ไขข้อข้องใจ 3

Page 1



พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙)


คำนำสำนักพิมพ์ คำว่า “ข้อข้องใจ” หมายถึง เรื่องที่ยังติดใจสงสัย, เรื่องที่ยังไม่สิ้น สงสัย ในชีวิตจริงของคนเรามีเรื่องราวมากมายที่ก่อให้เกิดความสงสัย แม้ บางเรื่องพอจะมีผู้ให้คำตอบเพื่อคลายความสงสัยลงไปบ้าง แต่บางครั้งความ สงสัยนั้นก็ยังไม่สิ้นไปเสียทีเดียว เนื่องจากความลังเลสงสัยในตัวบุคคลผู้ “ไข” คือ ตัวบุคคลผู้บอก, อธิบาย, ขยายความ ในเรื่องนั้นๆ ว่าจะมีภูมิ ความรู ้จริงหรือไม่

หนังสือ “ไขข้อข้องใจ ๓” เล่มนี้ เป็นผลงานของพระเดชพระคุณ พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) วัดราชโอรสาราม เขตจอมทอง กรุงเทพฯ ซึ่งพระเดชพระคุณมีภูมิความรู้ ภูมิธรรม สามารถไขข้อข้องใจของผู้ถามได้ อย่ างกระจ่างแจ้ง ถูกต้องตรงตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนาได้อย่างน่าทึ่ง การจัดพิมพ์หนังสือ “ไขข้อข้องใจ ๓” ครั้งนี้ สำนักพิมพ์ได้จัดพิมพ์ ถวายน้อมเป็นมุทิตาสักการะเนื่องในวาระมงคลสมัยคล้ายวันเกิด วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ของพระเดชพระคุณ ทั้งด้วยความสำนึกในความ เมตตาของท่านที่มีต่อสำนักพิมพ์มาเป็นเวลานานหลายทศวรรษ โดยพระเดชพระคุณได้มอบผลงานเขียนต่างๆ ให้จัดพิมพ์เผยแพร่ได้ตามอัธยาศัย รวมทั้งเป็นที่ปรึกษาในการจัดทำหนังสือหลักสูตรการสอนนักธรรม-บาลีให้ ถูกต้องตรงตามพระธรรมวินัย


และในการจัดพิมพ์ครั้งนี้ สำนักพิมพ์เล็งเห็นว่าหนังสือเล่มนี้ควรจะ ได้มีการพิมพ์เผยแพร่ให้กว้างขวางออกไป เพราะข้อสงสัยต่างๆ ที่มีผู้เขียน เข้ามาถามนั้น ทุกเรื่องอาจจะมีบุคคลอื่นนอกจากตัวผู้ถามแล้ว ก็มีความ สงสัยเช่นกันแต่ไม่รู้จะถามใครที่ไหน แต่หากมีโอกาสอ่านจากหนังสือเล่มนี้ แล้วก็คงจะคลายความสงสัย ได้รับคำตอบที่สามารถนำไปประพฤติปฏิบัติ ได้ จริง หวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือ “ไขข้อข้องใจ ๓” เล่มนี้ จักเป็นดุจ แสงเทียนจุดประกายทางความคิดให้ท่านผู้อ่านได้ สมเจตนารมณ์ของท่าน ผู้เขียนต่อไป ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยโปรดอภิบาลคุ้มครองพระเดชพระคุณพระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ให้มีสุขภาพพลานามัยแข็งแรง มีอายุมั่นขวัญยืน อยู่เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรให้พุทธศาสนิกชนผู้ศรัทธาเลื่อมใสได้ พึ่งพาอาศัยร่มเงาบุญและบารมีธรรมตลอดกาลนาน และขออำนวยพรแด่ ทุกท่านที่ร่วมสนับสนุนการจัดพิมพ์ให้ประสบแต่ความสุข ความเจริญในชีวิต ทุกประการด้วยเทอญ.

ด้วยศรัทธาและปรารถนาดี สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒


คำปรารภ “ไขข้อข้องใจ” ซึ่งเป็นชื่อหนังสือเล่มนี้ได้ดัดแปลงมาจากคอลัมน์ “ปัญหาข้องใจ” ในหนังสือ “มงคลสาร” นิตยสารรายเดือนของวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ซึ่งเคยเขียนบทความและตอบปัญหาลงพิมพ์ในสมัยหนึ่ง ระหว่าง ปี พ.ศ. ๒๕๑๘-๒๕๒๐ ซึ่งบัดนี้ก็ผ่านมากว่า ๓๐ ปีแล้ว คำตอบ ส่วนใหญ่นอกจากจะตอบเพื่อให้ผู้ถามคลายสงสัยแล้ว ยังให้รายละเอียด อื่นๆ อันเป็นเรื่องที่ควรรู้เพิ่มเข้าไปด้วย มากบ้างน้อยบ้างตามเรื่องที่ตอบ คำตอบบางข้อจึงค่อนข้างยาวจนเกือบจะกลายเป็นบทความไปก็มี แต่ทั้งนี้ ก็มุ่งให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องธรรมะ เรื่องศาสนา และเรื่องเกี่ยวกับวัด โดยทั ่วๆ ไปเป็นประมาณ

ก็มีบ้างที่คำตอบเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในยุคนั้น คำตอบจึงเป็นเรื่องที่คน ปัจจุบันอ่านแล้วอาจไม่เข้าใจเพราะเกิดไม่ทันหรือยังเด็กเกินไปเพราะผ่านมา ๓๐ ปีเศษแล้ว แต่ผู้ที่ผ่านเหตุการณ์เช่นนั้นมาและสนใจติดตามเรื่องนั้นอยู่ ในขณะนั้นย่อมเข้าใจได้ทันที เว้นแต่ว่าผ่านมานานจนลืม เมื่อมาอ่านใหม่ แล้วทบทวนความหลังครั้งนั้นดูก็พอจะนึกออกได้ว่าเป็นเรื่องอะไร ทำไมจึง ตอบอย่างนั้น


แม้สำนวนภาษาก็เช่นกัน คำบางคำ สำนวนบางสำนวน นิยมใช้พูด ใช้เขียนกันอยู่ในยุคนั้น แต่บัดนี้คำนั้นสำนวนนั้นไม่นิยมใช้กันแล้ว เมื่ออ่าน พบเข้ าก็อาจเห็นเป็นของแปลกก็ได้

วัตถุประสงค์ของการนำของเก่ามาพิมพ์ใหม่นี้ด้วยมีวัตถุประสงค์ หลักอยู่ ๓ ประการ คือเพื่อรักษาต้นฉบับไว้ให้อยู่ในที่เดียวกัน เพื่อ เปรียบเทียบถ้อยคำ สำนวนภาษา และโวหารที่ใช้ในสมัยนั้นว่าเป็นอย่างไร และเพื่อเป็นประโยชน์ด้านการเรียนรู้พระพุทธศาสนาในอีกรูปแบบหนึ่ง เพราะ ปัญหาบางปัญหาแม้จะถามกันมานานแล้ว แต่ก็ยังมีคนสงสัยไต่ถามกันอยู่อีก จึ งเท่ากับตอบให้ไปในตัว เพราะปัญหาเช่นนั้นย่อมมีคำตอบเช่นเดียวกัน หวังว่า “ไขข้อข้องใจ” นี้คงจะอำนวยประโยชน์ด้านการเรียนรู้ พระพุทธศาสนาจากปัญหาข้องใจได้ตามสมควร.

(พระธรรมกิตติวงศ์) วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑


สารบัญ จาก “มงคลสาร” เดือนมกราคม ๒๕๒๐  อยากทราบวิธีแก้ความอิจฉาริษยา  อยากทราบวิธีหาเรื่องคุยตลกๆ จะได้มีเพื่อนมากๆ  วิธีใดทำให้ใจเข้มแข็งไม่อ่อนไหวง่าย บังคับใจตนได้  เหตุใดมีเพื่อนน้อย  อยากทราบวิธีแก้เบื่อเรียน  ทำอย่างไรจึงจะพอใจสิ่งที่มีอยู่

๑ ๖ ๑๐ ๑๑ ๑๓ ๑๓ ๑๔

จาก “มงคลสาร” เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๒๐  ประโยชน์ของการให้ทานมีอย่างไร  ประโยชน์ของการรักษาศีลมีอย่างไร  ประโยชน์ของการเจริญภาวนามีอย่างไร

๑๗ ๑๘ ๒๒ ๒๕

จาก “มงคลสาร” เดือนเมษายน ๒๕๒๐  อาหารพระพุทธกับอาหารพระภูมินั้นนำมาทานได้หรือไม่  จะไหว้พระบูชากับพระภูมิเฉพาะในวันพระได้ไหม หรือต้องไหว้ทุกวัน

๔๕ ๔๖ ๔๗

จาก “มงคลสาร” เดือนมีนาคม ๒๕๒๐  เมื่อก่อนวันสงกรานต์เป็นวันปีใหม่ของไทย ปัจจุบันทำไมจึงยกเลิกเสีย  ทำไมเดี๋ยวนี้ประเพณีสงกรานต์จึงดูจืดชืดนัก ไม่ค่อยมีคนสนใจเล่นกัน  นิทานสงกรานต์ตามที่เล่าๆ กันมานั้นมีรายละเอียดอย่างไร  สงกรานต์ในเมืองไทยดีหรือไม่ ที่มีการรดน้ำ หยุดงานเล่นสนุกกัน

๓๑ ๓๒ ๓๓ ๓๗ ๔๑


 อาหารหวานที่ไหว้พระบูชากับพระภูมิจะมีเฉพาะผลไม้จะได้หรือไม่ ๕๑ ๕๓  เมื่อตุ๊กตาที่ศาลพระภูมิแตกชำรุดจะทำอย่างไร ซื้อมาเปลี่ยนได้ไหม  เมื่อไหว้ศาลพระภูมิเสร็จแล้วต้องมีบทกรวดน้ำหรือไม่ มีวิธีการอย่างไร ๕๔  เมื่อทำบุญกรวดน้ำไปให้ญาติผู้ล่วงลับ หากท่านไม่รู้ จะได้รับหรือไม่ ๕๕

จาก “มงคลสาร” เดือนพฤษภาคม ๒๕๒๐ ๕๙  การบวชมีกี่อย่าง ผู้หญิงจะบวชบ้างได้ไหม ๖๐  “พุทธ” แปลว่าผู้รู้ คือรู้อย่างไร สอนให้ใครรู้ รู้แล้วได้ประโยชน์อย่างไร ๖๓

