ว า ร ส า ร ร า ย เ ดื อ น ข อ ง ส� ำ นั ก ง า น ป ลั ด ก ร ะ ท ร ว ง ก ล า โ ห ม
ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ผู้อำ�นวยการ
พล.อ.วันชัย เรืองตระกูล พล.อ.อ.สุวิช จันทประดิษฐ์ พล.อ.ไพบูลย์ เอมพันธุ์ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา พล.อ.ธีรเดช มีเพียร พล.อ.ธวัช เกษร์อังกูร พล.อ.สัมพันธ์ บุญญานันต์ พล.อ.อู้ด เบื้องบน พล.อ.สิริชัย ธัญญสิริ พล.อ.วินัย ภัททิยกุล พล.อ.อภิชาต เพ็ญกิตติ พล.อ.กิตติพงษ์ เกษโกวิท พล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์ พล.อ.วิทวัส รชตะนันทน์ พล.อ.ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน
ที่ปรึกษา
พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก พล.ร.อ.พลวัฒน์ สิโรดม ร.น. พล.อ.อ.ทรงธรรม โชคคณาพิทักษ์ พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ พล.อ.สนธิศักดิ์ วิทยาเอนกนันท์ พล.อ.ไพชยนต์ ค้าทันเจริญ พล.อ.ชัชวาลย์ ขำ�เกษม พล.อ.สิรวุฒิ สุคันธนาค พล.อ.อภิชาต แสงรุ่งเรือง พล.อ.จิระ โกมุทพงศ์ พล.ท.อดุยเดช อินทะพงษ์ พล.ท.พฤษภะ สุวรรณทัต พล.ท.ยุทธนา กล้าการยุทธ พล.ท.พันลึก สุวรรณทัต พล.ท.บรรเจิด เทียนทองดี พล.ท.ถเกิงกานต์ ศรีอำ�ไพ พล.ท.สุวโรจน์ ทิพย์มงคล พล.ท.พรรณนพ ศักดิ์วงศ์ พล.ท.พัชราวุธ วงษ์เพชร พล.ท.สรศักดิ์ ขาวกระจ่าง พล.ต.ทวี พฤกษาไพรบูลย์ พล.ต.สังสิทธิ์ วรชาติกุล
พล.ต.ณภัทร สุขจิตต์
รองผู้อำ�นวยการ
พ.อ.ณัฐวุฒิ คล้ายโอภาส พ.อ.คงชีพ ตันตระวาณิชย์
ผู้ช่วยผู้อำ�นวยการ
พ.อ.ปณิธาน กาญจนวิโรจน์
กองจัดการ ผู้จัดการ
น.อ.ธวัชชัย รักประยูร
ประจำ�กองจัดการ
น.อ.กฤษณ์ ไชยสมบัติ ร.อ.ไพบูลย์ รุ่งโรจน์
เหรัญญิก
พ.ท.พลพัฒน์ อาขวานนท์
ผู้ช่วยเหรัญญิก ร.ท.เวช บุญหล้า
ฝ่ายกฎหมาย
น.ท.สุรชัย สลามเต๊ะ
ฝ่ายพิสูจน์อักษร
พ.อ.หญิง วิวรรณ วรวิศิษฏ์ธำ�รง ร.อ.หญิง กัญญารัตน์ ชูชาติ ร.น. ร.ท.หญิง ประภาพันธ์ มูลละ
กองบรรณาธิการ บรรณาธิการ
น.อ.พรหมเมธ อติแพทย์ ร.น.
รองบรรณาธิการ
พ.อ.ทวี สุดจิตร์ พ.อ.สุวเทพ ศิริสรณ์
ผู้ช่วยบรรณาธิการ
พ.อ.หญิง ใจทิพย์ อุไพพานิช
ประจำ�กองบรรณาธิการ
น.ท.บรรยงค์ หล่อบรรจง น.ท.วัฒนสิน ปัตพี ร.น. น.ท.วรพร พรเลิศ พ.ต.หญิง สิริณี ศรประทุม พ.ต.หญิง สมจิตร พวงโต ร.อ.หญิง สายตา อุปสิทธิ์ ร.อ.หญิง อัญชลีพร ชัยชาญกุล ร.ต.จิรวัฒน์ ถนอมธรรม ร.ต.วัชรเทพย์ ปีตะนีละผลิน จ.ส.อ.หญิง ปาลดา สมพงษ์ผึ้ง จ.ส.อ.สมหมาย ภมรนาค
น.ท.หญิง รสสุคนธ์ ทองใบ ร.น. พ.ท.ชุมศักดิ์ สมไร่ขิง พ.ท.หญิง ณิชนันทน์ ทองพูล น.ต.ฐิตพร น้อยรักษ์ ร.น. ร.อ.หญิง ณิชาภา กุหลาบเพ็ชร์ ร.อ.ยอดเยี่ยม สงวนสุข ร.ท.หญิง ลลิดา ดรุนัยธร ร.ต.ศุภกิจ ภาวิไล ร.ต.หญิง พัชรี ชาญชัยพิชิต ส.อ.ธีระยุทธ ขอพึ่งธรรม ส.อ.หญิง ศิริพิมพ์มา กาญจนโรจน์
บทบรรณาธิการ วารสารหลั ก เมื อ ง ฉบั บ เดื อ นพฤศจิ ก ายน ๒๕๕๖ นั บ เป็ น เดื อ นที่ ส องของ ปีงบประมาณ ๒๕๕๗ และขณะเดียวกันก็เป็นเดือนรองสุดท้ายของปีพุทธศักราช ๒๕๕๖ ในทางราชการการด�ำเนินตามนโยบายและแผนที่ขอเสนองบประมาณไว้ ก็จะต้องเริ่มด�ำเนินการ ในขณะที่ตามปีปฎิทินก็จะต้องเตรียมส่งท้ายปีเก่าต้อนรับ ปีใหม่กัน เรื่องของเวลาและการเปลี่ยนแปลงก็เป็นเช่นนี้เสมอมา ส�ำหรับวารสารหลักเมือง ฉบับที่ท่านผู้อ่านถืออยู่นี้ก็จะน�ำเสนอโดยให้น�้ำหนัก เกี่ยวกับอุตสาหกรรมด้านความมั่นคงที่เป็นแนวทางอีกแนวทางหนึ่งที่จะต่อยอด ก่อให้เกิดความร่วมมือและพัฒนาเทคโนโลยีในภูมิภาคและมิตรประเทศ สร้างความ มัน่ คงให้ภาคอุตสาหกรรมในประเทศ ซึง่ การพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ เป็น นโยบายและภารกิจส�ำคัญเรื่องหนึ่งของส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม นอกจากนี้ ยังมีเรื่องราวเนื้อหาสาระที่น่าสนใจอีกมากมาย โดยเฉพาะเรื่องของ Edward Snowden ผู้เปิดเผยความลับของรัฐบาลสหรัฐฯ เกี่ยวกับโครงการ PRISM ของ NSA เหตุการณ์นถี้ อื เป็นการเปิดโปงการจารกรรมข้อมูลส่วนบุคคลครัง้ ทีใ่ หญ่ทสี่ ดุ ของโลก มองใน ๒ ประเด็น เรือ่ งสิทธิเสรีภาพและความมัน่ คงปลอดภัย ส�ำหรับประเทศทีไ่ ด้ชอื่ ว่ามีอิสรเสรีมากที่สุดในโลก กับเรื่องอดีตนักวิเคราะห์ข่าวกรองและเป็นอดีตลูกจ้าง ของหน่วยสืบราชการลับกลางแห่งสหรัฐอเมริกา หรือ CIA ทีต่ อ้ งขีดเส้นใต้ถงึ เบือ้ งหลัง ของ Snowden ว่าตามจริงแล้วเขาคือ ผู้ทรยศกับบ้านเกิดเมืองนอน หรือเป็น “ฮีโร่” แต่สิ่งส�ำคัญที่ทุกคนในสังคมปัจจุบันจะต้องตระหนักคือ การรู้ถึงภัยคุกคาม ที่อาจเกิดขึ้นกับข้อมูลที่เป็นเรื่องส่วนตัวและข้อมูลที่รับผิดชอบที่อาจจะมีผลกระทบ กับความมั่นคงของประเทศ
2
ปีที่ ๒๒ ฉบับที่ ๒๗๒ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๖
๔
๓๒
๒๕ พฤศจิกายน วันมหาธีรราชเจ้า
๘
พระมหากรุณาธิคุณด้าน การอนุรักษ์ป่าไม้
ประชาคมสังคม และวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Social-Cultural Community) คือปัจจัยแห่งความส�ำเร็จใน การอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน
๑๒
๓๖
กฐินพระราชทาน ของกระทรวงกลาโหม ประจ�ำปี ๒๕๕๖
พัฒนาการในเมียนมา ห้วงปี พ.ศ. ๒๕๕๖
๓๘
๑๖
ดุลยภาพทางทหาร ของประเทศอาเซียน ปืนเล็กสั้น เอ็ม-๔ ขนาด ๕.๕๖ มิลลิเมตร
ความพร้อมของกระทรวง กลาโหมในการสนับสนุน ความเป็นประชาคม อาเซียนของปลัดกระทรวง กลาโหม
๑๘
วันที่ระลึกทหารอาสา สงครามโลกครั้งที่ ๑
๔๒
๘
๑๒
๑๖
ความร่วมมือ ด้านอุตสาหกรรมป้องกัน ประเทศในกรอบอาเซียน โครงการพัฒนาสมรรถนะ หน่วยช่วยขับเคลื่อน (APU) ผลงานวิจัยดีเด่น อันดับที่ ๑ ด้านยุทโธปกรณ์ ประจ�ำปี ๒๕๕๖ ของกองทัพบก โดยศูนย์อ�ำนวยการสร้าง อาวุธ ศูนย์การอุตสาหกรรม ป้องกันประเทศและ พลังงานทหาร
๕๐
๑๘
๒๒
๒๖
หลักการของ นายพลแพตตัน (ตอนที่ ๑๖)
๕๔
สาระน่ารู้ทางการแพทย์ “โรค SLE - โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือโรคพุ่มพวง”
๓๐
๓๖
๓๘
๕๖
ประมวลภาพกิจกรรม
๖๒
กิจกรรมสมาคมภริยา ข้าราชการส�ำนักงาน ปลัดกระทรวงกลาโหม
๓๐
SNOWDEN การเปิดโปงการจารกรรม ข้อมูลส่วนบุคคลครั้งใหญ่ ที่สุดของโลก
๔๖
สงคราม พม่า - อังกฤษ ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๙๕
๒๒ ๒๖
Thailand’s Pivot จุดยืนของประเทศไทย
๔๒
๕๔
๖๒
ข้อคิดเห็นและบทความที่น�ำลงในวารสารหลักเมืองเป็นของผู้เขียน มิใช่ข้อคิดเห็นหรือนโยบายของหน่วยงานของรัฐ และมิได้ผูกพันต่อทางราชการแต่อย่างใด ส�ำนักงานเลขานุการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ถนนสนามไชย เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร./โทรสาร ๐-๒๒๒๕-๘๒๖๒ http://61.19.220.3/opsd/sopsdweb/index_1.htm พิมพ์ที่ : แผนกโรงพิมพ์ กองบริการ ส�ำนักงานสนับสนุน ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ออกแบบ : บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗) จ�ำกัด หลักเมือง พฤศจิกายน ๒๕๕๖
3
4
พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์
๒๕ พฤศจิกายน
ภ
วันมหาธีรราชเจ้า
า ย ใ น จิ ต ใ จ อั น บ ริ สุ ท ธิ์ ข อ ง ประชาชนชาวไทยเป็ น จ� ำ นวน มากต่ า งเปี ่ ย มล้ น ไปด้ ว ยความ จงรักภักดีตอ่ พระราชวงศ์จกั รี สถาบันพระมหา กษัตริย์ และยังคงร�ำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ อเนกอนั น ต์ ป ระการของบู ร พมหากษั ต ริ ย า ธิราชเจ้า ถึงแม้ว่าวันเวลาแห่งความทรงจ�ำใน อดีตจะล่วงเลยมาเป็นเวลานานแล้วก็ตาม หรือ แม้ว่าวันเวลาจะพ้นผ่านจากรุ่นหนึ่งไปยังอีก รุ่นหนึ่งก็ตาม แต่ความทรงจ�ำร�ำลึกแห่งความ จงรักภักดีก็ได้รับการถ่ายทอดจากคนหลาย รุ่นต่อเนื่องไปมิได้ขาดสาย เมื่อเป็นเช่นนี้ ค�ำว่า วันมหาธีรราชเจ้า ก็ ยังคงสถิตตราตรึงอยู่ในโสตประสาทของพสก นิกรชาวไทยเสมอมาว่า วันมหาธีรราชเจ้า คือ วันคล้ายวันสวรรคตขององค์พระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้ทรงบ�ำเพ็ญ พระราชกรณียกิจเพื่อวางรากฐานแห่งความ เป็นสากลในห้วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลง ขนานใหญ่ของโลก และทรงเป็นมหาปราชญ์ ที่ทรงอนุรักษ์ภูมิปัญญากับความงดงามของ ภาษาไทยให้สืบทอดไปยังอนุชนรุ่นหลัง สม ดังพระราชสมัญญาที่มหาชนชาวไทยทูนเทิด ถวายว่า “พระมหาธีรราชเจ้า ซึ่งมีความหมาย ที่เด่นชัดว่า มหากษัตริยาธิราชเจ้าผู้ทรงเป็น มหาปราชญ์ ” และยั ง ทรงเป็ น เสมื อ นยอด อัญมณีอันงดงามแห่งวรรณกรรมสยามในยุค กรุงรัตนโกสินทร์ ในวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ ซึ่งเป็น วันมหาธีรราชเจ้าของปีนี้ จะเป็นวันส�ำคัญ ที่ พ สกนิ ก รชาวไทยจะได้ น ้ อ มร� ำ ลึ ก ถึ ง พระ มหากรุ ณ าธิ คุ ณ ขององค์ พ ระบาทสมเด็ จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวอีกวาระหนึ่ง ผู้เขียน จึ ง ใคร่ ข ออั ญ เชิ ญ พระราชประวั ติ แ ละพระ ราชกรณียกิจอันส�ำคัญน�ำเสนอต่อท่านดังใน โอกาสต่อไปนี้
พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระ จุ ล จอมเกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว และสมเด็ จ พระศรี พัชรินทราบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชสมภพ หลักเมือง พฤศจิกายน ๒๕๕๖
พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์
เมือ่ วันที่ ๑ มกราคม ๒๔๒๓ ได้รบั พระราชทาน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระนาม สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้า ทรงมี เ พี ย งพระราชธิ ด าพระองค์ เ ดี ย ว คื อ มหาวชิราวุธ ครั้นเมื่อทรงมีพระชนมายุได้ ๘ สมเด็ จ เจ้ า ฟ้ า เพชรรั ต นราชสุ ด า สิ ริ โ สภา พรรษา ทรงได้รับพระราชทานสถาปนาเป็น พัณณวดี ซึ่งประสูติแต่สมเด็จพระนางเจ้า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สุวัทนา พระวรราชเทวี ในวันอังคารที่ ๒๔ กรมขุนเทพทวาราวดี พฤศจิกายน เวลา ๑๒.๕๕ น. ณ พระที่นั่งเทพ เมื่ อ วั น ที่ ๔ มกราคม ๒๔๓๗ สมเด็ จ สถานพิลาส ในหมู่พระมหามณเฑียร พระบรม พระบรมโอรสาธิ ร าช เจ้ า ฟ้ า มหาวชิ รุ ณ หิ ศ มหาราชวัง ก่อนที่พระองค์จะเสด็จสวรรคต สยามมกุ ฎ ราชกุ ม าร ได้ ป ระชวรและเสด็ จ เพียง ๑ วัน ทิ ว งคตลงอย่ า งกะทั น หั น พระบาทสมเด็ จ ในขณะที่ ท รงพระเยาว์ ได้ ท รงศึ ก ษา พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณา ในพระบรมมหาราชวั ง จนเมื่ อ ทรงมี พ ระ โปรดเกล้าฯ สถาปนา สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ ชนมายุได้ ๑๒ พรรษา พระบาทสมเด็จพระ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ กรมขุนเทพทวาราวดี ซึ่ง จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรด ในขณะนั้ น อยู ่ ใ นระหว่ า งประทั บ ทรงศึ ก ษา เกล้าฯ ให้เสด็จไปศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ วิชาการชั้นต้น ณ ประเทศอังกฤษ ให้ทรงด�ำรง โดยทรงศึกษาวิชาการหลายสาขา และทรง ต�ำแหน่ง สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้า ส�ำเร็จการศึกษาในด้านการทหารจากโรงเรียน มหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร แทน เมื่อ นายร้อยแซนด์เฮิร์สต์ (Sandhurst Military วันที่ ๑๗ มกราคม ๒๔๓๗ Academy) ทั้ ง ยั ง ทรงศึ ก ษาวิ ช าพลเรื อ น ครั้นในเวลาต่อมา เมื่อพระบาทสมเด็จพระ เกี่ยวกับกฎหมายและการปกครองต่อในมหา จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ วิทยาลัยออกซฟอร์ด จนกระทั่งพระชนมายุ ๒๓ ตุลาคม ๒๔๕๓ สมเด็จพระบรมโอรสา ได้ ๒๒ พรรษา จึงเสด็จพระราชด�ำเนินกลับ ธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ประเทศไทยในปีพุทธศักราช ๒๔๔๕ เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติสืบราชสันตติวงศ์ เมื่อเสด็จกลับประเทศไทย พระบาทสมเด็จ ทรงมีพระปรมาภิไธยย่อว่า พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้รับราชการ พระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้า ในกองทัพบก พระองค์จึงได้ทรงรับราชการใน เจ้าอยู่หัว ขณะทรงมีพระชนมายุ ๓๐ พรรษา กองทัพบก โดยทรงด�ำรงต�ำแหน่งหน้าที่ส�ำคัญ นับเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ ๖ แห่งพระบรม อาทิ ต�ำแหน่งผู้ทรงบัญชาการทหารมหาดเล็ก ราชจักรีวงศ์ และได้รับพระราชทานยศเป็นนายพลเอกราช เมื่ อ วั น ที่ ๒๖ พฤศจิ ก ายน ๒๔๖๘ ใน องครักษ์ จเรทหารบก และทรงเป็นผู้ส�ำเร็จ เวลา ๑ นาฬิกา ๔๕ นาที ได้เสด็จสวรรคต ราชการรักษาพระนคร ในระหว่างที่พระบาท ณ พระที่ นั่ ง จั ก รพรรดิ พิ ม าน ในพระบรม สมเด็จพระบรมชนกนาถเสด็จพระราชด�ำเนิน มหาราชวั ง ด้ ว ยพระอาการโรคพระโลหิ ต ประพาสยุโรปครัง้ ที่ ๒ ในปีพทุ ธศักราช ๒๔๕๐ เป็นพิษในพระอุทร โดยได้อญ ั เชิญพระบรมศพ ทรงผนวชที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดย ไปประดิษฐาน ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท มีองค์อุปัชฌาย์ คือ พระมหาสมณเจ้า กรม รวมพระชนมพรรษาได้ ๔๖ พรรษา และเสด็จ พระยาวชิรญาณวโรรส และเสด็จจ�ำพรรษา ณ ด�ำรงสิริราชสมบัติได้ ๑๕ พรรษา แต่เนื่องจาก วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นเวลา ๑ พรรษา เวลาที่พระองค์เสด็จสวรรคตนั้น เพิ่งจะล่วง มาในวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน เพียงไม่กี่นาที เท่านั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว แม้ว่าพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้า จึ ง มี พ ระราชประสงค์ ใ ห้ ถื อ เอาวั น ที่ ๒๕ อยู่หัว จะทรงครองราชสมบัติในระยะอันสั้น พฤศจิกายนเป็นวันสวรรคต ดังนั้นแล้ว ทาง เพียง ๑๕ พรรษาก็ตาม แต่ตลอดรัชสมัยของ ราชการได้ก�ำหนดให้วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พระองค์ ได้ทรงบ�ำเพ็ญพระราชกรณียกิจน้อย ของทุกปีเป็นวันที่ระลึกวันมหาธีรราชเจ้า
พระราชกรณียกิจทีส่ ำ� คัญ
5
ด้านการศึกษา
- พระราชทานที่ ดิ น และพระราชทรั พ ย์ ส่วนพระองค์จัดตั้งโรงเรียนมหาดเล็กหลวง เป็นโรงเรียนในพระองค์ ปัจจุบันคือ โรงเรียน วชิราวุธวิทยาลัย - ทรงตั้งโรงเรียนพาณิชยการ เพื่อให้การ ศึกษาอาชีวศึกษา - ทรงตั้งเนติบัณฑิตยสภา ให้การศึกษา ด้านกฎหมายและควบคุมจรรยาบรรณของ นักกฎหมาย - ส่งเสริมการศึกษาของสตรี โดยทรงจัดตัง้ โรงเรียนฝึกหัดครูสตรี และเปิดโรงเรียนสตรี ตามจังหวัดต่าง ๆ - ทรงยกฐานะโรงเรียนข้าราชการพลเรือน เป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - ทรงตราพระราชบัญญัติประถมศึกษา พุ ท ธศั ก ราช ๒๔๖๔ เป็ น การเริ่ ม ต้ น การ ศึกษาการจัดการเรียนการสอนภาคบังคับใน ประเทศไทย เพื่อให้เด็กทุกคนรู้หนังสือ
ด้านการศาสนา
- ทรงเป็นคนไทยคนแรกที่ทรงแสดงตน เป็นพุทธมามกะ - ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องเกี่ยวกับศาสนา อาทิ พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร เทศนาเสือป่า พระบรมราโชวาทประโยชน์ ข องการอยู ่ ใ น ธรรม และทรงแปลเทศนามงคลวิเศษกถาเป็น ภาษาอังกฤษ
ด้านวรรณกรรมและ ศิลปกรรม
ใหญ่ อันเป็นคุณประโยชน์และคุณูปการให้กับ แผ่นดินสยามนานัปการ ซึ่งหากจะบรรยาย พระราชกรณียกิจทัง้ หมด อาจต้องใช้เวลานาน และอาจไม่เพียงพอในบทความนี้ ผู้เขียนจึง ใคร่ ข ออั ญ เชิ ญ พระราชกรณี ย กิ จ อั น ส� ำ คั ญ มาถ่ายทอด ดังนี้
ด้านการปกครอง
- ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปรับปรุง การปกครองแผ่นดินทั้งในส่วนกลางและส่วน ภูมิภาค เปลี่ยนค�ำเรียกชื่อเมืองเป็นจังหวัด รวมมณฑลเป็ น ภาค และทรงจั ด ตั้ ง พร้ อ ม ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ อาทิ กรม ศิลปากร กรมพาณิชย์ กรมสาธารณสุข - ทรงพระกรุ ณ าโปรดเกล้ า ฯ ให้ ส ร้ า ง เมืองจ�ำลองดุสิตธานีขึ้น เพื่อทรงทดลองการ ปกครองระบอบประชาธิปไตย - ทรงส่งเสริมสิทธิเสรีภาพอย่างประชา
6
ธิปไตย โดยพระราชทานเสรีภาพแก่นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ ในการแสดงความคิดเห็น และ เขียนวิพากษ์วจิ ารณ์การปฏิบัตใิ ด ๆ ผ่านสื่อใน ยุคนั้นคือหนังสือพิมพ์ได้ - ทรงพระราชนิพนธ์บทความต่าง ๆ เกี่ยว กับการเมือง โดยทรงใช้พระนามแฝง และ หากว่ า มี ค นเขี ย นโต้ แ ย้ ง จะทรงตอบด้ ว ย น�้ำพระราชหฤทัยเป็นนักประชาธิปไตย
ด้านวัฒนธรรม ประเพณี
- พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศให้ใช้ พุทธศักราชแทนรัตนโกสินทรศก และตราพระ ราชบัญญัตขิ นานนามสกุล พุทธศักราช ๒๔๕๖ เพื่อเป็นการให้คนไทยมีนามสกุลใช้ - ทรงคิดค�ำไทย อาทิ รถยนต์ แทนค�ำว่า มอเตอร์คาร์ หรือ ต�ำรวจ แทนค�ำว่า โปลิส - ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยน ธงชาติไทยจากรูปช้าง เป็น ธงไตรรงค์
ทรงเชี่ ย วชาญในด้ า นอั ก ษรศาสตร์ เ ป็ น อย่างยิ่ง จึงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระ ราชนิพนธ์หนังสือมากทีส่ ดุ พระราชนิพนธ์ของ พระองค์ มีเป็นจ�ำนวนนับพันเล่ม ทัง้ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ไม่ว่าจะเป็นร้อยแก้วหรือ ร้อยกรอง ทุกประเภทวรรณศิลป์ อาทิ โขน ละคร พระราชด�ำรัส เทศนาเสือป่า นิทาน สารคดี บทความ
ด้านการป้องกันประเทศ
เมื่อเกิดมหาสงครามโลกครั้งที่ ๑ ขึ้น ในปี พุ ท ธศั ก ราช ๒๔๕๗ ประเทศโลกตะวั น ตก ได้แยกออกเป็น ๒ ฝ่าย คือ ประเทศฝ่าย มหาอ�ำนาจเยอรมนี ออสเตรีย ฮังการี กับ ฝ่ายสัมพันธมิตร มีอังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย ในตอนต้ น ของสงครามประเทศไทยได้ ประกาศตนเป็ น กลาง แต่ ต ่ อ มาพระบาท สมเด็ จ พระมงกุ ฎ เกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว ทรงมี พ ระ ราชวิสัยทัศน์เห็นผลของการร่วมสงครามที่มี พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์
ต่อประเทศชาติ จึงทรงตัดสินพระทัยประกาศ สงครามกับฝ่ายมหาอ�ำนาจเยอรมนี ออสเตรีย ฮังการี เมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๔๖๐ โดย ให้เหตุผลว่าเพื่อรักษาสิทธิของประเทศ และ รักษาความชอบธรรมทัง้ หลายในระหว่างนานา ประเทศ การเข้าร่วมสงครามครั้งนี้ได้ทรงพระ กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ส่งทหารไทยอาสาสมัคร ไปร่วมรบในสมรภูมิด้วย นับเป็นการแสดงให้ เห็นถึงความพร้อมทางด้านการทหารของไทย หลักเมือง พฤศจิกายน ๒๕๕๖
