nature

Page 1

กาญจนบุรีศึกษา 2553

ชุมชน

กับความหลากหลายทางชีวภาพ

สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี หนวยอนุรักษสิ่งแวดลอมธรรมชาติและศิลปกรรมทองถิ่นจังหวัดกาญจนบุรี ศูนยวัฒนธรรมจังหวัดกาญจนบุรี


จัดพิมพ์และเผยแพร่โดย ส�ำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดกาญจนบุรี ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดกาญจนบุรี พิมพ์ครั้งที่ 1 : เดือนสิงหาคม 2553 พิมพ์จ�ำนวน : 300 เล่ม


ชุมชน กับความหลากหลายทางชีวภาพ

ส�ำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดกาญจนบุรี ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดกาญจนบุรี 2553


ค�ำนิยม

ของผู้อ�ำนวยการส�ำนักศิลปะและวัฒนธรรม

การท�ำนุบ�ำรุงศิลปะและวัฒนธรรม และการอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมของท้องถิ่นเป็นภารกิจหลัก ของส�ำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัด กาญจนบุรี และศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดกาญจนบุรี อันเป็น พันธกิจที่ส�ำคัญประการหนึ่งของสถาบันอุดมศึกษาที่สนับสนุน การจัดการศึกษาและวิชาการให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ส�ำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ได้ จัดพิมพ์เอกสารทางวิชาการในโครงการกาญจนบุรีศึกษา เผย แพร่มาเป็นล�ำดับอย่างต่อเนื่อง ส�ำหรับเอกสารทางวิชาการตามโครงการกาญจนบุรี ศึกษา ประจ�ำปี 2553 : ชุมชนกับความหลากหลายทาง ชีวภาพ เป็นการน�ำเสนอบทความที่เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัย ที่คณาจารย์ นักวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ได้จัดท�ำขึ้น อันมีเนื้อหาสาระที่มีคุณค่าสอดคล้องกับบทบาท และการด�ำเนินงานของส�ำนักศิลปะและวัฒนธรรม และเป็น


ประโยชน์ จึงเห็นสมควรน�ำบทความจากผู้รู้ดังกล่าว เผยแพร่ในเอกสารเล่ม นี้ ส�ำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรีจึงขอขอบคุณ เจ้าของผลงานและผู้เกี่ยวข้องทุกท่านที่มีส่วนในการด�ำเนินการจัดท�ำหนังสือ เล่มนี้จนส�ำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ไว้ ณ ที่นี้เป็นอย่างสูง ดังประโยชน์ที่จะบังเกิด แก่เยาวชน ประชาชน ชุมชน สังคม และประเทศชาติ อย่างอเนกอนันต์สืบ ต่อไป

(นายไมตรี เกตุขาว) ผู้อ�ำนวยการส�ำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี


ค�ำน�ำ

บทความในหนังสือเล่มนี้ เป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้ ที่ได้จากงานวิจัยของคณาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ที่ท�ำการศึกษาวิจัยแบบมีส่วนร่วมกับชาวบ้านในชุมชน ครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา และองค์กรต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาของ ชุมชนและเป็นการบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นกับกระบวนการ วิจัย เพื่อการพัฒนาให้ชุมชนเข้มแข็ง มีส่วนร่วมและมีจิตส�ำนึก ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เนื้อหาของบทความ เป็นองค์ความรู้จากการวิจัยเกี่ยว กับการแปรรูปหน่อไม้ไผ่รวกและการศึกษาความหลากหลาย ทางชีวภาพของพืชน�้ำ แมลงน�้ำ และสัตว์พื้นท้องน�้ำที่สัมพันธ์ กับคุณภาพน�้ำ ในแม่น�้ำแควใหญ่ แม่น�้ำแควน้อย และแม่น�้ำ แม่กลอง คณะผู้จัดท�ำขอขอบพระคุณ ปราชญ์ชาวบ้าน ชุมชน องค์กรต่างๆ ที่ร่วมเรียนรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ จนเกิด องค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ สามารถขยายผลสู่การปฏิบัติที่เป็น รูปธรรม บรรณาธิการ


สารบัญ เรื่อง หน้า

“การแปรรูปหน่อไม้ไผ่รวก” ภูมิปัญญาของชุมชนท่าเสาสู่งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี หน่อไม้ : หน่อไม้ต้มสมุนไพร พืชน�้ำในแม่น�้ำแควใหญ่ แควน้อย แม่กลอง จังหวัดกาญจนบุรี การใช้แมลงน�้ำติดตามตรวจสอบคุณภาพน�้ำ

การใช้สัตว์พื้นท้องน�้ำเป็นตัวบ่งชี้คุณภาพน�้ำรอยต่อ แม่น�้ำแควใหญ่ แม่น�้ำแควน้อย และแม่น�้ำแม่กลอง จังหวัดกาญจนบุรี การเฝ้าระวังคุณภาพน�้ำบริเวณรอยต่อ แม่น�้ำแควใหญ่ แม่น�้ำแควน้อย และแม่น�้ำแม่กลอง

8 18 23 31 41 47


“การแปรรูปหน่อไม้ไผ่รวก”

ภูมิปัญญาของชุมชนท่าเสาสู่งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี กาญจนา

เชียงทอง


หน่อไม้

เป็นอาหารที่ผูกพันกับวิถีชีวิตของคนไทยมาช้านาน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นิยมน�ำมาต้มให้สุกหรือต้มกับใบย่านางรับประทาน กับน�้ำพริก ท�ำซุปหน่อไม้ น�ำมาผัดกับไข่ ต้มจืดกับหมูหรือไก่ ใส่แกงส้ม แกงเผ็ด ตลอดจนน�ำมาท�ำขนมหน่อไม้ เป็นทั้งอาหารคาวและอาหารหวาน ไม่เพียงแต่คนไทยเท่านั้นที่บริโภคหน่อไม้ จากสถิติกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ พบว่า ผลิตภัณฑ์หน่อไม้ปรุงแต่งมีมูลค่าการส่งออกมาก เป็นอันดับหนึ่งของมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ของประเทศไทย สู่ตลาดโลก รองลงมาคือผลิตภัณฑ์หน่อไม้สด ซึ่งรวมกันแล้วมีมูลค่าการ ส่งออกมากกว่าผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่อื่นๆ หน่อไม้ เป็นหน่อของต้นไม้จ�ำพวกไผ่ ในป่าธรรมชาติมีมากมายหลาย ชนิด แต่ที่มีมากและชาวบ้านนิยมเก็บจากป่ามาบริโภค คือ หน่อไม้ไผ่รวก ซึ่ง มีหน่อไม้ขนาดเล็กกว่าไผ่ชนิดอื่นๆ จะออกผลผลิตในช่วงฤดูฝน เฉพาะเดือน กรกฎาคม ถึงกันยายน ซึ่งท�ำให้ไม่ สามารถเก็บหน่อไม้สดมาบริโภคได้ ตลอดปี ชาวบ้านจึงน�ำมาแปรรูป เพือ่ เก็บไว้บริโภค หรือเพื่อการจ�ำหน่าย เป็นรายได้ให้กับครอบครัว

9


10


ชุมชนต�ำบลท่าเสา อ�ำเภอ ไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เป็นชุมชน ที่อาศัยอยู่ในบริเวณป่าเบญจพรรณ ที่มีไผ่รวกอุดมสมบูรณ์ ในช่วงเดือน สิงหาคมของทุกปี หน่อไม้ไผ่รวก มีผลผลิตมาก นอกจากชาวบ้าน จะน�ำมาต้มสดใส่ถุงขายให้นักท่อง เที่ยวแล้ว ยังน�ำหน่อไม้มาแปรรูป ได้หลายอย่าง อาทิ ท�ำหน่อไม้ไผ่ รวกแห้ง โดยต้มทั้งเปลือกให้สุกน�ำ มาปอกเปลือก หรือปอกเปลือกก่อน แล้วจึงน�ำไปต้มให้สุก หั่นเป็นชิ้น บางๆ น�ำไปตากแดดจนแห้ง เวลา จะรับประทาน น�ำมาแช่น�้ำให้นิ่ม ก่อนน�ำไปต้ม หรืออาจใช้หน่อไม้ไผ่รวกดิบ น�ำมาหั่นเป็นชิ้นบาง ๆ แล้ว ตากแดดจนแห้ง ไม่ต้องต้มสุกก่อนก็ได้ ซึ่งวิธีนี้จะได้หน่อไม้ที่เนื้อไม่เหนียว เหมือนวิธีแรก หรือชาวบ้านบางคนน�ำหน่อไม้ไผ่รวกสดมาท�ำเป็นหน่อไม้ดอง เพื่อให้เก็บไว้บริโภคได้นานๆ โดยน�ำหน่อไม้ไผ่รวกมาปอกเปลือกหั่นเป็นชิ้น บางๆ ล้างน�้ำสะอาด แล้วใส่ในไห หรือขวดโหลพลาสติก ใส่เกลือ เติมน�้ำ สะอาดให้ท่วม ปิดด้วยเปลือกหน่อไม้ ใช้ไม้ไผ่สานขัดปิดปากขวดโหล เพื่อ กดให้หน่อไม้จมน�้ำ เก็บไว้ประมาณ 1 เดือน จะได้หน่อไม้ไผ่รวกดองที่น�ำไป รับประทานได้ แต่ถ้าต้องการให้เปรี้ยวเร็วให้เติมน�้ำซาวข้าวลงไปด้วย หน่อไม้ไผ่รวกบรรจุปี๊บ เป็นการแปรรูปหน่อไม้สด ที่ชาวบ้านนิยม ท�ำมากกว่าวิธีอื่นๆ เนื่องจากผลิตได้ครั้งละมากๆ ไม่ยุ่งยาก เก็บไว้ได้นาน และสามารถส่งขายได้ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งมีวิธีการผลิต โดยน�ำปี๊บน�้ำมันพืชที่ใช้แล้วมาล้างน�้ำให้สะอาดและตากให้แห้ง น�ำหน่อไม้

11


ไผ่รวกสดมาปอกเปลือก เกลา ตกแต่ง ตัดส่วนที่แข็งออก บรรจุลงปี๊บให้เต็ม เติมน�้ำให้ท่วม น�ำไปต้มบนเตาฟืนจนน�้ำเดือดใช้การคาดคะเน สังเกตว่าน�้ำ เปลี่ยนเป็นสีเหลือง แล้วยกลงมาจากเตา ปิดฝาทันทีด้วยการบัดกรี แต่ถ้า หน่อไม้สดมีปริมาณมากไม่สามารถผลิตได้ทัน ชาวบ้านจะต้มทั้งเปลือกให้ สุกก่อน แล้วจึงปอกเปลือกน�ำมาบรรจุปี๊บในวันถัดไป แต่การผลิตด้วยวิธี ดังกล่าวชาวบ้านพบปัญหาการเน่าเสียสูงมาก ในปี 2548 ชาวบ้านพุเตย และบ้านช่องแคบ ต�ำบลท่าเสามาปรึกษากับอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏ กาญจนบุรีที่เข้าไปเป็นที่ปรึกษา และร่วมเรียนรู้การด�ำเนินชีวิต ความเป็นอยู่ และการจัดการป่าของชุมชน นับเป็นจุดเริ่มต้นของทีมงานวิจัยที่ท�ำการ ศึกษาวิจัยร่วมกับชุมชนท่าเสาจากปัญหาของชุมชนเองโดยการสัมภาษณ์ และเปิดเวทีระดมความคิดร่วมกับชุมชนเพื่อหาสาเหตุของการเน่าเสีย และ เก็บตัวอย่างมาวิเคราะห์คุณภาพในห้องปฏิบัติการ ผลการวิเคราะห์พบว่า หน่อไม้ไผ่รวกบรรจุปี๊บมีสารเคมี ปนเปื้อน คือ เหล็ก สังกะสี และดีบุก แต่ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน พบเชื้อจุลินทรีย์ ที่เป็นสาเหตุให้เกิดการเน่าเสีย

