โวหาร ภาพพจน์ รสวรรณคดี

Page 1

เอกสารประกอบการสอนวิชาภาษาไทยพืน้ ฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

โวหาร ภาพพจน์ รสวรรณคดีไทย

โดย ครูธัญทิพา โกสัลล์วัฒนา ครู คศ.2 โรงเรียนเบญจมานุสรณ์ จังหวัดจันทบุรี


2

โวหาร ความหมายของโวหาร โวหาร คือ การใช้ถ้อยคําอย่างมีชั้นเชิง เป็นการแสดงข้อความออกมาในทํานอง ต่างๆ เพื่อให้ข้อความได้เนื้อความทีเ่ รียบเรียงอย่างดี มีวิธีการ มีชั้นเชิงและมีศิลปะ เพื่อ สื่อให้ผู้รับสารรับสารได้อย่างแจ่มแจ้ง ชัดเจนและลึกซึ้ง รับสารได้ตามวัตถุประสงค์ของผู้ส่ง สาร เหมาะสมน่าฟัง ในการเขียนเรื่องราวอาจใช้โวหารต่าง ๆ กัน แล้วแต่ชนิดของ ข้อความ

ประเภทของโวหาร การเขียนเรื่องราวอาจใช้โวหารต่าง ๆ กันแล้วแต่ชนิดของข้อความ โวหารอาจจําแนก ตามลักษณะ ของข้อความหรือเนื้อหาเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ ดังนี้ 1. บรรยายโวหาร หมายถึง โวหารที่ใช้ในการอธิบาย เล่าเรื่องราวเหตุการณ์ เพื่อให้ผู้อ่านได้รับความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องนั้น ๆ อย่างละเอียด แจ่มแจ้ง การเรียบเรียง และการใช้ถ้อยคํา จึงมักเลือกใช้ถ้อยคํา ที่สื่อความหมาย ตรงไปตรงมา กะทัดรัด ชัดเจน

ตัวอย่าง

การบรรยายเกาะแก้วพิสดาร ในเรื่อง พระอภัยมณี “อันเกาะแก้วพิสดารสถานนี้ โภชนาสาลีก็มีถม แต่คราวหลังครัง้ สมุทรโคดม มาสร้างสมสิกขาสมาทาน เธอทําไร่ไว้ที่ริมภูเขาหลวง ครั้นแตกรวงออกมาเล่าเป็นข้าวสาร ได้สืบพืชยืดอยู่แต่บูราณ คิดอ่านเอาเคียวมาเกี่ยวไป พระอภัยมณี : สุนทรภู่

2. พรรณนาโวหาร คือ โวหารที่กล่าวถึงความงาม ของธรรมชาติ สถานที่ หรือ ความรู้สึกนึกคิดอย่าง ละเอียด เพื่อให้ผู้อ่านเกิดความซาบซึ้ง และเกิดอารมณ์ ความรู้สึก คล้อยตาม โดยใช้ถ้อยคําที่มีความไพเราะ และความหมายที่ลึกซึ้ง น่าสนใจ ให้ผู้อ่าน ประทับใจ มี อารมณ์ซาบซึ้งถึงความในใจ ถ่ายทอดออกไป เพื่อ ระบายอารมณ์ พรรณนาให้เห็น ภาพเป็นอย่างไร น้ําตา รินไหล อกใจขื่นขม ตัวอย่าง การพรรณนาพระราชวัง ในเรื่อง สามัคคีเภทคําฉันท์ สามยอดตลอดระยะระยับ วะวะวับสลับพรรณ ช่อฟ้าตระการกลจะหยัน จะเยาะยั่วทิฆัมพร บราลีพิลาศศุภจรูญ นภศูลประภัสสร หางหงส์ผจงพิจิตรงอน ดุจกวักนภาลัย สามัคคีเภทคําฉันท์ : ชิต บุรทัต


