สรุปผลการดำเนินงาน มูลนิธิเด็ก 2559

Page 1

1

สรุปผล การด�ำเนินงาน มูลนิธิเด็กปี พ.ศ. ๒๕๕๙

02-814-1481


2

สารบัญ สถาบันการศึกษาทางเลือก มูลนิธิเด็ก • โครงการบ้านทานตะวัน • โรงเรียนอนุบาลหมู่บ้านเด็กสานรัก • โรงเรียนหมู่บ้านเด็ก โครงการปฏิรูปการศึกษาเพื่อเด็กและชุมชน • เครือข่าย “อาศรมสามเณร” และการจัดการศึกษาทางเลือกเด็กยากจน • โครงการอุปการะเด็กและทุนการศึกษาเพื่อเด็กยากไร้ในชนบท • โครงการศาลาห้องสมุดพริ้งพวงแก้ว • โครงการตู้หนังสือในบ้านเด็ก มูลนิธิเด็ก • โครงการรถเข็นนิทานในหอผู้ป่วยเด็กโรงพยาบาล กล่องเรียนรู้แสนสนุก (กิจกรรมเรียนรู้นอกห้องเรียน) • ห้องงานไม้ • ห้องศิลปหัตถกรรม • ห้องมัดย้อมและทอผ้า • ห้องโยคะเด็ก • ห้องเรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ “๑ ไร่ ๑ แสน” เกษตรธรรมชาติ • ห้องเรียนวัดแววและส่งเสริมเด็กตามความถนัด (Exploring Center)

๔ ๕ ๑๘ ๔๐ ๖๔ ๖๔ ๗๑ ๗๒ ๘๐ ๙๖

๑๐๒ ๑๐๔ ๑๐๖ ๑๐๘ ๑๑๖ ๑๒๒ ๑๒๖


3

สถาบันวิชาการและสื่อเพื่อพัฒนาเด็ก ครอบครัว และการศึกษา • ระบบจัดการข้อมูลเด็กออนไลน์ มูลนิธิเด็ก • งานฝึกอบรมและพัฒนาศักยภาพบุคลากร • งานเว็บไซต์ • งานจัดเก็บฐานข้อมูลสื่อ • กลุ่มสื่อสร้างสรรค์สังคมอุดมสุข “รายการสะพานสายรุ้ง”

๑๓๔ ๑๓๔ ๑๓๘ ๑๔๒ ๑๔๓ ๑๔๔

สถาบันศิลปวัฒนธรรมและหนังสือเพื่อเด็ก ครอบครัว และสังคม ส�ำนักพิมพ์ มูลนิธิเด็ก • แผนกหนังสือเด็ก • โครงการสรรพสาส์น • แผนกสิ่งพิมพ์พิเศษ

๑๔๘ ๑๔๙ ๑๕๐ ๑๕๔ ๑๕๘


4

สถาบันการศึกษาทางเลือก มูลนิธิเด็ก


5

โครงการ

บ้านทานตะวัน

ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการเหมาะสมตามวัย บ้ า นทานตะวั น พั ฒ นาการเลี้ ย งดู เ ด็ ก ไปสู ่ ก ารจั ด กระบวนการเรียนรู้ให้แก่เด็กแบบบูรณาการกิจกรรมต่างๆ ให้ เกิดความสมดุลและเป็นระบบมากขึ้น ตามแนวความคิดการ ศึกษาแบบมอนเตสซอรี่ เพื่อให้เด็กได้ฝึกทักษะชีวิต ผ่าน ประสาทสัมผัสโดยที่เด็กเป็นผู้ลงมือท�ำเองตามความต้องการ และพัฒนาการท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่สงบ มีสมาธิ และมี ระเบียบ


6 เด็กเข้าพักฟื้นบ้านทานตะวัน จ�ำนวน ๔๓ คน ดังนี้ เด็กทารุณกรรม จ�ำนวน ๒ คน • ถูกทอดทิ้ง จ�ำนวน ๑ คน เด็กได้รับผลกระทบจากปัญหาเฉพาะหน้า จ�ำนวน ๔๐ คน •

โดยมีเป้าประสงค์ให้เด็กบ้านทานตะวัน อายุตั้งแต่แรก เกิด ถึง ๔ ปี มีพัฒนาการด้านร่างกาย สติปัญญา ภาษา อารมณ์ และสังคม ที่เหมาะสมตามวัย โดยยึดหลัก แผนการส่งเสริมพัฒนาการของกรมอนามัย กระทรวง สาธารณสุข และกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้อง กับพัฒนาการของสมอง (Brain – based learning)


7

งานด้านสุขภาพ

๑. การดูแลสุขภาพเด็กทั่วไป มี นพ.เกษม กอปรศรีเศรษฐ์ โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ บางแค เป็นแพทย์อาสาเข้ามาช่วยดูแลรักษา เป็นประจ�ำทุกสัปดาห์ ๒. เด็กที่เป็นโรคภูมิแพ้ทางผิวหนังได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง จากสถาบันผิวหนัง ๓. เด็กได้รับการฉีดวัคซีนตามก�ำหนดครบทุกคนที่ รพ.สต.กระทุ่มล้ม ๔. เด็กที่ต้องดูแลเฉพาะทาง เช่น การกระตุ้นพัฒนาการ การ ตรวจโรคประจ�ำตัว จะถูกส่งตรวจตามที่แพทย์นัดหมายในโรงพยาบาลที่ เด็กเข้ารับการรักษา เช่น โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลนครปฐม โรง พยาบาลสามพราน เป็นต้น ๕. เด็กได้รับการเคลือบฟลูออไรท์ จากสาธารณะสุขต�ำบลไร่ขิง


8

งานส่งเสริม พัฒนาการเด็ก การส่งเสริมพัฒนาเด็กเป็นรายคน โดยใช้แบบประเมิน พัฒนาการเด็ก Denver II เป็นตัวคัดกรอง โดยแบ่ง พัฒนาการเด็กออกเป็น ๔ ด้าน ได้แก่

๑. ด้านสังคมและการช่วยตนเอง ๒. ด้านกล้ามเนื้อเล็กและการปรับตัว ๓. ด้านภาษา ๔. ด้านกล้ามเนื้อใหญ่


9

แบ่งเด็กออกเป็น ๒ กลุ่ม

๑. กลุ่มเด็กเล็ก ช่วงอายุ แรกเกิด - ๑.๖ ปี

กิจกรรมทีใ่ ช้กระตุน้ พัฒนาการจะเป็นการนวดสัมผัส และการอ่านหนังสือ นิทานกับเด็กเป็นรายคน เพือ่ เป็นการฝึกการฟังและการพูด เด็กมีการสบตา จ้องหน้า ยิ้มตอบ ยิ้มทักทาย โบกมือลา ปรบมือ อารมณ์ร่าเริง และแสดง ความต้องการโดยใช้ท่าทางได้แต่ยังไม่ชัดเจนมากนัก ยังมีอาการร้องไห้ งอแงเมื่อมีความต้องการ รู้จักช่วยเก็บขยะ ทิ้งขยะลงถัง เก็บของเล่น เป็นต้น ในปีที่ผ่านมา มีเด็กจ�ำนวน ๔ คน ที่พร้อมนั่งเก้าอี้รับประทาน อาหารเอง โดยใช้ช้อนกับส้อม และพร้อมที่จะไปเรียนรู้อยู่กับกลุ่มเด็กโต ได้


10


11

๒. กลุ่มเด็ก ช่วงอายุ ๑.๖ – ๔ ปี จะจัดกิจกรรมกระตุ้นพัฒนาการ ทั้งแบบกลุ่มและเดี่ยว โดยแบ่งออกเป็น ๒ กลุ่มย่อย คือ

๒.๑ กลุม่ เด็ก ช่วงอายุ ๑.๖ – ๒.๖ ปี อารมณ์รา่ เริงแจ่มใส

ยิ้มเก่งเข้ากับผู้อื่นได้ง่าย บางคนยังกลัวคนแปลกหน้าบ้าง เด็กหลายคน แสดงอารมณ์กับท่าทางได้ถูกต้อง เริ่มเล่นกับคนอื่นได้ดีขึ้น ช่วยเก็บของ เล่น เก็บเสือ้ ผ้าทีใ่ ช้แล้วใส่ตะกร้า สามารถใช้ชอ้ นส้อมทานอาหารเอง ล้าง มือและเช็ดมือได้เอง เด็กวัยนี้จะเริ่มฝึกถอดเสื้อผ้าและใส่เสื้อผ้าเอง ฉีก กระดาษเป็นชิ้นเล็กๆ ได้ สามารถพูดได้อย่างน้อย ๖ ค�ำหรือพูด ๒ ค�ำต่อ กัน เลียนแบบค�ำพูดและเสียงต่างๆ ได้ ยืนและเดินเองได้อย่างมั่นคง บาง คนเดินขึ้น – ลงบันไดเองได้โดยพักเท้าและต้องจับราวบันได มีพี่เลี้ยงคอย ดูแลอย่างใกล้ชิด


12

๒.๒

กลุ่มเด็ก ช่วงอายุ ๒.๖ – ๔ ปี สามารถ ควบคุมอารมณ์ได้มากขึ้น มีการเล่นเป็นกลุ่ม มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ อื่นมากขึ้น เช่น รู้จักทักทายเมื่อเจอกัน โบกมือลาเมื่อต้องจากกัน รู้จักถามว่าท�ำอะไรอยู่ บอกชื่อเพื่อนได้ สามารถใช้ช้อนส้อมตัก อาหารกินเองได้โดยไม่หกใส่เสื้อผ้า หรือแต่งตัวเองได้คล่องแคล่ว ขึ้น เด็กบางคนแปรงฟันเองได้ และมีส่วนหนึ่งที่เด็กสามารถเข้า ห้องน�้ำได้เอง โดยไม่ต้องใช้ผ้าอ้อมส�ำเร็จรูป มีความอดทนรอ คอย ใช้นิ้วมือขยับได้อย่างอิสระ สามารถจับดินสอขีดเขียนได้ถูก ต้อง สามารถวาดรูปวงกลม สี่เหลี่ยม รูปเส้นแนวตั้งได้ มีกล้าม เนื้อแขนขาที่แข็งแรงมากขึ้น ในการมุด ลอด ข้าม โหน สิ่งกีดขวาง ได้ บางคนสามารถยืนขาเดียว กระโดดขาเดียวได้ และสามารถ พูดได้เป็นประโยคชัดเจน พูดโต้ตอบและสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้ รู้จักสัตว์หลายชนิดมากขึ้นกว่าเดิม สามารถบอกอาการได้เช่น ปวดท้อง ปวดหัว เจ็บแผล เป็นต้น


13


14 งานติดตามเยี่ยมครอบครัว จ�ำนวน ๒๘๖ ราย

งานสงเคราะห์นมกล่อง (ยู.เอช.ที) จ�ำนวน ๘๑ ราย


15 งานสงเคราะห์นมผง จ�ำนวน ๖๐๗ ราย

งานสงเคราะห์ครอบครัว (ข้าวสารอาหารแห้ง/เครื่องอุปโภค) จ�ำนวน ๔๕๖ ครอบครัว


16

จัดกิจกรรมให้ความรู้กับผู้ปกครองเด็ก • จัดอบรมเรื่องการให้อาหารเสริมเด็ก ๐ – ๓ ปี มีผู้เข้าร่วม ๓๗ คน • จัดอบรมหนังสือเล่มแรกของลูก BOOK START มีผู้เข้าร่วม ๓๗ คน • จัดอบรมเรื่องการดูแลเด็กป่วย การให้ยา การเช็ดตัวเด็กเมื่อมีไข้ มีผู้เข้าร่วม ๘๒ คน • จัดให้ความรู้เรื่องการเก็บออม การท�ำบัญชีครัวเรือน มีผู้เข้าร่วม ๔๔ คน • จัดอบรมการชงนมผงส�ำหรับเด็ก ๐ – ๓ ปี ที่ถูกวิธี มีผู้เข้าร่วม ๓๗ คน • จัดกิจกรรมวันแม่ที่พุทธมณฑล พาเด็กผู้ปกครองไปท�ำกิจกรรมร่วมกัน มีผู้เข้าร่วม ๑๖ คน • จัดอบรมเรื่องการเลี้ยงดูเด็กที่ถูกวิธี เช่น การอาบน�้ำ มีผู้เข้าร่วม ๒๐ คน • จัดอบรมเรื่องการกระตุ้นพัฒนาการเด็กที่มีพัฒนาการช้ากว่าอายุด้วยการนวด และทักษะในการเลี้ยงดูเด็ก มีผู้เข้าร่วม ๒๘ คน

ช่วงปี พ.ศ. ๒๕๕๙ มีเด็กที่ออกจากบ้านทานตะวัน จ�ำนวน ๑๐ คน

• กลับคืนสู่ครอบครัว จ�ำนวน ๗ คน • เข้าเรียนต่อโรงเรียนอนุบาลหมู่บ้านเด็กสานรัก มูลนิธิเด็ก จ�ำนวน ๓ คน


17


18


19

โรงเรียนอนุบาล หมู่บ้านเด็กสานรัก มูลนิธิเด็ก

๑. เด็กต้อง “ได้รับการยอมรับนับถือ”

ในสภาพที่แตกต่างไปจากผู้ใหญ่ เราต้องยอมรับเด็กใน ลักษณะเฉพาะของแต่ละคน เนื่องจากเด็กแต่ละคนมี ความแตกต่างกันทั้งความสามารถและความต้องการ ตามธรรมชาติ การสอนจึงต้องสัมพันธ์กบั พัฒนาการตาม ความต้องการของเด็ก


20

๒. เด็กมี “จิตซึมซับ” เด็กเหมือนฟองน�ำ้ที่ซึมซับ

ข้อมูลจากสิง่ แวดล้อม และใช้จติ ในการหาความรูแ้ ละจะซึมซับ เอาสิง่ ต่างๆ เข้าไปในจิต ( The absorbent mind ) การพัฒนา ของจิตซึมซับมีระดับที่ท�ำไปโดยรู้สึกตัวและไม่รู้สึกตัว ตั้งแต่ เกิด จนถึง ๓ ขวบ ซึ่งเป็นช่วงที่จิตซึมซับโดยไร้ความรู้สึก จะ เป็นการพัฒนาประสาทในการเห็น การได้ยิน การลิ้มรส การ ดมกลิ่น และการสัมผัส