12


13


เกือบทุกปี๊บ และพบว่าปัจจัยที่ท�ำให้ผลิตภัณฑ์ไม่ได้คุณภาพตามมาตรฐาน ได้แก่ หน่อไม้ไผ่รวกที่เป็นวัตถุดิบอ่อนหรือแก่เกินไป บรรจุภัณฑ์เป็นปี๊บ น�้ำมันพืชเก่าที่ใช้แล้ว ปี๊บบุบหรือรั่ว กรรมวิธีในการผลิตไม่ดีพอ ระยะเวลาใน การต้มหลังจากน�้ำในปี๊บเดือดไม่เพียงพอ และการปิดฝาด้วยการบัดกรี ในปี 2549 ทีมงานวิจัยจึงท�ำการออกแบบถังต้มหน่อไม้ท�ำจากอลูมิเนียม ใช้ระบบ ให้น�้ำเดือดไหลวนรอบปี๊บ ใช้กับเตาฟืน เตาถ่านหรือเตาแก๊สก็ได้ สามารถ ต้มหน่อไม้ไผ่รวกบรรจุปี๊บได้ครั้งละ 12 ปี๊บ และปรับปรุงกระบวนการใน การผลิตร่วมกับชุมชนท่าเสาโดยมีกระบวนการผลิต คือ น�ำหน่อไม้สดมา ต้มทั้งเปลือกประมาณ 1 ชั่วโมง ปอกเปลือก แช่ในน�้ำสะอาด เกลาและ ตกแต่งผิวตัดส่วนที่แข็งออก คัดขนาด และน�ำหน่อไม้มาบรรจุปี๊บให้ได้ 13 กิโลกรัม เติมน�้ำสะอาด แล้วน�ำไปต้มในถังให้ระดับน�้ำในถังท่วมปี๊บ รอจน น�้ำในถังเดือดจึงเอาหน่อไม้ลงต้ม เมื่อน�้ำในปี๊บเดือด จับเวลาในการต้ม ต่อไปอีก 90 นาที น�ำปี๊บขึ้น ปิดฝาปี๊บขณะร้อนด้วยเครื่องปิดฝา น�ำปี๊บไป แช่ในน�้ำเย็นลดอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว เช็ดปี๊บให้แห้ง ปิดฉลาก น�ำไปเก็บ

14


ไว้ในที่แห้ง โล่ง สะอาด และอากาศถ่ายเทได้ดี ซึ่งกระบวนการผลิตนี้ไม่พบ เชื้อจุลินทรีย์ที่ท�ำให้เกิดการเน่าเสีย ท�ำให้หน่อไม้ไผ่รวกบรรจุปี๊บมีคุณภาพดี และมีอายุการเก็บรักษายาวนาน หน่อไม้ไผ่รวกนึ่ง เป็นการแปรรูปหน่อไม้อีกวิธีหนึ่งที่ชาวบ้านนิยมท�ำ ถ้านักท่องเที่ยวขับรถไปเที่ยวอ�ำเภอไทรโยค จะเห็นชาวบ้านแขวนหน่อไม้ไผ่ รวกนึ่งขายข้างถนนเป็นจ�ำนวนมาก ชาวบ้านส่วนมากจะน�ำหน่อไม้ไผ่รวกสด มาใส่ถุงพลาสติกร้อนแล้วน�ำไปนึ่งเป็นเวลาหลายชั่วโมง เพราะกลัวว่าจะเน่า เสียง่าย แต่ก็เกรงว่าผู้บริโภคอาจจะได้รับสารปนปื้อนจากถุงพลาสติกที่ใช้ บรรจุ จึงท�ำให้ทีมงานวิจัยมีโจทย์วิจัยในปี 2550 เป็นการศึกษาวิธีการนึ่ง หน่อไม้ไผ่รวกของชุมชน ซึ่งมีหลายวิธี ท�ำให้คุณภาพและอายุการเก็บรักษา แตกต่างกัน อาทิ การน�ำหน่อไม้ไผ่รวกสดมาปอกเปลือก เกลา ตกแต่ง ล้าง น�้ำสะอาด น�ำมานึ่งในลังถึงจนสุก แล้วคีบใส่ถุงพลาสติกร้อน 2 ชั้น มัด ปากถุงให้แน่นด้วยยางวง ใช้เชือกฟางมัด แล้วแขวนไว้ในที่อากาศถ่ายเท สะดวก หรืออาจน�ำหน่อไม้ไผ่รวกสดมาปอกเปลือก เกลา ตกแต่ง ล้างน�้ำ สะอาด แล้วบรรจุในถุงพลาสติกร้อน 2 ชั้น ไล่อากาศออก มัดปากถุงให้แน่น น�ำไปนึ่งประมาณ 2 - 6 ชั่วโมง แล้วจึงน�ำมาผูกเชือกแขวนขาย หรือชาว บ้านบางคนอาจต้มหน่อไม้ทั้งเปลือกให้สุกก่อนแล้วจึงน�ำมาบรรจุถุงพลาสติก ร้อนและน�ำไปนึ่งด้วยวิธีเดียวกัน เมื่อทีมวิจัยท�ำการวิเคราะห์คุณภาพหน่อไม้ ไผ่รวกนึง่ ตามเกณฑ์มาตรฐาน ผลิตภัณฑ์ชุมชนหน่อไม้ต้ม พบว่ า การวิ เ คราะห์ ท าง กายภาพและทางเคมีอยู่ใน เกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ ชุมชน แต่การวิเคราะห์ทาง ชีวภาพ พบว่า หน่อไม้ไผ่รวก นึ่งของชุมชนต�ำบลท่าเสา

15


มีจุลินทรีย์ทั้งหมดเกินเกณฑ์มาตรฐานหลังจากการเก็บรักษาเกินกว่า 120 วัน ทีมงานวิจัยและชาวบ้านจึงร่วมกันศึกษาทดลองต่อในปี 2551 เพื่อ หาวิธีการผลิตหน่อไม้ไผ่รวกนึ่งที่เหมาะสม มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน ผลิตภัณฑ์ชุมชนและมีอายุการเก็บรักษานานกว่า 120 วัน พบวิธีการผลิต คือ น�ำหน่อไม้ไผ่รวกดิบมาปอกเปลือกและเกลาให้เกลี้ยง แล้วน�ำมาล้างน�้ำ สะอาด น�ำขึ้นผึ่งไว้ ต้มน�้ำให้เดือด แล้วน�ำไปนึ่งโดยใช้ลังถึง 2 ชั้น และเว้น ชั้นกลางไว้ เพื่อไม่ให้หน่อไม้โดนน�้ำมาก นึ่งประมาณ 10-30 นาที (ขึ้นอยู่กับ ขนาดของหน่อไม้) น�ำปากคีบจุ่มในน�้ำเดือดหรือนึ่งพร้อมกับหน่อไม้ก่อนน�ำ มาคีบหน่อไม้ใส่ถุงพลาสติกซ้อน 2 ชั้น มัดปากถุงให้แน่นโดยพับปากถุงลง แล้วน�ำมาแขวนไว้ที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งจะพบว่า การใช้หน่อไม้ดิบและน�ำมานึ่ง ในระยะเวลาสั้นนับเวลาหลังจากน�้ำในลังถึงเดือด ท�ำให้หน่อไม้คงความสด กรอบ ไม่เละ และการพับปากถุงลงจะช่วยให้ลดการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ใน อากาศ และการใช้ระยะเวลาในการนึ่งน้อยช่วยลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิง ได้อีกทางหนึ่งด้วย

16


การแปรรูปหน่อไม้ไผ่รวกด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อการเก็บรักษาไว้บริโภคได้ตลอดปี เป็นภูมิปัญญา ที่ชาวบ้านในชุมชนต�ำบลท่าเสา และชุมชนอื่นใน ประเทศไทย ใช้การเรียนรู้จากบรรพบุรุษ จาก ประสบการณ์ จากการลองผิดลองถูก อาจได้ผลผลิต ที่ดี มีคุณภาพ มีอายุการเก็บรักษายาวนาน ปลอดภัย จากสารปนเปื้อน หรือผลผลิตอาจมีคุณภาพต�่ำ มี สารปนเปื้อนที่เป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค ท�ำอย่างไร? ผลผลิตของชาวบ้านจะมีคุณภาพได้มาตรฐานเหมือน กันทุกชุมชน และผู้บริโภคจะแน่ใจได้อย่างไรว่า ผลผลิตในแต่ละชุมชนมีคุณภาพดีและปลอดภัย ควรแก่การบริโภค ทีมงานวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏ กาญจนบุรีจึงมีโจทย์วิจัยอีกมากมายที่ต้องช่วยแก้ ปัญหาและพัฒนาชุมชนท้องถิ่น เพื่อให้ชุมชนมี ความสุข เข้มแข็ง และยั่งยืนตลอดไป

17


หน่อไม้ : หน่อไม้ต้มสมุนไพร ลลิดา ฉายาวัฒน์


จังหวัดกาญจนบุรี

เป็นจังหวัดที่มีป่าไผ่มากเป็นอัน ดับต้นๆ ของประเทศไทย ชาวบ้านที่อาศัยใกล้เคียงป่าไผ่มักใช้ประโยชน์ จากไผ่ไม่ว่าจะเป็นส่วนหน่ออ่อนที่เราเรียกว่า “หน่อไม้” หรือใช้ประโยชน์ จากล�ำต้นและรากของไผ่ท�ำเฟอร์นิเจอร์ และของใช้ต่างๆ ในบรรดาไผ่หลาก หลายชนิดนั้นไผ่ที่พบมาก และชาวบ้านน�ำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย คือ ไผ่รวก ซึ่งในปัจจุบันนอกจากชาวบ้านจะน�ำไผ่รวกจากป่ามาใช้แล้ว มีชาวบ้านจ�ำนวนไม่น้อยที่ปลูกไผ่รวกไว้ในบริเวณพื้นที่ไร่ของตนเอง ในส่วน ของหน่อสามารถน�ำมาประกอบอาหารได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็นแกงเผ็ด แกง คั่ว ต้มจืด ผัดเผ็ด ผัดไข่ ซุปหน่อไม้ อาหารจากหน่อไม้เหล่านี้ล้วนถูกปาก คนไทย แต่หน่อไม้สดไม่ได้มีให้บริโภคได้ตลอดทั้งปี หน่อไม้จะออกเฉพาะ ในฤดูฝนซึ่งอยู่ในช่วงเดือนสิงหาคม - ตุลาคม ของทุกปี ในช่วงที่หน่อไม้มี มากชาวบ้านจะน�ำหน่อไม้มารับประทานสด ถ้าหากหาหน่อไม้ได้มากจะน�ำ หน่อไม้มาแปรรูปเก็บไว้รับประทานได้ตลอดปี และสามารถจ�ำหน่ายสร้าง รายได้ให้กับครอบครัวได้อีกทางหนึ่ง ผลิตภัณฑ์อาหารจากหน่อไม้ไผ่รวกแปรรูป ได้แก่ หน่อไม้อัดปี๊บ หน่อไม้ดอง หน่อไม้แห้ง หน่อไม้นึ่งบรรจุถุงพลาสติก และหน่อไม้ไผ่รวกต้ม ใบย่านาง เป็นต้น เดิมชาวบ้านนิยมรวมกลุ่มท�ำหน่อไม้อัดปี๊บ แต่เมื่อเกิด

19


เหตุการณ์ในช่วงกลางเดือนมีนาคม 2549 มี ข่าวที่สร้างความตื่นตระหนกแก่ผู้นิยมบริโภค หน่อไม้ นั่นคือ ที่อ�ำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน มีผู้ป่วยอาการหนักจากการกินหน่อไม้บรรจุปี๊บ มากกว่า 200 ราย มีสาเหตุมาจากการได้รับสาร พิษที่เรียกว่าโบทูลิน (botulin) ซึ่งเป็นสารพิษที่ สร้างขึ้นโดยแบคทีเรียคลอสทริเดียม โบทูลินัม (Clostridium botulinum) จากเหตุการณ์ ดังกล่าวท�ำให้มีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ ระดับรากหญ้าโดยตรง เพราะการผลิตหน่อไม้ บรรจุปบ๊ี มีกระจายอยูท่ วั่ ไปตามหมูบ่ า้ นทัง้ ในภาค กลาง ภาคเหนือ และภาคอีสาน ซึ่งนับว่าเป็น รายได้หลักของหลายชุมชน ในประเทศไทย สาร พิษโบทูลินเกิดขึ้นเมื่อสปอร์ของ คลอสทริเดียม โบทูลินั่ม งอกเป็นเซลล์ปกติในสภาวะที่ไม่มี อากาศ โดยเฉพาะก๊ า ซออกซิ เ จน และมี ความเป็นกรดต�่ำ ค่าพีเอชสูงกว่า 4.8 ดังนั้น ส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวง สาธารณสุข จึงก�ำหนดให้การผลิตหน่อไม้บรรจุ ปี๊บใช้วิธีการเติมกรดเพื่อให้หน่อไม้มีความเป็น กรดสูง ป้องกันไม่ให้เชื้อคลอสทริเดียม โบทูลินัม เติบโตและสร้างสารพิษ หน่อไม้บรรจุปี๊บปรับกรดไม่ได้รับการ ยอมรับจากชาวบ้านหลายชุมชน รวมทั้งชุมชน ต�ำบลท่าเสา อ�ำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เนื่องจากหน่อไม้บรรจุปี๊บปรับกรดจะมีรสเปรี้ยว

