ขอมอบสื่อธรรมนำสันติสุข แด่ .......................................................... ..........................................................
อตฺตนา กุรุเต ลกฺขึ อลกฺขึ กุรุตตฺตนา น หิ ลกฺขึ อลกฺขึ วา อญฺโ อญฺสฺส การโก.
บุคคลสร้างสิริมงคลด้วยตนเอง และสร้างสิ่งที่มิใช่สิริมงคลด้วยตนเอง เพราะคนอื่นจะสร้างสิริมงคล หรือสิ่งที่มิใช่สิริมงคลให้คนอื่นหาได้ไม่ (ขุ. ชา. ๒๗/๕๖/๑๕๐)
หนังสือเล่มนี้มีไว้เพื่อส่งเสริมการอ่าน สร้างสรรค์สังคมให้ สงบและมีสันติสุข - ยามสำนึกผิดคิดถึงกรรมชั่วที่เคยทำ - ยามอยากแนะนำให้ผู้อื่นทำกรรมดีมีสุข - ยามเห็นผู้อื่นมีทุกข์กายและใจหมดหนทางแก้ไข - ยามอยากทำบุญสร้างบารมีเสริมราศี - ยามอยากแบ่งปันสิ่งดีๆ ให้ทุกคนในสังคม - ยามอยากทำบุญอุทิศความดีให้แก่ผู้วายชนม์ - ยามอยากนำพาตนให้เกิดสติปัญญา - ยามเกิดปัญหาชีวิตติดขัดคิดทางแก้ไขไม่ออก - ยามที่ใจนึกอยากสร้างธรรมทานบารมี
ระดมธรรมสร้างสันติสุข
หนังสือเล่มนี้ช่วยท่านได้
สพÚพทานí ธมÚมทานí ชินาติ.
การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง
อกฺขรา เอกํ เอกญฺจ พุทฺธรูปํ สมํ สิยา.
สร้างอักขรธรรมหนึ่งอักษร เท่ากับสร้างพระพุทธรูปหนึ่งองค์ (ศาสนวงศ์ ฉบับพระปัญญาสามี ๒๔๐๔)
วิธีสร้างบุญเสริมบารมีด้วยตัวเอง พร้อมบทสวดมนต์บารมี ๓๐ ทัศ และแนะนำสถานที่ปฏิบัติธรรมสร้างบุญบารมี Dhamma Guide ออกแบบปก ภาพประกอบ พิสูจน์อักษร
: สุภาพ หอมจิตร : จิระพัฒน์ ยังโป้ย : ธนรัตน์ ไทยพานิช : อรัญ มีพันธุ์, กนกกร
บรรณาธิการสาระ : ศักดิ์สิทธิ์ พันธุ์สัตย์ บรรณาธิการศิลปะ : อนุชิต คำซองเมือง รูปเล่ม/จัดอาร์ต : จิระพัฒน์ ยังโป้ย บงกชลาวัณย์, กนกวิชญ์ รุจิกร
คำนำ
คำพู ด ที่ ว่ า “มารไม่ มี บารมี ไ ม่ เ กิ ด ” เป็ น คำพู ด ที่ เชื่ อ ว่ า หลายท่านคงได้ยินได้ฟังกันอยู่บ่อยๆ เป็นคำพูดในทำนองปลุกใจให้ ฮึกเหิมและมีพลังในการต่อสู้กับอุปสรรคและปัญหาต่างๆ ที่ถาโถม เข้ า มา ซึ่ ง ท่ า นเปรี ย บเที ย บว่ า เป็ น มาร เพราะเป็ น ตั ว การที่ ค อย ขัดขวางมิให้ทำความดีได้ง่ายๆ หรือแม้จะทำได้ก็ต้องพบกับความ ลำบากหลายอย่าง กล่าวคือทำให้เกิดความท้อถอย ท้อแท้ เบื่อหน่าย ในการทำความดี เพราะคิดว่า “ทำดีไปก็ไร้ผล” หรือ “ทำดีได้ดีมี ที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป” เมื่อเกิดความท้อแท้เลิกล้มกลางคันเสีย แล้วรับรองว่าจะไม่สำเร็จแน่นอน พระพุ ท ธเจ้ า ก่ อ นที่ จ ะตรั ส รู้ พ ระสั ม มาสั ม โพธิ ญ าณเป็ น พระพุทธเจ้า ทรงรู้สรรพสิ่งแล้วทรงสอนให้มนุษย์โลกได้รับรู้ และ ปฏิบัติตามธรรมที่ทรงสอน เพื่อให้หลุดพ้นจากสังสารวัฏ ไม่กลับมา เวียนว่ายตายเกิดอีก คือการบรรลุพระนิพพาน อันเป็นความปรารถนา อย่างสูงสุดของคนเรา แม้พระพุทธองค์ก็เคยผจญกับมารที่เสกสรร ปั้นแต่งเรื่องต่างๆ มาทดสอบความมีพระทัยมั่นคงของพระองค์ และ ด้วยพระกรุณาอันแก่กล้า ทำให้บรรดาเหล่ามารร้ายต่างพ่ายแพ้ไป ด้วยอำนาจแห่งเมตตาธรรม คือ พระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ และ พระกรุณาคุณ ซึ่งเป็นชัยชนะที่บริสุทธิ์ ไม่ก่อเวรและภัยกับใครๆ ในชีวิตของคนเราก็เช่นกัน จะให้สุขสมหวังทำอะไรก็ราบรื่น ไปเสี ย ทุ ก เรื่ อ งนั้ น ย่ อ มเป็ น ไปไม่ ไ ด้ จะต้ อ งมี อุ ป สรรคขวากหนาม อยูบ่ า้ ง เพราะฉะนัน้ เมือ่ เราเกิดความท้อแท้หรือผิดหวังในเรือ่ งใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องชีวิต การงาน ความรัก จงคิดเสียว่าเป็นบททดสอบ จิ ต ใจว่ า เรามี ค วามเข้ ม แข็ ง เพี ย งใด หากเราใช้ ส ติ นึ ก คิ ด พิ จ ารณา 4
พุ ท ธฤทธิ์ จิ ต อิ่ ม บุ ญ บารมี
ไปตามความเป็นจริงที่พระพุทธเจ้าได้สอนไว้ ก็จะสามารถผ่านพ้น ปัญหาและอุปสรรคเหล่านั้นไปได้โดยง่ายดาย วิธีสร้างบุญบารมีมีหลายอย่าง เช่น ทำบุญให้ทาน ถวายข้าว ปลาอาหารแด่พระภิกษุสามเณร ให้ทานแก่คนยากจน ช่วยเหลือคน ตกทุกข์ได้ยาก เป็นต้น แต่วิธีที่ทำได้ง่ายและให้ผลดีแก่ตัวเราที่สุดก็ คือการสวดมนต์ไหว้พระ เพราะนอกจากจะทำให้เกิดความสงบแห่ง จิตใจแล้ว ยังทำให้เกิดสติปัญญาในการดำเนินชีวิตให้ถูกต้องดีงาม ตามหลักธรรม จึงนับว่าเป็นประโยชน์ส่วนตนโดยแท้ หนังสือเล่มนี้ มุ่งหวังที่จะนำเสนอหลักในการสร้างบารมี เสก ความดีให้แก่ตนเองด้วยการสวดมนต์ โดยเฉพาะบทบารมี ๓๐ ทัศ ซึ่งครูบาศรีวิชัยผู้ได้ชื่อว่าเป็นนักบุญแห่งล้านนาไทยใช้สวดเป็นประจำ จนสามารถชนะศัตรูหมู่มารที่ประสงค์ร้ายต่อท่าน เพื่อเป็นการเสริม สร้างพลั ง ใจให้ เ กิ ดปัญญาบารมี น้อมนำไปประพฤติ ป ฏิ บั ติ ใ ห้ เ กิ ด ความสุขความเจริญงอกงามแก่ชีวิต และเพื่อสั่งสมบารมีธรรมแก่ตัว เอง ในยามทีท่ อ้ แท้และสิน้ หวังก็จะได้ใช้สติคดิ พิจารณาและดำเนินไปสู่ จุดหมายที่ดีงาม หวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้ จะกระตุ้นจิตเตือนใจให้คิด ทำแต่สิ่งดีงาม ขวนขวายในการสร้างบารมีธรรมให้แก่ตัวเอง และเผื่อ แผ่ให้แก่่เพื่อนร่วมโลกได้มีแต่ความสุขตลอดไป
