˹ѧÊ×ÍàÃÕ¹áÅÐá¹Ç¢ŒÍÊͺ
ÃдѺ
ÁѸÂÁÈÖ¡ÉÒ ตรงตามหลักสูตร แม่กองธรรมสนามหลวง ปี ๒๕๖๑
เนือ้ หาครบถ้วนตามหลักสูตรแม่กองธรรมสนามหลวง ประกอบด้วย แผนผังขอบข่ายเนือ้ หาแต่ละวิชา, ผังการเรียนการสอน, แนวข้อสอบท้ายบทเพื่อทดสอบความรู้, มีภาพการ์ตนู และแผนผังประกอบเนือ้ หา ช่วยกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ อ่านง่าย เข้าใจง่าย สะดวก รวดเร็ว
หนังสือเรียนและแนวข้อสอบ ธรรมศึกษา ชั้นตรี ระดับมัธยมศึกษา ISBN : 978-616-268-324-4 คณะที่ปรึกษาและตรวจสอบต้นฉบับ พระมหาสมศักดิ์ ธนปญฺโ น.ธ.เอก, ป.ธ.๓, พธ.บ. (การสอนภาษาไทย), ศษ.ม. (การสอนภาษาไทย) พระมหาเอกสิทธิ์ อคฺคปญฺโ น.ธ.เอก, ป.ธ.๙ สำ�นักเรียนวัดสร้อยทอง พระบุญส่ง อโนมปญฺโ ประโยค ๑-๒, น.ธ.เอก, พธ.บ. (การสอนสังคม) อนุชิต คำ�ซองเมือง น.ธ.เอก, ป.ธ.๙, ค.บ. (พุทธศาสนา) วันนา มากมาย น.ธ.เอก, ป.ธ.๙, อวท. (คอมพิวเตอร์), ศศ.ม. (การบริหารยุติธรรม) อรุณ อาจทวีกุล น.ธ.เอก, ป.ธ.๘, ค.บ. (พุทธศาสนา) ไพยนต์ กาสี น.ธ.เอก, ป.ธ.๖, พธ.บ. (รัฐศาสตร์) มนิจ ชูชัยมงคล น.ธ.เอก, ป.ธ.๖, พธ.บ. (เศรษฐศาสตร์) เรียบเรียงต้นฉบับ ศักดิ์สิทธิ์ พันธุ์สัทธ์ น.ธ.เอก, ป.ธ.๗, พธ.บ. (ภาษาไทย) พิสูจน์อักษร อรัญ มีพันธ์ ศศ.บ. (ภาษาไทย) อุธร นามวงศ์ บธ.บ. (บริหารการจัดการทั่วไป) หนูคล้าย กุกัญยา ฝ่ายศิลป์ อนุชิต คำ�ซองเมือง ออกแบบปก สุกัญญา บุญทัน รูปเล่ม/จัดอาร์ต สมควร กองศิลา ภาพประกอบ เทิดเกียรติ ปลูกปานย้อย ภาพประกอบ ธนรัตน์ ไทยพานิช ภาพประกอบ ชิชกาน ทองสิงห์ ภาพประกอบ
สร้างสรรค์และลิขสิทธิ์โดย
บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด ๑๐๕/๙๕-๙๖ ถนนประชาอุทิศ ซอย ๔๕ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ ๑๐๑๔๐ โทร./แฟกซ์ ๐๒-๘๗๒-๗๖๖๗ ซื้อหนังสือ สาขาทุ่งครุ : โทร. ๐๒-๘๗๒-๗๒๒๗, ๐๒-๘๗๒-๘๒๒๘, ๐๒-๘๗๒-๙๘๙๘ สาขาสำ�ราญราษฎร์ : โทร. ๐๒-๒๒๑-๑๐๕๐, ๐๒-๒๒๑-๔๔๔๖ พิมพ์แจกเป็นธรรมทาน : โทร. ๐๒-๘๗๒-๘๘๗๓, ๐๒-๘๗๒-๙๑๙๑, ๐๒-๘๗๒-๘๑๘๑, ๐๒-๘๗๒-๘๐๘๐, ๐๒-๘๗๒-๕๙๗๘ เชิญชมสินค้าได้ท ี่ : WWW.LC2U.COM, WWW.LIANGCHIANG.COM, WWW.DHAMMA2U.COM พิมพ์ที่ : หจก. แอลซีพี ฐิติพรการพิมพ์
๑๐๕/๑๑๐-๑๑๒ ถนนประชาอุทิศ ซอย ๔๕ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ ๑๐๑๔๐
โทร. ๐๒-๘๗๒-๙๕๗๗ www.thitiporn.com
คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์ บริ ษั ท สำ � นั ก พิ ม พ์ เ ลี่ ย งเชี ย ง เพี ย รเพื่ อ พุ ท ธศาสน์ จำ � กั ด มุ่ ง มั่ น พั ฒ นาหนั ง สื อ สื่อการเรียนการสอนพระปริยัติธรรม ทั้งแผนกธรรมและบาลีสืบเนื่องมาโดยตลอดนับแต่ ปีพ.ศ. ๒๔๕๙ จนถึงปัจจุบนั เป็นเวลากว่าร้อยปี นับเป็นเกียรติและความภาคภูมใิ จของผูก้ อ่ ตัง้ คือ คุณปู่ทวดลิปโป แซ่เตียว และทายาทผู้สืบทอดจากรุ่นแรกจนถึงรุ่นที่ ๕ ในปัจจุบัน ตลอดระยะเวลาของการทำ�งาน บริษทั สำ�นักพิมพ์เลีย่ งเชียง เพียรเพือ่ พุทธศาสน์ จำ�กัด พยายามพัฒนาหนังสือสื่อการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมมาโดยตลอด จนได้รับความ ไว้วางใจและชื่นชมจากครูอาจารย์ นักเรียน ทั้งที่เป็นคฤหัสถ์และบรรพชิต ในปีพ.ศ. ๒๕๖๑ ทางแม่กองธรรมสนามหลวงได้ปรับปรุงหลักสูตรธรรมศึกษาใหม่ โดยแบ่งหลักสูตรธรรมศึกษาชั้นตรี โท เอก ออกเป็น ๓ ระดับ คือ ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา และระดับอุดมศึกษาและประชาชนทั่วไป ซึ่งในระดับประถมศึกษาและ มัธยมศึกษา ได้ลดเนื้อหาการเรียนการสอนให้น้อยลง เพื่อให้เหมาะแก่ผู้เรียนมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด จึงมอบหมาย ให้ทีมคณาจารย์ ร่วมกับพระครูสอนและผู้ทรงความรู้ด้านพระปริยัติหลายท่าน จัดทำ� หนังสือเรียนและแนวข้อสอบธรรมศึกษา ทั้งหมด ๙ เล่ม ประกอบด้วยหนังสือเรียน ธรรมศึกษาชั้นตรี ๓ ระดับ ๓ เล่ม, หนังสือเรียนธรรมศึกษาชั้นโท ๓ ระดับ ๓ เล่ม, และหนังสือเรียนธรรมศึกษาชั้นเอก ๓ ระดับ ๓ เล่ม ทั้งนี้เพื่อให้นักเรียนและครูผู้สอน มีหนังสือเรียนตรงตามหลักสูตรที่ปรับปรุงใหม่ของแม่กองธรรมสนามหลวง ในการจัดทำ�หนังสือเรียนธรรมศึกษาครั้งนี้ คณะผู้จัดทำ�แบ่งเนื้อหาออกเป็น ๒๐ คาบเรียน ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับเวลาที่โรงเรียนส่วนใหญ่กำ�หนดไว้สำ�หรับสอนธรรมศึกษา ซึ่งในแต่ละคาบประกอบด้วย
ผังขอบข่าย เนื้อหา
เป้าประสงค์ การเรียน
กิจกรรม การเรียน การสอน
เนื้อหากระชับ เล่นสีเน้นคำ� มีภาพประกอบ ให้เข้าใจง่าย
แนวข้อสอบ ประเมินความรู้
หวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้ จักเอื้อประโยชน์โสตถิผลแก่ครูอาจารย์ นักเรียน และผู้ เรี ย นธรรมศึ ก ษาได้ เ ป็ น อย่ า งดี อนึ่ ง หนั ง สื อ เล่ ม นี้ บ รรจุ ห ลั ก ธรรมคำ � สอนทาง พระพุทธศาสนา ประวัติของพระพุทธเจ้า พิธีกรรมต่างๆ ทางพุทธศาสนา และเบญจศีล เบญจธรรม ซึง่ ถือเป็นหลักวิชาทีส่ �ำ คัญควรแก่การศึกษาและนำ�ไปปฏิบตั สิ �ำ หรับพุทธศาสนิกชน ทั่วไป หนังสือเล่มนี้จัดทำ�รูปแบบการนำ�เสนอให้เข้าใจง่าย สะดวก และประหยัดเวลา ในการเรี ย น ดั ง นั้ น จึ ง เหมาะแก่ พุ ท ธศาสนิ ก ชน พระภิ ก ษุ ส ามเณร อุ บ าสก อุ บ าสิ ก า นักเรียน นักศึกษา พ่อค้า และประชาชนทัว่ ไป ทีต่ อ้ งการศึกษาหลักคำ�สอนทางพระพุทธศาสนา าตุ จิรํ สตํ ธมฺโม ขอพระสัทธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จงดำ�รงอยู่ตลอดกาลนาน บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด เมษายน ๒๕๖๒
สารบัญ
วิชา เรียงความแก้กระทู้ธรรม
ขั้นตอนการเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรม รูปแบบการเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรม พุทธศาสนสุภาษิตที่ควรท่องจำ�
วิชา ธรรมวิภาค
ทุกะ ติกะ จตุกกะ ปัญจกะ ฉักกะ สัตตกะ อัฏฐกะ
หมวด ๒ หมวด ๓ หมวด ๔ หมวด ๕ หมวด ๖ หมวด ๗ หมวด ๘
๑๖ ๒๐ ๒๔ ๓๑ ๓๒ ๓๕ ๓๗
จตุกกะ หมวด ๔ ฉักกะ หมวด ๖
๔๐ ๔๑
คิหิปฏิบัติ
วิชา พุทธประวัติ
๙ ๑๐ ๑๓
บทที่ ๑ บทที่ ๒ บทที่ ๓ บทที่ ๔ บทที่ ๕
ชมพูทวีปและประชาชน กำ�เนิดศากยวงศ์ ประสูติ ออกผนวช ตรัสรู้
๔๕ ๔๘ ๕๐ ๕๓ ๕๖
วิชา ศาสนพิธี
บทที่ ๖ บทที่ ๗ บทที่ ๘ บทที่ ๙ บทที่ ๑๐ บทที่ ๑๑ บทที่ ๑๒ บทที่ ๑๓ บทที่ ๑๔ บทที่ ๑ บทที่ ๒ บทที่ ๓ บทที่ ๔ บทที่ ๕
แสดงปฐมเทศนา ประกาศพระศาสนา เสด็จกรุงราชคฤห์ พุทธกิจในแคว้นมคธ เสด็จแคว้นสักกะ เสด็จแคว้นโกศล ปรินิพพาน ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ แบ่งพระบรมสารีริกธาตุ พิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะ พิธีบำ�เพ็ญกุศลในวันสำ�คัญ พิธีทำ�บุญถวายภัตตาหาร พิธีถวายทาน การแสดงความเคารพพระรัตนตรัย
วิชา วินัย (เบญจศีล เบญจธรรม)
บทที่ ๑ ว่าด้วยวินัย บทที่ ๒ ว่าด้วยเบญจศีล บทที่ ๓ ว่าด้วยเบญจธรรม
๕๘ ๖๑ ๖๓ ๖๘ ๗๑ ๗๓ ๗๖ ๘๐ ๘๒ ๘๙ ๙๑ ๙๔ ๑๐๐ ๑๐๒ ๑๐๕ ๑๑๒ ๑๒๕
