E m1 1re

Page 1

Vol.13 No . 122 JULY / 2013

ย าไท

าษ ภ ือ

ง รา ใช

อ ง

ล นก

คูม

Move into a New World 17


18


โดย : พิเชฎฐ์ จันทรถาวรพงศ์

19


ากคิดว่ากล้อง Mirrorless คงจะไม่มีกล้องถึงระดับ มืออาชีพ คงต้องคิดกันใหม่แล้วเมื่อโอลิมปัสเปิด ตัวกล้องรุ่น OM-D E-M1 ซึ่งเป็นกล้อง Mirrorless ในซีรี่ส์ OM-D รุ่นล่าสุด กล้องรุ่นนี้ออกมาสำ�หรับการใช้งานในระดับกึ่งอาชีพที่ เน้นคุณภาพมากเป็นพิเศษไปจนถึงมืออาชีพที่ต้องการกล้องที่มี คุณสมบัติที่ดีสามารถรองรับการใช้งานแบบมืออาชีพได้แต่มีขนาด ตัวกล้องที่เล็กลงกว่ากล้อง DSLR ที่ส่วนมากจะมีขนาดใหญ่และน้ำ� หนักมาก รูปร่างหน้าตาของ OM-D E-M1 ได้รับการปรับโฉมใหม่ จากรุ่นก่อนหน้าคือ OM-D E-M5 ให้ดูทันสมัยและมีความเป็นโปร มากขึ้นแต่ก็ยังคงรูปแบบของกล้อง SLR ในตระกูล OM ไว้อย่าง เหนียวแน่น พร้อมทั้งใส่ระบบการทำ�งานแบบมืออาชีพเข้ามาครบถ้วน และทันสมัยด้วยฟังก์ชั่น Wi-Fi ในตัว กล้องรุ่นนี้ออกมาพร้อมกับ เลนส์โปรซีรี่ส์ใหม่คือ M.ZUIKO DIGITAL 12-40 mm F/2.8 PRO เพียงแค่เห็นเลนส์ก็ต้องทึ่งแล้วเพราะหากเทียบกับกล้อง DSLR นี่ก็ คือชุดกล้องโปรดีๆ นั่นเอง

การออกแบบภายนอก

ในเรื่องของการออกแบบนั้น ไม่มีข้อกังขาเลยโดยเฉพาะ กล้องรุน่ ทีโ่ อลิมปัสเน้นเป็นพิเศษเพราะเป็นทีร่ กู้ นั โดยทัว่ ไปว่าโอลิมปัส นั้นมีชื่อเสียงด้านการออกแบบ กล้องหลายต่อหลายรุ่นของโอลิมปัส มักจะได้รับรางวัลการออกแบบยอดเยี่ยมอยู่เสมอๆกับOM-D E-M1 ตัวนี้ก็เช่นกัน การออกแบบที่แม้จะดูเหลี่ยมๆ แบบกล้องในอดีต ยุคแมนนวลโฟกัสแต่กลับดูมีเสน่ห์และคลาสสิคสะดุดตาตั้งแต่แรก เห็น หากเทียบกับรุ่นก่อนที่ว่าคลาสสิคแล้ว OM-D E-M1 ตัวนี้ยิ่ง ดูคลาสสิคมากขึ้นไปอีก รูปแบบตัวกล้องถูกปรับโฉมใหม่ทั้งหมด โดยอิงรูปแบบของกล้องโปรตัวดังในอดีตคือ OM-4 ไว้ในหลายๆ ส่วน เรียกว่าเห็นครั้งแรกก็ทำ�ให้นึกถึงกล้องซีรี่ส์ OM ในอดีตขึ้น

20

มาทันที แม้จะไม่เหมือนกันทุกส่วนแต่ส่วนหลักๆ ที่เป็นเอกลักษณ์ โดยเฉพาะส่วนที่เรียกกันว่าหัวกะโหลกและสันข้างบอดี้ที่ทำ�เป็นมุม แหลมนั้นแทบจะถอดแบบกันมาเลย กริปจับเป็นส่วนที่ทำ�ให้กล้องรุ่นนี้จับถือใช้งานได้อย่าง มั่นใจ การวางแป้นปรับข้อมูลแบบคู่ด้านบนคือส่วนที่ทำ�ได้เหนือชั้น มากๆ เพราะเมื่อใช้ร่วมกับแกนปรับฟังก์ชั่นด้านหลัง ก็ปรับด้วย แป้นปรับข้อมูลแบบนี้จะใช้งานได้ถึง 4 ฟังก์ชั่นซึ่งทางโอลิมปัสเรียก ว่า 2 x 2 Dial แป้นปรับโหมดถูกย้ายมาอยู่ด้านบนขวา ส่วนทาง ด้านซ้ายเป็นปุ่มเข้าฟังก์ชั่นอีก 2 ปุ่มที่ออกแบบมาคล้ายกับก้าน กรอฟิล์มกลับของกล้องฟิล์ม ทำ�ได้มีสเน่ห์มากๆ วัสดุบอดี้เป็นโลหะแมกนีเซียม อัลลอยทั้งตัว แข็งแกร่ง แน่นอน ช่องมองภาพเป็นรุ่นใหม่ความละเอียดสูง 2.36 ล้านพิกเซล ซึ่งเป็นช่องมองภาพ VF-4 ที่เป็นอุปกรณ์เสริมในรุ่น E-P5 แต่ E-M1 มาในตัวกล้องเลย ที่สำ�คัญคืออัตราขยายสูงมากถึง 1.48x ใหญ่กว่า กล้อง DSLR เสียอีก จอ LCD มอนิเตอร์แบบ Touch screen ขนาด 3.0 นิ้ว 1,037,000 จุด ปรับขึ้นและก้มลงเพื่อถ่ายภาพมุมสูงและมุม ต่ำ�พร้อมระบบ Touch AF shutter เหมือนรุ่นก่อน ปุ่ม Fn1 และ ปุ่ม Fn2 เป็นสิ่งที่ใช้ในการปรับเปลี่ยนฟังก์ชั่นได้ตามใจผู้ใช้ นอก เหนือไปจากปุ่มเช็คระยะชัดลึกและปุ่มวัด WB แมนนวลทางด้าน หน้ า ถื อ ว่ า เป็ น การออกแบบในลั ก ษณะกล้ อ งโปรเพราะมี ปุ่ ม ทำ � หน้าที่โดยเฉพาะแยกออกมาไม่ต้องไปรวมเหมือนกล้องรุ่นเล็ก แต่ ใน E-M1 ก็สามารถที่จะเปลี่ยนฟังก์ชั่นของปุ่มได้เช่นกัน สิ่งที่เปลี่ยนไปคือ Arrow Pad ใช้ปรับเลือกกรอบ AF ได้โดยตรงหรือจะใช้งานแบบเดิมก็ได้แต่ต้องไปเลือกการทำ�งาน ของปุ่มขวาและปุ่มล่างในเมนูก่อน กล้องรุ่นนี้มีช่องต่อไมโครโฟน ภายนอกสำ�หรับบันทึกเสียงในโหมดวิดีโอด้วย ด้านล่างเป็นช่อง ใส่แบตเตอรี่มีฝาปิดที่แข็งแรงพร้อมระบบล็อคแบบบิดล็อค มีช่อง


