ธรรมะจากชาดก

Page 1

เรียบเรียงโดย : ไพยนต์ กาสี

หนังสือส่งเสริมการอ่าน สร้างสายสัมพันธ์ ในครอบครัวให้สุขสันต์ มีคติสอนใจครบครัน เพื่อให้ครอบครัวท่านมีพร้อมทั้ง บุญ แบงก์ บันเทิง


ธรรมะจากชาดก

บรรณาธิการสาระ : ไพยนต์ กาสี เรียบเรียง : ไพยนต์ กาสี ภาพประกอบ : อนันต์ กิตติกนกกุล, เทิดเกียรติ ปลูกปานย้อย ออกแบบปก/รูปเล่ม : เสาวณีย์ เที่ยงตรง พิสูจน์อักษร : ประดิษฐ์ เจาจารึก ISBN : 978-616-268-294-0 พิมพ์ครั้งแรก : กรกฎาคม ๒๕๖๑ บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด 105/95-96 ถนนประชาอุทิศ ซอย 45 แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ 10140 โทร./แฟ็กซ์ 02-872-7667 ขออนุโมทนาบุญในการเคารพกฎหมายลิขสิทธิ์ หนังสือเล่มนี้ ผูส้ ร้างสรรค์ได้ทมุ่ เทความพากเพียรวิรยิ ะอุตสาหะคิดสร้างสรรค์น�ำ เสนอ ด้วยความตัง้ ใจ พิถพี ถิ นั ทัง้ ในส่วนการรวบรวม เรียบเรียงเนือ้ หา ศิลปกรรมการวาดภาพประกอบ จัดอาร์ต จึงสงวน ลิขสิทธิต์ ามกฎหมาย ท่านทีต่ อ้ งการจัดพิมพ์เผยแผ่เป็นธรรมทาน กรุณาติตต่อ บริษทั สำ�นักพิมพ์ เลีย่ งเชียง เพียรเพือ่ พุทธศาสน์ จำ�กัด โดยตรง เนือ้ หาส่วนทีเ่ ป็นธรรมบรรยาย ลิขสิทธิเ์ ป็นขององค์ บรรยายหรือหน่วยงานทีด่ แู ล บริษทั ฯ ได้รบั อนุญาตให้เผยแผ่โดยถูกต้อง ยกเว้นท่านทีย่ กผลงานให้ เป็นสาธารณะสามารถเผยแผ่ได้โดยไม่ตอ้ งขออนุญาต ส่วนบทสวดมนต์ทเ่ี ป็นคำ�บาลีเป็นของกลาง ไม่สงวนลิขสิทธิ์

เชิญร่วมเผยแผ่เป็นธรรมทาน

สาขาทุ่งครุ : โทร. 02-872-9191, 02-872-8181, 02-872-7227, 02-872-9898

LC2YOU@GMAIL.COM, LC2YOU@HOTMAIL.COM WWW.LC2U.COM, WWW.พุทธะ.NET สาขาสำ�ราญราษฎร์ : โทร. 02-221-1050, 02-221-4446

