ้นจี่ หรือลำ�ไย เข้ามาปลูกในระบบ สวนยกร่องด้วย พันธุ์ทุเรียนพันธุ์ดี ผลไม้อื่นๆ ซึ่งถูกส่งมาจากภูมิภาคต่างๆ ทั้งการ ค้าหรือบรรณาการมายังสยาม ได้ถูก นำ�มาปลูก คัดเลือก พัฒนาสายพันธุ์ ในพืน้ ทีเ่ หล่านี้ จนดีกว่าจากแหล่งต้น กำ�เนิดเสียอีก 95
สายพั น ธุ์ พื ช พั น ธุ์ ดี เ หล่ า นี้ ได้ ถูกสืบทอดมายังปัจจุบัน และกำ�ลัง กลายเป็นพืชเศรษฐกิจสำ�คัญสำ�หรับ อนาคต กระบวนการสร้ า งและพั ฒ นา ความรู้เหล่านี้ใช้เวลานับร้อยปีหรือ หลายร้ อ ยปี มี ลั ก ษณะร่ ว มและมี ความหลากหลายตามระบบนิเวศและ วัฒนธรรมของผู้คนในแต่ละลุ่มน้ำ� ระบบเกษตรกรรมเชิงนิเวศเช่น นี้ คือระบบเกษตรกรรมที่มีคุณค่าต่อ อนาคต อย่างน้อย 5 ประการสำ�คัญ ได้แก่ หนึ่ ง เป็ น แหล่ ง รวบรวมชนิ ด และการพั ฒ นาสายพั น ธุ์ ข องไม้ ผ ล พืชพรรณเขตร้อน 96
สอง เป็ น แหล่ ง ความรู้ ใ นการ จัดการดิน น้ำ� พืช และระบบเกษตร เชิงนิเวศ สาม ดูดซับฝุ่นพิษ PM 2.5 และ เป็นปอดของเมือง สี่ เป็นแก้มลิงรับน้ำ�และป้องกัน น้ำ�ท่วม และ ห้า เป็นพื้นที่สีเขียวและ แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ระบบสวนยกร่ อ ง ควรได้ รั บ การเสนอชื่ อ เป็ น มรดกเกษตรของ โลก (Globally Important Agricultural Heritage Systems : GIAHS) เช่ น เดี ย วกั บ ที่ รั ฐ บาล เม็ ก ซิ โ กเสนอต่ อ องค์ ก ารอาหาร และเกษตรแห่ ง สหประชาชาติ ให้
บันทึก สวนยกร่องลอยน้ำ� Chinampas เป็นมรดกเกษตรของโลก เมื่อปี 2017 หรือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี และอินเดีย ซึ่งเสนอมรดกวัฒนธรรมเกษตรของ ตน และได้รบั การขึน้ ทะเบียนเป็นมรดกทางการเกษตรของโลก จำ�นวน 15, 11, 5 และ 3 แห่งตามลำ�ดับ อย่างไรก็ตาม การได้รับการบันทึกว่าเป็นมรดกวัฒนธรรมเกษตรของโลก ไม่ได้สำ�คัญอะไรยิ่งไปกว่าการที่สังคมไทยตระหนักรู้ในความรู้เกี่ยวกับระบบ นิเวศเกษตร ฟืน้ ฟูและพัฒนาองค์ความรูท้ เี่ รามีจากแหล่งต่างๆ เพือ่ ปรับเปลีย่ น ระบบเกษตรและอาหารของประเทศให้มั่นคงและยั่งยืนกว่าที่เป็นอยู่
97
บทความพิเศษ
สวนยกร่องรับมือภัยพิบัติ ฝุ่นละอองขนาดเล็ก
—
ศ.ดร.ศิวัช พงษ์เพียจันทร์ และ ผศ.ดร.ธรรมรัตน์ พุทธไทย
113
ระบบนิเวศสวนยกร่อง ยกเป็นพื้นที่โบราณสถาน ความเปราะบาง พัฒนาการ และคุณค่าเชิงประวัติศาสตร์
101
—
ศาสตราจารย์พิเศษ ศรีศักร วัลลิโภดม และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ หม่อมหลวง วุฒิพงษ์ ทวีวงศ์
ภูมิปัญญาระบบสวนยกร่อง มรดกทางวัฒนธรรมด้านเกษตรกรรม
—
เดชา ศิริภัทร
123
บทความพิเศษ
ระบบนิเวศสวนยกร่อง ยกเป็นพื้นที่โบราณสถาน ความเปราะบาง พัฒนาการ และคุณค่าเชิงประวัติศาสตร์ ศาสตราจารย์พิเศษ ศรีศักร วัลลิโภดม22 และผู้ช่วยศาสตราจารย์ หม่อมหลวง วุฒิพงษ์ ทวีวงศ์23 คำ�สำ�คัญ: ประวัติศาสตร์สวนยกร่อง, คุณค่าด้านนิเวศวิทยา, กระบวนการเปลี่ยนแปลง พื้นที่สวนยกร่อง, อนาคตสวนยกร่อง, ป่าในเมือง การตั้งถิ่นฐานและที่มาของสวนใน บางกอก สวนนอกบางช้าง
เมื่อกล่าวถึงย่านสวนที่มีความ หลากหลายของชนิดพันธุไ์ ม้ พืน้ ทีโ่ ดย รอบกรุงเทพนี่เป็นพื้นที่ผลิตอาหาร โดยเฉพาะสวนผลไม้พื้นที่ด้านตะวัน ตกของริมแม่น�้ำ เจ้าพระยา ตัง้ แต่ตอน เหนือไล่จนถึงด้านใต้ นนทบุรี ธนบุรี (กรุงเทพฝั่งตะวันตก) สมุทรปราการ ก็เป็นสวนใน ส่วนที่ไกลออกไปแนว สมุทรสงครามหรือเดิมเรียกบางช้าง
ก็เป็นสวนนอก บริเวณสวนในบางกอก มี ป ระวั ติ ศ าสตร์ ก ล่ า วถึ ง ตั้ ง แต่ ส มั ย อยุธยาจากหลักฐานของกำ�สรวลศรี ปราชญ์ ตอนต้ น ทศวรรษที่ 20 ที่ ล่องเรือมาตามแม่น้ำ� (เจ้าพระยาสาย เดิม) การขุดคลองลัดตัง้ แต่สมัยอยุธยา ทำ�ให้กระแสน้ำ�ไหลตรงและแรงมาก ขึน้ จนเกิดเป็นลำ�แม่น�้ำ เจ้าพระยาใหม่ ส่วนลำ�แม่น�้ำ เจ้าพระยาเดิมเป็นคลอง แล้วเกิดเกาะ พื้นที่เหล่านี้มีลักษณะ เป็น levee24 สองฝั่งน้ำ�
นักวิชาการด้านโบราณคดีและมานุษยวิทยา และที่ปรึกษามูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ อาจารย์ภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำ�เสนอในงาน เสวนาสาธารณะ เรื่อง “บทบาท ความสำ�คัญ และอนาคตของสวนยกร่อง” เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2562 ณ สวนชีววิถี ต.ไทรม้า อ.เมือง จ.นนทบุรี 24 Levee คือคันดินธรรมชาติ (Natural levee) ที่เกิดขึ้นจากแม่น้ำ� ลำ�ธารพาโคลนมาทับถมริมฝั่งน้ำ� ในระหว่าง หน้าน้ำ�หลาก เมื่อน้ำ�ลดโคลนตมนั้นก็จะเป็นคันดินยาวขนานไปตามริมฝั่งน้ำ� ตามแนวตลิ่งของแม่น้ำ� 22 23
101
สมั ย สมเด็ จ พระนารายณ์ มี บั น ทึ ก การเดิ น ทางของราชทู ต ชาว ฝรั่งเศส เดอ ลาลูแบร์ ที่กล่าวถึงสวน ในบางกอกว่ามีอาณาบริเวณอยู่ชาย แม่น�้ำ จนขึน้ ไปสูเ่ มืองสยาม สมัยก่อน เมืองสยามคือกรุงศรีอยุธยา ถึงสี่ลี้ จรดตลาดขวัญ ตลาดขวัญคือนนทบุรี สี่ลี้คือระยะทาง 16 กิโลเมตร คือ ยาวตามลำ�น้ำ�ไปเรื่อยๆ ระบุว่ามันมี ตรงที่เป็นตลาดขวัญคือนนทบุรีที่เรา อยู่ตรงนี้ และบันทึกของบาทหลวง ตาชาร์ด ชาวต่างประเทศที่ได้เข้ามา เผยแผ่ศาสนานีเ่ ห็นลักษณะภูมทิ ศั น์ที่ สำ�คัญของบางกอกคือ สวนทีเ่ ป็นสวน ในบางกอก ก็กล่าวว่ามันกินได้ มัน เป็นผลไม้รสเยี่ยม ก็คือมีความอุดม สมบูรณ์ฉะนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าสวน ในบางกอกนั้นเป็นที่ที่อุดมสมบูรณ์ ด้วยพลาอาหาร สวนนีจ้ งึ ไม่ใช่แค่สวน แต่ ว่ า มั น มี คุ ณ ค่ า เชิ ง ประวั ติ ศ าสตร์ ด้วยตั้งแต่สมัยอยุธยา เรียกว่าเป็น ภูมิทัศน์ที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ หาก บอกว่าเป็นโบราณสถานหรือพื้นที่ที่ มีประวัติศาสตร์ สวนยกร่องนี่ก็นับว่า เป็นโบราณสถานเช่นกัน