ที่ ISO 1000 โทนภาพยังดีมาก การเกิด Noise ต่ำ� Olympus OM-DE-M1, M.Zuiko Digital ED 12-40 มม.F/2.8 PRO, M, 1/30 วินาที, F/2.8, ISO 1000, WB Manual, Large JPEG/ Super Fine (นางแบบ: น้องภาตี้ และขอขอบคุณ World Camera สำ�หรับนางแบบสวยๆ และสถานที่)

21


22


การวัดแสงและการโฟกัสเฉียบขาดแม้กับวัตถุขนาดเล็ก Olympus OM-D E-M1, M.Zuiko Digital ED 12-40 มม.F/2.8 PRO, M, 1/320 วินาที, F/3.2, ISO 200, WB Shadow, Large JPEG/Super Fine เชื่อมต่อกับแบตเตอรี่ โฮลเดอร์รุ่นใหม่ น้ำ�หนักตัวกล้อง 443 กรัม - กรอบหา AF 81 จุดพื้นที่กว้าง เลือกขนาดกรอบ AF ได้ หนักกว่ารุ่นก่อนพอควรแต่ถือว่าเป็นน้ำ�หนักกำ�ลังดี ไม่เบาหรือ - ช่องมองภาพ EVF ความละเอียด 2.36 ล้านจุด เห็นภาพ 100 % หนักมาก ให้ความรู้สึกแข็งแรงเมื่อใช้งานจริง - จอมอนิเตอร์ OLED 3 นิ้ว ปรับขึ้นได้ 80 องศาและปรับก้มลง การออกแบบภายนอกโดยรวมของ E-M1 ถือว่าดีมากๆ ได้ 50 องศา ขนาดตัวกล้องใหญ่กว่ารุ่นก่อนทุกด้าน และเกือบจะใกล้เคียงกล้อง - ถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูงสุด 10 เฟรมต่อวินาที ฟิล์ม OM เป็นการออกแบบที่ต้องยกนิ้วให้แบบ 2 Thumbs Up เลย - ระบบประมวลผลล่าสุด TruePic VII ทีเดียว ผมไม่แน่ใจว่ากล้องรุ่นนี้จะทำ�บอดี้สีด�ำ อย่างเดียวหรือมีสี - แฟลชสัมพันธ์ความเร็วชัตเตอร์ 1/320 วินาที เงินด้วย แต่สีด�ำ นั้นถือว่าโอลิมปัสทำ�ออกมาได้ดี การลงสีและหุ้ม - บันทึกภาพเคลื่อนไหว(Movie) ความละเอียดสูงสุด Full HD ยางลายหนังบนบอดี้ ทำ�ได้อย่างปราณีต ยิ่งติดกับเลนส์ M.ZUIKO DIGITAL 12-40 mm F/2.8 PRO แล้วเป็นกล้องที่แม้แต่กล้องโปร ระบบการทำ�งาน อื่นๆ ก็ยังไม่สวยเท่า (ในสายตาของผม) 1. เซ็นเซอร์ภาพ ขนาดไฟล์ภาพ ไฟล์ฟอร์แมท เซ็นเซอร์ภาพของ E-M1 ยังคงความละเอียด 16 ล้าน คุณสมบัตเิ ด่นหลักทีน่ า่ สนใจของ Olympus OM-D E-M1 พิกเซลเท่ากับรุ่น E-M5 แต่ไม่ใช่เซ็นเซอร์ภาพตัวเดิมเพราะนี่เป็น - เซ็นเซอร์ภาพ Live MOS 16 ล้านพิกเซล เซ็นเซอร์ภาพใหม่ Live MOS ที่ไม่มี Low pass filter และได้เพิ่ม - ตัวบอดี้ซีลกันฝุ่นและละอองน้ำ� ระบบการหาโฟกัสแบบเฟส-ดีเทคชั่น (Phase-detection) ไปบน - ความไวแสง ISO 200-25600 และ LOW (ISO 100) ตัวเซ็นเซอร์ (On-sensor) ทำ�ให้ E-M1 มีระบบการหาโฟกัสทั้ง 2 - แป้นปรับข้อมูลแบบ 2x2 Dial แบบคือทั้งระบบเฟส-ดีเทคชั่นที่ใช้ในกล้อง DSLR และแบบตรวจหา - ระบบลดการสั่นไหวแบบ 5 แกน คอนทราสต์ (Contrast detection AF) จึงเป็นที่มาของการหาโฟกัส

