Km knowledge 04 2558

Page 1

คู่มือการปฏิบัติงานเรื่อง : การจัดทํางานวิจัย สํานัก/กลุ่ม : สํานักวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม หมายเลขเอกสาร : WI- ER-RE-01

หน้าที่ : 1/14

วันที่เริ่มใช้ :

แก้ไขครั้งที่ : 1

ผู้จัดทํา

ตุลาคม 2558

ผู้ตรวจสอบ

1 ………………………………….…… (นางสาวกุลชลี โหมดพลาย) ……/………..…/……

……………………………..……….…… (นางสาวปัทมาภรณ์ พรายภู่) ……/……….…/……

2 ……………………………..……….…… (นางสาวประวีณาภรณ์ อรุณรัตน์) ……/……….…/…… ผู้อนุมัติ

3 ……………………………..……….…… (นายอนุชิต บุญจันทร์คง) ……/……….…/……

……………………………..……….…… ( ……/……….…/……

)

1


คู่มือการปฏิบัติงานเรื่อง : การจัดทํางานวิจัย สํานัก/กลุ่ม : สํานักวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม หมายเลขเอกสาร : WI- ER-RE-01

หน้าที่ : 2/14

วันที่เริ่มใช้ :

แก้ไขครั้งที่ : 1

ตุลาคม 2558

1. วัตถุประสงค์ เพื่อให้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ใน การศึกษาวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม 2. ขอบเขต ครอบคลุมขั้นตอนการดําเนินงานการศึกษาวิจัยทางเศรษฐกิจอุตสาหกรรม 3. คํานิยาม การวิจัย หมายถึง การศึกษาค้นคว้าวิเคราะห์หรือทดลองอย่างมีระบบ โดยอาศัยอุปกรณ์หรือ วิธีการเพื่อให้ พบข้อเท็จจริงหรือหลักการไปใช้ในการตั้งทฤษฎีหรือแนวทางในการปฏิบัติ ความหมายของการวิจัย (research) สามารถสรุปได้ดังนี้ การวิจัย หมายถึง กระบวนการค้นคว้าหาข้อเท็จจริงหรือปรากฏการณ์ตามธรรมชาติอย่างมีระบบ ระเบียบและมีจุดมุ่งหมายที่แน่นอน เพื่อให้ได้ความรู้ที่เชื่อถือได้ การวิจัย หมายถึง กระบวนการแสวงหาข้อเท็จจริง หรือการพยายามค้นหาคําตอบ หรือหาความรู้ ความเข้ าใจในปรากฏการณ์ต่ างๆ ที่เ กิด ขึ้น ในสังคม โดยใช้วิ ธีการศึกษาอย่ างมี ระเบี ยบและมี หลั กเกณฑ์ทาง วิทยาศาสตร์ (scientific methods) การวิจัย หมายถึง กระบวนการแสวงหาหรือพัฒนาองค์ความรู้ที่มีลักษณะเป็นนัยทั่วไปอย่างมี ระบบแบบแผนโดยวิธีการอันเป็นที่เชื่อถือได้ การวิจัย หมายถึง กระบวนการแสวงหาความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในสิ่งที่ต้องการศึกษา มีการ เก็บรวบรวมข้อมูล การจัดระเบียบ ข้อมูล การวิเคราะห์และการตีความหมายผลที่ได้จากการวิเคราะห์ ทั้งนี้ เพื่อให้ได้มาซึ่งคําตอบอันถูกต้อง 4. ความรับผิดชอบ สํานักวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินการวิจัยในเรื่องที่น่าสนใจ ที่เป็น ประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรม 5. ระเบียบวิธีวิจัย สําหรับขั้นตอนการวิจัยโดยทั่วไป ประกอบด้วยลักษณะการดําเนินงานที่สําคัญ 7 ขั้นตอนดังนี้ 5.1 การกําหนดปัญหาการวิจัย 5.2 การทบทวนวรรณกรรม 5.3 การตั้งสมมติฐาน 2


คู่มือการปฏิบัติงานเรื่อง : การจัดทํางานวิจัย สํานัก/กลุ่ม : สํานักวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม หมายเลขเอกสาร : WI- ER-RE-01

หน้าที่ : 3/14

วันที่เริ่มใช้ :