WWW.RAKBOON.COM


ห่างสิ่งชั่วร้าย ด้วยธรรมสอนใจในชาดก จากข่าวสารที่มีให้ดูรู้เห็น ไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ หรือสื่อออนไลน์ เป็นที่น่าตกใจว่า ข่าวอาชญากรรมด้านต่างๆ จะ มีมากกว่าข่าวอื่นใด ในบางข่าวสาร ผู้เรียบเรียงบางครั้งถึงกับคิดว่า อยากให้เป็นเพียงเรื่องที่เล่ากันเล่นๆ เพราะไม่อยากเชื่อว่าจะทำ�กัน ได้ลงคอถึงขนาดนี้ และเมื่อมองลึกลงไปถึงในตัวผู้ทำ�ผิดนั้น ก็มีกัน มากมายและหลากหลายวัย แสดงให้เห็นว่า ไม่ว่าจะเป็นเยาวชน หรือผู้ใหญ่ก็ล้วนแต่ทำ�ผิดกันได้ แล้วทีนี้จะมีทางไหนที่จะช่วยแก้ไข ให้บรรเทาเบาลงไป ซึ่งก็ยังมองไม่เห็นทางอื่นที่ดีกว่า การส่งเสริม ให้คนในสังคมไทย หันกลับมาใส่ใจในเรื่องศีลธรรมกันให้มากขึ้นกว่า ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน หนังสือ “ธรรมะจากชาดก” เล่มที่ท่านถืออ่านอยู่ในขณะนี้ ขอเป็นส่วนหนึ่ง ในการร่วมรณรงค์คนในสังคมไทยให้หันมาดำ�รงตน ตามแนวทางวิถีพุทธ วิถีธรรม อันจะนำ�มาซึ่งความสงบสุขทั้งในชีวิต ส่วนตน ครอบครัว และสังคมโดยรวมได้ เพราะเนื้อหาในหนังสือ สือ่ ถึงผลของการทำ�ดี-ชัว่ ให้เห็นกันอย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง ทัง้ นี้ เพือ่ เป็น คู่มือในการสอนตน สอนลูกหลาน ผ่านนิทานที่เป็นอดีตชาติของ พระพุทธเจ้า ที่เหล่าพุทธศาสนิกชนไทยให้ความนับถือว่าเป็นสรณะ อันสูงสุดของชีวิต ด้วยดวงจิตที่ปรารถนาให้ท่านเป็นสุข น.ธ.เอก, ป.ธ. ๖, พธ.บ., น.บ. บรรณาธิการ รวบรวม/เรียบเรียง


ส า ร บั ญ โทษของคนพาล (กุฏิทูสกชาดก)

หวานลมปาก (นันทิวิสาลชาดก)

๒๑

อยากชนะต้องใจสู้ (ทุพพลกัฏฐชาดก)

๔๑

ลิงผู้โง่เขลา (อารามทูสกชาดก)

๕๕

เราคือผู้กล้า (ปัญจาวุธชาดก)

๗๑

อย่าดื้อรั้น (มิตตวินทุกชาดก)

๘๗

เกราะคุ้มกันภัย (ปัญจภีรุกชาดก)

๑๐๓

รักในครอบครัว (สอนลูกให้รู้จักออม)

๑๑๙


สิ่งที่มีคุณค่า มากกว่าที่จะเป็นนิทานปรัมปรา ชาดก เป็นคำ�มาจากภาษาบาลีวา่ ชาตก (อ่านว่า ชา-ตะ-กะ)

มีความหมายสื่อถึงว่า เรื่องราวเกี่ยวกับชีวประวัติของพระพุทธเจ้า ในสมัยที่ยังทรงเป็นพระโพธิสัตว์ กำ�ลังบำ�เพ็ญบารมีเพื่อการตรัสรู้ ชาดก เป็นเรื่องเล่าคล้ายกับนิทาน จึงนิยมเรียกกันว่า นิทานชาดก ต่างกันก็ตรงที่ว่า นิทานทั่วไปส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่ แต่งขึ้นจึงมีทั้งที่จริงบ้าง ไม่จริงบ้าง ต่างจากนิทานชาดก ซึ่งเป็น เรื่องจริงเพราะเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสเล่าไว้ ให้กับพุทธบริษัท ทั้งหลายฟังในโอกาสต่างๆ ในประเทศไทย มีชาดกสำ�หรับใช้สอนใจอยู่ ๒ ประเภท คือ ๑. นิบาตชาดก เป็นชาดกเรื่องเล่าที่มีอยู่ในพระไตรปิฎก โดยมีมากถึงห้าร้อยกว่าชาดก แต่ชาวพุทธไทยมักเรียกกันเพียงแค่ ๕๐๐ ชาดก ในชื่อที่เรียกว่า พระเจ้าห้าร้อยชาติ และมีการแยก หมวดหมู่ตามจำ�นวนคาถาที่มี เช่น มีหนึ่งคาถา เรียก เอกนิบาต สองคาถา เรียก ทุกนิบาต เป็นต้น เรื่อยไปจนถึงที่มีคาถามากๆ เป็นร้อยพันคาถา ดังเช่นเรือ่ งมหาเวสสันดรชาดก เรียกว่า มหานิบาต ๒. ปัญญาสชาดก เป็นชาดกที่แต่งขึ้นจากนิทานพื้นบ้าน โดยเลียนแบบจากนิทานชาดก มีทง้ั หมด ๕๐ เรือ่ ง โดยเป็นผลงาน วรรณกรรมของภิกษุชาวเชียงใหม่ได้แต่งไว้ และในองค์ประกอบสำ�คัญอีกประการของนิทานชาดกนั้น ก็คือว่า ชาดกทุกเรื่องจะต้องมี


