#26 AikidoCMU

Page 1

CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB! ฉบับที่ ๒๖ วันที่ ๑ มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ (ปีที่ ๔)

AikidoCMU NEWSLETTER

ชมรมไอคิโด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อาคารกิจกรรมนักศึกษา (อ.มช.) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถ. สุเทพ อ.เมือง จ. เชียงใหม่ 50200 ติดต่อได้ที ่ อ๊อบ (ประธานชมรม) 081-7221227

ป๋อม (ผู้ประสานงานชมรม) 089-701 7686

กบ (บรรณาธิการจดหมายข่าว) 081-405 5379

Email : AikidoCMU@gmail.com Facebook : Aikido CMU Blog : http://aikidocmu.wordpress.com


CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB! ฉบับที่ ๒๖ วันที่ ๑ มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ (ปีที่ ๔)

หย่อยจังเยยก๊าบบบบ... อั้มๆๆๆ...

หมูเต๊ะอ้ายปิง ลําขนาด

นักเขียนในฉบับ ดร.สมบัติ ตาปัญญา อ.ธีระรัตน์ บริพันธกุล ป๋อม ซินเจ้า...

สารบาญ

ทำใหดีที่สุดจากสิ่งที่คุณมีอยู .....ดร.สมบัติ ตาปญญา ๓ ไอคิโดที่ฮานอย .....อ.ธีระรัตน บริพันธกุล ๗ พลพรรคนกขมิ้น เยือนถิ่นฮานอย ... ปอม ซินเจา... ๑๓ AIKIDO(KA) IN FOCUS FROM VIETNAM... โฟกัส ๑๗ ไป ไปเตอะไปแอว... ซือเป ๒๑ มิตรภาพในตางแดน .... ชูชีพ สุนทรานนท ๒๕ ไอคิโดกับตัวฉัน .... จามคำ ๓๐ สังคมสันติสุข .... นฤมล ธรรมพฤกษา ๓๒ สุภาษิตโกะกับขาพเจา ๘ : หากเอาชนะไมได จงยอมตายอยางหาวหาญ ..... NOURNOURS’ MOM ๓๙ AIKIDO FRIENDSHIP (AF8) : ผูกพันกระสันแนนเหนียว ...... ซือเป ๔๑ ควันหลง AF8 .... ปงคุง ๔๗ มาเยี่ยม มาเยือน : KUMIKO ENOKIDO ๔๙ AIKIDO FAMILY : สอบเลื่อนสาย ๒๕ ธันวาคม ๕๐ AIKIDO FAMILY : รับขวัญวันปใหม ๕๑ AIKIDO FAMILY : งานเวทีสื่อศิลปะสารเสวนา ๕๒

โฟกัส

ซือเป๋

ชูชีพ สุนทรานนท์

จ่ามคํา

Nounours’ Mom นูนู่


CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB! ฉบับที่ ๒๖ วันที่ ๑ มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ (ปีที่ ๔)

ทำใหดีที่สุด จากสิ่งที่คุณมีอยู ผศ.ดร. สมบัติ ตาปญญา สิ่งประทับใจที่ผมได้ รับประการหนึ่งจากการไปร่วม ฝึกกับนักไอคิโดที่ฮานอยใน งานสัมมนาระดับเอเชียเมื่อ ปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่าน มานี้ก็คือการได้เห็นนักไอคิโด พิการกลุ่มหนึ่งมาร่วมฝึกด้วย หลายคนในกลุ่มนี้ยังเป็นวัยรุ่น อยู่ คนหนึ่งตาบอด เวลาจะ สาธิตต้องมีคนจูงออกมา อีก

บรรยากาศสัมมนาไอคิโดที่ฮานอย

คนขาลีบเดินได้แค่เตาะแตะ ส่วนอีกคนมีอาการทางสมองหรือระบบประสาทที่ทําให้ตัวของ เขาแข็งเกร็งไปทั่ว แต่สามารถฝึกจนถึงขั้นสายดําชั้นสอง แต่สิ่งหนึ่งที่ผมสัมผัสได้ว่าเขามี เหมือนกันหมดทุกคนก็คือความปีติยินดีและเพลิดเพลินในการฝึก ทุกคนมีสีหน้าที่อิ่มเอิบด้วย รอยยิ้ม สะท้อนให้เห็นความสุขและความภูมิใจในตนเอง มีบางขณะในชีวิตของการฝึกฝนไอคิโดที่เราอาจรู้สึกท้อถอย เมื่อพบว่าไม่ก้าวหน้า เท่าที่ควร ฝึกไปนานเท่าไหร่ก็เหมือนเดิม หรือบางครั้งไปเจอคู่ฝึกที่หินโหด ทํากับเราแรงๆ ไม่ ยอมให้เราใช้เทคนิคต่างๆ กันท่าเราไว้หมด ทําให้เกิดความสงสัย เสียความมั่นใจในตนเอง แต่นักไอคิโดพิการจากเวียดนามกลุ่มนี้ทําให้ผมคิดว่าเราควรมองหาส่วนดีของตัวเองแล้วใช้ ประโยชน์จากมันให้มากที่สุด มากกว่าที่จะท้อถอยเมื่อเราทําอะไรบางอย่างไม่สําเร็จ ประสบการณ์นี้ทําให้ผมคิดถึงเรื่องราวของคนอีกบางคนที่ก้าวพ้นอุปสรรคยิ่ง ใหญ่ในชีวิตได้อย่างสง่างาม จึงอยากเอามาแบ่งปันกับพวกเราด้วย

หน้า ๓


CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB! ฉบับที่ ๒๖ วันที่ ๑ มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ (ปีที่ ๔)

คนแรก คือชายหนุ่มชาวอเมริกันวัยประมาณสามสิบ กว่าปีคนหนึ่ง ชื่อ แอรอล ราลสตัน (Aron Ralston) ซึ่งชอบการ ไต่เขาและพักแรมในป่าเป็นชีวิตจิตใจ และชอบเดินทางคนเดียว เพื่อดื่มด่ํากับความโดดเดี่ยวท่ามกลางธรรมชาติ แต่วันหนึ่งในเดือนเมษายนปี ค.ศ. 2003 ขณะที่เขากําลัง ไต่ลงจากซอกหน้าผาสูงแห่งหนึ่ง เขาไปเหนี่ยวเอาก้อนหินใหญ่ หนักกว่าร้อยกิโลกรัมเลื่อนลงมาทับแขนขวาของเขาตั้งแต่ใต้ ข้อศอกลงมา เขาต้องติดอยู่ตรงนั้นถึงห้าวันและไม่มีใคร

แอรอล ราลสตัน

ตามหาเจอเพราะตอนออกจากบ้านมาก็ไม่ได้บอกใครว่าจะ ไปที่ไหน ขณะที่เรี่ยวแรงหมดไปเรื่อยๆ พร้อมกับน้ําและ อาหารที่ติดตัวมา เขาเหลือทางรอดอยู่ทางเดียว คือต้องใช้ มีดที่ติดตัวมา ซึ่งเป็นเพียงมีดใบเล็กๆ และไม่ค่อยคม ตัด แขนของตัวเองให้ขาดเพื่อเอาชีวิตรอด เขาต้องหักกระดูก แขนก่อนแล้วใช้มีดเฉือนกล้ามเนื้อรอบๆ จนแขนขาด แล้ว จึงโรยตัวลงจากหน้าผาสูงกว่ายี่สิบเมตรด้วยมือซ้าย แล้ว เดินเท้าต่ออีกประมาณสิบกิโลเมตร กว่าจะถึงถนนและมี คนพาไปโรงพยาบาลได้ หลังจากนั้นเขาได้เขียนหนังสือ เล่าถึงประสบการณ์นี้ขึ้น ชื่อ Between a Rock and a Hard Place ซึ่งเป็นสํานวนอเมริกัน หมายถึงภาวะที่ยากลําบากและไม่ว่าจะเลือกทางออกแบบไหนก็ล้วนไม่น่าพอใจ (คล้าย สํานวนไทย “หนีเสือปะจระเข้” นั่นเอง) หลังจากนั้นเขาก็กลายเป็น นักพูดสร้างแรงบันดาลใจที่มีชื่อเสียงและได้ถ่ายแบบลงหน้าปก นิตยสารดังๆ เช่น GQ และ Vanity Fair ค่าวิทยากรในการพูดของ เขาในอเมริกาสูงถึงครั้งละ 25,000 เหรียญ (ประมาณ 750,000 บาท) ล่าสุดในปีนี้ผู้กํากับหนังชื่อดังชาวอังกฤษ Danny Boyle ผู้ สร้าง Slum Dog Millionaire ได้เอาหนังสือของเขามาทําหนังและ เพิ่งออกฉายในเดือนพฤศจิกายนนี้ ชื่อหนังคือ 127 Hours ซึ่งได้ รับคําวิจารณ์ว่าเป็นหนังที่เยี่ยมยอดระดับที่ต้องเข้าชิงรางวัล ออสการ์ อีกไม่นานเราก็คงได้ดูกันในเมืองไทย

หน้า ๔


CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB! ฉบับที่ ๒๖ วันที่ ๑ มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ (ปีที่ ๔)

คนที่สองเป็นชายชาวนิวซีแลนด์อายุห้าสิบกว่าปี

ชื่อมาร์ค อิงกลิส (Mark Inglis) ซึ่งเป็นคนพิการขาด้วนทั้ง สองข้างคนแรกที่สามารถพิชิตยอดเขาเอเวอเรสต์ได้ในปี ค.ศ. 2006 เมื่อเขาอายุได้ 47 ปี เขาถูกตัดขาตั้งแต่บริเวณ ใต้เข่าลงไปในปี ค.ศ. 1982 หลังจากติดอยู่บนยอดเขาแห่ง หนึ่งในนิวซีแลนด์ท่ามกลางพายุหิมะถึงสองสัปดาห์ ทําให้ เนื้อตายเพราะหิมะกัด นอกจากถูกตัดขาแล้วก็ยังถูกตัดนิ้ว มือไปอีกสองสามนิ้วด้วย แต่หลังจากนั้นเพียงไม่กี่ปีเขาก็ใส่ มาร์ค อิงกลิส

ขาปลอมและลุกขึ้นมาสู้ชีวิตและเริ่มไต่เขาใหม่อีกครั้ง ใน การให้สัมภาษณ์ครั้งหนึ่งเขาแสดงให้เห็นทัศนคติของการ มองชีวิตในแง่ดีอย่างชัดเจนเมื่อเขาบอกว่า “ผมโชคดีกว่าคุณเพราะ

ผมได้เปรียบคือมีขาหลายคู่ ผมมีขาสําหรับเดิน สําหรับไต่เขา สําหรับเต้นรํา และยังปรับ ระดับความสูงเตี้ยได้ด้วย เวลาตัดกางเกงผมก็ประหยัดกว่าเพราะใช้ผ้าน้อยกว่าคนอื่นๆ เวลาตัดเล็บผมก็ใช้เวลาน้อยกว่าเพราะนิ้วผมมีน้อยกว่าคุณ”

หลังจากอ่านเรื่องของสองคนนี้แล้ว พวกเราก็คงจําได้

ว่ายังมีคนที่พิการแต่มีชื่อเสียงอีกจํานวนหนึ่ง เรื่องราวของเขา บางคนก็ได้รับการแปลเป็นภาษาไทยแล้ว เช่น บันทึกจาก ปลายเท้า (Footnotes: A Life Without Limits) เป็นเรื่องของ หญิงสาวจากประเทศสวีเดน ชื่อ เลน่า มาเรีย คลิงวัลล์ (Lena Maria Klingvall) คน หนึ่ง ที่เกิดมามีเพียงขาข้าง เดียว ไม่มีแขน แต่เธอ สามารถใช้เท้าข้างเดียว

เลน่า มาเรีย คลิงวัลล์

ทําได้สารพัดในการดูแลตัวเองในชีวิตประจําวัน เป็นนัก ว่ายน้ําระดับโอลิมปิกสําหรับคนพิการ และยังเป็นนักร้อง ที่มีชื่อเสียง ได้รับเชิญไปแสดงในประเทศต่างๆ หลาย ประเทศทั่วโลก

หน้า ๕


CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB! ฉบับที่ ๒๖ วันที่ ๑ มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ (ปีที่ ๔)

หรือหนุ่มญี่ปุ่นชื่อ โอโตทาเกะ ฮิโรทาดะ ที่เกิด มาไม่มีทั้งแขนและขา แต่สามารถเรียนจนจบ มหาวิทยาลัยและได้ทํางานเป็นนักข่าวกีฬา เคยเดิน ทางไปถึงอเมริกาด้วยตัวเอง เขาเขียนหนังสือ ชีวประวัติของตนเองชื่อ “ไม่ครบห้า” (เป็นสํานวน ภาษาญี่ปุ่น คล้ายสํานวนไทย “อาการไม่ครบสามสิบ สอง” นั่นเอง แต่ญี่ปุ่นเขานับเพียงห้า คือแขนสองข้าง ขาสองข้างและหัว โอโตทาเกะ ไม่มีทั้งแขนและขาก็เลย ไม่ครบห้า) หนังสือเล่มนี้ได้มีผู้แปลเป็นภาษาไทยแล้ว หาอ่านได้ทั่วไป

โอโตทาเกะ ฮิโรทาดะ

คนเหล่านี้มีสิ่งหนึ่งที่คล้ายกัน คือการมองโลก

มองชีวิตในแง่ดี มองหาแต่ส่วนที่ดีของตัวเอง ไม่ หมกมุ่นอยู่กับความบกพร่องพิการ ความสูญเสียหรือความผิดหวังที่เกิดขึ้น แล้วพยายาม ทําให้ดีที่สุดภายใต้ข้อจํากัดของตนเอง ซึ่งก็ทําให้เขาสามารถประสพความสําเร็จที่ยิ่งใหญ่ ที่คนปกติจํานวนมากก็ยังทําไม่ได้

หากพวกเรายังกลุ้มใจอยู่กับ

ความโชคร้าย ความไม่ก้าวหน้าของ ตนเองในการฝึกฝนวิชาไอคิโดหรือ ในเรื่องอื่นๆ ในชีวิต ผมหวังว่าเรื่อง ราวจากชีวิตของคนเหล่านี้ คงช่วย เพิ่มกําลังใจให้มองหาจุดแข็งหรือ ส่วนที่ดีที่เรายังมีอยู่ แล้วลุกขึ้นมา ต่อสู้อีกครั้ง ปีใหม่นี้อาจเป็นปีที่ยิ่ง ใหญ่กว่าปีก่อนๆ ก็ได้นะครับ Lydia la Rivière Zijdel หน้า ๖


CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB! ฉบับที่ ๒๖ วันที่ ๑ มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ (ปีที่ ๔)

ไอคิโดที่ฮานอย อ.ธีระรัตน บริพันธกุล

เอเชี่ยนไอคิโดปนี้จัดขึ้นที่เมืองฮานอยเมืองหลวงของประเทศเวียตนามระหวางวันที่ 1922 พ.ย. 53 พอไปถึงสนามบินฮานอยมีรถจากโรงแรมไปรับโดยชูปายไอคิโดใหผูโดยสารที่เขาพักใน โรงแรมไดรู แตผมก็ตองติดอยูที่สนามบินอีกเกือบ 2 ชั่วโมง เพราะตองคอยนักไอคิโดที่จะมาถึงใน เที่ยวบินตอไป ตอนแรกผมก็หงุดหงิดที่ตองเสียเวลาติดแหงกอยูที่นี่แตมารูตอนหลังวาตองใชเวลา เดินทางจากสนามบินไปถึงที่พักประมาณ 1 ชั่วโมงก็พอทำใจได ระหวางที่อยูสนามบินก็สังเกตเห็นวาคนเวียตนามที่มารอรับญาติพี่นองที่จากกันไปนานๆ นิยมตอนรับผูมาเยือนดวยการใหชอดอกไมสดแถมดวยหยดน้ำตาสดๆจากความคิดถึงกัน ใครที่ เห็นภาพนี้แลวก็คงอดที่จะมีอารมณรวมดวยไมได ระหวางเดินทางไปที่พักการจราจรติดขัดมากกก โดยเฉพาะในเขตตัวเมือง เนื่องจากเวียตนามเคยเปนเมืองขึ้นของฝรั่งเศสการขับรถจึงชิดขวา รถยนตก็เปนพวง มาลัยซาย รถมอเตอรไซดมีมากทำใหขามถนนลำบากและแถมยังไมมีสะพานลอยสำหรับคนขาม ดวย แตสำหรับคนที่นี่แลวการขาม ถนนดูเหมือนจะชิวๆ รถจะชะลอใหเอง พฤติกรรมการขับขี่ที่นี่จะบีบแตขอทาง กันใหจาระหวั่น วันไหนรถใครแตรเสีย คงออกบานกันไมไดเพราะดูเหมือนจะ เสพติดเสียงแตรกันหมดแลว คิดกัน เลนๆวาถาบีบแตรกันอยางนี้ในบานเรา คงมีคดีฆากันตายรายวันตามทองถนน เปนแน ภาพจาก http://hanoigrapevine.com/2008/09/lespace-3-days-3-artists-traffic/

หน้า ๗


CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB! ฉบับที่ ๒๖ วันที่ ๑ มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ (ปีที่ ๔)

ที่แปลกใจอีกอยางหนึ่งก็คือที่นี่ไมใช รถกระบะกันเลย ผมไมแนใจวาเปนนโยบาย ของทางการหรือเปลา การขนของไมวาจะหนัก หรือเบา ไมวาจะเล็กหรือใหญ ภาระทั้งหมด ตองมาตกอยูที่รถจักรยานและมอเตอรไซด มี ภาพ Post Card ที่กบซื้อจากมหาวิทยาลัยเตา เปนหลักฐานยืนยันไดเปนอยางดีวาลูกวัวลูก ควายก็สามารถนั่งซอนทายรถมอเตอรไซดได อยางไมขัดเขินเห็นแลวก็ทึ่งแตก็อดสงสารเจา สัตวสี่ขาพวกนี้ไมได เนื่องจากเวียตนามเพิ่งจะปลอดจากภาวะสงครามไดประมาณเกือบ 40 ป ขณะนี้ จึงเปนชวงของการสรางบานแปงเมือง สภาพแวดลอมในตัวเมืองจึงตลบอบอวนไปดวยฝุนที่เกิด จากการกอสรางตึกรามบานชองและทางเทาเกือบจะทุกที่ที่เห็น ประเทศนี้เปนประเทศที่นา เห็นใจ อดีตที่ผานมาเคยถูกจีนปกครองอยูรวมรอยปจึงรับเอาศิลปะวัฒนธรรมของจีนเอาไว มาก หลังจากพนเงื้อมมือจีนก็ตกเปนอาณานิคมของ ฝงเศส หลุดพนจากฝงเศสก็ตองทำสงครามเวียตนาม ตอ ซึ่งศึกครั้งนี้เปนศึกสายเลือดโดยมีประเทศอเมริกา หนุนหลังเวียตนามใต สรุปก็คือประเทศนี้มีความเปน มาที่บอบช้ำจากการตกเปนเมืองขึ้นและภัยสงคราม มาตลอดจึงไมนาแปลกใจที่คนที่ขยันขันแข็งและมี เลือดของของนักตอสูชีวิตจากรุนสูรุนไมวาพวกเขาจะ ไปอยูไหนรับรองไดวาไมอดตายแถมยังสรางเนื้อ สรางตัวไดดีกวาคนเจาประเทศนั้นๆดวยซ้ำ คนที่นี่ เขานับถือและยกยองลุงโฮ (โฮจิมินห)วาเปนบิดาของ ประเทศ ทานเปนผูที่เอาชนะสงครามกับฝรั่งเศสซึ่ง เปนชาติมหาอำนาจในขณะนั้นได อาจเปรียบทาน เหมือนกับแจ็คผูลมยักษ หน้า ๘


CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB! ฉบับที่ ๒๖ วันที่ ๑ มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ (ปีที่ ๔)

ไอคิโดในประเทศเวียตนามกอตั้งมาไดประมาณ 50 ป (ของไทย 40 ป) แตมีสำนักไอคิโด ที่มารวมงานครั้งนี้ประมาณ 20 แหง ผมคิดวานาจะมีมากกวาที่เห็นเพราะยังมากันไมครบ บาน เราถาครบรอบ 50 ปเทาเขาผมไมมั่นใจวาจะมีสำนักหรือชมรมมากเทาเขาหรือเปลา ผมมีเพื่อน รวมหองที่มาจากประเทศฟลิบปนสชื่ออาจารย Royce บอกวาที่ประเทศของเขามีสถานที่ฝกไอคิโด เกือบ 400 แหง ฟงแลวก็ใหนึกแปลกใจวาทำไมไอคิโดบานเราถึงมีภาวะชะงักงันแบบเด็กที่เลี้ยงไม โตอยางประเทศอื่นๆที่เขามีปญหามากกวาเรา ยกตัวอยางเชนประชากรของฟลิบปนส 1/3 มีราย ไดตอคนเพียงวันละ 30 บาท แตก็ยังมีคนมาฝกไอคิโด ถาโนตอุดมรูเรื่องเขาก็คงบอกวานี่คือ Thailand Only วันที่ลงเบาะรวมฝกซอมคือ วันที่ 20-21 พ.ย. สถานที่เปนสเต เดียมของกรุงฮานอย มีคน ประมาณ 400 คน เกินกวาครึ่งเปน คนเวียตนาม เนื่องจากมีคนมาก บางครั้งการฝกจึงตองแบงออกเปน สองกลุม ใหกลุมแรกฝกกอนที่ เหลือไปนั่งชิดขอบเบาะ จากนั้นจึง สลับกลุมสองขึ้นมาฝก การมาของ ผมครั้งนี้ไมมุงหวังวาตองไดฝก อยางเต็มที่แตมาเพราะอยากได บรรยากาศของความเปนอินเตอร ความเปนมิตรกับนักไอคิโดตางชาติ การเพิ่ม แรงบันดาลใจในการฝกตอไป งานนี้ก็พยามที่จะทำความรูจักและ สรางความสนิมสนมเปนพิเศษกับนักไอคิโดที่ เปนเพื่อนบานใกลเรือนเคียง เชนลาว เขมร พมา ในอนาคตเราอาจจัดไอคิโดเฟรนชิปที่เรา เคยจัดกันมาทุกปๆไปยังประเทศเหลานี้บาง


CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB! ฉบับที่ ๒๖ วันที่ ๑ มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ (ปีที่ ๔)

ประเทศลาวก็นาจะเปนประเทศแรก ที่นาไปมากที่สุด นักไอคิโดที่มาครั้งนี้เปนผู หญิงชื่อนองมน(นิดั้ง)เปนคนมีอัธยาศัย ใจคอดี ผมทราบมาวาสถานที่ฝกของเขา สะอาดและกวางขวาง ฟงแลวอยากไปฝก และอยากไปเที่ยวดวย (โดยเฉพาะเมือง หลวงพระบาง ที่องคการยูเนสโกขึ้นหิ้งวา เปนเมืองมรดกโลก) อาจารยที่นำฝกสวนใหญก็ระดับ 7 เรียงจากซ้าย ฮวง(สาวเวียดนาม) น้องมน (นิดั้งจากเวียงจันท์) ป๋อม อ๊อด (หนึ่งกิ้วจากเวียงจันท์) และ น้องตั๊ก(สาวเชียงใหม่) ดั้งรองลงมาคือ 6 ดั้ง แตคนก็มีสไตลและ วิธีการสอนที่แตกตางกันไป สรุปวาทุกทาน ลวนนาประทับใจไมวาเราจะรวมเรียนหรือรวมนั่งชมก็ตาม บรรยากาศโดยรวมของการฝกมี ความเปนมิตรกันมากโดยเฉพาะนักไอคิโดรุนใหมๆที่เปนชาวเวียตนามที่มักจะชวนผมซอมดวย โดยไมนึกวาผมเปน ส.ว ที่บางครั้งก็หมดแรงและอยากอูการฝกเหมือนกัน มีชมรมไอคิโดชาวเวียตนามกลุมหนึ่งที่ผมประทับใจ กลุมนี้มีความผิดปกติบางอยางเชน บางคนตาบอด บางคนมีปญหาดานกระดูกและกลามเนื้อ กลุมนี้เขารวมในการฝกและรวมสาธิต ดวย ผมมีโอกาสชวงสั้นๆพูดคุยกับครูฝกที่เปน หญิงอายุประมาณ 55 ป คุณครูบอกวาลูกศิษย เอกของเธอไดนิดั้งแมรางกายจะไมเอื้ออำนวย แตก็ไมใชอุปสรรคในการฝก สวนลูกศิษยคนอื่น ก็ไดรับประโยชนจากฝกเพราะทำใหสุขภาพแข็ง แรงและมีพัฒนาการการเคลื่อนไหวที่ดีกวาตอน แรกๆมาก และที่นาชื่นชมคือความอดทนของ คุณครูคนนี้ที่มีความสุขกับเรื่องที่คนสวนใหญ รูสึกวาเปนเรื่องนาเบื่อและเปนเรื่องที่เสียเวลา เปลาๆ หน้า ๑๐


CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB! ฉบับที่ ๒๖ วันที่ ๑ มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ (ปีที่ ๔)

ชวงบายของวันสุดทายของการฝก เปนการสาธิตไอคิโด แตกอนที่จะมีการ สาธิตก็เปนพิธีปดอยางเปนทางโดยมีการ เชิญผูบริการสวนจังหวัดหรือสวนทองถิ่น ของเขามาเปนประธาน งานนี้ก็เลยมีการ การอานแถลงการของบุคคลหลายๆฝาย ภาษาที่ใชก็มีทั้งภาษาเวียตนาม อังกฤษ และญี่ปุน พวกเราชาวไอคิโดประเทศใคร ประเทศมันตางก็ยืนเขาแถวหลังปาย ประเทศของตนเองโดยมีสาวๆ(ที่มีทั้งสวย หนอยและสวยนิด)ถือปายอยูดานหนาบรรยากาศแบบนี้ชวนใหผมนึกถึงพวกเรากำลังเขารวม การแขงขันเอเชี่ยนเกมสที่กำลังแขงกันอยูที่เมืองกวางโจวยังไงยังงั้น(นาเบื่อครับ) คุณสมหมายนักไอคิโดจากแดนมลพิษแหง กทม. กระซิบเปรียบเปรยกับผมวางานนี้ เหมือนพวกเราเปนนักชกตางชาติที่มาทาชิงแชมปและตองรอใหเจาภาพแจกสรอยคอทองคำ และเงินอัดฉีดใหกับนักชกของเขา พิธีรีตองทำเอาผูทาชิงหมดกำลังใจและแพกอนชกแลว ยืนรอ จนเสร็จพิธีนาจะใชเวลารวมๆชั่วโมงจากก็นั่งชมการสาธิตโดยเริ่มที่คายของเจาภาพกอนซึ่งก็มี หลายชุด โดยรวมคือเจาภาพเตรียมการฝกซอมการสาธิตมาดีสวนใหญเปนคนหนุมสาวไฟแรง การแสดงออกจึงตองรุนแรงไปดวย หน้า ๑๑


CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB! ฉบับที่ ๒๖ วันที่ ๑ มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ (ปีที่ ๔)

สวนการสาธิตของกลุมอื่นๆที่ผมประทับใจก็คงเปนเซ็นเซ ส.วทั้งหลายที่จะเลนนุมๆโดย เฉพาะเซ็นเซจากไตหวันที่จะเปนผูเชี่ยวชาญในการใชคิที่สามารถสงพลังไปกระแทกอุเกะคนที่สองที่ อยูซอนอยูดานหลังคนแรกใหปลิวกระเด็นกระดอนไปได(ไมเชื่อก็อยาลบหลู) ประเทศอื่นๆเขาสาธิต กันไปหมดแลว ยังคงเหลือพวกเราทีมเดียว (Only Thailand) ที่คิดวาคงเปนกลุมสุดทายแนๆกอนที่ จบงาน แตที่ไหนได มีประกาศเปนภาษาเวียตนาม คนดูทั้งหลายก็ลุกขึ้นแยกยายกันกลับบาน Surprise! หลายๆครับ ผมหันไปเห็นอาจารยใหญทานก็คง Surprise เหมือนกันแต Surprise ของทานไมเหมือนเรา ที่เปนลูกศิษยนะครับ สีหนาทานเปนอยางไรก็ขอไดโปรดใชจินตนา(แบบตื้นๆ)เอาเองก็แลวกัน เอา เปนวาตัวใครตัวมันดีที่สุด ผมมาถึงบางออ (นาจะเปนบางเออมากกวา)วาพวกเราไมไดไปลงชื่อแสดงเจตจำนงคอยาง ชัดแจงที่จะสาธิต งานนี้ก็ถือวาแพบาย ผมก็รูสึกเสียใจแทนเราทุกคนดวยเพราะกอนสาธิตก็มีการ เตี้ยมเรื่องคิวบูกันมาเปนอยางดีวาใครจะทำอะไร คุยกันในรายละเอียดกันถึงขั้นที่วาพอเคารพภาพ ปรมาจารยแลวตองหันมาทางขวาพรอมๆกัน แตสุดทายก็ไมไดแสดง ทีมอื่นทำไมไดอยางเรายกเวน Thailand Only เอาเปนวางานนี้ไมมีใครผิดครับ อยางไร ก็ตามไมวาจะเปนเหตุการณดีหรือราย ไมวาจะไดหนาหรือเสียหนาก็ตองถอด.....ถอดบทเรียนนะ ครับ ทำใหผมไดขอคิดเล็กๆนอยๆบางมาฝากพวกเรา (แทนของฝากจากฮานอยที่ไมนาซื้อ, ดอย คุณภาพแถมไมอรอยดวย) เชน “เรื่องเล็กๆนอยเปนเรื่องสำคัญนะ” “ภาษาเขียนยอมยืนยันไดหนัก แนจัดเจนกวาคำพูด” “อยาคาดหวังอะไรแตใหเตรียมใจสำหรับสิ่งที่คาดไมถึง” และสุดทายก็คือ” กวยเตี๋ยวบานเราลำกวาเฝอแตๆ” รายงานขาวโดยธีระรัตน ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียตนาม


CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB! ฉบับที่ ๒๖ วันที่ ๑ มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ (ปีที่ ๔)

ป๋อม ซินเจ้า... เขียน

พลพรรคนกขมิ้น เยือนถิ่นฮานอย 4 จาก 7 สมาชิกไอคิโดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่ไปร่วม สัมมนา.... ซึ่งได้แก่ป๋อม ตั๊ก แบงค์ และป๋อได้รวมตัวกันที่ สนามบินสุวรรณภูมิราวๆเที่ยงคืนวันที่ 18 พ.ย.53 รอเวลา เช็คอินตอนตีสี่ ทุกคนต่างทําตัวราวกับนอนอยู่บ้าน ได้ อืดอาดโอ้เอ้ เหมือนอยู่บ้านจริงๆ มันทําให้เวลาต่อมาเราต่าง ก็วิ่งกันให้วุ่นเพราะจะไม่ทันเอาจริงๆ เมื่อล้อแตะรันเวย์ ราวๆ สิบโมงเราคุยกันถึงเรื่องทั่วไป เรื่องดินฟ้าอากาศ “ไม่มี แสงแดดเลยเนอะ” “จะหนาวกว่าบ้านเรามากมั้ยนะ” สิ่งแรก ที่เราเตรียมดํารงชีพอยู่ในฮานอยคือเรารีบไปแลกเงินสกุล เวียดนามเพราะเราจะได้พกเงินเป็นล้านๆเลยเชียวนะ.... ไปเลยพร้อมแล้ววว...

ว่าแท็กซี่ไปโรงแรม van mieu ที่ เพื่อนชาวเวียดนามหาให้ (ราคา ประหยัดสําหรับนกขมิ้นอย่างพวกเรา) อ้อ! เป็นเพื่อนที่รู้จักกันทาง Facebook ฮื่อ internet มันดีอย่างนี้นี่เอง หน้า ๑๓


CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB! ฉบับที่ ๒๖ วันที่ ๑ มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ (ปีที่ ๔)

ส่วนการเตรียมตัวสําหรับใช้ชีวิตใน เวียดนามครั้งนี้เรายกให้เป็นหน้าที่ของ นายป๋อเพราะเรียนรู้ภาษาเวียดนามแบบที่ ไม่อดตายหาซื้อข้าวกินได้

อันที่จริงหน้าตาพวกเราก็กระเดียดไป คล้ายๆกับคนแถวนี้อยู่แล้ว

เราก็กินอาหาร

มันแถวๆข้างถนนหน้า โรงแรมน่ะแหละ แอบ เนียนเป็นชาวฮานอย แต่ ไม่ค่อยเหมือนตรงที่คน ฮานอยไม่ค่อยยิ้มกัน เลย เราส่งยิ้มให้ เค้าก็ มองแล้วคิดมาดังๆว่า ไอ่บ้าาา เฮ้อ!

หน้า ๑๔


CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB! ฉบับที่ ๒๖ วันที่ ๑ มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ (ปีที่ ๔)

จะว่าไปเราทั้ง 4 ก็เพิ่งเคยไปสัมมนายังต่างประเทศเป็นครั้งแรก ตื่นเต้นเหมือนกัน

ยิ่งไปพบกับนักไอคิโดที่แทบจะทะลักออกมานอกโรงยิมขนาดนี้ เรียกได้ว่าทุ่มกันไม่ได้เลยที เดียว คําถามที่เราและคู่ฝึกยิงใส่กัน เช่น May I practice with you?

Is it right? Where are you from?

glad to meet you!

What’s your name?

How to do?

Thank you very much!!

มันรู้สึกเหมือนมาพบเพื่อนที่ เคยรู้จักกันมาก่อนเลยนะเนี่ย และ เราก็ได้เพื่อนเพิ่มขึ้นอีกไม่น้อยเลย เราเลยมีเพื่อนพาเที่ยวฮานอยใน ตอนกลางคืนพากินอาหารฮานอย โดยแท้ที่ไม่มีในร้านหรูๆ (คืออันที่ จริงเราไม่มีปัญญาเข้าร้านหรูๆน่ะ) จบจากการสัมมนาแล้วเรายังได้ตาม ไปขอฝึกที่โดโจเพื่อนเราอีกด้วย หน้า ๑๕


CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB! ฉบับที่ ๒๖ วันที่ ๑ มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ (ปีที่ ๔)

โอ้โห! ประหลาดใจอีกแหละ คนฝึกปกติวันละประมาณ 70 คน ....อะไรเนี่ย... เพื่อน เราบอกว่าในฮานอยมีประมาณสิบกว่าโดโจ โฮจิมินห์ห้าสิบกว่า และยังเมืองอื่นๆอีก ทําไม ไอคิโดที่เวียดนามถึงมีคนฝึกมากมายขนาดนี้ได้ ในวันที่เราต้องเดินทางกลับ บ้าน......ก็ตามประสาพลพรรคของเรา

จะไปขึ้นเครื่อง ทันไม๊เนี่ย??

น่ะ คือ สบายๆ ไม่ค่อยเผื่อเวลาไว้

ห้าล้านสาม คูณหกหมื่น หารสองแสน ...

มากๆ และไม่รู้ว่าที่สนามบินฮานอยคน มันมากมายขนาดไหน วุ่นวายไปหมด เงินเวียดนามก็แลกคืนไม่ทัน จึงต้องกํา เงินหลายแสนกลับบ้าน ทํายังไงกับเงิน เวียดนามล่ะนี.่ ...และเราก็ได้คําตอบ.... ไป! เราไปฝึกกับเพื่อนเราที่เวียดนาม อีกรอบ...แน่นอน..พลพรรคเรา เราซื้อตั๋วเครื่องบินไปโฮจิมินห์ กันเรียบร้อยแล้ว..... ....รอก่อนนะโฮจิมินห์...

The Art of Peace # ๘๕ เขียนโดย Morihei Ueshiba แปลโดย John Stevens When attacked, unify the upper, middle, and lower parts of your body. Enter, turn, and blend with your opponent, front and back, right and left. John Stevens ไดรวบรวมเอา Doka หรือบทกวีขนาดสั้นของปรมาจารยไวในหนังสือ The Art of Peace ตอมา William McLuskie ไดนำมาลงเผยแพรที่เวบไซต http://omlc.ogi.edu/aikido/talk/osensei/artofpeace/

หน้า ๑๖


CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB! ฉบับที่ ๒๖ วันที่ ๑ มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ (ปีที่ ๔)

Aikido(ka) in Focus from Vietnam

โดย โฟกัส

เราไปสัมมนากันถึงต่างประเทศได้พบเพื่อนต่างชาติมากมายไม่ว่าจะ เป็นสิงคโปร์ มาเลย์ ลาว พม่า ไต้หวัน ญี่ปุ่น เกือบห้าร้อยคน โอ๊ว!! เสียดาย จัง เราไม่สามารถจับคู่ฝึกได้กับทุกคน พูดคุยกันก็ไม่ค่อยรู้เรื่อง เพราะเราอ่อน ภาษาต่างประเทศน่ะเอง แต่ก็ยังพอได้เพื่อนใหม่บ้างหละนะ น่าแปลกที่เราไม่ เคยพบกันมาก่อนแต่เมื่อเราไปขอฝึกด้วยกลับรู้สึกใกล้ชิดสนิทสนมเหมือนเรา เป็นเพื่อนกันมาก่อน แต่คราวนี้เราโฟกัสที่เพื่อนที่เป็นเจ้าบ้านก่อนละกัน เนื่องจากโฟกัสก็อ่อนภาษา เลยถามคําถามเดียวกับทุกคนที่ฝึกด้วยเลยว่า How does aikido help to improve yourself ?