แก้ไขครั้งที่ : 1

ตุลาคม 2558

5.4 การออกแบบการวิจัย 5.5 การเก็บรวบรวมข้อมูล 5.6 การวิเคราะห์ข้อมูล 5.7 การจัดทําและนําเสนอรายงานการวิจัย การจัดลําดับขั้นตอนดังกล่าว เป็นเพียงการจําแนกเพื่อให้เห็นภาพแนวทาง การดําเนินงาน แต่ ในทางปฏิบัติ ขั้นตอนต่างๆ เหล่านี้ อาจไม่เป็นไปตามลําดับก่อนหลัง เช่น การทบทวนวรรณกรรม อาจกระทํา ก่อนหรือพร้อม ๆ กับการกําหนดปัญหาการวิจัย หรือหากแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ การเก็บรวบรวม ข้อมูลควรทําไปพร้อม ๆ กับการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น สําหรับการดําเนินการในแต่ละขั้นตอนของการวิจัย มีรายละเอียดดังนี้ 5.1 การกําหนดปัญหาการวิจัย ปัญหาการวิจัย (research question) หรือปัญหานําการวิจัย คําถามการวิจัย โจทย์การวิจัย หมายถึงคําถามที่ใช้เป็นแนวทางในการชี้นําทิศทางและแนวทางในการวิจัย (ปาริชาต สถาปิตานนท์, 2545 : 109) ด้วยเหตุนี้ การกําหนดปัญหาการวิจัยจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สําคัญในการวิจัย ทั้งนี้ การจะตั้งปัญหาการวิจัยอย่างไรนั้น ผู้ทําวิจัยควรมีความชัดเจนว่า อยากรู้อะไรโดยประมวลความรู้จากแหล่งต่าง ๆ และใช้เวลาในการคิด วิเคราะห์ เพื่อให้ป ระเด็น ปัญ หามี ความกระชับชั ด ตรงกับ ความสนใจ เงื่ อนไขและทรัพยากรที่ จะนํามาใช้ในการวิจั ยได้ นอกจากนี้ ปัญหาการวิจัยยังเป็นตัวกําหนดระเบียบวิธีที่ใช้ ดังนั้นการกําหนดปัญหาการวิจัยจึงมีความสําคัญเป็น อันดับแรก ทั้งนี้ เกณฑ์ที่จะใช้ในการประเมินปัญหาดังกล่าว มีลักษณะเป็นปัญหาการวิจัยจริง มีความสําคัญ มี คุณค่า มีความจําเป็นเร่งด่วนสมควรจะต้องวิจัย ช่วยเพิ่มพูนองค์ความรู้ที่มีอยู่แล้ว มีทฤษฎี งานวิจัยและคําอธิบาย ที่เหมาะสมรองรับ เป็นปัญหาที่ช่วยให้ได้คําตอบที่นําไปสู่การตั้งปัญหาการวิจัยอื่น ๆ ต่อไป และเป็นไปได้ที่จะ แสวงหาคําตอบด้วยกระบวนการวิจัย 5.2 การทบทวนวรรณกรรม วรรณกรรมในที่นี้ หมายถึง แนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยต่าง ๆ การทบทวนวรรณกรรมจึงเป็นการศึกษา แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหาที่ต้องการศึกษา เพื่อจะตรวจสอบว่า ประเด็นที่ตนสนใจ นั้นอยู่ในสถานภาพใด อะไรที่ทํากันไปแล้ว ทําอย่างไร และผลเป็นอย่างไร ขั้นตอนนี้จึงเป็นขั้นตอนหนึ่งที่สําคัญ ในการทําวิจัย ซึ่งอาจกระทําในสองระยะคือ 5.2.1 ทบทวนก่อนกําหนดปัญหาการวิจัย ในระยะนี้จะเป็นการศึกษาค้นคว้า เพื่อมองหาปัญหาการ วิจัย หรือทําให้ปัญหาการวิจัยชัดเจนยิ่งขึ้นพร้อมกับตรวจสอบว่างานวิจัยที่จะทํานั้นมีผู้ใดทํามาก่อนหรือไม่ อย่างไร 5.2.2 เป็นการทบทวนหลังจากกําหนดปัญหาการวิจัยแล้วเพื่อศึกษาแนวคิด และหรือทฤษฎีที่ 3


คู่มือการปฏิบัติงานเรื่อง : การจัดทํางานวิจัย สํานัก/กลุ่ม : สํานักวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม หมายเลขเอกสาร : WI- ER-RE-01

หน้าที่ : 4/14

วันที่เริ่มใช้ :

แก้ไขครั้งที่ : 1

ตุลาคม 2558

เกี่ยวข้องว่าเป็นอย่างไร มีรายละเอียดอะไรบ้าง และส่วนไหนของทฤษฎีหรือแนวคิดที่เกี่ยวข้องที่จะนํามาใช้ในงาน ที่ตนจะศึกษา ซึ่งเป็นการเตรียมตัวให้ผู้วิจัยมีความรู้ในเรื่องที่จะศึกษาอย่างเพียงพอ การทบทวนวรรณกรรมไม่เพียงแต่จะได้เรียนรู้จากแนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยต่าง ๆ เท่านั้น แต่ยังช่วย ประหยัดเวลา แรงงาน และงบประมาณ ด้วยเหตุนี้ก่อนจะเริ่มทําการวิจัย นักวิจัยควรจะค้นหาคําตอบต่อไปนี้ 1) การวิจัยประเภทไหนที่มีผู้ทําแล้วในประเด็นนั้น 2) ข้อค้นพบจากการศึกษาครั้งก่อน ๆ มีอะไรบ้าง 3) ข้อเสนอแนะที่นักวิจัยเสนอไว้ในการวิจัยครั้งต่อไปคืออะไร 4) มีประเด็นใดบ้างที่ยังไม่ได้ศึกษา 5) ประเด็นที่นักวิจัยสนใจจะช่วยเพิ่มองค์ความรู้ในสาขานั้น ๆ อย่างไร 6) การศึกษาที่ผ่านมาใช้วิธีการศึกษาอย่างไร คําตอบที่ได้จากคําถามดังกล่าวจะช่วยในการกําหนดปัญหาการวิจัย หรือตั้งสมมติฐานได้ชัดเจน ยิ่งขึ้น นอกจากนี้การทบทวนวรรณกรรมยังนําไปใช้ในขั้นตอนอื่นของการวิจัยด้วย เช่น การออกแบบการวิจัย และ การเขียนรายงานการวิจัยในส่วนของการอภิปรายผล 5.3 การตั้งสมมติฐาน เมื่อทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้านจนพอจะมองเห็นแนวทางว่า ประเด็นที่สนใจศึกษา นั้นจะมีผลออกมาเป็นเช่นไร จึงลงมือเขียนสมมติฐาน สมมติฐานเป็นการคาดเดาหรือทํานายคําตอบของปัญหาการ วิจัยซึ่งอาศัยเหตุผลจากทฤษฎี แนวคิด งานวิจัยที่เกี่ยวข้องนั่นเอง โดยเขียนในลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างตัว แปรตั้ งแต่ สองตั วขึ้ น ไป เพื่อเป็น แนวทางในการตรวจสอบได้ด้ วยข้อมู ลเชิงประจักษ์ ตัว อย่า งเช่น “รายได้ มี ความสัมพันธ์กับการบริโภค” จะเห็นว่าข้อความดังกล่าวแสดงความสัมพันธ์ระหว่างสองตัวแปร คือ รายได้และการ บริโภค ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้โดยการตรวจสอบจากข้อมูลในอดีต แล้วนํามาทดสอบว่าสมมติฐานที่ตั้งไว้นั้นเป็นจริง หรือไม่ สําหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยอาจจะตั้งหรือไม่ตั้งสมมติฐานการวิจัยไว้ก่อนก็ได้และจะเขียนในเชิง บรรยาย ทั้ ง นี้ ก ารเขี ย นสมมติ ฐ านจะเขี ย นเพื่ อ กํ า หนดแนวทางและเป้ า หมายของการศึ ก ษาแต่ พ ร้ อ มจะ ปรับเปลี่ยนเมื่อเก็บข้อมูลไปบางส่วนแล้ว 5.4 การออกแบบการวิจัย การออกแบบการวิจัยก็เป็นการกําหนดแผนงาน วิธีการดําเนินงานเพื่อตอบปัญหาการวิจัย อย่างไรก็ ตาม แผนงานดังกล่าว อาจมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขและเพิ่มเติมในระหว่างการทําวิจัยได้ เพราะอาจมีเงื่อนไขหรือ ปัญหาอุปสรรคในระหว่างทําวิจัย โดยมิได้คาดหมายล่วงหน้า ทั้งนี้แบบการวิจัยไม่ว่าจะเป็นการวิจัยเรื่องใด จะไม่มี แผนการวิจัยแบบใดที่ถูกต้องและดีที่สุดเพียงแบบเดียว ดังนั้น การสร้างหรือออกแบบการวิจัยให้มีลักษณะอย่างไร 4


