127 ปี กระทรวงกลาโหม

Page 1


กระทรวงกลาโหม

ก้าวไปข้างหน้าเพื่อพิทักษ์รักษาเอกราชและความมั่นคง


“...วิเชตฺวา พลตาภูปํ รฏฺเฐ สาเธตุ วุฑฺฒิโย...”

ขอให้พระมหากษัตริย์เจ้าพร้อมด้วยปวงทหาร จงมีชัยชนะ ยังความเจริญส�ำเร็จในแผ่นดินเทอญ



สมุหกลาโหม - เสนาบดีกระทรวงกลาโหม - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม



ปลัดทูลฉลอง - ปลัดกระทรวงกลาโหม


พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา

นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม Miss Yingluck  Shinawatra Minister of Defence

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม General Yuthasak  Sasiprapha Deputy Minister of Defence

พลเอก ขวัญชาติ  กล้าหาญ

พลเอก นิพัทธ์  ทองเล็ก

เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม General Khwanchart  Klahan Secretary to the Minister of Defence

ปลัดกระทรวงกลาโหม General Nipat  Thonglek Permanent Secretary for Defence

8


พลเอก สายัณห์  คัมภีร์พันธุ์

พลเอก ธนะศักดิ์  ปฏิมาประกร

สมุหราชองครักษ์ General Sayan  Khampeepan Chief, Aide-de-Camp General to H.M. the king

พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา

ผู้บัญชาการทหารบก General Prayut  Chan-o-cha Commander-in-chief, Royal Thai Army

ผู้บัญชาการทหารสูงสุด General Tanasak  Patimapragorn Chief of Defence Forces

พลเรือเอก ณรงค์  พิพัฒนาศัย

ผู้บัญชาการทหารเรือ Admiral Narong  Pipatanasai Commander-in-Chief, Royal Thai Navy

9

พลอากาศเอก ประจิน  จั่นตอง

ผู้บัญชาการทหารอากาศ Air Chief Marshal Prajin  Juntong Commander-in-Chief, Royal Thai Air Force


พลเอก นิพัทธ์  ทองเล็ก ปลัดกระทรวงกลาโหม พลเรือเอก พลวัฒน์  สิโรดม รองปลัดกระทรวงกลาโหม

พลอากาศเอก ทรงธรรม  โชคคณาพิทักษ์ รองปลัดกระทรวงกลาโหม

พลเอก สุรศักดิ์  กาญจนรัตน์ รองปลัดกระทรวงกลาโหม

พลเอก สนธิศักดิ์  วิทยาเอนกนันท์ รองปลัดกระทรวงกลาโหม

10


พลเอก ไพชยนต์ ค้าทันเจริญ

ผูอ้ ำ� นวยการส�ำนักนโยบายและแผนกลาโหม

พลเอก ชัชวาลย์ ข�ำเกษม เจ้ากรมเสมียนตรา

ผูอ้ ำ� นวยการส�ำนักงบประมาณกลาโหม

พลเอก สิรวุฒิ สุคนั ธนาค

พลเอก อภิชาต แสงรุง่ เรือง ผูอ้ ำ� นวยการศูนย์การอุตสาหกรรม ป้องกันประเทศและพลังงานทหาร

เจ้ากรมการสรรพก�ำลังกลาโหม

เจ้ากรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม

พลโท ถเกิงกานต์ ศรีอำ� ไพ

พลโท บรรเจิด เทียนทองดี

พลโท พรรรณพ ศักดิว์ งศ์

พลโท พฤษภะ สุวรรณทัต

พลโท พัชราวุธ วงษ์เพชร

พลโท สรศักดิ์ ขาวกระจ่าง

พลตรี ทวี พฤกษาไพรบูลย์

พลโท ยุทธนา กล้าการยุทธ

เจ้ากรมเทคโนโลยีสารสนเทศ และอวกาศกลาโหม

ผูอ้ ำ� นวยการส�ำนักงานสนับสนุน ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

เจ้ากรมการพลังงานทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรม เจ้ากรมอุตสาหกรรมทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรม ผูบ้ ญ ั ชาการศูนย์อำ� นวยการสร้างอาวุธ ป้องกันประเทศและพลังงานทหาร ป้องกันประเทศและพลังงานทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร

พลตรี ร่มเกล้า ปัน้ ดี พลอากาศตรีหญิง รจเรขา เบญจกุล พลตรี ณภัทร สุขจิตต์

ผูอ้ ำ� นวยการส�ำนักโยธาธิการ ส�ำนักงานสนับสนุน ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

ผูอ้ ำ� นวยการส�ำนักงานแพทย์ ส�ำนักงานสนับสนุน ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

เลขานุการ ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

ผูอ้ ำ� นวยการ ส�ำนักงานตรวจสอบภายในกลาโหม

พลตรี ชวลิต สาลีตดิ๊

พลเอก จิระ โกมุทพงศ์ เจ้ากรมพระธรรมนูญ

พลโท พันลึก สุวรรณทัต

หัวหน้าส�ำนักปลัดกระทรวงกลาโหม

พลตรี สังสิทธิ์ วรชาติกลุ

ผูอ้ ำ� นวยการโรงงานเภสัชกรรมทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ และพลังงานทหาร

พลตรี พงศ์ทวิ า อภิรกั ษ์โยธิน

ผูอ้ ำ� นวยการโรงงานวัตถุระเบิดทหาร ผูอ้ ำ� นวยการศูนย์พฒั นาปิโตรเลียมภาคเหนือ กรมการพลังงานทหาร กรมการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและ และพลังงานทหาร พลังงานทหาร

11

พลโท อดุลยเดช อินทะพงษ์ เจ้ากรมการเงินกลาโหม

พลโท สุวโรจน์ ทิพย์มงคล

หัวหน้าส่วนประสานงานการพัฒนา ระบบราชการกลาโหม

พลเรือตรี สหพงษ์ เครือเพ็ชร

ผูอ้ ำ� นวยการศูนย์วจิ ยั และพัฒนาการทหาร กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม

พลเอก ชัยวัฒน์ สท้อนดี พลเอก สมพงศ์ มุกดาสกุล ผูอ้ ำ� นวยการ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก

ผูอ้ ำ� นวยการ สถาบันเทคโนโลยีปอ้ งกันประเทศ (องค์การมหาชน)


บทพระคาถาของสมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทวมหเถร) ทูลถวายบทพระคาถาประจ�ำโรงทหารหน้า ทูลเกล้าฯ ถวาย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

“...วิเชตฺวา พลตาภูปํ รฏฺเฐ สาเธตุ วุฑฺฒิโย...” ขอให้พระมหากษัตริย์เจ้าพร้อมด้วยปวงทหาร จงมีชัยชนะ ยังความเจริญส�ำเร็จในแผ่นดินเทอญ ค�ำปรารภของปลัดกระทรวงกลาโหม นับแต่วันที่ ๘ เมษายน ๒๔๓๐ ซึ่งเป็นวันที่ส�ำคัญที่สุดวันหนึ่งของกิจการทหารไทย เพราะเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ ประกาศจัดการทหารสถาปนา กรมยุทธนาธิการ ขึน้ ทีโ่ รงทหารหน้าหรือศาลาว่าการกลาโหม ในปัจจุบัน โดยมีพระราชประสงค์ที่จะรวมกรมทหารบกและกรมทหารเรือไว้ด้วยกัน เพื่อ สร้างเอกภาพและศักยภาพในการบังคับบัญชาและบริหารจัดการทหารให้มรี ปู แบบเป็นสากล ทัดเทียมนานาอารยประเทศ จึงนับได้วา่ เป็นวันเริม่ ต้นและเป็นก้าวแรกแห่งกิจการทหารไทย สมัยใหม่ กอปรกับในปีพทุ ธศักราช ๒๕๕๗ นี้ เป็นปีแห่งการครบรอบการเปิดใช้โรงทหารหน้า ซึ่งเป็นเสมือนการวางรากฐานของการมีที่ตั้งหน่วยและที่ทำ� การของทหารไทยเป็นแห่งแรก ในยุคของการปรับปรุงกิจการทหารไทยไปสู่กิจการทหารยุคสากลที่เป็นมาตรฐาน หรือ เป็นเสมือนบ้านหลังแรกของทหารไทย ซึ่งหลังจากวันนั้นเป็นต้นมา กรมยุทธนาธิการ จึง ได้พัฒนาเป็นกระทรวงยุทธนาธิการ และกระทรวงกลาโหมตามล�ำดับ โดยมีกระบวนการ พัฒนาตามการเปลีย่ นแปลงของสภาพแวดล้อมทางยุทธศาสตร์ จนเกิดเป็นกระทรวงกลาโหม ทีป่ รากฏในปัจจุบนั ทีด่ ำ� รงบทบาทเป็นกลไกหลักส�ำคัญในการพิทกั ษ์รกั ษาเอกราช บูรณภาพ และความมัน่ คงของประเทศชาติ ตลอดจนพิทกั ษ์รกั ษาเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ และ รักษาผลประโยชน์ของชาติอย่างมีประสิทธิภาพ


ซึง่ เกียรติประวัตใิ นเวลานับร้อยปีทผี่ า่ นมา ได้ปรากฏเป็นทีป่ ระจักษ์แก่สงั คมไทยและ สังคมโลกว่ากระทรวงกลาโหมคือ สถาบันทางทหารทีย่ นื หยัดเคียงคูเ่ อกราช อธิปไตยของไทย มาโดยตลอด ควบคูไ่ ปกับการใช้ประโยชน์ของโรงทหารหน้าทีเ่ ป็นสถานทีส่ �ำคัญในการสร้าง ประวัติศาสตร์ให้แก่กิจการทหาร สังคมไทย และประเทศชาติในหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นมิติ ทางทหาร มิติทางการเมือง มิติทางสังคม และมิติทางศิลปวัฒนธรรม ในโอกาสที่กระทรวงกลาโหมครบรอบ ๑๒๗ ปี ในปีพุทธศักราช ๒๕๕๗ นี้ กระทรวง กลาโหมจึงได้จดั ท�ำหนังสือ “๑๒๗ ปี กระทรวงกลาโหม ก้าวไปข้างหน้าเพือ่ พิทกั ษ์รกั ษา เอกราชและความมั่นคง” ซึ่งเป็นการบันทึกหน้าประวัติศาสตร์ของกิจการทหารไทยที่ก้าว เดินเคียงคู่ไปกับการใช้ประโยชน์โรงทหารหน้าเพื่อระลึกถึงคุณงามความดีของบรรพบุรุษ ทีไ่ ด้สร้างกระทรวงกลาโหม พร้อมเป็นหลักชัยของ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ประชาชน ข้าราชการ และกองทัพ ให้มศี กั ยภาพและแสนยานุภาพทางทหารในรอบ ๑๒๗ ปีและตลอดไป กระทรวงกลาโหม หวังเป็นอย่างยิง่ ว่า หนังสือ “๑๒๗ ปี กระทรวงกลาโหม ก้าวไป ข้างหน้าเพือ่ พิทกั ษ์รกั ษาเอกราชและความมัน่ คง” จะท�ำให้ผอู้ า่ นได้รบั ความรู้ รับทราบ และภาคภูมใิ จในข้อมูลทางประวัตศิ าสตร์ของกระทรวงกลาโหมและโรงทหารหน้าทีเ่ ปีย่ มล้น ไปด้วยคุณค่าและเกียรติภูมิสืบไป.

พลเอก (นิพัทธ์ ทองเล็ก) ปลัดกระทรวงกลาโหม


๑๒๗ ปี กระทรวงกลาโหม ก้าวไปข้างหน้าเพื่อพิทักษ์รักษาเอกราชและความมั่นคง พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม ISBN ๙๗๘ - ๙๗๔ - ๙๗๕๒ - ๖๙ - ๒ เจ้าของผู้พิมพ์ผู้โฆษณา ประธานที่ปรึกษา คณะที่ปรึกษาพิเศษ คณะที่ปรึกษา ประธานคณะกรรมการอ�ำนวยการ บรรณาธิการอ�ำนวยการ บรรณาธิการข้อมูล บรรณาธิการบทความ บรรณาธิการบริหาร รองบรรณาธิการบริหาร กองบรรณาธิการ พิสูจน์อักษร ศิลปกรรม อ�ำนวยการผลิต พิมพ์ที่

ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เลขที่ ๗ ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก พลเรือเอก พลวัฒน์ สิโรดม พลอากาศเอก ทรงธรรม โชคคณาพิทักษ์ พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ พลเอก สนธิศักดิ์ วิทยาเอนกนันท์ พลเอก ชัยชาญ ช้างมงคล พลโท ชัยพฤกษ์ พูนสวัสดิ์ พลตรี ชัยวิน ผูกพันธุ์ พันเอก ทิวา สุทธิกุลสมบัติ นายไกรฤกษ์ นานา พลเอก ชัยชาญ ช้างมงคล พลตรี ณภัทร สุขจิตต์ พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์, นายไกรฤกษ์ นานา พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์ พันเอก ณัฐวุฒิ คล้ายโอภาส, พันเอก คงชีพ ตันตระวาณิชย์, พันเอก ปณิธาน กาญจนวิโรจน์ นาวาเอก พรหมเมธ อติแพทย์, พันเอกหญิง ใจทิพย์ อุไพพานิช กองประชาสัมพันธ์ ส�ำนักงานเลขานุการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม พันเอกหญิง วิวรรณ วรวิศิษฏ์ธ�ำรง, นาวาโทหญิง รสสุคนธ์ ทองใบ, นาวาตรี ฐิตพร น้อยรักษ์, ร้อยเอกหญิง ณิชาภา กุหลาบเพ็ชร์, เรือเอกหญิง กัญญารัตน์ ชูชาติ, ร้อยเอกหญิง ลลิดา ดรุนัยธร, ร้อยโทหญิง ประภาพันธ์ มูลละ, จ่าสิบเอกหญิง ปาลดา สมพงษ์ผึ้ง, สิบเอกหญิง ศิริพิมพ์มา กาญจนโรจน์ ชาติชาย พุทธรักษา, วิระยุทธ นาถชัยโย ส�ำนักงานเลขานุการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม กระทรวงกลาโหม ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทรศัพท์/โทรสาร ๐ ๒๒๒๕ ๘๒๖๒ www.opsd.mod.go.th บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗) จ�ำกัด เลขที่ ๕๕๕ หมู่ ๑๒ ต�ำบลไร่ขิง อ�ำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ๗๓๒๑๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๘๑๑ ๗๗๗๘ โทรสาร ๐ ๒๘๑๑ ๗๗๑๕


สารบัญ

กระทรวงกลาโหม

ก้าวไปข้างหน้าเพื่อพิทักษ์รักษาเอกราชและความมั่นคง

• • • • •

ปฐมบทและอุบัติการณ์

• • • • •

โรงทหารหน้าและกรมทหารหน้าในยุคแรก

๑๖ ๑๙ ๒๗ ๕๗

กิจการทหารและศาลาว่าการกลาโหมในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

๕๙

กิจการทหารและศาลาว่าการกลาโหมในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

๙๑

กิจการทหารและศาลาว่าการกลาโหมในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

๑๑๙

กิจการทหารและศาลาว่าการกลาโหมในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล

๑๒๕

ปฐมบท ประวัติความเป็นมาของโรงทหารหน้า

กิจการทหารและศาลาว่าการกลาโหมในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช บทส่งท้าย

๑๓๕ ๑๕๓


ปฐมบทและอุบัติการณ์ ศาลาว่าการกลาโหม ถือเป็นอัครสถานและเสาหลักแห่งความมัน่ คงของชาติบา้ นเมืองและเป็นอาคารถาวรหลังแรกของกองทัพไทย ตัง้ แต่อดีตตราบจนปัจจุบนั เป็นจุดก�ำเนิดของสถาบันการทหารสมัยใหม่ ทีพ่ ระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ ๕ ทรงมี พระราชด�ำริให้จัดตั้งขึ้นและเสด็จพระราชด�ำเนินมาเป็นปฐมฤกษ์แห่งอาคาร เมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๔๒๗ โดยในครั้งนั้นมีชื่อเรียก อย่างเรียบง่ายว่า “โรงทหารหน้า” มูลเหตุดั้งเดิมเกิดขึ้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติในปีพุทธศักราช ๒๔๑๑ นั้น ได้เสด็จพระราชด�ำเนินออกทอดพระเนตรกรมและกองทหารบกเกณฑ์หัดอย่างยุโรป ซึ่งมีมาแต่โบราณกาล และที่มีอยู่ในครั้งรัชกาลที่ ๔ เรียกว่า “ทหารหน้า” โดยฝึกหัดยุทธวิธีแบบตะวันตก ซึ่งมีอยู่ในสมัยนั้นถวาย ณ ห้องสนามไชย หน้าพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ พระบรม มหาราชวัง อยู่เนือง ๆ ท�ำให้เกิดมีพระราชนิยมการทหารมากยิ่งขึ้น ในสมัยนัน้ ยังมีเจ้านายราชนิกลู และข้าราชการทีย่ งั มีอายุเยาว์วยั เข้าไปอยูใ่ นพระบรมมหาราชวังชัน้ ในหลายคนด้วยกัน จึงทรงพระ กรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จดั เด็กพวกนัน้ รวมกันฝึกหัดขึน้ เป็นทหารตามยุทธวิธใี หม่ ในสมัยนัน้ ทหารเด็ก ๆ กลุม่ นัน้ เรียกว่า “ทหารมหาดเล็ก ไล่กา” คือส�ำหรับไล่กาทีบ่ นิ มารบกวนข้าวสุกในเวลาทรงบาตร และตัง้ แถวยืนรับเสด็จในทีน่ นั้ ทุกเวลาเช้า มีจำ� นวนตัวผูเ้ ป็นทหารกลุม่ นัน้ ในชัน้ แรกประมาณสัก ๑๒ คน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพนั ธุวงศ์วรเดช (แต่เมื่อยังด�ำรงพระยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์) กับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์ วโรปการ (แต่เมื่อด�ำรงพระยศเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์) ทั้ง ๒ พระองค์ซึ่งในเวลานั้นยังทรงพระเยาว์รุ่นราว คราวเดียวกัน เป็นนายทหารมหาดเล็กไล่กาชุดนั้นมีอายุรุ่นราวคราวเดียวกันทุกคน และผู้เป็นทหารมหาดเล็กล้วนเป็นเด็กไว้ผมจุกโดย มาก อันควรนับว่าเป็นแค่ชั้นการเล่น ๆ หรือจะนับว่าเป็นแต่ชั้นนักเรียนทหารก็ดี ถึงกระนั้นทหารชุดนี้ก็ได้มีนามว่า “ทหารมหาดเล็ก” เป็นครั้งแรก และเป็นเหตุให้เกิดมีกรมทหารมหาดเล็กที่จริงจัง สืบเชื้อนามนั้นเป็นหลักฐานต่อมาจึงได้กล่าวถึงทหารชุดนี้ไว้ เพื่อให้เกิด ความสมบูรณ์ในส่วนนามของทหารมหาดเล็ก เมื่อจัดตั้งกรมทหารมหาดเล็กขึ้นใหม่ ๆ ในปีพุทธศักราช ๒๔๑๑ ในชั้นต้นไม่มีหน้าที่ราชการอย่างใดมากนอกจากการฝึกหัด พ้น จากการฝึกหัดแล้วก็เข้ามารับราชการในพระบรมมหาราชวัง ตามต�ำแหน่งมหาดเล็กข้าหลวงเดิมเช่นแต่ก่อน ครั้นเมื่อได้รับการฝึกหัด ทราบวิธีการทหารขึ้นบ้างแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เข้าแถวยืนรับเสด็จในเวลาเสด็จออกพระชาลาหน้าพระที่นั่งราชฤดี (ซึ่งทหารพวกนี้ได้ประชุมกันพักอยู่ ณ ที่นั้น) ครั้นถึงปีพุทธศักราช ๒๔๑๓ ภายหลังการฝึกหัด จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้มีหน้าที่ เดินแซงเข้ากระบวนตามเสด็จท้ายพระราชยานแทนกรมพระต�ำรวจหลัง เมือ่ มีการเสด็จพระราชด�ำเนินประพาสหัวเมืองครัง้ ใด กองทหาร มหาดเล็กนี้ ก็ได้โดยเสด็จพระราชด�ำเนินประจ�ำรักษาพระองค์อยูเ่ ป็นนิตย์ จนชัน้ ทีส่ ดุ เสด็จพระราชด�ำเนินหัวเมืองต่างประเทศก็ได้โปรด เกล้า ฯ ให้จดั แบ่งทหารมหาดเล็กพวกนีไ้ ปตามเสด็จด้วย นอกจากการเดินแซงเข้ากระบวน และตามเสด็จพระราชด�ำเนินประพาสหัวเมือง แล้วก็มีหน้าที่เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในท้องพระโรงตามต�ำแหน่งมหาดเล็กหลวงเช่นแต่ก่อน