แบบการทำ�สวนยกร่องนี้ ตามแนว แม่น�้ำ ตัง้ แต่แม่กลอง จนถึง บางปะกง หรือบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปาก แม่ น้ำ � ของประเทศเวี ย ดนามก็ พ บ การทำ�สวนในลักษณะเช่นนี้ ฉะนั้น จึงอาจสรุปได้ว่า รูปแบบสวนยกร่อง เป็นเทคโนโลยีที่มาจากทางตอนใต้ ของประเทศจีน ผนวกกับการปรับตัว และพัฒนาให้เข้ากับนิเวศพื้นถิ่น จน สั่งสมเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่งน่าจะ มีรูปแบบที่แตกต่างจากของจีนตอน ใต้ไปเลยในปัจจุบัน ภู มิ ทั ศ น์ ด้ า นเกษตรกรรมของ สวนผักและผลไม้บริเวณนี้ที่น่าสนใจ คือ เป็นสวนปลูกผสมผสาน ซึ่งพืชจะ เอื้อเฟื้อซึ่งกันและกันในพื้นที่ รวมถึง การมีระบบที่เป็นสวนยกร่อง เพราะ ว่าพื้นที่นี้มันเป็นที่ราบลุ่มปากแม่น้ำ� มีความเป็นที่ลุ่ม อยู่สูงกว่าระดับน้ำ� ทะเลปานกลางประมาณ 2-2.5 เมตร เท่านั้น น้ำ�ค่อนข้างนิ่ง ไม่ค่อยไหล แล้วก็โดยธรรมชาติมันก็จะอยู่ใต้น้ำ� ในช่วงฤดูฝนเหมือนกับเป็นทะเลตม หรือ Amphibious Environment นิเวศ กึ่งบกกึ่งน้ำ�
มิติใหม่ของคุณค่าสวนยกร่อง
การเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ สวนยกร่อง
อาจารย์ศรีศกั ร วัลลิโภดม ตัง้ ข้อ สังเกตว่าพืชพันธุ์ไม้ผล เช่น ทุเรียน เดิ ม ไม่ มี ใ นพื้ น ที่ ส วนแถบนี้ น่ า จะ เป็นการนำ�เมล็ดเข้ามาปลูก แล้วก็ใช้ ความรู้ในการทำ�สวนยกร่องจากคน จีนตอนใต้ ซึ่งพบการกระจายของรูป
อาจารย์วุฒิพงษ์ ทวีวงศ์ แสดง ภาพแผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดินในปี 2554 บริเวณกรุงเทพและปริมณฑล25 ป ร ะ ก อ บ ด้ ว ย จั ง ห วั ด น น ท บุ รี ปทุมธานี นครปฐม สมุทรสงครามและ
ผลการวิจัยระยะต้นเรื่องภูมิทัศน์สวนในบางกอก : การศึกษาคุณค่าด้านนิเวศวิทยาของสวนผลไม้ ในการเป็น ป่าในเมือง บริเวณพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
25
102
พื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล Bangkok Metropolitan Region (BMR)
2530
สมุทรสาคร อาทิ บริเวณสีเขียวก็คือ สวน สีเขียวเข้มคือสวนทีเ่ ป็นร่องสวน ด้านตะวันตกของแม่น้ำ�เจ้าพระยา สี ส้มคือเป็นเมือง สีเหลืองเป็นนาข้าว ส่วนสีฟ้าคือทำ�ประมง เช่น บ่อปลา บ่อกุ้ง นั่นแสดงให้เห็นว่าพื้นที่โดย รอบเมืองเป็นพื้นที่เกษตรกรรมหลาก หลายชนิด คือ มีสวน มีข้าว มีประมง แต่ดว้ ยการพัฒนาเศรษฐกิจและเมือง ทำ�ให้เมืองเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ขยายจนเปลี่ ย นพื้ น ที่ เ กษตรกรรม แต่ว่าก็จะพบว่าพื้นที่เกษตรกับเมือง อยู่ด้วยกัน อาจารย์ศรีศักรเสริมว่า ธนบุ รี - กรุ ง เทพฯเป็ น เมื อ งชาวสวน ไม่ใช่เมืองชาวนา แล้วมีคลองเชื่อม โยงสวนเข้ากัน
2553
ผลการศึกษาในพื้นที่ ต.บางรัก น้อย อ.เมือง จ.นนทบุรี เมื่อเกือบ 10 ปีที่แล้ว ด้วยการแปลภาพถ่าย ทางอากาศดาวเทียม ปี 2530 และ ปี 2553 มาเปรี ย บเที ย บกั น สี ส้ ม คือพื้นที่เมือง สีเทาคือพื้นที่ที่กำ�ลัง เปลี่ยนแปลง สีเขียวอ่อนคือนาข้าว แล้ ว ก็ สี เขี ย วเข้ ม คื อ สวน เส้ น สี ฟ้ า คือคลองอ้อม แล้วก็จะมีเส้นคลอง เล็กๆ ย่อยเข้าไปตามพื้นที่เกษตรที่ เป็นสวน จะสังเกตว่าสวนยกร่องนี่ จะอยู่ใกล้คลอง พอห่างคลองไปเป็น ทุ่งนา ถ.รัตนาธิเบศร์สร้างพาดผ่าน จากตะวันออก-ตะวันตกราวปี 2528 และปี 2553 มีการตัดถนนสายสำ�คัญ อีกเส้นคือถ.ราชพฤกษ์แนวเหนือ-ใต้ 103
จะสั ง เกตว่ า พื้ น ที่ บ ริ เ วณที่ เ ป็ น ทุ่ ง นาจะเปลี่ยนแปลงก่อน กลายเป็น หมู่บ้านจัดสรร จนหมู่บ้านขยายมา ถึงบริเวณพืน้ ทีส่ วน จากผลการเปรียบ เทียบพบว่าพื้นที่เกษตรกรรมหายไป ประมาณ 2.8 ตารางกิโลเมตรเมื่อปี 53 จากพื้นที่ของตำ�บลบางรักน้อยที่ มีประมาณ 5-6 ตารางกิโลเมตร รูปแบบสวนยกร่องมีลก ั ษณะเฉพาะ โครงข่ายล�ำประโดงเชือ ่ มโยงถึงกัน และกระบวนการเปลี่ยนแปลงพื้นที่
ระบบภายในสวนยกร่อง แสดง ให้ เ ห็ น ว่ า มี ร ายละเอี ย ดของการทำ � สวนยกร่อง พนังหรือคันดินมีหน้าที่ ป้องกันน้ำ�ท่วม การลอกเลนเป็นการ ให้ปุ๋ยธรรมชาติแล้วยังได้ประโยชน์ ในการเก็ บ กั ก น้ำ � ให้ มี พ อใช้ ต ลอด ฤดู ก ารเพาะปลู ก แล้ ว ฉะนั้ น การ ออกแบบระบบผังสวนยกร่องจึงทำ�ให้ สอดคล้องกับระบบเครือข่ายเส้นทาง น้ำ � ประกอบด้ ว ยคลองหลั ก หรื อ คลองสาธารณะ เพราะว่ า มี โ ฉนด ที่ดินแบ่งเป็นคลองชัดเจน เชื่อมต่อ 104
ด้วยคลองซอยที่เข้าไปยังสวนแต่ละ สวนเรียกว่าคลองซอยหรือลำ�ประโดง เป็นการแบ่งปันพื้นที่ร่วมกันตรงเส้น แนวเขตที่ดินที่ติดกันซึ่งจะอยู่กลาง ลำ�ประโดง การเชื่อมโยงกันของสวน หลายขนัดด้วยลำ�ประโดงจะมีวัดเป็น ศูนย์กลาง ซึ่งวัดเป็นพื้นที่ส่วนรวม มีพิธีกรรมที่สร้างความสัมพันธ์ของ ชาวสวนเกิดเป็นชุมชนขึน้ บริเวณสวน ยกร่องเป็นพื้นที่พิเศษเพราะมีความ เปราะบางสูงมาก ขึน้ อยูก่ บั ระบบโครง ข่ายเส้นทางน้ำ�เป็นสำ�คัญ โครงข่ า ยเส้ น ทางน้ำ � ที่ ไ ด้ รั บ ผลกระทบจากการพัฒนาเมือง ตั้ง สมมุติฐานว่าพื้นที่บริเวณสวนยกร่อง น่าจะโดนผลกระทบพิเศษ คล้ายว่า ถูกบีบบังคับโดยการถมทางน้ำ�แล้ว ทำ � ให้ ส วนที่ อ ยู่ ลึ ก เข้ า ไปในแผ่ น ดิ น ไม่สามารถทำ�สวนอยู่ได้ จำ�ใจต้อง ขายที่ดินทั้งที่ไม่ได้อยากขาย ดังผล การศึกษาการสัมภาษณ์ คุณอุไรวรรณ ชาวสวนที่ มี ที่ ดิ น อยู่ ด้ า นในของลำ � ประโดง เมื่อหมู่บ้านเพอร์เฟค กว้าน ซื้ อ ที่ ดิ น ทั้ ง สองฝั่ ง ของลำ � ประโดง
กรรมสิทธิ์จึงตกเป็นของเขาทั้งหมด แล้ ว เริ่ ม ถมลำ � ประโดงทำ � ให้ ร ะบบ โดยรวมที่คลองอ้อมนนท์เคยเชื่อม ต่อถึงสวนคุณป้าอุไรวรรณต้องขาด ลง ส่งผลต่อการทำ�สวนของคุณป้า ซึ่ ง อาจจะขายที่ ดิ น ผื น สุ ด ท้ า ยนี้ ใ น อนาคต กระบวนการเปลี่ยนแปลงของ พื้ น ที่ ส วนยกร่ อ ง สมมติ ว่ า เป็ น 2 แปลงของที่ดิน มีลำ�ประโดงเข้ามา ก็ได้ใช้น้ำ�ตามปกติ เอื้อเฟื้อกัน มีการ เปิดทางน้ำ�ใครน้ำ�น้อย เดี๋ยวก็เปิดให้ อะไรทำ � นองนี้ เ ป็ น สั ง คมที่ มั น เชื่ อ ม โยงกัน ต้องเอื้อเฟื้อกันเพราะว่าทุก คนทำ�เกษตรเหมือนกัน แต่พอตอน หลังนี่หมู่บ้านจัดสรรมา เขาก็ซื้อสอง ฝั่ ง แล้ ว ก็ เริ่ ม ถมต้ น ทางต้ น น้ำ � แล้ ว ก็ ส วนที่ ติ ด กั น เริ่ ม ไม่ ไ ด้ น้ำ � แล้ ว ตรง นี้ หลังจากนั้นก็อาจจะว่าทำ�เกษตร ไม่ได้ จึงต้องขายที่ไป ก็เรียกว่าเมือง มันขยายอย่างรวดเร็วเพราะว่าด้วย เหตุผลนี้ด้วย ฉะนั้นการเปลี่ยนแปลง ของระบบโครงข่ายเส้นทางน้�ำ นำ�ไปสู่ การล่มสลายของสวนยกร่อง