จาก “มงคลสาร” เดือนมิถุนายน ๒๕๒๐ ๖๙  คำว่า “พระดีอยู่ที่โบสถ์ พระไม่โกรธอยู่ในสระ พระชอบฉะอยู่ในวัด” ๗๐ มีความหมายว่าอย่างไร  ที่คนจีนว่า “ทำบุญเสียเปล่า ไหว้เจ้าดีกว่า กลับมาได้กิน” ๗๕ หากถูกเขาถาม จะตอบอย่างไรดี  ที่โบราณว่า “สี่คนหาม สามคนแห่ คนหนึ่งนั่งแคร่ สองคนตามหลัง” ๗๙ ได้แก่อะไรบ้าง ๘๒  พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้ด้วยตนเองหรือไม่มีใครสอน และตรัสรู้อะไร ๘๖  พระอะไรที่ท่านไปแล้วไม่กลับ ท่านได้ดีอะไรจึงไม่กลับ จาก “มงคลสาร” เดือนกรกฎาคม ๒๕๒๐  ทำบุญอย่างไรเรียกว่าบุญบริสุทธิ์และประเสริฐ  กัปปิยการก กับ ไวยาวัจกร เป็นคนเดียวกันหรือไม่ มีหน้าที่อย่างไร  ในงานทำบุญเลี้ยงพระที่บ้านจะจัดพระพุทธและโต๊ะหมู่อย่างไร หันหน้าไปทางทิศไหน  พระภิกษุมีอาวุธปืนเอาไว้ในครอบครอง จะผิดศีลทางวินัยหรือไม่  การคุมกำเนิดจะไม่เป็นบาปหรือ เพราะทำให้คนที่สมควรเกิดไม่ได้เกิด จาก “มงคลสาร” เดือนสิงหาคม ๒๕๒๐  ประเพณีการเผาศพหรือฌาปนกิจศพมีหลักฐานมาอย่างไร  ฝังศพไว้ไม่ขุดขึ้นมาเผาจะเป็นอะไรหรือไม่  ในบางศาสนาเขาใช้ฝัง ไม่ขุดมาเผาเลย เพราะอะไร

๘๙ ๙๐ ๙๓ ๙๕ ๙๗ ๙๗

๑๐๑ ๑๐๒ ๑๐๓ ๑๐๕


 ผลจากการเผาและการฝังศพต่างกันอย่างไร  บางท่านว่าถ้าไม่เผาก็ไม่ได้ไปผุดไปเกิด ต้องเผาจึงจะได้ไปสวรรค์ จริงหรือไม่

จาก “มงคลสาร” เดือนกันยายน ๒๕๒๐  สร้างพระอภิธรรมเจ็ดคัมภีร์แล้วทดแทนคุณพ่อแม่ได้จริงหรือไม่  หลักสูตรนักธรรม น่าจะตัดข้อธรรมที่ซ้ำกันบางข้อออก เพื่อง่ายต่อการจดจำ

จาก “มงคลสาร” เดือนตุลาคม ๒๕๒๐  มีหลักอย่างไรสำหรับพิจารณาว่าพระองค์ไหนเป็นพระโสดา สกิทาคา อนาคา หรืออรหันต์  มีวิธีการอย่างไรที่จะกำจัดกิเลสตัณหาให้เบาบางลงได้ในชีวิตประจำวัน  การบวชเป็นภิกษุ เหตุใดจึงแยกเป็นมหานิกายและธรรมยุต  การสะเดาะเคราะห์ให้ผลอย่างไร ทำให้ดวงชะตาดีขึ้นหรือไม่  พระมายืมเงิน ถ้าเราไม่ให้จะบาปไหม จาก “มงคลสาร” เดือนพฤศจิกายน ๒๕๒๐  คำว่าศีลคืออะไร  ภาวนาว่าอย่างไรจึงจะได้แก่ตนเอง  สวดมนต์ก่อนนอนควรสวดบทไหนบ้าง

จาก “มงคลสาร” เดือนธันวาคม ๒๕๒๐  ทำบุญใส่บาตรด้วยเนื้อสัตว์จะเป็นการเบียดเบียนสัตว์หรือไม่ เมื่อพระฉันไปจะทำให้ศีลด่างพร้อยหรือไม่  เราทำบุญกันทุกวันนี้เป็นบุญที่แฝงด้วยบาปใช่หรือไม่  การทำบุญด้วยอาหารมังสวิรัติมีอานิสงส์สูงส่งแค่ไหนเพียงใด

คำถามพิเศษ จาก “มงคลสาร” ๒๕๒๐  การด่าแม่ว่า “อีบ้า” จะบาปไหม เมื่อขอโทษท่านแล้วจะบาปหรือไม่  ในวันพระฟังเทศน์ทางวิทยุจะเหมือนกับฟังที่วัดหรือไม่

๑๐๕ ๑๐๗ ๑๐๙ ๑๑๐ ๑๑๓ ๑๑๗ ๑๑๘ ๑๒๒ ๑๒๔ ๑๒๕ ๑๒๗ ๑๒๙ ๑๓๐ ๑๓๑ ๑๓๒ ๑๓๗ ๑๓๘ ๑๔๐ ๑๔๑ ๑๔๓ ๑๔๔ ๑๔๖



䢢ŒÍ¢ŒÍง㨠จาก “มงคลสาร” เดือนมกราคม ๒๕๒๐

นมัสการ พระมหาทองดี ที่เคารพ ดิฉันมีปัญหาทางใจคิดไม่ตก ประวัติโดยย่อของดิฉันมีดังนี้ค่ะ

คุณพ่อคุณแม่มีลูก ๒ คน คือพี่ชายและดิฉัน เมื่อเป็นเด็กดิฉัน เป็นคนร่าเริง ปัจจุบันเงียบขรึม ชอบอิจฉาริษยาผู้อื่น ดิฉันเรียนไม่เก่งเหมือน พี่ชายซึ่งตอนนี้อยู่มหาวิทยาลัย ไม่ว่าคุณพ่อจะพาพี่ไปสอบที่ไหนก็ได้หมด แต่ดิฉันไม่ว่าจะสอบชิงทุนอะไรสอบเข้าที่ไหนก็พลาดหวัง ทำให้ดิฉันท้อแท้ และหมดกำลังใจ คุณพ่อคุณแม่ก็เริ่มเอาใจพี่ชายดิฉัน เวลาเขากลับมาบ้าน คุ ณแม่จะทำอาหารพิเศษให้ทาน ดิฉันก็พลอยติดร่างแหไปด้วย

ตกค่ำท่านก็พูดคุยกับบุตรชายเป็นที่สนุกสนาน ดิฉันก็ไม่กล้าออกมา ร่วมวงเนื่องจากดิฉันคิดว่า เมื่อคุณพ่อคุณแม่เห็นดิฉันไม่มีค่าแล้วจะออกมา เสนอหน้าเพื่อประโยชน์อันใด ยามที่อาหารพร้อมที่จะทานนั้น คุณพ่อก็จะเอ่ย เรียกแต่คุณพี่ ดิฉันเคยรอคอยคำเรียกจากปากท่าน แต่ก็ไม่เคยได้ยิน ด้าน ความเห็นของเราสองพี่น้องส่วนมากคล้ายกัน แต่ก็มักขัดแย้งกันเสมอกับ คุ ณพ่อคุณแม่ เวลาที่โกรธกันคุณพ่อคุณแม่ก็ง้อคุณพี่เพียงคนเดียว


2

䢢ŒÍ¢ŒÍงã¨

ดิฉันเป็นคนคิดมาก จิตใจอ่อนไหวง่าย ฟังนิยายบ่อย ดิฉันเป็นเด็ก เหงาว้าเหว่ขาดเพื่อน แถวบ้านดิฉันก็มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกันอยู่ ๒ คน ดิฉันคิดว่าถ้าดิฉันจะมีเพื่อนสนิท เขาจะต้องมีดิฉันคนเดียวที่เป็นเพื่อนสนิท ของเขา แต่ ๒ คนนี้เขาเป็นฝาแฝดกัน เขาย่อมไม่เห็นดิฉันดีกว่าเพื่อน ร่วมแม่เดียวกันของเขาเป็นแน่ เป็นการเห็นแก่ตัวอย่างร้ายกาจของดิฉัน ดิฉันก็ทราบ แต่ดิฉันแสลงใจเหลือเกินถ้าเพื่อนที่ดิฉันไว้วางใจจะไปสนิทกับ ผู้อื่น มีเพื่อนสนิทที่ ร.ร. อยู่เพียงคนเดียวเท่านั้น อยู่คนละห้อง บ้านก็ ไกลกันมากที่จะไปมาหาสู่กัน ในวันหยุดเรียนดิฉันเคยทำงานบ้านมากๆ เพื่อ ให้ลืมเรื่องที่จะคิดมากเสีย แต่ดิฉันก็ไม่สามารถลืมได้เลยและช่วยตัวเองไม่ได้ เพราะดิฉันเป็นคนเกียจคร้าน ตกอยู่ใต้อารมณ์ของตนเอง ยามที่ดิฉันเจอ เพื่อนชายที่หน้าตาดีแล้ว ใบหน้าของดิฉันจะร้อน ใจเต้นแรง บางทีสะดุ้ง นับว่าเป็นเอามาก ถ้าเพื่อนคนนั้นหน้าตาธรรมดา ดิฉันก็จะปกติเหมือนเขา เป็นเพื่อนหญิงคนหนึ่ง ในห้องเรียนมีเพื่อนชายคนหนึ่งชอบมองดิฉัน ดิฉัน ไม่มีสมาธิในการเรียนเลย แต่ไม่เคยหันไปมองเขา เพราะไม่อยากสร้างความ ทุกข์แก่ใจของตนเอง ดิฉันจะผิดปกติเพียงทางใจเท่านั้น แต่ทางกายดิฉันฝืน ให้อยู่ในกรอบแห่งสตรีได้ พูดง่ายๆ ก็คือสามารถบังคับกายได้ แต่บังคับใจ ไม่ ได้ ดิฉันเป็นคนมีปมด้อยคือไม่เติบโตสมอายุเหมือนเพื่อนที่สูงโย่ง ดิฉัน จึงเบื่อสังคมเหลือเกิน เวลาดิฉันอ่านหนังสือในห้อง หรืออภิปรายรายงาน เรื่องราวต่างๆ เสียงจะสั่นแหบ ตัวก็สั่น ใจเต้นแรง ที่แปลกก็คือดิฉันมัก จะสำคัญตนว่าเป็นคนสำคัญอยู่เสมอ เวลาเดินไปไหนแต่ละก้าวจึงไม่มั่นใจ เรื ่องราวของดิฉันที่กล่าวมายืดยาว ขอถามพระคุณเจ้าเป็นข้อๆ ดังนี้ค่ะ (๑) วิธีแก้ความอิจฉาริษยา


พระธรรมกิตติวงศ์

(๒) วิธีหาเรื่องคุยตลกๆ จะได้มีเพื่อนมากๆ (๓) วิธีใดทำให้ใจเข้มแข็ง ไม่อ่อนไหวง่าย บังคับใจตนได้ (๔) เหตุใดมีเพื่อนน้อย (๕) วิธีแก้การเบื่อเรียน (๖) ทำอย่างไรจึงจะพอใจในสิ่งที่มีอยู่

หากเห็นว่าไม่สมควรก็ลงเพียงคำถาม ๖ ข้อ ก็จะประหยัดเนื้อที่ดี ที ่ดิฉันเล่าเพียงเพื่อพระคุณเจ้าจะได้อธิบายให้ตรงกับโรคที่ดิฉันเป็นอยู่เท่านั้น

ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ และขอให้พระคุณเจ้าจงมีความสบายกาย สบายใจตลอดไปค่ะ นมัสการมาด้วยความเคารพ ผู้ป่วยทางจิต

คุณผู้ป่วยทางจิต ตอบ อ่านปัญหาของคุณหลายเที่ยวก็ยังตรองไม่ตกว่าจะลงเฉพาะปัญหา หรือว่าลงทั้งหมด ตัดสินใจอยู่หลายวันก็ตกลงใจว่าลงทั้งหมดดีกว่า ด้วย เหตุ ผลดังนี้