คู่มือการปฏิบัติงานเรื่อง : การจัดทํางานวิจัย สํานัก/กลุ่ม : สํานักวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม หมายเลขเอกสาร : WI- ER-RE-01

หน้าที่ : 5/14

วันที่เริ่มใช้ :

แก้ไขครั้งที่ : 1

ตุลาคม 2558

ขึ้นอยู่กับนักวิจัยแต่ละคนที่มีประสบการณ์ ความชํานาญแตกต่างกัน รวมไปถึงการนําแนวคิด ทฤษฎี มาประกอบ ด้วยเหตุนี้การพิจารณาคิดค้นแบบวิจัยจึงอยู่ที่ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ เมื่อพิจารณาการออกแบบการวิจัยในด้านประสิทธิผลแล้ว การออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณนั้น มุ่งที่ จะให้ได้ข้อค้นพบที่ตรงตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่มีความตรงภายในและมีความตรงภายนอกซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ 5.4.1 ความตรงภายใน (internal validity) การวิจัยจะมีความตรงภายในสูง เมื่อความแตกต่างหรือความแปรปรวน (variance) ที่เกิดขึ้นกับตัว แปรตาม (dependent variable) เป็นผลเนื่องมาจากตัวแปรอิสระ (independent variable) ของการวิจัย เท่ า นั้ น ซึ่ งสามารถกล่ า วได้ อีกนั ย หนึ่ งคื อ ผู้ วิ จั ย สามารถวั ด ค่ า ตั ว แปรอิ ส ระ และตั ว แปรตามได้ อย่ า งมี ความ คลาดเคลื่อนต่ํา ตลอดจนสามารถควบคุมตัวแปรตามไว้ได้นั่นเอง ผู้วิจัยสามารถออกแบบการวัด เพื่อวัดค่าตัวแปร และควบคุมตัวแปรได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนต้อง สามารถออกแบบการใช้สถิติ เพื่อเลือกใช้สถิติเชิงบรรยาย และวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างได้อย่าง ถูกต้อง 5.4.1.1 การออกแบบการวัด (measurement design) ประกอบด้วย • การกําหนดรูปแบบและวิธีการการวัดค่าตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม 1) ระบุโครงสร้าง และความหมายของตัวแปร 2) การสร้างสเกล และเครื่องมือวัดค่าตัวแปร 3) การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวิจัย 4) วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล • การกําหนดรูปแบบ และวิธีวัดค่า หรือควบคุมตัวแปรเกิน 1) จัดสมาชิกเข้ากลุ่มโดยการสุ่ม (random assignment) 2) นําตัวแปรเกินมาใช้เป็นตัวแปรอิสระ 3) จัดสภาพการณ์นั้นให้คงที่ เพื่อขจัดอิทธิพลของตัวแปรเกิน 4) การควบคุมตัวแปรเกินทางสถิติ 5.4.1.2 การออกแบบการใช้สถิติ • การเลือกใช้สถิติเชิงบรรยายที่เหมาะสมกับสเกลการวัดและวัตถุประสงค์ของการวิจัย • การวิเคราะห์และบรรยายข้อมูลกลุ่มตัวอย่างที่ถูกต้อง 5.4.2 ความตรงภายนอก (external validity) การวิจัยจะมีความตรงภายนอกสูง เมื่อผลการวิจัยจากกลุ่มตัวอย่างสามารถสรุปอ้างอิง (inference) ไปยังประชากรเป้าหมายอย่างถูกต้อง หรือสามารถนําผลการวิจัยไปสรุปใช้ (generalize) ในสถานการณ์อื่นที่ คล้า ยคลึ งกัน ได้ อย่า งถูกต้อง ซึ่ งสามารถกล่าวอีกนั ยหนึ่งได้ว่า ผู้วิ จัย จะต้ องสามารถสุ่มตั วอย่ างที่มีความเป็ น 5


คู่มือการปฏิบัติงานเรื่อง : การจัดทํางานวิจัย สํานัก/กลุ่ม : สํานักวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม หมายเลขเอกสาร : WI- ER-RE-01

หน้าที่ : 6/14

วันที่เริ่มใช้ :

แก้ไขครั้งที่ : 1

ตุลาคม 2558

ตัวแทนประชากรเป้าหมายที่ต้องการสรุปอ้างอิงไปถึงและจะต้องสามารถออกแบบการใช้สถิติเพื่อเลือกใช้สถิติเชิง สรุปอ้างอิงจากค่าสถิติของกลุ่มตัวอย่าง ไปยังค่าพารามิเตอร์ของประชากรได้อย่างถูกต้อง ความตรงภายใน เป็นคุณสมบัติพื้นฐาน ส่วนความตรงภายนอก มีความสําคัญกล่าวคือ การวิจัยจะมี ความตรงภายนอกสูง เมื่อการวิจัยนั้นประกอบด้วยความตรงภายใน ตลอดจนผู้วิ จัยสามารถออกแบบการสุ่ ม ตัวอย่าง (sampling design) เพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของประชากรเป้าหมายโดยการจัดกระทําการสุ่ม (random selection) และจะต้องสามารถออกแบบการใช้สถิติ เพื่อเลือกใช้สถิติเชิงสรุปอ้างอิงในการวิเคราะห์ และแปลความหมายได้อย่างถูกต้อง 5.4.2.1 การออกแบบการสุ่มตัวอย่าง (sampling design) ประกอบด้วย • การกําหนดรูปแบบและวิธีการสุ่มตัวอย่าง 1) จัดทํากรอบการสุ่มตัวอย่างที่สมบูรณ์ 2) เลือกวิธีการสุ่ม • การกําหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสม 1) หลักการทางทฤษฎี การพิจารณาสูตรการคํานวณขนาดกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสม - ชนิดของพารามิเตอร์ ที่ต้องการทดสอบหรือประมาณค่า - ขนาดประชากร ความแปรปรวน ความคลาดเคลื่อน ระดับความมั่นใจ 2) หลักการทางปฏิบัติ คํานึงถึงทรัพยากรที่มีอยู่ 3) ขนาดที่เหมาะสม เป็นขนาดที่พอดี ระหว่างหลักทฤษฎีและปฏิบัติ