3

3. สาธกโวหาร คือ โวหารที่ยกตัวอย่างมาประกอบ ข้อความ เรื่องราวให้เข้าใจ แจ่มแจ้งยิ่งขึ้น อาจเป็นการ กล่าวอ้างถึงเรื่องจริง นิทานที่เป็นที่รู้จักกันดีมาประกอบ ก็ได้ เช่น เมื่อจะกล่าวถึงการตามใจลูก จนเสียคน ก็จะ นํานิทานเรื่องสอนลูกให้เป็นโจรมาประกอบ

4. เทศนาโวหาร เป็นโวหารที่แสดงการสั่งสอน หรือ ชักจูงให้ผู้อ่านเห็นคล้อยตาม ชี้แนะคุณและโทษสิ่งที่ควร ปฏิบัติ หรือแสดงทัศนะในข้อสังเกต ในการเขียนผู้เขียน ต้องใช้ เหตุผลมาประกอบให้ผู้อ่านเกิดความเชื่อมั่น เกิด ความรู้สึกด้วยตนเอง

ตัวอย่าง

ตัวอย่าง

ถ้าเธอไม่อยากอยู่กับฉันจริงจริง ยินยอมทุกสิ่ง ให้เธอทิ้งไป ฉันขอแค่เพียงให้เวลาหน่อยได้ไหม อยากเล่านิทานให้ฟัง ชาวนาคนหนึ่งมีชีวิตลําพัง ไป เจองูเห่ากําลังใกล้ตายสงสาร จึงเก็บเอามาเลี้ยงโดยไม่รู้ สุดท้ายจะเป็นอย่างไร คอยดูแลด้วยความจริงใจ ห่วงใย และคอยให้ความรักเป็นกังวลว่ามันจะตาย เฝ้าคอยเอา ใจทุกอย่าง แต่สุดท้ายชาวนาผู้ชายใจดี ด้วยความที่เขา ไว้ใจ น่าเสียดายกลับต้องตาย ด้วยพิษงู นิทานมันบอก ให้ยอมรับความจริง ว่ามีบางสิ่ง ไม่ควรไว้ใจ อะไร บางอย่างที่ทําดีซักแค่ไหน ไม่เชื่อง ไม่รัก ไม่จริง

โยคีสอนสุดสาคร ในเรื่อง พระอภัยมณี “ บัดเดี๋ยวดังหง่างเหง่งวังเวงแว่ว สะดุ้งแล้วเหลียวแลชะแง้หา เห็นโยคีขี่รุ้งพุ่งออกมา ประคองพาขึ้นไปจนบนบรรพต แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์ มันแสนสุดลึกล้ําเหลือกําหนด อันเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ําใจคน” พระอภัยมณี : สุนทรภู่

ชาวนากับงูเห่า : สีฟ้า 5. อุปมาโวหาร คือ การใช้โวหารเปรียบเทียบ ประกอบข้อความ เพื่อให้ผู้อ่าน เข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้นทําให้เข้าใจ เรื่องราวได้แจ่มแจ้ง การใช้อุปมาโวหารนี้มีลักษณะการใช้หลายลักษณะ

ตัวอย่าง สูงระหงทรงเพรียวเรียวรูด พิศแต่หัวตลอดเท้าขาวแต่ตา คิ้วก่งเหมือนกงเขาดีดฝ้าย หูกลวงดวงพักตร์หักงอ สองเต้าห้อยตุงถุงตะเครียว เสวยสลายาจุกพระโอษฐ์อม

งามละม้ายคล้ายอูฐกะหลาป๋า ทั้งสองแก้มกัลยาดั่งลูกยอ จมูกละม้ายคล้ายพร้าขอ ลําคอโตตันสั้นกลม โคนเหี่ยวแห้งรวบเหมือนบวบต้ม มันน่าเชยน่าชมนางเทวี

ระเด่นลันได แต่งโดย พระมหามนตรี (ทรัพย์)

ภาพพจน์


4

ภาพพจน์ ความหมายของภาพพจน์

ภาพพจน์ คือ กลวิธีการนําเสนอสารโดยการพลิกแพลงภาษาที่ใช้พูด หรือเขียนให้แปลกออกไป จากภาษาตามตัวอักษรทําให้ผู้อ่านเกิดภาพในใจ เกิดความประทับใจ เกิดความรู้สึกสะเทือนใจ เป็น การเปรียบเทียบให้เห็นภาพอย่างชัดเจน (รัตนา ศรีมงคล. http://www.thaigoodview.com)

