ป่วยอย่างฉลาด ๓ สิง่ ง่ายๆ ทีค ่ วรทำก่อนตาย เพือ ่ ความสิ้นทุกข์ หยุดการเวียนว่ายตายเกิด สรรค์สาระ : ณัฐพันธ์ ปิ่นทวีเกียรติ บรรณาธิการสาระ : ศักดิ์สิทธิ์ พันธุ์สัตย์ พิสูจน์อักษร : อรัญ มีพันธ์ บรรณาธิการศิลปะ : อนุชิต คำซองเมือง ภาพหน้าปก : ชิชกาน ทองสิงห์ ออกแบบรูปเล่ม : ธิติ สัคคะวัฒนะ ภาพประกอบ : ชิชกาน ทองสิงห์, ธนรัตน์ ไทยพานิช ออกแบบปก : ธิติ สัคคะวัฒนะ, ณัฐพันธ์ ปิ่นทวีเกียรติ
ระดมธรรม นำสันติสุข ชาตกาล ๒๗ พ.ค. ๒๔๔๙ มรณกาล ๘ ก.ค. ๒๕๓๖
“ธรรมทานมีผลมากกว่าทานอื่นๆ จริงๆ วัตถุทานก็ช่วยกัน แต่เป็นเรื่องมีชีวิตอยู่รอด อภัยทานก็เป็นเรื่องมีชีวิตอยู่รอด แต่มันยัง
ไม่ดับทุกข์ มีชีวิตอยู่รอดอย่างเป็นทุกข์น่ะ มันดีอะไร ? เขาให้มีชีวิตอยู่
แต่เขาได้รับทุกข์ทรมานอยู่ นี้มันดีอะไร มันดีอะไร เมื่อรอดชีวิตแล้ว
มันจะต้องไม่มีความทุกข์ด้วย จึงจะนับว่าดีมีประโยชน์ ข้อนี้สำคัญ ด้ ว ยธรรมทาน มี ค วามรู้ ธ รรมะแล้ ว รู้ จั ก ทำให้ ไ ม่ มี ค วามทุ ก ข์ รู้ จั ก ป้องกันไม่ให้เกิดความทุกข์ รู้จักหยุดความทุกข์ที่กำลังเกิดอยู่ ธรรมทาน จึงมีผลกว่าในลักษณะอย่างนี้ มันช่วยให้ชีวิตไม่เป็นหมัน วัตถุทานและ อภัยทาน ช่วยให้รอดชีวิตอยู่ บางทีก็เฉยๆ มันสักว่ารอดชีวิตอยู่เฉยๆ แต่ถ้ามีธรรมทานเข้ามา ก็จะสามารถช่วยให้มีผลดีถึงที่สุดที่มนุษย์ ควรจะได้รับ เพราะฉะนั้น ขอให้สนใจในเรื่องธรรมทาน”
คำนำ
พระพุ ท ธเจ้ า ตรั ส สอนว่ า “ความทุ ก ข์ ” อั น ได้ แ ก่ ความเกิ ด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความพลัดพราก ความเศร้าโศกเสียใจ รำพึงรำพัน และความไม่สมปรารถนานั้นล้วนเป็นทุกข์ แต่จะมีสักกี่คน
ทีร่ จู้ กั ความทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ และหนทางสูค่ วามดับทุกข์อย่างแท้จริง ในหนังสือเล่มนี้ หลวงปู่พุทธทาสได้ชี้แนะวิธีง่ายๆ ที่จะชนะ ความทุกข์ ความเจ็บไข้ เพื่อการไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกไว้ ๓ ข้อ หากเราตั้งใจศึกษาและนำไปปฏิบัติตามแล้ว ความทุกข์ต่างๆ ก็จะไม่เป็น ปัญหาอีกต่อไป ดังนี้แล้ว สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จึงได้นำ พระธรรมเทศนาของหลวงปู่พุทธทาสเรื่องสำคัญนี้มาจัดพิมพ์ใหม่ โดย ได้ จั ด หน้ า ทำวรรคตอน ตั้ ง หั ว ข้ อ ใหญ่ หั ว ข้ อ ย่ อ ย ทำบทคั ด ย่ อ
เพิ่มเชิงอรรถ เสริมสาระอธิบายข้อธรรม และใส่ภาพประกอบ เพื่อให้ อ่านง่าย เข้าใจง่าย ช่วยย่นระยะเวลาในการอ่าน เข้าถึงแก่นแท้ของ ธรรมะ และหยิบใช้ได้ทันที มีสุขทันใจ จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จักเอื้อประโยชน์ให้ผู้อ่าน
ได้ เข้ า ถึ ง วิ ธี ช นะความทุ ก ข์ อั น เป็ น แก่ น สำคั ญ ของพระพุ ท ธศาสนา จนกระทั่งปฏิบัติตนและดำเนินไปสู่ความพ้นทุกข์ เข้าถึง “พระนิพพาน” อันเป็นบรมสุขได้ในชาติปัจจุบันนี้ทุกท่านเทอญ