21

๓.“ช่วงเวลาหลักของชีวิต”เป็นช่วงเวลาที่

ส�ำคัญที่สุดส�ำหรับการเรียนรู้ในระยะแรกเป็นช่วงพัฒนาสติ ปัญญา เด็กสามารถเรียนทักษะเฉพาะอย่างได้ดี ครูต้องช่าง สังเกตและใช้ประโยชน์จากช่วงเวลานี้ในการจัดการเรียน การสอนให้สมบูรณ์ที่สุด

๔. เชื่ อ ว่ า เด็ ก จะเรี ย นรู ้ ไ ด้ ดี ที่ สุ ด ใน “สภาพ แวดล้อม” ที่ได้ตระเตรียมเอาไว้อย่างมีจุดหมาย การจัด เตรี ย มสิ่ ง แวดล้ อ มเช่ น นี้ จ ะท� ำ ให้ เ ด็ ก ได้ มี อิ ส ระจากการ ควบคุมของผู้ใหญ่และท�ำกิจกรรมต่างๆ ได้ตามความคิดของ ตนเองบ้าง

๕.“การศึกษาด้วยตนเอง”เมื่อเด็กมีอิสระใน

สิ่งแวดล้อมที่จัดเตรียมไว้อย่างสมบูรณ์การมีอิสระจะเป็น เส้นทางไปสู่การศึกษารู้ระเบียบวินัยของชีวิตโดยมีอิสระ ภาพในการท�ำงานด้วยตนเองและรู้จักแก้ไขข้อบกพร่องของ ตนเอง


22

จุดมุ่งหมายของการศึกษาแบบมอนเตสซอรี่ คือ ช่วยพัฒนาหรือให้เด็กมีอิสระในด้านบุคลิกภาพ ในวิถีทางต่างๆ อย่างมากมาย สิ่งแวดล้อมของโรงเรียนระบบมอนเตสซอรี่ คือ การจัดระบบเพื่อสะท้อนถึงศักยภาพที่แท้จริง และความต้องการของเด็ก เพื่อเด็กจะได้พัฒนา บุคลิกภาพของเขา


23

หลักสูตรพื้นฐานส�ำหรับเด็กอายุ ๓ ถึง ๖ ขวบ แบ่งเป็น ๓ กลุ่มใหญ่ คือ ๑. การศึกษาทางด้านทักษะกลไก (Motor Education) ๒. การศึกษาทางด้านประสาทสัมผัส (Education of the Senses) ๓. การตระเตรียมส�ำหรับการเขียนและ คณิตศาสตร์ (Preparation for Writing and Arithmetic)


24

การจัดการเรียนการสอน แบบมอนเตสซอรี่

เชื่อว่าเด็กเล็กควรจะเรียนด้วยร่างกายทั้งหมด โดยเน้นการ ฝึกประสาทสัมผัส ด้วยกิจกรรมหรืองานที่ให้เด็กท�ำจะต้องมีความ หมาย อุปกรณ์การเรียนต้องวางรูปแบบเอาไว้ให้เป็นไปตามขัน้ ตอน งานจะกระตุ้นให้เด็กท�ำงานต่อจนเสร็จ การเขียนเป็นจุดรวมของ การเห็น การได้ยิน และการสัมผัส การแสดงออกทางการเขียนจะ ผ่ า นขั้ น ตอนต่ า งๆ จากการสั ม ผั ส รู ป ทรงเลขาคณิ ต สั ม ผั ส รู ป พยัญชนะ สระ จากบัตร ตัวอักษร กระดาษทราย


25


26

สรุปผลการเรียนการสอน

ห้องเตรียมอนุบาล (อนุบาล ๑) จ�ำนวน ๑๑ คน ผู้ชาย ๑๐ คน ผู้หญิง ๑ คน

การจัดการเรียนการสอนแบ่งเด็กออกเป็น ๓ กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ ๑ พัฒนาการตามวัย จ�ำนวน ๕ คน เด็กมีปัญหาเรื่องการพูดไม่ชัด จ�ำนวน ๓ คน กลุ่มที่ ๒ พัฒนาการตามวัย (พูดช้า เคลื่อนไหวช้า) จ�ำนวน ๒ คน กลุ่มที่ ๓ เด็กพิเศษ จ�ำนวน ๑ คน


27

การจัดการเรียนการสอน (ช่วงวัย ๓-๔ ขวบ)

เน้นการใช้ กล้ามเนื้อมือมัดเล็ก เป็นส่วนมากและกิจกรรมในชีวิต ประจ�ำวันโดยใช้อปุ กรณ์มอนเตสซอรีด่ า้ นประสบการณ์ชวี ติ มาใช้ในห้องเรียน เช่น การร้อยลูกปัดใหญ่กับเชือกรองเท้า ปั้นดินน�ำ้มัน ตักถั่วแดงใส่ขวด ตัด กระดาษ ฉีกกระดาษ เจาะกระดาษ และการแต่งกายตัวเองกิจกรรมที่น�ำมา สอน นอกจากจะพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กแล้วยังช่วยพัฒนา ด้านอารมณ์ สมาธิสติปัญญา และ ด้านสังคม ของเด็กอีกด้วยส�ำหรับเด็กที่มีปัญหาเรื่อง การพูดและการออกเสียงไม่ชัดจะให้ฝึกอ่านออกเสียงกับครูผู้ช่วย โดยสอน อ่านบัตรค�ำ อ่านประกอบภาพพยัญชนะไทย ก-ฮ เพือ่ สร้างทักษะ ด้านภาษา และ การออกเสียง ให้ถูกต้องและชัดเจน


28

ห้องเรียนประถมศึกษาตอนต้น จ�ำนวน ๑๒ คน (ผู้หญิง ๘ คน/ผู้ชาย ๔ คน)

การจัดการเรียนการสอนแบ่งเด็กออกเป็น ๓ กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ ๑ เด็กประถมศึกษาปีที่ ๒ พัฒนาการตามวัย จ�ำนวน ๔ คน กลุ่มที่ ๒ เด็กประถมศึกษาปีที่ ๑ จ�ำนวน ๕ คน (มีเด็ก ๑ คนที่โรคประจ�ำตัว “ไฮเปอร์” แต่สามารถเรียนรู้ได้ตามวัย และมีเด็ก ๑ คน อายุ ๙ ขวบ แต่มีพัฒนาการ เท่ากับเด็กอายุ ๕ ขวบ แต่สามารถเรียนรู้ได้ตามระดับของพัฒนาการ) กลุ่มที่ ๓ เด็กอนุบาลปีที่ ๓ มีพัฒนาการเรียนรู้เร็วสามารถเรียนเนื้อหาของเด็ก ประถมต้นได้ จ�ำนวน ๓ คน


29

การจัดการเรียนการสอน ครูประจ�ำชัน้ จัดการเรียนการสอนเป็นรายบุคคล โดยดูจาก ระดับพัฒนาการ ของเด็ก จะจัดท�ำและเตรียมสือ่ การเรียนการสอนให้เหมาะกับเด็กคนนัน้ ใน ช่วงแรกครูประจ�ำชั้นจะใช้อุปกรณ์มอนเตสซอรี่ เพื่อให้เด็กได้ลงมือท�ำและ เป็นการเรียนรู้จาก รูปธรรมไปสู่นามธรรม จึงท�ำให้เด็กๆ เข้าใจเนื้อหาที่ ตนก�ำลังเรียนอยู่ได้ง่ายขึ้น การพัฒนาด้านการอ่าน ครูผู้ช่วยจะท�ำหน้าที่เป็น คลีนิกการอ่าน เพื่อช่วยเด็กในการอ่านหนังสือ โดยใช้สื่อประเภทแบบเรียน บทความ นิทาน สัน้ ๆ ให้เด็กได้เลือกอ่าน ครูผชู้ ว่ ยจะบันทึกผลทุกครัง้ เพือ่ ดูพฒ ั นาการของเด็ก แต่ละคน


30

กิจกรรมเสริมทักษะชีวิต ฝึกว่ายน�้ำ เพื่อเป็นการป้องกันอุบัติภัยทางน�้ำ โดยมีครูผู้สอน

จ�ำนวน ๒ คน มีนักเรียนกลุ่มละ ๑๒ คน โดยแบ่งการฝึกออกเป็น ๓ กลุ่มใหญ่ คือ

๑. กลุ่มเด็กอายุ ๓ - ๔ ขวบ (เตรียมความพร้อม) ๒. กลุ่มเด็กอายุ ๕ - ๖ ขวบ (ฝึกทักษะ) ๓. กลุ่มเด็กอายุ ๖ - ๘ ขวบ (ฝึกความช�ำนาญ)


31 โครงการเพือ่ นช่วยเพือ่ น ให้เด็กได้เรียนรูเ้ รือ่ งของการแบ่งปัน

รู้จักเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ และเห็นอกเห็นใจผู้อื่น หากเด็กได้ฝึกท�ำสิ่งเหล่านี้ จนเป็นนิสัย เมื่อพวกเขาเติบโตขึ้นก็จะเป็นผู้ใหญ่ที่ร่วมรับผิดชอบต่อ สังคม ที่ผ่านมามีการจัดกิจกรรม “โครงการเพื่อนช่วยเพื่อน” รวม ๔ ครั้ง กับ ๔ โรงเรียน ได้แก่ รร.บ้านรางสายบัว รร.วัดสวนส้ม (ชื่นสินธุ์อนุสรณ์) รร.บ้านด�ำเนินสะดวก (กิมลี้มณีฉาย) จ.สมุทรสาคร และรร.บ้านหนองบัว จ.มุกดาหาร


32 โครงการพาเด็กไปวัด ท�ำให้เด็กได้เรียนรู้วิถีชีวิตของชาวพุทธ

เช่น การตักบาตร การถวายสังฆทาน การฝึกสมาธิ อีกทั้งยังได้บริจาค ทาน เช่น การให้อาหารปลา รวมถึงได้บ�ำเพ็ญประโยชน์ เพื่อให้เด็กได้ ซึมซับความเมตตา กรุณา และเรียนรู้การท�ำความดีผ่านกิจกรรม อีก ทัง้ ยังเชือ่ มความสัมพันธ์ของครอบครัวไทยทีม่ วี ดั เป็นทีย่ ดึ เหนีย่ วจิตใจ อีกด้วย

โครงการงานวั ฒ นธรรม กิจกรรมงานวัฒนธรรมท�ำให้เด็ก

สนุกสนานและตื่นเต้นกับการได้สวมใส่ผ้าไทย เด็กช่วยกันจัดเตรียม อาหารและเครื่องดื่ม จัดสถานที่และการแสดง เป็นกิจกรรมที่สร้าง ความสัมพันธ์ระหว่างเด็กและผู้ใหญ่ได้เป็นอย่างดี

โครงการพาลูกซื้อหนังสือ/กิจกรรมรักการอ่าน ที่ท�ำต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๘ เด็กทุกคนชอบและให้ความสนใจ กับการพาไปเลือกซื้อหนังสืออ่านเองเป็นวิธีการนี้จะท�ำให้เด็กคุ้นเคย กับการอ่าน เพราะร้านหนังสือเป็นสถานทีป่ ลูกฝังเจตคติทดี่ ตี อ่ การอ่าน ให้แก่เด็กได้เป็นอย่างดี สิ่งส�ำคัญ คือ เด็กได้มีโอกาสเรียนรู้ชีวิต จาก ร้านหนังสือ เช่น วิธีการเลือกหนังสือหรือการซื้อหนังสือ เป็นต้น


33


34 โครงการวิถีโยคะส�ำหรับเด็กเล็ก

เพื่อให้เด็กมีสุขภาวะที่ดีในทุกด้านทั้งทัศนคติ อารมณ์ การรับรู้ทางด้านสมอง และระบบประสาท มีแนวทางในการสอน ดังนี้ หัวข้อที่ ๑ รู้สึกตัวเอง การมีสมาธิในการเรียน การผ่อนคลาย สติ และปัญญา หัวข้อที่ ๒ ลมหายใจ อารมณ์ จิตใจ หัวข้อที่ ๓ การสอนจริยธรรมในใจเด็ก การมีศีล มีวินัยและการ อยู่ร่วมกับผู้อื่น หัวข้อที่ ๔ ท่าโยคะอาสนะส�ำหรับเด็ก


35

กิจกรรมพละศึกษา(เทควันโด) เป็น

กี ฬ าที่ ส อนให้ ผู ้ เ ล่ น มี ค วามสุ ภ าพ รู ้ จั ก อ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้สูงอายุ เพราะในกีฬา เทควั น โดผู ้ ฝ ึ ก จะต้ อ งให้ ค วามเคารพต่ อ อาจารย์ผู้สอน และตามสายระดับขั้น รุ่นพี่ รุ่นน้อง


36

กิจกรรม Cooking Day

การจัดประสบการณ์การท�ำอาหาร (Cooking experience) เด็กได้นำ� ทักษะการ หั่น การตัด การต�ำ การม้วน การชิมรส การ ล้าง การท�ำความสะอาดจากห้องเรียนมาใช้ ในกิจกรรมนี้ได้เป็นอย่างดี


37

โครงการฐานการเรียนรู้ เป็นกิจกรรม

ฐานเรียนรูแ้ บบบูรณาการ เป็นเรือ่ งทีเ่ กิดขึน้ ใน ชีวิตจริง และเชื่อมโยงไปสู่วิชาเรียน โดยจะมี ครูเป็นผู้ให้ค�ำแนะน�ำ เมื่อเด็กต้องการและ ให้การสนับสนุนอย่างเหมาะสม


38


39

มีเด็กที่ต้องเข้ารับการรักษา บ�ำบัดและฟื้นฟู ดังนี้ • เข้ารับการตรวจและวินิจฉัยด้านจิตเวชเด็ก ๑ คน • เข้ารับการตรวจและวินิจฉัยด้านพัฒนาการเด็ก ๖ คน • เข้ารับการตรวจและวินิจฉัยด้านผิวหนัง ๓ คน