20


เหมือนหน่อไม้ดองจึงไม่ถูกปากผู้บริโภค ชาวบ้านหันมาผลิตหน่อไม้นึ่งในถุง พลาสติก โดยบรรจุหน่อไม้ถุงละ 1 กิโลกรัม ขายในราคาถุงละ 25 – 30 บาท นอกจากนี้ชาวบ้านในชุมชนท่าเสามีความต้องการที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ชนิด ใหม่จากหน่อไม้ให้หลากหลายขึ้น จากการศึกษาบริบทชุมชนในขั้นต้นพื้นที่ ต�ำบลท่าเสานอกจากจะมีหน่อไม้ไผ่รวกมากแล้วยังมีสมุนไพรหลากหลาย ชนิด เช่น ย่านาง กระชาย เป็นต้น จึงมีการน�ำสมุนไพรมาพัฒนาควบคู่ไป กับผลิตภัณฑ์หน่อไม้ไผ่รวก เพื่อเพิ่มรูปแบบของผลิตภัณฑ์หน่อไม้ไผ่รวกให้ มีความหลากหลายยิ่งขึ้น หน่อไม้ไผ่รวกต้มสมุนไพรอาจเป็นแนวทางหนึ่งใน การเพิ่มรูปแบบผลิตภัณฑ์จากหน่อไม้ ดังนั้น ผู้วิจัยจึงศึกษาชนิดของสมุนไพร ที่เหมาะสมในการต้มกับหน่อไม้ไผ่รวก และวิเคราะห์คุณภาพของหน่อไม้ไผ่ รวกต้มสมุนไพรทางด้านกายภาพ ความเป็นกรดด่างและจุลินทรีย์ทั้งหมด โดยท�ำการวิเคราะห์คุณภาพทุกๆ 30 วัน เป็นเวลา 90 วัน ผลการวิจัยพบว่า สมุนไพรที่เหมาะสมในการต้มหน่อไม้ไผ่รวก ได้แก่ รากชะเอม เปลือกตาลเสี้ยน ใบย่านาง และรากกระชาย ตามล�ำดับ คุณภาพหน่อไม้ไผ่รวกต้มสมุนไพรของชุมชนท่าเสา มีคุณภาพทางกายภาพ

21


คือ ลักษณะทั่วไป สี กลิ่น รส ลักษณะเนื้อ อยู่ในระดับดีพอใช้ – ดีมาก ความเป็นกรดด่าง อยู่ในช่วง 5.28 – 6.38 และจ�ำนวนจุลินทรีย์ทั้งหมดไม่ เกินเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน เมื่อเก็บรักษาไว้ 90 วัน คือ หน่อไม้ ไผ่รวกต้มกับรากชะเอม หน่อไม้ไผ่รวกต้มกับเปลือกตาลเสี้ยน และหน่อไม้ ไผ่รวกต้มกับใบย่านางผสมกับรากชะเอม หน่อไม้ต้มสมุนไพรที่ชาวบ้านนิยมรับประทาน คือ หน่อไม้ต้มใบย่านาง สามารถหาซื้อรับประทานได้ตามท้องตลาด โดยแม่ค้าจะคั้นน�้ำใบย่านาง สด ๆ ใส่ถุงไว้ ขายคู่กับหน่อไม้ ซึ่งผู้บริโภคจะน�ำกลับมาต้มรับประทานเอง ที่บ้าน ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยที่หน่อไม้ใบย่านางไม่สามารถเก็บรักษาได้ นาน และจากการศึกษาลักษณะทางกายภาพของหน่อไม้ไผ่รวกต้มกับราก ชะเอม จะมีสีเหลืองน่ารับประทานและยังให้รสหวานของรากชะเอมอีก ด้วย และเมื่อศึกษาสารที่เป็นส่วนประกอบที่ส�ำคัญของรากชะเอม พบว่ามี ฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ ท�ำให้หน่อไม้ไผ่รวกต้มกับราก ชะเอมมีลักษณะทางกายภาพที่ดีและเก็บรักษาได้นาน ดังนั้น รากชะเอมจึง เป็นสมุนไพรที่สามารถน�ำมาต้มกับหน่อไม้แล้วรับประทานได้อร่อยถูกปาก ผู้บริโภคอีกชนิดหนึ่ง

22


พืชน�้ำในแม่น�้ำแควใหญ่ แควน้อย แม่กลอง จังหวัดกาญจนบุรี

จิตรา หมั่นค้า


จังหวัดกาญจนบุรมี แี ม่นำ�้ สายส�ำคัญหลาย

สาย ที่รู้จักกันแพร่หลาย ได้แก่ แม่น�้ำแควน้อย เป็นสายน�้ำ ของการล่องแพ แม่น�้ำแควใหญ่สายน�้ำแห่งประวัติศาสตร์มี สะพานข้ามแม่น�้ำแควเส้นทางรถไฟจากกรุงเทพมหานครสู่ น�้ำตกไทรโยคน้อยผ่านสะพานมรณะ แม่น�้ำแควใหญ่กับแม่น�้ำ แควน้อยบรรจบกันเป็นแม่น�้ำแม่กลองไหลผ่านจังหวัดราชบุรี สมุทรสงคราม ประชาชนใช้ประโยชน์จากแม่น�้ำเหล่านี้ด้าน การเกษตร การท่องเที่ยว ธุรกิจการท่องเที่ยว การประมง อุปโภคบริโภคและอื่นๆ นอกจากนี้แม่น�้ำทั้ง 3 สายเป็นแหล่ง เพาะขยายพันธุ์พืชน�้ำทั้งที่มีประโยชน์โดยตรงและโดยอ้อม ทั้ง อาจก่อให้เกิดปัญหาต่อแม่น�้ำเหล่านี้ มารู้จักความหมายและ ประเภทพืชน�้ำ แม่น�้ำของจังหวัดกาญจนบุรีมีพืชน�้ำอะไรบ้าง พืชน�้ำ (aquatic plants) หมายถึง พืชที่ขึ้นอยู่ในน�้ำ อาจลอยที่ผิวน�้ำ จมอยู่ใต้น�้ำโผล่ขึ้นเหนือผิวน�้ำ หรือ ขึ้นอยู่ตาม ริมน�้ำ ริมตลิ่ง หรือริมคูคลอง รวมถึงพืชที่เจริญเติบโตบริเวณ

24


ที่ลุ่มน�้ำขังหรือที่ชื้นแฉะ ซึ่งสุชาดา ศรีเพ็ญ (2542 หน้า 9) ได้จ�ำแนกพืช น�้ำตามลักษณะการเจริญเติบโตในแหล่งน�้ำเป็น 4 ประเภท • พืชใต้น�้ำ (submerged plants) พรรณไม้น�้ำประเภทที่มีการ เจริญเติบโตอยู่ใต้น�้ำทั้งหมด อาจจะมีรากยึดกับพื้นดินใต้น�้ำหรือไม่ยึดก็ได้ บางชนิดทั้งรากและล�ำต้นเจริญอยู่ในพื้นดินในน�้ำ มีล�ำต้นบางส่วนและ ใบเจริญอยู่ใต้ระดับน�้ำ พืชใต้น�้ำบางชนิดจะส่งดอกขึ้นมาเจริญที่ผิวน�้ำหรือ เหนือน�้ำ บางชนิดจะกลับไปเจริญที่ผิวน�้ำหรือใต้น�้ำ พืชใต้น�้ำมีประโยชน์ มากเพราะคายออกซิเจนให้กับแหล่งน�้ำโดยตรง ขณะเดียวกันจะดูดก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเกิดจากกิจกรรมของสัตน�้ำ ท�ำให้แหล่งน�้ำนั้นเกิด สภาวะสมดุล เช่น สาหร่าย สันตะวาชนิดต่าง ๆ • พืชโผล่เหนือน�้ำ (emerged plants) พรรณไม้นี้มีการเจริญเติบโตอยู่ใต้ น�้ำบางส่วนและเหนือน�้ำบางส่วน โดยมีราก หรือทั้งรากและล�ำต้นเจริญอยู่ในพื้นดินใต้น�้ำ ส่งส่วนของใบ ดอกขึ้นมาเจริญเหนือน�้ำ พืช พวกนี้บางชนิดพบว่า ที่โคนต้นมีเนื้อเยื่อโปร่งๆ สีขาว เรียกว่า aerenchymatous tissue ท�ำ หน้าที่เก็บสะสมอากาศไว้เพื่อช่วยในการหายใจ เช่น เทียนนา บางชนิดพบว่ามีใบใต้น�้ำและใบ เหนือน�้ำ เช่น บัวต่าง ๆ • พืชลอยน�้ำ (floating plants) พรรณไม้น�้ำประเภทนี้เป็น พันธุ์ที่เจริญลอยอยู่ที่ระดับน�้ำ มีรากห้อยลอยอยู่ในน�้ำ ส่วนต้น ใบ ดอก เจริญปริ่มหรือเหนือน�้ำ ถ้าอยู่ในน�้ำตื้นเขินรากอาจจะหยั่งลึกพื้นดินใต้น�้ำ

25


ก็ได้ พรรณไม้น�้ำที่มีขนาดเล็กมักลอยตัวได้อย่างอิสระ เช่น แหนต่างๆ พวก ที่มีขนาดใหญ่มักจะมีส่วนใดส่วนหนึ่งของพืชเปลี่ยนไปเป็นทุ่นเพื่อพยุงให้ต้น พืชลอยน�้ำอยู่ได้ เช่น ผักตบชวามีส่วนของก้านใบพองตัวเป็นทุ่น (buoyancy leaf) ผักบุ้งมีส่วนล�ำต้นภายในกลวงเป็นช่องอากาศใหญ่ช่วยพยุงให้ล�ำต้น เลื้อยทอดไปบนผิวน�้ำ • พืชชายน�้ำ (marginal plants) พรรณไม้ประเภทนี้มักขึ้นอยู่ ตามชายน�้ำ ริมตลิ่ง ชายคลอง หนองน�้ำ สระน�้ำหรือทะเลสาบ ลักษณะ โดยทั่วไปมักมีรากหรือ ทั้งรากและล�ำต้นเจริญอยู่ใต้ดิน ส่งล�ำต้นบางส่วน ของต้น ใบ และดอกขึ้นมาเหนือน�้ำ พรรณไม้น�้ำประเภทนี้ใกล้เคียงกับพวก พืชโผล่เหนือน�้ำมาก หรือบางอย่างเป็นพืชโผล่เหนือน�้ำ และพืชชายน�้ำ เช่น ต้นกกบางอย่าง ในปีพ.ศ. 2552 ได้ส�ำรวจพืชน�้ำในแม่น�้ำแควใหญ่ แควน้อย แม่กลอง จังหวัดกาญจนบุรี พบพืชน�้ำทั้ง 4 ประเภท จ�ำนวน 25 ชนิด ดังตาราง ประเภท พืชใต้น�้ำ

26

ชื่อพืชน�้ำ ดีปลีน�้ำ บัวสาหร่าย สันตะวาใบพาย สาหร่ายพุงชะโด สาหร่ายเส้นด้าย สาหร่ายหางกระรอก

ชื่อวิทยาศาสตร์ Potamogeton malaianum Miq. Cabomba caroliniana A.Gray Ottelia alismoides (L.) Pers. Ceratophyllum demersum L. Najas graminea Delile. Hydrilla verticillata (L.f.)Royle


ประเภท ชื่อพืชน�้ำ พืชโผล่เหนือน�้ำ บัวหลวง บัวสาย บัวดอกสีขาวเล็ก* พืชลอยน�้ำ จอก จอกหูหนู จอกหูหนูยักษ์ ผักตบชวา ผักบุ้ง แหนแดง แหนเป็ดเล็ก แหนเป็ดใหญ่ พืชชายน�้ำ กกสามเหลี่ยม กกลอยแพ ธูปฤาษี บอน ผักปลาบ สร้อยทับทิม หญ้าขน เอื้องเพ็ดม้า

ชื่อวิทยาศาสตร์ Nelumbo nucifera Gaertn. Nymphaea pubescens Willd. Pistia stratiotes L. Salvinia cucullata Roxb. ex Bory Salvinia molesta Mitchel Eichhornia crassipes (Mart.) Solms Ipomoea aquatica Forssk. Azolla pinnata R.Br. Lemna perpusilla Torr. Spirodela polyrrhiza (L.) Schleid. Scirpus grossus L.f. Cyperus cephalotes Vahl Typha angustifolia L. Colocasia esculenta (L.) Schott Commelina benghalensis L. Polygonum bartatum L. Brachiaria mutica (Forssk.) Stapf Polygonum tomentosum Willd.