วิจัย

5.4.2.2 การออกแบบการใช้สถิติ ประกอบด้วย • การเลือกใช้สถิติเชิงสรุปอ้างอิง ที่เหมาะสมกับข้อตกลงเบื้องต้นและวัตถุประสงค์ของการ • การวิเคราะห์และแปลความหมาย การทดสอบสมมติฐาน หรือการประมาณค่าพารามิเตอร์

ได้อย่างถูกต้อง การออกแบบการวิจัยดังกล่าวเป็นวิธีการที่ใช้กับการวิจัยเชิงปริมาณซึ่งจะออกแบบการวิจัยก่อนที่จะ เริ่มศึกษา ในขณะที่การวิจัยเชิงคุณภาพจะออกแบบการวิจัยในระหว่างดําเนินงาน โดยเน้นความยืดหยุ่นและ ปรับเปลี่ยนตามบริบท 5.5 การเก็บรวบรวมข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นขั้นตอนที่สําคัญที่สุดขั้นหนึ่งในงานวิจัย ผู้วิจัยควรศึกษาทําความเข้าใจทั้ง ลักษณะและประเภทข้อมูลตลอดจนวิธีการเก็บข้อมูล เพื่อจะได้นําไปประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับ 6


คู่มือการปฏิบัติงานเรื่อง : การจัดทํางานวิจัย สํานัก/กลุ่ม : สํานักวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม หมายเลขเอกสาร : WI- ER-RE-01

หน้าที่ : 7/14

วันที่เริ่มใช้ :

แก้ไขครั้งที่ : 1

ตุลาคม 2558

งานของตน โดยทั่วไปวิธีการรวบรวมและประเภทข้อมูลที่รวบรวมขึ้นกับวัตถุประสงค์ของงานวิจัยที่กําลังทําอยู่ การเก็บข้อมูลจะมีวิธีการและแหล่งที่มาแตกต่างกันไปและหากพิจารณาถึงประเภทข้อมูลสามารถสรุปข้อมูลได้ 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มข้อมูลทุติยภูมิ และกลุ่มข้อมูลปฐมภูมิ ซึ่งวิธีการรวบรวมข้อมูลทั้งสองประเภทก็จะมีความแตกต่าง กันไป ข้อมู ล (Data) หมายถึ ง ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ ปัญหาที่ผู้ วิจัย ได้ เก็บ รวบรวมมาจากแหล่ งต่า ง ๆ ซึ่ ง อาจจะเป็นตัวเลขหรือข้อความ เพื่อนํามาเป็นหลักฐานอ้างอิงในการสรุปผลหรือตอบคําถามในปัญหาที่ผู้วิจัยศึกษา ทั้งนี้ข้อมูลสามารถจําแนกได้หลาย ๆ ลักษณะตามเกณฑ์ที่ใช้จําแนก ซึ่งประเภทของข้อมูลที่สําคัญ มีดังนี้ ลักษณะที่ 1 จําแนกตามแหล่งที่มาของข้อมูล จําแนกได้ 2 ประเภท คือ 1) ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) เป็นข้อมูลที่ผู้วิจัยรวบรวมจากแหล่งของข้อมูลโดยตรง ข้อมูล ประเภทนี้โดยมากจะได้มาจากการสํารวจ การสัมภาษณ์ การทดสอบ ทดลอง หรือการใช้แบบสอบถาม ประเภทของข้อมูลปฐมภูมิ - ลั ก ษณะด้ า นประชากรศาสตร์ / สั ง คมเศรษฐกิ จ (Demographics Socio-economic Characteristics) ประกอบด้วย อายุ การศึกษา อาชีพ สถานภาพการแต่งงาน เพศ รายได้ และระดับชั้นทางสังคม นักวิจัยจะใช้ตัวแปรเหล่านี้ โดยเก็บรวบรวมตัวแปรเพื่อหยั่งลึกถึงลักษณะของผู้ตอบ - ลักษณะด้านจิตวิทยา/รูปแบบการดํารงชีวิต (Psychological/lifestyle Characteristics) อยู่ใน รูปของลักษณะบุคลิกภาพ กิจกรรม ความสนใจ ค่านิยม - ทัศนคติ/ความคิดเห็น (Attitudes/opinions) โดยทั่วไปทัศนคติเป็นความพึงพอใจ แนวโน้ม ทัศนะ หรือความรู้สึกของบุคคลต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือความรู้สึกที่มีเกี่ยวกับเหตุการณ์ ส่วนความคิดเห็น เป็นการ แสดงความคิดเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยถือว่าทั้งทัศนคติและความคิดเห็นสามารถแทนกันได้ - การเกิดจากความรู้จัก/ความรู้ (Awareness/Knowledge) หมายถึง การหยั่งลึกหรือทําความ เข้าใจข้อเท็จจริงของบุคคลเกี่ยวกับสิ่งของหรือเหตุการณ์ 2) ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) เป็นข้อมูลที่ไม่ได้มาจากแหล่งข้อมูลโดยตรง แต่ได้มาจาก ข้อมูลที่มีผู้อื่นรวบรวมไว้แล้ว ซึ่งข้อมูลประเภทนี้โดยมากมักได้มาจากเอกสาร สถิติ หรือทะเบียนของหน่วยงาน แหล่งทุติยภูมิ คือแหล่งข้อมูล ซึ่งถ่ายทอดมาจากแหล่งต้นตอหรือแหล่งปฐมภูมิ แบ่งออกได้ 2 แหล่ง ใหญ่ คือ - ข้อมูลจากภายในองค์การ (Internal Data Sources) คือข้อมูลที่ก่อให้เกิดขึ้นภายในกิจการ เพื่อให้นักวิจัยใช้ในการดําเนินงานถือว่าเป็นข้อมูลภายใน - ข้อมูลจากองค์กรภายนอก (External Data Sources) คือข้อมูลที่อยู่ภายนอกกิจการซึ่งมีอยู่ มากมายหลายแห่ง และเป็นเรื่องที่ยุ่งยากกว่าการเก็บข้อมูลภายใน