เป็ น ประเด็ น ที่ ผู้ เข้ า ร่ ว มสนใจ ได้ แ ลกเปลี่ ย นถึ ง ปั ญ หาเรื่ อ งสิ ท ธิ ของพื้ น ที่ ที่ ชุ ม ชนเห็ น ว่ า เป็ น พื้ น ที่ สาธารณะ เช่น ลำ�ประโดง หรือทาง เดิ น ร่ ว มบนคั น ดิ น นั้ น ไม่ ถู ก ระบุ ใ น โฉนดที่ ดิ น ตามกฎหมาย เมื่ อ เกิ ด การเปลี่ ย นมื อ เจ้ า ของที่ ดิ น มี ก าร ทั บ ถมที่ ดิ น เหล่ า นั้ น ทำ � ให้ เ กิ ด ข้ อ พิพาทกับที่ดินแปลงข้างๆ ที่ยังคงทำ� สวนอยู่ ซึ่งในอดีตมีการใช้มาตรการ ลงโทษทางสังคมโดยชุมชน เริ่มจาก ว่ากล่าวตักเตือน หากยังคงไม่ปฏิบัติ ตามข้ อ ตกลงร่ ว มกั น ในชุ ม ชนจะมี การ sanction ไม่คบค้าสมาคมด้วย จนทำ � ให้ ผู้ ม าใหม่ ต้ อ งยอมรั บ และ ปฏิบัติตามกฎของชุมชน แต่ปัจจุบัน มาตรการเหล่านี้ไม่สามารถใช้ได้ผล ด้วยสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปมี ความเป็นชุมชนเมืองมากขึ้น กรณี ที่คุณลุงแสวง อดีตผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1 บางรักน้อย ได้รับเรื่องร้องเรียนจาก ชาวบ้ า นว่ า หมู่ บ้ า นจั ด สรรได้ ถ มลำ � ประโดง ซึ่งข้อกฎหมายที่อดีตผู้ใหญ่ บ้านอ้างถึงคือ “คลองลำ�ประโดงนี้ 105
ถ้าใช้ร่วมกันมานานเกิน 10 ปี ถึงใน โฉนดไม่บ่งบอก ลำ�ประโดงนั้นก็เป็น พื้ น ที่ ส าธารณะ ผู้ ใ ดมาปิ ด กั้ น มิ ไ ด้ ต้องให้ผา่ นไป” ซึง่ มีการฟ้องร้องไปยัง นายอำ�เภอจนกระทัง่ ถึงศาล และชาว บ้านถูกตัดสินว่าแพ้ อาจารย์ศรีศักร จึงมีข้อสังเกตว่าสำ�นึกชุมชน ระบบ คุณค่าและการลงโทษทางสังคมของ ชุมชนชาวสวนอ่อนแอลง ข้อเสนอ จากทางภาครั ฐ คื อ ให้ ทำ � เป็ น ภาระ จำ � ยอม เหมื อ นถนนถ้ า ในที่ ดิ น เรา เข้าถึงไม่ได้ ที่ข้างๆ ต้องเปิดทางให้ เราเดินไปหาได้ แต่รัฐมองว่าคลองนี่ เหมือนไม่ได้ใช้สญ ั จรแล้ว คือสามารถ เข้าถึงด้วยถนนได้แล้ว ดังนั้นการปิด คือสามารถทำ�ได้เพราะว่าเข้าได้ด้วย ถนนแล้ว อันนี้เป็นอีกมุมหนึ่ง อนาคตของสวนยกร่อง
อาจารย์วุฒิพงษ์ ชวนตั้งคำ�ถาม ถ้าเป็นคนภายนอกจะมองสวนยกร่อง อย่างไร ตอนนี้ถ้าหากไม่ทำ�อะไรก็จะ เกิดกรณีเช่นนีค้ อื พืน้ ทีจ่ ะเปลีย่ นแปลง ไปเรือ่ ยๆ แน่นอน สวนยกร่องจะหาย แน่นอน คนดั้งเดิมก็ต้องย้ายออกไป ซึ่งก็เคยคุยกับชาวสวนที่เลิกทำ�สวน ขายที่และย้ายไป เขาก็บอกว่าเขาไม่ ค่อยมีความสุขเท่าไหร่ บางทีอยาก ย้ายกลับมาเหมือนกัน แต่วา่ ไม่มที ดี่ นิ อยู่แล้ว คือมาอยู่ในลักษณะอีกแบบ หนึ่ง คนในพื้นที่หลายคนที่รู้สึกว่าไม่ ได้อยากจะขายที่ อยากอยู่ที่เดิมถ้า ไม่โดนบังคับอะไรมาก แต่ว่าอนาคต รุน่ ลูกอะไรก็ไม่แน่ใจแล้ว เพราะว่าเขา มีความสุขในการใช้ชีวิตแบบนี้ เพราะ ว่าถ้าเกิดขายไปย้ายไปที่อื่น การใช้ 106
ชีวิตต้องเปลี่ยนไป อาชีพต้องเปลี่ยน ไป ชุมชนสังคมเดิมๆ ที่เคยอยู่ก็จะ สูญหายไปแน่นอน ถึงตรงนีต้ อ้ งตัง้ คำ�ถามกับตนเอง อย่างจริงจังแล้วว่า เรา (ชาวสวน) จะรั ก ษาสวนไว้ อ ย่ า งไรดี ก ว่ า มอง ถึงอนาคตเพราะว่าเรารู้สิ่งที่เกิดขึ้น ตอนนี้ แ ล้ ว พยายามมองหลายมุ ม นอกจากเราจะมองมุมชาวสวนที่ว่า โดนเขา (หมู่บ้านจัดสรร) บีบบังคับ อะไรต่างๆ แล้ว สมมติวา่ มองมุมของ คนทัว่ ไป คนเมืองหรือภาครัฐ อาจจะ ต้องตัง้ คำ�ถาม ถามตัวเองด้วยเหมือน กันว่าเหตุใดเราต้องรักษาสวนไว้ด้วย มันสำ�คัญอย่างไร คือเราเข้าใจของ เราว่าเราเป็นที่สวน ไม่อยากให้โดน บุกรุก แต่ว่าคนอื่นไม่เข้าใจ เขา (อาจ จะภาครัฐ/นักลงทุน) มองว่าก็สวน เกษตรทั่วไป จะอยู่ตรงนี้ทำ�ไม ทำ�ไม ไม่ไปอยู่นอกเมือง แล้วก็คำ�ถามต่อ ไปคือตอนนี้มันเปลี่ยนไปแล้ว เมือง มันขยาย ถนนรอบสวน รถไฟฟ้าก็มา เอ๊ะ! ทำ�ไมไม่เป็นเมืองให้หมดไปเลย สวนมันสำ�คัญอย่างไรต่อคน อันนีม้ มุ มองของคนเมืองด้วย สมมติว่าเขาใน มุมมองคนเมืองนี่ สวนมันควรจะอยู่ ที่นี่เพราะอะไร อันนี้เราจำ�เป็นต้อง ปรับตัวแล้วในมุมมองเรื่องสวนนี่ต้อง ปรับตัวให้เข้ากับบริบทที่มันเปลี่ยน ไป เกษตรกรรมทีเ่ ดิมมองสวนเราเป็น เกษตรกรรมในชนบทนี่ อ าจจะต้ อ ง มองว่าสวนเรามันเป็นเกษตรกรรมใน เมืองหรือชานเมือง ซึง่ อันนีม้ นั จะต่าง กันตรงที่ว่าในชนบทเราผลิตผลผลิต เพื่อขาย หรือให้คนเมืองเฉยๆ แต่ว่า เกษตรกรรมในเมืองหรือชานเมืองนี่
มันเป็นไม่ได้ขายเรื่องแค่ผลผลิต แต่ มันเป็นเรื่องอื่นๆ ด้วยที่มีประโยชน์ สิง่ ทีค่ นทัว่ ไปต้องการอยูแ่ ล้วคือ อาหารทุกคนต้องกิน ความสวยงาม และกินได้ เกษตรกรรมในเมืองหรือ ชานเมืองมีขอ้ ดีหลายประการ มีความ สดใหม่ของผักผลไม้เพราะว่าอยู่ใกล้ เมือง ไม่ต้องไปขนมาจากเชียงใหม่ หรือต่างประเทศซึ่งต้องใช้เวลาขนส่ง มาก อาหารปลอดภั ย เพราะว่ า กระบวนการผลิตไม่ใช้สารเคมีเลยซึ่ง คนเมืองจะคำ�นึงถึงความปลอดภัย ของอาหารมาก ซื้ อ จากตลาดก็ ไ ม่ แน่ใจว่าปลอดภัยสารหรือเปล่า นึกถึง ว่าคนเมืองคือเขาไม่รู้ เกษตรที่ปลูกที่ อื่นๆ เขาทำ�อะไรกันบ้าง แต่สมมติ
ว่าตอนนี้คนเมืองสามารถเห็นพื้นที่ เกษตรอยูข่ า้ งๆ เขา เขาอาจจะเห็นว่า ฉีดยาหรือเปล่า หรือเกษตรกรจะเริ่ม ระวังไม่ฉีดยา เพราะว่าเขาเห็นหรือ ว่าเราอาจจะเปลี่ยนวิธีการผลิตที่ตรง กับความต้องการของคนเมืองมากขึน้ สวนยกร่องมีข้อดีอย่างหลายๆ เรื่อง พันธุ์ที่มีความเฉพาะ ทุเรียนตอนนี้ เราก็กินทุเรียนหมอนทองส่วนใหญ่ แต่จริงๆ ทุเรียนมันมีหลากหลายพันธุ์ มาก รวมถึงมะม่วงยายกล่ำ� อาจารย์ศรีศกั รเสริมว่าสายพันธุ์ มะม่ ว งที่ ค นโบราณนิ ย มนำ � มากิ น กับข้าวเหนียว มี 3 ชนิดที่กินอร่อย คือ มะม่วงอกร่อง มีอกร่องเขียว ทาง อัมพวามีมากและอกร่องทอง มะม่วง 107
ยายกล่ำ� และมะม่วงพราหมณ์ขาย เมีย แต่ตอนนี้นิยมกินข้าวเหนียวกับ มะม่วงน้ำ�ดอกไม้ ซึ่งน้ำ�ดอกไม้รสจืด ถ้า มะม่วงมั น ก็ ต้องเป็ น มะม่ ว งแรด สมัยก่อนนี้มีพันธุ์พิมเสนมัน ถ้าเรา ฟื้ น ฟู ร ะบบนิ เวศและปรั บ ปรุ ง พั น ธุ์ ตามธรรมชาติกจ็ ะได้สายพันธุท์ อ้ งถิน่ ที่เหมาะสมกับพื้นที่นี้ คุณค่าด้านนิเวศวิทยาของสวน ผลไม้รอบกรุง
ตอนนี้ ภ าครั ฐ มั ก มองว่ า พื้ น ที่ สี เขี ย วคื อ สวนสาธารณะเท่ า นั้ น ที่ พยายามจะเพิ่ ม พื้ น ที่ ใ ห้ คนไปออก กำ�ลังกาย ทำ�กิจกรรมต่างๆ แต่ไม่ ได้มองว่าพื้นที่สีเขียวของเมืองมันมี อยู่เดิม บทบาทของเกษตรก็ยังเป็น เกษตรอยู่ สิง่ ทีพ่ ยายามสือ่ สารคือจะ เปลี่ยนทัศนคติของเมือง พื้นที่สวน ชานเมืองที่เป็นสวนยกร่องมีคุณค่า ทางด้านเป็นพื้นที่สีเขียวให้กับเมือง 108