- เพื่อทบทวนความจำของคุณว่าคุณได้เล่าอะไรและถามอะไรไปบ้าง เพราะจดหมายของคุณส่งไปนานแล้ว ตั้งแต่เดือนตุลาคม ๒๕๑๙ แต่ เพิ่งมาถึงคิวตอบเอาเดือนมกราคม ๒๕๒๐ อาจล่าช้าไปบ้าง ทำให้ลืมได้


4

䢢ŒÍ¢ŒÍงã¨

- หากตอบเฉพาะปัญหา คุณก็จะรู้เพียงคนเดียว ไม่เป็นประโยชน์ ต่อผู้อื่น เพราะผู้อื่นมิได้รู้เรื่องราวรายละเอียดมาก่อน จู่ๆ ก็มาพบคำตอบ เลยจะพาลเบื ่อไม่อ่านเอาเสีย

- จะเป็นประโยชน์แก่คนอื่นๆ อีกมาก เพราะปัญหาทำนองนี้คง เกิดขึ้นแก่บุคคลทั่วไปและคงมากด้วย เมื่อทุกคนรู้สมุฏฐานโรคของตัวเอง ว่าเหมือนกันแล้วก็จะใช้คำตอบนั้นๆ เป็นยาแก้โรคของตนให้ทุเลาเบาบาง ลงได้

ด้วยเหตุผลดังกล่าวมาจึงตัดสินใจนำข้อความทั้งหมดลงพิมพ์ไว้เป็น หลักฐานเพื่อประโยชน์ดังชี้แจงนั้น หากไม่เป็นการบังควรก็ต้องขออภัยคุณ เจ้ าของปัญหาด้วย ก่อนจะตอบปัญหาเป็นข้อๆ ตามลำดับ ใคร่ขอเวลานอกสักนิด คือ จากการที่ได้อ่านจดหมายฉบับนี้แล้ว ก็อยากจะพูดกับท่านที่เป็นพ่อเป็นแม่ ของลู กๆ ไว้ ณ ที่นี้สักเล็กน้อย

จะว่าเป็นการเตือนสติก็ไม่เชิง เอาเป็นว่าบอกให้ฟังก็แล้วกัน คือตามปกติพ่อแม่ย่อมมีความรักลูกเสมอเหมือนกันทุกคน ในใจ ของพ่อแม่นั้นไม่เคยลำเอียง ลูกคนนี้ฉันรักมาก ลูกคนโน้นฉันไม่ค่อยรัก เท่าไหร่ พ่อแม่มักคิดว่านั่นก็เป็นลูก นี่ก็เป็นลูกเหมือนกัน ความคิดของพ่อ แม่ เป็นเช่นนี้

แต่การแสดงออกของพ่อแม่บางคนนั้นไม่เหมือนดังใจคิด คือมักจะ เอาใจใส่ลูกบางคนเป็นพิเศษกว่าลูกอีกคนหรืออีกหลายคน ไม่ว่าจะทำจะ พูดอะไรเป็นต้องเข้าข้างลูกคนนั้นเสมอ จริงอยู่ ท่านอาจจะแย้งว่าก็ลูกคนนี้ มันเป็นคนเล็ก อายุมันน้อยกว่าเขาก็ต้องเอ็นดูมันหน่อย หรือว่าลูกคนนั้น


พระธรรมกิตติวงศ์

มันหัวดื้อ ว่าไม่ฟัง จะไปรักอะไรมัน หรือว่าลูกคนนี้มันดี ว่านอนสอนง่าย รู ้จักเอาอกเอาใจเรา เราก็ต้องรักมันนะสิ อะไรทำนองนี้ ก็จริงก็ถูกของท่านเมื่อท่านคิดอย่างนี้ แต่ท่านทราบหรือไม่ว่าการแสดงออกของท่านอย่างนั้น ทำให้ลูก ที่ไม่ค่อยได้รับการเอาใจใส่เกิดความคิดขึ้นมาว่าพ่อแม่ไม่รักเรา หรือรักเรา ไม่เท่าลูกอีกคน พ่อแม่เกลียดเรา พ่อแม่ชังเรา จึงไม่ค่อยเอาใจใส่เราเท่าลูก คนนั้น ความคิดและความรู้สึกของเด็กทำนองนี้มันเกิดได้ง่าย และแกก็คิด ไปตามประสาเด็กๆ ของแก คือคิดอย่างที่ไม่ควรคิด และคิดโดยไม่ต้องการ เหตุผล คิดไปตามที่ได้เห็นพ่อแม่ทำหรือตามความรู้ว่าพ่อแม่เป็นอย่างที่คิด คิดแล้วก็สรุปยึดถือเอาเลยว่าที่แกคิดนั้นจริงแท้แน่แล้ว เพราะแกเห็นตำตา ทุ กวันๆ นั่นแหละ เป็นการสร้าง “ปมด้อย” ให้เกิดในชีวิตของลูกท่านละ ท่านคงไม่เจตนา ไม่ตั้งใจ แต่การกระทำที่ปราศจากเจตนาก็มีผล เท่าๆ กับมีเจตนามิใช่หรือ ปมด้อยที่เกิดจากความคิดขัดแย้งในตัวพ่อแม่ ซึ่งฝังรากลึกอยู่ในจิตใจของลูกจะส่งผลอย่างไร ก็ขอให้กลับไปอ่านเนื้อความ ในจดหมายฉบับนี้อีกครั้ง แล้วคิดด้วยว่าท่านเคยเห็นลูกของท่านเป็นอย่างนี้ บ้ างหรือไม่ นี่เป็นเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่เกิดจากความมีปมด้อยของเด็ก ที่ท่าน มี ส่วนทำให้เกิด หรือจะพูดให้ทันสมัยหน่อยก็ว่า ท่านผู้เป็นพ่อแม่นั่นแหละเป็นตัวเร่งให้เกิดปัญหานี้ขึ้น แต่อย่าเสียใจหรือตกใจจนเกินไปเลย ที่ว่านี่มิใช่ทุกรายและทุกคน หรอก มีเป็นบางคนเท่านั้น และเหตุการณ์ดังยกตัวอย่างมาก็เป็นเพียงส่วน หนึ่งในร้อยในพันส่วนที่ทำให้เด็กเกิดปมด้อยขึ้นในชีวิต


6

䢢ŒÍ¢ŒÍงã¨

พูดให้ฟังแค่นี้เห็นจะพอกระมัง และเรื่องที่กล่าวมานี้ก็มิได้สอนให้รู้ว่าอย่างนั้นอย่างนี้ตามแบบฉบับ ของเรื ่องชั้นดีทั้งสิ้น เพียงแต่อยากจะพูดให้ฟังกันบ้างเท่านั้นเอง เอาละ ! เวลานอกหมดแล้ว ตอบปัญหาดีกว่า อยากทราบวิธีแก้ความอิจฉาริษยา ถาม ตอบ วิธีแก้ความอิจฉาริษยานั้นบอกได้เลยว่าไม่ยาก ที่ว่าไม่ยากนั้น หมายถึ งการบอกนะ แต่เวลาทำจริงๆ มันยากพอดูเทียวละ ถ้าเปรียบความอิจฉาริษยาเป็นโรคก็เป็นโรคชนิดอยู่ภายในร่างกาย และอยู่ลึกทีเดียว ชนิดใช้ยาทา ยาพอก หรือยากินไม่หายนั่นแหละ มันต้อง ผ่าตัดแล้วเอามันทิ้งไปเลย เพราะโรคชนิดนี้มันเป็นแขกที่เข้ามาสู่ร่างกาย โดยที ่เรามิได้เชิญสักนิดเดียว ถ้าจะว่าให้ชัดลงไป โรคริษยานี่มันเป็นโรคทางใจ พระท่านว่ามัน เป็น “มละ” คือเป็น “มลทินใจ” เป็น “สนิมใจ” เป็นสิ่งที่ทำให้ใจมัวหมอง ไม่ผ่องแผ้ว รักษายากอยู่ เพราะขึ้นชื่อว่า “ใจ” แล้วที่จะเป็นเรื่องง่ายเห็น จะไม่ค่อยมี มันยากทั้งนั้น ไว้ใจก็ยาก ผูกใจก็ยาก รักษาก็ยาก นานๆ จึง จะพบใจที ่ง่ายสักครั้ง คือ “ใจง่าย” ก่อนที่จะแก้โรคนี้ จำต้องรู้สมุฏฐานของโรคก่อนว่า มันเกิดจาก อะไร อะไรทำให้เกิดแล้วค่อยไปแก้ตรงนั้น สิ่งนั้น การแก้ปัญหาแบบนี้ว่าตามตำรับของพระพุทธองค์ ท่านก็มีอยู่ว่า เมื่อเห็นตัวปัญหา (ทุกข์) แล้วค่อยสาวไปหาเหตุ หรือสมุฏฐานปัญหา (สมุทัย) เมื่อพบตัวปัญหาแล้วก็ให้หาทางกำจัดปัญหานั้นๆ (นิโรธ) โดย ดำเนินการแก้ปัญหาไปตามวิธีนั้นๆ (มรรค) อีกทีหนึ่ง


พระธรรมกิตติวงศ์

ความอิจฉาริษยานี้มันเกิดจากการยึดมั่นสำคัญตัวเองผิดไปว่าตัวเอง เก่ง ตัวเองแน่ ตัวเองต้องดี ต้องเด่น ต้องดังกว่าเขา พอเห็นใครอื่นดีกว่า เด่นดังกว่าตัว ก็จะไม่พอใจในคนๆ นั้นขึ้นมาทันที บางครั้งแม้จะยังไม่เห็น หน้าค่าตากันเลย แต่พอมีใครมาบอกว่าคนนั้นคนนี้เก่งนะ เขาสวยนะ หรือ เขาเป็นอย่างนั้นอย่างนี้นะ ก็จะหูผึ่งแล้วนำมาเปรียบเทียบกับตัวดู เมื่อเห็น ว่าตัวสู้ไม่ได้ก็จะชังคนนั้นขึ้นมาทันที ถ้าเปรียบแล้วคิดว่าสู้ตัวไม่ได้ก็จะเฉยๆ หรื อยอมรับได้ ถ้ายังไม่เปรียบก็ยังไม่ชังยังไม่เฉยก่อน สมุฏฐานหรือปัญหาเกิดจากตรงจุดนี้ ตรงที่นึกเปรียบแล้วตัวเองสู้เขา ไม่ได้นี่แหละ เพราะจิตใต้สำนึกมันบ่งว่าตัวต้องดีกว่าสำคัญกว่าทุกคน พอเห็น ใครดี กว่าสำคัญกว่าเลยไม่ยอมรับความดีของเขา นึกเข้าข้างตัวเองร่ำไป

อาการเกลียด รับไม่ได้ต่อความดีเด่นกว่าตัวลักษณะนี้แหละที่เรียก ว่ าริษยา รู้ได้อย่างไรว่าใครมีความริษยามีโรคมลทินใจอยู่