! The first person is a small, modest, young man who has a bright smile from Hanoi. We have a promise to do suwari-waza kokyu-ho together again. Tran Minh Tu : ! I have been practicing aikido for almost 6 years since I was 7th grade in school. This is my 7th year. After the first two years of practice, I had to leave aikido because I got into some trouble. But I suddenly realized that aikido is part of my life. Then I had tried so hard to make my way back to the dojo. I feel refresh and happy หน้า ๑๗


CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB! ฉบับที่ ๒๖ วันที่ ๑ มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ (ปีที่ ๔)

every times I return home from the dojo. But I donʼt know how aikido could improve myself. I just try it, do it, and interested in it. I try to find out what is my mistakes and fix it. In my dojo, we do not care much about color of the belt. We think people who know more should teach people who know less. We should talk about our own mind and find out what is right. In each seminar, we learned many things. Then we show what we learned to each others. Ahh... this is difficult question, I will answer this later.

! This second young man who does his ukemi like a flying bird. I pretty much love to practice with him. Quach Tuan Duong : I have been practicing Aikido for almost 4 years. Aikido is not only about self - defense techniques or applying those techniques in real life. There are much more valuable lessons from Aikido. With the basic idea, I've learned how to turn my disadvantages into my weapon. In term of attitude, aikido people learn to control themselves better, in comparison with other types of martial arts. We are not just throwing people around, or hurting them with techniques we have learned. The most important point is to control yourself in order to avoid inflicting injuries to the others. Moreover, besides self - defense, aikido learners get to learn how to show respect to others, as well as humility. Thereby we are able to listen attentively. In Aikido, we have no competition so you never beat anybody. We are all equal. หน้า ๑๘


CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB! ฉบับที่ ๒๖ วันที่ ๑ มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ (ปีที่ ๔)

!

Here is my friend from facebook …he helped a poor aikidoka like

me looking for cheap hotels. He practices aikido in Ho Chi Minh City. He helps me a lot. Minh Pham : 11 years. I started aikido when I entered university. Aikido changes me so much. firstly, my physical body has improved. Before I started practicing, i got sick almost every month but it is not happen now. secondly, I feel that I become more calm when facing difficult situations. I think I do more listening than talking. I become more sensitive to other's feelings. It helps me a lot in my works, for example; when I have to deal with people. I listen to them and then they listen to me. By that way, we understand each other and the deal closes easier. Aikido makes my life so joyful and balance, mentally and physically.

Another facebook friend, he is a medical student from Ho Chi Minh City. An Nguyen Le : I have practiced aikido for 8 year. Aikido teaches me a lot of things. Aikido is the first thing I indulged in. When I do aikido, I feel relax after all day of studying. Aikido boosts up energy for me to do a many things in daily life. Aikido also makes me more confidence. I think aikido is a special martial art. It is not easy to improve ourselves in each technique. I must be patient in learning. So Aikido teaches me to be patient. When I do aikido, my sempai always tells me "If you want to improve your aikido, you shall not crave to attack the uke but rather empty your mind and concentrate on your center first." So Aikido teaches me not to hungry for success. หน้า ๑๙


CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB! ฉบับที่ ๒๖ วันที่ ๑ มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ (ปีที่ ๔)

The next person is a translater from nihon-go to Vietnamese for this seminar. This polite man is a university teacher in Japanese language. He is also the last person we had dinner with in Hanoi. Pham Quang Hung : I started Aikido since 1999. It becomes part of my life. I feel happy when I practice aikido because I have met many good sensei and interesting friends.Thatʼs enough. ! The last one is a lady aikidoka. She welcomes us warmly by taking us to a sightseeing around Hanoiʼs night-market. We got really delicious food. I truly enjoyed speaking laos language with her, Miss Huong. Huong: Almost 4 years, I started in January 2007. I could say that first of all, aikido helps improved my health. From a weak person who always got sick when the climate changes, I am rarely sick now. Secondly, I feel much more comfortable about my self. I am calm and flexible in all kinds of circumstance. I become more tolerant towards stress in the work place. Lastly, I have a lot of new friends all over the world, especially people from Laos.

HOW ABOUT YOU ? HOW DOES AIKIDO HELP TO IMPROVE YOURSELF?? หน้า ๒๐


CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB! ฉบับที่ ๒๖ วันที่ ๑ มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ (ปีที่ ๔)

LET’S GO TO HANOI ผูเขียน: ซือเป

ไป ไปเต๊อะ ไปแอ่ว.... จังหวัดฮานอย... ! “ถึงอยูแควนใด ไมสุขสำราญ เหมือนอยูบานเรา ชื่นฉ่ำค่ำเชาสุขทวี …” เนื้อเพลงพระราช นิพนธทอนนี้นาจะโดนใจคนไทยหลายๆคน ทั้งที่ตั้งอกตั้งใจหรือจับผลัดจับผลูไปอยู “ไกลบาน” สำหรับคนไทยในบานคงไมคอยยี่หระกับความหมายของมันสักเทาไหร เขาทำนองวา “ไมเห็นโลง ศพ ไมหลั่งน้ำตา” คือยังไมเห็นคุณคาจนกวาจะถึงเวลาสำคัญ ประมาณนั้น ! ซือเปและพลพรรค โชคดีไดมีโอกาสสัมผัสความรูสึกนั้นเรียบรอย เชื่อวาคง นับตั้งแตวินาทีแรกที่มีสถานะเปน “คนตางชาติ” ในสายตาของเจาถิ่น ดิน แดนแหงเสียงแตร(รถ)ก็คงจะวาได แตคงเพราะมีจุดมุงหมายอันแรงกลา ศรัทธาแหงไอคิโด เลยปดหูสองขางเดินหาของกิน เอย เดินหาจุดมุง หมายอยางมั่นคง ! คณะเดินทางถึงสนามบินนอยไบเวลาประมาณ ๘ นากา อากาศเย็นของเมือง ฮานอยไมไดเปนอุปสรรคตอความราเริงของคณะฯเลย สิ่งที่เราสังเกตเห็นในขณะนั้นคือชาวเมือง ฮานอยเปนคนประหยัดมัธยัสถโดยเฉพาะรอยยิ้มและคำพูด สังเกตเอาจากพี่ๆตรวจคนเขาเมือง ถึงแมวาสมาชิกของคณะหลายคน(รวมทั้งซือเป)จะตองใชเวลาในการยืนทำหนาจิ้มลิ้ม อยูหนาดานฯนานกวาปรกติ แตทายที่สุดเราก็ผานดานตรวจคนเขาเมืองมาไดอยาง หน้า ๒๑ ปลอดภัย


CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB! ฉบับที่ ๒๖ วันที่ ๑ มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ (ปีที่ ๔)

! จากนั้นเรามุงหนาสูที่พักซึ่งไดจองไวจากเมืองไทย แตยังไมทันถึงที่หมาย รถแท็กซี่ที่เรานั่งมา ก็จอดตรงที่ไหนสักแหงกลางเมืองและคะยั้นคะยอใหเราลงพักยังโรงแรมตรงนั้น อยางไรก็ตาม หลังจากการเจรจาอยางสุภาพ(รึเปลา) คนขับก็ยินยอม(อยาง เสียมิได)และพาเราไปยังโรงแรมจุดหมายปลายทางของเรา Van Mieu Hotel เมื่อชำระราคาคาเชาที่นั่งและบริการขับเรียบรอย ซือเปและพลพรรครูสึกวาเขายังมีความไมพอใจอยูมาก แตแนละ เราก็เดินเขาที่พักของเราอยางมาดมั่นตอไป โดยไมสนใจการก ระทำของเขา ! เชาแรกที่เมืองฮานอย บรรดาสุภาพสตรีทั้งหลาย(ทั้งที่มี บรรดาศักดิ์และไมมี) อุนเครื่องกระเพาะอาหารดวย “บุน ฉะ” หรือขนมจีนกวยเตี๋ยว โปะหนาดวยหมูปง สวนสุภาพบุรุษนอก เหนือจากซือเปลวน “หมดสภาพ” อยูในหองพัก จากนั้นคณะ เดินทางแวะทองเที่ยวที่วัด Van Mieu ซึ่งเปนมหาวิทยาลัยแรก ของเมืองฮานอยคลายๆกับวัดโพธิ์ของเมืองไทย ในชวงเย็นของ วันนั้นคณะเดินทางเขารวมงานเลี้ยงตอนรับ ซึ่งจัดโดยเจาภาพ งานสัมมนา ! วันที่สองของการเดินทาง ซือเปและพลพรรคเขารวมการฝกแตเชา การฝกจัดขึ้นที่โรงกีฬา ประจำเมือง เบาะฝกถูกจัดเรียงอยางเปนระเบียบโดยเจาภาพ กอนเริ่มฝกผูเขารวมสัมมนารวมกัน ทำความเคารพปรมาจารยตามธรรมเนียมโดยถือตรงพื้นที่สะดวกไมตองเรียงตามลำดับสาย แต ตองนั่งใหเปนระเบียบเชนที่พึงปฏิบัติ ! การฝกแบงออกเปน ๙ บท แตละบทนำฝกโดยชิฮันบทละ ๑ ทาน นาเสียดายที่ซือเปทำ เอกสารประกอบการสัมมนาหาย ไมอยางนั้นคงจะพอบอกไดวาแตละบทเปนการฝกเกี่ยวกับอะไร บาง นึกออกเพียงแตวาบทแรกฝกกับชิฮันที่ชื่อ ยามาดะ จุน และปดทายการฝกดวยอาจารยฟุคา คุซาของเรา ในการฝกซือเปและพลพรรคตางกระจัดกระจายออกไปหาคูฝกตางชาติ ชาวเวียดนาม บาง ชาวจีนบาง ชาวพมา ชาวลาว ชาวฝรั่งมั่งคา ตามแตหนาตาคูฝก เอย ตามแตวาสะดวกเจอ ชาวไหน ! ! ในเบาะฝก ภาษาดูจะไมไดเปนเครื่องกีดกั้นความเขาใจระหวางคูฝกทั้งสองฝายเทาใดนัก เพราะตางใชไอคิโดเปนภาษากาย ภาษาเดียวกัน จากการเขารวมสัมมนาซือเปเห็นวานักไอคิโดจาก แตละชาติจะมีเอกลักษณแตกตางกัน แมแตชาติเดียวกัน หากมาจากคนละสังกัด คนละสำนักก็ จะมีเอกลักษณแตกตางกันตามแตตนสังกัดจะถายทอดลงมา ! ไอคิโดเปนศิลปะที่ดูจะไดรับความนิยมในประเทศเวียดนามมาก เฉพาะเมืองฮานอยเมืองเดียว ก็มีโดโจมากกวา ๑๐ โดโจแลว นี่ยังไมรวมเมืองโฮจิมินหซึ่งจากที่พูดคุย ซือเปไดรับทราบวามี มากกวา ๑๐ โดโจเชนเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีไอคิโดในเมืองอื่นๆของประเทศอีกประปราย ฮากามาซึ่งเปนเสมือนตัวแทนสายสูงของนักไอคิโดชาวไทย ก็มีใหเห็นดาษดื่นในสายไมสูงมากนัก จากนักไอคิโดชาวเวียดนาม

หน้า ๒๒


CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB! ฉบับที่ ๒๖ วันที่ ๑ มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ (ปีที่ ๔)

! ในจุดนี้ซือเปเห็นวาสวนหนึ่งอาจจะเปนกุศโลบายในการชักจูงใหคนเขาฝกไอคิโด เนื่องจาก ประเทศเวียดนามกำลังอยูในชวงฟนตัวจากพิษสงครามระหวางประเทศมหาอำนาจ (ทานใดสนใจ กรุณาศึกษาเกี่ยวกับ สงครามเย็นเพิ่มเติมครับ) ทำใหการเขาถึงความรื่นรมยทางศิลปะทำไดนอย ดังนี้เมื่อมีนโยบายใหสวมใสฮากามาไดตั้งแตสายไมสูงมากนักนี้ อาจทำใหผูฝกเกิดความรักและ เทิดทูน รวมถึงมีความรูสึกเปนอันหนึ่งอันเดียวกับไอคิโด จนทำใหเกิดความทุมเทและความตั้งใจ ในการฝกมากขึ้นตอไป ซือเปวานาจะเปนเชนนั้นนะครับ ! สาระสำคัญจากการฝกในวันแรกที่ซือเปจำได นอกเหนือจากเทคนิคและทักษะทางกายที่ได เรียนรูจากชิฮันและนักไอคิโดหลากหลายสัญชาติที่ไดมีโอกาสรวมฝกดวยแลว ซือเปยังไดเรียนรู ความสำคัญของการผอนคลายรางกาย, การหายใจ และที่สำคัญกวานั้น ไดเรียนรูการใหเกียรติ ตนเองและคูฝก ชิฮันสตรีทานหนึ่งไดอธิบายเพิ่มเติมประกอบการสอนของเธอ ซึ่งแปลเปนภาษา ไทยตามความเขาใจของซือเปวา ! “เวลาที่ฝกไอคิโด ตองตั้งใจฝก เพราะเราเสียเวลามา ฝก บางครั้งเสียเงินมาฝก แนนอนคูฝกของเราก็เชนกัน การที่เราไมตั้งใจฝก นอกจากจะทำใหเราไมไดอะไรจาก การฝก, เสียเวลา และเสียคาใชจายโดยเปลาประโยชน แลว ยังถือเปนการไมใหเกียรติแกตัวเราและคูฝกในขณะ นั้นดวย เรียกวาเปนสิ่งที่ไมสุภาพมากในการฝก (impolite)” ! ซือเปเห็นวาคำกลาวของชิฮันทานนี้เปนความจริง เพราะ ที่ชมรมของเราซือเปไดเห็นนองใหมหลายคนพูดคุยหยอก ลอเลนกันเวลาฝก แมจะเกิดขึ้นโดยไมตั้งใจแตเมื่อเริ่ม หยอกลอพูดคุยกัน ก็จะทำใหเสียเวลาในการฝกไปและ ฝมือก็ไมพัฒนาขึ้น ! ในวันที่สาม เปนวันฝกวันสุดทายของการสัมมนาใน ครั้งนี้ แมซือเปและพลพรรครักเอยหลายคน จะปวดเนื้อ เมื่อยตัว ตามประสาคนขาดซอมมานาน แตก็ไมยอทอเขา การฝกจนจบพิธีจนได ในวันนี้เทาที่ซือเปจำไดเห็นจะมี ชิฮันจากเกาะไตหวัน, สิงคโปร, ญี่ปุน และประเทศไทยเปนผูนำการฝก ! ชวงบายเปนการสาธิตเทคนิคไอคิโดโดยตัวแทนจากแตละประเทศ ซือเปนึกครึ้มเอาเองดวยวา กำลังรวมอยูในพิธีเปดกีฬาเอเชี่ยนเกมสเสียดวยซ้ำ เจาภาพฮานอยแสดงไดอยางนาประทับใจ และ ที่ประทับใจและตราตรึงอยูในความทรงจำ เห็นจำเปนการสาธิตจากชมรมไอคิโดเมืองโฮจิมินห ซึ่ง เปนชมรมที่สมาชิกประกอบไปดวยผูมีความสมบูรณทางรางกายนอยกวาคนทั่วไป ไมวาจะเปน ผูมี ความสมบูรณนอยทางสายตา, ทางการทรงตัว หรือทางการไดยิน เปนตน ออกมาสาธิตการใช เทคนิคไอคิโด แมวาในสถานะการณจริง หากตองใชงานอาจจะมีปญหาและอุปสรรคอยูบาง แต นั่นก็ไมไดทำใหความประทับใจในการนำเสนอลดนอยลงครับ หน้า ๒๓


CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB! ฉบับที่ ๒๖ วันที่ ๑ มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ (ปีที่ ๔)