การส่งต่อเด็ก กรณีเด็กเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ จ�ำนวน ๔ คน แต่ผู้ปกครองไม่สามารถรับเด็กกลับไป เลี้ยงดูเองได้ จึงต้องส่งเด็กต่อให้กับหน่วยงานอื่น ดังนี้ • มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก คลองสาม จ.ปทุมธานี จ�ำนวน ๑ คน • มูลนิธิธรรมะจารินี จ.ราชบุรี จ�ำนวน ๑ คน • โรงเรียนหมู่บ้านเด็ก จ.กาญจนบุรี จ�ำนวน ๒ คน • มูลนิธิดวงประทีป จ.กาญจนบุรี จ�ำนวน ๑ คน


40

โรงเรียน

หมู่บ้านเด็ก


41

จ�ำนวนเด็กที่อยู่ในอุปการะ รวม ๑๑๙ คน (ชาย ๖๐ คน เด็กหญิง ๕๙ คน) แยกประเภท ดังนี้ • • • • • •

ต่างด้าว จ�ำนวน ๗ คน เสี่ยงถูกทารุณกรรม จ�ำนวน ๑๑ คน ถูกทอดทิ้ง จ�ำนวน ๓๙ คน เร่ร่อน จ�ำนวน ๒ คน ไร้รากเหง้า จ�ำนวน ๑ คน ครอบครัวยากจน จ�ำนวน ๕๙ คน

ซึ่ ง ในช่ ว งที่ ผ ่ า นมาทางโรงเรี ย นได้ ติ ด ตามหา ครอบครัวให้กับเด็ก และมีเด็กหลายคนได้พบกับครอบครัว ที่แท้จริง ทางครอบครัวก็มีความพร้อมที่จะรับเด็กกลับไป อยู่ด้วย จ�ำนวน ๑๑ คน


42


43


44 ด้านสุขภาพทางสมองและจิตวิทยา เด็ ก ได้ รั บ การตรวจวั ด ทั้ ง ไอคิ ว และพฤติ ก รรมที่ พ บว่ า มี แสดงออกทีเ่ ป็นปัญหากับตัวเด็กเองและผูอ้ นื่ จะให้แพทย์ตรวจ วินิจฉัย เพื่อเข้ารับการรักษาและรับการแก้ไขได้ถูกวิธีตาม ประเภทของอาการ


45 งานแนะแนวการเรียนและอาชีพ เพือ่ ให้เด็กเห็นศักยภาพของตนเอง ควบคูไ่ ปกับการพัฒนาเด็ก ให้เกิดความพร้อมในทุกด้านทั้งทาง ร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา รวมทั้งการพัฒนาด้านความคิด ให้เด็ก รูจ้ กั การตัง้ ค�ำถามในแต่ละอาชีพและรูจ้ กั ค้นหาข้อมูลเพิม่ เติม เพื่อช่วยในการตัดสินใจเลือกอาชีพที่ตนเองสนใจและมีความ ถนัด


46

โรงเรียนมีการก�ำหนดเกณฑ์ ในการเรียนต่อไว้ ดังนี้

๑. ระดับมัธยมต้น (เรียนข้างนอก) ต้องมีเงินจากการท�ำงาน จ�ำนวน ๑๐,๐๐๐ บาท ๒. ระดับมัธยม (กศน.) ต้องมีเงินจากการท�ำงาน จ�ำนวน ๔,๐๐๐ บาท ๓. ระดับมัธยม (ปลาย) ต้องมีเงินจากการท�ำงาน จ�ำนวน ๒๐,๐๐๐ บาท ๔. ระดับปริญญาตรี ต้องมีเงินจากการท�ำงาน

จ�ำนวน ๔๐,๐๐๐ บาท

มีการสรุปยอดเงินรายได้จากการท�ำงานร่วมถึงการ เบิกถอน ในทุกๆ วันที่ ๒๕ ของทุกเดือน


47

งานกิจกรรมพัฒนาเด็ก เทควันโด

เด็กได้เรียนรู้ทักษะการป้องกันตัว รู้จักระเบียบ วินยั และเป็นการสร้างความมัน่ ใจ กลุม่ เด็กทีเ่ ข้าร่วมจะคัดกรอง เด็กด้านพฤติกรรมที่บกพร่องทางอารมณ์ สังคม สติปัญญา ซึง่ เป็นกลุม่ เด็กทีค่ วรได้รบั การพัฒนา และถ้าเด็กคนไหน มีการพัฒนาฝีมือถึงชั้นลงแข่งขันก็จะได้รับการสนับสนุนตามที่ เด็กต้องการ มีเด็กเข้าร่วมฝึกซ้อมเป็นประจ�ำ รวม ๑๗ คน และ ที่ผ่านมามีเด็กเข้าแข่งขันการ “ร�ำพุมเซ่” ได้รับเหรียญทอง จ�ำนวน ๑๖ คน


48 ดนตรี

ปัจจุบันมีเด็กที่พัฒนาฝีมือการเล่นดนตรีได้ดี ขึ้น ทั้ง กีต้าร์ กองชุด เบส คีย์บอร์ด และร้องเพลง เด็กสามารถจับจังหวะของเครือ่ งดนตรีทงั้ หมดได้พร้อม กัน มีการสังเกตและแก้ไขข้อผิดพลาดของตัวเอง มี สมาธิในการเล่นและตั้งใจฝึกซ้อมอย่างสม�่ำเสมอ เด็ก จะได้ฝึกเล่นดนตรีในหลายๆ รูปแบบ ซึ่งจะมีการสอน ทุกวันอาทิตย์มีเด็กเข้าร่วม รวม ๘ คน


49

งานการเรียนการสอน (ฝ่ายประถมศึกษา) ด้านการบริหารวิชาการ “พัฒนาและปรับปรุงแหล่งเรียนรู”้ จัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียน ให้เด็กสามารถศึกษาค้นคว้าเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและครูสามารถน�ำ มาใช้ประกอบการสอนได้ ท�ำให้เด็กมีความสุขสนุกกับการเรียนและ เข้าใจในเนื้อหาที่สอนได้ดีขึ้น “จัดกระบวนการเรียนรูแ้ บบมีสว่ นร่วม” เป็นการจัดการเรียนรูแ้ บบ สองทาง ทางแรก คือ การเรียนรูจ้ ากภายนอก คือ เป็นการเรียนจาก สิง่ ต่างๆ รอบตัว เพือ่ พัฒนาวิธคี ดิ วิธกี ารแก้ปญ ั หา เป็นการเพิม่ พูน ความรู้และฝึกฝนทักษะในด้านต่างๆ และ กระบวนการเรียนรู้ ภายใน คือ เพือ่ ให้เด็กได้รจู้ กั ตนเอง การจัดกิจกรรมให้ผเู้ รียนได้รจู้ กั ที่แสวงหาความรู้ต่างๆ ที่มีความหมายต่อตนเองจากภายนอกและ เชื่อมโยงน�ำความรู้เหล่านั้นมาสร้างประโยชน์ให้เกิดขึ้นแก่ตนเอง


50

เด็ ก ได้ เ รี ย นรู ้ อ ะไร การเรียนรู้เริ่มต้นจาก

ประสบการณ์ ต รงและต่ อ ไปที่ ก ารเรี ย นด้ ว ยการค้ น หาข้ อ มู ล ใหม่ๆ ผ่านการอ่าน การฟัง และลงมือปฏิบัติ • เรียนรูผ้ า่ นงานพัฒนาชุมชน เด็กได้เรียนรู้ วิธคี ดิ มุมมองโลก การ แก้ปัญหา และรู้จักความรับผิดชอบในหน้าที่ของตนเอง • กิจกรรมปลูกผัก เป็นการผลิตแหล่งอาหารปลอดภัยไว้บริโภคเอง เมื่อเหลือจะน�ำไปขายให้กับโรงครัว และก็น�ำมาแปรรูปเพื่อเป็นการ ถนอมอาหาร • กิจกรรมเลี้ยงสัตว์ เป็นการเรียนรู้เรื่องการตลาด รู้จักท�ำรายรับ รายจ่าย • การประชุมสภาโรงเรียน รู้จักการร่วมแก้ปัญหาในโรงเรียนต่อ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทุกคนสามารถร่วมแสดงความคิด เรียนรู้ที่จะ เป็นผูฟ้ งั อย่างเคารพในความคิดเห็นของผูอ้ นื่ เพือ่ หาทางออกในการ แก้ไขปัญหาร่วมกัน


51


52

ผลการด�ำเนินงาน • นักเรียนชั้น ป.๑ – ป.๓ มีความรับผิดชอบดูแลตนเองรู้จัก ท�ำงานบ้าน ท�ำอาหารจัดเก็บอุปกรณ์ของใช้ส่วนตัว • นักเรียนชั้น ป.๓ - ป.๖ รู้จักท�ำบัญชีรายรับ-รายจ่ายและ สรุปงบประมาณที่ใช้ จัดการผลผลิตที่ได้จากการท�ำงาน รู้จัก แปรรูปและจ�ำหน่ายเพื่อสร้างรายได้


53

• นักเรียนชั้น ป.๕ - ป.๖

สามารถศึกษาหาข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เพื่อคิดค้นหาสูตร อาหารอินทรีย์ให้สัตว์ ประยุกต์ใช้วัตถุดิบที่มีในโรงเรียน เช่น ต้น กล้วย ข้าวที่เหลือ เศษผัก ข้าวเปลือก มาท�ำอาหารให้เป็ดและไก่ เป็นการลดต้นทุนในการเลี้ยงสัตว์ มีผลผลิตเพียงพอต่อการบริโภค และจ�ำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ ท�ำให้เด็กแต่ละคนตนเองก็มีเงินออม ไว้เพื่อศึกษาต่อ นักเรียนชัน้ ประถมศึกษา จะชอบฟังนิทานและเรือ่ งเล่าสนุกๆ เด็กได้ใช้จนิ ตนาการสร้างเรือ่ งราวจากตนเองและสิง่ รอบตัว ชอบการ ผจญภัยที่น่าตื่นเต้น เร้าใจ ใฝ่ฝันที่จะเป็นคนเก่งและคนดี ครูจึงใช้ วิธีสร้างการเรียนรู้เข้าไปในกิจวัตรประจ�ำวันของเด็กประถมตั้งแต่ การเข้าแถวเคารพธงชาติ สวดมนต์ ระลึกถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เพื่อเป็นการเตรียมสมาธิก่อนท�ำกิจกรรม เป็นการปรับ สมดุลให้เกิดการประสานงานของสมองซีกซ้ายและซีกขวา ด้วย กิจกรรมโยคะ เบรนยิม และการสนทนายามเช้า เป็นการฝึกฟัง-พูด และยังเป็นการสร้างความสนิทสนมและไว้วางใจระหว่างครูกับ นักเรียน


54

งานด้านการเรียนการสอน (ฝ่ายมัธยมศึกษา) โครงสร้างหลักสูตร


55

โครงการทักษะอาชีพ • • • •

โครงการเลี้ยงหมู โครงการปลูกข้าวเหนียวด�ำ(ข้าวก�่ำใหญ่) โครงการเลี้ยงปลาดุก โครงการเพาะเห็ด


56

กิจกรรมส่งเสริม ความสามารถในการคิด เพือ่ ให้เด็กมีชวี ติ ทีด่ งี าม การฝึกฝนให้มคี วามสามารถในการคิด คือ รู้จักคิดหรือคิดเป็น จะเป็นปัจจัยส�ำคัญที่จะน�ำไปสู่ความรู้ ความเข้าใจ และรู้จักแสดงความคิดเห็น เชื่อในสิ่งที่ถูกต้อง เรียกว่า “สัมมาทิฏฐิ” เป็นหลักน�ำชีวิตไปสู่สิ่งที่ดีงาม และการ พัฒนาสัมมาทิฏฐิ เป็นการพัฒนาปัญญาที่เป็นแกนกลางของ กระบวนการพัฒนาคน ที่เรียกว่า “การศึกษา”


57 • เรียนรู้เรื่องประโยชน์จากสมุนไพร งานสมุนไพรแห่งชาติครั้งที่ ๑๓ • อบรมการท�ำบัญชีครัวเรือนและ การวิเคราะห์สถานะการเงิน ฝึกการ ท�ำบัญชี-วิเคราะห์การเงิน • อบรมเรื่องการจัดการแบบสหกรณ์ และการสร้างเครือข่าย • อบรมการผลิตภัณฑ์ถ่านและน�้ำส้ม ควันไม้ • อบรมการเลี้ยงไส้เดือนเพื่อก�ำจัด ขยะอินทรีย์ การท�ำปุ๋ยหมักโบกาฉิ การท�ำน�้ำหมักฮอร์โมนพืช โดย นาย วรเทพ ศุภวาสน์ นักวิชาการ ฝ่าย ชุมชนและผู้ด้อยโอกาส สวทช. • อบรมเรื่องพลังงานทางเลือก (เตา เผาขยะ) โดยคุณสมศักดิ์ วิหครัตน์ ส�ำนักงานพลังงานจังหวัดชัยนาท • อบรมการท�ำสวนไผ่การขยายพันธุ์ และการใช้ประโยชน์จากไผ่


58 กิจกรรมสร้างสรรค์เยาวชน ในโรงเรียนและนอกชุมชน ร่วมกิจกรรมงดเหล้าเข้าพรรษา ชวนกันมาอ่านสร้างสุข สนุกกับการเรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง

กิจกรรมผู้น�ำแนวใหม่แก่ ชุมชนผู้ด้อยโอกาส กระบวนการสื่อสร้างสรรค์ (HIP Project) ท�ำให้เด็กและ เยาวชนเข้าใจวิธีการและเสริมสร้างทักษะการสื่อสารอย่าง สร้างสรรค์ผา่ นการใช้สอื่ โซเซียลมีเดีย และยังเป็นการเตรียม ความพร้อมให้กบั เด็กและเยาวชนเพือ่ รับมือกับโลกสมัยใหม่ ผ่านการสร้างประสบการณ์เรียนรู้ท่ีเชื่อมโยงงานศิลปะกับ ชีวิตและสังคม จนน�ำไปสู่ความส�ำเร็จและความสุขในการ ด�ำเนินชีวิตอย่างเท่าทันตนเอง เท่าทันสังคม และเท่าทันสื่อ