ซึ่งการเข้าร่วมสงครามในครั้งนี้ เป็นผลดีแก่ ประเทศไทยอย่างยิ่ง ท�ำให้ไทยได้รับในฐานะ เป็นประเทศที่เป็นฝ่ายชนะสงคราม จึงท�ำให้ สามารถเจรจากั บ ประเทศมหาอ� ำ นาจขอ แก้ไขสนธิสัญญาสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ให้ พ้นสภาพที่เคยเสียเปรียบชาวต่างชาติมาเป็น เวลานาน พระราชกรณี ย กิ จ ที่ ผู ้ เ ขี ย นอั ญ เชิ ญ มานี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งในนานาพระราชกรณียกิจ
ที่ทรงบ�ำเพ็ญเพื่อประเทศและเพื่อประโยชน์ ของมวลมหาชนชาวไทย ซึ่งเป็นสิ่งที่ใคร่ขอให้ ประชาชนชาวไทยได้ทบทวน และน้อมร�ำลึก ในพระมหากรุ ณ าธิ คุ ณ ของพระบาทสมเด็ จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมทั้งร่วมกัน เทิดพระเกียรติประกาศพระเกียรติคุณ และ ชื่ น ชมพระราชกรณี ย กิ จ ของพระองค์ ท ่ า น ด้วยการถวายความจงรักภักดีแด่พระองค์และ พระราชวงศ์จักรีตลอดไป 7
พระมหากรุณาธิคุณ ด้านการอนุรักษ์ป่าไม้ นาวาอากาศเอกหญิง กาญจนารัตน์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา
8
นาวาอากาศเอกหญิง กาญจนารัตน์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา
พ
ร ะบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ทรงเล่ า ถึ ง แรงบั น ดาลใจใน ความสนพระราชหฤทัยเกี่ยวกับ ความสัมพันธ์ระหว่าง ป่า น�้ำ ดิน ซึ่งโยงใย มี ผ ลกระทบต่ อ กั น ตั้ ง แต่ เ มื่ อ ครั้ ง ยั ง ทรง พระเยาว์ว่า “.....อาจมีบางคนเข้าใจว่า ท�ำไมถึงสนใจ เรื่องชลประทาน หรือ เรื่องป่าไม้ จ�ำได้เมื่อ อายุ ๑๐ ขวบ ทีโ่ รงเรียนมีครูคนหนึง่ ซึง่ เดีย๋ วนี้ ตายไปแล้ว สอนเรื่องวิทยาศาสตร์ เรื่องการ อนุรกั ษ์ดนิ แล้วให้เขียนว่า ภูเขาต้องมีปา่ อย่าง นั้นเม็ดฝนลงมาแล้วจะชะดินลงมาเร็ว ท�ำให้ ไหลตามน�้ำไป ไปท�ำความเสียหาย ดินหมด จากภูเขาเพราะไหลตามสายน�้ำไป ก็เป็นหลัก หลักเมือง พฤศจิกายน ๒๕๕๖
ของป่าไม้ เรื่องการอนุรักษ์ดิน และเป็นหลัก ของชลประทานที่ ว ่ า ถ้ า เราไม่ รั ก ษาป่ า ไม้ ข้างบน จะท�ำให้เดือดร้อนตลอด ตั้งแต่ดิน ภูเขาจะหมด ไปกระทัง่ การทีจ่ ะมีตะกอนลงมา ในเขื่อน มีตะกอนลงมาในแม่น�้ำท�ำให้น�้ำท่วม นี่นะ เรียนมาตั้งแต่อายุ ๑๐ ขวบ....” ในระยะต้ น รั ช กาลพระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ได้ เ สด็ จ พระราชด� ำ เนิ น แปร พระราชฐานไปประทับ ณ พระราชวังไกลกังวล อ� ำ เภอหั ว หิ น จั ง หวั ด ประจวบคี รี ขั น ธ์ เ ป็ น ประจ�ำแทบทุกปี โดยในระยะแรกจะเสด็จฯ ด้วยรถไฟพระที่นั่ง ต่อมาเมื่อมีการปรับปรุง เส้นทางคมนาคมดีขึ้น จึงเสด็จฯ โดยรถยนต์ พระที่นั่ง ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๐๓ - ๒๕๐๔
ขณะเสด็จพระราชด�ำเนินผ่านจังหวัดนครปฐม ราชบุรี และเพชรบุรี เมื่อรถยนต์พระที่นั่งผ่าน อ� ำ เภอท่ า ยาง จั ง หวั ด เพชรบุ รี นั้ น มี ต ้ น ยาง ขนาดใหญ่ปลูกเรียงรายทั้งสองข้างทาง จึงได้ มี พ ระราชด� ำ ริ ที่ จ ะสงวนบริ เ วณป่ า ยางนี้ ไ ว้ ให้เป็นส่วนสาธารณะ แต่ในระยะนั้นไม่อาจ ด�ำเนินการได้เนื่องจากต้องจ่ายเงินค่าทดแทน ในอัตราที่สูง เพราะมีราษฎรมาท�ำไร่ท�ำสวน ในบริ เ วณนั้ น จ� ำ นวนมาก พระบาทสมเด็ จ พระเจ้าอยู่หัวได้ทรงเริ่มทดลองปลูกต้นยาง ด้ ว ยพระองค์ เ อง โดยทรงเพาะเมล็ ด ยาง ในกระถางบนพระต�ำหนักเปี่ยมสุข พระราชวัง ไกลกังวล และได้ทรงปลูกต้นยางนั้นในแปลง ป่าไม้ทดลองในบริเวณแปลงทดลองปลูกต้น 9
ยางนาพร้ อ มข้ า ราชบริ พ าร เมื่ อ วั น ที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๔ จ�ำนวน ๑,๒๕๐ ต้น ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้น�ำพันธุ์ไม้ ต่างๆ ทั่วประเทศมาปลูกในบริเวณที่ประทับ สวนจิตรลดาในลักษณะป่าไม้สาธิต นอกจากนี้ ยังได้สร้างพระต�ำหนักเรือนต้นในบริเวณป่าไม้ สาธิ ต นั้ น เพื่ อ ทรงศึ ก ษาธรรมชาติวิทยาของ ป่าไม้ด้วยพระองค์เองอย่างใกล้ชิดและลึกซึ้ง ในปี พ.ศ. ๒๕๐๘ ป่ า ไม้ จึ ง เป็ น ทรั พ ยากรธรรมชาติ ที่ เ อื้ อ อ� ำ นวยประโยชน์ ทั้ ง ทางตรงและทางอ้ อ ม ให้แก่มวลมนุษยชาติ ช่วยควบคุมให้สภาพ ดินฟ้าอากาศอยู่ในสภาพปกติ รักษาต้นน�้ ำ ล�ำธาร พันธุ์พฤกษชาติ และสัตว์ป่า อีกทั้ง ยั ง เป็ น ที่ พั ก ผ่ อ นหย่ อ นใจ ป่ า ไม้ เ ป็ น แหล่ ง ทรัพยากรธรรมชาติที่มนุษย์ได้บริโภคใช้สอย ได้ประกอบอาชีพด้านการท�ำไม้ เก็บของป่า การอุ ต สาหกรรมไม้ แ ปรรู ป และผลิ ต ภั ณ ฑ์ ส�ำเร็จรูปที่ใช้วัตถุดิบจากไม้ และของป่า แต่ สภาพปัจจุบันมีแรงผลักดันให้เกิดการบุกรุก ท�ำลายป่าไม้ เพื่อบุกเบิกพื้นที่ท�ำการเกษตร ลักลอบตัดไม้ป้อนโรงงานอุตสาหกรรม และ เผาถ่าน นอกจากนี้ การเร่งการด�ำเนินงานบาง โครงการ เช่น การก่อสร้างถนน สร้างเขื่อน ฯลฯ ท�ำให้มีการตัดไม้ โดยไม่ค� ำนึงถึงการ อนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ป่าไม้จึงมีเนื้อที่ลดลง ตามล�ำดับ และบางแห่งอยูใ่ นสภาพเสือ่ มโทรม อย่างมาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนัก ว่ า การฟื ้ น ฟู ป ่ า นั้ น ต้ อ งได้ รั บ ความร่ ว มมื อ จากประชาชนซึ่ ง ต้ อ งมี จิ ต ส� ำ นึ ก ในการ รั ก ษาป่ า และการปลู ก ป่ า ทดแทนด้ ว ย โดย พระราชทานพระราชด� ำ ริ ใ ห้ ป ลู ก ต้ น ไม้ ที่ แตกต่างกันสามชนิด คือ ไม้ผล ไม้โตเร็ว และ ไม้ เ ศรษฐกิ จ เพื่ อ ให้ ไ ม้ เ ติ บ โตเป็ น ป่ า ผสม ผสาน และสร้ า งความสมดุ ล แก่ ธ รรมชาติ อย่ า งยั่ ง ยื น ทรงพระราชทานพระราชด� ำ ริ การปลู ก ป่ า โดยไม่ ต ้ อ งปลู ก เป็ น วิ ธี ก ารที่ เรี ย บง่ า ยและประหยั ด ในการด� ำ เนิ น งาน ตลอดจนเป็ น การส่ ง เสริ ม ระบบวงจรป่ า ไม้ ในลั ก ษณะอั น เป็ น ธรรมชาติ ดั้ ง เดิ ม โดย พระราชทานแนวคิด และวิธีการของการฟื้นฟู สภาพป่ า และการปลู ก ป่ า ซึ่ ง จ�ำ แนกออกได้ ดังนี้
10
การฟื ้ น ฟู ต ามหลั ก ธรรมชาติ พระบาท สมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ได้ ท รงชี้ แ นะแนวทาง โดยถื อ หลั ก ให้ ธ รรมชาติ ฟ ื ้ น ตั ว เอง ซึ่ ง ได้ พระราชทานพระราชด�ำริเอาไว้ว่า “ปลูกป่า โดยไม่ต้องปลูก” ด้วยวิธีการ ๓ วิธี คือ ๑. ถ้าเลือกได้ทที่ เี่ หมาะสมแล้ว ก็ทงิ้ ป่านัน้ ไว้ตรงนั้น ไม่ต้องไปท�ำอะไรเลย ป่าจะเจริญ เติบโตขึ้นมาเป็นป่าสมบูรณ์โดยไม่ต้องไปปลูก เลยสักต้นเดียว ๒. “ไม่ไปรังแกป่าหรือตอแยต้นไม้เพียง แต่คุ้มครองให้ขึ้นเองได้เท่านั้น…”
๓. “ในสภาพป่ า เต็ ง รั ง ป่ า เสื่ อ มโทรม ไม่ต้องท�ำอะไรเพราะตอไม้ก็จะแตกกิ่งออก มาอีก ถึงแม้ต้นไม่สวยแต่ก็เป็นต้นไม้ใหญ่ได้” การปลูกป่าทดแทน ในขณะนี้ประเทศไทย เรามีพื้นที่ป่าไม้เหลืออยู่เพียงร้อยละ ๒๕ ของ พื้นที่ประเทศ ประมาณการได้เพียง ๘๐ ล้าน ไร่เท่านัน้ หากจะเพิม่ เนือ้ ทีป่ า่ ไม้ให้ได้ประมาณ ร้อยละ ๔๐ ของพื้นที่ประเทศแล้ว คนไทยจะ ต้องช่วยกันปลูกป่าถึง ๔๘ ล้านไร่ โดยใช้กล้า ไม้ปลูกไม่ต�่ำกว่าปีละ ๑๐๐ ล้านต้น ใช้เวลา ถึง ๒๐ ปี จึงจะเพิ่มป่าไม้ได้ครบเป้าหมาย นาวาอากาศเอกหญิง กาญจนารัตน์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา
ที่ก�ำหนดไว้เท่านั้น การปลูกป่าทดแทนจึงเป็น แนวทฤษฎี ก ารพั ฒ นาป่ าไม้ อั น เนื่ อ งมาจาก พระราชด�ำริที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานมรรควิธีในการปลูกป่าทดแทน เพื่ อ คื น ธรรมชาติ สู ่ แ ผ่ น ดิ น ด้ ว ยวิ ถี ท างแบบ ผสมผสานกั น ในเชิ ง ปฏิบัติ ดังพระราชด� ำริ ความตอนหนึ่งว่า “การปลูกป่าทดแทนจะ ต้องท�ำอย่างมีแผนโดยการด�ำเนินการไปพร้อม กับการพัฒนาชาวเขา ในการนี้เจ้าหน้าที่ป่าไม้ ชลประทาน และฝ่ายเกษตรจะต้องร่วมมือกัน ส�ำรวจต้นน�้ำในบริเวณพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อ วางแผนปรับปรุงต้นน�้ำ และพัฒนาอาชีพได้ อย่างถูกต้อง” ในการปลูกป่าทดแทนให้ด� ำเนินการโดย พิจารณาให้เหมาะสมแก่สภาพภูมิศาสตร์และ สภาวะแวดล้อมคือ ๑. ปลูกป่าทดแทนในพื้นที่ป่าไม้ถูกบุกรุก แผ้ ว ถางและพื้ น ที่ ป ่ า เสื่ อ มโทรมหรื อ พื้ น ที่ ต้นน�้ำล�ำธารที่ถูกบุกรุกแผ้วถางจนเป็นภูเขา หัวโล้นแล้วจ�ำต้องปลูกป่าทดแทนเร่งด่วนนั้น ควรจะทดลองปลูกต้นไม้ชนิดโตเร็ว คลุมแนว ร่องน�้ำเสียก่อนเพื่อท�ำให้ความชุ่มชื้นค่อยๆ ทวีขึ้นแผ่ขยายออกไปทั้งสองร่องน�้ำ ซึ่งจะ ท�ำให้ต้นไม้งอกงามและมีส่วนช่วยป้องกันไฟ ป่าเพราะไฟจะเกิดง่ายหากป่าขาดความชุ่มชื้น ในปี ต ่ อ ไปก็ ใ ห้ ป ลู ก ต้ น ไม้ ใ นพื้ น ที่ ถั ด ขึ้ น ไป ความชุ่มชื้นก็จะแผ่ขยายกว้างต่อไปอีก ต้นไม้ จะงอกงามดีตลอดทั้งปี หลักเมือง พฤศจิกายน ๒๕๕๖
๒. การปลูกป่าทดแทนตามไหล่เขาจะต้อง ปลูกต้นไม้หลายๆ ชนิดเพื่อให้ได้ประโยชน์ อเนกประสงค์คือมีทั้งไม้ผล ไม้ส�ำหรับก่อสร้าง และไม้ส�ำหรับท�ำฟืนซึง่ เกษตรกรจ�ำเป็นต้องใช้ เป็นประจ�ำ ซึ่งเมื่อตัดไม้ใช้แล้วก็ปลูกทดแทน หมุนเวียนทันที ๓. การปลูกป่าทดแทนบริเวณต้นน�้ำบน ยอดเขาและเนินสูงต้องมีการปลูกป่าโดยปลูก ไม้ยืนต้นและปลูกไม้ฟืนซึ่งไม้ฟืนนั้นราษฎร สามารถตัดไปใช้ได้แต่ต้องมีการปลูกทดแทน เป็นระยะ ส่วนไม้ยืนต้นจะช่วยให้อากาศมี ความชุ่มชื้น ซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งของระบบการ ให้ฝนแบบธรรมชาติทั้งยังช่วยยึดดินบนเขา ไม่ให้พังทลายเมื่อเกิดฝนตกอีกด้วย ๔. ให้มีการปลูกป่าที่ยอดเขา เนื่องจาก สภาพป่าที่เขาสูงทรุดโทรม ซึ่งจะมีผลกระทบ ต่อลุม่ น�ำ้ ตอนล่างและคัดเลือกพันธุไ์ ม้ทมี่ เี มล็ด เป็นฝักเพื่อให้เป็นกระบวนการธรรมชาติปลูก ต่อไปจนถึงตีนเขา ๕. ปลูกป่าบริเวณอ่างเก็บน�้ำ หรือเหนือ อ่างเก็บน�้ำที่ไม่มีความชุ่มชื้นยาวนานพอ ๖. ปลูกป่าเพือ่ พัฒนาลุม่ น�ำ้ และแหล่งน�ำ้ ให้ มีน�้ำสะอาดบริโภค ๗. ปลูกป่าให้ราษฎรมีรายได้เพิ่มขึ้นโดย ให้ราษฎรในท้องที่นั้นๆ เข้ามามีส่วนร่วมใน การปลูก และดูแลรักษาต้นไม้ให้เจริญเติบโต นอกจากนี้ ยั ง เป็ น การดู แ ลปลู ก ฝั ง จิ ต ส�ำ นึ ก ให้ราษฎรเห็นความส�ำคัญของการปลูกป่า ๘. ปลูกป่าเสริมธรรมชาติ เพื่อเป็นการ เพิ่มที่อยู่อาศัยแก่สัตว์ป่า การปลูกป่า ๓ อย่าง ได้ประโยชน์ ๔ อย่าง พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ทรงแนะน� ำ การปลู ก ป่ า ในเชิ ง ผสมผสานทั้ ง ด้ า นเกษตร วนศาสตร์และเศรษฐกิจสังคม ลักษณะทั่วไป ของป่า ๓ อย่างนั้น มีพระราชด�ำรัสความว่า “การปลูกป่าถ้าจะให้ราษฎรมีประโยชน์ให้เขา อยู่ได้ ให้ใช้วิธีปลูกไม้สามอย่าง แต่มีประโยชน์ สี่อย่าง คือ ไม้ใช้สอย ไม้กิน ไม้เศรษฐกิจ โดย ปลูกรองรับการชลประทาน ปลูกรับซับน�้ำและ ปลูกอุดช่วงไหล่ตามร่องห้วย โดยรับน�้ำฝน อย่างเดียว ประโยชน์ที่สี่คือ ได้ระบบอนุรักษ์ ดินและน�้ำ” พระราชด�ำรินี้เป็นแนวคิดของ การผสมผสานการอนุรกั ษ์ดนิ น�ำ้ และการฟืน้ ฟู ทรัพยากรป่าไม้ ควบคูไ่ ปกับความต้องการด้าน เศรษฐกิจและสังคม เพื่อป้องกันมิให้เกิดการ บุกรุกท�ำลายป่าไม้ อันเป็นแหล่งต้นน�้ำล�ำธาร และส่งเสริมให้คนไทยรู้จักการน�ำทรัพยากร ป่าไม้มาใช้ให้เกิดประโยชน์สงู สุดในการด�ำเนิน ชีวิตซึ่งการปลูกป่า ๓ อย่างจ�ำแนกออกได้ดังนี้ ๑. ป่าไม้ใช้สอย อาทิ ไม้ไผ่ ไม้โตเร็วอย่าง สะเดา เป็นต้น ๒. ป่าไม้กินได้ ได้แก่ ไม้ผล และผักกินใบ หรือกินหัวชนิดต่างๆ
๓. ป่าไม้เศรษฐกิจ คือ ไม้ที่ปลูกไว้ขาย ไม่ว่าจะเป็นไม้เศรษฐกิจและไม้ที่ปลูกไว้ขาย เนื้อไม้ เช่น ไม้สัก เป็นต้น ส่วนประโยชน์ ๔ อย่าง จ�ำแนกประโยชน์ แต่ละอย่างออกเป็น ๑. ป่าไม้ใช้สอย น�ำมาสร้างบ้าน ท�ำเล้า เป็ด เล้าไก่ ด้ามจอบเสียม ท�ำหัตถกรรม หรือ กระทั่งใช้เป็นเชื้อเพลิง (ฟืน) ในการหุงต้ม ๒. ป่าไม้กินได้ น�ำมาเป็นอาหาร ทั้งพืช กินใบ กินผล กินหัว และเป็นยาสมุนไพร ๓. ป่าไม้เศรษฐกิจ เป็นแหล่งรายได้ของ ครัวเรือน เป็นพืชที่สามารถน�ำมาจ�ำหน่ายได้ ซึ่งควรปลูกพืชหลากหลายชนิดเพื่อลดความ เสี่ยงเรื่องราคาตกต�่ำและไม่แน่นอน ๔. ประโยชน์ในการช่วยอนุรักษ์ดินและน�้ำ การปลูกพืชที่หลากหลายอย่างเป็นระบบ จะ ช่วยสร้างสมดุลของระบบนิเวศในสวน ช่วย ปกป้องผิวดินให้ชมุ่ ชืน้ ดูดซับน�้ำฝน และค่อยๆ ปลดปล่อยความชื้นสู่สวนเกษตรกรรม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนัก ว่า การฟื้นฟูป่านั้นต้องได้รับความร่วมมือจาก ประชาชนซึ่งต้องมีจิตส�ำนึกในการรักษาป่า และปลูกป่าทดแทนด้วย ทรงเป็นแบบอย่าง แก่ประชาชน ได้พระราชทานพระราชด�ำริแก่ เจ้าหน้าที่ ซึ่งนับเป็นปรัชญาในการด�ำเนินงาน ด้านการพัฒนาป่าไม้ที่ยิ่งใหญ่มาก ดังที่ว่า “...เจ้ า หน้ า ที่ ป ่ า ไม้ ค วรจะปลู ก ต้ น ไม้ ล ง ในใจคนเสียก่อน แล้วคนเหล่านั้นจะพากัน ปลูกต้นไม้ลงบนแผ่นดิน และรักษาต้นไม้ด้วย ตนเอง.....”
11
กฐินพระราชทาน
ของกระทรวงกลาโหม ประจำ�ปี ๒๕๕๖ ร้อยเอกหญิง สายตา อุปสิทธิ์
12
ร้อยเอกหญิง สายตา อุปสิทธิ์
ใ
น วาระที่ พ ระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ทรงมี พ ระมหากรุ ณ าธิ คุ ณ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราช ทานผ้ า พระกฐิ น ให้ ก ระทรวงกลาโหมน� ำไป ถวายพระสงฆ์จำ� พรรษา ณ วัดหัวล�ำโพง แขวง สีพ่ ระยา เขตบางรัก กรุงเทพฯ ในวันอังคารที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ เวลา ๑๔.๐๐ นาฬิกา โดยมี พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รัฐมนตรีช่วย ว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธี นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณและเป็นสิริมงคล อันใหญ่หลวงแก่บรรดาข้าราชการ พนักงาน ราชการ และลูกจ้างของกระทรวงกลาโหม วั น นี้ ร ายการข่ า วส� ำ นั ก งานปลั ด กระทรวง กลาโหม มีสาระความรู้เกี่ยวกับการทอดกฐิน และประวัติวัดหัวล�ำโพง มาฝากท่านผู้ฟังค่ะ การทอดกฐิ น เป็ น ประเพณี อั น ดี ง ามที่ พุ ท ธศาสนิ ก ชนได้ ยึ ด ถื อ ปฏิ บั ติ สื บ ทอดกั น มาเป็นเวลาช้านาน ตั้งแต่ครั้งสมัยพุทธกาล เป็นการรวมพลังแห่งความสามัคคีทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ ในการสร้างบุญกุศล สร้าง ความสุขของการอยู่ร่วมกันในสังคม รวมทั้ง เป็นการจรรโลงและส่งเสริมพระพุทธศาสนา ให้มั่นคงด�ำรงอยู่และวัฒนาถาวรสืบไป เมื่ อ ใดที่ ป ั ญ หาชี วิ ต รุ ม เร้ า หลายๆ คน มั ก นึ ก ถึ ง ความสงบร่ ม เย็ น ของวั ด และมั ก ใช้ สิ่ ง ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ เ พื่ อ เป็ น ที่ ยึ ด เหนี่ ย วจิ ต ใจ หลักเมือง พฤศจิกายน ๒๕๕๖
วัดหัวล�ำโพงถือเป็นอีกหนึ่งพระอารามหลวง และเป็นอีกหนึ่งในศาสนสถานอันศักดิ์สิทธิ์ที่ ชาวพุทธมักจะนึกถึงเป็นล�ำดับแรกๆ ในการ เดิ น ทางไปท� ำ บุ ญ เพื่ อ เป็ น สิ ริ ม งคล ท� ำ บุ ญ สะเคราะห์ตามความเชื่อทางพระพุทธศาสนา วั ด หั ว ล� ำ โพงตั้ ง อยู ่ ถ นนพระราม ๔ แขวง สี่พระยา เขตบางรั ก กรุ ง เทพฯ เดิ ม ชื่ อ วั ด วัวล�ำพอง เป็นวัดราษฎร์ ใครเป็นคนสร้างและ
สร้างเมื่อใด ไม่ปรากฏหลักฐาน แต่คาดว่าคง สร้างในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประมาณ รัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๓ ทั้งนี้โดยอาศัยการ สันนิษฐานจากรูปทรงของอุโบสถหลังเก่าและ เจดีย์ด้านหลังซึ่งสร้างคู่กันมา ความเป็ น มาของวั ด นี้ อ าศั ย จากการเล่ า ต่ อ ๆ กั น มาว่ า ในปี พุ ท ธศั ก ราช ๒๓๑๐ กรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยาถู ก พม่ า ท� ำ ลายเผาผลาญ 13
บ้านเมือง ตลอดจนวัดวาอาราม จนในที่สุดได้ เสียกรุงแก่ข้าศึก เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๓๑๐ ซึง่ เป็นการเสียกรุงครัง้ สุดท้ายในประวัตศิ าสตร์ การสงครามครั้งนั้นประชาชนเสียขวัญและ ได้รับความเดือดร้อน บางพวกไม่สามารถที่ จะอาศัยอยู่ถิ่นเดิมต่อไปได้ จึงพากันอพยพ ครอบครัวลงมาทางใต้และตั้งถิ่นฐานที่บริเวณ วัดหัวล�ำโพง (ในปัจจุบัน) เนื่องจากเห็นว่าเป็น ท�ำเลที่เหมาะ ยังไม่มีเจ้าของถือกรรมสิทธิ์ มี ล�ำคลองเชื่อมโยงสะดวกต่อการสัญจรไปมา จึ ง ได้ ตั้ ง หลั ก ฐานและจั บ จองที่ ดิ น นานปี เข้าต่างก็มีหลักฐานมั่นคงเป็นปึกแผ่นทั่วกัน ต่อมาจึงได้รว่ มกันสร้างวัดขึน้ ตามวิสยั อันดีงาม เช่นบรรพบุรุษชาวพุทธทั้งหลาย และให้ชื่อว่า วัดวัวล�ำพอง ตามความนิยมที่ชื่อของวัดจะ พ้องกับชื่อหมู่บ้าน ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๔๓๓ พระบาท สมเด็ จ พระจุ ล จอมเกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว รั ช กาล ที่ ๕ ซึ่งเป็นยุคทองของการพัฒนาประเทศ ชาติในระบบใหม่ ได้ทรงสร้างทางรถไฟขึ้น เป็ น ครั้ ง แรกในประเทศไทย คื อ จากสถานี กรุ ง เทพฯ ขึ้ น ไปบริ เ วณนอกเมื อ งใกล้ กั บ คูเมืองชั้นนอก และได้พระราชทานนามว่า สถานีหัวล�ำโพง ซึ่งอยู่ห่างจากวัดวัวล�ำพอง ประมาณ ๒ กิโลเมตร ประมาณปีพุทธศักราช 14
ร้อยเอกหญิง สายตา อุปสิทธิ์
๒๔๔๗ ราวเดือนตุลาคมหรือเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นฤดูกาลทอดกฐิน จากหลักฐานและค�ำ บอกเล่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้เสด็จพระราชด� ำเนิน ไปทอดพระกฐิ น ในครั้ ง นั้ น ในการเสด็ จ พระราชด�ำเนินทอดผ้าพระกฐินที่วัดวัวล�ำพอง นั้น ได้โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อวัดเสียใหม่ พระราชทานนามว่า วัดหัวล�ำโพง นั บ แต่ นั้ น มาด้ ว ยเดชานุ ภ าพแห่ ง พระ มหากษั ต ริ ย ์ ไ ทย อั น มี พ ระบาทสมเด็ จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ผู้ทรงวาง รากฐานความเป็นมิ่งมงคลและทรงประกอบ คุณงามความดีตามหลักพรหมวิหาร ให้เป็น ที่ประจักษ์แก่คณะสงฆ์และอุบาสกอุบาสิกา จึ ง ต่ า งก็ ไ ด้ ร ่ ว มกั น ท� ำ นุ บ� ำ รุ ง พระบวรพุ ท ธ ศาสนา สร้างถาวรวัตถุให้เจริญยิ่งขึ้น เพื่อ เป็นการสนองพระมหากรุณาธิคุณต่อพระองค์ ท่ า น ปั จ จุ บั น วั ด หั ว ล� ำ โพงได้ รั บ พระกรุ ณ า โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมจากพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ยกฐานะวัดขึ้นเป็นพระอาราม หลวง ชั้นตรีชนิดสามัญ มีพระเทพวิริยาภรณ์ (นรินทร์ นรินฺโท) เป็นเจ้าอาวาส