23


ที่รวดเร็วที่โอลิมปัสรียกว่า Dual FAST AF โดยระบบการหาโฟกัส แบบเฟส-ดีเทคชั่นนั้น จะถูกใช้งานเมื่อใช้ร่วมกับระบบเลนส์4/3 (Four Thirds) แต่หากใช้ร่วมกับเลนส์ Micro 4/3 ระบบการหาโฟกัส ของ E-M1 ก็จะใช้ระบบตรวจหาคอนทราสต์ซึ่งกล้องจะปรับเลือก ระบบใช้งานให้โดยอัตโนมัติ จากเซ็นเซอร์ภาพตัวใหม่นี้เป็นเซ็นเซอร์ภาพที่ให้ความ คมชัดสูงซึ่งทางโอลิมปัสบอกว่าเป็นเซ็นเซอร์ภาพที่ดีที่สุดกับระบบ เลนส์ ZUIKO เท่าที่โอลิมปัสเคยมีมาเลยทีเดียว ยิ่งเมื่อทำ�งานร่วม กับระบบประมวลผล TruePic VII เวอร์ชั่นล่าสุดที่ใช้เทคโนโลยี่ Fine Detail Technology II ยิ่งทำ�ให้ E-M1 ให้ภาพที่คมชัดกว่าเดิม แม้ในการเปิดรูรับแสงกว้างสุดหรือแคบสุดเมื่อถ่ายภาพในฟอร์แมท JPEG รวมทั้งลดการเกิด Noise ที่ความไวแสงสูงและการถ่ายทอด สีที่สดเข้มแต่เป็นธรรมชาติ สำ � หรั บ ขนาดไฟล์ ภ าพมี ใ ห้ เ ลื อ กตั้ ง แต่ ข นาดใหญ่ สุ ด L และขนาดรองอีก 2 ขนาดคือ M, S โดยขนาด M และ S สามารถ เลือกขนาดในออปชั่นได้อีกจากเมนู Pixel Count ตามสไตล์ของ โอลิมปัสเหมือนเดิม บันทึกภาพในฟอร์แมทได้ทั้ง RAW, JPEG 4 ระดับคุณภาพ (ตั้งแต่ Super Fine, Fine, Normal, Basic) และ RAW+JPEG ความไวแสงเริ่มต้นที่ ISO 200 ปรับสูงสุดได้ถึง ISO 25600 และ LOW (เทียบเท่า ISO 100)

2. Dual FAST AF 81 กรอบ Dual FAST AF เป็นการใช้ระบบการหา AF 2 ระบบ คือทั้งแบบเฟส-ดีเทคชั่น บนเซ็นเซอร์ภาพ และแบบตรวจหาคอน ทราสต์ทำ�ให้ E-M1 หา AF ได้เร็วกว่าไม่ว่าจะใช้กับเลนส์ Micro 4/3 หรือเลนส์ 4/3 ที่เป็นเลนส์กล้อง DSLR ในซีรี่ส์ E เดิม และยังได้เพิ่ม กรอบหา AF ขึ้นมามากถึง 81 กรอบเลือกใช้ได้ทั้งแบบขนาดกรอบ มาตรฐานและแบบขนาดกรอบเล็กเพื่อความแม่นยำ�ยิ่งขึ้นในการ โฟกัสผ่านพื้นที่หรือช่องแคบๆ หรือจะปรับเลือกขนาดกรอบโฟกัส ใหญ่หรือเล็กก็ได้เมื่อใช้การเลือกกรอบ AF แบบ Touch AF การ เลือกกรอบ AF แบบเป็นกลุ่มจะช่วยให้การโฟกัสแบบ Tracking มี ความเร็วมากขึ้นและจับโฟกัสได้แม่นแม้ว่าวัตถุนั้นจะเคลื่อนที่ด้วย ความเร็วสูง ส่วนการปรับโฟกัสแมนนวลใน E-M1 ได้เพิ่ม Focus Peaking มาช่วยในการโฟกัส ช่วยให้การโฟกัสแมนนวลทำ�ได้ง่าย ยิ่งขึ้นเลือกสีของ Peaking ได้ 2 สีคือสีขาวและสีดำ� เพื่อการเห็นที่ ชัดเจนกับภาพในสถานการณ์ต่างๆ กัน 3. ช่องมองภาพอัตราขยายสูง ช่องมองภาพของ E-M1 เป็น EVF รุ่นใหม่ความละเอียด 2.3 ล้านจุดใช้เทคโนโลยี Adaptive Brightness ปรับความสว่างของ จอให้อย่างเหมาะสมไม่ว่าจะเป็นการถ่ายภาพในที่แสงจ้าหรือที่แสง