๑. การปรารภเรื่อง ซึ่งเป็นเสมือนบทนำ� หรือการกล่าวถึง สาเหตุว่า ทำ�ไมพระพุทธเจ้าถึงได้ตรัสเล่าชาดกเรื่องนี้ๆ ๒. อดีตนิทาน คือตัวเนื้อเรื่องชาดกนั้นๆ ในชาติก่อนๆ มา ๓. ประชุมชาดก คือเป็นเหมือนบทสรุปสุดท้ายที่จะกล่าว ถึงสัตว์หรือบุคคลในชาดกนั้นๆ ว่าได้กลับชาติมาเกิดเป็นใครใน พุทธกาลนี้ หากจะมองในแง่มุมนี้ การตรัสชาดกของพระพุทธองค์ ก็ ร วมลงอยู่ ใ นหลั ก การสอนอย่ า งหนึ่ ง ในทางพระพุ ท ธศาสนา ที่เรียกว่า บุคคลาธิษฐาน การสอนที่ยกสิ่งเป็นรูปธรรม เช่น บุคคล สถานที่ เป็นต้น ขึ้นเป็นตัวอย่าง เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจเรื่องนั้น ได้ง่าย ซึ่งวิธีนี้ บรรพบุรุษของเราก็เคยใช้กล่อมเกลาจริตอัธยาศัย ของลูกหลานไทยมาเป็นเวลาช้านาน จนมีนิทานเรื่องเล่าสำ�หรับ สอนเด็กมาทุกยุคสมัย ดังนั้น การเล่านิทานให้ลูกหลานฟัง จึงไม่ใช่สิ่งที่คร่ำ�ครึ หรือล้าหลัง ยิ่งถ้าเป็นนิทานจากชาดก ผู้เล่าก็ไม่ต้องเกรงว่าจะถูก กล่าวหาจากผู้ฟังว่ามุสา เพราะว่าเป็นเรื่องจริงทั้งนั้น แม้ว่าจะ คนละยุคสมัย แต่ให้ท่านเชื่อมั่นเถิดว่า อันหลักธรรมคำ�สอนของ พระพุทธองค์ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบไหน ล้วนเป็นอกาลิโก คือ ไม่จำ�กัดกาลเวลาในการให้ผล ย่อมสามารถแผ่ซึมซาบเข้าถึงจิตใจ คนผู้รับฟังได้อย่างแน่แท้ จากนี้ ขอนำ�ท่านเข้าสู่เนื้อหาของชาดกเพื่อเป็นเครื่องสาธก สอนใจกันต่อไป


โทษของคนพาล (กุฏิทูสกชาดก) อันคนพาลพาลเขลานั้นเฉาโฉด เพ่งแต่โทษคนอื่นน่าคลื่นไส้ เขาทำ�ดีหารู้เชิดชูใคร ตามวิสัยคนพาลสันดานทราม