หลักเมือง พฤศจิกายน ๒๕๕๖
15
พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก
ความพร้อมของกระทรวงกลาโหม ในการสนับสนุนความเป็น ประชาคมอาเซียนของ ปลัดกระทรวงกลาโหม
พันตรีหญิง สมจิตร พวงโต 16
พันตรีหญิง สมจิตร พวงโต
ส� ำ นั ก งานปลั ด กระทรวงกลาโหม โดย พลเอก นิ พั ท ธ์ ทองเล็ ก ปลั ด กระทรวง กลาโหม ให้ ค วามส� ำ คั ญ ในการสนั บ สนุ น การเตรียมความพร้อมเป็นประชาคมอาเซียน ในปี ๒๕๕๘ ทั้งนี้ได้ให้ความส� ำคัญกับการ ปรับปรุงโครงสร้างองค์กรให้สามารถรองรับ งานอาเซี ย นและงานความร่ ว มมื อ ด้ า น ความมั่นคงได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้ง ได้เตรียมขยายกองอาเซียน ส� ำนักนโยบาย และยุทธศาสตร์เป็นส� ำนักอาเซียนในส� ำนัก นโยบายและแผนกลาโหมขึ้น และได้บรรจุ ก�ำลังพลที่มีความรู้ความสามารถและมีความ สนใจในเรื่องของอาเซียนเข้ามาท�ำงาน เพื่อ รองรั บ การเข้ า เป็ น ประชาคมอาเซี ย นใน ปี ๒๕๕๘ นอกจากนี้ยังให้ความส�ำคัญกับความพร้อม ของบุคลากร โดยเน้นตัวบุคคลที่มีความรู้เรื่อง ภาษาต่ า งประเทศ โดยเฉพาะความรู ้ เ รื่ อ ง ภาษาในกลุม่ ประเทศอาเซียน ซึง่ ถือเป็นกุญแจ ดอกส�ำคัญที่จะท�ำให้เข้าใจและเรียนรู้ติดตาม สถานการณ์ต่างๆ ของกลุ่มประเทศอาเซียนได้ ทุ ก สิ่ ง ทุ ก อย่ า งจะต้ อ งฟั ง ภาษาให้ เ ข้ า ใจ
หลักเมือง พฤศจิกายน ๒๕๕๖
ก่อนเป็นล�ำดับแรก ส�ำนักงานปลัดกระทรวง กลาโหมจึงได้คดั เลือกก�ำลังพลทีม่ คี วามรูค้ วาม สามารถในเรื่องดังกล่าวเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ ส�ำหรับความพร้อมในการประชุมรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงกลาโหมอาเซียน ซึ่งที่ผ่านมา ได้มีการประชุมมาแล้ว ๕ - ๖ ครั้ง ครั้งสุดท้าย ได้จัดการประชุมที่ประเทศบรูไน การประชุม รัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนหรือ ADMM ถือเป็น อีกกลไกหนึ่งที่ให้รัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน แต่ละชาติ เ ข้ า มามี ป ฏิ สั ม พั น ธ์ กั น มี ก ารน� ำ ข้อสรุปของแต่ละครั้งมาลงนามร่วมกัน ส่วน การประชุมอย่างไม่เป็นทางการ หรือ ADMM retreat นั้น ก็ได้มีการจัดการประชุมร่วมกัน เป็นประจ�ำ ซึ่งถือเป็นกระบวนการท�ำงานของ ประเทศนั้นๆ ทั้งนี้ ในกระบวนการท�ำงานของ อาเซียน แต่ละประเทศสมาชิกถือได้ว่ามีความ คุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ในส่วนของเหล่าทัพได้ให้ความร่วมมือเป็น อย่างดี ทั้งยังได้มีการพูดคุยแบบทวิภาคี คือ ๑ : ๑ โดยประกอบด้วยเวทีในการประชุม ร่ ว มกั น ระหว่ า งผู ้ บั ญ ชาการทหารสู ง สุ ด ของประเทศอาเซียน ผู้บัญชาการทหารบก
ผู้บัญชาการทหารอากาศ ผู้บัญชาการทหาร เรือ ถือเป็นอีกกลุ่มที่มีเวทีในการพูดคุยกัน และเป็ น อี ก ช่ อ งทางที่ แ ต่ ล ะประเทศจะมี ปฏิสัมพันธ์กัน การพบปะพูดคุยกันถือเป็นการ สร้ า งความไว้ เ นื้ อ เชื่ อ ใจซึ่ ง กั น และกั น ลด ความหวาดระแวง เพราะฉะนั้นปัญหาใหญ่ น้อยที่มี ไม่ว่าจะเป็นเส้นเขตแดนทางบก ทาง ทะเล เหล่านี้จะถูกน�ำมาหารือพูดคุยกัน เพื่อ หาทางร่วมมือกันในการแก้ปัญหา การด�ำเนิน การที่ผ่านมาเช่นนี้จึงท�ำให้ไทยและประเทศ เพื่อนบ้าน มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น ชายแดนมีความสงบสุข ประชาชนสามารถท�ำ มาค้าขายไปมาระหว่างกันได้ สิ่งที่ส�ำคัญที่สุด คือทหารที่อยู่ตามแนวชายแดน ซึ่งเรามีกอง ก�ำลังที่วางไว้รอบประเทศ เพื่อท� ำหน้าที่ใน เรือ่ งของการป้องกันชายแดน รวมทัง้ ท�ำงานใน ลักษณะที่เรียกว่าดูแลภัยคุกคามรูปแบบใหม่ ตัวอย่างเช่น การค้าอาวุธสงคราม การลักลอบ ขนยาเสพติด การตัดไม้ท�ำลายป่า การท�ำลาย ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นต้น วั น นี้ เ รามี ค วามสั ม พั น ธ์ ที่ ดี กั บ กองก� ำ ลั ง ของประเทศเพื่อนบ้านที่วางก�ำลังคู่กับเราอยู่ เป็นสิ่งที่เราประสงค์ที่สุด และอยากจะเห็น ผู ้ บั ง คั บ หน่ ว ยทหารของไทยกั บ สาธารณรั ฐ แห่งสหภาพพม่า สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว หรือแม้กระทั่งผู้บังคับหน่วย ทหารตัง้ แต่รอ้ ยตรี ร้อยโท ซึง่ นายทหารเหล่านี้ ได้รับนโยบายชัดเจนที่จะต้องมีความสัมพันธ์ ที่ดี สร้างความเข้าใจอย่างต่อเนื่องที่จะไม่ให้ ปัญหานั้นเกิดการลุกลาม กล่าวง่ายๆ เรามี นโยบายไว้นานแล้วว่าการแก้ปัญหาต่างๆ ต้อง ยุติลงที่พื้นที่ชายแดน จะไม่น�ำปัญหาเข้ามา สู่ระดับสูง ทั้งให้เป็นการแก้ปัญหาแบบเป็น ขั้นเป็นตอนจากระดับล่างสุด นั้นคือสิ่งที่พึง ประสงค์ที่สุด 17
วันที่ระลึกทหารอาสา สงครามโลกครั้งที่
กองประชาสัมพันธ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก
เกิดมาในชาติเชื้อ ต้องไม่ให้ชาติใด ขึ้นชื่อว่าเป็นไทย เลือดเนื้อทั้งปวงนั้น
๑
มีเลือดเนื้อเชื้อชาติไทย ดูหมิ่นเล่นเช่นของขัน ต้องมีใจนักรบมั่น ถวายไว้เป็นชาติพลี
บทพระราชนิพนธ์ดงั กล่าวเป็นของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ ๖ ทีท่ รงพระราชนิพนธ์ไว้ใน ช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๑ เพื่อเป็นการเตือนใจคนไทยให้รักชาติรักแผ่นดินของตนเองไว้ไม่ให้ชาติอื่นมาดูหมิ่น ในสมัยรัชกาลที่ ๖ 18
กองประชาสัมพันธ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก
ส
ง ครามโลกครั้ ง ที่ ๑ เริ่ ม ขึ้ น เมื่ อ วันที ่ ๑ สิงหาคม ๒๔๕๗ โดยแบ่ง ผู้ขัดแย้งออกเป็น ๒ ฝ่าย คือฝ่าย เยอรมัน มีพันธกิจผู้หนุนหลังประกอบด้วย ออสเตรีย ฮังการี บัลแกเรีย ตุรกี และฝ่าย สัมพันธมิตร ซึ่งประกอบด้วย รัสเซีย อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และประเทศอื่นๆ รวม ๒๕ ประเทศ ส� ำ หรั บ ประเทศไทย พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ทรงตั ด สิ น พระราชหฤทั ย ประกาศสงครามกั บ ประเทศเยอรมั น และ ออสเตรีย ฮังการี โดยลงพระปรมาภิไธยใน ประกาศสงคราม เมื่อเวลา ๒๔.๐๐ น. ของ วั น ที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๔๖๐ หลั ง จากที่ ประเทศไทยประกาศสงคราม กระทรวง กลาโหมจึ ง ได้ ป ระกาศรั บ สมั ค รทหารอาสา โดยได้คัดเลือกไว้ ๑,๓๓๕ นาย หลังจากผ่าน การอบรมและทดสอบ เหลือก�ำลังปฏิบัติการ จ�ำนวน ๑,๒๘๔ นาย เป็นกองทหารอาสา โดย มี พันเอก พระยาเฉลิมอากาศ (สุณี สุวรรณ ประที ป ) เป็ น ผู ้ บั ง คั บ การกองทหารอาสา สงครามได้ ยื ด เยื้ อ ระยะเวลาอั น ยาวนานถึ ง ๔ ปี จนกระทั่งในวันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๑ เยอรมันได้ติดต่อฝ่ายสัมพันธมิตรขอเจรจา สงบศึ ก จากนั้ น ในวั น ที่ ๑๑ พฤศจิ ก ายน ๒๔๖๑ ฝ่ายสัมพันธมิตร และฝ่ายเยอรมันจึง
หลักเมือง พฤศจิกายน ๒๕๕๖
ได้ลงนามในสัญญาสงบศึกบนรถไฟ ณ เมือง คอนเปียน ประเทศฝรั่งเศส ถึงแม้ว่ากองทหาร อาสาของไทยจะเดินทางไปถึงประเทศฝรั่งเศส ได้ไม่นาน สงครามยุติลง แต่ในช่วงระยะเวลา ดั ง กล่ า ว ก็ ไ ด้ ส ร้ า งชื่ อ เสี ย งให้ แ ก่ ป ระเทศ เช่น เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๔๖๑ กองทหาร บกรถยนต์ ไ ด้ ย กพลไปสู ่ เ ขตหน้ า แห่ ง ยุ ท ธ บริเวณ ได้ทำ� การล�ำเลียงก�ำลังพลแก่กองทัพบก ฝรั่งเศสภายในย่านกระสุนตกด้วยความกล้า
หาญ รัฐบาลฝรั่งเศสจึงได้มอบตราครัวซ์เดอ แกร์ (Croix de guerre) ประดับธงไชยเฉลิมพล ของกองทหารบกรถยนต์เพื่อเป็นเกียรติยศ ส�ำหรับเหรียญตราครัวซ์เดอแกร์ (Croix de guerre) คือเหรียญกล้าหาญ Croix de guerre ของประเทศฝรั่งเศส ได้ถูกสถาปนา ขึ้นเมื่อวันที่ ๘ เมษายน ค.ศ. ๑๙๑๕ โดย รัฐบาลฝรั่งเศส เพื่อเป็นการระลึกถึงเกียรติ แห่งความกล้าหาญของเหล่าทหารหาญในการ
19
ต่อสู้กับศัตรูในสนามรบ รูปแบบของเหรียญมี ลักษณะเป็นกางเขนเสียบไขว้ด้วยดาบคู่ ตรง กลางมีสัญลักษณ์ประเทศฝรั่งเศส ด้านหลัง ระบุ ค.ศ. ๑๙๑๔ – ๑๙๑๕, ๑๙๑๔ – ๑๙๑๖, ๑๙๑๔ – ๑๙๑๗ หรือ ๑๙๑๔ – ๑๙๑๘ และ เหรียญ Croix de guerre ได้ถูกสถาปนาขึ้น ใหม่อกี ครัง้ ในปี ค.ศ. ๑๙๓๙ เมือ่ สงครามโลก ครั้งที่ ๒ อุบัติขึ้น โดยทั่วไปแล้ว เหรียญนี้จะ มอบแก่ทหารสัมพันธมิตรทุกชาติ ทุกเหล่าทัพ และทุกชั้นยศ ไม่ว่าจะเป็นทหารบก ทหาร เรือ ทหารอากาศ เหรียญ Croix de guerre แยกตามชั้นได้ดังนี้ เหรียญทองแดง (มอบโดย กองทัพ) เหรียญเงิน (มอบโดยกองพล) เหรียญ เงินเลี่ยม (มอบโดยกองพัน) เหรียญดาวเงิน (มอบโดยกองพล) และเหรียญดาวทองแดง (มอบโดยกองร้อย) และส�ำหรับผู้มีความกล้า หาญพิเศษจะได้รับเหรียญประดับแพรแถบ สีเขียวริว้ แดง ทัง้ นีผ้ ทู้ ไี่ ด้รบั เหรียญทองแดง ๕ เหรียญ จะมีสิทธิรับเหรียญเงินได้ และส�ำหรับ ผู้ที่ได้รับเหรียญ Legion d Honneur และ Medaille Millitaire ก็รบั สิทธิพเิ ศษรับเหรียญ Croix de guerre ได้ทันทีเช่นกัน โดยทหาร สัมพันธมิตรทุกชาติ จะอยูภ่ ายใต้กฎเกณฑ์การ รับเหรียญเดียวกัน ส�ำหรับทหารอาสาของไทย การกลับมาสู่ มาตุภูมิเป็นไปอย่างอบอุ่นและสมเกียรติ กอง ทหารบกรถยนต์เดินทางถึงท่าราชวรดิฐ เมื่อ วันที่ ๒๑ กันยายน ๒๔๖๓ โดยพระบาทสมเด็จ พระมงกุ ฎเกล้ าเจ้ าอยู่หัวทรงกล่าวต้อนรับ กองทหารอาสา เสร็จแล้วทรงผูกเครื่องราช อิสริยาภรณ์ อันมีศักดิ์รามาธิบดีพระราชทาน แก่ธงไชยเฉลิมพล และพระราชทานเครือ่ งราช อิสริยาภรณ์แด่ทหารอาสา นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง อนุสาวรียท์ หารอาสาสงครามโลกครัง้ ที่ ๑ เป็น อนุสรณ์สถานที่ระลึกถึงเกียรติประวัติทหาร ของไทยที่อาสาเดินทางไปร่วมปฏิบัติการรบ ในทวีปยุโรป ซึ่งอนุสาวรีย์แห่งนี้ตั้งอยู่กึ่งกลาง สนามหลวง สามเหลี่ ย มทางมุ ม ตะวั น ตก เฉียงเหนือของท้องสนามหลวง ฝั่งตรงข้าม โรงละครแห่งชาติ เพื่อบรรจุอัฐิทหารหาญที่ เสียชีวติ ลงในขณะปฏิบตั กิ ารรบในสงครามโลก ครั้งที่ ๑ จ�ำนวน ๑๙ นาย โดยมีพิธีบรรจุอัฐิ เมื่อวันที่ ๒๔ กันยายน ๒๔๖๒ และได้มีการ จารึกนามของผู้เสียชีวิตในสงครามไว้ทั้งหมด ตลอดจนกระทั่งวันเกิด วันถึงแก่กรรม และ สถานที่ถึงแก่กรรมของทุกคน นับว่าล้วนเป็น ผู้ซึ่งได้สละชีวิตถวายเป็นชาติพลี เพื่อเผยแพร่ เกียรติคุณของชาติไทยและกรุงสยาม รวมทั้ง เพื่อรักษาความเป็นธรรมระหว่างประเทศให้ บรรดาคนไทยทั้งหลายได้ระลึกถึงและดูเป็น แบบอย่างอันดีงามสืบไป 20
จากการตัดสินใจเข้าร่วมในฝ่ายสัมพันธมิตร ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ ก ่ อ ให้ เ กิ ด ประโยชน์ แ ก่ ป ระเทศหลาย ประการ ซึ่งการเข้าร่วมรบในสงครามครั้งนั้น ท� ำ ให้ ป ระเทศต่ า งๆ ในโลกโดยเฉพาะชาติ สั ม พั น ธมิ ต ร ยุ โ รป และอเมริ ก า ได้ รู ้ จั ก ประเทศไทย เนื่องจากทหารอาสาของไทยที่
ไปร่วมรบได้สร้างชื่อเสียงด้วยความมีระเบียบ วินัยที่ดี มีความกล้าหาญและเด็ดเดี่ยว ตลอด จนมี ม นุ ษ ยสั ม พั น ธ์ ที่ ดี ส ามารถสร้ า งความ ประทับใจให้เกิดแก่บรรดาสัมพันธมิตร ท�ำให้ เกิ ด ความชื่ น ชมประเทศไทยและทหารไทย เป็นอย่างมาก นอกจากนี้ยังส่งผลให้ชาติต่างๆ ในยุโรป ๑๓ ประเทศ ที่เคยท�ำสัญญาผูกมัด กองประชาสัมพันธ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก
มาปรับปรุงใช้ในกองทัพ ส่วนกองบินเป็นทหาร บกได้จดั ตัง้ เป็นกรมอากาศยานขึน้ เป็นครัง้ แรก และต่อมาได้วิวัฒนาการเป็นกองทัพอากาศใน ปัจจุบัน ส�ำหรับกองทหารบกรถยนต์ได้พัฒนา เป็นกรมการขนส่งทหารบก ส�ำหรับวันที่ระลึกทหารอาสาสงครามโลก ครัง้ ที่ ๑ ในปีนี้ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชู ป ถั ม ภ์ ถื อ โอกาสส� ำ คั ญ ใน การที่ จ ะท� ำ ให้ ป ระชาชนและอนุ ช นรุ ่ น หลั ง ได้ร�ำลึกถึงวีรกรรมของทหารไทยในสมรภูมิ
ประเทศไทย ยอมแก้ไขสัญญาที่ท�ำไว้เดิมโดย เฉพาะการยกเลิกอ�ำนาจศาลกงสุล โดยให้ชาว ต่างชาติที่กระท�ำผิดในประเทศมาขึ้นศาลไทย และยังได้อิสรภาพในการก�ำหนดพิกัดอัตรา ภาษีศลุ กากร ได้มกี ารเปลีย่ นธงชาติจากช้างมา เป็นธงไตรรงค์ ด้านกองทหารอาสาไทยได้น�ำ ความรู้จากการฝึกและการปฏิบัติทางยุทธวิธี
หลักเมือง พฤศจิกายน ๒๕๕๖
พระบรมราชินนี าถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้แทนพระองค์วางพวงมาลา นอกจากนี้ ยังมีผู้แทนจากส่วนราชการ หน่วยงาน สมาคม มู ล นิ ธิ ผู ้ ช ่ ว ยทู ต ฝ่ า ยทหารต่ า งประเทศ ตลอดจนทายาททหารอาสาสงครามโลก ครั้งที่ ๑ มาร่วมวางพวงมาลา
ต่ า งแดนด้ ว ยการจั ด ให้ มี พิ ธี ในวั น จั น ทร์ ที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ ในช่วงเช้าพิธีบ�ำเพ็ญ กุศลทางศาสนาพุทธ เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ ดวงวิญญาณของทหารอาสาผู้ล่วงลับ ส�ำหรับ ในช่ ว งบ่ า ยพิ ธี ว างพวงมาลา ณ อนุ ส าวรี ย ์ ทหารอาสา บริเวณท้องสนามหลวง พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ
21
ความร่วมมือ ด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ในกรอบอาเซียน
ร้อยตรี วัชรเทพย์ ปีตะนีละผลิน
ห
า กให้ ก ล่ า วถึ ง บทบาทของ อุตสาหกรรมป้องกันประเทศนัน้ คงจะตีความหมายได้สั้นๆ ว่า “การผลิตหรือพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์ในการ ป้องกันประเทศ” ตามความเข้าใจของหลายๆ คน อุตสาหกรรมป้องกันประเทศมีความส�ำคัญ และมีความจ�ำเป็นที่จะต้องมีหรือไม่ ค�ำถาม เหล่ า นี้ มั ก ถู ก ถามขึ้ น จากความไม่ รู ้ แ ละไม่ เข้าใจ เพราะคนส่วนใหญ่มักคิดว่าจะมีอาวุธไว้ ท�ำไมในเมื่อหลายๆ คนก็ต่างต้องการความ สันติสขุ ด้วยกันทัง้ นัน้ แทนทีจ่ ะน�ำเงินไปจัดหา ซื้ออาวุธต่างๆ ควรน�ำไปลงทุนหรือพัฒนาด้าน อื่นยังจะดีกว่า เพราะคนส่วนใหญ่มักคิดว่าจะ ไปรบกับใครถึงต้องมีอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ สมัยนี้ไม่จ�ำเป็นจะต้องมาท�ำสงครามกันแล้ว ใช้การเจรจาจะดีกว่าเนื่องจากสูญเสียน้อย กว่าหรือแทบไม่มีเลย แต่หลายๆ คนก็คงจะ ลืมไปว่าถ้าขาดการพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์ ให้มคี วามทันสมัย ความสามารถในการป้องกัน ประเทศก็จะลดน้อยลงตามไปด้วย หรือกล่าว อีกนัยหนึ่งได้ว่า ความสามารถที่จะต่อกรกับ ศัตรูจะไม่สามารถสู้ได้ เพราะศัตรูมีการพัฒนา อาวุธทีท่ นั สมัย ถ้าเราไม่พฒ ั นาอาวุธให้ทนั สมัย หรือเทียบเท่ากับศัตรู เราอาจจะเป็นประเทศที่ อ่อนแอและถูกผูอ้ นื่ กดขีไ่ ด้ ดังนัน้ อุตสาหกรรม ป้องกันประเทศจึงมีบทบาทส�ำคัญอย่างมาก ในด้านของการป้องกันประเทศ 22
แต่ ถ ้ า ถามว่ า แล้ ว เราจะสู ้ กั บ ประเทศ สมาชิ ก ประชาคมอาเซี ย น ในกรอบความ มหาอ�ำนาจที่มีความสามารถในการสร้างอาวุธ ร่วมมือส�ำคัญของเสา “ประชาคมการเมือง ยุทโธปกรณ์ได้ดีกว่ายังไง ก็คงตอบแบบง่ายๆ และความมั่นคงอาเซียน” ว่า “ไม่นา่ ทีจ่ ะสูไ้ ด้” เพราะศักยภาพด้านความรู้ “กรอบความร่ ว มมื อ ด้ า นอุ ต สาหกรรม และความสามารถของประเทศมหาอ�ำนาจนั้น ป้ อ งกั น ประเทศของกลุ ่ ม อาเซี ย น (Asean มีเหนือกว่าเรามาก ทั้งอุปกรณ์ ทรัพยากรและ Defence Industry Collaboration : ADIC)” บุคลากร แต่ถึงกระนั้นก็ใช่ว่าเราจะไม่สามารถ เป็นหนึ่งในกรอบความร่วมมือส�ำคัญของเสา สู ้ ไ ด้ ถ้ า เรามี ก ารพั ฒ นาด้ า นบุ ค ลากรให้ มี “ประชาคมการเมืองและความมัน่ คงอาเซียน” ความรู้ความสามารถ และที่ส�ำคัญการร่วมมือ ประเทศมาเลเซียเป็นผู้เสนอแนวคิดการจัดตั้ง กันของกลุ่มสมาชิกอาเซียนทั้ง ๑๐ ประเทศ ADIC ตัง้ แต่ปี ๒๕๕๒ กรอบความร่วมมือนีต้ อ้ ง เกี่ยวกับแนวทางร่วมกันพัฒนาศักยภาพด้าน ใช้เวลาราว ๒ ปี จึงจะได้รับการรับรองจาก การป้องกันประเทศ ตามบทสรุปร่วมกันของ ที่ประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน ครั้งที่ ๕
ร้อยตรี วัชรเทพย์ ปีตะนีละผลิน
เมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๔ จากนั้นจึง มี ก ารจั ด ตั้ ง คณะที่ ป รึ ก ษา (Consultative Group) ท�ำหน้าที่ประสานงาน เพื่อให้มีผลใน ทางปฏิบัติ และก�ำกับดูแลโครงการตามที่ได้ ตกลงกันภายใต้ ADIC ADIC มีเป้าหมายมุง่ เสริมสร้างความร่วมมือ ในด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศในกลุ่ม สมาชิกอาเซียนให้มีความพร้อมที่จะเผชิญภัย คุกคามรูปแบบต่างๆ โดยความร่วมมือนี้จะน�ำ ไปสู่การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ องค์ความรู้ และพัฒนาศักยภาพของอุตสาหกรรมป้องกัน ประเทศในกลุ่มสมาชิก ให้มีความแข็งแกร่ง ลดการพึ่งพาจากภายนอก มองภาพรวมของอุ ต สาหกรรมป้ อ งกั น ประเทศในภูมิภาคอาเซียน พบว่า ส่วนใหญ่ รั ฐ บาลเป็ น ผู ้ ด� ำ เนิ น การโดยตรงผ่ า นบริ ษั ท ที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ โดยกลุ่มอาเซียนมี ๒ ประเทศ คือ ลาว และบรูไน ที่ไม่มีการผลิต ยุทโธปกรณ์เอง ขณะที่สิงคโปร์เป็นประเทศ ผู้น�ำด้านเทคโนโลยี ส่วนเวียดนามและพม่า มีการพึ่งพาตนเองมากที่สุด โดยเฉพาะพม่า สามารถผลิตอาวุธได้เองทั้งๆ ที่ถูกห้ามการ น�ำเข้ากว่า ๑ ทศวรรษ แม้การสร้างความร่วมมือด้านอุตสาหกรรม ป้องกันประเทศในอนาคต จะเน้นความร่วมมือ ในกลุ่มอาเซียนอย่างเป็นรูปธรรม แต่มองกัน ว่าอาจเกิดขึ้นได้ยาก เพราะนโยบายป้องกัน ประเทศของหลายชาติยังอยู่บนพื้นฐานความ ไว้ ว างใจต่ อ กั น ซึ่ ง เป็ น ผลพวงจากช่ ว งยุ ค สงครามเย็นที่ผ่านมา รวมทั้งแนวคิดชาตินิยม จึงกล่าวกันว่า การพัฒนาความร่วมมือนี้ควร ใช้ช่องทางผ่านภาคเอกชนเพื่อเพิ่มการพึ่งพา กั น ในอาเซี ย นต่ อ ไปในอนาคต แต่ ใ นขณะ เดียวกันรัฐบาลแต่ละประเทศก็ควรสนับสนุน ให้กองทัพของตนน�ำขีดความสามารถด้านการ ผลิ ต อุ ต สาหกรรมป้ อ งกันประเทศที่มีอยู่มา พัฒนาร่วมกันก่อน แล้วค่อยน�ำไปสู่ข้อตกลง
หลักเมือง พฤศจิกายน ๒๕๕๖
การลงทุนร่วมกัน เพื่อลดความเสี่ยงด้านค่า ใช้จ่ายจากการค้นคว้า วิจัย และพัฒนา