7


คู่มือการปฏิบัติงานเรื่อง : การจัดทํางานวิจัย สํานัก/กลุ่ม : สํานักวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม หมายเลขเอกสาร : WI- ER-RE-01

หน้าที่ : 8/14

วันที่เริ่มใช้ :

แก้ไขครั้งที่ : 1

ตุลาคม 2558

ลักษณะที่ 2 จําแนกตามลักษณะของข้อมูล จําแนกได้ 2 ประเภท คือ 1) ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Data) เป็นข้อมูลที่ไม่ได้แสดงออกมาในรูปของตัวเลขเชิง ปริมาณ แต่เป็นข้อมูลที่แสดงถึงคุณลักษณะที่เป็นข้อความ คําพูดหรือคําบรรยาย เช่น เพศ อาชีพ การศึกษา รูปแบบการโฆษณา เป็นต้น 2) ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data) เป็นข้อมูลที่แสดงออกมาในรูปของตัวเลขที่เป็น จํานวนปริมาณ เช่น การส่งออก ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม เป็นต้น 5.6 การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลคือการนําเอาข้อมูลมาแยกแยะ ผสมผสานเพื่อให้เกิดเป็นแนวความคิดและนํา แนวความคิดเหล่านั้นมาแยกแยะ ผสมผสาน ประกอบกันเพื่อให้ได้มาซึ่งความสัมพันธ์ที่ใช้อธิบายและตอบปัญหา การวิจัย แนวทางการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ผู้วิจัยต้องเลือกวิธีการและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลให้เหมาะสม แต่เนื่องจากวิธีการและสถิติที่ ใช้ ใ นการวิ เ คราะห์ ข้อ มู ล มี ม ากมาย ผู้ วิ จั ย จึ ง ต้ อ งเลื อ กวิ ธี ก ารและสถิ ติ ใ ห้ เ หมาะสมกั บ ประเภทของตั ว แปร จุดมุ่งหมายในการวิเคราะห์และจุดมุ่งหมายในการวิจัย ซึ่งมีแนวทางดังนี้ (ชูเกียรติ ลีสุวรรณ์, 2541 : 36-37) วิเคราะห์สมมติฐานและปัญหาการวิจัย ว่าต้องการทําความเข้าใจกฎเกณฑ์อะไรสมมติฐานและ ปัญหาการวิจัยที่มีลักษณะแตกต่างกัน เช่น เป็นสมมติฐานเกี่ยวกับแบบแผน ขนาด องค์ประกอบ ลําดับ ขั้นตอน ความสัมพันธ์ การเปรียบเทียบ หรือความเป็นเหตุเป็นผล ฯลฯ แต่ละลักษณะต้องการวิธีและสถิติที่ใช้แตกต่างกัน นักวิจัยต้องเข้าใจและเลือกให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสมมติฐานและปัญหาการวิจัยของตน จํานวนตัวแปรที่เกี่ยวข้อง วิธีการและสถิติที่จะใช้กับสมมติฐานที่มีตัวแปรเดียว สองตัวแปร หรือ มากกว่าสองตัวแปรจะแตกต่างกันไป ระดับการวัดแต่ละตัวแปร งานวิจัยหลายชิ้นที่กําหนดสมมติฐาน และจํานวนตัวแปรในการวิจัย เหมือนกันก็ไม่สามารถใช้วิธีการและสถิติเดียวกันได้เสมอไป ต้องพิจารณาระดับการวัดของตัวแปรมาเกี่ยวข้องด้วย ตัวแปรที่มีการวัดเป็นระดับต่างๆ ได้แก่ นามบัญญัติ, การจัดอันดับ, อันตรภาค หรืออัตราส่วน ต้องเลือกใช้สถิติ และวิธีวิเคราะห์ที่แตกต่างกัน ในการเลือกใช้วิธีการและสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างถูกต้องนั้น นักวิจัยจําเป็นต้องศึกษาทํา ความเข้าใจข้อตกลงเบื้องต้นของสถิตินั้น ๆ นักวิจัยอาจเข้าใจว่าการใช้สถิติที่ลึกซึ้งเป็นการแสดงถึงคุณภาพของ การวิจัย ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด การเลือกใช้สถิติที่ลึกซึ้งโดยไม่เข้าใจถึงข้อตกลงเบื้องต้นของสถิติดังกล่าวและการ ที่นักวิจัยมีข้อมูลที่ไม่เป็นไปตามข้อตกลงดังกล่าวเป็นความผิดพลาดที่เกิดขึ้นให้พบเห็นอยู่เสมอ การเลือกใช้สถิติที่ 8


คู่มือการปฏิบัติงานเรื่อง : การจัดทํางานวิจัย สํานัก/กลุ่ม : สํานักวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม หมายเลขเอกสาร : WI- ER-RE-01

หน้าที่ : 9/14

วันที่เริ่มใช้ :