เพราะว่าพื้นที่สีเขียวเมืองนี่มันมีผล ประโยชน์ทำ�ให้ลดความร้อนเมือง มี งานวิจัยที่แสดงอย่างชัดเจนว่าพื้นที่ สีเขียว พื้นที่เกษตรมีอุณหภูมิลดลง 3-4 องศาเซลเซียสเลยทีเดียว เมือง ต้ อ งการลดความร้ อ นอยู่ แ ล้ ว อี ก ประการหนึง่ คือฝุน่ คนเจอฝุน่ เยอะๆ ซึ่งก็ต้องพยายามสื่อสารว่าสวนยก ร่ อ งดี ต่ อ เมื อ งอย่ า งไร การมี ส วน ยกร่องนี่มันช่วยเมืองด้วยในแง่การ ลดฝุ่น เคยสังเกตจากแอปพลิเคชัน รายงานฝุ่น PM 2.5 เมื่อ 2 ปีที่แล้ว ว่าจะมีจุดแดงสีเหลืองกลางเมืองที่มี ฝุ่นเยอะๆ แต่ว่าบริเวณจุดนี้สีเขียว ตลอดเลย ก็สงสัยว่าอยู่ตรงไหน ไป ดูในกูเกิ้ลแผนที่ มันคืออยู่ตรงไทรม้า นี้นี่เอง มีสวน มีต้นไม้แบบนี้ช่วยลด ฝุ่น เพราะใบมัน ซึ่งช่วยจับฝุ่น ไม่ให้ ฟุ้งกระจาย งานวิจัยที่กำ�ลังทำ�อยู่ได้ทุนจาก สกว. พยายามจะศึกษาว่าสวนยกร่อง
คือพื้นที่สีเขียวที่มีลักษณะไม่ใช่เพียง สวนสาธารณะแต่ยงั เป็นลักษณะป่าใน เมืองอีกด้วย มีการสำ�รวจเก็บข้อมูล สวนของคุณเทิดพงษ์เป็นพื้นที่ศึกษา แสดงเชิงสเกลว่าแต่ละส่วนพื้นที่ของ สวนมีต้นไม้ปลูกผสมกับต้นไม้ใหญ่ หลากหลายชนิด ซึ่งมีคุณสมบัติการ เป็นป่าหรือป่าในเมือง นำ�หลักดัชนี ของ UNFCCC ในเรือ่ งเกีย่ วกับสภาวะ โลกร้อน ศึกษาหลายพื้นที่ฝั่งตะวัน ตกของแม่น้ำ�เจ้าพระยาจากเหนือลง ใต้ เพื่อตอบคำ�ถามว่าพื้นที่ของสวน ในบางกอกทั้งหมดมีความเป็นป่าใน เมืองอย่างไร การศึ ก ษาขั้ น ต่ อ ไป คื อ ศึ ก ษา รูปแบบร่องน้ำ�ในสวนที่มีความหลาก หลาย มีการกล่าวว่าสวนยกร่องเป็น พื้นที่เก็บน้ำ� ซึ่งไม่ทราบว่าชาวสวน จะเห็ น ด้วยหรือ ไม่ มีส มมุติฐานว่า หากทุ ก ที่ เ ป็ น พื้ น คอนกรี ต ทั้ ง หมด น้ำ�ไม่สามารถซึมลงดินได้ พื้นที่สวน
สามารถเป็นที่รับน้ำ� คือน้ำ�ไม่ท่วม ถนนแต่ลงไปท่วมสวนแทน เคยคุยกับ ลุงชวน ลงสำ�รวจพื้นที่หลายสวนแถว ตลิ่งชันด้วย พอดีพบภาพนี้จากตลาด น้ำ�ลัดมะยม มีโปสเตอร์อยู่เห็นว่าน่า สนใจดีที่ว่าเขามองว่าสวนนี่เป็นพื้นที่ สำ�หรับคนเมือง เป็นพืน้ ทีน่ นั ทนาการ ได้ หรือเป็นพื้นที่เรียนรู้มีคุณค่าทาง จิ ตใจ อย่ างอั น นี้ จุด ขายคื อให้ คนขี่ จักรยานเข้าไปในสวน ไปเที่ยววัด ไป ดู ส วนต่ า งๆ ก็ คื อ เป็ น ที่ สำ � หรั บ คน เมืองที่ไม่ไกลมากที่เขาสามารถที่จะ มาซึมซับบรรยากาศที่เป็นธรรมชาติ รอบเมือง
109
ทิศทางสวนยกร่องในบริบท สถานการณ์การเปลี่ยนแปลง
มีกรณีศึกษาที่น่าสนใจคือสวน ภูมิใจการ์เดน ที่เขตจอมทอง เจ้าของ สวนชื่อคุณเอ๋ อาศัยอยู่ในพื้นที่ตั้งแต่ เกิ ด สื บ ทอดสวนต่ อ จากพ่ อ แม่ มี ความรักสวนอยู่จึงพยายามจะฟื้นฟู อนุรกั ษ์สวนด้วยตัวเอง จุดขายสำ�คัญ เป็ น สวนลิ้ น จี่ โ บราณ 100 ปี แล้ ว ปรั บ ปรุ ง ภู มิ ทั ศ น์ ตกแต่ ง สวนด้ ว ย หนวดเคราฤาษี และไม้อิงอาศัย ตาม ต้นลิน้ จี่ และยังมีความเป็นเอกลักษณ์ ของสวนยกร่ อ งอยู่ มี ป้ า ยอธิ บ าย ประวัติศาสตร์พื้นที่ ภาพเก่าที่เห็น นี้ต้นลิ้นจี่ขนาดใหญ่ มีการปีนขึ้นไป เก็บลิ้นจี่แล้วก็มีไปโยงเรื่องบทความ ที่ พู ด ถึ ง พื้ น ที่ ต รงนี้ เรี ย กว่ า คุ้ ง ลิ้ น จี่ คลองประทุนอะไรต่างๆ มีพืชพรรณ ทีเ่ รียกว่าลิน้ จีพ่ นั ธุใ์ บยาว เป็นลิน้ จีช่ อื่ เฉพาะที่จดเป็น GI เป็นพื้นที่พืชพันธุ์ ที่มีเฉพาะพื้นที่ตรงนี้ เปิดพื้นที่สวน 110
ให้คนเมืองท่องเที่ยว แต่งตัวมาถ่าย รูปและเผยแพร่ผ่านเฟซบุ๊ค นอกจากนี้ ต้ อ งมองถึ ง คนที่ รุ่ น ใหม่ด้วย ตอนนี้เรารู้ว่าจะรักษาไว้แต่ ว่ารุ่นต่อไปเขาจะยังไง ถ้าเขายังไม่ ได้ซึมซับตรงนี้ อาจารย์ศรีศักรเสริม ว่ า ทำ � อย่ า งไรให้ เขาเป็ น คนท้ อ งถิ่ น สัมพันธ์กับคนเก่าแก่ แล้วชุมชนจะ อยู่ และไม่ได้หมายความว่าจะต้อง รักษาคนเก่าอย่างเดียว กลุ่มคนใหม่ เข้ามาแล้วจะทำ�อย่างไรให้คนใหม่นี่ เขากลายเป็นคนของชุมชน ให้กลาย เป็นบ้านเกิด หากทำ�ได้เมื่อนั้นเขาจะ ให้ความร่วมมือ หลายแห่งเกิดขึน้ แล้ว เพราะคนข้างนอกนีเ่ ข้าไปแล้วเขาเกิด สำ�นึกท้องถิ่นขึ้นมา ชุมชนก็เริ่มงอก ขึ้นมา สวนแห่ ง นี้ เ ปิ ด พื้ น ที่ ใ ห้ เ ด็ ก ๆ ชาวบ้านชุมชน แทนที่จะไปเที่ยวเดิน ตามห้างก็เข้ามาในสวนมาเล่นอะไรเห มือนเด็กๆ สมัยก่อน แล้วก็โรงเรียน
หรื อ มหาลั ย ก็ เข้ า ไปวาดรู ป อย่ า ง น้อยก็ได้ซึมซับบรรยากาศของสวน หรือว่าเรื่องพืชพันธุ์ที่เหมือนต้อยติ่ง สมัยก่อน ซึ่งเด็กปัจจุบันอาจะไม่รู้จัก แล้วว่าเป็นอย่างไร ที่เอาเม็ดไปโยน น้ำ � แล้ ว มั น ระเบิ ด หรื อ อะไรอย่ า งนี้ เจ้าของสวนใช้เฟซบุ๊คในการสื่อสาร พื้นที่ของเขา เรื่องแมลงแตนต่ออะไร อย่างนี้ก็กลายเป็นสิ่งสำ�คัญที่ทำ�ให้ เขาเห็นวิถชี วี ติ หรือเรือ่ งพืชพันธุค์ วาม หลากหลายทางชีวภาพของพื้นที่ อีกประการที่น่าสนใจคืออาหาร มีนำ�เสนออาหารโบราณลักษณะว่า นำ�วัตถุดิบมาจากในสวน มีปลาแนม เอาทองหลางในสวนมาใช้หรือเอาตะ ลิงปลิงมาทำ�เป็นน้ำ�ตะลิงปลิง สมมติ คนมาเที่ ย วที่ นี่ เขาก็ จ ะจั ด แพ็ ค เกจ เหมื อ นกั บ ว่ า มาเที่ ย วเก็ บ สตางค์ พร้อมอาหารแนะนำ�เฉพาะสวนของ เขา เมื่อกล่าวถึงอาหารเฉพาะท้อง ถิ่น เช่นปลาแนมกับใบทองหลางนี่
อาจารย์ศรีศักรเคยพบร้านขายส้มตำ� ทีต่ ลาดน้�ำ คลองลัดมะยม ตลิง่ ชัน ขาย ส้มตำ�แบบเก่า เอาใบทองหลางมาสับ ซอย แต่เดี๋ยวนี้ไม่มีขายแล้ว เคยพบ อีกที่ตลาดนัดวัดจำ�ปานี่มีผู้หญิงคน นึงขายส้มตำ�ข้าวมันส้มตำ� ขายดีมาก เลย ฝีมือดีมาก มีส้มซ่าด้วย แต่เดี๋ยว นีเ้ รากินส้มตำ�อีสานทัง้ นัน้ แหละ สวน ยกร่องนีม้ นั มีใบไม้ ผลไม้หลายอย่างที่ นำ�มาทำ�เป็นอาหารตัง้ แต่โบราณแล้ว น่าจะมีการศึกษาให้ลกึ ซึง้ ยิง่ ขึน้ อย่าง สวนนี้จะมีจัดกิจกรรมให้เด็กช่วยทำ� อาหาร เมนูมัสมั่นโดยบอกเล่าเรื่อง ราวประวัติศาสตร์อิงจากกาพย์เห่เรือ และเชื่อมโยงกับรัชกาลที่ 2 และ 3 ริเริ่มใช้พื้นที่สวนช่วยเชื่อมโยงในการ สัญจรทางน้�ำ อีกด้วย ใช้เรือรับนักท่อง เที่ยวมาขึ้นที่สวน น่าสนใจวิธีคิดจาก สวนเล็กๆ
111
บทความพิเศษ
สวนยกร่องรับมือภัยพิบัติ ฝุ่นละอองขนาดเล็ก ศ.ดร.ศิวัช พงษ์เพียจันทร์26 และผศ.ดร.ธรรมรัตน์ พุทธไทย27 คำ�สำ�คัญ: ประโยชน์สวนยกร่อง, ภัยพิบัติฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5, พรรณไม้ดักจับฝุ่น, เมืองสีเขียว สวนยกร่อง เครื่องปรับอากาศ ของเมือง