อุตสาหกรรม ป้องกันประเทศ ของประเทศอาเซียน บรู ไ นดารุ ส ซาลาม มี ก องทั พ ขนาดเล็ ก ที่สามารถซ่อมบ�ำรุงในขั้นที่ ๑ และขั้นที่ ๒ การซ่อมขั้นที่สูงกว่าขั้นที่ ๒ ต้องส่งซ่อมไป ยั ง ประเทศผู ้ ผ ลิ ต ยุ ท โธปกรณ์ นั้ น ๆ เพราะ มี ข ้ อ จ� ำ กั ด ด้ า นทรั พ ยากร บุ ค คล วั ต ถุ ดิ บ ความรู้ด้านอุตสาหกรรมและการวิจัยพัฒนา ในประเทศจึ ง ไม่ คุ ้ ม ค่ า ในการลงทุ น ด้ า น อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ราชอาณาจักรกัมพูชา เป็นประเทศที่ให้ ความเร่งด่วนในการพัฒนากองทัพตั้งแต่การ จัดตัง้ การฝึก และการดูแลความเป็นอยูพ่ นื้ ฐาน ของทหาร ดั ง นั้ น จึ ง ไม่ มี ค วามพร้ อ มในการ ลงทุนด้านอุสาหกรรมป้องกันประเทศที่ต้อง ใช้งบประมาณและเทคโนโลยีสูง แต่พร้อมที่ จะฝึกอบรมบุคลากรของกัมพูชาและให้ความ ร่วมมือกับประเทศสมาชิกอาเซียน สาธารณรัฐอินโดนีเซีย มีการด� ำเนินงาน ด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศที่สามารถ ผลิตปืนพก ปืนเล็กยาว ปืนกลเบา เครื่องยิง ลูกระเบิด ปืนใหญ่สนาม ขนาด ๑๐๕ มม. รถ ล�ำเลียงพลล้อยาง เรือตรวจการณ์ เครื่องบิน ล�ำเลียง เฮลิคอปเตอร์ ระเบิดชนิดต่างๆ ระบบ โซน่า และยินดีให้ความร่วมมือกับประเทศใน กลุ่มสมาชิกอาเซียน ทั้งในด้านการศึกษา การ วิเคราะห์ทางเทคนิค และสามารถปรับปรุง การปฏิบัติงานให้เหมาะสมกับความต้องการ พื้นฐานและหลักนิยมของแต่ละประเทศ มาเลเซีย ให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยว สาธารณรั ฐ ประชาธิ ป ไตยประชาชนลาว ไม่ มี ง บประมาณเพี ย งพอในการลงทุ น ด้ า น กับอุตสาหกรรมป้องกันประเทศในลักษณะ การศึกษา การจัดหา การพัฒนานโยบาย และ อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ การก� ำ หนดทิ ศ ทางความร่ ว มมื อ ให้ เ กิ ด ขึ้ น อย่างเป็นรูปธรรม โดยการจัดสัมมนา ประชุม ถกแถลง เยี่ยมเยือน และการสร้างเครือข่าย ด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ หรือจัดตั้ง Asean Defence Industry Council (ADIC) สาธารณรั ฐ ฟิ ลิ ป ปิ น ส์ เสนอให้ มี ค วาม ร่วมมือในด้านการวิจัยพัฒนา และแลกเปลี่ยน ความรูร้ ะหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน รวมถึง การบริหารจัดการทรัพยากรให้เหมาะสมและ แลกเปลี่ยนบุคลากรหรือข้อมูลข่าวสาร โดย การประชุมสัมมนาร่วมกัน รวมทั้งประสาน ความร่วมมือเกีย่ วกับการจัดหาและการส่งออก สินค้าอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ สาธารณรัฐสิงคโปร์ เสนอให้มีการบริหาร งานแบบบริ ษั ท เอกชนในเชิ ง ธุ ร กิ จ เพื่ อ ให้ สามารถแข่ ง ขั น ในด้ า นการตลาดได้ ดี มี 23
นวัตกรรมใหม่มาทดแทน สินค้ามีคุณภาพและ มีการบริการหลังการขายตลอดอายุการใช้งาน ไทย มี ก ารด� ำ เนิ น งานด้ า นอุ ต สาหกรรม ป้องกันประเทศที่สามารถผลิตลูกกระสุนปืน และลูกระเบิดยิงจากเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด ต่างๆ พร้อมด้วยเครื่องยิงลูกระเบิด ยาและ เวชภัณฑ์ และการผลิตแบตเตอรี่ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เห็นว่าควร มีการศึกษาด้านนโยบายการก่อตั้งและพัฒนา ด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของประเทศ สมาชิกอาเซียน และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ รวมทั้งบทเรียนจากการตั้งองค์กรและบริหาร งาน และควรมีความร่วมมือในด้านการแลก เปลี่ยนเทคโนโลยีและฝึกอบรมบุคลากร สหภาพพม่า ไม่มีข้อมูล ความคื บ หน้ า ล่ า สุ ด ของ ADIC ซึ่ ง อยู ่ ระหว่างการพัฒนาของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง นั้น มีสาระน่าสนใจ ๓ ประเด็น คือ เรื่องขีดความสามารถ และความต้องการ ด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของแต่ละ ประเทศสมาชิกอาเซียน พบว่า โดยรวมสมาชิก อาเซี ย นยั ง พั ฒ นาได้ ค ่ อ นข้ า งน้ อ ย มี เ พี ย ง ประเทศอินโดนีเซีย ที่มีขีดความสามารถสูง และแสดงความพร้อมในความร่วมมือด้านการ ต่อเรือ SSV (Strategic Sealift Vessel) ทั้ง การวิจัย พัฒนาร่วม และการผลิตร่วมกันกับ ชาติสมาชิกที่สนใจ ทั้งยังสนับสนุนให้มีความ ร่วมมือระหว่างชาติสมาชิกกลาโหมอาเซียน ในการผลิตยุทโธปกรณ์ขนาดเล็ก กระสุน และ ดินระเบิด ร่ า งข้ อ ก� ำ หนดและขอบเขตของคณะ ที่ปรึกษา ADIC ที่ประชุมย�้ำว่า การเข้าร่วม เป็นคณะที่ปรึกษา ADIC ต้องมาจากความ สมัครใจของชาติสมาชิก โดยความร่วมมือใน กรอบ ADIC จะด�ำเนินการตามโครงการของ ชาติสมาชิกที่เข้าร่วม และการรักษาความลับ หรือข้อมูลของโครงการนั้นๆ จะถูกรักษาสิทธิ การเปิดเผยเฉพาะประเทศเจ้าของโครงการ นั้นๆ เท่านั้น ไม่สามารถเปิดเผยชาติสมาชิก อาเซียนที่เข้าร่วมอื่นๆ ได้ ส่วนการรองรับการ 24
ด�ำเนินการและข้อพิจารณาต่างๆ ต้องเสนอ ต่ อ การประชุ ม เจ้ า หน้ า ที่ อ าวุ โ สกลาโหม อาเซียน (ADSOM) เพื่อรองรับเท่านั้น แนวทางการร่ ว มมื อ ผ่ า นการจั ด ตั้ ง คณะ ท�ำงาน เสนอโดยกระทรวงกลาโหมมาเลเซีย เพื่อสรรหาขีดความสามารถของอุตสาหกรรม ป้ อ งกั น ประเทศที่ ช าติ อ าเซี ย นจะสามารถ ให้ความร่วมมือกันได้ แบ่งเป็น ๖ กลุ่มหลัก ได้แก่ อุตสาหกรรมอากาศยาน อุตสาหกรรม ทางทะเล อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรม อาวุ ธ ยุ ท โธปกรณ์ อุ ต สาหกรรมเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร และอุตสาหกรรม ตามความต้องการทั่วไป รู ป แบบและแนวทางการพั ฒ นาความ ร่ ว มมื อ ด้ า นอุ ต สาหกรรมป้ อ งกั น ประเทศ ระหว่ า งภาครั ฐ และเอกชนในประเทศและ กรอบอาเซียนนั้น ในขั้นต้น ทหารต้องน�ำ โดย มีเอกชนตาม ในทุกขั้นตอนของห่วงโซ่อุปทาน โดยเริ่มตั้งแต่การวิจัยและพัฒนา ซึ่งถือเป็น ต้ น น�้ ำ ของอุ ต สาหกรรมป้ อ งกั น ประเทศที่ ต้ อ งให้ ค วามส� ำ คั ญ เพื่ อ น� ำ ไปสู ่ ก ารพั ฒ นา ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพได้มาตรฐานและตอบ สนองความต้องการต่อการใช้งาน จึงจ�ำเป็น
ต้องอาศัยการวิจัยที่หลากหลายลักษณะ ทั้ง การวิจัยโดยหน่วยงานภายใน การวิจัยร่วม กับหน่วยงานภายนอก การรับการถ่ายทอด เทคโนโลยี รวมทั้ ง การออกแบบและจั ด ท� ำ รูปแบบ ซึ่งการวิจัยและพัฒนาจะต้องอาศัย ความร่วมมือในการด�ำเนินการจากหน่วยผลิต ต่างๆ โดยมีเหล่าทัพเป็นผูท้ ดสอบต้นแบบและ รับรองมาตรฐานยุทโธปกรณ์ จากนั้นจึงเข้าสู่ สายการผลิตไปยังปลายน�้ำในลักษณะโครงการ ร่วม โดยใช้ฐานการผลิตทั้งของภาครัฐและ เอกชน ใช้ทรัพยากรและก� ำลังการผลิตของ หน่วยผลิตที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ได้สูงสุด เมื่อ ความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชนในประเทศ เข้มแข็ง ได้มาตรฐานเป็นทีย่ อมรับแล้ว จึงค่อย ขยายขอบเขตความร่วมมือไปต่างประเทศ ด้ า นการลงทุ น ในการด� ำ เนิ น ภารกิ จ ของ อุ ต สาหกรรมป้ อ งกั น ประเทศ จะมาจาก สองแหล่งคือ งบประมาณแผ่นดิน และเงิน ทุนหมุนเวียน แต่ส�ำหรับการท�ำโครงการร่วม แหล่งเงินทุนคือ เงินทุนหมุนเวียนและเงินทุน จากภาคเอกชน ซึ่งจ�ำเป็นต้องค�ำนึงถึงสภาพ คล่องและการคืนทุนด้วย แต่อย่างไรก็ตาม ในการขับเคลื่อนไปสู่การบรรลุเป้าประสงค์
ร้อยตรี วัชรเทพย์ ปีตะนีละผลิน
จ�ำเป็นต้องมีการพัฒนาระบบกองทุนเพื่อการ ผลิตและกลไกในการบริหารจัดการ จัดสรร และควบคุมการใช้ด้วย ด้านการจัดหาวัตถุดิบ ถือเป็นการด�ำเนิน การในช่วงกลางน�้ำของอุตสาหกรรมป้องกัน ประเทศ ซึ่ ง เป็ น การด� ำ เนิ น การโดยหน่ ว ย ผลิตเองในการจัดหาวัตถุดิบจากภาคเอกชน ในประเทศเป็นหลัก ซึ่งจ�ำเป็นต้องค�ำนึงถึง คุ ณ ภาพ ประสิ ท ธิ ภ าพ ความจ� ำ กั ด และ โอกาสในการเข้าถึงวัตถุดิบด้วย ดังนั้นในการ จัดหาวัตถุดิบจึงจ�ำเป็นต้องมีการพัฒนากลไก โดยเฉพาะกลไกกลางที่มีอ�ำนาจในการต่อรอง ซึ่งในภาคเอกชนมีความคล่องตัวกว่าเพื่อท�ำ หน้าที่ในการจัดหาวัตถุดิบต่างๆ ป้อนเข้าสู่ การผลิต โดยโรงงานของภาครัฐ และโรงงาน ของเอกชนในประเทศ ด้านการผลิต เป็นส่วนการด�ำเนินการหลัก เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ตามที่ต้องการ การผลิต ของอุตสาหกรรมป้องกันประเทศนั้นมีหลาก หลายวิธีการ ขึ้นอยู่กับรูปแบบของผลิตภัณฑ์ ซึ่ ง รวมถึ ง การจ้ า งหน่ ว ยงานอื่ น ๆ หรื อภาค เอกชนผลิตให้ หรือการด�ำเนินการโดยหน่วย ผลิ ต เอง ทั้ ง การด�ำ เนิ น การซ่ อ มบ�ำ รุ ง การ ประกอบชิน้ ส่วนเป็นผลิตภัณฑ์ การผลิตเฉพาะ บางส่วน และการผลิตทั้งชิ้นงาน แต่อย่างไร ก็ตามยังมีประเด็นพิจารณาที่น่าสนใจในการ ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ คือ การจ้างผลิต ซึง่ จะท�ำให้ภาคเอกชนในประเทศ หันมาสนใจการวิจัยและพัฒนา และด� ำเนิน ธุรกิจด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศมาก ขึ้น โดยรัฐจะต้องมีกลไกควบคุมการผลิตให้ เป็นไปตามเป้าประสงค์ด้านความมั่นคงและ ประสิทธิภาพ การส�ำรองและส่งมอบ ถือได้ว่าเป็นการ ด� ำ เนิ น การในส่ ว นปลายน�้ ำ เพื่ อ ให้ ก ารน� ำ ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ไ ปใช้ บ รรลุ ต ามเป้ า ประสงค์ ซึ่ ง หน่วยผลิตจะต้องส�ำรองผลิตภัณฑ์ตามก�ำหนด เพื่ อ เป็ น หลั ก ประกั น ความมั่ น คงและการมี อาวุธยุทโธปกรณ์ไว้ใช้ในยามจ�ำเป็น และส่ง มอบผลิตภัณฑ์ตามจ�ำนวนสั่งของผู้ใช้ อย่างไร ก็ ต ามการส� ำ รองผลิ ต ภั ณ ฑ์ ก็ จ ะส่ ง ผลต่ อ สถานะทางการเงินต่อหน่วยผลิต เนื่องจาก เงินที่จมอยู่กับส�ำรองคงคลัง ท�ำให้ไม่เกิดการ หมุ น เวี ย นของเงิ น ทุ น ซึ่ ง หากเงิ น ทุ น เหลื อ น้อยก็จะส่งผลต่อสภาพคล่องทางการเงินได้ ดังนั้นผลิตภัณฑ์ส่วนที่เหลือจากการส่งมอบ ให้ กั บ ผู ้ ใ ช้ ใ นส่ ว นต่ า งๆ หรื อ หากก� ำ ลั ง การ ผลิ ต ที่ ยั ง ใช้ ไ ม่ เ ต็ ม ก� ำ ลั ง อาจพิ จ ารณาใช้ ประโยชน์จากขีดความสามารถและก�ำลังเหลือ ดังกล่าว โดยมีกลไกการตลาดของภาคเอกชน น�ำผลิตภัณฑ์ไปขายให้ส่วนราชการอื่นหรือ ตลาดต่างประเทศ โดยการด�ำเนินการในด้าน การตลาดจะต้องค�ำนึงถึงการสร้างความเชือ่ ถือ หลักเมือง พฤศจิกายน ๒๕๕๖
เชื่อมั่นให้กับผลิตภัณฑ์ผ่านกระบวนการสร้าง แบรนด์ (Brand) และการสร้างมาตรฐานให้แก่ ผลิตภัณฑ์ ซึง่ อาจต้องอาศัยกลไกในการพัฒนา ตลาดที่ มี ค วามสามารถในการเข้ า ถึ ง กลุ ่ ม เป้าหมายต่างๆ โดยเฉพาะกลไกในรูปแบบ ความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ แต่ ถึ ง อย่ า งไรก็ ต ามการร่ ว มมื อ ด้ า น อุตสาหกรรมป้องกันประเทศในกรอบอาเซียน จะไม่ประสบผลส�ำเร็จได้เลยถ้าขาดการร่วมมือ และสนับสนุนซึ่งกันและกันระหว่างรัฐบาลกับ เอกชนจากภายในประเทศเสียก่อน โดยควรที่ จะต้องมีการจัดตั้งหน่วยงานกลางที่ประกอบ ด้ ว ยเหล่ า ทั พ ต่ า งๆ รั บ รองมาตรฐานหรื อ คุ ณ ลั ก ษณะเฉพาะผลิ ต ภั ณ ฑ์ ยุ ท โธปกรณ์ รวมถึงผลงานวิจัยต่างๆ โดยมาตรฐานหรือ คุ ณ ลั ก ษณะเฉพาะดั ง กล่ า วจะต้ อ งเป็ น ที่ ยอมรับ และมีข้อบังคับให้เหล่าทัพน�ำไปใช้
รวมถึ ง เอกชนและประเทศในกลุ ่ ม อาเซี ย น ยอมรั บ ด้ ว ย อี ก ทั้ ง ภาครั ฐ ควรสนั บ สนุ น ให้ มี ก ารตรา พ.ร.บ.ส่ ง เสริ ม อุ ต สาหกรรม ป้องกันประเทศ พร้อมทั้งการสนับสนุนให้มี การแปรรูปหน่วยงานภาครัฐให้สามารถขาย เชิงพาณิชย์ได้ มีก�ำหนดมาตรการด้านภาษี ช่วยเหลือเอกชนที่ประกอบการอุตสาหกรรม ป้องกันประเทศ และขายให้กับส่วนราชการ ให้มีการลดหย่อนด้านภาษี และภาครัฐควร ส่ ง เสริ ม การลงทุ น ในอุ ต สาหกรรมป้ อ งกั น ประเทศอย่างต่อเนื่องมีระบบเพื่อให้เกิดการ พัฒนาศักยภาพอย่างมีประสิทธิภาพ
25
โครงการพัฒนาสมรรถนะ หน่วยช่วยขับเคลื่อน (APU) ผลงานวิจัยดีเด่น อันดับที่ ๑ ด้านยุทโธปกรณ์ ประจ�ำปี ๒๕๕๖ ของกองทัพบก โดยศูนย์อ�ำนวยการ สร้างอาวุธ ศูนย์การอุตสาหกรรม ป้องกันประเทศและพลังงานทหาร ศูนย์อ�ำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร
ก
อ งทั พ บกได้ จั ด หาปื น ใหญ่ ห นั ก กระสุ น วิ ถี ร าบแบบ ๓๔ ขนาด ๑๕๕ มม. เข้าประจ�ำการตั้งแต่ ปี ๒๕๓๔ มีจ�ำนวนทั้งสิ้น ๙๒ กระบอก และ กองทัพเรือ ๓๖ กระบอก รวม ๑๒๘ กระบอก ปนร.๓๔ ทั้ง ๑๒๘ กระบอก เป็นปืนใหญ่ที่ ได้ติดตั้งหน่วยขับเคลื่อน (APU) จ� ำนวน ๖ กระบอก ซึ่งเป็นของกองทัพเรือ โดยการจัดหา จากต่างประเทศ ที่เหลือเป็น ป. ที่ยังมิได้ติด ตั้งหน่วยช่วยขับเคลื่อน (APU) แต่โครงสร้าง ของ ป. ได้มีการออกแบบไว้ส�ำหรับรองรับ การติดตั้งหน่วยช่วยขับเคลื่อน (APU) เมื่อผู้ ใช้มีความต้องการ แต่เนื่องจากการจัดหาจาก ต่ า งประเทศมี ร าคาสู ง มาก ประกอบกั บ งบ ประมาณของ กห. มีจ�ำกัด จึงยังไม่ได้มีการ จัดหาเพื่อใช้ในกองทัพ ดังเช่นราคาจัดหาจาก บริษัท NORICUM ประเทศออสเตรีย เมื่อปี ๒๕๔๖ ราคาชุดละประมาณ ๓๓ ล้านบาท 26
ศูนย์อ�ำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร
ซึ่ง ปนร.๓๔ ขนาด ๑๕๕ มม. (GHN – 45) ของกองทั พ บก และกองทั พ เรื อ ที่ ยั ง มิ ไ ด้ ติ ด ตั้ ง หน่ ว ยช่ ว ยขั บ เคลื่ อ น (APU) เมื่ อ จะ เคลื่ อ นย้ า ยที่ ตั้ ง ยิ ง จ� ำ เป็ น ต้ อ งใช้ ร ถลากจู ง เสมอ จึงท�ำให้ไม่มคี วามคล่องตัวและไม่มคี วาม อ่อนตัวในการปฏิบัติการทางยุทธวิธี กล่าว คือ ต้องใช้เวลามากในการเข้าที่ตั้งยิง และไม่ สามารถย้ายที่ตั้งยิงได้อย่างรวดเร็วเพื่อหลบ หลีกการจับทิศทางและต�ำบลหรือจุดที่ตั้งยิง ของฝ่ายเราจากฝ่ายตรงข้าม หรือหลบหลีก การโจมตีด้วยก�ำลังทางอากาศหรือปืนใหญ่ สนามจากฝ่ายตรงข้ามได้อย่างทันท่วงที และ ไม่ ส ามารถตั้ ง ฐานยิ ง ทางยุ ท ธวิ ธี ใ นบริ เ วณ หลักเมือง พฤศจิกายน ๒๕๕๖
แคบๆ ได้ ปัจจุบนั ทบ. มี ปนร.๓๔ ขนาด ๑๕๕ มม. (GHN – 45) เข้าประจ�ำการคือ หน่วย ป.พัน.๗๑๑, ป.พัน.๗๑๒, ป.พัน.๗๑๓, ป.พัน. ๗๒๒, ป.พัน.๗๒๓ และ ป.พัน.๑๐๒ จ�ำนวน ๙๐ กระบอก, ศป. จ�ำนวน ๑ กระบอก และ สพ.ทบ. จ�ำนวน ๑ กระบอก ซึ่ง ศป. และ พล.ป. ได้เสนอข้อคิดเห็น และความต้องการ เกีย่ วกับหน่วยช่วยขับเคลือ่ น (APU) เพือ่ ติดตัง้ ให้กับ ปนร.๓๔ ขนาด ๑๕๕ มม. (GHN – 45) ศู น ย์ อ� ำ นวยการสร้ า งอาวุ ธ ศู น ย์ ก าร อุ ต สาหกรรมป้ อ งกั น ประเทศและพลั ง งาน ทหาร ได้ศึกษาความเป็นไปได้เกี่ยวกับการ วิจัยและพัฒนาเพื่อติดตั้งหน่วยช่วยขับเคลื่อน
(APU) ให้กับ ปนร.๓๔ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๕ จนส�ำเร็จในระดับหนึ่งและมีความเชื่อมั่นว่า สามารถติ ด ตั้ ง หน่ ว ยช่ ว ยขั บ เคลื่ อ น (APU) ประกอบใช้ ง านร่ ว มกั บ ปนร.๓๔ ขนาด ๑๕๕ มม. (GHN – 45) ได้ จึ ง ได้ จั ด ท� ำ โครงการวิจัยและพัฒนาติดตั้งหน่วยช่วยขับ เคลื่อน (APU) โดยใช้งบประมาณจากงบเงิน อุ ด หนุ น การวิ จั ย และพั ฒ นาการทหารของ สวพ.กห. ระยะเวลาด�ำเนินการตั้งแต่ ต.ค. ๓๖ - มี.ค. ๔๒ จนสามารถสร้างต้นแบบได้ จ�ำนวน ๑ หน่วยยิง และสามารถปฏิบัติได้ ตามวัตถุประสงค์ตามที่โครงการฯ ได้ก�ำหนด ไว้ เพื่อพัฒนาหน่วยช่วยขับเคลื่อน (APU) 27
ต้นแบบเดิมที่ติดตั้งกับ ปนร.๓๔ ขนาด ๑๕๕ มม. (GHN – 45) จ�ำนวน ๑ หน่วยยิงให้มี ความสมบูรณ์และเป็นมาตรฐานทีจ่ ะน�ำไปผลิต ต่อไป เพื่อให้หน่วยใช้มีความมั่นใจ โดยการน�ำ ผลงานต้นแบบที่พัฒนาแล้วไปทดสอบการใช้ งานทางยุทธวิธีในสภาพภูมิประเทศจริงเพื่อ เพิ่มขีดความสามารถให้ ปนร.๓๔ ขนาด ๑๕๕ มม. (GHN – 45) ให้สามารถเคลื่อนย้าย/ เคลื่อนที่ได้อย่างรวดเร็ว มีความสะดวกต่อ การตัง้ ยิงและเลิกยิงเพือ่ เป็นแนวทางน�ำผลงาน วิจัยไปสู่การผลิตสนับสนุน ทบ. และ ทร. และ ช่วยประหยัดงบประมาณในการจัดหาจากต่าง ประเทศและเพื่อความสะดวกและง่ายในด้าน การซ่อมบ�ำรุง และการจัดหาชิ้นส่วนทดแทน เนื่องจากชิ้นส่วนต่างๆ ผลิตจากอุตสาหกรรม ภายในประเทศเป็นส่วนใหญ่ ในด้านการด�ำเนินการวิจัยและพัฒนา ศูนย์ อ�ำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์การอุตสาหกรรม ป้องกันประเทศ ได้ดำ� เนินการวิจยั และพัฒนาฯ โดยมีเป้าหมายของโครงการฯ คือ การด�ำเนิน การพั ฒ นาปรั บ ปรุ ง หน่ ว ยช่ ว ยขั บ เคลื่ อ น (APU) ต้นแบบเดิมที่วิจัยเสร็จแล้ว มาแก้ไขข้อ บกพร่องตามรายงานผลการใช้งานของหน่วย ใช้ โดยเน้นให้มีความเป็นมาตรฐานมากยิ่งขึ้น เพือ่ ให้ได้ระบบอาวุธปืนใหญ่สนามทีม่ ขี ดี ความ
28
สามารถในการเคลื่อนที่สูง ท�ำการตั้งยิงและ เลิกยิงด้วยเวลาอันรวดเร็ว โดยมีขั้นตอนการ ด�ำเนินงานดังนี้ ขัน้ ที่ ๑ ศึกษาข้อมูลรายละเอียดทางเทคนิค รูปแบบ และระบบไฮดรอลิกของหน่วยช่วย ขับเคลื่อน (APU) จากปืนใหญ่ ขนาด ๑๕๕ มม. FH 88, M 71 พัฒนาใหม่ของประเทศ สิงคโปร์ และ GHN - 45 ติดตั้ง APU ของ กรมทหารปืนใหญ่ กองพลนาวิกโยธิน หน่วย บัญชาการนาวิกโยธิน ขัน้ ที่ ๒ น�ำข้อมูลทีไ่ ด้จากเอกสารของบริษทั ผู้ผลิตต่างประเทศ เป็นข้อมูลอ้างอิงในการ ค�ำนวณและออกแบบเพื่อก�ำหนดวัสดุอุปกรณ์ ต่างๆ ที่จะใช้ในการด�ำเนินการสร้างต้นแบบ ขั้นที่ ๓ ประยุกต์ใช้ทฤษฎี และหลักการ ทางวิศวกรรม ในการออกแบบและค�ำนวณ ก�ำลังของเครื่องยนต์ ระบบไฮดรอลิก และ กลไกการขับเคลื่อน โดยพิจารณาค่าภารกรรม สูงสุดที่มีผลกระทบต่อระบบ และได้น�ำชิ้นงาน ที่คาดว่าจะรับภารกรรมสูงที่สุดและมีความ เสี่ยงมากที่สุดไปวิเคราะห์โดยใช้ระเบียบวิธี ไฟไนท์เอลิเมนต์เพื่อด�ำเนินการแก้ไขให้เกิด ความปลอดภัยสุงสุด
ขั้นที่ ๔ ด�ำเนินการสร้างต้นแบบ APU เช่น แคร่รองรับระบบต้นก�ำลัง, ชุดคานล้อ, กระจัง หน้า, ถังน�้ำมันเชื้อเพลิง, ถังน�้ำมันไฮดรอลิก, แผ่นครอบระบบชุดต้นก�ำลัง, ชุดคันชักคันส่ง, ชุดแท่นยืนพลเล็ง, ชุดบังคับเลี้ยว, ชุดแสดงผล อุปกรณ์ต่าง ๆ และได้ท�ำการทดสอบในส่วน ของโรงงาน ได้แก่ การตรวจสอบงานสร้าง งานประกอบรวม การตรวจสอบการท�ำงาน ของระบบขับเคลื่อนด้วยการไต่ลาดเอียงตาม ที่ ก�ำ หนด การยิ ง ทดสอบเพื่ อทดสอบความ แข็งแรงของโครงสร้างและอุปกรณ์ที่ติดตั้งกับ ต้นแบบ APU และการทดสอบการขับเคลื่อน ด้วย APU จากผลของการวิจัยพัฒนาศูนย์ อ�ำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์การอุตสาหกรรม
ศูนย์อ�ำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร
ล�ำดับ
รายการ
ศอว.ศอพท.
นย.ทร.
๑๒,๘๗๐ กก.
๑๒,๓๘๒ กก.
สิงคโปร์ FH-88
จีน
๑.
น�้ำหนักปืนไม่รวมเครื่องควบคุมการยิง
๒.
ความเร็วสูงสุดเมื่อพ่วงปืนในพื้นทรายและโคลน
๑๐ - ๑๕ กม./ชม.
๑๕ กม./ชม.
๘ กม./ชม.
-
๓.
การขับเคลื่อนด้วยตัวเอง (APU)
๒๐/๒๕ กม./ชม.
๒๕/๓๐ กม./ชม.
๑๖ กม./ชม.
๑๘ กม./ชม.
๔.
ระยะปฏิบัติการไกลสุด (น�้ำมันหมดถัง)
๑๑๐ กม.
๑๓๐ กม.
๕.
เครื่องยนต์
ดีเซล ๔ สูบ ๔ จังหวะ แรงม้าสูงสุด ไม่ต�่ำกว่า ๑๓๐ แรงม้า
Porsche ๔ สูบ ๒.๓ ลิตร ๑๐๖ แรงม้า
-
-
๖.
ไต่ลาด
๔๐/๔๓ % ๒๓ องศา
๔๐/๔๕ % ๒๔ องศา
๔๕ % ๒๔ องศา
๓๒ % ๑๘ องศา
๗.
น�้ำมันเชื้อเพลิง
๖๐ ลิตร (ดีเซล)
๖๐ ลิตร (แก๊สโซลีน)
๑๓,๒๐๐ กก. ๑๒,๐๐๐ กก.