(น.ธ.เอก, ป.ธ.๗, ร.บ.) รวบรวม/เรียบเรียง โปรดใช้เล่มนี้ให้คุ้มสุดคุ้ม & อ่านแล้ว -> แบ่งกันอ่านหลายท่านนะจ๊ะ
อ่านสิบรอบ ระดมสมองคิดสิบหน ฝึกฝนปัญญา พัฒนาการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน จิตมีสติสัมปชัญญะ รู้เท่าทันสรรพสิ่ง ฉลาดใช้ เฉลียวคิด ชีวิตจักสนุก สุข สงบ เย็น เฉกเช่นพระนิพพาน สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ ปรารถนาให้ทุกครอบครัวมีความสุข
บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด
5
“บารมี” คือความดีงามแห่งชีวิต
คำว่า บารมี ตามศัพท์แปลว่า ถึงฝั่ง, ปฏิปทาเป็นเครื่องถึงซึ่ง ฝั่งแห่งชน, ปฏิปทาอันยังบุคคลให้ถึงฝั่ง หมายถึง คุณความดีที่ได้ บำเพ็ญมาอย่างยิ่งยวดในอดีต ใช้เรียกการบำเพ็ญคุณงามความดีของ พระพุทธเจ้า เมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์ ซึ่งทรงบำเพ็ญ มาอย่างยาวนานและต่อเนื่องหลายร้อยหลายพันชาติ บารมีที่พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญนั้นมี ๑๐ อย่าง คือ ๑. ทาน การให้ การรักษา ๒. ศีล ๓. เนกขัมมะ การถือบวช ความรอบรู้ ๔. ปัญญา ความเพียร ๕. วิริยะ ความอดทน ๖. ขันติ ความสัจ ๗. สัจจะ ความตั้งใจมั่น ๘. อธิษฐาน ๙. เมตตา ความปรารถนาดี ๑๐. อุเบกขา ความวางเฉย
บารมีทงั้ ๑๐ ประการนี้ รวมเรียกว่า ทศบารมี หรือบารมี ๑๐ ทัศ พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญมาตั้งแต่อดีตหลายร้อยชาติ จนครบถ้วน บริบูรณ์ในพระชาติที่เกิดเป็นพระเวสสันดร กล่าวคือทรงสละบริจาค ทุ ก สิ่ ง ทุ ก อย่ า ง แม้ ก ระทั่ ง บุ ต รและภรรยาอั น เป็ น ที่ รั ก ยิ่ ง เป็ น ทาน เพื่อบำเพ็ญบารมีให้ครบถ้วนสมบูรณ์ 6
พุ ท ธฤทธิ์ จิ ต อิ่ ม บุ ญ บารมี
ในพระชาติสุดท้ายนี้พระองค์ได้เสด็จอุบัติในราชตระกูล ทรง เบื่อหน่ายในเพศฆราวาสจึงเสด็จออกบวชเป็นบรรพชิตเพื่อแสวงหา ทางหลุดพ้นจนตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นพระพุทธเจ้า ผู้เป็นที่พึ่งของสัตว์โลก แล้วเสด็จไปโปรดเวไนยชนทุกหมู่เหล่าให้ได้ ตรัสรู้ธรรม ทรงตั้งพระทัยแน่วแน่ที่จะเผยแผ่ธรรมะเพื่อประกาศ พระพุทธศาสนาให้กว้างขวางยิ่งขึ้น นอกจากจะเสด็จไปสั่งสอนพุทธบริษัทด้วยพระองค์เองแล้ว ต่อมาเมื่อมีผู้เลื่อมใสในคำสอนของพระองค์แล้วออกบวชในพระพุทธศาสนา ก็ได้ส่งออกไปประกาศพระพุทธศาสนาในถิ่นต่างๆ ทำให้ พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาโดยลำดับตั้งแต่บัดนั้นมา
พระพุทธเจ้าประสูตเิ มื่อวันศุกร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีจอ ใต้ต้นสาละ ลุมพินีวัน ปัจจุบันเรียกว่า รุมมินเด ประเทศเนปาล ตรัสรู้ เมื่อวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ณ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ปัจจุบันมีเจดีย์ พุทธคยาปรากฏอยู่ ตั้งอยู่ในจังหวัดคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย ปรินิพพาน เมื่อวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ใต้ต้นสาละคู่ ณ สาลวโนทยาน ตำบลกาเซีย เมืองเดลี รัฐอุตตระ ประเทศอินเดีย บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด
7
บารมี คือความดี ๑๐ ประการ
๑.
บารมีธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญมาตั้งแต่อดีตชาติก็ดี ที่ ท รงบำเพ็ ญ ในพระชาติ สุ ด ท้ า ยก็ ดี แสดงให้ เ ห็ น ถึ ง พระอุ ต สาหะ วิ ริ ย ภาพ และความมี พ ระทั ย เด็ ด เดี่ ย วมุ่ ง มั่ น เพื่ อ จะตรั ส รู้ อั น เป็ น เป้าหมายสูงสุดของพระองค์ บารมีธรรมที่พระองค์ทรงบำเพ็ญนั้น มี ๑๐ ประการ ดังนี้
ทานบารมี คือ การให้ การเสียสละ การเอื้อเฟื้อ
แบ่งปัน ผู้ที่จะบำเพ็ญบารมีธรรมข้อนี้ได้บริบูรณ์เต็มเปี่ยมนั้นจะต้อง เป็นผู้มีจิตใจใสสะอาด บริจาคให้ด้วยความจริงใจ เต็มใจ และต้อง เป็ น การให้ ที่ ไ ม่ ห วั ง ผลประโยชน์ ต อบแทนด้ ว ยประการทั้ ง ปวง พระพุ ท ธองค์ ท รงบำเพ็ ญ บารมี ธ รรมข้ อ นี้ ใ นสมั ย ที่ เ สวยพระชาติ เป็นพระเวสสันดร
8
การให้จะสำเร็จประโยชน์ ต้องประกอบด้วยความตั้งใจ ๓ ขณะ คือ ๑.ก่อนให้ดีใจ ๒.ขณะให้ก็ดีใจ ๓.หลังให้ก็ดีใจ แล้วจะมีความสุข
พุ ท ธฤทธิ์ จิ ต อิ่ ม บุ ญ บารมี
๒.