คนที่เมื่อได้ยินใครเขาพูดว่าคนนั้นดีคนนั้นเก่ง หรือเมื่อใครเขาแสดง ความชื่นชมยินดีต่อกัน ก็เกิดความรู้สึกหรือแสดงอาการออกมาทำนองว่า “รับไม่ได้” หรือ “ทนไม่ได้” นั่นแหละให้รู้เถิดเป็นคนมีโรคริษยาอยู่ หากจะ พูดอย่างไม่เกรงใจก็คือว่าอย่างเช่นการแสดงออกของ “คุณผู้ป่วยทางใจ” นั ่นแหละ

แต่ต้องขอชมเชยผู้ป่วยทางใจอย่างหนึ่งคือเมื่อรู้ตัวว่าตัวเองเป็น โรคนี้และก็บอกกันมาตรงๆ คือยอมรับละว่าตนเป็นอย่างนี้และถามปัญหาไป แสดงว่ารู้จักโรคตัวเองดี และพร้อมเสมอที่จะแก้ไข นับว่าเป็นคนดีคนหนึ่ง เที ยบได้กับคำพระที่ว่า


8

䢢ŒÍ¢ŒÍงã¨

“ผู้ใดเป็นคนไม่ดีแต่อวดตัวว่าเป็นคนดี ผู้นั้นจัดว่าเป็นคนไม่ดีแท้ ส่วนผู้ใดเป็นคนไม่ดี แต่รู้ตัวเองว่าไม่ดีอยู่ ผู้นั้นยังพอจะนับว่าเป็นคนดีได้ บ้ าง”

คราวนี้ก็มาพูดถึงวิธีแก้ความอิจฉาริษยากัน

(๑) ทำความเข้าใจข้อเท็จจริงที่ว่า ในโลกนี้มีคนเก่งคนดีมากมาย แต่ละคนต่างก็ดีก็เก่งพอกัน เป็นแต่ดีและเก่งกันคนละด้านคนละอย่าง แม้ ที่ว่าเก่งเหมือนกันดีเหมือนกันนั้นก็ยังมีความต่างกันอยู่ ตามพื้นความรู้ ตามฐานะ ตามอายุ ตามเพศ เป็นต้น เพราะฉะนั้น การที่คนเราต่างกันจึง เป็ นเรื่องธรรมดา (๒) ลดความยึดมั่น ความสำคัญตัวเองว่าเก่ง ดี เด่น ดัง ลงเสีย บ้าง ด้วยการยอมรับความจริงด้วยใจตัวเองว่าตัวเองนั้นก็มิได้เก่งไปกว่า เขาเลย หรือยอมรับความจริงว่าผู้ที่ได้รับยกย่องว่าเก่งว่าดีเด่นนั้น เขาดี เขาเก่ งกว่าตัวจริง คือยอมรับความจริงว่า “เหนือฟ้ายังมีฟ้า”

(๓) เมื่อลดความยึดถือว่าตัวเองเก่งแล้วต้องพยายามทำใจให้ยอมรับ ความเก่งของคนอื่นบ้าง ยอมรับความดีของคนอื่นบ้าง โดยมองในมุมกว้าง และรายละเอียดว่าเขาก็มีสิทธิที่จะเก่งและดี และสามารถสร้างความเก่งและดี จนให้ คนอื่นยอมรับได้ เมื่อคนอื่นๆ เขายอมรับได้ เราก็ควรยอมรับได้เช่นกัน

(๔) เมื่อเห็นใครดีกว่าตัวดังกว่าตัว พยายามฝืนใจไปร่วมแสดงความ ยินดีกับเขาบ้าง พยายาม “ทน” ให้ได้บ้าง บ่อยครั้งเข้าก็จะชินไปเอง เพราะ การไปแสดงความยิ นดีเมื่อคนอื่นเขาได้ดีนี้พระท่านว่าเป็น “มุทิตา”

มุทิตานี้แหละเป็นตัวยารักษาโรค “อิจฉาริษยา” ขนานแท้ดั้งเดิม ชนิ ดเป็น “ตำรับเดิม” ทีเดียว


พระธรรมกิตติวงศ์

สำหรับกรณีของคุณ พยายามทำใจให้เป็นปกติ เลิกคิดสิ่งที่ล่วงมา แล้วเสียเถอะ คนเรียนไม่เก่งนั้นจะมีเฉพาะคุณคนเดียวเมื่อไหร่ ในโลกนี้มี คนเรียนเก่งสักกี่คน พูดกันจริงๆ แล้ว แม้ผู้ตอบปัญหานี้เองก็ไม่มีโอกาส เรียนในชั้นเท่าคุณเลย เมื่อไม่เก่งทางเรียนก็ขวนขวายหาทางไปเก่งอย่างอื่น ก็ ได้ ชดเชยกันได้

แต่อย่าไปเก่งทางอิจฉาริษยาเข้าเท่านั้น

ที่คุณพ่อคุณแม่ปฏิบัติไปนั้น อย่าได้คิดว่ารักคุณน้อยกว่าพี่ชายเลย เห็นใจท่านบ้างเถิด นานทีจึงจะได้พบหน้าลูกชายท่านก็ย่อมชื่นใจเป็นธรรมดา ส่วนคุณอยู่กับท่านทุกวัน เห็นหน้าทุกวัน ท่านจะสนุกสนานกับคุณทุกวัน เรียกขานทานข้าวหรือเอาใจใส่คุณได้ทุกวันอย่างไรกัน เพราะเห็นหน้ากัน ทุ กวันอยู่แล้ว อะไรที่มันบ่อยๆ นี่ มันมักจะ “เซ็ง” คุณก็รู้อยู่ และอย่าได้คิดว่าพ่อแม่ไม่ห่วง ไม่รักหรือไม่เอาใจใส่ ลองคุณห่างอก ท่านไปเรียนกรุงเทพฯ บ้าง ท่านก็คงเอาใจใส่คุณเป็นพิเศษเหมือนกัน หรือ หากคุณหายไปจากบ้านไม่กลับบ้านสักคืนเดียวเท่านั้น ท่านทั้งสองเป็นออก ตามหาให้ ควั่กทีเดียวละ แต่อย่าไปทดลองนะ มันอันตราย

ค่อยละค่อยเลิกค่อยรักษาโรคนี้ไปเถอะ แม้จะยากเย็นอย่างไรก็คง ไม่ เหลือบ่ากว่าแรงคุณหรอก เพราะใจคุณพร้อมจะเลิกละอยู่แล้ว พูดมาแต่ต้นแล้วว่าบอกน่ะบอกไม่ยาก แต่เวลาทำมันยากและอาจ ยากมากเสียด้วย


10

䢢ŒÍ¢ŒÍงã¨

ถาม อยากทราบวิธีหาเรื่องคุยตลกๆ จะได้มีเพื่อนมากๆ ตอบ วิธีหาเรื่องคุยตลกๆ จะได้มีเพื่อนมากๆ นี่เป็นของหญ้าปากคอก ที่ว่าอย่างนี้เพราะผู้ที่จะพูดตลกๆ ได้ต้องเป็นคนไม่เงียบขรึม ไม่อิจฉาริษยา ผู ้อื่น คนเราลองเงียบขรึม นั่งซึม คิดแต่จะหลบหน้าคนอยู่ร่ำไปเหมือน กับเหม็นหน้ากันมาสักร้อยปีก็มิปาน จะเอาอารมณ์ขันที่ไหนมา และจะหา เพื ่อนที่ไหนได้

วิธีมีเพื่อนมากๆ นี่มิใช่แต่เฉพาะจะเกิดจากการคุยตลกๆ ท่าเดียว คนพูดตลกๆ บางทีก็ไม่ค่อยจะมีคนคบเหมือนกัน อย่างคนประเภท “ตลก บริ โภค” นั่นไง ไปตลกที่ไหนเป็นบ่อนแตกหรือไม่ก็ “หัวแตก” ที่นั่น

สิทธิการิยะ ท่านว่าไว้ว่าผู้ใดต้องการมีเพื่อนมากๆ ต้องทำดังนี้ - ต้องเป็นคนแจ่มใสร่าเริง ไม่เงียบขรึม - ต้องไม่เป็นคนขี้อิจฉาริษยาคน - ต้องหัดพูดหัดแสดงออกบ่อยๆ - ต้องรู้จักพูดเป็นและฟังเป็น - ต้องรู้จักแบ่งปัน ไม่ตระหนี่ - ต้องพูดเพราะๆ หวานๆ - ต้องไม่ตระหนี่แรง ต้องช่วยคนอื่นโดยไม่ต้องขอร้อง - ต้องรู้จักวางตัว ไว้ตัวดี มีมนุษยสัมพันธ์

ท่านผู้ใดปฏิบัติตามหลักดังนี้ได้จะมีเพื่อนฝูงมากหน้าหลายตา ถ้า เป็นคนหล่อคนสวยด้วยแล้วจะมีเสน่ห์ดึงดูดเพื่อนต่างเพศให้เข้ามาหาจน สั บหลีกไม่ไหวทีเดียว


พระธรรมกิตติวงศ์ 11

ประสิทธิและตำรานี้ไม่ใช่ตำราหลวงเพราะเขียนไปนึกไป แต่รับรอง โดยไม่ต้องประทับตราว่าถูกต้องทั้งหมด ส่วนตำราอื่นเป็นฉันใดนั้น โปรดไป ค้นแล้วคว้าเอาเองเทอญ วิธีใดทำให้ใจเข้มแข็งไม่อ่อนไหวง่าย บังคับใจตนได้ ถาม

ตอบ วิธีทำใจให้เข้มแข็ง ไม่อ่อนไหวง่าย บังคับใจตนเองได้นี่ก็ตอบ ง่ ายอีกเหมือนกัน ดูเหมือนว่าคุณตอบมาให้เสร็จแล้วนี่นา วิธีทำใจให้เข้มแข็งก็คืออย่าทำใจให้อ่อนไหว เมื่อใจไม่อ่อนไหว ใจก็เข้มแข็ง และการจะทำใจไม่ให้อ่อนไหวเพื่อให้เข้มแข็งก็ต้องบังคับใจ ตั วเองให้ได้ เรื่องของเรื่องก็มีเท่านี้

ตอบอย่างนี้อย่าเพิ่งนึกเปลี่ยนสัญชาติผู้ตอบไปเป็นชาติอื่น ที่เป็น เจ้าของอาหารที่ทานเข้าไปแล้วทำให้เกิดโรคประหลาดชนิดหนึ่ง ซึ่งกำลังมี ชื่อติดอันดับอยู่ในขณะนี้ ที่ตอบไปนั้นเป็นทฤษฎีที่ถูกต้องและเป็นจริงที่สุด ไม่ เชื่อลองถามใครๆ ดูก็ได้ ความอ่อนไหวของจิตใจ ซึ่งจะขอกล่าวเฉพาะของคนวัยรุ่นเช่นคุณ เท่านั้น เป็นลักษณะประจำตัวที่จะต้องเกิดขึ้นกับทุกคน ไม่มียกเว้น ต้อง ประสบมาด้ วยกันทั้งนั้น เป็นเรื่องธรรมดา

เมื่อเขามองมาก็อย่ามองตอบเขา คุณบอกว่าไม่เคยมองเขา แต่ คุณรู้ได้อย่างไรว่าเขามองคุณ แสดงว่าคุณก็สนใจมองเขาเหมือนกันใช่ไหม จึงได้รู้ว่าเขามองคุณ ความจริงอยากตอบว่าคุณเองนั่นแหละ “ชอบเขา เข้ าแล้วเป็นไร” ก็กลัวคุณจะอาย


