สวดมนต์ทำวัตรฉบับพ้นทุกข์

Page 1



คู่มือสวดมนต์สำหรับพระภิกษุสามเณร, เยาวชน, อุบาสก อุบาสิกา และพุทธศาสนิกชนทั่วไป, ผู้เข้าร่วมโครงการบวชเนกขัมมะ ถือศีลอุโบสถ, ปฏิบัติธรรม, บวชสามเณรภาคฤดูร้อน เและอื่นๆ เรียบเรียง : ศักดิ์สิทธิ์ พันธุ์สัตย์ บรรณาธิการสาระ : ศักดิ์สิทธิ์ พันธุ์สัตย์ บรรณาธิการศิลปะ : อนุชิต คำซองเมือง ศิลปกรรมรูปเล่ม : วันดี ตามเที่ยงตรง

ออกแบบปก : อนุชิต คำซองเมือง พิสูจน์อักษร : อรัญ มีพันธ์


คำนำ

ทำวัตร คืออะไร ทำวัตร เป็นคำที่ย่อมาจากคำว่า ทำกิจวัตร ซึ่งหมายถึงกิจ หรือหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งที่จะต้องทำเป็นประจำหรือเป็นธรรมเนียม การสวดมนต์ เช้า-เย็นนี้ ได้จำลองมาจากธรรมเนียมเก่า สมัยที่พระพุทธเจ้ายังไม่เสด็จดับขับธปรินิพพาน เหล่าภิกษุทั้งหลายจะเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเช้า-เย็นทุกวัน เพื่อฟังธรรม ครั้น ต่อมาภายหลัง พระพุทธองค์เสด็จปรินิพพานแล้ว ได้มีการยึดธรรมเนียมนั้นมาปรับ เป็นการประชุมกันสวดมนต์ทำวัตรเช้า-เย็นแทน ดังนั้น การทำวัตรสวดมนต์เช้า-เย็น ในอีกความหมายหนึ่งก็คือ การเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า นั่นเอง การทำวัตรเช้า-เย็น แม้จะเป็นการเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า แต่โดยเป้าหมายแท้จริง อยู่ที่การฝึกฝนอบรมจิตของผู้สวดให้เกิดความสงบเป็นสมาธิ เกิดปัญญารู้แจ้งในธรรม ที่สวดสาธยาย ซึ่งเป็นผลให้ถึงความหลุดพ้นอันเป็นเป้าหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา ได้ ดังนั้น การทำวัตรสวดมนต์จึงไม่ใช่กิจเล็กๆ น้อยๆ ที่จะพึงคิดดูหมิ่น และ หลีกเลี่ยงที่จะทำ หรือทำด้วยอาการสักแต่ว่าทำเล่นๆ เพราะหากท่านมีความเข้าใจ จริงใจและตั้งใจทำแล้ว ผลที่เกิดขึ้นย่อมมีมากมายมหาศาล และข้อปฏิบัติในการทำวัตร เช้า-เย็นให้ได้รับผลอย่างที่ว่านี้มีปรากฏในหน้า ๔ ของหนังสือเล่มนี้ ซึ่งเป็นคำแนะนำ ของหลวงปู่พุทธทาส ขอให้อ่านอย่างตั้งใจและพิจารณาด้วยสติปัญญา ค่อยๆ อ่าน ค่อยๆ คิด อ่านหลายๆ รอบ ท่านก็จะเห็นประจักษ์แจ้งจริงด้วยตนเองว่า การทำวัตร สวดมนต์เช้า-เย็นนั้น ให้ประโยชน์สูงสุดคือความหลุดพ้นได้จริง

จิรํ ทิปฺปตุ โลกสฺมึ สมฺมาสมฺพุทฺธสาสนํ ขอพระพุทธศาสนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จงเจริญรุ่งเรือง อยู่ในโลกตลอดกาลนาน.

ศักดิ์สิทธิ์ พันธุสัตย์ ผู้รวบรวมในนามคณาจารย์ สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง


สารบัญ ทำวัตรสวดมนต์ให้ได้ประโยชน์สูงสุด

ภาค ๑ : คำทำวัตรเช้าและเย็น

บทนำทำวัตร ๑. คำบูชาพระรัตนตรัย ๒. ปุพพภาคนมการ คำทำวัตรเช้า ๑. พุทธาภิถุติ ๒. ธัมมาภิถุติ ๓. สังฆาภิถุติ ๔. รตนัตตยัปปณามคาถา และสังเวคปริกิตตนปาฐะ บทสวดต่อท้ายทำวัตรเช้า ตังขณิกปัจจเวกขณปาฐะ สัพพปัตติทานคาถา ปัฏฐนฐปนคาถา คำทำวัตรเย็น ๑. พุทธานุสสติ ๒. พุทธาภิคีติ ๓. ธัมมานุสสติ ๔ ธัมมาภิคีติ ๕. สังฆานุสสติ ๖. สังฆาภิคีติ บทสวดต่อท้ายทำวัตรเย็น อตีตปัจจเวกขณปาฐะ อุททิสสนาธิฏฐานคาถา อุทิศบุญ

๘ ๙ ๙ ๑๑ ๑๒ ๑๓

๒๐ ๒๒ ๒๔ ๒๗ ๒๘ ๓๐ ๓๑ ๓๓ ๓๔ ๓๗ ๓๙

ภาค ๒ : สวดมนต์พิเศษบางบท

ปุพพภาคนมการ สรณคมนปาฐะ อัฏฐสิกขาปทปาฐะ ท๎วัตติงสาการปาฐะ เขมาเขมสรณทีปิกคาถา อริยธนคาถา

๔๓ ๔๓ ๔๔ ๔๕ ๔๖ ๔๗

ติลักขณาทิคาถา ภารสุตตคาถา ภัทเทกรัตตคาถา ธัมมคารวาทิคาถา โอวาทปาติโมกขคาถา ปฐมพุทธภาสิตคาถา ปัจฉิมพุทโธวาทปาฐะ บทพิจารณาสังขาร อภิณหปัจจเวกขณะ บทไหว้บารมี ๓๐ ทัศ คาถาโพธิบาท บทมงคลจักรวาลแปดทิศ บทปลงสังขาร

๔๘ ๕๐ ๕๐ ๕๑ ๕๓ ๕๔ ๕๕ ๕๕ ๕๗ ๕๘ ๖๐ ๖๒ ๖๓

พิธีรับศีล ๕ พิธีรับศีล ๘ และอุโบสถศีล คำอาราธนาธรรม คำอาราธนาพระปริตร คำบูชาข้าวพระพุทธ คำลาข้าวพระพุทธ คำอธิษฐานของทำบุญ คำจบของทำบุญใส่บาตร คำถวายข้าวใส่บาตรและของทำบุญ คำแผ่เมตตาให้ตนเอง คำแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์ คำอุทิศส่วนบุญส่วนกุศล บทกรวดน้ำแบบย่อ คำกรวดน้ำให้เจ้ากรรมนายเวร คำกรวดน้ำคำกลอน คำถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ คำถวายทานอุทิศแก่ผู้ตาย คำสาธุการเมื่อพระเทศน์จบ