ศี ล บารมี คือ การประพฤติรักษากาย วาจา ให้
เรียบร้อยดีงาม มีความประพฤติถูกต้องตามทำนองคลองธรรม และ ระเบียบแบบแผนจารีตประเพณี นักพรตนักบวชหรือหลวงพ่อดังๆ ที่มีลูกศิษย์เคารพนับถือมากมาย ก็เพราะท่านเหล่านั้นเป็นผู้ตั้งมั่นอยู่ ในศี ลและวัตรปฏิบัติอันงดงาม หมั่นปฏิบัติธรรม รักษาศีลชำระกิเลส นั ่นเอง แม้พระพุทธเจ้าก็ทรง ในใจนะโยม บำเพ็ ญ บารมี ธ รรมข้ อ นี้ บริบูรณ์สิ้นเชิงใน พระชาติเป็น พระภูริทัตต์
๓.
เนกขัมมบารมี คือ การออกบวช หรือการปลีกตัว
ปลีก ใจออกจากกาม ผู้ที่ปฏิบัติตัวให้หลีกออกจากกามได้ ก็ เ พราะ อาศัยเนกขัมมบารมี เป็นส่วนประกอบที่สำคัญ พระพุทธองค์ในสมัยที่เสวย พระชาติเป็นพระเตมีย์ ก็ทรงบำเพ็ญบารมีธรรมข้อนี้ อย่างบริบูรณ์สิ้นเชิง
จิตสงบ ย่อมพบความสุข บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด
9
๔. ปัญญาบารมี คือ ความรอบรู้ ความหยั่งรู้ในเหตุผล
และความเข้าใจในสิ่งที่เป็นสภาวะทั้งหลายตามความเป็นจริง ผู้ที่ ศึ ก ษาเล่ า เรี ย นวิ ช าการทุ ก อย่ า งสำเร็ จ ได้ อ ย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ ก็ เ พราะอาศั ย ปั ญ ญาบารมี เ ป็ น เบื้ อ งต้ น และมี ค วามอดทน ขยั น หมั่นเพียรเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ พระพุทธองค์ ในสมั ย ที่ เ สวยพระชาติ เ ป็ น พระมโหสถ ก็ทรงบำเพ็ญบารมีธรรมข้อนี้ อย่ า งบริ บู ร ณ์ สิ้ น เชิ ง
๕.
วิรยิ บารมี คือ ความเพียร ความแกล้วกล้า ไม่เกรง
ต่ออุปสรรคและปัญหาใดๆ พยายามบากบั่นด้วยความอุตสาหะและ ความเพียรอันยิ่งยวด ไม่ทอดทิ้งภาระหน้าที่ ผู้ที่ทำกิจการทุกอย่าง สำเร็จลงได้ก็เพราะ พยายามจนสำเร็จ ยินดีด้วยว่าที่ อาศัยวิริยบารมีเป็นเบื้องต้น ผู้จัดการคนใหม่ ยินดีด้วยนะ พระพุทธองค์ในสมัยที่เสวย พระชาติเป็นพระมหาชนก ทรงบำเพ็ญบารมีธรรมข้อนี้ อย่างบริบูรณ์สิ้นเชิง ไม่เสียแรงที่ตั้งใจ ทำงานมาตลอด ไชโย
10
พุ ท ธฤทธิ์ จิ ต อิ่ ม บุ ญ บารมี
๖. ขันติบารมี คือ ความอดทนอดกลั้น อดทนต่อความ
ลำบากตรากตรำทางร่างกายและจิตใจ ในการสร้างบารมีธรรมต้อง ประสบพบเจอกั บ อุ ป สรรคปั ญ หาต่ า งๆ พบกั บ ความเหนื่ อ ยยาก ลำบากทั้งกายและใจ ต้องอาศัยมานะความอดทนต่อสู้โดยไม่ย่อท้อ แม้บางครั้งต้องพบกับคำค่อนขอดให้เจ็บใจ เมื่อผ่านมาได้ก็เป็นการ สร้างบารมีธรรมที่ยิ่งใหญ่ พระพุทธองค์เมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็น พระจันทกุมาร ก็ทรงบำเพ็ญบารมีธรรมข้อนี้อย่างบริบูรณ์สิ้นเชิง
สติ มาปัญญาเกิด
๗.
สัจจบารมี คือ ความจริง ทำจริง และจริงใจ พูด
คำไหนเป็นคำนั้น มีความซื่อสัตย์ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น คนเราจะได้ รับการยอมรับนับถือจากคนอื่น ก็เพราะมีสัจจะยึดถือความจริงเป็นที่ ตั้ง มีการช่วยเหลือเจือจานกันตาม ผมช่ว ยถื อครับ ขอบคุ กำลังความสามารถ จริงใจต่อกันฉันมิตร ณค่ะ ไม่ทอดทิ้งยามลำบาก พระพุทธเจ้า เมือ่ ครัง้ เสวยพระชาติเป็นพระวิธรู บัณฑิต ก็ทรงบำเพ็ญบารมีธรรมข้อนี้ อย่างบริบูรณ์สิ้นเชิง
บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด
11
อธิษฐานบารมี
คือ ความตั้งมั่น การตัดสินใจ มั่นคง เด็ดเดี่ยวกล้าหาญ ตั้งเป้าหมายไว้ล่วงหน้าแล้วดำเนินไปตาม เป้าหมายนัน้ จนสำเร็จลุลว่ งในทีส่ ดุ ผูท้ ที่ ำอะไรสำเร็จตามวัตถุประสงค์ ที่วางไว้ทุกอย่าง ่ไม่ไกล ดหมายอยู ก็เพราะอาศัยอธิษฐานบารมี จุเราต้ องไปให้ถึง เป็นเบื้องต้น มีความตั้งใจจริง ในการทำให้สำเร็จ เป็นส่วนประกอบ พระพุทธเจ้าครั้งเสวย พระชาติเป็นพระเนมิราช ก็ทรงบำเพ็ญบารมีธรรมข้อนี้อย่างบริบูรณ์สิ้นเชิง
๘.
เมตตาบารมี
คื อ ความเมตตา ความรั ก ใคร่ ปรารถนาดี ความมีมิตรไมตรีที่ดีต่อกัน ความคิดช่วยเหลือเกื้อกูล ผู้อื่นอยู่เสมอ มุ่งหวังให้ทุกคนมีแต่ความสุขความเจริญ ปราศจาก อั น ตรายภั ย พิ บั ติ ทั้ ง ปวง ผู้ ที่ มี มิ ต รบริ ว ารมาก มี ผู้ ค อยช่ ว ยเหลื อ ยามลำบากเดือดร้อน ก็เพราะเป็นผูม้ เี มตตาบารมีเป็นเบือ้ งต้น มีความ ปรารถนาดีส่งไปให้สรรพสัตว์ ขอบคุ ณจ้า ทั้ ง มวลโดยไม่ ห วั ง ผลตอบแทน เป็ น ส่ ว นประกอบ พระพุ ท ธเจ้ า ครั้ ง เสวยพระชาติ เ ป็ น พระ- สุวรรณสามดาบส ทรงบำเพ็ญ บารมีธรรมข้อนีอ้ ย่างบริบรู ณ์สนิ้ เชิง
12
๙.
