Std ย่อคำบรรยายเนติฯกฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน (รวม)

Page 1

ย่อคาบรรยายเนติฯ สมัย ๖๐ ภาคสอง ฉบับเตรียมสอบ ๓ สนาม (กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน) รวบรวมและสรรสร้างโดยทีมงาน ...((((((((( STD )))))))))... ปรับปรุงใหม่ เมษายน ๒๕๕๑

ครั้งที่ ๑ ~ ภาพรวมเกี่ยวกับกฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน๑ ๑. โครงสร้างกฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน ๑. ตอนที่ ๑ ดูว่ากรณี ใดต้อ งใช้พยานหลั กฐาน กรณีใดต้องไม่ใ ช้พยานหลักฐานและกรณีใ ด ไม่ต้องใช้พยานหลักฐาน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๘๔ อนุโลมใช้ในคดีอาญาด้วยตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๑๕ ๒. ตอนที่ ๒ ดูว่าใครมีหน้าที่นาสืบหรือภาระการพิสูจน์ เดิมอยู่ใน ป.วิ.พ.มาตรา ๘๔ ปัจจุบัน แยกออกมาเป็นมาตรา ๘๔/๑ อนุโลมใช้ในคดีอาญาด้วย ตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๑๕ ๓. ตอนที่ ๓ ดูว่ามีบทตัดพยานไหม มีหลักเบื้องต้นว่า พยานหลักฐานทุกชนิดทุกประเภทรับฟัง ได้ เว้นแต่จะมีกฎหมายบทใดบทหนึ่งบัญญัติห้ามไม่ให้รับฟัง รายละเอียดมีทั้งใน ป.วิ.พ. และ ป.วิ.อ. ๔. ตอนที่ ๔ ดูว่ามีการนาพยานหลักฐานเข้าสืบถูกต้องตามวิธีการที่กฎหมายกาหนดหรือไม่ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๘๕, ๘๖ อนุโลมใช้ในคดีอาญาด้วยตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๑๕ ๕. ตอนที่ ๕ การชั่งน้าหนั กพยานหลั กฐาน ซึ่งเป็นดุลพินิจของศาลตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๑๐๔ อนุโลมมาใช้ในคดีอาญาด้วยตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๑๕ และมีบัญญัติเพิ่มเติมใน ป.วิ.อ.มาตรา ๒๒๗/๑ ด้วย ๒. ตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๘๔ ที่แก้ไขใหม่ บังคับให้ต้องใช้พยานหลักฐานเฉพาะปัญหาข้อเท็จจริง เท่านั้น หมายความว่า ถ้าเป็นปัญหาข้อกฎหมายศาลต้องวินิจฉัยเองไม่ต้องใช้พยานหลักฐาน แต่มีข้อยกเว้น อยู่ ๓ ประการ ที่ให้ถือว่าเป็นปัญหาข้อเท็จจริงในทางกฎหมายพยานหลักฐาน เนื่องจากศาลไทยไม่อยู่ในฐานะ ที่จะไปตรวจสอบค้นหามาตัดสินได้เอง ฝ่ายที่กล่าวอ้างต้องนาสืบ คือ ๒.๑) กฎหมายต่างประเทศ เช่น คดีแพ่งที่มีนัยพัวพันกับต่างประเทศแล้วกฎหมายว่าด้วยการ ขัดกันแห่งกฎหมายบัญญัติให้เอากฎหมายต่างประเทศนั้นมาใช้ตัดสิน ฝ่ายที่กล่าวอ้างต้องนาสืบ ๒.๒) ข้ อกฎหมายระหว่างประเทศ เช่น สนธิ สัญญาระหว่างประเทศ หรือความตกลงระหว่าง ประเทศในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ไม่ว่าไทยเราจะเป็นภาคีผูกพันอยู่ด้วยหรือไม่ก็ ตาม ถ้ามีประเด็นข้อพิพาทใน คดีไปถึงความมีอยู่และความหมายของกฎหมายระหว่างประเทศใด ถือว่าเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ๒.๓) ปัญหาที่พิพาทกันว่ามีกฎหมายล่าดับรองที่มีฐานะต่​่ากว่ากฎกระทรวงฉบับใดฉบับหนึ่ง อยู่จริงหรือไม่ เช่น ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยหาใช่ข้อกฎหมายอันถือเป็นเรื่องที่ศาลจะรับรู้เองได้ แต่ เป็นข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งที่คู่ความมีหน้าที่นาสืบ (ฎ. ๔๖๐/๒๕๕๐) ๓. ตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๘๔ ที่แก้ไขใหม่ บังคับว่าประเด็นข้อพิพาทที่เป็นปัญหาข้อเท็จจริงต้อง พิสูจน์ด้วยพยานหลักฐาน จะใช้สิ่งอื่นที่มิใช่พยานหลักฐานมาพิสูจน์ไม่ได้ และพยานหลักฐานท่จะใช้ต้องเป็น พยานหลักฐานในสานวนคดีนั้นด้วย จะใช้พยานหลักฐานนอกสานวนคดีเรื่องนั้นมาพิสูจน์หรือมาตัดสินปัญหา ข้อเท็จจริงไม่ได้ เว้นแต่ กรณีดังต่อไปนี้ ๓.๑) กรณีตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๘๔(๑) ข้อเท็จจริงซึ่งเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไป ไม่เคร่งครัดเด็ดขาดจะ นาสืบพยานหลักฐานก็ได้

บรรยายโดยศาสตราจารย์จรัญ ภักดีธนากุล วันที่ ๒๗ พ.ย. ๒๕๕๐ คาบรรยายเนติฯ สมัย ๖๐ ภาคสอง เล่ม ๒ หน้า ๘๙ – ๑๐๗


ย่อคาบรรยายเนติฯ สมัย ๖๐ ภาคสอง ฉบับเตรียมสอบ ๓ สนาม (กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน) รวบรวมและสรรสร้างโดยทีมงาน ...((((((((( STD )))))))))... ปรับปรุงใหม่ เมษายน ๒๕๕๑

๓.๒) กรณีตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๘๔(๒) ข้อเท็จจริงซึ่งไม่อาจโต้แย้งได้ ข้อยกเว้นนี้เด็ดขาดต้อง ไม่ใ ห้ น าพยานหลั ก ฐานมาสื บโต้แ ย้ งเป็นอย่างอื่น เช่ น พ.ร.บ.ยาเสพติด ให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒ มาตรา ๑๕ สันนิษฐานเด็ดขาดว่าผู้มียาเสพติดให้โทษประเภทที่ ๑ ไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่กฎหมายกาหนดถือว่า ครอบครองไว้เพื่อจาหน่าย /ตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๔๖ ที่กาหนดให้ศาลในคดีแพ่งต้องฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติเด็ดขาด ตามที่ ศ าลในคดี อ าญาพิ พ ากษาถึ ง ที่ สุ ด ไว้ แ ล้ ว ศาลในคดี ส่ ว นแพ่ ง จะโต้ แ ย้ ง เป็ น อย่ า งอื่ น ไม่ ไ ด้ จะน า พยานหลักฐานมาวินิจฉัยเป็นอย่างอื่นไม่ได้ ๓.๓) กรณี ตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๘๔(๓) ข้อเท็จจริงที่ คู่ กรณีรับหรือถือว่ารับกันแล้วในศาล ข้อยกเว้นนี้เด็ดขาดพอๆกับ (๒) แต่พอเวลาอนุโลมเอาไปใช้ในคดีอาญาโดย ป.วิ.อ.มาตรา ๑๕ ต้องไปอยู่ภายใต้ บังคับของ ป.วิ.อ.มาตรา ๑๗๖ และ ๑๘๕ เพราะฉะนั้นจึงทาให้ข้อยกเว้นตาม (๓) นี้ มีความเด็ดขาดน้อยกว่า (๒) ๔. ปัญหาข้อกฎหมายตามแนวบรรทั ดฐานของศาลฎีกาไทยและค่าอธิบายในทางต่ารา แบ่ง ออกเป็น ๓ ลักษณะ คือ ๔.๑) พิพาทกันว่ามีกฎหมายบทใดบทหนึ่งอยู่หรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมาย เว้นแต่ กฎหมายลาดับ รองที่มีฐานะต่ากว่ากฎกระทรวง ๔.๒) พิ พ าทกั น ว่ า กฎหมายบทที่ มี อ ยู่ นั้ น มี ค วามหมายว่ า อย่ า งไร พิ พ าทเกี่ ย วกั บ การตี ค วาม กฎหมาย เป็นปัญหาข้อกฎหมายแท้ๆเลย และ ๔.๓) พิพาทเกี่ยวกับการนากฎหมายบทนั้นไปประยุกต์ใช้กับข้อเท็จจริงและจะให้มีผลอย่างไร ๕. ปัญ หาข้ อ เท็ จ จริ ง คื อ ข้ อ พิ พ าทใดที่ ไ ม่ ใ ช่ ข้ อ กฎหมายก็ เ ป็ น ปั ญ หาข้ อ เท็ จ จริ ง สรุ ป ได้ ๓ ลักษณะ ดังนี้ ๕.๑) ปัญหาที่พิพาทกันเกี่ยวกับการกระทาของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ว่าบุคคลใดกระทาอะไรที่ไหน อย่างไร เมื่อไหร่ เป็นปัญหาข้อเท็จจริง ๕.๒) ปัญหาที่พิพาทกันเกี่ยวกับสภาพทางจิตใจและสภาวการณ์แวดล้อมการกระทาของบุคคลว่า บุคคลคนนี้มีสภาวะทางจิตใจอย่างไร ประสงค์ต่อผลหรือไม่ ใช้ความระมัดระวังหรือไม่เพียงใด ในสภาวะการใด เป็นปัญหาข้อเท็จจริง ๕.๓) ปัญหาที่พิพาทกันว่ามีเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือวัตถุสิ่งของสภาวการณ์ อย่างใดอย่าง หนึ่งเกิดขึ้นหรือไม่อย่างไรในคดีนั้น เป็นปัญหาข้อเท็จจริง ๖. กฎหมายไทยไม่ได้ให้นิยามศัพท์ค่าว่าพยานหลักฐานไว้ ให้ไว้แต่ประเภทของพยานหลักฐานทั้ง ป.วิ.พ. และ ป.วิ.อ. โดยปริยายว่า พยานหลักฐานมี ๔ ประเภท คือ พยานบุคคล / พยานเอกสาร / พยานวัตถุ / พยานผูเ้ ชี่ยวชาญ ๗. พยานเอกสาร หมายถึง ข้อมูล (Information / data) ที่มีคุณสมบัติที่จะพิสูจน์ข้อพิพาทกันในคดีได้ ไม่ว่าข้อมูลนั้นจะถูกบันทึกไว้ในสื่อชนิดใดก็ตาม เพราะฉะนั้นพยานเอกสารไม่ใช่กระดาษ แต่หมายถึงข้อมูลที่ บันทึกไว้ในกระดาษ พยานเอกสารจึงไม่ใช่รูปถ่าย แต่ หมายถึงข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ในรูปถ่าย พยานเอกสาร ไม่ใช่แผ่นซีดีหรือเทป แต่หมายถึง ข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ในแผ่นซีดีหรือเทปบันทึกภาพเหล่านั้นอีกทีหนึ่ง นี้คือ ความหมายของพยานเอกสารตามหลักวิชาที่เป็นสากล


ย่อคาบรรยายเนติฯ สมัย ๖๐ ภาคสอง ฉบับเตรียมสอบ ๓ สนาม (กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน) รวบรวมและสรรสร้างโดยทีมงาน ...((((((((( STD )))))))))... ปรับปรุงใหม่ เมษายน ๒๕๕๑

๘. พยานวัตถุ หมายถึง รูปร่างหรือลักษณะของวัตถุสิ่งของ อาคารสถานที่ หรือ บาดแผลของบุคคล ฉะนั้นพยานวัตถุจึงไม่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร แต่เน้นไปที่รูปร่างของวัตถุสิ่งของ อาคารสถานที่ เพราะฉะนั้น กระดาษก็อาจจะถูกนาสืบในฐานะที่เป็นพยานวัตถุได้ ถ้าประสงค์เพียงเอามาพิสูจน์ว่าเป็นกระดาษเท่าเก่าหรือ ใหม่ จริงหรือปลอม หรือกระดาษสมัยยุคไหน โดยไม่สนใจฐานข้อมูลที่บันทึกไว้ในกระดาษนั้นเลย รูปถ่าย สถานที่เกิดเหตุ รูปถ่ายบาดแผล รูปถ่ายอาวุธหรือทรัพย์สินที่ถูกโจรกรรมไป ถูกนาสืบเข้ามาเพื่อให้ศาลเห็นถึง รูปร่างลั กษณะของวัตถุสิ่ งของ สถานที่ เหล่านั้นโดยไม่จาเป็นต้องเอาวัตถุสิ่งของ สถานที่ เหล่านั้นมาแสดง โดยตรงต่อศาล รูปถ่ายนั้นถูกนาสืบเข้ามาในฐานะที่เป็นพยานวัตถุ ไม่ใช่พยานเอกสาร เพราะฉะนั้นวิธีการนา สืบย่อมแตกต่างกันมากระหว่างพยานเอกสารกับพยานวัตถุ เช่น การส่งสาเนาล่วงหน้าตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๙๐ ใช้กับพยานเอกสารเท่านั้นไม่ใช้กับพยานวัตถุ ๙. ศาลฎีกาไทยได้วินิจฉัยว่าแถบบันทึกเสียงเป็นพยานวัตถุ เพราะฉะนั้นไม่ต้องส่งสาเนาล่วงหน้า ตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๙๐ ไม่ต้องเสียค่าอ้างเอกสารฉบับละ ๕ บาท ตามตาราง ป.วิ.พ. (ฎ. ๗๑๕๕/๒๕๓๙) อ.จรัญ ไม่เห็นด้วยโดยให้เหตุผลว่า สิ่งที่คู่ความต้องการนาเทปบันทึกเสี ยงหรือซีดีบันทึกเสียงมาสืบในคดี เขาไม่ได้ ต้องการให้ศาลดูรูปร่างหรือลักษณะของเทปบันทึกเสียงนั้นว่ามันใหญ่หรือเล็ก หรือกว้างยาว เก่าใหม่อย่างไร เขาต้องการให้ศาลได้ฟังข้อความคาสนทนาที่ถูกบันทึกไว้ในเทปหรือแผ่นซีดีนั้น เพราะฉะนั้นโดยหลักสากลยุติ แน่นอนว่าเทปบันทึกเสียง ซีดีบันทึกเสียง เป็นพยานเอกสาร ถ้าต้องการนาสืบข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ในแถบแผ่น แม่เหล็กหรือในแผ่นซีดีนั้น ๑๐.สิ่งต่อไปนี้ไม่ใช่พยานหลักฐาน ๑๐.๑) ความรู้ของศาล (Judicial knowledge) ไม่ใช่พยานหลักฐาน ดังนั้นศาลหรือผู้พิพากษาที่ ไปประสบเหตุการณ์ในคดีใดมาด้วยตนเองจะมารับหน้าที่เป็นผู้พิพากษาในคดีนั้นไม่ได้ผิดจริยธรรม และเป็นการ ทาหน้าที่ขัดแย้งกันเอง เช่น แม้กรมการจังหวัดสงขลาจะได้ส่งประกาศฉบับนั้นๆมายังศาลก็เป็นการแจ้งให้ผู้ พิพากษาทราบเท่านั้น เมื่อมิใช่กฎหมาย โจทก์ไม่ส่งอ้างเป็นพยานในสานวน ก็ไม่ทราบว่า ประกาศที่โจทก์กล่าว มาในฟ้องได้ออกโดยอาศัยอานาจกฎหมายฉบับใด แม้จาเลยให้การรับสารภาพก็ยังลงโทษจาเลยไม่ได้ (ฎ. ๙๘๗/ ๒๔๙๑) แต่ถ้ าเป็นเรื่ อ งที่รู้กั นอยู่ ทั่ว ไปก็เ ข้ าข้อ ยกเว้น ตาม ป.วิ. พ.มาตรา ๘๔(๑) ถื อ ว่าเป็นข้อ ที่ศ าลรู้เ อง (Judicial notice) สรุปได้ว่า ความรู้ของศาลเอามาใช้ตัดสินไม่ได้เพราะไม่ใช่พยานหลักฐาน แต่ข้อที่ศาลรู้เองเอา มาใช้ตัดสินข้อเท็จจริงได้เพราะเป็นเรื่องที่รู้กันอยู่ทั่วไป เช่น กลางวันมีแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ กลางคืนขึ้น ๑๕ ค่า มีแสงสว่างจากดวงจันทร์ตลอดคืนเต็มดวง เป็นข้อเท็จจริงที่รู้กันอยู่ทั่วไป ๑๐.๒) ค่าร้อง ค่าขอ ค่าแถลง ค่าคู่ความ รวมทั้งเอกสารแนบท้ายค่าร้อง ค่าขอ หรือแนบท้าย ค่าร้อง ค่าฟ้อง ค่าให้การ ค่าอุทธรณ์ ค่าฎีกา ค่าแก้อุทธรณ์ ค่าแก้ฎีกา โดยหลักไม่ใช่พยานหลักฐานเอา ไปวินิจฉัยข้อเท็จจริงในทางคดีไม่ได้ เว้นแต่ คาฟ้อง คาให้การ เอกสารที่แนบมาท้ายคาฟ้อง ท้ายคาอุทธรณ์ ท้ายคาฎีกา อาจถูกนามาเสนออย่างพยานหลักฐาน หากคู่คว่ามฝ่ายตรงข้ามไม่โต้แย้งคัดค้านศาลอาจจะรับฟัง เป็นพยานหลักฐานในคดีได้ถือว่าคู่ความยินยอม เช่น การพิจารณาว่าฟ้องโจทก์มีมูลและมีเหตุจะนาวิธีการ ชั่วคราวก่อนพิพากษามาใช้หรือไม่ ต้องพิจารณาจากคาฟ้ อง คาให้การ และพยานหลักฐานโจทก์ในชั้นไต่สวนคา ร้องขอดังกล่าวเท่านั้น คาเบิกความในคดีอื่นที่นามาแนบท้ายฎีกา มิใช่พยานหลักฐานในชั้นไต่สวนคาร้องขอ คุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาคดีนี้ จึงรับฟังไม่ได้ (ฎ. ๗๑๔๐/๒๕๔๗)


ย่อคาบรรยายเนติฯ สมัย ๖๐ ภาคสอง ฉบับเตรียมสอบ ๓ สนาม (กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน) รวบรวมและสรรสร้างโดยทีมงาน ...((((((((( STD )))))))))... ปรับปรุงใหม่ เมษายน ๒๕๕๑

๑๐.๓) รายงานการสืบเสาะของพนักงานคุมประพฤติ หรือรายงานอื่นของเจ้าหน้าที่ศาลไม่ใช่ พยานหลักฐาน อันนี้เป็นเรื่องการสื่อสารระหว่างพนักงานเจ้าหน้าที่กับศาล ไม่ใช่พยานหลักฐานที่คู่ความนา สืบเข้ามา (ฎ. ๒๙๔๔/๒๕๔๔) แล้วก็ไม่ใช่พยานหลักฐานที่ศาลใช้อานาจเรียกเข้ามาในฐานะเป็นพยานหลักฐาน ของศาลตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๘๖ วรรคสาม หรือ ป.วิ.อ.มาตรา ๒๒๘ ๑๐.๔) ค่ า แปลพยานเอกสารภาษาต่ า งประเทศไม่ ใ ช่ พ ยานหลั ก ฐาน ตั ว พยานเอกสาร ภาษาต่างประเทศเป็นพยานเอกสาร ตัวคาแปลไม่ใช่พยานหลักฐาน เพราะฉะนั้นคาแปลนี้ไม่ต้องระบุไว้ในบัญชี ระบุพยาน คาแปลนี้ไม่ต้องส่งสาเนาล่วงหน้าตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๙๐ คาแปลนี้ไม่ต้องเสียค่าอ้างเอกสาร และคา แปลนี้ถ้าแปลผิดคู่ความที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายรวมทั้งศาลมีสิทธิและหน้าที่ที่จะแก้ไขคาแปลให้ถูกต้องได้ แต่ต้องทา ก่อนศาลมีคาพิพากษา (ฎ. ๓๖๙๘/๒๕๔๕) แต่ถ้าเป็นตัวพยานเอกสารสืบมาแล้วจะมาขอแก้ไขไม่ได้ ๑๐.๕) ส่านวนการสอบสวนที่ศ าลใช้อ่านาจตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๑๗๕ เรียกมาจากพนักงาน อัยการ ยังไม่ใช่พยานหลักฐาน ตามป.วิ.อ.มาตรา ๑๗๕ ให้อานาจศาลเรียกสานวนการสอบสวนจากพนักงาน อัยการมาประกอบการพิจารณาคดีนั้นได้หลังจากที่อัยการสืบพยานหลักฐานเสร็จแล้ว แต่ไม่ได้เรียกเข้ามาใน ฐานะที่เป็นพยานหลักฐานของศาลตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๒๒๘ ดังนั้น ไม่ต้องสาเนาให้จาเลยได้รู้ได้เห็น ไม่ต้องทา ต่อหน้าจาเลยตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๑๗๒ วรรคหนึ่ง และจาเลยก็ไม่มีอานาจถามค้านพยานตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๑๑๗ วรรคสอง ประกอบ ป.วิ.อ.มาตรา ๑๕ (ฎ. ๕๒๓๙/๒๕๔๗) ครั้งที่ ๒ ~ พยานหลักฐานในส่านวน / นอกส่านวน๒ ๑. พยานหลักฐานในส่านวน หมายถึง พยานหลักฐานที่ผ่านกระบวนการนาสืบเข้ามาในคดีเรื่องนั้น อยู่ถู กต้องแล้ ว ถู กต้องตามกฎหมายว่าด้ว ยการยื่นพยานหลั กฐานแล้ ว ก็เป็นพยานหลักฐานในส านวนที่จะ นามาใช้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในคดีนั้นได้ ๒. พยานหลักฐานนอกส่านวน หมายถึง พยานหลักฐานที่ยังไม่ได้ผ่านกระบวนการนาสืบเข้ามาใน คดีนั้นเลย หรืออาจจะผ่านกระบวนการนาสืบแต่เป็นการนาสืบที่ผิดวิธีการที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยการยื่น พยานหลักฐาน พยานหลักฐานดังกล่าวนี้ก็เป็นพยานหลักฐานนอกสานวนเรื่องนั้น ไม่สามารถนามาใช้วินิจฉัย ปัญหาข้อเท็จจริงในคดีนั้นได้ ๓. ตัวบทกฎหมายที่รองรับค่าว่าพยานหลักฐานในส่านวน / นอกส่านวน คือ ป.วิ.พ.มาตรา ๘๖ วรรคหนึ่ง แยกพิจารณาได้ ๒ ข้อ ดังนี้ (๑) พยานหลักฐานในส่านวน / นอกส่านวน หมายถึง สานวนคดีของศาลเท่านั้น ไม่รวมถึง สานวนของเจ้าหน้าที่อื่น เช่น สานวนการสอบสวนของพนั กงานสอบสวน สานวนคดีของพนักงานคุมประพฤติ หรือพนักงานบังคั บคดี หรือ เจ้าพนัก งานพิทักษ์ทรัพย์ ดังนั้นศาลจึงรับฟังบันทึกค าให้การรับสารภาพและ ภาพถ่ายประกอบพยานหลักฐานอื่นเพื่อลงโทษจาเลยได้ แม้ว่าพยานหลักฐานดังกล่าวจะมิได้อยู่ในสานวนการ สอบสวนก็ตาม (ฎ. ๑๕๔๘/๒๕๓๕) ๒

บรรยายโดยศาสตราจารย์จรัญ ภักดีธนากุล วันที่ ๔ ธ.ค. ๒๕๕๐ คาบรรยายเนติฯ สมัย ๖๐ ภาคสอง เล่ม ๒ หน้า ๑๒๙ – ๑๔๓


ย่อคาบรรยายเนติฯ สมัย ๖๐ ภาคสอง ฉบับเตรียมสอบ ๓ สนาม (กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน) รวบรวมและสรรสร้างโดยทีมงาน ...((((((((( STD )))))))))... ปรับปรุงใหม่ เมษายน ๒๕๕๑

(๒) วิ ธี ก ารดู พ ยานหลั ก ฐานในส่ า นวน / นอกส่ า นวน ไม่ ไ ด้ ดู ที่ ที่ อ ยู่ ห รื อ ที่ เ ก็ บ ของ พยานหลักฐานนั้น แต่ดูจากกระบวนการนาสืบว่าถูกต้องตามหลักกฎหมายว่าด้วยการยื่นพยานหลักฐานหรือไม่ ถ้าพยานหลักฐานใดผ่านกระบวนการนาสืบถูกต้องตามหลักกฎหมายว่าด้วยการยื่นพยานหลักฐานแล้ว ก็ถือว่า เป็นพยานในสานวนคดีของศาลแล้ว ถึงแม้จะไม่ได้เก็บไว้ในสานวนคดีเรื่องนั้นก็ตาม ทานองเดียวกันหาก พยานหลักฐานใดที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการนาสืบที่ถูกต้องก็ถือว่าเป็นพยานหลักฐานนอกสานวน ถึงแม้ว่าจะมี การนาเข้ามาเก็บรวมไว้ในสานวนคดีก็ยังเป็นพยานหลักฐานนอกสานวนอยู่ดี ๔. วิธีการน่าสืบพยานหลักฐานที่ถูกต้องในกฎหมายของไทยท่าได้ ๒ วิธี คือ ๔.๑) วิธีที่ ๑ คู่ความนาสืบเข้ามาในฐานะที่เป็นพยานหลักฐานของคู่ความ ไม่ว่าจะเป็นการนาสืบ ของโจทก์หรือจาเลย ๔.๒) วิธีที่ ๒ ในฐานะที่เป็นพยานหลักฐานของศาล โยศาลใช้อานาจเรียกพยานหลั กฐานนั้นเข้ามา สืบเองโดยตรง โดยอาศัยอานาจตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๘๖ วรรคสาม หรือ ป.วิ.อ.มาตรา ๒๒๘ เจ้าหน้าที่ศษลจะ นามารวมไว้ในสานวนคดีเองมิได้ ถือว่าเป็นพยานหลักฐานนอกสานวน เช่น แม้คณะกรรมการจังหวัดสงขลาจะ ได้ส่งประกาศฉบับนั้นๆ มายังศาลก็เป็นการแจ้งให้ผู้พิพากษาและเสมียนนักการที่ทางานอยู่ในศาลทราบเท่านั้น ไม่ใ ช่ส่ งอ้างพยานหลั ก ฐานในส านวนตามประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาซึ่งด้ว ยการอ้างพยานเอกสาร แม้ผู้ พิพากษาจะทราบประกาศนั้นอยู่ก่อนแล้ว ก็ยกมาใช้ในสานวนความไม่ได้ โจทก์ต้องอ้างประกาศดังกล่าวเป็น พยานและนาสืบเอง (ฎ. ๙๘๗/๒๔๙๑) ๕. แม้เป็นพยานหลักฐานที่ คู่ ค วามน่าสื บไว้ในชั้ นไต่ส วนค่ าร้อ งค่ าขอปลีกย่ อย ก็ถือว่าเป็ น พยานหลักฐานในส่านวนคดีที่ศาลจะน่ามาใช้วินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงในประเด็นข้อพิพาทในคดีหลักได้ เช่น ๑. สานวนคดีอาญานั้นได้เข้าสู่สานวนคดีอาญานี้ตั้งแต่ ชั้นไต่สวนคาร้องขอฟ้องคดีอย่างคนอนาถา แล้ว ศาลจึงชอบจะหยิบยกเอาข้อเท็จจริงในสานวนคดีดังกล่าวมาประกอบการวินิจฉัยคดีนี้ได้ ไม่เป็นการฟัง ข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานนอกสานวน (ฎ. ๔๐๓๖/๒๕๓๐) ๒. พยานหลั กฐานในส านวนคดีอาญานี้ เมื่อ สืบเข้ามาเป็นพยานหลั กฐานในชั้นไต่สวนวิธี การ ชั่วคราวก่อนพิพากษา โดยไม่ได้มีพฤติการณ์หรือมีข้อจากัดให้เห็นว่าต้องการจะให้เป็นพยานหลักฐานเฉพาะใน ชั้ น ไต่ ส วนขอคุ้ ม ครองชั่ ว คราวเท่ า นั้ น จึ ง ถื อ ว่ า เป็ น พยานหลั ก ฐานในส านวนคดี เอามาใช้ ป ระกอบเป็ น พยานหลักฐานในชั้นพิพากษาคดีหลักได้ชิ้นหนึ่ง ส่วนจะเชื่อได้หรือไม่เพียงใดนั้นเป็น เรื่องของการชั่งน้าหนัก ต่อไป (ฎ. ๑๒๐๙/๒๕๔๒) ๓. พยานหลักฐานในสานวนคดีแพ่ง ที่โจทก์นาสืบเข้ามาในชั้นไต่สวนมูลฟ้องคดี พยานเอกสาร พยานวัตถุที่จาเลยส่งต่อศาลประกอบการถามค้านพยานโจทก์ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องคดี ถือว่าเป็นพยานหลักฐาน ในสานวนคดีเรื่องนั้นทั้งคดีแล้ว (ฎ. ๒๖๔๔/๒๕๓๕) ๔. มีฎีกาที่ ๕๗๕๕/๒๕๓๑ ทีว่ ินิจฉัยแหวกแนวออกไป โดยวินิจฉัยว่า ศาลจะนาพยานหลักฐานที่ โจทก์นาสืบในชั้นไต่สวนคาขอให้พิจารณาใหม่ดังกล่าว มาใช้เป็นพยานหลักฐานในชั้นพิจารณาแห่งคดีไม่ได้ (เป็นการตัดสินตามสถานการณ์พิเศษควรแยกจาเป็นกรณีไป)