หมายเหตุ * จ�ำแนกไม่ได้

27


ตัวอย่างพืชน�้ำ

จอกหนูยักษ์

จอกหูหนู

ดอกผักตบชวา

��������

จอกหรือจอกผักกาด

ธูปฤาษี

28


บัวดอกสีขาวเล็ก สาหร่ายหางกระรอก

จอกหูหนูยักษ์ เป็นวัชพืชน�้ำชนิดหนึ่งที่มีความสวยและ

เป็นภัยที่ร้ายแรงต่อแหล่งน�้ำ ซึ่งมีถิ่นก�ำเนิดในทวีปอเมริกา มีการแพร่กระจาย รวดเร็วมากสามารถเจริญเติบโตเพิ่มปริมาณเป็น 2 เท่าในเวลา 2 – 4 วัน และปกคลุมพื้นที่ ประมาณ 64,000 ไร่ในเวลา 3 เดือน ส�ำหรับประเทศไทย จอกหูหนูยักษ์เป็นสิ่งต้องห้ามตามพระราชบัญญัติกักพืช (ประกาศกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ ฉบับที่ 14 เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2521) ห้ามน�ำเข้าและ มีไว้ในครอบครอง จังหวัดกาญจนบุรีพบจอกหูหนูยักษ์ในแม่น�้ำแม่กลองและ แควน้อย หนาแน่นริมน�้ำตรงข้ามศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ประชาชน ไม่ควรน�ำมาปลูกในอ่างหรือสระน�้ำที่บ้านของตนจะท�ำให้แพร่กระจายมาก ขึ้น บัวดอกสีขาวเล็กยังจ�ำแนกชื่อวิทยาศาสตร์ไม่ได้อาจเป็นพืชน�้ำที่น�ำเข้า จากต่างประเทศ และมีปริมาณมากในแม่น�้ำแม่กลองและแควน้อย ส่วน แม่น�้ำแควใหญ่มีบัวดอกสีขาวเล็กบริเวณสะพานสมเด็จพระสังฆราชญาณ สังวร พืชน�้ำที่มีการแพร่กระจายในแม่น�้ำแควใหญ่ แควน้อย แม่กลอง ได้แก่ ผักตบชวา บัวดอกสีขาวเล็ก ดีปลีน�้ำ แหนแดง จอกหูหนูจอกหรือจอก ผักกาด ธูปฤาษี การมีพืชน�้ำในแม่น�้ำทั้ง 3 สาย อาจมีทั้งด้านบวกและด้าน ลบ ด้านบวกพืชน�้ำบางชนิด (สาหร่ายหางกระรอก) ช่วยดูดสารปนเปื้อนใน น�้ำ เช่น สารตะกั่ว จอกหูหนูบ่งบอกปริมาณออกซิเจนในน�้ำ เพราะจอกหูหนู

29


เจริญเติบโตในแหล่งน�้ำที่มีปริมาณออกซิเจนเพียงพอ แหนแดงมีการแพร่ กระจายในแหล่งน�้ำสกปรก ด้านลบพืชน�้ำมีปริมาณมากท�ำให้แหล่งน�้ำตื้น เขิน กีดขวางการไหลของน�้ำ เสียงบประมาณในการก�ำจัด ดีปลีน�้ำเป็นอีก ชนิดหนึ่งที่มีมากสามารถน�ำไปจัดตู้ปลา และยังไม่มีการน�ำไปใช้ประโยชน์อื่นๆ พืชน�้ำเป็นส่วนส�ำคัญในระบบนิเวศแหล่งน�้ำ เป็นผู้ผลิตอาหาร เพิ่มแก๊สออกซิเจนในน�้ำ หากมีมากเกินไปก่อให้เกิดการเน่าเสียของน�้ำ ปลา และสิ่งมีชีวิตอื่นจะตาย การน�ำพืชน�้ำมาเพาะปลูกในบ้านเรือนหรือแหล่งน�้ำ อื่นๆ อย่ามองเฉพาะความสวยงามของพืชน�้ำเท่านั้น ต้องค�ำนึงถึงผลกระทบ ที่จะเกิดตามมาด้วย โดยเฉพาะพืชจากต่างประเทศ เช่น จอกหูหนูยักษ์ ใน ประเทศสหรัฐอเมริกาต้องเสียเงินเพื่อก�ำจัดและควบคุมเป็นจ�ำนวนมาก

เอกสารอ้างอิง สุชาดา ศรีเพ็ญ. (2542). พรรณไม้น�้ำในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : อมรินทร์ พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง. นวลศรี โชตินันท์.(2009). แก้จนดอทคอม 108 อาชีพเสริม. ค้นเมื่อ สิงหาคม, 25, 2553. จาก HYPERLINK “http://www.keajon.com” http://www.keajon.com ชุติมา แจ้งดอนไพร.(2553). จอกหูหนูยักษ์วัชพืชน�้ำที่ร้ายแรงมากที่สุด. ค้นเมื่อ สิงหาคม, 25, 2553. จากhttp://ndc.prd.go.th/pageconfig/ viewcontent/ viewcontent1.asp?pageid=449&…

30


การใช้แมลงน�้ำ ติดตามตรวจสอบคุณภาพน�้ำ

กาญจนา เชียงทอง


แมลงน�้ำคืออะไร แมลงน�้ำ คือ กลุ่มของแมลงซึ่งมีช่วงหนึ่งของวงชีวิต หรือตลอด ชีวิตอาศัยอยู่ในน�้ำ โดยแมลงน�้ำส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในน�้ำในช่วงที่เป็นไข่ และตัวอ่อน เมื่อโตเต็มวัยจะขึ้นมาอาศัยอยู่บนบก ตัวอย่างแมลงน�้ำที่มีวง ชีวิตดังกล่าวนี้ เช่น แมลงปอ และแมลงชีปะขาว เป็นต้น และอีกพวกหนึ่ง คือแมลงน�้ำที่อาศัยอยู่ในน�้ำตลอดชีวิต ส่วนมากจะอยู่ในกลุ่มมวนน�้ำ เช่น มวนวน จิงโจ้น�้ำ และมวนกรรเชียง เป็นต้น แมลงน�้ำบ่งชี้คุณภาพน�้ำได้อย่างไร แมลงน�้ำเป็นกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในน�้ำ ซึ่งมีจ�ำนวนของชนิดพันธุ์ ที่หลากหลาย โดยแต่ละชนิดมีความต้องการปัจจัยในการด�ำรงชีวิตที่แตกต่าง กัน ความต้องการที่แตกต่างกันนี้เองที่ท�ำให้แมลงน�้ำมีความเฉพาะเจาะจง ในการด�ำรงชีวิตอยู่ในแหล่งน�้ำที่มีคุณภาพแตกต่างกันตามไปด้วย ตัวอย่าง เช่น แมลงเกาะหินเป็นแมลงน�้ำที่ต้องการปริมาณออกซิเจนเพื่อใช้หายใจ มาก จึงสามารถด�ำรงชีวิตอยู่ในแหล่งน�้ำที่มีค่าออกซิเจนที่ละลายในน�้ำสูง และมีคุณภาพน�้ำสะอาดเท่านั้น ซึ่งแตกต่างกับมวนน�้ำที่ชอบอาศัยอยู่ใน น�้ำที่มีคุณภาพปานกลาง นอกจากนี้แมลงน�้ำยังเคลื่อนที่ช้า มีบริเวณที่อยู่ อาศัยไม่กว้างนัก อีกทั้งมีช่วงชีวิตที่อาศัยในน�้ำค่อนข้างยาวนาน เหตุผล

32


ดังกล่าวนี้เองที่ท�ำให้แมลงน�้ำและสัตว์หน้าดินหลายชนิดสามารถใช้เป็นตัว บ่งชี้คุณภาพน�้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อดีของการใช้แมลงน�้ำบ่งชี้คุณภาพน�้ำ การใช้แมลงน�้ำเพื่อบ่งชี้คุณภาพน�้ำนั้นมีข้อดีหลายประการ คือ สามารถ บอกถึงคุณภาพน�้ำในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาได้ ซึ่งการตรวจวัดทางเคมีและ กายภาพบอกคุณภาพน�้ำได้เพียงชั่วขณะที่ท�ำการตรวจวัดเท่านั้น เช่น ถ้าแม่น�้ำ แห่งหนึ่งมีคุณภาพน�้ำสะอาดตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่มีการปล่อยน�้ำเสีย ปนเปื้อนลงแม่น�้ำในเช้าของวันที่ท�ำการตรวจวัดคุณภาพน�้ำนั้นเอง ผลการ ตรวจวัดคุณภาพน�้ำทางเคมีและชีวภาพจะพบว่าคุณภาพน�้ำสกปรก แต่ถ้าใช้ แมลงน�้ำเป็นดัชนีทางชีวภาพบ่งชี้คุณภาพน�้ำจะพบคุณภาพน�้ำสะอาด ซึ่งถูก ต้องตรงกับคุณภาพน�้ำตลอดสัปดาห์ นอกจากนี้การใช้แมลงน�้ำบ่งชี้คุณภาพ น�้ำยังเป็นวิธีที่ง่าย สะดวก และมีค่าใช้จ่ายต�่ำมาก เมื่อเปรียบเทียบกับการ วิเคราะห์ทางเคมี ท�ำให้ชุมชน ตรวจวัดคุณภาพน�้ำได้ด้วย ตนเอง และสามารถติดตาม วัดคุณภาพน�ำ้ ได้บอ่ ยตามความ ต้องการ อย่างไรก็ดีการใช้ แมลงน�้ำเป็นตัวบ่งชี้คุณภาพ น�้ ำ ยั ง คงต้ อ งอาศั ย ความรู ้ และความช�ำนาญในการจัด จ�ำแนกแมลงน�้ำ ซึ่งในปัจจุบันมีคู่มือ เอกสาร และสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ มากมายให้เลือกใช้ เช่น สื่อของโครงการนักสืบสายน�้ำ โดยมูลนิธิโลกสีเขียว ซึ่งมีรูปและรายละเอียดต่างๆของแมลงน�้ำและสัตว์หน้าดิน ช่วยให้สามารถ จัดจ�ำแนกได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

33


การใช้ แ มลงน�้ ำ ประเมิ น คุ ณ ภาพน�้ ำ โดยการใช้ BMWP Score การใช้แมลงน�้ำเพื่อประเมินคุณภาพน�้ำ ได้มีการ พัฒนาดัชนีต่างๆขึ้นมาหลายดัชนี ซึ่ง BMWP Score (Biological Monitoring Working Party) เป็นอีกวิธี หนึ่งที่นิยมใช้ในการประเมินคุณภาพน�้ำ โดยใช้การจ�ำแนก ตัวอย่างแมลงน�้ำในระดับวงศ์ (Family) แล้วให้คะแนน ตั้งแต่ 1 ถึง 10 คะแนน ตามระดับความทนทานต่อภาวะ มลพิษหรือปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน�้ำ โดยแมลง น�้ำหรือสัตว์หน้าดินที่มีความทนทานต่อมลพิษต�่ำและ ต้องการออกซิเจนในการด�ำรงชีวิตมาก จะให้ค่าคะแนน สูงที่สุดคือ 10 คะแนน และไล่ค่าคะแนนลงมาตามความ