ประเภทของภาพพจน์ ประเภทของโวหารภาพพจน์นั้น มีอยู่หลายประเภท ดังนี้ดังนี้

1. อุปมาโวหาร (Simile) อุปมา คือ การเปรียบเทียบว่าสิ่งหนึ่งเหมือนกับสิ่งหนึ่งโดยใช้คําเชื่อมที่มีความหมาย เช่นเดียวกับคําว่า “ เหมือน ” เช่น ดุจ ดั่ง ราว ราวกับ เปรียบ ประดุจ เฉก เล่ห์ ปาน ประหนึ่ง เพียง เพี้ยง พ่าง ปูน ถนัด ละหม้าย เสมอ กล อย่าง ฯลฯ

ตัวอย่างเช่น ปัญญาประดุจดังอาวุธ ไพเราะกังวานปานเสียงนกร้อง ท่าทางหล่อนราวกับนางพญา จมูกเหมือนลูกชมพู่ ปากเธอเหมือนกระจับอ่อนๆ

ใบหูเหมือนทอดมันร้อนๆ ฟันเรียงสลอนเหมือนข้าวโพดพันธุ์ดี

ตาเหมือนตามฤคมาศ ประดุจแก้วเกาทัณฑ์

พิศคิ้วพระลอราช ก่งนา

สูงระหงทรงเพรียวเรียวลูด พิศแต่หัวจรดเท้าขาวแต่ตา คิ้วก่งดังก่งเขาดีดฝ้าย หูกลวงดวงพักตร์หักงอ สองเต้าห้อยตุงดังถุงตะเคียว เสวยสลายาจุกพระโอษฐ์อม

งามละม้ายคล้ายอูฐกะหลาป๋า สองแก้มกัลยาดังลูกยอ จมูกละม้ายคล้ายพร้าขอ ลําคอโตตันสั้นกลม โคนเหี่ยวแห้งรวบเหมือนบวบต้ม มันน่าเชยน่าชมนางเทวี (ระเด่นลันได : พระมหามาตรี (ทรัพย์)


5

2. อุปลักษณ์ ( Metaphor ) อุปลักษณ์ ก็คล้ายกับอุปมาโวหารคือเป็นการเปรียบเทียบเหมือนกัน แต่เป็นการเปรียบเทียบ

สิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง การเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง มักจะมีคํา เป็น คือ มี 3 ลักษณะ 1. ใช้คํากริยา เป็น คือ เท่า = เปรียบเป็น เช่น โทสะคือไฟ 2. ใช้คําเปรียบเป็น เช่น ไฟโทสะ ดวงประทีปแห่งโลก ตกเหวรักจะดิ้นรนไปจนตาย 3. แสดงการเปรียบเทียบโดยปริยาย เช่น มโหรีจากราวป่ามาเรื่อยรี่ อุปลักษณ์จะไม่กล่าวโดยตรงเหมือนอุปมาแต่ใช้วิธีกล่าวเป็นนัยให้เข้าใจ เอาเอง ที่สําคัญอุปลักษณ์อาจจะไม่มีคาเชื่อมเหมือนอุปมา

ตัวอย่างเช่น ขอเป็นเกือกทองรองบาทา ไปจนกว่าชีวันจะบรรลัย ทหารเป็นรั้วของชาติ เธอคือดอกฟ้าแต่ฉันนั้นคือหมาวัด เธอเป็นดินหรือเธอเป็นหญ้าแท้จริงมีค่ากว่าใครนิรันดร์ ชาวนาเป็นกระดูกสันหลังของชาติ ครูคือแม่พิม์ของชาติ ชีวิตคือการต่อสู้

