หนังสือเรียน ธรรมศึกษา ชั้นตรี ระดับประถม

Page 1

˹ѧÊ×ÍàÃÕ¹áÅÐá¹Ç¢ŒÍÊͺ

ÃдѺ ตรงตามหลักสูตร แม่กองธรรมสนามหลวง ปี ๒๕๖๑

เนือ้ หาครบถ้วนตามหลักสูตรแม่กองธรรมสนามหลวง ประกอบด้วย แผนผังขอบข่ายเนือ้ หาแต่ละวิชา, ผังการเรียนการสอน, แนวข้อสอบท้ายบทเพื่อทดสอบความรู้, มีภาพการ์ตนู และแผนผังประกอบเนือ้ หา ช่วยกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ อ่านง่าย เข้าใจง่าย สะดวก รวดเร็ว


หนังสือเรียนและแนวข้อสอบ ธรรมศึกษา ชั้นตรี ระดับประถมศึกษา ISBN : 978-616-268-323-7 คณะที่ปรึกษาและตรวจสอบต้นฉบับ พระมหาสมศักดิ์ ธนปญฺโ น.ธ.เอก, ป.ธ.๓, พธ.บ. (การสอนภาษาไทย), ศษ.ม. (การสอนภาษาไทย) พระมหาเอกสิทธิ์ อคฺคปญฺโ น.ธ.เอก, ป.ธ.๙ สำ�นักเรียนวัดสร้อยทอง พระบุญส่ง อโนมปญฺโ ประโยค ๑-๒, น.ธ.เอก, พธ.บ. (การสอนสังคม) อนุชิต คำ�ซองเมือง น.ธ.เอก, ป.ธ.๙, ค.บ. (พุทธศาสนา) วันนา มากมาย น.ธ.เอก, ป.ธ.๙, อวท. (คอมพิวเตอร์), ศศ.ม. (การบริหารยุติธรรม) อรุณ อาจทวีกุล น.ธ.เอก, ป.ธ.๘, ค.บ. (พุทธศาสนา) ไพยนต์ กาสี น.ธ.เอก, ป.ธ.๖, พธ.บ. (รัฐศาสตร์) มนิจ ชูชัยมงคล น.ธ.เอก, ป.ธ.๖, พธ.บ. (เศรษฐศาสตร์) เรียบเรียงต้นฉบับ ศักดิ์สิทธิ์ พันธุ์สัทธ์ น.ธ.เอก, ป.ธ.๗, พธ.บ. (ภาษาไทย) พิสูจน์อักษร อรัญ มีพันธ์ ศศ.บ. (ภาษาไทย) อุธร นามวงศ์ บธ.บ. (บริหารการจัดการทั่วไป) หนูคล้าย กุกัญยา ฝ่ายศิลป์ อนุชิต คำ�ซองเมือง ออกแบบปก สุกัญญา บุญทัน รูปเล่ม/จัดอาร์ต สมควร กองศิลา ภาพประกอบ เทิดเกียรติ ปลูกปานย้อย ภาพประกอบ ธนรัตน์ ไทยพานิช ภาพประกอบ ชิชกาน ทองสิงห์ ภาพประกอบ

สร้างสรรค์และลิขสิทธิ์โดย

บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด ๑๐๕/๙๕-๙๖ ถนนประชาอุทิศ ซอย ๔๕ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ ๑๐๑๔๐ โทร./แฟกซ์ ๐๒-๘๗๒-๗๖๖๗ ซื้อหนังสือ สาขาทุ่งครุ : โทร. ๐๒-๘๗๒-๗๒๒๗, ๐๒-๘๗๒-๘๒๒๘, ๐๒-๘๗๒-๙๘๙๘ สาขาสำ�ราญราษฎร์ : โทร. ๐๒-๒๒๑-๑๐๕๐, ๐๒-๒๒๑-๔๔๔๖ พิมพ์แจกเป็นธรรมทาน : โทร. ๐๒-๘๗๒-๘๘๗๓, ๐๒-๘๗๒-๙๑๙๑, ๐๒-๘๗๒-๘๑๘๑, ๐๒-๘๗๒-๘๐๘๐, ๐๒-๘๗๒-๕๙๗๘ เชิญชมสินค้าได้ท ี่ : WWW.LC2U.COM, WWW.LIANGCHIANG.COM, WWW.DHAMMA2U.COM พิมพ์ที่ : หจก. แอลซีพี ฐิติพรการพิมพ์

๑๐๕/๑๑๐-๑๑๒ ถนนประชาอุทิศ ซอย ๔๕ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ ๑๐๑๔๐

โทร. ๐๒-๘๗๒-๙๕๗๗ www.thitiporn.com


คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์ บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด ได้มุ่งมั่นพัฒนาหนังสือสื่อการ เรียนการสอนพระปริยัติธรรม ทั้งแผนกธรรมและบาลีสืบเนื่องมาโดยตลอดนับแต่ปี พ.ศ. ๒๔๕๙ จนถึงปัจจุบัน อายุ ๑๐๐ กว่าปี นับเป็นเกียรติและเป็นความภาคภูมิใจของผู้ก่อตั้ง คือ คุณปู่ทวดลิปโป แซ่เตียว และทายาทผู้สืบทอดจากรุ่นแรกจนถึงรุ่นที่ ๕ ณ ปัจจุบัน ตลอดระยะเวลาของการทำ�งาน สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ ได้พยายาม พัฒนาหนังสือสื่อการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมมาโดยตลอด จนได้รับความไว้วางใจและ ชื่นชมจากครูอาจารย์ นักเรียน ทั้งที่เป็นคฤหัสถ์และบรรพชิต ในปี พ.ศ. ๒๕๖๑ ทางแม่กองธรรมสนามหลวงได้ปรับปรุงหลักสูตรธรรมศึกษาใหม่ แบ่งหลักสูตรธรรมศึกษาชั้นตรี โท เอก ออกเป็น ๓ ระดับ คือ ระดับประถมศึกษา ระดับ มัธยมศึกษา และระดับอุดมศึกษาและประชาชนทัว่ ไป โดยระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ได้ลดเนื้อหาการเรียนการสอนในหลักสูตรเดิมให้น้อยลง เพื่อให้เหมาะกับผู้เรียนมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ ทาง บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด จึงมอบหมาย ให้ทีมคณาจารย์ ร่วมกับพระครูสอนและผู้ทรงความรู้ด้านพระปริยัติหลายท่าน จัดทำ� หนั ง สื อ เรี ย นและแนวข้ อ สอบธรรมศึ ก ษาทั้ ง หมด ๙ เล่ ม ประกอบด้ ว ยหนั ง สื อ เรี ย น ธรรมศึกษาชั้นตรี ๓ ระดับ ๓ เล่ม, หนังสือเรียนธรรมศึกษาชั้นโท ๓ ระดับ ๓ เล่ม, และหนังสือเรียนธรรมศึกษาชั้นเอก ๓ ระดับ ๓ เล่ม ทั้งนี้เพื่อให้นักเรียนและครูผู้สอน ได้มีหนังสือเรียนที่ตรงตามหลักสูตรที่ปรับปรุงใหม่ของทางแม่กองธรรมสนามหลวง ในการจัดทำ�หนังสือเรียนธรรมศึกษาครั้งนี้ ทางคณะผู้จัดทำ�ได้จัดแบ่งเนื้อหาออกเป็น ๒๐ คาบเรียน ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับเวลาที่ทางโรงเรียนส่วนใหญ่กำ�หนดไว้สำ�หรับสอน ธรรมศึกษา ซึ่งในแต่ละคาบประกอบด้วย


ผังขอบข่าย เนื้อหา แต่ละวิชา

เป้าประสงค์ การเรียน แต่ละคาบ

กิจกรรม การเรียน การสอน

เนื้อหากระชับ เล่นสีเน้นคำ� มีภาพ แนวข้อสอบ แผนผังประกอบ ประเมินความรู้ ให้เข้าใจง่าย

จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้ จักเอื้อประโยชน์โสตถิผลแก่ครูอาจารย์ นักเรียน และผู้ เรี ย นธรรมศึกษาได้เป็นอย่า งดี อนึ่ ง หนั ง สื อ เล่ ม นี้ ไ ด้ บรรจุ ห ลั ก ธรรมคำ � สอนทาง พระพุทธศาสนา ประวัติของพระพุทธเจ้า พิธีกรรมต่างๆ ทางพุทธศาสนา และเบญจศีล เบญจธรรม ซึง่ ถือเป็นหลักวิชาทีส่ �ำ คัญควรแก่การศึกษาและนำ�ไปปฏิบตั สิ �ำ หรับพุทธศาสนิกชน ทั่วไป อนึ่งหนังสือเล่มนี้ได้จัดทำ�รูปแบบการนำ�เสนอให้เข้าใจง่าย สะดวก และประหยัดเวลา ในการเรียน ดังนั้น หนังสือเล่มนี้จึงเหมาะแก่พุทธศาสนิกชน พระภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกา นักเรียน นักศึกษา พ่อค้า และประชาชนทั่วไป ที่ต้องการศึกษาหลักคำ�สอน ทางพระพุทธศาสนาด้วย าตุ จิรํ สตํ ธมฺโม ขอพระสัทธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จงดำ�รงอยู่ตลอดกาลนาน บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒


ส า ร บั ญ

วิชา เรียงความแก้กระทู้ธรรม

ขั้นตอนการเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรม รูปแบบการเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรม พุทธศาสนสุภาษิตที่ควรท่องจำ�

วิชา ธรรมวิภาค

ทุกะ ติกะ จตุกกะ ปัญจกะ

คิหิปฏิบัติ จตุกกะ ปัญจกะ

หมวด ๒ หมวด ๓ หมวด ๔ หมวด ๕

๑๖ ๒๒ ๒๖ ๓๒

หมวด ๔ หมวด ๕

๓๖ ๔๐

วิชา พุทธประวัติ

บทที่ ๑ บทที่ ๒ บทที่ ๓ บทที่ ๔ บทที่ ๕ บทที่ ๖ บทที่ ๗

๙ ๑๐ ๑๓

ชมพูทวีปและประชาชน กำ�เนิดศากยวงศ์ ประสูติ ออกผนวช ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา ประกาศพระศาสนา