พุ ท ธฤทธิ์ จิ ต อิ่ ม บุ ญ บารมี
อุ เ บกขาบารมี
คื อ ความวางใจเป็ น กลาง มีความเที่ยงธรรม ไม่เอนเอียงเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่มีอคติ เช่น รั ก ชอบ เกลี ย ด หลง ผู้ ที่ ไ ด้ รั บ ความไว้ ว างใจจากผู้ อื่ น ก็ เ พราะ อาศัยอุเบกขาบารมีเป็นเบื้องต้น ช่วยด้ วยเพื่อน จับ เลยค่ะ มีความสุจริตเที่ยงธรรม ไม่ลำเอียง เป็นส่วนประกอบ พระพุทธเจ้า ครัง้ เสวยพระชาติเป็นพระนารท- พรหม ทรงบำเพ็ญบารมีธรรม ข้อนี้อย่างบริบูรณ์สิ้นเชิง ทำผิดก็ ต้องรับโทษ บารมีธรรมทั้ง ๑๐ ประการนี้ เราควรทำให้เกิดมีขึ้นในตน โดยพยายามพากเพียรอย่างสม่ำเสมอเพื่อบรรลุผลตามที่มุ่งหวังไว้ เมื่อทำอย่างต่อเนื่องแล้วก็จะบรรลุถึงจุดหมายปลายทางคือความ สำเร็จได้ อนึ่ ง การจะทำอะไรเป็ น ผลสำเร็ จ นั้ น อยู่ ที่ ค วามตั้ ง ใจจริ ง มีวิริยะความพากเพียรกระทำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ หากทำด้วย ความอุตสาหะอย่างเต็มที่แล้วก็จะประสบความสำเร็จอย่างที่ตั้งใจไว้ ดังพุทธภาษิตบทว่า วิริเยนะ ทุกขะมัจเจติ๑ คนจะล่วงทุกข์ได้ เพราะ ความเพียร วายะเมเถวะ ปุริโส ยาวะ อัตถัสสะ นิปปะทา๒ เกิดเป็น คนควรพยายามจนกว่าจะประสบความสำเร็จ
๑๐.
๑
ขุททกนิกาย สุตตนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ หน้า ๓๖๑ ๒ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค พระไตรปิฎกเล่ม ที่ ๑๕ หน้า ๓๓๐ บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด
13
กว่าจะเป็นพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้ากว่าจะได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิ ญาณ ทรงบำเพ็ญพระบารมีมากถึง ๔ อสงไขย๑ กับอีกแสนกัป เริ่มตั้งแต่ เมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็นสุเมธดาบส ได้แผ้วถางทางร่วมกับชาวเมือง รัมมนครเพื่อรับเสด็จพระทีปังกรพุทธเจ้า เมือ่ ทางยังไม่ทนั แล้วเสร็จพระพุทธเจ้าได้เสด็จมาถึงก่อน ครัน้ เห็น พระพุทธลักษณะก็เกิดปีติอย่างแรงกล้าถึงกับยอมสละชีวิตด้วยคิดว่า “พระพุทธเจ้าทีปังกรอย่าได้ทรงเหยียบโคลนตมเลย ขอทรง เหยียบแผ่นหลังของเรา เสด็จไปพร้อมกับพระสาวกทั้งปวง เหมือน ทรงเหยียบสะพานที่มีพื้นเป็นแก้วผลึกเถิด” จากนั้นจึงปูลาดแผ่นหนังและเปลือกไม้ สยายผมนอนคว่ำ หน้ า ทอดตัวทับเปือกตมนั้น พร้อมกับตั้งความปรารถนาว่า
“ในอนาคตกาล ขอให้ข้าพเจ้า ได้เป็นพระพุทธเจ้าเหมือนกับ พระทีปังกรพุทธเจ้าด้วยเถิด”
๑
ความปรารถณา ของท่านจักสำเร็จ
แปลว่า นับไม่ได้, คำนวณไม่ได้ คือระยะกาลเวลายาวนานมากจนนับไม่ได้ ท่านว่า อสงไขยหนึ่งเท่ากับโกฏิยกกำลัง ๒๐ มี ๔ อย่าง คือ ๑) สังวัฏฏอสงไขย ๒) สังวัฏฏัฏฐายีอสงไขย ๓) วิวัฏฏอสงไขย ๔) วิวัฏฏัฏฐายีอสงไขย (ดูเพิ่มเติมได้ในหนังสือคำวัด : เลี่ยงเชียง) 14 พุ ท ธฤทธิ์ จิ ต อิ่ ม บุ ญ บารมี
พระทีปังกรพุทธเจ้าครั้นทรงทราบความปรารถนาพุทธภูมิ ของสุเมธดาบส และพิจารณาดูด้วยอนาคตังสญาณแล้วทราบว่าจัก สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า จึงทรงพยากรณ์แก่หมู่ภิกษุว่า “ดูกรภิกษุ ทั้งหลายนับแต่นี้ล่วงไปสี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป ดาบสผู้นี้จักได้เป็น พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าโคดม” สุเมธดาบสเมื่อได้ฟังพุทธพยากรณ์เช่นนั้นก็คิดว่า “ธรรมดา ว่าพระวาจาของพระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมไม่เปลี่ยนแปรเป็นอย่างอื่น เหมือนก้อนดินที่ขว้างขึ้นบนฟ้าย่อมตกลงสู่พื้นดิน เหมือนสัตว์ที่เกิด มาแล้วต้องตาย เราจักได้เป็นพระพุทธเจ้าอย่างแน่แท้” ยิ่งทำให้มั่นใจ ว่ า ความปรารถนาจั ก สำเร็ จ แน่ น อน จึ ง ทรงเลื อ กเฟ้ น และบำเพ็ ญ คุณธรรมที่ทำให้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ เรียกว่า พุทธการกธรรม คือ ธรรมที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้า หมายถึง บารมี ๑๐ ประการ๑ ได้แก่ ๑. ทานบารมี พระโพธิ สั ต ว์ ท รงพิ จ ารณาว่ า หากเธอ ปรารถนาจะบรรลุพระโพธิญาณแล้วไซร้ เธอจงบำเพ็ญทานบารมีเถิด อันว่าภาชนะที่เต็มด้วยน้ำ เมื่อวางคว่ำลงน้ำย่อมไหลออกหมด ไม่ขัง ติดอยู่ในภาชนะนั้นฉันใด เธอเห็นผู้ยากไร้ทั้งหลายแล้ว จงให้ทานอย่า ให้เหลือ ดุจภาชนะที่วางคว่ำไว้ฉันนั้น ๒. ศีลบารมี พระโพธิสัตว์ทรงพิจารณาว่า หากเธอปรารถนา จะบรรลุพระโพธิญาณแล้วไซร้ เธอจงบำเพ็ญศีลบารมีเถิด อันว่าจามรี รักษาขนหาง แม้ติดอยู่ในที่ใดก็ยอมตายอยู่ในที่นั้น ไม่ยอมให้ขนหาง เสี ย ไปฉั น ใด เธอจงบำเพ็ ญ ศี ล รั ก ษาศี ล ทั้ ง ๕ ให้ บ ริ บู ร ณ์ ใ นกาล ทุกเมื่อ ดุจจามรีรักษาขนหางของตนฉะนั้น
๑
