รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง สภาพปัญหาและลู่ทางสนับสนุนสิทธิในการรวมกลุ่มบนโลกไซเบอร์ฯ

Page 1

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ เรื่อง สภาพปญหาและลูทางสนับสนุนสิทธิในการรวมกลุมบนโลกไซเบอรเพื่อแสดงออกในประเด็นฐาน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม The problems and prospects on supporting the right to association in cyberspace for expression in the issues of natural resource and environment

ดำเนินการโดย ผูชวยศาสตราจารย ดร. ทศพล ทรรศนกุลพันธ คณะนิติศาสตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม นำเสนอตอ สถาบันพระปกเกลา

เพื่อนำเสนอรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ


สารบัญ

บทสรุปผูบริหาร บทนำ บทที่ 1

บทที่ 2

บทที่ 3

บทที่ 4

หนา ก 1

ทบทวนวรรณกรรมและกรอบทางทฤษฎี 1.1. ทบทวนวรรณกรรมทีเ่ กี่ยวของ

6

1.2. กรอบทางทฤษฎี

35

บรรทัดฐานทางกฎหมายและหลักประกันสิทธิของประชาชน 2.1. หลักการมีสวนรวมเพื่อพัฒนาอยางยั่งยืน

45

2.2. หลักกฎหมายสิ่งแวดลอม

49

2.3. กฎหมายสิทธิมนุษยชน

52

2.4. การรับรองสิทธิในการมีสวนรวมตามรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักร ไทย พุทธศักราช 2560

57

2.5. ขอบเขตการใชสิทธิและเหตุแหงการจำกัดสิทธิ

60

สถานการณปจจุบันและสภาพปญหาในการมีสว นรวมของประชาชน 3.1. สถานการณปจจุบัน

68

3.2. สภาพปญหาเกี่ยวกับการรวมกลุมในโลกไซเบอรเพื่อแสดงออกใน ประเด็นฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม

77

บทวิเคราะหกรณีศึกษาเกีย่ วกับชุมชนเสมือนที่แสดงออกในประเด็น ฐานทรัพยากรและสิ่งแวดลอม 4.1. ลักษณะของการขับเคลื่อนขบวนการสิ่งแวดลอมและทรัพยากรโดย อาศัยอินเตอรเน็ตในไทย

86

4.2. การเผชิญกับมาตรการโตกลับของขบวนการเคลื่อนไหวทัง้ ในโลก จริงและโลกเสมือนในไทย

93

4.3. การขับเคลื่อนขบวนการสิ่งแวดลอมและทรัพยากรโดยอาศัย อินเตอรเน็ตในตางประเทศ

96

4.4. การเผชิญมาตรการโตกลับของขบวนการเคลื่อนไหวทัง้ ในโลกจริง

103


และโลกเสมือนในตางประเทศ 4.5. ขอสังเกตตอขบวนการชุมนุมในโลกเสมือนเพื่อขับเคลื่อนประเด็น ฐานทรัพยากรและสิ่งแวดลอม บทที่ 5

บทที่ 6

หนา 107

การศึกษากฎหมายเปรียบเทียบ และมาตรการสนับสนุนหรืออุปสรรค ตอการมีสวนรวมของประชาชน 5.1. การดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตรเพื่อขัดขวางการมีสวนรวมของ ประชาชน (การฟองตบปาก) [Strategic Lawsuit Against Public Participation – SLAPP]

110

5.2. การฟองคดียุทธศาสตรเพื่อตบปากในประเทศไทย

119

5.3. กฎหมายไทยที่ใชสอดสองกิจกรรมของพลเมืองในโลกไซเบอร

128

5.4. กฎหมายไทยที่ใชควบคุมเสรีภาพในการรวมกลุมและเสรีภาพการ แสดงออก

146

แนวทางพัฒนากฎหมายและมาตรการสงเสริมความเขมแข็งของ ชุมชนเสมือนในการมีสวนรวม 6.1. การผลักดันกฎหมายตอตานการดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร (AntiSLAPP Law)

151

6.2. การผลักดันกฎหมายเพื่อรักษาความมัน่ คงไซเบอรและการ คุมครองขอมูลสวนบุคคล

157

6.3. การผลักดันมาตรการทางกฎหมายสงเสริมการมีสวนรวมในการ พัฒนาอยางยั่งยืน

161

บทสรุปและขอเสนอแนะ

164

บรรณานุกรม

177

ภาคผนวก

198


สารบัญแผนภาพ หนา แผนภาพที่ 1

ผังสรุปกระบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในคดีสิ่งแวดลอมบนพื้นที่ ออนไลน

109

แผนภาพที่ 2

กระบวนการดำเนินการฟองตบปาก(SLAPP) คดีสิ่งแวดลอม

125

แผนภาพที่ 3

ผังสรุปกระบวนการปฏิบัตกิ ารตบปากดวยกฎหมาย (SLAPP)

126

แผนภาพที่ 4

ผังสรุปกระบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในคดีสิ่งแวดลอมบนพื้นที่ ออนไลน

235

แผนภาพที่ 5

ผังสรุปกระบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในดานสิ่งแวดลอมบนพื้นที่ ไซเบอร

261

แผนภาพที่ 6

กระบวนการดำเนินการฟองตบปาก(SLAPP) คดีสิ่งแวดลอม

285

แผนภาพที่ 7

แผนผังสรุปกระบวนการปฏิบัติการตบปากดวยกฎหมาย (SLAPP)

300


บทสรุปผูบริหาร รัฐมีบทบัญญัติกฎหมายที่ใหหลักประกันเสรีภาพในการรวมตัวและแสดงออกเพื่ อสง เสริ ม การมี สว น รวมของประชาชนในการเรียกรองสิทธิในสิ่ งแวดล อมและฐานทรัพยากรทั้งในรัฐธรรมนู ญและพั นธกรณี สิท ธิ มนุษยชนระหวางประเทศที่ไทยเปนภาคี อยางไรก็ดีมีกฎหมายลำดับรองหรือมาตรการทางปฏิบัตบิ างประการ สร า งอุ ปสรรคตอการรวมกลุ มในโลกไซเบอรเพื่ อแสดงออกในประเด็ นสิ ่ง แวดล อมและฐานทรั พยากร จาก กรณี ศ ึ กษาในไทยและต างประเทศแสดงใหเห็ นถึง แนวทางในการขั บเคลื่ อนขบวนการเรี ยกร องสิ ทธิ ดาน สิ่งแวดลอมที่ใชการรวมกลุมในโลกเสมือนเพื่อขยายพลังในการแสดงออกทางความคิดไปสูสังคมอันอาจเปนกล ยุทธที่นำมาปรับใชการสนับสนุนกลุมได แตก็ปรากฏกรณีที่รัฐจำกัดสิทธิหรือใชมาตรการไมเปนคุณตอการใช เสรีภาพจนกลายเปนผลรายตอการมีสวนรวมของประชาชน วิจัยนี้คนพบบทเรียนในการสงเสริมการมีสวนรวม ของประชาชน ยิ่งไปกวานั้นการศึกษากฎหมายและมาตรการในตางประเทศเชิงเปรียบเทียบยังทำใหสามารถ เลือกรูปแบบหลักประกันสิทธิและกลไกคุมครองสิทธิที่เหมาะสมตอการนำมาปรับใชกับรัฐไทย สถานการณ ด านสิ่ ง แวดล อมที ่ เกิด ขึ ้ นในประเทศกำลัง พัฒนากั บประเทศพัฒนาแล วย อมมี ความ แตกตางกัน พลเมืองในประเทศทั้งสองกลุมมีการใหความสนใจในประเด็นสิ่งแวดลอมในน้ำหนักที่ไมเทากัน ยิ่ง ไปกวานั้นขบวนการเคลื่อนไหวบนพื้นที่ออนไลนปจจุบันอาจเปนประโยชนตอคนบางกลุมที่มีความสามารถใน การใชเครื่องมือดิจิทัลหรือเขาถึงขอมูลในโลกออนไลนเทานั้น การสงเสริมใหประชาชนทุกกลุมโดยเฉพาะกลุม เสี่ยงสามารถเขาถึงอินเตอรเน็ต และมีความรูความสามารถในการใชอุปกรณสื่อสารได จะเปนการเสริม สร า ง พลังของภาคประชาชนใหเขมแข็งขึ้นหากตัง้ อยูบนพื้นฐานของความมัน่ คงปลอดการแทรกแซง ในประเทศไทย การใชมาตรการทางกฎหมายเพื่อควบคุมและจำกัดสิทธิในการรวมกลุมของประชาชน และจำกัดการแสดงออกดวยการดำเนินคดีเพื่อตบปากพลเมืองผูตื่นตัวถือเปนยุทธศาสตรสำคัญที่หนวยงานรัฐ และบรรษัทเลือกใช เพื่ อสยบการขยายตั วของแนวร วมขบวนการสิ่ง แวดลอมและทรัพ ยากร ทั้ ง ยั ง สกั ด การ ไหลเวียนของขอมูลและการถกเถียงในสังคม การเมืองการปกครองที่ไมเปนประชาธิปไตยและสถานการณสิทธิ มนุษยชนถูกละเมิดอยางแพรหลาย ยอมทำใหการมีสวนรวมของประชาชนตามแนวทางการพัฒนาอยางยั่งยืน เปนไปไดยาก ดังนั้นการประกันสิทธิในการรวมกลุมและเสรีภาพในการแสดงออกจึงเปนสิ่งที่ตองรักษาไวไมวา รัฐจะอยูในชวงเวลาใดก็ตาม เพื่อรักษาคุณภาพของขอมูลขาวสารในพื้นที่ไซเบอรใหถูกตรวจสอบ ถวงดุล มิใหผู ทรงอิทธิพลดานสื่อบางกลุมครอบงำบีบขับพลังของกลุมเสี่ยง อยางไรก็ดีสิ่งที่ขบวนการเคลื่อนไหวประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมตองตระหนักที่สุด คือ การระมัดระวังบุคคลทั้งหลายในเครือขายมิใหใชสิทธิเสรีภาพของตนเกินขอบเขตของกฎหมายจนถึงขั้นละเมิด ศักดิ์ศรีความเปนมนุษยของผูอื่น เชน กรณีการรวมกลุมเพื่อแสดงออกในโลกไซเบอรใ นลั กษณะดู ถูก เหยี ย ด หยามศักดิ์ศรีความเปนมนุษยของผูอื่น การสรางกลุมเพื่อสอดสองจนละเมิดสิทธิในการใชชีวิตสวนตัวของบุคคล อื่น ไมวาจะกระทำเจาหนาที่รฐั นอกเวลาราชการ หรือคุกคามปจเจกชนที่เกี่ยวของกับเอกชนที่เปนคูพิพาทกั บ


ขบวนการสิ่งแวดลอม จนถึงขั้นเขาแทรกแซงความเปนอยูตามธรรมดาในชีวิตสวนตัว หรือนำขอมูลสวนบุคคล ออนไหวมาเปดเผยในพื้นที่สาธารณะ ไปจนถึงการดูหมิ่นเหยียดหยามในประเด็นที่ไมเปนประโยชนสาธารณะ ยอมสงผลกระทบตอขบวนการเคลื่อนไหวเอง มิใชเพียงการทำลายความชอบธรรมทางการเมืองของขบวนการ แตยังเปนการกระทำผิดกฎหมายดวยการละเมิดสิทธิผูอื่นรวมกันจนตองเผชิญกับความรับผิดทางกฎหมายอั น เนื่องมาจากการกระทำละเมิด ดังนี้การใชสิทธิจึงตองอยูในกรอบของการเคารพสิทธิเสรีภาพของผูอื่นเสมอ ปญหาที่เกิดขึ้นในเรื่องของการดำเนินคดี เชิ งยุทธศาสตร เพื่ อขัด ขวางการมี สว นร ว มของประชาชน (ฟองตบปาก) มิไดมีเพียงปญหาเรื่องตัวบทกฎหมาย ยังคงเปนเรื่องของการบังคับใชกฎหมาย (ทางปฏิบัต)ิ ดวย มี ข อเสนอตอการปรั บปรุง กระบวนการฟ องรองดำเนิ นคดี มิ ใหลิดรอนสิทธิในการมี สวนร วมของประชาชน ดังตอไปนี้ 1) แกไขประมวลกฎหมายแพงและพาณิชยมาตรา 423 เพิ่มเงื่อนไข “ผูใดกลาวขอความแสดงความคิดเห็นหรือ ไขขาวแพรหลายโดยสุจริตในกิจการสาธารณะ ไมตองรับผิดชดใชคา สินไหมทดแทน” 2) เมื่อบุคคลใดถูกดำเนินคดีแพง เพราะเหตุฟองตบปาก ใหจำเลยยื่นคำขอตอศาลวินิจฉัยชี้ชาด ในประเด็ น กฎหมายเบื้องตน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพงมาตรา 25 โดยไมตองพิจารณาสื บ พยาน เพื่อใหคดีเสร็จสิ้นไปจากศาลโดยไมเนิ่นชา 3) ขอเสนอแนะทางคดี อาญา ศาลที่ทำการไตสวนมูลฟองคดีฟ องตบปาก เชน ขอหาหมิ่นประมาท ควรตั้ ง ประเด็นเรื่อง “การติชมดวยความเปนธรรม ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 329(3)” หากเปนเรื่องการ ใช เสรี ภาพในการติ ดตามตรวจสอบกิจ กรรมสาธารณะ ศาลนาจะยกฟองในชั ้นไต สวนมู ลฟองเลย ตาม บทบั ญ ญั ติ มาตรา 165/2 แห ง ประมวลกฎหมายวิ ธี พ ิจ ารณาความอาญา นอกจากนี ้ อาจมีมาตรการ ช ว ยเหลือใหจำเลยสามารถนำเสนอพยานหลักฐานต อศาลให เห็ นวาโจทก ฟ องคดีโดยไมสุจริตบิ ดเบื อน ขอเท็จจริงเพื่อกลั่นแกลงเพื่อใหศาลยกฟองตามมาตรา 161/1 หรือสนับสนุนใหศาลมีมาตรการคัดกรองคดี ที่มีลักษณะฟองโดยไมสุจริตเชนวาใหเขมแข็งขึ้น 4) มีมาตรการปกปองคนที่ออกมาเปดโปงหรือแสดงความเห็ นโดยสุจริต เชน การเพิ่มภาระการพิ สูจ น ใ ห กับ โจทก โดยโจทกตองเปนฝายพิสูจนวาการกระทำของจำเลยไมไดเปนไปเพื่อประโยชนสาธารณะ ใหศาลมี อำนาจในการใชดุลพินิจคุมครองจำเลยในกรณีที่ศาลเห็นวาความเสียหายของโจทกนั้นนอยกวาประโยชนที่ สังคมไดรับจากการแสดงความคิดเห็นของจำเลย ใหศาลมีอำนาจกำหนดคาปรับเชิงลงโทษแกโจทกในกรณี ที่ศาลเห็นวาโจทกใชสิทธิทางศาลโดยไมสุจริตเพื่อขัดขวางการแสดงความคิดเห็นเพื่อประโยชนสาธารณะ ของจำเลย และใหศาลมีอำนาจระงับการกระทำของโจทกที่กำลังถูกจำเลยตรวจสอบจนกวากระบวนการ พิจารณาคดีเสร็จสิ้น เปนตน หากประเทศไทยตองการผลักดันนโยบายไทยแลนด 4.0 และตองการสงเสริมใหประชาชนมีสวนร ว ม ในการพัฒนาอยางยั่งยืน จำตองมีพระราชบัญญัตคิ ุมครองขอมูลสวนบุคคล กฎหมายที่ประกันความเปนสวนตัว ในการสื่อสาร และรักษาความมั่นคงไซเบอร ที่ไดมาตรฐานสากล ใน 12 ประเด็นนี้ อันไดแก


1) การรับรองสิทธิพลเมืองในการไดรับความคุม ครองขอมูลสวนบุคคลและความเปนสวนตัว 2) การกำหนดนิยามหรือองคประกอบวาอะไร คือ ขอมูลสวนบุคคล ที่ไดรับการคุมครอง 3) การประกันสิทธิในขอมูลสวนบุคคลของประชาชนหรือผูบริโภคตามกฎหมาย 4) การกำหนดขอบเขตการแทรกแซงความเปนสวนตัวและสอดสองการสื่อสาร 5) การสรางพันธกรณีและหนาทีพ่ ื้นฐานของผูควบคุมและกำกับดูแลระบบ 6) การกำหนดเงื่อนไขในการสงขอมูลไปใหบคุ คลที่สามหรือขามพรมแดน 7) มาตรการปกปองขอมูลสวนบุคคลจากภัยพิบัติธรรมชาติหรืออาชญากรรม 8) การกำหนดเงื่อนไขในการดักหรือกักเก็บขอมูล 9) การปราบปรามอาชญากรรมปองกันการกอการรายที่กระทบตอสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน 10) การสรางกลไกหรือองคกรในการคุมครองขอมูลสวนบุคคล 11) การบังคับตามสิทธิโดยกำหนดมาตรการตามกฎหมายมหาชน เยียวยาทางแพงและโทษทางอาญา 12) การสรางชองทางรับเรื่องรองทุกขและกลไกเยียวยาสิทธิใหประชาชน ข อเสนอเหล านี้ ตั้ งอยู บนพื ้นฐานของการรับรองสิ ทธิ มนุ ษยชนตามครรลองการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตย


ง

Executive Summary The Kingdom of Thailand has adopted the freedom of association to express on the natural resource and environment issues within the Constitution and many obliged international human rights instruments. However, certain subsequence laws and administrative measures have created the obstacles to the freedom of association and expression of the people in cyberspace. These deters undermine the ability of people to struggle on natural resource and environmental issues. From case studies, in Thailand and aboard, the using of internet for creating common space or virtual community in order to amplify the voice of the vulnerable groups is possible in many directives. Moreover, some failure practices shown in many case studies, the tactics or counter-measures by State or Corporation, also described the hardship of the people in public participation process. Either best or bad practices could be recognized as a caution and lesson learnt for developing people participation in public realm. Furthermore, the comparative study on legal documents and enforcements from foreign countries may provide the alternative forms to construct the better insurance, for supporting the right to associate in cyberspace for expression in the issues of natural resource and environment, for the Thai State. There are differences between developing and developed country on environmental situation upon how the people in each area gives the priority with natural resource issue. Moreover, online movement might benefit to certain groups on the basis of digital literacy level. The civil society empowerment through supports, internet access and skill training, for every peoples especially the vulnerable group are needed. The security and integrity of communication is the fundamental ground for people participation in public policy. In Thailand, the Strategic Lawsuit against Public Participation (SLAPP) is the main tactic which the State Official and Corporate employ as a weapon to slap the mouth of active citizen and deter the enlargement of Green movement network. This strategy also block the data flow and stall the conversation in public sphere. The dictatorship regime and severe infringement on human rights may obstacle the participation of the people in sustainable development process. Thus, the guarantee of freedom of association and expression must be secured no matter what time situation is in order to protect the quality of information in


cyberspace. The previous insurance is important to maintain Check and Balance in democratic society to prevent the pre-dominant of Media Tycoon who could abuse the vulnerable group. However, the caution that civil movement on green politic should recognize is the selfcontrol of freedom exercise otherwise it might harm the human right of other peoples. In the case of virtual community, the radical group who associate for surveillance on counter-part party, individual State official or Private Entity, by stalking or interfering in private life, leaking personal in public sphere or defaming others in non-public interest issue may affect the legitimacy of the movement. Such action not only degrade the political rationality of the organization but also encounter the legal accountability because it abuses the right of other persons. Hence, the exercise of ones’ freedom must respect the rights of others as well. The problems from Strategic Lawsuit against Public Participation (SLAPP) are either legal provision or implement mechanism in practice. There are prospects to develop the legal procedure in order to support the public participation such as: 1) Amending the Civil and Commercial Code Section 423 by adding the condition “Any person who express or give a speech with trustworthy on behalf of public interests shall not account for compensation.” 2) When individual person is convicted in civil case due to SLAPP, the defendant could appeal for court decision on fundamental legal ground of Civil Procedure Code Section 25 without any witness examination in order to finish the case with no delay. 3) On criminal case, the judge who inquire on defamation charge should prioritize the principle of faithful critic within section 329(3) of Criminal Code. If the critique is for monitoring public activity, the court shall dismiss the case since the step of indictment inquiry by employing section 165/2 of the Criminal Procedure Code. Moreover, the supports for the defendant to exhibit the evidences that the case plaintiff brought against him is a SLAPP is needed thus the judge could dismiss the case without further proceeding by the provision from section 161/1 of Criminal Procedure Code. 4) Establish the safe harbor for human rights protector or whistleblower who express truthfully: increasing burden for the plaintiff to prove that act of defendant is not on the public interest realm, constituting the judicial discretion to protect the defendant in case that the damage individual gain is less than public earn from such expression, supplying court the power to determine punitive damages on plaintiff who file a case corruptly against public


participation and allowing the court to sanction provision measure hauling any action of the plaintiff unless the procedure is done. Thailand should launch the policy of “Thailand 4.0” along with the empowerment of people’s participation in sustainable development process by drafting the Data Protection, Communication Privacy and Cybersecurity Law on the basis of international standard in 12 issues: 1) Approve Legal Rights of Citizen on Personal Data Protection and Privacy 2) Define the composition and draw the scope of Personal Data Protection 3) Affirm Data Subjects’ Right to Data Protection 4) Clarify the exception to the exercise of Right to Personal Data Protection and Privacy 5) Create the obligation and basic duty of System Controller and Administrator 6) Determine the condition and requirement of data collection and processing 7) Empowering Data Security 8) Limiting data retention and communication surveillance 9) Criminalize the unlawful Data Transfer either domestic or international 10) Setting up the Monitoring Body and Supervisory Authority 11) Establishing the Redress Mechanism and Individual Remedy 12) Assuring the Enforceability of Netizen’s Rights These proposals are made on the basis of democratic regime and the society of human rights protection.


1

บทนำ 1.

หลักการและเหตุผล รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ไดบัญญัติเรื่องสิทธิในการรวมกลุมและแสดงออก โดยหมายรวมถึงพื้นที่ไซเบอร 1ทีพ่ ลเมืองอาจใชเปนชองทางรวมตัวกันเพื่อแสดงออกถึงความตองการและจุดยืน ในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม สอดคลองกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมโลกที่ ปรับเขาสูสังคมขอมูลขาวสาร และมีการแลกเปลี่ยนสินคาบริการและขอมูลผานเทคโนโลยีขอมูลสารตลอดเวลา ในปริมาณมหาศาล โดยรัฐธรรมนูญไดสนับสนุนใหพลเมืองมี สิทธิในการรวมตัวกั นและแสดงออกในช อ งทาง และวิธีการตางๆ เวนแตมีขอบเขตจำกัดการใชสิทธิเสรีภาพโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแหงกฎหมายที่ตรา ขึ ้ นเพี ย งเท าที่ จำเป นเพื่ อประโยชนสาธารณะ ซึ ่ ง บทบั ญญั ติของรั ฐธรรมนู ญ นั ้นยัง ตองการอรรถาธิ บายใน รายละเอียด และเงื่อนไขตางๆอีกมาก ทั้งยังมีปญหาเดิมของระบบกฎหมายดานการชุมนุมเนื่องจากมิอาจปรับ ใชกับการรวมตัวในพื้นที่ไซเบอรที่ยังมิไดบังคับใชกฎหมายเรื่องนี้โดยเฉพาะ คงมีแตพระราชบัญญัติการชุมนุม สาธารณะซึ่งใชในพื้นที่ทางกายภาพในโลกภายนอก สวนการชุมนุมในพื้นที่ไซเบอรยังต องอาศั ย บทบั ญ ญั ติ กฎหมายดิจิทัลที่คางอยูในกระบวนการนิติบัญญัติ หากมีการผลักดันกฎหมายและนโยบายสงเสริมการรวมตั ว และแสดงออกในโลกไซเบอรออกมาใหสอดรับกับรัฐธรรมนูญและมาตรฐานสากลในเรื่องนี้ก็จะสรางผลดีทั้งใน แงการประกันสิทธิมนุษยชนของพลเมืองในยุคดิจิทัล และการแสดงออกเชิงสรางสรรคอันเปนหนทางไปสู การ สื่อสารสาธารณะรวมกันอันเปนรากฐานของสันติวิธีและยังเปนการพัฒนาตลาดเศรษฐกิจดิจิทัลที่มีพื้นฐานจาก เสรีภาพในการแสดงออกไปในคราวเดียวกัน หากมีการสรางนโยบายและกลไกสงเสริมการรวมกลุมและแสดงออกจะสงผลกระทบตอการเมืองอยางมี นัยสำคัญ 3 ประการ คือ 1) เมื่อประชาชนมีความมั่นใจวา สิทธิ ของตนที่ อยูในโลกไซเบอรไดรับการคุมครองก็ จ ะรู สึ กปลอดภั ย วางใจในการรวมกลุม กลาทำกิจกรรมทางสิทธิพลเมืองและการเมืองตางๆในพื้นที่ไซเบอรมากขึ้น 2) ประเทศไทยเมื่ อมี นโยบาย กฎหมาย และกลไกคุ  มครองสิ ทธิ ในการรวมกลุ ม และแสดงออกที ่ได มาตรฐานสากล จะดึงดูดการมีสวนรวมของประชาชนจากหลากกลุมที่มีความเชี่ยวชาญหรือมีสวนได เสียเขามานำเสนอขอมูลไดหลายมิติ 3) ผูประกอบการทางการเมืองไทยที่ตองการนำเสนอขอมู ลเขาไปยังตลาดศั กยภาพสูง ก็ต องอาศั ย ข อ ผูกพันทางกฎหมายขางตน หากประเทศไทยมีนโยบายคุม ครองสิทธิและระบบกฎหมายทีไ่ มสอดคลอง กับพันธกรณีระหวางประเทศซึ่งไทยเปนภาคี ก็เสี่ยงจะเผชิญกับการประณามในประชาคมระหว า ง ประเทศ และลดโอกาสการเขามามีสวนรวมของประชาชนในประเด็นสาธารณะ สวนผลกระทบตอสังคมที่สำคัญ 2 ประการ คือ 1

Cyberspace หรือที่ใชภาษาไทยวา พื้นที่ไซเบอร หรือ โลกไซเบอร หมายถึง สภาวะหนึ่งที่เกิดขึ้นจากเครือขายการสื่ อ สารที่ เชื่อมตอถึงกันระหวางอุปกรณที่มีระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร (คำแปลจาก oxford dictionary)


2

1) รั ฐไทยมี มาตรการป องกั นการโจมตี แ ละคุกคามในลั กษณะทำลายการมี สว นร วมทางการเมื องใน ประเด็นสาธารณะ และสามารถสรางความรวมมือกับรัฐบาลตางประเทศไดมากขึ้นและงายขึ้น เพราะ มีหลักประกันสิทธิในการรวมกลุมและแสดงออกสอดคลองกับพันธกรณีระหวางประเทศทีไ่ ทยเปนภาคี 2) หน ว ยงานที ่ ควบคุ ม และประมวลข อมู ลในประเด็ นฐานทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละสิ ่ งแวดล อมเพื่อ ประโยชน ท างเศรษฐกิ จ หรื อเพื ่ อรักษาความมั ่ นคงมีแ นวทางในการปฏิ บ ัต ิต  อการรวมกลุ  มและ แสดงออกในพื ้นที ่ ไซเบอรอย างชั ดเจนมากขึ ้น สามารถออกแบบได ว าจะประเมิ นความเสี ่ ยงและ ปองกันภัยลวงหนาตอฐานทรัพยากรและสิ่งแวดลอมอยางไรไมใหละเมิดสิทธิประชาชน ดังนั้นจึงมีความจำเปนในการผลักดันการปฏิรูประบบคุมครองเสรีภาพในการชุม นุมและแสดงออกใน พื้นที่ไซเบอรของประเทศไทย โดยอาศัยองคความรูทไี่ ดจากพันธกรณีระหวางประเทศ รวมถึงกรณีศึกษาในและ ต า งประเทศอั นจะเป นการเติ มเต็ มเป าหมายการพัฒนาอย างยั ่ งยื นของสหประชาชาติ แ ละเจตนารมณ รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย 2.

คำถามงานวิจัย รัฐไทยมีกฎหมายและมาตรการทางปฏิบัติใดที่สงเสริมหรือเปนอุปสรรคตอการรวมกลุมในโลกไซเบอร เพื่อแสดงออกในประเด็นสิ่งแวดลอมและฐานทรัพยากรบาง จากกรณีศึกษาในไทยและตางประเทศมีบทเรียน ใดที ่ พึ งตระหนัก และมี กฎหมายและมาตรการในต างประเทศรู ปแบบใดบ างที ่ เหมาะสมตอการศึ กษาเชิง เปรียบเทียบเพื่อนำมาปรับใชในรัฐไทย 3.

สมมติฐานงานวิจัย รัฐไทยมีกฎหมายที่ใหหลักประกันสิทธิในการรวมกลุม และแสดงออกเพื่ อส งเสริม การมี สว นร ว มของ ประชาชนในการเรียกรองสิทธิในสิ่งแวดลอมและฐานทรัพยากร อยางไรก็ดีอาจมีกฎหมายหรือมาตรการทาง ปฏิบัติบางประการสรางอุปสรรคตอการรวมกลุมในโลกไซเบอรเพื่อแสดงออกในประเด็นสิ่งแวดลอมและฐาน ทรั พ ยากร จากกรณี ศึ กษาในไทยและตางประเทศอาจแสดงใหเห็ นถึ งแนวทางในการขั บเคลื ่ อนขบวนการ เรียกรองสิทธิดานสิ่งแวดลอมที่ใชการรวมกลุมในโลกเสมื อนเพื่ อขยายพลังในการแสดงออกทางความคิ ด ไปสู สังคมอันอาจเปนกลยุทธที่ นำมาปรับใชการสนับสนุนกลุมได นอกจากนี้บทเรียนใดที่รัฐกระทำหรื อ เพิ ก เฉย ละเลยไมใสใจจนกลายเปนผลรายตอการมีสวนรวมของประชาชนก็นำมาเปนขอระลึกพึงตระหนักเพื่ อป องกั น การเกิดซ้ำไดเชนกัน ยิ่งไปกวานั้นการศึกษากฎหมายและมาตรการในตางประเทศเชิง เปรียบเที ย บจะทำให สามารถเลือกรูปแบบหลักประกันสิทธิและกลไกคุมครองสิทธิทเี่ หมาะสมตอการนำมาปรับใชในรัฐไทยไดตอไป


3

4.

วัตถุประสงคการวิจัย มุงเนนการวิจัยและพัฒนาองคความรูเ พื่อ 1) สรางองคความรูเกี่ยวกับนโยบาย กฎหมาย และกลไกเฝาระวัง ปองกัน และรับมือภัยคุกคามต อการ รวมกลุ  ม และแสดงออกของชุ ม ชนเสมื อน 2ในโลกไซเบอร โดยเฉพาะที ่ เกี ่ ย วกั บ ประเด็ น ฐาน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม จากการถอดบทเรียนกรณีศึกษาการตรวจ เฝาระวัง แจ ง เตื อน ชวยเหลือ การละเมิดสิทธิในโลกไซเบอรของตางประเทศและภายในรัฐไทย 2) สรางองคความรูเกี่ยวกับกลไกเยียวยาสิทธิ ที่จำเปนเมื่อประชาชนเผชิญสถานการณละเมิดสิทธิ โดย ออกแบบกฎหมายและกลไกปองกั นการละเมิด สิทธิจากภาครัฐและเอกชนโดยใช อำนาจโดยมิ ชอบ จำกั ด เสรีภาพในการรวมกลุ ม และแสดงออกของประชาชนภายใตร ัฐธรรมนูญ และกฎหมายสิ ทธิ มนุษยชนระหวางประเทศที่ไทยเปนภาคี อันเปนการเสริมสรางขีดความสามารถเพื่อพัฒนาสันติวิ ธี ใ น ยุคดิจิทัล โดยสามารถนำไปเปนแนวทางการพัฒนากฎหมาย ระเบียบ และกลไกบริหารจัดการพื้นที่ไซเบอรในยุค ดิจิทัลระดับชาติ ซึ่งเปนรากฐานในการกาวไปสูประชาคมโลกของผูประกอบการทางการเมืองไทย 5.

ประโยชนที่คาดวาจะไดรับ การสรางองคความรูเพื่อปรับเปลี่ยนนโยบายและยุทธศาสตรไทยแลนด 4.0 ใหสอดคลองกับบทบัญญัติ รัฐธรรมนูญ โดยไดชุดความรูที่ประกอบดวย 1) เนื ้ อหาของนโยบายและกฎหมาย รวมถึง รูปแบบกลไกสนับสนุ นการรวมกลุ มและแสดงออกของ ชุมชนเสมือนในโลกไซเบอรโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับประเด็นฐานทรัพ ยากรธรรมชาติและสิ่ ง แวดล อม อยางเหมาะสมและมีประสิทธิภาพแลว เพื่อนำไปผลักดันเขาสูกระบวนการยกรางกฎหมายในหลาย ระดับ 2) แนวทางพัฒนากลไกเยียวยาสิทธิ ที่จำเปนเมื่อประประชาชนตกอยูในภาวะเสี่ยงที่จะถูกละเมิดสิ ท ธิ โดยออกแบบกฎหมายและกลไกป องกันการละเมิดสิทธิจากภาครัฐและเอกชนโดยใช อำนาจโดยมิ ชอบจำกัดเสรีภาพในการรวมกลุมและแสดงออกของประชาชนภายใตรัฐธรรมนูญและกฎหมายสิทธิ มนุษยชนระหวางประเทศทีไ่ ทยเปนภาคี อันเปนการเสริมสรางขีดความสามารถเพื่อพัฒนาสันติวิธีใน ยุคดิจิทัล ตัวชี้วัดแนวทางดำเนินการ คาดวาวิจัยจะใหผลออกมาใน 2 ลักษณะใหญ คือ 1) ชุดความรูที่นำไปเปนแผนพัฒนากฎหมายสนับสนุนการรวมกลุมและแสดงออกของชุมชนเสมื อ นใน โลกไซเบอรไดอยางเหมาะสม

2

Virtual Community หรือที่ใชภาษาไทยวา ชุมชนเสมือน หมายถึง ชุมชนของบุคคลผูแบงปนความสนใจ ความคิด ความรูสึ ก รวมกันผานเครือขายอินเตอรเน็ต (คำแปลจาก oxford dictionary)


4

2) ชุดความรูเพื่อเปนแนวทางสนับสนุนการรวมกลุมและแสดงออกของชุมชนเสมือนในโลกไซเบอร ข อง รัฐ โดยเฉพาะหนวยงานที่เกี่ยวของกับประเด็นฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม 6.

ระเบียบวิธีวิจัย โครงการวิจัยนี้ผสมผสานระหวางการวิจัยทางนิติศาสตรและการวิจัยเพื่อสรางนโยบายสาธารณะ โดยใช ระเบี ย บวิ จั ย วิ จ ัย เชิ งคุ ณภาพเป นหลั ก ตั ้ ง แต การวิ จั ย เอกสาร การอ า นบทสั มภาษณ และการเก็บ ข อมูล กรณี ศ ึกษาจากการสัง เกตการณ ในโลกไซเบอรที ่เกี ่ย วของการรวมกลุ มและแสดงออกของชุ มชนเสมื อนใน ประเด็นฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม รวมถึงการศึกษากฎหมายเปรียบจากมาตรการทัง้ ในไทยและ ตางประเทศเพื่อทบทวนสภาพปญหาและสังเคราะหแนวทางแกไขทีเ่ หมาะสม ในกระบวนการทำวิจัยจะใชเครือขายความสัมพันธของผู วิจัยผลั กดันนโยบายดานสิทธิพ ลเมื องในโลก ออนไลนที่เคยทำงานรวมกันมาอยางยาวนานนับสิบป อาทิ มูลนิธิพลเมืองเน็ตไทย มูลนิธิไอลอวกฎหมายเพื่ อ ประชาชน และสำนักขาวสืบสวนสอบสวนแหงประเทศไทย และสำนักขาวประชาไท ประชาธรรม ในฐานะสื่อ พลเมืองผูมีบทบาทในการเปดพื้ นที่ สื่อสารสาธารณะดานฐานทรั พยากรธรรมชาติแ ละสิ่ งแวดล อม และใช เครือขายเหลานี้เผยแพรองคความรูสูสาธารณชนบนโลกเสมือนและโลกจริง สวนชุดขอเสนอแนะเชิง นโยบายการรวมกลุมและแสดงออกของชุมชนเสมื อนก็ จะผลักดั นให เ กิ ด การ ขับเคลื่อนตอรัฐบาลและสาธารณะชน เพื่อใชเปนแนวทางในการผลักดันใหสงเสริมการเกิดผูประกอบการทาง การเมือง 4.0 เพื่อใหผูประกอบการทางการเมืองไทยไปมีสวนรวมในประเด็นสาธารณะดานสิ่ง แวดล อมและ ทรัพยากรได 7.

ขอบเขตการวิจัย 1. โครงการวิจัยยอยนี้มุงศึกษาในประเด็นการพัฒนาองคความรูเพื่อพัฒนากฎหมายและนโยบายการ รวมกลุมและแสดงออกของชุม ชนเสมื อนในประเด็นฐานทรัพยากรธรรมชาติแ ละสิ่งแวดล อมตาม กรอบของรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2560 เพื่อนำไปสูการสรางแผนยุทธศาสตรความมัน่ คงของโลก ไซเบอรไทย ผานการสนับสนุนเสรีภาพในการรวมกลุมและแสดงออกของพลเมืองไซเบอรไทย รวม ไปถึงการสรางระบบปองกันการแทรกแซงและจำกัดสิทธิในการรวมกลุมและแสดงออกที่อยูในการ ควบคุมและสอดสองโดยหนวยงานรัฐไทย 2. นอกจากนี ้ย ัง ศึกษาความเป นไปไดในการสร างมาตรฐาน “แนวทางสนับสนุนการรวมกลุมและ แสดงออกของพลเมืองไซเบอร” เสนอตอสาธารณชนและรัฐบาล เพื่อเสริมศักยภาพผูประกอบการ ทางการเมืองไทยใหสามารถกาวไปมีสวนรวมในประเด็นสาธารณะ 3. เงื ่ อนเวลาของการวิ จ ั ย จะเริ ่ ม นั บย อนไปศึ กษากฎหมายและนโยบายไทยที่ จ ะออกมาตั ้ งแต รั ฐธรรมนู ญ พุ ท ธศั กราช 2550 และพระราชบั ญ ญั ต ิ การกระทำผิ ด เกี ่ ย วกั บ คอมพิ ว เตอร พุทธศักราช 2550 มีผลบังคับใช


5

4. กรณี ศ ึ กษาที่ นำมาใชว ิ เคราะห จะประกอบไปดว ยการรวมกลุ  มและแสดงออกในประเด็ นฐาน ทรัพยากรและสิ่งแวดลอมในตางประเทศ รวมถึงคดีที่สำคัญในประเทศไทยที่สะทอนถึงอุป สรรค ทั้งหลายในการมีสวนรวมทางการเมืองเรื่องทรัพยากร 5. สังเคราะหองคความรูดานกฎหมายและนโยบายของตางประเทศหรือพันธกรณีระหวางประเทศที่ เกี่ยวของกับการรวมกลุมและแสดงออกในประเด็นฐานทรัพยากรและสิ่งแวดลอม 8. แผนการดำเนินงานวิจยั ระยะเวลาโครงการ

8

เดือน

กิจกรรม ทบทวนวรรณกรรมและขอมูลเอกสาร เก็บขอมูลและกรณีศึกษาจากพื้นทีไ่ ซเบอร การวิเคราะหขอมูลเพื่อเขียนงานวิจัย สรุปทบทวนตรวจสอบความถูกตองขอมูล การจัดสัมมนาเพื่อแกไข นำเสนอผลงานวิจัย

เดือนที่ 1-2 x

เดือนที่ 3

เดือนที่ 4-5

เดือนที่ 6-7

เดือนที่ 8

x x x x


6

บทที่ 1 ทบทวนวรรณกรรมและกรอบทางทฤษฎี 1.1. ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวของ การทบทวนวรรณกรรมของงานวิจัยฉบับนี้ไดแบงเปน 5 สวน โดยเริ่มจาก 1) การศึกษางานที่เกี่ยวของ กับการศึกษาขบวนการเคลื่อนไหวคัดคานในประเด็นดานสิ่งแวดลอมและทรัพยากรธรรมชาติ ที่จะฉายใหเห็น ภาพของกลุมนักเคลื่อนไหวซึ่งไดดำเนินกิจกรรมตาง ๆ บนโลกทางกายภาพหรือโลกความจริง แตตองเผชิญกับ อุปสรรคมากมายจากการปะทะกับอำนาจรัฐหรือนายทุนโดยตรงจนนำมาซึ่งความสูญเสีย และความเสี ย หาย ตามมา อันเปนสาเหตุใหทบทวนวรรณกรรมในสวนที่ 2) การศึกษาโลกไซเบอรในมิติกฎหมายกับสังคม เพื่ อ สะทอนใหเห็นถึงความแตกตางในการทำกิจกรรมตางๆบนพื้นที่ไซเบอร กับผลทางกฎหมายที่ เหลื่ อมซ อนกั น จากนั้นในสวนที่ 3) การศึกษางานที่เกี่ยวของกับกรณีที่ประชาชนทำการรวมกลุมหรือแสดงออกตอรอง/ตอสูใน พื้นที่ไซเบอร ในวันที่เทคโนโลยีการสื่ อสารถู กพั ฒนาจนทำใหผูคนทั่วโลกสามารถติดตอสื่ อสาร แลกเปลี่ ย น ขอมูลขาวสารถึงกันไดอยางไรขีดจำกัด กลุมนักเคลื่อนไหวจึงอาศัยพื้นที่โลกเสมือนจริงในการดำเนิ น กิ จ กรรม เคลื่อนไหวทางสังคม ซึ่งมีรูปแบบตางไปจากขบวนการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นกอนหนาไปอยางมาก ทั้งยังมีความ สลับซับซอนของกลุมในเชิงโครงสรางในแบบที่ไมเคยปรากฏขึ้นมากอน แตการทบทวนวรรณกรรมในชุดที่ 4) การศึกษาการใชสิทธิเสรีภาพในโลกไซเบอรกับการควบคุมสอดสองโดยรัฐ จะทำใหเห็นถึงความพยายามของรัฐ และกลุมทุนในการสกัดกั้นการขยายตัวของขบวนการเคลื่อนไหวดานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม แล ว ท า ยที่ สุด จะทบทวนวรรณกรรมด วย 5) การศึ กษางานที่ เป นการศึ กษาถึ งกฎหมายที ่เปนอุ ปสรรคต อการ แสดงออกและการดำเนินกิจกรรมเคลื่อนไหวของกลุมทางการเมืองและขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมบนพื้นที่ ไซเบอร

1) งานที่เกี่ยวของกับการศึกษาการเคลื่อนไหวในประเด็นดานสิ่งแวดลอมและทรัพยากรธรรมชาติ ในประวัติศาสตรสังคมไทย ประชาชนไดรวมตัวเพื่อเคลื่อนไหวเรียกรองสิทธิในประเด็นเกี่ ย วกั บ การ คุมครองรักษาสิ่งแวดลอมและทรัพยากรธรรมชาติมาอยางตอเนื่องยาวนาน ซึ่งโดยปกติยอมเกิดขึ้นในโลกทาง กายภาพ และนำไปสู การปะทะกั บอำนาจรัฐอำนาจ และ/หรืออำนาจทุ นโดยตรง เช น การถู กลงโทษตาม กฎหมาย การถูกฟองกลั่นแกลง/ฟองตบปาก รวมไปถึงการถูกลอบสังหาร งานของอัจฉรา รักยุติธรรม 1 ซึ่งอาจไมไดเปนงานที่กลาวถึงการเคลื่อนไหวในประเด็นดานสิ่งแวดลอม และทรัพยากรธรรมชาติโดยตรง หากแตเกี่ยวของกับการตอสูของประชาชนในปญหาเรื่องการขาดแคลนที่ ดิ น 1

อั จฉรา รั ก ยุ ต ิ ธ รรม. (2548). “จากสหพั น ธ ชาวนาชาวไร ถึ ง ขบวนการคนไรท ี ่ด ิ นร วมสมัย .” ใน อั จฉรา รั ก ยุ ต ิ ธ รรม. (บรรณาธิการ). ที่ดินและเสรีภาพ. (หนา 9-25). กรุงเทพฯ: Black Lead Publishing.


7

ทำกิ น โดยฉายใหเห็นภาพของวิว ัฒนาการของ “ชาวบาน” ในการร วมกั นตอสู เคลื ่ อนไหวและตอรองกับ อำนาจรัฐ/อำนาจของทุนที่มาพรอมกับการขยายตัวและนโยบายการพัฒนาทางเศรษฐกิจของรัฐ เพื่อใหไดมาซึง่ การถือครองที่ดินทำกิน อัจฉรา ไดเริ่มตนอภิปรายถึงกระบวนการการเคลื่อนไหวตอรอง/ต อตานอำนาจรัฐของประชาชนใน ระยะแรกดวยการเกิดขึ้นของ “กบฏชาวนา” ซึ่งปรากฏเดนชัดเมื่อสมัยรัชกาลที่ 5 อันมีลักษณะการเคลื่อนไหว เปนแบบการกระทำรวมหมู (Collective Action) ในลักษณะเฉพาะกิจมากกวาจะเปนการจัดตั้งองคกร เวนแต ในสมั ย ที่ เกิ ดป ญหาความเดื อดร อนเนื่ องที่ ดิ นทำกิ นนวมทั้ ง ปญ หาราคาขาวอยางหนั ก จนก อให เกิ ดการ เคลื่อนไหวของชาวนาชาวไรหลังป พ.ศ. 2516 และมีการกอตั้ง “สหพันธชาวนาชาวไรแหงประเทศไทย” ซึ่งถือ เปนการเคลื่อนไหวของชาวนาชาวไรหรือคนชายขอบอยางเปนขบวนการครั้งแรก แตถัดหลังจากนั้นเพียงไมถึง 2 ป สหพันธตองยุติบทบาทลง หลังจากเหตุการณลอมปราบนักศึกษา 6 ตุลาคม 2519 ประกอบกับการเกิ ด เหตุฆาตกรรมผูนำชาวนาอยางตอเนื่อง 2 บทบาทของขบวนการชาวนาชาวไรในการเคลื่อนไหวทางการเมืองอีกครั้ง ตั้งแตปลายทศวรรษ 2520 เปนตนมา โดยมีสาเหตุหลักมาจากความขัดแยงในการแยงชิงทรัพยากรธรรมชาติ นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจ ของประเทศ ซึ่งมุงเนนไปที่การสรางความเติบโตของภาคธุรกิจ และอุตสาหกรรม ซึ่งมักเอื้อประโยชน ใ ห แ ก พอคา นายทุน ทั้งในระดับทองถิ่นและทุนขามชาติ สรางผลกระทบตอ ดิน น้ำ ปา และคุณภาพชีวิตของคนชาย ขอบ โดยการไล รื ้อ อพยพชุ ม ชนหลายแห งออกขากถิ ่นฐาน เมื ่ อรั ฐดำเนินโครงการพั ฒนาหรื อตองการใช ประโยชนจากทรัพยากรธรรมชาติในชนบท ไมวาจะดวยเหตุผลในการพั ฒนาเศรษฐกิจ หรือเหตุ ผลในการ อนุรักษทรัพยากรธรรมชาติตามกระแสสิ่งแวดลอมนิยม เชน โครงการสรางเขื่อน โครงการปลูกปาเศรษฐกิ จ โครงการจัดสรรที่ดิน จนกลายเปนความขัดแยงและการเผชิญหนาอยางรุนแรงระหวาง เจาหนาที่ นายทุนและ ชาวบาน การกี ด กั นสิ ท ธิ การเข าถึ งทรั พ ยากรทำให ผู ด อยอำนาจในสัง คมประสบความยากลำบากในการ ดำรงชีวิตมากขึ้น กลไกทางสังคมตาง ๆ เชน กฎหมายหรือนโยบายการจัดการทรัพ ยากรของรัฐ กลายเป น เครื่องมือของชนชั้นปกครองและกลุมทุนทั้งหลายเพื่อใชในการแสวงของผลประโยชนของตน ขณะที่ประชาชน และคนชายขอบก็มักจะตกเป นผู แบกรับ ภาระในปญหาตาง ๆ ที่เกิดขึ้นตามมา โดยเฉพาะอยา งยิ่ ง เรื่ องการ เปลี่ยนแปลงทางดานสิ่งแวดลอม ดังนั้น จึงเกิดการแสดงออกถึงความไมพอใจของประชาชนในรูปแบบตาง ๆ เชน การเดินชุมนุมประทวง การกอจลาจล ซึ่งแสดงใหเห็นถึง คนดอยอำนาจทางเศรษฐกิจและสังคมทั้งหลาย มิไดนิ่งเฉยหรือยอมจำนนตอแรงกดดันที่ไดรับจนกลายเปนผูถูกกระทบอยูฝายเดียว หากแตมีการรับมือ ต อสู และตอบโตดวยยุทธวิธีที่หลากหลาย การเคลื่อนไหวของประชาชนผูไดรับผลกระทบจากการจัดสรรทรัพยากรที่ดนิ อยางไมเปนธรรม มักถูก ตอบโตจากรัฐ และกลุมทุนอิทธิพลอยางรุนแรง ไมวาจะเปนการถูกเจาหนาที่รัฐจับกุม การอุมหาย ขูเข็ญ ทำ 2

เรื่องเดียวกัน.


8

รายรางกาย รวมถึงการลอบสังหาร ซึ่งขอมูลเชิงสถิติในงานของอัจฉราไดระบุวา เครือขายปฏิรูปที่ดนิ โดยชุมชน ในภาคเหนือ ถูกจับกุมดำเนินคดี 109 คน รวมทั้งสิ้น 1,097 คดี หรือ กรณีที่สมาชิกสหพันธชาวนาชาวไรแหง ประเทศไทย ถูกลอบสังหารไปถึง 33 คน ถูกทำรายจนไดรับบาดเจ็บ 7 คน ถูกบังคับใหสูญหาย 5คน ตลอด ระยะเวลา 4 ป (พ.ศ. 2518-2522) นอกจากนี้ ยังมีกรณีของนายมานิตย ไชยวันนะ ชาวบานในชุมชนบานหวย แก ว อำเภอสั นกำแพง จั ง หวั ดเชี ย งใหม ถู กลอบสั งหารเพราะสนับสนุนชาวบ านคัดค าน การเชาป าสงวน แหงชาติของกลุมนายทุน ซึ่งปาดังกลาวถือเปนปาของชุมชน 3 ดั ง ที ่กล าวมาแล ว แม ว  างานของอัจ ฉราชิ ้ นนี ้ จะมิได มุ  งเน นศึ กษาในประเด็นด านการเคลื่ อนไหว เรียกรองของประชาชนเพื่ออนุรักษทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดลอมโดยตรง แตไดมุงศึกษาการเคลื่อนไหวตอสู เพื่อเรียกรองใหรัฐมีนโยบายจัดการจัดสรรที่ดินอยางเปนธรรม แตอยางไรก็ตาม งานชิ้นนี้ ไดสะทอนใหเห็นถึง ภาพของประชาชนคนชายขอบ หรือผูดอยอำนาจทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ซึ่งไมยอมจำนนตออำนาจ รัฐและอำนาจของกลุมนายทุ น กลาวคือ ประชาชนไดขยับ/พัฒนาสถานะจาก “ราษฎร” ผูวานอนสอนง า ย ไปสู “พลเมือง” ผูรูซึ้งถึงสิทธิหนาที่ของตนตามระบอบประชาธิปไตย และเปนการเกิด ขึ้ น ของสิ่ ง ที่ เรี ย กว า “การเมืองภาคประชาชน” นอกจากนี ้ การไม ยอมจำนนตออำนาจของรัฐและทุ นของประชาชน อาจพบไดจากการศึกษาของ Peluso Nancy Lee 4 กับกรณีความขัดแยงระหวางรัฐกับชาวนาพื้นเมืองในเกาะชวา ประเทศอินโดนิเซีย ซึ่ ง เกิดขึ้นเนื่องจากการที่รัฐพยายามใชพื้นที่ปาไมเพื่อตอบสนองความตองการและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ แต ละเลยสิทธิของประชาชนที่ อาศัย อยูใ นพื้ นที่ การพัฒนาดังกลาวเปนสิ่งที่ ขัดแย งกับจารี ต ประเพณี ของชาว พื้นเมืองที่มีตอ “ปา” มาอยางยาวนาน ซึ่งนำไปสูปรากฏการณที่ “ชาวนา” รวมตัวกันลุกขึ้นมาตอตานอำนาจ รัฐ/ทุนที่เปนสาเหตุและดำเนินกิจการตาง ๆ ซึ่งสรางผลกระทบตอสิ่งแวดลอม วิธีการอันหลากหลายของการเคลื่อนไหวของภาคประชาชนหรือชาวบานยิ่งสะทอนใหเห็นชั ด เจนขึ้ น เมื่อศึกษางานของ เจมส ซี. สก็อต (James C. Scott) เรื่อง Weapons of the Weak: Everyday Forms of Peasant Resistance 5 ไดศึกษาการตอตานและขัดขืนตอผูทรงอำนาจของประชาชนในพื้ นที่ชายขอบ หรื อ “ชาวนา” ได เสนอวา การต อสู ทางการเมื องของประชาชนจะไม นิยมจัดตั ้งองคกรอย างเปนทางการหรื อมี กิ จ กรรมทางการเมื องกระแสหลัก เฉกเช นเดีย วกับชนชั้ นกลางในเมื อง เนื ่ องจากกิจ กรรมเหลานั้ นถื อเปน อันตรายและกอใหเกิดความเสี่ยงอยางมาก การต อสู  ของกลุ ม ประชาชนที ่อยู ในชนชั ้นทางเศรษฐกิจ และสั งคมที่ ออนแอกวา มั กไม สนใจที่ จะ เปลี่ยนแปลงโครงสรางใหญ (Larger Structure) ของรัฐและกฎหมาย แตจะเนนเปนที่การต อต า นขั ด ขื นใน 3

เรื่องเดียวกัน Nancy Lee Peluso. (1992). Rich Forest, Poor People: Resource Control and Resistance in Java. Berkeley: University of California Press. 5 James C. Scott. (1985). Weapons of the Weak: Everyday Forms of Peasant Resistance. London: Yale University Press. 4


9

รู ป แบบของกิจ วั ตรประจำวัน (Everyday forms of peasant resistance) โดยไมเป นทางการ (Informal) ของประชาชน และเนนประโยชนในทางปฏิบัติที่ตอบสนองไดอยางรวดเร็ว เชน การจับกลุมติฉินนินทา การ สรางขาวลือ เพื่อใหเปนการทำลายความชอบธรรมของฝายตรงขาม เปนตน งานของ สก็อต ไดชี้ใหเห็นวา แทจริงแลวประชาชนไมจำเปนตองออกมาปะทะกับอำนาจรัฐ/อำนาจ ทุน โดยตรงเสมอไป แตสามารถเกิดเปนรูปแบบการตอตานที่เกิดขึ้นในทุกเมื่อเชื่อวัน มิไดปรากฏในพาดหัวขาว การตอตานขัดขืนเชนนี้ สก็อต ไดกลาวเชิงเปรียบเทียบอยางแยบยลวา เปนเสมือนดังหินกอนกรวดเล็ก ๆ ใต ทองทะเลจำนวนนับลานที่มีอยูอยางสะเปะสะปะและก อตัวขึ้นเปนแนวปะการังดวยความบังเอิญ การขั ด ขื น ตอตานและบายเบี่ยงนับไมถวนทีก่ ระทำโดยประชาชนตัวเล็ก ๆ ก็เชนกัน มันกอรางขึ้นเปนแนวหินปะการังทาง การเมืองและเศรษฐกิจ และเมื่อใดก็ตามที่นาวารัฐแลนชนหินโสโครกดังกลาว ทุกความสนใจกลับพุงตรงไปที่ ปรากฏการณเรือลม แทนที่จะสนใจการสะสมเพิ่มพูนอยางมหาศาลของการกระทำเล็ก ๆ นอย ๆ ที่เปนสาเหตุ ของหายนะดังกลาว 6 อยางไรก็ตาม ประเด็นเรื่องการตอสูเพื่อสิ่งแวดลอมโดยการคัดคานโครงการขนาดใหญ ความตื่นตัวตอ ป ญ หาสิ ่ งแวดล อมนั ้นไม ไดด ำรงอยู  มาเป นสภาพธรรมชาติ ของมนุ ษย ม าตั ้ งแต แ รก ดั ง งานศึ กษา นิ เวศ ประวั ติ ศาสตร: พรมแดนความรู 7 ของ อรรถจั กร สั ต ยานุ รั กษ ได เสนอว ามิ ติ ความรับ รู แ ละความคิ ดตอ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดลอมในสังคมไทยนั้นสามารถแบงออกได 3 ชวง ดังตอไปนี้ ชวงแรก คือ ชวงป พ.ศ. 2500 ที่ผูคนสมัยนั้นยังคงมองวาสิ่งแวดลอมเปนสิ่งนามธรรมและจัดอยูในสถานะเปนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แมจะมี รองรอยความคิดวาสิ่งแวดลอมเปนเรื่องทางกายภาพ แตก็ไมไดเปนความคิดกระแสหลัก หลังจากนั้น ในชวงที่ สอง เมื่อผานพนป พ.ศ. 2500 ซึ่งถือเปนยุคแหงการพัฒนามโนทัศนหลักมองสิ่งแวดลอมเปน “ทรัพยากร” ที่ ตองนำมาใช การอนุรักษในชวงเวลานั้นอยูในลักษณะที่วา ตองใชทรัพยากรเหลานั้นใหเกิดประโยชนสูงสุด แต ตอมาในชวงที่ 3 ไดแก ชวงป พ.ศ. 2526 อรรถจักร ไดเสนอวาความคิดเรื่องสิ่งแวดลอมเปลี่ยนไปอยางสำคัญ อีกครั้ง คือ การมองสิ่งแวดลอมที่มีความหมายสลับซับซอน หนึ่งในนั้นคือ สิ่งแวดลอมไดเปนคุณค า ที่ ง ดงาม และควรต องอนุร ักษ ไว ส ง ผลให ในชว งนี้ เองที ่ การเคลื ่ อนไหวคั ดค านกิ จกรรมตา ง ๆ ที ่ ส ง ผลกระทบตอ สิ่งแวดลอมอยางเปนกิจจะลักษณะ 8 ขอเสนอของ อรรถจักร ในสวนนี้สอดคลองกับการศึกษาของประภาส ปนตบแตง เรื่อง การเมื องบน ทองถนน 99 วันสมัชชาคนจน และประวัติศาสตรการเดินขบวนชุมนุมประทวงในสังคมไทย 9 ประภาส พบวา การเคลื่อนไหวของการเมืองภาคประชาชนเกิดขึ้นอีกครั้งหลัง 16 ตุลาคม 2519 คือ ชวงป พ.ศ. 2533 อย า ง กวางขวางในประเด็นความขัดแยงดานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม ขอขัดแยงดานสิ่งแวดลอมที่เกิดขึ้น 6

กรพินธุ พัวพันสวัสดิ์. (2558). “แนวคิดทางการเมืองเรื่องการขัดขืนตอ ตาน (Resistance).” สืบคนเมื่อ 23 ธันวาคม 2561 จาก ประชาไท: https://prachatai.com/journal/2015/02/57955. 7 อรรถจักร สัตยานุรักษ. (2545). นิเวศประวัติศาสตร: พรมแดนความรู. กรุงเทพฯ: คบไฟ. 8 เรื่องเดียวกัน, หนา 33-39. 9 ประภาส ปนตบแตง. (2541). การเมืองบนทองถนน 99 วันสมัชชาคนจน และประวัติศาสตรการเดินขบวนชุมนุมประทว ง ในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: ศูนยวิจัยและผลิตตำรา มหาวิทยาลัยเกริก, หนา 35.


10

สวนใหญจะเปนการแยงสิทธิอำนาจเหนือทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมระหวางรัฐที่มาในรูปของ “การ พัฒนา” และสิทธิในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมของชุมชนเหนือฐานทรัพยากร เชน การสร า งเขื่ อน สรางโรงไฟฟา สรางนิคมโรงงานอุตสาหกรรม ทำเหมือง เปนตน เมื่อกลาวถึง “การพัฒนา” ภาพของความเปนอุตสาหกรรม ความเปนตะวันตก และความทันสมัยจะ สะทอนขึ้นมาใหเห็นเปนภาพแรก ดังงานของ ไชยรัตน เจริญสินโอฬาร เรื่อง วาทกรรมการพัฒนา: อำนาจ ความรู ความจริง เอกลักษณ และความเปนอื่น10 ในงานชิ้นนี้ ไชยรัตน ไดแสดงใหเห็นวา การพัฒนานั้ นเป น รูปธรรมของวาทกรรมการพัฒนาที่ถูกสรางขึ้นมา และมีผลลัพธที่รายกาจ ทำใหเกิดประเทศที่พัฒนาแลว และ ประเทศที่ดอยพัฒนาขึ้นมาพรอมกับวาทกรรมการพัฒนา ที่สำคัญคือ วาทกรรมชุดนี้หาไดมีผลเฉพาะในทาง ศัพทแสงวิชาการเทานั้น แตการเกิดของวาทกรรมการพัฒนาไดสรา งเงื่ อนไขทางอำนาจระหว า งประเทศที่ พั ฒนาแล ว กั บประเทศที่ ย ั งไมพ ั ฒนา นำไปสู การครอบงำ/การกำหนดทิ ศทาง และปกครองโดยชี วญาณ (Governmentality) ใหประเทศดอยพัฒนาเหลานั้น กระโดดสูสภาพแวดลอมอันเปนอารยะกวา หรือความ เป นประเทศกำลั งพั ฒนานั ้นเอง ป ญ หาคือ ภาพของการพั ฒนาที่ กล าวขานกันนั ้นได ย กภาพของประเทศ ตะวันตกซึ่งเลี้ยงชีพดวยอุตสาหกรรม ดวยโรงงานและโรงไฟฟา เปนตนแบบ ดัวยเหตุนี้แบบของการพัฒนาของ ตะวันตกจึงสงผลกระทบอยางใหญหลวงตอสังคมไทยดวยเชนกัน โดยเฉพาะในรัฐไทยที่ใกลชิดกับฝรั่ง รัฐไทย จึงพยายามยัดเยียดการพัฒนาไปสูพื้นที่ที่ดอยพัฒนา นำไปสูความขัดแยงในการใชทรัพยากรและสิ่งแวดล อม ดั ง ที่ ชี้ ไปกอนหน านี้ โดยที่ มีประชาชนฝ ายผู คั ดคานหรื อนั กเคลื ่อนไหวต อตานกิ จกรรมที ่ส งผลกระทบตอ สิ่งแวดลอมไดถูกจัดใหเปนปฏิปกษกับ “การพัฒนา” สุรชัย ตรงงาม และคณะ ทนายความที่มีประสบการณดา นการตอสูคดีในประเด็นสิ่งแวดลอมมาอยาง ยาวนานไดเสนอปญหาในระบบกฎหมายสิ่งแวดลอมไทยไวใน ปญหาความยุตธิ รรมและการจัดการความขัดแยง ดานสิ่งแวดลอม: ศึกษากรณีตัวอยางจากประสบการณการใหความชวยเหลือประชาชนทางกฎหมาย 11 สุรชัย และคณะไดเสนอวา กลไกทางกฎหมายในการระงับความขัดแยงและเยียวยาปญหาสิ่งแวดลอมนั้นมีปญหาใน ทุกระดับตั้งแตเจาพนักงานที่ปฏิบัตหิ นาที่ เชน เจาหนาที่มักใชอำนาจตีความกฎหมายไปในทางที่ตนจะไมตอง ปฏิบัติหนาที่ หรือปฏิบัติหนาที่ลาชา อันเปนเหตุใหปญหาสิ่งแวดลอมหนักหนวงขึ้นจนเกินเยียวยา นอกจากนี้ สถานะของประชาชนในการเรียกรองสิทธิยังไมไดรับการรับรอง ประชาชนไมสามารถใชสิทธิในการชุมนุมของ ตนไดตามสมควร หรือแมแตการทำประชาพิจารณก็ตาม ตลอดจนกระบวนการยุติธรรมทางสิ่งแวดลอมที่สราง ทั้งตนทุนในการดำเนินคดี และภาระในชีวิตประจำวันมาก

10

ไชยรั ต น เจริ ญ สิ นโอฬาร. (2549). วาทกรรมการพั ฒนา: อำนาจ ความรู  ความจริ ง เอกลั กษณ และความเป นอื ่น. กรุงเทพฯ: วิภาษา. 11 สุรชัย ตรงงาม. (2552). “ปญหาความยุติธรรมและการจั ดการความขั ดแยงด านสิ่งแวดลอ ม: ศึกษาจากกรณี ตั ว อย า งจาก ประสบการณ ก ารให ค วามช วยเหลื อ ประชาชนดา นกฎหมาย.” ใน สถาบั น พระปกเกล า, การประชุ ม วิ ชาการสถาบัน พระปกเกลา ครั้งที่ 10 ประจำป 2551. นนทบุรี: สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกลา, หนา 331-368.


11

ประสบการณในการตอสูคดีของสุรชัยและคณะนั้นไมตา งจากขอเสนอของ กอบกุล รายะนาคร ที่ไดให ไวใน กฎหมายกับสิ่งแวดลอม 12 วา แมสิทธิดานสิ่งแวดลอมของประชาชนจะไดรับการรับรองจากบทบั ญ ญั ติ แหงกฎหมายทั้งในระดับรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติ แตในอีกทางหนึ่ง มาตรฐานดานสิ่งแวดลอมในระบบ กฎหมายไทยนั ้ นยั ง มี ปญ หาและอุ ปสรรคอยู  ในทุ กระดั บ เพราะการขาดความรู ค วามเขา ใจของพนั กงาน เจ า หนาที่ใ นการจัดการปญ หาขั ดความแย งเกี ่ย วกั บสิ่ งแวดล อม นโยบายการพั ฒนาของรั ฐที่ มุ ง เนนเพียง ผลประโยชนทางดานเศรษฐกิจ ประกอบกับการขาดการมีสวนรวมของประชาชนตอการดำเนินกิจกรรมตาง ๆ ที่สงผลกระทบตอสิ่งแวดลอม ตลอดจนการปราศจากสภาพบังคับทีไ่ ดผลในกฎหมายสิ่งแวดลอม จากสิ่งที่ไดกลาวมา จะพบวา ขอคิดเห็นทางวิชาการของกอบกุล และประสบการณการทำคดีความ ดานสิ่งแวดลอมของสุรชัยและคณะ หากนำมาบรรจบกันก็จะไดเปนภาพของความไรประสิทธิภาพของระบบ กฎหมายไทยในการจัดการปญหาสิ่งแวดลอม เมื่อระบบกฎหมายเปนเชนนั้ น ยอมตอกย้ำใหเห็ นถึ ง โลกทาง กายภาพที่เต็มไปดวยปญหาความดอยอำนาจของประชาชน กลุมนักเคลื่อนไหว ในการตอสูกับผูมี อำนาจรั ฐ หรือนายทุนทั้งหลายในประเด็นเกี่ยวกับสิ่งแวดลอมทีด่ ำเนินมาตัง้ แตอดีตจนถึงปจจุบนั รูปแบบและผลลัพธที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนไหวคัดคานโครงการพัฒนาขนาดใหญที่สงผลกระทบต อ สิ่งแวดลอมในโลกทางกายภาพที่นาสนใจ สามารถศึกษาไดจาก งานของ เบญจวรรณ คำโคตร เรื่อง ความทุกข เชิงสังคมของชาวบานที่ไดรับผลกระทบจากการทำเหมืองแรทองคำ อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย 13เปนงานที่ให ขอมูลไดมากพอสมควร เพราะเบญจวรรณไดลงพื้นที่เก็บขอมูลแบบนักมานุษยวิทยาเปนเวลาหลายเดือน โดย งานของเบญจวรรณ ชี้วา โครงการเหมืองแรทองคำบนภูทับฟานั้นไดเขามาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของประชาชน ในพื้นที่เปนอยางมาก โดยที่ประชาชนนั้นไมไดมสี วนรวมใด ๆ ในการดำเนินโครงการพัฒนา และไมมีแมกระทัง้ โอกาสในการเตรี ยมตัว เตรีย มใจกับ สภาพแวดลอมที่เลวรายลง เบญจวรรณ ไดเลาวาการทำเหมื องทองคำ กอใหเกิดผลกระทบตั้งแตการสูญเสียภูทับฟาอันเปนทรัพยากรรวมกันของคนในชุมชนแลว ยังกอใหเกิดปญหา มลพิษตามมาอีก กลาวคือ แหลงน้ำหลายแหลงไมสามารถใชอุปโภคบริโภคได เพราะมีการปนเปอนของสาร ไซยาไนด สุขภาพของประชาชนก็ย่ำแย ผลผลิตการเกษตรก็ตกต่ำลง ยิ่งเมื่อรวมกับความเดือดรอนรำคาญจาก เสียงระเบิด ความสั่นสะเทือน และความขัดแยงภายในชุมชนที่ตามมาทำใหประชาชนบานนาหนองบงตัดสินใจ ตอสูเพื่อปดเหมืองแรทองคำ การเคลื่อนไหวคัดคาน “การพัฒนา” ของประชาชนที่บานกรูดเปนอีกตัวอยางที่สะทอนใหเห็นความ ขัดแยงรุนแรงในดานสิ่งแวดล อมและการพั ฒนา ใน การคัดคานการกอสรางโรงไฟฟาบานกรูด อำเภอบาง สะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ 14 ของ อิสระธรรม ไทยถาวร เปนงานที่ศึกษาเกี่ยวกับการตอสูของประชาชน 12

กอบกุล รายะนาคร. (2550). กฎหมายกับสิ่งแวดลอม. กรุงเทพฯ: วิญูชน, หนา 219-228. เบญจวรรณ คำโคตร. (2554). ความทุกขเชิงสังคมของชาวบา นที่ไ ดรั บผลกระทบจากการทำเหมือ งแร ทองคำ อำเภอ วังสะพุง จังหวัดเลย. (พัฒนานิพนธ สาขาพัฒนาชุมชน คณะสังคมศาสตรและมนุษยศาสตร, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม). 14 อิสระธรรม ไทยถาวร. (2550). การคัดคานการกอสรางโรงไฟฟาบา นกรู ด อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคี รี ขั น ธ . (วิทยานิพนธศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐศาสตร) มหาวิทยาลัยรามคำแหง). 13


12

บ า นกรู ด โดยตรง พบว า ประชาชนบ า นกรู ด นั ้ นคั ด ค า นโรงไฟฟ า เพราะเกรงกลั ว ความหายนะของ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม ประกอบกับการดำเนินโครงการที่ขาดความโปรงใสและการมีสวนรวมของ ประชาชน เปนตนวา ในการทำประชาพิจารณไดมีรายชื่อของผูพิการ และผูที่เสียชีวิตไปแลวมารวมใชสิทธิดว ย ทั้งที่เปนไปไมได 15หรือการทำการศึกษาผลกระทบตอสิ่งแวดลอม (EIA) ที่เสนอวาพื้นทะเลเปนหินโสโครก แต ประชาชนกลับพบวาเปนแนวปะการัง 16 นอกจากนี้การเคลื่ อนไหวของประชาชนบา นกรูดยัง ประกอบด ว ย พั นธมิ ต รหลายฝ าย โดยเฉพาะ องค กรพั ฒนาเอกชน รวมถึ งกลุ ม กรีนพี ช (Greenpeace) 17 ด ว ย ที ่ พรอม สนับสนุนการตอสูของประชาชนบานกรูด โดยประชาชนใชวิธีการตอสูที่หลากหลายตั้งแตการยื่นขอเรี ย กร อง ตามระเบียบ ไปจนถึงการชุมนุมประทวง ปดลอม หรือบุกรุกปดโตะจีน ซึ่งในกรณีหลังสุด จินตนา แกวขาว ถูก ดำเนินคดีอาญาในขอหาบุกรุก และตองคำพิพากษาฎีกาที่ 13005/2553 ใหจำคุก 4 เดือนโดยไมรอลงอาญา ในวันที่ 11 ธันวาคม 2554 การแสดงความคิดเห็นของ จินตนา แกวขาว ใน ประชาสังคมกับการสรางธรรมาภิบาลสิ่งแวดลอม 18 ตอความขัดแยงระหวางประชาชนกับ “การพัฒนา” โดยเลาวาตนเปนชาวบานที่ไดรับผลกระทบจากโครงการ พัฒนา ซึ่งประสบการณของพื้นที่อื่น ๆ ไดแสดงใหเห็นแลววา โครงการพัฒนาขนาดใหญกอใหเกิดหายนะตาง สิ่งแวดลอมอยางไร ประชาชนในพื้นที่ที่ไดรับผลกระทบตางลุกขึ้นมาตอสูคัดคานโครงการโรงไฟฟาตองทบทวน ตัวเองและยายออกไปในที่สุด อยางไรก็ตาม จินตนา ไดกลาวถึง “การพัฒนา” ไววาเปนสิ่งที่ถูกนำเขามาจาก ภายนอกและยึดแบบอยางของตะวันตกเปนหลัก ซึ่งเชื่อวาจะทำใหประเทศไทยมีความมั่งคัง่ ขึ้น มีความสุขมาก ขึ้น แตไมไดตั้งคำถามตอการพัฒนาเหลานี้วาแทจริงแลวจะนำมาซึ่งผลประโยชนตอประเทศหรือไม เหตุใดกลุม บรรษัทขามชาติที่เขามาลงทุนในการสรางโครงการพัฒนาจึงไมเก็บไวพัฒนาในประเทศของตนเอง และไดย้ำวา การพัฒนาที่กลาวอางกันมั กยึด ถือตามผลประโยชน โดยตรงหรื อโดยออมของนายทุนบางกลุม เทา นั้ น ไม ไ ด คำนึงถึงความเสียหายตอสิ่งแวดลอม วิถีชีวิตของคนในพื้นที่ และผลประโยชนของประเทศอยางแทจริง อยางไรก็ตาม โสภณ พรโชคชัย ผูมีความเห็นตางในกรณีการตอสูของประชาชนบานกรูดและ จินตนา แกวขาว ไดแสดงความเห็นอยางตรงไปตรงมาใน ความเห็นทางวิชาการ: คุณจินตนา แกวขาว กับกฎหมู 19 โดย ไดโตแยงวาการเคลื่อนไหวคัดคานโรงไฟฟาของประชาชนบานกรูดไมควรไดรับการยกยอง เพราะดวยวิธีการที่ ผิดกฎหมายและมีความรุนแรง การอางสิทธิชุมชนหรือสิทธิมนุษยชนก็ไมสามารถใชอางเปนเหตุในการทำผิ ด กฎหมายอาญาได การใหสิทธิแกกลุมคนหรือชุมชนในพื้นที่พิเศษกวาประชาชนภายนอกพื้นที่เพียงเพราะอยูมา นานกวาถือเปนการทำใหคนสวนใหญที่เขาไมถึงทรัพยากรกลายเปนผูดอยโอกาส 15

เรื่องเดียวกัน, หนา 108. เรื่องเดียวกัน, หนา 110-114. 17 เรื่องเดียวกัน, หนา 103. 18 จินตนา แกวขาว. (2551). “ประชาสังคมกั บการสร างธรรมาภิบ าลสิ่งแวดล อ ม.” ใน สถาบันพระปกเกล า, การประชุ ม วิชาการสถาบันพระปกเกลา ครั้งที่ 10 ประจำป 2551, หนา 569-574. 19 โสภณ พรโชคชัย. (2554). “ความเห็นทางวิชาการ: คุณจินตนา แกวขาว กับกฎหมู.” สืบคนเมื่อ 23 ธันวาคม 2561 จาก ประชาไท: https://prachatai.com/journal/2011/10/37640 16


13

ความเห็นของโสภณ อาจเชื่อมโยงกับกรณีการตอสู เพื่ อสิ่ง แวดล อมในลักษณะเดีย วกั บ กลุ ม คนรั กษ บานเกิดและ จินตนา แกวขาว แตรุนแรงกวาคือ การเคลื่อนไหวของนักอนุรั กษสิ่ง แวดล อมสุดโตง (Radical Environmentalism) ในประเทศสหรัฐอเมริกา การเคลื่อนไหวของกลุมการเมืองที่ออกมาเคลื่อนไหวคั ด ค า น โครงการพั ฒนาตาง ๆ สะท อนออกมาจากงานศึ กษาของ César Cuauhtémoc García Hernández เรื ่ อง Radical Environmentalism: The New Civil Disobedience? 20 และงานของ Rebecca K. Smith ชื่ อ เรื ่ องว า “Ecoterrorism”?: A Critical Analysis of the Vilification of Radical Environmental Activist as Terrorists 21 งานทั้งสองชิ้นไดอธิบายที่มาที่ไปและจุดยืนของนักอนุรักษสิ่งแวดลอมสุดขั้ววาเปนกลุมคนที่ ตระหนักถึงความรายแรงของปญหาสิ่งแวดลอม และไมพอใจการเคลื่อนนโยบายของขบวนการเคลื่อนไหวดาน สิ่งแวดลอมปกติที่เฉื่อยชา ซึ่งเปนเพียงการแกไขปญหาเฉพาะหนา ทั้งนี้ พวกเขาเชื่อวาชัยชนะของขบวนการ ปกป องสิ่ งแวดลอมกระแสหลั กนั ้นสงประโยชน เพี ยงเล็กนอยเมื่ อเทีย บกั บความเสีย หายของสิ่ งแวดลอมที่ เกิดขึ้น ดวยเหตุนี้พวกเขาจึงเลือกใชวิธีการปกปองสิ่งแวดลอมดวยวิธีการที่ตรงขามกับนักอนุรักษ กระแสหลั ก โดยสิ้นเชิง กลาวคือ พวกเขาใชวิธีการที่ผิดกฎหมายเพื่ ออนุรั กษสิ่ง แวดล อม ทั้งบุกรุก ปดถนน นั่ ง ประท ว ง ทำลายเครื่องมือที่เปนโทษตอสิ่งแวดลอม รวมถึงการทำลายทรัพยสินดวย ปรัชญาที่นักอนุรักษสิ่งแวดลอมสุ ด ขั้วยึดถือ คือ นิเวศวิทยาแนวลึก (Deep Ecology) ซึ่งเชื่อวาธรรมชาตินั้นมีคาเกินกวาจะประเมินได และมนุษย ไมไดวิเศษกวาสิ่งมีชีวิตใดใดในโลก ดังนั้นมนุษยจำเปนตองปรับตัวและโครงสรางสังคมขั้นพื้ นฐานให เข า กั บ ธรรมชาติ 2) การศึกษาโลกไซเบอรในมิติกฎหมายกับสังคม ริชารด อาเบล นักกฎหมายกับสังคมชื่อดังไดกลาวไววา 22 “เมื่อถามวาเราศึกษาอะไร เราจะตอบไปวา ทุ กอย างที ่ เกี ่ย วกั บกฎหมายนอกจากบทบั ญญั ติของกฎหมาย” เฉกเช นเดีย วกั บนั กกฎหมายผู ยิ ่งใหญนาม รอสโค พาวด ที่ไดชี้ใหเห็นวา แนวทางกฎหมายกับสังคมนั้น พิจารณาโครงสรางเชิงสถาบัน พฤติกรรม ตั ว บุคคล วัฒนธรรม และความหมายทั้งหลายที่ไดกอรูปขึ้นเปนบริบททางสังคม สรางสัญลักษณ และปฏิบัติการ

20

César Cuauhtémoc García Hernández. (2007). “Radical Environmentalism: The New Civil Disobedience?.” Seattle Journals for Social Justice, 6 Fall/Winter 2007, p. 289-321. 21 Rebecca K. Smith. (2008). “‘Ecoterrorism’?: A Critical Analysis of the Vilification of Radical Environmental Activist as Terrorists.” Environmental Law, 38 Spring 2008, p. 537-576. 22 Richard L. Abel. (1995). “What We Talk About When We Talk About Law.” in Richard L. Abel (ed.). The Law and Society Reader. New York: New York University Press, pp. 1–10. ‘When asked what I study, I usually respond gnomically: everything about law except the rules’.


14

ของกฎทั้งหลายที่ใชในชีวิตประจำวัน แหลงกำเนิดเหลานี้ลวนเปนที่มาของความแตกตางในการศึกษาระหวาง กฎหมายที่ปรากฏ “ในตัวบทบัญญัติ” กับ กฎหมายที่อยูใน “ปฏิบัติการจริง” 23 ของสังคม หนังสือรวมบทความเรื่อง Law and Society Approaches to Cyberspace24 เปนฉบับที่มี Paul Schiff Berman เปนบรรณาธิการรวบรวมเรียงบทความทั้งหลายที่เกี่ ยวข องกับ การศึกษากฎหมายเกี่ ย วกั บ ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมโดยเฉพาะเจาะจงไปที่โลกในอินเตอรเน็ต หรือที่นิยมเรียกกันในปจจุบันวา “พื้นที่ ไซเบอร” (Cyberspace) เพื่อใหเห็นความเปลี่ยนแปลงในมิติตางๆที่มีผลกระทบตอปริมณฑลทางกฎหมายใน ประเด็นตางๆ อาทิ เขตอำนาจศาล สภาพบุคคล นิติกรรม/นิติเหตุ ความเปนชุมชน และการใชสิทธิ เสรี ภาพ ที่มาพรอมกับการจำกัดสิทธิดวยวิธีการตางๆ อาทิ การเซ็นเซอร การสอดสอง เปนตน ซึ่งหนังสือฉบับนี้ชวยให เขาใจปรากฏการณที่เกิดขึ้นในโลกไซเบอรที่มีผลตอโลกความเปนจริงไดชัดเจนขึ้น และสามารถใชเปนแนวทาง ในการวิเคราะหมาตรการทางกฎหมายทีเ่ กี่ยวของเพื่อนำเสนอแนวทางปรับปรุงใหสงเสริมสิทธิของประชาชนใน การมีสวนรวมบนพื้นที่เสมือนและโลกแหงความจริง เชอรรี่ เทิรคเคิล เกี่ยวกับผลกระทบที่คอมพิว เตอร สรางใหกับความคิดของเราเกี่ ย วกั บ การศึ กษา ระดับสูง 25 แมมิใชทางกฎหมายโดยตรงแตบทความนี้ไดชวยพัฒนาความคิดของผูสนใจศึกษาโลกออนไลน ใ ห ตระหนักถึงผลกระทบที่คอมพิว เตอรได สรางให กับวิธีคิด เกี่ยวกับ โลก เพื่อตระหนักถึง ความเปลี่ ย นแปลงที่ คอมพิวเตอรและการสื่อสารผานเทคโนโลยีสารสนเทศโดยเฉพาะอินเตอรเน็ตไดเปลี่ยนโลกใบเดิมที่ ม นุ ษ ย เชื่ อ ในสิ่งที่เห็นชัด จับตองได มั่นคง แนนอน ไปสูโลกหลังสมัยใหมที่ทุกอยางเปน “ภาพลักษณ” ฉาบฉวย ตื้นเขิ น แสดงใหเราเห็นแตเปลื อกผิว นอก แตมีผลกระตุนเราความคิด อารมณความรูสึกของมนุษย แต เคลื่ อนไหว เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา แมกระทั่งอัตลักษณที่จะบงชี้ตัวบุคคลก็ยืดหยุนผันแปรเปนอันมาก เว็บไซต ( หรื อ การเชื่อมโยงผานเครื อขา ย)กลายเปนวิ ธีคิดหลั กเกี่ ยวกับวิธีคิด ของมนุษ ยในปจ จุบัน ไม ว า จะเป นวิ ธี ใ นการ เชื ่ อมโยงความคิ ดของตนเข ากั บแผนภาพแผนภูมิ หรื อภาพลั กษณ ของบรรษั ทข ามชาติ ต างๆที ่ม ีกิ จกรรม หลากหลายเชื่อมโยงกับเรา และยังเชื่อมโยงเขากับกฎหมายระหวางประเทศ หรือแมกระทั่งกิจกรรมที่รุนแรง สุดโตงเชน การกอการราย ก็ลวนเชื่อมโยงกับกฎหมายระหวางประเทศและวิธีคดิ แบบเชื่อมโยงของอินเตอรเน็ต ทั ้ ง สิ ้ น ทั ้ ง นี ้การจัดวางวาเรื ่ องซึ่ งเกิ ดจากเทคโนโลยี ใหมๆ ใดก็ตามจะเกี่ ยวของกั บกฎหมายใดเพื ่อปรั บใช กฎหมายในประเด็นเฉพาะเรื่องนั้นๆ ยอมถูกกระทบอยางหลีกเลี่ยงไมได

23

Roscoe Pound. (1910). “Law in Books and Law in Action: Historical Causes of Divergence between the Nominal and Actual Law.” American Law Review, 44, pp. 12–34. This is the source of the classic law and society distinction between law as it exists ‘on the books’ and law ‘in action’ 24 Paul Schiff Berman. Editor. (2007). Law and Society Approaches to Cyberspace. Hampshire: Ashgate Publishing. 25 Sherry Turkle. (2004). “How Computers Change the Way We Think.” Chronicle of Higher Education. 26, pp. 1–5.


15

แดน ฮันเตอร เขียนเกี่ยวกับ เหตุโศกนาฏกรรมของยุคดิจิตอลที่พื้นที่ไซเบอร กลายเป นดิ น แดนที่ ไ ม เปนมิตรตอระบอบกรรมสิทธิ์รวม 26 โดยบทความนี้ตั้งขอสันนิษฐานวาเทคโนโลยีสารสนเทศไดสรางผลกระทบ ต อวั ฒนธรรมทางกฎหมายในทิ ศทางที ่ คาดไมถึ ง มากกวา การเกิ ดผลทางกฎหมายที ่ นักกฎหมายสามารถ จินตนาการลวงหนาเปนโจทยตุกตาทีม่ ักนำมาใชเปนตัวอยางประกอบการตีความกฎหมาย เนื่องจากกรอบที่จะ วิเคราะหความเปลี่ยนแปลงนั้นไดตองเชื่อมโยงกับบริบทจริงของสังคมมากกวาการ คิดหาความเปนไปไดตาม หลั กเหตุ - ผลและหลั กเงื ่ อนไขทั ่ วไปที ่ นั กกฎหมายนิ ย มใช ดั ง นั ้ นการศึ กษาผลกระทบทางกฎหมายจาก อินเตอรเน็ตตองเชื่อมกับพลวัตรความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจที่มีอยูจริง ริชารด รอสส ชี้ใหเห็น ความสัมพันธระหวางการปฏิวัติการสื่อสารกับวั ฒนธรรมทางกฎหมายว า มี ความเกี่ยวเนื่องกันอยางชัดเจน27 เนื่องจากความคุนชินของนักกฎหมายโดยเฉพาะนักกฎหมายในระบบคอม มอนลอวในการปรับหลักกฎหมายหรือตีความกฎหมายโดยใชตัวอยาง หรือตุกตา หรือสถานการณบางอยางที่ สอดรั บกับตั วอยางเดิมที ่ม ีอยู เปนบรรทัดฐาน ดั ง นั้ นการคาดเดาเอาเองของนักกฎหมายวาสิ ่ง ที่ เกิดขึ้นใน อินเตอรเน็ตเทียบเคียงไดกับ บุคคลนั้น ตัวอยางนี้ หรือหลักการนูน จึงเปนการแสดงการจับจองสิ่งใหมๆในโลก ออนไลนใหอยูภายใตกรอบความคิดเดิมที่นักกฎหมายคุน ชิน ซึ่งไมชวยใหมีการปรับหลักกฎหมายสอดคลองกับ สิ่งที่เกิดขึ้นใหมในอินเตอรเน็ต เนื่องจากการเลือกใชตัวอยางใดๆมาเทียบเคียงกับสิ่งใหมๆที่เกิดขึ้น ยอมมี การ เลือกใหเหมาะกับเจตนารมณสวนตัวของผูตีความซึ่งมี เหตุผลและความตองการเฉพาะของผู นั้ นหรื อสถาบั น องคกรนั้นๆอยูแลว นั่นคือมี “ความเปนการเมือง” ในการเลือกตัวอยางมาอุปมาปุปมัยนั่นเอง กุ นเธอร เทิ ร บเนอร ว า ด วย การสถาปนาระบอบรั ฐธรรมนู ญนิย มในสั งคมใหม ที่ ทาทายตอทฤษฎี รัฐธรรมนูญเดิมที่มีรัฐเปนศูนยกลาง 28 ซึ่งพิจารณาความเปนไปไดของการเกิดระบอบรัฐธรรมนู ญ นิ ย มที่ มิ ไ ด ตั้งอยูบนฐานอำนาจของรัฐสมัยใหมแตอาจกระจายไปอยูที่องคกรทางสังคมอื่นๆ หรือชุมชนตางๆในอินเตอรที่ จะสถาปนากฎกติกาหรือความสัมพันธเชิงอำนาจภายในชุมชนของตนเองเพื่ อใหมีอำนาจในการจัดการตนเอง โดยไมตองรออำนาจหรือการจัดการของรัฐที่อาจไมทันการณหรือไมทั่วถึง โดยรัฐก็จะกลายเปนองคกรหนึ่ ง ใน หลายองคกรที่เปนผูสรางกฎหมายทามกลางกลุม ชุมชน หรือองคกรอีกมากมายในอินเตอรเน็ตที่สามารถออก กฎมาใชกำกับควบคุมกิจกรรมบนพื้นที่ไซเบอร บทความถัดมาเขียนโดย พอล ชิฟท เบอรมันน ไดหยิบเอาทฤษฎีจักรวาลทัศนมาปรับใชในการแกไ ข ปญหากฎหมายขัดกันเพื่อขยับขยายพื้นที่ใหกับทางเลือกในการจัดการความขัดแยงโดยตองปรับเปลี่ยนนิ ย าม 26

Dan Hunter. (2003). “Cyberspace as Place and the Tragedy of the Digital Anticommons.” California Law Review. 91, pp. 439–519. 27 Richard J. Ross. (2002). “Communications Revolutions and Legal Culture: An Elusive Relationship.” Law and Social Inquiry, 27, pp. 637–84. 28 Gunther Teubner. (2004). “Societal Constitutionalism: Alternatives to State-Centred Constitutional Theory?.” in Christian Joerges, Inger-Johanne Sand and Gunther Teubner. (eds). International Studies in the Theory of Private Law Transnational Governance and Constitutionalism. Oxford: Hart Publishing, pp. 3–28.


16

ความหมายของ “ผลประโยชนแหงรัฐ” ทามกลางยุคสมัยที่โลกเปลี่ยนไปเสียใหม 29 โดยผูเขียนไดลดทอนเอก สิทธิ์สำคัญของรัฐสมัยใหม นั่นคือ หลักเขตอำนาจศาลเหนือดินแดนอธิปไตยอยางสมบูรณของรั ฐ ให นอยลง จากหลักศักดิ์สิทธิที่หามแตะตองแกไข ไปเปนหลักการที่ตองสำรวจกันเสียใหม โดยใชทฤษฎีจักรวาลทั ศ น ที่ มี กระบวนการแสวงหาทางสายกลางระหวางการยึดถืออาณาเขตอยางเขมงวดกับความเปนสากลอยางสุดโตงเพือ่ หาทางออกใหกับปญหาในการใชกฎหมายกับกิจกรรมที่มลี ักษณะขามพรมแดนอยางเขมขน นอกจากนี้การมอง หาทางแกปญหาที่เกิดจากการหาความเชื่อมโยงกับ “จุดเกาะเกี่ยว” ที่บุคคลนั้นเชื่อมโยงกับชุมชนจำนวนมาก ทั้งในระดับทองถิ่น โลก และมีลักษณะขามพรมแดนตลอดเวลา นักกฎหมายสำนักสัจจะนิยมไดพยายามแสดงใหผูที่รณรงคเรื่องเสรี ภาพอยางสุดโตงในอิ น เตอร เ น็ ต อยางกลุมปลดปลอยในโลกออนไลนเห็นถึงความเปนจริงในโลกออนไลนดวยบทความ 2 เรื่องตอไปนี้ที่แสดงให เห็นความจริงและขอพึงตระหนักเกี่ย วกับ อำนาจรัฐและการควบคุม ซึ่งอินเตอรเน็ต อาจมิ ใ ช ส วรรค สำหรั บ ปจเจกชนที่ปรารถนาเสรีภาพ เจมส บอยล นั กกฎหมายซึ ่ ง เป นนั กเขี ย นนวนิ ย ายชื ่ อดั ง ได นำกระบวนทั ศ น แ ละทฤษฎี ของ ฟูรโกตมาปรับใชกับปฏิบัติการของรัฐบนอินเตอร เน็ตรูปแบบการซุมตรวจดั กข อมูลโดยเชื่ อมโยงกั บ อำนาจ อธิปไตยของรัฐและการใชอำนาจตรวจเนื้ อหาเพื่อนำไปสูการหามเผยแพรขอมู ลที่รัฐไมประสงค 30 บอยล ไ ด พยายามโตแยงขอเสนอที่กลาววาอิ นเตอร เน็ตจะเป นพื้ นที่ เสรี สำหรับปจ เจกชน โดยพยายามแสดงให เห็ น ความสามารถของรั ฐในการสวมใส อำนาจเข าไปอยู  ในโลกออนไลนผ านเทคโนโลยี และสถาปตยกรรมทาง คอมพิวเตอรซึ่งสามารถขัดขวางและปดกั้นการไหลเวียนของขอมู ลไดอยางมีประสิทธิภาพดวยการเขี ย นรหั ส คอมพิวเตอร บทความตอมา มาร กาเร็ ต เจน ราดิ น ผู  เสนอบทความให รั ฐพยายามกำกั บควบคุ มกิ จ กรรมใน อินเตอรเน็ตดวยการสนับสนุนการบังคับตามสัญญาและมีการใชกลไกทางเทคโนโลยีมาหนุนเสริม 31 โดยราดิน ไดชี้ใหเห็นขอดอยของการปลอยใหเอกชนบังคับสัญญากันเองเนื่องจากเอกชนยอมไมมีอำนาจในการบังคับผูอนื่ ดวยอำนาจของตัวเอง ในกรณีนี้บทความเนนไปที่เรื่องสัญญาเกี่ยวกับทรัพยสินทางปญญา โดยชี้วาแมจะมีการ พยายามสรางเทคโนโลยีและรหัสตางๆมาปองกันการละเมิด สัญญาทั้งหลาย แตไมอาจประสบผลสำเร็ จ หาก ขาดอำนาจรัฐชวยบังคับ การปลอยปละละเลยมีสวนทำใหสัญญาเหลานั้นกลายเปน “กฎหมายของบรรษัท” ที่ ตองพยายามบังคับกันเอง โดยบทความนี้เรียกรองใหรัฐรวมบังคับสัญญาเพื่อใหเกิดหลักประกันตอสัญญาทาง กฎหมายและระบอบทรัพยสิน และสรางขอบเขตที่ชัดเจนระหวางทรัพยสินสาธารณะกับทรัพยสินของเอกชน 29

Paul Schiff Berman. (2005). “Towards a Cosmopolitan Vision of Conflict of Laws: Redefining Governmental Interests in a Global Era.” University of Pennsylvania Law Review. 153, pp. 1819–1882. 30 James Boyle. (1997). “Foucault in Cyberspace: Surveillance, Sovereignty, and Hardwired Censors.” University of Cincinnati Law Review. 66, pp. 177–205. 31 Margaret Jane Radin. (2004). “Regulation by Contract, Regulation by Machine.” Journal of Institutional and Theoretical Economics. 160, pp. 142–56.


17

นักคิดคนสำคัญแสดงความกังวลตอเสรี ภาพในการแสดงออกที่ อาจถู กจำกัดและคุกคามด ว ยอำนาจ ของเอกชน เชน บรรษัท ผูใหบริการและผูประกอบการบนอินเตอรเน็ต แสดงใหเห็นวาอาจมิใชรัฐเท า นั้ นที่ มี สวนจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกของบุคคล ผาน 2 บทความตอไปนี้ บทความแรกเขียนโดย ลอวเรนซ เลสสิก ปรมาจารยกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศและทรัพยสินทาง ปญญา ผูไดตั้งขอสังเกตไวตั้งแตป พ.ศ.2541 วาสิ่งที่นำมากำกับควบคุมการแสดงออกของบุ ค คลน า จะเป น อะไรได บา งระหว างเทคโนโลยี ในการคั ดกรองด วยการเขี ยนรหั สคอมพิ วเตอรหรือการออกแบบระบบการ สื่อสารสองทางที่ผูประกอบการอินเตอรเน็ตสามารถควบคุมได 32 เลสสิกไดเสนอวามีความเปนไปไดที่รฐั จะสราง พื้นที่เฉพาะบางสวนขึ้นเปนเขตควบคุมพิเศษเพื่อใชสอดสองและควบคุมการแสดงออกของปจเจกชนมากกว า การพยายามสร างตั วกรองความคิ ดเห็นไปอย างแพร หลายและกระจัดกระจาย ซึ ่ ง การใช ตัว คัดกรองความ คิดเห็นของประชาชนโดยใชเทคโนโลยีของผูใหบริการนั้นสามารถกระทำไดโดยที่ผูใชอินเตอรเน็ตไมทนั รูตัวเสีย ดวยซ้ำ เมื่อเห็นตัวอยางและขอเสนอทั้งหลายแลวจะพบวามีความรวมมืออยางแยบคายระหวางรัฐและเอกชน ซึ่งเปนการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศนเกี่ยวกับอินเตอรเน็ต ที่เชื่อกันวาเปนพื้นที่แหงเสรีภาพไปสู การเป นพื้ นที่ เปาหมายสำคัญของรัฐในการควบคุมการแสดงออก บทความถัดมา แจ็ค บอลคิน พยายามแสวงหาทฤษฎีที่จะใชอธิบายเสรีภาพในการแสดงออกสำหรั บ สังคมขอมูลขาวสารที่อยูในรูปแบบการสื่ อสารผานข อมู ลดิจิตอลและสัม พันธกับวั ฒนธรรมประชาธิ ป ไตย 33 บทความนี้ไดสรางขอถกเถียงและเรีย กร องอยางนาตื่นเตนด วยการพยายามเสนอช องทางที่ นั ก กฎหมายจะ รวมกันเปดโอกาสหรื อส ง เสริมประชาชนใหมีสวนร วมในการสรรคสรา งและจำหนา ยจายแจกวั ฒนธรรมใน รูปแบบสื่อดิจิตอลโดยไมติดอยูในกรงขังของระบอบทรัพยสินและอำนาจเหนือเทคโนโลยีของบรรษัทที่หวงกั น สิทธิและสรางขอจำกัดดวยเทคโนโลยีตางๆทีบ่ รรษัทอุตสาหกรรมคอมพิวเตอรและบันเทิงสรางขึ้นมากั้น สวนประเด็นความเปนสวนตัวในโลกไซเบอร จูลี่ โคเฮน ไดประเมินชีวิตของมนุษยในยุคดิจิทัลวา เมื่ อ พูดถึงความเปนสวนตัวของบุคคลยังอยูในฐานะประธานแหง สิทธิหรือไดกลายสภาพเปนวัตถุแ ห ง สิ ท ธิ ไ ปเสี ย แลว 34 ผูเขียนไดแสดงหลักฐานจากการเก็บสะสมขอมูลสวนบุคคลจำนวนมหาศาลของบรรษัทเอกชนซึ่งถือเปน ภัยคุกคามตอความเปนสวนตัวอยางรุนแรงขององคกรที่ไมใชรัฐในยุคนี้ ทั้งนี้การเก็บสะสมขอมูลของบรรษั ท กระทำโดยอางวาผูใชบริการไดแสดงความยินยอมกอนแลว แตสิ่งที่นาสงสัยคือ ผูใชของบรรษัทมีทางเลือกที่จะ ไมยินยอมใหเก็บสะสมขอมูลสวนบุคคลหรือไม หากจะรับบริการจากผูประกอบการเหลานั้น และได เสนอว า การพัฒนาระบบคุมครองความเปนสวนตัวในขอมูลสวนบุคคลตองตั้ง อยูบนพื้ นฐานของเงื่ อ นไขที่ จ ะปกป กษ 32

Lawrence Lessig. (1998). “What Things Regulate Speech: CDA 2.0 vs. Filtering.” Jurimetrics Journal. 38, pp. 629–670. 33 Jack M. Balkin. (2004). “Digital Speech and Democratic Culture: A Theory of Freedom of Expression for the Information Society.” New York University Law Review, 79, pp. 1–58. 34 Julie E. Cohen. (2000). “Examined Lives: Informational Privacy and the Subject as Object.” Stanford Law Review. 52, pp. 1373–1438.


18

รักษาความเปนสวนตัวเพื่อจะมีพื้นที่ใหหายใจหายคอและสามารถหยุดคิดเพื่อพัฒนาตนเอง และจัดการชี วิ ต ตนเองไดอยางเต็มภาคภูมิ แมการสรางอินเตอรเน็ตโดยเริ่มแรกจะเกิดขึ้นดวยวัตถุประสงคทางการทหารและถูกขยายออกมาสู เหตุผลดานการจัดเก็บขอมูลเพื่อบริหารจัดการกิจกรรมตางๆ แตเมื่อเทคโนโลยีไดแพรสูประชาชนในวงกวางทำ ใหเกิดการดัดแปลงใชอินเตอรเน็ตสรางโลกสมมติ หรือ ชุมชนเสมือน ขึ้นมาบนอินเตอรเน็ต และมีกิจกรรมที่ ใกลเคียงกับโลกจริงมากขึ้นเรื่อยๆ อินเตอรไดเปดใหชุมชนคนชายขอบที่ดอยอำนาจไดฉวยใชเปนช องทางใน การแสดงความเห็น สรางพื้นที่ยืนใหกับตัวตัวตนที่แตกตางหลากหลายตามความตองการของตน เพราะฉะนั้น การใชอินเตอรเพื่อการรวมตัวและสรางชุมชนผูรักในเสรีภาพและเพิ่มอำนาจในการมีสวนรวมในสังคมของกลุม เสรีนิยมตางๆจึงมีความเปนไปได เพราะสามารถเชื่อมตอกับผูที่มีอุดมการณหรือความสนใจเดียวกันในที่อื่นทั่ว โลก อยางไรก็ตามในฟากหนึ่งผูที่มีความเชื่อแบบสุดโตงหรือนิยมความรุนแรงและเกลียดชังก็สามารถแนวรวม เดียวกับตนในโลกออนไลนไดเฉกเชนเดียวกัน โลกไซเบอรจึงสะทอนใหเห็นความเปนไปของโลกจริ ง ที่ ไ ด ย า ย กิจกรรมและการกระทำทั้งหลายเขามาใชพื้นที่นี้แทน บทความสองเรื่องในประเด็นนี้จะเนนไปที่การสรางสังคม และชุมชนเสมือนในอินเตอรเน็ต เริ ่ ม ด วยบทความของ อานุ ภั ม แชนเดอร ที ่ ตั ้ง คำถามว าโลกไซเบอรแ ละสั งคมสมมติ เหล านั้ นเปน สาธารณรัฐของใคร 35 เนื่องจากอินเตอรเน็ตไดทำใหเกิดการแตกตัวทางสังคมเปนชุม ชนย อยๆด ว ยเหตุ ที่ ผูใ ช อินเตอรเน็ตจำนวนไมนอยไมสามารถถกเถียงหรืออดกลั้นที่จะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในวงกวางกับเพื่อนรว ม สังคมอื่นๆได จึงเลี่ยงตนมาสรางชุมชนที่มีสมาชิกสนใจหรือคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกันกับตน ซึ่งเปนอุปสรรค อยางใหญหลวงตอสังคมในการหลอมรวมความคิดเห็นที่แตกตางหลากหลายใหเขามาอยูในสังคมเดียวกันเพื่ อ ทำความเขาใจความเปนจริงที่เกิดขึ้นในโลกปจจุบัน เนื่องจากชุมชนเสมือนยอยๆเหลานั้นไดละทิ้งความเข า ใจ ตอโลกแหงความเปนจริงที่เต็มไปดวยความหลากหลายทางวัฒนธรรม แตในมุมกลับกันก็ปรากฏความงามของ ชุ ม ชนผู  ดอยอำนาจและชนกลุ มนอยทั้ งหลายที ่สามารถแสวงหาเพื่ อนร วมความคิ ด ความเชื ่ อ ความสนใจ ศาสนาและสรางเปนชุมชนที่กาวขามอุปสรรคทัง้ หลายจนกลายเปนชุมชนทีส่ งเสริมศักดิศ์ รีความเปนมนุษยและ เพิ่มศักยภาพของความเปนพลเมือง ซึ่งสิ่งนี้อาจมองไดวาเปน “สิทธิในการปฏิบัติตนเปนพลเมืองเต็ ม ขั้ นตาม ความปรารถนาของตนเอง” ซึ่งกาวพนจากการกดขี่เหยียดหยามใหเปนพลเมืองชั้นสองในโลกแหงความเปนจริง เจอรรี่ กัง เขียนบทความเรื่อง เชื้อชาติในโลกไซเบอร 36 โดยไดบงชี้วาลักษณะเฉพาะทางเชื้อชาติเปนสิ่ง ที่แทบจะมองไมเห็นในอินเตอรเน็ตกอนที่เทคโนโลยีสารสนเทศจะสามารถใหบุคคลเผยแพรภาพถาย และวี ดี ทัศนของตนขึ้นสูอินเตอรเน็ต เพราะในยุคกอนหนานั้นมีเพียงตัวอักษรที่แสดงตัวตนของเจาของแตไมสามารถ แยกไดวาเปนใครเชื้อชาติไหนอยางชัดแจง ซึ่งปรากฏการณไดสงผลสำคัญ 3 ประการ คือ

35 36

Anupam Chander. (2002). “Whose Republic?.” University of Chicago Law Review. 65, pp. 1479–500. Jerry Kang. (2000). “Cyber-Race.” Harvard Law Review. 113, pp. 1130–1208.


19

1) กิจกรรมออนไลนที่ผูใชแทบจะเปนบุคคลนิรนามจะทะลุทะลวงการกีดกั นและหวงพื้ นที่โดยใช เชื้ อชาติ เปนตัวกำหนด 2) กิจกรรมออนไลนระหวางบุคคลตางเชื้ อชาติที่มีปริมาณมากขึ้นอยางมหาศาลจะหลอหลอมรวมบุ ค คล ทั้งหลายเขาหากันในลักษณะสังคมบูรณาการมากขึ้น 3) ศักยภาพในการกาวขามเสนแบงเชิงเชื้อชาติของบุคคลที่เปนสมาชิกของกลุมเชื้อชาติอื่นจะสั่นคลอนเส น แบงแยกระหวางเชื้อชาติใหเบาบางลง ชีวิตทางสังคมของมนุษยนั้นสวนหนึ่งก็มีกิจกรรมในลักษณะการสรางชุมชนทางเลือกขึ้นมา ดังนั้นการ สรางกฎหมายและกฎระเบียบตางๆขึ้นมาควบคุมชุมชนเหลานั้นก็มีความสำคัญ คำถามสำคัญจึงอยูที่วาชุมชน นั้นควรมีอำนาจในการกอรูปการควบคุมปกครองตนเอง และมีอำนาจในเชิงกฎหมายหรือการลงโทษสมาชิ ก หรือบุคคลที่เขามากระทบชุมชนหรือไม บทความสองเรื ่ องสุ ดท ายได พ ยายามหานิ ติ ว ิ ธี ใ นการปกครอง ควบคุมชุมชนเสมือนในอินเตอรเน็ต รวมถึงแนวทางการศึกษาทีอ่ าจนำมาใชกับชุมชนเหลานั้นได หรือที่เรียกวา “ระบอบการกำกับโลกไซเบอร” เจนนิเฟอร มนูคิน ที่เปดประเด็นเกี่ยวกับการสรางกฎหมายที่จับตองไดเพื่อใชกับสังคมสมมติ ใ นโลก ออนไลนโดยหยิบกรณีเว็บแลมบดามู (LambdaMOO) มาเปนตัวอยางประกอบ 37 โดยไดหยิบกรณีตวั อยางของ การสรางกลุมผูสอดสองดูแลพฤติกรรมไมพึงประสงคในอินเตอรเน็ตของผูใชกลุมหนึ่งขึ้นมา ซึ่งเธอมองว า อาจ เป นแนวทางในการสร างรู ปแบบการบริ หารจัด การอิ นเตอร เน็ ตเพื ่อควบคุ มพฤติ กรรมไม พึ ง ประสงค ใน อินเตอรเน็ตที่อาจเปนแนวทางหนึ่งซึ่งสังคมแสวงหาอยูก็เปนได บทความสุ ดทายเป นของ เจมส กริ ม เมลมั นน ที ่ เสนอวา อาจมี แ นวทางในการศึกษาโลกสมมติใน อินเตอรเน็ตดวยการใชวิธีศึกษากฎหมายเปรียบเทียบ 38 โดยใชกรณีศึกษาจากชุมชนผูเลนเกมสออนไลนที่มีผูใช จำนวนมากโดยพิจารณาถึง การสร างกติกาและการบัง คับกฎเพื ่อปกครองกันในชุ มชนนั้ น โดยอุปมาชุ มชน เสมือนนั้นเปรียบเปนสังคมอีกสังคมหนึ่งที่มีระบบกฎหมายทีส่ รางขึ้นมาเปนทางเลือกแบบหนึ่ง แลวนำกรอบวิธี ศึกษากฎหมายเปรียบเทียบมาวิเคราะหพิจารณาสังคมนั้น ผูเขียนบทความทุกคนที่ทบทวนมาในหัวขอนี้ลวนมีความเห็นวาอินเตอรเน็ตและโลกไซเบอร ไ ด สง ผล กระทบตอวงการกฎหมายและกิ จกรรมบางอยางบางประเด็ นไดเปลี่ย นไปอยางมี นัย สำคัญ หากใช แ นวทาง ศึกษาแบบกฎหมายกับสังคมเขามาวิเคราะหพื้นที่นี้แลวจะเห็นไดอยางชัดเจนวา ไมมีหลักกฎหมายที่ ชัด เจน มั่นคงใหกับพื้นที่นี้ในหลายประเด็น การปลอยใหพื้นที่นี้ไรการวิเคราะหศึกษาอยางจริงจังเทากับเปนการปลอย ใหประเด็นที่นับวันจะทวีความสำคัญขึ้นเรื่อยๆนี้รกชัก แตหากนำหลักกฎหมายเกามาควบคุมก็จะกลายเปนการ 37

Jennifer L. Mnookin. (1996). “Virtual(ly) Law: The Emergence of Law in LambdaMOO.” Journal of Computer-Mediated Communication. 2, pp. 645–701. 38 James Grimmelmann. (2004). “Virtual Worlds as Comparative Law.” New York Law School Law Review. 1, pp. 147–184.


20

ปลอยใหพลวัตรของระบอบกฎหมายที่จะใชกับโลกออนไลนหยุดชะงักลง ดังนั้นการปลอยใหเกิดพัฒนาการใน โลกไซเบอรไปตามเทคโนโลยีแลวนำปญหาตางๆที่ผุดขึ้นมาเขามาสูวงอภิปรายเพื่อสรางกรอบวิเคราะหตางๆที่ สอดคลองกับสภาพของยุคดิจิทัลยอมจะสรางคุณคาใหกับวงการกฎหมายและวงวิชาการไดไมนอย

3) งานศึกษาตอกรณีที่ประชาชนทำการรวมกลุมหรือแสดงออกตอรอง/ตอสูในพื้นที่ไซเบอร พื ้ นที ่ ไ ซเบอร ได มี ส วนในการสร าง/ขั บเคลื ่อนขบวนการเคลื ่ อนไหวในรู ปแบบใหม (New Social Movement) พบเห็นไดจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบองคกร โครงสรางและกลุมผูเคลื่อนไหวที่ขยายตัวไปในวง กวางมากขึ้น มีความซับซอนของกลุมคนอันหลากหลายในการเขารวมกลุมขบวนการเคลื่อนไหวทางสั ง คมที่ ไมไดจำกัดตัวเองอยูกับฐานทางชนชั้นเฉพาะเหมือนในอดีตอีกตอไป และดังนั้น จึงทำใหการจัดโครงสรางทาง องคกรขบวนการมีความซับซอนมากขึ้น ในหลายระดับ ไมวาจะเปนลักษณะขามกลุม ขามชาติ และในระดั บ โลกมากขึ้นภายใตระบบการสื่อสารและเทคโนโลยีสมัยใหม งานศึ กษาของ Buechler เรื ่ อง New Social Movement Theories 39 ได ชี ้ ใ ห เห็ นถึ ง ขบวนการ เคลื ่ อนไหวทางสัง คมแบบใหมว ามี ความแตกตางอย างนอยในเรื ่อง รู ป แบบองค กร การจั ดขบวนการ และ ยุทธศาสตรในการเคลื่อนไหว กลาวคือ ในแงของรูปแบบองคกรและหรือการจัดขบวนการเคลื่อนไหวนั้ นอาจ เปนเรื่องที่ขบวนการทางสังคมใหมแตกตางไปจากขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมกอนหนา กลาวคือ ในขณะที่ ขบวนการเคลื่ อนไหวทางสั งคมรูปแบบเดิ มมั กเน นโครงสร าง การจัดรู ปแบบเก า เช น ขบวนการชาติ นยิ ม ขบวนการสังคมนิยม ขบวนการคอมมิวนิสต ฯลฯ ที่มักมีโครงสรางการจัดตั้งขึ้นมาเปนแนวตั้งและสายบั ง คั บ บัญชาจากบนลงลางเปนทอดๆ มีผูนำกลุมอยางเปนทางการคอยคุมบังเหียนอยูขางบน แตปจจุบัน ขบวนการ เคลื ่ อนไหวทางสั ง คมใหม กลั บมี ร ูป แบบอั นหลากหลาย ทั ้ ง การมี สายทอดจากบนลงล างในบางกลุ  ม แต ขณะเดียวกันในกลุมขบวนการเดียวกันก็ใชการจัดตั้งในแนวราบเกาะเกี่ยวกันเปนเครือขาย (Network) และใช กระบวนการแสวงหาฉันทามติในการสรางขอตกลงรวม ในแงนี้ จึงสะทอนใหเห็นทั้งลักษณะแยกยอย กระจั ด กระจาย และไมรวมศูนยในที่ใดที่หนึ่งชัดเจนดังอดีต จะพบวา กลุมตาง ๆ ในขบวนการสังคมใหมมักไมมีผูนำ เดี่ยว บางกลุมไมมีผูนำอยางเปนทางการ หรือหากมีแกนนำ จะเปนแกนนำในลักษณะคณะกรรมการหรือสภา ตัวแทนในการเคลื่อนไหวขนาดใหญ และในพื้นที่ไซเบอรหรือบนสื่อออนไลน ก็เปรียบไดกับ “แอดมิน” หรื อ Admin ตามแฟนเพจหรือเว็บไซดตาง ๆ ซึ่งมีที่มาจากคำวา Administrator ที่หมายถึง ผูควบคุ ม ดู แ ลพื้ นที่ ออนไลนที่มีผูใชบริการเขามาแสดงความคิดเห็น งานของ Alberto Melucci ที่มีชื่อวา The new social movements: A theoretical approach40 ซึ่ ง Melucci ไดชี้ ให เห็ นว าการจั ดรูปองค กรของขบวนการทางสัง คมใหม มั กไม มี ต นทุ น หรื อเครื่ องมือมาก 39

Steven M. Buechler. (1995). “New Social Movement Theories.” Sociological Quarterly. 36(3): 441464. 40 Alberto Melucci. (1980). “The new social movements: A theoretical approach. Information.” International Social Science Council. 19(2), 199–226.


21

พอที่จะชวยใหทำหนาที่บรรลุเปาหมายทางการเมือง เพราะไมมีความชัดเจนในความแตกตางระหวางวิธี การ และเป า หมายของการเคลื ่ อนไหว (Goals and means of movements) ดั ง นั ้ น ความแตกต า งระหวาง เครื่องมือและเปาหมายของการปฏิบัติการจึงขึ้นอยูกับความเกี่ยวของของเรื่องราวที่ตรงกัน (Relevant) ดังนั้ น การจัดตั้งองคกรของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมแบบใหมจึง เป นการประกอบขึ้นโดยองค ป ระกอบของ “การสื่อสาร” ของตนเอง ถือเปนการปฏิบัติการที่ เน นไปการแสดงสั ญลั กษณทางวั ฒนธรรม ซึ่ ง ต องอาศั ย รู ป แบบของการเคลื ่อนไหวด วยการสื่ อสารเปนสำคัญ การดำเนินกิ จกรรมดั งกล าวถือเป นการทาทายทาง สัญลักษณของโครงสรางในการเปนผูกำหนด ในอีกทางหนึ่ง Manuel Castells ใน The Information Age: Economy, Society and Culture 41 โดย Castells ไดใหความสนใจไปทีผ่ ลกระทบของพลวัตระบบทุนนิยมในการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ในเขตเมืองและ บทบาทของการขับเคลื่อนทางการเมืองของกลุมคน ที่เรียกวา “พลเมือง” วา การตอสูทางการเมืองในสั ง คม เมืองนั้นไมไดเปนการตอสูทางชนชั้นระหวางชนชั้นกรรมชีพและนายทุนในแบบเดิมอีกตอไป ลักษณะที่ชัดเจน ของความขัดแยงดังกลาวคือ การที่กลุมนายทุนผูเปนเจาของปจจัยการผลิตไดเอารัดเอาเปรียบและกดขี่ขูด รี ด ชนชั้นแรงงาน ทำใหชนชั้นแรงงานตองลุกขึ้นมาตอสูกับนายทุนเพื่อโคนลมและเปลี่ยนโครงสรางทางเศรษฐกิจ และสังคมในระดับมูลฐาน กรณีขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมแบบใหมอาจจะเปนการตอสูทางชนชั้นหรือไมก็ ได แตการรวมกลุมกันนั้นเกิดขึ้นเพื่อที่จะแสดงออกซึ่งอัตลักษณทางวัฒนธรรมของตนเปนหัวใจสำคัญ มิใชเปน การรวมกลุมเพื่อเศรษฐกิจหรือผลประโยชนแตเพียงอยางเดียวอีกตอไป ขณะที่ในแงยุทธศาสตรและยุทธวิธี ในงานของ ภัควดี วีระภาสพงษ เรื่อง สามัญชนเปลี่ยนโลก 42 โดย ไดกลาวถึง 3 ยุทธวิธีสำคัญของขบวนการทางสังคมรูปแบบใหม สวนที่หนึ่งคือ ประชาชนกลุมนักเคลื่ อนไหว จะตองไมเลือกวิธีการที่ใชความรุนแรง แตแสดงออกผานการมารวมตัวเพื่อแสดงพลังซึ่งตอเนื่องกับ ยุทธศาสตร สวนที่สองคือ “ยุทธวิธีการใชปฏิบัติการทาทายซึ่งหนา” (Direct action) ที่เนนปฏิบัติการที่แสดงอุดมคติของ ตนออกมาโดยไมตองมีตัวกลาง เชน สื่อมวลชนหรือพรรคการเมืองและมามุงเน นที่จะทำใหประสังคม (Civil society) เกิดการตื่นรูถึงปญหาที่เกิดขึ้น ไปจนถึงการสรางอำนาจตอรองเชิงนโยบายของรัฐผานพรรคการเมือง และการเลือกตั้ง สวนยุทธศาสตรสุดทายซึ่งอาจมีความสำคัญมากที่สุด คือ “ยุทธวิธีการใช เทคโนโลยี การ สื่อสาร” ซึ่งความกาวหนาของเทคโนโลยีการสื่ อสารชว ยใหขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมใหมสามารถสร า ง รูปแบบใหมของอำนาจ นั่นคือ อำนาจของขอมูลขาวสาร เนื่องจากอำนาจในรูปแบบใหมนี้ไมจำเปนตองพึ่งพิง ทรัพยากรทางวัตถุจำนวนมากหรือการจัดตั้งองคกรเฉกเชนการตอสูของประชาชนในอดีต การเคลื่อนไหวทาง สังคมรูปแบบใหม จึงเหมาะกับลักษณะกระจัดกระจายไมรวมศูนยของขบวนการ ขบวนการเคลื่อนไหวทาง สังคมใหมจึงพยายามสรางภาษา วัฒนธรรม และสัญลักษณของตนขึ้นมา

41

Manuel Castells. (1996, second edition, 2009). “The Rise of the Network Society, The Information Age: Economy.” Society and Culture. Vol. I. Malden, MA; Oxford, UK: Blackwell. 42 ภัควดี วีระภาสพงษ. (2554). สามัญชนเปลี่ยนโลก. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพของเรา.


22

รูปแบบของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหมที่สำคัญอยางหนึ่ง พิจารณาไดจากงานเขี ย น ของ Alain Touraine เรื ่ อง An Introduction to the Study of Social Movements 43 โดย Touraine ได พูดถึง รูปแบบและลักษณะของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหมวาเปนการเคลื่อนไหวของประชาชน จะเปนไปเพื่อกระบวนทัศนที่มุ ง เน นถึ ง การแสดงอัตลั กษณทางสังคม ประเด็นการเคลื่อนไหวได ขยายและ ปรับเปลี่ยนไปจากพื้นที่ของระบบเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไปยังพื้นที่ทางวัฒนธรรมและอัตลักษณของกลุ ม คนที่มีความตองการอันหลากหลายมากขึ้น มีความแตกตางไปจากความขัดแยงทางสังคมแบบเดิมที่ตงั้ บนฐาน ทางชนชั ้ น ความต องการผลประโยชน แ ละการจัดหาสวั สดิ การ ไปสู การตอสู เพื่ อให ย อมรับความแตกต าง หลากหลาย ใหรัฐรับรองสิทธิทางการเมือง สิทธิในการปกปองรูปแบบวิถีการดำเนินชีวิต สิทธิในอัตลักษณของ ปจเจกบุคคล สิทธิในการดำรงอยูของชุมชน ฯลฯ โดยใชวิธีการตอสูผานสิทธิพลเมื องและสิท ธิ ท างการเมื อง เนนไปที่การผสมผสานและเนนกลุมคนเล็กคนนอย (Micro level) เนนประชาสังคมในชีวิตประจำวัน งานศึ กษาของ Kahn และ Kellner เรื ่ อง Internet Subcultures and Oppositional Politics 44 เสนอไววา ไมวาการใชอินเตอรเน็ตจะมีสว นในการแสดงความขัดแยง ออกสู โลก แตมันก็ทำใหเกิ ด การสร า ง ระบบการเชื่ อมต อของประชากรทั ่ว โลกที ่ เข มแข็ ง ซึ ่ ง จะเป นพื้ นที ่ ในการต อสู ใหม (New oppositional spaces) ขอมูลและเทคโนโลยี การสื่ อสารสมั ยใหมอยางสื่อสังคมออนไลน คือ การปฏิวัติที่แทจ ริ ง ที่ จ ะสร า ง ความเปลี่ยนแปลงในระดับชีวิตประจำวันโดยกลุมวัฒนธรรมยอยในอินเตอรเน็ต (Internet subcultures) ซึ่ ง เปรียบดังโลกเสมือนที่แออัดไปดวยประชากรพลเมืองเน็ต อยางไรก็ตาม แมวาดานหนึ่งมีการสงเสริ ม ให เกิ ด สั ง คมบริ โภคนิ ย ม วั ต ถุ นิ ย ม การครอบงำ และการทำให เป นทาสของสิ นค า แต ใ นอี กทางหนึ ่ ง จะพบวา อินเตอรเน็ตไดกลายเปน พื้นที่แขงขันที่ถูกแยงชิง (Contested terrain) ถูกใชโดยทั้งจากทั้งฝายซายและฝ า ย ขวาหรือจากศูนยกลาง มีทั้งวัฒนธรรมที่ครอบงำและวัฒนธรรมยอย (Subcultures) เพื่อที่สงเสริมวาระของ พวกเขาเอง ขณะเดียวกัน วิทยานิพนธของพัสนั ย นุตาลัย เรื่อง การสื่อสารทางการเมืองของชนชั้นกลาง 45 ได กลาวถึงประเด็นการเคลื่อนไหวทางการเมืองโดยอาศัยพื้นที่ทางไซเบอรหรือสื่อสังคมออนไลน โดยใชแ นวคิ ด เรื่อง สงครามยึดพื้นที่ทางความคิด (War of position) กับ สงครามขับเคลื่อน (War of movement) ของ อันโตนิโอ กรัมชี มาศึกษากรณีการสื่อสารผานเครื อขา ยอิ นเตอร เน็ตในฐานะเปน “การกระทำเชิ ง สื่ อสาร” (Communicative action) ซึ่งพบวา เมื่อมีการชุมนุมประทวงเคลื่อนไหวประเด็นตาง ๆ ที่ผานมา โดยเฉพาะ ประเด็นทางดานสิ่งแวดลอม เชน การสรางทอกาซ การสรางโรงงานไฟฟาเตาเผาขยะ การเคลื่อนไหวดังกลา ว จั ด ไดว  าเป น สงครามขั บเคลื ่อน (War of movement) ที ่ ผู  เข าร วมประท ว งส วนใหญ มั กมี ความเข าใจใน 43

Alain Touraine. (1985). An Introduction to the Study of Social Movements Social Research, 52(4), Social Movement. (Winter 1985), pp. 749-787 44 Richard Kahn & Douglas Kellner. ( 2 0 0 3 ) . “Internet Subcultures and Oppositional Politics.” In David Muggleton & Rupert Weinzierl (Eds.). The post-subcultures reader. Oxford; New York: Berg. 45 พัสนัย นุตาลัย. (2540). การสื่อสารทางการเมือ งของชนชั้น กลาง. วิทยานิพนธนิเทศศาสตรมหาบั ณฑิต (นิ เ ทศศาสตร พัฒนาการ) บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.


23

ประเด็นตาง ๆ ไมกระจางมากนัก หรืออาจไดรับขอมูลขาวสารไมเพียงพอ จึงมักถูกกลาวหาวาเปนเพียงกลุมนัก เคลื่อนไหวที่ถูกจัดตั้งขึ้นมา ไมไดมีความตระหนักถึงประเด็นการเคลื่อนไหวอยางแทจริง ดังนั้น หากกลุ ม นั ก เคลื่อนไหวสามารถอาศัยพื้นที่ไซเบอรและสื่อสังคมออนไลนเพื่อใชการติดตอสื่อสารแลกเปลี่ยนข อมู ล กั นและ กัน เสียกอนในขั้นตอนของสงครามยึดพื้นที่ทางความคิด (War of position) และแพรกระจายขอมูลใหเต็ ม ที่ รวมถึ ง เปด โอกาสให มี การโต แ ย ง ถกเถี ย งกั นบนหลั กเหตุ ผลตามหลั กการของการใช พ ื ้นที ่ สาธารณะ การ เตรียมพรอมดังกลาวนาจะเปนหลักประกันชัยชนะในขั้นตอนของสงครามขับเคลื่อนไดอยางดี ในเรื่องสงครามขับเคลื่อนและสงครามยึดพื้นที่ทางความคิดที่ไดกลาวมาขางตน เปนเรื่องเดีย วกั นกั บ การดำเนิ นการเพื่ อสรางภาวะการครองอำนาจนำ (Hegemony) ให เกิ ดขึน้ กรั ม ชี ไดเปรี ยบดั งเชน การทำ สงคราม แนวคิดเรื่องสงครามขับเคลื่อนและสงครามยึดพื้นที่ทางความคิด กลุมทางประวัติศาสตรที่พยายาม สรางภาวะการครองอำนาจนำจะตองดำเนินการตอสูเพื่อยึดกุม “พื้นที่เชิงอุดมการณ ความคิด ความเชื่อ” ของ ผูคนใน "ประชาสังคม" ใหได การดำเนินการชวงชิงหรือยึดกุมความคิด ความเชื่อของคนในพื้นที่ประชาสังคมนี้ กรัมชีเรียกวา เปน "การทำสงครามยึดพื้นทีท่ างความคิด" ถาสามารถเอาชนะสงครามนี้เหนือพื้นที่ประชาสังคม ไดสำเร็จ การสรางภาวะการครองอำนาจนำก็จะสำเร็จไดอยางสมบูรณและยั่งยืนสืบไป ดังนั้น งานศึกษาที่กลาวมาขางตน เปดขอถกเถียงเรื่องบทบาทของโลกไซเบอรและสื่อสังคมออนไลน กับขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมที่มีมุมมองสวนใหญในแงบวกที่วา สื่อสังคมออนไลนเปนพื้นที่แ ห ง การต อสู ทางความคิด รู ปแบบใหม ที ่ เป นพื ้ นที ่ เป ด และเป นเวที สำคั ญในการสรางเครื อข ายให เกิ ดการเชื ่ อมโยง แลกเปลี่ยนขอมูลซึ่ง กันและกั น เปดโอกาสใหมีการโตแยงถกเถียงกันบนหลักเหตุผลตามหลั กการของการใช พื้นที่สาธารณะ นอกจาก บทบาทของสื่อสังคมออนไลนในปจจุบันยังมีสวนอยางยิ่งในการชวยเสริ ม สร า งพลั ง ใหกับเครือขายการเคลื่อนไหวทางการเมืองแบบในโลกทางกายภาพ เชนเดียวกับงานวิจัยของ จักรนาท นาคทอง และสุวิดา ธรรมมณีวงศ ซึ่งไดศึกษาบทบาทของบล็ อก (Blog) เฟซบุค (Facebook) และทวิตเตอร (Twitter) ในการเปนสื่อทางเลือกเพื่อสังคมประชาธิปไตย 46 จักร นาทและสุวิดา พบวา ภาคประชาชนที่กระจัดกระจายตามที่ตาง ๆ ทั้งในทองถิ่นจนถึงระดับ โลก สามารถ รวมกลุ  มกัน คิ ด คน นวั ต กรรมใหมๆ ในการสื ่อสารเพื่ อพั ฒนาตนเองและสั งคม โดยใช เว็บบล็ อก เว็ บไซต เครือขายสังคมออนไลนอยางเฟซบุคหรือทวิตเตอร เปนสื่อกลางหรือพื้นที่สำคัญในการสรางกระบวนการเรียนรู อยางสรางสรรค และยังสะทอนอัตลักษณเฉพาะกลุม ของตนอี กดวย ปรากฏการณดังกลาว ยังไดชี้ใ ห เห็ นว า การปฏิวัติเทคโนโลยีของเว็บเปน Web 2.0 47 ไดกอใหเกิดความเทาเทียมกันมากขึ้นในการเขาถึงขอมูลขาวสาร 46

จักรนาท นาคทอง และ สุวิดา ธรรมมณีวงศ. (2553). บล็อก (Blog) เฟซบุค (Facebook) และทวิตเตอร (Twitter) สื่ อ ทางเลือกเพื่อสังคมประชาธิปไตย. การประชุมกลุมยอยที่ 5 นวัตกรรม ประชาธิปไตยเพื่อคุณภาพสังคมไทย ในการประชุ ม สถาบันพระปกเกลา ครั้งที่ 12 ประจำ ป 2553. คุณภาพสังคมกับคุณภาพประชาธิปไตย. 47 เปนคำที่ถูกคิดขึ้นมาอธิบาย ถึงลักษณะของเทคโนโลยี World Wide Web และการออกแบบเว็บไซตในปจจุบัน ที่มีลักษณะ สงเสริมใหเกิดการแบงป นขอ มูล การพัฒนาในด านแนวความคิ ดและการออกแบบ รวมถึงการรว มสร างขอ มู ล ใน โลกของ อินเตอรเน็ต แนวคิดเหลานี้นำไปสูการพัฒนาและการปฏิวั ติรูปแบบเทคโนโลยีที่น ำไปสู เว็บเซอรวิสหลายอยาง เชน บล็ อ ก เครือขายสังคมออนไลน


24

เสรีภาพทางการเมืองและดานอื่น ๆ ซึ่งจำเปนอยางมากสำหรับการพัฒนาสังคมประชาธิปไตยในยุคสมัย ใหม ดังนั้น การกาวขามขอจำกัดดานเวลา พื้นที่และทุน โดยเปดกวางใหประชาชนเขาถึงเทคโนโลยี เครื อข า ยโลก ออนไลนอยางกวางขวางมากขึ้นนั้ น จำเปนตองเขาใจ วิถีการดำเนินชีวิตของกลุมคนที่ใชเทคโนโลยี สมั ย ใหม และเขาถึงการพัฒนาเทคโนโลยีเหลานี้ใหสอดคลองกับการเรียนรูอยางสรางสรรคแกประชาชน งานศึ กษาของ พุ ธ ิ ต า ชั ย อนั นต เรื ่ อง พื ้ นที ่ออนไลนกั บการก อตัว ของกลุ ม “พลเมื องเน็ต” ในยุค วิกฤตการณการเมืองไทย พ.ศ. 2556-2559 48 พุธิตา ไดศึกษา “ปฏิบัติการการใชสื่อออนไลน” ในขบวนการ เคลื่อนไหวทางการเมื องของกลุมพลเมื องเน็ตหรือกลุม นักกิจ กรรมบนพื้นที่ ออนไลน โดยพิจารณา “สาระ เนื้อหาทางการเมือง” ของกลุมดังกลาว โดยเฉพาะฝายตอตานอำนาจเกาหรือฝายประชาธิ ป ไตยที่ ใ ช พื้ นที่ ออนไลนในการเคลื่อนไหวทางการเมื อง โดยไดเลือกกรณีศึกษาพลเมืองเน็ตที่ใชเฟซบุคแฟนเพจในฐานะสื่ อ ออนไลน อย า งเข ม ข นภายใต การป ดกั ้ นเสรี ภาพทางการเมือง เสรี ภาพการแสดงออก และเสรี ภาพบน อินเตอรเน็ตของรัฐบาล งานวิจัยนี้ใชกรอบคิดสงครามยึดพืน้ ที่ทางความคิด และขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม แบบใหม ข อค นพบอยางหนึ่ งที่ สำคัญ ในงานของพุ ธิ ตา คื อ การพบว า ปฏิ บ ั ติ การการใช สื่ อออนไลน ของ พลเมืองเน็ตนั้น มีรูปแบบองคประกอบที่คลายคลึงกับความเปนขบวนการทางสังคมแบบใหม กลาวคื อ เป น ขบวนการที่ไมยึดติดกับมิตกิ ารเคลื่อนไหวและมิติทางการเมือง กาวขามการเมืองของสีเสื้อเหลือง-แดง เนนมิติ ทางวัฒนธรรมของกลุมคนที่แตกตางหลากหลายที่ไมไดวางอยูบนฐานของชนชั้ น (Social class) แสดงความ คิดเห็นผานปฏิบัติการแบบสันติวิธี สราง “พลังการตื่นรูทางขอมูลขาวสาร” แกประชาชน แต ใ นอี กด านหนึ ่ ง บทบาทของสื่ อสั งคมออนไลน หรือระบบการสื ่ อสารสมั ย ใหม ในประเด็ นการ ขับเคลื่อน/เคลื่อนไหวทางการเมือง ก็มีขอจำกัดและขอถกเถียงตาง ๆ อยูเชนกัน ดังในงานศึกษากรณีสื่อใหม และการเมืองของภาพตัวแทนในไทยหลังจากเหตุการณพฤษภาทมิฬ 1992 ของ พิชญ พงษสวัสดิ์ 49 ไดศึกษา เว็บกระดานสนทนา (massage board) ชื่อดัง พันทิป ที่เกิดขึ้นหลังจากเหตุการณการลุกฮือที่ถนนราชดาเนิน ในป 1992 ว า การเขี ย นขอความในเว็ บห องราชดำเนิ นที่ มี การพู ดคุ ย เกี่ ย วกั บเรื ่ องการเมื องนั ้ น แม จะดู เหมือนวา เปนพื้นที่ของการแลกเปลี่ ยน การแสดงความคิดเห็นทางการเมืองอยางรุ นแรง แต ก็ยั ง เป นเพี ย ง “ภาพตัวแทน” ของกลุมคนชนชั้นกลางที่สามารถเขาถึงเทคโนโลยีอินเตอรเน็ตไดเทานั้น สิ่งสำคัญคือ การขาด ความไว เนื ้ อเชื ่ อใจกั นระหวา งชุ ม ชนอิ นเตอร เน็ ต เอง ทำให เกิ ดการเซ็ นเซอร ต ั วเอง (Self-censorship) โดยเฉพาะขอถกเถียงทางการเมืองที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับสามเรื่องหลักที่ยังไมมีการทำความเขาใจหรือการหาทาง ออกรวมกัน ไดแก หนึ่ง การเมืองของบุคลิกภาพ สอง การเมืองของการพัฒนา และ สามการเมืองของความ ทรงจำ

48

พุธิตา ชัยอนันต. (2558). พื้นที่ออนไลนกั บการกอ ตัวของกลุม “พลเมืองเน็ต” ในยุควิกฤตการณ การเมื อ งไทย พ.ศ. 2556-2559. วิทยานิพนธศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การพัฒนาสังคม) มหาวิทยาลัยเชียงใหม. 49 พิชญ พงษสวัสดิ์. (2554). “อินเทอรเน็ต คือ “ปา” ออนไลนขนาดใหญ” ใน สื่อออนไลน Born to be Democracy. ชูวัส ฤกษศิริสุข (บก.). กรุงเทพฯ: ประชาไทย บุคสคลับ.


25

งานศึกษาของ พิชญ ถือเปนงานชิ้นสำคัญที่เตือนใหตระหนักวา การเคลื่อนไหวทางการเมืองและสังคม ดวยการอาศัยพื้นที่บนโลกไซเบอร หรือพื้นที่สื่อออนไลน อาจใชไมไดผลหรือไมมีประสิทธิภาพเทา ที่ ค วร ใน เรื่องการสรางบรรยากาศการตระหนักรับรูถึงปญหาของสังคมใหแกประชาชนในสังคมที่ความเหลื่อมล้ำสู ง ใน การเขาถึงเทคโนโลยีและระบบอินเตอร เน็ต โดยในประเทศที่อยูในสภาวะสังคมผูสูงอายุ (Aging Society) ที่ ประชาชนจำนวนมากขาดทักษะความเขาใจและการใชเทคโนโลยีการสื่อสารดิจิทัล (Digital Literacy) ขอมู ล จำนวนมากที่ไหลเวียนอยูในโลกอินเตอรเน็ตอาจมีเพียงคนไมกี่กลุมเทานั้นที่ไดรบั ขอมูลเหลานั้น นอกจากขอจำกัดของโลกไซเบอรที่ปรากฏอยูในงานของ พิชญ งานบางกลุมก็ไดพยายามทีจ่ ะนำเสนอ วา วัฒนธรรม-การเมืองบนพื้นที่ เครื อขา ยสั งคมออนไลนไมได เปนสิ่งใหมทั้งหมด อย า งในวิ ท ยานิ พ นธ ของ อาทิตย สุริยะวงศกุล เรื่อง การเมืองบนเฟซบุค: วัฒนธรรม-การเมืองบนเครือขาย สังคมออนไลนไทย พ.ศ. 2553-2555 50 โดยอาทิตย พบวา ในทุกวันนี้มนุษยในสังคมหนึ่ง ๆ ไมสามารถแยกวัฒนธรรม-การเมืองบนพืน้ ที่ ไซเบอรออกจากวัฒนธรรม-การเมืองบนพื้นที่ออฟไลนซึ่งเปนโลกทางกายภาพได หากพิจารณารูปแบบของการ จัดการความสัมพันธระหวางกลุม ตลอดจนพิจารณาพื้นที่และกลวิธีในการสื่อสารแลว จะยิ่งพบวา ยังมีฐานมา จากสิ่งที่เรามีอยูกอนหนาอยูแลวในโลกความจริง ไมวาการรวมกลุมขององคกรที่เคลื่อนไหวเพื่อเรียกร องสิ ท ธิ ตาง ๆ มากอนหนา เจตนารมณของกลุมผูคนที่ไดรับผลกระทบ เปนตน เพียงแตมิติความใหมที่เกิดขึ้นคือ การ ปรับตัวใหเหมาะสมกับสภาพแวดลอมหรือเพื่อใชประโยชนจากลั กษณะพิเศษของพื้ นที่ แ บบใหม ข องพื้ นที่ ออนไลนเทานั้น ซึ่งเกิดจากเทคโนโลยีอินเตอรเน็ตไรสายและอุปกรณพกพา ที่ทำใหพื้นที่ออนไลนและออฟไลน ผนวกเขาหากันหรืออยูทับซ อนกันมากขึ้ นเรื่ อย ๆ และการใชงานสื่อและพื้นที่ตาง ๆ ที่มีบนอิ นเตอร เน็ ต มา ประกอบกันเพื่อสรางการสื่อสารแบบใหม งานศึกษาจำนวนมาก ไดทำการศึกษาในประเด็นความเปนพื้นที่สาธารณะ-พื้นที่สวนตั ว ของโลกไซ เบอร ห รื อสื ่ อสั งคมออนไลน หนึ ่ ง ในนั ้ น คื อ งานของ ชู ศ ั กดิ ์ ภั ท รกุ ลวณิ ชย ในเรื ่ อง สงครามชนชั้ นบน อินเตอรเน็ต 51 ซึ่งกลาวถึง สื่อสังคมออนไลนที่ถือเปนพื้นที่สำหรับการดำเนินกิจกรรมทางสังคมบนโลกเสมื อน จริ ง ซึ ่ ง มี ลั กษณะเปนเว็ บเครื อข ายสั ง คม (Social network site (SNSs) โดยชู ศ ั กดิ ์ ได นิ ย ามไวว  า “เว็ บ เครือขายสังคมเปนเสมือนพื้นที่สาธารณะบนอินเตอรเน็ตที่เปดโอกาสใหคนในเครือขายไดพบปะ พูดคุย และ แลกเปลี่ยนขอมูลขาวสารแกกันที่วางอยูบนพื้นฐานความสนใจของแตละคนทีอ่ ยูในเครือขายเดียวกัน มีลักษณะ คลายกับรานกาแฟ ตลาดสด รานอาหาร หรือรานเหลา ศาลาวัด หองจัดเลี้ยงในงานพิธีตาง ๆ โรงอาหารหรือ สนามหญาในมหาวิทยาลัยหรือโรงเรียนหรื อกลุมผู ชุม นุมทางการเมื อง”ซึ่งพื้ นที่ของแต ละกลุ ม ย อมสะท อน เครือขายและชนชั้นของสมาชิ กในพื้ นที่นั้น และเปนการยากที่จะมีการเชื่อมสัมพันธหลอมรวมตั ด ข า มชนชั้ น ทะลุทะลวงกลุมทางสังคมกัน 50

อาทิตย สุริยะวงศกุล. (2555). การเมืองบนเฟซบุก: วัฒนธรรม-การเมืองบนเครือขาย สังคมออนไลนไทย พ.ศ. 25532555. วิทยานิพนธสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต สาขาวิชามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร. 51 ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย. (2553). “Facebook VS Myspace สงครามชนชั้นบนอินเตอรเน็ต.” อาน. 2 (3) (มกราคม-มีนาคม): หนา 85-94.


26

ขณะเดี ยวกันในงานศึ กษาของ สมบั ติ บุ ญ งามอนงค ผู  เปนแกนนอนกลุ มวั นอาทิ ตย สีแดงและเว็บ มาสเตอรของเว็บไซตเพื่อสังคมหลายแหง ซึ่งใชเฟซบุคเปนเวทีสื่อสารและการเคลื่ อนไหวของกลุม ที่ มี ชื่อว า “เฟซบุ  ค ในไทยคื อพื ้ นที ่ ต  อสู  ออนไลน ท ี ่ ด ุ เดื อดที ่ สุ ด แห ง หนึ ่ ง ของโลก” ในสื ่ อออนไลน Born to be Democracy 52 โดยสมบัติได เสนอวา วิถีทางของ เฟซบุค คือคำตอบของอนาคต ที่รูปแบบของเฟซบุค เป น พื ้ นที ่ กึ ่ง ส ว นตัว กึ่ งสาธารณะ สามารถทำได ทั ้ง เฉพาะกลุ มและยัง สามารถดำรงความเปนตั ว ของตัว เองได ขณะเดียวกัน ในชวงเวลาที่ตองการใหเปนสาธารณะ ประกาศขอมูลขาวสาร ก็สามารถมีศักยภาพแสดงความ เป นสาธารณะได วิ ถี ท างของ เฟซบุ  ค อาจกล า วไดว า เหมาะสมกั บองค กรที่ ต องการสื ่ อสาร “ความเปน สาธารณะ” และปลดปลอยความเปนปจเจกไดพรอม ๆ กัน การใชพื้นที่ออนไลนเพื่อสื่อสารเรื่องการเมืองไทย นั้นอยูในระดับดุเดือดมากที่สุดแหงหนึ่งของโลก หากพิจารณาถึงจำนวนผูเลนเฟซบุคที่ถูกบล็ อคและการป ด เว็บไซตของรัฐ ในแง บ ทบาทหน าทีแ่ ละลั กษณะพิเศษของสื่ อสัง คมออนไลนต อการเคลื ่อนไหวทางการเมื องหรือ ขับเคลื่อนสังคมของกลุมนักเคลื่อนไหวตาง ๆ อยาง Facebook ซึ่งเปนสื่อสังคมออนไลนที่มีผูใชบริการจำนวน มากที่สุดแหงหนึ่งของโลก ในงานศึกษาที่มีชื่อวา The Facebook Project-Performance and Construction of Digital Identity ของ Jeff Ginger 53 ซึ ่ ง ไดศึ กษาบทบาทของเครือขายทางสัง คม (Social Network) ใน โลกออนไลนวา มีความสัมพันธเชื่อมโยงกับความขัดแยงทางความคิดและการตัดสินใจในโลกภายนอกหรื อไม บทความอาศัยงานวิจัยที่ไดพยายามทำความเขาใจการถกเถียงและบทสนทนาที่เกิดขึ้นทามกลางความขัดแยง ระดับทองถิ่นในการสนับสนุนและตอตานการเลือกใชสัญลักษณของมหาวิทยาลัยแหงหนึ่งในสหรัฐอเมริกา แต สัญลักษณดังกลาวมีนัยยะแฝงเชิงเหยียดหยามเชื้อชาติตอกลุม ชาติพันธุ ทำใหพื้นที่ในโลกออนไลน กลายเป น พื้นที่ปะทะทางความคิดและปรากฏวาทกรรมที่ สนับสนุ นและตอตา นสัญ ลักษณที่เป นศู นย กลางของความ ขัดแยงอยางหลากหลาย และแสดงใหเห็นถึงอารมณความรูส ึกที่แสดงออกรวมไปกับวาทกรรมทั้งหลาย การวิจัยไดพยายามรวบรวมและจัดกลุมการแสดงความคิดเห็นและขอถกเถียงตาง ๆ ของแตละฝ า ย โดยเฉพาะกลุมจัดตั้งในเครือขายทางสังคมทีม่ ีจุดยืนทางความคิดแตกตางและถกเถียงกันอยู อยางไรก็ดี การตั้ง กลุมเหลานี้ยังไมอาจปดกั้นหรือหามมิใหผูอื่นเขามาแสดงความคิดเห็นในทางตรงขามไดอยางสมบูรณ จึงมีการ ถกเถียงเกิดขึ้นไดในกระดานความคิดเห็นของทั้งสองฝาย สิ่งสำคัญอีกประการ คือ การพยายามจัดกลุมชุดความคิด หรือวาทกรรมที่เกิดขึ้นวา มีประเด็ นใดที่ เปนจุดตัดทางความคิด ซึ่งสามารถนำมาเปดพื้นที่แหงการถกเถียงใหเกิดการเปลี่ยนแปลงในประเด็นดังกลาวได บ า ง เช น ภาพลั กษณ ของสถาบั น ความน า เชื ่ อถื อของแหล ง ข อมู ล การคุ กคามสิ ท ธิ เสรี ภาพ อำนาจ ประวัติศาสตร การเปนตัวแทน และเรื่องเลา ทั้งนี้ อารมณและความรูสึกที่เกิดขึ้นในการถกเถียงและบทสนทนา 52

สมบัติ บุญงามอนงค. (2554). “เฟซบุกในไทย คือพื้นที่ตอสูออนไลนที่ดุเดือดที่สุดแหงหนึ่งของโลก.” ใน สื่อออนไลน Born to be Democracy. ชูวัส ฤกษศิริสุข. (บก.). กรุงเทพฯ : ประชาไทย บุคสคลับ 53 Jeff Ginger. (2008). The Facebook Project-Performance and Construction of Digital Identity. Master’s degree paper, University of Illinois at Urbana-Champaign.


27

เหลานี้เปนสิ่งที่งานวิจั ยไดชี้ให เห็นโดยจัดกลุมไดวา มีลักษณะใดและประเด็นใดที่นาวิต ก ควรจะมี การหา มาตรการในการควบคุมหรือปองกันผลกระทบตอไป เชน ความโกรธ เกลียดชัง ขมขู การกลาวหาปรักปรำ และ การเสียดสีขณะเดียวกัน ก็มีอารมณความรูสึกที่นำไปสูการเปดพื้นที่ใหมีการถกเถียงอยางสรางสรรค อาทิ การ ชื่นชมยินดี การเปดรับฟง การแสดงเหตุผลและหลักวิชา การปลอบปะโลม และลดทอนความรุนแรง บทความของ Ginger ดังกลาวยังแสดงใหเห็นวา พื้นที่ในเครือขายทางสังคมสงผลตอการเคลื่ อนไหว ทางสังคมอยางมีนัยยะสำคั ญ ทั้งในแงการพัฒนาผู เล นในการร วมแสดงความคิด เห็นและมี ส ว นร ว มในการ ตั ด สิ นใจ การสร า งคุณ ภาพในเชิง การค นควาข อมูลและขบคิ ดประเด็ นที ่ แ หลมคมเพื่ อมาโต เถี ยงแยงชิง ความชอบธรรมใหกับวาทกรรมของฝายตน การสรางพลังและความเขมแข็งใหกับกลุมของตนผานการเชื่อมโยง ขอมูลและความทรงจำรวมในประเด็นที่สำนึกวาเปนปญหาที่ตองลุกขึ้นมาตอสูดวยกัน กระบวนการดังกลาวที่ เกิดขึ้นในเครือขายทางสังคมของกลุมทั้งหลายไดสราง “ตนทุนทางสังคม” ที่ชวยสรางพลังใหกับกลุ ม ต า ง ๆ และยั ง ผลใหประเด็นที ่ ถกเถีย งกลายเปนประเด็นสาธารณะที ่มี ว าทกรรมในการอธิบายและถกเถี ยงอย าง หลากหลาย กอนที่จะมีการตัดสินใจเลือกสัญลักษณใด ๆ ใหกับสถาบันที่เปนของทุกคนทุกกลุม นอกจากนี ้ บทความเรื่ อ ง Social Media and Social movements: Facebook and online Guatemalan justice movement that moved offline ของ Summer Harlow 54 โดย Harlow ได สร าง ทฤษฎีในการอธิบายเรื่องสื่อกับการเคลื่อนไหวทางสังคมเสียใหม ดวยการโตแยงวา แตเดิมทฤษฎีสวนใหญ มั ก อธิบายวา ปรากฏการณในโลกแหงความเปนจริงภายนอก (Real World) เปนตัวกำหนดใหเกิดปรากฏการณ บนโลกออนไลน ดังที่งานหลายชิ้นชี้วา ความขัดแยงทางการเมืองที่ปดพื้นที่การสื่อสารของผูไรอำนาจ ทำให ขบวนการเหลานั้นตองหันมาใชชองทางสื่อสารบนโลกออนไลนเพื่อถายทอดขอมูลและสรางการรับรูใหกับสังคม โดยสถานะของโลกออนไลนหรืออินเตอรเน็ตเปนไดเพียง “เครื่องมือ” ในการเคลื่อนไหวทางสังคม แตบทความ ชิ้นนี้ไดยกกรณีศึกษาความขัดแยงทางการเมืองในกัวเตมาลามาชี้ใหเห็นวา เครือขายทางสังคมบนโลกออนไลน ไดสรางประเด็นแหงการเรียกรองความเปนธรรมขึ้นในโลกออนไลน จนเกิดผลกระทบในวงกวางและมีคุณภาพ จนสามารถยกระดับเปนการเคลื่อนไหวทางสังคมในโลกออนไลน แลวขยับออกมาเคลื่อนไหวในโลกแหงความ เปนจริงได บทความนี ้ย ัง ไดศึ กษาการรวมกลุ มในเครื อข ายทางสั งคมเฟซบุ ค (Facebook) ที ่ เกี่ ยวข องกับการ เคลื่อนไหวทางการเมืองในประเทศกัวเตมาลาโดยมีประเด็น “ความยุติธรรม” และ “การยุติความรุนแรง” เปน แกนกลางในการขับเคลื ่อนความคิดและขบวนการทางสัง คมนี้ โดยชี ้ ใหเห็ นว า การใชเครื อขายทางสังคม เผยแพรเนื้อหาที่เกี่ยวของกับ การเปดโปงอำนาจและความรุนแรงที่ผูนำประเทศทำตอสื่อมวลชน มีผลให เกิ ด ความตื่นตัวทางการเมืองของภาคประชาชน และผูรับขอมูลในโลกออนไลนจนกลายเปนการเชื่อมโยงเครื อข า ย ซึ่งกันและกัน และสามารถจัดตั้งขบวนการเคลื่อนไหวทางสั งคมออกมาทำกิจ กรรมทางการเมือ งในโลกแห ง 54

Summer Harlow. (2011). Social Media and Social movements: Facebook and online Guatemalan justice movement that moved offline. Retrieved December 29, 2018 from http://nms.sagepub.com/ content/18/8/1715.full.pdf+html.


