ศรัทธา
กุญแจสู่ความสำ�เร็จ ร่�ำ รวย เปิดประตูสู่นิพพาน บรรณาธิการ : ศักดิ์สิทธิ์ พันธุ์สัตย์, ผู้แต่ง : ไพโรจน์ โสภา ออกแบบปก : อนุชิต คำ�ซองเมือง, รูปเล่ม : เสาวณีย์ เที่ยงตรง ภาพประกอบ : ฝ่ายศิลปกรรมเลี่ยงเชียง พิสูจน์อักษร : อรัญ มีพันธ์ ISBN 978-616-268-139-4 สร้างสรรค์และลิขสิทธิ์ บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด 105/95-96 ถนนประชาอุทิศ ซอย 45 แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ 10140 โทร./แฟกซ์ 02-872-7667 เชิญร่วมเผยแผ่เป็นธรรมทาน โทร. 02-872-9191, 02-872-8181, 02-872-7227, 02-872-9898 LC2YOU@GMAIL.COM, LC2YOU@HOTMAIL.COM WWW.LC2U.COM, WWW.พุทธะ.NET พิมพ์ที่ : หจก. แอลซีพี ฐิติพรการพิมพ์ 105/66-67 ถนนประชาอุทิศ ซอย 45 กรุงเทพฯ 10140 โทร./แฟกซ์ 02-872-9577 www.thitiporn.com
คำ�นำ� ศรัทธา คือความเชื่อมั่นต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยเชื่อว่าสิ่งนั้น จะนำ�ประโยชน์สขุ มาให้แก่ตน หรือแก่สว่ นรวม เมือ่ ศรัทธาหรือเชือ่ มัน่ ต่อสิ่งใด ย่อมปฏิบัติต่อสิ่งนั้นด้วยความเคารพนอบน้อมโดยมิต้อง บังคับหรือจ้างวานแต่อย่างใด คนเราเมือ่ ศรัทธาต่อสิง่ ใดแล้ว ย่อมเกิดพลังทีจ่ ะทำ�การอันใด อันหนึ่งลงไปด้วยความพากเพียรพยายามจนกว่าจะสำ�เร็จผลตามที่ คาดหวังเอาไว้ ด้วยเหตุนี้จึงมีคำ�กล่าวว่า ศรัทธาเป็นบ่อเกิดแห่ง การลงมือทำ�กิจทัง้ ปวง หรือ กิจทัง้ ปวงจะสำ�เร็จผลได้ดว้ ยศรัทธา เมือ่ ตรองดูตามคำ�กล่าวนี้ ก็จะเห็นความจริงว่าการทีค่ นเราจะลงมือ ทำ�อะไรสักอย่างหนึ่งนั้น ต้องมีศรัทธาความเชื่อเป็นพื้นฐานก่อน เช่น นักเรียนที่ตั้งใจเรียนหนังสือ เพราะเขามีความเชื่อว่าการเรียน สามารถทำ�ให้เขาเจริญก้าวหน้าได้ คนขับแท็กซี่ที่เขาขับเพราะเขา มีความเชือ่ ว่าการขับแท็กซีเ่ ป็นอาชีพทีส่ จุ ริต และสามารถหารายได้ มาจุนเจือครอบครัวได้ หรือแม้กระทั่งชาวนาทำ�นาก็เพราะมีความ เชือ่ ว่าการทำ�นาจะทำ�ให้เขามีขา้ วกิน หรือนำ�ไปขายแลกเปลีย่ นเป็น เงินได้ พระที่เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาก็เพราะเชื่อในคำ�สอน ของพระพุทธเจ้าว่าจะสามารถขัดเกลาจิตใจ หรือฝึกฝนอบรมให้ เป็นคนดีและก้าวไปสู่ความพ้นทุกข์ได้
หรือแม้แต่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา เมือ่ คราวทีท่ รง ละทิ้งราชสมบัติ ยอมจากพระชายาและบุตรน้อยอันเป็นที่รักยิ่ง เพือ่ ออกบวชนัน้ ก็เพราะพระองค์มคี วามศรัทธาเชือ่ มัน่ ว่าการออกบวช จะทำ�ให้ทรงค้นพบทางพ้นทุกข์ได้ ซึง่ ทีส่ ดุ แล้วพระองค์กท็ รงค้นพบ ทางนั้นจริงๆ ความศรัทธาจึงเป็นบ่อเกิดแห่งความสำ�เร็จ ความสำ�เร็จไม่วา่ ของคนในระดับใดถือว่าเป็นทรัพย์ที่มีค่าสำ�หรับผู้นั้น เพราะเป็นสิ่ง ที่นำ�ความสุขมาให้ และยิ่งถ้าเป็นความสำ�เร็จที่สามารถดับทุกข์ได้ อย่างหมดสิน้ เช่นเดียวกับพระพุทธเจ้า ทีเ่ รียกว่าการเข้าถึงพระนิพพาน แล้ว ก็ถือว่าเป็นอริยทรัพย์ที่นับค่าไม่ได้เลยทีเดียว หนังสือ ศรัทธา กุญแจสู่ความสำ�เร็จ ร่ำ�รวย เปิดประตู สู่นิพพาน นี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ท่านได้เรียนรู้และตระหนักถึง คุณค่าและประโยชน์ของศรัทธา ทีไ่ ม่ใช่เพียงแต่จะให้ส�ำ เร็จประโยชน์ เฉพาะแก่การทำ�มาหาทรัพย์ในทางโลกเท่านัน้ แต่ให้ส�ำ เร็จประโยชน์ สูงสุดในทางธรรมด้วยกล่าวคือ การเข้าถึงพระนิพพาน ดับทุกข์ได้ อย่างสิน้ เชิงถือเป็นอริยทรัพย์อนั นับค่าอนันต์ยง่ิ กว่าทรัพย์ทง้ั หลาย ทั้งมวลบรรดามีในโลกนี้ หรือแม้ในโลกอื่นก็ตาม หวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จะเกิดประโยชน์แก่ท่าน ทั้งหลายไม่มากก็น้อย ไพโรจน์ โสภา เรียบเรียง
ส า ร บั ญ บทที่
๑
ศรัทธา คือบ่อเกิด แห่งความสำ�เร็จ
๗-๒๑
บทที่
๒ ความหมาย และลักษณะของศรัทธา
๒๓-๗๔
บทที่
๓
ศรัทธากับความอยู่รอด ของบ้านเมือง
๗๕-๘๙
บทที่
๔
ประโยชน์สุขจากศรัทธา
๙๑-๑๒๖
บทที่
๕
ศรัทธากับความศักดิ์สิทธิ์ ๑๒๗-๑๕๙ ของมนต์คาถา