ปรากฏการณ์ที่เรียกว่า Urban hit island effect อากาศร้ อ นใน เมื อ ง หลายคนคิ ด ว่ า เกี่ ย วข้ อ งกั บ การเปลี่ ย นแปลงสภาพภู มิ อ ากาศ โดยตรง แต่ที่จริงแล้วไม่ได้เกี่ยวกับ การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศเพียง อย่างเดียว แต่ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ ผังเมือง การใช้ air condition การจัด วางต่างๆ ที่มีส่วนทำ�ให้อากาศร้อน การมีสวนยกร่องทำ�หน้าที่เป็น เหมือนแอร์ให้กบั คนทัง้ เมือง และเป็น
พื้ น ที่ ค วามหลากหลายทางชี ว ภาพ การทำ � สวนยกร่ อ ง ทำ � ให้ ป ลดแอก ตนเองจากการปลูกพืชเชิงเดีย่ ว ความ ซั บ ซ้ อ นของสวนยกร่ อ งที่ มี ค วาม หลากหลายทำ � ให้ ม วลอากาศเมื่ อ ไหลผ่านไปแล้วไม่ออกไปง่าย ระบาย ความร้อน อากาศได้ไหลเวียนได้มาก ในบางพืน้ ทีไ่ ด้ปลูกพืชเถาวัลย์ ลดการ ใช้ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง และมีงานวิจัย ยื น ยั น ว่ า การปลู ก พื ช เถาวั ล ย์ เ ยอะ ทำ�ให้ประหยัดค่าแอร์ มี นั ก วิ ช าการจำ � นวนมากได้ คิดถึงเรื่อง “โลกหลังโควิด” ตอนนี้
ผู้อำ�นวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการป้องกันและจัดการภัยพิบัติ และอาจารย์ประจำ�คณะพัฒนาสังคมและ สิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) 27 อาจารย์ประจำ�คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ทำ�วิจัยร่วมการใช้พืชพรรณเพื่อ การดักจับฝุ่นละอองในอากาศ เสนอมาตรการการดูแลสุขภาพและการจัดการที่ประชาชนสามารถดำ�เนินการ ได้เกี่ยวกับฝุ่นขนาดเล็ก PM2.5 จากวงเสวนา “คุณค่าของสวนยกร่อง เพื่อรับมือปัญหาฝุ่น สิ่งแวดล้อม ระบบ นิเวศในเมือง และความมั่นคงทางอาหาร” วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม 2563 ณ สวนชีววิถี ต.ไทรม้า อ.เมือง จ.นนทบุรี 26
113
ประเทศไทยพึ่งพาประเทศจากการ ส่งออกเป็นหลัก ประมาณ 70% และ อีก 20% จากภาคบริการหรือธุรกิจ การท่องเที่ยว เมื่อนักท่องเที่ยวไม่มา ทำ�ให้เศรษฐกิจหยุดชะงัก แต่ในทาง กลับกันในทุกวิกฤตจะมีโอกาสเสมอ เป็นนาฬิกาปลุกทำ�ให้คนไทยตื่นรู้ว่า หนทางที่ยั่งยืนคือการกระตุ้นการบริ โภคภายในประเทศ ซึง่ วิกฤตทำ�ให้เห็น ทางออกจริง เช่น ข้าวปลาเป็นของ จริง มากกว่าการพึ่งพาทางเศรษฐกิจ ระหว่างประเทศ ความปกติใหม่ คือ ความแน่นอนคือความไม่แน่นอน ซึ่ง ท้าทายว่าจะบริหารจัดการอย่างไร เผาเศษชีวมวลคือแหล่งก�ำเนิด ส�ำคัญของมลพิษทางอากาศ
อาจารย์ ศิ วั ช พงษ์ เ พี ย จั น ทร์ พยายามชี้ ใ ห้ เ ห็ น ต้ น กำ � เนิ ด ปั ญ หา มลพิษทางอากาศและผลกระทบต่อ สุ ข ภาพจากงานวิ จั ย หลายชิ้ น เช่ น งานศึกษาหนึ่ง28 ชี้ชัดว่ามลพิษภาค เหนื อ เกิ ด จากการเผา ส่ ว นภาคใต้ เป็ น มลพิ ษ ข้ า มพรมแดน จากการ ศึกษาการเผาเศษชีวมวล คือ แหล่ง กำ�เนิดสำ�คัญของมลพิษทางอากาศ พบว่าช่วงที่เกิดไฟป่ามีสารที่เรียกว่า Polycyclic Aromatic Hydrocarbons (PAHs) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง ช่วงที่ เกิดวิกฤตหมอกควันที่เชียงใหม่เทียบ
เท่ า กั บ การสู บ บุ รี่ 1,000 มวน ซึ่ ง สอดคล้องกับจังหวัดทางภาคเหนือ เช่น ลำ�ปาง มีคนป่วยโรคระบบทาง เดิ น หายใจสู ง ระดั บ เอเชี ย และพบ ว่าเด็กจะอ่อนไหวกับ pm 2.5 และ มีความเหลื่อมล้ำ�ทางเพศ เช่น เพศ หญิง จะอ่อนไหวต่อเรื่องมลพิษทาง อากาศมากกว่าเพศชาย งานวิ จั ย ร่ ว ม 29 ของอาจารย์ ศิวัช ซึ่งทำ�วิจัย 1 ปีเต็ม เรื่องมลพิษ ทางอากาศ เก็ บ ข้ อ มู ล PM2.5 ที่ ดอยอิ น ทนนท์ โดยใช้ ส ถานที่ ข อง สถาบั น วิ จั ย ดาราศาสตร์ แ ห่ ง ชาติ (มหาชน) หรือนาริด (NARIT) เก็บฝุ่น PM2.5 และวิเคราะห์สารก่อมะเร็ง ที่อยู่ในอากาศ แหล่งกำ�เนิดอันดับ 1 ที่เกิดขึ้นบนดอยอินทนนท์มาจาก ไอเสียและยานพาหนะเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งไม่ใช่การเผาเศษชีว มวลทางการ เกษตรแต่เพียงอย่างเดียว ฝุน่ PM 2.5 ในพื้นที่ที่ลมพัดไม่แรง ความเร็วลม ไม่เกิน 1 เมตร/นาที ในเวลา 1 วัน สามารถเดินทางได้ไกลถึง 80 กม. งานวิจัยร่วมอีกชิ้นหนึ่ง30 เก็บ ข้อมูลการเผาเศษชีวมวล 9 จังหวัด ภาคเหนือตอนบน ใบไม้แต่ละชนิด มีความสามารถในการดักจับฝุน่ ทีต่ า่ ง กัน ศึกษาในช่วงของการเผาและไม่ เผา พบว่าสารเคมีบางตัวมีความต่าง อย่างมีนัยยะสำ�คัญและบางตัวไม่มี
เรื่อง Incremental Lifetime Cancer Risk of PM2.5 Bound Polycyclic Aromatic Hydrocarbons (PAHs) before and after the Wildland Fire Episode. Aerosol and Air Quality Research. 16: 2907-2919. (2016) 29 เรื่อง Effects of Agricultural Waste Burning on PM2.5-Bound Polycyclic Aromatic Hydrocarbons, Carbonaceous Compositions, and Water-Soluble Ionic Species in the Ambient Air of Chiang Mai, Thailand. Polycyclic Aromatic Compounds 30 เรื่อง Effect of agricultural waste burning season on PM2.5-bound polycyclic aromatic hydrocarbon (PAH) levels in Northern Thailand. Atmospheric Pollution Research 1-12 (2017) 28
114
ใบไม้ของพืชแต่ละชนิดมีความ สามารถในการดั ก จั บ ฝุ่ น ที่ ต่ า งกั น การปลู ก พื ช เชิ ง เดี่ ย วมี ผ ลต่ อ ระดั บ คุณภาพของสภาพอากาศ ต้นไม้แต่ละ ต้นปล่อยสารอินทรียอ์ อกมา และเป็น สารอิ น ทรี ย์ ร ะเหยได้ และเมื่ อ สาร เหล่านี้รวมตัวกันช่วยตรึงก็จะทำ�ให้ เกิดแกนเมฆฝน แต่พบปัญหาสำ�คัญ เป็ น ความซั บ ซ้ อ น คื อ สารเคมี จ าก ต้นไม้ไปทำ�ปฏิกริ ยิ ากับสารเคมีทเี่ มือง ปล่อยออกมาจากไอเสียยานพาหนะ และควันพิษจากอุตสาหกรรม ซึ่งนัก เคมี อ ากาศกำ � ลั ง ศึ ก ษาต่ อ ไป ส่ ว น ปรากฎการณ์เอลนีโญกับลานีญา อาจ ไม่สามารถอธิบายในระดับพื้นที่ได้
สารเคมี จ ากพื ช ที่ ป ล่ อ ยออก มาทำ � ปฏิ กิ ริ ย ากั บ สารเคมี จ ากชี วิ ต ประจำ�วันของคน การทำ�เกษตรยก ร่องมีส่วนช่วยลด Re-volatilization ของสารพิษจากดินสู่อากาศ ความ หลากหลายทางชี ว ภาพ ส่ ง ผลทาง อากาศ ความสามารถในการดักจับ มีความสัมพันธ์กับลักษณะรูปพรรณ สัณฐานที่สำ�คัญ
115
ท�ำความรู้จักฝุ่นละอองขนาดเล็ก