28

ความเปนจริง โดยคลิปบันทึกการบอกเลาชีวิตของนักขาวคนหนึ่งซึ่งถายไวกอนถูกฆาตกรรม นักขาวไดกลาวไว วา “หากตนเองตาย ก็เปนเพราะประธานาธิบดีผูใชอำนาจโดยมิชอบสั่งฆา” หลังจากนักขาวคนนั้นเสียชีวิ ต ลง ญาติก็ไดนาคลิปดังกลาวเผยแพรในหนายูทูป (Youtube) และเฟซบุค (Facebook) ทำใหมีผูใชอินเตอร เน็ ต จำนวนมากกวาสองหมื่ นคนไดเขาดูแ ละเปนสมาชิ กในหนา แฟนเพจ (Fan page) ที่ญาติของผู เสี ย ชี วิ ต เป น ผูดูแล จนกลายเปนกระแสใหผูใชเฟซบุกทั่วไปเปลี่ยนสถานะของตนเองจากเรื่องในชีวิตของปจเจกคนหนึ่งไปสู ประเด็นการเรี ยกรองทางการเมือง โดยเรี ยกร องให “ประธานาธิ บดีออกไป” หรื อ “ขอความเปนธรรมให ผูเสียชีวิต” จนทำใหเกิดการจัดตั้งแบบไรแกนนำทีช่ ัดเจน และสามารถระดมคนออกไปเรียกรองความเปนธรรม ที่ทำเนียบประธานาธิบดีแบบปฏิบัตกิ ารรวม (Collective action)ไดนับแสนคน 4) การศึกษาการใชเสรีภาพของประชาชนและการควบคุมโดยรัฐในโลกไซเบอร การทบทวนหนังสือ Spying on Democracy 55 ซึ่งเขียนโดย Heidi Boghosian ผูอำนวยการสถาบัน National Lawyers Guild แห ง สหรั ฐ ซึ ่ ง เปรี ย บเสมื อสมาคมนั กกฎหมายที ่ จ ั ดตั ้ ง คู  ขนานไปกั บสมาคม ทนายความอยางเป นทางการ ความน าสนใจอยู  ที ่ผู ว ิ จั ยไดร วบรวมประสบการณ ของนั กตอสู พ ิ ทักษสิทธิ มนุษยชนทั้งหลายที่กลายมาเปน “เปาหมาย” ของหนวยงานดานความมั่นคงของรัฐ ในการเฝาจับตากิจกรรม ทุกฝกาว โดยจัดผูเขามีสวนร วมทางการเมื องเหลานี้ วาเป น “กลุมเสี่ยงก อความไม สงบเรีย บร อย” หรื อใน บางครั้งก็จัดใหเปน “กลุมเฝาระวังคุกคามความมั่นคงของรัฐ” สืบเนื่องจากพวกเขาเหลานั้นไดเคยออกมาแสดง ความคิดเห็นวิพากษวิจารณนโยบายรัฐ หรือจัดโครงการรณรงคสิทธิพลเมือง เรื่อยไปถึงการชุมนุม เดิ นขบวน เพื่อแสดงพลังผักดันประเด็นสาธารณประโยชน หากลองค นข อมู ลเข าไปลึ กๆ ว า กฎหมายเกี ่ ย วกั บ "ความมั่ นคง" ทั ้ ง หลายออกมาแลวใครจะได ประโยชน หรื อใครเปนคนริ เริ ่ม ผลั กดันอาจทำใหข อสงสัย ในประเด็ นการแย งชิง ทรั พยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดลอมบนพื้นฐานของนโยบายการพัฒนาที่ไมยั่งยืนอาจไดคำตอบ คือ การสรางพันธมิตรระหวางกองทั พ หรือหนวยงานดานขาวกรองความมั่นคงภายในที่ตอ งการอำนาจ ซึ่งแสดงเชื่อมโยง บทบาทของบรรษัทในแงมมุ ต า งๆ เกี ่ ย วกั บ การนำยุ ท ธวิ ธ ี ด  า นข า วกรองมาปรั บ ใช ใ นงานวิ จ ั ย ข อมู ลทางธุ ร กิ จ และการทำโฆษณา ประชาสัมพันธแบบสงครามจิตวิทยาชวนเชื่อ โดยอาศัยการสงคนหรือแฝงฝง เทคโนโลยี เขาไปดู ด ข อมู ลจาก ประชาชนทั้งที่เปน ผูบริโภค หรือผูพิทักษสิทธิมนุษยชน ทั้งหลายดังที่หนังสือ Spying on Democracy กลาว ไวในบทที่ 1,2 และ 5 56 หนังสือ 3 ฉบับตอมาที่จะทบทวนไดเปดเผยดานมืดของอินเตอรเน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทำให ฝนรายในวรรณกรรมเอกอุ เรื่ อง 1984 เปนจริงในโลกปจ จุบัน หลังจากกอนหนานี้ ผูสนใจอิ น เตอร เ น็ ต และ 55

Heidi Boghosian. (2013). Spying on Democracy: Government Surveillance, Corporate Power and Public Resistance. San Farancisco: City Lights Books. 56 Heidi Boghosian. (2013). Spying on Democracy: Government Surveillance, Corporate Power and Public Resistance. San Farancisco: City Lights Books, Chapter 1,2 and 5.


29

เทคโนโลยีสารสนเทศมักกลาววา อินเตอรเน็ตจะเปนเครื่องมือในการสงเสริมประชาธิปไตยดวยธรรมชาติแห ง ความอิสระของเทคโนโลยีที่ไมมีรัฐเขามากำกับควบคุมหรือแทรกแซง แตหนังสือทั้งสามเลมนี้จะฉายภาพให เห็นวาบรรษัทเจาของเทคโนโลยีไดวิธีประมวลขอมูลผูใชอินเตอรเน็ตมาเปนฐานขอมูลในการพัฒนาผลิ ต ภั ณ ฑ และหนวยงานความมั่นคงของรัฐก็ เปนเหมื องข อมู ลเหลา นั้นวาเป นแหลงข อมู ลขาวกรองที่ สำคั ญ ในการทำ สงครามตอตานกอการราย หรือแมกระทัง่ สอดสองประชาชนทีอ่ าจตอตานรัฐดวยเชนกัน อินเตอรเน็ตเปนสิ่งที่มนุษยประดิษฐขึ้นผานการเขียนรหัสทางคณิตศาสตรและแปลงสัญญาณเพื่ อกั ก เก็บขอมูลตางๆ ในรูปของการบีบอัดแลวสงไปยังเซิรฟเวอรตางๆ เพื่อปองกันขอมูลสูญหายหากเกิ ด ภั ย พิ บั ติ และเมื่อเทคโนโลยีกา วหนามากขึ้ นปริมาณข อมูลมหาศาลก็ อยูใ นพื้ นที่จัด เก็บที่นอยลง จนกระดาษใกล จ ะ หายไปจากสาระบบในอนาคตอันใกล แตเมื่ออินเตอรเน็ตถูกนำมาใชในทางเศรษฐกิจก็ยอมตองปรับตัวไปตาม ความต องการของสั งคม พฤติ กรรมส ง รั บข อมู ลระหว า งบุ คคลในเครื อข า ยทางสั ง คมทั ้ ง หลายได ทำให อินเตอรเน็ตเปนแหลงขอมูลของคนหลายพันลานคนทั่วโลก Google ซึ่งเปนผูใหบริการที่แตกตางจากบรรษัทอื่ นๆ มีบทบาทสำคัญในการกำหนดวิ ธี การค นหา ขอมูลที่กระจัดกระจายในอินเตอรเน็ตดวยการคิดคนพัฒนาระบบคนหาขอมูลโดยใช “คำเหมือน” หรือ “ความ คลายคลึง” เพื่อเชื่อมโยงสิ่งที่ผูใชเสริชเอ็นจินพิมพลงไปเขากับเอกสารหลากหลายรูปแบบที่นาจะตรงกับความ ต องการมากที ่ สุด หนั ง สื อ Filter Bubble: What the Internet is Hiding from you 57 ได แ สดงให เห็ นวา ความเชื่อเรื่องอินเตอรเน็ตเปนสื่อที่ไรการแทรกแซงและบริการทั้งหลายมี “ความเปนกลาง” นั้นไมจริง ไวเมื่ อ ป ค.ศ.2011 เนื ่ องจากยิ ่ ง ผู  ใ ช อิ นเตอร เน็ ตใช บริ การในเครือข า ยของ Google มากเท า ไหร Google ก็ จ ะเริ่ ม วิเคราะหประวัติการใชงานบริการตางๆของผูใชแลวสังเคราะหวาบุคคลนั้นตองการจะคนหาขอมูลประเภทใด เช น หากท านใช มื อถื อที่ มี ระบบปฏิ บัติ การแอนดรอยด (Android) และค นหาข อมูลด วย Google Search Engine ใชอีเมลลของ Gmail และคนหาเสนทางใน Google และดูหนาเว็บไซตตา งๆดวยหนา Chrome ขอมูล ทั้งหลายที่เคยกดแปนพิมพลงไปจะถูกนำไปรวมกันที่เหมืองขอมูล เพื่อหาความสัมพันธกับการคนหาขอมูลครั้ง ถัดไป แตสิ่งที่ผูเขียนและสารพัดวิจัยที่ไดหยิบขึ้นมาในหนังสือชี้ใหเห็น “การสรางฟองสบู” ขึ้นมาครอบตัวผูใช ใหมีโลกอยูในเรื่องเดิมๆ มีขอมูลในการทำความเขาใจโลกอยางคับแคบ ไมไปไกลเกินสิ่งที่เคยรู หรือที่อันตราย กวา คือ เต็มไปดวยสิ่งบันเทิงเริงรมย การบริโภค การสนุกสนาน และตัดโลกที่เรื่องสลดหดหู ความจริงอีกดาน ของเหรียญรออยู แตไมเคยไดอานไดเห็นเลย เนื่องจาก Google ไมนำขอมูลเหลานั้นมานำเสนอในลำดับตนหรือในหนาแรก ซึ่งตางจากโลกยุ ค สื่ อ สิ่งพิมพหรือโทรทัศนวิทยุ ที่สามารถสรางประเด็นที่ทั้งสังคมไดรับรูรวมกัน จนเกิดประเด็น “สาธารณะ” ที่ นำไปสูการถกเถียงและตัดสินใจนโยบายสาธารณะอยางมีสวนรวม แต Google ไดสรางกรอบมาครอบใหผูใช สนใจแต เรื ่องของตั วเอง และมุ มมองเดิมๆ เช นเดีย วกั บ Social Network ที ่ ท ำให ผู ใช รู สึกวามี เพื ่อนที ่คิด 57

Eli Pariser. (2011). The Filter Bubble: What the Internet is Hiding from you. London: Penguin Books.


30

คล า ยกั นเยอะขึ ้ นแต ค วามคิ ด เหมื อนกั นไปหมด ไม เกิ ด การปะทะสั ง สรรค ท างความคิ ดใหม ๆ จนเกิ ด ปรากฏการณคนกลุมเล็กแตเสียงดังเพราะมั่นใจจากการอวยกันเองในกลุม Google ผูเปนเจาของเทคโนโลยีแ ละกุมความลับเหนือการเขี ยนรหัสในการประมวลขอมูลเอาไว จึ ง กลายเปนผูกำกับควบคุมการไหลเวียนขอมูลของขอมูลในอินเตอรเน็ตมากขึ้นเรื่อยๆ ขอสังเกตตอการปลอยให อำนาจในการเขียนกฎและบังคับกฎตกอยูกับบรรษัทเจาของเทคโนโลยี ก็คือ หาก Google มิไดเปนกลาง หรือ ไม ไ ด ปกป องขอมู ลสว นบุ คคลของผู ใ ชบ ริ การที่ บรรษัท นำไปประมวลผลและพั ฒนาบริ การของตน ผู  ใ ช อินเตอรเน็ตจะสุมเสี่ยงตอการถูกละเมิดสิทธิในการเขาถึงขอมู ลอยางหลากหลาย หรือถูกบุกรุกสอดส องชี วิ ต สวนตัวหรือไม เมื่อลวงมาถึงป ค.ศ.2013 ก็เกิดการแฉ (Leaks) ครั้งสำคัญที่เปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับอินเตอรเน็ตของ คนทั่วโลกอยางไพศาล เมื่อ เอ็ดเวิรด สโนวเดน อดีตเจาหนาที่ของหนวยขาวกรองสหรัฐ และลูกจางของบริษัท ที่รับสัมปทานในการดูแลปฏิบัตกิ ารขาวกรองใหฝายความมั่นคงสหรัฐ (Central Intelligence Agency - CIA, National Security Agency – NSA) ไดออกมาเปดโปงโครงการดานขาวกรองของสหรัฐวา มีโครงการจำนวน มากสอดสองกิจกรรมตางๆในอินเตอรเน็ตของคนทั่วไปโดยอางวา ทำไปเพื่อปองกันและปราบปรามการกอการ ราย ทั้งที่ประชาชนจำนวนมากที่ถูกสอดสองหรือดักขอมูลเปนประชาชนทั่วไปไมไดมีความเชื่อมโยงใดๆกับการ กอการราย หรือกออาชญากรรมเลย อันถือเปนการละเมิดสิทธิมนุษยชนหลายประการอยางกวางขวางดวยสาย ปฏิบัติการของรัฐอยางเปนระบบ Glenn Greenwald ได ถ า ยทอดข อมู ลทั ้ ง หลายออกมาในหนั ง สื อ No Place to Hide: Edward Snowden, the NSA and the Surveillance State 58 โดยเต็มไปดวยอรรถรสเสมือนอานนิยายสายลับระดับ โลก แตยังคงเนื้อหาที่มีความสมบูรณเชิงกฎหมายและวิชาการอยางหนักแนนโดยการอางอิงขอมู ลชั้ นต นที่ ไ ด จากฐานขอมูลภายในหนวยงานขาวกรองสหรัฐอเมริกา และพันธมิตรในเครือ Five Eyes Alliances อันได แ ก สหรัฐ สหราชอาณาจักร แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด โครงการที่นาสนใจและอาจทำใหผูใชอินเตอร เน็ตทั้งหลายประหลาดใจ ไดแก โครงการ PRISM ซึ่ ง NSA ได สร างช องทางเชื ่อมต อข อมูลจากบรรษั ทเทคโนโลยีสารสนเทศรายใหญ ของสหรั ฐ โดยให ข อมูล ผูใชบริการไหลเขามาจัดเก็บในเหมืองขอมูลของ NSA ไวเปนฐานขอมูล และสามารถเรียกใชเพื่อค นหาข อมู ล ต  อไ ป ใ นอนา ค ต ห ร ื อจ ะ ค  นหา ข  อ ม ู ล แ บบ ป จ จุ บ ั น ท ั นที ก็ ไ ด โค ร ง กา ร MUSCULAR ซึ่ ง สหราชอาณาจักรไดสงเรือดำน้ำลงไปดักขอมูลจากสายเคเบิ้ลใตมหาสมุทรเพื่อดูดขอมูลของผูใชบริการรวมไป ถึงขอมูลภายในของบรรษัทใหญๆทั่วโลกที่ไหลเวียนผานเสนทางเหลานี้ กอนจะนำไปเก็บในเหมืองข อมู ลและ แบงปนกับสหรัฐอเมริกา เพื่อใชคนหาขอมูลความลับทั้งหลายตอไป

58

Glenn Greenwald. (2014). No Place to Hide: Edward Snowden, the NSA and the Surveillance State. London: Hamish Hamilton.


31

พลเมืองสหรัฐและประเทศพันธมิตรสะเทือนขวัญ กับ เรื่องนี้มากเพราะมันชี้ใหเห็นวา กฎหมายที่ ใ ห อำนาจหนวยงานมาสอดสองกิจกรรมการสื่อสารทั้งหลายไดกลายมาเปน ดาบฟาดฟนประชาชนเจาของอำนาจ อธิปไตยที่พึงไดรับการประกันสิทธิมนุษยชนในการสื่อสารโดยปราศจากการแทรกแซง อันเปนสาระสำคัญของ สังคมประชาธิปไตย ประชาชนและผูนำของประเทศอื่นๆ ที่มีขอมูลชัดเจนวา สหรัฐและพันธมิตรไดรวมกันใชกลวิธีสายลับ ในการดักขอมูล สอดสอง เฝาระวัง และขโมยความลับก็เดือดดาลเพราะทำลายความไววางใจตอกัน ตามหลัก ตางตอบแทนที่อยูในอนุสัญญาเวียนนาวาดวยความสัมพันธทางการทูต พิษภัยของการปลอยใหหนวยขาวกรอง สหรัฐดักขอมูลนั้นถูกขับเนนดวยชัยชนะทางการทูตและการคาของสหรัฐ ซึ่งมีหลักฐานยืนยันถึงอานุ ภาพของ อาวุธขาวกรองมหาประลัยในจดหมายขอบคุณของคณะเจรจาการคาของสหรั ฐ ที่ตอบกลับมายัง หน ว ยข า ว กรองที่ไดดักสืบขอมูลของประเทศคูเจรจามากอนการประชุม จนทำใหทีมสหรัฐสามารถเตรียมทาทีและเนื้อหา ในการเจรจาลวงหนาไดอยางดีเยี่ยม ขอมูลเหลานี้แสดงใหเห็นวา รัฐใชความพยายามอยางยิ่งยวดในการกำกับควบคุมการไหลเวียนขอมู ล ในอินเตอรเน็ต และแทรกแซงการสื่ อสารเพื่ อช วงชิงความไดเปรี ยบ ยิ่งเทคโนโลยี สื่อสารก า วหน า ปริ ม าณ กิ จ กรรมในโลกเสมื อนมากขึ ้น รั ฐก็ ย ิ ่ ง รู จ ักบุคคลและล วงขอมูลได มากขึ ้ นไปด วย โดยเฉพาะในโครงการ MUSCULAR บรรษั ทได มี มาตรการป องกั นข อมู ลจากการจารกรรมได ดพี อมากน อยเพี ยงไร ยิ ่ ง ไปกว านั้น โครงการ PRISM ที่ชวนใหสงสัยวาบรรษัทยักษใหญดานเทคโนโลยีสารสนเทศของสหรัฐไดใหความรวมมือกั บ หนวยขาวกรองของรัฐในการแบงปนขอมูลสวนบุคคลและการลวงขอมูลทั้งหลายโดยใชฐานขอมูลของบรรษั ท หรือไมซึ่งจำเปนตองมีหลักฐานบงชี้ตอ ไปวาความสัมพันธระหวาง รัฐกับบรรษัท อยูในลักษณะใด จูเลียน อัสสาจน ไดพยายามคลายขอสงสัยในประเด็ นนี้ โดยการคนควาหาขอมู ลความสั ม พั น ธ ข อง รัฐบาลสหรัฐกับบรรษัท Google หลังจากที่เขาถูกติดตอเพื่อเขาสัมภาษณโดย อีริค ชมิทดช ผูบริหารระดับสูง ของ Google และเจาหนาที่ดานขาวกรองและความมั่นคงของสหรัฐอเมริกา โดยไดถายทอดประสบการณและ ขอมูลเชิงประจักษที่ไดคนความาในหนังสือ When Google met WikiLeaks 59 ซึ่งตีแผประวัตคิ วามเปนมาของ การกอตั้งบรรษัท Google จนกาวขึ้นสูการเปน บรรษัทอภิมหาทรงอิทธิพลในโลกอินเตอรเน็ต เวนไวก็แตเพียง จีน ที่ Google กลาวหาวาพยายามจารกรรมขอมูลของตน และใชระบบอินเตอรเน็ตปดไมเชื่อมต อกั บ ระบบ อินเตอรเน็ตในโลกภายนอก ข อมู ลในหนัง สือชี ้ให เห็ นว า ผู  ค ิ ดค นเทคโนโลยี การคนหาข อมูล Google Search Engine ได วิ จัย พัฒนาเทคโนโลยีที่มีการสนับสนุนสวนหนึ่งจากโครงการสนับสนุนงานวิจัยของกองทัพสหรัฐ ตอมาเมื่อบริการ ทั้งหลายของ Google ตองการขยายไปยังกิจกรรมการใหบริการใหมๆ ก็ยังคงมีการแลกเปลี่ยนผลประโยชน และการรวมวิจัยพัฒนากับหนวยวิจัยภายใตกองทัพสหรัฐ เชน Google Map ที่รวมกับหนวยวิจัย แผนที่ แ ละ ภูมิศาสตรของกองทัพ และ Google ยังชวยสงดาวเทยมของหนวยงานนี้ขึ้นสูอวกาศอีกดวย ฯลฯ เมื่อพิจารณา 59

Julian Assange. (2014). When Google Met WikiLeaks. New York: OR Books.


32

งบประมาณที่ Google ใชลอบบี้และบริจาคใหพรรคการเมืองก็จะเห็นวาอยูในระดับตน เหนือกวา บรรษัทคา อาวุธหรือบรรษัทที่สนับสนุนเทคโนโลยีตางๆใหกองทัพ และรั ฐบาลสหรั ฐเสีย อี ก จึงเปนที่แนชัดวา Google พยายามอยางยิ่งยวดในการสรางความสัมพันธกับรัฐบาล ในทางกลับกันรัฐบาลก็เรงสรางความสัมพันธกับ Google ที่มีภาพลักษณเปนมิตร และไมคุกคาม ไว เพื่อเปนหนากากในการดำเนินนโยบายความสัมพันธระหวางประเทศ และกิจกรรมขยายอิทธิพลอย า งละมุ น ละมอมในตางประเทศ โดย จาเร็ด โคเฮน ผูอำนวยการโครงการดานนวัตกรรมสังคมของ Google เคยทำงาน ดานขาวกรองและนโยบายใหกับรัฐบาลสหรัฐมากอน และมีอิทธิพลอยางมากในการกำหนดยุทธศาสตรการแผ อิทธิพลจักรวรรดินิยมสหรั ฐดว ยเครื่ องมือเทคโนโลยี สารสนเทศ เชนที่เกิดในปรากฏการณ อาหรั บ สปริ ง ส เรื่อยมาจนถึงการสรางความสัมพันธกับ องคการสิทธิม นุษยชนระหวางประเทศอี กมากมายที่ทำงานในหลาย พื้นที่ทั่วโลก และเปนที่ปรึกษาใกลชิดของฮิลรารี่ คลินตัน อดีตรัฐมนตรีวาการกระทรวงตางประเทศสหรัฐที่ตอ ง สละตำแหนงเพื่อรับผิดชอบต อการแฉ จดหมายขาวในเหตุการณ WikiLeaks แตก็กำลังหวนคื นสู อำนาจใน อนาคตอันใกล การศึกษาปรากฏการณในโลกออนไลนจ ึง ตองอาศั ยการผสมผสานทฤษฎี ทางสัง คมในหลากหลาย รูปแบบเพื่อปรับใชกับความซับซอนและเสมือนจริงของโลกออนไลนโดยตองไมลืมถึงสิ่ งสำคัญประการหนึ่ ง ว า โลกออนไลนอยูภายใตบริบทของโลกจริง ดังนั้นการศึกษาจึงตองเชื่อมโยงความสัมพันธระหวางสองโลกเสมอ

5) งานที่เกี่ยวของกับการศึกษากฎหมายที่เปนอุปสรรคตอการแสดงออกและการดำเนินกิจกรรมของขบวนการ เคลื่อนไหวในพื้นที่ไซเบอร ในสวนสุดทาย จะเปนการศึกษางานเขียนทางกฎหมายที่มุงเนนไปยังตัวบทบัญญัติและมาตรการทาง กฎหมายในรัฐไทย ซึ่งถูกนำมาบังคับใชเปนเครื่องมือในการขัดขวางขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองและทาง สังคมของเหลานักกิจกรรมบนโลกไซเบอรผานสื่อสังคมออนไลน ในอีกแงหนึ่งการบังคับใชกฎหมายของรัฐ หรือ การฟ องร องคดีของกลุ มนายทุนที ่ได รับผลกระทบจากการเคลื่ อนไหวคัดค านโครงการพั ฒนาที่ สรางความ เสียหายตอสิ่งแวดลอม ยังมีลักษณะเปน "ปฏิบัติการตบปากดวยกฎหมาย" เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบ หรื อ เรียกอีกอยางไดวา “การฟองตบปาก (สแลป - SLAPP)” ซึ่งยอมาจาก Strategic Lawsuit Against Public Participation ที่แปลไดวา “การดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตรเพื่อระงับการมีสวนรวมของสาธารณชน” อาจเป น การฟองคดีโดยมีจุดมุงหมายใหเสียงของการเรียกรองสิทธิและการเผยแพรขอมูลที่ เปนจริงตอสาธารณะอ อน แรงและเงียบลงไป ขณะเดียวกันในงานศึกษาของ สุวิชาภา ออนพึ่ง เรื่อง ปญหาการบังคับใชพระราชบัญญัติวาดวยการ กระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร พ.ศ. 2550 : ศึกษาความผิดเกี่ยวกับการเผยแพรขอมูลกระทบตอความ


33

มั่นคงแหงราชอาณาจักร60 ซึ่ง สุวิชาภา ไดศึกษาในสวนของความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแหงราชอาณาจักร ใน พ.ร.บ. คอมพิวเตอรฉบับป 2550 ในมาตรา 14(2) และ (3) ไดแกการนำเขาขอมูลคอมพิวเตอรอันเปนเท็ จ สู ระบบคอมพิวเตอร โดยบางประการที่นาจะเกิดความเสียหายตอความมั่นคงของประเทศหรือกอใหเกิดความตืน่ ตระหนกแกประชาชน และขอมูลคอมพิว เตอรอันเปนความผิด เกี่ย วกับความมั่ นคงแหงราชอาณาจั กรหรื อ ความผิดเกี่ยวกับการกอการรายตามประมวลกฎหมายอาญา นอกจากกฎหมายวาดวยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอรแลว เมื่อพิจารณาบริบททางสังคมของ ไทยภายใต บรรยากาศการเมืองที ่เต็ม ไปด ว ยความขั ดแยง บทบัญ ญั ติ กฎหมายมาตรา 112 แห ง ประมวล กฎหมายอาญา 61 ไดกลายเปนฐานะเปนขอกลาวหาที่หนักหนาและมีปญหามากที่สุดในสังคมไทย อีกทั้งยังถู ก ตีความและบังคับใชอยางกวางขวาง มีการขมขูและฟองรองเพื่ อกำจัดเล นงานฝา ยตรงข า มมากกว า ใช เพื่ อ วั ต ถุ ป ระสงคหลั กของกฎหมายที ่ มุ ง ปกปองพระเกี ยรติย ศของพระมหากษัตริ ย  มี การกลาวหาและจั บกุม ประชาชนจำนวนมาก สงผลใหผูคนอยูภายใตความหวดกลัวที่จะแสดงออกซึ่งความเห็น โดยกลุมนักเคลื่อนไหว จึ ง ต องวางตั วและแสดงออกอย างระมัดระวัง เพื ่ อปองกั นไม ให ฝายตรงข ามใชกลวิ ธี ใสร ายด วยขอหาตาม กฎหมายมาตรา 112 โดยเฉพาะอยางยิ่งการเคลื่อนไหวบนพื้นที่ไซเบอรที่อาจถูกผูมีอำนาจสอดสองและจองจะ เลนงานอยูตลอดเวลาผานการใชสื่อสังคมออนไลน ในวิทยานิพนธของนพพล อาชามาส เรื่อง “การประกอบสรางความกลัว และการเมืองว า ด ว ยการ บังคับใชประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112” 62 นั้นมีผลการศึกษาที่พบวาขอหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพใน สังคมไทย เปนขอหาที่มีพื้นฐานทางวัฒนธรรม และมีการบังคับใชที่มคี วามเปนการเมืองมาตัง้ แตในอดีต คือถูก ใช ค วบคุ มการแสดงความคิดเห็ นเกี่ ย วกั บสถาบั นกษัตริ ย แ ละถู กใชเป นเครื ่องกลั ่นแกล ง ฝ ายตรงขามทาง การเมือง โดยขอหานี้มีการเปลี่ยนแปลงความหมายไปตามสถานะบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย และการ ผลิตสรางอุดมการณโดยรัฐในแตละชวงเวลา และมีแนวโนมจะถูกใชมากขึ้นในชวงที่สถาบันกษั ต ริ ย เผชิ ญ กั บ ปญหาความชอบธรรม โดยในความขัดแยงทางการเมืองในปจจุบัน ภายใตบริบท ของการเปลี่ยนผา นรั ชสมั ย และความแตกราวของอำนาจนำในสังคม การขยายตัวของการกลาวหา และบังคับใชขอหาหมิ่นพระบรมเดชานุ ภาพ เป นรูปธรรมหนึ่ งของการปะทะกั นระหวางอุดมการณ เสรี ประชาธิปไตยและประชาธิ ปไตยแบบไทย สะทอนความตึงเครียดระหวางความเขาใจตออำนาจอธิปไตยที่แตกตางกัน สงผลถึงความลักลั่นในการตีความ กฎหมาย และการเลือกใชความกลัวเปนเครื่องมือในทางการเมือง

60

สุวิชาภา ออนพึ่ง. (2554). ปญหาการบังคับ ใชพระราชบัญ ญั ติวา ดวยการกระทำความผิ ดเกี่ย วกั บคอมพิว เตอร พ.ศ. 2550 : ศึกษาความผิดเกี่ ยวกั บการเผยแพรข อมู ลกระทบต อ ความมั่น คงแห งราชอาณาจักร. นิติศ าสตร ม หาบั ญ ฑิ ต . จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.วิทยานิพนธ. 61 มาตรา 112 ผูใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร ายพระมหากษั ตริย พระราชินี รัชทายาท หรื อ ผู ส ำเร็ จ ราชการแทนพระองค ตองระวางโทษจำคุกตั้งแตสามปถึงสิบหาป 62 นพพล อาชามาส. (2556). การประกอบสรางความกลัวและการเมืองวา ดวยการบังคับ ใชประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112. วิทยานิพนธศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคมบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม.


34

ในงานศึ กษาของพุ ธ ิตา 63 ได กล าวว า ไม ว  า รั ฐบาลในยุคใดก็ม ี การนำข อหามาตรา 116 มาใช กับ ประชาชนที่แสดงความคิดเห็นไปในทางตอตานรัฐบาล หลายกรณีพอเห็นไดวามีผลประโยชนทางการเมืองอยู เบื้องหลังการตั้งขอหาและดำเนินคดีอยูดวย อีกทั้งการบังคับใชกฎหมายตาง ๆ ของรัฐ ไมวาจะเปนบทบัญญัติ มาตรา 112 หรื อมาตรา 116 ย อมถื อเป น หนึ ่ ง ในกลไกการกดปราบของรั ฐ ผ า นกลไกการควบคุ มกำกับ (Regulatory Mechanisms) ในการควบคุมพฤติกรรมออนไลนของประชาชนและกลุมนักเคลื่อนไหว ทั้ง ผู ใ ช และผูใหบริการ โดยรัฐจะใชกฎหมายและขอบังคับตาง ๆ เปนเครื่องมือในการสรางขอจำกัดของการใชงานบน พื้นที่ออนไลน เพื่อใหรัฐมีอำนาจตามกฎหมายในการเขาควบคุม ยับยั้ง และสอดส องการแสดงความคิ ด เห็ น ทางการเมืองที่ขัดตอแนวทางของรัฐ ในบทความของ บุญยศิษย บุญโพธิ์ เรื่องขอสังเกตเกี่ยวกับความรับผิดทางกฎหมายฐานหมิน่ ประมาท: กรณีศึกษาการกระทำความผิดในสังคมออนไลน 64 ไดยืนยันใหเห็นวา การหมิ่นประมาทบนสั ง คมออนไลน สามารถฟองรองไดทั้งคดีอาญาและคดีแพง ซึ่งตางก็ถือเปนความผิดฐานหมิ่นประมาทดวยการโฆษณาทั้ ง สิ้ น โดยพิ จ ารณาจากประมวลกฎหมายอาญามาตรา 328 และพระราชบัญ ญั ติว าด วยการกระทำความผิ ดทาง คอมพิวเตอร มาตรา 16 65 สิ่งที่นาสนใจในงานชิ้นนี้ บุญยศิษย ไดแสดงความคิดเห็นในรูปแบบการศึกษากฎหมายกระแสหลั ก โดยเสนอแนะวา ใหรัฐควรบังคับใชกฎหมายเกี่ยวกับการกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทอยางเครงครัด เพื่อ ความเปนธรรมตอผูถูกหมิ่นประมาทและเพื่อบังคับใชกฎหมายใหเกิดความศักดิ์สิทธิ์แ ละสมเจตนารมณ ของ กฎหมาย รวมถึง การจัดตั้งหนวยงานองคกรภาครัฐที่นอกเหนื อจากเจาหนาที่รัฐ ใหมีหนาที่โดยตรงในการ สอดสองดูแลเว็บไซตที่เปนกระดานแสดงความคิดเห็น และสื่อสังคมออนไลนโดยเฉพาะ หากวิเคราะหจากความเห็นของ บุญยศิษย อาจไมเปนการดีนักตอกลุมนั กเคลื่ อนไหวที่ ไ ด อาศั ย สื่ อ สังคมออนไลนหรือพื้นที่ทางไซเบอรอื่น ๆ ในการขับเคลื่อนขบวนการทางสังคม พรอมกับไดสื่อสารแลกเปลี่ยน/ เปดเผยขอมูลขาวสารเพื่อโจมตี เสียดสี ทำลายความชอบธรรมฝายตรงขาม ซึ่งอาจเปนหนวยงานรัฐหรือกลุ ม นายทุนที่มีสวนรวมในการสรางหายนะตอสิ่งแวดล อมและทรัพยากรธรรมชาติ กลาวคือ กลุม นั กเคลื่ อนไหว อาจโดนฝายตรงขามดังกลาวใชกฎหมายหมิ่นประมาทเปนเครื่องมืออยางหนึ่งในการตบปากใหการเคลื่อนไหว เงียบลง ผานการฟองตบปาก หรือการสแลป จากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวของ จะเห็นแนวโนมวาในยุคที่เริ่มมีการใชอินเตอรเน็ตเปนสื่อกลาง และอาศัยโลกไซเบอรเปนพื้นที่ในการสื่อสารรวมกลุมแสดงออก รัฐไทยยังคงมีบทบัญญัตทิ างกฎหมายที่ถูกผูมี 63

พุธิตา ชัยอนันต. เรื่องเดียวกัน. บุญยศิษย บุญโพธิ์. (2556). “ขอสังเกตเกี่ยวกับความรับผิดทางกฎหมายฐานหมิ่นประมาท: กรณีศึกษาการกระทำความผิ ด ในสังคมออนไลน.” วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย. 5(3), หนา 183-209. 65 พระราชบัญญัติวาดวยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร ฉบับป พ.ศ. 2560 มาตรา 16 ผูใดนำเขาสูระบบคอมพิว เตอร ที่ ประชาชนทั่วไปอาจเขาถึงไดซึ่งขอมูลคอมพิวเตอรที่ปรากฏเปนภาพของผูอื่น และภาพนั้นเปนภาพที่เกิดจากการสรางขึ้น ตัด ตอ เติม หรือดัดแปลงดวยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกสหรือวิธีการอื่นใด โดยประการที่นาจะทำใหผูอื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่ น ถูกเกลียดชัง หรือไดรับความอับอาย ตองระวางโทษจำคุกไมเกินสามป และปรับไมเกินสองแสนบาท 64


35

อำนาจรัฐหรือกลุมทุนทั้งหลายอาจใชเปนเครื่องมือในการขัดขวาง สรางอุปสรรคและผลกระทบอันรายแรงตอ เสรี ภาพในการแสดงออกใหกั บขบวนการเคลื ่ อนไหวทางสั ง คมและการเมื องของประชาชนหรื อกลุ  มนัก เคลื่อนไหวในพื้นที่ไซเบอรอยูจำนวนหนึ่ง แตในขณะเดียวกัน ถัดจากนี้ไป งานวิจัยชิ้นนี้ไดมุงหมายทีจ่ ะแสวงหา แนวทางสงเสริมใหพลเมืองใชพื้นที่ไซเบอรหรือสื่อสังคมออนไลนเพื่อสรางชุมชนในโลกเสมื อนขึ้ นมาสนั บ สนุ น การมีสวนรวมในการจัดการทรัพ ยากรธรรมชาติแ ละสิ่ง แวดล อม รวมถึงการเคลื่อนไหวตรวจสอบโครงการ พัฒนาอยางไมยั่งยืนตาง ๆ ที่เปนสาเหตุใหวิถีชีวิตของชุมชนไดรับความเสียหาย วาสังคมไทยยังมีทางเลือกใน การพัฒนาอยางยั่งยืนแตอยางใดบาง 1.2. กรอบทางทฤษฎี การวิจัยในโครงการนี้จะใชชุดกรอบทางทฤษฎีในการวิเคราะหขอมูลขั้นพื้นฐานดวย 2 กลุมทฤษฎีหลัก นั่นก็คือ 1.กรอบทางทฤษฎีในการวิเคราะหขบวนการเคลื่อนไหวไซเบอรดานสิ่งแวดลอมและฐานทรัพยากร 2. กรอบการศึกษาโลกไซเบอรในมิติการตอสูเรียกร องสิทธิแ ละระงับขอพิพาททางสังคม ดังจะอธิบายให เห็ นถึ ง แนวทางในการใชทฤษฎีทงั้ สองกลุม ดังตอไปนี้ 1) กรอบทางทฤษฎีในการวิเคราะหขบวนการเคลื่อนไหวไซเบอรดา นสิ่งแวดลอมและฐานทรัพยากร การวิจัยโครงการนี้นำแนวคิด “การปฏิวัติระดับโมเลกุล” (Molecular Politics) ของทฤษฎี “การเมื องแบบ เอกภาพ” (Singularity) และแนวทางการทำกิ จกรรมทางการเมื องแบบขบวนการ “ซ า ยไซเบอร ” (Cyber Left) มาเปนกรอบทฤษฎีหลักในการวิเคราะหปรากฏการณ และเปนแนวทางพัฒนาขอเสนอแนะโครงการวิจัย โดยทฤษฎี ท ั ้ ง สองนั ้ นมี ค วามเหมาะสมในการนำวิ เคราะห ป รากฏการณท ี ่ เกี ่ ย วเนื ่ องกั บ พื ้ นที ่ ไ ซเบอร (Cyberspace) และบริบททางเศรษฐกิจสังคมแบบเสรีนิยมใหม (Neo-Liberal) ที่มีการตอสูแยงชิงทรัพ ยากร ดวยวิธีการตางๆของกลุมที่มอี ำนาจตอรองแตกตางกัน การปฏิ ว ั ต ิ ระดั บโมเลกุ ลของการเมื องแบบเอกภาพนี ้ เป นความพยายามของกลุ  มการเมื องภาค ประชาชนที่ตองการแสวงหาความเปนไปไดในการฉวยใชทรัพยากรและโอกาสที่มีอยูในบริบท (Context) ของ ตน มาเสริมสรางพลังอำนาจ (Empower) ในการตอรอง โดยอาจเลือกปจจัยและเงื่อนไขตางๆของ “ชวงเวลา” (Time) และ “พื้นที่” (Space) นั้นๆมาผสมผสานเปนกลยุทธในการชวงชิงสถานการณใหฝายของตนไดเปรียบ เพื ่ อบรรลุ ยุ ทธศาสตร ของขบวนการตน โดยมี ขบวนการเคลื่ อนไหวทั ้ง ระดับองคกรที ่ผลักดันนโยบายและ เปลี่ยนแปลงกฎหมายสูโครงสรางระดับรัฐ และการพยายามจัดองคกรภายในแบบไรสายบังคับบัญชาแบบบน ลงลางแตผสานเครือขายความรวมมือเขาหากันเพื่อผลักดันประเด็นสาธารณะจากหลากหลายกลุมพันธมิตร66

66

Felix Guattari. and Suely Rolnik. (2008). Molecular Revolution in Brazil. Los Angeles: Semiotest(e).


36

การเมืองแบบเอกภาพและการปฏิวัติระดับโมเลกุลนี้เปนความพยายามเฮือกถัดมาของนักเคลื่ อนไหว ประเด็นสาธารณะที่เคยผิดหวังกับการเคลื่อนขบวนแบบเดิมที่ลมเหลวหรือหักหลังอุดมการณ อาทิ ขบวนการ การฝายซายที่เขายึดครองอำนาจรัฐโดยการประนีประนอมกับฝายขวาจนมิอาจผลักดันวาระการเปลี่ยนแปลง เพื่อสรางความเปนธรรมในสังคมรวมทั้งมีการควบคุมปดกั้นคนในขบวนการตนที่วิพากษวิจารณทาทีของแกน นำขบวนที่สยบยอมกับกลุมอำนาจเกา หรือความลมเหลวของขบวนการตอตานการพัฒนาหรือปลดแอกจาก นายทุน ที่ทำไดเพียงแตการคัดคานนโยบายและโครงการพัฒนาของฝายทุนนิยมเสรี แตมิอาจสรางขอเสนอของ ตนเองในการปรับเปลี่ยนวิถีการดำรงชีวิตของสังคมและปฏิวัติระบบเศรษฐกิจได67 สาระสำคั ญ ของการเมื องแบบเอกภาพและการปฏิ ว ั ติ ระดั บโมเลกุ ลจึ ง อยู  ที ่ “ความเป นอิ สระ” (Autonomous) ทั้งในแงของเปาหมายที่สอดคลองกับความตองการของปจเจกชนที่เขารวมขบวนการอย า ง หลากหลาย และเลือกใชวิธีการที่ ผูรวมขบวนการมีศั กยภาพในการปฏิบัติการอยูดว ยนั่ นเอง 68 เพื่ อป องกั น ปญหาที่เคยเกิดขึ้นในอดีต คือ การหวังพึ่งพาแกนนำคนสำคัญที่อาจหักหลังขบวนการ หรือการทำลายความ แตกตางหลากหลายภายในขบวนการ รวมไปถึงการขาดความคิดสรางสรรคในการริเริ่มโครงการใหมๆที่จะมี ทดแทนระบบเดิมทีไ่ มเปนธรรม เมื ่ อผนวกเข า กั บ ความเปลี ่ ย นแปลงของเทคโนโลยี สารสนเทศที ่ เป ดช องทางให ผู  คนที่ แ ตกต าง หลากหลายสามารถสื่อสารและสรางบทสนทนาในประเด็นที่สนใจรวมกันไดอยางกวางขวาง ตัดขามขอจำกั ด ของพรมแดนเวลาและพื้ นที ่ด ว ยแล ว ย อมทำใหเห็ นถึง ศักยภาพของการปฏิ ว ัติ ระดั บโมเลกุ ลที ่จ ะฉวยใช เครื่องมือทางเทคโนโลยี เหลานี้ เป นอุป กรณ เสริมสรา งความเขม แข็งใหกับ ขบวนการเคลื่ อนไหวในประเด็ น สาธารณะตามหลักการมีสวนรวมของประชาชนในการเรีย กร องสิท ธิในสิ่งแวดล อมและทรัพยากรธรรมชาติ และอาจเสนอความเปนไปได ใหม ๆเพื ่อกระตุ นเรา ใหค นในสั ง คมปรารถนาที ่จ ะปรั บไปสู  ทางเลื อกใหมที่ ขบวนการเสนอ ดังนั้นการใชกรอบทฤษฎีที่ถอดบทเรียนมาจากประสบการณของขบวนการซายไซเบอรที่เคยขับเคลื่อน ประเด็นสาธารณะดานทรัพยากรรวมมาแลวในหลายพื้นที่ จึงมีสวนชวยในการทำความเขาใจปรากฏการณ “ชุมชนเสมือนในโลกไซเบอร” ที่ผลักดันประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมไดเปนอยางดี ทั้งในแงการ วิเคราะหหาอุปสรรคในการขับเคลื่อนขบวนการ และแนวทางการสนับสนุนการมีสวนร วมของประชาชนให เขมแข็งขึ้น ขบวนการซายไซเบอรนั้นมีความพิเศษแตกตางจากขบวนการซายเกา (Old Left) ในแงที่ไมยึดติดอยู กับกระบวนการตอสูเชิงชนชั้น และมิไดหมกมุนอยูแตเพียงการเปลี่ย นแปลงความรับรูในเพี ย งบางประเด็ น เฉพาะอยางขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมแนวใหม (New Social Movement) แตไดพยายามสรางเครือขาย ถักรอยผูที่เห็นความสำคัญของประเด็นความไมเปนธรรมทางสังคมตางๆ ใหสรางพันธมิตรรวมกันเคลื่อนไหวใน 67 68

Michael Hardt and Antonio Negri. (2009). Commonwealth. Massachusetts: Harvard University Press. Antonio Negri. (2014). Factory of Strategy: Thirty-Three Lessons on Lenin. New York: Columbia University Press.


37

การแกไขปญหาอื่นๆ ของกลุมเสี่ยงอื่นๆ รวมกัน โดยอาศัยศักยภาพแหงยุคสมัยดิจิทัลในการเชื่อมโยงหามิ ต ร รวมขับเคลื่อนขบวนการไปสูสังคมวงกวางดวย 69 ขบวนการซายไซเบอรนั้นมิไดยึดติดอยูแตเพียงการผลักดั นใหมีความเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายและ นโยบายเทานั้น แตยังมุงสรางความเปลี่ยนแปลงใหเกิดกับ “การรับรู” (Cognitive) ของสังคมตอประเด็นความ เป นธรรมว า เป นปรากฏการณ ท ี ่ เชื ่ อมโยงกั นทั ่ ว โลก (Digital Cosmopolitan) เพื ่ อทำให สั ง คมสามารถ ปะติดปะตอปญหาหลากหลายประการที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการขยายตัว ของลัทธิ เสรี นิยมใหม ที่บ รรษั ท ขยายเขาไปแยงชิงทรัพยากรและกิจการบริการสาธารณะมาเปนชองทางแสวงหากำไรของตน และการโอนยาย ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของกลุมทุนไปสรางอิทธิพลครอบงำทางการเมืองเพื่อใชกลไกของรัฐในการกดปราบ ประชาชน ชุมชนทองถิ่น หรือผูตอตานการขยายโครงการพัฒนาตางๆที่รฐั สนับสนุนใหกลุมทุนดำเนินการ 70 นอกจากนี้ขบวนการซายไซเบอร ยังกาวขามข อจำกัด เดิมที่ผูขับ เคลื่ อนขบวนการในโลกออนไลน มั ก รักษาพื้นที่สวนตัวของตนไวไมออกมาผลักดั นนโยบายในโลกแหงความเปนจริ ง โดยการผสานเครื อข า ยและ กิจกรรมทั้งในโลกเสมือนและกิจ กรรมซึ่งหนาทำใหเกิดการพบปะของผูคนในขบวนการเพื่ อสรางความผู ก พั น และความไวเนื้อเชื่อใจกั นอั นนำไปสู การทำกิจกรรมเพื่ อเปลี่ย นแปลงโลกจริ งรวมไปดวย 71 อันเปนการสร า ง สะพานเชื่อมโลกเสมือนเขากับโลกจริงและเสริมสรางความเขมแข็งของขบวนการในพื้นที่สาธารณะทั้งในโลกไซ เบอรและโลกกายภาพ เพื่อเสนอทางเลื อกในการพั ฒนาแบบอื่นๆให สังคมเห็ นความเป นไปไดแ ละอาจเลื อก ปรับเปลี่ยนวิถีการดำรงชีวิตไปสูทางเลือกใหมเหลานั้น ขบวนการซายใหมแ ม จะมี เปาหมายและกิ จกรรมหลากหลาย แต ก็ มี ลักษณะร วมกั น 4 ประการที่ สามารถถอดบทเรียนมาเปนกรอบในการวิเคราะหขบวนการรวมกลุมเพื่ อแสดงออกซึ่ง สิทธิในการมี สว นร ว ม ดานสิ่งแวดลอมและทรัพยากรธรรมชาติ ดังตอไปนี้ 72 1) มีการใชเครือขายเทคโนโลยีสารสนเทศ สื่อใหมและเครือขายสังคมอยางสรางสรรคเพื่อแสดงการขั ด ขืนตอตาน 2) ตองการสรางการมีสวนรวมในแบบประชาธิปไตยที่ แทจริง กลาวคือ ไมมีผูนำแบบเป นทางการแต เคลื่อนไหวในแบบเครือขาย 3) มีการยึดครองพื้นที่ทั้งพื้นที่ในโลกแหงความเปนจริงและพื้นที่บนโลกไซเบอร 4) เปนขบวนการของคนรุนใหมที่ไดรับผลกระทบโดยตรงจากความเปลี่ยนแปลงในโลกทุนนิยมยุคดิจิทลั 69

Cristina Flesher Fominaya. (2014). Social Movements and Globalization: How Protests, Occupations and Uprisings are changing the World. Houndmills: Palgrave Macmillan. 70 Ethan Zuckerman. (2013). Rewire: Digital Cosmopolitans in the Age of Connection. New York: W. W. Norton and Company. 71 Victoria Carty. (2015). Social Movement and New Technology. Boulder: Westview Press. 72 Todd Wolfson. (2014). Digital Rebellion: The Birth of the Cyber Left. Urbana, IL: University of Illinois Press.


38

คุณสมบัติเหลานี้ไดกอปรกันขึ้นเปน “ขบวนการกบฏในยุคดิจิทลั ” (Digital Rebellion) ดังปรากฏเปนรูปธรรม อยางขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อความเปนธรรมทางสังคมระดับโลก เชน ขบวนการตอตานโลกาภิวัฒน (The Anti-Globalization Movement) หรือขบวนการสื่ออิสระ (Indymedia Movement) หรือขบวนการยึ ด คื น พื้นที่ (Occupy) หรือ สภาสังคมโลก (World Social Forum) เปนตน กิจกรรมที่การเมืองระดับโมเลกุ ลและขบวนการซายไซเบอรขับ เคลื่อนในยุคดิจิทัลได ท ำให เ กิ ด การ แลกเปลี่ยนขอมูลและประสบการณทั้งสด เสมือนจริง และตอเนื่อง จนทำใหเกิดภาวะสำนึกรวมระดั บ ชุ ม ชน (affective community) 73 ที่ปลุกเราอารมณความรูส ึกทำใหผูคนเกิดความปรารถนาทีจ่ ะเขารวมปฏิบัตกิ ารทัง้ ในโลกเสมือนและโลกแหงความเปนจริง โดยกรอบความคิ ดเหลานี ้ จะนำมาใช ว ิเคราะห ปรากฏการณ ต างๆที ่ อยู  ในบทของกรณี ศึ กษาวามี กิจกรรมลักษณะใดที่เปนคุณตอการสนับสนุนประชาชนใหเขามามีสวนรวม และการกระทำลักษณะใดที่ เป น อุปสรรคตอการมีสวนรวมของประชาชน แลวนำไปแสวงหาการปฏิบัติทเี่ ปนผลเลิศ (Best Practice) ของแตละ นโยบายและกฎหมายของรั ฐที่มีสว นเสริมสรางความเขมแข็ง ของประชาชน รวมถึงสำรวจประสบการณ อัน ลดทอนการมีสวนรวมของประชาชน ทั้งในรูปแบบมาตรการทางกฎหมายหรือกลยุทธตางๆของรัฐและบรรษัท 2) การศึกษาโลกไซเบอรในมิติการตอสูเรียกรองสิทธิและระงับขอพิพาททางสังคม กรอบการศึกษาโลกออนไลนที่ต องการนำเสนอเป นการผสมผสานทฤษฎีทางสั งคมในการวิ เคราะห ปรากฏการณทางสังคมโดยวิเคราะหในเชิงโครงสรางเพื่อใหเห็นระบบความสัมพันธทเี่ กิดในสังคมออนไลน และ ใชทฤษฎีทางสังคมศาสตรบางเรื่องเขาวิเคราะหประเด็นยอยของความสัมพันธในโลกออนไลน โดยอาศั ย การ พัฒนา ทฤษฎีเกมส ของ จอหน แนช74 (John Nash, Game Theory) ขึ้นมาแลวปรับปรุงใหเหมาะแก การ วิเคราะหความขัดแยงและการแขงขันในโลกออนไลนที่อยูในบริบทของโลกแหงความจริง 75 โดยโครงสรางและ ปจจัยตางๆ ที่ชวยนำมาวิเคราะหปรากฏการณ ไดแก

73

• เรื่อง / ประเด็นปญหา / จุดปะทะ

- Issues

• เวลา กับ พื้นที่

- Time & Space

• กฎกติกา

- Rules / Laws / Regimes

• ผูเลน

- Actors / Competitors / Units / Beneficial Groups

Brian Massumi. (2002). Parables for the Virtual: Movement, Affect, Sensation. Durham and London: Duke University Press. 74 John Nash. (1950). "Equilibrium points in n-person games." Proceedings of the National Academy of Sciences. 36(1). 75 Ken Binmore. (2007). Playing for Real: A Text on Game Theory. Oxford: Oxford University Press.


39

• ผลประโยชนที่แยงชิงกัน

- Benefit / Interest / Justification / Definition

• ความสัมพันธ / เครือขาย

- Relations / Networks

• เปาหมายสุดทาย

- Goal / Solution

• รางวัล และโทษทัณฑ

- Reward & Punishment

• วิธีการระงับขอพิพาท / จัดการ

- Ruling/Dispute Settlement/Conflict Management

• การสื่อสารและขอมูล

- Communication & Information

ปจจัยขางตนที่นำเสนอมีทฤษฎีทางสังคมที่ชวยในการวิเคราะหเชิงลึกเพิ่มเติมได ดังตอไปนี้ • เรื่อง / ประเด็นปญหา / จุดปะทะ - Issues มิเชล ฟูรโกต 76 ไดเสนอใหเลือกหัวขอในการศึกษาและวิเคราะหขบคิดดวยการมองไปที่ “จุดปะทะ” ซึ่งเกิดขึ้น เมื่อมีอำนาจบางอยางมาประชันขั นแขง กันอยู เชน เสรีภาพของปจเจกชน ปะทะ อำนาจรัฐในการควบคุ ม ประชาชน ฯลฯ ซึ่งเปนการมุงมองไปที่ปญหา ณ จุดวิกฤต มากกวาการศึกษาในสิ่งธรรมดาทั่วไปทีไ่ มเปนปญหา เชนเดียวกับ ฌาค รองซีแยร ที่เสนอวา การศึกษาการเมืองหรือความเปนการเมืองตองพินิจไปยัง “ความตาง” หรือ “ความไมสอดคลองกัน” 77 เพื่อใหเกิดการถกเถียง ดังนั้นการศึกษาโลกออนไลนในชวงแรกอาจมุ ง ไปยั ง ประเด็นที่มีความเห็นแตกตางขัดแยงปะทะกันอยู • เวลา กับ พื้นที่ - Time & Space เวลา กับ พื้นที่ หรือที่คนไทยคุนชินกับเรื่อง “กาละ” และ “เทศะ” นั้นถือเปนเงื่อนไขสำคัญในการศึ กษาโลก ออนไลนที่มีความซับซอนและขามผานกาลเวลาและสถานที่แบบเดิม มาปรากฏในรูปแบบ เวลา กับ พื้นที่ ซึ่งมี ความเหลื่อมล้ำ ซ้ำซอน หรือกระโดดขาม อยางไมตอเนื่องมากกวาการศึกษาโลกออนไลนในเชิงเดี่ยว แบบมอง เวลาเชื่อมตอกันมาเปนเสนตรงและยึดเอาพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเปนที่ศกึ ษา อยางไรก็ดี การศึกษาโลกออนไลนยอม ตองมีการกำหนดขอบเขตของการศึกษาเปนธรรมดา ดังนั้นการขอบเขตเวลาและพื้นที่ก็ยังจำเปน แตใชวิธีการ เดิมที่ศึกษาเรื่องอื่นๆไมไดทั้งหมด โดยผูที่กลาวถึงเรื่อง เวลา กับ พื้นที่ กับความเปลี่ยนของโลกหลังสมัยใหมที่ สำคัญ ไดแก เฮนรี่ เลอฟารฟ เรื่อง The Production of Space 78 เดวิด ฮารวี่ย เรื่อง The Condition of

76

Michel Foucault. (1998). The Will to Knowledge. London: Penguin. Jacques Rancière. (2015). Disagreement: Politic and Phylosophy. Minnesota: University of Minnesota Press. 78 Henri Lefebvre. (1992). The Production of Space. New Jersey: Wiley Publishing. 77


40

Post-Modernity 79 แ ล ะ เ ร ื ่ อ ง Neoliberalism as Exception: Mutations in Citizenship and Sovereignty ของ Aihwa Ong 80 • กฎกติกา - Rules / Laws / Regimes กติกาถือเปนโครงสรางที่ยึดโยงหนว ยตางๆทางสังคมใหมีวิถีทางที่สัมพันธกันภายใต กรอบคุ ณ ค า ที่ สัง คมนั้ น กำหนดขึ้น สิ่งที่ตองคำนึงเสมอก็คือ กฎหมายเปนผลผลิตของผูมีอำนาจในระบบเศรษฐกิจการเมืองของสั ง คม นั ้ น กฎหมายจึ ง มิไ ดปลอดจากอคติ และมิ ได มี ความเปนกลางอย างบริ สุทธิ ์ ดั ง ปรากฏการวิเคราะหเรื่อง กฎหมายที่ ใชในสัง คมของ มิ เชล ฟู ร  โกต 81 ป แอร บู ร  ดิเยอร 82 และ จอร โจ อะกั ม เบ็ น 83 แต กฎหมายก็มี ความสำคัญและสามารถสรางใหเปนกติการวมได หากแตผูที่สรางกฎหมายตองไมจำกัดวงอยูในกลุมผูมีอำนาจ หรือกลุมผลประโยชนใด เพียงนอยราย แตตองเกิดจากการมีสวนรวมอยางกวางขวางของกลุมคนที่หลากหลาย • ผูเลน - Actors / Competitors / Units / Beneficial Groups / Nods ในหัวขอกติกา จะเห็นไดวา คน หรือ กลุมคน มีผลตอการกำหนดทิศทางและกติกาในโลกออนไลน ดั ง นั้ น การศึกษาโลกออนไลนจึงจำเปนที่ตองศึกษาหากลุมคนที่มีอิทธิพลตอโลกออนไลนทั้งที่เปนผูสราง ผูใช และผู ควบคุม ซึ่งแนวทางวิพากษสายเศรษฐกิจการเมืองก็ย้ำเตือนถึงความสำคัญใน การวิเคราะหกลุมผลประโยชนที่ เขาแขงขันแยงชิงเพื่อตอรองในความสัมพันธเชิงอำนาจบนโลกออนไลน เนื่องจากแตละกลุมยอมกระทำไปตาม วัตถุประสงคและผลประโยชนของกลุมตน ดังที่ คารล มารกซ เสนอไวใหเห็นถึงนัยยะแหงการตอสูเชิงชนชั้น ผู มีสังกัดในชนชั้น(กลุม) ยอมดำเนินกิจกรรมไปในทางที่เปนประโยชนกับตนและชนชั้นตน(กลุม) จนกลายเป น การขู ดรี ดผู อื ่นในสัง คม 84 ทั ้ง นี้ ตองไมมองข ามถึงป ญหาการกี ดกั นทำใหบุ คคลอื ่นเปนชายขอบดวยการใช “เทคโนโลยี” เปนตัวกีดกันคนจำนวนมากออกจากการตอสูในโลกออนไลน อันเปนการสราง “ส ว นที่ ถูกนั บ เพื่อที่จะไมนับ” 85 ดังปรากฏในความคิดของ ฌาค รองซีแยร เกี่ยวกับการทำใหคนที่กฎหมายรับรองวามีสทิ ธิ มีเสียงตามกฎหมาย แตสังคมไดเบียดขับและไมรับรูถึงเสียงของคนเหลา นั้น จนทำใหกลายเป นคนชายขอบ หรือเปนอื่น ไปในทายทีส่ ุด 79

David Harvey. (1992). The Condition of Post-Modernity: An Enquiry into the Origins of Cultural Change. New Jersey: Wiley-Blackwell. 80 Aihwa Ong. (2006). Neoliberalism as Exception: Mutations in Citizenship and Sovereignty. North Carolina: Duke University Press. 81 Michel Foucault. (1990). "Sexual Morality and the Law." Politics, Philosophy, Culture. London: Routledge. 82 Pierre Bourdieu. (1987). “The Force of Law: Toward a Sociology of the Juridical Field.” THE HASTINGS LAW JOURNAL. 38(3). 83 Giorgio Agamben. (2003). State of Exception. Chicago: University of Chicago Press. 84 Karl Marx, Friedrich Engels, Maureen Elizabeth Cain. รวบรวมโดย Alan Hunt (1979). Marx and Engels on law. Michigan: Academic Press. ดู เ พิ ่ ม เติ ม ที่ Andrew Vincent. (1993). “Marx and Law.” Journal of Law and Society. 20(4). 85 Jacques Rancière. (2009). The Aesthetic Unconscious. New Jersey: Wiley Publishing.


41

• ผลประโยชนที่แยงชิงกัน - Benefit / Interest / Justification / Definition ทามกลางความแตกตางหลากหลายทางความคิดจนปรากฏออกมาเปน การตอสู ตอรอง ในโลกออนไลนลวนมี แรงขับจากผลประโยชนของแตละปจเจกบุคคล หรือแตละกลุมผลประโยชน มุงหวัง โดยผลประโยชนมิไดจำกัด อยูในรูปแบบเงินทอง อำนาจ หรือทรัพยากรเทานั้น แตเหนือกวานั้นคือการแยงชิงอำนาจนำเชิงวัฒนธรรมเพื่อ สรางความชอบธรรมในการควบคุมหรือกำหนดทิศทางในการใชชีวิตของคนในโลกออนไลนดวย การศึกษาเรื่อง อำนาจของ อันโตนิโอ กรัมชี่ ชวยเสนอใหเห็นถึงสงที่ม นุษย แยง ชิง เพื่ อใหไดมาซึ่งอำนาจในการกระทำหรื อ ควบคุมการกระทำของบุคคลอื่น โดยผลประโยชนที่อยูในรูปของอำนาจไดแก อำนาจเชิงกายภาพ อำนาจเชิ ง โครงสราง และอำนาจเชิงวัฒนธรรม 86 ซึ่งลวนแลวเปนสิ่งที่ผูเลนในโลกออนไลนปรารถนา • ความสัมพันธ / เครือขาย - Relations / Networks ความสัมพันธและเครือขายที่เกิดขึ้นในโลกออนไลนนอกจะเชื่อมโยงกันดวยความสามารถทางเทคโนโลยีสื่อสาร ที่พัฒนาขึ้นอยางรวดเร็วแลว อีกมุมมองหนึ่งมนุษยก็เลื อกสรางความสัมพันธในโลกออนไลน ต ามบริ บ ททาง สังคมในโลกจริงของตนดวยเชนกัน เพียงแตมีการสรางความสัมพันธแบบขามพื้นที่ขามเวลากันมากขึ้น แตสิ่งที่ ยั ง เป นป จจั ยในการสร างความสั มพันธ และเครื อขา ยรว มกั นก็ คื อ “ลั กษณะรว ม” ทางความคิ ด รสนิ ยม อุดมการณ ซึ่งโลกออนไลนของสังคมใดก็ยอมไดรับอิทธิพลจากแนวคิดที่มอี ิทธิพลอยูในสังคมนั้น การศึกษาการ สรางเครือขายโดยมองถึง กลุมคนที่มี เครือขายความสัมพั นธร วมกั นเนื่ องจากมี “จินตนาการร ว มกั น” ดั ง ที่ ปรากฏในงานชิ้นสำคัญคือ “ชุมชนจินตนากรรม” 87 ของ เบ็นเนดิค แอนเดอรสัน นอกจากนี้การใชอำนาจนำ เชิงวัฒนธรรมเปนตัว กำหนดทิศทางของเครื อขา ยใหทำหรือไมทำอะไรในโลกออนไลน ก็มีสว นช ว ยทำความ เข า ใจเชนกัน สิ ่ ง ที ่ อั นโตนิ โอ กรั ม ชี ่ เสนอเกี ่ ย วกั บ อำนาจนำเชิ งวัฒนธรรม 88 จะช ว ยแสดงให เห็ นถึ งจุด เชื่อมโยงของบุคคลที่มีเครือขายความสัมพันธรวมกันโลกออนไลน • เปาหมายสุดทาย - Goal / Solution เปาหมายสุดทายในการอยูรวมกันของมนุษยบนโลกออนไลน และโลกจริงนั้นตั้งอยูบนจินตนาการหรือโลกทัศน รวมบางอยางที่กอรางสรางตัวขึ้นมาและมีอิทธิพลครอบงำคนจำนวนมากใหดำเนินชีวิตภายใตวาทกรรมใดวาท กรรมหนึ่ง ซึ่งมิเชล ฟูรโกต ไดสำรวจและบุกเบิกแนวทางในการศึกษาวาทกรรมหรือชุดความคิดทีค่ รอบงำทาง ความคิดบุคคลเอาไว 89 ตอมา ฌาค แดรริดา และปแอร บูรดิเยอร ก็ไดเสนอใหมีการ “รื้อสราง” 90 ความคิดที่

86

Antonio Gramsci. (1971). Selections from the Prison Notebooks. New York City: International Publishers. Benedict Anderson. (1991). Imagined Communities: Reflections on the Origin and Spread of Nationalism. London: Verso. 88 Walter L. Adamson. (1980). Hegemony and Revolution: A Study of Antonio Gramsci's Political and Cultural Theory. California: University of California Press. 89 Michel Foucault. (2001). Power: Essential Works of Foucault, 1954-1984. New York City: New Press. 90 Jacques Derrida. (1992). Deconstruction and the Possibility of Justice. New York City: Routledge. 87


42

บุคคลกลุมหนึ่ง “สรางขึ้น” เพื่อครอบงำคนในสังคม เพื่อทำการการแยก “ความจริง” ออกจาก “มายาคติ”91 ซึ่งครอบงำคนในสังคมอยู และ”ประกอบสรางความคิดชุดใหม” ซึ่งเหมาะสมกับวาทกรรมของคนสวนใหญทไี่ ร อำนาจและเกิดจากการมีสวนรวมสรางของบุคคลที่กวางขวางหลากหลายมากขึ้นกวาเดิม อยางไรก็ดีมนุษยมไิ ด ใชชีวิตโดยตั้งอยูบนอุดมคติเชิงนามธรรมแตเพียงอยางเดียวเปาหมายเชิงรูปธรรมในลักษณะของผลประโยชนที่ จับตองไดก็เปนสิ่งที่สัตวเศรษฐกิจอยางมนุษยนำมากำหนดทิศทางการดำเนินชีวิตเชนกัน จอหน แนช ไดเสนอ “ทฤษฎีเกมส” 92 ที่ชี้ใหเห็นวา เกมสจะจบลงอยางลงตัวไมเกิดความรุนแรงและลมเหลวก็ตอ เมื่อ ผูเลนทั้งหลาย แบงปนผลประโยชนลงตัว ใหทุกฝายเปนผูชนะ ไมมีผูชนะผูแพ แตจะมีผูชนะมากบางนอยบางและสามารถ ยอมรับผลที่เกิดขึ้นพออยูรวมกันไดในสังคม ไมถึงขนาดแขงขันแยงชิงกันจนทำลายลางสังคมและชีวิตมนุษย • รางวัล และโทษทัณฑ - Reward & Punishment เครื ่ องมื อที่ ใชใ นการควบคุ มให มนุษ ย กระทำ หรื อไมกระทำอะไร ที ่ ปรากฏใช อยู  ในสั งคมแบ งออกเป น 2 ลักษณะใหญก็คือ การใหรางวัลกับการกระทำที่สังคมยอมรับหรือสนับ สนุ นใหทำหรืองดเว นทำ กั บ การลง ทัณฑตอการกระทำที่สังคมไมยอมรับไมยินยอมใหเกิดขึ้นในสังคม โดย ชารล ทิลลี่ ไดเสนอความคิดนี้ไวในงาน ชิ้นทายของชีวิตเขาเรื่อง การใหเครดิตและการประณาม (Credit and Blame) 93 และ มิเชล ฟูรโกต ก็ไดเสนอ ความคิดใหเห็นประวัตศิ าสตรของสังคมมนุษยที่กระทำตอมนุษยซึ่งอยูนอกเหนือนิยามที่สังคมยอมรับใหบคุ คล เหลานั้นก็กลาย “เปนอื่น” ทั้งการใชมาตรการทางสังคมเขาไปลงทัณฑ และการใชสถาบันทางกฎหมายและ สังคมเขาไปจัดการ94 เชน ระบบราชทัณฑ การบำบัดผูปว ยทางจิต • วิธีการระงับขอพิพาท / จัดการ - Ruling/Dispute Settlement/Conflict Management การควบคุมมนุษยใหใชชีวิตและดำเนินกิจกรรมทางสังคมในโลกออนไลนแ ละโลกจริ งลว นตองใชกติ กา หรื อ อำนาจบางอยาง แตวิธีการเปลี่ยนกติกาและอำนาจเหลานั้นใหปรากฏผลจริงในโลก การบังคับใหเกิดผลในโลก ตามทฤษฎีทางสังคมที่เปนที่แพรหลายปรากฏอยูในงานของนักคิด 2 คนที่มีลักษณะรวมกันโดยมิไดนัดหมาย คือ โยฮัน กัลปตุง 95 และ อันโตนิโอ กรัมชี่ 96 แมรากฐานทางความคิดตางกัน (กัลตุง เสนอเรื่องความรุนแรง แต กรัมชี่ เสนอเรื่องอำนาจ) แตการจัดแบงวิธีการใชความรุนแรงและอำนาจเพื่อควบคุมมนุษยคนอื่นในสังคม แบง ออกเป น 3 ลั กษณะ คื อ ความรุ นแรง/อำนาจ ทางตรง/เชิ งกายภาพ ทางโครงสร าง/เชิง โครงสร าง ทาง วั ฒนธรรม/เชิ งวัฒนธรรม ซึ ่ ง เปนเครื ่องมื อในการควบคุ มคนไดอยางหลากหลายและซั บซ อน และยิ ่ง โลก ออนไลน เปนระบบที ่ เทคโนโลยีสามารถเชื่ อมโยงแทรกซึม เข าไปถึง ตัว ผู  ใช ทุ กคนการใช เทคโนโลยีเป นตัว 91

Pierre Bourdieu. (1998). Acts of Resistance: Against the New Myths of Our Time. Oxford: Polity Press. John Nash. (1951). "Non-Cooperative Games." The Annals of Mathematics. 54(2). 93 Charles Tilly. (2008). Credit and Blame. New Jersey: Princeton University Press. 94 Michel Foucault. (1977). Discipline & Punish: The Birth of the Prison. New York: Pantheon. 95 Johan Galtung. (1969). “Violence, Peace, and Peace Research.” Journal of Peace Research. 6(3). 96 Benedetto Fontana. (1993). Hegemony and Power: On the Relation between Gramsci and Machiavelli. Minnesota: University of Minnesota Press. 92


43

สอดสองพฤติกรรมของมนุษยดุจดังงานวรรณกรรมชิ้นเอกของ จอรจ ออรเวลล เรื่อง 1984 97 ที่มีประโยคเด็ด ว า B.B. is watching you (รั ฐจั บ ตามองคุ ณอยู  นะ) นอกจากนี ้ ร ั ฐยั งมี การพั ฒนาศาสตร และศิ ลป ในการ ปกครองดังปรากฏในงานเรื่ อง เจาผูครองนคร ของ นิโคโล แม็คเคียเวลี 98 โดยรัฐจะปกครองด ว ยการไม ปกครองดวยอำนาจทางตรงแตใชความรูใ นการปกครองคนจากภายในจิตสำนึกเพื่อใหเกิดยอมตนเขาอยูภายใต ครรลองของสังคมและรัฐดังความคิดเรื่อง Governmentality 99 ของ มิเชล ฟูรโกต ซึ่งแนวทางที่หลากหลายนี้ จะทำใหผูศึกษาโลกออนไลนเขาใจถึงกลวิธีที่หลากหลายของรัฐ • การสื่อสารและขอมูล - Communication & Information การสื่อสารและขอมูลนับเปนหลักฐานถึงความมีอยูของสังคมมนุษยและสะทอนใหเห็นความสำคัญโลกออนไลน ที่มีปฏิสัมพันธผานการสื่อสารขอมูลขาวสารตางๆผานเทคโนโลยีสารสนเทศ แมชองทางและเทคโนโลยีจะ เปลี่ยนไป แตความสัมพันธและเนื้อหาสาระไมไดตา งไปจากเดิมมากดังนั้นการหยิบยืมทฤษฎีทางการสื่อสารมา ใชในการวิเคราะหเชน งานเรื่อง Between Facts and Norms ของ เจอรเกน ฮารเบอรมาส100 มาชวย วิเคราะหการสื่อสารทีส่ ลับซับซอนในโลกไซเบอรไดในระดับหนึ่ง ทั้งนี้ตองไมมองขามอำนาจของ “ภาษา” ที่มี อิทธิพลในการกำหนดความคิดใน “สาร” และการสื่อสาร ดังปรากฏในงานเกี่ยวกับอำนาจของภาษาของ นอรม ชอมสกี้ 101 และการสรางความรับรูแบบใหมๆใหเกิดในโลกออนไลนก็เปนประเด็นที่ทา ทายเชนเดียวกัน แนวคิดของ ฌาค รองซีแยร เกี่ยวกับการสรางความรับรูทางการเมืองเพื่อเกิดสำนึกทางการเมืองของสังคมตอ คนชายขอบคนไรอำนาจ 102 ก็มีสวนชวยในการทำความเขาใจความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นจาก ยุคการ สื่อสารดวยภาพ/เสียงในโลกยุคกอนสมัยใหม ตัวอักษรในยุคสมัยใหม และผสมผสานในโลกยุคหลังสมัยใหม อยางไรก็ดีโลกออนไลนมีลักษณะการสื่อสารที่ขามผาน “เวลา” และ “พื้นที่” ในแบบเดิมอยางรุนแรงดังนั้น การใชแนวทางแบบโครงสรางจึงยังมิอาจเพียงพอการใชแนวทางวิเคราะหของสำนักหลังสมัยใหมอยาง เลียว ตารด ในงาน Report on Postmodernity 103 ก็มีสรางวิธีการใหมๆในการเขาใจโลกออนไลนซึ่งไมสามารถ อธิบายในแบบเสนตรงดุจดังทฤษฎีในรุน กอน การวิเคราะหความสัมพันธในโลกออนไลนซึ่งอยูในบริบทของโลกจริ งก็ ย อมตองใช ห น ว ยทางสั ง คม ความสัมพันธทางสังคมมาชวยวิเคราะหใหเห็นความเปนไปของโลกออนไลน อันจะนำไปสูการตอบประเด็ น ตางๆ ที่นำเสนอไวในการพิจารณาผานมิตทิ างกฎหมาย 97

George Orwell. (1949). Nineteen Eighty-Four (1984). London: Secker and Warburg. Niccolò Machiavelli. (1532). The Prince. unknown. 99 Michel Foucault. (1991). “Governmentality.” The Foucault Effect: Studies in Governmentality. Chicago: University of Chicago Press. 100 Jürgen Habermas. (1996). Between Facts and Norms Contributions to a Discourse Theory of Law and Democracy. Cambridge: The MIT Press. 101 Noam Chomsky. (1998). Language and Politics. Oakland US: AK Press. 102 Jacques Rancière. (2004). The Politics of Aesthetics: The Distribution of the Sensible. London: Bloomsbury Publishing PLC. 103 Jean-François Lyotard. (1984). The Postmodern Condition. Minnesota: University of Press. 98


44

กรอบที ่ใช วิ เคราะห ก็สามารถแยกแยะให เห็นถึง ปจ จั ยต างๆที่ มี ความเกี่ ย วของสัมพั นธกั นในโลก ออนไลน เพื่อชี้ใหเห็นถึงสภาพปญหาและสามารถถอดบทเรียนเหตุการณที่เกิดขึ้นดังจะแสดงไวในบทที่ 3 เมื่อ นำกรอบทางทฤษฎีไปวิเคราะหปรากฏการณจริงในกรณีศึกษาในบทที่ 4 และถอดบทเรียนจากการวิเคราะห มาตรการทางกฎหมายในบทที่ 5 แลว ก็จะนำไปสูการเสนอแนวทางแกปญหาที่เกิดขึ้นในการใชเสรีภาพในการ รวมกลุมและแสดงออกบนโลกไซเบอร และสามารถสรางข อเสนอที่ สนับสนุนการมีสวนรวมของประชาชนได อยางเปนรูปธรรมในบทที่ 6 ตอไป


45

บทที่ 2 บรรทัดฐานทางกฎหมายและหลักประกันสิทธิของประชาชน บทนี้จะไดวางบรรทัดฐานทางกฎหมายทีร่ ับรองสิทธิของประชาชนในการรวมกลุมกันเพื่อแสดงออกใน ประเด็นทรั พ ยากรธรรมชาติแ ละสิ่ ง แวดลอม โดยเริ ่ม ตนจากหลั กการพื้ นฐานสำคัญ ที่ เชื่ อมโยงเรื่ องสิ ทธิ มนุษยชนเขาหาสิ่งแวดลอมนั่นก็คือ แนวทางการพัฒนาอยางยั่งยืนบนหลักการมีสวนรวมของประชาชน โดย แสดงให เห็นถึง การรั บรองหลั กการมี สว นร วมซึ ่ งเป นรากฐานของสิ ทธิ ในการรวมกลุ มและเสรี ภาพในการ แสดงออก ในกฎหมายสิ่งแวดลอมระหวางประเทศทีม่ ีสภาพบังคับตอรัฐไทยแตกตางกัน เรื่อยมาจนถึงกฎหมาย สิ ท ธิ ม นุ ษยชนระหวางประเทศผลผูกพันรั ฐไทยให ตองประกั นสิ ทธิ เหลานี้ นอกจากนี้ ยั งได แสดงให เห็นถึง ขอบเขตวิ ธี การใช สิทธิ เสรี ภาพเชนว ารวมถึ งเงื ่อนไขในการจำกัดสิทธิเสรี ภาพดัง กลาวบางประการ โดยใน ทายที่สุดจะใชรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เปนบทบัญญัติทางกฎหมายที่มีผลผูกพัน ทุ กองค กรเปนแนวทางในการวางหลั กประกันสิทธิ ของประชาชนในการมี สว นรว มแสดงความคิดเห็ นและ ตัดสินใจในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม 2.1. หลักการมีสวนรวมเพื่อพัฒนาอยางยั่งยืน หลักการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) หลังจากการประชุมสิ่งแวดลอมที่สต็อกโฮลม 20 ปไดมีการประชุมระหวางประเทศทางดานสิ่งแวดลอม ครั ้ ง ที ่ สอง เรี ย กว า การประชุ มสหประชาชาติ ว  าด ว ยสิ ่ งแวดล อมและการพั ฒนา (UN Conference on Environment and Development - UNCED) 1 จัดขึ้นที่ ริโอ เดอ จาเนโร (Rio de Janeiro) ประเทศบราซิล เมื่อวันที่ 3 – 14 มิถุนายน ค.ศ. 1992 ในนาม Earth Summit โดยการกำหนดเปาหมายของการประชุ ม ที่ ชัดเจน ไปที่การพัฒนาอยางยั่งยืน (sustainable development) มีการกำหนดประเด็นทางดานสิ่งแวดลอมที่ สำคัญ 9 ประการ เพื่อจะมีแนวทางการจัดการที่ ชัดเจน โดยมีหลักการทั้งสิ้น 27 แนวทาง และการบั ญ ญั ติ แผนปฏิบัติการที่ 21 (Agenda 21) 2 หรือแผนปฏิบัติการแหงศตวรรษที่ 21 เพื่อเปนแนวทางใหแกทุกประเทศ ปฏิบัติโดยการใหความสำคัญแกมิติของสังคมและเศรษฐกิจในการจัด การสิ่ง แวดล อม การกำหนดประเด็ น เกี่ยวกับการคุมครอง อนุรักษทรัพยากรเพื่อการพัฒนา การเสริมสรางความเขมแข็งใหแกกลุมตาง ๆ ในการมี สวนรวมในการจัดการสิ่งแวดลอมอยางยั่งยืน หลักการพัฒนาที่ยั่งยืนในกฎหมายสิ่งแวดลอมและการพัฒนา ริเริ่มโดยองคการสหประชาชาติ เมื่อ ค.ศ. 1983 ซึ่งไดจัดตั้งสมัชชาโลกวาดวยสิ่งแวดลอมและการพัฒนา (World Commission on Environment and Development) ทำการศึกษาและเผยแพรในรายงาน ชื่อ Our Common Futureเพื่อเรียกรองใหสังคมโลกได ตระหนักถึงทิศทางของการพัฒนาที่ใชทรัพยากรธรรมชาติอยางสิ้นเปลือง และ เสนอแนะใหเปลี่ยนวิ ถีท างใน 1 2

UN. (1992). UN Doc. A/CONF. 151/26 (vol.1); 31 ILM 874. UN. (1992). U.N. GAOR, 46th Sess. Agenda Item 21, UN Doc A/Conf.151/26.


46

การพัฒนาใหคำนึงถึงสิ่งแวดลอมและขอจำกัดของธรรมชาติใหมากขึ้น และไดเสนอ ทางปฏิบัติที่เปนรูปธรรม ยิ่งขึ้นในการประชุมทางดานสิ่งแวดลอมและการพัฒนาตอมา ในที่ประชุมสุดยอดระดับ โลกวาดวยสิ่งแวดลอม และการพั ฒนา (UN Conference on Environment and Development: UNCED) หรื อที่ เรี ยกวา Earth Summit โดยนานาประเทศทั่วโลกไดลงนามรับรองแผนปฏิบัติการ 21 (Agenda 21) เพื่อกำหนดแนวทางใน การพัฒนาวา “การพัฒนาเศรษฐกิจที่รับผิดชอบตอสังคม ในขณะเดียวกันก็ใหความ คุมครองฐานทรั พ ยากร และสิ่งแวดลอม เพื่อผลประโยชน ของคนในรุ นตอไป” และในป ค.ศ.2002 มีการประชุม โดยเฉพาะในการ พั ฒนาที่ ยั ่ง ยื น (World Summit on Sustainable Development – WSSD) กำหนดกรอบการพั ฒนาแหง สหัสวรรษ (Millennium Development Goals – MDGs 2015) วาในป ค.ศ.2015 ประเทศตาง ๆ ใน โลก จะมุงเปาหมายของการพัฒนาไปในทิศทางอยางไร รวมถึงใหการสนับสนุนประเทศที่กำลังพัฒนาให สามารถ บรรลุเปาหมายไดรวมกัน และในปจจุบันเปาหมายของการพัฒนาในชุดใหม คือ เปาหมายการพัฒนาที่ ยั่ ง ยื น (Sustainable Development Goals – SDGs) โดยมี เป าหมายว า ภายในป ค.ศ.2030 การพัฒนาของโลก จะตองไปสู ทิศทางการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยกำหนดเปาหมายของการพัฒนาทีร่ ะบุไว 17 ขอ3 การดำเนิ นการนี ้ ย ั ง ถื อเป น soft law หรื อแรงจู ง ใจใน การดำเนิ นการและเป นภาพลั กษณ ของ ผูประกอบการ (positive effect) ยังคงเปนหลักการอยา งกวางเทานั้ น แนว การปฏิบัติขององค กรที่ นับ ว า กาวหนากวาและมีสภาพบังคับที่เขม แข็ง กวาองคกรอื่ น คือ องคการเพื่อความรวมมื อ และการพั ฒนาทาง เศรษฐกิจ (Organization for Economic Co-operation and Development – OECD) เปน องคกรระหวาง ประเทศของกลุมประเทศที่พัฒนาแลว เพื่อความรวมมือทางเศรษฐกิจ ที่นับเปนกลุมที่ชัดเจนใน การกำหนด แนวทางของการประกอบธุรกิ จที่คำนึง ถึงสิ่ งแวดล อม 4 ที่นับเปนเอกสารทางกฎหมายที่ กำหนด หลั กเกณฑ อันมีผลบังคับใชในกลุมประเทศสมาชิกองคกรรวมถึงควบคุม พฤติ กรรมของผูประกอบการสั ญ ชาติ ต นที่ ไ ป ดำเนินงานในประเทศอื่นดวย สำหรับประเทศไทยที่อยูในกลุมประเทศทีก่ ำลังพัฒนานอก OECD การกำหนดยุทธศาสตรประเทศเพื่อ สงเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน ยังเปนเพียงกลไกที่เสริมใหผูประกอบการมีแนวทางที่รฐั สนับสนุนเปนแรงจูงใจอยาง หนึ่ง อยางไรก็ดีก็มีการบูรณราการเขาสูแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ รวมถึงแผนยุทธศาสตรชาติ 20 ปแนบทายรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ที่กำหนดวาระการพัฒนาประเทศอยางยั่งยืน และการเนนเรื่องสิทธิมนุษยชนกับการประกอบธุรกิ จอยางชัดแจ ง ยอมมีผลอยางชัดเจนกับหนว ยงานของรั ฐ และสามารถผลักดันใหภาคเอกชนที่เปนคูสัญญากับรัฐปฏิบัติตาม ในทางปฏิบัติก็เริ่มมีผูประกอบการบางแหง ผนวกแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนไปใชบังคับกับองคกรของตนเองในลักษณะการประชาสัมพันธสรางภาพลักษณ องคกรที่รับผิดชอบตอสังคมแลว (Corporate Social Responsibility – CSR)

3

เป า หมายการพั ฒ น าอย า งยั ่ ง ย ื น ของประเทศไทย “The Global Goals for Sustainable Development.” (2015) Retrieved from https://www.un.or.th/globalgoals/th/the-goals/ 4 OECD. (1972). OECD Guiding Principles Concerning the International Economic Aspects of Environmental Principles.


47

จะเห็ นไดว าการพัฒนาอยางยั ่ง ยื นนั ้ นต องคำนึง ความต องการของบุคคลทั ้ง หลายในสั งคมที ่ มีความ แตกตางกัน และยังตองตระหนักถึงความสำคัญในการอนุรักษสิ่งแวดลอมและใชสอยทรัพยากรธรรมชาติอยาง ยั่งยืน ดังนั้นหลักการมีสวนรวมจึงมีความสำคัญอยางยิ่งทีจ่ ะเปนวิธีการนำไปสูเปาหมายการพัฒนาอยางยั่งยืน หลักการมีสวนรวม (Public Participation) การจั ด การสิ ่ งแวดลอมนั้ น คื อ การกำกั บกิ จ กรรมของมนุ ษ ย ที ่ ผลิ ตและบริโภค ดั ง นั ้ นการจั ดการ สิ่งแวดลอมที่มีประสิทธิภาพที่ตองอาศัยความรวมมือในการปรับพฤติกรรมของสังคม รวมไปถึงการปฏิบัติการ ร ว มในการคุ มครองทรั พยากรและสิ่ งแวดลอม การมีสว นร วมของประชาชนทำได ทั้ งในฐานะป จเจกบุคคล (Individual) หรืออาจจะดำเนินการเปนกลุม (collective) แบบสิทธิชุมชนซึ่งเปนรูปแบบของการดำเนิ นการ โดยสวนรวม (Commons) โดยถือวารัฐทุกรัฐ และทุกภาคสวนตั้งแตรัฐสวนกลาง องคกรปกครองสวนทองถิ่ น และภาคประชาชนมีค วามรั บผิ ด ชอบรว มกั น (common responsibility) ในการอนุ ร ั กษ ทรัพ ยากรและ สิ่งแวดลอม การริเริ่มหลักการนี้อยางเปนทางการในการประชุมทีร่ ิโอเดอจาเนโรในป ค.ศ.19925 โดยหลักการมีสวนรว มนั้ นมีความสัม พันธ เชื่ อมโยงกับระบบของสั งคมที่ต องส ง เสริ ม การใช สิท ธิ ข อง ประชาชนและกลุมดวยดั งนั้ นการประกันสิทธิ พลเมื องและการเมืองอื่ นๆจึงมีความเกี่ ย วพั น กั นอย า งมิ อาจ แบงแยกได (Interrelation and Indivisibility) ดังนั้นการสรางหลักประกันสิทธิพลเมืองและการเมือง จึง เอื้ อ ให เกิ ดพฤติกรรมในการคุ มครองและอนุ รั กษสิ่ งแวดลอมด วย ด ว ยเหตุนี ้หลักการมี สวนร วมในการอนุ รั กษ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมนี้จึงตองมีหลักการสนับสนุนสิทธิอื่นๆในหลายดาน เพื่อใหประชาชนมีสวน รวมไดอยางแทจริง อาทิ สิทธิในการรับรูขอมูลขาวสาร สิทธิในการแสดงความคิดเห็นแบบรายบุคคล หรืออาจ รวมตัวกันในลักษณะการชุม นุมสาธารณะเพื่ อแสดงออกชั่วคราวไปจนถึง การรวมกลุม จัด ตั้ ง องค กรสมาคม ขับเคลื่อนประเด็นอยางตอเนื่ อง เพื่อเพิ่มความเขมแข็งในการมีสว นรวมตัดสิ นใจและดำเนิ นการในประเด็ น สาธารณะ และถึงที่สุดหากมีการทำลายทรัพยากรสิ่งแวดลอม ประชาชนตองมีสวนรวมในการเรียกรองใหมีการ เยียวยาสิทธิโดยสามารถเขาถึงกระบวนการยุติธรรมได พลเมืองอาจฟองรองใหผูกระทำผิดรับโทษทางอาญา ชดเชยคาสินไหมทดแทนในมูลละเมิด หรือใหหนวยงานรัฐที่มีหนาที่ตอง ดูแล รับผิดชอบ ใหดำเนิ นการเพื่ อ อนุรักษทรัพยากรและสิ่งแวดลอมนั้นไดดว ย แนวทางการจัดการสิ่งแวดลอมที่สำคัญอั นเปนกลยุทธหลั กในการจัดการที่มีประสิทธิ ภาพ คื อการให ประชาชนเข ามามี สว นรว มในการจั ดการสิ่ งแวดล อมโดยพื ้นฐานของการบูรณาการ ซึ ่ ง หมายถึง การคำนึง ผลกระทบรอบดาน การที่ประชาชนเขามารวมจัดการมีมิตทิ ี่หลากหลาย ทั้งการมีสวนรวมอยางเปนทางการกับ หนวยงานรัฐ สวนกลาง ภูมิภาคและทองถิ่น รวมถึงการมีสวนรวมอยางไมเปนทางการผายความร ว มมื อ กั บ องคกรพัฒนาเอกชน และชุมชนตามธรรมชาติ โดยกิจกรรมที่เสริมพลังในการมีสวนรวมนั้นประกอบไปดวยการ รับรูขอมูลที่เกี่ยวของเพื่อความเขาใจ การแสดงความคิดเห็น แสดงออกถึงความตองการของตนและกลุม และ ในขณะเดียวกันก็เปนผูใหขอมูลแกหนวยงานรัฐที่รับผิดชอบดำเนินการดวย 5

UN. (1992).United Nations Conference on Environment and Development – (UNCED), Rio de Janeiro.


48

หลักการมีสวนรวมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดลอมเปนหลักการทีไ่ ดรับการยอมรับอยาง กวางขวางและถือวาเปนหลักการหนึ่งของการการพัฒนาอยางยั่งยืน หลักการมีสวนรวมของประชาชนปรากฎ ในคำปรารภของ UNCHE Declaration ค.ศ. 1972 ซึ่งกลาววา การบรรลุเปาหมายดานสิ่งแวดลอม “ตอง อาศัยการยอมรับความรับผิดชอบของพลเมืองและชุมชน และของผูประกอบการและสถาบันตาง ๆ ทุกระดับ” คำประกาศกรุงริโอ ค.ศ. 1992 ขอ 10 กำหนดไวอยางชัดเจนวาการจัดการปญหาสิ่งแวดลอมตองอาศัยการมี สวนรวมของประชาชนทุกระดับทีเ่ กี่ยวของ โดยใหมีสวนรวมในดานตาง ๆ 3 ดาน คือ6 1) สิทธิในการเขาถึงขอมูลขาวสารดานสิ่งแวดล อมที่อยูในความครอบครองของหน วยงานรัฐ รวมทั้ ง ขอมูลเกี่ยวกับวัสดุและกิจกรรมที่เปนอันตรายตอชุมชนของตน 2) สิทธิในการมีสวนรวมในกระบวนการตัดสินใจ รัฐจะเออำนวยและสงเสริมความตื่นตัวและการมี สว น รวมดานสิ่งแวดลอมของสาธารณชนดวยการเผยแพรขอมูลอยางกวางขวาง 3) สิทธิในการเขาถึงกระบวนการทางยุติ ธรรมและทางบริหาร รวมทั้งการไดรับการ ชดเชยและการ เยียวยาความเสียหาย นอกจากกลาวถึงการมีสวนรวมของประชาชนในทั้ง 3 ดานแลว คำประกาศกรุงริโอยังกลาวถึงบทบาท สำคัญของประชาชนกลุมตาง ๆ ดวย สำหรั บ ประเทศไทยในระยะที ่ ผ านมาก อนที ่ จ ะมี การจั ดทำรั ฐธรรมนู ญ ฉบั บ ป พ.ศ. 2540 การ บริหารงานภาครัฐนั้นมีลักษณะเปนระบบปด (closed system) ไมไดเปดใหประชาชนเขาไปมีสวนรวมในการ จัดการมากนัก ทั้งในสวนของการกำหนดนโยบายและการใช อำนาจทางปกครองทั้งหลายรวมถึง การบริ ห าร จัดการทรัพยากร ปญหาที่เกิดขึ้นในการจัดการบริหารงานโดยภาครัฐทำใหถูกตั้งคำถามถึง การทุจริตและการ เอื้อประโยชนใหกับกลุมทุนตาง ๆ ในการพัฒนาและปฏิรูประบบราชการในชวงรัฐบาลที่มีนาย อานันท ปนยา รชุน เปนนายกรัฐมนตรี รัฐบาลไดแถลงนโยบายตอสภานิติบญั ญัตแิ หงชาติ เมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2534 ได เนนถึงการบริหารราชการบนหลักการสองขอ คือ ตองมีความโปรงใส (transparency) และการมีสวนรวมของ ภาคประชาชน (public participation) การบริหารงานภาครัฐภายใตหลักการสองขอนำไปสูการกล า วถึ ง อี ก หลั กการหนึ ่ง ที ่เรี ย กกั นว าหลักธรรมาภิ บาล (Good Governance) โดยเฉพาะที ่ เรีย กว า ธรรมาภิบาลเชิง กระบวนการที่ใหประชาสังคมเขามามีสวนรวม ซึ่งประกอบดวยกระบวนการมีสวนรวมใน 5 ระดับ คือ7 1. การรวมรับรู 2. การรวมใหขอมูล-ความเห็น 3. การรวมตัดสินใจ 4. การรวมกระทำการ 5. การรวมตรวจสอบการใชอำนาจรัฐ 6

Patricia W. Birnie and Alan E. Boyle. (1992). International Law and the Environment. Oxford: Clarendon Press. 7 บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2542). การสรางธรรมาภิบาล (Good governance) ในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพวิญูชน. หนา 117.


49

2.2. หลักกฎหมายสิ่งแวดลอม สิทธิในการมีชีวิตอยูในสิ่งแวดลอมที่ดี (Right to Live in Healthy Environment) ที่ประชุมสมัชชาใหญแหงสหประชาชาติ ไดมีมติจัดตั้งโครงการเฉพาะดานทางสิ่งแวดลอมโดยอาศัยมติ ของที ่ ป ระชุ ม (General Assembly Resolution) ที ่ 2997 8 ขึ ้ นเป นองค กรที ่ดู แ ลเฉพาะเรื ่องสิ่ ง แวดล อม โดยตรงนามว า โครงการสิ ่ ง แวดล อมของสหประชาชาติ (United Nations Environmental Program UNEP) มติไดกำหนดกลไกโดยรวมของรั ฐ เชน การจัดตั้งหนวยงานคุมครองสิ่งแวดลอม รวมถึงการกำหนด นโยบาย รวมถึงการจัดการดานงบประมาณดวย จากการผลักดันของแตละประเทศในการจัดการสิ่งแวดลอม ที่ ขยายขอบเขตไปสูกฎหมายระหวางประเทศ ขอตกลงระดับสากลรวมกันไดเริ่ม นับตั้งแตทศวรรษที่ 1970s เปนตนมา 9 โดยหลักการพื้นฐานที่เชื่อมโยงแนวคิดการอนุรักษสิ่งแวดลอมเขากับสิทธิมนุษยชน คือ สิทธิในการ มีชีวิตอยูในสิ่งแวดลอมที่ดี (Right to Live in Healthy Environment) ที่รับรองเปนสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย ทุกคน ที่จะมี เสรีภาพ อยางเสมอภาค ในการมีสภาพแวดลอมที่มีคุณภาพ ใหสามารถดำรงชีวิตอยูไดอย า งดี และมี ศ ั กดิ ์ ศรี 10 (Man has the fundamental right to freedom, equality and adequate conditions of life, in an environment of a quality that permits a life of dignity and well-being) นอกจากนี ้ ย ั งมีของสำนั กงานข าหลวงใหญ สิท ธิ มนุ ษยชนแห ง สหประชาชาติ (Office of the High Commissioner for Human Rights – OHCHR) ดู แ ลด านสิ ทธิในสิ ่ งแวดลอม อั นเป นหลั กประกั นสิ ทธิใน คุณภาพชีวิตที่ดี อยูดี กินดี สวัสดิการ และ สุขภาพอนามัย 11 และเปนสิทธิมนุษยชนประเภทหนึ่ ง ที่ มี การตั้ ง ผูตรวจการพิเศษสิทธิดานสิ่งแวดลอมเพื่อเขามาสังเกตการและตรวจสอบถึง สถานการณทางดานสิ่งแวดล อม ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับสิทธิมนุษยชนอื่นอยางแยกมิได หลักมรดกรวมของมวลมนุษยชาติ(Common Heritage of Mankind) แนวคิดในการอนุรักษทรัพยากรรวมกันในมิติของสากล ที่ทุกประเทศมีสิทธิในการอนุรักษทรัพยากรและ สิ่งแวดลอมรวมกันนี้ มีการเริ่มใชคำที่เรียกวา “มรดกรวมกันของมวลมนุษยชาติ” (Common Heritage of Mankind) ณ ที่ประชุมสมัชชาใหญแหงสหประชาชาติ12 ถือเปนจุดกำเนิดของการจัดการมรดกโลกรวมกันของ นานาอารยประเทศ ที ่ ม ี พ ั นธกรณี ในการให การส ง เสริ ม และสนั บ สนุนการอนุ ร ักษ ทรัพ ยากร ทั ้ ง ที ่ เปน ทรัพยากรธรรมชาติ และมรดกทางวัฒนธรรม ภายใตการดูแลของ UNESCO เปนหลัก จากรูปแบบของการจัดทำขอตกลงในลักษณะปฏิญญาสต็อกโฮลมป ค.ศ.1972 ถือเปนหลักการระหวาง ประเทศเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดลอมอยางครอบคลุมเปนครั้งแรก แตก็มีขอสังเกตวาเปนหลักพื้ นฐานอย า ง 8

UN. UN. GA Res, 2997. United Nations. Report of the United Nations Conference on the Human Environment. Stockholm, 516 June 1972, A/CONF.48/14/Rev.1. 10 United Nations. Charter of the United Nations. 24 October 1945, 1 UNTS XVI. 11 UN General Assembly. Universal Declaration of Human Rights. 10 December 1948, 217 A (III). 12 UN. Stockholm Declaration of the United Nations Conference on the Human Environment, 16 June 1972, U.N. Doc. A/CONF.48/14/Rev.1 (1973), Principle 1. 9


50

กวาง และยังไมมีผลผูกพันในฐานะกฎหมาย (non-binding or soft law) โดยปกหมุดหมายแลวในอนาคตจะมี การสรางกติการะหวางประเทศทางดานสิ่งแวดลอมให รัดกุมมากขึ้น เปนการใหคุณคาและตระหนักถึงสิทธิทาง สิ่งแวดลอมในประชาคมโลกอยางเปนสากล เพื่อใหมีการวางแผน และวางบรรทัดฐานทางกฎหมาย (legal norm) ตอไป หลักความยุติธรรมทางสิ่งแวดลอม (Environmental Justice) หลั กการเรื ่องความยุติ ธรรมทางสิ ่งแวดล อม อาจจำแนกออกเป น 2 เรื ่ อง ได แ ก ความยุ ติ ธรรมทาง สิ่งแวดลอมในเชิงเนื้อหา และความยุติธรรมทางสิ่งแวดลอมในเชิงกระบวนการ 13 1. ความยุติธรรมทางสิ่งแวดลอมในทางเนื้อหา (Substantive Environmental Justice) ในเชิงเนื้อหาที่เป นภาพรวมของกฎหมายตาง ๆ ที่มีขึ้นเพื่ออนุรั กษสิ่งแวดล อมนั้ น มี ห ลั กในการ อธิบายที่สำคัญอยู 2 ประการ 14 ไดแก (1) การรักษาสมดุลระหวางชีวิตความเปนอยูของคน และการดำรงอยู ของ ธรรมชาติ สร างกฎหมายสิ ่ง แวดลอมที ่ท ำให “คนอยู ได แ ละสิ ่ง แวดลอมก็ อยู  ได” (2) ความเปนธรรม ระหวางบุคคลในสังคม หมายรวมถึง ความเสมอภาคระหวางคนในสังคมใน 2 มิติ กลาวคือ ในมิติแรกความ เสมอภาคของคนที่อยูรวมสมัยกัน ไมวาจะอยูที่ใดมีสถานภาพ ฐานะ เพศ หรือเชื้อชาติใด ก็ตองไดรับสิ ท ธิ ใ น สิ่งแวดลอมที่ดีเสมอกัน (intra-generation) และในมิติที่สองคือ ความเปนธรรมระหวางคนตางรุน (intergeneration) การใชชีวิของคนรุนปจจุบันตองคำนึงถึงผลกระทบตอคนในรุนถัดไปทั้งการใช ท รั พ ยากรที่ มี อยู จำกัดอยางสิ้นเปลืองหรือทำใหสิ่งมีชีวิตสูญพันธุ หรือการกอมลพิษที่มิอาจฟนฟูได 2. ความยุติธรรมทางสิ่งแวดลอมในเชิงกระบวนการ (Procedural Environmental Justice) ในส ว นของกระบวนการเพื ่ อความยุ ต ิ ธ รรมทางสิ ่ ง แวดล อม มี แ นวคิ ด พื ้ นฐานมาจากหลั ก ประชาธิปไตยแบบมีสวนรวม ทั้งในการรวมแสดงความคิดเห็น และรวมตัดสินใจ ไปจนถึงการรวมตรวจสอบ ประเมิ น ดั ง นั ้ น เพื ่ อให กระบวนการบรรลุเปาหมายของการมี สว นร วมในการจัดการ สิ ท ธิ อั นส งเสริ มให ประชาชนเขามามีสวนรวมได เชน สิทธิในการรับรูขอมูลขาวสาร การแสดงออก การรวมกลุม หรื อการทำ ประชาพิจารณในโครงการทีส่ งผลกระทบตอสิ่งแวดลอม จึงเปนสิ่งจำเปนที่รัฐตองจัดใหมีขึ้น และเปดโอกาสให ทุกคนเขามามีสวนรวมอยางเสมอภาคกัน นอกจากหลักการพื้นฐานเรื่องประชาชนกับการมีสวนร ว มแล ว ก็ ยั ง ตองคำนึงถึงกระบวนการในการพิจารณาขอขัดแยงดานสิ่งแวดลอม โดยองคกรตุลาการ การพัฒนาวิธีพิจารณา คดีสิ่งแวดลอม มีสิทธิทั้งหลายที่จะอำนวยใหเกิดความยุติธรรมทางสิ่งแวดลอมในเชิ งกระบวนการ เช น การ ประกันสิทธิในการแสดงออกและการรวมกลุมในพื้นทีจ่ ริงและพื้นที่เสมือน เปนตน หลักการทางกฎหมายเชิ งกระบวนยุติธรรมมี สว นสำคัญในการบรรลุเปาหมายที่จะทำให บุ ค คลได รั บ ความเปนธรรมอยางเสมอภาค โดยคำนึงถึงกระบวนการยุติธรรม การบังคับใชกฎหมาย หรือกฎหมายวาดวยวิธี พิ จ ารณาคดี (procedural law) ซึ ่ ง กำหนดขั ้ นตอนในการพิ จารณาคดี ในเชิ ง กระบวนการ เพื ่ อทำให ถึง 13

สุนทรียา เหมือนพะวงศ. (2552). “กระบวนการสรางความยุติธรรมดานสิ่งแวดลอมไทย: เสนทางยังอีกไกลกวาจะไปถึงฝน.” ใน การประชุมประจำปสถาบันพระปกเกลา, หนา 2-4. 14 คนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม. (2559). ความยุติธรรมทางสิ่งแวดลอม. กรุงเทพฯ: สถาบันนโยบายศึกษา, หนา 8.


51

มาตรฐานการคุมครองสิทธิที่รับรองไวในกฎหมายสารบัญ ญัติ หากไมมีกระบวนการ บังคั บ ใช กฎหมายที่ มี ประสิทธิภาพ การคุมครองสิทธิตามกฎหมายยอมไมเกิดสัมฤทธิ ผลขึ้น ในทางกฎหมายสิ่งแวดล อมและสิ ท ธิ มนุษยชนก็เชนกั น ตองพิจารณาควบคูกันไประหวางหลักการของกฎหมายทั้งส ว นที่ เปนเนื้ อหาสาระ(สาร บัญญัติ) และสวนที่เปนวิธีพิจารณาคดี(วิธีสบัญญัติ)โดยจะอธิบายจากหลักความยุติธรรมทางสิ่งแวดล อม ซึ่ ง เปน แนวคิดที่เกิดจากการเคลื่อนไหวของสังคม (Social Movement) ที่เริ่มตระหนักถึงปญหาของสิ่งแวดลอม และเมื่อเริ่มมีการบัญญัติกฎหมายเกี่ย วกับ สิ่งแวดล อมเฉพาะเรื่อง เชน อากาศ น้ำ และมลพิ ษ สิ่ ง ที่ เกิ ด ขึ้ น ตามมาคือการเรียกรองใหประชาชนไดรับสิทธิที่จะมีชีวิตอยูในสิ่งแวดลอมที่ดีอยางเสมอภาคผาน “ชองทาง” หรือ “วิธีการ” ตางๆ เชน การแสดงออกทางอินเตอรเน็ตและรวมกลุมในโลกเสมือน เพื่อสะทอนความจำเป น ของวิถีชีวิตที่ตองดำรงอยูของกลุมคนที่หลากหลาย มีสวนในการกำหนดวิถีการผลิตและการบริโภคในสัง คมที่ ต องใชท รัพ ยากรรว ม และอาจส งผลกระทบต อสิ่ งแวดล อมส วนรวม เพื ่ อนำไปสู การปรับเปลี ่ย นกิจกรรม แบบเดิ ม ให คำนึ ง ถึ ง สิ ่ง แวดล อมมากขึ้ น และสร า งสมดุลระหว างการอยู  รอดของมนุ ษ ย กั บ การอนุ รั กษ สิ่งแวดลอม อันเปนรากฐานของความเปนธรรมทั้งตอมนุษยชาติและตอสิ่งแวดลอม สิทธิชุมชนในการมีสวนรวมจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม สิทธิชุมชนเปนขบวนการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้ น ในบริบทโครงสรางทางอำนาจในสังคมที่ไมเทา เที ย มกั น การรวมศูนยอำนาจหรือการครอบงำทางวัฒนธรรมโดยใชวัฒนธรรมเดียว สิทธิชุมชนจึงเปนการตอสูเพื่ อปรั บ สัมพันธภาพทางอำนาจ สรางตำแหนงแหงที่ใหชุมชนใหเกิดความเปนธรรมและเคารพในความหลากหลาย โดยชุมชนทองถิ่นมี เสรีภาพในการกำหนดกติกา วิถีชีวิต เศรษฐกิจและแบบแผน การจัดการทรัพยากร ที่เหมาะสมกับระบบนิเวศและวัฒนธรรมของตน ทั้งนี้อยูบนพื้นฐานความรับผิดชอบตอสังคมดวย นัยของสิ ท ธิ ชุมชนดังกลาวจึงมีความลึกซึ้งกวางขวางกวา คำวา“การกระจายอำนาจ” “การมีสวนรวม” “ประชาสัง คม” และ “ธรรมรัฐ” ซึ่งเปนคำที่รัฐหยิบมาใชโดยขาดจิตวิญญาณเพื่อประชาชนและชุมชนอยางแทจริง 15 นับแตการปฏิวัติเทคโนโลยีสารสนเทศก็ปรากฏ ชุมชนเสมือนจริง (Virtual Community) ขึ้นเปนชุมชน รูปแบบใหมที่เกิดมา พรอมกับเทคโนโลยีสื่อสารจึงไมจำกัดอยูกับพื้นที่ทางภูมิศาสตรแตมีเครือขายที่เชื่อมโยง สื่อสารกันได โดยมีวัตถุประสงครว มกัน ในการแลกเปลี่ยนขอมูลขาวสารประสบการณ และชวยเหลือซึ่งกันและ กัน เชน เครือขายทางวิทยุ หรือ อินเทอรเน็ต เปนตน จึงเปนชุมชนที่อาศัยเทคโนโลยีสื่อสารและสารสนเทศซึ่ง มีลักษณะเปดกวางใหกับสมาชิกทุกประเภทเปนชุมชนที่ไรพรมแดน16 เมื่อผนวกกสิทธิในสิ่งแวดลอมที่ดีเขากับสิทธิในการพัฒนา (Right to Development) เพื่อสงเสริมสิทธิ คนกลุมเสี่ยงใหเขาถึงสิทธิในการพัฒนาอยางยั่งยืน และมีคุณภาพชีวิตดีเสมอภาคกับคนกลุมอื่นๆ อันเป นการ สงเสริมการพัฒนาสิทธิของกลุมเสี่ยงดอยโอกาสในระดับที่ไดตามมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหวางประเทศ ก็ จะตองพิจารณา สิทธิในการพัฒนาของของกลุมคน (Collective Right) ที่ถือวาเปนสิทธิของ “กลุมประชาชน” 15 16

กฤษฎา บุญชัย. (2542). ประชาสังคม: พื้นที่สาธารณะที่ประชาชนจัดการกันเอง. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ. อานันท กาญจนพันธุ. (2544). พลวัตรในการจัดการทรัพยากร: กระบวนทัศนและนโยบาย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุ น สนับสนุนการวิจัย.


52

ที่ควรไดอยูในสิ่งแวดลอมที่เหมาะสม เพื่อการพัฒนาอยางยั่งยืน17 ดังปรากฏพัฒนาการในระบบของตราสาร สิทธิมนุษยชนและสิทธิประชาชนของภูมิ ภาคอัฟริ กา แมในระบบของภูมิภาคยุโรป อเมริกา จะเนนไปที่ การ คุมครองสิทธิปจเจกชนในสิ่งแวดลอมที่ดกี ็ตาม พัฒนาการทางความคิดและขบวนการเคลื่อนไหวดานสิ่งแวดลอมที่ตองการเสริมพลังใหกับชุมชนในการ เขามามีสวนรวมในการตัดสินใจและกำหนดอนาคตของตนเองและชุมชนรวมกั น ในฐานะ “สิทธิรว มกั นของ กลุม” แมจะไมมีตราสารสิทธิมนุษยชนที่ผูกพันรัฐไทยในฐานะภาคีหรือไมผูกมัดก็ดี หรือกฎหมายสิ่งแวดล อม ระหวางประเทศก็ดี บัญญัติรับรองไวก็ตาม 18 แตพัฒนาการทางกฎหมายของเรื่องสิทธิชุมชนในรัฐธรรมนูญแหง ราชอาณาจักรไทย ตั้งแตฉบับพุทธศักราช 2540 2550 จนถึง 2560 ไดรับรองทั้งสิทธิของบุคคลและชุมชนใน ฐานะกลุมที่มีสิทธิจัดการ บำรุงรักษา ใชประโยชนจากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดลอม และความหลากหลาย ทางชีวภาพ อยางสมดุลและยั่งยืนไว อยางไรก็ดีการใชสิทธิของชุมชนตองเปนไปตามวิธีการทีก่ ฎหมายบัญญัต19ิ ทั้งนี้การใชสิทธิของบุคคลและชุมชนหมายความรวมถึงสิทธิที่จะรวมกับองคกรปกครองสวนทองถิ่นหรื อรั ฐใน การดำเนิ นการดั งกลาวด วย อั นเป นแนวทางในการผลั กดั นให รัฐมี สวนปกปองสิ ทธิเสรี ภาพตางๆที่ จะชวย สงเสริมใหบุคคลและชุมชนมีสวนรวมในการพัฒนาสิทธิในการมีชีวิตในสิ่งแวดลอมที่มีคณ ุ ภาพดี20 โดยในบริบท ของงานวิจัยนี้ก็คือ หนาที่ของรัฐในการประกันสิทธิของบุคคลและชุมชนที่จะรวมกลุมและแสดงออกบนพื้นที่ไซ เบอร ใ นประเด็นทรั พยากรธรรมชาติ แ ละสิ ่ง แวดลอมเพื่ อมี สวนร วมในการพัฒนาคุ ณภาพสิ่ งแวดล อมและ กำหนดอนาคตของชุมชน 2.3. กฎหมายสิทธิมนุษยชน ประชาชนผู  ร วมตั ว กั นเพื ่ อแสดงออกในประเด็ นสาธารณะ หรื อในทางทฤษฎี ท ี ่ เรี ย กว า “กลุ ม ผลประโยชนและกลุมกดดัน” 21 ถือเปนภาพสะทอนของการใชสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนในการแสดงออก ซึ ่ ง ความต องการของตน (Freedom of Expression) ที ่ ม าควบคู  กั นกั บ สิ ท ธิ ใ นการชุ ม นุ ม (Right to Assembly) หรือการรวมกลุม (Freedom of Association) ของตนเอง อันเปนสิทธิขั้นพื้นฐานของพลเมืองใน

17

คนึ ง นิ จ ศรี บ ั วเอี ่ย ม และคณะ. (2559). ความสั ม พั น ธ ระหว างสิท ธิ มนุษยชนและสิ ่งแวดล อ มเพื ่อ การคุ ม ครองสิ ทธิ มนุษยชนที่เกี่ยวกับสิ่งแวดลอมอยางยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ, หนา 54. 18 คนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม. (2562). “ความเชื่อมโยงระหว าง “สิทธิชุมชน” กับ “ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดลอม” ภายใต รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560” ใน วารสารรามคำแหง ฉบับนิติศาสตร 8(1): หนา 276. 19 20

รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 43 (2)

คนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม และคณะ. (2561). ความเชื่อมโยงระหวางสิทธิชุมชนกับทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดลอมภายใต รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุ ษยชนแห ง ชาติ , หนา 143-144. 21 อภิ ญ ญา รั ต นมงคลมาศ. (2547). กลุ  ม ผลประโยชน แ ละกลุ มกดดั น : เอกสารการสอนชุดวิช าสถาบั น และ กระบวน ทางการเมืองไทย หนวยที่ 12 สาขาวิชารัฐศาสตร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. กรุงเทพฯ : โรงพิมพมหาวิท ยาลั ย สุโขทัยธรรมาธิราช, หนา 192-195.


53

ระบอบประชาธิปไตย จึงอาจกลาวไดวาการแสดงออกดวยวิธี การชุมนุมหรื อรวมกลุมบน “พื้นที่สาธารณะ” (public space) เปนพื้นที่แหงการแสดงออกซึ่ง เจตจำนงของมวลชนผู เปนเจาของอำนาจอธิปไตยในอั นที่ จ ะ เปนเครื่องสะทอนสังคม และกระตุนเตือน “รัฐบาล” ผูกำหนดนโยบายแหงรัฐอันสงผลโดยตรงตอความเปนอยู ของประชาชนใหตระหนักถึงความสำคัญของการจัดสรรทรัพยากรและรักษาสิ่งแวดลอมใหเปนไปตามกฎหมาย และคำนึงถึงสิทธิในคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดลอมที่ดขี องประชาชน พันธกรณีระหวางประเทศทีเ่ กี่ยวของกับเสรีภาพในการแสดงออกและสิทธิในการรวมกลุมนั้น ไดแก กฎ บั ต รสหประชาชาติ (Charter of the United Nations) ปฏิ ญ ญาสากล ว า ด วยสิ ทธิ มนุ ษยชน (Universal Declaration of Human Right-UDHR) อันเปนตราสารหลักแหงกฎหมายสิทธิมนุษยชน และตราสารสำคัญที่ เกี่ยวของกับเสรีภาพในการแสดงออกและสิทธิในการรวมกลุมโดยตรง ไดแก กติการะหวางประเทศวาดวยสิทธิ พลเมือง และสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Right - ICCPR) ปฏิญญาฯ ยังไดยืนยันในการใหความสำคัญ แหงหลักการสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานตามที่ปรากฏในกฎ บัตรสหประชาชาติ (Charter of the United Nations) 22 ซึง่ รัฐสมาชิกสหประชาชาติมีพันธกรณีที่จะปฏิบัติ ตามกฎบัตรฯและปฏิญญาฯ ดังกลาว กลาวคือ โดยผลแหงขอ 56 23 ของกฎบัตรสหประชาชาติ รัฐสมาชิกทั้ ง ปวง แหงองคการสหประชาชาติจำตองปฏิบัติตามคำมั่นในมาตรา 55(c) ในอันที่จะดำเนินการรวมกั น และ แยกกัน ในการรวมมือกับองคการสหประชาชาติ เพื่อให บรรลุผลสัมฤทธิ์แหงความมุงหมายในการสงเสริมการ คุมครองสิทธิมนุษยชนอยางเปนสากลและการเคารพเสรี ภาพขั้ นพื้ นฐานโดยไมแบง แยกเชื้อชาติ เพศ ภาษา หรือศาสนา 24 ในป ค.ศ.1948 สมัชชาใหญแหงสหประชาชาติ (The General Assembly) ไดประกาศปฏิญญา สากลวาดวยสิทธิมนุษยชนตามเจตนารมณของกฎบัตรฯดังกลาวไปขางตน เสรี ภาพในการแสดงออก (Freedom of Expression) และสิ ท ธิ ใ นการเข า ถึ ง ข อมู ลข า วสาร (Right to Information) ปฏิญญาสากลวาดวยสิทธิมนุษยชน ไดรับรองสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกไวใ นข อ 19 วา “บุ ค คลมี สิทธิในเสรีภาพแหงความเห็นและการแสดงออก สิทธินี้รวมถึงเสรีภาพที่จะยึดมัน่ ในความเห็นโดยปราศจากการ แทรกสอดและที่จะแสวงหารับ ตลอดจนแจงขาว รวมทั้งความคิดเห็นโดยผานสื่อใดๆ และโดยมิตองคำนึ ง ถึ ง เขตแดน” ทั้งนี้ปฏิญญาฯ ยังรับรองสิทธิที่จะสื่อสารสงขาวสารโดยไมถูกแทรกแซงโจมตีไวในขอ 12 อีกดวย 25 ตอมาในภายหลังกติกาสากลวาดวยสิทธิพลเมืองและการเมืองซึ่งรัฐไทยเปนภาคี ก็ไดเนนย้ำความสำคัญ ของเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก (Freedom of Speech/Expression) ไวในขอ 19 26 โดยรับรองวา บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะมีความคิดเห็นโดยปราศจากการแทรกแซง” และยังใหอรรถาธิ บ ายถึ ง 22

UN. Universal Declaration of Human Rights 1948. Preamble. UN. Charter of the United Nations 1945. Article 56 24 Ibid. Article 55 (c) 25 UN. Declaration of Human Rights 1948. Article 12 and 19. 26 UN. International Covenant on Civil, and Political Rights 1966. Article 19(1). 23


54

วิธีการและพื้นที่ในการแสดงออกไว เพิ่ม เติม อีกวา “บุคคลทุกคนมีสิทธิในเสรีภาพแหงการแสดงออก สิ ท ธิ นี้ รวมถึงเสรีภาพที่จะแสวงหา รับและเผยแพรขอมูลขาวสารและความคิดทุกประเภท โดยไมคำนึงถึงพรมแดน ทั้งนี้ ไมวาดวยวาจา เปนลายลักษณอักษรหรือการตีพิมพ ในรูปของศิลปะ หรือโดยอาศัยสื่อประการอื่นตามที่ ตนเลื อก” 27 จากบทบั ญ ญั ต ิ ด ั ง กล า วยั ง ได ร ั บ รองสิ ท ธิ ใ นการเข า ถึ ง ข อมู ลข า วสารไว ด  ว ย (Right to Information) อยางไรก็ดีวิธีการใชเสรีภาพตามขอ 19(2) นี้อาจกระทำภายใตขอบเขตทีป่ รากฏในวรรค 3 28 คือ “ตอง มีหนาที่และความรับผิดชอบพิเศษควบคูไปดวย การใชสิทธิดังกลาวอาจมีขอจำกัดในบางเรื่อง แตทั้งนี้ขอกำกัด นั้นตองบัญญัติไวในกฎหมายและจำเปนตอ (ก) การเคารพในสิทธิหรือชื่อเสียงของบุคคลอื่น (ข) การรักษาความมัน่ คงของชาติ หรือความสงบเรียบรอย หรือการสาธารณสุข หรือศีลธรรมของประชาชน รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ไดรับรองเสรีภาพในการแสดงออกไว เช น กั น โดยรับรองไวในมาตรา 34 29 วา “บุคคลยอมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น การจำกัดเสรีภาพดังกลาวจะกระทำมิได” แตรัฐธรรมนู ญ ก็ ไ ด กำหนดขอบเขตการใชเสรี ภาพไววา อาจถู กจำกัดไดถา “อาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแหงกฎหมายที่ ต ราขึ้ น เฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ เพื่อคุมครองสิทธิหรือเสรีภาพของ บุคคลอื่น เพื่อรักษาความสงบเรียบรอย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อปองกันสุขภาพของประชาชน” ซึ่งอาจทำใหเกิดความยุงยากตามมา เพื ่ อมี การใช กฎหมายลำดั บศั กดิ ์ ต่ ำกว ารั ฐธรรมนู ญหลายฉบับ มาปรั บใช เพื่ อควบคุ มการแสดงออกของ ประชาชน กฎหมายสิทธิมนุษยชนในหลายระดับ ไดใหหลักประกันสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเอาไว ดังนั้น รัฐจึงไมควรใชอำนาจไปในทางลิดรอนสิทธิดังกลาว ไมวาจะดวยการออกกฎหมายมาลิดรอนสิทธิ หรือใช อำนาจปกครองมาลิดรอนสิทธิ เพราะฉะนั้น การบังคับใชพ.ร.บ.ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอรจึงตองอยูภายใน กรอบของกฎหมายประกันสิทธิเสรีภาพดวย 26

สิทธิในการชุมนุมและรวมกลุมอยางสันติ (Right to Peacefully Assembly and Association) ปฏิญญาสากลวาดวยสิทธิมนุษยชนไดรับรองสิทธิใ นการชุมนุมไว ในขอ 20(1) วา “บุคคลย อมมี สิท ธิ เสรี ภาพแหง การชุ มนุมและการสมาคม โดยสงบ” 30 และข อ 28 ยั ง ได รับรองอี กวา “บุ คคลชอบที่ จะไดรับ ประโยชนจากกฎระเบียบระดับภายในและระดับระหวางประเทศอันจะอำนวยใหการใชสิทธิและเสรีภาพตามที่

27

Ibid. Article 19(2). Ibid. Article 19(2). 29 รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560. มาตรา 34(1) 30 UN. Universal Declaration of Human Rights. Article 20 (1) “Everyone has the right to freedom of peaceful assembly and association...” 28


55

ไดกำหนดไวในปฏิญญานี้อยางเต็มที่” 31 อันหมายความถึงบุคคลทุกคน ยอมสามารถรวมตั ว กั น ชุ ม นุ ม และ สมาคมกันไดอยางเสรี ทั้งนี้ หากเปนการรวมตัวหรือชุมนุมโดยสงบ (Peaceful Assembly and Association) และมาตรากฎหมายระเบียบคำสั่งตางๆ จะตองไมขัดขวางการใชสิทธิเหลานี้ของบุคคลหรือกลุมบุคคล “สิทธิในการชุมนุมหรือรวมกลุม” ของบุคคลตามที่ ปฏิญญาฉบับนี้รับรอง จำกัดเฉพาะแตการใช สิท ธิ โดยสงบ (Peaceful Assembly and Association) เทานั้น และนอกจากนี้ในมาตรา ๒๙ (๒) ยังไดกำหนดไว อีกวา “การใชสิทธิและเสรีภาพนั้น บุคคลจำตองอยูภายใตเพียงเชนที่จำกัดโดยกำหนดแหงกฎหมายเฉพาะเพื่อ ความมุงประสงคใหไดมาซึ่งการยอมรับ และการเคารพโดยชอบในสิท ธิแ ละเสรี ภาพของผูอื่น และเพื่ อ ให สอดคล องกั บข อศี ลธรรม ตลอดจนความสงบเรี ย บร อยของ ประชาชนและสวั สดิ ภาพโดยทั ่ว ไปในสั งคม ประชาธิปไตย” 32 นั ่ นหมายความว าแม จะเปนการใชสิทธิอยางสงบและสั นติก็ย ั งอาจถูก “จำกัด” โดยบทบัญญั ติแหง กฎหมายไดเชนกัน หากตองเปนกฎหมายที่มีเจตนารมณเฉพาะเรื่องดังที่กลาวขางตน ดังเชน กฎหมายวาด ว ย การชุมนุมสาธารณะที่ไดมีการบังคับใชแลวในหลายประเทศเพื่อจัดระเบียบการใชสิทธิชุมนุมในทีส่ าธารณะให ดำเนิ น ไปได โ ดยไม ก ระทบต อ สิ ท ธิ เ สรี ภ าพของบุ ค คลอื ่ น หรื อ ถ า จะกระทบก็ ต  อ งได ส ั ด ส ว น (proportionality)เพียงนอยที่สุดเทาที่จำเปน(necessity) กติ กาสากลว า ด ว ยสิ ท ธิ พ ลเมื องและการเมื อง (International Covenant on Civil and Political Rights - ICCPR) ซึ่งมีผลบังคับใชเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ.2519 และประเทศไทยไดใหสัตยาบันจนมีผลบังคับ ภายใน ไดรับรอง “สิทธิในการชุมนุมโดยสงบ” ไวในขอ 21 33 วา “สิทธิในการชุมนุมโดยสงบยอมได รั บ การ รับรอง การจำกัดการใชสิทธินี้จะกระทำมิได นอกจากจะกำหนดโดยกฎหมายและเพียงเทาที่จำเป น สำหรั บ สั ง คมประชาธิปไตย เพื ่ อประโยชนแ หง ความมั ่นคงของชาติ หรื อความปลอดภัย ความสงบเรี ยบรอย การ สาธารณสุข หรือศีลธรรมของประชาชนหรือการคุม ครองสิทธิและเสรีภาพ ของผูอื่น” กติกาสากลวาดวยสิทธิพลเมืองและการเมืองไดรับรองสิทธิในการรวมตัวไวใน ขอ 22 34 วา “บุคคลทุ ก คนยอมมีสิทธิในการใชเสรีภาพรวมตัวกันเปนสมาคม” แตก็ไดใหแนวทางในการใชสิทธินี้วามีขอบเขตและอาจ ถูกจำกัดไดในเงื่อนไขลักษณะเดียวกับสิทธิในการชุมนุม นั่นคื อจะตองเป นการจำกัด “โดยกฎหมายและเพี ย ง เทาที่จำเปนสำหรับสังคมประชาธิปไตย เพื่อประโยชนแหงความมั่นคงของชาติ หรือความปลอดภัยความสงบ เรียบรอย การสาธารณสุข หรือศีลธรรมของประชาชนหรือการคุมครองสิทธิและเสรีภาพ ของผูอื่น”

31

UN. Universal Declaration of Human Rights; Article 28 “Everyone is entitled to a social and international order in which the rights and freedoms set forth in this Declaration can be fully realized.” 32 UN. Universal Declaration of Human Rights; Article 29 “(2) In the exercise of his rights and freedoms, everyone shall be subject only to such limitations as are determined by law solely for the purpose of securing due recognition and respect for the rights and freedoms of others and of meeting the just requirements of morality, public order and the general welfare in democratic society.” 33 UN. International Covenant on Civil, and Political Rights. Article 22. 34 Ibid.


56

สิทธิในความเปนสวนตัว (Right to Privacy) ปลอดจากการถูกแทรกแซงการสื่อสารและถูกสอดสอง ปฏิ ญ ญาสากลวาด วยสิ ทธิ มนุษ ยชนได รั บรองสิทธิในความเป นส วนตั ว (Right to Privacy) ไว ใ น ข อ 12 35 และตอกย้ำถึงสิทธิในการสื่อสารอยางปลอดการแทรกแซง (Non-Interference) และตองคุมครองมิใหถกู โจมตี (Attack) ด ว ย บทบัญ ญั ตินี ้ม ีที ่ม าจากการสอดสองประชากรเพื ่อควบคุ มพฤติ กรรม (Surveillance) ตั้งแตชวงกอนสงครามโลกครั้งที่ 2 และยิ่งสามารถปรับใชกับกิจกรรมของรัฐในชวงสงครามเย็นหลักจากนั้นที่มี การตรวจสอบอุดมการณและตรวจตราการสื่อสารแสดงออกของประชาชนในปกครองดวย ซึ่งในยุคดิจิทัลนั้ น เปนประเด็นสำคัญยิ่งยวดเพราะโดยธรรมชาติของเทคโนโลยี สารสนเทศนั้ นทำใหเพิ่ม โอกาสในการสอดส อง แทรกแซงหรือเก็บขอมูลไดมหาศาล กติกาสากลวาดวยสิทธิพลเมืองและการเมืองซึ่งรัฐไทยเปนภาคีไดใหความชัดเจนเกี่ยวกับ “สิทธิในความ เปนสวนตัว” เพิ่มเติมในขอ 17 36 โดยบัญญัติวา “บุคคลจะถูกแทรกแซงความเปนสวนตัว ครอบครัว เคหสถาน หรือการติดตอสื่อสารโดยพลการหรือไมชอบดวยกฎหมายมิไดและจะถูกลบหลูเกียรติและชื่อเสียงโดยไม ชอบ ดวยกฎหมายมิได” ยิ่งไปกวานั้นรัฐยังตองใหความคุมครองสิทธิในความเปนสวนตัวของบุคคลมิใหถูกแทรกแซง หรือลบหลูโดยมีมาตรการทางกฎหมายเปนหลักประกัน สิทธิมนุษยชนในยุคดิจิทัล เมื่อลวงเขาสูยุคดิ จิทัลสหประชาชาติไดคำนึงถึ งความจำเป นในการสรา งหลั กประกั นที่ เท า ทั นความ เปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีในศตวรรษที่ 21 โดยสนับสนุนใหมีเวทีการประชุมรวมกันระหวางรัฐบาลตางๆเพื่อ สร า งกำหนดนโยบายร ว มเกี ่ ย วกั บการคุ  มครองสิ ทธิ มนุ ษ ยชนและหลั กการสำคั ญ สำหรับ การกำกั บโลก อินเตอรเน็ตใหบรรลุเปาหมายนั้น สิทธิของพลเมืองในยุคดิจิทัลนั้นไดรับการพัฒนาตอยอดจากหลั กกฎหมาย สิทธิมนุษยชนสากล โดยมีองคกรจำนวนมากที่ผลักดันสิทธิดังกลาว เชน องคการสหประชาชาติ (UN) กองทุ น เพื่อเด็กแหงสหประชาชาติ (UNICEF) สภายุโรป (Council of Europe) แนวทางดานสิทธิในคูมือฉบับนี้อางอิง จากกฎบัตรวาดวยสิทธิมนุษยชนและหลักการพื้นฐานสำหรับอินเทอรเน็ต (Charter of Human Rights and Principles for the Internet) โดยหลักการที่เกี่ยวของกับขอบเขตงานวิจัยนี้ไดแก 37 หลักที่ 4. รับรองเสรีภาพในการแสดงออกและสิทธิในการรวมกลุมในโลกไซเบอร โดยบุคคลสามารถสง ขอมูลและแสวงหาขอมูลจาก/ดวยอินเตอรเน็ตไดอยางเสรี รวมถึงมีสิทธิในการรวมตัวกันบนโลกไซเบอรหรือใช อิ นเตอร เน็ ตเป นชองทางในการติ ดต อรวมกลุ  มเพื่ อวัตถุ ประสงคท างการเมื อง เศรษฐกิ จ วั ฒนธรรมหรือ วัตถุประสงคอื่นใด

35

ปฏิญญาสากลวาดวยสิทธิมนุษยชน ขอ 12. “การเขาไปแทรกสอดโดยพลการในกิ จสวนตัว ครอบครัว เคหะสถาน การส ง ขาวสาร ตลอดจนการโจมตีตอเกียรติยศและชื่ อเสียงของบุคคลนั้นจะทำมิได ทุกๆ คน มีสิทธิที่จะไดรับความคุม ครองตาม กฎหมายจากการแทรกสอดและโจมตีดังกลาว” 36 UN. International Covenant on Civil, and Political Rights. Article 17. 37 International Governmental Forum (IGF) and Internet Rights and Principles Coalition. (2014).The Charter of Human Rights and Principles for the Internet: UN Internet Governance Forum.


57

หลักที่ 5. รับรองสิทธิในความเปนสวนตัวและการคุม ครองขอมูลสวนบุคคล โดยยืนยันวาบุคคลจะปลอด จากการถูกสอดสองและแทรกแซง สามารถใชเทคโนโลยีเขารหัสเพื่ อความปลอดภัย และรักษาความเป นนิ ร นามในโลกไซเบอรได นอกจากนี้ยังไดรับการคุมครองขอมูลสวนบุคคล บุคคลสามารถควบคุมการเก็บ การกั ก การประมวล การเปดเผย การทำลายขอมูลสวนบุคคลของตนได แมหลักการเหลานี้จะยังไมมีผลผูกมัดรัฐใหปฏิบัตติ ามในลักษณะพันธกรณีทางกฎหมายโดยตัวตราสารนี้ เอง แตเนื้อหาของ “กฎบัตรวาดวยสิทธิมนุษยชนและหลักการพื้นฐานสำหรับอินเตอรเน็ต” นี้ก็ไดรวบรวมมา จากพันธกรณีสิทธิมนุษยชนที่ผูกพั นรัฐไทย เชน กติกาสิทธิพลเมืองและการเมื องในฐานะภาคี และปฏิ ญ ญา สากลวาดวยสิทธิมนุษยชนที่ไทยเปนรัฐสมาชิกองคการสหประชาชาตินั่นเอง 2.4. การรับรองสิทธิในการมีสว นรวมตามรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 สิทธิในการรวมกลุมและชุมนุมอยางสันติ รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ไดคำนึงถึงเสรีภาพในการรวมกลุมไวอยางชัดแจง โดยบัญญัติไวในมาตรา 42 ใหบุคคลมีเสรีภาพในการรวมกันเปนสมาคม สหกรณ สหภาพ องคกร ชุมชน หรือ หมูคณะอื่น ทั้งยังหามการจำกัดเสรีภาพดังกลาวเวนแตจะกระทำโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแหงกฎหมาย ที่ตราขึ้นเพื่อคุมครองประโยชนสาธารณะ เพื่อรักษาความสงบเรียบรอย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือ เพื่อการปองกันหรือขจัดการกีด กันหรือการผู กขาด ซึ่งกลายเปนขอบเขตการใช เสรี ภาพที่ตองวิ เคราะห ผา น กฎหมายลำดับศักดิ์ตำ่ ๆลงไป เชน ประมวลกฎหมายอาญา พระราชบัญญัติ ประกาศ ระเบียบตางๆ นอกจากนี้รัฐธรรมนูญ มาตรา 44 ยังรับรองเสรีภาพของบุคคลในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ แตก็ใหขอบเขตการใชเสรีภาพไวใกลเคียงกับมาตราขางตน คือ อาจมีการจำกัดเสรีภาพไดโดยอาศัยอำนาจตาม บทบัญญัติแหงกฎหมายในลำดับศักดิ์ต่ำกวารัฐธรรมนูญเพื่อรักษาความมัน่ คงของรัฐ ความปลอดภัยสาธารณะ ความสงบเรียบรอยหรือศีลธรรมอันดี ของประชาชน หรือเพื่อคุมครองสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น เสรีภาพในการแสดงออก รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทยไดรับรองเสรีภาพในการแสดงออกไวเชนกัน โดยรับรองไวในมาตรา 34 38 วา “บุคคลยอมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ การโฆษณา และการสื่อ ความหมายโดยวิธีอื่น การจำกัดเสรีภาพดังกลาวจะกระทำมิได” แตรัฐธรรมนูญก็ไดกำหนดขอบเขตการใช เสรีภาพไววาอาจถูกจำกัดไดถา “อาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแหงกฎหมายที่ตราขึ้นเฉพาะเพื่ อรั กษาความ มั่นคงของรัฐ เพื่อคุมครองสิทธิหรือเสรีภาพของ บุคคลอื่น เพื่อรักษาความสงบเรียบรอยหรือศีลธรรมอันดีของ ประชาชน หรือเพื่อปองกันสุขภาพของประชาชน” ซึ่งอาจทำใหเกิดความยุงยากตามมาเพื่อมีการใชกฎหมาย ลำดับศักดิ์ต่ำกวารัฐธรรมนูญหลายฉบับมาปรับใชเพื่อควบคุมการแสดงออกของประชาชน

38

รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560. มาตรา 34(1)


58

กฎหมายสิทธิมนุษยชนในหลายระดับ ไดใหหลักประกันสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิ ด เห็ นเอาไว ดังนั้น รัฐจึงไมควรใชอำนาจไปในทางลิดรอนสิทธิดังกลาว ไมวาจะดวยการออกกฎหมายมาลิดรอนสิทธิ หรือใช อำนาจปกครองมาลิดรอนสิทธิ เพราะฉะนั้น การบังคับใชพ.ร.บ.ความผิดเกี่ย วกับคอมพิว เตอรฯ จึ ง ต องอยู ภายในกรอบของกฎหมายประกันสิทธิเสรีภาพดวย สิทธิในการมีสวนรวมจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ไดรับรองสิทธิที่เกี่ยวของกับหลักการมีสวนรวม ของประชาชนในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมดังตอไปนี้ 1) สิทธิในขอมูลขาวสารดานสิ่งแวดลอม รัฐธรรมนูญไดบัญญัติถึงสิทธิของประชาชนในการเขา ถึง ขอมู ลขา วสารเกี่ยวกับ สิ่ ง แวดล อมที่ อ ยู ใ น ความครอบครองของราชการไวในมาตรา 59 กำหนดใหรัฐเปดเผยขอมูลขาวสารที่อยูในความครอบครองโดย จัดใหประชาชนเขาถึงขอมูลดังกลาวไดอยางสะดวกตามทีก่ ฎหมายกำหนด และในมาตรา 58 วรรคทีส่ อง ไดมี การกำหนดใหบุคคลและชุมชนมีสิทธิไดรับขอมูลคำชี้แจง และเหตุผลจากหนวยงานของรัฐกอนการดำเนินการ ซึ่งอาจมีผลกระทบตอทรัพยากรธรรมชาติและคุณภาพสิ่งแวดลอม 2) สิทธิของบุคคลและชุมชนในการมีสวนรวมในกระบวนการดานสิ่งแวดลอม โดยในมาตรา 43 ไดกำหนดใหบุคคลและชุมชนมีสิทธิในการจัดการบำรุงรักษา และใชประโยชนจาก ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดลอมและความหลากหลายทางชีวภาพอยางสมดุลและยั่งยืนตามวิธีการที่กฎหมาย บัญญัติ ซึ่งหมายความถึงสิทธิที่จะเขาไปมีสวนรวมกับองคกรของรัฐ หรือองคกรปกครองสว นท องถิ่ นในการ ดำเนินการดังกลาวนั่นเอง 3) สิทธิในการเขาถึงกระบวนการยุตธิ รรมดานสิ่งแวดลอม การเข าถึง กระบวนการยุ ติ ธรรมดานสิ่ งแวดลอมที่ บัญ ญัติไ ว ในรั ฐธรรมนู ญแห งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 นั้นประกอบดวย มาตรา 25 ซึ่งกำหนดใหประชาชนผูถูกละเมิดสิทธิในสวนที่เกี่ ย วข องกั บ สิ่งแวดลอมตามที่กำหนดไวในมาตรา 43 สามารถยกเอาบทบัญญัติแหงรัฐธรรมนูญเพื่อใชสิทธิทางศาล หรื อ ยกขึ้นตอสูในชั้นศาลได นอกจากนี้ในรัฐธรรมนูญยังกำหนดหนาที่ของรั ฐไวในมาตรา 51 วาหากรัฐไม ป ฏิ บั ติ ตามบทบัญญัตวิ าดวยหนาทีข่ องรัฐในการดำเนินการเรื่องสิ่งแวดลอม ประชาชนและชุมชนสามารถติดตามและ เรงรัดใหรัฐดำเนินการ รวมตลอดทั้งฟองรองหนวยงานของรัฐที่เกี่ยวข องเพื่อจัดใหประชาชนไดรั บ ประโยชน ตามหลักเกณฑ และวิธีการที่กฎหมายบัญญัติโดยสามารถรองเรียนไปยังผูตรวจการแผนดินและคณะกรรมการ สิทธิ หรือฟองตอศาลรัฐธรรมนูญได ยิ่งไปกวานั้นมาตรา 213 ไดกำหนดใหบคุ คลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพ ตามที่รัฐธรรมนูญคุมครองไว มีสิทธิยื่นคำรองตอศาลรัฐธรรมนูญเพื่อใหมีคำวินิจฉัยวาการกระทำนั้ นขั ด หรื อ แยงตอรัฐธรรมนูญ


59

ขอบเขตการใชสิทธิในการมีสวนรวมของประชาชน อยางไรก็ดีรัฐธรรมนูญก็ไดขีดเส นการจำกัดสิท ธิของประชาชนเพื่ อคุมครองสิ่ง แวดลอมไว โดย การ กำหนดใหรัฐสามารถออกกฎหมายเพื่อจำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนเพื่อการคุมครองสิ่งแวดลอมไดใ น สองกรณี กรณี แ รกคือ มาตรา 37 เป นการกำหนดใหร ัฐอาจเวนคื นอสั ง หาริ มทรั พย ของเอกชนได หากมี วัตถุประสงคเพื่อ สงเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอม และในมาตรา 40 ไดกำหนดใหการจำกัดเสรีภาพใน การประกอบอาชี พ ของบุ ค คลได เพื ่ อประโยชน สาธารณะ ซึ ่ ง หมายรวมถึ ง เหตุ เกี ่ ย วกั บ การใช ส อย ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมดวย หนาที่ของรัฐ รั ฐธรรมนู ญ แห งราชอาณาจั กรไทย พุ ท ธศั กราช 2560 ได กำหนดหน า ที่ของรัฐในการปกป อง สิ่งแวดลอมไว โดยประชาชนมีสิทธิฟองตอศาลไดหากรัฐไมทำหนาที่ ดังตอไปนี้ 1) มาตรา 57 กำหนดใหรัฐตองอนุรักษ คุมครอง บำรุงรักษา ฟนฟู บริหารจัดการและใช หรือจัดใหมกี าร ใชประโยชนจากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดลอมและความหลากหลายทางชีวภาพใหเกิด ประโยชน อย า งยั ่งยื น โดยต องใหประชาชนและชุม ชนในทองถิ่ นที่เกี่ ยวข องมีสว นรว มดำเนินการและไดรับ ประโยชนจากการดำเนินการดังกลาวดวยตามทีก่ ฎหมายบัญญัติ 2) มาตรา 58 กำหนดใหการดำเนินการใดของรัฐหรือที่รัฐจะอนุญาตใหผูใดดำเนินการ ถาการนั้ นอาจ กอใหเกิดผลกระทบตอความสงบสุข วิถีชีวิตหรือสุขภาพของประชาชนหรือชุมชน หรือสิ่งแวดลอม รัฐ ตองดำเนินการใหประชาชนที่เกี่ยวของมีสวนรวมและรับฟงความคิดเห็นของ ประชาชนที่เกี่ยวของเพื่อ นำมาประกอบการพิจารณาดวยตามที่กฎหมายบัญญัติ รวมถึงตองระวังไมใหเกิดผลกระทบใด ๆ ตอ ประชาชน ชุ ม ชน สิ ่ ง แวดลอม และความหลากหลายทางชี วภาพอันเกิ ด จากการดำเนิ นโครงการ ดังกลาว และตองดำเนินการเยียวยาความเสียหายทีเ่ กิดขึ้นอยางเปนธรรม และไมชักชา หนาที่ของประชาชนในการปกปองสิ่งแวดลอม รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ไดกำหนดหนาที่ของประชาชนในการปกป อง สิ่งแวดลอมไวในหมวดวาดวยหนาที่ ของปวงชนชาวไทย โดยมาตรา 50 (8) บัญญัติใหบุคคลมีหนาที่ ใ นการ รวมมือและสนับสนุนการอนุรักษและคุมครองสิ่งแวดล อม ทรัพยากรธรรมชาติ ความหลากหลายทางชีว ภาพ รวมทั้งมรดกทางวัฒนธรรม ในฐานะปวงชนชาวไทย แนวนโยบายแหงรัฐดานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ไดวางแนวนโยบายใหรัฐบาลและหนวยงานตางๆ ต องจั ดการทรั พยากรธรรมชาติ แ ละสิ ่ งแวดล อมอย างยั ่ง ยื นแบบสง เสริม ไวใน มาตรา 72 กล า วคื อ รั ฐพึง ดำเนินการเกี่ยวกับที่ดิน ทรัพยากรน้ำ และพลังงาน ดังตอไปนี้


60

1) วางแผนการใชที่ดินของประเทศใหเหมาะสมกับสภาพของพื้นที่และศักยภาพของที่ดิน ตามหลักการ พัฒนาอยางยั่งยืน 2) จัดใหมีการวางผังเมืองทุกระดับและบังคับการใหเปนไปตามผังเมืองอยางมีประสิทธิภาพ รวมตลอดทัง้ พัฒนาเมืองใหมีความเจริญโดยสอดคลองกับความตองการของประชาชนในพื้นที่ 3) จัดใหมีมาตรการกระจายการถือครองที่ดินเพื่อใหประชาชนสามารถมีที่ทำกินไดอยางทั่วถึง และเป น ธรรม 4) จัดใหมีทรัพยากรน้ำทีม่ ีคุณภาพและเพียงพอตอการอุปโภคบริโภคของประชาชน รวมทั้ง การประกอบ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม และการอื่น 5) สงเสริมการอนุรักษพลังงานและการใชพลังงานอยางคุมคา รวมทั้งพัฒนาและสนับสนุน ใหมีการผลิ ต และการใชพลังงานทางเลือกเพื่อเสริมสรางความมัน่ คงดานพลังงานอยางยั่งยืน แผนปฏิรูปและยุทธศาสตรชาติ 20 ปเกี่ยวกับการมีสวนรวมจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม รัฐธรรมนูญไดกำหนดใหรัฐตองทำการปฏิรูปตามนัยแหงมาตรา 259 โดยนำยุทธศาสตรชาติ 20 มา ปรับใช โดยแผนฯดานการสรางการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่ เปนมิตรตอ สิ่งแวดลอม ซึ่งยุทธศาสตร ชาติ นั้น ระบุวาไดนอมนำศาสตรของพระราชาสูการพัฒนาทีย่ ั่งยืน มาเปนหลักในการจัดทำ โดยมีวิสัยทัศนใหประเทศ ไทยเปนประเทศพั ฒนาแลว ที ่ มีคุ ณภาพชี วิ ตและสิ่ งแวดลอมที่ ดีที ่สุดในอาเซีย นภายในป 257939 สำหรับ เปาหมายรูปธรรมที่ยุทธศาสตรชาติฉบับนี้ตั้งเปาไว เชน - เพิ่มมูลคาของเศรษฐกิจฐานชีวภาพ เปนรอยละ 10 ของผลิตภัณฑมวลรวม ในประเทศ (GDP) - เพิ่มพื้นที่สีเขียว เปนรอยละ 55 ของประเทศ แบงเปนปาธรรมชาติรอยละ 35 สวนปารอยละ 15 และ พื้นที่พักผอนหยอนใจรอยละ 5 - ลดการปลอยกาซเรือนกระจกลงรอยละ 20 - จัดการมลพิษ ขยะ น้ำเสีย ใหเปนไปตามมาตรฐานสากล ไมมีหลุมฝงกลบ ขยะในประเทศรอยละ 100 - เพิ่มผลิตภาพน้ำทั้งระบบ 80 เทา จากคาเฉลี่ยปจจุบัน - เพิ่มสัดสวนการใชพลังงานหมุนเวียนในการผลิตไฟฟา เปนรอยละ 40 - ใหมีนักทองเที่ยวตางชาติในเขตอุทยานแหงชาติทางทะเลไมเกิน 6 ลานคน ตอป ภายใน 5 ป ฯลฯ 2.5.

ขอบเขตการใชสิทธิและเหตุแหงการจำกัดสิทธิ ปฏิญญาสากลวาดวยสิทธิมนุษยชนรับรองเฉพาะการใชสิทธิเสรีภาพโดยสงบและไมกระทบกระเทื อน ตอสิทธิของผูอื่นเทานั้น และนอกจากนี้ในมาตรา ๒๙ (๒) ยังไดกำหนดไวอีกวา “การใชสิทธิและเสรี ภาพนั้ น บุคคลจำตองอยูภายใตเพียงเชนที่จำกัดโดยกำหนดแหงกฎหมายเฉพาะเพื่อความมุงประสงคให ไ ด ม าซึ่ ง การ 39

โครงการอินเทอรเน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน. (2561). เปดเบื้องหลังยุทธศาสตรชาติ 20 ปของ คสช.. กรุงเทพมหานคร: iLAW. หนา 61.