กุฏิทูสกชาดก

ที่มา ของชาดก ในครัง้ หนึง่ พระมหากัสสปเถระ อาศัยอยูใ่ นป่านอกเมืองราชคฤห์ โดยมีภิกษุหนุ่มสองรูปผู้เป็นศิษย์คอยรับใช้ ในลูกศิษย์สองรูปนั้น รูปหนึ่งเป็นผู้ขยันว่านอนสอนง่าย อีกรูปหนึ่งว่ายากสอนเย็นทั้งยังเป็น ผู้เกียจคร้าน แต่มักอ้างเอาผลงานที่อีกรูปหนึ่งทำ�มาเป็นของตน จนวันหนึ่ง ลูกศิษย์รูปขยันคิดจะสั่งสอนให้ศิษย์ด้อื รู้สำ�นึกบ้าง จึงได้ต้มน้ำ�แล้วตักใส่ถังไปวางที่หลังซุ้ม เหลือไว้ก้นหม้อหน่อยหนึ่งจึง หลีกไป ฝ่ายภิกษุหัวดื้อเมื่อตื่นมาเห็นไอน้ำ� ก็ไปรายงานว่าตนต้มน้ำ� เสร็จแล้ว ครั้นพระเถระตามไปก็รีบเอากระบวยตักน้ำ�จึงรู้น้ำ�ไม่มี พระรูปที่ต้มน้ำ�จึงเดินไปหิ้วถังที่ตนวางไว้หลังซุ้มมาให้พระเถระสรง ท่านจึงพูดว่า เป็นพระไม่ควรพูดมุสา เป็นเหตุนำ�มาซึ่งความโกรธของ ภิกษุรูปนั้น วั น ต่ อ มา ภิ ก ษุ หั ว ดื้ อ โกหกโยมอุ ปั ฏ ฐากพระเถระว่ า ท่ า น ไม่สบาย โยมจึงฝากอาหารมาถวาย แต่กลับนำ�ไปฉันเอง เมือ่ พระเถระ ไปบิณฑบาตอีกวันถูกโยมถามจึงรู้ความนั้น ครั้นกลับมาถึงจึงตำ�หนิ สอนสั่งสร้างความแค้นใจแก่ภิกษุดื้อนั้นเป็นอันมาก จนรุ่งเช้าอีกวัน เมื่อพระเถระออกไปบิณฑบาตกับพระลูกศิษย์ ภิกษุหัวดื้อจึงทำ�ลาย ข้าวของแล้วเผากุฏิจนมอดไหม้แล้วหนีไป ครั้นไม่นาน ภิกษุกลุ่มหนึ่งไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่เมืองสาวัตถี จึงทรงมีปฏิสันถารและถามข่าวของพระมหากัสสปเถระ พวกภิกษุ จึงกราบทูลเรื่องนั้นให้ทรงทราบ ครั้นแล้วพระองค์จึงตรัสเรื่องราว ในอดีตชาติของภิกษุรูปนั้นให้ฟังดังต่อไปนี้ 8

ธรรมะ จากชาดก


กุฏิทูสกชาดก

ในอดีตกาลนานมา เมื่อครั้งรัชสมัยพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติ อยูใ่ นเมืองพาราณสี พระโพธิสตั ว์เสวยพระชาติเป็นนกขมิน้ เมือ่ ปีกกล้า ขาแข็งแล้วนั้น ก็ได้ทำ�การสร้างรวงรังมั่นคงแน่นหนา อาศัยอยู่ในป่า หิมพานต์

บ้านคือที่อยู่อาศัยต้องทํำ�ให้มั่นคง แน่นหนา ถึงจะคุ้มภัยต่างๆ ได้

บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด

9


กุฏิทูสกชาดก

ในป่าใหญ่นั้นก็มีสิงสาราสัตว์มากมายอาศัยอยู่ด้วยกันตามประสา หนึง่ ในจำ�นวนสัตว์นน้ั ก็มลี งิ อยูอ่ าศัย ครัน้ วันเวลาผ่านไปจนย่างเข้าสู่ วสันตฤดูทำ�ให้มีฝนตกอยู่เกือบทุกวัน

ตายละ..! วันนี้ฝนตกหนัก เราจะไปหาผลไม้ อย่างไรนี่

10

ธรรมะ จากชาดก


กุฏิทูสกชาดก

เจ้าลิงจึงปีนป่ายต้นไม้ไปนัง่ จับเจ่าตัวสัน่ ด้วยความหนาวทีค่ า่ คบต้นไม้ ใกล้กบั รังทีน่ กขมิน้ หลบฝนอยูใ่ นนัน้

หนาวจัง เมื่อไหร่ จะหยุดตกสักที

บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด

11


กุฏิทูสกชาดก

ฝ่ายนกขมิน้ เห็นลิงนัง่ หลบฝนอยูใ่ กล้ๆ ให้นกึ สงสารยิง่ นักจึงร้องทักว่า

เจ้าลิง..! ทํำ�ไมมานั่ง ตากฝนอย่างนี้

เจ้ามีหัว มือ เท้า เหมือนคนมาก หากแต่ ทํำ�ไมไม่สร้างบ้านอยู่ เหมือนคนล่ะ ?