พล.ท.สรศักดิ์ ขาวกระจ่าง ผบ.ศอว.ศอพท. เข้ารับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่น และรางวัลหน่วยวิจัยดีเด่น ด้านยุทโธปกรณ์ ในงาน “วันภูมิปัญญานักรบไทย” ประจ�ำปี ๒๕๕๖ (รับโล่ประกาศเกียรติคุณ) พร้อมคณะ โดยมีผลงานวิจัยฯ ที่ได้รับการพิจารณาให้ได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่น อันดับที่ ๑ ด้านยุทโธปกรณ์ คือโครงการพัฒนา สมรรถนะหน่วยช่วยขับเคลื่อน (APU) ของ ปนร.๓๔ ขนาด ๑๕๕ มม. เป็นโครงการน�ำเพื่อไปสู่การผลิต (ระยะที่ ๒) ณ ห้องมัฆวานรังสรรค์ สโมสรทหารบก ถ.วิภาวดีรังสิต เขตพญาไท กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๑๑ ก.ย. ๕๖
เตรี ย มด้ ว ยกระสุ น จริ ง การเคลื่ อ นที่ เ ข้ า ที่ รวมพลทางยุทธวิธี การเคลื่อนย้ายเข้าที่ตั้ง ยิ ง เร่ ง ด่ ว น การเคลื่ อ นที่ เ ข้ า ที่ ตั้ ง ยิ ง อย่ า งมี เวลา ผลการปฏิบัติอยู่ในกรอบเวลาที่ก�ำหนด ไม่พบข้อบกพร่อง สามารถใช้งานได้อย่างมี ประสิทธิภาพตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ ที่ก�ำหนด ป้องกันประเทศและพลังงานทหาร สามารถ สร้างต้นแบบหน่วยช่วยขับเคลื่อน (APU) ได้ ส�ำเร็จและได้น�ำต้นแบบหน่วยช่วยขับเคลื่อน (APU) ให้กองพลทหารปืนใหญ่ ได้ทดลอง ใช้งาน และเข้าร่วมการฝึกเป็นหน่วยกองพัน ทหารปื น ใหญ่ ส นามของกองพั น ทหารปื น ใหญ่ ศูนย์การทหารปืนใหญ่ในเดือน เมษายน ๒๕๕๔ ในการปฏิบตั งิ านทางยุทธวิธี การตรวจ ความพร้อมรบ การตัง้ ยิงและการเลิกยิง การยิง หลักเมือง พฤศจิกายน ๒๕๕๖
ข้อมูลเปรียบเทียบกับยุทโธปกรณ์ ของต่างประเทศ ต้ น แบบหน่ ว ยช่ ว ยขั บ เคลื่ อ น (APU) ที่ ติดตั้งกับ ปนร.๓๔ ขนาด ๑๕๕ มม. เป็นผล งานวิจัยและพัฒนาของศูนย์อ�ำนวยการสร้าง อาวุธ ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ และพลังงานทหารทีม่ คี ณ ุ ลักษณะเทียบเท่ากับ ของต่างประเทศ
จากผลการด� ำ เนิ น งานวิ จั ย และพั ฒ นา หน่วยช่วยขับเคลื่อน (APU) ได้ผ่านการรับรอง มาตรฐานยุทโธปกรณ์กองทัพบก เมื่อวันที่ ๙ เม.ย. ๕๖ เพื่อใช้เป็นต้นแบบส�ำหรับน�ำเข้า สู่สายการผลิตต่อไป ซึ่งความส�ำเร็จดังกล่าว ท� ำ ให้ ผ ลงานวิ จั ย นี้ ไ ด้ รั บ การพิ จ ารณาให้ ไ ด้ รับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่น อันดับที่ ๑ ด้าน ยุทโธปกรณ์ ประจ�ำปี ๒๕๕๖ ของกองทัพบก โดยส�ำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหาร กองทัพบก ได้เชิญศูนย์อ�ำนวยการสร้างอาวุธฯ เข้ า รั บ รางวั ล ดั ง กล่ า ว ในงานวันภูมิปัญญา นักรบไทย เมื่อวันพุธที่ ๑๑ ก.ย. ๕๖ ณ ห้อง มัฆวานรังสรรค์ สโมสรทหารบก
29
SNOWDEN
การเปิดโปง การจารกรรมข้อมูลส่วนบุคคล ครั้งใหญ่ที่สุดของโลก
กรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศกลาโหม
ใ
น ปั จ จุ บั น ข่ า วที่ ส ร้ า งความตื่ น ตระหนกได้ ม ากที่ สุ ด ในวงการ ข้ อ มู ล สารสนเทศและความมั่ น คง ของชาติ คื อ ข่ า วการจารกรรมข้ อ มู ล ทาง อินเทอร์เน็ต และการดักฟังโทรศัพท์ รวมถึง การดักรับข้อมูลส�ำคัญต่างๆ ทั่วโลก โดย NSA ที่ถูกเปิดเผยโดย นาย Edward Snowden ซึ่งเป็นบุคคลที่สหรัฐอเมริกาต้องการตัวมาก ที่ สุ ด ในขณะนี้ เขาเป็ น อดี ต นั ก วิ เ คราะห์ ข่าวกรอง เจ้าหน้าที่ทางเทคนิคของ NSA และ 30
เป็นอดีตลูกจ้างของหน่วยสืบราชการลับกลาง แห่งสหรัฐอเมริกา หรือ CIA โดยเมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๖ นาย Snowden ได้ เ ปิ ด เผยความลั บ ของ รั ฐ บาลอเมริ ก า เกี่ ย วกั บ โครงการ PRISM ของ NSA ซึ่ ง เป็ น โครงการสอดแนมระบบ อินเทอร์เน็ตและข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึง การดักข้อมูลโทรศัพท์ของสหรัฐอเมริกา ยุโรป และประเทศต่างๆ กรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศกลาโหม
เหตุ ก ารณ์ นี้ ถื อ เป็ น การเปิ ด โปงการ จารกรรมข้อมูลส่วนบุคคลครั้งใหญ่ที่สุดของ โลก และก่อให้เกิดผลกระทบด้านความมั่นคง ระดับประเทศ และระหว่างประเทศในวงกว้าง การริเริม่ โครงการ PRISM มีจดุ ประสงค์เพือ่ สืบหาข้อมูลของกลุ่มผู้ก่อการร้าย ถูกตั้งขึ้น ค.ศ. ๒๐๐๗ สมัยประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิ้ล ยู บุช (George W. Bush) และอยู่ภายใต้ความ รับผิดชอบของ NSA การปฏิบัติการ คือเข้าไป สอดแนมเอาข้อมูลของผู้ใช้บริการสารสนเทศ นอกประเทศสหรัฐอเมริกา มาตรวจสอบและ เก็บรักษาไว้ในระบบ
ในปัจจุบนั มีบริษทั สือ่ สารรายใหญ่ ๙ แห่งที่ ให้ความร่วมมือส่งข้อมูลให้กับรัฐบาลอเมริกัน คือ Microsoft, Yahoo, Google, Facebook, AOL, YouTube, Skype, Apple และ PalTalk นอกจากนั้น ในรายงานของ NSA ยังระบุว่า Dropbox หรือแอพพลิเคชั่นที่ใช้ในการแชร์ ข้อมูล ในรูปแบบ free cloud service ก็ก�ำลัง จะเข้าร่วมด้วยในไม่ช้า หมายความว่ า รั ฐ บาลสามารถดั ก ฟั ง โทรศัพท์และเข้าไปเก็บข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ หลักเมือง พฤศจิกายน ๒๕๕๖
อินเทอร์เน็ตที่ใช้บริการจากฟรีเซอร์วิสต่างๆ เช่นวีดีโอ รูปภาพ อีเมล เอกสาร หรือรหัส คอมพิวเตอร์ได้ หนังสือพิมพ์ The Guardian ของอังกฤษ รายงานว่า ภายใต้โครงการ PRISM รัฐบาล จะสามารถเข้าไปดึงข้อมูลจาก server ของ บริษัทสื่อสารทั้ง ๙ รายได้โดยตรง และไม่ต้อง ขอหมายศาล เพือ่ ท�ำการเก็บข้อมูลส่วนตัวของ ผู้ใช้บริการ ซึ่งปัจจุบันมีการรายงานข้อมูล เหล่านีใ้ นแต่ละเดือน อย่างในปีทแี่ ล้วมีรายงาน ออกมาทั้งหมด ๒๔,๐๐๕ ฉบับ และที่ผ่านมา มีการใช้ข้อมูลจากโครงการ PRISM เพื่ออ้างอิง ในรายงานราชการลับกว่า ๗๗,๐๐๐ ฉบับ จากการออกมาเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว ท�ำ ให้ ห ลายๆ ประเทศได้ ท ราบว่ า มี ก ารดั ก รั บ ข้อมูล และดักฟังโทรศัพท์ของบุคคลส�ำคัญ ของประเทศ ดังตัวอย่างเช่น ประธานาธิบดี ดิลมา รูสเซฟฟ์ ผู้น�ำบราซิล ไม่พอใจอย่างยิ่ง จากข่าวที่รั่วไหลออกมา ที่ระบุว่า การติดต่อ สื่อสารระหว่างเธอกับที่ปรึกษาถูก NSA ดักฟัง และกล่าวว่า จะไม่เดินทางไปเยือนสหรัฐฯ ใน เดือนตุลาคมนี้ ซึ่งรวมถึงการร่วมรับประทาน อาหารค�่ ำ กั บ ประธานาธิ บ ดี บ ารั ก โอบามา อย่างเป็นทางการด้วย ขณะที่ประธานาธิบดี โอบามาได้ โ ทรศั พ ท์ ไ ปถึ ง ผู ้ น�ำ บราซิ ล เพื่ อ เกลี้ยกล่อมให้เธอมาเยือนตามก�ำหนด แต่ผู้น�ำ บราซิลต้องการค�ำขอโทษอย่างเป็นทางการ จากสหรัฐฯ เสียก่อน และทางประเทศฝรั่ ง เศส เมื่ อ วั น ที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ รัฐมนตรีกระทรวงการ ต่างประเทศของฝรั่งเศส นายโลรองต์ ฟาบิอุส ได้ เ รี ย กตั ว เอกอั ค รราชทู ต สหรั ฐ ฯ เข้ า พบ หลังจากหนังสือพิมพ์ในฝรั่งเศสรายงานข่าว กรณีที่ทางการสหรัฐฯ แอบสอดแนมการใช้ โทรศัพท์ในฝรั่งเศส สื่ อ เลอมงด์ ข องฝรั่ ง เศสน� ำ เสนอกรณี ดังกล่าวจากข้อมูลของนาย Snowden ซึ่ง ระบุว่า NSA ได้ท�ำการสอดแนมทั้งกลุ่มธุรกิจ เจ้าหน้าที่ทางการ รวมถึงผู้ต้องสงสัยในการ ก่อการร้ายในฝรั่งเศส ท�ำให้ทางฝรั่งเศสกล่าว ประณามการกระท�ำระหว่างประเทศพันธมิตร ด้วยกันเช่นนี้ เป็นเรื่องที่ไม่อาจยอมรับได้
นอกจากนี้ข้อมูลลับที่เปิดเผยล่าสุดมีการ ระบุว่า NSA ได้ดักฟังโทรศัพท์เคลื่อนที่ของ ผู้น�ำชาติต่างๆ จาก ๓๕ ชาติด้วยกัน อันรวม ถึงผูน้ �ำของ รัสเซีย เม็กซิโก สเปน และเยอรมนี ซึ่งถือเป็นอันตรายต่อนโยบายด้านการต่าง ประเทศของสหรัฐฯ เนื่องจากผู้น�ำหลายชาติ ถือได้ว่าเป็นชาติพันธมิตรของสหรัฐฯ มาโดย ตลอด เหตุการณ์ล่าสุด ส�ำนักข่าวเอเอฟพีรายงาน ว่า เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ชาว อเมริ กั น พากั น ออกมาเดิ น ขบวนประท้ ว ง แสดงความไม่ พ อใจโครงการดั ก ฟั ง ข้ อ มู ล ของ NSA โดยมีประชาชนหลายพันคนพากัน เดินขบวนตามท้องถนนในกรุงวอชิงตัน ใกล้ กับอาคารรัฐสภาเพือ่ เรียกร้องให้สภาคองเกรส ท�ำการสอบสวนโครงการสอดแนมอย่างกว้าง ขวางของ NSA ซึ่งถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิ ส่วนบุคคล โดยผู้ประท้วงยังชูป้ายเพื่อแสดง ความขอบคุณต่อสโนวเดนที่ท�ำให้ทุกคนได้รู้ ความจริงที่น่าตกใจดังกล่าว จากที่ ก ล่ า วมาจะเห็ น ว่ า ภั ย คุ ก คามจาก อินเทอร์เน็ตในการใช้บริการฟรีเซอร์วิส ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Gmail, Hotmail, Facebook, Social Network และอื่นๆ เป็นเรื่องที่ใกล้ตัว และล้ ว นแต่ ไ ม่ ป ลอดภั ย ทั้ ง สิ้ น การใช้ ง าน อย่างขาดความระมัดระวัง อาจน�ำไปสู่การ รั่วไหลของข้อมูลส่วนตัว และข้อมูลส�ำคัญของ ทางราชการ เพราะข้อมูลที่ส�ำคัญดังกล่าวจะ มีการเก็บไว้ที่เซิร์ฟเวอร์ในต่างประเทศ อาจ มีการถูกดักรับ ดักฟังได้ทุกขณะ อันอาจก่อ ให้เกิดผลกระทบส่วนบุคคล ต่อองค์กร และ อาจกระทบต่อความมั่นคงของชาติได้ ดังนั้น สิ่งส�ำคัญที่สุดในการใช้งานอินเทอร์เน็ต และ ฟรี เ ซอร์ วิ ส ต่ า งๆ คื อ “สติ ” และ “ความ ตระหนักรูถ้ งึ ภัยคุกคามทีอ่ าจเกิดขึน้ ” ผูใ้ ช้งาน ควรพิจารณาใช้งานอย่างระมัดระวัง ควรรับ ส่งข้อมูลที่เป็นเรื่องส่วนตัว ไม่เป็นเรื่องส�ำคัญ หากต้องการรับส่งข้อมูลราชการ และข้อมูลที่ มีชั้นความลับ ควรใช้อีเมลของราชการในการ ติดต่อสื่อสารเท่านั้น 31
ประชาคมสังคม และวัฒนธรรมอาเซียน
(ASEAN Social-Cultural Community) คือปัจจัยแห่งความสำ�เร็จในการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน พลเอก เอกชัย ศรีวิลาศ หากสนใจ www.elifesara.com
ก
ารรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน (AEC) ในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ จะเป็ น ไปไม่ ไ ด้ เ ลยถ้ า หากเรา ละเลยไม่ เ รี ย นรู ้ ร ากฐานของชี วิ ต คื อ เสา ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม เพราะจะเห็น ว่าประเทศต่างๆ มุ่งจะแข่งขันกัน มุ่งจะอา เปรี ย บซึ่ ง กั น และกั น ล้ ว นแล้ ว แต่ จ ะน� ำ ไปสู ่ ความขัดแย้งทั้งสิ้น เมื่อการประชุมสุดยอด อาเซียน ครั้งที่ ๙ ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ ที่บาหลี นั้น ผู้น�ำอาเซียนได้แสดงเจตนารมณ์ใน Bali Concord II ว่ า ส่ ว นของประชาคมสั ง คม และวั ฒ นธรรมอาเซี ย นมี เ ป้ า หมายที่ จ ะให้ อาเซี ย นเป็ น ประชาคม ที่ มี ป ระชาชนเป็ น ศูนย์กลาง เป็นสังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน เพื่อให้ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ ที่ดีและมีการพัฒนาในทุกด้านเพื่อยกระดับ คุณภาพชีวิตของประชาชน ส่งเสริมให้ดูแล ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยัง่ ยืน รวมทัง้ ส่งเสริม อัตลักษณ์ของอาเซียน โดยมีแผนปฏิบัติการ ด้านสังคม และวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community) จะเห็นว่า ล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับสังคมวัฒนธรรมที่ยัง มิได้เริ่มท�ำเท่าใดนัก อาเซียนมุ่งหวังประโยชน์จากการรวมตัว กันเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน เพื่อให้ประชาชนมีความอยู่ดีกินดี ปราศจาก โรคภัยไข้เจ็บ มีสิ่งแวดล้อมที่ดีและมีความ รู ้ สึ ก เป็ น หนึ่ ง เดี ย วกั น โดยเน้ น การส่ ง เสริ ม ความรู้ ความเข้าใจระหว่างประเทศสมาชิกใน ด้านความเชื่อมโยงทางประวัติศาสตร์ มรดก ทางวั ฒ นธรรมและอั ต ลั ก ษณ์ ร ะดั บ ภู มิ ภ าค ร่วมกันทั้งนี้การเสริมสร้างรากฐานและความ เชื่อมโยงระหว่างกันที่แข็งแกร่งนั้นจะน� ำไป สู่ความเข้าใจของการเป็นเพื่อนบ้านที่ดี การ รู ้ เ ขารู ้ เ รา และมี ค วามรั บ ผิ ด ชอบร่ ว มกั น ระหว่ า งประเทศสมาชิ ก ภายใต้ สั ง คมที่ เ อื้ อ อาทร โดยแผนปฏิบัติการเพื่อน�ำไปสู่การจัด 32
พลเอก เอกชัย ศรีวิลาศ
ตั้ ง ประชาคมสั ง คมและวั ฒ นธรรมอาเซี ย น (ASEAN Socio-Cultural Community ASCC) ได้ก� ำหนดกิจกรรมความร่วมมือที่มี ประชาชนเป็นศูนย์กลางโดยเน้นความร่วมมือ ในด้านต่างๆ ได้แก่ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม สิทธิและ ความยุติธรรมทางสังคม ความยั่งยืนด้านสิ่ง แวดล้อม การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน และการ ลดช่องว่างทางการพัฒนาและเน้นให้มีการส่ง เสริมความสัมพันธ์กันระหว่างนักเขียน นักคิด และศิลปินในภูมิภาค ตลอดจนการเสริมสร้าง ความตระหนักรูเ้ กีย่ วกับอาเซียนในภูมภิ าคโดย เฉพาะในระดับประชาชน การที่จะสร้างความเท่าเทียมกันในด้านการ ศึกษาประเทศไทยถูกประเมินอยู่ในล� ำดับที่ ๘ ซึ่ ง ต�่ ำ กว่ า หลายๆ ประเทศในอาเซี ย น ระดั บ การพั ฒ นาคนที่ แ ตกต่ า งกั น สิ ง คโปร์ และมาเลเซี ย จั ด อยู ่ ใ นระดั บ สู ง ลงมาจน การพัฒนาอยู่ในระดับต�่ำเช่นพม่า ลาวและ กัมพูชา ก่อให้เกิดปัญหาการโยกย้ายถิ่นฐาน ของแรงงาน องค์กรธุรกิจก็มิใช่คอยเอารัดเอา เปรียบกอบโกยผลประโยชน์ด้านเดียวควรมุ่ง สู่การช่วยเหลือสังคมที่มีความด้อยกว่าด้วย การจ้ า งงานนั บ ว่ า เป็ น ปั ญ หาของไทยที่ มีแรงงานนอกระบบจ�ำนวนมาก การเข้าถึง วิ ท ยาศาสตร์ แ ละเทคโนโลยี ก็ อ ยู ่ ใ นระดั บ กลางๆ โดยเฉพาะประเทศในอาเซียนหลายๆ ประเทศล้วนแล้วแต่ผ่านภาวะสงครามที่ต้อง สูญเสียผู้คน เกิดคนพิการติดตามมาไม่ว่าจะ เป็นเวียดนาม กัมพูชา พม่า อินโดนีเชียหรือ แม้แต่ประเทศไทยก็ตาม หากมองในด้านภูมิรัฐศาสตร์อาเซียน บาง ประเทศมีลักษณะเป็นเกาะนับหมื่นเกาะเช่น ประเทศอิ น โดนี เ ชี ย หรือนับหลายพันเกาะ เช่ น ฟิ ลิ ป ปิ น ส์ จึ ง ยากต่ อ การที่ ผู ้ ค นจะไป มาหาสู ่ กั น ยากต่ อ การใช้ ภ าษาจึ ง ท� ำ ให้ มี ความหลากหลายภาษาอินโดนีเชียมีถึง ๕๓๘ หลักเมือง พฤศจิกายน ๒๕๕๖
ภาษา และคนอาศัยอยู่ตามเกาะมากมายถึง ๖๑ เปอร์เซ็นต์ ส่วนการมองด้านประเทศที่มี พื้นที่ออกสู่ทะเลได้ก็จะมีเพียงประเทศเดียว เท่านั้นที่ไม่ติดทะเลคือประเทศลาว นอกนั้น ทุกประเทศมีพื้นที่ติดทะเลจ� ำนวนมากย่อม มีทรัพยากรชายฝั่ง และทรัพยากรทางทะเล พื้นที่เก็บกักน�้ำจืดแต่ละประเทศจ�ำนวนมาก มี ท รั พ ยากรน�้ ำ จื ด รวมถึ ง สิ่ ง แวดล้ อ มที่ เ ป็ น ป่ า ไม้ ที่ เ กื้ อ กู ล ต่ อ การพั ฒ นาที่ มี คุ ณ ค่ า จะ ต้องถูกพัฒนาเสริมต่อให้มีคุณค่ามากยิ่งขึ้น มากกว่าจะปล่อยทิ้งให้มีการพัฒนาที่เป็นแบบ ไร้ระเบีย บก่ อ ให้ เ กิ ด มลพิ ษ ทางสิ่ ง แวดล้ อ ม ข้ามแดน ควรร่วมมือในการส่งเสริมพัฒนา สิ่งแวดล้อมร่วมกันที่ยั่งยืน โดยให้ประชาชน ของประเทศต่างๆเข้ามามีสว่ นร่วมให้มากทีส่ ดุ มี ก ารน� ำ เอาเทคโนโลยี สิ่ ง แวดล้ อ มมาใช้ ใ ห้ เกิดประโยชน์ร่วมกัน ในการพัฒนาในยุคโลกาภิวัตน์จะท�ำให้เกิด เมืองใหญ่ๆของแต่ละประเทศ จึงต้องหันมาดู คุณภาพมาตรฐานการด�ำรงชีวิตการใช้ชีวิตใน
เมืองของอาเซียนให้มากขึ้น แต่ละประเทศ ของอาเซียนก็จะมีลักษณะเป็นพหุลักษณ์ที่มี ความหลากหลายสวยงามแตกต่างกันไปตาม ภูมิรัฐศาสตร์ ท�ำอย่างไรจะสร้างคุณค่าจาก อั ต ลั ก ษณ์ ที่ ห ลากหลายเหล่ า นี้ ใ ห้ เ ป็ น พหุ ลักษณ์อาเซียนที่สวยงาม มากกว่าที่จะท�ำให้ เป็น “หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่ง ประชาคม” ที่แต่ละประเทศนั้นเหมือนกันดัง ที่ประเทศไทยเคยใช้มาตั้งแต่อดีตท� ำให้เกิด ปั ญ หาการต่ อ ต้ า นอ� ำ นาจรั ฐ ดั ง เช่ น ภาคใต้ เป็นต้น การตระหนั ก รั บ รู ้ เ กี่ ย วกั บ อาเซี ย น และ ความรูส้ กึ ของการเป็นประชาคมอาเซียนก็เป็น สิ่งส�ำคัญเพราะจากการส�ำรวจจากนักศึกษา จ�ำนวน ๒๑๗๐ คน จากมหาวิทยาลัยชั้นน�ำ ในประเทศสมาชิ ก อาเซี ย นทั้ ง สิ บ ประเทศ เมื่อ ๕ ปีที่ผ่านมาประเทศไทยเราถูกประเมิน ความรู้สึกว่าเป็นประชาชนอาเซียนอยู่ระดับ ที่ ๘ ต่างจากประเทศลาวที่ให้ความส�ำคัญ เรื่องนี้มากสุด รองลงไปเป็นกัมพูชา เวียดนาม
33
มาเลเซีย บรูไน อินโดนีเชีย และฟิลิปปินส์ เมื่ อ ถามว่ า คุ ้ น เคยเกี่ ย วกั บ อาเซี ย นแค่ ไ หน เวี ย ดนามตอบว่ า คุ ้ น เคยมากสุ ด รองลงมา คื อ ลาว อิ น โดนี เ ชี ย และไทยตามล� ำ ดั บ จากการประเมินถามว่ามีความรู้ด้านอาเซียน จากแหล่งใดส่วนใหญ่ตอบว่าจากทีวี โรงเรียน หนังสือพิมพ์ อินเตอร์เน็ต วิทยุ ก็แสดงว่า ประเทศเราไม่ค่อยให้ความส�ำคัญที่เอาเรื่อง ประเทศ
ภาษา
อาเซียนมาอยู่ในรายการทีวี ในโรงเรียนเราก็มี การสอนน้อย หนังสือพิมพ์และหนังสือทั่วไปก็ มีไม่มากนักตลอดจนรายการวิทยุก็พูดกันน้อย ด้านเชื้อชาติและเผ่าพันธุ์ ส่วนใหญ่เป็น ชาติพนั ธุม์ าเล ภาษาใช้บาฮาซามากสุด ประเทศ ที่นับถือศาสนาอิสลามใหญ่ที่สุดในโลกก็คือ อินโดนีเซีย ประเทศที่นับถือพุทธมากที่สุดใน โลกก็คือลาว ไทยและพม่า ส่วนโรมันคาธอลิค นับถือศาสนา
เชื้อชาติ
มาเลย์ เป็น บรูไน อิสลาม ๖๗ % มาเลย์ ๖๖ % ภาษาราชการ พุทธ ๑๓ %, จีน ๑๑ % ดารุสซาลาม (Brunei Darussalam) รองลงมาเป็น คริสต์ ๑๐ % อื่นๆ ๒๓ % อังกฤษและจีน
กัมพูชา (Cambodia)
อินโดนีเซีย (Indonesia)
ลาว (Laos)
34
ที่ใหญ่ระดับโลกคือฟิลิปปินส์ จากข้ อ มู ล ทั้ ง หมดจึ ง เห็ น ว่ า ในอาเซี ย น จะมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม เรียนรู้ วัฒนธรรมอาเซียนที่แตกต่างกันที่อยู่ภายใต้ เสาหลักประชาคมสังคมและวัฒนธรรมจึงมี ความส�ำคัญที่สุดที่จะน�ำไปสู่ความสมานฉันท์ สันติสุขแบบยั่งยืนต้องหันกลับมามองด้านนี้ ให้มากที่สุด
ระบบการปกครอง
หมายเหตุ
ระบอบ ไม่ควรใส่เสื้อผ้าสีเหลืองเพราะ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นสีของพระมหากษัตริย์ การทักทายจะแตะมือกันเบาๆ สตรีจะไม่ยื่นมือให้บุรุษจับ การใช้นิ้วชี้ไปที่คนหรือสิ่งของ ถือว่าไม่สุภาพ แต่จะใช้หัวแม่มือ ชี้แทนจะไม่ใช้มือซ้ายในการ ส่งของให้ผู้อื่น สตรีเวลานั่งจะไม่ ให้เท้าชี้ไปทางผู้ชายและไม่ ส่งเสียงหรือหัวเราะดัง ประชาธิปไตยแบบ รัฐสภา โดยมี พระมหากษัตย์ เป็นประมุขภายใต้ รัฐธรรมนูญ
ภาษาราชการ เขมร รองลงมา อังกฤษ ฝรั่งเศส เวียดนาม และจีน ภาษาราชการ อินโดนีเซีย ภาษามี มากกว่า ๕๘๓ ภาษา
พุทธ (เถรวาท) เขมร ๙๔ % เป็นหลัก จีน ๔ % อื่นๆ ๒ %
อิสลาม ๘๗ % ชนพื้นเมือง คริสต์ ๑๐ % หลายกลุ่ม
ประชาธิปไตยที่มี ประธานาธิบดี เป็นประมุข และ หัวหน้าฝ่ายบริหาร
ภาษาราชการ ลาว
พุทธ ๗๕ %, ชาวลาวลุ่ม ๖๘% นับถือผี ๑๖ % ลาวเทิง ๒๒ % ลาวสูง ๙ % รวม ๖๘ ชนเผ่า
สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ (ทางการลาวใช้ค�ำว่า ระบบประชาธิปไตย ประชาชน)
อาศัยบนเกาะชวา ๖๑ % ไม่ควรใช้มือซ้ายในการรับ-ส่ง ของ หรือรับประทานอาหาร คนมุสลิมอินโดนีเซียถือว่ามือซ้าย ไม่สุภาพ ไม่จับศีรษะรวมทั้ง การลูบศีรษะเด็ก การครอบครอง ยาเสพติด อาวุธ หนังสือรูปภาพ อนาจาร มีบทลงโทษ ประหารชีวิต
พลเอก เอกชัย ศรีวิลาศ
ประเทศ
ภาษา
นับถือศาสนา
มาเลเซีย (Malaysia)
ภาษาราชการ อิสลาม ๖๐ % มาเลย์ รองลง พุทธ ๑๙ % มาอังกฤษและ คริสต์ ๑๑ % จีน
พม่า (Myanmar)
ภาษาพม่า เป็นภาษา ราชการ
ฟิลิปปินส์ (Philippines)
ภาษาฟิลิปิโน และภาษา อังกฤษ เป็น ภาษาราชการ รองลงมาเป็น สเปน, จีน ฮกเกี้ยน, จีนแต้จิ๋ว ฟิลิปปินส์ มีภาษาประจ�ำ ชาติคือ ภาษา ตากาล็อก ภาษามาเลย์ เป็นภาษา ราชการ รอง ลงมาคือจีน กลาง ส่งเสริม ให้พูดได้ ๒ ภาษาคือ จีน กลาง และให้ ใช้อังกฤษ เพื่อ ติดต่องานและ ชีวิตประจ�ำวัน ภาษา เวียดนาม เป็น ภาษาราชการ
สิงคโปร์ (Singapore)
เวียดนาม (Vietnam) ไทย (Thailand)
หลักเมือง พฤศจิกายน ๒๕๕๖
เชื้อชาติ
ระบบการปกครอง
หมายเหตุ
มาเลย์ ๔๐ % จีน ๓๓ % อินเดีย ๑๐ % ชนพื้นเมือง เกาะบอร์เนียว ๑๐ %
ประชาธิปไตยในระบบ - มีปัญหาประชากรหลากหลาย รัฐสภา เชื้อชาติ - ชาติพันธุ์ในมาเลเซียประกอบ ด้วยชาวมาเลย์ กว่าร้อยละ ๔๐ ที่เหลืออีกกว่าร้อยละ ๓๓ เป็น ชาวจีนร้อยละ ๑๐ เป็นชาว อินเดีย และ อีกร้อยละ ๑๐ เป็น ชนพื้นเมืองบนเกาะบอร์เนียว มี ๑๓๕ เผ่าพันธุ์ พุทธ ๙๐ % เผด็จการทางทหาร ปกครองโดย หลักๆ ๘ กลุ่ม คริสต์ ๕ % รัฐบาลทหารภายใต้สภาสันติภาพ พม่า ๖๘ % อิสลาม ๓.๘ % และการพัฒนาแห่งรัฐ ไทยใหญ่ ๘ % กระเหรี่ยง ๗ % ยะไข่ ๔ % จีน ๓ % มอญ ๒ % อินเดีย ๒ % คริสต์ มาเลย์ ๔๐ %, ประชาธิปไตยแบบ โรมันคาทอลิก จีน ๓๓ %, ประธานาธิบดีเป็น ๘๓ % อินเดีย ๑๐ %, ประมุขและหัวหน้า คริสต์นิกาย ชนพื้นเมือง ฝ่ายบริหาร โปรเตสแตนต์, เกาะบอร์เนียว อิสลาม ๕ % ๑๐ %
ชาวจีน ๗๖.๕ %, มาเลย์ ๑๓.๘ %, อินเดีย ๘.๑ %
พุทธ ๔๒.๕ %, อิสลาม ๑๔.๙ %, คริสต์ ๑๔.๕ %, ฮินดู ๔ %, ไม่นับถือศาสนา ๒๕ %
ชาวเวียด ๘๐ %, เขมร ๑๐ %
พุทธนิกาย ระบบสังคมนิยม โดย บทลงโทษของเวียดนามในคดี มหายาน ๗๐ %, พรรคคอมมิวนิสต์เป็น ยาเสพติดการฉ้อโกงหน่วยงาน คริสต์ ๑๕ % พรรคการเมืองเดียว ของรัฐมีโทษประหารชีวิต
ภาษาไทย เป็น ชาวไทย ภาษาราชการ เป็นส่วนใหญ่
พุทธนิกาย เถรวาท ๙๕ %, อิสลาม ๔ %
สาธารณรัฐ (ประชาธิปไตยแบบ รัฐสภา มีสภาเดียว) โดยมีประธานาธิบดี เป็นประมุข และนายก รัฐมนตรีเป็นหัวหน้า ฝ่ายบริหาร