61

ยอมรับ และการเคารพโดยชอบในสิทธิและเสรีภาพของผูอื่น และเพื่อ ใหสอดคลองกับขอศีลธรรม ตลอดจน ความสงบเรียบรอยของ ประชาชนและสวัสดิภาพโดยทั่วไปในสังคมประชาธิปไตย”40 อยางไรก็ดี แมวารัฐภาคีแหงกติกาสากลวาดวยสิทธิพลเมืองและการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights - ICCPR) จะมี พ ันธกรณี ตามที ่ กำหนดในกติ กาฯ ข า งต นก็ตาม แต ใ นภาวะ ฉุกเฉินสาธารณะซึ่งคุกคามความอยูรอดของชาติ และไดมีการประกาศภาวะนั้น อยางเปนทางการแลว รัฐภาคี แหงกติกานี้อาจใชมาตรการทีเ่ ปนการจำกัดการคุม ครองสิทธิตามพันธกรณีของตนภายใตกติกาดังปรากฏในขอ 4 41 (ยกเวนพันธกรณีตามขอ ๖ ขอ ๗ ขอ ๘) สถานการณพิเศษที่ใหอำนาจรัฐในการจำกัดสิทธิพลเมืองและการเมืองบางประการ การตอบวา สิทธิของประชาชนอาจถูกจำกัดลงในสถานการณฉุกเฉินไดอยางไร ตองดูจากเงื่อนไขเวลา ในการบังคับใชกฎหมายประกอบ โดยหลักทั่วไป กฎหมายมีผลตั้งแตวันที่ประกาศใช ทั้งนี้กฎหมายที่มีผลราย จะมีผลยอนหลังมิได หามการออกกฎหมายมาลงโทษการกระทำที่เกิดขึ้นในอดีต ซึ่งหลักการนี้มีทั้ง กฎหมาย สิทธิมนุษยชนระหวางประเทศและกฎหมายรัฐธรรมนูญไทยยื นยั นมาตลอด แตเวลาที่สงสัยกัน คือ เมื่ อเกิ ด รัฐประหาร หรือ ประกาศกฎอัยการศึก หรือสถานการณฉุกเฉิน หลักการนี้จะคงอยูหรือไม เนื่องจาก รัฐธรรมนูญกลายเปนกฎหมายที่สิ้นผลไปแลวเมื่อคณะรัฐประหารออกคำสั่งประกาศยกเลิก ดังนั้นเมื่อมีการประกาศใชกฎอัย การศึก มีการรัฐประหาร รัฐธรรมนูญถูกยกเลิ กไปแลว จะตองสำรวจว า มี กฎหมายหรือกรอบกติกาใดที่ยังมีผลอยูอีกบาง? เพราะดูเหมือนวา เมื่อมีการรัฐประหารแลว ประเทศไทยมี เพี ย งประกาศคณะรัฐประหาร คำสั ่งฯ และกฎอั ย การศึก เป นกฎหมายสู งสุด ตอบอย างง ายดาย คื อ มี อีก มากมาย! นั่นก็คือ กฎหมายอื่นๆ ที่ยังไมถูกประกาศยกเลิก ก็จะมีผลบังคับใชอยู เพราะไมถูกยกเลิ กเพิ ก ถอน หรื อถู กประกาศทับโดยคำสั ่ง ของคณะรั ฐประหารในเรื่ องเดี ย วกั น ตั ว อย างของกฎหมายที ่ ยั งมีผลอยู คือ ประมวลกฎหมายหลักทั้ง 4 ของประเทศไทย ไดแก ประมวลกฎหมายแพงและพาณิ ชย ประมวลกฎหมาย อาญา ประมวลกฎหมายวิ ธ ี พ ิจ ารณาความอาญา ประมวลกฎหมายวิ ธ ี พิ จ ารณาความแพ ง และพาณิ ชย นอกจากนี้ พระราชบัญญัติทั้งหลายก็ยังมีผลบังคับใช อยู เกือบจะครบถว น กฎหมายเหล า นี้ ก็ยั ง คงใช ต อไป เรื่อยๆ กฎหมายที่มีลักษณะเปนกรอบกติกาทางการเมืองและรับรองสิท ธิพลเมื อง ที่คนจำนวนมากหลงลื ม รวมถึ ง เหล า นั กกฎหมายเองก็ ต ามก็ คื อ กติ กาสากลว า ด ว ยสิ ทธิ พลเมื องและการเมื อง ซึ ่ ง มี สถานะเปน

40

UN. Universal Declaration of Human Rights; Article 29 “(2) In the exercise of his rights and freedoms, everyone shall be subject only to such limitations as are determined by law solely for the purpose of securing due recognition and respect for the rights and freedoms of others and of meeting the just requirements of morality, public order and the general welfare in democratic society. ” 41 UN. International Covenant on Civil, and Political Rights. Article 4


62

พระราชบัญญัติหนึ่งในระบบกฎหมายไทย เนื่องจากรัฐสภาไทยไดใหสัตยาบันและมีผลบังคับใชในประเทศไทย แลวตั้งแต 30 มกราคม พ.ศ.2540 เพราะมีการอนุวัติการเปนพระราชบัญญัติเพื่อใหมีผลนั่นเอง ขอกฎหมายที่สำคัญและเกี่ยวของกับสถานการณพิเศษอยางสถานการณฉุกเฉิน ที่มีการประกาศใชกฎ อัยการศึก หรือกรณีการเกิดรัฐประหารมีรัฐบาลทหารใชอำนาจพิเศษนี้ ยังมีกติกาสากลวาดว ยสิ ท ธิ พ ลเมื อง และการเมือง ที่วางกรอบในการใชอำนาจและสรางหลักประกันสิทธิมนุษยชนไวอยางชัดเจน โดยขอ 4 ไดวาง แนวทางไวสามารถนำมาปรับใชกับสถานการณนี้ไดพอดี โดยสามารถปรับใชกับประเทศไทยไดดงั ตอไปนี้ 42 1) รัฐจะจำกัดสิทธิบางประการไดก็ดวยเหตุแหง “ภัยคุกคามตอความอยูรอดของรัฐ” และจำกัดสิ ท ธิ เทาที่ “จำเปน” และ “ไมเลือกประติบัติ” ตอกลุมใดกลุมหนึ่ง หากปรับใชกับสถานการณรฐั ประหารจะเห็นไดวาการประกาศ “กฎอัยการศึก” นั้นมิไดตั้งอยูในภาวะ “ภัยคุกคามตอความอยูรอดของรัฐ” เนื่องจากไมมีความขัดแยงแบบสงครามที่มกี ารปะทะและยึดพื้นที่ของกอง กำลังติดอาวุธตามเกณฑของกฎหมายวาดวยสงคราม 2) แมในยามฉุกเฉิน ก็มีสิทธิจำนวนหนึ่งที่ละเมิดหรือจำกัดมิได พูดงายๆ ไมวาเวลาใด ก็ห า มยกเลิ ก สิทธิเหลานี้ คือ43 - สิทธิในการมีชีวิต ไมถูกฆา ประหัตประหารตามอำเภอใจ เวนการประหารชีวิตตามคำพิพากษาศาล - สิทธิในเนื้อตัวรางกายไมถูกทรมาน ไมมีการซอมทรมานไมวาจะดวยเหตุผลใดๆทั้งสิ้น - สิทธิในการไมถูกกระทำเยี่ยงทาส - สิทธิไมถูกจำคุกจากการเปนหนี้สัญญา - สิทธิที่จะไมถูกลงโทษดวยโทษทางอาญาที่ไมไดเขียนไวลวงหนา รวมถึงหามออกโทษอาญาใหมไป ใชกับการกระทำในอดีต โทษทางอาญาตางๆ ที่คณะรัฐประหารจะนำมาใชจะตองระบุในกฎอัยการ

42

ดู ขอ 4 แหงกติกาสากลวาดวยสิทธิพลเมืองและการเมืองประกอบ, Article 4 of International Covenant on Civil and Political Rights: Article 4 1. In time of public emergency which threatens the life of the nation and the existence of which is officially proclaimed, the States Parties to the present Covenant may take measures derogating from their obligations under the present Covenant to the extent strictly required by the exigencies of the situation, provided that such measures are not inconsistent with their other obligations under international law and do not involve discrimination solely on the ground of race, colour, sex, language, religion or social origin. 2. No derogation from articles 6, 7, 8 (paragraphs I and 2), 11, 15, 16 and 18 may be made under this provision. 3. Any State Party to the present Covenant availing itself of the right of derogation shall immediately inform the other States Parties to the present Covenant, through the intermediary of the SecretaryGeneral of the United Nations, of the provisions from which it has derogated and of the reasons by which it was actuated. A further communication shall be made, through the same intermediary, on the date on which it terminates such derogation. 43 ดู ขอ 6, 7, 8 (ยอหนา 1 และ 2), 11, 15, 16 และ 18 ของ กติกาสากลวาดวยสิทธิพลเมืองและการเมืองประกอบ


63

ศึก หรือประมวลกฎหมายอาญา หรือพระราชบัญญัติทปี่ ระกาศไวตั้งแตแรก คณะรัฐประหารจะคิด ความผิดฐานใหมๆ หรือเพิ่มโทษไปจากกรอบกฎหมายเดิมมิได - สิทธิที่จะไดรับการยอมรับวาเปนบุคคลตามกฎหมายในทุกแหงหน คณะรัฐประหารจะประกาศให บางพื้นที่เปนแดนสนธยา เปนแดนเถื่อนไรกฎหมาย ไมมีการคุมครองสิทธิประชาชนไมได - เสรีภาพทางความคิด มโนธรรม และศาสนา 3) รัฐตองแจงการจำกัดสิทธิในกติกาฯ ตอเลขาธิการสหประชาชาติวา จะระงับสิทธิใดบาง และจะยุติ การจำกัดสิทธิเมื่อใด ดังนั้นรัฐบาลตองแจงใหสหประชาชาติทราบวา จะยกเลิกสถานการณฉุกเฉินที่มีการประกาศกฎอัยการ ศึกลงเมื่อไหร เนื่องจากการไมแจง ไมประกาศวาจะยุติเมื่อใด สรางความไมมั่นใจใหประชาชนวาจะหลุดออก จากภาวะเสี่ยงตอการถูกจำกัดสิทธิลงเมื่อใด ดังนั้นตองมีการประกาศอยางชัดเจนวายกเลิกเคอรฟว ยกเลิกการ ประกาศกฎอัย การศึกลงเมื ่อไหร ซึ ่ ง เป นที่ สงสั ย ว าคณะรัฐประหารได แจง หรือไม และคณะกรรมการสิทธิ มนุษยชนแหงชาติไดบอกใหคณะรัฐประหารแจงแลวหรือไม นี ่ ค ื อกรอบกฎหมายที่ มี ผลอยู  เสมอ ซึ ่ ง นั กกฎหมายไทยจำนวนมากเข าใจผิดว ากฎหมายระหว าง ประเทศและสิทธิมนุษยชนไมมีผลในระบบกฎหมายไทย แตแทจริงแลวกติกาฯ นี้มีผลบังคับในรัฐไทยเพราะได อนุ ว ั ต ิ การเป นกฎหมายภายในแล ว ตั ้ ง แต 30 มกราคม พ.ศ.2540 44 และยั ง มี ผลบั ง คั บ อยู  ใ นฐานะ “พระราชบัญญัติหนึ่ง” แมจะมีการยกเลิกรัฐธรรมนูญ ไปแลวก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงขอบเขตประเด็นศึกษาในงานวิจัยนี้ จะเห็นไดวาสิทธิในความเปนสวนตัว เสรี ภาพใน การแสดงออก การชุมนุมและการรวมตัวโดยสงบ นั้นมิใชสิทธิเด็ดขาดของพันธกรณีที่รัฐภาคีไมอาจกาวลวง ซึ่ง หมายความวา ในภาวะฉุกเฉินสาธารณะเชนวานั้น รัฐภาคีก็อาจใชมาตรการบางประการเพื่อจำกัดสิทธิในการ ชุมนุม รวมกลุม แสดงออก หรือความเปนสวนตัวได เพียงเทาที่จำเปนตามความฉุกเฉินของสถานการณ ซึ่ ง มี ขอสังเกตวา ถาภาวะฉุกเฉินสาธารณะซึ่งคุกคามความอยูรอดของชาตินั้นเกิดขึ้นจาก “กลุมเคลื่อนไหวเรียกรอง สิ ท ธิ ใ นทรั พ ยากรธรรมชาติแ ละสิ่ ง แวดลอม” นั ้ นเอง รั ฐภาคี ก็ชอบที ่ จะพิจ ารณาโดยเด็ ดขาดและดำเนิน มาตรการบางประการ ในการจำกัดขอบเขตของการรวมตัวและแสดงออกเพื่อระงับภาวะฉุกเฉินสาธารณะเชน วานั้นไดหรือไม ขอบเขตการใชสิทธิเสรีภาพเพื่อปองกันการละเมิดสิทธิของผูอื่น การใชเสรีภาพในการแสดงออกมีขอบเขตบางประการ นั่นคือ การจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกเพื่ อ คุมครองสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่ นตามมาตรา 34 ของรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุท ธศั กราช 2560 โดยสิทธิของผูอื่นสัมพันธกับเสรีภาพแสดงออก ก็คือ สิทธิในความเปนอยูสวนตัว เกียรติยศ ชื่อเสียงและ

44

ข  อ ม ู ล จ า ก เ ว ็ บ ไ ซ ต  ท า ง ก า ร ข อ ง ค ณ ะ ก ร ร ม ก า ร ส ิ ท ธ ิ ม น ุ ษ ย ช น แ ห  งช า ติ ค  น ห า เ ม ื ่ อ 15/2/2562. http://www.nhrc.or.th/Human-Rights-Knowledge/International-Human-Rights-Affairs/InternationalLaw-of-human-rights/ICCPR_th.aspx


64

ครอบครั วตามมาตรา 32 การแสดงออกที่ ละเมิดความเป นส ว นตัว เกี ย รติ ยศชื ่ อเสี ยงของบุ คคลอื ่ นจึ งผิด กฎหมาย นำไปสูนำโทษทางอาญาและความรับผิดทางแพง หากรัฐจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกของบุคคลบน พื้นฐานของการคุมครองสิทธิในความเปนสวนตัวเกียรติยศชื่อเสียงของบุคคลอื่น จึงเปนการกระทำที่ชอบดว ย กฎหมาย การแสดงออก 2 ประเภทที่พึงระมัดระวังประกอบดวย การแสดงออกที่สรางความเกลียดชั ง (Hate Speech) และการกลั ่นแกล ง (Bullying) โดยการแสดงออกในสองลั กษณะขางตนยอมส งผลกระทบทั้ งกับ บุคคลอื่นที่ตกเปนเหยื่อการถูกกระทำ และยังสงผลตอภาพลักษณของขบวนการเคลื่อนไหวที่สะทอนให สัง คม คลางแคลงสงสัยในความชอบธรรมรวมไปถึง เกรงที่จะต องเขารวมกับ ขบวนการที่ใชค วามรุนแรงกระทำต อ บุคคลอื่นอยางผิดกฎหมาย ซึ่งนำไปสูความรับผิดทางกฎหมาย การแสดงออกที่สรางความเกลี ย ดชั ง คื อ การแสดงออกตอบุค คลหรื อกลุ ม บุ คคลโดยมี ฐานอคติ เกี่ยวกับเชื้อชาติ ชนชั้น รสนิยมทางเพศ ถิ่นกำเนิด อุดมการณทางการเมือง ชาติพันธุ วัฒนธรรม ศาสนา หรือ สถานภาพทางเศรษฐกิจสังคมที่นำไปสูการแบงแยกได เนื้อหาที่ถือวาเปนการแสดงออกแหงความเกลียดชัง คือ การดา บริภาษ ดวยการใชสารที่สื่อความหยาบคาย รุนแรง ดูถูก เหยียดหยาม การสรางความเขาใจผิด การ โนมนาวใจชักจูงใหเชื่อถือ ดวยขอมูลผิดหรืออคติสวนตัว การนิยามคนอื่นในเชิงลดคุณคา ทำใหมีความหมาย เชิงลบ กลายเปนตัวตลก ลดทอนคุณคาความเปนมนุษยของผูอื่น การสื่อสารที่สรางความรูสึกแบงฝกแบงฝาย แบงพวกเขาพวกเราแยก ออกชัดเจนไมใชพวกเดียวกัน การสื่อความหมายปฏิเสธการอยูรวมกัน การกีดกันออก จากสังคม การตีตรา ประทับภาพเหมารวมตายตัวในเชิงลบ การยุยง ปลุกปน ปลุกระดมใหผูอื่นรวมเกลียดชัง สนับสนุนใหใชความรุนแรงตอผูที่เห็นตาง ไปจนถึงการระดมกำลังไลลา ขมขูคุกคาม การลงทัณฑทางสังคม รุม ประณามอยางรุนแรงดวยกลุมบุคคล การเนรเทศหรือนำไปสูการประกาศเขนฆาอาฆาต 45 โดยกติ การะหว างประเทศว าดว ยสิ ทธิพ ลเมืองและการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights: ICCPR) ซึ่งไทยเปนภาคี ในขอที่ 20 ไดวางขอจำกัดเกี่ยวกับการแสดงวาหาม 1. การโฆษณาชวนเชื่อใดๆ เพื่อการสงคราม เปนสิ่งตองหามตามกฎหมาย 2. การสนับสนุนใหเกิดความเกลียดชังในชาติ เผาพันธุ หรือศาสนา ซึ่งยั่วยุใหเกิดการเลือกปฏิ บั ติ การเป น ปฏิปกษ หรือการใชความรุนแรงเปนสิ่งตองหามตามกฎหมาย หากลองศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายสหรัฐอเมริกา ในบทบัญญัตเิ พิ่มเติมที่ 1 ของรัฐธรรมนูญ (First Amendment of Constitution of the United States) การกระทำที่จะไมอยูในความคุม ครองของสิทธิและ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ซึ่งผูกระทำดังกลาวจะตองไดรบั โทษ ไดแก 46

45

ณัตถยา สุขสงวน. (2557). การปฏิรูปสื่อเพื่อควบคุมการเผยแพรเนื้อหาสื่อที่ สรางความเกลีย ดชัง. กรุงเทพฯ: สำนั ก งาน วิชาการ สำนักนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. 4(14), หนา 3.

46

Thai Human Right. (2553). ข อทำความ เข า ใจในเรื ่ อ งเสรี ภ าพของการ แสดงความคิ ด เห็ น (Freedom of Expression). สืบคนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2562. https://thaihumanrights.wordpress.com/2013/07/05/ขอทำความ เขาใจในเรื่อง/.


65

1) Defamation หรือ การหมิ่นประมาท ซึ่งการหมิ่นประมาทนั้น รวมไปถึง การปาวประกาศดวยถอยคำหรือ การแถลงการณดวย 2) Causing Panic หรือ คำพูดที่สรางความหวาดกลัวหรือทำใหขวัญหาย เชน การตะโกนวา “ไฟไหม” ใน โรงละครที่แออัดไปดวยผูคน เพราะในโรงละครที่ผูชมหนาแนนอาจทำใหเกิดความตื่นตระหนก และอาจ ทำใหผูคนวิ่งชนกันและลงเอยดวยการบาดเจ็บ 47 3) Fighting Words เปนคำพูดที่ยุยงใหเกิดการทำรายรางกายและจิตใจ หรือเปนสาเหตุของการก อให เ กิ ด การบาดเจ็บ การทุกขทรมาน 4) Incitement to Crime เปนการกระทำที่ไปกระตุนใหไปกออาชญากรรม 5) Sedition หรือการปลุกระดมมวลชนใหตอ ตานรัฐบาล หรือ การปลุกระดมมวลชน ใหกอความไมสงบรวม ไปถึงการกอกบฏดวย 6) Obscenity หรือเรื่อง หยาบคาย ลามก อนาจาร รวมไปถึงการใชคำพูด รูปภาพที่เปนรูปภาพเปลือย 7) Perjury and Blackmail หมายถึ งการโกหก หรื อการหักหลัง เพื ่ อผลประโยชน ซึ ่ ง ในประเด็นนี้ไม ถูก คุมครองตามหลัก Freedom of Speech 8) Offense หรือการกาวราว ขมขู 9) Establishment of Religion หรือการประกาศศาสนา (ลัทธิความเชื่อ) เนื่องจากเรื่องศาสนาเป นเรื่ องที่ ละเอียดออน และกระทบตอจิตใจของผูคนไดงา ย จะเห็นวาการแสดงออกในลักษณะสรางความเกลียดชังดังกลาวมีความเปราะบาง เพราะจะนำไปสูการ ควบคุมโดยรัฐบาลไดโดยงาย และอาจนำไปสูการสลายขบวนการเคลื่อนไหวในทายทีส่ ุด การแสดงออกที่พึงระวังอีกประการ คือ การกลั่นแกลงบนโลกออนไลน อันหมายถึง การที่บุค คลใด บุคคลหนึ่งหรือหลายคน ใชขอมูลและการสื่อสารที่เกี่ยวของกับเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกสในการลวงละเมิด หรื อ คุกคามตอบุคคลอื่น โดยการสงหรือโพสตขอความหรือรูปภาพที่มีลักษณะโหดราย และเชนเดียวกั บ การกลั่ น แกลงในรูปแบบอื่นๆ การกลั่นแกลงบนโลกออนไลน เปนการใชอำนาจควบคุมปจเจกบุคคลอื่นที่ ออ นแอกว า ความแตกตางกันเรื่องความแข็งแรงและอำนาจเปนสาเหตุสำคัญทีท่ ำใหผูถูกกลั่นแกลงไมสามารถปองกันตัวเอง ได 48 การกลั่นแกลงบนโลกออนไลนเกิดขึ้นไดหลากหลายรูปแบบ ไมวาจะเปน (1) การสงขอความซึ่งเต็มไป ดวยความโกรธ (Flaming) หรือความขอความที่มีลักษณะหยาบคาย (2) การคุกคาม (Harassment) หรือการ สงขอความที่มีลักษณะนารังเกียจ สกปรก ดูถูกและหยาบคาย ซ้ำๆ (3) การใสราย (Denigration) คื อการดู หมิ่นผูอื่นทางออนไลนโดยการสงหรือโพสตขาวลื อเกี่ย วกับผู อื่นในลักษณะที่ทำใหชื่อเสียงหรื อความสั ม พั นธ

47

Nigel Warburton. (2560). จอมพล พิทักษโยธิน, แปล. (2560). free speech. กรุงเทพฯ : โอเพนเวิลดส พับลิชชิ่ง เฮาส, หนา 31.

48

Kimberly L. Mason. (2008). “Cyberbullying: A preliminary assessment for school personnel.” Psychology in the Schools. 45(4): 323


66

ของผูอื่นนั้นเสียหาย (4) การปลอมตัว (Impersonation) (5) การเผยแพรความลับของผู อื่นหรื อข อมู ลหรื อ รูปภาพที่ทำใหผูนั้นอับอายสูเครือขายออนไลน (Outing) (6) การใชกลโกงหลอกลวงผูอื่นใหเปดเผยความลั บ หรือขอมูลที่นาอับอายแลวเผยแพรสูเครือขายออนไลน (Trickery) (7) การตัดคนอื่นออกจากกลุมโดยตั้งใจและ โหดราย (Exclusion) 49 การสรางความเกลียดชังและการกลั่นแกลงบนโลกออนไลน สวนใหญมักจะมีลักษณะเป นการโพสต ขอความหรือรูปภาพ ที่ทำใหผูอื่นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง กลาวคือ เปนการกระทำที่ มี ค วาม ใกลเคียงกับความผิดฐานหมิ่นประมาทตามมาตรา 326 แหงประมวลกฎหมายอาญา หากกระทำผานเครือขาย หรือสังคมออนไลนสาธารณะ เชน Facebook หรือสื่อสังคมออนไลนอื่นๆ ยังถือเปนความผิดฐานหมิ่นประมาท โดยการโฆษณาตามมาตรา 328 ได เพราะเครือขายออนไลนหรือเว็ปไซตดังกลาวสามารถขอความหรือรูปภาพ ที่เปนการกลั่นแกลงเผยแพรสูสาธารณชนไดอันเปนลักษณะของการโฆษณา หากการสรางความเกลียดชังหรือการกลั่นแกลง ออนไลนไดกระทำโดยการดาดวยถอยคำหยาบคาย และการสบประมาททีไ่ มเปนความผิดฐานหมิ่นประมาทอาจจะมีความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหนาตามมาตรา 393 ได ซึ่งความผิดฐานดูหมิ่นผูอื่นซึ่งหนา หรือดวยการโฆษณาตามมาตรา 393 เปนการกระทำเหยียดหยามเกี ย รติ โดยทำใหผูถูกกระทำรูไดหรือทราบไดขณะมีการกระทำในทันใดนั้นเอง กลาวคือ เพียงแตกล า วถ อยคำหรื อ แสดงถอยคำใหผูถูกกระทำไดยินหรือทราบในทันใดนั้นเองก็เปนความผิดแลว ไมจำตองกระทำตอหนาหรือแม จะ ไมไดกลาวตอหนา แตผูถูกกระทำไดยินถอยคำที่ผูกระทำกลาวหรื อไดทราบขณะมีการกระทำ ย อมเป น ความผิด ดังนั้น การดูหมิ่นผูอื่นผานทางเครือขายอินเตอรเน็ตที่คูสนทนาสามารถโตตอบกันไดทันที จึงเปนการ ดูหมิ่นซึ่งหนา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 393 50 ถาเปนการรังแก ขมเหง คุกคาม ซึ่งใหเหยื่ อได รั บ ความอับอายหรือเดือดรอนรำคาญ ก็ถือเปนความผิดอาญาตามมาตรา 397 หากเปนการรังแก ขมเหง คุกคาม ที่มีลักษณะที่ทำใหไดรับความอับอายหรือเดือดรอนรำคาญ ทัง้ การแสดงออกที่สรางความเกลียดชังและการกลั่นแกลงที่เปนความผิดอาญายอมกอใหเกิดความรับ ผิดทางแพงในมูลละเมิดตามประมวลกฎหมายแพงและพาณิชยตามมาตรา 420 ประกอบมาตรา 422 และหาก เป นการแสดงออกซึ่ งขอความอั นฝ าฝ นความจริงก็ เปนความรับผิดตามมาตรา 423 ซึ ่ ง นำไปสู การชดใชคา สินไหมทดแทนใหกับผูเสียหายทัง้ สิ้น รวมถึงไดสรางความชอบธรรมใหกับรัฐในการใชมาตรการทางปกครองใน การควบคุมการแสดงออกหรือรวมกลุมของบุคคลที่รว มกันกระทำการเชนวาไดโดยชอบดวยกฎหมาย การรวมกลุ  ม ในชุ ม ชนเสมื อนเพื ่ อแสดงออกในประเด็ นทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละสิ ่ ง แวดล อมจึง จำเปนตองหลีกเลี่ยงการสรางความเกลียดชังและกลั่นแกลงบุคคลอื่นเพื่อรั กษาความชอบธรรมของขบวนการ และละเวนการละเมิดสิทธิของผูอื่นอันเปนความผิดตามกฎหมายดวย 49

Join O. Hayward. (2011). “Anti-Cyber Bullying Statutes: Threat to Student Free Speech.” Cleveland State Law Review. 59(85): 88-89

50

คำชี้ขาดความเห็นแยงของอัยการสูงสุดที่ 27/2549 แตถึงแมตอมามีศาลฎีกาไดวินิจฉัยว า การดากันทางโทรศั พ ท ไ ม เ ป น ดู หมิ่นซึ่งหนา ในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3711/2557 ซึ่งแนวคำวินิจฉัยของศาลฎีกานั้นเปนเพียงตัวอยางการใชกฎหมาย ซึ่ง อาจจะเปลี่ยนแปลงไดเสมอ หากมีคดีทำนองนี้เกิดขึ้นอีก แนววินิจฉัยอาจจะเปลี่ยนไปก็เปนได


67

บทถัดไปจะนำบรรทัดฐานทางกฎหมายไปวิเคราะหสถานการณปจจุบันวาอะไรเปนที่ม าของสภาพ ปญหาเรื้อรังขัดขวางการมีสวนรวมของประชาชน และใชเปนกรอบวิเคราะหกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นจริงตามบทที่ 4 และในบทที่ 5 จะไดวิเคราะหบทกฎหมายลำดับรองที่รัฐและบรรษัทเอกชนใชเปนมาตรการจำกัดสิทธิ ของ ประชาชนวาสอดคลองกับบรรทัดฐานทางกฎหมายที่อธิบายไวในบทที่ 2 นี้หรือไม หากรัฐไทยยังบกพร องไม สามารถพัฒนาไปสูมาตรฐานก็จะชี้แนวทางในลักษณะขอเสนอเชิงนโยบายตอไป


68

บทที่ 3 สถานการณปจจุบันและสภาพปญหาในการมีสวนรวมของประชาชน เมื่อเห็นกรอบทางกฎหมายที่เปนมาตรฐานขั้นต่ำในการประกันสิทธิในการรวมกลุมและแสดงออกใน ประเด็นฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมอันเปนรากฐานของการสนับสนุนใหประชาชนมีสวนรว มร ว ม ในการพัฒนาอยางยั่งยืนแลว จึงสามารถวิเคราะหสถานการณปจจุบนั ที่เกิดขึ้นวาเอื้อใหเกิดการมีสวนรวมของ ประชาชนในการขับเคลื่อนขบวนการดานสิ่งแวดลอมและทรัพยากรหรือไม หากมีอุปสรรคขัดขวางการใชสิทธิก็ ตองวิเคราะหใหเห็นสภาพปญหาเพื่อนำไปสูการแกไขแตอยางใด 3.1. สถานการณปจจุบัน ในปจจุบันอินเตอรเน็ตไดเขามามีบทบาทในการเปนชองทางในการสื่อสารและสรางพื้นที่สาธารณะใน การเชื่อมโยงผูคนที่มีความสนใจและรสนิยมใกลเคียงกันใหเขามาปฏิสัมพันธและแบงปนข อมูลความคิด และ ความปรารถนาความหวังรวมกัน อันเปนที่มาวาตองศึกษาหาความเปนไปไดในการใชอินเตอรเน็ตสงเสริมความ เปนไปไดในการรวมกลุมกันเพื่อแสดงออกในประเด็นฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม นอกจากนี้ยัง ได สำรวจสถานการณของการใชสิทธิรวมกลุมและแสดงออกในอินเตอรเน็ตวามีอุปสรรคหรือการสนับสนุนในการ ใชสิทธิเสรีภาพเพื่อขับเคลื่อนประเด็นสาธารณะหรือไม 1) สถานการณปจจุบันดานการใชอนิ เตอรเน็ต การใชอินเตอรเน็ตในฐานะสื่อกลางและพื้นที่ในการสื่ อสารของผูบริโภคในตลาดอีคอมเมิ ร ซไทยจะ สามารถเปลี่ยนใหกลายเปนพลังขับเคลื่อนประเด็นสาธารณะไดหรือไม ตองสำรวจถึงความเปนไปไดผานขอมูล สถิติการเติบโตของตลาดอีคอมเมิรซไทยรวมถึงความแพรหลายของการใชอุปกรณสื่อสารวามีศักยภาพในการ สรางชุมชนเสมือนเพื่อผลักดันขบวนการเคลื่อนไหวดานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม คนไทยใชอินเตอรเน็ตเพิ่มขึ้น สำนักงานสถิติแหงชาติ ไดระบุถึงผลการสำรวจประชากรอายุ 6 ปขึ้นไปประมาณ 63.3 ลานคนพบวา มี ผู  ใ ช คอมพิ วเตอร 17.9 ล า นคน (ร อยละ 28.3) ผู  ใ ช อินเตอรเน็ ต 36.0 ล า นคน (ร อยละ 56.8) และผูใช โทรศัพทมือถือ 56.7 ลานคน (รอยละ 89.6) เมื่อพิจารณาแนวโนมการใชอินเตอรเน็ต ระหวางป 2557-2561 พบวาผูใชอินเตอรเน็ตเพิ่มขึ้นจากรอยละ 34.9 (จำนวน 21.8 ลานคน) เปนรอยละ 56.8 (จำนวน 36.0 ล า น คน) สำหรับอุปกรณในการเขาถึงอินเตอรเน็ตพบวาผูใชอินเตอรเน็ตใช โทรศัพทมือถือแบบ Smart Phoneใน การเขาถึงอินเตอร เน็ตคอนขางสูงคื อ รอยละ 94.7 ใช PC รอยละ 38.8 ใช Notebook รอยละ 16.6 และ


69

Tablet รอยละ 6.9 โดยครัวเรือนที่มีการเชื่อมตออิ นเตอร เน็ต พบวามีการเชื่อมตออินเตอร เน็ ต แบบไร สาย เคลื่อนที่โทรศัพทมือถือ 3G ขึ้นไป (เชน WCDMA, EV-DO) สูงที่สุดคือรอยละ 73.9 รองลงมาประเภท Fixed broadband ร อ ยละ 21.0 Narrowband แบบไร ส ายเคลื ่ อ นที ่ โ ทรศั พ ท ม ื อ ถื อ (2G, 2.5G เช น GSM,CDMA,GPRS) ร อยละ 3.2 และแบบ Analogue modem, ISDN มี เพี ย งร อยละ 1.0 1 แสดงใหเห็ นวา อินเตอรกำลังจะเปนสื่อหลักในสังคมไทยไปแลวเมื่อประชาชนเขาถึงสมารทโฟนที่มีราคาต่ำลงไดมากขึ้นเรื่อยๆ ศักยภาพตลาดอีคอมเมิรซในไทยกับการขับเคลื่อนประเด็นการพัฒนาอยางยืน ศูนยวิจัยกสิกรไทยประเมินวาป พ.ศ.2560 ที่ผานมาตลาดอีคอมเมิรซ มีมูลคาประมาณ 214,000 ลาน บาท และจะเพิ่มขึ้นเปนกวา 470,000 ลานบาท ในป พ.ศ.2565 โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยประมาณร อยละ 17.0 ตอป เมื่อเทียบกับภาพรวมของธุรกิจคาปลี กคาสงทั้งระบบที่คาดวาจะขยายตัวเฉลี่ ยรอยละ 5.0 ต อป สงผลใหธุรกิจอีคอมเมิรซจะมีสวนแบงในตลาดคาปลีกทั้งระบบเพิ่มขึ้นจากรอยละ 3.7 ในป 2558 เปนรอยละ 8.2 ของมูลคาตลาดทั้งระบบในป พ.ศ. 2565 2 ดังนั้นการใหขอมูลเกี่ยวกับสินคาและบริการที่มีกระบวนการ ผลิตไมเปนกับสิ่งแวดลอมทางอินเตอรเน็ตอาจกลายเปนชองทางสำคัญในการสรางความตระหนักรูใหกับสังคม โดยอาศัยพลังของผูบริโภคในการผลักดันผูผลิตใหปรับปรุงกระบวนการผลิต ในป พ.ศ. 2556 โพลลระบุมีผูเคยสั่งซื้อสินคาออนไลนในไทยอยางน อยประมาณรอยละ 20.7 ตอมา ตัวเลขนี้เพิ่มเปนรอยละ 36.95 ในป พ.ศ. 2560 และในปเดียวกันนี้ก็มีผลสำรวจที่ระบุวาการซื้อสินคาออนไลน ขึ้นมาติด 1 ใน 5 กิจกรรมยอดฮิตของผูใชอินเทอรเน็ตเปนครั้งแรกในไทย สวนขอมูลลาสุดที่สมาคมการค า ผู ใหบริการชำระเงินอิเล็กทรอนิกสไทยไดทำการประเมิน พบวาจำนวนธุรกรรมที่ใชเงินสดจะลดลงจากร อยละ 90 ในป จ จุบั น สู  ร ะดั บร อยละ 50 ภายใน 2 ป ปรากฏการณ เหล านี ้เป นภาพสะท อนถึ ง อุต สาหกรรม ‘อี คอมเมิรซ’ (e-Commerce) ในไทยที่กำลังเฟองฟูอยางกาวกระโดดในชวงไมกี่ปที่ผานมา กอใหเกิดการกระตุน ทางเศรษฐกิจในมิติตาง ๆ นำไปสูการลงทุนใหม ๆ ในหลายดาน ทั้งในดานการขนสง โกดังสินคา และการ รองรับเทคโนโลยี การชำระเงิ นออนไลน เปนตน3 หากเรื่องการพัฒนาอยางยั่ง ยืนกลายเป นคุ ณ ค า หลั ก ของ ผูบริโภคในตลาดอีคอมเมิรซ การขับเคลื่อนใหผูผลิตปรับกระบวนการผลิต โลจิสติกส และองคาพยพที่เกี่ยวของ ใหสอดคลองกับมาตรฐานการรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอม ก็จะมีพลังมากขึ้น

1

สำนักงานสถิติแหงชาติ. (2561). การสำรวจการมีการใชเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อ สารในครัวเรือ น พ.ศ. 2561 (ไตรมาส 1). กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแหงชาติ. 2 ศูนยวิจัยกสิกรไทย. (2560). ‘กลยุทธสรางประสบการณโดนใจ’ ... ทางรอดคาปลีกรายยอย ทามกลางตลาดออนไลน ช็ อ ป ปงที่แขงขันกันรุนแรง. กรุงเทพฯ: ศูนยวิจัยกสิกรไทย. 3 ทีมขาว TCIJ. (2561, มีนาคม 18). คาดป 2565 e-Commerce ไทยพุง 4.7 แสนลาน ยักษใหญยังขาดทุน-สรรพากรจ อ เ ก ็ บ ภ า ษี . เ ช ี ย ง ใ ห ม : ศ ู น ย  ข  อ ม ู ล & ข  า ว ส ื บ ส ว น เ พ ื ่ อ ส ิ ท ธ ิ พ ล เ ม ื อ ง ( TCIJ). Retrieved from https://www.tcijthai.com/news/2018/18/scoop/7828


70

การเปลี่ยนผานชีวิตดิจิทัลไปสูการการเมืองในชีวิตประจำวัน สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส (องคการมหาชน) ไดระบุถึงผลสำรวจพฤติกรรมผูใชงาน อินเตอรเน็ตประเทศไทยป พ.ศ. 2561 พบวาคนไทยใชอินเตอรเน็ตเฉลี่ยนานขึ้นเปน 10 ชั่วโมง 5 นาทีตอวั น เพิ ่ ม ขึ ้ นจากป ก อน 3 ชั ่ ว โมง 41 นาที ต อวั น นอกจากนี ้ คนไทยยั งนิ ย มใช โซเชีย ลมี เดี ย อาทิ Facebook, Instagram, Twitter และ Pantip สู ง มากถึ ง 3 ชม. 30 นาที ต  อวั น ขณะที ่ การรั บชมวีด โี อสตรี ม มิ ่ ง เช น YouTube หรื อ Line TV มี ชั ่ ว โมงการใช ง านเฉลี ่ ย อยู  ท ี ่ 2 ชม. 35 นาที ต  อวั น ส ว นการใช แ อปพลิ เคชันเพื่อพูดคุย เชน Messenger และ LINE เฉลี่ยอยูที่ 2 ชม. ตอวัน การเลนเกมออนไลนอยูที่ 1 ชม. 51 นาที ตอวัน และการอานบทความหรือหนังสือทางออนไลนอยูที่ 1 ชม. 31 นาทีตอวัน เมื่อดูการเปลี่ยนผานการใช ชีวิตประจำวันไปสูชีวิตดิจิทัล จะเห็นไดวา 11 อันดับแรกที่ผูใชอินเตอรเน็ตทำกิจกรรมทางออนไลน ม ากกว า แบบดั้งเดิม ไดแก 1.การสงขอความ รอยละ 94.5 2.การจองโรงแรม รอยละ 89.2 3.การจอง/ซื้อตั๋วโดยสาร รอยละ 87.0 4.การชำระคาสินคาและบริการ รอยละ 82.8 5.อานหนังสือพิมพ/ขาว/บทความ รอยละ 78.5 6. บริการ รับ-สงเอกสาร รอยละ 76.2 7.ดูโทรทัศน/ถายทอดสด/ดูภาพยนตร/ฟงวิทยุ รอยละ 76.1 8.บริ การ แท็กซี่ รอยละ 73.3 9.บริการสั่งอาหาร รอยละ 69.1 10.ใชพูดคุย/อินเตอรเน็ต รอยละ 68.4 และ 11.ซื้ อ สินคาและบริการ รอยละ 49.6 4 การสื่อสารประเด็นอนุรักษธรรมชาติและสิ่งแวดลอม หรือการระดมมวลชน พลเมืองเน็ตใหตระหนักถึงปญหาดานสิ่งแวดลอมจึงเปนชองทางที่จะมีอิทธิพ ลทางการเคลื่ อนไหวขบวนการ ดานสิ่งแวดลอมมากขึ้นเรื่อยๆ โซเชียลมีเดียในฐานะสื่อกลางและพื้นที่ในการสื่อสารประเด็นสาธารณะโดยอาศัยการขยายตัวของตลาด ผูซื้อสินคาออนไลนไทยกวารอยละ 51 ซื้อสินคาออนไลนผาน social media อยาง Facebook และ Instagram หรือที่เรียกวา Social Commerce ซึ่งนับวาเปนสัดสวนที่สูงเปนอันดับตนๆ ของโลก สอดคลองกับ สัดสวนจำนวนผูใชงาน social media ในไทยที่คอนขางสูง จากผลสำรวจของ PWC พบวาสัดสวนของผูบริโภค ออนไลนชาวไทยที่ซื้อสินคาผาน social media มีอยูสูงถึงรอยละ 51 เทียบกับคาเฉลี่ยของโลกที่รอยละ 16 ความนิยมดังกลาวสอดคลองกับสัดส วนจำนวนผูใช งาน social media ของไทยที่คอนขางสูง โดยกรุ ง เทพฯ นับวาเปนเมืองที่มีจำนวนผูใชงาน Facebook มากที่สุดในโลก5 การใชอินเตอรเน็ตโดยเฉพาะโซเชียลเน็ตเวิรค เปนพื้นที่ในการสรางชุมชนเสมือนที่เชื่อมโยงกันดวยสำนึกรวมดานสิ่งแวดลอม และยังสามารถประยุกตใชเปน ชองทางในการแสดงออกเพื่อมีสวนรวมในกำหนดทิศทางนโยบายดานสิ่งแวดลอม หรือการมีสวนรวมตัดสินใจ ในโครงการสาธารณะทีม่ ีผลกระทบตอสิทธิในคุณภาพชีวิตที่ดดี านสิ่งแวดลอมของประชาชน

4

สำนักงานพัฒนาธุ รกรรมทางอิเล็ กทรอนิ กส (องคการมหาชน). (2561). Thailand Internet User Profile 2018 ผล สำรวจพฤติกรรมการใชอินเทอรเน็ ตของคนไทยประจำป 2561. กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็ ก ทรอนิ ก ส (องคการมหาชน). 5 ศูนยวิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย. (2560). SCB EIC: Social Commerce เทรนดคาออนไลนที่มาแรงไม แพ Lazada. กรุงเทพฯ: ศูนยวิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย.


71

2) สถานการณปจจุบันดานการควบคุมการแสดงออกและการสอดสองชุมชนในโลกเสมือน สถานการณควบคุมและสอดสองระดับโลกสืบเนื่องจากกระแสตอตานการกอการราย หลังเหตุการณวินาศกรรม 9/11 ในสหรัฐอเมริกา 6 อุตสาหกรรมเทคโนโลยีทหารและการรักษาความ ปลอดภัยกลับมาคึกคัก เนื่องจากรัฐบาลทั้งหลายไดฉวยใช “ความสะพรึงกลัว” ของประชาชนมาเปนขออางใน การเพิ่มอำนาจทางกฎหมายและกำลังอาวุธยุทโธปกรณเพื่อตอสูกับผูกอการราย แตในทางกลับกันรัฐก็ฉวยใช โอกาสจากความหวาดกลั ว หวั่นไหวของสั ง คมเปนข ออ างในการใช กฎหมายควบคุ มการแสดงออกในโลก ออนไลนรวมถึงสอดสองกิจ กรรมบนพื้ นที่ไซเบอร จนอาจกลาวไดวา รัฐไดกระทำกับ ประชาชนผู ตื่ นตั ว ทาง การเมือง เสมือนวาเปน “ผูกอการราย” เนื่องจากไดทุมงบประมาณและอาศัยวิธีการทางทหารและขาวกรอง เพื่อสอดสองและยอยสลายประชาสังคมและเครือขายมวลชนเหลานั้ นอยางเป นระบบ ซึ่งในหลายครั้ง พบว า ฝายความมั่นคงไดมีความรวมมือกับบรรษัทเจาของเทคโนโลยีขาวกรองและสารสนเทศเพื่อจัดซื้ออุปกรณ แ ละ จัดจางบุคคลากรของบรรษัทดวยภาษีของประชาน แตนำมาสอดสองบุคคลที่มไิ ดเปนภัยตอสาธารณะ เพียงแต คุกคามกลุมทุนทั้งหลายที่เห็นวาประเด็นที่ผูพิทักษสิทธิมนุษยชนเคลื่ อนไหวอาจไปกระทบผลประโยชน ท าง เศรษฐกิจของตน เชน ขบวนการยึดแหลงธุรกิจการเงิน Occupy Wall Street เปนตน ความเชื่อมโยงของเหตุการณ 9/11 กับการควบคุมสอดสองการมีสวนรวมทางการเมืองของประชาชน ในประเด็นสาธารณะ ไดสะทอนถึงการเลื่อนไถลของ “มาตรการตอตานกอการราย” ทั้งหลาย ที่ไดกลายสภาพ เปนขออางครอบจักรวาลใหรัฐเพิ่มอำนาจทางกฎหมายและความชอบธรรมใหกับปฏิบัติการที่สุมเสี่ยงต อการ ละเมิดสิทธิมนุษยชนของประชาชนอยางตอเนื่อง ความกังวลของผูพิทักษสิทธิมนุษยชนที่เสี่ยงภัยมืดจากรั ฐได ถูกแถลงอยางกระจา งแจ งออกมาในหลักฐานอยางเปนทางการของสหประชาชาติ 7 เมื่อมีจดหมายข า วของ สำนักงานขาหลวงใหญสิทธิมนุษยชนสหประชาชาติตอการแกไขกฎหมายตอตานกอการรายของรัฐตางๆ เช น ลาสุดกรณีราชอาณาจักรสเปนกำลังแกไขประมวลกฎหมายอาญาเพื่อตอตานการกอการราย แตไดใหนิยามที่ คลุมเครือจนอาจนำไปใชในการลิดรอนสิทธิในการชุมนุมและความเปนสวนตัวของพลเมืองที่ตองการมีสวนรวม ทางการเมืองการปกครองได เนื่องจากฝายความมั่นคงสเปนไดหยิบเอาเหตุการณสังหารหมูในยุโรป (ชารลี เอปโด) หรือกอการราย (พลเมื องสเปนเข าร วมกลุ ม IS, ISIS) ที ่ ม ี การนำการ ตูนลอเลีย นศาสดาในหนั งสือพิมพแ ละเผยแพรต อทาง อินเตอรเน็ตไปทั่วโลก รวมไปถึงการลักลอบเขา เมืองผิด กฎหมายของชาวอัฟริ กันตามพรมแดน ช ว งนี้ เป น ขออางปดบังเจตจำนงที่แทจริงในการควบคุมการชุมนุมของประชาชนที่ลุกฮือขึ้นตอตานนโยบายดานเศรษฐกิจ 6

เหตุการณผูกอการรายจูโจมเป าหมายในอาณาเขตสหรัฐอเมริก าหลายจุดในวันที่ 11 กันยายน ค.ศ.2001 ตอมาในภายหลั ง มี การถกเถียงกันวา ฝายขาวกรองสหรัฐรูเบาะแสลวงหนาถึงแผนกอการแตทำไมไมอาจยับยั้งปฏิบัติการเหลานั้น 7 UN Office of the High Commissioner for Human Rights (OHCHR), Press Release of Human rights experts from the 23/2/2015. <http://www.ohchr.org/EN/NewsEvents/Pages/DisplayNews.aspx?NewsID=15597&Lang ID=E>. Accessed 28/3/2015.


72

นับตั้งแตเกิดวิกฤตการเงินในยุโรปโดยเฉพาะสเปนในป 2011 เปนตนมา รัฐและฝายความมั่นคงจึงฉวยโอกาส ออกกฎหมายความมั่ นคงฯ โดยอาศัยความหวาดหวั่นของสังคมมาบั งหนาความตองการที่ แทจ ริ ง 8 ซึ่ ง เป น แนวโนมที่รัฐอื่นเอาอยางและลอกเลียนแบบกันอยางแพรหลายนับตั้งแตสหรัฐแสดงนำมาหลังเหตุการณ 9/11 เมื่อป 2001 ขอกังวลตอกระบวนการแกกฎหมายตอตานการกอการรายฉบับใหมของสเปนที่สุมเสี่ยงตอการละเมิด สิทธิมนุษยชน มีรายละเอียดดังตอไปนี้ 9 1. นิ ย ามที ่ ห ละหลวมทำให ฝ ายปกครองอาจเหมาเอา “การชุ ม นุ ม โดยสั นติ ” ของสหภาพแรงงาน ขบวนการประชาชนตอตานการแย ง ชิง ทรั พ ยากร หรื อพลเมืองชุ มนุ มคั ดค านการออกนโยบาย/ กฎหมายของรั ฐ รวมเข า ไปอยู ใ นเหตุ การณ “ภั ย ก อการร า ย/ความไม มั ่ นคง/ทำลายความสงบ เรียบรอย” ดวย 2. รูปแบบกฎหมายการชุมนุมที่จำกัดสิทธิประชาชน เพิ่มอำนาจรัฐในการสอดสอง รวมไปถึงตั้งเงื่อนไข ใหประชาชนขออนุญาตเจาหนาที่ฝายปกครองกอนชุมนุม ลวนทำลายรากฐานของ "เสรีภาพ" อย า ง รุนแรง เพราะกลายเปนสิ่งที่ประชาชนตอง "ขออนุญาต" จากรัฐซึ่งเปนคูขัดแยงและตองการสะกดพลัง ประชาชนไว 3. การหามประชาชนบันทึกภาพเจาหนาที่ เพื่อปดบังความลับฝายรัฐ แตใหอำนาจรัฐทำบั ญ ชี ร ายชื่ อ ประชาชน และติดตามควบคุม แบบ "เปลือยชีวิต" ลวนทำลายพื้นฐานของ "ความกลา" ในการมีสว น รวมกำหนดนโยบายสาธารณะ และเพิ่ม “ความหาวหาญ” ของเจาหนาที่รฐั 4. ในเชิงกระบวนการผลักดันรางกฎหมาย พรรคฝายขวาอนุรักษนิยม และพรรคฝายซายสังคมนิยม ตาง รวมมือกันเข็นกฎหมายชุดนี้ ออกมา เพื่อวาจะไดเปนเครื่องมือในการควบคุมประชาชนที่ อาจแสดง ออกเป นปรป กษ ตอนโยบายทั ้ง หลายของรั ฐ (ซึ ่ ง เปนชว งปลายสมัย รั ฐบาลป จจุ บั น ก อนจะมีการ เลื อกตั ้ ง ทั ่ว ไประดั บประเทศที่ มี พ รรคทางเลื อกใหม ของมวลชน คื อ Podemos ที ่ อาจเข ามาคาน อำนาจในรัฐสภาและยับยั้งการออกกฎหมายสกัดกั้นการมีสวนรวมทางการเมืองของพลเมือง) กลาวคือ การทำเรื่องใหญที่อาจกระทบตอสิทธิประชาชนควรผานกระบวนการมีสวนรวม เชน ประชาพิจารณ ประชามติ หรือเปนนโยบายที่ใชหาเสียงเพื่อตัดสินกันดวยมติของประชาชนผานการลงคะแนนเลือกตัง้ เป นต น แทนที ่จ ะทำโดยรัฐสภาที ่เผชิญ ปญ หาวิ กฤตศรัท ธาและอาจกลายเป นฝ ายพ ายแพในการ เลือกตั้งที่ใกลจะมาถึง 8

“UN rights experts urge Spain to reject legal reform projects.” JURIST. Accessed February 23, 2019. http://jurist.org/paperchase/2015/02/un-rights-experts-urge-spain-to-reject-legal-reform-projects.php. 9 “Spain: New counter-terrorism proposals would infringe basic human rights.” AMNESTY INTERNATIONAL. Accessed February 10, 2019. https://www.amnesty.org/en/latest/news/2015/02/spain-new-counterterrorism-proposals-would-infringe-basic-human-rights/.


73

การแกไขกฎหมายเกี่ยวกับการชุม นุมสาธารณะและการมีสวนรวมของพลเมืองทางการเมื องจึ ง เป น เรื่ อง ใหญระดับโลกในประเทศไทยอาจมีการอางกรณีสเปนผิดๆวา ยุโรปยังออกกฎหมายใหมมาเปน พระราชบัญญัติ ความมั่นคง หรือกฎอัยการศึก ฯลฯ ดังเชนสหรัฐออก รัฐบัญญัติ Patriot Act ซึ่งในความเปนจริงแลวไมใช ย้ำ วาไมใชการออก "กฎหมายความมั่นคง" แยกออกมา แตเปนการแกประมวลกฎหมายอาญา เพิ่มเรื่องที่เกี่ยวกับ การตอตานกอการราย "The Penal Code, regarding crimes of terrorism." 10 ซึ่งมีหลายสวนจำกัดสิทธิใน การรวมกลุมเพื่อแสดงออกของประชาชนในโลกไซเบอรอันอาจทำลายการมีสวนรวมของประชาชนในประเด็ น สาธารณะอยางกวางขวาง กระบวนการผลักดันกฎหมายชุด นี้เป นเรื่ องที่สหประชาชาติจับตามองอยางใกล ชิด และถ า รั ฐสภา สเปนผานกฎหมายฉบับนี้ออกมาก็อาจมี การฟองรองไปยังศาลรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรสเปน หรืออาจ ตองไปขึ้นศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปกันในทายที่สุด และอาจมีการยกเลิกเพิกถอนหากศาลเห็นวา บทบัญญัติของ กฎหมายขั ดตอสิทธิ มนุษยชนที ่ รับรองโดยรั ฐธรรมนู ญและอนุ สัญ ญาแหง ยุ โรปว าดว ยสิ ทธิ มนุษ ยชน11 ถา พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะของไทยฉบับที่ถูกวิพากษวิจารณวาสุมเสี่ยงตอการละเมิ ด สิ ท ธิ ม นุ ษ ยชน ของไทยออกมา ก็คงตองไปฟองเพิกถอนบางมาตราหรือทั้งฉบับเปนคดีกันที่ศาลรัฐธรรมนูญ หลักฐานทั้งหลายทำใหเห็นวาปฏิบัติการจารกรรมแบบหนวยขา วกรอง/สายลับนั้ น จริงๆ แล ว เป น ยุทธวิธีที่ใชกันอยูทั้งในภาครัฐและเอกชน คือ การใชเทคโนโลยีและยุทธวิธีทั้งหลายผานการผลักดั นกฎหมาย ออกมารับรอง เพื่อใหรัฐและบรรษัทใชกฎหมายเปนเครื่องมือแยงชิงทรัพยากร หรือควบคุมพื้นที่สาธารณะรวม ดวยเสมอ ในสเปนกฎหมายต านก อการร ายนี ่ ก็ ออกมาเพื่ อควบคุ มการใช ถนนหรื อพื้ นที ่ สาธารณะนี ้ ก็ ถูก วิพากษวิจารณอยางหนักวาจะเปนเครื่องมือของรัฐและกลุมทุนในการทำลาย การชุมนุมของคนตานนโยบาย เศรษฐกิจ และไลคนเรรอนตามทองถนนและพื้นที่สาธารณะไปในคราวเดียวกัน12 การรณรงคในตางประเทศ ที ่ ว  า "การชุ มนุ มโดยสั นติ มิใช การก อการร าย/ภัย ต อสาธารณะ" จึ ง มีพ ลั งยิ่ ง เพราะประชาชนตระหนั กถึง ความสำคัญของการมีสวนรวมกำหนดอนาคตของสังคม โดยไดรับการปกปอง “ความเปนสวนตัว” เพราะเปน พื้นฐานที่มั่นคงของ “ความกลาและมั่นใจ” ในการเขาไปมีสวนรวมทางการเมืองโดยมิตองหวั่นวาจะโดนตามลา ตอมาภายหลัง 10

Pedro Águeda. “Spain: New list of terrorists according to PP and PSOE penal code reform.” X-PRESSED. Accessed February 3, 2019. http://www.x-pressed.org/?xpd_article=spain-new-list-of-terrorists-accordingto-pp-and-psoe-penal-code-reform. 11 “Spain: New counter-terrorism proposals would infringe basic human rights.” AMNESTY INTERNATIONAL. Accessed February 10, 2019. https://www.amnesty.org/en/latest/news/2015/02/spain-new-counterterrorism-proposals-would-infringe-basic-human-rights/. 12 Judith Sunderland. “Dispatches: Spain’s Nasty Bill Will Punish Those Living on the Streets.” Human Rights Watch. Accessed December 10, 2014. http://www.hrw.org/news/2014/12/10/dispatches-spain-s-nasty-billwill-punish-those-living-streets.


74

สถานการณในไทยและสหรัฐ หรือในอีกหลายประเทศ จะเห็นชัดวา ชุมชนผูตอสูเรื่องสิ่งแวดลอมโดน รุกเต็มรูปแบบ จากหนวยงานความมั่นคงหรือแมกระทั่งหนวยงานดานทรัพยากรธรรมชาติที่เปนเจาของพื้นที่ ทั้งหลาย ไดตะลุยไปทุกพื้นที่ซึ่งกลุมทุนจองทอง จองแร จองถานหิน หรือจะสรางโครงการใหญ หากลองไปคน ชื่อกรรมการบริษัทหรือทีป่ รึกษากลุมทุนเหลานั้นดูจะเปนประโยชนตอการศึกษาสายสัมพันธระหวางผูปกครอง และกลุมทุนอยางแจมชัด การแยงชิงพื้นที่ตอรองและสกัดกั้นการขยายของชุมชนในโลกเสมือน อินเตอรเน็ตและการสื่อสารจึงมิใชดินแดนไกลปนเที่ยงที่ไรอำนาจรัฐหรือปราศากอิทธิพลบรรษัทยักษ ใหญอีกตอไป การศึกษาอินเตอร เน็ตและกฎระเบียบ สิทธิมนุษยชน การกำกับอินเตอร เน็ต จึ ง จำเป นต อง วิเคราะหความสัมพันธเชิงอำนาจเหลานี้ประกอบไปดวยเสมอ เพราะการขาวกรองถือเปน ตนทุนสำคัญในการ กุมชัยชนะทางการเมืองและเศรษฐกิจ เพราะขอมูลเปนฐานของการผลิต “ความรู” ในการทำความเขาใจและ จัดการกับสถานการณตา งๆอยางแมนยำ สิ่งที่รัฐบาลสหรัฐและฝายความมั่นคงทั่วโลกต องการคื อ การพยายามสรางไทมมแมชชี นเพื่ อเข า ไป หยุดยั้งกิจกรรมตางๆไมใหเกิดขึ้น กอนที่มันจะเกิดดวยซ้ำ แตดวยแตเทคโนโลยีปจจุบันที่ยังไม เอื้ ออำนวยจึ ง ตองอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศเขาไปสืบขอมูลการเคลื่ อนไหวของบุคคลทั้งหลาย เพื่อมองหาความเปนไปได จากพฤติกรรมตางๆ เพื่อสืบใหรูวาใครทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร อยางไร มีลักษณะสุมเสี่ยงตอการกอการกระทบ “ความมั่นคงของรัฐ” หรือไม เพื่อบุกเขาไปควบคุมกอนที่คนเหลานั้นจะไดกระทำการ เชนเดียวกับรัฐบรรษัทและกลุมทุนทั้งหลายที่ตองการรูพฤติกรรมของผูบริโภคลวงหนา เพื่ อจะจั ด หา “สิ นค า /บริ การ” ที ่ ต รงกั บความประสงค ของลูกค าเหล านั้ น และบางกรณี ที่ บรรษั ทมี กิจ กรรมทางธุ รกิจ กระทบกระทั่งกับประชาชน เชน โรงงานกอมลพิษ แยงชิงทรัพยากร ขโมยขอมูลสวนบุคคลของผูบริโภคที่ อยู ในฐานไปใช แลวเกรงวาประชาชนจะลุ กฮื อขึ้นประทว งจนเสีย ภาพลั กษณ บรรษัทก็จะนำยุท ธวิ ธี ขา วกรอง เหลานี้มาวางแผนเพื่อหาทางสะกดกั้นและตอบโตประชาชนลวงหนา เชนกันอำนาจในการเขาถึงขอมูลลวงหนา จึงเปนอำนาจในการรู “เขา” กอนจะทำสงครามทุกรูปแบบ อย า งไรก็ดีหากไม มมี าตรการตรวจสอบกระบวนการสอดส องพฤติกรรมของคนทั้ งหลายโดยสั งคม ประชาชนจะแนใจไดอยางไรวา อำนาจมากลนที่รัฐและบรรษัทมีอยูจะไมถูกนำมาใชเพื่อประโยชนสวนตนของ เจาหนาที่บางคน หรือมีไวเพื่อใชประหัตประหารประชาชนที่คิดตาง คัดคานโครงการของรัฐ ตอตานกิจกรรม ของบรรษัท กลาวคือ หากผูมีอำนาจใชเทคโนโลยีสอดสองไมไดเปน “คนดี” มี “จิตสำนึก” ตลอดเวลา ใครจะ รูวาเขาจะเอาพฤติกรรมทางเพศ ขอมูลทางการเงิน ความลับทางการคา หรือ ความสัมพันธลับๆของประชาชน มาใชเปนเครื่องมือ “แบล็คเมล” บีบคั้นใหประชาชนทำอะไรตามทีบ่ งการ หรือไม อำนาจที่ยิ่งใหญจากความกาวหนาทางเทคโนโลยีสารสนเทศจึงมิอาจคาดหวังความรับผิดชอบที่ใหญ ยิ่ง หากปราศจากกลไกตรวจตราถวงดุลที่มปี ระสิทธิภาพเทาทันยุทธวิธีของหนวยงานความมั่นคงทุกฝกาว หา ไมแลวรัฐและบรรษัทที่เปนเจาของเทคโนโลยีก็จะมีอำนาจเหนือประชาชนทุกฝกาว


75

แลวสังคมอุดมคติที่ตองการใหประชาชนตื่นตัวลุ กขึ้นมามี สว นรวมทางการเมื องด ว ยการแสดงออก อยางเสรี หรือเขารวมขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อเปลี่ยนแปลงทางสังคมจะเกิดขึ้นไดอยางไร หากประชาชนถู ก สกัดกั้นไลลาหลังฉากตั้งแตยังไมไดแสดงออกมาสูสาธารณะ หรือในบางกรณีประชาชนหลุดรอดเรดารของรั ฐ และบรรษัทมาไดจนเขามาเคลื่อนไหวประเด็นสาธารณะตางๆจนเกิดผลกระทบสูสังคมวงกวางและเปนที่สนใจ จากสื่อมวลชน ประชาชนคนกลาเหลา นั้นก็จะถู กจับ เขา สูบัญ ชีรายชื่ อเพื่ อสอดสอ งและสื บ ข อมู ลทั้ ง หลาย ยอนหลัง เพื่อนำขอมูลที่เปนจุดออนมาโจมตี หรือมีการเฝาระวังบุคคลเหลานั้น 24 ชั่วโมง / 360 องศา วาจะ ทำอะไรตอไปในอนาคต จนบุคคลเหลานี้ไมกลาแสดงออกหรือทำกิจ กรรมตางๆอี กตอไปเพราะตระหนั ก อยู เสมอวาเจาหนาที่ของรัฐหรื อบรรษัทที่ตนเองต อตานไดจับตาความประพฤติ ของตนอยู ซึ่ ง เป นสิ่ ง ที่ รั ฐและ บรรษัทตองการนั่นคือ ยับยั้งบุคคลเหลานั้นดวยการใหเขาควบคุมตนเอง การชักกะเยอทางอำนาจ ระหวาง รัฐ/บรรษัท กับ ประชาชน จึงเกิดขึ้นตลอดเวลา อยูที่ใครจะดึงมา ใหเปนประโยชนกับฝายตน หลังการแฉความลับวารัฐล้ำเสนประชาชนในประวัตศิ าสตรหลายครั้ง ประชาชนจะ ลุกฮือขึ้นปกปองสิทธิและเรียกร องใหมีการยุติการละเมิดสิทธิ โดยรัฐและกลุมทุนทั้งหลาย แตเมื่ อนานไปจน ประชาชนนอนใจรัฐและบรรษัทก็จะคอยรุกคืบขยายอำนาจของตนเงียบๆดวยเทคโนโลยีและสายสัมพันธ ท าง เศรษฐกิจ และหาโอกาสที่จะเพิ่มอำนาจของรัฐดวยการออกกฎหมายทีใ่ หอำนาจรัฐในการควบคุมประชาชนอีก โอกาสที ่ ร ั ฐมองหา ก็ ค ื อ การเกิ ด ความรุ นแรงครั้ ง ใหญ ที ่ ประชาชนทั้ ง หลายรั บรู  แ ละเกิ ดความ สะพรึงกลัว จนยอมมอบอำนาจใหรัฐเพื่ อหวัง จะไดรับการปกป องตอบแทน เชน เมื่อมีการกอการร า ย การ ฆาตกรรม หรือใชอาวะสงครามโจมตีผูบริสุทธิ์ หรือการสังหารหมูตางๆ ประชาชนที่ดูเหตุการณ ผา นสื่ อก็ จ ะ โกรธเกรี ้ ย ว หรื อเกรงอั นตรายจะมาถึง ตั ว เมื ่ อรั ฐยื ่ นข อเสนอว า จะใช อำนาจจั ดการกั บ อาชญากรหรือ ผูกอการรายอยางเด็ดขาด แตขออำนาจตามกฎหมายในการใชเทคโนโลยีในการสอดสอง หาขอมูล ประชาชนก็ อาจโผเขารับขอเสนออยางไมทั นยั้งคิด อยางถี่ ถว น เนื่องจากโดนอารมณความรูสึกหวาดกลั ว โกรธแค นเข า ครอบงำ จนเวลาผานไปเมื่ อรัฐและบรรษัท เจาของเทคโนโลยีไดพิสูจนให เห็ นวา อำนาจที่ ไ ด ม าถู กใช ไ ปตาม อำเภอใจและละเมิดสิทธิประชาชนผูเปนเจาของอำนาจอธิปไตยและเปนผูทรงสิทธิตองไดรับการปกป องตาม กฎหมาย ก็กลายเปนวาประชาชนตองลุกขึ้นมาสูและลมลางกฎหมายที่ตนเคยใหความเห็นชอบไปก อนหน า นี้ การเลนกับอารมณความรูสึกและการสรางสติยั้งคิดในการรางกฎหมายทุกฉบับ จึงเปน “สงคราม” ที่สำคัญใน นิติรัฐที่ดูเหมือนจะอยูในภาวะสันติ ในรัฐที่ฝายความมั่นคงและกลุมทุนบรรษัทเขาครอบงำ เชน สหรัฐอเมริกาหลังเหตุการณ 9/11 หรื อ แมกระทั่งประเทศไทยหลังวิกฤตทางการเมือง จึงเปนสถานการณที่ ฝายความมั่นคงของรัฐและบรรษัทเฝา รอ คอย เพื่อจะหาชองในการโฆษณาชวนเชื่อใหประชาชนคลอยตามดวยการอาศัยอำนาจในสถาบันทางการเมือง ตางๆและการโหมกระพือขอมูลดานเดียว แลวผลักดันกฎหมายออกมาเอื้อหนวยงานงานดานความมั่นคงของรัฐ และอำนวยความสะดวกใหกับกลุมทุนโดยเฉพาะบรรษัทเจาของเทคโนโลยีที่ใหความรวมมือดานเทคโนโลยีขาว กรองกับรัฐ


76

ดังปรากฏในกรณีการผลักดันชุดกฎหมายเศรษฐกิจดิ จิทัลและความมั่ นคงไซเบอรของประเทศไทย ตั้งแตป พ.ศ.2557 ก็มีบรรษัทจำนวนหนึ่งหนุนหลังใหผลักดันออกมา แตเนื่องจากกลไกตางๆของรัฐอยูในภาวะ รั ฐประหารเนื้ อหาของกฎหมายจึงโน มเอี ยงไปทาง “รั กษาความมั่ นคงของรัฐ” มากไป จนกลุ  มทุ นสถาบัน การเงิ น สถานพยาบาล และธุรกิ จประกั นภั ย และผู  ประกอบการดานเทคโนโลยีสารสนเทศทั ้ งหลาย ต อง เรียกรองใหมันกลับมาสราง "ความมั่นคงของการประกอบธุรกิจของบรรษัท" และสรางความ “ไววางใจ” ให ผูบริโภค กล า วโดยสรุป ความสมดุลระหว างการสรางความมั่ นใจใหพลเมื องด วยการปกป องสิ ทธิ ความเปน สวนตัว กับ การใหอำนาจรัฐในการสอดสองเพื่อปองกันภัยผานเทคโนโลยีของรัฐและบรรษัท จึงเปนวาระสำคัญ ทุกยุคทุกสมัย และสังคมตอง “จับตามอง” มิใหดุลยแหงอำนาจเคลื่อนยายไปจนไมอาจปกปองตัวเองให ร อด พนภัยจากการคุกคามทั้งในที่ลับและที่แจง


77

3.2.

สภาพปญหาเกี่ยวกับการรวมกลุมในโลกไซเบอรเพื่อแสดงออกในประเด็นฐานทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดลอม

ขอจำกัดในการขับเคลื่อนขบวนการดานทรัพยากรและสิ่งแวดลอมในโลกจริง การต อสู  เพื ่ อเรี ย กร องสิ ท ธิ ใ นการมี ส ว นร ว มตั ด สิ นใจในประเด็ นฐานทรั พยากรธรรมชาติ และ สิ ่ ง แวดลอมที ่ได เกิดขึ้ นในโลกทางกายภาพ และเปนการตอสู ที่ ปะทะกับอำนาจรั ฐ/อำนาจทุนโดยตรง มั ก กอใหเกิดความเสียหายหรือความสูญเสียตอประชาชนผูไมย อมจำนนต ออำนาจ ไมวาจะเปนเรื่องที่ ดิ นทำกิ น หรื อเรื ่องทรัพ ยากรธรรมชาติ แ ละสิ่ งแวดลอมก็ ตาม ยกตั วอยาง กรณีประชาชนชาวจังหวั ดเชี ยงใหม ที ่ ได ออกมาเรียกรองตอตานการกอสรางบานพักตุลาการ หรือ “บานปาแหวง” ซึ่งตั้งอยูบริเวณเชิงดอยสุเทพ และมี ลักษณะเปนการแผวถางปาเพื่อก อสรางบานพั กดังกลาว หลังจากนั้น ปรากฏวา มีแกนนำประชาชนถู กฟ อง ดำเนินคดี 13 และการที่เจาหนาที่รัฐเชาบุกคนเคหสถานของแกนนำ 14 หรือ กรณี นายพอละจี รักจงเจริญ หรือ บิลลี่ ที่หลายฝายเชื่อวา ถูกบังคับใหสูญหายระหวางที่เขาถูกควบคุมตัว ขณะเดินทางจากบานโปงลึก ไปยังตัว อำเภอเพื่อเตรียมขอมูลคดีชาวบานฟองนายชัยวัฒน ลิ้มลิขิตอักษรหัวหนาอุทยานแหงชาติแกงกระจานจากเหตุ เผาบานกะเหรี่ยงและทรัพยสินของชาวบานในเขตอุทยานแหงชาติระหวางป 2553 และ 2554 ในปจจุบัน นับแตที่สังคมโลกไดรับกระแสการถามโถมจากคลื่นแหงความเปลี่ยนแปลงลูกที่สาม ซึ่งเปน คลื่นแหงวิทยาการสมัยใหม 15 ความกาวหนาของการสื่อสารผานเทคโนโลยีสารสนเทศและอินเตอรเน็ต มนุษย สามารถทำการติดตอสื่อสารกันไดอยางสะดวกสบายขึ้นและเปนไปอยางไรขอจำกัด ไมวาจะเปนขอจำกัดเรื่อง ระยะทางหรือระยะเวลา ที่สำคัญในยุคนี้ ไดกอกำเนิดโลกอีกหนึ่งใบ นอกเหนือไปจากโลกทางกายภาพ ซึ่งก็คือ “โลกไซเบอร” อันเปนพื้นที่โลกสมมติที่เปดโอกาสใหการตอตานขัดขื นในรูปแบบของกิจวัต รประจำวั น ของ ประชาชนตามที่สก็อตไดกลาวไว ดำเนินไปอยางกวางขวาง รุนแรง (ในแงของการทำลายความชอบธรรมของผู มีอำนาจ) และประชาชนมีอสิ รภาพ-เสรีภาพในการมีสวนรวมทางการเมืองเพิ่มมากขึ้นในโลกดังกลาว แม ใ นทุ กวั นนี ้ รั ฐจะไมได นิ่ งนอนใจกั บความเปลี ่ย นแปลงที ่ เกิ ดขึ้ นในสั งคม และได พยายามสร าง มาตรการควบคุมดูแล หรือการตรากฎหมาย/ขอบังคับ เพื่อเฝาระวังและควบคุมกิจกรรมตาง ๆ ที่เกิ ด ขึ้ นใน พื้นที่ออนไลนหรือโลกไซเบอร โดยเฉพาะกิจกรรมที่ผูมีอำนาจเห็นวาสงผลกระทบตอภาพลักษณและความชอบ ธรรมของตน แตในอีกทางหนึ่ง เมื่อมีการดำเนินกิจ กรรมทางการเมื องและการเคลื่ อนไหวเรี ย กร อ งต อต า น โครงการขนาดใหญตาง ๆ ที่สงผลกระทบตอสิ่งแวดลอมในพื้นที่ของโลกออนไลน ก็เปนไปไดยากที่ประชาชน หรือผูใชบริการ (Users) พื้นที่ออนไลนหรือเรียกไดอีกอยางวา “พลเมืองเน็ต” จะออกมาปะทะกับอำนาจรั ฐ/ 13

ข า วไทยพีบ ีเ อส. (2561). “ฟ อ งแกนนำทวงคืน ป า ดอยสุเทพ.” สื บ ค นเมื ่อ 23 ธั น วาคม 2561 จาก ข า วไทยพีบ ี เอส: https://news.thaipbs.or.th/content/275978. 14 ข า วสด. (2561). “ด ว น! เจ า หน าที ่ บุ ก คน บ านแกนนำตา นบา นปา แหว ง ยึ ด คอมพ - โนต บุ ค ไปตรวจ.” สื บ ค นเมื ่อ 23 ธันวาคม 2561 จาก ขาวสด: https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_1823963 15 ทศพล ทรรศนกุลพันธ. (2558). “ไมมีแดนเถื่อนในโลกไซเบอร? : การศึกษาตัวแบบในการกำกับดูแลโลกไซเบอร.” ใน นิ ติ สังคมศาสตร. 8(2), หนา 42-68.


78

อำนาจทุนโดยตรง สงผลใหพื้นที่ดังกลาวกลายเปนสิ่งที่ชวยใหพลเมืองเน็ตสามารถหลีกเลี่ยง หรือลดความเสี่ยง ตอการไดรับความเสียหายหรือความสูญเสียจากการใชอำนาจของรั ฐและนายทุนเพื่ อตอบโตประชาชนอย า ง รุนแรงที่มักเกิดขึ้นเปนปกติในโลกทางกายภาพ ในปจจุบันเปนที่เขาใจโดยทั่วกันแลววาปญหาสิ่งแวดลอมเปนปญหาที่มผี ลกระทบรายแรง เปนปญหา สากลที่พนจากพรมแดนรัฐชาติและขามรุน ซึ่งหมายถึงปญหาสิ่งแวดลอมนั้นเมื่อเกิดขึ้ นแล ว ก็ ย ากที่ จ ะฟ นฟู เยี ย วยาให เหมื อนเดิ ม ลั กษณะนี ้ นำไปสู  แ นวทางปฏิ บ ั ติ ใ นงานด านสิ ่ ง แวดล อม คื อ หลั กระวั ง ไว ก อน (Precautionary Principle; PP) กลาวคือ แมไมชัดเจนวากิจกรรมนั้นสรางหายนะตอสิ่งแวดล อมก็ สามารถ ปราบกิจกรรมนั้นไวกอนได ความวิตกกังวลเรื่องปญหาผลกระทบทางสิ่งแวดลอมถือเปนเรื่องที่แพรหลายเป น ปกติในสังคมโลกทุกวันนี้ ความขัดแยงในหลากมิตินี้ไดเปนตัวจุดฉนวนใหรัฐหรือกลุมทุนขนาดใหญกับประชาชนตองเผชิญหนา กันหลายตอหลายครั้ง ซึ่งประชาชนมักออกรวมตัว กั นออกมาตอตานคัดคานโครงการพั ฒนาตาง ๆ ที่ สง ผล กระทบต อสิ ่ง แวดล อม แต ใ นขณะเดี ยวกั น กลไกกฎหมายในการระงั บข อพิ พาทนั ้นไม สามารถระงับความ ขั ด แย ง และเยีย วยาความเสี ยหายได อย างมี ประสิ ทธิ ภาพ อี กทั ้ ง กลไกทางกฎหมายดั ง กล าวก็ ไม สู จะเปน ประโยชนตอฝายประชาชนผูตอสูเพื่ออนุรักษสิ่งแวดลอม สงผลใหการตอสูบนสังเวียนในโลกทางกายภาพในแต ละครั้ง ประชาชนตองตกอยูในสถานการณการเปนมวยรองบอนทุกครั้งไป ในแงนี้ เมื่อพิจารณาตนทุนในการ ดำเนินคดี ทั้งเวลาและคาใชจาย รวมถึงการตองแบกภาระอื่น ๆ ในชีวิตประจำวันขณะที่มีการพิจารณาคดี จึง ไม แ ปลกที ่ ฝายรั ฐและกลุ มทุ นคู  กรณี ต างการเลือกใช กลยุท ธ ในการตอสู  ดว ยการฟองตบปาก (Strategic Lawsuit Against Public Participation - SLAPP) เพื ่ อหวั งให กลุ ม นั กเคลื ่อนไหวหยุ ดการต อตานและเพิ่ม ภาระมากขึ้น จนทำใหการตอสูเปนไปอยางยากลำบาก โดยไมไดหวังผลแพชนะในการฟองคดี ในโลกความจริงกฎหมายที่มีอยูไมเปนที่พึ่งใหกับประชาชน แตอีกดานปญหาดานสิ่งแวดลอมก็กลั บ มี ความรุนแรงมากขึ้นทุกวัน ดังนั้น ประชาชนที่ไดรับผลกระทบจึงลุกขึ้นมาคัดคาน “การพัฒนา” ที่ นำมาซึ่ ง ปญหาสิ่งแวดลอม ตัวอยางเชน ขบวนการคัดคานการสรางโรงไฟฟาหินกรูด กับกลุมคนรักษบานเกิดที่คัดคาน การทำเหมืองทองคำภูทับฟา ซึ่งถือเปนสองกลุมในบรรดาประชาชนทั่วทุกภูมิภาคที่ลุกขึ้นมาคัดคานโครงการ พัฒนาที่อาจมีผลกระทบตอสิ่งแวดลอม ประชาชนซึ่งเปนกลุมเคลื่อนไหวที่เรียกตัวเองวา “กลุมคนรักษบานเกิด” ที่ไดออกมาคัดคานโครงการ โรงไฟฟา ดัง กล าว มั กใชว ิ ธี การยื่ นข อเสนอตอหน วยงานของรั ฐตา ง ๆ เพื ่ อให เข ามารับผิ ดชอบต อป ญหา สิ่งแวดลอม อยางไรก็ตามการตอสูที่ยืดเยื้อ ยาวนานทำให สมัย ภักดิ์มี ประธานกลุมคนรักษบานเกิดตองคดีบกุ รุกเนื่องจากพานักศึกษาและเยาวชนทัศนศึกษาแลวไปล้ำเขตของเหมืองแรทองคำ16 16

เบญจวรรณ คำโคตร. (2554). ความทุกขเชิงสังคมของชาวบา นที่ไ ดรั บผลกระทบจากการทำเหมือ งแร ทองคำ อำเภอ วังสะพุง จังหวัดเลย. พัฒนานิพนธ สาขาพัฒนาชุมชน คณะสังคมศาสตรและมนุษยศาสตร มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. หนา 70.


79

กรณีศึกษาที่ไดกลาวมาขางตน ลวนเปนการเคลื่ อนไหวคัดคานของประชาชนเพื่ อ อนุ รั กษ ป กป อง สิ่งแวดลอมและทรัพยากรธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นบนพื้นที่โลกทางกายภาพ ซึ่งกลุมนักเคลื่อนไหวตางก็ตองตกอยูใน ความเสี่ยงและอาจตองไดรับความเสียหายจากการใชอำนาจของเจาหนาที่รฐั รวมถึงการถูกกลั่นแกลง ทำราย หรือการถูกลอบสังหาร จากกลุมนายทุนที่ตองเสียประโยชนจากกิจกรรมเคลื่อนไหวคัดคานโครงการพั ฒนาที่ ตนมีสวนไดเสียอยู หากกลับมามองโลกยุคปจจุบัน ซึ่งเทคโนโลยีการสื่อสารไดกาวหนาอยางรวดเร็ว จนไดกอกำเนิ ด โลก ไซเบอรขึ้นมาอีกโลกหนึ่งนอกเหนือไปจากโลกทางกายภาพหรือโลกความจริง โดยโลกไซเบอรถือเปนพื้นที่แ ห ง ใหม ที่ ประชาชนกลุ มการเมื อง หรื อกลุ ม นั กเคลื ่อนไหวที่ ออกมาคั ดค านโครงการพั ฒนาที ่ส งผลกระทบตอ สิ่งแวดลอมไดเขามาอาศัยเปนพื้นที่ในการดำเนินกิจกรรมตาง ๆ และพื้นที่ดังกลาวยังคงมีความสำคัญมากขึ้ น ไมมีทีทาวาจะถูกลดความสำคัญลงไป ขอจำกัดการใชอินเตอรเน็ตรวมกลุมและแสดงออกในประเด็นทรัพยากรและสิ่งแวดลอม ความกาวหนาทางเทคโนโลยีการสื่อสารปจจุบัน ทำใหโลกออนไลนทวีความสำคัญมากขึ้นในเกือบทุ ก ๆ ดาน เปนแหลงชวยใหวิถีชีวิตผูค น ผลิตสราง กระจายความรู เชื่อมโลกที่หางไกลของผู ค นอี กฟากฝ ง ให เชื่อมตอถึงกันอยางทันทีโดยไรขอจำกัดทางดานเวลาและระยะทาง มากไปกวานั้น โลกออนไลนสำหรับคนบาง กลุมยังเปนเสมือนชองทางและเครื่องมือในการตอสูทางสังคม เปนการขับเคลื่อนกลุมคนเพื่อเชื่อมโยงผู ค นใน กลุมความคิดเดียวกันใหเกิดขึ้นทั้งในโลกออนไลนและโลกออฟไลน อยางใกล ชิด จะเห็นไดวาในปจจุ บั นนี้ สื่ อ สังคมออนไลน (Social Network) ไดสรางพื้นที่ไซเบอรซึ่งเทากับโลกเสมือนจริงอันกวางใหญไพศาล โดยพื้นที่ ดังกลาวไดรับความสำคัญอยางมากในฐานะเปนหนึ่งในชองทางการขับเคลื่อนทางการเมืองของกลุมขบวนการ เคลื่อนไหวทางสังคม หรือกลุมขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมือง เชน กลุมองคกรพัฒนาเอกชนที่ท างานเพื่ อ สาธารณชน เปนปากเสียงใหประชาชนผูมีความเปราะบาง ผูตกอยูในความเสี่ยง หรือกลุมคนชายขอบ ขบวนการเคลื ่ อนไหวทางสั ง คมแบบใหม จึ ง มี ลั กษณะเป นการเคลื ่ อนไหวเรี ย กร องที ่ ท า ทายตอ ประชาธิปไตยแบบตัวแทน คือ ไมจำเปนตองกระทำผานกลไกทางการเมืองที่ดำรงอยูในปจจุบัน ไมวา พรรค การเมือง นักการเมือง หมายความวา พวกเขาไมไดหวังพึ่งกลไกรัฐอีกตอไป เพราะความขัดแยงใหม ๆ เหลานี้ สลับซับซอนเกินกวาที่สถาบันทางการเมืองในระบบการเมืองปกติจะสามารถจัดการไดอีกตอไป โดยมนุษยสวน ใหญก็ไดมีการอาศัยบทบาทของสื่อสังคมออนไลนเพื่อชวยในการแกไขปญหาความขัดแยงดังกลาว รวมถึงการ ขับเคลื่อนขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมแบบใหมที่อาจเกิดขึ้นไดภายใตเงื่อนไขสำคัญที่ความแพรหลายและ เขาถึงงายของโลกอินเตอร เน็ต ชวยทำใหเกิด กระบวนการแยงชิง พื้นที่ขอมูลขาวสารจากสื่ อกระแสหลั กได ใ น ระดับหนึ่ง เพื่อใหกระบวนการสรางความตระหนักรูแกสังคมเปนไปอยางมีประสิทธิภาพมากทีส่ ุด นับตั้งแตทศวรรษ 1990 ในยุคสมัยของการปฏิวัติคลื่นลูกที่สาม เริ่มมีการถกเถียงประเด็นขบวนการ เคลื่อนไหวทางสังคมกลุมตาง ๆ ในการใชเครือขายอินเตอรเน็ตเพื่อการติดตอสื่อสารเชื่อมถึงกันที่กวางขวางขึน้ และกล า วถึ งประสิทธิ ภาพการใช พื ้ นที่ แ หง ใหม อย างพื ้นที ่ไ ซเบอรแ ละสื่ อสัง คมออนไลนท ั้ งหลาย ในการ


80

เคลื่อนไหวทางการเมืองอยางหลากหลาย กลุมคนรากหญาหัวกาวหนาเหลานี้ไดใช สื่อที่ เ กิ ด ขึ้ นใหม บ นโลก อินเตอรเน็ต เปนหนึ่งในเครื่องมือในการขับเคลื่อนกลุมและขยายเครื อขายขอมู ลขาวสารของกลุมตน ไปยั ง สาธารณชนทั่วโลกไดอยางไรขอจำกัด และอาจนำไปสูการทาทายสถานะเดิมของการเมืองและวั ฒ นธรรมใน สังคมที่กดทับจากรัฐ ในเรื่องสงครามขับเคลื่อนและสงครามยึดพื้นที่ทางความคิดที่ไดกลาวมาขางตน เปนเรื่องเดีย วกั นกั บ การดำเนิ นการเพื่ อสร างภาวะการครองอำนาจนำ (Hegemony) ให เกิ ดขึ้ น กรั ม ชีได เปรีย บดั งเชน การทำ สงคราม แนวคิดเรื่องสงครามขับเคลื่ อนและสงครามยึดพื้ นที่ทางความคิด ซึ่งถูกนำมาใชอธิบายว า การทำ สงครามขับเคลื่อนนั้นเปนการทำสงครามในยุทธวิธีทางการทหาร การที่จะสามารถเอาชนะฝายศัตรู หรือฝ า ย ตรงขามได จะตองทำการบุกเพื่อยึดครองปจจัย สำคัญ ของฝายตรงขามใหได อาทิ การยึดเมืองหลวง หรื อ สถานที่สำคัญ เปนตน แตในการดำเนินการเพื่อสรางภาวะการครองอำนาจนำใหเกิดขึ้นเหนือชนชั้นอื่น ๆ ชน ชั้นที่หวังจะมีอำนาจอยางมั่นคงและยั่งยืน หรือกลุมทางประวัติศาสตรทพี่ ยายามสรางภาวะการครองอำนาจนำ จะตองดำเนินการตอสูเพื่อยึดกุม “พื้นที่เชิงอุดมการณ ความคิด ความเชื่อ” ของผูคนใน "ประชาสังคม" ใหได การดำเนินการชวงชิงหรือยึดกุมความคิด ความเชื่อของคนในพื้นที่ประชาสังคมนี้ กรัมชีเรียกวา เปน "การทำ สงครามยึ ดพื ้ นที่ ทางความคิ ด" ถ า สามารถเอาชนะสงครามนี ้ เหนื อพื ้นที ่ ประชาสั งคมได สำเร็ จ การสร าง ภาวะการครองอำนาจนำก็จะสำเร็จไดอยางสมบูรณและยั่งยืนสืบไป ปฏิบัติการการใชสื่อออนไลน ของพลเมืองเน็ต นั้ น มีรูปแบบองคประกอบที่คลา ยคลึ ง กั บ ความเป น ขบวนการทางสังคมแบบใหม กลาวคือ เปนขบวนการที่ไมยึดติดกับมิติการเคลื่อนไหวและมิติทางการเมือง กาว ขามการเมืองอัตลักษณที่ยึดติดกับสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคม แตกลับเนนมิติทางวัฒนธรรมของกลุมคน ที่แตกตางหลากหลายที่ไมไดวางอยูบนฐานของชนชั้น (Social class) แสดงความคิดเห็นผานปฏิบัติการแบบ สันติวิธี สราง “พลังการตื่นรูทางขอมูลขาวสาร” แกประชาชน17 อยางไรก็ดี การเคลื่อนไหวทางการเมืองและสังคม ดวยการอาศัยพื้นที่บนโลกไซเบอร หรื อพื้ นที่ สื่อ ออนไลน อาจใชไมไดผลหรือไมมปี ระสิทธิภาพเทาทีค่ วร ในเรื่องการสรางบรรยากาศการตระหนักรับรูถ ึงปญหา ของสังคมใหแกประชาชนในสังคมที่ความเหลื่อมล้ำสูงในการเขาถึง เทคโนโลยีและระบบอินเตอรเน็ต โดยใน ประเทศที่อยูในสภาวะสังคมผูสูงอายุ (Aging Society) ที่ประชาชนจำนวนมากขาดทักษะความเขาใจและการ ใชเทคโนโลยีการสื่อสารดิจิทัล (Digital Literacy) ขอมูลจำนวนมากที่ไหลเวียนอยูใ นโลกอิ น เตอร เ น็ ต อาจมี เพียงคนไมกี่กลุมเทานั้นที่ไดรับขอมูลเหลานั้น นอกจากนี้ การสืบคน การเปดเผย การบล็อก หรือลบหมายเลข IP address ของทีมงานในพื้นที่ไซเบอรสาธารณะ อาทิ Pantip.com เองก็เปนหนึ่งในขอจำกัดของความเป น

17

พุธิตา ชัยอนันต. (2558). พื้นที่ออนไลนกั บการก อตัวของกลุม “พลเมืองเน็ต” ในยุควิกฤตการณ การเมื อ งไทย พ.ศ. 2556-2559. วิทยานิพนธศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การพัฒนาสังคม) มหาวิทยาลัยเชียงใหม.


81

“พื้นที่สาธารณะ” ของเว็บไซตนี้ ที่กลุมผูจัดทำไดดำเนินการเซ็นเซอรตัวเอง เพราะเปนหวงเรื่องความปลอดภัย และความวุนวายที่อาจตามมา18 กลุมจัดตั้งในเครือขายทางสังคมที่มีจุดยืนทางความคิดแตกตางและถกเถียงกันอยู ทั้งนี้ การจัดตั้งของ กลุมตาง ๆ ไดอาศัยชองทางที่เครือขายทางสังคม Facebook ไดเปดใหผูใชสามารถเขามาสรางและจัดแตงอัต ลักษณพิเศษแตกตางไปจากกลุมอื่นได เชน การตั้ง Fan page หรือ Group ที่สามารถคัดเลือกหรือระดมผูที่มี ความเห็นในทิศทางเดีย วกันเขาร ว มแลกเปลี ่ ยน แสดงออก หรื อระบายอารมณ เพื ่ อนาไปสู การเพิ ่มความ เขมแข็งในกลุมของตนไดมากยิ่งขึ้น อยางไรก็ดี การตั้งกลุมเหลานี้ยังไมอาจปดกั้นหรือหามมิใหผูอื่นเขามาแสดง ความคิดเห็นในทางตรงขามไดอยางสมบูรณ จึงมีการถกเถียงเกิดขึ้นไดในกระดานความคิดเห็นของทั้งสองฝาย 19

วิถีทางของเครือขายสังคม คือคำตอบของอนาคต อาทิ รูปแบบการสื่อสารของเฟซบุค ซึ่งเปนพื้นที่กึ่ง สวนตัวกึ่งสาธารณะ สามารถทำไดทั้งเฉพาะกลุมและยังสามารถดำรงความเปนตัวของตัวเองได ขณะเดียวกั น ในชวงเวลาที่ตองการใหเปนสาธารณะ ประกาศขอมูลขาวสาร ก็สามารถมีศกั ยภาพแสดงความเปนสาธารณะได วิ ถี ท างของ เฟซบุ  ค อาจกล า วได ว า เหมาะสมกั บองคกรที ่ต องการสื่ อสาร “ความเปนสาธารณะ” และ ปลดปลอยความเปนปจเจกไดพรอม ๆ กัน20 สิ่งที่เปนเงื่อนไขสำคัญประการหนึ่งที่ทำใหการเคลื่อนไหวในโลกออนไลนสามารถสรางแรงกระเพื่ อม ทางสังคมไดรวดเร็วและรุนแรงก็ดวยเหตุแหงรูปแบบสื่อสมัยใหมทเี่ ทคโนโลยีทำให “งาย” และ “เสมือนจริง” มากยิ่งขึ้นในบทความนี้ ยังชี้วา เพียงการใชเครื่องมืออิ เล็กทรอนิกส สมัยใหม อยางคอมพิว เตอร โทรศั พ ท สมารทโฟน แท็บแล็ต ก็สามารถทำใหผูคนทั่วโลกรับรูขอมูลหรือแสดงความเห็นของตนเองได รวมถึงการเข า เปนสมาชิกกลุมการเมืองและสังคมตาง ๆ ไดอยางงายดาย อีกทั้ง สามารถคลิกแบงปนขอมูลเนื้อหา หรื อส ง ตอไปยังเพื่อนหรือสมาชิกในกลุมของตน และเพื่อนก็จะสงตอ ๆ กันไปไดอยางรวดเร็ว สวนเนื้อหาที่เผยแพรใน รูปแบบของคลิปวีดีโออันเปน “สาระสำคัญ” ของเนื้อหาก็สามารถเขาชมไดงาย และสามารถสรางความคิดเห็น และอารมณความรูสึกรวมกันไดอยางรุนแรง จนเกิดความทรงจำรวมตอ “ความเสมือนจริง” (การกลาวหาใน วิดีโอ) ไดมาก และเปนแรงขับใหการเคลื่อนไหวในโลกออนไลนกลายไปเปนการเคลื่อนไหวในโลกแหงความเปน จริง จากงานศึกษาทั้งหมดที่ไดกลาวมา แสดงใหเห็นวา ณ ปจจุบัน ในวันที่เทคโนโลยี การสื่ อสารได ถูก พัฒนากาวไกลและเขามามีบทบาทและแทรกซึมวิ ถีชีวิตประจำวั นของผูค นทั่ว โลก พื้นที่ไ ซเบอร สื่ อสั ง คม 18

พิชญ พงษสวัสดิ์. (2554). “อินเทอรเน็ต คือ “ปา” ออนไลนขนาดใหญ.” ใน สื่อออนไลน Born to be Democracy. ชูวัส ฤกษศิริสุข. กรุงเทพฯ: ประชาไทย บุคสคลับ. 19 Jeff Ginger. (2008). The Facebook Project-Performance and Construction of Digital Identity. Master’s degree paper, University of Illinois at Urbana-Champaign. 20 สมบัติ บุญงามอนงค. (2554). “เฟซบุกในไทย คือพื้นที่ตอสูออนไลนที่ดุเดือดที่สุดแหงหนึ่งของโลก.” ใน สื่อออนไลน Born to be Democracy. ชูวัส ฤกษศิริสุข. (บก.). กรุงเทพฯ : ประชาไทย บุคสคลับ.


82

ออนไลน และโลกของอิ นเตอร เน็ ตที่ อั นแน นไปด วยขอมูลข าวสารจากทุ กหนแหง ได กลายเปนพื ้นที ่ ทาง ยุทธศาสตรที่สำคัญในการตอสูทางการเมือง และการเคลื่อนไหวทางสังคม ในประเด็นปญหาตาง ๆ ที่ สัง คม กำลังเผชิญอยู หนึ่งในนั้นคงหนีไมพนประเด็นการเคลื่อนไหวคัดคานโครงการพัฒนาของรัฐ หรือการดำเนิ น กิจกรรมทางธุรกิจขนาดใหญของนายทุน ที่ผลกระทบตอสิ่งแวดลอมและทรัพยากรธรรมชาติ อีกทั้ง พื้นที่ทาง ไซเบอรและสื่อสังคมออนไลนที่ เกิด ขึ้นในปจจุบัน ไดมีสวนชวยติดอาวุธและเสริมพลัง อำนาจให กับ กลุ ม นั ก เคลื่อนไหวทั้งหลาย ในการตอสู เจรจาตอรองกับฝายรัฐหรือนายทุนที่เปนคูกรณี ผานการแลกเปลี่ยน รั บ /ส ง ขอมูลขาวสาร ระหวางกลุมนักเคลื่อนไหวดวยกัน ดังนั้น เมื่อผูมีอำนาจรัฐ และกลุมผลประโยชนทั้งหลาย ผูมีสวนไดเสียจากโครงการพัฒนาที่คอยสร า ง หายนะใหกับสิ่งแวดลอม และวิถีชีวิตของชุมชน อาจตองเสียภาวะการครองอำนาจนำจากการถูกชว งชิ ง พื้ นที่ ทางวาทกรรมในโลกอินเตอรเน็ตใหกับประชาชนผูออกมาเคลื่อนไหวคัดคาน จนอาจเปนเหตุใหตองถูกทำลาย ความชอบธรรมและต องลงจากอำนาจในท ายที ่สุ ด รั ฐจึ ง ต องสร างอุ ปสรรคตา ง ๆ คอยขั ด ขวางกลุ มนัก เคลื ่ อนไหวที่ กำลัง ดำเนินกิ จกรรมในโลกไซเบอร และหนึ่ ง ในกลวิธ ีของรัฐก็ คือ การตราและการบั งคั บใช กฎหมายเพื่อกดปราบหรือควบคุมกิจกรรมเหลานั้น การใชมาตรการทางกฎหมายจำกัดการมีสวนรวมของประชาชนในประเด็นทรัพยากรและสิ่งแวดลอม หากกล า วถึ ง บทบั ญ ญั ต ิ แ ห ง กฎหมายที ่ บ ั ง คั บ ใช กั บ โลกไซเบอร เป นสำคั ญ ย อมต องกล า วถึ ง พระราชบัญญัติวาดวยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอรเปนลำดับแรก ซึ่งมีงานศึกษาจำนวนไมนอยที่ ได กล า วถึ ง ป ญ หาทางด า นเนื ้ อหาและการบั ง คั บใช กฎหมายดั งกล า ว เริ ่ ม จาก งานวิ จ ั ย ผลกระทบจาก พระราชบัญญัติวาดวยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร พ.ศ. 2550 และนโยบายของรัฐกับ สิ ท ธิ แ ละ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น 21 จัดทำโดยศูนยขอมูลกฎหมายและคดีเสรี ภาพหรื อ iLaw และไดศึ กษา ปญหาของ พ.ร.บ. คอมพิวเตอรฉบับป พ.ศ. 2550 ที่บังคับใช ณ ขณะนั้น พรอมกับวิพากษวิจารณวา กฎหมาย ดังกลาวควรรวมความผิดเกี่ยวกับเนื้อหาไวดวยหรือไม เนื่องจาก พ.ร.บ. คอมพิวเตอรมีเจตนาเพื่อควบคุมดูแล การกระทำที่ทำใหเกิดความเสียหายตอระบบในทางเทคนิคเทานั้น อีกทั้งความผิดในหลายมาตราก็ซ้ำซอนกับ ความผิดที่มีในกฎหมายอื่นอยูแลว เชน มาตรา 14 (4) เรื่องขอมูลลามกกำหนดไวในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 287 ในความผิดฐานเผยแพรสื่อลามก หรือ มาตรา14(3) เรื่องขอมูลที่กระทบตอความมั่นคงก็มีกำหนด ไวในประมวลกฎหมายอาญามาตรา107-135/4 เชนเดียวกับของมาตรา 14 (1) ที่ถูกนำไปใชฟองหมิ่นประมาท จำนวนมาก ซึ่งมีปรากฏอยูแลวในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326 และ 328 ทั้ง ๆ ที่จุดประสงคแรกเริ่ ม ของการออกกฎหมาย พ.ร.บ. คอมพิวเตอร คือเพื่อปองกันการปลอมแปลงขอมูลคอมพิวเตอร กลาวคือ เพื่อใช ในการปองกันระบบคอมพิวเตอร นั่นเอง แตภายใตการบังคับใช พ.ร.บ. คอมพิวเตอรฉบับป พ.ศ. 2550 กลั บ กลายเปนวา แมการวิพากษวิจารณโดยสุจริตหรือเพื่อประโยชนสาธารณะก็ไมสามารถอางเปนเหตุในการยกเวน 21

สาวตรี สุขศรี. (2555). อาชญากรรมคอมพิวเตอร? : งานวิจัยหัวขอ “ผลกระทบจากพระราชบัญญัติวาดวย การกระทำ ความผิ ดเกี ่ ย วกั บ คอมพิ ว เตอร พ.ศ. 2550 และนโยบายของรั ฐ กั บ สิ ท ธิ เ สรี ภ าพ ในการแสดงความคิ ดเห็ น .” กรุงเทพฯ: โครงการอินเตอรเน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) ในมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม.


83

ความผิดหรือยกเวนโทษได ถือเปนการคุกคามเสรีภาพสื่อ และกระทบตอการใชเสรีภาพการแสดงออกของ ประชาชนในสังคม นอกจากนี้บทบัญญัติตามมาตรา 14 22ยังมีปญหาในการบังคับใชอยูมาก ซึ่งปญหานั้นเกิ ด จากการ บัญญัติถอยคำในกฎหมายบางประการที่กอใหเกิดความไมชัดเจนในการตีความ จึงทำใหการบังคับใชไมตรงตาม เจตนารมณ ที ่ แท จริ งของกฎหมาย อี กทั ้ ง ฝ า ยผู  ม ี อำนาจบั งคั บใช กฎหมายเอง ก็ ย ั ง ขาดความเข าใจถึง สาระสำคัญของบทบัญญัติแหงกฎหมายอยางถองแท และความผิดในมาตรา 14 นี้ ยังสามารถเชื่อมโยงไปถึงผู ใหบริการตามมาตรา 15 23เพราะผูใหบริการจะตองรับผิดเสมื อนวาตนเปนผูกระทำตามมาตรา 14 ซึ่ ง เมื่ อ พิจารณาถึงความหมายของ “ผูใหบริการอินเตอรเน็ต” แลวนั้น ไมวาจะเปนขอบเขตตาม พระราชบั ญ ญั ติ คอมพิวเตอรฯ หรือ ประกาศของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ ก็ยังมีการกำหนดประเภทและหน า ที่ ของผู ให บริการที ่ย ัง ไมชั ดเจนและไม สอดคลองกับความรับผิ ดดว ย ซึ ่ ง ก็ สง ผลกระทบต อผู ให บริการในเรื ่องของ ภาระหนาที่ที่มากเกินไปอยางแนนอน แมในปจจุบัน นับแตป 2560 พระราชบัญญัติวาดวยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอรจะไดรบั การปรับปรุงแกไขเพิ่มเติมเพื่อใหมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น เชน การกำหนดใหไมสามารถบังคับใชบทบั ญ ญั ติ มาตรา 14 (1) ตอกรณีการหมิ่นประมาทไดอีกตอไป 24แตกฎหมายฉบับดังกลาวยังคงมีปญหาอยูไมนอย ไมวา

22

พระราชบัญญั ติวา ดวยการกระทำความผิด ทางคอมพิวเตอร ฉบับป พ.ศ. 2550 มาตรา 14 ผูใดกระทำความผิ ด ที่ ร ะบุ ไ ว ดังตอไปนี้ ตองระวางโทษจำคุกไมเกินหาป หรือ ปรับไมเกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (1) นำเขาสูระบบคอมพิวเตอรซึ่งข อมูล คอมพิวเตอร ปลอมไมวา ทั้งหมดหรือบางสวน หรือขอมูลคอมพิว เตอร อั น เป น เท็จ โดยประการที่นาจะเกิดความเสียหายแกผูอื่นหรือประชาชน (2) นำเขาสูระบบคอมพิวเตอรซึ่งข อมูล คอมพิวเตอรอันเปนเท็ จ โดยประการที่นาจะเกิด ความเสียหายต อ ความมั่ น คง ของประเทศหรือกอใหเกิดความตื่นตระหนกแกประชาชน (3) นำเขาสูระบบคอมพิวเตอรซึ่งขอมูล คอมพิวเตอรใด ๆ อันเปนความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแหงราชอาณาจั ก รหรื อ ความผิดเกี่ยวกับการกอการรายตามประมวลกฎหมายอาญา (4) นำเขาสูระบบคอมพิวเตอรซึ่งขอ มูล คอมพิวเตอรใ ด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและขอมู ลคอมพิ วเตอร นั้ น ประชาชน ทั่วไปอาจเขาถึงได (5) เผยแพรหรือสงตอซึ่งขอมูลคอมพิวเตอรโดยรูอยูแลววาเปนขอมูลคอมพิวเตอรตาม (1) (2) (3) หรือ (4) 23 พระราชบัญญัติวาดวยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร ฉบับป พ.ศ. 2560 มาตรา 15 ผูใหบริการผูใดใหค วามร ว มมื อ ยินยอม หรือรูเห็นเปนใจใหมีก ารกระทำความผิ ดตามมาตรา ๑๔ ในระบบคอมพิวเตอร ที่อยูในความควบคุมของตน ต อ ง ระวางโทษเชนเดียวกับผูกระทำความผิดตามมาตรา 14 24 พระราชบัญญัติว าดวยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร ฉบับป พ.ศ. 2560 มาตรา 14 ผูใดกระทำความผิ ด ที่ ร ะบุ ไ ว ดังตอไปนี้ ตองระวางโทษจำคุกไมเกินหาปหรือปรับไมเกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (1) โดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นำเขาสูระบบคอมพิวเตอรซึ่งขอ มูลคอมพิวเตอรที่บิดเบื อนหรื อปลอมไม ว า ทั้ ง หมด หรือบางสวน หรือขอมูลคอมพิวเตอรอันเปนเท็จ โดยประการที่นาจะเกิด ความเสียหายแกประชาชน อันมิ ใ ช ก าร กระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา (2) นำเขาสูระบบคอมพิวเตอรซึ่งข อมูล คอมพิ วเตอรอันเปนเท็ จ โดยประการที่น า จะเกิด ความเสียหายต อ การรั ก ษา ความมั ่ น คงปลอดภั ยของประเทศ ความปลอดภั ยสาธารณะ ความมั ่ น คงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรื อ โครงสรางพื้นฐานอันเปนประโยชนสาธารณะของประเทศ หรือกอใหเกิดความตื่นตระหนกแกประชาชน


84

จะเปน การเปดชองใหเจาหนาที่ใชดุลยพินิจมากเกินไป การสรางบรรยากาศแหงความกลัวผานการบัง คั บ ใช กฎหมาย การซ้ำซอนกับกฎหมายอื่นที่มีอยู ประชาชนมีโอกาสที่จะถูกลวงละเมิดสิทธิความเปนสวนตัว ฯลฯ 25 อีกทั้ง บทบัญญัติประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 26 หรือขอหา “ยุยงปลุกปน” โดยกฎหมายนี้ถือ เปนกรอบกำกับการแสดงความคิดเห็นตอสาธารณะไมใหกระทบตอ “ความมั่นคงของรัฐ” หลังการรัฐประหาร ของคณะรักษาความสงบแหงชาติ (คสช.) ในป พ.ศ. 2557 ขอหานี้ถูกใชมากขึ้นเรื่ อย ๆ ตอกลุ ม คนที่ แ สดง ความคิดเห็นทางการเมืองในทิศทางตรงขามกับรัฐบาลทหาร จนเขาลักษณะเปนการตั้งขอหาเพื่อหวั ง ผลทาง การเมือง มีการจับกุมและดำเนินคดีผูมีความเห็นตางทางการเมืองกับคณะรัฐประหารจำนวนมาก จนเกิด เป น คดีบนพื้นที่ออนไลนและคดีที่เกี่ยวของกับการใชเครือขายสังคมออนไลน เชน คดีของสมบัติ บุญงานอนงค ซึ่ ง ถูกจับเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2557 จากการโพสเฟซบุคและทวิตเตอรนัดหมายใหประชาชนออกมาชุ ม นุ ม ตอตานคสช.27 คดีของชัชวาล นักขาวอิสระในจังหวัดลำพูน ถูกกลาวหาวาเผยแพรภาพขาวการชุมนุมตอต า น รั ฐประหาร พร อมเขี ย นคำบรรยายใตภาพว า “แดงลำพู นแปลงกาย ใส ห ลากสี สวมหน า กากชู ปา ยตาน รัฐประหารกลางเมือง” บนเว็บไซตผูจัดการออนไลน 28 เปนตน สวนสุดทาย ในกรณีที่ฝายที่เปนปฏิปกษกับกลุมนักเคลื่อนไหว อาจไมใชผูมีอำนาจรัฐที่สามารถบังคับ ใชกฎหมายกับประชาชนไดโดยตรง กลาวคือ หากกลุมผลประโยชนหรือนายทุนตองการตอบโตขบวนการของ ประชาชนที่ออกมาเคลื่อนไหวคัดคานโครงการพัฒนาที่ตนมีสวนไดเสียดวย และการตอบโตดังกลาวจะตองไม ใชความรุนแรง กลุมทุนเหลานั้นจึงมักใชวิธีการแจงความหรือฟองคดีตอ กลุมเคลื่อนไหวในฐานหมิน่ ประมาท ไม (3) นำเขาสูระบบคอมพิวเตอรซึ่งขอมูลคอมพิวเตอรใด ๆ อันเปนความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแหงราชอาณาจั ก รหรื อ ความผิดเกี่ยวกับการกอการรายตามประมวลกฎหมายอาญา (4) นำเขาสูระบบคอมพิวเตอรซึ่ง ขอมู ลคอมพิวเตอรใ ดๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข อมู ลคอมพิวเตอร นั้ น ประชาชน ทั่วไปอาจเขาถึงได (5) เผยแพรหรือสงตอซึ่งขอมูลคอมพิวเตอรโดยรูอยูแลววาเปนขอมูลคอมพิวเตอรตาม (1) (2) (3) หรือ (4) ถ า การกระทำความผิ ดตามวรรคหนึ่ ง (1) มิ ไ ด ก ระทำต อ ประชาชน แต เปน การกระทำตอ บุ คคลใดบุคคลหนึ่ง ผูกระทำ ผูเผยแพรหรือสงตอซึ่งขอมูลคอมพิวเตอร ดังกล าวตอ งระวางโทษจำคุกไมเกินสามปหรื อ ปรั บ ไม เ กิ น หก หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และใหเปนความผิดอันยอมความได 25 เอกพล บรรลือ. (2559). “หลากมุมมองสะทอ นป ญหา พ.ร.บ. คอมฯ ฉบับใหมจากเวทีภ าคประชาชน.” สืบค น เมื่ อ 29 ธั น วาคม 2561 จาก เดอะโมเมนตั ม : https://themomentum.co/momentum-feature-cybercrime-act-2016from-citizen/ 26 มาตรา 116 ผูใดกระทำใหปรากฏแกประชาชนดวยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใดอันมิใชเปนการกระทำภายในความมุ ง หมาย แหงรัฐธรรมนูญ หรือมิใชเพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต (1) เพื่อใหเกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายแผนดินหรือรัฐบาล โดยใชกำลังขมขืนใจหรือใชกำลังประทุษราย (2) เพื่อใหเกิดความปนปวน หรือกระดางกระเดื่องในหมู ประชาชน ถึงขนาดที่จะกอความไมสงบขึ้นในราชอาณาจั ก ร หรือ (3) เพื่อใหประชาชนลวงละเมิดกฎหมายแผนดิน ตองระวางโทษจำคุกไมเกินเจ็ดป 27 ศูนยขอมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ. (2557). “สมบัติ บุญงามอนงค : 116.” สืบคนเมื่อ 29 ธันวาคม 2561 จาก ศูนยขอมู ล กฎหมายและคดีเสรีภาพโดยไอลอว: https://freedom.ilaw.or.th/th/case/604#detail 28 ศู น ย ข อ มูล กฎหมายและคดี เสรีภ าพ. (2557). “ชั ช วาลย: แพร ภาพขา วการชุ ม นุ ม ต า นรั ฐประหาร.” จาก ศู น ย ข อ มูล กฎหมายและคดีเสรีภาพโดยไอลอว: https://freedom.ilaw.or.th/case/664


85

วาจะเปนความผิดฐานหมิ่นประมาททางอาญาตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326 29และ มาตรา 328 30หรือ ฟองใหชดใชคาสินไหมทดแทนในความรับผิดฐานหมิน่ ประมาททางแพงตามบทบัญญัติใน ประมวลกฎหมายแพ งและพาณิ ชย มาตรา 420 31 และมาตรา 423 32 เพื ่ อให กลุ ม นักเคลื ่ อนไหวต องแบก รับภาระเพิ่มขึ้น ออนแรง หรือตองพบเจอกับอุปสรรค ทำใหการตอสูเปนไปอยางยากลำบากและอาจต องยุ ติ การเคลื่อนไหวลงไปในทายที่สุด จากการประเมินสถานการณ ป จจุบั นจะเห็นวาอิ นเตอร เน็ ตสรา งศั กยภาพในเชิ งเป ดพื้ นที่ในการ รวมกลุมและสรางชองทางสื่อสารใหกับขบวนการเคลื่อนไหวดานสิ่งแวดลอมและทรัพยากร เนื่องจากมี ทุ นใน การใชชองทางและพื้นที่ต่ำ และกาวขามขอจำกัดทางกฎหมายอาทิขอหามดานการรวมกลุ ม ชุ ม นุ ม ในพื้ นที่ สาธารณะตามกฎหมาย อยางไรก็ดีพลเมืองผูตื่นตัวยังตองเผชิญกับความเสี่ยงอันเนื่องมาจากการแสดงออกไม วาจะเปนการถูกสอดสองจับตาโดยหนวยงานรัฐ และบรรษัทเอกชน รวมไปถึงการตองคำกลาวหาทางกฎหมาย ซึ่งสรางอุปสรรคขัดขวางการมีสวนร วมในประเด็นสาธารณะเป นอยางยิ่ง เพราะประชาชนที่ตองการเข า มา รวมกลุมจะวิตกกังวลวาอาจเกิดความยุงยากในการสูกระบวนการตอสูคดีทางกฎหมาย และหวั่นใจวาอาจมีชื่อ ติดอยูในรายชื่อของฝายความมัน่ คง ในบทถั ดไปจะวิ เคราะห กรณี ศึ กษาเพื ่อแสดงใหเห็นข อเท็จ จริง และหลักฐานที ่ สะท อนใหเห็ นถึง อุปสรรคขัดขวางการมีสวนรวมของประชาชน รวมถึงขอดีขอไดเปรียบในการใชเทคโนโลยีสื่อสารมาสงเสริมการ ขับเคลื่อนขบวนการเคลื่อนไหวดานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม

29

ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326 ผูใดใสความผูอื่นตอบุคคลที่สาม โดยประการที่นา จะ ทำใหผูอื่นนั้นเสียชื่อเสี ย ง ถู ก ดู หมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ผูนั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ตองระวางโทษจำคุ กไมเกินหนึ่งป หรือ ปรับไมเกิน สองหมื่ น บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ 30 ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 328 ถาความผิดฐานหมิ่นประมาทไดก ระทำโดยการโฆษณา ดวยเอกสาร ภาพวาด ภาพ ระบายสี ภาพยนตร ภาพหรือตัวอักษรที่ ทำใหปรากฏดวยวิธีใด ๆ แผนเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพ หรื อ บั น ทึ ก อักษร กระทำโดยการกระจายเสียง หรือการกระจายภาพ หรือโดยกระทำการปาวประกาศดวยวิธีอื่น ผูกระทำตองระวางโทษ จำคุกไมเกินสองปและปรับไมเกินสองแสนบาท 31 ประมวลกฎหมายแพง และพาณิชย ม าตรา 420 ผูใดจงใจหรื อประมาทเลินเล อ ทำตอบุคคลอื่ น โดยผิด กฎหมายใ ห เ ข า เสียหายถึงแกชีวิตก็ดี แกรางกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพยสินหรือสิทธิอยางหนึ่งอยางใดก็ดี ทานวา ผูนั้นทำละเมิ ด จำตองใชคาสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น 32 ประมวลกฎหมายแพงและพาณิชยม าตรา 423 ผูใดกลาวหรือไขขาวแพรหลาย ซึ่งขอความอันฝาฝน ตอความจริ ง เป น ที่ เสียหายแกชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของบุคคลอื่น ก็ดีหรือเปนที่เสียหายแกทางทำมาหาได หรือทางเจริญของเขาโดย ประการ อื่นก็ดี ทานวาผูนั้นจะตองใชคาสินไหมทดแทนใหแกเขาเพื่อ ความเสียหายอยางใดๆ อันเกิดแตการนั้น แมทั้งเมื่อตนมิได รูว า ขอ ความนั้นไมจริง แตหากควรจะรูได


86

บทที่ 4 บทวิเคราะหกรณีศึกษาเกี่ยวกับชุมชนเสมือนที่แสดงออกในประเด็นฐานทรัพยากรและ สิ่งแวดลอม กรอบการวิเคราะหกรณีศึกษาในบทนี้จะคำนึงถึงความสัมพันธของผูรวมขบวนการในโลกออนไลน ซึ่ง เชื่อมโยงอยูกับบริบทของโลกจริงดวย ดังนั้นการเปรียบเทียบใหเห็นอุปสรรคในการเคลื่อนไหวทั้ ง ในโลกจริ ง และโลกไซเบอร กับ ผลกระทบจากมาตรการจำกัดสิทธิในทั้งสองโลก จึงเปนสิ่งที่งานวิจัยนี้จะสะทอนให เห็ น โดยตองใชวิธีการวิเคราะหตามกรอบทฤษฎีที่ไดทบทวนไวในบทที่ 1 คือ แนวคิดการปฏิวัติระดับโมเลกุ ลของ การเมืองแบบเอกภพในลั กษณะขบวนการซายไซเบอร ทั้งนี้ในเบื้องตนตองใชวิธีการจำแนกหน ว ยทางสั ง คม และการวิเคราะหความสัมพันธทางสังคมตามแนวทางของทฤษฎีเกมสเพื่อมาชวยวิเคราะหใหเห็นความเปนไป ของโลกออนไลนเสียก อน แลวจึงนำไปสูการตอบประเด็นรายละเอียด ที่นำจะเสนอดวยการพิจารณาเงื่ อนไข ตางๆที่เปนอุปสรรคหรือสงเสริมสิทธิในการมีสวนรวมของประชาชนผานมิตทิ างกฎหมาย (โดยรายละเอียดของ กรณีศึกษาการรวมกลุม และการฟองคดียุทธศาสตรแตละกรณีจะรวบรวมไวในภาคผนวก) หากลองนำกรอบวิเคราะห ความสั มพั นธทางสั งคมแบบทฤษฎีเกมส ขางต นมาพิ จารณาประเด็ นทาง กฎหมายในขอบเขตงานวิจัยเรื่ อง “สภาพปญหาและลูทางสนับสนุนสิทธิในการรวมกลุมบนโลกไซเบอร เพื่ อ แสดงออกในประเด็ นฐานทรั พยากรธรรมชาติ แ ละสิ ่ ง แวดลอม” จะได แ นวทางในการวิ เคราะห ปญ หา ดังตอไปนี้ 1. เรื่อง / ประเด็นปัญหา / จุดปะทะ

การใชเสรีภาพในการแสดงออกและสิทธิในการรวมกลุม ปะทะ การใชอำนาจรัฐรักษาความสงบ และการรักษาภาพลักษณของ เอกชน

2. เวลา กับ พื้นที่

ยามปกติ/ชวงรัฐประกาศสถานการณฉุกเฉินในประเทศไทย

3. กฎกติ กา

รัฐธรรมนูญ พรบ.ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอรฯ ชุดกฎหมายไซ เบอร ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย ชุดกฎหมายความมั่นคงและขาวกรอง5ฉบับ กฎหมายสิ่งแวดลอม

4. ผู้เล่น

รัฐบาล/กองทัพ กลุมทุนอุตสาหกรรม บรรษัท ประชาสังคม ชุมชน ประชาชน เจาพนักงานบังคับใชกฎหมาย ฝายปกครอง ตุลาการ สื่อมวลชน ผูใหบริการอินเตอรเน็ต


87

5. ผลประโยชน์ที่แย่งชิ ง กัน

อำนาจรัฐ สิทธิจัดการสิ่งแวดลอม ทรัพยากร

6. ความสัมพันธ์ / เครือข่าย

ความสัมพันธสวนตัว ผลประโยชนรวม อุดมการณ

7. เป้ าหมายสุดท้าย

การอยูรวมกันในสังคมโดยมีสวนรวมตัดสินใจในประเด็น สาธารณะ โดยทุกฝายไดรับประกันสิทธิขั้นพื้นฐาน

8. รางวัล และโทษทัณฑ์

รางวัล-ไดมีสวนรวมตัดสินใจ ไดรับการคุมครองสิทธิ โทษทัณฑ-โทษทางกฎหมาย การถูกจำกัดสิทธิในการมีสวนรวม

9. วิ ธีการระงับข้อพิ พาท / จัดการ

การใชความรุนแรง การเจรจาตอรอง การประนีประนอมยอม ความ การใชมาตรการกฎหมายนอกศาล การระงับขอพิพาทโดย องคกรอิสระตามรัฐธรรมนูญ กระบวนการยุตธิ รรมในชั้นศาล

10. การสื่อสารและข้อมูล

การสื่อสารผานสื่อของรัฐ/การซื้อพื้นที่สื่อสารโดยบรรษัท ปะทะ การสื่อสารทางเลือกในสื่อใหม ขอมูลของรัฐ/บรรษัท ปะทะ ขอมูลของขบวนการสิ่งแวดลอม (เนนการศึกษาในโลกไซเบอร)

จากแนวทางการวิเคราะหขางตน จะสามารถตอบคำถามที่ตั้งไวเปนคำถามงานวิจัยไดอย า งครบถ ว น สมบูรณ โดยกรอบที่ใชวิเคราะหก็สามารถแยกแยะใหเห็นถึงปจจัยและเงื่อนไขตางๆที่มีความเกี่ยวของสัมพันธ กันระหวางโลกเสมือนและโลกจริง เพื่อชี้ใหเห็นถึงสภาพปญหาและสามารถถอดบทเรียนเหตุการณที่เกิดขึ้ น อันจะนำไปสูแนวทางแกปญหาที่ขัดขวางกระบวนการมีสวนรวมของประชาชนในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดลอมไดตอไป การศึกษาปรากฏการณในโลกไซเบอรตองอาศัย การผสมผสานทฤษฎีทางสังคมในหลากหลายรู ป แบบ เพื่อปรับใชกับความซับซอนและเสมื อนจริง ของโลกออนไลน โดยตองไมลืม ถึง สิ่งสำคัญประการหนึ่ ง ว า โลก ออนไลนอยูภายใตบริบทของโลกจริง ดังนั้นการศึกษาจึงตองเชื่อมโยงความสัมพันธระหวางสองโลกเสมอ 4.1. ลักษณะของการขับเคลือ่ นขบวนการสิ่งแวดลอมและทรัพยากรโดยอาศัยอินเตอรเน็ตในไทย การวิเคราะหถึงจุดแข็งและจุดออนของขบวนการเคลื่ อนไหวไซเบอรดานสิ่ง แวดล อมและทรั พ ยากร ตองคำนึงถึงความสัมพันธระหวางกิจกรรมออนไลน และการขับเคลื่อนในโลกจริงดวย เพื่อสะท อนให เห็ นถึ ง


88

ความจำเปนในการใชอินเตอรเน็ตเพื่อสงเสริมสิทธิในการมีสวนรวมและตองสรางหลักประกันแตอยางใดในการ พั ฒนาอยางยั ่ง ยื นบนพื้ นฐานของสิทธิม นุ ษยชนในรว มตั ดสิ นใจ โดยในหั วข อนี ้จ ะดำเนิ นไปตามลำดั บ คื อ ขอเท็จจริง ผลสะเทือนของขบวนการเคลื่อนไหว กลุมที่เคลื่อนไหว วิธีการเคลื่อนไหว ผลที่เกิดขึ้น การเขารวม ของสังคม ปญหาและอุปสรรค แลวสะทอนใหเห็นผลสะเทือนจากขบวนการเคลื่อนไหว ดังจะวิเคราะหอยาง ละเอียดดังตอไปนี้ 1) ขอเท็จจริง ขอเท็จจริงมักเริ่มตนจากความขัดแยงอันเนื่องมาจากความตองการที่จะกำหนดทิศทางการใช ทรัพยากรที่แตกตางกันของกลุมผลประโยชนทั้งหลาย โดยมีความชอบธรรมเปนเดิมพันโดยฝายรัฐและบรรษัท มักอางความชอบธรรมตามกฎหมายลายลักษณอักษร แตภาคประชาชนอาจทวงถามความชอบธรรมในเชิง ความยุติธรรมทางสังคมตอการจัดสรรทรัพยากรและการรักษาสิ่งแวดลอมบนพื้นฐานการมีสวนรวมของ ประชาชนโดยเฉพาะชุมชนทองถิ่นในพื้นที่พิพาท โครงการที่สะทอนความไมเทาเทียมในการดำเนินนโยบายของรัฐบาลที่มีลักษณะรุกไลประชาชนกลุม เสี่ยงเชน ชาวบานในทองถิ่น ชนเผาชาติพันธุในพื้นที่ชนบทหรือปา กับโครงการของหนวยงานรัฐและเอกชนที่ เดินหนาไดอยางราบรืน่ โดยผานอำนาจจากกระทรวง กรม กองทัพ รัฐบาล โดยถือเอาทรัพยากรรวม เชน ที่ดิน ปาสงวน เขตอุทยานแหงชาติเปนทรัพยสินราชการ และมีการใชอำนาจขออนุ ญาตใชที่ดินอย า งถู กต องตาม กฎหมาย 1 ในขณะที่ฟากประชาชนและภาคประชาสังคมมักเริ่มตนดวยการคัดคานโครงการพัฒนาของรัฐหรือ เอกชนที่มีผลกระทบตอตนเองหรือไมอยากใหทรัพยากรและสิ่งแวดลอมถูกทำลายมากไปกวานี้ ทั้งยังตองการ ตอสูเพื่อสรางบรรทัดฐานตอไป วาควรหลีกเลี่ยงการผลักดันโครงการพัฒนาที่ทำลายความยั่งยืนทัง้ ตอ ทรัพยากรสิ่งแวดลอมและการดำรงอยูของชุมชนที่ตองใชชีวิตจริงในพื้นที่ ขอพิพาทเกิดขึ้นเมื่อหนวยงานภาครัฐบาลและบรรษัทเอกชนไมฟงเสียงคัดคานของคนในพื้นที่จึงเปน เหตุกอความขัดแยงใหระหวางประชาชนผูไมเห็นดวยกับฝายของรัฐบาล2 หรือบรรษัทผูเกี่ยวของกับโครงการ 2) กลุมที่เคลื่อนไหว ประชาชนในทองถิ่น และ เครือขายภาคประชาชน หรือขับเคลื่อนรวมกับภาคประชาสังคม เชน ชมรม วิชาชีพ ชมรมกิจกรรมของคนในทองถิ่น มูลนิธิเกี่ยวกับทรัพยากรสิ่งแวดลอมและการพัฒนาที่ยั่งยืน เครือข า ย ชุมชนคนอนุรักษสิ่งแวดลอมหรือวิถีชุมชนทองถิ่ น กลุมฐานทรัพยากร กลุมเกษตรกร กลุมตระหนักรู ด า นภั ย

1

ไทยรัฐ. (2561). “ลุน! ปมสรางบานพั กตุ ลาการ ยุติหรือไม จอ นำเขาที่ประชุ ม.” สืบคนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2561. จาก เว็บไซต ไทยรัฐ : https://www.thairath.co.th/content/1248819#cxrecs_s 2 ไทยโพสต. (2561). “บานพักตุลาการ สูบรรทัดฐานใชป าดอยสุเ ทพ.” สืบคนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2561. จากเว็บไซต ไทย โพสต: https://www.thaipost.net/main/detail/7434


89

พิบัติธรรมชาติที่เกิดจากน้ำมือมนุษย ไปจนถึงกลุมผูบริโภคสีเขียว และกลุมคนในเมืองผู ต ระหนั กถึ ง ป ญ หา สิ่งแวดลอม กลุมนิเวศนพัฒนา 3) วิธีการเคลื่อนไหว - กลุมภาคีตางๆสรางการรวมกลุมในโลกจริงก อนโดยรวมกันเปนเครือขาย ผานการมี “ประเด็นรวม” เชิ ง ความคิดและเปาหมาย - การทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณเพื่อแสดงออกถึงจุดยืน3 โดยอาจทำรวมกับกิจกรรมในลักษณะการเคลื่อนไหว ประเด็นไปกับการเคลื่อนที่ไปหาแนวรวมหรือเปนที่รับรูของประชาชนในพื้นที่ตางๆ ทั้งในชนบทหรื อใน เมือง - อาจผลิตสื่อเพื่อเปนสารในการเชื่อมโยงทางความคิดและจัดตั้งขบวนการแนวรวมใหเขมแข็งดวยกั น เช น บทความ บทกวี สารคดี หรือบทเพลงที่สะทอนปญหา ความตองการ หรือรวมแสดงจุดยืนในการคั ด ค า น โครงการที่ไมยั่งยืนทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม 4 - สรางแนวรวมกับผูประกอบการขนาดกลางและขนาดยอมในพื้นที่เพื่อทำโครงการเชิงสรางสรรคที่ผสมผสาน วิถีการผลิต การแลกเปลี่ยน เพื่อกระจายขอมูลขาวสารไปใหถึงผูบริโภคในวงกวาง ผานระบบตลาดทีม่ ากไป กวาซื้อขายสินคาที่เปนมิตรตอสิ่งแวดลอม แตไปถึงขั้นแลกเปลี่ยนขอมูลขาวสารดานสิ่งแวดลอม หรือสราง ความคิดและจุดยืนที่ชัดเจนตอผูทำลายสิ่งแวดลอม - การประกาศตัวผานสื่อหลากหลายรูปแบบรวมถึงสื่อออนไลน ขยายเครือขายการสื่อสารและสร า งชุ ม ชน เสมื อนบนพื ้นที ่ไซเบอร ขึ้ นมาเพื ่อกำหนดความถูกต องแม นยำของข อมู ลหรื อจุ ดยื นในสถานการณของ เครือขายผานชองทางสื่อสารอยางเปนทางการ 5 อันเปนการขยายความสัมพันธจากโลกจริงไปสูโลกเสมื อน ในอินเตอรเน็ตที่เปดกวางตอพลเมืองเน็ตจำนวนมหาศาล - เริ ่ ม มี การใช ชุมนุม ไซเบอร ในการติดต อสื ่อสารแลกเปลี ่ย นข อมูลไปจนถึ งการสรางหมายกำหนดการจัด กิจกรรมรวมกันในโลกจริง อันเปนความสัมพันธระหวางโลกไซเบอรกับโลกจริงสะทอนใหเห็นพลังของการ ชุมชนไซเบอรวาสามารถขับเคลื่อนขบวนการไปทำกิจกรรมในโลกจริง หรืออาจทำใหเกิดความเปลี่ยนแปลง ในโลกจริง เชน ปรับโครงการ ปฏิรูประบบกฎหมาย หรือเปลี่ยนนโยบายของรัฐ หรือทำใหบรรษัทเอกชน ตองสรางภาพลักษณองคกรใหมไปพรอมกับการดำเนินกิจการใหสอดคลองกับพันธกรณีดานสิทธิมนุษยชน และสิ่งแวดลอม 3

ไทยรัฐ. (2561). “ชาวเชียงใหมนัดแสดงพลัง ไมเอาหมูบานปาแหวง ดีเดย 29 เม.ย.นี้.” สืบคนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2561. จากเว็บไซต ไทยรัฐ: https://www.thairath.co.th/content/1262432 4 ไทยรัฐ. (2561). “ประวัติศาสตรเชียงใหม! คนครึ่งหมื่น รวมตานหมูบานป าแหวง.” สืบคนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2561. จาก เว็บไซต ไทยรัฐ : https://www.thairath.co.th/content/1268111 5 ประกาศเค รือ ข าย ขอ คื นพ ื้น ที ่ป า ดอย สุเท พ เรื่องชองทางส ื่อ ส าร อย  าง เปน ท างก า ร : https://www.facebook.com/lovedoisuthep/photos/a.237478120337539.1073741829.237243290361022/27 9279542824063/?type=3&theater


90

- การทำแคมเปญรณรงคผานเว็บไซตหรือพื้นที่สื่อสารอันเปนที่นิยมในอินเตอรเน็ตเพื่ อดึงดู ด ผู ที่ สนใจเรื่ อง สิ่งแวดลอมมาจากผูที่สนใจในประเด็นสังคมสาธารณะอื่นๆ มาเพิ่มพลังขยายเครือขายออกไปใหกวา งและ ทรงอิทธิพลทางความคิดและวัฒนธรรม รวมถึงเสริมภาพลักษณวามีผูเขารวมและเห็นดวยกับขบวนการหรือ ขอเสนอของเครือขายเปนจำนวนมาก6 - จั ด สร า งพื ้ นที ่ สื่ อสารให เป นชุ มชนเสมื อนระยะยาวเพื ่ อสร างฐานของมวลชนใหม ั ่ นคงถาวรขึ ้ น เช น แอพพลิเคชั่นสื่อสารพูดคุย หรือ โซเชียลเน็ตเวิรค ซึ่งทำใหเห็นปริมาณมวลชนที่สนับสนุนประเด็นและอาจ เปนกลุมคนที่ขอความรวมมือไดเยอะขึ้ น รวมถึงไดความเชี่ยวชาญชำนาญที่สามารถเปลี่ย นเป นกิ จ กรรม หนุนเสริมไดหลากหลายขึ้น ไปจนถึงการจัดกำลังในการตรวจตราเฝาระวังสถานการณที่ทันตอความเปลี่ยน ตามบริบทไดรวดเร็วมาก7 - อาจมีเว็บไซตที่สามารถรวมรวมขอมูลหลากหลายรูปแบบและมีพื้นที่ซึ่งเครือขายควบคุม จัดการ ออกแบบ ไดอยางอิสระมากขึ้นในรูปแบบของเว็บไซต 8 อันเปนชองทางที่คนหาและเขาถึงไดงา ย ตอเนื่อง และมีความ เปนอิสระไมติดกับนโยบายของเจาของแพลตฟอรม เชน โซเชียลเน็ตเวิรค หรือแอพลิเคชั่นพูดคุยอื่นๆ 4) ผลที่เกิดขึ้น - จากความขัดแยงที่เกิดขึ้นมายาวนาน ระหวาง กลุมเครือขาย กับ ตัวแทนจากรัฐบาล นำไปสู การเจรจา ระหวางขบวนการกับหนวยงานรัฐหรือเอกชนที่เกี่ยวขอ เพื่อแสวงหาทางออกและขอสรุปการเจรจา อาทิ มาตรการบรรเทาผลกระทบตอทรัพยากรรวม และเรื่องของการฟนฟูคุณภาพสิ่งแวดลอมนั้น โดยอาจมีการ จัดตั้งคณะกรรมการรวมไปถึงการจัดตัง้ ผูประสานงานรวมกันระหวางภาครัฐและภาคประชาชนดำเนินตอไป 9 ทั ้ ง นี ้อ าจมีก ารเจรจาและสร างขอ ตกลงตอ ไปได อ ีก หลายครั ้ง ตามความคืบหนาของสถานการณ 10 ซึ่ง สะทอนใหเห็นความจำเปนในการตองมีการรวมกลุมอยางตอเนื่องเพื่อจับตาประเด็นมิใหเกิดการรวบยอด ตัดตอนประเด็น - กลุมเครือขายสามารถเฝาระวังและกดดันใหหนวยงานที่เกี่ยวของดำเนินตามกฎหมาย เพื่อเขาไปดำเนินการ จัดการฟนฟูคุณภาพสิ่งแวดลอม ตามที่ตกลงกันไว 11 อันเปนผลลัพธที่สืบเนื่องจากกิ จกรรมในโลกเสมื อน ไปสูการขับเคลื่อนในโลกจริง 6

“ขอใหศาลอุทธรณ ภาค๕ คืนพื้นที่ปาดอยสุเทพ ๑๔๗ ไร ๓ งาน ๔๑ ตารางวา.” : https://www.change.org/p/ขอให ศาลอุทธรณ-ภาค-๕-คืนพื้นที่ปาดอยสุเทพ-๑๔๗-ไร-๓-งาน-๔๑-ตร-ว?source_location=discover_feed 7 แฟนเพจเฟสบุค “ขอคืนพื้นที่ปาดอยสุเทพ” https://www.facebook.com/DoiSuthepMountain/ 8 เว็บไซตที่ใชในการเคลื่อนไหว : http://www.welovedoisuthep.com/ 9 ไทยรัฐ. (2561). “สรุปเขาใจงาย 3 ขอ แกปญหาหมูบานปาแหวงเชียงใหม.” สืบคนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2561. จากเว็ บ ไซต ไทยรัฐ: https://www.thairath.co.th/content/1274972#cxrecs_s 10 ไทยรัฐ. (2561). “คนเชียงใหมเฮ! ยึดคืนหมูบานปาแหวง ปลูกตนไมใหเขียวขจี.” สืบคนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2561. จาก เว็บไซต ไทยรัฐ: https://www.thairath.co.th/content/1274396 11 ไทยรัฐ. (2561). “ปาแหวง ยังไมจบ เรง ธนารักษ รังวัดแนวเขต.” สืบคนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2561. จากเว็บไซต ไทยรั ฐ : https://www.thairath.co.th/content/1275694#cxrecs_s


91

- การนำป ญหาการไม ย อมปฏิ บัติ ตามสั ญ ญาในโลกจริง กลับมาเปนประเด็ นขั บเคลื ่อนในโลกไซเบอร วา หน ว ยงานรัฐหรือภาคเอกชนที ่ เกี ย่ วข องไม ทำตามขอเจรจา เป นที ่ มาของปฏิ บั ติการทวงสัญ ญา และมี กิจกรรมติดตามผลไดดวยในโลกความจริง เนื่องจากไมมีการทำตามขอตกลงที่เคยเจรจากันไปในครั้ ง ก อน และ กระบวนการหลายอยางมีความลาชามาก อีกทั้งยังมีผูฝาฝนสัญญาอยางตอเนื่อง - การขับเคลื่อนขบวนการอยางตอเนื่องทั้งในโลกไซเบอรและโลกจริงนำไปสูความเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายได อาทิ การทำใหที่ประชุมของรัฐมีมติแสวงหาทางเลือกใหมในการทำโครงการที่มผี ลกระทบนอยกวา หรือหา แนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนกวามาเปนโครงการเสริมหรือแทนโครงการเดิม12 5) การเขารวมของสังคม จากเดิมที่มีเพียงกลุมเครือขายตางๆ ที่อยูในพื้นที่โลกจริงแถบจังหวัดซึ่งโครงการทีข่ ัดแยงตัง้ อยู และมี เพี ย งคนทองถิ ่ นบางส ว นที ่ เข าร วมในขบวนการคั ดคานโครงการใช ทรั พยากรรว มอยางไม ยั ่ง ยื นและขอให ปรับปรุงแนวทางการฟนฟูคุณภาพสิ่งแวดลอม แตเมื่อมีการรณรงคทั้งในโลกจริงผสมผสานกับการสร า งพื้ นที่ สื่อสารจนกลายเปนชุมชนในโลกเสมือน เชน สรางเพจเฟสบุค กลุมไลน เว็บไซต และทำแคมเปญลารายชื่อผาน แพลตฟอร ม รณรงค ระดั บโลกอยา ง Change.org ขอให ห น ว ยงานรั ฐ/บรรษั ทเอกชนยุ ติ โครงการและคืน ทรั พ ยากรธรรมชาติ พบว า ไมเพี ย งแคค นท องถิ ่ นสนใจ แต ย ั ง มี ประชาชนจากจั ง หวั ดอื ่นๆ หรื อคนที ่ อยู ตางประเทศสนใจเขารวมกิจกรรมอยางตึกตัก อยางเชน เพจเฟสบุคของกลุมขอคืนพื้ นที่ปาดอยสุ เทพที่ มี ค น ติดตามมากถึง 43,063 คน และรายชื่อจากแคมเปญขอคืนพื้นที่ปา ดอยสุเทพผานทาง Change.org ถึง 60,772 คน การเขารวมของภาคประชาชนยังมีอยางตอเนื่อง รวมถึงในสวนของสื่อกระแสหลักทั้งโทรทัศนและวิทยุไดมี การนำกิจกรรมในโลกไซเบอรรวมถึงเนื้อหาทีผ่ ลิตในชุมชนออนไลนไปรายงานขาวตอ 6) ปญหาและอุปสรรค - ปญหาที่เกิดขึ้นคือ ตัวแทนจากหนวยงานรัฐและเอกชนมักไมมาเจรจาตามนัดกับกลุมเครือขายสิ่งแวดล อม และเลื่อนกำหนดการออกไปอยางไมมีกำหนด อีกทั้งยังเตรียมฟองผูเกี่ยวของที่เผยแพรขอมูลในโซเชียล13 - รัฐบาลมักไมเห็นดวยหรือชะลอการตัดสินใจที่จะใหยกเลิกโครงการที่ไดใชงบประมาณของรัฐ เพราะเกรงวา จะเกิดการฟองรองของผูรับเหมากอสรางเอกชนที่ไดทำสัญญากับรัฐไวแลว 14 - กลุมทุนและหนวยงานรัฐใชวิธีการดำเนินคดีคดีกับกลุมคัดคานและนักวิชาการที่ออกมาวิพากษวิจารณ ว า เขาขายการดูหมิ่นศักดิ์ศรี ใชถอยคำหยาบคาย อันทำใหเกิดกระแสโจมตีทางโซเชีย ลที่รุนแรงสร า งความ

12

Thaipost. (2561). “หมูบานปาแหวงจบ! ศาลขอใชที่เขียงราย.” สืบคนเมื่อ 12 สิงหาคม 2561. จวกเว็บไซต ไทยโพสต : https://www.thaipost.net/main/detail/15210 13 Thai PBS NEWS. 2561. “ขูฟองตั้งฉายา “หมูบานปาแหวง” เชิงดอยสุเทพ-ปุย.” สืบคนเมื่อ 10 กรกฎาคม. 2561. จาก เว็บไซต ThaiPBS: https://news.thaipbs.or.th/content/271396 14 BBC. (2561). “บานศาลในปาแหวง บทสะทอนความย อนแยง นโยบายทวงคืนผืนป า คสช.” สืบคนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2561. เว็บไซต BBC: https://www.bbc.com/thai/thailand-43708707


92

เสื่อมเสียชื่อเสียงแกหนวยงานรัฐและเจาหนาที่ของรัฐ15 เชนเดียวกับภาคเอกชน บรรษัท อุตสาหกรรมทีม่ กั เลือกยุทธวิธีฟองตบปากเพื่อสะกดการแสดงออกของประชาชนและภาคประชาสังคมเชนกัน 7) ผลสะเทือนของขบวนการเคลื่อนไหว - รัฐบาล หนวยงานภาครัฐ หรือภาคเอกชนยอมรับฟง ขอมูลและเสียงคัดคา นจากประชาชนที่ เคลื่ อ นไหว ตอตานโครงการ โดยมีการพยายามหาแนวทางลดผลกระทบตอสิ่งแวดลอมและการริเริ่มโครงการพั ฒ นา ใหมที่มีความยั่งยืนกวา โดยขบวนการมีโอกาสเขาไปมีสวนรวมในการใหขอมูล แสดงความคิดเห็น และรวม ตัดสินใจในประเด็นสาธารณะดวย - มีการริเริ่มสรางสรรคทั้งในเชิงขอมูลที่เชื่อมโยงกับชุมชนทองถิ่นโดยใชความเชื่ อ จารีต วัฒนธรรม เป นสิ่ ง กระตุนการชุมนุมคัดคาน เชน ผสานวัฒนธรรมทองถิ่นที่ถือเปนวาทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำ ปา เขาเป น แมและมีความผูกพันกับวิถีชีวิตชาวบานทัง้ ประเพณี วัฒนธรรมและความเชื่อ - ในเชิงวิธีการสื่อสารสามารถเชื่อมโยงคนที่อยูตางที่ตางเวลาใหสามารถเชื่อมตอกันไดโดยปราศจากอุปสรรค ดวยอินเตอรเน็ต สามารถแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนขอมูล แลวนำขอมูลไปขยายผลไดตลอด 24 ชั่วโมง จากทั่วทุกมุมโลกที่เขาถึ งอิ นเตอร เน็ต และสามารถนำขอมูลในอิ นเตอร เน็ตไปขยายผลในโลกจริ ง ทั้ ง ใน ตางประเทศ และในทองถิ่นที่เขาไมถึงอินเตอรเน็ตไดอีกรอบ 8) ขอพึงระวังในการใชสิทธิเสรีภาพของขบวนการเคลื่อนไหว - หากในขบวนการเคลื ่อนไหวมีบุคคลบางกลุ มใชว ิธ ีการที ่มี ลักษณะละเมิดสิ ทธิ ของผู อื่ น เช น การดูหมิ่น เหยียดหยาม ลดศักดิ์ศรีความเปนมนุษย ยุยงปาวประกาศใหมีการใชความรุนแรง หรือสนับสนุนการทำผิด กฎหมาย ไมวาจะเปนการคุกคามความเปนสวนตัวของฝายตรงขาม นำขอมูลสวนบุคคลออนไหวของปจเจก ชนมาเผยแพรตอสาธารณะ หรือการทำลายเกียรติยศชื่อเสียงของผู อื่นใหสังคมประณามและโจมตี บุ ค คล เหล า นั ้ นเปนการเฉพาะตั ว แล ว มี การนำข อมูลส ว นบุค คลหรื อชีว ิ ตส วนตั ว ของผู  อื่ นไปเผยแพร ต อใน อินเตอรเน็ตยอมกระทบกระเทื อนต อสิทธิ ของปจเจกชน16 ถือเปนการใชสิทธิที่ทำใหผูอื่นเสี ย หายและมี ลักษณะผิดกฎหมาย การกระทำเชนวายอมกอใหเกิดความรับผิดทางกฎหมายแกบุคคลผูมีสวนรวมกระทำ ผิด ยิ่งไปกวานั้นการดังกลาวยังกระทบกระเทือนตอความชอบธรรมของขบวนการในภาพรวม รวมถึงทำให สังคมถอยหางจากขบวนการทีม่ ีการใชความรุนแรงละเมิดสิทธิผูอื่นดวย

15

ไทยรัฐ. (2561). “ขรก. ดานตุลาการ เล็งสวนกลับ กลุมตานหมูบานปาแหวงเชียงใหม.” สืบคนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2561. จากเว็บไซต ไทยรัฐ : https://www.thairath.co.th/content/1263457 16 ประชาไท. (2561). “แจงความผูนำภาพ-ชื่อสกุล ผูพิพากษาพักบานป าแหวงติด ประกาศเผยแพร.” สืบคนเมื่อ 1 ธั น วาคม 2561. เว็บไซต Prachatai: https://prachatai.com/journal/2018/12/79874


93

4.2. การเผชิญกับมาตรการโตกลับของขบวนการเคลือ่ นไหวทั้งในโลกจริงและโลกเสมือนในไทย ในหัวขอนี้จะทำการวิเคราะหกรณีศึกษาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของขบวนการสิ่งแวดล อมจนต องคำ กลาวหาทางกฎหมายและตองคดีความ โดยจะทำการจำแนกแยกแยะใหเห็นถึงลักษณะของ คูความในคดี ขอ กล า วหา กระบวนการดำเนินคดี ผลที ่ เกิดขึ ้นกับผู ถู กฟ อง บทวิ เคราะห จุ ดเดนจุ ดด อยของการขับเคลื ่ อน ขบวนการสิ่งแวดลอมไซเบอรเมื่อเผชิญกับมาตรการทางกฎหมาย ดังตอไปนี้ 1) คูความในคดี คูความในคดีประกอบไปดวย 2 ฝาย หลักๆ คือ ฝายโจทกซึ่งเปนหนวยงานของรัฐและบรรษัทเอกชน กับ ฝายจำเลยที่เปนประชาชนในทองถิ่น นักวิชาการ นักขาว หรือเจาหนาที่องคกรพัฒนาเอกชน (NGOs) 2) ขอกลาวหา ขอกลาวที่จะเนนในงานวิจัยนี้จะมุงไปสูขอหาทางกฎหมายที่ตั้งขึ้นเพื่อปรับเขากับ กิจ กรรมในโลกไซ เบอร ดังนั้น การฟองดวยพระราชบัญญัติการชุมนุม หรือการจราจรทางบก หรือบทบัญญัติบางมาตราจาก ประมวลกฎหมายอาญาที่ปรับใชกับกิจกรรมในโลกจริงจะมิไดมุงเนนนัก ขอกลาวหาที่โจทกกลาวหาจำเลยจึงเปนเรื่องหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 328, 329 รวมถึงการละเมิดโดยการกลาวหรือไขขาวอันฝาฝนตอความจริงตามประมวลกฎหมาย แพงและพาณิชย มาตรา 423 เปนพื้นฐาน ในยุคที่มีพระราชบัญญัตกิ ารกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอรบังคับใช ก็มีความพยายามในการใช มาตรา 14 มาปรับใชโดยกลาวหาวามีการนำเขาขอมูลอันเปนเท็จ ขอมูลปลอม โดยใช มาตรา 14 อนุ 1 เป น หลัก แตบางกรณีหนวยงานรัฐและฝายความมั่นคงอาจขยับไปใช มาตรา 14 อนุ 2 โดยอางวาขอมู ลได สร า ง ความตระหนกในหมูประชาชนกระทบความมั่นคง แตหลังจากการปรับปรุงกฎหมายในป พ.ศ.2560 การฟอง หมิ่นประมาทที่เขาลักษณะตามประมวลกฎหมายอาญาแลวจะมาใช มาตรา 14 อนุ 1 อีกไมได แตก็ยังมีขอ กังวลในการใชความตามมาตรา 14 อนุ 2 อยูเชนเคย ซึ่งความผิดตามมาตรา 14 นี้มิอาจยอมความได 3) กระบวนการดำเนินคดี หลังจากมีกิจกรรมเคลื่อนไหวของขบวนการสิ่งแวดลอม สถานการณที่เกิดกับผูสวนเกี่ยวข องกั บ การ ขับเคลื่อนขบวนการในโลกไซเบอรหรือนำข อความหรือกิจกรรมในโลกจริงมาเผยแพรในโลกไซเบอร คือ ทาง เจาหนาที่ไดเรียกตัวผูมีสว นเกี่ย วข องเขามาที่สถานีตำรวจเพื่ อรับทราบข อกลา วหา และบางกรณี มี การส ง สำนวนไปยังอัยการใหสั่งฟองตอศาลยุตธิ รรม โดยกลุมที่มักจะถูกดำเนินคดีมักประกอบไปดวย 4 กลุมหลัก คือ 1. กลุมของผูจัดงานแสดงความคิดเห็น หรือผูริเริ่มขบวนการตอตานโครงการในโลกไซเบอร โดยหวั ง ผลใหยุติการนำเสนอขอมูล หรือไปถึงขั้นยอยสลายใหเลิกรวมกลุมชุมชนเสมือนไปเลย