16


ครัน้ ถึงปี ๒๔๓๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ทรงมีพระราชปรารภว่า ตัง้ แต่เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัตมิ าแล้ว ได้ทรง พระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ท�ำนุบำ� รุงกรมทหารหน้าและกรมทหารปืนใหญ่ ซึง่ เป็นกรมทหารมีระเบียบยุทธวิธอี ย่างใหม่ทมี่ มี าแต่ในรัชกาลที่ ๔ ให้รงุ่ เรืองเจริญยิง่ ขึน้ เป็นล�ำดับ โดยให้แก้ไขกรมทหารอย่างเก่า และจัดขึน้ เป็นกรมทหารอย่างใหม่ โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ เลือกสรรพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการทีไ่ ว้วางพระราชหฤทัยเป็นผูบ้ งั คับบัญชากรมทหารนัน้ ๆ ถึงในสมัยนีม้ ที หารอย่างใหม่ตา่ ง ๆ ทหารบกมีแล้ว ๗ กรม ทหารเรือมี ๒ กรม กล่าวคือ - กรมทหารบก ประกอบก�ำลังด้วย กรมทหารมหาดเล็ก กรมทหารรักษาพระองค์ กรมทหารล้อมวัง กรมทหารหน้า กรมทหาร ฝีพาย กรมทหารปืนใหญ่ และกรมทหารช้าง - กรมทหารเรือ ประกอบก�ำลังด้วย กรมทหารเรือพระที่นั่งเวสาตรี และกรมอรสุมพล อย่างไรก็ตาม การที่กรมทหารอย่างใหม่ทั้งบกและเรือแยกย้ายกันเป็นอิสระแก่กันอยู่เช่นนั้น การปกครองบังคับบัญชาก็ต่างกรม ต่างจัด ส่งผลให้กจิ การในกรมทหารเหล่านัน้ จึงผิดแปลกแตกต่างกันไปไม่ลงระเบียบแผนอันเดียวกันท�ำให้เป็นการก้าวก่ายกัน จึงทรงพระ กรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ปรึกษาหารือพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ และเสนาบดี ในเรือ่ งทีจ่ ะจัดการทหารบกทหารเรือให้มแี บบแผนดีและ เรียบร้อยเป็นอันเดียวกัน เหมือนอย่างประเพณีโบราณและเหมือนอย่างประเทศในทวีปยุโรป และเพื่อจะได้แก้ไขความเสียหายที่มีอยู่ใน สมัยนั้นให้หมดสิ้นไป จึงทรงมีพระราชด�ำริว่าจ�ำจะต้องมีผู้บังคับบัญชาการทหารทั่วไปผู้หนึ่ง ซึ่งควรจะให้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมารทรงรับต�ำแหน่งนี้เพราะได้เลิกประเพณีเก่าทีม่ กี รมพระราชวังบวรสถานมงคลด�ำรงพระอิสริยยศพระมหาอุปราชอย่างแต่กอ่ น กับได้ทรงสถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ เป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ในต�ำแหน่งองค์ รัชทายาทแล้ว ดังนัน้ เมือ่ ทุกสิง่ เข้ารูปเข้ารอยเรียบร้อยแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศจัดการทหารขึน้ เมือ่ วันศุกร์เดือน ๕ แรมค�ำ่ ๑ ปีกุน อัฐศก จุลศักราช ๑๒๔๘ (คือ วันที่ ๘ เมษายน ๒๔๓๐) รวมทหารบกและทหารเรือตั้งเป็นกรมใหญ่เรียกว่า “กรมยุทธนาธิการ” ส�ำหรับจัดการและบังคับบัญชาการทหารบกทหารเรืออย่างใหม่รวมก�ำลังเป็นปึกแผ่นอย่างกองทัพทีเ่ ป็นสากล พร้อมกับทรงด�ำริพระราช อิสริยยศต�ำแหน่งทีจ่ อมทัพกับทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ด�ำรงต�ำแหน่งเป็นผูบ้ งั คับ บัญชาทหารทัว่ ไปในกรมทหาร มีตำ� แหน่งเจ้าพนักงานใหญ่เป็นผูช้ ว่ ยทัง้ ฝ่ายทหารบก ทหารเรือ การยุทธภัณฑ์ และการใช้จา่ ย แต่เนือ่ งจาก ในขณะนั้นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมารยังทรงพระเยาว์อยู่ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จอมพล สมเด็จพระเจ้า บรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช แต่เมื่อยังด�ำรงพระยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ และ เป็นนายพันโทพิเศษกรมทหารมหาดเล็ก ซึ่งในขณะนั้นทรงเป็นอธิบดีกรมไปรษณีย์และโทรเลขมาเป็นผู้แทนบัญชีการกรมยุทธนาธิการ ไปพลางก่อน ส�ำหรับศาลาว่าการกลาโหม ซึ่งเป็นอาคารที่ท�ำการของทหารในยุคใหม่นั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระ กรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้นายพันเอก เจ้าหมื่นไวยวรนาถ (เจิม แสง-ชูโต) ผู้บังคับการกรมทหารหน้า เป็นแม่กองก่อสร้างโรงทหารหน้าขึ้น โดยเริ่มจัดหาสถานที่และก�ำหนดรูปแบบอาคารในปีพุทธศักราช ๒๔๒๔

17


การก่อสร้างโรงทหารหน้าหรือศาลาว่าการกลาโหม ได้เริ่มด�ำเนินการในปีพุทธศักราช ๒๔๒๕ และใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ ๒ ปี จึงแล้วเสร็จ โดยในวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๔๒๗ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชด�ำเนินมาท�ำพิธีเปิดเป็น ปฐมฤกษ์ท่ามกลางความปีติยินดีของกองทัพไทยในครั้งนั้น ศาลาว่าการกลาโหมที่ตั้งตระหง่านอย่างสง่างามใต้ฟ้าเมืองไทยทุกวันนี้เป็นสัญลักษณ์แห่งความมั่นคงสถาพรของชาติบ้านเมือง ทหารหาญทุกนายพร้อมทีจ่ ะสละชีพเป็นชาติพลี และรับใช้มาตุภมู ดิ ว้ ยความกล้าหาญอดทน เพือ่ ผดุงสันติสขุ ให้เกิดขึน้ ในสังคมไทยอย่าง ราบรื่นและปลอดภัย โดยเป็นที่ยอมรับและกล่าวขวัญถึงของประชาชนอย่างสูง ตลอด ๑๒๗ ปีของการก่อตัง้ สถาบันทหารสามารถด�ำรงไว้ซงึ่ ความเป็นปึกแผ่นของชาติใต้รม่ พระบารมีของพระราชวงศ์จกั รี และบุรพมหากษัตริยาธิราชผู้ให้ก�ำเนิดกิจการทหารอยู่คู่แผ่นดินไทยตลอดไป

เรียบเรียงโดย นายไกรฤกษ์ นานา นักวิชาการทางประวัติศาสตร์ ๒๐ มีนาคม ๒๕๕๗

18


ปฐมบท

19


วันที่ ๘ เมษายน ๒๔๓๐ คือวันเริม่ ต้นแห่งกิจการทหารไทย สมัยใหม่ สืบเนือ่ งเพราะเป็นวันทีพ่ ระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนากรมยุทธนาธิการขึ้นที่โรงทหารหน้าหรือ ศาลาว่าการกลาโหมในปัจจุบัน

ภาพที่ท�ำการกรมยุทธนาธิการ ณ โรงทหารหน้าในยุคแรก

จึงเป็นก้าวแรกของการด�ำเนินกิจการทหารให้มีความเป็น สากลทัดเทียมนานาอารยประเทศ และรองรับการเผชิญภัยคุกคาม จากประเทศมหาอ�ำนาจในยุคล่าอาณานิคม ซึ่งในเวลาต่อมา กรมยุทธนาธิการ ได้พัฒนาจนเป็นกระทรวงกลาโหมในปัจจุบัน โดยตลอดระยะเวลา ๑๒๗ ปี ที่ ผ ่ า นมา กระทรวงกลาโหมมี วิวัฒนาการที่ส�ำคัญ กล่าวคือ

พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฉลองพระองค์ในเครื่องแบบทหารชุดเต็มยศ

20


๑.๑  ปีพุทธศักราช ๒๔๓๓ มีการยกฐานะกรมยุทธนาธิการ ขึ้นเป็นกระทรวง ยุทธนาธิการ (Ministry of War and Marine) โดยแบ่งส่วนราชการ ออกเป็น ๒ ฝ่าย กล่าวคือ ฝ่ายพลเรือน ท�ำหน้าที่ด้านธุรการ การบริหาร และการส่งก�ำลังบ�ำรุง โดยมีเสนาบดีกระทรวง เป็น ผูบ้ งั คับบัญชา และฝ่ายทหาร ท�ำหน้าทีเ่ ป็นส่วนก�ำลังรบ แบ่งออก เป็น ๒ ส่วน คือ กรมทหารบก และกรมทหารเรือ โดยพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงด�ำรงพระราชสถานะเป็นจอมทัพ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงเป็นองค์รับสนองพระบรมราชโองการ ๑.๒  ปีพุทธศักราช ๒๔๓๕ เป็ น การปฏิ รู ป ระบบราชการเป็ น ครั้ ง แรก โดย จัดตั้งกระทรวงขึ้นใหม่ตามภารกิจเพื่อให้เกิดการรวมศูนย์งาน โดยแบ่งออกเป็น ๑๒ กระทรวง ซึ่งมีทั้งกระทรวงกลาโหมและ กระทรวงยุทธนาธิการ แต่ตอ่ มาในปีเดียวกัน ได้ลดฐานะกระทรวง ยุทธนาธิการ ลงเป็น กรมยุทธนาธิการ ซึ่งมีลักษณะพิเศษที่ ไม่สงั กัดกระทรวงใดโดยท�ำหน้าทีเ่ ป็นองค์กรฝ่ายทหารทีท่ ำ� หน้าที่ ป้องกันประเทศ ๑.๓  ปีพุทธศักราช ๒๔๓๗ ได้มีการจัดปันหน้าที่ระหว่างกระทรวงกลาโหมให้ รับผิดชอบราชการทหาร และกระทรวงมหาดไทยให้รับผิดชอบ ราชการที่เกี่ยวกับพลเรือน จึงมีการโอนกรมยุทธนาธิการมาขึ้น สังกัดกระทรวงกลาโหม โดยให้กรมยุทธนาธิการ ก�ำกับดูแลกิจการ ทหารบก และกรมทหารเรือ ก�ำกับดูแลกิจการทหารเรือ

พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ฉลองพระองค์ชุดจอมทัพสยาม

21


๑.๔  ปีพุทธศักราช ๒๔๕๓ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั ได้ มีการยกฐานะกรมยุทธนาธิการ ขึน้ เป็น กระทรวงกลาโหม มีหน้าที่ ดูแลการปกครองเฉพาะกิจการทหารบก พร้อมกับยกฐานะกรม ทหารเรือขึ้นเป็น กระทรวงทหารเรือ มีหน้าที่ดูแลการปกครอง เฉพาะกิจการทหารเรือ ๑.๕  ปีพุทธศักราช ๒๔๗๔ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการรวมกระทรวงทหารเรือกับกระทรวงกลาโหม (กระทรวง ทหารบก) เข้าเป็นกระทรวงเดียวกัน ภายใต้นาม กระทรวงกลาโหม ๑.๖  ภายหลังเปลีย่ นแปลงการปกครองในปีพทุ ธศักราช ๒๔๗๕ ได้มกี ารตราพระราชบัญญัตเิ กีย่ วกับราชการกระทรวง กลาโหมเป็นครั้งแรกใช้ชื่อว่า พระราชบัญญัติจัดระเบียบป้องกัน ราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๔๗๖ เป็นเสมือนกฎหมายแม่บท ของกระทรวงกลาโหมและกิจการทหารไทย ซึ่งในเวลาต่อมาได้มี การพัฒนาจนมาเป็น พระราชบัญญัตจิ ดั ระเบียบราชการกระทรวง กลาโหม พุทธศักราช ๒๕๕๑ และฉบับที่ ๒ พุทธศักราช ๒๕๕๖ โดยมีการจัดส่วนราชการทีส่ �ำคัญออกเป็น ส�ำนักงาน รั ฐ มนตรี ส� ำ นั ก งานปลั ด กระทรวง กรมราชองครั ก ษ์ หน่ ว ย บัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ และกองทัพไทย (ซึ่งมีส่วนราชการในสังกัด กล่าวคือ กองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และส่วนราชการอืน่ ตามที่ ก�ำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา) ซึง่ สามารถแสดงการจัดส่วนราชการ ของกระทรวงกลาโหม

พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ฉลองพระองค์ชุดจอมทัพสยาม

22


กระทรวงกลาโหม

สำ�นักงานรัฐมนตรี

สำ�นักงานปลัดกระทรวง

กรมราชองครักษ์

หน่วยบัญชาการ ถวายความปลอดภัย รักษาพระองค์

กองทัพไทย

สำ�นักงานจเรทหารทั่วไป

กองบัญชาการ กองทัพไทย

กองทัพบก

กองทัพเรือ

กองทัพอากาศ

ผังแสดงการจัดส่วนราชการของกระทรวงกลาโหม ตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พุทธศักราช ๒๕๕๑ (และที่จะแก้ไขเพิ่มเติมในอนาคต)

23

ส่วนราชการอื่น ตามที่กำ�หนดโดย พระราชกฤษฎีกา


ปั จ จุ บั น กระทรวงกลาโหม เป็ น กระทรวงที่ มี ภ ารกิ จ อันส�ำคัญในเรือ่ งของการป้องกันประเทศและบริหารกิจการทหาร อันประกอบด้วย (๑)  พิทกั ษ์รกั ษาเอกราชและความมัน่ คงแห่งราชอาณาจักร จากภัยคุกคามทั้งภายนอกและภายในราชอาณาจักร ปราบปราม การกบฏและการจลาจล โดยจัดให้มีและใช้ก�ำลังทหารตามที่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยหรือตามที่มีกฎหมายก�ำหนด

(๔)  ศึกษา วิจัย พัฒนา และด�ำเนินการด้านอุตสาหกรรม ป้ อ งกั น ประเทศและพลั ง งานทหาร ด้ า นวิ ท ยาศาสตร์ แ ละ เทคโนโลยีป้องกันประเทศ และด้านกิจการอวกาศเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่ อ สาร ทั้ ง นี้ เพื่ อ สนั บ สนุ น ภารกิ จ ของ กระทรวงกลาโหมและความมั่นคงของประเทศ (๕)  ปฏิบตั กิ ารอืน่ ทีเ่ ป็นการปฏิบตั กิ ารทางทหารนอกเหนือ จากสงครามเพื่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร หรือปฏิบัติการ อื่นใด ทั้งนี้ ตามที่มีกฎหมายก�ำหนดหรือตามมติคณะรัฐมนตรี อย่างไรก็ตาม แม้ว่ากิจการทหารจะมีพัฒนาการอย่าง ต่อเนือ่ งมาตลอด ๑๒๗ ปี แต่กย็ งั มีสงิ่ ส�ำคัญอีกสิง่ หนึง่ ทีจ่ ะละเลย หรือมองข้ามไปเลยไม่ได้ สิ่งนั้นก็คือ อาคารโรงทหารหน้าหรือ อาคารศาลาว่าการกลาโหม ทั้งนี้เพราะอาคารโรงทหารหน้าที่ จะกล่าวต่อไปนี้ ถือได้ว่าเป็นบ้านหลังแรกและหลังปัจจุบันที่ เป็นที่ท�ำการของกิจการสมัยใหม่ ซึ่งเปี่ยมล้นไปด้วยเกียรติภูมิ

(๒)  พิทักษ์รักษา ปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ ตลอด จนสนับสนุนภารกิจของสถาบันพระมหากษัตริย์ (๓)  ปกป้อง พิทักษ์รักษาผลประโยชน์แห่งชาติและการ ปกครองระบอบประชาธิ ปไตยอัน มี พระมหากษั ต ริ ย ์ ท รงเป็ น ประมุข พัฒนาประเทศเพื่อความมั่นคงตลอดจนสนับสนุนภารกิจ อื่นของรัฐในการพัฒนาประเทศ การป้องกันและแก้ไขปัญหาจาก ภัยพิบัติ และการช่วยเหลือประชาชน

ภาพศาลาว่าการกลาโหม ถ่ายจากริมสนามหลวงด้านทิศตะวันตก ประมาณปีพุทธศักราช ๒๔๕๐

24


ยิ่งไปกว่านั้นในความที่เป็นอาคารขนาดใหญ่เพื่อกิจการ ทหาร แต่ ใ นขณะเดี ย วกั น อาคารแห่ ง นี้ ยั ง เป็ น อาคารที่ มี สถาปัตยกรรมที่สวยงาม มีการออกแบบและก่อสร้างที่คงทน ถาวร มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น จนสามารถเป็นแหล่งอ้างอิงทาง สถาปัตยกรรมอีกแห่งหนึ่งของกรุงรัตนโกสินทร์ และสามารถ น�ำเสนอต่อนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติได้อย่างน่า ภาคภูมิใจ จึ ง ใคร่ ข อเรี ย นเชิ ญ ทุ ก ท่ า นเข้ า สั ม ผั ส กั บ การน� ำ เสนอ เรื่องราวสาระส�ำคัญ ภาพประวัติศาสตร์ ภาพแห่งความทรงจ�ำ ภาพความงดงาม และเกียรติภูมิของกระทรวงกลาโหมกับอาคาร ศาลาว่าการกลาโหมในล�ำดับต่อไป

และเป็นความภาคภูมิใจของทหารทุกคน ทั้งในเรื่องของการใช้ ประโยชน์ในกิจการทหาร และสรรสร้างประโยชน์ตอ่ ประเทศชาติ และสังคมไทยในเรื่องต่าง ๆ อาทิ ด้านการเมือง ด้านสังคม และ ด้านศิลปวัฒนธรรม โดยที่อาคารโรงทหารหน้าแห่งนี้ได้บันทึก ประวัติศาสตร์หน้าแรกของประเทศไทยไว้หลายประการด้วยกัน แต่ จ ะขอหยิ บ ยกเพี ย งในบางประการมาน� ำ เสนอในโอกาสนี้ พอสังเขป กล่าวคือ  ประการที่หนึ่ง เป็นสถานที่ราชการแห่งแรกในประเทศ ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้า ฯ พระราชทานที่ดินและ พระราชทรัพย์ในการจัดสร้างเพื่อกิจการทหาร ในขณะที่ส่วน ราชการอื่นอาจได้รับพระราชทานจากวังของพระบรมวงศานุวงศ์ เพื่อใช้เป็นที่ท�ำการ ประการที่สอง เป็นสถานที่ราชการแห่งแรกในประเทศที่ มีการเริ่มต้นใช้ระบบสาธารณูปโภค คือไฟฟ้าและประปา รวมทั้ง มีระบบสุขาภิบาลที่ดีเป็นแห่งแรก ประการที่สาม เป็นสถานที่ราชการแห่งแรกในประเทศที่ ใช้รองรับกิจกรรมทางการเมือง สังคม และศิลปวัฒนธรรมของ ประเทศ อาทิ การใช้สิทธิการชุมนุมของประชาชนเป็นครั้งแรก การใช้เป็นกองบัญชาการปราบกบฏอั้งยี่และกบฏอื่น การใช้ บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีถวายองค์พระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั เป็นครัง้ แรก การใช้แสดงบทเพลงพระนิพนธ์ เขมรไทรโยคเป็นครั้งแรก การให้บริการสังคมในเรื่องระบบแสง สว่างและการเทียบเวลาเป็นครั้งแรก ประการที่สี่ เป็นสถานที่ราชการแห่งแรกในประเทศที่ มีอายุยืนยาวมากที่สุด คือ ๑๓๐ ปี หากไม่นับส่วนราชการอื่นที่ ใช้ประโยชน์จากอาคารพระบรมมหาราชวัง และวังของพระบรม วงศานุวงศ์

25


26


ประวัติ

ความเป็นมา ของโรงทหารหน้า ภาพศาลาลูกขุน (เก่า) ในพระบรมมหาราชวัง

27


๒.๑  แนวคิดและพื้นที่ใช้สร้างโรงทหารหน้า

เดิมที กรมทหารหน้า (หรือทหารหน่วยก�ำลังรบทางบก) มีที่ตั้งอยู่ในพระบรมมหาราชวัง แต่เนื่องจากมีการพัฒนาและขยายหน่วยจึงท�ำให้เกิดความคับแคบและต้องใช้พื้นที่ในการเก็บรักษาเครื่อง กระสุนและดินปืนท�ำให้เกิดความไม่ปลอดภัย กอปรกับในปีพุทธศักราช ๒๔๒๔ ได้มีการจัดพระราชพิธี สมโภชพระนครครบ ๑๐๐ ปี พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระศพ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์และ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพชรรัตน์ ซึ่งจัดให้มีการแสดงมหกรรมแห่งชาติ ณ ทุ่งพระเมรุ (ท้องสนามหลวง) จ�ำเป็นต้องใช้ก�ำลังพลทหารมาปฏิบตั หิ น้าทีโ่ ยธา รักษาการณ์ และเวรยามจ�ำนวนมาก จึง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้รบั สมัครคนเข้ารับราชการทหารในกรมทหารหน้าอีก ๕,๐๐๐ นาย ซึง่ การใช้ ก�ำลังพลจ�ำนวนมากเช่นนี้ ท�ำให้ประสบปัญหาในเรือ่ งการพักแรมของทหารทีม่ จี ำ� นวนจ�ำกัด ทหารเหล่านัน้ จึงต้องกระจัดกระจายไปพักอาศัยตามพระอารามหลวง อาทิ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม วัดราชบูรณะ และที่พักชั่วคราวที่ต�ำบลปทุมวัน จึงทรงมีแนวพระราชด�ำริในการจัดสร้างที่พักถาวร โดยควรที่จะตั้งกรม ทหารหน้าขึน้ นอกรัว้ พระบรมมหาราชวัง และอยูใ่ กล้กบั พระบรมมหาราชวังเพือ่ ป้องกันเหตุรา้ ยได้ทนั ท่วงที

ภาพหมู่วังเจ้านาย ในพระบรมมหาราชวัง

28


จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ใช้พื้นที่บริเวณหมู่วังเจ้านายถนนหลักเมือง (หมู่วังเก่าของ อดีตพระเจ้าลูกยาเธอในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) บางส่วน กับฉางข้าว หลวงส�ำหรับพระนครบริเวณริมถนนราชินีใกล้คลองคูเมืองเดิม (คลองหลอด) ซึ่งในขณะนั้นกลาย เป็นที่รกร้าง ไม่มีเจ้านายพระองค์ใดมาประทับอยู่ และช�ำรุดทรุดโทรม เพื่อเป็นพื้นที่ส�ำหรับสร้าง โรงทหารหน้า

ภาพบริเวณคูเมืองเดิม

29


ภาพพื้นที่ก่อนสร้างโรงทหารหน้าในยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

ภาพจากสถานที่จริง

ภาพที่ถอดแบบมาจากภาพทางซ้าย

สองภาพด้านบน ให้ สั ง เกตบริ เ วณเหนื อ พื้ น ที่ สี่ เ หลี่ ย มสี เ ขี ย วค่ อ นไป ทางขวามือด้านข้างไหล่ดา้ นขวาของพระพุทธรูป จะเห็นเป็นภาพ หมูว่ งั เจ้านายโบราณและด้านใกล้เคียงมีภาพฉางหลวง (ในวงกลม) ภาพล่าง สังเกตจากบริเวณมุมซ้ายบนของภาพบริเวณเหนือพื้นที่ สี่เหลี่ยมสีเขียวค่อนไปทางขวามือจะเห็นเป็นภาพหมู่วังเจ้านาย โบราณและด้านใกล้เคียงมีภาพฉางหลวง (ในวงกลม)

ที่มา : ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถ วัดอัมพวันเจติยาราม อ�ำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม

30


ภาพพื้นที่ก่อนสร้างโรงทหารหน้าในยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

พื้นที่สำ�หรับใช้สร้างโรงทหารหน้า คือ พื้นที่หมายเลข ๖ ของภาพด้านขวามือ (ในวงกลม)

ที่มา : จากห้องแสดงภาพของนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ กรุงเทพมหานคร

31


ภาพแสดงหนังสือกรรมสิทธิ์ในที่ดินของกระทรวงกลาโหม ซึ่งได้รับพระราชทานส�ำหรับปลูกสร้างอาคารโรงทหารหน้า