34


ทนทานต่อมลพิษ จนถึงแมลงน�้ำหรือสัตว์หน้าดินที่มีความทนทานต่อมลพิษ มากและต้องการออกซิเจนในการด�ำรงชีวิตน้อย จะให้ค่าคะแนนต�่ำสุดคือ 1 คะแนน การให้ค่าคะแนนแมลงน�้ำแต่ละชนิดนั้น จะมีความแตกต่างกันไปใน แต่ละภูมิภาคของโลก เนื่องมาจากในแต่ละภูมิภาคจะพบแมลงน�้ำที่มีความ หลากหลายของชนิดพันธุ์ที่ต่างกัน จึงมีการศึกษาและปรับเปลี่ยนคะแนนให้ เหมาะสมกับแต่ละประเทศ ทั้งในประเทศอังกฤษ สเปน สหรัฐอเมริกา หรือ ว่าอินเดีย ต่างก็มีดัชนีที่ให้ค่าคะแนนกับแมลงน�้ำและสัตว์หน้าดินของแต่ละ ประเทศ ในปี 2545 Mustow ท�ำการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของ แมลงน�้ำและสัตว์หน้าดินในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทยและให้ค่าคะแนน กับแมลงน�้ำและสัตว์หน้าดินที่พบ โดยปรับปรุงการให้ค่าคะแนนจากดัชนีของ ประเทศอินเดีย ซึ่งในปัจจุบันยังนิยมใช้ดัชนีของ Mustow ในการประเมิน คุณภาพน�้ำของแหล่งน�้ำไหลทั่วประเทศ แต่ปัญหาส�ำคัญของการใช้ดัชนีนี้ คือจ�ำเป็นต้องจัดจ�ำแนกประเภทของแมลงน�้ำและสัตว์หน้าดินจนถึงระดับ วงศ์ อีกทั้งแมลงน�้ำและสัตว์หน้าดินส่วนใหญ่รายละเอียดชื่อวงศ์เป็นชื่อ วิทยาศาสตร์ ยังไม่มีการก�ำหนดชื่อเป็นภาษาไทยที่เข้าใจตรงกันได้ทั้งหมด

35


การประเมินคุณภาพน�้ำโดยใช้ BMWP Score มีวิธีการดังนี้ คือ 1. จัดจ�ำแนกแมลงน�้ำถึงระดับวงศ์ 2. ให้คะแนนแมลงน�้ำที่พบแต่ละวงศ์ ตามดัชนีของ Mustow 3. รวมคะแนนของแมลงน�้ำแต่ละวงศ์ที่พบ 4. นับจ�ำนวนวงศ์ของแมลงน�้ำที่พบที่สามารถให้คะแนนได้ 5. ค�ำนวณค่าเฉลี่ยดัชนีคุณภาพน�้ำ โดยเอาคะแนนรวมทั้งหมดหาร ด้วยจ�ำนวนประเภทสัตว์ที่มีคะแนนที่พบ 6. น�ำค่าเฉลี่ยไปเปรียบเทียบกับตารางคุณภาพน�้ำ เราก็จะสามารถ ใช้แมลงน�้ำและสัตว์หน้าดินเพื่อประเมินคุณภาพน�้ำตามมาตรฐานคุณภาพ น�้ำของแหล่งน�้ำผิวดินได้ ตารางเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ย ค่าคะแนนเฉลี่ย 1.0 - 2.8 2.9 - 4.6 4.7 - 6.4 6.5 - 8.2 8.3 - 10.0

36

ชั้นคุณภาพน�้ำ ชั้น 5 ชั้น 4 ชั้น 3 ชั้น 2 ชั้น 1

คุณภาพน�้ำ สกปรก ค่อนข้างสกปรก ปานกลาง สะอาด สะอาดมาก


การใช้แมลงน�้ำประเมินคุณภาพน�้ำของแม่น�้ำแควน้อย แม่น�้ำแควใหญ่ และแม่น�้ำแม่กลอง ในปี 2552 มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ร่วมกับโรงเรียนในพื้นที่ จังหวัดกาญจนบุรี ในการส�ำรวจความหลากหลายทางชีวภาพของแมลงน�้ำ และใช้แมลงน�้ำเป็นตัวบ่งชี้คุณภาพน�้ำ ในแม่น�้ำแควน้อย แม่น�้ำแควใหญ่ และแม่น�้ำแม่กลอง บริเวณปากแพรก เริ่มตั้งแต่แม่น�้ำแควน้อยบริเวณหน้า กองการสัตว์และเกษตรกรรมที่ 1 และแม่น�้ำแควใหญ่ที่บริเวณหน้าองค์การ บริหารส่วนต�ำบลท่ามะขาม ไหลผ่านจุดสบน�้ำที่ปากแพรก ไปจนถึงบริเวณ หน้าเขื่อนแม่กลอง โดยจากการศึกษาพบแมลงน�้ำมากกว่า 30,000 ตัว โดย พบ “มวนวน” จ�ำนวนมากที่สุดกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ ของแมลงน�้ำที่พบทั้งหมด และสามารถจ�ำแนกแมลงน�้ำและสัตว์หน้าดินที่พบได้ดังนี้

1. กลุ่มตัวอ่อนแมลงชีปะขาว (Order Ephemeroptera) 2. กลุ่มตัวอ่อนแมลงปอ (Order Odonata) 3. กลุ่มมวนน�้ำ (Order Hemiptera) 4. กลุ่มด้วงน�้ำ (Order Coleoptera) 5. กลุ่มแมลงหนอนปลอกน�้ำ (Order Trichoptera) 6. กลุ่มแมลงช้าง (Order Megaloptera) 7. กลุ่มผีเสื้อ (Order Lepidoptera) 8. กลุ่มหนอนแมลงวัน (Order Diptera)

เมื่อแบ่งแมลงน�้ำและสัตว์หน้าดินเป็นกลุ่มตามการบ่งชี้คุณภาพน�้ำ สามารถแบ่งได้ดังนี้

37


กลุ่มที่

1

พบในน�้ำสะอาด

ตัวอ่อนชีปะขาวตัวแบน ตัวอ่อนแมลงหนอนปลอกน�้ำ (ปลอกเป็นเม็ดกรวดทราย)

ตัวอ่อนชีปะขาวเหงือกบนหลัง ตัวอ่อนชีปะขาวเหงือกแฉก

กลุ่มที่

2

พบในน�้ำคุณภาพปานกลาง

���������������������������

38

ตัวอ่อนแมลงปอ


ตัวอ่อนแมลงปอเข็ม

ตัวอ่อนชีปะขาวว่ายน�้ำ

ตัวอ่อนชีปะขาวเหงือกกระโปรง

มวนวน

มวนแมงป่องเข็ม

มวนจาน

จิงโจ้น�้ำ

ด้วงดิ่ง

หนอนด้วงสตางค์น�้ำ

ด้วงสี่ตา

39


กลุ่มที่

3

พบในน�้ำสกปรก

ตัวอ่อนแมลงปอเข็มหางสองท่อน

��������������

จากการศึกษาแมลงน�ำ้ เพือ่ ประเมินคุณภาพน�ำ้ สามารถ สรุปผลคุณภาพน�้ำโดยรวมตลอดทั้งปี พบว่า แม่น�้ำแควใหญ่ มีคุณภาพน�้ำค่อนข้างสกปรก แม่น�้ำแควน้อย และแม่น�้ำ แม่กลอง มีคุณภาพน�้ำระดับปานกลาง การเฝ้าระวังและ ติดตามตรวจคุณภาพน�้ำในท้องถิ่น ต้องด�ำเนินการอย่าง ต่อเนื่อง และต้องการการมีส่วนร่วมของชุมชน องค์กรเอกชน รวมไปถึงผู้ที่เกี่ยวข้องในการใช้ประโยชน์จากแหล่งน�้ำทุกภาค ส่วน เนื่องจากแม่น�้ำสายต่างๆในจังหวัดกาญจนบุรีเป็นที่ตั้ง ของแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และแหล่งท่องเที่ยวทาง ประวัติศาสตร์ที่ส�ำคัญ ทุกคนควรมีส่วนร่วมในการดูแล รักษาแม่น�้ำของเราให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืนต่อไป

40


การใช้สัตว์พื้นท้องน�้ำเป็นตัวบ่งชี้คุณภาพน�้ำ บริเวณรอยต่อแม่น�้ำแควใหญ่ แม่น�้ำแควน้อย และแม่น�้ำแม่กลอง จังหวัดกาญจนบุรี

พันธ์ทิพย์ เลิศบุรุษ


จังหวัดกาญจนบุรี

มีแม่น�้ำสายส�ำคัญ คือ แม่น�้ำ แควน้อย แม่น�้ำแควใหญ่ และแม่น�้ำแม่กลอง ที่มีความส�ำคัญต่อระบบ เศรษฐกิจและสังคม ของจังหวัดกาญจนบุรีและจังหวัดใกล้เคียง ทั้งในด้าน การชลประทาน การเกษตรกรรม การท่องเที่ยว การคมนาคม รวมถึงการ เป็นแหล่งน�้ำส�ำหรับอุปโภคบริโภค และการตั้งถิ่นฐานของชุมชนบริเวณริม ฝั่งแม่น�้ำ แหล่งน�้ำทั้งสามสายมีความหลากหลายทางชีวภาพค่อนข้างสูง ซึ่ง แสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศแหล่งน�้ำและต้นทุนทาง ทรัพยากรธรรมชาติในการพัฒนาประเทศ แต่ในช่วงกว่าทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศไทยต้องแข่งขันกับนานาอารยประเทศ ท�ำให้ต้องมีการเร่งพัฒนา ประเทศโดยกระบวนการพัฒนาของภาคเกษตรกรรมสู่ภาคอุตสาหกรรม ประกอบกับการเพิ่มขึ้นของประชากร ที่ส่งผลต่อการน�ำทรัพยากรธรรมชาติ ไปใช้อย่างขาดการวางแผนจัดการที่เป็นระบบ และมิได้ค�ำนึงถึงผลกระทบต่อ การเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังปรากฏการณ์การ เปลี่ยนแปลงของธรรมชาติให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ โลกร้อนขึ้น การเกิดฝนตกไม่เป็นไปตามฤดูกาล การเกิดน�้ำท่วมและ แผ่นดินถล่ม การเพิ่มสูงขึ้นของระดับน�้ำทะเล เหล่านี้เป็นต้น ซึ่งไปมีผลต่อ ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และสิ่งที่เกิดขึ้นล้วนเกิดจาก

42


การกระท�ำของฝีมือมนุษย์ทั้งสิ้น การเปลี่ ย นแปลงสภาพ ทางนิเวศของแหล่งน�้ำในทางที่ เสื่อมโทรมลง ย่อมส่งผลกระทบ ต่อโครงสร้างของกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่ อาศัยอยู่ในแหล่งน�้ำอย่างเป็นลูกโซ่ เพราะสิ่งแวดล้อมทุกชนิดในระบบ มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์ซึ่งกันและ กัน โดยกลุ่มของสิ่งมีชีวิตซึ่งเป็นก ลุ่มที่อ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลง ของสิ่งแวดล้อมและสามารถบ่งชี้ คุณภาพสิ่งแวดล้อมของระบบได้ เป็นอย่างดี ที่ส�ำคัญคือ แพลงก์ การเก็บตัวอย่างสัตว์พื้นท้องน�้ำ ตอนพืช แพลงก์ตอนสัตว์ จุลินทรีย์ และสัตว์พื้นท้องน�้ำหรือสัตว์หน้าดิน (benthos) เป็นต้น ดังนั้น การประเมินคุณภาพของแหล่งน�้ำด้วยสัตว์พื้นท้องน�้ำ ซึ่งเป็นกลุ่มสิ่งมีชีวิต ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพทางนิเวศของแหล่งน�้ำ และเป็นตัวบ่งบอกถึงความหลากหลายทางชีวภาพและความอุดมสมบูรณ์ ของระบบนิเวศ ถือเป็นนวัตกรรมที่มีคุณค่ายิ่งทั้งในมิติของเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยการศึกษาการเปลี่ยนแปลงชนิดและปริมาณของสัตว์ พื้นท้องน�้ำทั้งในเชิงพื้นที่และเวลา และประเมินคุณภาพน�้ำบริเวณรอยต่อ แม่น�้ำแควใหญ่ แควน้อย และแม่กลอง จากกลุ่มสัตว์พื้นท้องน�้ำที่พบและ เป็นตัวบ่งชี้ระดับคุณภาพน�้ำ ซึ่งนอกจากท�ำให้ทราบความหลากหลายทาง ชีวภาพของสัตว์พื้นท้องน�้ำแล้ว ยังสามารถใช้เป็นฐานข้อมูลในการเฝ้าระวัง และติดตามการเปลี่ยนแปลงคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้อีกทางหนึ่งด้วย