Digital Tele-converter เพิ่มทางยาวโฟกัสอีก 2x ยังให้ภาพที่คมชัด ภาพนี้ตัดส่วนด้วยเมนูในกล้องอีกครั้ง Olympus OM-DE-M1, M.Zuiko Digital ED 12-40 มม.F/2.8 PRO, M, 1/320 วินาที, F/4, ISO 640, WB Sunny, Large JPEG/Super Fine

24


5. Highlight and Shadow Control และ Color Creator เป็นฟังก์ชั่นที่ช่วยควบคุมส่วนไฮไลท์หรือส่วน สว่างและส่วนมืดหรือชาโดว์ให้เห็นได้ก่อนถ่ายภาพตาม แต่ผู้ใช้ต้องการ โดยใช้การปรับ Curve ที่ปรับได้ถึงด้านละ 7 ขั้นและการปรับนั้นจะถูกใช้งานทันทีเมื่อถ่ายภาพ ซึ่ง การปรับในส่วนนี้ไม่ใช่การชดเชยแสง และสามารถปรับได้ พร้อมกันทั้งในส่วนไฮไลท์และชาโดว์จึงสามารถควบคุม โทนภาพได้ง่ายและสะดวกขึ้นแม้เป็นการถ่ายภาพย้อน แสงแรงๆ โดยอยู่ที่ปุ่ม Fn2 ด้านบน และใน E-M1 ยังได้ เพิ่มฟังก์ชั่น Color Creator มาให้เลือกปรับสีและความ เข้มหรือความอิ่มตัวของสีอีกด้วย โดย Color Creator นี้ เมื่อเลือกปรับแล้ว กล้องจะเลือกใช้ Picture Mode นี้โดย อัตโนมัติ ซึ่งใน E-M1 นั้นนอกจากจะเพิ่ม Color Creator มาใน Picture Mode แล้ว ยังได้เพิ่ม e-Portrait เข้าไปด้วย ทำ�ให้ไม่ต้องมาปรับในเมนูแต่งภาพในตัวกล้อง 6. ถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูงสุด 10 เฟรมต่อวินาที ในรุ่น E-M5 สามารถถ่ายภาพต่อเนื่องได้เร็วมาก ถึง 9 เฟรมต่อวินาทีซึ่งก็ถือว่าสูงมากๆ แล้ว แต่ใน E-M1 เร็วมากขึ้นไปอีกคือทำ�ได้ 10 เฟรมต่อวินาที (เมื่อปิดระบบ ลดการสั่นไหวและหา AF เฉพาะภาพแรก) โดยไม่ต้องใช้ แบตเตอรี่กริปเพิ่มเติมเนื่องจากเป็นกล้องที่ไม่มีกระจก สะท้ อ นภาพและการพั ฒ นาเทคโนโลยี ก ารอ่ า นข้ อ มู ล จากเซ็นเซอร์ภาพที่มีความเร็วสูงร่วมกับระบบประมวล ผล TruePic VII ที่ประมวลผลได้เร็วยิ่งขึ้น ประกอบกับ ชุดชัตเตอร์ขนาดเล็กที่มีประสิทธิภาพสูง หากใช้การหา น้อย อีกทั้งยังให้ภาพขนาดใหญ่มีอัตราขยายสูงเห็นภาพได้ชัดเจน โดยให้อัตราขยายสูงถึง 1.48x (ขึ้นอยู่กับการเลือกการแสดงข้อมูล ในช่องมองภาพ) ให้ภาพและสีสันที่คมชัด สว่างสดใส นอกจากนี้ยัง สามารถเห็นผลของการเปิดรับแสงได้เหมือนการถ่ายภาพจริง และ เมื่อใช้ในโหมด HDR (High Dynamic Range) กล้องจะแสดงผลของ ภาพให้เห็นในช่องมองภาพก่อนที่จะถ่ายภาพจึงสามารถปรับค่า เปิดรับแสงให้เป็นอย่างที่ต้องการได้ก่อน 4. ระบบลดการสั่นไหวแบบ 5 แกน ยังคงเป็นจุดเด่นและจุดแข็งที่เหนือกว่ากล้องทั่วไปอยู่เช่น เดิม โดยระบบลดการสั่นไหวนี้ได้ถูกนำ�มาใช้ใน E-M5 เป็นรุ่นแรก และยังใช้ต่อมาในรุ่น E-M1 ด้วย ช่วยลดการสั่นไหวในทุกแนวที่อาจ เกิดขึ้นได้ในขณะถือกล้องถ่ายภาพด้วยมือรวมทั้งการบันทึกวิดีโอ สามารถลดการสั่นไหวได้มากถึง 4 สตอป โดยลดการสั่นไหวทั้งใน แนวนอน แนวตั้ง แบบก้มหรือเงยกล้อง (Pitch), หันกล้องซ้ายขวา (Yaw) และการสั่นเป็นวง (Rolling) ซึ่งในการถ่ายภาพจริง การสั่น เหล่านี้จะเกิดขึ้นได้แน่นอนโดยเฉพาะภาพระยะใกล้หรือมาโคร หรือ การเดินบันทึกภาพนิ่งหรือวิดีโอ โดยมีระบบ IS ให้เลือกใช้งาน 4 โหมดสามารถเลือกลดการสั่นไหวเฉพาะในแนวนอนหรือแนวตั้งได้ และปิดหรือเปิดระบบ IS ก็ได้