ย่อคาบรรยายเนติฯ สมัย ๖๐ ภาคสอง ฉบับเตรียมสอบ ๓ สนาม (กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน) รวบรวมและสรรสร้างโดยทีมงาน ...((((((((( STD )))))))))... ปรับปรุงใหม่ เมษายน ๒๕๕๑

๖. ในความเห็นของนักกฎหมายวิธีพิจารณาความ เห็นว่า หลักในเรื่องพยานหลักฐานในสานวน / นอกสานวน ควรจะใช้กับพยานหลักฐานในสานวนของศาลเท่านั้น ไม่ควรรวมไปถึงในชั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ ทรัพย์ด้วย แต่ศาลฎีกาได้พิพากษาขยายไปใช้ในชั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ด้วยว่า เมื่อกฎหมายบังคับว่าให้ ต้องส่งแสดงพยานหลักฐานต่อเจ้าพนักงานพิทักทรัพย์ เจ้าหนี้หรือลูกหนี้ก็ต้องนาแสดงต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ ทรัพย์ จะไปส่งต่อศาลไม่ได้ ถึงแม้ศาลจะส่งต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ไม่ใช่พยานหลักฐานที่ผู้ขอรับชาระ หนี้ส่งต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ การที่ศาลชั้ นต้นไม่พิจารณาพยานหลักฐานที่เจ้าหนี้ยื่นไว้ต่อศาลชั้นต้นจึง ชอบแล้ว (ฎ. ๔๘๖๗/๒๕๓๘) ๗. ค่าให้การปฏิเสธตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๑๗๗ วรรคสอง มี ๒ หลัก คือ ๗.๑) หลักที่ ๑ ต้องต่อสู้ปฏิเสธให้ชัดแจ้ง ไม่เช่นนั้นไม่เกิดประเด็นข้อพิพาท เช่น ในคาให้การ ของจาเลยบรรยายเพียงว่า “ที่ดินพิพาทยังเป็นของจาเลยซึ่งถูกโจทก์ร่วมกับธนาคาร ก. ทากลฉ้อฉล” เท่านั้น มิได้บรรยายว่าโจทก์ร่วมกับธนาคาร ก. กระทาการอย่างใดอันเป็นเหตุแห่งกลฉ้อฉลไว้โดยชัดแจ้ง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๑๗๗ วรรคสอง จึงต้องห้ามมิให้นาสืบข้ออ้างดังกล่าว แม้ศาลชั้นต้นจะให้จาเลยนาสืบถึงรายละเอียด เหล่านี้ ก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้ (ฎ. ๙๐๗/๒๕๔๒) ๗.๒) หลักที่ ๒ เมื่อต่อสู้ปฏิเสธชัดแจ้งแล้วต้องแสดงเหตุผลของการต่อสู้หรือปฏิเสธนั้นด้วย ไม่เช่นนั้นไม่มีสิทธินาพยานหลักฐานเข้าสืบ ถือว่าเป็นพยานหลักฐานนอกสานวนตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๘๖ วรรค หนึ่ง ๘. ถามติง คือ การถามพยานภายในขอบเขตที่ถูกถามค้านให้เบี่ยงเบนออกไป เพื่อให้โอกาส เจ้าของพยานถามพยานให้เบิกความกลับหรืออธิบายชี้แจงตอบค่าถามค้านของฝ่ายตรงข้ามอีกครั้งหนึ่ง หากถามไปนอกเหนือจากนั้นก็จะกลายเป็นการถามเพิ่มเติมไม่ใช่ถามติง ซึ่งมีหลักในการถามติงอยู่ ๒ ข้อ คือ ๘.๑) ห้ามใช้คาถามนา ซึ่งเป็นหลักที่ใช้ในการถามพยานของตัวเอง ๘.๒) ห้ามถามในเรื่องที่นอกเหนือจากที่ฝ่ายตรงข้ามถามค้านไว้ เช่น โจทก์ไปถามติงพยานของ ตัวเองนอกเหนือ จากที่จาเลยถามค้านไว้และพยานก็ตอบ ศาลบันทึกให้คาเบิกความที่พยานเบิ กความตอบ คาถามติงของโจทก์นอกเหนือไปจากที่จาเลยถามค้านไว้ พยานหลักฐานเฉพาะส่วนนี้เป็นพยานหลักฐานที่นาสืบ ไม่ถูกวิธีการว่าด้วยการนาสืบพยานบุคคล เพราะฉะนั้นจึงรับฟังมาใช้วินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงในคดีนี้ไม่ได้ ต้อง ตัดคาเบิกความของพยานโจทก์ส่วนนี้ออกไป (ฎ. ๒๔๙๙/๒๕๔๔) ๙. ตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๘๔ ที่แก้ไขใหม่ สรุปได้ว่า การวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงในคดีใดจะต้อง กระท่าโดยอาศัยพยานหลักฐานในส่านวนคดีนั้น แต่มีข้อยกเว้นอยู่ ๓ ข้อ คือ (๑)ข้อเท็จจริงซึ่งเป็นที่รู้กันอยู่ ทั่วไป (๒)ข้อเท็จจริงซึ่งไม่อาจโต้แย้งได้ และ(๓)ข้อเท็จจริงที่คู่ความรับหรือถือว่ารับกันแล้วในศาล ๑๐.ข้ อ ยกเว้ น ตาม ป.วิ . พ.มาตรา ๘๔(๑)ข้ อ เท็ จ จริ ง ซึ่ ง เป็ น ที่ รู้ กั น อยู่ ทั่ ว ไป แบ่ ง ออกเป็ น ๒ ประเภท คือ ๑๐.๑) ประเภทที่ ๑ เป็นข้อเท็จจริงที่คนทั่วไปรู้กันโดยไม่ต้องไปตรวจสอบหลักฐานอ้างอิงที่ไหน เช่น พระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก / ตกทางทิศตะวันตก - ขนาดของเรือเป็นเรื่องที่รู้จักกันทั่วไปศาลรู้ได้เอง เช่น เฉพาะเรือยนต์หางยาวของกลางคดีนี้ เป็นเรื่อ งที่รู้จัก กันอยู่ทั่วไปว่าเป็นเรือเล็กๆ ไม่ใหญ่โตชนิดหนึ่ง ใช้วิ่งรับส่งในแม่น้าล าคลอง ศาลย่อมรับฟัง


ย่อคาบรรยายเนติฯ สมัย ๖๐ ภาคสอง ฉบับเตรียมสอบ ๓ สนาม (กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน) รวบรวมและสรรสร้างโดยทีมงาน ...((((((((( STD )))))))))... ปรับปรุงใหม่ เมษายน ๒๕๕๑

ข้อเท็จจริงได้ว่าเรือยนต์ หางยาวพร้อมด้วยเครื่องของกลางในคดีนี้มีระวางบรรทุกไม่เกิน ๒๕๐ ตัน (ฎ. ๔๓๖/ ๒๕๐๙) - แต่ถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับตาแหน่งหน้าที่ไม่ถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่คนทั่วไปรู้กัน ศาลรู้เองมิได้ คู่ความต้องนาพยานหลักฐานมาสืบ เช่น ปัญหาว่าหลวงอรรถปรีชานูปการ เป็นอธิบดีอั ยการหรือไม่นั้นเป็น ปัญหาข้อเท็จจริงที่โจทก์จะต้องนาสืบ มิใช่ข้อเท็จจริงซึ่งเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไป (ฎ. ๙๑๗/๒๔๙๘) ข้อเท็จจริงว่านาย อาษายัง คงด ารงต าแหน่ง ผู้ ว่า ราชการกรุ งเทพมหานครหรื อ ไม่ เป็ นข้ อ เท็ จจริง ที่ โจทก์ กล่ า วอ้ างและไม่ ใ ช่ ข้อเท็จจริงซึ่งเป็นที่รู้กันอยู่ ทั่วไปตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๘๔(๑) เมื่อโจทก์ไม่นาสืบ โจทก์จึงไม่มีอานาจฟ้อง (ฎ. ๒๕๔๘/๒๕๓๔) ๑๐.๒) ประเภทที่ ๒ เป็นข้อ เท็จจริงซึ่งคนทั่ว ไปไม่รู้ทันที ศาลก็ไม่รู้ทันที แต่เ ป็นข้อ เท็จจริงที่ สามารถตรวจสอบได้จากหลักฐานอ้างอิงที่ปรากฎอยู่ทั่วไปเข้าถึงง่าย เช่น ปฏิทินหลวง - ตามสูตรสาเร็จเวลาดวงจันทร์ขึ้นจากพื้นพิภพ เป็นข้อเท็จจริงซึ่งเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไปว่า ในแต่ ละวันดวงจันทร์จะขึ้นจากพื้นพิภพเวลาเท่าไร และจะขึ้นช้าลงวันละ ๔๘ นาที ทั้งดวงจันทร์จะตกลงหลังจากขึ้น แล้ว ๑๒ ชั่วโมง ศาลรู้ได้เองคู่ความไม่ต้องนาสืบ (ฎ. ๖๙๑๘/๒๕๔๐) - มติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับวันหยุดศาลรู้เองได้ เช่น คณะรัฐมนตรีได้มีมติเลื่อนวันหยุดราชการ ประจาปีวันสงกรานต์ มีผลทาให้วันที่ ๑๕ เมษายนของทุกปีเป็นวันหยุดราชการ ข้อที่ว่าวันที่ ๑๕ เมษายนของ ทุกปีเป็นวันหยุดราชการหรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงซึ่ งรู้กันอยู่ทั่วไป ศาลรู้ได้เอง คู่ความไม่ต้องนาสืบ (ฎ. ๘๘๗๔/ ๒๕๔๓) - แต่ถ้าเป็นประกาศศาลรู้เองไม่ได้คู่ความต้องนาสืบ เช่น ประกาศของคณะกรรมการจังหวัด สงขลาที่ระบุมาในฟ้องไม่ใช่กฎหมาย แม้กรมการจังหวัดสงขลาจะได้ส่งประกาศฉบับนั้นๆมายังศาล ก็เป็นการ แจ้งให้ผู้พิพากษาและเสมียนที่ทางานอยู่ในศาลทราบเท่านั้น ไม่ใช่ส่งอ้างเป็นพยานในสานวน เมื่อโจทก์ไม่สืบ ให้ทราบว่าประกาศที่โจทก์กล่าวมาในฟ้องได้ออกโดยอาศัยอานาจกฎหมายฉบับใด แม้จาเลยให้การรับสารภาพก็ ยังลงโทษจาเลยไม่ได้ (ฎ. ๙๘๗/๒๔๙๑) ครั้งที่ ๓ ~ ข้อเท็จจริงซึ่งไม่อาจโต้แย้งได้๓ ๑๑.ข้อเท็จจริงซึ่งไม่อาจโต้แย้งได้ (Undisputable Fact) กฎหมายไม่มีบทนิยามศัพท์ แต่จากแนว บรรทัดฐานของคาพิพากษาศาลฎีกา ปรากฏว่ามีอยู่ด้วยกัน ๒ รูปแบบ คือ  รูป แบบที่ ๑ กรณี ที่มี กฎหมายบั ญ ญั ติ เ ป็น ข้อ สั นนิ ษ ฐานข้ อ เท็ จจริ งใดไว้ เ ป็ น การเด็ ดขาด คู่ค วามซึ่งรวมถึงศาลด้ว ยก็ ไม่อ าจจะโต้แย้งเป็นอย่างอื่นได้ จาจะต้อ งถือ ข้อ เท็จจริงเป็นยุติต ามที่กฎหมาย สันนิษฐานไว้เป็นการเด็ดขาดนั้น เช่น กรณีตาม มาตรา ๑๕ วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้สันนิษฐานไว้ว่า ผู้มียาเสพติดให้โทษในประเภท ๑ ไว้ในครอบครองเป็นปริมาณสารบริสุทธิ์ตั้งแต่

บรรยายโดยศาสตราจารย์จรัญ ภักดีธนากุล วันที่ ๑๑ ธ.ค. ๒๕๕๐ คาบรรยายเนติฯ สมัย ๖๐ ภาคสอง เล่ม ๔ หน้า ๑๑ – ๓๗


ย่อคาบรรยายเนติฯ สมัย ๖๐ ภาคสอง ฉบับเตรียมสอบ ๓ สนาม (กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน) รวบรวมและสรรสร้างโดยทีมงาน ...((((((((( STD )))))))))... ปรับปรุงใหม่ เมษายน ๒๕๕๑

๓๗๕ มิลลิกรัมขึ้นไป ให้ถือว่ามีไว้เพื่อจาหน่าย อันเป็นบทสันนิษฐานเด็ดขาดของกฎหมาย จาเลยไม่อาจนาสืบ หักล้างเป็นอย่างอื่นได้ (ฎ. ๒๙๐๓/๒๕๔๘)  รูปแบบที่ ๒ กรณีกฎหมายบัญญัติเป็นลักษณะกฎหมายปิดปากคู่ความที่เกี่ยวข้องไว้เป็น การ เด็ดขาด ผลก็เลยมาผูกพันศาลด้วยโดยถือว่าเป็นข้อเท็จจริงซึ่งไม่อาจโต้แย้งได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๘๔(๒) ที่ แก้ไขใหม่ ศาลก็จะต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงไปตามบทกฎหมายปิดปากเด็ดขาดนั้นมีอยู่ ๒ บทมาตรา คือ ป.วิ.อ. มาตรา ๔๖ กับ ป.วิ.พ.มาตรา ๑๔๕ วรรคหนึ่ง ๑๒. บทบัญญัติกฎหมายปิดปากเด็ดขาดท่าให้เกิดผล ๔ ประการ คือ ๒.๑) ผลประการที่ ๑ ทาให้ข้อเท็จจริงนั้นเป็นข้อเท็จจริงซึ่งไม่อาจโต้แย้งได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๘๔ (๒) ที่แก้ไขใหม่ ๒.๒) ผลประการที่ ๒ คู่ความจะขอนาสืบพยานหลักฐานเป็นอย่างอื่นไม่ได้ และศาลเองจะวินิจฉัย ข้อเท็จจริงให้ผิดเพี้ยนไปจากที่กฎหมายบัญญัติไว้เป็นการเด็ดขาดไม่ได้เช่นกัน แม้ในคดีนั้นจะมีพยานหลักฐาน ในสานวนชี้บ่งให้เห็นประการอื่นก็ตาม เช่น - ตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๔๖ ที่กาหนดให้การพิจารณาคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา ศาลแพ่งต้อง ถือ เอาข้อ เท็จจริงตามค าพิ พ ากษาคดีอ าญา มีหลั ก ว่า ตราบใดที่คดีส่ ว นอาญายังไม่ถึ งที่สุ ด(ชั้นฎีกา) การ พิจารณาคดีส่วนแพ่งก็สามารถพิจารณาไปตามหลักทั่วไปคือให้คู่ความนาสืบพยานไปตามปกติ แต่เมื่อตราบใด ที่คดีอาญาถึงที่สุด(ชั้นฎีกา) ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาในคดีส่วนแพ่ง จะต้องทา ๒ ขั้นตอน คือ ขั้นตอนแรก อนุญาตให้รับฟังพยานหลักฐานของคู่ความเพิ่มเติมในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาโดยอาศัย ป.วิ.พ.มาตรา ๒๔๐(๓) หรือ มาตรา ๒๔๓(๓)(ข) แล้วแต่กรณี และขั้นตอนที่สองต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงไปตามคาพิพากษาคดีอาญาด้วย - คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา ศาลฎีกาส่วนแพ่งมีอานาจรับฟังพยานหลักฐานในส่วนอาญาเข้าสู่ สานวนในชั้นฎีกาได้ และจาต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคาพิพากษาส่วนอาญาดังกล่าวด้วย (ฎ. ๘๗๒/ ๒๕๓๘) - แม้ค ดีส่ วนแพ่ งคดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เ กิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท ต้องห้ามฎีกาใน ปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๒๔๘ วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ.มาตรา ๔๐ ก็ตาม แต่เมื่อการพิจารณา คดีส่วนแพ่งจาต้องถือข้อเท็จจริงที่ปรากฏในส่วนอาญาซึ่งเป็นข้อกฎหมาย จึงต้องฟังว่าจาเลยที่ ๑ มิได้ทาละเมิด อันจะต้องใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ (ฎ. ๓๕๔๘/๒๕๓๙) - จาเลยชอบที่จะยกปัญหาเรื่องให้ถือข้อเท็จจริงตามที่ป รากฏในคาพิพากษาคดีส่วนอาญาขึ้น กล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๒๒๕ วรรคสอง ที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยปัญหานี้ โดยอ้างว่าเป็น เรื่องที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบ (ฎ. ๔๘๖/๒๕๔๒) ๒.๓) ผลประการที่ ๓ หลักกฎหมายในเรื่องข้อเท็จจริงซึ่ งไม่อาจโต้แย้งได้ ถือว่าเป็นกฎหมายที่ เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลอุทธรณ์หรือฎีกายกขึ้นมาวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๒๒๕ วรรคสอง หรือ ๒๔๙ วรรคสอง แล้วแต่กรณี (ฎ. ๒๙๑๐/๒๕๔๐, ฎ. ๔๑๖/๒๕๔๖) ๒.๔) ผลประการที่ ๔ ถึงแม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา ก็มี อานาจที่จะยกประเด็นในเรื่องข้อ เท็จจริงซึ่งไม่อาจโต้แย้งได้นี้ขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๑๔๒(๕) อนุโลมใช้ชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาด้วยตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๒๔๖ หรือ ๒๔๗


ย่อคาบรรยายเนติฯ สมัย ๖๐ ภาคสอง ฉบับเตรียมสอบ ๓ สนาม (กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน) รวบรวมและสรรสร้างโดยทีมงาน ...((((((((( STD )))))))))... ปรับปรุงใหม่ เมษายน ๒๕๕๑

๑๓. กฎหมายปิดปากตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๔๖ จะต้องมีเงื่อนไขครบ ๔ ประการ คือ ๓.๑) เงื่อนไขข้อที่ ๑ ต้องเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา ตามแนวบรรทัดฐานคาพิพากษาศาล ฎีกาได้ให้ความหมายไว้ ๒ แนว คือ ๓.๑.๑) แนวแรก ให้ความหมายอย่างแคบ วางหลักไว้ว่า ถ้าคดีแพ่งกับคดีอาญามีประเด็น ตรงกันเพียงบางข้อ แต่มูลแห่งความรับผิดไม่ตรงกันทั้งหมด ไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ๓.๑.๒) แนวใหม่ เริ่มเปลี่ยนไปถือเอาความหมายที่กว้างขึ้น กล่าวคือ ไม่จาเป็นจะต้องมีมูล ของความรับผิดซ้อนทับกันทั้งหมดทั้งคดี ขอเพียงให้มีประเด็นข้อเท็จจริงข้อใดข้อหนึ่งตรงกันทั้งคดีแพ่งและ คดีอาญา ถือว่าเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญาได้แล้ว ดังนี้คดีเช็คก็น่าจะเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญาได้ - การพิจารณาว่าคดีแพ่งใดเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาหรือไม่ ต้องพิจารณาข้อเท็จจริงใน คดีแ พ่ งนั้นว่าเป็นการกระทาที่เ ป็นองค์ ประกอบความผิ ดในคดีอ าญาหรือ ไม่ ในคดีแพ่งและคดีอ าญาต่างมี ประเด็นสาคัญโดยตรงเป็นอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา (ฎ. ๙๐๕/๑๕๔๒) - คดีนี้มีมูลกรณีที่อาศัยการกระทาที่เป็นองค์ประกอบความผิดในคดีอาญาว่าจาเลยที่ ๒ หมิ่นประมาทโจทก์ด้วยการโฆษณาด้วยเอกสารและสิ่งตีพิมพ์ต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทาให้โจทก์เสีย ชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง จึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา (ฎ. ๕๕๘๔/๒๕๔๕) ๓.๒) เงื่ อนไขข้ อที่ ๒ ค าพิ พากษาคดีส่ ว นอาญาต้อ งถึง ที่สุ ดแล้ ว จริงๆ (ชั้น ฎีกา) เพราะถ้ าค า พิพากษาคดีส่วนอาญายังไม่ถึงที่สุดแล้วอาจถูกศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา กลับ แก้ หรือยกเสียก็ได้ ๓.๓) เงื่อนไขข้อที่ ๓ คาพิพากษาถึงที่สุดในคดีส่วนอาญาจะมีผลโดยตรงในคดีอาญาเท่านั้น ดังนี้ ปัญหาข้อเท็จจริงปลีกย่อยที่มิใช่ประเด็นโดยตรงในคดีอาญา ย่อมไม่ผูกพันศาลและคู่ความในคดีส่วนแพ่ง เช่น - เฉพาะข้อเท็จจริงที่เป็นองค์ประกอบในการกระทาความผิดของจาเลยในคดีอาญาเท่านั้น ซึ่งถือ ว่าเป็นประเด็นโดยตรง ส่วนเรื่องอื่น เช่น ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโทษก็ดี ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอานาจของโจทก์ก็ดี มักจะไม่ถือว่าเป็นประเด็นโดยตรงในคดีอาญา (ฎ. ๒๖๓๗/๒๕๔๒) - ข้อหากระทาโดยประมาทเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย ประเด็นที่ว่าจาเลยได้กระทาโดยประมาท เป็นประเด็นโดยตรงในคดีอาญา มีผลผูกมัดโจทก์ในคดีแพ่ง ส่วนประเด็นว่าโจทก์มีส่วนร่วมในการกระทาผิดของ จาเลยด้วยหรือไม่ ไม่ใช่ประเด็นโดยตรงในคดีอาญา เพราะฉะนั้นไม่เอามาผูกมัดโจทก์ในคดีแพ่งเป็นการเด็ดขาด ตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๔๖ (ฎ. ๒๖๕๙/๒๕๓๙) - ข้อหาบุกรุกทาให้เสียทรัพย์ศาลในส่วนคดีอาญายกฟ้องและถึงที่สุดเนื่องจากจาเลยไม่ได้กระทา โดยเจตนา คาพิพ ากษาในคดีอาญาส่ว นนี้ย่อมผูกพันคดีแพ่งเป็นการเด็ดขาด แต่ประเด็นว่าจาเลยประมาท เลินเล่อหรือไม่ ไม่เ ป็นประเด็นในคดีอาญาเนื่องจากความผิดฐานบุกรุกทาให้เสี ยทรัพย์โดยประมาทไม่มีใ น คดีอาญา เพราะฉะนั้นประเด็นนี้จึงไม่ผูกมัดศาลในส่วนคดีแพ่ง ดังนี้เมื่อปรากฏว่าจาเลยทาไปโดยประมาท เลินเล่อ จาเลยจึงต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดในทางแพ่ง (ฎ. ๒๖๓๗/๒๕๔๒) - ศาลในคดีส่วนอาญาวินิ จฉัยว่า จาเลยประมาททาให้โจทก์เจ็บสาหัส เป็นข้อเท็จจริงที่เป็น ประเด็นโดยตรงในคดีอาญา ย่อมผูกพันศาลและคู่ความในส่วนแพ่งเป็นการเด็ดขาด แต่ประเด็นว่าผู้เสียหายมี ส่วนประมาทอยู่ด้วยไม่น้อยกว่าจาเลยนั้น เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงเพื่อนาไปใชประกอบดุลพินิจในการลงโทษ


ย่อคาบรรยายเนติฯ สมัย ๖๐ ภาคสอง ฉบับเตรียมสอบ ๓ สนาม (กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน) รวบรวมและสรรสร้างโดยทีมงาน ...((((((((( STD )))))))))... ปรับปรุงใหม่ เมษายน ๒๕๕๑

๑๐

ไม่ใช่ประเด็นโดยตรงในคดีอาญา ไม่ผูกมัดศาลในคดีส่วนแพ่งตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๔๖ และไม่ใช่ข้อเท็จริงซึ่งไม่ อาจโต้แย้งได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๘๔(๒) ที่แก้ไขใหม่ด้วย ๓.๔) เงื่อนไขข้อที่ ๔ คนที่จะถูกผูกพันเสียประโยชน์โดยคาพิพากษาในคดีส่วนอาญานั้นจะต้องเป็น คู่ความหรือถือได้ว่าเป็นคู่ความในคดีส่วนอาญา เช่น - ข้อหาขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กาย ศาลฎีกาส่วนคดีอาญา วินิจฉัยว่าพยานหลักฐานโจทก์ยังรับไม่ได้ว่าจาเลยที่ ๑ กระทาโดยประมาทตามฟ้อง ย่อมผูกมัดคดีส่วนแพ่ง ตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๔๖ เมื่อจาเลยที่ ๑ ซึ่งกระทาการแทนจาเลยที่ ๒ มิได้กระทาโดยประมาทเลินเล่อ จาเลย ทั้งสองจึงไม่ต้องร่วมกันรับผิ ดชาระค่าเสียหายให้แก่โจทก์ในฐานะผู้รับช่วงสิทธิ์จาก ศ. ผู้เอาประกันภัย (ฎ. ๑๙๓๘/๒๕๔๘) - แต่หากเป็นกรณีที่ลูกจ้างถูกฟ้องคดีอาญาว่าประมาทเป็นเหตุให้ผู้ อื่นถึงแก่ความตาย จะนาเอา คาพิพากษาส่วนคดีอาญาไปผูกมัดนายจ้างด้วยไม่ได้ เพราะนายจ้างไม่ได้เป็นคู่ความในคดีอาญาและไม่ถือว่า เขาเป็นคู่ความในคดีอาญา (ฎ. ๕๕๙๐/๒๕๔๘) - กรณี รั บ การฟ้ อ งคดีอ าญาแล้ ว ศาลในคดีอ าญารั บ ฟัง ข้ อ เท็ จ จริ ง ว่ า จ าเลยไม่ ไ ด้ ทาผิ ด ไม่ ประมาท ไม่ได้เจตนา หรือไม่ได้กระทาเลย คาพิพากษาของศาลในคดีอาญามีผลผูกพันผู้เสียหายในคดีนั้นด้วย แม้ผู้เสียหายมิได้เข้ามาเป็นคู่ความด้วยก็ตาม - อัยการฟ้องตาม พ.ร.บ.จราจร ซึ่งรัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย คาพิพากษายกฟ้องถึงที่สุดย่อมไม่ ผูกมัดโจทก์ที่มาฟ้องคดีแพ่งข้ อหาละเมิดจากการขับรถโดยประมาททาให้โจทก์ได้รับบาดเจ็บ โจทก์ชอบที่จะ สืบพยานเป็นอื่นได้ ไม่ต้องด้วย ป.วิ.อ.มาตา ๔๖ (ฎ. ๒๒๐๔/๒๕๔๒) - แต่ถ้าความจริงเขาเป็นผู้เสียหายในความผิดที่อัยการฟ้องแล้ว ถึงแม้เขาจะมีส่วนร่วมในการ กระทาผิ ดด้ว ยจึงไม่ไ ด้เ ป็นผู้ เ สี ยหายโดยนิตินัย ไม่มีอ านาจฟ้อ งเอง ไม่มีอ านาร้อ งขอเข้ าเป็นโจทก์ร่ว มกั บ พนักงานอัยการก็ตาม แต่ก็ต้องถือว่าพนักงานอัยการได้ฟ้องคดีอาญาแทนเขาอยู่ด้วยส่วนหนึ่งแล้ว จึงถือว่าเป็น คู่ความในคดีอาญาด้วย ต้องถูกผูกพันตามคาพิพากษาในคดีส่วนอาญา (ฎ. ๒๖๕๙/๒๕๓๙) - ความผิดตาม พ.ร.บ.จราจารฯ รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย พ.เจ้าของรถยนต์ไม่มีอานาจฟ้องและ ถือ ไม่ไ ด้ว่ าอัยการฟ้ อ งคดีแ ทน แม้ พ. จะเป็นโจทก์ฟ้อ งคดเองก็ไม่ ใ ช่ค ดีแพ่ งที่เ กี่ยวเนื่อ งกับคดี อ าญาตาม ความหมายแห่ง ป.วิ.อ.มาตรา ๕๑ ในอันที่จะนาอายุความในทางอาญาที่ยาวกว่ามาใช้บังคับตาม ป.พ.พ.มาตรา ๔๔๘ วรรคสอง ต้องใช้อายุความ ๑ ปี (ฎ. ๑๙๔๙/๒๕๔๒) ๑๔. กฎหมายปิดปากตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๑๔๕ แยกพิจารณาได้ ๒ กรณี คือ ๔.๑) กรณีตามมาตรา ๑๔๕ วรรคหนึ่ง เป็นบทกฎหมายปิดปากเด็ดขาด หรือสันนิษฐานเด็ดขาด ถือว่าข้อเท็จจริงที่กฎหมายระบุไว้นั้นเป็นข้อเท็จจริง ซึ่งไม่อาจโต้แย้งได้ ต้องไม่ให้สืบพยานหลักฐานโต้แย้งเป็น อย่างอื่นตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๘๔(๒) ที่แก้ไขใหม่ ใช้ในกรณีคาพิพากษาคดีส่วนแพ่งผูกพันคู่ความชุดเดียวกันใน คดีแพ่งด้วยกันเองเป็นการเด็ดขาด มีปัญหาว่าคาพิพากษาส่วนแพ่งจะผูกพันคู่ความชุดเดียวกันในคดีอาญาตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๑๔๕ วรรคหนึ่ง ได้หรือไม่ มีคาพิพากษาออก ๒ แนว คือ ๔.๑.๑) แนวคาพิพากษาศาลฎีกาก่อนปี ๒๕๔๕ ตัดสินตรงกันมาตลอดว่า ป.วิ.พ.มาตรา ๑๔๕ วรรคหนึ่ง ใช้ในคดีแพ่งกับคดีแพ่งด้วยกันเองเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับคดีอาญา จะเอาไปผูกพันคดีอาญาด้วย