ทั้ ง ยั ง ทรงพระกรุ ณ าโปรดเกล้ า ฯ พระราชทานที่ ดิ น ตามหนั ง สื อ ส� ำ คั ญ ส� ำ หรั บ ที่ ห ลวง ฉบั บ ที่ ๖๑/๒๔๗๘ ที่ ดิ น ๑ต เลขที่ ๓๕ ระวาง๑ฎ๒ } มีเนื้อที่รวม ๑๘ ไร่ ๕๓ ตารางวา ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้ กระทรวงกลาโหมจึงเป็นส่วนราชการเดียวที่มีกรรมสิทธิ์ ในโฉนดที่ดินของกระทรวงเอง ในขณะที่ส่วนราชการอื่นต่างใช้ประโยชน์จากที่ดินที่ราชพัสดุโดยมีกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง เป็น ส่วนราชการที่ดูแลการใช้ประโยชน์ของที่ดินส�ำหรับส่วนราชการต่าง ๆ นั้น

32


๒.๒ การด�ำเนินงานก่อสร้างอาคารและงบประมาณ ในปี พุ ท ธศั ก ราช ๒๔๒๔ พระบาทสมเด็ จ พระจุ ล จอมเกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว ทรงพระกรุ ณ าโปรดเกล้ า ฯ ให้นายพันเอก เจ้าหมื่นไวยวรนาถ (เจิม แสง-ชูโต) ผู้บังคับการ กรมทหารหน้า เป็นแม่กองการก่อสร้างโรงทหารหน้า และให้ นายพันเอก พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ ชุมสาย วิศวกรทุนพระราชทาน ฯ เป็นผู้ช่วยแม่กองการก่อสร้าง ในการนี้ทรงมีพระราชวินิจฉัยและ พระบรมราชานุญาตให้ก่อสร้างโรงทหารหน้าตามแบบแปลนของ นายโจอาคิโน โจอาคิม กราซซี (Giochino Joachim Grassi) สถาปนิกและวิศวกรช่างรับเหมาก่อสร้างชาวอิตาเลียน

นายพันเอก เจ้าหมื่นไวยวรนาถ (เจิม แสง-ชูโต) แม่กองการก่อสร้าง

นายพันเอก พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ ชุมสาย ผู้ช่วยแม่กองการก่อสร้าง

33


ซึ่งจากการพิจารณาในเบื้องต้น พบว่า พื้นดินบริเวณที่จะใช้ก่อสร้างอาคารมีลักษณะร่วนซุย และการที่สร้างอาคารขนาดใหญ่มากจ�ำเป็นต้องรับน�้ำหนักอาคารจ�ำนวนมาก อาจท�ำให้อาคารทรุด ตัวได้ จึงต้องมีการท�ำงานฐานรากให้แข็งแรงและมั่นคง จึงก�ำหนดให้มีการจัดวางแพซุงเพื่อรองรับ น�ำ้ หนักอาคาร โดยการขุดเจาะพืน้ ดินและวางซุงขนาดใหญ่เรียงต่อกันเป็นแพสลับกัน ๓ ชัน้ ก่อนทีจ่ ะ กลบและสร้างอาคาร ทั้งนี้ การด�ำเนินการก่อสร้างแรงงานก่อสร้างส่วนใหญ่เป็นชาวจีน วัสดุก่อสร้าง โดยทัว่ ไปใช้วสั ดุภายในราชอาณาจักรสยามในขณะนัน้ อาทิ ไม้สกั อิฐ กระเบือ้ งดินเผารากกาบกล้วย ทราย ปูนซีเมนต์ ดินเหนียว ปูนขาว และต้นอ้อย นายโจอาคิโน โจอาคิม กราซซี (Giochino Joachim Grassi) สถาปนิกและวิศวกรช่างรับเหมาก่อสร้างชาวอิตาเลียน ผู้สร้างอาคารโรงทหารหน้า

ภาพแสดงการวางฐานรากอาคารโรงทหารหน้า ซึ่งบริเวณล่างสุดเป็นการวางแพซุง เพื่อป้องกันการทรุดตัวของอาคาร

34


ส�ำหรับพิธีวางศิลาฤกษ์ สันนิษฐานว่า จัดพิธีเช่นเดียวกับ การก่อสร้างอาคารส�ำคัญในสมัยนั้น และพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชด�ำเนินมาเป็นองค์ประธาน พิธีวางศิลาฤกษ์ ซึ่งจากลักษณะโรงทหารหน้าสันนิษฐานว่าการ วางศิลาฤกษ์อยู่ ณ บริเวณตึกกลางของโรงทหารหน้าในขณะนั้น โดยเริ่มด�ำเนินการก่อสร้างในปีพุทธศักราช ๒๔๒๕ และก่อสร้าง เสร็จในปีพุทธศักราช ๒๕๒๗ ใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างรวม ประมาณ ๒ ปี โดยมีมูลค่าก่อสร้างอาคารรวมเป็นเงิน ๗,๐๐๐ ชั่ง หรือ ๕๖๐,๐๐๐ บาท และค่าตกแต่งอีก ๑๒๕ ชั่ง หรือ ๑๐,๐๐๐ บาท รวมเป็นมูลค่าก่อสร้างและด�ำเนินการทั้งสิ้น ๕๗๐,๐๐๐ บาท

ภาพแสดงกรรมวิธีการก่อสร้างในยุคโบราณ โดยการจ้างแรงงานก่อสร้างที่ส่วนใหญ่เป็นชาวจีน

ภาพอาคารศาลาว่าการกลาโหม ประมาณปีพุทธศักราช ๒๔๘๙

35


ภาพพระราชวังสราญรมย์ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นที่ว่าการชั่วคราว กรมทหารหน้าในระหว่างก่อสร้าง อาคารโรงทหารหน้า

อย่างไรก็ตาม ในระหว่างทีก่ ำ� ลังก่อสร้างโรงทหารหน้า ได้มี การย้ายทีว่ า่ การชัว่ คราวของกรมทหารหน้า ไปตัง้ อยูย่ งั บริเวณหอ บิลเลียด ณ พระราชวังสราญรมย์ พร้อมกับโรงครัวส�ำหรับเลี้ยง ทหารบริเวณถนนเฟือ่ งนคร (ปัจจุบนั คือถนนกัลยาณไมตรี) ต่อมา ได้ปรับปรุงด้วยการรือ้ ถอนโรงครัวเพือ่ สร้างเป็นโรงเรียนนายร้อย ที่ตั้งอยู่บริเวณหน้าวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร โดยสร้างเป็นโรงใหญ่สำ� หรับฝึกกายกรรม (โรงยิมเนเซียม) จนเมือ่ ก่อสร้างอาคารโรงทหารหน้าส�ำเร็จจึงได้ยา้ ยโรงทหารหน้าทัง้ หมด เข้ายังที่ตั้งใหม่

36


๒.๓ การจัดสรรการใช้ประโยชน์อาคาร ในยุคแรกได้มีการจัดสรรพื้นที่อาคารโรงทหารหน้า เพื่อการใช้สอย สรุปดังนี้ ๑)  อาคารโรงทหารใหญ่ (มุขกลาง) ชั้นล่างเป็นที่ฝึกหัดการฟันดาบ ชั้นกลางเป็นที่ ประชุมนายทหาร ชั้นบนเป็นที่เก็บสรรพศัสตราวุธ และเป็นพิพิธภัณฑ์ส�ำหรับเครื่องทหาร และยังมี ประตูใหญ่สองข้าง มีหอ้ งทหารคอยเหตุ และรักษายามทัง้ สองข้าง ด้านหน้าชัน้ ล่างเป็นคลังเก็บเครือ่ ง ครุภัณฑ์และยุทธอาภรณ์

๒)  อาคารด้านขวา (ทิศเหนือ) ชั้นล่างเก็บปืนใหญ่ ชั้นบนเป็นที่อยู่ของทหารปืนใหญ่ โรงข้างโรงช้างนั้นเดิมเป็นโรงม้าหลวงชั้นนอกชั้นเดียว ครั้นจะรื้อท�ำใหม่ทั้งหมดก็จะเปลืองพระราช ทรัพย์มากไป จึงให้แก้ไขโรงม้าเก่าให้เป็น ๒ ชั้นขึ้น ชั้นล่างให้ม้าอยู่ ชั้นบนให้ทหารม้าอาศัย

37


๓)  อาคารโรงใหญ่ข้างขวา (ทิศเหนือ) แบ่งเป็นห้องนายแพทย์ทหารและโรงพยาบาล ทหาร ถัดโรงใหญ่นั้นเป็นโรงฝึกหัดม้า เพราะในเวลานั้นก็ได้สั่งม้าเทศ ซึ่งได้หัดแล้วบ้าง ยังบ้าง ม้ามาจากเกาะออสเตรเลียมีจ�ำนวน ๓๕๐ ม้าเศษ ทั้งมีนายอัศวแพทย์, ผู้ฝึกหัดม้าและช่างท�ำ รองเท้าม้าเข้ามาอยู่ด้วย พร้อมโรงใหญ่ชั้นล่างท�ำเป็นโรงไว้ม้าและรถพระที่นั่ง ส�ำหรับเมื่อมีการจะ เสด็จพระราชด�ำเนินโดยด่วนในที่ใด ๆ ก็ทรงรถพระที่นั่งและม้าเทศเหล่านี้ ๔)  อาคารด้านซ้าย (ทิศใต้) ต่อจากโรงทหารใหญ่ ถึงหอนาฬิกา ที่หอนั้นเป็นที่เก็บ เครือ่ งสนามและเครือ่ งยุทธภัณฑ์ตา่ ง ๆ ชัน้ ล่างเป็นทีส่ �ำหรับสูบน�้ำขึน้ บนถังสูง และเป็นโรงงานทหาร ช่างต่าง ๆ ทีห่ อนาฬิกาชัน้ ๓ เป็นถังเหล็กใหญ่สำ� หรับเก็บน�ำ้ ใส และเปิดใช้นำ�้ นีไ้ ด้ทวั่ โรงทหารทัง้ ๓ ชัน้ เพราะมีแป๊บฝังอยู่ตามฝาผนังทั้ง ๓ ชั้น บันไดใหญ่ทุก ๆ บันไดท�ำห้องส�ำหรับถ่ายปัสสาวะ บันไดละ ๒ ห้องทุก ๆ ชั้น และมีท่อน�้ำไหลมาส�ำหรับชะล้างไม่ให้มีกลิ่นเหม็นด้วย ที่ตามมุมสนามหญ้าส�ำหรับ ฝึกหัดทหารนั้น มีที่ส�ำหรับถ่ายปัสสาวะทุกสี่มุม มุมหนึ่งมีที่ถ่ายส�ำหรับ ๔ คน กับให้ตั้งโรงสูบน�้ำขึ้น ที่ท่าช้าง มีเครื่องสูบน�้ำด้วยสตรีมประจ�ำอยู่สองเครื่อง ถ้าถึงฤดูน�้ำเค็มก็สูบน�้ำขึ้น เวลาน�้ำลงงวดน�้ำที่ สูบมานี้ไหลมาตามท่อต่าง ๆ ซึ่งมีขนาดกว้าง ๘ นิ้ว

ภาพบริเวณด้านหลังกระทรวงกลาโหม ตามแนวถนนเฟื่องนคร ถ่ายบริเวณสี่กั๊กพระยาศรี สังเกตหอนาฬิกาและหอคอย ของโรงทหารหน้า (ภาพในวงกลม)

38


๕)  ริมถนนใหญ่รอบโรงทหารได้ปลูกกอไม้ไผ่สีสุก ทั้ง ๓ ด้าน เพื่อป้องกันแสงแดดที่จะส่องเข้ามาถึงเฉลียงรอบ โรงทหารชัน้ ใน กับบริเวณโรงทหารนัน้ มีสระอาบน�้ำส�ำหรับทหาร อาบน�้ำและหัดว่ายน�้ำหนึ่งสระ ๖)  ต่อจากสระมีฉางส�ำหรับเก็บข้าวสาร (ด้านทิศ ตะวันออก) ท�ำไว้เป็นห้อง ๆ เพื่อข้าวสารเก่าแล้วก็ใช้ไปเสียก่อน เอาข้าวสารใหม่เพิ่มเติมเข้ามาเก็บไว้ ผลัดเปลี่ยนเวียนกันไป เช่นนี้เสมอ ฉางข้าวนี้คิดท�ำขึ้นก็เพื่อที่จะท�ำไว้แทนฉางข้าวเก่า ในพระนครซึ่งได้รื้อออกเสียนั้น ๗)  ต่อจากห้องเก็บเข้าไปอีกหลังหนึง่ ก็เป็นครัวใหญ่ ส�ำหรับท�ำอาหารเลี้ยงทหารทั่วไป ๘)  ใต้ครัวลงไปอีกขุดเป็นบ่อลึกก่อเป็นสามห้อง ชัน้ ล่างเป็นโพรงเพื่อเก็บน�้ำที่กรองใสแล้ว ส�ำหรับสูบขึ้นสู่ถังดังกล่าว มาแล้ว ส่วนทีแ่ บ่งเป็นสามห้องนัน้ ชัน้ ล่างทีส่ ดุ ใช้อฐิ ย่อยก้อนเล็ก ๆ โรยรองเป็นพื้นเสียชั้นหนึ่งก่อนแล้วเอาเศษผงถ่านย่อย ๆ โรยทับ เป็นชั้นที่ ๒ ชั้นที่ ๓ ใช้เม็ดทรายหยาบโรยทับถ่าน ชั้นที่ ๔ ทราย บางพูดอย่างเม็ดละเอียดโรยทับไว้ข้างบนหนามาก เมื่อสูบน�้ำขึ้น ที่ท่าช้าง (ริมสะพานช้างโรงสี) แล้วน�้ำก็ไหลผ่านมาในห้องกรองนี้ ก่อนจนเป็นน�้ำใส แล้วก็สูบขึ้นสู่ถังสูงนั้น ๙)  ชั้นที่ ๔ (อาคารด้านทิศใต้) เป็นหอนาฬิกา มีหน้าปัดนาฬิกาสองทาง การที่ท�ำนาฬิกาขึ้นนี้ เพราะมีความ ประสงค์จะให้เป็นทานแก่มหาชนซึ่งสัญจรไปมาให้รู้เวลาได้ทั่ว ถึงกัน ๑๐)  ชั้นที่ ๕ (อาคารด้านทิศใต้) เป็นที่ทหารยาม รักษาเหตุการณ์ กับมีเครือ่ งโทรศัพท์พร้อมเครือ่ งฉายไฟฟ้าอยูบ่ น นั้นด้วย

ภาพหอนาฬิกาและหอคอยของโรงทหารหน้า

39


๒.๔  เสด็จพระราชด�ำเนินเปิดโรงทหารหน้าและพระราชทานนาม ในวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๔๒๗ เวลา ๑๑.๐๐ นาฬิกา เป็นวันทีพ่ ระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั เสด็จพระราชด�ำเนินมา ทรงกระท�ำพระราชพิธเี ป็นปฐมฤกษ์ในการเปิดโรงทหารหน้า และตามมหาพิชยั ฤกษ์ โดยทรงประทับรถพระทีน่ งั่ ทอดพระเนตรอาคารใหม่ และชมการประลองยุทธ์ของทหารพร้อมพระราชทานนามอาคารว่า โรงทหารหน้า เพื่อเป็นสิริมงคลให้แก่มวลหมู่ทหาร ท�ำให้ทหารไทย มีที่ท�ำการใหม่ที่เป็นมาตรฐาน ส�ำหรับนามอาคารนัน้ มีการบันทึกสรุปเรือ่ งราวไว้ กล่าวคือ ในกลางปีพทุ ธศักราช ๒๔๒๗ เมือ่ การก่อสร้างใกล้เสร็จเรียบร้อย นายพันเอก เจ้าหมื่นไวยวรนาถ ได้ท�ำหนังสือทูลเกล้า ฯ ถวายเพื่อขอพระราชทานที่ตั้งหน่วยทหารแห่งใหม่นี้เพื่อประดับที่หน้ามุข พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั จึงทรงมีพระราชหัตถเลขาตอบ นายพันเอก เจ้าหมืน่ ไวยวรนาถ ความบางตอนว่า “...อย่าให้ชื่อพิศดารอย่างไรเลย ให้ใช้นามว่า โรงทหารหน้า เท่านั้นและให้มีศักราชที่สร้างขึ้นไว้ด้วย...” ต่อจากนั้น ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ นายพันเอก เจ้าหมื่นไวยวรนาถ ไปเฝ้า สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทวมหเถร) วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร น�ำกระแสพระราชด�ำริที่ต้องพระราชประสงค์คาถาส�ำหรับประจ�ำตรากรมทหารหน้า อีกด้วย

ภาพเกาะรัตนโกสินทร์บางส่วน (สามารถมองเห็นอาคารศาลาว่าการกลาโหม)

40


ภาพตราและคาถาประจ�ำโรงทหารหน้า

๒.๕ ตราและคาถาประจ�ำโรงทหารหน้า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทาน ตราประจ�ำโรงทหารหน้า เป็นรูปจุลมงกุฎบนหมอนแพรภายใต้รัศมีเปล่งรองรับด้วยช้างสามเศียรยืน บนแท่นสอดในจักร ขนาบด้วยคชสีหแ์ ละราชสีหเ์ ชิญพระนพปฎลมหาเศวตฉัตรด้านขวาและด้านซ้าย เหนือชายแพรทาสีม่วงครามมีอักษรบาลีซึ่งเป็นคาถาประจ�ำอาคารว่า “...วิเชตฺวา พลตาภูปํ รฏฺเฐ สาเธตุ วุฑฺฒิโย...” ประดับด้วยช่อดอกไม้ โดยมีรายละเอียดและความหมาย ดังนี้

41


ภาพจุลมงกุฎบนหมอนแพร

๑) ตราจุลมงกุฎบนหมอนแพรปิดทอง หมายถึง ศิราภรณ์ประดับ พระเกศาหรือพระเศียรของพระราชโอรสและพระราชธิดาของพระ มหากษัตริย์ และเป็นพิจิตรเลขาประจ�ำรัชกาลในพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งนี้เพราะพระนามาภิไธยของพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น คือ “จุฬาลงกรณ์” ซึ่งแปลว่า เครื่อง ประดับศีรษะ หรือ จุลมงกุฎ (พระเกี้ยว) ซึ่งต่อมาได้อัญเชิญตราจุล มงกุฎบนหมอนแพรปิดทองขึ้นเป็นพระราชลัญจกรประจ�ำพระองค์ ๒) รัศมีเปล่งเหนือจุลมงกุฎ หมายถึง พระบรมเดชานุภาพที่แผ่ ไกลไปทั่วทุกทิศในคติการปกครองแบบราชาธิปไตย ๓) ช้างสามเศียรยืนแท่นในกรอบ หมายถึง ตราสัญลักษณ์ของ สยามประเทศ ๔) จักร หมายถึง ราชวงศ์จักรี ซึ่งถือคติว่า จักรของราชวงศ์จักรี เป็นจักรของพระนารายณ์ที่ต้องเวียนในลักษณะทักขิณาวัฏ คือ เวียน ตามเข็มนาฬิกาโดยให้คมจักรเป็นตัวน�ำทิศทาง ๕) คชสีห์เชิญพระนพปฎลมหาเศวตฉัตร หมายถึง กลาโหมซึ่ง เป็นใหญ่ฝ่ายทหาร ๖) ราชสีห์เชิญพระนพปฎลมหาเศวตฉัตร หมายถึง มหาดไทย ซึ่งเป็นใหญ่ฝ่ายพลเรือน ๗) พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร (ฉัตร ๙ ชัน้ ) หมายถึง ฉัตรส�ำหรับ พระมหากษัตริย์ที่ทรงรับพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามโบราณราช ประเพณี ๘) ชายแพรทาสีม่วงคราม หมายถึง สายสะพายเครื่องราช อิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ซึ่งมีนัยว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ทรงบ�ำรุงถึงสกุลวงศ์ ผู้มีบ�ำเหน็จความชอบในบ้านเมืองให้ สามัคคีช่วยกันในบ้านเมือง ๙) ช่อดอกไม้ หมายถึง ความรุ่งเรืองงอกงาม

42


ซึ่งสัญลักษณ์บนหน้าบันอาคารโรงทหารหน้านี้ มีรูปแบบ และลักษณะดังที่เคยปรากฏในสายสร้อยปฐมจุลจอมเกล้า ห้อยดวง ตราจุลจอมเกล้า ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง สถาปนาเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ขึ้น เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๑๖ เพียง แต่มีความแตกต่างกันตรงที่สายสร้อยไม่ประดับจักร จึงสันนิษฐาน ไว้ว่า ตราสัญลักษณ์นี้ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อหน่วยทหารในฐานะเป็น หน่วยงานที่พิทักษ์รักษาราชวงศ์จักรี ส� ำ หรั บ คาถาประจ�ำ อาคาร เป็ น ข้ อ ความภาษาบาลี ว่ า “...วิเชตฺวา พลตาภูปํ รฏฺเฐ สาเธตุ วุฑฒ ฺ โิ ย...” มีความหมายว่า ขอให้ พระมหากษัตริย์เจ้าพร้อมด้วยปวงทหารจงมีชัยชนะยังความเจริญ ให้สำ� เร็จในแผ่นดินเทอญ ซึง่ เป็นคาถาทีพ่ ระบาทสมเด็จพระจุลจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงคัดเลือกจากคาถา ๑ ในคาถาจ�ำนวน ๔ บท ที่ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทว มหเถร) วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร ทรงผูกถวายให้ เจ้าหมื่นไวยวรนาถน�ำขึ้นกราบบังคมทูลถวายเพื่อทรงเลือก

ภาพสายสร้อยปฐมจุลจอมเกล้า ห้อยดวงตราจุลจอมเกล้า

ภาพตราและคาถา ประจ�ำโรงทหารหน้า

43


พระฉายสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทวมหเถร)

ภาพวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร

๒.๖ ความทันสมัยของอาคารโรงทหารหน้า อาคารโรงทหารหน้าถือว่าเป็นอาคารที่มีความทันสมัยมากในยุคนั้น เพราะเป็นอาคารที่มีสิ่งอ�ำนวยความสะดวกครบครัน ประกอบด้วย ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ และบริการสาธารณะ ดังนี้ ๑)  มีระบบไฟฟ้าใช้เป็นครั้งแรกในประเทศ โรงทหารหน้าเป็นอาคารแรกของประเทศที่มีการผลิตไฟฟ้าและใช้ไฟฟ้าได้เองโดยมีการติดตั้งเครื่องก�ำเนิดไฟฟ้าเป็น เครือ่ งแรกและเป็นครั้งแรกในสยาม โดย นายพันเอก พระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) ซึ่งด�ำรงต�ำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารหน้า ในขณะนั้น ได้ใคร่ครวญแล้วเกรงว่าในกรณีที่จัดงานกลางคืน ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ต้องมีการจุดเทียนไขพร้อม ๆ กันเป็นร้อย เล่ม และต้องใช้คนมากมายปีนป่ายอาคารเพือ่ ติดเทียนไข แม้ตอ่ มาจะเปลีย่ นมาใช้โคมน�ำ้ มันก็ตาม อาจเกิดเพลิงได้ ซึง่ ทุกมุมห้องจะต้อง มีถังปูนถังน�้ำดักเอาไว้ ท�ำให้เกิดความยุ่งยากและไม่ปลอดภัย กอปรกับท่านเองได้เคยเป็นอุปทูตเดินทางไปกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส กับเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ ได้พบเห็นกรุงปารีสสว่างไสวไปด้วยไฟฟ้า ต่อเมื่อกลับมายังสยามจึงคิดว่า สยามน่าจะมีไฟฟ้าใช้แบบเดียว กับอารยประเทศ

44


นายพันเอก พระยาสุรศักดิม์ นตรี จึงได้ลงทุนซือ้ เครือ่ ง ก�ำเนิดไฟฟ้ามาทดลองใช้ ณ โรงทหารหน้า เป็นครั้งแรก และได้ เปิดการใช้ไฟฟ้าอย่างเป็นทางการในวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๔๒๗ อันเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นการสร้างความแปลกใหม่ให้แก่สยาม นับเป็น นวัตกรรมที่ส�ำคัญของประเทศในยุคนั้น ต่อมา โรงทหารหน้ามีการติดตั้งโคมไฟแสงสว่าง ภายในอาคาร มีการบันทึกว่าติดตั้งบริเวณมุมอาคารและประตู ทางเข้าออก เพือ่ ใช้ประโยชน์ของแสงสว่างในการปฏิบตั หิ น้าทีเ่ วร ยามภายในโรงทหารหน้า และทุกมุมด้านนอกของอาคาร บริเวณ ถนนสนามไชย ถนนกัลยาณไมตรี และถนนหลักเมือง ก็ได้มีการ ติดตัง้ โคมไฟแสงสว่างขึน้ หลายจุดเพือ่ ประโยชน์ในการรักษาความ ปลอดภัย และยังเป็นการให้บริการแสงสว่างแก่ประชาชนผูส้ ญ ั จร ไปมาด้วย

ภาพเครื่องก�ำเนิดไฟฟ้าในศาลาว่าการกลาโหม

๒)  ระบบโทรศัพท์ในโรงทหารหน้า ประเทศสยามเริ่มต้นมีการใช้โทรศัพท์ในครั้ง แรกในปีพุทธศักราช ๒๔๒๔ ติดตั้งที่กรุงเทพ ฯ เครื่องหนึ่ง กับ ที่ปากน�้ำ (จังหวัดสมุทรปราการ) อีกเครื่องหนึ่ง ใช้ประโยชน์จาก สายโทรเลขระหว่างกรุงเทพ ฯ กับปากน�ำ้ (ซึง่ กรมกลาโหมได้สร้าง ไว้ตั้งแต่ ปีพุทธศักราช ๒๔๑๘ เพื่อแจ้งข่าวเกี่ยวกับการผ่านเข้า ออกปากแม่น�้ำเจ้าพระยาของเรือกลไฟ)

ภาพโทรศัพท์โบราณ

จึงได้มกี ารขยายผลมาใช้ประโยชน์ในการแจ้งข่าวสารความมัน่ คงให้แก่หน่วยทหาร เพือ่ การเตรียมความพร้อมในการป้องกัน ประเทศ และท�ำการติดตั้งระบบโทรศัพท์ใช้ที่โรงทหารหน้าในปีพุทธศักราช ๒๔๒๘ โดยใช้ประโยชน์จากระบบไฟฟ้าของโรงทหารหน้า โดยเฉพาะ ด้านมุมท้ายสุดของอาคารบริเวณทิศใต้ใกล้สะพานช้างโรงสี บริเวณชั้นที่ ๕ ของอาคาร เป็นที่ตั้งของทหารยามรักษาการณ์ จึงมีการติดตั้งเครื่องโทรศัพท์พร้อมเครื่องฉายไฟฟ้าอยู่ด้านบนเพื่อใช้ประโยชน์ในยามฉุกเฉิน

45


๓)  ระบบประปาในโรงทหารหน้า โรงทหารหน้ามีการจัดท�ำระบบผลิตน�ำ้ ประปาใช้เอง ด้วยกรรมวิธที เี่ ป็นมาตรฐาน กล่าวคือ ๓.๑)  มีการขุดเป็นบ่อลึกแบ่งออกเป็น ๓ ห้อง บริเวณใต้ห้องครัว ริมถนน กัลยาณไมตรี ข้างสะพานช้างโรงสี ปัจจุบันคือบริเวณธนาคารทหารไทย (สาขากระทรวงกลาโหม) ๓.๒)  แต่ละบ่อจัดท�ำเป็นโพรงน�ำ้ ด้านล่างสุดเชือ่ มถึงกันตัง้ แต่บอ่ ที่ ๑ ถึงบ่อที่ ๓ ๓.๓)  มีการจัดท�ำระบบกรองน�ำ้ แต่ละบ่อ โดยการวางชัน้ กรองจากล่างขึน้ บน คือ ๓.๓.๑)  ชั้นที่หนึ่งหรือชั้นล่างสุด ใช้อิฐย่อยก้อนเล็ก ๆ โรยรองเป็นพื้น ๓.๓.๒)  ชั้นที่สองเหนือขึ้นมา ใช้เศษผงถ่านย่อย ๆ โรยทับชั้นล่างสุด ๓.๓.๓)  ชั้นที่สาม ใช้เม็ดทรายหยาบโรยทับถ่านของชั้นที่สอง ๓.๓.๔)  ชัน้ ทีส่ หี่ รือชัน้ บนสุด ใช้ทรายเม็ดละเอียด (จากต�ำบลบางพูด อ�ำเภอ ปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นทรายคุณภาพดี) โรยทับอย่างหนาแน่นไว้ข้างบน ๓.๔)  จัดเครื่องสูบน�้ำจากคลองคูเมืองเดิม บริเวณเชิงสะพานช้างโรงสี มาถ่ายลง ชั้นบนของบ่อที่หนึ่ง เมื่อน�้ำคลองผ่านระบบกรองแล้วก็จะไหลผ่านโพรงเชื่อมไปยังบ่อที่สองและสาม ในลักษณะเดียวกันจนเป็นน�ำ้ สะอาดและปลอดภัยจึงใช้เครื่องสูบน�ำ้ เพื่อสูบน�้ำไปใส่ถังเก็บน�ำ้ ชั้นบน บริเวณชั้นสามของอาคารด้านทิศใต้หัวมุมใกล้สะพานช้างโรงสี ๓.๕)  เมื่อผลิตน�้ำสะอาดได้แล้วมีการสูบขึ้น พักไว้ในถังเหล็กขนาดใหญ่บริเวณชั้นสาม และมีการวางระบบ ท่อส่งน�้ำ (Pipeline) เป็นท่อแป๊บฝังอยู่ตามฝาผนังทั้ง ๓ ชั้น ซึ่งสามารถเปิดใช้น�้ำประปาได้ทั่วโรงทหารหน้าทุกชั้น โดยเฉพาะ บันไดใหญ่ทกุ แห่ง ได้จดั ท�ำห้องสุขาส�ำหรับถ่ายปัสสาวะ บันไดละ ๒ ห้อง ทุก ๆ ชั้น จึงได้ท�ำเป็นท่อน�้ำไหลมาส�ำหรับชะล้าง เพื่อไม่ให้เกิดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์

ภาพถังเก็บน�้ำสะอาดที่ผ่านกระบวนการผลิต

46


๔)  การบริการสาธารณะ ๔.๑) การให้บริการแสงสว่างแก่ประชาชนผูส้ ญ ั จรผ่านอาคารโรงทหารหน้าบริเวณถนนสนามไชย ถนนกัลยาณไมตรี และถนนหลักเมือง ๔.๒) ดา้ นทิศใต้สดุ อาคารก่อนถึงสะพานช้างโรงสี บริเวณชัน้ ที่ ๕ หรือชัน้ บนสุดมีหอ้ งยามรักษาการณ์ ซึง่ ชัน้ ต�่ำลงมาหรือ ชัน้ ๔ ได้ท�ำเป็นหอนาฬิการูปร่างสีเ่ หลีย่ ม และมีหน้าปัดนาฬิกาสองด้าน คือ ด้านทีห่ นึง่ หันหาคลองคูเมืองเดิมหรือคลองหลอด และด้าน ทีส่ อง หันเข้าหาถนนกัลยาณไมตรี โดยมีวตั ถุประสงค์เพือ่ ให้ประชาชนทีส่ ญ ั จรผ่านไปมาได้รบั ทราบเวลา ซึง่ ในสมัยนัน้ ยังไม่มนี าฬิกาข้อมือ มีแต่นาฬิกาพกที่มีสายห้อยนาฬิกา น�ำเข้าจากต่างประเทศ และมีราคาสูงมาก จะมีผู้ใช้ก็คือ เจ้านาย ข้าราชการระดับสูง และคหบดี เท่านั้น ระดับประชาชนธรรมดายากที่จะเป็นเจ้าของ ดังนั้น การที่โรงทหารหน้าเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ทราบเวลาโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย จึงถือว่าเป็นการบริการประชาชนและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ราษฎรสยามในยุคนั้น

ภาพศาลาว่าการกลาโหมประมาณปี พุทธศักราช ๒๕๓๕

47


๒.๗ หอคอยของโรงทหารหน้า ในเวลาต่อมา หอนาฬิกาได้ถกู รือ้ ออก เนือ่ งจากการสร้างหอคอย เป็นทรงสีเ่ หลีย่ มและมีการติดตัง้ นาฬิกาในชัน้ ที่ ๔ ท�ำให้เกิดผลเสียต่อตัวอาคาร เพราะต้องรับแรงต้านจากลมและฝนท� ำให้อาคารทรุดโทรมอย่างรวดเร็ว ประกอบกับความไม่คงทนของนาฬิกาที่ประสบปัญหาขัดข้องเป็นประจ�ำและ การแพร่หลายของนาฬิกาพกที่มีมากขึ้น รวมทั้งมีวิทยุกระจายเสียงที่บอก เวลา สามารถรับฟังได้ทุกที่ จึงมีแนวความคิดที่จะปรับปรุงอาคารชั้นที่ ๔ และ ชั้นที่ ๕ (บริเวณหอคอย) ในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว จึงได้มีการปรับแต่งหอคอยให้มีลักษณะทรงกระบอกและมีกันสาด ในชั้นที่ ๔ และชั้นที่ ๕ ท�ำให้สามารถตรวจการณ์ได้ทั้งสองชั้นและติดตั้งล�ำโพง เพื่อกระจายเสียงต่อสาธารณชนได้

หอคอยยุคแรกสร้างโรงทหารหน้า

หอคอยยุคปลายรัชสมัยรัชกาลที่ ๕

48


เนือ่ งจากในยุคต่อมา ทางราชการมีความจ�ำเป็นต้องใช้พนื้ ทีบ่ ริเวณหอกลอง (บริเวณสวนเจ้าเชตุ) เพื่อตัดถนนสนามไชย และหมดความจ�ำเป็นที่จะต้องใช้การ ตีกลองบอกสัญญาณ ของกลองประจ�ำพระนคร ๓ ใบ คือ กลองย�ำ่ พระสุรยี ศ์ รี กลอง อัคคีพนิ าศ และกลองพิฆาตไพรี ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้น�ำกลองทั้ง ๓ ใบมาเก็บรักษาบริเวณชั้น ๔ ของอาคารศาลาว่าการกลาโหม ก่อนย้ายไปตั้งที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในที่สุด

ภาพกลองประจ�ำพระนคร (ปัจจุบันตั้งแสดงที่พระที่นั่งปฤษฎางคภิมุข พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร)

49


ภาพหอกลองเดิม (บริเวณสวนเจ้าเชตุ)

50


ในปีพุทธศักราช ๒๕๐๐ อาคารศาลาว่าการกลาโหมเกิดรอยแตกร้าว เนื่องเพราะการสร้าง หอคอยชั้นที่ ๔ และชั้นที่ ๕ ในอดีตท�ำให้อาคารชั้นล่างต้องรับน�้ำหนักมากและมีการรั่วซึมของน�้ำที่ เกิดจากฝนซัดสาดเป็นประจ�ำ เมื่อมีการก่อสร้างอาคารกองบัญชาการทหารสูงสุด ประกอบกับเกิด ความทรุดโทรมของหอคอย จึงได้รื้อถอนหอคอยออกและปรับให้คงเหลือเพียง ๓ ชั้น กับมุงหลังคา ชั้น ๓ ปิดทั้งหมด จึงท�ำให้ไม่มีหอคอยมาจนถึงปัจจุบัน

ภาพในปัจจุบัน สังเกตไม่มีหอคอย เนื่องจากได้รื้อถอนออกไปประมาณ ปีพุทธศักราช ๒๕๐๐ และได้มีการขยายสะพานช้างโรงสี ให้กว้างขึ้นในปีพุทธศักราช ๒๕๑๘

51


ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๕๐๒ กระทรวงกลาโหมได้ประดิษฐาน ศาลหอกลองจ�ำลองไว้บริเวณชัน้ ๓ หรือใต้บริเวณทีเ่ คยตัง้ หอกลองเดิม โดยมีลักษณะหอกลองในรูปแบบหอประจ�ำเชิงเทินบนก�ำแพงเมือง ๒.๘ สะพานหก ต่อมา เมื่อกรมทหารหน้าได้ย้ายมาอยู่ที่โรงทหารหน้า มีการสร้างโรงครัวเลี้ยงก�ำลังพลพลทหารบริเวณถนนราชินีริมคลอง คูเมืองเดิม เมื่อก�ำลังพลที่จะมารับประทานอาหารต้องเดินไกลจาก สนามฝึ ก ซึ่ ง อยู ่ ฝ ั ่ ง ตรงข้ า ม จึ ง ต้ อ งเดิ น อ้ อ มไปข้ า มคลองที่ ส ะพาน ช้างโรงสีทำ� ให้ได้รับความล�ำบาก เมื่อเป็นเช่นนี้ นายพันเอก เจ้าหมื่น ไวยวรนาถ ผู้บัญชาการกรมทหารหน้าจึงสั่งการให้สร้างเป็นสะพานหก ข้ามคลองเพื่อเดินทางไปทานอาหารจึงเป็นการตัดทอนหนทางให้สั้น สะพานหกนี้ได้เปิดให้ทหารเดินขณะที่จะมารับประทานอาหารเท่านั้น

ภาพศาลหอกลองจ�ำลองในปัจจุบัน

ภาพรถรางที่ก�ำลังแล่นบนสะพานหก ที่สร้างใหม่เป็นคอนกรีต

ภาพสะพานหกเดิม ในขณะที่รถรางแล่นผ่าน

52


ส�ำหรับสะพานหกมีการสร้างขึ้น เพือ่ ให้สามารถยกตัวสะพานขึน้ เพือ่ ให้เรือ แล่นผ่านได้ ซึง่ ในเวลาต่อมา สะพานหกนี้ เคยเป็ น สะพานรถรางที่ ใ ห้ ร ถรางสาย บางคอแหลม - กระทรวงกลาโหม ข้าม จากถนนหลักเมือง แต่ได้ยกเลิกรถรางสาย ดังกล่าวในปีพุทธศักราช ๒๔๙๗ อย่างไร ก็ ต าม แนวทางการวางรางรถรางสาย ดังกล่าวได้เคยปรากฏให้เห็นบริเวณถนน อัษฎางค์ ถนนราชินี และถนนหลักเมือง โดยเฉพาะบริเวณถนนหลักเมืองยังปรากฏ รางรถรางให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน

ภาพสะพานที่สร้างใหม่เป็นคอนกรีตแทนสะพานหก ซึ่งในภาพมีขบวนรถรางแล่นผ่าน

ภาพสะพานที่สร้างใหม่เป็นคอนกรีตแทนสะพานหก และสามารถมองเห็นหอคอยโรงทหารหน้าด้วย

53


ภาพรางรถราง บริเวณถนนหลักเมืองในปัจจุบัน

ต่ อ มา เมื่ อ ยกเลิ ก การใช้ ร ถราง สายบางคอแหลม - กระทรวงกลาโหม ประมาณปีพุทธศักราช ๒๔๙๗ จึงได้มี การปรับปรุงสะพานหกซึ่งเป็นคอนกรีต ส� ำ หรั บ ให้ ป ระชาชนสั ญ จรข้ า งคลอง คูเมืองเดิมและใช้ต่อเนื่องจนปัจจุบัน

ภาพแสดงเส้นแนวรถรางในอดีตบริเวณถนนอัษฎางค์ ถนนราชินี และถนนหลักเมือง

54


ภาพสะพานหกในอดีต

ภาพสะพานหกในปัจจุบัน

55


ในปัจจุบนั ได้มกี ารจ�ำลองสะพานหกตามรูปแบบโบราณข้ามคลองคูเมืองเดิมบริเวณ ด้านหน้าวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร

สะพานหกตามแบบโบราณ

สะพานหกจ�ำลองในปัจจุบัน

56


โรงทหารหน้า และกรมทหารหน้า ในยุคแรก

พระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร

57


วันที่ ๑๔ มกราคม ๒๔๒๙ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สถาปนา สมเด็จพระเจ้า ลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรณ ุ หิศ ขึน้ เป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้ า ฟ้ า มหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุม าร โดยจารึ ก พระนาม ในสุพรรณบัฏว่า “สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรณ ุ หิศ อดิศวรมหาจุฬาลงกรณ์ บดินทรสมมติเทพยวรางกูร บรมมกุฎนเรนทรสูรยิ ข์ ตั ติยสันตติวงศ์ อุกฤษฐพงศ์วโรภโตสุชาต ธัญญลักษณวิลาสวิบุลยสวัสดิ์สิริวัฒนราชกุมาร” ต่อมา ในวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๔๒๙ กรมทหารหน้าได้ร่วม ในการจัดก�ำลังพลถวายพระเกียรติร่วมในกระบวนพยุหยาตราทาง สถลมารค และกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค ในพระราชพิธี สถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยาม มกุฎราชกุมาร

ภาพกระบวนพยุหยาตราทางสถลมารค ในพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร พ.ศ. ๒๔๒๙

ภาพกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค ในพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร พ.ศ. ๒๔๒๙

58


กิจการทหาร

และศาลาว่าการกลาโหม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

59


๔.๑ กรมยุทธนาธิการ วันที่ ๘ เมษายน ๒๔๓๐ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้บัญญัติไว้ใน ประกาศจัดการทหาร แต่งตั้งผู้บังคับบัญชาการทั่วไป ส�ำหรับกรมทหาร เรียกว่า คอมมานเดออินชิฟ (Commander In Chief) พร้อมทั้งโปรดเกล้า ฯ ให้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้า มหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงด�ำรงต�ำแหน่งดังกล่าวนี้ เพื่อให้ถูกต้องตามโบราณราชประเพณี โดยก�ำกับดูแลทหารบก และ ทหารเรือ ให้เกิดความเป็นเอกภาพในการบังคับบัญชา ซึ่งสาระส�ำคัญของประกาศจัดการทหารสรุปได้ ดังนี้ ๑) ให้รวมทหารบกและทหารเรือ ตั้งขึ้นเป็นกรมทหาร ใช้ชื่อว่า กรมยุทธนาธิการ โดยแยกการปกครองบังคับบัญชา กรมทหารออกจากกรมพระกลาโหม (คงให้ กรมพระกลาโหม มีอ�ำนาจบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้เท่านั้น) ๒) ตั้งเจ้าพนักงานใหญ่ผู้จัดการในกรมส�ำหรับช่วยผู้บัญชาการทั่วไป อีก ๔ ต�ำแหน่ง คือ ๒.๑) เจ้าพนักงานใหญ่ผู้ช่วยบัญชาการทหารบก หรือ เอตซุแตนต์เยเนอราล (Assistant General) ๒.๒) เจ้าพนักงานใหญ่ผู้บัญชาการใช้จ่าย หรือ เปมาสเตอเยเนอราล (Paymaster General) ๒.๓) เจ้าพนักงานใหญ่ผู้บัญชาการยุทธภัณฑ์ หรือ ครอดเตอมาสเตอเยเนอราล (Quartermaster General) ๒.๔) เจ้าพนักงานใหญ่ผู้ช่วยบัญชาการทหารเรือ หรือ สิเกรตาริตูธีเนวี (Secretary to The Navy) ๓) ก�ำหนดอ�ำนาจหน้าที่ของ ผู้บังคับบัญชาการทั่วไป และ เจ้าพนักงานใหญ่ ทั้ง ๔ ต�ำแหน่ง ทั้งยังได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้า ฯ ก�ำหนดสาระส�ำคัญ ดังนี้ ๓.๑) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงด�ำรงพระราชอิสริยยศ ในต�ำแหน่งจอมทัพ ๓.๒) สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงด�ำรงต�ำแหน่งผู้บัญชาการทั่วไปในกรมทหาร แต่ เนื่องจากยังทรงพระเยาว์คือ มีพระชันษาเพียง ๙ พรรษา (ประสูติเมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๔๒๑) จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ นายพลเอก สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระภาณุพันธุวงศ์วรเดช (พระยศในขณะนั้น) ทรงเป็นผู้รักษาการ แทนผู้บัญชาการทั่วไปในกรมทหาร จนกว่าพระองค์จะว่าการได้ด้วยพระองค์เอง ซึ่งในเวลาต่อมา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เป็น ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ ๓.๓) นายพลตรี กรมหมื่นด�ำรงราชานุภาพ เป็น ผู้ช่วยบัญชาการทหารบก ๓.๔) นายพลเรือโท พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ เป็น ผู้ช่วยบัญชาการทหารเรือ ๓.๕) นายพลตรี เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ เป็น เจ้าพนักงานใหญ่ผู้บัญชาการใช้จ่าย ๓.๖) นายพันเอก พระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) เป็น เจ้าพนักงานใหญ่ผู้บัญชาการยุทธภัณฑ์ ๓.๗) นายพลตรี เจ้าฟ้า กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม เป็น ผู้บัญชาการรักษาพระราชวัง

60


พระบรมฉายาลักษณ์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร

พระฉายาลักษณ์ นายพลเรือโท พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์

พระฉายาลักษณ์ นายพลเอก สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระภาณุพันธุวงศ์วรเดช

พระฉายาลักษณ์ นายพลตรี กรมหมื่นด�ำรงราชานุภาพ

ภาพนายพันเอก พระยาสุรศักดิ์มนตรี

พระฉายาลักษณ์ นายพลตรี เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์

61

พระฉายาลักษณ์ นายพลตรี เจ้าฟ้า กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม


ซึ่งในเวลาต่อมา ได้มีการเปลี่ยนนามของอาคารที่บังคับบัญชากรมยุทธนาธิการจากเดิมโรงทหารหน้า มาเป็น ศาลายุทธนาธิการ ตามนามหน่วย และเมื่อเปลี่ยนมาเป็นกระทรวงกลาโหมก็ได้เปลี่ยนนามอาคารมาเป็น ศาลาว่าการกลาโหม ดังที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

ภาพผู้บังคับบัญชากรมยุทธนาธิการ บันทึกภาพเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๓๐ บริเวณด้านในโรงทหารหน้า ด้านทิศตะวันตก

นายพลเอก สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ ฯ

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ

สังเกตองค์ที่ประทับนั่งตรงกลางแถวแรก คือ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงด�ำรง ต�ำแหน่ง ผูบ้ ญ ั ชาการทัว่ ไปในกรมทหาร และส�ำหรับองค์ทปี่ ระทับนัง่ ตรงกลางด้านขวามือของ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎ ราชกุมาร คือ นายพลเอก สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระภาณุพันธุวงศ์วรเดช (พระยศในขณะนั้น) ทรง ด�ำรงต�ำแหน่งเป็น ผู้รักษาการแทนผู้บัญชาการทั่วไปในกรมทหาร

62


๔.๑.๑ พิธีรับเสด็จในการถือน�้ำพิพัฒน์สัตยา วั น เสาร์ ที่ ๙ เมษายน ๒๔๓๐ ได้ มี พ ระราชพิ ธี ถื อ น�้ ำ พิ พั ฒ น์ สั ต ยาส� ำ หรั บ ข้ า ราชการกรมยุ ท ธนาธิ ก าร ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรตั นศาสดาราม ซึง่ ในหมายก�ำหนดการ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั จะเสด็จพระราชด�ำเนินมาตรวจ กรมยุทธนาธิการ ณ ศาลายุทธนาธิการ ซึง่ ในวโรกาสนีก้ ำ� ลังพลของกรมยุทธนาธิการจึงได้จดั พิธรี บั เสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ขึ้นเป็นงานแรกของหน่วย

ภาพภายในอาคารโรงทหารหน้าในยุคแรก (สังเกตหอคอยโรงทหารหน้ายุคแรก) เป็นการตั้งแถวกองทหารเกียรติยศของทหารกรมยุทธนาธิการ เพื่อรอรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

63


๔.๑.๒ เหตุการณ์การปราบกบฏอั้งยี่ ในเดือนมิถุนายน ๒๔๓๒ ได้เกิดเหตุการณ์กบฏอั้งยี่ ซึ่งเป็นการก่อความไม่สงบในพระนคร บริเวณโรงสี ปล่องเหลี่ยม บางรัก ระหว่างกรรมกรชาวจีนเชื้อสายฮกเกี้ยนกับกรรมกรชาวจีนเชื้อสายแต้จิ๋ว โดยมีสาเหตุมาจากการแย่งงานกันท�ำ ซึ่งความรุนแรงเกิดขึ้นที่บริเวณริมถนนเจริญกรุง ๒ ข้าง ใกล้กับวัดยานนาวา เนื่องจากเหตุการณ์ในครั้งนั้นกรมนครบาลไม่สามารถระงับเหตุได้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรง พระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ นายพลเอก สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ เตรียมการจัด ก�ำลังทหารเข้าปราบปรามพวกอั้งยี่และควบคุมสถานการณ์แทน โดยในวันพฤหัสบดีที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๔๓๒ ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ จึง โปรดให้มีการใช้ตึกกลางของศาลายุทธนาธิการ เป็นกองบัญชาการปราบอั้งยี่ โดยทูลเชิญ นายพลโท สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมขุนนริศรานุวดั ติวงศ์ เจ้าพนักงานใหญ่ ผู ้ บั ญ ชาการใช้ จ ่ า ย นายพลตรี สมเด็ จ พระเจ้ า น้ อ งยาเธอ กรมหมื่ น ด�ำ รงราชานุ ภ าพ ผู้ช่วยบัญชาการทหารบก และนายพลเรือจัตวา พระยาชลยุทธโยธิน รักษาราชการแทนผู้ช่วย บัญชาการทหารเรือ มาร่วมประชุมปรึกษาเพื่อวางแผนการปฏิบัติการปราบอั้งยี่ในครั้งนี้ ผลการประชุมได้จัดก�ำลังทหารบกขึ้นรถรางไฟฟ้าสายหลักเมือง - ถนนตก ไปที่ บริเวณใกล้ที่เกิดเหตุ และจัดก�ำลังทหารเรือ ลงเรือล่องตามแม่น�้ำเจ้าพระยาจากกรมทหารเรือ ขึ้นบุกด้านใต้บริเวณที่เกิดเหตุอีกหนึ่งกองก�ำลัง ภาพนายพลเรือจัตวา พระยาชลยุทธโยธิน รักษาราชการแทน ผู้ช่วยบัญชาการทหารเรือ

ภาพก�ำลังพลกรมยุทธนาธิการบนรถรางไฟฟ้า เพื่อเข้าปฏิบัติการปราบอั้งยี่

64


ในวันศุกร์ที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๔๓๒ เวลา ๐๘.๐๐ นาฬิกา จึงด�ำเนินการตามแผน ฯ ปรากฏผลว่าทหารด�ำเนินการ ปราบอั้งยี่ดังกล่าวได้ส�ำเร็จ และสามารถควบคุมตัวผู้ก่อความ ไม่สงบได้ราว ๘๐๐ คน มีจ�ำนวนอั้งยี่เสียชีวิตราว ๑๐ คน และ บาดเจ็บราว ๒๐ คน และน�ำตัวมาคุมขังทีต่ ะรางกลาโหม (บริเวณ ด้านหลังอาคารด้านทิศตะวันออก) ก่อนส่งให้กรมนครบาลน�ำตัว ไปด�ำเนินการตามคดีต่อไป

ภาพอั้งยี่บางส่วนที่ถูกควบคุมตัวที่ตะรางกลาโหม

๔.๒ กระทรวงยุทธนาธิการ

วันที่ ๑ เมษายน ๒๔๓๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ทรงจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินใหม่ โดยการตราพระราช บัญญัติจัดการกรมยุทธนาธิการ รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ ด้วยการ ยกฐานะกรมยุทธนาธิการขึน้ เป็นกระทรวงยุทธนาธิการ (Ministry of War and Marine) เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๓๓

ภาพส�ำเนาราชกิจจานุเบกษา ฉบับวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๔๓๓

65


นอกจากนี้ ยังได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ตั้งต� ำแหน่งตาม พระราชบัญญัติกรมยุทธนาธิการ เมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน ๒๔๓๓ ดังนี้   ให้ นายพลเอก สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรงั ษีสว่างวงศ์ กรมพระภาณุพันธุวงศ์วรเดช เป็น เสนาบดีว่าการยุทธนาธิการ (ที่ เรียกตามภาษาอังกฤษว่า มินิสเตอร์ออฟวาแอนด์มริน หรือ Minister of War and Marine)   ให้ นายพันเอก พระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) เป็น ผู้บัญชาการทหารบก (ที่เรียกตามภาษาอังกฤษว่า ชิพสตาฟออฟดิอามี หรือ Chief Staff of the Army)   ให้ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าขจรจรัสวงศ์ กรมหมื่นปราบ ปรปั ก ษ์ เป็ น ผู ้ บั ญ ชาการทหารเรื อ (ที่ เ รี ย กตามภาษาอั ง กฤษว่ า ชิพสตาฟออฟดิเนวี หรือ Chief Staff of the Navy)

ภาพนายพันเอก พระยาสุรศักดิ์มนตรี

พระฉายาลักษณ์ นายพลเอก สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระภาณุพันธุวงศ์วรเดช

พระฉายาลักษณ์ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าขจรจรัสวงศ์ กรมหมื่นปราบปรปักษ์

66


ทั้งนี้ มีการแบ่งส่วนราชการกระทรวง ยุทธนาธิการ ออกเป็น ๒ ฝ่าย กล่าวคือ (๑) ฝ่ายพลเรือน ท�ำหน้าที่ด้าน ธุรการ การบริหาร และการส่งก�ำลังบ�ำรุง โดยมี เสนาบดีกระทรวง เป็นผู้บังคับบัญชา (๒) ฝ่ายทหาร ท�ำหน้าทีเ่ ป็นส่วน ก�ำลังรบ แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ กรมทหารบก และกรมทหารเรือ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว ทรงด�ำรงต�ำแหน่ง “จอมทัพ” และทรง พระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ สมเด็จพระบรม โอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร รับสนอง พระบรมราชโองการ นายพลเอก สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระภาณุพันธุวงศ์วรเดช เสนาบดีว่าการยุทธนาธิการ ทรงฉายภาพกับก�ำลังพลในกระทรวงยุทธนาธิการ

๔.๓ กระทรวงกลาโหมและกรมยุทธนาธิการ

วันที่ ๑ เมษายน ๒๔๓๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ทรงจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินอีกครั้งซึ่งเป็นการปฏิรูประบบ ราชการเป็นครัง้ แรก โดยจัดตัง้ กระทรวงขึน้ ใหม่ตามภารกิจเพือ่ ให้เกิดการรวมศูนย์งาน โดยแบ่งออกเป็น ๑๒ กระทรวง ซึง่ มีทงั้ กระทรวง กลาโหมและกระทรวงยุทธนาธิการ แต่ต่อมาในปีเดียวกัน ได้ลดฐานะกระทรวงยุทธนาธิการ ลงเป็น กรมยุทธนาธิการ ซึ่งมีลักษณะพิเศษ ที่ไม่สังกัดกระทรวงใดโดยท�ำหน้าที่เป็น องค์กรฝ่ายทหารที่ท�ำหน้าที่ป้องกันประเทศ ต่อมา ในปีพทุ ธศักราช ๒๔๓๗ ได้มกี ารจัดปันหน้าทีร่ ะหว่างกระทรวงกลาโหม ให้รบั ผิดชอบราชการทหาร และกระทรวงมหาดไทย ให้รับผิดชอบราชการที่เกี่ยวกับพลเรือน จึงมีการโอนกรมยุทธนาธิการมาขึ้นสังกัดกระทรวงกลาโหม โดยให้กรมยุทธนาธิการ ก�ำกับดูแล กิจการทหารบก และกรมทหารเรือ ก�ำกับดูแลกิจการทหารเรือ ซึง่ ในห้วงเวลาดังกล่าว มีงานพระราชพิธสี ำ� คัญของประเทศกับงานพิธสี ำ� คัญทางทหารหลายงาน ซึง่ ก�ำลังพลของกระทรวงกลาโหม และกรมยุทธนาธิการต้องเข้าไปมีส่วนส�ำคัญในการด�ำเนินการ ดังนี้

67


๔.๓.๑ พระราชพิธเี ฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั

วันที่ ๒๐ กันยายน ๒๔๓๖ กระทรวงกลาโหมได้รว่ มเฉลิมพระเกียรติในพระราชพิธี เฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ด้วยการร่วมประดับประดาอาคารและ จัดซุ้มด้านหน้าอาคารศาลายุทธนาธิการเพื่อเป็นการจัดแสดงสัญลักษณ์ทางการทหารในการถวาย พระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ภาพการจัดแสดงสัญลักษณ์ทางการทหารในการถวายพระเกียรติ เนื่องในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (สังเกตในภาพเป็นรูปองค์พญาคชสีห์)

๔.๓.๒ พระราชพิธีรัชดาภิเษกพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

วันที ่ ๕ ธันวาคม ๒๔๓๖ มีการจัดพระราชพิธรี ชั ดาภิเษกพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั เนือ่ งในพระบรมราชวโรกาสทีท่ รงครองราชสมบัติ ๒๕ ปี ซึง่ กระทรวงกลาโหม และกรมยุทธนาธิการได้รว่ มในพระราชพิธดี ว้ ยการจัดการสวนสนามและแสดงแสนยานุภาพทีบ่ ริเวณ มณฑลพิธีท้องทุ่งพระเมรุ (ท้องสนามหลวง) และหน้าศาลายุทธนาธิการ 

68


ภาพการสวนสนามและแสดงแสนยานุภาพที่บริเวณมณฑลพิธีท้องทุ่งพระเมรุ เนื่องในพระราชพิธีรัชดาภิเษกพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

69


ภาพการสวนสนามและแสดงแสนยานุภาพที่บริเวณมณฑลพิธีท้องทุ่งพระเมรุ เนื่องในพระราชพิธีรัชดาภิเษกพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

70


ภาพการสวนสนามและแสดงแสนยานุภาพที่บริเวณหน้าศาลายุทธนาธิการ เนื่องในพระราชพิธีรัชดาภิเษกพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

71


๔.๓.๓ พระราชพิธีสมโภชเมื่อเสด็จพระราชด�ำเนินกลับจากการประพาสยุโรป ๔.๓.๓.๑ วันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๔๔๐ มีการจัดพระราชพิธสี มโภชเมือ่ เสด็จพระราชด�ำเนินกลับจากการประพาสยุโรป คราวแรก ซึง่ กระทรวงกลาโหมและกรมยุทธนาธิการได้รว่ มในพระราชพิธดี ว้ ยการถวายพระเกียรติ การจัดซุม้ บริเวณถนนราชด�ำเนิน และ การตกแต่งประดับประดาอาคารศาลายุทธนาธิการเพื่อเป็นการถวายพระเกียรติในพระราชพิธีดังกล่าว

ภาพการตกแต่งประดับประดาด้านหน้าอาคารศาลายุทธนาธิการ

72


ภาพการจัดซุ้มเฉลิมพระเกียรติ ฯ บริเวณถนนราชด�ำเนิน

73


๔.๓.๓.๒ วันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๔๕๐ มีการจัดพระราชพิธีสมโภชเมื่อเสด็จพระราชด�ำเนินกลับจากการประพาส ยุโรปครั้งที่สอง ซึ่งกระทรวงกลาโหมและกรมยุทธนาธิการได้ร่วมในพระราชพิธีด้วยการถวายพระเกียรติ การจัดขบวนรับเสด็จ การจัด ซุ้มบริเวณถนนราชด�ำเนิน และการตกแต่งประดับประดาอาคารศาลายุทธนาธิการเพื่อเป็นการถวายพระเกียรติในพระราชพิธีดังกล่าว

ภาพการจัดซุ้มเฉลิมพระเกียรติ ฯ บริเวณถนนราชด�ำเนิน

74


ภาพการจัดซุ้มเฉลิมพระเกียรติ ฯ ของกรมทหารเรือ

ภาพการรับเสด็จของกรมทหารเรือ

75


ภาพการรับเสด็จของกรมยุทธนาธิการ

76


ภาพการรับเสด็จของกรมยุทธนาธิการ

77


๔.๓.๔ พิธีถวายพระคทาแด่จอมพลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๔๔๖ มีการพิธถี วายพระคทาแด่จอมพลพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั พร้อมกับจัดพิธรี บั เสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ในศาลา ยุทธนาธิการ โดยมีการบันทึกไว้ว่า “ผู้บัญชาการกรมทหาร พร้อมด้วยข้าราชการในกรมยุทธ นาธิการ เตรียมรับการตรวจแถวจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยูห่ วั ณ สนามหญ้า ภายในศาลายุทธนาธิการ ภายหลังทีก่ รมทหารบก ทูลเกล้า ฯ ถวายพระคทาจอมพล”

ภาพการเตรียมการรับเสด็จในพิธีถวายพระคทาแด่จอมพลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

๔.๓.๕ พิธีพระราชทานธงชัยเฉลิมพล ในปีพุทธศักราช ๒๔๕๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จ พระราชด�ำเนินในพิธีฉลองงานพระราชทานธงชัยเฉลิมพล ณ ศาลายุทธนาธิการ เพื่อเป็นเกียรติภูมิ และเกียรติศักดิ์แห่งหน่วยทหาร ซึ่งก�ำลังพลทุกหน่วยในกระทรวงกลาโหมถวายการรับเสด็จ

78


พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานธงชัยเฉลิมพลแก่หน่วยทหาร ณ ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง

๔.๓.๖ เหตุการณ์การปราบกบฏเงี้ยว ในปีพุทธศักราช ๒๔๔๕ พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) เป็นแม่ทัพใหญ่ พร้อม น�ำก�ำลังทหารจากกระทรวงกลาโหม ปราบกบฏเงี้ยวเมืองแพร่ ซึง่ เมือ่ ด�ำเนินการปราบปรามเป็นผลส�ำเร็จ ได้นำ� ตัวหัวหน้าก่อการ และกลุ่มกบฏมาควบคุมตัวที่ตะรางกลาโหม ก่อนส่งให้กระทรวง นครบาลน�ำตัวไปด�ำเนินการตามคดีต่อไป

ภาพการควบคุมตัวกลุ่มกบฏเงี้ยว

79


๔.๓.๗ กิจการทหารที่ส�ำคัญ ๔.๓.๗.๑ มีการจัดท�ำแผนที่ตามมาตรฐาน สากล พร้อมกับจัดตั้งกรมแผนที่ทหาร ซึ่งอยู่ใกล้กับอาคารศาลา ว่าการกลาโหม ๔.๓.๗.๒ มีการจัดระเบียบและการบริหาร หน่วยทหารให้เป็นไปตามรูปแบบสากลและมีการฝึกการปฏิบัติ หน้าที่หรือการฝึกประลองยุทธ์ของก�ำลังพล ภาพกรมแผนที่ทหารในยุคแรก

ภาพแผนที่กรุงรัตนโกสินทร์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

80


ทหารเหล่าต่าง ๆ ในสังกัดกระทรวงกลาโหม (บันทึกภาพที่ศาลายุทธนาธิการ)

81


ภาพทหารเหล่าทหารปืนใหญ่ยิงสลุต บริเวณทุ่งพระเมรุ เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

82


ภาพการฝึกประลองยุทธ์ของทหารบกที่ทุ่งพญาไท

83


๔.๓.๗.๓ มีการสร้างโรงเรียนนายร้อยทหารบกและโรงเรียนนายเรือ

ภาพโรงเรียนนายร้อยทหารบกยุคแรก

ภาพนักเรียนนายร้อยทหารบก

84


ภาพการฝึกศึกษาของนักเรียนนายร้อยทหารบก

85


ภาพการฝึกศึกษาของนักเรียนนายร้อยทหารบก

86


ภาพพระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัววันเสด็จเปิดโรงเรียนนายเรือ

ภาพประตูโรงเรียนนายเรือยุคแรก

ภาพการฝึกของนักเรียนทหารเรือ

87


๔.๓.๘ ศาลายุทธนาธิการในงานพิเศษ ๔.๓.๘.๑ การบรรเลงเพลงสรรเสริญพระ บารมีเป็นครั้งแรก ในปี พุ ท ธศั ก ราช ๒๔๓๑ ได้ มี การนิพนธ์เนื้อเพลงสรรเสริญพระบารมี โดย สมเด็จพระเจ้า บรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และใช้ทำ� นอง เพลงที่ประพันธ์โดย นายปโยตร์ ชูรอฟสกี้ (Pyotr Schurovsky) นักประพันธ์ชาวรัสเซีย ซึ่งได้มีการบรรเลงเป็นครั้งแรกที่ศาลา ยุทธนาธิการ

พระฉายาลักษณ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

ภาพโน้ตเพลงสรรเสริญพระบารมี

88


๔.๓.๘.๒ การบรรเลงเพลงเขมรไทรโยคเป็นครั้งแรก วันที่ ๒๐ กันยายน ๒๔๓๑ กรมยุทธนาธิการได้จัดพระราชพิธี เฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งในวโรกาสอันเป็นมงคลนี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ได้จัดบรรเลงเพลงเขมรไทรโยคถวาย เป็นครั้งแรกที่ศาลายุทธนาธิการ ทั้งนี้เพลงเขมรไทรโยคนี้ ทรงพระนิพนธ์โดยได้เค้ามาจากเพลงเขมรกล่อมลูกซึ่ง เป็นเพลง ๒ ชั้น ดัดแปลงขึ้นใหม่เป็นเพลง ๓ ชั้น กับได้ทรงพระนิพนธ์บทร้องประกอบการบรรยาย ถึงความงดงามของธรรมชาติ เมือ่ ครัง้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั เสด็จพระราชด�ำเนิน ประพาสน�้ำตกไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ในปีพุทธศักราช ๒๔๓๑

ภาพประกอบเพลงเขมรไทรโยค

ภาพโน้ตเพลงเขมรไทรโยค

89


ภาพคณะแตรฝรั่งบรรเลงเพลงเขมรไทรโยค

90


กิจการทหาร

และศาลาว่าการกลาโหม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงด�ำรงพระอิสริยยศเป็นประธานสภาป้องกันพระราชอาณาจักร

91


พระฉายาลักษณ์ นายพลเรือโท สมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมขุนนครสวรรค์วรพินิต เสนาบดีกระทรวงทหารเรือ

พระฉายาลักษณ์ นายพลเอก พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช กรมหมื่นนครไชยศรีสุรเดช เสนาบดีกระทรวงกลาโหม

๕.๑ ตั้งกระทรวงทหารบก ทหารเรือ วันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๔๕๓ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้มีการออกประกาศตั้ง กระทรวงทหารบก ทหารเรือ รัตนโกสินทรศก ๑๒๙ ซึ่งมีสาระส�ำคัญ ดังนี้ ๕.๑.๑ เปลี่ยนชื่อ กรมยุทธนาธิการ เป็น กระทรวงกลาโหม มีหน้าที่ดูแลการปกครองเฉพาะกิจการทหารบก โดยมี นายพลเอก พระองค์ เ จ้ า จิ ร ประวั ติ ว รเดช กรมหมื่ น นครไชยศรี สุ ร เดช ผู ้ บั ญ ชาการกรมยุ ท ธนาธิ ก าร ด� ำ รงต� ำ แหน่ ง เสนาบดี กระทรวงกลาโหม บังคับบัญชาทหารบกทั่วไป ๕.๑.๒ ยกฐานะกรมทหารเรือ ขึ้นเป็น กระทรวงทหารเรือ มีหน้าที่ดูแลการปกครองเฉพาะกิจการทหารเรือ โดยมี นายพล เรือโท สมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ุ กรมขุนนครสวรรค์วรพินิต ผู้บัญชาการกรมทหารเรือ ด�ำรงต�ำแหน่งเสนาบดี กระทรวงทหารเรือ บังคับบัญชาทหารเรือทั่วไป