๔๓ ๔๕ ๔๗ ๕๐ ๕๓ ๕๕ ๕๘


บทที่ ๘ บทที่ ๙ บทที่ ๑๐ บทที่ ๑๑ บทที่ ๑๒ บทที่ ๑๓ บทที่ ๑๔

วิชา ศาสนพิธี บทที่ ๑ บทที่ ๒ บทที่ ๓ บทที่ ๔

เสด็จกรุงราชคฤห์ พุทธกิจในแคว้นมคธ เสด็จแคว้นสักกะ เสด็จแคว้นโกศล ปรินิพพาน ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ แบ่งพระบรมสารีริกธาตุ

๖๐ ๖๕ ๖๗ ๖๙ ๗๒ ๗๖ ๗๘

พิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะ วันสำ�คัญทางพระพุทธศาสนา พิธีถวายทาน การปฏิบัติพิธี

๘๓ ๘๖ ๘๙ ๙๑

วิชา วินัย (เบญจศีล เบญจธรรม)

บทที่ ๑ บทที่ ๒ บทที่ ๓ บทที่ ๔

วินัย ความหมายและความสำ�คัญของศีล เบญจศีล อานิสงส์ของเบญจศีล

๙๖ ๙๘ ๑๐๓ ๑๑๕


วิชา เรียงความแก้กระทู้ธรรม เวลาเรียน

ขอบข่ายการเรียน เรียงความแก้กระทู้พุทธศาสนสุภาษิต ๓ หมวด ได้แก่ ๑) ขันติวรรค คือหมวดอดทน ๒) ทานวรรค คือหมวดทาน ๓) สติวรรค คือหมวดสติ

l

ใช้เวลา ๔ คาบ

เป้าประสงค์ ผู้เรียนท่องจ�ำและเขียนพุทธศาสนสุภาษิตพร้อมที่มาได้อย่างน้อย ๒ สุภาษิต l ผู้เรียนเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรมได้ถูกต้องตามกฎเกณฑ์ที่วางไว้ l

กิจกรรมการสอน ผู้สอนบรรยายถึงลักษณะและประโยชน์ของวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม l ผูส ้ อนให้ผเู้ รียนท่องจ�ำและฝึกเขียนพุทธศาสนสุภาษิตทีต่ นชอบ ๒ สุภาษิต พร้อมทีม่ า l ผู้สอนให้ผู้เรียนดูรูปแบบการเขียนกระทู้ พร้อมอธิบายประกอบ l ผู้สอนแนะแนวการอธิบายพุทธศาสนสุภาษิตแก่ผู้เรียน l ผู้เรียนฝึกเขียนเรียงความแก้กระทู้ในห้องเรียนและท�ำเป็นการบ้าน l

อุปกรณ์ ผังรูปแบบการเขียนเรียงความแก้กระทู้ l ตัวอย่างการเขียนเรียงความแก้กระทู้ในใบสอบจริง (ลายมือ) l กระดาษสอบสนามหลวง หรือกระดาษ A4 ส�ำหรับให้นักเรียนฝึกเขียน l

วิชา เรี ยงความแก้กระทู้ธรรม ธรรมศึกษาชั้นตรี ระดับประถมศึกษา

7


วิชา เรียงความแก้กระทู้ธรรม ความหมาย ของค�ำว่าเรียงความแก้กระทู้ธรรม

เรียงความแก้กระทู้ธรรม แยกออกเป็น ๓ ค�ำ คือ ค�ำว่า เรียงความ + แก้ +

กระทู้ธรรม, เรียงความ หมายถึงการน�ำค�ำต่างๆ มาเขียนเรียงเป็นประโยค อ่านแล้ว ได้ความหมายและเกิดความเข้าใจในเรื่องนั้นๆ ค�ำว่า แก้ หมายถึงแก้ข้อสงสัย ท�ำให้ กระจ่าง เข้าใจแจ่มแจ้ง กระทู้ธรรม หมายถึงหัวข้อธรรมหรือพุทธศาสนสุภาษิต เรียงความแก้กระทู้ธรรม จึงหมายถึงการเขียนอธิบายเนื้อความพุทธศาสนสุภาษิต ทีย่ กมา ให้กระจ่างตามความรูค้ วามเข้าใจของแต่ละคน การเขียนเรียงความแก้กระทูธ้ รรมนี้ จะว่ายากก็ยากจะว่าง่ายก็ง่ายขึ้นอยู่กับการฝึกฝนของผู้เรียนเป็นส�ำคัญ

หลักเกณฑ์การเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรม ในการเขียนเรียงความแก้กระทูธ้ รรม มีหลักเกณฑ์ทตี่ อ้ งท�ำความเข้าใจ ๔ อย่าง ดังนี้ ๑. รูปแบบถูกต้องตามเกณฑ์ หมายถึงเขียนให้ถูกตามเกณฑ์ที่วางไว้ คือ ๑) เขียนด้วยตัวบรรจงครึ่งบรรทัด ๒) เขียนให้ได้ ๒ หน้ากระดาษขึ้นไป โดยเว้นบรรทัด ๓) อ้างพุทธศาสนสุภาษิตอื่นมาประกอบ ๑ สุภาษิต ๔) จัดวรรคตอน ย่อหน้า ได้ถูกต้องตามรูปแบบที่ก�ำหนด ๒. โดดเด่นเนื้อหาจับใจ หมายถึงเขียนอธิบายพุทธศาสนสุภาษิตได้สมเหตุ สมผล มีล�ำดับขั้นตอน อ่านเข้าใจง่าย และน้อมน�ำใจให้อยากปฏิบัติตาม ๓. ภาษาอ่านแล้วลื่นไหล หมายถึงภาษาที่ใช้ต้องมีถ้อยค�ำส�ำนวนที่อ่านง่าย เข้าใจง่าย หลีกเลี่ยงค�ำไม่สุภาพ เขียนค�ำให้ถูกต้องตามหลักภาษาและอย่าให้ตกหล่น ๔. สะอาดถูกใจ ไม่เปรอะเปื้อน คือ พยายามอย่าให้มีรอยลบ รอยขีดฆ่า จนดูสกปรก หากจ�ำเป็นต้องขีดฆ่าให้ใช้ปากกาขีดฆ่าข้อความเพียงเส้นเดียว อย่าขีดฆ่า จนเลอะเทอะ ถ้าเลอะมากให้เขียนใหม่ เช่น กุลธรรม คือธรรมฝ่ายชั่ว ธรรมไม่ดี มีผลท�ำให้เป็นสุขทั้งโลกนี้และโลกหน้า 8 บริ ษัท ส�ำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จ�ำกัด


ขั้นตอน การเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรม ขั้นตอนก่อนลงมือเขียน ๑) ให้ทอ่ งจ�ำพุทธศาสนสุภาษิตทีช่ อบและคิดว่าตนเองจะอธิบายได้ดี อย่างน้อย ๒ สุภาษิต พร้อมทั้งที่มาของสุภาษิตบทนั้น ฝึกเขียนทั้งบาลีและค�ำแปลให้ถูกต้อง ๒) เมื่อท่องจ�ำสุภาษิตได้แล้ว ให้ฝึกเขียนอธิบายพุทธศาสนสุภาษิตนั้นสัก ๒-๓ ครัง้ ประมาณ ๗-๘ บรรทัด จนเกิดความช�ำนาญ เมือ่ น�ำไปเชือ่ มในสนามหลวงจะได้งา่ ยขึน้

ขั้นตอนลงมือเขียน (ดูรูปแบบการเขียน หน้า ๑๐ ประกอบ)

๑) เขียนสุภาษิตสนามหลวง ต้องเขียนไว้กึ่งกลางหน้ากระดาษสอบให้พอดี

ทั้งค�ำบาลีและค�ำแปล อย่าให้ล้นไปข้างหน้าหรือเยื้องไปข้างหลังจะดูไม่งาม ๒) เขียนอารัมภบท คือ บัดนี.้ .. ให้ขนึ้ บรรทัดใหม่ ย่อหน้าประมาณ ๕-๖ ตัวอักษร ๓) อธิบายเนื้อความ ให้ขึ้นบรรทัดใหม่ย่อหน้ากระดาษ ขึ้น ค�ำว่า... การย่อหน้า ต้ อ งให้ ต รงกั บ บั ด นี้ . .. เมื่ อ อธิ บ ายได้ ๔-๕ บรรทั ด ให้ ท�ำการเชื่ อ มเนื้ อ ความ ของสุภาษิตแรกกับสุภาษิตที่สองให้ถึงกัน เช่น สุภาษิตแรกพูดถึงเรื่องกรรม เราจะ ยกสุ ภ าษิ ต เรื่ อ งศี ล มาเชื่ อ ม ก็ ต ้ อ งพู ด เรื่ อ งกรรมกั บ ศี ล ให้ เ กี่ ย วข้ อ งกั น ว่ า ศี ล นั้ น มีประโยชน์ให้คนท�ำกรรมอย่างไร หรือเพราะเหตุใดคนต้องอาศัยศีลในการสร้างกรรม เสร็จแล้วให้บอกที่มาของสุภาษิตที่ยกมาอ้างว่า สมดังสุภาษิตที่มาใน.......ว่า ๔) เขียนสุภาษิตเชื่อม ให้เขียนไว้กึ่งกลางหน้ากระดาษ ๕) อธิบายสุภาษิตเชื่อม ให้ย่อหน้าขึ้นบรรทัดใหม่ ๖) สรุ ป ความ ให้ ย ่ อ หน้ า ขึ้ น บรรทั ด ใหม่ เขี ย นค�ำว่ า สรุ ป ความว่ า ...... การสรุปความนัน้ ควรสรุป ๕-๖ บรรทัด แล้วให้น�ำสุภาษิตบทแรกมาเขียนปิดท้ายกึง่ กลาง หน้ากระดาษ ๗) บรรทัดสุดท้าย นิยมลงท้ายว่า “มีนัยดังพรรณนามาด้วยประการฉะนี้ ฯ” หรือ “เอวัง ก็มีด้วยประการฉะนี้ ฯ” โดยไม่ต้องย่อหน้า วิชา เรี ยงความแก้กระทู้ธรรม ธรรมศึกษาชั้นตรี ระดับประถมศึกษา

9


รูปแบบการเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรม (๑)

(สุภาษิตสนามหลวง) (ค�ำแปลสุภาษิต)

(๒) บัดนี้ จักได้อธิบายเนือ้ ความแห่งพุทธศาสนสุภาษิตทีไ่ ด้ลขิ ติ ไว้ ณ เบือ้ งต้น พอเป็นแนวทางแห่งการศึกษาและน�ำไปปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ (๓) ค�ำว่า ____________________________________________________ ________________________________________________________________ ___________________สมดังสุภาษิตที่มาใน____(ที่มาของสุภาษิตที่ยกมาเชื่อม)_ว่า (๔)

(สุภาษิตบทเชื่อม) (ค�ำแปลสุภาษิตบทเชื่อม)

(๕) ค�ำว่า____________________________________________________ ________________________________________________________________ (๖) สรุปความว่า_______________________________________________ _________________________สมดังสุภาษิตที่ยกขึ้นเป็นนิกเขปบทเบื้องต้นนั้นว่า (สุภาษิตสนามหลวง) (ค�ำแปลสุภาษิต) มีนัยดังพรรณนามาด้วยประการฉะนี้ ฯ (๗)

10 บริ ษัท ส�ำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จ�ำกัด

ฝึกเขียนบ่อยๆ จะได้ชำ�นาญ นะครับ


ตัวอย่างลายมือ

วิชา เรี ยงความแก้กระทู้ธรรม ธรรมศึกษาชั้นตรี ระดับประถมศึกษา

11


12 บริ ษัท ส�ำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จ�ำกัด


พุทธศาสนสุภาษิตที่ควรท่องจ�ำ ๑. ขันติวรรค คือ หมวดอดทน ขนฺติ ปรมํ ตโป ตีติกฺขา. ขันติคือความอดทน เป็นตปะอย่างยิ่ง.