๖๕ ๖๗ ๖๙ ๗๐ ๗๐ ๗๐ ๗๐ ๗๑ ๗๑ ๗๑ ๗๒ ๗๒ ๗๓ ๗๔ ๗๔ ๗๔ ๗๕ ๗๕

ภาคผนวก


ทำวัตร สวดมนต์ เพื่อความพ้นทุกข์

ทำวัตรสวดมนต์ ให้ได้ประโยชน์สูงสุด๑

เรื่องทำวัตรเช้าทำวัตรเย็นนี้ ไม่มีประเพณีในครั้งพุทธกาล เรามาตั้งกันขึ้น ในประเทศนี้ที่พุทธศาสนาเข้ามาถึง ทำวัตรเช้า-ทำวัตรเย็นนี้ มีหลักที่ควรสังเกตรู้ไว้ ๓ ประการ (๑) ประการแรกที่สุด : มันก็มีการสาธยายธรรมะที่เป็นหลักปฏิบัติ หรือ สาธยายรายละเอียดของพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ, ซึ่งก็กล่าวได้ว่า เป็นสิ่งที่ต้องรู้และต้องปฏิบัติด้วยเหมือนกันเพื่อไม่ให้มันลืม, ทีนี้มันยังมีดีกว่านั้น ซึ่ง อาจจะไม่เคยได้ยินก็ได้ เขาเรียกว่า ทางแห่งวิมุตติ : วิมุตตายตนะ-ทางที่จะติดต่อ กับวิมุตติ. ก็เมื่อภิกษุฟังธรรมอยู่ก็ดี เมื่อบุคคลฟังธรรมอยู่ก็ดี, แสดงธรรมอยู่ก็ดี, สาธยายธรรมอยู่ก็ดี, คิดนึกธรรมอยู่ก็ดี, เจริญภาวนาอยู่ก็ดี, ๕ อย่างหรือ ๕ ข้อนี้ มันเป็นทางแห่งวิมุตติ ข้อแรก เมื่อภิกษุฟังธรรม เข้าใจธรรม ซึมซาบในธรรม เกิดปราโมทย์ เกิด ปีติ เกิดสุข เกิดสมาธิตามลำดับ เกิดสมาธิ แล้วก็เกิดยถาภูตญาณทัสสนะ-เห็นธรรม ตามที่เป็นจริง ก็เกิดนิพพิทา วิราคะ และวิมุตติ ภิกษุเป็นผู้ฟังธรรม บุคคลฟังธรรม จิตไปตามแนวนั้น ทีนี้เมื่อบุคคลแสดงธรรมให้ผู้อื่นฟังอยู่ ไม่ใช่ฟังธรรม แต่เป็นผู้แสดงเสียเอง แสดงไป คิดนึกไป ใคร่ครวญไปแสดงไป อย่างลึกซึ้งนั้นน่ะ มันถึงจุดที่ว่าเข้าใจธรรม ที่แสดง พอใจ มีปราโมทย์ มีปีติ มีความสุข มีสมาธิขึ้นมาโดยความพอใจ แล้วก็ม ี ยถาภูตญาณทัสสนะ-เห็นธรรมตามที่เป็นจริง เพราะจิตเป็นสมาธิแล้ว ก็เกิดนิพพิทาเบื่อหน่าย วิราคะ-คลายกำหนัด แล้วจิตก็หลุดพ้นจากสิ่งที่ยึดถือ นี้ข้อที่ ๒ เป็น ผู้แสดงธรรม ๑

ตัดทอนจากธรรมบรรยายแก่คณะธรรมจาริณีชั่วสมัย ณ สวนโมกข์ : เมื่อ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๒๖


สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

ข้อที่ ๓ สาธยายธรรม เมื่อเขาเอาธรรมะมาสาธยายอยู่ ซึมซาบในธรรมะนั้น โดยเฉพาะ เกิดความปีติปราโมทย์ ก็เป็นสุขชนิดที่จะทำให้เกิดจิตเป็นสมาธิ เป็นสมาธิ เห็นตามที่เป็นจริง คือยถาภูตญาณทัสสนะ มันเกิดความเบื่อหน่ายคลายความกำหนัด และหลุดพ้น. เมื่อสาธยายธรรมอยู่แท้ๆ ก็เป็นโอกาสที่ให้บุคคลมีจิตชนิดนั้น คือแจ่มแจ้ง ในธรรม มีปราโมทย์ มีปีติ มีสุข มีสมาธิ แล้วก็มียถาภูตญาณทัสสนะ มีนิพพิทา มีวิราคะ แล้วก็มีวิมุตติ ส่วนข้อที่ ๔ คิดธรรม, ข้อที่ ๕ ทำวิปัสสนาภาวนานั้น จะไม่ พูดถึง เพราะมันยังไม่เกี่ยวกัน เราฟังธรรมก็ดี เราแสดงธรรมเองก็ดี เราสาธยายธรรมอยู่ก็ดี สามอย่างนี้ เป็นเหตุให้เกิดโอกาสสำหรับจิตใจที่จะรวมกันเป็นสมาธิ เห็นธรรมตามที่เป็นจริง แล้วก็ วิมุตติได้ ทีนี้ในการทำวัตรเช้า-ทำวัตรเย็นนี้ มันมีการสาธยาย. ขอให้ถือว่าบทสวดมนต์ ของเรามันเป็นบทสาธยาย ก็จะต้องทำให้เป็นการสาธยายที่ดี ด้วยจิตที่สำรวมดี คือ นั่งให้ดี สำรวมจิตให้ดี ตั้งสติให้ดี แล้วก็สาธยายด้วยความรู้สึกที่สมบูรณ์ ก็เป็นการ สาธยายที่ดี, ปะเหมาะมันซึมซาบในบทสาธยายนั้น เข้าใจในธรรม ก็พอใจปราโมทย์ บันเทิง ปีติ ปัสสัทธิ คือจิตสงบลงไปแล้วก็เป็นความสุข แล้วก็เกิดสมาธิ เกิดยถาภูตญาณทัสสนะ เราจึงถือว่าแม้ในโอกาสแห่งการทำวัตรเช้าทำวัตรเย็นนี้ มันก็มีการ สาธยายธรรมรวมอยู่ด้วย, ในสาธยายนั้นก็เป็นทางแห่งวิมุตติทางหนึ่งใน ๕ ทาง ฉะนั้น ขอให้ทำให้ดีที่สุด มันจะเพิ่มความสว่างไสว แจ่มแจ้งเพิ่มขึ้นในขณะที่ทำวัตร สาธยายบททำวัตร หรือบทมนต์ บทมนต์พิเศษ บทอะไรก็ตาม, นี่มันก็ได้เพิ่มขึ้น อีกแหละ จิตมันเป็นสมาธิ เป็นสติอยู่ในบทที่สวดนั้นแล้ว ไม่ต้องกลัวเรื่องกิเลส ไม่ต้องกลัวว่าจะเกิดความคิดประเภทบุคคลตัวตนเราเขาอะไร, ขอให้เอาจิตผูกพันลงไป ที่บทที่สวดสาธยาย นี่เป็นประการที่ ๑ ที่เรียกว่าทำวัตรสวดมนต์นั้นมันมีความหมาย อย่างนี้ (๒) ประการที่ ๒ จะเรียกว่า เป็นการทำสมาธิน้อยๆ ในระดับน้อย เป็น สมาธิระดับน้อยกันเป็นหมู่ๆ ก็ได้ทั้งหมู่เลย; เพราะว่าคนที่จะสวดออกไปอย่างถูก มันต้องมีสมาธิ จะต้องมีจิตเป็นสมาธิ​ิ, ถ้ามีสมาธิในสิ่งที่สวด ในเสียงที่สวด ในเสียงที่ ได้ยิน จิตจะไม่ฟุ้งซ่านไปที่อื่น, ถ้าเราทำได้ในเรื่องนี้ ก็คือการปฏิบัติที่ฝึกจิตให้แน่วแน่