12

ธรรมะ จากชาดก


กุฏิทูสกชาดก

ส่วนลิง เมือ่ เห็นนกขมิน้ ร้องทักจากรังทีห่ ลบฝนอย่างสุขสบายจึงตอบ ไปว่า ถึงข้าจะมีอะไรเหมือนคนเกือบทุกอย่าง แต่อย่างหนึ่งที่ไม่มีคือปัญญา แล้วข้าจะสร้างบ้าน อยู่ได้อย่างไร แล้วมันธุระกงการอะไรของเจ้า ข้ามีนิสัยชอบอยู่อย่างนี้จะทํำ�ไม

บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด

13


กุฏิทูสกชาดก

ก็เพราะอย่างนี้ เจ้าถึงต้องมานั่งตากฝน จนหนาวสั่น

ดูมันยังไม่หยุด

14

ธรรมะ จากชาดก


กุฏิทูสกชาดก

นี่ลิงเจ้ารู้ไหม เพราะนิสัยของลิงมีจิตไม่นิ่ง กลับกลอกไปมา และชอบคิดร้ายมิตรสหาย ยิ่งไร้ที่อยู่อาศัย สุขภาพเจ้าจะไม่ดีนะ ทางที่ดีเจ้าเปลี่ยนนิสัย คิดหาทางสร้างที่อยู่เอาไว้กันแดดฝนเสียเถอะ

อด

ทน

ไว้

บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด

15


กุฏิทูสกชาดก

ลิงตัวนี้ แม้นกขมิ้นมีใจหวังดีเตือนด้วยความเมตตา แต่ว่ามันกลับมีใจ คิดโกรธเขาจนเป็นฟืนไฟ ทั้งที่พระพุทธเจ้าสอนเอาไว้ว่า “ถ้ามีผู้คน มาเตือนตนในสิ่งที่ผิดนั้น ท่านว่าเขาผู้นั้นคือผู้ชี้ขุมทรัพย์ให้” ไม่ไหวแล้วโว้ย..! เจ้านกขมิ้นมันจะมากไปแล้วนะ บังอาจมาดูหมิ่นตระกูลลิง

16

ธรรมะ จากชาดก


กุฏิทูสกชาดก

แต่เราบอก ด้วยความหวังดี จริงๆ นะ

เจ้าทะนงตนเพราะคิดว่า ทํำ�รังอยู่เองได้ใช่ไหม

ดีล่ะ แล้วเราจะได้เห็นดีกัน

บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด

17


กุฏิทูสกชาดก

ครั้นว่าแล้วเจ้าลิงอันธพาลก็กระโดดหมายจะคว้าคอนกขมิ้นมาฆ่า แต่ว่าช้าไปเพราะนกขมิ้นระวังตัวอยู่ก่อนแล้ว จึงบินหนีขึ้นบนฟ้า เมื่อไม่ได้ตัวนกขมิ้นมา มันจึงทำ�ลายรังนกขมิ้นเสียกระจุยกระจาย ระบายแค้น

ไม่ได้ตัวมัน ก็อย่าให้มัน มีที่อยู่อีกเลย

18

ธรรมะ จากชาดก


กุฏิทูสกชาดก

พระพุทธเจ้าเมื่อตรัสอดีตชาติเรื่องนี้จบลง ทรงตรัสสอนใจว่า

“บุคคลที่จะเที่ยวไป (คืออยู่ในที่ไหนๆ) ถ้าไม่พบคนที่ดีกว่า หรือว่าเสมอกับตน สู้อยู่คนเดียวดีกว่า เพราะว่าความเป็นมิตรสหาย ย่อมไม่มีในคนพาล”

ครั้นแล้วทรงสรุปชาดกนี้ไว้ว่า

ลิงอันธพาลในอดีต คือภิกษุรูปที่ดื้อ นกขมิ้น คือพระองค์เอง บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด

19


กุฏิทูสกชาดก

คติธรรมสอนใจในชาดก จากเนือ้ หาในชาดกนัน้ ทำ�ให้เราได้รจู้ กั ลักษณะเด่นของคนพาล ข้อหนึ่งว่า “พาลชนเมื่อถูกคนดีแนะนำ�กลับโกรธเคือง” ดังนั้น การจะสอนสัง่ คนพาลจึงไม่ใช่เรือ่ งง่าย ทางทีด่ เี มือ่ พบเจอคนประเภทนี้ ควรหลีกหนีเสียให้ไกล ในหลักมงคลชีวิต พระพุทธเจ้ายังตรัสบอกว่า การไม่คบคนพาลเป็นอุดมมงคล หากใครเผลอตนไปเสวนาด้วย ดีไม่ดี จะพลอยซวยติดเชื้อพาลเข้าไปกลายเป็นคนพาลเสียเองก็ได้ หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ ท่านให้โอวาทธรรมสอนใจในเรื่องนี้ไว้ว่า