ที่มา : ขุททกนิกาย ธรรมบท

ขนฺติ หิตสุขาวหา. ความอดทน น�ำมาซึ่งประโยชน์สุข

ที่มา : สวดมนต์ฉบับหลวง

มนาโป โหติ ขนฺติโก. ผู้มีความอดทน ย่อมเป็นที่ชอบใจ (ของคนอื่น)

ที่มา : สวดมนต์ฉบับหลวง

๒. ทานวรรค คือหมวดทาน ททํ มิตฺตานิ คนฺถติ. ผู้ให้ ย่อมผูกไมตรีไว้ได้.

ที่มา : สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

ททมาโน ปิโย โหติ. ผู้ให้ ย่อมเป็นที่รัก.

ที่มา : อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต

มนาปทายี ลภเต มนาปํ. ผู้ให้สิ่งที่ชอบใจ ย่อมได้สิ่งที่ชอบใจ.

ที่มา : อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต

ททโต ปุญฺญฺํ ปวฑฺฒติ. เมื่อให้ บุญก็เพิ่มขึ้น.

ที่มา : ทีฆนิกาย มหาวรรค

๓. สติวรรค คือ หมวดสติ สติ โลกสฺมิ ชาคโร. สติเป็นธรรมเครื่องตื่นอยู่ในโลก.

ที่มา : สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

สติมโต สทา ภทฺทํ. คนผู้มีสติ มีความเจริญทุกเมื่อ.

ที่มา : สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

สติมา สุขเมธติ. คนมีสติ ย่อมได้รับความสุข.

ที่มา : สังยุตตนิกาย สคาถวรรค ท่องจำ�และเขียน พุทธศาสนสุภาษิต ให้ถูกต้องอย่างน้อย ๒ สุภาษิต นะครับ

วิชา เรี ยงความแก้กระทู้ธรรม ธรรมศึกษาชั้นตรี ระดับประถมศึกษา

13


วิชา ธรรมวิภาค ธรรมวิภาค

ธรรมมีอุปการะมาก

หมวด ๔

หมวด ๔

หมวด ๒ l

คิหิปฏิบัติ

วุฑฒิ

๔ อิทธิบาท ๔ พรหมวิหาร ๔

ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์

l

l

l

l

l

l

l

l

ธรรมเป็นโลกบาล

๒ ธรรมอันทำ�ให้งาม ๒ บุคคลหาได้ยาก ๒

มิตรเทียม มิตรแท้

๔ ฆราวาสธรรม ๔

l

l

หมวด ๓ ๓ โอวาทของ พระพุทธเจ้า ๓

หมวด ๕

หมวด ๕

รัตนะ

l l

อนันตริยกรรม

๕ ธัมมัสสวนานิสงส์ ๕

l l

สมบัติของอุบาสก

l

เวลาเรียน l

14 บริ ษัท ส�ำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จ�ำกัด

ใช้เวลา ๖ คาบ


วิชา ธรรมวิภาค

คาบเรี ยนที่

ขอบข่ายการเรียน ทุกะ หมวด ๒ - ธรรมมีอุปการะมาก ๒ - ธรรมเป็นโลกบาล ๒ - ธรรมอันท�ำให้งาม ๒ - บุคคลหาได้ยาก ๒

เป้าประสงค์ ผู้เรียนจ�ำหัวข้อธรรมะแต่ละข้อได้ l ผู้เรียนสามารถบอกความหมายและประโยชน์ของธรรมแต่ละข้อได้ l ผู้เรียนสามารถตอบแนวข้อสอบท้ายบทได้ l

กิจกรรมการสอน ผู้สอนบรรยายความหมายและประโยชน์ของวิชาธรรมวิภาค l ผู้สอนให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่มศึกษาธรรมที่ก�ำหนดให้แล้วน�ำเสนอหน้าชั้น l ผู้สอนสรุปประเด็นเนื้อหา สอบถามความเข้าใจเป็นรายบุคคล l ผู้เรียนตอบแนวข้อสอบท้ายบทแล้วเปลี่ยนกันตรวจ l

อุปกรณ์ ภาพและเนื้อหาในหนังสือ l แนวข้อสอบท้ายบท l

วิชา ธรรมวิภาค ธรรมศึกษาชั้นตรี ระดับประถมศึกษา

15


ทุกะ หมวด ๒ ธรรมมีอุปการะมาก ๒ (ธรรมป้องกันความผิดพลาด) คนประมาทขาดสติ ทำ�อะไรก็มักเกิดปัญหา ใช่ไหมเพื่อน ?

ใช่... ซู้ด ซู้ด

๑. สติ ความระลึกได้ หมายถึง การนึกขึ้นได้ก่อนที่จะท�ำ จะพูด จะคิด เป็นการ

ฉุกคิดขึ้นได้ในเรื่องที่จะท�ำ จะพูด จะคิด ไม่หลงลืม รวมถึงการระลึกเรื่องราวหรือค�ำพูด ในอดีตได้ สติ มีหน้าที่ก�ำจัดความประมาทเลินเล่อ ท�ำให้ไม่หลงลืมในกิจที่จะท�ำ จะพูด จะคิด ๒. สัมปชัญญะ ความรู้ตัว หมายถึง ความรู้สึกตัวในขณะก�ำลังท�ำ ก�ำลังพูด ก�ำลังคิด มีความรู้สึกตื่นตัวอยู่เสมอ ไม่เลอะเลือนฟั่นเฟือนในขณะที่ก�ำลังท�ำกิจนั้นๆ พร้อมทั้งรู้ตัวว่าสิ่งที่ก�ำลังท�ำ พูด คิดนั้น ดีไม่ดี ถูกต้องไม่ถูกต้องอย่างไร สัมปชัญญะ มีหน้าที่ก�ำจัดความโง่เขลา ให้เกิดความตื่นตัวอยู่ทุกขณะไม่ให้เผลอ ธรรมทั้ง ๒ ชื่อว่าเป็น พหุปการธรรม๑ คือ ธรรมมีอุปการะมาก เพราะเป็นเหตุ ให้บุคคลสามารถควบคุมการท�ำ พูด คิด ไม่ให้ผิดพลาด ให้อยู่ในกรอบของศีลธรรม ช่วยให้ยับยั้งชั่งใจพิจารณาไตร่ตรองอย่างรอบคอบในขณะที่ก�ำลังท�ำ พูด คิด ท�ำให้รู้จัก ละเว้นการท�ำ พูด คิด ที่ไม่ถูกต้องได้ด้วยตนเอง ๑ อ่านว่า พะ-หุ-ปะ-กา-ระ-ท�ำ มาจากศัพท์ว่า พหุ (มาก) + อุปการะ (ป้องกัน, คุ้มครอง) + ธรรม (ธรรมะ)

16 บริ ษัท ส�ำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จ�ำกัด


ธรรมเป็นโลกบาล ๒ (ธรรมคุ้มครองโลก) ไม่มีคนอยู่ ขโมยเลย ดีไหมน้อง ?

อย่าเลยพี่ แม่บอกว่ามันบาป ตกนรกด้วย

๑. หิริ ความละอายแก่ใจ หมายถึง ความละอายใจในตัวเองต่อการท�ำ

ความชั่ว หรือกระท�ำในสิ่งที่ผิดต่อหลักศีลธรรมและกฎหมายบ้านเมือง ทั้งต่อหน้าและ ลับหลัง หรือความละอายใจตัวเองที่เพิกเฉยต่อการท�ำความดีที่สามารถกระท�ำได้ ๒. โอตตัปปะ ความเกรงกลัว หมายถึง ความเกรงกลัวต่อผลของการท�ำบาป ทุจริต ด้วยค�ำนึงถึงผลหรือโทษที่จะเกิดขึ้นจากการท�ำบาปทุจริต แล้วไม่กล้าท�ำบาป เช่น กลัวถูกจับ กลัวตกนรก กลัวถูกตี เป็นต้น ธรรมทั้ง ๒ ชื่อว่า ธรรมเป็นโลกบาล๑ คือ ธรรมคุ้มครองโลก เพราะ หิริ ช่วย ให้คนละอายใจที่จะท�ำความชั่ว โอตตัปปะ ช่วยให้คนกลัวที่จะท�ำความผิด เมื่อเป็น เช่นนี้คนในสังคมก็อยู่ร่วมกันได้อย่างร่มเย็นเป็นสุข โลกก็เกิดสันติสุขร่มเย็น ๑ อ่ า นว่ า โลก-กะ-บาน มาจากศั พ ท์ ว ่ า โลกะ (โลก) + บาละ (รั ก ษา, คุ ้ ม ครอง) + ธรรม (ธรรมะ)

