หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒
การเขียน วิชาภาษาไทยพื้นฐาน ม.6 รหัสวิชา ท33101
โดย ครูธัญทิพา โกสัลล์วัฒนา โรงเรียนเบญจมานุสรณ์ จังหวัดจันทบุรี
1.
เรื่องสั้น หมายถึง งานเขียนประเภทร้อยแก้ว เกี่ยวกับเรื่องราวที่สมมุติขึ้น มีโครงเรื่องง่ายๆ และ มีความสัมพันธ์เกี่ยวโยงไปถึงจุดสุดยอดของเรื่องที่ กาหนดไว้ โดยการดาเนินเรื่องอย่างรวดเร็วภายใน ระยะเวลาสั้นๆ ผ่าน ตัวละครจานวน 1–5 ตัว และอยู่ภายใต้ แนวคิดสาคัญเพียงแนวคิดเดียว โดยส่วนมากเรื่องสั้นมีความยาวประมาณ 8,000 คา อาจมากกว่าหรือน้อยกว่าก็ได้ ขึ้นอยู่กับกลวิธีการเขียนของผู้เขียน ความยาวหรือสั้นจึงไม่ได้กาหนดตายตัว แต่จะยึด ลักษณะการเขียนเป็นสาคัญ
ชนิดของเรื่องสั้น 1. เรื่องสั้นชนิดเน้นการผูกเรื่อง คือผู้เขียนมักสร้างปมขัดแย้งขึ้นมา ทาให้เกิด ความซับซ้อน และมักจบลงด้วยการพลิกความคาดหมายของผู้อ่าน 2. เรื่องสั้นชนิดเน้นการสร้างตัวละคร คือ เรื่องสั้นที่เน้นพฤติกรรมของตัว ละคร โดยใช้ตัวละครเป็นตัวดาเนินเรื่องเป็นส่วนใหญ่ โดยมักบรรยายเพื่อแสดง ลักษณะของตัวละครอย่างใดอย่างหนึ่งให้เด่นชัด 3. เรื่องสั้นชนิดเน้นการสร้างบรรยากาศหรือฉากเป็นสาคัญ คือ เรื่องสั้นที่ มุ่งเน้นและให้ความสาคัญของฉากและบรรยากาศ เพื่อให้ผู้อ่านคล้อยตาม 4. เรื่องสั้นชนิดเน้นแนวคิดหรือความคิดเห็น คือ เรื่องสั้นที่ผู้เขียนต้องการ เสนอแนวคิดอย่างใดอย่างหนึ่งให้ผู้อ่าน ได้ไตร่ตรองไปพร้อมๆกับเรื่องในขณะที่ อ่าน โดยใช้สัญลักษณ์ กล่าวโดยนัย หรือมุ่งเน้นให้เห็นสัจธรรมของชีวิต
2.
องค์ประกอบของเรื่องสั้น 1. โครงเรื่อง (Plot) 2. แก่นของเรื่องหรือแนวคิดของเรื่อง (Theme) 3. ตัวละคร (Character) 4. บทสนทนา (Dialogue) 5. ฉาก (Setting)
3.
1. โครงเรื่อง (Plot) โครงเรื่อง คือ เหตุการณ์เรื่องราวที่ผู้เขียนร่างขึ้นคร่าวๆ เพื่อเป็น แนวทางในการดาเนินเรื่อง ให้น่าสนใจ ชวนติดตามสมเหตุสมผลเรื่อยๆจนถึง จุดสุดยอดของเรื่อง(Climax) และคลี่คลายจบลงด้วยดี หรือคาดไม่ถึงก็ได้
โครงสร้างของเรื่องมี 3 ส่วนดังนี้ 1. ส่วนเริ่มเรื่อง (Exposition) หรือ ส่วนต้นเรื่องเป็นการกาหนดสภาวะ ของเหตุการณ์เพื่อปูทางดาเนินเรื่อง และเป็นการดึงดูดความสนใจไป ด้วย โดยอาเปิดเรื่องด้วย การบรรยาย พฤติกรรมของตัวละคร ใช้บท สนทนา เป็นต้น 2. ส่วนดาเนินเรื่อง (Complication) เป็นส่วนที่เรื่องรวมกาลังดาเนินไป และมักเกิดปัญหาหรือปมขัดแย้ง การเผชิญหน้าของตัวละครกับ เหตุการณ์ หรืออุปสรรค ความทุกข์ เพื่อเร้าใจผู้อ่าน ซึ่งข้อสาคัญอีก อย่างคือ ไม่ควรให้ยืดเยื้อ เพราะมันจะทาให้น่าเบื่อ ปม หรือปัญหาใน เรื่องควรคลายที่ละน้อยๆ เพื่อให้ผู้อ่านผ่อนคลายไปด้วย 3. ส่วนปิดเรื่องหรือการปิดจุดสุดยอดของเรื่อง(Climax) เมื่อดาเนินเรื่อง มาจนถึงตอนที่ตึงเครียดและเร้าใจที่สุดแล้วก็ค่อยๆคลายปมออกและ จบลง ซึ่งตอนจบก็สามารถทาได้หลายวิธี เช่น จบเรื่องแบบมีความสุข สมหวัง จบแบบคาดไม่ถึง แบบทิ้งปัญหาให้ผู้อ่านได้จินตนาการต่อไป
4.