“เมื่อกิเลสอยู่ใน บุคคลใดบุคคลอื่น แล้วเราทำ�อย่างไร เราก็ปล่อยวาง ให้เป็นของคนนั้น เผาแต่ตัวเขา ถ้าเราไม่สามารถที่จะช่วยได้ อย่าไปเกี่ยวข้อง เหมือนกับคนพาล พระพุทธเจ้าไม่ให้คบกับคนพาล เพราะอะไร คนพาลนี้ จะโกรธให้เราเมือ่ ไหร่กไ็ ด้ ทำ�ลายเราเมือ่ ไหร่กไ็ ด้ คนพาลนี้ ไม่มีสัจจะไม่มีความจริง ตลบตะแลงต่างๆ ฉะนั้น ท่านจึงไม่ให้คบ คนพาล และไม่คบธรรมทีพ่ าล แม้สง่ิ ทีไ่ ม่ดที อ่ี ยูใ่ นตัวเรา เราก็ไม่คบ กับมัน” 20

ธรรมะ จากชาดก


หวานลมปาก (นันทิวิสาลชาดก) วาจางามถูกใจก็ไร้โทษ ยังประโยชน์เสร็จสิ้นอย่ากินแหนง วาจางามเหมือนน้ำ�ตาลที่หวานแรง มดดำ�แดงชอบกินแสนยินดี


นันทิวิสาลชาดก

ที่มา ของชาดก นันทิวสิ าลชาดก มีปรากฏอยูใ่ นพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เอกนิบาต กุรุงควรรค และยังมีอ้างถึงไว้ในธรรมบท ภาคที่ ๖ เรื่องยมกปาฏิหาริย์ว่า ในสมัยที่เหล่าเดียรถีย์มาท้าแข่งทำ�ปาฏิหาริย์กับพระพุทธเจ้า นั้น ครั้นถึงเวลานัดหมาย ได้มีพระเถระและพระเถรีหลายรูปทูล ขออาสาว่าจะแสดงปาฏิหาริย์แทนพระพุทธองค์ แต่ก็ทรงห้ามไว้ ด้วยเหตุที่ว่าภาระบางอย่างนั้น ผู้อื่นไม่สามารถทำ�แทนพระองค์ได้ แล้วจึงตรัสนันทิวิสาลชาดกนี้ต่อจากกัณหอุสุภชาดก แต่ในอรรถกถาชาดก แสดงที่มาแห่งชาดกนี้ว่า ทรงปรารภ คำ�เสียดสีของภิกษุเหล่าฉัพพัคคีย์จึงตรัสชาดกนี้ ดังมีความย่อว่า สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ (พระหกรูป) ก่อการทะเลาะขึ้น ข่มขู่ด่าว่าเสียดสีพวกภิกษุผ้มู ีศีลต่างๆ นานา ภิกษุท้งั หลายจึงกราบทูล ความนั้นให้พระพุทธองค์ทรงทราบ พระองค์จึงรับสั่งให้ไปตามตัวมา แล้วตรัสถาม เมื่อพวกเธอทูลรับว่าจริง จึงตรัสตำ�หนิโทษแล้วตรัส สอนว่า “ภิกษุทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่าคำ�หยาบคาย มีแต่นำ�ความพินาศ มาให้ แม้แต่สัตว์ดิรัจฉานก็ไม่ชอบใจ ในครั้งก่อน มีสัตว์ดิรัจฉาน ตัวหนึ่งก็ทำ�ให้คนที่เรียกตนด้วยคำ�หยาบแพ้พนัน” ครั้นแล้วจึงตรัสเรื่องราวในอดีตชาติให้ฟังดังต่อไปนี้ 22

ธรรมะ จากชาดก


นันทิวิสาลชาดก

ในอดีตกาลนานมาแล้ว มีพระราชาทรงพระนามว่าคันธาระ ครองราชสมบัติในเมืองตักกสิลา แคว้นคันธาระ พระองค์ทรงปกครองไพร่ฟ้าให้อยู่ดีมีสุขเสมอมา และในกาลนั้น พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติ เป็นโค