แปลว่า ธรรมคุ้มครองโลก

วิชา ธรรมวิภาค ธรรมศึกษาชั้นตรี ระดับประถมศึกษา

17


ธรรมอันท�ำให้งาม ๒

การอยูร่ ว่ มกันในสังคมนัน้ ทุกคนปรารถนา จะให้มีคนรักด้วยกัน ทั้ งนั้น แต่ การจะท�ำให้ ปากเหม็นขนาดนี้ คนรัก เราต้องมีความงามในตัวเอง ความงามนัน ้ ยังทนได้อีก มี ๒ ประการ ได้แก่ ความงามภายนอก คือ ความงามที่มองเห็นด้วยตา เช่น ความงามด้วย ผิวพรรณ หน้าตา เครื่องแต่งกาย กิริยามารยาท ความงามภายใน คือ ความงามแห่งจิตใจที่มี คุณธรรม และคุณธรรมที่จะท�ำให้จิตใจงามนั้น สงบนิ่ง ยิ้มเย็น เป็นสุข พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ๒ ประการ คือ ๑. ขันติ ความอดทน หมายถึง ความอดกลั้น ความมีใจหนักแน่น เพื่อที่จะ ให้บรรลุผลที่วางไว้ หรือเพื่อสร้างและรักษาความดีไว้ จ�ำแนกเป็น ๔ ประเภท คือ ๑) ทนต่อความล�ำบากตรากตร�ำ คืออดทนต่อความหนาว ร้อน หิว กระหาย เหน็ดเหนื่อย ย่อท้อ เพื่อให้การงาน การประกอบอาชีพ ส�ำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ ๒) ทนต่อทุกขเวทนา คืออดทนต่อความเจ็บปวด โรคภัยไข้เจ็บ ไม่แสดงอาการ ทุรนทุรายจนเกินเหตุ ๓) ทนต่อความเจ็บใจ คือทนต่อค�ำด่า ค�ำเสียดสี ค�ำที่ขัดเคืองใจต่างๆ ๔) ทนต่ออ�ำนาจกิเลส คือทนต่ออารมณ์ที่ยั่วยุให้เกิดความโลภ ความโกรธ ความหลง ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ความอดทนทั้ง ๔ อย่างนี้ ทนต่อความเจ็บใจและทนต่ออ�ำนาจกิเลสเท่านั้น ที่จัด เข้าลักษณะของขันติอย่างแท้จริง ๒. โสรัจจะ ความเสงี่ยม หมายถึง ความข่มใจให้สงบเย็น ไม่แสดงอาการ ไม่พอใจออกมาภายนอก ทั้งทางสีหน้า แววตา ท่าทาง เพราะบางครั้งถึงแม้จะอดทน ไม่ตอบโต้ แต่อาจแสดงอาการอย่างอื่นออกมาเพราะยังมีความโกรธในใจ โสรัจจะจะช่วย ข่มความโกรธให้สงบลงไม่ให้แสดงอาการออกมา ธรรม ๒ ประการนี้ หากผู้ใดปฏิบัติให้เกิดมีในตนแล้ว ย่อมมีคนรักใคร่และนิยม ชมชอบ เป็นมหาเสน่ห์ต�ำรับใหญ่ทีเดียว ขันติ ระวังขันแตก นะเฟ้ย

หมูมีเขา อิอิ

18 บริ ษัท ส�ำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จ�ำกัด


บุคคลหาได้ยาก ๒

๑. บุพการี บุคคลผูท้ �ำอุปการะก่อน

หมายถึง บุคคลผูท้ �ำอุปการะแก่ผอู้ นื่ มาก่อน เช่ น เคยเลี้ ย งดู ให้ ก ารอบรมสั่ ง สอน ให้ ค วามช่ ว ยเหลื อ เกื้ อ กู ล ทั้ ง โดยตรง หรื อ โดยอ้ อ ม ไม่ ว ่ า จะมากหรื อ น้ อ ย โดยไม่ ห วั ง ผลตอบแทน แต่ ท�ำด้ ว ยจิ ต ที่ ป ระกอบด้ ว ยเมตตากรุ ณ า หวั ง เพี ย ง เพื่อสงเคราะห์ อนุเคราะห์ บุพการี ได้แก่ พ่อแม่, ครู, อุปัชฌาย์, พระเจ้าแผ่นดิน, พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ไหนใครบอกครูได้บ้าง ว่าคนดีต้องทำ�อย่างไร ?

ต้องมีความ กตัญญูค่ะ

รักดี มีธรรม

และกตเวที ด้วยครับ

เก่งดี มีสุข

๒. กตั ญ ญู ก ตเวที บุ ค คลผู ้ รู ้ อุ ป การะที่ ท ่ า นท�ำแล้ ว และตอบแทน

หมายถึง ผูท้ รี่ ะลึกถึงบุญคุณทีผ่ อู้ นื่ เคยท�ำ เคยช่วยเหลือเกือ้ กูลตนไม่วา่ จะมากหรือน้อย ส�ำนึกในบุญคุณของท่านอยู่เสมอ เมื่อมีโอกาสได้ตอบแทนบุญคุณก็เต็มใจที่จะท�ำ ตอบแทน เป็นการสนองคุณท่านตามก�ำลังความสามารถ ผู้ที่เป็นกตัญญูกตเวทีบุคคล ได้แก่ ลูกชาย-หญิง, ศิษย์, พสกนิกร,๑ พุทธศาสนิกชน๒ บุคคลทั้ง ๒ เรียกว่า ทุลลภบุคคล๓ บุคคลหาได้ยาก บุพการีชื่อว่าหาได้ยาก เพราะโดยนิสัยคนมักคิดถึงแต่ประโยชน์ส่วนตนหวังจะเป็นแต่ผู้รับ จะเสียสละตน เพื่อประโยชน์สุขของผู้อื่นนั้นยาก ส่วนกตัญญูกตเวทีชื่อว่าหาได้ยาก เพราะโดยนิสัยคน ไม่ค่อยนึกถึงสิ่งที่ผู้อื่นท�ำดีต่อตน มักลืมบุญคุณคนได้ง่าย

๑ อ่านว่า พะ-สก-นิ-กอน แปลว่า พลเมืองที่อยู่ภายใต้การปกครองของพระราชา ๒ อ่านว่า พุด-ทะ-สา-สะ-นิก-กะ-ชน แปลว่า ชนที่นับถือพุทธศาสนา ทั้งที่เป็นนักบวชและประชาชนทั่วไป ๓ อ่านว่า ทุน-ละ-พะ-บุก-คน มาจากศัพท์ว่า ทุ (ยาก) + ลภะ (ได้) + บุคคล (คน)

วิชา ธรรมวิภาค ธรรมศึกษาชั้นตรี ระดับประถมศึกษา

19


แนวขอ้ สอบท้ายบท

เลือกค�ำตอบที่ถูกต้องเพียงข้อเดียว

๑๐. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของโอตตัปปะ ? ก. ธรรมมีอุปการะมาก ค. ธรรมเป็นโลกบาล ก. ไม่ท�ำชั่วเพราะกลัวคนเห็น ข. ไม่ท�ำชั่วเพราะกลัวตกนรก ข. ธรรมอันท�ำให้งาม ง. ธรรมหาได้ยาก ค. ไม่ท�ำชั่วเพราะกลัวบาป ๒. “เมาไม่ขับ” สอนให้มีธรรมข้อใด ? ง. ไม่ท�ำชั่วเพราะกลัวเสียชื่อเสียง ก. สติ ค. หิริ ๑๑. ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะธรรมข้อใด ? ข. ขันติ ง. กตัญญูกตเวที ก. สติ-สัมปชัญญะ ค. หิริ-โอตตัปปะ ๓. สติเป็นคู่ปรับกับข้อใด ? ข. ขันติ-โสรัจจะ ง. บุพการี-กตัญญูกตเวที ก. ความประมาท ค. ความขี้เกียจ ข. ความไม่ละอาย ง. ความเบื่อหน่าย ๑๒. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของขันติ ? ก. อดทน ค. อดกลั้น ๔. ระลึกได้ก่อนท�ำพูดคิด ตรงกับธรรมข้อใด ? ข. อดใจ ง. อดสู ก. สติ ค. สัมปชัญญะ ๑๓. ข้อใดจัดเป็นขันติที่แท้จริง ? ข. หิริ ง. โอตตัปปะ ก. ทนต่อความล�ำบาก ค. ทนต่อโรคภัยไข้เจ็บ ๕. ธรรมที่มาคู่กับสติคือข้อใด ? ข. ทนต่อความหิว ง. ทนต่อความเจ็บใจ ก. สัมปชัญญะ ค. โอตตัปปะ ๑๔. ธรรมข้อใดควรน�ำมาใช้คู่กับขันติ ? ข. โสรัจจะ ง. กตัญญูกตเวที ก. สติ ค. สัมปชัญญะ ๖. ข้อใดจับคู่ไม่ถูกต้อง ? ข. หิริ ง. โสรัจจะ ก. สติ-สัมปชัญญะ ค. หิริ-โอตตัปปะ ๑๕. บุพการี มีความหมายตรงกับข้อใด ? ข. ขันติ-โสรัจจะ ง. กตัญญู-กตเวที ก. อาบน�้ำร้อนมาก่อน ค. เรียนรู้มาก่อน ๗. โลกจะสงบสุขเพราะมีธรรมข้อใดคุ้มครอง ? ก. ธรรมมีอุปการะมาก ค. ธรรมเป็นโลกบาล ข. ท�ำอุปการะก่อน ง. ริเริ่มก่อน ๑๖. บุคคลในข้อใดไม่จัดว่าเป็นบุพการี ? ข. ธรรมอันท�ำให้งาม ง. กฎหมาย ก. พ่อแม่ ค. ครูอาจารย์ ๘. ธรรมในข้อใดได้ชื่อว่าเป็นโลกบาล ? ข. พระพุทธเจ้า ง. บุตรธิดา ก. สติ-สัมปชัญญะ ค. ขันติ-โสรัจจะ ข. หิริ-โอตตัปปะ ง. ทาน-ศีล-ภาวนา ๑๗. ข้อใดไม่จัดเข้าในกตัญญูกตเวที ? ก. บุตรธิดา ค. ศิษย์ ๙. บุคคลในข้อใดชื่อว่ามีหิริ ? ข. สาวก ง. ครูอาจารย์ ก. กิ่งไม่กล้าร้องเพลงเพราะอาย ๑๘. ทรพี มีความหมายตรงกับข้อใด ? ข. กรอายไม่กล้าบอกรักแฟน ก. กตัญญู ค. กตเวที ค. กิ๊บไม่ลอกข้อสอบเพราะละอายใจ ข. อกตัญญู ง. ก�ำพร้า ง. ก้อยอายเพราะหกล้มในที่สาธารณะ

๑. งานผิดพลาดเพราะขาดธรรมข้อใด ?