AF แบบต่อเนื่องทุกช็อต ความเร็วจะลดลงมาที่ประมาณ 6.5 ภาพ ต่อวินาทีซึ่งก็ยังถือว่าเป็นความเร็วที่สูงเพราะทุกภาพจะโฟกัสชัด ทั้งหมด (รุ่น E-M5 มีความเร็ว 4.2 เฟรมต่อวินาที) 7. ความเร็วชัตเตอร์สูงสุด 1/8000 วินาที E-M1 ได้พัฒนาความเร็วชัตเตอร์สูงสุดให้สูงขึ้นมาจากรุ่น ก่อนหน้าอีก 1 สตอป คือ 1/8000 วินาที และเพิ่มความเร็วชัตเตอร์ สัมพันธ์แฟลชสูงสุดขึ้นเป็น 1/320 วินาที รวมทั้งสามารถใช้ระบบ แฟลช FP สัมพันธ์ความเร็วชัตเตอร์ได้ถึง 1/4000 วินาทีเมื่อใช้ แฟลชภายนอก ซึ่งสเปคแบบนี้จะหาได้ในเฉพาะกล้องระดับโปร เท่านั้น 8. Art Filter 12 แบบ พร้อมการถ่ายภาพคร่อม Art Filter เป็นเอกลักษณ์เฉพาะอย่างหนึ่งของกล้องจาก โอลิมปัส ช่วยให้การถ่ายภาพสนุกยิ่งขึ้นเมื่อใช้ Art Filter เพราะได้ ภาพที่แปลกและสวยงามสำ�เร็จจากขั้นตอนการถ่ายภาพโดยไม่ต้อง ไปทำ�การตกแต่งภาพในภายหลัง ใน E-M1 มี Art Filter มาให้ถึง 12 แบบ (มากกว่ารุ่นก่อน 1 แบบ) กับอีกหลายออปชั่นให้เลือกปรับ เปลี่ยนเอฟเฟ็คท์ได้อีก รวมทั้งสามารถถ่ายภาพคร่อม ART Filter ได้ Art Filter สามารถใช้ได้กบั ทัง้ ภาพนิง่ และวิดโี อและสามารถ

25


26


เห็นผลได้ก่อนการถ่ายภาพ เป็นฟังก์ชั่นที่ถ่ายภาพได้สนุกและได้ คุณภาพที่ดีมากโดยไม่ต้องไปทำ�การปรับแต่งด้วยโปรแกรมตกแต่ง ภาพแต่อย่างใด 9. ถ่ายภาพวิดีโอและภาพนิ่ง E-M1 สามารถถ่ายภาพวิดโี อได้ในความละเอียดระดับ Full HD ที่อัตราความเร็ว 30P บันทึกในฟอร์แมท MPEG4 บันทึกเสียง แบบสเตอริโอ สามารถต่อไมโครโฟนภายนอกได้และยังสามารถ ถ่ายภาพนิ่งระหว่างการบันทึกวิดีโอได้โดยหลังจากถ่ายภาพนิ่งแล้ว กล้องจะบันทึกวิดีโอต่อไปแต่แยกเป็นอีกไฟล์ หากใช้ร่วมกับเลนส์ ที่เป็น Movie Kit สามารถเลือกใช้การซูมแบบ Power Zoom เพื่อ ช่วยให้การปรับซูมมีความนุ่มนวลและลดการเกิดเสียงการซูมได้ดี กว่า เลือกการเปิดรับแสงได้ในแบบโหมด P, A, S หรือ M มีฟังก์ชั่น ตัดเสียงลม ใช้เอฟเฟ็คท์ต่างๆ ได้ครบเช่นเดียวกับภาพนิ่งทั้ง Art Filter, iEnhance, One shot Echo หรือ Multi-Echo และ Picture mode 10. เล่าเรื่องผ่าน Photo Story หลังจากที่โอลิมปัสมีโหมดนี้ในรุ่น E-P5 ก็ได้นำ�มาใช้ กับ E-M1 ด้วย เป็นโหมดที่สามารถถ่ายภาพหลายๆ ช็อตลงใน Template ตามที่เลือกซึ่งจะเล่าเรื่องราวได้ครบถ้วนและยังเป็นภาพ ที่ดูมีศิลปะอีกต่างหาก Template ที่ให้มามีเท่ากับรุ่น E-P5 ซึ่งก็นับ ว่ามากเพียงพอที่จะใช้เล่าเรื่องได้หลากหลายรูปแบบ สามารถย้อน

กลับไปถ่ายภาพในทุกช็อตได้ใหม่หรือจะลบทุกช็อตก็ได้และบันทึก เป็นไฟล์ RAW ได้เช่นกัน 11. Wi-Fi ในตัว ปัจจุบันกล้องถ่ายภาพจะต้องใส่ Wi-Fi มาให้ด้วยเพื่อ ให้ ก ารแชร์ ภ าพและการเชื่ อมต่ อกั บ สมาร์ ท โฟนทำ� ได้สะดวกขึ้น รวมทั้งการควบคุมกล้องจากระยะไกลผ่านสมาร์ทโฟน ซึ่งใน E-M1 ก็ได้เพิ่ม Wi-Fi มาให้ในตัวเช่นกัน โดยใช้ร่วมกับ OLYMPUS Image Share app (OI.Share) Wi-Fi ของ E-M1 นั้นใช้ง่ายเหมือนกับรุ่น E-P5 โดยใช้การ อ่าน QR Code และใส่ Password เท่านั้น สามารถเพิ่มเติมข้อมูล GPS ได้โดยใช้ฟังก์ชั่นนี้ของสมาร์ทโฟน 12. โหมดและฟังก์ชั่นการทำ�งานอื่นๆ ที่น่าสนใจ นอกจากระบบเด่นๆ แล้ว E-M1 ยังมีระบบที่น่าสนใจอีก หลายฟังก์ชั่นหลายระบบ โหมดถ่ายภาพแบบผู้ใช้ต้องการควบคุม กล้องด้วยตนเองมีมาให้ครบทั้ง P, S, A, M ระบบ AF นอกจากจะ โฟกัสได้เร็วแล้ว การโฟกัสแบบตรวจจับใบหน้าจะทำ�งานพร้อมกับ จับม่านตา ดังนั้นภาพจึงโฟกัสที่ดวงตาได้อย่างถูกต้องเมื่อใช้ถ่าย ภาพบุคคล และยังสามารถเลือกได้ว่าจะให้จับโฟกัสที่ตาซ้ายหรือตา ขวาก็ได้ Live Bulb / Live Time เป็นอีกฟังก์ชั่นหนึ่งที่เด่นมากของ โอลิมปัส ภาพที่แสดงบนจอมอนิเตอร์จะแสดงผลแบบอัพเดทตาม