94

2. กลุมของผูคัดคานในโลกจริง ซึ่งใชสิทธิและยืนยันวามีหนาที่ในการแสดงออกเพื่อปกปองทรัพยากร ตามสิทธิและหนาที่ของประชาชนแตตองเผชิญกับคดีความทั้งในแงการชุมนุมสาธารณะและการแสดงออกจน ตองยุติการแสดงความคิดเห็นหรือใหขอมูล หรือยุติบทบาทการเคลื่อนไหว 3. นักวิชาการที่นำเสนอขอมูลหรือใหใชขอมูลที่หนวยงานรัฐและบรรษัทเอกชนคิดวาทำให เสื่ อมเสี ย ชื่อเสียง โดยหวังใหนักวิชาการยับยั้งการใหขอมูลสนับสนุนขบวนการ หรือออกมาปฏิเสธขอเท็จจริงลดน้ำหนั ก ความนาเชื่อถือของขอมูลที่เปนผลเสียตอหนวยงานรัฐและบรรษัทเอกชน 4. สื่อมวลชนกระแสหลั กที่นำข อมู ลในโลกไซเบอรไปเผยแพรต อในสื่อกระแสหลั ก อื่ นๆเพื่ อ ลดการ ขยายผลความเสียหายตอภาพลักษณองคกรทั้งภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะสื่อมวลชนที่ไมสามารถควบคุมได ดวยงบประมาณการซื้อพื้นที่โฆษณา 4) ผลที่เกิดขึ้นกับผูถกู ฟอง ขบวนการสิ่งแวดลอมมักจะถูกดำเนิ นการแจงข อกลาวหา เขารวมการชุมนุมในที่สาธารณะขั ด ขวาง การจราจร และรวมกันบุกรุกเปนเบื้องตน และตามาดวยขอกลาวหาหมิ่นประมาทหรือนำเขาขอมูลอันเปนเท็จ จริงสูระบบคอมพิวเตอรแลวตองขอใชสิทธิตอสูคดีในชั้นศาล17 เมื่อเสร็จกระบวนการของทางตำรวจ ไดมีการ ปลอยตัวผูตองหาโดยไมตองประกันตัว หรืออาจตองประกันตัวเพื่อไปตอสูคดีในชั้นศาลตอไปซึ่งจำนวนเงิ นใน การใชประกันตัวสูง ในบางกรณีเปนจำนวนเงินถึง 1,350,000 บาท ซึ่งทางทีมงานที่ชวยเหลือและชาวบานเอง ก็ไมสามารถหาเงินจำนวนมากไดทนั ทำใหผูชุมนุมทัง้ หมดถูกสงตัวไปควบคุมที่เรือนจำ18 ถาสื่อมวลชนเปนจำเลยถูกฟองโดน พ.ร.บ. คอมพิวเตอรฯ จะทำใหเกิดการปดกั้นการสื่อสารผานทาง สื่อมวนชลกระแสหลักที่เขาถึงผูคนในวงกวาง ลิดรอนสิทธิการวิพากษวิจารณในประเด็นสาธารณะ ผูห ากถู ก ฟองขอตอสูคดีก็ตองยื นยันวาข อมูลที่ เขียนในบทความนั้ นมาจากการสัม ภาษณชาวบา นที่หมู บ า นจริ ง และ ขอมูลดังกลาวมีการอางอิงจากนักวิชาการในมหาวิทยาลัยวามีมลพิษปนเปอนลงสูแหลงสาธารณะจริง หากผู ถูกฟองไดรับความชวยเหลือจากทนายความของบริษัทและทนายความจากสภาทนายความ รวมถึงศูนยขอมูล ชุมนุม (CRC) ที่เปนผูมีความเชียวชาญพิเศษทางดานคดีสิ่งแวดลอม 19 ก็จะมีโอกาสในการชนะคดี แตในบาง กรณีหากตองคำพิพากษาก็ตอ งยุติบทบาทเพราะหวาดกลัวหรือสูญเสียเสรีภาพ หากเปนโครงการพัฒนาขนาดใหญมูลคามหาศาล พบวา ถูกทหารเขามาขมขู รื้อคนบาน ถายรู ป ใน บ า นของชาวบาน และหามไมให ชาวบานเคลื ่อนไหวทำกิ จกรรม หรื อ การรณรงคเพื่ อคัดค านโครงการอีก 17

ilaw. (2561). “ไกรวุฒิ: พ.ร.บ. ชุมนุมจากการลมเวทีรับฟงความเห็นทาเรือปากบารา.” สืบคนเมื่อ 10 กันยายน 2561. จาก เว็บไซต ilaw: https://freedom.ilaw.or.th/th/case/809#progress_of_case 18 ขาวสด. (2560). “15 แกนนำมอบโรงไฟฟ าเทพาชวดประกัน-สงตัว นอนเรือนจำสงขลา ชาวบานแยกยาย.” สืบคนเมื่ อ 7 กันยายน 2561. จากเว็บไซต ขาวสด: https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_650243 19 iLaw. (2560). “คดี บ ริ ษ ั ท เหมื อ ง ฟ อ งนั ก ข า วเนชั ่ น .” สื บ ค น เมื ่ อ 5 กั น ยายน 2561. จากเพจเฟสบุ  ค iLaw: https://www.facebook.com/iLawClub/posts/คดีบริษัทเหมือง-ฟ องนัก ขา วเนชั่น-จำเลยไปศาลนัดไกลเ กลี่ ย ในวั น นี้ โจทกยืนยันจะไ/10158677808840551/


95

เชนเดียวกับการสื่อสารรณรงคการเดินรณรงคอนุรักษสิ่งแวดลอมที่เคยถูกจัดขึ้นตามปกติในหมูบาน ถูกทหาร อางวาเปนการชุมนุมทางการเมืองที่มีจำนวนตั้งแต 5 คนขึ้นไป ไมอนุญาตใหจัดกิจกรรมและใชกฎอัยการศึกยึด เครื่องเสียงหอกระจายขาวหมูบา นไว 20 นอกจากนี้การถูกดำเนินคดี สงผลใหตองเสียเวลาในการทำงาน ขาดรายได รวมถึงคาใชจายที่เกิดขึ้ น ในระหวางการดำเนินคดี 21 5) บทวิเคราะหจุดเดนจุดดอยของการขับเคลื่อนขบวนการสิง่ แวดลอมไซเบอรเมื่อเผชิญกับ มาตรการทางกฎหมาย คดีพ.ร.บ. คอมพิวเตอรฯ ถือเปนกลยุทธหลักที่มีจำนวนหลายคดีที่หนวยงานรัฐและบรรษัทเอกชนใช แมมาตรา 14 ของ พ.ร.บ. คอมฯ ฉบับแรก เปนคดีที่ไมสามารถยอมความได ซึ่งก็เปนภาระผูกพั นกั บ จำเลย ตอไป ซึ่งก็เขาตามกระบวนการฟองตบปาก คือ เสียเวลา เสียเงิน ยืดระยะเวลาของคดีออกไป ตอมา พ.ร.บ. คอมพิวเตอร (ฉบับที่ 2) ถูกแกไขใหความผิดในมาตรา 14(1) เปนความผิดที่สามารถยอมความได แตก็ยังสงผล กระทบตอผูถูกฟองตามเดิม แตจากขอเท็จจริงที่เกิดขึ้น ในตอนแรกทางโจทกอาจจะตองการกลั่นแกลงจำเลย เพราะโจทกมีความประสงคอยางชัดเจนวา ไมขอไกลเกลี่ย จึงทำใหตองดำเนินการตอสูกันในชั้ นศาลต อไป จำเลยจึงตองรับภาระทั้ง เรื่อง คาใชจาย คาเดินทาง เวลาในการทำงาน และการมาศาลในหลายๆครั้ ง แม สุดทายแลว โจทกจะยอมถอนฟอคดีดังกลาวก็ตาม ตอมาหลังจากที่ พ.ร.บ. คอมฯ ถูกแกไข แมวาผูรางกฎหมายจะบอกวา การแกไขกฎหมายในมาตรา ดังกลาวนี้ เพื่อเปนการปกปองการฟองหมิ่นประมาท หรือ การฟองตบปาก แตเมื่อเหตุการณนี้เกิดขึ้น ก็ยิ่งตอก ย้ำชัดเจนวา กฎหมายฉบับนี้ แมจะมีการแกไขแลวก็ยังคงสามารถบังคับใชในเรื่องเดิมไดเชนเดิม ถื อว า การ แกไขกฎหมายไมประสบความสำเร็จแตอยางใด กรณีการถูกฟองเพื่อตบปากมักใชควบคูไปกับคดีชุมนุมสาธารณะหรือบุกรุกและยังคงมี อี กหลายคดี เชน คดีเหมืองแรทองคำ จังหวัดเลย ทางบริษัททุงคำไดฟอง ผูชุมนุม ซึ่งคดีดังกลาวดำเนินมาตั้งแต ป 2550 โดนความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 และ 328 และการดำเนินคดีในศาลก็ดำเนินมาตลอด ชาวบานตองไปศาลอยูหลายครัง้ เมื่อเปนกระแสสังคมถาโถมบรรษัทหนักเขาสุดทายแลว บริษัทฯ ไดถอนฟอง จำเลยในที่สุด 22 การฟองรองเชิงยุท ธศาสตรตอชาวบา นนอกจากจะเปนการฟ องตบปากแล ว ยังทำใหนำมาเป นข อ ตอรองเพื่อผลประโยชนทางธุรกิจหรือไม ซึ่งทางบริษัทฯเองก็รูดีวา ถาหากตนฟองชาวบาน ตัวของชาวบานเอง 20

ประชาไท. (2555). “หวั่นประชาคมหมูบานตานเหมืองทองเลยถูกสกัด หลังเคยโดยทหารสั่งหามเคลื่อนไหว.” สืบ ค น เมื่ อ 12 กันยายน 2561. จากเว็บไซต ประชาไท: https://prachatai.com/journal/2014/07/54633 21 มติชน. (2561). “หมอสุภัทร ชี้ คดีเทพาเริ่มแลว ชาวบานตองขั้นศาลตอเนื่อง โอดแทบไมตองทำมาหากิน.” สืบคน เมื่ อ 7 กันยายน 2561. จากเว็บไซต มติชน: https://www.matichon.co.th/politics/news_996831 22 iLaw. (2560). “บริษัททุงคำ VS พรทิพย ชาวบานเลยคัดคานเหมืองทองคำ.” สืบคนเมื่อ 10 กันยายน 2561. จากเว็ บ ไซต ilaw: https://freedom.ilaw.or.th/th/case/632#progress_of_case


96

ที่เดือดรอน ไมวาจะทั้งคาเสียหายที่ทางบริษัท (โจทก) เรียกใหชาวบานชดใช ซึ่งขอเท็จจริงคือ ชาวบ า นไม มี ทางหาเงินมาจายใหได การตั้งมูลคาความเสียหายจากขอเท็จจริงในคดีที่เกิดขึ้น บางคดีโจทกฟองเรียกคาเสียหายจากจำเลย สูงถึง 50 ลานบาท 23 หากมองยอนมาที่กรอบการควบคุมการตั้งมูลคาของคดี หรือ มูลคาของความเสียหาย ก็ พบวา ไมมีกรอบหรือกฎหมายใดที่จะกำหนดไวอยางชัดเจน แมวาตัวโจทกอาจจะไมไดหวังชัยชนะในการตอสู คดี แตถาหากศาลพิจารณาพิพากษาแลว โจทกเปนผูชนะ ประเด็นเกิดขึ้นวา จะสามารถบังคับคดีใ ห จ ำเลย ชดใชคาเสียหายอยางไร หรืออีกกรณีหนึ่งการตัง้ มูลคาความเสียหายทีส่ ูงมากนั้น เปนวิธีการขมขูตัวจำเลย หรือ ชาวบานดวย เพราะไมมีใครสามารถชดใชคาเสียหายไดสูงเพียงนั้น ผลกระทบที่เกิดขึ้นหลังจากการตกเปนจำเลย ซึ่งชาวบานไมสามารถหากินได และตองมีรายจายคาคดี ค า ทนาย ค า เอกสาร ค า ประกั นตั ว ฯลฯ นอกจากนี ้ ย ั ง เป นการสรา งความหวาดกลั วให กับชาวบ านและ ครอบครัวที่อยูเบื้องหลัง ยังไมรวมถึงเรื่องของการถูกปดกั้นเสรีภาพในการดำเนินชีวิตในระหวางที่มคี ดีความอยู ทั้งเรื่องของหนาที่การงาน ตำแหนงตางๆ จำเลยบางคนอาจจะถูกกลุมที่เห็นตางเกลียดชังดวย 24 การเลื่อนนัดฟงคำสั่งฟองหรือไมฟองของอัยการ หรือการเลื่อนนัดไปกรณีอื่นๆ ขากขอเท็จจริงจะเห็ น วา คดีเกี่ยวกับเหมืองแรทองที่ถูกฟองหลายคดีนี้ มีการถูกเลื่อนนัดหลายครั้ง บางคดีถูกเลื่อนนัดไมต่ ำ กว า 3 ครั้ง เมื่อดูที่กฎหมายในปจจุบันทั้งประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และ ระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดวาดวยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ 25 ไมไดมีการกำหนดระยะเวลา ใหอัยการตองออกคำสั่งฟองหรือไมฟองภายในระยะเวลาเทาใด26 เปนที่นาสังเกตไดวาการกระทำดังกลาวนี้ จะ สามารถมองไดวาเปนการกลั่นแกลงจำเลยหรือผูตองหาหรือไม 4.3. การขับเคลื่อนขบวนการสิ่งแวดลอมและทรัพยากรโดยอาศัยอินเตอรเน็ตในตางประเทศ การวิเคราะหถึงจุดแข็งและจุดออนของขบวนการเคลื่อนไหวไซเบอรดานสิ่งแวดลอมและทรัพยากรใน ตางประเทศยอมตองวิเคราะหความสัมพันธระหวางกิจกรรมออนไลนและการขับ เคลื่อนในโลกจริงดว ย เพื่ อ สะทอนใหเห็นถึงความตื่นตั วในการใช อินเตอร เน็ตเพื่ อขับ เคลื่อนขบวนการมีสวนร วมของประชาชนอย า ง กวางขวาง และสะทอนใหเห็นวาหลักประกันในรัฐใดที่มีสวนสนับสนุนการพัฒนาอยางยั่งยืน โดยในหัวขอนี้ จ ะ 23

citizenthaipbs. (2560). “คดีซุมประตู 50 ลาน คนรักษบานเกิดฯฟ องกลั บเหมืองทอง เรียกคาเสียหาย 1.7 ล า นบาท.” จากเว็บไซต citizenthaipbs: https://www.citizenthaipbs.net/node/19693 24 Greennews. (2559). “8 ป ทุงคำ ฟองชาวบาน 320 ลาน 16 พ.ค.ชี้ชะตา คดีชายชุดดำทุบ คนรักษบานเกิด.” สืบคน เมื่ อ 10 กันยายน 2561. จากเว็บไซต กรีนนิวส: https://greennews.agency/?p=7860 25 http://www.stat.ago.go.th/ระเบียบการดำเนินคดีอาญา.pdf 26 ilaw. (2561). “เลื่อนไมเลิก: การเลื่อนคดีของอัยการสรางภาระที่เ พิ่มขึ้นใหผูตองหา We Walk.” สืบคนเมื่อ 12 กันยายน 2561. จากเว็บไซต ilaw: https://freedom.ilaw.or.th/blog/เลื่อนไมเลิก-การเลื่อนคดีของอัยการสรา งภาระที่ เ พิ่ ม ขึ้ น ให ผูตองหา-we-walk


97

ดำเนินไปตามลำดับ คือขอเท็จจริง ผลสะเทือนของขบวนการเคลื่อนไหว กลุมที่เคลื่อนไหว วิธีการเคลื่อนไหว ผลที่เกิดขึ้น การเขารวมของสังคม ปญหาและอุปสรรค แลวสะทอนใหเห็นผลสะเทือนจากขบวนการเคลื่อนไหว ดังจะวิเคราะหอยางละเอียดดังตอไปนี้ 1) ขอเท็จจริง ขอเท็จจริงมักเริ่มตนจากความขัดแยงอันเนื่องมาจากการใชทรัพยากรทีแ่ ตกตางกันของกลุม ผลประโยชนทั้งหลาย โดยฝายรัฐและบรรษัทมักอางความชอบธรรมตามแนวทางการพัฒนาแบบเสรีนิยมใหม27 แตภาคประชาชนอาจทวงถามความชอบธรรมในเชิงความยุตธิ รรมทางสังคมตอการจัดสรรทรัพยากรและการ รักษาสิ่งแวดลอมบนพื้นฐานการมีสวนรวมของประชาชนโดยเฉพาะชุมชนทองถิ่นในพื้นทีพ่ ิพาท28 โครงการที่สะทอนความไมเทาเทียมในการดำเนินนโยบายของรัฐบาลที่มีลักษณะรุกไลประชาชนกลุม เสี่ยงเชน ชาวบานในทองถิ่น ชนเผาชาติพันธุในพื้นที่ชนบทหรือปา 29 ในขณะที่ฟากประชาชนและภาคประชา สังคมมักเริ่มตนดวยการคัดคานโครงการพัฒนาของรั ฐหรือเอกชน30ที่มี ผลกระทบตอตนเองหรื อไม อยากให ทรัพยากรและสิ่งแวดลอมถูกทำลายมากไปกวานี้ 31 หรือการตอสูเพื่อสรางบรรทัดฐานใหมวาควรหลีกเลี่ยงการ ผลักดันโครงการพัฒนาที่ทำลายความยั่งยืนทั้งตอทรัพยากรสิ่งแวดลอมและการดำรงอยูของชุมชน32 หรือการ ต อสู  เพื ่อต อต านการกอมลพิษและเรี ยกร องใหย ุติ การใช สารพิษชดใชค าสิ นไหมทดแทนในความเสี ยหายที่ เกิดขึ้นดวย 33

27

Salween Watch. (2014). “Hydropower Projects on the Salween River: An Update.” Retrieved August 14, 2018, from International Rivers: https://www.internationalrivers.org/resources/hydropower-projects-onthe-salween-river-an-update-8258 28 CBC. (2017). “Keystone XL would be exempt from needing U.S.-made steel, reports say.” Retrieved August 12, 2018, from CBC News: http://www.cbc.ca/news/business/transcanada-keystone-xl-1.4008897 29 National Geographic. (2017). “what is the Keystone XL Pipeline?.” Retrieved August 12, 2018, from YouTube: https://www.youtube.com/watch?v=cT9NH9I_DWE 30 EarthRights International. (2017). “Hongsa Power Plant and Mining Project.” Retrieved August 12, 2018, from EarthRights International: https://earthrights.org/what-we-do/extractives-industries/hongsa-powerplant-and-mining-project 31 Elise Labott and Jeremy Diamond (2017). “Trump administration approves Keystone XL pipeline.” Retrieved August 12, 2018, from CNN: https://edition.cnn.com/2017/03/23/politics/keystone-xl-pipelinetrump-approve/index.html 32 สำนักขาวพีพีทีวี. (2561). “สรุปเหตุการณ “เขื่อนแตก” ที่ สปป.ลาว.” สืบคนเมื่อ 13 สิงหาคม 2561. จากเว็บไซต พีพีทีวี : https://www.pptvhd36.com/news/ประเด็นรอน/86132 33 ประชาไท. (2558). “หนวยงานสิ่งแวดลอมรัฐแคลิฟอรเนียประกาศยาฆาวัช พืช 'ราวนอัพ' มีสารกอมะเร็ง.” สืบคนเมื่ อ 14 สิงหาคม 2561. จากเว็บไซต ประชาไท: https://prachatai.com/journal/2015/09/61379


98

2) กลุมที่เคลื่อนไหว ประชาชนในทองถิ่น และ เครือขายภาคประชาชน หรือขับเคลื่อนรวมกับภาคประชาสังคม เชน มูลนิธิ เกี่ยวกับทรัพยากรสิ่งแวดลอมและการพัฒนาที่ยั่งยืน34 องคกรพัฒนาเอกชนระหวางประเทศ35 เครือขายชุมชน คนอนุรักษสิ่งแวดลอมหรือวิถีชุมชนทองถิ่น36 กลุมตระหนักรูดานภัยพิบัติธรรมชาติที่เกิดจากน้ ำ มื อมนุ ษ ย 37 กลุมนิเวศนทรัพยากรรวมระหวางประเทศ 38 กลุมเกษตรกร กลุมตอตานมลพิษ ไปจนถึงกลุมผูบริโภคสี เขี ย ว และกลุมคนในเมืองผูตระหนักถึงปญหาสิ่งแวดลอม 39 3) วิธีการเคลื่อนไหว - กลุมตางๆสรางเครือขายการรวมกลุมในโลกจริงก อนโดยรวมตัว กันผานการมี “ประเด็นรวม” ทั้ ง ในเชิ ง ความคิดและเปาหมาย 40 - การทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณเพื่อแสดงออกถึงจุดยืน โดยอาจทำรวมกับกิจกรรมในลักษณะการเคลื่อนไหว ประเด็นไปกับการเคลื่อนที่ไปหาแนวรวมหรือเปนที่รับรูของประชาชนในพื้นที่ตางๆ ทั้งในทองถิ่ นหรื อใน ระดับโลก41

34

Earthrights. (2006). “Villagers in Burma Reject Plans to Dam the Salween River.” Retrieved August 14, 2018, from EarthRights International: https://earthrights.org/blog/villagers-in-burma-reject-plans-to-dam-thesalween-river 35 Greenpeace. (2018). “Search results for keystone XL.” Retrieved August 12, 2018, form Greenpeace: https://www.greenpeace.org/usa/?s=keystone+xl 36 Facebook Fan page “NoKXl” https://www.facebook.com/NoKXL 37 CorpWatch. (2018). “History and Mission.” Retrieved August 13, 2018, from CorpWatch: https://corpwatch.org/node/4 38 International Rivers. (2018). “About International Rivers.” Retrieved August 13, 2018, from International Rivers: https://www.internationalrivers.org/resources/about-international-rivers-3679 39 The Guardian. (2018). “Tens of thousands march worldwide against Monsanto and GM crops.” Retrieved August 14, 2018, from The Guardian: https://www.theguardian.com/environment/2015/may/24/tens-ofthousands-march-worldwide-against-monsanto-and-gm-crops 40 Rainforest Action Network. (2016). “#NoKXL Rejection Rally- SF.” Retrieved August 12, 2018, from Facebook: https://www.facebook.com/media/set/?set=a.10153712135605960&type=1&l=e5e3da2e40 41 Facebook Fan page : “EarthRights International” https://www.facebook.com/EarthRightsIntl/


99

- อาจผลิ ตสื ่อออนไลน เพื่ อเปนสารในการเชื ่ อมโยงทางความคิ ดและจั ดตั ้งขบวนการแนวรว มใหเข มแข็ง ดวยกัน เชน เสวนา 42 ศิลปะ บทความ บทกวี สารคดี หรือบทเพลงที่สะทอนปญหา ความตองการ หรือรวม แสดงจุดยืนในการคัดคานโครงการที่ไมยั่งยืนทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม 43 - สรางแนวรวมกับศิลปนและบุคคลผูมีชื่อเสียงในสาขาตางๆ 44 เพื่อทำโครงการเชิงสรางสรรคที่ผสมผสานวิถี การผลิต การแลกเปลี่ยน เพื่อกระจายขอมูลขาวสารไปใหถึงผูบริโภคในวงกวาง ผานระบบตลาดที่มากไป กวาซื้อขายสินคาที่เปนมิตรตอสิ่งแวดลอม แตไปถึงขั้นแลกเปลี่ยนขอมูลขาวสารดานสิ่งแวดลอม หรือสราง ความคิดและจุดยืนที่ชัดเจนตอผูทำลายสิ่งแวดลอม 45 - การประกาศตัวผานสื่อหลากหลายรูปแบบรวมถึงสื่อออนไลน ขยายเครือขายการสื่อสารและสร า งชุ ม ชน เสมื อนบนพื ้นที ่ไซเบอร ขึ้ นมาเพื ่อกำหนดความถูกต องแม นยำของข อมู ลหรื อจุ ดยื นในสถานการณของ เครือขายผานชองทางสื่อสารอยางเปนทางการ 46 อันเปนการขยายความสัมพันธจากโลกจริงไปสูโลกเสมือน ในอินเตอรเน็ตที่เปดกวางตอพลเมืองเน็ตจำนวนมหาศาล47 - เริ ่ ม มี การใช ชุมนุม ไซเบอร ในการติดต อสื ่อสารแลกเปลี ่ย นข อมูลไปจนถึ งการสรางหมายกำหนดการจัด กิจกรรมรวมกันในโลกจริง อันเปนความสัมพันธระหวางโลกไซเบอรกับโลกจริงสะทอนใหเห็นพลังของการ ชุมชนไซเบอรวาสามารถขับเคลื่อนขบวนการไปทำกิจกรรมในโลกจริง หรืออาจทำใหเกิดความเปลี่ยนแปลง ในโลกจริง เชน ปรับโครงการ ปฏิรูประบบกฎหมาย หรือเปลี่ยนนโยบายของรัฐ 48 หรือทำใหบรรษัทเอกชน ตองสรางภาพลักษณองคกรใหมไปพรอมกับการดำเนินกิจการใหสอดคลองกับพันธกรณีดานสิทธิมนุษยชน และสิ่งแวดลอม 49 42

ศูนยวิจัยและพัฒนากฎหมาย คณะนิติศาสตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม. (2561). “บันทึก เวทีนำเสนอผลการศึกษาวิจัย เรื่ อ ง "สุขภาพและสิ่งแวดลอมชุมชนในความเสียงข า มแดนจากโครงการพั ฒนาขนาดใหญ : ขอกังวลและขอเสนอแนะ (ศึ ก ษา ก ร ณ ี โ ร ง ไ ฟ ฟ  า ห ง ส า ) . ” สื บ ค  น เ ม ื ่ อ 12 ส ิ ง ห า ค ม 2561. จ า ก เ ว ็ บ ไ ซ ต เ ฟ ซ บ ุ  ค : https://www.facebook.com/LRDCLawCmu/ videos/1879489068967323/ 43 Skylar Lindsay. (2018). “Water is Life, But what’s in the Water?.” Retrieved August 12, 2018, from EarthRights International: https://earthrights.org/blog/water-is-life-but-whats-in-the-water/ 44 Amazon Defense Coalition. (2018). “Report Shows Chevron Lawyers at Gibson Dunn Falsified Evidence to Target Steven Donziger in Ecuador Pollution Case.” Retrieved September 12, 2018, from CSR wire: http://www.csrwire.com/press_releases/4 1 2 8 2 - Report-Shows-Chevron-Lawyers-at-Gibson-DunnFalsified-Evidence-to-Target-Steven-Donziger-in-Ecuador-Pollution-Case 45 Facebook Fan Page: “March Against Monsanto.” https://www.facebook.com/MarchAgainstMonstanto/ 46 Nokxldakota. (2014). “A shared vision to protect the land, water, and people.” Retrieved August 12, 2018, from No KXL Dakota: http://nokxldakota.org/ 47 Facebook Fan Page: “ Millions Against Monsanto by OrganicConsumers.org” https://www.facebook.com/millionsagainst/ 48 350.Org. (2015). “Tell President Obama: Stop Keystone XL!.” Retrieved August 12, 2018, from 350.org: https://act.350.org/letter/obama-keystone-frontpage/ 49 Rainforest Action Network. (2017). “Tell big banks: On December 15, say no to the Keystone XL pipeline!.” Retrieved August 12, 2018, from RAN: https://www.ran.org/chase_stop_kxl


100

- การทำแคมเปญรณรงคผานเว็บไซตหรือพื้นที่สื่อสารอันเปนที่นิยมในอินเตอรเน็ตเพื่ อดึงดู ด ผู ที่ สนใจเรื่ อง สิ่งแวดลอมมาจากผูที่สนใจในประเด็นสังคมสาธารณะอื่นๆ 50 มาเพิ่มพลังขยายเครือขายออกไปใหกวางและ ทรงอิทธิพลทางความคิดและวัฒนธรรม รวมถึงเสริมภาพลักษณวามีผูเขารวมและเห็นดวยกับขบวนการหรือ ขอเสนอของเครือขายเปนจำนวนมาก51 - จั ด สร า งพื ้ นที ่ สื่ อสารให เป นชุ มชนเสมื อนระยะยาวเพื ่ อสร างฐานของมวลชนใหม ั ่ นคงถาวรขึ ้ น เช น แอพพลิเคชั่นสื่อสารพูดคุย หรือ โซเชียลเน็ตเวิรค ซึ่งทำใหเห็นปริมาณมวลชนที่สนับสนุนประเด็นและอาจ เปนกลุมคนที่ขอความรวมมือไดเยอะขึ้น52 รวมถึงไดความเชี่ยวชาญชำนาญที่สามารถเปลี่ยนเปนกิจกรรม หนุนเสริมไดหลากหลายขึ้น ไปจนถึงการจัดกำลังในการตรวจตราเฝาระวังสถานการณที่ทันตอความเปลี่ยน ตามบริบทไดรวดเร็วมาก53 - อาจมีเว็บไซตที่สามารถรวมรวมขอมูลหลากหลายรูปแบบและมีพื้นที่ซึ่งเครือขายควบคุม จัดการ ออกแบบ ไดอยางอิสระมากขึ้นในรูปแบบของเว็บไซต อันเปนชองทางที่คนหาและเขาถึงไดงาย ตอเนื่อง และมีความ เปนอิสระไมติดกับนโยบายของเจาของแพลตฟอรม เชน โซเชียลเน็ตเวิรค หรือแอพลิเคชั่นพูดคุยอื่นๆ 54 4) ผลที่เกิดขึ้น - นำความขัดแยง เข าสู เวทีเจรจาระหวา งขบวนการกั บหนว ยงานรั ฐหรือเอกชนที่ เกี ่ย วข องเพื่ อแสวงหา ทางออกและขอสรุป อาทิ มาตรการบรรเทาผลกระทบจากโครงการ การเยียวยาความเสียหาย และเรื่ อง ของการฟนฟูคุณภาพสิ่งแวดล อมนั้ น55 โดยอาจมีการเจรจาและสรางขอตกลงตอไปไดอีกหลายครั้ ง ตาม สถานการณ สะทอนใหเห็นการรวมกลุมอยางเหนียวแนนเพื่อจับตาความเคลื่อนไหวของประเด็นพิพาท

50

International Rivers. (2018). “Dam collapse in Laos displaces thousands, exposes dam safety risks.” Retrieved August 13, 2018, from International Rivers: https://www.internationalrivers.org/dam-collapsein-laos-displaces-thousands-exposes-dam-safety-risks 51 Facebook Fan page “Occupy Keystone XL Pipeline Route” https://www.facebook.com/OccupyKeystoneXLPipelineRoute 52 Facebook Fan page “Coalition Against Keystone XL Pipeline” https://www.facebook.com/ coalitionagainstkeystonexlpipeline 53 Mike Ives. (2018). “Laos Dam Failure Exposes Cracks in a Secretive Government’s Agenda.” Retrieved August 13, 2018, from The New York Times: https://www.nytimes.com/2018/07/29/world/asia/laos-damresponse-government.html 54 Twitter : “GMWatch” https://twitter.com/GMWatch 55 No KXL Dakota. (2014). “Tell the South Dakota Public Utilities Commission: Say NO to Keystone XL.” Retrieved August 12, 2018, from No KXL Dakota: http://nokxldakota.org/


101

- กลุมเครือขายสามารถเฝาระวังและกดดันใหหนวยงานที่เกี่ยวข องดำเนินตามกฎหมาย 56 เพื่อการเยี ย วยา ความเสียหาย ฟนฟูคุณภาพสิ่งแวดลอม ตามที่ตกลงกันไว อันเปนผลลัพธที่สืบเนื่องจากกิจกรรมในโลกจริ ง ไปสูการขับเคลื่อนในโลกเสมือน หรือโลกเสมือนมาสูโลกจริง - การนำป ญหาการไม ย อมปฏิ บัติ ตามสั ญ ญาในโลกจริง กลับมาเปนประเด็ นขั บเคลื ่อนในโลกไซเบอร วา หนวยงานรัฐหรือภาคเอกชนที่เกี่ยวของไมทำตามขอเจรจา 57 และมีกิจกรรมติดตามทวงหนี้ตามคำพิพากษา หรือสัญญาในโลกความจริง58 หากไมมีการทำตามขอตกลงทีเ่ คยเจรจากันไปในครัง้ กอน - การขับเคลื่อนขบวนการอยางตอเนื่องทั้งในโลกไซเบอรและโลกจริงนำไปสูความเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายได อาทิ การทำใหที่รัฐบาลมีมติแสวงหาทางเลือกใหมในการทำโครงการที่มีผลกระทบนอยกวา หรือหาแนว ทางการพัฒนาที่ยั่งยืนกวามาเปนโครงการเสริมหรือแทนโครงการเดิม59 หรือบรรษัทเอกชนตองปรับตัว 5) การเขารวมของสังคม จากเดิมมีเพียงกลุมเครือขายระดับทองถิ่นตางๆ ที่อยูในพื้นที่โลกจริงซึ่งโครงการทีข่ ัดแยงตัง้ อยูเขารวม ในขบวนการเคลื่อนไหว หรือมีเฉพาะกลุมคนที่ไดรับผลกระทบจากมลพิษที่บรรษัทกอโดยตรง แต เมื่ อมี การ กิจกรรมทั้งในโลกจริงผสมผสานกับ การสรางชุม ชนในโลกเสมือน60 เชน สรางเพจเฟสบุค กลุมไลน เว็ บ ไซต และทำแคมเปญลารายชื่อผานพื้นที่สื่อสารและแพลตฟอรมรณรงคระดับโลกเรียกรองใหหนวยงานรัฐ/บรรษัท เอกชนยุติโครงการ เยียวยาความเสียหาย และปรับวิถีการทำธุรกิจ พบวาไมเพียงแคคนทองถิ่นสนใจ แต ยั ง มี พลเมืองเน็ตจากทั่วโลกสนใจเขารวมกิจกรรมอยางคึกคัก เกิดการเขารวมของภาคประชาสังคมหรือประชาชน ทั่วไปอยางตอเนื่อง 61 กลายเปนกระแสหลักของกิจกรรมในโลกไซเบอรระดับโลก 6) ปญหาและอุปสรรค 56

เดลินิวส. (2561). “ศาลฎีกาสั่ง'บานปู'จาย2.5พันล าน เหมืองถานหิน'หงสา'.” สืบคนเมื่อ 13 สิงหาคม 2561. จากเว็ บ ไซต สำนักขาวเดลินิวส: https://www.dailynews.co.th/regional/630874. 57 Reuters Staff. (2018). “TransCanada to start work on Keystone XL in Montana in fall 2018: letter.” Retrieved August 12, 2018, from Reuters: https://www.reuters.com/article/us-transcanada-keystone/transcanadato-start-work-on-keystone-xl-in-montana-in-fall-2018-letter-idUSKBN1I42DL 58 ประชาไท. (2561). “ยื ่ นฟ อง 'ราวดอ ั้ พ ' ก อ มะเร็ ง ศาลแคลิฟ อรเ นีย ตั ดสิน ให จา ยค า เสี ยหาย-ชดเชย.” สื บ คน เมื่ อ 14 สิงหาคม 2561. จากเว็บไซต ประชาไท: https://prachatai.com/journal/2018/08/78267 (14 สิงหาคม 2561). 59 The Guardian. (2015). “Obama rejects Keystone XL pipeline and hails US as leader on climate change.” Retrieved August 12, 2018, from The Guardian: https://www.theguardian.com/ environment/2015/nov/06/obama-rejects-keystone-xl-pipeline 60 Mark Hefflinger. (2017). “Legal Experts, Landowners, Tribal Organizations and Green Groups Vow To Stop KXL Again.” Retrieved August 12, 2018, from Bold Nebraska: http://boldnebraska.org/legal-expertslandowners-tribal-organizations-and-green-groups-vow-to-stop-kxl-again/ 61 PhiI Mckenna. ( 2018) . “ ‘ We Will Be Waiting’: Tribe Says Keystone XL Construction Is Not Welcome.” Retrieved August 12, 2018, from Inside climate news: https://insideclimatenews.org/news/13072018/keystone-xl-pipeline-native-american-resistance-oil-spillcheyenne-river-sioux-dakota-access-transcanada


102

- ปญหาที่เกิดขึ้นคือ ตัวแทนจากหนวยงานรัฐและเอกชนมั กปฏิ เสธการเจรจากับ กลุม เครือขา ยสิ่ ง แวดล อม และไม มี แนวทางในการแสวงหาข อยุติ อย างจริ งจั ง รวมถึ ง พยายามสยบขบวนการประชาชนด วยการ ฟองรอง 62 - รัฐบาลมักไมตองการยกเลิกโครงการที่อนุมัติไปแลวหรือชะลอการตัดสินใจที่จะใหยกเลิ กโครงการที่ ไ ด ใ ช งบประมาณของรัฐ เพราะเกรงวาจะเกิดการฟองรองของผูรับเหมาก อสรางเอกชนที่ไดทำสั ญ ญากั บ รั ฐไว แล ว 63 ส ว นบรรษัทเอกชนมักไมย อมรับ ผิ ดไมเจรจาค าเสีย หาย จะชดใช ค าสิ นไหมทดแทนก็ต องมี คำ พิพากษา 64 - กลุ  ม ทุนและหนว ยงานรัฐใช วิ ธี การดำเนิ นคดี คดีกั บกลุ มคั ดคานและนั กวิชาการที่ ออกมาที่ มีการชุมนุม ตอตาน65 วิพากษวิจารณ วาทำใหเกิดกระแสโจมตีทางอินเตอรเน็ตที่รุนแรงสรางความเสื่อมเสียชื่อเสียงแก เจ า หน าที ่ของรั ฐ ภาคเอกชน บรรษั ท อุ ต สาหกรรมก็ ใชย ุทธวิ ธี ฟ องตบปากเพื ่อสกั ดการแสดงออกของ ประชาชนและสลายการรวมกลุม ภาคประชาสั งคม และบรรษัทอาจจางกลุมทหารรับจางเข า ปฏิ บั ติ การ แทรกซึมภาคประชาชนเพื่อหาขอมูลมาใชฟองตบปากดวย66 7) ผลสะเทือนของขบวนการเคลื่อนไหว - รัฐบาล หนวยงานภาครัฐ หรือภาคเอกชนยอมรับฟง ขอมูลและเสียงคัดคา นจากประชาชนที่ เคลื่ อ นไหว ต อต านโครงการ หรื อที ่ มาของมลพิ ษและสาเหตุ ของความเสี ย หายจากมลภาวะ โดยมี การพยายามหา แนวทางลดผลกระทบตอสิ่งแวดลอมและการริเริ่มโครงการพัฒนาใหมที่มีความยั่งยืนกวา โดยขบวนการมี โอกาสเขาไปมีสวนรวมในการใหขอมูล แสดงความคิดเห็น และรวมตัดสินใจในประเด็นสาธารณะดวย แมจะ เกิดหลังมีคำพิพากษาในคดียุทธศาสตรแลวก็ตาม67 62

Molly Dorozenski. (2018). “The Truth About Energy Transfer Partners.” Retrieved September 12, 2018, from Greenpeace: https://www.greenpeace.org/usa/the-truth-about-energy-transfer-partners/ 63 Grant Gerlock. (2017). “Nebraska landowners revive fight against Keystone XL.” Retrieved August 12, 2018, from Inside energy: http://insideenergy.org/2 0 1 7 / 0 2 / 1 5 / nebraska-landowners-revive-fight-againstkeystone-xl/ 64 Lori Pilger. (2018). “TransCanada wins court challenge to attorney fees, won’t have to pay $3 5 4 K.” Retrieved August 12, 2018, from Lincoln Journal Star: https://journalstar.com/business/local/ transcanada-wins-court-challenge-to-attorney-fees-won-t-have/article_ed72ae58-9240-5e59-a6d4def1e29decfe.html 65 The Guardian. (2016). “North Dakota pipeline: 141 arrests as protesters pushed back from site.” Retrieved August 12, 2018, from The Guardian: https://www.theguardian.com/us-news/2016/oct/27/north-dakotaaccess-pipeline-protest-arrests-pepper-spray 66

Greenpeace. (2017). “Corporate bullies can’t silence the resistance.” Retrieved September 12, 2018, from Greenpeace: https://act.greenpeace.org/page/16230/petition/1?_ga=2.100978945.1034032830. 1536573273-1610496510.1536573273 67 Common Dreams. (2018). “'Guilty on All Counts!': In Historic Victory, Monsanto Ordered to Pay $289 Million in Roundup Cancer Lawsuit.” Retrieved August 14, 2018, from Common Dreams:


103

- มีการริเริ่มสรางสรรคทั้งในเชิงข อมู ลที่ เชื่ อมโยงกับ ชุม ชนท องถิ่นโดยใช กิจ กรรมศิลปวั ฒ นธรรม เป นสิ่ ง กระตุนการชุมนุมคัดคาน68 เชน ผสานวัฒนธรรมทองถิ่นที่ถือวาทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำ ปา เขาเป น บรรพบุรุษและมีความผูกพันกับวิถีชีวิตชนเผาทั้งประเพณี วัฒนธรรมและความเชื่อ69 - เกิดการเรียนรูกลยุทธสื่อสารจัดตั้งพลเมืองเน็ตที่อยูตางกาละตางเทศะใหสามารถเชื่อมตอ กั นในชุ ม ชนไซ เบอร สามารถแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนขอมูล แลวนำขอมูลไปขยายผลไดตลอดเวลา จากทั่วทุกมุ ม โลกผานอินเตอรเน็ต และสามารถนำขอมูลในอินเตอรเน็ตไปขยายผลในโลกจริงทั้งในตางประเทศ เกิดเป น กระแสรักษโลก70 8) ขอพึงระวังในการใชสิทธิเสรีภาพของขบวนการเคลื่อนไหว หากในขบวนการเคลื่อนไหวมีบคุ คลบางกลุมใชวิธีการทีม่ ีลักษณะละเมิดสิทธิของผูอื่น เชน การดูหมิ่น เหยียดหยาม ลดศักดิ์ศรีความเปนมนุษย ยุยงปาวประกาศใหมีการใชความรุนแรง หรือสนับสนุนการทำผิด กฎหมาย ไมวาจะเปนการคุกคามความเปนสวนตัวของฝายตรงขาม การทำลายเกียรติยศชื่อเสียงของผูอื่นให สังคมประณามและโจมตีบุคคลเหลานั้นเปนการเฉพาะตัว หรือการนำขอมูลสวนบุคคลหรือชีวิตสวนตัวของผูอนื่ ไปเผยแพรตอในอินเตอรเน็ตยอมเปนการละเมิดสิทธิของผูอื่นเสียเอง ถือเปนการกออาชญากรรมตอผูอื่นและ ทำลายโครงสรางนิตริ ัฐ ผูใชความรุนแรงยอมตองเผชิญกับความรับผิดทางกฎหมายเชนเดียวกับผูมีสวนรวม กระทำผิด นอกจากนี้ยังเปนผลรายตอภาพลักษณของขบวนการเคลื่อนไหว ผลักไสพลเมืองอื่นใหลาถอยจาก ขบวนการเพราะมีการใชความรุนแรงละเมิดสิทธิผูอื่น71 หรืออาจเกิดกระแสตีกลับถูกประณามจากสังคมไซ เบอรทั่วโลก 4.4. การเผชิญมาตรการโตกลับของขบวนการเคลื่อนไหวทัง้ ในโลกจริงและโลกเสมือนในตางประเทศ ในหั ว ข อนี ้ จ ะทำการวิ เคราะห กรณี ศึ กษาเกี ่ ย วกั บการเคลื ่ อนไหวของขบวนการสิ ่ งแวดล อมใน ตางประเทศและคดีความทางกฎหมายและการตองคดีความของประชาชน โดยจะทำการจำแนกแยกแยะให เห็นถึงลักษณะของ คูความในคดี ขอกลาวหา กระบวนการดำเนินคดีในบางประเทศ ผลที่เกิดขึ้นกับ ผู ถูกฟ อง https://www.commondreams.org/news/2018/08/10/guilty-all-counts-historic-victory-monsanto-orderedpay-289-million-roundup-cancer 68 Facebook Fan page: “Save the Salween Network” https://www.facebook.com/Save-the-Salween-Network1685498275073019/ 69 Facebook Fan page: “Karen Rivers Watch” https://www.facebook.com/SalweenAsia 70 Karen news. (2018). ““We Want Peace, Not Dams…” – 1000’s of Villagers Protest Proposed Salween Dams in Karen State.” Retrieved August 14, 2018, from Karen news: http://karennews.org/2018/03/we-wantpeace-not-dams-1000s-of-villagers-protest-proposed-salween-dams-in-karen-state 71 Shaun Walker. (2013). “Greenpeace activists could be charged with terrorism after ship stormed.” Retrieved August 14, 2018, from The Guardian: https://www.theguardian.com/environment/2013/ sep/20/greenpeace-ship-stormed-russian-coastguard.


104

บทวิเคราะหจุดเดนจุดดอยของการขับเคลื่อนขบวนการสิ่งแวดลอมไซเบอรเมื่อเผชิญกับมาตรการทางกฎหมาย ในประเทศตางๆ ดังตอไปนี้ 1) คูความในคดี คูความในคดีประกอบไปดวย 2 ฝาย หลักๆ คือ ฝายโจทกซึ่งเปนบรรษัทเอกชน72 กับ ฝายจำเลยที่ เปนประชาชนในทองถิ่น นักวิชาการ นักขาว หรือเจาหนาที่องคกรพัฒนาเอกชน (NGOs) 73 แตไมพบกรณีที่ หนวยงานรัฐฟองตบปากประชาชนโดยตรง 2) ขอกลาวหา ข อกล า วทางกฎหมายนั้ นมีตั ้ง แต การฟองดว ยเรื ่องการชุม นุ ม ความผิดตามกฎหมายอาญาอาทิขู กรรโชกทรัพย 74และความผิดฐานสมคบกันเพื่ อรวมกั นกระทำการทุจริต (Civil Conspiracy) 75 และการฟอง เรียกรองคาเสียหายในทางแพง76 ขอกลาวหาที่โจทกกลาวหาจำเลยจึงเปนเรื่องหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่นทางอาญา รวมถึงการฟ องให ชดใชคาเสียหายจากมูลละเมิดโดยการกลาวหาหรือไขขาวใหบรรษัทเสื่อมเสียชื่อเสียง 77 3) กระบวนการดำเนินคดี ในปฏิบัติการฟองตบปาก บรรษัทเอกชนไดจางบริษัทรักษาความปลอดภัยที่ไมไดเปนเพียงแคบริษัท รักษาความปลอดภัยเทานั้น แตแทจริงแลวยังเปนกลุมทหารรับจางผูทำสงครามกับผูกอการรายรวมกับกองทัพ

72

Jon Hurdle. (2018). “Court rejects developer’s effort to block protest against town homes plan.” Retrieved September 12, 2018, from State Impact: https://stateimpact.npr.org/pennsylvania/2018/09/07/ court-rejects-developers-effort-to-block-protest-against-town-homes-plan/

73

Amazon Watch. (n.d.). (2018). “Chevron's Chernobyl in the Amazon.” Retrieved September 12, 2018, from Amazon Watch: http://amazonwatch.org/work/chevron 74 Rex Weyler. (2017). “Chevron's Amazon Chernobyl Case moves to Canada.” Retrieved September 12, 2018, from Greenpeace: https://www.greenpeace.org/archive-international/en/news/Blogs/ makingwaves/chevron-amazon-indigenous-people-legal-case-canada/blog/60241/ 75 Jon Hurdle. (2017). “Judge throws out developer’s ‘SLAPP suit’ against environmental group.” Retrieved September 12, 2018, from State Impact: https://stateimpact.npr.org/pennsylvania/2017/08/23/ judge-throws-out-developers-slapp-suit-against-environmental-group/ 76

Democracy Now. (2016). “Dakota Access Pipeline Company Attacks Native American Protesters with Dogs & Pepper Spray.” Retrieved September 12, 2018, from YouTube: https://www.youtube.com/watch? v=kuZcx2zEo4k 77 Greenpeace. (2017). “Greenpeace v. Energy Transfer Partners: The Facts.” Retrieved September 12, 2018, from Greenpeace: https://www.greenpeace.org/usa/global-warming/greenpeace-v-energy-transferpartners-facts/


105

อเมริกันนำไปสูการใชกลยุทธในลักษณะเดียวกับที่ใชในการตอตานผูกอการรายตอกลุม นักเคลื่อนไหว 78 เพื่ อ แทรกซึมเขาไปแสวงหาขอมูลมาใชเปนพยานหลักฐานในการปรักปรำภาคประชาชนในคดีฟองตบปาก ในขณะเดียวกับบรรษัทก็สรางแนวทางต อสูคดีดวยการทำกิ จกรรมประชาสัมพั นธใ นลั กษณะความ รับผิดชอบทางสังคมผานการชวยเหลือหรือมอบผลตอบแทนใหกับชุมชนทองถิ่น หรือการแบงปนผลประโยชน ทางเศรษฐกิจจากธุรกิจ เพื่อเสริมน้ำหนักในการตอบโตขอกลาวหาของภาคประชาชน และกลาวหาวาองค กร ประชาสังคมไดใชพยานหลักฐานเท็จ รวมถึงรูปภาพที่ถูกนำใชโจมตีบริษัทก็เปนรูปภาพความเสียหายในพื้ นที่ หวงหามทั้งทีจ่ ริงแลวรูปภาพดังกลาวเปนภาพความเสียหายจากไฟปาในพื้นที่สาธารณะ79 บริษัทที่กออาชญากรรมดานสิ่งแวดลอมและบริษัทที่ปรึกษากฎหมายไดกระทำการปกปดหลอกลวง ดวยการอางพยานหลักฐานเท็จ และวาจางพยานบุคคลเพื่อมาปรักปรำทนายสิ่งแวดลอม การกระทำเชนนี้ของ บริษัทที่ปรึกษากฎหมายไมไดเปนไปเพื่ อประโยชน สว นตัว เพี ยงอยา งเดี ยว แตยังเปนไปเพื่ อประโยชน ข อง บรรษัทผูกออาชญากรรมสิ่งแวดลอมซึ่งมีเรื่องอื้อฉาวอีกจำนวนมาก 80 เมื ่ อบรรษั ทแพคดี หลั กตองคำพิพ ากษาให ชดใช คาเสีย หายจากการกอมลพิ ษ มั กจะใชว ิธ ีสยบการ เผยแพรขอมูลดวยการริเริ่มคดีฟองปดปากภาคประชาชน โดยวาจางใหบริษัทที่ปรึกษากฎหมาย ให ฟ องตบ ปากกลุมนักเคลื่อนไหว และบีบบังคับเหลานักกฎหมายซึ่งเปนนักปกปองสิทธิใหถอนตัวออกจากคดีที่ บ รรษั ท เปนผูแพคดี โดยเฉพาะทนายความผูตอสูคดีใหกับชนพื้นเมื องผูเสียหาย บรรษัทไดใชเงินจำนวน 2 พั นล า น ดอลลารสหรัฐ เพื่อจัดตั้งบริษัทที่ปรึกษากฎหมายหลายสิบแหงและนักกฎหมายนับพันคน เพื่อ “บดขยี้” ชีวิต ทนายและลูกความชนพื้นเมืองทองถิ่น81 4) ผลที่เกิดขึ้นกับผูถกู ฟอง ศาลประจำภาคของสหรัฐอเมริกามีคำพิพากษายกฟองขอกลาวหาทั้งหมดของบริษัทที่มีตอจำเลยทุ ก คน รวมถึงขอกลาวหาอื่นๆ ศาลไดใหเห็นผลวา การโจมตีดวยการฟองตบปากในลักษณะดังกลาวของบริ ษั ท เปนการละเมิดตอคุณคาที่เปนหลั กการสำคัญ ของการเมื องในระบอบประชาธิปไตยอยาง “เสรี ภาพในการ 78

79

Alleen Brown, Will Parrish and Alice Speri. (2017). “Leaked documents reveal security firms counterterrorism tactics at standing rock to defeat pipeline insurgencies.” Retrieved September 12, 2018, from The The Intercept: https://theintercept.com/2017/05/27/leaked-documents-reveal-security-firmscounterterrorism-tactics-at-standing-rock-to-defeat-pipeline-insurgencies/

Michael J. Bowe. (2016). “Resolute v Greenpeace.” Retrieved September 12, 2018, from Resolute v Greenpeace: http://www.resolutevgreenpeace.com/ 80 Amazon Defense Coalition. (2018). “Report Shows Chevron Lawyers at Gibson Dunn Falsified Evidence to Target Steven Donziger in Ecuador Pollution Case.” Retrieved September 12, 2018, from CSR wire: http://www.csrwire.com/press_releases/4 1 2 8 2 - Report-Shows-Chevron-Lawyers-at-Gibson-DunnFalsified-Evidence-to-Target-Steven-Donziger-in-Ecuador-Pollution-Case 81 Rex Weyler. (2017). “Chevron’s Amazon Chernobyl Case moves to Canada.” Retrieved September 12, 2018, from Intercontinental Cry: https://intercontinentalcry.org/chevrons-amazon-chernobyl-casemoves-canada/


106

แสดงออก” (Freedom of Expression) และการตอสูที่ชอบธรรมเพื่อประโยชนสาธารณะจะตองไมถูกจำกั ด ไว ผูพิพากษา Jon S. Tigar ไดเขียนเหตุผลลงไปในคำพิพากษายกฟองนั้นวา “การแสดงออกและคำพู ด ของ เหลาจำเลย เปนการแสดงออกที่ไดรับการคุมครองตามรัฐธรรมนูญ การแสดงความเห็นตางเปนองคประกอบ สำคัญในการเมืองระบอบประชาธิปไตยของพวกเรา ...หากจะกลาวหาวา การเผยแพรขอมูลขององคกรพัฒนา เอกชนเปนเท็จอยางไร เปนประเด็นที่ตองอาศัยการวิจัยทางวิทยาศาสตรในการพิสูจน ซึ่งไมใชหนาทีข่ องศาลที่ จะเปนผูแกไขขอขัดแยงทางวิทยาศาสตรประเภทนี้” 82 แมในทายที่สุดศาลจะยกฟองคดีฟองตบปากแตก็สรางภาระตนทุนจากการเปนจำเลยไมนอย ทนาย สิ่งแวดลอมและสมาชิกในครอบครัวไดตกเปนเปาหมายหลักในการฟองตบปาก บริษัท Chevron ไดฟองเรียก คาเสียหายจำนวนเงิน 6 หมื่นลานดอลลารสหรัฐ และไดฟองชนพื้นเมืองผูไดรับผลกระทบมลพิษจำนวน 47 คน ในขอหาขูกรรโชกทรัพย หรือ“racketeering” ตอศาลในสหรัฐอเมริกา อีกทั้ง หมายศาลของบริษัท ยังถูกสงไป ยังกลุมนักเคลื่อนไหวที่ตั้งขึ้นเพื่อประณามการกระทำของบริษัทและองคกรดานสิ่งแวดล อมอื่ น ๆ รวมถึ ง ผู ที่ คอยสนับสนุนกลุมชนเผาพื้นเมืองในปามาตลอด อาทิ (1) ผูรวมกอตั้งองคกรพัฒนาเอกชนสิ่งแวดลอมระหว า ง ประเทศซึ่งไดเขียนบทความโจมตีบรรษัทลงในบล็ อกบนเว็บไซต (2) องคกรดานเสรีภาพในโลกไซเบอร (3) องคกรจับตาสถานการณสิทธิม นุษยชน (4) นักธุรกิจเพื่อสังคมซึ่ง เป นผูให การสนับ สนุ นด า นการเงิ นแก ชน พื้นเมืองในการตอสูคดี และ (5) นักกิจกรรมผูเปนปากเสียงใหกับชุมชนที่ไดรับผลกระทบ 83 5) บทวิ เ คราะหจุ ดเด นจุด ด อยของการขั บเคลื ่อนขบวนการสิ ่ งแวดล อมไซเบอรเ มื ่ อเผชิ ญกับ มาตรการทางกฎหมาย ศาลในประเทศพัฒนาแล ว เช นศาลสหรัฐอเมริ กามั กตัดสิ นคดีฟ องตบปากโดยให น้ำหนั กไปที ่การ ยอมรับสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนหรือภาคประชาสังคมในการรวมกลุมกันแสดงออกและมีสิทธิที่ในการยื่ น คำรองตอรัฐบาลทองถิ่นและรัฐบาลกลาง เพื่อเปนการสนับสนุนสงเสริมใหเกิดความปลอดภัยต อ สุ ขภาพของ ประชาชนและเพื่อปองกั นสิ่ งแวดล อม โดยศาลรับรองวา เปนการปกปองสิทธิตามรัฐธรรมนู ญ ซึ่ ง ได ใ ห การ รั บ รองหลั กเสรีภาพในการแสดงออก (Freedom of Expression) หรื อเสรี ภาพในการพู ด (Free Speech) ภายใตบทบัญญัตแิ กไขฉบับแรกแหงรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา (First Amendment)

82

Greenpeace. (2017). “Federal Court Dismisses Resolute SLAPP Suit against Greenpeace.” Retrieved September 12, 2018, from Greenpeace: https://www.greenpeace.org/usa/news/federal-court-dismissesracketeering-case-against-greenpeace 83 Rex Weyler. (2017). “Chevron's Amazon Chernobyl Case moves to Canada.” Retrieved September 12, 2018, from Greenpeace: https://www.greenpeace.org/archive-international/en/news/Blogs/ makingwaves/chevron-amazon-indigenous-people-legal-case-canada/blog/60241/


107

4.5. ขอสังเกตตอขบวนการชุมนุมในโลกเสมือนเพื่อขับเคลือ่ นประเด็นฐานทรัพยากรและสิ่งแวดลอม การเคลื่อนไหวทางสังคมในประเด็นเกี่ยวกับสิ่งแวดลอม หากไมใชเรื่องที่สงผลกระทบในวงกวางและ ไมเกี่ยวของกับชีวิตของคนชั้นกลางผูใชอินเตอรเน็ตเปนสวนใหญโดยเฉพาะในเมืองใหญ (แมวาหากศึกษาอยาง จริงจังจะพบวามีผลกระทบตอทุกคนเพราะสิ่งแวดลอมเปนทรัพยากรรวม) เชน โครงการโรงไฟฟาในประเทศ ลาว โครงการสรางเขื่อนในประเทศพมา ที่อยูนอกอาณาจักรไทยหรืออยูตามตะเข็บชายแดนหางไกลเมือง ก็จะ มีเพียงกลุมบางกลุมเทานั้นที่ไดออกมาเคลื่อนไหวอยางเปนรูปธรรม และไมไดสรางแรงสะเทือนใดๆ ในเชิ ง ข อ กฎหมาย เวนแตเปนผลกระทบตอชีวิตตนเองโดยตรงหรือมีความของเกี่ยวกับผลประโยชนของตัวเอง หากเป นปญ หาดา นสิ ่ง แวดล อมที ่ส งผลกระทบในสัง คมของประเทศพัฒนาแลว เช น การต อตาน โครงการวางทอน้ำมันในสหรัฐอเมริกา การตอตานผลิตภัณฑอันตรายในยุโรป จะไดรับความสนใจจากผูคนทั่ว โลกเปนอยางมาก เพราะศักยภาพในการผลิตเนื้อหาข อมูลโดยไมถูกควบคุมการผลิตและไมจำกั ด การเข า ถึ ง และอยูในรูปแบบภาษาที่คนทั่วโลกสามารถสามารถสืบคนเพื่อ ติดตามความคืบไดอยางงายดาย และขยายวง กวางไปทั่วทุกมุมโลกหากผูใชสามารถเขาถึงระบบอินเตอรเน็ตได หากเปนผลกระทบในระดับทองถิ่นโดยเฉพาะภูมิภาคเอเชีย แมจะมีการใชสื่อออนไลน แตการเขารวม ของคนในสังคมก็ไมไดมีมากเทาที่ควร อันอาจสืบเนื่องจากความกังวลเรื่องการเขารวมกิจกรรมเคลื่อนไหวหรือ แสดงออกแลวตองเผชิญกับ การโดนดำเนิ นคดีก็ยัง เปนประเด็นสำคัญในภูมิ ภาคเอเชี ยหรือกลุมประเทศกำลั ง พัฒนา ในสถานการณปจจุบัน การใชสื่อออนไลนสามารถชวยใหมีการเขารวมของคนในสังคมจำนวนมากขึ้ น เนื่องจากสื่อหลักชื่อดังหลายสำนักไดใหความสนใจนำเนื้อหาไปขยายความตอ หรือนำไปรายงานขาว กลายเปน สารคดี สามารถสื่อสารไปยังมวลชนในวงกวาง จนผูตระหนักถึงปญหาสิ่งแวดลอมหลากหลายกลุมรับรูแลวลุก ขึ้นมาทำแคมเปญอยางยิ่งใหญในหลายกรณี ท า มกลางบริ บทของเศรษฐกิ จการเมืองโลกที่ ลั ทธิ เสรี นิ ย มใหม ทรงอิ ท ธิ พ ล ฐานทรั พ ยากรและ สิ่งแวดลอมถูกแปลงใหกลายเปนสินทรัพย เพื่ อการผลิตและซื้อขายแลกเปลี่ ยนในระบบตลาด ความสามารถ ของรัฐ ประชาชนหรือภาคประชาสังคมในประเทศตางๆยอมมีอำนาจตอรองที่แตกตางกัน แตความสามารถ ของรั ฐและบรรษัทเอกชนที ่ มี ง บประมาณในการซื้ อพื้ นที ่ โฆษณาประชาสั ม พั นธ อาจเบี ยดขั บเนื ้ อหาของ ขบวนการสิ่งแวดลอม แตการเกิดขึ้นของพื้นที่ไซเบอรไดสรางทางเลื อกใหทั้งผู ผลิต เนื้ อหา และผู เสพข อมู ล สามารถเชื่อมความสัมพันธเขาหากัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน อันเปนการเปดพื้นที่ใหกับการสรางชุมชนใน โลกเสมือนและแสดงออกเพื่อมีสวนรวมในประเด็นสาธารณะ สถานการณดานสิ่งแวดลอมที่เกิดขึ้นในประเทศโลกที่สามกับประเทศพัฒนาแลวยอมมีความแตกต า ง กัน พลเมืองในประเทศทั้งสองกลุมมีการใหความสนใจในประเด็นสิ่งแวดลอมในน้ำหนักที่ไมเทากัน ยิ่งไปกว า นั้นขบวนการเคลื่อนไหวบนพื้นที่ออนไลนปจจุบันอาจเปนประโยชนตอคนบางกลุมที่มีความสามารถในการใช เครื่องมือดิจิทัลหรือเขาถึงขอมูลในโลกออนไลนเทานั้น การสงเสริมใหประชาชนทุกกลุมโดยเฉพาะกลุ ม เสี่ ย ง


108

สามารถเขาถึงอินเตอรเน็ต และมีความรูความสามารถในการใชอุปกรณสื่อสารได จะเปนการเสริมสร า งพลั ง ของภาคประชาชนใหเขมแข็งขึ้น การใชมาตรการทางกฎหมายเพื่อยอยสลายการรวมกลุมของประชาชนและการดำเนินคดีเพื่อตบปาก พลเมืองผูตื่นตัว เปนยุทธศาสตรสำคัญที่หนวยงานรัฐและบรรษัทเลือกใช เพื่อสยบการขยายตั ว ของแนวร ว ม ขบวนการสิ่งแวดลอมและทรัพ ยากร ทั้งยังสกัดการไหลเวียนของขอมู ลและการถกเถียงในสั งคม ทา มกลาง บริบทการเมืองการปกครองที่ไมเปนประชาธิปไตยสถานการณดานสิทธิม นุษยชนถู กละเมิด อย า งแพร ห ลาย ยอมทำใหการมีสวนรวมของประชาชนตามแนวทางการพัฒนาอยางยั่งยืนเปนไปไดยาก การประกันสิทธิในการ รวมกลุมและเสรีภาพในการแสดงออกจึงเปนสิ่งที่ตองรักษาไวไมวารัฐจะอยูในชวงเวลาใดก็ตาม ดังนั้นการรับรองสิทธิขั้นพื้นฐานในการรวมกลุม ชุมนุม และเสรีภาพในการแสดงออก ย อมประกั น คุณภาพของขอมูลขาวสารในพื้นที่ไซเบอรใหถูกตรวจสอบ ถวงดุล มิใหผูทรงอิทธิพลดานสื่อบางกลุมครอบงำ บีบขับพลังของกลุมเสี่ยง อยางไรก็ดีสิ่งที่ขบวนการเคลื่อนไหวดานสิ่งแวดลอมตองระมัดระวังมากที่สุด คือ การใชสิทธิเสรี ภาพ ของตนเกินขอบเขตจนถึงขั้นละเมิดศักดิ์ศรีความเปนมนุษยของผูอื่น ในกรณีการรวมกลุมเพื่อแสดงออกในโลก ไซเบอร การสรางกลุมเพื่อสอดสองการใชชีวิตสวนตัวของบุคคลอื่นไมวาจะเปนเจาหนาที่รัฐ หรือปจเจกชนที่ เกี่ยวของกับเอกชนที่เปนคูพิพาทกับขบวนการสิ่งแวดลอม จนถึงขั้นเขาแทรกแซงความเปนอยูตามธรรมดาใน ชีวิตสวนตัว หรือนำขอมูลสวนบุคคลออนไหวมาเปดเผยในพื้นที่สาธารณะ ไปจนถึงการดูหมิ่นเหยียดหยามเขา เหลานั้นในประเด็นที่ไมเปนประโยชนสาธารณะ ยอมสงผลกระทบตอขบวนการเคลื่อนไหวเอง มิใชเพีย งการ ทำลายความชอบธรรมทางการเมืองของขบวนการแตยังเปนการกระทำผิดกฎหมายดวยการละเมิ ด สิ ท ธิ ผูอื่ น รวมกันจนตองเผชิญกับความรับผิดทางกฎหมายอันเนื่องมาจากการกระทำผิด ดังนี้การใชสิทธิจึงตองอยู ใ น กรอบของการเคารพสิทธิเสรีภาพของผูอื่นเสมอ ในบทถัดไปจะไดวเิ คราะหลงรายละเอียดของขอถกเถียงเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมและขอกฎหมาย ที ่ เกี ่ ย วข องกั บ การจำกั ดและสนั บสนุ นเสรี ภาพในการรวมกลุ  มในโลกไซเบอร เพื ่อแสดงออกในประเด็น ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม


109

แผนภาพที่ 1 ผังสรุปกระบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในคดีสงิ่ แวดลอมบนพื้นที่ออนไลน ภาครัฐ หรือ ภาคเอกชน - ดำเนินโครงการ - ทำกิจกรรมบางอยาง

เริ่มตน

ประชาชนหรือผูไดรับผลกระทบเกิด ความไมเห็นดวย

ภาครัฐ หรือ เอกชน ไมฟงเสียงคัดคาน หรือ ความคิดเห็น ของประชาชน (เดินหนาดำเนินการตอ)

ดำเนินการคัดคาน

- การคัดคานบนพื้นที่สื่อออนไลน - การคัดคานโดยการประทวง ชุมนุม การอด อาหาร

กระบวนการเคลื่อนไหว 1. รัฐหรือหนวยงานเอกชน จัดทำโครงการหรือกระทำ กิ จ กรรมบางอย า งที ่ ประชาชนหรื อ สั งคมได รั บ ผลกระทบ 2. ประชาชนหรือผู ไดรั บผลกระทบเกิดความ ไม เห็ น ดวยกับกิจกรรมหรือโครงการที่ดำเนินอยู 3. ผูไมเห็นดวย จะใชสิทธิคัดคานดังกลา วอาจจะอยู ในรูปแบบของการเดิน ประท วง การชุมนุม รวมถึ ง การเคลื่อนไหวบนพื้นที่ออนไลนดวย 4. รัฐหรือเอกชนรับทราบการเคลื่อนไหวของสังคม

ภาครัฐ หรือ เอกชน ตกลงยุติการดำเนินโครงการ

ไมทำตามขอตกลงใน การยุติโครงการ

ทำตามขอตกลงใน การยุติโครงการ

4.1 รัฐหรือเอกชน ยุติการดำเนินโครงการ และ ทำตามขอตกลง จะถือวาสิ้นสุดกระบวนการ 4.2 รั ฐ หรื อ เอกชน ยุ ต ิ โ ครงการ แต ไม ทำตาม ข อ ตกลงที ่ ใ ห ไว ประชาชนจะดำเนิ น การ เรียกรองและคัดคานตอไป 5. กรณีที่รัฐไมรับฟงความเห็ นของประชาชนหรื อ ไม รั บฟ งการคั ด ค า นของประชาชน ประชาชนจะ ดำเนินการคัดคานตอไป

จบกระบวนการ


110

บทที่ 5 การศึกษากฎหมายเปรียบเทียบ และมาตรการสนับสนุนหรืออุปสรรคตอ การมีสวนรวมของประชาชน ในบทนี้จะวิเคราะหการขัดขวางการมีสวนรวมของประชาชนดวยมาตรการทางกฎหมายรูปแบบตางๆ ไม วาจะเปนการริเริ่มโดยหนวยงานรัฐ หรือภาคเอกชน โดยจะครอบคลุมทั้งประเด็นการสอดสอง การควบคุมและ จำกัดสิทธิในการรวมกลุมดวยการละเมิดความเปนสวนตัวหรือขอมูลสวนบุคคล การเซ็นเซอรขอมู ลเพื่ อสกั ด การเขาถึงขอมูลสารสนเทศ ไปจนถึงการดำเนินคดีฟองเชิงยุทธศาสตรเพื่อจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกของ ประชาชน 5.1.

การดำเนิ นคดี เชิ งยุ ท ธศาสตร เ พื่ อ ขัด ขวางการมี ส วนร วมของประชาชน (การฟ อ งตบปาก) [Strategic Lawsuit Against Public Participation – SLAPP] คำวา “SLAPP” ยอมาจากคำเต็มวา Strategic Lawsuit Against Public Participation ซึ่งหมายถึง การดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตรเพื่อระงับการมีสวนรวมของประชาชนในกิจการสาธารณะ หรืออาจเรียกงายๆ วา “การฟองตบปาก” หรือการฟองคดีเพื่อกลั่นแกลง คดีประเภทนี้จะแตกตางจากคดีทั่วๆ ไปตรงที่ผูฟองไดฟอง คดีเพียงเพื่อขูอีกฝายใหกลัว หรือทำใหเกิดภาระมากมายจนหยุดการกระทำ หรือแกลงขัดขวางยั บ ยั้ ง การใช สิทธิเสรีภาพของอีกฝาย โดยถอยคำขางตนพองกับคำวา slap ในภาษาอังกฤษ ซึ่งมีความหมายวา “ตบ” ทำให เห็นไดวาการฟองคดีทมี่ ีลักษณะเปน SLAPP ก็เหมือนเปนการตบคนดวยกฎหมายนั่นเอง 1 กลาวในอีกนัยหนึ่ง คือ โดยปกติ การฟองคดีมีจุดมุงหมายเพื่อคุมครองสิทธิเสรีภาพ หรื อเรี ย กร อง ความเปนธรรม และประชาชนทุกคนมีสิทธิในกระบวนการยุติธรรมทีจ่ ะฟองรองผูทที่ ำใหเราเสียหายได แตทวา ปฏิบัติการตบปากดวยกฎหมาย กลับมีจุดมุงหมายที่ตางออกไป โดยการฟองคนในลักษณะที่เปนฟองตบปาก ไมไดตองการความเปนธรรม แตตองการใชกระบวนการยุตธิ รรมเปนเครื่องมือหยุดกลุมคนหรือบุคคลทีอ่ อกมา เคลื่อนไหวตอตานหรือวิพากษวิจารณใหมีภาระทางกฎหมาย ซึ่งตองมีคาใชจายจำนวนพอสมควรในการต อสู คดี ทั้งนี้ ฐานความผิดที่นิยมใชสวนมากก็คือ การฟองหมิ่นฐานประมาท แตในบางประเทศก็อาจจะนำกฎหมาย อื่นๆ อยางเชน กฎหมายเกี่ยวกับความมั่นคงมาใชดว ย 2 ยกตัวอยางเชน ในป 2534 คดีบริษัท McDonald ฟ องหมิ ่นประมาทกลุ มนั กเคลื ่ อนไหวที ่ มี ชื่ อเสี ย งอยางองค กรกรี นพี ช (Greenpeace) ในประเทศอั งกฤษ เนื่องจากตีพิมพแผนพับวา แมคโดนัลดผลิตอาหารโดยใชแรงงานไมเหมาะสม ขายอาหารที่ทำใหสุขภาพแยลง

1

ธีรวัฒน ขวัญใจ และอลิสา บินดุสะ. (2561) “SLAPP: ปฏิบัติการปดปากคนดวยกฎหมาย” สืบคนเมื่อ 12 กันยายน 2561. จากเว็บไซต ประชาไท: https://prachatai.com/journal/2018/04/76554 2 ไอลอว (2559). ““ปฏิบัติการตบปากดวยกฎหมาย” เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบ” สืบคนเมื่อ 12 กันยายน 2561. จาก เว็บไซต ไอลอว: https://ilaw.or.th/node/4244


111

สนับสนุนการทำลายปา รวมทั้งใชการโฆษณาเจาะจงเพื่อจูงใจเด็กๆ ซึ่งการฟองคดีในครั้งนั้น นักเคลื่ อนไหว ของกรีนพีชตองใชเวลาถึง 7 ป และสูญเสียเงินไปกวา 481.5 ลานบาท เพื่อตอสูในชั้นศาล ตัวอยางคดีความในตางประเทศทีม่ ีฝายบรรษัทหรือฝายรัฐเปนผูฟองคดี โดยมีวัตถุประสงคเพื่อปด/ตบ ปากอีกฝายหนึ่งซึ่งเปนกลุมเคลื่อนไหวที่ไดอาศัยพื้นที่โลกเสมือนหรือพื้นที่ของโลกไซเบอรในการเคลื่ อ นไหว ตอตาน และตอสูเพื่อเรียกรองความเปนธรรม ในประเด็นเกี่ยวกับผลกระทบดานสิ่งแวดลอมซึ่ง มี ผลจากการ กระทำของฝายบรรษัทหรือฝายเจาหนาที่รฐั ความเปนมา การฟ องตบปาก “SLAPP” ซึ ่ ง ย อมาจาก “Strategic Lawsuit against Public Participation” หมายถึง การฟองคดีเชิงยุทธศาสตรเพื่อตอสูกับการมีสวนรวมของประชาชน ซึ่งมีลักษณะเปนการฟองคดีโดยมี จุดมุงหมายใหเสียงของการเรียกรองสิทธิและการเผยแพรขอมูลที่เปนจริงตอสาธารณะออนแรงและเงียบลงไป ดวยการเพิ่มภาระใหแกประชาชน ขมขู และกรณีนี้ ผูฟองคดีไมไดมีจุดมุงหมายหรือความคาดหวังที่จะชนะคดี หรื ออาจจะเปรี ย บเปรยให เห็นภาพว า แสลป ก็ ค ื อ "ปฏิ บ ั ติการตบปากด วยกฎหมาย" เพื ่ อหลี กเลี่ ยงการ ตรวจสอบโดยสาธารณะ 3 หากพิจารณาในเบื้องตน จะพบวา การฟองตบปาก ถือเปนภัยอยางหนึ่งตอบรรยากาศทางการเมืองใน ระบอบประชาธิ ปไตยซึ ่ งได ให ความสำคั ญ กั บ “เสรี ภาพในการแสดงออก” หรื อ “เสรี ภาพในการพูด” (Freedom of Expression/Free speech) ในฐานะที่เปนสิทธิพลเมื องและสิท ธิทางการเมื อง รั ฐมี ห น า ที่ ที่ จะตองสรางมาตรการคุมครอง ปองกัน และเยียวยาสิทธิดังกลาวของประชาชนของตน เมื่อป 1989 หลาย ๆ รัฐในประเทศสหรัฐอเมริกาเริ่มมีคำอธิบายเกี่ยวกับปญหาการฟองตบปาก ซึ่งผู ฟองคดีไดมุงโจมตีประชาชนที่ไดใชสิทธิตามรัฐธรรมนูญ โดย George W. Pring และ Penelope Canan ซึ่ง ทั้งสองคน เปนนักวิชาการผูเชี่ยวชาญในประเด็นเกี่ยวกับการฟองตบปาก ไดใหขอสังเกตวาการฟองตบปากเปน การฟองคดีที่ไมชอบธรรม ซึ่งแนนอนวาไมไดผิดกฎหมายแตอยางใด (ในบริบทของสังคมกอนออกกฎหมาย Anti-SLAPPs) แต การฟ องคดีด ัง กลา วนั ้น เป นไปเพื ่อคุ กคามและทำให อี กผา ยหนึ ่ งที ่ ได ใช “สิ ท ธิ ในการ ร องเรี ยนตอหนว ยงานรัฐ” (Right to Petition the Government) หรื อเสรี ภาพในการพู ด (free speech) ตามบทบัญญัตใิ น First Amendment ตองแบกรับภาระเพิ่มมากขึ้น หรือทำใหรูสึกทอแท เหน็ดเหนื่อยกับการ ตอสู/ตรวจสอบ 4 กลุ  ม ที่ มั กตกเป นผู ถูกฟ องหรื อจำเลยในคดีฟ องตบปาก คื อ ป จ เจกบุคคลทั่ วไป ภาคประชาสั งคม องคกรหรือหนวยงานอื่น ๆ ที่ไมไดอยูภายใตการควบคุมของรัฐ ซึ่งไดปฏิบัติการเคลื่อนไหวคัดคานการดำเนิ น กิจกรรมตาง ๆ ของกลุมบรรษัทหรือผูมีอำนาจรัฐ โดยกิจกรรมดังกลาวไดสงผลกระทบตอประโยชนสาธารณะ 3

ธีรวัฒน ขวัญใจ และอลิสา บินดุสะ. (2561) “SLAPP: ปฏิบัติการปดปากคนดวยกฎหมาย” สืบคนเมื่อ 25 กันยายน 2561. จากเว็บไซต ประชาไท: https://prachatai.com/journal/2018/04/76554 4 Hartzler, S. (2007). Protecting Informed Public Participation: Anti-Slapp Law and the Media Defendant. Valparaiso University Law Review. 41(3), p. 1240


112

(Public Interest) และในการฟองตบปากก็ทำใหผูตกเปนเหยื่อตองเสียทั้งเวลาทั้งทรัพยากรตาง ๆ ไปจำนวน มากในระหว างการต อสู ในชั้ นศาล การฟ องตบปากจึ งกลายเปนอุ ปสรรคสำคั ญอยางหนึ ่ง ในการจะดำเนิน กิจกรรมเคลื่อนไหวคัดคานของผูถูกฟอง 5 ในสวนของประเด็นทางกฎหมายที่ถูกนำมาใชในการฟองตบปากนั้น ขึ้นอยูกับลักษณะการกระทำของ ฝายผูถูกฟอง ไมวาจะเปน ขอหาหมิ่นประมาททำใหเสื่อมเสียชื่อเสียง (Defamation) ขอหาบุกรุกความเป น สวนตัว (Invasion of Privacy) การใชกระบวนพิจารณาของศาลไปในทางมิชอบ (Abuse of Process), การ ฟองเท็จ (Malicious Prosecution) ความผิดฐานสมคบกันเพื่อรวมกันกระทำการทุจริต (Civil Conspiracy) และการแทรกแซงการทำสั ญ ญาหรื อความสั ม พั นธ ท างธุ ร กิ จ อั นมี ลั กษณะเป นการละเมิ ด (tortious interference with contract or business relationships) เปนตน6 ลักษณะทั่วไปของคดีฟองตบปาก อาจมีดังตอไปนี้ คือ (1) คดีที่บรรษัทผูเปนเจาของโครงการพั ฒนา ตาง ๆ ซึ่งรับผิดชอบโครงการหรือไดรับเหมาจากรัฐ ไดฟองคนในพื้นที่ (Homeowners) ที่ไดรับ ผลกระทบ โดยตรงจากการดำเนินการของบรรษัท ซึ่งอาจไดยื่นคำรองเรียนตอหนวยงานรัฐเพื่ อคัดคานโครงการพั ฒนา เหลานั้นแลว หรือ (2) การฟองตบปากอาจเปนกรณีเจาหนาที่รัฐที่ไดฟองพลเมืองของตนซึ่งไดวิพากษวิจ ารณ พฤติ กรรมหรื อการปฏิ บั ติ หน าที ่ ของพวกเขา หรื อ (3) อาจเป นกรณี ที ่กลุ  มผู  ประกอบการไดฟ  ององค กร สิ่งแวดลอมที่ไดออกมาตอตานกิจกรรมตาง ๆ ที่สงผลกระทบตอสิ่งแวดลอม หรือ (4) อาจเปนที่กลุมบริษัทได ฟองลูกคาหรือคนงานของตนซึ่งไดแจงหรือรายงาน เกี่ยวกับความไมถูกตองหรือการกระทำที่ผิดกฎหมายของ บริษัท 7 ในสหรัฐอเมริกา การฟองตบปากถือเปนปญหาระดับ ชาติปญหาหนึ่ง เนื่องจากมั นส ง ผลได อ ย า งมี ประสิทธิภาพ แมคูความในคดีและเปนเปาหมายของการฟองตบปากไดรับชัยชนะโดยเด็ดขาดในคำพิพากษา ของศาล แตพวกเขาอาจตองเสียเวลาหลายเดือนหลายปในการตอสูคดี รวมถึงอาจตองเสียคาใชจายในสวนตาง ๆ อีกจำนวนมาก เทานี้ก็มากเพียงพอแลวที่จะปดปากหรือตบปากพวกเขาใหเงียบได 8 ดังนั้น รัฐตาง ๆ ในประเทศสหรัฐอเมริกา จำนวน 29 รัฐจึงออกกฎหมายตานตบหรือ “Anti-SLAPP Law” เพื่อเปนมาตรการปองกันและกลไกทางกฎหมายทีใ่ ชรับมือกับการฟองตบปาก อีกทั้ง กฎหมายฉบับนี้ยัง เปนสิ่งที่มาชวยเสริมเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชนที่ถูกรับรองไวตามรัฐธรรมนูญของประเทศ รวมถึง เปนการยับยั้งการใชสิทธิทางศาลอยางชั่วรายของกลุมผูมีอำนาจ 9 ลักษณะทั่วไปของกฎหมาย Anti-SLAPP คือ กลไกทางกฎหมายกอนชั้นพิจารณา และหากศาลมองวา การฟองคดีเหลานั้นเปนการฟองตบปาก ก็จะถือเปนการมอบรางวัลหรือของขวัญ ใหกับฝายที่เปนเหยื่ อของ การฟองตบปาก ดวยการขอใหผูฟองคดีชดใชคา ใชจายตาง ๆ ของผูถูกฟองในการตอสูคดี รวมถึงคาทนายความ 5

Ibid. Ibid. 7 Ibid. p. 1241. 8 Ibid. 9 Ibid. 6


113

แตอยางไรก็ตาม ความทาทายที่รัฐตาง ๆ จะตองพบในกระบวนการตรากฎหมาย Anti-SLAPP คื อ การรักษาสมดุลแหงสิทธิของทั้งผูฟองและผูถูกฟอง โดยเฉพาะเสรีภาพในการแสดงออก และสิทธิในการยื่นคำ รองเรียนตอหนวยงานของรัฐ เพราะไมอาจปฏิเสธไดวา บางครั้ง ฝายผูฟองคดีอาจไดรับความเสียหายจริ ง ๆ และมีสิทธิในการฟอง หรือเสรีภาพในการแสดงออกวา การกระทำของผูถูกฟองเปนเหตุใหผูฟองคดีไดรบั ความ เสียหาย สุดทายการบังคับกฎหมาย Anti-SLAPP อยางไรขอบเขต ถูกนำมาใชเปนเครื่องมือในการละเมิ ด เสรี ภายในการแสดงออกและสิทธิในการยื่นหนังสือรองเรียนตอหนวยงานรัฐ 10 ดวยเหตุนี้ แตละรัฐจึงตรากฎหมาย Anti-SLAPP ในลักษณะที่เปนการปกปองสิทธิของคูความทุกฝาย หรือบางรัฐอาจเลือกที่จะออกบัญญัติกฎหมายที่ใหศาลสามารถจำกัดความของบทบัญญัติไดเอง ดว ยวิ ธี การ ตี ค วามอย างแคบ (Narrow Interpretations) ขณะเดี ย วกัน รั ฐบางรั ฐอาจออกบทบัญ ญัติ ทางกฎหมายที่มี ความหมายโดยแคบมาตัง้ แตตน เพื่อบังคับใชกับสถานการณเฉพาะเทานั้น นอกจากนี้ รัฐสวนใหญยังพยายาม ถ ว งดุ ลสิ ท ธิ ์ ของคู  ความทั ้ ง สองฝ ายในคดีฟ  องตบปากด ว ยการดำเนิ นกระบวนการพิ จารณาเชิ ง ป องกัน (Procedural Safeguard) เช น การกำหนดมาตรฐานภาระการพิ ส ู จ น และแต ละฝ า ยจะต อ งแสดง พยานหลักฐานถึงความชอบธรรม (หรือไมชอบธรรม) ของการฟองคดี หรือการฟองคดีดังกลาวเปนการฟองตบ ปากหรือไม กอนที่ศาลจะมีคำพิพากษาใหยกฟองหรือรับฟองไวพิจารณาตอไป11 คำอธิบายกฎหมาย Anti-SLAPP Law ในเบื้องตน ผูเขียนขอยกขอถกเถียงหลั กในประเด็นเกี่ ยวกับ การกำหนดองคประกอบของบทบั ญ ญั ติ แห ง กฎหมาย Anti-SLAPP โดยที่ Pring และ Canan ได พ ยายามอธิ บายว าร างกฎหมาย Anti-SLAPP ควร จะต อง (1) ครอบคลุ ม ประเด็นเกี ่ ย วกั บประโยชน สาธารณะ และการติ ดต อสื ่ อสารกั บหน ว ยงานรั ฐ; (2) ครอบคลุมองคกรและหนวยงานรัฐทุกภาคสวน; และ (3) กำหนดใหมีการทบทวนกระบวนการฟองตบปากกอน เริ่มกระบวนพิจารณาในเนื้อหาคำฟอง และกำหนดใหผูฟองคดีเปนผูมีภาระการพิสูจนในกระบวนการนี้ ด ว ย การพิสูจนวาคำฟองของตนมีความชอบธรรมและมีความเสียหายเกิดขึ้นกับตนจริง มิใชการฟองตบปาก12 อยางไรก็ตาม นักกฎหมายทั่วไปยอมรับวา การรางกฎหมาย Anti-SLAPP นี้เปนเรื่ องละเอี ย ดอ อน เพราะทางหนึ่ง กฎหมายนี้จะตองชวยพิทักษเสรีภาพในการแสดงออกของคนถูกฟอง แตอีกทางหนึ่ง กฎหมาย ก็ตองไมละเลยที่จะใหความเปนธรรมกับฝายผูฟ องคดี เช นเดีย วกั น เพราะปรากฏขอเท็จจริ ง ว า มี ห ลายกรณี ดวยกันที่ บุคคลหรือองคกรที่ถูกฟองตบปากก็เพราะไดกระทำการจงใจสรางความเสียหายใหกับคนอื่ นอย า ง แทจริง ไมใชเรื่องเกี่ยวกับประเด็นดานประโยชนสาธารณะ ดังนั้น กฎหมาย Anti-SLAPP จึงมักไมใชการตั ด สิทธิการฟองคดีของโจทก แตจะเปนสรางกระบวนการพิเศษเพื่อทำใหคดีดำเนินไปไดอยางสะดวกและประหยัด ทั้งเวลาและคาใชจายสำหรับผูถูกฟองที่สามารถพิสูจนไดวาการกระทำของตนเปนไปเพื่อประโยชนสาธารณะ มากกวาประโยชนสวนตัว 10

Ibid. p. 1243. Ibid. p. 1244. 12 Ibid. p.1241 11


114

กฎหมาย Anti-SLAPP ที่จะยกมาเปนตัวอยางเพื่อเปนประโยชนตอการศึกษาเปรียบเทียบครั้ง นี้ คื อ กฎหมาย Anti-SLAPP ของมลรัฐแคลิฟอรเนีย ซึ่งถือเปนมาตรการทางกฎหมายที่เขามาจัดการกับการฟ อง คดีฟองตบปากฉบับแรก ๆ ของโลก การเกิดกฎหมายดังกลาว มาจากการที่ธรรมนูญของมลรัฐแคลิฟอรเนียได รับรองสิทธิใหบุคคลทุกคนสามารถยื่นคำรองเรียนตอหนวยงานรัฐและใชเสรีภาพในการแสดงออกเพื่อเขาไปมี สวนรวมในกิจกรรมตาง ๆ ของรัฐและกิจกรรมที่เกี่ยวของกับผลประโยชนของพลเมือง กลาวคือ ประชาชนทุก คนในรัฐ สามารถแสดงความเห็นหรือแสดงออกไดอยางอิสระ ในประเด็นทางการเมืองหรือประเด็นที่เกี่ยวกั บ ประโยชนสาธารณะ นอกจากนี้ ประชาชนยังมีสิทธิยื่นคำรองเรียนตอหนวยงานรัฐเพื่อใหรัฐเขามาจัดการดู แ ล ปญหาที่ที่ผลกระทบกับชีวิตและความเปนอยูหรือสิทธิดาน อื่น ๆ ของประชาชน และในทุก ๆ ป พบว า มี ปจเจกบุคคล กลุมชุมชน และองคกรดานสิทธิยังคงถูกฟองเนื่องจากการใชสิทธิตามรัฐธรรมนูญเหลานี้หลายพัน คดีดวยกัน ตอมาในป 1992 มลรัฐแคลิฟอรเนียจึ งไดเพิ่มบทบัญญัติ กฎหมายในประมวลกฎหมายวิ ธี พิ จ ารณา ความแพ งมาตรา 425.16 (Code of Civil Procedure § 425.16) ซึ ่ ง เป นบทบัญ ญั ติที ่ พู ดถึ งประบวนการ ปองกันการฟองตบปากที่รวดเร็วและมีตนทุนต่ำ 13 เปนกระบวนการพิเศษที่ฝายผูถูกฟองสามารถฟองคดีกลั บ ได หากลักษณะของการฟองคดีของคดีแรกนั้นไดเกิดจากการทีผ่ ูถูกฟองคดีไดใชสิทธิในการยื่นคำรองเรียนและ เสรีภาพในการแสดงออก บทบัญญัติดังกลาวจะถูกนำไปปรับใชกับการเขียนขอความหรือการแสดงออกใด ๆ ที่ มีความยึดโยงกับประเด็นตาง ๆ ในทางนิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ รวมถึงหนวยงานรัฐอื่น ๆ ที่ไดรับมอบ อำนาจตามกฎหมาย โดยไมคำนึงวาขอความหรือคำพูดเหลานั้นจะถูกประกาศหรือเผยแพรสูสาธารณะอย า ง เปนทางการหรือไมก็ตาม นอกจากนี้ ยังปรับใชกับขอความหรือการแสดงออกในพื้นที่สาธารณะซึ่งเกี่ยวของกับ ประเด็นประโยชนสาธารณะอีกดวย เพื่อที่จะชนะคดีภายใตบทบัญญัตกิ ฎหมาย Anti-SLAPP ฝายผูถูกฟองจะตองแสดงใหศาลเห็นกอนวา คดีที่โจทกฟองเปนการคุกคามกลุมเคลื่อนไหว ที่ไดรับการคุมครองสิทธิตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งโดยทั่วไปมักจะอาง ถึงบทบัญญัติแกไขเพิ่มเติมฉบับที่ 1 (First Amendment) ที่มีหลักเสรีภาพในการแสดงออกเป นหั ว ใจสำคั ญ และตองแสดงใหเห็นวาการฟองคดีขาดตกบกพรองเรื่องสาระสำคัญ รากฐานทางกฎหมาย พยานหลักฐาน หรือ โอกาสความเปนไปไดในการชนะคดีของผูฟองคดี หากสามารถพิสูจนไดตามที่กลาวมา ภาระการพิสูจน จ ะถู ก ผลักกลับไปยังผูฟองคดีที่จะตองพิสูจนใหไดวา คดีของตนนั้นมีมูลอยางไร และขอแกตัวของอีกฝา ยหนึ่ ง ฟ ง ไม ขึ้นอยางไร หากไมสามารถพิสูจนไดคดีของผูฟองคดีก็จะตองถูกตัดจบเสียตั้งแตตอนนี้ การพิจารณาคดี Anti-SLAPP จะตองทำโดยเปดเผยอยูตลอด และลักษณะเชนนี้ของกฎหมาย AntiSLAPP จะชวยลดตนทุนฝายผูถูกฟองในการตอสูคดี เนื่องจากใชเวลาเร็วกวาและสะดวกสบายกวา อีกทั้งยังทำ ใหฝายผูฟองคดีที่อาจมีเจตนากลั่นแกลงอีกฝายหนึ่งตองแบกรับภาระมากยิ่งขึ้นแทน เนื่องจากอยางน อยพวก 13

Code of Civil Procedure – Section 425.16. “ California Anti-SLAPP Project. 2009 [Ratified 1992, last amended 2009]. The Legislature finds and declares that it is in the public interest to encourage continued participation in matters of public significance, and that this participation should not be chilled through abuse of the judicial process.


115

เขาตองพิสูจนใหไดวาคดีความของตนมีความชอบธรรมในและมีมูลหรือเกิดความเสียหายทางกฎหมายจริง และ ตองทำใหศาลเห็นวา การฟองคดีครั้งนี้ ไมใชการกลั่นแกลงแตอยางใด ถาหากคำขอของฝายผูถูกฟองที่ขอใหศาลดำเนินกระบวนการพิเศษตามกฎหมาย Anti-Slapp ได ถูก ศาลปฏิเสธ ฝายที่เสียประโยชนก็สามารถอุทธรณคำสั่งดังกลาวไดโดยทันที นอกจากนี้ ฝายผูถูกฟองคดีที่ไดอาง กฎหมาย Anti-SLAPP ในการตอสูคดี (รวมถึงกรณีอุทธรณ) มีสิทธิที่จะขอใหศาลสั่งใหผูฟองคดีชำระคาใชจาย และคาทนายความแทนผูถูกฟองคดีไดตามสมควร อีกทั้ง หลังจากเขาสูกระบวนการพิเศษตามกฎหมาย AntiSLAPP และศาลไดตัดสินวา การฟองคดีของฝายผูฟองคดีเปนการฟองตบปากจริง ผูฟองคดีก็ไมสามารถหลั ก เลี่ยงการจายใชจายเหลานั้นแทนผูถูกฟองได 14 บทบัญญัติกฎหมายในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพงมาตรา 425.17 ของมลรัฐแคลิฟอรเนีย (Code of Civil Procedure § 425.17) ที่ในป 2003 ไดเขามาแกไขเพิ่มเติมกฎหมาย Anti-SLAPP ซึ่ ง ก อน หนานี้ มีปญหาวา กฎหมายดังกลาวไดถูกใชเปนเครื่องมือละเมิดสิทธิ์เชนเดียวกัน การแกไขเพิ่มเติมดังกลาวได บัญญัติถึงขอกำหนด “หาม” ใชกฎหมาย Anti-SLAPP กับกรณีที่มีการฟองคดีเพื่อรักษาประโยชนสาธารณะ หรือในประเด็นเรื่องของชนชั้น (Class Issue) รวมถึงการฟองคัดคานการกระทำตาง ๆ ของบรรษั ท ที่ สง ผล กระทบตอสิทธิของประชาชน15 ขณะเดียวกัน บทบัญญัติมาตรา 425.18 ซึ่งเพิ่มเติมเขามาเมื่อป 2005 และ เปนบทบัญญัติที่อำนวยความสะดวกใหกับเหยื่อจากการฟองตบปากในการขอใหอีกฝายหนึ่งปฏิ บั ติ การฟ นฟู เยียวยาความเสียหายของเหยื่อ ซึ่งอาจเรียกอีกอยางวาเปนการ “สแลปกลับ/ตบปากกลับ” (SLAPPback) จาก การฟองตบปากของฝายผูฟองคดี หลังจากที่ศาลไดพิพากษาใหยกฟอง.16 นอกจากนี้ยังมีบทบัญญัติ กฎหมายในประมวลกฎหมายวิ ธีพิจารณาความแพงมาตรา 1987.1 และ 1987.2 (Code of Civil Procedure sections 1987.1 and 1987.2) การแก ไ ขเพิ ่ ม เติ มในป 2008 มาตรา 1987.1 ไดอนุญาตใหบุคคลใดก็ตามที่ไดรับหมายศาลในฐานะจำเลยในคดีฟองตบปาก สามารถแจงขอมูลของ ตนไปยังศาล เพื่อประกาศตามหาบุคคลอื่น ๆ ที่ถูกฟองในลักษณะเดียวกัน อันนำไปสูการรวมกลุมกันของเหลา ปจเจกบุคคลที่ถูกฟองตบปาก เมื่อครั้งไดทำการเคลื่อนไหวคัดคานการกระทำของผูฟองคดี อีกทั้ง กรณีที่การ ฟองตบปากนั้นมีสาเหตุมาจากการใชเสรีภาพในการแสดงออกบนพื้นที่ออนไลนของผูถูกฟองและการฟ องตบ

14

CASP. (no date). “Cases Involving the California Anti-SLAPP Law” Retrieved September 26, 2018 from California Anti-SLAPP Project: http://www.casp.net/california-anti-slapp-first-amendment-law-resources/ caselaw/ 15 CASP. (no date). “Code of Civil Procedure – Section 425.17 Exemptions to California’s Anti-SLAPP Law” Retrieved September 26, 2018 from California Anti-SLAPP Project: http://www.casp.net/californiaanti-slapp-first-amendment-law-resources/statutes/c-c-p-section-425-17/ 16 CASP. (no date). “Code of Civil Procedure – Section 425.18 SLAPPback Claims in California” Retrieved September 26, 2018 from California Anti-SLAPP Project: http://www.casp.net/california-anti-slapp-firstamendment-law-resources/statutes/c-c-p-section-425-18/


116

ปากดังกลาวเกิดขึ้นในรัฐอื่น บทบัญญัติมาตรา 1987.2 (b) ไดกำหนดใหผูถูกฟองดังกลาว สามารถยื่ นขอให ศาลแคลิฟอรเนียมีคำสั่งใหผูฟองคดีชดใชคา ใชจายตาง ๆ แทนตนในการตอสูคดีได17 กฎหมายแพงของมลรัฐแคลิฟ อร เนี ย มาตรา 47 ยังไดใหเอกสิทธิ์กับ ผูประกาศหรื อเผยแพร ขอมู ล และใหความคุมกันกับผูมีสวนรวมในประเด็นเกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมตาง ๆ ของหนวยงานรัฐ รวมถึงในการ กระบวนการฟองคดีละเมิดทุกประเภท แตความคุมกันจะถูกยกเวนในกรณีที่การฟองคดีนั้น เปนการฟ องเพื่ อ กลั่นแกลงหรือมีเจตนาราย 18 เพื่อใหเขาใจถึงสาระสำคัญของกฎหมาย Anti-SLAPP ไดงายขึ้น ตองเขาใจเสียกอนวา การใชสิทธิทาง ศาลของทุกคนนั้นไมใ ชวาจะเป นเรื่ องของการฟ องตบปากไปทุ กกรณี ดังนั้น จึงตองแบ ง ขั้ นตอนกลไกการ ทำงานของกฎหมาย Anti-SLAPP เปน 2 ขั้นตอน ดังตอไปนี้ 19 กลาวคือ ในขั้นแรก คนที่ถูกฟองหรือจำเลยจะตองเปนฝายพิสูจนกอนเลยวาสิ่งที่ตนไดพูด หรื อทำไป จนถูกฟองนั้นเปนการสื่ อสารในประเด็ นประโยชนสาธารณะ โดยหากผูถูกฟองไมสามารถพิ สู จ น ใ นประเด็ น ดังกลาวนี้ได ศาลจะถือวา คำฟองของผูฟองคดีไมใชการฟองตบปาก ดังนั้นจึงไมมีเหตุใหตองใชกระบวนการ พิเศษของกฎหมาย Anti-SLAPP คดีความนี้ก็ดำเนินกระบวนพิจารณาตอไปตามปกติ แตในทางกลับกัน หากผูถูกฟองสามารถพิสูจนไดวา สิ่งที่ตนพูดไปนั้นเปนไปเพื่อประโยชนสาธารณะ จริง ภาระการพิสูจนจะถูกผลักไปยังผูฟองคดีแทน โดยจะตองเปนฝายพิสูจนใหไดวาคดีของตนนั้นมีมูลอยางไร และขอแกตัวของผูถูกฟองคดีที่อางวาไดกระทำไปเพื่อประโยชนสาธารณะนั้นฟงไมขึ้นอยางไร หากไมสามารถ พิสูจนใหศาลพอใจ ศาลก็จะพิพากษายกฟองไปตัง้ แตกระบวนการดังกลาวนี้ ในสวนขั้นตอนที่สองของกระบวนการพิ เศษในกฎหมาย Anti-SLAPP ในกรณีที่ผูถูกฟองคดี ชนะคดี ภายใตกฎหมาย Anti-SLAPP แลว ศาลจะมีคำสั่งใหผูฟองคดีตอ งเปนคนออกคาใชจายทัง้ หมดทีเ่ กิดขึ้นใหกับผู ถูกฟองคดี โดยเฉพาะอยางยิ่ง ถามีกรณีที่พิสูจนไดอยางชัดเจนวา ผูฟองคดีจงใจฟองคดีเพื่อกลั่นแกล ง คนอื่ น จริง ศาลอาจพิพากษากำหนดคาปรับเขาไปอีกไดตามแตจะเห็นสมควร มิหนำซ้ำ ในคดีเชนนี้ ศาลอาจอนุญาต ใหทนายความของผูถูกฟองคดีสามารถคิดคาจางเปนเปอรเซ็นตจากเงินที่ผูถูกฟองคดีไดรบั อีกดวย ในสวนนี้เอง ก็จะเปนการชวยใหผูถูกฟองคดีมีทนายความเขามาเสนอตัวเพื่อชวยตอสูคดีมากขึ้น อี กทั ้ ง ในระหว า งดำเนิ นกระบวนการพิ เศษภายใต กฎหมาย Anti-SLAPP ฝ า ยผู  ฟ  องคดี กำลั ง ดำเนินการหรือขออนุญาตในการกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งตอทางการอยู และการดำเนินการนั้นๆ เกี่ยวของกับเรื่องที่ ผูถูกฟองคดีไดพูดคัดคานหรือเคลื่อนไหวตอตาน การดำเนินการนั้นจะตองถูกระงับไวกอน จนกวาคดีจะจบลง ทำใหการฟองของผูฟองคดีสงผลใหเปนการถวงเวลาการดำเนินการเรื่องอื่น ๆ ของเขาเสียเอง นำไปสูการเป น หลักประกันอีกประการหนึ่งวา ผูฟองคดีจะตองตัดสินใจฟองก็ตอเมื่อมีความจำเปนจริง ๆ เทานั้น 17

CASP. (no date). “California’s Anti-SLAPP Law and Related State Statutes” Retrieved September 26, 2018 from California Anti-SLAPP Project: http://www.casp.net/california-anti-slapp-first-amendment-lawresources/statutes/ 18 Ibid. 19 หางกระดิกหมา. (2013). “SLAPP…ตบปากใหหยุดพู ด (2)” ” สืบคนเมื่อ 26 กันยายน 2561 จากเว็บไซต ไทยพั บ ลิ ก า : https://thaipublica.org/2013/10/slapp-2/


117

ทั้งนี้ มีขอควรสังเกตอยางหนึ่งก็คือ แมผูถูกฟองคดีจะไดรับประโยชนจากกฎหมาย Anti-SLAPP นี้ ไมไดหมายความวาผูถูกฟองคดีจะบริสุทธิ์ผุดผองไมผิดกฎหมายเสมอไป เพราะ ในความเปนจริง หากมีการฟอง คดีขึ้น ซึ่งแมจะเปนคดีฟองตบปากก็ตาม ขอเท็จจริงอาจปรากฏใหเห็นถึง พฤติ กรรมของผู ถู กฟ องคดี ที่ อาจ กระทำการผิดกฎหมายอยูแลวบางสวน หรืออาจเปนในทางเทคนิค เพียงแตกฎหมายนี้ ไดอนุญาตใหศ าลใช ดุลยพินิจที่จะชั่งน้ำหนักดูอีกทีวาความเสียหายของผูฟองคดีที่เกิดจากความผิดของผูถูกฟองคดีในกรณีใดกรณี หนึ่งนั้น คุมกับประโยชนสาธารณะที่จะตองเสียไปหากปลอยใหมกี ารดำเนินคดีกับผูถูกฟองคดีหรือไม CyberSLAPPs: เมื่อถูกฟองตบปากในกรณีที่ไดแสดงออกบนโลกออนไลน ป จ จุ บ ันมี การฟองเชิ งยุ ทธศาสตร เพื่ อตบปากผู แ สดงออกบนโลกออนไลน (CyberSLAPPs) 20 ใน สหรัฐอเมริกามีคดีความที่ผูประกอบการและฝา ยรัฐบาลไดฟ องปจ เจกบุคคลที่ไดใช สิทธิ เสรีภาพตาม First Amendment เพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจากความกาวทางดานเทคโนโลยีการสื่อสาร ทำใหการแสดงออกตาง ๆ สามารถกระทำไดโดยงาย ผานการโพสตขอความ รูปภาพ หรือขอมูลคอมพิวเตอรในรูปแบบอื่น ๆ ลงบนพื้นที่ โลกไซเบอร ทั้งนี้ การฟองคดีดังกลาวก็มีลักษณะเปนการฟองตบปากเชนเดียวกัน ซึ่งเปนความพยายามของผู ฟองคดีที่ตองการตบปากผู การคุกคาม และขมขู ผูใชอินเตอรเน็ตที่ไดวิพากษวิจารณถึงการกระทำของพวกเขา บนพื้นที่โลกไซเบอร ลักษณะของการฟองตบปากจากการสงขอความหรือการแสดงออกบนพื้นที่ไซเบอร มีความคลายคลึง กับการฟองตบปากทั่วไป กลาวคือ กรณีที่ผูถูกฟองตบปากจำนวนมาก ดวยสาเหตุจากการดำเนิ น กิ จ กรรม เคลื่อนไหวบนพื้นที่โลกไซเบอร การฟองคดีที่ไมชอบธรรมดังกลาวนั้นอยูภายใตหนากากของการฟองคดีความอันชอบธรรมทั่วไป โดย ที่ฝายผูฟองคดีไดนำคดีเขาสูศาล ดวยประเด็นทางกฎหมายตาง ๆ ไมวาจะเปนคดีหมิ่นประมาท คดีความกรณี ผิดสัญญาตามกฎหมายแพง (Breach of Contract) กรณีการแลกเปลี่ยนความลับทางการคาโดยการละเมิ ด (Trade Secret Violations) สิ่งที่ไดกลาวมาขางตน ทำใหเกิดปรากฎการณที่เรียกวา “Chilling Effect” ซึ่งหมายถึงสถานการณที่ ผูถูกแทนที่จะตอสูคดีความในชั้นศาลที่อาจเสียคาใชจายสูง แตผูถูกฟองมีทางออกที่งายกว า นั้ นคื อ การลบ โพสตที่เปนปญหานี้ออกไปจากระบบเสีย และปดปากเงียบ แนนอนวาเปนการยื่นหมูยื่นแมวกันระหวางฝา ยที่ อ า งตนเองว า เป นผู เสี ย หายกั บฝ ายผู  ถูกกล าวหา เนื ่ องจากผู ใ ช อิ นเตอร เน็ ตที ่ อาจรู  สึ กกลัว ถ า พวกเขา วิพากษวิจารณออกไป พวกเขาก็อาจถูกฟองได ดังนั้นผูใชอินเตอรเน็ตจึงเลือกที่จะเงียบแทน แตลักษณะของการฟองตบปากทางไซเบอรที่แตกตางไปกับการฟองคดีฟองตบปากโดยทั่วไป คื อ ผู ฟ องคดี จะตองทำลายภาวะนิร นาม “Destroying Anonymity” ของผู  ถู กฟ องก อนอดั นดับแรก กล า วคือ 20

CASP. (no date). “CyberSLAPPs: Being Sued for Speech Online” Retrieved September 26, 2018 from California Anti-SLAPP Project: http://www.casp.net/sued-for-freedom-of-speech-california/slapp-beingsued-for-first-amendment-online/


118

จะตองระบุตัวตนที่แทจริงของผูใชอินเตอรเน็ตที่เปนเปาหมายในการฟองตบปาก บางครัง้ การทำเชนนี้ อาจเปน การกระทำเดียวผูฟองคดีจะทำได และบอยครั้งที่ขอกลาวหาในคดีฟองตบปากอาจมีลักษณะคลุมเครือ หรือไม ก็เปนกรณีที่ผูฟองคดีไมอาจกลาวอางถึงขอความบนพื้นที่ออนไลนเจาปญหานั้นได เนื่องจากไมสามารถระบุวัน เวลาหรือหมายเลขของโพสตนั้นได โดยทั่วไป ผูฟองคดีจึงพยายามฟองผูใหบริการอินเตอรเน็ต (ISP: Internet Service Provider) ISP หลายคนจึงกำหนดนโยบายที่ตระหนักถึงความเปนสวนตัวของผูสมัครใชบริการของ ตน โดยการสงอีเมลแจงไปยังผูใชบริการวากำลังมีบางคนสอดสองเขาหรือเธออยู หากบุคคลใดตองการทราบ ตัวตนที่แทจริงของผูใชบริการคนใดคนหนึ่งตองผานกระบวนการทางศาลแลวเทานั้น ISP จะไมปฏิบัติการใน ชวงเวลาใดเวลาหนึ่งเปนการเฉพาะเจาะจง เพื่อใหระหวางนั้นผูใชบริการอาจดำเนินการตามกฎหมายเพื่อเปน การรักษาสภาวะนิรนามของตนตอไป แตอยางไรก็ตาม ผูใหบริการที่มนี โยบายดังกลาวปรากฏอยูเพียงบางสวน เทานั้น มีหลายคดีความดวยกันที่บรรษัทไดฟอง “คนในบรรษัท” (Insiders) “ลูกจาง” (Employees) “อดีต ลูกจาง” (Former Employees) ผูซึ่งถูกกลาวหาวาไดกระทำละเมิดขอมูลลับของบรรษัทหรือขอตกลงเกี่ยวกับ ความลับทางการคาหรือ กรณีบุคคลภายในทีเ่ ปดเผยขอมูลของบรรษัทที่เปนความลับ (บนพื้นที่ไซเบอร) ดังนั้น แทนที่จะฟองขอหาหมิ่นประมาททั่วไป บรรษัทอาจฟองคดีวาผูถูกฟอง กระทำการผิดสัญญาจ า ง ฝ า ฝ นไม ปฏิบัติหนาที่ตามที่ไดรับมอบหมาย หรือทำการแลกเปลี่ยนความลับทางการคาโดยละเมิด แตอยางไรก็ ดี ไม อาจเชื่อไดโดยทันทีวา ผูที่ถูกกลาวจะเปนลูกจางหรือคนในบรรษัทจริง เนื่องจากผูใชอินเตอรเน็ตสวนใหญ ต า ง อยูในภาวะนิรนาม บริษัทไดใชวิธีการฟองคดีเพื่อพยายามเปดเผยตัวตนวาผูโพสตขอความที่สงผลให พ วกเขา ไดรับความเสียหายนั้นเปนลูกจางหรือไม เพียงเทานั้น “Your Right to Speak Anonymously” พื้นที่อินเตอรเน็ตเปนพื้นที่ที่เยี่ยมยอดของเหลาผูพูดนิรนาม ภาวะนิรนามชวยใหเกิดการแลกเปลี่ ย น ความเห็นหรือขอมูลไดอยางอิสระ ดังนั้น บรรษัทอาจพยายามฟองตบปากเพื่อคุกคามเหลาผูใชอินเตอรเน็ตให ตองปดปากและเงียบลง จนนำไปสูการแสดงความเห็นผิดฝายเดียวและปดกั้นการวิพากษวิจารณไปเสีย สิทธิในการพูดภายใตภาวะนิรนาม อาจไดรับการคุมครอง เนื่องจากเปนสิทธิใ นการแสดงออกตาม บทบัญญัติแหงรัฐธรรมนูญ ไมวาจะเปน First Amendment ในรัฐธรรมนูญแหงสหรัฐเมริกา หรือ ธรรมนู ญ แหงมลรัฐแคลิฟอรเนีย การคุมครองตามบทบัญญัติใน First Amendment อาจไมไดเปนการคุ ม ครองโดย เด็ดขาด แตศาลสูงของประเทศสหรัฐฯ ไดยอมรับวา การตัดสินใจที่จะอยูในภาวะนิรนามตอไป เปนสว นหนึ่ ง ของเสรีภาพในการแสดงออก ซึ่งไดรับการคุมครองตาม First Amendment (McIntyre v. Ohio Elections Comm’n. (1995) 514 U.S. 334, 342) และการแสดงออกบนพื ้ นที ่ อ อนไลน ย อมได ร ั บ การคุ  ม ครอง เชนเดียวกับการแสดงออกในโลกทางกายภาพ (Reno v. ACLU (1997) 521 U.S. 844, 868) ในมลรัฐแคลิฟอรเนีย สิทธิในการพูดภายใตภาวะนิรนาม มีจุดกำเนิดมากจากทั้ง First Amendment และสิ ทธิในความเปนส วนตั วภายใตธ รรมนูญ ของมลรัฐแคลิฟ อรเนี ย (See, e.g., Rancho Publications v. Superior Court (1999) 68 Cal.App.4th 1538, 1541, ซึ่งศาลไดตัดสินวา โจทกไมสามารถอาศั ย กระบวน


119

พิจารณาของศาล เพื่อหาตัวตนของบุคคลซึ่งอยูในภาวะนิรนามที่ไดจายเงินใหกับโฆษณาทางหนังสือพิมพที่ได โจมตี หรือวิพากษวิจารณโจทก) 5.2.

การฟองคดียุทธศาสตรเพื่อตบปากในประเทศไทย การดำเนิ นคดี เชิง ยุ ทธศาสตร เพื ่ อขั ดขวางการมีส วนร ว มของประชาชน หรื อ SLAPPs (Strategic Lawsuit Against Public Participation) มีความหมายคลายๆกัน ยุทธวิธี SLAPP กลายเปนวิธีการที่ใครหลาย คนในยุคสมัยนี้รูจักดี ทั้งประชาชนทั่วไป นักเคลื่อนไหวในประเด็นตางๆ นักสิทธิมนุษยชน ยังรวมถึงสื่อมวลชน ดวย ที่ถูกการฟองตบปากนี้ การตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล หรือเอกชนเปนสิ่งที่สามารถพึ่งกระทำไดตาม สิทธิพื้นฐานของประชาชนคนทั่ วไป แตหากวาเมื่อฝายที่ถูกตรวจสอบไมพ อใจ หรือไมอยากให ค นอื่ น หรื อ ประชาชนกลุมอื่นๆรับรู การฟองคดีตบปากจึงเปนทางเลื อกหนึ่งที่ เขาจะกระทำ การฟองตบปาก มี การให ความหมายไวในหลายภาคสวน ทั้งภาครัฐเอง นักวิชาการ รวมถึงองคกรเอกชน องค กรต อต านคอร รั ปชั่ น(ประเทศไทย) หรื อ ACT ได อธิ บายความหมายของคำว า SLAPP ไว วา ในภาษาอังกฤษมีคำบางคำที่ออกเสียงเหมืองกัน อยางเชน คำวา Slap กับ SLAPP ซึ่งคำแรกมีความหมายวา “การตบ” แตคำหลังเปนคำที่ยอมาจากคำวา Strategic Lawsuit Against Public Participation ที่แปลไดวา “การดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตรเพื่อระงับการมีสวนรวมของสาธารณชน” สองคำนี้มีความเกี่ยวโยงกันมากกว า แคเสียงที่เหมือนกัน กลาวคือ SLAPP เปนการฟองคดีโดยมีจุดมุงหมายใหเสียงของการเรียกรองสิทธิและการ เผยแพรขอมูลที่เปนจริงตอสาธารณะออนแรง จนกระทั่งหยุดหรือเงียบลงไป หรืออาจจะเปรียบเปรยให เห็ น ภาพ คือการตบปากคนดวยกฎหมาย เมื่อผูมีอำนาจไมอยากฟง หรือไมอยากใหคนอื่นไดฟง21 ดังนั้นจึงมีคนนิยามคำวา SLAPP คือ การฟองคนหรือกลุมคนที่พูดหรือแสดงความคิดเห็นในประเด็ น อันเปนประโยชนสาธารณะโดยใชกระบวนการทางศาลขัดขวางคำพูด หรือ การกระทำของบุคคลเหลานั้นไมให ราบรื่น ซึ่งก็เปนการขมขวัญกลุมคนหรือประชาชนไดอีกทางหนึ่ง ไมเพียงเทานั้นยังเปนการสร า งภาระเรื่ อง ค า ใช จายใหกับบุ คคลเหลานั ้นอีกดว ย การชุ มนุ มหรื อการถกเถี ยงสาธารณะเป นสิ ่ง ที่ ตองใชกำลัง กายและ กำลังใจเปนอยางมาก ดังนั้นแลวการทำรายหรือตอสูกันดวยการฟองรองดำเนินจึงเปนวิธีการที่ถือวาร า ยที่ สุด บางครั้งอาจจะตองมีการฟองรองดำเนินคดีจนถึงที่สุด เพื่อเปนตัวอยางที่แสดงใหเห็นวา การมีปากเสี ย งหรื อ ขัดขวางโครงการหรือนโยบายนั้นๆ จะตองพบเจอกับอะไรบาง ซึ่งก็ถือเปนการขมขวัญคูตอสูไดเปนอยางดี โดยปกติแลว การฟองคดีมีจุดมุงหมายเพื่อคุมครองสิทธิเสรีภาพ หรือ เรียกรองความเป นธรรมและ ประชาชนทุกคนมีสิทธิในกระบวนการยุติธรรมที่จะฟองรองใหผูที่ทำใหเราเสียหายได แตการฟองรองเพื่ อป ด ปากหรือตบปากประชาชนดวยกฎหมายนั้น กลับมีจุดมุงหมายทีแ่ ตกตางกันออกไป เพราะการฟองในลักษณะที่ เปนฟองตบปาก เปนการฟองที่ไมตองการไดความเปนธรรม หรือการคุมครองสิทธิเสรี ภาพ แต เป นการใช กระบวนการยุติธรรมเปนเครื่องมือหยุดกลุมคนหรือบุคคลที่ออกมาเคลื่อนไหตอตานหรือวิพากษ วิ จ ารณ ใ ห มี

21

องค ก รต อ ต า นคอร รั ป ชั ่ น (ประเทศไทย). 2560. Anti-SLAPP Law. สื บ ค น เมื ่ อ 23 กั น ยายน 2561. จากเว็ บ ไ ซต anticorruption: http://www.anticorruption.in.th/2016/th/detail/152/5/Anti-SLAPP%20Law


120

ภาระทางกฎหมาย 22 ซึ่งตองมีคาใชจายที่สูงพอสมควรในการตอสูคดี และฐานความผิดทีน่ ิยมใชกันสวนมาก คือ การฟองฐานหมิ่นประมาท แตในบางครั้งอาจจะนำกฎหมายอื่นๆเขามาดวย อยางเชน กฎหมายเกี่ยวกับความ มั่นคง หรือ พระราชบัญญัติวาดวยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร พ.ศ. 2550 โดยองค กร ThaiLaw Watch ก็ ใ ห ค วามหมายของคำว า SLAPP ในทำนองเดีย วกั นว า “เป นการ ดำเนินคดีเพื่อยับยั้งการแสดงความคิดเห็นอยางเสรีหรือการโตเถียงโดยมีจุดหมายเพื่อตอสูกับบุคคลที่พูดหรื อ แสดงความเห็นตอรัฐบาลหรือเรื่องประโยชนสาธารณะ” 23 โดย SLAPP ถูกนำมาใชเพื่อตบปากและขมขู การ วิพากษวิจารณโดยการบังคับใหคนที่พูดหรือแสดงความเห็นในเรื่องสาธารณะจะตองใชเงินมหาศาลในการตอสู กับขอกลาวหา โดยผูที่ดำเนินคดีไมไดมีเจตนาที่จะรองขอความยุตธิ รรม แตดำเนินคดีเพียงเพื่อขมขูบุคคลที่ไม เห็นดวยกับตนหรือกิจการที่ตนไดกระทำ ทำใหผูใชเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นที่ถูกดำเนิ นคดี จ ะต อง สูญเสียเงินในการตอสูคดี 24 คนที่ใชเทคนิคการดำเนินคดีเพื่อตบปากการถูกตรวจสอบ เชน บริษัทใหญ หรื อ เจาหนาที่ของรัฐที่ถูกตรวจสอบรองเรียน การ SLAPP จึงเปนเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพอยางมาก ที่จะใชต อสู กับฝายตรงขาม เพราะการตอสูคดีในลักษณะ SLAPP ตองใชเวลานานและสูญเสียเปนเงินจำนวนมาก ทำใหคน ที ่ ถู กดำเนิ นคดี มี ภาระเพิ่ ม มากขึ ้น จนทำให ต องล มเลิ ก หรื อ พ า ยแพ ต อการแสดงความคิ ดเห็ นในเรื ่ อง สาธารณะหรือตรวจสอบการดำเนินกิจกรรมสาธารณะไป ไมวาจะโดยการถูกฟองดำเนินคดี หรือ การถูกขมขูก็ ตาม ดังนั้นแลว ฝายบริษัทใหญ หรือ ฝายของหนวยงานรัฐก็ยอมเปนผูไดเปรียบในการฟองคดีมากกวา ไมวาจะ เรื่องคาใชจาย เรื่องเวลาในการดำเนินคดี หรือเรื่องอื่นๆที่ตามมาดวย อาจารยวีระ สมบูรณ อาจารยคณะรัฐศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย เปนอีกคนที่ใหความหมายของ SLAPP วา เปนการใชคดีความเปนกลยุทธคุกคามการมีสวนรวมสาธารณะ ซึ่งเปนเหตุที่สามารถเกิดขึ้นไดทวั่ ไป และเป นกลยุ ทธ ที่ สำคั ญ และการ SLAPP เป นการฟ องรองโดยไมจ ำเป นตองเปนหน วยงานรัฐ อาจจะเปน เอกชน เจาหนาที่รัฐหรือสวนตัวก็ได เมื่อมีขอสงสัยขอขัดแยง การชิงฟองกอน หรือมีการหยิบยกมาฟอง เพื่ อ ปดไมใหประเด็นที่เกิดขึ้นไปสูพื้นที่ของสาธารณะ แมจะมีการอางเรื่องการเสียชื่อเสียง หรือหมิ่นประมาท แต วัตถุประสงคที่แทจริงคือ การเซ็นเซอร คุกคามไมใหมีการนำเสนอ โดยผลลัพธไมอยูที่การชนะคดี แตคือ มี ผล ตอบรรยากาศการโตแยง และวัฒนธรรมการเขามีสวนรวมในเรื่องสาธารณะที่จะถูกทำใหหายไป รวมถึงทำใหผู ที่เสนอขอมูลความคิดเห็นตางๆ ตองมีตนทุนสูงมาก เพราะ การถูกฟองรอง นำมาซึ่งการเสียขวัญ ไมมั่นใจ มี ปญหาเรื่องเงิน เวลา ทรัพยากรตางๆ โดยเฉพาะหากฟองกับประชาชนทั่วไป ก็จะรูสึกวาไมคุมที่จะตอสูคดีดวย 25

22

thaipublica. 2556. SLAPP…ตบปากให ห ยุ ด พู ด . สื บ ค น เ มื ่ อ 23 กั น ย าย น 2561. จากเ ว็ บ ไ ซต thaipublica: https://thaipublica.org/2013/10/strategic-litigation-against-public-participation/ 23 ปกปอง ศรีสนิท. 2557. กฎหมายตอ ต านการดำเนิ นคดี เพื่ อยั บยั้ งการมี ส ว นร วมในกิ จ การสาธารณะ (Anti-SLAPP Law). โครงการวิ เ คราะห แ ละติ ด ตามร า งกฎหมาย. ThaiLawWatch. หน า 2. URL: http://thailawwatch.org/wpcontent/uploads/2014/11/TLW_AntiSLAPP_Web.pdf 24 Public Participation Project. SLAPP STORIES. สืบคนเมื่อ 23 กันยายน 2561. จากเว็บไซต anti-slapp: https://antislapp.org/slapp-stories 25 สยามธุรกิจ. 2556. “จุฬา” เปดโตะฉะ “กสทช.” มัดมือสื่อ-ปดตาปชช. สืบคนเมื่อ 23 กันยายน 2561. จากเว็ บ ไซต siamturakij: https://www.siamturakij.com/index.php/news/479-จุฬา-เปดโตะฉะ-กสทช-มัดมือสื่อ-ปดตาปชช-


121

กระนั้นปญหาอยางหนึ่งที่ทำใหการแกปญหา SLAPP เปนไปอยางยากลำบากก็เนื่องมาจาก “ชองโหว ในกระบวนการยุติธรรม” ที่ไมสามารถกลั่นกรองคดีกอนเขาสูกระบวนการศาลได แมวาในบางประเทศจะมี กฎหมายชวยเหลือ เชน การขอยุติการดำเนินคดีอยางรวดเร็ว การกำหนดใหโจทกตองรับผิดชอบคาใชจายและ คาทนายใหกับจำเลย แตวิธีการดังกลาวนั้นก็ไมสามารถแกไขปญหาหรือชองโหวไดอยางสมบูรณ ตัวอยางของ ประเทศไทยที่จะมีการบวนการไตสวนมูลฟอง กอนที่ศาลจะรับฟอง และกำหนดใหบางกรณีทฝี่ ายที่แพคดีตอ ง จายคาทนายความ แตในทางปฏิบตั ิศาลกำหนดใหจายคาทนายในจำนวนที่นอยมาก26 การเกิดขึ้นของคดีในลักษณะ SLAPP มีจำนวนมากเพิ่มขึ้น จนทำใหกลายเปนประเด็นที่สาธารณะให ความสนใจเป นอยางมาก และเปนเรื ่องที ่สร างความวิ ตกกั งวลให กับผู เคลื ่อนไหว หรื อนักสิทธิมนุ ษยชนที่ ชวยเหลือประชาชนในประเด็นตางๆ เชน ผูเคลื่อนไหวเกี่ยวกับคดีสิ่ง แวดล อม, ผูเคลื่อนไหวในประเด็ นทาง การเมือง เปนตน จึงทำใหเกิดเวทีเสวนา, เวทีการรับฟงความคิดเห็น ที่มีหัวขอที่เกี่ยวกับการฟองตบปาก หรือ SLAPP เกิดขึ้นมากมาย อยางเชน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอารไอ) และสำนักงานกองทุนสนับสนุ นการวิจัย (สกว.) จั ด เสวนา “การฟองหมิ่ นประมาท: จุ ด สมดุ ลระหวางประโยชนส วนตัว และประโยชน สว นรวม”, โครงการ อบรม/สัมมนาวิชาการ: เรื่อง คดีเพื่อประโยชนสาธารณะและการฟองคดีเพื่อปดปาก (Anti-SLAPP Laes) 27, การจัดเสวนาเรื่อง การพัฒนากฎหมายและกลไกปองกันการ “ฟองคดีปดปาก” เพื่อปด กั้ นการมี สว นร ว ม สาธารณะ 28 และ งานเสวนาวิชาการ “คดีฟองรองนักวิชาการกับบทบาทหนาที่สาธารณะ” ที่จัดโดยคณะ เศรษฐศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย 29 โดยในการเสวนาหลายโครงการเห็นรวมกันวาการฟองตบปาก จะมีลักษณะของการฟองหมิ่นประมาท เปนตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326 และ328 และยังมักพวงความผิดตามพระราชบัญญัติวาดวยการ กระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร พ.ศ. 2550 มาตรา 14 (1) หรือ (2) แลวแตกรณี ซึ่งการฟองลั กษณะนี้ เปนรูปแบบหนึ่งของการใชกระบวนการทางศาล เพื่อยับยั้ง ขัดขวาง ขมขูการวิพากษวิจารณ แ ละการแสดง ความคิดเห็น หรือเสรีภาพในการแสดงออกของบุคคลหรือกลุมบุคคล โดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวกับประโยชน สาธารณะ ซึ่งคดีหมิ่นประมาทถาเอกชนเปนผูฟองรองคดีตอศาลก็จะไมมีการฝากขัง 30 แตถาหากผู ฟ องเป น เอกชนและไปแจงความใหตำรวจดำเนินคดี ผูตองหาหรือจำเลยจะถูกนำมาฝากขังไดผัดละ 12 วัน รวมแลวไม 26

องค ก รต อ ต า นคอร รั ป ชั ่ น (ประเทศไทย). 2560. Anti-SLAPP Law. สื บ ค น เมื ่ อ 23 กั น ยายน 2561. จากเว็ บ ไ ซต anticorruption: http://www.anticorruption.in.th/2016/th/detail/152/5/Anti-SLAPP%20Law 27 ผูจัดการออนไลน. 2561. การฟองคดีปดปาก เพื่อหยุดการมีสวนรวมในกิจการสาธารณะ: ถึงเวลาที่ประเทศไทยควรออก ก ฎ ห ม า ย Anti- SLAPP Law ห ร ื อ ย ั ง ?. ส ื บ ค  น เ ม ื ่ อ 24 ก ั น ย า ย น 2561. จ า ก เ ว ็ บ ไ ซ ต  mgronline: https://mgronline.com/south/detail/9610000005321 28 https://ilaw.or.th/node/4824 29 สยามธุรกิจ. 2556. “จุฬา” เปดโตะฉะ “กสทช.” มัดมือสื่อ-ปดตาปชช. สืบคนเมื่อ 23 กันยายน 2561. จากเว็ บ ไซต siamturakij: https://www.siamturakij.com/index.php/news/479-จุฬา-เปดโตะฉะ-กสทช-มัดมือสื่อ-ปดตาปชช30 ประชาไท. 2560. ชี้ผล ฟองหมิ่นประมาท ไมใชแคเซ็นเซอรตัวเอง แตเซ็นเซอรการรับรูสาธารณะดวย. สืบคนเมื่ อ 23 กันยายน 2561. จากเว็บไซต prachatai: https://prachatai.com/journal/2016/06/66382


122

เกิน 48 วัน ซึ่งจะเห็นวาแมจะไมตองติดคุก แตมีขั้นตอนในระหวางที่จะไปสูกระบวนการศาล ก็มีความเสี่ยงที่ จะถูกควบคุมตัวได เทากับวาเราตองสูญเสียอิสรภาพไปในชวงขณะนั้น แมวาตอมาจะไดประกันตัวก็ตาม ความเสี่ยงตอการถูกควบคุมตัวไมใชปญหาเดียวที่เกิดขึ้น ยังมีปญหาอื่นๆที่ตามมาอีกมากมาย เช น การตอสูคดีหมิ่นประมาท ที่ตองมีการพิสูจนตัวเองคอนขางมาก เพราะศาลตองการพิสูจนเจตนา แลวดูวาเปน ประเด็นสาธารณะหรือไม ไมไดดูหรือโตเถียงกันวาถูกหรือผิด ซึ่งเมื่อถูกฟองแลวจะตองลงทุนมหาศาลในการ พิสูจนวาตนเองไมไดมีผลประโยชน หรือไมไดขัดแยงกับผูฟอง และประวัติชีวิตไมไดมีปญหา ซึ่งเปนคำถามว า หลั ง จากมีการแสดงเสรี ภาพในการแสดงความคิดเห็นแล วต องพิ สูจน ทั้ งชีว ิตเลยหรื อ ทั ้ งที ่สิ่ งที ่พ ูดนั้ นเปน ประเด็นสาธารณะ ซึ่งทำใหตองตัดสินใจในครั้งตอไปวาจะพูดหรือไมพูดในประเด็นสาธารณะตางๆ เพราะเมื่อ พูดแลว จะตองเตรียมรับผลที่ตามมา ซึ่งก็เปนอยางแนนอนวา ตนเองตองระวังการพูดมากขึ้น ระวั ง การใช คำพูดมากกวาแตกอน รวมถึงการสิ้นสุดของความผิดบนโลกออนไลน เมื่อมีใครโพสตขอความหรื อ อะไรสั ก อย า งบนสื่ อออนไลน หากมี ความผิดเกิ ดขึ้ น การสิ ้ นสุ ดของความผิ ดนั ้นอยู ตรงไหน หากเปนความเข าใจ โดยทั่วไป คือ ทำความผิดตรงไหน การกระทำก็จบลงตรงนั้น แตในโลกออนไลนที่มีการเคลื่อนไหวทุ กวิ นาที สงผานขอมูลกันตลอด 24 ชั่วโมง ผูคนสามารถเขาถึงขอมูลตางๆไดภายในไมกี่วินาที อยางเชน การกระทำของ คสช. ที ่ เรี ย กพลเรื อนขึ ้ นศาลทหาร เนื ่ องจากโพสต ขอความในเฟสบุ  ค ซึ ่ ง ข อความนั ้ นมี การโพสต กอนที่ รัฐประหาร ก็ยังถูกเรียกใหรับผิด เพราะอยูบนโลกออนไลน และยังมีคนสามารถเขาถึงขอความนั้นได สวนกฎหมายของประเทศไทย การฟองตบปากมักจะฟองหมิ่นประมาททางอาญาและพวงความผิ ด ตามมาตรา 14 ของ พ.ร.บ. วาดวยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร พ.ศ. 2550 ซึ่งพระราชบั ญ ญั ติ ดังกลาวไดสรางภาระและความผิดทวีคูณตอผูถูกฟองเปนอยางมาก อีกทั้งยังเปนเรื่องที่ไมสามารถยอมความได ดวย บางกรณีที่สื่อมวลชนถูกฟองคดีหมิ่นประมาท จะใชมาตรา 16 ของ พ.ร.บ. วาดวยการกระทำความผิ ด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร พ.ศ. 2550 ดวย ซึ่งในมาตราดังกลาวมีถอยคำคลายคลึงกับมาตรา 326 ของประมวล กฎหมายอาญา ซึ่งทำใหโทษที่ไดรับหลักกวาเดิม หากพิจารณาถึงความผิดฐานหมิ่นประมาทแลว กฎหมายมี ชัดเจนอยูแลวทั้งในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326 และ 328 รวมถึงขอยกเวน ซึ่งเปนคดียอมความได แต พระราชบัญญัติวาดวยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร 2550 มาตรา 14 เปนคดีที่ยอมความไมได ซึ่ง เกิดจากการดึงกรอบแนวคิดของตางประเทศเรื่องอาชญากรรมไซเบอรมาใช ทำใหสุดทายกลายเปนบทบัญญัติ ที่คลุมเครือ31 ยั ง มี ป ระเด็ นการพู ดถึ ง กรณี ที ่ รั ฐฟ องหมิ ่ นประมาทประชาชน เพื ่ อเลี ่ ย งการถู กตรวจสอบ โดย เปรียบเทียบกับในตางประเทศ เมื่อมีการดำเนินคดีเพื่ อยับ ยั้ง การมีสว นรว มในกิจ กรรมสาธารณะ (SLAPP) ตัวอยางเชน กฎหมาย Anti-SLAPP ของมลรัฐแคลิฟอรเนีย อเมริกาไมไดหามโจทกฟองคดีเพื่อยับยั้งการมีสวน รวมในกิจกรรมสาธารณะ แตกฎหมายไดกำหนดมาตรฐานพิเศษเพื่อรักษาไวซึ่งประโยชนสาธารณะ (special motion to strike) คือ การเปดชองใหจำเลยขอยุติการดำเนินคดีอยางรวดเร็วและกำหนดภาระให โจทก ต อง 31

iLaw. 2557. พ.ร.บ.คอมพิวเตอรฯ มาตรา 14(1) ยาแรงผิดขนานสำหรับหมิ่นประมาทออนไลน. สืบคนเมื่อ 24 กันยายน 2561. จากเว็บไซต ilaw: https://freedom.ilaw.or.th/blog/พรบคอมพิวเตอรฯ-มาตรา-141-ยาแรงผิดขนานสำหรั บ การ หมิ่นประมาทออนไลน


123

จายคาใชจายและคาทนายใหกับจำเลย 32 แตเมื่อดูคดีที่เกิดขึ้นในประเทศไทย การบังคับใชกฎหมายคลุมเครือ และจำกัดการใชสิทธิเสรีภาพมาก ตัวอยางเชน กรณีของสำนักขาวภูเก็ตหวาน ซึ่งถูกฟองความผิ ด ฐานหมิ่ น ประมาทและ นำเข า ขอมูลเท็ จ ตามมาตรา 14 ของ พ.ร.บ. คอมพิ ว เตอรฯ ซึ ่ ง ผลกระทบรุ นแรงถึงขั ้ นยึด พาสปอรตของบรรณาธิการสำนักขาวภูเก็ตหวานชาวออสเตรเลีย ทำใหไมสามารถเดินทางไปหาพอที่ปวยอยู ตางประเทศได33 แม ป ระเทศไทยจะไมม ีกฎหมายต อตานการดำเนิ นคดีย ุ ทธศาสตร เพื ่ อขั ดขวางการมี สว นรว มของ ประชาชน หรือกฎหมายตานฟองตบปากโดยตรง แตก็มีความกาวหนาในลดปญหาดังกลาวในระบบกฎหมาย ไทยในชวงตนป พ.ศ.2562 เมื่อไดมีการปรับปรุงแกไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 161/1 และ 165/2 ใหศาลมีบทบาทในการคัดกรองคดีทมี่ ีลักษณะตอตานการมีสวนรวมของประชาชนไดมากขึ้น บทบัญญัติมาตรา 161/1 เพิ่มโอกาสใหผูพิพากษาสั่งยกฟ อง “ในคดีที่ราษฎรเปนโจทก หากความ ปรากฏตอศาลเองหรือมีพยานหลักฐานที่ศาลเรียกมาวาโจทกฟองคดีโดยไมสุจริตหรือโดยบิดเบือนขอเท็จ จริ ง เพื่อกลั่นแกลงหรือเอาเปรียบจำเลยหรือโดยมุงหวังผลอยางอื่นยิ่งกวาประโยชนที่พึงไดโดยชอบ ใหศาลยกฟอง และหามมิใหโจทกยื่นฟองในเรื่ องเดี ยวกันนั้ นอี ก” อยางไรก็ดีบทบัญญัตินี้ไมครอบคลุ ม ถึ ง กรณี ที่ พ นั กงาน อัยการเปนผูสั่งฟองคดี ยิ่งไปกวานั้นศาลยังคงเปนผูใชดุลยพินิจในการพิจารณาเองวาจะสั่งยกฟองหรือไมแตก็ ยังตองอาศัยพยานหลักฐานจากคูความอยู เช นเคยในการตรวจดูขอเท็จ จริงวา เปนการฟองกลั่ น แกล ง โดยไม สุ จ ริ ต หรื อไมเนื ่ องจากขนบธรรมเนี ยมของศาลยุ ติธ รรมไทยอยู ว ัฒนธรรมของระบบกลาวหาแม ประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาจะใหอำนาจศาลในการไตสวนขอเท็จจริง แตผูพิพากษาก็ยังตองรักษาความ เปนกลางควบคุมบทบาทของตนมิใหเปนที่กังขาตอคูความเช นปฏิบัติสืบตอกั นมา จำเลยก็ ยั ง ต องนำเสนอ พยานหลักฐานใหเปนที่ประจักษตอ ศาลจึงจำนำไปสูการใชดลุ ยพินิจของศาลในการยกฟองเชนเดิม ความนากังวลใจอีกประการ คือ วรรคสอง ของมาตรา 161/1 ยังตัดสิทธิการฟองรองตอศาลของบุคคล หากปรากฏวา “โจทกจงใจฝาฝนคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลในคดีอาญาอื่นซึ่งถึ งที่สุดแลว โดยปราศจาก เหตุผลอันสมควรดวย” อันอาจตัดสิทธิของประชาชนผูตองการมี สว นรว มจัดการทรั พยากรธรรมชาติ แ ละ สิ่งแวดลอมที่ฝาฝนหรือขัดคำสั่งคำพิพากษาศาลในคดีอื่นๆที่ เกี่ ยวข องกับคดีที่ตนโดนฟองตบปากอยู หาก ประชาชนตองการฟองกลับบรรษัทหรือรัฐทีไ่ ดฟองตบปากตนกอน เมื่อพิเคราะหถึงบทบัญญัตขิ องมาตรา 165/2 ที่ใหสิทธิแกจำเลยในการนำเสนอพยานหลักฐานตอศาล ในชั้นไตสวนมูลฟองโดย “จำเลยอาจแถลงใหศาลทราบถึงขอเท็จจริง หรือขอกฎหมายอันสำคัญที่ศาลควรสั่งวา คดีไมมีมูล และจะระบุในคำแถลงถึงตัวบุคคล เอกสาร หรือวัตถุที่จะสนับสนุนขอเท็จจริ ง ตามคำแถลงของ จำเลยดวยก็ได ซึ่งในกรณีนี้ ศาลอาจเรียกบุคคล เอกสาร หรือวัตถุดังกลาวมาเปนพยานศาลเพื่อประกอบการ วินิจฉัยสั่งคดีไดตามทีจ่ ำเปนและสมควร โดยโจทกและจำเลยอาจถามพยานศาลได เมื่อไดรับอนุญาตจากศาล” 32

TDRI. 2560. การฟองหมิ่นประมาท: จุดสมดุลระหวางประโยชนสวนตัวและประโยชนสวนรวม. สืบคนเมื่อ 24 กันยายน 2561. จากเว็บไซต TDRI: https://tdri.or.th/2016/06/trf-antislapplaw/ 33 iLaw. 2557. ภูเก็ตหวาน คดีบรรทัดฐานของเสรีภาพสื่อกั บมาตรา 14(1). สืบคนเมื่อ 24 กันยายน 2561. จากเว็ บ ไซต iLaw: https://freedom.ilaw.or.th/computerrelatedcrimechargeonphuketwan


124

ซึ่งเปนความกาวหนาในการเปดโอกาสใหแกจำเลยนำเสนอขอเท็จจริงใหศาลตั้งแตชั้นไตสวนมูลฟองเพื่อใหศาล สั่งวาคดีไมมีมูลและยุติกระบวนการที่สรางภาระปญหาใหจำเลยจากการฟองตบปาก อยางไรก็ตามบทบัญญัติ นี้ใชเฉพาะกับคดีที่ราษฎรเปนโจทก ไมรวมถึงคดีทพี่ นักงานอัยการเปนโจทก จากบทบัญญัติทั้งสองปรากฏใหเห็นบทบาทสำคัญของพนักงานอัยการที่ไมอยูภายใตกฎหมายทั้งสอง มาตรา แตพนักงานอัยการอาจใชดุลยพินิจไดตามมาตรา 21 แหงพระราชบัญญัติองคกรอัยการและพนั กงาน อั ย การ พ.ศ.2553 เสนอให อัย การสู งสุ ดสั ่ งไม ฟ อง “ถ า พนั กงานอัย การเห็นวาการฟองคดี อาญาจะไมเปน ประโยชนแกสาธารณชน หรือจะมีผลกระทบตอความปลอดภัยหรือความมั่นคงของชาติ หรือตอผลประโยชน อันสำคัญของประเทศ ใหเสนอตออัยการสูงสุด และอัยการสูงสุดสั่งไมฟอง” ซึ่งโดยสภาพแลวจะเห็นวาขั้นตอน ยื่นเรื่องตออัยการสูงสุดและระยะเวลาในการพิจารณานั้นยอมสรางภาระใหแกจำเลยเปนอันมากไมตางจากเดิม จึงเปนการงายกวาหากพนักงานอัยการใชดุลยพินิจของตนวิ นิจฉัยในเบื้องตนวาการฟองตบปากนั้ นควรสั่ ง ไม ฟองคดีดังกลาวตั้งแตตน เนื่องจากการแสดงความคิดเห็นหรือขอเท็จจริงโดยสุจริตในประเด็นสาธารณะนั้น ถือ เป นการติชมด วยความเปนธรรมอั นอยู ในวิสั ยที ่ประชาชนยอมกระทำไดตามมาตรา 329 (3) แห ง ประมวล กฎหมายอาญา อันเปนกรณีที่กฎหมายยกเวนความผิดไวแลว ความกาวหนาทั้งปวงที่กลาวมาไมเกี่ยวของกับการฟองตบปากดวยคดีละเมิดในทางแพ ง แต อ ย า งใด หากตกเปนจำเลยในคดีฟองตบปาก ประชาชนหรือนักกิจกรรมตองยื่นคำขอตอศาลใหวินิจฉัยชี้ชาดในประเด็น กฎหมายเบื้องตน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพงมาตรา 25 โดยไมตองพิจารณาสืบพยาน เพื่อให คดีเสร็จสิ้นไปจากศาลโดยไมเนิ่นชาและสรางภาระใหกับจำเลยผูเปนประชาชนที่ตื่นตัวตองการมี สว นร ว มใน ประเด็นสาธารณะ


125

แผนภาพที่ 2 กระบวนการดำเนินการฟองตบปาก(SLAPPs)คดีสงิ่ แวดลอม

START

จัดทำโครงการ หรือนโยบาย

มีผูไดรับผลกระทบ โครงการหรือ นโยบาย

ไมมี

ดำเนินโครงการตอ ตามนโยบาย

มี ยื่นหนังสือคัดคาน

ยุติโครงการหรือ รวมกันแกไขปญหา

ใหความสนใจ

เพิกเฉยหรือไมให ความสนใจ

รัฐบาลหรือหนวยงานที่ เกี่ยวของใหความสนใจ

ถูกฟองรองดำเนินคดี ความผิดตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะหรือ ความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร

เดินชุมนุมประทวงหรือ โพสตขอความบนโซเชียลมีเดีย (Social Media)

ถอนฟอง

ดำเนินการฟองคดีตอไป

สิ้นสุดกระบวนการฟองตบปาก

ดำเนินการตอสูค ดีจนกวาศาลจะพิพากษา


126

แผนภาพที่ 3 ผังสรุปกระบวนการปฏิบัติการตบปากดวยกฎหมาย (SLAPP) พอสังเขป

• เกิดปญหา: ชาวบาน หรือผูมี ไดรับผลกระทบ รวมถึงกลุมนัก เคลื่อนดาน สิ่งแวดลอม

ออกมาเคลื่อนไหว

บรรษัทฟองคดีตอศาล

• ฝายบรรษัทไมพอใจ และเห็นวาเนื้อหาที่ กลาวหรือกระทําโดย กลุมเคลื่อนไหว เปน เหตุใหตนไดรับความ เสียหาย • ฟองทั้งทนาย นัก เคลื่อนไหว และชุมชน ในพื้นที่ที่ไดรับ ผลกระทบ

• บรรษัทแสวงหา พยานหลักฐาน ขมขูใชกําลัง คุกคามกลุมนักเคลื่อนไหว • มักฟองเปนขอหาหมิ่น ประมาท (Defamation) และการขูกรรโชกทรัพย (Rackeetering) และ

เรียกคาเสียหายในจํานวนมาก

ในชั้นพิจารณา

• ศาลมองวาการฟองคดีของ บรรษัท ถือเปนการละเมิด เสรีภาพในการแสดงออก (Freedom of Expression/Free Speech) ของกลุมเคลื่อนไหวและ ชุมชน

• พิพากษา ยกฟอง บรรษัท

พิพากษา


127

5.3.