ทำวัตร สวดมนต์ เพื่อความพ้นทุกข์

อยู่กับสิ่งที่สวด. เธอนั่งสวด ปากเธอว่า แต่ใจไปอยู่ที่ไหนก็ไม่รู้ อย่างนี้ไม่มีสมาธิ, ขอให้จิตอยู่กับบทสวดจนตลอด อย่าให้เป็นว่าในระหว่างที่สวดอยู่นั้นแหละ จิตหนีไป เที่ยวที่โน่น จิตหนีไปเที่ยวที่นี่ ปากมันว่าได้เพราะมันเคยชิน อย่างนี้ไม่มีสมาธิแล้ว, ปากที่ว่าต้องว่าด้วยจิตที่เป็นสมาธิอยู่ในบทที่ว่าตั้งแต่ต้นจนจบ, อย่าให้เป็นว่า ปาก ก็ว่าอยู่ ว่าตามความเคยชินก็ถูกต้อง แต่จิตไปอยู่ท่ีไหนก็ไม่รู้ สังเกตดูให้ดี ถ้าใคร มันอยู่ในลักษณะอย่างนี้ก็ให้รู้เถิดว่ายังไม่พอ ยังไม่ถูก, ต้องจัดการกันเสียใหม่ ปรับปรุง ตัวเองเสียใหม่ ให้เป็นว่าตั้งแต่ลงมือทำวัตรจนจบทำวัตรนี้ จิตไม่เคยหนีไปไหน อยู่แต่ กับบทที่สวดนี้เท่านั้น นี่เขาเรียกว่าทำสมาธิในตัว เป็นสมาธิอัตโนมัติ เรื่องสมาธินี้ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อยเป็นเรื่องครึ่งหนึ่งเข้าไปแล้ว ศีล สมาธิ ปัญญา ขอให้ได้ผลชัดเจนลงไปว่า เมื่อทำวัตรสวดมนต์นี้ก็เป็นการทำสมาธิ ชนิดหนึ่งรวมอยู่ด้วย ทำกันเป็นหมู่เลยทั้งหมู่เลย : ต่างคนต่างก็กำหนดแต่สิ่งที่สวด เสียงที่สวด ไม่ฟุ้งซ่านไปไหน ก็เป็นสมาธิได้เหมือนกัน, แม้จะเป็นสมาธิน้อยๆ มัน ก็เป็นปัจจัยที่จะทำให้ได้สมาธิที่มากขึ้นไป สูงขึ้นไป ยิ่งขึ้นไปได้, ฉะนั้น จงตั้งจิตให้ดี ตั้งแต่ลงมือสวดจนกว่าจะสวดเสร็จ จงเป็นสมาธิอยู่ในเสียงที่สวดนั้นตลอดเวลา อย่า ให้จิตหนีไปเที่ยวเสียที่อื่นตั้งหลายสิบแห่งกว่าจะสวดทำวัตรจบ ปากสวดว่าไปได้ ตลอดแต่จิตหนีไปเที่ยวที่อื่นเสียหลายสิบครั้ง อย่างนี้ล้มละลาย ไม่ได้อานิสงส์ส่วนที่ เรียกว่า สมาธิ (๓) ทีนี้ประการที่ ๓ : ขอให้เราสวดทำวัตรนี่เป็นพุทธานุสสติ เพราะว่า เมื่อเรารู้คำแปลของบทที่สวด ทราบในพระคุณของพระพุทธเจ้าอย่างแท้จริง อย่าง คล่องแคล่วอยู่แล้ว, พอปากของเราว่าพระคุณเหล่านั้นออกมา อะระหังก็ดี สัมมา- สัมพุทโธก็ดี วิชชาจะระณะสัมปันโนก็ดี สุคะโตก็ดี โลกะวิทูก็ดี ขอให้รู้สึกในคุณของ พระพุทธเจ้าอย่างนั้นจริงๆ มีพระคุณของพระพุทธเจ้ามาอาบรดอยู่ที่จิตใจของเรา เมื่อ เราว่าออกไปคำใดคำหนึ่ง และเมื่อเราว่าบทของพระธรรม ก็ขอให้ความหมายแห่งพระธรรมบทนั้นมา อาบรดอยู่ที่จิตใจของเราก็ได้ หรือว่าให้เรามีความหนักแน่น แน่นแฟ้นย้ำลงไปในเรื่อง ของพระธรรมบทนั้นยิ่งๆ ขึ้นไปทุกที ที่เราสวดบทพระธรรมคุณอย่างนี้ก็ได้ หรือว่าเรา สวดบทของพระสงฆ์ก็ให้รู้จักคุณของพระสงฆ์ คือมนุษย์ธรรมดาที่สามารถเปลี่ยนเป็น


สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

อริยบุคคลได้ และมีคุณสมบัติเป็นพระโสดา, สกิทาคา, อนาคา, อรหันต์ได้ เพื่อว่า จะได้รู้สึกว่า แม้เราก็เหมือนกัน ไม่อยู่นอกวิสัย ไม่เหลือวิสัยที่เราจะเป็นเช่นนั้นได้, จิตใจของเราก็จะแจ่มแจ้งชัดเจนในพระพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณยิ่งขึ้น; หรือว่า ถ้าทำได้มากกว่านั้น พระคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ก็จะมาอาบย้อมจิตใจ ของเราให้เยือกเย็น นี่จึงเป็นเหมือนกับว่าเราเข้าถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ทุกเวลาที่เราทำวัตรเช้าเย็น ดังนั้น เราอย่าได้ละโอกาสอันนี้เสีย จงพยายามควบคุมสติสัมปชัญญะ ตั้งจิตทำให้มีการทำวัตรสวดมนต์ที่ดีที่สุดเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์เลย เหมือนกับว่าเรา พบพระพุทธเจ้าทั้งเช้าทั้งเย็น อาบรดด้วยพระคุณของพระพุทธเจ้าทั้งเช้าทั้งเย็น และ ได้ทำสมาธิในเสียงของพระธรรม ในคุณของพระธรรมของพระสงฆ์ทั้งเช้าทั้งเย็น และเราก็ได้สาธยายท่องจำบทพระธรรมต่างๆ ที่ควรจะสาธยาย ฉะนั้น ขอให้ทำได้อย่างใดอย่างหนึ่งในสามอย่างนี้ ที่ว่ามาแล้ว คือ (๑) เป็นการสาธยายที่เป็นโอกาสให้จิตใจสงบระงับ (๒) แล้วได้มีโอกาสทำสมาธิในเสียงที่สวดในธรรมะที่นึกระลึกนึกถึง (๓) นี่สามก็ให้ได้อาบรดด้วยพระคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ในเมื่อ เราสวดบทพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ, ถ้าเราสวดธรรมะบทอื่นๆ ด้วย ขอให้ความหมายแห่งพระธรรมนั้นเจริญขึ้นในใจของเรา ฝังแน่นลงไปในใจของเรา ยิ่งๆ ขึ้นไป ทำวัตรเช้า-เย็นที่ทำกันจริงจังถูกต้อง ก็มีประโยชน์มหาศาลอย่างนี้ ฉะนั้น ขอให้เธอพยายามทำวัตรเช้า-เย็นในลักษณะอย่างนี้เรื่อยไปจนกว่าจะหมดโอกาส แล้ว มันจะเปลี่ยนจิตใจของเธอให้เป็นอย่างคนละคน และมันจะให้ผลตอบแทนแก่เธอ คือ มีความสุขด้วย มีความรู้ยิ่งๆ ขึ้นไปด้วย สามารถบังคับตัวเองเหมือนกับที่บังคับตลอด เวลานี้ไปตลอดชีวิตเลย สามารถควบคุมจิตใจ บังคับสติ บังคับกิเลส บังคับอะไรต่างๆ ได้ยิ่งๆ ขึ้นไปตลอดชีวิตเลย เพียงเท่านี้ก็เป็นประโยชน์มหาศาลแล้วที่เราจะได้รับจาก พระพุทธศาสนา หรือที่จะได้รับจากความเป็นพุทธบริษัทของเรา

พุทธทาสภิกขุ


ทำวัตร สวดมนต์ เพื่อความพ้นทุกข์

ภาค ๑ คำทำวัตรเช้าและเย็น

เมื่อประชุมพร้อมกันแล้ว ประธานจุดเทียนธูปบูชาพระรัตนตรัย จากนั้น ประธานกล่ าวนำ ที่เหลือรับว่าพร้อมกัน

บทนำทำวัตร

บทนำทำวัตรนี้ประกอบด้วย ๑. คำบูชาพระรัตนตรัย ๒. ปุพพภาคนมการ ใช้สวดนำทั้งทำวัตรเช้าและเย็น

๑. คำบูชาพระรัตนตรัย

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์, ดับเพลิงกิเลส เพลิงทุกข์สิ้นเชิง, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง; พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ. ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน. (กราบ) สîวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสไว้ดีแล้ว; ธัมมัง นะมัสสามิ. ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม. (กราบ) สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว; สังฆัง นะมามิ. ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์. (กราบ)


สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

๒. ปุพพภาคนมการ (บทนอบน้อมพระพุทธเจ้า)

(หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัง กะโรมะ เส.)