! อาจารยไอคิโดจากเมืองไทยทานหนึ่งไดใหคำชี้แนะซือเปไววา “ลองดูความมุง มั่นและความตั้งใจในการฝกของเขา ซึ่งมีไมนอย” ซือเปเห็นวามีมากกวาคนที่มี ความสมบูรณทั่วไปบางคนดวยซ้ำ แตเหนือสิ่งอื่นใด หัวใจแหงความเอื้ออาทรและ ความมุทิตาของผูฝกสอนก็เปนสิ่งที่สมควรไดรับการยกยองและแสดงความชื่นชม ครับ แมทานเปนเพียงสุภาพสตรีเวียดนามตัวเล็กๆแตก็จะมองขามความสามารถมิได ดังสำนวนอังกฤษที่วา “Don’t judge a book by the cover” หรือสำนวนไทยที่วา “ผาขี้ริ้วหอทอง” เห็นจะเหมาะสมกับอาจารยทานนี้เพราะเธอ มีหัวใจที่เปนทองคำอยูภายในรางกายของเธอจริงๆครับ ! การสาธิตที่เรียกเสียงฮือฮาและวิพากษวิจารณอยางมาก ก็เห็นจะเปนการสาธิตจากชิฮันของเกาะไตหวัน ซึ่งเปนเรื่อง ราวของการใช “คิ” ซือเปของดออกความคิดเห็นใด ๆ ใน เรื่องนี้เนื่องจากความตื้นเขินของประสบการณ เพียงขอยก ประโยคของอาจารยชาวไทยทานเดิมที่ไดบอก ไววา “ไมเจอกับตัวไมรูหรอก” ครับ ! วันที่เหลือเปนการ “แอว” ของซือเป และพลพรรครักเอยจริงๆ โดยในวัน สุดทายเราไปลองเรือที่ฮาลองเบย เที่ยว เกาะ เขาถ้ำ โดยมัคคุเทศนกิตติมศักดิ์ “ปา ศรี” ซึ่งมีประสบการณตรงจากชวงสงครามเย็น ถึงขั้นที่ ตองแบกปนไปยิงเครื่องบินกันกลางทุงนาในสมัยนั้น ปา ศรีบรรยายสถานที่เที่ยวตางๆทั้งวันอยางไมรูจักเหน็ดเหนื่อย ! ! ค่ำวันนั้นซือเปและผูติดตาม เอย และคณะ ยังไดรวมฝก ณ เบาะฝกของมหาวิทยาลัยการคา ระหวางประเทศ (Foreign Trade University) ซึงมีผูรวมฝกกวา ๗๐ คน เห็นแลวก็นาทึ่งและ อดเปรียบเทียบกับชมรมของเราอยางเสียมิได แตหากชมรมของเรามีผูฝกจำนวนเทานี้จริง เห็นจะ ตองขี่คอกันฝกเสียแลว เมื่อคิดไดดังนี้ก็เลยเห็นเปลี่ยนวิธีคิดของตัวเองขึ้นมาทันที ! เชาวันสุดทายของการอยูตางแดน แนนอนวาพวกเราตางอาลัยเมืองฮานอยพอสมควร ก็แน ละครับ อุตสาหฝกวิธีการขามถนนเยี่ยงคนเวียดนามและเรียนรูอาหารการกินของชาวเวียดนามมา อยางดี กลับหมดเวลาอยูแลวเสียนิ เลยเศรากันตามระเบียบครับ ขากลับนั้นแสนจะฉุกหลุกกวา ขามามากนัก ชาวเวียดนามเองก็ชอบการเดินทางดวยเครื่องบินมาก กะเกณฑเอาจากปริมาณผูคน ในสนามบินซึ่งเบียดเสียดยัดเยียดกันเต็มไปหมด ชวนใหนึกถึงหัวลำโพงหรือหมอชิตเวลาวันหยุด ยาว อยางไรก็ตามซือเปและพลพรรคก็กลับถึงเมืองไทยโดยสวัสดิภาพ ! แตดูเอาเถิดครับวา เราอาลัยเวียดนามกันขนาดไหน ยังอุตสาหพกเงิน “ดอง” กลับมาบาน เราเสียคนละหลายแสน หลายลาน จนทายที่สุดก็ตัดสินใจซื้อตั๋วเครื่องบินกลับไปใหมในปหนา จุดหมายคือเมือง “โฮจิมินห” สำหรับการไป“แอว”ครั้งนี้ ขอคิดเห็นตางๆเปนเพียงของซือเป เทานั้น ไมไดหมายวาพึงเปนสิ่งที่ถูกตอง ที่สุด หากผูอานทานใดมีขอมูลเพิ่มเติมก็่ชวยแกไข สงจดหมายมาพูดคุยกันไดครับ สำหรับฉบับนี้สวัสดีครับ


CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB! ฉบับที่ ๒๖ วันที่ ๑ มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ (ปีที่ ๔)

ชูชีพ สุนทรานนท

มิตรภาพในตางแดน ! เมื่อใดที่เราเอยคำวา “เวลา” ทุกคนยอมรูจักคำนี้เปนอยางดี แตจะมีสักกี่คนที่ ตระหนักถึงการเคลื่อนไหวของเวลาที่ไมเคยหยุดนิ่งหรือพักผอนดังเชนสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เวลา สำหรับชีวิตมนุษยเรานั้นไมเคยเดินไปขางหนา มีแตจะนับถอยหลัง “เวลา” อีกเชนกันที่นำพา คำวา “ภาระและหนาที่” มาหาเราทุกคน ฉะนั้นการดำรงชีวิตอยูในสังคมปจจุบันนี้ สิ่งหนึ่งที่ ทุกคนไมอาจหลีกเลี่ยงไดเพื่อการดำรงชีวิตอยูในยุคปจจุบันนั้นคือการประกอบอาชีพ เพื่อ เลี้ยงตนเองและครอบครัวใหมีชีวิตอยูไดอยางปกติสุข ผมก็เปนอีกคนที่ไมสามารถหลีกเลี่ยง ความเปนจริงขอนี้ได หลังจากที่เรียนจบจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม ผมไดประกอบอาชีพมามากมาย แต กระนั้นก็ไมเคยหยุดที่จะสานตอความฝนที่จะกาวตอไปในเสนทางของนักไอคิโด เหมือนๆ กับ พี่ๆ นองๆ อีกหลายคน จนในที่สุดผมก็ไดกาวเขามาสูอาชีพนักบิน อาชีพนี้เปนหนึ่งในหลายๆ อาชีพที่ไดมีโอกาสเดินทางทองเที่ยวสูหลายๆประเทศ ไดสัมผัสวัฒนธรรมที่หลากหลายในตาง แดน หน้า ๒๕


CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB! ฉบับที่ ๒๖ วันที่ ๑ มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ (ปีที่ ๔)

และแนนอนเมื่อผมสอบติดนักบินผมตั้งเปาไววาผมจะไปซอมไอคิโดในทุกๆ ประเทศที่ ผมไดเดินทางไป แตครั้นเมื่อไดเขามาทำงานเปนนักบินอยางเต็มตัว ผมเริ่มตระหนักแลววา มันไมไดงายอยางที่ตัวเองฝนไว เมื่อไดเริ่มทำงานอยางเต็มตัวแลว เวลาที่สามารถจะไปซอมไอคิโด ดังเชน ในอดีต นั้นหาไดยากมาก นี่ยังไมรวมถึงชวงที่ไปฝกบินที่หัวหินที่หาโอกาสซอมไดยากยิ่ง แตอยางไร ก็ตาม สิ่งใดที่ขึ้นชื่อวาเปนสิ่งที่สำคัญในชีวิตของเราแลว เรายอมตองหาทางไขวความาจนได ไอคิโดของผมนั้นไดเริ่มเติบโตมาจากชมรมไอคิโดในรั้วมหาวิทยาลัยเชียงใหม แตดวยอาชีพที่ ผมเลือกทำใหโอกาสที่ผมจะไดซอมในถิ่นฐานเดิมของผมนั้นลดนอยลงไปอยางมาก แตสิ่งนี้ เองที่เปนแรงผลักดันใหผมสะพายชุดฝกไปแทบทุกที่เพื่อฝกไอคิโดในทุกประเทศที่ผมไป จน กลายเปนนักไอคิโดพเนจรไปโดยไมรูตัว แตนั่นก็เปนงานหนักพอควรสำหรับการเดินทางไปใน พื้นที่ที่ตนเองไมคุนเคยแถมบางโดโจยังหางไกลออกไปจากโรงแรมที่พักเปนอันมาก ชวนให ลมเลิกความตั้งใจที่จะไปฝกไมนอยเลย โรงฝกไอคิโด ในตางแดนนั้น นอกจากประเทศญี่ปุน แลว สวนใหญที่พอจะ หาไดจากเว็บไซตนั้น มักจะอยูออกไปนอก เมือง ซึ่งมักจะไกล จากที่พักของผมเปน อยางมาก ผมไดไป รวมฝกในหลายๆโดโจ

และลาสุดนี้เองผมไดมีโอกาสไปรวมฝกกับโดโจแหงหนึ่งในประเทศนิวซีแลนด หน้า ๒๖


CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB! ฉบับที่ ๒๖ วันที่ ๑ มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ (ปีที่ ๔)

เมื่อเที่ยวบิน TG491 แตะถึงพื้นสนามบินประเทศนิวซีแลนด ภาระกิจวันนี้ไดเสร็จสิ้น ลงแลว ไฟลทนี้ผมไดมาพักที่นิวซีแลนดเปนเวลา 2 คืน ผมจึงไมพลาดที่จะสงอีเมลลนำรองไป หาโดโจแตละที่กอน เพื่อสอบถามถึงเวลาฝกซอมที่แนนอน รวมถึงศึกษาเสนทางเพื่อไปยังสถาน ที่ฝกซอมแตละแหง ซึ่งเปนที่นายินดีวาในเที่ยวบินนี้ผมไดรวมฝกถึง 2 โดโจในเที่ยวบินเดียว โด โจแรกอยูไมไกลจากโรงแรมนัก ผมเดินเทาไปใชเวลาประมาณครึ่งชั่วโมง แตบทความวันนี้ขอ เลาถึงโดโจอีกแหงหนึ่ง โดโจนี้เปนหนึ่งในสี่สาขา ของ Auckland Aikido Dojo ซึ่งกอตั้งขึ้น โดยทานอาจารย Rosso Fernandez Sensei (6th dan) โดโจ แหงนี้ชื่อวา KOHIMARAMA DOJO เปนโดโจที่ตั้งอยูในโรงยิม ของมหาวิทยาลัย Selwyn College ไมตางกับชมรมไอคิโด มหาวิทยาลัยเชียงใหมแตอยางใด โดโจนี้หางจากโรงแรมออกไป นอกเมืองเดินทางโดยรถยนตใชเวลาครึ่งชั่วโมงโดยประมาณ ผมไดสงอีเมลลติดตอกับทาน Rosso Sensei อาจารยประจำโดโจแหงนี้ กอนที่จะเดิน ทางมาขอรวมฝกดวย อาจารยไดใหการตอบรับผานทางอีเมลลเปนอยางดี อาจารยเปนลูกเรือ ของ Air New Zealand มาเจอนักไอคิโดสายอาชีพเดียวกันจึงเปนที่นายินดียิ่งนัก แตก็ เสียดายที่ผมไมไดรวมฝกซอมภายใตการฝกสอนของทาน เพราะทานตองเดินทางไปปฏิบัติ หนาที่ที่ประเทศอเมริกาในวันเดียวกัน แตทานไดฝากผมไวกับลูกศิษยของทาน นั่นก็คือ Mr. Mark ลูกศิษยของทานคนนี้อายุราวๆ 50 ป ถึงแมวาเราจะไมเคยเจอกันมากอนก็ตาม แต Mr. Mark ก็ใหความสนิทสนมกับผมเปนอยางดีราวกับรูจักกันมานาน ผมกับ Mr. Mark ไดคุย กันไปตลอดทาง และไดทราบวาวันนี้ผูที่จะนำฝกแทน Rosso Sensei คือ Mr. Billy Brown เมื่อเดินทางถึงมหาวิทยาลัย ภายนอกของโรงยิมก็ดูเหมือนโรงยิมทั่วไป แตกาวแรกที่ เขาไปในโรงยิมแหงนี้ผมตองหยุดมองโรงยิมดวยความชื่นชม ภายในโรงยิมตกแตงไดสวยงาม มาก ถึงแมจะมีอุปกรณกีฬาอื่นๆ อยูในโรงยิมเฉกเชนเดียวกับโรงยิมทั่วไปก็ตาม แตไมทำให ความสวยงามของโรงยิมแหงนี้ลดนอยลงไปเลย ภายในตกแตงดวยไมเกือบทั้งหมด เทาที่ผม สำรวจดวยตาเปลาพื้นที่นี้หลังจากปูเบาะเสร็จแลว คงเปนการยากที่จะมีชมรมอื่นจะมารวมใช พื้นที่ในเวลาเดียวกัน ซึ่งทำใหโดโจแหงนี้มีความเปนสวนตัวในการฝกซอมเปนอันมาก


CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB! ฉบับที่ ๒๖ วันที่ ๑ มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ (ปีที่ ๔)

เบาะไอคิโดที่ใชปูฝกซอมนั้นถูกเก็บตั้งไวบนฐานรองอลูมิเนียมซึ่งมีลอรองรับอยูภาย ใต ทำใหสามารถลากเลื่อนไปมาเพื่อความสะดวกในการปูและเก็บเบาะ เบาะทั้งหมดถูกคลุม ปดดวยผาใบซึ่งสั่งทำเปนพิเศษ มีซิปรูดที่มุมทั้งสี่ดานเพื่อความเปนระเบียบเรียบรอยเมื่อไมใช งานดูเปนระเบียบยิ่งนัก เบาะที่โดโจนี้เปนแบบจิ๊กซอวคลายเบาะปูแขงขันของเทควันโดดังนั้น จึงไมตองปูปดทับดวยผาใบเพื่อยึดเบาะเขาดวยกันเหมือนกับเบาะประเภทอื่นๆ หลังจากผม ยืนสำรวจโรงยิมซักพัก ผมก็เขาไปแนะนำตัวกับผูนำฝกและทักทายสมาชิกทุกคนซึ่งทุกคนให ความตอนรับผมเปนอยางดีและกันเองมาก เมื่อทุกคนปูเบาะเสร็จก็รีบเปลี่ยนชุดเพื่อเตรียมความพรอมสำหรับการฝกไดอยาง ตรงเวลา ที่ตางประเทศโดยเฉพาะที่ประเทศทางฝงออสเตรเลียกับนิวซีแลนดนั้น ชั่วโมงการ ฝกไอคิโดในแตละชั้นเรียนนั้นคอนขางสั้น เพียงแคชั่วโมงเดียว แมวันนี้ผมจะไดรวมซอมเพียง ชั่วโมงเดียวแตก็เปนชั่วโมงที่สรางความรูสึกประทับใจในการฝกใหกับผมเปนอยางมาก ทุกคน ที่นี่มีความตั้งใจในการฝกเปนอยางดี ไมมีความเครียดในการฝกเลย ทุกคนมีความรูสึกสนุกใน การฝกซอมในทุกเทคนิคที่ Mr. Billy ไดนำสอน ผมคิดวาสิ่งนี้เองที่สรางความสุขในการฝกให กั บ ผมในวั น นั ้ น และเสริ ม สร า ง บรรยากาศที่ดีในการฝกซอมจนแทบ จะลืมไปวาผมกำลังฝกอยูที่โดโจที่ผม เองก็เคยมาฝกที่นี่เปนครั้งแรก หลังจากหมดชั่วโมงฝกซอมแลว เรา ชวยกันเก็บเบาะขึ้นบนลอเข็นแลวคลุม ทับดวยผาใบแลวเข็นเบาะทั้งหมดเขา สูหองพักของมัน ผมไดขออนุญาตผูนำ ฝกเพื่อถายรูปรวมกับนักไอคิโดที่นี่เพื่อ เก็บเปนภาพแหงความประทับใจ และ คิดวาคราวหนาถามีโอกาสผมจะตอง กลับมาที่นี้อีกแนนอน หน้า ๒๘


CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB! ฉบับที่ ๒๖ วันที่ ๑ มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ (ปีที่ ๔)

งานเลี้ยงยอมมีวันเลิกรา ถึงเวลาที่ผมตองเดินทางกลับสูโรงแรมเพื่อเตรียมตัวพัก ผอน และปฏิบัติภาระกิจของผมอีกครั้ง มีสมาชิกของโดโจนี้อีกคนนึงรับอาสาไปสงผมถึง โรงแรม เมื่อถึงโรงแรมผมกาวลงจากรถและกลาวอำลาเพื่อนคนใหมของผม และบอกกับเคา วาวันนี้ผมมีความสุขมากและผมจะกลับมารวมซอมกับทุกคนแนนอนเร็วๆนี้ และนี่ก็เปนอีก หนึ่งเรื่องของนักไอคิโดพเนจรคนนึงที่ไดมีโอกาสใชชีวิตในตางแดนและนำประสบการณเล็ก ๆ นอยๆ กลับมาเลาสูกันฟง ผมหวังวาเรื่องราวของผมจะเปนกำลังใจใหกับนักไอคิโดหลายๆคน ที่จำเปนตองหางหายจากเสนทางของไอคิโดไปชั่วระยะนึง เนื่องจากภาระหนาที่งานที่ตองทำ แตยังฝนถึงเบาะไอคิโดอยูเสมอ ผมเชื่อวาถาเรามุงมั่นกับสิ่งใด เราสามารถใชชีวิตของเรา ควบคูไปกับสิ่งที่เรารักได แลวเราก็จะใชชีวิตของเราอยางมีความสุข

The Art of Peace # ๓๘ เขียนโดย Morihei Ueshiba แปลโดย John Stevens ! Daily training in the Art of Peace allows you inner divinity to shine brighter and brighter. ! Do not concern yourself with the right and wrong of others. ! Do not be calculating or act unnaturally. ! Keep your mind set on the Art of Peace, and do not criticize other teachers or traditions. ! The Art of Peace never restrains, restricts, or shackles anything. It embraces all and purifies everything. John Stevens ไดรวบรวมเอา Doka หรือบทกวีขนาดสั้นของปรมาจารยไวในหนังสือ The Art of Peace ตอมา William McLuskie ไดนำมาลงเผยแพรที่เวบไซต http://omlc.ogi.edu/aikido/talk/osensei/artofpeace/

หน้า ๒๙


CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB! ฉบับที่ ๒๖ วันที่ ๑ มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ (ปีที่ ๔)

ไอคิโดกับตัวฉัน โดย...จามคำ

Z

สวัสดีคะ หนูชื่อนางสาวจามคำ ไมมีชื่อสกุล ชื่อเลนวานิ้ง อายุ 15 ป กำลัง ศึกษาอยูชั้นมัธยมศึกษาปที่ 1/1 โรงเรียนอนุบาลปางมะผา หนูก็ไดมาฝกซอมไอคิโดตั้งแต เรียนอยูชั้นประถมศึกษาปที่ 4 โรงเรียน บานหวยแหง ตอนนั้นหนูไมรูจักและ ไมเคยไดเห็นวาไอคิโดคืออะไร และ อีกอยางโรงเรียนก็อยูไกลทางก็ลำบาก ตอนแรกมีรุนพี่ๆเขามาซอมกันก็อยาก จะมาดวยแตไมไดมาเพราะชวงนั้นหนู อยูชั้นประถมศึกษาปที่ 3 ทางโรงเรียน จึงคัดเลือกเอาเฉพาะรุนพี่ที่ตัวใหญๆ มา ก็รูสึกนอยใจนิดๆคะ กอนที่หนูจะมาซอมจริงๆจังๆหนูก็ไดทำกิจกรรมกับสโมสรผูนำเยาวชนเพื่อการ ศึกษาและพัฒนาชุนชนหรือ สยชช.มากมาย พอไดซอมวันแรกก็เกร็งเต็มที่คะเพราะไม เคยเลนมากอนและกลัวที่จะทำผิดคะ หนูยังจำไดตอนครูยอด (อาจารยวิสุทธิ์) ใหมวน หนา รุนพี่ๆมวนถูกกัน แตหนูสิคะกลับตีลังกาแทนมวนหนา รูสึกวาอายจนแกมแดง เลยคะ(ก็คนมันไมเคยเลนนี่นา) คือตอนนั้นไดมาซอมบางเปนบางครั้งคะ พอมาเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนอนุบาลปางมะผาก็เริ่มซอมเปนประจำอยางตอ เนื่องเพราะมาเชาหออยูติดกับสถานที่ฝกซอมจริงๆคะ ทุกวันนี้หนูไปโรงเรียนเพื่อนมันก็ ลอคะวาไอคิโดที่เธอซอมมาเนี่ยสูมวยไทยก็ไมได แคเขาเตะก็ลมแลว