วิชา เรียงความแก้กระทู้ธรรม ขอบข่ายการเรียน เรียงความแก้กระทู้พุทธศาสนสุภาษิต ๓ หมวด ได้แก่ ๑) ปาปวรรค หมวดบาป ๒) กัมมวรรค หมวดกรรม ๓) ปุญญวรรค หมวดบุญ
เวลาเรียน l
ใช้เวลา ๔ คาบ
เป้าประสงค์ ผู้เรียนท่องจ�ำและเขียนพุทธศาสนสุภาษิตพร้อมที่มาได้อย่างน้อย ๒ สุภาษิต l ผู้เรียนเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรมได้ถูกต้องตามกฎเกณฑ์ที่วางไว้ l
กิจกรรมการสอน ผู้สอนบรรยายถึงลักษณะและประโยชน์ของวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม l ผูส ้ อนให้ผเู้ รียนท่องจ�ำและฝึกเขียนพุทธศาสนสุภาษิตทีต่ นชอบ ๒ สุภาษิต พร้อมทีม่ า l ผู้สอนให้ผู้เรียนดูรูปแบบการเขียนกระทู้ พร้อมอธิบายประกอบ l ผู้สอนแนะแนวการอธิบายพุทธศาสนสุภาษิตแก่ผู้เรียน l ผู้เรียนฝึกเขียนเรียงความแก้กระทู้ในห้องเรียนและท�ำเป็นการบ้าน l
อุปกรณ์ ผังรูปแบบการเขียนเรียงความแก้กระทู้ l ตัวอย่างการเขียนเรียงความแก้กระทู้ในใบสอบจริง (ลายมือ) l กระดาษสอบสนามหลวง หรือกระดาษ A4 ส�ำหรับให้นักเรียนฝึกเขียน l
วิชา เรียงความแก้กระทู้ธรรม ความหมายของค�ำว่าเรียงความแก้กระทู้ธรรม
เรียงความแก้กระทู้ธรรม แยกออกเป็น ๓ ค�ำ คือค�ำว่า เรียงความ + แก้ +
กระทู้ธรรม, เรียงความ หมายถึงการน�ำค�ำต่างๆ มาเขียนเรียงเป็นประโยค อ่านแล้ว ได้ความหมายและเกิดความเข้าใจในเรื่องนั้นๆ ค�ำว่า แก้ หมายถึงแก้ข้อสงสัย ท�ำให้ กระจ่างเข้าใจแจ่มแจ้ง กระทู้ธรรม หมายถึงหัวข้อธรรมหรือพุทธศาสนสุภาษิต เรียงความแก้กระทู้ธรรม จึงหมายถึงการเขียนอธิบายเนื้อความพุทธศาสนสุภาษิต ทีย่ กมา ให้กระจ่างตามความรูค้ วามเข้าใจของแต่ละคน การเขียนเรียงความแก้กระทูธ้ รรมนี้ จะว่ายากก็ยากจะว่าง่ายก็ง่ายขึ้นอยู่กับการฝึกฝนของผู้เรียนเป็นส�ำคัญ
หลักเกณฑ์การเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรม การเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรม มีหลักเกณฑ์ที่ต้องท�ำความเข้าใจ ๔ อย่าง ดังนี้ ๑. รูปแบบถูกต้องตามเกณฑ์ หมายถึงเขียนให้ถูกตามเกณฑ์ที่วางไว้ คือ ๑) เขียนด้วยตัวบรรจงครึ่งบรรทัด ๒) เขียนให้ได้ ๒ หน้ากระดาษขึ้นไป โดยเว้นบรรทัด ๓) อ้างพุทธศาสนสุภาษิตอื่นมาประกอบ ๑ สุภาษิต ๔) จัดวรรคตอน ย่อหน้า ได้ถูกต้องตามรูปแบบที่ก�ำหนด ๒. โดดเด่นเนื้อหาจับใจ หมายถึงเขียนอธิบายพุทธศาสนสุภาษิตได้สมเหตุ สมผล มีล�ำดับขั้นตอน อ่านเข้าใจง่าย และน้อมน�ำใจให้อยากปฏิบัติตาม ๓. ภาษาอ่านแล้วลื่นไหล หมายถึงภาษาที่ใช้ต้องมีถ้อยค�ำส�ำนวนที่อ่านง่าย เข้าใจง่าย หลีกเลี่ยงค�ำไม่สุภาพ เขียนค�ำให้ถูกต้องตามหลักภาษาและอย่าให้ตกหล่น ๔. สะอาดถูกใจ ไม่เปรอะเปื้อน คือพยายามอย่าให้มีรอยลบ รอยขีดฆ่าจนดู สกปรก หากจ�ำเป็นต้องขีดฆ่าให้ขีดฆ่าข้อความเพียงเส้นเดียว อย่าขีดฆ่าจนเลอะเทอะ ถ้าเลอะมากให้เขียนใหม่ เช่น กุลธรรม คือธรรมฝ่ายชั่ว ธรรมไม่ดี มีผลท�ำให้เป็นสุขทั้งโลกนี้และโลกหน้า 8 บริ ษัท ส�ำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จ�ำกัด
ขั้นตอน การเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรม ขั้นตอนก่อนลงมือเขียน ๑) ให้ทอ่ งจ�ำพุทธศาสนสุภาษิตทีช่ อบและคิดว่าตนเองจะอธิบายได้ดี อย่างน้อย ๒ สุภาษิต พร้อมทั้งที่มาของสุภาษิตบทนั้น ฝึกเขียนทั้งบาลีและค�ำแปลให้ถูกต้อง ๒) เมื่อท่องจ�ำสุภาษิตได้แล้ว ให้ฝึกเขียนอธิบายพุทธศาสนสุภาษิตนั้นสัก ๒-๓ ครัง้ ประมาณ ๗-๘ บรรทัด จนเกิดความช�ำนาญ เมือ่ น�ำไปเชือ่ มในสนามหลวงจะได้งา่ ยขึน้
ขั้นตอนลงมือเขียน (ดูรูปแบบการเขียน หน้า ๑๐ ประกอบ)
๑) ขั้นเขียนสุภาษิตสนามหลวง ต้องเขียนไว้กึ่งกลางหน้ากระดาษทั้งค�ำบาลี
และค�ำแปล อย่าให้ล้นไปข้างหน้าหรือเยื้องไปข้างหลังจะดูไม่งาม ๒) ขัน้ เขียนอารัมภบท คือ บัดนี.้ .. ให้ขนึ้ บรรทัดใหม่ ย่อหน้าประมาณ ๕-๖ ตัวอักษร ๓) ขั้ น อธิ บ ายเนื้ อ ความ ให้ ขึ้ น บรรทั ด ใหม่ ย ่ อ หน้ า กระดาษ ขึ้ น ค�ำว่ า ... การย่อหน้าให้ตรงกับ บัดนี้... เมื่ออธิบายได้ ๔-๕ บรรทัดให้เชื่อมเนื้อความของ สุภาษิตแรกกับสุภาษิตที่สองให้ถึงกัน เช่น สุภาษิตแรกพูดถึงเรื่องกรรม เราจะยกสุภาษิต เรื่องศีลมาเชื่อม ก็ต้องพูดเรื่องกรรมกับศีลให้เกี่ยวข้องกัน ว่าศีลนั้นมีประโยชน์ให้คน ท�ำกรรมอย่างไร หรือเพราะเหตุใดคนต้องอาศัยศีลในการสร้างกรรม แล้วบอกที่มาของ สุภาษิตที่ยกมาอ้างว่า สมดังสุภาษิตที่มาใน.......ว่า ๔) ขั้นเขียนสุภาษิตเชื่อม ให้เขียนไว้กึ่งกลางหน้ากระดาษ ๕) ขั้นเขียนอธิบายสุภาษิตเชื่อม ก่อนจะอธิบายเนื้อความของสุภาษิตบทเชื่อม ให้ย่อหน้าขึ้นบรรทัดใหม่ ๖) ขั้นตอนการสรุป ให้ย่อหน้าขึ้นบรรทัดใหม่ เขียนค�ำว่า สรุปความว่า...... การสรุปความนัน้ ควรสรุป ๕-๖ บรรทัด แล้วให้น�ำสุภาษิตบทแรกมาเขียนปิดท้ายกึง่ กลาง หน้ากระดาษ ๗) บรรทัดสุดท้าย นิยมลงท้ายว่า “มีนัยดังพรรณนามาด้วยประการฉะนี้ ฯ” หรือ “เอวัง ก็มีด้วยประการฉะนี้ ฯ” โดยไม่ต้องย่อหน้า วิชา เรี ยงความแก้กระทู้ธรรม ธรรมศึกษาชั้นตรี ระดับมัธยมศึกษา
9
รูปแบบการเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรม (๑)
(สุภาษิตสนามหลวง) (ค�ำแปลสุภาษิต)
(๒) บัดนี้ จักได้อธิบายเนื้อความแห่งพุทธศาสนสุภาษิตที่ได้ลิขิตไว้ ณ เบื้องต้น พอเป็นแนวทางแห่งการศึกษาและน�ำไปปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ (๓) ค�ำว่า ____________________________________________________ ________________________________________________________________ ___________________สมดังสุภาษิตที่มาใน____(ที่มาของสุภาษิตที่ยกมาเชื่อม)_ว่า (๔)
(สุภาษิตบทเชื่อม) (ค�ำแปลสุภาษิตบทเชื่อม)
(๕) ค�ำว่า____________________________________________________ ________________________________________________________________ (๖) สรุปความว่า_______________________________________________ _________________________สมดังสุภาษิตที่ยกขึ้นเป็นนิกเขปบทเบื้องต้นนั้นว่า (สุภาษิตสนามหลวง) (ค�ำแปลสุภาษิต) มีนัยดังพรรณนามาด้วยประการฉะนี้ ฯ (๗)
10 บริ ษัท ส�ำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จ�ำกัด
ฝึกเขียนบ่อยๆ จะได้ชำ�นาญ นะครับ
ตัวอย่างลายมือ
วิชา เรี ยงความแก้กระทู้ธรรม ธรรมศึกษาชั้นตรี ระดับมัธยมศึกษา
11
12 บริ ษัท ส�ำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จ�ำกัด
พุทธศาสนสุภาษิตที่ควรท่องจ�ำ ๑. ปาปวรรค คือ หมวดบาป ทุกฺโข ปาปสฺส อุจฺจโย. ความสั่งสมบาป น�ำทุกข์มาให้. ที่มา : ขุททกนิกาย ธรรมบท
ปาปานํ อกรณํ สุขํ. การไม่ท�ำบาป น�ำสุขมาให้. ที่มา : ขุททกนิกาย ธรรมบท
นตฺถิ อการิยํ ปาปํ มุสาวาทิสฺส ชนฺตุโน. คนมักพูดมุสา จะไม่พึงท�ำความชั่ว ย่อมไม่มี. ที่มา : นัย- ขุททกนิกาย ธรรมบท
๒. กัมมวรรค คือ หมวดกรรม สานิ กมฺมานิ นยนฺติ ทุคฺคตึ. กรรมชั่วของตนเอง ย่อมน�ำไปสู่ทุคติ. ที่มา : ขุททกนิกาย ธรรมบท
อกตํ ทุกฺกฏํ เสยฺโย. ความชั่ว ไม่ท�ำเสียเลยดีกว่า.