2. แก่นของเรื่องหรือแนวคิดของเรื่อง (Theme) แก่นของเรื่องคือ แนวคิดสาคัญหรือแนวคิดหลักที่ปรากฏตั้งแต่ต้นจนจบ เป็นตัวเชื่อมโยงเรื่องเข้าด้วยกัน ผู้เขียนสามารถเสนอได้หลักๆดังนี้ 1. แก่นที่แสดงพฤติกรรม คือ เน้นที่จะเสนอพฤติกรรมของตัวละครให้ เด่นชัดว่าพฤติกรรมดังกล่าวเป็นสาเหตุของการเกิดปัญหาเรื่อง ทั้งด้านดี และไม่ดี เพื่อให้ผู้อ่านควรยึดถือพฤติกรรมใดเป็นแบบอย่างหรือไม่ควร ยึดถือพฤติกรรมใดเป็นแบบอย่าง เช่น ความอดทนของตัวละคร หรือ การยึดมั่นในอุดมการณ์ 2. แก่นที่แสดงอารมณ์ คือ เรื่องที่ผู้เขียนมุ่งเน้นที่จะแสดงอารมณ์ ความรู้สึกของตัวละครเพื่อให้ผู้อ่านรับรู้ เช่น ความรัก ความเหงา ความเศร้า ความอิจฉา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถและประสบการณ์ และกลวิธีการของผู้เขียนด้วย 3. แก่นที่แสดงสภาพและเหตุการณ์ คือ แก่นที่มุ้งเน้นแสดงให้เห็นภาพ ของชีวิต สังคมของตัวละคร 4. แก่นทัศนะ คือ เป็นแก่นที่มุ่งเน้นที่จะเสนอความคิดเห็นต่อสิ่งหนึ่ง เช่น ค่านิยมในสังคม ความซื่อสัตย์ รวมถึงสิ่งตรงกันข้ามโดยใช้ตัวละครเป็น สื่อกลาง
5.
3. ตัวละคร (Character) ในเรื่องสั้นเรื่องหนึ่งนั้น ต้องมีตัวละคร ประมาณ 1 – 5 ตัว เท่านั้น หากมีมากเกินไปจะทาให้ โครงเรื่องซับซ้อน และสบสน ตัวละครควรมีตัวเอกเพียงตัวเดียว และควรกล่าวให้เด่นชัดที่สุด ส่วนตัวประกอบนั้นอาจกล่าว ให้เห็นบ้างไม่ควรเด่นชัดเกินไป คือให้เป็นลักษณะเดียวกันกับฉาก โดยอาจกล่าวเป็นหมู่หรือคณะ ตัวละครอาจไม่จาเป็นต้องเป็นมนุษย์ อาจเป็นพืช สัตว์ สิ่งของ หาก เป็นมนุษย์ต้องมีความสมจริงทางด้านพฤติกรรม และการพูดจาที่ สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมอย่างสมเหตุสมผล
6.