“เมื่อจะอนุเคราะห์ ย่อมอนุเคราะห์ผู้มีศรัทธาก่อนผู้อื่น ย่อมไม่อนุเคราะห์ผู้ไม่มีศรัทธาก่อน เมื่อจะเข้าไปหา ย่อมเข้าไปหาผู้มีศรัทธาก่อนผู้อื่น ย่อมไม่เข้าไปหาผู้ไม่มีศรัทธาก่อน เมื่อจะต้อนรับ ย่อมต้อนรับผู้มีศรัทธาก่อนผู้อื่น ย่อมไม่ต้อนรับผู้ไม่มีศรัทธาก่อน เมื่อจะแสดงธรรม ย่อมแสดงธรรมแก่ผู้มีศรัทธาก่อนผู้อื่น ย่อมไม่แสดงธรรมแก่ผู้ไม่มีศรัทธาก่อน ผู้มีศรัทธา เมื่อตายไปแล้วย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์”
พุทธพจน์ อัง.ปัญจก.๒๒/๓๘/๓๗
บทที่
๑
ศรัทธา คือบ่อเกิดแห่งความสำ�เร็จ ควรยิ่งแก่การปลูกฝัง ให้บังเกิดมีในสันดาน
ศรัทธา คือบ่อเกิดแห่งความสำ�เร็จ มีค�ำ กล่าวว่า “ศรัทธาเป็นมารดาแห่งความเพียรและความ สำ�เร็จทัง้ ปวง” คำ�กล่าวนีส้ ะท้อนให้เห็นถึงบทบาทและความสำ�คัญ ของศรัทธาได้เป็นอย่างดี ความสำ�เร็จในกิจต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกิจเล็กๆ น้อยๆ ใน ชีวติ ประจำ�วัน นับตัง้ แต่ลา้ งจาน ถูบา้ น อาบน�ำ้ ซักผ้า การร้องเพลง การสวดมนต์ไปจนถึงกิจการงานใหญ่ๆ ระดับประเทศ หรือระดับ โลก กิจการอะไรก็ตามเราไม่อาจปฏิเสธได้วา่ ความสำ�เร็จในกิจนัน้ ๆ เป็นผลทีเ่ กิดจากความพากเพียร หรือการลงมือทำ�ของผูน้ น้ั เป็นสำ�คัญ หากปราศจากความพากเพียรหรือการลงมือทำ�แล้วก็ไม่มีทางที่จะ สำ�เร็จผลได้ การที่คนคนหนึ่งจะลุกขึ้นมาทำ�ความเพียรหรือลงมือทำ� อะไรสักอย่างนั้น จำ�ต้องมีแรงกระตุ้นหรือแรงผลักดันให้อยากที่จะ ลงมือทำ� และสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดความเพียรนั้นก็คือศรัทธา ความ เชื่อมั่น อันหมายถึงความเชื่อในสิ่งที่ท�ำ นั้นว่าจะทำ�ให้เกิดผลสำ�เร็จ แก่ตนอย่างไร ยกตัวอย่างการกินข้าว ถ้าหากถามว่าเหตุใดเราถึงกินข้าว คำ�ตอบก็คือ เพราะเราเชื่อมั่นว่าการกินข้าวเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ ศ รั ท ธ า กุญแจสู่ความสำ�เร็จ ร่ำ�รวย เปิดประตูสู่นิพพาน 8
แก่ร่างกาย ช่วยให้เรามีชีวิตดำ�รงอยู่ได้ อีกอย่างคือช่วยป้องกัน หรือดับทุกข์จากความหิวได้ ถามว่า ทำ�ไมเราถึงต้องเรียนหนังสือ คำ�ตอบก็คือเพราะเรา เชื่อว่าการเรียนจะช่วยให้เรามีความรู้ อ่านออก เขียนได้ และนำ�มา พัฒนาชีวิตให้มีความเจริญก้าวหน้าและเป็นสุขได้ แม้จะมีค�ำ ถามในกิจอืน่ ๆ กับผูใ้ ดผูห้ นึง่ ในทำ�นองทีว่ า่ เหตุใด เขาถึงลงมือทำ�สิ่งนั้นสิ่งนี้ ที่สุดแล้วก็จะพบคำ�ตอบว่าที่เขาลงมือทำ� กิจนั้นเพราะมีศรัทธา หรือความเชื่อมั่นในผลของกิจนั้น เช่น หาก ถามชาวนาว่าทำ�ไมถึงทำ�นา คำ�ตอบที่ได้รับอาจแตกต่างกันไปตาม ความคิดและเหตุผลของแต่ละคน แต่ที่สุดแล้วก็จะมาจบลงที่ว่า ชาวนาทำ�นาเพราะเขาเชื่อมั่นว่าการทำ�นาจะทำ�ให้ได้ข้าว ทำ�ไม เขาถึงอยากได้ข้าว คำ�ตอบก็เพราะเขาเชื่อว่าข้าวเป็นอาหารที่ สามารถกินเลี้ยงชีพได้ เราจะเห็นได้ว่า ศรัทธา เป็นบ่อเกิดแห่งความเพียร ความ เพียรเป็นบ่อเกิดแห่งความสำ�เร็จ หากไม่มศี รัทธา ความเพียรก็ไม่เกิด เมื่อความเพียรไม่เกิดไยจะมีการลงมือทำ� เมื่อไม่มีการลงมือทำ� ความสำ�เร็จจะมาจากไหน ด้วยเหตุดังกล่าวนี้จึงกล่าวว่า ศรัทธาเป็นบ่อเกิดแห่งความสำ�เร็จ และเป็นมารดาแห่งความเพียร
บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
9
ศรัทธานำ�มาซึ่งทรัพย์ ทรัพย์ในโลกนี้ พระพุทธเจ้าทรงแบ่งไว้เป็น ๒ ประเภท คือ ๑. โลกิยทรัพย์
๒. โลกุตตรทรัพย์
• แก้ว แหวน เงินทอง • ลาภ ยศ สรรเสริญ
• ความดี • มรรค ผล นิพพาน
๑. โลกิยทรัพย์ คือทรัพย์ที่คนในโลกปรารถนากัน
มีทั้งที่เป็นวัตถุและไม่ใช่วัตถุ เช่น แก้ว แหวน เงิน ทอง ที่ดิน เกียรติยศ ชือ่ เสียง การได้ความเคารพนับถือยกย่องจากผูอ้ น่ื ความ เพียบพร้อมในปัจจัย ๔ คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และ ยารักษาโรค ทรัพย์ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นทรัพย์ที่ทุกคนต้องการ เพราะเมื่อมีแล้วย่อมสามารถที่จะนำ�ไปใช้แสวงหาความสุขให้กับ ตนเองได้
๒. โลกุตตรทรัพย์ ทรัพย์เหนือโลก หรือทรัพย์ทท่ี �ำ ให้
ผู้ที่ครอบครองพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่างๆ จัดเป็น ศ รั ท ธ า กุญแจสู่ความสำ�เร็จ ร่ำ�รวย เปิดประตูสู่นิพพาน 10