กฎหมายไทยที่ใชสอดสองกิจกรรมของพลเมืองในโลกไซเบอร

หัวขอนี้จะทำการวิเคราะหบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวของกับโลกออนไลนที่ใหอำนาจรั ฐในการ สอดส องหรือตรวจสอบกิจ กรรมของพลเมืองบนพื ้นที ่ไซเบอรในรูปแบบตางๆ ซึ ่ ง อาจจำกัดเสรีภาพในการ รวมกลุมและแสดงออกของประชาชนในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม โดยจะไดไลเรียงลำดับไป ตามกฎหมายที่มีความสำคัญพื้นฐานในการรับรองสิทธิความเปนสวนตัว การคุมครองขอมูลสวนบุคคล ไปจนถึง กฎหมายที่ใหอำนาจรัฐในการเก็บขอมูลการใชอินเตอรเน็ต ตรวจดักขอมูลในการสื่อสาร สอดสองและควบคุ ม การกระทำของบุคคลทั้งหลาย ไปจนถึงการกำหนดโทษหากมีการฝาฝนกฎหมาย 1) พระราชบัญญัติ คุมครองขอมูลสวนบุคคล พ.ศ. 2562 ในเบื้องตนจำตองกลาวถึง กฎหมายพื้นฐานที่ใหการคุมครองสิทธิ สว นบุคคลในโลกไซเบอร แ ละการ คุมครองขอมูลสวนบุคคลในยุคดิจิทัล นั่นคือ พระราชบัญญัติคุมครองขอมูลสวนบุคคลที่ประกาศใช เมื่ อวั นที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 และจะมีผลบัง คับหลัง จากนั้ นไปหนึ ่ง ปเพื่ อใหองค กรต างๆได เตรียมตั วปรับ มาตรการตางๆใหสอดคลองกับมาตรฐานที่กฎหมายนี้กำหนดไว พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการ เกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรี ภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 26 ประกอบกับมาตรา 32 มาตรา 33 และ มาตรา 37 ของรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย ที่บัญญัตใิ หกระทำไดโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแหง กฎหมาย พระราชบัญญัตินี้ใหใชบงั คับแกการเก็บรวบรวม ใช หรือเปดเผยขอมูลสวนบุคคลโดยผูควบคุมขอมูล สวนบุคคลหรือผูประมวลผลขอมูลสวนบุคคลซึ่งอยูในราชอาณาจักร ไมวาการเก็บรวบรวม ใช หรือเปด เผย นั้นไดกระทำในหรือนอกราชอาณาจักรก็ตาม ดังบัญญัติไวในมาตรา 5 ในกรณีที่ผูควบคุมขอมูลส ว นบุ ค คล หรือผูประมวลผลขอมูลสวนบุคคลอยูนอกราชอาณาจักร พระราชบัญญัตินี้ใหใชบังคับแกการเก็บรวบรวม ใช หรือเปดเผยขอมูลสวนบุคคลของเจาของขอมูลสวนบุคคลซึ่งอยูในราชอาณาจักรโดยการดำเนินกิจกรรมของผู ควบคุมขอมูลสวนบุคคลหรือผูประมวลผลขอมูลสวนบุคคลดังกลาว เมื่อเปนกิจกรรม ......... (2) การเฝาติดตามพฤติกรรมของเจาของขอมูลสวนบุคคลทีเ่ กิดขึ้นในราชอาณาจักร อันหมายความวาจะตองมีหลักประกันสิทธิใหกับเจาของขอมูลสวนบุคคลที่ถูกเฝาติดตามพฤติกรรมไมวาจะเปน การดำเนินการโดยหนวยงานรัฐหรือภาคเอกชน มาตรา 24 ไดหามมิใหผูควบคุมขอมูลสวนบุคคลทำการเก็บรวบรวมขอมูลสวนบุคคลโดยไมไดรบั ความ ยินยอมจากเจาของขอมูลสวนบุคคล เวนแต (1) เพื่อใหบรรลุวัตถุประสงคที่เกี่ยวกับการจัดทำเอกสารประวัติศาสตรหรือจดหมายเหตุ เพื่ อ ประโยชน สาธารณะ หรื อที ่เกี ่ย วกั บการศึ กษาวิ จั ย หรือสถิติ ซึ่ งได จั ดให มี มาตรการปกป องที่


128

เหมาะสม เพื่อคุมครองสิทธิและเสรีภาพของเจาของขอมูลสวนบุคคล ทั้งนี้ตามที่คณะกรรมการ ประกาศกำหนด (2) เพื่อปองกันหรือระงับอันตรายตอชีวิต รางกาย หรือสุขภาพของบุคคล (3) เปนการจำเปนเพื่อการปฏิบัติตามสัญญาซึ่งเจาของขอมูลสวนบุคคลเปนคูสัญญาหรือ เพื่ อใช ในการดำเนินการตามคำขอของเจาของขอมูลสวนบุคคลกอนเขาทำสัญญานั้น (4) เปนการจำเปนเพื่อการปฏิบัติหนาที่ในการดำเนินภารกิจเพื่อประโยชนสาธารณะของผูควบคุม ขอมูลสวนบุคคล หรือปฏิบัติหนาที่ในการใชอำนาจรัฐที่ไดมอบใหแกผูควบคุมขอมูลสวนบุคคล (5) เปนการจำเปนเพื่อประโยชนโดยชอบดวยกฎหมายของผูควบคุมขอมู ลส วนบุคคล หรื อของ บุคคลหรือนิติบุคคลอื่นที่ไมใชผูควบคุมขอมูลสวนบุคคล เวนแตประโยชนดังกลาวมีความสำคั ญ นอยกวาสิทธิขั้นพื้นฐานในขอมูลสวนบุคคลของเจาของขอมูลสวนบุคคล (6) เปนการปฏิบัติตามกฎหมายของผูควบคุมขอมูลสวนบุคคล ดังนั้นมาตรการของหนวยงานภาครัฐที่มกี ฎหมายอื่นรองรับ เชน พระราชบัญญัติขาวกรอง พระราชบัญญัติสภา ความมั่นคงแหงชาติ หรือชุดกฎหมายความมัน่ คง 3 ฉบับ (กฎอัยการศึก พระราชกำหนดการบริหารราชการใน ยามฉุกเฉิน พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายใน) ก็เขาตามลักษณะอนุ (4) หรือ (6) ทำใหหนวยงานรัฐ สามารถสั่งใหผูควบคุมระบบรวบรวมขอมูลมาใหโดยไมตองมีความยินยอมจากเจาของขอมูล นอกจากนี้มาตรา 25 ยังไดหามมิใหผูควบคุมขอมูลสวนบุคคลทำการเก็บรวบรวมขอมูลสวนบุคคลจาก แหลงอื่นที่ไมใชจากเจาของขอมูลสวนบุคคลโดยตรง เวนแต (1) ไดแจงถึงการเก็บรวบรวมขอมูลสวนบุคคลจากแหลงอื่นใหแกเจาของขอมูลสวนบุ ค คลทราบ โดยไมชักชา แตตองไมเกินสามสิบวันนับแตวันที่เก็บรวบรวมและไดรับความยินยอมจากเจาของ ขอมูล สวนบุคคล (2) เปนการเก็บรวบรวมขอมูลสว นบุคคลที่ไดรับยกเวนไมตองขอความยินยอมตามมาตรา 24 หรือมาตรา 26 ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นกับ เจา ของข อมู ลผูถูกรวบรวมข อมู ลมาสรางเปนเหมื องข อมูลก็ ยั ง คงเป นไปในลั กษณะ เดียวกับขอกังวลที่เกิดจากนัยแหงมาตรา 24 และยังเพิ่มความไมมั่นคงใหกับบุคคลผูตกเปนเปาหมายในการ รวบรวมขอมูลออนไหวจากขอยกเวนที่จะกลาวถึงในมาตรา 26 มาตรา 26 มีหลักหามมิใหเก็บรวบรวมขอมู ลส วนบุคคลเกี่ ยวกับ เชื้ อชาติ เผาพันธุ ความคิ ด เห็ น ทางการเมือง ความเชื่อในลัทธิ ศาสนาหรือปรัชญา พฤติกรรมทางเพศ ประวัตอิ าชญากรรม ขอมูลสุขภาพ ความพิการ ขอมูลสหภาพแรงงาน ขอมูลพันธุกรรม ขอมูลชีวภาพ หรือขอมูลอื่นใด ซึ่งกระทบตอเจ า ของ ขอมูลสวนบุคคลในทำนองเดียวกันตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนดโดยไมไดรับความยินยอมโดยชั ด แจ ง จากเจาของขอมูลสวนบุคคล เวนแต


129

…………… (3) เปนขอมูลที่เปดเผยตอสาธารณะดวยความยินยอมโดยชัดแจงของเจาของขอมูลสวนบุคคล (5) เปนการจำเปนในการปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อใหบรรลุวัตถุประสงคเกี่ยวกับ …………… (จ) ประโยชนสาธารณะที่สำคัญ โดยไดจัดใหมีมาตรการที่เหมาะสมเพื่อคุมครองสิทธิ ขั้นพื้นฐานและประโยชนของเจาของขอมูลสวนบุคคล อันเปนการเปดโอกาสใหรวบรวมขอมูลออนไหวของเปาหมายในการสอดสองไดหากเปนไปตามเงื่อนไขที่ มาตรา 26 กำหนดไว ยิ ่ ง ไปกวา นั ้ นยัง มี บทนิ รโทษกรรมความรั บผิ ดในทางแพ ง ใหกั บผู  ควบคุ มขอมู ลส ว นบุค คลหรื อผู ประมวลผลขอมูลสวนบุคคลที่ละเมิด สิทธิ เจาของข อมู ลสว นบุคคลไวในมาตรา 77 หากผูควบคุ ม ข อมู ลส ว น บุคคลหรือผูประมวลผลขอมูลสวนบุคคลนั้นจะพิสูจนไดวา (2) เปนการปฏิบัติตามคำสั่งของเจาหนาทีซ่ ึ่งปฏิบตั ิการตามหนาทีแ่ ละอำนาจตามกฎหมาย แตถาผูควบคุมขอมูลสวนบุคคลหรือผูประมวลผลขอมูลสวนบุคคลดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับขอมูลส ว นบุ ค คล อันเปนการฝาฝนหรือไมปฏิบัติตามบทบัญญัติแหงพระราชบัญญัตินี้ทำใหเกิดความเสียหายตอเจ า ของข อมู ล สวนบุคคล ตองชดใชคาสินไหมทดแทนเพื่อการนั้นแกเจาของขอมูลสวนบุคคล ไมวาการดำเนินการนั้นจะเกิด จากการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเลอหรือไมก็ตาม

มาตรา 80 ไดกำหนดความรับผิดทางอาญาไวหากผูใดลวงรูขอมูลสวนบุคคลของผูอื่นเนื่ องจากการ ปฏิบัติหนาที่ตามพระราชบัญญัตินี้แลวผูนั้นนำไปเปดเผยแกผูอื่น ตองระวางโทษจำคุกไมเกินหกเดือน หรื อ ปรับไมเกินหาแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ อยางไรก็ตามมาตรานี้ไดสรางขอยกเวนความรับผิดจากการเปดเผย ในกรณีดังตอไปนี้ (1) การเปดเผยตามหนาที่ (2) การเปดเผยเพื่อประโยชนแกการสอบสวน หรือการพิจารณาคดี (3) การเปดเผยแกหนวยงานของรัฐในประเทศหรือตางประเทศที่มอี ำนาจหนาที่ตามกฎหมาย (4) การเปดเผยที่ไดรับความยินยอมเปนหนังสือเฉพาะครั้งจากเจาของขอมูลสวนบุคคล (5) การเปดเผยขอมูลสวนบุคคลที่เกี่ยวกับการฟองรองคดีตาง ๆ ที่เปดเผยตอสาธารณะ


130

อันเปนการย้ำเตือนใหประชาชนตระหนักวาขอมูลสวนบุคคลของตนอาจเปนเปาหมายในการเก็บรวบรวมเพื่ อ ประโยชนในการบังคับใชกฎหมายทั้งในกระบวนการยุตธิ รรมและการกระทำทางปกครองที่เขาตามลักษณะของ มาตรา 80 ในทายที่สุดมาตรา 4 ไดกำหนดขอบเขตการบังคับตามบทบัญญัติเกี่ยวกับ การคุ ม ครองข อมู ล ส ว น บุคคลที่เปนหลักประกันสิทธิสวนบุคคลในยุคดิจิทัลของพระราชบัญญัติคุมครองข อมูลสวนบุคคลนี้ จะไม ใ ช บังคับแก ... …………. (๒) การดำเนินการของหนวยงานของรัฐที่มหี นาที่ในการรักษาความมั่นคงของรัฐ ซึ่งรวมถึง ความ มั่นคงทางการคลังของรัฐ หรือการรักษาความปลอดภัยของประชาชน รวมทั้งหน า ที่ เกี่ ย วกั บ การปองกันและปราบปรามการฟอกเงิน นิติวิทยาศาสตร หรือการรักษาความมัน่ คงปลอดภัยไซ เบอร ดังนั้นการศึกษาเพียงรัฐธรรมนูญที่ใหหลักประกันสิทธิในความเปนสวนตัวและการคุมครองขอมูลสวนบุคคลจึง ไมเปนการเพียงพอที่จะเขาใจอำนาจรัฐในการสอดสองและรวบรวมขอมูลของประชาชนในประเทศไทย แตตอง ศึกษากฎหมายอื่นๆที่ใหอำนาจรัฐเปนการเฉพาะดวย ซึ่งจะไดกลาวถึงในหัวขอถัดไป

2) พระราชบัญญัติ การสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 พนักงานสอบสวนคดีพิเศษซึ่งไดรับอนุมัติจากอธิบดีเปนหนังสือสามารถยื่นคำขอฝายเดียวตออธิ บ ดี ผู พิพากษาศาลอาญาเพื่อมีคำสั่งอนุญาตใหพนักงานสอบสวนคดีพิเศษไดมาซึ่งขอมูลขาวสารดังกลาวก็ไดมาตรา 25 ในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่ อไดวา เอกสารหรือขอมูลขาวสารอื่ นใดซึ่ง สงทางไปรษณี ย โทรเลข โทรศั พ ท โทรสาร คอมพิวเตอร เครื่องมือ หรืออุปกรณในการสื่อสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส หรือสื่อทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ใด ถูกใชหรืออาจถูกใชเพื่อประโยชนในการกระทำความผิดที่เปนคดีพิเศษ โดยในวรรคสองกำหนดเงื่อนไขวาการอนุญาตนั้นใหอธิบดีผูพิพากษาศาลอาญาพิจารณาถึงผลกระทบตอสิ ท ธิ สวนบุคคลหรือสิทธิอื่นใดประกอบกับเหตุผลและความจำเปนดังตอไปนี้ (1) มีเหตุอันควรเชื่อวามีการกระทำความผิดหรือจะมีการกระทำความผิดที่เปนคดีพิเศษ (2) มีเหตุอันควรเชื่อวาจะไดขอมูลขาวสารเกี่ย วกับ การกระทำความผิดที่เป นคดี พิ เศษจากการ เขาถึงขอมูลขาวสารดังกลาว (3) ไมอาจใชวิธีการอื่นใดที่เหมาะสมหรือมีประสิทธิภาพมากกวาได โดยการอนุญาตดังกลาวใหอธิบดีผูพิพากษาศาลอาญาสั่งอนุญาตไดคราวละไมเกินเกาสิบวันโดยกำหนด เงื่อนไขใดๆ ก็ได และใหผูเกี่ยวของกับข อมูลขาวสารในสิ่ งสื่ อสารตามคำสั่งดังกลาวจะต องให ค วามร ว มมื อ


131

เพื่อใหเปนไปตามความในมาตรานี้ ภายหลังที่มีคำสั่งอนุญาต หากปรากฏขอเท็จจริงวาเหตุผลความจำเปนไม เปนไปตามที่ระบุหรือพฤติการณเปลี่ยนแปลงไป อธิบดีผูพิพากษาศาลอาญาอาจเปลี่ยนแปลงคำสั่งอนุญาตได ตามที่เห็นสมควร เมื่อพนักงานสอบสวนคดีพิ เศษไดดำเนิ นการตามที่ไดรับ อนุญาตแลว ก็ใหรายงานการดำเนิ น การให อธิบดีผูพิพากษาศาลอาญาทราบดวย ทั้งนี้บรรดาขอมูลขาวสารที่ไดมาเจาพนักงานตองเก็บรั กษาเฉพาะข อมู ลขาวสารเกี่ ย วกั บ การกระทำ ความผิดที่เปนคดีพิเศษซึ่งไดรับอนุญาต และใหใชประโยชนในการสืบสวนหรือใชเปนพยานหลักฐานเฉพาะใน การดำเนินคดีพิเศษดังกลาวเทานั้ น สวนขอมูลขาวสารอื่ นใหทำลายเสียทั้ง สิ้ น ทั้งนี้ ตามข อบั ง คั บ ที่ กคพ. กำหนด มาตรา 26 ไดวางมาตรการปองกันขอมูลเพิ่มเติม โดยหามมิใหบุคคลใดเปด เผยข อมู ลข า วสารที่ ไ ด ม า เนื่องจากการดำเนินการตาม มาตรา 25 เวนแตเปนขอมูลขาวสารเกี่ยวกับการกระทำความผิดทีเ่ ปนคดีพิเศษซึง่ ไดรับอนุญาตตามมาตรา 25 และเปนการปฏิบัติตามอำนาจหนาที่หรือตามกฎหมายหรือตามคำสั่งศาล ในกรณีจำเปนและเพื่อประโยชนในการดำเนินการตามพระราชบัญญัตนิ ี้ มาตรา 27 ใหอธิบดีหรือผูไดรบั มอบหมายมีอำนาจใหบุคคลใดตามขอบังคับที่อธิบดีกำหนด จัดทำเอกสารหรือหลักฐานใดขึ้นหรือเขาไปแฝงตัว ในองคกรหรือกลุมคนใด เพื่อประโยชนในการสืบสวนสอบสวน มาตรา 27 วรรคสองไดใหความคุม กันแกเจาพนักงานผูจัดทำเอกสารหรือหลักฐานใดหรือการเขาไปแฝง ตัวในองคกร หรือกลุมคนใดเพื่อประโยชนในการสืบสวนสอบสวนตามวรรคหนึ่ง โดยใหถือวาเปนการกระทำ โดยชอบ ไมมีความผิดตามกฎหมาย 3) พระราชบัญญัติ วาดวยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร พ.ศ. 2550 การทำกิจกรรมของพลเมืองในอินเตอรเน็ตบางประเภทอาจเขาลักษณะความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร ก็จะถูกสอดสองควบคุมโดยรัฐ ดังมาตรา18 ที่กำหนดวาเจาหนาที่รัฐมีอำนาจเขาถึงขอมูลอะไรบาง เมื่ อเกิ ด กรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อไดวามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ใหพนักงานเจาหนาที่มีอำนาจอย า ง หนึ่งอยางใดดังตอไปนี้ (1) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวของกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้มา เพื่อใหถอยคำ สงคำชี้แจงเปนหนังสือ หรือสงเอกสาร ขอมูล หรือหลักฐานอื่นใดที่อยูในรูปแบบที่ สามารถเขาใจได (2) เรี ย กข อมูลจราจรทางคอมพิ ว เตอร จากผู  ใหบริ การเกี่ ย วกั บการติดต อสื ่ อสารผ านระบบ คอมพิวเตอร หรือจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวของ (3) สั่งใหผูใหบริการสงมอบขอมูลเกี่ยวกับผูใชบริการที่ตองเก็บตามมาตรา 26 หรือที่อยูในความ ครอบครองหรือควบคุมของผูใหบริการ ใหแกพนักงานเจาหนาที่


132

(4) ทำสำเนาขอมูลคอมพิวเตอร ขอมูลจราจรทางคอมพิวเตอร จากระบบคอมพิวเตอรที่มีเหตุอัน ควรเชื่อไดวามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่ระบบคอมพิวเตอรนั้นยังมิ ไ ด อยูในความครอบครองของพนักงานเจาหนาที่ (5) สั ่ ง ให บ ุ ค คลซึ ่ ง ครอบครองหรื อควบคุ ม ข อมู ลคอมพิ ว เตอร หรื ออุ ป กรณ ท ี ่ ใ ช เ ก็ บ ขอมูลคอมพิวเตอร สงมอบขอมูลคอมพิวเตอรหรืออุปกรณดงั กลาวใหแกพนักงานเจาหนาที่ (6) ตรวจสอบหรือเขาถึงระบบคอมพิวเตอร ขอมูลคอมพิวเตอร ขอมูลจราจรทางคอมพิ ว เตอร หรืออุปกรณที่ใชเก็บขอมูลคอมพิวเตอรของบุคคลใด อันเปนหลักฐานหรืออาจใช เป นหลั ก ฐาน เกี ่ ย วกั บการกระทำความผิ ด หรื อเพื ่อสืบสวนหาตั วผู กระทำความผิ ด และสั ่งให บุคคลนั้ นสง ขอมูลคอมพิวเตอร ขอมูลจราจรทางคอมพิวเตอร ที่เกี่ยวของ เทาที่จำเปนใหดว ยก็ได (7) ถอดรหัสลับของขอมูลคอมพิวเตอรของบุคคลใด หรือสั่งใหบุคคลที่เกี่ยวของกับการเข า รหั ส ลับของขอมูลคอมพิวเตอร ทำการถอดรหัสลับ หรือใหความรวมมือกับพนักงานเจาหนาที่ในการ ถอดรหัสลับดังกลาว (8) ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอรเทาที่จำเปนเฉพาะเพื่ อประโยชนใ นการทราบรายละเอี ย ด แหงความผิดและผูกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ พนักงานเจาหนาที่สามารถใชอำนาจขอกระทำการตามมาตรา 18 (1), (2) และ (3) ไดเอง แตมาตรา 19 ไดกำหนดกระบวนการตรวจสอบถวงดุลโดยศาลวา การขอดูขอมูลตามมาตรา 18 (4), (5), (6), (7), (8) นั้น พนักงานเจาหนาที่ตองยื่นคำรองตอศาลที่มีเขตอำนาจเพื่ อออกคำสั่ง อนุญาตใหพนักงานเจา หน า ที่ ใ ช อำนาจ เพื่อประโยชนในการสืบสวนและสอบสวน เฉพาะที่จำเปน เพื่อประโยชนในการใชเปนหลั กฐานเกี่ ย วกั บ การ กระทำความผิด และหาตัวผูกระทำความผิดเทานั้น และภายในเวลา 48 ชั่วโมงตองสงบันทึกการดำเนิ นการ และเหตุผลแหงการดำเนินการใหแกศาล การยึดหรืออายัดตามมาตรา 18 (8) จะตองสงมอบหนังสือสำเนา การยึดและอายัดใหแกเจาของระบบคอมพิวเตอรและกระทำไดไมเกิน 30 วันโดยอาจขอศาลใหอายัดเพิ่มเติ ม ไดอีกรวมแลวไมเกิน 60 วัน เมื่อหมดเหตุจำเปนแหงการยึดอายัดแลวพนักงานเจาหนาที่ตองคื นระบบให แ ก เจาของหรือถอนการอายัดโดยพลัน การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ไดใหอำนาจแกเจาพนักงานในการรวบรวมพยานหลั กฐาน จากขอมูลสวนบุคคลของผูใชอินเตอรเน็ต โดยเฉพาะการรวบรวมพยานหลักฐานในการดำเนินคดีทงั้ หลายซึ่งมี มาตรา 26 ที่บังคับผูใหบริการตองเก็บขอมูลจราจรทางคอมพิวเตอรไว 90 วัน โดยในมาตรา 29 มอบหมาย การปฏิบัติหนาที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ใหพนักงานเจาหนาที่เปนพนักงานฝายปกครองหรือตำรวจชั้ นผู ใ หญ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีอำนาจรับคำรองทุกขหรือรับคำกลาวโทษ และมีอำนาจในการ สืบสวนสอบสวนเฉพาะความผิดตามพระราชบัญญัตินี้


133

4) พระราชบัญญัติ การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร พ.ศ. 2562 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ประเทศไทยไดประกาศใชกฎหมายฉบับสำคัญเกี่ยวกั บ การ รักษาความมั่งคงไซเบอรขึ้นเปนการเฉพาะ โดยในมาตรา 3 ของพระราชบัญญัตินี้ไดใหนิยามของ “การรักษา ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร” วาคือ มาตรการหรือการดำเนินการที่กำหนดขึ้น เพื่อปองกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคาม ทางไซเบอรทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ อันกระทบตอความมั่นคงของรัฐ ความมั่นคงทาง เศรษฐกิจ ความมั่นคงทางทหาร และความสงบเรียบรอย ภายในประเทศ “ภัยคุกคามทางไซเบอร” หมายความวา การกระทำหรือการดำเนินการใด ๆ โดยมิชอบ โดยใชคอมพิวเตอรหรือระบบคอมพิวเตอร ห รื อ โปรแกรมไม พ ึ ง ประสงค โ ดยมุ  ง หมายให เ กิ ด การประทุ ษ ร า ย ต อ ระบบคอมพิ ว เตอร ขอมูลคอมพิวเตอร หรือขอมูลอื่นที่เกี่ยวของ และเปนภยันตรายที่ใกลจะถึง ที่จะกอใหเกิดความ เสียหายหรือสงผลกระทบตอการท างานของคอมพิวเตอร ระบบคอมพิวเตอร หรือ ขอมูลอื่ นที่ เกี่ยวของ “มาตรการที่ใชแกปญหาเพื่อรักษาความมัน่ คงปลอดภัยไซเบอร” หมายถึง การแกไขปญหาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอรโดยใชบุคลากร กระบวนการ และเทคโนโลยี โดย ผานคอมพิวเตอร ระบบคอมพิวเตอร โปรแกรมคอมพิวเตอร หรือบริการที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร ใด ๆ เพื ่ อสร า งความมั ่ นใจ และเสริ ม สร า งความมั ่ นคงปลอดภั ย ไซเบอร ของคอมพิ ว เตอร ขอมูลคอมพิวเตอร ระบบคอมพิวเตอร หรือขอมูลอื่นที่เกี่ยวของกับระบบคอมพิวเตอร โดยมาตรา 5 ออกแบบโครงสรางองค กรรั กษาความมั่ นคงไซเบอร โดยใหมีคณะกรรมการคณะหนึ่ ง เรี ย กว า “คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอรแหงชาติ” เรียกโดยยอวา “กมช.” และใหใชชื่อเป น ภาษาอังกฤษวา “National Cyber Security Committee” เรียกโดยยอวา “NCSC” ประกอบดวย (1) นายกรัฐมนตรี เปนประธานกรรมการ (2) กรรมการโดยตำแหนง ไดแก รัฐมนตรีวาการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีวาการกระทรวง ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคม ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงยุติธรรม ผู บั ญ ชาการ ตำรวจแหงชาติ และเลขาธิการสภาความมั่นคงแหงชาติ (3) กรรมการผูทรงคุณวุฒิ จำนวนไมเกินเจ็ดคน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแตงตั้งจากผูมีความรู ความ เชี่ยวชาญ และประสบการณเปนที่ประจักษในดานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร ดาน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่ อสาร ด านการคุ  มครองขอมูลสว นบุ คคล ด านวิ ทยาศาสตร ดานวิศวกรรมศาสตร ดานกฎหมาย ดานการเงิน หรือดานอื่นที่เกี่ยวของ และเปนประโยชน ตอการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร


134

โดยในมาตรา 12 ยังกำหนดเพิ่มเติมใหมีคณะกรรมการกำกับดูแลดานความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร เรียกโดย ยอวา “กกม.” ประกอบดวย (1) รัฐมนตรีวาการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เปนประธานกรรมการ (2) กรรมการโดยตำแหน ง ได แ ก ปลั ด กระทรวงการต างประเทศ ปลั ด กระทรวงคมนาคม ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ปลัดกระทรวงพลังงาน ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ผูบัญชาการตำรวจแหงชาติ ผูบัญชาการทหารสูงสุด เลขาธิการสภา ความมั่นคง แหงชาติ ผูอำนวยการสำนักขาวกรองแหงชาติ ผูวาการธนาคารแหงประเทศไทย เลขาธิ การสำนักงาน คณะกรรมการกำกั บหลักทรั พย แ ละตลาดหลั กทรั พ ย และเลขาธิการ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน และกิจการโทรคมนาคมแหงชาติ (3) กรรมการผูทรงคุณวุฒิ จำนวนไมเกินสี่คน ซึ่งคณะกรรมการแตงตั้งจากผูมีความรู ความ เชี่ยวชาญ และประสบการณเปนที่ประจักษและเปนประโยชนตอการรักษาความมัน่ คงปลอดภัย ไซเบอร คณะกรรมการกำกับดูแลดานความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร (กกม.) มีอำนาจหนาที่ตามมาตรา 13 ดังตอไปนี้ … (2) ดูแลและดำเนินการเพื่อรับมื อกับภั ยคุกคามทางไซเบอรใ นระดับรายแรง ตามมาตรา 61 มาตรา 62 มาตรา 63 มาตรา 64 มาตรา 65 และมาตรา 66 ในการดำเนินการตามมาตรา 13 วรรคหนึ่ง (2) เพื่อรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอรไดทันทวงที มาตรา 14 บัญญัติวา กกม. อาจมอบอำนาจใหรัฐมนตรีวาการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ผูบัญชาการทหาร สูงสุด และกรรมการอื่นซึ่ง กกม. กำหนดรวมกันปฏิบัติการในเรื่องดังกลาวได และจะกำหนดใหห น ว ยงาน ควบคุมหรือกำกับดูแลและหนวยงานโครงสรางพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศที่ถูกคุกคามเขารว มดำเนิ นการ ประสานงาน และใหการสนับสนุนดวยก็ได สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอรแหงชาติ ถือเปนหนวยงานของรัฐ มี ฐานะเป นนิ ติ บุ คคล และไม เปนส วนราชการตามกฎหมายว าด ว ยระเบี ย บ บริ ห ารราชการแผ นดิน หรื อ รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายวาดวยวิธีการงบประมาณหรือกฎหมายอื่น ตามที่กำหนดไวในมาตรา 20 สำนักงานมีความรับผิดชอบตามทีม่ าตรา 22 ให ………………. (3) ประสานงานการดำเนินการเพื่อรักษาความมั่นคงปลอดภั ยไซเบอรของหน วยงานโครงสร า ง พื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศตามมาตรา 53 และมาตรา 54 โดยมาตรา 23 ไดใหอำนาจหนาทีแ่ กสำนักงานในการดำเนินการดังตอไปนี้ดวย (1) ถือกรรมสิทธิ์ มีสิทธิครอบครอง และมีทรัพยสิทธิตา ง ๆ


135

(2) ก อตั ้ งสิทธิ หรือทำนิติ กรรมทุ กประเภทผูกพันทรั พยสิน ตลอดจนทำนิติ กรรมอื่ นใดเพื่อ ประโยชนในการดำเนินกิจการของสำนักงาน (3) จัดใหมีและใหทนุ เพื่อสนับสนุนการดำเนินกิจการของสำนักงาน มาตรการความรวมมือระหวางภาครัฐกับเอกชนไดปรากฏอยูในมาตรา 41 ที่มุงหวังใหการรักษาความมั่ นคง ปลอดภัยไซเบอรคำนึงถึงความเปนเอกภาพและการบูรณาการงานของหนวยงานของรัฐและหนวยงานเอกชน และตองสอดคลองกับนโยบายและแผนระดับชาติวาดวยการพัฒนาดิจิทลั เพื่อเศรษฐกิจและสังคมตามกฎหมาย วาดวยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และนโยบายและแผนแมบทที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่ นคง ของสภาความมั่นคงแหงชาติ พระราชบัญญัตินี้ยังใหความสำคัญกับโครงสรางพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศวาเปนกิจการที่มีความสำคัญตอ ความมั่นคงของรัฐ ความมั่นคงทางทหาร ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และความสงบเรียบรอยภายในประเทศ และมาตรา 48 สรางหนาที่ของสำนักงานในการสนับสนุนและใหความชวยเหลือในการปองกัน รับมือ และลด ความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร โดยเฉพาะภัยคุกคามทางไซเบอรที่กระทบหรือเกิดแกโครงสรางพื้นฐาน สำคัญทางสารสนเทศ รายชื่อหนวยงานโครงสรางพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศถูกกำหนดไวในมาตรา 49 ที่ใหคณะกรรมการ มีอำนาจประกาศกำหนดลักษณะหนวยงานที่มภี ารกิจหรือ ใหบริการในดานดังตอไปนี้ (1) ดานความมั่นคงของรัฐ (2) ดานบริการภาครัฐทีส่ ำคัญ (3) ดานการเงินการธนาคาร (4) ดานเทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคม (5) ดานการขนสงและโลจิสติกส (6) ดานพลังงานและสาธารณูปโภค (7) ดานสาธารณสุข (8) ดานอื่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนดเพิ่มเติม กระบวนการที่ใชในการเฝาระวังภัยความมั่นคงไซเบอรตามพระราชบัญญัตินี้อยูในมาตรา 60 โดยให คณะกรรมการฯ กำหนดลักษณะของภัยคุกคามทางไซเบอรการพิจารณาเพื่อใชอำนาจในการปองกันภัยคุกคาม ทางไซเบอร โดยแบงออกเปนสามระดับ ดังตอไปนี้ (1) ภัยคุกคามทางไซเบอรในระดับไมรายแรง หมายถึง ภัยคุกคามทางไซเบอรที่มีความเสี่ ย ง อยางมีนัยสำคัญถึงระดับที่ทำใหระบบคอมพิวเตอรของหน วยงานโครงสรางพื้ นฐานสำคั ญ ของ ประเทศ หรือการใหบริการของรัฐดอยประสิทธิภาพลง


136

(2) ภัยคุกคามทางไซเบอรในระดับรายแรง หมายถึง ภัยคุกคามที่มีลักษณะการเพิ่มขึ้นอยางมี นัยสำคัญของการโจมตีระบบคอมพิวเตอร คอมพิวเตอร หรือขอมูลคอมพิวเตอร โดยมุงหมาย เพื่อโจมตีโครงสรางพื้นฐานสำคัญของประเทศและการโจมตีดงั กลาวมีผลทำใหระบบคอมพิวเตอร หรือ โครงสรางสำคัญทางสารสนเทศทีเ่ กี่ยวของกับการใหบริการของโครงสรางพื้นฐานสำคัญของ ประเทศ ความมั่นคงของรัฐ ความสัมพันธระหวางประเทศ การปองกันประเทศ เศรษฐกิ จ การสาธารณสุข ความปลอดภัยสาธารณะ หรือความสงบเรียบรอยของประชาชนเสียหาย จนไม สามารถทำงานหรือใหบริการได (3) ภัยคุกคามทางไซเบอรในระดับวิกฤติ หมายถึง ภัยคุกคามทางไซเบอรในระดับวิกฤติ ที่ มี ลักษณะ ดังตอไปนี้ (ก) เปนภัยคุกคามทางไซเบอรที่เกิดจากการโจมตีระบบคอมพิว เตอร คอมพิ ว เตอร ขอมูลคอมพิวเตอรในระดับที่สูงขึ้นกวาภัยคุกคามทางไซเบอรในระดับรายแรง โดยสงผลกระทบ รุนแรงตอโครงสรางพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศของประเทศในลักษณะที่เปนวงกวาง จนทำให การทำงานของ หนวยงานรัฐหรือการใหบริการของโครงสรางพื้นฐานสำคัญของประเทศที่ ใ ห กับ ประชาชนลมเหลวทั้งระบบ จนรัฐไมสามารถควบคุมการทำงานสวนกลางของระบบคอมพิวเตอร ของรัฐได หรือการใชมาตรการเยียวยา ตามปกติในการแกไขปญหาภัยคุกคามไมสามารถแก ไ ข ปญหาไดและมีความเสี่ยงที่จะลุกลามไปยัง โครงสรางพื้นฐานสำคัญอื่น ๆ ของประเทศ ซึ่งอาจมี ผลทำใหบุคคลจำนวนมากเสียชีวิตหรือระบบ คอมพิวเตอร คอมพิวเตอร ขอมูลคอมพิ ว เตอร จำนวนมากถูกทำลายเปนวงกวางในระดับประเทศ (ข) เปนภัยคุกคามทางไซเบอรอันกระทบหรืออาจกระทบตอความสงบเรี ย บร อยของ ประชาชนหรื อเป นภัย ต อความมั ่ นคงของรัฐหรื ออาจทำให ประเทศหรื อส ว นใดสว นหนึ่ งของ ประเทศตกอยู  ในภาวะคั บขั นหรือมี การกระทำความผิดเกี่ ยวกับการกอการร ายตามประมวล กฎหมายอาญา การรบหรือ การสงคราม ซึ่งจำเปนตองมีมาตรการเรงดวนเพื่อรักษาไว ซึ่ง การ ปกครองระบอบประชาธิ ปไตยอั นมี พระมหากษั ตริ ย  ท รงเป นประมุ ขตามรั ฐธรรมนู ญ แหง ราชอาณาจักรไทย เอกราชและบูรณภาพแหงอาณาเขต ผลประโยชนของชาติ การปฏิบัติตาม กฎหมาย ความปลอดภัยของประชาชน การดำรงชีวิตโดยปกติสุขของประชาชน การคุมครอง สิทธิเสรีภาพ ความสงบเรียบรอยหรือประโยชนสวนรวม หรือการปองปด หรือแก ไ ขเยี ย วยา ความเสียหายจากภัยพิบัตสิ าธารณะอันมีมาอยางฉุกเฉินและรายแรง คณะกรรมการฯ มีอำนาจเปนผูประกาศกำหนด รายละเอียดของลักษณะภัยคุกคามทางไซเบอร มาตรการ ปองกัน รับมือ ประเมิน ปราบปราม และระงับภัยคุกคามทางไซเบอรแตละระดับ ตามมาตรา 61 เมื่อปรากฏแก กกม. วาเกิดหรือคาดวาจะเกิดภัยคุกคามทางไซเบอรในระดับรายแรง ให กกม. ออกคำสั่งใหสำนักงานดำเนินการ ดังตอไปนี้ (1) รวบรวมข อมู ล หรือพยานเอกสาร พยานบุคคล พยานวัตถุ ที่ เกี่ ย วข องเพื ่ อวิ เคราะห สถานการณ และประเมินผลกระทบจากภัยคุกคามทางไซเบอร


137

(2) สนับสนุน ใหความชวยเหลือ และเขารวมในการปองกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจาก ภัย คุกคามทางไซเบอรทเี่ กิดขึ้น (3) ดำเนินการปองกันเหตุการณที่ เกี่ ยวกับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอรที่ เกิ ด จากภั ย คุ กคาม ทางไซเบอร เสนอแนะหรือสั่งการใหใชระบบที่ใชแกปญหาเพื่อรักษาความมัน่ คงปลอดภัยไซเบอร รวมถึงการหาแนวทางตอบโตหรือการแกไขปญหาเกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร (4) สนับสนุนใหสำนักงาน และหนวยงานที่เกี่ยวของทั้งภาครัฐและเอกชน ใหความชวยเหลื อ และเขารวมในการปองกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอรที่เกิดขึ้น (5) แจงเตือนภัยคุกคามทางไซเบอรใหทราบโดยทั่วกัน ทั้งนี้ ตามความจำเปนและเหมาะสม โดยคำนึงถึงสถานการณ ความรายแรงและผลกระทบจากภัยคุกคามทางไซเบอรนั้น (6) ให ค วามสะดวกในการประสานงานระหวางหนว ยงานของรั ฐที่ เกี ่ย วข องและหนว ยงาน เอกชน เพื่อจัดการความเสี่ยงและเหตุการณทเี่ กี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร ยิ่งไปกวานั้นมาตรา 62 ยังสนับสนุนการดำเนินการตามมาตรา 61 ในลักษณะการสรางความสัมพันธระหวา ง หนวยงาน รัฐ-เอกชน เพื่อประโยชนในการวิเคราะหสถานการณ และประเมินผลกระทบจากภัยคุกคามทางไซ เบอร โดยใหเลขาธิการฯสั่งใหพนักงานเจาหนาทีด่ ำเนินการ ดังตอไปนี้ (1) มีหนังสือขอความรวมมือจากบุคคลที่เกี่ยวของเพื่ อมาใหขอมูลภายในระยะเวลาที่ เหมาะสม และตามสถานที่ที่กำหนด หรือใหขอมูลเปนหนังสือเกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร (2) มีหนังสือขอขอมูล เอกสาร หรือสำเนาขอมูลหรือเอกสารซึ่งอยูในความครอบครองของ ผูอื่น อันเปนประโยชนแกการดำเนินการ (3) สอบถามบุคคลผูมีความรูความเขาใจเกี่ยวกับขอเท็จจริงและสถานการณที่มคี วามเกี่ยวพัน กับ ภัยคุกคามทางไซเบอร (4) เขาไปในอสังหาริมทรัพยหรือสถานประกอบการที่เกี่ยวของหรือคาดวามีสวนเกี่ยวของกั บ ภั ย คุกคามทางไซเบอรของบุคคลหรือหนวยงานที่เกี่ยวของ โดยไดรับความยินยอมจากผูครอบครอง สถานที่นั้น ผูใหขอมูลตามวรรคหนึ่งซึ่งกระทำโดยสุจริตยอมไดรับการคุมครองและไมถือวาเป น การละเมิดหรือผิดสัญญา เชนเดียวกับมาตรา 63 ในกรณีที่มีความจำเปนเพื่อการปองกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซ เบอร ให กกม. มี ค ำสั่ งให หนว ยงานของรัฐใหข อมูล สนั บ สนุ นบุ คลากรในสั งกั ด หรื อใช เครื ่องมื อ ทาง อิเล็กทรอนิกสที่อยูในความครอบครองที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร โดยกำหนดให กกม. ต องดูแ ลมิให มีการใชขอมู ลที่ ไดมาตามวรรคหนึ่ งในลั กษณะที ่อาจก อให เกิดความเสี ยหาย และให กกม. รับผิดชอบในคาตอบแทนบุคลากร คาใชจายหรือความเสียหายทีเ่ กิดขึ้นจากการใชเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส ดังกลาวมาใชบังคับในการรองขอตอเอกชนโดยความยินยอมของเอกชนนั้นดวย


138

ในกรณีที่เกิดหรือคาดวาจะเกิดภัยคุกคามทางไซเบอรซึ่ง อยูในระดับรายแรง มาตรา 64 ให กกม. ดำเนินการปองกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอรและดำเนินมาตรการที่จำเปน โดยให กกม. มีหนังสือถึงหนวยงานของรั ฐที่เกี่ย วข องกับการรักษาความมั่ นคงปลอดภั ยไซเบอรให กระทำการหรื อ ระงับการดำเนินการใด ๆ เพื่อปองกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอรไดอยางเหมาะสม และมีประสิทธิภาพตามแนวทางที่ กกม. กำหนด รวมทั้งรวมกันบูรณาการในการดำเนินการเพื่อควบคุม ระงับ หรือบรรเทาผลที่เกิดจากภัยคุกคามทางไซเบอรนั้นไดอยางทันทวงที ทั้งนี้ใหเลขาธิการรายงานการดำเนินการ ตามมาตรานี้ตอ กกม. อยางตอเนื่อง และเมื่อภัยคุกคามทางไซเบอรดัง กลา วสิ้ นสุด ลง ใหรายงานผลการ ดำเนินการตอ กกม. โดยเร็ว การรับมือและบรรเทาความเสียหายจากภัยคุกคามทางไซเบอรในระดับรายแรง กกม. มีอำนาจตาม มาตรา 65 ในการออกคำสั ่ งเฉพาะเท าที ่จ ำเปนเพื่ อป องกันภั ยคุ กคามทางไซเบอร ใหบุ คคลผู  เปนเจาของ กรรมสิทธิ์ ผูครอบครอง ผูใชคอมพิวเตอรหรือระบบคอมพิวเตอร หรือผูดูแลระบบคอมพิวเตอร ซึ่งมีเหตุอัน เชื่อไดวาเปนผูเกี่ยวของกับภัยคุกคามทางไซเบอร หรือไดรับผลกระทบจากภัยคุกคามทางไซเบอรดำเนินการ ดังตอไปนี้ (1) เฝาระวังคอมพิวเตอรหรือระบบคอมพิวเตอรในชวงระยะเวลาใดระยะเวลาหนึ่ง (2) ตรวจสอบคอมพิวเตอรหรือระบบคอมพิวเตอรเพื่อหาขอบกพรองที่กระทบตอการรักษา ความ มั่นคงปลอดภัยไซเบอร วิเคราะหสถานการณ และประเมินผลกระทบจากภัยคุกคามทางไซเบอร (3) ดำเนินมาตรการแกไขภัยคุกคามทางไซเบอรเพื่อจัดการขอบกพรองหรือกำจัดชุดคำสั่ง ไม พึ ง ประสงค หรือระงับบรรเทาภัยคุกคามทางไซเบอรทดี่ ำเนินการอยู (4) รักษาสถานะของขอมูลคอมพิวเตอรหรือระบบคอมพิวเตอรดวยวิธีการใด ๆ เพื่อดำเนิ นการ ทางนิติวิทยาศาสตรทางคอมพิวเตอร (5) เข า ถึ ง ข อมู ลคอมพิ วเตอรห รื อระบบคอมพิ ว เตอร หรื อข อมู ลอื ่ นที ่ เกี ่ ย วของกั บระบบ คอมพิวเตอรที่เกี่ยวของเฉพาะเทาที่จำเปน เพื่อปองกันภัยคุกคามทางไซเบอร ในกรณีมีเหตุจำเปนที่ตองเขาถึงขอมูลตาม (5) ให กกม. มอบหมายใหเลขาธิการยื่นคำรองตอศาลที่มี เขต อำนาจเพื่อมีคำสั่งใหเจาของกรรมสิทธิ์ ผูครอบครอง ผูใชคอมพิวเตอรหรือระบบคอมพิวเตอร หรือผู ดู แ ล ระบบคอมพิวเตอรตามวรรคหนึ่งดำเนินการตามคำรอง ทั้งนี้คำรองที่ยื่นตอศาลตองระบุเหตุอันควรเชื่อไดวา บุคคลใดบุคคลหนึ่งกำลังกระทำหรือจะกระทำการอยางใดอยางหนึ่งที่ กอใหเกิด ภัยคุ กคามทางไซเบอร ใ น ระดับรายแรง ในการพิจารณาคำรองใหยื่นเปนคำรองไตสวนคำรองฉุกเฉินและใหศาลพิจารณาไตสวนโดยเร็ว การปองกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอรในระดับรายแรง กกม. มีอำนาจตาม มาตรา 66 ที่จะปฏิบัติการหรือสั่งใหพนักงานเจาหนาที่ปฏิบัตกิ ารเฉพาะเทาทีจ่ ำเปนเพื่อปองกันภัยคุกคามทาง ไซเบอรในเรื่องดังตอไปนี้ (1) เข า ตรวจสอบสถานที่ โดยมี หนั งสื อแจ งถึ งเหตุอั นสมควรไปยัง เจ าของหรือผู ครอบครอง สถานที ่ เพื ่ อเข าตรวจสอบสถานที่ นั ้น หากมี เหตุ อั นควรเชื ่อได ว ามีค อมพิว เตอร หรื อระบบ


139

คอมพิวเตอร ที่เกี่ยวของกับภัยคุ กคามทางไซเบอร หรือไดรับผลกระทบจากภัยคุกคามทางไซ เบอร (2) เขาถึงขอมูลคอมพิวเตอร ระบบคอมพิวเตอร หรือขอมูลอื่นที่เกี่ยวของกับระบบคอมพิวเตอร ทำสำเนา หรือสกัดคัดกรองขอมูลสารสนเทศหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร ซึ่งมีเหตุอันควรเชื่อได วาเกี่ยวของ หรือไดรับผลกระทบจากภัยคุกคามทางไซเบอร (3) ทดสอบการทำงานของคอมพิวเตอรหรือระบบคอมพิวเตอรที่มีเหตุอันควรเชื่อไดวาเกี่ ย วข อง หรือไดรับผลกระทบจากภัยคุกคามทางไซเบอร หรือถูกใชเพื่อคนหาขอมูลใด ๆ ที่อยูภายในหรือ ใชประโยชนจากคอมพิวเตอรหรือระบบคอมพิวเตอรนั้น (4) ยึดหรืออายัดคอมพิวเตอร ระบบคอมพิวเตอร หรืออุปกรณใด ๆ เฉพาะเทาที่จำเปน ซึ่ ง มี เหตุอันควรเชื่อไดวาเกี่ยวของกับภัยคุกคามทางไซเบอร เพื่อการตรวจสอบหรือวิเคราะห ทั้งนี้ ไม เกินสามสิบวันเมื่อครบกำหนดเวลาดังกลาวใหสงคืนคอมพิ วเตอรหรืออุปกรณใด ๆ แก เจ า ของ กรรมสิทธิ์ หรือผูครอบครองโดยทันทีหลังจากเสร็จสิ้นการตรวจสอบหรือวิเคราะห โดยในการดำเนินการตาม (2) (3) และ (4) ให กกม. ยื ่ นคำรองต อศาลที่ มีเขตอำนาจเพื ่อมี คำสั ่งให พนักงานเจาหนาที่ดำเนินการตามคำรอง ทั้งนี้ คำรองตองระบุเหตุอันควรเชื่อไดวาบุคคลใดบุคคลหนึ่ง กำลั ง กระทำหรือจะกระทำการอยางใดอยางหนึ่งที่กอใหเกิดภัยคุกคามทางไซเบอรในระดับรายแรง ในการพิจารณา คำรองใหยื่นเปนคำรองไตสวนคำรองฉุกเฉินและใหศาลพิจารณาไตสวนโดยเร็ว ในกรณีที่เกิดภัยคุกคามทางไซเบอรในระดับวิกฤติ มาตรา 67 กำหนดใหเปนหนาที่และอำนาจของ สภาความมั่นคงแหงชาติในการดำเนินการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอรตามกฎหมายวาดว ยสภาความ มั่นคงแหงชาติและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวของ ในกรณีที่เปนเหตุจำเปนเรงดวน และเปนภัยคุกคามทางไซเบอรในระดับวิกฤติ มาตรา 68 บัญญัติวา คณะกรรมการอาจมอบหมายใหเลขาธิการมี อำนาจดำเนินการไดทันที เทาที่จำเป นเพื่ อปองกั นและเยี ย วยา ความเสี ย หายก อนล ว งหนา ไดโดยไม ต องยื ่ นคำร องตอศาล แต ห ลั ง จากการดำเนิ นการดั ง กล าวให แจง รายละเอียดการดำเนินการดังกลาวตอศาลทีม่ ีเขตอำนาจทราบโดยเร็ว ทั้งนี้มาตรา 69 ไดเปดโอกาสใหผูที่ไดรับคำสั่งอันเกี่ยวกับการรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอรอุทธรณ คำสั่งไดเฉพาะที่เปนภัยคุกคามทางไซเบอรในระดับไมรายแรงเทานั้น พระราชบัญญัติฉบับนี้สรางมาตรการบีบบังคับใหหนวยงานตาง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนตองทำตาม คำสั ่ งของเจ าพนักงานรักษาการตามกฎหมายนี ้ โดยสรางบทกำหนดโทษไว ในมาตรา 70 – 77 ตั ้ ง แต เจา พนักงาน ผูลวงรู นิติบุคคล ผูขัดขวาง ผูไมใหความรวมมือ โดยมาตรา 77 สรางความรับผิดกรณีที่นิตบิ ุคคลเปน ผูกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ถาการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่ง การหรื อการ กระทำของกรรมการหรือผูจัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณี ที่บุคคลดังกลาวมีหนาที่ตองสั่งการหรือกระทำการและละเว นไม ส่งั การหรื อไมกระทำการจนเป น เหตุ ใ ห นิติ บุคคลนั้นกระทำความผิด ผูนั้นตองรับโทษตามทีบ่ ัญญัติไวสำหรับความผิดนั้น ๆ ดวย


140

5) พระราชบัญญัติ สภาความมั่นคงแหงชาติ พ.ศ. 2559 พระราชบัญญัตินี้ไดใหนายกรัฐมนตรีรักษาการตามนัย แหงมาตรา 5 โดยมาตรา 6 กำหนดให สภา ความมั่นคงแหงชาติ ประกอบดวยสมาชิกดังตอไปนี้ (1) นายกรัฐมนตรีเปนประธานสภา (2) รองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย เปนรองประธานสภา (3) รั ฐมนตรี ว  าการกระทรวงกลาโหม รั ฐมนตรีว  าการกระทรวงการคลั ง รั ฐมนตรี ว าการ กระทรวงการต า งประเทศ รั ฐมนตรี ว  า การกระทรวงคมนาคม รั ฐมนตรี ว  า การกระทรวง เทคโนโลยี สารสนเทศ และการสื่ อสาร รั ฐมนตรีว าการกระทรวงมหาดไทย รั ฐมนตรีว าการ กระทรวงยุติธรรม และผูบัญชาการ ทหารสูงสุด ใหเลขาธิการเปนสมาชิกและเลขานุการ และใหเลขาธิการแตงตั้งขาราชการของสำนักงาน เป น ผูชวยเลขานุการ เพื่อประโยชนในการดำเนินการตามอำนาจหนาทีข่ องสภา สภาอาจมีมติใหเชิญ รัฐมนตรีหรือ หัวหนาสวนราชการที่มีอำนาจหนาที่โดยตรงเกี่ยวกับเรื่องที่จะพิจารณา หรือผูซึ่งมี ความรูความเชี่ยวชาญ และประสบการณดานความมั่นคงหรือนักวิชาการดานความมั่นคงในเรื่อง นั้น ใหเขารวมประชุมเปนครั้งคราว ในฐานะสมาชิกเฉพาะกิจดวยก็ได ในกรณีเชนนั้น ให ผูที่ ไดรับเชิญและมาประชุมมีฐานะเปนสมาชิก ตามวรรคหนึ่งสำหรับการประชุมครั้งทีไ่ ดรับเชิญนั้น โดยมาตรา 7 ใหอำนาจหนาที่ของสภาความมั่นคงแหงชาติ ดังตอไปนี้ ........................ (5) ประเมินและวิเคราะหสถานการณภาพรวมในเชิงยุทธศาสตรอันเปนภัยคุกคามตอความมั่นคง แหงชาติ (6) กำกับและติดตามการดำเนินการตามนโยบายและแผนระดับชาติวาดวยความมั่นคงแหงชาติ (7) ปฏิ บ ั ต ิ ห น า ที ่ อื ่ นตามที ่ บ ั ญ ญั ต ิ ไ ว ใ นพระราชบั ญ ญั ต ิ นี ้ แ ละกฎหมายอื ่ น หรื อตามที่ นายกรัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย สำนั กงานสภาความมั ่นคงแหง ชาติที ่ เป นข าราชการประจำจะทำหน าที่ติด ตาม ประเมิน และวิ เคราะห สถานการณที่อาจกอใหเกิดภัยคุกคาม ตอความมั่นคงแหงชาติ และจัดทำฐานขอมูลที่เกี่ยวของ เพื่อประโยชน ในการปองกันหรือแกไขสถานการณ อันเปนภัยคุกคามตอความมั่นคงแหง ชาติ ในกรณีที่มี สถานการณ ซึ่ง มี ความเสี่ยงอันจะนำไปสูภัยคุกคามตอความมั่นคงแหงชาติ สำนักงานสามารถแจงเตือนสถานการณ ดั ง กล า ว พรอมเสนอความเห็น แนวทาง มาตรการ หรือการดำเนินการอื่นที่จำเปนในการปองกันหรือแกไขสถานการณ นั้นตอนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี หรือหนวยงานของรัฐที่เกี่ยวของ แลวแตกรณี เพื่อพิจารณาดำเนินการ ตามอำนาจหนาทีต่ อไป และใหสำนักงานรายงานการดำเนินการดังกลาวตอสภา ตามทีก่ ำหนดไวในมาตรา 18


141

ในกรณีที่มีสถานการณอันเปนภัยคุกคามตอความมั่นคงแหงชาติ มาตรา 19 กำหนดใหสภาความมั่นคง แหงชาติประกาศระดับความรายแรงของภัยคุกคามดังกลาว พรอมทั้งเสนอความเห็น แนวทาง มาตรการ หรือการดำเนินการอื่นที่จำเปนตอนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติหรือสั่งการใหหนวยงาน ของรัฐหรือเจาหนาที่ของรัฐดำเนินการตามอำนาจหนาที่ตามที่บัญญัติไวในกฎหมายเพื่อปองกัน แกไข หรื อ ระงับยับยั้ง ภัยคุกคามดังกลาว หากนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรียังไมพิจารณาดำเนินการ ใหสภาฯ เปน ผูใชอำนาจสั่งใหหนวยงานของรัฐหรือเจาหนาทีข่ องรัฐดำเนินการไดเทาที่จำเปนและเหมาะสม จนกวาจะมีการ เปลี่ยนแปลงหรือมีการดำเนิ นการตามสัง่ การของนายกฯหรือคณะรัฐมนตรี เมื่อการใชอำนาจของสภาแทน นายกฯและคณะรัฐมนตรี สิ ้นสุ ด ลง ให สภาฯรายงานผลการดำเนิ นการให คณะรั ฐมนตรี ทราบโดยเร็ว หลักเกณฑ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกาศใหสถานการณใดเปนสถานการณอันเปนภัยคุกคาม และการ ยกเลิกการประกาศ รวมทั้งการกำหนดระดับความรายแรงของภัยคุกคาม ใหเปนไปตามที่สภาฯกำหนด โดย ความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีเห็นวาการพิจารณาเรื่องใดเปนเรื่องสำคัญที่จะกระทบต อ ความมั ่ นคงแห ง ชาติ มาตรา 20 ให นายกรั ฐมนตรีห รื อคณะรั ฐมนตรีส ง เรื ่องให สภาใหค วามเห็ น เพื่ อ ประกอบการพิจารณา หรือในกรณีที่สภาเห็นวาการดำเนินการในเรื่องใดเปนเรื่องสำคัญเกี่ยวกับ ความมั่นคง แหงชาติ ใหสภาเสนอความเห็นตอนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีไดอีกดวย อำนาจหนาที่ของสำนักงานสภาความมัน่ คงแหงชาติ มีดังมาตรา 21 ใหไวตอไปนี้ (1) รับผิดชอบในงานธุรการของสภา และศึกษาและรวบรวมขอมูลดานความมั่นคงที่เกี่ยวกับงาน ของสภา .................................. (5) ติดตาม ประเมิน วิเคราะห และแจงเตือนสถานการณดานความมั่นคง การเปลี่ ย นแปลง ของสถานการณ สภาวะแวดลอมดานความมั่นคงในเชิงยุทธศาสตร พิสูจนทราบและคาดการณ ภัยคุกคาม และการประเมินกำลังอำนาจของชาติ ......................... (7) ศึกษา วิจัย รวบรวม พัฒนา สงเสริม และเผยแพรขอมูลหรือองคความรูเกี่ยวกับความมั่ นคง แหงชาติ (8) ปฏิ บ ั ต ิ หนา ที ่อื ่ นตามที ่บ ัญ ญัต ิไ ว ในพระราชบั ญ ญั ติ นี ้แ ละกฎหมายอื ่ น หรื อตามที ่ สภา นายกรัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย จะเห็นวาสภาความมั่นคงแหงชาติ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีสามารถพิจารณาใชอำนาจตามกฎหมายนี้ในการ ควบคุมสอดสองกิจกรรมบนโลกไซเบอรและโลกจริงไดหากมีการพิจารณาวากระทบกระเทือนตอความมั่ นคง ของชาติ โดยสภาความมั ่นคงแหงชาติสามารถใชอำนาจไดต อเนื ่องตลอดเวลา เมื ่ อเห็นว ามี เหตุ ไม มั่ นคงก็ สามารถดำเนินการตามบทบั ญญั ติ ที่ ใหอำนาจไว ตามชุ ดขอมู ลที่ ได เก็ บสะสมไว กอนหนาและสามารถเพิ่ม ปฏิบัติการใหเขมขนขึ้นไดตามสถานการณ


142

6) พระราชบัญญัติ ขาวกรองแหงชาติ พ.ศ. 2562 สำนักขาวกรองแหงชาติซึ่งขึ้นตรงตอนายกรัฐมนตรีตามโครงสรางทีบ่ ัญญัติไวในมาตรา 9 มีหนาที่และ อำนาจ ดังมาตรา 5 กำหนดตอไปนี้ (1) ปฏิบัติงานเกี่ยวกับกิจการการขาวกรอง การตอตานขาวกรอง การขาวกรองทางการสื่ อสาร และการรักษาความปลอดภัยฝายพลเรือน (2) ติดตามสถานการณภายในประเทศและตางประเทศทีม่ ีผลกระทบตอความมั่นคงแหงชาติ และ รายงานตอนายกรัฐมนตรีและสภาความมัน่ คงแหงชาติ (3) กระจายขาวกรองที่มีผลกระทบตอความมัน่ คงแหงชาติใหหนวยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ ที่เกี่ยวของใชประโยชนตามความเหมาะสม (4) ศึกษา วิจัย และพัฒนาเกี่ยวกับกิจการการขาวกรอง การตอตานขาวกรอง และการรั กษา ความปลอดภัยฝายพลเรือน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน (5) เป นศู นย กลางประสานกิ จการการข าวกรอง การต อต านข าวกรองและการรั กษาความ ปลอดภัยฝายพลเรือนกับหนวยขาวกรองอื่นภายในประเทศ (6) เปนหนวยงานหลักในการประสานกิจการการขาวกรองและการตอตานขาวกรองกับหนวยขาว กรองของตางประเทศในเรื่องที่เกี่ยวกับความมั่นคงแหงชาติ ………………….. (8) ปฏิบัติหนาที่อื่นตามที่บัญญัติไวในพระราชบัญญัตินี้ หรือตามที่นายกรัฐมนตรีหรือสภาความ มั่นคงแหงชาติมอบหมาย โดยมาตรา 6 ใหอำนาจสำนักขาวกรองแหงชาติสั่งหนวยงานของรัฐหรือบุคคลใดสงขอมูลหรือเอกสาร ที่มีผลกระทบตอความมั่นคงแหงชาติภายในระยะเวลาที่ผูอำนวยการกำหนด หากหนวยงานของรัฐหรือบุคคล ดังกลาวไมสงขอมูลหรือเอกสารภายในกำหนดเวลาโดยไมมีเหตุอันสมควร ใหสำนักขาวกรองแหงชาติรายงาน ตอนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งการตามที่เห็นสมควรตอไป เพื่อประโยชนในการปฏิบัตหิ นาที่ตามมาตรา 5 กฎหมายนี้ไดใหอำนาจในการสอดสองกำกับควบคุมกิจกรรมในโลกไซเบอรโดยตรงอยางชัดแจง ไว ใ น มาตรา 6 วรรคสอง โดยระบุถึงเงื่อนไขในกรณีที่มีความจำเปนตองไดมาซึ่งขอมูลหรือเอกสารอันเกี่ ย วกั บ การ ขาวกรอง การตอตานขาวกรอง การขาวกรองทางการสื่อสาร หรือการรักษาความปลอดภัยฝายพลเรือน สำนัก ข า วกรองแห งชาติ อาจดำเนิ นการด วยวิธ ี การใด ๆ รวมทั ้ งอาจใช เครื ่ องมืออิ เล็ กทรอนิ กส เครื ่ องมือทาง วิทยาศาสตร เครื่องโทรคมนาคม หรือเทคโนโลยี อื่นใด เพื่อใหไดมาซึ่งขอมูลหรื อเอกสารดัง กล า วได ทั้ ง นี้ ผู  อำนวยการสามารถกำหนดหลั กเกณฑ วิ ธ ี การ และเงื ่ อนไขในการดำเนิ นการให เป นไปตามระเบี ยบที่ นายกรัฐมนตรีเห็นชอบ โดยระเบียบดังกลาวอยางน อยต องกำหนดใหมี การบันทึ กรายละเอี ย ดขั้ นตอนการ


143

ดำเนิ นการโดยเจาหน าที ่ผู รับผิดชอบ เหตุผล ความจำเปน วิ ธ ี การ บุ คคลที ่ได รับผลกระทบหรื ออาจไดรับ ผลกระทบ และระยะเวลาในการดำเนิ นการ รวมทั ้ ง วิ ธ ี การป องกั น แก ไ ข และเยี ย วยาผลกระทบต อ บุคคลภายนอกที่ไมเกี่ยวของการดำเนินการตามมาตรานี้ โดยประการสำคัญที่เกี่ยวของกับประชาชนผูไดรับผลกระทบจากปฏิบัติการของสำนั ก ข า วกรองนั้ น มาตรา 6 วรรคสองยังใหความคุม กันแกเจาหนาที่ หากไดกระทำตามหนาทีแ่ ละอำนาจโดยสุจริตตามสมควรแก เหตุแลว และเปนไปเพื่อประโยชนดานความมั่นคงหรือการปองกันภัยสาธารณะ ใหถือวาเปนการกระทำโดย ชอบดวยกฎหมาย นอกจากนี้ยังมีมาตรการสอดสองและควบคุมกิจกรรมในโลกไซเบอรที่ปรากฏอยูในชุดกฎหมายความ มั่นคงทั้ง 3 ฉบับดังที่จะไดกลาวถึงตอไป 7) พระราชบัญญัติ การรักษาความมั่นคงภายใน พ.ศ. 2551 กฎหมายฉบับนี้ไดมอบอำนาจรวมศูนยในการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรไวตามมาตรา 4 แกนายกรัฐมนตรี โดยใหจัดตั้งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร เรียกโดยยอวา “กอ. รมน.” ขึ ้ นในสำนักนายกรั ฐมนตรี มี อำนาจหนาที่ และรับผิ ดชอบเกี ่ย วกับการรั กษาความมั่ นคงภายใน ราชอาณาจักร ตามมาตรา 5 โดยมาตรา 7 ให กอ.รมน. มีอำนาจหนาที่ดังตอไปนี้ (1) ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินแนวโนม ของสถานการณที่ อาจกอให เกิด ภั ย คุ กคามด า น ความมั่นคงภายในราชอาณาจักรและรายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาดำเนินการตอไป ............................................ (4) เสริ ม สร า งให ประชาชนตระหนั กในหน าที ่ท ี ่ ต องพิ ทั กษ รั กษาไว ซึ ่ ง ชาติ ศาสนา และ พระมหากษัตริย สรางความรักความสามัคคีของคนในชาติ รวมทั้งสงเสริมใหประชาชนเขามามี สวนรวมในการปองกัน และแกไขปญหาตาง ๆ ที่กระทบตอความมั่นคงภายในราชอาณาจั กร และความสงบเรียบรอยของสังคม (5) ดำเนินการอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติหรือตามที่คณะรัฐมนตรี สภาความมั่นคงแหงชาติ หรือ นายกรัฐมนตรีมอบหมาย ในกรณีที่ปรากฏเหตุการณอันกระทบตอความมั่นคงภายในราชอาณาจักรแตยังไมมีความจำเปนตอง ประกาศสถานการณฉุกเฉินตามกฎหมายวาดวยการบริหารราชการในสถานการณฉุกเฉิน และเหตุการณนั้นมี แนวโน ม ที่ จ ะมี อยู ต อไปเป นเวลานานทั้ ง อยู  ในอำนาจหน าที ่ หรื อความรั บผิ ดชอบในการแก ไขปญ หาของ หนวยงานของรัฐหลายหนว ย คณะรัฐมนตรีจะมีมติมอบหมายให กอ.รมน. เปนผูรับผิดชอบในการป องกั น ปราบปราม ระงับ ยับยั้ง และแกไขหรือบรรเทาเหตุการณ ที่กระทบตอความมั่นคงภายในราชอาณาจักรนั้น ภายในพื้นที่และระยะเวลาที่กำหนดได ดังที่บัญญัติไวในมาตรา 15 เพื่อประโยชนในการปองกัน ปราบปราม


144

ระงั บ ยั บ ยั ้ง และแกไขหรื อบรรเทาเหตุ การณ ภายในพื้ นที ่ มาตรา 18 ได ใ หผู อำนวยการมีอำนาจออก ขอกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีดังตอไปนี้ ................................................. (๖) ใหบุคคลปฏิบัติหรืองดเวนการปฏิบัติอยางหนึ่ งอยางใดอันเกี่ย วกับ เครื่ องมื อหรื อ อุ ป กรณ อิ เล็ กทรอนิกส เพื ่ อปองกั นอั นตรายที ่จะเกิ ดแกชี วิต ร างกาย หรือทรัพ ย สินของประชาชน ขอกำหนดตามวรรคหนึ่งจะกำหนดหลักเกณฑเงื่อนเวลาหรือเงื่อนไขที่กำหนดไวดวยก็ไ ด ทั้ ง นี้ การกำหนดดังกลาวตองไมกอความเดือดรอนแกประชาชนเกินสมควรแกเหตุ จากบทบัญญัติขางตนแสดงใหเห็นศักยภาพของ กอ.รมน. ในการสอดสองกิจกรรมของบุคคลและกลุมบุคคลได ทั้งที่อยูในโลกจริงหรือโลกไซเบอร 8) พระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เมื ่ อปรากฏว ามีสถานการณฉ ุ กเฉิ นเกิ ดขึ้ นตามมาตรา 5 ให นายกรัฐมนตรี โดยความเห็ นชอบของ คณะรัฐมนตรี มีอำนาจประกาศสถานการณฉุกเฉินเพื่อบังคับใชทั่วราชอาณาจักรหรือในบางเขตบางทองที่ ไ ด ตามความจำเปนแห งสถานการณ โดยนายกรัฐมนตรีมี อำนาจใชกำลั ง เจ าหน าที ่ฝ ายปกครองหรื อตำรวจ เจาหนาที่ฝายพลเรือนหรือเจาหนาที่ฝา ยทหารรวมกั น ปองกัน แกไข ปราบปราม ระงับยับ ยั้ ง ฟ นฟู หรื อ ชวยเหลือประชาชน ในกรณีที่มีความจำเปนเพื่อแกไขสถานการณฉุกเฉินใหยุติลงไดโดยเร็ว หรือ ปองกันมิใหเกิดเหตุการณ รายแรงมากขึ้น มาตรา 9 ใหนายกรัฐมนตรีมีอำนาจออกขอกำหนด ดังตอไปนี้ …………………… (3) หามการเสนอขาว การจำหนาย หรือทำใหแพรหลายซึ่งหนังสือ สิ่งพิมพ หรือสื่ออื่ นใด ที่ มี ขอความอันอาจทำใหประชาชนเกิดความหวาดกลัวหรือเจตนาบิดเบือนขอมูลขาวสารทำให เกิ ด ความเขาใจผิดในสถานการณฉุกเฉินจนกระทบตอความมัน่ คงของรัฐ หรือความสงบเรียบรอยหรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชน ทั้งในเขตพื้นที่ที่ประกาศสถานการณฉุกเฉินหรือทั่วราชอาณาจักร รวมทั้งใหนายกรัฐมนตรีมอี ำนาจตามมาตรา 11 ในกรณีที่สถานการณฉุกเฉิน ดังตอไปนี้ดวย ............................. (5) ประกาศใหพนักงานเจาหนาที่มีอำนาจออกคำสั่งตรวจสอบจดหมาย หนังสือ สิ่งพิมพ โทรเลข โทรศัพท หรือการสื่อสารดวยวิธีการอื่นใด ตลอดจนการสั่งระงับหรือยับยั้งการติ ด ต อหรื อ การ สื่อสารใด เพื่อปองกันหรือระงับเหตุการณรายแรง โดยตองปฏิบัติตามหลักเกณฑที่กำหนดไว ใ น กฎหมายวาดวยการสอบสวนคดีพิเศษโดยอนุโลม ............................


145

(๙) ประกาศใหการซื้อขาย ใช หรือมีไวในครอบครองซึ่งอาวุธ สินคา เวชภัณฑ เครื่ องอุ ป โภค บริโภคเคมีภัณฑหรือวัสดุอุปกรณอยางหนึ่งอยางใดซึ่ง อาจใชใ นการก อความไมสงบหรื อ ก อการ รายตองรายงานหรือได รับอนุญาตจากพนักงานเจาหนาที่หรือปฏิบัตติ ามเงื่อนไขที่นายกรัฐมนตรี กำหนด ทั้งยังอาศัยความแหงมาตรา 13 ประกาศควบคุมสิ่งของหรือวัสดุอุปกรณที่ประกาศตามมาตรา 11 (9) หากเปน เครื่องมือหรือสวนหนึ่งของเครื่องมือที่ใชในการสื่อสาร นายกรัฐมนตรีอาจประกาศใหใชมาตรการดังกลาวทั่ ว ราชอาณาจักรหรือในพื้นที่อื่นซึ่งมิไดประกาศสถานการณฉุกเฉินเพิ่มขึ้นดวยก็ได ความตามบทบัญญัติขางตนแสดงใหเห็นอำนาจในการควบคุมสอดสองรวมไปถึงจำกัดการซื้อขาย ให หรือมีไวครอบครองซึ่งอุปกรณในการสื่อสารอันเปนเครื่องมือในการติดตอรวมกลุมแสดงออกในโลกไซเบอร 9) พระราชบัญญัติ กฎอัยการศึก พ.ศ. 2457 เมื่อไดมีการประกาศกฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักรตามมาตรา 2 หรือประกาศบางพื้นที่ตามมาตรา 4 แลว มาตรา 8 ใหเจาหนาที่ฝายทหารมีอำนาจเต็มทีจ่ ะตรวจคน, ที่จะเกณฑ, ที่จะหาม, ที่จะยึด, ที่จะเขาอาศัย, ที่จะทำลายหรือเปลี่ยนแปลงสถานที,่ และที่จะขับไล ได โดยมาตรา 9 ไดใหอำนาจในการตรวจคน ดังตอไปนี้ .......................................... (2) ที ่ จ ะตรวจข าวสารจดหมายโทรเลข หี บ ห อ หรื อสิ่ งอื ่ นใดที่ ส งหรื อมี ไปมาถึ งกั น ในเขตที่ ประกาศใชกฎอัยการศึก (3) ที่จะตรวจหนังสือ สิ่งพิมพหนังสือพิมพภาพโฆษณา บทหรือคำประพันธ จะเห็นวาเจาหนาที่ฝายทหารมีอำนาจในการควบคุมสอดสองกิจกรรมตางๆในระบบสื่อสารได อย า ง เต็มที่รวมไปถึงอำนาจในการหามตามมาตรา 11 ดังนี้ .................. (2) ที่จะหามออกจำหนายจายหรือแจกซึ่งหนังสือ สิ่งพิมพหนังสือพิมพภาพบทหรือคําประพันธ (3) ที่จะหามโฆษณาแสดงมหรสพ รับหรือสิ่งซึ่งวิทยุวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน อันเปนการใหอำนาจเบ็ดเสร็จในการควบคุมการแสดงความคิดเห็นหรือรวมกลุมในโลกไซเบอร


146

5.4.

กฎหมายไทยที่ใชควบคุมเสรีภาพในการรวมกลุมและเสรีภาพการแสดงออก

เสรีภาพการแสดงออกและสิทธิใ นการรวมกลุม ถูกรับรองและถูกจำกัดโดยกฎหมายไปพร อมๆ กั น รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย ทั้งฉบับปพุทธศักราช 2540 ฉบับป 2550 และฉบับป 2560 ตางก็รับรองให ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพในลักษณะเดียวกัน อยางไรก็ดียังปรากฏกรณีศึกษาจำนวนมากดังที่ไดกลาวไวในบทที่ 3 แล 4 ที่มีการใชกฎหมายลำดับศักดิต์ ่ำกวารัฐธรรมนูญเปนเครื่องมือในการสกัดกั้นการแสดงออกของประชาชน ในลักษณะการดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตรเพื่อขัดขวางการมีสวนรวมของประชาชนในประเด็นสาธารณะ กฎหมายที่เอื้อใหหนวยงานรัฐและกลุมทุนใชเปนเครื่องมือในการปดกั้นเสรีภาพในการแสดงออกและ รวมกลุมของประชาชน ประกอบไปดวย 1) กฎหมายที่ใชจำกัดเนื้อหาในสื่อออนไลน กฎหมายหลักที่รัฐไทยใชเปนเครื่องมือในการควบคุมกิจกรรมในโลกไซเบอรก็คือ พระราชบัญญัติวาดวย การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร พ.ศ.2550 การทำกิจกรรมของพลเมืองในอินเตอรเน็ตบางประเภทอาจเขาลักษณะความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร หากพิจารณาตามตัวบทบัญญัติ มาตรา 10 อาทิ การนัดกันกดปุม F5 หรือการนัดกันเขาไปเพิ่มปริมาณจราจร ในเว็บไซตของรัฐหรือเอกชนที่เปนเปาหมายของการประทวง หรือแสดงออกถึงการตอตานโครงการ นโยบาย ของหนวยงานรัฐหรือเอกชนเจาของเว็บไซต เนื่องจากมาตรานี้ไดกำหนดโทษตอ “ผูใดกระทำดวยประการใด โดยมิ ชอบ เพื ่ อให การทำงานของระบบคอมพิ วเตอร ของผู อื ่นถูกระงั บ ชะลอ ขั ด ขวาง หรื อรบกวนจนไม สามารถทำงานตามปกติได” การรวมตัวกันแลวทำแคมเปญรณรงคสงความเห็นหรือแสดงจุดยืนดวยการสงอี เมลลหรื อ แชทไปยั ง อีเมลลหรือเว็บไซตหรือชองทางสนทนาของหนวยงานรัฐและเอกชนในปริมาณมหาศาล ก็อาจถูกนำมาใช เป น การฟองรองคนที่สงคำรองไปยังหนวยงานรัฐหรือบรรษัทเอกชนผูจัดทำโครงการพัฒนา เชน แคมเปญรองขอให พิจารณาทบทวน ตามมาตรา 11 พลเมืองที่ทำกิจกรรมเชนวาจึงมีเสี่ยงวาจะถูกฟองรองดำเนินคดีในขอหาการ กระทำความผิดดวยการสงอีเมลสแปม แมในพระราชบัญญัติฉบับปรังปรุง 2560 จะมีการแกไขมาตรา 14 แลวแตหลังการปรับปรุง ส ว นที่ อาจถูกนำมาใชเพื่อควบคุมการทำกิจกรรมในโลกออนไลน ก็คือ การใชมาตรา 14 (1) ซึ่งกำหนดหามนำเข า ขอมูลคอมพิวเตอรอันเปนเท็จหรือ “บิดเบือน” นอกจากนี้ยังอาจใช (2) โดยอางวาเปนการกระทำที่สรางความ ตื่นตระหนกตกใจใหกับประชาชน เชน การใหขอมูลเกี่ยวกับบริการสาธารณะที่กอมลพิษและเปนอันตรายกั บ ประชาชน หรือขอมูลที่เปนความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแหงราชอาณาจักร หรือ (3) เปนการกระทำที่กระทบ ตอความมั่นคงมีลักษณะกอการราย เชน การปาวประกาศใหเขาไปรวมตัวในโลกจริง เปนตน และผูเผยแพรตอ ขอมูลขางตนก็ตองรับโทษตาม (5) ดวย ยิ่งไปกวานั้นหนวยงานรัฐหรือเอกชนที่คิดวามีการกระทำผิดดังที่กลาวไวในมาตรา 14 ก็สามารถใช มาตรา 15 ฟองรองผูใหบริการที่ใหความรวมมือ รูเห็นเปนใจ ยินยอม ใหมีการกระทำผิดตามมาตรา 14 ใน


147

ระบบคอมพิวเตอรที่ตนควบคุม และมีความสุมเสี่ยงวาจะเปนการใชมาตรการนี้ฟองตบปากทั้งประชาชนผูทำ กิจกรรมและผูควบคุมระบบ ดวยกระบวนการแจงเตือนเพื่อใหทำการระงับการเผยแพรขอมูลตามมาตรา 14 อีกประเด็นที่นาสนใจ คือ การแสดงออกดวยวิธีการลอเลียนหรือเสียดสีดวยวิธีการตัดตอ ตบแตงภาพ หรือดัดแปลงดวยวิธีการทางคอมพิวเตอรเพื่อใหเกิดความขบขัน เพื่อวิพากษวิจารณหรือเสียดสี ห น ว ยงานรั ฐ และบริษัทเอกชน ก็อาจเปนเหตุใหมีการฟองรองดวยมาตรา 16 วามีลักษณะการนำเขารูปภาพผู อื่นและตบ แต ง ดั ด แปลง จนทำให เสื่ อมเสี ย อั นเป นการขั ดขวางกลยุ ทธ สำคั ญ ในโลกอิ นเตอรเน็ ต ไทยที ่ นิ ยมการ วิพากษวิจารณโครงการตางๆดวยวิธเี ชนวา ผลของการฟองรองตามมาตรา 14,16 ที่ไดกลาวไปขางตนนำไปสูการลบขอมูลดังกลาวออกจากระบบ คอมพิวเตอรไดโดยอาศัยความตามมาตรา 16/1 เมื่อศาลมีคำพิพากษาวาจำเลยมีความผิดตาม มาตรา 14, 16 อาจคำสั่งให (1) ทำลายขอมูลตามมาตราดังกลาวได หากเจาของระบบคอมพิวเตอรที่มีขอมูลเชนวาในระบบ ตนแลวไมลบก็จะมีความผิดตามมาตรา 16/2 ผูใดรูวาขอมูลที่ศาลสั่งใหทำลายตามมาตรา 16(1) แล ว ต อง ทำลาย หาไมแลวตองโทษกึ่งหนึ่งของโทษตามมาตรา 14 หรือ 16 ดวย นอกจากนี้ในมาตรา 20 พนักงานเจาหนาที่ขอความเห็นชอบจากรัฐมนตรีแลวยื่นคำรองพรอมนำเสนอ พยานหลักฐานตอศาลเพื่อขอใหระงับการเผยแพรหรือลบข อมูลคอมพิวเตอรออกจากระบบไดหากมี ลักษณะ (1) เปนความผิดตาม พระราชบัญญัตินี้ (2) เปนความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงตามประมวลกฎหมายอาญา (3) เป นความผิ ดตามกฎหมายอื ่ นซึ ่ง ขอมู ลคอมพิ วเตอร นั้ นขัด ต อความสงบเรี ย บร อยหรื อศี ลธรรมอั นดี ของ ประชาชน อยางไรก็ดีการพิจารณาวาขอมูลนั้นมีลักษณะตาม (3) จะมีคณะกรรมการกลั่นกรองใหความเห็นชอบ แกรัฐมนตรีมอบอำนาจแกเจาหนักงานไปยื่นคำรองและแสดงหลักฐานตอศาลเพื่อขอใหระงับการเผยแพรหรือ ลบขอมูลออกจากระบบคอมพิวเตอรได โดยอาศัยกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง แตการดำเนินการ ตอขอมูลตามวรรค (1), (2) ใหนำกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาใช แตในกรณีที่มีความจำเปนเรงดวน พนักงานเจาหนาที่จะยื่นคำรองตามวรรค (1) ไปกอนโดยไม ผา น การเห็นชอบของคณะกรรมการกลั่ นกรอง และการมอบหมายของรัฐมนตรี ก็ได แตตองรายงานใหรั ฐมนตรี ทราบโดยเร็ว ซึ่งในโลกอินเตอรเน็ตที่มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วก็สุมเสี่ยงวาเจาพนักงานจะใชกลยุ ท ธ ลบก อน กลั่นกรองทีหลังบอยครั้งก็เปนได การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ไดใหอำนาจแกเจาพนักงานในการรวบรวมพยานหลั กฐาน จากขอมูลสวนบุคคลของผูใชอินเตอรเน็ต โดยเฉพาะการรวบรวมพยานหลักฐานในการดำเนินคดีทั้งหลายซึ่งมี มาตรา 26 ที่บังคับผูใหบริการตองเก็บขอมูลจราจรทางคอมพิวเตอรไว 90 วัน โดยในมาตรา 29 มอบหมาย การปฏิบัติหนาที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ใหพนักงานเจาหนาที่เปนพนักงานฝายปกครองหรือตำรวจชั้ นผู ใ หญ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีอำนาจรับคำรองทุกขหรือรับคำกลาวโทษ และมีอำนาจในการ สืบสวนสอบสวนเฉพาะความผิดตามพระราชบัญญัตินี้


148

ยิ่งไปกวานั้นในยุค คสช. มีประกาศ คสช. ฉบับที่ 12/2557 ขอความรวมมือจากผูประกอบการสื่อสังคม ออนไลน ระงับการใหบริการสงขอความเชิงปลุกระดม ยั่วยุ ตลอดจนการตอตานการปฏิบัตงิ านของ คสช. หาก ยังดำเนินการอยูจะสั่งระงับการบริการ และ ฉบับที่ 17/2557 สั่งใหผูใหบริการอินเทอรเน็ ต ทุ กรายติ ด ตาม ตรวจสอบ และระงับการเผยแพรขอมูลที่บิดเบือน ยุยงปลุกปน อันจะกอใหเกิดความไมสงบเรียบรอยภายใน ราชอาณาจักร หรือมีผลกระทบตอความมั่นคงของรัฐหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน 2) ประมวลกฎหมายอาญา ที่ใชจำกัดเสรีภาพการแสดงออกโดยทั่วไป โดยทั่วไป ทุกคนที่อยูในประเทศไทยตองอยูภายใตประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งกำหนดฐานความผิ ด ที่ เกี่ยวกับการแสดงออกไวหลายฐาน โดยสวนที่เกี่ยวของกับการมีสวนรวมในการแสดงออกหรือรวมกลุมในโลกไซเบอร คือ ประมวลกฎหมาย อาญาหมวดความผิดตอความมั่นคงก็มีความผิดฐานสรางความปน ปวนหรือกระดางกระเดื่องในหมูป ระชาชนถึง ขนาดที่จะกอความไมสงบขึ้นในราชอาณาจักร หรือเพื่อใหประชาชนลวงละเมิดกฎหมายแผนดิน ตามมาตรา 116 หรือวา ความผิดฐาน “ยุยงปลุกปน” อันมีโทษจำคุกไมเกิน 7 ป ยิ ่ ง ไปกว านั ้นยัง มี ความพยายามจำกัด การวิ พ ากษ วิ จารณ หนว ยงานรั ฐและเจ าหนาที่ ของรั ฐโดยใช ประมวลกฎหมายอาญาความผิดฐานดูหมิ่นเจาพนักงานซึ่งปฏิบัติตามหนาที่ ตามมาตรา 136 มีโทษจำคุ กไม เกิน 1 ป ปรับไมเกิน 2,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากเปนการวิพากษวิจารณการทำงานของศาลหรือทักทวงกระบวนการพิจารณาคดีก็สุมเสี่ยงที่จะถูกสั่ง คุมขังหรือจำคุกดวยความผิดฐานดูหมิ่นศาลหรือผูพิพากษาในการพิจารณาคดี ตามมาตรา 198 มีโทษคุก 1-7 ป ปรับ 2,000-14,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากการรวมกลุมในโลกไซเบอรไดขยายออกไปสูการชุมนุมในโลกจริงก็อาจถูกควบคุมโดยการดำเนินคดี ในขอหามั่วสุมกอความวุนวาย ตามมาตรา 215, 216 มีโทษจำคุกไมเกิน 6 เดือน ปรับไมเกิน 1,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ หากเจาหนาที่สั่งใหเลิกแลวไมเลิก จะมีโทษจำคุกไมเกิน 3 ป ปรับไมเกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ ซึ่งความผิดฐานนี้มักถูกใชกับการจัดการชุมนุมสาธารณะ สำคัญที่สุด คือ การใชกลยุทธฟองตบปากโดยอาศัยความผิดฐานหมิ่นประมาท ตามมาตรา 326 มีโทษ จำคุกไมเกิน 1 ป ปรับไมเกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา หรือ การหมิ่นประมาทผานสื่อตางๆ เพื่อใหปรากฏแกประชาชนโดยทั่วไป ตามาตรา 328 มีโทษจำคุกไมเกิน 2 ป ปรับไมเกิน 200,000 บาท ความผิดฐานดูหมิ่น ทั้งดูหมิ่นซึ่งหนาหรือโดยการโฆษณา ตามมาตรา 393 มีโทษ จำคุกไมเกิน 1 เดือน ปรับไมเกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 3) กฎหมายที่ใชจำกัดเนื้อหาในสื่อวิทยุและโทรทัศน กฎหมายชุดหนึ่งที่ทำใหความนิยมในการขับเคลื่อนประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมผานทาง อินเตอรเน็ตมากขึ้นก็คือ กฎหมายที่ควบคุมเนื้อหาที่นำเสนอผานวิทยุและโทรทัศน ซึ่งประเทศไทยออกแบบ โดยบทบัญญัติของกฎหมายใหอยูภายใตการควบคุมของ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทั ศ น


149

และกิจการโทรคมนาคมแหงชาติ (กสทช.) โดยมี พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศ น พ.ศ. 2551 ซึ่งในเว็บไซตนี้จะเรียกยอๆ วา “พ.ร.บ.ประกอบกิจการฯ” เปนกฎหมายหลักที่เกี่ยวของกับสื่อวิทยุ และโทรทั ศน โดยมี มาตรา 37 กำหนดไวว  า ห า มออกอากาศรายการที ่ม ีเนื ้อหาก อให เกิดการล มล างการ ปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริยทรงเปนประมุข หรือที่มีผลกระทบตอความมัน่ คงของรัฐ ความสงบเรียบรอยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรืเขาลักษณะลามกอนาจาร หรือกอใหเกิดความเสื่ อม ทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชนอยางรายแรง หากฝาฝนใหกรรมการ กสทช. มีอำนาจสั่งระงับ การ ออกอากาศรายการ หรือสั่งพักใชใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาตเจาของสถานีวิทยุหรือโทรทัศนนั้นๆ หรื อ สั่งปรับ 50,000-500,000 บาท นอกจากนี้ยังมี พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 ซึ่งเปนกฎหมายเกาที่ยังมีผลบังคับใชอยูเกี่ยวของกับใช คลื่นวิทยุ บางครั้งกฎหมายนี้ก็ถูกนำมาใชเอาผิดกับผูที่ใชสื่อวิทยุสงขอมูลขาวสารโดยไมไดรบั ใบอนุญาต มีโทษ จำคุกไมเกิน 5 ป ปรับไมเกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ยิ่งไปกวานั้นในยุค คสช. มีประกาศ คสช. ฉบับที่ 97/2557 และ 103/2557 กำหนดใหสถานีวิทยุและ โทรทัศนทุกแหง ทุกประเภท เผยแพรขอมูลขาวสารตามที่ไดรับแจงจาก คสช. หามเชิญบุคคลมาสัมภาษณใน ลักษณะที่จะขยายความขัดแยง หามวิจารณ คสช.โดยเจตนาไมสุจริต หามเผยแพรขอมูลที่ กอให เกิ ด ความ สับสน ฯลฯ กฎหมายเหลานี้ลวนกระตุนใหผูที่สนใจในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติแ ละสิ่ง แวดล อมหั นไปหาพื้ นที่ ทางเลือกอื่นๆที่มิไดใชระบบใบอนุญาต (Licensing) ในการควบคุมเนื้อหาในการแสดงออก อันเป นเหตุ ใ ห พื ้ นที ่ ไ ซเบอร ม ี ค วามสำคั ญ มากในฐานะช องทางในการสื ่ อสารที ่ ไ ม ได มี ร ะบบจำกั ดการเข า ถึ ง เนื ้ อหา (Censorship) แบบควบคุมไวเปนเบื้องตน 4) กฎหมายที่ใชจำกัดการชุมนุมสาธารณะ หากการรวมกลุมในโลกไซเบอรขยายตัวไปสูการระดมคนลงชุมนุมในโลกแหงความจริง พ.ร.บ.การชุมนุม สาธารณะ พ.ศ.2558 ซึ่งใชระบบการ “กำหนดกอน” วาการจัดการชุมนุมสาธารณะ ผูจัดตองแจงใหตำรวจใน ท องที ท่ ราบลว งหน าไม นอยกว า 24 ชั ่ ว โมง ผู  จ ั ด การชุ มนุม ตองควบคุ มดู แ ลใหการชุ มนุม เปนไปโดยสงบ ปราศจากอาวุธ และผูเขารวมการชุมนุมก็ตองปฏิบัตเิ ชนกัน หากผูชุมนุมไมปฏิบัติตามทีก่ ฎหมายกำหนดตำรวจ อาจรองขอตอศาลแพงเพื่อขออำนาจเขาสลายการชุมนุมได สถานการณเลวรายลงในยุค คสช. เมื่อมีประกาศ คสช. ฉบับที่ 7/2557 หามการชุมนุมทางการเมื อง เกิน 5 คน มีโทษจำคุกไมเกิน 1 ป ปรับไมเกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และตอมามี คำสั่งหัวหนา คสช. ฉบับที่ 3/2558 หามการชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คน เวนแตจะไดรับอนุญาตจาก หัวหนา คสช. มีโทษจำคุก ไมเกิน 6 เดือน ปรับไมเกิน 10,000 บาท ทั้งนี้คำสั่งหัวหนา คสช.ฉบับที่ 3/2558 ถู กออกมาเพื่ อทดแทน ประกาศ คสช. ฉบับที่ 7/2557 หลังมีการประกาศยกเลิกกฎอัย การศึกทั่ วราชอาณาจักร (ยกเว นพื้ นที่ สาม จังหวัดชายแดนภาคใต) ในวันที่ 1 เมษายน 2558


150

5) กฎหมายที่ใชในสถานการณพิเศษดานความมั่นคง สิ่งที่ตองตระหนักไวเสมอ คือ รัฐไทยมีชุดกฎหมายความมั่นคงที่ไดใหอำนาจกับหนวยงานความมั่ นคง ของรัฐจำกัดการแสดงออกและควบคุมการรวมกลุมชุมนุมของประชาชนโดยอาศัย พ.ร.บ.กฎอัยการศึก พ.ศ. 2457 ซึ่งมาตรา 11 กำหนดวา ในชวงเวลาและพื้นที่ที่ประกาศกฎอัยการศึก ใหทหารมีอำนาจสั่งหามมั่ ว สุ ม ประชุมกัน หามจำหนาย หรือแจกสิ่งพิมพ หรือหามโฆษณา แสดงมหรสพ หามรับหรือสงซึ่งวิท ยุ หรื อวิ ท ยุ โทรทัศนได ซึ่งรัฐไทยตีความขยายไปถึงคลื่นโทรคมนาคมที่เปนสื่อในการติดตอทางอินเตอรเน็ตดวย พ.ร.ก.การบริหารราชการณ ในสถานการณ ฉุ กเฉิน พ.ศ.2548 ในมาตรา 9 กำหนดว า เมื ่ อประกาศ สถานการณฉุกเฉิน ใหเจาหนาที่มีอำนาจหามการเสนอขาว การจำหนาย หรือทำใหแพรหลายซึ่งสิ่งพิมพ หรือ สื่ออื่นใดที่มีขอความอันอาจทำใหประชาชนเกิดความหวาดกลัวหรื อเจตนาบิดเบือนข อมูลขาวสารทำให เกิ ด ความเขาใจผิดในสถานการณฉุกเฉินจนกระทบตอความมั่นคงของรัฐ หรือความสงบเรียบรอยหรือศีลธรรมอันดี ของประชาชน กรณีที่ประกาศสถานการณฉุกเฉินรายแรง ใหเจาหนาทีม่ ีอำนาจตรวจสอบการสื่อสารและระงับ การติดตอสื่อสารไดตามความในมาตรา 11 จากการวิเคราะหมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวของกับการรวมกลุมและแสดงออกของประชาชนเพื่อมี บทบาทในการวิพากษวจิ ารณและรวมกลุมกันขับเคลื่อนประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมในประเทศ ไทย จะเห็ นถึ ง ความยากลำบากสุ ม เสี ่ ย งต อการตกเป นจำเลยในคดีอาญาและคดี แพ งไมว  าจะเปนการใช กฎหมายทั ่ว ไป หรื อกฎหมายเฉพาะที ่เกี ่ ยวกับการรักษาความมั ่นคงสงบเรีย บร อยบั ง คับเพื ่อควบคุ มการ แสดงออกของพลเมืองผูตื่นตัวทั้งหลาย มาตรการที่เดนชัดที่สุดก็คือ การดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตรเพื่อขัดขวาง การมีสวนรวมของประชาชน หรือ “การฟองตบปาก” (Strategic Lawsuit Against Public Participation SLAPP) ที่สรางภาระในการตอสูคดีใหกับประชาชนที่ตองการมีสวนรวมเปนอันมาก นอกจากนี้ กฎหมายที่ให อำนาจฝายความมั่นคงเขาตรวจสอบการสื่อสารก็กลายเปนเครื่องมือในการสอดสองการสื่อสารและสรางชุมชน ในโลกเสมือนมิใหขยายใหญ ออกสู พื้นที่ สาธารณะในวงกวา ง เพราะไดทำใหประชาชนมิ กล า แสดงตั ว เชื่ อม ความสัมพันธกับผูอื่นไดอยางมั่นใจเพราะกังวลวาตนกำลังตกเปนเปาหมายในการจับจองอยู ในบทถั ดไปผู ว ิจ ัย จึง จะเสนอแนวทางในการปรับปรุง กฎหมายและมาตรการตางๆ ให สอดรับกับ มาตรฐานการคุมครองสิทธิในการรวมกลุมและแสดงออก เพื่อเปนการสงเสริมสิทธิการมีสวนรว มตั ด สิ นใจใน ประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมอันเปนรากฐานของการพัฒนาอยางยั่งยืนตอไป


151

บทที่ 6 แนวทางพัฒนากฎหมายและมาตรการสงเสริมความเขมแข็งของชุมชนเสมือน ในการมีสวนรวม แนวทางของบทนี้จะเปนการเสนอการพั ฒนากฎหมายและมาตรการสง เสริมความเขมแข็ ง ของชุ ม ชน เสมือนในการมีสวนรวม ทั้งขอเสนอแนะเชิงนโยบายและการปรับปรุงมาตรการทางกฎหมายรูปแบบตางๆ ไม วาจะเปนการปรับนโยบายและการปฏิบตั ิของภาครัฐ หรือมาตรการกำกับควบคุมภาคเอกชน โดยจะครอบคลุม ทั้งประเด็นการรักษาความมั่นคงปลอดภัยในอินเตอรเน็ต ปองกันการสลายการรวมกลุมดวยการเปดเผยความ เป นส ว นตั ว หรื อล ว งเก็ บ กั ก ข อมู ล ส ว นบุ ค คล ไปจนถึ ง การยั บ ยั ้ ง ดำเนิ นคดี ฟ  องเชิ ง ยุ ท ธศาสตร ซึ่ ง กระทบกระเทือนตอการใชเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชนเพื่อลดการเซ็นเซอรขอมูลที่สกัดการเข า ถึ ง ขอมูลสารสนเทศของประชาชน โดยมีความกาวหนาแลวในเรื่องกฎหมายตอตานการดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร (Anti-SLAPP) รวมไปถึงการปรับมาตรการเกี่ยวกับกฎหมายสิ่งแวดลอมเพื่อเพิ่มการมีสวนรวมของประชาชน 6.1. การผลักดันกฎหมายตอตานการดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร (Anti-SLAPP Law) การปรับปรุงแกไขกฎหมายและมาตรการเพื่ อลดการจำกัด เสรีภาพในการแสดงออกและสิ ท ธิ ใ นการ เข า ถึ งขอมู ลข าวสารของประชาชนโดยการฟองตบปากเพื ่อสกัดกั้ นการมีสว นร วมของประชาชน ย อมต อง ผลักดันกฎหมายตอตานการดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร โดยผูวิจัยจะเริ่มตนโดยขอยกขอถกเถียงหลักในประเด็ น เกี ่ ย วกั บ การกำหนดองค ประกอบของบทบั ญญั ติ แหง กฎหมาย Anti-SLAPP โดยที่ Pring และ Canan ได พยายามอธิบายวารางกฎหมาย Anti-SLAPP วาควรจะตอง (1) ครอบคลุมประเด็นเกี่ยวกับประโยชนสาธารณะ และการติดตอสื่อสารกับหนวยงานรัฐ; (2) ครอบคลุมองคกรและหนวยงานรัฐทุกภาคสวน; และ (3) กำหนดให มีการทบทวนกระบวนการฟองตบปากกอนเริ่มกระบวนพิจารณาในเนื้อหาคำฟอง และกำหนดใหผูฟองคดีเปน ผูมีภาระการพิสูจนในกระบวนการนี้ ดวยการพิสูจนวาคำฟองของตนมีความชอบธรรมและมีความเสียหายเกิด ขึ้นกับตนจริง มิใชการฟองตบปาก1 อยางไรก็ตาม นักกฎหมายทั่วไปยอมรับวาการรางกฎหมาย Anti-SLAPP นี้เปนเรื่องละเอียดออน เพราะ ทางหนึ่ง กฎหมายนี้จะตองชวยพิทักษเสรีภาพในการแสดงออกของคนถูกฟอง แตอีกทางหนึ่ง กฎหมายก็ต อง ไมละเลยที่จะใหความเปนธรรมกับฝายผูฟองคดีเชนเดียวกัน เพราะปรากฏขอเท็จจริงวามีหลายกรณีดวยกันที่ บุคคลหรือองคกรที่ถูกฟองตบปากก็เพราะไดกระทำการจงใจสรางความเสียหายใหกับคนอื่นอยางแทจริง ไมใช เรื่องเกี่ยวกับประเด็นดานประโยชนสาธารณะ ดังนั้น กฎหมาย Anti-SLAPP จึงมักไมใชการตัดสิทธิการฟองคดี ของโจทก แตจะเปนสรางกระบวนการพิเศษเพื่อทำใหคดีดำเนินไปไดอยางสะดวกและประหยัดทั้ ง เวลาและ 1

Shannon Hartzler. (2007). Protecting Informed Public Participation: Anti-Slapp Law and the Media Defendant. Valparaiso University Law Review. 41(3). p.1241.


152

คาใชจายสำหรับผูถูกฟองที่ สามารถพิสูจ นไดวา การกระทำของตนเป นไปเพื่ อประโยชน สาธารณะมากกว า ประโยชนสวนตัว กฎหมาย Anti-SLAPP ที่จะยกมาเปนตัวอยางเพื่อเปนประโยชนต อการศึกษาเปรียบเทียบครั้ ง นี้ คื อ กฎหมาย Anti-SLAPP ของมลรัฐแคลิฟอรเนีย ซึ่งถือเปนมาตรการทางกฎหมายที่เขามาจัดการกับการฟ อง คดีตบปากฉบับแรก ๆ ของโลก การเกิดกฎหมายดัง กลา ว มาจากการที่ธรรมนูญของมลรั ฐแคลิ ฟ อร เ นี ย ได รับรองสิทธิใหบุคคลทุกคนสามารถยื่นคำรองเรียนตอหนวยงานรัฐและใชเสรีภาพในการแสดงออกเพื่อเขาไปมี สวนรวมในกิจกรรมตาง ๆ ของรัฐและกิจกรรมที่เกี่ยวของกับผลประโยชนของพลเมือง กลาวคือ ประชาชนทุก คนในรัฐ สามารถแสดงความเห็นหรือแสดงออกไดอยางอิสระ ในประเด็นทางการเมืองหรือประเด็นที่เกี่ยวกั บ ประโยชนสาธารณะ นอกจากนี้ ประชาชนยังมีสิทธิยื่นคำรองเรียนตอหนวยงานรัฐเพื่อใหรัฐเขามาจัดการดู แ ล ปญหาที่มีผลกระทบกับชีวิตและความเปนอยูหรื อสิทธิดาน อื่น ๆ ของประชาชน และในทุก ๆ ป พบว า มี ปจเจกบุคคล กลุมชุมชน และองคกรดานสิทธิมนุษยชนยังคงถูกฟองเนื่องจากการใชสิทธิตามรัฐธรรมนูญอยาง กวางขวาง ตอมาในป 1992 มลรัฐแคลิฟอรเนียจึงไดเพิ่มบทบัญญัติกฎหมายในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ แพงมาตรา 425.16 (Code of Civil Procedure § 425.16) ซึ่งเปนบทบัญญัติที่พูดถึงประบวนการป องกั น การฟองตบปากที่รวดเร็วและมีตนทุนต่ำ 2 เปนกระบวนการพิเศษที่ฝายผูถูกฟองสามารถฟองคดีกลับได หาก ลักษณะของการฟองคดีของคดีแรกนั้นไดเกิดจากการที่ผูถูกฟองคดีไดใชสิทธิในการยื่นคำรองเรียนและเสรีภาพ ในการแสดงออก บทบัญญัติดังกลาวจะถูกนำไปปรับใชกับการเขียนขอความหรือการแสดงออกใด ๆ ที่มีความ ยึดโยงกับประเด็นตาง ๆ ในทางนิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ รวมถึงหนวยงานรัฐอื่น ๆ ที่ไดรับมอบอำนาจ ตามกฎหมาย โดยไมคำนึงวาขอความหรือคำพูดเหลา นั้นจะถู กประกาศหรือเผยแพร สูสาธารณะอย า งเป น ทางการหรือไมก็ตาม นอกจากนี้ ยังปรับใชกับขอความหรือการแสดงออกในพื้ นที่สาธารณะซึ่ ง เกี่ ย วข องกั บ ประเด็นประโยชนสาธารณะอีกดวย เพื่อที่จะชนะคดีภายใตบทบัญญัติกฎหมาย Anti-SLAPP ฝายผูถูกฟองจะตองแสดงใหศาลเห็ นก อนว า คดีที่โจทกฟองเปนการคุกคามกลุมเคลื่อนไหว ที่ไดรับการคุมครองสิทธิตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งโดยทั่วไปมักจะอาง ถึง First Amendment ที่มีหลักเสรีภาพในการแสดงออกเปนหัวใจสำคัญ และตองแสดงใหเห็นวาการฟองคดี ขาดตกบกพรองเรื่องสาระสำคัญ รากฐานทางกฎหมาย พยานหลักฐาน หรือโอกาสความเปนไปไดในการชนะ คดีของผูฟองคดี หากสามารถพิสูจนไดตามที่กลาวมา ภาระการพิสูจนจะถูกผลักกลับไปยังผูฟองคดี ที่ จ ะต อง พิสูจนใหไดวา คดีของตนนั้นมีมูลอยางไร และขอแกตัวของอีกฝายหนึ่งฟงไมขึ้นอยางไร หากไมสามารถพิสูจ น ไดคดีของผูฟองคดีก็จะตองถูกตัดจบเสียตั้งแตตอนนี้

2

Code of Civil Procedure – Section 425.16. “ California Anti-SLAPP Project. 2009 [Ratified 1992, last amended 2009]. The Legislature finds and declares that it is in the public interest to encourage continued participation in matters of public significance, and that this participation should not be chilled through abuse of the judicial process.”


153

การพิจารณาคดี Anti-SLAPP จะตองทำโดยเปดเผยอยูตลอด และลักษณะเชนนี้ของกฎหมาย AntiSLAPP จะชวยลดตนทุนฝายผูถูกฟองในการตอสูคดี เนื่องจากใชเวลาเร็วกวาและสะดวกสบายกวา อีกทั้งยังทำ ใหฝายผูฟองคดีที่อาจมีเจตนากลั่นแกลงอีกฝายหนึ่งตองแบกรับภาระมากยิ่งขึ้นแทน เนื่องจากอยางน อยพวก เขาตองพิสูจนใหไดวาคดีความของตนมีความชอบธรรมในและมีมูลหรือเกิดความเสียหายทางกฎหมายจริง และ ตองทำใหศาลเห็นวา การฟองคดีครั้งนี้ ไมใชการกลั่นแกลงแตอยางใด ถาหากคำขอของฝายผูถูกฟองที่ขอใหศาลดำเนิ นกระบวนการพิ เศษตามกฎหมาย Anti-Slapp ได ถูก ศาลปฏิเสธ ฝายที่เสียประโยชนก็สามารถอุทธรณคำสั่งดังกลาวไดโดยทันที นอกจากนี้ ฝายผูถูกฟองคดีที่ไดอาง กฎหมาย Anti-SLAPP ในการตอสูคดี (รวมถึงกรณีอุทธรณ) มีสิทธิที่จะขอใหศาลสั่งใหผูฟองคดีชำระคาใชจาย และคาทนายความแทนผูถูกฟองคดีไดตามสมควร อีกทั้ง หลังจากเขาสูกระบวนการพิเศษตามกฎหมาย AntiSLAPP และศาลไดตัดสินวา การฟองคดีของฝายผูฟองคดีเปนการตบปากจริง ผูฟองคดีก็ไมสามารถหลักเลี่ยง การจายใชจายเหลานั้นแทนผูถูกฟองได3 บทบัญญัติกฎหมายในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพงมาตรา 425.17 ของมลรัฐแคลิ ฟ อร เนี ย (Code of Civil Procedure § 425.17) ที่ในป 2003 ไดเขามาแกไขเพิ่มเติมกฎหมาย Anti-SLAPP ซึ่ ง ก อน หนานี้ มีปญหาวา กฎหมายดังกลาวไดถูกใชเปนเครื่องมือละเมิดสิทธิ์เชนเดียวกัน การแกไขเพิ่มเติมดังกลาวได บัญญัติถึงขอกำหนด “หาม” ใชกฎหมาย Anti-SLAPP กับกรณีที่มีการฟองคดีเพื่อรักษาประโยชนสาธารณะ หรือในประเด็นเรื่องของชนชั้น (Class Issue) รวมถึงการฟองคัดคานการกระทำตาง ๆ ของบรรษั ท ที่ สง ผล กระทบตอสิทธิของประชาชน4 ขณะเดียวกัน บทบัญญัติมาตรา 425.18 ซึ่งเพิ่มเติมเขามาเมื่อป 2005 และเปน บทบั ญญั ติท ี่ อำนวยความสะดวกให กับเหยื่ อจากการฟ องตบปากในการขอให อีกฝายหนึ่ งปฏิ บัติ การฟ นฟู เยียวยาความเสียหายของเหยื่อ ซึ่งอาจเรียกอีกอยางวาเปนการ “สแลปกลับ/ตบปากกลับ” (SLAPPback) จาก การฟองตบปากของฝายผูฟองคดี หลังจากที่ศาลไดพิพากษาใหยกฟอง.5 นอกจากนี ้ ย ั งมีบทบัญ ญั ติ กฎหมายในประมวลกฎหมายวิธ ี พิ จารณาความแพง มาตรา 1987.1 และ 1987.2 (Code of Civil Procedure sections 1987.1 and 1987.2) การแก ไ ขเพิ ่ ม เติ มในป 2008 มาตรา 1987.1 ไดอนุญาตใหบุคคลใดก็ตามทีไ่ ดรับหมายศาลในฐานะจำเลยในคดีตบปาก สามารถแจงขอมูลของตนไป ยังศาล เพื่อประกาศตามหาบุคคลอื่น ๆ ที่ถูกฟองในลักษณะเดี ยวกั น อันนำไปสูการรวมกลุ ม กั น ของเหล า ปจเจกบุคคลที่ถูกฟองตบปาก เมื่อครั้งไดทำการเคลื่อนไหวคัดคานการกระทำของผูฟองคดี อีกทั้ง กรณีที่การ 3

CASP. (no date). “Cases Involving the California Anti-SLAPP Law.” Retrieved September 26, 2018 from California Anti-SLAPP Project: http://www.casp.net/california-anti-slapp-first-amendment-lawresources/ caselaw/ 4 CASP. (no date). “Code of Civil Procedure – Section 425.17 Exemptions to California’s Anti-SLAPP Law.” Retrieved September 26, 2018 from California Anti-SLAPP Project: http://www.casp.net/california-antislapp-first-amendment-law-resources/statutes/c-c-p-section-425-17/ 5 CASP. (no date). “Code of Civil Procedure – Section 425.18 SLAPPback Claims in California.” Retrieved September 26, 2018 from California Anti-SLAPP Project: http://www.casp.net/california-anti-slapp-firstamendment-law-resources/statutes/c-c-p-section-425-18/


154

ฟองตบปากนั้นมีสาเหตุมาจากการใชเสรีภาพในการแสดงออกบนพื้นที่ออนไลนของผูถูกฟองและการฟ องตบ ปากดังกลาวเกิดขึ้นในรัฐอื่น บทบัญญัติมาตรา 1987.2 (b) ไดกำหนดใหผูถูกฟองดังกลาว สามารถยื่ นขอให ศาลแคลิฟอรเนียมีคำสั่งใหผูฟองคดีชดใชคา ใชจายตาง ๆ แทนตนในการตอสูคดีได6 กฎหมายแพงของมลรัฐแคลิฟอรเนีย มาตรา 47 ยังไดใหเอกสิทธิ์กับ ผูประกาศหรือเผยแพรขอมูล และ ใหความคุมกันกับผูมีสวนรวมในประเด็นเกี่ย วกับ การดำเนิ นกิจ กรรมตาง ๆ ของหนวยงานรัฐ รวมถึ ง ในการ กระบวนการฟองคดีละเมิดทุกประเภท แตความคุมกันจะถูกยกเวนในกรณีที่การฟองคดีนั้น เปนการฟ องเพื่ อ กลั่นแกลงหรือมีเจตนาราย 7 เพื่อใหเขาใจถึงสาระสำคัญของกฎหมาย Anti-SLAPP ไดงายขึ้น ตองเขาใจเสียกอนวา การใชสิทธิท าง ศาลของทุกคนนั้นไมใ ชวาจะเป นเรื่ องของการฟ องตบปากไปทุ กกรณี ดังนั้น จึงตองแบ ง ขั้ นตอนกลไกการ ทำงานของกฎหมาย Anti-SLAPP เปน 2 ขั้นตอน ดังตอไปนี้ 8 กลาวคือ ในขั้นแรก คนที่ถูกฟองหรือจำเลยจะตองเปนฝายพิสูจนกอนเลยวาสิ่งที่ตนไดพูดหรือทำไปจน ถูกฟองนั้นเปนการสื่อสารในประเด็นประโยชนสาธารณะ โดยหากผูถูกฟองไมสามารถพิสูจนในประเด็นดังกลาว นี้ได ศาลจะถือวา คำฟองของผูฟองคดีไมใชการตบปาก ดังนั้นจึงไมมีเหตุใหตองใชกระบวนการพิ เศษของ กฎหมาย Anti-SLAPP คดีความนี้ก็ดำเนินกระบวนพิจารณาตอไปตามปกติ แตในทางกลับกัน หากผูถูกฟองสามารถพิสูจนไดวา สิ่งที่ตนพูดไปนั้นเปนไปเพื่อประโยชนสาธารณะจริง ภาระการพิสูจนจะถูกผลักไปยังผูฟองคดีแทน โดยจะตองเปนฝายพิสูจนใหไดวาคดีของตนนั้นมีมูลอยางไร และ ขอแกตัวของผูถูกฟ องคดีที่ อางวาได กระทำไปเพื่ อประโยชน สาธารณะนั้ นฟ งไมขึ้นอยางไร หากไม สามารถ พิสูจนใหศาลพอใจ ศาลก็จะพิพากษายกฟองไปตัง้ แตกระบวนการดังกลาวนี้ ในส ว นขั้ นตอนที ่สองของกระบวนการพิเศษในกฎหมาย Anti-SLAPP ในกรณีที ่ผู ถูกฟองคดี ชนะคดี ภายใตกฎหมาย Anti-SLAPP แลว ศาลจะมีคำสั่งใหผูฟองคดีตอ งเปนคนออกคาใชจายทัง้ หมดทีเ่ กิดขึ้นใหกับผู ถูกฟองคดี โดยเฉพาะอยางยิ่ง ถามีกรณีที่พิสูจนไดอยางชัดเจนวา ผูฟองคดีจงใจฟองคดีเพื่อกลั่นแกล ง คนอื่ น จริง ศาลอาจพิพากษากำหนดคาปรับเขาไปอีกไดตามแตจะเห็นสมควร มิหนำซ้ำ ในคดีเชนนี้ ศาลอาจอนุญาต ใหทนายความของผูถูกฟองคดีสามารถคิดคาจางเปนเปอรเซ็นตจากเงินที่ผูถูกฟองคดีไดรบั อีกดวย ในสวนนี้เอง ก็จะเปนการชวยใหผูถูกฟองคดีมีทนายความเขามาเสนอตัวเพื่อชวยตอสูคดีมากขึ้น อีกทั้ง ในระหวางดำเนินกระบวนการพิเศษภายใตกฎหมาย Anti-SLAPP ฝายผูฟองคดีกำลังดำเนินการ หรือขออนุญาตในการกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งตอทางการอยู และการดำเนินการนั้นๆ เกี่ยวของกับเรื่องที่ ผูถูกฟ อง คดีไดพูดคัดคานหรือเคลื่อนไหวตอตาน การดำเนินการนั้นจะตองถูกระงับไวกอน จนกวาคดีจะจบลง ทำใหการ

6

CASP. (no date). “California’s Anti-SLAPP Law and Related State Statutes.” Retrieved September 26, 2018 from California Anti-SLAPP Project: http://www.casp.net/california-anti-slapp-first-amendment-lawresources/statutes/ 7 Ibid. 8 หางกระดิ ก หมา. (2013). “SLAPP…ตบปากให หยุ ด พูด (2).” สื บ ค นเมื ่อ 26 กั น ยายน 2561 จากเว็ บ ไซต ไทยพั บลิก า: https://thaipublica.org/2013/10/slapp-2/


155

ฟ องของผู  ฟ  องคดี ส ง ผลให เป นการถ ว งเวลาการดำเนิ นการเรื ่ องอื ่ น ๆ ของเขาเสี ย เอง นำไปสู  การเปน หลักประกันอีกประการหนึ่งวา ผูฟองคดีจะตองตัดสินใจฟองก็ตอเมื่อมีความจำเปนจริง ๆ เทานั้น ทั้งนี้ มีขอควรสังเกตอยางหนึ่งก็คือ แมผูถูกฟองคดีจะไดรับประโยชนจากกฎหมาย Anti-SLAPP นี้ ไมได หมายความวาผูถูกฟองคดีจะบริสุทธิ์ผุดผองไมผิดกฎหมายเสมอไป เพราะ ในความเปนจริง หากมีการฟองคดี ขึ้น ซึ่งแมจะเปนคดีตบปากก็ตาม ขอเท็จจริงอาจปรากฏใหเห็นถึงพฤติกรรมของผูถูกฟองคดีที่อาจกระทำการ ผิดกฎหมายอยูแลวบางสวน หรืออาจเปนในทางเทคนิค เพียงแตกฎหมายนี้ ไดอนุญาตใหศาลใชดุลยพินิจที่จะ ชั่งน้ำหนักดูอีกทีวาความเสียหายของผูฟองคดีทเี่ กิดจากความผิดของผูถูกฟองคดีในกรณีใดกรณีหนึ่งนั้น คุมกับ ประโยชนสาธารณะทีจ่ ะตองเสียไปหากปลอยใหมีการดำเนินคดีกับผูถูกฟองคดีหรือไม การพัฒนามาตรการปองกันการขัดขวางการมีสวนรวมของประชาชน (Anti-SLAPP) ในประเทศไทย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอารไอ) และสำนักงานกองทุนสนับสนุ นการวิจัย (สกว.) จั ด เสวนา “การฟองหมิ่ นประมาท: จุ ด สมดุ ลระหวางประโยชนส วนตัว และประโยชน สว นรวม”, โครงการ อบรม/สัมมนาวิชาการ: เรื่อง คดีเพื่อประโยชนสาธารณะและการฟองคดีเพื่ อปดปาก (Anti-SLAPP Laes) 9, การจัดเสวนาเรื่อง การพัฒนากฎหมายและกลไกปองกันการ “ฟองคดีปดปาก” เพื่อปด กั้ นการมี สว นร ว ม สาธารณะ 10 และ งานเสวนาวิชาการ “คดีฟองรองนักวิชาการกับบทบาทหนาที่สาธารณะ” ที่จัดโดยคณะ เศรษฐศาสตร จุ ฬาลงกรณม หาวิ ทยาลัย 11 ซึ ่ ง เป นเวที ที ่ ภาคประชาสั ง คมด านทรั พยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดลอมลวนมองเห็นปญหารวมกันอยางกวางขวาง ในงานเสวนาเหลานั้นมีการเสนอแนวทางปองกั นมิใหรัฐหรือเอกชนฟ องหมิ่นประมาทประชาชน เพื่ อ เลี่ยงการถูกตรวจสอบ โดยเปรียบเทียบกับในตางประเทศ โดยยกแนวทางของ กฎหมาย Anti-SLAPP ของมล รั ฐแคลิ ฟอร เนีย สหรั ฐอเมริ กา กฎหมายนี้ แ มไม ได หา มโจทก ฟ องคดี เพื่ อยั บยั้ งการมีส วนร ว มในกิจกรรม สาธารณะ แต กฎหมายได กำหนดมาตรฐานพิ เศษเพื่ อรักษาไวซึ ่งประโยชน สาธารณะ (special motion to strike) คือ การเปดชองใหจำเลยขอยุติการดำเนินคดีอยางรวดเร็วและกำหนดภาระใหโจทกตองจายคาใชจาย และค าทนายใหกั บจำเลย 12 แต เมื ่อดู คดีที ่เกิ ดขึ ้ นในประเทศไทย การบั งคั บใชกฎหมายดูจ ะกว างมากเสีย เหลือเกิน ตัวอยางเชน กรณีของสำนักขาวภูเก็ตหวาน ซึ่งถูกฟองความผิดฐานหมิ่นประมาทและ นำเขาข อมู ล เท็จ ตามมาตรา 14 ของ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร เมื่อพิจารณาคดีแลวไมนาจะเปนความผิดฐานหมิ่นประมาทได

9

ผูจัดการออนไลน. (2561). “การฟองคดีปดปาก เพื่อหยุดการมีสวนรวมในกิจการสาธารณะ: ถึงเวลาที่ประเทศไทยควรออก ก ฎ ห ม า ย Anti- SLAPP Law ห ร ื อ ย ั ง ?.” ส ื บ ค  น เ ม ื ่ อ 24 ก ั น ย า ย น 2561. จ า ก เ ว ็ บ ไ ซ ต mgronline: https://mgronline.com/south/detail/9610000005321 10 https://ilaw.or.th/node/4824 11 สยามธุรกิจ. (2556). ““จุฬา” เปดโตะฉะ “กสทช.” มัดมือสื่อ-ปดตาปชช.” สืบคนเมื่อ 23 กันยายน 2561. จากเว็ บ ไซต siamturakij: https://www.siamturakij.com/index.php/news/479-จุฬา-เปดโตะฉะ-กสทช-มัดมือสื่อ-ปดตาปชช12 TDRI. (2560). “การฟองหมิ่นประมาท: จุดสมดุลระหวางประโยชนสวนตัวและประโยชนสวนรวม.” สืบคนเมื่อ 24 กันยายน 2561. จากเว็บไซต TDRI: https://tdri.or.th/2016/06/trf-antislapplaw/


156

ซึ ่ ง ผลกระทบรุนแรงถึ งการยึดพาสปอรต ของบรรณาธิการสำนั กข าวภู เก็ต หวานชาวออสเตรเลีย ทำใหไม สามารถเดินทางไปหาพอทีป่ วยอยูตางประเทศได13 ดังนั้น ปญหาที่เกิดขึ้นในเรื่องของการฟองตบปาก SLAPP ไมไดมีเพียงปญหาเรื่ องตั ว บทกฎหมาย ยั ง คงเปนเรื่ องของการบัง คับใชกฎหมาย (ทางปฏิบั ติ) ด ว ย ซึ ่ ง ในเวที เสวนาดั งกลาวรวมถึง การจัดอบรมมี ความเห็นและขอเสนอตอการฟองรองดำเนินคดี และแกไข หาทางออก ดังตอไปนี้ 1) แกกฎหมาย เพิ่มขอความตอไปนี้ในประมวลกฎหมายแพง และพาณิชยมาตรา 423 “ผู ใ ดกล า ว ขอความแสดงความคิดเห็นหรือไขขาวแพรหลายโดยสุจริตในกิจ การสาธารณะ ไมตองรับผิดชดใชคา สิ นไหม ทดแทน” 14 2) เมื่อบุคคลใดถูกดำเนินคดีแพง เพราะเหตุฟองตบปาก SLAPP ใหยื่นคำขอตอศาลวินิจฉัยชี้ชาด ใน ประเด็นกฎหมายเบื้องตน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพงมาตรา 25 โดยไมตองพิจารณาสืบพยาน เพื่อใหคดีเสร็จสิ้นไปจากศาลโดยไมเนิ่นชา 15 3) ขอเสนอแนะทางคดี อาญา ศาลที่ทำการไตสวนมูลฟองคดีฟองตบปาก เชน ขอหาหมิ่นประมาท ควรตั้งประเด็นเรื่อง “การติชมดวยความเปนธรรม ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 329(3)” หากเปนเรื่อง การใชเสรีภาพในการติดตามตรวจสอบกิจกรรมสาธารณะ ศาลนาจะยกฟองในชั้นไตสวนมูลฟองเลย 16 ตาม บทบัญญัติมาตรา 165/2 แหงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา นอกจากนี้อาจมีมาตรการชวยเหลือ ใหจำเลยสามารถนำเสนอพยานหลักฐานตอศาลใหเห็นวาโจทกฟองคดีโดยไมสุจริตบิดเบือนขอเท็จจริงเพื่อกลั่น แกลงเพื่อใหศาลยกฟองตามมาตรา 161/1 หรือสนับสนุนใหศาลมีมาตรการคัดกรองคดีที่มลี ักษณะฟองโดยไม สุจริตเชนวาใหเขมแข็งขึ้น 4) มีมาตรการปกปองคนที่ออกมาเปดโปงหรือแสดงความเห็นโดยสุจริตตอการคอรรัปชั่น17 เชน - มีการเพิ่มภาระการพิสูจนใหกับโจทก โดยโจทกตองเปนฝายพิสูจนวาการกระทำของจำเลยไมไดเปนไปเพื่อ ประโยชนสาธารณะ - ใหศาลมีอำนาจในการใชดุลพินิจคุมครองจำเลยในกรณีที่ศาลเห็นวาความเสี ยหายของโจทก นั้ นน อยกว า ประโยชนที่สังคมไดรบั จากการแสดงความคิดเห็นของจำเลย - ใหศาลมีอำนาจกำหนดคาปรับเชิงลงโทษแกโจทกในกรณีที่ศาลเห็นวาโจทกใชสิทธิทางศาลโดยไมสุจริตเพื่อ ขัดขวางการแสดงความคิดเห็นเพื่อประโยชนสาธารณะของจำเลย 13

13

iLaw. (2557). “ภูเก็ตหวาน คดีบรรทัดฐานของเสรีภาพสื่อกับมาตรา 14(1).” สืบคนเมื่อ 24 กันยายน 2561. จากเว็ บ ไซต iLaw: https://freedom.ilaw.or.th/computerrelatedcrimechargeonphuketwan 14 ประชาไท. (2560). “ชี้ผล ฟองหมิ่นประมาท ไมใชแคเซ็นเซอรตัวเอง แตเซ็นเซอรการรับรูสาธารณะดวย.” สืบคนเมื่ อ 23 กันยายน 2561. จากเว็บไซต prachatai: https://prachatai.com/journal/2016/06/66382 15 อางแลว 16 องค ก รต อ ต า นคอร รั ป ชั ่ น (ประเทศไทย). (2560). “Anti-SLAPP Law.” สื บ ค น เมื ่ อ 23 กั น ยายน 2561. จากเว็ บ ไซต anticorruption: http://www.anticorruption.in.th/2016/th/detail/152/5/Anti-SLAPP%20Law 17 สำนักขาวอิศ รา. (2559). “Anti-SLAPP Laws: สงเสริมใหคนกล า พู ดกลา ตรวจสอบเรื่ องของส วนรวม.” สื บ ค น เมื่ อ 24 กันยายน 2561. จากเว็บไซต isranews: https://www.isranews.org/isranews-article/47730-slapp-laws.html


157

- ใหศาลมีอำนาจระงับการกระทำของโจทกที่กำลังถูกจำเลยตรวจสอบจนกวากระบวนการพิจารณาคดีเสร็จ สิ้น เปนตน เหลานี้ลวนเปนแนวทางในการปรับปรุงกฎหมายไทยใหสง เสริมการมีสวนร วมของประชาชนในการ แสดงออกประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมมากขึ้น ไมตกอยูในความหวาดกลัวตอโทษทางกฎหมาย 6.2.

การผลักดันกฎหมายเพื่อรักษาความมั่นคงไซเบอรและการคุม ครองขอมูลสวนบุคคล

จากแนวโนมที่เกิดขึ้นในกรณีการศึกษาของตางประเทศ ผนวกกับนโยบายของรัฐบาลทหารยุค คสช. พลเมืองไทยจึงเกรงวารัฐจะกาวลวงลวงมาดู “ชีวิตสวนตัว” ในโลกออนไลนมากขึ้น18 มากกวาประเด็น การ เซ็นเซอร หรือการใชกฎหมายปราบปรามผูเห็นตางทางการเมืองเสียอีก แตประเด็น คือ ทำไมผูใชอินเตอรเน็ต ตระหนกกับการลวงละเมิดความเปนสวนตัว มากกวา การจำกัดการแสดงออก นั่นเอง ทำไมคนไทยกลัว การสอดสองด วยรัฐซึ่ งละเมิ ดความเปนสว นตัว /ขอมู ลส วนบุคคล มากกวา การ เซ็ นเซอร โดย พ.ร.บ.ความผิ ดคอมพิว เตอร ฯ ที ่ กระเทือนเสรี ภาพในการแสดงออก การเข าถึ งข อมู ล และ ความคิ ดสร างสรรค อั นเป นรากฐานสำคั ญ ของเศรษฐกิจ ดิ จิ ทลั และสัง คมอุ ดมปญ ญาพั ฒนาเพราะความ สรางสรรคเกิดจากการทำลายกรอบ หรือไรกรอบ นั่นคือ “ไมถูกจับจองควบคุม”จะตอบคำถามนี้ได ตองลอง วิเคราะหวา ใคร ทำอะไร ในอินเตอรเน็ต ถึงไมอยากใหรัฐสอดสองกลุมคนไทยจำนวนมากโดยเฉพาะคนรุนใหม (New Generation) ที่ใชงานอินเตอรเน็ตมาก คนกลุมนี้มีกิจกรรมเชิง ผลประโยชนในโลกออนไลน ม หาศาล และไมตองการใหใครทราบถึงรายละเอียดในชีวิตประจำวัน รวมไปถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะธุร กิ จ ออนไลน หรือการทำธุรกรรมทางการเงินการลงทุนผานโลกไซเบอร กลุมหลักๆ ที่เติบโตมากในระบบเศรษฐกิจไทย คือ 1) พอคาแมคาออนไลน เจาของวัฒนธรรม “ฝากรานดวยจา” 2) นักลงทุนดิจิทัล ที่นับวันจะเพิ่มขึ้นทุกที อาทิ เทรดเดอร FOREX, หุน, กองทุน, ตราสาร, เงิน, ทอง, น้ำมั น, สินคาเกษตรลวงหนา พฤติกรรมของคนกลุมนี้แตกตางจากธรรมชาติเดิมของการรณรงคประเด็นความเปนธรรมทางสังคม ที่ เนนไปจับ กลุมคนที่มีสำนึกเรื่องสิทธิม นุษยชน ประชาธิปไตย โดยเฉพาะพลเมืองที่ตื่ นตัวทางการเมื อง ซึ่ ง นับวันจะมีอัตราสวนนอย เพราะโดนตลาดบีบใหทมุ เทเวลาแทบทัง้ หมดไปกับการ ดิ้นรนทางเศรษฐกิจ ในสังคม ทุนนิยมที่มีความออนแอเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจสูง เช นไทย ความเสี่ยงในชีวิตสวนตัวนี่เองที่ทำให ค นจำนวน

18

Nation TV. (2559). “"บวรศักดิ์"ประกาศตาน"พรอมเพย" ลั่น"ใหตายผมก็ไมยอม".” สืบคนเมื่อ 21 พฤษภาคม 2562. จาก เว็บไซต NationTV: http://www.nationtv.tv/main/content/378508679/


158

มาก พุงความสนใจไปที่เรื่อง “ผลประโยชนสวนตน” มากกวา “สำนึกเกี่ยวกับสาธารณะ” ยิ่งไมตองพูดถึง การ ตอสูเพื่อสิทธิของผูอื่น หรือการสรางสังคมในอุดมคติเพื่อปวงชนเลย การสนใจเรื่องสวนตัวนี่ แหละที่ทำใหประเด็น “ความเปนสวนตัว” สำคัญมากกับชาวเน็ต มากกว า “ประเด็นสาธารณะ” ที่ตองการคนที่มีสำนึกตอสวนรวม การรณรงคตางๆ ที่จะไดรับความนิยม มีผูติดตามเขา รวมผลักดันประเด็นดวยจำนวนมาก จึงตองขยายไปทำงานกับคนกลุมหลั กๆที่ เปนคนที่มีสว นได เสี ย ในโลก ออนไลนมากขึ้น นั่นเอง หากรัฐบาลตองการสงเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลใหสตารทอัพดานไอทีมีลูทางในการเติบโตทางธุร กิ จ สิ่ ง แรกที ่ต องทำ คื อ สร า งความไวว างใจให เกิ ดกับประชาชนผู ใช อินเตอรเน็ต การพร่ำพูดซ้ ำๆว าใหเชื่อใจวา หนวยงานรัฐไมไดเขาไปจับจองทาน หรือพูดทำนองวา “ถาไมไดทำผิดจะกลัวอะไร” ถือวาไมเขาใจธรรมชาติ พื้นฐานของคนใชอินเตอรเน็ตอยางรุนแรง เนื่องจากผูใชอินเตอร เน็ต เป นคนรุ นใหมที่เชี่ย วชาญดา นเทคโนโลยี สารสนเทศมาก ย อมรู ดี ว า การ นำเขาขอมูลเท็จมาฝากในเครื่องมือสื่อสารโดยอาศัยซอฟแวรและมัลแวรตางๆ เปนไปไดหากมีทรัพยากรมาก แบบรัฐ ยิ่งถารัฐลวงรูหมดวา ใครทำอะไร ที่ไหนเมื่อไหร ถี่แคไหน ดวยอุปกรณชิ้นใด ยอมเปนที่สยดสยองของ ผูใชอินเตอรเน็ตแนนอน ยิ่งไปพวงกับการพยายามเชื่อมโยงขอมูลหลายอยาง อาทิ เลขบัตรประชาชน ขอมูลในทะเบียนราษฎร เลขบัญชี ขอมูลทางการเงิน การเสียภาษี แลวผูกเขาไปกับกิจกรรมในเครื่องมือสื่อสาร ผูใชอินเตอร เน็ ต ย อม รูสึกถูกตนจนมุม ไมเหลือพื้นที่สบาย ๆ ไวใหผอนคลายอีกเลย ความผอนคลายหรือวางใจ คือ รากฐานของความกลาเขาไปมีสวนรวมในประเด็นสาธารณะ หากรั ฐไทยตองการส ง เสริ ม ให เกิ ดคนกลุ ม ใหม เข าร ว มขบวนการมี ส วนร วมด านทรั พ ยากรและ สิ ่ ง แวดล อม กฎหมายที ่ เกี ่ ย วข องกั บ ความเป นส ว นตั ว ข อมู ลส ว นบุ ค คล และโครงการสอดส องการใช อินเตอรเน็ตโดยตรง อยาง พ.ร.บ.ความมั่นคงไซเบอร และ พ.ร.บ.คุมครองขอมูลสวนบุคคล จึงตองออกแบบให ความไวใจของพลเมืองเน็ตเปนที่ตั้ง อันเปนไปในทิศทางเดียวกับบทเรียนที่ไดจากสถานการณในตางประเทศที่ มุงตองสรางพื้นที่แหงความมั่นใหกับพลเมืองกลามีสวนรวมในประเด็นสาธารณะ ประเทศไทยจึงตองผลักดันนโยบายไทยแลนด 4.0 ใหสอดคลองกับการสงเสริมใหประชาชนมีสวนรวม ในการพัฒนาอยางยั่ง ยืน โดยตองมีพระราชบัญญัติคุมครองข อมู ลส ว นบุคคล กฎหมายที่ ป ระกั นความเป น สวนตัวในการสื่อสาร และรักษาความมั่นคงไซเบอร ที่ไดมาตรฐานสากล19 ใน 12 ประเด็นนี้ อันไดแก 19

อางอิงตามกฎของสหภาพยุ โรปที่ป ระเทศคูค าเช นสหรัฐ อเมริ กาลงนามรับ รองปฏิ บัติ ตามมาตรฐานเพื่อประโยชน ใ น การ เขาถึงตลาดสหภาพยุโรป กฎดังกลาวคือ EU General Data Protection Regulation 2016 (EU GDPR) ซึ่งสหรั ฐ ลง นามรับรองเปนเอกสารทางกฎหมายชื่อ EU-US Data Privacy Shield ซึ่งพันธกรณีทั้งสองใหการคุม ครองข อ มู ล ส ว น บุคคล ประกันความเปนสวนตัว และรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอรใหกับพลเมืองเน็ต โดยมาตรฐานนี้ยังสอดคล อ ง


159

1) การรับรองสิทธิในการคุมครองขอมูลสวนบุคคล โดยยืนยันสิทธิสวนบุคคลกอนที่จะบอกว า รั ฐ หรื อบรรษัท มีอำนาจในการเข าไปกักเก็ บ ดั ก หรื อประมวลผลขอมู ลส วนบุ คคล เช น ในมาตราแรกๆ ต อง รับรองสิทธินี้ของบุคคลวาเปนเจาของขอมู ล มีสิทธิในการอนุญาตหรือปดปองการใชของมู ลส ว นบุ ค คลโดย บริษัทหรือรัฐ 2) การกำหนดนิยาม/องคประกอบวาอะไร คือ ขอมูลสวนบุคคล ใหรายละเอียดวาขอมูลใดบ า งที่ ไดรับการคุมครอง หรือขอมูลออนไหวใดๆที่จะไดรับการคุมครองเปนพิ เศษ เชน การกำหนดวา ธนาคารที่ มี ข อมู ลการใชจ ายผ านระบบ E-Banking จะตองรักษาขอมู ลอะไร และข อมู ลอ อนไหวพิเศษ เช น รหั ส หรือ ธุรกรรมของลูกคาไวเปนความลับหามทำใหรั่วไหลออกไปสูบุคคลอื่ น หรือบอกเงื่อนไขการใช ป ระโยชน ข อง ขอมูลบางประเภท วานำขอมูลไปขายตอใหบริษัทวิเคราะหขอมูลทางการตลาดไดหรือไมอยางไร 3) การกำหนดหน า ที ่ของผู ควบคุ มระบบและประมวลผลขอมู ล เนื ่ องจากผู ที ่ จั ดการข อมู ลทาง เทคนิค คือ ผูประกอบการที่ไดขอมูลมา และอาจประมวลวิเคราะหผลจนไดรายงานตางๆ แลวสงขอมูลตอ และ ขายตอได เชน กำหนดวาผูใหบริการอินเตอรเน็ตยี่หอตางๆ ตองรักษาขอมูลการเขาใชเว็บไซตของประชาชน ไมนำไปขายตอใหบริษทั ทีป่ รึกษาทางธุรกิจโดยพลการ 4) การประกันสิทธิในขอมูลสวนบุคคลของประชาชน/ผู บริโ ภค โดยการลงลึกในสิทธิย อยๆ เช น เจาของขอมูลสวนบุคคลตอง “ยินยอม” กอนที่ผูประกอบการจะเอาขอมูลไปใชประโยชน หรือผูใหบริการตอง แจงเจาของขอมูลวาจะมีการเก็บขอมูลสวนบุคคล ดังกรณีที่กอนการติดตั้งแอพลิเคชั่น หรือเขาใชเว็บไซตตางๆ จะมีการแจงเตือนเรื่องสิทธิสวนบุคคลทัง้ หลาย (Privacy Policy) 5) การกำหนดขอบเขตและเงือ่ นไขในการจัดเก็บขอมูลสวนบุคคลและประมวลผล กำหนดหนาทีใ่ ห ผูควบคุมขอมูลจัดการโดยเชื่อมโยงกับสิทธิของเจาของขอมูลสวนบุคคล เชน การบอกวัตถุประสงคในการเก็ บ ขอมูล ระยะเวลาในการเก็บข อมูล จะทำลายขอมูลทิ้งเมื่อไหร และจัดเก็บขอมูลไวที่ไหน ประชาชนจะเข า ตรวจสอบความถูกตองของขอมูลที่เกี่ยวของกับตัวเองไดหรือไม 6) การกำหนดเงื่อนไขในการสงขอมูลไปใหบุค คลที่สามหรือ ขามพรมแดน ครอบคลุ ม กรณี ที่ ผูที่ จัดการขอมูลรายแรกสงตอขอมูลไปยังบริษัทแมของตนที่อยูตางประเทศ หรือการสงขอมูลจากผูประกอบการ รายหนึ่งไปผูประกอบการรายอื่น เชน บริษัทกูเกิลในยุโรปตองใหหลักประกันวาการสงขอมูลไปยังกูเกิ ลสหรั ฐ จะมีการดูแลขอมูลสวนบุคคลตามมาตรฐานของอียู 7) มาตรการปกป องข อมู ลสวนบุ ค คลจากภัยพิ บั ติ ธรรมชาติห รื ออาชญากรรม หน ว ยงานรัฐ/ ผูประกอบการเก็บมีหนาที่ปองกันภัยจาการโจรกรรมของขอมูลโดยอาชญากร หรือแมแตการจารกรรมข อมู ล โดยผูกอการราย หรือหนวยงานรัฐ รวมไปถึงกรณีเกิดภัยพิบัติธรรมชาติดวย เชน ติดตั้งเทคโนโลยีปองกันที่ ไ ด มาตรฐาน ISO ดานการปองกันความเสี่ยงตอขอมูล

กับ Principle 6 ซึ่งเปนหลักการพื้ นฐานในการคุม ครองความเปน สวนตัว และข อมู ลสว นบุ คคลตามระบบกฎหมาย อังกฤษที่มีหลายประเทศนำไปปรับใชภายใน เชน สิงคโปร ฮองกง และประเทศในเครือจักรภพ


160

8) การกำหนดเงื ่อนไขในการกั กเก็บ ข อมูล กำหนดขอบเขตระยะเวลาในการเก็บขอมูล หากพน ระยะเวลาที่กำหนดผูใหบริการสื่อสาร หรือหนวยงานที่เก็บกักขอมูลไวจะตองทำลายขอมูลเหลานั้นเสีย หรือไม สงขอมูลการใชอินเตอรเน็ตของประชาชนใหหนวยงานความมั่นคงของรัฐ โดยไมมีหมายศาลสั่งมา 9) การปราบปรามอาชญากรรมปองกันการกอการราย โดยขอขอมูลสวนบุคคลเปาหมายที่ เป นภั ย ยึ ด โยงกั บกระบวนการยุ ติ ธรรมและต องมี หมายศาล โดยข ออ า งทั ้ งหลายจะตองมี ลักษณะเฉพาะเจาะจง กลาวคือ มีความเสี่ยงเกิดอาชญากรรมตามประมวลกฎหมายอาญา หมวดความมัน่ คงแหงรัฐ ความสงบสุข ชีวติ ทรัพยสิน นั่นเอง มิใชการใชอำนาจตามอำเภอใจโดยปราศจากการตรวจสอบจากศาล ไรกลไกคุมครองสิ ท ธิ ทั้งหลาย 10) การสร า งกลไกหรื อองค กรในการคุ  มครองข อ มู ลส วนบุ คคล ต องตั ้ งองค กรขึ ้ นตรวจตรา หนวยงาน/ผูประกอบการตางๆ ใหปฏิบัติตามกฎหมาย เชน การปรับบทบาทของหนวยงาน/องคกรอิสระดาน เทคโนโลยีสารสนเทศโทรคมนาคมใหรับเรื่องรองทุกขจากประชาชนที่ถูกละเมิดสิทธิ และออกมาตรการตางๆ เพื่อบังคับผูประกอบการ/หนวยงานใหแกไขปญหา หรือเปนตัวแทนประชาชนในการฟองบังคับคดีในศาล 11) การบังคับตามสิทธิโดยกำหนดมาตรการทางกฎหมายมหาชนและโทษทางอาญา ออกแบบ กลไกในการเขาไปตรวจสอบ เพื่อระงับการละเมิดสิทธิ ปรับปรุงแกไขปญหา หรือทำลายขอมูลทิ้งที่ เก็ บ หรื อ ประมวลผลโดยขัดกับกฎหมายหรือผิดสัญญาที่ตกลงไวกับผูใชบริการทั้งหลาย เชน กรณีมีผูรองเรียนวาสถาบัน ทางการเงินเอาขอมูลของลุกคาไปขายตอใหบริษัทอื่นๆ จนมีการติดตอมาขายสินคาทางโทรศัพทหรืออีเมลลที่ ไดมาจากสถาบันการเงินเหลานั้น โดยที่เจาของขอมูลมิไดยินยอม ก็ตองมีการกำหนดบทลงโทษทางอาญาและมี มาตรการบังคับใหยุติการสงขอมูลหรือทำลายขอมูลทิ้งเสีย เพื่อปองกันการนำขอมูลไปใชโดยไมไดรับอนุญาต 12) การสรางชองทางรับเรื่องรองทุกขและกลไกเยียวยาสิทธิใหประชาชน เนื่องจากผูใชบริการคน เดียวอาจมีอำนาจตอรองนอยกวาบรรษัทหรือหนวยงานรัฐที่เก็บขอมูลของตนไว จึงตองสรางกลไกที่รับปญหา ของประชาชน เพื่อนำไปสูการหามาตรการเยียวยาอยางเปนรูปธรรม เชน ถาเจาของขอมูลเห็นวาเว็บไซตจัดหา งานแหงหนึ่งมีชุดขอมูลที่เกี่ยวของกับตัวเองซึ่งมีประวัติการทำงานผิดไป หรือมีเนื้อหาเท็จเกี่ยวกับชีวิตของตน ก็สามารถรองขอใหศาลหรือองค กรคุมครองข อมูลสว นบุคคลบังคับใหเว็บไซต เหลานั้ นลบข อมู ล หรื อแก ไ ข ขอมูลใหถูกตอง เหล า นี ้คื อสิ ่ง ที่ รัฐพึ งสัง วรก อนออกกฎหมายไซเบอรฉ บับตาง ๆ ที ่ เกี ่ย วของกั บการแสดงออกและ รวมกลุ  มในโลกไซเบอร เพราะมี ความเกี ่ย วพั นกั บการกล าเข าไปมี ส วนร วมในประเด็ นสาธารณะเช นฐาน ทรัพยากรและสิ่งแวดลอมโดยตรง นอกจากนี้การจัดวางองคกรที่เกี่ยวของใหมีลักษณะถวงดุลตรวจสอบการใช อำนาจอยางโปรงใสก็เปนสิ่งจำเปนอีกประการหนึ่ง


161

6.3.

การผลักดันมาตรการทางกฎหมายสงเสริมการมีสว นรวมในการพัฒนาอยางยั่งยืน

ลูทางสงเสริมการการมีสวนรวมของประชาชนในการประเด็นสาธารณะดานทรัพยากรธรรมชาติ แ ละ สิ่งแวดลอม 20 มีดังตอไปนี้ 1) การปรับโครงสรางองคกรในพื้นที่ให ประชาชนมีสวนรวม การจัดโครงสรางขององค กรแก ป ญ หา สิ่งแวดลอม โดยใหความสำคัญกับปญหาความเดือดรอนในพื้นที่ของประชาชนซึ่งตกเปนคนชายขอบของการ พัฒนาอยูเสมอ ดังนั้นจึงจำเปนตองปรับโครงสรางและอำนาจหนาที่ของหนวยงานในพื้ นที่มากกว า การปรั บ โครงสรางอำนาจหนาที่ของหนวยงานในระดับชาติ โดยอาศัยรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 2) การสงเสริมประชาชนใหเขาถึงขอมูลขาวสารของราชการ (โดยเฉพาะเขตนิคมอุตสาหกรรม) อาศัย อำนาจของพระราชบัญญัติขอมูลขาวสารของราชการ สวนอีกวิธีเปนการอาศัยวิธีพิจารณาคดีของ ศาลปกครอง เนื ่ องจากศาลปกครองใช ระบบไตสวน ดั ง นั ้ นศาลจึ งมีบทบาทในกระบวนพิจ ารณาคดีสู ง และสามารถเขา แทรกแซงในกระบวนการแสวงหาพยานหลักฐานได ดังนั้นเราอาจใชประโยชนจากบทบาทของศาลในระบบนี้ ใหเปนคุณตอการเขาถึงขอมูลพยาน หลักฐานที่อยูในการครอบงำของรัฐ 3) การสงเสริมประชาชนใหเขาถึงพยานหลักฐานที่อยูในครอบครองของเอกชน สิ่งที่ตองทำคือการเก็บ หลักฐานอยางตอเนื่องและชัดเจนเพื่อนำไปใชเปนพยานหลักฐาน ซึ่งการเก็บพยานหลักฐานเพื่อเรียกรองสิทธิมี ขอแนะนำดังตอไปนี้ จดบันทึกเวลาสถานที่ซึ่งพบปญหา ทำใหพยานหลักฐานเกี่ยวกับเวลาสถานที่หนักแนนขึ้น ได ดวยการแจงหนวยงานราชการที่ เกี่ ยวของ ถาเปนการปลอยออกจากโรงงานก็ ถายให เห็ นว า ออกมาจาก โรงงานใด เก็บตัวอยางน้ำเสีย ขยะ หรืออากาศพิษ อาจทำใหมีน้ำหนักมากขึ้นดวยการเรีย กให ห น ว ยงานที่ เกี่ยวของมาตรวจเก็บตัวอยางไป การบาดเจ็บลมปวยควรจะเก็บหลักฐานการรักษาพยาบาลไวอยางละเอียด ถา เปนไปไดควรจดบันทึกพรอมเก็บบิลคาใชจาย และถายสำเนาการวินิจฉัยของแพทย ใบรับรองแพทย ถาเปนไป ไดควรไปพบแพทยชีวอนามัย หากมีพยานหลักฐานจากภายในสถานประกอบการใหเก็บรักษาไวอยางดี แจ ง หนวยงานของภาครัฐใหแกไขปญหาตองมีการเก็บสำนวนคำรอง และติดตามวาหนวยงานเพิกเฉย ละเลย หรือ ปฏิบัติงานลาชาหรือไม ถาใชอาจตองมีการรองเรียนไปยังผูตรวจการแผนดิน หรือฟองรองไปยังศาลปกครองได 20

ดูเอกสารเหลานี้เพื่อศึกษาคนควาเพิ่มเติม ไดแก ไชยรัตน เจริญสินโอฬาร. (2545). “การเมืองแบบใหม,ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหมและวาทกรรมการพั ฒ น าชุ ด ใหม . ” ใน วาทกรรมการพั ฒ นา : อำนาจ ความรู  ความจริ ง เอกลั ก ษณ และความเป น อื ่ น . พิ ม พ ค รั ้ ง ที ่ 3 . กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพวิภา, หนา 83-122. บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2542). การสรางธรรมาภิบาล (Good governance) ในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพวิญูชน. น้ำแท มีบุญสลาง. (2547). การดำเนินคดีแบบกลุมในคดีสิ่งแวดลอม. วิทยานิพนธตามหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิ ช า นิติศาสตร คณะนิติศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. กอบกุล รายะนาคร. (2550). กฎหมายกับสิ่งแวดลอม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพวิญูชน. ทศพล ทรรศนกุลพันธ. (2551). “ยุทธวิธีเรียกรองสิทธิ.” ใน นิติแถลง: สิทธิสภาพนอกอาณาเขตเหนือนิคมอุตสาหกรรม. คณะ นิติศาสตรมหาวิทยาลัยเชียงใหม และเครือขายประชาชนภาคตะวันออก. สุ รชั ย ตรงงาม. (2551). บทสั ม ภาษณใ นบทความ “เมื่ อคดีค ลิ ตี ้ เข า สู ศ าลปกครอง.” ใน วารสารนิต ิ ธรรมชาติ. เลม ที่ 2. กรุงเทพฯ: ENLAW.