ณัฐพันธ์ ปิ่นทวีเกียรติ โปรดใช้เล่มนี้ให้คุ้มสุดคุ้ม & อ่านแล้ว -> แบ่งกันอ่านหลายท่านนะจ๊ะ
อ่านสิบรอบ ระดมสมองคิดสิบหน ฝึกฝนปัญญา พัฒนาการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง ฉลาดใช้ เฉลียวคิด ชีวิตจักสนุก สงบ เย็น สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ ปรารถนาให้ทุกครอบครัวมีความสุข
ความเจ็บไข้มาเตือนให้ฉลาด๑ วันนี้อาตมาจะสอนวิธีชนะทุกข์ ชนะความเจ็บไข้ ให้ตั้งใจศึกษาและนำไปปฏิบัติให้ดีล่ะ
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ เอตํ ภยํ มรเณ เปกฺขมาโน โลกามิสํ ปชฺชเห สนฺติ เปกฺโขติ ธมฺโม สกฺกจฺจํ โสตพฺโพติ ณ บัดนี้ จะได้แสดงธรรมเทศนาเป็นเครื่องตักเตือนคนเจ็บไข้
จงตั้งใจฟังดังต่อไปนี้
ขึ้นชื่อว่าความเจ็บไข้นี้ พึงเห็นว่าเป็นของธรรมดาที่จะต้องมีมาแก่สังขาร๒ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นมนุษ ย์หรือสัตว์ชนิดไหน เพราะเหตุว่าสังขารทั้งหลายจะต้องมีความเปลี่ยนแปลงไป
๑
พระธรรมเทศนาประจำวันเสาร์ ๒๕ เมษายน ๒๕๑๓ จากหนังสือ “คุณพระไม่ตาย” ; หนังสือชุด
มุนล้อธรรมจักร ของพุทธทาสภิกขุ ๒ ในบริบทนี้หมายถึง สังขาร ที่แปลว่า ร่างกาย
4
ป่วยอย่างฉลาด
ความเจ็บไข้เป็นเรื่องธรรมดาของการมีร่างกาย แม่ก็แก่แล้ว ร่างกายมันก็เสื่อมลงๆ เจ็บไข้ได้ป่วยเป็นธรรมดา
หนูจะดูแลแม่เองค่ะ วันนี้หนูเอาหนังสือธรรมะ ของเลี่ยงเชียงมาให้แม่อ่านด้วยนะคะ
เมื่อมีความเปลี่ยนแปลงแล้ว ก็จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงทั้งขึ้นๆ และลงๆ
เปลี่ยนแปลงไปในทางขึ้นก็ดูสบายดี แต่ถ้าเปลี่ยนแปลงมาในทางลงก็คือความเจ็บไข้ และเมื่อสังขารทั้งหลายมีอายุมากขึ้นตามลำดับแล้ว ก็มีแต่จะเปลี่ยนแปลงไปในทางเจ็บๆ ไข้ๆ นี่แหละ คือข้อที่จะต้องมองให้เห็นตามที่เป็นจริงว่า สังขารทั้งหลายย่อมจะเป็นอย่างนี้เอง สรุปความได้ว่า ความเจ็บๆ ไข้ๆ นี้ มันเป็นธรรมดาของสังขาร ทั้งหลาย “ร่างกายเป็นรังของโรค ตราบใดทีย่ งั มีรา่ งกาย คำว่าปราศจากโรคภัยนัน้ ย่อมไม่ม”ี เพราะร่างกายอันเกิดจากธาตุ ๔ (ดิน น้ำ ลม ไฟ) อาการ ๓๒ (ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ฯลฯ) นั้น
มีความเสื่อมไปตลอดเวลา มีความเสื่อมสลายไปในที่สุด ให้หมั่นพิจารณาและยอมรับตามความ เป็นจริง จนเห็นเป็นเรื่องธรรมดา ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นในร่างกาย
บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด 5
ความเจ็บไข้ สอนให้เห็นทุกข์ สาธุ เจ็บป่วยคราวนี้ ถือเป็นโอกาสดี ในการศึกษาและปฏิบัติธรรม
ทีนี้จะได้พิจารณากันต่อไปว่า ความเจ็บไข้นี้มีมาทำไม ? ควรจะ พิจารณาให้เห็นว่า ความเจ็บไข้มีมาสำหรับจะตักเตือน ความเจ็บไข้ไม่ได้ มาสำหรับให้เป็นทุกข์หรือเสียใจ ไม่ต้องมีเรื่องที่จะต้องเป็นทุกข์ หรือ เสียใจ จะเป็นทุกข์หรือเสียใจก็ไม่มีประโยชน์อะไร เพราะสังขารต้องเป็น อย่างนั้นเอง แต่ที่แท้แล้ว...