59

กิจกรรมเรียนรู้โลกกว้าง ผ่านการดูหนังและร่วมแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ใน “ช่วงคุยหนัง รายการสะพานสายรุ้ง”


60

งานด้านการเรียนการสอน (ห้องปฏิบัติการใช้มือหรืออาชีพ) งานฝ่ายอาชีพ เน้นให้นักเรียนได้เลือกฝึก

อาชีพตามความสนใจและเน้นเรือ่ งคุณภาพของ งานให้ได้มาตรฐาน โดยมีอาชีพให้เด็กได้เลือก เรียน ได้แก่ งานไม้ งานเฟอร์นิเจอร์ งาน ประดิษฐ์ เกษตร งานก่อสร้าง งานซ่อมรถ จักรยาน คอมพิวเตอร์


61

ด้ า นพั ฒ นาบุ ค ลากรครู ฝ ึ ก อาชี พ ดูงานการท�ำ ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ซึ่งครูได้น�ำความรู้ที่ได้มาปรับปรุง รูปแบบผลิตภัณฑ์ที่โรงเรียนท�ำให้ดี และมีคุณภาพ และมีรูปแบบมีผลิตภัณฑ์ใหม่ที่น่าสนใจมากขึ้น

ส่วนด้านงานเผยแพร่ความรูส้ ชู่ มุ ชน ได้นำ�

ผลงานกระดาษสาที่ท�ำเป็นรูปช้าง ไปออกบูธที่ กศน. จังหวัด เป็นที่สนใจของคนที่มาเข้าชมงานอย่างมาก


62

งานห้องเรียนคอมพิวเตอร์ • ประถมศึกษาปีที่ ๒ ฝึกการใช้เมาส์ และคีย์บอร์ด ท�ำแบบฝึกหัด ระบายสีรูปอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และการใช้ อินเตอร์เน็ตเพื่อดูสารคดี • ประถมศึกษาปีที่ ๓ เรียนรู้ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ วิธีการใช้อินเตอร์เน็ต การค้นข้อมูลจาก google ศึกษาเทคโนสารสนเทศเบื้องต้น ฝึกพิมพ์สัมผัส • ประถมศึกษาปีที่ ๔ เรียนรู้การใช้งานเทคโนโลยี สารสนเทศ เว็บไซต์ ฝึกพิมพ์สัมผัส • ประถมศึกษาปีที่ ๕ เรียนรู้ในการใช้งาน free email การใช้งาน Microsoft word การหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต ฝึกพิมพ์สัมผัส • ประถมศึกษาปีที่ ๖ เรียนรู้การใช้งาน Microsoft word การสร้างงานจาก Microsoft word เช่น จดหมาย รายงาน ซองจดหมาย โปสเตอร์ เป็นต้น • การสอนอาชีพคอมพิวเตอร์ การเรียนรู้การแก้ปัญหาใน การซ่อมบ�ำรุงคอมพิวเตอร์ การใช้อุปกรณ์ เครื่องไม้ เครื่องมือ การเก็บรักษาและการดูแลอุปกรณ์ต่างๆ


63 งาน ๑ ไร่ ๑ แสน เรียนรู้การพึ่งตนเองแบบครบวงจรมีการปลูกข้าว เลี้ยงสัตว์บก สัตว์น�้ำ และการปลูกพืชสวนครัว โดยการใช้พื้นที่น้อยและคุ้มค่า และปี พ.ศ. ๒๕๕๙ มีรายได้จากผลผลิต รวม ๕๙,๖๐๘ บาท


64

โครงการ

ปฏิรูปการศึกษาเพื่อเด็กและชุมชน เครือข่าย “อาศรมสามเณร” และการจัดการศึกษาทางเลือกเด็กยากจน

ด�ำเนินงานภายใต้

ของชุมชน”

“ยุทธศาสตร์การเรียนรู้บนฐาน

เป็นการจัดการศึกษาทางเลือก ทีเ่ ป็นของชุมชน โดยชุมชน และเพือ่ ชุมชน ซึ่งในที่นี้หมายถึง เด็ก เยาวชน สมาชิกชุมชน และผู้ที่มี ส่วนในการจัดการศึกษา เช่น ครู ครูภูมิปัญญา จิตอาสา และ ผู้น�ำชุมชนเพื่อจัดการศึกษาและสร้างกระบวนการเรียนรู้ ในการ พัฒนาเด็กและเยาวชน ที่เหมาะสมกับบริบทชุมชนตนเอง โดยน�ำ องค์ความรู้ที่เอาชีวิตเป็นตัวตั้ง เรียนรู้ในวิถีชีวิตจริง ท�ำเป็น คิดเป็น จัดการเป็น และรู้จักการอยู่ร่วมกัน


65 เป้าหมายการด�ำเนินงาน

๑. การสร้างภาวะผู้น�ำแด่สามเณรในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนก

สามัญศึกษา ตามหลักสูตรการจัดการศึกษาทางเลือก “อาศรมสามเณร” การสร้างความมั่นคงทางอาหารในโรงเรียนและชุมชน สู่การสร้าง ภาวะผู้น�ำ และการพัฒนาการเรียนรู้แก่เด็กและเยาวชน การพัฒนาเด็กตามแนวพุทธธรรมด้วยการสนับสนุนให้วัดจัด กิจกรรมบรรพชาสามเณร บรรพชาสามเณรี บวชศีลจาริณี และ อบรมเยาวชนภาคฤดูร้อน

๒.

๓.


66

พื้นที่ด�ำเนินงาน

จังหวัดน่าน จ�ำนวน ๒ แห่ง ใน ๒ อ�ำเภอ ได้แก่

๑. โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดนิโครธาราม ต�ำบลป่าคา อ�ำเภอ ท่าวังผา จังหวัดน่าน เปิดสอนระดับ มัธยมศึกษาปีที่ ๑ – ๖ ควบคู่แผนกธรรมมีครู จ�ำนวน ๑๔ รูป/คน สามเณร ๑๓๙ รูป

๒.

โรงเรียนวัดดอนมงคลสันติสุขวิทยา ต�ำบลดู่พงษ์ อ�ำเภอ สันติสุข จังหวัดน่าน เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๑ – ๖ ควบคู่แผนกธรรมบาลีมีสามเณร ๗๑ รูป ผู้บริหารและครู ผู้สอน ๑๒ รูป/คน


67

เสริมสร้างภาวะผู้น�ำสามเณร สู่การเป็นศาสนทายาท จัดกิจกรรมเสริมสร้างภาวะผูน้ ำ� แด่สามเณรในรูปแบบการศึกษาทางเลือก หลักสูตร “อาศรมสามเณร” โดยจัดการเรียนรูบ้ นฐานของศาสนพิธแี ละ ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นกระบวนการฝึกฝนให้สามเณรได้มีทักษะชีวิต อาชีพ และการเป็นศาสนทายาท พันธกิจ จัดกระบวนการเรียนรู้บูรณาการที่มุ่งพัฒนาสามเณรให้มีภาวะผู้น�ำ พุทธธรรม พุทธศิลป์ พุทธเกษตร ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑

๒.จังหวัดกาญจนบุรี จ�ำนวน ๙ โรงเรียน ๑. โรงเรียนมัธยมเลาขวัญราษฎร์บ�ำรุง ต.เลาขวัญ อ.เลาขวัญ จ.กาญจนบุรี ๒. โรงเรียนบ้านหนองแสลบ ต.เลาขวัญ อ.เลาขวัญ จ.กาญจนบุรี ๓. โรงเรียนบ้านเขานางสางหัว ต.เลาขวัญ อ.เลาขวัญ จ.กาญจนบุรี ๔. โรงเรียนอนุบาลวัดเลาขวัญ ต�ำบลเลาขวัญ อ�ำเภอเลาขวัญ จ.กาญจนบุรี ๕. โรงเรียนบ้านหนองโสน ต.หนองโสน อ.เลาขวัญ จ.กาญจนบุรี ๖. โรงเรียนบ้านหนองตาก้าย ต.หนองนกแก้ว อ.เลาขวัญ จ.กาญจนบุรี ๗. โรงเรียนบ้านหนองไก่เหลือง ต.หนองนกแก้ว อ.เลาขวัญ จ.กาญจนบุรี ๘. โรงเรียนบ้านหนองเค็ด ต.หนองประดู่ อ.เลาขวัญ จ.กาญจนบุรี ๙. โรงเรียนบ้านหนองปรือ ต.หนองประดู่ อ.เลาขวัญ จ.กาญจนบุรี


68

การสร้างความมั่นคงทางอาหาร สู่ครอบครัวและชุมชนเข้มแข็ง

พัฒนาทักษะอาชีพให้แก่กลุ่มแกนน�ำเด็ก เยาวชน และชุมชน ภายใต้ชื่อ “ต้นกล้าเลาขวัญ...สวรรค์บ้านไพรหัวใจพอเพียง” โดยจัด กระบวนที่สร้างการคิดวิเคราะห์ และให้ตระหนักในเรื่องความมั่นคงทาง อาหาร เป็นการปลูกความคิด เสริมพฤติกรรม สร้างแหล่งกินเองได้อย่าง มีคุณภาพและด�ำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุขเมื่อพวกเขาเติบโต มีเด็กและเยาวชนเข้าร่วม จ�ำนวน ๑๐๐ คน จาก ๙ โรงเรียน

“ให้ความรู้ คู่ความคิด สู่การปฏิบัติ”


69


70

งานพัฒนาเด็กตามแนวพุทธธรรม

จัดให้มีการบรรพชาสามเณร สามเณรี และบวชศีลจาริณี ขึ้นในช่วงปิดภาค เรียน ระหว่างเดือนมีนาคม – เมษายน ของทุกปี เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีโอกาสได้ รับการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญาและจิตใจ จากการได้ศึกษาพระพุทธ ศาสนาผ่านการบรรพชา และเป็นโอกาสทางการศึกษาของเด็กผูช้ ายทีต่ อ้ งการเรียนใน ระบบการศึกษาของสงฆ์ในปี พ.ศ. ๒๕๕๙ มีวัดที่เข้าร่วมโครงการฯ จ�ำนวน ๑๕ วัด ๑ ศูนย์ปฏิบัติธรรม มีเด็กและเยาวชนเข้าร่วมกิจกรรม รวมทั้งหมด ๙๖๐ รูป/คน ดังนี้

• บวชเป็นพระภิกษุ จ�ำนวน ๑๑๗ รูป • บรรพชาเป็นสามเณร จ�ำนวน ๖๔๖ รูป และศึกษาต่อในระบบการ ศึกษาของสงฆ์ ๑๙๒ รูป • บรรพชาเป็นสามเณรี จ�ำนวน ๕ รูป • บวชเป็นศีลจาริณี จ�ำนวน ๑๙๒ คน


71

โครงการอุปการะเด็ก และทุนการศึกษาเพื่อเด็กยากไร้ในชนบท สนับสนุนทุนการศึกษาให้กับเด็กและเยาวชนที่มีฐานะความยากจน ไร้รัฐ ไร้สัญชาติ มีความประพฤติดี ตั้งใจเรียนและผลการเรียนอยู่ในระดับปานกลางการ สนับสนุนทุนการศึกษามีหลักเกณฑ์ช่วยเหลือ ดังนี้

• • • •

ประถมศึกษา ๒,๐๐๐ บาท/ปีการศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น ๓,๐๐๐ บาท/ปีการศึกษา มัธยมศึกษาตอนปลาย ๔,๐๐๐ บาท/ปีการศึกษา กรณีพิเศษ / พิจารณาตามความเหมาะสม


72

โครงการ

ศาลาห้องสมุดพริ้งพวงแก้ว


73

โครงการศาลาห้องสมุดพริ้งพวงแก้ว ตั้งอยู่ วัดบางประจันต์ฯ ต�ำบลลาดใหญ่ อ�ำเภอเมือง จังหวัด สมุทรสงคราม เพื่อด�ำเนินงานกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน และ ให้บริการห้องสมุดแก่คนทุกกลุ่ม เพศ และวัย โดยใช้พื้นที่ทั้ง ศาลาห้องสมุด บ้าน ชุมชน และโรงเรียน โดยจัดหาหนังสือ ที่เหมาะกับแต่ละช่วงวัยหรือตามความสนใจ เพราะการอ่าน เป็นการสร้างความสุข และเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพ ชีวิต ตลอดปี ๒๕๕๙ มีผู้เข้ามาใช้บริการศาลาห้องสมุด รวม ๒๖๙ คน มีสมาชิกใหม่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยเดือนละ ๒๐ คน เริ่ม ที่วัย ๔ - ๖๘ ปี (สมาชิกวัยผู้ใหญ่ มีจ�ำนวน ๒๐ คน) ผู้มาใช้ บริการอย่างต�ำ่ เดือนละ ๔๓ คน และสูงสุดถึง ๓๕๑ คน เฉลีย่ มีผู้มาใช้บริการวันละ ๑๕ คน หลังเวลาเลิกเรียนจะมีเด็กเข้า ห้องสมุดเป็นประจ�ำทุกวัน มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเรียนรูแ้ ก่เด็ก และเยาวชนในรูปแบบของการฝึกอ่าน เขียน ฟัง การพูดคุย เล่าเรื่อง การฝึกคิดวิเคราะห์ และท�ำกิจกรรมเรียนรู้เรื่องราว ภายในชุมชนของตนเอง เป็นการส่งเสริมให้เกิดการเข้ามาใช้ บริการศาลาห้องสมุดพริ้งพวงแก้ว


74


75

กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมภายในศาลาห้องสมุดพริ้งพวงแก้ว