162

รองเรียนไปยัง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนใหเขามาตรวจดูการละเมิดสิทธิ ของผูประกอบการได และฟ อง เรียกรองคาเสียหายไปยังศาลยุตธิ รรมได 4) การนำระบบฟองคดีแบบกลุม มาใช (Class Action) การนำระบบฟองคดีแบบกลุมมาใชกับขอพิพาท ทางสิ่งแวดลอมจำเปนตองยอมรับ “หลักการดำเนินคดีโดยผูแทนคดี” เสียกอน เพื่อเปดโอกาสใหแตง ตั้ ง ผู อื่น ขึ้นมาดำเนินคดีแทนตัวผูเสียหายได เมื่อนั้นจึงจะสามารถแตงตั้งบุคคลอื่นขึ้นเปนคูความผูดำเนินคดีแทนกลุ ม ได ซึ่งมีแนวโนมวาอาจตองอาศัยบุคคลภายนอกผูมีประสบการณหรือมีความเขมแข็งเขามาชวยในลักษณะของ การฟองคดีของพลเมืองผูไดรับผลกระทบทางออม (Citizen Suit) และเปนการตอยอดความเขม แข็ ง ในการ รวมกลุมสรางชุมชนเสมือนดานสิ่งแวดลอมใหมพี ลังในรูปธรรม 5) การปรับระบบประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดลอมและสุขภาพ การปรับระบบประเมินผลกระทบทาง สิ่งแวดลอมใหประชาชนมีสวนรวมมากขึ้น โดยเขาถึงขอมูล แสดงความคิดเห็นในทุกระดับ และตรวจสอบการ ทำตามแผน อันจะเปนประโยชนกับโครงการหลายประการ อาทิ เกิดทางเลือกใหมและพิจารณาอยางรอบคอบ ลดคาใชจายและการสูญเสียเวลา สรางฉันทามติทางการเมืองรวมกันและเกิดความชอบธรรม ลดความขัดแยง เมื่อถึงขั้นตอนปฏิบัติ 6) การสรางเครือขายเฝาระวังปญหาแบบมีสวนรวมจากทุกฝา ย การนำเอาระบบการริเริ่มคดี โดยผู ที่ ไดรับผลกระทบทางออมฟองแทนผูไดรับผลกระทบโดยตรง (Citizen Suit) มาปรับใชในประเทศไทย เพื่อเปด โอกาสใหผูที่มิไดมีผลเสียหายจากปญหาสิ่งแวดลอมโดยตรงสามารถนำเรื่องดังกลาวขึ้นฟองรองตอศาลได ก็จะ ชวยเปดโอกาสใหภาคประชาชนและประชาสังคมยื่นมือเขามาชวยเหลือกลุมผูไดรบั ความเดือดรอน 7) การส งเสริ มความเข มแข็ งของภาคประชาชน การเป ดโอกาสใหองคกรภาคประชาชนเขาถึ งการ สนับสนุนจากกองทุนสิ่ง แวดล อมไดงายขึ้นมี อุปสรรคน อยลงการชวยเหลื อในดานความรูแ ละคำปรึ กษาด า น กฎหมาย โดยรูปแบบที ่เป นไปได คื อ การจั ดตั ้ง ศูนยให คำปรึ กษาทางกฎหมาย (ไม จ ำกัดเฉพาะกฎหมาย สิ่งแวดลอมแตครอบคลุมถึงปญหาอื่นๆดวย) ในพื้นที่ 8) โครงการที่อาจสงผลกระทบตอสิ่งแวดลอมจะตองใหประชาชนเขามามีสวนรวมทั้งกอนการอนุญาต ให ด ำเนิ น โครงการและภายหลั งจากการดำเนิ น โครงการไปแลว กระบวนการรั บฟ งความคิ ดเห็ นของ ประชาชนในการพิจารณาอนุมัติอนุญาตจะตองมีการใหขอมูลของโครงการอยางรอบดาน และเปดโอกาสให ประชาชนแสดงความคิดเห็นในการคัดคานโครงการ เชน การแสดงความคิดเห็นในเวทีแสดงความคิดเห็น การ แสดงความเห็นผานทางอินเทอรเน็ต รวมทั้งตองเปดโอกาสใหเจาของโครงการไดชี้แจงขอมูลเหลานั้นดวยตาม หลั กการฟ งความสองฝาย (Audi alteram partem) หลั ง จากการรั บฟ งความคิ ดเห็นแลว ภาครัฐตองจัดทำ รายงานความคิดเห็นของประชาชนทั้งขอสรุป ขอโตแยงตางๆและเผยแพรใหประชาชนไดรับทราบรวมทั้งตอง สรางหลักประกันวารายงานความคิดเห็นของประชาชนจะไดนำไปใชประกอบการพิจารณาของเจาหนาทีร่ ัฐใน การพิจารณาออกคำสั่งอนุมัติอนุญาตวาไดอาศัยรายงานแสดงความคิดเห็นประกอบการพิจารณาอนุมัตอิ นุญาต และถาเจาหนาที่จะอนุมัติอนุญาตก็ตองมีเหตุผลที่รับฟงไดในการหักลางกับรายงานความคิดเห็นของประชาชน


163

ที่ไมเห็นดวยกับโครงการดังกลาวและตองแสดงรายงานการพิจารณาอนุญาตอนุมัติใหกับประชาชนไดรบั ทราบ ว า เจ าหน าที่ มี เหตุ ผลเช นใด (Duty to give reason) หลั ง จากที่ ไดมี การจั ดทำรายงานวิเคราะห ผลกระทบ สิ่งแวดลอมและเจาหนาที่ไดออกคำสั่ง อนุ ญาตอนุมัติใหดำเนิ นโครงการไปแล วจะต องมี การติ ด ตามผลการ ดำเนิ นการของผู ประกอบการว าการดำเนินโครงการได ก อให เกิ ดป ญหาด านมลพิ ษขึ น้ หรื อไม มาตรการ ตรวจสอบโครงการหรือโรงงานจะตองมีการกำหนดใหมีการตรวจสอบโครงการทุกโครงการเมื่อดำเนินการมาได ช ว งระยะเวลาหนึ ่ง นอกเหนื อไปจากมาตรการเป นเรื่ องๆ เช น การบั งคั บในกรณี ที่ เกิดมลพิษ ขึ น้ เท านั้นที่ เจาหนาที่จะเขาไปควบคุมดูแล การดำเนินการตรวจสอบภายหลัง จากการดำเนินโครงการไปแล ว จะต องตั้ ง องคกรอิสระขึ้นเพื่อทำการตรวจสอบซึ่งตองประกอบจากภาคประชาชน ภาครัฐและภาคผูประกอบการรวมกัน ทั้งสามฝายเขามาตรวจสอบเพื่อใหไดขอเท็จจริงที่ถูกตองและเปนที่ยอมรับของทุกฝาย 9) การจัดการความขัดแยงระหวางขอมูลขาวสารของทางราชการและผูประกอบการกับประชาชน จากปญหาที่กลาวมาทั้งหมด การจะนำไปสูการคลี่คลายปญหาทีเ่ กิดขึ้นจะตองมีการเพิ่มเติมและแกไขกฎหมาย หลายๆฉบับเพื่อใหสอดคลองกับหลักการที่พบจากการลงพื้นที่ศึกษา เชน การบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับการรับ ฟงความคิดเห็นของประชาชน การแกไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติขอมูลขาวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540 การ เพิ่มเติมหลักการมีสวนรวมในลักษณะตางๆในพระราชบัญญัติสงเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล อมแห ง ชาติ พ.ศ. 2535 รวมถึงการจัดตั้งองคกรใหมขึ้นเพื่อแกไขขอพิพาทตางๆที่เกิดขึ้น 10) ปรับมาตรการตามกฎหมายไทยโดยอิงหลักการปองกันความเสี ยหายล วงหนา ไว ในกระบวนการ ตัดสินใจทุกระดับ เปดโอกาสใหทุกฝายทั้งผูที่มีสวนเกี่ย วข องโดยตรงและผูเชี่ยวชาญภายนอกนำเสนอข อมู ล ถกเถียงโดยปลอดภัยไรคดีความทางกฎหมายเพื่อใหเกิดการตรวจสอบขอมู ลอยางเขม ขน ปองกันความเสี่ ย งที่ อาจเกิดจากการตัดสินใจผิดพลาด ซึ่งแนวทางนี้สอดคลองกับทั้งหลักกฎหมายสิ่งแวดลอมและกฎหมายเศรษฐกิจ การคาระหวางประเทศ ขอเสนอในการพัฒนากฎหมายและมาตรการสงเสริมความเขมแข็งของชุมชนเสมือนเพื่ อการมี สว นร ว ม ทั้งขอเสนอแนะเชิงนโยบายขางตนนั้น มุงชี้แนวทางการปรับปรุงมาตรการทางกฎหมายรูปแบบตางๆ ไมว า จะ เปนการปรับนโยบายและการปฏิบัตขิ องภาครัฐ หรือมาตรการกำกับควบคุมภาคเอกชน เพื่อระงับการฟองคดีเชิง ยุทธศาสตรซึ่งกระทบกระเทือนตอการใชเสรี ภาพในการแสดงออกของประชาชนอันมี สวนชวยลดการสกั ด กั้ น ขอมูลที่จำกัดสิทธิเขาถึงขอมูลสารสนเทศของประชาชน โดยมีขอเสนอเปนรูปธรรมในเรื่องกฎหมายตอตานการ ดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร (Anti-SLAPP) และการนำกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 161/1 และ 165/2 มาปรั บใช นอกจากนี ้ ย ั ง ได เสนอแนวทางพั ฒนาชุ ดกฎหมายที ่เกี ่ ย วข องกั บกิ จกรรมในโลกไซเบอร โดยจะ ครอบคลุมทั้งประเด็นการรักษาความมั่นคงปลอดภัยในอินเตอรเน็ตเพื่อปองกันการสลายการรวมกลุ ม ด ว ยการ เป ด เผยความเปนส วนตั วหรือลว งเก็บกั กขอมู ลส วนบุคคล และในทายที่ สุดไดสร างข อเสนอปฏิรู ปมาตรการ สนับสนุนการมีสวนรวมของประชาชนที่เกี่ยวของกับกฎหมายสิ่งแวดลอม


164

บทสรุปและขอเสนอแนะ บทสรุป งานวิจัยฉบับนี้เริ่มตนดวยการทบทวนวรรณกรรมใน 5 สวน ไดแก 1) การศึกษางานที่ เกี่ ย วข องกั บ การศึกษาขบวนการเคลื่อนไหวคัดคานในประเด็นดานสิ่งแวดลอมและทรัพยากรธรรมชาติ ที่จะฉายใหเห็นภาพ ของกลุมนักเคลื่ อนไหวซึ่งไดดำเนิ นกิจกรรมตาง ๆ บนโลกทางกายภาพหรือโลกความจริง แต ต องเผชิ ญ กั บ อุปสรรคมากมายจากการปะทะกับอำนาจรัฐหรือนายทุนโดยตรงจนนำมาซึ่งความสูญเสีย และความเสี ย หาย ตามมา อันเปนสาเหตุใหทบทวนวรรณกรรมในสวนที่ 2) การศึกษาโลกไซเบอรในมิติกฎหมายกับสังคม เพื่ อ สะทอนใหเห็นถึงความแตกตางในการทำกิจกรรมตางๆบนพื้นที่ไซเบอร กับผลทางกฎหมายที่ เหลื่ อมซ อนกั น จากนั้นในสวนที่ 3) การศึกษางานที่เกี่ยวของกับกรณีที่ประชาชนทำการรวมกลุมหรือแสดงออกตอรอง/ตอสูใน พื้นที่ไซเบอร ในวันที่เทคโนโลยีการสื่ อสารถู กพั ฒนาจนทำใหผูคนทั่วโลกสามารถติดตอสื่ อสาร แลกเปลี่ ย น ขอมูลขาวสารถึงกันไดอยางไรขีดจำกัด กลุมนักเคลื่อนไหวจึงอาศัยพื้นที่โลกเสมือนจริงในการดำเนิ น กิ จ กรรม เคลื่อนไหวทางสังคม ซึ่งมีรูปแบบตางไปจากขบวนการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นกอนหนาไปอยางมาก ทั้งยังมีความ สลับซับซอนของกลุมในเชิงโครงสรางในแบบที่ไมเคยปรากฏขึ้นมากอน แตการทบทวนวรรณกรรมในชุดที่ 4) การศึกษาการใชสิทธิเสรีภาพในโลกไซเบอรกับการควบคุมสอดสองโดยรัฐ จะทำใหเห็นถึงความพยายามของรัฐ และกลุมทุนในการสกัดกั้นการขยายตัวของขบวนการเคลื่อนไหวดานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม แล ว ท า ยที่ สุด จะทบทวนวรรณกรรมด วย 5) การศึ กษางานที่ เป นการศึ กษาถึ งกฎหมายที ่เปนอุ ปสรรคต อการ แสดงออกและการดำเนินกิจกรรมเคลื่อนไหวของกลุมทางการเมืองและขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมบนพื้นที่ ไซเบอร จากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวของ จะเห็นแนวโนมวาในยุคที่เริ่มมีการใชอินเตอรเน็ตเปนสื่อกลาง และอาศัยโลกไซเบอรเปนพื้นที่ในการสื่อสารรวมกลุมแสดงออก รัฐไทยยังคงมีบทบัญญัตทิ างกฎหมายที่ถูกผูมี อำนาจรัฐหรือกลุมทุนทั้งหลายอาจใชเปนเครื่องมือในการขัดขวาง สรางอุปสรรคและผลกระทบอันรายแรงตอ เสรี ภาพในการแสดงออกใหกั บขบวนการเคลื ่ อนไหวทางสั ง คมและการเมื องของประชาชนหรื อกลุ  มนัก เคลื่อนไหวในพื้นที่ไซเบอรอยูจำนวนหนึ่ง แตในขณะเดียวกัน ถัดจากนี้ไป งานวิจัยชิ้นนี้ไดมุงหมายทีจ่ ะแสวงหา แนวทางสงเสริมใหพลเมืองใชพื้นที่ไซเบอรหรือสื่อสังคมออนไลนเพื่อสรางชุมชนในโลกเสมื อนขึ้ นมาสนั บ สนุ น การมีสวนรวมในการจัดการทรัพ ยากรธรรมชาติแ ละสิ่ง แวดล อม รวมถึงการเคลื่อนไหวตรวจสอบโครงการ พัฒนาอยางไมยั่งยืนตาง ๆ ที่เปนสาเหตุใหวิถีชีวิตของชุมชนไดรับความเสียหาย วาสังคมไทยยังมีทางเลือกใน การพัฒนาอยางยั่งยืนแตอยางใดบาง การวิจัยในโครงการนี้จะใชชุดกรอบทางทฤษฎีในการวิเคราะหขอมูลขั้นพื้นฐานดวย 2 กลุมทฤษฎีหลัก นั่นก็คือ 1.กรอบทางทฤษฎีในการวิเคราะหขบวนการเคลื่อนไหวไซเบอรดานสิ่งแวดลอมและฐานทรัพยากร 2. กรอบการศึกษาโลกไซเบอรในมิติการตอสูเรียกรองสิทธิและระงับขอพิพาททางสังคม นั่นคือ แนวคิดการปฏิวัติ


165

ระดับโมเลกุลของการเมืองแบบเอกภพในลักษณะขบวนการซายไซเบอร ทั้งนี้ในเบื้องตนตองใชวิธีการจำแนก หนวยทางสังคมและการวิเคราะหความสัมพันธทางสังคมตามแนวทางของทฤษฎีเกมสเพื่อมาชวยวิเคราะหใ ห เห็นความเปนไปของโลกออนไลน เสีย กอน แลวจึงนำไปสูการตอบประเด็นรายละเอียด ที่นำจะเสนอดว ยการ พิจารณาเงื่อนไขตางๆที่เปนอุปสรรคหรือสงเสริมสิทธิในการมีสวนรวมของประชาชนผานมิตทิ างกฎหมาย โดยกรอบความคิ ดเหลานี ้ จะนำมาใช ว ิเคราะห ปรากฏการณ ต างๆที ่ อยู  ในบทของกรณี ศึ กษาวามี กิจกรรมลักษณะใดที่เปนคุณตอการสนับสนุนประชาชนใหเขามามีสวนรวม และการกระทำลักษณะใดที่ เป น อุปสรรคตอการมีสวนรวมของประชาชน แลวนำไปแสวงหาการปฏิบัติทเี่ ปนผลเลิศ (Best Practice) ของแตละ นโยบายและกฎหมายของรั ฐที่มีสวนเสริมสรางความเขม แข็ง ของประชาชน รวมถึงสำรวจประสบการณ อัน ลดทอนการมีสวนรวมของประชาชน ทั้งในรูปแบบมาตรการทางกฎหมายหรือกลยุทธตางๆของรัฐและบรรษัท ในเบื้องตนเมื่อวิเคราะหถึงบทบัญญัติกฎหมายที่ใชเปนรากฐานในการอางสิทธิในการมี สว นร ว มของ ประชาชนเพื่อผลักดันใหเกิดการพัฒนาอยางยั่งยืนนั้น จะพบวารัฐไทยไดวางบรรทัดฐานทางกฎหมายทีร่ ับสิทธิ ของประชาชนในการรวมกลุมกันเพื่อแสดงออกในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม โดยเริ่มตนจาก หลักการพื้นฐานสำคัญที่เชื่อมโยงเรื่องสิทธิมนุษยชนเขาหาสิ่งแวดลอมนั่นก็คือ แนวทางการพัฒนาอยางยั่ ง ยื น บนหลักการมีสวนรวมของประชาชน โดยแสดงใหเห็นถึงการรับรองหลักการมีสวนรวมซึ่งเปนรากฐานของสิทธิ ในการรวมกลุมและเสรีภาพในการแสดงออก ในกฎหมายสิ่งแวดลอมระหวางประเทศทีม่ ีสภาพบังคับตอรัฐไทย แตกตางกัน เรื่อยมาจนถึงกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหวางประเทศผลผูกพันรัฐไทยใหตองประกั น สิ ท ธิ เหล า นี้ นอกจากนี้ยังไดแสดงใหเห็นถึงขอบเขตวิธี การใชสิทธิ เสรี ภาพเชนวารวมถึง เงื่อนไขในการจำกั ด สิ ท ธิ เสรี ภาพ ดั ง กล าวบางประการ โดยในท ายที ่สดุ จะใช รัฐธรรมนู ญแห งราชาอาณาจักรไทย พุ ท ธศักราช 2560 ซึ ่ ง เปน บทบัญญัติกฎหมายที่มีผลผูกพันทุกองคกรเปนแนวทางในการวางหลักประกันสิทธิของประชาชนในการมีสว น รวมแสดงความคิดเห็นและตัดสินใจในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม แต เมื ่อพิ จารณาถึง ขอบเขตประเด็ นศึ กษาในงานวิจ ัย นี้ จะเห็นได วาสิ ทธิ ในความเปนสวนตั ว การ แสดงออก การชุมนุมและการรวมตัวโดยสงบ นั้นไมอยูในขอยกเวนของพันธกรณีดานสิทธิมนุษยชนที่รัฐภาคีไม อาจ ใชมาตรการหลีกเลี่ยงได ซึ่งหมายความวา ในภาวะฉุกเฉินสาธารณะเชนวานั้น รัฐภาคีก็อาจใชมาตรการ บางประการเพื่อจำกัดสิทธิในการชุมนุมไดเพียงเทาที่จำเปน ตามความฉุกเฉินของสถานการณ ซึ่งมีขอสังเกตวา โดยเฉพาะถาภาวะฉุกเฉิน สาธารณะซึ่งคุกคามความอยูรอดของชาตินั้นเกิดขึ้นจาก “กลุมเคลื่อนไหวเรียกร อง สิทธิ” นั้นเอง รัฐภาคีก็ชอบที่จะพิจารณาโดยเด็ดขาดและดำเนินมาตรการบางประการ ในการจำกัดขอบเขต ของการรวมตัวและแสดงออกเพื่อระงับภาวะฉุกเฉินสาธารณะเชนวานั้นได ในปจจุบันอินเตอรเน็ตไดเขามามีบทบาทในการเปนชองทางในการสื่อสารและสรางพื้นที่สาธารณะใน การเชื่อมโยงผูคนที่มีความสนใจและรสนิยมใกลเคียงกันใหเขามาปฏิสัมพันธและแบงปนข อมูลความคิด และ ความปรารถนาความหวังรวมกัน อันเปนที่มาวาตองศึกษาหาความเปนไปไดในการใชอินเตอรเน็ตสงเสริมความ เปนไปไดในการรวมกลุมกันเพื่อแสดงออกในประเด็นฐานทรัพยากรธรรมชาติแ ละสิ่งแวดลอม คนไทยเข า ถึ ง อินเตอรเน็ตไดมากขึ้นตามราคาสมารท โฟนที่ลดลง อันเปนการเพิ่มโอกาสในการใช อินเตอร เ น็ ต โดยเฉพาะ


166

โซเชียลเน็ตเวิรคเปนพื้นที่ในการสรางชุมชนเสมือนที่เชื่อมโยงกันดวยสำนึกรวมดานสิ่งแวดลอม และยังสามารถ ประยุกตใชเปนชองทางในการแสดงออกเพื่อมี สวนรวมในกำหนดทิศทางนโยบายดานสิ่งแวดลอม หรือการมี สวนรวมตัดสินใจในโครงการสาธารณะที่มีผลกระทบตอสิทธิในคุณภาพชีวิตทีด่ ีดานสิ่งแวดลอมของประชาชน การสื่อสารประเด็นอนุรักษธรรมชาติและสิ่งแวดลอม หรือการระดมมวลชนพลเมืองเน็ตใหตระหนักถึงป ญ หา ดานสิ่งแวดลอมจึงเปนชองทางที่จะมีอิทธิพลทางการเคลื่อนไหวขบวนการดานสิ่งแวดลอมมากขึ้นเรื่อยๆ หาก เรื่องการพัฒนาอยางยั่งยืนกลายเปนคุณคาหลักของผูบริโภคในตลาดอีคอมเมิรซ การขับเคลื่อนใหผูผลิ ต ปรั บ กระบวนการผลิต โลจิสติกส และองคาพยพที่เกี่ยวของใหสอดคลองกับมาตรฐานการรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอม ก็จะมีพลังมากขึ้น จากการประเมินสถานการณปจจุบันจะเห็นวาอินเตอรเน็ตสรางศักยภาพในเชิงเปดชองทางและพื้ นที่ ในการรวมกลุมและสื่อสารใหกับขบวนการเคลื่อนไหวดานสิ่งแวดลอมและทรัพยากร เนื่องจากมีทุนในการใช ชองทางและพื้นที่ต่ำ และกาวขามขอจำกัดทางกฎหมายอาทิขอหามดานการรวมกลุมชุมนุมในพื้นที่สาธารณะ ตามกฎหมาย อยางไรก็ดีพลเมืองผูตื่นตัวยังตองเผชิญกับความเสี่ยงอันเนื่องมาจากการแสดงออกไม ว า จะเป น การถูกสอดสองจับตาโดยหนวยงานรัฐ และบรรษัทเอกชน รวมไปถึงการตองคำกลาวหาทางกฎหมายซึ่งสราง อุปสรรคขัดขวางการมีสวนรวมในประเด็นสาธารณะเปนอยางยิ่ง เพราะประชาชนที่ตองการเขามารวมกลุมจะ วิตกกังวลวาอาจเกิดความยุงยากในการสู กระบวนการตอสูคดีทางกฎหมาย และหวั่นใจวาอาจมี ชื่อติ ด อยู ใ น รายชื่อของฝายความมั่นคง หากลองนำกรอบวิเคราะหความสัมพันธทางสังคมแบบทฤษฎี เกมส ขางตนมาพิจารณาประเด็ นทาง กฎหมายในขอบเขตงานวิจัยเรื่ อง “สภาพปญหาและลูทางสนับสนุนสิทธิในการรวมกลุมบนโลกไซเบอร เพื่ อ แสดงออกในประเด็นฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม” จะไดแนวทางในการวิเคราะหปญ หาดังตอไปนี้ เรื่อง / ประเด็นปญหา / การใชเสรีภาพในการแสดงออกและสิท ธิในการรวมกลุม ปะทะ จุดปะทะ การใชอำนาจรัฐรักษาความสงบ และการรักษาภาพลั กษณ ของ เอกชน เวลา กับ พื้นที่

ยามปกติ/ชวงรัฐประกาศสถานการณฉุกเฉินในประเทศไทย

กฎกติกา

รัฐธรรมนูญ พรบ.ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอรฯ ชุดกฎหมายไซ เบอร ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย ชุดกฎหมายความมั่นคงและขาวกรอง5ฉบับ กฎหมายสิ่งแวดลอม

ผูเลน

รั ฐบาล/กองทั พ กลุ  ม ทุ นอุ ต สาหกรรม บรรษั ท ประชาสั งคม ชุ ม ชน ประชาชน เจ า พนั กงานบัง คับใช กฎหมาย ฝ า ยปกครอง ตุลาการ สื่อมวลชน ผูใหบริการอินเตอรเน็ต

ผลประโยชนที่แยงชิงกัน

อำนาจรัฐ สิทธิจัดการสิ่งแวดลอม ทรัพยากร

ความสัมพันธ / เครือขาย

ความสัมพันธสวนตัว ผลประโยชนรวม อุดมการณ


167

เปาหมายสุดทาย

การอยู  ร  ว มกั นในสั ง คมโดยมี ส  ว นร ว มตั ด สิ นใจในประเด็ น สาธารณะ โดยทุกฝายไดรับประกันสิทธิขั้นพื้นฐาน

รางวัล และโทษทัณฑ

รางวัล-ไดมีสวนรวมตัดสินใจ ไดรับการคุมครองสิทธิ โทษทัณฑ-โทษทางกฎหมาย การถูกจำกัดสิทธิในการมีสวนรวม

วิธีการระงับขอพิพาท / จัดการ

การใช ความรุ นแรง การเจรจาต อรอง การประนีประนอมยอม ความ การใชมาตรการกฎหมายนอกศาล การระงับขอพิพาทโดย องคกรอิสระตามรัฐธรรมนูญ กระบวนการยุตธิ รรมในชั้นศาล

การสื่อสารและขอมูล

การสื่อสารผานสื่อของรัฐ/การซื้อพื้ นที่สื่อสารโดยบรรษัท ปะทะ การสื่อสารทางเลือกในสื่อใหม ข อมู ลของรั ฐ/บรรษัท ปะทะ ข อมู ลของขบวนการสิ ่งแวดล อม (เนนการศึกษาในโลกไซเบอร)

จากแนวทางการวิเคราะหขางตนจะสามารถตอบคำถามที่ตั้งไวเปนคำถามงานวิจัยไดอยางครบถ ว น สมบูรณ โดยกรอบที่ใชวิเคราะหก็สามารถแยกแยะใหเห็นถึงปจจัยและเงื่อนไขตางๆที่มีความเกี่ยวของสัมพันธ กันระหวางโลกเสมือนและโลกจริง เพื่อชี้ใหเห็นถึงสภาพปญหาและสามารถถอดบทเรียนเหตุการณ ที่ เกิ ด ขึ้ น อันจะนำไปสูแนวทางแกปญหาที่ขัดขวางกระบวนการมีสวนรวมของประชาชนในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดลอมได ป ญ หาที่ เกิ ดขึ ้ นคือ ตั ว แทนจากหน ว ยงานรั ฐและเอกชนมั กไม มาเจรจาตามนั ดกับกลุ  มเครื อขาย สิ่งแวดลอม และเลื่อนกำหนดการออกไปอยางไมมีกำหนด อีกทั้งยังเตรียมฟองผูเกี่ยวของที่เผยแพรขอมูลในโซ เชียล รัฐบาลมักไมเห็นดวยหรือชะลอการตัดสินใจที่จะใหยกเลิกโครงการที่ไดใชงบประมาณของรัฐ เพราะเกรง วาจะเกิดการฟองรองของผูรับเหมากอสรางเอกชนที่ไดทำสัญญากับรัฐไวแลว มีการดำเนินการฟองรองคดี กับ กลุมคัดคานและนักวิชาการที่ออกมาวิพากษวิจารณ วาเขาขายการดูหมิ่นศักดิศ์ รี ใชถอยคำหยาบคาย อันทำให เกิ ด กระแสโจมตี ทางโซเชี ยลที่ รุ นแรงสร างความเสื่ อมเสีย ชื ่อเสี ย งแก หน วยงานรั ฐและเจ าหน าที ่ ของรัฐ เช นเดี ย วกับภาคเอกชน บรรษั ท อุ ต สาหกรรมที ่ม ักเลือกยุทธวิ ธี ฟ องตบปากเพื่ อสะกดการแสดงออกของ ประชาชนและภาคประชาสังคมเชนกัน อยางไรก็ดี รัฐบาล หนวยงานภาครัฐ หรือภาคเอกชนยอมรับฟงขอมูลและเสียงคัดคานจากประชาชน ที่เคลื่อนไหวตอตานโครงการ โดยมีการพยายามหาแนวทางลดผลกระทบตอสิ่งแวดลอมและการริเริ่มโครงการ พัฒนาใหมที่มีความยั่งยืนกวา โดยขบวนการมีโอกาสเขาไปมีสวนรวมในการใหขอมูล แสดงความคิดเห็น และ รวมตัดสินใจในประเด็นสาธารณะดวย มีการริเริ่มสรางสรรคทั้งในเชิงขอมูลที่เชื่อมโยงกับชุมชนทองถิ่นโดยใช ความเชื ่ อ จารี ต วั ฒนธรรม เป นสิ ่ ง กระตุ นการชุ มนุ มคัด ค าน เช น ผสานวั ฒนธรรมท องถิ ่นที่ ถือเป นวา ทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำ ปา เขาเปนแมและมีความผูกพันกับวิถีชีวิตชาวบานทั้งประเพณี วัฒนธรรมและ


168

ความเชื่อ ในเชิงวิธีการสื่อสารสามารถเชื่อมโยงคนที่อยูตางที่ตางเวลาใหสามารถเชื่อมตอกันไดโดยปราศจาก อุปสรรคดวยอินเตอรเน็ต สามารถแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนขอมูล แลวนำขอมูลไปขยายผลไดตลอด 24 ชั่วโมง จากทั่วทุกมุมโลกที่เขาถึงอินเตอรเน็ต และสามารถนำขอมูลในอินเตอรเน็ตไปขยายผลในโลกจริงทั้ ง ใน ตางประเทศ และในทองถิ่นที่เขาไมถึงอินเตอรเน็ตไดอีกรอบ หลังจากมีกิจกรรมเคลื่อนไหวของขบวนการสิ่งแวดลอม สถานการณที่เกิดกับผูสวนเกี่ยวข องกั บ การ ขับเคลื่อนขบวนการในโลกไซเบอรหรือนำข อความหรือกิจกรรมในโลกจริงมาเผยแพรในโลกไซเบอร คือ ทาง เจาหนาที่ไดเรียกตัวผูมีสว นเกี่ย วข องเขามาที่สถานีตำรวจเพื่ อรับทราบข อกลา วหา และบางกรณี มี การส ง สำนวนไปยังอัยการใหสั่งฟองตอศาลยุตธิ รรม โดยกลุมที่มักจะถูกดำเนินคดีมักประกอบไปดวย 4 กลุมหลัก คือ 1) กลุมของผูจัดงานแสดงความคิดเห็น หรือผูริเริ่มขบวนการตอตานโครงการในโลกไซเบอร โดยหวังผล ใหยุติการนำเสนอขอมูล หรือไปถึงขั้นยอยสลายใหเลิกรวมกลุมชุมชนเสมือนไปเลย 2) กลุมของผูคัดคานในโลกจริง ซึ่งใชสิทธิและยืนยันวามีหนาที่ในการแสดงออกเพื่อปกป อ งทรั พ ยากร ตามสิทธิและหนาที่ของประชาชนแตต องเผชิญ กับคดีความทั้งในแง การชุมนุม สาธารณะและการ แสดงออกจนตองยุติการแสดงความคิดเห็นหรือใหขอมูล หรือยุติบทบาทการเคลื่อนไหว 3) นักวิชาการที่นำเสนอขอมู ลหรือใหใช ขอมู ลที่หนวยงานรัฐและบรรษัทเอกชนคิดว า ทำให เสื่ อมเสี ย ชื่อเสียง โดยหวังใหนักวิชาการยับยั้งการใหขอมูลสนับสนุนขบวนการ หรือออกมาปฏิเสธขอเท็จจริ ง ลดน้ำหนักความนาเชื่อถือของขอมูลที่เปนผลเสียตอหนวยงานรัฐและบรรษัทเอกชน 4) สื่อมวลชนกระแสหลักไดนำขอมูลในโลกไซเบอรไปเผยแพรตอในสื่อกระแสหลักอื่น ๆ ขยายผลความ เสียหายตอภาพลักษณองคกรทั้งภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะสื่อมวลชนที่ไมสามารถควบคุมไดดวย งบประมาณการซื้อพื้นที่โฆษณา สิ่งที่เกิดขึ้นตามมา คือ การดำเนินคดีโดยอาศัย พ.ร.บ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอรฯ เปน กลยุ ท ธ หลั กที่ หน ว ยงานรั ฐและบรรษั ทเอกชนใช แม ม าตรา 14 ของ พ.ร.บ. คอมฯ ฉบั บ แรก เป นคดีที ่ไม สามารถยอมความได ซึ่งก็เปนภาระผูกพันกับจำเลยตอไป ซึ่งก็เขาตามกระบวนการฟองตบปาก คือ เสีย เวลา เสียเงิน ยืดระยะเวลาของคดีออกไป ตอมา พ.ร.บ. คอมพิวเตอร (ฉบับที่ 2) ถูกแกไขใหความผิ ด ในมาตรา 14(1) เปนความผิดที่สามารถยอมความได แตก็ยังสงผลกระทบตอผูถูกฟองตามเดิม แตจากขอเท็จจริงที่เกิดขึน้ ในตอนแรกทางโจทกอาจจะตองการกลั่ นแกลงจำเลย เพราะโจทกมีความประสงคอยางชัดเจนวา ไมขอไกล เกลี่ย จึงทำใหตองดำเนินการตอสูกันในชั้นศาลตอไป จำเลยจึงตองรับภาระทั้งเรื่อง คาใชจาย คาเดินทาง เวลา ในการทำงาน และการมาศาลในหลายๆครัง้ แมสุดทายแลว โจทกจะยอมถอนฟอคดีดังกลาวก็ตาม แมวาผูรา งกฎหมายจะบอกวา การแกไขกฎหมายในมาตราดังกลาวนี้ เพื่อเปนการปกป องการฟ อง หมิ่นประมาท หรือ การฟองตบปาก แตเมื่อเหตุการณนี้เกิดขึ้น ก็ยิ่งตอกย้ำชัดเจนวา กฎหมายฉบับนี้ แมจ ะมี การแกไขแลวก็ยังคงสามารถบังคับใชในเรื่องเดิมไดเชนเดิม ถือวาการแกไขกฎหมายไมประสบความสำเร็จแต อยางใด กรณีการถูกฟองเพื่อตบปากมักใชควบคูไปกับคดีชุมนุมสาธารณะหรือบุกรุกและยังคงมี อีกหลายคดี เชน คดีเหมืองแรทองคำ จังหวัดเลย ทางบริษัททุงคำไดฟอง ผูชุมนุม ซึ่งคดีดังกลาวดำเนินมาตั้งแต ป 2550


169

โดนความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 และ 328 และการดำเนินคดีในศาลก็ดำเนินมาตลอด ชาวบานตองไปศาลอยูหลายครัง้ เมื่อเปนกระแสสังคมถาโถมบรรษัทหนักเขาสุดทายแลว บริษัทฯ ไดถอนฟอง จำเลยในบางกรณี และในหลายกรณีก็ยังมีคดีคา งอยูในระบบ การฟองรองเชิงยุท ธศาสตรตอชาวบา นนอกจากจะเปนการฟ องตบปากแล ว ยังทำใหนำมาเป นข อ ตอรองเพื่อผลประโยชนทางธุรกิจหรือไม ซึ่งทางบริษัทฯเองก็รูดีวา ถาหากตนฟองชาวบาน ตัวของชาวบานเอง ที่เดือดรอน ไมวาจะทั้งคาเสียหายที่ทางบริษัท (โจทก) เรียกใหชาวบานชดใช ซึ่งขอเท็จจริงคือ ชาวบ า นไม มี ทางหาเงินมาจายใหได การตั้งมูลคาความเสียหายจากขอเท็จจริงในคดีที่เกิดขึ้น บางคดีโจทกฟองเรียกคาเสียหายจากจำเลย สูงถึงหลักพันลานบาท หากมองยอนมาที่กรอบการควบคุมการตั้งมูลคาของคดี หรือ มูลคาของความเสียหาย ก็ พบวา ไมมีกรอบหรือกฎหมายใดที่จะกำหนดไวอยางชัดเจน แมวาตัวโจทกอาจจะไมไดหวังชัยชนะในการตอสู คดี แตถาหากศาลพิจารณาพิพากษาแลว โจทกเปนผูชนะ ประเด็นเกิดขึ้นวา จะสามารถบังคับคดีใ ห จ ำเลย ชดใชคาเสียหายอยางไร หรืออีกกรณีหนึ่งการตัง้ มูลคาความเสียหายทีส่ ูงมากนั้น เปนวิธีการขมขูตัวจำเลย หรือ ชาวบานดวย เพราะไมมีใครสามารถชดใชคาเสียหายไดสูงเพียงนั้น ผลกระทบที่เกิดขึ้นหลังจากการตกเปนจำเลย ซึ่งชาวบานไมสามารถหากินได และตองมีรายจายคาคดี ค า ทนาย ค า เอกสาร ค า ประกั นตั ว ฯลฯ นอกจากนี ้ ย ั ง เป นการสรา งความหวาดกลั วให กับชาวบ านและ ครอบครัวที่อยูเบื้องหลัง ยังไมรวมถึงเรื่องของการถูกปดกั้นเสรีภาพในการดำเนินชีวิตในระหวางที่มคี ดีความอยู ทั้งเรื่องของหนาที่การงาน ตำแหนงตางๆ จำเลยบางคนอาจจะถูกกลุมที่เห็นตางเกลียดชังดวย การเลื่อนนัดฟงคำสั่งฟองหรือไมฟองของอัยการ หรือการเลื่อนนัดไปกรณีอื่นๆ ขากขอเท็จจริงจะเห็ น วา คดีเกี่ยวกับเหมืองแรทองที่ถูกฟองหลายคดีนี้ มีการถูกเลื่อนนัดหลายครั้ง ไมไดมีการกำหนดระยะเวลาให อัยการตองออกคำสั่งฟองหรือไม ฟองภายในระยะเวลาเทาใด เปนที่นาสังเกตไดวาการกระทำดังกล า วนี้ จะ สามารถมองไดวาเปนการกลั่นแกลงจำเลยหรือผูตองหาหรือไม การขัดขวางการมีสวนรวมของประชาชนดวยมาตรการทางกฎหมายรูปแบบตางๆ ไมวาจะเป นการ ริเริ่มโดยหนวยงานรัฐ หรือภาคเอกชน ประกอบไปดวยประเด็นการสอดสอง การสลายการรวมกลุมดว ยการ ละเมิดความเปนสวนตัวหรือขอมูลสวนบุคคล การเซ็นเซอรขอมูลเพื่อสกัดการเขาถึงขอมูลสารสนเทศ ไปจนถึง การดำเนินคดีฟองเชิงยุทธศาสตรเพื่อจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน โดยในไทยประเด็นที่เดนชัด สุ ด คื อ เรื ่ องการดำเนิ นคดี เชิง ยุท ธศาสตร การดำเนิ นคดี เชิง ยุทธศาสตร เพื ่อขั ดขวางการมี ส วนร ว มของ ประชาชน หรือ (Strategic Lawsuit Against Public Participation - SLAPP) การตรวจสอบการทำงานของ รัฐบาล หรือเอกชนเปนสิ่งที่สามารถพึ่งกระทำไดตามสิทธิพื้นฐานของประชาชนคนทั่วไป แตหากวาเมื่อฝา ยที่ ถูกตรวจสอบไมพอใจ หรือไมอยากใหคนอื่น หรือประชาชนกลุมอื่นๆรับรู การฟองคดีตบปากจึงเปนทางเลือก หนึ่งที่เขาจะกระทำ การฟองตบปาก มีการใหความหมายไวในหลายภาคสวน ทั้งภาครัฐเอง นักวิชาการ รวมถึง องคกรเอกชน


170

กระนั้นปญหาอยางหนึ่งที่ทำใหการแกปญหา SLAPP เปนไปอยางยากลำบากก็เนื่องมาจากการขาด ระบบกลั่นกรองคดีกอนเขาสู กระบวนการศาล แมวาในบางประเทศจะมีกฎหมายชวยเหลือ (เชน กฎหมาย Anti-SLAPP ของมลรัฐแคลิฟอรเนีย สหรัฐอเมริกา) แตกฎหมายของประเทศไทยยังไมมีประเด็นการพูดถึงกรณี ที่รัฐหรือเอกชนฟองหมิ่นประมาทประชาชนเพื่อเลี่ยงการถูกตรวจสอบ เมื่อเปรียบเทียบกับในตางประเทศ เมื่อ มีการดำเนินคดีเพื่อยับยั้งการมีสว นรวมในกิจ กรรมสาธารณะ (SLAPP) ตัวอยางเชน กฎหมาย Anti-SLAPP ของมลรัฐแคลิฟอรเนีย สหรัฐอเมริกา ไมไดหามโจทกฟองคดีเพื่อยับยั้งการมีสวนรวมในกิจกรรมสาธารณะ แต กฎหมายไดกำหนดมาตรฐานพิเศษเพื่อรักษาไวซึ่งประโยชนสาธารณะ (special motion to strike) คือ การ เปดชองใหจำเลยขอยุติการดำเนินคดีอยางรวดเร็ว และกำหนดภาระใหโจทกต องจายคาใชจายและค า ทนาย ใหกับจำเลย แตเมื่อดูคดีที่เกิดขึ้นในประเทศไทยการบังคับใชกฎหมายนั้นคลุมเครือ แตสงผลกระทบรุนแรงถึง การตัดสิทธิขั้นพื้นฐานในการแสดงออก การเดินทางและเลือกถิ่นที่อยูของผูนำเสนอขอมูลในอินเตอรเน็ต ปญหาที่เกิดขึ้นในเรื่องของการฟองตบปาก ไมไดมีเพียงปญหาเรื่องตัวบทกฎหมาย ยังคงเปนเรื่องของ การบังคับใชกฎหมาย (ทางปฏิบัต)ิ ดวย มีขอเสนอตอการฟองรองดำเนินคดี และแกไข หาทางออก ดังตอไปนี้ 1) แกไขประมวลกฎหมายแพงและพาณิ ชยมาตรา 423 เพิ่มเงื่อนไข “ผูใดกลาวขอความแสดงความ คิดเห็นหรือไขขาวแพรหลายโดยสุจริตในกิจการสาธารณะ ไมตองรับผิดชดใชคาสินไหมทดแทน” 2) เมื่อบุคคลใดถูกดำเนินคดีแ พง เพราะเหตุฟองตบปาก ใหจำเลยยื่นคำขอตอศาลวินิจฉัย ชี้ ชาด ใน ประเด็ นกฎหมายเบื ้ องต น ตามประมวลกฎหมายวิธ ี พ ิจ ารณาความแพ งมาตรา 25 โดยไม ต อง พิจารณาสืบพยาน เพื่อใหคดีเสร็จสิ้นไปจากศาลโดยไมเนิ่นชา 3) ขอเสนอแนะทางคดีอาญา ศาลที่ทำการไตสวนมูลฟองคดีฟองตบปาก เชน ขอหาหมิ่นประมาท ควร ตั้งประเด็นเรื่อง “การติชมดวยความเปนธรรม ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 329(3)” หาก เปนเรื่องการใชเสรีภาพในการติดตามตรวจสอบกิจกรรมสาธารณะ ศาลนาจะยกฟองในชั้นไตสวนมูล ฟองเลย ตามบทบัญญัติมาตรา 165/2 แหงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา นอกจากนี้ อาจมีมาตรการชวยเหลือใหจำเลยสามารถนำเสนอพยานหลักฐานตอศาลใหเห็นวาโจทกฟองคดีโดย ไมสุจริตบิดเบือนขอเท็จจริงเพื่อกลั่ นแกล งเพื่ อใหศาลยกฟองตามมาตรา 161/1 หรือสนั บ สนุ นให ศาลมีมาตรการคัดกรองคดีทมี่ ีลักษณะฟองโดยไมสุจริตเชนวาใหเขมแข็งขึ้น 4) มีมาตรการปกปองคนที่ออกมาเปดโปงหรือแสดงความเห็นโดยสุจริต เชน การเพิ่มภาระการพิ สูจ น ใหกับโจทก โดยโจทกตองเปนฝายพิสูจนวาการกระทำของจำเลยไมไดเปนไปเพื่อประโยชนสาธารณะ ใหศาลมีอำนาจในการใชดุลพินิจคุมครองจำเลยในกรณีที่ศาลเห็นวาความเสียหายของโจทกนั้นนอย กวาประโยชนที่สังคมไดรับจากการแสดงความคิดเห็นของจำเลย ใหศาลมีอำนาจกำหนดคาปรับเชิง ลงโทษแกโจทกในกรณีที่ศาลเห็นวาโจทกใชสิทธิทางศาลโดยไม สุจริตเพื่ อขัดขวางการแสดงความ คิดเห็นเพื่อประโยชนสาธารณะของจำเลย และใหศาลมีอำนาจระงับการกระทำของโจทกที่กำลังถูก จำเลยตรวจสอบจนกวากระบวนการพิจารณาคดีเสร็จสิ้น เปนตน


171

หากประเทศไทยตองการผลักดันนโยบายไทยแลนด 4.0 และตองการสงเสริมใหประชาชนมีสวนร ว ม ในการพัฒนาอยางยั่งยืน จำตองมีพระราชบัญญัตคิ ุมครองขอมูลสวนบุคคล กฎหมายที่ประกันความเปนสวนตัว ในการสื่อสาร และรักษาความมั่นคงไซเบอร ที่ไดมาตรฐานสากล ใน 12 ประเด็นนี้ อันไดแก 1) การรับรองสิทธิพลเมืองในการไดรับความคุม ครองขอมูลสวนบุคคล 2) การกำหนดนิยามหรือองคประกอบวาอะไร คือ ขอมูลสวนบุคคล ที่ไดรับการคุมครอง 3) การกำหนดหนาที่ของผูควบคุมระบบและประมวลผลขอมูลใหชัดเจน 4) การประกันสิทธิในขอมูลสวนบุคคลของประชาชนหรือผูบริโภคตามกฎหมาย 5) การกำหนดขอบเขตและเงื่อนไขในการจัดเก็บขอมูลสวนบุคคลและประมวลผล 6) การกำหนดเงื่อนไขในการสงขอมูลไปใหบคุ คลที่สามหรือขามพรมแดน 7) มาตรการปกปองขอมูลสวนบุคคลจากภัยพิบัติธรรมชาติหรืออาชญากรรม 8) การกำหนดเงื่อนไขในการดักหรือกักเก็บขอมูล 9) การปราบปรามอาชญากรรมปองกันการกอการรายที่กระทบตอสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน 10) การสรางกลไกหรือองคกรในการคุมครองขอมูลสวนบุคคล 11) การบังคับตามสิทธิโดยกำหนดมาตรการตามกฎหมายมหาชน เยียวยาทางแพงและโทษทางอาญา 12) การสรางชองทางรับเรื่องรองทุกขและกลไกเยียวยาสิทธิใหประชาชน ลูทางสงเสริมการการมีสวนรวมของประชาชนในการประเด็นสาธารณะดานทรัพยากรธรรมชาติ แ ละ สิ่งแวดลอม มีดังตอไปนี้ 1) การปรับโครงสรางองคกรในพื้นทีใ่ หประชาชนมีสวนรวม 2) การสงเสริมประชาชนใหเขาถึงขอมูลขาวสารของราชการ 3) การสงเสริมประชาชนใหเขาถึงพยานหลักฐานทีอ่ ยูในครอบครองของเอกชน 4) การนำระบบฟองคดีแบบกลุมมาใช (Class Action) 5) การปรับระบบประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดลอมและสุขภาพ 6) การสรางเครือขายเฝาระวังปญหาแบบมีสวนรวมจากทุกฝาย 7) การสงเสริมความเขมแข็งของภาคประชาชน 8) โครงการที่อาจสงผลกระทบตอสิ่งแวดลอมจะตองใหประชาชนเขามามีสวนรวมทัง้ กอนการอนุญาตใหดำเนิน โครงการและภายหลังจากการดำเนินโครงการไป 9) การจัดการความขัดแยงระหวางขอมูลขาวสารของทางราชการและผูประกอบการกับประชาชน 10) ปรับมาตรการตามกฎหมายไทยโดยอิงหลักการปองกันความเสียหายลวงหนาไวในกระบวนการตัดสินใจทุก ระดับ


172

ขอเสนอเชิงนโยบายสำหรับประเทศไทย • แนวทางแกไขปญหาเฉพาะหนา ระบบกฎหมายไทยไดมีหลักประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชนอยูแลว ดังนั้น เราควรแกไขปญหาการ ลิดรอนสิทธิเสรีภาพ โดยอาศัยกระบวนการที่มีอยูกอน แลวจึงเสนอใหมีการปรับปรุงหลักประกันสิทธิเสรีภาพ เพิ่มเติมภายหลัง แนวทางแกไขปญหาเฉพาะหนาทีร่ ะบบกฎหมายรองรับอยูแลวมี 3 แนวหลัก ๆ ไดแก 1) การโตแยงดุลยพินิจหรือคำสั่งของเจาพนักงาน ปจจุบันระบบกฎหมายไทยไดมีการยอมรับเรื่องการโตแยงดุลยพินิจหรือคำสั่ งของเจ า พนั กงานผ า น กลไกของกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หรือกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง กลาวคือ เจาพนักงาน จะตองใชดุลยพินิจภายใตกรอบที่กฎหมายกำหนดไวเทานั้น หากตองการจะออกคำสั่งที่กระทบกระเทื อนต อ สิทธิของประชาชน จะตองมีกฎหมายรองรับ หากเจาพนักงานใชดุลยพิ นิจหรื อออกคำสั่ง เกิ น ขอบเขตของ กฎหมายหรือปราศจากฐานทางกฎหมายรองรับ คำสั่งเหลานั้นก็จะมิชอบดวยกฎหมาย ไมสามารถบังคับเอากับ ประชาชนได สำหรับกรณีที่เจาพนักงานใชดลุ ยพินิจตัดสินวาเว็บใดไมเหมาะสมแลวออกคำสั่งปดเว็บ เราอาจโตแยง ดุลยพินิจและคำสั่งดังกลาวได หากกฎหมาย ไมไดใหอำนาจแกเจาพนักงานผูนั้นไว หรือถาเจาพนั กงานผู นั้น ไมไดปฏิบัติตามวิธีการที่กฎหมายกำหนด การกระทำทางปกครองของเจาพนักงานคนนั้นก็จะมีลักษณะเปนการ กระทำที่มิชอบดวยกฎหมาย เราสามารถเรียกรองใหเพิ กถอนการกระทำทางปกครองดัง กลาวได โดยผ า น วิธีการรองเรียนผูบังคับบัญชาใหมีคำสั่งยกเลิกการกระทำดังกลาว หรืออาจรองเรียนไปยังหนวยงานทีเ่ กี่ยวของ ใหเพิกถอนการกระทำดัง กลาวก็ได ซึ่งกฎหมายที่เราตองพิจารณาวาเจาพนักงานมี อำนาจหรื อมี วิ ธี ป ฏิ บั ติ ราชการอยางไรนั้น ในที่นี้ ก็นาจะเปนประมวลกฎหมายอาญา หรือ พ.ร.บ. ความผิดเกี่ยวกับคอมพิ ว เตอร ฯ รวมถึงรางกฎหมายความมัน่ คงปลอดภัยไซเบอรและการคุม ครองขอมูลสวนบุคคล นั่นเอง 2) รองเรียนตอ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ และ ผูตรวจการแผนดิน รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ไดออกแบบใหมีองคกรอิสระเพื่อทำหนาทีต่ รวจ ตราการทำงานของภาครั ฐ และรั บเรื ่องราวร องทุ กข จากประชาชนโดยตรงหากเกิดป ญหาการละเมิ ดสิทธิ เสรีภาพของประชาชน หากประชาชนถูกละเมิดสิทธิเสรี ภาพในการแสดงความคิดเห็น ก็อาจรองเรี ย นไปยั ง องคกรอิสระเหลานั้นได ซึ่งองคกรเหลานั้น ไดแก ผูตรวจการแผนดิน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน หากการละเมิ ดสิทธินั ้นเป นการกระทำของเจ าพนั กงานของรั ฐ ประชาชนสามารถร องเรี ยนไปยัง ผูตรวจการแผนดินได เชน ถาเจาหนาที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศสั่งปดเว็บไซต ประชาชนสามารถร อง ทุกขไปยังผูตรวจการแผ นดินใหตรวจสอบการกระทำของเจาหนาที่วาชอบดว ยกฎหมายหรือไม มี ลักษณะ ลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนหรือไม แลวจึงกำหนดวิธีการเยียวยาสิทธิใหแกประชาชน ไมวาจะเปนการ ทำความเห็ น ข อเสนอแนะ ไปยั ง หน ว ยงานที ่ เกี ่ ยวข อง รวมถึ ง การนำคดีขึ ้ นฟ องร องสู  ศาลโดยตรงแทน ประชาชน เพื่อใหศาลวินิจฉัยและมีคำสั่งใหเยียวยาสิทธิตอ ไป


173

สำหรับกรณีทั่วๆไป ที่มีการละเมิดสิทธิของประชาชนไมวาจากการกระทำของใครก็ตามประชาชนยัง สามารถรองเรียนใหคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนสอบสวนขอเท็จจริง และทำความเห็น ขอเสนอแนะ ไปยั ง ผู ละเมิดสิทธิ หรือ หนวยงานที่เกี่ยวของเพื่อใหมีการปรับปรุงแกไข และเยียวยาสิทธิอยางเหมาะสม รวมถึงการ นำคดีขึ้นฟองรองสูศาลโดยตรงแทนประชาชน เพื่อใหศาลวินิจฉัยและมีคำสั่งใหเยียวยาสิทธิตอไป ดังนั้น ถาเกิดกรณีปดเว็บไซตอันเปนการละเมิดตอสิทธิเสรีภาพของประชาชน เราก็อาจนำเรื่ องราว รองทุกขตอองคกรอิสระเหลานี้ไดเชนกัน 3) การฟองรองในกระบวนการศาล ประเทศไทยปกครองดวยระบอบประชาธิปไตย ซึ่งแบงแยกการใชอำนาจอธิปไตย เพื่อประกั นสิ ท ธิ เสรี ภาพให กับประชาชน โดยศาลใช อำนาจในการพิ จารณาพิ พากษาคดี หากฝ ายบริหารมีการกระทำทาง ปกครองที่ไมชอบดวยกฎหมาย ศาลก็อาจพิพากษาเพิกถอนการกระทำดังกลาวได และมีคำสั่งใหเยียวยาสิ ท ธิ แกประชาชน ถาฝายนิติบัญญัติออกกฎหมายที่มีลักษณะลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน ขัดกับรัฐธรรมนูญ ศาลก็มีอำนาจในการพิพากษาใหกฎหมายนั้นเสียไป ศาลอาญา สามารถประกั นสิ ท ธิ เสรี ภาพของประชาชนได ผ า นการพิ จ ารณาพิ พ ากษาคดี ท่ี ผูประกอบการเว็บไซตหรือผูที่เขาไปแสดงความคิดเห็นถูกตั้งขอกลาวหาวาหมิ่นประมาท หมิ่นพระบรมเดชานุ ภาพ หรือ ฝาฝนกฎหมายตางๆ โดยตัดสินคดีไปในทางที่เปนคุณตอสิทธิเสรีภาพ เชน ประชาชนเขาไปแสดง ความคิดเห็นตอการทำงานของรัฐบาล ก็ไมควรถูกกลาวหาและถูกพิ พากษาวามีความผิด ฐานหมิ่ นประมาท เพราะการวิจ ารณนั ้นเปนประโยชนต อสาธารณะ รวมถึ งการตรวจสอบการใชอำนาจของเจาพนักงานตาม กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาวาชอบดวยกฎหมายหรือไม ไมวาจะเปนเขายึด ปด ตรวจสอบ หรือใชอำนาจ อื่นใดที่อาจละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน ศาลแพง สามารถประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชนผูสุจริตได ผานการเยียวยาความเสียหายที่ อาจ เกิดจากการเสียโอกาสในการใชชองทางเว็บไซตหรือเว็บบอรดในการแสดงความคิดเห็นและรับรูขอมูลขาวสาร โดยศาลอาจกำหนดใหผูที่ละเมิดสิทธิของผูอื่นชดใชคาเสียหาย คาเสียโอกาส ใหกับผูเสียหายได เชน เจ า ของ เซิรฟเวอรสกัดกั้นหรือปดเว็บไซตใดเว็บไซตหนึ่ง ผูประกอบการที่ถูกปดก็อาจเรียกรองคาเสียหายตอศาลแพ ง ได อันเนื่องมาจากการสูญเสียโอกาสตางๆเมื่อถูกปดเว็บ ศาลปกครอง สามารถประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชนผานการเยียวยาความเสียหายที่อาจเกิ ด ขึ้ น จากการกระทำทางปกครองของเจาพนักงาน โดยศาลอาจมีคำสั่งใหเพิกถอนการกระทำที่ไมชอบดวยกฎหมาย สั่งใหกระทำการใดๆเพื่อเยียวยาและส ง เสริม สิทธิใหกับประชาชน รวมถึงสั่งใหมีการชดใช ค า เสี ย หายให แ ก ผูเสียหายไดอีกดวย เชน เจาหนาที่ปดเว็บไซตตามอำเภอใจ ศาลอาจมีคำสั่งใหเพิกถอนการปดเว็บไซต และให มีมาตรการเฝาระวัง รวมถึงใหชดใชคาเสียหายแกเจาของเว็บไซตได หรือการตรวจสอบกฎหมายประกอบขน ยายความ พรบ.การกระทำผิดคอมพิวเตอรฯ เชน ระเบียบ ประกาศ เพิ่มเติมทั้งหลายมิใหขัดหรือแยงกับ พรบ. คอมพิวเตอรฯ เอง พระราชบัญญัตอิ ื่นที่เกี่ยวของ หรือรัฐธรรมนูญ


174

ศาลรัฐธรรมนูญ สามารถประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชนผานกระบวนการตรวจสอบความชอบดวย รั ฐธรรมนู ญ โดยศาลสามารถวิ นิจ ฉั ย กฎหมายที่ ออกมาว ามี บทบัญ ญั ติ ที ่ขั ดตอรัฐธรรมนู ญหรือไม หากมี บทบัญญัติดังกลาว ศาลอาจตีความใหเสียไปได และถาหากหลักการสำคัญหรือกระบวนการของกฎหมายฉบับ นั้นมีลักษณะลิดรอนสิทธิเสรีภาพขอประชาชน ศาลก็อาจตีความใหกฎหมายเสียไปทั้งฉบับก็ได รวมถึงบทบาท เชิ ง ก า วหนาของศาลในการตรวจสอบการทำหน าที่ ของฝ ายบริ หารว าไดใชอำนาจละเมิ ดสิ ทธิ เสรีภาพของ ประชาชนและชุมชนตามหมวด 3 หรือละเวนการปฏิบัติหนาทีต่ ามหมวด 5 แหงรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 หรือไม รัฐธรรมนูญฉบับปจจุบัน เปดโอกาสใหประชาชนฟองรองตอศาลรัฐธรรมนูญไดโดยตรง และสามารถ อ า งเรื ่ องศั กดิ ์ศ รี ความเป นมนุ ษย แ ละหน าที่ ของรั ฐในชั ้นศาลใดก็ ไ ด ดั ง นั ้ น การละเมิ ด สิ ท ธิ เสรีภาพอัน เนื่องมาจากสิทธิในการมีสวนรวมดานสิ่งแวดล อม หรือการใชชุดกฎหมายเกี่ยวกับไซเบอรแ ละคอมพิ ว เตอร เพื่อจำกัดการมีสวนรวมของประชาชน นาจะเปนฐานแหงสิทธิทปี่ ระชาชนสามารถใชฟองรองไปยังศาลได ขอเสนอแนะระยะยาว • การเพิ่มขั้นตอนในการกลั่นกรองดุลยพินิจของเจาพนักงาน พ.ร.บ.ความผิ ดเกี ่ย วกับคอมพิ ว เตอร ได ให หลักประกั นแก ผู ที ่ อาจถู กกล าวหาวากระทำความผิด กฎหมายอาญา ภาค 2 ลักษณะ 1 หรือ ลักษณะ 1/1 โดยใหศาลกลั่นกรองการทำหนาที่ของเจาพนักงานไวใน มาตรา 20 ซึ่งในทางปฏิบัติกลับพบวา เจาหนาที่ไมไดยื่นเรื่องใหศาลอนุมัติกอนที่จะทำการปดเว็บไซต ดังนั้น อาจตองมีระบบตรวจตราเพื่อปองกันไมใหเจาหนาที่ปดเว็บไซตตามอำเภอใจ ซึ่งถารอใหมีการปดเว็บไปก อน แลวคอยใหผูเสียหายมารองตอศาลภายหลัง ก็จะกระทบกระเทือนตอสิทธิของประชาชนในชวงที่เว็บถูกปดไป ทั้งๆที่การกระทำของเจาหนาทีไ่ มชอบดวยกฎหมาย • ลดความคลุมเครือของนิยามฐานความผิดในพระราชบัญญัตคิ วามผิดเกีย่ วกับคอมพิวเตอรฯ เงื ่ อนไขที ่ ใ ช ใ นการกล า วหาว า ผู  ใ ดกระทำความผิ ด ตามพระราชบั ญ ญั ต ิ อาทิ มาตรา 14 (1) “บิดเบือน” (2) “ความเสียหายตอความมั่นคงของประเทศ” “กอใหประชาชนตืน่ ตระหนก” (3) “ความมั่นคง” “การกอการราย” นั้นใหนิยามไดคอนขางยาก ซึ่งในทางปฏิบัติ เจาหนาที่ผูดูแลจะใชดุลยพิ นิจ ตั ด สิ นว า การ กระทำหรือเว็บไซตใดเขาขายละเมิดกฎหมายในฐานความผิดตางๆขางตน ซึ่งอาจเปนการกระทำที่ขาดความ เขาใจ มีแรงกดดันทางการเมืองหรือ ตามอำเภอใจ ทำใหประชาชนอาจถูกลิดรอนสิทธิไดงาย ดังนั้น จึงต องมี การฝกอบรมและใหความรูเจาหนาที่ผูปฏิบัติงานมีความเขาใจกฎหมายมากขึ้น และไมใชอำนาจไปในทางลบ โดยไมตั้งใจ • เสนแบง สิทธิเสรีภาพ กับ ความสงบเรียบรอยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน พระราชบัญญัติความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอรฯ มาตรา 20 ไดใหอำนาจในการเซ็นเซอร ข อมู ล กรณี ความมั่นคงของรัฐ และเรื่องความสงบเรียบรอยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ซึ่งเปนปญหาคลาสสิ กด า น สิ ท ธิ เสรีภาพ แม จ ะให ศาลเป นผู  กลั ่ นกรองการใช ดุลยพิ นิ จ แต ก็ น าจะเปนป ญหาในการตีความกฎหมาย


175

เนื่องจากแนวบรรทัดฐานของศาลในเรื่องความสงบเรียบรอยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนมีความไมชัดเจน และไมแนนอน ดังนั้น เราอาจตองสังคายนากฎหมายเรื่องความสงบเรียบรอยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ทั้งระบบ เพื่อใหเกิดมาตรฐานที่ชัดเจนและมั่นคงมากขึ้น เพื่อปองกันมิใหมีการอางเรื่องความสงบเรียบรอยหรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชนเพื่อลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน • ลดการสอดสองของผูใหบริการ ในพระราชบัญญัติความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอรฯ เห็นไดจากมาตรา 18 กับ 19 (การกระทำตาม ม.18 (1)(2)(3) เจาพนักงานสามารถใชอำนาจในการ สอบถาม เรียกบุคคล ขอขอมูลที่ผูใหบริการเก็บไวไดโดยไมจำเปนตองขออนุญาตจากศาล ตามความในมาตรา 18(3) อางถึง มาตรา 26 กำหนดใหผูบริการตองเก็บขอมูลยอนหลัง 90วัน และเจาพนักงานก็เรียกตรวจสอบได ทันทีโดยไมตองขออนุญาตจากศาล ซึ่งเปนการเพิ่มภาระใหกับผูใหบริการ(เจาของเซิรฟเวอร)เปนอันมาก เช น มหาวิทยาลัย ตองจัดเก็บขอมูลของทุ กองคกรย อยๆที่อยู ภายใต การกำกับดูแล เพื่อเปนหลักฐาน เนื่ องจาก เจาหนาที่ของรัฐอาจเรียกเอาขอมูลเมื่อไหรก็ได อาจจะตองปรับกฎหมายหรือกระจายภาระในการจัดเก็บขอมูล ไปใหแกหนวยงานยอยๆ เพื่อใหเกิดความรับผิดชอบของหนวยงานยอยๆที่มีความใกลชิดกับผูที่ใชคอมพิวเตอร ไมเหมะสม ภาระตามกฎหมายขอนี้มีมาก อาจตองใหศาลเขามาเปนผูพิจารณา วาเจาหนาที่จะขอขอมูลไดมาก นอยเพียงใดดวย • ปรับโครงสรางองคกรบังคับใชกฎหมายไซเบอร โครงสรางของกฎหมายเหลานี้ไดวางใหเจาหนาที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสั ง คมเป น ผู  ต รวจตราและบัง คั บใชกฎหมายในกรณีท ี่ เป นเรื ่องร ายแรง ต องยื ่ นเรื่ องขอความเห็นชอบจากรัฐมนตรี กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศรองใหศาลมีคำสั่งระงับการเผยแพรขอมูลหรือเว็บไซต จะเห็นไดวา เปนการใช อำนาจของฝายปกครองและฝายตุลาการ โดยปราศจากการมีสวนรวมของภาคประชาชน ทั้งยังปดโอกาสของผู มี ส ว นได เสี ย ไม ใ ห เข าร วมในการตั ดสิ นใจ เราอาจเสนอให มี การปรับ ปรุ ง พ.ร.บ.โดยการออกแบบให มี คณะกรรมการพิเศษที่ประกอบไปดวยประชาชนหลากหลายกลุม องคกรพัฒนาเอกชน (NGOs) ฝายวิชาการ ฝายผูประกอบการสื่อ เขามารวมทำหนาที่ตรวจตราดวยก็ได เพื่อเพิ่มสัดสวนการมีสวนรวมในการตัดสินใจและ สรางบรรทัดฐานที่หลากหลายและเปนที่ยอมรับจากฝายที่เห็นตางมากยิ่งขึ้น • การควบคุมกฎหมายรองที่ขัดหรือแยงกับรัฐธรรมนูญ สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการเขาถึงขอมูลขาวสารตามรัฐธรรมนูญไทยนั้น อาจตองใช สิทธิตามที่กฎหมายบัญญัติ ในทางปฏิบัตพิ บวา ประเทศไทยยังมีกฎหมายลำดับรองซึ่งมีบทบัญญัติขัดหรือแยง กับรัฐธรรมนูญอยูหลายฉบับ อาทิ ชุดกฎหมายเกี่ยวกับความมั่ นคงและขาวกรอง ชุดกฎหมายไซเบอร แ ละ คอมพิวเตอร กฎหมายแพงและพาณิชยเกี่ยวกับการละเมิดตอเกี ยรติยศชื่อเสี ยง กฎหมายอาญาเกี่ย วกั บ การ หมิ่นประมาท บรรษัทหรือผูมีอำนาจรัฐมักใชกฎหมายเหลานี้เปนเครื่องมือในการกลาวหาฝายตรงข า มทุ กยุ ค ทุกสมัย ดังนั้น หากมีการแกไขหรือปรับปรุงกฎหมายเหลา นี้ใหสอดคล องกับหลั กประกั น สิ ท ธิ เสรี ภาพตาม รัฐธรรมนูญ ก็จะเปนการลดปญหาการใชกฎหมายระดับรองเพื่อลิดรอนสิทธิเสรีภาพไดดยี ิ่งขึ้น


176

นอกจากนี้ประชาชนอาจใชสิทธิในการเขาชื่อเสนอกฎหมายเพื่อขอใหมีการยกรางกฎหมาย ฉบับใหม เชน กฎหมายตอตานการดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตรเพื่อขัดขวางการมีสวนรวมของประชาชน หรือแกไขกฎหมาย ลำดับศักดิ์รองตาง ๆ ที่มีลักษณะลิดรอนสิทธิของประชาชนใหสอดคลองกับเจตนารมณของในการสงเสริมสิทธิ การมีสวนรวมประชาชนตามรัฐธรรมใหมากยิ่งขึ้น


177

บรรณานุกรม ภาษาอังกฤษ _________ . “Spain: New counter-terrorism proposals would infringe basic human rights.” AMNESTY INTERNATIONAL. Accessed February 10, 2019. https://www.amnesty.org/en/latest/news/2015/02/spain-new-counter-terrorismproposals-would-infringe-basic-human-rights/. _____________ . “Spain: New counter-terrorism proposals would infringe basic human rights.”

AMNESTY INTERNATIONAL. Accessed February 10, 2019. https://www.amnesty.org/en/latest/news/2015/02/spain-new-counter-terrorismproposals-would-infringe-basic-human-rights/.

_____________ . “UN rights experts urge Spain to

reject legal reform projects.” JURIST. Accessed February 23, 2019. http://jurist.org/paperchase/2015/02/un-rights-experts-urge-spain-toreject-legal-reform-projects.php.

350.Org. (2015). “Tell President Obama: Stop Keystone XL!.” Retrieved August 12, 2018, from 350.org: https://act.350.org/letter/obama-keystone-frontpage/. Aihwa Ong. (2006). Neoliberalism as Exception: Mutations in Citizenship and Sovereignty. North Carolina: Duke University Press. Alain Touraine. (1985). An Introduction to the Study of Social Movements Social Research, 52(4), Social Movement. (Winter 1985). Alberto Melucci. (1980). “The new social movements: A theoretical approach. Information.” International Social Science Council. 19(2), 199–226. Alleen Brown, Will Parrish and Alice Speri. (2017). “Leaked documents reveal security firms counterterrorism tactics at standing rock to defeat pipeline insurgencies.” Retrieved September 12, 2018, from The The Intercept: https://theintercept.com/2017/05/27/leaked-documents-reveal-security-firmscounterterrorism-tactics-at-standing-rock-to-defeat-pipeline-insurgencies/. Amazon Defense Coalition. (2018). “Report Shows Chevron Lawyers at Gibson Dunn Falsified Evidence to Target Steven Donziger in Ecuador Pollution Case.” Retrieved September 12, 2018, from CSR wire: http://www.csrwire.com/press_releases/41282-Report-ShowsChevron-Lawyers-at-Gibson-Dunn-Falsified-Evidence-to-Target-Steven-Donziger-inEcuador-Pollution-Case.


178

Amazon Defense Coalition. (2018). “Report Shows Chevron Lawyers at Gibson Dunn Falsified Evidence to Target Steven Donziger in Ecuador Pollution Case.” Retrieved September 12, 2018, from CSR wire: http://www.csrwire.com/press_releases/41282-Report-ShowsChevron-Lawyers-at-Gibson-Dunn-Falsified-Evidence-to-Target-Steven-Donziger-inEcuador-Pollution-Case. Amazon Watch. (n.d.). (2018). “Chevron's Chernobyl in the Amazon.” Retrieved September 12, 2018, from Amazon Watch: http://amazonwatch.org/work/chevron. Andrew Vincent. (1993). “Marx and Law.” Journal of Law and Society. 20(4). Antonio Gramsci. (1971). Selections from the Prison Notebooks. New York City: International Publishers. Antonio Negri. (2014). Factory of Strategy: Thirty-Three Lessons on Lenin. New York: Columbia University Press. Anupam Chander. (2002). “Whose Republic?.” University of Chicago Law Review. 65, pp. 1479–500. Benedetto Fontana. (1993). Hegemony and Power: On the Relation between Gramsci and Machiavelli. Minnesota: University of Minnesota Press. Benedict Anderson. (1991). Imagined Communities: Reflections on the Origin and Spread of Nationalism. London: Verso. Brian Massumi. (2002). Parables for the Virtual: Movement, Affect, Sensation. Durham and London: Duke University Press. CASP. (no date). “California’s Anti-SLAPP Law and Related State Statutes.” Retrieved September 26, 2018 from California Anti-SLAPP Project: http://www.casp.net/california-anti-slapp-first-amendment-law-resources/statutes/. CASP. (no date). “Cases Involving the California Anti-SLAPP Law.” Retrieved September 26, 2018 from California Anti-SLAPP Project: http://www.casp.net/california-anti-slappfirst-amendment-law-resources/. CASP. (no date). “Code of Civil Procedure – Section 425.17 Exemptions to California’s AntiSLAPP Law.” Retrieved September 26, 2018 from California Anti-SLAPP Project: http://www.casp.net/california-anti-slapp-first-amendment-law-resources/statutes/c-cp-section-425-17/.


179

CASP. (no date). “Code of Civil Procedure – Section 425.18 SLAPPback Claims in California.” Retrieved September 26, 2018 from California Anti-SLAPP Project: http://www.casp.net/california-anti-slapp-first-amendment-law-resources/statutes/c-cp-section-425-18/. CBC. (2017). “Keystone XL would be exempt from needing U.S.-made steel, reports say.” Retrieved August 12, 2018, from CBC News: http://www.cbc.ca/news/business/transcanada-keystone-xl-1.4008897. César Cuauhtémoc García Hernández. (2007). “Radical Environmentalism: The New Civil Disobedience?.” Seattle Journals for Social Justice, 6 Fall/Winter 2007. Charles Tilly. (2008). Credit and Blame. New Jersey: Princeton University Press. citizenthaipbs. (2560). “คดีซุมประตู 50 ลาน คนรักษบานเกิดฯฟองกลับเหมืองทอง เรียกคาเสียหาย 1.7 ลานบาท.” จากเว็บไซต citizenthaipbs: https://www.citizenthaipbs.net/node/19693. Common Dreams. (2018). “'Guilty on All Counts!': In Historic Victory, Monsanto Ordered to Pay $289 Million in Roundup Cancer Lawsuit.” Retrieved August 14, 2018, from Common Dreams: https://www.commondreams.org/news/2018/08/10/guilty-allcounts-historic-victory-monsanto-ordered-pay-289-million-roundup-cancer. CorpWatch. (2018). “History and Mission.”Retrieved August 13, 2018, from CorpWatch: https://corpwatch.org/node/4. Cristina Flesher Fominaya. (2014). Social Movements and Globalization: How Protests, Occupations and Uprisings are changing the World. Houndmills: Palgrave Macmillan. Dan Hunter. (2003). “Cyberspace as Place and the Tragedy of the Digital Anticommons.” California Law Review. 91. David Harvey. (1992). The Condition of Post-Modernity: An Enquiry into the Origins of Cultural Change. New Jersey: Wiley-Blackwell. Democracy Now. (2016). “Dakota Access Pipeline Company Attacks Native American Protesters with Dogs & Pepper Spray.” Retrieved September 12, 2018, from YouTube: https://www.youtube.com/watch? v=kuZcx2zEo4k.


180

EarthRights International. (2017). “Hongsa Power Plant and Mining Project.” Retrieved August 12, 2018, from EarthRights International: https://earthrights.org/what-wedo/extractives-industries/hongsa-power-plant-and-mining-project. Earthrights. (2006). “Villagers in Burma Reject Plans to Dam the Salween River.” Retrieved August 14, 2018, from EarthRights International: https://earthrights.org/blog/villagersin-burma-reject-plans-to-dam-the-salween-river. Eli Pariser. (2011). The Filter Bubble: What the Internet is Hiding from you. London: Penguin Books. Elise Labott and Jeremy Diamond (2017). “Trump administration approves Keystone XL pipeline.” Retrieved August 12, 2018, from CNN: https://edition.cnn.com/2017/03/23/politics/keystone-xl-pipeline-trumpapprove/index.html. Ethan Zuckerman. (2013). Rewire: Digital Cosmopolitans in the Age of Connection. New York: W. W. Norton and Company. Felix Guattari. and Suely Rolnik. (2008). Molecular Revolution in Brazil. Los Angeles: Semiotest(e). George Orwell. (1949). Nineteen Eighty-Four (1984). London: Secker and Warburg. Giorgio Agamben. (2003). State of Exception. Chicago: University of Chicago Press. Glenn Greenwald. (2014). No Place to Hide: Edward Snowden, the NSA and the Surveillance State. London: Hamish Hamilton. Grant Gerlock. (2017). “Nebraska landowners revive fight against Keystone XL.” Retrieved August 12, 2018, from Inside energy: http://insideenergy.org/2017/02/15/nebraskalandowners-revive-fight-against-keystone-xl/. Greennews. (2559). “8 ป ทุงคำ ฟองชาวบาน 320 ลาน 16 พ.ค.ชี้ชะตา คดีชายชุดดำทุบ คนรักษบาน เกิด.” สืบคนเมื่อ 10 กันยายน 2561. จากเว็บไซต กรีนนิวส: https://greennews.agency/?p=7860. Greenpeace. (2017). “Corporate bullies can’t silence the resistance.” Retrieved September 12, 2018, from Greenpeace: https://act.greenpeace.org/page/16230/petition/1?_ga=2.100978945.1034032830. 1536573273-1610496510.1536573273.


181

Greenpeace. (2017). “Federal Court Dismisses Resolute SLAPP Suit against Greenpeace.” Retrieved September 12, 2018, from Greenpeace: https://www.greenpeace.org/usa/news/federal-court-dismisses-racketeering-caseagainst-greenpeace. Greenpeace. (2017). “Greenpeace v. Energy Transfer Partners: The Facts.” Retrieved September 12, 2018, from Greenpeace: https://www.greenpeace.org/usa/globalwarming/greenpeace-v-energy-transfer-partners-facts/. Greenpeace. (2018). “Search results for keystone XL.” Retrieved August 12, 2018, form Greenpeace: https://www.greenpeace.org/usa/?s=keystone+xl. Gunther Teubner. (2004). “Societal Constitutionalism: Alternatives to State-Centred Constitutional Theory?.” in Christian Joerges, Inger-Johanne Sand and Gunther Teubner. (eds). International Studies in the Theory of Private Law Transnational Governance and Constitutionalism. Oxford: Hart Publishing. Heidi Boghosian. (2013). Spying on Democracy: Government Surveillance, Corporate Power and Public Resistance. San Farancisco: City Lights Books. Heidi Boghosian. (2013). Spying on Democracy: Government Surveillance, Corporate Power and Public Resistance. San Farancisco: City Lights Books. Henri Lefebvre. (1992). The Production of Space. New Jersey: Wiley Publishing. iiLaw. (2560). “บริษัททุงคำ VS พรทิพย ชาวบานเลยคัดคานเหมืองทองคำ.” สืบคนเมื่อ 10 กันยายน

จากเว็บไซต ilaw: https://freedom.ilaw.or.th/th/case/632#progress_of_case.

2561.

iLaw. (2557). “ภูเก็ตหวาน คดีบรรทัดฐานของเสรีภาพสื่อกับมาตรา 14(1).” สืบคนเมื่อ 24 กันยายน 2561. จากเว็บไซต iLaw: https://freedom.ilaw.or.th/computerrelatedcrimechargeonphuketwan. iLaw. (2560). “คดีบริษัทเหมือง ฟองนักขาวเนชั่น.” สืบคนเมื่อ 5 กันยายน 2561. จากเพจเฟสบุค iLaw: https://www.facebook.com/iLawClub/posts/คดีบริษทั เหมือง-ฟองนักขาวเนชั่น-จำเลยไปศาล นัดไกลเกลี่ยในวันนี้-โจทกยืนยันจะไ/10158677808840551/. ilaw. (2561). “เลื่อนไมเลิก: การเลื่อนคดีของอัยการสรางภาระทีเ่ พิ่มขึ้นใหผูตองหา We Walk.” สืบคนเมื่อ 12 กันยายน 2561. จากเว็บไซต ilaw: https://freedom.ilaw.or.th/blog/เลื่อนไมเลิก-การเลื่อนคดี ของอัยการสรางภาระที่เพิ่มขึ้นใหผูตองหา-we-walk. ilaw. (2561). “ไกรวุฒิ: พ.ร.บ. ชุมนุมจากการลมเวทีรับฟงความเห็นทาเรือปากบารา.” สืบคนเมื่อ 10 กันยายน 2561. จากเว็บไซต ilaw: https://freedom.ilaw.or.th/th/case/809#progress_of_case.


182

International Rivers. (2018). “About International Rivers.” Retrieved August 13, 2018, from International Rivers: https://www.internationalrivers.org/resources/about-internationalrivers-3679 International Rivers. (2018). “Dam collapse in Laos displaces thousands, exposes dam safety risks.” Retrieved August 13, 2018, from International Rivers: https://www.internationalrivers.org/dam-collapse-in-laos-displaces-thousands-exposesdam-safety-risks. Jack M. Balkin. (2004). “Digital Speech and Democratic Culture: A Theory of Freedom of Expression for the Information Society.” New York University Law Review, 79, pp. 1– 58. Jacques Derrida. (1992). Deconstruction and the Possibility of Justice. New York City: Routledge. Jacques Rancière. (2004). The Politics of Aesthetics: The Distribution of the Sensible. London: Bloomsbury Publishing PLC. Jacques Rancière. (2009). The Aesthetic Unconscious. New Jersey: Wiley Publishing. Jacques Rancière. (2015). Disagreement: Politic and Phylosophy. Minnesota: University of Minnesota Press. James Boyle. (1997). “Foucault in Cyberspace: Surveillance, Sovereignty, and Hardwired Censors.” University of Cincinnati Law Review. 66, pp. 177–205. James C. Scott. (1985). Weapons of the Weak: Everyday Forms of Peasant Resistance. London: Yale University Press. James Grimmelmann. (2004). “Virtual Worlds as Comparative Law.” New York Law School Law Review. 1, pp. 147–184. Jean-François Lyotard. (1984). The Postmodern Condition. Minnesota: University of Press. Jeff Ginger. (2008). The Facebook Project-Performance and Construction of Digital Identity. Master’s degree paper, University of Illinois at Urbana-Champaign. Jeff Ginger. (2008). The Facebook Project-Performance and Construction of Digital Identity. Master’s degree paper, University of Illinois at Urbana-Champaign.


183

Jennifer L. Mnookin. (1996). “Virtual(ly) Law: The Emergence of Law in LambdaMOO.” Journal of Computer-Mediated Communication. 2, pp. 645–701. Jerry Kang. (2000). “Cyber-Race.” Harvard Law Review. 113, pp. 1130–1208. Johan Galtung. (1969). “Violence, Peace, and Peace Research.” Journal of Peace Research. 6(3). John Nash. (1950). "Equilibrium points in n-person games." Proceedings of the National Academy of Sciences. 36(1). John Nash. (1951). "Non-Cooperative Games." The Annals of Mathematics. 54(2). Join O. Hayward. (2011). “Anti-Cyber Bullying Statutes: Threat to Student Free Speech.” Cleveland State Law Review. 59(85): 88-89. Jon Hurdle. (2017). “Judge throws out developer’s ‘SLAPP suit’ against environmental group.” Retrieved September 12, 2018, from State Impact: https://stateimpact.npr.org/pennsylvania/2017/08/23/. judge-throws-out-developers-slapp-suit-against-environmental-group/ Jon Hurdle. (2018). “Court rejects developer’s effort to block protest against town homes plan.” Retrieved September 12, 2018, from State Impact: https://stateimpact.npr.org/pennsylvania/2018/09/07/ court-rejects-developers-effort-to-block-protest-against-town-homes-plan/. Judith Sunderland. “Dispatches: Spain’s Nasty Bill Will Punish Those Living on the Streets.” Human Rights Watch. Accessed December 10, 2014. http://www.hrw.org/news/2014/12/10/dispatches-spain-s-nasty-bill-will-punish-thoseliving-streets. Julian Assange. (2014). When Google Met WikiLeaks. New York: OR Books. Julie E. Cohen. (2000). “Examined Lives: Informational Privacy and the Subject as Object.” Stanford Law Review. 52, pp. 1373–1438. Jürgen Habermas. (1996). Between Facts and Norms Contributions to a Discourse Theory of Law and Democracy. Cambridge: The MIT Press. Karen news. (2018). ““We Want Peace, Not Dams…” – 1000’s of Villagers Protest Proposed Salween Dams in Karen State.” Retrieved August 14, 2018, from Karen news:


184

http://karennews.org/2018/03/we-want-peace-not-dams-1000s-of-villagers-protestproposed-salween-dams-in-karen-state Karl Marx, Friedrich Engels, Maureen Elizabeth Cain. รวบรวมโดย Alan Hunt (1979). Marx and Engels on law. Michigan: Academic Press. Ken Binmore. (2007). Playing for Real: A Text on Game Theory. Oxford: Oxford University Press. Kimberly L. Mason. (2008). “Cyberbullying: A preliminary assessment for school personnel.” Psychology in the Schools. 45(4): 323. Lawrence Lessig. (1998). “What Things Regulate Speech: CDA 2.0 vs. Filtering.” Jurimetrics Journal. 38, pp. 629–670. Lori Pilger. (2018). “TransCanada wins court challenge to attorney fees, won’t have to pay $354K.” Retrieved August 12, 2018, from Lincoln Journal Star: https://journalstar.com/business/local/ transcanada-wins-court-challenge-to-attorney-fees-won-t-have/article_ed72ae58-92405e59-a6d4-def1e29decfe.html. Manuel Castells. (1996, second edition, 2009). “The Rise of the Network Society, The Information Age: Economy.” Society and Culture. Vol. I. Malden, MA; Oxford, UK: Blackwell. Margaret Jane Radin. (2004). “Regulation by Contract, Regulation by Machine.” Journal of Institutional and Theoretical Economics. 160, pp. 142–56. Mark Hefflinger. (2017). “Legal Experts, Landowners, Tribal Organizations and Green Groups Vow To Stop KXL Again.” Retrieved August 12, 2018, from Bold Nebraska: http://boldnebraska.org/legal-experts-landowners-tribal-organizations-and-greengroups-vow-to-stop-kxl-again/. Michael Hardt and Antonio Negri. (2009). Commonwealth. Massachusetts: Harvard University Press. Michael J. Bowe. (2016). “Resolute v Greenpeace.” Retrieved September 12, 2018, from Resolute v Greenpeace: http://www.resolutevgreenpeace.com/. Michel Foucault. (1977). Discipline & Punish: The Birth of the Prison. New York: Pantheon.


185

Michel Foucault. (1990). "Sexual Morality and the Law." Politics, Philosophy, Culture. London: Routledge. Michel Foucault. (1991). “Governmentality.” The Foucault Effect: Studies in Governmentality. Chicago: University of Chicago Press. Michel Foucault. (1998). The Will to Knowledge. London: Penguin. Michel Foucault. (2001). Power: Essential Works of Foucault, 1954-1984. New York City: New Press. Mike Ives. (2018). “Laos Dam Failure Exposes Cracks in a Secretive Government’s Agenda.” Retrieved August 13, 2018, from The New York Times: https://www.nytimes.com/2018/07/29/world/asia/laos-dam-responsegovernment.html. Molly Dorozenski. (2018). “The Truth About Energy Transfer Partners.” Retrieved September 12, 2018, from Greenpeace: https://www.greenpeace.org/usa/the-truth-about-energytransfer-partners/. Nancy Lee Peluso. (1992). Rich Forest, Poor People: Resource Control and Resistance in Java. Berkeley: University of California Press. Nation TV. (2559). “"บวรศักดิ์"ประกาศตาน"พรอมเพย" ลั่น"ใหตายผมก็ไมยอม".” สืบคนเมื่อ 21 พฤษภาคม 2562. จากเว็บไซต NationTV: http://www.nationtv.tv/main/content/378508679/. National Geographic. (2017). “what is the Keystone XL Pipeline?.” Retrieved August 12, 2018, from YouTube: https://www.youtube.com/watch?v=cT9NH9I_DWE. Niccolò Machiavelli. (1532). The Prince. unknown. No KXL Dakota. (2014). “Tell the South Dakota Public Utilities Commission: Say NO to Keystone XL.” Retrieved August 12, 2018, from No KXL Dakota: http://nokxldakota.org/. Noam Chomsky. (1998). Language and Politics. Oakland US: AK Press. Nokxldakota. (2014). “A shared vision to protect the land, water, and people.” Retrieved August 12, 2018, from No KXL Dakota: http://nokxldakota.org/.


186

Patricia W. Birnie and Alan E. Boyle. (1992). International Law and the Environment. Oxford: Clarendon Press. Paul Schiff Berman. (2005). “Towards a Cosmopolitan Vision of Conflict of Laws: Redefining Governmental Interests in a Global Era.” University of Pennsylvania Law Review. 153, pp. 1819–1882. Paul Schiff Berman. Editor. (2007). Law and Society Approaches to Cyberspace. Hampshire: Ashgate Publishing. Pedro Águeda. “Spain: New list of terrorists according to PP and PSOE penal code reform.” X-PRESSED. Accessed February 3, 2019. http://www.x-pressed.org/?xpd_article=spainnew-list-of-terrorists-according-to-pp-and-psoe-penal-code-reform. PhiI Mckenna. (2018). “‘We Will Be Waiting’: Tribe Says Keystone XL Construction Is Not Welcome.” Retrieved August 12, 2018, from Inside climate news: https://insideclimatenews.org/news/13072018/keystone-xl-pipeline-native-americanresistance-oil-spill-cheyenne-river-sioux-dakota-access-transcanada. Pierre Bourdieu. (1987). “The Force of Law: Toward a Sociology of the Juridical Field.” THE HASTINGS LAW JOURNAL. 38(3). Pierre Bourdieu. (1998). Acts of Resistance: Against the New Myths of Our Time. Oxford: Polity Press. Rainforest Action Network. (2016). “#NoKXL Rejection Rally- SF.” Retrieved August 12, 2018, from Facebook: https://www.facebook.com/media/set/?set=a.10153712135605960&type=1&l=e5e3da2 e40. Rainforest Action Network. (2017). “Tell big banks: On December 15, say no to the Keystone XL pipeline!.” Retrieved August 12, 2018, from RAN: https://www.ran.org/chase_stop_kxl. Rebecca K. Smith. (2008). “‘Ecoterrorism’?: A Critical Analysis of the Vilification of Radical Environmental Activist as Terrorists.” Environmental Law, 38 Spring 2008. Reuters Staff. (2018). “TransCanada to start work on Keystone XL in Montana in fall 2018: letter.” Retrieved August 12, 2018, from Reuters: https://www.reuters.com/article/ustranscanada-keystone/transcanada-to-start-work-on-keystone-xl-in-montana-in-fall2018-letter-idUSKBN1I42DL.


187

Rex Weyler. (2017). “Chevron’s Amazon Chernobyl Case moves to Canada.” Retrieved September 12, 2018, from Intercontinental Cry: https://intercontinentalcry.org/chevrons-amazon-chernobyl-case-moves-canada/. Rex Weyler. (2017). “Chevron's Amazon Chernobyl Case moves to Canada.” Retrieved September 12, 2018, from Greenpeace: https://www.greenpeace.org/archiveinternational/en/news/Blogs/ makingwaves/chevron-amazon-indigenous-people-legal-case-canada/blog/60241/. Richard J. Ross. (2002). “Communications Revolutions and Legal Culture: An Elusive Relationship.” Law and Social Inquiry, 27, pp. 637–84. Richard Kahn & Douglas Kellner. (2003). “Internet Subcultures and Oppositional Politics.” In David Muggleton & Rupert Weinzierl (Eds.). The post-subcultures reader. Oxford; New York: Berg. Richard L. Abel. (1995). “What We Talk About When We Talk About Law.” in Richard L. Abel. (ed.). The Law and Society Reader. New York: New York University Press, pp. 1–10. ‘When asked what I study, I usually respond gnomically: everything about law except the rules’. Roscoe Pound. (1910). “Law in Books and Law in Action: Historical Causes of Divergence between the Nominal and Actual Law.” American Law Review, 44, pp. 12–34. Salween Watch. (2014). “Hydropower Projects on the Salween River: An Update.” Retrieved August 14, 2018, from International Rivers: https://www.internationalrivers.org/resources/hydropower-projects-on-the-salweenriver-an-update-8258. Shannon Hartzler. (2007). Protecting Informed Public Participation: Anti-Slapp Law and the Media Defendant. Valparaiso University Law Review. 41(3).. Shaun Walker. (2013). “Greenpeace activists could be charged with terrorism after ship stormed.” Retrieved August 14, 2018, from The Guardian: https://www.theguardian.com/environment/2013/sep/20/greenpeace-ship-stormedrussian-coastguard. Sherry Turkle. (2004). “How Computers Change the Way We Think.” Chronicle of Higher Education. 26.


188

Skylar Lindsay. (2018). “Water is Life, But what’s in the Water?.” Retrieved August 12, 2018, from EarthRights International: https://earthrights.org/blog/water-is-life-but-whats-inthe-water/. Steven M. Buechler. (1995). “New Social Movement Theories.” Sociological Quarterly. 36(3). Summer Harlow. (2011). Social Media and Social movements: Facebook and online Guatemalan justice movement that moved offline. Retrieved December 29, 2018 from http://nms.sagepub.com/ content/18/8/1715.full.pdf+html. TDRI. (2560). “การฟองหมิ่นประมาท: จุดสมดุลระหวางประโยชนสวนตัวและประโยชนสวนรวม.” สืบคน เมื่อ 24 กันยายน 2561. จากเว็บไซต TDRI: https://tdri.or.th/2016/06/trf-antislapplaw/. Thai Human Right. (2553). ขอทำความเขาใจในเรื่องเสรีภาพของการแสดงความคิดเห็น (Freedom of Expression). สืบคนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2562. https://thaihumanrights.wordpress.com/2013/07/05/ขอทำความเขาใจในเรื่อง/. Thai PBS NEWS. 2561. “ขูฟองตั้งฉายา “หมูบานปาแหวง” เชิงดอยสุเทพ-ปุย.” สืบคนเมื่อ 10 กรกฎาคม. 2561. จากเว็บไซต ThaiPBS: https://news.thaipbs.or.th/content/271396. Thaipost. (2561). “หมูบานปาแหวงจบ! ศาลขอใชที่เขียงราย.” สืบคนเมื่อ 12 สิงหาคม 2561. จวกเว็บไซต ไทยโพสต: https://www.thaipost.net/main/detail/15210. The Guardian. (2015). “Obama rejects Keystone XL pipeline and hails US as leader on climate change.” Retrieved August 12, 2018, from The Guardian: https://www.theguardian.com/ environment/2015/nov/06/obama-rejects-keystone-xl-pipeline. The Guardian. (2016). “North Dakota pipeline: 141 arrests as protesters pushed back from site.” Retrieved August 12, 2018, from The Guardian: https://www.theguardian.com/us-news/2016/oct/27/north-dakota-access-pipelineprotest-arrests-pepper-spray. The Guardian. (2018). “Tens of thousands march worldwide against Monsanto and GM crops.” Retrieved August 14, 2018, from The Guardian: https://www.theguardian.com/environment/2015/may/24/tens-of-thousands-marchworldwide-against-monsanto-and-gm-crops. Todd Wolfson. (2014). Digital Rebellion: The Birth of the Cyber Left. Urbana, IL: University of Illinois Press.


189

UN Office of the High Commissioner for Human Rights (OHCHR), Press Release of Human rights experts from the 23/2/2015. <http://www.ohchr.org/EN/NewsEvents/Pages/DisplayNews.aspx?NewsID=15597&Lang ID=E>. Accessed 28/3/2015. UN. (1992). U.N. GAOR, 46th Sess. Agenda Item 21, UN Doc A/Conf.151/26. UN. (1992). UN Doc. A/CONF. 151/26 (vol.1); 31 ILM 874. UN. UN. GA Res, 2997. United Nations. Report of the United Nations Conference on the Human Environment. Stockholm, 5-16 June 1972, A/CONF.48/14/Rev.1. Victoria Carty. (2015). Social Movement and New Technology. Boulder: Westview Press. Walter L. Adamson. (1980). Hegemony and Revolution: A Study of Antonio Gramsci's Political and Cultural Theory. California: University of California Press. ภาษาไทย _________ . “ขอใหศาลอุทธรณ ภาค๕ คืนพื้นที่ปาดอยสุเทพ ๑๔๗ ไร ๓ งาน ๔๑ ตารางวา.”: https://www.change.org/p/ขอใหศาลอุทธรณ-ภาค-๕-คืนพื้นที่ปา ดอยสุเทพ-๑๔๗-ไร-๓-งาน-๔๑ตร-ว?source_location=discover_feed. BBC. (2561). “บานศาลในปาแหวง บทสะทอนความยอนแยง นโยบายทวงคืนผืนปา คสช.” สืบคนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2561. เว็บไซต BBC: https://www.bbc.com/thai/thailand-43708707. Nigel Warburton. (2560). จอมพล พิทักษโยธิน, แปล. (2560). free speech. กรุงเทพฯ : โอเพนเวิลดส พับลิชชิ่ง เฮาส. กรพินธุ พัวพันสวัสดิ์. (2558). “แนวคิดทางการเมืองเรื่องการขัดขืนตอตาน (Resistance).” สืบคนเมื่อ 23 ธันวาคม 2561 จาก ประชาไท: https://prachatai.com/journal/2015/02/57955. กฤษฎา บุญชัย. (2542). ประชาสังคม: พื้นที่สาธารณะที่ประชาชนจัดการกันเอง. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ. กอบกุล รายะนาคร. (2550). กฎหมายกับสิ่งแวดลอม. กรุงเทพฯ: วิญูชน. กอบกุล รายะนาคร. (2550). กฎหมายกับสิ่งแวดลอม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพวิญูชน. ขาวไทยพีบีเอส. (2561). “ฟองแกนนำทวงคืนปาดอยสุเทพ.” สืบคนเมื่อ 23 ธันวาคม 2561 จาก ขาวไทยพีบี เอส: https://news.thaipbs.or.th/content/275978.


190

ขาวสด. (2560). “15 แกนนำมอบโรงไฟฟาเทพาชวดประกัน-สงตัวนอนเรือนจำสงขลา ชาวบานแยกยาย.” สืบคนเมื่อ 7 กันยายน 2561. จากเว็บไซต ขาวสด: https://www.khaosod.co.th/breakingnews/news_650243. ขาวสด. (2561). “ดวน! เจาหนาที่ บุกคนบานแกนนำตานบานปาแหวง ยึดคอมพ-โนตบุค ไปตรวจ.” สืบคน เมื่อ 23 ธันวาคม 2561 จาก ขาวสด: https://www.khaosod.co.th/aroundthailand/news_1823963. คนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม และคณะ. (2559). ความสัมพันธระหวางสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดลอมเพื่อการ คุมครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับสิ่งแวดลอมอยางยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการสิทธิ มนุษยชนแหงชาติ. คนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม และคณะ. (2561). ความเชื่อมโยงระหวางสิทธิชุมชนกับทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดลอมภายใตรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: สำนักงาน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ. คนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม. (2559). ความยุติธรรมทางสิ่งแวดลอม. กรุงเทพฯ: สถาบันนโยบายศึกษา. คนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม. (2562). “ความเชื่อมโยงระหวาง “สิทธิชุมชน” กับ “ทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดลอม” ภายใตรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560” ใน วารสารรามคำแหง ฉบับนิติศาสตร 8(1). โครงการอินเทอรเน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน. (2561). เปดเบื้องหลังยุทธศาสตรชาติ 20 ปของ คสช.. กรุงเทพมหานคร: iLAW. จักรนาท นาคทอง และ สุวิดา ธรรมมณีวงศ. (2553). บล็อก (Blog) เฟซบุค (Facebook) และทวิตเตอร (Twitter) สื่อทางเลือกเพื่อสังคมประชาธิปไตย. การประชุมกลุมยอยที่ 5 นวัตกรรม ประชาธิปไตย เพื่อคุณภาพสังคมไทย ในการประชุมสถาบันพระปกเกลา ครั้งที่ 12 ประจำ ป 2553. คุณภาพสังคมกับ คุณภาพประชาธิปไตย. จินตนา แกวขาว. (2551). “ประชาสังคมกับการสรางธรรมาภิบาลสิ่งแวดลอม.” ใน สถาบันพระปกเกลา, การ ประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกลา ครั้งที่ 10 ประจำป 2551. ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย. (2553). “Facebook VS Myspace สงครามชนชั้นบนอินเตอรเน็ต.” อาน. 2 (3) (มกราคม-มีนาคม). ไชยรัตน เจริญสินโอฬาร. (2545). “การเมืองแบบใหม,ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหมและวาท กรรมการพัฒนาชุดใหม.” ใน วาทกรรมการพัฒนา : อำนาจ ความรู ความจริง เอกลักษณ และ ความเปนอื่น. พิมพครั้งที่ 3 .กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพวิภา, หนา 83-122. ไชยรัตน เจริญสินโอฬาร. (2549). วาทกรรมการพัฒนา: อำนาจ ความรู ความจริง เอกลักษณ และความ เปนอื่น. กรุงเทพฯ: วิภาษา.


191

ณัตถยา สุขสงวน. (2557). การปฏิรูปสื่อเพื่อควบคุมการเผยแพรเนือ้ หาสื่อที่สรางความเกลียดชัง. กรุงเทพฯ: สำนักงานวิชาการ สำนักนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. 4(14), หนา 3. เดลินิวส. (2561). “ศาลฎีกาสั่ง'บานปู'จาย2.5พันลาน เหมืองถานหิน'หงสา'.” สืบคนเมื่อ 13 สิงหาคม 2561. จากเว็บไซต สำนักขาวเดลินิวส: https://www.dailynews.co.th/regional/630874. ทศพล ทรรศนกุลพันธ. (2551). “ยุทธวิธีเรียกรองสิทธิ.” ใน นิติแถลง: สิทธิสภาพนอกอาณาเขตเหนือนิคม อุตสาหกรรม. คณะนิติศาสตรมหาวิทยาลัยเชียงใหม และเครือขายประชาชนภาคตะวันออก. ทศพล ทรรศนกุลพันธ. (2558). “ไมมีแดนเถื่อนในโลกไซเบอร?: การศึกษาตัวแบบในการกำกับดูแลโลกไซ เบอร.” ใน นิติสังคมศาสตร. 8(2). ทีมขาว TCIJ. (2561, มีนาคม 18). คาดป 2565 e-Commerce ไทยพุง 4.7 แสนลาน ยักษใหญยัง ขาดทุน-สรรพากรจอเก็บภาษี. เชียงใหม: ศูนยขอมูล & ขาวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง (TCIJ). Retrieved from https://www.tcijthai.com/news/2018/18/scoop/7828. ไทยโพสต. (2561). “บานพักตุลาการ สูบรรทัดฐานใชปา ดอยสุเทพ.” สืบคนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2561. จาก เว็บไซต ไทยโพสต: https://www.thaipost.net/main/detail/7434. ไทยรัฐ. (2561). “ขรก. ดานตุลาการ เล็งสวนกลับ กลุมตานหมูบานปาแหวงเชียงใหม.” สืบคนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2561. จากเว็บไซต ไทยรัฐ : https://www.thairath.co.th/content/1263457. ไทยรัฐ. (2561). “คนเชียงใหมเฮ! ยึดคืนหมูบานปาแหวง ปลูกตนไมใหเขียวขจี.” สืบคนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2561. จากเว็บไซต ไทยรัฐ: https://www.thairath.co.th/content/1274396. ไทยรัฐ. (2561). “ชาวเชียงใหมนัดแสดงพลัง ไมเอาหมูบา นปาแหวง ดีเดย 29 เม.ย.นี้.” สืบคนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2561. จากเว็บไซต ไทยรัฐ: https://www.thairath.co.th/content/1262432. ไทยรัฐ. (2561). “ประวัติศาสตรเชียงใหม! คนครึ่งหมื่น รวมตานหมูบา นปาแหวง.” สืบคนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2561. จากเว็บไซต ไทยรัฐ : https://www.thairath.co.th/content/1268111. ไทยรัฐ. (2561). “ปาแหวง ยังไมจบ เรง ธนารักษ รังวัดแนวเขต.” สืบคนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2561. จาก เว็บไซต ไทยรัฐ: https://www.thairath.co.th/content/1275694#cxrecs_s. ไทยรัฐ. (2561). “ลุน! ปมสรางบานพักตุลาการ ยุติหรือไม จอ นำเขาที่ประชุม.” สืบคนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2561. จากเว็บไซต ไทยรัฐ : https://www.thairath.co.th/content/1248819#cxrecs_s. ไทยรัฐ. (2561). “สรุปเขาใจงาย 3 ขอ แกปญหาหมูบานปาแหวงเชียงใหม.” สืบคนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2561. จากเว็บไซต ไทยรัฐ: https://www.thairath.co.th/content/1274972#cxrecs_s. นพพล อาชามาส. (2556). การประกอบสรางความกลัวและการเมืองวาดวยการบังคับใชประมวลกฎหมาย อาญามาตรา 112. วิทยานิพนธศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคมบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม.


192

น้ำแท มีบุญสลาง. (2547). การดำเนินคดีแบบกลุมในคดีสิ่งแวดลอม. วิทยานิพนธตามหลักสูตรนิติศาสตร มหาบัณฑิตสาขาวิชานิตศิ าสตร คณะนิติศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2542). การสรางธรรมาภิบาล (Good governance) ในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพวิญูชน. บุญยศิษย บุญโพธิ์. (2556). “ขอสังเกตเกี่ยวกับความรับผิดทางกฎหมายฐานหมิ่นประมาท: กรณีศึกษาการ กระทำความผิดในสังคมออนไลน.” วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย. 5(3). เบญจวรรณ คำโคตร. (2554). ความทุกขเชิงสังคมของชาวบานที่ไดรับผลกระทบจากการทำเหมืองแร ทองคำ อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย. พัฒนานิพนธ สาขาพัฒนาชุมชน คณะสังคมศาสตรและมนุษย ศาสตร มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ประชาไท. (2555). “หวั่นประชาคมหมูบา นตานเหมืองทองเลยถูกสกัด หลังเคยโดยทหารสั่งหามเคลื่อนไหว.” สืบคนเมื่อ 12 กันยายน 2561. จากเว็บไซต ประชาไท: https://prachatai.com/journal/2014/07/54633. ประชาไท. (2558). “หนวยงานสิ่งแวดลอมรัฐแคลิฟอรเนียประกาศยาฆาวัชพืช 'ราวนอัพ' มีสารกอมะเร็ง.” สืบคนเมื่อ 14 สิงหาคม 2561. จากเว็บไซต ประชาไท: https://prachatai.com/journal/2015/09/61379. ประชาไท. (2560). “ชี้ผล ฟองหมิ่นประมาท ไมใชแคเซ็นเซอรตัวเอง แตเซ็นเซอรการรับรูสาธารณะดวย.” สืบคนเมื่อ 23 กันยายน 2561. จากเว็บไซต prachatai: https://prachatai.com/journal/2016/06/66382. ประชาไท. (2561). “แจงความผูนำภาพ-ชื่อสกุล ผูพิพากษาพักบานปาแหวงติดประกาศเผยแพร.” สืบคนเมื่อ 1 ธันวาคม 2561. เว็บไซต Prachatai: https://prachatai.com/journal/2018/12/79874. ประชาไท. (2561). “ยื่นฟอง 'ราวดอั้พ' กอมะเร็ง ศาลแคลิฟอรเนียตัดสินใหจายคาเสียหาย-ชดเชย.” สืบคน เมื่อ 14 สิงหาคม 2561. จากเว็บไซต ประชาไท: https://prachatai.com/journal/2018/08/78267 (14 สิงหาคม 2561). ประภาส ปนตบแตง. (2541). การเมืองบนทองถนน 99 วันสมัชชาคนจน และประวัติศาสตรการเดินขบวน ชุมนุมประทวงในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: ศูนยวิจัยและผลิตตำรา มหาวิทยาลัยเกริก. ผูจัดการออนไลน. (2561). “การฟองคดีปดปาก เพื่อหยุดการมีสวนรวมในกิจการสาธารณะ: ถึงเวลาที่ประเทศ ไทยควรออกกฎหมาย Anti- SLAPP Law หรือยัง?.” สืบคนเมื่อ 24 กันยายน 2561. จากเว็บไซต mgronline: https://mgronline.com/south/detail/9610000005321. พัสนัย นุตาลัย. (2540). การสื่อสารทางการเมืองของชนชั้นกลาง. วิทยานิพนธนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต (นิเทศศาสตรพัฒนาการ) บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.


193

พิชญ พงษสวัสดิ์. (2554). “อินเทอรเน็ต คือ “ปา” ออนไลนขนาดใหญ” ใน สื่อออนไลน Born to be Democracy. ชูวัส ฤกษศิริสุข (บก.). กรุงเทพฯ: ประชาไทย บุคสคลับ. พุธิตา ชัยอนันต. (2558). พื้นที่ออนไลนกับการกอตัวของกลุม “พลเมืองเน็ต” ในยุควิกฤตการณการ เมืองไทย พ.ศ. 2556-2559. วิทยานิพนธศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การพัฒนาสังคม) มหาวิทยาลัยเชียงใหม. ภัควดี วีระภาสพงษ. (2554). สามัญชนเปลี่ยนโลก. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพของเรา. มติชน. (2561). “หมอสุภัทร ชี้ คดีเทพาเริ่มแลว ชาวบานตองขั้นศาลตอเนื่อง โอดแทบไมตองทำมาหากิน.” สืบคนเมื่อ 7 กันยายน 2561. จากเว็บไซต มติชน: https://www.matichon.co.th/politics/news_996831. ศูนยขอมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ. (2557). “ชัชวาลย: แพรภาพขาวการชุมนุมตานรัฐประหาร.” จาก ศูนย ขอมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพโดยไอลอว: https://freedom.ilaw.or.th/case/664. ศูนยขอมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ. (2557). “สมบัติ บุญงามอนงค : 116.” สืบคนเมื่อ 29 ธันวาคม 2561 จาก ศูนยขอมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพโดยไอลอว: https://freedom.ilaw.or.th/th/case/604#detail. ศูนยวิจัยกสิกรไทย. (2560). ‘กลยุทธสรางประสบการณโดนใจ’ ... ทางรอดคาปลีกรายยอย ทามกลาง ตลาดออนไลนช็อปปงที่แขงขันกันรุนแรง. กรุงเทพฯ: ศูนยวิจัยกสิกรไทย. ศูนยวิจัยและพัฒนากฎหมาย คณะนิติศาสตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม. (2561). “บันทึก เวทีนำเสนอผลการ ศึกษาวิจัย เรื่อง "สุขภาพและสิ่งแวดลอมชุมชนในความเสียงขามแดนจากโครงการพัฒนาขนาดใหญ : ขอกังวลและขอเสนอแนะ (ศึกษากรณีโรงไฟฟาหงสา).” สืบคนเมื่อ 12 สิงหาคม 2561. จากเว็บไซต เฟซบุค: https://www.facebook.com/LRDCLawCmu/ videos/1879489068967323/ ศูนยวิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย. (2560). SCB EIC: Social Commerce เทรนดคา ออนไลนที่มาแรงไมแพ Lazada. กรุงเทพฯ: ศูนยวิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย. สมบัติ บุญงามอนงค. (2554). “เฟซบุกในไทย คือพื้นที่ตอสูออนไลนที่ดุเดือดที่สุดแหงหนึ่งของโลก.” ใน สื่อ ออนไลน Born to be Democracy. ชูวัส ฤกษศิริสุข. (บก.). กรุงเทพฯ : ประชาไทย บุคสคลับ สยามธุรกิจ. (2556). ““จุฬา” เปดโตะฉะ “กสทช.” มัดมือสื่อ-ปดตาปชช.” สืบคนเมื่อ 23 กันยายน 2561. จากเว็บไซต siamturakij: https://www.siamturakij.com/index.php/news/479-จุฬา-เปดโตะ ฉะ-กสทช-มัดมือสื่อ-ปดตาปชชสาวตรี สุขศรี. (2555). อาชญากรรมคอมพิวเตอร? : งานวิจัยหัวขอ “ผลกระทบจากพระราชบัญญัติวา ดวย การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร พ.ศ. 2550 และนโยบายของรัฐกับสิทธิเสรีภาพ ใน การแสดงความคิดเห็น.” กรุงเทพฯ: โครงการอินเตอรเน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) ในมูลนิธิ อาสาสมัครเพื่อสังคม.


194

สำนักขาวพีพีทีวี. (2561). “สรุปเหตุการณ “เขื่อนแตก” ที่ สปป.ลาว.” สืบคนเมื่อ 13 สิงหาคม 2561. จาก เว็บไซต พีพีทีวี: https://www.pptvhd36.com/news/ประเด็นรอน/86132. สำนักขาวอิศรา. (2559). “Anti-SLAPP Laws: สงเสริมใหคนกลาพูดกลาตรวจสอบเรื่องของสวนรวม.” สืบคน เมื่อ 24 กันยายน 2561. จากเว็บไซต isranews: https://www.isranews.org/isranewsarticle/47730-slapp-laws.html. สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส (องคการมหาชน). (2561). Thailand Internet User Profile 2018 ผลสำรวจพฤติกรรมการใชอินเทอรเน็ตของคนไทยประจำป 2561. กรุงเทพฯ: สำนักงาน พัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส (องคการมหาชน). สำนักงานสถิติแหงชาติ. (2561). การสำรวจการมีการใชเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สารในครัวเรือน พ.ศ. 2561 (ไตรมาส 1). กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแหงชาติ. สุนทรียา เหมือนพะวงศ. (2552). “กระบวนการสรางความยุตธิ รรมดานสิ่งแวดลอมไทย: เสนทางยังอีกไกล กวาจะไปถึงฝน.” ใน การประชุมประจำปสถาบันพระปกเกลา. สุรชัย ตรงงาม. (2551). บทสัมภาษณในบทความ “เมื่อคดีคลิตี้เขาสูศาลปกครอง.” ใน วารสารนิติธรรมชาติ. เลมที่ 2. กรุงเทพฯ: ENLAW. สุรชัย ตรงงาม. (2552). “ปญหาความยุตธิ รรมและการจัดการความขัดแยงดานสิ่งแวดลอม: ศึกษาจากกรณี ตัวอยางจากประสบการณการใหความชวยเหลือประชาชนดานกฎหมาย.” ใน สถาบันพระปกเกลา, การประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกลา ครั้งที่ 10 ประจำป 2551. นนทบุรี: สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกลา. สุวิชาภา ออนพึ่ง. (2554). ปญหาการบังคับใชพระราชบัญญัติวาดวยการกระทำความผิดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร พ.ศ. 2550 : ศึกษาความผิดเกี่ยวกับการเผยแพรขอมูลกระทบตอความมั่นคงแหง ราชอาณาจักร. นิติศาสตรมหาบัญฑิต.จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.วิทยานิพนธ. โสภณ พรโชคชัย. (2554). “ความเห็นทางวิชาการ: คุณจินตนา แกวขาว กับกฎหมู.” สืบคนเมื่อ 23 ธันวาคม 2561 จาก ประชาไท: https://prachatai.com/journal/2011/10/37640. หางกระดิกหมา. (2013). “SLAPP…ตบปากใหหยุดพูด (2).” สืบคนเมื่อ 26 กันยายน 2561 จากเว็บไซต ไทย พับลิกา: https://thaipublica.org/2013/10/slapp-2/. องคกรตอตานคอรรัปชั่น(ประเทศไทย). (2560). “Anti-SLAPP Law.” สืบคนเมื่อ 23 กันยายน 2561. จาก เว็บไซต anticorruption: http://www.anticorruption.in.th/2016/th/detail/152/5/AntiSLAPP%20Law. อภิญญา รัตนมงคลมาศ. (2547). กลุมผลประโยชนและกลุมกดดัน: เอกสารการสอนชุดวิชาสถาบันและ กระบวนทางการเมืองไทย หนวยที่ 12 สาขาวิชารัฐศาสตร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. กรุงเทพฯ : โรงพิมพมหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช.


195

อรรถจักร สัตยานุรักษ. (2545). นิเวศประวัติศาสตร: พรมแดนความรู. กรุงเทพฯ: คบไฟ. อัจฉรา รักยุติธรรม. (2548). “จากสหพันธชาวนาชาวไร ถึงขบวนการคนไรทดี่ ินรวมสมัย.” ใน อัจฉรา รัก ยุติธรรม. (บรรณาธิการ). ที่ดินและเสรีภาพ. (หนา 9-25). กรุงเทพฯ: Black Lead Publishing. อาทิตย สุริยะวงศกุล. (2555). การเมืองบนเฟซบุก: วัฒนธรรม-การเมืองบนเครือขาย สังคมออนไลนไทย พ.ศ. 2553-2555. วิทยานิพนธสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต สาขาวิชามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร. อานันท กาญจนพันธุ. (2544). พลวัตรในการจัดการทรัพยากร: กระบวนทัศนและนโยบาย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. อิสระธรรม ไทยถาวร. (2550). การคัดคานการกอสรางโรงไฟฟาบานกรูด อำเภอบางสะพาน จังหวัด ประจวบคีรีขันธ. (วิทยานิพนธศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐศาสตร) มหาวิทยาลัยรามคำแหง). เอกพล บรรลือ. (2559). “หลากมุมมองสะทอนปญหา พ.ร.บ. คอมฯ ฉบับใหมจากเวทีภาคประชาชน.” สืบคนเมื่อ 29 ธันวาคม 2561 จาก เดอะโมเมนตัม: https://themomentum.co/momentumfeature-cybercrime-act-2016-from-citizen/. แหลงขอมูลอิเล็กทรอนิกส Facebook Fan page : “EarthRights International” https://www.facebook.com/EarthRightsIntl/. Facebook Fan page “Coalition Against Keystone XL Pipeline” https://www.facebook.com/ coalitionagainstkeystonexlpipeline. Facebook Fan page “NoKXl” https://www.facebook.com/NoKXL. Facebook Fan page “Occupy Keystone XL Pipeline Route” https://www.facebook.com/OccupyKeystoneXLPipelineRoute. Facebook Fan page: “Karen Rivers Watch” https://www.facebook.com/SalweenAsia Facebook Fan Page: “March Against Monsanto.” https://www.facebook.com/MarchAgainstMonstanto/. Facebook Fan Page: “Millions Against Monsanto by OrganicConsumers.org” https://www.facebook.com/millionsagainst/. Facebook Fan page: “Save the Salween Network” https://www.facebook.com/Save-theSalween-Network-1685498275073019/. Twitter : “GMWatch” https://twitter.com/GMWatch.


196

ประกาศเครือขายขอคืนพื้นที่ปา ดอยสุเทพ เรื่องชองทางสื่อสารอยางเปนทางการ : https://www.facebook.com/lovedoisuthep/photos/a.237478120337539.1073741829.237 243290361022/279279542824063/?type=3&theater. เปาหมายการพัฒนาอยางยั่งยืนของประเทศไทย “The Global Goals for Sustainable Development.” (2015) Retrieved from https://www.un.or.th/globalgoals/th/the-goals/ แฟนเพจเฟสบุค “ขอคืนพื้นที่ปาดอยสุเทพ” https://www.facebook.com/DoiSuthepMountain/. กฎหมาย กฎหมายระหวางประเทศ EU. General Data Protection Regulation. 2016. (EU GDPR) EU-US. Data Privacy Shield. 2016. International Governmental Forum (IGF) and Internet Rights and Principles Coalition. The Charter of Human Rights and Principles for the Internet: UN Internet Governance Forum. 2014. OECD. (1972). OECD Guiding Principles Concerning the International Economic Aspects of Environmental Principles. UN. (1992). United Nations Conference on Environment and Development – (UNCED), Rio de Janeiro. UN. Charter of the United Nations. 1945. UN. International Covenant on Civil, and Political Rights. 1966. UN. Stockholm Declaration of the United Nations Conference on the Human Environment, 16 June 1972, U.N. Doc. A/CONF.48/14/Rev.1. 1973. UN. Universal Declaration of Human Rights. 1948. United Nations. Charter of the United Nations. 1945. กฎหมายตางประเทศ US. Code of Civil Procedure. 1987. กฎหมายไทย ประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย


197

ประมวลกฎหมายอาญา พระราชบัญญัติคมุ ครองขอมูลสวนบุคคล พุทธศักราช 2562 พระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พุทธศักราช 2547 พระราชบัญญัติวาดวยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร พุทธศักราช 2550 พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร พุทธศักราช 2562 พระราชบัญญัติสภาความมั่นคงแหงชาติ พุทธศักราช 2559 พระราชบัญญัติขาวกรองแหงชาติ พุทธศักราช 2562 พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายใน พุทธศักราช 2551 พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณฉุกเฉิน พุทธศักราช 2548 พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พุทธศักราช 2457 พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน พุทธศักราช 2551 พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พุทธศักราช 2558 รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. คำพิพากษาศาลฎีกา คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3711/2557


198

ภาคผนวก 1) กรณีศึกษาการชุมนุมในโลกเสมือนเพื่อแสดงออกประเด็นฐานทรัพยากรและสิ่งแวดลอมในประเทศไทย 1.1. กรณีบานศาลในปาแหวง ขอเท็จจริง โครงการบานพักตุลาการริมดอยสุเทพ จ. เชียงใหม จุดประกายคำถามถึงความเทาเทียมในการดำเนิน นโยบายทวงคืนพื้นปา ของ คสช. แมโครงการดังกลาวนี้จะเกิดขึ้นกอนที่รัฐบาลทหารจะเขามารับหนา ที่ เมื่ อ ตรวจสอบที ่ ม าพบว า โครงการดั ง กล าวเดิ นหน าได อย างราบรื ่ นโดยผ า นอำนาจจากกระทรวงยุ ติ ธรรม กองทั พ บก รั ฐบาล จากการแถลงการณ สรา งบานพักตุ ลาการจากหน ว ยงานรั ฐโดย นายสราวุธ เบญจกุล เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม ยืนยันวา บานพักดังกลาวเปนทรัพยสินราชการ ไมใชของบุคคลใดบุคคลหนึง่ และมีการขออนุญาตใชที่ดินอยางถูกตองตามกฎหมายจากกรมธนารักษ ไมไดมีการบุกรุกที่ปาสงวน หรื อตั ด ตนไม และพื้นที่ดังกลาวนั้นไดรับอนุญาตใหใชพื้นที่ ตั้งแตป 2543 แลว 1 นายธีระศักดิ์ ธุปสุวรรณ (ผูประสานงานเครือขายขอคืนพื้นที่ปาดอยสุเทพ) กลาววา การคืนผืนป า มี การคัดคานโครงการตั้งแตป 2558 จนถึงปจจุบันบานพักใกลแลว เสร็จ เกิดภาพดอยที่ถูกถาก ปา ถู กทำลาย กระทบความรูสึกคนเชียงใหม สวนที่นายกฯ จะใหปรับบานพักเปนศูนยการเรียนรูตรงนี้ตองคิ ด ให ร อบด า น เพราะพื้นที่ไมเหมาะสม เสี่ยงภัยธรรมชาติ ทั้งไฟปาหนาแลง ยอนไปป 2559 ที่ดอยสุเทพเกิดไฟป า นาน 5 ชั่วโมง ยังดับไมได นอกจากไฟแลว นักวิชาการที่เขาไปสำรวจพื้นที่พบวา การปรับสภาพพื้นที่กอสรางบานพัก มี การถากดอยเยอะมาก ช ว งหน าฝน ถ า ตกหนักติ ดต อกั น น้ ำ ปามาแน เป นอี กป ญ หาที ่คนเชี ย งใหมเปน หวง และแมการขอใชพื้นที่จะถูกตองตามกฎหมาย ทำตามขั้นตอน แตโครงการไมเหมาะสม คนเชียงใหม ไ ม อยากใหปาดอยสุเทพถูกทำลายมากกวานี้ กรณีนี้จะเปนบรรทัดฐานตอไป อยาใชพื้นที่ปาดอยสุเทพที่ ผูค นรั ก และหวงแหนกอสรางโครงการอื่ นๆ อีก เมื่อนายกฯ มีนโยบายปฏิรูปประเทศ จะเพิ่มพื้นที่ปาอีก 40% เพื่ อ รักษาสภาพแวดลอม ตองพิจารณาวา โครงการนี้ขัดนโยบายหรื อไม โคนปาสมบูรณกวา 100 ไร ด ว ยการ ดำเนินการของรัฐบาลที่ไมฟงเสียงคัดคานของคนในพื้นที่จึงเปนเหตุกอความขัดแยงใหระหวางประชาชนผู ไ ม เห็นดวยกับฝายของรัฐบาล 2

1

ไทยรัฐ. 2561. ลุน! ปมสรางบานพักตุลาการ ยุติหรือไม จอ นำเขาที่ประชุม. สืบคนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2561. จากเว็บไซต ไทยรัฐ : https://www.thairath.co.th/content/1248819#cxrecs_s 2 ไทยโพสต. 2561. บานพักตุลาการ สูบรรทัดฐานใชปาดอยสุเทพ. สืบคนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2561. จากเว็บไซต ไทยโพสต : https://www.thaipost.net/main/detail/7434


199

กลุมที่เคลื่อนไหว ประชาชนชาวเชียงใหม และ กลุมภาคีชาวเชีย งใหม เชน ชมรมรมบินเชียงใหม ชมรมจั กรยานวั น อาทิตย มูลนิธิไทยรักษปา มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ภาคีคนฮักเจียงใหม เครือขายชุมชนเมืองรักษเชียงใหม กลุมเขียวสวยหอม กลุมมือเย็นเมืองเย็น เปนตนโดยมีนายธีระศักดิ์ รูปสุวรรณ เปนผูประสานงานเครือขาย วิธีการเคลื่อนไหว - กลุมภาคีชาวเชียงใหม เชน ชมรมรมบินเชียงใหม ชมรมจักรยานวันอาทิตย มูลนิธิไทยรักษปา มู ลนิ ธิ เพื่ อ การพัฒนาที่ยั่งยืน ภาคีคนฮักเจียงใหม เครือขายชุมชนเมืองรักษเชียงใหม กลุมเขียวสวยหอม กลุมมื อเย็ น เมืองเย็น เกิดเปนเครือขาย “ขอคืนพื้นที่ปาดอยสุเทพ” - วันที่ 29 เม.ย. 2561 ชาวเชียงใหมนัดรวมตัวการที่ลานขวงประตูทาแพ ติดริบบิ้นสีเขียว แสดงพลัง ไม เอา หมูบานปาแหวง 3 มีการเดินรอบคูเมืองพรอมกับบทเพลง “ทวงคืนพื้นที่ปาดอยสุเทพ” - ประชาชนในเมื องเชี ย งใหม รวมแสดงจุดยืนในการคัดค านด วยการติดริ บบิ้ นสี เขี ยวตามขอมื อ รถยนต รถจักรยานยนต 4 - รานคาจำนวนมากขึ้นปายวา “รานนี้ไมตอนรับผูทำลายปา” - มีประกาศเครือขายขอคืนพื้นทีป่ าดอยสุเทพ เรื่องของทางสื่อสารอยางเปนทางการ 5 - วั นที ่ 2 เม.ย. 2561 กลุ  ม เครื อข า ยขอคื นพื ้ นที ่ ป าดอยสุ เทพ มี การรวมตั ว ชุ มนุ ม ป ายหน าคายทหาร (เนื่องจากตัวแทนศาลไมมาเจรจาตามที่ตกลงกันไว) และขอยื่นหนังสือขอพิจารณาให นายกรัฐมนตรี ใช มาตรา 44 ยุติโครงการกอสราง พรอมทั้งจะขอยื่นถวายฎีกาถึงในหลวง รัชกาลที่ 10 เพื่อขอใหยกเลิ กการ กอสราง - ทำแคมเปญรณรงค Change.org “ขอให ศาลอุทธรณ ภาค5 คื นพื ้ นที ่ป าดอยสุ เทพ 147 ไร 3 งาน 41 ตารางวา” 6 5

3

ไทยรัฐ. 2561. ชาวเชียงใหมนัดแสดงพลัง ไมเอาหมูบานปาแหวง ดีเดย 29 เม.ย.นี้. สืบคนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2561. จาก เว็บไซต ไทยรัฐ : https://www.thairath.co.th/content/1262432 4 ไทยรัฐ. 2561. ประวัติศาสตรเชีย งใหม! คนครึ่งหมื่น รวมตานหมูบานปา แหว ง. สืบคนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2561. จาก เว็บไซต ไทยรัฐ : https://www.thairath.co.th/content/1268111 5 ประกาศเค รือ ข าย ขอ คื นพ ื้น ที ่ป า ดอย สุเท พ เรื่องชองทางส ื่อ ส าร อย  าง เปน ท างก า ร : https://www.facebook.com/lovedoisuthep/photos/a.237478120337539.1073741829.237243290361022/2 79279542824063/?type=3&theater 6 “ขอใหศาลอุทธรณ ภาค5 คืนพื้นที่ปาดอยสุเทพ 147 ไร 3 งาน 41 ตารางวา” : https://www.change.org/p/ขอให ศ าล อุทธรณ-ภาค-5-คืนพื้นที่ปาดอยสุเทพ-147-ไร-3-งาน-41-ตร-ว?source_location=discover_feed


200

- จั ด ทำเพจทางเฟซบุ ค “ขอคืนพื ้ นที ่ป าดอยสุ เทพ” 7 เป นเพจหลั กในการเคลื ่อนไหว มี ผู ติ ดตามมากถึง 43,294 คน, “เครือขายขอคืนพื้นที่ปาดอยสุ เทพ” 8, “หมูบานปาแหวงดอยสุเทพ ตองรื้อ ตองเต สถาน เดียว” 9 และ “ปฏิบัติการหมาเฝาบาน” เปนตน 6

7

- ทำรูปภาพพรอมกับสรางโวหารตางๆ เพื่อเปนการโฆษณาและรณรงคผานทางโซเชียล เชน “ลงมาเตอะ”, “จนกวาจะรื้อ” - มี website: www.welovedoisuthep.com 10 - สามารถรับรูขาวสารผานชองทางไลน Line ID: @welovedoisuthep ผลที่เกิดขึ้น - จากความขัดแยงที่เกิดขึ้นมายาวนาน จากกลุมเครือขายขอคืนพื้นที่ปาดอยสุเทพ ทำใหวันที่ 6 พ.ค. 2561 ตัวแทนจากรัฐบาล (สุวพันธุ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี) ไปเจรจากับเครือขา ยคน เชียงใหม สรุปคือ 1. โอนพื้นที่คืนกรมธนารักษ 2. รังวัดแนวปาอาคารชุด 9 หลัง และบาน 45 หลัง จะไมมี ผูอาศัย 3. อาคารดานลาง 3 หลัง แบงเขตชัดเจนใหศาลใชประโยชน และเรื่องของการฟนฟูพื้นที่ปานั้น จะ มีการจัดตั้งคณะกรรมการรวมไปถึงการจัดตัง้ ผูประสานงานรวมกันระหวางภาครัฐและภาคประชาชนดำเนิน ตอไป 11 แตยังไมไดมกี ารพูดถึงบานพักที่กอสรางไปแลววาจะทำการรื้อถอนหรือไมอยางไร12 - กลุมเครือขายตองการใหกรมธนารักษเรงเขาสำรวจวัดแนวเขตออกมาสงมอบพื้นที่ใหกับทางกรมอุ ท ยาน แหงชาติ เพื่อเขาไปดำเนินการจัดการฟนฟูในเรื่องการปลูกปา ภายในวันที่ 27 พ.ค. 61 ตามที่ตกลงกันไว 13 - ทวงสัญญา บานพัก “ปาแหวง” สัญญาไมเปนสัญญา กอนการเจรจาเมื่อวันที่ 6 พ.ค. 61 มีขาราชการเข า ไปอยูอาศัยในอาคารชุดไมกี่ครอบครัว แตหลังจากนั้น ชวงกลางเดือน กรกฎาคม 61 ทางศาลสงคนเขาไป อยูเพิ่มราว 30 ครอบครัว ทางเครือขายไดสงจดหมายไปถามศาลอุทธรณภาค 5 กลับไมมีคำตอบกลับมา 7

แฟนเพจเฟซบุค “ขอคืนพื้นที่ปาดอยสุเทพ” https://www.facebook.com/DoiSuthepMountain/ แฟนเพจเฟซบุค “เครือขายขอคืนพื้นที่ปาดอยสุเทพ” https://www.facebook.com/lovedoisuthep/ 9 แฟนเพจเฟซบุค “หมูบานปาแหวงดอยสุเทพ ตองรื้อ ตองเต สถานเดียว” https://www.facebook.com/หมูบานปาแหว ง ด อ ย ส ุ เ ท พ - ต  อ ง ร ื ้ อ - ต  อ ง เ ต - ส ถ า น เ ด ี ย ว -239220569974151/?hc_ref=ARTQOl51J02tIzUhp5sFe4hJLeHQcxwG1pjeHSUBos0rr8eZrQPoaHSyNPI_iSFbho &fref=nf 10 เว็บไซตที่ใชในการเคลื่อนไหว : http://www.welovedoisuthep.com/ 11 ไทยรัฐ. 2561. สรุปเขาใจงาย 3 ขอ แกปญหาหมูบานปาแหว งเชียงใหม. สืบคนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2561. จากเว็ บ ไซต ไทยรัฐ : https://www.thairath.co.th/content/1274972#cxrecs_s 12 ไทยรัฐ. 2561. คนเชียงใหมเฮ! ยึดคืนหมูบา นปา แหวง ปลูกตนไมใ หเขี ยวขจี. สืบคนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2561. จาก เว็บไซต ไทยรัฐ : https://www.thairath.co.th/content/1274396 13 ไทยรัฐ. 2561. ปาแหวง ยังไมจบ เรง ธนารักษ รังวัดแนวเขต. สืบคนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2561. จากเว็บไซต ไทยรั ฐ : https://www.thairath.co.th/content/1275694#cxrecs_s 8


201

- ทางเครือขายขอคืนพื้นที่ปาดอยสุเทพ เตรียมพรอมสู เพื่อทวงคืนผืนปาในเดือนสิงหาคมนี้ เนื่องจากไม มี การทำตามขอตกลงที่เคยเจรจากันไปในครัง้ กอน และ กระบวนการหลายอยางมีความลาชามาก อีกทั้งยังมี ผูเขาไปอยูอาศัยภายในบานพักอยางตอเนื่อง - เมื่อวันที่ 9-10 สิงหาคม 2561 ที่ผานมานี้ ในที่ประชุมมีมติทำความตกลงขอใชที่ดินในจังหวัดเชียงรายเพื่ อ เปนพื้นที่ทำการสรางบานพักและที่อยูอาศัยแทนพื้นที่เดิม (อ. แมริม จ. เชียงใหม) ซึ่งเมื่อมีการกอสร า งใน พื้นที่ใหมแลวเสร็จจะทำการยายออกโดยทันที 14 การเขารวมของสังคม จากเดิมที่มีเพียงกลุมเครือขายตางๆ ที่อยูในจังหวัดเชียงใหม และชาวเชียงใหมบางสวนที่เข า ร ว มใน การคัดค านและขอคื นพื้ นที่ แต เมื่ อมี การรณรงค สร า งเพจเฟซบุค และทำแคมเปญลารายชื ่อ “ขอให ศาล อุทธรณ ภาค5 คืนพื้นที่ปาดอยสุเทพฯ” ไมเพียงแคชาวเชียงใหม แตยังมีประชาชนจากจังหวัดอื่นๆ เข า ร ว ม อยางเชน เพจเฟซบุคที่มีคนติดตามมากถึง 43,063 คน และรายชื่อจากแคมเปญดังกลาวผานทาง Change.org ถึง 60,772 คน การเขารวมของภาคประชาชนยังมีอยางตอเนื่อง รวมถึงในสวนของสื่อโทรทัศนและการรายงาน ขาว ปญหาและอุปสรรค - ตัวแทนจากศาลไมมาเจรจาตามนัดกับกลุมเครื อขาย “ขอคืนพื้นที่ปาดอยสุเทพ” และเลื่ อนกำหนดการ ออกไปอยางไมมีกำหนด (2 เม.ย. 61) พรอมเตรียมฟองศาลปกครองและผูเกี่ยวของที่เผยแพรเรื่องหมูบา น ปาแหวงในโซเชียล15 - รัฐบาล คสช. ไมเห็นดวยที่จะใหรื้อโครงการที่ใชงบประมาณของรัฐบาล เพราะเกรงวาจะเกิดการฟองร อง ของผูรับเหมากอสรางที่ไดทำสัญญากับรัฐไวแลว 16 (20 เม.ย. 61) - มีผูตอตานโครงการบานพักศาลอุทธรณภาค 5 บางกลุมใชวิธีการที่มีลักษณะละเมิดความเปนสวนตัวและนำ ขอมูลสวนบุคคลออนไหวของตุลาการบางคนมาเผยแพรตอสาธารณะในลักษณะการทำปายพรอมรู ป และ ชื่อของผูพิพากษาวาเปนผูอาศัยในบานพักโดยมุงใหสังคมประณามและโจมตีบุคคลเหลานั้นเปนการเฉพาะ

14

Thaipost. 2561. หมู  บ  า นป าแหว งจบ! ศาลขอใช ที ่ เขี ยงราย. สื บ ค นเมื ่อ 12 สิ ง หาคม 2561. จวกเว็ บ ไซต ไทยโพส: https://www.thaipost.net/main/detail/15210 15 Thai PBS NEWS. 2561. ขูฟองตั้งฉายา “หมูบานปาแหวง” เชิงดอยสุเทพ-ปุย . สืบคนเมื่อ 10 กรกฎาคม. 2561. จาก เว็บไซต ThaiPBS : https://news.thaipbs.or.th/content/271396 16 BBC. 2561. บานศาลในปาแหวง บทสะทอนความยอนแยง นโยบายทวงคืนผืนปา คสช. สืบคนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2561. เว็บไซต BBC : https://www.bbc.com/thai/thailand-43708707


202

ยิ่งไปกวานั้นยังมีผูถายภาพปายนำไปเผยแพรตอในอินเตอรเน็ตซึ่งกระทบกระเทือนตอสิทธิของผูพิพ ากษา รายบุคคล17 - เลขาธิ การสำนักงานศาลยุ ติ ธรรมและผู  พิ พากษาบางคนไดดำเนิ นการฟองรองคดี กับกลุ ม คัดค านและ นักวิชาการที่ออกมาโจมตี ดูหมิ่นศักดิ์ศรี ใชถอยคำหยาบคาย ทำใหเกิดกระแสโจมตีทางโซเชียลที่ รุ นแรง สรางความเสียหายแบบใหกับขบวนการศาลยุติธรรมและผูพิ พากษาอยางที่ไม เคยปรากฏมาก อน18 (24 เม.ย. 61) ผลสะเทือนของขบวนการเคลื่อนไหว - หนวยงานภาครัฐยอมรับการคัดคานจากประชาชนที่เคลื่อนไหวตานบานพักศาลแลว โดยมีการยื่นขอที่ดิน ผืนใหมจากกรมธนารักษ (เปนพื้นที่ในจังหวัดเชียงราย โดยมีเนื้อที่ประมาณ 40 ไรเศษ) เพื่อจัดทำบานพัก ที่อยูอาศัย โดยการกอสรางดังกลาวจะทำในรูปแบบของอาคารชุด เพื่อเปนการประหยัดพื้นที่ - มีการใชความเชื่อ จารีต วัฒนธรรม เปนสิ่งกระตุนการชุมนุมคัดคาน (ชาวเชียงใหมจะปกปอง 3 ดอย ศักดิ์สิทธิ์ (ดอยอินทนนท ดอยสุทพ และดาวหลวงเชียงดาว) ที่ถือเปนแหลงตนน้ำและมีความผูกพันกับวิถี ชีวิตชาวบานทั้งประเพณี วัฒนธรรมและความเชื่อ)

17

ประชาไท. 2561. แจงความผูนำภาพ-ชื่อสกุ ล ผูพิพากษาพักบานปาแหว งติดประกาศเผยแพร. สืบคนเมื่อ 1 ธั น วาคม 2561. เว็บไซต Prachatai : https://prachatai.com/journal/2018/12/79874 18 ไทยรัฐ. 2561. ขรก. ดานตุลาการ เล็งสวนกลับ กลุมตานหมูบานปาแหวงเชียงใหม. สืบคนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2561. จาก เว็บไซต ไทยรัฐ : https://www.thairath.co.th/content/1263457


203

1.2. กรณีเสือดำ ขอเท็จจริง วันที่ 6 ก.พ. 61 นายเปรมชัย กรรณสูต (ประธานบริหาร บริษัท อิตาเลี่ยนไทย จำกัด (มหาชน)) และ พวก 3 คน เขาไปลาสัตวในเขตรักษาพันธุสัตวปาทุง ใหญนเรศวร ดานตะวันตก พรอมกับซากเสือดำ ไกฟาหลัง เทาและเกง โดยเฉพาะ เสือดำ ที่ถูกกระทำอยางเหี้ยมโหด เพราะหลังจากถูกยิงหลายนัดแลว ยังถูกนำมาถลก หนังและสวนหางเสือดำก็ถูกตมอยูในหมอ และยังมีปนลูกกรวดติดลำกลอง ปนไรเฟลติดลำกลอง และป นลู ก ซองแฝด พรองกระสุน เหตุการณดังกลาวทำใหเกิดกระแสวิพากษวิจารณอยางมากบนโลกออนไลน ทั้ ง การ สรางสัญลักษณรูปกากบาทบนฝามือซาย การตั้งกลุมออกมาเคลื่อนไหว การสรางแฮชแท็กบนสื่อโซเชียลตา งๆ อีกทั้งยังมีปรากฏการณ Social sanction ขึ้น ในวันที่ 6 มี.ค. 61 พล.ต.อ. ศรีวราห รังสิพราหมณกุล รอง ผบ.ตร. ยืนยันวาจะมีการดำเนินคดีกับนาย เปรมชัย แนนอน แตตองเปนไปตามขั้นตอนของกฎหมาย แมวาจะโดนความกดดันจากโลกออนไลนห รื อกลุ ม คนที่ออกมาเรียกรอง ก็ไมสามารถทำเกินกวาขอบเขตของกฎหมายได อีกทั้งทางผูตองหา (นายเปรมชัย) ไมรับ สารภาพจึงจำเปนตองรวบรวมหลักฐานใหมากขึ้น อยางเชน เนื้ออะไร ใชเนื้อเสือหรือไม ซึ่งตองใชหลักฐานจาก นิติวิทยาศาสตรยืนยันเพื่อความหนักแนนในชั้นศาล19 ตอมาจากการรายงานขาวพบวา พล.ต.อ. ศรีวราห และ นายเปรมชัย และทั้งคูตางรับไหวซึ่งกันและ กัน อันสรางผลสะเทือนเปนกระแสสังคมใหพลเมืองในโลกไซเบอรออกมาวิพากษวิจารณ โดยบางสวนมองว า ทั้งคูตางเคารพซึ่งกันและกันอยางนอบนอม ตามธรรมเนียมของไทยซึ่ง นา ชื่นชม ขณะที่ บ างส ว นมองว า ไม เหมาะสมเพราะอี กฝ ายเปนตำรวจชั ้นผู  ใหญ ขณะที ่ อี กฝ ายเป นผู ต องหา จนเกิ ด เป นความพยายามหา ความสัมพันธระหวางผูตองหากับเจาพนักงานของรัฐ กลุมที่เคลื่อนไหว - ประชาชนทั่วไปและดารา นักแสดง - กลุม ทรีชารา (เปนกลุมประชาชน) 20 มีแฟนเพจเฟซบุค T’Challa พิทักษเสือดำ-เฉพาะกิจ 21 - มูลนิธิสืบนาคะเสถียร เปนกลุมหนึ่งที่ออกมาชวยเคลื่อนไหวในกรณีของเสือดำดวย 19

PPTV. 2561. ศรีวิราห คาดสรุปสำนวนสงฟอง เปรมชัย 24 มี.ค. นี้. สืบคนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2561. จากเว็บไซต PPTV : https://www.pptvhd36.com/news/ประเด็นรอน/77093 20 PPTV. 2561. นัดรวมพลสวมหนากากเสือดำ สัตวทุงใหญฯ ตองไมตายฟรี. สืบคนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2561. จากเว็บไซต PPTV : https://www.pptvhd36.com/news/ประเด็นรอน/76980 21 แฟนเพจเฟซบุค “T’Challa พิทักเสือดำ-เฉพาะกิ จ” https://www.facebook.com/TChalla-พิทักษ-เสือดำ-เฉพาะกิ จ1755443057856446/?hc_ref=ARTNEH73Q9WD-Dgx3h5eTZWcfvYcJjE792ZBD6B08YJXW8XpevaxK6dBmKM5PuWcPg&fref=nf


204

- มูลนิธิ “เดอะ วอยซ เสียงจากเรา” กอตั้งโดย เก ชลลดา เมฆราตรี ที่เคยผลักดันกฎหมายทารุณกรรมสัตว ออกมารวมเคลื่อนไหวในกรณีของเสือดำดวย เปนการแสดงออกเชิงสัญลักษณ ชวนประชาชน“กากบาท” ที่ฝามือซาย พรอมกับติดแฮชแท็กตางๆมากมาย 22 วิธีการที่เคลื่อนไหว - เกิดปรากฏการณทางสังคม Social Sanction เชน กราฟฟตี้รูปเสือดำถูกยิงหัวเลื อดอาบร่ำไห ที่ ว าดบน แผนปายบริษัท อิตาเลี่ยนไทย บทเพลง บทกวี และศิลปะภาพวาด คลิปวิดีโอหนังสั้น ละครสั้น23 - ทำกราฟฟตี้เสือดำ ทั่วกรุง แทนเสียงเรียกรองความยุติธรรม24 - วันที่ 3 มี.ค. 61 มีเฟซบุคแฟนเพจชื่ อ Headache Stencil โพสตภาพกราฟฟตี้บนกำแพงเป นรู ป เสื อดำ พรอมมีสัญลักษณลำโพงถูกปดเสียง และเปนกระแสวิพากษวิจารณอยางมากในสังคมออนไลน มีการแชรถงึ 1.1 พันครั้ง - วันที่ 4 มี.ค. 61 มีกลุมผูเคลื่อนไหวทางสังคมภายใตชื่อกลุม “ทรีซารา” ที่ออกมารวมตัวกันเพื่อทำกิจกรรม แสดงออกเชิงสัญลั กษณ มีการแสดงสถานการณจำลองตอนเสื อดำถูกฆาตาย และการแสดงละครในการ ทำงานของเจาหนาที่ โดยภายในงานมีการแจกหนากากเสือดำกวา 100 อัน โดยมีจุดประสงคเพื่อประกาศ เจตนารมณวาวันนี้สัตวและสิ่งแวดล อมโดนกระทำหนักมากและไมมีมนุษ ยคนไหนที่จะสนใจเข า มาดู แ ล รักษาปาและสิ่งแวดลอมที่โดนกระทำ ซึ่งเสือดำไมไดเปนเพียงแคตัวแทนของสัตว แตเสือดำยังเปนตัวแทน ของคนตัวเล็กๆ ที่ไมไดรับคามเปนธรรมในกระบวนการยุติธรรม วันนี้เห็นไดชัดเจนถึงการปฏิบัติตัวของผูมี เงินและมีอำนาจที่สามารถฆาเสือดำไดแตยังไมถูกจับและขอเรียกรองหลักๆ คือ ตองการใหคนอยูรวมกับปา ไดอยางสันติมุงเนนการทำงานของเจาหนาที่ในการดำเนินคดีกับผูทฆี่ าเสือดำ - จัดทำเพลง “สัตวนรกแหงทุงใหญ” 25 โดยสุเมธ องอาจ ผานเฟซบุคสวนตัว ซึ่งมียอดการแชรกวา 25,000 ครั้ง - ทำแคมเปญลารายชื่อใน Change.org 26 “ดำเนินคดีกับผูสัตวในเขตอุทยานใหโปรงใสเปนธรรม และผลั ก กฎหมายคุมครองสัตวปา ใหเขมแข็ง” 22

ขาวสด. 2561. #เสือดำตองไมตายฟรี ดาราแหเคลื่อนไหว กากบาท บนฝามือ ขอเปนเสียงใหสั ตว ปา. สืบค น เมื่ อ 13 กรกฎาคม 2561. จากเว็บไซต Khaosod : https://www.khaosod.co.th/entertainment/news_806857 23 ประชาไท. 2561. เสื อ ดำคำราม ยุ ติ ธ รรมอั บ ปาง. สื บ ค น เมื ่ อ 14 กรกฎาคม 2561. จากเว็ บ ไซต ประชาไท : https://prachatai.com/journal/2018/03/76087 24 PPTV. 2561. กราฟฟตี้เสือดำ ทั่วกรุง แทนเสียงเรียกรองความยุ ติธรรม. สืบคนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2561. จากเว็ บ ไซต PPTV : https://www.pptvhd36.com/news/ประเด็นรอน/77149 25 เพลง สัตวนรกแหงทุงใหญ โดยสุเมธ องอาจ : https://twitter.com/Thairath_News/status/971281750793089024 26 แคมเปญ Change.org : https://www.change.org/p/ดำเนินคดีกับผูลาสัตวในเขตอุทยานฯ-อยางโปรงใส-และเปน ธรรมและผลักกม-คุมครองสัตวป?source_location=discover_feed


205

- ทำโควทคำผานทาง Twitter 27 - โพสรูปภาพพรอมใสแฮชแท็กผานสื่อโซเชียล ทั้ง Facebook twitter Instagram - worldanimalprotectionthailand เพจทาง IG ร ว มรณรงค เรี ย กรองความยุ ติธ รรมใหกั บเสื อดำ ในวัน International Tiger Day - สรางเพจ “เสือดำตองไมตายฟรี” 28 ผลที่เกิดขึ้น แมวาสื่อทางโทรทัศนหรือสังคมออนไลนทั่วไปจะไมมกี ระแสวิพากษ วิจารณถึงกรณีเสือดำแลว เพราะ มีประเด็นใหมๆเขามาใหสนใจตลอดเวลา แตดานกลุมเครือขายทางเฟซบุคแฟนเพจของเสือดำก็ยังมีการอัพเดท รูปภาพ ขาวสารตางๆ ของเสือดำอยูตลอดเวลา ไมวาจะเปนการโควทคำพูดใสในรูปภาพ การรณรงคเชิญชวน เขารวมกิจกรรมตางๆ เชน โครงการปนเพื่อเสือดำ ในวันที่ 27 สิงหาคม 2561 การทำเสื้อเสือดำขายเพื่อใสโดย พรอมเพรียงกันในวันที่ 27 สิงหาคม 2561 เปนวันที่ศาลนัดพิจารณาคดี นายเปรมชัย การเขารวมของสังคม - มีการเคลื่อนไหวจากเหลาดาราและประชาชน ทำสัญลักษณกากบาทที่ฝามือขางซาย 29 ลงใน Instagram สวนตัว พรอมติดแฮชแท็กตางๆ #เราขอเปนเสียงใหสัตวปา #มูลนิธิสืบนาคเสถียร #ตื่นเถิดชาวไทย #ทุ ก ชีวิตสำคัญเสมอกับเรา #เสือดำตองไมตายฟรี #justiceforwildlife - ศิลปนรวมเคลื่อนไหวคดีลาเสื อดำผานงานศิลปะ 30 เชน การวาดลายเสนแบบการตูน GTO พรอมกั บ ตั้ ง คำถามวา “เสืออยูไส”, การวาดวงกลมสีแดงลอมรอบคำวาเสือดำ ซึ่งเปนการแสดงออกเชิง สั ญ ลั กษณ อีก รูปแบบหนึ่ง โดยผลงานทั้งหมดถูกทยอยสรางสรรคขึ้นบนกำแพง บนกระดาน ผานโซเชียล ตามรูปแบบที่ ศิลปนแตละคนถนัด

27

Hashtag #เสือดำhttps://twitter.com/hashtag/เสือดำ แ ฟ น เ พ จ เ ฟ ซ บ ุ ค “ เ ส ื อ ด ำ ต  อ ง ไ ม  ต า ย ฟ ร ี ” https://www.facebook.com/เ ส ื อ ด ำ ต  อ ง ไ ม  ต า ย ฟ รี 618910211779518/?hc_ref=ARRhbcW4J6JL2jdylPdXRHeX_ZkbTvBbmxGLPkoOIqSCZwsgmgfXWUviz3BwV X7Yg-8&fref=nf 29 ขาวสด. 2561. #เสือดำตองไมตายฟรี ดาราแหเคลื่อนไหว กากบาท บนฝามือ ขอเปนเสียงใหสั ตว ปา. สืบค น เมื่ อ 13 กรกฎาคม 2561. จากเว็บไซต Khaosod : https://www.khaosod.co.th/entertainment/news_806857 30 ThaiPBS. 2561. ศิลปนเคลื่อนไหวคดี ลาเสื อดำผานงานศิล ปะ. สืบคนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2561. จากเว็บไซต ThaiPBS: https://news.thaipbs.or.th/content/270836 28


206

ปญหาและอุปสรรค - เกิดความลาชาในกระบวนการยุตธิ รรม 31 - แฟนเพจเฟซบุค Headache Stencil แจงวาภาพกราฟฟตี้เสือดำถูกลบออกโดยเจาหนาที่ - ภาพวาดเสือดำบนกำแพงจากศิลปน บางผลงานถูกลบออกในชวงเวลาตอมา บางผลงานอยูไดเพียง 1 วั น เทานั้น - เจาหนาที่ที่รับแจงความนายเปรมชัย ถูกตรวจสอบ และลงโทษภาคทัณฑ เพราะ ถือวาบกพรองตอหน า ที่ โดยรับแจงความคดีนายเปรมชัย ซึ่งเขาขายกลั่นแกลงใหไดรับผิดทางอาญา32 ซึ่งไมตรวจสอบขอกฎหมายที่ แจงขอหาใหชัดเจนกอน ผลสะเทือนของขบวนการเคลื่อนไหว หลังจากที่ขาวเสือดำแพรออกไปก็เกิดประแสวิพากษ วิจารณโลกโซเชียล เปนปรากฏการณ Social sanction หรือ กระบวนการทางสังคม การสรางบทลงโทษทางสังคมโดยผูใชงาน Social Network อยางเชน การแสดงความรูสึก การกลาวโทษผูกระทำความผิด ซึ่งการกระทำดังกลาวนั้น ลุกลามไปอยางรวดเร็ว ไมเพียง ประชาชนคนธรรมดา ยังรวมถึงดารานักแสดงดวย มี #เสือดำ ที่ขึ้นเปนอันดับ 1 ของ Twitter ในระยะเวลา ต อมา 33 ปรากฏการณ Social sanction นั ้ น เป นการแสดงออกถึ ง กรณี นายเปรมชั ย ให ถู กลงโทษจาก กระบวนการยุติธรรม ซึ่งการแสดงออกนั้นมีทั้งทางตรงและทางออมถือเปนการกดดันทางสังคมอีกทางหนึ่ง

31

BBC. 2561. หนึ่งเดือนคดีเสือดำทุงใหญ สังคมทวงถามเอาผิด เปรมชัย ทำไมถึงลาชา. สืบคนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2561. 0กเว็บไซต BBC : https://www.bbc.com/thai/thailand-43283878 32 ขาวสด. 2561. แฟมคดี กระแส เสือดำ จับตา ตร. ทำคดี เปรมชัย 3บิ๊กการันตีศรีวราห จอฟนซ้ำงาชางเถื่อน. สืบคนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2561. จากเว็บไซต ขาวสด : https://www.khaosod.co.th/newspaper-column/news_823915 33 PPTV. 2561. เสื อ ดำ สู  ก ารปลุ ก ปฏิ ก ิริ ย าตอบกลั บ ของสั งคม. สื บ ค นเมื่ อ 16 กรกฎาคม 2561. จากเว็ บ ไซต PPTV : https://www.pptvhd36.com/news/ประเด็นรอน/75413