92


๕.๑.๓ จัดตัง้ สภาป้องกันพระราชอาณาจักร ท�ำหน้าทีป่ ระสานงานระหว่างกระทรวงกลาโหม และกระทรวงทหารเรือ ทัง้ นี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงด�ำรงพระอิสริยยศเป็นประธานสภาป้องกันพระราชอาณาจักร มีสมาชิกสภา ประกอบด้วย เสนาบดีกระทรวงกลาโหม เสนาบดีกระทรวงทหารเรือ จอมพลทหารบก จอมพลทหารเรือ ทั้งที่ประจ�ำการและมิได้ประจ�ำการ และมี เสนาธิการทหารบก เป็น เลขานุการประจ�ำสภา ๕.๒ กิจการทหารและศาลาว่าการกลาโหมในกิจการพิเศษ ๕.๒.๑ พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว วันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๔๕๔ กระทรวงกลาโหมและก�ำลังพลได้รว่ มในพระราชพิธถี วายพระเพลิงพระบรมศพพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยจัดก�ำลังพลเข้าร่วมในขบวนอัญเชิญโกศพระบรมศพจากพระบรมมหาราชวังขึ้นสู่พระเมรุมาศ ณ ทุ่งพระเมรุ และจัดก�ำลังเข้ารักษาการในระหว่างประกอบพระราชพิธี

ภาพขบวนอัญเชิญโกศพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

93


ภาพขบวนอัญเชิญโกศพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

94


ภาพขบวนอัญเชิญโกศพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

95


ภาพขบวนทหารกองเกียรติยศในขบวนอัญเชิญโกศพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (สังเกตในภาพขบวนทหารกองเกียรติยศเป็นก�ำลังพลจากกระทรวงทหารเรือ)

ภาพก�ำลังพลทหารบกรักษาการในพระราชพิธีการอัญเชิญโกศพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

96


๕.๒.๒ พระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภชพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๕๔ เป็นวันทีป่ ระกอบพระราชพิธบี รมราชาภิเษกสมโภชพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยูห่ วั ซึง่ ในพระราชพิธไี ด้เชิญเจ้านายชัน้ สูงจากยุโรปเสด็จมาร่วมพระราชพิธี ณ พระทีน่ งั่ ดุสติ มหาปราสาท และจัดให้มกี ารเฉลิมฉลอง ซึ่งกระทรวงกลาโหมและกระทรวงทหารเรือได้ถวายพระเกียรติในพระราชพิธีและจัดการแสดงต�ำนานเสือป่าบริเวณด้านหน้าอาคาร ศาลาว่าการกลาโหม

พระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช

พระฉายาลักษณ์เจ้านายชั้นสูงจากยุโรป เสด็จมาร่วมพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

97


ภาพพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภชพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

98


ภาพพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภชพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

99


ภาพก�ำลังพลกระทรวงกลาโหมและกระทรวงทหารเรือ ร่วมขบวนพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

100


ภาพพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภชพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

การแสดงวิพิธทัศนา

การแสดงต�ำนานเสือป่า

101


๕.๒.๓ พิธีการการแข่งขันกีฬาภายในศาลาว่าการกลาโหม ในปีพุทธศักราช ๒๔๕๗ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชด�ำเนินมาทอดพระเนตรและ พระราชทานรางวัลแก่นักกีฬาผู้ชนะเลิศการแข่งขันกีฬาภายในศาลาว่าการกลาโหม โดยประทับ ณ พระที่นั่งชุมสาย บริเวณสนามหญ้า ภายในศาลาว่าการกลาโหม บริเวณใกล้บันไดทางขึ้นลงด้านหลังมุขกลาง (ปัจจุบันคือ บริเวณด้านหน้าทางขึ้นห้องประชุมสุรศักดิ์มนตรี ภายในอาคารศาลาว่าการกลาโหม)

พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชด�ำเนินมาทอดพระเนตร และพระราชทานรางวัลแก่นักกีฬาผู้ชนะเลิศการแข่งขันกีฬาภายในศาลาว่าการกลาโหม

102


๕.๒.๔ การฝึกประลองยุทธ์ใหญ่ ในช่วงต้นของสงครามโลกครัง้ ที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั ได้ทรงเตรียมความพร้อมทางทหาร โดยให้ มีการฝึกประลองยุทธ์ใหญ่ขนึ้ ทุกปี ระหว่างปีพทุ ธศักราช ๒๔๕๗ - ๒๔๕๙ ส่วนใหญ่มกี ารซ้อมรบกันในท้องทุง่ กรุงศรีอยุธยา คือ ทุง่ ลุมพลี

พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จมาเป็นองค์ประธาน การฝึกประลองยุทธ์ใหญ่

พระฉายาลักษณ์ นายพลโท สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ องค์อ�ำนวยการฝึกประลองยุทธ์ใหญ่

103


ภาพพลับพลาส�ำหรับทอดพระเนตรการฝึกประลองยุทธ์ใหญ่

การฝึกประลองยุทธ์ใหญ่ ปีพุทธศักราช ๒๔๕๙ ณ ทุ่งลุมพลี

104


๕.๒.๕ พิธีโล้ชิงช้า วันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๔๖๐ มีการประกอบพิธีตรียัมปวาย (พิธีโล้ชิงช้า) โดยมีการตั้งขบวนแห่พระยาโล้ชิงช้า เริ่มต้นจากสนามภายในศาลาว่าการกลาโหม เดินออกจากประตูด้านทิศเหนือเข้าสู่ถนนสนามไชย เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนเฟื่องนครเดิม (ถนนกัลยาณไมตรี) เพื่อไปยังเสาชิงช้า หน้าโบสถ์พราหมณ์ (บริเวณใกล้วัดสุทัศนเทพวราราม)

พิธีตรียัมปวาย (พิธีโล้ชิงช้า)

ภาพการตั้งขบวนแห่พระยาโล้ชิงช้า ภายในศาลาว่าการกลาโหม (ปัจจุบันคือด้านหน้าทางขึ้น ห้องประชุมสุรศักดิ์มนตรี ภายในอาคารศาลาว่าการกลาโหม)

105


ภาพขบวนพิธีแห่พระยาโล้ชิงช้าบริเวณถนนสนามไชยและถนนเฟื่องนครเดิม (ถนนกัลยาณไมตรี)

106


๕.๒.๖ การเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ ๑ ภายหลังที่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั ทรงตัดสินพระราชหฤทัยน�ำประเทศไทยเข้าร่วมสงครามโลก ครั้งที่ ๑ เมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๔๖๐ โดยประกาศสงครามกับกลุ่มประเทศฝ่ายอักษะ และในวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๔๖๑ ทหาร อาสาร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ ๑ ได้รวมพลและบันทึกภาพ ณ บริเวณสนามหญ้า ภายในศาลาว่าการกลาโหม ก่อนเข้าร่วมกระท�ำพิธี สาบานตนต่อธงชัยเฉลิมพล ณ บริเวณหน้าวังสราญรมย์ หลังจากนั้น ได้เดินทางเข้าสักการะพระพุทธอังคีรส วัดราชบพิธสถิตมหาสีมา รามราชวรวิหาร ต่อมาเมือ่ เสร็จสิน้ ราชการสงครามแล้ว ในวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๔๖๒ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั ทรง พระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ประดับธงชัยเฉลิมพลให้เป็นเกียรติแก่กองทหารอาสา ณ พระที่นั่งชุมสาย ภายในศาลาว่าการกลาโหม

ภาพทหารอาสาร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ ๑ รวมพลและบันทึกภาพ ณ บริเวณสนามหญ้า ภายในศาลาว่าการกลาโหม

107


ภาพทหารอาสาร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ ๑ ร่วมกระท�ำพิธีสาบานตนต่อธงชัยเฉลิมพล ณ บริเวณหน้าวังสราญรมย์

ภาพแถวทหารอาสาร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ ๑ ภายหลังจากการร่วมกระท�ำพิธีสาบานตนต่อธงชัยเฉลิมพล ณ บริเวณหน้าวังสราญรมย์

ภาพทหารอาสาร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ ๑ ภายหลังสักการะพระพุทธอังคีรส วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร

ภาพทหารอาสาร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ ๑ เตรียมตัวขึ้นเรือศรีสมุทร ณ ท่าราชวรดิฐ

108


ภาพแถวทหารอาสาร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ ๑ ร่วมประกาศชัยชนะหน้าพระราชวังแวร์ซายส์

ภาพทหารไทยและทหารฝรั่งเศสที่เมืองแวร์ซายส์ ก่อนเข้าสู่ยุทธบริเวณ

ภาพแถวทหารอาสาร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ ๑ ร่วมสวนสนามฉลองชัยชนะ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๔๖๒

ภาพแถวทหารอาสาร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ ๑ ร่วมสวนสนามฉลองชัยชนะผ่านประตูชัย กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๔๖๒

109


ภาพแถวทหารอาสาร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ ๑ ร่วมสวนสนามฉลองชัยชนะบริเวณถนนราชด�ำเนิน กรุงเทพ ฯ เมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๔๖๒

พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันมีศักดิ์รามาธิบดี ประดับธงชัยเฉลิมพล

ภาพแถวทหารอาสาร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ ๑ ร่วมสวนสนามฉลองชัยชนะ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๔๖๒

ภาพธงชัยเฉลิมพล ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้แก่กองทหารอาสาร่วมรบ ในสงครามโลกครั้งที่ ๑ ภาพรถหุ้มเกราะคันแรกของไทย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างขึ้น เพื่อให้กองเสือป่า เสนารักษ์หลวงรักษาพระองค์ เมื่อวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๔๖๒

110


๕.๒.๗ พระราชพิธถี วายพระเพลิงพระบรม ศพสมเด็ จ พระศรี พั ช ริ น ทราบรมราชิ นี น าถ พระบรม ราชชนนีพันปีหลวง วันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๔๖๓ กระทรวง กลาโหมและก�ำลังพลได้ร่วมในพระราชพิธีถวายพระเพลิง พระบรมศพสมเด็จพระศรีพชั รินทราบรมราชินนี าถ พระบรม ราชชนนีพนั ปีหลวง โดยจัดก�ำลังพลเข้าร่วมในขบวนอัญเชิญ โกศพระบรมศพจากพระบรมมหาราชวังขึ้นสู่พระเมรุมาศ ณ ทุ่งพระเมรุ

ภาพขบวนทหารกองเกียรติยศ ในการอัญเชิญโกศพระบรมศพสมเด็จ พระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

111


ภาพขบวนทหารกองเกียรติยศในการอัญเชิญโกศพระบรมศพสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

112


๕.๒.๘ การปรับปรุงอาคารศาลาว่าการกลาโหม ๕.๒.๘.๑ จัดท�ำโคลงพระราชนิพนธ์สยามานุสสติเหนือซุ้มประตูทางเข้า - ออก เพื่อให้ก�ำลังพลอ่านให้ขึ้นใจ ซึ่ง เป็นการปลุกจิตส�ำนึกความรักชาติเมือ่ ครัง้ สมัยสงครามโลกครัง้ ที่ ๑ แต่เมือ่ มีการต่อเติมระเบียงมุขหน้าจึงได้อญ ั เชิญโคลงพระราชนิพนธ์ มาประดิษฐ์ที่มุขหน้า ดังปรากฏในปัจจุบัน ๕.๒.๘.๒ จัดท�ำพิพธิ ภัณฑ์ปนื ใหญ่โบราณ โดยพิจารณาจัดท�ำตามรูปแบบที่มีการจัดวางปืนใหญ่โบราณ ณ โรงเรียนนายร้อยทหารบกแซนด์เฮิรส์ ต์ (Sandhurst Military Academy) ประเทศอั ง กฤษ โดยจั ด ภู มิ ทั ศ น์ ค รั้ ง แรกในปี พุทธศักราช ๒๔๖๐ หลังจากนั้นปรับปรุงการจัดวางปืนใหญ่อีก ๑ ครั้ง ในปี พ.ศ. ๒๔๖๔ และในยุคต่อมามีการปรับปรุงอีกรวม ๔ ครั้ง ซึ่งในปัจจุบันมีปืนใหญ่ประดิษฐานที่สนามหญ้าหน้าศาลา ว่าการกลาโหม รวมทั้งสิ้น ๔๐ กระบอก

ภาพโคลงพระราชนิพนธ์หน้าศาลาว่าการกลาโหมในปัจจุบัน

ภาพการจัดวางปืนใหญ่ครั้งแรกในปีพุทธศักราช ๒๔๖๐

113


ภาพการจัดวางปืนใหญ่ในปีพุทธศักราช ๒๔๘๓ (ภาพถ่ายเมื่อวันที่ ๘ ตุลาคม ๒๔๘๓)

ภาพการจัดวางปืนใหญ่ประมาณปีพุทธศักราช ๒๕๐๐ (ยกเลิกการใช้สามล้อปั่น วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๐๗)

ภาพการจัดวางปืนใหญ่ประมาณปีพุทธศักราช ๒๕๒๐

114


ภาพผังการจัดวางปืนใหญ่ในปัจจุบัน

115


ภาพการจัดวางปืนใหญ่ในปัจจุบัน

๕.๒.๘.๓ จัดสร้างศาลาทรงกลมประกอบภายในสนามด้านหน้า โดยการสร้างศาลาทรงกลมภายในลักษณะโปร่ง มีเสาข้างใน ๘ เสา จ�ำนวน ๒ หลัง ประมาณปีพุทธศักราช ๒๔๖๕ โดยให้เป็นที่ฝึกซ้อมและบรรเลงแตรฝรั่งหรือวงโยธวาทิต (Military Band) ซึง่ ลักษณะเช่นเดียวกันนี้ ได้จดั ท�ำทีพ่ ระราชวังสราญรมย์ (ปัจจุบนั คือสวนสราญรมย์) โดยสร้างเป็นศาลา ๘ เหลีย่ มใช้ส�ำหรับเป็น ทีฝ่ กึ ซ้อมและบรรเลงแตรฝรัง่ นอกจากนี้ ยังปรากฏศาลากระโจมแตรส�ำหรับบรรเลงแตรฝรัง่ ทีพ่ ระราชวังบางปะอิน พระราชวังสราญรมย์ และศาลาแตรของวังบางขุนพรหม ซึ่งจากการสืบค้นพบว่า ใช้เป็นที่เป่าแตรถวายพระเกียรติในขณะเสด็จพระราชด� ำเนินเข้าและออก จากพระราชวัง

116


ภาพศาลาทรงกลมบริเวณหน้าศาลาว่าการกลาโหม (ในภาพปรากฏการจัดวางปืนใหญ่ด้วย)

ภาพศาลาแปดเหลี่ยม บริเวณสวนสราญรมย์

117


ภาพถ่ายทางอากาศของอาคารศาลาว่าการกลาโหม เมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๔๖๖ (ในภาพปรากฏศาลาทรงกลมบริเวณหน้าศาลาว่าการกลาโหมทั้ง ๒ หลัง)

ภาพศาลากระโจมแตรบริเวณสวนสราญรมย์

ภาพศาลากระโจมแตรบริเวณพระราชวังบางปะอิน

118

ภาพศาลาแตรบริเวณวังบางขุนพรหม


กิจการทหาร

และศาลาว่าการกลาโหม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานรัฐธรรมนูญ

119


๖.๑ การรวมกระทรวงทหารเรือกับกระทรวงทหารบก

เนือ่ งจากในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยูห่ วั เป็น ห้วงเวลาภายหลังเหตุการณ์สงครามโลกครัง้ ที่ ๑ (พุทธศักราช ๒๔๕๗ - ๒๔๖๑) ในขณะนั้นเกิดเหตุภาวะเศรษฐกิจตกต�่ำทั่วโลก ทั้งนี้เพราะในห้วงสถานการณ์ สงครามได้มีการน�ำปัจจัยการผลิตเข้าใช้ในสงคราม จึงส่งผลให้ระบบผลิตเกิด ความเสียหาย ประกอบกับการที่เกิดสถานการณ์สงครามประมาณ ๕ ปี ท�ำให้ ปัจจัยการผลิตประเภทแรงงานและทุนต่างเสียหายอย่างหนักจึงส่งผลต่อการ ผลิตในยุโรป ลุกลามไปในทวีปต่าง ๆ เป็นผลท�ำให้ประเทศไทยได้รบั ผลกระทบ กระเทือนดังกล่าวนี้ด้วย ดังนั้น ฐานะทางการเงินและเศรษฐกิจของประเทศ อยู่ในภาวะตกต�่ำ จึงมีความจ�ำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพิจารณาตัดทอนรายจ่ายของ ประเทศให้นอ้ ยลงให้สมดุลกับรายได้ เป็นผลท�ำให้มกี ารปรับปรุงการจัดระเบียบ ราชการใหม่ด้วย วันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๔๗๔ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยูห่ วั จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้รวมกระทรวงทหารเรือกับกระทรวงทหารบก เข้า เป็นกระทรวงเดียวกัน ภายใต้นาม กระทรวงกลาโหม โดยแต่งตัง้ ให้ นายพลเรือเอก พระเจ้ า บรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวุฒิไชยเฉลิ ม ลาภ กรมหลวงสิ ง หวิ ก รม เกรียงไกร เสนาบดีกระทรวงทหารเรือเดิม เป็น เสนาบดีกระทรวงกลาโหม ๖.๒ กระทรวงกลาโหมหลังยุคเปลี่ยนแปลงการปกครอง ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองในปีพุทธศักราช ๒๔๗๕ ได้มี การตราพระราชบัญญัตเิ กีย่ วกับราชการกระทรวงกลาโหมเป็นครัง้ แรกใช้ชอื่ ว่า พระราชบัญญัติจัดระเบียบป้องกันราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๔๗๖ เป็น เสมือนกฎหมายแม่บทของกระทรวงกลาโหมและกิจการทหารไทย ซึ่งในเวลา ต่อมาได้มีการพัฒนาจนมาเป็น พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวง กลาโหม พุทธศักราช ๒๕๕๑ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

120

พระฉายาลักษณ์ นายพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวุฒิไชยเฉลิมลาภ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร


หมุดประชาธิปไตย บริเวณลานพระราชวังดุสิต

เหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พุทธศักราช ๒๔๗๕

121


๖.๓ กิจการทหารและศาลาว่าการกลาโหมในกิจการพิเศษ ๖.๓.๑ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชด�ำเนินมา ศาลาว่าการกลาโหม เดือนตุลาคม ๒๔๗๔ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จ พระนางเจ้าร�ำไพพรรณี เสด็จพระราชด�ำเนินมาตรวจแถวและเสวยพระกระยาหารค�่ำ ณ ศาลาว่าการกลาโหม ในโอกาสเสด็จนิวัตพระนคร พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า เจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าร�ำไพพรรณี

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงฉายภาพกับพระบรมวงศานุวงศ์ และคณะนายทหาร ณ ศาลาว่าการกลาโหม

122


๖.๔ การจัดแข่งขันกีฬาภายในกระทรวงกลาโหม

๖.๔.๑ นายพลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์ เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระก�ำแพงเพชรอัครโยธิน เสนาบดี กระทรวงกลาโหม เป็ น องค์ ป ระธานการแข่ ง ขั น กี ฬ าภายใน กระทรวงกลาโหม ๖.๔.๒ จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้า บริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เสนาบดีกระทรวง กลาโหม เป็ น องค์ ป ระธานการแข่ ง ขั น กี ฬ าภายในกระทรวง กลาโหม

นายพลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระก�ำแพงเพชรอัครโยธิน ฉายภาพกับก�ำลังพลในกระทวงกลาโหม

พระฉายาลักษณ์ จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ในการแข่งขันกีฬาภายในกระทรวงกลาโหม

123


๖.๕ การเก็บรักษารัฐธรรมนูญฉบับแรกแห่งราชอาณาจักรสยาม

วันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๔๗๕ คณะราษฎร์ได้นำ� พระราชบัญญัติ ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช ๒๔๗๕ (ถือว่าเป็น รัฐธรรมนูญฉบับแรกแห่งราชอาณาจักรสยาม) ซึง่ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า เจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธย มาเก็บรักษาไว้ที่ ศาลาว่าการกลาโหม จนกระทัง่ ปีพทุ ธศักราช ๒๕๒๖ กระทรวงกลาโหม โดย พลเอก ทวนทอง สุวรรณทัต ปลัดกระทรวงกลาโหม ได้นำ� พระราชบัญญัติ ฯ ฉบับดังกล่าว ไปมอบให้กบั พลอากาศเอก หะริน หงสกุล ประธานรัฐสภา เพือ่ น�ำไปเก็บรักษา ที่รัฐสภา

พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธย พระราชบัญญัติธรรมนูญ การปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช ๒๔๗๕

ภาพพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช ๒๔๗๕

124


กิจการทหาร

และศาลาว่าการกลาโหม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล

พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล

125


๗.๑ การเรียกร้องดินแดนคืนจากฝรั่งเศส วันที่ ๘ ตุลาคม ๒๔๘๓ ขบวนการเรียกร้องดินแดนคืนจากฝรัง่ เศส น�ำโดยยุวชนทหารและยุวนารีซงึ่ เป็นนิสติ และนักศึกษา สมทบกับประชาชนผู้รักชาติก็รวมตัวกันใช้ชื่อ “เลือดไทย” พากันมาจากทุกสารทิศโดยนัดหมายมาพบกันที่จังหวัดพระนครและเริ่มเดิน ขบวนจากอนุสาวรียป์ ระชาธิปไตยใช้เส้นทางถนนราชด�ำเนินเคลือ่ นทีเ่ ข้าสูท่ อ้ งสนามหลวงและมีประชาชนและนักศึกษาบางส่วนเดินทาง มาทางถนนหน้าพระลาน และถนนสายต่าง ๆ เคลือ่ นทีม่ าหยุดชุมนุมกันทีห่ น้าศาลาว่าการกลาโหม ประมาณการว่ามีประชาชนเรือนหมืน่ จากทุกเพศทุกวัยเข้าร่วมชุมนุมในครั้งนี้ โดยมีเจตนาเดียวกันที่จะแสดงพลังของประชาชนเพื่อสนับสนุนให้รัฐบาลใช้ก�ำลังทหารเข้าต่อสู้ กับฝรั่งเศสเพื่อเรียกร้องดินแดนคืนจากฝรั่งเศสต่อกรณีเหตุการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ ในโอกาสนั้น นายพลตรี หลวงพิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กับ นายพันเอก หลวง เกรียงศักดิพ์ ชิ ติ รองผูบ้ ญ ั ชาการทหารบก เจ้ากรมยุวชนทหาร และรองอธิการบดีจฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้การต้อนรับคณะยุวชนทหาร ยุวนารี และประชาชนที่หน้าศาลาว่าการกลาโหม ซึ่งได้กล่าวปราศรัยต้อนรับ และสรรเสริญสดุดีในความรักชาติ ความสามัคคี และความ เสียสละเพื่อประเทศชาติของประชาชนชาวไทยทั้งมวล และขอมติสนับสนุนการเรียกร้องดินแดนในอินโดจีนกลับคืน พร้อมกับได้เชิญ ชวนให้ประชาชนร่วมกันกล่าวปฏิญาณตนหน้าวัดพระศรีรตั นศาสดารามทีบ่ ริเวณสนามหญ้าหน้าศาลาว่าการกลาโหม หลังจากนัน้ คณะ ประชาชน ยุวชนทหารและยุวนารีได้เคลื่อนขบวนจากหน้าศาลาว่าการกลาโหมมุ่งหน้าไปยังท�ำเนียบนายกรัฐมนตรี (ท�ำเนียบรัฐบาล) เพือ่ เสนอมติของประชาชนในอันทีจ่ ะขอให้รฐั บาลใช้กำ� ลังบังคับแก่รฐั บาลอินโดจีนฝรัง่ เศสให้คนื ดินแดนทีไ่ ทยเสียไปอย่างยุตธิ รรมต่อไป