20 บริ ษัท ส�ำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จ�ำกัด


วิชา ธรรมวิภาค

คาบเรี ยนที่

ขอบข่ายการเรียน ติกะ หมวด ๓ - รัตนะ ๓ - โอวาทของพระพุทธเจ้า ๓

เป้าประสงค์ ผู้เรียนจ�ำหัวข้อธรรมะแต่ละข้อได้ l ผู้เรียนสามารถบอกความหมายและประโยชน์ของธรรมแต่ละข้อได้ l ผู้เรียนสามารถตอบแนวข้อสอบท้ายบทได้ l

กิจกรรมการสอน ผู้สอนบรรยายความหมายและประโยชน์ของวิชาธรรมวิภาค l ผู้สอนให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่มศึกษาธรรมที่ก�ำหนดให้แล้วน�ำเสนอหน้าชั้น l ผู้สอนสรุปประเด็นเนื้อหา สอบถามความเข้าใจเป็นรายบุคคล l ผู้เรียนตอบแนวข้อสอบท้ายบทแล้วเปลี่ยนกันตรวจ l

อุปกรณ์ ภาพและเนื้อหาในหนังสือ l แนวข้อสอบท้ายบท l

วิชา ธรรมวิภาค ธรรมศึกษาชั้นตรี ระดับประถมศึกษา

21


ติกะ

หมวด ๓

รัตนะ ๓ (ที่พึ่งสูงสุดของพุทธศาสนา) ค�ำว่า รัตนะ แปลว่า แก้ว ค�ำว่า แก้ว มักใช้เรียกสิ่งที่มีค่าและหาได้ยาก เช่น ลูกแก้ว ๑. พระพุทธ พ่อแก้ว แม่แก้ว ม้าแก้ว ช้างแก้ว เป็นต้น พระพุ ท ธเจ้ า พระธรรม พระสงฆ์ ๒. พระธรรม ได้ ชื่ อ ว่ า รั ต นะ หรื อ แก้ ว เพราะเป็ น สิ่ ง ที่ ประเสริ ฐ และมี ค ่ า สู ง สุ ด เพราะสามารถ ท�ำให้ ผู ้ นั บ ถื อ ตั้ ง อยู ่ ใ นความดี แ ละท�ำให้ ๓. พระสงฆ์ พ้นทุกข์ รัตนะทั้ง ๓ นั้น บางครั้งเรียกว่า พระไตรรั ต น์ บ้ า ง พระรั ต นตรั ย บ้ า ง ไตรสรณะ บ้าง ๑. พระพุ ท ธ หมายถึง พระพุทธเจ้า คือผู้ที่ตรัสรู้ธรรมคืออริยสัจ ๔ ด้วย พระองค์เอง แล้วสอนให้ผู้อื่นได้รู้ตามด้วย ๒. พระธรรม หมายถึง ค�ำสอนของพระพุทธเจ้า แยกเป็น ๒ ประเภท คือ ๑) พระธรรม คื อ ค�ำสอนว่ า ด้ ว ยการปฏิ บั ติ ที่ มี อ ยู ่ จ ริ ง ตามธรรมชาติ พระพุทธเจ้าทรงค้นพบแล้วน�ำมาแสดง เป็นค�ำสอนที่รวมอยู่ในพระสุตตันตปิฎกและ พระอภิธรรมปิฎก ๒) พระวิ นั ย คื อ บทบั ญ ญั ติ ที่ พ ระพุ ท ธเจ้ า บั ญ ญั ติ ขึ้ น เพื่ อ ควบคุ ม ความประพฤติทางกาย วาจา ให้เรียบร้อย ดีงาม เป็นค�ำสอนที่รวมอยู่ในพระวินัยปิฎก เรียกรวมกันว่าพระธรรมวินัย ๓. พระสงฆ์ หมายถึง หมู่ชนที่ฟังค�ำสอนของพระพุทธเจ้าแล้วปฏิบัติตาม มี ๒ ประเภท คือ อริยสงฆ์ คือพระสาวกที่เป็นพระอริยบุคคลตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป และสมมติสงฆ์ คือพระภิกษุสงฆ์ที่ยังไม่ได้บรรลุเป็นพระอริยบุคคลชั้นใดชั้นหนึ่ง ยังเป็น ผู้ประพฤติปฏิบัติเพื่อการบรรลุมรรค ผล นิพพาน 22 บริ ษัท ส�ำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จ�ำกัด


โอวาทของพระพุทธเจ้า ๓

(ค�ำสอนที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา)

ดี สนับสนุน

ชั่ว ไม่เอา

๑. ละชั่ว

๒. ทำ�ดี

๓. จิตใส

๑. สัพพปาปัสสะ อกรณัง การไม่ท�ำบาปทั้งปวง หมายถึง การงดเว้นจาก

ทุจริต คือการท�ำชั่วทุกอย่าง ทั้งทางกาย วาจา ใจ พยายามลดละที่จะไม่ท�ำซ�้ำ และป้องกันไม่ให้เกิดม่ีขึ้นในจิตสันดาน ๒. กุสลัสสูปสัมปทา การท�ำกุศลให้ถึงพร้อม หมายถึง การประกอบสุจริต คือการท�ำความดีทั้งทางกาย วาจา ใจ ให้มีในตนอยู่เสมอ ตั้งใจท�ำความดีใหม่ เพิ่มเติม และรักษาความดีเดิมที่มีอยู่ไม่ให้เสื่อมสูญ ๓. สจิตตปริโยทปนัง การท�ำจิตของตนให้ผ่องใส หมายถึง การท�ำใจให้ หมดจด ปลอดจากกิเลสที่ท�ำให้เศร้าหมอง มีโลภ โกรธ หลง เป็นต้น พระธรรมค�ำสอนของพระพุทธเจ้าแม้จะมีมากมาย แต่เมือ่ กล่าวโดยย่อแล้วก็รวมอยู่ ในพระโอวาททั้ง ๓ นี้ จ�ำง่ายๆ ว่า ละชั่ว ท�ำดี จิตใส ซึ่งมักเรียกกันว่า โอวาทปาฏิโมกข์ เป็นโอวาทที่ทรงแสดงแก่ภิกษุ ๑,๒๕๐ รูป ในวันมาฆบูชา

วิชา ธรรมวิภาค ธรรมศึกษาชั้นตรี ระดับประถมศึกษา

23


แนวขอ้ สอบท้ายบท ๑. ชาวพุทธควรยึดถือสิ่งใดเป็นที่พึ่งสูงสุด ? ก. ไตรสิกชา ค. ไตรรัตน์ ข. ไตรลักษณ์ ง. ไตรรงค์ ๒. ข้อใดไม่จัดเข้าในรัตนะ ๓ ? ก. พระพุทธ ค. พระสงฆ์ ข. พระธรรม ง. เทวดา ๓. รัตนะ มีความหมายตรงกับข้อใด ? ก. แก้วอันประเสริฐ ค. มณีอันงดงาม ข. เพชรที่ล�้ำค่า ง. มงคลอันวิเศษ ๔. ข้อใดมีความหมายต่างจากข้ออื่น ? ก. ไตรรัตน์ ค. รัตนตรัย ข. ไตรสรณะ ง. ไตรภูมิ ๕. ผูท้ ตี่ รัสรูช้ อบด้วยตัวเองแล้วสอนคนอืน่ ให้รตู้ าม ได้แก่ข้อใด ? ก. พระพุทธเจ้า ค. พระสงฆ์ ข. พระธรรม ง. พระปัจเจกพุทธเจ้า ๖. ค�ำสอนของพระพุทธเจ้าเรียกว่าอะไร ? ก. พระธรรม ค. พระวินัย ข. พระสูตร ง. พระอภิธรรม ๗. ผู้ที่ฟังค�ำสอนของพระพุทธเจ้าแล้วปฏิบัติตาม คือข้อใด ? ก. พระพุทธเจ้า ค. พระสงฆ์ ข. พระธรรม ง. พระรัตนตรัย ๘. พระสงฆ์ที่บรรลุธรรมตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป เรียกว่าอะไร ? ก. อริยทรัพย์ ค. อริยสงฆ์ ข. อริยธรรม ง. สมมติสงฆ์ ๙. ผลสูงสุดของการนับถือพระรัตนตรัยคือข้อใด ? ก. ปลอดภัย ค. พ้นทุกข์ ข. สมหวัง ง. สุขเพิ่ม

เลือกค�ำตอบที่ถูกต้องเพียงข้อเดียว ๑๐. ข้อใด คือหัวใจค�ำสอนทางพระพุทธศาสนา ? ก. อริยสัจ ๔ ข. อริยมรรคมีองค์ ๘ ค. โอวาทของพระพุทธเจ้า ๓ ง. โพธิปักขิยธรรม ๓๘ ๑๑. ข้อใด ไม่จัดเข้าในโอวาทของพระพุทธเจ้า ? ก. สัพพปาปัสสะ อกรณัง ข. กุสลัสสูปสัมปทา ค. สจิตตปริโยทปนัง ง. อัตตา หิ อัตตโน นาโถ ๑๒. สัพพปาปัสสะ อกรณัง ตรงกับข้อใด ? ก. การไม่ท�ำบาปทั้งปวง ข. การท�ำความดีให้ถึงพร้อม ค. การช�ำระจิตของตนให้ผ่องใส ง. ท�ำชั่วได้ชั่ว ๑๓. กุสลัสสูปสัมมปทา ตรงกับข้อใด ? ก. การไม่ท�ำบาปทั้งปวง ข. การท�ำความดีให้ถึงพร้อม ค. การช�ำระจิตของตนให้ผ่องใส ง. ท�ำดีได้ดี ๑๔. สจิตตปริโยทปนัง ตรงกับข้อใด ? ก. การไม่ท�ำบาปทั้งปวง ข. การท�ำความดีให้ถึงพร้อม ค. การช�ำระจิตของตนให้ผ่องใส ง. ท�ำดีได้ดี ท�ำชั่วได้ชั่ว ๑๕. ข้อใดสรุปค�ำสอนพระพุทธศาสนาได้ถูกต้อง ? ก. ละชั่ว ท�ำดี จิตใส ข. อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ค. ศีล สมาธิ ปัญญา ง. เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป

24 บริ ษัท ส�ำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จ�ำกัด


คาบเรี ยนที่

วิชา ธรรมวิภาค ขอบข่ายการเรียน วุฑฒิ ๔

- คบสัตบุรุษ - ฟังค�ำของท่าน - พิจารณาโดยแยบคาย - ลงมือปฏิบัติตาม

จตุกกะ หมวด ๔ อิทธิบาท ๔

- ฉันทะ รักในสิ่งนั้น - วิริยะ เพียรประกอบสิ่งนั้น - จิตตะ เอาใจใส่ไม่ทอดธุระ - วิมังสา หมัน่ ตริตรองหาเหตุผล