ทรัพย์ชั้นสูงที่สามารถครอบครองได้เฉพาะผู้ที่เป็นพระอริยะเท่านัน้ เรียกว่า มรรค ผล นิพพาน เป็นทรัพย์ที่ให้ความสุขไม่เจือปนด้วย ความทุกข์ ให้สขุ ทีเ่ ป็นอมตะ เป็นทรัพย์ทค่ี นอืน่ ไม่สามารถจะแย่งชิง หรือขโมยเอาไปได้ เป็นทรัพย์ที่ยิ่งกว่าทรัพย์ของพระราชามหาจักรพรรดิ เป็นทรัพย์มีค่ายิ่งเกินกว่าจะประเมินราคาได้ ทรัพย์ทั้ง ๒ ประเภทนั้น บุคคลจะหามาได้หรือครอบครอง ได้นั้นต้องอาศัยธรรมคือ ศรัทธา เป็นใบเบิกทาง กระตุ้นให้เกิด ความเพียรประกอบเหตุซึ่งจะได้มาซึ่งทรัพย์นั้นๆ ด้วยเหตุนี้ศรัทธา จึงได้ชื่อว่าเป็นเหตุให้ได้มาซึ่งทรัพย์ และไม่ใช่เฉพาะทรัพย์ที่เป็น ทรัพย์โลกิยะเท่านั้น แม้ทรัพย์ในระดับโลกุตตระที่เป็นมรรค ผล นิพพาน คนที่มีศรัทธาก็สามารถค้นหามาครอบครองได้ ดังเช่น เจ้าชายสิทธัตถะทรงตรัสรู้ พบทรัพย์คือนิพพานได้ด้วยมีศรัทธา เป็นแรงผลักให้เกิดความเพียรพยายามอย่างแรงกล้านัน่ เอง
เจ้าชายสิทธัตถะออกบวช ด้วยศรัทธา และตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ก็ด้วยมีศรัทธาเป็นบาทฐาน บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
11
ศรัทธาอันแรงกล้า นำ�มาซึ่งผลอันยิ่งใหญ่ ศรัทธา ความเชื่อมั่น เป็นดุจขุมพลังภายในที่จะกระตุ้น ให้คนเราเกิดแรงใจ แรงความเพียรในอันที่จะลงมือทำ�สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ให้สำ�เร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ ธรรมดาในการทำ�กิจต่างๆ ถ้าหากว่าผู้ใดมีพละกำ�ลังมาก ผู้นั้นย่อมสามารถทำ�สิ่งที่ยากหรือที่ยิ่งใหญ่ได้สำ�เร็จ ยิ่งถ้าเป็น กิจเล็กน้อยด้วยแล้วก็ยิ่งจะทำ�ให้สำ�เร็จได้โดยง่าย ตรงข้ามกับคนที่ มีพละกำ�ลังน้อย เขาอาจสามารถทำ�งานเล็กๆ น้อยๆ ให้สำ�เร็จได้ แต่ไม่อาจทำ�กิจที่ใหญ่ที่ต้องอาศัยพละกำ�ลังมากๆ ได้ ข้อนี้ฉันใด คนที่มีศรัทธาก็เป็นเช่นนั้น กล่าวคือ คนที่มี ศรัทธาน้อย ย่อมกระตุ้นให้เกิดกำ�ลังใจได้น้อย เมื่อกำ�ลังใจน้อย ความเพียรก็พลอยน้อยไปด้วย ครั้นความเพียรมีกำ�ลังอ่อนก็ยาก ที่จะทำ�กิจต่างๆ ให้สำ�เร็จผลได้ คนที่มีศรัทธาน้อยจึงทำ�ได้แต่งานเล็กๆ น้อยๆ ไม่อาจ ทำ�งานใหญ่ได้ แต่ถา้ หากจะทำ�งานใหญ่หรือทำ�งานทีใ่ ห้ผลตอบแทน ยิ่งใหญ่แล้ว ก็จำ�เป็นจะต้องมีพลังศรัทธาอันกล้าแกร่งเด็ดเดี่ยว ดังเช่นองค์สมเด็จพระผูม้ พี ระภาคเจ้าของเราทัง้ หลาย ทรงมีศรัทธา เชื่อมั่นในภาวะความเป็นพระพุทธเจ้าว่าเป็นภาวะที่สามารถนำ�พา ศ รั ท ธ า กุญแจสู่ความสำ�เร็จ ร่ำ�รวย เปิดประตูสู่นิพพาน 12
หมูส่ ตั ว์ให้ขา้ มพ้นจากห้วงทุกข์ในวัฏสงสารได้ ซึง่ เป็นการสงเคราะห์ อนุเคราะห์ทย่ี ง่ิ ใหญ่ไม่มผี ใู้ ดเปรียบได้ ด้วยความศรัทธาอันแรงกล้านี้ ทำ�ให้พระองค์ตั้งความปณิธานขอให้เกิดเป็นพระพุทธเจ้า แต่ความเป็นพระพุทธเจ้านั้น มิใช่จะเป็นกันได้ง่ายๆ ต้อง มุง่ มัน่ ประกอบความดีเพือ่ สะสมบารมีเป็นอเนกอนันต์สน้ิ ๔ อสงไขย กับอีกแสนกัป นับเป็นเวลาที่ยาวนานยิ่ง ซึ่งถ้าหากไม่มีศรัทธา อันแรงกล้าแล้วก็ยากที่จะทำ�ได้สำ�เร็จ แม้ในพระชาติสดุ ท้ายทีท่ รงเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ รัชทายาท องค์เดียวที่จะต้องสืบทอดบัลลังก์ต่อจากพระราชบิดา มีความสุข พรัง่ พร้อมด้วยโลกิยทรัพย์มากมาย แต่เพราะความศรัทธาทีแ่ น่วแน่ ต่อการทีจ่ ะเป็นพระพุทธเจ้าให้ได้ ทำ�ให้พระองค์สละราชสมบัตทิ จ่ี ะ ทรงได้ครอบครองในอีก ๗ วันข้างหน้า ยอมละทิง้ กระทัง่ พระชายา และพระโอรสซึ่งเป็นที่รักยิ่งประดุจแก้วตาดวงใจ ออกบวชเป็น นักพรตเพื่อแสวงหาทางดำ�เนินไปสู่ความเป็นพระพุทธเจ้า ครัน้ ทรงออกบวชแล้ว ก็ทรงบำ�เพ็ญทุกรกิรยิ าคือการทรมาน ร่างกายด้วยวิธตี า่ งๆ มีผอ่ นกลัน้ ลมหายใจ เอาพระทนต์ กดพระทนต์ (กัดฟัน) แล้วเอาพระชิวหาดุนที่ เพดาน (ลิน้ ดุนเพดานปาก) หรือแม้กระทัง่ อดพระกระยาหารเป็นแรมเดือนติดต่อกัน จนร่างกายซูบผอม กระทำ�อยูอ่ ย่างนีเ้ ป็นเวลา ติดต่อกันถึง ๖ ปี ถึงกระนั้นพระองค์ก็ยัง ทรงมีศรัทธาเต็มเปี่ยมไม่คลอนแคลน บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
13