43


การแยกขยะออกจากตัวอย่างสัตว์พื้นท้องน�้ำในภาคสนาม

การแยกตัวอย่าง สัตว์พื้นท้องน�้ำ ออกจากขยะใน ห้องปฏิบัติการ งานวิจัยเชิงส�ำรวจที่ผมท�ำเรื่องการศึกษาสัตว์พื้นท้องน�้ำบริเวณ แม่น�้ำแควใหญ่ แม่น�้ำแควน้อย และแม่น�้ำแม่กลอง ระหว่างเดือนมกราคม ถึงธันวาคม 2552 เก็บตัวอย่างทุกๆ 2 เดือน ปรากฏว่าพบจ�ำนวนสัตว์ พื้นท้องน�้ำ 84 ชนิด ใน 63 ครอบครัว ปริมาณเฉลี่ย 702.93 ตัวต่อตาราง เมตร พบจ�ำนวนชนิดสูงสุดในแม่น�้ำแม่กลอง (67 ชนิด) รองลงมาคือแม่น�้ำ แควใหญ่ (62 ชนิด) และแม่น�้ำแควน้อย (53 ชนิด) โดยพบสูงสุดในช่วง ฤดูฝน (เดือนพฤษภาคม) จ�ำนวน 54 ชนิด พบน้อยที่สุดในช่วงฤดูหนาว (เดือนพฤศจิกายน) จ�ำนวน 39 ชนิด ส่วนในเชิงปริมาณพบสูงสุดในเดือน กรกฎาคม เฉลี่ย 1,035.6 ตัวต่อตารางเมตร พบต�่ำสุดในเดือนมกราคม เฉลี่ย 422.6 ตัวต่อตารางเมตร ค่าดัชนีความหลากหลายของสัตว์พื้นท้องน�้ำ ตลอดพื้นที่ศึกษา เท่ากับ 2.3238 ซึ่งถือว่ายังมีความหลายหลายในระดับที่

44


ดี แม่น�้ำแควใหญ่มีดัชนีความหลากหลายสูงสุด (1.8836) รองลงมาคือแม่น�้ำแม่กลอง (1.8048) และแม่น�้ำแควน้อย (1.7084) ตามล�ำดับ และเดือนที่มีความหลากหลายของ สัตว์พื้นท้องน�้ำสูงสุดคือเดือนมกราคม (3.0759) ต�่ำสุดใน เดือนพฤศจิกายน (2.4989) สัตว์พื้นท้องน�้ำในกลุ่ม กุ้ง ปู และตัวอ่อนแมลง (Arthropoda) มีการแพร่กระจายมาก ที่สุด (58.95 %) เฉลี่ย 414.3 ตัวต่อตารางเมตร รองลง มาคือกลุ่ม หอยฝาเดียวและหอยสองฝา (Mollusca) มี การแพร่กระจาย (31.19 %) เฉลี่ย 219.37 ตัวต่อตา รางเมตร และกลุ่ม ไส้เดือนน�้ำ หนอนน�้ำ (Annelida) มี การแพร่กระจาย (9.86 %) เฉลี่ย 69.33 ตัวต่อตาราง เมตร กลุ่มสัตว์พื้นท้องน�้ำชนิดเด่นคือ หนอนแดง (Chironomus thummi) และกุ้งฝอย (Macrobranchium lanchesteri) คุณภาพน�้ำในแม่น�้ำแควน้อยพบกลุ่มสัตว์ พื้นท้องน�้ำที่บ่งชี้คุณภาพน�้ำระดับสกปรกมาก เช่น ตัวอ่อน แมลงวัน (Chironomus sp.) ไส้เดือนน�้ำ (Branchiura sp.) ไส้เดือนน�้ำปลอกแดง (Tubifex tubifex) แม่น�้ำแคว ใหญ่พบกลุ่มสัตว์พื้นท้องน�้ำที่บ่งชี้คุณภาพน�้ำระดับสกปรก

แม่น�้ำแควใหญ่ บริเวณ สะพานสมเด็จพระ สังฆราชญาณสังวร พบตัวอย่างสัตว์พื้น ท้องน�้ำมากที่สุด

45


ไส้เดือนน�้ำปลอกแดง (Tubifex tubifex)

ไส้เดือนน�้ำ (Branchiura sp.)

เล็กน้อย เช่น ตัวอ่อนแมลงปอ (Calopteryx sp.) หนอน ปลอกน�้ำ (Polycentropus sp.) หอยฝาเดียว (Brotia (Brotia) baccata) และแม่น�้ำแม่กลองพบกลุ่มสัตว์พื้น ท้องน�้ำที่บ่งชี้คุณภาพน�้ำระดับสกปรกปานกลาง เช่น กุ้งฝอย (Macrobranchium lanchesteri) ตัวอ่อนแมลงชีปะขาว ว่ายน�้ำ (Baetidae) ตัวอ่อนแมลงชีปะขาวเหงือกกระโปรง (Caenidae) ผลที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้เป็นข้อมูลพื้น ฐานส�ำคัญในการเฝ้าระวังคุณภาพน�้ำบริเวณรอยต่อแม่น�้ำ แควใหญ่ แม่น�้ำแควน้อย และแม่น�้ำแม่กลอง และน�ำไปสู่ การสร้างการเรียนรู้ของเยาวชนในการใช้ความหลากหลาย ของสัตว์พื้นท้องน�้ำในการเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมของ ชุมชนในโอกาสต่อไปครับ

46


การเฝ้าระวังคุณภาพน�้ำ บริเวณรอยต่อแม่น�้ำแควใหญ่ แม่น�้ำแควน้อย และแม่น�้ำแม่กลอง

ลลิดา ฉายาวัฒน์


1. ความส�ำคัญของน�้ำ

“ น�้ำ คือ ชีวิต ” น�้ำเป็นแหล่งก�ำเนิดชีวิตของพืช สัตว์ และมนุษย์ น�้ำเป็นปัจจัยส�ำคัญ ในการด�ำรงชีวิตถ้าขาดน�้ำพืช สัตว์ และมนุษย์ก็ไม่สามารถด�ำรงชีวิตอยู่ได้ น�้ำ มีความจ�ำเป็นต่อมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อมโดยมนุษย์ใช้ดื่มกิน ประกอบ อาหาร และช�ำระร่างกาย น�้ำยังมีความจ�ำเป็นในด้านการเกษตร ด้าน อุตสาหกรรม ด้านการคมนาคม และด้านการท่องเที่ยว ในด้านการเกษตร ใช้น�้ำในการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ แล้วยังใช้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของปลาและ สัตว์น�้ำอื่นๆ ในด้านอุตสาหกรรมใช้น�้ำในกระบวนการผลิต ใช้ล้างของเสีย ใช้หล่อเครื่องจักรและระบายความร้อน ในด้านการคมนาคมและการท่อง เที่ยวใช้แม่น�้ำ ล�ำคลอง ทะเล ในการล�ำเลียงขนส่งสินค้า และล่องเรือ หรือท�ำกิจกรรมทางน�้ำเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ นอกจากนี้ น�้ำยังเป็นแหล่ง พลังงานส�ำคัญในการผลิตกระแสไฟฟ้าอีกด้วย จะเห็นว่าน�้ำมีความส�ำคัญต่อ การด�ำเนินชีวิตของมนุษย์มากมายหลายประการ เราจึงควรช่วยกันอนุรักษ์ และจัดการทรัพยากรน�้ำให้อยู่คู่กับมนุษย์อย่างสมดุลตลอดไป

48


ปัญหาส�ำคัญของทรัพยากรน�้ำ

1. ปัญหาการมีน�้ำน้อยเกินไป เกิดการขาดแคลนอันเป็นผลเนื่องจาก การตัดไม้ท�ำลายป่า ท�ำให้ปริมาณน�้ำฝนน้อยลง เกิดความแห้งแล้งเสียหาย ต่อพืชเพาะปลูกและการเลี้ยงสัตว์ 2. ปัญหาการมีน�้ำมากเกินไป เป็นผลมาจากการตัดไม้มากเกินไป ท�ำให้เกิดน�้ำท่วมไหลบ่าในฤดูฝน สร้างความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สิน 3. ปัญหาน�้ำเสีย เป็นปัญหาใหม่ใน ปัจจุบัน สาเหตุที่ท�ำให้เกิดน�้ำเสียได้แก่ น�้ำ ทิ้งจากบ้านเรือน ขยะมูลฝอยและสิ่งปฎิกูล ที่ถูกทิ้งสู่แม่น�้ำล�ำคลอง น�้ำเสียจากโรงงาน อุตสาหกรรม น�ำ้ ฝนพัดพาเอาสารพิษทีต่ กค้าง จากแหล่งเกษตรกรรมลงสู่แม่น�้ำล�ำคลอง น�้ำ เสียที่เกิดขึ้นนี้ส่งผลเสียหายทั้งต่อสุขภาพ อนามัย เป็นอันตรายต่อสัตว์น�้ำ และมนุษย์ ส่งกลิ่นเหม็น รบกวน ท�ำให้ไม่สามารถน�ำ แหล่งน�้ำนั้นมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งการอุปโภค บริโภค เกษตรกรรม และอุตสาหกรรม

49


ผลกระทบของน�้ำเสียต่อสิ่งแวดล้อม ได้แก่ เป็นแหล่งแพร่ระบาดของเชื้อโรค เช่น อหิวาตกโรค บิด ท้องเสีย เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงน�ำโรค ต่างๆ ท�ำให้เกิดปัญหามลพิษต่อดิน น�้ำ และอากาศ ท�ำให้เกิดเหตุร�ำคาญ เช่น กลิ่นเหม็นของน�้ำโสโครก ท�ำให้เกิดการสูญเสียทัศนียภาพ เกิดสภาพที่ไม่น่าดู เช่น สภาพน�้ำที่มีสีด�ำคล�้ำไปด้วยขยะ และสิ่งปฏิกูล ท�ำให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจ เช่น การสูญเสีย พันธุ์ปลาบางชนิดจ�ำนวนสัตว์น�้ำลดลง และท�ำให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศในระยะยาว น�้ำ มีความส�ำคัญและมีประโยชน์มหาศาล เราจึงควร ช่วยแก้ไขปัญหาน�้ำเสียด้วยการอนุรักษ์ทรัพยากร น�้ำอย่างยั่งยืน

การอนุรักษ์ทรัพยากรน�้ำ 1. การใช้น�้ำอย่างประหยัด การใช้น�้ำอย่างประหยัดนอกจากจะลด ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าน�้ำลงได้แล้ว ยังท�ำให้ปริมาณน�้ำเสียที่จะทิ้งลงแหล่ง น�้ำมีปริมาณน้อย และป้องกันการขาดแคลนน�้ำได้ด้วย 2. การสงวนน�้ำไว้ใช้ในบางฤดู หรือในสภาวะที่มีน�้ำมากเหลือใช้ควร มีการเก็บน�้ำไว้ใช้ เช่น การท�ำบ่อเก็บน�้ำ การสร้างโอ่งน�้ำ ขุดลอกแหล่งน�้ำ รวมทั้งการสร้างอ่างเก็บน�้ำ และระบบชลประทาน