ย่อคาบรรยายเนติฯ สมัย ๖๐ ภาคสอง ฉบับเตรียมสอบ ๓ สนาม (กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน) รวบรวมและสรรสร้างโดยทีมงาน ...((((((((( STD )))))))))... ปรับปรุงใหม่ เมษายน ๒๕๕๑

๑๑

ไม่ได้ ถ้าเผื่อได้ก็ไม่จาเป็นต้องบัญญัติ ป.วิ.อ.มาตรา ๔๖ ก็นา ป.วิ.พ.มาตรา ๑๔๕ วรรคหนึ่งไปใช้โดยอนุโลมได้ เลยสิ (ฎ. ๔๗๕๑/๒๕๓๙) ๔.๑.๒) แนวค่าพิพากษาศาลฎีกาหลังปี ๒๕๔๕ ได้มีฎีกา ๒ ฉบับที่ตัดสินว่า ถ้าศาลในคดี ส่วนแพ่งพิพากษาถึงที่สุดว่าอย่างไรแล้ว คาพิพากษานั้นผูกพันคู่ความเด็ดขาดตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๑๔๕ วรรค หนึ่ง ซึ่งอนุโลมไปใช้ในคดีอาญาด้วยโดย ป.วิ.อ.มาตรา ๑๕ เพราะฉะนั้นจึงมีผลผูกพันคู่ความชุดเดียวกันนั้นที่ พิพาทเป็นคดีอาญาเป็นเด็ดขาดเช่นกัน เช่น - เมื่อ ศาลในคดี ส่ ว นแพ่ งพิพากษาว่าที่ พิพาทไม่ ใ ช่ของโจทก์แ ต่เ ป็นของจาเลย ค า พิพากษานี้จึงผูกพันโจทก์และจาเลย ซึ่งเป็นคู่ความชุดเดียวกันเป็นการเด็ดขาดตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๑๔๕ วรรค หนึ่ง ประกอบ ป.วิ .อ.มาตรา ๑๕ การกระทาของจาเลยจึ งไม่เ ป็ นความผิ ดฐานบุ กรุ ก ไม่จ าเป็นต้ อ งน าสื บ พยานหลักฐานอื่นอีกต่อไป งดการพิจารณานัดฟังคาพิพากษาและพิพากษายกฟ้องโจทก์ตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๑๘๕ (ฎ. ๒๗๗๔/๒๕๔๖) - ศาลคดีอาญาฟังข้อเท็จจริงผูกมัดตามคาพิพากษาในคดีส่วนแพ่งโดย ป.วิ.พ.มาตรา ๑๔๕ วรรคหนึ่ง เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏเป็นที่ยุติว่าจาเลยไม่รู้ในขณะโอนทรัพย์สินว่าโจทก์กาลังจะฟ้องหรือใช้ สิทธิทางศาล จึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกงเจ้าหนี้ เมื่อการกระทาของจาเลยไม่เป็นความผิด ศาล ต้องพิพากษายกฟ้องโจทก์ปล่อยจาเลยไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๑๘๕ (เลขฎีกา.....) ๔.๒) กรณี ต ามมาตรา ๑๔๕ วรรคสอง เป็ น บทกฎหมายปิ ด ปากเบื้ อ งต้ นหรื อ เป็ นกฎหมาย สันนิษฐานเบื้องต้น ไม่เกี่ยวกับ ป.วิ.พ.มาตรา ๘๔ ที่แก้ไขใหม่ แต่จะไปมีผลตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๘๔/๑ ที่แก้ไข ใหม่ คือไปเปลี่ยนภาระการพิสูจน์จากฝ่ายที่กล่าวอ้าง ให้ไปอยู่ฝ่ายตรงข้ามที่จะต้องนาพยานหลักฐานมาพิสูจน์ หักล้างบทสันนิษฐานเบื้องต้นนั้น เช่น - ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ไม่ใช่ของจาเลย คาพิพากษาคดีนี้ผูกมัด โจทก์จาเลยคู่นี้ระหว่างกันเองจะเถียงเป็นอย่างอื่นไม่ได้ ถือว่าถูกปิดปากเด็ดขาดตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๑๔๕ วรรค หนึ่ง เป็นข้อเท็จจริงซึ่งคู่ความชุดเดียวกันนี้จะเถียงเป็นอย่างอื่นไม่ได้ โต้แย้งเป็นอย่างอื่นไม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๘๔(๒) แต่ถ้าโจทก์อ้างเอาคาพิพากษาฉบับนี้ไปยันคนนอกคดี ไม่ใช้ ป.วิ.พ.มาตรา ๑๔๕ วรรคหนึ่ง แต่ ไปเข้ามาตรา ๑๔๕ วรรคสอง (๒) ปิดปากในเบื้องต้นเท่านั้น ครั้งที่ ๔ ~ ข้อเท็จจริงที่คู่ความรับกันแล้วในศาล๔ ข้อเท็จจริงที่คู่ความรับกันแล้วในศาล (Facts admitted in court) ตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๘๔(๓) ที่แก้ไขใหม่ แยกพิจารณาได้ ๗ ประเด็น ดังนี้  คารับของคู่ความกับคารับของคนที่ไม่ใช่คู่ความ คารับของคู่ความีผลทางกฎหมายมากกว่า  คารับในศาลกับคารับนอกศาล คารับในศาลมีผลทางกฎหมายมากกว่า

บรรยายโดยศาสตราจารย์จรัญ ภักดีธนากุล วันที่ ๑๘ ธ.ค. ๒๕๕๐ คาบรรยายเนติฯ สมัย ๖๐ ภาคสอง เล่ม ๕ หน้า ๑๓๓ – ๑๖๙


ย่อคาบรรยายเนติฯ สมัย ๖๐ ภาคสอง ฉบับเตรียมสอบ ๓ สนาม (กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน) รวบรวมและสรรสร้างโดยทีมงาน ...((((((((( STD )))))))))... ปรับปรุงใหม่ เมษายน ๒๕๕๑

๑๒

คารับที่เป็นประโยชน์ต่อผู้รับเองกับคารับที่เป็นโทษหรือผลร้ายต่อผู้รับ คารับที่เป็นผลร้าย หรือเป็นโทษต่อผู้ทาคารับมีความสาคัญในทางกฎหมายมากกว่า  คารับโดยชัดแจ้งกับคารับโดยปริยาย มีได้ทั้งในแพ่งและอาญา  กฎหมายเป็นการถือว่ารับข้อเท็จจริง มีเฉพาะในคดีส่วนแพ่ง  คารับที่มีเงื่อนไขบังคับก่อนหรือที่เรียกชื่อหนึ่งว่า คาท้า มีได้เฉพาะในคดีแพ่ง  คารับในคดีอาญา 

๑. ประเด็นที่ ๑ ค่ารับของคู่ความกับค่ารับของคนที่ไม่ใช่คู่ความ ๑.๑ ค่ารับของคู่ความเองก็คือตัวความนั่นเอง ได้แก่บุคคลต่อไปนี้ คือ ก. คนที่ เ ป็ น โจทก์ เ ป็ น จ าเลยเองไปท าค ารั บ ในศาลก็ มี ผ ลท าให้ ข้ อ เท็ จ จริง เป็ น ยุ ติ ต าม ป.วิ.พ.มาตรา ๘๔(๑) ข. ผู้รับมอบอานาจให้ดาเนินคดีแทนตัวความ ก็อยู่ในฐานะเป็นคู่ความที่จะทาคารับในศาล ให้ข้อเท็จจริงเป็นยุติได้ ค. ทนายความของตัวความ ถ้าในใบแต่งทนายระบุชัดให้มีสิทธิมีอานาจและสละสิทธิ์หรือ ยอมรับข้อเท็จจริงแทนตัวความได้ ทนายความก็อยู่ในฐานะเป็นคู่ความที่จะรับข้อเท็จจริงที่ให้มีผลฟังยุติในศาลได้ เช่นกัน ง. ผู้รับมอบฉันทะให้ไปทาการดาเนินกระบวนพิจารณาบางอย่างบางประการแทนตัวความ ๑.๒ ค่ารับของคู่ความมีผลทางกฎหมายมากกว่าที่ไม่ใช่คู่ความ ดังนั้นหากจาเลยเบิกความรับ ในฐานะพยาน ย่อมมีผลเพียงทาให้กระทบต่อน้าหนักหลักฐานในคดีนั้นเท่านั้น ไม่ถือว่าเป็นคารับของคู่ความที่ ทาให้ข้อเท็จจริงเด็ดขาด เช่น - เมื่อสัญญากู้ไม่ขีดฆ่าอากรแสตมป์ ถือว่าสัญญากู้ไม่ติดแสตมป์บริบูรณ์จึงไม่รับฟังสัญญากู้ เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งตามประมวลรัษฎากร มาตรา ๑๑๘ แม้จาเลยจะเบิกความรับว่าลายมือชื่อในสัญญา กู้เป็นของจาเลยก็เป็นเรื่องในชั้นพิจารณาว่า ข้อเท็จจริงในประเด็นที่จาเลยต่อสู้ไว้ฟังได้เพียงใด ไม่ใช่กรณีที่ไม่ ต้องใช้เอกสารสัญญากู้เป็นพยานหลักฐาน (ฎ. ๖๐๙/๒๕๓๗) ๑.๓ ค่ารับของคู่ความคนใดก็มีผลผูกพันเฉพาะคู่ความคนนั้น ทาให้ศาลฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติ ผูกพันคู่ความคนที่ทาคารับเองเท่านั้น จะไม่มีผลไปผูกพันคู่ความร่วมคนอื่นๆ (ฎ. ๔๓๒๐/๒๕๔๐) - แต่ถ้าเป็นกรณีที่มูลความแห่งคดีเป็นการชาระหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ หากจาเลยร่วมคนใด คนหนึ่งยกอายุความขึ้นต่อสู้ แม้ว่าคนอื่นไม่ได้ยกอายุความขึ้ นต่อสู้ และฟังได้ว่าหนี้รายนั้นขาดอายุความ ผล ของการยกอายุความขึ้นต่อสู้ของจาเลยร่วมมีผลไปยังจาเลยคนอื่นๆด้วยได้ (ฎ. ๘๘๘๐/๒๕๔๗ ๒. ประเด็นที่ ๒ ค่ารับในศาลกับค่ารับนอกศาล ๒.๑) คารับตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๘๔(๓) ที่แก้ไขใหม่ หมายถึง คารับในศาลของคู่ความเท่านั้น ถ้าเป็นคารับนอกศาลไม่อยู่ในบังคับของมาตรา ๘๓(๓) ไม่ทาให้ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติตามคารับนั้น และคารับใน ศาลนี้อาจจะเป็นคารับในชั้นศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาก็ได้


ย่อคาบรรยายเนติฯ สมัย ๖๐ ภาคสอง ฉบับเตรียมสอบ ๓ สนาม (กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน) รวบรวมและสรรสร้างโดยทีมงาน ...((((((((( STD )))))))))... ปรับปรุงใหม่ เมษายน ๒๕๕๑

๑๓

๒.๒) คารับนอกศาลอาจจะแปรสภาพกลับมาเป็นคารับในศาลได้ในภายหลัง ถ้ามีการนาคา รับนอกศาลนั้นเข้ามากล่าวอ้างยันกันในศาลและไม่มีปฎิเสธโต้เถียงเป็นอย่างอื่น เช่น - จาเลยที่ ๒ ไม่ได้ทาคารับในศาลทันที แต่ได้ทาเป็นหนังสือไปยังธนาคารนอกศาล โจทก์ก็นา หนังสือดังกล่าวมายื่นต่อศาล ศาลได้สอบถามจาเลยที่ ๒ ว่าได้ทาหนังสือนี้จริงไหม จาเลยที่ ๒ แถลงรับว่าจริง เท่ากับจาเลยที่ ๒ ได้ยอมรับข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในหนังสือฉบับนั้นต่อศาลแล้ว จึงฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติตาม คารับนั้นได้ เพราะคารับนอกศาลได้แปรสภาพมาเป็นคารับในศาลแล้ว (ฎ. ๔๓๒๐/๒๕๔๐) ๒.๓) เมื่อเป็นคารับของคู่ความในศาลแล้วก็ถือว่าข้อเท็จจริงตามคารับนั้นเป็นข้อเท็จจริงซึ่ง คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งได้รับแล้วตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๘๔(๓) ที่แก้ไขใหม่ ศาลต้องฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติตามคา รับนั้น ในทางปฏิบัติก็จะไม่อนุญาตให้คู่ความนาสืบพยานหลักฐานเป็นอย่างอื่น ๒.๔) แต่หากศาลชั้นต้นปล่อยให้คู่ความนาสืบพยานหลักฐานเป็นอื่นโดยไม่รับ ฟังข้อเท็จจริง ตามคารับ ถือว่าไม่ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๘๔(๓) ที่แก้ไขใหม่ ศาลอุทธรณ์มีอานาจตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๒๔๓(๓)(ก) ที่จะไม่ถือตามคาวินิจฉัยของศาลชั้นต้นที่ฟังข้อเท็จจริงมาผิดเพี้ยนนั้นได้ โดยวินิจฉัยข้อเท็จจริงนั้น ใหม่ให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๘๔(๓) กรณีศาลอุทธรณ์ทาไม่ถูกศาลฎีกาก็ชอบที่จะแก้ให้ถูกได้เช่นกัน เช่น - การที่ ศ าลอุ ท ธรณ์ เ ห็ น ว่ า ประเด็ น ที่ ศ าลชั้ น ต้ น ก าหนดไว้ ว่ า จ าเลยได้ สั่ ง ลงโฆษณาใน หนังสือพิมพ์ของโจทก์หรือไม่ ย่อมหมายถึงว่าได้มีการยกเลิกลงโฆษณาแล้วหรือไม่ด้วย แล้วหยิบยกขึ้นวินิจฉัย ด้วยนั้น เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น เพราะประเด็นดังกล่าวจาเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านถือว่าจาเลยได้สละแล้ว อีกทั้งยังเป็นข้อเท็จจริงที่แยกต่างหากจากกันได้ แม้คดีนี้จะต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่เมื่อรับฟังได้ โดยไม่ต้องฟังพยานหลักฐานอีกต่อไป จาเลยจึงต้องรับผิดชาระหนี้ให้โจทก์ตามฟ้อง (ฎ. ๑๐๘๗/๒๕๓๘) ๓. ประเด็นที่ ๓ ค่ารับที่เป็นผลร้ายต่อรูปคดีของผู้ท่าค่ารับเองกับค่ารับที่เป็นคุณต่อผู้ท่าค่ารับ ๓.๑) คารับที่เป็นผลร้ายต่ผู้ทาคารับในศาลเท่านั้นจึงจะมีผลให้ข้อเท็จจริงเป็นยุติได้ แต่ถ้า เป็นคารับนอกศาลก็มีผลเพียงให้คู่ความฝ่ายตรงกันข้ามอ้างเป็นพยานหลักฐานได้ชิ้นหนึ่ง ซึ่งมีน้าหนักค่อนข้าง ดีมาก ๓.๒) คารับที่เป็นคุณเมื่อรับในศาลก็ไม่มีผลทางกฎหมายแต่อย่างใด ๔. ประเด็นที่ ๔ ค่ารับโดยชัดแจ้งกับค่ารับโดยปริยาย ๔.๑) คารับโดยชัดแจ้งย่อมไม่มีปัญหาในทางปฏิบัติ ๔.๒) แต่คารับโดยปริยายค่อนข้างจะมีปัญหาว่าอะไรคือรับรับโดยปริยาย ซึ่งตามกฎหมาย ลักษณะพยานถือว่าการนิ่งเฉยในบางสภาวะการณ์เป็นคารับโดยปริยายได้ ซึ่งคารับโดยปริยายมีได้ทั้งคดีแพ่ง และคดีอาญา เช่น - โจทก์ทราบเรื่องทั้งหมดแล้วตามที่จาเลยแถลงต่อศาล ให้ถือเอาผลคดีอีกเรื่องหนึ่งเป็นข้อแพ้ ชนะกันในคดีนี้เพราะคดีเดิมได้ถอนคาร้องไปแล้ว ได้ฟังจาเลยแถลง ได้ฟังศาลสั่ง แล้วโจทก์นิ่งเสียไม่ได้โต้แย้ง คัดค้านแต่อย่างใด คงดาเนินกระบวนการต่อไปเหมือนว่ายอมรับการเปลี่ยนแปลงนั้นโดยปริยายแล้ว การที่ศาล ล่างชี้ขาดตามนั้นจึงมิใช่การนาข้อเท็จจริงนอกสานวนมาวินิจฉัยชี้ขาด (ฎ. ๓๓๘๓/๒๕๔๒) - แม้ว่าจาเลยจะให้การรับสารภาพว่าใช้มีดฟันผู้เสียหายบาดเจ็บสาหัสตามฟ้องก็ตาม เมื่อโจทก์ ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านและมิได้ขอสืบพยานหลักฐานให้เห็นเป็นอย่างอื่นก็ต้องฟังว่าบาดแผลของผู้เสียหายรักษา


ย่อคาบรรยายเนติฯ สมัย ๖๐ ภาคสอง ฉบับเตรียมสอบ ๓ สนาม (กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน) รวบรวมและสรรสร้างโดยทีมงาน ...((((((((( STD )))))))))... ปรับปรุงใหม่ เมษายน ๒๕๕๑

๑๔

ประมาณ ๑๐ วันหายตามที่ผู้ เสี ยหายยื่นคาร้อ งหรือ แถลงเข้ามา จาเลยจึงไม่มีค วามผิ ดฐานทาร้ายร่างกาย บาดเจ็บสาหัสตาม ป.อ.มาตรา ๒๙๗ คงมีความผิดเพียงแค่ฐานทาร้ายร่างกายบาดเจ็บสาหัสตาม ป.อ.มาตรา ๒๙๗ คงมีความผิดเพียงแค่ทาร้ายร่างกายบาดเจ็บธรรมดาตาม ป.อ.มาตรา ๒๙๕ (ฎ. ๔๑๘/๒๕๐๙) - แม้จาเลยจะให้การรับสารภาพว่าจาเลยได้พรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร แต่เมื่อผู้เยาว์ได้ยื่น คาร้องขึ้นมาว่าเหตุเกิดเนื่องจากถูกบิดาเลี้ยงดุด่าและไล่ตีให้ออกจากบ้าน จึงไปอาศัยจาเลยซึ่งเป็นคนรู้จักชอบ พอกั น มาก่ อ น จ าเลยทั้ ง สองก็ ไ ด้ ใ ห้ ค วามอุ ป การะตลอดมา เช่ น นี้ ย่ อ มท าให้ เ กิ ด ข้ อ เท็ จ จริ ง ขึ้ น ใหม่ เมื่ อ โจทก์จาเลยแถลงไม่ติดใจสืบพยาน ศาลย่อมฟังตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏขึ้นใหม่นี้ได้ (ฎ ๖๓๙/๒๕๑๑) - ตามป ป.วิ.อ.มาตรา ๑๗๖ ที่ว่าเมื่อจาเลยรับสารภาพตามฟ้องให้ศาลพิพากษาได้นั้น มิได้ หมายความว่าเมื่อจาเลยรับสารภาพแล้วจะต้องพิพากษาลงโทษจาเลยเสมอไป เมื่อศาลเห็นว่าจาเลยมิได้กระทา ผิด ศาลย่อมยกฟ้องได้โดยอาศัยอานาจตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๑๘๕ (ฎ. ๑๔๗๖/๒๕๒๕) ๔.๓) ถ้ า หากโจทก์ แ ถลงต่ อ ศาลขอน าพยานหลั ก ฐานเข้ า สื บ เพื่ อ หั ก ล้ า งค าแถลงของ ผู้เสียหาย ศาลจะสั่งให้งดสืบพยานโจทก์แล้วฟังข้อเท็จจริงตามที่ผู้เสียหายแถลงเป็นยุติไม่ได้ ย่อมเป็นการ ดาเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ เช่น - ผู้เสียหายแถลงต่อหน้าโจทก์ว่าตนเองเต็มใจที่จะไปกับจาเลยโดยมิได้ถูกจาเลยฉุดคร่าหรือ พรากไปแต่อย่างใด โจทก์แถลงต่อศาลว่าเมื่อผู้เสียหายแถลงอย่างนี้โจทก์ขอนาพยานหลักฐานเข้าสืบต่อไป แสดงว่าโจทก์ไม่ได้ยอมรับตามคาแถลงของผู้เสียหาย เพราะฉะนั้นจึงถือว่าเป็นคารับโดยปริยายของโจทก์ไม่ได้ แต่ศาลชั้นต้นไปสั่บงให้งดสืบพยานโจทก์จาเลย แล้วฟังข้อเท็จจริงตามที่ผู้เสียหายแถลงยุติ พิพากษายกฟ้องนั้น เป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ยกคาพิพากษาศาลชั้นต้ น แล้วย้อนสานวนไปให้ศาลชั้นชั้นต้น ทาการสืบพยานหลักฐาน แล้วพิพากษาคดีใหม่ต่อไปตามรูปคดี โดยอาศัย ป.วิ.อ.มาตรา ๒๐๘(๒) ประกอบ มาตรา ๒๒๕ (ฎ. ๒๔๘๔/๒๕๒๐) ๔.๔) หลักในคดีอาญาถือว่าการนิ่งเฉยของจาเลยเป็นการปฏิเสธ แต่มีข้อยกเว้นว่า หากเป็น กรณีเกี่ยวกับรายละเอี ยดปลีกย่อยที่ไม่ได้กระทบถึงองค์ประกอบความผิดหรือข้อต่อสู้เกี่ยวกับเรื่องเหตุยกเว้น โทษ เหตุลดหย่อนโทษ ศาลถือว่าการนิ่งของจาเลยในบางสถานการณ์เป็นการยอมรับข้อเท็จจริงโดยปริยายที่ เป็นโทษแก่ตัวจาเลย เช่น - ศาลชั้นต้นมีคาสั่งอนุญาตให้ โจทก์แก้ไขคาขอท้ายฟ้องที่ ขอให้นับโทษต่อจากเลขคดีเดิมเป็น เลขใหม่โดยอ้างว่า เกิดจากการพิมพ์ผิดพลาด จาเลยไม่คัดค้าน ย่อถือได้ว่าจาเลยรับในข้อเท็จจริงที่ว่า จาเลย เป็นบุคคลคนเดียวกับจาเลยในคดีอาญาเลขใหม่ที่โจทก์ขอแก้ด้วย เพราะเป็นข้อเท็จจริงเดียวกันกับที่จาเลยเคย รับข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าวมาแล้ว (ฎ. ๙๐๔๔/๒๕๔๗) ๕. ประเด็นที่ ๕ กฎหมายถือว่ารับข้อเท็จจริงแล้ว (มีเฉพาะในคดีแพ่ง) ๕.๑) กรณีตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๑๐๐ วรรคสอง ออกแบบไว้เพื่อให้คู่ความเปิดเผยข้อเท็จจริงต่อกัน ให้มากที่สุด โดยก่อนวันชี้สองสถานหรือก่นสืบพยาน คู่ความต่างมีสิทธิเขียนคาถามเกี่ยวกับข้อเท็จจริงส่งไปให้ คู่ความฝ่ายตรงข้ามตอบว่าจะยอมรับข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้หรือไม่ ถ้าตอบรับก็กลายเป็นคารับนอกศาล แล้วใน วันชี้ส องสถานหรือ วันนัดพร้อ มหรือวันที่มาอยู่ต่อหน้าศาล คู่ค วามก็ต้องมาแถลงต่อศาล ศาลจะถามว่าจริง หรือไม่ ถ้าตอบว่าจริงก็กลายเป็นคารับในศาล ศาลก็จะบันทึกไว้ แต่ถ้ายังมีข้อเท็จจริงที่เขาไม่ยอมรับและไม่ได้


ย่อคาบรรยายเนติฯ สมัย ๖๐ ภาคสอง ฉบับเตรียมสอบ ๓ สนาม (กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน) รวบรวมและสรรสร้างโดยทีมงาน ...((((((((( STD )))))))))... ปรับปรุงใหม่ เมษายน ๒๕๕๑

๑๕

ตอบหรือตอบปฏิเสธว่าไม่จริงโดยไม่มีเหตุแห่งการปฏิเสธโดยชัดแจ้ง ให้ถือว่ายอมรับข้อเท็จจริงนั้นแล้วตาม ป. วิ.พ.มาตรา ๑๐๐ วรรคสอง ๕.๒) กรณีตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๑๘๓ วรรคสอง กาหนดให้ในวันนัดชี้สองสถานคู่ความต้องมาศาล มาแล้วศาลมีอานาจถาม ถ้าศาลถามเกี่ยวกับคาฟ้อง คาให้การ พยานหลักฐาน แนวสู้คดี คู่ความต้องตอบ ถ้า ตอบปฏิเสธต้องมีเหตุผล แบบเดียวกับมาตรา ๑๐๐ วรรคสอง ถ้าศาลถามแล้วไม่ตอบถือว่ารับ ตอบไม่มีเหตุ ปฏิเสธไม่มีเหตุผลถือว่ารับ ๕.๓) กรณีตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๑๒๓ วรรคหนึ่ง เป็นเรื่องที่ต่อจาก ป.วิ.พ.มาตรา ๙๐ ที่กาหนดให้ คู่ความในคดีแพ่งที่อ้างเอกสารเป็นพยาน นอกจากระบุเอกสารนั้นไว้ในบัญชีระบุพยานให้ถูกต้องตาม มาตรา ๘๘ แล้ว ยังต้องส่งสาเนาเอกสารนั้นให้ศาลและคู่ความฝ่ายตรงข้ามทราบล่วงหน้าตาม มาตรา ๙๐ ถ้าไม่ส่งสาเนา เอกสารล่วงหน้าก็ต้องห้ามนาสืบเอกสารนั้นเป็นพยานตาม มาตรา ๘๗(๒) หากต้นฉบับไม่ได้อยู่ที่ผู้อ้างมาตรา ๙๐ เขียนยกเว้นไว้ ให้ผู้อ้างยื่นคาร้องต่อศาลให้มีคาสั่งเรียกต้นฉบับนั้นมาที่ศาลแทนการส่งสาเนา ถ้าศาลสั่ง เรียกไปแล้วเขาส่งต้นฉบับมาก็หมดภาระ แต่หากศาลเรียกไปแล้วไม่ส่งต้นฉบับทั้งที่มีต้นฉบับอยู่ในมือ เป็นการ ฝ่าฝืนมาตรา ๑๒๓ วรรคหนึ่ง ผลถือว่ายอมรับ ศาลชอบที่จะฟังข้อเท็จจริงได้ตามที่ผู้อ้างเอกสารต้องการอ้าง และต้องการเอกสารไปพิสูจน์ตาม มาตรา ๑๒๓ วรรคหนึ่ง เช่น - โจทก์มีคาร้องขอให้ศาลเรียกต้นฉบับกรมธรรม์จากจาเลยที่ ๒ เพราะอยู่ในความครอบครอง ของจาเลยที่ ๒ เพื่อแสดงให้เห็นว่าไม่มีข้อจากัดความรับผิดอย่างที่จาเลยที่ ๒ อ้าง จาเลยที่ ๒ ได้รับคาสั่งศาล ตามมาตรา ๑๒๓ วรรคหนึ่ง แล้วไม่ส่งเอกสารนั้นต่อศาล โดยไม่นาสืบพยานให้เห็นเป็นอย่างอื่น ต้องถือว่า จาเลยที่ ๒ ได้ยอมรับข้อเท็จจริงที่โจทก์อ้างแล้ว คือ กรมธรรม์นี้ไม่มีข้อจากัดเงินไว้ที่ ๕๐,๐๐๐ บาท จาเลยที่ ๒ จึงต้องรับผิดตามความเสียหายโจทก์ตาม มาตรา ๑๒๓ วรรคหนึ่ง (ฎ. ๒๘๑๓/๒๕๔๕) - แต่ถ้าต้นฉบับอยู่ที่คนนอกคดีไม่ใช่คู่ความฝ่ายตรงกันข้าม ศาลเรียกไปแล้วเขาไม่ส่งเอกสาร ให้ศาลตาม มาตรา ๑๒๓ วรรคสอง ให้ถือว่าไม่สามารถนาเอาเอกสารนั้นมาแสดงได้ เข้าข้อยกเว้นตาม มาตรา ๙๓(๒) ให้สืบสานวนเอกสารหรือพยานบุคคลแทนต้นฉบับเอกสารนั้นได้ ๕.๔) กรณีตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๑๗๗ วรรคสอง เป็นบทที่วางหลักเกณฑ์ในการร่างคาให้การใน คดีแพ่งว่า ถ้าจาเลยปฏิเสธต้องโต้แย้งให้ชัดแจ้งในคาให้การทุกข้อ และไม่ขัดแย้งกันเอง นอกจากนี้ยังต้องแสดง เหตุแห่งการนั้น คือเหตุแห่งการปฏิเสธด้วย ถ้าไม่มีเหตุผลที่ชัดแจ้ง ถือว่าเกิดประเด็นข้อพิพาท แต่จาเลยไม่มี ประเด็นนาสืบ โจทก์นาสืบประเด็นพิพากษานั้นได้ฝ่ายเดียว เช่น - จ าเลยรั บ ว่ า ท าเอกสารยื ม เงิ น ให้ โจทก์ แ ต่ต่ อ สู้ ว่า ไม่ ไ ด้รั บ เงิน โดยโจทก์ หลอกลวงให้ ท า เนื่องจากโจทก์ฝากเครื่องอะไหล่รถยนต์ให้จาเลยด้วย ไม่เรียกว่าจาเลยอ้างเหตุที่ทาให้หนี้ไม่สมบูรณ์ จาเลยนา สืบพยานไม่ได้ - แต่ถ้าเป็นเรื่องที่จาเลยยกข้อต่อสู้ใหม่ในคาให้การ เป็นคาให้การไม่ชัดแจ้ง ถือว่าไม่ก่อให้เกิด ประเด็นข้อพิพาท เช่น จาเลยให้การว่าโจทก์ไม่มีอานาจฟ้อง ใบมอบอานาจให้ฟ้องคดีไม่ชอบด้วยกฎหมาย ฟ้อ งโจทก์เ คลื อบคลุ ม คดีโจทก์ ขาดอายุความ ขอให้ยกฟ้อ ง หากไม่ได้ใ ห้เ หตุผลไว้ศาลฎีก าวินิจฉั ยว่าเป็น คาให้การที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่เกิดประเด็นข้อพิพาท หากศาลรับวินิจฉัยย่อมไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา ๑๔๒ คือ เป็น