207

1.3. กรณี หยุดเขื่อนแมวงก STOP DAM ขอเท็จจริง โครงการก อสร า งเขื ่ อ นแม ว งก เป นโครงการที ่ อยู  ใ นความรั บ ผิ ด ชอบของกรมชลประทาน มีวัตถุประสงคที่สรางขึ้นเพื่อแกไขปญหาน้ำทวมบริเวณลุมน้ำสะแกกรัง แตการกอสรางเขื่อนดังกลาวนั้นสร า ง ผลกระทบอยางมากตอพื้นที่ปา ไมในเขตอุทยานไมนอยกวา 13,000 ไร 34 รวมถึงเสือโครง ชาง นกยูงและปาทีท่ ี่ อาศัยอยูในพื้นที่ปานั้นๆดวย ในป 2532 จึงไมไดรับความเห็นชอบในการกอสรางเขื่อนดังกลาวจนกระทั่ง เมื่อ 10 เมษายน 2555 โครงการดังกลาวไดรับอนุมัติงบประมาณการกอสราง โดยอางวาเปนการป องกั นน้ ำ ท ว ม พื้นที่ภาคกลาง เก็บน้ำไวใชในหนาแลงและขยายพื้นทีช่ ลประทาน เมื่อมีการอนุมัติงบประมาณในการกอสราง โครงการเขื่อนแมวงกไดรบั ความสนใจเปนอยางมากจากทัง้ สื่อมวลชน และชาวบานเอง โดยเริ่มจากกระแสของการประทวงการอนุมัติ EHIA เพราะโครงการเขื่อนแมว งก ยั ง ไม ไ ด ผา นการพิ จ ารณาอนุ ม ั ติรายงานผลกระทบสิ ่ งแวดล อมและสุ ขภาพ และจากรายงานการศึ กษา ผลกระทบทางสิ ่ง แวดล อม (EIA) จำนวน 4 ครั ้ ง (ตั ้ ง แตป 2538,2541,2545 และ 2547) ไม เคยผ านความ เห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดลอมดวย กลุมที่เคลื่อนไหว - กลุมชาวบานในพื้นที่ที่ไดรับผลกระทบ (ในจังหวัดนครสวรรค) - นายศศิน เฉลิมลาภ เลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร (ผูนำในการเดินเทาไปชุมนุ มและออกแถลงการณ คัดคานการสรางเขื่อนแมวงก) - องคกรที่เคลื่อนไหวเกี่ยวกับสิ่งแวดลอม วิธีการที่เคลื่อนไหว - การเดินเทาของนายศศิน เฉลิมลาภ เครือขายองคกรอนุรักษดานสิ่งแวดลอม เพื่อคัดคานการสรางเขื่อนแม วงก 388 กิโลเมตร (เปนจุดเริ่มตนทำใหมีประชาชนทั่วไป ดารานักแสดงใหความสนใจในประเด็นการสราง เขื่อนมากยิ่งขึ้น) - จัดทำโพลสำรวจ (โพลชอง 7) เปนที่ยืนยันวาคนนครสวรรคไมเอาเขื่อนแมวงก

34

นณณ . 2555. 9 เรื ่ อ งที ่ ค ุ ณ ควรรู เ กี ่ย วกั บ เขื ่ อนแมว งก . สื บ ค น เมื ่ อ 17 กรกฎาคม 2561, จากเว็ บ ไซต siamensis : http://www.siamensis.org/node/35660


208

- สรางเพจบนเฟซบุค “หยุด!!! เขื่อนแมวงก STOP DAM”35 มีผูกดไลค ติดตามเพจ จำนวน 26,611 คน - สราง Hashtag #หยุดเขื่อนแมวงก 36 - คลิปวีดิโอ “First Run” ความเห็นตางสรางเขื่อนแมวงก - ตั้งกระทูพันทิป “9 เรื่องที่คุณควรรูเกี่ยวกับเขื่อนแมวงก” 37 (เมื่อป 2556) - แคมเปญ Change.org 38 (ไดรับการตอบรับจากประชาชนเปนอยางดี จนกระทั่งเมื่อ 2 พ.ย. 2560 การ รณรงคไดประสบความสำเร็จ ความตองการรายชื่อ 120,000 ชื่อ มีผูเขารวม 123,453 ชื่อ) ผลที่เกิดขึ้น - ในวันที่ 3 ตุลาคม 2560 ทางกรมชลประทาน ทำหนังสือถึงสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและ สิ ่ ง แวดล อม (สผ.) เพื ่ อขอถอนรายงาน EHIA โครงการเขื ่ อนแม วงก จั ง หวัด นครสวรรค ออกจากการ พิจารณาของ คชก. และไดทำการศึกษาวิธีการอื่นในการจัดการน้ำในลุมน้ำสะแกกรังเพื่อแกไขปญหาแทน39 โดยไดนำขอเสนอทางเลือกการจัดการของมูลนิธิสืบนาคะเสถียรมาพิจารณาดำเนินการจัดทำแนวทางเลือก ในการแกปญหาอุทกภัยและขาดแคลนน้ำในพื้นที่ดงั กลาว การเขารวมของสังคม - ประชาชนเขารวมเคลื่อนไหวบนพื้นที่สื่อมากขึ้น เชน การรวมลงชื่อผาน Change.org , การใช Hashtag # หยุดเขื่อนแมวงก - การทำเพลง หยุดเขื่อนแมวงก – คาวบอย - ดารานั กแสดงร วมเคลื่ อนไหวทางสื ่อโซเชี ยล เช น ญาญ า ญิ ๋ ง โพสต ร ู ปและข อความผ านอิ นสตาแกรม และเฟซบุค 40

35

แฟนเพจเฟซบุ ค “หยุ ด !!! เขื ่ อ นแม ว งก STOP DAM” https://web.facebook.com/หยุ ด -เขื ่ อ นแมว งก-STOP-DAM205624286217948/ 36 Hashtag #หยุดเขื่อนแมวงก : https://twitter.com/hashtag/หยุดเขื่อนแมวงก 37 Pantip. 2556. 9เร ื ่ อ งที ่ ค ุ ณ ควร ร ู  เ กี ่ ย วกั บ เข ื ่ อ นแม  ว งก . สื บ ค น เ มื ่ อ 17 กรกฎาคม 61. จาก Pantip: https://pantip.com/topic/31015125. 38 แคมเปญ Change.org “หยุดโครงการสรางเขื่อนแมวงก” https://www.change.org/p/หยุดโครงการสรางเขื่อนแมวงก 39 มูลนิธิสืบนาคะเสถียร. 2560. กรมชลฯ แจงถอนรายงาน EHIA เขื่อนแมวงก. สืบคนวันที่ 17 กรกฎาคม 2561. จาก seub : https://www.seub.or.th/bloging/สถานการณ/กรมชลฯ-แจงถอนรายงาน-Ehia-เข/ 40 ไทยรัฐ. 2556. ปรากฏการณคัดคาน “เขื่อนแมวงก” เกลื่อนโซเชียลฯ และทุกฝายใหขอมูลจริง. สืบคนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2561. จาก Thairath : https://www.thairath.co.th/content/373930


209

ปญหาและอุปสรรค - มี การเคลื ่ อนไหวจากประชาชน และกลุ  ม คนจากมู ลนิ ธิ สื บนาคะเสถี ย ร โดยการยกระดั บปญหาไปสู สาธารณะในชวงป 2556 แตการเคลื่อนไหวดังกลาวก็เงียบลง เมื่อมีประเด็นทางการเมืองเขามาในป 2557 - ทางช อง 9 สั ่ ง ระงั บการออกอากาศ รายการคนค นฅน เทปตามติ ดนายศศิ น เฉลิ ม ลาภ เดิ นเท า 388 กิโลเมตร จากปาสูเมืองคัดคานการอนุมัติรายงานการวิเคราะหผลกระทบสิ่งแวดล อมและสุ ขภาพในการ สรางเขื่อนแมวงก เนื่องจากรายงานฉบับดังกลาวไมไดระบุขอมูลที่ครอบคลุมทั้งหมดเพื่อสรางความตื่นตัว ใหกับประชาชน - นักการเมืองทองถิ่น (นายกเทศมนตรี กำนัน ผูใหญบาน) พูดจาใหชาวบานในพื้นที่ของตนรวมกันสนับสนุน การสรางเขื่อน ซึ่งชาวบานที่สนับสนุนการสรางเขื่อนไดออกมาคัดคาน การเดินเทาคัดคานของนายศศิน ที่ ไมเห็นดวยกับ EHIA และเห็นกลุมของนายศศินเปนเพียงกลุมที่คอยปลุกระดมสรางแตกแยกเทานั้น ซึ่งการ คัดขวางการเดินเทา อยางเชน การไมใหคาราวานเดินเทาพักคางคืนตามจุดแวะพักตางๆ อยางเชน ช ว งที่ เดินผาน อ. ลาดยาว ก็ถูกปฏิเสธถึง 4 แหง แมแตวัดวาตางๆ ก็ปฏิเสธใหการชวยเหลือทั้งสิ้น41 ผลสะเทือนของขบวนการเคลื่อนไหว ในขณะนี ้ทางองค การบริหารส วนตำบลลาดยาว จั ง หวั ดนครสวรรค เตรี ยมการจัดการน้ ำในพื้นที่ รับผิดชอบ โดยไมจำเปนตองรอการกอสรางเขื่อน ซึ่งมีการสำรวจและพัฒนาโครงสรางเพื่อแบงน้ำในคลองขุ น ราษฎรที่เปนสาเหตุหลักใหเกิดอุทกภัยทุกป ออกไปทางลำน้ำสาขาสองเสนหลักคือ แนวทางการจัดการอุทกภัย ของอำเภอลาดยาว ที่ออกแบบโดยทีมงาน อบต. ลาดยาวไมไดมีแนวคิดที่จะตองพึ่งพาเขื่อนใหญที่ควบคุมได เพียงลำน้ำแมวงกสายเดียว

41

Paskorn Jumlongrach. 2556. เอ็นจีโอกินปาหรือ ไมกินขาวหรือ. สืบคนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2561. จาก สำนักขาวอิ ศ รา : https://www.isranews.org/isranews-article/item/23789-“เอ็นจีโอกินปาหรือ-ไมกินขาวหรือ”.html


210

1.4. กรณี ปูคออี้ มีมิ ขอเท็จจริง ในวันที่ 12 มิ.ย. 2561 ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษา คดีหมายเลขดำที่ อส.77/2559 วาปูคออี้และ พวกอี ก 6 คน ไม ม ี ส ิ ท ธิ อ าศั ย ในพื ้ น ที ่ ห มู  บ  า นใจแผ น ดิ น หรื อ บางกลายบน อ. แก ง กระจาน จ. เพชรบุรี โดยใหเหตุผลวา ไมมีเอกสารยืนยันวา เปนเจา ของที่ดินและพื้นที่ดัง กลา วเองก็ เป นพื้ นที่ ใ นเขต อุทยานแหงชาติแกงกระจานจึ งทำใหไมสามารถให ชาวบา นกลับ เขาไปอยูใ นหมูบานเชนเดิ ม และส ว นการ ทำงานของเจาหนาที่อุทยานที่เขาไปไลรื้อ เผาบานและยุงขาวของชาวบานกวา 100 หลัง ก็ถือเปนการกระทำที่ เกินกวาเหตุและมิชอบดวยกฎหมาย จึงมีคำสั่งใหทางเจาหนาทีอ่ ุทยานฯ เพิ่มเงินชดใชคาเสียหายใหกับปูคออี้ และผูรวมฟองคดีจำนวน 6 คน (เดิมจากคนละ 1 หมื่นบาท เปนคนละประมาณ 5 หมื่นบาท) โดยจะตองจาย ภายใน 30 วันนับแตวันที่ศาลพิพากษา 42 ยอนกลับไปเมื่อป 2539 มีการประกาศพื้นที่แกงกระจานใหเปนพื้นที่อุทยานแหงชาติ ซึ่งในขณะนั้ น เจาหนาที่ไดใหกะเหรี่ยงที่อาศัยอยูที่บางกลอยบน หรือ บานใจแผนกิน อพยพลงมาอยูที่บานโปงลึก-บางกลอย แตปูคออี้ไมชินกับสภาพแวดลอม จึงไดกลับไปอยูบา นเกิดทีบ่ านบางกลอยบนตามเดิม ตอมาป 2554 เจาหนาที่ อุทยานไดเขาไปไลรื้อ เผาบานและยุงฉางขาวในหมูบานบางกลอยบนกวา 100 หลัง รวมถึงยึดอุปกรณ ท ำไร ของชาวบาน หลังจากนั้นชาวบานก็ถูกนำตัวลงมาอาศัยที่หมูบา นบางกลอยลาง ในป 2555 ปูคออี้และพวกรวม 6 คนจึงฟองเรียกคาเสียหายจากการกระทำเกินกวาเหตุของเจาหนาที่อุทยานแหงชาติ และขอกลับไปอาศัยอยู ที่บางกลอยบน เพราะเปนบานเกิดของตนที่บรรพบุรุษอยูมากกวา 100 ป ในระหวางการสูคดีนายพอละจี รัก จงเจริญ (หรือบิลลี่) หลานชายของปูคออี้แกนนำกะเหรี่ยงบานบางกลอย ที่ถือเปนหนึ่งในพยานสำคัญของคดี การรื้อถอนและเผาบานกกะเหรี่ยง ไดหายตัวไปอยางไรรองรอย หลังจากนั้น 4 ป ศาลปกครองกลางตัดสินว า การกระทำของเจาหนาที่เปนการกระทำที่เหมาะสมแลว แตตองชดใชคาเครื่องใชในครัวเรือนและของใชสวนตัว ที่ไดรับความเสียหาย และคาชดเชยคนละ 10,000 บาท แตปูคออี้และทนายเห็นวาการพิจ ารณายั ง ไม ค รบ ประเด็นตามคำฟอง จึงขอยื่นอุทธรณจนปจจุบนั ศาลปกครองสูงสุดพิพากษาถึงที่สุดแลว กลุมที่เคลื่อนไหว - ปูคออี้และชาวไทยพื้นเมืองอีก 6 คน (โจทกฟองดำเนินคดี) - เครือขายกะเหรี่ยงเชียงใหม - เครือขายสื่อชนเผาพื้นเมือง

42

Voicetv. 2561. ศาลปกครองสูงสุดชี้ คดี “ปูคออี้” ไรหนังสืออางสิทธิ ไมสามารถออกคำสั่งใหกลับ คืนพื้น ที่. สืบ ค น เมื่ อ 19 กรกฎาคม 2561. จากเว็บไซต Voicetv : https://www.voicetv.co.th/read/Hk7VNy6g7


211

วิธีการที่เคลื่อนไหว - มีการตอสูดวยกระบวนทางกฎหมาย (การฟองรองดำเนินคดี) ขอตอสู เชน การจัดการทรัพยากรภายใตวิถี วัฒนธรรมชุมชนดั้งเดิม และสิทธิ ชุม ชนตามรั ฐธรรมนูญ แหงราชอาณาจั กรไทย และ การปฏิ บั ติ การของ พนักงานเจาหนาที่ไมเปนไปตามหลักแหงความเหมาะสม และเปนปฏิบัติการทางปกครองที่สงผลกระทบตอ สิทธิและเสรีภาพของประชาชนอยางรายแรง - การเคลื่อนไหวจาก สุรชัย ตรงงาม เลขาธิการมูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดลอม (Enlaw) เปนการปาฐกถาเรื่ อง สถานการณสิ่งแวดลอมหลังรัฐประหาร 2557 มีการวิจารณถึงคดีปูคออี้ 43 - การจัดมินิคอนเสิรตปกาเกอะญอศึกษา โดยเครือขายกะเหรี่ยงเชียงใหม44 - การนำเอารูปภาพของปูคออี้ รูปภาพพื้นที่ปา รูปภาพการเผาบานเรือน มาโพสบนสื่อออนไลน ไมวาจะเปน ทั้งเฟซบุค ทวิสเตอร พรอมทั้งแคปชั่นตางๆ ที่สื่อถึงการรณรงคชวยเหลือปูค ออี้ - มีการนำเสนอขาว อัพเดทขางสารตางๆของปูคออี้ ผานหนา เพจในเฟซบุคจำนวนมาก เชน Prachathai, The Standard, การเมืองไทย ในกะลา 45 รวมถึงเพจ IMN เครือขายสื่อชนเผาพื้นเมืองดวย - การสราง Hashtag #ปูคออี้ ทั้งในเฟซบุคและเฟซบุค

43

ประชาไท. 2559. สุรชัย วิจารณคดีปูคออี้ สิทธิชุมชนมีอยู แตประชาชนยืนยันสิทธิไมได. สืบคนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2561. จากเว็บไซต ประชาไท : https://prachatai.com/journal/2016/09/67942 44 ข า วสด. 2561. เครื อ ข ายกะเหรี่ ยงเชี ยงใหม รณรงค ช  วย “ปู  ค ออี ้” ชี ้ ช ุม ชนบางกลอยอยู ม าแตด ั ้งเดิ ม . สื บ คน เมื่ อ 19 กรกฎาคม 2561. จากเว็บไซตขาวสด : https://www.khaosod.co.th/monitor-news/news_1255867 45 ตั ว อย  า งการเ คล ื ่ อ น ไ หวบน เ พ จก า รเ มื อ งไ ทย ใ น กะลา : https://www.facebook.com/PoliticsKalaland /posts/%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0 %B9%89%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E 0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B9% E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AA %E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B8%B 2%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99-%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0% B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%81%E0 %B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E 0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%96%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%80% E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%94-via-/807134146158447/


212

ผลที่เกิดขึ้น - คดีนี้ตัดสินแลวและคดีถึงที่สุดแลว โดยศาลตัดสินวา การรื้อถอนดวยการเผาทำลายเพิงพัก และยุงฉางนั้ น นั้น เปนการดำเนินการที่เหมาะสมตามหลั กความเหมาะสม และถือไดวาเปนการใชอำนาจโดยชอบของ พนักงานเจาหนาที่ ตามมาตรา 22 แหงพระราชบัญญัตอิ ุทยานแหงชาติ พ.ศ. 2504 46 - ปูคออี้และชาวบานคนอื่นตองกลับลงมาอยูที่บานโปงลึก-บางกลอยตามเดิมและไดเงินชดเชยคนละ 50,000 บาท และไมมีสิทธิเขาไปในพื้นที่บางกลอยบนอีก เนื่องจากศาลตัดสินวาไมมเี อกสารสิทธิวาเปนเจาของที่ดนิ การเขารวมของสังคม - ประชาชนทั่วไปที่ตดิ ตามขาว โพสขอความตางๆผานทางเฟซบุค พรอม #ปูคออี้ ปญหาและอุปสรรค - นายพอละจี รักจงเจริญ (หรือบิลลี่) หลานชายของปูคออี้แกนนำกะเหรี่ยงบานบางกลอย ที่ถือเปนหนึ่ ง ใน พยานสำคัญของคดีการรื้อถอนและเผาบานกกะเหรี่ยง ไดหายตัวไปอยางไรรองรอย 47 (ซึ่งชาวบานบางคน บอกวาถูกเจาหนาที่อุทยานจับกุมตัวไปสอบสวน) ผลสะเทือนของขบวนการเคลื่อนไหว - คดีถึงที่สุดแลว / ศาลตัดสินแลว ปูคออี้และชาวบานไดรับเงินชดเชย แตนโยบายทวงคื นผื นป า ยั ง คงอยู ตอไป

46

ขาวสด. 2560. ปูคออี้ วัย 106 ป เผย “ฉันอยากลับไปตายที่ ถิ่นเกิ ด” หลังผาน 1 ป ศาลตัดสินคดีถู ก เผาบ า นและยุ ง ข  า ว . ส ื บ ค  น เ ม ื ่ อ 19 ก ร ก ฎ า ค ม 2561. จ า ก เ ว ็ บ ไ ซต  ข  า ว ส ด : https://www.khaosod.co.th/monitornews/news_502569 47 PPTV. 2561. ประวั ติ “บิ ล ลี่ -พอละจี ” แห งใจแผ น ดิ น . สื บ ค น เมื ่ อ 20 กรกฎาคม 2561. จากเว็ บ ไซต PPTV : https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%94%E 0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99/85248


213

1.5. กรณี เหมืองทองคำอัครา จ. พิจิตร ขอเท็จจริง เหมืองแรทองคำชาตรี หรือที่เรียกวา เหมืองทองคำพิจิตร อยูบนพื้นที่รอยตอ 3 จังหวัด ไดแก พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ ดำเนินกิจการโดยบริษัท อัครา รีซอรสเซอร จำกัด (มหาชน) เปนผู ป ระกอบการ เหมืองแรจากประเทศออสเตรเลีย เมื่อเริ่มทำเหมืองแรก็มีขอพิพาทกับชุมชนในบริเวณรอบเหมืองอยางตอเนื่อง ประเด็นหลั กๆ คื อ ชาวบ านคั ดค านการทำเหมืองเพราะกลั วเรื่ องผลกระทบดา นสิ ่ งแวดล อม ในป 2551 บริษัทอัคราฯ ยื่นเรื่องขอขยายพื้ นที่ในการทำเหมื อง ซึ่งหนวยงานภาครัฐก็ ยิ นยอมใหขยายพื้ นที่ ไ ด แต ใ น ขณะเดียวกันพบวารายงานการวิเคราะหผลกระทบสิ่งแวดลอม (EIA) ไมไดรับความเห็นชอบ ในป 2553 “กลุม คัดคานไมเอาเหมืองทองคำ” จึงยื่นเรื่องตอศาลใหตรวจสอบการทำเหมือง โดยระบุวา ไดรับผลกระทบต อ สุ ขภาพและสิ ่ งแวดล อมโดยรอบ ต อมาชว งป 2557 การตรวจสอบพบวา ชาวบ านในบริ เวณนั ้ นมี สารหนู ปนเปอนในรางกายเกินคามาตรฐาน ทางกลุมบริษัทโตแยงวา สารหนูเกิดจากการกินอาหารทะเลของชาวบาน ในประเด็นเรื่องสุขภาพก็ยังไมแนชัดวาเกิดจากฝายใด ในเวลาตอมากลุมคัดคานการทำเหมืองแร ก็ยื่นเรื่องตอรัฐบาล คสช. ใหตรวจสอบเรื่องสุ ขภาพและ สิ่งแวดลอมตอไป จนในป 2559 มีคำสั่งระงับการดำเนินกิจ การเหมื องทองคำพิ จิตร การกระทำดั ง กล า วมี ผลกระทบตอชาวบาน 2 กลุม เปนกลุมที่เขารวมกับเครือขายนักสิ่งแวดลอม (NGOs) และกลุมที่สนับสนุนการ สรางเหมือง ซึ่งก็อางวาตนไมไดรับผลกระทบจากการสรางเหมือง อีกทั้งยังมีรายไดจากการทำเหมืองอี กด ว ย และกลุมที่สองเปนกลุมชาวบานที่ทำงานกับทางบริษัท รวมถึงพนักงานของบริษทั คนอื่นอีกนับ 1,000 คน48 กลุ  ม คั ดคานการทำเหมื องแร เป นชาวบ านกลุ มเครื อขายผู ป ว ยรอบเหมื องทองคำ จ. พิ จ ิ ต ร และ เพชรบูรณ ถูกตั้งขอหาตาม พ.ร.บ. ชุมนุมสาธารณะ และขอหารวมกันขมขืนใจผูอื่น จากกรณีขัดขวางรถขนแร ของบริษัทอัคราฯ ไมใหผานเสน สวนกลุมที่สนับสนุนการทำเหมืองก็ออกมาโตแยงตลอดมา วาใหดำเนินการเปดกิจการทำเหมือนทองที่ พิจิตรตอ เพื่อรายไดของตน และเรื่องสุขภาพก็ไมเปนปญหาสำหรับตน กลุมที่เคลื่อนไหว - กลุมเครือขายธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดลอม (http://www.svnthailand.org/index.php ) - ศูนยทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน - คุ ณ สมลั กษณ หุ ต านุ ว ั ติ กรรมการกลุ  ม เครื อข า ยธุ ร กิ จ เพื ่ อ สั ง คมและสิ ่ ง แวดล อม (FB: Somlak Hutanuwatr) 48

The Matter. 2560. สรุปขอพิพาท “เหมืองทองอัครา” รัฐบาลเสี่ยงเสียคาโง ม. 44 ราคา 30,000 ลานบาท. สืบคนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2561. จาก https://www.facebook.com/thematterco/posts/recap-สรุปขอพิพาท-เหมืองทองอั ค รรัฐบาลเสี่ยงเสียคาโง-ม44-ราคา-30000-ล านกลาย/1930085727206820/


214

- กลุมชาวบานฝายสนับสนุนการปดเหมืองทองคำ - กลุมชาวบานฝายคัดคานการปดเหมืองทองคำ วิธีการที่เคลื่อนไหว - กระบวนการทางกฎหมาย ชาวบาน 27 คนคัดคานเหมืองทองพิจิตร ขัดขวางรถขนแรบริษทั อักคราฯ49 - ตั้งกระทูพันทิป “เหมืองทองอันตรายจริงๆ หรือแคขัดผลประโยชน” 50 (จากคนที่อางวาตนเองเป นคนใน บริษัททำเหมืองทอง พิจิตร และเปนคนในชุมชนรอบๆเหมือง) - มีการถกเถียงกันผานกระทูพินทิปในหลายๆกระทู จากฝายที่เห็นดวย ไมเห็นดวย ฝายที่อางวาตนเปนคนใน พื้นที่ และ ประชาชนคนทั่วไป เกี่ยวกับกรณีการปดเหมือง - มีการขับไลนักวิชาการ 2 คนออกจากคณะกรรมการตรวจสอบเหมือง โดนการประทวงที่หนาศาลากลาง จังหวัดพิจิตร และแสดงจุดยืนวาตองการเหมืองทองกลับคืนมา51 - สราง Hashtag #เหมืองแรทองคำ ผานทางทวิสเตอรและเฟซบุค52 สนับสนุนใหปดเหมืองทอง - เพจเฟซบุค “ขุมทุกขเหมืองทองคำประเทศไทย” เปนที่เคลื่อนไหวและติดตามคดี เหมืองทองคำพิจิตร 53

49 ศูนยทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน. 2560. ศาลพิพากษาใหรอกำหนดโทษ 1 ป คดี 27 ชาวบานคานเหมือ งทองพิ จิ ตร ‘ช ุ ม น ุ ม ’ ข ว า ง ร ถ ข น แ ร  บ ร ิ ษ ั ท . ส ื บ ค  น เ ม ื ่ อ 22 ก ร ก ฎ า ค ม . 2561. จ า ก เ ว ็ บ ไ ซ ต  tlhr: http:// www.tlhr2014.com/th/?p=5152 50 พันทิป. 2560. เหมืองทองอันตรายจริงๆ หรือแคขัดผลประโยชน. สืบคนเมือ 20 กรกฎาคม2561. จากเว็บไซต Pantip : https://pantip.com/topic/35983908 51 ขาวสด. 2559. พนักงานบริษัทอัครฯ กวาพันคนชุมนุมหนาศาลากลางจี้ “บิ๊กตู” ทบทวนมติปดเหมืองทองคำ. สื บ ค น เ ม ื อ 20 ก . ค . 2561. จ า ก เ ว ็ บ ไ ซต  ข  า วส ด : https://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid =1463635017 52 ตัวอยาง # ผานทางทวิสเตอร : https://twitter.com/hashtag/เหมืองแรทองคำ 53 เพจเฟซบุ ค “ขุ ม ทุ ก ขเ หมื องทองคำประเทศไทย”https://www.facebook.com/%E0%B8%82%E0%B8%B8%E0% B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0 %B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E 0%B8%B3%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%84% E0%B8%97%E0%B8%A2-1436397813262763/


215

ผลที่เกิดขึ้น - ในวันที่ 13 ธันวาคม 2559 มีคำสั่งหัวหนาคณะรักษาความสงบแหงชาติฉบับที่ 72/2559 วา ใหผูประกอบ กิจการเหมืองแรทองคำ ระงับการประกอบกิจการตั้งแตวันที่ 1 มกราคม 2560 เปนตนไป 54 แตประชาชน ไดยื่นขอรองเรียนใหตรวจสอบเรื่องตางๆ เพื่อใหเกิดความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ทั้งในประเด็นปญหาสุ ขภาพ และสิ่งแวดลอม แตจนถึงปจจุบันยังไมมีการชี้แจงประเด็นใดๆ การเขารวมของสังคม - มีประชาชนใหความสนใจ อยางเชน การตั้งกระทูพันทิป ซึ่งการตั้งกระทูนี้มีทั้งฝายที่คัดคานการทำเหมือง และฝายที่คัดคานกลุมเอ็นจีโอ - ประชาชนรวมกันใช #เหมืองแรทองคำ ปญหาและอุปสรรค - สมลั กษณ และธั ญ ญารัศมิ์ นั กเคลื ่ อนไหวคั ดค านการทำเหมืองแร ถู กบริษ ัท อัครา รี ซอร สเซส จำกัด (มหาชน) ฟองคดี พ.ร.บ.คอมฯ มาตรา 14 (1) (5) รวมถึงประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326 และ 328 เปนจำนวน 4 คดี คดีที่หนึ่ง เรื่องของการยกเวนภาษี 16 ป นางสมลักษณ และธัญญารัศมิ์ (จำเลย) มีการโพสข อความ ผานเฟซบุควา บริษัทอัครา รีซอรสเซส จำกัด (มหาชน) (โจทก) ไมเสียภาษีนานถึง 16 ป ซึ่งไดรับการยกเวนให 2 ครั้ง ครั้งละ 8 ป ประเด็นนี้ศาลเห็นวา จำเลยมีสิทธิที่จะวิพากษวิจารณได เพราะตามปกติแลวนิ ติ บุ ค คลก็ ตองเสียภาษีใหแกรัฐ แตโจทกไดรับการยกเวนมานานถึง 16 ป จึงพิพากษายกฟอง 55 คดีที่สอง เรื่องของสารปนเปอน โดยจำเลยทั้งสองเผยแพรเอกสารวาบริเวณที่ทำเหมืองมีสารพิษซึ่งเปน ผลกระทบต อสิ ่ง แวดล อมและสุขภาพอยางมาก ซึ ่ ง โจทกอ างวาเปนความเท็จ ประเด็นดั งกล าวศาลชั้นตน พิจารณายกฟอง 56 คดีที่สาม จำเลยโพสขอความประกอบกับรูปภาพเรื่องบอไซยาไนดอันตรายมาก และสารพิษดังกล า ว อยูหางจากวัดและโรงเรียนเพียง 400-500 เมตรเทานั้น ในประเด็นดังกลาวโจทกตอสูวาเปนขอความเท็จซึ่งทำ 54

PPTV. 2559. คสช. ใช ม. 44 สั่งยุติเหมืองทองคำ 1 ม.ค. 60 เปนตนไป. สืบคนเมือ 20 กรกฎาคม 2561. จากเว็ บ ไซต PPTV : https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0% B8%94%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99/41514 55 iLaw. 2559. สมลักษณ คดีที่หนึ่ง : โพสตเฟซบุควิจารณเหมืองทองคำ จ. พิจิตร. สืบคนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2561. จาก เว็บไซต iLaw: https://freedom.ilaw.or.th/case/744#the_verdict 56 iLaw. 2559. สมลักษณ คดีที่สอง : โพสตเฟซบุควิจารณเหมืองทองคำ จ. พิจิตร. สืบคนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2561. จาก เว็บไซต iLaw: https://freedom.ilaw.or.th/case/745


216

ใหบริษัทของโจทกเสียหาย ในกรณีนี้ศาลพิพากษาวาจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ. คอมฯ มาตรา 14 (1) และ (2) 57 คดีที่สี่ จำเลยกลาวหาวาโจทกเปนนายทุนชั่วชา ต่ำทราม ไมมีความสำนึกรักชาติ ในประเด็นดังกล า ว อยูในศาลชั้นตนและศาลมีคำสั่งรับฟอง และนัดสืบพยานตอไป58 - กลุมคัดคานการทำเหมืองแร เปนชาวบานกลุมเครือขายผูปวยรอบเหมืองทองคำ จ. พิจิตร และเพชรบูรณ ถูก ตั้งขอหาตาม พ.ร.บ. ชุมนุมสาธารณะ และขอหารวมกันขมขืนใจผูอื่น จากกรณีขัดขวางรถขนแรของบริษัทอัค ราฯ ไมใหผานเสน59 ผลสะเทือนของขบวนการเคลื่อนไหว ปจจุบันประเด็นขอพิพาทตางๆ ทั้งเรื่องผลกระทบตอสิ่งแวดลอม ปญหาสุขภาพของชาวบาน รวมถึ ง การใชมาตรา 44 ตอการระงับการทำเหมืองมีความเหมาะสมหรือไม ยังเปนขอพิพาทที่ยังไมมีขอสรุป ไมมีฝาย ใดออกมาใหความชัดเจน รวมถึงผลการตรวจสอบในแตละเรื่องนั้นก็ยังไมมกี ารชี้แจงใดๆ

57

iLaw. 2559. สมลักษณ คดีที่สาม : โพสตเฟซบุควิจารณเหมืองทองคำ จ. พิจิตร. สืบคนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2561. จาก เว็บไซต iLaw: https://freedom.ilaw.or.th/case/750 58 iLaw. 2559. สมลักษณ คดีที่สี่ : โพสตเฟซบุ ควิจารณ เหมื อ งทองคำ จ. พิจิตร. สืบคนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2561. จาก เว็บไซต iLaw: https://freedom.ilaw.or.th/case/781#progress_of_case 59 ศูนยทนายความเพื่อสิทธิมนุ ษยชน. 2560. ศาลพิพากษาใหรอกำหนดโทษ 1 ป คดี 27 ชาวบานคานเหมื อ งทองพิ จิ ตร ‘ช ุ ม น ุ ม ’ ข ว า ง ร ถ ข นแ ร  บ ร ิ ษ ั ท . ส ื บ ค  น เ ม ื ่ อ 22 ก ร ก ฎ า ค ม 2561. จ า ก เ ว ็ บ ไ ซต  tlhr: http://www. tlhr2014.com/th/?p=5152


217

1.6. กรณี เหมืองแรทองคำ จ. เลย ขอเท็จจริง บริษัททุงคำไดรับใบอนุญาตประทานบัตรเหมืองแรทองคำจากกระทรวงอุตสาหกรรมระยะเวลา 25 ป จำนวน 6 แปลง บนภูทับฟา และภูเขาซำปาบอน ซึ่งตั้งอยูในตำบลเขาหลวง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ในป 2547 สำนั กงานสิ ่ง แวดล อม ภาคที่ 9 อุ ด รธานี ตรวจพบปริม าณแมงกานี สเกินค ามาตรฐาน และพบสาร ไซยาไนดในลำน้ำฮวย ซึ่งเปนแหลงน้ำธรรมชาติสายหลักของชุมชน ซึ่งในขณะนั้นบริษัททุงคำเปดดำเนินการ โรงแตงแร การตรวจพบสารพิษตางๆ ชาวบานทั้ง 6 หมูบานที่อาศัยอยูในพื้นที่ใกลเคียงเหมือง เรี ย กร องให บริษัทและหนวยงานที่เกี่ยวของเขามาแกไขปญหาสิ่งแวดลอมและสุขภาพที่เกิดขึ้ น จึงมีการตั้ง ‘คณะทำงาน เก็บตัวอยางน้ำ’ ในป 2551 กรมควบคุมมลพิษ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล และกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการ เหมืองแร เก็บตัวอยางน้ำผิวดิน และตะกอนดิน ตรวจพบ สารหนู สารตะกั่ว และสารแมงกานีสในห ว ยเหล็ ก สารแมงกานีสในหวยผุกและหวยฮวย และพบแคดเมียมปนเปอนในน้ำประปาบาดาลบานนาหนองบง (คุมนอย) ทำใหสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลย ออกประกาศเตือนประชาชนไมใหดื่มน้ำจากหวยผุ ก หวยเหล็ ก และ น้ำประปาบาดาลบานนาหนองบง (คุมนอย) และไมควรนำมาใชประกอบอาหาร อีกทั้งประกาศไมใหประชาชน บริโภคหอยขมที่เก็บไดจากลำหวยเหล็ก จากปญ หาที่ เกิ ดขึ ้นทำใหต องการความขัดแย งระหว างกลุ มนายทุนที ่เขามาทำเหมืองกั บกลุ มของ ชาวบานที่ไดรับผลกระทบ ซึ่งก็มีกลุมคนรักษบานเกิด จังหวัดเลย เปนแกนนำในการประท ว งเรี ย กร องให รับผิดชอบดูแลปญหาสิ่งแวดลอมและปญหาสุขภาพ กลุมที่เคลื่อนไหว - กลุมคนรักษบานเกิด - มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดลอม (Enlaw) - ชาวบานที่ไดรับผลกระทบในพื้นที่รอบเหมืองแร วิธีการที่เคลื่อนไหว - เพจเฟซบุค “เหมืองแร เมืองเลย V2” และเพจ “ขบวนการอีสานใหม” ในการเคลื่อนไหวขอมู ลข า วสาร ตางๆ 60 60

เพจเฟซบุ ค “เหมื อ งแร เมื อ งเลย V2” https://www.facebook.com/pages/biz/%E0%B9%80%E0%B8%AB % E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B9%88-%E0% B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%A2-V2509085482575195/


218

- กลุมรักษบานเกิดปดทางเขา ออกเหมืองทอง หามรถขนแรออกจากพื้นที่ มีการถือปายคัดคานการเขาออก เหมืองดวย พรอมทั้งขนทอปูน แผงไมปดเสนทางเขาออกอยางเด็ดขาด61 - สมาชิกกลุมคนรักษบานเกิดโพสเฟซบุค “เหมืองแร เมืองเลย” วา “บริษัทฯไดประทานบัตร 6 แปลงเพื่อทำ เหมืองแรโดยมิชอบ” (ปจจุบันไมมีเหมืองแร เมืองเลยแลว กลายเปน เหมืองแร เมืองเลย V2) - สราง #เหมืองแรเมืองเลย บททวิสเตอร ผลที่เกิดขึ้น - มีคำสั่งหัวหนาคณะรักษาความสงบแหงชาติ ที่ 72/2559 ใหปดตัวและพืน้ ฟูเหมืองตามคำสั่งดังกลาว62 การเขารวมของสังคม - รวมกันใช #เหมืองแรเมืองเลย ปญหาและอุปสรรค - เมื่อชาวบานพยายามนำเอกสารหลักฐานตางๆ สะทอนไปยังหนวยงานภาครัฐแตปรากฏวาขอมูลดั ง กล า ว กลับไมไดรับการยอมรับอยางเปนทางการหรือกระทั่งถูกกีดกันออกไป สงผลใหเกิดปญหาการละเมิ ด สิ ท ธิ การใชความรุนแรง ขมขูคุกคาม รวมถึงการตัง้ คาหัวแกนนำชาวบาน63 - นายสุรพันธ (เลขาธิการกลุมคนรักษบานเกิด) ผูเคลื่อนไหวคัดคานการทำเหมืองแรทองคำในจังหวัดเลย ถูก ฟองดำเนินคดี ตาม พ.ร.บ. คอม มาตรา 14(1) และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 , 328 แตศาลมีคำ พิพากษายกฟอง และคดีถึงที่สุดแลว 64

61

มติชน. 2560. กลุมรักษบานเกิดฮือเปดทางเขา ออกเหมือ งทองเลย หามรถขนแรที่เหลือออก. สืบคนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2561. จากเว็บมติชน : https://www.matichon.co.th/region/news_469981 62 ขาวสด. 2559. กลุมคนรักษบานเกิด จ. เลย ขึ้นปายนับถอยหลังปดเหมืองทอง. สืบคนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2561. จากเว็ บ ขาวสด : https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_161844 63 waymagazine. 2559. ปฏิรูปสังคมดวยงานวิจัย: กรณีเหมืองแรปาชุมชน. สืบคนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2561. จากเว็บ ไซต Waymagazine: https://waymagazine.org/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2/ 64 iLaw. สุ ร พั น ธุ  คดี ห มิ ่ น ปร ะมาท พ.ร.บ.คอมฯ ที ่ ศ าลแม ส อด. สื บ ค น เมื ่ อ 23 กรกฎาคม 2561. จาก iLaw: https://freedom.ilaw.or.th/case/694


219

- นายสรุ พั นธุ ชาวบ านเลยคัดค านเหมืองทองคำ ถู กบริ ษั ท ทุ  งคำ ฟ องดำเนินคดี ฐานหมิ ่นประมาทตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 328 และทางบริษัททุง คำไดถอนฟองจำเลยแลว 65 - พรทิพย ชาวบานหนองบง สมาชิกกลุมคนรักษบานเกิด ผูเคลื่อนไหวคัดคานการทำเหมื อ งแร ท องคำใน จังหวัดเลย ถูกฟองฐานหมิ่นประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326 และ 328 ปจจุบันบริษัททุง คำ (โจทก) ถอนฟองพรทิพยแลว 66 - ชาวบานถูกขมขู เมื่อวันที่ 7 ธ.ค. 60 มีเสียงปนดังในหมูบาน พรอมกับรถกระบะและรถพวงขั บ เข า มาใน พื้นที่ ขับไปยังทิศทางที่ตั้งของบริษัททุง คำ จากนั้นก็ไดยินเสียงปนดังขึ้น 20 กวานัด ชาวบานจึงหวั่นใจว า จะเกิดเหตุการณซ้ำรอยเหมือนป 2557 ที่มีชายฉกรรจราว 200 คน มาพรอมอาวุธครบมือบุกเขามาทำราย ชาวบาน โดยการจับชาวบานมัดมือ มัดเทาไขวหลัง แลวใหนอนคว่ำหนากับพื้นดิน เพื่อที่ตนจะขนแร จ าก บริษัทเอกชนออกจากพื้นที่ได ซึ่งในขณะนั้นจับคนรายไดเพียง 2 คน67 ผลสะเทือนของขบวนการเคลื่อนไหว - ชาวบานฟองให บริษัททุงคำ ฟนฟูพื้นที่เหมืองทองเมืองเลย ขณะนี้ยังอยูในชวงการพิจารณาคดี เลื่อนนัดไป วันที่ 19-2- ก.ค. นี้ 68

65

iLaw. นายสร ุ พ ั น ธุ  ช าวบ า นเลยคั ด ค า นเหม ื อ ง ทอ งคำ. สื บ ค น เ มื ่ อ 23 กรกฎาคม 2561. จาก iLaw: https://freedom.ilaw.or.th/case/631#progress_of_case 66 iLaw. บริ ษ ั ท ทุ  งคำ VS พรทิ พ ย ชาวบ า นเลยคั ดค า นเหมื อ งทองคำ. สื บ ค น เมื ่ อ 23 กรกฎาคม 2561. จาก iLaw: https://freedom.ilaw.or.th/case/632#progress_of_case 67 ประชาไท. 2560. มีเสียงปนดัง 20 กวานัดในพื้นที่หมูบานรอบเหมืองแรเมือ งเลย. สืบคนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2561. จาก เว็บประชาไท : https://prachatai.com/journal/2017/12/74478 68

เหมืองแร เมืองเลย V2. 2561. เลื่อนนัดคดีชาวบานฟ องฟน ฟูพื้น ที่เ หมือ งทองเมื องเลย-พรุ งนี้เ จอกั น ใหม ค ดี เ ก า อี้ บิ น . ส ื บ ค  น เ ม ื ่ อ 23 ก ร ก ฎ า ค ม 2561. จ า ก https://www.facebook.com/5 0 9 0 8 5 4 8 2 5 7 5 1 9 5 / photos/a. 510412965775780.1073741828.509085482575195/1029054237244981/?type=3&theater


220

1.7. กรณี โรงไฟฟาเทพา จ. สงขลา ขอเท็จจริง แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟาของประเทศไทย พ.ศ. 2558-2579 ของกระทรวงพลังงาน เนนการสร า ง ความมั่นคงของระบบไฟฟาดังนั้นจึงมีความจำเปนตองพัฒนาโรงไฟฟาเพิ่มเติมในชวงป 2562-2567โครงการ โรงไฟฟาถานหินเทพา จึงเปนหนึ่งในแผนการเพิ่มสัด สวนการผลิตไฟฟาจากถา นหินเทคโนโลยีสะอาด เพื่ อ สนองความตองการใชไฟฟาของประเทศและเสริมความมั่นคงของระบบไฟฟาในภาคใต โดยแผนพัฒนาดังกลาว ไมวาจะเปนแผนเรื่องกำลังการผลิตไฟฟา หรือแผนพัฒนาภาคใต ลวนเปนสิ่งที่ถูกกำหนดจากสว นกลาง ซึ่ ง ไมไดกำหนดเพียงรายละเอียดของสิ่งที่จะตองทำ แตไดลงรายละเอียดไปถึงขั้นที่ตั้งของการดำเนิ นการสร า ง โรงไฟฟา ดังนั้นจึงเกิดคำถามจากชาวบานในทองทีว่ า ทำไมตองเลือกที่นี่ ทำไมตองเปน ‘เทพา’ แมวาปญหาที่ตามมาไมใชแคการตั้งคำถามวาทำไมตองเปน ‘เทพา’ ขอหวงใยอื่นๆ ของประชาชนที่ เกิดขึ้นเรื่อยมา ไมวาจะเปนปญหาดานมลพิษ ปญหาการเคลื่อนยายอพยพครอบครัวออกจากรัศมี 1 กิโลเมตร ที่ติดกับสถานที่กอสราง และปญหาดานสิ่งแวดลอมที่ชุมชนจะตองเผชิญ ซึ่งการที่คนเราตองอพยพเคลื่อนยาย ทั้งถิ่นฐานที่อยู และตัวบุคคลออกไป ถือวาเปนการอพยพโยกยายที่ใหญมาก ที่สำคัญคือ ประชาชนในบริเวณ นั้นรูสึกวาไมไดมีสวนรวมในกระบวนการตัดสิ นใจเลย และกระบวนการทางกฎหมายก็ไมมี ค วามชอบธรรม ไมไดเปดพื้นที่การรับฟงความคิดเห็นอยางรอบดาน แมวาจะมีการรับฟงความคิดเห็นถึง 3 ครั้ง แตนั่นก็ ไ ม ใ ช การรับฟงความคิดเห็นอยางแทจริง เปนเหมือนใหชาวบานไปนั่งฟงคำชี้แจง ไมมีการเปดพื้นที่ใหแถลงถกเถียง แตอยางใด ซึ่งปรากฏเปนขอสรุปที่ไมตรงกับความเปนจริง รวมทั้งกระบวนการรับฟง และการจัดทำรายงาน การวิเคราะหผลกระทบสิ่งแวดลอมและสุขภาพ (EHIA) โครงการโรงไฟฟาถานหินเทพา ยังไมตรงกับขอเท็จจริง ในพื้นที่หลายประการดวย เมื่อชาวบานรูสึกวาเสียงของเขาไมมีความหมาย ที่จะสะทอนใหเห็นถึงปญหา หรือมี การทบทวนโครงการ อีกทั้งไดยื่นขอคัดคานไปหลายชองทางแลว แตก็ไมไดรับการตอบรับจากรัฐบาลแตอยาง ใด ทำใหมีการเรียกรองใหรัฐหันกลับมาทบทวนขอคัดคานของชาวบาน ที่มีมาตั้งแตกอนรัฐบาลป จ จุ บั น ซึ่ ง ชาวบานก็ยังคงตอสูเรื่อยมา เกิดการรวมกลุมและเคลื่อนไหวในหลายองคกร ไมวาจะเปน เครือขายประชาชน จังหวัดชายแดนภาคใตปกปองสิท ธิชุม ชนและสิ่ งแวดล อมเพื่ อสันติ ภาพ, เครือขายคนสงขลาป ต ตานี ไ ม เอา โรงไฟฟาถานหิน, เครือขายนักวิชาการภาคใตคัดคานโครงการโรงไฟฟาถานหิน รวมทั้ง เครือขายคนสงขลาปตตานีไมเอาโรงไฟฟาถานหิน69

69

ธนกร วงษปญญา. 2560. รื้อปมโรงไฟฟาถานหินเพทา ทำไมชาวบานถึงตองคานยิบตา. สืบคนเมื่อ 28 ก.ค. 2561. จาก เว็บ THESTANDARD : https://thestandard.co/thepa-coal-fired-power-plant-problem/


221

กลุมที่เคลื่อนไหว - ชาวบานที่ไดรับผลกระทบ (ชาวบานเทพาและหนองจิก) - กลุมเครือขายเทใจใหเทพาหยุดโรงไฟฟาถานหิน - เครือขายประชาชนจังหวัดชายแดนภาคใตปกปองสิทธิชุมชนและสิ่งแวดลอมเพื่อสันติภาพ - เครือขายคนสงขลาปตตานีไมเอาโรงไฟฟาถานหิน - เครือขายนักวิชาการภาคใตคัดคานโครงการโรงไฟฟาถานหิน - เครือขายคนสงขลา-ปตตานีไมเอาโรงไฟฟาถานหิน - มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดลอม (EnLaw) - สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (HRLA) วิธีการที่เคลื่อนไหว - สรางกระทูพันทิป “ดับฝนโรงไฟฟาถานหิน” “ทำไมตองสรางโรงไฟฟาถานหินหรือนิวเคลียรในไทย?” 70 - Change.org “ยกเลิกโครงการสรางไฟฟาถานหินเทพาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” 71 - เพจเฟซบุค “ เครือขายคนเทพาคัดคานโรงไฟฟาถานหิน” 72 ที่เคลื่อนไหวเกี่ยวกับประเด็นดังกลาวเปนเพจ หลัก มีผูคนติดตามเพจถึง 2,473 คน และมีเพจอื่นๆ อยางเชน “คนนาหมอมไมเอาโรงไฟฟาถานหินเทพา No Coal” 73 70

กระทูพันทิป “ทำไมตองสรางโรงไฟฟาถานหินหรือนิวเคลียรในไทย?”https://pantip.com/topic/33960579 แคมเปญ Change.org “ยกเลิกโครงการสรางโรงไฟฟาถานหินเทพาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” https://www.change.org/p/ พ ล -อ -ป ร ะ ย ุ ท ธ -จ ั น ท ร  โ อ ช า -ย ก เ ล ิ ก โ ค ร ง ก า ร ส ร  า ง โ ร ง ไ ฟ ฟ  า ถ  า น ห ิ น เ ท พ า เ พ ื ่ อ ก า ร พ ั ฒ น า ที่ ยั่งยืน?source_location=discover_feed 72 เ ฟ ซ บ ุ ค แ ฟ น เ พ จ ห ล ั ก https://www.facebook.com/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8% B7%E0%B8%AD%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B9 %80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%84%E0%B 9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0% B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%96%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0 %B8%B4%E0%B8%99-560457800722784/?ref=br_rs 73 เพจเฟซบุค “คนนาหมอมไมเอาโรงไฟฟาถ านหินเทพาhttps://www.facebook.com/%E0%B8%84%E0%B8%99%E0 %B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B9%84%E 0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87% E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%96%E0%B9%88%E0%B8%B2 %E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B8%B 2No-coal-556055901161993/?ref=br_rs 71


222

- สราง Hashtag #โรงไฟฟาเทพา #หยุดโรงไฟฟาถานหินเทพา #เทพา #เทใจใหเทพา - เดินทางยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี - กลุมตอตานโรงไฟฟาถานหินปกหลักอดอาหารหนา UN จนกวารัฐบาลจะยุติการสรางโรงไฟฟา ผลที่เกิดขึ้น - หลังจากที่เกิดการชุมนุม รมว. กระทรวงพลังงาน มีขอสรุปใหถอนรายงาน EHIA ของโรงไฟฟาออกจากการ พิจารณาของสำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดลอม และใหจัดทำรายงานผลกระทบเชิงยุทธศาสตร - แกนนำคัดคานโรงไฟฟาถานหินเพทาศาลใหประกันตัว โดยใชตำแหนงนักวิชาการ 6 คนเพื่อขอประกันตัว การเขารวมของสังคม - รวมกันใช # ผานชองทางสื่อโซเชียลตางๆ - รวมกันลงชื่อผานแคมเปญ Change.org เปนจำนวน 8,474 คน - ตั้งกองทุนสนับสนุนการสูคดีผานสื่อโซเชียล ปญหาและอุปสรรค - มีการสลายการเดิน...เทใจใหเทพา โดยตำรวจชุดใหญ สลายการชุมนุมชาวบานทีเ่ ดินอยางสงบไปยื่นหนังสือ กับนายกรัฐมนตรี โดยชาวบานสวนใหญโดนจับไปโรงพักเมืองสงขลา บางสวนบาดเจ็บ แกนนำทั้งหมดถู ก จับ 74 - เครือขายคนสงขลา-ปตตานีไมเอาโรงไฟฟาถานหินเทพา ถูกแจงขอกลาวหาผิด พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ 2558, พ.ร.บ.ทางหลวงฯ มาตรา 38, พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 108 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138 และ 371 75 - ชาวบานที่เดินเทาเขามาทำกิจ กรรม ขอยุติโรงไฟฟาถานหินและเตรี ยมยื่ นหนังสื อต อ นายกรั ฐมนตรี ถู ก ดำเนินคดี 16 คน มี 1 คนที่ยังเปนเยาวชนถู กจับ กุมตัวไปศาลเยาวชน หลังจากเจาหนา ที่ เข า สลายการ ชุมนุม 74

Patani Society. 2560. Social Movement เ ท ใ จ ใ ห  เ ท พ า . จ า ก เ ว ็ บ deepsouthwatch : https://deepsouthwatch.org/th/node/11491 75 iLaw. เ ท ใ จ ใ ห  เ ท พ า : ค ด ี พ . ร . บ . ช ุ ม น ุ ม ฯ. ส ื บ ค  น เ ม ื ่ อ 28 ก ร ก ฎ า ค ม 2561. จ า ก เ ว ็ บ ไ ซ ต iLaw: https://freedom.ilaw.or.th/case/810#circumstance_of_arrest


223

ผลสะเทือนของขบวนการเคลื่อนไหว - เมื่อวันที่ 13-14 มิถุนายน 2561 ศาลจังหวัดสงขลานัดสืบพยานโจทกในนัดแรก


224

1.8. กรณี ยุติการทำประมงโดยใชเรืออวนลากเถื่อน (นิรโทษกรรม) ขอเท็จจริง เครือขายชาวประมงพื้นบานไดรวมพูดคุยแลกเปลี่ยนกับตัวแทน EU ถึงประเด็นที่กรมประมงอ า งถึ ง การจดทะเบียนเรืออวนลากใหถูกตองตามกฎหมาย เพื่อตอบสนองตอการที่ EU ซึ่งเปนกลุมใหญที่ประเทศไทย สงออกสัตวน้ำไมรับซื้อสัตวน้ำจากกลุมเรือประมงที่ไมไดจดทะเบียน ทั้งที่เรืออวนลากเปนการทำประมงแบบ ทำลายลาง ที่จับสัตวน้ำวัยออนลางผลาญทรัพยากรสัตวน้ำใหสูญพันธุ โดยไมคำนึงสนใจกลุมทำประมงพื้นบาน ที่จับสัตวน้ำดวยเครื่องมือเหมาะสม และมีการทำกิจกรรมอนุรักษฟนฟูควบคูไ ปกับการใชทรัพยากร ขอมูลจาก เครือขายชาวประมงพื้นบาน ระบุวา กรมประมงมีแนวคิดจะ "นิรโทษกรรมเรืออวนลากเถื่อน" ซึ่งเปนเครื่องมือ ประมงที่ผิดกฎหมายไทยในปจจุบนั เพื่อทำใหผลผลิตจากการทำประมงอวนลากเถื่อนนั้นถูกกฎหมาย ผานการ รับรองของกรมประมง และสามารถสงออกไปขายยังตลาดสหภาพยุโรปซึ่งมีมาตรการจะไมรับซื้อผลผลิต จาก การประมงที่ไมผา นกระบวนการรับรอง IUU Fishing เครือขายชาวประมงพื้นบานและชาวประมงขนาดเล็กจึง คัดคานไปยังกรมประมง แตกลับไดรบั คำชี้แจงวาเรื่องไดผานมติของคณะกรรมการนโยบายประมงแหงชาติแลว และมีการยื่นเสนอการออกใบอนุญาตเพิ่มเติมแกอวนลากผิดกฎหมายไปให ครม.พิจารณาแลว ตอมาเครือขาย ชาวประมงพื ้ นบ า นจึ ง ยื ่ นเรื ่ องร องเรี ย นต อคณะอนุ กรรมการด า นสิ ท ธิ ชุ ม ชนและฐานทรั พ ยากรของ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ เพื่อขอใหตรวจสอบวาการดำเนินการผอนผันการจดทะเบี ย นอวนลาก ของกรมประมงเปนการละเมิดสิทธิชุมชน และทำใหทรัพยากรสัตวน้ำและทรัพยากรทางทะเลไดรับผลกระทบ หรือไม 76 กลุมที่เคลื่อนไหว - โครงการอินเตอรเน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) - เครือขายชาวประมงพื้นบาน - สมาคมรักษทะเลไทย และ สมาคมชาวประมงพื้นบาน จาก จ. ตรัง - เครือขายกรีนพีช (Greenpeace) เอเชียตะวันออกเฉียงใต - สมาคมสมาพันธชาวประมงพื้นบานแหงประเทศไทย - มูลนิธิสายใยแผนดิน - องคการออกแฟม ประเทศไทย

76

ประชาไท. 2560. ประมงพื้นบาน เขากรุงเดินสายคานกรมประมง นิรโทษกรรมเรืออวนลากเถื่อน. สืบคนเมื่อ 3 สิงหาคม 2561. จากเว็บไซตประชาไท : https://prachatai.com/journal/2012/07/41817


225

- การรางกลุมในเฟซบุค “รวมพลคนกินปลา” กลุมนี้จะทำหนาทีก่ ระจายขาวสารตางๆ ที่เกี่ยวของกับการ ประมง มีสมาชิกในกลุมถึง 94,912 คน กลุมถูกสรางขึ้นโดย บรรจง นะแส (นายกสมาคมรักษทะเลไทย) วิธีการที่เคลื่อนไหว - รวมกันลงชื่อ หยุดกรมประมงนิรโทษกรรมอวนลาก77 - มีการเคลื่อนไหวผานเพจเฟซบุค Big Tree - กลุมเคลื่อนไหวคัดคานเดินทางเขากรุงเทพ เพื่อเคลื่อนไหวไมเอาเรืออวนลากเถื่อน โดยยื่นหนังสือคัด ค า น ตอ นายสรุชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ประธานกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม และนายสุรจิต ชีร เวทย รองประธานฯ ที่รัฐสภา รวมถึงคณะผูแทนสหภาพยุโรป (EU) 78 - แชรคลิปเรืออวนจับฝูงปลา เพื่อใหเห็นถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นถาใชเรืออวนจับปลาตอไป ผลที่เกิดขึ้น - การรณรงคผานแคมเปญ Change.org ไดประสบความสำเร็จ มีผูสนับสนุนจำนวน 1,790 คน - มีการเคลื่อนไหวจากเครือขายประมงพื้นบาน โดยการออกแถลงการณคัดคานเนื่องจากเห็นวา กรมประมง กำลังผลักดันใหเรื่องผิดกฎหมายกลายเปนเรื่องถูกกฎหมาย เนื่องจากเรือประมงอวนลากจำนวน 2,107 ลำ ที่กรมประมงอางถึงนั้น เปนเรือประมงที่ผิดกฎหมาย และอยูในเงื่อนไขที่ตองปรับลดลงไป เพื่ อการฟ นฟู ทะเลอยูแลวดวย และเปนเงื่อนไขตามแนวนโยบายของกรมประมงเอง แตกรมประมงกำลังผลักดันในสิ่ ง ที่ ตรงกันขาม - ดานฝายรัฐบาลมุงหนาดำเนินการนำเขาสินคาสัตวน้ำทุกชนิดไปยังประเทศสหภายยุโรป ( EU) ใหได (โดย ไมฟงเสียงคัดคานจากประชาชน) ซึ่งตามมาตรการที่อียูกำหนด ผูที่จะเขาสินคาสัตวน้ำ ทุ กชนิ ด เข า ไปยั ง ประเทศกลุมสหภาพยุโรป จะตองมาจากการทำประมงที่ถูกกฎหมาย และมีใบรับรองสินคาชัดเจนเท า นั้ น จึงจำเปนที่กรมประมงจะตองดำเนินการนิรโทษกรรมใหกับเรืออวนลาก เพื่อใหกลุมเรืออวนลากเข า มาอยู

77

แ ค ม แ ป ญ Change.org : https://www.change.org/p/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0% B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%87-%E0%B8%AB%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E 0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%3%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%A9%E0%B8%81%E 0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD %E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%96%E0%B8%B 7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99 78 ประชาไท. 2560. ประมงพื้นบาน เขากรุงเดินสายคานกรมประมง นิรโทษกรรมเรืออวนลากเถื่อน. สืบคนเมื่อ 3 สิงหาคม 2561. จากเว็บไซตประชาไท : https://prachatai.com/journal/2012/07/41817


226

ในระบบ ซึ่งจะสามารถทำประมงและนำสินคาสัตวน้ำสงออกไปยังประเทศกลุมสหภาพยุ โรป หรื ออี ยู ไ ด ตามขอกำหนดดังกลาว - รองอธิบดีกรมประมง ใหการยืนยันวา การนำเรืออวนลากที่อยูนอกระบบเขามาอยูในระบบ ยังอยูระหวา ง การพิ จารณาข อมูล พร อมรับฟง ความคิ ดเห็นต างๆ จากหน วยงานที ่เกี ่ย วของ รวมถึ งเครือขายประมง พื้นบานตาง ๆ เพื่อความรอบคอบที่สุด ตามที่ครม. มีมติใหกลับมาทบทวนหลังจากนำเรื่องเขาสูที่ป ระชุ ม คณะรัฐมนตรีไปกอนหนานี้ 79 - รั ฐบาลถู กใบเหลื องแจง เตื อนจาก EU เนื ่ องจากว า ประเทศไทยไม ท ำตามหลั กกฎหมายสากล หรื อ ขอกำหนดที่ตกลงกันไวใ นการเรื่ องการแกไขปญหาอยางเป นรูปธรรมในเรื่ องการทำประมงผิ ด กฎหมาย (IUU Fishing) การเขารวมของสังคม - การรวมลงชื่อใน Change.org จนประสบความสำเร็จ ปญหาและอุปสรรค - ชาวบานประมงทีเ่ คยใชอวนรุน ถูกรัฐบาลใชมาตรา 44 ยกเลิกการใชอวนรุน และใหใชอวนลากและเรื่อปน ไฟ ซึ่งมีความรุนแรงมากกวาอวนรุนแทน ซึ่งก็ทำใหเปนปญหากับชาวประมงทีเ่ คยใชอวนรุนมากอน และทำ ใหอวนรุนกลายเปนเครื่องมือสำหรับการประมงทีไ่ มไดรับการรับรองตามกฎหมายดวย 80 - นายกสมาคมรักษไทยทะเล ถูกจางวานฆา ขณะนี้มือปนติดคุก แตคนจางวานฆายังไมถูกจับตัว - มีการเผาหุนที่ชาวบานนำไปเดินรณรงค - ถูกขมขูผานทางโทรศัพท ผลสะเทือนของขบวนการเคลื่อนไหว - ปจจุบันยังมีการดำเนินการใชอวนลากจากรัฐบาลอยู และ ชาวบานยังคงเคลื่อนไหวคัด ค า นในประเด็ น ดังกลาวดวยเชนกัน 79 TCIJ. 2555.รุมตานกรมประมงฟอก‘เรือ อวนลากเถื่ อน’ แฉตัวการทำทะเลพิน าศ-ไมเ คยชว ยฟ นฟู 'อียู' สงสั ย ไทยไม เ ข  า ใ จ ม า ต ร ฐ า น ส  ง อ อ ก . ส ื บ ค  น เ ม ื ่ อ 2 ส ิ ง ห า ค ม 2561. จ า ก เ ว ็ บ ไ ซ ต  TCIJ: https://www. tcijthai.com/news/2012/01/scoop/944 80 ฐิติพันธ พัฒนมงคล. 2560. เรืออวนลาก ปลาปน ภูเขาหัวโลน สัมภาษณ บรรจง นะแส. สืบคนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2561. จากเว็บไซต Sarakadee: https://www.sarakadee.com/2017/03/06/banjong-nasae/


227

1.9. กรณี หยุดถานหินกระบี่ ขอเท็จจริง โครงการโรงไฟฟาถานหินเทคโนโลยีสะอาดที่จังหวัดกระบี่ เปนโครงการที่เริ่มดำเนินการตั้งแตป 2550 ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟา ของประเทศไทย พ.ศ. 2558-2579 (PDP 2015) ในวันที่ 19 มกราคม 2558 เครือขายปกปองกระบี่จากถานหิน แสดงสัญลักษณเรียกรองรัฐมนตรีวาการกระทรวงการทองเที่ ย วและกี ฬา หลังจากนั้นสองเดือนเครือขายปกปองกระบี่จากถานหิน เดินรณรงคหยุดถานหินและเรียกรองใหมีการปฏิ รู ป EHIA การเดินรณรงคใชระยะทาง 13 กิโลเมตรไปยังหนวยงานรัฐ และสิ้นสุดที่จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย สาม วันตอมา ณ บริเวณหนาตึกสำนักงานนโยบายและแผนทรัพ ยากรธรรมชาติและสิ่ งแวดลอม (สผ.) เครื อข า ย ปกปองกระบี่จากถานหิน นอนเรียงกันบนพื้ น ผาขาวคลุมราง ปลายเทาของทุกคนมีอักษรเขีย นไว ว า ‘No Coal’ เปนการแสดงเชิงสัญลักษณเพื่อคัดคานกระบวนการ EIA โครงการทาเทียบเรือคลองรั้ว และเรียกรองให มี การปฏิ รู ปกระบวนการ EHIA พร อมแนบรายชื ่อกว า 47,000 ราย ในช ว งเดือน กรกฎาคม 2558 สมาชิก เครือขายปกปองอันดามันจากถานหิน 2 คน อดอาหารเรียกรองรัฐบาลยุติโครงการกอสรางโรงไฟฟ า ถ า นหิ น จังหวัดกระบี่ที่หนากระทรวงการทองเที่ยวและกีฬา พรอมทั้งยื่นแถลงการณคัดคานการกอสราง หลังจากนั้ น ตัวแทนเครือขายปกปองอันดามันจากถานหินจำนวนกวา 70 คน ยื่นเรื่องรองเรียนตอ พล.อ.ประยุทธ จั นทร โอชา นายกรั ฐมนตรี ให ย กเลิ กโครงการก อสร างโรงไฟฟ าพลั ง งานถ านหิ นจั ง หวั ดกระบี ่ โดยที ่ ป รึกษา นายกรัฐมนตรีเปนผูรับขอเรียกรองไปพิจารณา ในวันที่ 24 กรกฎาคม 2558สำนักงานคณะกรรมการพั ฒนา ระบบราชการ (กพร.) ไดมีขอสรุปวาทาง กฟผ. และ สผ. จะยุติกระบวนการจัดทำรายงาน EIA และ EHIA ของ โครงการกอสรางโรงไฟฟาถานหิน จังหวัดกระบี่ ตามที่เครือขายปกปองอันดามันฯไดขอความชัดเจน เนื่องจาก ทางเครือขายภาคประชาชนมองวากระบวนการจัดทำกอนหนานี้ไมมีความชอบธรรม ไมมีการศึกษาอยางรอบ ดาน เมื่อมีคนตาน ใชวาปราศจากผูสนับสนุน กลุมเครือขายประชาชนจังหวัดกระบี่ และกลุมเครือข า ย 4 ตำบลรอบโรงไฟฟากระบี่ พรอมดวยผูนำทองถิ่นที่เห็นดวยกับโครงการการกอสรางโรงไฟฟาถานหินของ กฟผ. และชาวบานประมาณ 50 คน เดินทางมาชุมนุม เพื่อเรียกรองให กฟผ. ดำเนินการกอสรางโรงไฟฟ า ถ า นหิ น พร อมขอให กระบวนการพิ จารณารายงาน EHIA และ EIA ดำเนิ นการตอไป โดยประชาชนฝ ายสนั บสนุน โครงการยืนยั นวา ประชาชนมีส ว นร ว มในรายงานทั้ ง 2 ฉบั บ จึ ง เป นเหตุท ำให เกิ ดความขั ดแย งระหว าง ประชาชนที่มีความเห็นแตกตางดวยกันเองและความขัดแยงกับหนวยงานภาครัฐ81 กลุมที่เคลื่อนไหว - ประธานสภาอุตสาหกรรมทองเที่ยวไทย (นายอิทธิฤทธิ์ กิ่งเล็ก) 81

กองบรรณาธิ ก าร. 2560. โรงไฟฟ า ถ า นหิ น กระบี ่ ใ นเงาเวลา คสช. สื บ ค น เมื ่ อ 3 สิ ง หาคม 2561. จากเว็ บ ไซต Waymagazine: https://waymagazine.org/coal_technology_power/


228

- ประธานสภาอุตสาหกรรมการทองเที่ยว จ. กระบี่ (นายอมฤต ศิริพรจุฑากุล) - ประธานหอการคาจังหวัดกระบี่ - ภาคเอกชนดานการทองเที่ยว - ชาวบานจากพื้นที่ในจังหวัดกระบี่ 82 วิธีการที่เคลื่อนไหว - สรางเพจเฟซบุค “หยุดถานหินกระบี่” 83 จำนวนผูติดตาม 21,236 คน - เดินขบวนประทวงเขากรุงเทพฯ เพื่อคัดคานการสรางโรงไฟฟาถานหินกระบี่ พรอมแถลงการณคัดคานไม เอาโรงไฟฟา - สรางกลุมรวมพลคนไมเอาถานหิน มีสมาชิกจำนวน 972 คน - Hashtag #ถานหินสะอาดคือคำโกหกที่สกปรกที่สุด - Live การเคลื่อนไหว แถลงการณ การเดินชุมนุมผานเพจที่สรางขึ้นทางเฟซบุค - ทาง WAYMAGAZINE เขารวมรณรงคคดั คานการทำโครงไฟฟาถานหินกระบี่ - การประทวงอดอาหาร เพื่อคัดคานการสรางโรงไฟฟาถานหิน หนาองคการสหประชาชาติ (UN) - ตั้งกระทูผานเว็บบอรดพันทิปเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น “โครงการสรางโรงไฟฟาถานหินกระบี่ คุณ คิดเห็นอยางไรบาง?”84 - แคมเปญ Change.org “หยุดโครงการโรงไฟฟาถานหินกระบี”่ 85 จำนวนผูเขารวม 33,097 คน แตแคมเปญ ดังกลาวไดยุติลง

82

ไทยรัฐ. 2560. ชุมนุมคานสรางโรงไฟฟาถ านหิน กระบี่ ขูเขา กทม. 17 ก.พ. นี้. สืบคนเมื่อ 24 กรกฎาคม 2561. จาก เว็บไซตไทยรัฐ : https://www.thairath.co.th/content/857745 83 เพจเฟซบุค “หยุดถานหินกระบี่” https://www.facebook.com/stopcoalkrabi/?ref=br_rs 84 Pantip. 2558. โครงการสรา งโรงไฟฟ าถ า นหิ น กระบี ่ คุ ณ คิ ดเห็ น อย า งไรบ า ง?.สืบคนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2561. จาก เว็บไซต Pantip: https://pantip.com/topic/33964248 85 แ ค ม เ ป ญ Change.org “ ห ย ุ ด โ ค ร ง ก า ร โ ร ง ไ ฟ ฟ  า ถ  า น ห ิ น ก ร ะ บ ี ่ ” https://www.change.org/p/%E0 % B8%AB%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0 %B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%9F%E 0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%96%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AB% E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B9%88


229

- แคมเปญ Change.org “สนับสนุนสรางโรงไฟฟาถานหินเทคโนโลยีสะอาดกระบี-่ เทพาเพื่อความมั่นคงทาง พลังงานของไทย” จำนวนผูเขารวม 9,808 คน86 ผลที่เกิดขึ้น - รัฐบาล คสช. ยืนยันเดินหนาโครงการกอสรางโรงไฟฟาถานหิน จ.กระบี่ โดยไมมีการยกเลิก และใหทบทวน รายงานการวิเคราะหผลกระทบดานสิ่งแวดลอม (EIA) และรายงานการประเมินผลกระทบดานสิ่งแวดลอม และสุขภาพ (EHIA) ของโครงการใหแลวเสร็จอยางนอย 1 ป 87 - ล า สุ ด เมื ่อวันที ่ 20 ก.พ. 2561 รมว. พลั ง งาน พร อมตั วแทนการไฟฟ าฝ ายผลิ ตแห งชาติ หารื อร วมกับ เครื อข ายโรงไฟฟ าถ านหินกระบี่ และได ขอสรุปวา จะหยุ ดโครงการไฟฟาถานหิน รวมทั ้ง ถอนรายงาน วิเคราะหผลกระทบดานสิ่งแวดลอมและสุ ขภาพ (EHIA) ออกจาการพิจารณาของสำนั กงานนโยบายและ แผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม88 การเขารวมของสังคม - ทาง WAYMAGAZINE เขารวมรณรงคคดั คานการทำโครงไฟฟาถานหินกระบีด่ วย - ประชาชนรวมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นผานเว็บบอรดพันทิป - เขารวมลงชื่อในแคมเปญ Change.org - แคมเปญ Change.org เดิมมีเพียงการคัดคานการสรางโรงไฟฟาถานหินเทานั้น เมื่อมีการคัดคานประทว ง มากขึ ้ น อย า งเชน การอดข าวประทว ง สื ่ อตางๆร วมกั นเผยแพรขาว ก็ ม ี แ คมเปญที ่สนับสนุนการสราง โรงไฟฟาถานหินขึ้นมา พรอมกับใหเหตุผลสนับสนุนถึงสิ่งที่ดีของโรงไฟฟาในปจจุบันวามีการพัฒนาทีด่ ีกวา โรงไฟฟาในอดีต

86

แคมเปญ Change.org “สนับสนุนสรางโรงไฟฟาถานหินเทคโนโลยีสะอาดกระบี่-เทพาเพื่อความมั่นคงทางพลังงานของไทย” https://www.change.org/p/สนับสนุนสรางโรงไฟฟาถานหินเทคโนโลยีสะอาดกระบี่-เทพา-เพื่ อความมั่นคงทางพลั ง งาน ของไทย 87 Waymagazine. 2560. โรงไฟฟ า ถ า นหิ น กระบี ่ ใ นเงาเวลา คสช. สื บ ค น เมื ่ อ 23 กรกฎาคม 2561. จากเว็ บ ไ ซต waymagazine: https://waymagazine.org/coal_technology_power/ 88 ThaiPBS. 2561. เซ็ น สั ญ ญา “หยุ ด” โรงไฟฟากระบี่ -เทพา ให เ วลา 9 เดื อ น. สื บ ค นเมื ่อ 28 กรกฎาคม 2561. จาก เว็บไซต ThaiPBS : https://news.thaipbs.or.th/content/270397


230

ปญหาและอุปสรรค - เกิดการปะทะกันระหวางชาวบานที่เดินเทาเขารวมชุมนุมกับเจาหนาทีต่ ำรวจหนาทำเนียบ ทำใหมีชาวบาน ไดรับบาดเจ็บ 89 - เกิ ด การฟองดำเนิ นคดี กับนายประสิ ทธิ ์ชัย นั กเคลื ่อนไหวด านสิ ง่ แวดล อม หลั ง จากที่ ไดโพสต ขอความ บนเฟซบุคสวนตัววิจารณโครงการกอสรางโรงไฟฟาถานหินที่จงั หวัดกระบี่ ในความผิดฐานหมิน่ ประมาทโวย การโฆษณาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326,328 และมาตรา 14(1) ตามพ.ร.บ. คอมพิวเตอรฯ 90 ผลสะเทือนของขบวนการเคลื่อนไหว - เมื่อวันที่ 20 ก.พ. 2561 รมว. พลังงาน พรอมตัวแทนการไฟฟาฝายผลิตแหงชาติ หารือรวมกับเครื อข า ย โรงไฟฟ าถ านหินกระบี่ และได ขอสรุปวา จะหยุ ดโครงการไฟฟ าถ านหิ น รวมทั้ งถอนรายงานวิ เคราะห ผลกระทบด านสิ ่ ง แวดล อมและสุ ขภาพ (EHIA) ออกจาการพิ จ ารณาของสำนั กงานนโยบายและแผน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม

89

BBC. 2560. กพช.อนุ ม ั ติ ใ ห ก  อ สร า งโรงไฟฟ า ถ า นหิ น จ. กระบี ่ . สื บ ค น เมื ่ อ 3 สิ ง หาคม 61. จากเว็ บ ไซต BBC: https://www.bbc.com/thai/thailand-39000921 90 iLaw. ประสิ ท ธิ ์ ช ั ย : คดี พ .ร.บ.คอมฯ วิ จ ารณ โ รงไฟฟ า ถ า นหิ น . สื บ ค น เมื ่ อ 3 สิ ง หาคม 2561.จากเว็ บ ไซต iLaw: https://freedom.ilaw.or.th/case/807


231

1.10. กรณี เขตเศรษฐกิจพิเศษ อ.แมสอด ขอเท็จจริง รั ฐบาลภายใต การนำของ พลเอกประยุ ทธ จั นทร โอชา ได กำหนดนโยบายการพั ฒนาเขตพัฒนา เศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zones: SEZs) เพื่อใชเปนเครื่องมือในการสนับสนุนการนำประเทศเขาสู ประชาคมอาเซียน โดยมีวัตถุประสงคเพื่อกระจายความเจริญสูภูมิภาค ยกระดับรายไดและคุณภาพชีวิ ต ของ ประชาชน และแกปญหาความมั่นคงบริเวณชายแดน ในเขตเศรษฐกิจพิเศษนั้น ลวนแลวแตเปนพื้นที่ชายแดน ซึ่งเปนจุดเชื่อมของทางหลวงอาเซียน (ASEAN Highway Network) ทำใหผลกระทบทางเศรษฐกิจที่จะเกิด การการปรับปรุงโครงสรางพื้นฐานขนาดใหญ (Mega project) รัฐบาลจึงไดประกาศนโยบายเขตเศรษฐกิ จ พิเศษตามคำสั่ง คสช. ที่ 17/2558 ในเรื่องการจัดหาที่ดินเพื่อใชประโยชนในเขตเศรษฐกิจพิ เศษ ตามมาตรา 44 ซึ่งมีการเวนคืนที่ดินในหลายๆพื้นที่ เชน ที่ดินในทองที่ตำบลทาสายลวด อ. แมสอด จ. ตาก, ที่ดินในทองที่ ตำบลคำอาฮวน อ. เมืองมุกดาหาร จ. มุกดาหาร, ที่ดินในทองที่ตำบลปาไร อ. อรัญประเทศ จ. สระแกว เปน ตน และใหที่ดินดังกลาวนี้ตกเปนทีร่ าชพัสดุ 91 แตการทำพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษมีการคัดคานจากภาคประชาชนทั้งในเรื่องของการจัดทำผลกระทบ สิ่งแวดลอมหรือ EIA , เรื่องพ.ร.บ. เขตเศรษฐกิจพิเศษฯ ที่มีการใหอำนาจสำนักงานคณะกรรมการนโยบาบเขต เศรษฐกิจพิเศษมากเกินไป รวมถึงที่รัฐบาลใชอำนาจมาตรา 44 ออกคำสั่งในการแยงที่ดินจากประชาชน มีการ เปลี่ยนสภาพที่ดิน ที่ปาไมถาวร ที่ดินปาสงวนแหงชาติและที่ดนิ สาธารณะประโยชนใน อ. แมสอด ใหกลายเปน ที่ราชพัสดุโดยไมผานกระบวนการพิจารณารางกฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษ อีกทั้งชาวบานที่ไดรบั ผลกระทบยัง ไมไดรับการชดเชยที่เหมาะสม เพราะไมไดมีการปฏิบัตติ ามสิทธิการเวนคืนอยางเปนธรรม จึงเปนเหตุแหงความ ขัดแยงกันเกิดขึ้น กลุมที่เคลื่อนไหว - กลุมคนแมสอดรักษถิ่น - ชาวบานที่ไดรับผลกระทบในเรื่องที่ดิน วิธีการที่เคลื่อนไหว - ยื่นหนังสือรองเรียนถึงหนวยงานที่เกี่ยวข อง และยื่นแถลงการณเพื่อเรียกรองใหภาครัฐใหความสำคั ญ กั บ นโยบายพัฒนาความมั่นคงทางที่ดินทำกิน ที่อยูอาศัย ที่เฉลี่ยทุกขสุขกับประชากรทุกกลุม มากกว า เลื อก แผนพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเพื่อเอื้อแคนายทุนใหญเทานั้น 91

กรุงเทพธุรกิจ. 2560. 10 ประเด็นทบทวนเขตเศรษฐกิจพิเศษของไทย. สืบคนเมื่อ 7 สิงหาคม 2561. จากเว็บไซตกรุง เทพ ธุรกิจ : http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/641023


232

- กลุมคนแมสอดรักษถิ่น เปนเจาภาพจัดเวทีพูดคุยความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษตากโดย มีตัวแทนชาวบานจากอำเภอพบพระและอำเภอแมระมาด ซึ่งเปนพื้นที่ในประกาศเขตเศรษฐกิจพิเศษตาก เขามารวมแสดงความคิดเห็นดวย - การ Live ผานเพจ Land Watch THAI จับตาปญหาที่ดิน เรื่อง “เขตเศรษฐกิจพิเศษในภูมิภาคลุ ม แม น้ำ โขงและธรรมภิบาลการจัดการทีด่ ิน” - ทำรูปภาพและโควทขอความคำพูด เชน “เขตเศรษฐกิจพิเศษเอาใจนายทุนกันสุดๆ โดยไมแยแสกับผังเมือง และผลกระทบสิ่งแวดลอม แถมยังเปดชองใหเชาที่ดินถึง 99 ป รวมทั้งยกเวนภาษีอีกหลายประเภท” และ ขอความอื่นๆที่พูดถึงเขตเศรษบกิจพิเศษ 92 - จัดทำวิดีโอ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ (สำหรับใคร?)” ลงบนยูทูป (Youtube) 93 - เพจในเฟซบุคที่ติดตามเรื่องเขตเศรษฐกิจพิเศษ “จับตาเขตเศรษฐกิจพิเศษ” มีผูติดตาม 1,392 คน และเพจ “แมสอดรักษถิ่น” ผูติดตามจำนวน 5,587 คน - จัดทำอินโฟกราฟฟกในเรื่องเขตเศรษฐกิจพิเศษ - Hashtag #เขตเศรษฐกิจพิเศษ ผลที่เกิดขึ้น - หลั ง การประกาศคำสั่ ง คสช. ที ่ 17/2558 ชาวบ านไดมี การรองเรีย นต อหน วยงานตางๆ ที ่ เกี ่ย วของถึง ผลกระทบที่ จะเกิ ดขึ ้นจากนโยบายเขตเศรษฐกิจ พิ เศษ โดยยั งไม ได รับคำตอบที ่ชั ดเจนจากรั ฐบาล แต สถานการณในพื้นที่กลับทวีความรุนแรงขึ้น โดยชาวบานถูกเฝาติดตาม ขมขู คุกคาม ทั้งจากหนวยขาวกรอง ตำรวจ และทหาร - ชาวแมสอด (จำนวน 6 ราย) ฟองกรมธนารักษ-กรมที่ดิน รวมกันออกเอกสารสิทธิ์ โดยมิชอบ หลั ง ได รั บ ผลกระทบจากนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษตามคำสั่ง คสช. 17/2558 เนื่องจากชาวบานเอาที่ดินไวทำมาหา กิน แตจูๆถูกรัฐยึดที่ดินไปใหเอกชน94 - ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับภาครัฐ คือ เขตเศรษฐกิจพิเศษแมสอดประสบปญหาทำใหไมมีความคืบหนามานาน หลายป มีสาเหตุมาจากหลายปจจัย อยางเชน การเมืองทองถิ่นที่มี การเปลี่ย นแปลงบอย, นโยบายของ ภาครัฐที่ไมตอเนื่อง สงผลใหหนวยงานไมกลาตัดสินใจในเรื่องตางๆ 92

Land Watch THAI จับตาปญหาที่ดิน: https://www.facebook.com/landwatchthai/photos/rpp.1497801347203 365/2134076926909134/?type=3&theater 93 วิดีโอ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ (สำหรับใคร?)” https://www.youtube.com/watch?v=ngaM2pYVE-0 94

สำนักขาวชายขอบ.2559. ชาวแมสอดฟองแลว กรมธนารักษ-กรมที่ดินรวมกันออกเอกสารสิท ธิ์โดยมิชอบเอาใจทุ น ตั้ ง เขตเศรษฐกิจพิเศษ ชาวบานวอนเห็นใจหัว อกคนทำมาหากิ น จูๆถูกรัฐยึดที่ดินไปใหเอกชน. สืบคนเมื่อ 3 สิ ง หาคม 2561. จากเว็บไซต สำนักขาวชายขอบ : http://transbordernews.in.th/home/?p=14971


233

- ในภาคเอกชน เมื่อมีการประกาศพื้นที่แมสอดเปนพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ ก็มีการขยายธุรกิจ รวมถึงลงทุน ในธุรกิจของตนมากยิ่ง ขึ้ น อยางเชน เทสโก โลตัส มีการอัพเกรดสาขาใหใหญขึ้น, แมคโคร ขยายสาขา เพิ่มเติมออกไปเพื่อรองรับจำนวนลูกคาใหมากขึ้น และกิจการในเครือเซ็นทรัล ที่เขามาลงทุนในรูปแบบไลฟ สไตลเซ็นเตอร 95 - ราคาที่ดินในเขตเศรษฐกิจพิเศษ ราคาพุงขึ้นกวา 50% การเขารวมของสังคม - ประชาชนมีการพูดถึงประเด็นเขตเศรษฐกิจพิเศษผานสื่อโซเชียลกันมากขึ้น อยางเชน ทวิสเตอร ประชาชน รวมกันแสดงความคิดเห็น เลาประสบการณของตนเองวาเจอกับสภาพปญหาอยางไรบาง - ประชาชนโจมตีรัฐบาลเรื่อง เขตเศรษฐกิจพิเศษ = ใหเชาแผนดินไทย - รวมกันใช #เขตเศรษฐกิจพิเศษ - ประชาชนบางกลุมระดมความคิดเห็นสนับสนุนเขตเศรษฐกิจพิเศษการทองเที่ยว96 - กลุม NGOs หลายกลุม (iLaw, ขบวนการประชาชนเพอสังคมที่เปนธรรม P-move) เขารวมเคลื่อนไหวกับ ประชาชน เชน การเปนกระบอกเสี ยงใหชาวบา นบนพื้ นที่ ออนไลน เปนชองทางการกระจายข า วสารให ประชาชนคนอื่นรับรู ปญหาและอุปสรรค - ชาวบานที่เคลื่อนไหวคัดคานการเวนคืนที่ดินเพื่อจัดทำนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งเปนสวนหนึ่งในการพัฒนาเขต เศรษฐกิจพิเศษ ถูกขมขูคุกคาม (นั่งเฝาที่หนาบานทำใหรูสึกหวาดหวั่น, เดินทางมาที่บานอย า งต อเนื่ อง) จากหนวยงานที่เกี่ยวของ (ทั้งฝายปกครอง ทหาร และตำรวจ) 97 - ชาวบานบางคนถูกทหารเรียกไปเพื่อทำความเขาใจและชี้แจงถึงเหตุผลการเวนคืนทีด่ ิน98

95

Realist. แม  ส อด เข ตเศร ษ ฐ กิ จ พิ เ ศษ หม ื ่ น ล า น . สื บ ค น เ มื ่ อ 4 สิ ง หาคม 2561. จากเ ว็ บ ไ ซต Realist: http://www.realist.co.th/blog/แมสอด-เขตเศรษฐกิจพิเศษ/ 96 ไทยรัฐ.2561. เชียงแสน รุกหนัก เปดเวที ดันเปนเขตเศรษฐกิจพิเศษการทอ งเที่ ยว. สืบคนเมื่อ 9 สิงหาคม 2561. จาก เว็บไซต ไทยรัฐ: http://www.thairath.co.th/content/1348755 97 ประชาไท. 2558. กลุมคนรักษแมส อด ยื่นหนังสือ หยุดคุกคามชาวบ านในพื้ น ที่. สืบคนเมื่อ 5 สิงหาคม 2561. จาก เว็บไซตประชาไท : https://prachatai.com/journal/2015/10/62018 98 ประชาไท. 2558. ทหารเรียกขาวบานแมสอดเขาพบ หลังรวมใหขอมูลกับสื่อมวลชน. สืบคนเมื่อ 7 สิงหาคม 2561. จาก เว็บไซตประชาไท : https://prachatai.com/journal/2015/10/61994


234

- ชาวบานจำนวนมากยอมถอนการคัดคาน เนื่องจากสภาวะความกดดัน ความกลัวตออำนาจรัฐ 99 - ชาวบานวัง ตะเคีย น ถู กดำเนิ นการเร งออกโฉนดโดยอ างคำสั่ งที่ 17/2558 ตามมาตรา 44 เพื ่ อนำพื ้นที่ พัฒนาเปนเขตอุตสาหกรรม - ชาวบานทางคนถูกกดดันใหขายทีด่ ินทำกินกับนายทุนในราคาถูก ผลสะเทือนของขบวนการเคลื่อนไหว - ปจจุบันประชาชนมีการผลักดันใหเกิดเขตเศรษฐกิจพิเศษอยางมาก เพื่อใหเศรษฐกิจภายในประเทศมี การ ขับเคลื่อน - แตละจังหวัดเรงเดินหนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ (เชียงราย, กาญจนบุรี, ตราด เปนตน)

99

สำนักขาวชายขอบ.2559. ชาวแมสอดฟองแลว กรมธนารักษ-กรมที่ดินรวมกันออกเอกสารสิท ธิ์โดยมิชอบเอาใจทุ น ตั้ ง เขตเศรษฐกิจพิเศษ ชาวบานวอนเห็นใจหัว อกคนทำมาหากิ น จูๆถูกรัฐยึดที่ดินไปใหเอกชน. สืบคนเมื่อ 3 สิ ง หาคม 2561. จากเว็บไซต สำนักขาวชายขอบ : http://transbordernews.in.th/home/?p=14971


235

แผนภาพที่ 4 ผังสรุปกระบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในคดีสงิ่ แวดลอมบนพื้นที่ออนไลน ภาครัฐ หรือ ภาคเอกชน - ดำเนินโครงการ - ทำกิจกรรมบางอยาง

เริ่มตน

ประชาชนหรือผูไดรับผลกระทบเกิด ความไมเห็นดวย

ภาครัฐ หรือ เอกชน ไมฟงเสียงคัดคาน หรือ ความคิดเห็น ของประชาชน (เดินหนาดำเนินการตอ)

ดำเนินการคัดคาน

- การคัดคานบนพื้นที่สื่อออนไลน - การคัดคานโดยการประทวง ชุมนุม การอด อาหาร

กระบวนการเคลื่อนไหว 1. รัฐหรือหนวยงานเอกชน จัดทำโครงการหรือกระทำ กิ จ กรรมบางอย า งที ่ ประชาชนหรื อ สั งคมได รั บ ผลกระทบ 2. ประชาชนหรือผู ไดรั บผลกระทบเกิดความ ไม เห็ น ดวยกับกิจกรรมหรือโครงการที่ดำเนินอยู 3. ผูไมเห็นดวย จะใชสิทธิคัดคานดังกลา วอาจจะอยู ในรูปแบบของการเดิน ประท วง การชุมนุม รวมถึ ง การเคลื่อนไหวบนพื้นที่ออนไลนดวย 4. รัฐหรือเอกชนรับทราบการเคลื่อนไหวของสังคม

ภาครัฐ หรือ เอกชน ตกลงยุติการดำเนินโครงการ

ไมทำตามขอตกลงใน การยุติโครงการ

ทำตามขอตกลงใน การยุติโครงการ

4.1 รัฐหรือเอกชน ยุติการดำเนินโครงการ และ ทำตามขอตกลง จะถือวาสิ้นสุดกระบวนการ 4.2 รั ฐ หรื อ เอกชน ยุ ต ิ โ ครงการ แต ไม ทำตาม ข อ ตกลงที ่ ใ ห ไว ประชาชนจะดำเนิ น การ เรียกรองและคัดคานตอไป 5. กรณีที่รัฐไมรับฟงความเห็ นของประชาชนหรื อ ไม รั บฟ งการคั ด ค า นของประชาชน ประชาชนจะ ดำเนินการคัดคานตอไป

จบกระบวนการ


236

2) กรณีศึกษาชุมชนเสมือนทีแ่ สดงออกในประเด็นฐานทรัพยากรและสิ่งแวดลอม ในตางประเทศ 2.1. กรณี ตอตานโครงการวาง/ขยายทอสงน้ำมัน Keystone XL ในประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา ขอเท็จจริง ท อส ง น้ำมั นคี ย สโตน เอ็ กซ แ อล (Keystone XL Pipeline) เป นท อขนส งน้ำมันดิบที ่มี ความยาวถึง 1,179 ไมล โดยมีจุ ดเริ ่มต นที่ รั ฐ แอลเบอรตา (Alberta) ประเทศแคนาดา ทอดยาวไปจนถึ งเมืองสตี ลซิ ตี้ (Steele City) ในรัฐเนบราสกา (Nebraska) ประเทศสหรัฐอเมริกา และเปนจุดเชื่อมตอจุดของท อ ส ง น้ ำ มั น Keystone ที ่ ม ี อยู  แล ว 100 เป นท อในระยะที ่สี ่ซึ ่ งจะเปนเส นทางตรงที ่เพิ ่มอุ ปทานการขนสง น้ำมันขึ้นจาก 550,000 บารเรลตอวัน เปน 830.000 บารเรลตอวัน โดยมีบริษัท TransCanada บริษัทพัฒนาและดำเนินการ โครงสรางพื้นฐานดานพลังงานในอเมริกาเหนือ เปนผูรับเหมาดำเนินการสรางทอน้ำมันในเฟสนี้ทั้งหมด101

ฝายสนับสนุนการสรางน้ำมันทอน้ำมันครั้งนี้ โดยเฉพาะกลุมนักการเมืองพรรคริพับลิกัน ซึ่งนำโดยอดีต ประธานาธิ บดีบารั ค โอบามา มองว าการสรางทอสง น้ำมันครั ้ง นี้ จะช วยฟ  นฟูเศรษฐกิจ และสร างงานได 42,000 ตำแหนง อีกทั้งยังลดการพึ่งพาพลังงานและมีความปลอดภัยมากกวาการสงน้ำมันแบบเดิม เชน การ

100

National Geographic. (2017). what is the Keystone XL Pipeline? Retrieved August 12, 2018, from YouTube: https://www.youtube.com/watch?v=cT9NH9I_DWE 101 CBC. (2017). Keystone XL would be exempt from needing U.S.-made steel, reports say. Retrieved August 12, 2018, from CBC News: http://www.cbc.ca/news/business/transcanada-keystone-xl-1.4008897


237

ขนสงทางรถไฟ หรือทางเรือ 102 แตก็ไดสั่งระงับไปในป 2015 เนื่องจากไมอาจทนตอกระแสตอตานของภาค ประชาสังคมและกลุมอนุรักษสิ่งแวดลอมได 103 เนื่องจากน้ำมันดิบจากอัลเบอรตานั้นขึ้นชื่อเรื่องการปลอยกาซ เรือนกระจกแบบเขมขน และจะปลอยกาซพิษที่รุนแรงขึ้น 18% เมื่อถูกแปรรูป 104 และการวางทอน้ำมันต อง ผานพื้นที่อนุรักษหลายแหง แตอยางไรก็ตาม ในยุคของโดนัล ทรัมป ซึ่งเขาเคยใหสัญญาระหวางการหาเสียงวา จะเพิ่มการผลิตของอุตสาหกรรมพลังงานภายในประเทศ แนนอนวา จึงตัดสินใจฟนคืนชีพโครงการ คีย สโตน เอ็กซแอล กลับมาอีกครั้งในป 2017 105 ทั้งนี้ เมื่อวันพฤหัสบดี 16 พฤศจิกายน 2017 ไดเกิดเหตุการณ ท อส ง น้ำมัน "คียสโตน" รั่วไหล ซึ่งทอดังกลาวมีความยาวทั้งสิ้ น 4,324 กิโลเมตร เชื่อมระหวา งแคว นอั ลเบอร ต า ประเทศแคนาดา ไปถึงรัฐโอกลาโฮมาและรัฐอิลลินอยส ของสหรัฐอเมริกา สงผลใหน้ำมัน 210,000 แกลลอน ไหลทั่วพื้นที่การเกษตรโดยจุดที่เกิดการรั่วไหลอยูทางตะวันออกเฉียงเหนือของรัฐเซาทดาโกตา 106ทำใหกระแส ตอตานโครงการกอสรางครั้งนี้ มีความรุนแรงเพิ่มมากยิ่งขึ้น การที่รัฐบาลโดนัลด ทรัมป กลับมารับรองโครงการนี้ใหมอีกครั้ง เปนจุดที่ทำใหเกิดความขัดแยงและ การรวมตัวประทวงของประชาชนในประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดา โดยไดออกมาเคลื่อนไหว รณรงค กดดันใหรัฐบาลยุตโิ ครงการ ทั้งในพื้นที่โลกจริงและโลกไซเบอร กลุมการเคลื่อนไหว กลุมการเคลื่อนไหวตอในพื้นที่โลกไซเบอร ประกอบไปดวยหลายกลุมหลายระดับ ตั้งแต องคกรสิทธิที่ ไดเคลื่อนไหวเกี่ยวกับประเด็นทางสิ่งแวดลอมมาอยางยาวนานอยาง “กลุมกรีนพีซ (Greenpeace)” 107 และ กลุมที่อาศัยพื้นที่สื่อสังคมออนไลนในการรณรงคเคลื่อนไหวทีเ่ ห็นเปนรูปธรรมากที่สุด อยางเพจ “NoKXL” 108

102

ไ ทย รั ฐ . (2557). เบื ้ อ งหลั ง " คี ย  ส โตน เอ็ ก ซ แ อล" . สื บ ค น เ มื ่ อ 12 สิ ง หาคม 2561. จากเ ว็ บ ไ ซต ย ู ท ู ป : https://www.youtube.com/watch?v=MYRnWt58SJA 103 ประชาไท. (2560). ทอสงน้ำมัน คีย สโตนในสหรัฐ ฯ รั่วไหล 2 แสนแกลลอน หวั่นปนเปอ นแหลงน้ำ . สื บ ค น เมื่ อ 12 สิงหาคม 2561. จากเว็บไซต ประชาไท: https://prachatai.com/journal/2017/11/74177 104 โทโมนิวส ไทยแลนด. (2560) เปดไฟเขียวสรางทอส งน้ำมัน ทรัมปไมแครเสียงรอบขาง สืบคนเมื่อ 12 สิงหาคม 2561. จากเว็บไซต ยูทูป: https://www.youtube.com/watch?v=kgmaV8HHCx4 105 Elise Labott and Jeremy Diamond (2017). Trump administration approves Keystone XL pipeline. Retrieved August 12, 2018, from CNN: https://edition.cnn.com/2017/03/23/politics/keystone-xl-pipelinetrump-approve/index.html 106 ไทยพีบีเอส. (2560). ทอสงน้ำมัน "คียสโตน" ในสหรัฐฯ รั่วไหลเขาพื้นที่เกษตรเสียหาย. สืบคนเมื่อ 12 สิงหาคม 2561. จากเว็บไซต ไทยพีบีเอส: https://news.thaipbs.or.th/content/267815 107 Greenpeace. (2018). Search results for keystone XL. Retrieved August 12, 2018, form Greenpeace: https://www.greenpeace.org/usa/?s=keystone+xl 108 Facebook Fan page “NoKXl” https://www.facebook.com/NoKXL


238

และเพจ “Rainforest Action Network” 109 หรือในระดับเฉพาะกลุมเฉพาะพื้นที่อยาง NO KXL DAGOTA110 ที ่ ไ ด ประกาศวาตนเปนพันธมิตร กั บ ชนพื น้ เมื อง, องค กรตาง ๆ และประชาชนชาวเซ าธ ดาโกต า (South dakotan) เพื ่ อต อตานโครงการ Keystone XL ทั ้ ง นี ้ย งั มี กลุ มหรือองค กรอื่ น ๆ เข า ร วมการเคลื ่อนไหวอีก จำนวนมาก เช น เพจเฟซบุ  ค Coalition Against Keystone XL Pipeline 111และ Occupy Keystone XL Pipeline Route 112 การเคลื่อนไหว กลุมกรีนพีซ (Greenpeace) เคลื่อนไหวดวยใชวิธีการเสนอขาว สถานการณความคืบหนาโครงการ กอสรางพรอมทั้งประกาศตอตานโครงการกอสรางผานบทความสั้นบนเว็บไซตขององคกรและโพสต เรื่ องราว ต า ง ๆ ที ่ เกี ่ ย วข องลงเพจเฟซบุ  ค อยู  เสมอ เช นเดี ย วกั บ กลุ  ม สมาชิ กเฟซบุ  ค ผู  ติ ดตามเพจ NoKXL และ Rainforest Action Network ซึ่งมีผูติดตามจำนวนมากถึง 424,089 คน ซึ่งเคลื่อนดวยการนำเสนอ ชักชวนให ประชาชนผูไมเห็นดวยกับโครงการกอสรางออกมาประทวง ณ ทองถนน เชน การเดินขบวนประทวงบนถนนใน เมืองซาน ฟรานซิสโก เมื่อป 2015 113(กอนจะมีการริเริ่ม โครงการอีกครั้ ง) หรือการเคลื่อนไหว รณรงค ใ ห สมาชิกลงชื่อผานชองทางบนเว็บไซต RAN.org เพื่อสนับสนุนใหธนาคารปฏิเสธการอนุมัติเงินสนั บ สนุ นให แ ก บริ ษ ั ท TransCanada ในการสรางวางทอน้ ำมัน เมื ่ อปลายป 2017 หลั ง จากที่ ทรั มปได ประกาศฟ นคืนชีพ โครงการ 114 ขณะเดียวกัน เว็บไซด 350.org ก็ไดแสดงแผนที่แสดงจุดที่มีประชาชนออกมาเคลื่อนไหวประทวง ในแตละพื้นที่ในประเทศสหรัฐอเมริกาผาน Google Maps และเมื่อกอนป 2015 ไดรณรงคใหมีการลงชื่อเพื่อ บอกกลาวไปยังประธานาธิบดีโอบามาใหยุติโครงการ (Tell President Obama: Stop Keystone XL!) 115

109

Facebook Fan page “Rainforest Action Network” https://www.facebook.com/rainforestactionnetwork Nokxldakota. (2014). A shared vision to protect the land, water, and people. Retrieved August 12, 2018, from No KXL Dakota: http://nokxldakota.org/ 111 Facebook Fan page “Coalition Against Keystone XL Pipeline” https://www.facebook.com/ coalitionagainstkeystonexlpipeline 112 Facebook Fan page “Occupy Keystone XL Pipeline Route” https://www.facebook.com/OccupyKeystone XLPipelineRoute 113 Rainforest Action Network. (2016) #NoKXL Rejection Rally- SF. Retrieved August 12, 2018, from Facebook: https://www.facebook.com/media/set/?set=a.10153712135605960&type=1&l=e5e3da2e40 114 Rainforest Action Network. (2017). Tell big banks: On December 15, say no to the Keystone XL pipeline! Retrieved August 12, 2018, from RAN: https://www.ran.org/chase_stop_kxl 115 350. Org (2015). Tell President Obama: Stop Keystone XL! Retrieved August 12, 2018, from 350.org: https://act.350.org/letter/obama-keystone-frontpage/ 110


239

นอกจากนี้ เว็บไซตnokxldakota.org หรือกลุม NO KXL DAGOTA ไดเปดชองทางใหประชาชนผูไม เห็ นด ว ยกั บ โครงการก อสร า งสามารถส ง ข อความหรื อจดหมายไปยั ง “THE SOUTH DAKOTA PUBLIC UTILITIES COMMISSION” เพื่อแสดงจุดยืนตอตานโครงการทอสงน้ำมัน (Say NO to Keystone XL) 116 นักอนุรักษสิ่งแวดลอมก็ไดคัดคานการกอสรางในทำนองเดียวกัน เมื่อป 2012 และไดเนนไปที่ ค วาม หวาดกลัวในการปนเปอนของแหลงน้ำดืม่ ที่ Ogallala Aquifer สามารถผลิตใหแกผูบริโภคหลายลานคน117 ผลที่เกิดขึ้น

Mass action | Rally at Presidential event | Grassroots action ชวงกอนป 2015 ในสมัยรัฐบาลของประธานาธิบดีบารัค โอบามา เกิดการเคลื่อนไหวตอตานโครงการ สรางทอน้ำมัน Keystone XL จำนวนมากทั่วประเทศสหรัฐอเมริ กาในหลายระดับ โดยจะเห็นได จ ากภาพที่ เว็บไซต 350.org ไดแสดงไว หลังจากการตอสูถึง 7 ป การเคลื่อนไหวเหลานั้นสงผลใหประธานาธิบดีบารัค โอบามา หันมาอยู ขา ง นักกิจกรรมและอยูขางสิ่ง แวดลอม ดวยการสั่งระงับโครงการก อสรา งครั้งนี้ พรอมทั้งกลาวอี กว า ประเทศ สหรัฐอเมริกาจะเปนผู นำโลกในการตอสูกับ สภาวะโลกร อน (to be a global leader in the fight against 116

No KXL Dakota. (2014). Tell the South Dakota Public Utilities Commission: Say NO to Keystone XL. Retrieved August 12, 2018, from No KXL Dakota: http://nokxldakota.org/ 117 Steven Mufson. (2012) Keystone XL pipeline may threaten aquifer that irrigates much of the central U.S. Retrieved August 12, 2018, from Washington post: https://www.washingtonpost.com/ national/health-science/keystone-xl-pipeline-may-threaten-aquifer-that-irrigates-much-of-the-centralus/2012/08/06/7bf0215c-d4db-11e1-a9e3-c5249ea531ca_story.html?noredirect=on&utm_ term=.021a1f1a1941


240

climate change.) 118 แตเมื่อปลายป 2017 ประธานธิบดีโดนัล ทรัมป ไดประกาศฟนคืนชีพโครงการกอสราง มาอีกครั้ง โดยไมสนใจเสียงรอบขาง พรอมทั้งมีคำสั่งใหบริษัท TransCanada ดำเนินการสรางตอใหแลวเสร็จ โดยที่ทางบริษัท คาดการณวาจะเริ่มทำการกอสรางในป 2019 119 ทั้งนี้ ในเบื้องตน บริษัทได ว างแผนที่ จ ะ เริ่มตนทำการกอสรางทอ Keystone XL ในเมืองมอนตานา (Montana) ในฤดูใบไมรวงป 2018 120 การเขารวมของคนในสังคม เกิดกระแสการติดแฮชแท็ก #NoKXL ซึ่งหมายถึง “ไมเอาทอขนสงน้ำมันคียสโตน เอกซแอล” และ #DefundKXL ซึ่งหมายถึง “ไมใหเงินทุนในโครงการกอสรางทอน้ำมัน คียสโตน เอ็กซแอล” ในขณะเดียวกันได มีการเปดใหประชาชนรวมกันลงชื่อรณรงคใหธนาคารแหลงทุนของบริษัท TransCanada ปฏิเสธการอนุมัติเงิน สนั บ สนุ นผานทางเว็ บไซต act.ran.org ซึ ่ ง มี ผู เข ารว มลงชื ่อจำนวนทั้ งหมด 46,603 รายชื ่อ และหลั งจาก ที่ทรัมป ไดประกาศเดินหนาโครงการกอสราง ทำใหประชาชนผูเปนสมาชิกในเฟซบุคเพจ NoKXL ไดทำการ เคลื่อนไหวตอตานครั้งใหมอีกครั้ง พรอมกับประกาศวา “การตอสูยังไมจบลง” (The Fight’s not over yet) นอกจากนี ้ ยั ง มี ประชาชนพื ้นเมื องเผ า Cheyenne River Sioux และเจ า ของที ่ด ิน (Landowner) ที ่ ได รับ ผลกระทบจากการกอสรางกลับมาเขารวมกิจ กรรมการตอตา นครั้งนี้ หลังจากที่พวกเขาคิ ด ว า ได รั บ ชั ย ชนะ มาแลว 121 122

118

The Guardian. (2015). Obama rejects Keystone XL pipeline and hails US as leader on climate change. Retrieved August 12, 2018, from The Guardian: https://www.theguardian.com/environment/ 2015/nov/06/obama-rejects-keystone-xl-pipeline 119 KMTV 3 News Now. (2018). TransCanada moves forward with Keystone XL pipeline. Retrieved August 12, 2018, from YouTube: https://www.youtube.com/watch?v=j2o9622jN8Y 120 Reuters Staff. ( 2018) . TransCanada to start work on Keystone XL in Montana in fall 2018: letter. Retrieved August 12, 2018, from Reuters: https://www.reuters.com/article/us-transcanadakeystone/transcanada-to-start-work-on-keystone-xl-in-montana-in-fall-2018-letter-idUSKBN1I42DL 121 PhiI Mckenna. ( 2018) . ‘ We Will Be Waiting’: Tribe Says Keystone XL Construction Is Not Welcome. Retrieved August 12, 2018, from Inside climate news: https://insideclimatenews.org/news/ 13072018/keystone-xl-pipeline-native-american-resistance-oil-spill-cheyenne-river-sioux-dakota-accesstranscanada 122 Mark Hefflinger. (2017). Legal Experts, Landowners, Tribal Organizations and Green Groups Vow To Stop KXL Again. Retrieved August 12, 2018, from Bold Nebraska: http://boldnebraska.org/legal-expertslandowners-tribal-organizations-and-green-groups-vow-to-stop-kxl-again/


241

ปญหาและอุปสรรค การออกกฎหมายเวนคืนที่ดิน เพื่อใหบริษัท TransCanada สามารถวางทอน้ำผานที่ดินของประชาชน ที่อาศัยอยูใกลกับพื้นที่กอสราง ในรัฐเนบราสกา 123 มีการจับกุม ผูประทวงตอตานโครงการ Dakota Access pipeline จำนวน 141 ซึ่งเปนกิจกรรมที่ไดดำเนินควบคูกับการตอตานโครงการ Keystone XL มาตลอด 124 เคยมีคดีขึ้นสูศาล โดยเปนการตอสูระหวางกลุมเจาของที่ดินกับบริษัท TransCanada ผูรับผิดชอบโครงการใน ประเด็นเกี่ยวกับการเรียกคาทนายความใหแกเจาของที่ดินในคดีการเวนคืนอสังหาริมทรัพยเพื่อทำเสนทางวาง ท อ ส ง น้ ำ มั น ซึ ่ ง ล า สุ ด ศาลสู ง ของรั ฐ เนบราสกา (Nebraska Supreme Court) ได ต ั ด สิ นว า บริ ษั ท TransCanada ไมตองจายคาทนายความ จำนวน 354,000 ดอลลารใหแกกลุมเจาของที่ดิน ดวยเหตุผลวา ฝาย เจาของที่ดินไมสามารถพิสูจนถึงคาใชจายที่ไดจายไปจริง ใหเปนที่พอใจแกศาลได 125 ผลสะเทือนจากขบวนการเคลื่อนไหว ผูนำประเทศสหรัฐอยาง โดนัล ทรัมป ไมไดรับฟงเสียงประชาชนมากเทาที่ควร ทั้งนี้ ทรัมป เห็นวาการ ดำเนินนโยบายดานเศรษฐกิจ มีความสำคัญมากกวาประเด็นทางสิ่งแวดลอม

123

Grant Gerlock. (2017). Nebraska landowners revive fight against Keystone XL. Retrieved August 12, 2018, from Inside energy: http://insideenergy.org/2017/02/15/nebraska-landowners-revive-fight-againstkeystone-xl/ 124 The Guardian. (2016) North Dakota pipeline: 141 arrests as protesters pushed back from site. Retrieved August 12, 2018, from The Guardian: https://www.theguardian.com/us-news/2016/oct/27/ north -dakota-access-pipeline-protest-arrests-pepper-spray 125 Lori Pilger. (2018). TransCanada wins court challenge to attorney fees, won’t have to pay $3 5 4 K Retrieved August 12, 2018, from Lincoln Journal Star: https://journalstar.com/business/local/ transcanada-wins-court-challenge-to-attorney-fees-won-t-have/article_ed72ae58-9240-5e59-a6d4def1e29decfe.html


242

2.2. กรณี การเคลื่อนไหวในกรณีโรงไฟฟาหงสา ประเทศลาว ขอเท็จจริง

โรงไฟฟาพลังความรอนหงสา (Hongsa Power Plant) เปนโรงงานผลิตกระแสไฟฟา โดยใช ถา นหิ น ลิกไนตเปนเชื้อเพลิงหลัก ตั้งอยูที่เมืองหงสา แขวงไชยบุรี ประเทศลาว ซึ่งไดเริ่มการกอสรางตัง้ แตป 2010 แลว เสร็จในป 2015 โดยมีขนาดกำลังการผลิตติดตัง้ ประมาณ 1,878 เมกะวัตต โดยจะผลิตไฟฟาเพื่อขายใหแกการ ไฟฟาฝายผลิตแหงประเทศไทยเปนหลัก โดยมีการลงทุนการกอสรางโรงไฟฟา 3,700 ลานดอลลาร นอกจากนี้ โรงไฟฟาพลังงานความรอนหงสา อยูในโครงการหงสา โปรเจค (The Hongsa project) ที่ประกอบไปด ว ย เหมืองหินปูนและเขื่อนอีกสองแหง อีกทั้ง ยังเปนโรงไฟฟาถานหินแหงแรกในประเทศลาวและเป นเหมื องหิ น ลิกไนตที่ใหญที่สุดแหงหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต 126 องคกรกรีนพีซในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต (Greenpeace South East Asia) เผยวาโครงการ หงสา โปรเจคนี้ มีผูถือหุน ไดแก ลาวโฮลดิ้งสเตสเอนเตอรไพส (LHSE) ถือหุน 25% ในกิจการเหมืองลิ กไนต และบริษัท บานปูเพาเวอร จำกัด (BPP) ถือหุน 37.5% สวนที่เหลือเปนของบริษัท ผลิตไฟฟาราชบุ รี โฮลดิ้ ง (RATCH) คือ ถือหุน 37.5% สวนที่สอง โรงไฟฟาลิตกระแสไฟฟา ลาวโฮลดิ้งสเตสเอนเตอรไพส (LHSE) ถือหุน 20% และบริษัทบานปูเพาเวอร จำกัด (BPP) และบริษัท ผลิตไฟฟาราชบุรีโฮลดิ้ง (RATCH) ถือหุน 40% 127 ปรากฏวามีธนาคารไทยถึง 9 ธนาคารที่ใหการสนับสนุนดานการเงินในการลงทุนโครงการนี้ รวมถึงทั้งไดรบั การ หนุนหลังโดยทุนไทยและทุนจากสหรัฐอเมริกา การดำเนินการและการทำงานของโครงการนี้ มีความเสี่ยงที่สารโลหะหนักอาจถูกปลอยเขาสูในแหล ง น้ำธรรมชาติในทองถิ่นและการทำลายพื้นที่ปาชุมชนทองถิ่นอันเปนแหลงพึ่งพาอาหารและการดำเนิ นวิ ถีชีวิ ต 126

EarthRights International. (2017). Hongsa Power Plant and Mining Project. Retrieved August 12, 2018, from EarthRights International: https://earthrights.org/what-we-do/extractives-industries/hongsa-powerplant-and-mining-project 127 Greenpeace Thailand. (2012). true cost of coal. Retrieved August 12, 2018, from Greenpeace Thailand: http://www.greenpeace.org/seasia/th/campaigns/climate-and-energy/coal/true-cost-of-coal/coalmap/coal_lao/


243

ของคนในชุมชน ที่สำคัญโครงนี้ไดสงผลกระทบขามพรมแดน (Transboundary Impacts) โรงไฟฟา อยู ห า ง จาก จั ง หวั ดน าน เพี ย ง 30 กม.เท า นั ้ น ซึ ่ ง ที ่ ตั ้ง ของโรงงานไฟฟ าอยู  ใกลกั บจัง หวัดน านของประเทศไทย นอกจากนี้ การดำเนินงานยังเสี่ยงตอการรั่วไหลของสารปรอทลงสูแหลงน้ำทีม่ ีอาณาเขตติดกับประเทศไทย ยิ่ง ไปกวานั้น การประเมินผลกระทบดานสิ่งแวดลอมหรือ EIA ไมเปดโอกาสใหชุมชนมีสวนรวมอยางจริงจัง และ ยังลมเหลวในเรื่องของการประเมินผลกระทบขามพรมแดน128

กลุมการเคลื่อนไหว องคกรเคลื่อนไหวเรื่องเกี่ยวกับสิ่ง แวดลอมระดับระหวางประเทศอยาง EarthRights International (ERI) ทำงานร ว มกั บ ศู นย ว ิ จ ัย และพั ฒนากฎหมาย คณะนิ ติ ศาสตร มหาวิ ทยาลัย เชี ยงใหม (LRDC) และ คณะทำงานติดตามการลงทุนขามพรมแดน (Thai Extraterritorial Obligation-Watch Working Group หรือ ETOs-Watch) รวมกันตรวจสอบโครงการหงสา และการลงทุนของทุนไทยขนาดใหญในภูมิภาค 129 ทั้งนี้ หาก จะพิจารณาเฉพาะการเคลื่อนไหวบนพื้นที่ไซเบอร พบวา มีเพียงองคกร Earth Rights International เพี ย ง องคกรเดียวเทานั้นเทานั้น การเคลื่อนไหว เมื่อ 1-2 ปมานี้ องคกร ERI ไดเคลื่อนไหวอยางจริงจังบนพื้นที่ไซเบอรผานบล็อก (Blog) บนเว็ บ ไซต ขององคกรและเพจเฟซบุค 130 โดยเนนไปที่การวิเคราะหทางกฎหมายและทางวิทยาศาสตรอยางอิสระโดยไมมี ฝายผูมีอำนาจรัฐเขามาเกี่ยวของ ใหแกชุมชนที่ไดรับผลกระทบจากโครงการ ทั้งในประเทศลาวและประเทศ ไทย ERI ไดเคลื่อนไหวตอสูโดยรว มมือกับ กลุม เอ็ นจี โอและองค กรพั ฒนาเอกชนไทยเพื่ อ เรี ย กร องถึ ง ความ 128

Earth Rights International. Ibid. Ibid. 130 Facebook Fan page : “EarthRights International” https://www.facebook.com/EarthRightsIntl/ 129


244

โปรงใสของโครงการและความรับผิดชอบตอการลงทุนในตางประเทศของไทย อีกทั้งยังชวยสงเสริมใหชุมชนใน จังหวัดนานยื่นคำรองเรีย นเกี่ ยวกับผลกระทบดานสิ่งแวดล อมขามพรมแดนจากโครงการดัง กลา ว ส ง ไปยั ง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติของไทย 131 นอกจากนี้ องคกร ERI ยังไดลงพื้นที่ชุมชนในจังหวัดนาน เพื่อสงเสริมใหสมาชิกชุมชนมีความเขม แข็ ง ตั้งแตการจัดใหชาวบานทำการบันทึกความเปนไปในชุมชน เชน ความอุดมสมบูรณ สุขภาพของคนในชุ ม ชน เพื่อใชเปนหลักฐานหากเกิดกรณีพิพาทกับโรงไฟฟา และยังเปนตัวกลางในการนำสมาชิกชุมชนในจังหวัดนานที่ ไดรับผลกระทบ เพื่อมาศึกษาการเคลื่อนไหวของชุมชนในอำเภอแมเมาะ จังหวัดลำปาง ที่ไดรับผลกระทบดาน สิ่งแวดลอมและสุขภาพจากโรงไฟฟาถานหินเชนเดียวกัน เพื่อนำไปปรับใชกับการเคลื่อนไหวในชุมชนของตน 132

สมาชิกของชุมชนแมเมาะและนาน แสดงแผนที่ของชุมชนที่ไดรับผลกระทบในจังหวัดนาน รวมถึง พื้นที่การเกษตร แมน้ำ และแหลงตนน้ำตางๆ ขณะเดียวกัน ศูนยวิจัยและพัฒนากฎหมาย คณะนิติศาสตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม ได ด ำเนิ นงาน โครงการวิจัยเพื่อเตรียมความพรอมใหกับชุมชนในการประเมินผลกระทบดานสุขภาพชุมชนที่มีความเสี่ยงจาก โครงการพั ฒนาในพื ้ นที่ ชายแดน: กรณี ผลกระทบจากโรงไฟฟ าหงสา ในจั ง หวั ดน าน โดยได ร ั บทุนจาก สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) โดยไดเคลื่อนไหวโดยการจัดเวทีนำเสนอขอกังวลและข อเสนอแนะที่ มี ตอปญหาในงานวิจัยซึ่งไดเผยแพรบันทึกวิดีโอผานเพจของศูนยฯ เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ 2018 ที่ผานมา 133 131

Ibid Skylar Lindsay. (2018) Water is Life, But what’s in the Water? Retrieved August 12, 2018, from EarthRights International: https://earthrights.org/blog/water-is-life-but-whats-in-the-water/ 133 ศูนยวิจัยและพัฒนากฎหมาย คณะนิติศาสตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม (2561). บันทึก เวทีนำเสนอผลการศึกษาวิจัย เรื่ อ ง "สุขภาพและสิ่งแวดลอ มชุมชนในความเสีย งขา มแดนจากโครงการพั ฒนาขนาดใหญ : ขอกังวลและข อ เสนอแนะ ( ศ ึ ก ษ า ก ร ณ ี โ ร ง ไ ฟ ฟ  า ห ง ส า ) . ส ื บ ค  น เ ม ื ่ อ 12 ส ิ ง ห า ค ม 2561. จ า ก เ ว ็ บ ไ ซ ต  เ ฟ ซ บ ุ  ค : https://www.facebook.com/LRDCLawCmu/ videos/1879489068967323/ 132


245

และไดทำสื่อมัลติมีเดียในเว็บไซต YouTube.com เพื่อแสดงใหเห็นที่ปญหาสำคัญของมลภาวะจากโรงไฟฟาที่ สงผลกระทบขามพรมแดน134 การเคลื่อนไหวเกี่ยวกับประเด็ นโรงไฟฟาหงสาในพื้ นที่ไซเบอรไมคอยมีใหเห็นมากนั ก ทั้ ง นี้ ผู เขี ย น เห็นวาเรื่องนี้เปนที่รับรูนอยมากในสังคมไทย และไมไดมีการศึกษาอยางจริงจังมากเทาที่ควร เปนเรื่องที่เกิดขึ้น ในพื้นที่ที่ไมนาสนใจหรือควรจับตามองมากเทาไหรในสายตาประชาคมโลก เนื่องจากเปนพื้นที่อยา งประเทศ ลาวหรือในภูม ิภาคอาเซี ยน ซึ ่ ง แรงสะเทื อนย อมแตกตางจากป ญหาที ่ เกิ ดขึ้ นในประเทศมหาอำนาจอย าง ประเทศสหรัฐอเมริกา ผลที่เกิดขึ้น การพิจารณาถึงผลที่เกิดขึ้นหลังจากการเคลื่อนไหว พบวา ดวยอำนาจตอรองของประชาชนที่มีตอผู มี อำนาจซึ่งเกี่ยวของกับการจัดโครงการหงสา ที่มีนอยมาก เมื่อเทียบกับประเทศอารยะอื่น ๆ ทำใหการเคลื่ อน ของชุมชนและองคกร ERI แทบจะไมสรางแรงกระเพื่อมใด ๆ ใหแกสังคมเลย โดยจะเห็นไดจากการแสดงความ คิดเห็นของผูใชอินเทอร เน็ตในเว็บบอรด ชื่อดั งอยาง Pantip.com ที่ไดมีกระทูในหมวดวิศวกรรมศาสตร ซึ่ง ออกมาในเชิงชื่นชมประเทศลาวที่สามารถสรางโรงไฟฟาขนาดใหญนี้ได และดูถูกดูแคลนประเทศไทยทีท่ ำไมได อยางประเทศเพื่อนบาน135 การเขารวมของคนในสังคม การเขารวมของคนในสังคมพบเห็นได นอย จำกัดอยูเพียงเฉพาะกลุ มที่ไดรับผลกระทบจากป ญ หา เทานั้น ไมไดมีการเขารวมของคนในวงกวางเหมือนประเทศอื่น ๆ หรือในประเทศไทย เชน กรณีบานปาแหวง ปญหาและอุปสรรค เนื่องจากการขาดความสามารถในการถือครองเทคโนโลยีเครื่องมือสื่อสารของคนในชุมชน เนื่องจาก อาศัยอยูในพื้นที่หางไกล (ติดชายแดน ไทย-ลาว) ที่จำเปนตอการเชื้อเชิญหรือเขารวมเคลื่อนไหวกิ จ กรรมบน พื้นที่ออนไลน การตอสูไมอาจแผขยายไปในสังคมวงกวางได พรอมทั้ง อำนาจตอรองที่ไมเทาเทียมกันและดอย กวาในการเคลื่อนไหวตอตานโครงการดังกลาว รวมถึงการประเมินผลกระทบดานสิ่งแวดลอมหรือ EIA ไมเป ด โอกาสใหชุม ชนมี สวนรว มอย างจริงจัง และยั งลม เหลวอยางสิ ้นเชิ งในเรื่ องของการประเมินผลกระทบขาม พรมแดน 134

ลอวซีเอ็มยูแชนเนล. ศูนยวิจัยและพัฒนากฎหมาย คณะนิติศาสตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม: งานวิจัยเดน. สืบคนเมื่อ 13 สิงหาคม 2561. จากเว็บไซตยูทูป: https://www.youtube.com/watch?v=DdqKetkML38&feature=youtu.be 135 กระทูพันทิพย. (2558). ไทยไม แตลาวทำได" นับถอยหลังโรงไฟฟา หงสา 1,878 MW. สืบคนเมื่อ 13 สิงหาคม 2561. จากเว็บไซต พันทิพย: https://pantip.com/topic/33295743


246

ผลสะเทือนจากขบวนการเคลื่อนไหว เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2561 ศาลฎีกาพิพากษา'บานปู' ในคดีละเมิด สั่งชดใชเงิน 1.5 พันล า น พร อม ดอกเบี้ย รอยละ 7.5 นับตั้งแตวันฟอง รวมแลวกวา 2.5 พันลาน กรณีจัดสรางโรงงานถานหินโครงการหงสา ใน ประเทศลาว เปนคดีพิพาทระหวางนายทุนดวยกันเอง โดยโจทก (นายศิวะ งานทวี ผูบริหารกลุมบริ ษั ท ด า น พลังงาน บริษัท ไทยลาวลิกไนท จำกัด บริษัท หงสาลิกไนท จำกัด บริษัท ไทยลาวเพาเวอร จำกัด และบริษัท เซาทอีสท เอเชียพาวเวอร จำกัด) ไดฟองวา จำเลยที่ 1-6 (บริษัท บานปู จำกัด (มหาชน) หรือ BANPU บริษัท บานปู อินเตอรเนชั่นแนล จำกัด บริษัท บานปู เพาเวอร จำกัด นายชนินท วองกุศลกิจ ประธานเจ า หน า ที่ บริหาร บริษัท บานปู จำกัด (มหาชน) นายชาญชัย ชีวะเกตุ และ นายองอาจ เอื้ออภิญญากุล กรรมการบริษทั บานปู จำกัด (มหาชน)) ไดรวมกันหลอกลวงโจทกโดยเขาทำสัญญารวมทุนกับกลุมบริษัทโจทก เพื่อประสงคจะ ไดขอมูลสัมปทานเหมืองถานหินและรายงานการศึกษาความเปนไปไดของโครงการโรงไฟฟาถ า นหิ น ลิ กไนต (โครงการหงสา) แตหลังจากนั้นจำเลยใชสิทธิไม สุจริตในการรายงานเท็จ ทำใหรัฐบาลลาวยกเลิ กสั ม ปทาน เหมืองถานหิน สัญญากอสราง และการดำเนินกิจการโรงงานผลิตไฟฟาของพวกโจทก เพื่อที่พวกจำเลยจะได เขาทำสัญญากับรัฐบาลลาวแทน136สุ ด ท า ยนี ้ ต องร ว มกั นจั บ ตาดู ถึ ง ป ญ หาด านสิ ่ ง แวดล อมซึ่ ง อาจได รับ ผลกระทบจากการดำเนินงานโครงการหงสาโปรเจ็ค วาจะเปนอยางไรตอไป ในอนาคต ทั้งเรื่องสารพิษรั่วไหล ลงในแหลงน้ำ เรื่องมลภาวะทางอากาศที่ทำลายพืชผลการเกษตรของชุมชนใกลเคียง ปญหาดานสุขภาพของ สมาชิกในชุมชน ฯลฯ

136

เดลินิวส. (2561). ศาลฎีกาสั่ง'บานปู'จาย2.5พันลาน เหมืองถานหิน'หงสา' สืบคนเมื่อ 13 สิงหาคม 2561. จากเว็ บ ไซต สำนักขาวเดลินิวส: https://www.dailynews.co.th/regional/630874.


247

2.3. กรณี เขื่อนแตกในประเทศลาว: ภัยพิบัติที่ไมไดเกิดจากภัยธรรมชาติ ขอเท็จจริง เมื่อชวงเย็นของวันที่ 23 กรกฎาคม 2018 เกิดภัยพิบัติครั้งรุนแรงครั้งหนึ่งประวัติศาสตร ขึ้นในพื้ นที่ ลุมแมน้ำโขงของประเทศลาว โครงการผลิตไฟฟาพลังน้ำเขื่อนเซเปยน- เซน้ำนอย โครงการมูลคาหลายพันลาน เหรียญสหรัฐ ซึ่งกำลังอยูในชวงกอสรางเกิดพังทลายลงมา สงผลใหมวลน้ำมหาศาลทะลักเขาทวมหมูบ านอยาง นอย 7 แหงในพื้นที่ทายเขื่อน ในเมืองสนามไชยของแขวงอัตตะปอ ขอมูลลาสุดพบวามีผูเสียชีวิตแลว 27 คน และสูญหายอีก 131 คน137

ที่มา: https://www.pptvhd36.com/news/ประเด็นรอน/86132 โครงการก อสร า งเขื ่ อ นดั ง กล า ว อยู  ภายใต ค วามรั บ ผิ ด ชอบของบริ ษ ั ท SK Engineering & Construction ผูรับเหมาของเกาหลีใตซึ่งทางบริษัทไดออกมายอมรับวาไดพบรอยราวบนสันเขื่อน แตไม อาจ ซอมแซมไดเนื่องจากฝนตกหนัก ทางบริษัทไดออกตัววา จะยอมรับผิดชอบตอเหตุการณที่เกิดขึ้น ตอเมื่อมีการ สืบสวนสอบสวนขอเท็จจริงที่สามารถชี้ไดวาเปนความผิดของพวกเขา เพราะกอนเกิดเหตุพวกเขาไดแจงเรื่องไป ยังผูมีอำนาจทองถิ่นแลวในทันทีที่ไดตรวจพบรอยราว 138 เจาหนาที่อางวา สาเหตุที่เกิดรอยราวบนตัวเขื่อน เบื้องตน คาดวาเกิดจากมีฝนตกหนักอยางต อเนื่ อง ทำใหปริมาณน้ำมหาศาลไหลเขาสูเขื่อนยอยของโครงการ และ สำหรับเขื่อนดังกลาว ยังอยูใ นระหว า งการ กอสราง โดยดำเนินการไปแลวกวา 90% และคาดวาจะแลวเสร็จ จนสามารถผลิตกระแสไฟฟาไดในปหนา 139 ขณะเดียวกัน การกอสรางเขื่อนดังกลาว สืบเนื่องจากการที่รัฐบาลลาวซึ่งมุงหวังจะผลักดันประเทศให พ นจากฐานะประเทศยากจนที ่สุ ดประเทศหนึ ่ ง ของโลก ได เดิ นหน านโยบายนำพาประเทศไปสู การเปน 137

สำนักขาวพีพีทีวี. (2561). สรุปเหตุการณ “เขื่อนแตก” ที่ สปป.ลาว. สืบคนเมื่อ 13 สิงหาคม 2561. จากเว็บไซต พีพี ที วี : https://www.pptvhd36.com/news/ประเด็นรอน/86132 138 เรื่องเดียวกัน. 139 เรื่องเดียวกัน.


248

“แบตเตอรี่แหงเอเชียตะวันออกเฉียงใต” ดวยการผลิตกระแสไฟฟาจากเขื่อนบนลำน้ำโขงรวมมากกวาสิบแหง และขายไฟฟ าใหแ กประเทศเพื ่อนบานทั ้ง จีน ไทย และเวีย ดนาม ชะตากรรมของประเทศลาว การดำเนิน นโยบายดังกลาว ตองแลกมาดวยการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติและปาไมจำนวนมหาศาล อีกทั้งตองแบกรั บ ความเสี่ยงจากหายนะที่ไมคาดฝน หากจะวาไปแลว ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นจากโครงการพัฒนาในลาว ใช เพี ย งแค รัฐบาลเจาของประเทศเทานั้นที่ตองแสดงความรับผิดชอบ หากยังแปดเปอนไปดวยรอยนิ้วมื อของประเทศ เพื่อนบานหรือประเทศอื่น ๆ ในเอเชีย ทั้งนักลงทุนและผูมีสวนใหการสนับสนุนทางการเงินทั้งหลายอย า งไม อาจปฏิเสธ 140 กลุมการเคลื่อนไหว ในสวนกลุมการเคลื่อนไหวในพื้นที่โลกไซเบอร ถือวา เริ่มมีการเคลื่อนไหวในระดับหนึ่ง เพื่ อให ผูค น ตระหนักถึงปญหาของการลงทุนที่สงผลกระทบตอสิ่งแวดลอม ซึ่งถูกเพิกเฉยละเลยมาตลอด โดยเฉพาะการ กอสรางเขื่อนเพื่อผลิตพลังงานไฟฟาบนแมน้ำโขงในประเทศลาว จากการค นควา พบว า มี องค กรที ่ ให ความสำคั ญกั บประเด็ นดั ง กล าวที ่น าสนใจ องค กรแรกคือ CorpWatch ซึ่งทำงานสนับสนุน สิทธิทางสิ่งแวดลอม สังคมและสิทธิมนุษยชนในระดับทองถิ่น ระดับชาติ ไป จนถึ ง ระดับโลก โดยการส ง เสริ ม ให บรรษั ทข ามชาติเหลานั ้ นมี ความรั บผิ ดต อการกระทำตา ง ๆ ของตน CorpWatch จะเนนไปที่การสืบสวน ศึกษาวิจัยและการขาว เพื่อใหขอมูลที่สำคัญ เกี่ยวกับการทุจริตและการ แสวงหากำไรของบรรษัททัว่ โลก แกสาธารณะและเพื่อผลักดันใหเกิดประชาธิปไตยที่มปี ระสิทธิภาพ 141 องคกรตอมาคือ International River ซึ่งไดทำงานรวมกับเครือขายระหวางประเทศประชาชนที่ไดรบั ผลกระทบจากการกอสรางเขื่อนในประเทศตาง ๆ ทั่วโลก รวมถึง องคกรระดับรากหญาและนักสิ่ ง แวดล อม ผูสนับสนุนดานสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้ ยังทำงานรวมกับประชาชนกลุมอื่น ๆ ที่มุงมั่นที่จ ะหยุ ด โครงการ ทำลายแมน้ำ และที่ไดพยายามสงเสริมทางเลือกที่ดีกวา142 นอกจาก องคกรที่ทำงานเคลื่อนไหวเกี่ ยวกับการลงทุนอั นมีผลกระทบตอสิ่ง แวดล อมมาตลอดแล ว ผู  เขี ย น พบว า ฝ า ยการสื ่อสารมวลชน หรื อ “องค กรสื ่อฯ” ได ออกมาเคลื่ อนไหวเช นกั น เพื ่ อใหผู รบั สาร ตระหนักเสียใหมวา เหตุการณเขื่อนแตกในลาวครั้งนี้ไมไดเปนภัยธรรมชาติแตอยางใด

140

กองบรรณาธิการเวยแม็กกาซีน. (2561). เขื่อนลาวแตก ทุนไทยทะลัก ที่ สปป.ลาว. สืบคนเมื่อ 13 สิงหาคม 2561. จาก เว็บไซต เวยแม็กกาซีน: https://waymagazine.org/dam_lao/ 141 CorpWatch. History and Mission Retrieved August 13, 2018, from CorpWatch: https://corpwatch. org/node/4 142 International Rivers. About International Rivers. Retrieved August 13, 2018, from International Rivers: https://www.internationalrivers.org/resources/about-international-rivers-3679


249

การเคลื่อนไหว การเคลื่อนไหวขององคกร CropWatch ไดใชพื้นที่ออนไลนเปนหลัก ไมวาจะเปนผานเพจเฟซบุค ของ องคกรที่ชื่อวา CorpWatch 143 หรือในเว็บไซตหลักขององคกร CorpWatch.org โดยไดพยายามเผยแพรขอ มูล หรือขาวตาง ๆ ที่เกี่ยวของกับประเด็นเรื่องการลงทุนของบรรษัทในพื้นทีแ่ มน้ำโขงและประเทศตาง ๆ ทั่วโลก องคกร International River 144 โดยการเผยแพรขาวสารและบอกเลาเรื่องราวเกี่ยวกับความโหดรา ย ของภัยพิบัติและผูมีสวนเกี่ยวของที่ควรออกมาแสดงความรับผิดชอบ 145 และไดเคยทำแคมเปญรณรงคสงเสริม ใหทุกฝายรวมกันปกปองรักษาแมน้ำโขง 146 องคกรสื่อฯ ชื่อดังอยาง The New York Times ไดนำเสนอขาวที่แตกตางออกไปจากสื่อฯ อื่นๆ ที่มัก นำเสนอเพียงภาพความรุนแรงและความเสียหาย โดยเปลี่ยนเปนนำเสนอดานการเปดเผย ผูที่มีสวนรับผิดชอบ โดยเฉพาะฝายผูรับเหมาและรัฐบาลที่ดำเนินการกอสรางเขื่อนไมเปนไปตามมาตรฐาน และปญหาการบริหาร จัดการกับภัยพิบัติของรัฐบาลลาว เชนการนำเสนอขาวจากแหลงขาวที่รัฐบาลควบคุมอยูวามีผูเสียชีวิตเพียง 27 ราย ทั้ง ๆ ที่ ความจริงอาจมีมากกวานั้น147 ผลที่เกิดขึ้น ผลที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนไหวไมไดมีอะไร เปลี่ยนแปลง การตระหนักรับรูถึงปญหาที่แทจริงของภั ย พิบัติยังคงเปนที่รับรูในวงแคบหรือในวงของผูที่ศึกษาเรื่องนี้อยางจริงจังเทานั้น อีกทั้ง ยังไมมีการเรีย กร องให บริ ษ ั ท ผู  ร ั บเหมาและรั ฐบาลออกมารั บผิ ด ชอบอย า งจริง จั ง กระแสยั ง คงเงี ย บและมุ  งไปในการติ ดตาม สถานการณของภัยพิบัติของภัยพิบัติมากกวา ทั้งนี้ ตองจับตารอดูทาทีของประชาสังคมทัว่ โลกตอเหตุการณครัง้ นี้ วาจะเปนอยางไรตอไปในอนาคต

143

Facebook Fan page: “CorpWatch” https://www.facebook.com/CorpWatch.Org/ Facebook Fan page: “International Rivers” https://www.facebook.com/InternationalRivers/ 145 International Rivers. (2018) Dam collapse in Laos displaces thousands, exposes dam safety risks. Retrieved August 13, 2018, from International Rivers: https://www.internationalrivers.org/dam-collapsein-laos-displaces-thousands-exposes-dam-safety-risks 146 International Rivers. Laos. Retrieved August 13, 2018, from International Rivers: https://www.internationa lrivers.org/campaigns/laos 147 Mike Ives. Laos Dam Failure Exposes Cracks in a Secretive Government’s Agenda. Retrieved August 13, 2018, from The New York Times: https://www.nytimes.com/2018/07/29/world/asia/laos-damresponse-government.html 144


250

การเขารวมของคนในสังคม จากผลของการเคลื่อนไหวที่ไรแรงกระเพื่อมใด ๆ ทำใหการเขารวมของคนในสังคม จึงเปนเพีย งการ ออกมาชวยเหลือบริจาคสิ่งของที่จำเปนตอการดำรงชีพจากประชาชนหรือทางการของประเทตาง ๆ เชน ไทย เกาหลี ไมไดมีการตอตานเคลื่อนไหวในเรื่องผลกระทบดานสิ่งแวดลอมจากการพัฒนาแตอยางใด ปญหาและอุปสรรค ความไรซึ่งสำนึกดานมนุษยธรรม โดยเห็นจากคำพูดของ Soukkida Senonghiem 148 ที่เห็นวา การ ลงทุนจากตางประเทศโดยทั่วไปดีสำหรับประเทศลาวทั้งหมด มีเพียงประชาชนธรรมดาเทานั้น ที่ตองทนทุกข ทรมานเมื่อโครงการเกิดขอผิดพลาด “ชางโชคดีที่ผูเสียชีวิตเปนคนของเราเอง ไมใชชาวตางชาติ เพราะ นั่นอาจ สงผลตอภาพลักษณของเราและทำใหเกิดปญหาใหญขึ้น” 149 บริษัท SK Engineering & Construction ไมไดออกมารับผิดชอบใด ๆ พรอมทั้งยังพยายามผลักภาระ ความรับผิดไปยังรัฐบาลลาวรับผิดเพียงฝายเดียวอีกดวย ผลสะเทือนจากขบวนการเคลื่อนไหว เรื่องนี้ ชี้ใหเห็นประเด็นความมุงมั่นที่จะพยายามพัฒนาประเทศของรัฐบาลลาวในมิติดา นเศรษฐกิ จ เพียงอยางเดียว โดยไมไดคำนึงถึงมิติดานการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม ปญหาดังกลาวนี้ มั ก เกิ ด ขึ ้ นในประเทศด อยพั ฒนาหรื อประเทศกำลั ง พั ฒนาในอี กหลาย ๆ ประเทศ การเผาผลาญหรื อใช ทรัพยากรธรรมชาติเชนนี้ ประเทศเหลานั้นมักอางวา จะชวยใหประเทศของตนสามารถกาวพนออกจากการ เปนประเทศยากจนได และสามารถเขาสูเวทีการแขงขันทางเศรษฐกิจในระดับโลกไดในอนาคต

148

The New York Times ใหขอมูลวาคือ Receptionist, The New York Times. Ibid.

149


251

2.4. กรณี การเคลื่อนไหวตอตานการสรางเขื่อน แมน้ำสาละวิน ขอเท็จจริง

เดือนสิงหาคม 2013 มีรายงานขาววาเจาหนาที่ระดับสูงในกระทรวงไฟฟาพมาเปดเผยวาพมากำลังมี แผนพัฒนาโครงการไฟฟาพลังน้ำ 6 แหงบนแมน้ำสาละวินในพมา ไดแก เขื่อนสาละวินตอนบน หรือกุนโหลง (1,400 เมกกะวัตต) เขื่อนหนองผา (1,000 เมกกะวัตต) เขื่อนมายตง หรือเขื่อนทาซาง (7,110 เมกกะวั ต ต ) เขื่อนมานตอง บนแมน้ำสาขา (200 เมกกะวัตต) ทั้งสามโครงการนี้อยูในรัฐฉาน เขื่อนยวาติ๊ด ในรัฐคะยา หรือ รัฐคะเรนนี (4,000 เมกกะวัตต) และเขื่อนฮัตจี ในรัฐกะเหรี่ยง (1,360 เมกกะวัตต) ทั้งหมดนี้เปนการลงทุนโดย บริษัทจีน กฟผ.อินเตอร ของไทย และบริษัทพมา โดยคาดวาจะใชระยะเวลาดำเนินการ 4-10 ปหลังจากลง นามในขอตกลง นอกจากนี้ ขอมูลจากสำนักขาวในไทย ยังระบุถึงอีก 2 โครงการ ไดแก โครงการแมสะเรียง 1 และ แมสะเรียง 2 ซึ่งไมมีขอมูลใดๆ เพิ่มเติมเกี่ยวกับเขื่อนทั้ง 2 โครงการนี้ คาดวาหมายถึงโครงการเขื่อนสาละ วินชายแดนไทย-พมา หรือเวยจี และดา-กวิน ซึ่งเปนโครงการเดิม ของการไฟฟาฝา ยผลิตแห ง ประเทศไทย (กฟผ.) ที่เคยมีการลงนามบันทึกความเขาใจเพื่อพัฒนาโครงการกับพมาไว 150 แมน้ำสาละวิน เปนแมน้ำที่ไหลจากเทือกเขาหิมาลัยในทิเบต สูมณฑลยูนนาน ประเทศจีน สูพมาและ ไทย รวมความยาว 2,800 กิโลเมตรจากยอดเขาสูทะเลอันดามัน เปนแมน้ำนานาชาติสายทายๆ ในโลก ที่ยังคง ไหลอยางอิสระ แมน้ำสาละวินมีความอุดมสมบูรณทางระบบนิเวศมากที่สุดแหงหนึ่งของภูมิภาค และเปนบาน ของกลุมชาติพันธุตางๆ อยางนอย 13 กลุม อาทิ นู ลีซู ตูหลง ไทใหญ กะเหรี่ยง ปะโอ คะเรนนี มอญ 151 150

Salween Watch. (2014). Hydropower Projects on the Salween River: An Update. Retrieved August 14, 2018, from International Rivers: https://www.internationalrivers.org/resources/hydropower-projects-onthe-salween-river-an-update-8258 151 Ibid.


252

กว า ทศวรรษที่ ผานมามีการวางแผนโครงการเขื่ อนบนแมน้ำสาละวิ น ทั ้ ง หมด 13 โครงการในเขต ประเทศจีน และอีก 6 โครงการบนลุมน้ำทางตอนลาง ในพมา และชายแดนไทย-พมา 152 แตอยางไรก็ดี ที่ผาน มามีขอมูลจากในพื้นที่เขื่อนเหลานี้ ออกมาสู สาธารณะนอยมาก เนื่องจากความไมสงบในรัฐชาติ พั นธุ ใ นพม า และมั กไม ม ีการเปด เผยข อมู ลจากทั ้ง หน ว ยงานภาครั ฐและเอกชนที ่ เกี ่ ยวข อง เครื อข า ยสาละวิ นวอชต (Salween Watch Coalition) จึงรวบรวมขอมูลที่เกี่ยวของกับโครงการเขื่อน ซึ่งมีความเคลื่อนไหวและความ คืบหนา ดังนี้ ตารางสรุปขอมูลเขื่อนบน แมน้ำสาละวินในพมาและพรมแดนไทย-พมา (ขอมูลป 2016) 153 ชื�อโครงการ

กําลังผลิตติดตั�ง เมกะวัตต์

ผู้ลงทุน

สถานะของโครงการ

กฟผ.อินเตอร์เนชั�นแนล 1 เขื�อนฮัตจี

1360 MW

กระทรวงพลังงานไฟฟ้า(พม่า) Sinohydro (จีน)

EIAแล้วเสร็จ และการศึกษา ผลกระทบ เพิ�มเติมแล้วเสร็จ (ตาม คําสั�งสํานักนายกรัฐมนตรี)

International Group of Entrepreners Co. (พม่า) 2 เขื�อนสาละวิน ชายแดนไทยพม่า (ดา-กวิน)

729 MW

3 เขื�อนสาละวิน ชายแดนไทยพม่า (เวยจี)

4,540 MW

กฟผ.

4500 MW

China Datang Corporation

4 เขื�อนยวาติ�ด

(หรือ 600 MW)

กฟผ.

ศึกษาความเป็นไปได้

ศึกษาความเป็นไป ได้

United Hydropower Developing co.