50


3. การพัฒนาแหล่งน�้ำ ในบางพื้นที่ที่ขาดแคลนน�้ำจ�ำเป็นที่จะต้องหา แหล่งน�้ำเพิ่มเติมเพื่อให้สามารถมีน�้ำไว้ใช้ ทั้งในครัวเรือนและในการเกษตร ได้อย่างพอเพียง ปัจจุบันการน�ำน�้ำบาดาลขึ้นมาใช้ และก�ำลังเป็นที่แพร่หลาย มากขึ้นแต่อาจมีปัญหาเรื่องแผ่นดินทรุด 4. การป้องกันน�้ำเสีย การไม่ทิ้งขยะและสิ่งปฏิกูลและสารพิษลงใน แหล่งน�้ำ น�้ำเสียที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล ควรมีการบ�ำบัด และขจัดสารพิษก่อนที่จะปล่อยลงสู่แหล่งน�้ำ 5. การน�ำน�้ำเสียกลับไปใช้ น�้ำที่ไม่สามารถใช้ได้ในกิจการอย่างหนึ่ง อาจใช้ได้ในอีกกิจการหนึ่ง เช่น น�้ำทิ้งจากการล้างภาชนะอาหาร สามารถ น�ำไปรดต้นไม้ได้

51


2. การเปลี่ยนแปลงคุณภาพน�้ำ สภาพความสกปรกของแม่น�้ำมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เช่น เปลี่ยนแปลงตามปริมาณน�้ำในฤดูฝนและฤดูแล้ง เปลี่ยนแปลงตามความเจริญ เติบโตของพืชตามฤดูกาล และเปลี่ยนแปลงตามสภาพการใช้ชีวิตของมนุษย์ ในแต่ละวัน การเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล (อุณหภูมิของอากาศ และปริมาณ ฝน) เมื่อฝนตกคุณภาพน�้ำจะเปลี่ยนแปลง โดยดินทรายจะไหลรวมกันลง สู่แม่น�้ำ ปริมาณน�้ำที่มากขึ้นจะท�ำให้ความสกปรกถูกเจือจางไป โดยทั่วไป คุณภาพน�้ำในฤดูแล้งจะต�่ำกว่าในฤดูฝน ดังนั้นจึงควรตรวจสอบคุณภาพน�้ำ ในฤดูแล้งด้วย การเปลี่ยนแปลงในแต่ละสัปดาห์ (วันท�ำงานและวันหยุด) ใน กรณีที่แม่น�้ำเป็นจุดรองรับน�้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม ช่วงปลายสัปดาห์ คุณภาพน�้ำจะมีการเปลี่ยนแปลงน้อยกว่าช่วงต้นสัปดาห์ และผลกระทบจาก โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ จะลดลงในวันหยุด การเปลี่ยนแปลงในแต่ละวัน (กลางวันและกลางคืน) คุณภาพน�้ำจะมีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากลักษณะ น�้ำทิ้งที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์มีการเปลี่ยนแปลงภายในหนึ่งวัน นอกจาก นี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละเดือนและแต่ละปีอีกด้วย 3. คุณภาพน�้ำบริเวณรอยต่อแม่น�้ำแควใหญ่ แม่น�้ำแควน้อย และ แม่น�้ำแม่กลอง จากการศึกษาคุณภาพน�้ำบริเวณรอยต่อแม่น�้ำแควใหญ่ แม่น�้ำ แควน้อย และแม่น�้ำแม่กลองในระหว่างเดือนมกราคม–พฤศจิกายน 2552 โดยแม่น�้ำแควน้อยเริ่มตั้งแต่กองการสัตว์และเกษตรกรรมที่ 1 แม่น�้ำ แควใหญ่ตั้งแต่ อบต.ท่ามะขาม ถึงจุดบรรจบกันเป็นแม่น�้ำแม่กลองที่ต�ำบล ปากแพรก อ�ำเภอเมืองกาญจนบุรี แม่น�้ำแม่กลองตั้งแต่จุดบรรจบของแม่น�้ำ แควใหญ่และแม่น�้ำแควน้อยไปจนถึงหน้าเขื่อนแม่กลอง อ�ำเภอท่าม่วง จังหวัด

52


กาญจนบุรี พบว่าคุณภาพน�้ำทางกายภาพ คุณภาพทางเคมี และคุณภาพ ทางชีวภาพอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน�้ำในแหล่งน�้ำผิวดิน ประเภทที่ 3 เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบคุณภาพน�้ำบริเวณรอยต่อแม่น�้ำแควน้อย แม่น�้ำ แควใหญ่ และแม่น�้ำแม่กลอง พบว่า แม่น�้ำแควน้อยมีคุณภาพดีกว่าแม่น�้ำ แม่กลอง และแม่น�้ำแควใหญ่ ตามล�ำดับ

ความส�ำคัญของดัชนีคุณภาพน�้ำ คุณภาพน�้ำในแหล่งน�้ำทั่วไปจะพิจารณาดัชนีคุณภาพน�้ำทั้งทาง กายภาพและเคมี ได้แก่ 1) อุณหภูมิ (Temperature) หมายถึง ระดับความร้อน อุณหภูมิ ของน�้ำทิ้งที่ปล่อยลงสู่แม่น�้ำล�ำธารสาธารณะมีผลต่อสิ่งมีชีวิตในน�้ำทั้งทาง ตรงและทางอ้อม โดยที่สิ่งมีชีวิตในน�้ำอาจถึงตายได้ในกรณีที่อุณหภูมิของ น�้ำทิ้งสูงเกินไปและยังมีผลให้การละลายของออกซิเจนในน�้ำลดลงอีกด้วย ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมยอมให้อุณหภูมิของน�้ำที่ปล่อยลงสู่ล�ำน�้ำ สาธารณะได้ไม่เกิน 40 องศาเซลเซียส

53


2) ค่าการน�ำไฟฟ้า (Electrical Conductivity) เป็นตัวเลขที่บอกถึง ความสามารถของตัวอย่างน�้ำในการน�ำกระแสไฟฟ้า ซึ่งจะมากหรือน้อยขึ้น อยู่กับความเข้มข้นทั้งหมดของสารที่มีประจุที่ละลายอยู่ในตัวอย่างน�้ำ และ อุณหภูมิขณะที่ท�ำการวัด นอกจากนี้ชนิด ความเข้มข้น และจ�ำนวนประจุ ของสารที่มีประจุก็จะมีผลต่อความสามารถในการน�ำไฟฟ้าของตัวอย่างน�้ำนั้น สารประกอบที่มีคุณสมบัติในการน�ำไฟฟ้าได้ดีก็คือ สารประกอบอนินทรีย์ของ กรด ด่าง และเกลือ ตามล�ำดับ ในทางกลับกันสารประกอบอินทรีย์ เช่น ซูโครส เบนซิน จะเป็นตัวน�ำไฟฟ้าที่ไม่ดี 3) ความขุ่น (Turbidity) หมายถึง การที่น�้ำมีพวกสารแขวนลอยอยู่ใน น�้ำ ท�ำให้บดบังแสงท�ำให้ไม่สามารถมองลงไปในระดับน�้ำที่ลึกได้สะดวก สาร แขวนลอย ที่ท�ำให้น�้ำมีความขุ่น ได้แก่ ดินละเอียด อินทรียสาร อนินทรียสาร แพลงตอน และจุลินทรีย์ สารพวกนี้อาจมีบางพวกกระจายแสงบางพวกดูด ซึมแสง 4) ความเป็นกรดและด่าง (pH) แหล่งน�้ำในพื้นที่ส่วนใหญ่ของ ประเทศไทย จะมีค่า พีเอชอยู่ในช่วง 6.5 ถึง 9 ค่าพีเอชมีความสัมพันธ์โดยตรง กับสภาพกรดและสภาพด่างในน�้ำ น�้ำที่มีสมบัติเป็นกลาง จะมีพีเอชเท่ากับ 7 ถ้าน�้ำมีค่าพีเอชมากกว่า 7 จะมีสมบัติเป็นด่าง และถ้ามีค่าพีเอชต�่ำกว่า 7 จะมีสมบัติเป็นกรด ในการวัดค่าพีเอชท�ำได้หลายวิธี เช่น ใช้กระดาษพีเอช หรือใช้การเทียบสีกับสารละลายมาตรฐานที่ทราบค่าพีเอช หรือใช้เครื่องวัด ค่าพีเอช 5) ออกซิเจนที่ละลายในน�้ำ (Dissolved Oxygen, DO) ในน�้ำเสีย ค่า DO เป็นตัวบ่งชี้ว่าปฏิกิริยาทางชีวภาพที่เกิดขึ้น จะเกิดโดยจุลินทรีย์ที่ใช้ ออกซิเจนในการหายใจ (aerobic organism) หรือ จุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจน

54


ในการหายใจ (anaerobic organism) พวกจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนในการ หายใจจะใช้ออกซิเจนอิสระเพื่อออกซิไดส์สารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่อันตราย ในขณะที่จุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการ หายใจท�ำให้เกิดออกซิเดชันโดยการรีดิวซ์เกลืออนินทรีย์บางตัว เช่น SO42เกิดผลิตภัณฑ์ที่มีกลิ่นเหม็น จุลินทรีย์ทั้งสองชนิดพบทั่วไปในธรรมชาติ จึงจ�ำเป็นที่จะต้องรักษาสภาวะที่พวกจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนในการหายใจ ชอบไว้คือสภาวะที่มีออกซิเจน 6) ความต้องการออกซิเจนในการย่อยสลายสารอินทรีย์ (Biological Oxygen Demand , BOD) เป็นปริมาณออกซิเจนที่แบคทีเรียใช้ใน การย่อยสลายสารอินทรีย์ที่ย่อยสลายได้ (decomposable) ภายใต้สภาวะที่ มีออกซิเจน BOD จะถูกใช้ไปใช้ในการควบคุมความสกปรกของล�ำธาร แม่น�้ำ ว่าควรจะบ�ำบัดสารอินทรีย์ที่จะทิ้งลงน�้ำแค่ไหน เพื่อที่จะให้มีระดับออกซิเจน ในน�้ำเหลืออยู่ตามต้องการ ใช้วัดความสามารถของแหล่งน�้ำที่จะก�ำจัดความ สกปรกโดยธรรมชาติ ใช้ตรวจคุณภาพของสิ่งที่ปล่อยทิ้งลงสู่แม่น�้ำและใช้หา ประสิทธิภาพของโรงบ�ำบัดน�้ำโสโครก 7) แอมโมเนียในหน่วยไนโตรเจน (Ammonia Nitrogen, NH 3-N) แอมโมเนียเป็นอนินทรีย์ไนโตรเจนที่เกิด จากการย่อยสารอินทรีย์ไนโตรเจน การ ขับถ่ายของสิ่งมีชีวิต อาหารที่ตกค้าง การ ย่อยสลาย ยูเรีย แอมโมเนียมีอยู่ 2 รูป คือ รูปที่มีประจุ (NH4+) และไม่มีประจุ (NH3) ผลรวมของแอมโมเนียที่มีประจุ (NH4+) กับไม่มีประจุ (NH3) เรียกว่า

55


แอมโมเนียรวมหรือเรียกง่าย ๆ ว่า แอมโมเนีย แพลงก์ตอนพืชและพืชน�ำ้ ใช้แอมโมเนียเพือ่ สร้างโปรตีน (กรดอะมิโน) ส่วนแอมโมเนียที่เกินความต้องการจะถูกปล่อยลงสู่แหล่งน�้ำ ในสภาวะที่มี ออกซิเจน แอมโมเนียในแหล่งน�ำ้ จะถูกออกซิไดซ์โดย ไนโตรโซโมแนสแบคทีเรีย (nitrosomonas bacteria) และไนโตรแบคเตอร์แบคทีเรีย (nitrobactor bacteria) ไปเป็นไนไทรต์ และไนเทรตตามล�ำดับ ในแหล่งน�้ำที่มีออกซิเจน สูง อัตราการเปลี่ยนแอมโมเนียไปเป็นไนไตรท์ และจากไนไตรท์เป็นไนเตรท จะมีอัตราที่เท่ากัน ดังนั้นในแหล่งน�้ำทั่วไปจึงมีไนไตรท์ค่อนข้างต�่ำ ในสภาวะ ที่ไม่มีออกซิเจน ไนเตรทจะถูกแบคทีเรียบางชนิดเปลี่ยนไปเป็นไนไตรท์ และ แก๊สไนโตรเจนตามล�ำดับ ซึ่งกระบวนการดังกล่าวเรียกว่า ดีไนตริฟิเคชัน ความเป็นพิษของแอมโมเนียสัมพันธ์กับความเข้มข้นของแอมโมเนีย รูปที่ไม่มีประจุซึ่งเป็นรูปที่เป็นพิษต่อสัตว์น�้ำ โดยทั่วไปนิยมรายงานความ เป็นพิษของแอมโมเนียในเทอมความเข้มข้นของแอมโมเนียรูปที่ไม่มีประจุ มากกว่าแอมโมเนียรวม สัตว์น�้ำส่วนใหญ่เมื่อสัมผัสกับแอมโมเนียในรูปที่ ไม่มีประจุ 1- 2 mg N / L นานประมาณหนึ่งชั่วโมงจะท�ำให้เกิดการตาย อย่างฉับพลัน 8) ไนไตรท์ในหน่วยไนโตรเจน (Nitrite Nitrogen, NO2--N) ไนไตรท์เป็นรูปหนึง่ ของไนโตรเจน ในวัฏจักรของไนโตรเจน โดย ไนไตรท์สามารถถูกรีดิวซ์ไป เป็นแอมโมเนียในสภาวะไร้ ออกซิเจน และไนไตรท์สามารถ