ไพร่ฟ้าประชาชนมีสุขล้น เพราะเราครองตน ในทศพิธราชธรรม

บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด

23


นันทิวิสาลชาดก

และที่เมืองนี้ มีพราหมณ์คนหนึ่ง

แกได้รับลูกโคโพธิสัตว์จากการบริจาค ของคฤหบดีท่านหนึ่ง ไปอยู่กับพ่อนะ

พราหมณ์เลี้ยงดูโคตัวนี้เหมือนลูกในไส้ ให้กินอาหารเหมือนคน และตั้งชื่อว่า นันทิวิสาล สบายสิ...นันทิวิสาล หลับปุ๋ยเลย

24

ธรรมะ จากชาดก


นันทิวิสาลชาดก

ครั้นวันเวลาผ่านไป โคนันทิวิสาลเติบใหญ่มีร่างกายแข็งแรงล่ำ�สัน ทั้งขยันช่วยการงานพราหมณ์ผู้เลี้ยงดูอย่างไม่เกี่ยงงาน ถึงกระนั้นก็ยังคิดว่าตนยังสนองคุณไม่เต็มที่ เลยคิดหาวิธีจะแทนคุณให้มากขึ้น จึงบอกให้เขาไปท้าพนันกับเศรษฐีคนหนึ่ง

พ่อพราหมณ์ พ่อไปท้าพนัน กับเศรษฐีเถอะนะ ว่าลูกสามารถลากเกวียน ได้ตั้งร้อยเล่มเกวียน

ลูกมั่นใจใช่ไหมนันทิวิสาล ว่าลูกทํำ�ได้แน่

บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด

25


นันทิวิสาลชาดก

เมื่อได้รับคำ�ยืนยัน พราหมณ์จึงไปท้าพนันกับเศรษฐี เราไม่เชื่อหรอกพราหมณ์ ท่านเชื่อเรารึเปล่า นันทิวิสาลโคของเรา ลากเกวียนได้เป็น ร้อยเล่ม

อย่างนั้นวางเดิมพัน คนละพันเป็นการพิสูจน์ ดีไหม ?

26

ธรรมะ จากชาดก

ได้...ได้... ตกลงตามนี้


นันทิวิสาลชาดก

เมื่อสองฝ่ายตกลงกันดังนั้น จึงนัดวันท้าประลองเพื่อให้รู้ผล และแล้วเมือ่ ถึงวันนัด พราหมณ์กจ็ งู โคนันทิวสิ าลไปสูส่ นามท้าประลอง

เอาดีๆ นะนันทิวิสาล อย่าให้อายเขา

บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด

27


นันทิวิสาลชาดก

และเมือ่ ไปถึงยังไม่ทนั พักให้หายเหนือ่ ย เศรษฐีก็ชี้มือไปที่เกวียนบอกว่า

อะไรกันตอนตกลงกัน ไม่ได้บอกว่าเกวียนบรรทุกของนี่

นี่เกวียนร้อยเล่ม เราเตรียมไว้แล้ว

ช่างเถอะพ่อ ลูกขอสู้แค่ตาย

28

ธรรมะ จากชาดก


นันทิวิสาลชาดก

ฮ่า เสร็จ ๆ..! โจร

เมื่อเป็นดังนั้น พราหมณ์จึงนำ� โคนันทิวิสาล เข้าเทียมเกวียน เล่มหน้าสุด เตรียมลากจูงต่อไป จะไหวไหมนี่ ต้องหาวิธี ทํำ�ให้ฮึกเหิมหน่อย

บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด

29


นันทิวิสาลชาดก

ครั้นคิดได้ดังนั้น พราหมณ์จึงพูดว่า ไอ้โคขี้โกง แกจง ลากเกวียนไป

นันทิวิสาลไม่เคยได้ยินพราหมณ์ พูดคำ�หยาบคาย สุดแสน ที่จะงุนงงในใจเลยยืน นิ่งไม่เคลื่อนไหว

โธ่..! พ่อ

แม้พราหมณ์จะลงปฏักตีอย่างไร ก็ไม่ยอมลาก มาหาว่า เราขี้โกง

30

ธรรมะ จากชาดก

ปั้ดโธ่เอ๊ย เจ้าโคเกเร


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.