กลฺยาณการี กลฺยาณํ ปาปการี จ ปาปกํ. ท�ำดีได้ดี ท�ำชั่วได้ชั่ว. ที่มา : สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
กมฺมุนา วตฺตตี โลโก. สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม.
ที่มา : มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
๓. ปุญญวรรค คือ หมวดบุญ ปุญฺญํ โจเรหิ ทูหรํ. บุญอันโจรน�ำไปไม่ได้.
ที่มา : สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
ปุญ ฺ านิ ปรโลกสฺมึ ปติฏฺ า โหนฺติ ปาณิน.ํ บุญเป็นที่พึ่งของสัตว์ในโลกหน้า. ที่มา : สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
สุโข ปุญฺสฺส อุจฺจโย. ความสั่งสมขึ้นซึ่งบุญ น�ำสุขมาให้. ที่มา : ขุททกนิกาย ธรรมบท
ที่มา : ขุททกนิกาย ธรรมบท
วิชา เรี ยงความแก้กระทู้ธรรม ธรรมศึกษาชั้นตรี ระดับมัธยมศึกษา
13
วิชา ธรรมวิภาค ธรรมวิภาค
ธรรมมีอุปการะมาก ธรรมเป็นโลกบาล
หมวด ๔
หมวด ๔
หมวด ๒ l
คิหิปฏิบัติ
๒
จักร
๔ อคติ ๔ อริยสัจ ๔
สังคหวัตถุ
l
๒ ธรรมอันทำ�ให้งาม ๒ บุคคลหาได้ยาก ๒
l
l
l
l
l
๔
l
หมวด ๓
หมวด ๖
หมวด ๕
ทุจริต ๓ สุจริต ๓ บุญกิริยาวัตถุ ๓
พละ
l
l
ทิศ
๕
l
๖
l l
หมวด ๗
หมวด ๖ สาราณียธรรม
l
๖
สัปปุริสธรรม
l
๗
หมวด ๘
โลกธรรม
l
๘
เวลาเรียน l
14 บริ ษัท ส�ำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จ�ำกัด
ใช้เวลา ๖ คาบ
คาบเรี ยนที่
๑
วิชา ธรรมวิภาค ขอบข่ายการเรียน ทุกะ หมวด ๒ - ธรรมมีอุปการะมาก ๒ - ธรรมเป็นโลกบาล ๒ - ธรรมอันท�ำให้งาม ๒ - บุคคลหาได้ยาก ๒
เวลาเรียน ติกะ หมวด ๓ - ทุจริต ๓ - สุจริต ๓ - บุญกิริยาวัตถุ ๓
l
ใช้เวลา ๑ คาบ
เป้าประสงค์ ผู้เรียนจ�ำหัวข้อธรรมแต่ละข้อได้ l ผู้เรียนสามารถบอกความหมายและประโยชน์ของธรรมแต่ละข้อได้ l ผู้เรียนสามารถตอบแนวข้อสอบท้ายบทได้ l
กิจกรรมการสอน ผู้สอนบรรยายความหมายและประโยชน์ของวิชาธรรมวิภาค l ผู้สอนให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่มศึกษาธรรมที่ก�ำหนดให้แล้วน�ำเสนอหน้าชั้น l ผู้สอนสรุปประเด็นเนื้อหา สอบถามความเข้าใจเป็นรายบุคคล l ผู้เรียนตอบแนวข้อสอบท้ายบทแล้วเปลี่ยนกันตรวจ l
อุปกรณ์ ภาพและเนื้อหาในหนังสือ l แนวข้อสอบท้ายบท l
ทุกะ หมวด ๒ ธรรมมีอุปการะมาก ๒ (ธรรมป้องกันความผิดพลาด) คนประมาทขาดสติ ทำ�อะไรก็มักเกิดปัญหา ใช่ไหมเพื่อน ?
ใช่... ซู้ด ซู้ด
๑. สติ ความระลึกได้ หมายถึงการนึกขึ้นได้ก่อนที่จะท�ำ จะพูด จะคิด เป็นการ
ฉุกคิดขึ้นได้ในเรื่องที่จะท�ำ จะพูด จะคิด ไม่หลงลืม รวมถึงการระลึกเรื่องราวหรือค�ำพูด ในอดีตได้ สติ มีหน้าที่ก�ำจัดความประมาทเลินเล่อ ท�ำให้ไม่หลงลืมในกิจที่จะท�ำ จะพูด จะคิด ๒. สัมปชัญญะ ความรู้ตัว หมายถึงความรู้สึกตัวในขณะก�ำลังท�ำ ก�ำลังพูด ก�ำลังคิด มีความรู้สึกตื่นตัวอยู่เสมอ ไม่เลอะเลือนฟั่นเฟือนในขณะที่ก�ำลังท�ำกิจนั้นๆ พร้อมทั้งรู้ตัวว่าสิ่งที่ก�ำลังท�ำ พูด คิดนั้น ดีไม่ดี ถูกต้องไม่ถูกต้องอย่างไร สัมปชัญญะ มีหน้าที่ก�ำจัดความโง่เขลา ให้เกิดความตื่นตัวอยู่ทุกขณะไม่ให้เผลอ ธรรมทั้ง ๒ ชื่อว่าเป็น พหุปการธรรม๑ คือ ธรรมมีอุปการะมาก เพราะเป็นเหตุ ให้บุคคลสามารถควบคุมการท�ำ พูด คิด ไม่ให้ผิดพลาด ให้อยู่ในกรอบของศีลธรรม ช่วยให้ยับยั้งชั่งใจ พิจารณาไตร่ตรองอย่างรอบคอบในขณะที่ก�ำลังท�ำ พูด คิด ท�ำให้รู้จัก ละเว้นการท�ำ พูด คิด ที่ไม่ถูกต้องได้ด้วยตนเอง ๑ อ่านว่า พะ-หุ-ปะ-กา-ระ-ท�ำ มาจากศัพท์ว่า พหุ (มาก) + อุปการะ (ป้องกัน, คุ้มครอง) + ธรรม (ธรรมะ)
16 บริ ษัท ส�ำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จ�ำกัด
ธรรมเป็นโลกบาล ๒ (ธรรมคุ้มครองโลก) ไม่มีคนอยู่ ขโมยเลย ดีไหมน้อง ?
อย่าเลยพี่ แม่บอกว่ามันบาป ตกนรกด้วย
๑. หิ ริ ความละอายแก่ ใจ หมายถึ ง ความละอายใจในตั ว เองต่ อ การท�ำ
ความชั่ว หรือกระท�ำในสิ่งที่ผิดต่อหลักศีลธรรมและกฎหมายบ้านเมือง ทั้งต่อหน้าและ ลับหลัง หรือความละอายใจตัวเองที่เพิกเฉยต่อการท�ำความดีที่สามารถกระท�ำได้ ๒. โอตตัปปะ ความเกรงกลัว หมายถึงความเกรงกลัวต่อผลของการท�ำบาป ทุจริต ด้วยค�ำนึงถึงผลหรือโทษที่จะเกิดขึ้นจากการท�ำบาปทุจริต แล้วไม่กล้าท�ำบาป เช่น กลัวถูกจับ กลัวตกนรก กลัวถูกตี เป็นต้น ธรรมทั้ง ๒ ชื่อว่า ธรรมเป็นโลกบาล๑ คือ ธรรมคุ้มครองโลก เพราะ หิริ ช่วย ให้คนละอายใจที่จะท�ำความชั่ว โอตตัปปะ ช่วยให้คนกลัวที่จะท�ำความผิด เมื่อเป็น เช่นนี้ คนในสังคมก็อยู่ร่วมกันได้อย่างร่มเย็นเป็นสุข โลกก็เกิดสันติสุขร่มเย็น ๑ อ่ า นว่ า โลก-กะ-บาน มาจากศั พ ท์ ว ่ า โลกะ (โลก) + บาละ (รั ก ษา, คุ ้ ม ครอง) + ธรรม (ธรรมะ)
แปลว่า ธรรมคุ้มครองโลก
วิชา ธรรมวิภาค ธรรมศึกษาชั้นตรี ระดับมัธยมศึกษา
17
ธรรมอันท�ำให้งาม ๒
การอยูร่ ว่ มกันในสังคมนัน้ ทุกคนปรารถนา จะให้มีคนรักด้วยกัน ทั้ งนั้น แต่ การจะท�ำให้ ปากเหม็นขนาดนี้ คนรัก เราต้องมีความงามในตัวเอง ความงามนัน ้ ยังทนได้อีก มี ๒ ประการ ได้แก่ ความงามภายนอก คือ ความงามที่มองเห็นด้วยตา เช่น ความงามด้วย ผิวพรรณ หน้าตา เครื่องแต่งกาย กิริยามารยาท ความงามภายใน คือความงามแห่งจิตใจที่มี คุณธรรม และคุณธรรมที่จะท�ำให้จิตใจงามนั้น สงบนิ่ง ยิ้มเย็น เป็นสุข พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ๒ ประการ คือ ๑. ขันติ ความอดทน หมายถึงความอดกลั้น ความมีใจหนักแน่น เพื่อที่จะ ให้บรรลุผลที่วางไว้ หรือเพื่อสร้างและรักษาความดีไว้ จ�ำแนกเป็น ๔ ประเภท คือ ๑) ทนต่อความล�ำบากตรากตร�ำ คืออดทนต่อความหนาว ร้อน หิว กระหาย เหน็ดเหนื่อย ย่อท้อ เพื่อให้การงาน การประกอบอาชีพ ส�ำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ ๒) ทนต่อทุกขเวทนา คืออดทนต่อความเจ็บปวด โรคภัยไข้เจ็บ ไม่แสดงอาการ ทุรนทุรายจนเกินเหตุ ๓) ทนต่อความเจ็บใจ คือทนต่อค�ำด่า ค�ำเสียดสี ค�ำที่ขัดเคืองใจต่างๆ ๔) ทนต่ออ�ำนาจกิเลส คือทนต่ออารมณ์ที่ยั่วยุให้เกิดความโลภ ความโกรธ ความหลง ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ความอดทนทั้ง ๔ อย่างนี้ ทนต่อความเจ็บใจและทนต่ออ�ำนาจกิเลสเท่านั้น ที่จัด เข้าลักษณะของขันติอย่างแท้จริง ๒. โสรัจจะ ความเสงี่ยม หมายถึงความข่มใจให้สงบเย็น ไม่แสดงอาการ ไม่พอใจออกมาภายนอก ทั้งทางสีหน้า แววตา ท่าทาง เพราะบางครั้งถึงแม้จะอดทน ไม่ตอบโต้ แต่อาจแสดงอาการอย่างอื่นออกมาเพราะยังมีความโกรธในใจ โสรัจจะจะช่วย ข่มความโกรธให้สงบลงไม่ให้แสดงอาการออกมา ธรรม ๒ ประการนี้ หากผู้ใดปฏิบัติให้เกิดมีในตนแล้ว ย่อมมีคนรักใคร่และนิยม ชมชอบ เป็นมหาเสน่ห์ต�ำรับใหญ่ทีเดียว ขันติ ระวังขันแตก นะเฟ้ย
หมูมีเขา อิอิ
18 บริ ษัท ส�ำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จ�ำกัด
บุคคลหาได้ยาก ๒
๑. บุพการี บุคคลผูท้ �ำอุปการะก่อน
หมายถึงบุคคลผูท้ �ำอุปการะแก่ผอู้ นื่ มาก่อน เช่ น เคยเลี้ ย งดู ให้ ก ารอบรมสั่ ง สอน ให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลทั้งโดยตรง หรือ โดยอ้อม ไม่ว่าจะมากหรือน้อย โดยไม่หวัง ผลตอบแทน แต่ท�ำด้วยจิตที่ประกอบด้วย เมตตากรุ ณ า หวั ง เพี ย งเพื่ อ สงเคราะห์ อนุเคราะห์ บุพการี ได้แก่ พ่อแม่, ครู, อุปัชฌาย์, พระเจ้าแผ่นดิน, พระสัมมา- สัมพุทธเจ้า
ไหนใครบอกครูได้บ้าง ว่าคนดีต้องทำ�อย่างไร ?