ให้โทนภาพและสีผิวดีมากกับภาพบุคคล ความคมชัดคือสิ่งที่ทำ�ได้ดีอย่างน่าทึ่ง Olympus OM-DE-M1, M.Zuiko Digital ED 12-40 มม.F/2.8 PRO, M, 1/60 วินาที, F/3.2, ISO 400, WB Manual, Large JPEG/ Super Fine (นางแบบ: น้องภาตี้ และขอขอบคุณ World Camera สำ�หรับนางแบบสวยๆ และสถานที่)

27


28


เวลาที่เปิดชัตเตอร์สัมพันธ์กับความไวแสงที่ใช้ จึงสามารถเลือกหรือ ดูความสว่างของภาพได้จริงตามเวลาของการเปิดชัตเตอร์ WB มีให้ครบตั้งแต่ออโต้และตามชนิดแสงที่ตั้งมาจากค่า ของโรงงานไปจนถึงแมนนวลปรับตั้งเองที่แยกปุ่มออกมาต่างหาก จึงใช้งานสะดวกกว่าเดิม สามารถปรับชดเชยและถ่ายภาพคร่อม WB ได้ ดิจิตอล เทเลคอนเวอเตอร์ เป็นอีกฟังก์ชั่นที่น่าสใจ เหมาะ สำ�หรับการซูมภาพที่อยู่ไกลมากและไม่มีเวลาเปลี่ยนเลนส์หรือไม่มี เลนส์ทางยาวโฟกัสสูงกว่าติดตัวไป เพียงแค่เลือกดิจิตอล เทเลคอน เวอเตอร์เท่านั้นกล้องก็จะขยายภาพขึ้นมา 2 เท่าจากตรงกลาง ช่วย ให้สามารถถ่ายภาพระยะไกลได้ทันที และยังให้ภาพที่คมชัดและมี รายละเอียดที่ครบถ้วน นอกจากนี้ ยั ง มี อี ก หลายระบบไม่ ว่ า จะเป็ น ระบบแฟลช TTL โดยใช้ร่วมกับแฟลชขนาดเล็กที่มากับชุดกล้องและสามารถ ติดตั้งแฟลชภายนอก ใช้แฟลชแบบไร้สายได้ครบถ้วนรวมทั้งการ ใช้แฟลชแบบเป็นกลุ่มแบบหลายตัว,มีระบบ Level Gauge ในตัว, การถ่ายภาพซ้อน, ถ่ายภาพเป็นช่วงเวลาหรือ Time Lapse , ระบบ การทำ�งานพื้นฐานแบบง่ายๆ ก็มี Live Guide รวมทั้งอุปกรณ์เสริม แบตเตอรี่กริป, อะแดปเตอร์เลนส์ 4/3 เป็นต้น

ผลการทดลองใช้งาน

ชุดกล้อง E-M1 ทีผ่ มได้รบั มานัน้ เป็นชุดโปรมาพร้อม เลนส์12-40 มม. F/2.8 PRO ซึ่งเลนส์ตัวนี้ทำ�ให้ผมแทบไม่วาง E-M1 ตลอดช่วงเวลาที่ได้ใช้งานเพราะเป็นเลนส์ที่คุณภาพดีมาก ช่วงซูมกำ�ลังเหมาะ เป็นเลนส์ที่สว่างมีระยะโฟกัสใกล้สุดต่อเนื่อง โฟกัสแมนนวลได้ดี อย่างที่ได้รายงานผลการทดสอบไปแล้ว และ