ความเจ็บไข้มิได้มาเพื่อให้เป็น ทุกข์ หรือเพื่อให้เสียใจ แต่ว่ามาเพื่อตักเตือนให้ฉลาด มาเพื่อสั่งสอนให้ฉลาด หรือว่ามาเพื่อบอกให้เตรียมเนื้อเตรียมตัว สำหรับการดับไม่เหลือแห่งความทุกข์
6
ป่วยอย่างฉลาด
ถ้าต้องการพ้นทุกข์จากความเจ็บไข้ ต้องเตรียมพร้อม “ดับไม่เหลือ” พวกเราเห็นทุกข์ภัย ของการเวียนว่าย ตายเกิดแล้วครับ
พวกเราไม่อยาก เกิดอีกแล้วค่ะ
สาธุ ให้หมั่นเจริญทาน ศีล ภาวนา ฝึกพิจารณาร่างกายตามความเป็นจริงนะโยมนะ
ถ้ายังเวียนว่ายอยู่ในวัฏสงสาร มันก็ต้องเป็นทุกข์ด้วยความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ถ้าจะไม่ให้มีความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ก็ต้องอย่าเวียนว่ายไปในวัฏสงสาร
เดี๋ยวนี้ ความเจ็บไข้ได้มาตักเตือน ได้มาแสดงให้เห็นแล้วว่ามันเป็นอย่างนี้เอง ถ้าต้องการจะพ้นจากความเป็นอย่างนี้ คือ ความเจ็บไข้แล้ว ก็ต้องเตรียมตัวสำหรับ “ความดับไม่เหลือ”
พระพุทธเจ้าตรัสสอนว่า อย่าฝืนโลก อย่าฝืนธรรม อย่าประมาทในชีวิต ให้คิดถึงความ ตาย ฝึกจิตให้พร้อมรับความตายไว้เสมอ แล้วจิตจักเป็นสุข เพราะร่างกายที่เห็นอยู่นี้ เป็นสมบัติ ของโลก ร่างกายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ร่างกายเสื่อมโทรมลงทุกวัน บังคับให้ทรงตัวไม่ได้ ทำได้ เพียงดูแลไปตามหน้าที่ เมื่อร่างกายตายแล้วจิตของเราเท่านั้นที่ต้องเวียนว่ายตายเกิด ไม่มีใคร สามารถเอาร่างกายและทรัพย์สมบัติทางโลกไปได้ ไม่มีใครช่วยเหลือเราได้ ให้หมั่นพิจารณาและ ยอมรับความจริงจนเห็นความเป็น “ธรรมดา” ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นทั้งหมด
บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด 7
“ความดับไม่เหลือ” คือ การดับความรูส้ กึ ว่าร่างกายเป็นตัวเรา เป็นของเรา เราเห็นตามความเป็นจริงแล้วว่า ร่างกายนี้ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ของเรา มีความเสื่อมสลายไปในที่สุด ตายแล้วก็เอาอะไรไปไม่ได้จริงๆ
ความดับไม่เหลือนี้ เป็นความดับของสังขาร อย่ามีเชื้อเหลือมา เกิดอีกต่อไป ถึงแม้ว่าร่างกายยังไม่ทันจะแตกดับ จิตใจก็สมัครดับ เรียก ตรงๆ ว่ า สมั ค รตายเสี ย ก่ อ นตาย เราจะมี ก ารปลงลงไปในทุ ก สิ่ ง
ทุกอย่าง ว่าหมดเรื่องแล้ว สิ้นเรื่องกันที เราจะต้องรู้สึกว่า...
ถ้าจะขืนเวียนว่ายอยู่ในวัฏสงสาร ก็จะต้องเป็นอย่างนี้ไม่มีที่สิ้นสุด ถ้าต้องการจะหยุดพัก มันก็ต้องไม่เป็นอย่างนี้ คือดับความรู้สึกของสังขารนั้นๆ ว่าเป็นตัวเราเป็นของเราเสีย สังขารมีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ถ้าเราไปยึดถือเอาว่าสังขาร เป็นของเรา ความเจ็บไข้มันก็กลายเป็นของเรา เราก็รู้สึกเป็นทุกข์ เสียใจ และน้อยใจ ถ้ามาตั้งใจกันเสียใหม่ ให้เด็ดขาดลงไปด้วยสติปัญญา หรือ ด้วยกำลังจิตอันเข้มแข็งว่าเรื่องของสังขาร ก็จงเป็นไปตามเรื่องของ สังขาร อย่ามาเป็นเรื่องของเรา 8
ป่วยอย่างฉลาด
ต้องมองให้เห็นความจริงของร่างกาย จึงจะคลายความยึดมั่นว่าตัวเรา หากพิจารณาจนมองเห็นความจริงของร่างกายแล้ว ให้มุ่งปฏิบัติธรรมเพื่อความพ้นทุกข์กันนะคะ