ต้องมีความ กตัญญูค่ะ
รักดี มีธรรม
และกตเวที ด้วยครับ
เก่งดี มีสุข
๒. กตั ญ ญู ก ตเวที บุ ค คลผู ้ รู ้ อุ ป การะที่ ท ่ า นท�ำแล้ ว และตอบแทน
หมายถึงผู้ที่ระลึกถึงบุญคุณที่ผู้อื่นเคยท�ำ เคยช่วยเหลือเกื้อกูลตนไม่ว่าจะมากหรือน้อย ส�ำนึกในบุญคุณของท่านอยู่เสมอ เมื่อมีโอกาสได้ตอบแทนบุญคุณก็เต็มใจที่จะท�ำ ตอบแทน เป็นการสนองคุณท่านตามก�ำลังความสามารถ ผู้ที่เป็นกตัญญูกตเวทีบุคคล ได้แก่ ลูกชาย-หญิง, ศิษย์, พสกนิกร,๑ พุทธศาสนิกชน๒ บุคคลทั้ง ๒ เรียกว่า ทุลลภบุคคล๓ บุคคลหาได้ยาก บุพการีชื่อว่าหาได้ยาก เพราะโดยทั่วไปคนมักคิดถึงแต่ประโยชน์ส่วนตนหวังจะเป็นแต่ผู้รับ จะเสียสละตน เพื่อประโยชน์สุขของผู้อื่นนั้นยาก ส่วนกตัญญูกตเวทีชื่อว่าหาได้ยาก เพราะคนไม่ค่อย นึกถึงสิ่งที่ผู้อื่นท�ำดีต่อตน มักลืมบุญคุณคนได้ง่าย
๑ อ่านว่า พะ-สก-นิ-กอน แปลว่า พลเมืองที่อยู่ภายใต้การปกครองของพระราชา ๒ อ่านว่า พุด-ทะ-สา-สะ-นิก-กะ-ชน แปลว่า ชนที่นับถือพุทธศาสนา ทั้งที่เป็นนักบวชและประชาชนทั่วไป ๓ อ่านว่า ทุน-ละ-พะ-บุก-คน มาจากศัพท์ว่า ทุ (ยาก) + ลภะ (ได้) + บุคคล (คน)
วิชา ธรรมวิภาค ธรรมศึกษาชั้นตรี ระดับมัธยมศึกษา
19
ติกะ หมวด ๓ ทุจริต ๓
สุจริต ๓ ใส่ยาให้แล้ว เดี๋ยวก็หายนะ ใจดีจัง
ทุจริต ๓ คือ ความประพฤติชั่ว ๓ อย่าง คือ
สุจริต ๓ คือ ความประพฤติดี ๓ อย่าง คือ
๑. กายทุจริต ประพฤติชั่วทางกาย ๑. ฆ่าสัตว์ ๒. ลักทรัพย์ ๓. ประพฤติผิดในกาม ๒. วจีทุจริต ประพฤติชั่วทางวาจา ๑. พูดปด ๒. พูดส่อเสียด ๓. พูดค�ำหยาบ ๔. พูดเพ้อเจ้อ ๓. มโนทุจริต ประพฤติชั่วทางใจ ๑. โลภอยากได้ของเขา ๒. พยาบาทปองร้ายเขา ๓. เห็นผิดจากคลองธรรม
๑. กายสุจริต ประพฤติดีทางกาย ๑. ไม่ฆ่าสัตว์ ๒. ไม่ลักทรัพย์ ๓. ไม่ประพฤติผิดในกาม ๒. วจีสุจริต ประพฤติดีทางวาจา ๑. ไม่พูดปด (พูดจริง) ๒. ไม่พูดส่อเสียด (พูดให้เขารักกัน) ๓. ไม่พูดค�ำหยาบ (พูดสุภาพอ่อนหวาน) ๔. ไม่พูดเพ้อเจ้อ (พูดมีสารประโยชน์) ๓. มโนสุจริต ประพฤติดีทางใจ ๑. ไม่โลภอยากได้ของเขา ๒. ไม่พยาบาทปองร้ายเขา ๓. เห็นถูกตามคลองธรรม
ทุจริต ผู้ใดประพฤติชั่วย่อมเป็นเหตุให้พบกับความเดือดร้อนเป็นทุกข์ ทั้งในโลกนี้ และโลกหน้า สุจริต ผูใ้ ดประพฤติดยี อ่ มเป็นเหตุให้พบกับความสุขทัง้ ในโลกนีแ้ ละโลกหน้า 20 บริ ษัท ส�ำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จ�ำกัด
บุญกิริยาวัตถุ ๓ (วิธีท�ำบุญ)
บุญกิริยาวัตถุ หมายถึงวิธีท�ำบุญ วิธีที่เมื่อท�ำแล้วได้ชื่อว่าเป็นการท�ำความดี
และได้รับผลคือความสุข มี ๓ วิธี คือ ให้ทาน ลดความเห็นแก่ตัว
ทานมัย๑ ใจดีจัง
สีลมัย๒ พุท...โธ
ภาวนามัย๓
๑. ทานมัย หมายถึงการท�ำบุญด้วยการให้ การให้
ในบุญกิริยาวัตถุนี้ มุ่งเอาการให้เพื่อก�ำจัดกิเลส คือมัจฉริยะ ความตระหนี่ให้ออกไปจากใจ การให้แบ่งเป็น ๓ ประเภท ได้ แ ก่ การให้ สิ่ ง ของของตนแก่ ผู ้ อื่ น ด้ ว ยมุ ่ ง ถึ ง บุ ญ กุ ศ ล หรือมุง่ สร้างบารมี เรียกว่า อามิสทาน, การให้ความรูค้ วามเห็น ที่ถูกต้องตามคลองธรรม เรียกว่า ธรรมทาน, การให้อภัย ให้ความปลอดภัย ให้ความรักความเมตตาทั้งต่อเพื่อนมนุษย์ และสัตว์ เรียกว่า อภัยทาน ๒. สีลมัย หมายถึงการท�ำบุญด้วยการรักษาศีล ผูม้ ศี ลี ก็คือผู้ปกติสงบเย็น งดเว้นการประพฤติผิดทางกาย วาจา รู้จักควบคุมกาย วาจา ให้เรียบร้อยดีงาม คือการไม่ท�ำผิด พูดผิดนั่นเอง ศีลมี ๓ ระดับ ได้แก่ ระดับต้น คือ ศีล ๕ เป็นศีลของคนทั่วไป, ระดับกลาง คือ ศีล ๘ หรือศีลอุโบสถ ของอุ บ าสก-อุ บ าสิ ก า, ระดั บ สู ง คื อ ศี ล ๒๒๗ หรื อ ปาริสุทธิศีลของพระภิกษุ ๓. ภาวนามัย หมายถึงการท�ำบุญด้วยการอบรมจิตใจ ในทางปฏิบัติก็คือการบ�ำเพ็ญกรรมฐาน มี ๒ อย่าง คือ สมถกรรมฐาน การอบรมใจให้สงบเป็นสมาธิ หรือเรียกว่า จิตตภาวนา, วิปัสสนากรรมฐาน การอบรมปัญญาให้เกิด หรือเรียกว่า ปัญญาภาวนา
๑ อ่านว่า ทา-นะ-ไม มาจากคำ�ว่า ทาน (การให้) + มัย (สำ�เร็จ) แปลว่า บุญสำ�เร็จด้วยทาน ๒ อ่านว่า สี-ละ-ไม มาจากคำ�ว่า สีล (ศีล) + มัย (สำ�เร็จ) แปลว่า บุญสำ�เร็จด้วยการรักษาศีล ๓ อ่านว่า พา-วะ-นา-ไม มาจากคำ�ว่า ภาวนา (เจริญสมาธิ) + มัย (สำ�เร็จ) แปลว่า บุญสำ�เร็จด้วยการเจริญสมาธิ
วิชา ธรรมวิภาค ธรรมศึกษาชั้นตรี ระดับมัธยมศึกษา
21
แนวขอ้ สอบท้ายบท ๑. งานผิดพลาดเพราะขาดธรรมข้อใด ? ก. สติ-สัมปชัญญะ ค. ขันติ-โสรัจจะ ข. หิริ-โอตตัปปะ ง. ทาน-ศีล-ภาวนา ๒. “เมาไม่ขับ” สอนให้มีธรรมข้อใด ? ก. สติ ค. หิริ ข. ขันติ ง. กตัญญูกตเวที ๓. ระลึกได้ก่อนท�ำพูดคิด ตรงธรรมข้อใด ? ก. สติ ค. หิริ ข. สัมปชัญญะ ง. โอตตัปปะ ๔. ข้อใดจับคู่ไม่ถูกต้อง ? ก. สติ-สัมปชัญญะ ค. หิริ-โอตตัปปะ ข. ขันติ-โสรัจจะ ง. กตัญญู-กตเวที ๕. ธรรมในข้อใดได้ชื่อว่าเป็นโลกบาล ? ก. สติ-สัมปชัญญะ ค. ขันติ-โสรัจจะ ข. หิริ-โอตตัปปะ ง. ทาน-ศีล-ภาวนา ๖. บุคคลในข้อใดชื่อว่ามีหิริ ? ก. กิ่งไม่กล้าร้องเพลงเพราะอาย ข. กรอายไม่กล้าบอกรักแฟน ค. กิ๊กไม่ลอกข้อสอบเพราะละอายใจ ง. ก้อยอายเพราะหกล้มในที่สาธารณะ ๗. ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะธรรมข้อใด ? ก. สติ-สัมปชัญญะ ค. ขันติ-โสรัจจะ ข. หิริ-โอตตัปปะ ง. กตัญญู-กตเวที ๘. ข้อใดจัดเป็นขันติที่แท้จริง ? ก. ทนต่อความล�ำบาก ค. ทนต่อความหิว ข. ทนต่อโรคภัยไข้เจ็บ ง. ทนต่อความเจ็บใจ ๙. บุพการี มีความหมายตรงกับข้อใด ? ก. อาบน�้ำมาก่อน ค. เรียนรู้มาก่อน ข. ท�ำอุปการะก่อน ง. ริเริ่มก่อน
เลือกค�ำตอบที่ถูกต้องเพียงข้อเดียว ๑๐. บุคคลในข้อใดไม่จัดว่าเป็นบุพการี ? ก. พ่อแม่ ค. ครูอาจารย์ ข. พระพุทธเจ้า ง. บุตรธิดา ๑๑. คุณธรรมข้อใดเป็นเครื่องหมายของคนดี ? ก. บุพการี ค. กตัญญูกตเวที ข. ขันติ ง. เมตตา ๑๒. ข้อใดเป็นกายทุจริต ? ก. ปล่อยสัตว์ ค. ช่วยสัตว์ ข. เลี้ยงสัตว์ ง. ฆ่าสัตว์ ๑๓. ผิดศีลข้อ ๔ จัดเป็นทุจริตตามข้อใด ? ก. กายทุจริต ค. วาจาทุจริต ข. วจีทุจริต ง. มโนทุจริต ๑๔. ข้อใดจัดเป็นกายสุจริต ? ก. ลักทรัพย์ ค. ชิงทรัพย์ ข. ปล้นทรัพย์ ง. ออมทรัพย์ ๑๕. ข้อใดจัดเป็นวจีสุจริต ? ก. พูดปด ค. พูดยุยง ข. พูดหยาบ ง. พูดจริง ๑๖. คิดอย่างไรจัดเป็นมโนสุจริต ? ก. คิดอยากได้ของเขา ค. คิดอิจฉาเขา ข. คิดพยาบาทเขา ง. คิดให้อภัยเขา ๑๗. ข้อใดไม่จัดเข้าบุญกิริยาวัตถุ ๓ ? ก. ให้ทาน ค. เจริญภาวนา ข. รักษาศีล ๕ ง. บูชาวัตถุมงคล ๑๘. ข้อใดจัดเข้าในภาวนามัย ? ก. ตั้งใจสวดมนต์ ค. ตั้งใจฟังครูสอน ข. แผ่เมตตาให้สัตว์ ง. ถูกทุกข้อ ๑๙. ให้อภัยแก่คนท�ำผิดจัดว่าได้ท�ำบุญตามข้อใด ? ก. ทานมัย ค. ภาวนามัย ข. สีลมัย ง. ถูกทุกข้อ