MOU เพื�อศึกษาโครงการ

Shwe Taung Hydropower Co.Ltd China Three Gorges 5 เขื�อนเมืองโต๋น (มายตง) เดิม เรียกเขื�อนท่าซาง

7110 MW

Sinohydro China Southern Power Grid International Group of Entrepreneurs กฟผ.อินเตอร์ เนชั�นแนล กระทรวงพลังงานไฟฟ้าพม่า

6 เขื�อนกุ๋นโหลง 7 เขื�อนหนองผา

1400 MW 1,200 MW

Hanergy Holdimng Group Asia World (Gold water Resources) Hydrochina IGE

ทําการศึกษาผลกระทบ สิ�งแวดล้อม EIA โดยบริษัทที�ปรึกษา ออสเตรเลีย Snowy Mountain Engineering Corporation

การศึกษาความเป็นไปได้เบื�องต้น โดย Hydro China MOU เพื�อพัฒนาโครงการ

กลุมการเคลื่อนไหว องคกร EarthRights International ซึ่งไดเขารวมกับชาวบานชาวกระเหรี่ยงผูอาศัยอยูริมแมน้ำ ตอสู คัดคานการสรางเขื่อนบนแมน้ำสาละวินมาตั้งแตป 2006 154 และองคกร International Rivers ที่ไดทำงาน 152

Ibid. ประชาไท. (2559) 'สาละวินวอชต' เผยความคืบหนาเขื่อนสาละวินในพมา. สืบคนเมื่อ 14 สิงหาคม 2561. จากเว็บ ไซต ประชาไท: https://prachatai.com/journal/2016/03/64591 154 Earthrights. (2006) Villagers in Burma Reject Plans to Dam the Salween River. Retrieved August 14, 2018, from EarthRights International: https://earthrights.org/blog/villagers-in-burma-reject-plans-to-dam-thesalween-river 153


253

เกี่ยวกับการปกปองรักษาแมน้ำในพื้นที่พัฒนาสายตาง ๆ ทั่วโลกมาตลอด โดยการตอสูคัดคานในครั้งนี้ มี องค ที่ตั้งฐานที่มั่นในพื้นอยาง “เครือขายสาละวินวอชต” (Salween Watch Coalition) (ไมสามารถหาขอมูลไดใน อิ นเทอร เน็ต) และเครือขายปกป องแมน้ ำสาละวิ น (Save the Salween Network) ซึ ่ ง เป นเครื อขายที ่ทำ แคมเปญตาง ๆ รวมกับองคกรชนเผาลุมแมน้ำสาละวินโดย ควบคูไปกับองคกรพัฒนาเอกชนทั่วประเทศพมา การเคลื่อนไหว การคัดคานตอตานโครงการสรางเขื่อนครั้ง นี้ เกิดการเคลื่อนไหวทั้งบนพื้นที่ อ อนไลน แ ละพื้ นที่ โ ลก ในทางกายภาพ โดยองคกรระหวางประเภทอยาง EarthRights International หรือ International Rivers ได ช ว ยเผยแพร ข อมู ลต า ง ๆ สู  สาธารณะในรู ป แบบของบล็ อ กบนเว็ บ ไซต เช น earthrights.org หรื อ internationalrivers.org ขององคกรและเพื่อชาวบานในพื้นที่มีดังขึ้น องคกรเหลานั้นก็ไดเคลื่อนไหวผ า นเพจ ในเฟซบุคขององคดวยเชนกัน สวนองคกรหนึ่งที่เห็นวามีความสำคัญอยางยิ่ง สำหรับการตอสูคัดคานในครั้งนี้ ซึ่ง ก็ คื อ “เครื อข า ย สาละวินวอชต ” จะเห็ นไดจากการถูกนำมาอางเป นแหลง ข อมูลในการเผยแพร ขาวสาร ความคืบหนาของ สถานการณการดำเนินงานของโครงการ 155 156 นอกจากนี้ เกิดกลุมที่ใชสื่อสังคมออนไลนอยาง Facebook เปนสื่อกลางในการเคลื่อนไหวตอต า นอี ก จำนวนมาก เช น เพจ Save the Salween Network 157 Karen Rivers Watch 158 และอื ่ น ๆ สุ ด ท ายคือ รวมกลุมชุมนุมประทวงของชาวบานในพื้นที่ทดี่ ำเนินมาอยางยาวนาน

155

ประชาไท. (2559) 'สาละวินวอชต' เผยความคืบหนาเขื่อนสาละวินในพมา. สืบคนเมื่อ 14 สิงหาคม 2561. จากเว็บ ไซต ประชาไท: https://prachatai.com/journal/2016/03/64591 156 Salween Watch. (2014). Hydropower Projects on the Salween River: An Update. Retrieved August 14, 2018, from International Rivers: https://www.internationalrivers.org/resources/hydropower-projects-onthe-salween-river-an-update-8258 157 Facebook Fan page: “Save the Salween Network” https://www.facebook.com/Save-the-SalweenNetwork-1685498275073019/ 158 Facebook Fan page: “Karen Rivers Watch” https://www.facebook.com/SalweenAsia


254

ที่มา: เพจ International Rivers ผลที่เกิดขึ้น รัฐไดเพิกเฉยตอการประทวงของชาวบานมาโดยตลอด และไดทำการกอสรางเขื่อนตอไปโดยไมสนใจ เสียงของผูคัดคาน การเขารวมของคนในสังคม ไมมีการเขารวมของคนในสังคมใหเห็นอยางเปนรูปธรรม มีเพียงการเคลื่อนไหวที่ไมไดสรางผลสะเทือน ใด ๆ มากเทาที่ควรจะเปน เชน การเขารวมเปนสมาชิกแฟนเพจเฟซบุค Save the Salween Network เพียง 1388 คนเทานั้น นอกจากนี้ มีการรวมกลุมประทวงของชาวบานชาวกะเหรี่ยง ในพื้นที่ที่ไดรับผลกระทบเพีย ง 1,000 คน เทานั้น 159 ปญหาและอุปสรรค ความขัดแยงและความรุนแรงภายในประเทศพมา ระหวางรัฐบาลพมา และกองกำลังของรัฐกะเหรี่ยง เปนอุปสรรคอยางยิ่งในการตอตานคัดคาน การเปดเผยขอมูลที่สำคัญในโครงการกอสรางครั้งนี้ ผลสะเทือนจากขบวนการเคลื่อนไหว

159

Karen news. (2018) “We Want Peace, Not Dams…” – 1000’s of Villagers Protest Proposed Salween Dams in Karen State. Retrieved August 14, 2018, from Karen news: http://karennews.org/2018/03/wewant-peace-not-dams-1000s-of-villagers-protest-proposed-salween-dams-in-karen-state


255

Pati Pairot Panapraisakul ประธานกลุ  ม The Salween People Network ซึ ่ ง ตั ้ ง อยู  ท ี ่ ห มู  บ าน Tatafang ไดกลาววา “แมน้ำสาละวินเปนทุกสิ่งทุกอยางสำหรับเรา มีความสำคัญเทากับบานและแผนดินของ เรา เราจึงไดเรียกรองใหรัฐบาลไทยพมาและจีน ยุติการสรางเขื่อนบนแมน้ำสาละวิน” 160

160

EarthRights International. (2018) “The Salween is everything to us.”. Retrieved August 14, 2018, from EarthRights International: https://earthrights.org/salween-is-everything


256

2.5. กรณี การประทวงตอตานเคมีภัณฑของบริษัท Monsanto ขอเท็จจริง

เมื่อป 2015 หลังจากที่นักวิทยาศาสตรและหนวยงานวิจัยมะเร็งสากลขององคการอนามัยโลก (IARC) องคการอนามัยโลกเคยประกาศกอนหนานี้วาสารไกลโฟเสตเปนสารที่ "มีโอกาสกอมะเร็ง" หนวยงานคุมครอง สิ ่ ง แวดลอมรั ฐแคลิ ฟอร เนี ยก็ ประกาศใหผลิ ตภัณฑ จ ำกัดวั ชพื ช 'ราวน อั พ ' ที ่ มี สารไกลโฟเสตอยู ด ว ยเปน ผลิ ต ภั ณ ฑ ที่ มี สารก อมะเร็ ง ผลิ ต ภัณฑ จำกั ดวัชพืช 'ราวน อั พ' ของบรรษั ทเคมี ย ักษใหญ อย างมอนซานโต (Monsanto) บริษัท ไบโอเทคโนโลยีสัญชาติอเมริกันยักษใหญ จัดอยูในผลิตภัณฑที่มีสารเคมีกอมะเร็ง161 มอนซานโต ไดกลายเปนหนึ่งในบริษัทขนาดใหญที่มีคนรังเกลียดมากที่สุดในโลก และชื่ อของมั นถู ก เขี ย นลงบนแผนผาหรือแผ นปายเพื ่อนำมาชู ขึ้นในการรวมตัว ประท วงของประชาชนที ่ตระหนั กถึ งภั ยของ ผลิตภัณฑดังกลาวในหลาย ๆ เมืองทั่วทวีปยุโรปและสหรัฐอเมริกา 162 การเคลื่อนไหวของผูคนในประเด็นนี้ มีวัตถุประสงคเพื่อใหรัฐบาลในประเทศของตนยกเลิกการนำเขา และวางจำหนาย สินคาและผลิตภัณฑจากบริษัทดังกลาว เนื่องจากสงผลกระทบตอสุขภาพอยา งร า ยแรงต อ มวลมนุษยชาติ มอนซานโตและพันธมิตรอุตสาหกรรมเคมีไดใชเวลาหลายสิบปในการหลอกผูบริโภค ชาวนา ผู กำกับดูแล และนักการเมือง ใหพวกเขาสับสนเกี่ยวกับความเสี่ยงเรื่องยากำจัดวัชพืชทีม่ ีสวนผสมของสารไกลโฟ เสต Megan Cliburn หนึ่งในผูประทวง กลาววา “พวกเรามีควรไดรูวามีอะไรอยูในอาหารของพวก ตอนที่เรา กิน หรืออะไรที่เรากำลังนำเขาสูรา งกาย”

161

ประชาไท. (2558). หนวยงานสิ่งแวดลอมรัฐแคลิฟอรเนียประกาศยาฆาวัชพืช 'ราวนอัพ' มีสารกอมะเร็ง. สืบคนเมื่อ 14 สิงหาคม 2561. จากเว็บไซต ประชาไท: https://prachatai.com/journal/2015/09/61379 162 The Guardian. Tens of thousands march worldwide against Monsanto and GM crops. Retrieved August 14, 2018, from The Guardian: https://www.theguardian.com/environment/2 0 1 5 / may/2 4 / tens-ofthousands-march-worldwide-against-monsanto-and-gm-crops


257

กลุมการเคลื่อนไหว กลุมที่ทำการเคลื่อนไหวตอตา นในประเด็นนี้ อยางเป นรูปธรรม ไดแก March Against Monsanto และ Millions Against Monsanto รวมถึง กลุม GMWatch และกลุมประชาชนในประเทศตาง ๆ ทั่ ว พื้ นที่ ทวีปยุโรปและสหรัฐอเมริกา การเคลื่อนไหว กลุ  ม March Against Monsanto ,Millions Against Monsanto และ GMWatch ได อาศั ย พื ้ นที่ ออนไลนและสื่อสังคมออนไลนในการเคลื่อนไหวตอตานผลิตภัณ ฑของมอนซานโต โดยการทำเพจที่ มี ชื่อว า “March Against Monsanto” 163 ซึ่งไดมีการสรางเว็บไซตของตัวเองโดยเฉพาะ คือ www.march-againstmonsanto.com ส  ว นเพ จ ข อง Millions Against Monsantoไ ด แ ก “Millions Against Monsanto by OrganicConsumers.org” 164 และ GMWatch ได เคลื ่ อนไหวอยางต อเนื ่ องต อประเด็ นนี้บนทวิ ตเตอร 165 นอกจากการเคลื่อนไหวบนพื้นที่ออนไลน รวมถึงการเดินขบวนประทวงตามทองถนน พรอมตะโกนถ อยคำที่ แสดงถึงการตอตานการกระทำของบริษัทที่สงผลกระทบตอชีวิตมนุษยและสิ่งแวดลอม ดวยคำวา “Hell no, GMO!” และ “We are not science experiment.”

ผลที่เกิดขึ้น เกิดเปนคดีความ ที่ศาลแคลิฟอเนียไดสั่ง บริษัทมอนซานโตชดใชคาเสียหายจำนวน 289 ลานดอลลาร ใหอดีตคนดูแลสนามหญา-ผูปวยมะเร็งที่สัมผัสสาร 'ไกลโฟเสต' จากผลิตภัณฑกำจัดวัชพืชยี่หอ 'ราวดอั้พ ' ซึ่ ง

163

Facebook Fan Page: “March Against Monsanto” https://www.facebook.com/MarchAgainstMonstanto/ Facebook Fan Page: “ Millions Against Monsanto by OrganicConsumers.org” https://www.facebook. com/millionsagainst/ 165 Twitter : “GMWatch” https://twitter.com/GMWatch 164


258

มอนซานโตเปนผูจำหนายผลิตภัณฑนี้มาตั้งแตป 2517 ปจจุบันมีจำหนาย 160 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศ ไทย 166 ชัยชนะครั้งประวัติศาสตรของผูฟองรอง 'มอนซานโต' บรรษัทเกษตรเคมีภัณฑยักษใหญ โดยเมื่อวั นที่ 10 ส.ค. ที่ผานมา ศาลในรัฐแคลิฟอรเนียตัดสินใหมอนซานโตตองจายคาชดเชยและคาเสี ย หายให กับ ผู ป ว ย โรคมะเร็งจากการที่พวกเขาเคยสัมผัสสารไกลโฟเสตในผลิตภัณฑกำจัดวัชพืชของมอนซานโตอยาง 'ราวดอพั้ '167

ขอมูลจากสื่อประชาสัมพันธของมอนซานโตระบุวาเริ่มจำหนายผลิตภัณฑราวดอั้พ มาตั้งแตทศวรรษ 1970 168 โดยกอนหนานี้ เดอเวยน จอหนสัน ชาวมลรัฐแคลิฟอรเนียผูมีอาชีพดูแลสนามเคยฟองรองตอมอนซาน โต กลาวหาวาสารไกลโฟเซตในราวนอัพทำใหเขาเป นมะเร็ง เมื่ ออายุได 46 ป จากการใชผลิ ต ภั ณ ฑ นี้ใ นการ ทำงานเปนเวลาสองป เมื่อวันที่ 10 ส.ค. ที่ผานมาศาลแคลิฟอรเนียก็ตัดสินใหมอนซานโตมีความผิด โดยต อง จายทั้งคาชดเชย 39 ลานดอลลาร และคาเสียหาย 250 ลานดอลลาร 169 โรเบิรต เอฟ เคนเนดี จูเนียร ทนายความที่เปนตัวแทนวาความใหจอหนสันประกาศผานเฟซบุควาศาล ไดตัดสินใหมอนซานโตตองจายคาเสียหายจาก "การกระทำที่มงุ รายและกดขี่ขมเหงของพวกเขา" 170 166

ประชาไท. (2561). ยื่นฟอง 'ราวดอั้พ' กอมะเร็ง ศาลแคลิฟ อรเ นีย ตั ดสิ น ให จายค าเสีย หาย-ชดเชย. สื บ ค น เมื่ อ 14 สิงหาคม 2561. จากเว็บไซต ประชาไท: https://prachatai.com/journal/2018/08/78267 (14 สิงหาคม 2561). 167 เรื่องเดียวกัน. 168 Monsanto Company. (2017). Give it a minute: Glyphosate. Retrieved August 14, 2018, from YouTube: https://www.youtube.com/watch?v=Ek7p5r6UNJU 169 Twitter’s Robert f. Kennedy Jr. : https://twitter.com/RobertKennedyJr/status/1028042924112506880 170 Common Dreams. (2018). 'Guilty on All Counts!': In Historic Victory, Monsanto Ordered to Pay $289 Million in Roundup Cancer Lawsuit. Retrieved August 14, 2018, from Common Dreams: https://www.commondreams.org/news/2018/08/10/guilty-all-counts-historic-victory-monsanto-orderedpay-289-million-roundup-cancer


259

สมาคมผูบริโภคออรแกนนิค (OCA) ซึ่งเปนกลุมที่วิพากษวิจารณมอนซานโตมายาวนานแถลงแสดง ความยินดีตอผลการตัดสินในครั้งนี้ รอนนี คัมมินส ผูอำนวยการนานาชาติของ OCA กลาววา "คำตัดสินในครั้ง นี้แสดงใหเห็นวาเมื่อพลเมืองธรรมดาทั่วไป ซึ่งในที่นี้คือลูกขุน 12 คน ไดรับฟงขอเท็จจริงเกี่ ย วกั บ ผลิ ต ภั ณ ฑ ของมอนซานโตรวมถึงไดรับรูเรื่องที่บริษัทนี้เลยเถิดไปถึงขั้นซื้อตัวนักวิทยาศาสตรหลอกลวงประชาชนและส ง อิทธิพลตอองคกรตรวจสอบของรัฐบาลแลว พวกเขาก็ไมสับสนอีกตอไป" 171 การเขารวมของคนในสังคม การเคลื่อนไหวตอตานผลิตภัณฑอันตรายครั้งนี้ ไดเชิญชวนใหผูใชอินเทอรเน็ตจำนวนมาก เข า มามี สวนรวมเกิดเปนชุมชนออนไลนขึ้น โดยสังเกตจากที่ผูเขามากดไลค ติดตามจำนวนมากในเพจที่เปนกลุมเคลื่อน ในประเด็นนี้ เชน เพจ Millions against Monsanto by OrganicConsumers.org มีผูเขามากดไลค จ ำนวน 883,225 คน และเพจ March against Monsanto มีผูเขามากดไลคจำนวนมากถึง 1,621,124 คน และใน บัญชีเฟซบุค @GMWatch ที่มีผูติดตามมากกวา 31,000 คน ปญหาและอุปสรรค ขณะนี้ ทางดานบริษทั มอนซานโตยังปฏิเสธขอกลาวหา และประกาศจะยื่นอุทธรณเพื่อปกปอง ผลิตภัณฑของบริษัทที่ไดผลิตและวางจำหนายมาอยางยาวนานถึง 40 ป 172 ทำใหแพทยผูดูแล เดอเวยน จอหนสัน ออกมากลาววา เขาอาจไมไดมีชีวิตอยูหลังจากนี้ไปอีก เพื่อเห็น การสิ้นสุดของกระบวนการพิจารณาคดีของเขา 173 ผลสะเทือนจากขบวนการเคลื่อนไหว คดีความในเรื่องนี้ จะสามารถเปนบรรทัดฐานของอีกประมาณ 5,000 คดี ที่คางอยูในศาล ทั้งศาลของ รัฐและศาลรัฐบาลกลางทีม่ ีการฟองรองกลาวหาผลิตภัณฑชนิดนี้ ในทำนองเดียวกัน174

171

Ibid. มติชน. (2561). แบนสารกำจัดวัชพืช ผานคดี ‘มอนซานโต’ [สืบคนเมื่อ 14 สิงหาคม 2561. จากเว็บไซต มติชนออนไลน: https://www.matichon.co.th/newsroom-analysis/news_1084331 173 Holly Yan. (2018). Jurors give $289 million to a man they say got cancer from Monsanto's Roundup weedkiller. Retrieved August 14, 2018 from CNN: https://edition.cnn.com/2018/08/10/health/monsantojohnson-trial-verdict/index.html 174 มติชนออนไลน. (2561). แบนสารกำจัดวัชพืช ผานคดี ‘มอนซานโต’. สืบคนเมื่อ 14 สิงหาคม 2561 จากเว็บไซต มติชน : https://www.matichon.co.th/newsroom-analysis/news_1084331 172


260

บาดแผลจากการปวยเปนมะเร็งของ เดอเวยน จอหนสัน ผูตกเปนเหยื่อของผลิตภัณฑที่อันตรายของบริษัท มอนซานโต


261

แผนภาพที่ 5 ผังสรุปกระบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในดานสิ่งแวดลอมบนพื้นที่ไซเบอร

สิ้นสุดกระบวนการ

จุดเริ่มตน เกิดเหตุการณหรือการกระทําของรัฐ หรือนายทุน ที่กระทบสิทธิของ มนุษย สิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย เชน สิทธิในชีวิตรางกาย สิทธิการมีสิ่งแวดลอมที่ดี ฯลฯ

การเคลื่อนไหว ประทวง ตอตาน ขอใหยุติ โครงการ /การกระทํา การเรียกใหออกมาแสดง ความรับผิดชอบ ตอความเสียหาย

พบทั้งในรูปแบบออนไลน และ บนโลกจริง

ไมมีการเพิกเฉย รัฐ หรือนายทุน ไดปฏิบัติตามที่ไดตกลง / ออกมาแสดงความรับผิดชอบ

การเคลื่อนทําได “สําเร็จ” โครงการยุติลง ผูมีสวนเกี่ยวของในความ เสียหายออกมาแสดงความรับผิดชอบใน การกระทําของตน

เกิดการเพิกเฉย ไมปฏิบัติตามที่ไดตก ลง การรื้อฟนโครงการ ความเสียหาย ยังคงเกิดขึ้นอยู

ความเงียบ การเพิกเฉย ดำเนินการตอ = กลุมเคลื่อนไหวดำเนินการตอไป เชนกัน


262

3) การดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตรเพื่อขัดขวางการมีสว นรวมของประชาชน (SLAPP) ในประเทศไทย 3.1. กรณีโรงไฟฟาถานหินเทพา จ. สงขลา (พรบ.การชุมนุมสาธารณะฯ) ขอเท็จจริง โครงการโรงไฟฟาถานหินเทพาเปนโครงการหนึ่งในแผนการเพิ่มสัดสวนการผลิตไฟฟาจากถานหิน ซึ่ง เกิดความขัดแยงขึ้นกับชาวบานที่อาศัย อยูในพื้นที่ เนื่องจากปญหาที่จะสงผลกระทบอี กมากมาย อย า งเช น ปญหาดานมลพิษ ปญหาการเคลื่อนยายอพยพครอบครัวออกจากพื้นที่สรางโรงไฟฟาเปนระยะทาง 1 กิโลเมตร ไมเพียงแตปญหาดังกลาวขางตน ยังรวมถึงการจัดทำรายงานการวิเคราะหผลกระทบสิ่งแวดลอมและสุ ขภาพ (EHIA) ที่จะตองทำขึ้น พบวารายงานดังกลาวนั้นไมไดรายงานตามความเปนจริง ทั้งกระบวนการรับฟงความ คิดเห็นของประชาชน และ ขอเท็จจริงในแตละพื้นที่ดวย จึงเปนเหตุทำใหชาวบานคัดคานโครงการดั ง กล า ว โดยการยื่นขอคัดคานไปหลายชองทาง แตถึงอยางไรนั้น ทางรัฐบาลกลับนิ่งเฉยตอขอคัดคาน ทำใหชาวบ า น ตองออกมาเรียกรองอีกครั้ง การเรี ย กรองเริ ่ม ตนจากการที่ ชาวบ านเทพาออกเดิ นภายใตโครงการ “เดิ น...เทใจให เทพา หยุด โรงไฟฟ าถ านหิ น เดิ นหา...นายก หยุ ด ทำลายชุ มนุม ” ซึ ่ ง เป าหมายของการเดินครั ้ งนี ้เพื ่อที ่ จะสื ่อสารตอ สาธารณะถึงความไมเปนธรรมที่ชาวบานไดรับจากโครงการโรงไฟฟาฯ และไดยื่นหนังสือตอหัวหนา คสช. มี รายละเอียดเหตุผลวา ทำไมถึงไมตองการโรงไฟฟาฯ การเดินทางของชาวบานมีเสนทางจากชุมชนบานบางหลิง ตำบลปากบาง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ไปถึงมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย อำเภอเมือง จังหวัด สงขลา 175 กลุมชาวบานไดสวมใสเสื้อสีเขียวที่สกรีนขอความวา NO COAL หรือไมเอาถานหิน และมีธงสีเขี ย ว ออกเดินตามถนน การเดินเทายังคงมีชาวบานเขารวมเดินทางตอไปเรื่อยๆ แมวาจะมีประกาศเรื่อง ใหผูชุมนุมปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ชุมนุมสาธารณะ 2558 โดยใหผูชุมนุมคัดคานโรงไฟฟาถานหินเทพาออกจากการเดินชุมนุม เนื่องจากวา การเดินดังกลาวไมไดมีการแจงใหเจาพนักงานทราบลวงหนา 24 ชั่วโมง กอนการชุมนุม เอกชัย หนึ่งในผูชุมนุม ไดเขาไปเจรจากับพันตำรวจเอกประพัตร ศรีอนันต โดยเอกชัยถามวา พวกเขาจะมีโอกาสพบนายกฯไหม ซึ่ ง ทางตำรวจตอบวา ตองพบเลขาฯของนายกฯ กอน เอกชัยและกลุ มที่เขารวมเดินทางจึงขอนั่ ง รออยู บ ริ เ วณ ฟุตบาท หลังจากที่ผูชุมนุมเริ่มนั่งลงกับพื้นถนน มีการอานเนื้อหาของหนาที่ของผูชุมนุมตาม พ.ร.บ. ชุ ม นุ ม ฯ ใหแกผูชุมนุมฟง ในเวลาตอมามีคำสั่งใหผูชุมนุมนอนลงกับพื้นถนน ซึ่งผูชุมนุมเองก็ยอมนอนลงกับพื้นและร องตะโกน ออกมาวา หิวขาว ประชาชนจะเดินไปกินขาวเจาหนาที่ขัด ขวางผิดไหม ถาเราไมเดือดรอน เราก็ ไ ม ออกมา หลังจากนั้นเกิดการปะทะกันระหวางเจาหนาที่ตำรวจกับประชาชน กลุมผูชุมนุมผลักดันแนวกั้นเขาไปในขางใน 175

Ilaw. 2561. เทใจใหเทพา: คดี พ.ร.บ. ชุมนุมฯและตอสูขัดขวาง จากการเดินคัดคานโรงไฟฟา ถานหิ น. สืบคนเมื่ อ 10 กันยายน 2561. จากเว็บไซต iLaw: https://freedom.ilaw.or.th/th/case/810#progress_of_case


263

โรงพยาบาลจิตเวชเพื่อไปรับประทานอาหาร ซึ่งเมื่อไดรับประทานอาหารเสร็จเจาหนาทีก่ องรอยไดเขาควบคุม ฝูงชน โดยนำตัวผูชุมนุมไป 16 คน หนึ่งในนั้นเปนเยาวชนชายอายุเพียง 16 ป ผูถูกจับกุมทั้ง 16 คน ถูกพาตั ว ไปที่สถานีตำรวจภูธรเมืองสงขลา มีการสอบประวัติ และคุมขังทุกคนไวที่สถานีตำรวจเปนเวลา 1 วัน และได แจงขอกลาวหา ทั้งหมด 4 ขอหา รวมกันเดินหรือเดินแหอันเปนการกีดขวางการจราจร, ปดกั้นทางหลวงหรื อ กระทำดวยประการใดๆ บนถนนหลวงในลักษณะที่อาจเกิดอันตรายหรือเสียหายแกยานพาหนะหรือบุคคลอื่น, ตอสูหรือขัดขวางการจับกุม ทำรายรางกายเจาพนักงานซึ่งกระทำการตามหนาที่โดยใชกำลังประทุษราย และ พกพาอาวุธ(ไมคันธงปลายแหลม) ไปในเมือง ในที่สาธารณะโดยไมมีเหตุอันควร คูความในคดี โจทก พนักงานอัยการจังหวัดสงขลา จำเลย เอกชัย (สงวนนามสกุล) และพวกอีก 16 คน (โดยทั้ง17 คน ไดรับการประกันตัว) ขอกลาวหา พ.ร.บ. การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 (เปนการชุมนุมที่ไมเปนไปตามเงื่อนไข หรือขอกำหนดของ กฎหมาย มีอาวุธในการชุมนุม) พ.ร.บ. ทางหลวง มาตรา 38 (ปดกั้นทางหลวงหรือกระทำดวยประการใดๆ บนถนนหลวงในลักษณะที่ อาจเกิดอันตรายหรือผูเสียหายแกยานพาหนะหรือบุคคลอื่น) พ.ร.บ. จราจรทางบก มาตรา 108 (รวมกันเดินหรือเดินแหอันเปนการกีดขวางการจราจร) ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138 และ 371 (ต อสู  ห รื อขั ดขวางการจับ กุม ทำรายร างกายเจา พนักงานซึ่งกระทำการตามหนาทีโ่ ดยใชกำลังประทุษราย และพกพาอาวุธ(ไมคันธงปลายแหลม) ไปในเมือง ใน ที่สาธารณะโดยไมมีเหตุอันควร) กระบวนการดำเนินคดี จากนโยบายของรัฐที่ดำเนินการโครงการโรงไฟฟาถานหินเทพา ทำใหชาวบานที่ไดรับผลกระทบและ ไมเห็นดวยกับโครงการดังกลาวนั้นออกมาเคลื่อนไหว ทั้งการยื่นหนังสือคัดคาน, ขอใหรัฐจัดทำการรับฟงความ คิดเห็นของประชาชน และจัดทำรายงาน EHIA ใหตรงกับความเปนจริง ซึ่งการกระทำของชาวบานนั้นไมไดรบั การตอบรับจากรัฐบาล ทำใหตองออกมารวมกันทำกิจกรรม “เดิน...เทใจใหเทพาหยุดโรงไฟฟาถานหิน” ซึ่งการ รวมกิจกรรมดังกลาวนั้น มีการชี้แจงกอนการชุมนุม 24 ชั่วโมง และ เปนการชุมนุมอยางสงบ ปราศจากอาวุธ


264

แต ถึ ง อย า งไรนั ้ น ผู  ชุ ม นุ ม จำนวน 17 คน ก็ ถู กจั บ กุ ม และแจ ง ขอกล าวหา ซึ ่ ง จำนวน 17 คนนั้ น มี 1 คนเปนเยาวชนอายุ 16 ป รวมอยูดวย การลำบากของการตอสูทางกระบวนการยุติ ธ รรมได เริ่ ม ต น ขึ้ น อยางแรกจำนวนเงินของการประกันตัว ที่ไมสามารถหาใหครบจำนวนไดทันเวลาของการขอประกันตัว มีเพียง จำนวนเงินที่จะประกันตัวเยาวชนเพียงคนเดียว ในวันตอมาจึงสามารถประกันตัวผูชุมนุมออกมาไดครบทุกคน แตทั้งนี้ก็ไมไดอิสระอยางเต็มที่ เพราะตองมารายงานตัวตามระยะเวลาทีก่ ำหนด การเดินทางมาศาลของผูชุมนุม ในบางครั้งก็เปนเหมือนการถูกกลั่นแกลง ไมวาจะกรณีของทางตำรวจ ทำสำนวนสงฟองไมทันเวลา ทำใหสุดทายแลวตองถูกเลื่อนนัด 176 หรือ การตองมารายงานตัวไมต่ำกวา 3 ครั้ง แตการดำเนินคดีก็ยังไมมีความคืบหนา เมื่ออัยการมีคำสั่งฟองคดี ทำใหผูชุมนุม 16 คนกลายเปนจำเลย ซึ่งตอง เดินทางมาศาลไมตำ่ กวา 20 ครั้ง ลาสุดเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2561 มีการเบิกความตอศาลในฐานะจำเลยของ ดิเรก เหมนคร ที่ศาลจังหวัดสงขลา ซึ่งเปนหนึ่งในจำเลยทั้งหมด 16 คนในคดีนี้177 ผลที่เกิดขึ้นกับผูถูกฟอง - ผูชุมนุมกลาววา ตำรวจใชกำลังเขาจับกุม มีการทุบตี ทำใหผูชุมนุมไดรับบาดเจ็บหลายคน - ผู  ต  องหาทั ้ง 16 คน แถลงการเรี ย กร องเจ าหนา ที ่ร ัฐหยุ ดใช ค ดี ป ดปากประชาชน (เพราะผู  ที ่ ปกป อง ทรัพยากร ไมใชอาชญากร) 178 - การถูกดำเนินคดี สงผลใหตองเสียเวลาในการทำงาน ขาดรายได รวมถึงคาใชจายที่เกิดขึ้นในระหวางการ ดำเนินคดี 179 - การมียื่นเรื่องขอคัดคานการผลัดฟองฝากขังของพนักงานสอบสวนตอศาลจังหวัดสงขลา เนื่องจากผูตองหา เห็ นว า เป นการผลั ด ฟ องไปเรื ่ อยๆ ทำให ชาวบ า นเสี ย เวลา (เหตุ ผลในการผลั ด ฟ อง คื อ การหา พยานหลักฐานไมเพียงพอที่จะสงฟองคดี) 180

176

ขาวสด. 2560. ศาลเลื่อนนัด คดี 15 แกนนำเครือขายคานโรงไฟฟาถานหินเทพา. สืบคนเมื่อ 10 กันยายน 2561. จาก เว็บไซต ขาวสด: https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_665314 177 ประชาไท. 2561. อัยการสั่งฟอง 16 ผูตองหาเครือขายเทพาไมเอาโรงไฟฟาถานหิน. สืบคนเมื่อ 10 กันยายน 2561. จาก เว็บไซต ประชาไท: https://prachatai.com/journal/2018/01/74915 178 ประชาไท. 2561. 17 ผูตองหาพรอมเครือขายเทพาไมเอาโรงไฟฟาถานหิน จี้รัฐหยุดใชคดีปดปากประชาชน. สืบคนเมื่ อ 10 กันยายน 2561. จากเว็บไซต ประชาไท: https://prachatai.com/journal/2018/01/74815 179 มติชน. 2561. หมอสุภัทร ชี้ คดีเทพาเริ่มแลว ชาวบานตองขั้นศาลตอเนื่อง โอดแทบไมตองทำมาหากิน . สืบคน เมื่ อ 7 กันยายน 2561. จากเว็บไซตมติชน: https://www.matichon.co.th/politics/news_996831 180 มติชนสุดสัปดาห. 2561. แกนนำคานโรงไฟฟา “สงขลา-ปตตานี” รายงานตัวศาลครั้ งที่ 3 ทามกลางกำลั ง ใจจาก ชาวบาน. จากเว็บไซต มติชนสุดสัปดาห: https://www.matichonweekly.com/hot-news/article_73642


265

ขอสังเกตจากคดี 1. จากขอเท็จจริงเห็นวา การเดินชุมนุมของชาวบานเดินไปดวยความสงบ ปราศจากอาวุธ อีกทั้งยัง ทำตาม เงื่อนไข หรือ ขอกำหนดของพระราชบัญญัติ การชุมนุมสาธารณะฯ อยางถูกตอง (การแจงใหทราบลวงหนา 24 ชั่วโมง กอนการชุมนุม, มีการชุมนุมอยางสงบเปดเผยและปราศจากอาวุธ) ทำใหเห็นวา แมรัฐจะเป น โจทกผูฟองคดี เมื่อศาลพิจารณาความขอเท็จจริงแลวนั้น ทางรัฐมีโอกาสที่ตนจะแพคดีอยูไมนอย ดังนั้นการ กระทำของรัฐที่ฟองคดี เปนเพียงการยืดระยะเวลา รวมถึงเปนการกลั่นแกลงชาวบาน เนื่องจากชาวบ า น ตองมีภาระคาใชจายทีเ่ พิ่มขึ้น และยังขาดรายไดดว ย 2. การชวงแรกหลังจากถูกจับ กุม ผูชุมนุมทั้ง 17 คนถูกตั้งขอหาเพียง 3 ขอหาเทานั้น ยังไม มี การตั้ ง ข อหา เกี่ยวกับการชุมนุมในพื้นที่สาธารณะ 3. จำนวนเงินในการใชประกั นตัว สูง ในกรณีเปนจำนวนเงิ นถึ ง 1,350,000 บาท ซึ่งทางทีมงานที่ ชว ยเหลื อ และชาวบานเองก็ไมสามารถหาเงินจำนวนมากไดทัน ทำใหผูชุมนุมทั้งหมดถูกสงตัวไปควบคุ ม ที่ เรื อนจำ กลาง จังหวัดสงขลา 181

181

ขาวสด. 2560. 15 แกนนำมอบโรงไฟฟาเทพาชวดประกัน-สงตัวนอนเรือ นจำสงขลา ชาวบานแยกยาย. สืบคนเมื่ อ 7 กันยายน 2561. จากเว็บไซต ขาวสด: https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_650243


266

3.2. คดีบริษัทเหมืองฟองนักขาวเนชั่น (พรบ.คอมพิวเตอรฯ) ขอเท็จจริง ทาง The Nation (ภาคภาษาอังกฤษ) ไดเผยแพรบทความเรื่อง “เหมืองแรไทยทำลายน้ำพมา” ผาน ทางเว็บไซตของ The Nation ซึ่งฝายบริษัท เมียนมารพงพิพัทธ ผูประกอบการคนไทย ดำเนินโครงการสร า ง เหมืองแรในประเทศเมียนมารพบเห็น ทำใหเกิดขอโตแยงกันขึ้น โดยทางบริษัทฯ อางวา บทความที่ตีพิมพใ น หนั ง สื อเนชั ่นออนไลน บิ ด เบื อนให ร ายบริษั ท ทำใหทางบริษ ัทฯ ได ร ับความเสี ยหายและอาจถู กเพิ กถอน ใบอนุญาตการประกอบเหมืองแรดีบุก ในประเทศเมียนมารได โดยสาระสำคัญบางสวนของบทความกลา วว า ทางบริษัทฯไดปลอยสารปนเปอนลงในแมน้ำและแหลงน้ำดวยโลหะหนัก ทำใหแหลงน้ำดืม่ ในหมูบา นมีปริมาณ แมงกานีสสูง ทำใหประชาชนประสบปญหาไมสามารถใชน้ำไดอีก ทำใหกระทบกับบริษัทตนโดยตรง จึงไดดำเนินการฟองรอง ปรัชญ นักขาวของเนชั่น และทางบริษั ท เนชั่น นิวส เน็ตเวิรค จำกัด เปนจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานนำขอมูลปลอมหรือเท็จ เขาสูระบบ คอมพิวเตอร ตามมาตรา 14(1) พระราชบัญญัติ คอมพิวเตอรฯ และ ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาใน อีกหลายฐานความผิด คูความในคดี โจทก บริษัท เมียนมารพงพิพัทธ (บริษัทของคนไทย จดทะเบียนที่ประเทศเมียนมาร) จำเลย ปรัชญ รุจิวนารมย (ผูสื่อขาวโตะขาวทั่วไป หนังสือพิมพ The Nation) จำเลยที่ 1 บริษัท เนชั่น นิวส เน็ตเวิรค จำกัด จำเลยที่ 2 182 ขอกลาวหา - พระราชบัญญัติวาดวยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร พ.ศ. 2550 (ฉบับที่ 2) มาตรา 14(1) - ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59, 83, 91, 326 และ 328 กระบวนการดำเนินคดี ปรัชญไดรับหมายเรียกจากศาลจังหวัดนครปฐม ซึ่งเขาเองก็ไปศาลตามหมายเรียกนั้น ในวั นนั ด ไกล เกลี ่ ย ปรั ชญ ไ ด ม าตามนั ด พร อมทั ้ ง อยากจะพู ดคุ ย เพื ่ อหาทางออก แต โจทก กลั บ ไมม าศาล โดยส ง แต ทนายความมา ซึ่งทนายความไดใหเหตุผลวา โจทกไมประสงคจะไกลเกลี่ยในคดีดังกลาว จึงทำให ศ าลต อง 182

Citizenthaipbs. 2560. 80 องคกรไทย-พมา รวมหนุน “เสรีภาพสื่อ” หลังเหมืองไทยในพมาเดินหนาฟอ ง “ผูสื่ อ ข า ว เนชั่น”. สืบคนเมื่อ 5 กันยายน 2561. จากเว็บไซต Citizenthaipbs: https://www.citizenthaipbs.net/node/19649


267

ดำเนินกระบวนการตอไป ทางโจทก (บริษัทเมียนมารพงพิพัทธ) ฟองวา บทความของจำเลยมีเนื้อหาบิดเบื อน ใหรา ยบริษัท ทำใหไดรับความเสียหายและอาจถูกเพิกถอนใบอนุญาตการประกอบเหมืองแรดีบุกในประเทศ พมา 183 จึงไดฟองจำเลยในฐานความผิดตาม พ.ร.บ. คอมฯ ดวย ในวันนัดไตสวนมูลฟอง ที่ศาลจังหวัดนครปฐมไดพยายามใหทั้ง 2 ฝายไกลเกลี่ยกั นอี กครั้ ง ซึ่ ง ฝ า ย โจทกไดยินยอมไมดำเนินคดี โดยทางจำเลยตองลงขาวแกไขข อมูลตามที่ ฝายโจทกต องการในบางประเด็ น หลังจากนั้นศาลไดใหโจทกไดเตรียมรวบรวมขอมูลเพื่อใหฝายจำเลยไดแกไขขอความลง ซึ่งโจทกกลาวว า หาก จำเลยลงขอความดังกลาวแลว ตนจะถอนฟองที่ศาลจังหวัดนครปฐม ผลที่เกิดขึ้นกับผูถูกฟอง - ผูถูกฟองถูกฟองโดน พ.ร.บ. คอมพิวเตอรฯ ทำใหเกิดการปดกั้นสื่อมวนชล ในการวิพากษวิจารณในประเด็น สาธารณะ - ผูถูกฟองขอตอสูคดีตอไป พรอมทั้งยืนยันวาขอมูลที่เขี ยนในบทความนั้ นมาจากการสั ม ภาษณ ชาวบ า นที่ หมูบานจริง และขอมูลดังกลาวมีการอางอิงจากนักวิชาการ จากมหาวิทยาลัยนเรศวรวา มีสารปนเปอนใน แหลงน้ำที่เหมืองจริง - ผูถูกฟองไดรับความชวยเหลือจากทนายความของบริษัทและทนายความจากสภาทนายความ รวมถึงศู นย ขอมูลชุมนุม (CRC) ที่เปนผูมีความเชียวชาญพิเศษทางดานคดีสิ่งแวดลอมดวย - สุดทายแลวการตอสูของจำเลยก็จบลง เมื่อโจทกยอมถอนฟอง ขอสังเกตตอคดี 1. คดีพ.ร.บ. คอมพิวเตอรฯ คดีนี้ ถือเปนหนึ่งในจำนวนหลายคดีที่เกิดขึ้น แมมาตรา 14 ของ พ.ร.บ. คอมฯ ฉบับแรก เปนคดีที่ไมสามารถยอมความได ซึ่งก็เปนภาระผูกพันกับจำเลยตอไป ซึ่งก็เขาตามกระบวนการ ฟองตบปาก คือ เสียเวลา เสียเงิน ยืดระยะเวลาของคดีออกไป ตอมา พ.ร.บ. คอมพิวเตอร (ฉบับที่ 2) ถู ก แกไขใหความผิดในมาตรา 14(1) เปนความผิดที่สามารถยอมความได แตก็ยังสงผลกระทบต อผู ถู กฟ อง ตามเดิม แตจากขอเท็จจริงที่เกิดขึ้น ในตอนแรกทางโจทกอาจจะตองการกลั่นแกลงจำเลย เพราะโจทก มี ความประสงคอยางชัดเจนวา ไมขอไกลเกลี่ย จึงทำใหตองดำเนินการตอสูกันในชั้นศาลตอไป จำเลยจึงตอง รับภาระทั้งเรื่อง คาใชจาย คาเดินทาง เวลาในการทำงาน และการมาศาลในหลายๆครั้ง แมสุดท า ยแล ว โจทกจะยอมถอนฟอคดีดังกลาวก็ตาม 183

iLaw. 2560. คดี บ ร ิ ษ ั ท เหม ื อ ง ฟ อ งนั ก ข  า วเนชั ่ น . สื บ ค น เ มื ่ อ 5 กั น ย าย น 2561. จากเ พจเ ฟซบุ ค iLaw: https://www.facebook.com/iLawClub/posts/คดีบริษัทเหมือง-ฟองนักขาวเนชั่น-จำเลยไปศาลนัดไกลเ กลี่ย ในวั น นี้ โจทกยืนยันจะไ/10158677808840551/


268

2. คดีนี้เปนคดีแรกหลังจากที่ พ.ร.บ. คอมฯ ถูกแกไข แมวาผูรางกฎหมายจะบอกวา การแกไขกฎหมายใน มาตราดังกลาวนี้ เพื่อเปนการปกป องการฟ องหมิ่ นประมาท หรือ การฟองตบปาก แต เมื่ อเหตุ การณ นี้ เกิดขึ้น ก็ยิ่งตอกย้ำชัดเจนวา กฎหมายฉบับนี้ แมจะมีการแกไขแลวก็ยังคงสามารถบังคับใชในเรื่องเดิ ม ได เชนเดิม ถือวาการแกไขกฎหมายไมประสบความสำเร็จแตอยางใด 3. ผูประกอบกิจการเหมืองแรเฮงดา ประเทศพมา ไดยื่นฟอง ปรัชญ ในคดีเดียวกัน กรณีดังกลาวนี้ ศาลจึ ง พิพากษายกฟอง โดยใหเหตุผลวา โจทกไดยื่นฟองจำเลยไวเปนคดีแลว 184 เปนการฟองซอน ซึ่งตองหามตาม ประมวลกฎหมาย วิ. แพง มาตรา 173 วรรคสอง (1) 4. กรณีการถูกฟองเพื่อตบปาก เชนเดียวกับคดีดังกลาวขางตน ยังคงมีอีกหลายคดี เชน คดีเหมืองแรทองคำ จั ง หวั ดเลย ทางบริษ ัททุ  งคำได ฟ อง ผู  ชุ ม นุ ม ซึ ่ ง คดี ดั งกลาวดำเนินมาตั้ งแต ป 2550 โดนความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 และ 328 และการดำเนินคดีในศาลก็ดำเนินมาตลอด ชาวบานตองไป ศาลอยูหลายครั้ง สุดทายแลว บริษัทฯ ไดถอนฟองจำเลยในที่สุด 185

184

ประชาไท. 2560. ศาลรอยเอ็ดยกฟอง กรณีเหมืองเฮงดาฟองหมิ่นประมาทนักขาวเดอะเนชั่น เหตุฟองซอน. สืบคนเมื่ อ 10 กันยายน 2561. จากเว็บไซต ประชาไท: https://prachatai.com/journal/2017/06/71898 185 iLaw. 2560. บริษัททุงคำ VS พรทิพย ชาวบานเลยคัดคานเหมืองทองคำ. สืบคนเมื่อ 10 กันยายน 2561. จากเว็ บ ไซต ilaw: https://freedom.ilaw.or.th/th/case/632#progress_of_case


269

3.3. คดีเหมืองแรทองคำ จ. เลย ฟอง กลุมคนรักษบานเกิด (พรบ.คอมพิวเตอรฯ) ขอเท็จจริง ในป 2538 บริษัท ทุงคำ จำกัด ไดประทานบัตรเพื่อทำเหมืองแรทองคำในพื้นที่ มีการระเบิดภูเขาเพื่อ ขุดแรในแปลงประทานบัตรไปแลว 6 แปลง (คิดเปนพื้นที่รวมประมาณ 1,300 ไร) รวมถึงยังไมการกอสรางโรง แตงแรและโรงประกอบโลหะกรรมดวย ซึ่งตั้งแตบริษัทฯ เขามาทำเหมืองแรทองคำ ก็มีรายงานวาพบสารเคมีที่ เปนพิษ ไซยาไนด โลหะหนัก ปนเปอนในสิ่งแวดลอมของชุมนุม 186 อยางนอย 6 หมูบาน ซึ่งการปนเปอนของ สารพิษทำใหสงผลกระทบตอสุขภาพและวิถีชีวิตของชาวบานในบริเวณนั้นมาโดยตลอด187 แมคณะรัฐมนตรีจะมีมติใหบริษัท ชะลอการทำเหมืองไวกอน จนกวาจะไดขอสรุ ป ว า มี สารพิ ษ จริ ง หรือไมนั้น ทางบริษัทก็ยังคงดำเนินกิจการตอไปและมติดังกลาวเองก็ยังไมไดรบั การปฏิบัติใชแตอยางใด จนถึง ขั้นตอนของการจัดเวทีรับฟงความคิดเห็นของประชาชนและผูมีสวนไดเสียในโครงการเหมืองแรดังกลาวนี้ การ จัดเวทีดำเนินไปอยางเปนปกติเพียงแตทวา ทางบริษทั มีการใชกองกำลังทหารและตำรวจปดกั้นไมใหชาวบานที่ ไดรับผลกระทบเขารวมเวทีดังกลาวดวย จึงทำใหชาวบานออกประกาศระเบียบชุมนุมในการควบคุ ม น้ ำ หนั ก รถบรรทุกที่ใชถนนของชุมนุมตองมีน้ำหนักไมเกิน 15 ตันเทานั้น และหามนำสารเคมีอันตรายเขามาในชุ ม ชน ดวย ระเบียบของชุมชนทำใหเกิดเหตุความขัดแยงขึ้น ชายฉกรรจที่อำพรางใบหนาประมาณ 300 คน เข า ปดลอมจุดตรวจของชาวบานและเกิดการปะทะกับเกิดขึ้น ทำใหมีผูไดรับบาดเจ็บเปนจำนวนมาก เหตุ การณ ดังกลาวจึงเปนจุดเริ่มตนของการยื่นหนังสือรองเรียนตอผูวาราชการจังหวัดเลย ใหตรวจสอบบริษัทฯ ลงนามใน ฐานะเลขาธิการกลุมคนรักษบานเกิด ในขณะเดียวกันนายสุรพันธุ ไดใชเพจ Facebook “เหมืองแรเลย” โพสต ขอความเกี่ยวกับ บริษัท ทุงคำ จำกัด โดยมีเนื้อหาทำนองวา “บริษัทฯ ไดประทานบัตรทั้ง 6 แปลง เพื่ อทำ เหมืองแรทองคำและแรพลอย แตกระบวนการไดมาซึ่งสินแรนั้นมีกระบวนการประทานบัตรที่มชิ อบ” 188 การโพสตขอความดังกลาวเปนเหตุใหทางบริษัทรองทุกขตอพนักงานเจาหนาที่สถานี ต ำรวจภู ธ รแม สอด ยื่นฟองนายสุรพันธุในขอหาหมิ่นประมาทดวยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326 และ พระราชบัญญัติวาดวยการกระทำความผิดเกี่ ยวกับคอมพิ วเตอร พ.ศ. 2550 มาตรา 14(1) ต อศาลแม สอด ชาวบานกลุมคัดคานโครงการเหมืองแรท องคำไมไดถูกฟ องเพี ยงคดีเดี ยว ระยะเวลา 8 ป (ตั้งแตป 2550 –

186

อภิรดา มีเดช. 2557. ขอเท็จจริงและความจริง เหมืองทองคำ จังหวัดเลย. สืบคนเมื่อ 5 กันยายน 2561. จากเว็ บ ไซต waymagazine: https://waymagazine.org/goldmine-loei/ 187 มู ล นิ ธ ิ บ ู รณะนิ เ วศ. เหมื อ งทองทุ  ง คำ จ. เลย. สื บ ค น เมื ่ อ 11 กั น ยายน 2561. จากเว็ บ ไซต มู ล นิ ธ ิ บ ู รณะนิ เ วศ: http://earththailand.org/th/pollution/53 188 iLaw. 2560. สุรพันธ: คดีหมิ่นประมาท+พ.ร.บ. คอมพิวเตอรฯ ที่ศาลแมสอด. สืบคนเมื่อ 10 กันยายน 2561. จากเว็บไซต iLaw: https://freedom.ilaw.or.th/th/case/694#progress_of_case


270

2558 ) ชาวบานตองกลายเปนผูตองหาและจำเลยมากถึง 19 คดี รวมมูลคาความเสียหายที่ถูกฟองสูงถึง 320 ลานบาท 189 คูความในคดี โจทก บริ ษั ท ทุ  ง คำ จำกัด (เป นบริษั ทในเครื อของบริ ษั ท ทุ  งคาฮาเบอร จำกั ด (มหาชน) ) ในการ ฟองรองคดี โจทกมอบอำนาจใหนายสมชาย ไกรสิทธิวงศ เปนผูมีอำนาจฟองรองดำเนินคดี จำเลย สุรพันธุ รุจิไชยวัฒน (เลขาธิการกลุมคนรักษบานเกิด) ขอกลาวหา - พระราชบัญญัติวาดวยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร พ.ศ. 2550 มาตรา 14 (1) - ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326 และ 328 กระบวนการดำเนินคดี สุรพันธุ (เลขาธิการกลุมคนรักษบานเกิด) หลังจากตกเปนจำเลยในคดี ก็ไดเดินทางไปตามที่ศาลนัดใน ทุกครั้ง ตั้งแตการนัดไตสวนมูลฟอง แมสุรพันธุจะตกเปนจำเลยในหลายคดี ก็ยืนยันที่จะตอสู ค ดี แ ละให การ ปฏิเสธทุกขอกวาหา โดยในคดีการโพสตขอความบน Facebook สุรพันธุปฏิเสธทั้ง 3 ขอกลาวหา คือ 1. ไดโพสตขอความตามทีโ่ จทกฟอง 2. พ.ร.บ. คอมพิวเตอรไมสามารถนำมาใชในการฟองคดีลักษณะนี้ 3. ความเสียหายที่โจทกอางวาตนไดรับนั้นไมมีอยูจริง การตอสูคดีในชั้นศาลดำเนินไปจนถึงวันที่ศาลประทับรับฟองใหพิจารณาและหมายเรียกจำเลยใหม า ในวันนัดพรอมสอบคำใหการจำเลย โดยในระหวางนั้นจำเลยโดนโจทกฟองคดีเพิ่มอีก 1 คดี ทำใหตองเดินทาง มาศาลอยูหลายครั้ง ซึ่งเสียเวลาในการทำงาน และเสียคาใชจายสูงมาก จนเมื่อกอนวันนัดสอบปากคำพยาน โจทกไดขอถอนฟองจำเลย จำนวน 12 คดี โดยมีขอแลกเปลี่ยนกันวาใชชาวบานยินยอมใหฝายโจทกขนยายแร ภายในเหมืองออกมาได และมีการทำบันทึกขอตกลงไวชัดเจน แตถึงอยางไรนั้น ยังเหลือคดีอีก 7 คดีที่ ยั ง คง ดำเนินกระบวนการพิจารณาคดีในศาลอยู ซึ่งบางคดีอัยการขอเลื่อนฟองคดีไมต่ำกวา 3 ครั้ง ซึ่งก็ทำใหจำเลย

189

Greennews. 2559. 8 ป ทุงคำ ฟองชาวบาน 320 ลาน 16 พ.ค.ชี้ชะตา คดีชายชุดดำทุบ คนรักษบานเกิด. สืบคนเมื่ อ 10 กันยายน 2561. จากเว็บไซต กรีนนิวส: https://greennews.agency/?p=7860


271

ตองถูกยืดระยะเวลาในการตอสูไปเรื่อยๆ 190 ในสวนของคดีอื่นๆ (บริษัททุงคำฟองนักขาวเยาวชนและไทยพีบี เอส) 191 ระยะในการฟองคดีไมต่ำกวา 3 ป แตสุดทายแลวโจทกกลับเปนฝายที่ถอนฟองไปเอง ผลที่เกิดขึ้นกับผูถูกฟอง - ถูกทหารเขามาขมขู รื้อคนบาน ถายรูปในบานของชาวบาน และหามไมใหชาวบานเคลื่อนไหวทำกิจกรรม หรือ การรณรงคเพอคัดคานเหมืองทองอีก192 - การเดินรณรงคอนุรักษสิ่งแวดลอมที่เคยถู กจัดขึ้ นตามปกติในหมูบาน ถูกทหารอางวาเปนการชุ ม นุ ม ทาง การเมื องที ่มี จำนวนตั ้ง แต 5 คนขึ ้ นไป ไม อนุ ญาตใหจ ัดกิ จกรรมและใชกฎอัย การศึกยึ ดเครื ่องเสี ยงหอ กระจายขาวหมูบา นไว - ชาวบานถูกขมขู เมื่อวันที่ 7 ธ.ค. 60 มีเสียงปนดังในหมูบาน พรอมกับรถกระบะและรถพวงขั บ เข า มาใน พื้นที่ ขับไปยังทิศทางที่ตั้งของบริษัททุง คำ จากนั้นก็ไดยินเสียงปนดังขึ้น 20 กวานัด ชาวบานจึงหวั่นใจว า จะเกิดเหตุการณซ้ำรอยเหมือนป 2557 ที่มีชายฉกรรจราว 200 คน มาพรอมอาวุธครบมือบุกเขามาทำราย ชาวบาน โดยการจับชาวบานมัดมือ มัดเทาไขวหลัง แลวใหนอนคว่ำหนากับพื้นดิน เพื่อที่ตนจะขนแร จ าก บริษัทเอกชนออกจากพื้นที่ได ซึ่งในขณะนั้นจับคนรายไดเพียง 2 คน193 ขอสังเกตตอคดี 1. มีการจะเคลื่อนยายแรออกจากพื้นที่ ทางบริษัทไดเขามาเจรจากับชาวบานวาจะถอนฟอง 12 คดี เพื่อแลก กับการขนยายแรออกจากเหมือง เปนที่นาสังเกตวา การฟองรองชาวบานทั้ง 19 คดีนอกจากจะเปนการ ฟองตบปากแลว ยังทำใหนำมาเปนขอตอรองเพื่อผลประโยชนทางธุรกิจหรือไม ซึ่งทางบริษัทฯเองก็รูดีวา ถาหากตนฟองชาวบาน ตัวของชาวบานเองที่เดือดรอน ไมวาจะทั้งคาเสียหายทีท่ างบริษัท (โจทก) เรียกให ชาวบานชดใช ซึ่งขอเท็จจริงคือ ชาวบานไมมีทางหาเงินมาจายใหได

190

ประชาไท. 2559. ลำดับเหตุการณ เหมืองแรทองคำ จังหวัดเลย. สืบคนเมื่อ 10 กันยายน 2561. 0กเว็บไซต ประชาไท: https://prachatai.com/journal/2014/09/55342 191 iLaw. 2561. บริ ษ ั ท ทุ  งคำฟ อ งนัก ข าวเยาวชนและไทยพี บ ี เอส. สื บ ค น เมื ่อ 10 กั น ยายน 2561. จากเว็ บ ไซต iLaw: https://freedom.ilaw.or.th/th/case/706#progress_of_case 192 ประชาไท. 2555. หวั่นประชาคมหมูบานตานเหมืองทองเลยถูกสกัด หลังเคยโดยทหารสั่งหามเคลื่อนไหว. สืบคนเมื่อ 12 กันยายน 2561. จากเว็บไซต ประชาไท: https://prachatai.com/journal/2014/07/54633 193 ประชาไท. 2560. มีเสียงปนดัง 20 กวานัดในพื้นที่หมูบานรอบเหมืองแรเมืองเลย. สืบคนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2561. จาก เว็บประชาไท : https://prachatai.com/journal/2017/12/74478


272

2. การตั้งมูลคาความเสียหาย จากขอเท็จจริงจำนวน 19 คดีที่เกิดขึ้น บางคดีโจทกฟองเรียกคาเสียหายจาก จำเลยสูงถึง 50 ลานบาท 194 หากมองยอนมาที่กรอบการควบคุมการตัง้ มูลคาของคดี หรือ มูลคาของความ เสียหาย ก็พบวา ไมมีกรอบหรือกฎหมายใดที่จะกำหนดไวอยางชัดเจน แมวาตัวโจทกอาจจะไมไดหวังชัย ชนะในการตอสูคดี แตถาหากศาลพิจารณาพิพากษาแลว โจทกเปนผูชนะ ประเด็นเกิดขึ้นวา จะสามารถ บังคับคดีใหจำเลยชดใชคาเสียหายอยางไร หรืออีกกรณีหนึ่งการตั้งมูลคาความเสียหายที่สูงมากนั้น เป น วิธีการขมขูตัวจำเลย หรือ ชาวบานดวย เพราะไมมีใครสามารถชดใชคาเสียหายไดสูงเพียงนั้น 3. ผลกระทบที่เกิดขึ้นหลังจากการตกเปนจำเลย ซึ่งชาวบานไมสามารถหากินได และตองมีรายจายคาคดี คา ทนาย ค า เอกสาร ค า ประกั นตัว ฯลฯ นอกจากนี ้ย ัง เปนการสร างความหวาดกลั วให กั บชาวบานและ ครอบครัวที่อยูเบื้องหลัง ยังไมรวมถึงเรื่องของการถูกปดกั้นเสรีภาพในการดำเนินชีวิตในระหว า งที่ มี ค ดี ความอยู ทั้งเรื่องของหนาที่การงาน ตำแหนงตางๆ จำเลยบางคนอาจจะถูกกลุมที่เห็นตางเกลียดชั ง ด ว ย 195

4. การเลื่อนนัดฟงคำสั่งฟองหรือไมฟองของอัยการ หรือการเลื่อนนัดไปกรณีอื่นๆ ขากขอเท็จจริงจะเห็ นว า คดีเกี่ยวกับเหมืองแรทองที่ถูกฟองหลายคดีนี้ มีการถูกเลื่อนนัดหลายครั้ง บางคดีถูกเลื่อนนัดไมต่ำกวา 3 ครั้ง เมื่อดูที่กฎหมายในปจจุบันทัง้ ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และ ระเบีย บสำนั กงานอั ยการสูง สุ ดว าด วยการดำเนิ นคดี อาญาของพนักงานอัย การ 196 ไมได มี การกำหนด ระยะเวลาใหอัยการตองออกคำสั่งฟ องหรือไมฟ องภายในระยะเวลาเทาใด 197 เปนที่นาสังเกตได ว า การ กระทำดังกลาวนี้ จะสามารถมองไดวาเปนการกลั่นแกลงจำเลยหรือผูตองหาหรือไม อยางไร

194

citizenthaipbs. 2560. คดีซุมประตู 50 ลาน คนรักษบานเกิดฯฟอ งกลั บเหมือ งทอง เรียกคาเสียหาย 1.7 ล า นบาท. จากเว็บไซต citizenthaipbs: https://www.citizenthaipbs.net/node/19693 195 Greennews. 2559. 8 ป ทุงคำ ฟองชาวบาน 320 ลาน 16 พ.ค.ชี้ชะตา คดีชายชุดดำทุบ คนรักษบานเกิด. สืบคนเมื่ อ 10 กันยายน 2561. จากเว็บไซต กรีนนิวส: https://greennews.agency/?p=7860 196 http://www.stat.ago.go.th/ระเบียบการดำเนินคดีอาญา.pdf 197 ilaw. 2561. เลื่อนไมเลิก: การเลื่อนคดีของอัยการสรางภาระที่เ พิ่มขึ้นใหผู ตอ งหา We Walk. สืบคนเมื่อ 12 กั น ยายน 2561. จากเว็บไซต ilaw: https://freedom.ilaw.or.th/blog/เลื่อนไมเลิก-การเลื่อนคดีของอัยการสรางภาระที่เพิ่ม ขึ้ น ให ผูตองหา-we-walk


273

3.4. กรณีโครงการทาเรือน้ำลึกปากบารา (พรบ.ชุมนุมสาธารณะฯ) ขอเท็จจริง ในวันที่ 15 มีนาคม 2560 กลุมผูคัดคานโครงการทาเรือน้ำลึกปากบารา ไดรวมกันชุมนุมและเข า ยึ ด สถานที ่จ ัดเวทีรั บฟ งความเห็นในการกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมิ นผลกระทบสิ่ งแวดล อมและ สุขภาพของทาเรือน้ำลึกปากบารา โดยกอนหนานี้ ทางผูคัดคานไดทำหนังสือแจงถึงผูวาราชการจังหวัดแลววา ควรยุติเวทีรับฟงความคิดเห็นดังกลาว เนื่องจากมีความไมชอบทั้งปวงตามที่เสนอไปในหนังสือชี้แจงแลว และ หนังสือดังกลาวก็สงไปยังผูใหญที่อยูในรัฐบาลดวยเชนกัน แตก็ไมไดรับการตอบกลับจากฝายใดเลย ทำให เกิ ด การชุมนุมคัดคานเกิดขึ้น ซึ่งในชวงเวลาตอนเชาของวันจัดงาน กลุมผูคัดคาน และประชาชนจำนวน 300 คน ไดเขายึดโรงเรียนบานปากบาง อำเภอละงู จังหวัดสตูล และปดกั้นไมใหผูจัดงานรับฟงความคิ ด เห็ น เข า ไป ภายในโรงเรียน มีการนำเชือกมารัดปดประตูโรงเรียนหามบุคคลภายนอกเขามาในพื้นทีโ่ รงเรียนดวย ในวันเดียวกันนั้น พล.ต. เจตนพัธน ศรีวงศ นำกำลังเจาหนาที่ตำรวจจำนวน 500 นาย เข า บุ กพื้ นที่ โรงเรียน ซึ่งเจาหนาที่ไดฝารั้วลวดหนามเขา สู ภายในโรงเรี ยนได สำเร็จ และเกิดการเผชิ ญ หน า กั น ระหว า ง เจาหนาที่ตำรวจและประชาชนผูคัดคาน ไมมีผูใดไดรับบาดเจ็บ โดยแตละฝายไดสงตัวแทนจำนวน 10 คนเพื่อ เขาเจรจาทำความตกลง แตเวลาไดลวงเลยมาจนถึง 16.00 น. แลว ทำใหกลุมผูคัดคานประกาศชัยชนะในการ คัดคานเวทีรับฟงความคิดเห็นดังกลาวไดสำเร็จ จากการคัดคานดังกลาว ทำใหกลุมผูคัดคานถูกตั้งขอกลาวหา ความผิดตามพระราชบัญญัติการชุมนุม ฯ และขอหาบุกรุกสถานที่ราชการในยามวิกาลดวย คูความในคดี คูกรณี เปนหนวยงานรัฐที่ตองการสรางโครงการทาเรือปากบารา และ ชาวบานที่เห็นดวยในการสราง โครงการดังกลาวดวย ผูตองหา ไกรวุฒิ (ผูประกอบการทองเที่ยวและสมาชิกกลุม เครือขายประชาชนติ ด ตามแผนพั ฒ นา จังหวัดสตูล), สมบูรณ และ วิโชคศักดิ์ ขอกลาวหา - พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 (รวมกันชุมนุมในพื้นที่สาธารณะ) - ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362 และ 365 (บุกรุกสถานที่ราชการในยามวิกาล) กระบวนการดำเนินคดี จากสถานการณที่เกิดขึ้น (ชุมนุมปดกั้นไมใหมีการจัดเวทีแสดงความคิดเห็น) ทางเจาหนาที่ไดเรียกตัว ผูมีสวนเกี่ยวของเขามาที่ สภ. ละงู จังหวัดสตูล มี 2 กลุม คือ


274

1. กลุมของผูจัดงานแสดงความคิดเห็น หรือผูริเริ่มโครงการ ซึ่งกลุมนี้มีหลักฐานชี้แจงวา เวที จัดงานของตน ถูกทำใหวุนวาย และมีทรัพยสินเสียหายมากมาย ทำใหไมสามารถจัดเวทีดังกลาวได และยั ง มี การทำรายกลุมผูจัดงานดวย 2. กลุมของผูคัดคาน จำนวน 7 คน ซึ่งนายไกรวุฒิไดใหการวา ตนมีสิทธิและหน า ที่ ใ นการ แสดงออกเพื่อปกปองทรัพยากรตามสิทธิและหนาที่ของประชาชน โดยทางผู คั ดค านถู กดำเนิ นการแจ งขอกล าวหา เข า ร วมการชุ มนุ ม และ ร ว มกั นบุ กรุ กในสถานที่ ราชการในยามวิกาล ซึ่งทั้งหมดใหการปฏิเสธทุกขอกลาวหา และขอใชสิทธิตอสูคดีในชั้นศาล 198 เมื่ อเสร็ จ กระบวนการของทางตำรวจ ไดมีการปลอยตัวผูตองหาโดยไมตอ งประกันตัว ปจจุบันคดีของอยูในชั้นอัยการ ผลที่เกิดขึ้นกับผูถูกฟอง - ผูคัดคานแถลงการณประกาศเจตนารมณวา “เราจะไมยอมจำนนใหกับความอยุติธรรม” - หนึ่งในผูตองหา (ไกรวุฒิ) กลาววา การชุมนุมในเวทีรับฟงความคิดเห็นฯ เปนการแสดงออกเพื่ อปกป อง ทรัพยากรตามสิทธิและหนาทีข่ องประชาชน ไมไดมีการชุมนุมทีก่ อความวุนวาย - แมวาจะถูกตั้งขอหา แตประชาชนในพื้นที่ไดใหความรวมมือ และใหกำลังผูตองหาทุกคน - การเคลื่อนไหวทำไดยากขึ้น เนื่องจากมีคดีติดตัว ไมวาจะทำการใด ก็เปนที่สังเกตของเจาหนาที่ตำรวจ ขอสังเกตเพิ่มเติม 1. การเคลื่อนไหวของกรณีมีทั้งผานสื่อโซเชีย ล อยางเชน Facebook “เราไมเอาทาเทีย บเรื อน้ ำ ลึ ก ปากบารา” มีผูติดตามมากถึง 4,758 คน และยังมีบุคคลคลผูมีชื่อเสียง เขารวมเคลื่อนไหวคัดคานตอโครงการ ดังกลาวดวย อยางเชน โก มิสเตอรแซกแมน (เศกพล อุนสำราญ) 199 เขารวมการปลุกจิตสำนึกใหเห็ นคุ ณ ค า ธรรมชาติ และรวมรณรงคใหอนุรักษ ปกปองทะเล ไมใหถูกทำลาย 2. เดิมคดีดังกลาวมีผูตองหาที่ถูกฟองดำเนินคดี จำนวน 7 คน ตอมาไดเรียกประชาชนมารับทราบขอ กลาวหาเพิ่มอีก 2 คน โดยอางวา ทั้ง 2 คน (นายหมัด ระหมันยะ โตะอิหมา และ นายเจป อนันทบริพงศ) ได เขารวมชุมนุมและบุกรุกสถานที่ราชการในยามวิกาล พรอมกับผูตองหา 7 คนกอนหนานี้ 200 198

ilaw. ไกรวุ ฒ:ิ พ.ร.บ. ชุ ม นุ มจากการลมเวทีร ั บ ฟ งความเห็ น ท า เรื อ ปากบารา. สืบคนเมื่อ 10 กันยายน 2561. จาก เว็บไซต ilaw: https://freedom.ilaw.or.th/th/case/809#progress_of_case 199 https://www.thairath.co.th/content/494221 200 สำนักขาวชายขอบ. 2560. ดำเนินคดีผูนำศาสนารวมคานทาเรือปากบาราอีก 2 รวมเปน 9 ราย ชาวบานประกาศยืนยั น พรอมสูในชั้นศาล เตรียมตั้งกองทุนชวยเหลือ ดานคดี. สืบคนเมื่อ 14 กันยายน 2561. จากเว็บไซต สำนักขาวชายขอบ: http://transbordernews.in.th/home/?p=17079


275

3. ผูตองหาทั้ง 9 คนรับทราบขอหาแลว และใหการปฏิเสธทุกขอกลาว รวมทั้งยืนยันจะตอสูคดีในชั้ น ศาล แตจนถึงบัดนี้ คดียังไมมีความคืบหนาใดๆ โดยไดรับการอางจากเจาหนาทีต่ ำรวจเพียงวา กำลังอยูใน ระหวางการรวบรวมพยานหลักฐาน 4. ทางผูจัดเวทีรับฟงความคิดเห็น (ฝายผูริเริ่มโครงการและผูเห็นดวยกับโครงการ) อางความผิดต อผู คัดคานวาไดทำลายเงินภาษีของประชาชนไป ซึ่งเงินจัดงานดังกลาวมีมูลคาสูงถึง 1 ลานบาท 201 ซึ่งการคัดคาน แบบนั้นไมเกิดประโยชนใดๆเลย และอางวา กลุมผูคัดคานมีผูมีอิทธิพลอยูเบื้องหลังจึงกลาออกมาคัดคาน และ เขามาปนหัวกลุมคนที่เห็นดวยเทานั้น 5. กลุมผูคัดคานไดจัดตั้งเวทีคูขนานใหการรับฟงความคิดเห็ นในโครงการทาเรื อฯ แต กลั บ ถู กต อง ขอสังเกตถึงงบประมาณทีน่ ำมาจัดตั้งเวทีดังกลาววานำเงินมาจากงบประมาณสวนไหน202

201

ผูจัดการออนไลน. 2560. พนักงานสอบสวน “คดียึดเวที ค.1” เรียกสอบ 8 พยานผูเกี่ยวของตั้ งเวที . สื บ ค น เมื่ อ 5 กันยายน 2561. จากเว็บไซต ผูจัดการออนไลน: https://mgronline.com/south/detail/9600000029908 202 ผูจัดการออนไลน. 2560. พนักงานสอบสวน “คดียึดเวที ค.1” เรียกสอบ 8 พยานผูเกี่ยวของตั้ งเวที . สื บ ค น เมื่ อ 5 กันยายน 2561. จากเว็บไซต ผูจัดการออนไลน: https://mgronline.com/south/detail/9600000029908


276

3.5. คดีการไฟฟาฝายผลิตแปรรูปขี้เถาถานหินถมทิ้งทะเลฟองนักวิชาการ (พรบ.คอมพิวเตอรฯ) ขอเท็จจริง ศ.ดร. พะยอม รั ต นมณี หั ว หน า โครงการวิ จ ั ย ปะ การั ง เที ย ม ผ สม เถ  า ล อย ลิ กไ นต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร โดยโครงการดังกลาวเปนการศึกษาและทดลองประยุกตใชปะการังเทียมผสมเถา ลอยลิกไนต เพื่อปองกันการกัดเซาะชายฝง ณ อุทยานสิ่งแวดลอมนานาชาติสิรินธรที่สนับสนุนงบประมาณจาก การไฟฟาฝายผลิตแหงประเทศไทย เปนจำนวนเงิน 10.67 ลานบาท ซึ่งจากงานวิจัยไดนำเถาลอยจากถานหิน ในโรงไฟฟาแมเมาะ จ. ลำปาง มาผสมกับปูนซีเมนตใ นสัด สว น 30 เปอรเซ็นต โดยหัวหนาโครงการนำเอา งานวิจัยจากตางประเทศมารองรับวาไมเปนการสงผลกระทบตอสิ่งแวดลอม และในประเทศเกาหลีและญี่ปนุ ก็ ไดนำเอาเถาลอยนี้ไปทำปะการังเทียมเชนกั น โดยโครงการของ ศ.ดร. พยอม ไดทดลองนำปะการังเที ย มที่ มี สวนผสมของเถาลอยไปไวในตูปลาและผาพิสูจนปลา ซึ่งก็ปรากฏวาไมพบสารตกคาง ตอมานายกำพล จิตตะนัง ผูประสานงานศูนยจัดการภัยพิบัติพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช และนั ก กิจกรรมดานสิ่งแวดลอม ไดโพสตขอความผานทาง Facebook เปนการแสดงความคิดเห็นคัดคานการนำขี้เถา ถานหินมาเปนสวนผสมของปะการัง เทียมทิ้งในทะเล โดยมี 2 ขอความดวยกัน ขอความแรก มีใจความทำนอง วา ศ. ดร. พยอม ไดรับผลประโยชนจำนวน 2,800 ลานบาท ในการวิจัยวาการนำขี้เถาถานหินมาทำปะการั ง เทียงถมทะเลเปนการแกปญหาการกัดเซาะชายฝง และขอความที่สอง มีใจความทำนองวา ศ. ดร. พยอม กำลัง แปรรูขี้เถาถานหินเปนปะการังเทียมและนำมาทิ้งทีท่ ะเลภาคใต ซึ่งทำใหสงผลกระทบและเกิดความเสียหายตอ ทองทะเล203 ซึ่งการโพสตขอความดังกลาวของกำพลนั้น นำมาสูการถูกแจงขอกลาวหาจาก ศ. ดร. พยอม รัตนมณี ใ นค ว า ม ผ ิ ด ฐ า นห มิ ่ นป ร ะม าท แ ล ะค ว าม ผ ิ ดต าม พ .ร .บ . ค อม พ ิ ว เต อร  2550 ซึ ่ ง ค ด ี นี้ ศ. ดร. พยอมเปนโจทกฟองคดีตอศาลเอง โดยฟองจำเลย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90, 91, 326 และ มาตรา 328 และพ.ร.บ. คอมฯ มาตรา 14 (1), (2), (5) และมาตรา 16 จึงทำใหจำเลยไปรายงานตัวตามที่ ศาลนัด 204 คูความในคดี โจทก ศ.ดร. พยอม รั ต นมณี (หั ว หน า โครงการวิ จ ั ย ปะการั ง เที ย มผสมเถ า ลอยลิ กไนต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร) จำเลย กำพล จิ ต ตะนั ง (ประสานงานศู นย จั ดการภั ย พิ บั ติ พื ้ นที่ จั ง หวั ดนครศรี ธรรมราช และนั ก กิจกรรมดานสิ่งแวดลอม) 203

Thainetizen. 2559. Digital Weekly. 17-23 มี.ค. 59 สรุปขาวนโยบายดิจิ ทัลรอบสั ป ดาห . สืบคนเมื่อ 14 กั น ยายน 2561. จากเว็บไซต Thainetizen: https://thainetizen.org/2016/03/digital-weekly-17-23-mar-2016/ 204 ilaw. กำพล คดี ห ม ิ ่ น ปร ะมาทนั ก วิ จ ั ย ขี ้ เ ถ า ถ า นหิ น . สื บ ค น เ มื ่ อ 14 กั น ย าย น 2561. จากเ ว็ บ ไซต ilaw: https://freedom.ilaw.or.th/case/705#progress_of_case


277

ขอกลาวหา - ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90, 91, 326, 328 (ความผิดฐานหมิ่นประมาท) - พระราชบัญญัติวาดวยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร พ.ศ. 2550 มาตรา14 (1), (2), (5) และมาตรา 16 (นำเขาขอมูลปลอม หรือ เท็จ และ นำเขาขอมูลที่กระทบตอความมัน่ คงของประเทศ) กระบวนการดำเนินคดี หลังจากกำพลโพสตขอความผานทาง Facebook ไดประมาณหนึ่งเดือน ก็มีหมายสงมาที่บานของกำ พล ในเอกสารนั้นแจงวากำพลถู กฟ องในความผิดฐานหมิ่นประมาทและความผิดตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร ฯ และในเอกสารยังแจงอีกวา ศาลไดนัดใหกำพลไปรายงานตัวทีศ่ าลเพื่อไตสวนมูลฟอง ยอนกลับไปกอนหนาวันที่ กำพลไดรับหมายดังกลาว หลังจากวันที่กำพลโพสตขอความดังกลาวผานทาง Facebook เพียงวันเดียว พยอม ไดทราบจากเพื่อนของตน วาตนถูกพาดพิงในโพสตของกำพล ซึ่งทางพยอมไดสงขอความไปหากำพลเพื่อชี้แจง ประเด็นที่กำพลโพสต ทางกำพลเมื่อไดรับขอความและการชี้แจงจากพยอม ก็ไดแกไขโพสต และขอมูล ในคอมเมนทใตโพสต ที่พิพาทนั้น และยังมีการพูดคุยติดตอกันดีกับพยอม พรอมทั้งกำพลยังติดตอเชิญพยอมมารวมเปนวิทยากรใน เวทีใหขอมูลในประเด็นเรื่องขี้เถา ถานหินดวย วันตอมาพยอมไดสงขอความไปหากำพลอีกครั้ ง และขอให ลบ โพสตดังกลาว แตดวยที่กำพลไมไดเห็นข อความในวั นเดีย วกัน แตเห็นขอความในวั นถัดไป กำพลจึ ง ได ลบ ขอความดังกลาวไป และโพสตชี้แจงเรื่องจำนวนเงิน 2,800 ลานบาทอีกครั้ง และยังโพสตขอโทษหนวยงานและ บุคคลที่เกี่ยวของดวย หลังจากนั้นหนึ่งเดือนกำพลก็ไดรับหมายดังกลาว และเริ่มตนเขาสูกระบวนการยุติธรรม ที่ศาลจังหวัด นครศรีธรรมราช ในวันนัดไตสวนมูลฟอง กอนการไตสวนศาลไดพยายามไกลเกลี่ย ใหทั้งคูประนอมขอพิพ าท กัน แตก็ไมสำเร็จ ทางพยอมยืนยันวาจะฟองดำเนินคดีตอไป เมื่อศาลอนุญาตใหไตสวนมูลฟองแลว พยอมกลับ แถลงการณตอศาลวาตนยังไมพรอมขอใหศาลเลื่อนการไตสวนออกไป (19 ตุลาคม 2557) หลายเดือนตอมา (20 เมษายน 2558) กำพลเดินทางไปศาลเพื่อไตสวนมู ลฟ อง กอนการไต สวนมู ล ฟองศาลไดพยายามไกลเกลี่ยอีกครั้ง และเห็นวาเปนคดีเล็กนอย การเปนคดีความไมเปนประโยชนกับ ทั้ ง สอง ฝาย แตทางฝายของพยอมยังยืนยันวาจะดำเนินคดีตอไป ศาลจึงทำการไตสวนมูลฟอง โดยฝายโจทกแถลงต อ ศาลวา ตองการนำพยานเขาเบิกความรวม 20 ปาก จึงขอเลื่อนกาไตสวนมูลฟองไปนัดหนึ่งกอน เพื่อใหต นได ดำเนินการเตรียมพยาน แตครั้งนี้ศาลไมไดอนุญาต จึงไดเริ่มการไตสวนมูลฟองตอไป ซึ่งหลังจากไตสวนมูลฟอง เสร็จ ศาลรับฟองและถามกำพลวาจะใหการรับสารภาพ หรือ ปฏิเสธ ทางกำพลใหการปฏิเสธและขอสูคดีตอ ไป โดยกำพลตองนำเงินสดจำนวน 100,000 บาทมาใชเปนหลักประกันในการขอประกันตัวออกมา


278

การตอสูคดีทำใหกำพลตองมาศาลอีกหลายครั้งทั้งนัดสืบพยานโจทก และนัดสืบพยานจำเลย ซึ่ง นั่ นก็ หมายถึง กำพลจะตองเสียคาทนาย คาเดินทาง คาใชจายตางๆ รวมถึงเวลาในการมาศาลแตละครั้งดวย สุดทาย เมื่อศาลชั้นตนนัดฟงคำพิพากษา กำพลตองโทษพิพากษาจำคุก 1 ป และปรับ 40,000 บาท แตโทษจำคุกใหรอ ลงอาญาไวสองป กระบวนการดั งกลาวยั งไม จบเพี ยงเท านี้ ยั ง มี การยื ่นอุ ทธรณ ตอศาลอุทธรณอีกด วย แม สุดทายแลว ชัยชนะที่กำพลรอคอยจะมาถึง คือ ศาลอุทธรณพิพากษายกฟองคดี โดยใหเหตุผลวา การแสดง ความคิดเห็นของจำเลยเปนเพียงการแสดงความเห็นโดยสุจริต และฝายโจทกเองก็ไมไดอุทธรณคำพิพากษาตอ ศาลฎีกา ทำใหคดีถึงที่สุด ชัยชนะที่กำพลไดมานั้น ตองแลกมาดวยเงินทอง คาเสียเวลาอีกมากมาย ผลที่เกิดขึ้นกับผูถูกฟอง - ในระหวางตอสูคดี กำพล ไดงดลงชื่อในแถลงการณทุกประเภท เพื่อปกปองตัวเองในการตอสูคดี และทำให ศาลเห็นวาตนนั้น ไมไดสรางภาระ หรือ ปญหาเพิ่มเติมแตอยางใด205 - เพิ่มความระวัดระวังในการแสดงความคิดเห็นบนสื่อออนไลนใหมากขึ้น เพราะตนเห็นวา โพสตของตนเป น สาธารณะและไมรูวาวันไหนจะมีคนแคปภาพ หรือ ขอความมาฟองรองดำเนินคดีกับตนอีกหรือไม - ตัดผมเพื่อใหบุคลิกของตนเองมีความนาเชื่อถือมากขึ้น ไมวาจะทั้งภายนอกศาล หรือ เมื่อใหการในชั้นศาล - ลดการเคลื่อนไหวในประเด็นสิ่งแวดลอม เพราะอาจจะมีผลกระทบตามมาในภายภาคหนา อาจจะเปนเพียง ผูใหขอมูลอยางเดียว ขอสังเกต 1. การไมอุทธรณคำพิพากษาไปยังศาลฎีกา เนื่องจากการดำเนินคดีในศาลมีการตอสูมาเปนเวลานาน ถึง 3 ป ถาโจทกตองการพิสูจนความบริสุทธิ์ของตนเองจริงนั้น อาจจะตอสูไปยังศาลฎีกาได แตเมื่อพิจารณาดู แลวระยะเวลาที่ตอสูคดีกันนั้น ฝายจำเลยเปนผูแบกรับภาระมากกวาโจทกหลายเทา ประกอบกับหนา ที่ การ งานของคูความที่แตกตางกัน จำเลยตองแบกรับปญหาทางเรื่องเงิน การเดินทาง คาทนาย และคาใชจายอื่ นๆ อีกมากมาย ซึ่งเมื่อเทียบกับโจทกแลว แมจะตองเสียคาเดินทาง คาทนาย เชนกัน แตกำลังในการจายมีมากกวา จำเลยอยางแนนอน

205

ilaw. 2559. ทามกลางอุปสรรคยอมีโอกาส: บทเรียนการตอสูคดี พ.ร.บ.คอมพิวเตอรฯของกำพล นักอนุรักษเมืองคอน. สืบคนเมื่อ 9 กันยายน 2561. จากเว็บไซต ilaw: https://freedom.ilaw.or.th/Kampon-Computercrime


279

3.6. คดีเหมืองทองคำอัคราฯ จ. พิจิตร ฟองผูเชี่ยวชาญ (พรบ.คอมพิวเตอรฯ) ขอเท็จจริง เหมืองแรทองคำชาตรี หรือที่เรียกวา เหมืองทองคำพิจิตร อยูบนพื้นที่รอยตอ 3 จังหวัด ไดแก พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ ดำเนินกิจการโดยบริษัท อัครา รีซอรสเซอร จำกัด (มหาชน) เปนผู ป ระกอบการ เหมืองแรจากประเทศออสเตรเลีย เมื่อเริ่มทำเหมืองแรก็มีขอพิพาทกับชุมชนในบริเวณรอบเหมืองอยางตอเนื่อง ประเด็นหลั กๆ คื อ ชาวบ านคั ดค านการทำเหมืองเพราะกลั วเรื่ องผลกระทบดา นสิ ่ งแวดล อม ในป 2551 บริษัทอัคราฯ ยื่นเรื่องขอขยายพื้ นที่ในการทำเหมื อง ซึ่งหนวยงานภาครัฐก็ ยิ นยอมใหขยายพื้ นที่ ไ ด แต ใ น ขณะเดียวกันพบวารายงานการวิเคราะหผลกระทบสิ่งแวดลอม (EIA) ไมไดรับความเห็นชอบ ในป 2553 “กลุม คัดคานไมเอาเหมืองทองคำ” จึงยื่นเรื่องตอศาลใหตรวจสอบการทำเหมือง โดยระบุวา ไดรับผลกระทบต อ สุ ขภาพและสิ ่ งแวดล อมโดยรอบ ต อมาชว งป 2557 การตรวจสอบพบวา ชาวบ านในบริ เวณนั ้ นมี สารหนู ปนเปอนในรางกายเกินคามาตรฐาน ทางกลุม บริษัทโตแยงวา สารหนูเกิดจากการกินอาหารทะเลของชาวบาน ในประเด็นเรื่องสุขภาพก็ยังไมแนชัดวาเกิดจากฝายใด 206 การป ญหาความขั ดแยง เรื ่องสารพิษ ปนเป อนที ่สง ผลต อสุ ขภาพชาวบ านในบริ เวณนั ้น ทำให มี นัก เคลื่อนไหวทางสังคม สมลักษณ หุตานุวัติ ที่ออกมาโพสตขอความบน Facebook พรอมรูปภาพประกอบ ซึ่งทำ ให สมลักษณถูกแจงขอหาถึง 4 คดี ในคดีแรก กลาวหาในทำนองเกี่ยวกับเรื่องของภาษี วาบริษัทที่รับดำเนินการทำเหมืองไมตองจายภาษี ติดตอกันเปนเวลา 16 ป ทองคำและเงินที่ผลิตไดจากประเทศไทยถู กสง ออกไปโดยไมต องชำระภาษี ใ ห แ ก ประเทศไทยแมแตบาทเดียว 207 คดี ท ี่ สอง เป นโพสต และแชรเกี ่ย วกั บเอกสารทางการแพทย ที่ กล าฟ นธงวาเหมืองดั งกลาวทำใหมี สารพิษปนเปอนในบริเวณนั้น208 คดีที่สาม โพสตเกี่ยวกับเรื่องของสารพิษไซยาไนต ซึ่งบริเวณที่พบสารพิษอยูหางจากโรงเรียนแค 400500 เมตร เทานั้น ถือวาเปนพื้นที่ที่อันตรายมาก209

206

The Matter. 2560. สรุปขอพิพาท “เหมืองทองอัครา” รัฐบาลเสี่ยงเสียคาโง ม. 44 ราคา 30,000 ลานบาท. สื บ ค น เมื่อ 23 กรกฎาคม 2561. จาก https://www.facebook.com/thematterco/posts/recap-สรุปขอพิพาท-เหมือ งทอง อัคร-รัฐบาลเสี่ยงเสียคาโง-ม44-ราคา-30000-ลานกลาย/1930085727206820/ 207 iLaw. 2559. สมลักษณ คดีที่หนึ่ง : โพสตเฟซบุควิจารณเหมืองทองคำ จ. พิจิตร. สืบคนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2561. จาก เว็บไซต iLaw: https://freedom.ilaw.or.th/case/744#the_verdict 208 iLaw. 2559. สมลักษณ คดีที่สอง : โพสตเฟซบุควิจารณเหมืองทองคำ จ. พิจิตร. สืบคนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2561. จาก เว็บไซต iLaw: https://freedom.ilaw.or.th/case/745 209

iLaw. 2559. สมลักษณ คดีที่สาม : โพสตเฟซบุควิจารณเหมืองทองคำ จ. พิจิตร. สืบคนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2561. จาก เว็บไซต iLaw: https://freedom.ilaw.or.th/case/750


280

คดีที่สี่ เปนการแชรบทความ เรื่อง การแถลงขาวของโจทกที่ เตรียมดำเนิ นการยื่น ขอต อใบอนุ ญ าต ประกอบกิจการวา “ความเลวรายของทุนสามานย คือ ความไรสำนึกชาติ ศาสน กษัตริย” 210 คูความในคดี โจทก บริษัท อัครา รีซอรสเซส จำกัด (มหาชน) เปนบริษัทที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงคเพื่อประธุรกิจ เหมืองแรและผลิตทองคำและเงิน จำเลย สมลักษณ หุนาวุวัติ เปนกรรมการเครือขายธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล อม เปนอดี ต พยานผู เชียวชาญกรณีเหมืองทองพิจิตร คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ และคณะกรรมการตรวจสอบขอเท็จจริง และแกปญหาขอขัดแยงผลกระทบตอสิ่งแวดลอมและสุขภาพ ขอกลาวหา - พระราชบัญญัติวาดวยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร พ.ศ. 2550 มาตรา 14 (1), (2) - ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326, 328 และ 393 กระบวนการดำเนินคดี คดีที่หนึ่ง การดำเนินกระบวนการของศาลดำเนินมาจนถึงขั้นตอนการนัดฟงคำสั่งฟอง ซึ่งกอนหนานี้ได มีการนัดไตสวนมูลฟองไปเปนที่เรียบรอยแลว โดยคดีนี้โจทกฟองความผิดเกี่ยวกับ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร และ คดีหมิ่นประมาท จากที่ศาลพิจารณาแลว มีคำสั่งไมรับฟอง เพราะศาลเห็นวาเปนสิทธิที่จะกระทำได เนื่องจาก จำเลยเองเปนผูเสี ยภาษีแ ละข อความดังกลาวก็เป นข อเท็จจริงที่ สามารถเปดเผยใหประชาชนคนอื่ นทราบได ดวย คดี ท ี ่ สอง โจทก ฟ  องความผิ ดตาม พ.ร.บ. คอมพิ ว เตอร มาตรา 14(1) (5) และความผิ ดฐานหมิ่น ประมาท ซึ่งเชนเดียวกับคดีแรก ศาลมีความเห็นสั่งไมฟอง เนื่องจากเอกสารของจำเลยที่นำมาเผยแพรม าจาก แหลงขอมูลที่นาเชื่อถือ มีการตรวจสอบขอเท็จจริงแลว คดีที่สาม กรณีนี้โจทกฟอง ความผิดตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร มาตรา 14 (1) (2) ในกรณี นี้เป นคดี เดียวที่สมลักษณถูกพิพากษาใหมีความผิด ลงโทษจำคุก 1 ป ปรับ 80,000 บาท แตใหรอลงอาญาโทษจำคุกไว เปนเวลา 2 ป อีกทั้งยังกำหนดเงื่อนไขการคุมประพฤติ ไมใหสมลักษณโพสตขอมูลในระบบคอมพิวเตอรที่อาจ นำไปสูการกระทำความผิดในลักษณะเดียวกันภายในระยะ 1 ป 210

iLaw. 2559. สมลักษณ คดีที่สี่ : โพสตเฟซบุควิ จารณ เหมื องทองคำ จ. พิจิตร. สืบคนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2561. จาก เว็บไซต iLaw: https://freedom.ilaw.or.th/case/781#progress_of_case


281

คดีที่สี่ เมื่อสมลักษณไดรับแจงขอกลาว และเดินทางไปยังศาล เพื่อนัดไตสวนมูลฟอง และในวันนัดถัด มา ตามกำหนดแลวศาลมีนัดฟงอานคำสั่งรับหรือไมรบั ฟอง เวลาบายโมง แตเมื่อถึงเวลาแลว มีเพียงเจาหนาที่ หนาบัลลังก ทนายฝายโจทก และผูรวมเขาฟงเทานั้น สักพักทนายฝายโจทกไดเก็บของ รวบรวมเอกสารแล ว เดินออกจากหองพิจารณาคดีไป ซึ่งจากการสอบถาม ไดความเพียงวา ศาลมีคำสั่งรับฟองคดีเพราะคดีมมี ูล และ นัดพรอมสอบคำใหการในครั้งตอไป ซึ่งในวันนั้นศาลไมไดออกมานั่งบัลลังก เพื่ ออานคำสั่ง แตอย า งใด จนถึ ง ปจจุบันยังไมมีความคืบหนาใดๆกับคดีนี้ ผลที่เกิดขึ้นกับผูถูกฟอง สมลักษณตองคอยตอสูคดีในชั้นศาลมากถึง 4 คดี ประสบปญหาทั้งคาใชจาย คาเดินทาง การถูกเลื่อน นัดของแตละครั้ง หรืออยางเชน ในระหวางกระบวนการดำเนินคดีจำเลยไดยื่นบัญ ชีระยุพ ยานเพิ่ ม เติ ม และ ขอใหศาลออกหมายเรียกพยานเอกสารจากบุคคลภายนอกแตศาลไมมีคำสั่ง อนุญาต หรือแมในบางครั้ ง จ า ย จำเลยเองขอแถลงการณขอเลื่อนคดีออกไปกอน ดวยเหตุผลที่วาเอกสารที่ขอศาลออกหมายเรียกจากหนวยงาน ราชการยังสงมาไมครบ และมีจำนวนที่เยอะมาก ศาลก็ไมอนุญาตในกรณีดังกลาว


282

3.7. กรณีซีพีฟองสำนักขาวออนไลนเสนอเรือ่ งยึดที่ราชพัสดุ 4,000 ไร (พรบ.คอมพิวเตอรฯ) ขอเท็จจริง เป นประเด็ นที ่ ได รั บความสนใจอย างยิ ่ง เมื ่ อมี การเผยแพร ข าวเกี ่ ย วกั บ พื ้ นที ่ จ ำนวน 4,000 ไร ซึ่งพื้นที่ดังกลาวนั้นเปนพื้นที่ราชพัสุด ที่ทางกรมธนารักษเปนผูครอบครองอยูถูกกวานซื้อไปโดยบริ ษั ท เอกชน ยักษใหญแบบซีพี โดยมีวัตถุประสงคการซื้อที่ดินในครั้งนี้ ทำใหพื้นที่ดังกลาวกลายเปนเมืองใหม หรือ สมารท ซิตี้ ทำใหชาวบานที่ไดรับผลกระทบออกมาคัดคานกับ โครงการดัง กลาว อีกทั้งประชาชนที่ท ราบข า วนี้ ได รวมกันแสดงความคิดเห็นตางๆนาๆ ถึงการกระทำของซีพี บทสื่อออนไลน ขอมูลจากวงการอสังหาริมทรัพย จ. ฉะเชิงเทรา เปดเผยวา บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ หรือ กลุมซีพี ของนายธนินท เจียรวนนท ไดเซ็นสัญญาเชาที่ดินที่ราชพัสดุ กรมธนารักษ ใน อ. บางน้ำเปรี้ยว จำนวน 4,000 ไร ซึ่งเปนพื้นที่ของทหารเรือ โดยทำเลนี้ติดกับแมน้ำบางปะกง และรอยตอระหวางกรุงเทพมหานครกับแปดริ้ว ซึ่งจากเดิมกรมธนารักษใหชาวบานเชาพื้นที่ดงั กลาว ในอัตราคาเชาไรละ 75 บาทตอป รวมทั้งหมด 275 หลังคาเรือน แตในขณะนี้ไดบอกเลิกสัญญาเชากับชาวบานแลว ทำใหประชาชนในพื้นทีร่ วมตัวกันคัดคานกรณี กรมธนารักษไมตอสัญญาและนำที่ดนิ ที่ทำมาหากินมาหลายชั่วอายุคนไปใหนายทุนทำเปนเมืองใหม นอกจากนี้ ประชาชนผูคัดคานยังสงหนังสือไปยังกรมโยธาธิการและผังเมืองอีกทางหนึ่งดวย 211 โดยเหตุผลในการบอกเลิก สัญญาเชานั้น ทางกองทัพเรือแจงวามีแผนการใชประโยชน เพื่อเปนที่ตั้งกองบังคับการ หมวดเรือที่ 2 กองเรือ ลำน้ำกองเรือยุทธการ และที่ตั้งสถานีวิทยุหาทิศ (DF) จึงขอใหยกเลิกสัญญาเชา เนื้อที่ประมาณ 3,201 ไร 212 ตอมา ดร.คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาค ตะวันออก (EEC) ไดออกมาชี้แจงและประกาศวา ซีพี ยังไมเคยเขามาหารือเรื่องการลงทุนสร า งเมื องใหม ที่ ฉะเชิงเทราแตอยางไง พรอมทั้งยืนยันวาพื้นที่ราชพัสดุ ยังเปนของกองทัพเรืออยูในขณะนี้ ไมสามารถยกพื้ นที่ ใหเอกชนรายใดไปใชประโยชนได 213 ซึ่งทางกรมธนารักษณไดออกมาชี้แจงสนับสนุนอี กวา ที่ราชพั สดุ ที่ ถูก สื่อมวลชนบางสำนักนำเสนอขาวออกไปนั้น ทางเครือเจริญโภคภัณฑ ไมไดมีสวนเกี่ยวของแตอยางใด และที่ดิน แปลงดังกลาวยังไมมีการกำหนดเปนเขตสงเสริมเศรษฐกิจพิเศษ และยังอยูในความครอบครองของกองทัพเรือ แตในขณะเดียวกันมีรายงานขา วออกมา ซีพี ไดมีโครงการประมูลรถไฟฟาความเร็ว สูง เชื่ อมโยง 3 สนามบิน ที่มีมูลคากวา 2 แสนลานบาท และการเอาชนะการประมูลครัง้ นี้ก็ไมไดเปนเรื่องที่เปนไปไมไดสำหรับ ซีพี ดวยเหตุดังกลาว จึงตองยอนกลับมาพิจารณาขอมูลกอนหนานี้ ทั้งเรื่องการวางแผนเรื่องสมาร ท ซิ ตี้ เพื่ อ รองรับโครงการ EEC ในที่ดินจังหวัดฉะเชิงเทราและพื้นที่อื่นๆ ขนาดที่ดินกวา 10,000 ไร จึงเปนที่นาสังเกตได 211

ฐานเศรษฐกิจ. 2561. ซี พ ี ยึ ดที ่ ร ั ฐ 4 พั น ไร ! ฮื อ ต า นธนารั กษ ป ระเคนที ่บ างน้ ำเปรี้ ยวขึ ้น เมื อ งใหม. สื บ ค นเมื ่อ 21 กันยายน 2561. จากเว็บไซต ฐานเศรษฐกิจ: http://www.thansettakij.com/content/318181 212 TNN. 2561. CP ไม  เ กี ่ ย วเช า ที ่ ร าช พั ส ดุ ท ำเมื อ งใหม  . สื บ ค น เมื ่ อ 23 กั น ย าย น 2561. จากเ ว็ บ ไ ซต TNN: https://www.tnnthailand.com/content/7006 213 สยามรัฐ. 2561. “ซีพี” ยันไมไดฮุปที่กรมธนารักษสรางเมืองใหม ระบุเปนพื้นที่เกษตรเอกชนเชาไมได เดินหน า ชนสื่ อ . สืบคนเมื่อ 23 กันยายน 2561. จากเว็บไซต สยามรัฐ: https://siamrath.co.th/n/47115


283

วาโครงการดังกลาวจะตองมีการขยายอาณาเขตไปถึงพื้นที่ราชพัสดุดว ย ซึ่งหากผนวกรวมขอมูลเขาดวยกันก็ทำ ใหสามารถเขาใจดังที่ปรากฏในสื่อไดไมยากจนทำใหทางซีพี หรือ กลุมเครือเจริญโภคภัณฑตองออกมาชี้ แ จง และแถลงการณตอประเด็นดังกลาว 214 และทางซีพีอางวา มีผูไมหวังดีนำเสนอขาวอันเปนเท็จ ไรขอเท็จจริงอยางสิ้นเชิง สรางกระแสความ เกลียดชังอยางรุนแรงใหเกิดขึ้นในสังคมไทย ทำใหประชาชนเกิดความสับสน อยางเชน กรณีกระแสขาวที่บริษทั เครือเจริญโภคภัณฑ หรือ ซีพี เซ็นสัญญาเชาที่ดินที่ราชพัสดุ กรมธนารักษ ในอำเภอบางเปรี้ยว จำนวน 4,000 ไร ซึ่งเปนพื้นที่ที่ทหารเรือใช เพื่อเตรียมพัฒนาเมืองใหมเปนการนำเสนอขาวที่สรางความสับ สนให เกิ ด ขึ้ นใน สังคมไทย ซึ่งสงผลเสียหายตอองค กร เปนเหตุใหเครือเจริญโภคภัณ ฑ เสื่อมเสียชื่อเสีย ง ถูกดู ห มิ่ น หรื อถู ก เกลียดชังจากสังคมและประชาชนทั่วไป จึงไดมีการมอบอำนาจใหนายบัญชา ปรมีศณาภรณ (ทนายความ) เพื่อ ดำเนินคดีอาญาและคดีแพงตามกฎหมาย เพื่อปกปองศักดิ์ศรีขององคกรและรักษาไวซึ่งความถูกตองและเป น ธรรมใหเกิดขึ้นในสังคมไทย 215 คูความในคดี โจทก เครือเจริญโภคภัณฑ (ซีพี) จำเลย สำนักขาวฐานเศรษฐกิจ ขอกลาวหา ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 และ 328 ความผิดฐานหมิ่นประมาท พระราชบัญญัติวาดวยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร ความผิดฐานนำเขาและเผยแพรขอมูล อันเปนเท็จทำใหเสื่อมเสียชื่อเสียง ขอสังเกตตอคดี มีการรายงานวา ซีพีกวานซื้อที่ดินของชาวบาน เปนการซื้อในนามของบริษัทลูกของกลุมซีพี และเป น พื้นที่ในแถบ อ. บางปะกง, อ. บานโพธิ์ และ อ. แปลงยาว เปนตน โดนราคาที่เสนอใหอยูที่ประมาณ ไรละหลัก

214

TNEW. 2561. จุดเดือดต่ำ! “ซีพี” รอนแถลงการณฟอ งสื่อ คุยปม “ที่ดินแปดริ้ว” ผุดเมืองใหมรับรถไฟฟ า เชื่ อ ม 3 ส น า ม บ ิ น . ส ื บ ค  น เ ม ื ่ อ 21 ก ั น ย า ย น 2561. จ า ก เ ว ็ บ ไ ซ ต  TNEW: http://www.tnews.co.th/ index.php/contents/478817 215 Marketingoops. 2561. ซี พ ี เอาจริ ง ! แถลงใช ก ฎหมายดำเนิ นคดี ก ับ ผู ใ หข อ มู ล เท็ จ บนโซเชี ยลฯ. สื บ ค น เมื ่อ 21 กันยายน 2561. จากเว็บไซต Marketingoops: https://www.marketingoops.com/news/viral-update/cp-group/


284

แสนบาท ซึ่งพื้นที่ในแถบอำเภอเมือง ทางกลุมบริษัทซีพี จะไมเขาไปซื้อขาย เนื่องจากราคาที่ดินสูงถึงไรละ 20 ลานบาทขึ้นไป 216 2. มีรายงานวา ชาวบานรวมตัวกันคัดคานตอกรณีดงั กลาว แตกลับไมพบวา หนวยงานรัฐใดไดใหความ สนใจตอการคัดคานของชาวบานนั้น อีกทั้งชาวบางยังกลาวอีกวา หากจะดำเนินโครงการใหญอะไร ไม ว า จะ เกี่ยวกับกองทัพเรือ หรือ ซีพีเขามาขอเชาพื้นที่ ก็ขอใหหนวยงานที่เกี่ยวของเขามาพูดคุย หรื อให ขอมู ลกั บ ชาวบานบาง

216

ฐานเศรษฐกิจ. 2561. ซี พ ี ยึ ดที ่ ร ั ฐ 4 พั น ไร ! ฮื อ ต า นธนารั กษ ป ระเคนที ่บ างน้ ำเปรี้ ยวขึ ้น เมื อ งใหม. สื บ ค นเมื ่อ 21 กันยายน 2561. จากเว็บไซต ฐานเศรษฐกิจ: http://www.thansettakij.com/content/318181.


285

แผนภาพที่ 6 กระบวนการดำเนินการฟองตบปาก(SLAPPs)คดีสงิ่ แวดลอม


286

4)

การดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตรเพื่อขัดขวางการมีสวนรวมของประชาชน (SLAPP) ในตางประเทศ

ตัวอยางคดีความในตางประเทศทีม่ ีฝายบรรษัทหรือฝายรัฐเปนผูฟองคดี โดยมีวัตถุประสงคเพื่อปด/ตบ ปากอีกฝายหนึ่งซึ่งเปนกลุมเคลื่อนไหวที่ไดอาศัยพื้นที่โลกเสมื อนหรือพื้นที่ของโลกไซเบอรในการเคลื่ อนไหว ตอตาน และตอสูเพื่อเรียกรองความเปนธรรม ในประเด็นเกี่ยวกับผลกระทบดานสิ่งแวดลอมซึ่ง มี ผลจากการ กระทำของฝายบรรษัทหรือฝายเจาหนาที่รฐั 4.1. คดี North Dakota การฟองคดีเพื่อปฏิบัติการตบปากดวยกฎหมายซึ่งจากนี้ไปจะเรียกวา “ฟองตบปาก”ที่ได เห็ นได ชัดเจนคือ กรณีโครงการกอสรางทอน้ำมัน Dakota Access Pipeline (DAPL) โครงการนี้ถูกเสียงตอตานโหม กระหน่ำใสอยางตอเนื่องมาตั้งแตป 2014 นำโดยกลุมชนพื้นเมืองเผา ซู (Sioux) และกลุมนักเคลื่ อนไหวด า น สิ่งแวดลอมนำโดยองคกรที่เคลื่อนไหวในเรื่องนี้มาตั้งแตตนอยาง กรีนพีช (Greenpeace) การเคลื่อไหวเกิดขึ้น ทั้งในพื้นที่โลกจริงและโลกเสมือน หนึ่งในนั้นคือ การทำแคมเปญเขาชื่อตอตานโครงการผานเว็บไซตขององคกร 217

เมื่อป 2017 ประธานาธิบดีโดนัลดทรัมป ไดอนุมัติฟนคืนชีพโครงการกอสรางวางทอน้ำมันที่ถูกระงับ ไปตั้งแตสมัยของประธานาธิบดีโอบามา และหลังจากนั้นการตอตานมีความเขมขนมากขึ้นอีกครั้ง เมื่ อบริ ษั ท Energy Transfer Partners (ETP) บริษัทรับเหมาผูอยูเบื้องหลังโครงการกอสราง ไดยื่นฟองคดี ต อศาลฐาน

217

Greenpeace. (2017). “Corporate bullies can’t silence the resistance” Retrieved September 12, 2018, from Greenpeace: https://act.greenpeace.org/page/16230/petition/1?_ga=2.100978945.1034032830. 1536573273-1610496510.1536573273


287

หมิ่นประมาทและเรียกคาเสียหายจำนวน900 ลานดอลลาร 218โดยมีองคกรกรีนพีชและกลุม เคลื่ อนไหวอื่ น ๆ เปนจำเลยแนนอนวาการฟองคดีครั้งนี้มีลักษณะเปนการฟองตบปาก เพื่อขมขูและตบปากกลุมผูตอตานและผู ปกปองแหลงน้ำในบานเกิด หรือฝาย ETP ไมไดตองการชนะแตเปนการเพิ่มภาระใหแกอีกฝา ยเสี ย มากกว า ทางกรีนพีชก็ไดออกมาตอบโตวา การฟองคดีดังกลาวแสดงใหเห็นวาการเคลื่อนไหวประทวงตอตานของพวก เขาและกลุมนักเคลื่อนไหวอื่น ๆ นั้นทรงพลังอยางมากจนทำใหบริษัท ETP ตองโตตอบดวยวิธีการฟองตบปาก 219

บทความในหนาเว็บไซตของกรีนพีชในตอนหนึ่งไดชี้ใหเห็นวา โครงการกอสรางทอน้ำมันมีความเกี่ยว โยงกับประเด็นเรื่องผลประโยชนสวนของนายโดนัลด ทรัมปกับบริษัท ETP เนื่องจากมีขอมูลเปดเผยวา นาย โดนนัลด ทรัมปเคยรวมลงทุนกับบริษัท ETP จำนวนเงินประมาณ 1 ลานดอลลาร และ 2.5 แสนดอลลารกับ บริษัท Phillips 66 ที่รวมลงทุนในโครงการ DAPL จึงไมนาแปลกใจทีก่ ารฟน คืนชีพโครงการ เปนหนึ่งในสิ่งที่ นายทรัมปทำเปนอันดับแรก เมื่อไดเขาดำรงตำแหนงประธานาธิบดีสหรัฐ 220 นอกจากนี้ ประธานกรรมการบริหารของบริษัท ETP ยังไดบริจาคเงินจำนวนกวา 1.6 แสนดอลลาร โดยใหแกการรณรงคหาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีของนายทรัมปและมอบใหแกคณะกรรมการแหงชาติ ของ พรรครี พ ั บ ลิ กั น (Republican National Committee) รวมถึ ง ฝ า ยนั กกฎหมายจาก Kasowitz Benson Torres firmซึ ่ ง เปนตัว แทนของบริษั ท ETPในการฟองตบปากครั้ งนี้ ยั ง เป นที่ปรึ กษาทางกฎหมายของนาย ทรัมปอีกดวย อีกหนึ่งตัวละครที่สำคัญในปฏิบัติการฟองตบปากในครั้งนี้คือ บริษัท TigerSwanบริษัทรักษาความ ปลอดภัยสวนของ ETP โดยปฏิบัติหนาที่เฝาดูและปกปองบริเวณโดยรอบโครงการกอสราง อยางไรก็ตามขอมูล เปดเผยวา TigerSwan ไมไดเปนเพียงแคบริษัทรักษาความปลอดภัยเทานั้น แตแทจริงแลวยังเปนกลุ ม ทหาร รับจางผูทำสงครามกับผูกอการรายรวมกับกองทัพอเมริกันนำไปสูการใชกลยุทธในลักษณะเดียวกับที่ใชในการ ตอตานผูกอการรายตอกลุมนักเคลื่อนไหว.221 ดังนั้น จึงหนีไมพนเหตุการณความรุนแรงทีเ่ จาหนาทีร่ ักษาความปลอดภัยของ ETP ไดกระทำตอกลุมผู ประทวง ยกตัวอยางเชน เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2016 ณ สถานที่ที่เรียกวา“Standing Rock grew”เจาหน า ที่ 218

Greenpeace. (2017). “Greenpeace v. Energy Transfer Partners: The Facts” ” Retrieved September 12, 2018, from Greenpeace: https://www.greenpeace.org/usa/global-warming/greenpeace-v-energy-transferpartners-facts/ 219 Molly Dorozenski. (2018). “The Truth About Energy Transfer Partners” ” Retrieved September 12, 2018, from Greenpeace: https://www.greenpeace.org/usa/the-truth-about-energy-transfer-partners/ 220 Ibid. 221 Brown A., Parrish W. and Speri A. (2017). “Leaked documents reveal security firms counterterrorism tactics at standing rock to defeat pipeline insurgencies” Retrieved September 12, 2018, from The The Intercept: https://theintercept.com/2017/05/27/leaked-documents-reveal-security-firmscounterterrorism-tactics-at-standing-rock-to-defeat-pipeline-insurgencies/


288

รักษาความปลอดภัยไดใชสเปรยพริกไท และสุนัขจูโจมจัดการกับกลุมผูประทวง ทำใหมีผูไดรับบาดเจ็บหลาย รายจากเหตุการณครั้งนั้น 222 หลังจากนั้น บริษัท ETP ยังไดวาจางใหบริษัท TigerSwan ในการแสวงหาขอมูลหรือพยานหลั กฐาน เพื่อนำมาใชในการฟองตบปากกลุมนักเคลื่อนไหว เจาหนาที่ของ TigerSwan ไดเขาไปแฝงตัวในแคมป ของผู ประทวงและในกลุมของนักเคลื่อนไหว รวมไปถึงการรวบรวมขอมูลผานการสรางเพจปลอมในสื่อสังคมออนไลน ซึ ่ ง เพจดั ง กล าวก็ มี เนื้ อหาที่ เกี ่ ยวของกั บการต อต านโครงการกอสราง เหมื อนกั บเพจอื่ น ๆ ของกลุ  ม นั ก เคลื่อนไหว สิ่งที่ไมนาแปลกใจ สำหรับการปฏิบัตหิ นาทีข่ องกลุมอดีตทหารรับจางเกาเหลานี้ ก็คือ ภาษาที่พวกเขา ใช ใ นงานเอกสารภายในองค กร เพื ่ ออธิบายถึ งกลุ มผู ประทว งว าเปนพวกผู ก อการราย หรือ “กลุ  มญิฮาด” (Jihadists) อันเปนการสรางสถานการณใหพวกเขามีความชอบธรรมในการ “กำจัด” กลุมนักเคลื่อนไหวเหลานี้ ไดอยางสะดวก ทางฝงขององคกรกรีนพีชซึ่งเปนผูนำการตอสูแ ละจำเลยหรือเหยื่อจากการฟองตบปากของบ ริษัท ETP ไดสรางแคมเปญเพิ่มเติมเพื่อใหประชาชนชาวอเมริกันและคนอื่น ๆ ทั่วโลกไดใชพื้นที่ในโลกเสมื อน เขารวมการตอสูครั้งนี้ 223 ดวยการประกาศวา “การกลั่นแกลงของทางบริษัทเพื่อจะตบปากกลุมนักเคลื่อนไหว ไมใหตอตานโครงการฯ จะตองไมประสบความสำเร็จ” พรอมทั้งยังคงยืนหยัดดวยวา กรีนพีชและองคกรอื่น ๆ ที่เขารวมจะตองเปนผูชนะคดีและจะตอตานคัดคานโครงการวางทอน้ำมันตอไปจนกวาโครงการจะยุติ 224

222

223

Democracy Now! (2016). “Dakota Access Pipeline Company Attacks Native American Protesters with Dogs & Pepper Spray” Retrieved September 12, 2018, from YouTube: https://www.youtube.com/watch? v=kuZcx2zEo4k

Greenpeace. (2017). “Corporate bullies can’t silence the resistance” Retrieved September 12, 2018, from Greenpeace: https://act.greenpeace.org/page/16230/petition/1?_ga=2.100978945.1034032830. 1536573273-1610496510.1536573273 224 Ibid.


289

4.2. คดี Resolute Forest Products

การยื่นฟองคดีกลุมนักเคลื่อนไหวที่มีลักษณะเป นการฟองตบปากในกรณีโครงการก อสร า งท อน้ ำ มั น Dakota Access Pipeline (DAPL) มิใชคดีแรกที่เกิดขึ้น เพราะกอนหนานี้ นักกฎหมายจากบริ ษั ท ที่ ป รึ กษา กฎหมาย Kasowitz Benson Torres firm ที่ ไดวาความใหกับบริ ษัท ETP ในคดี North Dakotaยังเคยฟอง องคกรกรีนพีชและกลุมเคลื่อนไหวอื่น ๆ มาแลวใหกับบริษัทที่มีชื่อวา Resolute Forest Products บริษัทคา ไมขนาดใหญทสี่ ุดของประเทศแคนาดา ขอเท็จจริงพอสังเขปในคดีนี้มีอยูวา บริษัท Resolute Forest Productsไดเขาบุกรุกแผวถางปาไมใน ป า “The Great Northern Forest”หรือที่ รู จ ั กกั นดี ป า บอเรี ย ลแคนาดา (Canada’s boreal forest) ซึ ่ งมี พื้นที่กวางขวางทอดยาวเปนระยะทางกวา 1,000 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ถึง 1 ใน 3 ของประเทศแคนาดา225 และละทิ้งหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development)ซึ่งเปนหลักการที่วาดวยการพัฒนาประเทศ จะตองควบคูไปกับการรักษาสิ่งแวดลอม 226 การกระทำเหลานี้ของบริษัท Resolute Forest Productsถือเปนอันตรายตอชุมชนผู ซึ่ง มี วิ ถีชี วิ ต ที่ ตองพึ่งพาอาศัยความอุดมสมบูรณของระบบนิเวศปาบอเรียลและในขณะเดียวกัน องคกรกรีนพีชก็ไดพูดถึงและ สรางความตระหนักรับรูถึงขอถกเถียงตอปฏิบัติการของบริษัท Resolute ที่ไดกระทำตอปาไมแตถึงอย า งนั้ น แทนที่ทางบริษัทResoluteจะรวมมือทำงานกับองคกรีนพีชหรือผูมีสวนไดเสียอื่น ๆ ในการคนหาวิธีการหรื อ แนวทางที่ยั่งยืนสำหรับปาไม แรงงาน และชุมชนทองถิ่นแตเมื่ อวันที่ 31 พฤษภาคม 2016 เขากลั บ ฟ องคดี เรี ย กค า เสีย หายต อองค กรกรี นพีช สหรั ฐอเมริ กา (Greenpeace USA) องค กรกรีนพี ช อิ นเตอร เนชั ่ นนัล (Greenpeace International) องค กรสแตนด ดอทเอิ ร ธ (Stand.earth) และฟ องร องเป นรายบุ คคล เป น 225

Natural Resources Canada. (2018). “8 facts about Canada's boreal forest” Retrieved September 12, 2018, from Natural Resources Canada: https://www.nrcan.gc.ca/forests/boreal/17394 226 Greenpeace. (2015). “The Great Northern Forest” Retrieved September 12, 2018, from Greenpeace: https://www.greenpeace.org/archive-canada/en/campaigns/forests/boreal/


290

จำนวนเงิน 300 ลานเหรียญแคนาดาในขอหากรรโชกขูเข็ญ รวมถึงขอหาอื่นๆ และกอนหนานี้ในป 2013บริษทั ฯไดฟองรอง กรีนพีซ แคนาดา และเจาหนาที่อีก 2 คน ในขอหากระทำการใหเสื่อมเสียเปนจำนวนเงิน 7 ล า น เหรียญแคนาดาบริษัทฯยังใชกลยุทธทางกฎหมายและการประชาสัมพันธในลักษณะนี้ ตอบโตองคกรอื่นๆ อาทิ องคกรเรนฟอเรสทอลิอันซ(Rainforest Alliance) ซึ่งเปนองคกรอิสระในการตรวจสอบดานสิ่งแวดลอม องคกรกรีนพีชจำเลยในคดีซึ่งเปนเสียงสำคัญในการตอสูเพื่อปกปองผืนปาครั้งนี้ ไดทำการเคลื่อนไหว โดยอาศัยพื้นที่โลกไซเบอรดวยการเผยแพรขอมูลที่สำคัญเพื่อโจมตีบริษทั Resolute Forest Products 227และ ไดสรางแคมเปญรวมถึงชองทางใหผูคนในโลกออนไลนสามารถเขารวมการตอสูในครั้งนี้เชนเดียว ทั้งในประเด็น การปกปองผืนปาซึ่งเปนประเด็นหลัก และการปกปองสัตวปา ทีอ่ าศัยอยูปา แหงนี้ อยางเชน กวางเรนเดียร หรือ กวางคาริบู ซึ่งมีจำนวนประชากรลดลงอยางตอเนื่องถึงรอยละ 30 ในชวงเวลาเพียง 2ทศวรรษทีผ่ านมา228

นอกจากนี้ องคกรกรีนพีชได ออกมากลาวอีกวา บริษัท Resolute Forest Products ไดฟองคดีโดย การกลาวหาวาการกระทำตาง ๆ ที่ชอบดวยกฎหมายของอีกฝายซึ่งเรียกตัวเองวา “นักปกปองผืนปา” (Forest defenders) เป นความผิ ดทางอาญาโดยการใช กฎหมายที ่ม ี ชื่ อว า Racketeer Influenced and Corrupt Organizations Act (RICO) ซึ่งเปนกฎหมายที่ใชจัด การกับการขู กรรโชกทรัพ ยแ ละการปองกั นปราบปราม องคกรอาชญากรรมในสหรัฐอเมริกา และยังใหอำนาจแกเจาหนาที่รัฐกระทำผิดกฎหมายบางประการเพื่ อให

227

Greenpeace. (2016). “Clearcutting Free Speech: How Resolute Forest Products is going to Extremes to Silence Critics of its Controversial Logging Practices” Retrieved September 12, 2018, from Greenpeace: http://www.greenpeace.org/usa/forests/boreal/clearcutting-free-speech/

228

Greenpeace. (2018). “Caribou are Facing Extinction: Canada’s Government needs to Act now!” Retrieved September 12, 2018, from Greenpeace: https://act.greenpeace.org/page/23495/action/ 1?utm_campaign=forest&utm_source=planet3&utm_medium=bos&utm_content=en-forest-cariboumckeenapetition-boscampaignpage&ea.tracking.id=20180507-forest-planet3-bos-en-forest-cariboumckeenapetition-boscampaignpage


291

การปราบปรามองคกรอาชญากรรมมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อีกทั้งบริษัท Resolute Forest Products ยั ง พยายามกล า วหาอี กว า การใช เสรี ภาพในการพู ด (Free speech) ของอี กฝ า ยที ่ ไ ด รั บการคุ  ม ครองตาม รัฐธรรมนูญ กลายเปนการกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทไปเสีย การฟองคดีดังกลาวของบริษัท Resolute เปนการตอบโตคำวิพากษวิจารณจากองคกรสิ่งแวดลอมที่มี ตอการกระทำของบริษทั พรอมทั้งยังกลาวหาวา องคกรกรีนพีชเปนพวก “ฉอโกงโลก” (Global fraud) ที่ไมได ใสใจหรือใหความสนใจตอประเด็นเรื่องสิ่งแวดลอมแตอยางใด จุดแตกหักที่ทำใหบริษัท Resolute ไมพอใจจนทำใหตองฟองคดี เกิดจากการดำเนินงานแคมเปญของ องคกรกรีนพีชที่ชื่อวา “Resolute: Forest Destroyer” หรือ “บริษัท Resolute : ตัวทำลายปา”โดยโจมตี การกระทำของบริ ษั ทว าเป น (a) "การทำลายปาที ่ควรอนุ รักษ " และ "ไดปฏิ บัติการและใช ทรัพยากรปาไม ในทางที่ละเมิดตอกฎหมายกฎหมาย" (b) ตนตอในการทำลายสัตวปา ทีใ่ กลสูญพันธุ และที่อยูอาศัยของกวางคา ริบู ทำใหมีความเสี่ยงที่กวางคาริบจู ะถูกทำลาย ถูกกำจัด และถูกทำใหสูญพันธุ (c) การทอดทิ้งและทำใหชุมชน กลุมชนเผาพื้นเมืองในปาบอเรียลตองตกอยูในความลำบาก (d) ลดทอนประสิทธิภาพในการชวยบรรเทาภาวะ โลกรอนของปาบอเรียล229 บริษัท Resolute ฝายผูฟองคดี ไดกลาววา สิ่งที่กรีนพีชกลาวออกมาลวนเปนความเท็จ และกอใหเกิด ความเสียหายตอบุคคลอื่น อันเปนการกระทำความผิด ฐานหมิ่ นประมาท และไดอธิบายเพิ่มเติมว า ว า การ กระทำของบริษัท ยังหางไกลกับความวา “ตัวทำลายปา” เนื่องจากทางบริษัท Resolute ไดทำการปลูกตนไม ทดแทนกวาหนึ่งพันลานตน อันเปนการแสดงความรับผิดชอบมิใหปาถูกทำลายอยางถาวร อีกทั้งยังไดแสดงให เห็นวา ปาบอเรียลไมไดสูญเสียความสามารถในการดูดซับกาซเรือนกระจก พวกเขายังพัฒนาวิธีการเก็ บ เกี่ ย ว และการตัดไมโดยตระหนักถึงแนวทางของ องคการบริหารจัดการกาซเรือนกระจกแหงสหประชาชาติ (U.N. Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) บริ ษ ั ท Resolute ยั ง กล า วอี กว า พวกเขาไม ได ทอดทิ้ง ขูดรีด หรือทำใหเสื่อมเกียรติ กลุมชนเผาพื้นเมืองที่อาศัยอยูในปาบอเรียล เนื่องจากไดบริษัทไดทำการ ช ว ยเหลื อหรื อมอบผลตอบแทน ด ว ยการแบ ง ป นผลประโยชน ทางเศรษฐกิ จ จากธุ รกิ จ ป าไม ของบริ ษัท นอกจากนี้ บริษัท Resolute ยังไดตอบโตดวยการกลาวหาวา องคกรกรีนพีชไดใชพยานหลักฐานเท็จ รวมถึ ง รูปภาพที่ถูกนำใชโจมตีบริษัท ซึ่งเปนรูปภาพความเสียหายในพื้นที่ตองหาม แตแทจริงแลวรูปภาพดังกลาวเปน ภาพความเสียหายจากไฟปา 230 “บริษัทของเรามุงมั่นในการรักษามาตรฐานดานสิ่งแวดลอมที่ดีที่สุด การโจมตีเราจึงถือเปนการดู ถูก เหยียดหยามและไรความรับผิดชอบอยางยิ่ง เรามีหนาที่ความรับผิดชอบทางจริยธรรมในการทำธุรกิจของเรา ตอผูถือหุน หรือลูกคาของบริษัทและผูมี สว นได เสี ยทั้งหลาย...” คำกลาวของ Richard Garneau ประธาน

229

Michael J. Bowe. (2016) “Resolute v Greenpeace” Retrieved September 12, 2018, from Resolute v Greenpeace: http://www.resolutevgreenpeace.com/ 230 Ibid.


292

กรรมการบริหารแหงบริษัท Resolute Forest Products ดังนั้น บริษัท Resolute จึงไดเรียกเอาคาสินไหม ทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบริษัทในฐานหมิ่นประมาท ทำใหเสียชื่อเสียงอีกฐานหนึ่ง เชนเดียวกั บ เรี ย ก คาเสียหายเชิงลงโทษ โดยมี Michael J. Bowe นักกฎหมายจากบริษัท Kasowitz Benson Torres firm การ ฟองคดีดังกลาวจึงเปนปฏิบัติการตบปากดวยกฎหมายหรือการฟองตบปาก เพื่อตบปากใหเสียงโหรองของกลุม นักเคลื่อนไหวตอตานเงียบลงและแบกรับภาระในการตอสูมากยิ่งขึ้น ดวยการตอสูในชั้นศาล แตผลทายที่สุด เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2017 ศาลประจำภาคของสหรัฐอเมริกาสำหรับเขตแคลิฟอรเนีย เหนือ (United States District Court for the Northern District of California) ไดมีคำพิพากษายกฟองขอ กล า วหาทั้ งหมดของบริษ ัท Resolute ที ่ ม ี ต อจำเลยทุ กคน (Greenpeace Inc., Greenpeace Fund, and Greenpeace International, Stand.earth และป จ เจกบุ คคลอื่ น ๆ) รวมถึ ง ข อกลาวหาตามกฎหมาย the Racketeer Influenced and Corrupt Organizations (RICO) 231 ศาลไดใหเห็นผลวา 232การโจมตีดวยการฟองตบปากในลักษณะดังกลาวของบริษทั เปนการละเมิดตอ คุณคาที่เปนหลักการสำคัญของการเมืองในระบอบประชาธิปไตยอยาง “เสรีภาพในการแสดงออก” (Freedom of Expression) และการตอสูที่ชอบธรรมเพื่ อประโยชน สาธารณะจะต องไม ถูกจำกัดไว ผูพิพากษา Jon S. Tigar ไดเขียนเหตุผลลงไปในคำพิ พากษายกฟ องนั้ นวา “การแสดงออกและคำพูด ของเหลาจำเลย เป นการ แสดงออกที่ไดรับการคุมครองตามรัฐธรรมนูญ การแสดงความเห็นตางเปนองคประกอบสำคั ญ ในการเมื อง ระบอบประชาธิปไตยของพวกเรา ...หากจะกลาวหาวา การเผยแพรขอมูลขององคกรกรีนพีชเปนเท็จ อย า งไร เปนประเด็นที่ตองอาศัยการวิจัยทางวิทยาศาสตรในการพิสูจน ซึ่งไมใชหนาทีข่ องศาลที่จะเปนผูแกไขขอขัดแยง ทางวิทยาศาสตรประเภทนี้”

231

Greenpeace. (2017). “Federal Court Dismisses Resolute SLAPP Suit against Greenpeace” Retrieved September 12, 2018, from Greenpeace: https://www.greenpeace.org/usa/news/federal-court-dismissesracketeering-case-against-greenpeace 232 Ibid.


293

4.3. คดี Chevron vs. The Amazon ปญหาการฟองตบปากโดยกลุมทุนขนาดใหญ ไมไดเกิดขึ้นแตเฉพาะกลุมนักเคลื่อนไหวในชุม ชนเมื อง สหรัฐอเมริกาเทานั้น ชนเผาพื้นเมืองในประเทศเอกวาดอร ที่อาศัยอยูในลุมน้ำปาอะเมซอน ก็ยังตองเผชิ ญ กั บ การกลั่นแกลงและถูกตบปากโดยกฎหมาย เชนเดียวกับนักเคลื่อนไหวในเมืองศิวิไลซ บริ ษ ั ท Chevron บริ ษั ทผลิ ตน้ ำมั นขนาดใหญ และเป นผู ค นพบแหล งน้ำมันดิ บที่ ป าฝนอะเมซอน ประเทศเอกวาดอร อั นเป นถิ ่ นที่ อยู อาศั ยของชนเผ าพื ้ นเมื องหลายชนเผ าได แก Cofán, Siona, Secoya, Quichua, และ Huaorani ซึ ่ ง พวกเขาเหล า นี ้ ม ี ชี ว ิ ต ตามจารี ตประเพณีแ ละไม เคยได สั ม ผั สกั บ การผลิต อุ ต สาหกรรมใด ๆ มาก อ นเลย จนกระทั ้ ง บริ ษ ั ท Chevron ได เ ข า มาแสวงหาผลประโยชน จ าก ทรัพยากรธรรมชาติในถิ่นของพวกเขา กอนที่จะกออาชญากรรมทางนิ เวศวิทยา (ecological crimes) ที่ นา กลัวที่สุดครั้งหนึ่ง ในประวัติศาสตร 233

บริษัท Texaco ซึ่งปจจุบันถูกควบรวมเขากับบริษัท Chevron ตั้งแตป 2001 ไดดำเนินการขุ ด เจาะ น้ำมันที่อยูใตดินบนพื้นที่ทางตอนเหนือของปาอะเมซอน การทำงานของบริษัทดำเนินไปโดยปราศจากความ กังวลถึงผลกระทบดานสิ่งแวดลอมและถิ่นที่อยูอาศัยของชนเผาทองถิ่น สุดทายจึงทำใหเกิดเหตุการณที่บริษัท Chevron ไดจงใจปลอยน้ำเสียที่ปนเปอนสารพิษลงสูแมน้ำลำธาร จำนวน 16,000 ลานแกลลอน และปล อย น้ำมันดิบรั่วไหลอีกกวา 68,000 ลานลิตร ในชวงเวลาตลอด 3 ทศวรรษที่ผานมา อีกทั้ง บริษัทยังได ทิ้ ง ขยะ อันตรายลงในบอขยะหลายรอยบอทั่วทั้งพื้ นที่ปาอะเมซอน ซึ่งบอเหลานั้นไมมีสิ่งใดปกคลุมไว ผลกระทบที่ ตามมาก็คือ การกอความเสียหายอยางกวางขวางตอระบบนิเวศปาอะเมซอนและที่อยูอาศัยของชนเผาพื้นเมือง 234 นอกจากนี้ ชุมชนซึ่งเปนกลุมชนเผาพื้น เมือง ยังคงไดรับการระบาดของโรคมะเร็ง และเด็กที่เกิดมาอาจมี ความผิดปกติตามรางกาย รวมถึงกรณีที่หญิงในชุมชนหลายรายต องแทง ลู กและโรคอื่น ๆ แตอยา งไรก็ ต าม

233

Amazon Watch. (n.d.). “Chevron's Chernobyl in the Amazon” Retrieved September 12, 2018, from Amazon Watch: http://amazonwatch.org/work/chevron 234 Ibid.


294

บริษัท Chevron ก็ไมเคยออกมารับผิดชอบตอการกระทำของตนแตอยางใด และไมเคยเขาไปฟนฟู แ หล ง น้ ำ อยางจริงจัง สงผลให ระบบสาธารณูปโภคสรางพื้นฐานของชุมชนชาวเอกวาดอรในปาอะเมซอนตองกลายเป น พิษ 235

หายนะดั งกลา ว ทำให เกิดกระแสต อต านอย างหนั ก พร อมทั ้ งมี การเรีย กร องให บริ ษั ท Chevron ออกมารับผิดชอบตอความเสียหายที่เกิดขึ้น องคกรสิ่งแวดลอมที่ทำงานเพื่อปกปองปาฝนอะเมซอนและเพื่ อ สิทธิของชนพื้นเมือง อยาง Amazon Watch ผูเปนหัวหอกสำคัญในการตอสูครั้งนี้ โดยการผนึกกำลัง กั บ กลุ ม ชนเผ า พื้ นเมืองที ่ได รับผลกระทบ ต อสู กับบริ ษั ท Chevron 236 ผ านการประท วง สร างแคมเปญต าง ๆ 237 รวมถึงการฟองคดีเพื่อเรียกคาเสียหายในศาลประเทศเอกวาดอร แคมเปญรณรงคที่จัดขึ้นโดยกลุมนักเคลื่อนไหวดานสิ่งแวดลอมเกิดขึ้นทั้งในโลกทางกายภาพและโลก ไซเบอรผานเว็บไซตขององคกรเพจในสื่ อสังคมออนไลนอยาง Facebook เชน เว็บไซต amazonwatch.org หรือเพจชื่อวา Amazon Watch 238 และเพจ Chevron Tóxico Oficial239 การเคลื่อนไหวในที่นี้ จะเปนใน เชิงการเผยแพรขอมูลขาวสารและสรางความตระหนักรูถึงความเสียหายที่ปาอะเมซอนไดรับ เพื่อเรียกร องให ผูคนทั่วโลกหันมาสนใจปญหานี้ เพราะเปนเหตุการณที่สิ่งแวดลอมรุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร โดย พวกเขาเรียกมันวา “Amazon Chernobyl” เนื่องจากมีพื้นที่ปาอะเมซอนที่ไดรับความเสียหายประมาณ 200 ตารางกิโลเมตรไดถูกทำใหกลายเปนพื้นที่อันตรายหรือ “death zone” เหมือนกับเหตุการณที่เครื่องปฏิกรณ นิวเคลียรของโรงไฟฟา นิว เคลียร เชอร โนบิลระเบิด จนกลายเปนหายนะดานสิ่งแวดล อมที่ ยิ่ ง ใหญ ที่ สุด ของ 235

Ibid.

236

Ibid.

237

Chevron Toxico. (n.d.). “The Chevron Tapes: secret videos reveal company hid pollution in Ecuador” Retrieved September 12, 2018, from https://chevrontoxico.com 238 Facebook fan pages: “Amazon Watch”: https://www.facebook.com/amazonwatch 239 Facebook fan pages: “Chevron Toxico Oficial”: https://www.facebook.com/ChevronToxicoOficial/


295

ประวัติศาสตรมนุษยชาติ ดวยการที่ยังมีกัมมันตภาพรังสีแพรกระจายและยังคงอยูในอีก 30 ปตอมาหลังจากที่ มันระเบิด สวนเรื่องการฟองคดีตอศาลเอกวาดอร เพื่ อเรี ย กใหบริษัท Chevron รับผิดชอบตอความเสี ย หายที่ เกิ ด ขึ ้ น เมื ่ อป 2011 ศาลสู ง ของประเทศเอกวาดอรได สั่ งให บริ ษัท Chevron ชดใช คาสิ นไหมทดแทนเปน คาเสียหายจำนวน 9.5 พันลานดอลลารสหรัฐ แมบริษัท Chevron จะยอมรับเขตอำนาจศาลเอกวาดอร เพื่ อ หลีกเลี่ยงที่จะขึ้นศาลสหรั ฐอเมริ กา แตทางบริษัทก็ไดปฏิเสธที่จะชดใชคาเสี ยหายดังกล า วและได ขายหรื อ โยกยายทรัพยสินที่มีอยูออกจากประเทศเอกวาดอรเพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับคดีโดยศาล บริษัท Chevron ไดหนี ออกนอกประเทศ พรอมกับขมขูเหยื่อผูไดรับผลกระทบวาพวกเขาจะตองถูกฟองคดีตลอดชีวิต (lifetime of litigation) หากยังเรียกรองเอาคาสินไหมทดแทนอีก แตโจทกทั้ง 30,000 คน ยังคงไมยอมแพ ปจจุบันคดีนี้ถูก ยายไปใหศาลประเทศแคนาดาพิจารณา ซึ่งเปนสถานที่ที่ทรัพยสินของบริษัท Chevron ตั้งอยูและเปนสถานที่ ที่เหยื่อมีความหวังวาจะไดรับความยุตธิ รรมในทายทีส่ ุด 240 เมื่อบริษัท Chevron ตระหนักรูดีวาพวกเขาจะตองแพคดีและไมตองการชดใชคาเสียหายจากการที่ เปนผูแพคดี ดังนั้น ในปเดียวกัน บริษัท Chevron จึงไดวาจางใหบริษัทที่ปรึกษากฎหมายของพวกเขาที่มีชื่อวา Gibson Dunn ใหฟองตบปากเพื่อปดปากกลุมนักเคลื่อนไหว และบีบบังคับเหลานักกฎหมายซึ่งเปนนักปกปอง สิ ท ธิ ใ หถอนตั ว ออกจากคดี ในคดี แ รกที ่ บริ ษั ท chevron เป นผู  แ พ คดี โดยเฉพาะนายสตี เวน ดอนซิ เกอร (Steven Donziger) ทนายความชาวอเมริกันผูยืนหยัดตอสูเคียงขาง ชนพื้นเมืองมาเสมอ การฟองคดีของบริษัท Chevron ครั้งนี้ พวกเขาไดใชเงินจำนวน 2 พันลานดอลลารสหรัฐ เพื่อจั ด ตั้ ง บริษัทที่ปรึกษากฎหมายจำนวน 60 แหงและนักกฎหมายอีก 2,000 เพื่อ “บดขยี้” ชีวิตนายดอนซิเกอร และ ลูกความของเขา ซึ่งเปนปฏิปกษกับทางบริษัทมาตลอดสองทศวรรษในการตอสู นอกจากนี้ นายดอนซิเกอร ยั ง เปนผูชนะคดีที่บริษัท Chevron เปนผูแพและถูกตราหนาวาเปนผูที่ทำการ “ฆาลางเผาพันธุอยางชา” (Slow Genocide) ตอชนพื้นเมืองที่อาศัยอยูในปาอะเมซอน ดังนั้น นาย ดอนซิเกอร (ไมเวนแมกระทั้งสมาชิกในครอบครัว) ไดตกเปนเปาหมายหลักในการฟองตบ ปากครั้งนี้ โดยการที่บริษัท Chevron ไดฟองเรียกคาเสียหายจากดอนซิ เกอร เปนจำนวนเงิ น 6 หมื่ นล า น ดอลลารสหรัฐ และไดฟองชาวบานเอกวาดอรจำนวน 47 คน ที่เปนลูกความของเขา ในขอหาขูกรรโชกทรั พ ย หรือ“racketeering” ตอศาลในสหรัฐอเมริกา อีกทั้ง หมายศาลของบริษัท Chevron ยังถูกส ง ไปยั ง กลุ ม นั ก เคลื่อนไหวที่ตั้งขึ้นเพื่อประณามการกระทำของบริษัทและองคกรดานสิ่งแวดลอมอื่น ๆ รวมถึงผูที่คอยสนับสนุน กลุมชนเผาพื้นเมืองในปาอะเมซอนมาตลอด ไมวาจะเปน (1) เร็กซ เวยเลอร (Rex Weyler) ผูรวมกอตั้งองคกร Greenpeace ซึ ่ ง ได เขี ย นบทความโจมตี บ ริ ษ ั ท Chevron ลงในบล็ อกบนเว็ บ ไซต กรี นพี ช ว า เป นผู  กอ

240

Rex Weyler. (2017). “Chevron’s Amazon Chernobyl Case moves to Canada” Retrieved September 12, 2018, from Intercontinental Cry: https://intercontinentalcry.org/chevrons-amazon-chernobyl-casemoves-canada/


296

อาชญากรรมทางนิ เวศวิ ท ยา (ecological crimes) 241 (2) องค กร Electronic Frontier Foundation (3) องคกร Human Rights Watch (4) เคที ซัลลิแวน (Katie Sullivan) นักธุรกิจเกี่ยวกับการเงินซึ่งเป นผู ใ ห การ สนับสนุนดานการเงินแกชนพื้นเมืองในการตอสูคดีในตอนแรก และ (5) คาเรน ฮินตัน ชาวอเมริกัน ผูเปนปาก เสียงใหกับชุมชนที่ไดรับผลกระทบ นายดอนซิเกอร ไดกลาววา บริษัท Chevron และ Gibson Dunn กำลังเริ่มสิ้นหวังในฐานะบริ ษั ท ที่ กออาชญากรรมดานสิ่งแวดลอม รวมถึงการปกปดหลอกลวง ดวยการอางพยานหลักฐานเท็จ และวาจางพยาน บุคคลเพื่อมาปรักปรำเขา การกระทำเชนนี้ของบริษัท ไมไดเปนไปเพื่อประโยชนสวนตัวเพียงอยางเดียว แต ยั ง เปนไปเพื่อประโยชนของลูกคาของบริษัท Gibson Dunn ซึ่งมีเรื่องอื้อฉาวอีกจำนวนมาก 242 นอกจากบริษัท Chevron ที่มีปญหาแลว บริษัทกฎหมายของพวกเขา Gibson Dunn ก็เคยมีประวัติ ในเรื่องของการใชวิธีการตอสูคดีที่ไรจรรยาบรรณ 243 ยกตัวอยางเชน ในการพิจารณาคดีที่ศาลเอกวาดอร นัก กฎหมายของบริษัทไดทำการขมขูผูพิพากษาวาจะเอาติดคุก หากพิพากษาใหอีกฝายหนึ่งชนะ แนนอนวาวิธีการ สกปรกเชนนี้ลมเหลวไมเปนทา ศาลเอกวาดอรจึงสั่งใหบริษัท Chevron จายคาเสียหายและตกเปนผูแพคดีใน ครั้งนี้ไป เมื่อการโจมตีดวยการฟองตบปากของบริษัท Chevron ทวีความรุนแรงมากขึ้น นายดอนซิเกอรก็ไดรับ แรงสนับสนุนจากผูคนอยางกวางขวาง ไมวาจะเปน นักดนตรีจากวงพิงค ฟรอยด (Pink Floyd) ผูอำนายการ สรางและผูกำกับภาพยนตรอยาง ทรูดี สไตเลอร (Trudie Styler) หรือนักแสดงฮอลลิวูดอยาง อเล็ก บอลดวิน (Alec Baldwin) และ ศาตราจารย ชาลส เนสสัน จากสำนักกฎหมายมหาวิทยาลัยฮารวารด (Harvard Law School) รวมถึงผูคนในแวดวงอื่น ๆ อีกมากมาย 244

241

Rex Weyler. (2017). “Chevron's Amazon Chernobyl Case moves to Canada” Retrieved September 12, 2018, from Greenpeace: https://www.greenpeace.org/archive-international/en/news/Blogs/ makingwaves/chevron-amazon-indigenous-people-legal-case-canada/blog/60241/ 242 Amazon Defense Coalition. (2018). “Report Shows Chevron Lawyers at Gibson Dunn Falsified Evidence to Target Steven Donziger in Ecuador Pollution Case”. Retrieved September 12, 2018, from CSR wire: http://www.csrwire.com/press_releases/4 1 2 8 2 - Report-Shows-Chevron-Lawyers-at-Gibson-DunnFalsified-Evidence-to-Target-Steven-Donziger-in-Ecuador-Pollution-Case 243 Ibid. 244 Ibid.


297

4.4. คดี O’Neill Properties Group v Delaware Riverkeeper Network

ปญหาการดำเนินคดีเพื่อเปนปฏิบัติการตบปากดวยกฎหมายของบรรษัท มิไดเกิดขึ้นในระดับประเทศ หรือกรณีที่เกิดความเสียหายอยางรายแรงเทานั้น แตยังเกิดขึ้นในระดับทองถิ่นอีกดวยกับ เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2018 สื ่ อท องถิ ่นของรัฐเพนซิลเวเนีย (Pennsylvania) ไดรายงานข าวเหตุ การณ ที่ มีบรรษัทที ่ดำเนินธุ รกิจ เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย ฟองตบปากกลุมนักเคลื่อนดานสิ่งแวดลอมจนเปนคดีขึ้น ข อเท็ จ จริ งพอสั งเขป มี อยู  ว  า ผู  พ ั ฒนาโครงการ (Developer) ในธุ ร กิ จ อสั งหาริ มทรัพ ยใ นเครือ O’Neill Properties Group ซึ่งเปนบริษัทพัฒนาพื้นที่เมือง (Brownfield) สัญชาติเยอรมัน ไดจัดทำแผนการ สรางทาวนเฮาสจำนวน 228 หลัง ทับบนพื้นที่ที่เรียกวา “the Bishop Tube site” ในเมืองอีสต ไวท แ ลนด (East Whiteland) ซึ่งเปนสถานที่ตั้งโรงงานผลิต ทอสแตนทเลทตลอดหลายทศวรรษที่ผานมา จนกระทั่งตอง ปดตัวลง 245 ปจจุบันพบการปนเปอนของสารพิษอันตราย ในน้ำใตดนิ บริเวณรอบโรงงาน สารพิษดังกลาวมีชื่อวา “Trichloroethylene” (TCE) หรือ สารกอมะเร็ง (Carcinogen) ซึ่งถูกใชเปนน้ำยาทำความสะอาดหรือสาร ขจัดคราบมัน (Degreaser) และสาร TCE นี้สามารถเขาสูรางกายของมนุษยไดหลายชองทาง ไมวาจะเปนการ สูดดม การกิน หรือผานผิวหนัง รวมถึงอาจสงผลใหเกิดปญหาดานพัฒนาการของทารกในครรภ 246 ดังนั้น องคกรที่เคลื่อนไหวดานสิ่งแวดลอมอยาง Delaware Riverkeeper Network (DRN) ซึ่ ง เป น องคกรที่ทำงานเกี่ยวกับการปกปองดูแลแมน้ำหรือแหลงน้ำในพื้นที่ลุมน้ำ และสุขภาพของคนในชุมชนที่บริโภค อุ ป โภคแหลง น้ำดัง กล าว จึ ง ได ยื ่นหนัง สื อรองเรี ยนไปยั งหนว ยงานรั ฐที ่เกี ่ย วของให สั่ง ระงั บโครงการสร าง ทาวนเฮาสของบริษัท O’Neill Properties 245

Jon Hurdle. (2017). “Judge throws out developer’s ‘SLAPP suit’ against environmental group” Retrieved September 12, 2018, from State Impact: https://stateimpact.npr.org/pennsylvania/2017/08/23/ judge-throws-out-developers-slapp-suit-against-environmental-group/ 246 Ibid.


298

องคกร DRN ไดใหเหตุผลวา สถานที่กอสรางตามแผนพัฒนาของบริษัท O’Neill ควรตองไดรั บ การ ฟนฟูโดยสมบูรณเสียทั้งหมดกอน โดยเฉพาะแหลงน้ำที่คนในชุมชนใชอุปโภคบริโภค เนื่องจากมีการตรวจพบวา มีสารกอมะเร็งปนเปอนในปริมาณทีเ่ กินกำหนดในแหลงน้ำทองถิ่นหลายพันครัง้ และถูกสงสัยวาอาจเปนสาเหตุ หลักของการปวยเปนโรคมะเร็งในอัตราที่สูงของผูคนทองถิ่นที่อาศัยอยูบริเวณนั้น การรณรงคเคลื่อนไหวขององคกร DRN เพื่อตอตานโครงการกอสราง ไมไดอยูในระดับที่แ พร ห ลาย หรือเปนที่รับรูในวงกวางเทาที่ควรและเกิดขึ้นเพียงบนที่ไซเบอรเทานั้น ไมวาจะเปนการเผยแพรขอมูลขาวสาร ผานเว็บไซตขององค กร หรือเพจ Facebook ขององคกร 247แตดวยกลวิธีการตอสูอันหนั กแน นขององค กร DRN ตามที่ไดกลาวมา คือการขอใหรัฐสั่งระงับโครงการ สงผลให บริษัท O’Neill ตองตอบโตโดยใชวิธีการฟอง ตบปากเพื่อปดปากองคกร DRN บริษัท O’Neill Properties จึงยื่นฟองตอศาลวาองคกร DRN ขอมูลที่องคกรไดกลาวมาลวนเปนความ เท็จทั้งในเรื่องของแผนการสรางทาวนเฮาสและการพบปริมาณสารปนเปอนในระดับสูง เนื่องจากฝ า ยพั ฒนา โครงการของบริษัทเพียงแตวางแผนเพื่อการฟนฟูสถานที่กอสรางเทานั้น บริษัท O’niell จึงกลาวหาวาองคกร DRN กระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท (defamation) และความผิ ดฐานสมคบกั นเพื ่อร วมกันกระทำการ ทุ จ ริต (Civil Conspiracy) 248 อี กทั ้ง ยั งได ขอให ศาลสั่ งให องค กร DRN หยุ ด เคลื่ อนไหวหรือระงับแคมเปญ ตอตานแผนการดำเนินงานของบริษทั พรอมกับเรียกคาเสียหายอีกอยางนอย 50,000 ดอลลาร คดี นี ้ ไ ดร ับ การพิจ ารณาถึ ง สองศาล เมื ่ อเดื อนสิ ง หาคม ป 2017 ผู  พ ิ พ ากษา Jeffrey Sommer ผู พิพากษาประจำศาล Chester County Court ไดพิพากษายกฟองคดีนี้ ดวยเหตุผลวา องคกร DRN มีสิทธิที่ใน การยื่นคำรองตอรัฐบาลทองถิ่นและรัฐบาลกลาง เพื่อเปนการสนับสนุนสงเสริมใหเกิดความปลอดภัยตอสุขภาพ ของประชาชนและเพื่อปองกันสิ่งแวดลอม สงเหลานี้ ศาลเรียกมันวา เปนการปกปองสิทธิตามรัฐธรรมนูญซึ่งได ให การรั บ รองหลั กเสรี ภาพในการแสดงออก (Freedom of Expression) หรื อเสรี ภาพในการพู ด (Free Speech) ภายใตบทบัญญัตแิ หง First Amendment249 แม ต  อมาบริ ษั ทจะได ยื ่ นอุ ทธรณต อศาลสู งแหง รั ฐเพนซิ ลเวเนีย ศาลสู ง ยั ง คงพิพ ากษายืนตามคำ พิพากษาศาลชั้นตน ใหยกคำฟองของบริษัท O’Niell ในวันที่ 6 กันยายน 2018 ดวยการใหเหตุผลวา บริษัทไม มีอำนาจที่จะสั่งใหองคกร DRN หยุดการเคลื่อนไหวตอตาน และศาลจะไมพิจารณาวา สิ่งที่องคกร DRN พูดนั้น

247

Facebook Fan Page: “Delaware River keeper Network”: https://www.facebook.com/Delaware.River keeper.Network/ 248 Civil Conspiracy หมายถึงการสบคบคิ ดกัน ระหวา งบุ คคลตั้ งแต สองคนขึ้นไป เพื่อกระทำการอัน มี วั ต ถุ ป ระสงค ที่ เ ป น ความผิดหรือ ที่ไ มช อบดวยกฎหมายเพื่อใหเกิ ดผลสำเร็ จหรื อเพื่อ กระทำการอัน มีวั ตถุ ป ระสงค ซึ่ ง ในตั ว มั น เองไม เ ป น ความผิดหรืออาจชอบดวยกฎหมาย หากแตใชวิธีการที่เปนความผิดหรือไมชอบดวยกฎหมายโดยผลขอกการกระทำนั้น ได กอใหเกิดความเสียหายแกผูอื่น 249 Jon Hurdle. (2017). Ibid.


299

เปนความจริงหรือไมอยางไร เนื่องจากน้ำใตดินที่มีสารปนเปอนก็จะยังคงเปนมลพิษกับพื้นที่โดยรอบตอไป ซึ่ง ยอมไมผิด หากจะกลาววาชุมชนอาจตองสัมผัสกับสารพิษมากขึ้นตอไปจนกวาจะไดรับการฟนฟู 250 แตอยางไรก็ตาม เจมส ซารเจนท ทนายความของบริษทั O’Neil ไดปฏิเสธมากอนหนานี้วา ทางบริษทั ไมไดมีเจตนาปดกั้นการใชเสรีภาพในการพูดของ DRN และไดปฏิเสธคำรองเรียนของ DRN ที่เรียกรองใหบริษทั เขาฟนฟูและชำระลางสารปนเปอนในน้ำทั้งหมด 251 ผูนำองคกร DRN อยาง มายา แวน รอสซัม (Maya van Rossum) ไดออกมาประณามการกระทำของ บริษัท O’Neil ที่ไดฟองตบปากองคกรของตนวา “พวกเขาควรจะตองละอายแกใจตัวเองสำหรับความพยายาม ในการใชกฎหมายเพื่อคุ กคามประชาชนใหปดปากเงี ยบและพยายามมองหาคำตัดสินของศาลเพื่ อ เพิ กถอน เสรีภาพในการแสดงออกหรือสิทธิในการรองเรียงตอรัฐที่ไดรับการคุมครองตามรัฐธรรมนูญ” พรอมทั้งเสนอวา หลังจากการฟนฟูพื้นที่โดยสมบูรณแลว พื้นที่ดังกลาวควรถูกแปรสภาพทำใหเปนสวนสาธารณะมากกว า ที่ อยู อาศัย 252 ก อนหน า นี้ เมื ่ อเดื อนพฤศจิกายนป 2017 องค กร DRN ได ย ื ่ นฟ องตอศาลให หน ว ยงานปกป อง สิ่งแวดลอม (Department of Environmental Protection: DEP) ซึ่งลมเหลวในการเรียกใหเจาของโรงงาน คนกอนรับผิดชอบตอความเสียหายที่เกิดขึ้นกับแหลงน้ำในชุมชน และไดขอใหศาลกำหนดให DEP นำบุคคลที่ อาจมีความรับผิดตอความเสียหายนั้น มารวมกันตกลงทำแผนการฟนฟูพื้นที่นั้น253

250

Jon Hurdle. (2018). “Court rejects developer’s effort to block protest against town homes plan” Retrieved September 12, 2018, from State Impact: https://stateimpact.npr.org/pennsylvania/2018/09/07/ court-rejects-developers-effort-to-block-protest-against-town-homes-plan/ 251 Ibid. 252 Ibid. 253 Ibid.


300 แผนภาพที่ 7 แผนผังสรุปกระบวนการปฏิบัติการตบปากดวยกฎหมาย (SLAPP) พอสังเขป


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.