แก้ไขครั้งที่ : 1

ตุลาคม 2558

สูงเกินไปจึงเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องเช่นเดียวกันการเลือกสถิติที่หยาบเกินไป ก็อาจทําให้รายละเอียดของข้อมูลสูญ หายไปได้เหมือนกัน วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลที่เหมาะสมที่สุดจึงขึ้นอยู่กับความเข้าใจของนักวิจัยเกี่ยวกับปัญหาและ สมมติฐานการวิจัย จํานวนตัวแปร ระดับการวัดของตัวแปร และความเข้าใจของนักวิจัยเกี่ยวกับข้อตกลง วิธีการ และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ตัวอย่างของสถิติที่อาจใช้กับปัญหาการวิจัยลักษณะต่างๆ กันมี ดังนี้ สถิติสําหรับวิเคราะห์ตัวแปรเดี่ยว เช่น ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติสําหรับวิเคราะห์ตัวแปรสองตัวแปร เช่น Chi-Square, t-test, ANOVA หรือ F-test, Pearson Product Moment Correlation หรือ Regression สถิติสําหรับวิเคราะห์ตัวแปรมากกว่า 2 ตัวแปรขึ้นไป (ผู้วิจัยต้องทําความเข้าใจข้อตกลงของสถิติ เหล่านี้ให้ดี) เช่น Multiple Correlation, Partial Correlation, Multiple Regression Analysis, Multiple Classification Analysis, ANCOVA, หรือ Factor Analysis เป็นต้น แนวทางการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ หลังจากเก็บรวบรวมข้อมูลแล้ว ผู้วิจัยจะต้องนําข้อมูลมาแยกประเภท จัดหมวดหมู่เพื่อให้ง่ายต่อการ วิเคราะห์ ซึ่งขั้นตอนการวิเคราะห์ที่ปฏิบัติกันมีสองแบบ คือ 1) แบบแรก วิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลจะกระทําไป พร้อมๆ กัน กล่าวคือ ในแต่ละวันหลังจากเก็บข้อมูลเสร็จแล้ว ผู้วิจัยจะเขียนบันทึกอย่างละเอียด พร้อมกับจัด หมวดหมู่และวิเคราะห์ข้อมูลไปด้วย ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นในลักษณะนี้ ผู้วิจัยจะพบปัจจัยหรือ ตัวแปร ขั้นตอนหรือกระบวนการ หรือแบบแผนพฤติกรรม และประเด็นหลัก ๆ ในหัวข้อที่กําลังศึกษาอยู่ ซึ่งผู้วิจัยอาจจะ คาดหมายหรือไม่ได้คาดหมายมาก่อน ดังนั้น การวิเคราะห์ในขั้นสุดท้ายก่อนการเขียนรายงาน คือการจัดระบบ รวมทั้งการขยายความการวิเคราะห์เบื้องต้นที่ผู้วิจัยทําไว้ก่อนแล้ว 2) แบบที่สอง วิเคราะห์ข้อมูลหลังจากเก็บรวบรวมข้อมูลเสร็จเรียบร้อยแล้ว ผู้วิจัยจึงเริ่มทบทวน แยกประเภท จั ด หมวดหมู่ ข้อมู ล แล้ ว จึงตามด้ ว ยการวิ เ คราะห์ ซึ่ งทํ าได้ ย ากกว่ าการวิ เ คราะห์ข้อมูล เบื้องต้ น เนื่องจากอาจทําให้ผู้วิจัยสับสนเพราะบางครั้งข้อมูลบางส่วนที่สําคัญขาดหายไป หรือการรวบรวมข้อมูลให้เสร็จ ก่อนจึงจัดหมวดหมู่นั้น ทําให้ผู้วิจัยไม่ทราบว่าข้อมูลเหล่านั้นบอกความนัยอะไรบ้าง ตอบคําถามที่ผู้วิจัยต้องการ ทราบได้ทั้งหมดหรือไม่ และจะมีปัจจัยตัวใดเข้ามาเกี่ยวข้องอีกบ้าง ดังนั้น ผู้วิจัยที่เลือกปฏิบัติในรูปแบบนี้จะใช้ เวลานานในการวิเคราะห์และเขียนรายงาน การวิ เ คราะห์ แบบแรก เป็ น แบบที่ นิย มปฏิ บั ติ มากกว่ า แบบที่ส อง เนื่ องจากการวิ เคราะห์ ข้อมู ล เบื้องต้นทําให้มองเห็นว่ามีข้อมูลส่วนใดบ้างที่จําเป็นจะต้องเก็บเพิ่มเติม การวางแผนการวิเคราะห์ข้อมูลรวมทั้งการ วางเค้าโครงการเขียนรายงานจึงทําได้ง่ายและรวดเร็ว ทําให้ประหยัดเวลาและงบประมาณมากกว่าแบบที่สอง

9


คู่มือการปฏิบัติงานเรื่อง : การจัดทํางานวิจัย สํานัก/กลุ่ม : สํานักวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม หมายเลขเอกสาร : WI- ER-RE-01

หน้าที่ : 10/14

วันที่เริ่มใช้ :

แก้ไขครั้งที่ : 1

ตุลาคม 2558

5.7 การจัดทําและนําเสนอรายงานการวิจัย รายงานการวิจัยเป็นเอกสารรายงานที่ประกอบด้วยองค์ประกอบสองส่วนหลัก ๆ คือ ส่วนแรก เป็น โครงร่างการวิจัย ที่ผู้วิจัยได้จัดทําก่อนที่จะเก็บรวบรวมข้อมูล และส่วนที่สอง เป็นส่วนที่เสนอผลงานการวิจัยและ การสรุป อภิปรายผล ซึ่งจัดทําเมื่อดําเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้หากพิจารณาจากเนื้อหาที่ แบ่งเป็นบทในรายงานการวิจัยที่พบโดยทั่วไปจะมีอยู่ 5 บทนั้น สามบทแรกเป็นโครงร่างการวิจัย คือส่วนที่เป็นบท นํา การทบทวนวรรณกรรม และวิธีดําเนินการวิจัย ส่วนบทที่สี่และห้า เป็นผลการวิจัยและสรุปอภิปรายผล ในที่นี้ จะกล่าวถึงโครงร่างการวิจัยและรายงานการวิจัยดังนี้ 5.7.1 โครงร่างการวิจัย โครงร่ า งการวิ จั ย มี ชื่ อ เรี ย กแตกต่ า งกั น ไป ทั้ ง หั ว ข้ อ โครงร่ า ง ข้ อ เสนอโครงการวิ จั ย เค้าโครงการวิจั ย โครงการวิจั ยและโครงร่างงานวิ จัย ซึ่งถอดความมาจากคํ าว่า research proposal ใน ภาษาอังกฤษ โดยคําจํากัดความของโครงร่างการวิจัย คือ ข้อเสนอทางเทคนิค ซึ่งผู้วิจัยนําเสนอความคิดรวบยอด ว่ามีวัตถุประสงค์และมีแผนการดําเนินงานอย่างไรบ้างสําหรับประเด็นปัญหาการวิจัยที่กําหนดศึกษา โครงร่างการ วิจัยโดยทั่วไปต้องประกอบด้วยขั้นตอนที่ผู้วิจัยเสนอว่าจะดําเนินการตามนั้น โดยคาดหมายว่าเมื่อดําเนินการจน ครบถ้วนแล้วจะทําให้ได้คําตอบที่มีความถูกต้องและเชื่อถือได้สําหรับปัญหาการวิจัยดังกล่าว โครงร่างการวิจัยจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับ เรื่องอะไร เพื่ออะไร ใช้แนวคิดอะไรมารองรับ ใช้วิธีการศึกษา อย่างไรซึ่งหมายความว่า ผู้วิจัยจะต้องดําเนินการวิจัยตามแนวทางที่ระบุไว้ตามโครงร่างงานวิจัย นอกจากนี้ การ วิจัยทุกลักษณะไม่ว่าจะเป็นโครงการขนาดเล็กหรือใหญ่ และมีทุนสนับสนุนมากน้อยเพียงใดก็ตาม โดยสากลนิยม แล้วต้องมีการเขียนและเสนอโครงร่างการวิจัยก่อนเสมอ 5.7.2 แนวทางการเขียน รูปแบบการเขียนโครงร่างการวิจัยของแต่ละสถาบัน รวมถึงหัวข้อต่างๆ ที่จะต้องมีอาจแตกต่างกัน แต่หัวข้อหลักๆ มักจะคล้ายคลึงกัน ด้วยเหตุนี้ หากผู้วิจัยเป็นนักศึกษา ลักษณะการเขียนก็ต้องเป็นไปตามระเบียบ ของบัณฑิต วิทยาลัย ที่ต นสั งกั ด แต่ หากเขีย นเพื่อขอทุนวิ จัย จากแหล่ งอื่ นก็ ต้องเขีย นตามแนวที่ แหล่งทุน นั้น ๆ กําหนด ในที่นี้ จะกล่าวถึงการเขียนหัวข้อต่างๆ โดยเรียงลําดับตามโครงร่างการวิจัย ดังนี้ 1) ความเป็นมาและความสําคัญของปัญหา เป็นการปูพื้นให้ผู้อ่านได้เข้าใจเรื่องราวเป็นเบื้องต้นว่า ผู้วิจัยมีเบื้องหน้าเบื้องหลังในการทําวิจัยอย่างไร โดยนําเอาแนวความคิด ทฤษฎีหรืองานวิจัยหรือข้อความสําคัญมา สนั บ สนุ น เช่ น คํ า พู ด ของผู้ เ ชี่ ย วชาญ ผู้ รู้ ผู้ ชํ า นาญการในสาขาต่ า ง ๆ หรื อ แนวนโยบาย ข้ อกฎหมาย และ พระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ศึกษา การเขียนในส่วนนี้ต้องเขียนให้ตรงประเด็นและสั้น หยิบยกประเด็น และตัวอย่างหรือข้อสนับสนุนเฉพาะส่วนที่สําคัญเพื่อดึงดูดความสนใจให้ผู้อ่านติดตามต่อไป 10