22 บริ ษัท ส�ำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จ�ำกัด
คาบเรี ยนที่
๒-๓
วิ ช า ธรรมวิ ภ าค วิชา ธรรมวิภาค
เวลาเรียน
ขอบข่ายการเรียน จตุกกะ หมวด ๔ จักร ๔
- อยู่ในประเทศสมควร - คบสัตบุรุษ - ตงั้ ตนไว้ชอบ - ท�ำบุญไว้ในปางก่อน
อคติ ๔
- ล�ำเอียงเพราะชอบ - ล�ำเอียงเพราะชัง - ล�ำเอียงเพราะหลง - ล�ำเอียงเพราะกลัว
l
ใช้เวลา ๒ คาบ
อริยสัจ ๔
- ทุกข์ - สมุทัย - นิโรธ - มรรค
เป้าประสงค์ ผู้เรียนจ�ำหัวข้อธรรมแต่ละข้อได้ l ผูเ้ รียนสามารถบอกความหมายและประโยชน์ของธรรมแต่ละข้อได้ l ผู้เรียนสามารถตอบแนวข้อสอบท้ายบทได้ l
กิจกรรมการสอน ผู้สอนให้นักเรียนแบ่งกันท�ำรายงานกลุ่มในหัวข้อธรรมที่ตนชอบ น�ำเสนอหน้าชั้น l ผู้สอนสรุปประเด็นเนื้อหา สอบถามความเข้าใจเป็นรายบุคคล l ผู้เรียนตอบแนวข้อสอบท้ายบทแล้วเปลี่ยนกันตรวจ l
อุปกรณ์ ภาพและเนื้อหาในหนังสือ l แนวข้อสอบท้ายบท l
จตุกกะ หมวด ๔ จักร ๔ (วงล้อที่น�ำไปสู่ความเจริญ) จั ก ร แปลว่า วงล้ อ หมายถึงธรรมอันมีลักษณะเหมือนวงล้อที่จะน�ำไปสู่
ความเจริญ ซึ่งผู้ที่ต้องการให้ชีวิตมีความเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้านั้น ควรตั้งตนไว้ในธรรม คือ จักร ๔ ประการดังต่อไปนี้ ๑. ปฏิรูปเทสวาสะ การอยู่ในประเทศอันสมควร หมายถึงการเลือกสถานที่ อยู่อาศัยให้เหมาะสม ย่อมเอื้อประโยชน์ให้เกิดความเจริญก้าวหน้าได้เป็นอย่างดี เช่ น วั ด ที่ เ งี ย บสงบย่ อ มเอื้ อ ประโยชน์ ต ่ อ การศึ ก ษาและปฏิ บั ติ ธ รรม โรงเรี ย นที่ มี สภาพแวดล้อมดีย่อมเอื้ออ�ำนวยให้นักเรียนเรียนดี นาที่ดีย่อมปลูกข้าวได้งอกงาม ลักษณะของประเทศที่สมควร มี ๔ ประการ คือ ๑) ต้องมีภูมิประเทศที่ดี ๒) ต้องเป็นถิ่นที่อยู่ของคนดีมีศีลธรรม ๓) ต้องมีข้าวปลาอาหารที่อุดมสมบูรณ์ ๔) ต้องมีหลักการปกครอง ขนบธรรมเนียมจารีตประเพณีอันดีี ๒. สัปปุริสูปัสสยะ การคบสัตบุรุษ๑ หมายถึงการเข้าไปคบหาสมาคมและ ผูกมิตรไมตรีกับคนดี มีความรู้ เมื่อได้อยู่ในประเทศที่สมควรแล้ว การคบหาสมาคมกับ ผู้อื่นก็เป็นสิ่งส�ำคัญ ในสถานที่อยู่นั้นอาจมีทั้งคนดีและไม่ดีปะปนกันอยู่ ให้เลือกคบ แต่คนดี เพราะการมีมิตรเป็นคนดีย่อมน�ำพาเราไปสู่สิ่งที่ดี แต่ถ้ายังไม่แน่ใจว่าบุคคลนั้น ดีหรือไม่ดี ก็ให้วางตนเป็นกลางไว้ก่อนจนกว่าจะแน่ใจ ๓. อัตตสัมมาปณิธิ การตั้งตนไว้ชอบ หมายถึงการตั้งตนอยู่ในกรอบของ หลักศีลธรรม กล่าวคือ ในการด�ำเนินชีวิต การสร้างเนื้อสร้างตัว ทุกคนต่างมีแนวทาง หรือวางแผนชีวิตไว้แตกต่างกันไป แต่ไม่ว่าจะมีแนวทางหรือวางแผนอย่างไรก็ตาม พระพุทธองค์ทรงก�ำหนดกรอบไว้ว่า ต้องตั้งตนไว้ชอบ คือตั้งตนอยู่ในหลักศีลธรรม ไม่กระท�ำบาปทุจริตผิดกฎหมายบ้านเมือง จึงจะพบกับความเจริญอย่างแท้จริง ๑ สัตบุรุษ อ่านว่า สัด-บุ-หรุด แปลว่า คนดี, คนมีศีลธรรม
24 บริ ษัท ส�ำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จ�ำกัด
ครูดี รักดี
ได้รับการ อบรมดี
โรงเรียนดี เพื่อนดี
เลือกอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี ชีวีย่อมดีงาม
๔. ปุพเพกตปุญญตา การได้ท�ำความดีไว้ก่อน หมายความว่าคนที่จะมี
ความเจริญก้าวหน้าได้ดีนั้น นอกจากจะอาศัยปัจจัย ๓ ข้อแรกแล้ว สิ่งส�ำคัญอีกข้อหนึ่ง คือต้องมีความดีทเี่ คยท�ำไว้หนุนส่งอีกแรง อาจเป็นความดีทเี่ คยท�ำในชาตินี้ เช่น ได้รบั การ อบรมดี มีการศึกษาดี เคยได้ช่วยเหลือเขาไว้แล้วเขากลับมาตอบแทน หรืออาจเป็น ความดีที่เคยท�ำไว้เมื่อชาติก่อน ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงสอนให้หมั่นท�ำความดีเอาไว้ เพราะแม้ไม่เห็นผลในปัจจุบัน แต่ย่อมให้ผลในอนาคตแน่นอน ธรรม ๔ อย่างนี้ มีเหตุมีผลเชื่อมโยงถึงกัน ต้องปฏิบัติให้ครบทั้ง ๔ ข้อจึงจะเกิดผล และในธรรม ๔ ข้อนี้ อัตตสัมมาปณิธิ ส�ำคัญที่สุด เพราะแม้ได้อยู่ในประเทศที่เหมาะสม ได้คบสัตบุรุษ หรือแม้กระทั่งได้ท�ำความดีมาก่อน แต่ถ้าหากตัวเองไม่ตั้งตนในความดี ก็ไม่อาจจะพบความเจริญได้
อคติ ๔ (ความล�ำเอียง) อคติ แปลว่า ทางที่ไม่ควรไป, ไม่ควรถึง หมายถึงสิ่งที่ไม่ควรประพฤติ ไม่ควรท�ำ
มีความหมายตรงกับค�ำไทยว่าความล�ำเอียง หรือความไม่ยุติธรรม บุคคลที่ท�ำ พูด คิด สิ่งใดสิ่งหนึ่งตามอ�ำนาจของความชอบ ความชัง ความหลงไม่รู้จริง และความกลัว โดยไม่ค�ำนึงถึงความเป็นธรรมหรือความถูกต้อง เรียกว่า ลุอ�ำนาจแก่อคติ บุคคลที่ ลุอ�ำนาจแก่อคติมกั ละทิง้ ธรรม ทิง้ ความถูกต้อง กระท�ำสิง่ ทีไ่ ม่ควรท�ำ ประพฤติในสิง่ ทีผ่ ดิ สร้างความเดือดร้อนแก่ตนและผู้อื่น อคติมี ๔ อย่าง คือ วิชา ธรรมวิภาค ธรรมศึกษาชั้นตรี ระดับมัธยมศึกษา
25
ไม่มีใครเห็น เอามาเป็นของเรา สักชิ้น
นี่แน่ะ ! ปากดีนัก
๑. ฉันทาคติ ชั่วเพราะชอบ พี่ ขอเงิน ไปเล่นเกม หน่อยสิ
๒. โทสาคติ ชั่วเพราะชัง เฮ้ย..! กินเข้าไป ไม่งั้นเจ็บ
๓. โมหาคติ ชั่วเพราะหลง
กินเข้าไป อย่าลีลา
๔. ภยาคติ ชั่วเพราะกลัว
๑. ฉันทาคติ ล�ำเอียงเพราะชอบ หมายถึงการกระท�ำผิดหรือกระท�ำสิ่งที่
ไม่ควรท�ำ เพราะถือความชอบของตนเป็นใหญ่ โดยไม่ค�ำนึงถึงความถูกต้อง ฉันทาคตินี้ เป็นได้ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น เช่น ชอบเที่ยวจนละทิ้งการงาน ชอบสนุกสนานจนลืม หน้าที่รับผิดชอบ ชอบใช้จ่ายจนไม่ค�ำนึงถึงรายรับ เข้าข้างคนที่ตนรักทั้งที่ท�ำผิด ยกย่อง หรือให้ลาภยศเฉพาะแก่คนที่ตนรัก ตัดสินคดีความให้คนที่ตนชอบเป็นฝ่ายชนะ เป็นต้น ๒. โทสาคติ ล�ำเอี ย งเพราะชั ง หมายถึ ง การกระท�ำผิ ด หรื อ กระท�ำสิ่ ง ที่ ไม่ควรท�ำ เพราะถือความชังหรือความไม่ชอบของตนเป็นใหญ่ โดยไม่ค�ำนึงถึงความถูกต้อง โทสาคตินี้มีทั้งในตนเองและผู้อื่น เช่น โดดเรียนเพราะไม่ชอบวิชาที่เรียน ชกต่อยกัน เพราะไม่ชอบหน้ากัน กีดกันคนที่ตนไม่ชอบไม่ให้ได้ดี ตัดสินคดีให้คนที่ตนเกลียด เป็นฝ่ายแพ้ทั้งที่เขาไม่ผิด แบ่งปันสิ่งของให้คนที่ตนเกลียดน้อยกว่าผู้อื่น เป็นต้น 26 บริ ษัท ส�ำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จ�ำกัด