6. บทสนทนา (Dialogue) บทสนทนา คือ ถ้อยคาที่ตัวละครพูดโต้ตอบกันในเนื้อเรื่อง ซึ่งเขียนอยู่ ในเครื่องหมายอัญประกาศ บทสนทนามีส่วนช่วยให้การดาเนินเรื่องและสร้าง บรรยากาศให้เรื่องราวดูสมจริงมากขึ้น ทั้งยังทาให้ผู้อ่านรู้สึกเหมือนได้ฟังผู้อื่น พูดคุยสนทนากัน
ลักษณะของบทสนทนาที่ดี ใช้ภาษาได้สมจริงกับฐานะและบุคลิกภาพของตัวละคร สามารถสื่อให้เห็นถึงลักษณะนิสัยของตัวละครได้อย่างชัดเจน ชี้ให้เห็นสภาพ สังคม วัฒนธรรม ประเพณี การศึกษา และ การปกครองในเนื้อเรื่องได้เป็นอย่างดี เสนอแนวคิด ค่านิยมถึงผู้อ่านโดยไม่ทาให้ผู้อ่านรู้สึกเหมือนถูกสั่งสอน ใช้ถ้อยคาที่หลากหลาย ไม่ซ้าซาก เข้าใจง่ายและไม่นอกเรื่อง อย่างไรก็ตาม บทสนทนาก็ไม่ใช่องค์ประกอบสาคัญของเรื่องสั้น เสมอไปเพราะในเรื่องสั้นบางเรื่องนั้น ไม่จาเป็นต้องใช้บทสนทนาก็ สามารถดาเนินเรื่องไปได้
7.
5. ฉาก (Setting) ฉาก คือ สถานที่ เวลา และบรรยากาศในเรื่องที่ผู้แต่งสร้างขึ้น เพื่อบอกให้รู้ว่าเหตุการณ์นั้นๆ เกิดขึ้นเมื่อไหร่ โดยส่วนมากเรื่องสั้นทั่วไป ไม่นิยมบรรยายฉากมากเพียงแค่บรรยายอย่างคร่าวๆ กล่าวอย่างตรงไปตรงมา เน้นความกระชับ และฉากยังเป็นส่วนที่ทาให้ผู้อ่านทราบถึงบรรยากาศ ในท้องเรื่องอีกด้วย การบรรยายฉาก นอกจากจะบรรยายโดยตรงแล้วยังสามารถ บรรยายทางอ้อมได้โดย ผ่านทางบทสนทนาของตัวละคร ผ่านวัฒนธรรม การแต่งกาย เป็นต้น ข้อควรคานึงของการบรรยายฉาก คือ ผู้เขียนจะต้อง ศึกษาค้นคว้าให้ถูกต้องตามความเป็นจริง ทางภูมิศาสตร์ หากผิดเพี้ยน จะทาให้ความต้องการเสริมบรรยากาศในเรื่อง อาจถูกทาลายโดยไม่รู้ตัว
8.
กลวิธีการแต่ง กลวิธีการแต่ง หมายถึง วิธีที่ผู้เขียนใช้ในการนาเสนอเรื่องราวเพื่อให้ ดาเนินเรื่องไปตามที่วางไว้ และเข้าถึงแก่นแท้ของเรื่องตามความต้องการ ของผู้เขียนเอง
กลวิธีการแต่งมี 3 ขั้นตอนดังนี้ 1. ตอนเปิดเรื่อง ควรเปิดเรื่องให้น่าสนใจมากที่สุด สามารถดึงดูดใจผู้อ่าน ต่อไปเรื่อยๆ ซึ่งการเปิดเรื่องสามารถทาได้หลายวิธี เช่น การบรรยายฉาก บรรยายพฤติกรรมของตัวละคร หรือใช้บทสนทนา 2. ตอนดาเนินเรื่อง ในตอนนี้ผู้เขียนทั่วไปมักผูกปมปัญหา สร้างอุปสรรคให้ ตัวละครได้เผชิญและแก้ปัญหา เพื่อให้เห็นความยุ่งยาก เกิดความขัดแย้ง ตลอดจนทาให้ผู้อ่านคล้อยตาม หรือมีอารมณ์ร่วมในเรื่อง เช่นความสงสาร ความเกลียดชัง ความทุกข์ยาก 3. ตอนจบเรื่อง อาจจบลงในตอนที่ปมปัญหา คลายแล้ว หรือจบลงที่จุดสุดยอดของเรื่องก็ได้ การจบอย่างที่กล่าวไปข้างต้น คือ สามารถจบได้หลายแบบ เช่น จบแบบพลิกความคาดหมาย จบแบบทิ้งปัญหาไว้ให้คิดตาม เป็นต้น
9.
เริ่มต้นสร้างเรื่องอย่างง่าย ๆ
หาตัวละครมา ใส่ความต้องการบางอย่างให้เขา (พอใจหรือไม่พอใจในสถานภาพของตัวเอง) เติมอุปสรรค หรือปัญหา ที่ขัดขวางไม่ให้เขา ไปถึงความต้องการนั้น บีบคั้นเขาด้วยความยากลาบาก หรือ ความผิดพลาดที่มากขึ้น พาเขาออกมาจากสถานการณ์นั้น ๆ ด้วย ความสามารถของเขาเอง จบเรื่อง
ตัวอย่าง
10 .