และด้วยแรงศรัทธานีท้ �ำ ให้พระองค์เปลีย่ นวิธจี ากการทรมาน ร่างกายอันเป็นการปฏิบตั ทิ ต่ี งึ จนเกินไป มาเป็นการบำ�เพ็ญจิตแทน ซึง่ หลังจากทีไ่ ด้ทดลองปฏิบตั กิ ท็ �ำ ให้พระองค์แน่พระทัยว่า การบำ�เพ็ญ เพียรทางใจนี่แหละเป็นทางที่ถูกต้อง และนำ�ไปสู่การตรัสรู้เป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ ด้วยแรงศรัทธาและเชื่อมั่นต่อการบำ�เพ็ญทางใจนี้ ทำ�ให้ พระองค์เร่งรัดทำ�ความเพียรอย่างต่อเนือ่ งไม่ลดละ เอาชนะพญามาร และเสนามารที่เข้ามาขัดขวางให้พ่ายแพ้กลับไป ที่สุดก็ทรงตรัสรู้ สำ�เร็จเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ดับกองกิเลสกองทุกข์ ทัง้ หลายอย่างสิน้ เชิง และได้พบสมบัตอิ นั ล�ำ้ ค่าทีเ่ ป็นโลกุตตรทรัพย์ กล่าวคือ พระนิพพาน เป็นสุขที่ทรัพย์ใดๆ ในโลกไม่อาจซื้อหาได้ จะเห็นได้วา่ ผูม้ เี ป้าหมายทีย่ ง่ิ ใหญ่ จำ�ต้องมีศรัทธาอันใหญ่ยง่ิ เป็นแรงผลักดันจึงจะสามารถ ก้าวไปสูค่ วามสำ�เร็จแห่ง เป้าหมายนัน้ ได้
ศ รั ท ธ า กุญแจสู่ความสำ�เร็จ ร่ำ�รวย เปิดประตูสู่นิพพาน 14
ศรัทธา ประตูสู่อริยทรัพย์ ที่กล่าวมานั้นจะเห็นได้ว่าพลังแห่งศรัทธาเป็นประตูนำ�ไปสู่ ความสำ�เร็จ และเป็นเหตุให้ได้ทรัพย์ ทั้งทรัพย์ทางโลกและทรัพย์ ทางธรรม คือ มรรค ผล นิพพาน ดังเช่นพระพุทธองค์ทรงได้ ทรัพย์ที่ยิ่งใหญ่คือความเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งนี้ ก็เพราะทรงอาศัยศรัทธาเป็นประตูเปิดสู่ความสำ�เร็จ ด้ ว ยเหตุ ที่ พ ระพุ ท ธองค์ ไ ด้ ท รงประจั ก ษ์ ถึ ง ความสำ � คั ญ แห่งศรัทธา ในฐานะที่เป็นธรรมเบื้องต้นที่จะทำ�ให้บุคคลก้าวไปสู่ ความเจริญ ความสำ�เร็จ หรือแม้กระทั่งการบรรลุมรรคผลนิพพาน จึงตรัสแก่ท้าวสหัมบดีพรหมในคราวที่มาทูลอาราธนาให้พระองค์ แสดงธรรมที่ทรงค้นพบนั้นแก่เวไนยสัตว์๑ ว่า “หมู่สัตว์ผู้ต้องการฟังธรรม จงปล่อยศรัทธามาเถิด เราได้เปิดประตูอมตธรรมแก่เหล่าสัตว์แล้ว”
๑
เวไนยสัตว์ (อ่านว่า เว-ไน-ยะ-สัด) หมายถึง สัตว์ที่จะรู้แจ้งตามได้เมื่อฟังธรรม บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
15
พระดำ�รัสนีแ้ สดงให้เห็นชัดว่าศรัทธามีความสำ�คัญยิง่ ต่อการ ที่จะได้รู้แจ้งธรรม หรือเข้าถึงธรรมอันเป็นอมตะดังที่พระองค์ทรง ค้นพบ ผู้ใดที่ปรารถนารู้แจ้งในธรรม หรือได้มรรค ผล นิพพาน ก็จงทำ�ศรัทธาให้เกิดขึ้นในตัวของพระองค์ คือ ให้มีความเชื่อมั่น ในปัญญาการตรัสรู้ของพระองค์ ที่เรียกว่า ตถาคตโพธิสัทธา ซึ่งหมายถึง ความเชื่อศรัทธาในตัวพระองค์ว่าทรงตรัสรู้จริง และ ธรรมที่พระองค์ตรัสรู้นั้นสามารถนำ�ผู้ปฏิบัติให้เข้าถึงความดับทุกข์ ได้จริง ผูท้ ม่ี คี วามเชือ่ มัน่ อย่างนีเ้ ป็นเบือ้ งต้นแล้ว ย่อมเกิดความเพียร ในอั นที่ จ ะศึ ก ษาและปฏิบัติ ตามพระธรรมคำ � สอนของพระองค์ อย่างจริงจัง โดยปราศจากข้อสงสัย เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วก็เป็นทางที่ จะทำ�ให้ผนู้ น้ั ได้ทรัพย์อนั ประเสริฐเช่นเดียวกับทีพ่ ระองค์ได้ นัน่ ก็คอื การเข้าถึงนิพพาน อันเป็นที่สิ้นสุดแห่งทุกข์ทั้งปวงนั่นเอง มุมมองหนึ่งที่เราจะได้จากพระดำ�รัสที่ตรัสแก่ท้าวสหัมบดีพรหมนั้นก็คือ ผู้ที่ปรารถนาความเจริญ หรือความสำ�เร็จ จงปลูก ศรัทธาให้บังเกิดขึ้นในตนให้เต็มเปี่ยมก่อน หากมีศรัทธาเต็มเปี่ยม แล้ว ก็เป็นอันหวังผลสำ�เร็จได้แน่นอน และผู้ที่เป็นตัวอย่างในการปล่อยศรัทธารับฟังธรรมของ พระพุทธเจ้าแล้วได้ทรัพย์อนั เป็นโลกุตตระก็คอื พระอัญญาโกณฑัญญะ หนึง่ ในปัญจวัคคียท์ ง้ั ๕ ซึง่ เดิมทีพระอัญญาโกณฑัญญะนัน้ เป็นหนึง่ ศ รั ท ธ า กุญแจสู่ความสำ�เร็จ ร่ำ�รวย เปิดประตูสู่นิพพาน 16
ในพราหมณ์ ๘ คนทีเ่ ข้าทำ�นายลักษณะของพระพุทธเจ้าเมือ่ ประสูติ ได้ ๕ วัน ในวันนัน้ พราหมณ์ ๗ คนแรกกล่าวทำ�นายเป็น ๒ ทางคือ
“ถ้าพระราชกุมารนี้อยู่ครองฆราวาส จักได้เป็นมหาจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ ปกครองแผ่นดินมีอาณาเขต ครอบคลุม ๔ มหาสมุทร ถ้าออกบวชจักได้ตรัสรู้ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ศาสดาเอกของโลก” มี เ พี ย งโกณฑั ญ ญพราหมณ์ ค นเดี ย วที่ ทำ � นายชี้ ข าดว่ า พระราชกุมารนี้จะต้องออกบวชและตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าอย่าง แน่นอน และด้วยความเชือ่ มัน่ ในคำ�ทำ�นายของตนว่าจะต้องเป็นจริง ทำ�ให้โกณฑัญญพราหมณ์ออกบวชและติดตามเจ้าชายสิทธัตถะ ทันทีที่รู้ว่าเจ้าชายเสด็จออกบรรพชา จนกระทัง่ มาพบพระองค์ขณะทีบ่ �ำ เพ็ญทุกรกิรยิ าอยูท่ ต่ี �ำ บล อุรุเวลาเสนานิคม จึงอยู่คอยเฝ้าอุปัฏฐาก ด้วยคิดว่าหากเจ้าชาย ได้ตรัสรูเ้ ป็นพระพุทธเจ้าแล้ว จักได้แสดงธรรมให้ตนได้ฟงั และบรรลุ ตามบ้าง
บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
17
ครัน้ ต่อมาเห็นเจ้าชายเลิกการบำ�เพ็ญเพียรด้วยการทรมานตน หันมาเสวยอาหาร ก็นึกเสื่อมศรัทธาและผิดหวังในตัวพระองค์ จึงหลีกหนีไปที่อื่นเสีย หลังจากพระผูม้ พี ระภาคเจ้าได้ตรัสรูเ้ ป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้ว และทรงรับคำ�อาราธนาของสหัมบดีพรหมในการทีจ่ ะประกาศ ศาสนา ทรงใคร่ครวญบุคคลทีม่ ศี รัทธาและมีอปุ นิสยั แก่กล้าพอทีเ่ มือ่ ได้ฟงั ธรรมแล้วจะรูแ้ จ้งตาม ก็ทรงพิจารณาเห็นว่าโกณฑัญญพราหมณ์ เป็นผู้มีศรัทธาเหมาะสมที่จะแสดงธรรมโปรด จึงเสด็จไปที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แสดงธรรมโปรดโกณฑัญญพราหมณ์ พร้อมพวกอีก ๔ คน เมื่อจบพระธรรมเทศนา ที่ชื่อว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร โกณฑัญญพราหมณ์ก็ได้ดวงตา เห็นธรรม สำ�เร็จเป็นพระอริยบุคคลชั้นโสดาบัน พระพุทธองค์ทรงทราบว่าโกณฑัญญพราหมณ์ได้ดวงตา เห็นธรรมแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานว่า “อญฺาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโ โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอๆๆ” คำ�ว่า “อัญญา” จึงเป็นคำ�นำ�หน้าชื่อของท่านโกณฑัญญพราหมณ์ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เรือ่ งราวของโกณฑัญญพราหมณ์กจ็ บลงแต่เพียงเท่านี้ จะเห็น ได้ว่าเมื่อพระองค์จะแสดงธรรมแก่ใครหรือเสด็จไปโปรดผู้ใดนั้น จะทรงพิจารณาดูที่ศรัทธาและอุปนิสัยของผู้นั้นก่อนว่ามีมากพอ ศ รั ท ธ า กุญแจสู่ความสำ�เร็จ ร่ำ�รวย เปิดประตูสู่นิพพาน 18
ที่จะโปรดให้บรรลุธรรมได้หรือไม่ หากทรงเห็นว่าผู้นั้นมีศรัทธาและ มีอปุ นิสยั ทีแ่ ก่กล้าแล้ว ก็จะเสด็จไปโปรดโดยมิลงั เล คนที่มีศรัทธาย่อมได้รับโอกาส หรือมีโอกาสเข้าถึงแก่น พระธรรมคำ�สอนได้มากกว่าผูท้ ไ่ี ม่มศี รัทธา เมือ่ รูเ้ ช่นนีแ้ ล้วขอผูอ้ า่ น ทุกท่านจงยังจิตให้เลือ่ มใสศรัทธาในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ให้เต็มเปีย่ มเถิด เพราะการยังศรัทธาให้เกิดขึน้ ในใจของตนก็เท่ากับ เปิดประตูสคู่ วามสำ�เร็จ ทัง้ ความสำ�เร็จในระดับโลกิยะและโลกุตตระ
บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
19
ยิ่งศรัทธายิ่งสำ�เร็จ ยิ่งสำ�เร็จยิ่งศรัทธา การรู้แจ้งธรรมของโกณฑัญญพราหมณ์นี้ มีผลดีเกิดกับ พระพุทธเจ้า ๒ ประการ คือ
๑. ทำ�ให้พระพุทธองค์มีสักขีพยานยืนยันในการตรัสรู้ ของพระองค์ ๒. เป็ น การเพิ่ ม แรงศรั ท ธาความมั่ น ใจแก่ พ ระองค์ ในอันที่จะประกาศธรรมต่อไป คือมีความมั่นใจว่า ธรรมที่พระองค์ตรัสรู้นั้นไม่เป็นสิ่งเกินวิสัยที่มนุษย์ จะรู้ตามได้
ด้ ว ยความสำ � เร็ จ ที่ เ กิ ด จากการประกาศธรรมครั้ ง แรก ทั้ง ๒ ประการนั้น ยังผลให้พระผู้มีพระภาคเจ้ามีกำ�ลังศรัทธาขึ้น อย่างแรงกล้าทีจ่ ะทำ�งานประกาศศาสนา จากเดิมทีท่ รงลังเลในการ ประกาศธรรม กลับมีพลังแรงใจในอันที่จะพากเพียรทำ�งานอย่าง เหลือล้น
ศ รั ท ธ า กุญแจสู่ความสำ�เร็จ ร่ำ�รวย เปิดประตูสู่นิพพาน 20
จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่าศรัทธากับความสำ�เร็จนั้น เป็นธรรมที่เกื้อกูลสนับสนุนกัน กล่าวคือ การทำ�งานบางอย่าง ของบางคนอาจเริม่ ต้นด้วยความลังเลสงสัย ขาดความมัน่ ใจ กังวลว่า สิง่ ทีท่ �ำ นัน้ จะบังเกิดผลสำ�เร็จตามทีค่ าดหวังหรือไม่ เรียกว่ามีศรัทธา ไม่แน่วแน่ แต่ครัน้ ลงมือปฏิบตั แิ ล้วบังเกิดผลสำ�เร็จขึน้ มา ก็ท�ำ ให้เกิด ความปลาบปลื้มปีติยินดี หมดความลังเลสงสัย เกิดความมั่นใจ และอาจหาญในการที่จะทำ�ต่อไป อุปมาเหมือนเด็กที่เริ่มหัดเดิน เริ่มแรกก็กล้าๆ กลัวๆ ไม่กล้าเดิน ครั้นเดินได้สักก้าวสองก้าว ความกลัวก็จะหายไป ความกล้าเข้ามาแทนที่ เกิดความเชื่อและ มัน่ ใจในตนว่าเราสามารถเดินได้แล้ว จากนัน้ เขาก็จะหัดเดินบ่อยขึน้ เมื่อเดินบ่อยขึ้นเดินได้มากขึ้น ความมั่นอกมั่นใจก็มากขึ้น ที่สุด เขาก็จะเดินได้วิ่งได้โดยที่ไม่ต้องกลัวอะไรอีก ด้วยเหตุนี้จึงกล่าวได้ว่า ยิ่งศรัทธายิ่งสำ�เร็จ ยิ่งสำ�เร็จก็ยิ่ง ศรัทธา ยิ่งศรัทธามากเท่าไรก็จะยิ่งเพิ่มพลังให้มีความพากเพียร มากเท่านั้น และยิ่งมีความเพียรมาก กำ�ลังใจมาก ก็ไม่มีงานอันใด ที่ยิ่งใหญ่เกินความสามารถ แม้กระทั่งงานการดับทุกข์ หยุดการ เวียนว่ายตายเกิด ก็ไม่ใช่ปัญหาใหญ่อีกต่อไป ขอเพียงแต่ว่าให้เรามีศรัทธาที่มากพอ ย่อมก้าวไปถึงอย่าง แน่นอน
บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
21
สทฺธา สาธุ ปติฏฺิตา. ศรัทธาตั้งมั่นแล้ว ยังประโยชน์ให้สำ�เร็จ. ส.ส. ๑๕/๕๐
บทที่
๒
ความหมายและลักษณะของศรัทธา พลังนิวเคลียร์ สร้างจากพลังใจ พลังใจ เกิดจากพลังศรัทธา
ความหมายของศรัทธา คำ�ว่า ศรัทธา นี้ มาจากคำ�ภาษาสันสกฤตว่า “ศฺราทฺธา” แปลว่า ความเชื่อ ไทยยืมมาใช้ในรูปศัพท์ว่า ศรัทธา ตรงกับคำ� ในภาษาบาลีว่า “สทฺธา” แปลว่า ความเชื่อ หรือความเลื่อมใส ศรัทธา เป็นนามธรรม เป็นความรูส้ กึ เป็นอารมณ์ทบ่ี ริสทุ ธิ์ เกิดขึ้นตามธรรมชาติที่มีอยู่ในใจของทุกคน มีลักษณะเป็นกลางๆ หากยังไม่เอนเอียงไปเพราะถูกอิทธิพลของสิ่งนั้นๆ เข้ามาทำ�ให้ นึกคิดไปด้านใดด้านหนึ่ง เพราะความเป็นกลาง ศรัทธาจึงมีความหมายทีห่ ลากหลาย ทั้งนี้ก็เพราะเป็นไปตามอารมณ์ที่ถูกดึงไป ดังนั้น เมื่อพูดถึงศรัทธา ก็เป็นการเข้าใจกันทันทีว่านี้คือ ความเชื่อ ความเลื่อมใส ความไว้วางใจ ความซื่อตรง ความจงรักภักดี ความประสงค์ ความบริสุทธิ์ ความเคารพนับถือ ความยินดี หรืออื่นๆ อีกมากมาย
ศ รั ท ธ า กุญแจสู่ความสำ�เร็จ ร่ำ�รวย เปิดประตูสู่นิพพาน 24
ซึ่งในความเชื่อนั้นมีการให้ความหมายที่แตกต่างกันตาม ความคิดเห็นและความเข้าใจในแต่ละบุคคล ลัทธิ หรือศาสนา ไม่วา่ ใครจะนิยามความหมายของคำ�ว่า ศรัทธา ไปในแง่ไหน แต่ศรัทธาไม่เคยทำ�ร้ายใคร ศรัทธาไม่ใช่อารมณ์ที่เลวร้าย หากแต่ สิ่งที่มาทำ�ร้าย คือสิ่งที่คนนั้นศรัทธาต่างหาก ความศรัทธาจึงเป็น รากฐานหรือจุดเริ่มต้นที่จะนำ�ไปสู่ความเปลี่ยนแปลง ศรัทธาเป็นธรรมทีม่ คี ณ ุ ค่าอยูใ่ นตัว ไม่วา่ จะเกิดขึน้ กับบุคคล ประเภทใด เป็นชายหรือหญิง เป็นเศรษฐีหรือยาจก เป็นนักพรต หรือชาวบ้าน เป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ เป็นพ่อค้าหรือชาวนา ผู้นั้นก็จะมี หนทางทีจ่ ะสร้างคุณค่าให้เกิดกับตัวเองได้อย่างมากมาย ขอเพียงแต่ ศรัทธานั้นเป็นศรัทธาที่ถูกต้องถูกทาง มีค�ำ พูดว่า ตราบใดที่ยังมีชีวิตอยู่ อย่าทอดทิ้งศรัทธา เพราะศรัทธาเปรียบประดุจดั่งประตูสู่ความสำ�เร็จ สู่มรรคผลของคนทุกระดับ แม้แต่การเข้าสู่พระนิพพาน อันเป็นทรัพย์สูงสุด ก็ต้องพึ่งพาอาศัยศรัทธานี้เป็นเบื้องต้น
บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
25
เหตุให้เกิดศรัทธา ใช่เลย คนนั้นคือคนต้นแบบ คนนั้นคือแรงบันดาลใจ คนนั้นคือไอดอลในใจ ศรัทธา แม้จะเป็นสิ่งที่ดีมีคุณค่า แต่ใช่ว่าศรัทธาจะเป็น สิง่ ทีถ่ กู ต้องเสมอไป เพราะทุกวันนีห้ ลายคนต้องประสบกับความทุกข์ มากมาย บางคนถึงกับฆ่าตัวตายเพราะหลงเชื่อศรัทธาในตัวบุคคล หรือในสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยขาดปัญญาไตร่ตรอง จนถลำ�ลึกกลายเป็น ความหลงงมงายแล้วย้อนกลับมาทำ�ลายตนเอง ศรัทธาที่ดีจึงต้องมีปัญญาช่วยกลั่นกรองให้เห็นชัดว่า ควรจะเชื่อหรือไม่ หรือควรเชื่อมากน้อยแค่ไหน ปัญญาจะช่วยให้ เราเชือ่ ในสิง่ ต่างๆ อย่างมีเหตุผลมากขึน้ รอบคอบขึน้ และสามารถ ยับยั้งความหลงงมงายได้ด้วย ยิ่งสังคมในปัจจุบันเป็นยุคที่เทคโนโลยีก้าวไกล การสื่อสาร การรับข้อมูลข่าวสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว จำ�เป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง ใช้สติปัญญาไตร่ตรองข้อมูลให้รอบคอบก่อนจึงตัดสินใจเชื่อ ศ รั ท ธ า กุญแจสู่ความสำ�เร็จ ร่ำ�รวย เปิดประตูสู่นิพพาน 26
ศรัทธาเกิดจากอะไร หรืออะไรเป็นมูลเหตุให้เกิดศรัทธา พระพุทธองค์ทรงจำ�แนกมูลเหตุที่ทำ�ให้คนเราเกิดศรัทธา มี ๔ ประการ คือ
๑. รูปัปปมาณิกา
ศรัทธาเกิดจากการถือรูปที่เห็นเป็นประมาณ คือศรัทธาจากสิ่งที่ตาเห็น
๒. โฆสัปปมาณิกา
ศรัทธาเกิดจากการได้ยินเสียงเป็นประมาณ คือศรัทธาจากเสียงที่ได้ยิน
๓. ลูขัปปมาณิกา
ศรัทธาเกิดจากความเศร้าหมอง ความขลัง ความเก่าแก่เป็นประมาณ คือศรัทธาความขลัง
๔. ธัมมัปปมาณิกา
ศรัทธาเกิดจากการยึดถือคำ�สอน หรือหลักเหตุผล เป็นประมาณ คือศรัทธาในธรรม
บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
27
๑.