56


ถูกออกซิไดซ์ไปเป็นไนเตรท การออกซิเดชันและรีดักชันอาจเกิดในโรงงาน ก�ำจัดน�้ำเสีย ในระบบการจ่ายน�้ำและในน�้ำธรรมชาติ ไนไตรท์อาจเข้าสู่ระบบ ประปา โดยการใช้เป็นตัวขัดขวางการกัดกร่อนในน�้ำ น�้ำส่วนใหญ่จะพบไน ไตรท์ปริมาณไม่มากนัก เนื่องจากการสลายตัวทางชีวะของโปรตีน เป็นตัว ชี้ให้ทราบถึงความสกปรกเนื่องจากอินทรีย์สาร ไนไตรท์อาจพบบ้างในน�้ำเสีย ที่ผ่านการก�ำจัดแล้ว ในน�้ำผิวดินและน�้ำใต้ดินมักพบไนไตรท์ความเข้มข้นไม่ เกิน 0.1 mg/L 9) ไนเตรทในหน่วยไนโตรเจน (Nitrate Nitrogen, NO3--N) ไนเตรทเป็นสารประกอบไนโตรเจนที่ส�ำคัญในน�้ำ เกิดจากการที่สิ่งมีชีวิต ปล่อยของเสียซึ่งมีสารประกอบไนโตรเจนออกมาและเมื่อสิ่งมีชีวิตตายลง โปรตีนภายในสิ่งมีชีวิตจะถูกย่อยสลายเปลี่ยนเป็นแอมโมเนีย ซึ่งพืชสามารถ น�ำไปใช้ในการสร้างโปรตีนได้ ในน�้ำผิวดินจะพบไนเตรทในปริมาณน้อย มัก ต�่ำกว่า 1 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตรของไนโตรเจนและอย่างสูงไม่เกิน 5 มิลลิกรัมไนโตรเจนต่อลูกบาศก์เดซิเมตร แต่ส�ำหรับน�้ำใต้ดินอาจมีไนโตรเจน สูงตั้งแต่ 0 – 1000 มิลลิกรัมไนโตรเจนต่อลูกบาศก์เดซิเมตร ทั้งนี้ขึ้น กับสภาพภูมิประเทศ ไนเตรทนอกจากเข้าสู่แหล่งน�้ำจากการเน่าเปื่อยของ สิ่งมีชีวิตแล้วยังมาจากปุ๋ยที่ใช้เพื่อการเกษตรกรรมและน�้ำเสียอีกด้วย น�้ำ ที่มีปริมาณไนเตรทสูงเกินไปอาจท�ำให้เด็กทารกเกิดโรคเมทิโมโกลบินิเมีย (Methemoglobinemia หรือ Blue Babies ) เพื่อป้องกันความผิดปกติอัน จะเกิดขึ้นจึงได้ก�ำหนดให้น�้ำดื่มมีไนเตรทไม่เกิน 10 มิลลิกรัมไนโตรเจนต่อ ลูกบาศก์เดซิเมตร ในน�้ำโสโครกใหม่ ๆ จากอาคารบ้านเรือนจะพบไนเตรทในปริมาณ น้อยมาก แต่ในน�้ำทิ้งจากบ่อบ�ำบัดน�้ำเสียทางชีวภาพ (Nitrifying Biological Treatment Plant ) อาจพบไนเตรทในปริมาณที่สูงถึง 50 มิลลิกรัมไนโตรเจน ต่อลูกบาศก์เดซิเมตร ไนเตรทจัดเป็นสารอาหาร ( Nutrient ) ส�ำคัญส�ำหรับ

57


สิ่งมีชีวิตหลายชนิดที่สร้างอาหารเอง และในบางกรณียังพบว่าไนเตรทเป็น สารอาหารที่ส�ำคัญต่อการเจริญเติบโตทั้งพืชและสัตว์ด้วย 10) ฟอสเฟตในหน่วยฟอสฟอรัส (Phosphate Phosphorous, 3PO4 ) ฟอสฟอรัสเป็นธาตุที่พบได้ทั่วไปในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดและมักพบใน รูปของฟอสเฟต สารประกอบฟอสเฟตเป็นสารอาหารที่จ�ำเป็นของมนุษย์ สัตว์ พืชและจุลินทรีย์ พบได้ในยีน ฟัน กระดูกและกล้ามเนื้อ นอกจาก นี้ สารฟอสเฟตเป็นสารประกอบส�ำคัญในปุ๋ย ผงซักฟอก ยาสีฟัน นมข้น อาหาร เครื่องดื่ม และสารลดความกระด้างของน�้ำ สารโซเดียมไตรพอ ลิฟอสเฟตนิยมใช้กันมากในผงซักฟอกโดยท�ำหน้าที่เพิ่มประสิทธิภาพให้สาร ลดแรงตึงผิว ท�ำให้สิ่งสกปรกในเสื้อผ้าหลุดได้ง่าย กระบวนการผลิตน�้ำ ประปาต้องมีการเติมพอลิฟอสเฟตปริมาณเล็กน้อย เพื่อใช้ปรับสภาพของ น�้ำประปามิให้กัดกร่อน หรือตกตะกรันในเส้นท่อ ฟอสฟอรัสเข้าไปปนเปื้อนในน�้ำธรรมชาติได้หลายทาง เช่น น�้ำทิ้งจาก ครัวเรือน มีฟอสเฟตจากผงซักฟอก ซึ่งเป็นโพลีฟอสเฟต( Polyphosphates) เป็นส่วนใหญ่ จากน�้ำทิ้งการเกษตรซึ่งมีปุ๋ยที่ถูกชะพาลงสู่แหล่งน�้ำในรูป ของออร์โธฟอสเฟต (Ortophosphate) 11) ของแข็งทั้งหมดในน�้ำ (Total Solid, TS) หมายถึง ปริมาณ ของแข็งที่เหลืออยู่ในภาชนะหลังจากระเหยน�้ำออกจากตัวอย่างน�้ำทั้งหมด แล้ว น�ำไปอบที่อุณหภูมิ 103 – 105 องศาเซลเซียส จนน�้ำหนักคงที่ ปล่อยให้ เย็นในโถท�ำให้แห้งแล้วชั่งหาน�้ำหนักของของแข็งในภาชนะนั้น จะได้ปริมาณ ของของแข็งหรือสารทั้งหมด มีหน่วยเป็นมิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร

58


12) ของแข็งแขวนลอย (Suspended, SS) หมายถึง ปริมาณ ของแข็งแขวนลอยที่สามารถกรองได้ด้วยกระดาษกรองใยแก้ว (Whatman GF/C) มีหน่วยเป็นมิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร 13) ของแข็งที่ละลายน�้ำทั้งหมด (Total Dissolved Solid, TDS) หมายถึง ปริมาณของแข็งที่ละลายน�้ำได้ และสามารถไหลผ่านกระดาษ กรองใยแก้ว เมื่อกรองปริมาณของแข็งแขวนลอยออก แล้วเอาน�้ำใสที่ ผ่านกระดาษกรองใยแก้วไประเหยจะหาปริมาณของแข็งละลายได้ มีหน่วย เป็นมิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร 14) ความกระด้างทั้งหมด (Total Hardness) หมายถึงผลรวม ของอิออนประจุบวกที่มีวาเลนต์เท่ากับ 2 ทั้งหมด เช่น Ca2+ , Mg2+ , Fe2+ เป็นต้น น�้ำกระด้างแบ่งออกเป็น 2 ประเภท โดยอาศัยสารที่เจือปน เป็นเกณฑ์ในการจัดแบ่ง ได้แก่ 1. น�้ำกระด้างชั่วคราว หมายถึง น�้ำกระด้างที่มีแคลเซียมไฮโดรเจน คาร์บอเนต แมกนีเซียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต เมื่อสารทั้ง 2 ชนิดนี้ได้รับความ ร้อนแล้วจะตกตะกอนและได้ก๊าซคาร์บอนได ออกไซด์ระเหยไป 2. น�้ำกระด้างถาวร หมายถึง น�้ำกระด้างที่มีสารต่อไปนี้เจือปนอยู่ คือ แคลเซียมคลอไรด์ แคลเซียมซัลเฟต แมกนีเซียมคลอไรด์ และแมกนีเซียม ซัลเฟต น�้ำกระด้างนั้นจะเป็นน�้ำที่ไม่เกิดฟองกับสบู่ หรือเกิดฟองสบู่น้อย และมีไคลสบู่เกิดขึ้น เช่น น�้ำคลอง น�้ำบ่อ น�้ำประปา น�้ำบาดาล น�้ำทะเล เป็นต้น น�้ำที่มีความกระด้างสูงนอกจากท�ำให้เปลืองสบู่หรือผงซักฟอกใน

59


การซักล้างแล้ว ยังก่อให้เกิดตะกรันในหม้อหรือกาต้มน�้ำ และมีรสเมื่อใช้ ดื่ม สาเหตุที่ท�ำให้เกิดน�้ำอ่อนน�้ำกระด้าง คือ ในน�้ำมีเกลือคาร์บอเนต เกลือ คลอไรด์ และเกลือซัลเฟตของโลหะบางชนิดละลายอยู่ เช่น แคลเซียม ไฮโดรเจนคาร์บอเนต แคลเซียมคลอไรด์ แคลเซียมซัลเฟต แมกนีเซียม ไฮโดรเจนคาร์บอเนต แมกนีเซียมคลอไรด์ แมกนีเซียมซัลเฟต ซึ่งในน�้ำอ่อน จะมีปริมาณสารเหล่านี้น้อยกว่าในน�้ำกระด้าง ความกระด้างทั้งหมดเมื่อค�ำนวณเป็นแคลเซียมคาร์บอเนต มีปริมาณ ต�่ำกว่า 300 มิลลิกรัมต่อลิตร ให้ถือว่าน�้ำนั้นเป็นไปตามมาตรฐานการแบ่ง ระดับความกระด้างของน�้ำดังต่อไปนี้ เกณฑ์ความกระด้างของน�้ำ ปริมาณความกระด้างของน�้ำ (mg/l as CaCO3 ) น�้ำอ่อน น�้ำกระด้างปานกลาง น�้ำกระด้าง น�้ำกระด้างมาก

60

0 - 75 75 - 150 150 - 300 มากกว่า 300


ลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี 4 ตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี โทรศัพท: 0 3463 3398 http://www.culturekru.com

กาญจนบุรีศึกษา 2553

ชุมชน

กับความหลากหลายทางชีวภาพ

สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี หนวยอนุรักษสิ่งแวดลอมธรรมชาติและศิลปกรรมทองถิ่นจังหวัดกาญจนบุรี ศูนยวัฒนธรรมจังหวัดกาญจนบุรี

โครงการกาญจนบุรีศึกษา 2553 ชุมชนกับความหลากหลายทางชีวภาพ ที่ปรึกษา ผศ.ดร.ปัญญา การพานิช อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ผศ.ส�ำราญ ขวัญเกื้อ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร นายไมตรี เกตุขาว ผู้อ�ำนวยการส�ำนักศิลปะและวัฒนธรรม บรรณาธิการ ดร.กาญจนา กองบรรณาธิการ นางสาวจิตรา นางลลิดา นายพันธ์ทิพย์

เชียงทอง หมั่นค้า ฉายาวัฒน์ เลิศบุรุษ

ศิลปกรรม นายประจักษ์ มอญจ�ำแลง


สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี 70 หมูที่ 4 ตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี โทรศัพท: 0 3463 3398 http://www.culturekru.com


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.