ศัตรูคือยากําลัง


6

3. สัญลักษณ์ (symbol) สัญลักษณ์ เป็นการเรียกชื่อสิ่งๆหนึ่งโดยใช้คาอื่นมาแทน ไม่เรียกตรงๆ ส่วนใหญ่คําที่ นํามาแทนจะเป็นคําที่เกิดจากการเปรียบเทียบและตีความ ซึ่งใช้กันมานานจนเป็นที่เข้าใจและรู้จักกัน โดยทั่วไป ทั้งนี้อาจเป็นเพราะผู้ประพันธ์ต้องการเปรียบเทียบเพื่อสร้างภาพพจน์หรือมิฉะนั้นก็อาจจะ อยู่ในภาวะที่กล่าวโดยตรงไม่ได้ เพราะไม่สมควรจึงต้องใช้สัญลักษณ์แทน

ตัวอย่างเช่น

เมฆหมอก สีดํา สีขาว กุหลาบแดง หงส์ กา ดอกไม้ แสงสว่าง เพชร แก้ว ลา สุนัขจิ้งจอก ยักษ์

อันของสูงแม้ปองต้องจิต ไม่ใช่ของตลาดที่อาจซื้อ ไม่คิดสอยมัวคอยดอกไม้ร่วง ดูแต่ภุมรินเที่ยวบินตอม

แทน แทน แทน แทน แทน แทน แทน แทน แทน แทน แทน แทน แทน

อุปสรรค ความตาย ความชั่วร้าย ความบริสุทธิ์ ความรัก คนชั้นสูง คนต่ําต้อย ผู้หญิง สติปัญญา ความแข็งแกร่ง ความเป็นเลิศ ความดีงาม ของมีค่า คนโง่ คนน่าสงสาร คนเจ้าเล่ห์ อธรรม

ถ้าไม่คิดปีนป่ายจะได้หรือ ฤๅแย่งยื้อถือได้โดยไม่ยอม คงชวดดวงบุปผชาติสะอาดหอม จึ่งได้ดอมดมกลิ่นสุมาลี

(ท้าวแสนปม : พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว)


7

4. บุคลาธิษฐาน ( Personification ) บุคลาธิษฐาน หรือ บุคคลวัต บุคคลสมมติ คือการกล่าวถึงสิ่งต่างๆ ที่ไม่มีชีวิต ไม่มีความคิด ไม่มีวิญญาณ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ อิฐ ปูน หรือ สิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช่มนุษย์ เช่น ต้นไม้ สัตว์ โดยให้ สิ่งต่างๆเหล่านี้ แสดงกิริยาอาการและความรู้สึกได้เหมือนมนุษย์ ให้มีคุณลักษณะต่างๆ เหมือน สิ่งมีชีวิต ( บุคลาธิษฐาน มาจากคําว่า บุคคล + อธิษฐานหมายถึง อธิษฐานให้กลายเป็นบุคคล ) มองซิ..มองทะเล บางครั้งมันบ้าบิ่น ทะเลไม่เคยหลับใหล บางครั้งยังสะอื้น

เห็นลมคลื่นเห่จูบหิน กระแทกหินดังครืนครืน ใครตอบได้ไหมไฉนจึงตื่น ทะเลมันตื่นอยู่ร่ําไป

ตัวอย่างเช่น

ฟ้าหัวเราะเยาะข้าชะตาหรือ ดินนั้นถืออภิสิทธิ์ชีวิตข้าเองไม่เกรงดินฟ้า

ไส้เดือนเที่ยวเกี้ยวสาว ทุกจุลินทรีย์อะมีบา

เสียงร้องไห้ร่ําหาเหมือนฟ้าร้อง พระเสื้อเมืองเมินมองแล้วร้องไห้ พระธรณีตีอกด้วยตกใจ โลกบาลถอนฤทัยไม่อาจมอง

อัปสรนอนชั้นฟ้า เชิดหน้าได้ดิบได้ดี


8

5. อธิพจน์ (Hyperbole) อติพจน์ หรือ อธิพจน์ คือโวหารที่กล่าวเกินความจริง เพื่อสร้างและเน้นความรู้สึกและ อารมณ์ ทําให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกที่ลึกซึ้ง ภาพพจน์ชนิดนี้นิยมใช้กันมากแม้ในภาษาพูด เพราะเป็น การกล่าวที่ทําให้เห็นภาพได้ง่ายและแสดงความรู้สึกของกวีได้อย่างชัดเจน