๑. กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรูแ้ ละพัฒนาทักษะการอ่าน ช่วย เหลือเด็กที่มีปัญหาด้านการอ่านเขียน และกระตุ้นให้เด็กอ่าน และเขียนหนังสือได้ดีขึ้น ๒. กิจกรรมศิลปะ เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความคิดสร้างสรรค์ สอดแทรกไปกับการอ่านเขียน ๓. กิจกรรมท�ำอาหาร เป็นการเรียนรูท้ สี่ อดคล้องกับธรรมชาติ ของเด็ก เด็กได้ลงมือท�ำ ได้รับประทาน และเป็นทักษะความรู้ ที่เด็กน�ำไปใช้ในชีวิตประจ�ำวันได้ ๔. กิจกรรมชวนเพื่อนอ่าน ช่วงปิดเทอมเป็นช่วงที่เด็กมีเวลา ว่าง ทางศาลาห้องสมุดจะน�ำหนังสือการ์ตูนความรู้มาเพิ่มเติม เพื่อให้เด็กในโครงการตู้หนังสือ และเด็กในชุมชน ได้มีหนังสือ อ่านในช่วงปิดเทอม


76

กิจกรรมอ่านเนื่องในวันเด็ก ปี ๒๕๕๘ เป็นครั้งแรกของการจัด กิจกรรมวันเด็ก มีเด็กทัง้ ในชุมชนและชุมชนใกล้เคียง เข้าร่วม ๖๐ คน ท�ำให้ผปู้ กครองเด็กได้รบั รูก้ ารท�ำงานของห้องสมุดเป็นผลให้ มีเด็กเข้ามาอ่านหนังสือในห้องสมุดเพิ่มขึ้น กิจกรรมค่ายส่งเสริมการอ่าน จัดช่วงปิดภาคเรียนปีละ ๒ ครั้ง ของเดือนเมษายน “ค่ายอ่านสนุก...สุขกับแหล่งเรียนรู้ชุมชน” เป็นค่ายกลางวัน ระยะเวลา ๒ วัน มีเด็กเข้าร่วม ๓๒ คน เด็กจะ ได้ไปศึกษาแหล่งเรียนรู้ในชุมชน ผลจากกิจกรรมท�ำให้เด็กและ เยาวชนเกิดความภูมิใจและเห็นคุณค่าในชุมชนของตนเอง


77

กิจกรรมส่งเสริมการอ่านในโรงเรียนวัดบางประจันต์ฯ รวม ๕ ครัง้ มีเด็กเข้าร่วม ๖๐ คน การจัดกิจกรรมเป็นการพัฒนา ทักษะด้านภาษาในทุกด้าน เพือ่ ช่วยเหลือให้เด็กได้ ฝึกอ่าน พูด ฟัง เขียน การตอบค�ำถาม การแต่งเรื่อง การสรุปความและรู้จัก วิเคราะห์เรือ่ งราว เด็กได้แสดงความคิดเห็น ผลจากจัดกิจกรรม พบว่าเด็กมีปญ ั หาด้านพัฒนาการและด้านพฤติกรรมทีส่ ง่ ผลต่อ การเรียนรูใ้ นการอ่านเขียน การได้มโี อกาสใกล้ชดิ กับเด็ก น�ำมา สู่ความร่วมมือกับทางโรงเรียนในการแก้ปัญหาเด็กร่วมกัน จัดบริการอ่านที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�ำบลลาดใหญ่ อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม การน�ำตะกร้าหนังสือไปวางหมุนให้ กับ รพ.สต.อย่างสม�่ำเสมอ และในช่วงปิดภาคเรียนจะเพิ่มเติม หนังสือส�ำหรับเด็กและเยาวชนประเภทการ์ตูนความรู้ เพื่อให้ เด็กที่อยู่รอบๆ บริเวณ รพ.สต. และลูกหลานของเจ้าหน้าที่ได้ อ่าน


78


79

สนับสนุนจัดหาหนังสือ สื่อ และเครื่องมือ เพื่อสนับสนุน การเรียนรู้ จัดหาหนังสือเพิ่มเข้าห้องสมุดตามความสนใจ และขอให้ผู้ใช้บริการช่วยจัดซื้อด้วยบางส่วน ส่วนใหญ่จะ ได้หนังสือจากการบริจาค บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที เพื่อค้นหา ข้อมูล จะเปิดให้บริการ wi-fi ในช่วงบ่ายวันอาทิตย์ มีเด็ก นักเรียนอายุตั้งแต่ ๑๒-๒๐ ปี มาขอใช้บริการเพื่อสืบค้น ข้อมูล ส่วนผูใ้ หญ่วยั ท�ำงานจะใช้บริการในวันหยุด ประมาณ ครั้งละ ๒-๓ ชั่วโมง งานพัฒนาบุคลากร เข้าร่วมสัมมนาเชิงปฏิบตั กิ าร “หนังสือ และการอ่านเครือ่ งมือพัฒนาทักษะทางสมอง” Executive Functions (EF) ในเด็กปฐมวัย สถาบันอาร์แอลจี (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป)


80

“การอ่าน” คือ กระบวนการเรียนรู้ ที่ส�ำคัญของเด็ก มูลนิธิเด็กจึงมุ่งส่ง เสริ ม ให้ ก ลุ ่ ม เด็ ก ที่ มี ฐ านะยากจน และรั ก การอ่ า นได้ โ อกาสเข้ า ถึ ง “หนังสือดี” ได้มีหนังสือเป็นของตัว เองและเรี ย นรู ้ ที่ จ ะแบ่ ง ปั น ให้ กั บ เพื่อนและคนในชุมชนได้อ่านด้วย


81


82


83

มีการจัดกระบวนการพัฒนาทักษะ “บรรณารักษ์” ให้กับเด็กและเยาวชนของโครงการฯ ผ่านการ กิจกรรม “ค่ายเยาวชน...ฅนรักการอ่าน” และ “ค่ายเส้นทางสร้างบรรณารักษ์น้อยสู่ชุมชน” เพื่อบ่มเพาะเมล็ดแห่งปัญญาและการเรียนรู้ โดย เชื่อว่าการอ่านจะท�ำให้เด็กได้ค้นหาแรงจูงใจที่ ส�ำคัญที่น�ำไปสู่การพัฒนาตนเองได้เป็นอย่างดี และยังเป็นเครือ่ งมือทีส่ ำ� คัญทีช่ ว่ ยบ่มเพาะอุดมคติ ที่ดีงาม เมื่อเด็กใฝ่รู้ ใฝ่ดี และมีความสุข สิ่งเหล่านี้ จะเติมเต็มให้เด็กเกิดแรงบันดาลใจทีเ่ ป็นพลังเล็กๆ น� ำ ไปสู ่ ก ารเปลี่ ย นเมื อ งจนเกิ ด เป็ น สั ง คมแห่ ง ปั ญ ญาที่ เ ท่ า ทั น ตนเองและเท่ า ทั น สั ง คมที่ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา


84 พื้นที่ด�ำเนินงาน รวม ๒๗ จังหวัด ๖๖ อ�ำเภอ ๑๒๖ ต�ำบล ๒๐๑ โรงเรียน มีเด็กได้มอบตูห้ นังสือ จ�ำนวน ๙๔๙ คน/ตู้ หนังสือ ๗๐,๙๐๘ เล่ม และด�ำเนินการเติมหนังสือ รอบ ๒ อีก ๑๖,๕๕๖ เล่ม


85 กิจกรรมมอบตู้หนังสือ พ.ศ. ๒๕๕๙ จ�ำนวน ๓๓๘ ตู้/คน รวม ๔๔ โรงเรียน หนังสือ ๓๓,๘๐๐ เล่ม ยอดบริจาค รวม ๓,๐๒๓,๔๔๖.๑๐ บาท


86

จากการลงพื้นเก็บข้อมูล พบว่า เด็กในโครงการฯ ร้อยละ ๘๐ อาศัยอยู่กับผู้สูงอายุ ญาติพี่น้องหรืออยู่ภายใต้การ ดูแลของพ่อหรือแม่ที่เป็นครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว เด็กส่วน ใหญ่ได้รับ กระทบจากปัญหาครอบครัวหย่าร้าง พ่อแม่ เสียชีวิตและถูกด�ำเนินคดี ในภาพรวมทั้งหมดครอบครัว ของเด็กทีเ่ ข้าร่วมโครงการฯ มีรายได้มาจากการประกอบ อาชีพรับจ้างทั่วไป


87

กิจกรรม “หนังสือเล่มละ ๑ บาท” จ�ำนวน ๕ ครั้ง

การจัดกิจกรรมค่ายทุกครั้งจะน�ำหนังสือที่ได้รับการบริจาค มาให้เด็ก ครู ผู้ปกครอง และคนในชุมชนละแวกที่ จัด กิจกรรมค่ายได้มโี อกาสเลือกหนังสือดีในราคาเล่มละ ๑ บาท รายได้จากการจ�ำหน่ายหนังสือมอบให้กับโรงเรียนที่ใช้จัด กิจกรรมค่าย เพื่อน�ำไปใช้ในการจัดกิจกรรมรักการอ่านกับ เด็กในโรงเรียนต่อไป


88

กิจกรรมพัฒนาทักษะบรรณารักษ์น้อย จัดกิจกรรม “ค่ายเยาวชน...ฅนรักการอ่าน” จ�ำนวน ๔ ครั้ง ได้แก่ • จังหวัดกาญจนบุรี มีเด็กเข้าร่วม รวม ๙๙ คน จาก ๑๙ โรงเรียน • จังหวัดน่าน มีเด็กเข้าร่วม รวม ๙๒ คน จาก ๒๓ โรงเรียน • จังหวัดระยอง มีเด็กเข้าร่วม รวม ๑๓ คน จาก ๑๐๐ โรงเรียน • จังหวัดอ่างทอง มีเด็กเข้าร่วม รวม ๑๗ คน จาก ๑๓๖ โรงเรียน จัดกิจกรรม “ค่ายเส้นทางสร้างบรรณารักษ์น้อยสู่ชุมชน” จ�ำนวน ๑ ครั้ง ได้แก่ จังหวัดยโสธร มีเด็กเข้าร่วม รวม ๑๓๐ คน จาก ๑๒ โรงเรียน


89


90 กิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการระดมทุน

จัดเสวนาหัวข้อ “การอ่านกับพัฒนาการทางสมองของ เด็ก” วิทยากร รศ.ดร.อุษณีย์ อนุรทุ ธ์วงศ์ ผูเ้ ชีย่ วชาญด้าน การจัดการเรียนรูส้ ำ� หรับอัจฉริยะภาพในวัยเด็ก และ นาง รัชนี ธงไชย หัวหน้าโครงการตู้หนังสือในบ้านเด็ก งาน สัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ ๔๔ ณ ศูนย์การประชุม แห่งชาติสิริกิติ์


91

จัดกระบวนการ Workshop กระบวนการพัฒนาลูกสู่ การเป็น “อัจฉริยะ” วิทยากร คุณพรหมพจน์ วิภาสธาริตสกุล ผู้เชี่ยวชาญใน การถอดความเป็นอัจฉริยะและผูท้ มี่ ปี ระสบการณ์ น�ำเอา กระบวนการที่ ไ ด้ ไ ปใช้ ส อนและพั ฒ นาให้ เ ด็ ก ๆ เป็ น อัจฉริยะ ถอดรหัสความเป็นอัจฉริยะสู่การพัฒนาสมอง วิทยากร ดร.ประภาพรรณ จูเจริญ ผูเ้ ชีย่ วชาญทางด้าน สมองและการเรียนรู้ สถาบัน พัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล และร่วม เสวนา “เวทีปฎิรปู การศึกษา : สร้างคนสร้างชาติดว้ ยการ อ่าน” ในงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครัง้ ที่ ๒๑ ณ ห้อง บอร์ดรูม ๒ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์


92 กิจกรรมรับบริจาคหนังสือ ร่วมกับ ๑๑ ส�ำนักพิมพ์ และจุดประชาสัมพันธ์ใน งานสั ป ดาห์ ห นั ง สื อ แห่ ง ชาติ และงาน มหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ ๒๑ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ มียอด บริจาคหนังสือ รวม ๖๑๖ เล่ม


93

บริษัท ไบเออร์สด๊อรฟ (ประเทศไทย) จ�ำกัด จัดกิจกรรมระดมทุนสนับสนุนการซือ้ หนังสือ ให้ กั บ เด็ ก โครงการตู ้ ห นั ง สื อ ในบ้ า นเด็ ก จ�ำนวน ๖๐๐,๐๐๐ บาท กิจกรรมเติมหนังสือใส่ตู้...สู่เด็กยากจน ร่วมกับ ส�ำนักพิมพ์บ้านพระอาทิตย์ เพื่อจัด ซื้อหนังสือใส่ตู้หนังสือในบ้านเด็ก มีผู้บริจาค รวม ๙๗ ราย มีเด็กได้รับชุดหนังสือจากส�ำนัก พิมพ์บ้านพระอาทิตย์ จ�ำนวน ๒๘๖ ตู้/คน


94 โครงการโรงเรียนผู้น�ำการอ่าน โดยการสนับสนุนทุนจาก

มูลนิธิสยามกัมมาจล จ�ำนวน ๙๕๐,๐๐๐ บาท รายละเอียด ดังนี้ • มอบตู้หนังสือและหนังสือ ๕๐ เล่ม จ�ำนวน ๕๐ ตู้/คน • มอบตู้หนังสือและหนังสือ จ�ำนวน ๑๐๐ โรงเรียน ๑๐ จังหวัด ได้แก่ จ.กาญจนบุรี จ.อ่างทอง จ.ยโสธร จ.น่าน จ.นครปฐม จ.สุพรรณบุรี จ.สงขลา จ.ปัตตานี จ.สมุทรสงคราม จ.อยุธยา


95


96

โครงการ รถเข็นนิทานมูลนิธิเด็ก


97 จัดหาหนังสือดีมอบแก่หอผูป้ ว่ ยเด็กตามโรงพยาบาล เป็นการกระตุ้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นความส�ำคัญของ การใช้การอ่านหนังสือและนิทาน เพื่อฟื้นฟูสภาวะอารมณ์ และจิตใจของผูป้ ว่ ยเด็กและผูป้ กครอง “หนังสือนิทาน” เป็น สื่อที่เด็กไม่ว่าจะเจ็บป่วยหรือปกติต่างก็ชื่นชอบ นอกจากนี้ แพทย์ พยาบาล และอาสาสมัครยังสามารถน�ำหนังสือเหล่า นี้ ไปท�ำกิจกรรมนันทนาการสร้างความสนุกสนานให้แก่ผปู้ ว่ ย เด็กได้อย่างง่ายๆ ด้วย


98 กลุ่มเป้าหมาย แบ่งออกเป็น ๒ กลุ่ม ได้แก่

๑. สมาชิก ครือข่ายโรงพยาบาล (โรงพยาบาลที่ขอรับรถเข็นพร้อม หนังสือนิทาน) เด็กป่วยและไม่ป่วยในโรงพยาบาลและพื้นที่ใกล้เคียง

๒.