เรื่องของสังขารย่อมไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา แต่เรื่องที่เราปรารถนานั้นเป็นเรื่องหยุด เรื่องดับ เรื่องสงบ เรื่องเย็น เป็นนิพพาน จิตจะต้องมองให้เห็นอย่างนี้เสียก่อน จึงจะไม่ถือเอาเรื่องของสังขารมาเป็นเรื่องของเรา
ให้สังขารเจ็บไข้ทำลายไปตามธรรมดา จิตไม่ถือเอาความเจ็บ ความไข้หรือความตายนั้นเป็นของเรา จิตจะไม่ผูกพันกับความเจ็บไข้และ ความตาย แต่เปลื้องออกมาเสียสู่ความเป็นอิสระ นี่ แ หละ คื อ คำเตื อ นของความเจ็ บ ไข้ มั น มาเตื อ น ไม่ ไ ด้ ม า สำหรับให้เราเป็นทุกข์หรือเสียใจ แต่มาเตือนว่าจงเตรียมตัวไว้ให้พร้อม สำหรับความดับไม่เหลือแห่งความรู้สึกว่าตัวกูของกู โดยใจความก็คือ ดับตัวกู ดับของกูเสีย บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด 9
๓ สิง่ ต้องเตรียมพร้อมสำหรับ “ความดับไม่เหลือ” ๓ อย่างที่ต้องทำก่อนตาย ให้ ห มั น ่ ระลึ กนึกถึงและปฏิบัติตามให้ได้นะ ในการเตรียมตัวเตรียมใจสำหรับจะดับไม่เหลือนี้ จะแยกออก เป็น ๓ อย่าง คือ เรื่องทางโลก เราได้ทำเสร็จเรียบร้อยและทำดีที่สุดแล้ว ถ้าตายเมื่อไหร่ เราพร้อมปล่อยวางทุกอย่าง ๑. ระลึกเสมอว่า “เรื่องโลกๆ เราก็ได้ทำเสร็จเรียบร้อยไปแล้ว” เรื่ อ งที่ ห นึ่ ง ให้ มี ค วามระลึ ก ว่ า เรื่ อ งที่ ค นเราจะต้ อ งประพฤติ กระทำในเรื่องโลกิยะวิสัยต่างๆ นานานั้น เป็นเรื่องโลกๆ ทั่วไปนั้น บัดนี้ เราได้ทำเสร็จแล้ว ได้ทำครบถ้วนแล้ว ได้เลี้ยงบุตร ภรรยา เพื่อนฝูง มิตรสหาย หรือได้กระทำทุกอย่างแล้ว ที่เป็นเรื่องของโลกๆ ก็ได้ทำเสร็จ แล้ว นี้เรื่องหนึ่ง 10 ป่วยอย่างฉลาด
เจริญพรนะโยม ขอให้ถึงพระนิพพานในชาติปัจจุบันนะโยมนะ สาธุ สาธุ สาธุ ๒. ระลึกเสมอว่า “เรื่องบุญ เรื่องกุศล เราก็ได้ทำเสร็จเรียบร้อย ไปแล้ว” เรื่องที่สองเรื่องบุญกุศลต่างๆ นานา เรื่องทาน เรื่องศีล เรื่อง สงเคราะห์ สาธารณประโยชน์อะไรก็ตามที่เป็นเรื่องบุญ เรื่องกุศล เรา ก็ได้ทำเสร็จแล้ว ได้ทำเพียงพอแก่อัตภาพแล้ว ได้ทำเหมาะสมแก่การที่ เกิดมาเป็นมนุษย์คนหนึ่งๆ แล้ว ในการที่จะบำเพ็ญกุศลได้มากเพียงไร เราก็ได้ทำเสร็จแล้ว นี้ก็อีกเรื่องหนึ่ง ค่อย ๆ อ่าน ค่อย ๆ คิด คราคิดติดขัด หยุดพักสักนิด ทำจิตให้สงบ จักพบทางออก อ่านแล้วคิด คิดให้เข้าใจ เข้าใจแล้วลงมือทำ ทำด้วยสติสัมปชัญญะ ทำวันนี้ เดี๋ยวนี้ ขณะนี้ อย่ารอช้า อย่าผัดวัน อย่าประมาท คิดเร็ว สุขเร็ว ทำช้า ทุกข์มาก ทุกข์ยาวนาน บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด 11
มนุษย์โลก เทวโลก พรหมโลก มิได้สุขจริง แค่เพียงอาศัยพักทุกข์ชั่วคราว ไม่ช้าก็ต้องไปเกิดใหม่ จงหมั่นพิจารณาจนเกิดความเบื่อหน่าย เพราะเห็นทุกข์ เห็นโทษ เห็นภัยในวัฏสงสารเถิด สาธุ พวกเราจักปฏิบัติตามที่พระพุทธองค์ตรัสสอน เพื่อพระนิพพานเพียงจุดเดียว พระพุทธเจ้าข้า ๓. ระลึกเสมอว่า “พอกันทีสำหรับจะเวียนว่ายไปเกิดเป็นมนุษย์ เป็นเทวดา หรือเป็นพรหมด้วยบุญกุศลนั้นๆ” เรื่ อ งที่ ส ามนี้ ก็ คื อ ทำความระลึ ก ว่ า มั น พอกั น ที ส ำหรั บ ที่ จ ะ