จากหนังสือพุทธประวัติ โดย สุรีย์–วิเชียร มีผลกิจ หน้า ๑๓-๑๘ บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด
15
๓. เนกขัมมบารมี พระโพธิสัตว์ทรงพิจารณาว่า หากเธอ
ปรารถนาจะบรรลุพระโพธิญาณแล้วไซร้ เธอจงบำเพ็ญเนกขัมมบารมี เถิด อันว่าคนที่ถูกขังอยู่ในเรือนจำได้รับแต่ความทุกข์ทรมาน ปราศจากอิสรภาพ ย่อมไม่ปรารถนาที่จะอยู่ ไขว่ค ว้าแต่จ ะหาช่อ งทาง ให้พ้นออกไปจากเรือนจำนั้นฉันใด เธอจงมองเห็นภพทั้งปวงเสมือน เรือนจำ จงมุง่ หน้าต่อเนกขัมมะ เพือ่ แสวงหาทางหลุดพ้นไปจากภพฉันนัน้ ๔. ปั ญ ญาบารมี พระโพธิ สั ต ว์ ท รงพิ จ ารณาว่ า หากเธอ ปรารถนาจะบรรลุพระโพธิญาณแล้วไซร้ เธอจงบำเพ็ญปัญญาบารมี เถิด อันว่าภิกษุเมื่อเที่ยวบิณฑบาตมิได้เลือกว่าทายกทายิกาจะอยู่ใน ตระกูลชั้นต่ำ ชั้นกลางหรือชั้นสูง ย่อมรับบิณฑบาตพอยังอัตภาพให้ เป็นไปฉันใด เธอจงเข้าไปหาบัณฑิต สอบถามเรียนรู้กับบัณฑิตผู้มี ปัญญาทุกท่านโดยไม่เลือกตลอดกาลทั้งปวง เมื่อถึงฝั่งแห่งพระปัญญา บารมีแล้ว จักบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณได้ฉันนั้น ๕. วิรยิ บารมี พระโพธิสตั ว์ทรงพิจารณาว่า หากเธอปรารถนา จะบรรลุพระโพธิญาณแล้วไซร้ เธอจงบำเพ็ญวิรยิ บารมีเถิด อันว่าราชสีห์มีความเพียรไม่ย่อหย่อนในอิริยาบถ นั่ง นอน ยืน เดิน ประคองใจ ไว้ทุกเมื่อฉันใด เธอจงประคองความเพียรไว้ให้มั่นคงในภพทั้งปวง เริ่ม ตัง้ ความเพียรถึงฝัง่ แห่งวิรยิ บารมีแล้ว จักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้ฉนั นัน้ ๖. ขั น ติ บ ารมี พระโพธิ สั ต ว์ ท รงพิ จ ารณาว่ า หากเธอ ปรารถนาจะบรรลุพระโพธิญาณแล้วไซร้ เธอจงบำเพ็ญขันติบารมี มีใจแน่วแน่ในขันติบารมี อันว่าแผ่นดินย่อมอดทนต่อสิ่งของที่ทิ้งลงมา ซึ่งมีทั้งสะอาดบ้างและไม่สะอาดบ้าง ไม่รู้สึกยินดียินร้ายฉันใด เธอ จงอดทนต่อการยกย่องและการเหยียดหยามของชนทั้งปวงฉันนั้น ถึงฝั่งแห่งขันติบารมีแล้ว จักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้ 16
พุ ท ธฤทธิ์ จิ ต อิ่ ม บุ ญ บารมี
๗. สัจจบารมี พระโพธิสตั ว์ทรงพิจารณาว่า หากเธอปรารถนา
จะบรรลุพระโพธิญาณแล้วไซร้ เธอจงบำเพ็ญสัจจบารมี มีวาจาแน่นอน ไม่เป็นสอง อันว่าดาวประกายพรึกเป็นดาวนพเคราะห์ที่เที่ยงตรง ไม่โคจรออกนอกวิถีโคจร ไม่ว่าฤดูร้อน ฤดูฝน หรือฤดูหนาวแม้ฉันใด แม้เธอก็ฉันนั้น จงอย่าเดินออกนอกวิถีทางสัจจะทั้งหลาย ถึงฝั่งแห่ง สัจจบารมีแล้ว จักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้ ๘. อธิษฐานบารมี พระโพธิสัตว์ทรงพิจารณาว่า หากเธอ ปรารถนาจะบรรลุพระโพธิญาณแล้วไซร้ เธอจงบำเพ็ญอธิษฐานบารมี เป็นผู้ไม่หวั่นไหวในอธิษฐานบารมี อันว่าภูผาตั้งมั่นดีแล้ว ย่อมไม่หวั่น ไหวด้วยลมแรงกล้าแม้ปานใด ย่อมยังตั้งอยู่ในฐานของตนโดยไม่ขยับ เคลื่ อ นจากที่ ฉั น ใด เธอจงเป็ น ผู้ ไ ม่ ห วั่ น ไหวในอธิ ษ ฐานบารมี แ ล้ ว จักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้ฉันนั้น ๙. เมตตาบารมี พระโพธิสัตว์ทรงพิจารณาว่า หากเธอ ปรารถนาจะบรรลุพระโพธิญาณแล้วไซร้ เธอจงบำเพ็ญเมตตาบารมี เป็นผู้ไม่มีใครเสมอด้วยเมตตาบารมี อันว่าเมื่อฝนตกแล้ว ย่อมไหล และแผ่ความเย็นไปเสมอกันไม่เลือกที่ฉันใด เธอจงเจริญเมตตาให้ เสมอกันทั้งในคนดีและคนชั่ว ทั้งในศัตรูและมิตร จงแผ่เมตตาไปให้ สม่ำเสมอในคนที่เป็นประโยชน์เกื้อกูล และคนที่ไม่เป็นประโยชน์ เกือ้ กูล เธอบำเพ็ญเมตตาบารมีแล้ว จักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้ฉนั นัน้ ๑๐. อุเบกขาบารมี พระโพธิสัตว์ทรงพิจารณาว่า หากเธอ ปรารถนาจะบรรลุพระโพธิญาณแล้วไซร้ เธอจงบำเพ็ญอุเบกขาบารมี เป็นผู้มั่นคงดุจตราชู อันว่าแผ่นดินย่อมวางเฉยต่อสิ่งที่ทิ้งลงมา ทั้งที่ สะอาดและไม่สะอาดทั้งสองอย่าง เว้นจากความยินดียินร้ายฉันใด เธอจงเป็นผู้มั่นคงดั่งตราชูในสุขและทุกข์ทุกเมื่อ เมื่อบำเพ็ญอุเบกขา แล้ว จักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้ฉันนั้น บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด
17
สุเมธดาบสครั้นพิจารณาพุทธการกธรรมทั้ง ๑๐ ประการดังนี้ แล้วจึงพร่ำสอนตนเองว่า “ธรรมที ่เป็นเหตุให้บรรลุ พระโพธิ ญาณในโลกนี้มีเพียงเท่านี้ ที ่สูงยิ่งกว่านี้ไปไม่มี เธอจงตั ้งมั่นอยู่ในธรรมนั้น อย่างมั่นคง”
เมื่อได้รู้ถึงธรรมที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว จึงเริ่มบำเพ็ญ บารมีทั้ง ๓ ระดับ ในภพชาติต่างๆ เป็นจำนวนถึง ๔ อสงไขยกับอีก แสนกัป ซึ่งในบางชาติก็เกิดทันขณะที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ บางชาติก็ว่างเว้นจากพระพุทธเจ้า นอกจากนี้พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญบารมีมาเป็นลำดับจนได้ รับคำพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าอีก ๒๓ พระองค์๑ จนถึงชาติสุดท้ายที่ ทรงเสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร ทรงบำเพ็ญบารมีครบทั้ง ๑๐ ประการในพระชาติเดียว หลังจากสิ้นพระชนม์แล้วได้ไปบังเกิดเป็น สันดุสิตเทพบุตรสถิตอยู่ ณ สวรรค์ชั้นดุสิต เพื่อรอเวลาที่จะเสด็จมา อุบัติในโลกมนุษย์เพื่อตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ๑