อาจารย์ ธ รรมรั ต น์ พุ ท ธไทย เสริมว่าปัญหาการจัดการที่ดิน มีการ บุ ก รุ ก เผาป่ า ปลู ก พื ช เชิ ง เดี่ ย ว เช่ น การปลู ก ข้ า วโพดเลี้ ย งสั ต ว์ ทั้ ง ภู เขา ซึ่งราคาที่ดินก็แปรผันตามราคาพืช เกษตร ยิง่ ทำ�ให้เกิดมลพิษทางอากาศ เพิ่มขึ้น จึงสนใจศึกษาพืชพันธุ์ในเขต เมืองกับศักยภาพดูดซับฝุ่นละอองใน อากาศ เช่น ศึกษาในพื้นที่ความหนา แน่นการจราจรสูง ต้นไม้ที่อยู่บริเวณ นั้นมีการดูดซับฝุ่นละอองอย่างไร ใบ ลักษณะใด รูปทรงใดดูดซับฝุน่ ละออง ได้มาก ขนาดของฝุ่ น PM 2.5 เป็ น ฝุ่ น ละเอี ย ดที่ มี เ ส้ น ผ่ า นศู น ย์ ก ลาง ไม่ เ กิ น 2.5 ไมครอน เมื่ อ เปรี ย บ เทียบกับเส้นผมเล็กประมาณ 1 ใน 25 ของเส้นผมมนุษย์ ขนจมูกก็ไม่ 116
สามารถกรองได้ สามารถแพร่กระจาย เข้ า สู่ ท างเดิ น หายใจ กระแสเลื อ ด และแทรกซึมกระบวนการทำ�งานใน อวัยวะต่างๆ เพิ่มความเสี่ยงเป็นโรค เรื้อรัง ทั้งนี้ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 หรือขนาด 0
พืชพรรณไม้ที่สามารถดักจับฝุ่น
Pye (1987 ) ได้ศึกษา การขจัด ฝุ่ น ละอองโดยพื ช พรรณพบว่ า ฝุ่ น ละอองจะตกลงบนใบพืชหรือถูกพัด พาเข้ามาสู่ใบ ใบของพืชจะดักจับฝุ่น ละอองที่มีขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน ผ่ า นกระบวนการ การตกกระทบ (impaction processes) ฝุ่นละอองใน อากาศพร้อมทีจ่ ะตกลงบนผิวใบทีช่ นื้ หยาบ มีขน หรือผิวใบที่มีประจุไฟฟ้า หลั ง จากฝุ่ น ละออง ตกกระทบใบ แล้ ว สามารถย้อ นกลับ ไปสู่ส ภาวะ แขวนลอยในอากาศได้ แต่หากผิวใบ มีความเหนียวจะเพิ่มความสามารถ ในการดักจับฝุน่ ละอองได้มากขึน้ และ 31
ต้องใช้แรงจำ�นวนมากในการทำ�ให้ฝนุ่ ละอองหลุดออกจากผิวของใบ พื ช พรรณทุ ก ชนิ ด สามารถดั ก จับฝุ่นละอองได้ โดยพืชตระกูลสน สามารถดักจับฝุน่ ละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากโครงสร้างของใบสนมีความ ละเอี ย ดและซั บ ซ้ อ นกว่ า พื ช ผลั ด ใบ (Beckett et al., 200032) ต้นไม้ ใหญ่ในเมืองทั่วไป สามารถดักจับฝุ่น ละอองที่มีขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน ได้ประมาณ 100 กรัม ต้นไม้ใหญ่ใน กรุงปักกิ่งโดยเฉลี่ยสามารถดักจับฝุ่น ละอองที่มีขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน ได้ประมาณ 300 กรัมต่อปี (Yang
Pye, K. (1987). Aeolian Dust and Dust Deposits. Academic Press, London K. Paul Beckett, Peter Freer-Smith and Gail Taylor. 2000. Effective tree species for local air quality management. Journal of Arboriculture 26(1): 12-19.
31 32
117
et al., 200533) ต้นไม้ที่โตเต็มที่ใน ประเทศเนเธอร์แลนด์สามารถดักจับ ฝุ่นละอองที่ขนาดไม่เกิน 1 ไมครอน จะเพิ่ ม ขึ้ น ตามความเข้ ม ข้ น ของฝุ่ น ละอองด้วย กระบวนการดั ก จั บ ฝุ่ น พบ 3 ลักษณะ คือ การดูดซึม การดูดซับ และการตกกระทบ กระบวนการดูด ซึ ม ของใบไม้ เ กิ ด กั บ มลพิ ษ ประเภท ออกไซด์ ข องไนโตรเจน ซั ล เฟอร์ ไดออกไซด์ โอโซน โดยผ่ า นทาง ปากใบของพื ช ใบเรี ย บและกว้ า ง กระบวนการดูดซึมจะช่วยลดมลพิษ ประเภทสารประกอบอินทรีย์ระเหย (โพลีคลอริเนต (พีซบี )ี ไบฟินลิ ไดออก ซิน ฟูแรน) มักมีใบหนาและผิวใบเป็น ไข และกระบวนการตกกระทบจะเกิด บนผิวใบ ในใบลักษณะเรียว หยาบ มี
ขน และเหนียว สามารถดักจับฝุ่นล ละอองที่มีขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน การคั ด เลื อ กพั น ธุ์ ไ ม้ เ พื่ อ ดั ก จั บ ฝุ่ น โดยใช้ เ กณฑ์ ก ารประเมิ น ประสิทธิภาพแบบเทียบเคียงของพืช ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ ฝุ่ น ละอองที่ มี ข นาด ไม่เกิน 10 ไมครอน ไม้ยืนต้นหรือ ไม้ พุ่ ม ที่ ใ บมี ผิ ว หยาบหรื อ มี ข น จะ มีประสิทธิภาพมากกว่าผิวเรียบมัน หากผิวใบเรียบ ต้นไม้ที่ผลัดใบจะมี ประสิทธิภาพดีกว่าไม่ผลัดใบ พืชที่ มีผิวใบโดยรวมมากกว่าจะสามารถ ดั ก จั บ ฝุ่ น ละอองได้ ม ากกว่ า พื ช ที่ มี ผิวใบน้อย ดั้งนั้นต้นไม้ใหญ่และไม้ พุ่มที่มีใบขนาดเล็กจำ�นวนมาก จึงมี ประสิทธิภาพในการดักจับฝุ่นละออง สู ง กว่ า ต้ น ไม้ ที่ มี ใ บขนาดใหญ่ แ ต่ มี จำ�นวนใบน้อย
Yang, P., H. Wei, H.-L. Huang, B.A. Baum, Y.X. Hu, G.W. Kattawar, M.I. Mishchenko, and Q. Fu. 2005. Scattering and absorption property database for nonspherical ice particles in the near- through far-infrared spectral region. Applied Optic.,44, 5512-5523.
33
118
ตัวอย่างของการศึกษาศักยภาพ พืชที่สามารถดักจับฝุ่นได้ดี กลุ่มไม้ เลื้อย เช่น สร้อยอินทนิล เล็บมือนาง พวงชมพู อัญชัน พวงคราม กะทกรก เป็นต้น กลุ่มไม้พุ่ม เช่น วาสนา แก้ว หางนกยูงไทย กรรณิการ์ ทองอุไร โมกบ้าน คริสตินา เป็นต้น กลุ่มไม้ ล้มลุก เช่น ไผ่รวก วงศ์ส้มกุ้ง ฉัตร พระอินทร์ และกลุ่มไม้ยืนต้นที่บาง ชนิดเป็นผักยืนต้นได้ด้วย เช่น พฤกษ์ ขี้เหล็กเลือด ขี้เหล็กบ้าน ตะลิงปลิง ตะขบฝรัง่ สกุลชงโค เป็นต้น ไม้ยนื ต้น เช่น สั่งทำ� ข่อย ใบมีขนสาก ช่วยดัก จั บ ฝุ่ น ขนาดใหญ่ ไ ด้ ดี โพทะเล จะ ดักจับฝุ่นขนาดเล็ก ปอกระสา โมก หลวง โมกมัน ตะแบก อินทนิล เสลา จามจุรี แคแสด ชมพูพนั ธ์ทพิ ย์ พังแหร เป็นต้น
เมืองสีเขียว เกษตรสีเขียว พื้นที่สีเขียว
พื้ น ที่ สี เขี ย ว เป็ น ทางเลื อ กใน การลดฝุ่น ต้นไม้และพืชใบเขียว เป็น หัวใจหลักในการลดมลพิษทางอากาศ จากก๊าซพิษ และฝุ่นละออง PM 2.5 ต้นไม้ทเี่ หมาะสมควรมีใบไม้ทขี่ นมาก มีใบไม้ปกคลุมที่หนาแน่นซึ่งจะช่วย ตรึงฝุ่นให้เกาะอยู่บนผิวใบได้ดี ฝุ่นก็ จะถูกชะล้างโดยน้ำ�ฝนหรือร่วงลงสู่ พื้นดิน อากาศที่สะอาดจึงขึ้นอยู่กับ “พื้นที่สีเขียว” ในเมือง การทำ�สวน แนวตั้ง (vertical) ในพื้นที่เมือง การ ใช้ไม้เลื้อยแทนม่านกันฝุ่น อาทิ ต้น สร้อยอินทนิล แต่ต้องคำ�นึงถึงการรับ น้ำ�หนักและพื้นผิวของอาคาร ภาพตัวอย่างอาคารทีป่ ลูกต้นไม้ ในประเทศสิ ง คโปร์ แต่ มี ค วามคิ ด เชิงการออกแบบ มีการปลูกต้นไม้ให้ ร่วมไปกับอาคาร ปลูกต้นไม้แบบลด ระดับหลายชั้น สิงคโปร์ถึงแม้จะเป็น เมืองเล็กแต่มีการดูแลเมืองได้ร่มรื่น 119