เวียนว่ายไปในอาการอย่างนี้ คือมันพอกันทีสำหรับที่จะเวียนว่ายไปใน สังสารวัฏ จะเกิดเป็นมนุษย์ คือจะไปเกิดเป็นมนุษย์อีกมันก็ประสบกัน อย่างนี้อีก พอกันที แม้จะไปเกิดเป็นเทวดาก็ยังจะต้องตาย ยังจะต้อง เป็นทุกข์เป็นร้อนเพราะกิเลส ไม่ดีไปกว่ามนุษย์ ก็พอกันทีสำหรับที่จะไป เกิดเป็นเทวดา หนังสือเล่มนี้บรรจุพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าและพระอริยสงฆ์ โปรดใช้หนังสือเล่มนี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด คุ้มค่าที่สุด เมื อ ่ ไม่ อ า ่ นแล้ ว กรุ ณาส่งต่อผู้อื่นเพื่อเป็นการเผยแผ่ธรรมและบำเพ็ญทานบารมีแก่ตน 12 ป่วยอย่างฉลาด
เกิดเป็นเทวดาหรือพรหมก็ยังไม่พ้นทุกข์ ถ้าเราทำบุญกุศลไว้ก็ได้เกิดเป็นเทวดานี้แน่นอน แต่ว่าเกิดเป็น เทวดาแล้วไม่ใช่ว่าจะพ้นทุกข์ ยังคงมีกิเลสสำหรับเป็นเหตุให้มีความทุกข์ มีความกลัว มีความเจ็บไข้ในทางจิตใจ คือกิเลสเบียดเบียนอยู่เสมอ ทำบุญเพื่อเกิดเป็นเทวดานี้พอกันที ทีนี้แม้ว่าจะสูงขึ้นไปกว่านั้น ในบางครั้ง บางคราว บางชาติ เราก็ เกิดเป็นพรหม คือเป็นเทวดาขั้นสูงสุด แต่แล้วมันก็ยังมีตัวมีตนสำหรับที่ จะต้องตายอยู่นั่นเอง ยังมีความยึดมั่นถือมั่นว่าตัวกูอยู่นั่นเอง ยึดมั่นว่า อะไรๆ เป็ น ของกู อ ยู่ นั่ น เอง แม้ พ วกพรหมก็ มี ตั ว กู มี ข องกู ที่ เข้ ม ข้ น
ไม่อยากจะตาย เพราะว่าสบายมากก็เลยไม่อยากจะตาย แต่แล้วมันก็ ต้องตาย พวกพรหมก็ยังต้องเป็นทุกข์เพราะความตาย เพราะฉะนั้น พอกันทีสำหรับที่จะไปเกิดเป็นพรหม นี้เรียกว่า...
พอกันทีสำหรับที่จะเวียนว่ายไปในสังสารวัฏ เกิดเป็นมนุษ ย์อีกก็ไม่ไหว เกิดเป็นเทวดาก็ยังไม่ไหว เกิดเป็นพรหมก็ยังไม่ไหวอีกอยู่นั่นเอง เพราะฉะนั้นพอกันทีสำหรับสังสารวัฏ ขอให้ระลึกอย่างนี้ด้วยอีกเรื่องหนึ่ง
รวมกันก็เป็น ๓ เรื่องด้วยกัน คือระลึกว่า เรื่องโลกๆ ก็ได้ทำ เสร็จแล้ว เรื่องบุญกุศลก็ได้ทำเสร็จแล้ว พอกันทีสำหรับการเวียนว่ายไป ในสังสารวัฏ บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด 13
หากไม่ต้องการเวียนว่ายตายเกิดอีก หมั่นระลึก ๓ สิ่งนี้ให้ขึ้นใจ ๓ ข้อนี้ ให้จำแล้วเอาไปทำให้ดีๆ นะ
จงทบทวนใหม่ อี ก ครั้ ง หนึ่ ง ในการที่ จ ะระลึ ก เพื่ อ ความดั บ
ไม่เหลือ เพื่อนิพพานนั้น จะต้องระลึกว่า... ๑. เรื่องโลกๆ เราก็ได้ทำเสร็จเรียบร้อยไปแล้ว ๒. เรื่องบุญ เรื่องกุศล เราก็ได้ทำเสร็จเรียบร้อยไปแล้ว ๓. พอกั นทีสำหรับจะเวียนว่ายไปเกิ ด เป็ น มนุ ษ ย์ เป็ น เทวดา
หรือเป็นพรหมด้วยบุญกุศลนั้นๆ มีอยู่เป็น ๓ เรื่องดังนี้ ล้วนแต่แสดงว่า
พอกันที สำหรับที่จะทำเรื่องโลกๆ พอกันที สำหรับที่จะทำบุญทำกุศล พอกันที สำหรับที่จะเวียนว่ายไปตามอำนาจของบุญของกุศล
เราต้องการจะหยุด เราต้องการจะดับไม่เหลือ เพื่อความไม่เวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป นี่แหละเรียกว่าหยุดกันทีสำหรับสังสารวัฏ ขอสมัครดับไม่เหลือ แห่งตัวกู-ของกู เป็นพระนิพพาน 14 ป่วยอย่างฉลาด
เมื่อเห็นความทุกข์แล้ว ให้มุ่งหวังความสงบ ดับ เย็น เป็น “นิพพาน” เกิด แก่ เจ็บ ตาย วนเวียนในทุกข์เรื่อยไป ปฏิบัติธรรมเพื่อความพ้นทุกข์ เข้าถึงพระนิพพานดีกว่า
พระพุทธเจ้าท่านก็ได้ตรัสไว้ว่า เอตํ ภยํ มรเณ เปกฺขมาโน –