- การหลบหนีเข้าสิงคโปร์และ ประกอบอาชีพเร่ขายบริการ ผิดกฎหมาย จะถูกลงโทษ อย่างรุนแรง - การลักลอบน�ำยาเสพติด อาวุธ ปืนและสิ่งผิดกฎหมายอื่นๆ จะได้รับโทษอย่างรุนแรงถึง ขั้นประหารชีวิต
ระบบประชาธิปไตย แบบรัฐสภา อันมีพระ มหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข 35
พัฒนาการในเมียนมา ห้วงปี พ.ศ.๒๕๕๖ ส�ำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์ ส�ำนักนโยบายและแผนกลาโหม
หลังจากเมียนมาได้รัฐบาลพลเรือน เข้ า มาบริ ห ารประเทศภายหลั ง การ เลือกตั้งปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ประเทศมี พัฒนาการในทุกๆ ด้าน เป็นที่จับตา มองของนานาชาติ ซึ่งพัฒนาการใน เมียนมาห้วงปี พ.ศ. ๒๕๕๖ ยังคงมี ประเด็นที่น่าติดตามทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ การทหารและความมั่นคง
ด้านการเมือง
พรรคสหภาพเพื่ อ การพั ฒ นาและความ สมานฉั น ท์ (Union Solidarity and Development Party : USDP) ซึ่ ง เป็ น พรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาล มีการเปลี่ยนแปลง ประธานพรรค โดยนายตู ร ะ อู ฉ ่ ว ยมาน 36
ประธานรั ฐ สภา เข้ า รั บ ต� ำ แหน่ ง ประธาน พรรค USDP แทนประธานาธิบดีเต็งเส่ง เมื่อ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ และได้ประกาศว่าจะ ลงสมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ นอกจากนี้ ยังกล่าวว่า อาจมีความ เป็นไปได้ว่าพรรคการเมืองฝ่ายค้านและฝ่าย รัฐบาลจะจับมือกันจัดตั้งรัฐบาลผสมหลังการ เลือกตั้งในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (National League for Democracy : NLD) เป็นพรรคการเมืองฝ่ายค้านที่มีบทบาททาง การเมืองมากขึ้นหลังจากยินยอมเข้าสู่ระบบ การเลื อ กตั้ ง แ ละนางอองซานซู จี ประธาน พรรค NLD ได้ ป ระกาศเมื่ อ มิ ถุ น ายน พ.ศ. ๒๕๕๖ ว่ า จะลงสมั ค รรั บ เลื อ กตั้ ง ประธานาธิ บ ดี ใ นปี พ.ศ. ๒๕๕๘ แม้ ว ่ า รั ฐ ธรรมนู ญ ฉบั บ ปั จ จุ บั น ของเมี ย นมาจะมี บทบัญญัติห้ามบุคคลที่มี คู่สมรสหรือบุตรเป็น
ประธานาธิบดีเต็งเส่ง
ชาวต่างชาติขึ้นด�ำรงต�ำแหน่งประธานาธิบดี ซึ่งนางอองซานฯ ได้เรียกร้องให้มีการแก้ไข รัฐธรรมนูญ
ส�ำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์ ส�ำนักนโยบายและแผนกลาโหม
พรรคการเมืองของกลุม่ ชาติพนั ธุ์ ๑๕ พรรค ตกลงที่จะรวมตัวกันเป็นพรรคการเมืองเดียว เมื่อมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๖ ซึ่งเป็นการเตรียม พร้ อ มส� ำ หรั บ การเลื อ กตั้ ง ปี พ.ศ.๒๕๕๘ เพื่ อ เพิ่ ม ความสามารถในการแข่ ง ขั น กั บ พรรคการเมืองใหญ่
ด้านเศรษฐกิจ
ก อ ง ทุ น ก า ร เ งิ น ร ะ ห ว ่ า ง ป ร ะ เ ท ศ (International Monetary Fund : IMF) ประมาณการว่ า เศรษฐกิ จ เมี ย นมา ปี ง บประมาณ ๒๕๕๗ จะขยายตั ว ร้ อ ยละ ๖.๗๕ เพิม่ ขึน้ จากร้อยละ ๖.๕ ในปีงบประมาณ ๒๕๕๖ อันเป็นผลจากการปฏิรูปเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการได้รับความสนใจจากนักลงทุน ทั้ ง นี้ ยอดเงิ น ลงทุ น ทั้ ง จากในประเทศและ ต่ า งประเทศในปี ง บประมาณ ๒๕๕๖ เพิ่ ม ขึ้ น ถึ ง ๕ เท่ า จากปี ง บประมาณ ๒๕๕๕ ในขณะที่ McKinsey Global Institute บริ ษั ท ที่ ป รึ ก ษาด้ า นการบริ ห ารจั ด การใน สหรั ฐ อเมริ ก า เผยผลการศึ ก ษาเศรษฐกิ จ เมียนมาว่า เมียนมามีศกั ยภาพทีจ่ ะขยายมูลค่า ทางเศรษฐกิจเป็น ๒๐๐,๐๐๐ ล้านเหรียญ สหรัฐฯ ภายใน พ.ศ. ๒๕๗๓ หรือเพิ่มขึ้น ๔ เท่า จากปี พ.ศ. ๒๕๕๓ เนื่องจากมีแรงงาน และทรัพยากรธรรมชาติจ�ำนวนมาก ส�ำหรับมาตรการคว�่ำบาตรทางเศรษฐกิจ สหภาพยุ โ รป (European Union : EU) ยกเลิกมาตรการคว�่ำบาตรต่อเมียนมาทั้งหมด ยกเว้นการค้าอาวุธ เมื่อเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๖ ส่วนสหรัฐอเมริกาได้ยกเลิก การห้ามน�ำเข้า สิ น ค้ า จากเมี ย นมาทุ ก ชนิ ด ยกเว้ น อั ญ มณี ทั้งนี้ เนื่องจากรัฐบาลเมียนมายังคงห้ามการ แสดงออกทางการเมือง และยังคงมีการกระท�ำ ที่ขัดต่อกระบวนการปฏิรูปประชาธิปไตยอยู่
หลักเมือง พฤศจิกายน ๒๕๕๖
เป็นระบอบสหพันธรัฐ โดยสมาชิกในแต่ละรัฐ จะต้องมีสิทธิเท่าเทียมกันบนพื้นฐานของการ ปกครองระบอบประชาธิปไตย ซึ่งจะต้อง มีการ แก้ไขรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. ๒๕๕๑ เนื่องจากเป็น กฎหมายที่มีเนื้อหาตรงกันข้ามกับความเป็น ระบอบสหพันธรัฐ สถานการณ์ ค วามขั ด แย้ ง ทางศาสนา ระหว่างชาวพุทธและมุสลิมในเมียนมายังคงมี ความรุนแรง เกิดขบวนการต่อต้านชาวมุสลิม โดยกลุ่มชาวพุทธหัวรุนแรงใช้สัญลักษณ์ ๙๖๙ (พุทธคุณ ๙ ธรรมคุณ ๖ และสังฆคุณ ๙) เป็น สัญลักษณ์ในการชุมนุมเคลื่อนไหวปลุกระดม ชาวพุทธให้ออกมาต่อต้านชาวมุสลิม เพราะ มองว่าจะเป็นภัยต่อเมียนมา เหตุการณ์ปะทะ นางอองซานซูจี กันครัง้ รุนแรงทีส่ ดุ ในห้วงต้นปี พ.ศ. ๒๕๕๖ คือ เหตุปะทะกันระหว่างชาวพุทธกับชาวมุสลิม ที่เมืองเมกติลา (Meikthila) ทางตอนเหนือ ของภาคมัณฑะเลย์ (Mandalay Region) มีผู้ เสียชีวิต ๔๔ คน และมีผู้ไร้ที่พักอาศัยจ�ำนวน กองทั พ เมี ย นมาได้ รั บ อนุ มั ติ ง บประมาณ ประมาณ ๑๒,๐๐๐ คน สถานการณ์ ย าเสพติ ด เมี ย นมารื้ อ ฟื ้ น ประจ�ำปี ๒๕๕๗ จากรัฐสภา จ�ำนวน ๒,๔๐๐ ความร่ วมมือกับสหรัฐอเมริกา ในการส�ำรวจ ล้ า นเหรี ย ญสหรั ฐ ฯ ห รื อ เท่ า กั บ ร้ อ ยละ ๑๒ ของงบประมาณประจ� ำ ปี ทั้ ง หมด ซึ่ ง พื้นที่ปลูกฝิ่นร่วมกันหลังจากระงับไปตั้งแต่ งบประมาณจ� ำ นวน ๑,๒๕๐ ล้ า นเหรี ย ญ ปี พ.ศ. ๒๕๔๗ และจะจัดตั้งช่องทางความ สหรั ฐ ฯ ห รื อ มากกว่ า ร้ อ ยละ ๕๐ ของ ร่วมมือในการต่อต้านยาเสพติดอีกครัง้ อย่างไร งบประมาณด้านการทหารจะใช้ในการจัดซื้อ ก็ตาม เมียนมาขอเลื่อนก�ำหนดการประกาศ เครื่องบิน รบและอาวุ ธ ยุ ท โธปกรณ์ ส�ำ หรั บ เป็นประเทศปลอดยาเสพติด จากเดิมก�ำหนด บทบาททางการเมื อ งของกองทั พ พลเอก ในปี พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นภายในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ อาวุโส มินอ่องไหล่ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ในการประชุ ม ระดั บ รั ฐ มนตรี ๖ ประเทศ เมียนมา ยืนยันว่ากองทัพจะยังคงมีบทบาทน (สปจ. สปป.ลาว ไทย กัมพูชา เวียดนาม และ ำทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งสอดคล้อง เมียนมา) ที่กรุงเนปิดอว์ (Naypyidaw) ของ กับความต้องการของประชาชนในช่วงเวลาที่ เมียนมาเมื่อพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ เนื่องจาก ประเทศเผชิญความขัดแย้งด้านเชื้อชาติหรือ ปัญหา การเพาะปลูกฝิ่นในเมียนมายังคงเพิ่ม การต่ อ สู ้ ท างการเมื อ ง รวมทั้ ง การมุ ่ ง หน้ า ขึน้ อย่างมากในช่วง ๖ ปีทผี่ า่ นมา ขณะทีย่ าบ้า สู ่ ป ระชาธิ ป ไตยตามความปรารถนาของ ยังคงแพร่กระจาย ในเมียนมาอย่างรวดเร็ว ภาพรวมของพัฒนาการในเมียนมาห้วงต้น ประชาชน สภาสหพันธรัฐสหภาพแห่งชาติ (United ปี พ.ศ. ๒๕๕๖ ยังคงมีแนวโน้มดีขึ้นเป็นล�ำดับ Nationalities Federal Council : UNFC) โดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจ และความสัมพันธ์ เป็ น การรวมตั ว ของกลุ ่ ม กองก� ำ ลั ง ติ ด อาวุ ธ ระหว่างประเทศ ในขณะที่ด้านการเมืองและ ชนกลุ่มน้อยในสหภาพพม่า ๑๑ กลุ่ม ได้จัด ความมั่นคงยังมีปัจจัยอีกหลายประการที่อาจ ประชุมใหญ่ครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ส่งผลกระทบต่อการพัฒนา ได้แก่ ประเด็น ถึง ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ที่จังหวัดเชียงใหม่ การแก้ ไ ขรั ฐ ธรรมนู ญ ปั ญ หาการเจรจากับ มีข้อเสนอที่ส�ำคัญคือ การปฏิรูปเมียนมาให้ ชนกลุ่มน้อย ความขัดแย้งทางด้านเชื้อชาติ ศาสนา และปั ญ หายาเสพติ ด ไทยซึ่ ง เป็ น ประเทศที่มีความสัมพันธ์อันดีและ มีพรมแดน ติดต่อกันควรสนับสนุนเมียนมาในการพัฒนา ประชาธิปไตย การแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิ มนุษยชน และการสร้างความปรองดองกับชน กลุ่มน้อยให้ประสบความส�ำเร็จ ซึ่งจะส่งผลดี ในการพัฒนาเศรษฐกิจ และความมัน่ คงร่วมกัน ระหว่างสองประเทศ
ด้านการทหารและ ความมั่นคง
37
ดุลยภาพทางทหารของประเทศอาเซียน พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์
ปืนเล็กสั้น เอ็ม-๔ ขนาด ๕.๕๖ มิลลิเมตร
ก
อ งทั พ บกมาเลเซี ย จั ด ซื้ อ ปื น เล็ ก สั้ น แบบ เอ็ ม -๔ (M-4 Carbine) ขนาด ๕.๕๖x๔๕ มิ ล ลิ เ มตร จากสหรั ฐ อเมริ ก ามาท� ำ การ ผลิ ต ในประเทศเมื่ อ พ.ศ.๒๕๕๒ จ� ำ นวน ๑๔,๐๐๐ กระบอก โรงงานมี ที่ ตั้ ง อยู ่ ที่ รั ฐ สลังงอร์ (Selangor มีชื่อว่า SME Ordnance SdnBhd ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๒) เพื่อน�ำเข้าประจ�ำการในกองทัพบก เพื่อทดแทนปืนเล็กยาวรุ่นเก่าแบบสไตเออร์ (Steyr) เอยูจี ขนาด ๕.๕๖ มิลลิเมตรที่ประจ�ำ การมานานกว่า ๑๕ ปี ปัจจุบันนี้กองทัพบก มาเลเซียมีทหารประจ�ำการ ๘๐,๐๐๐ คน จัด เป็น ๔ กองพลทหารราบประกอบด้วยกองพล ทหารราบที่ ๑ คูชิง, กองพลทหารราบที่ ๒ ปีนัง, กองพลทหารราบที่ ๓ มะละกา และ กองพลทหารราบที่ ๔ กัวลาลัมเปอร์ รวมทั้ง ประจ� ำ การที่ ห น่ ว ยรบพิ เ ศษและต� ำ รวจที่ ปฏิบัติพิเศษทางด้านความมั่นคง 38
ปืนเล็กสั้น เอ็ม-4 อุปกรณ์พิเศษ (Special Operations Peculiar Modification: SOPMOD) เพิ่มขีดความ สามารถในการยิงให้แม่นย�ำมากโดยการติดตั้งกล้องเล็งเวลากลางคืน ระบบแสงเลเซอร์ และอุปกรณ์เก็บเสียง พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์
ทหารสหรัฐอเมริกาของกองก�ำลังนานาชาติ (ISAF) สังกัดกองพลน้อยส่งทางอากาศที่ ๑๗๓ มี ที่ตั้งปกติอยู่ที่เมืองวิเซนซ่า ประเทศอิตาลี เข้าปฏิบัติการทางทหารในอัฟกานิสถาน ในปี พ.ศ. ๒๕๔๘ - ๒๕๔๙ และในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ - ๒๕๕๖
กองทั พ สหรั ฐ อเมริ ก าได้ พั ฒ นาปื น เล็ ก สั้ น แบบ เอ็ ม -๔ เพื่ อ ปฏิ บั ติ ก ารในพื้ น ที่ จ�ำกัด(Close Quarters Battle : CQB) หรือ การรบในเมืองออกแบบโดยยูยีน สโตนเนอร์ (Eugene Stoner) ผลิตโดยบริษทั โคลท์ดเี ฟนซ์ ประเทศสหรั ฐ อเมริ ก า ปื น เล็ ก สั้ น เอ็ ม -๔ น�้ำหนัก ๒.๖๘ กิโลกรัม (รวมซองกระสุนชนิด ๒๐ นัด) ขนาดยาว ๗๕๖ มิลลิเมตร (เลื่อน พานท้ า ยเข้ า ) ขนาดยาว ๘๔๐ มิ ล ลิ เ มตร (เลื่อนพานท้ายออก) ล�ำกล้องปืนยาว ๓๗๐ มิลลิเมตร เกลียวล�ำกล้องชนิดหกเกลียวเวียน ขวา (ครบรอบที่ระยะ ๑๗๘ มิลลิเมตร) ท�ำงาน ด้วยแก๊ส ระบายความร้อนด้วยอากาศเครื่อง ป้อนกระสุน (ซองกระสุนชนิด ๒๐/๓๐ นัด) อัตราการยิง ๗๐๐ - ๙๕๐ นัดต่อนาที ความเร็ว ลูกกระสุน ๘๘๐ เมตรต่อวินาที (๒,๙๐๐ ฟุต ต่อวินาที) ระยะยิงหวังผล ๕๐๐ เมตร (เป็นจุด) และระยะยิงหวังผล ๖๐๐ เมตร (เป็นพื้นที่) เพิ่มขีดความสามารถในด้านการยิงด้วยการ ติดตัง้ เครือ่ งยิงลูกระเบิด เอ็ม-๒๐๓ เอ ๑ ขนาด ๔๐ มิ ล ลิ เ มตรพร้ อ มทั้ ง มี อุ ป กรณ์ พิ เ ศษ (Special Operations Peculiar Modification: SOPMOD) เพื่อจะเพิ่มขีดความสามารถใน การยิงให้แม่นย�ำมากยิ่งขึ้นและสามารถใช้ได้ ทุกสภาพอากาศ โดยการติดตั้งกล้องเล็งเวลา กลางคืน (AN/PVS-14 ค้นหาเป้าหมายได้ ในระยะไกล ๓๕๐ เมตรขึ้นอยู่กับรุ่นที่จัดหา) ระบบแสงเลเซอร์ (AN/PEQ-2) และอุปกรณ์ เก็บเสียง พานท้ายปืนแบบปรับเลื่อนได้และ มีช่องจัดเก็บอุปกรณ์ที่จ�ำเป็น เช่น แบตเตอรี่ ส� ำ รอง และอุ ป กรณ์ ท� ำ ความสะอาดปื น โดยใช้ลูกกระสุนปืนตามมาตรฐานนาโต้ขนาด ๕.๕๖x๔๕ มิ ล ลิ เ มตร (SS-109) กองทั พ สหรัฐอเมริกาประจ�ำการในปี พ.ศ. ๒๕๓๗ หลักเมือง พฤศจิกายน ๒๕๕๖
ปืนเล็กสั้น เอ็ม-๔ เอ ๑ ขนาด ๕.๕๖x๔๕ มิลลิเมตร ที่ติดตั้งเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด ๔๐ มิลลิเมตร
ทหารราบสหรัฐอเมริกาขณะปฏิบัติการทางทหารในประเทศอัฟกานิสถาน พร้อมด้วยปืนเล็กสั้น เอ็ม-๔ เอ ๑ ขนาด ๕.๕๖ มิลลิเมตร พร้อมด้วยอุปกรณ์เสริมจะช่วยให้มีขีดความสามารถในการยิงสูงขึ้นอย่างมาก
กองทัพบกสหรัฐอเมริกาจัดซื้อปืนเล็กสั้น เอ็ม-๔ เอ ๑ จ�ำนวน ๑๒,๐๐๐ กระบอก เมื่อ เดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ จัดซื้อปืนเล็กสั้น เอ็ม-๔ เอ ๑ เพิ่มเติม ๑๒,๐๐๐ กระบอก เมือ่ ปี พ.ศ. ๒๕๕๔ จัดซือ้ ปืนเล็กสัน้ เอ็ม-๔ เอ ๑ เพิ่มเติม ๖๕,๐๐๐ กระบอก เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๔ จั ด ซื้ อ ปื น เล็ ก สั้ น เอ็ ม -๔ เอ ๑ เพิ่ ม เติ ม
๑๒๐,๐๐๐ กระบอก เมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๕ และจัดซื้อปืนเล็กสั้น เอ็ม-๔ เอ ๑ เพิ่มเติม ๑๒๐,๐๐๐ กระบอก เมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๖ ปืนเล็กสั้นแบบ เอ็ม๔ เอ ๑ ได้ถูกน�ำออกปฏิบัติการในสงคราม หลายครั้ ง ที่ ส� ำ คั ญ คื อ สงครามกลางเมื อ ง โคลัมเบีย (จัดซื้อ เอ็ม-๔ เอ ๑ ปี พ.ศ. ๒๕๕๑) 39
พ.ศ. ๒๕๐๗ - ปัจจุบัน สงครามอัฟกานิสถาน (กองทั พ อั ฟ กานิ ส ถานใหม่ไ ด้ จัดซื้อ เอ็ ม-๔ ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ ส�ำหรับหน่วยคอมมานโดและ ก�ำลังทหารสหรัฐอเมริกาน�ำเข้าปฏิบัติการ) พ.ศ. ๒๕๔๔ - ปัจจุบัน สงครามอ่าวเปอร์เซีย ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ - ๒๕๕๔ สงคราม เลบานอน พ.ศ. ๒๕๔๙ สงครามเซ้าธ์โอซีเทีย พ.ศ. ๒๕๕๑ และสงครามกลางเมืองซีเรีย พ.ศ. ๒๕๕๔ - ปัจจุบัน (เป็นข่าวที่โด่งดังไปทั่วโลก) และยั ง ได้ ป ระจ� ำ การที่ ห น่ ว ยนาวิ ก โยธิ น สหรัฐอเมริกา ปืนเล็กสั้นแบบเอ็ม-๔/เอ็ม-๔ เอ ๑ ขนาด ๕.๕๖ มิลลิเมตรได้น�ำเข้าปฏิบัติการทางทหาร ในประเทศอิรักและประเทศอัฟกานิสถานซึ่ง เป็นปฏิบัติการทางทหารขนาดใหญ่ ภายใต้ สภาพการรบที่เป็นทะเลทรายร้อนระอุพร้อม ด้วยฝุ่นทราย ส่วนใหญ่สนามรบจะอยู่ภายใน เมื อ งจึ ง เป็ น การรบภายในอาคารสิ่ ง ปลู ก สร้าง มีระยะยิงที่ไม่ไกลมากนักแต่ต้องการ ความเร็วในการยิงและมีความแม่นย�ำสูงจึงได้ รับความนิยมอย่างรวดเร็วในหลายประเทศ และจัดหาเข้าประจ�ำการ (ส่วนใหญ่จะเป็น หน่ ว ยรบพิ เ ศษหรื อ ต� ำ รวจที่ ป ฏิ บั ติ ห น้ า ที่ 40
ทหารราบสหรัฐอเมริกาพร้อมด้วยปืนเล็กสั้น เอ็ม-๔ เอ ๑ ขนาด ๕.๕๖ มิลลิเมตร พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์
ปืนเล็กสั้นเอ็ม-๔ ขนาด ๕.๕๖ มิลลิเมตร น�้ำหนัก ๒.๖๘ กิโลกรัม ขนาดยาว ๗๕๖ มิลลิเมตร ล�ำกล้องปืนยาว ๓๗๐ มิลลิเมตร ท�ำงานด้วยแก๊ส ระบายความร้อนด้วยอากาศ ป้อนกระสุนด้วยซองกระสุนและสามารถติดตั้งเครื่องยิงลูกระเบิด เอ็ม-๒๐๓ เอ ๑ ขนาด ๔๐ มิลลิเมตร
ด้านรักษาความมั่นคง) ทั่วโลก ๕๐ ประเทศ ส�ำหรับประเทศในเอเชียน�ำเข้าประจ�ำการรวม ๑๘ ประเทศ (แม้ว่าจะมีปืนเล็กยาวที่ออกแบบ และท�ำการผลิตขึ้นในประเทศแล้ว ยังได้จัดหา เข้าประจ�ำการที่ส�ำคัญคือ อินเดียจัดซื้อปี พ.ศ. ๒๕๕๑ หน่วยรบพิเศษ, เกาหลีใต้หน่วยรบ พิเศษ (กองพันรบพิเศษที่ ๗๐๗), ญี่ปุ่นจัดซื้อ ปี พ.ศ. ๒๕๕๑ หน่วยรบพิเศษ (หน่วยขนาด กองพลน้อย), อินโดนีเซีย และสิงคโปร์) กล่าว ได้ว่าสงครามสงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งที่ ๒ และสงครามในอัฟกานิสถานในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ที่มีสภาพการรบในพื้นที่จ�ำกัด (CQB) เป็นผล ให้ปืนเล็กสั้นแบบ เอ็ม-๔/เอ็ม-๔เอ ๑ ขนาด ๕.๕๖ มิลลิเมตร ได้รับความนิยม กองทัพฟิลิปปินส์จัดซื้อปืนเล็กสั้นแบบ เอ็ม-๔/เอ็ม-๔ เอ ๑ เมือ่ ปี พ.ศ. ๒๕๕๑ จ�ำนวน ๕๐,๖๒๙ กระบอกส�ำหรับกองทัพบก (จัดเป็น ๑๐ กองพลทหารราบ) และหน่วยนาวิกโยธิน (ก�ำลังพล ๘,๑๔๐ คน จัดเป็น ๓ กองพล น้อย) ปัจจุบันนี้ประเทศฟิลิปปินส์ยังมีความ ขัดแย้งกับประเทศเพือ่ นบ้านในปัญหาหมูเ่ กาะ สแปรตลีรวม ๕ ประเทศกองทัพสิงคโปร์ได้จัด ซื้อปืนเล็กสั้น เอ็ม-๔ เอ ๑ ประจ�ำการหน่วย หลักเมือง พฤศจิกายน ๒๕๕๖
ทหารจากกองร้อยซี กองพันที่ ๒-๕๐๒ กองพลน้อยที่ ๒ กองพลส่งทางอากาศที่ ๑๐๑ ขณะปฏิบัติการทางทหารที่ประเทศอัฟกานิสถานเมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔
คอมมานโด (หนึ่งกองพันคอมมานโด มีที่ตั้งอยู่ ที่เฮนดอนแคมป์ จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๒) กองทัพอินโดนีเซียจัดซื้อปืนเล็กสั้นแบบ เอ็ ม -๔ ส� ำ หรั บ หน่ ว ยรบพิ เ ศษ (มี ก�ำ ลั ง พล
๕,๕๓๐ คน แบ่งเป็น ๕ หน่วย) และหน่วย ต�ำรวจที่ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้าย
41
Thailand’s Pivot
จุดยืนของประเทศไทย
From : Air Force Magazine,Sept 2013 Writer : Richard Halloran ผู้เรียบเรียง : นาวาอากาศเอก ปิยะพันธ์ ขันถม
ก
“ประเทศไทยเป็นพันธมิตรทีย่ าวนานของสหรัฐฯ และเป็นยุทธศาสตร์ทสี่ �ำคัญและได้เปรียบของภูมภิ าค” องทัพอากาศสหรัฐอเมริกา และ ประเทศไทยนั้นมีความสัมพันธ์ และร่ ว มมื อ กั น ทางทหารมา ยาวนานตั้งแต่อดีต แต่ก็มีบ้างที่สถานการณ์ ทางการเมื อ งท� ำ ให้ เ กิ ด ความชะงั ก งั น ใน อดีตนั้นประเทศไทยได้เปิดให้กองทัพอากาศ สหรัฐอเมริกา สร้างและพัฒนาสนามบินใน ประเทศเพื่ อ การสงครามในเวียดนาม และ ในปัจจุบันนี้ยังมีสนามบินอยู่เจ็ดสนามบินที่ กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา สามารถร้องขอ เพื่อขอใช้ได้ตามข้อตกลงทางทหาร นอกเหนือ จากนั้นแล้ว กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา และ ประเทศไทยยั ง มี ค วามสั ม พั น ธ์ ที่ แ นบแน่ น ในเรื่องการฝึกร่วม/ผสม ทางทหารกันอย่าง 42
ต่ อ เนื่ อ ง ทั้ ง กองทั พ อากาศ กองทั พ บก และกองทั พ เรื อ ของทั้ ง สองประเทศ เช่ น Cobra Gold และ Cope Tiger ซึ่งการฝึก Cope Tiger นั้น มีกองทัพอากาศสิงคโปร์ เข้าร่วมการฝึกด้วย ประเทศไทยนั้นเป็นหนึ่ง ในสองประเทศในเอเชี ย ตะวั น ออกเฉี ย งใต้ ที่ มี ส นธิ สั ญ ญาเป็ น พั น ธมิ ต รทางทหารกั บ สหรัฐอเมริ ก า อี ก ประเทศนั้ น คื อ ฟิ ลิ ป ปิ น ส์ แม้ว่าจะมีความความสัมพันธ์ทางทหารที่เป็น เช่นนี้ ประเทศไทยก็ไม่ได้แสดงออกถึงความ ล�ำเอียงเข้าข้างมหาอ�ำนาจประเทศใดประเทศ หนึ่งอย่างชัดเจน สหรั ฐ อเมริ ก าเองได้ ติ ด ตามความ เคลื่อนไหวของความสัมพันธ์ทางทหารของ
ไทยและจีนอย่างใกล้ชิด บทวิเคราะห์ของสื่อ และนายทหารอาวุโสของสหรัฐอเมริกา ถึง กั บ กล่ า วถึ ง ความไม่ มั่ น ใจกั บ ท่ า ที ข องไทย เป็นอย่างมาก ความรู้สึกอันนี้ถูกตอกย�้ำให้ ชัดเจนมากขึ้นในการประชุมร่วมกันประจ�ำปี ของนายทหารระดับสูงและผู้เชี่ยวชาญทาง ทหารพลเรือนของประเทศในภูมิภาคนี้ ซึ่ง จัดโดย The International Institute of Security Studies. ที่ Singapore ซึ่งเรียก ว่า The Shangri-La Dialogue ซึ่งในครั้งนี้ นาย Chuck Hagel รัฐมนตรีว่าการกระทรวง กลาโหมสหรัฐอเมริกา ได้พบปะหารือนอก รอบกับหลายๆ ประเทศพันธมิตร เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย สิงคโปร์ นาวาอากาศเอก ปิยะพันธ์ ขันถม
อินโดนีเซีย มาเลเซียและเวียดนาม ยกเว้น ประเทศไทย ความสั ม พั น ธ์ ท างทหารที่ เ ริ่ ม จากอดี ต นั้ น เริ่ ม ขึ้ น เมื่ อ ครั้ ง ที่ ป ระเทศไทยส่ ง ก� ำ ลั ง ทหารเข้าร่วมกับกองก�ำลังสหประชาชาติใน สงครามเกาหลีในช่วงปี ๑๙๕๐ - ๑๙๕๓ เพื่อ ยันการรุกรานของลัทธิคอมมิวนิสต์ ซึ่งตอน นั้นสหรัฐอเมริกา มีอาการหวาดผวากับลัทธิ นี้มาก ซึ่งคู่แข่งที่อยู่เบื้องหลัง ผู้ส่งออกลัทธิ ชัว่ ร้ายในสายตาของสหรัฐอเมริกาก็คอื สหภาพ โซเวียตในขณะนัน้ อีกทัง้ ประเทศไทยเองก็เป็น ประเทศที่เข้าร่วมก่อตั้งองค์การ SEATO (The South Asia Treaty Organization) ร่วมกับ สหรัฐอเมริกาและพันธมิตรอีกด้วย เหตุ ก ารณ์ อั น เนื่ อ งภั ย คุ ก คามของลั ท ธิ คอมมิ ว นิ ส ต์ มี ค วามต่ อ เนื่ อ งเรื่ อ ยมาใน ภู มิ ภ าค จนถึ ง ปี ๑๙๖๒ เมื่ อ Kennedy ปธน.สหรัฐอเมริกา สั่งเคลื่อนย้ายก�ำลังทหาร สหรัฐอเมริกา เข้ามาประจ�ำการในประเทศไทย เพื่อเป็นปราการหลักทางภาคตะวันออกเฉียง ประเทศจีน มหาอ�ำนาจในเอเชียนั้น ได้ เหนือ ป้องกันการรุกรานของคอมมิวนิสต์ที่จะ กล่าวอ้างความเป็นกรรมสิทธิ์เหนือทะเลจีนใต้ รุกคืบเข้ามาทางประเทศลาว และในปีเดียวกัน มาอยู่ตลอด ซึ่งเป็นประเด็นที่น� ำไปสู่ความ นี้ นาย Deab Rusk รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ขัดแย้งกับนานาประเทศทีใ่ ช้ประโยชน์จากเส้น กลาโหมสหรัฐอเมริกา และ นายถนัด คอมันต์ ทางเดินเรือที่ต้องผ่านน่านน�้ำนี้ โดยเฉพาะกับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของไทย ประเทศในย่านเดียวกันและมีนา่ นน�ำ้ ติดกัน จึง ได้ร่วมลงนามแถลงการณ์ ซึ่งเป็นประโยชน์ ท�ำให้เกิดกรณีกระทบกระทั่งพิพาทหรือถึงขั้น ร่วมกันและเป็นข้อผูกพันของสหรัฐอเมริกาต่อ เกือบจะใช้ก�ำลังกันอยูบ่ อ่ ยครัง้ ซึง่ เป็นสภาพที่ ประเทศไทยถึงภัยจากลัทธิดังกล่าวคือ “The ต้องทนๆ กันไป แก้ปัญหาเฉพาะหน้าๆ กันไป Preventation of the independence ทุกครัง้ ทีม่ เี หตุการณ์เกิดขึน้ ซึง่ หมิน่ เหม่ตอ่ การ and integrity of Thailand as vital to the เกิดสงครามที่ไม่มีประเทศใดต้องการให้เกิด national interest of the United States.” ส� ำ หรั บ จี น นั้ น ต้ อ งพึ่ ง พาทะเลจี น ใต้ เ ป็ น ซึ่งแถลงการณ์นี้ถือได้มาเป็นรากเหง้าอย่าง เส้นทางล�ำเลียงทั้งสินค้าของตนเองไปยังยุโรป เป็ น ทางการในความสั ม พั น ธ์ ท างทหารที่ มี และพลังงานจ�ำนวนมากจากตะวันออกกลาง ต่อกันของทั้งสองประเทศ จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่ต้องรักษาผลประโยชน์ สภาพทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทย เมื่อ ของชาติและต้องหัวฟัดหัวเหวี่ยงเมื่อมีสหรัฐฯ มองในภาพรวมทัง้ เอเชียแล้ว จะเห็นว่ามีความ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย อนึ่งทางด้านเชื้อชาติและ ได้เปรียบทั้งทางยุทธศาสตร์ทหารและด้าน เศรษฐกิจเป็นอันมาก เนื่องจากเป็นประเทศ ที่ทอดยาวมีน่านน�ำ้ ที่เชื่อมไปถึงทะเลจีนใต้ ซึ่ง หมายถึงสามารถเชือ่ มกันได้ของสองมหาสมุทร คือแปซิฟิคและอินเดีย โดยผ่านทางช่องแคบ มะละกา ส�ำหรับ ทร.สหรัฐอเมริกา นั้นมีความ จ�ำเป็นต้องใช้น่านน�ำ้ ทะเลจีนใต้อยู่เป็นประจ�ำ ในการเคลื่อนย้ายก�ำลังทางเรือของตนเองไป มาระหว่างมหาสมุทรทั้งสองนี้ และประเด็น ส�ำคัญทางด้านการค้าหรือเศรษฐกิจนั้น สินค้า ที่ต้องผ่านเส้นทางโดยใช้ทะเลจีนใต้มีมากกว่า ที่ผ่านคลองสุเอซและปานามารวมกันเสียอีก ซึ่งเป็นประเด็นส�ำคัญที่สหรัฐอเมริกาต้องหวง หนั ก หนาและพยายามยุ ่ ง เกี่ ย วไม่ ท างตรงก็ ทางอ้อมในวิกฤตต่างๆ ที่เกิดขึ้นในภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับผลประโยชน์ในน่านน�้ำ ทะเลจีนใต้ หลักเมือง พฤศจิกายน ๒๕๕๖