มาก หากประเทศไทยมีการออกแบบ เมืองโดยทำ�เป็นสวนผสมลงไป ก็จะ ทำ � ให้ ล ดมลพิ ษ ลดความร้ อ นสู่ ชั้ น บรรยากาศ และ ต้นไม้ใหญ่ 1 ต้นผลิต ออกซิเจนให้คน 9 คนต่อวัน ประโยชน์ของพืชพรรณกับการ บรรเทามลพิษสำ�หรับชุมชนเมือง ช่วย ลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึง่ เป็นหนึง่ ในก๊าซเรือนกระจกทีท่ �ำ ให้ เกิ ด ภาวะโลกร้ อ น ช่ ว ยดู ด ซั บ สาร พิ ษ ในอากาศ และดู ด ซั บ สารพิ ษ ที่ ถูกปล่อยออกมาจากวัสดุที่ใช้ตกแต่ง อาคารได้ ร้อยละ 10-90 ขึ้นอยู่กับ ชนิดของพืชที่เลือกใช้ (Wolverton et al, 198934) ช่วยกรองฝุ่นได้อย่างมี ประสิทธิภาพ โดยการปลูกไม้พุ่มที่มี
ใบเล็กละเอียดช่วยเก็บฝุ่นได้มากถึง ร้อยละ 75 ของพุ่มทั้งหมด (พาสินี, 255335) นอกจากนี้ยังสามารถทำ�เป็น แผงกรองฝุ่นไม้เลื่อย ใช้ตามบริเวณที่ มีลมพัดฝุ่นเข้าอาคาร หรือรั้วบ้านตั้ง ติดถนน เพื่อช่วยกรองฝุ่นที่มีขนาด เล็ก เพิ่มความสวยงาม ลดความร้อน ให้กับอาคาร และเพิ่มพื้นที่สีเขียวใน เมือง (พาสินี และคณะ, 255936) การศึ ก ษาพื ช ริ ม ถนนที่ มี ศั ก ยภาพสำ � หรั บ ปลู ก ในเขตเมื อ งเพื่ อ ดู ด ซั บ ฝุ่ น ละอองขนาดเล็ ก อย่ า งมี ประสิทธิภาพ เพื่อเป็นการลดต้นทุน ในการจั ด การ และเป็ น เครื่ อ งฟอก อากาศธรรมชาติ โดยใช้ลักษณะทาง สัณฐานวิทยาของพืช เช่น โครงสร้าง
Wolverton, B. C., Douglas, Willard L. and Bounds, Keith. 1989. A Study of Interior Landscape Plants for Indoor Air Pollution Abatement. Technical Memorandum. 35 พาสินี สุนากร. 2553. การใช้พืชพรรณประกอบอาคารเพื่อมนุษย์และสภาพแวดล้อม. วารสารธนาคาร อาคารสงเคราะห์ 16(60). 36 พาสินี สุนากร, องอาจ ถาพรภาษี และ พัชรียา บุญกอแก้ว. 2559. การศึกษาเปรียบเทียบความสามารถใน การจับฝุ่นละอองของพรรณไม้เลื้อย. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ 5(2), มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 34
120
ของลำ�ต้น กิ่ง ใบ และขนที่ปกคลุม ผิวใบ นอกจากนี้ยังทำ�การศึกษา โดย การใช้ ก ล้ อ งจุ ล ทรรศน์ อิ เ ล็ ค ตรอน ในการวัดขนาดฝุ่นละอองขนาดเล็ก ที่พบบนผิวใบหลากหลายโครงสร้าง การรายงานคุ ณ ภาพอากาศที่ ค ณะ ตรวจให้ กั บ ต.ศาลายา รายงาน คุณภาพอากาศแบบ real time โดย ใช้รถโมบาย และเครื่องวัด PM2.5 โดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ที่อยู่ ณ บริเวณนั้น ประโยชน์ของสวนยกร่อง
1. ทำ�ให้การใช้ประโยชน์ที่ดินมี ประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะ พื้ น ที่ ร าบลุ่ ม มี ปั ญ หาน้ำ � ท่ ว ม เช่ น พื้นที่ราบชายฝั่งทะเล สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม นนทบุรี และกรุงเทพ 2. ทำ�ให้เกิดความมั่นคงยั่งยืน ในการเกษตรจากสภาพภูมิอากาศที่ แปรปรวน เช่น ฝนแล้ง น้ำ�ท่วม ฯลฯ
3. การใช้ระบบการปลูกพืชแบบ หลากหลาย ทำ � ให้ เ กิ ด ความมั่ น คง ทางอาหาร ลดความเสี่ ย งต่ อ การ ขาดทุน ศัตรูพชื ไม่ระบาด และเกิดการ หมุนเวียนธาตุอาหาร ปรับปรุงบำ�รุง ดิน 4. ทำ�ให้สภาพแวดล้อมร่มรื่น 5. รั ก ษาความชุ่ ม ชื้ น ให้ กั บ ดิ น ด้วยระบบการไหลเวียนของน้ำ�ที่ดี 6. ลดการใช้สารเคมีเพื่อบำ�รุง รักษาพืชผลทางการเกษตร 7. ลดการใช้เครื่องจักรเก็บเกี่ยว พืชผลทางการเกษตร 8. ส่ ง เสริ ม การพั ฒ นาระบบ สวนผสมแทนการใช้พื้นที่ปลูกพื้นที่ เชิงเดี่ยวเพียงอย่างเดียว 9. ลดการเผาเศษชี ว มวลเพื่ อ เตรียมหน้าดินสำ�หรับการเพาะปลูก 10. สวนยกร่ อ งช่ ว ยบรรเทา วิกฤตหมอกควัน
121
บทความพิเศษ
ภูมิปัญญาระบบสวนยกร่อง มรดกทางวัฒนธรรม ด้านเกษตรกรรม เดชา ศิริภัทร37 คำ�สำ�คัญ: ภูมิปัญญาการทำ�สวนยกร่อง, เทคโนโลยีที่เหมาะสม, เครือข่ายชาวสวน, มรดกทางวัฒนธรรมด้านเกษตรกรรม ภูมิปัญญาการท�ำสวนยกร่อง ด้วยเทคนิคชั้นสูง
เกษตรกรไทยมี 3 กลุ่ ม ใหญ่ ได้แก่ ชาวสวน ชาวนา และชาวไร่ พบว่าชาวไร่ทำ�พืชคุณภาพต่ำ� เน้น ปริมาณ ทำ�ให้มีรายได้น้อย ในอดีต หมู่บ้านชาวไร่จะยากจนเพราะไม่มี เงินสร้างวัด ชาวนาถือว่าเป็นคนส่วน ใหญ่ ข องบรรดาเกษตรกร การจะ แบ่งได้ว่าเป็นชาวนานั้นจะต้องปลูก แบบมีคันนา ไม่ใช่การปลูกแบบข้าว ไร่ หากปลูก ข้า วไร่ใ ห้จัดกลุ่มอยู่ใ น โซนชาวไร่ไม่ใช่ชาวนา และชาวสวน เมื่อก่อนส่วนใหญ่อยู่ใกล้เมือง สวน นอกเช่ น อำ � เภออั ม พวา จั ง หวั ด
สมุทรสงคราม สวนใน เช่น จังหวัด นนทบุรี ชาวสวนมีความเจริญมาก ที่สุด มีเงิน และเทคโนโลยีสูงสุด เมื่อ ดูจากจำ�นวนวัดที่มีมากของบริเวณ หมู่บ้านชาวสวน เทคนิคที่สำ�คัญของ ชาวสวน เช่น เทคนิคยกร่อง เพราะ เป็นการยกร่องในพื้นที่ลุ่ม น้ำ�ท่วมถึง ระบบนี้มีมาจากจีน ตั้งแต่สมัยพระ นารายณ์ เหมาะกับพืน้ ทีล่ กั จืดลักเค็ม พื้นที่ที่น้ำ�เค็มขึ้นถึง หรือน้ำ�กร่อย ซึ่ง เป็นดินที่มีแร่ธาตุสูง ทำ�ให้การปลูก ผลไม้มรี สชาติดี สวนเมืองไทยในอดีต พืน้ ทีไ่ ม่เกิน อำ�เภอนครชัยศรี จังหวัด นครปฐม เพราะมีน�้ำ เค็มหนุนถึง หาก เกินไปกว่านี้รสชาติจะไม่ดี
ที่ปรึกษามูลนิธิข้าวขวัญ ผู้บุกเบิกเกษตรกรรมยั่งยืน ฟื้นฟูมรดกวัฒนธรรมเพื่ออนาคต งานเสวนาสาธารณะ “คุณค่าสวนยกร่อง ความหลากหลายและความมั่นคงทางอาหาร” วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม 2563 นัดทดลอง ตลาดอิงวัดอิงสวน ณ สวนชีววิถี ต.ไทรม้า อ.เมือง จ. นนทบุรี
37
123
งานเสวนาสาธารณะ “คุณค่า สวนยกร่อง ความหลากหลาย และความมั่นคงทางอาหาร” วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม 2563 ณ สวนชีววิถี
การปลู ก ทุ เรี ย นถื อ ว่ า เป็ น ภู มิ ปัญญาสูงสุดของชาวสวน หากย้อน มองไปร้อยปีย้อนหลังถือเป็นเทคนิค ที่สูง การปลูกทุเรียนแรกเริ่มได้จาก ประเทศอินโดนีเซีย จากเกาะสุมาตรา ทุเรียนเป็นภาษาชวา หมายถึงผลไม้ที่ มีหนาม ในประเทศไทยปลูกเริ่มจาก ภาคใต้ มาถึงภาคกลาง ซึง่ ทีภ่ าคกลาง ได้ มี ก ารพั ฒ นาพั น ธุ์ จ นได้ พั น ธุ์ ดี ๆ เช่น หมอนทอง (น่าจะเกิดแถวสามเสน) อี ก ทั้ ง มี ก ารพั ฒ นาระบบนิ เ วศที่ เหมาะสมกับการปลูกทุเรียน เช่น ทำ� ดินยกร่อง การขุดร่องน้ำ� การปลูก พื ช หลากหลายทำ � ให้ ล มเข้ า ได้ ย าก และเกิดความชื้นในสวน ภูมิปัญญา เป็นดังรากที่ทำ�ให้เราไม่หลุดไปตาม กระแส ปัจจุบันผู้คนนิยมกินทุเรียน อัตราคนกินเพิ่มขึ้นเร็วกว่าอัตราการ ปลูก ในประเทศจีนนิยมกิน และได้ พั ฒ นานำ � ไปเลี้ ย งหนอน ได้ ห นอน ทุเรียนซึ่งมีรสชาติอร่อย หอม 124