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น; อะระหะโต, ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส; สัมมาสัมพุทธัสสะ. ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง. (๓ ครั้ง)

คำทำวัตรเช้า

๑. พุทธาภิถุติ (บทสรรเสริญพระพุทธคุณ) (หันทะ มะยัง พุทธาภิถุติง กะโรมะ เส.)

โย โส ตะถาคะโต, พระตถาคตเจ้านั้น พระองค์ใด; อะระหัง, เป็นผู้ไกลจากกิเลส; สัมมาสัมพุทโธ, เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง; วิชชาจะระณะสัมปันโน, เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ; สุคะโต, เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี; โลกะวิทู, เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง; อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ, เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้ อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า; สัตถา เทวะมะนุสสานัง, เป็นครูผู้สอน ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย;


10

ทำวัตร สวดมนต์ เพื่อความพ้นทุกข์

พุทโธ, เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม; ภะคะวา, เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์; โย อิมัง โลกัง สะเทวะกัง สะมาระกัง สะพîรัหîมะกัง สัสสะมะณะพîราหîมะณิง ปะชัง สะเทวะมะนุสสัง สะยัง อะภิญญา สัจฉิกัตîวา ปะเวเทสิ, พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด, ได้ทรงทำความดับทุกข์ให้แจ้ง ด้วยพระปัญญาอันยิ่งเองแล้ว, ทรงสอนโลกนี้พร้อมทั้งเทวดา มาร พรหม, และหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์, พร้อมทั้ง เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม; โย ธัมมัง เทเสสิ, พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด, ทรงแสดงธรรมแล้ว; อาทิกัลîยาณัง, ไพเราะในเบื้องต้น, มัชเฌกัลîยาณัง, ไพเราะในท่ามกลาง, ปะริโยสานะกัลîยาณัง, ไพเราะในที่สุด, สาตถัง สะพîยัญชะนัง เกวะละปะริปุณณัง ปะริสุทธัง พîรัหîมะจะริยัง ปะกาเสสิ, ทรงประกาศพรหมจรรย์ คือแบบแห่งการปฏิบัติอันประเสริฐ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ สิ้นเชิง, พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ; ตะมะหัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ, ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น; ตะมะหัง ภะคะวันตัง สิระสา นะมามิ. ข้าพเจ้านอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ด้วยเศียรเกล้า. (กราบระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า)


สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

11

๒. ธัมมาภิถุติ (บทสรรเสริญพระธรรมคุณ)

(หันทะ มะยัง ธัมมาภิถุติง กะโรมะ เส.)

โย โส สîวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, พระธรรมนั้นใด, เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้ดีแล้ว; สันทิฏฐิโก, เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง; อะกาลิโก, เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล; เอหิปัสสิโก, เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด; โอปะนะยิโก, เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว; ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ, เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน; ตะมะหัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ, ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระธรรมนั้น; ตะมะหัง ธัมมัง สิระสา นะมามิ. ข้าพเจ้านอบน้อมพระธรรมนั้น ด้วยเศียรเกล้า.

(กราบระลึกถึงคุณของพระธรรม) คำทำวัตรเช้าและเย็นเป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.๔) เดิมทีใช้สวดเฉพาะพระสงฆ์ในวัดและสวด เป็นคำบาลีเป็นหลัก ภายหลังมีอุบาสกอุบาสิกาสนใจและนำไปสวดกันอย่าง แพร่หลาย จึงได้มีการแปลเป็นไทยใช้สวดคู่กับบาลีเพื่อให้ผู้สวดรู้ความหมาย เข้าใจเนื้อหาของบทสวด การแปลนั้นมีหลายสำนวนแตกต่างกันไป แต่ ฉบับที่ได้รับการยอมรับและสวดกันมากที่สุดคือ ฉบับของสวนโมกขพลาราม ซึ่งแปลโดยหลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ การจัดลำดับของบทสวดและคำแปลใน หนังสือเล่มนี้ก็ได้ยึดตามแบบสวนโมกขพลารามเป็นส่วนใหญ่


12

ทำวัตร สวดมนต์ เพื่อความพ้นทุกข์

๓. สังฆาภิถุติ (บทสรรเสริญพระสังฆคุณ) (หันทะ มะยัง สังฆาภิถุติง กะโรมะ เส.)

โย โส สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น หมู่ใด, ปฏิบัติดีแล้ว; อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติตรงแล้ว; ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรม เป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว; สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติสมควรแล้ว; ยะทิทัง, ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ :จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา, คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่่, นับเรียงตัวบุรุษ ได้ ๘ บุรุษ;๑ เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า; อาหุเนยโย, เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา; ปาหุเนยโย, เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ; ทักขิเณยโย, เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน; ๑

๔ คู่ ๘ บุรุษ ได้แก่ โสดาปัตติมรรค - โสดาปัตติผล, สกทาคามิมรรค - สกทาคามิผล, อนาคามิมรรค - อนาคามิผล, อรหัตตมรรค - อรหัตตผล


สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

13

อัญชะลิกะระณีโย, เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี; อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ, เป็นเนื้อนาบุญของโลก, ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า; ตะมะหัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ, ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระสงฆ์หมู่นั้น; ตะมะหัง สังฆัง สิระสา นะมามิ. ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์หมู่นั้น ด้วยเศียรเกล้า.

(กราบระลึกถึงคุณของพระสงฆ์)

๔. รตนัตตยัปปณามคาถา และสังเวคปริกิตตนปาฐะ๑ (หันทะ มะยัง ระตะนัตตะยัปปะณามะคาถาโย เจวะ สังเวคะปะริกิตตะนะปาฐัญจะ ภะณามะ เส.)