ย่อคาบรรยายเนติฯ สมัย ๖๐ ภาคสอง ฉบับเตรียมสอบ ๓ สนาม (กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน) รวบรวมและสรรสร้างโดยทีมงาน ...((((((((( STD )))))))))... ปรับปรุงใหม่ เมษายน ๒๕๕๑

๑๖

ข้อที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามยกขึ้นอุทธรณ์ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๒๒๕ และ ๒๔๙ ๖. ประเด็นที่ ๖ ค่ารับที่มีเงื่อนไขบังคับก่อนหรือที่เรียกว่า ค่าท้า (Coditionnal admission) คาท้า คือ คารับของคู่ความในคดีแพ่งที่กระทาในศาลโดยมีเงื่อนไขบังคับก่อน มีลักษณะพิเศษแยก ออกมาจากคารับทั่วไป แยกได้ ๕ กรณี คือ ๖.๑) กรณีแรก ความหมายของคาท้า ตามแนวบรรทัดฐานคาพิพากษาศาลฎีกา คาท้า หมายถึง การที่คู่ความในคดีแพ่งตกลงกันโดยความรับรู้ของศาลว่าจะยอมแพ้ชนะกันทั้งหมดหรือบางส่วน โดยมีเงื่อนไข บังคับก่อนที่เกี่ยวกับการดาเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย ไม่เป็นการพ้นวิสัย ไม่เป็นการ พนันขันต่อ และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน กล่าวโดยสรุป หมายถึง คารับใน ศาลโดยมีเงื่อนไขบังคับก่อน ซึ่งสามารถแยกองค์ประกอบออกมาได้เป็น ๕ ประการ คือ (๑) ต้องเป็นเรื่องของคู่ความทางแพ่งเท่านั้นมาตกลงกัน (๒) ต้องเกิดจากการตกลงของคู่ความในคดีนั้น (๓) ต้องกระทาในความรับรู้ของศาล (๔) ต้องเป็นเรื่องที่คู่ความตกลงจะยอมแพ้ชนะกันทั้งคดีหรือบางส่วนก็ได้ (๕) ต้องเป็นการตกลงแพ้ชนะโดยมีเงื่อนไขบังคับก่อน - แนวคาพิพากษาศาลฎีกายอมรับว่า คาท้าเป็นเรื่องหรือเป็นรูปแบบหนึ่งของการยอมรับข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๘๔(๓) ที่แก้ไขใหม่ ไม่ใช่เรื่องการประนีประนอมยอมความตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๑๓๘ จึงไม่อยู่ ภายใต้ข้อจากัดสิทธิการอุทธรณ์ตาม มาตรา ๑๓๘ วรรคสอง (ฎ. ๔๓/๒๕๔๕) - เมื่อคู่ความตกลงท้ากันโดยชอบแล้ว ถือว่าคดีนั้นมีประเด็นข้อพิพาทหรือมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย เพียงเฉพาะในข้อที่คู่ความตกลงท้ากันไว้เท่านั้น ส่วนประเด็นข้อพิพาทอื่นๆ ถือว่าเป็นเรื่องที่คู่ความได้สละข้อ ต่อสู้ไปแล้ว จึงไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทในคดีนั้นอีกต่อไป ฉะนั้นต้องห้ามอุทธรณ์ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๒๒๕ และมาตรา ๒๔๙ เพราะถือว่าเป็นประเด็นที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาโดยชอบในศาลชั้นต้น (ฎ. ๗๘๙/๒๕๔๔) - ถ้าเป็นการตกลงอ้างพยานร่วมกัน อ้างผู้เชี่ยวชาญร่วมกัน โดยไม่มีข้อแพ้ชนะในข้อตกลงด้วย ศาลฟั งค าเบิก ความของพยานหรือ ความเห็นผู้ เชี่ยวชาญแล้ว ต้อ งมาวินิจฉั ยประเด็นข้อ พิพาทในคดีนั้นทีล ะ ประเด็นแล้วจึงทาคาพิพากษา กรณีไม่ใช่คาท้า เพราะคาท้านั้นศาลทาคาพิพากษาตัดสินแพ้ชนะตามนั้นได้เลย โดยไม่ต้องวินิจฉัยเรื่องอื่นประกอบ (ฎ.๖๓๓/๒๔๙๒) - คู่ความตกลงกันขอให้ศาลไปเผชิญสืบที่พิพาทแล้วให้ตัดสินคดีโดยต่างไม่สืบพยานหลักฐานอื่นอีก ต่ อ ไป อย่ า งนี้ ไ ม่ ใ ช่ ค าท้ า เพราะไม่ ไ ด้ ว างเงื่ อ นไขให้ ถื อ เป็ น ข้ อ แพ้ ช นะกั น มี ลั ก ษณะเป็ น การตกลงอ้ า ง พยานหลักฐานร่วมกันเท่านั้น เมื่อไม่ใช่คาท้าศาลจะทาคาพิพากษาแบบคาท้าไม่ได้ ต้องทาคาพิพากษาเต็ม รูปแบบ คือ ต้องวินิจฉัยทุกประเด็น (ฎ. ๙๐๓/๒๔๙๔) - คู่ความแถลงร่วมกันต่อศาลใหม่ว่าขอถือเอาข้อเท็จจริงที่ปรากฏในผลแห่งคดีอาญาของศาลชั้นต้น มาเป็นข้อเท็จจริงในคดีนี้ โดยไม่มีข้อตกลงให้ถือเอาผลคดีอาญาดังกล่าวมาเป็นข้อแพ้ชนะกันตามที่เคยเสนอท้า กันไว้ แสดงว่าคู่ความไม่ประสงค์จะถือเอาคดีอาญาดังกล่าวมาเป็นข้อแพ้ชนะกัน คงเพียงแต่ให้ถือข้อเท็จจริงคดี นี้ตามคดีอาญาเท่านั้น จึงมิใช่คาท้า (ฎ. ๗๖๓๖/๒๕๔๓)


ย่อคาบรรยายเนติฯ สมัย ๖๐ ภาคสอง ฉบับเตรียมสอบ ๓ สนาม (กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน) รวบรวมและสรรสร้างโดยทีมงาน ...((((((((( STD )))))))))... ปรับปรุงใหม่ เมษายน ๒๕๕๑

๑๗

๖.๒) กรณีที่สอง เงื่อนไขของคาท้าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ - สิ่งที่เอามากาหนดเป็น เงื่อนไขของคาท้าหรือเป็นเงื่อนไขแห่งการแพ้ชนะกันนั้น จะต้องเป็น เรื่องที่เกี่ยวกับการดาเนินกระบวนพิจารณาอย่างใดอย่างหนึ่งในศาล ฉะนั้นจะท้าแพ้ชนะโดยอาศัยฝนตกแดด ออก ฟุตบอลแพ้ชนะไม่ได้ เพราะไม่เกี่ยวกับการดาเนินกระบวนพิจารณาในศาล - คาท้าจะต้องไม่มีลักษณะเป็นการพนันขันต่อ ต้องไม่เป็นการพ้นวิสัย และไม่ขัดต่อความสงบ เรียบร้อยของประชาชน จึงจะถือว่าเป็นคาท้าที่ชอบ ซึ่งจะตกลงให้ศาลไหนวินิจฉัยก็ได้ หากตกลงให้ศ าล วินิจฉัยลอยๆ ไม่ชี้ชัดลงไปคู่ความมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้ - แต่ ห ากชี้ ชั ด ลงไปว่ า ให้ ศ าลชั้ น ต้ น เท่ า นั้ น เป็น ผู้ วิ นิ จ ฉั ย คู่ ก รณี จ ะนามาอุ ท ธรณ์ ฎี ก าไม่ ไ ด้ (ฎ. ๕๒๔๔/๒๕๓๑) ๖.๓) กรณีที่สาม ผลของคาท้าที่สมบูรณ์ผูกพันผู้ใด แยกพิจารณาได้ ๓ ประการ คือ ๖.๓.๑) ประการที่ ๑ ผูกพันคู่ความในคดีนั้นเฉพาะฝ่ายที่ตกลงตามคาท้าด้วยเท่านั้น จะถอน โดยพละการไม่ได้ (ฎ. ๗๕/๒๕๔๐) และยังมีผลไปผูกพันผู้สืบสิทธิของคู่ความดังกล่าวด้วย (ฎ. ๙๘๒/๒๕๐๖) ๖.๓.๒) ประการที่ ๒ ผูกพันศาล ศาลจะไปวินิจฉัยนอกเหนือคาท้าไม่ได้ ถ้าศาลไปวินิจฉัย ประเด็นอื่นก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๑๔๒ ๖.๓.๓) ประการที่ ๓ คาท้าไม่มีผลผูกพันคู่ความอื่นที่ไม่ได้ร่วมตกลงทาคาท้าไว้ด้วย ผูกพัน เฉพาะคู่ความที่ร่วมทาคาท้าเท่านั้น และในกรณีที่คู่ความท้ากันแล้วศาลก็จะไม่หยิบยกข้อกฎหมายเกี่ยวกับ ความสงบเรียบร้อยของประชาชนตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๑๔๒(๕) ขึ้นมาวินิจฉัยนอกเหนือจากที่ท้ากัน เช่น - เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าพวกที่โจทก์จาเลยท้ากันในศาลวินิจฉัยประเด็นว่าเป็นฟ้องซ้า หรือไม่ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จาเลยแพ้ตามคาท้านั้น ศาลอุทธรณ์ยังมิได้พิพากษาคดีเดิม คดีดังกล่า วยัง ไม่ถึงที่สุด ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้าตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๑๔๘ ส่วนจะเป็นการดาเนินกระบวนพิจารณาซ้า และต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๑๔๔ หรือไม่ ไม่ใช่ประเด็นที่คู่ความท้ากัน เมื่อไม่เห็นสมควร ศาลฎีกาไม่ หยิบยกขึ้นวินิจฉัย (ฎ. ๒๒๔๑/๒๕๑๕) - ท้ากันว่าให้ศาลวินิจฉัยแพ้ชนะโดยดูว่าคดีอาญาวินิจฉัยว่าจาเลยยิงโจทก์หรือไม่ เมื่อ คดีอาญาฟังว่าจาเลยยิงโจทก์ จาเลยต้องแพ้ตามคาท้า ส่วนข้อที่ว่าการกระทาของจาเลยแม้จะเป็นละเมิด แต่ก็ เป็นการกระทาเพื่อป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายจึงเป็นนิรโทษกรรมนั้น เป็นเรื่องนอกคาท้า จาเลยอ้างไม่ได้เลย (ฎ. ๗๓๖/๒๕๐๗) - คาวินิจฉัยของศาลแรงงานกลางในส่วนข้อตกลงโดยปริยายเป็นการวินิจฉัยนอกคาท้า จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย จาเลยไม่มีสิทธิยกประเด็นดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา เพื่อให้วินิจฉัยในเนื้อหาของ ประเด็นนั้นอีก (ฎ. ๓๐๘๗-๙๕/๒๕๔๕) ๖.๔) กรณีที่สี่ การตีความคาท้าเมื่อเป็นคาท้าแล้ว ถ้าคาท้าชัดเจนไม่มีปํญหา แต่ถ้าไม่ชัดเจนอาจ แปลความได้หลายนัย ศาลต้องตีความโดยอาศัยหลักการตีความกฎหมาย ตีความสัญญา เข้ามาช่วย เช่น - ท้าประเด็นว่า ถ้าคุณขับรถของจาเลยที่ ๒ มีใบอนุญาตขับรถยนต์โดยชอบ โจทก์ยอมแพ้ คาว่ามีใบอนุญาตโดยชอบนั้น หมายถึงได้รับใบอนุญาตให้ขับรถยนต์ได้เท่านั้น แม้ใบอนุญาตจะขาดต่ออายุก็ถือ ว่าเป็นใบอนุญาตที่ได้รับโดยชอบตามคาท้าแล้ว ต้องพิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายแพ้ (ฎ. ๒๒๙๐/๒๕๓๐)


ย่อคาบรรยายเนติฯ สมัย ๖๐ ภาคสอง ฉบับเตรียมสอบ ๓ สนาม (กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน) รวบรวมและสรรสร้างโดยทีมงาน ...((((((((( STD )))))))))... ปรับปรุงใหม่ เมษายน ๒๕๕๑

๑๘

- การสาบานตนของ ส. เป็นเพียงเงื่อนไขที่คู่กรณีกาหนดขึ้น การที่ ส. ไม่ได้รู้เห็นยินยอมใน การตกลงนั้นหาทาให้ข้อตกลงดังกล่าวเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ เมื่อจาเลยและ ส. ไปยังสถานที่กาหนด แล้ว แต่บุคคลทั้งสองไม่ยอมสาบาน จาเลยจึงต้องแพ้คดีตามคาท้า (ฎ. ๑๓๓๓/๒๕๓๐) - ท้ากันว่า หากเจ้าพนักงานที่ดินเห็นว่ารั้วที่จาเลยทานั้นอยู่ในเขตที่ดินของโจทก์ จาเลยยอม แพ้ แต่หากเจ้าพนักงานเห็นว่าอยู่นอกเขตที่ดินโจทก์ โจทก์ยอมแพ้ เจ้าพนักงานท่ดินไปรังวัดทาแผนที่แล้ว แต่ ไม่ได้ให้ความเห็นไว้ แต่คู่ความมารับข้อเท็จจริงกันในศาลต่อไปว่า เสารั้วทั้งหมดอยู่ภายในเขตที่ดินของโจทก์ ตามที่ปรากฎในแผนที่ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า สั่งให้งดสืบพยานหลักฐานแล้วพิพากษาให้จาเลยแพ้คดีตามคาท้าได้ (ฎ.๓๘๔/๒๕๔๔) - โรงพยาบาล ๒ แห่ง ตราวจแล้วระบุว่าโจทก์เป็นบุตรผู้ตาย แต่มีอยู่แห่งหนึ่งตราจอยู่ ๓ ครั้ง จึงให้ความเห็นว่า น่าเชื่อว่าโจทก์เป็นบุตรผู้ตาย กรณีเป็ นไปตามคาท้าแล้วว่า เสียงข้างมากของ ๒ แห่ง นั้น แสดงว่าโจทก์เป็นบุตรผู้ตาย แม้แห่งหนึ่งจะตรวจ ๓ ครั้ง ก็ไม่ผิดเงื่อนไขของคาท้า เพราะคาท้าไม่ได้บังคับไว้ว่า ต้องตรวจครั้งเดียวหรือตรวจโดยวิธีใด (ฎ. ๘๔๗๑/๒๕๔๔) ๖.๕) กรณีที่ห้า การดาเนินคดีในกรณีที่คาท้าไม่ สามารถบรรลุผลได้อย่างแน่แท้ ให้ย้อนกลับมา ดาเนินกระบวนการพิจารณาต่อไปตามปกติเหมือนคดีแพ่งสามัญทั่วไป ศาลจะไปสั่งว่าคาท้าไม่สามารถบรรลุผล ได้อย่างแน่แท้จึงให้งดสืบพยานหลักฐานโจทก์จาเลย และวินิจฉัยชี้ขาดคดีไปโดยอาศัยหลักกฎหมายในเรื่อง หน้าที่นาสืบ ใครมีหน้าที่นาสืบให้คนนั้นแพ้ไปอย่างนี้ไม่ได้ (ฎ. ๑๑๒๔/๒๕๔๐) - เมื่อหนังสือของโยธาธิการจังหวัดยังไม่เป็นการชี้ขาดประเด็นพิพาทตามคาท้า คู่ความต้อง ดาเนินกระบวนพิจารณาเพื่อสืบพยานโจทก์จาเลยต่อไป (ฎ. ๕๑๕๖/๒๕๔๓) - แต่มี ข้อ ยกเว้น อยู่ว่า ถ้า คู่ ค วามที่ท าค าท้ ากัน นั้น ได้ ต กลงหรือ แถลงชัดเจนว่า ไม่ติด ใจสื บ พยานหลักฐานกันต่อไปอีกแล้ว คาท้าจะบรรลุผลหรือไม่บรรลุผลก็ให้ศาลพิพากษาคดีต่อไป (ฎ. ๘๗/๒๕๑๒) - แม้ ข้ อ ความค าท้ า ตามรายงานกระบวนพิ จ ารณาจะระบุ ว่ า คู่ ค วามไม่ ติ ด ใจสื บ พยาน ก็ มี ความหมายเพียงว่า หากคาพิพากษาถึงที่สุดอย่างหนึ่งอย่างใดตามคาท้าแล้ว คู่ความจะไม่ติดใจสืบพยาน จะ ถือว่าในกรณีที่คาพิพากษาถึงที่สุดไม่ชี้ขาดว่าจาเลยมีความผิดหรือไม่ คู่ความก็ไม่ติดใจสืบพยานหาได้ไม่ (ฎ. ๔๘๕๘/๒๕๓๗) - แม้ตามรายงานกระบวนพิจารณาที่ศาลช้นต้นจะบันทึกคาท้าจะมีข้อความว่า คู่ความไม่ติดใจ สืบพยาน ก็มีความหมายว่าหากว่าผู้เชี่ยวชาญลงความเห็นอย่างใดอย่างหนึ่งตามคาท้าแล้ว คู่ความจะไม่ติดใจ สืบพยาน จะถือว่าในกรณีที่ผู้เชี่ยวชาญไม่ลงความเห็น คู่ความก็ไม่ติดใจสืบพยานหาได้ไม่ (ฎ. ๒๙๓๙/๒๕๒๙) - คู่ความท้ากันให้ถือเอาผลการรังวัดที่พิพาทเป็นข้อแพ้ชนะ แต่ จาเลยไม่ยอมให้ช่างรังวัดเข้าไป ในที่พิพาท ทาให้รังวัดไม่ได้ เช่นนี้ไม่ถือว่าคาท้าไม่บรรลุผลอย่างแน่แท้ เพราะศาลยังสามารถดาเนินการบังคับ ให้เป็นไปตามคาท้าได้ โดยสั่งให้รังวัดใหม่ ศาลจะไปสั่งเสมือนไม่มีคาท้าไม่ได้ (ฎ. ๑๕๘๐/๒๕๓๗)


ย่อคาบรรยายเนติฯ สมัย ๖๐ ภาคสอง ฉบับเตรียมสอบ ๓ สนาม (กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน) รวบรวมและสรรสร้างโดยทีมงาน ...((((((((( STD )))))))))... ปรับปรุงใหม่ เมษายน ๒๕๕๑

๑๙

๗. ประเด็นที่ ๗ ค่ารับในคดีอาญา แยกพิจารณาเป็น ๒ กลุ่มย่อย ดังนี้ ๗.๑) กลุ่ม ที่ ห นึ่ ง หลั ก เกณฑ์ ข องค ารั บ ในดี อ าญาที่ เ หมื อ นกั น กั บ หลั ก เกณฑ์ใ นคดี แ พ่ง มี ๔ ประเภท คือ ๗.๑.๑) ต้องแยกความแตกต่างระหว่างคารับของคู่ความกับคารับของพยานหรือคนนอกคดี คา รับของคู่ความย่อมีนัยสาคัญมากกว่ า มีผลในทางกฎหมายลักษณะพยานมากกว่าคารับของคนที่เป็นพยาน ส่วนใครเป็นคู่ความ ใครเป็นพยานก็ต้องไปใช้หลักเกณฑ์ที่เคยวิเคราะห์มาแล้วในคดีแพ่ง เช่น - แม้จาเลยจะได้เบิกความในคดีอื่นรับว่าลายมือชื่อของจาเลยในสมุดบันทึกเป็นลายมือ ชื่อของจาเลย และจาเลยเป็นหนี้เงินจานวน ๕,๐๐๐ บาท แต่เมื่อมิได้เป็นคารับของจาเลยในคดีนี้ จึงถือไม่ได้ว่า จาเลยยอมรับข้อเท็จจริงดังที่โจทก์อุทธรณ์ และคารับของจาเลยเช่นว่านี้ เป็นแต่เพียงพยานหลักฐานอย่างหนึ่งที่ โจทก์สามารถนามาสื่อเพื่อใช้ยันจาเลยได้ เมื่อจาเลยให้การปฏิเสธและนาสืบพยานหักล้างในคดีนี้ จะถือว่าคารับ ของจาเลยในคดีอื่นมาผูกพันจาเลยในคดีนี้โดยมิให้นาสืบหักล้างเลยนั้นหาได้ไม่ (ฎ. ๕๘๒๒/๒๕๔๖) ๗.๑.๒) ผลของคารับจะต้องแยกว่าเป็นคารับในศาลหรือนอกศาล คารับในศาลที่คู่ความกระทามี ผลให้ฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติธรรมตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๘๔(๓) ที่แก้ไขใหม่ ประกอบ ป.วิ.อ.มาตรา ๑๕ แต่ถ้า เป็นคารับของคู่ความนอกศาล มีผลเพียงแค่ให้คู่ความฝ่ายตรงข้ามอ้างมาเป็นพยานหลักฐานยันคู่ความผูทาคา รับได้ชิ้นหนึ่งเท่านั้น ๗.๑.๓) คารับในคดีอาญาต้องมีความแตกต่างระหว่างคารับที่เป็นโทษกับผู้ที่ทาคารับ กับคารับ ที่เป็นคุณแก่ผู้ที่ทาคารับ คารับที่เป็นโทษย่อมีนัยสาคัญในทางกฎหมายมากกว่าคารับที่เป็นคุณ ๗.๑.๔) ในคดีอาญาค ารับโดยปริยายก็มีได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในทางที่เป็นโทษต่อฝ่าย โจทก์ แต่ในทางที่เป็นโทษต่อฝ่ายจาเลยนั้นมีได้อย่างจากัดมาก เฉพาะในข้อเท็จจริงปลีกย่ อยเล็กน้อยเท่านั้น (ฎ. ๘๐๔๔/๒๕๔๗) ๗.๒) กลุ่มที่สอง คารับในคดีอาญามีหลักเกณฑ์ที่แตกต่างไปจากคดีแพ่ง โดยสภาพของคดีอาญา เอง และผลของ ป.วิ.อ.มาตรา ๑๗๖ และ ๑๘๕ ทาให้มีความแตกต่างจากคดีแพ่ง ๕ ประการ คือ ๗.๒.๑) ประการที่ ๑ คาท้ามีเฉพาะในคดีแพ่ง ในคดีอาญาไม่มีการท้ากัน แม้เป็นคดีความผิดที่ ยอมความได้หรือความผิดต่อส่วนตัวก็ไม่อาจจะท้ากันได้ ๗.๒.๒) ประการที่ ๒ ในคดีอาญาถ้าจะฟังว่าจาเลยยอมรับข้อเท็จจริงอย่างไรต้องเป็นเรื่องที่ จาเลยทาคารับเช่นนั้นจริงๆ ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ถือว่าจาเลยในคดีอาญายอมรับข้อเท็จ จริงอย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้นไม่นาเอา ป.วิ.พ.มาตรา ๑๐๐, ๑๒๓, ๑๗๗ และ ๑๘๓ มาใช้ในคดีอาญาด้วยโดยอนุโลมตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๑๕ ๗.๒.๓) ประการที่ ๓ ในคดีอาญานั้นถ้าจาเลยนิ่งต้องถือว่าปฏิเสธ เพราะฉะนั้นโดยปกติจะนา หลักเกณฑ์ในเรื่องคารับโดยปริยายมาใช้เป็นโทษแก่ จาเลยในคดีอาญาไม่ได้ เว้นแต่ในเรื่องข้อเท็จจริงปลีกย่อย (ฎ. ๘๐๔๔/๒๕๔๗) ๗.๒.๔) ประการที่ ๔ ถ้าจาเลยในคดีอาญาให้การรับสารภาพตามที่โจทก์ฟ้อง ต้องบังคับตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๑๗๖ ไม่บังคับตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๘๔(๓) ที่แก้ไขใหม่ กล่าวคือ ถ้าเป็นคดีที่มีอัตราโทษตาม


ย่อคาบรรยายเนติฯ สมัย ๖๐ ภาคสอง ฉบับเตรียมสอบ ๓ สนาม (กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน) รวบรวมและสรรสร้างโดยทีมงาน ...((((((((( STD )))))))))... ปรับปรุงใหม่ เมษายน ๒๕๕๑

๒๐

กฎหมายอย่างต่าจาคุกตั้งแต่ ๕ ปีขึ้นไป หรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น ศาลต้องฟังพยานหลักฐานโจทก์จนกว่า จะพอใจว่าจาเลยได้กระทาผิดจริง จึงจะลงโทษได้ - แต่ถ้าเป็นการรับข้อเท็จจริงบางข้อศาลต้องฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติตามคารับของจาเลย ตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๘๔(๓) ที่แก้ไขใหม่ ประกอบ ป.วิ.อ.มาตรา ๑๕ ไม่ต้องสืบพยานหลักฐานประกอบ สืบ เฉพาะประเด็นที่โต้เถียงกันเท่านั้น ๗.๒.๕) ประการที่ ๕ มาตรา ๑๘๕ นี้ใหญ่กว่ามาตรา ๑๗๖ ใหญ่กว่าบทบัญญัติในเรื่องคารับ ของคู่ความในศาลทุกกรณี เพราะฉะนั้นแม้ว่าจาเลยจะให้การรับสารภาพตามฟ้อ งหรือจาเลยไปให้การยอมรับ ข้อเท็จจริงบางข้อต่อศาลแล้วก็ตาม แต่ถ้าปรากฏว่าความจริงจาเลยไม่ได้เป็นผู้กระทาความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง หรือการกระทาของจาเลยไม่เป็นความผิด หรือคดีขาดอายุความ หรือมีเหตุยกเว้นโทษให้ ศาลก็ต้องพิพากษา ยกฟ้องโจทก์ แต่ต้องได้มาจากพยานหลักฐานในสานวนเท่านั้น มิใช่ปรากฏจากความรู้ความเข้าใจของศาล และ ต้องไม่ปรากฎจากรายงานของพนักงานคุมประพฤติ (ฎ. ๕๘๔/๒๕๔๙) - ข้อเท็จจริงนอกฟ้องตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๑๙๒ วรรคหนึ่ง เป็นกรณีที่มีเหตุตามกฎหมาย ที่จาเลยไม่ควรต้องรับโทษ และศาลต้องยกฟ้องตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๑๘๕ วรรคหนึ่ง (ฎ. ๑๙๖๖/๒๕๔๘) ครั้งที่ ๕ ~ ภาระการพิสูจน์หรือหน้าที่น่าสืบ๕ ภาระการพิสูจน์หรือหน้าที่น่าสืบ (Berden of proof) จะแบ่งโครงสร้างการพิจารณาตามลาดับขั้นตอน การทางานออกเป็น ๔ ขั้นตอน  ขั้นตอนแรก ต้องกาหนดประเด็นข้อพิพาทในคดีนั้นให้ถูกต้องเสียก่อน (ครั้งที่ ๕)  ขั้นตอนที่สอง กาหนดภาระการพิสูจน์หรือจะเรียกว่าหน้าที่นาสืบก็ได้ ในแต่ละประเด็นข้อ พิพาทในส่วนที่เป็นปัญหาข้อเท็จจริงนั้น (ครั้งที่ ๕ และครั้งที่ ๖)  ขั้นตอนที่สาม การนาพยานหลัก ฐานเข้าสืบ โดยกาจัดลาดับการนาสืบก่อนหรือ หลัง คดี แพ่งใช้ ป.วิ.พ.มาตรา ๑๘๓ วรรคหนึ่ง สาระสาคัญคือให้เป็นดุลพินิจของศาลกาหนดเป็นเรื่องๆไป แต่ถ้าเป็น คดีอาญาแล้วไม่เอา ป.วิ.พ.มาตรา ๑๘๓ มาใช้ เพราะ ป.วิ.อ.มาตรา ๑๗๔ บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วว่า ให้โจทก์ ในคดีอาญาเป็นฝ่ายนาพยานหลักฐานเข้าสืบก่อนเสมอ (ครั้งที่ ๗)  ขั้นตอนที่สี่ มาตาฐานการพิสูจน์ (ครั้งที่ ๗) ขั้นตอนที่ ๑ ประเด็นข้อพิพาท (Disputed Issues) แยกพิจารณาเป็น ๔ ข้อ คือ  ความส่ า คั ญ ของประเด็ น ข้ อพิ พ าท คื อ ถ้ า ไม่ รู้ ประเด็น ข้ อ พิ พ าทศาลจะก าหนดภาระการ พิสูจน์ไม่ได้  ความหมายและหลั ก เกณฑ์ ประเด็ น ข้ อ พิ พ าท หมายถึ ง ข้ อ โต้ แ ย้ ง ระหวางคู่ ค วามที่ มี นัยสาคัญทางคดี ซึ่งคู่ความได้ยกขึ้นกล่าวอ้างหรือต่อสู้ไว้ในคาคู่ความ คือ คาฟ้อง คาให้การ คาร้องสอด คา ฟ้องแย้ง คาให้การแก้ฟ้องแย้ง รวมไปถึงคาร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคาฟ้อง คาให้การ ที่ได้รับอนุญาตจากศาลด้วย ๕

บรรยายโดยศาสตราจารย์จรัญ ภักดีธนากุล วันที่ ๒๕ ธ.ค. ๒๕๕๐ คาบรรยายเนติฯ สมัย ๖๐ ภาคสอง เล่ม ๕ หน้า ๒๒๑ – ๒๔๐