เมื่อใดมองเห็นภัยอันเกิดมาจากความเจ็บไข้หรือความตาย ; โลกามิสํ ปชฺชเห สนฺติ เปกฺโข – เมื่อนั้นจงละเหยื่อในโลกนี้เสีย มุ่งหวังสันติ คือ ความสงบรำงับดับไม่เหลือนั้นเถิด. ทบทวนอีกครั้งหนึ่งว่า
เมื่อใดมองเห็นภัยแห่งความเจ็บไข้ หรือความตายเป็นเบื้องหน้าแล้ว เมื่อนั้นจงละเหยื่อต่างๆ ในโลกเสีย มุ่งหวังหาสันติ คือ ความสงบ รำงับ ดับ เย็น เป็น “นิพพาน” เถิด เมื่อแรกเกิดมาก็มาตัวเปล่า เวลาตายก็ไปตัวเปล่า ขณะมีชีวิตอยู่เราสะสมทรัพย์สมบัติ อะไรไว้มากมาย บ้างก็สะสมไว้มากจนไม่มีที่จะเก็บ (เพราะตกเป็นทาสของความอยาก) แต่เรา เคยได้คิดพิจารณากันบ้างไหมว่า ตายแล้วเราเอาทรัพย์สมบัติของโลกไปได้ไหม ? (แม้กระทั่ง
ร่างกายที่เรายึดมั่นว่าเป็นเรา เป็นของเรา) นี่เราเกิดมาเพื่อทำเรื่องไร้สาระพวกนี้หรือ ? หากยัง
ไม่เคยพินจิ พิจารณา ขอให้อาศัยช่วงเวลาแห่งความเจ็บไข้นใี้ ห้เกิดประโยชน์สงู สุดเพือ่ ตัวของท่านเอง
บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด 15
ต้องละเรื่องโลก จึงจะชนะความทุกข์ได้ ทรัพย์สมบัติ ชื่อเสียง เงินทอง ล้วนเป็นของจอมปลอม ดิฉันขอปล่อยวาง ไม่ยินดียินร้ายกับมันอีกต่อไป
เดี๋ยวนี้เราก็มองเห็นอยู่แล้วว่า ความเจ็บไข้หรือความตายเป็นภัย ที่คุกคาม ทีนี้...
เราจะเอาชนะความเจ็บไข้หรือความตายให้ได้ เราก็จะต้องละเหยื่อในโลกเสีย ถือว่าถ้าเรายังไปยินดี หรือไปหวังอะไรในเรื่องโลกๆ แล้ว
ความเจ็บไข้และความตาย มันก็จะคุกคามเรา มันจะบีบคั้นให้เรากลัว ให้เราเสียใจ ให้เราเป็น ทุกข์ แต่ถ้าเราไม่หวังอะไรๆ ในโลกแล้ว มันก็บีบคั้นเราไม่ได้ ความเจ็บไข้หรือความตายจะมาขู่เข็ญให้เรากลัว ให้เราเสียใจ ให้เราเป็นทุกข์นั้นไม่ได้ โอกาสแห่งความเจ็บไข้ถือเป็นช่วงเวลาแห่งการพิจารณาธรรม อย่าปล่อยให้ขาดทุน ให้พยายามฝึกจิตพิจารณาเห็นร่างกายตามความเป็นจริง คือ ร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ร่างกายนี้ประกอบด้วยธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ และอาการ ๓๒ เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ฯลฯ เต็มไปด้วยสิ่งปฏิกูลสกปรกโสโครก มีความเสื่อมสลายถึงแก่ความตายไปในที่สุด เมื่อพิจารณา เนืองๆ ดังนี้แล้ว จิตจะค่อยๆ คลายการยึดติดร่างกายไปได้ทีละน้อยๆ จนปล่อยวางร่างกายได้
16 ป่วยอย่างฉลาด
มองให้เห็นว่าไม่มีอะไรที่น่าเอา-น่าเป็น เกิดมาก็ตัวเปล่า ตายไปก็ตัวเปล่า ไม่มีอะไรน่าเอา-น่าเป็นจริงๆ
เราเป็นทุกข์เพราะเรายังหวังอยู่ในโลก เรายังติดอยู่ในโลก ยังติด อยู่ในสิ่งสวยๆ งามๆ ของสังสารวัฏ พอเรามองเห็นว่า นี้เป็นของมายาชั่วครั้งชั่วคราว และหลอกลวง ให้เราเป็นทุกข์ ดังนี้แล้ว เราก็ไม่หวังเหยื่อ ไม่หวังที่จะกินเหยื่อ ไม่หวัง
ที่จะเอร็ดอร่อยสนุกสนานในเรื่องโลกๆ อีกต่อไป ไม่หวังที่จะไปเกิดเป็น อะไรทีไ่ หนอีกทัง้ หมด มันเป็นเรือ่ งมายาหลอกลวงชัว่ ครัง้ ชัว่ คราวไปทัง้ นัน้