พุทโธ สุสุทโธ กะรุณามะหัณณะโว, พระพุทธเจ้าผู้บริสุทธิ์ มีพระกรุณาดุจห้วงมหรรณพ; โยจจันตะสุทธัพพะระญาณะโลจะโน, พระองค์ใด มีตาคือญาณอันประเสริฐหมดจดถึงที่สุด; โลกัสสะ ปาปูปะกิเลสะฆาตะโก, เป็นผู้ฆ่าเสียซึ่งบาป และอุปกิเลสของโลก; ๑

บทนี้มี ๒ ส่วน คือ ส่วนปณามคาถา คือบทสวดเพื่อแสดงความนอบน้อมต่อพระรัตนตรัย อย่างหนึ่ง, และส่วนที่เป็นธรรมสังเวช คือบทสวดเพื่อให้เห็นความจริงของชีวิต และเกิด ความสังเวชใจ ไม่ประมาทในการใช้ชีวิต


1

ทำวัตร สวดมนต์ เพื่อความพ้นทุกข์

วันทามิ พุทธัง อะหะมาทะเรนะ ตัง, ข้าพเจ้าไหว้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ. ธัมโม ปะทีโป วิยะ ตัสสะ สัตถุโน, พระธรรมของพระศาสดา สว่างรุ่งเรืองเปรียบดวงประทีป; โย มัคคะปากามะตะเภทะภินนะโก, จำแนกประเภท คือ มรรค ผล นิพพาน, ส่วนใด; โลกุตตะโร โย จะ ตะทัตถะทีปะโน, ซึ่งเป็นตัวโลกุตระ, และส่วนใดที่ชี้แนวแห่งโลกุตระนั้น; วันทามิ ธัมมัง อะหะมาทะเรนะ ตัง, ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมนั้น โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ. สังโฆ สุเขตตาภîยะติเขตตะสัญญิโต, พระสงฆ์เป็นนาบุญอันยิ่งใหญ่กว่านาบุญอันดีทั้งหลาย; โย ทิฏฐะสันโต สุคะตานุโพธะโก, เป็นผู้เห็นพระนิพพาน, ตรัสรู้ตามพระสุคต, หมู่ใด; โลลัปปะหีโน อะริโย สุเมธะโส, เป็นผู้ละกิเลสเครื่องโลเล เป็นพระอริยเจ้า มีปัญญาดี; วันทามิ สังฆัง อะหะมาทะเรนะ ตัง, ข้าพเจ้าไหว้พระสงฆ์หมู่นั้น โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ. อิจเจวะเมกันตะภิปูชะเนยยะกัง, วัตถุตตะยัง วันทะยะตาภิสังขะตัง, ปุญญัง มะยา ยัง มะมะ สัพพุปัททะวา, มา โหนตุ เว ตัสสะ ปะภาวะสิทธิยา. บุญใด ที่ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งวัตถุสาม, คือพระรัตนตรัย อัน ควรบูชายิ่งโดยส่วนเดียว, ได้กระทำแล้วเป็นอย่างยิ่งเช่นนี้นี้,


สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

ขออุปัทวะทั้งหลาย, จงอย่ามีแก่ข้าพเจ้าเลย, ด้วยอำนาจ ความสำเร็จ อันเกิดจากบุญนั้น.

(สังเวคปริกิตตนปาฐะ)

อิธะ ตะถาคะโต โลเก อุปปันโน, พระตถาคตเจ้าเกิดขึ้นแล้ว ในโลกนี้; อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ, เป็นผู้ไกลจากกิเลส, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง; ธัมโม จะ เทสิโต นิยยานิโก, และพระธรรมที่ทรงแสดง เป็นธรรมเครื่องออกจากทุกข์; อุปะสะมิโก ปะรินิพพานิโก, เป็นเครื่องสงบกิเลส, เป็นไปเพื่อปรินิพพาน; สัมโพธะคามี สุคะตัปปะเวทิโต, เป็นไปเพื่อความรู้พร้อม, เป็นธรรมที่พระสุคตประกาศ; มะยันตัง ธัมมัง สุตîวา เอวัง ชานามะ :พวกเราเมื่อได้ฟังธรรมนั้นแล้ว, จึงได้รู้อย่างนี้ว่า :ชาติปิ ทุกขา, แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์; ชะราปิ ทุกขา, แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์; มะระณัมปิ ทุกขัง, แม้ความตายก็เป็นทุกข์; โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา, แม้ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์;

1


1

ทำวัตร สวดมนต์ เพื่อความพ้นทุกข์

อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข, ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์; ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข, ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์; ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง, มีความปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์; สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา, ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์; เสยยะถีทัง, ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ :รูปูปาทานักขันโธ, ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือรูป; เวทะนูปาทานักขันโธ, ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือเวทนา; สัญญูปาทานักขันโธ, ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือสัญญา; สังขารูปาทานักขันโธ, ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือสังขาร; วิญญาณูปาทานักขันโธ, ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือวิญญาณ; เยสัง ปะริญญายะ, เพื่อให้สาวกกำหนดรอบรู้อุปาทานขันธ์ เหล่านี้เอง; ธะระมาโน โส ภะคะวา, จึงพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เมื่อยังทรงพระชนม์อยู่; เอวัง พะหุลัง สาวะเก วิเนติ, ย่อมทรงแนะนำสาวกทั้งหลาย เช่นนี้เป็นส่วนมาก;


สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

1

เอวัง ภาคา จะ ปะนัสสะ ภะคะวะโต สาวะเกสุ อะนุสาสะนี พะหุลา ปะวัตตะติ, อนึ่ง คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น, ย่อมเป็นไป ในสาวกทั้งหลาย, ส่วนมาก, มีส่วนคือการจำแนกอย่างนี้ว่า :รูปัง อะนิจจัง, รูปไม่เที่ยง; เวทะนา อะนิจจา, เวทนาไม่เที่ยง; สัญญา อะนิจจา, สัญญาไม่เที่ยง; สังขารา อะนิจจา, สังขารไม่เที่ยง; วิญญาณัง อะนิจจัง, วิญญาณไม่เที่ยง; รูปัง อะนัตตา, รูปไม่ใช่ตัวตน; เวทะนา อะนัตตา, เวทนาไม่ใช่ตัวตน; สัญญา อะนัตตา, สัญญาไม่ใช่ตัวตน; สังขารา อะนัตตา, สังขารไม่ใช่ตัวตน; วิญญาณัง อะนัตตา, วิญญาณไม่ใช่ตัวตน; สัพเพ สังขารา อะนิจจา, สังขารทั้งหลายทั้งปวง ไม่เที่ยง; สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ. ธรรมทั้งหลายทั้งปวง ไม่ใช่ตัวตน ดังนี้. เต (ตา๑) มะยัง โอติณณามîหะ, พวกเราทั้งหลายเป็นผู้ถูกครอบงำแล้ว; ชาติยา, โดยความเกิด; ชะรามะระเณนะ, โดยความแก่ และความตาย; ๑

คำในวงเล็บสำหรับให้ผู้หญิงว่า, และในหนังสือเล่มนี้พึงทราบโดยนัยเดียวกัน


1

ทำวัตร สวดมนต์ เพื่อความพ้นทุกข์

โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ, โดยความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ทั้งหลาย; ทุกโขติณณา, เป็นผู้ถูกความทุกข์ หยั่งเอาแล้ว; ทุกขะปะเรตา, เป็นผู้มีความทุกข์ เป็นเบื้องหน้าแล้ว; อัปเปวะนามิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยา ปัญญาเยถาติ. ทำไฉน การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้, จะพึงปรากฏชัด แก่เราได้.

(สำหรับคฤหัสถ์สวด)

จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คะตา, เราทั้งหลายผู้ถึงแล้วซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ปรินิพพาน นานแล้ว พระองค์นั้น เป็นสรณะ; ธัมมัญจะ สังฆัญจะ, ถึงพระธรรมด้วย, ถึงพระสงฆ์ด้วย; ตัสสะ ภะคะวะโต สาสะนัง ยะถาสะติ ยะถาพะลัง มะนะสิกะโรมะ อะนุปะฏิปัชชามะ, จักทำในใจอยู่ ปฏิบัติตามอยู่ ซึ่งคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ตามสติกำลัง; สา สา โน ปะฏิปัตติ, ขอให้ความปฏิบัตินั้นๆ ของเราทั้งหลาย; อิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยายะ สังวัตตะตุ. จงเป็นไปเพื่อการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ เทอญ.


สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

1

(สำหรับพระภิกษุ - สามเณรสวด)

จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง อุททิสสะ อะระหันตัง สัมมาสัมพุทธัง, เราทั้งหลาย อุทิศเฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้ไกลจากกิเลส, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง, แม้ปรินิพพานนานแล้ว พระองค์ นั้น; สัทธา อะคารัสîมา อะนะคาริยัง ปัพพะชิตา, เป็นผู้มีศรัทธา ออกบวชจากเรือน ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนแล้ว; ตัสîมิง ภะคะวะติ พîรัหîมะจะริยัง จะรามะ, ประพฤติอยู่ซึ่งพรหมจรรย์ ในพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น; ภิกขูนัง (สามเณรว่า สามะเณรานัง) สิกขาสาชีวะสะมาปันนา, ถึงพร้อมด้วยสิกขาและธรรมเป็นเครื่องเลี้ยงชีวิต ของภิกษุทั้งหลาย (สามเณรว่า ของสามเณรทั้งหลาย); ตัง โน พîรัหîมะจะริยัง อิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยายะ สังวัตตะตุ. ขอให้พรหมจรรย์ของเราทั้งหลายนั้น จงเป็นไปเพื่อการทำที่สุด แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ เทอญ.

(จบคำทำวัตรเช้า)

เมื่อทำวัตรเช้าจบแล้วหากมีเวลาเหลือ หรือไม่มีกิจอย่างอื่น ให้สวดบท สวดมนต์พิเศษบางบทต่อ โดยเลือกสวดได้ตามที่เห็นสมควร ๒-๓ บท หรือ หลายบทก็ได้ จากนั้นจึงสวดมนต์บทต่อท้ายทำวัตรเช้า ต่อไปนี้


20

ทำวัตร สวดมนต์ เพื่อความพ้นทุกข์

บทสวดต่อท้ายทำวัตรเช้า

๑. ตังขณิกปัจจเวกขณปาฐะ๑

(หันทะ มะยัง ตังขะณิกะปัจจะเวกขะณะปาฐัง ภะณามะ เส.) (พิจารณาขณะใช้สอยจีวร)

ปะฏิสังขา โยนิโส จีวะรัง ปะฏิเสวามิ, เราย่อมพิจารณา โดยแยบคายแล้วนุ่งห่มจีวร, ยาวะเทวะ สีตัสสะ ปะฏิฆาตายะ, เพียงเพื่อบำบัดความหนาว, อุณหัสสะ ปะฏิฆาตายะ, เพื่อบำบัด ความร้อน, ฑังสะมะกะสะวาตาตะปะสิริงสะปะสัมผัสสานัง ปะฏิฆาตายะ, เพื่อบำบัดสัมผัสอันเกิดจากเหลือบ ยุง ลม แดด และ สัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย, ยาวะเทวะ หิริโกปินะปะฏิจฉาทะนัตถัง. และเพียงเพื่อปกปิดอวัยวะอันให้เกิดความละอาย.

(พิจารณาขณะฉันบิณฑบาต)

ปะฏิสังขา โยนิโส ปิณฑะปาตัง ปะฏิเสวามิ, เราย่อม พิจารณาโดยแยบคายแล้วฉันบิณฑบาต, เนวะ ทะวายะ, ไม่ให้ เป็นไปเพื่อความเพลิดเพลิน สนุกสนาน, นะ มะทายะ, ไม่ให้ เป็นไปเพื่อความเมามัน เกิดกำลังพลังทางกาย, นะ มัณฑะนายะ, ๑

แปลว่ า บทพิ จ ารณาปั จ จั ย ๔ ในขณะที่ ใ ช้ ส อย เดิ ม ที เ ป็ น บทที่ ก ำหนดให้ พ ระภิ ก ษุ สามเณรพิจารณาเฉพาะบุคคล ซึ่งการกำหนดพิจารณาปัจจัย ๔ นี้ จัดเข้าในปาริสุทธิศีล ๔ ข้อว่า ปัจจัยสันนิสิตศีล ศีลเกิดจากการพิจารณาใช้สอยปัจจัย ๔ คือไม่ให้เกิดตัณหาขณะ ใช้สอย ปัจจุบันนิยมนำมาสวดรวมกันต่อจากทำวัตรเช้า แม้เป็นบทสวดสำหรับพระ แต่ถ้า ฆราวาสประสงค์จะสวดก็สวดได้


สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

21

ไม่ให้เป็นไปเพื่อประดับ, นะ วิภูสะนายะ, ไม่ให้เป็นไปเพื่อตกแต่ง, ยาวะเทวะ อิมัสสะ กายัสสะ ฐิติยา, แต่ให้เป็นไปเพียงเพื่อความ ตั้งอยู่ได้แห่งกายนี้, ยาปะนายะ, เพื่อความเป็นไปได้ของอัตภาพ, วิหิงสุปะระติยา, เพื่อความสิ้นไปแห่งความลำบากทางกาย, พîรัหîมะจะริยานุคคะหายะ, เพื่ออนุเคราะห์แก่การประพฤติพรหมจรรย์, อิติ ปุราณัญจะ เวทะนัง ปะฏิหังขามิ, ด้วยการทำอย่างนี้ เราย่อม ระงับเสียได้ซึ่งทุกขเวทนาเก่า คือความหิว, นะวัญจะ เวทะนัง นะ อุปปาเทสสามิ, และไม่ทำทุกขเวทนาใหม่ให้เกิดขึ้น, ยาตîรา จะ เม ภะวิสสะติ อะนะวัชชะตา จะ ผาสุ วิหาโร จาติ. อนึ่ง ความ เป็นไปโดยสะดวกแห่งอัตภาพนี้ด้วย, ความเป็นผู้หาโทษมิได้ด้วย, และความเป็นอยู่โดยผาสุกด้วย, จักมีแก่เรา ดังนี้.

(พิจารณาขณะใช้สอยเสนาสนะ)

ปะฏิสังขา โยนิโส เสนาสะนัง ปะฏิเสวามิ, เราย่อม พิจารณาโดยแยบคายแล้วใช้สอยเสนาสนะ, ยาวะเทวะ สีตัสสะ ปะฏิฆาตายะ, เพียงเพื่อบำบัดความหนาว, อุณหัสสะ ปะฏิฆาตายะ, เพื่อบำบัดความร้อน, ฑังสะมะกะสะวาตาตะปะสิริงสะปะสัมผัสสานัง ปะฏิฆาตายะ, เพื่อบำบัดสัมผัสอันเกิดจาก เหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย, ยาวะเทวะ อุตุปะริสสะยะวิโนทะนัง ปะฏิสัลลานารามัตถัง, เพียงเพื่อบรรเทาอันตรายอันจะ พึงมีจากดินฟ้าอากาศ และเพื่อความเป็นผู้ยินดีอยู่ได้ในที่หลีกเร้น สำหรับภาวนา.


22

ทำวัตร สวดมนต์ เพื่อความพ้นทุกข์

(พิจารณาขณะฉันยารักษาโรค)

ปะฏิสังขา โยนิโส คิลานะปัจจะยะเภสัชชะปะริกขารัง ปะฏิเสวามิ, เราย่อมพิจารณาโดยแยบคายแล้วบริโภคเภสัชบริขาร อันเกื้อกูลแก่คนไข้, ยาวะเทวะ อุปปันนานัง เวยยาพาธิกานัง เวทะนานัง ปะฏิฆาตายะ, เพียงเพื่อบำบัดทุกขเวทนาอันบังเกิดขึ้น แล้ว มีอาพาธต่างๆ เป็นมูล, อัพîยาปัชฌะปะระมะตายาติ. เพื่อ ความเป็นผู้ไม่มีโรคเบียดเบียน เป็นอย่างยิ่ง ดังนี้.

๒. สั พ พปั ต ติ ท านคาถา (บทอุทิศบุญ)๑

(หันทะ มะยัง สัพพะปัตติทานะคาถาโย ภะณามะ เส.)