ย่อคาบรรยายเนติฯ สมัย ๖๐ ภาคสอง ฉบับเตรียมสอบ ๓ สนาม (กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน) รวบรวมและสรรสร้างโดยทีมงาน ...((((((((( STD )))))))))... ปรับปรุงใหม่ เมษายน ๒๕๕๑

๒๑

คาคู่ความในคดีนั้นทั้งหมด ต้องเอามาอ่านประกอบกันแล้วถึงจะหยิบเอาจุดที่โต้แย้งกันมาเป็นประเด็นข้อพิพาท จะไปเอาข้อโต้แย้งนอกคาคู่ความมาตั้งเป็นประเด็นข้อพิพาทไม่ได้ จากคาคู่ความดังกล่าวทาให้เราเห็นประเด็น ข้อพิพาท และวิเคราะห์ภาระการพิสูจน์และจัดลาดับการนาสืบก่อนหลังได้เป็นลาดับๆไป แต่มีข้อยกเว้น ๒ กรณี คือ - กรณีแรก การตั้งประเด็นข้อพิพาทนั้นฝ่ายจาเลยอาจจะตั้งมาในคาให้การโดยที่ไม่ต้องไป ถามโจทก์อีกว่าจะปฏิเสธหรือไม่ การที่จาเลยยกข้อต่อสู้ขึ้นมาใหม่ในคาให้การ ทาให้เกิดประเด็นข้อพิพาทขึ้น ได้โดยตัวของมันเอง แต่ต้องให้การโดยชัดแจ้งและแสดงเหตุผล - กรณีที่สอง เรื่องจานวนค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้อง ถึงแม้จาเลยจะไม่ให้การปฏิเสธไว้ก็ถือว่า จาเลยยอมรับ ศาลต้องตั้งเป็นประเด็นข้อพิพาทให้ด้วยว่าโจทก์เสียหายเพียงใด เพราะศาลจะไม่ให้ผู้ใดได้รับ ค่าเสียหายเกินกว่าที่เขาเสียหายจริงๆ ดังนี้โจทก์เป็นฝ่ายกล่าวอ้างมีภาระพิสูจน์ (ฎ. ๑๘๘๘/๒๕๔๗)  ทางแก้ในกรณีที่ศาลก่าหนดประเด็นข้อพิพาทผิด แยกพิจารณาได้ ๓ กรณี ๑.๓.๑) กรณีแรก ศาลชั้นต้นชี้สองสถานกาหนดประเด็นข้อพิพาทน้อยกว่าที่ปรากฏอยู่ในคาคู่ความ คู่ความฝ่ายที่เสียประโยชน์มีหน้าที่คัดค้านภายใน ๗ วัน นับแต่วันที่ศาลสั่งกาหนดประเด็นข้อพิพาทหรือหน้าที่ นาสืบตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๑๘๓ วรรคสาม จึงจะสามารถยกข้อผิดพลาดดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์ฎีกาต่อไปได้ ๑.๓.๒) กรณีที่สอง ศาลชั้นต้นชี้สองสถานกานหดประเด็นข้อพิพาทเกินไปจากที่ปรากฏในค า คู่ความ ถือว่าผิดพลาดในสาระสาคัญ เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความ จะไม่ได้คัดค้านตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๑๘๓ วรรคสาม ก็ยังสามารถอุทธรณ์ให้ศาลอุทธรณ์ยกย้อนสานวนได้ ไม่ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๒๒๕ วรรคหนึ่ง เพราะเป็นข้อยกเว้นตามวรรคสอง ให้ย้อนสานวนตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๒๔๓(๒) หรือ ๒๔๙ แล้วแต่กรณี ศาลยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๑๔๒(๕) ประกอบ ๒๔๖, ๒๔๗ ๑.๓.๓) กรณีที่สาม ศาลชั้นต้นชี้สองสถานกาหนดประเด็นข้อพิพาทครบตามคาคู่ความ แต่กาหนด ประเด็นข้อ พิพ าทผิ ดเพี้ ยนไปจากเนื้อ หาที่เ ขาพิพาทกัน ถือ ว่าผิ ดพลาดในข้อ สาระส าคั ญ แม้คู่ ค วามไม่ได้ คัดค้านไว้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๑๘๓ วรรคสาม ก็ตาม ถือว่าเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ยกขึ้นมาว่า กล่าวในชั้นอุทธรณ์ฎีกาได้เช่นเดียวกับกรณีที่สอง ๑.๔) ประเด็นข้อพิพาทในคดีอาญา มีได้ ๓ กลุ่ม คือ ๑.๔.๑) กลุ่มที่ ๑ เป็นประเด็นข้อพิพาทที่กระทบถึงการกระทาผิดหรือมิได้กระทาผิดของจาเลย ภาระการพิสูจน์ตกแก่โจทก์ เช่น จาเลยให้การรับสารภาพว่าผิดตามที่โจทก์ฟ้องจริง แต่ไม่ต้องรับผิด เพราะผู้ เสียหาให้ความยินยอมอันบริสุทธิ์ให้จาเลยกระทาการเช่นนั้นได้ ประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่าผู้เสียหายได้ให้ความ ยินยอมอันบริสุทธิ์ต่อจาเลยหรือไม่ ประเด็นดังกล่าวเป็นเงื่อนไขหรือองค์ประกอบของความผิด โจทก์มีภาระการ พิสูจน์ (ฎ ๒๐๑๙/๒๕๑๔) - แต่ถ้าจาเลยให้การต่อสู้ว่ารับเอาเครื่องเสียงในรถยนต์ของผู้เสียหายไปจริง แต่ต่อสู้ว่า ไม่ผิดเพราะผู้เสียหายยินยอมให้จาเลยเอาไป มีประเด็นว่าผู้เสียหายให้ความยินยอมแก่จาเลยหรือไม่ ซึ่งไม่ได้ เป็นองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ แม้จะยกขึ้นเป็นข้อแก้ตัวให้พ้นผิดได้ก็ไม่อยู่ใน หน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องพิสูจน์ ดังนี้จาเลยกล่าวอ้างจึงมีหน้าที่นาสืบ (ฎ. ๑๔๗๘/๒๕๔๒)


ย่อคาบรรยายเนติฯ สมัย ๖๐ ภาคสอง ฉบับเตรียมสอบ ๓ สนาม (กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน) รวบรวมและสรรสร้างโดยทีมงาน ...((((((((( STD )))))))))... ปรับปรุงใหม่ เมษายน ๒๕๕๑

๒๒

๑.๔.๒) กลุ่ มที่ ๓ ประเด็นข้อ พิ พาทที่ไม่เ กี่ยวกับความผิ ดและไม่เ กี่ยวกับโทษ แต่เ กี่ยวกั บ อานาจฟ้องของโจทก์ ขั้นตอนที่ ๒ ภาระการพิสูจน์หรือหน้าที่น่าสืบ (Legal Burden of Proof) แบ่งพิจารณาได้ ๔ ประการ ๒.๑) ความหมายและความสาคัญของภาระการพิสูจน์หรือหน้าที่นาสืบ สองคานี้ใช้แทนกันได้ ปรากฏใน ป.วิ.พ.มาตรา ๘๔/๑ ที่แก้ไขใหม่เป็น “ภาระการพิสูจน์ ” ตามแนวบรรทัดฐานคาพิพากษาศาลฎีกา หมายถึง หน้าที่ที่กฎหมายกาหนดให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะต้องนาพยานหลักฐานมาพิสูจน์ต่อศาลให้ได้ว่า ข้อเท็จจริงในแต่ละประเด็นที่พิพาทกันนั้นเป็นดังที่ตนกล่าวอ้าง ถ้าไม่นาพยานหลักฐานมาสืบหรือนาสืบไม่ได้สม ตามมาตรฐานการพิสูจน์ คู่ความฝ่ายนั้นก็ต้องเป็นผู้แพ้ในประเด็นดังกล่าว ไม่ใช่ทั้งคดี และต้องดูเป็นประเด็นไป ภาระการพิสูจน์มีความสาคัญ ๒ ประการ ดังนี้ ๒.๑.๑) ประการแรก ฝ่ายที่มีภาระนาสืบหากไม่นาพยานหลักฐานมาสืบถือว่าแพ้ ๒.๑.๒) ประการที่สอง ศาลชั้นต้นกาหนดภาระการพิสูจน์ผิดไปจากกฎหมายในเรื่องนั้นๆ ถือว่า ผิดพลาดในข้อสาระสาคัญ เป็นการผิดในข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยไม่ผูกพันศาลอุทธรณ์ ศาล ฎีกา แม้ไม่มีคู่ความอุทธรณ์ฎีกาขึ้นมาก็มีอานาจและควรจะต้องทาให้ถูกต้องเสียก่อนตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๑๔๒ (๕) ประกอบมาตรา ๒๔๖, ๒๔๗ (ฎ. ๑๖๕๖/๒๕๔๕, ๔๔๙๕/๒๕๔๗) ๒.๒) หลักเกณฑ์ในการกาหนดภาระการพิสูจน์ ปรากฏใน ป.วิ.พ.มาตรา ๘๔/๑ ที่แก้ไขใหม่ และต้องอนุโลมไปใช้ในคดีอาญาด้วยตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๑๕ หลักใหญ่ก็คือผู้ใดกล่าวอ้างผู้นั้นมีภาระในการนา สืบ แต่มีข้อยกเว้นอยู่ ๒ ข้อ คือ กรณีต้องด้วยบทสันนิษฐานตามกฎหมาย กับ กรณีต้องด้วยบทสันนิษฐาน ข้อ เท็จ จริ ง (บัญ ญั ติ เ พิ่ มเติม ใหม่ต ามความใน ป.วิ .พ.มาตรา ๘๔/๑ ตอนท้ าย) ข้ อ สั นนิ ษ ฐานดัง กล่ าวแยก พิจารณาได้ ๕ ประการ ๒.๒.๑) ประการที่ ๑ ต้องแยกแยะให้เห็นความแตกต่างระหว่างข้อสันนิษฐานเด็ดขาดกับข้อ สันนิษฐานเบื้องต้น เพราผลในทางกฎหมายต่างกัน ถ้าเป็นข้อสันนิษฐานเด็ดขาดผลก็จะทาให้ข้อเท็จจริงที่ถูก สันนิษฐานกลายเป็นข้อเท็จจริงซึ่งไม่อาจโต้แย้งได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๘๔(๒) ไม่จาต้องนาสืบ ในทางกลับกัน หากเป็นข้อสันนิษฐานเบื้องต้น ก็ต้องเปลี่ยนหน้าที่หน้าที่นาสืบให้ไปอยู่แก่อีกฝ่ายเท่านั้น ๒.๒.๒) ประการที่ ๒ ต้องแยกระหว่างข้อเท็จจริงที่เป็นเงื่อนไขของข้อสันนิษฐานกับข้อเท็จจริง ที่ได้รับการสันนิษฐานหรือถูกสันนิษฐานให้ตามข้อสันนิษฐาน โดยข้อเท็จจริงที่เป็นเงื่อนไขของข้อสันนิษฐาน (Basic facts) ต้องมีข้อเท็จจริงที่เป็นเงื่อนไขของข้อสันนิษฐานครบถ้วนเสียก่อน จึงทาให้เกิดข้อเท็จจริงที่ได้รับ การสันนิษฐานขึ้น จึงทาให้เกิดข้อเท็จจริงที่ได้รับการสันนิษฐานขึ้น (Presumed fact) ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา ๘๔/๑ ตามความตอนท้ า ยที่ ว่ า “ข้ อ สั น นิษ ฐานที่ค วรจะเป็ น ซึ่ งปรากฏจากสภาพปกติ ธ รรมดาของ เหตุการณ์” เพราะฉะนั้นข้อเท็จจริงที่เป็นเงื่อนไขของข้อสันนิษฐานตามความเป็นจริงนี้ คือ สภาพปกติธรรมดา ของเหตุการณ์ในเรื่องนั้นว่ามีอย่างไร เป็นอย่างไร ผู้ที่จะเอาประโยชน์จากข้อสันนิษฐานบทนี้ต้องมีภาระพิสูจน์ ว่าเรื่องนี้สภาพปกติธรรมดาของเหตุการณ์เป็นอย่างนี้ ผลธรรมดาของมันก็คือ ข้อเท็จจริงหรือข้อสันนิษฐานที่ ควรจะเป็น


ย่อคาบรรยายเนติฯ สมัย ๖๐ ภาคสอง ฉบับเตรียมสอบ ๓ สนาม (กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน) รวบรวมและสรรสร้างโดยทีมงาน ...((((((((( STD )))))))))... ปรับปรุงใหม่ เมษายน ๒๕๕๑

๒๓

- ตามสภาพปกติธรรมดาของเหตุการณ์เงินในบัญชีเงินฝากธนาคารของใครก็ควรจะเป็น เงินของเจ้าของบัญชี เพราะฉะนั้นผู้ใดโต้แย้งว่าเงินในบัญชีธนาคารของใครไม่ใช่เป็นเงินของตนนั้น ถือว่าเป็น การโต้แย้งให้ผิดเพี้ยนไปจากสภาพปกติธรรมดาของเหตุการณ์ฝ่ายนั้นมีหน้าที่นาสืบ โดยถือว่าฝ่ายนั้นเป็นผู้ กล่าวอ้างข้อเท็จจริงใหม่ให้ผิดเพี้ยนไปจากสภาพปกติธรรมดาของเหตุการณ์ (ฎ. ๔๑๗๑/๒๕๓๒) ๒.๒.๓) ประการที่ ๓ ต้ อ งพิ เ คราะห์ ใ ห้ อ อกระหว่ า งบทสั น นิ ษ ฐานตามกฎหมายกั บ บท สันนิษฐานตามความเป็นจริง ตามความใน ป.วิ.พ.มาตรา ๘๔/๑ ที่แก้ไขใหม่ ๒.๒.๔) ประการที่ ๔ ข้อสันนิษฐานในกฎหมายอาญา แยกพิจารณาได้ ๒ ประเด็น (๑) ประเด็ น แรก ข้ อ สั น นิ ษ ฐานนั้ น ขั ด แย้ ง ต่ อ รั ฐ ธรรมนู ญ หรื อ ไม่ เพราะว่ า ใน รัฐธรรมนูญทุกฉบับได้เขียนเป็นหลักพื้นฐานสันนิษฐานความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหาและจาเลยในคดีอาญาเอาไว้ แล้ว แต่รัฐธรรมนูญห้ามสันนิษฐานความผิดเท่านั้น ไม่ได้ห้ามการสันนิษฐานข้อเท็จจริงบางข้อ ดังนี้จึงเห็น ตรงกันว่าตาม พ.ร.บ.การพนันฯที่สันนิษฐานว่า ผู้ใดอยู่ร่วมในวงการพนันใดให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้ร่วม เล่นการพนันในวงนั้นด้วย ไม่ขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญเพราะว่าไม่ได้เขียนสันนิษฐานความผิดของจาเลยทั้หมด เพียงแต่สันนิษฐานข้อเท็จจริงข้อเดียวว่าจาเลยร่วมเล่นพนันนั้นด้วยหรือไม่ แต่จะเป็นความผิดต่อเมื่อการพนัน เอาทรัพย์สินกัน และมีเจตนาที่จะพนันกัน กฎหมายนี้ไม่ขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญใช้บังคับได้ (๒) ประเด็ น ที่ ส อง จะต้ อ งพิ จ ารณาต่ อ ไปว่ า ข้ อ สั น นิ ษ ฐานที่ เ ป็ น โทษแก่ จ าเลยใน คดีอาญานั้นมีความชอบธรรมเพียงพอไม่ขัดแย้งต่อหลักนิติธรรมหรือไม่ ปรากฏในรัฐธรรมนูญ มาตรา ๓ วรรค สอง หลักนิติธรรม คือ ความชอบด้วยเหตุผล กล่าวคือจะต้องมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงหรือเกาะเกี่ยวกันอย่าง สมเหตุสมผลระหว่างข้อเท็จจริงที่เป็นเงื่อนไขของข้อสันนิษฐานกับข้อเท็จจริง ที่กฎหมายสันนิษฐานให้อย่าง เพียงพอ ๒.๒.๕) ประการที่ ๕ ในกรณีคู่ความทั้งสองฝ่ายต่างได้รับประโยชน์จากบทสันนิษฐานขัดแย้ง กันเองผลจะเป็นอย่างไร ในการใช้กฎหมายกาหนดภาระการพิสูจน์ แยกพิจารณาเป็น ๒ กรณี คือ (๑) กรณี แ รก ให้ดูว่ าบทไหนเป็ นข้อ สั นนิษ ฐานเด็ดขาดบทไหนเป็น ข้อ สั นนิษ ฐาน เบื้องต้น ถ้าข้อสันนิษฐานเบื้องต้ นไปขัดแย้งกับข้อสันนิษฐานเด็ดขาด ต้องบังคับตามข้อสันนิษฐานเด็ดขาด เช่น คดีอาญาถึงที่สุดว่าจาเลยไม่ประมาทย่อมมีผลมาผูกมัดคดีแพ่งเป็นการเด็ดขาดตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๔๖ ซึ่ง เป็นบทสันนิษฐานเด็ดขาด ทาให้ข้อเท็จจริงต้องฟังเป็นยุติซึ่งไม่อาจโต้แย้งได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๘๔(๒) ที่แก้ไข ใหม่ ดังนี้ข้อสันนิษฐานเบื้องต้นตาม ป.พ.พ.มาตรา ๔๓๗ วรรคหนึ่ง ใช้ขัดแย้งกับข้อสันนิษฐานเด็ดขาดไม่ได้ (๒) กรณีที่สอง กรณีข้อสันนิษฐานเบื้องต้นขัดแย้งกันเอง ศาลฎีกาตัดสินว่า กรณีที่ ทั้งสองฝ่ายอ้างประโยชน์จากบทสันนิษฐานบทเดียวกันมายันขัดแย้งกันเองเช่นต่างฝ่ายต่างอ้าง ป.พ.พ.มาตรา ๔๓๗ ให้ถือว่าทั้งสองฝ่ายไม่มีสิทธิ์อ้างประโยชน์จากบทสันนิษฐานไปด้วยกันทั้งคู่ กลับไปใช้หลักทั่วไปที่ว่าผู้ใด กล่าวอ้างนั้นมีหน้าที่นาสืบ เป็นแนวของฎีกาที่ว่ายานพาหนะอันเดินด้วยกาลังเครื่องจักรกลชนกันเองต้อ งฟ้อง ตาม ป.พ.พ.มาตรา ๔๒๐ ไม่เ ข้าบทสั นนิษ ฐานตามมาตรา ๔๓๗ นอกจากนี้ศ าลฎีกายังตีค วามเลยไปถึง ผู้โดยสารที่ได้รับบาดเจ็บจากรณีดังกล่าวด้วย เช่น ฎีกาที่ ๒๘๒/๒๔๙๐, ๑๐๙๑/๒๕๒๓, ๓๙๖/๒๕๔๔ ที่ตัดสิน ให้ผู้โดยสารฟ้องผู้ขับรถยนต์ตาม ป.พ.พ.มาตรา ๔๒๐ และมีหน้าที่นาสืบ อ.เห็นว่านแนวฎีกาเหล่านี้กาลังรอ เปลี่ยนแปลงให้ผู้โดยสารมาฟ้องตาม ป.พ.พ.มาตรา ๔๓๗ ซึ่งน่าจะถูกต้องตามเจตนารมณ์มากกว่า


ย่อคาบรรยายเนติฯ สมัย ๖๐ ภาคสอง ฉบับเตรียมสอบ ๓ สนาม (กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน) รวบรวมและสรรสร้างโดยทีมงาน ...((((((((( STD )))))))))... ปรับปรุงใหม่ เมษายน ๒๕๕๑

๒๔

- แต่กรณีที่สองนี้จะใช้ได้ต้องเป็นกรณีที่บทสันนิษฐานนั้นได้ขัดแย้งกันจริงๆ จึง จะกลับไปใช้หลักทั่วไป ถ้าหากทั้งสองฝ่ายต่างอ้างบทสันนิษฐานแต่ไม่ขัดแย้งกัน หรือคนละประเด็นกัน ก็ยังคง ได้รับผลประโยชน์จากข้อสันนิษฐานนั้น โดยการผลักภาระการพิสูจน์ให้ตกแก่ฝ่ายตรงข้าง (ฎ. ๒๗๕๙/๒๕๓๙) ครั้งที่ ๖ ~ ภาระการพิสูจน์หรือหน้าที่น่าสืบ(ต่อ)๖ ภาระการพิสูจน์ในคดีแพ่งเรื่องผิดสัญญา สารวจได้ ๙ ประเด็น ดังนี้  ประเด็นแรก จาเลยให้การต่อสู้ว่าไม่เคยทาสัญญากับโจทก์ โดยหลักการแล้วถือว่าโจทก์เป็น ฝ่ายกล่าวอ้างข้อเท็จจริงว่ามีสัญญากับจาเลยหรือไม่ เพราะฉะนั้นภาระการพิสูจน์จึงตกอยู่แก่โจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๘๔/๑ ที่แก้ไขใหม่ ผู้ใดกล่าวอ้างผู้นั้นมีหน้าที่นาสืบ  ประเด็นที่สอง จาเลยให้การปฏิเสธชัดแจ้งว่าเอกสารแห่งสัญญา ที่โจทก์นามาเป็นฐานในการ ฟ้องคดีเป็นเอกสารปลอม ถ้าดูเผินๆจะเหมือนกับจาเลยกล่าวอ้างเรื่องปลอมขึ้นมาใหม่ ถ้าไปตั้งประเด็นข้อ พิพาทว่าเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ จาเลยอ้างว่าปลอมจาเลยน่าจะมีภาระในการพิสูจน์ แต่ความจริงแล้วไม่ใช่ เพราะบรรทัดฐานคาพิพากษาศาลฎีกาเป็นที่ยุติกันแล้วว่า ถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายกล่าวอ้างเอกสารแห่งสัญญานั้น มาฟ้องร้องบังคับจาเลย จาเลยเพียงแต่ยกข้อต่อสู้ว่าเป็นเอกสารปลอมเท่านั้น ภาระการพิสูจน์ตกอยู่แก่โจทก์ซึ่ง เป็นฝ่ ายกล่ าวอ้าง เว้นแต่จ ะเข้าบทสันนิษ ฐานตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๑๒๗ มีเอกสาร ๒ ประเภทที่ได้รับการ สันนิษฐานเบื้องต้นตามกฎหมายว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงและถูกต้อง คือ เอกสารมหาชน กับ เอกสารเอกชนที่มี คาพิพากษาแสดงว่าเป็นข้อเท็จจริงและถูกต้อง ภาระการพิสูจน์ย่อมตกแก่จาเลย - เอกสารมหาชน หมายถึง เอกสารที่ทางราชการจัดให้มีขึ้น จะจัดทาเองหรือให้บุคคลอื่นทา แทนก็ได้ แต่เป็นเรื่องที่ทางราชการจัดให้มีขึ้นเพื่อบันทึกหรือเก็บข้อมูลสาธารณะ ไว้ให้สาธารณะชนเข้าไป ตรวจดูและอ้างอิงเป็นพยานหลักฐานได้ เช่น โฉนดที่ดิน น.ส.๓ (แต่ไม่รวมถึง ส.ค.๑) ข้อมูลในทะเบียนราษฎร์ ได้แก่ ทะเบียนบ้าน ใบเกิด มรณบัตร เป็นต้น - เอกสารมหาชนล้วนแต่เป็นเอกสารราชการเสมอ แต่เอกสารราชการอาจจะไม่ใช่เอกสาร มหาชน - เอกสารมหาชนได้รับสถานะพิเศษตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๑๒๗ คือ ๑) สามารถนาเอาสาเนา ซึ่งทางราชการรับรองว่าถู ก ต้อ งแท้จริ งมาสืบแทนต้นฉบับได้ และ ๒) ได้รับการสั นนิษ ฐานเบื้องต้นว่าเป็น เอกสารที่แท้จริง คือไม่ปลอม และถูกต้องตามเนื้อความที่บันทึกไว้ - เอกสารเอกชน ที่มี ค าพิพ ากษาแสดงว่ าเป็ นของแท้ จริ ง และถู กต้ อ งนั้น ได้รั บประโยชน์ ข้อเดียว คือ ได้รับการสันนิษฐานเบื้องต้นว่าแท้จริงและถูกต้อง (๑) แบบที่ ๑ การปลอมขึ้นมาทั้งฉบับ คือ ไม่เคยมีการทาเอกสารที่แท้จริงอย่างใดเลย ถ้าฟังว่าเอกสารที่โจทก์นามาฟ้องเป็นเอกสารปลอมทั้งฉบับ ศาลต้องพิพากษายกฟ้องโจทก์ ๖

บรรยายโดยศาสตราจารย์จรัญ ภักดีธนากุล วันที่ ๘ มกราคม ๒๕๕๑ คาบรรยายเนติฯ สมัย ๖๐ ภาคสอง เล่ม ๗ หน้า ๒๗๓ – ๒๙๓


ย่อคาบรรยายเนติฯ สมัย ๖๐ ภาคสอง ฉบับเตรียมสอบ ๓ สนาม (กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน) รวบรวมและสรรสร้างโดยทีมงาน ...((((((((( STD )))))))))... ปรับปรุงใหม่ เมษายน ๒๕๕๑

๒๕

(๒) แบบที่ ๒ การปลอมบางส่ว น หมายความว่า เดิมมีการทาเอกสารที่แท้จริง แล้ ว โจทก์ไปแก้ไขเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงหรือขูดลบข้อความในเอกสารที่แท้จริงโดยไม่มีอานาจ หรือโดยพละการ อย่างนี้ถ้าจาเลยไปยอมรับข้อเท็จจริงต่อศาลว่าได้เคยทาเอกสารที่แท้จริงอย่างไรไว้ ศาลก็ฟังข้อเท็จจริงตามคา รับในศาลของจาเลยได้ว่ามีการทาสัญญาและทาเอกสารที่แท้จริ งอย่างนั้น และสามารถบังคับให้จาเลยรับผิดไป ตามคารับในศาลประกอบกับเอกสารที่แท้จริงที่เคยมีอยู่ได้ เช่น จาเลยให้การต่อสู้ว่าเดิมทาสัญญากู้เงินโจทก์ไป เพี ยง ๑๐๐,๐๐๐ บาท โจทก์ ไ ปเติ มหนึ่ งลงข้า งหน้ า และเติ มค าว่า หนึ่ง ล้ างข้ างหน้ า หนึ่ ง แล้ ว เลยกลายเป็ น ๑,๑๐๐,๐๐๐ บาท เท่ากับจาเลยต่อสู้ว่าเอกสารนี้ปลอม โจทก์มีภาระพิสูจน์ว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง (๓) แบบที่ ๓ ทาสาเนาปลอมโดยไม่มีต้นฉบับ หรือมีต้นฉบับแต่ทาสาเนาให้มีเนื้อความ ผิดเพี้ยนไปจากเนื้อความในต้นฉบับในข้อสาระสาคัญ สาเนาเอกสารนั้นก็เป็นเอกสารปลอม การปลอมแบบนี้ จาเลยจะต้องให้เหตุผลเอาไว้เช่นเดียวกัน (๔) แบบที่ ๔ การปลอมโดยการยักยอกลายมือชื่อ ได้แก่ กรณีที่ลงลายมือชื่อแท้จริงไว้ใน กระดาษเปล่าหรือแบบพิพม์ที่ว่างเปล่าที่ยังไม่ได้เติมข้อความ แล้วฝ่ายตรงข้ามไปเติมข้อความให้ผิดเพี้ยนไป จากที่ ต กลงกั น ไว้ จ ริ ง เรี ย กว่ า ปลอมโดยวิ ธี ยั ก ยอกลายมื อ ชื่ อ ตาม ป.อ.มาตรา ๒๖๔ วรรคสอง ให้ เ ป็ น พยานหลักฐานไม่ได้ เพราะไม่เคยมีเอกสารที่แท้จริงอยู่เลย แม้จาเลยจะรับว่าเคยกู้จริง แต่แนวบรรทัดฐานคา พิพากษาถือว่าโจทก์มาศาลโดยสกปรก ไม่ควรให้โจทก์บังคับชาระหนี้เลย ตามหลักสูจริต มาตรา ๕ ยกฟ้อง โจทก์ทงั้ หมด  ประเด็นที่สาม จาเลยไปยกข้อต่อสู้เรื่องเอกสารปลอม แต่ยกข้อต่อสู้ในคาให้การว่า “สัญญา ที่โจทก์นามาฟ้องนั้นเป็นโมฆะหรอืเป็นโมฆียะ และจาเลยได้บอกเล่าแล้วจึงตกเป็นโมฆะมาแต่ต้นเอามาฟ้องร้อง บังคับไม่ได้ ขอให้ยกฟ้อง” ประเด็นข้อพิพาทที่ว่าสัญญาที่โจทก์ฟ้อ งเป็นโมฆะหรือโมฆียะหรือไม่ ถือว่าจาเลย เป็นฝ่ายกล่าวอ้างขึ้นมาใหม่ ภาระการพิสูจน์ตกอยู่ฝ่ายจาเลย - คาให้การของจาเลยในประเด็นนี้ต้องแสดงเหตุผลในคาให้การให้ละเอียด ว่าที่เป็นโมฆะหรือ โมฆียะเพราะเหตุอะไร และเกิดขึ้นได้อย่างไร มิฉะนั้นแล้วจะไม่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๑๗๗ วรรคสอง ศาล อาจไม่กาหนดประเด็นข้อพิพาทให้จาเลยก็ได้ - ในคาให้การของจาเลยบรรยายเพียงว่าที่ดินพิพาทยังเป็นของจาเลยซึ่งถูกโจทก์ร่วมกับธนาคาร ก. ทากลฉ้อฉลเท่านั้น มิได้บรรยายว่าโจทก์ร่วมกับธนาคาร ก. กระทาการอย่างใดอันเป็นเหตุแห่งกลฉ้อฉลไว้ โดยชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๑๗๗ วรรคสอง จึงต้องห้ามมิให้นาสืบข้ออ้างดังกล่าว แม้ศาลชั้นต้นจะให้จาเลย นาสืบถึงรายละเอียดเหล่านี้ ก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้ - ประเด็นที่ส ามนี้นาไปใช้กับกรณีที่จาเลยให้การต่อสู้ ว่าสัญ ญาไม่สมบูรณ์ด้วยเหตุอื่นๆด้ว ย เช่น เป็นสัญญาก่อหนี้พนันหรือสัญญากู้ยืม ฝากทรัพย์ จานา ซึ่งสัญญาเหล่านี้จะสมบูรณ์หรือบริบูรณ์ต่อเมื่อมี การส่งมอบทรัพย์สินที่เป็นวัตถุแห่งสัญญา ภาระการนาสืบย่อมตกแก่จาเลย มีปัญหาว่าจเลยจะนาพยานบุคคล มาสื บ ตามข้ อ ต่อ สู้ ไ ด้ห รือ ไม่ บรรทัด ฐานศาลฎีก าเป็ นที่ยุติ ใ นปัจ จุ บันว่ า จาเลยนาสื บพยานบุค คลได้ ไม่ ต้องห้ามตามมาตรา ๙๔ วรรคหนึ่ง(ข) เพราะไปเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา ๙๔ วรรคสอง ซึ่งได้บัญญัติยกเว้นให้ คู่ความนาพยานบุคคลมาสืบได้ ๔ ข้อ คือ