คือ ๑. พระโกณฑัญญะ ๒. พระมังคละ ๓. พระสุมนะ ๔. พระเรวตะ ๕. พระโสภิตะ
๖. พระอโนมทัสสี ๗. พระปทุมะ ๘. พระนารทะ ๙. พระปทุมุตตระ ๑๐. พระสุเมธะ ๑๑. พระสุชาตะ ๑๒. พระปิยทัสสี ๑๓. พระอัตถทัสสี ๑๔. พระธัมมทัสสี ๑๕. พระสิทธัตถะ ๑๖. พระติสสะ ๑๗. พระผุสสะ ๑๘. พระวิปสั สี ๑๙. พระสิขี ๒๐. พระเวสสภู ๒๑. พระกกุสันธะ ๒๒. พระโกนาคมนะ ๒๓. พระกัสสปะ (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน หนังสือเรียน นักธรรมชั้นเอก วิชาพุทธานุพุทธประวัติ ฉบับมาตรฐาน บูรณาการชีวิต หน้า ๒๖-๓๐ : เลี่ยงเชียง ; ๒๕๕๑) 18 พุ ท ธฤทธิ์ จิ ต อิ่ ม บุ ญ บารมี
พระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมี ๓๐ พระชาติ
ในหนังสือคำวัด๑ ได้ให้ความหมายของคำว่า “โพธิสัตว์” ไว้ ว่า ผู้ข้องอยู่ในโพธิ, ผู้มีจิตเกี่ยวข้องอยู่กับการตรัสรู้ พระโพธิ สั ต ว์ หมายถึ ง ท่ า นผู้ ที่ จ ะตรั ส รู้ เ ป็ น พระพุ ท ธเจ้ า ในอนาคต เป็นคำทีใ่ ช้เรียกพระพุทธเจ้าสมัยทีย่ งั บำเพ็ญบารมีอยูใ่ นชาติ ก่อนๆ คือในสมัยที่เสวยพระชาติเป็นนั่นเป็นนี่ เช่น เสวยพระชาติ เป็นพญาช้างฉัททันต์ เสวยพระชาติเป็นพระมหาชนก เสวยพระชาติเป็น พระเวสสันดร เป็นต้น ถือว่าเป็นพระโพธิสัตว์ ผู้ที่จะนับว่าเป็นพระโพธิสัตว์นั้นคือผู้ที่ปรารถนาพุทธภูมิ คือ ปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต แล้วบำเพ็ญบารมีเพื่อการนั้น ติดต่อกันทุกภพทุกชาติไม่ขาดตอน บารมีที่ทรงบำเพ็ญนั้น คือ บารมี ๑๐ อย่าง หรือทศบารมี ได้แก่ เนกขัมมะ วิริยะ เมตตา อธิษฐาน ปัญญา ศีล ขันติ อุเบกขา สัจจะ ทาน ๑
โดย พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) : เลี่ยงเชียง บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด
19
การบำเพ็ญบารมี ๓ ขั้น
การบำเพ็ญบารมีจะบำเพ็ญให้ครบถ้วนบริบูรณ์นั้น ท่านกล่าว ว่าต้องบำเพ็ญให้ครบทั้ง ๓ ขั้นหรือ ๓ ระดับ ได้แก่ ๑. บารมี คื อ บารมี ร ะดั บ สามั ญ ซึ่ ง ผู้ ค นธรรมดาทั่ ว ไปก็ สามารถทำได้ เช่น ทานบารมี ได้แก่ การให้ทรัพย์สินเงินทอง หรือ สมบัติของนอกกายต่างๆ เช่น การทำบุญใส่บาตร การทำสังฆทาน การทอดกฐิน ผ้าป่า เป็นต้น ๒. อุปบารมี คือ บารมีระดับรองลงมา หรือจวนจะสูง เช่น ทานอุปบารมี ได้แก่ การเสียสละอวัยวะเป็นทาน เช่น บริจาคดวงตา และบริจาคร่างกาย เป็นต้น ๓. ปรมัตถบารมี คือ บารมีระดับสูงสุด เช่น ทานปรมัตถบารมี ได้แก่ การเสียสละชีวิตเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น
พระโพธิสัตว์มี ๓ จำพวก ได้แก่ ๑) อุคฆฏิตัญญูโพธิสัตว์ ได้แก่ พระโพธิสัตว์ประเภทที่มีปัญญามากกว่าศรัทธา ใช้ เวลาในการบำเพ็ญบารมีน้อยกว่าพระโพธิสัตว์ประเภทอื่น เมื่อตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว เรียกว่า พระปัญญาธิกพุทธเจ้า ๒) วิปจิตญ ั ญูโพธิสตั ว์ ได้แก่ พระโพธิสตั ว์ประเภททีม่ ปี ญ ั ญามากกว่าศรัทธา ใช้เวลา ในการบำเพ็ญบารมีนานกว่าอุคฆติตัญญูโพธิสัตว์ เมื่อตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว เรียก ว่า พระสัทธาธิกพุทธเจ้า ๓) เนยยโพธิสัตว์ ได้แก่ พระโพธิสัตว์ประเภทมีความเพียรมากกว่าปัญญา ใช้เวลา ในการบำเพ็ญบารมีนานกว่าพระโพธิสัตว์สองจำพวกข้างต้น เมื่อตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า แล้ว เรียกว่า พระวิริยาธิกพุทธเจ้า
20
พุ ท ธฤทธิ์ จิ ต อิ่ ม บุ ญ บารมี
เมื่อบำเพ็ญครบทั้ง ๑๐ บารมี และมีวิริยะอุตสาหะบำเพ็ญ ครบทั้ง ๓ ขั้นตอนนี้เรียกว่า สมติงสบารมี๑ คือ บารมี ๓๐ ถ้วน ดังนี้
การบำเพ็ญบารมี ๓๐ พระชาติของพระโพธิสัตว์๒
ทานบารมี
พระชาติที่ บำเพ็ญบารมี พระเจ้าสีวิราช
พระชาติที่บำเพ็ญ พระชาติที่ ปรมัตถบารมี บำเพ็ญอุปบารมี สสบัณฑิต (กระต่าย) พระเวสสันดร
ศีลบารมี
พญาช้างฉัททันต์
พญานาคภูริทัตต์ สังขปาลบัณฑิต
เนกขัมมบารมี
อโยฆรราชกุมาร
หัตถิปาลกุมาร
บารมี
พระเจ้าจูฬสุตโสม
ปัญญาบารมี สัมภวกุมาร วิธูรบัณฑิต เสนกบัณฑิต วิริยบารมี พญากปิ (ลิง) พระเจ้าสีลวมหาราช พระมหาชนก ขันติบารมี จูฬธัมมบาลราชกุมาร ธัมมิกเทพบุตร ขันติวาทีดาบส สัจจบารมี พญาวัฏฏกะ (ลูกนกคุ่ม) พญามัจฉะ (ปลาซ่อน) พระเจ้ามหาสุตโสม อธิษฐานบารมี พญากุกกุระ (ไก่) มาตังคบัณฑิต พระเตมีย์ เมตตาบารมี สุวรรณสาม กัณหาทีปายนดาบส พระเจ้าเอกราช อุเบกขาบารมี
พญากัจฉปะ (เต่า)