พรหมวิหาร ๔

- เมตตา รักใคร่ - กรุณา สงสาร - มุทิตา ยินดี - อุเบกขา วางเฉย

เป้าประสงค์ ผู้เรียนจ�ำหัวข้อธรรมะแต่ละข้อได้ l ผูเ้ รียนสามารถบอกความหมายและประโยชน์ของธรรมแต่ละข้อได้ l ผู้เรียนสามารถตอบแนวข้อสอบท้ายบทได้ l

กิจกรรมการสอน ผู้สอนให้นักเรียนแบ่งกันท�ำรายงานกลุ่มในหัวข้อธรรมที่ตนชอบ น�ำเสนอหน้าชั้น l ผู้สอนสรุปประเด็นเนื้อหา สอบถามความเข้าใจเป็นรายบุคคล l ผู้เรียนตอบแนวข้อสอบท้ายบทแล้วเปลี่ยนกันตรวจ l

อุปกรณ์ ภาพและเนื้อหาในหนังสือ l แนวข้อสอบท้ายบท l

วิชา ธรรมวิภาค ธรรมศึกษาชั้นตรี ระดับประถมศึกษา

25


จตุกกะ หมวด ๔ วุฑฒิ ๔ (ธรรมที่น�ำไปสู่ความเจริญ) วุฑฒิ แปลว่า ธรรมเป็นเครื่องเจริญ หมายถึง

หลักการปฏิบัติที่น�ำไปสู่ความเจริญก้าวหน้า มี ๔ อย่าง คือ

๑. สั ป ปุ ริ ส สั ง เสวะ คบหากั บ สั ต บุ รุ ษ ๑

อยากมีความเจริญ ให้ยึดหลัก คบดี ทำ�ดี ไตร่ตรองดี ปฏิบัติดี นะเจ้าจ้อย ครับ หลวงตา

สัตบุรุษ หมายถึง ผู้ที่มีความรู้ดี ฉลาด และมีคุณธรรม การคบสัตบุรุษ คือการยอมมอบตัวเป็นศิษย์ การไปมา หาสู่ท�ำความสนิทคุ้นเคย การประพฤติตามอย่างหรือ การสนทนาไต่ถามด้วยความตั้งใจใฝ่รู้จริงๆ ๒. สัทธัมมัสสวนะ ฟังค�ำของท่าน หมายถึงการตั้งใจฟังค�ำแนะน�ำสั่งสอน ของสัตบุรุษที่คบหาด้วยความเคารพ เพื่อน�ำไปปฏิบัติตาม ๓. โยนิ โ สมนสิ ก าร การกระท�ำไว้ ใ นใจโดยอุ บ ายแยบคาย หมายถึ ง เมื่อจดจ�ำได้แล้วก็น�ำมาไตร่ตรอง พิจารณาถึงเหตุผลว่าที่ท่านสอนเช่นนั้นมีวัตถุประสงค์ อย่างไร สิ่งไหนดีสิ่งไหนชั่ว สิ่งไหนตัวเราสามารถท�ำได้ในทันที หรือต้องรอโอกาสที่ เหมาะสม และเมื่อท�ำตามที่ท่านสอนแล้วจะมีผลอย่างไร เป็นต้น ๔. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ ปฏิบัติตามค�ำสอนให้ถูกต้องถูกธรรม หมายถึง เมื่อได้คบ ได้ฟังค�ำสอน และได้พิจารณาไตร่ตรองค�ำสอนนั้นอย่างถี่ถ้วนจนแน่ใจว่า สามารถปฏิบัติตามได้ ก็ตั้งใจปฏิบัติให้เต็มที่ ไม่ละทิ้งแม้ต้องเจอกับอุปสรรค เป็นต้น

๑ สัตบุรุษ อ่านว่า สัด-บุ-หรุด มาจากคำ�ว่า สัต (ดี) + บุรุษ (บุคคล, ผู้ชาย)

26 บริ ษัท ส�ำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จ�ำกัด


อิทธิบาท ๔ (ธรรมน�ำสู่ความส�ำเร็จ) อิทธิบาท แปลว่า ข้อปฏิบัติน�ำไปสู่ความส�ำเร็จ

อิทธิบาท ๔ ดีจริงครับ คอนเฟิร์ม

ตามความมุ่งหมาย คนเราไม่ว่าจะท�ำอะไร หรือมีหน้าที่ อย่ า งไร ความส�ำเร็ จ เป็ น สิ่ ง ที่ ทุ ก คนต้ อ งการ เป็ น ครู ก็ต้องการความส�ำเร็จในการสอน เป็นนักเรียนนักศึกษา ก็ต้องการความส�ำเร็จในการเรียน เป็นนักกีฬาก็ต้องการ ความส�ำเร็จในการแข่งขัน แต่ความส�ำเร็จนั้นเป็นสิ่งที่ ไม่ใช่จะได้มาโดยง่าย เพราะความส�ำเร็จไม่ได้เกิดจากการ อ้อนวอน แต่เกิดจากการลงมือท�ำและท�ำอย่างถูกวิธี อิทธิบาท ๔ เป็นธรรมส�ำหรับพิชติ ความส�ำเร็จทีพ่ ระพุทธเจ้าทรงวางเอาไว้ การงาน ทุกอย่างจะง่ายหรือยากอย่างไรก็ตาม หากปฏิบัติตามหลักอิทธิบาท ๔ นี้ ย่อมประสบ ผลส�ำเร็จแน่นอน กล่าวคือ ๑. ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ หมายถึง การสร้างความรักความพอใจในงานที่ท�ำ เช่น เป็นครูก็สร้างความรักในอาชีพครู เป็นนักเรียนก็สร้างความรักในการเล่าเรียน เป็นพระภิกษุก็สร้างความรักในความเป็นพระ เป็นสามเณรก็สร้างความรักในความเป็น สามเณร การมีฉันทะในงานในหน้าที่จะท�ำให้ไม่เกิดความเบื่อหน่ายหรือท้อแท้ในการ ท�ำงาน ช่วยให้ใจมีพลังและทุ่มเทให้กับการท�ำงาน มีความชื่นบานและอิ่มเอิบแม้จะ เหน็ดเหนื่อยก็ตาม วิธีสร้างฉันทะให้เกิดขึ้น คือให้ค�ำนึงถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการท�ำหน้าที่ นั้นๆ พิจารณาถึงผลดีผลเสียที่จะเกิดขึ้น เช่น การเป็นครูดีอย่างไร การท�ำหน้าที่ของครู ให้ดีจะมีผลดีอย่างไร การสอบได้สอบตกจะมีผลดีผลเสียต่อนักเรียนอย่างไร เป็นต้น ๒. วิริยะ ความเพียร หมายถึง การลงมือท�ำด้วยความขยันหมั่นเพียร ความกล้า เผชิญกับอุปสรรค เป็นธรรมก�ำจัดความเกียจคร้าน คนที่มีวิริยะจะมีจิตใจเข้มแข็ง ไม่กลัวอุปสรรคความยากล�ำบาก ท�ำงานอย่างต่อเนื่องไม่ทิ้งงานให้คั่งค้าง ความเพียร จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยการสร้างฉันทะให้เกิดขึ้นก่อน เพราะฉันทะจะเป็นตัวผลักดัน ให้เกิดความเพียร ยิ่งฉันทะมีมาก ความเพียรก็ยิ่งมีพลังมาก วิชา ธรรมวิภาค ธรรมศึกษาชั้นตรี ระดับประถมศึกษา

27


๓. จิตตะ ความเอาใจใส่ หมายถึง ความเอาใจใส่ในงานที่ท�ำ ไม่ทอดทิ้งธุระ

กลางคัน เป็นธรรมก�ำจัดความท้อแท้ คือเมื่อสร้างฉันทะและลงมือปฏิบัติด้วยความเพียร อย่างต่อเนื่องแล้ว ต้องเอาใจใส่อย่างเสมอต้นเสมอปลาย ไม่ท�ำๆ หยุดๆ จิตตะนี้ เป็นตัวคอยรักษาและคอยกระตุน้ ความเพียรให้มพี ลังอย่างต่อเนือ่ ง ไม่ให้เกิดความท้อถอย ในงานที่ก�ำลังท�ำอยู่ ให้มีใจหนักแน่นในเป้าหมายไม่เปลี่ยนแปลง ๔. วิมังสา ความหมั่นตริตรองพิจารณาหาเหตุผล หมายถึง การใช้ปัญญา พิจารณาใคร่ครวญหาเหตุผลในงานที่ท�ำ ว่ามีจุดบกพร่องในส่วนใดบ้าง แล้วพยายาม ปรับปรุงพัฒนาให้ดียิ่งๆ ขึ้น วิมังสาคือตัวปัญญา ความรอบรู้ในงานที่ท�ำ เป็นตัวช่วย ให้การท�ำงานเป็นไปอย่างถูกต้อง ไม่ผิดพลาด เป็นตัวคอยตรวจสอบและประเมินผล ซึ่งจะท�ำให้การท�ำงานมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้มีการพัฒนาอยู่เสมอ ไม่หยุดนิ่ง อิทธิบาทธรรม ๔ ข้อนี้ เป็นธรรมที่ต้องอาศัยเกี่ยวเนื่องกันเป็นลูกโซ่ หากผู้ใด ปฏิบัติได้ครบสมบูรณ์ดีแล้ว การงานของผู้นั้นไม่ว่าจะเป็นงานทางโลกหรือทางธรรม ก็ย่อมประสบผลส�ำเร็จได้ตามที่ต้องการ

พรหมวิหาร ๔ (คุณธรรมของพรหม) พรหมวิหาร หมายถึง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหม, คุณธรรมของพรหม, ธรรม

ทีท่ �ำให้ผปู้ ฏิบตั มิ คีิ ณ ุ ธรรมเท่าเทียมกับพรหม เป็นธรรมทีผ่ ใู้ หญ่ควรยึดถือไว้เป็นแนวปฏิบตั ิ เป็นธรรมที่ท�ำให้บุคคลผู้ประพฤติตามเป็นผู้ใหญ่

๑. เมตตา ความปรารถนาดีอยากให้เขามีสุข

หมายถึง ความรักที่ไม่เจือด้วยความใคร่ทางกาม แต่เป็น ความรู้สึกที่ปรารถนาดี หวังดีต่อผู้อื่น ปราศจากความรู้สึก เห็นแก่ตัว ความล�ำเอียง ความเกลียดชัง เป็นความรัก ที่มุ่งไมตรีจิต มุ่งความสุขความเจริญต่อผู้อื่น เมตตานี้ มีลกั ษณะคิดน�ำความสุขไปให้เขาโดยส่วนเดียว มีคณ ุ สมบัติ ขจัดความคิดปองร้ายต่อผู้อื่น 28 บริ ษัท ส�ำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จ�ำกัด