เมื่อจิตมามองเห็นว่า ไม่มีอะไรที่น่าไปเอา ไม่มีอะไรที่น่าไปเป็นที่โลกไหนหรืออย่างไร ดังนี้แล้ว จิตก็จะน้อมไปสู่สันติ คือ ความสงบรำงับ ดับไม่เหลือ รักแผ่นดินไทย ส่งเสริมเด็กไทยให้ได้ใกล้ชิดธรรมะ ด้วยการพิมพ์หนังสือเล่มนี้ แจกเป็นธรรมทานแก่เด็ก โรงเรียน มหาวิทยาลัย ห้องสมุด สถานพยาบาล ร้านค้า โรงแรม ประจำบ้าน ฯลฯ เพื่อให้เด็กได้อ่านเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม สนใจติดต่อ : ๐๒-๘๗๒-๙๑๙๑, ๐๒-๘๗๒-๗๒๒๗
บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด 17
สละความอาลัยในเหยื่อโลก ถึงความดับเย็น เป็น “นิพพาน” สิ่งทั้งหลายในโลกนี้มีแต่ความทุกข์ หาความสุขเที่ยงแท้มิได้ จงหมั่นตั้งอารมณ์ ไว้จุดเดียว คือ ต้องการพระนิพพาน
บัดนี้ จงทำในใจให้เห็นว่าไม่มอี ะไรในโลกไหนทีน่ า่ เอาหรือน่าเป็น มีอยู่อย่างเดียวเท่านั้น คือ สันติ ความสงบรำงับ ดับไม่เหลือ เยือกเย็น เป็นนิพพาน นิพพานคือความเย็น เพราะไม่มีความร้อนคือกิเลส ไม่เวียนว่าย ไปในสังสารวัฏ เป็นความเย็นดังนี้ ความเจ็บไข้มาเตือนให้เราพอกันที สำหรับความเวียนว่ายไปในวัฏสงสาร
มองเห็นภัยในความเจ็บไข้และความตายแล้ว จงสละความอาลัยในเหยื่อโลกเสีย ไม่หวังจะกินเหยื่ออะไรในโลกอีกต่อไปแล้ว มุ่งหน้าเฉพาะต่อสันติ ความดับเย็นเป็น นิพพาน ไม่มีการเวียนว่ายอีกต่อไปเถิด
ธรรมเทศนาตักเตือนคนเจ็บไข้ สมควรแก่เวลา ยุติลงเพียงเท่านี ้ 18 ป่วยอย่างฉลาด
“ธรรมะดีจัง” ตอน “ทิ้งขยะ” เรื่อง/สตอรี่บอร์ดโดย ณัฐพันธ์ ปิ่นทวีเกียรติ สร้างสรรค์ภาพประกอบโดย ธนรัตน์ ไทยพานิช
สวดมนต์ชนะทุกข์ ชนะโรค การรักษาอาการป่วยด้วยการสวดมนต์ เป็น ๑ ใน ๗ พุทธวิธี รั ก ษาโรค ๑ ที่ อ งค์ ส มเด็ จ พระสั ม มาสั ม พุ ท ธเจ้ า ทรงใช้ เ ป็ น กุ ศ โลบาย
ในการป้ อ งกั น โรคและบำบั ด โรคแก่ พ ระภิ ก ษุ ใ นสมั ย พุ ท ธกาล อั น มี ปรากฏหลักฐานอยู่ในพระไตรปิฎก สำหรับบทสวดมนต์ที่มีอานุภาพในการรักษาโรคนั้น นิยมสวด บทโพชฌังคปริตร๒ หลังสวดมนต์ทุกครั้งควรแผ่เมตตาและอุทิศส่วน กุศลให้เจ้ากรรมนายเวรที่ผูกอาฆาตพยาบาททุกครั้ง เพราะอาการเจ็บ ป่วยของเรานั้นมีสาเหตุสำคัญมาจากกรรมปาณาติบาต คือ การฆ่าสัตว์ ทารุณสัตว์ เมื่อในอดีต สิ่ ง สำคั ญ ที่ ต้ อ งพิ จ ารณาในการสวดมนต์ เ พื่ อ รั ก ษาโรคคื อ
การพิ จ ารณาความหมายของบทสวดมนต์ แ ต่ ล ะบท เมื่ อ สวดและ พิ จ ารณาตามแล้ ว ให้ น้ อ มนำความหมายของบทสวดมนต์ แ ต่ ล ะบท
เข้ามาสู่ใจ หมั่นระลึกนึกไว้เพื่อการพิจารณา หากช่วงก่อนนอนและตื่นนอน ไม่มีเวลาสวดมาก อาจจะเพราะ ความเหน็ดเหนื่อยจากการทำงาน จากความเจ็บป่วย หรือความขี้เกียจ
ก็ตาม เมื่อหัวถึงหมอน ให้หลับตาแล้วสวดมนต์บทที่ชอบไปเรื่อยๆ จน หลับไป ให้ทำเช่นนี้ทุกๆ วันจนชิน
๑ อ่านเพิ่มเติมได้ในหนังสือ ๗ พุทธวิธีรักษาโรค และ พุทธไตรรัตน์ขจัดโรค โดย สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง ๒
บทโพชฌังคปริตร หน้า ๒๖
22 ป่วยอย่างฉลาด
๑. บทกราบพระรัตนตรัย ก่อนสวดให้ประณมมือ ทำจิตให้นิ่ง มุ่งตรงต่อพระรัตนตรัย เมื่อ จิตสงบดีแล้ว จึงเริ่มสวดออกเสียงดังพอประมาณ เป็นจังหวะสม่ำเสมอ ไม่เร็วหรือช้าเกินไป
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ. (กราบ) ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, ธัมมัง นะมัสสามิ. (กราบ) ระลึกถึงคุณพระธรรม สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สังฆัง นะมามิ. (กราบ) ระลึกถึงคุณพระสงฆ์