12

䢢ŒÍ¢ŒÍงã¨

ความจริงคุณก็นับเป็นกุลสตรีได้ คือสามารถบังคับกายให้อยู่ในท่า ปกติได้ ขอให้บังคับได้ตลอดไปเถิด แต่ว่าใจน่ะบังคับยากก็ปล่อยมันไปบ้าง เถอะ มันเป็นธรรมชาติ ขออย่าให้มันมีอำนาจเหนือกายจนบังคับให้ตามใจ มั นก็แล้วกัน วิธีแก้ข้อนี้คือพูดคุยกับเขาหรือใครก็ได้แบบธรรมดา อย่าหลบตา อย่าหลีกเลี่ยงการพบปะโดยไม่จำเป็น หากเขาพูดมาทำนองเกี้ยวพาราสีก็ ทำเฉยๆ ไม่รู้ไม่ชี้เสีย อย่าต่อปากต่อคำหรือทำเป็นเหนียมอาย หรือควรพูด เรื่องอื่นไปเสีย ควรคิดไว้เสมอว่าทุกคนเป็นเพื่อนร่วมชั้นเพื่อนร่วมสถาบัน ฯลฯ

เพราะความคิดว่าเป็น “เพื่อนกัน” นี่แหละจะทำให้หายอ่อนไหว เห็นเป็นเรื่องธรรมดาๆ นานเข้าก็ชินไปเอง เหมือนการพูดคุยกับเพื่อนกัน จริ งๆ ตามปกติก็ไม่เห็นจะต้องอายหรือต้องหลบตากัน

แต่ขอบอกสักนิดเถอะว่า พยายามเรียนหนังสือเสียก่อน หรือเมื่อ เรียนจบแล้ว แต่ไม่อยากเรียนต่อ หรือเมื่อมีหลักฐานมีอาชีพเสียก่อนค่อย คิดถึง “เพื่อนร่วมชีวิต” หรือ “เพื่อนใจ” อย่างที่เขาพูดไว้เสมอว่า “อย่า ริ รักในวัยเรียน” นั่นแหละ เขาว่าถูกต้องแล้ว

ผู้ชายมีให้เลือกมากมายนัก จะเลือกเมื่อไรก็ได้ หากถึงเวลา

อยากจะส่งสุภาษิตสอนหญิงมาให้อ่านก็กลัวจะถูกหาว่าเชย สรุปข้อนี้ก็คือว่าบังคับกายได้น่ะดีแล้ว แต่ใจแม้จะบังคับไม่ได้ใน บางครั้ง ก็อย่าให้มันมีอำนาจชักนำกายไปตาม ก็เป็นดีถมไปแล้ว


พระธรรมกิตติวงศ์ 1

เหตุใดมีเพื่อนน้อย ถาม ตอบ สาเหตุที่มีเพื่อนน้อยก็ต้องย้อนไปอ่านข้อ ๓ ใหม่ แล้วคิดตรง ข้ ามว่าเพราะไม่มีหลักข้อนั้นๆ จึงมีเพื่อนน้อย

ตอบแค่นี้คงจะพอ

แถมข้อคิดสักนิดก็ได้ว่า “มีเพื่อนน้อยแต่เป็นเพื่อนดี ยังมีคุณกว่ามีเพื่อนมากแต่เป็นเพื่อน เลว” อยากทราบวิธีแก้การเบื่อเรียน ถาม

ตอบ วิธีแก้การเบื่อเรียนนั้นก็ไม่ยากที่จะบอก ของใครก็ของมันโดย เฉพาะ อย่างของคุณนี่ต้องแก้ที่ต้นเหตุ คุณเบื่อเรียนเพราะคุณไม่มีสมาธิ เรียน ทำไมไม่มีสมาธิ เพราะคุณชอบมองเพื่อน ทำไมจึงชอบมอง เพราะ คุณบังคับใจไม่ได้ ทำไมบังคับใจไม่ได้ เพราะใจไม่เข้มแข็ง ทำไมใจไม่เข้มแข็ง อ่อนไหวง่าย เพราะคุณเป็นคนเจ้าอารมณ์ ชอบสำคัญตัวเองว่าสวย ว่าเก่ง กว่าเขา และมีเพื่อนน้อย ทำให้ขาดประสบการณ์ในการคบเพื่อนชาย ปัญหา และคำตอบมั นออกมาเป็นพรวนอย่างนี้ วิธีแก้ก็คือแก้จากต้นเหตุให้ได้

และวิธีแก้นั้นก็กล่าวมาแล้วในข้อต้นๆ ค่อยๆ แก้ ค่อยๆ เลิกละ ไปเถิด ปัญหาทั้งหมดจะหลุดไปอย่างง่ายดาย ชนิดที่คุณเองก็คาดไม่ถึง เหมื อนกัน

สิทธิการิยะ ท่านว่าใครอยากเรียนเก่งต้องทำดังนี้ (๑) ต้องปลูกความรักให้เกิดในวิชาที่ตนเรียนทุกๆ วิชา อย่าลำเอียง คือต้องรักทุกวิชาที่เรียน


14

䢢ŒÍ¢ŒÍงã¨

(๒) ต้องพากเพียรตั้งใจเรียนในแต่ละวิชาที่ตนรักพอๆ กัน (ó) ต้องเอาใจใส่ไม่ทอดทิ้งในแต่ละวิชา หมั่นตรึกตราดูว่าตัวเองมี ความบกพร่ องในวิชาใดบ้าง แล้วรีบแก้ไข

(ô) ต้องรู้จักฟัง คิด ถาม จดบ่อยๆ ผู้ใดมีหลัก ๔ ประการนี้ ท่านว่าจะเรียนเก่งและจะสำเร็จผลทุกราย ประสิทธิแล ฯ ถาม ทำอย่างไรจึงจะพอใจในสิ่งที่มีอยู่ ตอบ การทำใจให้พอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่นั้นเห็นจะเป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ง่าย นัก เพราะตามปกติใจคนนั้น “ถมไม่เต็ม” อยู่แล้ว คือมักจะไม่พอใจในสิ่งที่ ตนมีอยู่ โดยมักคิดว่าของตนสู้ของคนอื่นไม่ได้เสมอ จึงไม่อิ่มไม่พอ อยากได้ สิ ่งที่คิดว่าตัวเองขาดแคลนเพื่อให้เหมือนคนอื่นหรือเหนือกว่าคนอื่นร่ำไป นี ่เอง

ที่โลกวุ่นวายอยู่จนทุกวันนี้ ก็เพราะคนคิดว่าของเขาดีกว่าของตัว

การทำความพอใจในสิ่งที่ตัวมีอยู่เป็นอยู่นั้น เริ่มต้นทีเดียวต้องทำใจ ให้พอเสียก่อน โดยหันมาคิดว่าของเราดีกว่าของเขา หรือของเราก็เหมือน ของเขา แต่อย่าเลยเถิดไปถึงเห็นว่าดีกว่าของเขา แล้วยกตนข่มท่านเข้าล่ะ จะเกิ ดปัญหาอื่นๆ อีก หรือไม่งั้นก็คิดถึง “หลักธรรมดา” ให้มากๆ หลักธรรมดาในที่นี้คือหลักความจริงของโลกที่ว่า คนเราเกิดมาย่อม ต่างกัน โดยเฉพาะรูปธรรมนามธรรมเราแข่งขันกันไม่ได้ ควรปล่อยไปตาม ธรรมชาติของมัน อย่าไปคำนึงว่านั่นคือ “ปมด้อย” ให้คิดว่าคนเตี้ยนั้นเป็น


พระธรรมกิตติวงศ์ 1

ลักษณะของคนเอเชียทั่วไป โดยเฉพาะผู้หญิงไทยไม่สูงใหญ่เหมือนคนยุโรป หรืออเมริกา ให้คิดว่ามิใช่แต่เราเท่านั้นที่เป็นอย่างนี้ คนอื่นที่สูงเท่าเราหรือ เตี้ยกว่าเรายังมีอีกมากมายนัก และคนอื่นที่สูงโย่งกว่าเรานั้น ลองไปถามเขา ดูบ้างเป็นอย่างไร เขาจะตอบเราได้ทันทีว่าความสูงของเขาก็เป็น “ปมด้อย” ของเขาเหมื อนกัน ในเมื่อเป็นเหมือนกัน จะไปคิดมันทำไม ไร้สาระรกสมองเปล่าๆ ที่ มีอยู่เป็นอยู่น่ะดีแล้ว อย่าขวนขวายดิ้นหาดีไปกว่านี้เลย ประเดี๋ยวดีจะแตก เสี ยก่อน

และความสำคัญตนว่าเป็นคนสำคัญอยู่เสมอนั้นแหละเป็นอันตราย เป็นศัตรู เป็นสิ่งที่ควรเชิญออกไปจากใจเราได้แล้ว เพราะนั่นมันเป็นบ่อเกิด แห่งความไม่มั่นใจในเวลาแสดงออก คือเวลาจะทำจะพูดอะไรต่อหน้าคนอื่น หรือในหมู่คนทีไรจึงมักจะมีความตั้งใจจนเกินไป หัวใจเต้นแรง เลือดฉีดแรง ทำให้ใจสั่น ตัวสั่น เหงื่อไหล ก็เพราะกลัวว่าจะทำไม่ได้ดีเท่ากับความสำคัญ ของตัว หรือจะทำให้ตัวด้อยความสำคัญลง หากแสดงออกไม่ดีเท่าที่ตั้งใจ นั ่นเอง จุดใหญ่ทั้งหมดของปัญหาของคุณก็คือสำคัญตัวผิดนั่นเอง ตัดข้อนี้ ได้ เสียอย่างเดียวก็สบายไปหนึ่งร้อยกับอีกแปดอย่างเชียว ฉบับนี้รู้สึกว่าจะตอบปัญหาห่างตำรามากไปหน่อย แต่ก็คงต้องจะ “ไขข้ อข้องใจ” ได้บ้างกระมัง

“ข้าว” แม้มันจะงอกอยู่ “นอกนา” มันก็ยังเป็นข้าวอยู่ดี และก็ คงจะมีรวงดีๆ ให้เก็บเกี่ยวไปกินได้บ้างหรอกน่า. พระศรีวิสุทธิวงศ์ (ทองดี ป.ธ.๙)



䢢ŒÍ¢ŒÍง㨠จาก “มงคลสาร” เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๒๐

กราบเรียน พระมหาทองดี สุรเตโช กระผมเป็นนักศึกษา มีความรู้ความเข้าใจทางศาสนาน้อยมาก จึง ใคร่ ที่จะกราบเรียนถามพระคุณเจ้าสัก ๓ ข้อดังนี้

(๑) ประโยชน์ของการให้ทานมีอย่างไร

(๒) ประโยชน์ของการรักษาศีลมีอย่างไร (๓) ประโยชน์ของการเจริญภาวนามีอย่างไร หวังว่าพระคุณเจ้าคงให้ความกระจ่างแก่ผมบ้างพอสมควร นมัสการด้วยความเคารพ ส. คณะตรีวิทยากรณ์