รูปัปปมาณิกา รูปร่างทำ�ให้เกิดศรัทธา รูปสวย รวยทรัพย์ นับวิชา มีมารยาท ชาติผู้ดี มีศีลธรรม
เรื่องนี้ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าไม่จริงหรือเป็นไปไม่ได้ เพราะใคร ที่ได้ยลพระรูปโฉมพระบรมศาสดาที่บริบูรณ์ไปด้วยลักษณะแห่ง มหาบุรุษ ๓๒ ประการ ไม่หลงใหลเป็นไม่มี รูปร่างจึงมีส่วนสำ�คัญต่อการช่วยสร้างความรู้สึกศรัทธา เลื่อมใสขึ้นมาได้ เรียกตามศัพท์บาลีว่า “รูปัปปมาณิกา” แปลว่า คนที่ยึดรูปร่างเป็นประมาณ หรือหลักเกณฑ์ ความรู้สึกประทับใจในรูปร่างลักษณะนั้น บางคนถือคติว่า แค่เห็นหุ่นก็อุ่นใจ แต่สเปคเรื่องรูปร่างก็ต่างกันออกไปอีก สูง ผอม อ้วน สมส่วน อรชรอ้อนแอ้นก็ว่ากันไปตามความชอบใจ ดังนัน้ คนกลุม่ นีจ้ ะมีความหลงใหลในรูปร่างเป็นทีส่ ดุ มองเห็น รูปว่าสวยงามทรวดทรงดี อวัยวะสมส่วน ท่าทางสง่าสมบูรณ์พร้อม จึงชอบใจ รูปร่างจึงเป็นปัจจัยแรกทีท่ �ำ ให้คนบางกลุม่ เลือ่ มใสศรัทธา น้อมใจที่จะเชื่อถือ ศ รั ท ธ า กุญแจสู่ความสำ�เร็จ ร่ำ�รวย เปิดประตูสู่นิพพาน 28
สมัยพุทธกาล มีภกิ ษุหนุม่ รูปหนึง่ ชือ่ วักกลิ ออกบวชเพราะ ความหลงใหลในรูปกายของพระผู้มีพระภาคเจ้า วันๆ ไม่ประกอบ ความเพียร คอยติดตามแอบดูรูปกายของพระพุทธเจ้าอย่างเดียว วันหนึ่ง พระพุทธเจ้าทรงตรวจดูอุปนิสัยของพระวักกลิ ทราบว่าท่านมีอปุ นิสยั แก่กล้าพอทีจ่ ะบรรลุธรรมได้แล้ว จึงตรัสเรียก พระวักกลิมา แล้วทรงกล่าวตำ�หนิอย่างแรงเพื่อเตือนสติให้คลาย ความมัวเมาในรูปว่า “วักกลิ จักมีประโยชน์อนั ใดกับการดูรา่ งกายอันเปือ่ ยเน่านี้ ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นชื่อว่าจะเห็นเรา ผู้ใดเห็นเราผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม เธอจงหลีกไปเสียจากที่นี่ ณ บัดนี้” พระวักกลิได้ฟังคำ�ตำ�หนิและขับไล่ของพระพุทธเจ้าเช่นนั้น ก็รู้สึกน้อยใจเป็นยิ่งนัก หลบหน้าไปปฏิบัติธรรมในที่อื่นด้วยคิดว่า พระพุทธเจ้ารังเกียจตน นานวันเข้ามิอาจละความน้อยเนื้อต่ำ�ใจได้ จึงปีนขึน้ ไปบนยอดเขาหวังจะกระโดดลงมาฆ่าตัวตาย พระบรมศาสดา ทรงทราบเหตุการณ์อยูก่ อ่ นแล้ว จึงทรงเนรมิตรูปไปปรากฏต่อหน้า พระวักกลิเห็นพระพุทธเจ้ามาปรากฏต่อหน้าเช่นนั้นก็ปลาบปลื้ม หายจากความน้อยใจเกิดปีตอิ ย่างแรงกล้า ถึงกับลอยขึน้ กลางอากาศ พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเทศนาให้ฟัง ครั้นจบลง ใจของท่าน ก็พ้นจากกิเลส สำ�เร็จเป็นพระอรหันต์ในทันที ต่อมาพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกย่องท่านไว้ในตำ�แหน่ง เอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าพระสาวกทั้งหลายด้านเป็นผู้หลุดพ้น ด้วยกำ�ลังแห่งศรัทธา บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
29
อีกตัวอย่างหนึง่ ของผูท้ ห่ี ลงในรูปคือ พระนางรูปนันทา๑ ซึง่ เป็นน้องสาวต่างมารดากับพระพุทธเจ้า พระนางเป็นผู้ยึดมั่นและ หลงใหลในความสวยงามของร่างกายตนเองเป็นอย่างมาก ในคราว ทีพ่ ระพุทธเจ้าเสด็จประทับกรุงกบิลพัสดุเ์ พือ่ โปรดพระเจ้าสุทโธทนะ พระพุทธบิดา พระนางมีความปรารถนาที่จะเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า แต่ก็ทรงกลัวว่าพระพุทธเจ้าจะกล่าวตำ�หนิรูปกายของพระนาง จึงยับยั้งชั่งใจอยู่ ต่อมามีผ้กู ล่าวสรรเสริญคุณของพระพุทธเจ้าให้พระนางฟัง หนักเข้า พระนางจึงตัดสินใจทีจ่ ะไปแอบฟังธรรมโดยมิให้พระพุทธเจ้า ทรงทราบ แต่ถึงกระนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงทราบด้วยญาณว่า