หน้า ๓๐


CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB! ฉบับที่ ๒๖ วันที่ ๑ มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ (ปีที่ ๔)

Z หนูไดยินแบบนี้แลวหมั่นไสมากคะบางครั้งอยากจะทุมเพื่อนแตก็ทำไมไดหรอกคะ เพราะหนูยึดคำที่วาวิชาไอคิโดไมใชวิชาที่ทำใหผูอื่นบาดเจ็บ สวนเพื่อนตางโรงเรียนเขา อยากมาซอมคะ แตพอมาเห็นพวกหนูซอมแลวก็ถอยกลับทันทีคะ หรือที่เรียกวาใจปลาซิวคะ หนูรูสึกวาพวกหนูที่มาซอมรุนหลังโชคดีมากคะเพราะมีพี่ๆจากรายการมดคันไฟมา ถายทำก็เขินนิดๆคะ เพราะถูกถายทอดออกอากาศเปนครั้งแรกดวย และตอนเดือน พฤศจิกายนที่ผานมาก็ไดมีโอกาส แสดงไอคิโดใหกับผูที่ไมเคยซอม ไมเคยเห็นไดดูคะ ครั้งนี้ตื่นเตนมากเลยเพราะไดแสดง กับจังหวะดนตรีคะและคนดูเยอะดวย ขอ ตกลงของการแสดงโชวของเราวันนี้คือ ถา แสดงจบเมื่อไหรแลวคนดูปรบเสียงดัง เราก็ จะไดกินเลี้ยงกันคะ และแลวพอแสดงจบ ผลก็ออกมาวา.....โอเค...ไดกินเลี้ยงกันคะ ที่กินเลี้ยงกันก็เปนหมูกะทะนั่นเอง และที่ พิเศษคือไดรองคาราโอเกะดวย สวนหมู กระทะนั้นพวกเราจัดเตรียมเครื่องปรุงไปเอง แคไปซื้อเนื้อเขาอยางเดียวคะ ตอนนี้หนูคิดวาตัวหนูเองถาตองเดินทางคนเดียวก็ รูสึกมั่นใจเพราะเรามีวิชาวิเศษอยูในตัวจะกลัวอะไรคะ Z ขนาดผูใหญบางคนยังไมไดมาซอมแบบเราเลย ถือวาโชคดีมากเลยคะที่มีโอกาสไดซอมวิชาไอคิโดนี้Z สุดทายนี้ขอขอบคุณครูยอดและผอ.พิมุข ครูเกาของ หนูที่อยูโรงเรียนบานหวยแหงที่เปดโอกาสใหคนไมมี สัญชาติอยางหนูและเพื่อนไดมาซอมแบบนี้ พรอมทั้ง ทุกทานที่ไดมาซอมไอคิโดรวมกัน ขอบคุณคะ หน้า ๓๑


CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB! ฉบับที่ ๒๖ วันที่ ๑ มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ (ปีที่ ๔)

สังคมสันติสุข

เรียบเรียงโดย.... นฤมล ธรรมพฤกษา

! บทความนี้จะพาชาวไอคิโดม.ช.ไปพบกับงานศิลปะสองชิ้น ชิ้นแรกคือภาพวาด ชื่อ The Peaceable Kingdom ของเอดวารด ฮิคส ศิลปนโฟลคอารตชาวอเมริกัน ชิ้นที่สองคืองานประติมากรรมของ บิล รีด ศิลปนชนเผาพื้นเมืองแคนาดา ชื่อ The Spirit of Haida Gwai ทั้งคูเปนโลกทรรศนที่ศิลปนมองโลกที่สงบสันติแตกตางกัน

The Peaceable Kingdom (1826) หน้า ๓๒


CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB! ฉบับที่ ๒๖ วันที่ ๑ มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ (ปีที่ ๔)

+ เอดวารด ฮิคส ศิลปนโฟลคอารต ชาวอเมริกัน (Edward Hicks) ไดวาดภาพ ชื่อ The Peaceable Kingdom และได กลายเปนภาพวาดที่เปนที่นิยมอยางสูงมี คนวาดเลียนแบบตามมากมาย ในภาพวาดของเขาแบงเปนสองสวน ! สวนขวาเปนภาพสัตวปานักลาดุ รายท้ังหลายนอนพักสงบในสวนสวยรวมกัน กับสัตวเลี้ยงแสนเชื่อง ที่อาจจะตกเปน เหยื่อของพวกมันไดทุกเมื่อ มีเด็กเล็กๆสาม คนเลนอยูกับสัตวเหลานั้น เด็กคนหนึ่งเอา มือโอบคอเสือไว ! ในภาพดานซาย เปนคนสองกลุมกำลัง ยืนลอมวงพูดคุยกัน กลุมหนึ่งคือชนพื้นเมือง อเมริกัน อีกกลุมคือผูตั้งถิ่นฐานจากยุโรป ในรูป มีชายคนหนึ่งที่ศิลปนวาดดวยความตั้งใจใหเปน วิลเลียม เพนน (William Penn : 1644-1718) ที่ กำลังทำสนธิสัญญากับชนเผาพื้นเมือง ! วิลเลียม เพนน เปนผูที่ทำใหนิกายเควกเกอร (Quaker) หรือสมาคมมิตรภาพ (Society of Friends) แพรหลายในอเมริกาโดย โดยเฉพาะในรัฐเพนซิลเวเนียเปนดิน แดนแหงแรกที่เพนนไดมาตั้งรกรากและทำการเผยแพรศาสนา นิกายเควกเกอรนี้ ตองการรื้อฟนศาสนาคริสตแบบดั้งเดิม จึงเนนประสบการณตรงในการเขาถึงพระเจาโดย ใชแสงสวางที่เกิดขึ้นภายใน (inner light) และเนนเรื่องการอยูรวมกันอยางสันติในโลก มนุษย ! ภาพวาดของฮิคสมักจะใชสัตวเปนสัญลักษณเปรียบเปรยถึงบุคลิกลักษณะตางๆ ของมนุษย สิงโตเปนตัวแทนของความใจรอนวูวามและดุรายปาเถื่อน หมาปาแทนความ ครุนคิดและสงวนทาที หมีแทนความเกียจครานเอื่อยเฉื่อยและความละโมบ และเสือดาว แทนความเบิกบาน นอกจากคุณสมบัติที่กลาวมาขางตน สัตวปายังเปนอุปมาของความ โหดรายรุนแรง ความโกรธแคน ความทะนงตน ความโลภและอื่นๆอีกมากมาย


CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB! ฉบับที่ ๒๖ วันที่ ๑ มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ (ปีที่ ๔)

! ในภาพ The Peaceable Kingdom นี้ นำเสนอความสมดุลที่ละเอียดออนตอประเด็นที่ แกปญหาไมไดงายๆ ซึ่งก็คือการอยูรวมกันอยาง สงบสุขของมวลมนุษยชาติและสรรพสิ่งบนโลก นี่ คือโลกแหงความหวัง ความหวังที่วูบวาบที่ศิลปน คิดวาเปนไปได หากความปาเถื่อนของสันดาน ดิบไรการควบคุมของมนุษยไดสยบสงบลง จนแม กระทั่งแกะตัวนอยไรพิษสงสามารถนอนลงเคียง ขางหมาปาผูลาได โลกที่สิงโตยืนเคี้ยวเอื้องรวม กับวัวที่กำลังสงหญาให และเด็กนอยเปนเสมือนความ หวัง เปนแนวทางแหงอิสรภาพ เสรีภาพ และภารดร ภาพ ! ในขณะที่มีคนวิจารณวาภาพนี้มีนัยยะทาง ศาสนามากเกินไปหรือดูเปนคริสเตียนมากเกินไป เพราะดูเสมือนกับวาแผนดินของพระเจามาปรากฏบนโลกของมนุษย แตมันไมมีทางที่จะ เปนไปไดเพราะผิดธรรมชาติ สิงโตก็ตองกัดวัว เสือก็ตองกัดเด็ก พวกคนยุโรปที่มาตั้ง ถิ่นฐานใหมในอเมริกาก็ตองฆาอินเดียนแดง ฮิคสฝนเฟองไปหรือเปลาเพราะธรรมชาติ นั้นเต็มไปดวยความรุนแรง ! แตไมวาฮิคสจะตั้งใจหรือไมก็ตาม ดวยความที่ เขาเปนเควกเกอรที่รักสันติภาพก็อาจจะสงอิทธิพลตอภาพ วาดของเขา และภาพก็อาจจะไมไดหมายถึงสวรรคแตเปน สันติสุขที่ควรเกิดขึ้นบนโลกนี้ก็ได ภาพนี้อาจจะไมใชโลกที่ “เปนไปได” (possible) แตเปนโลกที่ “อยากจะใหเปน” (desirable) ฮิคสเสนอวา ธรรมชาตินั้นสามารถอยูรวมกันโดย สงบสุขได และไมใชแตเฉพาะมนษยเทานั้น แตทุกเผาพันธุ บนโลกดวย และถามนุษยอยากใหเปนเชนนั้น เราก็ตอง รวมกันทำงานหนัก โลกเชนนี้ก็อาจจะเกิดขึ้นได หน้า ๓๔


CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB! ฉบับที่ ๒๖ วันที่ ๑ มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ (ปีที่ ๔)

The Spirit of Haida Gwai + เปนประติมากรรมที่สรางขึ้นโดยศิลปนชื่อ บิล รีด (Bill Reid : 1920 – 1998) รีดเปนชนเผาไฮดากไว (Haida Gwaii) ซึ่งอยูอาศัยทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ ประเทศแคนาดาและในอลาสกา ! รูปประติมากรรมของเขารูปแบบเดียวกันนี้สรางขึ้นหลายชิ้น ชิ้นแรกหลอดวย ทองเหลืองทาสีดำชื่อ The Black Canoe ตั้งอยูที่ดานหนาของสถานทูตแคนาดา กรุง วอชิงตันดีซี ชิ้นที่สองเปนทองเหลืองทาสีเขียวชื่อวา The Jade Canoe อยูที่สนามบิน นานาชาติแวนคูเวอร ! รูปปนนี้แสดงใหเห็นถึงมรดกทางวัฒนธรรมของชาวไฮดากไว ซึ่งจะขุดเรือแคนู ที่มีความยาวถึงหกเมตรขึ้นมาจากตนสนซีดารทั้งตน ในเรือแคนูนั้นประกอบดวยผู โดยสารหลายคนคือ หน้า ๓๕


CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB! ฉบับที่ ๒๖ วันที่ ๑ มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ (ปีที่ ๔)

! ราเวน หรืออีกา เปนจอมปวนในนิยายปรัมปรา ของชาวไฮดา ในภาพนี้เขาคัดทายเรืออยู (แมวาจะเปน จอมเจาเลห แตเขาก็เปนวีรบุรุษในตำนาน ราเวนเปนผู ที่ปลอยดวงอาทิตยออกจากกลองเล็กๆรวมทั้งสรางดวง จันทรและดวงดาว เขาปลอยมนุษยคนแรกออกมาจาก เปลือกหอยแครงบนหาดทราย อีกเรื่องหนึ่งเลาวา รา เวนสรางมนุษยข้ึนมาจากดินก็เพราะเขาอยากใหมีคน เยอะแยะมางานปารตี้ที่เขาจัดขึ้น) ใตปกของราเวนมีหนูตัวเมียแอบซอนอยู ตาม ตำนานของไฮดา หนูตัวนี้คือผูนำทางและคอยใหคำ แนะนำแกคนที่เดินทางจากโลกมนุษยไปยังโลกหนา ! ที่หัวเรือเปนหมีสีน้ำตาลนั่งจองเขม็งมาที่ ราเวน ถัดมาคือเมียมนุษยของหมีสีน้ำตาลอุมลูกหมี สองตัว รีดเรียกพวกเขาวา หมีด(ี หูชี้ไปขางหนา) และ หมีราย(หูชี้ไปขางหลัง) ถัดจากผูหญิงเปน ตัวบีเวอรผูเปนลุงของ ราเวน ในตำนานเลา วาชวงที่โลกเพิ่งจะ กำเนิดใหมๆ บีเวอร จะนั่งอยูที่ใตทองทะเล เก็บกักน้ำจืดและปลา ทั้งหมดโลกเอาไว ดานหลังของบี เวอรเปนผูหญิงครึ่งคนครึ่ง ฉลามพายนั่งเรืออยู หน้า ๓๖


CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB! ฉบับที่ ๒๖ วันที่ ๑ มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ (ปีที่ ๔)

หากมองจากอีกดานหนึ่ง จะเห็นวา ถัดจากหมีสีน้ำตาล เปนนกอินทรี ที่กำลังคาบแขน ของหมีอยู ใตจงอยนก เปน กบ เกาะ อยูที่กาบเรือ บางครั้งก็ กระโดดเขา กระโดดออกจากเรือ ! ดานหลังของนกอินทรีเปนหมาปา ที่ตีนหนึ่งกำลังตะปบหลังบีเวอรสวนฟนก็ฝง อยูที่ปกของนกอินทรี ดานหลังของหมาปาเปนผูชายตัวเล็กแตงตัวแบบชาวไฮดา ! ! รีดเรียกเขาวา “ความไมเต็มใจในการกะเกณฑที่โบราณ” เขาพายเรืออยางแข็ง ขัน หนาเรียบเฉย ไมเคยพร่ำบนอะไรเลย !

ที่กลางเรือเปนจุดศูนยกลางของรูปประติมากรรม เปนรูปชาย ฉกรรจตัวใหญโต เขายืนทะมึนสวมเสื้อคลุมและหมวกสาน สวยงามประณีต ถือไมพลองยาวแกะสลักเปนรูปหมี ราเวน และปลาวาฬเพชรฆาต และสมาชิกทุกคนบนเรือ เสานี้เปน เสมือนเสาค้ำยันโลกมนุษยตามคติของชาวไฮดา ชายผูนี้คือ หมอผี หรือ Kilstlaai ในภาษาไฮดา ชายคนนี้ดู เหมือนจะเปนคนสำคัญ เปนเสมือนผูนำ แตเขากลับไมชี้นำ อะไรเลย ไมพูดอะไร ไมบอกใหไปซายหรือไปขวา

! รีดอธิบายวา หนาที่ของเขาก็คือเปน “เสาหลัก” เปน หนาที่ที่สำคัญที่สุดบนเรือ ซึ่งก็คือ เปนจุดศูนยกลางของทุกชีวิตบนเรือ จุดที่ทุกคนรวม กันเปนหนึ่ง และเกิดความรูสึกวาตนเองเปนสวนหนึ่งของเรือลำนี้ หน้า ๓๗


CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB! ฉบับที่ ๒๖ วันที่ ๑ มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ (ปีที่ ๔)

! เรือแคนูลำนี้ พวงผูโดยสารที่มีทั้งอีกาและนกอินทรี ผูหญิงและผูชาย คนรวยและ คนจน สัตวและมนุษย เบียดเสียดยัดเยียดกันอยูในเรือ ทุกคนมีสิทธิเทาเทียมกัน แมแต หมาปาที่ชอบทำรายคนอื่นก็ยังพายไปกัดไป นกอินทรีที่ขยันพายแตเมื่อถูกหมาปากัดก็ เลยไปกัดคนอื่นตอ แตไมวาพวกเขาจะแตกตางกันแคไหน มีความขัดแยงกันมากนอย เพียงใด และตางกอความเดือดรอนรำคาญใหกับกันและกันอยางไร พวกเขาก็ยังคงชวยกัน พายเรือ พวกเขาตางก็พึ่งพากันและกัน เพื่อที่จะยังคงมีชีวิตอยูได ! เรือที่กำลังลองลอยไปยังที่แหงหนึ่ง ไมมีใครรูวาจะไปที่ไหน ไมมีใครคาดเดาอะไร ไดเพราะราเวนจอมปวนเปนผูคัดทายเรือ แตถึงแมวาราเวนจะกำหนดทิศทางเรือได แต เขาไมสามารถทำใหเรือเคลื่อนไปขางหนาไดหากไมมีคนรวมกันพาย !

แตอยางไรก็ตาม พวกเขาก็ไปดวยกัน

! เรือก็เปนดังสังคมโลก สังคมจะเคลื่อนไปทางไหนก็ขึ้นกับสมาชิกที่ชวยกันนำพา กันไป สมาชิกแตละคนมีความคิดตางกัน มีหนาที่ตางกัน มีความรักความชอบตางกัน และ มีบุคลิกลักษณะตางกัน คนเราไมจำเปนตองเหมือนกันก็ไดแตสามารถอยูรวมกันไดโดยยัง คงอัตลักษณของตนเองอยู ! ที่สำคัญคือทุกคนรูวาตนเองอยูบนเรือ เปนสวนหนึ่งของกลุมและแนใจวาเรือที่ ตนเองโดยสารไปจะไมลม แมกระทั่งกบที่กระโดดเขากระโดดออกก็ยังรูตัววาเปนสมาชิก กลุม เขารูวาจะไดรับการตอนรับเมื่อเขากลับมาเสมอ บางทีเขาอาจจะอยูนอกเรือ แตเขาก็ ไมลมเรือ ! สมาชิกทุกคน อาจจะไมไดตัดสินใจวาเรือจะแลนไปทิศทางใด ไมรูวาควรจะมีเปา หมายอยูที่ใด เปนเปาหมายเดียวหรือหลายเปาหมาย ขอเพียงแตเรือไมลมก็พอ เพราะ หากเรือไมลม เราก็ยังมีความเปนไปไดที่จะตัดสินใจอะไรๆรวมกันไดตอไปในอนาคต คนที่ฝกไอคิโด เขามีโลกทรรศนของสังคมสันติสุขแบบไหนนะ บทความนี้เปนการสรุปความตอนหนึ่งจากการเรียนในวิชา Peacebuilding as a Philosophical Enterprise สอนโดยอ.มารค ตามไท ภาควิชาศาสนา วัฒนธรรมและสันติภาพมหาวิทยาลัยพายัพ หน้า ๓๘


CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB! ฉบับที่ ๒๖ วันที่ ๑ มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ (ปีที่ ๔)

!