๒. บทนอบน้อมพระพุทธเจ้า นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ. ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง. บทกราบพระรัตนตรัยนี้ เป็นพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด 23
๓. บทไตรสรณคมน์ บทไตรสรณคมน์ เป็ น บทกล่ า วปฏิ ญ าณตนเข้ า เป็ น ชาวพุ ท ธ ยอมรับเอาพระพุทธ พระธรรม พระอริยสงฆ์ เป็นที่พึ่ง
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ. ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ. ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ. ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ. แม้ครัง้ ทีส่ อง ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ. แม้ครัง้ ทีส่ าม ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ.
24 ป่วยอย่างฉลาด
๔. บทสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย (อิส๎วาสุ) ใช้สวดเพื่อป้องกันภัยและขจัดความหวาดกลัวต่างๆ ให้หมดไป ถือเป็นบทสวดยอดธง (คือดีที่สุด) ของบทสวดทั้งปวง
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชา-
จะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ. ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ. สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา, เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, อาหุเนยโย, ปาหุเนยโย,
ทักขิเณยโย, อัญชะลิกะระณีโย, อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ.
ปริยัติ รู้จัก, ปฏิบัติ รู้จริง, ปฏิเวธ รู้แจ้ง ดำรงชีวิตตามพระสัทธรรมเช่นนี้ มีผลทำให้เป็นคน รู้ดี ทำดี มีคุณภาพ (จริงหรือไม่ ? ใคร่พิจารณา) บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด 25
๕. บทโพชฌังคปริตร
บทสวดเพื่อรักษาโรคภัยไข้เจ็บ
โพชฌังโค สะติสังขาโต วิริยัมปีติปัสสัทธิ- สะมาธุเปกขะโพชฌังคา มุนิตา สัมมะทักขาตา สังวัตตันติ อะภิญญายะ เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ เอกัส๎มิง สะมะเย นาโถ คิลาเน ทุกขิเต ทิส๎วา เต จะ ตัง อะภินันทิต๎วา เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ เอกะทา ธัมมะราชาปิ จุนทัตเถเรนะ ตัญเญวะ สัมโมทิต๎วา จะ อาพาธา เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ ปะหีนา๑ เต จะ อาพาธา มัคคาหะตะกิเลสา วะ เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
ธัมมานัง วิจะโย ตะถา โพชฌังคา จะ ตะถาปะเร สัตเต เต สัพพะทัสสินา ภาวิตา พะหุลีกะตา นิพพานายะ จะ โพธิยา โสตถิ เต* โหตุ สัพพะทา. โมคคัลลานัญจะ กัสสะปัง โพชฌังเค สัตตะ เทสะยิ โรคา มุจจิงสุ ตังขะเณ โสตถิ เต* โหตุ สัพพะทา. เคลัญเญนาภิปีฬิโต ภะณาเปต๎วานะ สาทะรัง ตัมหา วุฏฐาสิ ฐานะโส โสตถิ เต* โหตุ สัพพะทา. ติณณันนัมปิ มะเหสินัง ปัตตานุปปัตติธัมมะตัง โสตถิ เต* โหตุ สัพพะทา.
*๑ ถ้าสวดให้ตนเองเปลี่ยน เต (แก่ท่าน) เป็น เม (แก่ข้าพเจ้า) อ่านว่า ปะ-ฮี-นา (หายไป, สิ้นไป)
26 ป่วยอย่างฉลาด