แน่นอนว่าด้วยเลนส์คุณภาพแบบนี้ ผมจึงไม่แต่งภาพเลย ไม่ปรับ ภาพอะไรนอกเหนือจากทำ�ที่ตัวกล้องเท่านั้น ภาพที่ถ่ายมีทั้งไฟล์ RAW และ JPEG การจับถือดีมากด้วยกริปจับที่ออกแบบมาดีเยี่ยม การจับ ถือดีกว่ารุ่น E-M5 มากกระชับมั่นคง การควบคุมกล้องทำ�ได้ง่าย มากด้วยแป้นปรับข้อมูลแบบ 2x2 Dial ซึ่งเป็นจุดที่ผมประทับใจ ที่สุด การวางปุ่มควบคุมต่างๆ ทำ�ได้ดีมาก แป้นโหมดปรับใช้งาน ได้สะดวกและมีปุ่มกดล็อคแบบ 2 จังหวะ ยอดเยี่ยมชนิดที่ต้องชม เลยล่ะครับ ฟังก์ชั่นของปุ่มต่างๆ สามารถ Assign ปุ่มเองได้ เป็นรูป แบบที่ช่วยให้การใช้งานทำ�ได้ตามความถนัดและความต้องการของ ผู้ใช้ ตรงจุดนี้ต้องยอมรับว่าโอลิมปัสทำ�ได้ยืดหยุ่นดีมาก โดยเฉพาะ แกนปรับฟังก์ชั่นนั้นใช้แล้วรู้สึกได้ทันทีว่าช่วยให้การควบคุมกล้อง ง่ายขึ้น ในสถานการณ์รีบๆ จะเห็นผลชัดเจนว่าแกนปรับฟังก์ชั่นนั้น มีประโยชน์มากทีเดียว การโฟกั ส ทำ � ได้ เ ร็ ว จริ ง ทั้ ง ในที่ แ สงน้ อ ยและตอนกลาง คืนแทบไม่มีปัญหาในการโฟกัสเลย แม้แต่การถ่ายภาพย้อนแสง แรงๆ การโฟกัสก็ท�ำ ได้ดี และดีกว่า Mirrorless ทุกรุ่นของโอลิมปัส การโฟกัสแมนนวลทำ�ได้ง่ายเมื่อใช้ช่องมองภาพโดยผมไม่ต้องใช้ Focus Peaking ช่วยเลย โฟกัสเข้าจุดทุกรูปโดยเฉพาะภาพมาโคร การวัดแสงและ WB เป็นสิ่งที่ทำ�ได้ดี เที่ยงตรง แม่นยำ� ออ โต้ WB ให้สีตรงดี โดยเฉพาะสีผิวของภาพบุคคลนั้นสวยงามมากที เดียว แต่ส่วนมากผมจะใช้การเซ็ท WB แมนนวล ผลที่ได้ดีและตรง อย่างน่าประทับใจ ความคมชัดและคุณภาพของไฟล์ภาพเป็นจุดที่ทำ�ให้กล้อง ตัวนี้ได้คะแนนแทบเต็มเพราะภาพคมชัดจริงๆ รายละเอียดแสดง ได้ครบ ซึ่งทั้งนี้ส่วนหนึ่งต้องยอมรับว่าเป็นผลมาจากเลนส์ PRO Series ที่ใช้ด้วย ความสดใสของภาพหายห่วงครับ บางภาพใสอย่าง

29


30


น่าทึ่งทั้งๆ ที่ไม่ใช่การถ่ายภาพแบบ HDR การไล่ระดับโทนภาพดี มากส่วนสว่างของภาพไม่ออกอาการ Burn เลย รายละเอียดดีทั้งใน โทนสว่างและโทนมืด การเกิด Noise ที่ ISO 200 ไม่ปรากฎให้เห็นเลยแม้แต่ น้อย และมีน้อยมากเมื่อใช้ ISO 400-800 ที่ ISO 1600 มี Noise เพิ่มขึ้นแต่ยังไม่มาก ที่ ISO 3200 การเกิด Noise เริ่มชัดขึ้นแต่โดย รวมก็ยังไม่มาก ความคมชัดและสีสันของภาพก็ยังดีอยู่ ส่วนที่ ISO สูงกว่านี้ ตั้งแต่ ISO 6400 ขึ้นไปก็แน่นอนว่าย่อมมี Noise มากขึ้น เป็นธรรมดาแต่ไม่มากมายจนยอมรับไม่ได้ ถ้าต้องการได้ภาพจริงๆ ที่ ISO 6400 ผมว่ายังใช้ได้ แต่ถ้า ISO สูงกว่านี้ รายละเอียดจะลด ลงไปพอสมควร หากมองโดยรวม ผมพอใจกับการลด Noise ของ E-M1 และประทับใจมากที่ ISO ไม่เกิน 800 ส่วนที่ ISO 1600 ยัง ถือว่าดี และยังอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจที่ ISO 3200 การแสดงภาพบนจอมอนิเตอร์ให้ภาพทีช่ ดั สีสวยและค่อนข้าง ตรงกับสีของจอมอนิเตอร์มากกว่าช่องมองภาพรุ่นE-M5สามารถ ตรวจสอบภาพได้จากช่องมองภาพได้เลยทั้งการซูมขยายภาพและ การปรับแต่งภาพ ไฟล์วิดีโอ ผมลองไปพอสมควร ประทับใจครับ ให้ภาพที่ ดี การเคลื่อนไหวนุ่มนวล และที่ดีมากๆ คือภาพสั่นไหวน้อยเพราะ ระบบลดการสั่นไหว 5 แกนของโอลิมปัส การโฟกัสรวดเร็วดี อาจมี โฟกัสหลุดไปบ้างเล็กน้อยหากถือกล้องด้วยมือเพราะมีการสั่นของ มือมาเป็นปัจจัยให้กล้องเปลี่ยนระยะโฟกัส เรื่องนี้ถือว่าเป็นเรื่อง ปกติทั่วไป แต่หากใช้ขาตั้งกล้องหรือใช้การโฟกัสแมนนวล ก็จะตัด ปัญหานี้ไปได้ การบันทึกเสียงทำ�ได้ดี เสียงดังและชัดเจนแม้จะเป็น