ภาพคณะยุวชนทหาร ยุวนารี และประชาชนที่หน้าศาลาว่าการกลาโหม

126


ภาพนายพลตรี หลวงพิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้การต้อนรับคณะเรียกร้องดินแดนคืนจากฝรั่งเศส

ภาพคณะทหารและคณะเรียกร้องดินแดน คืนจากฝรั่งเศส ร่วมกันกล่าวปฏิญาณตน หน้าวัดพระศรีรัตนศาสดารามที่บริเวณ สนามหญ้าหน้าศาลาว่าการกลาโหม

127


๗.๒ สงครามอินโดจีน

ภายหลังจากเหตุการณ์เรียกร้องดินแดนคืนจากฝรั่งเศส รัฐบาลจึงได้เตรียมการขยาย ก�ำลังเพื่อต่อรองและเรียกร้องดินแดนคืนจากฝรั่งเศส แต่ก็เกิดเหตุปะทะบริเวณชายแดนหลายครั้ง จนในที่สุดเมื่อวันที่ ๗ มกราคม ๒๔๘๔ รัฐบาลไทยได้ตัดสินใจประกาศสงครามกับฝรั่งเศส และเกิด การต่อสู้กันหลายพื้นที่ทั้งทางบกด้านทิศตะวันออก และทางทะเลคือยุทธนาวีที่เกาะช้าง ในทีส่ ดุ ญีป่ นุ่ ประเทศมหาอ�ำนาจในเอเชีย ได้เสนอตัวไกล่เกลีย่ ให้ไทยกับฝรัง่ เศสเลิกรบกัน ซึ่งไทยและฝรั่งเศสได้ตกลงตามข้อเสนอของญี่ปุ่นและได้ดำ� เนินการหยุดยิงตั้งแต่วันที่ ๒๙ มกราคม ๒๔๘๔ เวลา ๑๐.๐๐ น. และเข้าสู่กระบวนการเจรจาสันติภาพ ซึ่งผลการเจรจาไทยได้ดินแดนที่ได้คืนจากฝรั่งเศสคือ ดินแดนในแคว้นอาณาเขตลาว จ�ำนวน ๒ จังหวัด คือ จังหวัดนครจ�ำปาศักดิ์ และจังหวัดลานช้าง และดินแดนในมลฑลบูรพาเดิม จ�ำนวน ๒ จังหวัด คือ จังหวัดพิบูลสงคราม (เสียมราฐ) และจังหวัดพระตะบอง และสามารถสรุปผลของการ สูญเสีย กล่าวคือไทยสูญเสียทหาร ๑๖๐ นาย ฝรั่งเศสสูญเสียทหาร ๓๒๑ นาย ทั้งนี้ ในวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๔๘๔ รัฐบาลไทยจัดให้มีการสวนสนามทหาร ๓ เหล่าทัพ เพื่อเป็นการฉลองชัยชนะในสงครามอินโดจีน ที่จังหวัดพระนคร 

ภาพการท�ำลายที่มั่นของฝรั่งเศสในเมืองเวียงจันทน์

ภาพธงชัยเฉลิมพลของฝรั่งเศส ประดับเหรียญกล้าหาญครัวซ์เดอร์แกร์ที่ไทยยึดไว้ได้

128


ภาพแผนที่ยุทธนาวีเกาะช้าง

ภาพพิธีลงนามในข้อตกลงเกี่ยวกับการสงบการรบระหว่างฝรั่งเศสและไทย บนเรือลาดตระเวนของญี่ปุ่นชื่อ นาโตริ หน้าอ่าวเมืองไซง่อน ประเทศเวียดนาม เมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๔๘๔

129


พื้นที่ ๔ จังหวัดที่ได้รับคืนจากฝรั่งเศส

ภาพพิธีสวนสนามประกาศชัยชนะ วันที่ ๒๗ เมษายน ๒๔๘๔

๗.๓ สงครามมหาเอเชียบูรพา (สงครามโลกครั้งที่ ๒)

ในวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๔๘๔ กองทัพญีป่ นุ่ ได้ยกพลขึน้ บกทีจ่ งั หวัดประจวบคีรขี นั ธ์ ชุมพร นครศรีธรรมราช สงขลา สุราษฎร์ธานี ปัตตานี และสมุทรปราการ พร้อมกับบุกเข้าประเทศไทยทางบกที่อ�ำเภออรัญประเทศ จนในที่สุดวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๔๘๕ ประเทศไทย ได้เซ็นสัญญาร่วมรบกับญี่ปุ่นจึงมาตั้งทัพในไทยฐานะพันธมิตร เมื่อไทยประกาศสงครามอย่างเต็มตัวกับฝ่ายสัมพันธมิตร ทางสหรัฐอเมริกาและอังกฤษได้ส่งอากาศยานท�ำการทิ้งระเบิด ท�ำลายสนามบิน ชุมทางรถไฟ ท่าเรือ และสะพาน อันเป็นปมคมนาคมเพื่อตัดเส้นทางล�ำเลียงของญี่ปุ่น ในจังหวัดพระนครและธนบุรี ซึ่งถูกเครื่องบินฝ่ายสัมพันธมิตรโจมตีทิ้งระเบิด ระหว่างปีพุทธศักราช ๒๔๘๕ - ๒๔๘๘ ในเวลาต่อมา สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโรฮิโตของญี่ปุ่นทรงประกาศยอมแพ้และมีพระบรมราชโองการให้ทหารญี่ปุ่นทั่วโลก วางอาวุธ รวมทั้งในประเทศไทยด้วย ทางญี่ปุ่นก็ได้ท�ำพิธียอมแพ้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๒ กันยายน ๒๔๘๘ ที่อ่าวโตเกียว ส�ำหรับ ประเทศไทย นายควง อภัยวงศ์ นายกรัฐมนตรีจึงได้ออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมและออกกฎหมายที่เรียก ประกาศสันติภาพ มีผลให้การประกาศสงครามของไทยกับฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นโมฆะ โดยอ้างเหตุวา่ ขณะทีป่ ระกาศสงครามนัน้ หนึง่ ในผูส้ �ำเร็จราชการแทน พระองค์คือ นายปรีดี พนมยงค์ ไม่ได้ลงนามด้วย จึงท�ำให้ไทยสามารถพลิกกลับมาให้มีสถานะไม่ใช่ประเทศแพ้สงครามได้

130


ภาพจอมพล ป.พิบูลสงครามในวันลงนามร่วมกับญี่ปุ่น ภาพโปสเตอร์ในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา

ภาพทหารไทยในสงครามมหาเอเชียบูรพา

131


๗.๔ การต่อเติมมุขหน้าอาคารศาลาว่าการกลาโหม

ประมาณปีพุทธศักราช ๒๔๘๑ - ๒๔๘๒ จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ด�ำเนินการต่อเติมอาคารศาลาว่าการกลาโหม ดังนี้ ๗.๔.๑ ขยายหน้ามุขโดยการต่อเติมยื่นออกมา โดยมีความสูงเท่ากับตึกสองชั้น มีเสากลมขนาดใหญ่เช่นเดียวกับในอดีตอีก ๖ เสา ท�ำให้ชั้นสองของหน้ามุขใหม่มีลักษณะเป็นระเบียงสามารถใช้ประโยชน์ได้

ภาพเครื่องหมายสัญลักษณ์ของ กระทรวงกลาโหม

ภาพอาคารศาลาว่าการกลาโหมที่มีการต่อเติมมุขหน้า (ภาพถ่ายประมาณปีพุทธศักราช ๒๔๘๙)

๗.๔.๒ จัดท�ำเครื่องหมายสัญลักษณ์ของกระทรวงกลาโหม ซึ่งเป็นรูปจักรสมอปีกสอดขัดภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ บริเวณหน้าอาคาร พื้นเป็นรูปสี่เหลี่ยมสีทองมีวงกลมซ้อนอยู่ภายในแกะสลักประดับด้วยลวดลายทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ (ทัง้ นี้ ได้มกี ารก�ำหนดตราดังกล่าวเป็นตราประจ�ำรัฐมนตรีวา่ การกระทรวงกลาโหม ตามพระราชบัญญัติ เครื่องหมายราชการ พุทธศักราช ๒๔๘๒ ลงวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๒)

132


๗.๔.๓ จัดท�ำอักษรโคลงสยามานุสสติ บริเวณด้านซ้ายและขวาของเครือ่ งหมาย สัญลักษณ์ของกระทรวงกลาโหม ซึ่งมีข้อสังเกตว่าได้จัด ท� ำ ขึ้ น ในสมั ย ที่ เ รี ย กว่ า รั ฐ นิ ย ม (ประกาศครั้ ง แรกในปี พุทธศักราช ๒๔๘๒) จึงไม่ใช้พยัญชนะไทยบางตัว เช่น ฆ ฌ ญ ฒ ศ และ รร เป็นต้น ดังนั้นตัวอักษรของค�ำว่า “พินาศ” จึงใช้เป็น “พินาส” ดังปรากฏในปัจจุบัน

ภาพโคลงสยามานุสสติที่ ด้านหน้าของมุขกลางที่ต่อเติมใหม่

ภาพโคลงสยามานุสสติที่ใช้ค�ำว่า “พินาส”

133


134


กิจการทหาร

และศาลาว่าการกลาโหม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

135


๘.๑ การเสด็จพระราชด�ำเนินของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ภูมพิ ลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินนี าถ ในการพระราชทานวุฒิบัตร ปริญญาบัตร และพระราชทานกระบี่ ๘.๑.๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชด�ำเนินในการพระราชทานกระบี่และพระราชทาน ปริญญาบัตรแก่นายทหารผู้ส�ำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ และโรงเรียนนายเรืออากาศ ณ พระที่นั่งชุมสาย บริเวณสนามหญ้าภายในศาลาว่าการกลาโหม ระหว่างปีพุทธศักราช ๒๕๐๐ จนถึงปีพุทธศักราช ๒๕๑๙ ก่อนเปลี่ยน ไปประกอบพิธี ณ หอประชุมใหญ่สวนอัมพร

พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชด�ำเนินในการพระราชทานกระบี่ และพระราชทานปริญญาบัตรแก่นายทหารผู้ส�ำเร็จการศึกษา จากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ณ พระที่นั่งชุมสาย บริเวณสนามหญ้าภายในศาลาว่าการกลาโหม

ในภาพ ว่าที่ร้อยตรี นิพัทธ์ ทองเล็ก เข้ารับพระราชทานกระบี่จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ ศาลาว่าการกลาโหม เมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๑

136


๘.๑.๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็ จ พระราชด� ำ เนิ น ในการพระราชทานปริ ญ ญาบั ต ร วุ ฒิ บั ต ร ประกาศนียบัตร และเข็มวิทยฐานะ แก่ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ส�ำเร็จการ ศึกษาจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร วิทยาลัยเสนาธิการทหาร วิ ท ยาลั ย การทั พ บก วิ ท ยาลั ย การทั พ เรื อ วิ ท ยาลั ย การทั พ อากาศ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก โรงเรียนเสนาธิการทหารเรือ และโรงเรียน เสนาธิการทหารอากาศ ณ ห้องประชุมกองบัญชาการทหารสูงสุด ในศาลาว่ า การกลาโหม ระหว่ า งปี พุ ท ธศั ก ราช ๒๔๙๙ จนถึ ง ปี พุทธศักราช ๒๕๑๑ ก่อนเปลี่ยนไปประกอบพิธี ณ ห้องประชุมวิทยาลัย ป้องกันราชอาณาจักร ถนนวิภาวดีรงั สิต และห้องประชุมใหญ่สวนอัมพร ตามล�ำดับ พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จพระราชด�ำเนินในการพระราชทานวุฒิบัตรและเข็มวิทยฐานะ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ณ ห้องประชุมกองบัญชาการทหารสูงสุด ในศาลาว่าการกลาโหม

๘.๑.๓ สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ เป็นผูแ้ ทนพระองค์ เสด็จพระราชด�ำเนินในการพระราชทานกระบี่ และพระราชทานปริญญาบัตรแก่นายทหารผู้ส�ำเร็จการศึกษา จากโรงเรี ย นนายร้ อ ยพระจุ ล จอมเกล้ า โรงเรี ย นนายเรื อ และโรงเรียนนายเรืออากาศ ณ พระที่นั่งชุมสาย บริเวณสนาม หญ้าภายในศาลาว่าการกลาโหม ในปีพุทธศักราช ๒๕๑๗ และ ปีพุทธศักราช ๒๕๑๘ พระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ เป็นผู้แทนพระองค์ เสด็จพระราชด�ำเนินในการพระราชทานกระบี่และ พระราชทานปริญญาบัตร แก่นายทหารผู้ส�ำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายเรืออากาศ ณ พระที่นั่งชุมสาย บริเวณสนามหญ้าภายในศาลาว่าการกลาโหม

137


๘.๒ การใช้ประโยชน์ทางทหารและความมั่นคง

๘.๒.๑ ประกอบพิธีทางทหาร ๘.๒.๑.๑ เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๑๒ ประกอบพิธีสวนสนามอ�ำลาผู้บังคับบัญชาเพื่อไปปฏิบัติราชการ ในสงครามเวียดนาม

138


๘.๒.๑.๒ ปลายปีพุทธศักราช ๒๕๑๒ ประกอบพิธีประดับเหรียญชัยสมรภูมิกรณีสงครามเวียดนามแก่ทหารและ ทายาทของผู้ที่เสียชีวิต

139


๘.๒.๒ ที่ประชุมและที่ปฏิบัติราชการส�ำคัญ ๘.๒.๒.๑ ที่ประชุมส�ำคัญใช้เป็นที่ประชุม ส�ำหรับก�ำหนดยุทธศาสตร์ นโยบาย และแผนที่ส�ำคัญของทาง ทหาร รวมทั้งเป็นที่ประชุมสภากลาโหม ณ ห้องภาณุรังษี

140


๘.๒.๒.๒ ที่ปฏิบัติราชการส�ำคัญเป็นที่ปฏิบัติราชการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นที่ปฏิบัติราชการ และการประชุมที่ส�ำคัญของคณะที่ปรึกษาทางทหาร รวมทั้งเป็นห้องรับรองแขกทั้งในและต่างประเทศในราชการทหาร 

ภาพห้องปฏิบัติราชการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

ภาพห้องปฏิบัติราชการและการประชุมที่ส�ำคัญของคณะที่ปรึกษาทางทหาร

ห้องรับรองแขกในราชการทหาร

141


๘.๒.๓ สถานศึกษา ใ น ป ล า ย รั ช ส มั ย พ ร ะ บ า ท ส ม เ ด็ จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กระทรวงกลาโหมได้จัดให้มีหลักสูตร เสนาธิการทหารบกเพือ่ ให้นายทหารทีผ่ า่ นการคัดเลือกเข้ารับการ ศึกษา โดยเริ่มต้นตั้งโรงเรียนเสนาธิการทหารบกภายในอาคาร ศาลาว่าการกลาโหม บริเวณชั้นที่ ๒ ของอาคารด้านทิศเหนือ เริ่ ม แรก เมื่ อ วั น ที่ ๒๖ เมษายน ๒๔๔๑ ก่ อ นที่ จ ะย้ า ยไปที่ สวนสนปฏิพทั ธ์ และโรงเรียนยานเกราะ ตามล�ำดับ หลังจากนัน้ วันที่ ๓ เมษายน ๒๕๑๓ จึงย้ายเข้าสูอ่ าคารประภาสโยธิน เป็นการถาวร ตราบจนถึงปัจจุบัน ๘.๒.๔ งานสังสรรค์ด้านความมั่นคง เมื่อวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๔๙๘ ประกอบพิธี เลี้ยงสังสรรค์เจ้าหน้าที่ไทย - อเมริกัน ในวาระครบรอบ ๕ ปี แห่ง สนธิสญ ั ญาว่าด้วยการช่วยเหลือทางการทหารระหว่างประเทศไทย และสหรัฐอเมริกา

ภาพจอมพล ป.พิบูลสงครามกับคณะนักเรียนเสนาธิการทหารบก ชุดที่ ๒๖ ในศาลาว่าการกลาโหม เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๘๖

ภาพพิธีเลี้ยงสังสรรค์เจ้าหน้าที่ไทย - อเมริกัน ณ บริเวณสนามหญ้าภายในศาลาว่าการกลาโหม

142


๘.๒.๕ สถานที่ปฏิบัติราชการ ๘.๒.๕.๑ กองบัญชาการกองทัพบก ในยุคแรก โรงทหารหน้า มีการบรรจุก�ำลังทหารของทหารเหล่าต่าง ๆ ซึ่งรวมถึง หน่วยทหารราบด้วย ต่อมาเมื่อมีการประกาศจัดการทหาร โดยให้รวบรวมทหารบกและทหารเรือ ตั้งเป็นกรมใหม่ เรียกว่า กรมยุทธนาธิการ ก็มีการบัญญัติต�ำแหน่งผู้ช่วยผู้บังคับบัญชาการทหารบก และในเวลาต่อมามีการเปลี่ยนแปลงสถานะหลายครั้ง ภายหลังเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครอง ในปีพุทธศักราช ๒๔๗๕ ได้มีการจัดตั้งกองทัพบกขึ้น แต่ส่วนบังคับ บัญชาส่วนใหญ่ยงั คงอยูท่ ศี่ าลาว่าการกลาโหม และมีการย้ายทีท่ ำ� การกองทัพบกมาอยูท่ ตี่ กึ กลางศาลาว่าการกลาโหม และมีการถือก�ำเนิด หน่วยขึ้นตรงกองทัพบกเกิดขึ้นและจัดตั้งหน่วยในอาคารศาลาว่าการกลาโหม ในเดือนกันยายน ๒๕๓๖ หน่วยงานต่าง ๆ ในกองทัพบก ได้ย้ายเข้าสู่ที่ตั้งใหม่ ณ กองบัญชาการกองทัพบกปัจจุบัน (โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าเดิม) จึงกล่าวได้ว่า ศาลาว่าการกลาโหม คือ ที่ท�ำการกองบัญชาการกองทัพบกยุคเริ่มแรก

จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ขณะด�ำรงต�ำแหน่งเสนาธิการทหารบก ฉายภาพกับเหล่านายทหาร ที่ปฏิบัติราชการในศาลาว่าการกลาโหม

ภาพส่วนราชการบางส่วนของกองทัพบกที่เคยมีที่ตั้งใน ศาลาว่าการกลาโหม

143


๘.๒.๕.๒ กองบั ญ ชาการทหารสู ง สุ ด ในปี พุ ท ธศั ก ราช ๒๕๐๓ เมื่ อ มี ก ารจั ด ตั้ ง กองบั ญ ชาการทหารสู ง สุ ด ตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พุทธศักราช ๒๕๐๓ (ซึ่งก่อนหน้านี้มีการจัดส่วนราชการเป็นกรมเสนาธิการ กลาโหม) จึงได้เข้าปฏิบัติราชการในอาคารวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรหลังเดิมบริเวณถนนราชินี ริมคูเมืองเดิม ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้เสด็จพระราชด�ำเนินในการพระราชทานปริญญาบัตร วุฒิบัตร ประกาศนียบัตร และเข็มวิทยฐานะ แก่ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้ส�ำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร วิทยาลัยเสนาธิการทหาร วิทยาลัยการทัพบก วิทยาลัย การทัพเรือ วิทยาลัยการทัพอากาศ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก โรงเรียนเสนาธิการทหารเรือ และโรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ ณ ห้องประชุมกองบัญชาการทหารสูงสุด ในศาลาว่าการกลาโหม ต่อมา ในปีพุทธศักราช ๒๕๓๖ กองบัญชาการทหารสูงสุด ได้ย้าย ที่ท�ำการหน่วยขึ้นตรงไปอยู่ ณ ที่ท�ำการใหม่บริเวณถนนแจ้งวัฒนะ

พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชด�ำเนินในการพระราชทานปริญญาบัตร และเข็มวิทยฐานะ แก่ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้ส�ำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยป้องกัน ราชอาณาจักร ประจ�ำปี ๒๕๑๑ ณ ห้องประชุมกองบัญชาการทหารสูงสุด ในศาลาว่าการกลาโหม

144


๘.๓ การต่อเติมอาคาร

๘.๓.๑ การก่อสร้างอาคารกองบัญชาการทหารสูงสุด สร้างขึ้นในสมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ภายหลังเกิดเหตุการณ์กรณี พิพาทอินโดจีนและสงครามเกาหลี โดยเริ่มต้นสร้าง ประมาณปี พุทธศักราช ๒๔๙๖ - ๒๕๐๓ โดยการสร้างอาคารบริเวณด้าน หลังอาคารศาลาว่าการกลาโหม ด้านถนนราชินี ริมคลองหลอด (เดิมทีเป็นอาคารชั้นเดียวและมีบ่อน�้ำ) ซึ่งมีอาคารที่ท�ำการของ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ก่อนเปลี่ยนแปลงมาเป็นที่ท�ำการ กองบัญชาการทหารสูงสุด และที่ท�ำการของหน่วยขึ้นตรงกอง บัญชาการทหารสูงสุด สูงประมาณ ๓ ชั้น พร้อมทั้ง ห้องประชุม และห้องสโมสรนายทหารสัญญาบัตร และต่อมามีการสร้างอาคาร เพิ่มเติมอีกหลายครั้ง รวม ๔ อาคาร