สุภาษิตโกะกับขาพเจา (๘)

โดย Nounours’ Mom

<http://NounoursMom.hi5.com>

! “ขาพเจาเปนเพียงผูเริ่มฝกหัดเลนโกะเทานั้น และยังโงเขลาที่จะเขาใจแกนแทของโกะอยางลึกซึ้ง แตถาเปนจิตวิญญาณของไอคิโดแลว ขาพเจาไม ปฏิเสธเลยวามันเปนธรรมชาติและชีวิตของขาพเจา ไปแลว ! จากหนังสือ โกะ อัจฉริยะเกมแหงพิภพ โดย วันชัย ประชาเรือง วิทย ที่ขาพเจาไดรับมาจาก เพื่อนผูหนึ่ง ทำใหขาพเจา พบสุภาษิตโกะบางขอที่จุด ประกายความคิดใหขาพเจา ไดเขียนบทความนี้ขึ้นมา เพื่อเผยแพรสุภาษิตโกะ ที่ ขาพเจาเห็นวาสอดคลอง กับหลักไอคิโดที่ขาพเจา ยึดถือเปนแนวทางในการใชชีวิตอยางสงบสุขตาม ความเขาใจของขาพเจา โดยมิไดยึดติดวาผูใดจะ ตองเห็นดวย”

“หากเอาชนะไมได จงยอมตาย อยางหาวหาญ” หมากกระดาน ”โกะ” หรือ “หมากลอม” ถูกสรางสรรคขึ้นโดยเหลาอัจฉริยะแหงเตาใน ยุคโบราณ การเลน “โกะ” หรือ “หมากลอม” นี้เปนวิธีการศึกษาหลักของเตาอยางเปนรูป ธรรม ใหเขาใจถึงธรรมชาติ ใหดำเนินชีวิตได สอดคลองและหลอมรวมเปนหนึ่งเดียวกับ ธรรมชาติ

การเดินหมากแตละเม็ดบนกระดาน ตองเดินอยางละมัดระวังอยางมีสติ เพราะ หนึ่งหมากคือหนึ่งโอกาส หนึ่งหมากคือหนึ่ง ลมหายใจ หนึ่งการเคลื่อนไหวของหมากบน กระดานในแตละครั้ง สามารถสงผลสะเทือน ตอสถานการณโดยรวมทั้งหมดบนกระดาน การพบความพลิกผันเกิดขึ้นไดทุกการเคลื่อนไหว ไมใชเพียงการเคลื่อนไหวบนกระดานและสภาวะแวดลอมเทานั้น แตรวมไปถึงแมการกระเพื่อม ของการหายใจของตัวเราเองดวย ดังนั้น เราจึงไมสามารถรูความเปนไปทั้งหมดที่จะเกิดขึ้นบน กระดานไดโดยสมบูรณ ไมวาจะเกิดผลตามมาเชนใด เราพึงยอมรับใหได พึงปรับตัวใหยอมรับ ความผกผันเหลานี้ใหเต็มที่ที่สุด และพึงรำลึกวาผลแหงชัยชนะ เปนเพียงผลพลอยไดที่เกิดจาก การรับมือกับความแปรผันตางๆที่ผานเขามาไดอยางสมบูรณแบบเทานั้น


CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB! ฉบับที่ ๒๖ วันที่ ๑ มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ (ปีที่ ๔)

! จากบทความ”ไอคิโด (Aikido) คืออะไร?” ของทานอาจารยสมบัติ ตาปญญา อาจารยที่ปรึกษาของชมรมไอคิโดมหาวิทยาลัยเชียงใหม ทำใหพบวา ! การฝกไอคิโดก็มีหลักการคลายๆกับหมาก กระดานโกะ คือ การฝกไอคิโดเพื่อพัฒนาศักยภาพ ของตนในการรับมือกับความพลิกผันตางๆที่เกิดขึ้นบน เบาะ และเกิดขึ้นในการใชชีวิต โดยผานการฝก เทคนิคตางๆของไอคิโด ซึ่งจะเห็นวาการเลน(ฝกฝน) ไอคิโดและโกะแทจริงแลว เปนการฝกฝนพัฒนาตน จากภายใน(จิตใจ)สูภายนอก(รางกาย) ผูที่สามารถ รับมือกับความพลิกผันตางๆในชีวิตไดดีนั้น จะตอง เปนผูที่สามารถควบคุมจิตใจ ความรูสึก และความ ตองการของตนไดอยางสอดคลองและมีความหนัก แนนไมหวั่นไหวตอสิ่งที่มากระทบทั้งภายใน(จิตใจ)และ ภายนอก(รางกาย) ! นอกจากนี้ อาจารยสมบัติยังไดกลาวถึง “มูซูบิ (Musubi)” ที่ถือวาเปนหัวใจของไอคิโด คือ ความเปนน้ำหนึ่งเดียวกัน (Unity) โดย”การมีปฏิสัมพันธอยางกลมกลืน (Hamonious interaction)” ซึ่งในทางปฏิบัติก็คือ การพัฒนาตนเองใหสามารถควบคุมอยางสมบูรณแบบทั้งรางกาย และจิตใจใหสอดคลองกับพลัง ความพลิกผัน และความเคลื่อนไหวที่เขามากระทบ ทั้งภายนอก (รางกาย) และภายใน (จิตใจ) ซึ่งมักลงเอยดวยความสงบสุข (ความพึงพอใจในผลลัพธดวย ความรูสึกที่เปนบวก) ! หากยิ่งพิจารณาใหลึกซึ้งยิ่งขึ้น “มูซูบิ (Musubi)” ยังมีหลักการที่คลายกับเตา คือ การ บรรลุถึงความเปนหนึ่งเดียวกับสรรพสิ่ง ดังนั้น ความสำคัญจึงอยูที่กระบวนการที่ไดดำเนินไป หาใชผลลัพธแหงการบรรลุเปาหมาย (ไมวาเปนความปราชัย หรือความมีชัย) ในการเลน(ฝก)ไอคิโดและโกะ หากเราสามารถควบคุมตัวเองทั้งภายใน(จิตใจ)และ ภายนอก(รางกาย) ใหสามารถควบคุมการปฏิสัมพันธกับสรรพสิ่งที่ลอมรอบตัวเราใหชีวิตดำเนิน ตอไปได ผลลัพธที่เกิดขึ้นยอมเปนสิ่งที่ดีตอทุกฝายไมวาเปนฝายแพหรือฝายชนะและทุกสรรพสิ่ง *

หน้า ๔๐


CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB! ฉบับที่ ๒๖ วันที่ ๑ มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ (ปีที่ ๔)

¼ผÙู¡ก¾พÑั¹น¡กÃรÐะÊสÑั¹นáแ¹นè่¹นàเËห¹นÕีÂยÇว

âโ´ดÂย... «ซ×ื Íอàเ»ปë๋

¡กÒาÃร¨จÐะ·ทÓำ¡กÔิ¨จ¡กÃรÃรÁม§งÒา¹นãใ´ดãใËหé้àเªชÕีè่ÂยÇวªชÒา­Þญ ¨จÓำàเ»ปç็¹นµตé้Íอ§งÁมÕี¡กÒาÃร½ฝÖึ¡ก½ฝ¹น ÍอÂยè่Òา§งµตè่Íอàเ¹น×ืè่Íอ§งáแÅลÐะÊสÁมè่ÓำàเÊสÁมÍอ ÈศÔิÅล»ปÐะäไÍอ¤คÔิâโ´ด¡กç็àเªชè่¹นàเ´ดÕีÂยÇว¡กÑั¹น äไÁมè่äไ´ดé้àเ»ปç็¹น¢ขé้ÍอÂย¡กàเÇวé้¹น ¨จÒา¡ก·ทÄฤÉษ¯ฏÕี´ดÑั§ง¡กÅลè่ÒาÇวáแµตè่»ปÃรÐะ¡กÒาÃรãใ´ด ËหÅลÑั¡กÊสÓำ¤คÑั­Þญ»ปÃรÐะ¡กÒาÃรËห¹นÖึè่§ง¢ขÍอ§งÈศÔิÅล»ปÐะäไÍอ¤คÔิâโ´ด¤ค×ืÍอ¤คÇวÒาÁม ¡กÅลÁม¡กÅล×ื¹น¡กÑัºบ¤คÙูè่½ฝÖึ¡กËหÃร×ืÍอ¤คÙูè่µตè่ÍอÊสÙูé้ ¡กÒาÃร¨จÐะàเ¢ขé้Òา¶ถÖึ§งáแ¡กè่¹น´ดÑั§ง¡กÅลè่ÒาÇวÅลé้Çว¹น¡กÓำàเ¹นÔิ´ด¨จÒา¡ก¡กÒาÃร½ฝÖึ¡ก½ฝ¹นÍอÂยè่Òา§งäไÁมè่Âยè่Íอ·ทé้Íอ ªชÁมÃรÁมäไÍอ¤คÔิâโ´ดáแËหè่§งÁมËหÒาÇวÔิ·ทÂยÒาÅลÑัÂยàเªชÕีÂย§งãใËหÁมè่ áแÅลÐะªชÁมÃรÁมäไÍอ¤คÔิâโ´ดáแËหè่§ง¨จØุÌฬÒาÅล§ง¡กÃร³ณì์ÁมËหÒาÇวÔิ·ทÂยÒาÅลÑัÂย ÁมÕี ¤คÇวÒาÁมÃรè่ÇวÁมÁม×ืÍอ´ดé้Òา¹น¡กÒาÃร½ฝÖึ¡กÃรè่ÇวÁม¡กÑั¹นÁมÒาËหÅลÒาÂย»ปÕี âโ´ดÂย¨จÐะ¼ผÅลÑั´ดàเ»ปÅลÕีè่Âย¹นËหÁมØุ¹นàเÇวÕีÂย¹น¡กÑั¹นàเ»ปç็¹นàเ¨จé้ÒาÀภÒา¾พ »ปÕีÅลÐะ ñ๑ ¤คÃรÑัé้§ง âโ´ดÂยãใ¹น»ปÕี ò๒õ๕õ๕ó๓ ¹นÕีé้¨จØุÌฬÒาÅล§ง¡กÃร³ณì์ÁมËหÒาÇวÔิ·ทÂยÒาÅลÑัÂยàเ»ปç็¹นàเ¨จé้Òาºบé้Òา¹น àเ»ปÔิ´ดàเºบÒาÐะµตé้Íอ¹นÃรÑัºบÊสÁมÒาªชÔิ¡กªชÒาÇว àเªชÕีÂย§งãใËหÁมè่ãใËหé้àเÂยÕีè่ÂยÁมàเÂย×ืÍอ¹นÍอÂยè่Òา§งÍอºบÍอØุè่¹นãใ¨จ «ซ×ืÍอàเ»ปë๋áแÁมé้¨จÐะàเ»ปç็¹นÊสÁมÒาªชÔิ¡กãใËหÁมè่¢ขÍอ§งàเºบÒาÐะ áแµตè่¡กç็äไ´ดé้ÃรÑัºบÍอÒา¹นÔิÊส§ง¦ฆì์ àเ¢ขé้Òา Ãรè่ÇวÁม½ฝÖึ¡กãใ¹น¡กÔิ¨จ¡กÃรÃรÁม´ดÑั§ง¡กÅลè่ÒาÇว´ดé้ÇวÂย àเËหÁม×ืÍอ¹นàเ»ปç็¹น¸ธÃรÃรÁมàเ¹นÕีÂยÁม¢ขÍอ§ง«ซ×ืÍอàเ»ปë๋ ·ทÕีè่µตé้Íอ§งàเÃรÔิè่ÁมàเÅลè่ÒาµตÑัé้§งáแµตè่ÍอÍอ¡กàเ´ดÔิ¹น·ทÒา§ง (¨จÐะäไ´ดé้àเ»ปÅล×ืÍอ§ง¡กÃรÐะ´ดÒาÉษ áแÅลÐะ¤คè่ÒาµตÑัÇว·ทÕีè่àเ¾พÔิè่Áม¢ขÖึé้¹น) ¾พÅล¾พÃรÃร¤คÃรÑั¡กàเÍอÂย (ÍอÕี¡กáแÅลé้Çว – ·ทØุ¡ก§งÒา¹น) áแºบè่§งÍอÍอ¡กàเ»ปç็¹น ò๒ ÃรÍอºบ µตÒาÁม¤คÇวÒาÁมÊสÐะ´ดÇว¡ก ãใ¹น¡กÒาÃรàเ´ดÔิ¹น·ทÒา§ง ¡กÅลØุè่ÁมáแÃร¡กàเ´ดÔิ¹น·ทÒา§ง¨จÒา¡ก¨จÑั§งËหÇวÑั´ดàเªชÕีÂย§งãใËหÁมè่ãใ¹น¤คè่Óำ¢ขÍอ§งÇวÑั¹น¾พÄฤËหÑัÊสºบ´ดÕี Êสè่Çว¹นÍอÕี¡ก¡กÅลØุè่Áมàเ´ดÔิ¹น ·ทÒา§งãใ¹นàเªชé้Òา¢ขÍอ§งÇวÑั¹นÈศØุ¡กÃรì์ ¹นÑัºบâโ´ดÂยÃรÇวÁมÊสØุ·ท¸ธÔิÊสÁมÒาªชÔิ¡กäไ´ดé้¨จÓำ¹นÇว¹นÃรÒาÇว æๆ ó๓ð๐ ¤ค¹น âโ´ดÂย«ซ×ืÍอàเ»ปë๋ÍอÂยÙูè่ãใ¹น¡กÅลØุè่Áม áแÃร¡ก¤คÃรÑัºบ ÍอÂยè่ÒาãใËหé้«ซ×ืÍอàเ»ปë๋µตé้Íอ§งºบÍอ¡กàเÅลÂย¤คÃรÑัºบÇวè่ÒาàเÃรÒา·ทÓำ¡กÔิ¨จ¡กÃรÃรÁมÍอÐะäไÃร¡กÑั¹นºบé้Òา§งÃรÐะËหÇวè่Òา§งàเ´ดÔิ¹น ·ทÒา§ง àเ¡กÃร§งÇวè่ÒาËหÒา¡กàเÅลè่Òาäไ»ปáแÅลé้Çว«ซ×ืÍอàเ»ปë๋¨จÐะäไÁมè่»ปÅลÍอ´ดÀภÑัÂยãใ¹นªชÕีÇวÔิµตáแÅลÐะ·ทÃรÑั¾พÂยì์ÊสÔิ¹น¨จÒา¡ก¼ผÙูé้·ทÕีè่ àเ¡กÕีè่ÂยÇว¢ขé้Íอ§ง àเÍอÒาàเ»ปç็¹นÇวè่ÒาÃร¶ถµตÙูé้âโ´ดÂยÊสÒาÃร¢ขÍอ§ง¡กÅลØุè่ÁมáแÃร¡ก·ทÑัé้§ง ò๒ ¤คÑั¹นáแÇวÐะ·ทÕีè่»ปÑัé้Áม¹นé้ÓำÁมÑั¹นÍอÂยÙูè่ºบè่ÍอÂย¤คÃรÑัé้§ง ·ทÑัé้§งàเ¾พ×ืè่ÍอàเµตÔิÁมàเÊสºบÕีÂย§งáแÅลÐะ¶ถè่ÒาÂยàเÊสºบÕีÂย§ง·ทÒา§ง¹นé้Óำ

หน้า ๔๑


CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB! ฉบับที่ ๒๖ วันที่ ๑ มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ (ปีที่ ๔)

Ãร¶ถµตÙูé้¢ขÍอ§งàเÃรÒา¶ถÖึ§งºบÒา§ง¡กÍอ¡ก (¡กÓำÅลÑั§งÍอÔิ¹น¡กÑัºบàเ¹น×ืé้Íอàเ¾พÅล§ง) µตÍอ¹นÃรÒาÇว æๆ ø๘ âโÁม§งàเªชé้Òา àเÃรÒาáแÇวÐะ¾พÑั¡ก·ทÕีè่ âโÃร§งáแÃรÁม (ËหÒา¡ก¨จÐะàเÃรÕีÂย¡กàเªชè่¹น¹นÑัé้¹น) ¡กè่Íอ¹นÍอÍอ¡กàเ´ดÔิ¹น·ทÒา§งÁมØุè่§งËห¹นé้ÒาÊสÙูè่àเÁม×ืÍอ§งËหÑัÇวËหÔิ¹น ¶ถÔิè่¹นÁมÕีËหÍอÂย àเ¾พ×ืè่Íอ»ปÅล´ด»ปÅลè่ÍอÂย ¤คÇวÒาÁมÍอÂยÒา¡ก¢ขÍอ§งÊสÁมÒาªชÔิ¡ก ¡กè่Íอ¹น¡กÅลÑัºบ ÊสÁมÒาªชÔิ¡กºบÒา§ง·ทè่Òา¹น·ทÔิé้§งÃรÍอÂยàเ·ทé้Òา ºบÒา§ง·ทè่Òา¹น½ฝÒา¡กÃรÍอÂยÁม×ืÍอ ºบÒา§ง·ทè่Òา¹น½ฝÒา¡ก ÃรÍอÂยâโÅลËหÔิµตàเ»ปç็¹น·ทÕีè่ÃรÐะÅลÖึ¡กáแÅลÐะÃรÐะ·ทÖึ¡กäไÇวé้·ทÕีè่ªชÒาÂยËหÒาÂยËหÑัÇวËหÔิ¹นäไÇวé้´ดÙูµตè่Òา§งËห¹นé้Òา àเÃรÒาáแÇวÐะ·ทÑั¡ก·ทÒาÂย¹นÑั¡กäไÍอ¤คÔิâโ´ดÍอÒาÇวØุâโÊส ÃรÐะËหÇวè่Òา§ง·ทÒา§ง¡กÅลÑัºบ¡กè่Íอ¹น¨จÐะËหÒาÍอÒาËหÒาÃรÅล§ง·ทé้Íอ§งáแÅลÐะ¡กÅลÑัºบÊสÙูè่Ëหé้Íอ§ง¾พÑั¡กàเ¾พ×ืè่Íอ¾พÑั¡ก¼ผè่Íอ¹น ¤คè่ÓำÇวÑั¹น¹นÑัé้¹นÃร¶ถµตÙูé้ÍอÕี¡ก¤คÑั¹น·ทÕีè่ àเ´ดÔิ¹น·ทÒา§งµตÒาÁมÁมÒาãใ¹นÀภÒาÂยËหÅลÑั§ง¡กç็äไ´ดé้ÁมÒาÊสÁม·ทºบ¡กÑั¹น·ทÕีè่¡กÃรØุ§งàเ·ท¾พÏฯ