สร้างตัวละคร A ให้น่าสนใจด้วยบุคลิกลักษณะ การกระทา นิสัย หรืออื่น ๆ ทาให้สถานภาพเขาเปลี่ยนไป ไม่ว่าจะจากอะไรก็ได้ ฝนตก รถติด เมีย หย่า พ่อตาย ตกงาน ( โดยมากมักจะเป็นเรื่องร้าย ๆ ) ต้องมีเวลาจากัด ในการที่จะแก้ไขเรื่องเลวร้ายที่เกิดขึ้นเพื่อบีบให้เรื่อง เข้มข้น เช่น เมียจะคลอดแต่รถติด ต้องปลดชนวนระเบิดให้ได้ภายใน ๒๐ นาที ต้องบอกเรื่องสาคัญต่อตารวจภายในคืนนี้ ฯลฯ สถานการณ์นั้นต้องมีผลกระทบต่ออารมณ์ความรู้สึกของตัวละคร A อย่างใหญ่หลวงที่จะทาให้เขาเป็นตาย หรือระเบิดอารมณ์ออกมาได้ พอกัน สร้างตัวละคร B พร้อมทั้งบุคลิกลักษณะ นิสัย หรืออื่น ๆ จุดชนวนความลึกลับ หรือความสงสัยให้กับคนอ่าน ในขณะที่ตัวละคร พอจะเข้าใจในบางสิ่งบางอย่างในเรื่องแล้วแต่คนอ่านยังไม่รู้โดยตรง สร้างความต้องการที่แตกต่างกันระหว่างตัวละคร เช่น A ต้องการไปต่อ แต่ B ให้หยุดรอ ปฏิสัมพันธ์ระหว่าง A และ B ที่แสดงออกมา ไม่ใช่ใครคนเดียว A พยายามหาทางแก้ไขในปัญหา สถานการณ์บิดเบือน ไม่เป็นอย่างที่คาดหมาย เรื่องเริ่มเลวร้ายลง เวลาหมดไปเรื่อย จุดวิกฤต ต้องเลือกตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่ง ผลสุดท้าย
11 .
เคล็ดลับเมื่อจะเขียนเรื่องสั้น
ให้มีตัวละครในเรื่องน้อยที่สุด ร่างรายการถึงตัวละคร และ สิ่งที่คุณอยากจะให้เกิดใน เรื่องอย่างสั้น ๆ ในแผนการเขียนของคุณ ต้องเตรียมย่อหน้าที่จะเสนอ ฉากสถานที่และการแนะนาตัวละครให้คนอ่านรู้จัก การเปิดเรื่องของคุณต้องมีผลกระทบใจคนอ่าน หัวใจสาคัญต้องรู้ว่าเรื่องของคุณเกิดที่ไหน เกี่ยวกับอะไร และมุ่งไปสู่ประเด็นนั้น อย่าโอ้เอ้ออกนอกเรื่องในสิ่งไม่ จาเป็น บทสรุปเรื่องในสองสามย่อหน้าสุดท้ายต้องขมวดทุกอย่าง เข้าด้วยกัน และต้องตอบข้อสงสัยที่คุณเปิดประเด็น เอาไว้ คุณอาจจะหักมุมในตอนจบ เพื่อสร้างสิ่งที่คาดไม่ถึงให้กับ คนอ่าน เขียนให้ตรงประเด็นและเรียบง่ายที่สุด
12 .
เมื่อเราศึกษาการเขียนเรื่องสั้นข้างต้นที่กล่าวมาจน เข้าใจแล้ว สิ่งต่อมาคือต้องลงมือเขียน การที่เราจะลงมือเขียน ก็จาเป็นต้องเลือกแนวและที่จะเขียนให้เด่นชัด แน่นอนก่อน แนวของเรื่องสั้นนั้นก็มีหลายแนว เช่น แนวรัก ต่อสู้ผจญภัย แนวตลก แนวสยองขวัญ แนวชีวิต ซึ่งแนวเหล่านี้เหมาะแก่ การเขียนเรื่องสั้นเพราะ ไม่ต้องอธิบายเหตุผลให้ผู้อ่านเข้าใจ มากนักหรือใช้เวลาในการอธิบายน้อย ซึ่งผู้เขียนจะเลือกแนว ไหนนั้นขึ้นอยู่กับความถนัดในการเขียน ความชอบ หรืออยาก เขียน เท่านี้ก็เป็นพื้นฐานในการเริ่มเขียนได้แล้ว