คิดถึงใจจะขาด คอแห้งเป็นผง ร้อนตับจะแตก หนาวกระดูกจะหลุด การบินไทยรักคุณเท่าฟ้า คิดถึงเธอทุกลมหายใจเข้าออก

ตัวอย่างเช่น

เอียงอกเทออกอ้าง เมรุชุบสมุทรดินลง อากาศจักจารผจง โฉมแม่หยาดฟ้าแย้ม

อวดองค์ อรเอย เลขแต้ม จารึก พอฤา อยู่ร้อนฤาเห็น

ข้อสังเกต

ในกรณีที่ใช้โวหารต่ํากว่าจริงเรียกว่า "อวพจน์"

ตัวอย่างเช่น

เล็กเท่าขี้ตาแมว เพียงชั่วลัดนิ้วมือเดียว รอสักอึดใจเดียว


9

6. สัทพจน์ ( Onematoboeia ) สัทพจน์ หมายถึง ภาพพจน์ที่ เลียนเสียงธรรมชาติ เช่น เสียงดนตรี เสียงสัตว์ เสียงคลื่น เสียงลม เสียงฝนตก เสียงน้ําไหล ฯลฯ การใช้ภาพพจน์ประเภทนี้จะทําให้เหมือนได้ ยินเสียงนั้นจริง ๆ ลูกหมาร้องบ๊อก ๆ ลุกนกร้องจิ๊บ ๆ ตัวอย่างเช่น

ลูกแมวร้องเหมียว ๆ เปรี้ยง ๆ ดังเสียงฟ้าฟาด ตะแลกแต๊กแต๊กตะแลกแต๊กแต๊ก กระเดื่องดังแทรกสํารวลสรวลสันต์ คลื่นซัดครืนครืนซ่าที่ผาแดง น้ําพุพุ่งซ่า ไหลมาฉาดฉาน เห็นตระการ เสียงกังวาน มันดังจอกโครม จอกโครม มันดังจอก จอก โครม โครม บัดเดี๋ยวดังหง่างเหง่งวังเวงแว่ว อ้อยอี๋เอียง อ้อยอี๋เอียงส่งเสียงร้อง เสียงลิงค่างบ่างชะนีวะหวีดโหวย กระหึมโหยห้อยไม้น่าใจหาย ป๊ะโท่นป๊ะโท่นป๊ะโท่นโท่น


10

7. นามนัย (Metonymy) นามนัย คือ การใช้คําหรือวลีซึ่งบ่งลักษณะหรือคุณสมบัติของสิ่งใดสิ่งหนึ่งแทนอีกสิ่ง หนึง่ คล้ายๆ สัญลักษณ์ แต่ต่างกันตรงที่ นามนัยนั้นจะดึงเอาลักษณะบางส่วนของสิ่งหนึ่งมากล่าว ให้หมายถึงส่วนทั้งหมด หรือใช้ชื่อส่วนประกอบสําคัญของสิ่งนั้นแทนสิ่งนั้นทั้งหมด

ตัวอย่างเช่น

เมืองโอ่ง หมายถึง เมืองย่าโม หมายถึง ทีมเสือเหลือง หมายถึง ทีมกังหันลม หมายถึง ทีมสิงโตคําราม หมายถึง ฉัตร มงกุฎ หมายถึง เก้าอี้ หมายถึง มือที่สาม หมายถึง เอวบาง หมายถึง

จังหวัดราชบุรี จังหวัดนครราชสีมา ทีมมาเลเซีย ทีมเนเธอร์แลนด์ อังกฤษ กษัตริย์ ตําแหน่ง หน้าที่ ผู้ก่อความเดือดร้อน นาง ผู้หญิง