18

䢢ŒÍ¢ŒÍงã¨

ตอบ

คุณ ส. ปัญหาทั้ง ๓ ข้อนี้ แม้จะเป็นเพียงคำถามสั้นๆ แต่กินความและ อมความไว้กว้างขวางทีเดียว อาจจะกล่าวว่าเป็นปัญหาครอบจักรวาลก็ว่าได้ เพราะเท่ากับถามว่าทำบุญในพระพุทธศาสนานั้น ได้ประโยชน์อย่างไรบ้าง นั่นเอง ทั้งนี้เป็นเพราะว่าหลักการใหญ่ๆ ในการทำความดี หรือที่เรียกว่า ทำบุญในพระพุทธศาสนาก็มีอยู่เพียง ๓ หลักเท่านั้น และใน ๓ หลักก็ แบ่งแยกแตกออกเป็นแขนงๆ ไปอีกต่อหนึ่ง ดังนั้น คิดว่าหากจะตอบอย่าง กว้างขวางแบบครอบจักรวาลดังกล่าวก็จะเป็นการเยิ่นเย้อไป จึงตอบเพียง ตามตำราในพระพุทธศาสนา โดยจะสอดแทรกความคิดเห็นหรือคำอธิบายไว้ บ้ างตามสมควร เรียกว่าครั้งนี้ขอโดยสารตำราเอาตัวรอดสักครั้งคงมิเป็นไร ประโยชน์ของการให้ทานมีอย่างไร ถาม ตอบ การให้ทาน ถ้าจะแยกแล้วเป็น ๓ อย่างคือ (๑) อามิสทาน ให้วัตถุสิ่งของ (๒) ธรรมทาน ให้ความรู้ ให้ปัญญา (๓) อภัยทาน ให้อภัย สละกิเลส ในที่นี้คิดว่าคงจะถามมุ่งไปที่การให้ประการแรกมากกว่า ว่าให้แล้ว จะได้ ประโยชน์หรือได้อานิสงส์อย่างไร ข้อนี้ในมงคลสูตร ท่านบ่งชัดไว้เลยว่า ในบรรดามงคลชีวิต ๓๘ ประการตามหลั กศาสนาพุทธนั้น การให้ทานจัดเป็นมงคลชีวิตประการหนึ่ง คือในพระพุทธศาสนาท่านสอนว่า คนเราจะได้ดี จะมีความสุขความ เจริญ มีความก้าวหน้าหรือมั่งมีศรีสุข ที่สำนวนใหม่เขาว่า “อยู่ดีกินดี” ได้


พระธรรมกิตติวงศ์ 1

ก็ต้องอาศัยการทำด้วยตัวเอง ตัวเองต้องประพฤติปฏิบัติดี ทำถูก เป็นสุจริต ทั้งทางกาย วาจา และใจ มิใช่เกิดจากเทวดาฟ้าดินหรือดวงดาวบันดาลอย่าง ที ่ชาวโลกทั่วไปเชื่อและถือกัน และตามปกติธรรมดาทุกคนต้องการมงคลชีวิตด้วยกันทั้งนั้น ทั้ง ชาววั ดชาวบ้าน คำว่า “มงคล” หมายถึง เหตุที่ทำให้เกิดความสุข ความเจริญ ดังกล่าวนั่นแหละ และมงคลนั้นเกิดจากตัวเอง ไม่ใช่เกิดจากคนอื่น ดังนั้น มงคล ๓๘ ข้อในพระพุทธศาสนาจึงเน้นหนักในเรื่องการทำด้วยตัวเองโดย ให้พึ่งตัวเองก่อนอื่น และให้ผลแก่ทุกคนเท่าเทียมกันหมด มิได้เลือกที่รัก ผลักที่ชังว่าต้องเป็นคนไทย ต้องเป็นชาวพุทธ หรือเป็นคนชั้นสูงชั้นต่ำ อะไร ทำนองนี ้ “มงคล” เป็นสัจธรรม คือเป็นธรรมชาติธรรมดาที่มีจริง เป็นจริง ทุกยุคทุกสมัย ให้ผลแก่ผู้ปฏิบัติได้ตามหลักและถูกหลักทุกคน โดยไม่เลือก ชั้นวรรณะหรือเพศวัยใดๆ ผู้ปฏิบัติจะเป็นคนชาติไหน ภาษาไหน เพศไหน หรือศาสนาไหนก็ตาม หากปฏิบัติตัวประพฤติตนเข้าหลักเข้าเกณฑ์มงคลแล้ว เป็นได้ผลทัดเทียมกันหมด โดยผู้นั้นจะรู้จักมงคล จะเคยได้ยินมงคลหรือเคย เรี ยนรู้มงคลมาก่อนหรือไม่ก็ตาม ตรงกันข้าม แม้ผู้นั้นจะเรียนรู้มงคลอย่างละเอียดลึกซึ้ง ท่องจำได้ คล่อง และสามารถบอกสามารถสอนเรื่องมงคลแก่คนอื่นได้ แต่ไม่เคย ทำตามหลั กนั้นเลย มงคลก็จะไม่มีและไม่ให้ผลแก่ผู้นั้น เปรียบเทียบให้เห็นง่ายๆ เหมือนอาหารมีประโยชน์ต่อร่างกาย ทำให้ ร่างกายเจริญเติบโต ให้ความอบอุ่น ให้กำลังกายกำลังสมอง และให้ผิวพรรณ พระท่านว่าอาหารให้อายุ วรรณะ สุขะ พละ และปฏิภาณ แต่อาหารนั้น


20

䢢ŒÍ¢ŒÍงã¨

จะให้ประโยชน์ก็แต่ผู้รับประทานลงไปเท่านั้น และคนที่รับประทานจะรู้จักว่า เป็นอาหารชื่อนั้นชื่อนี้ จะรู้จักวิธีปรุงหรือไม่ จะมีพิธีรีตองในการรับประทาน อย่างไร และจะเป็นคนชาติไหนภาษาใดรับประทานก็ตาม หากผู้นั้นสามารถ กลื นอาหารนั้นลงท้องได้แล้ว เป็นได้รับประโยชน์จากอาหารนั้นพอๆ กัน

ตรงกันข้าม แม่ครัวหรือพ่อครัวผู้ฉลาดปรุงอาหารได้สารพัดชนิด รู้จักอาหารสารพัดอย่าง ชนิดที่นอนกอดตำราอาหารหรือมีตำราอยู่ในสมอง นั่นเทียว หากตัวเองไม่รับประทานเองแล้ว ก็ไม่อาจได้ประโยชน์จากอาหาร นั ้นๆ เลย

รู้จักแต่ปรุงให้คนอื่น อย่างดีก็ได้แค่ความอิ่มอกอิ่มใจเท่านั้น

แต่ความอิ่มอกอิ่มใจนั้นจะเลี้ยงชีวิตเลี้ยงตัวไปได้สักกี่มื้อกัน หาก ไม่ รับประทานเข้าไปบ้าง พ่อครัวแม่ครัวก็ตายเป็นเหมือนกันแหละน่า

ที่พูดมาเสียยืดยาวเช่นนี้ก็เพื่อปูพื้นคำตอบต่อไป เพราะว่าหากต่อไป พู ดถึงคำว่า “มงคล” อีกก็จะเข้าใจได้แจ่มแจ้งดี การให้ทานพระท่านว่าเป็นมงคล เป็นเหตุแห่งความสุขความเจริญ ด้วยประการทั้งปวง หากจะพูดในมุมกลับก็ว่าความตระหนี่หวงแหน ความ ใจแคบเป็ นบ่อเกิดแห่งความเสื่อมด้วยประการทั้งปวงนั่นแล

พูดแค่นี้อาจไม่ชัด จึงขอยกตำรามาอ้างไว้เป็นหลักฐานเพื่อความมั่นใจ ของผู้ปฏิบัติ และเพื่อให้เป็นข้อคิดแนวทาง แล้วหาทางพิสูจน์ต่อไปว่าเป็น อย่างนั้นจริงหรือไม่ คือพระพุทธเจ้าท่านทรงแสดงอานิสงส์ของการให้ทานไว้ แก่เสนาบดีคนหนึ่งชื่อว่าสีหะ ตามที่ปรากฏอยู่ในปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย ซึ ่งพอสรุปเนื้อความในพระดำรัสนั้นได้ว่า


พระธรรมกิตติวงศ์ 21

ทายกและทานบดี คือผู้ถวายทาน ผู้เป็นเจ้าของทาน ให้ทานด้วย ความกล้าหาญ ตัดความตระหนี่ออกเสียแล้ว และเป็นนายเป็นเจ้าของทานเอง คือยกทานขึ้นเหนือตัว ให้แบบยกย่องทาน เต็มใจให้ ไม่ใช่ให้แบบให้ทาสหรือ ให้ เพื่อน ย่อมได้อานิสงส์ ๕ ประการ คือ (๑) ชนสฺส ปิโย โหติ มนาโป ย่อมเป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของคน คือผู้ที่ชอบให้ชอบสงเคราะห์ถือว่าเป็นคนใจกว้าง เป็นคนไม่คับแคบ เอาใจ บริ ษัทบริวารดี จึงเป็นที่รักเป็นที่นับถือเกรงใจของบริษัทบริวารเหล่านั้น (๒) สนฺโต สปฺปุริสา ภชนฺติ สัตบุรุษผู้สงบย่อมคบหาด้วย คือย่อม จะได้ เพื่อนที่ดี คนดีจะสมัครมาเป็นเพื่อนมากหน้า ไปที่ไหนจะมีแต่คนรับรอง (๓) กลฺยาโณ กิตฺติสทฺโท อพฺภุคฺคจฺฉติ ชื่อเสียงดีย่อมขจรขจายไป คือผู้ชอบให้เช่นนั้นจะมีแต่คนกล่าวขานถึง นำไปเป็นแบบอย่าง อย่างเช่น นางวิสาขาและอนาถบิณฑิกเศรษฐี แม้ทั้งสองท่านจะสิ้นชีวิตไปแล้วกว่า สองพั นปี ผู้คนโดยเฉพาะชาวพุทธทั่วโลกก็ยังรู้จักท่านดี (๔) วิสารโท อุปสงฺกมติ อมงฺกุภูโต จะเข้าไปที่ไหนก็อาจหาญ ไม่เคอะเขินเข้าไป คือผู้ชอบให้จะไปในสถานที่ใด ในชุมชนใดก็เข้าไหนเข้าได้ ไม่มีใครรังเกียจ จะเข้าหาพระ เข้าหาเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน หรือชุมชนใหญ่โต แค่ไหน ย่อมได้รับการต้อนรับด้วยความยินดี และมีคนเป็นกำลังใจให้ ข้อนี้ สืบเนื่องจากมีพวกพ้องและคนรู้จักมากนั่นเอง ดูตัวอย่างได้จากผู้ที่เข้าเฝ้า ในหลวงเพื่อบริจาคทรัพย์โดยเสด็จพระราชกุศลอย่างใกล้ชิด ต่อหน้าคนนับ ร้ อยนับพัน ก็กล้าเข้าเฝ้า สี่ข้อนี้เป็นผลที่จะพึงได้รับในปัจจุบัน (๕) สุคตึ สคฺคํ โลกํ อุปปชฺชติ เมื่อแตกกายวายชนม์ไปแล้วย่อม เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ คือไปเสวยสุขในสถานที่ดีตลอดไป