ปุญญัสสิทานิ กะตัสสะ ยานัญญานิ กะตานิ เม, เตสัญจะ ภาคิโน โหนตุ สัตตานันตาปปะมาณะกา, สัตว์ทั้งหลาย ไม่มีที่สุด ไม่มีประมาณ, จงมีส่วนแห่งบุญ ที่ข้าพเจ้าได้ทำในบัดนี้, และแห่งบุญอื่นที่ได้ทำไว้ก่อนแล้ว; เย ปิยา คุณะวันตา จะ มัยหัง มาตาปิตาทะโย, ทิฏฐา เม จาปîยะทิฏฐา วา อัญเญ มัชฌัตตะเวริโน, คือจะเป็นสัตว์เหล่าใด, ซึ่งเป็นที่รักใคร่และมีบุญคุณ เช่น มารดาบิดาของข้าพเจ้าเป็นต้น ก็ดี; ที่ข้าพเจ้าเห็นแล้ว หรือ ไม่ได้เห็น ก็ดี; สัตว์เหล่าอื่นที่เป็นกลางๆ หรือเป็นคู่เวรกัน ก็ดี; ๑

เรียกอีกอย่างว่า “บทกรวดน้ำตอนเช้า” ทั้งนี้ไม่จำเป็นว่าจะต้องกรวดน้ำเสมอไป ขึ้นอยู่กับ โอกาสและความสะดวกของผู้ปฏิบัติ เพราะการกรวดน้ำหัวใจสำคัญอยู่ที่จิตคิดแบ่งปัน ไม่ใช่ การรินน้ำ


สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

23

สัตตา ติฏฐันติ โลกัสîมิง เต ภุมมา จะตุโยนิกา, ปัญเจกะจะตุโวการา สังสะรันตา ภะวาภะเว, สัตว์ทั้งหลาย ตั้งอยู่ในโลก; อยู่ในภูมิทั้งสาม; อยู่ในกำเนิด ทั้งสิี่; มีขันธ์ห้าขันธ์ มีขันธ์ขันธ์เดียว มีขันธ์สี่ขันธ์; กำลัง ท่องเที่ยวอยู่ในภพน้อยภพใหญ่ ก็ดี; ญาตัง เย ปัตติทานัมเม อะนุโมทันตุ เต สะยัง, เย จิมัง นัปปะชานันติ เทวา เตสัง นิเวทะยุง, สัตว์เหล่าใด รู้ส่วนบุญที่ข้าพเจ้าแผ่ให้แล้ว, สัตว์เหล่านั้น จงอนุโมทนาเองเถิด; ส่วนสัตว์เหล่าใด ยังไม่รู้ส่วนบุญนี้, ขอเทวดาทั้งหลายจงบอกสัตว์เหล่านั้น ให้รู้; มะยา ทินนานะ ปุญญานัง อะนุโมทะนะเหตุนา, สัพเพ สัตตา สะทา โหนตุ อะเวรา สุขะชีวิโน, เขมัปปะทัญจะ ปัปโปนตุ เตสาสา สิชฌะตัง สุภา. เพราะเหตุที่ได้อนุโมทนาส่วนบุญที่ข้าพเจ้าแผ่ให้แล้ว; สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง, จงเป็นผู้ไม่มีเวร อยู่เป็นสุขทุกเมื่อ; จงถึงบทอันเกษม กล่าวคือพระนิพพาน; ความปรารถนาที่ดีงามของสัตว์เหล่านั้น จงสำเร็จเถิด.


2

ทำวัตร สวดมนต์ เพื่อความพ้นทุกข์

๓. ปัฏฐนฐปนคาถา (ตั้งความปรารถนา) (หันทะ มะยัง ปัฏฐะนะฐะปะนะคาถาโย ภะณามะ เส.)

ยันทานิ เม กะตัง ปุญญัง เตนาเนนุททิเสนะ จะ, ขิปปัง สัจฉิกะเรยยาหัง ธัมเม โลกุตตะเร นะวะ, บุญใดที่ข้าพเจ้าได้ทำในบัดนี้, เพราะบุญนั้น และการอุทิศแผ่ ส่วนบุญนั้น, ขอให้ข้าพเจ้าทำให้แจ้งโลกุตรธรรมเก้า๑ ในทันที; สะเจ ตาวะ อะภัพโพหัง สังสาเร ปะนะ สังสะรัง, ถ้าข้าพเจ้าเป็นผู้อาภัพอยู่ ยังต้องท่องเที่ยวไปในวัฏสงสาร; นิยะโต โพธิสัตโต วะ สัมพุทเธนะ วิยากะโต, นาฏฐาระสะปิ อาภัพพะฐานานิ ปาปุเณยยะหัง, ขอให้ข้าพเจ้าเป็นเหมือนโพธิสัตว์ผู้เที่ยงแท้ ได้รับพยากรณ์ แต่พระพุทธเจ้าแล้ว; ไม่ถึงฐานะแห่งความอาภัพ ๑๘ อย่าง๒; ปัญจะเวรานิ วัชเชยยัง ระเมยยัง สีละรักขะเน, ปัญจะกาเม อะลัคโคหัง วัชเชยยัง กามะปังกะโต, ๑

แปลว่า ธรรมเหนือโลกหรือธรรมที่ทำคนให้เป็นพระอริยะมี ๙ อย่าง ได้แก่ โสดาปัตติมรรค, โสดาปัตติผล, สกทาคามิมรรค, สกทาคามิผล, อนาคามิมรรค, อนาคามิผล, อรหัตตมรรค, อหรหัตตผล, นิพพาน, สรุปสั้นๆ ว่า มรรค ๔ ผล ๔ นิ​ิพพาน ๑ ๒ ความอาภัพ ๑๘ อย่าง คือ ลักษณะของคนกาลกิณี ได้แก่ ๑) เท้าใหญ่และคด ๒) เล็บ ทั้งหมดกุด ๓) ปลีน่องยาน ๔) ริมฝีปากบนห้อย ๕) น้ำลายไหลยืด ๖) เขี้ยวงอกพ้นปาก ๗) จมูกหัก ๘) ท้องป่อง ๙) หลังค่อม ๑๐) ตาลึก ๑๑) หนวดแข็งดั่งลวด ๑๒) ผมโกร๋น ๑๓) ตามตัวมีเอ็นนูน ๑๔) มีกระเต็มตัว ๑๕) ตาเหลือก เหลือง ๑๖) คอ หลัง สะเอว ค้อมลง ๑๗) ขาถ่าง ๑๘) ขนหยาบเหมือนแปลง ซึ่งลักษณะดังกล่าวมีครบในพราหมณ์ ชูชก


สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

2

ข้าพเจ้าพึงเว้นจากเวรทั้งห้า๑; พึงยินดีในการรักษาศีล; ไม่เกาะเกี่ยวในกามคุณทั้งห้า๒; พึงเว้นจากเปือกตม กล่าวคือกาม; ทุททิฏฐิยา นะ ยุชเชยยัง สังยุชเชยยัง สุทิฏฐิยา, ปาเป มิตเต นะ เสเวยยัง เสเวยยัง ปัณฑิเต สะทา, ขอให้ข้าพเจ้าไม่พึงประกอบด้วยทิฏฐิชั่ว; พึงประกอบด้วย ทิฏฐิที่ดีงาม; ไม่พึงคบมิตรชั่ว; พึงคบแต่บัณฑิตทุกเมื่อ; สัทธาสะติหิโรตตัปปาตาปักขันติคุณากะโร, อัปปะสัยโห วะ สัตตูหิ เหยยัง อะมันทะมุยหะโก, ขอให้ข้าพเจ้าเป็นบ่อที่เกิดแห่งคุณ, คือ ศรัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ ความเพียร และขันติ; พึงเป็นผู้ที่ศัตรูครอบงำ ไม่ได้; ไม่เป็นคนเขลา คนหลงงมงาย; สัพพายาปายุปาเยสุ เฉโก ธัมมัตถะโกวิโท, เญยเย วัตตัตîวะสัชชัง เม ญาณัง อะเฆวะ มาลุโต, ขอให้ข้าพเจ้าเป็นผู้ฉลาดในอุบาย แห่งความเสื่อมและความ เจริญ; เป็นผู้เฉียบแหลมในอรรถและธรรม; ขอให้ญาณของ ข้าพเจ้าเป็นไปไม่ข้องขัดในธรรมที่ควรรู้, ดุจลมพัดไปในอากาศ ฉะนั้น; ยา กาจิ กุสะลา มะยา สา สุเขนะ สิชฌะตัง สะทา, เอวัง วุตตา คุณา สัพเพ โหนตุ มัยหัง ภะเว ภะเว, ๑ เวรทั้ง ๕ ได้แก่ ผลกรรมที่เกิดจากการละเมิดศีล ๕ มี ฆ่าสัตว์ เป็นต้น ๒