11

8. ปรพากย์ ( Paradox ) ปฏิพากย์ หรือ ปรพากย์ คือการใช้ถ้อยคําที่มีความหมายตรงกันข้ามหรือขัดแย้งกัน มากล่าว อย่างกลมกลืนกันเพื่อเพิ่มความหมายให้มีน้ําหนักมากยิ่งขึ้น

ตัวอย่างเช่น

เลวบริสุทธิ์ บาปบริสุทธิ์ สวยเป็นบ้า สวยอย่างร้ายกาจ สนุกฉิบหาย สวรรค์บนดิน ยิ่งรีบยิ่งช้า น้ําร้อนปลาเป็น น้ําเย็นปลาตาย เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย รักยาวให้บั่น รักสัน้ ให้ต่อ แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร


12

รสวรรณคดี รสทางวรรณคดีที่ มีอยู่ ๔ ชนิด คือ เสาวรจนี นารีปราโมทย์ พิโรธวาทัง สัลลาปังคพิไสย

1. เสาวรจนี (เสาว ว. ดี, งาม. + รจนี ก. ตกแต่ง, ประพันธ์; ว. งาม) รสนี้เป็นการชมความงาม ชมโฉม พร่ําพรรณนาและ บรรยายถึงความงามแห่งนาง ทั้งตามขนบกวีเก่าก่อนและในแบบฉบับ ส่วนตัว ตัวอย่างเช่น ...หนุม่ น้อยโสภาน่าเสียดาย ทนต์แดงดั่งแสงทับทิม เกศาปลายงอนงามทรง

ควรจะนับว่าชายโฉมยง เพริศพริ้มเพรารับกับขนง เอวองค์สารพัดไม่ขัดตา...

จากบทข้างต้น เป็นการกล่าวชมรูปโฉมของวิหยาสะกํา ซึ่งถูกสังคามาระตาสังหาร กล่าวว่าวิหยาสะกํานั้น เป็นชายหนุ่มรูปงาม ฟันนั้นเป็นแสงแวววาวสีแดงราวกับแสงของทับทิม ซึ่งตัดรับกับคิ้ว รวมทั้งปลายเส้นผมซึ่งงอนงามขึ้นเป็นทรงสวยงาม รับกับทรวดทรงองค์เอวของ วิหยาสะกํา

บทชมความงาม


13

2. นารีปราโมทย์

(นารี น. หญิง + ปราโมทย์ น. ความบันเทิงใจ, ความปลื้มใจ) รสนี้ คือ การทําให้ "นารี" นั้น ปลื้ม "ปราโมทย์" ซึ่งรูปแบบหนี่งก็คือ การแสดงความรักผ่านการเกี้ยวแล โอ้โลมปฏิโลม. อันคําว่า "โอ้โลมปฏิโลม" นี้ ความหมาย อันแท้จริงของคําก็คือ การใช้มือลูบไปตาม (โอ้) แนวขน (โลมา) และย้อน (ปฏิ) ขนขึ้นมา เมื่อโอ้โลมไปมา ในเบื้องปลาย นารีก็จักปรีดาปราโมทย์ ตัวอย่างเช่น ตอนที่อิเหนากําลังสั่งลาจากนางจินตะหรา กล่าวคือ เมื่อนั้น โลมนางพลางกล่าววาจา ซึ่งสัญญาว่าไว้กับนวลน้อง มิได้แกล้งกลอกกลับอภิปราย

พระสุริย์วงศ์เทวัญอสัญหยา จงผินมาพาทีกับพี่ชาย จะคงครองไมตรีไม่หนีหน่าย อย่าสงกาว่าจะวายคลายรัก

จากบทข้างต้น ก็คือบทที่อิเหนาได้บอกกล่าวกับจินตะหรา ว่าตนไปก็คงไปเพียงไม่นาน ขอจินตะหราอย่าร้องไห้โศกเศร้าเลย

บทแสดงความรัก


14

3. พิโรธวาทัง (พิโรธ ก. โกรธเกรี้ยว ไม่สบอารามณ์ + วาทัง น. วาทะ คําพูด) คือการแสดงความโกธรแค้นผ่านการใช้คํา ตัดพ้อต่อว่าให้สาใจ ทั้งยังสําแดงความน้อยเนื้อต่ําใจ, ความผิดหวัง, ความแค้นคับอับจิต แลความโกรธกริ้ว กวีมักตัดพ้อและประชดประเทียดเสียดและสี