พญามหิสสะ (กระบือ) โลมหังสบัณฑิต
การบำเพ็ญบารมีของพระพุทธเจ้าแบ่งออกเป็น ๓ ระยะ คือ ๑) บารมีที่ทรง บำเพ็ญในครั้งพุทธกาล ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าทีปังกรเป็นลำดับเรื่อยมา จนถึงเมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็นพระเตมีย์จัดเป็น ทูเรนิทาน คือการบำเพ็ญบารมีใน ระยะแรก ๒) พระบารมีที่ทรงบำเพ็ญเมื่อเสวยพระชาติเป็นพระเตมีย์เรื่อยมา จนถึงสมัยที่ เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร รวม ๑๐ พระชาติจัดเป็น อวิทูเรนิทาน เป็นการบำเพ็ญ พระบารมีในระยะที่สอง ๓) พระบารมีที่ทรงบำเพ็ญในปัจฉิมชาติหรือพระชาติสุดท้าย ก่อนที่จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วเสด็จไปโปรดเวไนยนิกรชนให้หลุดพ้นจากวัฏ- สงสารจัดเป็น สันติเกนิทาน เป็นการบำเพ็ญพระบารมีในระยะที่สาม ๑ อ่านว่า สะ-มะ-ติง-สะ-บา-ระ-มี แปลว่า บารมี ๓๐ ถ้วน ๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ พุทธวงศ์ จริยาปิฎก บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด
21
๑๐ ทางสร้างสุข ในยุคปัจจุบัน
ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วว่า บารมี หมายถึงการบำเพ็ญคุณสมบัติ อย่างเต็มที่ แม้แต่ชีวิตก็สละได้เพื่อรักษาคุณความดีที่ได้บำเพ็ญมานั้น หากขวนขวายบำเพ็ญบารมีทั้ง ๑๐ อย่างนั้นให้เกิดขึ้น ก็จะเป็นทาง สร้ า งสั น ติ สุ ข ทั้ ง ภายในและภายนอก คื อ ไม่ ท ำให้ ต นเองและผู้ อื่ น เดือดร้อน ซึ่งเป็นทางสร้างสุขในปัจจุบัน ดังนี ้
๑. ทานบารมี การบำเพ็ญบารมีด้วยการให้ทานอย่างยิ่งยวด มีความตั้งใจ แน่ วแน่ในการปฏิบัติตนให้เป็นผู้รู้จักให้ปัน การเสียสละ การเอื้อเฟื้อ เผื ่อแผ่แก่ผู้อื่นโดยไม่หวังผลประโยชน์ตอบแทน เน้นหนักไปทางการ ให้ ทั้งที่เป็นอามิสทาน (ให้สิ่งของ) และธรรมทาน (ให้ธรรมะ) ถ้าหากขาดทานบารมี จะเป็นคนขัดสนยากจน หาเลี้ยงชีพ ฝื ดเคือง จะหวังพึง่ ผูอ้ นื่ ก็ไม่ได้ แต่ถา้ บำเพ็ญบารมีขอ้ นีอ้ ย่างเต็มเปีย่ มแล้ว จะมีแต่คนให้ความอุปถัมภ์ค้ำชู เดือดร้อนอะไรก็มีคนคอยช่วยเหลือ ตลอดเวลา
ขอรับหลวงพ่อ ผมขออย่างเดียวคือ อย่าเจ็บและอย่าจน
22
พุ ท ธฤทธิ์ จิ ต อิ่ ม บุ ญ บารมี
การให้ธรรมะ เป็นทานชนะการให้ ทุกอย่างนะโยม
๒. ศีลบารมี
การบำเพ็ญบารมีด้วยการรักษาศีลอย่างยิ่งยวด มีความตั้งใจ แน่วแน่ในการรักษา ควบคุมความประพฤติทางกายวาจาให้เรียบร้อย ปราศจากความมัวหมอง ไม่ผดิ ไปจากปกติธรรมดา มองเห็นโทษในการ ทำผิดศีล ถ้ า หากขาดศี ล บารมี จะเป็ น คนอายุ สั้ น อายุ น้ อ ย ขี้ โรค มุ่ ง หวั ง อะไรมั ก จะไม่ ไ ด้ ต ามที่ ห วั ง มี แ ต่ ปั ญ หาและอุ ป สรรคนานา ประการ แต่ถ้าบำเพ็ญศีลบารมีเต็มเปี่ยมแล้วจะอายุยืน มุ่งหวังสิ่งใด ก็จะสำเร็จสมหวัง ผู้ใหญ่ให้ความเมตตา แม้ผู้น้อยก็จงรักภักดี
อยากได้เลือดก็เอาไป แต่อย่าเอาโรคไข้เลือดออก มาติดก็แล้วกัน
พระพุทธเจ้าตรัสว่า สัพพะทานัง ธัมมะทานัง ชินาติ การให้ธรรมะเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง ไม่มีทานใดจะยิ่งใหญ่และมีอานิสงส์มากเท่า เพราะการให้ทานด้วยธรรมะ เป็นการช่วยคนให้มีปัญญา ให้เป็นคนดี พ้นทุกข์ มีสุข จึงควรให้ธรรมทาน บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด
23
๓. เนกขัมมบารมี
การบำเพ็ญบารมีด้วยการออกบวชเพื่อคุณอันยิ่งใหญ่อย่าง ยิ่งยวด มีความตั้งใจแน่วแน่ในการพยายามปลีกตัวปลีกใจให้หลุดพ้น จากอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ขัดเคือง หรือหลงมัวเมา เป็นต้น ถ้ า หากขาดเนกขั ม มบารมี แม้ จ ะเล่ า เรี ย นอะไรก็ ไ ม่ ส ำเร็ จ ความจำไม่ดีจนไม่สามารถท่องบ่นได้ จงเร่งสร้างเนกขัมมบารมีให้เกิด มีแก่ตนเอง ตั้งใจเล่าเรียนศึกษาเพื่อการหลุดพ้น และชำระจิตใจให้ใส สะอาดปราศจากสิ่งมัวหมอง การบำเพ็ญบารมีข้อนี้ที่ดีที่สุดคือการ ออกบวช เพราะเป็นวิธีที่ทำให้การปลีกตัวปลีกใจออกจากกามได้ผลดี กว่าวิธีอื่น
ไปสนุก กันหน่อยเพื่อน ไม่ดีกว่า
24
พุ ท ธฤทธิ์ จิ ต อิ่ ม บุ ญ บารมี
๔. ปัญญาบารมี
การบำเพ็ญบารมีด้วยการดำเนินไปสู่ปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อ ความรู้ เ ห็ น จริ ง อย่ า งยิ่ ง ยวด มี ค วามตั้ ง ใจแน่ ว แน่ ใ นการศึ ก ษาหา ความรู้ ทั้งจากการฟัง การคิดพิจารณาตามที่ได้ยินได้ฟังมา และการ ลงมือปฏิบัติตามที่พิจารณาแล้วนั้นจนเกิดปัญญาขึ้น เมื่อมีปัญญา แล้วก็ใช้ให้เป็นประโยชน์แก่ตนและบุคคลอื่น ช่วยชี้ให้เห็นถึงเหตุแห่ง ความเสื่อมและความเจริญในชีวิต ปั ญ ญาชั้ น สู ง สุ ด คื อ การพิ จ ารณาเห็ น โทษในสั ง ขาร แล้ ว หาทางปฏิบัติเพื่อถ่ายถอนตนให้หลุดพ้นจากสังสารทุกข์ได้ การศึกษา เล่าเรียนต่างๆ ต้องอาศัยสติปัญญาของตนเองเป็นหลัก การเรียน ไม่สมความตั้งใจ สอบตกแล้วตกอีก แสดงให้เห็นว่ายังมีปัญญาบารมี ไม่ถึงขั้น ต้องรีบเร่งขวนขวายเรียนให้รู้แจ้งเห็นจริงในเรื่องนั้นๆ แล้ว จะพบกับความสำเร็จในที่สุด บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด 25