คู่มือการปฏิบัติงานเรื่อง : การจัดทํางานวิจัย สํานัก/กลุ่ม : สํานักวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม หมายเลขเอกสาร : WI- ER-RE-01

หน้าที่ : 11/14

วันที่เริ่มใช้ :

แก้ไขครั้งที่ : 1

ตุลาคม 2558

2) วัตถุประสงค์ ระบุให้ชัดเจนว่าต้องการจะศึกษาในประเด็นใดบ้าง โดยอาจเขียนเป็นรายข้อ ทั้งนี้ วั ต ถุ ป ระสงค์ จ ะเป็ น ตั ว ชี้ ว่ า งานวิ จั ย จะมุ่ งไปในทิ ศทางใดและเป็ น ตั ว กํ า หนดรายละเอี ย ดของการวิ จั ย ต่ อไป นอกจากนี้การสรุปผลการวิจัยจะต้องตอบคําถามตามวัตถุประสงค์อย่างครบถ้วน 3) ขอบเขตในการวิจัย เป็นการตีกรอบขอบเขตของการวิจัยว่า มีขอบเขตแค่ไหน โดยอาจระบุ ขอบเขตในด้านเนื้อหา ด้านประชากร ด้านพื้นที่ และด้านระยะเวลา 4) นิยามศัพท์ อธิบายความหมายของคําหลัก หรือตัวแปรที่จะศึกษาที่อาจปรากฏในหัวเรื่องการ วิจัย ปัญหาการวิจัย วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นหลักสําหรับผู้วิจัยที่จะใช้ในการวัดตัวแปรและช่วยสื่อความหมายให้ ตรงกัน 5) ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย เป็นการระบุความคาดหมายที่จะได้รับจากงานวิจัยว่าจะ เป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานหรือผู้ปฏิบัติงานหรือวงวิชาการในด้านใด อย่างไร 6) แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นการสรุปหรือดึงแนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่จะ นํามาใช้ในงานวิจัยมาแสดงให้เห็นว่า ผู้วิจัยจะใช้แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยชิ้นใดบ้าง ทั้งนี้ควรจะเขียนบทสรุปไว้ ตอนท้ายว่าจะนํามาใช้อย่างไร และมีตัวแปรใดหรือจุดอ่อน จุดแข็งที่พบจากการเรียนรู้งานวิจัยที่เลือกมาศึกษา 7) วิธีดําเนินการวิจัย ระบุรายละเอียดในการดําเนินการวิจัย โดยมีหัวข้อย่อยดังนี้ รูปแบบการวิจัย ระบุรูปแบบการวิจัยว่าเป็นการวิจัยแบบใด การวิจัยเชิงทดลอง การวิจัยเชิง สํารวจ หรือการวิจัยเชิงคุณภาพ ฯลฯ กลุ่ ม เป้ า หมาย ระบุ ใ ห้ ชั ด เจนว่ า เป็ น ประชากรกลุ่ ม ใด และขนาดของประชากรหรื อ กลุ่มเป้าหมาย หากจะใช้กลุ่มตัวอย่างจะต้องกําหนดขนาดของตัวอย่างและเทคนิคการสุ่มหรือการเลือกตัวอย่าง การเก็บรวบรวมข้อมูล อธิบายว่าจะเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างไร ใช้เครื่องมืออะไรบ้าง ขั้นตอน การสร้าง การทดลองใช้ รวมถึงการประเมินคุณภาพของเครื่องมือและวิธีการในการเก็บรวบรวมข้อมูล ในส่วนนี้ เมื่อดําเนินการรวบรวมข้อมูลแล้ว ควรเขียนเพิ่มเติมว่า พบปัญหาใดบ้างและแก้ปัญหาได้หรือไม่ อย่างไร ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือในกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลมากขึ้น 5.7.3 รายงานการวิจัย ตามที่กล่าวไว้ตอนต้นว่า รายงานการวิจัยโดยทั่วไปจะมีอยู่ 5 บท และสามบทแรกอยู่ในโครงร่างการ วิจัย ฉะนั้นเมื่อรวบรวมข้อมูลแล้ว จึงเขียนบทที่สี่เพื่อเสนอผลงานวิจัย และบทที่ห้าสรุปและอภิปรายผล ซึ่งมี แนวทางในการเขียนดังนี้ 1) ผลการวิจัย เป็นการรายงานผลการวิจัยโดยบรรยายหรืออธิบายข้อเท็จจริงจากข้อมูลที่รวบรวมได้ โดยอาจนําวัตถุประสงค์ของการวิจัยมาเป็นหัวข้อหลักในการนําเสนอข้อมูล การเขียนผลการวิจัย ต้องเขียนให้ ชัดเจนและใช้ภาษาให้ถูกต้อง ที่สําคัญคือต้องเขียนรายงานตามข้อมูล ทั้งนี้ผู้วิจัยอาจนําตาราง แผนภาพ แผนภูมิ มาใช้ประกอบการนําเสนอเพื่อให้เกิดความชัดเจนมากขึ้น 11