ประชากรนัน้ ประเทศต่างๆ ทางด้านใต้ของจีน โดยเฉพาะไทยนั้น มีประชากรเชื้อสายจีนเข้า มาตั้งรกรากมั่นคงมีอิทธิพลทางด้านการค้า และการเมืองอยู่เป็นอันมาก ซึ่งถือได้ว่าเป็น กลุ่มเชื้อชาติที่เป็นพลังขับทางด้านเศรษฐกิจ เลยก็ไม่ผดิ นัก ด้วยเหตุนจี้ งึ ท�ำให้ความสัมพันธ์ ทีเ่ ชือ่ มกันด้านเชือ้ ชาติ ท�ำให้ความสัมพันธ์ดา้ น อื่นๆ ระหว่างไทยและจีนมีความแน่นแฟ้นกัน อยู่ลึกๆ หลั ง การสิ้ น สุ ด ของสงครามเวี ย ดนาม ประเทศไทยได้ริเริ่มหาความสมดุลใหม่ทาง ทหารและเพื่อควบคุมการขยายตัวมีอิทธิพล ของเวี ย ดนามต่ อ ประเทศเพื่ อ นบ้ า นอย่ า ง กั ม พู ช าไปด้ ว ย ซึ่ ง ไทยยั ง ถื อ ว่ า เวี ย ดนาม เป็ น ภั ย คุ ก คามอยู ่ ทั้ ง คู ่ แ ข่ ง ทางเศรษฐกิ จ และการทหาร โดยมีแค่กัมพูชาและลาวกั้น กลางไว้ เ ท่ า นั้ น ประเทศไทยได้ เ ปิ ด ความ
43
สัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการกับจีนใน ปี ๑๙๗๕ หลังจากนั้นประเทศต่างๆ ในเอเซีย ตะวันออกเฉียงใต้ก็ด�ำเนินการตามกันมา ภายหลั ง เหตุ ก ารณ์ ๙/๑๑ ซึ่ ง สหรั ฐ ฯ เกิ ด การก่ อ การร้ า ยใน New York และ Washington นั้น หลักนิยมในการต่อต้าน การก่อการร้ายได้แพร่ไปทั่วโลก ประเทศไทย ก็เห็นความส�ำคัญในเรื่องนี้ด้วย จึงได้อนุญาต ให้ ส หรั ฐ อเมริ ก า ใช้ ส นามบิ น อู ่ ต ะเภาและ สนามบินอื่นตามที่จะร้องขอ เป็นสนามบินต่อ ระยะทั้งยุทธการและการส่งก�ำลังบ�ำรุง เพื่อมุ่ง เข้ า สู ่ อิ รั ก และอาฟกานิ ส ถาน นอกจากนั้ น ประเทศไทยยังได้ส่งก�ำลังทหารช่างจ�ำนวน ๑๓๐ คน เข้าไปช่วยในการซ่อมและปรับปรุง สนามบิน Bragram ในอิรัก เพื่อใช้เป็นฐานทัพ อากาศหลักของสหรัฐฯ ในตะวันออกกลางด้วย และเมื่อสหรัฐฯ บุกเข้าไปในอิรักแล้ว ยังได้ส่ง แพทย์เสนารักษ์และทหารช่างจ�ำนวนรวมกัน กว่า ๔๕๐ คนเข้าไปเพิ่มเติมด้วย
ปี ๒๐๐๖ เกิ ด รั ฐ ประหารครั้ ง ที่ ๑๘ นั บ ตั้ ง แต่ ป ระกาศใช้ รั ฐ ธรรมนู ญ ปกครอง ประเทศครั้งแรกในปี ๑๙๓๒ เพื่อขับไล่และ โค่นล้มรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้ง ของประชาชน ซึ่ ง ขณะนั้ น คื อ รั ฐ บาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็น ผู้น�ำของโลกเสรีประชาธิปไตย จึงได้ตอบโต้ โดยการระงั บ และตั ด ความช่ ว ยเหลื อ ทาง ทหารแก่ประเทศไทยหลายด้านเช่น ตัดความ ช่วยเหลือทางทหารมูลค่า ๒๙ ล้านเหรียญ สหรัฐอเมริกา ระงับการจัดหาทางทหาร การ ศึกษาของก�ำลังพล และการฝึกรักษาสันติภาพ แต่ก็กลับมาเกื้อกูลกันเหมือนเดิมในปี ๒๐๐๘ เมื่อเสถียรภาพทางการเมืองในประเทศดีขึ้น แต่ก็ยังทิ้งระเบิดเวลาทางการเมืองและความ ไม่มั่นคงภายในของประเทศไว้อย่างน่ากลัวคือ ความแตกร้าวทางการเมืองรวมถึงแนวร่วมของ พรรคการเมืองอย่างเด่นชัดที่สุด และน่าจะ เดินทางที่แสนไกลในการเชื่อมรอยบาดหมาง ครั้งนี้ นั่นก็คือความเป็นแดงและเหลืองของ คนในชาติ Cobra Gold คือรหัสการฝึกขนาดใหญ่ที่ ประเทศไทยและสหรัฐอเมริกา ท�ำการฝึกร่วม กัน การฝึกที่จัดขึ้นในปี ๒๐๑๓ เป็นครั้งที่ ๓๒ ซึ่งเริ่มในเดือนกุมภาพันธ์นั้น มีผู้เข้าร่วมการ ฝึกมากถึง ๑๓,๐๐๐ คน จากเดิมนั้นเป็นการ ฝึกแค่ในระดับทวิภาคี (Bilateral Exercise) แต่ในปัจจุบันขยายขนาดการฝึกใหญ่ขึ้นเป็น ระดับพหุภาคี (Multilateral Exercise) โดย เริ่มต้นการเข้ามาก่อนของ สิงคโปร์ และตาม มาด้ ว ย อิ น โดนี เ ซี ย ญี่ ปุ ่ น เกาหลี ใ ต้ และ มาเลเซีย นอกจากนั้นยังเชิญประเทศต่างๆ เข้าร่วมสังเกตการณ์ด้วยถึง ๒๐ ประเทศ ซึ่ง ในจ� ำ นวนนี้ มี พ ม่ า ซึ่ ง เข้ า ร่ ว มสั ง เกตการณ์ เป็นครั้งแรก และจีนซึ่งเริ่มเข้าสังเกตการณ์ ครั้งแรกเมื่อปี ๒๐๐๘ การฝึก Cobra Gold
นั้นครอบคลุมในเรื่องของ การฝึกภาคสนาม (Field Exercise) การฝึกภาคการบังคับการ (Command Post Exercise) และการฝึกเพื่อ ช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม (Humanitarian training) Cope Tiger ครั้งที่ ๑๓ ในเดือน มีนาคม ๒๐๑๓ เป็นรหัสการฝึกของ ทอ.สามชาติคือ สหรัฐอเมริกา ไทย และสิงคโปร์ ใช้เวลาใน การฝึก ๑๐ วัน ก�ำลังทางอากาศสหรัฐอเมริกา จ�ำนวน ๓๖๕ คน มาจาก Kaneda Air Base, Japan และ Osan Air Base, South Korea มาผนึ ก ก� ำ ลั ง กั บ ก� ำ ลั ง ทางอากาศจ� ำ นวน ๑,๕๐๐ คน ของไทยและสิ ง ค์ โ ปร์ ร วมกั น ที่สนามบิน กองบิน ๑ โคราช และกองบิน ๒๓ อุดรธานี Cope Tiger จะฝึกครอบคลุมในเรื่อง Fighter Maneuvers, Air Combat Tactics, Close Air Support และ Airdrops
ครั้ น เมื่ อ เกิ ด เหตุ ก ารณ์ แ ผ่ น ดิ น ไหวครั้ ง ใหญ่ ใ นย่ า นประเทศรอบมหาสมุ ท รอิ น เดี ย ในปี ๒๐๐๔ รวมถึ ง ภั ย พิ บั ติ ท างธรรมชาติ อี ก มากมาย น� ำ มาซึ่ ง การสู ญ เสี ย ชี วิ ต และ ความยั บ เยิ น ของบ้ า นเมื อ งและเศรษฐกิ จ สหรั ฐ อเมริ ก าจึ ง เป็ น ต้ น คิ ด น� ำ ทางด้ า นการ แจ้งเตือนและบรรเทาภัยพิบัติต่างๆ ในระดับ หายนะภั ย ไม่ ว ่ า จะเป็ น แผ่ น ดิ น ไหว พายุ , Tsunamiน�้ำท่วม และไฟป่า เป็นต้น จึงท�ำให้ สนามบินอู่ตะเภา ต้องกลับมามีบทบาทเพื่อ ภารกิ จ นี้ ร ่ ว มกั บ สหรั ฐ อเมริ ก าอี ก ครั้ ง อย่ า ง เป็นทางการ แม้ว่าจะมีการคัดค้านไม่เห็นด้วย ทางการเมืองในประเทศอยู่บ้างก็ตาม Relations have not always been rosy “ไม่มีอะไรที่ราบรื่นตลอดเวลา” 44
นาวาอากาศเอก ปิยะพันธ์ ขันถม
ย้อนอดีตไปไกลถึงแค่ปี ๑๙๓๐ ซึ่งยุค นั้ น อ� ำ นาจทางทหารของญี่ ปุ ่ น รุ ่ ง เรื อ งมาก และประเทศไทยเองก็ยังปกครองโดยอ�ำนาจ ทหาร มีความโน้มเอียงอยู่ด้านญี่ปุ่น พร้อม กับเปลี่ยนชื่อประเทศจากสยาม (Siam) เป็น ประเทศไทย (Thailand) ภายหลั ง จากที่ ญี่ปุ่นบุก Pearl Harbor เมื่อ ๗ ธันวาคม ๑๙๔๑ ประเทศไทยได้ใช้จังหวะนั้นประกาศ สงครามกั บ สหรั ฐ อเมริ ก า โดยหวั ง ว่ า หาก เป็นฝ่ายชนะสงครามจะสามารถเรียกร้องดิน แดนที่เคยสูญเสียไปในอดีตให้แก่อังกฤษและ ฝรั่งเศสกลับคืนมาได้ แต่เมื่อสงครามสิ้นสุดลง ประเทศไทยจึงได้ตัดขาดความเป็นพันธมิตร กับญีป่ นุ่ และหันมาเจรจากับสหรัฐอเมริกาและ พันธมิตรของสหรัฐอเมริกา
ในยุคปัจจุบนั เมือ่ เปรียบเทียบกับอดีตและ ผลประโยชน์แห่งชาติของประเทศไทยเองแล้ว แม้ว่าคู่กรณีที่มีอิทธิพลจะเปลี่ยนไปบ้าง เป็น สหรัฐอเมริกากับจีน แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่ ประเทศไทย จะแสดงบทบาททีไ่ ม่แตกต่างจาก อดีตมากนัก
หลักเมือง พฤศจิกายน ๒๕๕๖
45
สงคราม พม่า-อังกฤษ ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๙๕ พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์
กษัตริย์พม่ามีความมุ่งมั่นที่จะขยายอาณาจักรให้มีขนาดใหญ่ขึ้น มุ่งจะขยายไปทางด้านตะวันตกท�ำการรุกอย่าง รวดเร็วสามารถยึดได้เมืองมณีปุระ เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๓๖๒ กองทัพพม่าท�ำการรุกล�้ำสู่แคว้นที่เป็นเขตปกครอง ของอังกฤษ น�ำมาสู่ความขัดแย้งกับอังกฤษและการเริ่มต้นสงครามที่เรียกว่าสงคราม พม่า - อังกฤษ ครั้งที่ ๑ ปี พ.ศ. ๒๓๖๗ ในทีก่ ส็ ดุ น�ำความพ่ายแพ้มาสูก่ องทัพพม่าและก่อให้เกิดการสูญเสียก�ำลังทหารจ�ำนวนมากอย่างทีไ่ ม่เคย เกิดขึ้นในอดีต ต่อมาก็จะเกิดความขัดแย้งครั้งใหม่อีก...............บทความนี้ กล่าวถึงสงคราม พม่า - อังกฤษ ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๙๕
46
พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์
๑. สถานการณ์ทั่วไป พระเจ้าสารวดีไม่เห็นด้วยกับสนธิสัญญา ยันดาโบที่ผลสืบเนื่องมาจากสงคราม อังกฤษ - พม่า ครั้งที่ ๑ แต่ก็ไม่กล้าผิดสัญญา พ.ศ. ๒๓๘๕ พระเจ้าสารวดีนำ� ก�ำลังทหาร ๑๕,๐๐๐ นาย ไปยังเมืองร่างกุ้งเพื่อบูชาพระเกศธาตุ และเรี ย กร้ อ งให้ อั ง กฤษ (บริ ษั ท อี ส อิ น เดี ย บริษัทของรัฐบาลอังกฤษ) คืนเมืองยะไข่และ เมืองตะนาวศรี ได้เสด็จกลับมายังกรุงอมรปุระ แม้ว่าสถานการณ์ในพม่าจะเริ่มมีความยุ่งยาก พร้ อ มทั้ ง ความสั ม พั น ธ์ กั บ อั ง กฤษที่ ไ ม่ ดี นั ก อังกฤษยังติดพันท�ำสงครามทางด้านเหนือของ อินเดียที่อัฟกานิสถาน กองทัพบกอังกฤษจึง ยังไม่พร้อมที่จะเริ่มเปิดสงครามใหญ่อีกครั้ง กับพม่าครั้งใหม่
๒. สงคราม พม่า - อังกฤษ ครั้งที่ ๒ ความขัดแย้งระหว่างอังกฤษกับพม่าเริม่ ต้น มาจากพ่ อ ค้ า อั ง กฤษกั บ ขุ น นางพม่ า เสมอ จะเกิดที่เมืองพะโค ในปี พ.ศ. ๒๓๙๔ เมาโอ๊ก เมียนหวุ่นประจ�ำเมืองพะโค ได้กล่าวหากัปตัน เรือและลูกเรือชาวอังกฤษว่าได้ท�ำความผิด และเป็นฆาตกร จึงน�ำตัวขึ้นศาลและสั่งปรับ เป็นเงิน ๑,๐๐๐ รูปี ฝ่ายอังกฤษเห็นว่าเป็น การลบหลู่เกียรติจึงประท้วง เมื่อการเจรจา ทางการทูตของทั้งสองอาณาจักรไม่ประสบ ผลส�ำเร็จ เป็นผลให้ความขัดแย้งนี้ได้ขยายตัว อย่างรวดเร็วในเวลาต่อมา พระเจ้ามินดงทรงย้ายเมืองหลวงจากอมรปุระ มาตั้งใหม่ที่เมืองมัณฑะเลย์ (Mandalay) ตามลูกศรชี้
เรือรบหลวงรัทเลอร์ (HMS Rattler) เรือล�ำที่อยู่ทางด้านซ้าย ขึ้นระวางประจ�ำการในปี พ.ศ. ๒๓๗๘ เรือขนาดยาว ๕๖ เมตร ขับเคลื่อนด้วยเครื่องจักรไอน�้ำและใช้ใบ ความเร็ว ๙.๙ นอต (๑๘.๓ กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ปืนใหญ่เรือ ๑๐ กระบอก และลูกเรือ ๑๘๐ คน หลักเมือง พฤศจิกายน ๒๕๕๖
กองทัพอังกฤษมีแม่ทัพคือพลตรี เฮนรี่ ก็อดวิน (Major-General Henry Godwin) อายุ ๖๙ ปี จึงประกาศปิดอ่าวเมาะตะมะใน เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๓๙๔ และได้เข้ายึดเรือ ของกษัตริย์พม่าในวันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๓๙๔ และได้ ท� ำ ลายเรื อ รบพม่ า หลายล� ำ ฝ่ายอังกฤษเรียกร้องให้พม่าจ่ายค่าเสียหาย ให้อังกฤษและท�ำหนังสือขอโทษภายในวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๓๙๕ แต่ฝ่ายพม่าไม่ท�ำ ตามข้อเรียกร้องของอังกฤษ จึงเข้าโจมตีและ ยึดท่าเรือที่เมาะตะมะได้เมื่อวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๓๙๕ เข้ายึดร่างกุ้งได้เมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๓๙๕ มุ่งสู่เจดีย์ชเวดากอง (Shwedagon Pagoda) เมือ่ วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๓๙๕ อังกฤษใช้การส่งก�ำลังโดยเรือรบ ไปตามแม่น�้ำอิระวดีพร้อมทั้งได้ใช้ปืนใหญ่เรือ 47
พระเจ้ามินดง (Mindon Min) กษัตริย์ ราชวงศ์อลองพญา ล�ำดับที่ ๑๐ พระราชสมภพ เมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๕๑ ที่เมือง อมรปุระ พระราชบิดาคือพระเจ้าแสรกแมง (พระเจ้าสารวดี) พระองค์ทรงขึ้นครองราชย์ เมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๓๙๖
ตะวันตกที่อินเดีย ต่อมากรมอินเดียตะวันตก ได้เคลื่อนที่เข้าสู่พม่าในปี พ.ศ. ๒๓๖๗ และ มีส่วนร่วมในสงคราม พม่า - อังกฤษ ครั้งที่ ๑ ในปี พ.ศ. ๒๓๖๗ - ๒๓๖๙ ได้รับยศพันเอก ในปี พ.ศ. ๒๓๘๐ อายุได้ ๕๓ ปี และได้รับยศ พลตรีในปี พ.ศ. ๒๓๘๙ อายุได้ ๖๒ ปี ต่อมา ประจ�ำอยู่ที่เมืองบอมเบย์ (Bombay)ปี พ.ศ. ๒๓๙๓ เมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๙๕ ได้เดินทางโดยเรือจากเมืองบอมเบย์เข้าสู่พม่า ตามแม่น�้ำอิระวดี โดยปฏิบัติการร่วมกับก�ำลัง ทหารจากเมืองมัดราส (Madras) กองทัพเรือ อังกฤษมีแม่ทัพคือ พลเรือตรีชาร์ลส์
พลตรี เฮนรี่ ก็อดวิน (Major-General Henry Godwin) แม่ทัพใหญ่อังกฤษในสงคราม พม่า - อังกฤษ ครั้งที่ ๒ ปี พ.ศ. ๒๓๙๕
ยิงท�ำลายเมืองหรือที่มั่นตามแนวชายฝั่งแม่นำ�้ มีการต่อสู้อย่างหนักตลอดเส้นทางกับกองทัพ พม่า แต่กองทัพพม่าก็ไม่สามารถทีจ่ ะต้านทาน กองทั พ อั ง กฤษได้ เนื่ องจากอาวุธที่ล้าสมัย กว่าและทหารได้รับการฝึกน้อยกว่าและได้ ล่าถอยกลับไปทางตอนเหนือ กองทัพอังกฤษ เข้ายึดเมืองพะโคได้เมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๙๕ เมื่อย่างเข้าสู่ฤดูฝนของพม่า การ ปฏิบตั กิ ารทางทหารมีความยุง่ ยากเพิม่ มากขึน้ อังกฤษได้ประกาศผนวกมณฑลพะโค เมือ่ วันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๙๕ กองทัพอังกฤษ เตรียมวางแผนทีจ่ ะเข้าโจมตีตอ่ ไปถึงเมืองอมร ปุระ ฝ่ายพม่าได้เกิดกบฏขึ้นโดยเจ้าชายมินดง เป็นพระอนุชาของพระเจ้าพุกามแมง (ทรง ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๘๙ - ๒๓๙๖ นาน ๗ ปี) ซึ่งไม่เห็นด้วยกับการท�ำสงครามกับ อังกฤษตั้งแต่ต้น จึงได้ก่อกบฏขึ้นและได้เป็น กษัตริย์พม่าพระองค์ใหม่ ระหว่างนั้นอังกฤษ ได้ถือโอกาสรุกดินแดนพม่ามากขึ้น พระเจ้า มินดงแห่งพม่าได้ส่งบาทหลวงชาวอิตาลีมาขอ สงบศึกกับกองทัพอังกฤษ กองทั พ อั ง กฤษได้ ส ่ ง ผู ้ แ ทนขึ้ น ไปยั ง ราชส�ำนักพม่า เพื่อขอให้ราชส�ำนักพม่ารับรอง การผนวกพะโค แต่พระเจ้ามินดงปฏิเสธที่จะ ท�ำสัญญาใดๆ กับอังกฤษ สงครามในครั้งนี้จึง ยุติลงโดยไม่ได้ท�ำสัญญาสันติภาพระหว่างกัน อังกฤษสามารถยึดครองพื้นที่พม่าตอนล่างไว้ ได้ทั้งหมด แต่ในเขตที่อังกฤษยึดครองมีกอง โจรพม่าออกมาต่อต้านอังกฤษ กองทัพอังกฤษ ต้องจัดก�ำลังทหารเข้าปราบปรามจนถึงปี พ.ศ. ๒๔๑๓ หรือนานถึง ๑๘ ปี จึงสงบลง 48
พระเจ้ามินดง (Mindon Min) กษัตริย์พม่าแห่งราชวงศ์อลองพญา ล�ำดับที่ ๑๐
แม่ทัพใหญ่ของกองทัพอังกฤษคือพลตรี เฮนรี่ ก็ อ ดวิ น (Major-General Henry Godwin) เกิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๒๗ รับราชการ ในปี พ.ศ. ๒๓๔๒ เมื่ออายุได้ ๑๕ ปี มีความ ก้าวหน้าตามล�ำดับ ได้รับยศพันโทในปี พ.ศ. ๒๓๖๔ หรื อ อายุ ไ ด้ ๓๗ ปี ที่ ก รมอิ น เดี ย
พลเรือตรี ชาร์ลส์ ออสเทน (Rear Admiral Charles John Austen) แม่ทัพเรืออังกฤษในสงคราม พม่า - อังกฤษ ครั้งที่ ๒ ปี พ.ศ. ๒๓๙๕ พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์
ออสเทน (Rear Admiral Charles John Austen) บนเรื อ รบหลวงรั ท เลอร์ ( HMS Rattler) กองทัพเรืออังกฤษได้ระดมยิงท่าเรือ เมืองเมาะตะมะ เมื่อวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๓๙๕ เป็นวันเริ่มต้นของสงคราม พม่า อังกฤษ ครั้งที่ ๒
๓. บทสรุป จากความวุ ่ น วายในราชส� ำ นั ก ที่ ต ่ า งก็ แย่งชิงความเป็นใหญ่ขึ้นเป็นกษัตริย์ มีการ ต่อสู้และสูญเสียก�ำลังพลไปเป็นจ�ำนวนมาก
จึ ง เกิ ด ความอ่ อ นแอ ราชส� ำ นั ก พม่ า จาก ราชวงศ์ อ ลองพญาจึ ง เกิ ด การแตกแยกมาก ยิ่งขึ้นรวมทั้งขุนนางจึงขาดความเป็นปึกแผ่น สถานการณ์จากภายนอกเกิดความขัดแย้งกับ มหาอ�ำนาจทางทหารจากยุโรปซึ่งก�ำลังขยาย ดินแดนบริเวณริมฝั่งทะเลที่เป็นเมืองท่าและ ผลประโยชน์ทางด้านการค้า จึงน�ำมาสู่ความ ขัดแย้งครั้งใหม่ซึ่งน�ำมาสู่การต่อสู้และพม่า เป็ น ฝ่ า ยพ่ า ยแพ้ ต ้ อ งสู ญ เสี ย ดิ น แดนพม่ า ตอนล่าง ยิง่ ท�ำให้พม่ามีอ�ำนาจทางทหารลดลง ตามล�ำดับและอ่อนแอในที่สุด
กองทัพอังกฤษเข้ายึดเจดีย์ชเวดากอง (Shwedagon Pagoda) ได้ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๕ ในสงคราม พม่า - อังกฤษ ครั้งที่ ๒
หลักเมือง พฤศจิกายน ๒๕๕๖
49
หลั ก การของนายพลแพตตั น (ตอนที่ ๑๖) พลโท เด่นดวง ทิมวัฒนา
50
พลโท เด่นดวง ทิมวัฒนา
จงขึ้นไปแนวหน้า ประโยคหนึ่ ง ที่ น ายพลแพตตั น ชอบพู ด บ่อย ๆ คือ “จงขึน้ ไปแนวหน้า” กฎของพลเรือน ก็คือ “จงอยู่ ณ ที่เกิดเหตุ” ค�ำกล่าวของท่าน ท�ำให้เกิดเสียงหัวเราะ เพราะท่านได้กล่าวว่า “ผมต้ อ งการให้ น ายทหารทุ ก นายขึ้ น ไป แนวหน้าอย่างน้อยวันละหนึง่ ครัง้ คุณจะไม่รวู้ า่ อะไรก�ำลังเกิดขึ้น เว้นแต่คุณจะสามารถได้ยิน เสียงลูกกระสุนปืน คุณต้องน�ำคน การน�ำง่าย กว่าการผลักดัน” ท่านจะเงียบไปหลายอึดใจ ก่อนที่จะพูด ต่อว่า “อีกประการหนึ่ง ไอ้การที่มีพันเอกอาวุโส ขึ้ น ไปแนวหน้ า นี่ มั น เป็ น เครื่ อ งกระตุ ้ น ที่ ยั่วยวนใจต่อนายทหารเด็กๆ ดีเหลือเกิน สิ่งที่ จะช่วยให้มีการเลื่อนยศเร็วๆ ไม่มีอะไรที่ดีไป กว่าการที่มีต�ำแหน่งว่างหรอก!” ท่านจะยิงฟัน ยิ้มกว้าง และพวกเราก็จะ หัวเราะ ท่านได้ก�ำหนดจุดมุ่งหมายแล้ว นาย ทหารทุ ก นายต้ อ งเป็ น ผู ้ น� ำ ของผู ้ ใ ต้ บั ง คั บ บัญชา ซึ่งเขาไม่อาจแสดงความกลัวใดๆ ที่มี ต่อข้าศึก หรือกลัวถูกลูกน้องของตนเองยิง บุคคลที่ไม่ใช่ผู้น�ำจะไม่เคยใช้โอกาสที่จะขึ้น น�ำหน้าผู้ใต้บังคับบัญชา ความเกลียดที่มีต่อ นายทหารแบบนี้จะมีมากกว่าที่เกลียดข้าศึก นายพลแพตตันได้ยืนยันถึงแบบของการเป็น ผู้น�ำซึ่งจะท�ำให้ไม่มีนายทหารคนใดต้องกลัว ที่จะถูกยิงโดยก�ำลังพลของตน
หลักเมือง พฤศจิกายน ๒๕๕๖
51
บางคนพู ด ว่ า ก� ำ ลั ง พลเกลี ย ดนายพล แพตตัน นั่นไม่ใช่ความจริง นายพลแพตตัน อยู่ใกล้แนวหน้าบ่อยมากซึ่งใครก็ได้ที่เกลียด ท่านสามารถลอบยิงได้ ไม่มีใครเคยท�ำเช่น นั้ น ผมยั ง คิ ด ว่ า มี ท หารเยอรมั น หลายคนที เดียวที่มีโอกาสยิงนายพลแพตตัน ผมแน่ใจว่า ทหารเยอรมันจ�ำนวนมากได้เห็นหน้าหมวกซึ่ง ปรากฏทีห่ มวกเหล็กของท่านทีแ่ นวหน้า ความ เป็ น ผู ้ น� ำของนายพลแพตตันนั้นกร้าวแกร่ง มากจนทหารเยอรมันคนใดก็ตามที่มีความรู้ สักนิดจะมีความกลัวที่จะฆ่านายพลแพตตัน 52
พวกเยอรมั น รู ้ ว ่ า ถ้ า พวกเขาฆ่ า นาย พลแพตตั น ทหารอเมริ กั น จะเดื อ ดดาลถึ ง ขี ด สุ ด จนกระทั่ ง จะไม่ ไ ว้ ชี วิ ต พวกเชลย เยอรมั น นานเป็ น เวลาหลายสั ป ดาห์ ที เ ดี ย ว พวกเยอรมั น รู ้ ว ่ า เมื่ อ พวกเขาเผชิ ญ หน้ า กั บ หน่วยทหารของนายพลแพตตัน มันเป็นโอกาส ดีของพวกเขาแล้วที่จะยอมถูกจับ! นายพลแพตตันได้ยกตัวอย่างเรือ่ งโซ่ลากซุง แบบโบราณ โดยกล่าวว่า “การพยายามน�ำคนจากด้านหลังท�ำให้คุณ เป็นพลขับรถ ไม่ใช่ผู้น�ำ มันง่ายที่จะน�ำคน
ก็เหมือนกับว่ามันง่ายกว่าที่จะลากสายซุง คุณ ไม่สามารถผลักสายซุงและคุณก็ไม่สามารถ ผลักก�ำลังพลได้ ก�ำลังพลจะวิ่งกลับมาขอค�ำ แนะน�ำจากพวกคุณซึง่ โดยข้อเท็จจริงก็เนือ่ งมา จากหวาดกลัวนั่นเอง ผู้น�ำต้องขึ้นไปแนวหน้า คุณต้องรู้ว่าก�ำลังเกิดอะไรขึ้น! คุณไม่สามารถ ว่ายน�ำ้ ได้ถา้ ไม่ลงไปในน�ำ้ และคุณก็ไม่สามารถ เล่นสเก็ตได้ถ้าไม่ยอมอยู่บนน�้ำแข็ง ไม่มีใคร เรียนรู้การเล่นสเก็ตน�ำ้ แข็งจากกระดานแผนที่ จงน�ำแผนที่ติดตัวไว้และขึ้นไปแนวหน้า และ ดูว่าแผนที่ฉบับนั้นถูกต้องหรือไม่” พลโท เด่นดวง ทิมวัฒนา
มี เ รื่ อ งราวของนายพลแพตตั น ซึ่ ง ผมได้ ทราบมา เรื่องนี้ไม่ใช่นิยาย มันเป็นเรื่องราว เกี่ ย วกั บ การข้ า มล� ำ น�้ ำ ของนายพลแพตตั น นายพลแพตตันได้กลับมาที่กองบัญชาการเพื่อ พบกับหน่วยทหารช่างซึ่งก� ำลังศึกษาแผนที่ อย่างขะมักเขม้น และพยายามที่จะตกลงใจว่า ควรจะข้ามแม่น�้ำตรงจุดไหน นายพลแพตตัน ได้ถามขึน้ ว่า “ท�ำไมไม่ขา้ มแม่นำ�้ ตรงจุดนีล้ ะ่ ?” ท่ า นได้ ชี้ ไ ปที่ จุ ด ๆ หนึ่ ง บนแผนที่ และท� ำ เครื่องหมายที่จุดนั้นด้วยดินสอสีแดง พันเอกอาวุโสท่านหนึ่งตอบว่า หลักเมือง พฤศจิกายน ๒๕๕๖
“เรามีข้อมูลนิดเดียวเกี่ยวกับความลึกของ แม่ น�้ ำ และสภาพของดิ น ณ จุ ด ที่ ท ่ า นท�ำ เครื่องหมาย” “เราจะข้ามตรงจุดที่ผมท�ำเครื่องหมาย ทุก คนสามารถเดินข้ามได้ ส่งรถถังสักสองสามคัน ไปลองข้าม เพื่อทดสอบสภาพของดิน ฝั่งน�้ำ แข็งแรงและพืน้ ใต้นำ�้ ก็ดแู น่น แม่นำ�้ แม้จะกว้าง ณ จุดนี้ แต่มันตื้นทีเดียว” “จะให้พวกเราแน่ใจได้อย่างไรครับ ท่าน นายพล?” “แล้วคุณคิดว่ากางเกงผมเปียกได้ยงั ไง? ขึน้
มาถึงตรงนี้นี่แหละ คือ ความลึกของแม่น�้ำ!” ท่านชี้ขอบรอยเปียกน�้ำด้านบนที่ขากางเกง ของท่าน
53
สาระน่ารู้ทางการแพทย์