๕. วิรยิ บารมี การบำเพ็ญบารมีด้วยความเพียรในทางที่ถูกต้องอย่างยิ่งยวด มี ความแกล้วกล้าบากบั่น ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคปัญหาที่จะมาขัดขวาง การทำความดีงามที่ตั้งใจทำอย่างแน่วแน่นั้น เพียรพยายามอย่าง สม่ำเสมอจนกว่าจะบรรลุถึงเป้าหมายที่วางไว้ การจะทำทุกอย่างให้สำเร็จได้ง่ายนั้น จะต้องศึกษาในเรื่อง นั้นๆ ให้ถ่องแท้เสียก่อนจึงจะไม่ผิดพลาด ถึงแม้จะผิดพลาดก็เพียง เล็กน้อย พยายามใช้ความเพียรเอาใจใส่ในกิจที่ทำนั้นอย่างจริงจัง
เย้... เรียนจบแล้ว ดีใจจัง
26
พุ ท ธฤทธิ์ จิ ต อิ่ ม บุ ญ บารมี
๖. ขันติบารมี
การบำเพ็ญบารมีที่ต้องใช้ความอดทนอย่างยิ่งยวด มีความ อดทนในการควบคุมตนไม่ให้ทำความชั่ว คือไม่ลุแก่อำนาจกิเลสที่ เกิ ด ขึ้ น แล้ ว ชั ก นำใจให้ อ ยากทำความชั่ ว แต่ อ ดทนไว้ ไ ม่ ย อมทำ และอดทนต่อการทำความดี แม้บางครั้งไม่อยากทำก็อดทนที่จะทำ คือมีความอดทนที่จะ ควบคุมจิตใจตนให้อยู่ในเหตุผลที่ว่า “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” เป็น ธรรมดาของคนเราที่จะต้องมีคนรักและชัง คนที่รักก็จะสรรเสริญ เยินยอ ส่วนคนที่ชังเราก็มักจะตำหนิติเตียนอยู่เสมอ ดังคำที่พระท่าน กล่าวไว้ว่า “แม้องค์พระปฏิมายังราคิน มนุษย์เดินดินหรือจะสิ้นคน นินทา” จงพยายามอดทนอดกลั้นให้ถึงที่สุด เมื่ออดทนได้ก็ทำให้ใจ หนักแน่นมั่นคง แล้วทุกอย่างย่อมสำเร็จดังที่ตั้งใจไว้
สงบจิตใจ ไม่อาฆาตแค้น สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด
27
๗. สัจจบารมี
การบำเพ็ญบารมีด้วยการถือสัจจะอย่างยิ่งยวด มีความตั้งใจ ว่าจะทำสิ่งใดแล้วก็ทำสิ่งนั้นอย่างแน่วแน่ ไม่เปลี่ยนความตั้งใจที่จะทำ นั้นง่ายๆ เป็นคนพูดจริง ทำจริง ตั้งมั่นอยู่ในจุดหมายอันชอบธรรม ที่ตั้งไว้ตั้งแต่แรก สัจจะคือความจริง ผูท้ จี่ ะบำเพ็ญบารมีขอ้ นีบ้ ริบรู ณ์ตอ้ งพยายาม รักษาคำสัตย์ไว้เสมอด้วยชีวติ โดยการพูดแต่ความจริง ไม่ปดิ บังอำพราง พูดอย่างไหนก็ทำอย่างนั้น ไม่เป็นคนเหลาะแหละโกหกพกลมไปวันๆ คนที่พูดอะไรมีแต่ความจริงใจย่อมมีผู้เชื่อถือมากยิ่งขึ้น
สัจจะคือความจริง ตั้งใจทำจริงย่อมได้ ผลดังที่ตั้งใจไว้
ค่อย ๆ อ่าน ค่อย ๆ คิด คราคิดติดขัด หยุดพักสักนิด ทำจิตให้สงบ จักพบทางออก อ่านแล้วคิด คิดให้เข้าใจ เข้าใจแล้วลงมือทำ ทำด้วยสติสัมปชัญญะ ทำวันนี้ เดี๋ยวนี้ ขณะนี้ อย่ารอช้า อย่าผัดวัน อย่าประมาท คิดเร็ว สุขเร็ว ทำช้า ทุกข์มาก ทุกข์ยาวนาน
28
พุ ท ธฤทธิ์ จิ ต อิ่ ม บุ ญ บารมี
๘. อธิษฐานบารมี
การบำเพ็ญบารมีด้วยใจที่ตั้งมั่นอย่างยิ่งยวด มีปณิธานในชีวิต ที่ แ น่ น อนมั่ น คง แล้ ว ตั้ ง หน้ า ตั้ ง ตาทำตามนั้ น ด้ ว ยใจที่ ก ล้ า หาญ เด็ดเดี่ยว แม้ชีวิตก็สละได้ หรือบางครั้งอาจเกิดจากการทำคุณงาม ความดีอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วก็อธิษฐานใจตั้งมั่นเพื่อให้ได้ผลอย่างที่ ปรารถนา เช่น พระโพธิสัตว์ปรารถนาพุทธภูมิ เป็นต้น การที่เราจะทำอะไรก็ตามต้องมีความตั้งใจจริง เด็ดเดี่ยวกล้า หาญ แม้ ใ นการทำบุ ญ ให้ ท านก็ ต้ อ งตั้ ง ใจ ดั ง คำที่ ท่ า นกล่ า วไว้ ว่ า “ทำบุญต้องอธิษฐาน ให้ทานต้องตั้งใจ” ดังนั้น เราต้องมีจิตใจมั่นคง ไม่คลอนแคลนหวั่นไหวไปตาม โลกธรรม จงทำหน้าที่ให้ดีที่สุดด้วยความตั้งใจจริง แล้วทุกสิ่งทุกอย่าง ก็จะสำเร็จ งดเหล้าเข้าพรรษา เข้าวัดทำบุญดีกว่าเรา
บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด
29
๙. เมตตาบารมี
การบำเพ็ ญ บารมี ด้ ว ยการแผ่ เ มตตาจิ ต ต่ อ สรรพสั ต ว์ อ ย่ า ง ยิ่งยวด มีความรักความปรารถนาดี มีไมตรีต่อเพื่อนมนุษย์และสรรพสัตว์เสมอกัน ไม่เลือกที่รักผลักที่ชัง หวังแต่ความสุขความเจริญแก่เขา เป็นที่ตั้ง เมื่อประสบพบเห็นเขาได้รับความลำบากเดือดร้อน ก็คิด หาทางช่วยเหลืออย่างเต็มกำลัง เมตตาจัดเป็นคุณธรรมขั้นพื้นฐานที่ ทุกคนต้องมี เพราะเมตตาจะทำให้โลกน่าอยู่ยิ่งขึ้น ผู้ที่มีเมตตาเป็น คุณธรรมประจำใจจะเป็นคนอ่อนโยน เป็นที่รักของผู้อื่น เมื่อเรามีเมตตาต่อผู้อื่น เขาก็จะมีเมตตาตอบ เมื่อต่างฝ่ายต่าง มีเมตตาต่อกัน สังคมทุกระดับตั้งแต่ครอบครัวจนถึงประเทศชาติและ สังคมโลก ก็จะมีแต่สันติสุข ดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า “โลโก ปัตถัมภิกา เมตตา : เมตตาธรรมค้ำจุนโลก” เราช่วยนายไม่ได้หรอก นายทำกรรมไว้ นายก็ต้องรับกรรมนั้น
ฉันเข้าใจ นายคงช่วยฉันเต็มที่แล้ว
30
พุ ท ธฤทธิ์ จิ ต อิ่ ม บุ ญ บารมี