ÇวÑั¹น·ทÕีè่ ò๒ ¢ขÍอ§ง¡กÒาÃรÍอÂยÙูè่¡กÃรØุ§งàเ·ท¾พÏฯ «ซ×ืÍอàเ»ปë๋áแÅลÐะ¾พÅล¾พÃรÃร¤ค·ทÑัé้§งËหÁม´ดÁมØุè่§งËห¹นé้ÒาÊสÙูè่¨จØุÌฬÒาÅล§ง¡กÃร³ณì์ÁมËหÒาÇวÔิ·ทÂยÒาÅลÑัÂย ÁมÕี¡กÒาÃรÅล§ง·ทÐะàเºบÕีÂย¹นáแÅล¡ก¢ขÍอ§ง·ทÕีè่ÃรÐะ·ทÖึ¡ก àเÍอé้Âย ÃรÐะÅลÖึ¡ก¡กÑั¹นÊส¹นØุ¡กÊส¹นÒา¹น «ซ×ืÍอàเ»ปë๋äไ´ดé้ÃรÑัºบ¡กÃรÐะàเ»ปë๋ÒาÊสÐะ¾พÒาÂย¢ขé้Òา§งÊสÕีàเËหÅล×ืÍอ§งÍอë๋ÍอÂย àเ»ปç็¹น¢ขÍอ§ง¡กÓำ¹นÑัÅล ºบ·ท½ฝÖึ¡กãใ¹นªชè่Çว§งàเªชé้Òา¢ขÍอ§งÇวÑั¹นäไ´ดé้ÃรÑัºบàเ¡กÕีÂยÃรµตÔิ¨จÒา¡ก¾พÕีè่¸ธ§งªชÑัÂย ¹นÑั¡กäไÍอ¤คÔิâโ´ดÊสÒาÂยÊสÙู§งáแËหè่§งàเºบÒาÐะ¨จØุÌฬÒาÏฯ àเ»ปç็¹น ¼ผÙูé้¹นÓำ½ฝÖึ¡ก àเ·ทè่Òา·ทÕีè่¨จÓำäไ´ดé้ ÊสÒาÃรÐะ¢ขÍอ§ง¡กÒาÃร½ฝÖึ¡กãใ¹นªชè่Çว§งàเªชé้Òาàเ»ปç็¹นàเÃร×ืè่Íอ§ง¢ขÍอ§ง¤คÇวÒาÁม¼ผè่Íอ¹น¤คÅลÒาÂย ãใ¹นªชè่Çว§งºบè่ÒาÂยàเÃรÒาäไ´ดé้ÃรÑัºบ àเ¡กÕีÂยÃรµตÔิ¨จÒา¡ก “»ปë๋Òา’ºบÑัµตÔิ” ÍอÒา¨จÒาÃรÂยì์¨จÒา¡กàเºบÒาÐะ Áมªช. ¢ขÍอ§งàเÃรÒาàเ»ปç็¹น¼ผÙูé้¹นÓำ½ฝÖึ¡ก ÊสÒาÃรÐะÊสÓำ¤คÑั­Þญ¢ขÍอ§งªชè่Çว§ง¹นÕีé้àเ»ปç็¹นàเÃร×ืè่Íอ§ง¢ขÍอ§ง ¡กÒาÃรÍอè่Òา¹นáแÃร§ง áแÅลÐะÊสÃรé้Òา§ง¤คÇวÒาÁม¡กÅลÁม¡กÅล×ื¹น¡กÑัºบáแÃร§ง·ทÕีè่¶ถÙู¡กÊสè่§งÁมÒา ãใ¹นªชè่Çว§งàเÂยç็¹นàเ»ปç็¹น¡กÒาÃร¾พÑั¡ก¼ผè่Íอ¹นµตÒาÁมÍอÑั¸ธÂยÒาÈศÑัÂย ËหÅลÒาÂย¤ค¹นàเÅล×ืÍอ¡กäไ»ป´ดÙูËห¹นÑั§ง ËหÅลÒาÂย¤ค¹นàเÅล×ืÍอ¡กäไ»ปàเ´ดÔิ¹นàเ¾พÔิè่Áม¤คÇวÒาÁมàเÁม×ืè่ÍอÂยÅลé้Òา¤คÃรÑัºบ


CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB! ฉบับที่ ๒๖ วันที่ ๑ มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ (ปีที่ ๔)

Aikido Friendship 8 ÇวÑั¹นÊสØุ´ด·ทé้ÒาÂย¢ขÍอ§ง¡กÒาÃรÍอÂยÙูè่¡กÃรØุ§งàเ·ท¾พÏฯ ãใ¹นÇวÑั¹น¹นÕีé้äไ´ดé้ÃรÑัºบàเ¡กÕีÂยÃรµตÔิ¨จÒา¡กÍอÒา¨จÒาÃรÂยì์ªชÑัÂยÊสÇวÑัÊส´ดÔิì์àเ»ปç็¹น¼ผÙูé้¹นÓำ½ฝÖึ¡ก àเÃรÒา àเÃรÕีÂย¹นÃรÙูé้ãใ¹นàเÃร×ืè่Íอ§ง¾พ×ืé้¹น°ฐÒา¹นàเ·ท¤ค¹นÔิ¤ค âโ´ดÂยÍอÒาÈศÑัÂย´ดÒาºบàเ»ปç็¹นµตÑัÇวàเÃรÔิè่Áม («ซÖึè่§ง·ทè่Òา¹นÁมÑั¡ก¨จÐะÂยé้ÓำÍอÂยÙูè่àเÊสÁมÍอ)

Íอ.ªชÑั ÂยÊสÇวÑั Êส´ดÔิì์ Íอ.ÊสÁมºบÑั µตÔิ Íอ.¸ธ§งªชÑั Âย

àเÁม×ืè่ÍอàเÊสÃรç็¨จ¡กÔิ¨จ¡กÃรÃรÁมÁมÕี¡กÒาÃรÁมÍอºบ¢ขÍอ§ง·ทÕีè่ÃรÐะÅลÖึ¡กâโ´ดÂยªชÁมÃรÁมäไÍอ¤คÔิâโ´ด ÁมËหÒาÇวÔิ·ทÂยÒาÅลÑัÂยàเªชÕีÂย§งãใËหÁมè่äไ´ดé้ÁมÍอºบ¾พÑั´ด àเÅลè่Áมâโµต «ซÖึè่§งàเ¢ขÕีÂย¹นÅลÒาÂย´ดé้ÇวÂยÍอÑั¡กÉษÃร­ÞญÕีè่»ปØุè่¹น (¤คÇวÒาÁมËหÁมÒาÂยâโ»ปÃร´ด¶ถÒาÁม¼ผÙูé้¨จÑั´ดÊสÃรé้Òา§ง àเ¹น×ืè่Íอ§ง¨จÒา¡ก«ซ×ืÍอàเ»ปë๋äไÁมè่ÊสÑั¹น·ทÑั´ด ÀภÒาÉษÒา­ÞญÕีè่»ปØุè่¹น) áแÅลÐะ¡กÒา§งàเ¡ก§งÊสÐะ´ดÍอÊสÓำËหÃรÑัºบÊสÇวÁมãใÊสè่ãใËหé้¡กÑัºบÊสÁมÒาªชÔิ¡กªชÒาÇว¨จØุÌฬÒาÏฯ ´ดé้Òา¹น¨จØุÌฬÒาÅล§ง¡กÃร³ณì์ ÁมËหÒาÇวÔิ·ทÂยÒาÅลÑัÂย¹นÑัé้¹น ¹นÍอ¡กàเËห¹น×ืÍอ¨จÒา¡ก¡กÃรÐะàเ»ปë๋ÒาÊสÐะ¾พÒาÂย¢ขé้Òา§ง·ทÕีè่«ซ×ืÍอàเ»ปë๋äไ´ดé้ºบÍอ¡กäไÇวé้áแÅลé้Çว ÂยÑั§งÁมÕีáแ¼ผè่¹น»ปé้ÒาÂย·ทÕีè่ÃรÐะÅลÖึ¡ก Ãรè่ÇวÁม§งÒา¹น «ซÖึè่§งàเ»ปç็¹น·ทÕีè่¹นè่ÒาàเÊสÕีÂย´ดÒาÂยÇวè่Òาäไ´ดé้àเ¡กÔิ´ด¤คÇวÒาÁมàเÊสÕีÂยËหÒาÂย¨จ¹นäไÁมè่ÍอÒา¨จ¤ค×ื¹นÊสÀภÒา¾พäไ´ดé้ àเ¹น×ืè่Íอ§ง¨จÒา¡กÍอØุºบÑัµตÔิàเËหµตØุ«ซÖึè่§ง àเ¡กÔิ´ด¢ขÖึé้¹นãใ¹นÃรÐะËหÇวè่Òา§ง¡กÒาÃรàเ´ดÔิ¹น·ทÒา§ง¡กÅลÑัºบ หน้า ๔๓


CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB! ฉบับที่ ๒๖ วันที่ ๑ มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ (ปีที่ ๔)

Aikido Friendship 8

àเÊสÒาÃร  ñ๑ð๐ - ÍอÒา·ท∙ÔิµตÂย  ñ๑ñ๑ ¸ธÑั ¹นÇวÒา¤คÁม ò๒õ๕õ๕ó๓ ³ณ ¨จØุÌฬÒาÅล§ง¡กÃร³ณ ÁมËหÒาÇวÔิ·ท∙ÂยÒาÅลÑั Âย

หน้า ๔๔


CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB! ฉบับที่ ๒๖ วันที่ ๑ มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ (ปีที่ ๔)

àเÁม×ืè่ÍอàเÊสÃรç็¨จÊสÔิé้¹น¾พÔิ¸ธÕี¡กÒาÃร ÊสÁมÒาªชÔิ¡ก¨จØุÌฬÒาÏฯ äไ´ดé้àเÅลÕีé้Âย§งµตé้Íอ¹นÃรÑัºบáแÅลÐะ¢ขÍอºบ¤คØุ³ณ¼ผÙูé้Ãรè่ÇวÁม½ฝÖึ¡ก´ดé้ÇวÂยÍอÒาËหÒาÃร­ÞญÕีè่»ปØุè่¹น ªชØุ´ดâโµต ¡กè่Íอ¹นàเ´ดÔิ¹น·ทÒา§งÍอÍอ¡ก¨จÒา¡ก¡กÃรØุ§งàเ·ท¾พÏฯ àเÁม×ืÍอ§ง·ทÍอ§ง ¾พÅล¾พÃรÃร¤คÃรÑั¡กàเÍอÂยäไ´ดé้áแÇวÐะÂย×ื´ดàเÊสé้¹นÂย×ื´ดÊสÒาÇวàเ¾พÔิè่ÁมàเµตÔิÁม·ทÕีè่ àเºบÒาÐะ¢ขÍอ§งÈศÙู¹นÂยì์Ïฯ äไ·ทÂย-­ÞญÕีè่»ปØุè่¹น äไ´ดé้ÃรÑัºบ¡กÒาÃรµตé้Íอ¹นÃรÑัºบ¨จÒา¡ก¾พÕีè่Íอ§ง ÊสÁมÒาªชÔิ¡กÊสÒาÂยÊสÙู§ง¢ขÍอ§งÈศÙู¹นÂยì์Ïฯ ÍอÂยè่Òา§ง´ดÕี ãใ¹นµตÍอ¹น ·ทé้ÒาÂยÊสÁมÒาªชÔิ¡กºบÒา§ง¤ค¹น¶ถÖึ§ง¢ขÖึé้¹นáแ¨จ¡กÅลÒาÂยàเ«ซç็¹น¾พÃรé้ÍอÁมËหÁมÒาÂยàเÅล¢ขµตÔิ´ดµตè่ÍอãใËหé้¡กÑัºบÊสÁมÒาªชÔิ¡ก¢ขÍอ§งÈศÙู¹นÂยì์Ïฯ ¡กÑั¹นàเÅลÂย·ทÕีàเ´ดÕีÂยÇว Íอé้Íอ àเ¡ก×ืÍอºบÅล×ืÁมäไ»ป àเ¤คé้¡ก·ทÕีè่äไ´ดé้ÃรÑัºบÁมÒา¡กç็ÍอÃรè่ÍอÂยàเªชè่¹นàเ´ดÕีÂยÇว¡กÑั¹น¤คÃรÑัºบ

äไ»ปàเÂยÕีè่ÂยÁมâโ´ดâโ¨จ´ดÔิ¹นáแ´ด§ง

¢ขÍอºบ¤คØุ³ณÃรÙู»ปÀภÒา¾พ¨จÒา¡ก àเ¿ฟ«ซºบØุ ¤ค¢ขÍอ§ง¾พÕีè่»ป ‰ÍอÁม áแÅลÐะàเÍอ¡ก¤คØุ§ง

หน้า ๔๕


CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB! ฉบับที่ ๒๖ วันที่ ๑ มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ (ปีที่ ๔)

¼ผÙูé้Íอè่Òา¹นËหÅลÒาÂย·ทè่Òา¹น¹นè่Òา¨จÐะ·ทÃรÒาºบ ËหÃร×ืÍอÍอÒา¨จ¨จÐะàเ´ดÒา äไ´ดé้áแÅลé้ÇวÇวè่Òา ãใ¹นÃรÐะËหÇวè่Òา§งàเ´ดÔิ¹น·ทÒา§ง¡กÅลÑัºบ Ãร¶ถµตÙูé้¨จÓำ¹นÇว¹น ñ๑ ¤คÑั¹น ¢ขÍอ§งàเÃรÒา äไ´ดé้»ปÃรÐะÊสºบÍอØุºบÑัµตÔิàเËหµตØุªช¹นËหÑัÇวÊสÐะ¾พÒา¹น ÁมÕี¼ผÙูé้ºบÒา´ดàเ¨จç็ºบ¶ถÖึ§ง ¢ขÑัé้¹นµตé้Íอ§งàเ¢ขé้ÒาâโÃร§ง¾พÂยÒาºบÒาÅล¨จÓำ¹นÇว¹น ô๔ ¤ค¹น «ซÖึè่§ง«ซ×ืÍอàเ»ปë๋¡กç็àเ»ปç็¹น Ëห¹นÖึè่§งãใ¹น¹นÑัé้¹น ¤คÇวÒาÁมËหè่Çว§งãใÂยáแÅลÐะ¤คÇวÒาÁมàเÍอÒาãใ¨จãใÊสè่¢ขÍอ§งÊสÁมÒาªชÔิ¡ก ·ทØุ¡ก¤ค¹นàเ»ปç็¹น·ทÕีè่»ปÃรÐะ·ทÑัºบãใ¨จáแ¡กè่¼ผÙูé้ºบÒา´ดàเ¨จç็ºบàเ»ปç็¹นÍอÂยè่Òา§งÁมÒา¡ก àเ¤คÃรÒาÐะËหì์´ดÕี·ทÕีè่Çวè่ÒาäไÁมè่ÁมÕีãใ¤คÃร¶ถÖึ§ง¢ขÑัé้¹นÊสÙู­ÞญàเÊสÕีÂยÍอÇวÑัÂยÇวÐะËหÃร×ืÍอàเÊสÕีÂยªชÕีÇวÔิµต