22

䢢ŒÍ¢ŒÍงã¨

เท่านี้ก็คงพอจะโน้มน้าวจิตใจ ให้เห็นคุณค่าของการให้การเสียสละ ได้บ้างกระมัง แต่อย่าเพิ่งเชื่อด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ผู้มีปัญญาควรทดลอง พิสูจน์ พิจารณาให้เห็นถ่องแท้เสียก่อนค่อยเชื่อดีกว่า จึงจะตรงกับหลักการ ในพระพุทธศาสนาที่มิให้เชื่ออะไรง่ายๆ เมื่อพิสูจน์แล้วโปรดทำทานให้ถูกหลัก ถูกวิธีเถิด แล้วมงคลและอานิสงส์ ๕ ประการนี้จะทยอยให้ผลแก่ท่านตาม ลำดับๆ ถาม ประโยชน์ของการรักษาศีลมีอย่างไร

ตอบ ศีล คือคุณธรรมอย่างหนึ่งซึ่งมีไว้สำหรับปรับปรุงกิริยามารยาท ทางกายและวาจาให้อยู่ในกรอบในระเบียบอันดีงาม ซึ่งทำให้เกิดความ เรียบร้อยสวยงามในสังคม ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “วินัย” เป็นคุณธรรม ที่ปรุงแต่งกิริยาทางกายและวาจาของคนเราให้งดงามละเมียดละไมขึ้น ยก ระดับมารยาทการแสดงออกให้เรียบร้อยขึ้น ให้มองดูเป็นสง่า ให้มีเสน่ห์ ดู น่ารักขึ้น

คือทำให้คนเรามีความความสะอาดทางกายและวาจานั่นเอง

ศีลนี้เป็นเครื่องประดับชนิดหนึ่งที่ประดับได้ทุกชั้นวรรณะและวัยโดย ไม่เลือก ประดับแล้วทำให้งามทางมารยาททางกิริยา ทั้งท่วงทีความประพฤติ ทางกายก็งามไม่มีที่ติ ทั้งท่วงท่าวาจาที่พูดออกมาก็ไพเราะไม่มีที่ติ ดีกว่า เครื่องประดับเรือนหมื่นเรือนแสนซึ่งทำให้งามได้เพียงผิวเผิน คืองามเพราะ อาภรณ์อย่างเดียว หากไม่มีศีลประดับอีกชั้นหนึ่งแล้วจะงามไหวหรือ เหมือน คนที่แต่งตัวอย่างกับจะไปงานวังอันทรงเกียรติ แต่ไปยืนร้องด่าท้าทายกรีดนิ้ว ชี้หน้าคนกลางถนนหนทาง เราจะมองดูผู้นั้นว่าเป็น “คนงาม” ได้ลงเชียว หรื อ


พระธรรมกิตติวงศ์ 2

นัยตรงกันข้าม ผู้ขาดอาภรณ์อันงามประดับกายภายนอก แต่กิริยา มารยาทเป็นระเบียบเรียบร้อย จะพูดจาก็มีหลักฐาน จะวางท่าเยื้องกรายก็ เป็นระเบียบ หรือแม้ว่าจะมีรูปร่างไม่สวยไม่หล่อนัก ก็จัดว่าเป็นคนงามได้ และย่ อมงามได้ทนนานกว่างามอาภรณ์เป็นไหนๆ สำหรับคนที่สวยอยู่แล้ว หากมาประดับด้วยอาภรณ์อันทรงค่า ซ้ำยัง มีศีลเป็นเครื่องประดับอีกชั้นหนึ่ง ผู้นั้นจะงามเพียงใด ลองนึกวาดภาพดูเอา เองเถิ ด เขียนมาถึงตรงนี้เกิดนึกถึงคำกลอนบทหนึ่งได้ ก็เลยลงให้ดูไว้เป็น เครื ่องประเทืองอารมณ์ อันอาภรณ์ จะใช้ ได้งามเหมาะ ก็จำเพาะ ถูกเวลา อายุขัย แต่ศีลช่วย ปรับปลุก งามทุกวัย ไม่ว่าใคร ได้ประดับ รับรองงาม ฯ ที่ว่ามานี้ก็เป็นประโยชน์ของศีลประการหนึ่งเหมือนกัน คือผู้รักษาศีล แล้วย่อมได้รับผลตอบแทนคือความงามทางกายวาจา มีความสะอาดทางกาย วาจาเป็นเครื่องปรากฏ หมายความว่าผู้มีศีลแล้วจะมีพฤติกรรมทางกายทาง วาจาดี ไม่ก่อความเดือดร้อนให้แก่ตนและผู้อื่นในที่ทุกสถานในกาลทุกเมื่อ ประโยชน์ของการรักษาศีลอีกประการหนึ่งคือ มีความไม่เดือดร้อนใจ เป็นประโยชน์ (จากติกนิบาต อังคุตตรนิกาย) หมายความว่า ผู้รักษาศีล บริสุทธิ์นั้นอยู่ที่ไหนย่อมอยู่ได้สะดวกใจ ไม่ต้องเดือดร้อนใจ เป็นทุกข์กังวลใจ ถึงความชั่วผิดอะไรเพราะไม่ได้ทำไว้ ส่วนคนที่มีความหลังไม่ดี คนที่เคยทำชั่ว ทำผิดมานั้น หากอยู่ว่างเมื่อไหร่ก็มักจะคิดถึงความหลังเรื่องหลัง คิดขึ้นมา คราใด ใจจะไม่สงบทุกครั้ง ถ้าเป็นความชั่วความผิดใหญ่ๆ ก็อาจถึงกับสะดุ้ง


24

䢢ŒÍ¢ŒÍงã¨

หวาดเสียวใจทุกครั้ง หรือหากมีใครมาพูดให้ได้ยินเข้า กายอาจพลอยสะดุ้ง ไปด้ วยก็ได้ นี่เป็นผลของการละเมิดศีล ส่วนผู้มีศีลบริสุทธิ์จะไม่เดือดร้อนใจอย่างนั้นเลย อยู่ที่ไหนอยู่ได้ ไม่ ต้องหวาดระแวงศัตรูจะมาร้าย ไปไหนไปได้โดยสะดวกใจ ไม่ตอ้ งหลบไม่ต้อง ซ่ อน เรียกว่าสะดวกใจทุกอย่าง

นี่ก็เป็นประโยชน์ของการรักษาศีลประการหนึ่ง

อีกนัยหนึ่ง ท่านแสดงอานิสงส์แห่งการรักษาศีลบริสุทธิ์ไว้ในคัมภีร์ ทางพระพุทธศาสนาว่า ผู้มีศีลสมบูรณ์ย่อมได้รับอานิสงส์ใหญ่ ๕ ประการ คือ (๑) มหนฺตํ โภคกฺขนฺธํ อธิคจฺฉติ ย่อมประสบกองโภคะใหญ่อันมี ความไม่ประมาทเป็นเหตุ คือผู้มีศีลนั้นมักจะไม่เป็นผู้ประมาท ไม่เกียจคร้าน งอมืองอเท้า ประกอบอาชีพอะไรก็เป็นอาชีพที่สุจริต และไม่ต้องหลบซ่อน ทำงาน ทำไปตามปกติธรรมดาด้วยความขยันขันแข็งตามหลักธรรม เมื่อเป็น เช่นนี้ ทรัพย์สมบัติต่างๆ ก็จะมากมูล และทรัพย์ที่หามาได้ก็ไม่ร้อน เมื่อไม่ ร้อนก็อยู่ได้นาน เพราะคนมีศีลเป็นคนเย็น เมื่อทรัพย์สินเย็นมาอยู่กับคนเย็น ทรัพย์ก็อยู่ได้นาน ตรงกันข้าม หากทรัพย์ร้อนมาอยู่กับคนร้อนมักจะก่อความ ร้อนให้แก่ตนเองและลุกลามไปถึงคนอื่นมากมาย ขนาดที่เรียกว่าร้อนจนเดือด นั ่นเทียว

(๒) กลฺยาโณ กิตฺติสทฺโท อพฺภุคฺคจฺฉติ ชื่อเสียงดีย่อมขจรขจายไป คือกลิ่นความดี กลิ่นชื่อเสียงอันเกิดจากความมีศีลจะฟุ้งขจรไปทั้งทวนลม และตามลม เพราะอาศัย “ลมพิเศษ” คือ “ลมปากคน” ช่วยพัดพาไป จึง ไปได้ทั้งทวนลมและตามลม ผิดกับกลิ่นหอมอื่นๆ ซึ่งจะฟุ้งไปได้ก็แต่ตามลม เท่านั้น


พระธรรมกิตติวงศ์ 2

(๓) วิสารโท อุปสงฺกมติ อมงฺกุภูโต จะเข้าไปที่ไหนก็อาจหาญ ไม่เคอะเขินเข้าไป เพราะความเป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่มีเรื่องผิดที่ต้องคอยระวัง กลั วเขาจะจับผิด จึงสามารถเข้าไปในที่ที่คนทั่วไปเข้าไปได้อย่างสง่าผ่าเผย (๔) อสมฺมุฬฺโห กาลํ กโรติ เป็นผู้ไม่หลงทำกาละ คือเวลาใกล้สิ้น ลมหายใจก็ เป็นผู้มีสติ ไม่หลง รู้ตัวดีอยู่เสมอ และสิ้นลมไปอย่างสงบ

(๕) สุคตึ สคฺคํ โลกํ อุปปชฺชติ เมื่อแตกกายวายชนม์ไปแล้วย่อม เข้ าถึงสุคติโลกสวรรค์ ทั้ง ๕ ข้อนี้ เป็นอานิสงส์เป็นประโยชน์ของการรักษาศีลบริสุทธิ์ หมดจดดี นอกจากนั้นผู้รักษาศีลย่อมเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ และเป็นที่นับถือ ของบุ คคลทั่วไปด้วย ไปที่ไหนๆ ย่อมมีพวกพ้องบริวาร มีคนยำเกรงในที่นั้นๆ

แม้ว่าจะขาดสมบัติภายนอกคือโภคะ แต่คนมีศีลก็มีสุขได้และเป็นสุข อันประเสริฐหาได้ยากคือสุขใจ ซึ่งสุขชนิดนี้แม้มหาเศรษฐีอันดับหนึ่งของโลก ก็ อาจจะไม่เคยพบหรือไม่เคยได้ลิ้มรสเลยตลอดชีวิตของเขาก็ได้

เพราะสุขชนิดนี้ซื้อหากันด้วยเงินตราแม้สูงสุดเท่าไหร่ไม่ได้เลย ประโยชน์ของการเจริญภาวนามีอย่างไร ถาม ตอบ ภาวนา หมายถึง การอบรมจิตใจ หรือหมายคุณธรรมซึ่งมีไว้ สำหรับปรับปรุงจิตใจให้สูงขึ้น ให้มีสมรรถนะความสามารถขึ้น โดยเป็นจิต ที ่สงบระงับแล้วและห่างไกลจากมลทินใจคือกิเลสด้วยประการทั้งปวง