พ.ศ. ๒๕๕๙ มียอดบริจาคสนับสนุนโครงการรถเข็นนิทาน รวม ๔,๓๗๕,๒๕๙.๗๕ บาท และ ได้ส่งมอบหนังสือพร้อมรถเข็นนิทาน จ�ำนวน ๔๐๐ คัน ๓๘๑ โรงพยาบาล


99

การจัดหาหนังสือและผลิตรถเข็นนิทาน แบ่งออก ดังนี้ • งบประมาณการจัดหาหนังสือและผลิตรถเข็นนิทานตามรายชื่อผู้ บริ จ าคปี ๒๕๕๘ จ� ำ นวน ๓๐๐ คั น ผู ้ บ ริ จ าค ๕,๗๐๐ ราย จ�ำนวนเงิน ๓,๗๕๐,๐๐๐ บาท • งบประมาณการจัดหาหนังสือและผลิตรถเข็นนิทานตามรายชื่อผู้ บริจาค ตั้งแต่ ม.ค.- ธ.ค. ๕๙ จ�ำนวน ๑๐๐ คัน ผู้บริจาค ๓๙๔ ราย จ�ำนวนเงิน ๑,๒๕๐,๐๐๐ บาท


100

แผนการด�ำเนินงานปี ๒๕๖๐ โครงการรถเข็นนิทาน และ โครงการตูห้ นังสือในบ้านเด็ก จะ มีการท�ำงานเชื่อมประสาน เพื่อให้เกิดพื้นที่แห่งการอ่านโดยคลอบ คลุมในแต่ละต�ำบล ภายใต้ชอื่ “ห้องสมุดในโรงพยาบาลมูลนิธเิ ด็ก” และ โครงการตู้หนังสือในบ้านเด็ก

กลุ่มเป้าหมาย ๑. เด็กที่ป่วยและไม่ป่วย ในโรงพยาบาลของรัฐ ๒. เด็กที่มีความสนใจในการอ่าน ในโรงเรียนของรัฐ

การด�ำเนินการ

๑. การรณรงค์และประชาสัมพันธ์โครงการเพื่อการระดมทุน ๒. กิจกรรมให้ความรู้แก่เด็กในโครงการ ได้แก่

“กิจกรรมนักอ่าน-นักเล่า” ภายใต้โครงการห้องสมุดในโรงพยาบาล


101


102

กล่องเรียนรู้ แสนสนุก เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาทักษะชีวิตในทุก ด้าน การจัดการเรียนรู้เสริมสร้างประสบการณ์ ให้เด็กจะท�ำให้พวกเขาดูแลและพึ่งพาตนเองได้ ในอนาคต และสามารถน�ำสิ่งที่ได้เรียนไปใช้ใน ชีวิตอย่างมีความสุข


103

“กล่องเรียนรูแ้ สนสนุก” จัดกระบวนการเรียนรูเ้ พือ่ เสริมสร้างประสบการณ์ชวี ติ ผ่านการเล่นและลงมือ ปฏิบัติ ซึ่งเป็นทักษะพื้นฐานของความรู้ที่จะติดตัว เด็กไปจนโต ผ่านการเรียนรู้ ๓ ห้อง ดังนี้ ๑. ห้องงานไม้ ๒. ห้องศิลปหัตถกรรม ๓. ห้องมัดย้อมและทอผ้า


104

ห้องงานไม้ เด็กเรียนรู้เรื่องของความปลอดภัยและรู้จัก การใช้เครื่องมืออย่างระมัดระวัง เริ่มจากเรียนรู้เรื่อง ของการใช้เครื่องมือช่าง เด็กเข้าใจว่าอุปกรณ์เครื่อง มือที่เป็นพื้นฐานแต่ละอย่างใช้ในงานประเภทไหน เช่น ค้อนไว้ตอกตะปู เลื่อยไว้ตัดไม้ จากนั้นก็เริ่มให้ เด็กได้ทดลองประดิษฐ์ของเล่นด้วยตัวเองจากเศษไม้ หรือวัสดุเหลือใช้ที่หาได้ทั่วไป ของเล่นเด็กได้ลองท�ำ เช่น ก�ำหมุนหรือคอปเตอร์ไม้ไอติม รถหลอดด้าย กังหันเชือกจากฝาเครื่องดื่ม เป็นต้น


105

“ของเล่น” ที่เด็กได้ลงมือท�ำเองเป็น

เครื่องมือที่ช่วยกระตุ้นจินตนาการให้กับ เด็ ก ได้ เ ป็ น อย่ า งดี “ ของเล่ น ”ช่ ว ย สร้างสรรค์เรื่องราวท�ำให้เด็กมีความสุข ที่จะได้ทดลองท�ำสิ่งประดิษฐ์แปลกใหม่ อยู่ตลอดเวลา และยังน�ำเอามาเล่นร่วม กับเพื่อนได้อย่างสนุกสนาน


106

ห้องศิลปหัตถกรรม ฝึกให้เด็กเริ่มท�ำงานประดิษฐ์จากง่ายๆ ใช้ เวลาไม่นาน เช่น การหัดเย็บผ้าเปล่าด้วยการด้นถอย หลัง และเนาผ้า พอเย็บเป็นแล้วก็จะหัดท�ำงานที่มี ความละเอียดและใช้เวลามากขึ้น เช่น การเย็บตุก๊ ตา เย็บหมอน เย็บตุก๊ ตาพวงกุญแจ ท�ำกิ๊ปติดผม ท�ำดอกไม้ ปักหมอน ปักผ้าเช็ดหน้า กระเป๋าผ้า ตุ๊กตาหุ่นนิ้ว และเย็บกระเป๋า งาน ประดิษฐ์ทเี่ ด็กได้ลงมือท�ำจะช่วยพัฒนาทักษะกล้าม เนื้อมือให้มีสัมพันธ์กับสายตา และสามารถน�ำเอา ประสบการณ์ไปใช้ได้จริง เป็นการเปิดโอกาสให้เด็ก ได้ค้นหาศักยภาพของตนเองผ่านงานฝีมือ พบว่า เด็กเกิดความภูมใิ จในผลงานทีต่ นเอง ได้ท�ำจนส�ำเร็จ มีสมาธิและกระตือรือร้นที่อยากจะ ท�ำงานประดิษฐ์มากขึ้น


107


108


109

ห้องมัด ย อ ้ และ ม ทอผ้า ห้องมัดย้อมและทอผ้า

กิจกรรมเพือ่ กระตุน้ ให้เด็กได้ลงมือท�ำงานและ เรียนรู้ด้วยตนเอง ทั้งยังช่วยเสริมสร้างจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ ฝึกสมาธิ รูจ้ กั จัดการงานอย่างเป็น ขั้นตอนจนส�ำเร็จ เด็กมีความสุขในการท�ำงาน กลุ่ม เป้าหมายเป็นเด็กโรงเรียนอนุบาลหมู่บ้านเด็กสานรัก อายุตั้งแต่ ๔ – ๘ ปี


110

กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ มัดเพ้นท์ เด็กได้เรียนรู้กระบวนการสร้างสรรค์

ลายผ้าด้วยตนเอง จากการใช้หนังยางมัดผ้า เพือ่ กั้นไม่ให้สีซึมเข้าในบริเวณพื้นที่ที่ต้องการสร้าง ลาย เมื่อผ้าแห้งตัดหนังยางออกลวดลายผ้าของ เด็กแต่ละคนที่ออกมาจะไม่ซ�้ำกัน ท�ำให้เด็กเกิด ความภาคภูมิใจในผลงานของตัวเอง


111


112


113 มัดย้อมสีธรรมชาติ เด็กเรียนรู้การใช้วัตถุดิบ

จากธรรมชาติ แ ทนสี เ คมี ให้ เ ด็ ก ได้ เ รี ย นรู ้ กระบวนการผลิตสีจากธรรมชาติ ด้วยการน�ำเอา ใบไม้หรือเปลือกไม้มาต้มให้ได้สี เมื่อได้สีจาก ธรรมชาติแล้ว เด็กจะได้เรียนรู้เทคนิควิธีการ การกระตุ ้ น ให้ สี เ ข้ ม ขึ้ น ด้ ว ยการใช้ น้� ำ ขี้ เ ถ้ า น�้ำสารส้ม น�้ำปูน น�้ำสนิม เป็นต้น

ทอผ้า เป็นการฝึกการใช้กล้ามเนื้อมือและตา และสมาธิ เด็กได้ฝึกการทอผ้าพอส�ำเร็จก็น�ำมา เย็บเป็นย่าม กระเป๋า หรือเป็นที่รองแก้ว


114 กิจกรรมสนับสนุนโครงการต่างๆ • เป็นวิทยากรสอนผ้ามัดย้อม ในกิจกรรมค่ายของ โครงการตู้หนังสือในบ้านเด็ก จ�ำนวน ๕ ครั้ง • จัดกิจกรรมผ้ามัดย้อมให้แก่เด็กระดับประถมต้น ในช่วงปิดเทอม งานพัฒนาศักยภาพบุคลากร • เข้าอบรม “การมัดย้อมสีธรรมชาติ” จัดโดย บ้านสวนเรียนรู้ (Organic way)


115


116

ห้องโยคะเด็ก


117

“โยคะ”

เป็ น การออกก� ำ ลั ง กายที่ ช ่ ว ย พัฒนาการท�ำงานของกล้ามเนื้อมัดใหญ่และย่อย ช่วยให้กล้ามเนือ้ ตา มือ และกระดูกสันหลังประสาน สัมพันธ์ได้เป็นอย่างดี ท�ำให้เด็กมีพัฒนาการทาง ร่างกายและสมองดีขึ้น สามารถจดจ�ำท่าอาสนะ โยคะได้ และเรื่องราวประกอบการสอนได้ดี


118

ารฝึกเลียนแบบท่าทางธรรมชาติของสัตว์ การพับ กระดาษ เล่านิทาน เป็นการสร้างจินตนาการท�ำให้ เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์ เวลาที่ท�ำท่าค้างไว้จะมี การนับเลขเป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาจีนท�ำให้เด็ก เกิดการเรียนรู้และจดจ�ำภาษามากขึ้น สมองซีกซ้าย ที่คิดเป็นรูปทรงและสมองซีกขวาที่ใช้จินตนาการ ท�ำงานทั้งสองข้าง การท�ำซ�้ำบริหารร่างกายทั้งสอง ด้านสลับกันระหว่างซ้ายขวา ยังช่วยท�ำให้สมองทั้ง สองซีกท�ำงานประสานกันได้เป็นอย่างดี

การเข้าฝึกโยคะเด็ก บ้านทานตะวัน มีเด็กเข้าฝึกครั้งละ ๗-๑๐ คน ฝึกสัปดาห์ละ ๒ ครั้ง เด็กจดจ�ำท่าอาสนะ ชื่อท่าเป็น ภาษาอังกฤษ ภาษาจีนได้ดี ส่วนของ รร.อนุบาลฯ ส่วนใหญ่เด็กจะหมุนเวียนกันมาฝึก ท�ำให้รอบการฝึก ไม่สม�่ำเสมอเท่าที่ควร และท�ำให้บางคนจดจ�ำท่าไม่ ค่อยได้


119


120


121

การฝึกให้เด็กพับกระดาษ

ยังช่วยพัฒนาทักษะการใช้กล้ามเนือ้ มัดเล็ก ฝึกการฟังและการมอง “การพับกระดาษ” แต่ละครั้งจะเกี่ยวข้องกับท่าอาสนะ เช่น พับเรือกับฝึกท่าเรือ เป็นต้น


122

ห้องเรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ “๑ ไร่ ๑ แสน” เกษตรธรรมชาติ


123 เพือ่ สร้างแหล่งอาหารปลอดภัยทีใ่ ช้กระบวนการปลูกผัก แบบเกษตรอินทรีย์โดยไม่ใช้สารเคมีในการเร่งการเจริญเติบโต ของพืชผัก เพือ่ ให้เด็กและบุคลากรของมูลนิธไิ ด้บริโภคผักปลอด สารพิษในราคาถูก งาน ๑ ไร่ ๑ แสน มูลนิธิเด็ก ยังเป็นแหล่ง เรียนรู้ส�ำหรับเด็กและบุคลากรในเรื่องของเกษตรทฤษฎีใหม่ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

จ�ำหน่ายผักปลอดสารพิษ ทุกวันจะมีผลผลิตที่ปลอดสารพิษ จากโครงการ ๑ ไร่ ๑ แสน มูลนิธิเด็ก น�ำ มาวางจ�ำหน่ายให้พนักงานมูลนิธิเด็ก และ ผูบ้ ริจาคทีม่ าเยีย่ มชมงานมูลนิธเิ ด็กได้เลือก ซื้อไปบริโภคในราคาถูก เช่น มะรุม ต�ำลึง ถั่วผักยาว มะเขือ ผักชี ถั่วพูสีม่วง ผักสลัด ผักคะน้า ผักกวางตุ้ง ไข่ไก่ และไข่เป็ด


124 กิจกรรมห้องเรียนเกษตร ทุกวันจันทร์ - วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา ๑๔.๐๐ - ๑๖.๐๐ น จะมีเด็กอนุบาลหมูบ่ า้ น เด็กสานรัก จ�ำนวน ๓ - ๕ คน มาเรียนรู้ขั้น ตอนการปลูกและดูแลผักไปจนถึงการเก็บ ผลผลิตไปจ�ำหน่าย ในทุกๆ วันเด็กจะเรียน รู้วันละ ๑ อย่าง เช่น ท�ำปุ๋ย ขุดแปลงผัก ปลูกผัก รดน�้ำ เก็บเห็ด การเลี้ยงปลาดุก การขายผัก เป็นต้น