ย่อคาบรรยายเนติฯ สมัย ๖๐ ภาคสอง ฉบับเตรียมสอบ ๓ สนาม (กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน) รวบรวมและสรรสร้างโดยทีมงาน ...((((((((( STD )))))))))... ปรับปรุงใหม่ เมษายน ๒๕๕๑

๒๖

(๑) ข้อยกเว้นที่หนึ่ง ถ้าต้นฉบับเอกสารหาไม่ได้เพราะสูญหายหรือถูกทาลายโดยเหตุสุดวิสั ย หรือไม่สามารถนาต้นฉบับมาได้โดยประการอื่นตาม มาตรา ๙๓ วรรคหนึ่ง ก. (๒) ข้อยกเว้นที่สอง คือการต่อสู้และขอสืบพยานว่า เอกสารแห่งสัญญาที่โจทก์นามาฟ้องนั้น เป็นเอกสารปลอมทั้งหมดหรือแต่บางส่วน กฎหมายใช้คาว่าไม่ถูกต้องด้วย หมายถึง ไม่ถูกต้องในความหมาย ของคาว่าปลอม เช่น ทาสัญญาเอกสารที่ไม่ถูกต้องตรงตามต้นฉบับ ก็เป็นเอกสารปลอมนั้นเอง ยกเว้นข้อห้าม ตาม มาตรา ๙๔ วรรคหนึ่ง (ข) (๓) ข้อยกเว้นที่สาม คือ ขอสืบพยานบุคคลว่า สัญญาหรือหนี้ตามเอกสารที่โจทก์นามาฟ้องนั้น ไม่ส มบูรณ์ทั้งหมดหรือแต่บางส่ว น กฎหมายไม่ได้เ ขี ยนบางส่ว นไว้ แต่ว่าในทางปฏิบัติเป็นที่ยุติเ ช่นกันว่า ข้อยกเว้นที่สามนี้ขอนาสืบพยานบุคคลเพื่อแสดงว่าสัญญาหรือหนี้ตามเอกสารไม่สมบูรณ์ได้ ยกเว้นข้อห้ามตาม มาตรา ๙๔ วรรคหนึ่ง (ข) (๔) ข้อยกเว้นที่สี่ ขอสืบพยานบุคคลเพื่ออธิบายตีความข้อความในเอกสารที่ไม่ชั ดเจน ว่ามี ความหมายพิ เ ศษไม่ เ หมื อ นตามถ้ อ ยค าลายลั ก ษณ์ อั ก ษรได้ ไม่ ถื อ ว่ า เป็ น การน าสื บ พยานบุ ค คลแก้ ไ ข เปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมตัดทอนข้อความในเอกสาร ยกเว้นข้อห้ามตาม มาตรา ๙๔ วรรคหนึ่ง (ข) - การที่จาเลยนาสืบว่า จาเลยกู้ยืมเงินและได้รับเงินจากโจทก์เพียง ๖๐,๐๐๐ บาท มิใช่ ๒๙๐,๐๐๐ บาท ตามที่ปรากฏในสัญญากู้ยืมเงินนั้นเป็นการนาพยานบุคคลมาสืบถึงความไม่สมบูรณ์แห่งหนี้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๙๔ วรรคท้าย หาใช่เป็นการนาสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญากู้ยืมเงินตาม ป. วิ.พ.มาตรา ๙๔(ข) ไม่ จาเลยจึงย่อมนาพยานบุคคลมาสืบในประเด็นดังกล่าวได้ (ฎ. ๑๙๒๗/๒๕๕๐) - แต่ประเด็นข้อพิพาทที่ว่าจาเลยชาระหนี้ตามที่โจทก์ฟ้องแล้วหรือยัง โดยหลักการถือ ว่าจาเลยกล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ จาเลยมีภาระการพิสูจน์ เว้นแต่โจทก์ไปแถลงรับต่อศาลแล้วว่าจาเลยชาระ หนี้ใ ห้ แ ล้ ว จริงอย่ างที่จ าเลยต่อ สู้ แต่ ไ ปเถี ยงข้อ เท็ จจริง ขึ้นใหม่ว่า เป็น การช าระหนี้รายอื่นโจทก์ก็ต้ อ งเอา พยานหลักฐานมาแสดงให้ศาลเห็นว่าชาระหนี้รายอื่นอย่างไร ถ้าไม่แสดงให้ศาลเห็นโจทก์ก็แพ้คดี (ฎ. ๓๒๖/ ๒๕๐๘) - แต่หากโจทก์ไม่ได้แถลงรับต่อศาล ไม่ได้ยอมรับข้อเท็จจริงต่อศาลว่าจาเลยชาระหนี้ให้ โจทก์แล้วตามที่จาเลยต่อสู้ เพราะฉะนั้นข้อเท็จจริงจึงยังฟังเป็นยุติไม่ได้ว่าจาเลยชาระหนี้ให้โจทก์แล้ว แม้ว่า โจทก์จะนาสืบพยานเจือสมข้อต่อสู้ของจาเลยว่าจาเลยชาระหนี้ให้โจทก์แล้วก็ตาม แต่เป็นชาระหนี้รายอื่นไม่ทา ให้เปลี่ยนภาระการพิสูจน์ ดังนี้เมื่อ จาเลยไม่มีพยานหลักฐานมาพิสูจน์ใ ห้เชื่อได้ต ามหน้าที่ของตน ศาลย่อ ม พิพากษาให้จาเลยแพ้ไป (ฎ. ๘๓๓๑/๒๕๔๙) - โดยหลักการชาระหนี้กู้ยืมแล้วหรือไม่สามารถสืบพยานบุคคลได้ เพราะไม่ได้สืบแทน เอกสารและไม่ได้เป็นการสืบพยานบุคคลเพื่อเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นแต่ อย่างใด ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๙๔ วรรคหนึ่ง(ก) ซึ่งมีข้อยกเว้นอยู่ ๒ กรณี (๑) ถ้าหนี้รายนั้นเอกสารแห่งหนี้มีข้อความระบุไว้ด้วยว่า ยังไม่ได้มีการชาระหนี้กัน อย่างนี้มาขอสืบพยานบุคคลว่าชาระหนี้แล้ว เป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสารอาจจะต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๙๔ วรรคหนึ่ง (ข) หรือ


ย่อคาบรรยายเนติฯ สมัย ๖๐ ภาคสอง ฉบับเตรียมสอบ ๓ สนาม (กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน) รวบรวมและสรรสร้างโดยทีมงาน ...((((((((( STD )))))))))... ปรับปรุงใหม่ เมษายน ๒๕๕๑

๒๗

(๒) ถ้าเป็นหนี้กู้ยืมที่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้กู้ไว้เป็นสาคัญมาแสดงอยู่ก่อน แล้ว ผู้กู้จะนาสืบถึงการชาระหนี้ต้นเงินกู้ด้วยเงินสดโดยพยานหลักฐานบุคคลไม่ได้ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๖๕๓ วรรคสอง ประกอบ ป.วิ.พ.มาตรา ๙๔ วรรคหนึ่ง (ก) - แต่มีข้อยกเว้นของ (๒) อีกคือ ผู้กู้สามารถนาสืบพยานบุคคลถึงการชาระหนี้ ดอกเบี้ยได้ แม้จะเป็นการชาระด้วยเงินสด หรือชาระหนี้ต้นเงินกู้รายนั้นด้วยวิธือื่นที่ไม่ไช่เงินสดก็ตาม ๑.๔) ประเด็นที่สี่ (ไม่มี) ๑.๕) ประเด็นที่ห้า โจทก์ฟ้องว่าจาเลยทาสัญญากับโจทก์โดยมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญา แต่ จาเลยทาผิดสัญญาไม่ปฏิบัติตามสัญญา หรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามสัญญา จาเลยให้การต่อสู้ข้อเดียวว่าจาเลย ไม่ได้ทาผิดสัญญา ประเด็นข้อพิพาทที่ว่าจาเลยทาผิดสัญญาหรือไม่ โดยหลักถือว่าโจทก์ เป็นฝ่ายกล่าวอ้างมา ก่อนในคาฟ้องว่าจาเลยทาผิดสัญญา ภาระการพิสูจน์ตกอยู่แก่โจทก์ ซึ่งเป็นผู้กล่าวอ้างตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๘๔/ ๑ ที่แก้ไขใหม่ - มีข้อยกเว้นว่า ถ้าจาเลยไปให้การหรือแถลงรับข้อเท็จจริงต่อศาลว่า จาเลยได้ทาตามสัญญา จริงอย่างที่โจทก์อ้าง ศาลจึงรับฟั งข้อเท็จจริงตามคารับในศาลของจาเลยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๘๔(๓) ที่แก้ไข ใหม่ ภาระการพิสูจน์ของโจทก์จึงหมดไป - แต่หากจาเลยยกข้อโต้เถียงหรือข้อต่อสู้ขึ้นใหม่ว่า ตามสัญญาโจทก์ต้องไปทาการอย่างใด อย่างหนึ่งเสียก่อนแต่โจทก์ไม่ทา จาลยจึงไม่มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติต ามสัญญาจึงไม่ผิดสัญญา ส่วนนี้ถือว่าเป็น เรื่องที่จาเลยกล่าวอ้างขึ้นใหม่ จาเลยจึงต้องมีภาระการพิสูจน์ เช่น - โจทก์ฟ้ อ งว่าจาเลยไม่ส่ งมอบ สิ นค้ าตามสั ญ ญาคื อ ผิ ดสัญ ญานั่นเอง จาเลยให้การว่าตาม สัญญานั้นโจทก์ต้องเป็นฝ่ายไปรับมอบสินค้าจากจาเลยเอง แต่โจทก์กลับไม่ไปรับมอบสินค้านั้น จาเลยจึงไม่ผิด สัญญา ขอให้ยกฟ้อง หน้าที่นาสืบตกแก่จาเลย (ฎ. ๕๙๘/๒๔๘๕) ๑.๖) ประเด็นที่หก โจทก์เสียหายหรือไม่ เพียงใด โดยหลักโจทก์มีภาระการพิสูจน์ เว้นแต่ (๑) ประเด็นว่าโจทก์เสียหายหรือไม่ ถ้าจาเลยไม่ปฏิเสธให้ชัดแจ้ง ถือว่ารั บว่าโจทก์เสียหาย แล้วไม่เป็นประเด็นข้อพิพาท (๒) ประเด็นว่าโจทก์เสียหายเพียงใด แม้จาเลยไม่ปฏิเสธก็ไม่ถือว่ารับ ศาลต้องกาหนดเป็น ประเด็นข้อพิพาท ถ้าโจทก์ไม่นาสืบหรือพิสูจน์ไม่ได้ว่าเสียหายเท่าไหร่ ศาลกาหนดจานวนค่าเสียหายให้ตามที่ ศาลเห็นสมควร ๑.๗) ประเด็นที่ เจ็ด โจทก์ฟ้อ งเรียกเบี้ยปรับตามที่กาหนดในสั ญญา แม้จาเลยจะไม่ใ ห้การ โต้แย้งว่าเบี้ยปรับสูงเกินส่วน ก็ถือว่ามีประเด็นข้อพิพาท ศาลยกขึ้นมาวินิจฉัยเองได้ เพราะเป็นอานาจของศาล ตาม ป.พ.พ.มาตรา ๓๘๓ วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้ว่า ถือว่าเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๑๔๒(๕) โจทก์จะต้องพิสูจน์ให้ศาลเห็นว่าเบี้ยปรับตามที่เรียกร้อง นั้นไม่สูงไปกว่าความเสียหายที่แท้จริง ถ้าสืบไม่ได้ศาลมีอานาจจะปรับลดเบี้ยปรับลงตามความเสียหายที่แท้จริง ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา ๓๘๓ วรรคหนึ่ง (ฎ. ๕๑๙๔/๒๕๓๙)


ย่อคาบรรยายเนติฯ สมัย ๖๐ ภาคสอง ฉบับเตรียมสอบ ๓ สนาม (กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน) รวบรวมและสรรสร้างโดยทีมงาน ...((((((((( STD )))))))))... ปรับปรุงใหม่ เมษายน ๒๕๕๑

๒๘

๑.๘) ประเด็นที่แปด จาเลยให้การต่อสู้ข้อเดียวว่า สัญญาที่โจทก์ทามาฟ้องนั้นได้เลิกกันไปแล้ว แต่สัญญาระงับได้หลายเหตุ จาเลยต้องให้การให้ชัดแจ้งและแสดงเหตุแห่งการระงับของสัญญานั้นด้วย ประเด็นนี้ ถือว่าจาเลยกล่าวอ้างขึ้นใหม่ภาระการพิสูจน์ตกอยู่แก่ฝ่ายจาเลย ๑.๙) ประเด็นที่เก้า ข้อสัญญาที่โจทก์ทามาฟ้องบังคับจาเลยนั้นเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งมี ผลบังคับได้เพียงเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีเท่านั้น แม้จาเลยจะไม่ต่อสู้ศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ทานองเดียวกับค่าเสียหาย แล้วโจทก์มีภาระพิสูจน์ให้เห็นว่าการบังคับเต็มตามที่เห็นว่าเป็นธรรมและสมควรแก่ กรณีแล้วไม่ควรลด ถ้าโจทก์ไม่สืบให้เห็นเช่นนั้น ศาลมีอานาจลดตามที่เห็นว่าเป็นธรรมและสมควรแก่กรณี พอจะเทียบเคียงกับฎีกาลดเบี้ยปรับ เนื่องจากยังไม่มีบรรทัดฐานเป็นยุติให้อ้างอิง ภาระการพิสูจน์ในคดีอาญา แบ่งพิจารณาได้ ๔ กลุ่ม ดังนี้ ๒.๑) กลุ่มที่ ๑ ประเด็นข้อพิพาททุกประเด็นที่กระทบถึงความผิดหรือบริสุทธิ์หรือไม่ผิดของจาเลย ในคดีอาญา โดยหลักแล้วภาระการพิสูจน์ตกอยู่แก่ฝ่ายโจทก์ และจาเลยในคดีอาญาได้รับประโยชน์จากข้อ สันนิษ ฐานเบื้องต้นตามรัฐธรรมนูญ ว่า ผู้ต้อ งหาและจาเลยในคดีอาญาเป็นผู้ บริสุทธิ์จนกว่าศาลจะพิพากษา เช่นนั้น มีข้อสังเกต ๒ ประการ คือ ๒.๑.๑) ประการแรก จาเลยรับว่าทาจริงแต่ต่อสู้ว่าป้องกันโดยชอบตาม ป.อ.มาตรา ๖๘ แม้จะ เป็นการยกข้อต่อสู้ขึ้นมาใหม่ แต่ศาลฎีกาวางบรรทัดฐานไว้ว่า เรื่ องป้องกันโดยชอบนั้นเป็นเหตุที่ทาให้การ กระทาของจาเลยไม่เป็นความผิดเลย ถือเป็นการกระทาที่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะฉะนั้นเมื่อโจทก์กล่าวอ้างว่า จาเลยกระทาผิด โจทก์จึงมีภาระพิสูจน์ว่าจาเลยกระทาความผิดโดยไม่ได้เป็นป้องกันโดยชอบเพราะอะไร ถ้า โจทก์ไม่นาพยานหลักฐานมาสืบก็ฟังได้ว่าเป็นป้องกันโดยชอบตามที่จาเลยต่อสู้ (ฎ. ๒๐๑๙/๒๕๑๔) ๒.๑.๒) ประการที่สอง แต่ถ้าคดีอาญาเรื่องใดจาเลยยกข้อต่อสู้ว่าทาจริง แต่ไม่เป็นความผิด เพราะผู้เสียหายให้ความยินยอมอันบริสุทธิ์ให้จาเลยทาได้จึงได้รับยกเว้นความผิดนั้น เป็นเรื่องที่จาเลยกล่าวอ้าง ขึ้นมาใหม่ จาเลยมีหน้าที่จะต้องนาสืบ เพราะความยินยอมบริสุทธิ์ของผู้เสียหายไม่ได้ทาให้การกระทานั้นชอบ ด้วยกฎหมายเหมือนป้องกัน เพียงแต่ยอมให้ถือว่าเป็นข้อแก้ตัวยกเว้นความรับผิดของจาเลยได้เท่านั้น (ฎ. ๑๔๗๘/๒๕๔๒) - แต่ถ้าเป็นคดีการพนัน เป็นกรณีที่กฎหมายวางบทสันนิษฐานเบื้องต้นในข้อเท็จจริงเป็นคุณ แก่ โจทก์ เป็นโทษแก่ จาเลย ภาระการนาสื บย่อ มตกแก่ฝ่ ายจ าเลยตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๘๔/๑ ที่ แก้ไขใหม่ ประกอบ ป.วิ.อ.มาตรา ๑๕ ๒.๒) กลุ่มที่ ๒ ประเด็นเกี่ยวกับโทษ โดยหลักถือว่าจาเลยกล่าวอ้างขึ้นใหม่ ทาหน้าที่นาสืบตกแก่ จาเลย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอ้างเหตุจาเป็น บันดาลโทสะ วิกลจริต หรือขอให้ลดหย่อนผ่อนโทษ - แต่มีข้อยกเว้นว่า ถ้าเป็นเรื่องที่โจทก์ขอให้เพิ่มโทษ หรือ ขอให้กักกัน อันนี้เป็นเรื่องของ โจทก์กล่าวอ้างมาในคาฟ้องว่าจาเลยเคยกระทาผิดมาก่อนจึงจะมาเพิ่มโทษหรือกักกันได้ หน้าที่นาสืบย่อมตกแก่ โจทก์ ๒.๓) กลุ่มที่ ๓ ประเด็นเกี่ ยวกับอานาจฟ้อ งว่าการสอบสวนชอบหรือ ไม่ อัยการมีอ านาจฟ้อ ง หรือไม่คดีขาดอายุความหรือไม่ หน้าที่นาสืบตกแก่โจทก์


ย่อคาบรรยายเนติฯ สมัย ๖๐ ภาคสอง ฉบับเตรียมสอบ ๓ สนาม (กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน) รวบรวมและสรรสร้างโดยทีมงาน ...((((((((( STD )))))))))... ปรับปรุงใหม่ เมษายน ๒๕๕๑

๒๙

๒.๔) กลุ่มที่ ๔ ถ้าจาเลยต่อสู้ว่าสิทธินาคดีอาญามาฟ้องได้ระงับไปแล้วตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๓๙ ถือ ว่าจาเลยกล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่ จาเลยมีภาระการพิสูจน์ (ฎ. ๗๕๗/๒๔๗๖) - เว้นแต่ ประเด็นเรื่องขาดอายุความ โจทก์มีภาระการพิสูจน์ เพราะเกี่ยวข้อกับอานาจฟ้อง โดยตรง ครั้งที่ ๗ ~ ภาระการพิสูจน์หรือหน้าที่น่าสืบ(ต่อ)๗ ขั้นต้อนที่ ๓ ลาดับก่อนหลังในการนาพยานหลักฐานเข้าสืบ (Order of proof) ประการแรก เมื่อศาลได้กาหนดภาระการพิสูจน์ในแต่ละประเด็นข้อพิพาทในคดีนั้นว่า ประเด็น ใดจะให้จับคู่ฝ่ายใดมีภาระการพิสูจน์แล้ว หลังจากนั้นศาลจะต้องกาหนดลาดับก่อนหลังในการนาพยานหลักฐาน เข้าสืบ ว่าจะให้คู่ความฝ่ายไหนนาพยานหลักฐานเข้าสืบก่อน คู่ความฝ่ายไหนนาพยานหลักฐานเข้าสืบหลังนั้น จะกาหนดในวันชี้สองสถาน แต่ไม่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการชี้สองสถาน เพราะมิใช่การกาหนดประเด็นข้อ พิพาทและกาหนดภาระการพิสูจน์ ประการที่สอง เรื่องการจัดลาดับก่อนหลังในการนาพยานหลักฐานเข้าสื บนี้ไม่เป็นข้อแพ้ชนะ เป็นแต่เพียงส่งผลให้ได้เปรียบเสียเปรียบกันเล็กน้อย ฝ่ายนาสืบก่อนย่อมเสียเปรียบฝ่ายสืบทีหลัง ประการที่สาม เรื่องการจัดลับก่อนหลังในการนาพยานหลักฐานเข้าสืบนี้จัดกันเป็นรายคดี ไม่ แยกเป็นรายประเด็น ต่างจากภาระการพิสูจน์หรือหน้าที่นาสืบตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๘๔/๑ ที่แก้ไขใหม่ อันนั้นต้อง กาหนดเป็นรายประเด็นข้อพิพาทแต่ละประเด็น ไม่กาหนดเป็นรายคดี ๓.๑) หลักเกณฑ์ในการจัดลาดับก่อนหลังในการนาพยานหลักฐานเข้าสืบ ๓.๑.๑) สาหรับคดีอาญา คดีอาญามีหลักตายตัวบัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ.มาตรา ๑๗๔ ว่า ต้อง ให้โจทก์ในคดีอาญาเป็นฝ่ายนาพยานหลักฐานเข้าสืบก่อนเสมอ โดยไม่คานึงว่าคดีนั้นโจทก์จะมีหน้าที่นาสืบ หรือไม่อย่างไร ๓.๑.๒) สาหรับคดีแพ่ง การจัดลาดับก่อนหลังในการนาพยานหลักฐานเข้าสืบอยู่ใน ป.วิ.พ. มาตรา ๑๘๓ วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติให้เป็นดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่จะพิ จารณาให้คู่ความฝ่ายใดนาพยานหลักฐาน เข้าสืบก่อนหลังกันอย่างไรก็ได้ตามที่ศาลเห็นสมควร เพราะฉะนั้นในคดีแพ่งศาลอาจจะให้โจทก์สืบก่อน หรือ อาจจะให้จาเลยสืบก่อนก็ได้เป็นดุลพินิจของศาล แต่ศาลฎีกาได้วางบรรทัดฐานไว้ดังนี้ (๑) แนวแรก คดีทั่วไป เน้นที่ความสาคัญของภาระการพิสูจน์ว่าคู่ความฝ่ายใดมีภาระ การพิสูจน์ใ นประเด็นที่สาคั ญยิ่งกว่ากั น โดยไม่ได้เ น้นที่จานวนของภาระการพิสู จน์ว่าใครมีภาระการพิสูจน์ จานวนภาระการพิสูจน์มากกว่ากัน

บรรยายโดยศาสตราจารย์จรัญ ภักดีธนากุล วันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๑ คาบรรยายเนติฯ สมัย ๖๐ ภาคสอง เล่ม ๙ หน้า ๑ – ๑๘


ย่อคาบรรยายเนติฯ สมัย ๖๐ ภาคสอง ฉบับเตรียมสอบ ๓ สนาม (กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน) รวบรวมและสรรสร้างโดยทีมงาน ...((((((((( STD )))))))))... ปรับปรุงใหม่ เมษายน ๒๕๕๑

๓๐

(๒) แนวที่สอง กรณีที่มีประเด็นข้อพิพาทสาคัญเท่ากัน ศาลฎีกาได้วางบรรทัดฐานให้ ศาลชั้นต้นเลือกทาได้ ๒ แบบ คือ แบบที่ ๑ คือให้จัดการนาสืบเป็น ๓ ช่วง เรียงตามประเด็นที่ขัดแย้งกันอยู่นั้น โดยการจัดลาดับการนาสืบให้เป็นไปตามประเด็นข้อพิพาท ใช้ในกรณียกเว้นเท่านั้น แบบที่ ๒ กรณีใช่แบบแรกไม่ส ะดวก ผ่อ นปรนให้ศ าลมีดุล พินิจจะกาหนดให้ คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายนาสืบก่อนในทุกประเด็นทั้งคดีไปเลยก็ได้ (๓) แนวที่สาม ในคดีที่มีจาเลยคนใดคนหนึ่งขาดนัดยื่นคาให้การตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๑๘๒(๑) บัญญัติให้ศาลงดชี้สองสถานได้ เมื่องดชี้สองสถานแล้วการกาหนดประเด็นข้อพิพาทและหน้าที่นาสืบ ให้ชัดแจ้งจึงไม่ต้องกระทา แต่การจัดลาดับการนาสืบก่อนหลังยังต้องทาอยู่ ในทางปฏิบัติศาลจะให้โจทก์ เป็น ฝ่ายนาพยานหลักฐานเข้าสืบก่อนทั้งคดี อย่างน้อยก็จะให้ส่งพยานเอกสารตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๑๙๘ ทวิ วรรคสาม (๑) แม้ว่าตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๑๙๗, ๑๙๘ และ ๑๙๘ ทวิ จะเปิดช่องให้ศาลพิจารณาโดยขาดนัดได้เลยก็ตาม (๔) แนวที่สี่ ในคดีมโนเร่และคดีไม่มีข้อยุ่งยาก ในทางปฏิบัติศาลถือว่าวันสืบพยานที่ จะเรียกจาเลยมานั้นหมายถึงสืบพยานโจทก์ เพราะฉะนั้นในดคีมโนสาเร่และคดีไม่มีข้อยุ่งยากจึงถือว่าโจทก์ต้อง เป็นฝ่ายสืบเสียก่อนเสมอ โดยศาลจะสั่งให้งดชี้สองสถานตาม ป.วิ.พ.๑๘๒(๕) หมายเรียกจาเลยมาไกล่เกลี่ยให้ การและสืบพยานในวันเดียวกัน (๕) แนวที่ห้า กรณีคดีสามัญที่ศาลเห็นว่าไม่ยุ่งยากซับซ้อนตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๑๘๒(๖) ให้ศาลมีคาสั่งงดชี้สองสถานศาลจะให้คู่ความฝ่ายไหนสืบก่อนก็ได้ แต่ถ้าประเด็นข้อพิพาทที่ไม่ยุ่ งยากนั้นตกแก่ ฝ่ายจาเลยก็ควรจะต้องให้จาเลยนาสืบก่อน เช่น - คดีมีประเด็นข้อพิพาทประเด็นเดียวว่า จาเลยชาระหนี้ให้โจทก์แล้วโดยวิธีหัก กลบลบหนี้หรือไม่ ภาระการพิสูจน์ตกลงแก่จาเลยซึ่งเป็นฝ่ายกล่าวอ้างขี้นใหม่ แต่เป็นประเด็นข้อพิพาทที่ไม่ ยุ่งยาก ศาลเห็นควรให้งดการชี้สองสถานตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๑๘๒(๖) แล้วกาหนดให้จาเลยเป็นฝ่ายนาสืบก่อน ขั้นตอนที่ ๔ มาตรฐานการพิสูจน์ (Standard of Proof) แบ่งออกเป็น ๔ ชนิด คือ ๔.๑) ชนิดที่ ๑ มาตรฐานการพิสูจน์ในคดีอาญา ต้องพิสูจน์ให้เห็นโดยปราศจากข้อสงสัย (Prof beyond reasonable doubt) มาตรฐานนี้ไม่ใ ช่ร้อ ยเปอร์เ ซ็นต์เ พราะสุ ดวิสั ยที่จะทาได้ มาตรฐานนี้ใ น ต่างประเทศเขาเน้นที่คาว่า Reasoonable คือ สมควร อันความีเหตุมีผล หรือสมควรแก่เหตุหรือต้องการความ สงสัยใดๆ ทั้งสิ้นว่าจาเลยเป็นคนร้ายที่กระทาผิดจริง ปรากฏใน ป.วิ.อ.มาตรา ๒๒๗ ไม่ใช่บทกาหนดหน้าที่นา สืบในคดีอาญา เป็นเพียงบทกาหนดมาตรฐานการพิสูจน์ความผิดของจาเลยในคดีอาญาที่ใช้บังคับแก่ฝ่ายโจทก์ เท่านั้น เพราะฉะนั้นไม่ใช้กับกรณีที่จาเลยเป็นฝ่ายมีหน้าที่นาสืบ ๔.๒) ชนิดที่ ๒ มาตรฐานการพิสูจน์ที่เรียกว่า Proof on balance of probability คือ ผู้มี หน้าที่นาสืบจะต้องนาพยานหลักฐานมาสืบให้เห็นหรือแสดงให้เห็นความโน้มเอียงของข้อเท็จจริงว่าน่าจะเป็นไป ในทิศทางใด หรือมักจะพูดกันว่า พิสูจน์เพียงแค่ให้เกิน ๕๐% ก็ได้มาตรฐานแล้ว ยังไม่มีบัญญัติไว้ในกฎหมาย ไทย แต่ปรากฎจากตาราและบรรทัดฐานคาพิพากษาศาลฎีกา ซึ่งทางตาราเรียกว่า มาตรฐานการพิสูจน์ทั่วไป ไม่จากัดเฉพาะคดีแพ่งใช้ในคดีอาญาด้วย