ภาวนานั้นมี ๒ ประการ คือ

สมถภาวนา ภาวนาเพื่อความสงบใจ มีความสงบใจเป็นอานิสงส์


26

䢢ŒÍ¢ŒÍงã¨

วิปัสสนาภาวนา ภาวนาเพื่อปัญญา มีความเห็นแจ้งแทงตลอด สั จธรรมเป็นอานิสงส์

แต่ทั้งสองประการนี้ไม่ขัดกันไม่แย้งกัน อาจสามารถปฏิบัติร่วมกัน ได้โดยทำต่อเนื่องกันไป คือสมถภาวนาเป็นเรื่องของการบริกรรม ยึดสิ่งใด สิ่งหนึ่งเป็นอารมณ์คือเป็นแนวทางเพื่อให้ดำเนินไปสู่ความสงบใจ เช่น ยึดสี ซากศพ พระพุทธรูป เป็นต้นเป็นอารมณ์ โดยเพ่งแต่สิ่งนั้นแล้วทำให้ใจสงบ ได้

ส่วนวิปัสสนาภาวนาเป็นเรื่องของทัศนะทางใจ เป็นเรื่องการใช้ปัญญา พิจารณาสภาวธรรมคือทุกสิ่งทุกอย่างตามสภาพธรรมดาตามความเป็นจริง และให้เห็นลักษณะประจำของสิ่งนั้นๆ (สามัญลักษณะ) ภาวนาขั้นนี้เป็นทาง ตรงเพื ่อแทงตลอดสัจจะ ทำให้หมดรักหมดหลง หมดกังวลในตัวเองได้สิ้นเชิง ด้วยเหตุนี้ จึงพอสรุปได้ว่าประโยชน์ของภาวนานั้นมีมากนับประมาณ มิได้ เพราะภาวนาแบบใหญ่ๆ มี ๒ แบบ แต่ละแบบยังแยกออกไปอีกตาม ลักษณะของอารมณ์คือสิ่งที่นำมาเป็นแนวทางให้จิตยึดเพื่อก้าวไปสู่ความสงบ หรือปัญญา ดังนั้น ประโยชน์ก็เกิดขึ้นเฉพาะอย่างๆ ไป เช่น คนบำเพ็ญ เมตตาภาวนาเป็นประจำย่อมได้ประโยชน์ ๑๑ อย่าง คือ หลับก็เป็นสุข ตื ่นก็เป็นสุข เป็นที่รักของคนทั่วไป ผิวพรรณผ่องใส เป็นต้น

แต่หากจะรวบยอดกล่าวถึงประโยชน์ภาวนาก็ได้ว่า ทำให้ใจสงบระงับ จากกิเลสที่นอนอยู่ในจิต สามารถบังคับกิเลสต่างๆ เช่น โลภ โกรธ หลง ความเห็นแก่ตัว ความมัวเมา ความเย่อหยิ่งจองหอง รวมทั้งความเห็นผิด ต่างๆ ออกไปจากใจ ทำให้ใจหมดจดสะอาดได้ เมื่อใจสะอาดแล้ว ใจก็สงบ เมื่อใจสงบปัญญาก็เกิด เมื่อปัญญาเกิด ความสว่างในใจก็เกิดขึ้น เมื่อความ


พระธรรมกิตติวงศ์ 2

สว่างเกิดขึ้นย่อมมองเห็นทางผิดทางถูก ทางควรไปไม่ควรไป และทำให้เห็น สั จธรรมที่แท้จริงได้

เมื่อใจสะอาด สงบ และสว่างอย่างนั้นแล้วย่อมส่งผลมาถึงพฤติกรรม ทางกายวาจาด้วย คือการกระทำทางกายของผู้นั้นก็สะอาดสงบ วาจาของ ผู ้นั้นที่เปล่งออกมาก็สะอาดน่าฟัง สงบเยือกเย็น นำมาแต่ประโยชน์เกื้อกูล

เราจะสังเกตเห็นได้ว่าผู้ฝึกถึงขั้นหรือเพิ่งเริ่มต้นก็ตาม จะมีความ เยือกเย็นประณีตขึ้น พูดจาเป็นหลักเป็นฐานน่าเชื่อถือขึ้น จะทำอะไรก็เป็น ประโยชน์แก่ปวงชนเป็นพื้น ไม่สะสมสมบัติเพื่อตนเอง ไม่ก่อเวรจองภัยกับ ใครๆ เป็นผู้ให้มากกว่าเป็นผู้รับ ท้ายสุดผิวพรรณจะผ่องใสขึ้น หน้าตา จะแจ่มใส นัยน์ตาจะมีแววอ่อนโยนลึกซึ้ง ทั้งร่างกายจะงดงามเอิบอิ่มขึ้น

ทั้งหมดนี้ย่อมได้จากการเจริญภาวนาเป็นพื้นฐาน เมื่อผู้นั้นๆ ไม่ละทิ้งความเพียรเสีย หมั่นอบรมใจด้วยภาวนาทั้งสอง เป็นลำดับๆ ไป ย่อมเข้าใกล้พระนิพพาน คือดับกิเลสได้สนิทเข้าไปทุกทีๆ ในระหว่างทางที่จะถึงสำนักพระนิพพานนั้น ย่อมจะผ่านมรรคและผลขั้นต่ำ ไปตามลำดั บๆ ได้ รวมความแล้วประโยชน์ของทาน ศีล ภาวนานี้ ย่อมสูงขึ้นไปตาม ลำดั บ ประณีตขึ้นไปทีละขั้น คือ ทาน เป็นเครื่องกำจัดกิเลสชนิดหยาบซึ่งอยู่ภายนอก เห็นได้ง่าย คือความเห็นแก่ตัว ความตระหนี่ ความโลภ เป็นต้น ทำให้เป็นคนใจกว้าง เป็นนักเสียสละ ไม่เห็นแก่ตัว ทำให้สังคมอยู่กันด้วยความรักกันฉันพี่น้อง รู ้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน


28

䢢ŒÍ¢ŒÍงã¨

ศีล เป็นเครื่องกำจัดกิเลสชนิดกลางคือโทสะ ซึ่งเป็นกิเลสไม่หยาบ นัก ไม่ละเอียดนัก มองเห็นได้ในบางขณะในบางโอกาส กิเลสตระกูลโทสะนี้ ได้แก่พวกผูกเวรกัน พยาบาทปองร้ายกัน ทำให้มนุษย์ดุร้ายหมายห้ำหั่นกัน ท่าเดียว ชนิดที่มีความคิดเต้นเร่าอยู่ในใจว่า “ตายเสียได้ข้างหนึ่งจึงจะดี” นั่นแหละ หากกำจัดได้ด้วยศีลแล้วจะทำให้อยู่ด้วยกันด้วยมีเมตตารักใคร่กัน เป็นอันดี รู้จักให้อภัยกัน ไม่ทำร้ายไม่พยาบาทจองเวรกัน มีกิริยามารยาท ทางกายเรียบร้อย สงบเสงี่ยม มีคำพูดอันเย็นสนิท ไม่กระโชกโฮกฮากไป ตามอารมณ์ โกรธซึ่งเป็นอารมณ์ร้อน เป็นต้น ภาวนา เป็นเครื่องกำจัดกิเลสอย่างละเอียด ที่จัดเป็นขั้นละเอียด เพราะว่าอยู่ข้างในมองไม่เห็น แต่แสดงออกมาทีละน้อยๆ แบบละเอียด นานๆ เกิดที แต่เกิดแล้วมีฤทธิ์รุนแรง แก้ไขได้ยาก ปล่อยวางหรือละทิ้งได้ ยาก กิเลสชนิดนี้คือกิเลสตระกูลโมหะนั่นเอง เมื่อมันเกิดขึ้นจะทำให้คน “ใจ บอด” ทันที คือมองอะไรผิดพลาดไปหมดจากความเป็นจริงจากหลักธรรมดา ชนิดที่เรียกว่าหน้ามือเป็นหลังมือทีเดียว มองเห็นดีเป็นชั่ว มองเห็นกงจักร เป็นดอกบัว มองเห็นทางวิบัติเป็นทางสมบัติ มองเห็นโลกในแง่ร้าย มองเห็น โลกในแง่อยุติธรรมกับตัวเองเสมอ ร้ายที่สุดก็เห็นว่าที่ทำดีก็เท่านั้น ทำชั่ว ก็เท่านั้น ไม่ต่างกันเลย ว่าแล้วก็สรุปความเห็นของตัวเองถูกต้องหมด ของ คนอื่นผิดหมด แล้วก็จมดิ่งอยู่กับความคิดนั้น เดินตามทางความคิดนั้น ตลอดไปเรื่อยๆ ซึ่งเจ้าความคิดนี้นั่นแหละที่เขาเหล่านั้นถือว่าเป็น “อุดมคติ” อั นสูงส่ง แต่ในทางศาสนาถือว่าเป็น “มิจฉาทิฐิ” ที่ถือเช่นนี้เพราะมีรากฐานมาจากโมหะซึ่งปราศจากปัญญาอันแท้จริง เพราะไปยึดหลักธรรมชาติของโลกผิดธรรมดาสามัญทั่วไป ดังนั้น เมื่อกำจัด


พระธรรมกิตติวงศ์ 2

มันเสียได้เมื่อไร ปัญญาจะเกิดขึ้น ใจก็จะสว่างขึ้น ไม่บอดต่อไป ผู้กำจัด กิเลสตระกูลนี้ออกไปแล้ว จะทำอะไรก็ทำด้วยสมอง คิดด้วยปัญญา มีเหตุ มี ผล และเป็นเหตุผลที่เป็นธรรม ไม่ผิดระเบียบ ไม่ผิดกฎ

พูดมาถึงตรงนี้ อยากจะฝากเป็นข้อสังเกตไว้สักนิดหนึ่งว่า ผู้เป็น มิจฉาทิฐินั้น โดยมากเป็นผู้มีปัญญา เป็นชนชั้นมันสมอง ที่เรียกกันว่า “ปัญญาชน” ทั้งนั้น เพราะสามารถคิดเป็นเห็นเป็น เป็นแต่ความคิดเห็นของ เขาไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงที่เรียกว่าคิดผิดเห็นผิด แต่ยึดมั่นถือมั่นว่า ความคิดเห็นของตัวถูกต้องแล้ว และจะไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของใครที่ ขัดแย้งกับตัวเองทั้งสิ้น เว้นผู้มีแนวความคิดเหมือนตัวเท่านั้น ส่วนคนด้อย ปัญญาหรือคนทั่วไปไม่อาจคิดได้ลึกซึ้งอะไรมากนัก สามารถเปลี่ยนแปลง ความคิ ดเห็นได้ ยอมเชื่อผู้อื่นง่าย จึงเป็นมิจฉาทิฐิได้ยากกว่าพวกปัญญาชน ทั้งทาน ศีล ภาวนานี้มีไว้ตามลำดับความสามารถของคนเป็นสำคัญ ใครมีกำลังจะทำอย่างไรก็เชิญเถิด จะทำได้ทั้งหมดก็ยิ่งเป็นยอดคน ทำได้บ้าง ไม่ ได้บ้างก็นับว่ายังดี แต่ถ้าไม่ทำเสียเลยก็ไม่รู้ว่าจะเกิดมาทำไม

จริงไหมเล่าท่าน !

พระศรีวิสุทธิวงศ์ (ทองดี ป.ธ.๙)



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.