นอกจากนั้นได้มีการพัฒนาพืช ที่ ป ลู ก คู่ กั บ ทุ เ รี ย นหรื อ พื ช พี่ เ ลี้ ย ง ได้แก่ ทองหลาง หรือในอดีตเรียก ทองโหลง มีการพัฒนาพันธุ์จนไม่มี หนาม ประโยชน์ ข องทองหลาง 1) ทำ � ให้ เ กิ ด ความชื้ น 2) ช่ ว ยจั บ ไนโตรเจน เนื่องจากเป็นพืชตระกูล ถั่ว 3) ใช้ใบต้น หมักทำ�ปุ๋ย 4) กิ่ง ก้าน ต้น ใช้ทำ�ฟืน 5) ต้นทุเรียนชอบ ปุย๋ จากใบทองหลาง เพราะมีก�ำ มะถัน สูง ดังนั้นหากภาคกลางปลูกทุเรียน จะทำ�ให้ทุเรียนมีคุณภาพมากที่สุดใน โลก เพราะสามารถควบคุมเรื่องพันธุ์ ดิน น้ำ� อากาศชื้น พืชพี่เลี้ยง ปุ๋ย ถือว่าเป็นภูมิปัญญาสูงสุด เทคโนโลยีที่เหมาะสม ในสวนยกร่อง
มีการพัฒนาระบบปัจจัยต่างๆ ของพืชผลในระบบสวนจนเหมาะสม ซึ่งถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่สูงสุด การ
จะทำ � ให้ ส วนยกร่ อ งอยู่ ร อดอย่ า ง สมบู ร ณ์ นั้ น เป็ น เรื่ อ งยาก แต่ ก าร ทำ�ให้เกิดเป็นพื้นที่อนุรักษ์ รักษาไว้ พิพิธภัณฑ์ เป็นแบบอย่าง เป็นรูป ธรรม ทำ�ให้เห็นเป็นสัญลักษณ์ของ คุณค่าเป็นไปได้มากกว่า เป็นที่ศึกษา ดูงาน แล้วจึงนำ�ไปสู่การขยายผลใน พื้นที่อื่นๆ มี จุ ด ขาย มี ส่ิ ง ที่ ดึ ง ดู ค น เช่ น มี ทุ เรี ย น มี น ก มี ป ลากั ด เป็ น ต้ น พั ฒ นาเป็ น การท่ อ งเที่ ย งเชิ ง นิ เวศ ขายบรรยากาศและผลผลิต ใส่เรื่อง ราวไปในผลิ ต เพื่ อ เพิ่ ม คุ ณ ค่ า และ มู ล ค่ า การอนุ รั ก ษ์ ภู มิ ปั ญ ญา ไม่ ว่าการคัดพันธุ์ เทคโนโลยีการปลูก หรือจัดการสวน การวัดสวนที่แบบ เฉพาะที่วัดเป็นหน่วย “ขนัด” ที่วัดใน เชิงคุณภาพ ซึ่งจะต้องนำ�คุณค่าเหล่า นี้แปลงเป็นมูลค่า ชาวสวนไม่ ค วรคิ ด เป็ น วิ ท ยาศาสตร์หรือแบบกลไกอย่างเดียว แต่ ต้องใช้ความเป็นมนุษย์มาใช้ ไม่เอา เพียงความสะดวกสบาย แต่ต้องเอา ระบบคุณค่ามาใช้ด้วย เราต้ อ งรู้ ว่ า เราเป็ น ชาวพุ ท ธ เราต้ อ งวางเป้ า หมายชี วิ ต ว่ า เอา แค่ พ อดี ไม่ ต้ อ งรวยมาก และไม่ จน ไม่ เ บี ย ดเบี ย นใคร ตามแนว เศรษฐศาสตร์ เชิ ง พุ ท ธ และต้ อ งใช้ เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับเป้าหมาย คือ 1) ขนาดเล็ก 2) ง่าย 3) ราคา ถูก 4) ต้องไม่มีผลกระทบทางด้าน สุขภาพและสิ่งแวดล้อม 5) ไม่ผูกขาด 6) ประสิทธิภาพสูง
125
อภิธานศัพท์ชาวสวน
38
คำ�เรียก
ความหมาย
ไข่ปลา
ดอกที่เริ่มผลิออกจากตาดอก มีลักษณะเป็นเม็ดกลมเล็กๆ คล้ายไข่ปลาขนาดหัวเข็มหมุด จับกันเป็นกลุม่ ตามกิง่ ทีอ่ อก ตาดอก ระยะดอกตูมเล็กๆ ที่เริ่มขยายออกจากระยะไข่ปลา มี ลักษณะเหมือนไม้ขีดไฟ แต่โตและสั้นกว่า ระยะนี้พอนับ จำ�นวนดอกได้บ้าง ดอกตูมของทุเรียนทีเ่ จริญจากระยะเหยียดตีนหนู มีลกั ษณะ กลมเหมือนกระดุม (กระดุมเสื้อจีน) ดอกตูมของทุเรียนที่ใกล้บาน (หลังจากเจริญเป็นลูกกระดุม แล้ว) มีลักษณะกลมรี ปลายดอกแหลมเล็กน้อย หัวคล้าย หัวกำ�ไล (กำ�ไลข้อเท้าเด็ก) ระยะที่ดอกทุเรียนเริ่มบาน กลีบเลี้ยงแตกออก เผยให้เห็น กลีบนอกสีน้ำ�ตาลอ่อน และกลีบในสีขาว ดอกทุเรียนที่โรยใหม่ๆ กลีบเลี้ยง กลีบนอก กลีบใน และ เกสรตัวผูห้ ล่นไป เหลือแต่กา้ นดอกรังไข่และก้านเกสรตัวเมีย ติดอยู่กับกิ่ง ใช้เรียกกิง่ ใบไม่ออ่ นนัก เป็นขนาดพอเหมาะสำ�หรับใช้ในการ ตอน เป็นกิง่ ทุเรียนทีแ่ ตกใหม่ โดยมากมักแตกจากกิง่ ล่าง หรือจาก ลำ�ต้น ยอดพุ่งขึ้นตรง เหมาะในการใช้ตอนเพื่อขยายพันธุ์
เหยียดตีนหนู ลูกกระดุม หัวกำ�ไล ระยะขาว ไม้กลัด เพสลาด กิ่งกระโดง
ปราโมทย์ อินทอง. 2507. การสำ�รวจพันธุ์ทุเรียนในเขตอำ�เภอเมือง จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์กสิกรรม และสัตวบาลบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
38
126
คำ�เรียก
ความหมาย
แกน ทำ�จำ�ปา
ลักษณะผิดปกติของเนื้อทุเรียน คือแข็งและรสจืดชืด เป็นการทำ�กับกิง่ ตอนก่อนหุม้ ดิน โดยหลังจากควัน่ เรียบร้อย แล้ว เอาปลายมีดกรีดเปลือกด้านบนของรอยควัน่ ให้เปลือก ขาดเป็นรูปง่าม (รูปตัว V คว่ำ� ) แคบๆ เล็กๆ สัก 3-4 แห่ง เพื่อให้เปลือกตรงที่กรีดเป็นปุ่มโดยเร็ว เอาใบตองแห้งหุม้ แยกทีท่ �ำ จำ�ปาแล้วให้มดิ ชิด ทิง้ ไว้ 60 วัน จนแผลเป็นปุ่ม ระยะแรกปลูกจนครบ 1 ปี รูปทรงของต้นทุเรียนต้นใดต้นหนึ่ง ที่มีกิ่งก้านสาขามาก ลำ�ต้นใหญ่ มีใบเต็มต้นทุกฤดู เรียกต้นนั้นว่ามีเรือนต้นดี ลักษณะการแห้งตายของกิ่งทุเรียนหลังจากให้ผลในฤดูหนึ่ง แล้ว และจะหลุดไปในที่สุด ขั้วทุเรียนแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ท่อนที่ติดกับกิ่งเรียกว่า “จับ ปลิง” ท่อนที่ติดกับผลเรียกว่า “ขั้ว” รอยต่อระหว่างจับปลิงกับขั้ว รูปร่างของผลทุเรียนที่มีลักษณะเหมือนหวดดินเผาที่ใช้นึ่ง ข้าวเหนียว ลักษณะของผลทุเรียนทีม่ เี นือ้ เพียงหนึง่ หรือสองพู ทำ�ให้ผล โค้งงอมีลักษณะของผลบิดเบี้ยวเหมือนส่วนท้ายของเป็ด โรคของผลทุเรียน มีลกั ษณะแกนกลางของผลชุม่ คล้ายเปียก น้ำ� ทำ�ให้เนื้อเปียก
การบ่มปุ่ม หนึ่งฝน เรือนต้น ทิ้งกิ่ง จับปลิง ปากปลิง ทรงหวด เป็นเป็ด ไส้ซมึ
127
คำ�เรียก
ความหมาย
เมล็ดใน
ต้นที่เราได้จากการเพาะเมล็ดพันธุ์ใดพันธุ์หนึ่งซึ่งเรารู้จัก เช่ น พั น ธุ์ เ มล็ ด ในตาท้ ว ม เกิ ด จากการเพาะเมล็ ด พั น ธุ์ กบตาท้วม เป็นการเรียงเมล็ดในลูกหนึ่งๆ ติดต่อกันเป็นมุมฉาก แถว เดียวจนเต็มพู เมล็ ด ทุ เรี ย นที่ ยั ง มี เ นื้ อ หุ้ ม อยู่ มี รู ป ร่ า งคล้ า ยสี่ เ หลี่ ย ม ขนมเปียกปูน วางซ้อนกัน 2 แถวจนเต็มพู การออกดอกให้ผลในปีแรกของทุเรียนที่ปลูกใหม่ เป็นสรรพนามใช้แสดงเนื้อที่ร่องสวน ที่รวมกันอยู่ โดยมี คันดินล้อมรอบเนื้อที่นั้น ขนัดหนึ่งอาจมีเนื้อที่ไม่แน่นอน อาจน้อยกว่า 1 ไร่ หรือเกิน 10 ไร่ขึ้นไป เครื่องมือรดน้ำ�ชนิดหนึ่ง ทำ�ด้วยสังกะสีหรือสานด้วยไม้ไผ่ ก้นลึก ใช้ตักน้ำ�หยอดต้นไม้ เครื่องมือรดน้ำ�อีกชนิดหนึ่ง สานด้วยไม้ไผ่เป็นรูปกลมรี ก้นตื้น พอกด้วยชันผสมด้วยน้ำ�มันยางบางๆ กันน้ำ�รั่ว มีด้ามถือยาว ใช้สำ�หรับสาดน้ำ� บริเวณที่ดินที่อยู่กลางร่อง ลำ�ธารที่ขุดขึ้นเพื่อเก็บน้ำ�และระบายน้ำ�ในบริเวณสวน การตักดินเลนเหลวๆ ในท้องร่องขึน้ มาพอกบริเวณหลังร่อง การขุดดินเป็นลำ�รางรอบบริเวณโคนทุเรียนเพื่อระบายน้ำ�
เมล็ดต่อ เมล็ดประดับ สอนเป็น ขนัด แครง ขนาด อกร่อง ท้องร่อง ลอกท้องร่อง รางโคน
128