125 งานพัฒนาศักยภาพบุคลากร • ดูงานเกี่ยวกับการท�ำสวนผักคนเมือง

การปลูกผักกินเองในพืน้ ทีท่ มี่ จี ำ� กัด “งาน เกษตรเมืองทอง” มหกรรมสินค้าเกษตร เพื่อคนเมืองยุคใหม่ ณ อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี • อบรมสัมมนา “การออกแบบติดตัง้ และ ประยุกต์ใช้งานโซล่าร์เซล (Solar Panel Design & Application) “ เรียนรู้และ ท�ำได้จริงด้วยตัวเองในการลดต้นทุนการ ใช้พลังงาน


126

ห้องเรียนวัดแวว

และส่งเสริมเด็กตามความถนัด (Exploring Center) ส่งเสริมเด็กตามความถนัด โดยใช้ทฤษฎีสมอง ทฤษฎี จิ ต วิ ท ยาที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การพั ฒ นาทั ก ษะการคิ ด จิตวิทยาและพัฒนาการ มาประยุกต์ใช้ในการส่งเสริม เด็กให้ได้พัฒนาตามความถนัดของตนเอง


127

กลุ่มเป้าหมาย เด็กช่วงอายุตั้งแต่ ๒ – ๙ ขวบ จ�ำนวน ๑๐ – ๑๒ คนต่อรอบ


128

มีมุมส่งเสริมการเรียนรู้ รวม ๖ มุม ดังนี้

๑. มุมคณิตศาสตร์ มุมทีม่ สี อื่ ท้าทายความคิดในรูปแบบ ของการค�ำนวณ ๒. มุมสังคม เป็นมุมที่มีสื่อสร้างประสบการณ์ให้เด็กได้ มีโอกาสสืบค้น ศึกษาและวิเคราะห์ปรากฏการณ์ใน ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ท�ำให้เกิดความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับชุมชนที่อยู่อาศัย ๓. มุมวิทยาศาสตร์ สือ่ ทีส่ ร้างประสบการณ์ให้เด็กเข้าใจ ปรากฏการณ์ธรรมชาติ และวิทยาศาสตร์ เรื่องเกี่ยวกับ ความเป็นไปในโลกมนุษย์


129

๔. มุมอิเล็กทรอนิกส์ ช่วยพัฒนาทักษะทางด้านมิติสัมพันธ์ การมองเห็นสิ่งต่างๆ รวมทั้งการพัฒนาความสามารถทาง สมองของเด็กให้มองเห็นสิ่งต่างๆ ในหลายมิติ ๕. มุมศิลปะ สื่อที่กระตุ้นให้เด็กสร้างจินตนาการ ความคิด แปลกใหม่ กล้าคิด กล้าท�ำ เน้นทักษะกระบวนการคิดแบบ สร้างสรรค์ จินตนาการ ๖. มุมภาษา เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษาคอมพิวเตอร์ รหัสมอร์ส สื่อในมุมนี้ จะเป็นเกมทางภาษา บัตรค�ำไทย อังกฤษ ตัวพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ ตัวอักษร A-Z หนังสือ นิทาน เปิดทุกวันจันทร์ - พฤหัสบดี โดยเข้าห้องเรียน ห้องละ ๒ คาบต่อสัปดาห์ ครั้งละ ๑๐ – ๑๒ คนต่อรอบ


130


131

การจัดกระบวน

การเรียนรู้

• เด็กมีอิสระในการเลือกมุมที่ตนเองสนใจ เพื่อดูความสนใจและวิธีการเล่น • เฝ้าสังเกตพฤติกรรมการเล่นของเด็กทีเ่ ข้าเล่น ตามมุมต่างๆ • บันทึกและเก็บข้อมูลการเล่นเป็นรายบุคคล และสรุปผลเมื่อจบภาคการศึกษา • ส่งเสริมศักยภาพเด็กตามความเหมาะสม


132

การประเมินผลจาก

การถอดบทเรียนโครงสร้างการท�ำงาน โดย ศูนย์พัฒนาอัจฉริยภาพ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒน์

สรุปได้ ดังนี้

๑. ห้องวัดแววตามแนวทางของ ดร.อุษณีย์นั้น ถูกออกแบบ มาให้ใช้ส�ำหรับเด็กที่มีแววอัจฉริยะ แต่อาจไม่เหมาะมากนัก ส�ำหรับเด็กทั่วไป ๒. การท�ำงานวัดแววให้ได้ผลตามโครงสร้างที่ ดร.อุษณีย์ ใช้ ที่ศูนย์พัฒนาอัจฉริยภาพ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒนั้น ใช้บุคลากรที่เป็นผู้เชี่ยวชาญจ�ำนวนมาก ทั้งนักจิตวิทยา นัก พัฒนาการ นักวิชาการด้านต่างๆ และคณะท�ำงานที่มีความรู้ เฉพาะทางด้านวัดแววเด็กที่มีแนวโน้มอัจฉริยะ ซึ่งมูลนิธิเด็ก ไม่ได้มีทรัพยากรตามโครงสร้างนี้ ๓. เนือ่ งจากเด็กยังไม่ฉายแววอะไรออกมาชัดเจนมากนักจาก การวัดผลในรูปแบบเดิม เป็นการเล่นแบบอิสระ ซึ่งส่วนใหญ่ เด็กจะได้ในเรือ่ งของการเล่นลองผิดลองถูก การเล่นเข้าสังคม กับกลุ่มเพื่อนและการเล่นในรูปแบบเดียวกัน เนื่องจากได้รับ ประสบการณ์ที่เหมือนกัน ไม่มีใครแตกต่างจากใครมากนัก


133

ด้วยเหตุผลนี้ สถาบันวิชาการฯ จึงได้มแี ผนทีจ่ ะพัฒนางานห้อง วัดแววฯ มาเป็นงานส่งเสริมทักษะการคิดให้เด็ก โดยเชิญ นายพรหมพจน์ วิภาษธาริตสกุล ผู้ที่มีประสบการณ์ ด้านการใช้กิจกรรมและอุปกรณ์การเล่น (ของเล่น) มาพัฒนา ทักษะการคิดให้กับเด็ก ผ่านหลักสูตร ๓๕ ทักษะพื้นฐานส�ำหรับการคิด มีการจัด กิจกรรมผ่านการเรียนรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง ๕ คือ การมอง เห็น (Visual) การฟัง (Auditory) การสัมผัส (Kinesthetic) การดมกลิ่น (Olfactory) และการชิมรสชาติ (Gustatory) เพือ่ พัฒนาทักษะการคิดให้กบั เด็ก โดยใช้กจิ กรรมและของเล่น เด็กเป็นสือ่ มีกระบวนการเล่นอย่างมีเป้าหมาย มีขนั้ ตอน และ วิธีการถูกต้อง เป็นการพัฒนาทักษะการคิดของเด็กอย่างเป็น ระบบช่วยให้เด็กพัฒนาวิธีคิดได้อย่างมีคุณภาพ


134

สถาบันวิชาการและสื่อเพื่อพัฒนาเด็ก ครอบครัว และการศึกษา ระบบจัดการข้อมูลเด็กออนไลน์ มูลนิธิเด็ก จัดท�ำระบบฐานข้อมูลด้านเด็กออนไลน์ โดยความร่วมมือของมูลนิธิ CRM-Charity แห่งประเทศไทย ร่วมพัฒนาระบบฐานข้อมูลออนไลน์ขนึ้ เพือ่ ประโยชน์ในงานด้านเด็ก งานพัฒนาการเด็ก งานจิตวิทยา และการ ศึกษา และทั้งนี้มูลนิธิเด็ก มีเด็กอยู่ในความดูแลมากกว่า ๒๐๐ คน เพื่อ ให้งานด้านเด็กทั้งหมดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ระบบฐานข้อมูลที่มี คุณภาพในการจัดเก็บและการเรียกใช้งานถือว่าเป็นสิง่ จ�ำเป็นอย่างมาก แผนการด�ำเนินงาน


135 ตัวอย่างระบบฐานข้อมูลด้านเด็ก


136

การจัดเก็บข้อมูลของบ้านทานตะวัน

ระยะที่ ๑

๑. ข้อมูลส่วนตัวเด็ก (Children Personal Information) ๒. การรับแจ้ง (Case Report) ข้อมูลเบื้องต้นของเด็ก ข้อมูลผู้ แจ้ง สาเหตุ และความต้องการของผู้แจ้ง ๓. ข้อมูลครอบครัว (Family Information) ๔. ข้อมูลการเลี้ยงดู (Raising Information) ๕. บันทึกสุขภาพ (Health and Medical Record) ๖. บันทึกการเยี่ยมบ้าน (Residence Visiting Record)

ระยะที่ ๒

๑. บันทึกการพบแพทย์ (Doctor Examination Record) ๒. บันทึกพัฒนาการ (Children Development Record) ๓. ข้อมูลทางกฎมาย (Legal Document)


137


138 งานฝึกอบรมและพัฒนาศักยภาพ บุคลากรพนักงานมูลนิธิเด็ก • ฝึกอบรมโยคะเพื่อพัฒนาจิตและกายส�ำหรับพนักงานมูลนิธิเด็ก • ฝึกอบรมการน�ำเสนอแผนงาน

บุคลากรด้านเด็ก เพือ่ พัฒนาความรูค้ วามสามารถและเพิม่ เติมทักษะการเลีย้ งดู เด็ก โดยมุ่งเน้นการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในเรื่องการจัดเรียนการสอน แบบมอนเตสซอรี่ เพือ่ ให้มลู นิธเิ ด็กเป็นศูนย์เรียนรูด้ า้ นการศึกษาทาง เลือกส�ำหรับเด็กขาดโอกาส และมีทีมวิทยากรที่ถ่ายทอดองค์ความรู้ ของมูลนิธิเด็กได้

งานพั ฒ นาการเรี ย นการสอน ๓ โครงการ (บ้านทานตะวัน

รร.อนุบาลหมู่บ้านเด็กสารรัก รร.หมู่บ้านเด็ก) โดยมุ่งปรับปรุงและ พัฒนางานทั้ง ๔ ด้าน ได้แก่ ๑. สภาพแวดล้อม ๒. บทบาทครูผู้สอน ๓. สื่อและอุปกรณ์การเรียนการสอน ๔. กระบวนการเรียนการสอน


139 ศึกษาดูงานเรือ่ ง “ระบบการเรียนการสอนและ การดูแลเด็กปฐมวัย” กิจกรรมส่งเสริมของศูนย์ พั ฒ นาเด็ ก ปฐมวั ย ศู น ย์ พั ฒ นาเด็ ก ปฐมวั ย ณ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

อบรมวางแผนชีวิตเด็กโรงเรียนหมู่บ้านเด็ก

เพื่ อ ให้ เ ด็ ก ได้ เ รี ย นรู ้ ก ารวางแผนชี วิ ต ในการ ประกอบอาชีพที่ตนเองถนัด


140 งานเว็บไซต์ น�ำเอาระบบไอทีและระบบดิจติ อลเข้ามาสนับสนุนงานของมูลนิธิ เด็ก เพือ่ ให้การท�ำงานของโครงการต่าง ๆ ในมูลนิธเิ ด็กให้ดำ� เนินไปอย่าง มีประสิทธิภาพและสะดวกรวดเร็วมากขึน้ และพัฒนางาน Social Media เพื่อเป็นสื่อการประชาสัมพันธ์งานมูลนิธิเด็กไปสู่วงกว้าง •ระบบจัดเก็บข้อมูลออนไลน์ โดยใช้ระบบ Network Attached Storage (NAS) •งาน Social Media อยู่ในระหว่างก�ำลังปรับปรุงระบบงานใหม่ โดยจะมี การเพิ่มเติมเนื้อหา ให้มีความน่าสนใจมากขึ้น ทั้งในส่วนของเนื้อหาเก่าที่มี อยู่และเนื้อหาใหม่ เช่น จิตวิทยาและพัฒนาการเด็ก การศึกษาจัดทางเลือก ในรูปแบบต่าง ๆ ร่วมทั้งข่าวสารการจัดกิจกรรมของมูลนิธิเด็ก เป็นต้น


141 งานจัดเก็บฐานข้อมูลสื่อ จัดท�ำการแปลงฟิล์ม สไลด์ รูปภาพ เทปยูเมติก (U-matic) วีดโิ อเทปบันทึกเสียง เทปรายการโทรทัศน์ของกลุม่ สือ่ สร้างสังคมอุดมสุข จากสื่อที่เป็นระบบอนาล๊อก (Analog) แบบเก่า ที่มีการเก็บรวบรวม มากว่า ๓๗ ปี น�ำมาแปลงเป็นระบบดิจิตอล (Digital) แบบใหม่ เพื่อ เป็นการเก็บรักษาสือ่ ต่างๆ ทีเ่ ป็นประวัตศิ าสตร์ของมูลนิธเิ ด็กให้คงอยูใ่ น สภาพเดิ ม และสามารถน� ำ มาใช้ ป ระโยชน์ ใ นการเผยแพร่ แ ละ ประชาสัมพันธ์ได้ใหม่ และพัฒนาการเก็บเป็นแบบระบบสืบค้นเพือ่ ความ สะดวกและง่ายต่อการน�ำไปใช้งานได้ในอนาคต


142


143


144

กลุ่มสื่อสร้างสรรค์สังคมอุดมสุข ผลิตรายการสะพานสายรุ้ง จ�ำนวน ๕๒ เทป

ออกอากาศทางช่อง True 367 ทุกวันเสาร์ เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๔.๐๐ น. และทางสถานีโทรทัศน์ NEWS1 กล่องสัญญาณ IPM ช่อง ๖๔ ทุกวันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๐.๐๐ น.