ย่อคาบรรยายเนติฯ สมัย ๖๐ ภาคสอง ฉบับเตรียมสอบ ๓ สนาม (กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน) รวบรวมและสรรสร้างโดยทีมงาน ...((((((((( STD )))))))))... ปรับปรุงใหม่ เมษายน ๒๕๕๑

๓๑

๔.๓) ชนิดที่ ๓ มาตรฐานการพิสูจน์ที่เรียกว่า Proof by clear and convincing evidence คือ มาตรฐานที่จะต้องแสดงให้เห็นมูลความแห่งคดีหรือมูลกรณีในเรื่องนั้นว่ า เรื่องที่พิพาทกันนี้มีมูลความจริงอยู่ แต่ จริงหรือไม่ยังไม่รู้ ไม่น่าจะเป็นยกเมฆมาใส่ร้ายปรักปรากลั่นแกล้งกัน มาตรฐานนี้ประมาณ ๓๐-๔๐% ก็น่าจะ พอ ใช้ในกรณีชั้นไต่สวนมูลฟ้องในคดีอาญา โจทก์ต้องนาพยานหลักฐานมาเสนอให้ศาลเห็นว่าคาฟ้องโจทก์มี มูล ในชั้นพนักงานสอบสวนไปขอหมายจับ หมายค้นจากศาล พนักงานสอบสวนต้องนาพยานหลักฐานไปแสดง ให้ศาลพิจารณาว่ามีข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุให้ออกหมายค้น หมายจับ ได้ตามกฎหมาย ๔.๔) ชนิดที่ ๔ มาตรฐานการพิสูจน์ที่เรียกว่า Proof of pricie case or probable cause คือ เหตุให้น่าเชื่อได้ว่า หรือ ให้มูลคดีเค้ามูลของเรื่องนั้นว่ามันมีเค้ามูลเป็นจริงอย่างนั้น ถือว่าเป็นมาตรฐานการ พิสูจน์ระดับต่าสุดในทางกฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน ประเทศไทยยังไม่นามาใช้

หลักกฎหมายว่าด้วยการรับฟังพยานหลักฐาน (Admissibility of Evidence) 1. หลักกฎมายว่าด้วยการรับฟังพยานหลักฐาน คือ หลักกฎหมายที่จะใช้คัดเลือกพยานหลักฐาน โดยแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ พยานหลักฐานที่รับฟังได้ กับ พยานหลักฐานที่รับฟังไม่ได้ 2. ต้อ งแยกการรับฟั งพยานหลั กฐานออกจากการชั่งน้าหนักพยานหลั กฐาน เพราะการรับฟั ง พยานหลักฐานต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของกฎหมาย ถ้า พิพาทกันว่าพยานหลักฐานชิ้นใดรับฟังได้ ไม่ได้ ย่อ เป็นปัญหาข้อกฎหมาย แต่การชั่งน้าหนักพยานหลักฐานนั้นเป็นเรื่องของปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลพินิจ ของศาลเป็นรายคดีไป ตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๑๐๔ 3. การรับฟังพยานหลักฐานมี ๑ หลักใหญ่ กับ ๘ ข้อยกเว้น - หลักการใหญ่ คือ โดยหลักแล้วพยานหลักฐานทุกชนิดมีคุณสมบัติสามารถพิสูจน์ข้อเท็จจริง ที่ พิ พ าทในคดี นั้ น ได้ ย่ อ มรั บ ฟั ง เป็ น พยานหลั ก ฐานในคดี นั้ น ได้ ไม่ ใ ช่ พ ยานหลั ก ฐานที่ เ ชื่ อ ได้ แต่ เ ป็ น พยานหลักฐานที่รับเข้ามาในคดีนั้นได้ แต่มีบทตัดพยานรวม ๘ บท ดังนี้ ๓.๑) บทที่ ๑ กรณีพยานหลักฐานเท็จ พยานหลักฐานปลอม ห้ามรับฟังทุกประการ บทตัด พยานหลักฐานบทนี้ความยากอยู่ตรงที่จะพิสูจน์อย่างไรว่าเป็นพยานหลักฐานเท็จหรือพยานหลักฐานปลอม ซึ่ง เป็นปัญหาข้อเท็จจริงไม่เกี่ยวกับข้อกฎหมาย ๓.๒) บทที่ ๒ บทตัดพยานหลักฐาน ๓ ประเภทตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๘๖ วรรคสอง, มาตรา ๘๗ (๑) และมาตรา ๑๑๘ วรรคสาม(๑) ซึ่งอนุโลมไปใช้ในคดีอาญาด้วยตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๑๕ พยานหลักฐานทั้ง ๓ ประเภทดั ง กล่ า จะถู ก ตัด ตาม ป.วิ . พ.มาตรา ๘๖ วรรคสอง ได้ แ ก่ พยานหลั ก ฐานที่ฟุ่ ม เฟื อ ยเกิ น สมควร, พยานหลักฐานที่ประวิงให้การพิจารณาล่าช้า และพยานหลักฐานที่ไม่เกี่ยวแก่ประเด็น (ยากสุด) พยานหลักฐาน เกี่ยวกับประเด็นมี ๔ ประเภท ได้แก่ ๑) พยานหลักฐานที่เกี่ยวแก่ประเด็นโดยตรง ๒) พยานหลักฐานที่เกี่ยวแก่ ประเด็นโดยอ้อม ๓) พยานหลักฐานที่บ่งชี้ข้อเท็จจริงที่พิพาทกันในคดีไม่ได้เลย และ ๔) พยานหลักฐานที่ไม่ เกี่ยวแก่ประเด็นโดยตรง ไม่เกี่ยวกับกับประเด็นโดยอ้อมแล้วก็ไม่ได้ไปสนับสนุนพยานหลักฐานประเภทหนึ่ง ประเภทสอง แต่เป็นพยานหลักฐานที่ชี้ถึงข้อเท็จจริงที่เป็นเงื่อนไขของการรับฟังหรือไม่รับฟังพยานหลักฐาน ประเภทที่ ๑ ที่ ๒ หรือที่ ๓ อีกทีหนึ่ง


ย่อคาบรรยายเนติฯ สมัย ๖๐ ภาคสอง ฉบับเตรียมสอบ ๓ สนาม (กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน) รวบรวมและสรรสร้างโดยทีมงาน ...((((((((( STD )))))))))... ปรับปรุงใหม่ เมษายน ๒๕๕๑

๓๒

๓.๓) บทที่ ๓ พยานหลักฐานที่เกิดขึ้นหรือได้มาโดยมิชอบ (Rule against illegally obtained evidence) แบ่งตามกฎหมายไทยที่มีอยู่ในปัจจุบันได้ ๓ กลุ่ม คือ ๓.๓.๑) กลุ่มที่ ๑ พยานหลั กฐานที่เกิดขึ้นโดยมิชอบ ป.วิ.อ.มาตรา ๘๔ วรรคท้าย, ๑๓๔/๔ วรรคท้าย(ซึ่งเป็นทบเฉพาะ) และมาตรา ๒๒๖ (ซึ่งเป็นบททั่วไป) ๓.๓.๒) กลุ่มที่ ๒ พยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยชอบ แต่เจ้าหน้าที่ไปใช้วิธีแสวงหาได้มา เนื่องจากการกระทาโดยมิชอบ เช่น ไปค้นบ้านโดยมิชอบแล้วได้พยานหลักฐานที่แท้จริงมา โดยหลักห้ามรับฟัง ตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๒๒๖/๑ ที่แก้ไขใหม่ แต่มีข้อยกเว้ นให้รับฟังได้หากศาลเห็นว่าประโยชน์ของมันมีมากกว่า โทษที่เกิดขึ้นจากการกระทาไม่ชอบของเจ้าหน้าที่ ๓.๓.๓) กลุ่มที่ ๓ พยานหลักฐานที่เกิดขึ้นและได้มาโดยชอบ แต่เจ้าหน้าที่อาศัยข้อมูลที่ เกิดขึ้นหรือได้มาโดยมิชอบเป็นเบาะแสไปแสวงหาได้มา หรือเรียกว่า ผลไม้ของต้นไม้ พิษก็พลอยเป็นพิษไปด้วย เช่น ซ้อมผู้ต้องหาให้รับสารภาพ คารับสารภาพใช้ไม่ได้ ถูกตัดทิ้ง เพราะเกิดขึ้นโดยไม่ชอบตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๒๒๖ ประกอบมาตรา ๑๓๕ แต่ในคาให้การรับสารภาพนั้นบอกด้วยว่า นาอาวุธปืนที่ใช้กระทาผิดไปซ่อนที่ไหน พนักงานสอบสวนจึงอาศัยข้อมูลนี้ไปขอหมายจากศาล แล้วไปค้นยึดได้อาวุธปืนนี้มาเป็นวัตถุพยาน อาวุธปืนที่ เป็นผลไม้ของตนไม้พิ ษ อยู่ใ นบังคั บ ป.วิ.อ.มาตรา ๒๒๖/๑ ที่แก้ไขใหม่ ให้ตัดทิ้งห้ามไม่ใ ห้รับฟังเว้นแต่ ประโยชน์ของมันจะมากกว่าโทษที่เกิดจากการกระทาอันมิชอบของเจ้าหน้าที่ จะยกเว้นให้รับฟังก็ได้ ๓.๔) บทที่ ๔ บทตัดพยานบอกเล่า มีทั้งในคดีแพ่งและคดีอาญา ป.วิ.พ.มาตรา ๙๕/๑, ๑๐๔ วรรคสอง ป.วิ.อ.มาตรา ๒๒๖/๓ และ ๒๒๗/๑ ที่แก้ไขใหม่ ๓.๕) บทที่ ๕ พยานหลักฐานที่แสดงถึงความประพฤติชั่วร้ายครั้งก่อนๆ ของจาเลย หรือประวัติ อาชญากรรมของจาเลยในคดีอาญา ห้ามรับฟังมาพิสูจน์ความผิดหรือการกระทาผิดของจาเลย ในคดีปัจจุบันเป็น ของที่มีอยู่แล้วในบรรทัดฐานคาพิพากษาศาลฎีกา แล้วมีการนามาบัญญัติให้ชัดเจนใน ป.วิ.อ.มาตรา ๒๒๖/๒ ๓.๖) บทที่ ๖ บทห้ามจาเลยในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศไม่ให้ถามค้านพยานโจทก์ และไม่ให้ นาพยนาหลักฐานมาสืบเพื่อแสดงให้เห็นว่าผู้เสียหายในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศนั้น มีพฤติกรรมทางเพศกับบคุ คลอื่นนอกเหนือไปจากจาเลย ห้ามไม่ให้นาสืบ เว้นแต่ศาลจะอนุญาตให้ถามได้ ให้สืบได้ แต่การอนุญาตก็ต้อง ทาอย่างพิถีพิถัน เคร่งครัด เฉพาะเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมเท่านั้นตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๒๒๖/๔ ๓.๗) บทที่ ๗ บทตัดเฉพาะพยานบุคคล มีอยู่ ๓ บท คือ ๓.๗.๑) บทแรก ตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๒๓๒ ห้ามโจทก์อ้างจาเลยในคดีอาญาเป็นพยาน โจทก์ แต่มีการแก้ไขใหม่เพิ่มวรรคสองว่า ถ้าจาเลยอ้างตนเองเป็นพยานสาบานตัวเบิกความเป็นพยานตัวเอง แล้ว แต่เบิกความไปเป็นคุณแก่โจทก์เป็นโทษแก่ตัวเอง ก็ให้ศาลรับฟังคาเบิกความของจาเลยนั้นประกอบ พยานหลักฐานโจทก์ได้ ๓.๗.๒) บทที่สอง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๙๕ อนุโลมไปใช้ในคดีอาญาด้วย บทที่ว่าด้วย คุณสมบัติของคนที่จะมาเป็นพยานบุคคล ๓.๗.๓) บทที่สาม ตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๙๔ ใช้เฉพาะในคดีแพ่ง


ย่อคาบรรยายเนติฯ สมัย ๖๐ ภาคสอง ฉบับเตรียมสอบ ๓ สนาม (กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน) รวบรวมและสรรสร้างโดยทีมงาน ...((((((((( STD )))))))))... ปรับปรุงใหม่ เมษายน ๒๕๕๑

๓๓

๓.๘) บทตัดพยานเอกสารที่ทากันเป็นตราสาร แต่ไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ให้ครบถ้วน หรือปิด ครบแต่ไม่ได้ขีดฆ่าให้ถูกต้องตามประมวลรัษฎากรนามาใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ จนกว่าจะได้ปิด อากรแสตมป์ให้ครบถ้วนและขีดฆ่าให้ถูกต้องเสียก่อนตาม ประมวลรัษฎากรมาตรา ๑๑๘ ครั้งที่ ๘ ~ บทตัดพยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยมิชอบ๘ บทตัดพยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยมิชอบ  กรณีตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๘๔ วรรคท้าย เป็นบทตัดคาให้การในชั้นจับกุมของผู้ถูกจับกุมที่ให้ ไว้ต่อเจ้าพนักงานผู้จับกุมหรือที่รับตัวไว้ โดยวางหลักเอาไว้ ๒ ส่วน คือ ๑)ให้แบ่งแยกคาให้การในชั้นจับกุมว่า เป็นคารับสารภาพ และ ๒)เป็นถ้อยคาอื่น - ในส่วนของคาให้การรับสารภาพในชั้นจับกุม นั้นห้ามมิได้รับฟังเป็นพยานหลักฐานและตาม ป. วิ.อ.มาตรา ๘๔ วรรคท้าย ถึงแม้เจ้าพนักงานผู้จับกุมจะได้ปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมายทุกประการแล้ว ก็ตาม เป็น บทตัดทิ้งไปเลยซึ่งเกินเลยไปจากหลักสากลค่อนข้างมาก - การแจ้งสิทธิผู้ถูกจับมี ๒ มาตรา คือ ป.วิ.อ.มาตรา ๘๓ วรรคสอง กับ มาตรา ๘๔ วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานที่จับกุมหรือที่ได้รับมอบตัวผู้ถูกจับไว้ในชั้นสอบสวน จะต้องปฏิบัติ ๓ ประการ ซึ่งมีส่วนที่มาเกี่ยวกับกฎหมายพยานเพียงข้อเดียว คือ เฉพาะการแจ้งสิทธิของผู้ถูกจับเท่านั้น จะต้อง แจ้งสิทธิ ๒ ประการ คือ ๑) สิทธิจะให้การหรือไม่ให้การก็ได้ และ ๒) สิทธิจะพบหรือปรึกษาทนายความหรือคน ที่จะเป็นทนายความ ถือว่าเป็นสิทธิที่จะต้องมี - คาว่า “ถ้อยคาอื่น” ตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๘๔ วรรคท้าย หมายถึง คาให้การของผู้ถูกจับกุม ทุกเรื่อง นอกจากคาว่า “ขอให้การรับสารภาพ” เช่น (๑) ค าให้ ก ารภาคเสธ หมายถึ ง ค าให้ ก ารรั บ บางข้ อ ปฏิ เ สธบางข้ อ รั บ ฟั ง เป็ น พยานหลักฐานได้ (๒) คาให้ ก ารซึดทอดบุคคลอื่น รับฟังเป็นพยานหลักฐานพิ สูจน์ค วามผิ ดของผู้ ถูกจับตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๘๔ วรรคท้าย และพิสูจน์ความผิดของคนที่เกี่ยวข้อหรือคนที่ถูกซัดทอดได้ และไม่ว่าพนักงาน จะแจ้งสิทธิหรือไม่ คาให้การซัดทอดนี้ก็ใช้รับฟังเป็นพยานหลักฐานพิสูจน์ความผิดของคนที่เกี่ยวข้องหรือคนที่ ถูกซัดทอดได้ เพราะ ป.วิ.อ.มาตรา ๘๔ วรรคท้าย และมาตรา ๘๓ วรรคสอง ประสงค์ที่จะคุ้มครองสิทธิของ ผู้ถูกจับ คนที่ให้การคนนั้นเท่านัน ไม่ได้ประสงค์จะไปคุ้มครองคนร้ายคนอื่นๆด้วย (๓) คาให้การถึงรายละเอียดของการกระทาผิดของผู้ถูกจับเอง เช่น หลังจากรับสารภาพแล้ว ก็ยังได้เล่าให้เจ้าพนักงานผู้จับฟังด้วยว่าได้วางแผนการทาผิดอย่างไร แล้วเอาทรัพย์สินเงินทองที่ได้จากการ กระทาความผิดไปซ่อนเอาไว้ที่ไหน ถ้อยคาเหล่านี้แม้จะเป็นผลเนื่องมากจากการรับสารภาพ แต่ไม่ใช่คารับ สารภาพในตัวของมันเอง เพราะฉะนั้นไม่ถูกตัดหรือห้ามรับฟังเด็ดขาดตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๘๔ วรรคท้าย ส่วนที่ หนึ่ง แต่ถือว่าเป็นถ้อยคาอื่น ๘

บรรยายโดยศาสตราจารย์จรัญ ภักดีธนากุล วันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๕๑ คาบรรยายเนติฯ สมัย ๖๐ ภาคสอง เล่ม ๑๐ หน้า ๑ – ๒๔


ย่อคาบรรยายเนติฯ สมัย ๖๐ ภาคสอง ฉบับเตรียมสอบ ๓ สนาม (กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน) รวบรวมและสรรสร้างโดยทีมงาน ...((((((((( STD )))))))))... ปรับปรุงใหม่ เมษายน ๒๕๕๑

๓๔

(๔) เจ้าพนักงานไม่แจ้งสิทธิแต่ตามไปค้นยึดอาวุธปืนได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๘๔ วรรคท้าย แต่ไปต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๒๒๖/๑ ในฐานะที่เป็นผลไม้ของต้นไม้พิษ แต่ก็ไม่ตัดเด็ดขาด มีข้อยกเว้นให้รับฟังได้ ถ้าประโยชน์ของพยานหลักฐานดังกล่าวมีมากกว่าโทษหรือผลเสียที่กระทบต่อมาตรฐาน จัดระบบงานยุติธรรมทางอาญาของประเทศ หรือความสงบเรียบร้อยของประชาชน  บทตั ด พยานที่ เ กิ ด ขึ้ น โดยไม่ ช อบตาม ป.วิ . อ.มาตรา ๑๓๔/๔ วรรคท้ า ย ห้ า มรั บ ฟั ง คาให้การของผู้ต้องหาในชั้นสอบสวนที่ให้การไปโดยพนักงานสอบสวนยังไม่ได้แจ้งสิทธิของผู้ต้องหาให้เขาทราบ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๑๓๔/๔ วรรคหนึ่ง หรือไม่ได้สอบถามและแต่งตั้งทนายความให้เขา ในคดีที่มีอัตราโทษ ประหารชีวิต หรือในคดีที่ผู้ต้องหาอายุไม่เกิน ๑๘ ปี ในวันที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหา หรือในคดีที่มีอัตรา โทษจาคุ ก ตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๑๓๔/๑ หรือ ไม่ยอมให้ทนายความของผู้ต้อ งหาเข้าฟังการสอบค าให้การของ ผู้ ต้อ งหาตามที่ร้อ งขอใช้สิ ทธิ ต าม ป.วิ.อ.มาตรา ๑๓๔/๓ ห้ามรับฟังค าให้การของผู้ ต้อ งหา ตัดพยานแบบ เด็ดขาด - ความแตกต่างระหว่าง ป.วิ.อ.มาตรา ๑๓๔ กับ ๑๓๔/๔ วรรคท้าย คือ กรณีตาม มาตรา ๑๓๔ ไม่เ กี่ ยวกั บกฎหมายลั ก ษณะพยานหลั ก ฐาน เมื่อ ไม่แจ้งข้ อ หาให้ผู้ ต้ อ งหาทราบ ย่อ มี ผ ลไปตัดอ านาจการ สอบสวนในข้อหานั้นเลย ทาให้การสอบสวนไม่ชอบ อัยการไม่มีอานาจฟ้องตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๑๒๐ ส่วน มาตรา ๑๓๔/๔ วรรคท้าย เป็นบทตัดพยานแบบเด็ดขาด ซึ่งถ้าพนักงานสอบสวนไม่ทาให้ถูกต้องอย่างใดอย่าง หนึ่ง ก็ต้องห้ามไม่ให้รับฟังคาให้การของผู้ต้องหาในชั้นสอบสวนไปเป็นพยานพิสูจน์ความผิดเขาได้ - เมื่อถูกห้ามรับฟังเป็นพยานหลักฐานตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๑๓๔/๔ วรรคท้าย คือ ห้ามรับฟังไว้ พิสูจน์ความผิดของผู้ต้องหาคนนั้นเอง แต่ไม่ห้ามที่จะรับฟังไปพิสูจน์ความผิดของคนอื่นที่มีส่วนร่วมกระทาผิด กับผู้ต้องหาคนนี้ด้วย ในฐานะเป็นพยานซัดซอด เพราะพยานซัดทอดไม่มีกฎหมายห้ามจึงรับฟังได้ - ถึงแม้คาให้การผู้ต้องห้าจะต้องห้ามรับฟังตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๑๓๔/๔ วรรคท้าย แต่ผลไม้ของ ต้นไม้พิษที่ได้มาจากการใช้ข้อมูลในคาให้การดังกล่าวไม่ต้องห้ามรับฟังตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๑๓๔/๔ วรรคท้าย แต่ไปต้องห้ามรับฟังตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๒๒๖/๑ ซึ่งมีข้อยกเว้นให้รับฟังได้ในบางกรณี - ตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๑๓๔/๔ วรรคท้าย ที่บัญญัติว่า “ถ้อยคาใดๆที่ผู้ต้องหาให้ไว้ต่อพนักงาน สอบสวน...” บทตัดพยานหลักฐานบทนี้แข็งและเคร่งครัดจนเกินไป ไม่มีข้อยกเว้นอะไรเลย ดังนี้แม้ว่าพนักงาน สอบสวนจะทาผิดเพียงเล็กน้อย พลั้งเผลอลืมแจ้งสิทธิ์ทั้งที่ผู้ต้องหาก็รู้มาตั้งแต่แรกถูกแจ้งในชั้นจับกุมแล้วก็ตาม ก็ต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน ต่างจากมาตรฐานสากล - กรณีสอบคาให้การผู้ต้องหาเด็ก ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา ๑๓๔/๒ และ มาตรา ๑๓๓ ทวิ ไม่ได้ทาให้การสอบสวนเสียไปทั้งหมด การสอบสวนยังชอบอยู่ แต่คาให้การของผู้ต้องหาที่เป็นเด็กรับฟังไม่ได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๑๓๔/๔ วรรคท้าย (แก้ไขใหม่กลับหลักฎีกาที่ ๕๒๕๒/๒๕๔๕) - กรณีคาให้การของผู้เสียหายเด็ก หรือพยานเด็ก ในชั้นสอบสวนที่พนักงานสอบสวนไม่ปฏิบัติ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๑๓๓ ทวิ คาพิพากษาศาลฎีกาที่ ๕๒๙๔/๒๕๔๘ วินิจฉัยทานองว่าจะต้องห้ามรับฟังเป็น พยานหลั กฐานตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๒๒๖ เพราะเป็นพยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยไม่ชอบ อ.จรัญ เห็นว่าผิ ด วัตถุประสงค์ของกฎหมายบทนี้ เนื่องจากบทกฎหมายที่ห้ามรับฟังพยานหลักฐานที่เกิดขึ้นหรือได้มาโดยมิชอบ เป็นกฎหมายคุ้มครองสิทธิผู้ต้องหาและจาเลยในคดีอาญา ส่วน ป.วิ.อ.มาตรา ๑๓๓ ทวิ ไม่ใช่กฎหมายที่มุ่ง


ย่อคาบรรยายเนติฯ สมัย ๖๐ ภาคสอง ฉบับเตรียมสอบ ๓ สนาม (กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน) รวบรวมและสรรสร้างโดยทีมงาน ...((((((((( STD )))))))))... ปรับปรุงใหม่ เมษายน ๒๕๕๑

๓๕

คุ้มครองสิทธิผู้ต้องหาหรือจาเลยในคดี อาญา หากแต่เป็นกฎหมายที่มุ่งคุ้มครองผู้เสียหายเด็ก และพยานเด็ก คนละเรื่อง เมื่อพนักงานสอบสวนทาผิดตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๑๓๓ ทวิ ต้องไม่ตัดคาให้การของพยานเด็กนั้น เว้น แต่คาให้การส่วนที่เป็นโทษต่อเด็กผู้เสียหายจึงต้องห้ามรับฟังตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๒๒๖ เพื่อให้สอดคล้องกับ วัตถุประสงค์ของ มาตรา ๑๓๓ ทวิ  บทตัดพยานที่เกิดขึ้นโดยไม่ชอบตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๑๓๕ ประกอบมาตรา ๒๒๖ (ซึ่งเป็น บททั่วไป) ๑.๓.๑) การใช้สายลับไปล่อซื้อของผิดกฎหมายจากจาเลย แยกพิจารณาได้ ๒ สถานการณ์ (๑) สถานการณ์แรก เป็นเรื่องที่จาเลยมีพฤติการณ์ทาผิดกฎหมายอยู่ก่อนแล้ว การล่อ ซื้อของเจ้าพนักงานถือว่าเป็นการปฏิบัติตามอานาจหน้าที่โดยชอบ การสอบสวนย่อมชอบ พยานหลักฐานที่ เกิดขึ้นทั้งหมดรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ (ฎ. ๖๕๒๓/๒๕๔๕, ๔๔๑๗/๒๕๔๘) (๒) สถานการณ์ที่สอง จาเลยไม่เคยมีพฤติการณ์กระทาผิดมาก่อนเลย เป็นคนบริสุทธิ์ แต่เจ้าพนักงานประสงค์จะได้ผลงานหรือด้วยเหตุใดก็ตาม ใช้สายลับปลอมไปล่อซื้อซื้อสิ่งผิดกฎหมายจากคน บริสุทธิ์ เขาแจ้งว่าไม่มี สายลับก็รบเร้าให้บอกช่วยไปหาให้หน่อยจะให้รางวัลงาม ศาลฎีกาตัดสินไว้ตรงกับ มาตรฐานสากลว่า ไม่ใ ช่เป็นการปฏิบัติตามอานาจหน้าที่ โดยชอบ แต่เป็นการก่อให้ผู้บริสุทธิ์ กระทาผิด เจ้า พนักงานและสายลับจึงมีความผิดในฐานเป็นผู้ใช้ใ ห้เขากระทาความผิดอยู่ด้วย เพราะฉะนั้นพยานหลักฐาน ทั้งหมดที่เกิดจากการล่อซื้อให้ผู้บริสุทธิ์กระทาผิดนี้ เป็นพยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยมิชอบ ต้องห้ามรับฟังตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๒๒๖ และถือว่าผู้เสียหายไปมีส่วนร่วมในการกระทาผิดกับคนร้ายด้วย จึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิติ นัย ไม่มีสิทธิร้องทุกข์หรือฟ้องคดี พนักงานอัยการไม่มีอานาจฟ้อง (ฎ. ๔๓๐๑/๒๕๔๓, ๔๐๘๕/๒๕๔๕) ๑.๓.๒) การลักลอบบันทึกเสียงคาสนทนาทางโทรศัพท์ของผู้อื่น เป็นพยานหลักฐานที่เกิดขึ้น โดยไม่ชอบ ต้องห้ามรับฟังเป็นพยานหลักฐานตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๒๒๖ เพราะตามม พ.ร.บ.การประกอบกิจการ โทรคมนาคม พ.ศ.๒๕๔๔ และประกาศ คปค. ฉบับที่ ๒๑ ได้บัญญัติห้ามไว้ชัดเจนว่า ห้ามไม่ให้ลักลอบดักฟัง การสนทนาทางโทรศัพท์ของผู้อื่น - แต่ถ้าแอบบันทึกคาสนทนาของตนเองกับผู้อื่น ขณะสนทนากันถือว่าเป็นสิทธิของคู่ สนทนาทั้งสองฝ่าย โดยไม่จาต้องขออนุญาต ก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ ไม่เป็นพยานหลักฐานที่ได้มาโดยไม่ ชอบตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๒๒๖/๑ (ฎ. ๔๖๗๔/๒๕๔๓) ๑.๓.๓) การจูงใจมีคามั่นสัญญาโดยมิชอบ - การพูดจูงใจในเรื่องที่ไม่มีอานาจตามกฎหมายที่บอกให้ทาได้ย่อมมิชอบ เช่น จูงใจว่า “ถ้าบอกว่าซื้อจากใครและพาเจ้าพนักงานไปล่อซื้อจับคนขายได้จะไม่ดาเนินคดีกับเขา” เป็นการจูงใจมีคามั่น สัญญาโดยไม่ชอบเพราะไม่มีอานาจตามกฎหมายที่จะทาได้ (ฎ. ๑๘๓๘/๒๕๔๔) - แต่ถ้าพูดบอกให้เขารู้ตามความจริงตามหลักกฎหมายว่ายาเสพติดเป็นพิษภัยต่อสังคม อย่างไร แล้วจาเป็นต้องปราบปรามคนค้าอย่างไร แล้วใครที่ให้ความช่วยเหลือเจ้าพนักงานย่อมได้รับประโยชน์ ในทางกฎหมาย เช่น อาจลงโทษสถานเบาได้ ชอบที่จะทาได้ ไม่ถือว่าเป็นการจูงใจให้คามั่นสัญญาที่มิชอบ เพราะเป็นเรื่องที่เป็นไปตามหลักกฎหมาย


ย่อคาบรรยายเนติฯ สมัย ๖๐ ภาคสอง ฉบับเตรียมสอบ ๓ สนาม (กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน) รวบรวมและสรรสร้างโดยทีมงาน ...((((((((( STD )))))))))... ปรับปรุงใหม่ เมษายน ๒๕๕๑