ไมโครโฟนในตัว อัตราการสิ้นเปลืองพลังงานทำ�ได้พอๆ กับรุ่น E-M5 ไม่ ถือว่าสิ้นเปลือง ชาร์จไฟเต็ม 1 ครั้ง ใช้งานได้เต็มวันอย่างสบายๆ หากนับเป็นจำ�นวนภาพก็หลายร้อยภาพ และที่ดีมากๆอีกจุดหนึ่ง คือกล้องไม่ร้อนแม้จะใช้งานนานติดต่อกัน เป็นกล้องที่มีระบบ ระบายความร้อนที่ดีมาก เสียงการทำ�งานของระบบลดการสั่นไหว พอได้ยินบ้างแต่ไม่ใช่ปัญหาในการถ่ายภาพ จากการลองใช้งานอยู่ระยะหนึ่ง ได้มีโอกาสถ่ายภาพใน หลายๆ รูปแบบทั้งภาพบุคคล ภาพหุ่นนิ่ง ภาพมาโคร ภาพทิวทัศน์ ในสภาพแสงต่างๆ กัน รวมๆ แล้วก็กว่า 1500 ภาพ กว่า 80% ของ ภาพที่ถ่ายมา คมชัดทั้งการโฟกัสและไม่สั่นไหว คุณภาพของไฟล์ ภาพดีจนผมหลงไหลอยากได้มาใช้สักตัว รองรับงานสตูดิโอได้อย่าง สบายๆ การทำ�งานเร็ว ใช้แล้วไม่รู้สึกว่าคือกล้อง Mirrorless แต่จะ รู้สึกว่าเป็นกล้อง DSLR มากกว่า แต่ราคาของชุดกล้องที่ผมได้รับ มานั้นก็ถือว่าไม่เบาอยู่เหมือนกัน แต่ส่วนหนึ่งต้องบอกว่าเป็นราคา เลนส์ PRO ที่ราคาค่อนข้างสูงอยู่แล้ว สำ�หรับเลนส์เกรดนี้ แต่ภาพ ที่ได้ออกมาก็ไม่ผิดหวังเลย เยี่ยมๆ ทั้งนั้น เป็นกล้อง Mirrorless ที่ดี ที่สุดรุ่นหนึ่งเท่าที่ผมได้เคยทดลองใช้มา ถ้างบประมาณถีง จัดไปสัก ชุดแล้วจะรู้ว่า Mirrorless ระดับโปร เป็นอย่างไร คะแนนการออกแบบภายนอก : 9.75/10 คะแนนระบบการทำ�งาน : 9.50/10 คะแนนคุณภาพไฟล์ : 9.50/10 คะแนนโดยรวม : 9.58/10

ข้อมูลจำ�เพาะ : Olympus OM-D E-M1 เซ็นเซอร์ : Live MOS ขนาด 4/3 นิ้ว 16.8 ล้านพิกเซล Effective 16.3 ล้านพิกเซล ระบบประมวลผล : TruePic VII เมาท์เลนส์ : Micro 4/3 ทางยาวโฟกัสเพิ่มขึ้น 2X การ์ดบันทึกข้อมูล : SD, SDHC, SDXC ไฟล์ ฟอร์แมท : RAW, JPEG, RAW+JPEG, MPEG-4 ช่องมองภาพ: Electronic Viewfinder พร้อมเซ็นเซอร์ตา 2,360,000 พิกเซล เห็นภาพ 100 % ปรับแก้ สายตาได้ จอมอนิเตอร์ : ขนาด 3 นิ้ว OLED แบบจอสัมผัส ปรับมุมได้ ความ ละเอียด 1,037,000 จุด อัตราส่วน 3:2 ชัตเตอร์ : ที่ระนาบโฟกัส 1/8000-60 วินาที, Bulb และ Time ออโตโฟกัส : ผ่านเลนส์แบบ Contrast detection 81 จุดและ Phase Detection บน Chip เลือกจุดโฟกัสได้ทั้ง แบบออโต้ และเลือกเองจาก 81 จุด ระบบวัดแสง : วัดแสงผ่านเลนส์ มี 3 โหมดคือดิจิตอล ESP 324 โซน, เฉลี่ยหนักกลาง, เฉพาะจุด, ไฮไลท์และ ชาโดว์ ช่วงการวัดแสง 0-20 EV

โหมดถ่ายภาพ : iAuto, P, A, S, M, ART, SCN, Movie, Photo story ความไวแสง : ISO 100-25600 และ Auto ชดเชยแสง : +/- 3.0 สตอป WB : ออโต้, ตามชนิดแสง 7 ชนิด คัสตอม WB พร้อมปรับละเอียดหรือชดเชยสี WB และ แมนนวล 4 แบบ ถ่ายภาพต่อเนื่อง : 10 เฟรม / วินาที แฟลช : ขนาดเล็กมาในชุดและใช้แฟลชภายนอกได้สัมพันธ์ แฟลชสูงสุด 1/320 วินาทีและถึง 1/4000 วินาที (FP) และระบบแฟลชไร้สายเมื่อใช้แฟลชภายนอก Wi-Fi : ในตัวแบบ QR Code แชร์ได้สูงสุดพร้อมกัน 4 แชนแนล และ GPS (ผ่านสมาร์ทโฟน) อินเทอร์เฟส : Multi-connector (USB 2.0), HDMI, Accessory port พลังงาน : แบตเตอรี่ Li-ion BLN-1 ขนาดตัวกล้อง : 130.4 x 93.5 x 63.1 มม. (กว้าง x สูง x หนา) น้ำ�หนัก : 443 กรัม (เฉพาะตัวกล้อง)

31


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.