145 รูปแบบและเนื้อหารายการ รายการที่ น� ำ เสนอเรื่ อ งราวที่ น ่ า รู ้ เพื่ อ เสริ ม สร้ า งความสั ม พั น ธ์ ที่ ดี ใ น ครอบครัว และสร้างความตระหนักรู้ถึงสิ่งต่างๆ รอบตัว ทั้งในระดับสังคม ระดับชุมชน ระดับครอบครัว และระดับบุคคล ...น�ำไปสู่ “สังคมอุดมสุข” มีความยาว ๕๐ นาที แบ่งออกเป็น ๒ ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ ๑ : คุยหนัง เป็นช่วงที่วิเคราะห์ เจาะลึก และดึงแง่คิด ดีๆ ที่ได้จากภาพยนตร์เรื่องต่างๆ ทั่วโลกมาพูด ผ่านกูรูหนังทั้งคุณพิภพ ธง ไชย และ อ.สกุล บุณยทัต รวมทัง้ การน�ำเด็กมาเป็นส่วนร่วมในรายการ แสดง ถึงรายการที่สามารถดูได้ทั้งครอบครัว และสร้างองค์ความรู้ที่ได้ให้แก่เด็กๆ ได้อีกด้วย


146 ช่วงที่ ๒ : กล้า-คิด-เปลี่ยน (สนทนา) เป็นช่วงที่พูดคุยประเด็น ต่างๆ ในสังคม ทั้งเรื่องของเด็ก โรงเรียน การศึกษารูปแบบใหม่ ครอบครัว สิ่งแวดล้อมรวมทั้งประเด็นร้อนๆ ในสังคมอย่างเข้าลึก ถึงแก่น และชัดเจน

ตัวอย่างรายการ : ช่วงคุยหนัง

• คุยหนังภาพยนตร์สะท้อน ความสัมพันธ์ในครอบครัว • ภาพยนตร์แนวประวัติศาสตร์ บุคคลส�ำคัญ • ภาพยนตร์อนิเมชั่น การ์ตูนสร้างแรงบันดาลใจ

ห้แก่เด็กๆ ได้อีกด้วย

ตัวอย่างรายการ : ช่วง กล้า - คิด - เปลี่ยน

สามารถติดตามชมรายการย้อนหลังผ่านทาง Youtube Channel /รายการสะพานสายรุ้ง เว็บไซต์มูลนิธิเด็ก www.ffc.or.th , Facebook/มูลนิธิเด็ก โทรทัศน์ และ Facebook Fanpage/มูลนิธิเด็ก


147


148

สถาบันศิลปวัฒนธรรม และหนังสือเพื่อเด็ก ครอบครัวและสังคม


149

ส�ำนักพิมพ์มูลนิธิเด็ก ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมเพือ่ เด็กและครอบครัว เพราะเชือ่ ว่าศิลปะ สามารถยกระดับจิตใจและจิตวิญญาณของมนุษย์ได้ จึงมุง่ พัฒนา งานสื่อสิงพิมพ์ที่สร้างสรรค์ส�ำหรับเด็กและครอบครัว ประเภท หนังสือนิทานที่พัฒนาสมองส�ำหรับเด็ก หนังสือที่มีเนื้อหาเกี่ยว กับพัฒนาการเด็ก การปฏิรูปการศึกษา คู่มือพ่อแม่-ครู โดยเจาะ กลุ่มผู้อ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ (facebook) แนะน�ำหนังสือ ผ่านแผนที่การอ่าน (flow chart) และกระตุ้นการขายผ่าน เว็บไซต์ส�ำนักพิมพ์ www.ffcbook.com


150

ส�ำนักพิมพ์มูลนิธิเด็ก แผนกหนังสือเด็ก

ได้นำ� เอาหนังสือดีทเี่ คยผลิตมาปรับปรุงใหม่ให้เหมาะสมกับยุคสมัย และยังน�ำเอาเรื่องราวและรูปภาพจากสมุดบันทึกนิทานมูลนิธิเด็ก แต่ละปีที่มีเนื้อหาส่งเสริมคุณธรรม วัฒนธรรม ซึ่งเป็นผลงานศิลปะ จากศิลปินชั้นเลิศมาจัดพิมพ์ใหม่ในรูปเล่มหนังสือนิทานสองภาษา (ไทยและอังกฤษ) เพื่อให้งานหนังสือคุณค่าได้มีการเผยแพร่ต่อไป


151

ส�ำนักพิมพ์มูลนิธิเด็ก

หนังสือที่ผลิต พ.ศ. ๒๕๕๙

หนังสือผลิตใหม่ ๓ เล่ม คือ

หนังสือพิมพ์ซ�้ำ ๒ เล่ม คือ

๑. เมล็ดพันธุ์แห่งความดี พิมพ์ ๓,๐๐๐ เล่ม ๒. ขวัญข้าวขวัญเรา พิมพ์ ๓,๐๐๐ เล่ม ๓. เด็กชายน�้ำใส พิมพ์ ๓,๐๐๐ เล่ม ๑. ตัวเลขไทยไก่เขี่ย พิมพ์ ๓,๐๐๐ เล่ม ๒. ความดีสีเหลืองส้ม พิมพ์ ๓,๐๐๐ เล่ม


152

ส�ำนักพิมพ์มูลนิธิเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการขาย

• จัดกิจกรรมเล่านิทานและออกร้าน ณ โรงเรียน ณ ดรุณ • จัดกิจกรรมระบายสีหน้าแมวและแต่งชุดแมว เพือ่ แนะน�ำ “แมวสามสี” หนังสือรวมนิทานรางวัลมูลนิธิเด็ก ในงาน สัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ๒๑ • จัดกิจกรรมออกร้านขายหนังสือส�ำนักพิมพ์มูลนิธิเด็กใน งานมหกรรมหนังสือระดับชาติครั้งที่ ๒๑ และงานสัปดาห์ หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ ๔๔ ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์


153


154

โครงการสรรพสาส์น

เน้นการผลิตหนังสือแนวเนื้อหาด้านจิตวิทยาเด็ก การศึกษา และ ความรู้ทั่วไป ประกอบกับภาวะชะลอตัวของธุรกิจสิ่งพิมพ์ ท�ำให้ การผลิตหนังสือต้องพิจารณาเรื่องช่วงเวลา รูปเล่มที่เหมาะสมกับ ตลาด และแนวเนื้อหาที่สอดคล้องกับแผนงานผลิต จึงท�ำให้การ ผลิตไม่ได้เน้นที่จ�ำนวนปกมากนัก แต่พยายามให้ความส�ำคัญกับ การพัฒนาเว็บไซต์ www.ffcbook.com เพื่อเป็นช่องทางเผย แพร่ข่าวสารและจ�ำหน่าย


155 การผลิตใหม่หนังสือ จ�ำนวน ๔ เล่ม และหนังสือพิมพ์ซ�้ำ ๑ เล่ม ได้แก่ ๑. ๕๐ ความคิดเปลี่ยนมนุษยชาติ จ�ำนวน ๒,๐๐๐ เล่ม ๒. เจาะจิตวิทยาเด็ก จ�ำนวน ๒,๐๐๐ เล่ม ๓. Introducing จิตวิทยาวิวัฒนาการ จ�ำนวน ๒,๐๐๐ เล่ม ๔. ชีวิต เสรีภาพ ซัมเมอร์ฮิล จ�ำนวน ๒,๐๐๐ เล่ม ๕. พลิกค�ำถาม เปลี่ยนชีวิต จ�ำนวน ๑,๕๐๐ เล่ม


156


157

กิจกรรมส่งเสริมการขาย • ให้สมั ภาษณ์ในรายการวิทยุ “ชีวติ และจักรวาล” ทางคลืน่ FM 101.00 Radio Report One และแจกหนังสือ ๕๐ ความคิด เปลี่ยนมนุษยชาติ จ�ำนวน ๕ เล่ม • เขี ย นบทความแนะน� ำ “หนั ง สื อ ๕๐ ความคิ ด เปลี่ ย น มนุษยชาติ” เผยแพร่ในเว็บไซต์ ffcbook.com และ Facebook : introducingbooks thailand • ลงบทความแนะน�ำหนังสือ “จากออทิสติก...สู่อัจฉริยะ” ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ • จัดเวทีเสวนา “การศึกษาทางเลือกจากซัมเมอร์ฮลิ ถึง หมูบ่ า้ น เด็ก และ Home School” เพื่อแนะน�ำ “หนังสือชีวิต เสรีภาพ ซัมเมอร์ฮลิ ” ในงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครัง้ ที่ ๒๑ ณ เวที เอเทรียม ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิต์


158 แผนกผลิตภัณฑ์พิเศษ


159 งานรณรงค์ เ พื่ อ บริ จ าคสมุ ด บั น ทึ ก นิทานประจ�ำปี ๒๕๕๙ “ป๋วยร้อยปี” มีผู้สนใจบริจาคสมุดบันทึกนิทาน “ป๋วยร้อยปี” มอบให้แก่เด็กด้อยโอกาส ใน ช่ ว งเดื อ นพฤศจิ ก ายน ๒๕๕๘ – เดื อ น เมษายน ๒๕๕๙ เป็นจ�ำนวน ๑๕,๑๐๓ เล่ม


160 งานผลิตสมุดบันทึกนิทานประจ�ำปี ๒๕๖๐ “หนังสือเรืองแสง” แนวคิดในการผลิตเพื่อประชาสัมพันธ์ งานโครงการตู ้ ห นั ง สื อ ในบ้ า นเด็ ก และเพื่ อ รณรงค์เรื่องของการอ่าน สมุดบันทึกนิทาน “หนังสือเรืองแสง” มีนิทานประจ�ำเล่มเรื่อง “โลกหนังสือของเลาขวัญ” แต่งเรื่องโดย เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ศิลปินแห่งชาติ สาขา วรรณศิลป์ ประจ�ำปี ๒๕๓๒ มีการจัดพิมพ์ จ�ำนวน ๕๓,๐๐๐ เล่ม


161 โครงการนักวาดภาพประกอบรุ่นเยาว์ เพื่อวาดภาพประกอบใน สมุดบันทึกนิทาน เพื่อสนับสนุนให้เด็กที่รักงานศิลปะ ได้มีโอกาสพัฒนาทักษะ ความสามารถและได้แสดงผลงานศิลปะของตนเอง มีเด็กโรงเรียน หมู่บ้านเด็กเข้าร่วม จ�ำนวน ๙ คน อายุ ๑๒-๑๕ ปี โดยมี คุณเด่นชัย ธรรมฐิติพงศ์ นักวาดการ์ตูนมาเป็นวิทยากรและดูแลเรื่องการสอน วาดภาพ เป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้นอกห้องเรียนให้กับเด็กได้ สัมผัสประสบการณ์ของการเป็นนักวาดภาพประกอบ


162 งานผลิตบัตรอวยพร ประจ�ำปี ๒๕๖๐ ชุด “ชื่นกลิ่นกล้วยไม้”

เป็นผลงานที่ได้จากการจัดค่ายศิลปะ “ชื่นกลิ่นกล้วยไม้” ให้ กับเด็กโรงเรียนหมูบ่ า้ นเด็ก โดยเรียนรูก้ ารท�ำงานศิลปะจากวัสดุเหลือ ใช้อย่างกล่องนมโรงเรียนและกระดาษใช้แล้ว ศิลปะชุดนีเ้ ด็กๆ ได้แรง บันดาลใจจากการไปเยี่ยมชม อุทยานกล้วยไม้ เดอะบลูมส์ ออร์คิด ปาร์ ค (The Blooms Orchird Park) อ.บางแพ จ.ราชบุ รี มีเด็กเข้าร่วม จ�ำนวน ๑๒ คน บัตรอวยพรปีนี้ยังเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย • เลือกใช้กระดาษจากป่าปลูกทดแทน • ไม่มีสารคลอรีนและโลหะหนัก • พิมพ์ด้วยหมึกพิมพ์ถั่วเหลือง (Soy Ink) ปลอดสารพิษ • รณรงค์ให้น�ำบัตรอวยพรมาประดิษฐ์ใหม่ เป็นของใช้ต่างๆ เช่น ปกสมุด กล่องใส่กระดาษโน้ต


163


164 งานผลิตและจ�ำหน่าย หนังสือธรรมนิทาน “หลวงตาปัญญาดี” และ “ชายผู้ขี่ม้าอย่างมีจุดหมาย” เพื่อขยายกลุ่มงานของช�ำร่วยให้กว้างขึ้น จึงได้น�ำนิทานที่มีเนื้อหาเกี่ยว กับธรรมะทีเ่ คยตีพมิ พ์ในสมุดบันทึกนิทานมูลนิธเิ ด็กมาจัดพิมพ์ใหม่ โดย ออกแบบรูปเล่มให้มีขนาดกะทัดรัดและสวยงามเป็นหนังสือ “ธรรม นิทาน” จ�ำนวน ๒ เรื่อง

๑. “หลวงตาปัญญาดี”

นิทานจากค�ำสอนของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต)

๒. “ชายผู้ขี่ม้าอย่างมีจุดหมาย” นิทานจากค�ำสอนของพุทธทาสภิกขุ


165 ช่วงเดือนธันวาคม ๒๕๕๙ จัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย “สนับสนุน ธรรมนิทาน ๑๐๐ เล่ม ขึ้นไป จากเล่มละ ๒๙ บาท ลดเหลือเล่มละ ๒๐ บาท” ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากผู้บริจาคที่สนใจทั้งสั่งซื้อและ บริจาคแก่เด็กด้อยโอกาส ดังนี้ บริจาคแก่เด็กด้อยโอกาสภายใต้งานโครงการของมูลนิธิเด็ก จ�ำนวน ๒,๙๘๐ เล่ม ดังนี้ ๑. โครงการรถเข็นนิทาน จ�ำนวน ๕๐๐ เล่ม ๒. โครงการตู้หนังสือในบ้านเด็ก จ�ำนวน ๑,๐๐๐ เล่ม ๓. โครงการสามเณร จ�ำนวน ๑,๔๘๐ เล่ม


166


167

งานผลิตและจ�ำหน่าย แก้วเซรามิก ชุด “ชื่นกลิ่นกล้วยไม้” ผลงานภาพวาดของเด็กโรงเรียนหมูบ่ า้ นเด็ก ซึง่ ได้รบั การ สั่งซื้อแก้วเซรามิก ชุด “ชื่นกลิ่นกล้วยไม้” จาก บริษัทยูนิชาม (ประเทศไทย) จ�ำนวน ๔,๐๐๐ ใบ เป็นเงิน ๕๕๐,๐๐๐ บาท


168

WWW.FFC.OR.TH


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.