๓. โมหาคติ ล�ำเอียงเพราะหลง หมายถึงการกระท�ำผิดหรือกระท�ำสิง่ ทีไ่ ม่ควรท�ำ
เพราะถือความหลงเป็นใหญ่ เช่น ปล้นเพื่อน�ำเงินไปใช้หนี้พนันบอล ซื้อยาเสพติดมาเสพ ทุจริตเพราะหลงในยศถาบรรดาศักดิ์ นอกใจคู่ครองเพราะหลงในกามารมณ์ หรือแม้แต่ การกระท�ำสิง่ ใดลงไปด้วยความไม่รจู้ ริง เช่น ตัดสินคดีความโดยไม่สอบถามให้รคู้ วามจริง ก่อน เป็นต้น ก็จัดเป็นโมหาคติเช่นกัน ๔. ภยาคติ ล�ำเอียงเพราะกลัว หมายถึงการกระท�ำผิดหรือกระท�ำสิ่งที่ไม่ควรท�ำ เพราะอ�ำนาจของความกลัว โดยไม่ค�ำนึงถึงความถูกต้อง เช่น กลัวถูกท�ำโทษ กลัวถูกต�ำหนิ กลั ว จะอั บ อาย กลั ว จะผิ ด หวั ง กลั ว ต่ อ อ�ำนาจของผู ้ อื่ น กลั ว ถู ก ฟ้ อ ง แล้ ว กระท�ำ สิ่งที่ผิด เป็นต้นว่าถูกเพื่อนขู่ให้ดื่มสุราก็ดื่มทั้งที่ไม่อยากดื่ม ตัดสินคดีความให้คนที่ ท�ำผิดเป็นฝ่ายชนะ เพราะเกรงกลัวต่ออ�ำนาจของเขา กลัวถูกท�ำโทษจึงโกหก ฆ่างู เพราะกลัวมันกัด เป็นต้น อคตินี้เป็นอกุศลธรรมที่ทุกคนควรละเว้น ไม่ควรประพฤติ โดยเฉพาะผู้ที่เป็น ผู้ใหญ่ หรือผู้เกี่ยวข้องกับการท�ำหน้าที่ตัดสินคดีความ เช่น ต�ำรวจ ทนาย อัยการ ผู้พิพากษา เป็นต้น สังคมเดือดร้อนทุกวันนี้เพราะคนส่วนมากยึดถืออคติมากกว่า ความถูกต้อง ดังนั้นจึงกล่าวว่าอคติเป็นทางไม่ควรด�ำเนินไป
อริยสัจ ๔ (ความจริงอันประเสริฐ) อริยสัจ แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ใต้ต ้ น
พระศรีมหาโพธิ์ เป็นธรรมที่ยกขึ้นแสดงมากที่สุดตลอดระยะเวลาที่ประกาศพระศาสนา เป็นความจริงที่เมื่อใครเข้าถึงแล้วจะท�ำให้พ้นทุกข์สิ้นเชิง มี ๔ ประการ คือ ๑. ทุกข์
ทุกข์ประจ�ำ : เกิด แก่ ตาย l ทุกข์จร : ความเศร้าโศก ความครำ �่ ครวญ ความเสียใจ ความคับแค้นใจ ความประสบกับสิ่งที่เกลียด ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ความเจ็บไข้ l สรุป : อุปาทานขันธ์ ความยึดมั่นในขันธ์ ๕ เป็นตัวทุกข์ l
วิชา ธรรมวิภาค ธรรมศึกษาชั้นตรี ระดับมัธยมศึกษา
27
๒. สมุทัย กามตัณหา : ความอยากในกาม ภวตัณหา : ความอยากมี อยากเป็น l l
วิภวตัณหา : ความไม่อยากมี ไม่อยากเป็น
l
๓. นิโรธ
ความดับไปแห่งตัณหา l พระนิพพาน l
๔. มรรค
ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา มี ๘ ประการ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
ในอริยสัจทั้ง ๔ นั้น แบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วน เหตุ กับ ผล ดังนี้ เหตุ
สมุทัย มรรค
l l
ผล
ทุกข์ นิโรธ
l l
สมุทัยเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ทุกข์เป็นผลเกิดจากสมุทัย มรรคเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงนิโรธ นิโรธเป็นผลที่เกิดจากการปฏิบัตมิ รรค เราช่วยถือนะ ขอบใจจ้ะ
28 บริ ษัท ส�ำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จ�ำกัด
แนวขอ้ สอบท้ายบท ๑. ธรรมข้อใดเป็นดุจกงล้อน�ำไปสู่ความเจริญ ? ก. จักร ๔ ค. อคติ ๔ ข. อริยสัจ ๔ ง. พรหมวิหาร ๔ ๒. ข้อใดไม่จัดเข้าในจักร ๔ ? ก. อยู่ในที่ดี ค. ตั้งตนไว้ดี ข. คบคนดี ง. มีบาปติดตัว ๓. ประเทศอันสมควร มีลักษณะเป็นอย่างไร ? ก. อากาศดี ค. มีคนดี ข. อาหารดี ง. ถูกทุกข้อ ๔. สัตบุรุษ ได้แก่คนเช่นไร ? ก. เก่ง ค. มีความรู้ ข. ดี ง. ถูกทุกข้อ ๕. ข้อใดไม่ชื่อว่าตั้งตนไว้ชอบ ? ก. มีศีล ๕ ค. ใช้ชีวิตพอเพียง ข. รักษากฎหมาย ง. หลีกเลี่ยงการท�ำบุญ ๖. เกิดมาดีเพราะมีบญ ุ หนุนน�ำ จัดเข้าในจักร ๔ ข้อใด ? ก. ปฏิรูปเทสวาสะ ค. สัปปุริสูปัสสยะ ข. อัตตสัมมาปณิธิ ง. ปุพเพกตปุญญตา ๗. เว้นจากอะไรจึงจะรักษาความยุติธรรมไว้ได้ ? ก. อคติ ค. อกุศลมูล ข. อริยสัจ ง. อนันตริยกรรม ๘. ตามใจลูกจนเสียคน จัดว่าลุอ�ำนาจอคติข้อใด ? ก. ฉันทาคติ ค. โมหาคติ ข. โทสาคติ ง. ภยาคติ ๙. ข้อใดเป็นลักษณะของโทสาคติ ? ก. รักง่าย ค. หลงง่าย ข. โกรธง่าย ง. กลัวง่าย ๑๐. ข้อใดเป็นลักษณะของโมหาคติ ? ก. ติดเกม ค. ติดละคร ข. ติดยา ง. ถูกทุกข้อ
เลือกค�ำตอบที่ถูกต้องเพียงข้อเดียว ๑๑. ท�ำชั่วเพราะถูกข่มขู่ จัดเข้าในอคติข้อใด ? ก. ฉันทาคติ ค. โมหาคติ ข. โทสาคติ ง. ภยาคติ ๑๒. ล�ำเอียงเพราะไม่ชอบหน้ากัน ตรงกับข้อใด ? ก. ฉันทาคติ ค. โมหาคติ ข. โทสาคติ ง. ภยาคติ ๑๓. เมื่อมีอคติเกิดขึ้นสิ่งใดจะถูกท�ำลาย ? ก. ความซื่อสัตย์ ค. ความยุติธรรม ข. ความมีเมตตา ง. ความเคารพนับถือ ๑๔. ความจริงอันประเสริฐ ตรงกับข้อใด ? ก. อคติ ๔ ค. มรรคมีองค์ ๘ ข. อริยสัจ ๔ ง. อริยทรัพย์ ๗ ๑๕. ข้อใดไม่จัดเข้าในอริยสัจ ๔ ? ก. สุข ค. นิโรธ ข. สมุทัย ง. มรรค ๑๖. ทุกข์ในอริยสัจตรงกับข้อใด ? ก. เกิด แก่ ตาย ค. ยึดมั่นในขันธ์ ๕ ข. เจ็บไข้ เสียใจ ง. ถูกทุกข้อ ๑๗. เหตุให้เกิดทุกข์ตรงกับข้อใด ? ก. ทุกข์ ค. นิโรธ ข. สมุทัย ง. มรรค ๑๘. อะไรเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ? ก. การเกิด ค. นิพพาน ข. ตัณหา ง. อุปาทาน ๑๙. นิโรธ หมายถึงข้อใด ? ก. ทุกข์เกิด ค. ทุกข์เปลี่ยน ข. ทุกข์อยู่ ง. ทุกข์ดับ ๒๐. จะดับทุกข์ได้ ต้องปฏิบัติตามข้อใด ? ก. สมุทัย ค. นิโรธ ข. ตัณหา ง. มรรค
วิชา ธรรมวิภาค ธรรมศึกษาชั้นตรี ระดับมัธยมศึกษา
29
คาบเรี ยนที่
๔
ธรรมวิ ภาค วิวิชชา าธรรมวิ ภาค ขอบข่ายการเรียน ปัญจกะ หมวด ๕
ฉักกะ หมวด ๖
พละ ๕
สาราณียธรรม ๖
- สัทธา เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ - วิริยะ ความเพียร - สติ ความระลึกได้ - สมาธิ ความตั้งมั่นแห่งใจ - ปัญญา ความรอบรู้
เวลาเรียน l
ใช้เวลา ๑ คาบ
- เข้าไปตัง้ กายกรรมด้วยเมตตา - เข้าไปตั้งวจีกรรมด้วยเมตตา - เข้าไปตัง้ มโนกรรมด้วยเมตตา - แบ่งปันลาภโดยชอบธรรม - รักษาศีลให้เสมอกัน - มีความเห็นร่วมกับผู้อื่น