๓๖

๑.๓.๔) หลอกลวง คือ เป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานรู้ว่าความจริงไม่ใช่เป็นเช่นนั้น แล้วไปพูดโกหก ให้ผู้ต้องหาหรือพยานให้การเป็นคุณเป็นโทษต่อเขา เช่น - หลอกผู้ ต้อ งหาคนหนึ่งว่าคู่ ค ดีของเขาถู กจับแล้ ว แล้ ว เขารับสารภาพซัดทอดคุ ณ หมดแล้ว อย่ามัวปากแข็งอยู่คนเดียว ผู้ต้องหาเลยรับสารภาพ ควาจริงยังไม่ได้จับใครได้เลย เช่นนี้รับฟังคารับ สารภาพของผู้ต้องหาไม่ได้ ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๒๒๖ (ฎ. ๕๘๙/๒๔๘๔) - แต่ถ้าเจ้าพนักงานไม่รู้ว่าความจริงเป็นอย่างไร แต่ว่าเชื่อว่าเป็นอย่างไรก็พูดไปอย่ าง นั้น แม้ว่าจะไม่ตรงตามความเป็นจริง ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการหลอกลวง เช่น คดีขับรถชนคนตายโดยประมาท ผู้ต้องหาถามพนักงานสอบสวนว่า คนที่ถูกชนตายหรือยัง พนักงานสอบสวนบอกว่ายังไม่ตาย รักษาตัวอยู่ที่ โรงพยาบาล ความจริงตายแล้วแต่พนักงานสอบสวนไม่รู้ ผู้ต้องหาเห็ นว่าผู้ถูกชนไม่ตายจึงรับสารภาพ คารับ สารภาพของผู้ ต้องหารับฟังได้ ไม่ไ ด้เกิดจากการหลอกลวงของเจ้าพนักงาน เพราะเจ้าพนักงานไม่มีเจตนา หลอกลวง (ฎ. ๙๒๔/๒๕๔๔) ๑.๓.๕) ขู่เข็ญ หมายความรวมถึงขู่เข็ญทางอ้อมด้วย เช่น เจ้าพนักงานบอกกับผู้ถูกจับว่าถ้า ไม่รับสารภาพถูกจับทั้งบ้าน ผู้ต้องหาเลยรับสารภาพว่าผมทาเองคนเดียวคนอื่นไม่เกี่ยว ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าเป็น คาให้การที่เกิดขึ้นจากการขู่เข็ญโดยอ้อมหรือโดยปริยาย เพราะฉะนั้นต้องห้ามรับฟังเป็นพยานหลักฐานตาม ป. วิ.อ.มาตรา ๒๒๖ ๑.๓.๖) พยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยชอบตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๒๒๖ แต่ได้มาโดยไม่ชอบตาม ป. วิ.อ.อาญามาตรา ๒๒๖/๑ ที่แก้ไขใหม่ ซึ่งขยายบทตัดพยานเพิ่มขึ้นมาเพื่ออุดช่องว่าของฎีกา ๖๔๗๕/๒๕๔๗ ที่ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การปลอมหมายค้นศาล เป็นการค้นโดยไม่ชอบถ้าจะผิดก็แยกไปดาเนินคดีกับเจ้าพนักงาน ส่วนพยานหลักฐานแท้จริงคือยาบ้าได้เกิดขึ้นและมีอยู่ก่อนโดยชอบแล้ว ดังนั้นศาลชอบที่จะรับฟังได้ไม่ต้องห้าม ตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๒๒๖ จะเห็นได้ว่าตัวบทมาตรา ๒๒๖ ไปไม่ถึงจึงมีการบัญญัติมาตรา ๒๒๖/๑ ขยายบทตัด พยานเข้าไปอีก เป็นว่ากรณีดังกล่าวนี้แม้จะรับฟังได้ว่ายาบ้าดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานที่เกิดขึ้ นและมีโดยชอบ แล้วก็ตาม แต่เมื่อมีการปลอมหมายค้นแสดงว่าวิธีการได้มาไม่ชอบ ย่อมต้องห้ามรับฟังเป็นพยานตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๒๒๖/๑


ย่อคาบรรยายเนติฯ สมัย ๖๐ ภาคสอง ฉบับเตรียมสอบ ๓ สนาม (กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน) รวบรวมและสรรสร้างโดยทีมงาน ...((((((((( STD )))))))))... ปรับปรุงใหม่ เมษายน ๒๕๕๑

๓๗

ครั้งที่ ๙ ~ บทตัดพยานบอกเล่า๙ บทตัดพยานบอกเล่า แยกพิจารณาได้ ๔ ประเด็นย่อย คือ (๑) ความหมายของพยานบอกเล่า (๒) ถ้าเป็นพยานบอกเล่าแล้วมีกฎหมายบัญญัติห้ามรับฟังเป็นพยานหลักฐานหรือไม่ (๓) มีข้อยกเว้นให้รับฟังพยานบอกเล่าในกรณีใดบ้าง (๔) พยานบอกเล่าที่เข้าข้อยกเว้นให้รับฟังได้นั้นมีน้าหนักน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด ๑. ประเด็นที่ ๑ ความหมายของพยานบอกเล่า - เดิมทีกฎหมายไทยไม่ได้บัญญัติ บทวิเคราะห์ศัพท์ไว้ ทาให้นักกฎหมายไทยส่วนใหญ่เข้าในว่า พยานบอกเล่า หมายถึง พยานบุคคลเท่านั้น ซึ่งไม่ถูกต้องตามหลักสากล ต่อมามีการแก้ไขกฎหมายลักษณะ พยานหลักฐานครั้งล่าสุดนี้ ได้นานิยามศัพท์พยานบอกเล่าตามหลักสากลมาบัญญัติไว้ในกฎหมายให้ชัดเจนตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๙๕/๑ วรรคหนึ่ง และใน ป.วิ.อ.มาตรา ๒๒๖/๓ วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่ เนื้อความเหมือนกัน สรุปความได้ว่า - พยานบอกเล่า หมายถึง ข้อความ ค ากล่าว หรือเรื่อ งเล่ าที่มีผู้ ไปกระทาไว้นอกศาล แล้ ว คู่ความได้นาสืบข้อความหรือคากล่าวเรื่องเล่าเหล่านั้นเข้ามาเป็นพยานหลักฐานในคดี โดยไม่ได้นาตัวประจักษ์ พยานมาเบิกความต่อศาล เพื่อใช้ข้อความหรือคากล่าวเรื่องเล่านั้นพิสูจน์ข้อเท็จจริงในคดีว่า เป็นความจริงตาม เนื้อความของคากล่าวหรือเรื่องเล่านั้น - พยานบอกเล่า มิได้หมายถึงเฉพาะพยานบุคคลอย่างที่นักกฎหมายไทยเข้าใจกัน เพราะฉะนั้น พยานเอกสารเป็นพยานบอกเล่าได้ หรือแม้แต่พยานวัตถุ เช่น เทปหรือแผ่นซีดีบันทึกเสียง ก็เป็นพยานบอก เล่ าได้ ถ้ านาสื บเข้ามาเพื่ อ พิ สู จน์ใ ห้ ศาลเห็นว่า เรื่อ งราว ข้อ ความ ดังกล่ าวนั้นเป็นความจริง เช่น บันทึก คาให้การในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนของผู้ต้องหา แม้จะอยู่ใ นรูปพยานเอกสารก็เป็นพยานบอกเล่าได้ ซึ่งศาล ฎีกาได้วินิจฉัยไว้ตรงกับบทนิยามศัพท์ที่กฎหมายใหม่เขียนไว้ (ฎ. ๑๗๐/๒๕๕๐) จากบทนิยามศัพท์ดังกล่าว พยานบอกเล่าแยกองค์ประกอบได้ ๓ ประการ คือ องค์ประกอบข้อที่หนึ่ง ต้องมุ่งเน้นที่ข้อความ หรือถ้อยคา หรือเรื่องราว (Information) ที่มีผู้เล่า หรือบันทึกไว้นอกศาล ซึ่งอาจจะนาสืบเข้าไปในคดีในรูปของพยานบุคคล หรือพยานเอกสาร หรือสื่อ บันทึกเสียงก็ได้ เป็นพยานบอกเล่าได้ (ฎ. ๑๗๐/๒๕๕๐) องค์ประกอบข้อที่สอง คู่ความนาสืบข้อความที่พูดเล่ากันนอกศาลเข้ามาในคดี โดยไม่ได้นา ตัวประจักษ์พยานต้นเรื่องที่ประสบเรื่องราวเหล่านั้นด้วยตนเองโดยตรงมาเบิกความเป็นพยาน เพียงนาเรื่องเล่า ของเขามาเป็นพยานหลักฐานแทนประจักษ์พยาน 

บรรยายโดยศาสตราจารย์จรัญ ภักดีธนากุล วันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๑ คาบรรยายเนติฯ สมัย ๖๐ ภาคสอง เล่ม ๑๐ หน้า ๓๘๕ – ๔๐๕


ย่อคาบรรยายเนติฯ สมัย ๖๐ ภาคสอง ฉบับเตรียมสอบ ๓ สนาม (กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน) รวบรวมและสรรสร้างโดยทีมงาน ...((((((((( STD )))))))))... ปรับปรุงใหม่ เมษายน ๒๕๕๑

๓๘

องค์ประกอบข้อที่สาม(ส่าคัญ) นาสืบข้อความ คากล่าว เรื่องเล่านั้นเข้ามาในคดี เพื่อใช้ พิสูจน์ว่าเนื้อเรื่องหรือเรื่องที่เล่านั้นเป็นความจริง มิใช่เพียงเพื่อแสดงให้เห็นว่ามีการเล่าเรื่องนั้นจริงเท่านั้น เช่น ในคดีหมิ่นประมาท โจทก์สืบจดหมายฉบับที่จาเลยเป็นคนเขียนใสความโจทก์ไปถึงเพื่อนเข้ามาในคดี จดหมาย ฉบับนี้เป็นพยานหลักฐานโดยตรง ไม่ใช่พยานบอกเล่า เพราะประเด็นในคดีห มิ่นประมาทนี้ไม่สนใจว่าเรื่องราวที่ จาเลยเขียนไปบอกเขาเป็นความจริงหรือไม่ หากแต่ประเด็นมีเพียงว่าจาเลยได้เขียนจดหมายใส่ความโจทก์ให้ เพื่อนทรายจริงหรือไม่ แต่ถ้าหากเป็นคดีที่โจทก์เป็นสามีหรือภริยาฟ้องหย่าโดยเหตุว่ามีพฤติกรรมสาส่อนทาง เพศ การอ้างจดหมายฉบับดัง กล่าวเป็นพยานบอกเล่า เพราะไม่ใช่นาสืบเข้ามาเพียงเพื่อพิสูจน์ว่ามีการเขียน จริงหรือไม่ แต่ต้องการสืบเพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่า เรื่องที่บอกเล่านั้นเป็นความจริง - ค ากล่าวที่ เป็นส่ วนหนึ่ง ของเหตุการณ์ หมายถึ ง ในขณะที่เ กิดเหตุการณ์เ ป็นประเด็นที่ พิ พ าทกั นได้มีก ารกล่ าวข้อ ความที่แ สดงถึงข้อ เท็จจริงในเหตุ การณ์นั้นขึ้น โดยค าพูดค ากล่ าวของผู้ ประสบ เหตุการณ์เหล่านั้นเกิดมีคนภายนอกได้ยิน ได้ฟังด้วยโดยไม่ได้ประสบเหตุการณ์ด้วยตนเอง เช่นนี้ พยานเดิน ผ่านสถานที่เกิดเหตุ แล้วได้ยินเสียงหญิงผู้เสียหายร้องตะโกนขอให้ช่วยเหลือ โดยระบุชื่อจาเลยว่าเป็นคนกาลัง จะทาร้ายหรือข่มขืนผู้เสียหาย ศาลฎีกาไทยในอดีตเคยวินิจฉัยว่าเป็นพยานโดยตรง ไม่ใช่พยานบอกเล่า โดยให้ เหตุผลทานองว่า เสมือนอยู่ในเหตุการณ์หรือเป็นส่วนหนึ่งของเหตุการณ์นั้นด้วย แต่ตามหลักสากลถือว่าเป็น พยานบอกเล่าชั้นดี (First hand hearsay) สามารถรับฟังได้เพราะเข้าข้อยกเว้นของบทตัดพยานบอกเล่า ปัจจุบันได้บัญญัติบทวิเคราะห์ศัพท์ไว้ชัดเจนแล้ว ก็น่าจะเปลี่ยนแนวบรรทัดฐานเดิมให้เข้าสู่แนวทางเดียวกับ มาตรฐานสากลต่อไป - คากล่าวที่เป็นส่วนหนึ่งของเหตุการณ์นี้ ตามหลักสากลไม่ขยายกว้าง อย่างมากยอมให้รวมถึง คากล่าวหลังจากเกิดเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเสร็จสิ้นไปแล้วในทันทีทันใดนั้น แต่ถ้าเหตุการณ์จบสิ้นไปเป็นวันแล้ว หลายชั่วโมงแล้วค่อยมีการพูดจาเล่าบอกกัน อย่างนี้เป็นพยานบอกเล่าธรรมดา แต่ตามแนวบรรทัดฐานศาลฎีกา ไทยได้ให้ความหมายกล้างออกไปกว่าปกติ กล่าวคือ ตราบใดที่ผู้ประสบเหตุการณ์ตัวจริงคือประจักษ์พยานหรือ ผู้เสียหายยังไม่มีโอกาสคิดสร้างเรื่องขึ้นมากลั่นแกล้งปรักปราใคร เป็นการบอกเล่าในช่วงเวลาที่ต่อเนื่องติดพันกัน มา แม้หลังจากเหตุการณ์เสร็จสินไปแล้วหลายชั่วโมงข้ามคืนข้ามวัน ก็ยังถือว่าเป็นคากล่าวที่เป็นส่วนหนึ่งของ เหตุการณ์ เพราะฉะนั้นจึงไม่ใช่พยานบอกเล่ารับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ แต่ปัจจุบัน อ.จรัญ เห็นว่าน่าจะต้อง วินิจฉัยว่าเป็นพยานบอกเล่าตามความหมายใน ป.วิ.พ.มาตรา ๙๕/๑ วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่ หรือ ป.วิ.อ.มาตรา ๒๒๖/๓ วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่ แล้วแต่กรณี เพื่อให้สอดคล้องตามหลักสากลด้วย ๒. ประเด็นที่ ๒ เมื่อเป็นพยานบอกเล่าแล้ว มีกฎหมายบัญญัติห้ามรับฟังเป็นพยานหลักฐาน หรือไม่ หรือมีบทตัดพยานบอกเล่าหรือไม่ - ที่ผ่านมาไทยเราไม่มีบทบัญญัติห้ามรับฟังพยานบอกเล่า ศาลไทยจึงรับฟังพยานบอกเล่าโดยให้ เหตุผลว่ “ไม่มีกฎหมายห้ามจึงรับฟังได้” เช่น แม้คาให้การรับสารภาพของจาเลยในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนเป็น เพียงพยานบอกเล่า แต่ไม่มีกฎหมายห้ามรับฟัง ศาลจึงรับฟังพยานบอกเล่านั้นได้ (ฎ. ๑๗๐/๒๕๕๐) - แต่ในปัจจุบันนี้ได้มีการแก้ไขใหม่โดยบัญญัติหลักใหญ่ว่า ห้ามรับฟังพยานบอกเล่าตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๙๕/๑ วรรคสอง และ ป.วิ.อ.มาตรา ๒๒๖/๓ วรรคสอง โดยอาศัยเหตุผลตามหลักสากลว่า พยานบอกเล่า มีโอกาสคลาดเคลื่อนจากความจริงได้ง่าย เพราะความไม่สมบูรณ์ของภาษามนุษย์ที่ใช้สื่อสารกัน เพราะอคติใน 


ย่อคาบรรยายเนติฯ สมัย ๖๐ ภาคสอง ฉบับเตรียมสอบ ๓ สนาม (กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน) รวบรวมและสรรสร้างโดยทีมงาน ...((((((((( STD )))))))))... ปรับปรุงใหม่ เมษายน ๒๕๕๑

๓๙

ใจของผู้เล่าผู้ฟัง แต่ก็มีข้อยกเว้นบางประการที่ รับฟังพยานบอกเล่าได้ ดังนี้เหตุผลในฎีกาที่ ๑๗๐/๒๕๕๐ และ ฎีกาเก่าๆที่ว่า ไม่มีกฎหมายห้ามจึงรับฟังพยานบอกเล่ าได้ จึงไม่อาจเป็นบรรทัดฐานต่อไปได้ ต้องถือตาม กฎหมายที่แก้ไขใหม่ว่า โดยหลักในคดีแพ่งและคดีอาญามีกฎหมายห้ามรับฟังพยานบอกเล่า แต่มีข้อยกเว้นบาง ประการที่ให้รับฟังได้ ๓. ประเด็นที่ ๓ มีข้อยกเว้นให้รับฟังพยานบอกเล่าในกรณีใดบ้าง ๓.๑) ข้อยกเว้นที่หนึ่ง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๙๕/๑ และ ป.วิ.อ.มาตรา ๒๒๖/๓ วรรคสอง(๑) ใช้ ในกรณีที่ตัวประจักษ์พยานต้นเรื่องที่ประสบเหตุการณ์มายังมีตัวตนอยู่ ยังอยู่ในวิสัยที่จะนัดหรื อเรียกมาเป็น พยานในคดีนี้ได้โดยตรง แต่หากพยานบอกเล่ามีคุณภาพดี มีความน่าเชื่อถือมาก ก็ยกเว้นให้รับฟังได้ หาก พยานบอกเล่านั้นมีคุณค่าในเชิงพิสูจน์ (Probative value) โดยพิจารณาจาก ๔ ปัจจัย ดังนี้ ๓.๑.๑) ปัจจัยที่ ๑ ตามสภาพของพยานบอกเล่านั้นเอง เช่น เป็นพยานบอกเล่าลาดับ แรก โดยสภาพแล้วน่าจะมีคุณภาพดีและเข้าข้อยกเว้นตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๙๕/๑ วรรคสอง(๑) และ ป.วิ.อ. มาตรา ๒๒๖/๓ วรรคสอง(๑) ๓.๑.๒) ปัจ จัยที่ ๒ ลั กษณะของพยานบอกเล่ า เช่น พิเ คราะห์ จากตัว สื่ อ รู ปร่า ง ลัก ษณะ คุ ณ ภาพของสื่อ ที่ใช้บันทึก ที่ใช้ กันมาในศาลไทยคือ ดูรายละเอียดของการเล่ าเรื่องนั้นว่า เล่าได้ สอดคล้องต้องกันแล้วลงไปในรายละเอียดได้มากเท่าไหร่ก็ยิ่งมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น ๓.๑.๓) ปัจจัยที่ ๓ แหล่งที่มาของพยานบอกเล่า เช่น มาจากการกระทาของใคร ถ้า หากมาจากการจั ดทาโดยระบบราชการปกติอ าจจะถื อ ว่า แหล่ งที่ม าน่า เชื่อ ถื อ น้ าหนั กดี กว่ าพยานที่ ไม่ รู้ แหล่งที่มา ๓.๑.๔) ปัจจัยที่ ๔ ข้อเท็จจริงแวดล้อมของพยานบอกเล่าทั้งหมด ซึ่งมีคุณค่าในเชิง พิสูจน์สูงพอที่จะยกเว้นให้รับฟังพยานบอกเล่าเข้ามาได้ การรับฟังพยานบอกเล่าในทางปฏิบัติพยานบอกเล่า แทบทุกชนิดที่นาสืบกันอยู่ในศาลไทยเวลานี้เข้าข้อยกเว้นเกือบทั้งหมด เพราะเขียนไว้กว้างและยืดหยุ่นมาก ๓.๒) ข้อยกเว้นที่สอง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๙๕/๑ วรรคสอง(๒) และ ป.วิ.อ.มาตรา ๒๒๖/๓ วรรคสอง(๒) ที่แก้ไขใหม่ ใช้ในกรณีที่ประจักษ์พยานมาไม่ได้ เป็นกรณีที่ประจักษ์พยานตาย หนีหายไปแล้ว ไปอยู่ต่างประเทศตามตัวไม่เจอ หรืออาจจะเป็นกรณีที่ประจักษ์พยานกลายเป็นพยานปรปักษ์ไปเสียแล้ว ไม่อยู่ ในสภาพทีท่เ ราจะได้มาเป็นพยานหลักฐานพิสูจน์ข้อ เท็จจริงที่คู่ ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งประสงค์จะได้มานาสื บ นับว่ายืดหยุ่นมากที่สุด ไม่เคร่งครัดเหมือนอย่างระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ ๔. ประเด็ น ที่ ๔ พยานบอกเล่ า ที่ ย กเว้ น ให้ รั บ ฟั ง ได้ มี น้่ า หนั ก น่ า เชื่ อ ถื อ มากน้ อ ยเพี ย งใด การวินิจฉัยคดีแพ่งและคดีอาญามีแนวทางในการชั่งน้่าหนักพยานบอกเล่าแตกต่างกัน - การวิเคราะห์ชั่งน้าหนักพยานบอกเล่าในคดีแพ่งตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๑๐๔ วรรคสอง บัญญัติไว้ กว้างๆ ว่าศาลจะต้องกระทาด้วยความระมัดระวัง โดยคานึงถึงสภาพ ลักษณะ และแหล่งที่มาของพยานบอกเล่า แสดงว่าคดีแพ่งเพียงแต่บอกว่าให้ระวังหน่อยแล้วกัน ไม่ได้ห้ามเชื่อพยานบอกเล่าที่ยุติเพียงลาพัง อันต่างจาก คดีอาญา


ย่อคาบรรยายเนติฯ สมัย ๖๐ ภาคสอง ฉบับเตรียมสอบ ๓ สนาม (กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน) รวบรวมและสรรสร้างโดยทีมงาน ...((((((((( STD )))))))))... ปรับปรุงใหม่ เมษายน ๒๕๕๑

๔๐

- สังเกต ตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๑๐๔ วรรคสอง บัญญัติไว้สัมพันธ์กับ ป.วิ.พ.มาตรา ๙๕/๑ แต่ตก คาว่า “ข้อเท็จจริงแวดล้อมของพยาน” อ.จรัญเห็นว่า คนเขียนกฎหมายเขียนตกไป ไม่ได้เจตนาให้ต่างกัน เป็น เรื่องถ้อยคาผิดพลาด ไม่ใช่นัยสาคัญทางกฎหมาย - การวิเคราะห์ชั่งน้าหนักพยานบอกเล่าในคดีอาญาตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๒๒๗/๑ ที่แก้ไขใหม่ เป็น การเอาหลักปฏิบัติของศาลในคอมมอนลอว์ที่เรียกว่า Rule of practice มาบัญญัติเป็นแนวทางใหญ่เอาไว้ว่า ในการรับฟังพยานบอกเล่านั้นศาลต้องกระทาด้วยความระมัดระวัง อันนี้ตรงกับคดีแพ่ง แต่ว่าส่วนที่ว่า ไม่ ควร เชื่อพยานหลักฐานนั้นโดยลาพังเพื่อลงโทษจาเลย เว้นแต่จะมีเหตุผลอันหนักแน่น มีพฤติการณ์พิเศษแห่งคดี หรือมีพยานหลักฐานประกอบอื่นมาสนับสนุน ส่วนนี้ต่างจากคดีแพ่ง - กฎหมายใช้คาว่า “ไม่ควร” แสดงว่าไม่ใช่บทบังคับศาลเป็นเพียงคาแนะนาเพราะมาจากหลัก ปฏิบัติ ไม่ใช่หลักกฎหมาย แต่ต้องให้เหตุผล - พยานหลั ก ฐานประกอบอื่ น หรื อ จากแหล่ ง อื่ น เป็ น ศั พ ท์ เ ทคนิ ค ในทางกฎหมายลั ก ษณะ พยานหลักฐานของคอมมอนลอว์ มีความหมายเฉพาะไม่ใช่ภาษาไทย จึงต้องมีการเขียนอธิบายให้ชัดเจนใน ป.วิ.อ.มาตรา ๒๒๗/๑ วรรคสอง ที่แก้ไขใหม่ มีความหมายเฉพาะ ไม่ใช่ภาษาไทย จึงต้องมีการเขียนอธิบายให้ ชัดเจนใน ป.วิ.อ.มาตรา ๒๒๗/๑ วรรคสอง ที่แก้ไขใหม่ ซึ่งต้องมีคุณสมบัติ ๓ ข้อ คือ (๑) เป็นพยานหลักฐานอื่นที่รับฟังได้ ถ้าตัวมันเองรังฟังไม่ได้แล้วจะไปช่วยประกอบคนอื่น ได้ยังไง (๒) มีแหล่งที่มาเป็นอิ สระต่างหากจากพยานหลักฐานที่ต้องการพยานพยานหลักฐาน ประกอบนั้ น หรื อ พยานบอกเล่ า เช่ น ก. เล่ า ให้ ข. ฟั ง ข.ไปเล่ า ต่ อ จนถึ ง ฮ. รวม ๔๔ คน เช่ น นี้ ไ ม่ ใ ช่ พยานหลักฐานที่มีที่มาจากแหล่งอื่นเป็นอิสระต่างหากจากพยานบอกเล่า เอามาใช้เป็นพยานหลักฐานประกอบ ซึ่งกันและกันไม่ได้ บันทึกการจับกุม บันทึกคาให้การผู้ต้องหาชั้นสอบสวน รายงานประกอบแผนการประทุษ กรรมซึ่ ง มีภ าพถ่ า ยแสดงอยู่ ด้ว ย ค าเบิ ก ความของพนั ก งานสอบสวน ค าเบิ ก ความของพนั ก งานผู้ จั บ กุ ม ทั้งหมดนี้ถือว่าเป็นพยานบอกเล่ามาจากแหล่งเดียวกัน แม้จะเข้าข้อยกเว้นศาลก็ต้องรับฟังด้วยความระมัดระวัง (๓) มีคุณค่าเชิงพิสูจน์ ที่สามารถสนับสนุนให้พยานหลักฐานอื่นที่ไปประกอบมีความ น่าเชื่อถือมากขึ้นด้วย - บทตัดพยานหลักฐานที่แสดงถึงความประพฤติชั่วร้ายในอดีตหรือประวัตาอาชญากรรมของ จาเลยคนเดียวกันกับคดีในปัจจุบันตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๒๒๖/๒ ที่แก้ไขใหม่ เป็นไปตามหลักการสากลในคดีอาญา แต่บทตัดพยานบทนี้จากัดขอบเขตอยู่ที่ห้ามนามารับฟังพิสู จน์ค วามผิดของจาเลยในคดีปัจจุบัน แต่นามาใช้ ประกอบดุลพินิจในการกาหนดโทษหรือเพิ่มโทษจาเลย หลังจากที่พยานหลักฐานยืนยันชัดแจ้งแล้วว่าจาลเป็น ผู้ ก ระท าความผิ ด ในคดี นี้ แ ล้ ว ได้ เพราะฉะนั้ น ในทางปฏิ บั ติ ข องไทยโจทก์ ใ นคดี อ าญาจึ ง มั ก จะน าเสนอ พยานหลักฐานประเภทนี้เข้ามาได้เสมอ บทตัดพยานนี้มีข้อยกเว้น ๓ ประการ คือ (๑) ข้อยกเว้นที่หนึ่ง พยานหลักฐานที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับองค์ประกอบความผิดของ คดีปัจจุบัน เช่น ความผิดฐานเป็นผู้ดารงชีพ อยู่ได้ด้วยรายได้ของโสเภณี ในความผิดแบบนี้จาเป็นต้องสืบถึง พฤติกรรมชั่วร้ายครั้งก่อนในคดีอาญาเข้ามาด้วยได้ จึงต้องยกเว้นให้สืบและรับฟังได้


ย่อคาบรรยายเนติฯ สมัย ๖๐ ภาคสอง ฉบับเตรียมสอบ ๓ สนาม (กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน) รวบรวมและสรรสร้างโดยทีมงาน ...((((((((( STD )))))))))... ปรับปรุงใหม่ เมษายน ๒๕๕๑

๔๑

(๒) ข้อยกเว้นที่สอง (สาคัญที่สุด) พยานหลักฐานที่แสดงถึงวิธี หรือรูปแบบ เฉพาะใน การกระทาความผิดของจาเลยหรือพยานหลั กฐานที่แสดงถึงประวัติอาชญากรรม หรือความประพฤติชั่วร้ายของ จาเลยในอดีตนั้น ไม่ใช่เพียงแค่การกระทาผิดหรือกระทาชั่วร้ายเท่านั้น แต่มันทาด้วยรูปแบบขั้นตอน วิธีการที่ เหมือนกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในคดีปัจจุบัน (๓) ข้อยกเว้นที่สาม พยานหลักฐานที่หักล้างข้อกล่าวอ้างของจาเลยถึงการกระทาหรือความ ประพฤติในส่วนดีของจาเลย เป็นเรื่องพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของจาเลย ยังไม่เคยปรากฏในทางปฏิบัติของไทยมาก่อน - บทตัดพยานของไทยที่ใช้เฉพาะในคดีอาญา ในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๒๒๖/๔ ที่แก้ไขใหม่ บัญญัติว่า ในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศห้ามมิให้จาเลยนาสืบด้วยพยานหลักฐาน หรือถาม ค้านพยานโจทก์ด้วยคาถามเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศของผู้เสียหายกับบุคคลอื่นนอกจากจาเลย นับว่าเป็นการ เปลี่ยนแปลงหลักกฎหมายไทยไปสู่มาตรฐานสากล แต่มีข้อยกเว้นเปิดช่องให้ศาลอนุญาตได้ตามคาขอของ จาเลยเท่าที่ศาลเห็นว่าจะก่อให้เกิดความยุติธรรมในการพิจารณาพิพากษาคดีเท่านั้น


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.