ตัวอย่างของรสพิโรธวาทังนี้ก็มีอยู่มากมาย ที่จะยกขึ้นมาเป็นตัวอย่างก็จะมี เมื่อนั้น ประกาศิตสีหนาทอาจอง ตรัสพลางย่างเยื้องยุรยาตร พนักงานปิดม่านทันใด

พระผู้ผ่านไอศูรย์สูงส่ง จะณรงค์สงครามก็ตามใจ จากอาสน์แท่นทองผ่องใส เสด็จเข้าข้างในฉับพลันฯ

ในบทที่ยกมานี้ เป็นตอนที่ท้าวดาหาได้ฟังความจากราชทูตของเมืองกะหมังกุหนิง ที่ กล่าวไว้ว่าถ้าท้าวดาหาไม่ยอมยกบุษบาให้กับวิหยาสะกํา ก็ขอให้เตรียมบ้านเมืองไว้ให้ดี เพราะเมืองกะหมังกุหนิงจะยกทัพมารบ เมื่อท้าวดาหาได้ฟังก็โกรธเดือดดาลทันใด จึงบอกไปว่าจะมารบก็มา แล้วก็ลุก ออกไปทันที

บทโกรธ


15

4. สัลลาปังคพิไสย

(สัลล น. ความโศกโศกาเศร้าร่ําน้ําตานอง, ความเจ็บปวดแปลบ ๆ แลบ แล่นในเนื้อใจ, การครวญคร่ํารําพันรําพึง / สัลลาป น. การพูดจากัน + องค์ น. บท, ชิ้น อัน, ตัว + พิไสย น. ความสามารถ ฤาจะแผลงมาจาก วิสัย ซึ่งแปลว่า ธรรมชาติของสิ่งนั้น ๆ ฤาสันดาน ก็อาจ เป็นได้)

คือ การโอดคร่ําครวญ หรือบทโศกอันว่าด้วยการจากพราก สิ่งอันเป็นที่รัก. มีใช้ให้เกลื่อนกล่นไปในบรรดานิราศ (ก. ไปจาก, ระเหระหน, ปราศจาก, ปราศจากความหวัง, ไม่มีความต้องการ, หมดอยาก, เฉยอยู)่ เนื่องเพราะกวี อันมีท่านสุนทรภู่นําเริ่ดบรรเจิดรัศมีอยู่ที่หน้าขบวน จําต้องจรจากนางอันเป็นที่รัก อกจึงหนักแลครวญคร่ํา จํานรรจ์ ประหนึ่งหายห่างกันไปครึ่งชีวิต ในตอนนี้ก็มี เช่นกัน เป็นบทที่อิเหนากําลังชมนกชมไม้ระหว่างจะไปดาหา ว่าพลางทางชมคณานก เบญจวรรณจับวัลย์ชาลี นางนวลจับนางนวลนอน จากพรากจับจากจํานรรจา แขกเต้าจับเต่าร้างร้อง นกแก้วจับแก้วพาที

โผนผกจับไม้อึงมี่ เหมือนวันพี่ไกลสามสุดามา เหมือนพี่แนบนวลสมรจินตะหรา เหมือนจากนางสการะวาตี เหมือนร้างห้องมาหยารัศมี เหมือนแก้วพี่ทั้งสามสั่งความมา

ฯลฯ จากบทข้างบน จะเห็นได้ว่าอิเหนากําลังโศกเศร้าอย่างหนัก จะเรียกว่าอยู่ในขั้นโคม่าเลย ก็ว่าได้ เพราะไม่ว่าจะมองอะไร ก็นึกถึงแต่นาง ทั้งสามที่ตนรัก อันได้แก่ จินตะหรา มาหยารัศมี และ สการะวาตี มองสิ่งใด ก็สามารถเชื่อมโยงกับนางทั้งสามได้หมด

บทเศร้าโศก


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.