กามคุณ ๕ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่ทำให้เกิดความยินดีพอใจ


2

ทำวัตร สวดมนต์ เพื่อความพ้นทุกข์

ความปรารถนาใดๆ ของข้าพเจ้าที่เป็นกุศล, ขอให้สำเร็จโดยง่าย ทุกเมื่อ; คุณที่ข้าพเจ้ากล่าวมาแล้วทั้งปวงนี้, จงมีแก่ข้าพเจ้า ทุกๆ ภพ; ยะทา อุปปัชชะติ โลเก สัมพุทโธ โมกขะเทสะโก, ตะทา มุตโต กุกัมเมหิ ลัทโธกาโส ภะเวยยะหัง, เมื่อใด, พระสัมพุทธเจ้าผู้แสดงธรรมเครื่องพ้นทุกข์ เกิดขึ้นแล้ว ในโลก; เมื่อนั้น, ขอให้ข้าพเจ้าพ้นจากกรรมอันชั่วช้าทั้งหลาย, เป็นผู้ได้โอกาสแห่งการบรรลุธรรม; มะนุสสัตตัญจะ ลิงคัญจะ ปัพพัชชัญจุปะสัมปะทัง, ละภิตîวา เปสะโล สีลี ธาเรยยัง สัตถุสาสะนัง, ขอให้ข้าพเจ้าพึงได้ความเป็นมนุษย์; ได้เพศบริสุทธิ์; ได้บรรพชา อุปสมบทแล้ว; เป็นคนรักศีล; มีศีล; ทรงไว้ซึ่งพระศาสนาของพระศาสดา; สุขาปะฏิปะโท ขิปปาภิญโญ สัจฉิกะเรยยะหัง, อะระหัตตัปผะลัง อัคคัง วิชชาทิคุณะลังกะตัง, ขอให้เป็นผู้มีการปฏิบัติโดยสะดวก, ตรัสรู้ได้พลัน; กระทำ ให้แจ้งซึ่งอรหัตผลอันเลิศ, อันประกอบด้วยธรรม มีวิชชา เป็นต้น; ยะทิ นุปปัชชะติ พุทโธ กัมมัง ปะริปูรัญจะ เม, เอวัง สันเต ละเภยยาหัง ปัจเจกะโพธิมุตตะมันติ. ถ้าหากพระพุทธเจ้าไม่บังเกิดขึ้น, แต่กุศลกรรมของข้าพเจ้า เต็มเปี่ยมแล้ว; เมื่อเป็นเช่นนั้น, ขอให้ข้าพเจ้าพึงได้ญาณ เป็นเครื่องรู้เฉพาะตนอันสูงสุดเทอญ.


สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

2

คำทำวัตรเย็น

เมื่อพร้อมกันแล้ว ประธานจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย ทุกคนประนมมือ ทำจิตให้สงบ เสร็จแล้วประธานว่านำ บทนำทำวัตร (หน้า ๘) ทุกคนรับว่าพร้อมกัน จบแล้วจึงสวดคำทำวัตรเย็นต่อไปนี้

๑. พุทธานุสสติ (บทระลึกถึงพุทธคุณ) (หันทะ มะยัง พุทธานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส.)

ตัง โข ปะนะ ภะคะวันตัง เอวัง กัลîยาโณ กิตติสัทโท อัพภุคคะโต, ก็กิตติศัพท์อันงามของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น, ได้ฟุ้งไปแล้วอย่างนี้ว่า :อิติปิ โส ภะคะวา, เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น; อะระหัง, เป็นผู้ไกลจากกิเลส; สัมมาสัมพุทโธ, เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง; วิชชาจะระณะสัมปันโน, เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ; สุคะโต, เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี; โลกะวิทู, เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง; อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ, เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้ อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า; สัตถา เทวะมะนุสสานัง, เป็นครูผู้สอน ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย; พุทโธ, เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม; ภะคะวาติ. เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ ดังนี้.


2

ทำวัตร สวดมนต์ เพื่อความพ้นทุกข์

๒. พุทธาภิคีติ (บทขับพุทธคุณ) (หันทะ มะยัง พุทธาภิคีติง กะโรมะ เส.)

พุทธะวาระหันตะวะระตาทิคุณาภิยุตโต, พระพุทธเจ้าประกอบด้วยคุณ มีความประเสริฐแห่งอรหันตคุณ เป็นต้น; สุทธาภิญาณะกะรุณาหิ สะมาคะตัตโต, มีพระองค์อันประกอบด้วยพระญาณ และพระกรุณาอันบริสุทธิ์; โพเธสิ โย สุชะนะตัง กะมะลังวะ สูโร, พระองค์ใด ทรงกระทำชนที่ดีให้เบิกบาน ดุจอาทิตย์ทำบัวให้บาน; วันทามะหัง ตะมะระณัง สิระสา ชิเนนทัง. ข้าพเจ้าไหว้พระชินสีห์ ผู้ไม่มีกิเลส พระองค์นั้น ด้วยเศียรเกล้า. พุทโธ โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง, พระพุทธเจ้าพระองค์ใด เป็นสรณะอันเกษมสูงสุด ของสัตว์ทั้งหลาย; ปะฐะมานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง, ข้าพเจ้าไหว้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น อันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึก องค์ที่หนึ่ง ด้วยเศียรเกล้า; พุทธัสสาหัสîมิ ทาโส (ทาสี) วะ พุทโธ เม สามิกิสสะโร, ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระพุทธเจ้า, พระพุทธเจ้าเป็นนาย มีอิสระ เหนือข้าพเจ้า;


สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

พุทโธ ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม, พระพุทธเจ้าเป็นเครื่องกำจัดทุกข์ และทรงไว้ซึ่งประโยชน์ แก่ข้าพเจ้า; พุทธัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง, ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้ แด่พระพุทธเจ้า; วันทันโตหัง (ตีหัง) จะริสสามิ พุทธัสเสวะ สุโพธิตัง, ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตาม ซึ่งความตรัสรู้ดี ของพระพุทธเจ้า; นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง พุทโธ เม สะระณัง วะรัง, สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี, พระพุทธเจ้าเป็นสรณะ อันประเสริฐของข้าพเจ้า; เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุสาสะเน, ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนา ของพระศาสดา; พุทธัง เม วันทะมาเนนะ (มานายะ) ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ, ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระพุทธเจ้า ได้ขวนขวายบุญใด ในบัดนี้; สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา. อันตรายทั้งปวง อย่าได้มีแก่ข้าพเจ้า ด้วยเดชแห่งบุญนั้น.

(หมอบลงกราบว่า)

2


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.