๒. กรุณา ความสงสารอยากช่วยให้เขา พ้นทุกข์ หมายถึง ความรู้สึกสงสาร มีความหวั่นใจ

จนทนไม่ได้ทจี่ ะวางเฉย เมือ่ เห็นผูอ้ นื่ ได้รบั ความล�ำบาก เป็นความรู้สึกเห็นใจ เป็นเหตุให้คิดหาทางช่วยเหลือ เพื่อให้เขาพ้นจากความทุกข์นั้นๆ กรุณานี้มีลักษณะ คิดจะช่วยให้พน้ ทุกข์และมีสขุ ขจัดความคิดเบียดเบียน ผู้อื่นได้ ๓. มุทิตา ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี หมายถึง ความรู้สึกชื่นชมยินดี ความดีใจเมื่อเขาได้ดี ประสบ ผลส�ำเร็จ ไม่อิจฉาตาร้อนในสิ่งที่เขาได้รับ แต่เป็น ความรู ้ สึ ก ที่ มี น�้ ำ ใจต่ อ ผู ้ อื่ น มุ ทิ ต านี้ มี ลั ก ษณะ พลอยอนุโมทนาต่อเขาส่วนเดียว ขจัดความอิจฉา ริษยา

๔. อุ เ บกขา ความวางเฉย ปล่ อ ยวาง

หมายถึง การวางตนเป็นกลางเพื่อรักษาความถูกต้อง ถูกธรรม ไม่ใช้ความเมตตา กรุณา มุทิตา ไปในทาง ที่ผิด คือไม่ให้เอนเอียงไปตามอ�ำนาจของอคติ เช่น คนที่ท�ำผิด ก็ต้องลงโทษด้วยใจเป็นกลางเป็นธรรม เพื่ออบรมสั่งสอน อนึ่ง อุเบกขานี้ยังรวมไปถึงความ ปล่อยวาง เมื่อผู้ที่จะช่วยเหลือนั้นสามารถดูแลตัวเอง ได้แล้ว หรือก�ำลังประสบผลกรรมที่ไม่อาจช่วยได้

ขอบคุณ มากนะ ที่ช่วยผม

อดทน หน่อยนะ

กรุณา = สงสาร ขอบคุณครับ ยินดี ด้วยนะ

มุทิตา = ยินดี นายมัน นิสัยไม่ดี

อุเบกขา = ปล่อยวาง

อุเบกขาแตกต่างจากความเฉยเมย อุเบกขา หมายถึง ความวางเฉยต่อเมือ่ ไม่สามารถ จะช่วยได้ แต่เฉยเมย หมายถึง ความใจจืดใจด�ำ พอช่วยเหลือได้แต่ไม่ยอมช่วย ในพรหมวิหารทั้ง ๔ ข้อนี้ อุเบกขาส�ำคัญที่สุด เพราะเป็นตัวช่วยประคับประคอง การใช้เมตตา กรุณา มุทิตา ให้เป็นไปอย่างถูกต้อง ถูกธรรม ไม่มีโทษ

วิชา ธรรมวิภาค ธรรมศึกษาชั้นตรี ระดับประถมศึกษา

29


แนวขอ้ สอบท้ายบท ๑. วุฑฒิ ๔ มีความหมายตรงกับข้อใด ? ก. ธรรมน�ำสู่ความเจริญ ข. ธรรมน�ำสู่ความมีเกียรติ ค. ธรรมน�ำสู่ความส�ำเร็จ ง. ธรรมน�ำสู่ความก้าวหน้า ๒. สัปปุริสสังเสวะ มีความหมายตรงกับข้อใด ? ก. คบสัตบุรุษ ค. ไตร่ตรองพิจารณา ข. ฟังค�ำสั่งสอน ง. ลงมือปฏิบัติ ๓. ในวุฑฒิ ๔ ข้อใดท�ำให้เป็นคนรอบคอบ ? ก. สัปปุริสสังเสวะ ค. โยนิโสมนสิการ ข. สัทธัมมัสสวนะ ง. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ ๔. ข้อใดเป็นคุณสมบัติของสัตบุรุษ ? ก. มีความรู้ ข. มีความรู้ ฉลาด ค. มีความรู้ ฉลาด เก่ง ง. มีความรู้ ฉลาด เก่ง มีธรรม ๕. คนที่ท�ำอะไรไม่ส�ำเร็จเพราะขาดธรรมข้อใด ? ก. วุฒิ ๔ ค. อิทธิบาท ๔ ข. อริยสัจ ๔ ง. พรหมวิหาร ๔ ๖. คนทีเ่ บือ่ หน่ายในการท�ำงาน เพราะขาดธรรมข้อใด ? ก. ฉันทะ พอใจ ค. จิตตะ ใส่ใจ ข. วิริยะ พากเพียร ง. วิมังสา ทบทวน ๗. เมื่อวิริยะเกิดขึ้นสิ่งใดจะถูกก�ำจัด ? ก. ความขยัน ค. ความเกียจคร้าน ข. ความรอบคอบ ง. ความใส่ใจ ๘. คนที่ท�ำอะไรคั่งค้าง เพราะขาดธรรมข้อใด ? ก. ฉันทะ ค. จิตตะ ข. วิริยะ ง. วิมังสา

เลือกค�ำตอบที่ถูกต้องเพียงข้อเดียว

๙. คิดพัฒนาไม่หยุดนิง่ เป็นคุณสมบัตขิ องธรรมข้อใด ? ก. ฉันทะ ค. จิตตะ ข. วิริยะ ง. วิมังสา ๑๐. ข้อใดชื่อว่าธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหม ? ก. วุฑฒิ ๔ ค. อิทธิบาท ๔ ข. พรหมวิหาร ๔ ง. อริยสัจ ๔ ๑๑. ปรารถนาอยากให้เขามีสุข คือธรรมข้อใด ? ก. เมตตา ค. มุทิตา ข. กรุณา ง. อุเบกขา ๑๒. เห็นเขามีทกุ ข์อยากช่วยให้เขาพ้นทุกข์ ตรงกับธรรม ข้อใด ? ก. เมตตา ค. มุทิตา ข. กรุณา ง. อุเบกขา ๑๓. เห็นเขาได้ดีแล้วอิจฉา เพราะขาดธรรมข้อใด ? ก. เมตตา ค. มุทิตา ข. กรุณา ง. อุเบกขา ๑๔. เห็นลูกท�ำผิดแล้วไม่ตักเตือน ไม่ลงโทษ เพราะ สงสาร ชื่อว่าขาดธรรมข้อใด ? ก. เมตตา ค. มุทิตา ข. กรุณา ง. อุเบกขา ๑๕. ความพอดี จะบังเกิดมีเพราะธรรมข้อใด ? ก. เมตตา ค. มุทิตา ข. กรุณา ง. อุเบกขา ๑๖. ข้อใดคือลักษณะของคนมีกรุณา ? ก. เห็นเขาทุกข์แล้วทุกข์ตาม ข. เห็นเขาทุกข์แล้ววางเฉย ค. เห็นเขาทุกข์แล้วซ�้ำเติม ง. เห็นเขาทุกข์แล้วหาทางช่วย

30 บริ ษัท ส�ำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จ�ำกัด


วิชา ธรรมวิภาค

คาบเรี ยนที่

ขอบข่ายการเรียน ปัญจกะ หมวด ๕ อนันตริยกรรม ๕

- ฆ่ามารดา - ฆ่าบิดา - ฆ่าพระอรหันต์ - ท�ำร้ายพระพุทธเจ้าจนโลหิตห้อ - ท�ำสงฆ์ให้แตกกัน

ธัมมัสสวนานิสงส์ ๕

- ได้ฟังสิ่งที่ไม่เคยฟัง - สงิ่ ทีฟ่ งั แล้วยังไม่เข้าใจก็เข้าใจ - คลายความสงสัย - ท�ำความเห็นให้ถูกต้อง - จิตย่อมผ่องใส

เป้าประสงค์ ผู้เรียนจ�ำหัวข้อธรรมะแต่ละข้อได้ l ผูเ้ รียนสามารถบอกความหมายและประโยชน์ของธรรมแต่ละข้อได้ l ผู้เรียนสามารถตอบแนวข้อสอบท้ายบทได้ l

กิจกรรมการสอน ให้ผู้เรียนท�ำแนวข้อสอบท้ายบท l ผู้สอนเฉลยปัญหา พร้อมอธิบาย และสอบถามความเข้าใจเป็นรายบุคคล l

อุปกรณ์ แนวข้อสอบท้ายบท

l

วิชา ธรรมวิภาค ธรรมศึกษาชั้นตรี ระดับประถมศึกษา

31


ปัญจกะ หมวด ๕ อนันตริยกรรม ๕ (กรรมหนัก)

๑. มาตุฆาต ฆ่ามารดา

๕. สังฆเภท ท�ำสงฆ์ให้แตกกัน ๒. ปิตุฆาต ฆ่าบิดา

๔. โลหิตุปบาท ท�ำร้ายพระพุทธเจ้าถึงโลหิตห้อ

๓. อรหันตฆาต ฆ่าพระอรหันต์

อนั น ตริ ย กรรม แปลว่า กรรมอันหาระหว่างมิได้ คือกรรมที่ไม่เปิดโอกาส

ให้กรรมอืน่ มาแทรกให้ผลก่อน หมายความว่าคนเราไม่วา่ จะท�ำกรรมอะไรไว้กอ่ นหรือหลัง หนักหรือเบาอย่างไรก็ตาม ถ้าหากบุคคลนั้นได้ท�ำอนันตริยกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อตายไปเขาจะต้องไปรับผลของอนันตริยกรรมนี้ก่อนเป็นอันดับแรก กรรมทัง้ ๕ นีใ้ ครพลาดท�ำไปแล้ว บุคคลนัน้ ถือว่าเป็นผูม้ กี รรมหนัก ไม่สามารถทีจ่ ะ บรรลุ ม รรคผลนิ พ พานใดๆ ในชาติ นี้ ไ ด้ และเมื่ อ ตายไปแล้ ว ก็ ไ ม่ มี โ อกาสได้ เ กิ ด ในสวรรค์ ด้วยเหตุนี้จึงกล่าวว่า อนันตริยกรรม ห้ามสวรรค์ ห้ามนิพพาน 32 บริ ษัท ส�ำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จ�ำกัด


ธัมมัสสวนานิสงส์ ๕ (ประโยชน์ของการฟังธรรม) ธั ม มั ส สวนานิ ส งส์ หมายถึ ง อานิ ส งส์