ภาพห้องประชุมกองบัญชาการทหารสูงสุด

ภาพเปรียบเทียบอาคารกองบัญชาการทหารสูงสุดเดิมและที่ต่อเติมใหม่

145


๘.๓.๒ การก่อสร้างอาคารส�ำนักงบประมาณกลาโหม สร้างขึน้ ในปีพุทธศักราช ๒๕๒๘ ซึง่ เดิมทีเป็นอาคาร ๒ ชั้นซึง่ มีสภาพ ทรุดโทรมและไม่เพียงพอต่อการใช้สอย จึงได้รื้อถอนและสร้างขึ้นใหม่เป็นอาคาร ๓ ชั้น โดยภายนอกให้คงแบบเดิมไว้ทั้งหมด และใช้ เป็นอาคารส�ำนักงบประมาณกลาโหม ด้วยการวางแผนและอ�ำนวยการสร้างของ พลอากาศเอก สรรเสริญ วานิชย์ อดีตปลัดกระทรวง กลาโหม

ภาพอาคารแถว ๒ ชั้นตามแบบเดิม

ภาพอาคารแถว ๓ ชั้นที่สร้างขึ้นใหม่

146


๘.๓.๓ การก่อสร้างอาคารศาลาว่าการกลาโหมด้านทิศตะวันออก สร้างขึ้นในปี พุทธศักราช ๒๕๕๕ ในที่ตั้งของอาคารกองบัญชาการทหารสูงสุดเดิม (ปัจจุบันคือ กองบัญชาการ กองทัพไทย) ทั้งนี้เพราะกองบัญชาการกองทัพไทยได้ย้ายเข้าที่ตั้งใหม่บริเวณถนนแจ้งวัฒนะ ใน ปีพุทธศักราช ๒๕๔๔ แต่เนื่องจากอาคารเดิมมีอายุประมาณ ๕๐ ปี ทรุดโทรมมาก ไม่สามารถใช้ ประโยชน์ได้ จึงมีโครงการที่จะรื้อถอนและก่อสร้างอาคารหลังใหม่ และได้ด�ำเนินการต่อเติมเป็น รายการล่าสุด

ภาพเปรียบเทียบการก่อสร้างอาคารศาลาว่าการกลาโหมด้านทิศตะวันออก

๘.๔ การปฏิบัติทางทหารที่ส�ำคัญ ๘.๔.๑ สงครามเกาหลี จากความไม่สงบบริเวณคาบสมุทรเกาหลีในปีพทุ ธศักราช ๒๔๙๓ เป็นเหตุให้รฐั บาลไทย ได้ตัดสินใจส่งก�ำลังทหาร ๑ กรมผสม มีก�ำลังพลประมาณ ๔,๐๐๐ คน ไปร่วมรบกับสหประชาชาติใน เกาหลี ตามความเห็นชอบของรัฐสภา เมื่อ ๒๒ กรกฎาคม ๒๔๙๓ และได้เข้าร่วมปฏิบัติการรบโดยใน ผลัดแรกออกเดินทางเมื่อวันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๔๙๓ ซึ่งต่อมาได้ส่งก�ำลังหลายผลัดเข้าร่วมปฏิบัติการ จนถึงวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๔๙๗ จึงจบภารกิจ

147


ซึ่งผลจากสงครามท�ำให้ประเทศไทยได้แสดงให้เป็นที่ ประจักษ์แก่ชาวโลกว่าในฐานะที่เป็นประเทศสมาชิกสหประชาชาติ ไทยได้ปฏิบัติตามความมุ่งหมายของสหประชาชาติ ในการธ�ำรงไว้ซึ่ง สันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศ และเพื่อปราบปรามการ รุกรานหรือการล่วงละเมิดต่อสันติภาพ โดยในสงครามครั้งนี้ทหารไทย ทั้งสามเหล่าทัพได้ปฏิบัติหน้าที่ในยุทธภูมิภายใต้ธงสหประชาชาติ ร่วม กับประเทศสมาชิกสหประชาชาติ อย่างสมเกียรติศักดิ์นักรบไทย เป็น ที่เลื่องลือในบรรดาพันธมิตรที่ร่วมรบ ทั้งนี้ รัฐบาลสหรัฐอเมริกา และ รัฐบาลสาธารณรัฐเกาหลีได้สง่ สาส์นแสดงความยกย่องและสดุดวี รี กรรม ในหลายวาระ ท�ำให้ทหารไทยได้รับความรู้ บทเรียน และประสบการณ์ ในการรบในสภาวการณ์ทั้งในแบบ และนอกแบบ

ประมวลภาพทหารไทยกับสงครามเกาหลี

148


๘.๔.๒ สงครามเวียดนาม ในต้นปีพทุ ธศักราช ๒๕๐๗ สงครามเวียดนามได้ถอื ก�ำเนิด โดยแผนยุทธศาสตร์ของสหรัฐอเมริกาที่จะบุกโจมตีเวียดนามเหนืออย่างรุนแรง โดยรัฐบาลไทยตัดสินใจส่งก�ำลังพลเข้าร่วมรบในสงครามเวียดนามโดยส่งทหาร อากาศเข้าไปในเวียดนามใต้ในปีพุทธศักราช ๒๕๐๗ และส่งทหารเรือในปีต่อมา ในที่สุด ส่งทหารบกหน่วยจงอางศึก และหน่วยกองพลเสือด�ำ โดยฝ่ายไทยก็ยืน หยัดอยู่กับฝ่ายโลกเสรีในสงครามเวียดนามจนกระทั่งสหรัฐอเมริกาได้ถอนทหาร ออกไปจนหมดสิน้ ในปีพทุ ธศักราช ๒๕๑๖ แต่เวียดนามเหนือและเวียดนามใต้ยงั มี การสู้รบกันต่อไป จนกระทั่งปีพุทธศักราช ๒๕๑๘ เวียดนามทั้งสองจึงได้รวมเป็น ประเทศเดียวกัน

ประมวลภาพทหารไทยกับสงครามเวียดนาม

149


๘.๔.๓ ปฏิบัติการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ นับแต่วันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๐๘ ซึ่งเป็นวันที่พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยใช้อาวุธโจมตีกองก�ำลังของรัฐบาล ไทยเป็นครั้งแรก กองก�ำลังของพรรคได้เรียกตนเองว่า กองทัพปลดแอกประชาชนแห่งประเทศไทย (ทปท.) เหตุเกิดที่ บ้านนาบัว ต�ำบล เรณูนคร อ�ำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ทั้งนี้ได้ประกาศยุทธศาสตร์ “ต่อสู้ด้วยก�ำลังอาวุธ ใช้ชนบทล้อมเมือง และยึดเมือง” หลังจาก นั้น พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยก็ต่อสู้ด้วยอาวุธกับกองก�ำลังของรัฐบาลไทยมาตลอด ซึ่งกระทรวงกลาโหมได้จัดให้มีก�ำลังทหาร เข้าปฏิบัติการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์อย่างต่อเนื่อง จนกระทัง่ ปีพทุ ธศักราช ๒๕๒๕ มีการเจรจากับรัฐบาลไทย เลิกต่อสูก้ นั ด้วยอาวุธ ให้มาต่อสูก้ นั ทางรัฐสภาแทน ดังนัน้ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี จึงได้มีค�ำสั่งส�ำนักนายกรัฐมนตรีที่ ๖๖/๒๕๒๓ เมื่อวันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๒๓ ซึ่งมีสาระส�ำคัญ คือใช้การเมืองน�ำการทหาร มุง่ เน้นขจัดความไม่เป็นธรรมในสังคม และปฏิบตั ติ อ่ ผูก้ อ่ การร้ายคอมมิวนิสต์หรือผูห้ ลงผิดทีเ่ ข้ามอบตัว หรือ ที่จับได้อย่างเพื่อนประชาชนร่วมชาติ ชี้แจงเพื่อให้ได้เข้าใจถึงนโยบายของรัฐบาลในปัญหานี้อย่างถ่องแท้ช่วยเหลือให้ใช้ชีวิตใหม่ร่วมกัน ต่อไปในสังคมอย่างเหมาะสม จึงท�ำให้การต่อสู้ด้วยอาวุธยุติลงได้

ประมวลภาพทหารไทยกับปฏิบัติการปราบผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์

150


๘.๔.๔ ปฏิบัติการปราบปรามผู้ก่อความรุนแรงจังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุม่ กองโจรปัตตานีเริม่ ต้นสร้างสถานการณ์ความไม่สงบขึน้ อีกครัง้ ในปีพทุ ธศักราช ๒๕๔๔ (ภายหลังจากทีเ่ หตุการณ์ คลี่คลายเป็นเวลากว่า ๑๐ ปี) โดยเอกลักษณ์ของผู้ก่อการที่ต้องการผลักดันให้เกิดความขัดแย้งขึ้นบนพื้นฐานของความคลุมเครือ ซึ่ง ผูเ้ ชีย่ วชาญในระดับท้องถิน่ และภูมภิ าคได้แสดงให้เห็นว่า สถานการณ์ดงั กล่าวเกีย่ วข้องกับกลุม่ แบ่งแยกดินแดนดัง้ เดิมในภูมภิ าคด้วยกอง ก�ำลังกลุ่มติดอาวุธจากวิธีการที่มุ่งเน้นหน่วยทหารและโรงเรียน ซึ่งแตกต่างจากวิธีการปฏิบัติของกลุ่มอื่นซึ่งโจมตีเป้าหมายชาติตะวันตก ในตอนแรก รัฐบาลพิจารณาการสร้างสถานการณ์ดังกล่าวเป็นฝีมือของโจร และอันที่จริงแล้ว ผู้สังเกตการณ์ ภายนอกจ�ำนวนมากก็เชือ่ ว่ากลุม่ ท้องถิน่ คูแ่ ข่งทางธุรกิจหรืออาชญากรรมมีสว่ นเกีย่ วข้องกับสถานการณ์ในภูมภิ าคดังกล่าว โดยเหตุการณ์ รุนแรงเริ่มเกิดขึ้นอีกครั้งในเดือนมกราคม ๒๕๔๗ และลุกลามเรื่อยมาจนปัจจุบัน ทั้งยังขยายผลไปสู่ประชาชนผู้บริสุทธิ์ ซึ่งกระทรวง กลาโหมได้พยายามหาวิธีคลี่คลายสถานการณ์และส่งก�ำลังทหารเข้าปฏิบัติการรักษาความสงบในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง

ประมวลภาพทหารไทยกับปฏิบัติการปราบปรามผู้ก่อความรุนแรงจังหวัดชายแดนภาคใต้

151


๘.๔.๕ ปฏิบัติการเพื่อสันติภาพกับสหประชาชาติ ปัจจุบนั สหประชาชาติและประเทศสมาชิกได้ให้ ความส�ำคัญกับบทบาทการส่งเสริมสันติภาพให้เกิดขึน้ ในภูมภิ าคต่าง ๆ ของโลก หากเมื่อเกิดความขัดแย้งระหว่างชาติหรือภายในประเทศใด ประเทศหนึ่ง ส่วนใหญ่สหประชาชาติจะได้รับหน้าที่ในแก้ไขปัญหา และให้ประชาคมโลกมีส่วนในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว สหประชาชาติ จึ ง ได้ จั ด ตั้ ง กองก� ำ ลั ง เตรี ย มพร้ อ มของสหประชาชาติ (United Nation Standby Arrangement System) โดยประเทศไทยได้เข้า ร่วมเป็นส่วนหนึง่ กองก�ำลังเตรียมพร้อม ตามมติคณะรัฐมนตรี เมือ่ วันที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๔๑ ซึ่งประเทศไทยเข้าร่วมในการปฏิบัติการเพื่อ สันติภาพทั้งภายในกรอบของสหประชาชาติ หรือภายนอกกรอบของ สหประชาชาติ ถือเป็นบทบาทหนึ่งในเวทีโลกที่เราจะต้องเข้าไปมี ส่วนร่วมตัง้ แต่ระดับการเมือง การช่วยเหลือทางมนุษยธรรม การปฏิบตั ิ การทางทหารเพื่อให้เกิดเสถียรภาพตามความเหมาะสม โดยที่ผ่านมา กระทรวงกลาโหมได้จัดก�ำลังเข้าร่วมปฏิบัติการเพื่อสันติภาพหลาย กรณี อาทิ การปฏิบัติการรักษาสันติภาพในติมอร์เลสเต การเข้าร่วม สังเกตการณ์เพื่อสันติภาพที่อาเจะห์ การเข้าร่วมสังเกตการณ์เพื่อ สันติภาพที่เซียร์ร่าลีโอน ปฏิบัติการรักษาสันติภาพที่อัฟกานิสถาน

ประมวลภาพทหารไทยกับปฏิบัติการเพื่อสันติภาพกับสหประชาชาติ

152


บทส่งท้าย นับแต่วนั ที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๔๒๗ ซึง่ เป็นวันมิง่ มหามงคลทีพ่ ระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั เสด็จพระราชด�ำเนินมาทรง กระท�ำพระราชพิธีเป็นปฐมฤกษ์ในการเปิดโรงทหารหน้า พร้อมพระราชทานนามอาคารว่า โรงทหารหน้า เพื่อเป็นสิริมงคลให้แก่มวลหมู่ ทหาร จึงเป็นเสมือนการวางรากฐานของการมีทที่ �ำการแห่งแรกหรือเป็นเสมือนบ้านหลังแรกของทหารไทยในยุคของการปรับปรุงกิจการ ทหารไทยไปสู่กิจการทหารยุคสากลที่เป็นมาตรฐาน หลังจากวันนั้นมา โรงทหารหน้าได้เป็นสถานที่ส�ำคัญในการรองรับการปรับปรุงและ เปลี่ยนแปลงสถานะของหน่วยทหารไทยตั้งแต่ กรมทหารหน้า กรมยุทธนาธิการ กระทรวงยุทธนาธิการ และกระทรวงกลาโหม ตราบจน ปัจจุบัน นับเป็นเวลาได้ ๑๓๐ ปี กอปรกับเมื่อวันที่ ๘ เมษายน ๒๔๓๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศจัดการ ทหาร ตั้งกรมยุทธนาธิการ ซึ่งเป็นรากฐานแห่งกิจการทหารสมัยใหม่ในปัจจุบันและยืนยาวมาถึง ๑๒๗ ปี จึงกล่าวได้ว่า โรงทหารหน้า คือสถานที่ส�ำคัญที่เคยสร้างประวัติศาสตร์เคียงคู่กับการด�ำเนินกิจการทหาร สังคมไทย และประเทศชาติ ในหลายมิติ กล่าวคือ มิติทางทหาร โรงทหารหน้า คือ แม่บทในการปฏิรูปกิจการทหารไทยที่เป็นรูปธรรม เพราะน�ำมาสู่การเริ่มต้นจัดรูปแบบกิจการ ทหารไทยและมีกระบวนการพัฒนาตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางยุทธศาสตร์ จนเกิดเป็นกระทรวงกลาโหมที่ปรากฏใน ปัจจุบันซึ่งเป็นกลไกหลักส�ำคัญในการพิทักษ์รักษาเอกราช บูรณภาพ และความมั่นคงของประเทศชาติ ตลอดจนพิทักษ์รักษาเทิดทูน สถาบันพระมหากษัตริย์ และรักษาผลประโยชน์ของชาติอย่างมีประสิทธิภาพ มิติทางการเมือง โรงทหารหน้า เคยด�ำรงสภาพเป็นสถานที่ในการก�ำหนดบทบาทท่าทีในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ทราบว่า ศาลาว่าการกลาโหมเคยใช้เป็นสถานที่ในการรักษาความมั่นคงของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และก�ำหนดบทบาทท่าทีทางการเมือง การปกครองของไทย มิตทิ างสังคม โรงทหารหน้า เคยปฏิบตั ภิ ารกิจเป็นสถานทีใ่ นการร่วมรักษาความปลอดภัยและรักษาความสงบของสังคม เพือ่ ช่วย พัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่ประชาชนหลายประการ มิติทางศิลปวัฒนธรรม โรงทหารหน้า เคยใช้ประโยชน์เป็นสถานที่ในการแสดงคีตศิลป์โดยการบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี เป็นครั้งแรก ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นการแสดงเพื่อซ้อมวงแตรฝรั่งและเปิดโอกาสให้ประชาชนได้รับฟังบริเวณหน้าอาคารศาลาว่าการกลาโหม นอกจากนี้ โรงทหารหน้าหรือศาลาว่าการกลาโหม ยังมีภารกิจและการด�ำเนินการที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชน อยู่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งไม่สามารถน�ำมาน�ำเสนอได้ทั้งหมด โดยที่สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้คือ เกียรติภูมิของโรงทหารหน้าในรอบ ๑๓ ทศวรรษ หรือ ๑๓๐ ปี ทีผ่ า่ นมา จึงเป็นความภาคภูมใิ จของทหารไทยทุกนาย และพีน่ อ้ งประชาชนชาวไทยทุกคน ทีจ่ ะได้รว่ มกันจารึกไว้ให้ปรากฏเกียรติ ในแผ่นดินสยามประเทศแห่งนี้.

153


ค�ำสั่งส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (เฉพาะ) ที่ ๑๗๕/๕๗ เรื่อง แต่งตั้งคณะท�ำงานจัดท�ำหนังสือ “ศาลาว่าการกลาโหมกับกิจการทหารสมัยใหม่ ๑๒๗ ปี สถาปนากลาโหม” ------------------------------------- ด้วยส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม จะด�ำเนินการจัดท�ำหนังสือ “ศาลาว่าการกลาโหมกับกิจการทหารสมัยใหม่ ๑๒๗ ปี สถาปนากลาโหม” โดยมีวตั ถุประสงค์เพือ่ เผยแพร่ความเป็นมาและวิวฒ ั นาการของกิจการทหารสมัยใหม่ตงั้ แต่รชั สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั จนถึง ปัจจุบนั ภารกิจของกระทรวงกลาโหมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ และพระราชบัญญัตจิ ดั ระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. ๒๕๕๑ เพื่อให้การจัดท�ำหนังสือดังกล่าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้แต่งตั้งคณะท�ำงานจัดท�ำหนังสือ “ศาลาว่าการกลาโหมกับกิจการ ทหารสมัยใหม่ ๑๒๗ ปี สถาปนากลาโหม” ดังนี้ ๑. แต่งตั้งคณะที่ปรึกษา คณะท�ำงาน และกองบรรณาธิการจัดท�ำหนังสือ ประกอบด้วย ๑.๑

คณะที่ปรึกษา ๑.๑.๑ พล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล ๑.๑.๒ พล.ท.ชัยพฤกษ์ พูนสวัสดิ์ ๑.๑.๓ พ.อ.ทิวา สุทธิกุลสมบัติ ๑.๑.๔ นายไกรฤกษ์ นานา

๑.๒

คณะท�ำงาน ๑.๒.๑ พล.ต.ณภัทร สุขจิตต์ ๑.๒.๒ พ.อ.ณัฐวุฒิ คล้ายโอภาส ๑.๒.๓ พ.อ.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ ๑.๒.๔ พ.อ.ปณิธาน กาญจนวิโรจน์ ๑.๒.๕ น.อ.ธวัชชัย รักประยูร ๑.๒.๖ น.อ.พรหมเมธ อติแพทย์ ร.น. ๑.๒.๗ พ.อ.หญิง ใจทิพย์ อุไพพานิช

หัวหน้าคณะท�ำงาน รองหัวหน้าคณะท�ำงาน รองหัวหน้าคณะท�ำงาน คณะท�ำงาน คณะท�ำงาน คณะท�ำงานและเลขานุการ คณะท�ำงานและผู้ช่วยเลขานุการ

154


๑.๓

กองบรรณาธิการ ๑.๓.๑ พล.ต.ชัยวิทย์ ชยาภินันท์ ๑.๓.๒ พ.อ.หญิง วิวรรณ วรวิศิษฏ์ธ�ำรง ๑.๓.๓ พ.อ.ทวี สุดจิตร์ ๑.๓.๔ พ.อ.สุวเทพ ศิริสรณ์ ๑.๓.๕ น.ท.หญิง รสสุคนธ์ ทองใบ ร.น. ๑.๓.๖ น.ท.วัฒนสิน ปัตพี ร.น. ๑.๓.๗ พ.ท.พลพัฒน์ อาขวานนท์ ๑.๓.๘ พ.ท.ชุมศักดิ์ สมไร่ขิง ๑.๓.๙ พ.ท.ชาตบุตร ศรธรรม ๑.๓.๑๐ น.ต.ฐิตพร น้อยรักษ์ ร.น. ๑.๓.๑๑ ร.อ.หญิง ณิชาภา กุหลาบเพ็ชร์ ๑.๓.๑๒ ร.อ.หญิง กัญญารัตน์ ชูชาติ ร.น. ๑.๓.๑๓ ร.อ.หญิง ลลิดา ดรุนัยธร ๑.๓.๑๔ ร.ท.หญิง ประภาพันธ์ มูลละ

๒. อ�ำนาจหน้าที่ ๒.๑ อ�ำนวยการและด�ำเนินการจัดท�ำหนังสือ “ศาลาว่าการกลาโหมกับกิจการทหารสมัยใหม่ ๑๒๗ ปี สถาปนากลาโหม” ให้เป็น ไปด้วยความเรียบร้อย ๒.๒ ประสานหน่วยในกระทรวงกลาโหม และหน่วยงานอืน่ ๆ ทีเ่ กีย่ วข้อง เพือ่ รวบรวมและสนับสนุนข้อมูลประกอบในการจัดท�ำ ๒.๓ หัวหน้าคณะท�ำงานมีอ�ำนาจในการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญเพื่อช่วยเหลือในการด�ำเนินการตามความเหมาะสม

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

สั่ง ณ วันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ พล.อ.

155

(นิพัทธ์ ทองเล็ก) ปล.กห.


เนื้อหาสาระที่น�ำเสนอในหนังสือเล่มนี้ เป็นข้อคิดเห็นจากการรวบรวม ข้อมูลและเรียบเรียงออกมาเป็นผลงานของคณะผู้จัดท�ำ โดยมีเจตนาเพื่อให้ เกิดประโยชน์แก่ท่านผู้อ่าน มิได้เป็นข้อยุติหรือมีผลผูกพันกับทางราชการแต่ อย่างใด หากท่านผู้อ่านมีข้อแนะน�ำเพิ่มเติม ติชม หรือมีข้อมูลอื่น ๆ ที่เป็น ประโยชน์ คณะผู้จัดท�ำขอน้อมรับไว้ด้วยความยินดี โดยท่านสามารถส่งมา ได้ที่ กองประชาสัมพันธ์ ส�ำนักงานเลขานุการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เพื่อที่จะได้น�ำไปพัฒนาปรับปรุงให้สมบูรณ์และดียิ่ง ๆ ขึ้นในโอกาสต่อไป ขอขอบพระคุณ

กองประชาสัมพันธ์ ส�ำนักงานเลขานุการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ในศาลาว่าการกลาโหม ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทรศัพท์/โทรสาร ๐ ๒๒๒๕ ๘๒๖๒ www.sopsd.mod.go.th

156


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.