µตÍอ¹นàเ¡กÔิ´ดàเËหµตØุ¡กÒาÃร³ณì์ ÊสÁมÒาªชÔิ¡ก¨จÒา¡กÃร¶ถÍอÕี¡ก¤คÑั¹น·ทÕีè่µตÒาÁมÁมÒา ÊสÁม·ทºบµตè่Òา§ง¾พÙู´ดàเ»ปç็¹นàเÊสÕีÂย§งàเ´ดÕีÂยÇว¡กÑั¹นÇวè่Òา “àเ»ปç็¹นàเ¤คÃรÒาÐะËหì์´ดÕีºบ¹น àเ¤คÃรÒาÐะËหì์Ãรé้ÒาÂย” «ซÖึè่§ง«ซ×ืÍอàเ»ปë๋àเËหç็¹น´ดé้ÇวÂย¡กÑัºบ¤คÇวÒาÁม¤คÔิ´ด´ดÑั§ง¡กÅลè่ÒาÇว àเ¾พÃรÒาÐะàเÁม×ืè่Íอ¤ค×ื¹นÇวÑั¹น¨จÑั¹น·ทÃรì์·ทÕีè่ ò๒÷๗ ¸ธÑั¹นÇวÒา¤คÁม ·ทÕีè่¼ผè่Òา¹นÁมÒา àเ¡กÔิ´ด àเËหµตØุ¡กÒาÃร³ณì์ÅลÑั¡กÉษ³ณÐะ¤คÅลé้ÒาÂย¤คÅลÖึ§ง¡กÑั¹น·ทÕีè่¡กÃรØุ§งàเ·ท¾พÏฯ µตè่Òา§ง¡กÑั¹นµตÃร§ง ·ทÕีè่àเËหµตØุ¡กÒาÃร³ณì์·ทÕีè่àเ¡กÔิ´ด¢ขÖึé้¹นÀภÒาÂยËหÅลÑั§ง¹นÕีé้ÁมÕี¼ผÙูé้àเÊสÕีÂยªชÕีÇวÔิµตáแÅลÐะºบÒา´ดàเ¨จç็ºบ Ëห¹นÑั¡กËหÅลÒาÂย·ทè่Òา¹น «ซ×ืÍอàเ»ปë๋¨จÖึ§งàเ»ปÅลÕีè่Âย¹น¤คÇวÒาÁม¤คÔิ´ดáแÅลÐะÂย×ื¹นÂยÑั¹นËห¹นÑั¡ก áแ¹นè่¹นÇวè่Òา “àเËหµตØุ¡กÒาÃร³ณì์¢ขÍอ§ง«ซ×ืÍอàเ»ปë๋àเ»ปç็¹นàเ¤คÃรÒาÐะËหì์´ดÕี” ËหÒา¡กÊสÁมÒาªชÔิ¡ก¤คÃรÍอºบ¤คÃรÑัÇว¢ขÍอ§ง¼ผÙูé้»ปÃรÐะÊสºบàเËหµตØุ·ทÕีè่¡กÃรØุ§งàเ·ท¾พÏฯ äไ´ดé้ÁมÕีâโÍอ¡กÒาÊสÍอè่Òา¹น§งÒา¹นàเ¢ขÕีÂย¹นªชÔิé้¹น¹นÕีé้¢ขÍอ§ง«ซ×ืÍอ àเ»ปë๋ áแÁมé้¤คÓำáแÊส´ด§ง¤คÇวÒาÁมàเÊสÕีÂยãใ¨จãใ´ด æๆ ¨จÐะäไÁมè่ÍอÒา¨จªช´ดàเªชÂย¤คÇวÒาÁมÃรÙูé้ÊสÖึ¡ก·ทÕีè่·ทè่Òา¹น·ทÑัé้§งËหÅลÒาÂยÁมÕีÍอÂยÙูè่äไ´ดé้ áแµตè่¢ขÍอãใËหé้·ทÃรÒาºบäไÇวé้ Çวè่Òา «ซ×ืÍอàเ»ปë๋áแÅลÐะÊสÁมÒาªชÔิ¡กªชÁมÃรÁมäไÍอ¤คÔิâโ´ด ÁมËหÒาÇวÔิ·ทÂยÒาÅลÑัÂยàเªชÕีÂย§งãใËหÁมè่·ทØุ¡ก¤ค¹น ¢ขÍอÃรè่ÇวÁมáแÊส´ด§ง¤คÇวÒาÁมàเÊสÕีÂยãใ¨จ áแÅลÐะ äไÇวé้ÍอÒาÅลÑัÂย¡กÑัºบ¤คÇวÒาÁมÊสÙู­ÞญàเÊสÕีÂย·ทÕีè่àเ¡กÔิ´ด¢ขÖึé้¹น¨จÒา¡กÍอØุºบÑัµตÔิàเËหµตØุ´ดÑั§ง¡กÅลè่ÒาÇว´ดé้ÇวÂย¤คÃรÑัºบ ¡กè่Íอ¹น¨จÐะÅลÒา¨จÒา¡ก¡กÑั¹นäไ»ปãใ¹น©ฉºบÑัºบ¹นÕีé้ «ซ×ืÍอàเ»ปë๋ÍอÂยÒา¡ก¨จÐะ¢ขÍอÂย¡ก»ปÃรÐะâโÂย¤คÊสÑัé้¹นæๆ ¨จÒา¡ก “ÁมÒาÂยÒาªชÕีÇวÔิµต” âโ´ดÂย Çว.ÇวªชÔิÃรàเÁม¸ธÕี àเ»ปç็¹น¢ขÍอ§ง½ฝÒา¡ก¡กè่Íอ¹นÅลÒาäไÇวé้´ดÑั§ง¹นÕีé้ “ªชÕีÇวÔิµต¤ค¹นàเÃรÒา¡กç็àเËหÁม×ืÍอ¹น¡กÑัºบàเÊสé้¹น´ดé้ÒาÂย·ทÕีè่¶ถÙู¡ก´ดÖึ§งÍอÍอ¡กÁมÒา¨จÒา¡กËหÅลÍอ´ด´ดé้ÒาÂย·ทÕีÅลÐะ¹นÔิ´ด æๆ ¢ข³ณÐะ·ทÕีè่´ดÖึ§ง´ดé้ÒาÂยÍอÍอ¡ก ÁมÒา¨จÒา¡กËหÅลÍอ´ด´ดé้ÒาÂย¹นÑัé้¹น ºบÒา§ง·ทÕีàเÃรÒา¡กç็ÃรÙูé้ÊสÖึ¡ก¡กÃรÐะËหÂยÔิè่ÁมÇวè่Òา ÂยÑั§งÁมÕี´ดé้ÒาÂยàเËหÅล×ืÍอÍอÂยÙูè่ÍอÕี¡กÁมÒา¡กÁมÒาÂย ¨จÖึ§งàเ¡กÔิ´ด¤คÇวÒาÁมªชÐะÅลè่Òาãใ¨จ ·ทÕีè่¨จÐะ´ดÖึ§ง´ดé้ÒาÂยÍอÍอ¡กÁมÒาãใªชé้ÍอÂยè่Òา§ง¿ฟØุè่Áมàเ¿ฟ×ืÍอÂย áแµตè่¾พºบÇวè่Òาáแ·ทé้¨จÃรÔิ§งáแÅลé้ÇวÁมÕี´ดé้ÒาÂยÍอÂยÙูè่àเ¾พÕีÂย§ง¹นÔิ´ดàเ´ดÕีÂยÇวàเ·ทè่Òา¹นÑัé้¹น àเÂยç็ºบ¼ผé้Òาäไ´ดé้ àเ¾พÕีÂย§ง¹นÔิ´ดËห¹นè่ÍอÂย¡กç็ËหÁม´ด¡กÑั¹น ËหÒา¡กáแµตè่·ทÕีè่àเÃรÒาÂยÑั§งàเËหç็¹นÇวè่Òา ÂยÑั§ง¤ค§งÁมÕี´ดé้ÒาÂยàเËหÅล×ืÍอÍอÂยÙูè่ÍอÕี¡กàเÂยÍอÐะáแÂยÐะ¹นÑัé้¹นàเ»ปç็¹นàเ¾พÃรÒาÐะÇวè่Òา áแ¡ก¹น´ดé้ÒาÂยÁมÑั¹นãใËห­Þญè่µตè่Òา§งËหÒา¡ก ... áแ¡ก¹น´ดé้ÒาÂยÁมÑั¹นËหÅลÍอ¡กµตÒาãใËหé้àเÃรÒา¾พÅลÍอÂยªชÐะÅลè่Òาãใ¨จ” «ซ×ืÍอàเ»ปë๋¨จÐะ¹นÓำÁมÒาºบÍอ¡กàเÅลè่Òาãใ¹น¤คÃรÒาÇวµตè่Íอäไ»ป¤คÃรÑัºบ ÊสÓำËหÃรÑัºบ©ฉºบÑัºบ¹นÕีé้¢ขÍอ¤คÇวÒาÁมÊสØุ¢ขÊสÇวÑัÊส´ดÕี¨จ§งÁมÕีáแ´ดè่·ทØุ¡ก·ทè่Òา¹น ÊสÇวÑัÊส´ดÕี


CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB! ฉบับที่ ๒๖ วันที่ ๑ มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ (ปีที่ ๔)

¤คÇวÑั¹นËหÅล§ง AF8

âโ´ดÂย... »ปÔิ§ง¤คØุ§ง

¤คØุ³ณÃรÙูé้ËหÃร×ืÍอäไÁมè่ ÁมÔิé้¹น: ÁมÔิé้¹นàเ»ปç็¹น¤ค¹น¡กÃรØุ§งàเ·ท¾พ ÁมÔิé้¹นÁมÑั¡ก¨จÐะ¾พÙู´ดÇวè่Òา"¨จÃรÔิ§งæๆáแÅลé้Çว¹นÐะ ÁมÔิé้¹นàเ»ปç็¹น¤ค¹น¡กÃรØุ§งàเ·ท¾พ ÁมÔิé้¹นàเÃรÕีÂย¹น¤คÓำàเÁม×ืÍอ§งàเ¾พÃรÒาÐะÍอÂยÙูè่àเªชÕีÂย§งãใËหÁมè่ ¨จÃรÔิ§งæๆ¹นÐะ" ¾พÕีè่áแºบç็§ง¤คì์: àเ»ปç็¹น«ซØุ»ปµตÒา(«ซØุ»ปàเ»ปÍอÃรì์ÊสµตÒาÃรì์) àเ¾พÃรÒาÐะáแ·ทé้¨จÃรÔิ§ง áแÅลé้Çวàเ¢ขÒาáแ½ฝ§ง¡กÅลÔิè่¹นÍอÒาÂย¢ขÍอ§ง¤คÇวÒาÁมâโ´ดè่§ง´ดÑั§ง·ทÓำãใËหé้ãใ¤คÃรæๆËหÅลÒาÂย¤ค¹นµตè่Òา§งÁมÒา ¢ขÍอÍอÕีàเÁมÅลì์¡กÑั¹นàเ»ปç็¹นáแ¶ถÇวæๆ ฀ ¹นé้Íอ§ง¤ค¹นËห¹นÖึè่§ง: "¾พÕีè่áแºบç็§ง¤คì์¤คè่Ðะ¾พÕีè่¨จÐะÅล§งÁมÒา ¡กÃรØุ§งàเ·ท¾พÍอÕี¡กàเÁม×ืè่Íอ äไËหÃรè่¤คè่Ðะ ¢ขÍอàเºบÍอÃรì์ÍอÕีàเÁมÅลäไ´ดé้ÁมÑัé้Âย¤คè่Ðะ" ¾พÕีè่áแºบç็§ง¤คì์: "Íอë๋Íอ àเ´ด×ืÍอ¹นÁมÕี¹นÒา¡กç็Åล§งÁมÒาáแÅลé้Çว áแÅลé้Çวàเ¨จÍอ¡กÑั¹น¹นÐะ" (¾พÃรé้ÍอÁม·ทÓำËห¹นé้ÒาËหÅลè่Íอ) ÊสÒาÁมÃรØุ§งÃรÑั§ง: "âโÍอàเÅล âโÍอàเÅล âโÍอàเÅล âโÍอàเÅล âโÍอ....àเÅล...." ªชè่Òา§งàเ»ปç็¹น´ดÒาÇว«ซÑัÅลâโÇวËหÑัÇวãใ¨จàเ´ดç็¡กÊสÒาÇว«ซÐะ¨จÃรÔิ§ง¹นÐะ¤คÃรÑัºบ¾พÕีè่ áแËหÁม«ซ×ืé้ÍอÊสµตÑัé้·ทäไÇวé้ ·ทÓำäไÁม¹นÐะ¾พÕีè่ หน้า ๔๗


CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB! ฉบับที่ ๒๖ วันที่ ๑ มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ (ปีที่ ๔)

àเÍอàเÍอ¿ฟ¤คÃรÑัé้§ง¹นÕีé้àเ¡กÔิ´ด¾พè่Íอºบé้Òา¹น¾พè่ÍอàเÃร×ืÍอ¹น¡กÑั¹นËหÅลÒาÂย¤ค¹น·ทÕีàเ´ดÕีÂยÇว äไÁมè่Çวè่Òา¾พÕีè่àเµตé้Âย ¾พÕีè่áแºบç็§ง¤คì์ÂยÒาÁม¾พÑั¡ก¡กç็¹นÑัè่§ง àเÂยç็ºบ¡กÒา§งàเ¡ก§ง¡กÑั¹นÍอÂยè่Òา§ง¢ขÁมÕี¢ขÁมÑั¹น¡กç็¨จÐะäไÁมè่àเÂยç็ºบäไ´ดé้ÍอÂยè่Òา§งäไÃร ¡กç็¡กÒา§งàเ¡ก§งÁมÑั¹นàเ»ปç็¹นÃรÙู«ซÐะ¢ข¹นÒา´ดàเÍอÒาÅลÙู¡กàเ·ท¹น¹นÔิÊส ÅลÍอ´ด¼ผè่Òา¹น¡กÑั¹นÊสºบÒาÂยæๆàเÅลÂย·ทÕีàเ´ดÕีÂยÇว ¹นÕีè่´ดÕี¹นÐะ¾พÕีè่æๆÂยÑั§งàเÂยç็ºบäไÁมè่§งÑัé้¹นÅลÐะàเÂยç็¹นÇวÒาºบ¡กÑั¹นàเ»ปç็¹นáแ¶ถÇวæๆáแ¹นè่¹นÍอ¹นàเÅลÂย ¹นé้Íอ§ง¡กÇวÒา§ง: âโ´ด¹นÇวÒา§งãใËหé้àเ»ปç็¹น»ปÃรÐะ¸ธÒา¹น¤ค¹นãใËหÁมè่ÍอÕี¡ก¤ค¹น àเÇวÅลÒา äไ»ปäไËห¹น¡กç็âโ´ด¹นàเÃรÕีÂย¡กÇวè่Òา»ปÃรÐะ¸ธÒา¹นæๆ«ซÐะµตÅลÍอ´ดàเÇวÅลÒา ´ดÙู·ทè่Òาáแ¤ค¹น´ดÔิàเ´ด·ท »ปÕี¹นÕีé้¨จÐะÁมÕี¡กÑั¹นËหÅลÒาÂย¤ค¹นàเÅลÂย·ทÕีàเ´ดÕีÂยÇว áแÅลé้ÇวàเÃรÒา¡กç็¤ค§ง¨จÐะäไ´ดé้ÃรÙูé้Çวè่Òาãใ¤คÃร¨จÐะ àเ»ปç็¹น»ปÃรÐะ¸ธÒา¹นãใ¹น»ปÕีµตè่Íอäไ»ป áแµตè่¡กç็äไ´ดé้áแÇวè่ÇวæๆÁมÒาàเËหÁม×ืÍอ¹น¡กÑั¹นÇวè่Òา¹นÒาÂย»ปÕี ãใËหÁมè่¨จÐะËหÇว¹น¤ค×ื¹นÇว§ง¡กÒาÃร ฀ ¹นé้Íอ§งÀภÙูÁมÔิ: ¢ขÇวÑั­Þญãใ¨จªชÒาÇวàเÍอàเÍอ¿ฟ¤คÃรÑัé้§ง¹นÕีé้àเËหç็¹น·ทÕี¨จÐะàเ»ปç็¹น¢ขÍอ§ง¹นé้Íอ§งÀภÙูÁมÔิ àเ´ดç็¡ก¹นé้ÍอÂย·ทÕีè่ÊสØุ´ด¢ขÍอ§งàเÍอàเÍอ¿ฟ¤คÃรÑัé้§ง¹นÕีé้ºบÇว¡ก¡กÑัºบ¡กÒาÃรàเÅลè่¹นÅลÕีÅลÒา·ทØุè่Áม·ทÑัé้§งµตÑัÇว ·ทÓำàเÍอÒา ¾พÕีè่æๆÂย¡กÁม×ืÍอâโËหÇวµตãใËหé้àเ»ปç็¹น¢ขÇวÑั­Þญãใ¨จ¡กÑั¹นàเÅลÂย·ทÕีàเ´ดÕีÂยÇว »ปé้Òา»ปë๋ÍอÁม: §งÒา¹น¹นÕีé้»ปé้Òา»ปë๋ÍอÁม àเ»ปç็¹น¹นÒา§ง§งÒาÁม¨จÑั¡กÃรÇวÒาÅล (áแµตè่ Êส§งÊสÑัÂยäไ´ดé้µตÓำáแËห¹นè่§ง¹นÕีé้àเ¾พÃรÒาÐะÇวè่Òา ¾พÕีè่»ปë๋ÍอÁมÃรÑั¡กàเ´ดç็¡ก....ÃรÖึàเ»ปÅลè่Òา) HBD »ป ‡Òา»ป ‰ÍอÁม

¹นØุ¡ก: áแÍอºบàเËหç็¹นàเ§งÕีÂยºบæๆÍอÂยè่Òา§ง¹นÕีé้ áแµตè่àเ¸ธÍอ áแÍอºบ´ดÙูáแÅลµตÑัÇวàเÍอ§ง¹นÐะàเ¹นÕีé้Âย ÊสÒาÂย¢ขè่ÒาÇว¢ขÍอ§งàเÃรÒา áแÍอºบÁมÒาºบÍอ¡กÇวè่Òา ¹นé้Íอ§ง¹นØุ¡ก¢ขÍอ§งàเÃรÒาÍอÒาºบ¹นé้Óำàเ»ปç็¹น ªชÑัè่ÇวâโÁม§ง ฀

»ปÕีãใËหÁมè่: ¤คÃรÑัé้§งµตè่Íอäไ»ปàเÃรÒา¤ค§งµตé้Íอ§งàเµตÃรÕีÂยÁม¶ถØุ§ง ¾พÅลÒาÊสµตÔิ¡กµตÔิ´ดÃร¶ถäไÇวé้Ëห¹นè่ÍอÂยàเ¾พÃรÒาÐะãใËหÁมè่¹นé้ÍอÂย¢ขÍอ§ง àเÃรÒาàเÁมÒา...Ãร¶ถ µตÑัé้§งáแµตè่àเªชÕีÂย§งãใËหÁมè่¨จ¹น¶ถÖึ§งàเªชÕีÂย§งãใËหÁมè่ ¡กÑั¹นàเÅลÂย·ทÕีàเ´ดÕีÂยÇว ฀


CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB! ฉบับที่ ๒๖ วันที่ ๑ มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ (ปีที่ ๔)

มาเยี่ยมมาเยือน

Kumiko Enokido (3rd dan)

คุณคุมิโกะ

? คุณคุมิโกะเคยแวะมาเยี่ยมเยียนพวกเราเมื่อต้นปีที่ผ่านมา และคราวนี้ ก็ได้กลับมาพักผ่อนที่เชียงใหม่อีก โชคดีที่มาถึงวันที่เราจัดปาร์ตี้พอดี เลยได้ร่วม ผูกข้อมือและรับประทานอาหารด้วยกัน ? คุณคูมิโกะฝึกไอคิโดทุกวันมาได้หกปีแล้ว ขณะนี้ได้ระดับสายดําขั้นสาม โดยฝึกไอคิโดกับ ฮิโรชิ ทาดะเซนเซ ที่เกสโซจิโดโจ กรุงโตเกียว

Gessoji Dojo Chief instructor: Tada Hiroshi shihan Senior instructor: Tsuboi Takeki shihan 1-11-26 Honmachi, Kichijoji, Musashino-shi, Tokyo-to 180 Japan Tel: +81 (0422) 21-7100 Fax: + 81(0422) 43-1189 หน้า ๔๙


CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB! ฉบับที่ ๒๖ วันที่ ๑ มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ (ปีที่ ๔)

Aikido Family

ÊสÍอºบàเÅล×ืè่Íอ¹นÊสÒาÂย

àเÊสÒาÃร ·ทÕีè่ 25 ¸ธÑั¹นÇวÒา¤คÁม 2553

หน้า ๕๐


CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB! ฉบับที่ ๒๖ วันที่ ๑ มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ (ปีที่ ๔)

Aikido Family

ÃรÑัºบ¢ขÇวÑั­ÞญÇวÑั¹น»ป ‚ãใËหÁม ‹

หน้า ๕๑


CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB! ฉบับที่ ๒๖ วันที่ ๑ มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ (ปีที่ ๔)

Aikido Family §งÒา¹นàเÇว·ทÕีÊส×ืè่ÍอÈศÔิÅล»ปÐะÊสÒาÃรàเÊสÇว¹นÒา "àเÅลÕีé้Âย§งÅลÙู¡กÍอÂยè่Òา§งäไÃร...äไÁมè่´ดØุ äไÁมè่´ดè่Òา äไÁมè่µตÕี ¡กç็´ดÕีäไ´ดé้" ´ดé้ÇวÂย¡กÒาÃรãใªชé้ÇวÔิ¹นÑัÂยàเªชÔิ§งºบÇว¡ก ¾พØุ¸ธ·ทÕีè่ 22 ¸ธ.¤ค.53 ³ณ ËหÍอÈศÔิÅล»ปÇวÑั²ฒ¹น¸ธÃรÃรÁมàเÁม×ืÍอ§งàเªชÕีÂย§งãใËหÁมè่ Íอ.àเÁม×ืÍอ§ง ¨จ.àเªชÕีÂย§งãใËหÁมè่ àเÇวÅลÒา 14.00-16.30 ¹น.

ฝกประจำสัปดาห! ! 1 1 1 1 1 1 1 1 1 !

ปฏิทินกิจกรรม จันทร-พุธ-ศุกร ๑๘.๓๐ - ๒๐.๓๐ น.1 สถานที่ฝก ชมรมไอคิโด มหาวิทยาลัยเชียงใหม ใตถุนตึกอาคารกิจกรรมนักศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม หน้า ๕๒


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.