ของการฟั ง ธรรม ผลดี ที่ เ กิ ด จากการฟั ง ธรรม มี ๕ ประการ ได้แก่ ๑. ผู้ฟังย่อมได้ฟังสิ่งที่ไม่เคยฟัง คือ พระธรรมค�ำสอนของพระพุทธเจ้านั้นมีมากถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ การฟังธรรมในแต่ละครัง้ ผู ้ ฟ ั ง ย่ อ มได้ ฟ ั ง ธรรมที่ ต นไม่ เ คยได้ ยิ น ได้ ฟ ั ง ไม่มากก็น้อย

ฟังธรรมทุกวัน กิเลสลด ใจสงบ พบสุข ชื่นบาน

๒. สิ่งใดเคยฟังมาแล้วแต่ยังไม่เข้าใจชัด ย่อมเข้าใจสิ่งนั้นชัด คือ ถึงแม้

ผู้ฟังจะเคยฟังมาแล้วแต่ไม่เข้าใจแจ่มแจ้ง เมื่อได้ฟังซ�้ำอีกย่อมเข้าใจได้ชัดเจนยิ่งขึ้น หรือเคยได้ฟังจากผู้บรรยายท่านอื่น แต่ยังไม่เข้าใจ เมื่อได้ฟังซ�้ำจากพระธรรมกถึก ที่อธิบายขยายความได้เก่งก็เข้าใจยิ่งขึ้น ๓. บรรเทาความสงสัยเสียได้ คือ ผู้ฟังธรรมที่เป็นปุถุชนย่อมมีความลังเล สงสัยในธรรมบางประการ เมื่อได้ฟังธรรมนั้นแล้วย่อมขจัดความลังเลสงสัยในธรรม และผลของการปฏิบัติธรรมได้ ๔. ท�ำความเห็นให้ถูกต้องได้ คือ ผู้ฟังธรรมบางครั้งอาจมีความเห็นที่ยังไม่ตรง ต่อความเป็นจริง เช่น เรื่องผลของกรรมว่าคนเราท�ำดีได้ดีมีที่ไหน ท�ำชั่วได้ดีมีถมไป เมื่อได้ฟังธรรมที่พระธรรมกถึกชี้แจงถึงเรื่องกรรมและการให้ผลของกรรม ย่อมท�ำ ความเห็นให้ตรงให้ถูกต้องได้ ๕. จิตของผู้ฟังย่อมผ่องใส คือ ในขณะที่ฟังธรรมจิตของผู้ฟังย่อมผ่องใส ปราศจากอารมณ์ที่เศร้าหมองขุ่นมัว เมื่อหมดความลังเลสงสัย ท�ำความเห็นให้ถูกต้องได้ และน�ำไปปฏิบัติ ย่อมได้รับผลคือความผ่องใสของจิต การฟังธรรมที่จะได้ผลเป็นความรู้อย่างเต็มที่ ผู้ฟังต้องตั้งใจฟังโดยเคารพ มีสติ พิจารณาไปตามเนื้อหาแห่งธรรมที่ได้ฟัง ดังมีพุทธด�ำรัสรับรองว่า “สุสฺสูสํ ลภเต ปฺ ํ ” ผู้ฟังด้วยดี ย่อมได้ปัญญา วิชา ธรรมวิภาค ธรรมศึกษาชั้นตรี ระดับประถมศึกษา

33


แนวขอ้ สอบท้ายบท ๑. อนันตริยกรรม คือกรรมเช่นไร ? ก. กรรมที่มีโทษเบา ข. กรรมที่มีโทษหนัก ค. กรรมที่ไม่มีโทษ ง. กรรมที่ท�ำได้ยาก ๒. โทษที่ผู้ท�ำอนันตริยกรรมจะได้รับคือข้อใด ? ก. ตกนรก ค. ถูกประณาม ข. ถูกประหารชีวิต ง. ห้ามสวรรค์-นิพพาน ๓. ข้อใดไม่จัดเข้าในอนันตริยกรรม ? ก. ฆ่าพ่อ ค. ฆ่าลูก ข. ฆ่าแม่ ง. ฆ่าพระอรหันต์ ๔. โลหิตุปบาท ตรงกับข้อใด ? ก. ท�ำร้ายพระอรหันต์จนโลหิตไหล ข. ท�ำร้ายพระพุทธเจ้าจนโลหิตห้อ ค. ท�ำร้ายพ่อแม่จนเลือดตกยางออก ง. ท�ำร้ายครูอาจารย์จนเลือดไหล ๕. ข้อใดเป็นกรรมที่เกี่ยวกับการท�ำลายสงฆ์ ? ก. ปิตุฆาต ค. มาตุฆาต ข. อรหันตฆาต ง. สังฆเภท ๖. มาตุฆาต หมายถึงข้อใด ? ก. ฆ่าพ่อ ค. ฆ่าครูอาจารย์ ข. ฆ่าแม่ ง. ฆ่าพระอรหันต์ ๗. ปิตุฆาต หมายถึงข้อใด ? ก. ฆ่าพ่อ ค. ฆ่าครูอาจารย์ ข. ฆ่าแม่ ง. ฆ่าพระ ๘. อรหันตฆาต หมายถึงข้อใด ? ก. ฆ่าพระสงฆ์ ค. ฆ่าภิกษุณี ข. ฆ่าแม่ชี ง. ฆ่าพระอรหันต์

เลือกค�ำตอบที่ถูกต้องเพียงข้อเดียว

๙. ท�ำกรรมใดแล้วไม่สามารถบรรลุนิพพานได้ ? ก. ฆ่าหั่นศพภรรยา ค. ท�ำแท้งลูก ข. ยุให้สงฆ์แตกกัน ง. ตัดเศียรพระพุทธรูป ๑๐. อานิสงส์ มีความหมายตรงกับข้อใด ? ก. ผลดีที่จะได้รับ ข. ผลเสียที่จะได้รับ ค. ผลดี-ผลเสียที่จะได้รับ ง. ถูกทุกข้อ ๑๑. ธัมมัสสวนานิสงส์ คืออานิสงส์เกิดจากสิ่งใด ? ก. แสดงธรรม ค. ฟังธรรม ข. ปฏิบัติธรรม ง. ศึกษาธรรม ๑๒. ข้อใดจะไม่เกิดขึ้นจากการฟังธรรม ? ก. ได้ความรู้ใหม่ ค. บรรเทาความสงสัย ข. ย�้ำความรู้เก่า ง. ได้ความเห็นผิด ๑๓. ปฏิบัติตามข้อใดท�ำให้ได้รับประโยชน์จากการ ฟังธรรมมากที่สุด ? ก. ประนมมือฟัง ค. หลับตาฟัง ข. ตั้งใจฟัง ง. บันทึกเสียงไว้ฟัง ๑๔. สุตมยปัญญา มีความหมายตรงกับข้อใด ? ก. ปัญญาเกิดจากการคิด ข. ปัญญาเกิดจากการฟัง ค. ปัญญาเกิดจากการถาม ง. ปัญญาเกิดจากการอ่าน ๑๕. ข้อใดเป็นประโยชน์ของการฟังธรรม ? ก. ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง ข. สิ่งที่เคยฟังแล้วย่อมเข้าใจชัดขึ้น ค. บรรเทาความสงสัยเสียได้ ง. ถูกทุกข้อ

34 บริ ษัท ส�ำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จ�ำกัด


วิชา ธรรมวิภาค

คาบเรี ยนที่

๕-๖

ขอบข่ายการเรียน คิหิปฏิบัติ จตุกกะ หมวด ๔

- ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ๔ - มิตรเทียม ๔ - มิตรแท้ ๔ - ฆราวาสธรรม ๔

ปัญจกะ หมวด ๕

- สมบัติของอุบาสก ๕

เป้าประสงค์ ผู้เรียนจ�ำหัวข้อธรรมะแต่ละข้อได้ l ผูเ้ รียนสามารถบอกความหมายและประโยชน์ของธรรมแต่ละข้อได้ l ผู้เรียนสามารถตอบแนวข้อสอบท้ายบทได้ l

กิจกรรมการสอน ผู้สอนให้ผู้เรียนไปอ่านศึกษาหมวดธรรมล่วงหน้า l ท�ำแนวข้อสอบท้ายบท l ผู้สอนเฉลยปัญหา พร้อมอธิบาย และสอบถามความเข้าใจเป็นรายบุคคล l

อุปกรณ์ แนวข้อสอบท้ายบท

l

วิชา ธรรมวิภาค ธรรมศึกษาชั้นตรี ระดับประถมศึกษา

35


จตุกกะ หมวด ๔ ทิฏฐธัมมิกตั ถประโยชน์ ๔ (ธรรมทีท่ �ำให้ได้ประโยชน์ในชาติน)ี้ ทิ ฏ ฐธั ม มิ กั ต ถประโยชน์ หมายถึ ง ประโยชน์ ใ นปั จ จุ บั น เป็ น ข้ อ ปฏิ บั ติ

ทีอ่ �ำนวยประโยชน์สขุ ให้เกิดขึน้ ในปัจจุบนั เรียกอีกอย่างว่า “หัวใจเศรษฐี” มี ๔ อย่าง คือ

๑. อุฏฐานสัมปทา ถึ ง พร้ อ มด้ ว ยความขยั น หมั่ น เพี ย ร ในการหาทรัพย์ ไม่เกียจคร้านในการ ท�ำงาน ประกอบอาชีพในทางสุจริต ไม่คดโกง ไม่เบียดเบียนตนและไม่ท�ำให้ ผู้อื่นเดือดร้อน

๒. อารักขสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการรักษา คือรู้จักเก็บ รักษาทรัพย์ทหี่ ามาได้ แบ่งจ่าย ๔ ส่วน คือ เลี้ยงดูพ่อแม่ จุนเจือครอบครัว เก็บเป็นทุนยามเจ็บไข้ ให้ทานท�ำบุญ

๓. กัลยาณมิตตตา มีเพื่อนเป็นคนดี คือให้รู้จักเลือกคบ คนดีหลีกหนีคนไม่ดี รวมถึงการเลือก คู่ครองที่ดีด้วย

๔. สมชีวิตา ใช้ชีวิตแบบพอเพียง คือใช้จ่ายทรัพย์ ให้ พ อเหมาะกั บ ทรั พ ย์ ที่ ห ามาได้ ไม่ใช้จ่ายเกินตัว ไม่มัธยัสถ์จนกลาย เป็นคนตระหนี่

36 บริ ษัท ส�ำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จ�ำกัด


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.