คู่มือการปฏิบัติงานเรื่อง : การจัดทํางานวิจัย สํานัก/กลุ่ม : สํานักวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม หมายเลขเอกสาร : WI- ER-RE-01

หน้าที่ : 12/14

วันที่เริ่มใช้ :

แก้ไขครั้งที่ : 1

ตุลาคม 2558

2) สรุ ป และอภิ ป รายผล เป็ น การนํา ผลการวิ จั ย ข้ างต้ น มาสรุ ป ตามประเด็ นต่ า งๆ ว่าได้ ต อบ วัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้หรือไม่ อย่างไร ส่วนการอภิปรายผลเป็นการตีความ แปลความผลการวิจัยที่วิเคราะห์ได้ จากข้อมูล แล้วเชื่อมโยงกับข้อสรุปที่ได้จากแนวคิด ทฤษฎีหรืองานวิจัย ซึ่งผู้วิจัยได้นํามาใช้ว่าเหมือนหรือแตกต่าง กัน โดยพยายามแยกแยะวิพากษ์วิ จารณ์ทั้งผลและวิ ธีการศึกษาของตนเองและของผู้อื่น โดยอาจจะแย้ งหรื อ สนับสนุน หรือเพิ่มเติมคําอธิบายที่มีอยู่เดิมให้สมบูรณ์ขึ้น ในกรณี ที่เ ป็น การวิ จัย เชิ งคุ ณภาพ รายงานการวิจั ยอาจมีมากกว่ า 5 บท โดยขยายบทที่ เป็ น ผลการวิจัยออกไป หรือแยกการอภิปรายผลการวิจัยกั บบทสรุ ปออกไปเป็น สองบทก็ได้ หากมีป ระเด็น ในการ อภิปรายค่อนข้างมาก และจะทําให้เกิดความกระชับชัด รวมทั้งความสะดวกต่อผู้อ่าน 3) บทคัดย่อ เป็นเสมือนตัวแทนของรายงานการวิจัยทั้งหมด คือจะต้องระบุวัตถุประสงค์ วิธีการ วิจัย และผลการวิจัย ปกติแล้วจะมีความยาวไม่เกิน 2 หน้ากระดาษ 5.7.4 สรุปและข้อเสนอแนะ บทสรุป มีเ นื้อหาครอบคลุมเนื้อหาสําคั ญ ๆ ของงานวิ จัย และการวิเ คราะห์ เท่า นั้น ในส่ว น ข้อเสนอแนะ เป็นการเสนอแนะเชิงนโยบายที่ได้ข้อมูลจากการศึกษาวิจัยในเรื่องนั้น ๆ 6. การเผยแพร่ผลงานวิจัย ผู้วิจัยจะต้องนําผลงานวิจัยเผยแพร่ต่อสาธารณะ การเผยแพร่อาจทําได้โดยการเสนอผลการวิจัยใน การประชุมวิชาการ งานสัมมนาทางวิชาการ การตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ อินเตอร์เนต (อย่างใดอย่างหนึ่ง)

12


คู่มือการปฏิบัติงานเรื่อง : การจัดทํางานวิจัย สํานัก/กลุ่ม : สํานักวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม หมายเลขเอกสาร : WI- ER-RE-01

หน้าที่ : 13/14

วันที่เริ่มใช้ :

แก้ไขครั้งที่ : 1

ตุลาคม 2558

7. ขั้นตอนและรายละเอียดการปฏิบัติงาน

ก / / ก ก

ก ! " #$ %& ก '% # ก

ก ก - ก . ก ก&!*/ *

- 0 *

- " # / 1 . 1 ก .* %''" ' / %''" /2 ,$ - ก % - ก '0 /3& - # $0 /3& - 0

# /ก * ก 4 5 ) / 6 0 " % 0 ก / ' ! %ก 70

(& "/'3 ,$ ) / 6 " (& * ก

( %) *(& * " + ,

13


คู่มือการปฏิบัติงานเรื่อง : การจัดทํางานวิจัย สํานัก/กลุ่ม : สํานักวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม หมายเลขเอกสาร : WI- ER-RE-01

หน้าที่ : 14/14

วันที่เริ่มใช้ :

แก้ไขครั้งที่ : 1

ตุลาคม 2558

8. เอกสารอ้างอิงที่เกี่ยวข้อง เอกสาร - งานวิจัยเรื่อง ทิศทางและแนวโน้มความต้องการและกําลังแรงงานอุตสาหกรรมพลาสติกไทย - งานวิจัยเรื่อง ผลกระทบการขาดแคลนแรงงานและการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างกําลังแรงงาน : ศึกษาผ่านการจําลองสถานการณ์ในแบบจําลองดุลยภาพทั่วไปเชิงพลวัต 9. แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง - ไม่มี 10. เอกสารบันทึก ไม่มีข้อมูล ชื่อเอกสาร ผู้รับผิดชอบ แบบฟอร์ ม สั ญ ญา ......... จ้าง F-PO

11. วิธีการติดตาม (ถ้ามี) ชื่อตัวชี้วัด ร้อยละความพึงพอใจต่อผลงานที่นําเสนอต่อ สาธารณะ

สถานที่จัดเก็บ

ค่าเป้าหมาย 80

ระยะเวลาจัดเก็บ

หน่วยนับ ร้อยละ

วิธีจัดเก็บ

ผู้รับผิดชอบ สว.

14


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.