เป้าประสงค์ ผู้เรียนจ�ำหัวข้อธรรมแต่ละข้อได้ l ผู้เรียนสามารถบอกความหมายและประโยชน์ของธรรมแต่ละข้อได้ l ผู้เรียนสามารถตอบแนวข้อสอบท้ายบทได้ l
กิจกรรมการสอน ให้ผู้เรียนท�ำแนวข้อสอบท้ายบท l ผู้สอนเฉลยปัญหา พร้อมอธิบาย และสอบถามความเข้าใจเป็นรายบุคคล l
อุปกรณ์ แนวข้อสอบท้ายบท
l
ข้อที่ ๔ สัจจะ ความหมายของสัจจะ ได้แก่
สัจจะ คือ ความจริง แบ่งเป็น ๓ ลักษณะ
๑) จริงใจ คือ ความซื่อสัตย์ คบใคร ก็คบด้วยความจริงใจ ไม่คิดหักหลัง ไม่เป็น คนคดในข้องอในกระดูก หรือปากปราศรัย น�้ำใจเชือดคอ ๒) จริงวาจา คือ พูดจริง พูดสิ่งใดก็พูดแต่ความจริง ไม่พูดโกหก ๓) จริงการ ได้แก่ ท�ำจริง คือ ท�ำอะไรก็ท�ำจริงไม่โลเลเหลาะแหละ ท�ำจนส�ำเร็จ เห็นผล ตั้งใจจะท�ำสิ่งใดแล้วก็ให้ได้อย่างที่ตั้งใจ หรือพูดสิ่งใดเอาไว้ก็ท�ำอย่างที่พูด สัจจะนี้เป็นธรรมเกื้อกูลแก่การรักษาศีลข้อ ๔ คนเราสามารถประพฤติสัจจะได้ด้วย ลักษณะ ๔ ประการ คือ ๑. ความซื่อตรง คือ เป็นคนตรงไปตรงมา มีความจริงใจต่อผู้อื่น ทั้งต่อหน้าและลับหลัง รวมถึงปฏิบัติหน้าที่ ด้วยความสุจริต
๒. ความเที่ยงธรรม คือ จะคิด พูด ท�ำสิ่งใด ก็คิด พูด ท�ำ โดยปราศจากอคติ ความล�ำเอียง
๓. ความสวามิภักดิ์ คือ มีความจงรักภักดี ต่อบุคคล องค์กร หรือสถาบัน ด้วยความสัตย์ซื่อ ไม่คิดทรยศ 130 บริ ษัท ส�ำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จ�ำกัด
๔. ความกตัญญู คือ ตอบแทนผู้มีบุญคุณ ด้วยความจริงใจ
ตัวอย่าง การมีสัจจะ เรื่อง มหิสสาสกุมาร ในอดี ต กาล มี ร ากษสตนหนึ่ ง สิ ง สถิ ต อยู ่ สระใหญ่ในป่าลึก ได้รับอนุญาตจากท้าวเวสสุวัณ ให้จบั คนทีล่ งมาในสระกินได้ ยกเว้นคนทีร่ เู้ ทวธรรม วันหนึ่ง มีพระโอรสของพระราชาเดินทางผ่านมา ๓ พระองค์ พระโอรสองค์โตชื่อ มหิสสาสกุมาร ใช้น้องคนเล็กชื่อ สุริยกุมาร ให้ไปตักน�้ำในสระ ถูกรากษสจับไว้เพราะไม่รู้เทวธรรม เมื่อเห็นน้อง หายไปนาน มหิสสาสะจึงใช้ให้จันทกุมาร น้องชาย คนรองไปตาม แต่ก็ถูกจับไว้เช่นกัน มหิ ส สาสกุ ม ารจึ ง มาตามหาน้ อ งชายที่ ส ระ สั ง เกตเห็ น รอยเท้ า ลงไปในสระ แต่ไม่มีรอยขึ้น คิดว่าต้องมีอันตรายเป็นแน่ จึงจับพระขรรค์และเตรียมธนูระวังตัวอยู่ ฝ่ายรากษสเห็นเช่นนั้นจึงแปลงกายเป็นคนป่ามาชักชวนให้ลงไปในสระ มหิสสาสกุมาร เห็นนัยน์ตาของเขาไม่มีแววก็รู้ทันทีว่าเป็นยักษ์ และขอให้คืนน้องทั้งสองมา ฝ่ายรากษส บอกว่าจะคืนน้องชายให้หากบอกเทวธรรมแก่ตน มหิสสาสกุมารบอกว่า ธรรม คือ หิริ ความละอายต่อบาป และโอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อผลของบาปเป็นเทวธรรม รากษสได้ฟังก็เลื่อมใสและจะยอมปล่อย น้องชายให้หนึ่งคน ซึ่งต้องเลือกว่าจะให้ปล่อยใคร มหิสสาสกุมารเลือกน้องชายคนเล็ก ซึ่งเป็นน้องชายต่างมารดา รากษสจึงต�ำหนิมหิสสาสกุมารว่าเป็นผู้สักแต่ว่ารู้เทวธรรม แต่ไม่ปฏิบัติเทวธรรม เพราะแทนที่จะเลือกน้องชายซึ่งเป็นสายเลือดเดียวกัน กลับเลือก น้องชายต่างมารดา มหิสสาสกุมารชีแ้ จงว่าพระราชบิดาได้ยกราชสมบัตใิ ห้นอ้ งชายคนเล็ก และขับไล่ตน กับน้องชายออกมาอยูป่ า่ แต่นอ้ งชายคนเล็กแอบหนีตามมา หากตนกลับไปบอกชาวเมือง ว่าน้องชายคนเล็กถูกยักษ์จับกินในป่า คงไม่มีใครเชื่อ คงจะหาว่าตนกับน้องชายคนรอง ร่วมกันฆ่าน้องชายคนเล็กเป็นแน่ รากษสฟังดังนั้นแล้วก็สรรเสริญและคืนน้องชาย ทั้งสองให้ ต่อมาเมื่อพระราชบิดาสิ้นพระชนม์มหิสสาสกุมารจึงกลับไปครองราชสมบัติ พร้อมกับน้องชายทั้งสองตามสัญญาที่ให้ไว้กับพระราชบิดา วิชา วินัย (เบญจศีล-เบญจธรรม) ธรรมศึกษาชั้นตรี ระดับมัธยมศึกษา
131
ข้อที่ ๕ สติสัมปชัญญะ ความหมายของสติสัมปชัญญะ
สติสัมปชัญญะ แยกเป็น ๒ ค�ำ คือ สติ
ความระลึกได้ก่อนท�ำ พูด คิด คือระลึกขึ้นได้ว่า จะท�ำ จะพู ด จะคิ ด สิ่ ง ใด กั บ สั ม ปชั ญ ญะ ความรู้ตัวขณะท�ำ พูด คิด คือขณะที่ท�ำ พูด คิด ก็ มี ค วามรู ้ สึ ก ตั ว ว่ า ก�ำลั ง ท�ำ พู ด คิ ด อะไรอยู ่ เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาด สติสัมปชัญญะนี้ เรียกว่า พหุปการธรรม ธรรมที่มีอุปการะมาก กิจการงานต่างๆ ต้องอาศัยธรรมสองอย่างนี้จึงจะท�ำได้ส�ำเร็จและไม่เกิดข้อผิดพลาด คนที่มีสติสัมปชัญญะได้ชื่อว่าเป็นคนที่สมบูรณ์ สมประกอบ แต่ถ้าขาดสติสัมปชัญญะ ก็จะกลายเป็นคนที่ไม่สมบูรณ์ ดังที่เรามักเรียกคนบ้าว่า “คนเสียสติ” สุรา เมรัยและสิ่งเสพติดให้โทษทุกชนิด ถือว่าเป็นสิ่งที่ท�ำลายสติสัมปชัญญะ อย่างร้ายกาจ ผู้ปรารถนาจะรักษาสติสัมปชัญญะให้สมบูรณ์จึงไม่ควรดื่มสุรา เมรัยและ เสพสิ่งเสพติดทุกชนิด สติสัมปชัญญะที่รักษาดีแล้วย่อมมีประโยชน์ต่อการด�ำเนินชีวิตในด้านต่างๆ เช่น ๑. ท�ำให้เกิดความระมัดระวัง ๔. ท�ำให้เกิดความตื่นตัว ไม่หลงลืม ๒. ช่วยยับยั้งในการท�ำสิ่งไม่ดี ๕. ท�ำให้เกิดความส�ำนึกในหน้าที่ ๓. กระตุ้นให้ขวนขวายในการท�ำดี ๖. ท�ำให้เกิดความรอบคอบในการท�ำงาน
ลักษณะของคนที่ไม่ประมาท พึงเห็นได้จากพฤติกรรมต่อไปนี้ ๑. เป็นคนไม่ประมาทในเวลา คือ ไม่ปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปโดยเปล่าประโยชน์ ๒. เป็นคนไม่ประมาทในวัย คือ ไม่คิดว่าตนเองยังอยู่ในวัยเด็ก วัยหนุ่มสาว ยังมี เวลาในการท�ำสิ่งต่างๆ อีกมาก รีบเร่งท�ำกิจต่างๆ ให้ส�ำเร็จตามวัยของตน 132 บริ ษัท ส�ำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จ�ำกัด
๓. เป็นคนไม่ประมาทในความไม่มีโรค คือ นึกถึงความเจ็บป่วยอยู่ตลอดเวลาว่า คนเรามีความเจ็บไข้ได้ป่วยทุกเวลา ตอนนี้เรามีร่างกายที่แข็งแรงอยู่ควรรีบเร่งท�ำความดี เร่งท�ำกิจต่างๆ ให้ส�ำเร็จ ๔. เป็นคนไม่ประมาทในชีวิต คือ เห็นว่าชีวิตเป็นของไม่ยืนยาว ทั้งไม่เที่ยงแท้ อาจตายได้ทุกเมื่อ แล้วเร่งรีบท�ำความดี ไม่เผลอไปท�ำชั่วต่างๆ ๕. เป็นคนไม่ประมาทในการงาน คือ ขยันทุ่มเทตั้งใจท�ำงานให้ส�ำเร็จ ไม่ปล่อยให้ เป็นดินพอกหางหมู ๖. เป็นคนไม่ประมาทในการศึกษา คือ เห็นความส�ำคัญของการศึกษา พยายาม แสวงหาความรู้ให้กับตัวเองอยู่เสมอ เพื่อเป็นบันไดสู่ความเจริญก้าวหน้า ๗. เป็นคนไม่ประมาทในการปฏิบัติธรรม คือ ตระหนักถึงคุณค่าของธรรมะ พยายามศึกษาและลงมือปฏิบัติอย่างจริงจังและตั้งใจ