“โรค SLE-โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือโรคพุ่มพวง”
โ
ส�ำนักงานแพทย์ ส�ำนักงานสนับสนุนส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
ร คเอสแอลอี (Systemic Lupus Erythematosus - SLE) หรือ โรคลูปสั จั ด เป็ น โรคที่ เรื้อรังชนิดหนึ่ง ที่อยู่ ในกลุ่มภูมิคุ้มกันเพี้ยน ซึ่งไม่ได้เป็นโรคที่มี อันตรายร้ายแรงอย่างที่ผู้คนส่วนมากเข้าใจ โรคเอสแอลอี เกิ ด จากการที่ ผู ้ ป ่ ว ยมี ก าร ผลิ ต โปรตี น ของภู มิ คุ ้ มกันในเลือดที่เรียกว่า “แอนติบอดี้” ขึ้นมามากเกินปกติ ท�ำให้เกิด ปัญหาในอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่ว่า ทั้งทางตรงและทางอ้อม กล่าวคือ จากปกติ ที่ภูมิคุ้มกันในร่างกายจะต่อต้านเชื้อโรคและ สิ่งแปลกปลอม เช่น แบคทีเรีย หรือไวรัสจาก ภายนอกร่างกาย แต่กลับต่อต้านร่างกายของ ตัวเอง จนท�ำให้เกิดการอักเสบที่อวัยวะต่างๆ ถ้าเป็นรุนแรงจะมีการท�ำลายอวัยวะภายใน ด้วย เช่น ไต หัวใจ ปอด และระบบประสาท ส�ำหรับความรุนแรงของโรคจะแตกต่างกัน ไปในแต่ละคน บางคนเป็นรุนแรง บางคนเป็นไม่ รุนแรง และในรายที่เป็นไม่รุนแรง วันดีคืนร้าย ก็จะเป็นรุนแรงขึ้นมาได้อีก ในปัจจุบันโรคนี้ ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถ ควบคุมอาการของโรคให้สงบ และด�ำเนินชีวิต ได้ตามปกติหากรักษาได้ทันท่วงที ทั้งนี้ ผู้ป่วย ด้วยโรคเอสเเอลอี ส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิงวัย สาวถึงวัยกลางคน อายุระหว่าง ๒๐ - ๔๕ ปี อายุเฉลี่ยประมาณ ๓๐ ปี โดยผู้หญิงมีโอกาส เป็นมากกว่าผู้ชายประมาณ ๙ : ๑ และพบ ได้ในทุกเชื้อชาติ แต่จะพบในคนผิวด�ำและ ผิวเหลืองมากกว่าผิวขาว โดยเฉพาะบริเวณ เอเชียตะวันออก เช่น ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย ฮ่องกง และจีน
สาเหตุของโรคเอสแอลอี
เอสแอลอี มีอาการรุนแรงขึ้น เช่น แสงแดด โดยเฉพาะแสงอุลตร้าไวโอเลต การตั้งครรภ์ และยาบางชนิด ๑. พั น ธุ ก รรม พบว่ า ในแฝดจากไข่ ใ บ เดียวกันมีโอกาสเกิดโรคนี้ถึงร้อยละ ๓๐ - ๕๐ และร้อยละ ๗ - ๑๒ ของผู้ป่วยเอสแอลอี เป็น ญาติพี่น้องกัน เช่น แม่และลูกสาว หรือในหมู่ พี่น้องผู้หญิงด้วยกัน ๒. ติดเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรีย แต่จนถึง ปัจจุบนั ยังไม่สามารถค้นพบเชือ้ แบคทีเรียและ ไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคนี้ได้ ๓. ฮอร์โมนเพศโดยเฉพาะเอสโตรเจน โรค ที่พบมากในสตรีวัยเจริญพันธุ์ บ่งชี้ว่าน่าจะมี ความสัมพันธ์กับฮอร์โมนเพศ นอกจากนี้ความ รุนแรงของโรคยังแปรเปลี่ยนตามการมีครรภ์ ประจ�ำเดือน และการใช้ยาคุมก�ำเนิด ๔. แสงแดดและสารเคมี ยาบางอย่ า ง เป็นปัจจั ยที่ ส่ ง เสริม ให้ ผู้ ที่มี ป ัจ จัย เสี่ ย งทาง พันธุกรรมแสดงอาการของโรคนี้ได้
ในปั จ จุ บั น ยั ง ไม่ ท ราบสาเหตุ ที่ แ ท้ จ ริ ง ของโรคเอสแอลอี แ น่ ชั ด แต่ จ ากหลั ก ฐาน อาการของโรคเอสแอลอี ทางการวิจัยพบว่า โรคนี้มีความเกี่ยวข้องกับ กรรมพันธุ์ ฮอร์โมน และการติดเชื้อโรค (โดย โรคเอสแอลอี เป็ น โรคที่ มี ลั ก ษณะการ เฉพาะเชื้อไวรัส) นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยบาง แสดงออกได้ ห ลากหลาย อาจมี อ าการ อย่างที่ท�ำให้ผู้ป่วยที่เป็นหรือมีโอกาสเป็นโรค เฉียบพลันและรุนแรง หรือมีอาการค่อยเป็น 54
ค่อยไปเป็นช่วงระยะเวลานานหลายปี หรือ อาจมี อ าการแสดงออกของหลายอวั ย วะใน ร่างกายพร้อมๆ กัน หรือมีการแสดงออกเพียง อวัยวะใดอวัยวะหนึง่ ทีละอย่างก็ได้ โดยอาการ ที่พบบ่อยนั้น ได้แก่ มีไข้ ผื่นขึ้นที่ใบหน้า เกิด แผลในปาก ผมร่วง มีอาการปวดข้อ บางครั้ง ก็เป็น พอรักษาก็หายไป แต่แล้วก็เป็นขึน้ มาอีก ส่วนอาการอื่นๆ มีดังนี้ อาการอ่ อ นเพลี ย เบื่ อ อาหาร น�้ ำ หนั ก ตั ว ลด เป็ น อาการที่ พ บได้ บ ่ อ ยในขณะโรค ก�ำเริบ อาการทางผิวหนังและเยื่อบุช่องปาก ในระยะเฉียบพลันที่พบได้บ่อยที่สุด คือ ผื่น รูปปีกผีเสือ้ ลักษณะเป็นผืน่ บวมแดงนูนบริเวณ โหนกแก้มและสันจมูก ผื่นจะเป็นมากขึ้นเมื่อ ถูกแสงแดด ปลายเท้าซีดเขียวเมื่อถูกน�้ำหรือ อากาศเย็น ผมร่วง มีแผลในปาก อาการทางข้อและกล้ามเนื้อ เป็นอาการที่ พบได้บ่อยที่สุด ส่วนใหญ่เป็นอาการปวดข้อ มากกว่าลักษณะข้ออักเสบ มักเป็นบริเวณข้อ เล็กๆ ของนิ้วมือ ข้อมือ ข้อไหล่ ข้อเท้า หรือ ข้อเข่า เป็นเหมือนๆ กันทั้ง ๒ ข้าง ร้อยละ ๑๗ - ๔๕ พบอาการปวดกล้ามเนื้อ อาการทางไต ผู้ป่วยบางรายมาพบแพทย์ ด้วยอาการทางไตเป็นอาการน�ำ อาการแสดง
ส�ำนักงานแพทย์ ส�ำนักงานสนับสนุนส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
ที่ส�ำคัญของไตอักเสบจากลูปัส ได้แก่ บวม ปัสสาวะเป็นฟอง ตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะ ความดันโลหิตสูง อาการทางระบบเลือด อาการที่พบ ได้แก่ อ่อนเพลีย หน้ามืดจากภาวะซีด เม็ดเลือดขาว ต�่ำ ท�ำให้ติดเชื้อได้ง่าย และเกร็ดเลือดต�่ำ อาจ พบจุดจ�้ำเลือดออกตามตัวได้ อาการทางระบบประสาท อาการทีพ่ บได้ คือ อาการชักและอาการทางจิต นอกจากนี้อาจ มีอาการปวดศีรษะรุนแรง หรือมีอาการอ่อน แรงของแขนขา อาจพบได้ในระยะทีโ่ รคก�ำเริบ อาการทางปอดและเยื่อหุ้มปอด อาการ ที่ พ บบ่ อ ย คื อ เยื่ อ หุ ้ ม ปอดอั ก เสบ อาการ แสดงคือเจ็บหน้าอก โดยเฉพาะเวลาหายใจ เข้าสุด ตรวจพบมีน�้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด บาง รายมีอาการปอดอักเสบซึ่งต้องแยกจากปอด อักเสบติดเชื้อ อาการทางระบบหัวใจและหลอดเลือด ที่ พบบ่อยคือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ซึ่งมักพบร่วม กับเยื่อหุ้มปอดอักเสบ ผู้ป่วยจะมาด้วยอาการ เจ็บหน้าอก มีน�้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ เหนื่อย ง่ า ย โรคหลอดเลื อ ดหั ว ใจส่ ว นใหญ่ เ ป็ น ผล มาจากภาวะหลอดเลือดแข็งจากการได้รับยา สเตียรอยด์นานๆ นอกจากนี้ภาวะความดัน โลหิตสูงก็เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อย จากไตอั ก เสบเรื้ อ รั ง และจากการได้ รั บ ยา สเตียรอยด์ อาการทางระบบทางเดินอาหาร ไม่มอี าการ ที่จ�ำเพาะส�ำหรับโรคลูปัส อาการที่พบบ่อย ได้แก่ คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร ปวดท้อง ซึ่งเป็นผลจากการใช้ยารักษาโรคลูปัส เช่น NSAIDS ยาสเตียรอยด์ อาการยังคงอยู่ได้แม้ จะหยุดยาไปเป็นสัปดาห์
การรักษา ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาใดที่ท�ำให้หายขาด ได้ แต่การปฏิบตั ติ วั ทีด่ ี การเลือกใช้ยาทีถ่ กู ต้อง ทั้งชนิด ขนาด และช่วงเวลาที่เหมาะสม จะ สามารถควบคุมอาการของโรคนี้ได้ การรักษา ด้วยยากลุ่ม NSAIDS และยาต้านมาลาเรีย (คลอโรควีน และไฮดรอกซีคลอโรควีน) ใน ผู้ป่วยที่มีอาการเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่มีปัญหา ต่อการด�ำเนินชีวิตประจ�ำวันมากนัก เช่น ผู้ ป่ ว ยที่ มี อ าการอย่ า งโรคตามทางผิ ว หนั ง มี ผื่นที่หน้า ปวดข้อและปวดกล้ามเนื้อ โดยที่ ผลการตรวจทางปัสสาวะปกติ อย่างไรก็ตาม ในกรณียาเหล่านี้ควบคุมอาการไม่ได้ อาจให้ ยาสเตียรอยด์ ในขนาดต�่ำๆ (prednisolone < ๑๐ มิลลิกรัม /วัน) ร่วมด้วย เมื่อควบคุม โรคได้จึงค่อยลดยาลง ยาสเตียรอยด์ลง เช่น prednisolone เป็นยาหลักที่ใช้ในผู้ป่วยที่มี อาการอักเสบของอวัยวะส�ำคัญต่างๆ จากโรค หลักเมือง พฤศจิกายน ๒๕๕๖
ลูปัส แพทย์จะปรับขนาดของยาตามอาการ และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ถ้าไม่ได้ ผลอาจต้องให้ยากดระบบภูมิคุ้มกันอื่นๆ ร่วม ด้วย ปฏิบตั ติ วั อย่างไรเมือ่ ป่วยเป็นโรคเอสแอลอี ๑. ในระยะแรกต้องได้รับการรักษาด้วยยา ต้องรับประทานยาตามขนาดและระยะเวลาที่ แพทย์ก�ำหนดอย่างเคร่งครัด ๒. ควรพยายามอย่าให้ผิวหนังถูกแสงแดด โดยตรง ควรใส่หมวกปีกกว้าง กางร่ม และ สวมใส่เสื้อแขนยาวเวลาที่จ�ำเป็นต้องออกแดด ๓. ท�ำจิตใจให้สบาย ไม่ควรเครียด ท้อถอย เศร้าใจ หรือกังวลใจ เพราะท�ำให้อาการก�ำเริบ ได้ ควรมี ก� ำ ลั ง ใจและมี ค วามอดทนต่ อ การ รักษา ๔. เสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง โดยการ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะ อาหารประเภท เนื้อสัตว์ ไข่ นม ผักและผลไม้ ต่างๆ มีการออกก�ำลังกายอย่างสม�่ำเสมอ และ นอนหลับพักผ่อนให้พอเพียง ๕. เนื่ อ งจากผู ้ ป ่ ว ยเอสแอลอี มี โ อกาส ติดเชื้อโรคได้ง่ายจึงต้องคอยระวังตัว ไม่เข้า ใกล้ผู้อื่นที่ก�ำลังเป็นโรคติดต่อ เช่น โรคหวัด พยายามไม่ อ ยู ่ ใ นที่ ผู ้ ค นแออั ด นอกจากนี้ อาหารที่รับประทานทุกชนิดควรเป็นอาหารที่ สะอาดและต้มสุกแล้ว ๖. ท�ำตามค�ำแนะน�ำของแพทย์ พยาบาล และไปรั บ การตรวจตามนั ด อย่ า งสม�่ำ เสมอ
เพื่อประโยชน์ในการรักษาและประเมินความ รุ น แรงของโรค และผลการรั ก ษาแพทย์ จ ะ ได้พิจารณาให้การรักษาได้อย่างถูกต้องและ เหมาะสม ๗. ไม่ ค วรเปลี่ ย นแพทย์ ผู ้ รั ก ษาบ่ อ ยๆ เพราะแพทย์ ค นใหม่ อ าจจะไม่ ท ราบราย ละเอียดของอาการเจ็บป่วย ท�ำให้เกิดความ ล่าช้าในการวินิจฉัยและการรักษา อาจท�ำให้ เกิดภาวะแทรกซ้อน หรืออาจเป็นอันตรายได้ ๘. ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง เพราะจะมี โอกาสแพ้ยาได้บอ่ ยและรุนแรงกว่าคนธรรมดา ๙. ไม่ควรเพิ่มหรือลดขนาดยาเอง ๑๐. ถ้ามีอาการผิดปกติ มีไข้ หรือไม่สบาย ควรรี บ กลั บ ไปปรึ ก ษาแพทย์ ผู ้ รั ก ษาทั น ที หรือหากจะไปหาแพทย์อื่น ควรน�ำยาที่ก�ำลัง รับประทานอยู่ไปให้แพทย์ดูด้วยทุกครั้ง เพื่อ ว่าแพทย์จะได้จัดยาได้ถูกต้องและสอดคล้อง กับยาประจ�ำที่รับประทานอยู่ ๑๑. ผูป้ ว่ ยหญิงทีแ่ ต่งงานแล้ว ไม่ควรมีบตุ ร ในระยะที่โรคก�ำเริบ เพราะจะเป็นอันตราย ต่อแม่และเด็กในครรภ์ ไม่ควรใช้ยาคุมก�ำเนิด เพราะอาจจะท�ำให้อาการของโรคก�ำเริบขึ้น ควรเลี่ยงใช้วิธีอื่นๆ แทนโดยการปรึกษาแพทย์ ผู้ป่วยจะสามารถตั้งครรภ์ได้ เมื่อพ้นระยะที่ โรคมีความรุนแรงแล้ว แต่ควรปรึกษาแพทย์ ก่อนการตั้งครรภ์และขณะตั้งครรภ์ควรได้รับ การดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์
55
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชด� ำเนินแทนพระองค์ สรงน�้ ำ พระศพ สมเด็ จ พระญาณสั ง วร สมเด็ จ พระสั ง ฆราช สกลมหาสั ง ฆปริ ณ ายก โดย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายา โดยเสด็จ โดยมี พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก ปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการ ทหารสูงสุด ผู้บัญชาการเหล่าทัพและนายทหารชั้นผู้ใหญ่เฝ้ารับเสด็จ ณ พระต� ำหนักเพชร วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อ ๒๕ ต.ค.๕๖
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ร่วมพิธีวางพวงมาลาในนามของกระทรวงกลาโหมพร้อมด้วย พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก ปลัดกระทรวงกลาโหม ร่วมพิธีวางพวงมาลาในนามของส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม และนายทหารชั้นผู้ใหญ่เข้าร่วม พิธี เพื่อถวายราชสักการะพระบรมราชานุสรณ์ รัชกาลที่ ๕ เนื่องในวันปิยมหาราช ณ พระลานพระราชวังดุสิต เมื่อ ๒๓ ต.ค.๕๖ 56
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานงานเลี้ยงรับรองเนื่องในวันต�ำรวจแห่งชาติ ประจ�ำปี ๒๕๕๖ โดยมี พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก ปลัดกระทรวงกลาโหม ทันตแพทย์หญิง รัตนาวดี ทองเล็ก นายกสมาคมภริยาข้าราชการส�ำนักงาน ปลัดกระทรวงกลาโหม และนายทหารชั้นผู้ใหญ่ของส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ร่วมแสดงความยินดี ณ สโมสรต�ำรวจ ถนนวิภาวดีรังสิต เมื่อ ๑๓ ต.ค.๕๖
พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง กลาโหม ให้การต้อนรับ นาย Simon Roded เอกอัครราชทูต รัฐอิสราเอลประจ�ำประเทศไทย ในโอกาสเข้าเยี่ยมค�ำนับและ หารือข้อราชการ ณ ห้องรับรองรัฐมนตรีวา่ การกระทรวงกลาโหม เมื่อ ๑๐ ต.ค.๕๖ พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ให้การต้อนรับ นาย Luis Manuel Barreira de Sousa เอกอัครราชทูต สาธารณรัฐโปรตุเกสประจ� ำประเทศไทย ในโอกาสเข้าเยี่ยมค� ำนับและหารือข้อราชการ ณ ห้องรับรองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เมื่อ ๒๑ ต.ค.๕๖
หลักเมือง พฤศจิกายน ๒๕๕๖
57
พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก ปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการเหล่าทัพ และนายทหารชั้นผู้ใหญ่ของ ส� ำ นั ก งานปลั ด กระทรวงกลาโหม เข้ า ร่ ว มในการ พระราชพิธีทรงบ�ำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อ ๒๗ ต.ค.๕๖ พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย ผู้บัญชาการทหารเรือ และ พลเรือเอก จักรชัย ภูเ่ จริญยศ รองผูบ้ ญ ั ชาการทหารเรือเข้าแสดงความยินดีกบั พลเอก นิพทั ธ์ ทองเล็ก ปลัดกระทรวงกลาโหม ในโอกาสเข้ารับต�ำแหน่ง ณ ห้องสนามไชย ภายในศาลา ว่าการกลาโหม เมื่อ ๗ ต.ค.๕๖
58
พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในวันคล้ายวันสถาปนาส�ำนักงบประมาณกลาโหม ครบ ๒๙ ปี ณ ห้องสุรศักดิ์มนตรี ภายในศาลาว่าการกลาโหม เมื่อ ๑๐ ต.ค.๕๖
พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในการประชุมคณะ กรรมการอ� ำ นวยการประสานงานการจั ด การนิ ท รรศการอุ ป กรณ์ ป ้ อ งกั น ประเทศ ครั้งที่ ๒ / ๒๕๕๖ ณ ห้องสุรศักดิ์มนตรี ภายในศาลาว่าการกลาโหม เมื่อ ๑๖ ต.ค.๕๖
หลักเมือง พฤศจิกายน ๒๕๕๖
59
พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก ปลัดกระทรวงกลาโหม ให้การต้อนรับ พันเอก Desmond D. Walton เจ้าหน้าที่อาวุโสกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา , ผู้ช่วยทูตทหารสหรัฐอเมริกาประจ�ำประเทศไทย ในโอกาสเข้าเยี่ยมค�ำนับและหารือข้อราชการ ณ ห้องสนามไชย เมื่อ ๙ ต.ค.๕๖
พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก ปลัดกระทรวงกลาโหม ให้การต้อนรับ พันเอก Win Maung ผู้ช่วยทูตทหาร สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาประจ�ำ ประเทศไทย ในโอกาสเข้าเยี่ยมค�ำนับและหารือข้อราชการ ณ ห้องสนามไชย เมื่อ ๙ ต.ค.๕๖
พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก ปลัดกระทรวงกลาโหม ให้การต้อนรับ พันเอก Wojciech Golaszewski ผู้ช่วยทูตทหารสาธารณรัฐโปแลนด์ประจ�ำ กรุงเทพฯ ในโอกาส เข้าเยี่ยมค�ำนับและหารือข้อราชการ ณ ห้องสนามไชย เมื่อ ๒๔ ต.ค.๕๖ 60
พลเรือเอก พลวัฒน์ สิโรดม รองปลัดกระทรวงกลาโหม (๑) เป็นประธานในการรับฟังการบรรยายสรุป และตรวจเยี่ยมส� ำนักนโยบายและ แผนกลาโหม โดยมี พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รองปลัดกระทรวงกลาโหม (๓) และ พลเอก สนธิศักดิ์ วิทยาเอนกนันท์ รองปลัดกระทรวงกลาโหม (๔) ร่วมรับฟังการบรรยายสรุปด้วย ณ ห้องประชุมยุทธนาธิการ ภายในศาลาว่าการกลาโหม เมื่อ ๑๘ ต.ค.๕๖
พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รองปลัดกระทรวงกลาโหม (๓) ตรวจเยี่ยมและรับฟังการบรรยายสรุปภารกิจของส�ำนักงานเลขานุการส�ำนักงาน ปลัดกระทรวงกลาโหม โดยมี พลตรี ณภัทร สุขจิตต์ เลขานุการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุมส�ำนักงานเลขานุการ ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ภายในศาลาว่าการกลาโหม เมื่อ ๑๗ ต.ค.๕๖ หลักเมือง พฤศจิกายน ๒๕๕๖
61
ย่างก้าวปีที่ ๒๓
สมาคมภริยาข้าราชการ ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม สมาคมภริยาข้าราชการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
๒๒
ปี นั บ จากที่ คุ ณ หญิ ง สรั ส นั น ท์ เรื อ งตระกู ล ได้ ก ่ อ ตั้ ง สมาคมภริ ย า ข้าราชการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ขึ้นมาภายใต้วัตถุประสงค์หลักในการให้ความ ช่ ว ยเหลื อ ดู แ ลทุ ก ข์ สุ ข ของข้ า ราชการและ ครอบครัว และในปีนี้สมาคมภริยาข้าราชการ ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมได้ย่างก้าว เข้าสู่ปีที่ ๒๓ ไป เมื่อ ๙ พฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยนายกสมาคมภริยาข้าราชการส�ำนักงาน ปลั ด กระทรวงกลาโหม ทั น ตแพทย์ ห ญิ ง รัตนาวดี ทองเล็ก ได้มอบนโยบายการด�ำเนิน งานให้แก่คณะกรรมการสมาคมฯ และสมาชิก เพื่อน�ำไปเป็นแนวทางในการจัดท�ำโครงการ/ 62
สมาคมภริยาข้าราชการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
กิจกรรม ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของ สมาคมฯ และเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับ การดูแลข้าราชการส�ำนักงานปลัดกระทรวง กลาโหม หน่ ว ยงานจะเข้ ม แข็ ง ได้ ย ่ อ มมาจาก ข้ า ราชการที่ เ ข้ ม แข็ ง และย่ อ มมาจาก ครอบครั ว ที่ เ ข้ ม แข็ ง เช่ น กั น การดู แ ล สวัสดิการความเป็นอยู่ รวมทั้งการบ�ำรุงขวัญ และก�ำลังใจให้แก่ข้าราชการและครอบครัว เป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ที่ ส ามารถช่ ว ยลดความกั ง วล ความไม่สบายใจให้แก่ข้าราชการ น� ำมาซึ่ง ความสุขรอยยิ้มของคนในครอบครัว สมาคม ภริยาฯ ได้เล็งเห็นถึงความส�ำคัญของสิ่งเหล่า นี้ การส่ ง เสริ ม และสนั บ สนุ น ให้ ค รอบครั ว ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ จึงเป็นกิจกรรมชิ้น โบแดงที่ทางสมาคมฯ มาช่วยกันคิดช่วยกันท�ำ กระจายผลผลิต/ผลิตภัณฑ์เพื่อน�ำออกสู่ตลาด และมีแหล่งขายเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว รวมถึ ง การท� ำ บรรจุ ภั ณ ฑ์ ใ ห้ ส ะดุ ด ตา เพิ่ ม มูลค่า และที่ขาดเสียไม่ได้ การคงคุณภาพ ของสินค้าที่สามารถขยายตลาดไปสู่ประชาคม อาเซียนที่จะมาถึงได้อีกด้วย การบ�ำรุงขวัญและก�ำลังใจ ในการเยี่ยมไข้ ออกหน่วยตรวจโรคและทันตกรรมเคลื่อนที่ ให้แก่ครอบครัว รวมทัง้ โครงการช่วยเหลือบุตร ที่มีความต้องการพิเศษ ยังคงเป็นกิจกรรมที่ สมาคมฯ ด�ำเนินการต่อไป โดยเฉพาะโครงการ ช่วยเหลือบุตรที่มีความต้องการพิเศษ ทาง สมาคมฯ ได้เตรียมแผนการด�ำเนินการด้าน กองทุน จัดกิจกรรมหารายได้เพิ่มให้กองทุน หลักเมือง พฤศจิกายน ๒๕๕๖
และนอกจากนี้ ส มาคมฯ ไม่ ไ ด้ ท อดทิ้ ง บุ ต ร ปกติของครอบครัวข้าราชการส�ำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม สมาคมฯ ได้มีแผนการจัด กิจกรรมเพื่อพัฒนาศักยภาพให้กับบุตรหลาน ในช่ ว งปิ ด เทอม ทั้ ง ค่ า ยภาษาอั ง กฤษและ คอมพิวเตอร์ หรือการจัดทัศนศึกษาเพื่อเพิ่ม ทักษะชีวิตในด้านต่างๆ นอกจากศักยภาพที่ เพิ่มให้กับบุตรหลานแล้ว คู่สมรส ก็ยังคงได้รับ การดูแลในเรื่องการพัฒนาฝีมือแรงงาน การเต รียมความพร้อมด้านการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อ เตรียมตัวในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนด้วย เมื่อครอบครัวเข้มแข็งไม่เป็นภาระหรือเป็น เหตุของความกังวลให้กับข้าราชการส�ำนักงาน ปลัดกระทรวงกลาโหม แล้ว การท�ำงานปฏิบัติ หน้าที่ของข้าราชการส�ำนักงานปลัดกระทรวง กลาโหม จึ ง เต็ ม ไปด้ ว ยศั ก ยภาพที่ มี อ ยู ่ ใ น ตนเอง ส่งผลให้หน่วยงานองค์กรแข็งแกร่งเพิม่ ขึ้นจนประสบเป็นความส�ำเร็จ เบื้องหลังความ ส�ำเร็จของข้าราชการส�ำนักงานปลัดกระทรวง กลาโหม คื อ ความแข็ ง แกร่ ง ของภริ ย า และครอบครัวของข้าราชการส�ำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม
“Behind every great man, there’s a great woman”
63
ทันตแพทย์หญิง รัตนาวดี ทองเล็ก นายกสมาคมภริยาข้าราชการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมน�ำคณะอุปนายกสมาคมฯ พร้อมด้วย คณะกรรมการสมาคมฯ เข้าร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องใน วันปิยมหาราช ณ ลานหน้าพระราชวังดุสิต เมื่อ ๒๓ ต.ค.๕๖ ทันตแพทย์หญิง รัตนาวดี ทองเล็ก น า ย ก ส ม า ค ม ภ ริ ย า ข ้ า ร า ช ก า ร ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ร่วม คณะสมาคมแม่ บ ้ า นทหาร-ต� ำ รวจ ประกอบด้วยสมาคมภริยาข้าราชการ ส� ำ นั ก งานปลั ด กระทรวงกลาโหม สมาคมแม่บ้านกองบัญชาการกองทัพ ไทย สมาคมแม่บ้านทหารบก สมาคม ภริยาทหารเรือ สมาคมแม่บ้านทหาร อากาศ และสมาคมแม่ บ ้ า นต� ำ รวจ ได้ เ ดิ น ทางมามอบเครื่ อ งอุ ป โภค บริโภคแก่พี่น้องประชาชนที่ประสบ อุ ท กภั ย ในพื้ น ที่ อ� ำ เภอราชสาส์ น จังหวัดฉะเชิงเทรา ทั้งนี้เพื่อเป็นการ แสดงให้ เ ห็ น ถึ ง ความผู ก พั น ที่ มี ต ่ อ ประชาชนชาวไทยและความห่ ว งใย ไม่ทอดทิ้งกัน เมื่อ ๑๗ ต.ค. ๕๖
ทันตแพทย์หญิง รัตนาวดี ทองเล็ก นายกสมาคมภริยาข้าราชการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมให้การต้อนรับ คุณอัจฉรา พิพัฒนาศัย นายก สมาคมภริยาทหารเรือ และคณะกรรมการบริหารสมาคมฯเพื่อกระชับความสัมพันธ์ ณ ห้องรับรอง สมาคมภริยาข้าราชการส�ำนักงานปลัดกระทรวง กลาโหม ชั้น ๑๐ อาคารส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (แจ้งวัฒนะ) เมื่อวันที่ ๒๔ ต.ค.๕๖ 64