ตัวอย่าง ความไม่ประมาท เรื่อง ธัมมิกอุบาสก ในสมัยพุทธกาล อุบาสกคนหนึ่งชื่อ ธั ม มิ ก ะ ป่ ว ยหนั ก อยากจะฟั ง ธรรม พระพุทธเจ้ า ทรงส่ ง พระสงฆ์ ไ ปสาธยาย สติ ป ั ฏ ฐานสู ต รให้ ฟ ั ง ขณะนั้ น มี ร าชรถ จากสวรรค์มารอรับ อุบาสกบอกให้หยุด รอก่อน พระที่ก�ำลังสาธยายธรรมอยู่ คิดว่า อุ บ าสกให้ ห ยุ ด สวด จึ ง พากั น หยุ ด สวด แล้วกลับวัดไป เมื่ออุบาสกได้สติกลับคืนมา ถามหาพระ ลูกๆ ได้บอกว่า “เมื่อพ่อบอกว่าหยุด รอก่อน พระท่านได้หยุดสวดและกลับวัดไป” อุบาสกกล่าวว่า “ที่พ่อบอกให้หยุดนั้น พ่อพูดกับเทวดาที่มารับพ่อไปอยู่ด้วยต่างหาก” และเพื่อพิสูจน์ให้ลูกๆ ได้เห็น จึงน�ำ พวงมาลัยอธิษฐานว่า “ขอมาลัยนี้จงไปคล้องที่แอกราชรถที่มาจากสวรรค์ชั้นดุสิต” แล้วโยนขึ้นไป ปรากฏว่าพวงมาลัยลอยอยู่บนอากาศไม่ตกลงมา จากนั้นอุบาสกได้ ให้โอวาทแก่บุตร แล้วตายไปเกิดเป็นเทพบนสวรรค์ชั้นดุสิต วิชา วินัย (เบญจศีล-เบญจธรรม) ธรรมศึกษาชั้นตรี ระดับมัธยมศึกษา
133
แนวขอ้ สอบท้ายบท ๑. เบญจธรรมมีความหมายตรงกับข้อใด ? ก. ธรรม ๕ อย่าง ค. ธรรมส�ำหรับคนดี ข. ธรรมของกัลยาณชน ง. ธรรมส�ำหรับ ๕ คน ๒. ข้อใดไม่จัดเข้าในเบญจธรรม ? ก. สติสัมปชัญญะ ค. หิริ โอตตัปปะ ข. สัมมาอาชีวะ ง. เมตตากรุณา ๓. ธรรมในข้อใดเกื้อกูลต่อการรักษาศีลข้อ ๑ ? ก. เมตตากรุณา ค. กามสังวร ข. สัจจะ ง. สติสัมปชัญญะ ๔. เห็นคนตกนำ�้ พอช่วยได้แต่ไม่ชว่ ยชือ่ ว่าขาดธรรมข้อใด ? ก. เมตตากรุณา ค. สติสัมปชัญญะ ข. สัจจะ ง. สัมมาอาชีวะ ๕. สุวรรณสามเป็นทีร่ กั ของสัตว์เพราะมีธรรมข้อใด ? ก. เมตตากรุณา ค. สติสัมปชัญญะ ข. สัจจะ ง. สัมมาอาชีวะ ๖. ศีลข้อ ๒ จะสมบูรณ์เพราะมีธรรมข้อใด ? ก. เมตตากรุณา ค. สติสัมปชัญญะ ข. สัจจะ ง. สัมมาอาชีวะ ๗. การประกอบอาชีพที่สุจริตจัดว่ามีธรรมข้อใด ? ก. เมตตากรุณา ค. สติสัมปชัญญะ ข. สัจจะ ง. สัมมาอาชีวะ ๘. ท�ำของปลอมขายชือ่ ว่าประพฤติไม่เป็นธรรมในสิง่ ใด ? ก. ในกิจการ ค. ในบุคคล ข. ในวัตถุ ง. ในลิขสิทธิ์ ๙. เป็นข้าราชการแต่รบั สินบนชือ่ ว่าอาชีพวิบตั โิ ดยสิง่ ใด ? ก. วิบัติโดยเนื้องาน ค. วิบัติโดยการกระท�ำ ข. วิบัติโดยหน้าที่ ง. วิบัติโดยสุจริต ๑๐. รักเดียวใจเดียวไม่เกีย่ วกับกิก๊ ชือ่ ว่ามีธรรมข้อใด ? ก. เมตตากรุณา ค. สติสัมปชัญญะ ข. กามสังวร ง. สัมมาอาชีวะ
เลือกค�ำตอบที่ถูกต้องเพียงข้อเดียว
๑๑. สทารสันโดษมีความหมายตรงกับข้อใด ? ก. ยินดีในภรรยาคนอืน่ ค. ยินดีในภรรยาตนเอง ข. ยินดีในภรรยาเพื่อน ง. ยินดีในหญิงทุกคน ๑๒. สทารสันโดษเป็นธรรมที่ใครควรปฏิบัติ ? ก. ชายโสด ค. ชายที่มีภรรยา ข. ชายที่มีกิ๊ก ง. ชายทุกคน ๑๓. ปติวัตรเป็นวัตรที่ใครควรปฏิบัติ ? ก. หญิงทุกคน ค. ชายทุกคน ข. หญิงที่มีสามี ง. ชายที่มีภรรยา ๑๔. สัจจะเป็นธรรมคู่กับศีลข้อใด ? ก. ศีลข้อ ๑ ค. ศีลข้อ ๒ ข. ศีลข้อ ๓ ง. ศีลข้อ ๔ ๑๕. เสียชีพอย่าเสียสัตย์เป็นลักษณะของธรรมข้อใด ? ก. เมตตากรุณา ค. สติสัมปชัญญะ ข. สัจจะ ง. สัมมาอาชีวะ ๑๖. คนลักษณะใดชื่อว่าไม่มีสัจจะ ? ก. ซื่อตรง ค. เที่ยงธรรม ข. จงรักภักดี ง. อกตัญญู ๑๗. คดในข้องอในกระดูกเพราะขาดธรรมข้อใด ? ก. เมตตากรุณา ค. สติสัมปชัญญะ ข. สัจจะ ง. สัมมาอาชีวะ ๑๘. สุราเป็นศัตรูตัวฉกาจของธรรมข้อใด ? ก. เมตตากรุณา ค. สติสัมปชัญญะ ข. สัจจะ ง. สัมมาอาชีวะ ๑๙. สติสัมปชัญญะมีประโยชน์กับใครมากที่สุด ? ก. นักเรียน ค. ทหาร ข. นักบวช ง. ทุกคน ๒๐. ข้อใดเป็นผลจากการตั้งอยู่ในเบญจธรรม ? ก. เป็นคนสมบูรณ์ ค. เกื้อกูลการรักษาศีล ข. สังคมสงบสุข ง. ถูกทุกข้อ
134 บริ ษัท ส�ำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จ�ำกัด
๑. ก ๒. ก ๓. ก ๔. ง ๕. ข
เฉลยหน้า ๒๒ ๖. ค ๑๑. ค ๗. ค ๑๒. ง ๘. ง ๑๓. ข ๙. ข ๑๔. ง ๑๐. ง ๑๕. ง
๑๖. ง ๑๗. ง ๑๘. ง ๑๙. ก
เฉลยหน้า ๓๓ ๑. ค ๖. ก ๑๑. ง ๑๖. ก ๒. ก ๗. ง ๑๒. ข ๓. ข ๘. ข ๑๓. ง ๔. ข ๙. ข ๑๔. ก ๕. ค ๑๐. ก ๑๕. ข
๑. ง ๒. ก ๓. ก ๔. ข ๕. ง
เฉลยหน้า ๔๓ ๖. ง ๑๑. ก ๗. ค ๑๒. ก ๘. ง ๑๓. ข ๙. ง ๑๔. ง ๑๐. ข ๑๕. ค
๑. ก ๒. ค ๓. ก ๔. ง ๕. ข
เฉลยหน้า ๖๖ ๖. ค ๑๑. ก ๗. ง ๑๒. ง ๘. ก ๑๓. ค ๙. ก ๑๔. ข ๑๐. ค ๑๕. ก
๑๖. ง ๑๗. ค ๑๘. ค ๑๙. ข
๑๖. ง ๑๗. ค ๑๘. ค ๑๙. ง ๒๐. ก
๑. ก ๒. ง ๓. ง ๔. ง ๕. ง
เฉลยหน้า ๒๙ ๖. ง ๑๑. ง ๗. ก ๑๒. ข ๘. ก ๑๓. ค ๙. ข ๑๔. ข ๑๐. ง ๑๕. ก
๑. ง ๒. ง ๓. ก ๔. ข ๕. ค
เฉลยหน้า ๓๘ ๖. ค ๑๑. ง ๑๖. ง ๗. ก ๑๒. ง ๑๗. ก ๘. ค ๑๓. ค ๑๘. ค ๙. ง ๑๔. ง ๑๐. ค ๑๕. ค
๑. ก ๒. ง ๓. ค ๔. ค ๕. ง
เฉลยหน้า ๕๔ ๖. ค ๑๑. ง ๗. ค ๑๒. ค ๘. ค ๑๓. ก ๙. ก ๑๔. ค ๑๐. ก ๑๕. ก
๑๖. ง ๑๗. ก ๑๘. ค ๑๙. ค ๒๐. ง
๑. ง ๒. ง ๓. ก ๔. ก ๕. ก
เฉลยหน้า ๗๔ ๖. ข ๑๑. ง ๗. ค ๑๒. ค ๘. ข ๑๓. ก ๙. ก ๑๔. ก ๑๐. ค ๑๕. ง
๑๖. ก ๑๗. ค ๑๘. ค ๑๙. ค ๒๐. ค
๑๖. ง ๑๗. ข ๑๘. ข ๑๙. ง ๒๐. ง
135
๑. ก ๒. ค ๓. ค ๔. ค ๕. ก
เฉลยหน้า ๘๖ ๖. ค ๑๑. ง ๗. ค ๑๒. ง ๘. ง ๑๓. ค ๙. ข ๑๔. ก ๑๐. ค ๑๕. ข
๑. ข ๒. ข ๓. ก ๔. ก ๕. ข
เฉลยหน้า ๑๐๓ ๖. ข ๑๑. ง ๑๖. ก ๗. ค ๑๒. ง ๘. ก ๑๓. ข ๙. ก ๑๔. ข ๑๐. ข ๑๕. ง
๑. ก ๒. ง ๓. ก ๔. ค ๕. ข
เฉลยหน้า ๑๑๙ ๖. ก ๑๑. ง ๑๖. ก ๗. ก ๑๒. ค ๑๗. ก ๘. ค ๑๓. ง ๑๘. ข ๙. ข ๑๔. ค ๑๐. ง ๑๕. ค
๑๖. ค ๑๗. ก ๑๘. ก ๑๙. ข ๒๐. ค
๑. ก ๒. ค ๓. ก ๔. ก ๕. ก
๑. ก ๒. ง ๓. ง ๔. ก ๕. ก
เฉลยหน้า ๙๓ ๖. ข ๑๑. ก ๑๖. ง ๗. ข ๑๒. ง ๘. ข ๑๓. ก ๙. ค ๑๔. ก ๑๐. ง ๑๕. ก
๑. ง ๒. ง ๓. ค ๔. ก ๕. ง
เฉลยหน้า ๑๑๑ ๖. ง ๑๑. ง ๑๖. ง ๗. ก ๑๒. ก ๘. ก ๑๓. ข ๙. ก ๑๔. ก ๑๐. ก ๑๕. ง
๑. ค ๒. ง ๓. ข ๔. ข ๕. ง
เฉลยหน้า ๑๒๔ ๖. ค ๑๑. ง ๑๖. ง ๗. ข ๑๒. ง ๑๗. ก ๘. ง ๑๓. ง ๙. ง ๑๔. ง ๑๐. ง ๑๕. ค
เฉลยหน้า ๑๓๖ ๖. ง ๑๑. ค ๗. ง ๑๒. ค ๘. ข ๑๓. ข ๙. ค ๑๔. ง ๑๐. ข ๑๕. ข
๑๖. ง ๑๗. ข ๑๘. ค ๑๙. ง ๒๐. ง
รับชมสินค้าในเครือเลี่ยงเชียงได้ที่ :
WWW.LC2U.COM, WWW.LIANGCHIANG.COM, WWW.DHAMMA2U.COM LC62-04