พระนางได้มาแอบฟังธรรม จึงได้เนรมิตรูปหญิงสาวคนหนึ่งขึ้น นัง่ อยูข่ า้ งพระวรกาย ถวายพัดอยู่ ให้พระนางรูปนันทาเห็นแต่เพียง ผูเ้ ดียว หญิงเนรมิตนัน้ มีความสวยงามราวนางฟ้าหาทีต่ มิ ไิ ด้ พระนาง ครัน้ เห็นรูปเนรมิตนัน้ ก็หลงใหลนึกชืน่ ชมยินดี ขณะนัน้ พระพุทธเจ้า ก็ได้เนรมิตรูปนั้นให้ค่อยๆ เริ่มแก่ ผมขาว หนังเหี่ยวย่น ฟันหลุด และล้มป่วย ร้องครวญครางด้วยความทุกข์ทรมาน แล้วขาดใจตาย ร่างกายเปื่อยเน่า มีหมู่หนอนชอนไช เหลือแต่กระดูกแล้วค่อย แหลกสลายหายไป ๑
ขุ.ธ ๔๐/๑๒๒/๑๕๘
ศ รั ท ธ า กุญแจสู่ความสำ�เร็จ ร่ำ�รวย เปิดประตูสู่นิพพาน 30
พระนางรูปนันทาเห็นความไม่เที่ยงแห่งรูปกายเช่นนั้นก็เกิด ความเบื่อหน่าย คลายความกำ�หนัดในรูป พระผู้มีพระภาคทรงรู้ วาระจิตของพระนางที่คลายจากความยึดถือในรูปแล้ว จึงตรัส พระธรรมเทศนาให้พระนางเห็นความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในสังขารทั้งปวง ที่สุดพระนางก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคล ขั้นโสดาบัน จากเรื่องทั้ง ๒ ที่เล่ามานี้ จะเห็นได้ว่ารูปร่างกายนั้นเป็นได้ ทัง้ บ่อเกิดแห่งศรัทธา และบ่อเกิดแห่งความหลง ถ้าหากว่าไม่ระวังสติ ในการดูการเห็นรูป จิตก็หลงใหลกลายเป็นความยึดมัน่ ได้ ดังนัน ้ ในการดู การเห็นรูปต่างๆ เราควรมีสติยบั ยัง้ ใจเอาไว้อย่าให้หลงใหล เพราะความหลงใหลจะกลายเป็นเข็ม ทิม่ แทงใจให้เป็นทุกข์เดือดร้อน
บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
31
รูปที่ก่อเกิดศรัทธาโดยไม่มีโทษ รูปที่เป็นบ่อเกิดแห่งศรัทธานั้น แบ่งเป็น ๒ แบบ คือ
๑) รูปที่เป็นรูปกาย ๒) รูปทีเ่ ป็นกิรยิ าท่าทางการแสดงออกของรูปกาย เช่น การเดิน การนั่ง การยืน การเยื้องกาย เป็นต้น
ในรูปทั้ง ๒ แบบนั้น รูปกายแม้จะทำ�ให้คนเกิดศรัทธาได้ ก็จริง แต่หากไม่มีสติยับยั้งเสียแล้ว ความศรัทธาก็มักจะกลายเป็น ความลุ่ ม หลงและกลายเป็ น ความทุ ก ข์ เข้ า เล่ น งานผู้ นั้ น ได้ ง่ า ย ยกตัวอย่างเช่นพระวักกลิดงั ทีก่ ล่าวมาแล้ว ทีเ่ บือ้ งต้นมีความศรัทธา ในรูปกายของพระพุทธเจ้า แต่พอนานไปก็กลับกลายเป็นความลุม่ หลง และนำ�ไปสู่การคิดฆ่าตัวตาย มีคนจำ�นวนไม่น้อยในสังคมปัจจุบัน ที่มีความหลงในรูปแล้วเป็นทุกข์ อาทิหลงใหลในรูปร่างของดารา นักแสดง และก็เป็นทุกข์เมื่อดารานักแสดงผู้นั้นทำ�เรื่องไม่ดีหรือ เสียชีวิตไป บางคนคลั่งไคล้ถึงกับจะฆ่าตัวตายตามไปก็มี ส่วนรูปทีเ่ ป็นกิรยิ ามารยาทนี้ โดยมากแล้วจะเกิดคุณประโยชน์ มากกว่าเกิดโทษ เพราะรูปชนิดนี้ไม่กระตุ้นให้เกิดราคะ หรือแม้ กระตุน้ ราคะก็เป็นไปส่วนน้อย แต่จะส่งผลสะท้อนในแง่ของความดี ศ รั ท ธ า กุญแจสู่ความสำ�เร็จ ร่ำ�รวย เปิดประตูสู่นิพพาน 32
หรือคุณสมบัติในตัวของผู้นั้นมากกว่ากามารมณ์ ผลก็คือผู้เห็น จะเกิดความชื่นชมในตัวผู้นั้นแทนที่จะนึกไปในทางกำ�หนัด ข้อนี้พิสูจน์ได้จากเมื่อครั้งที่อุปติสสปริพาชกกำ�ลังแสวงหา อาจารย์ผชู้ ท้ี างแห่งความหลุดพ้น ท่านได้พบพระอัสสชิเถระ หนึง่ ใน ปัญจวัคคีย์ ระหว่างทีก่ �ำ ลังเดินบิณฑบาตด้วยอาการสำ�รวมแตกต่าง จากนักบวชทั่วไป ก็พลันเกิดความเลื่อมใสนึกไปว่า “หากว่าพระอรหันต์มบี งั เกิดขึน้ ในโลก สมณะรูปนีต้ อ้ งเป็น หนึง่ ในผูท้ เ่ี ป็นพระอรหันต์นน้ั แน่ เราจะพึงเข้าไปสอบถามแลฝากตัว เป็นศิษย์เพื่อเรียนรู้ธรรมจากท่าน” และเมือ่ เข้าไปสอบถามถึงอาจารย์ของพระเถระ และขอฟัง ธรรมคำ�สอนที่เป็นหัวใจหลัก พระอัสสชิเถระได้แสดงธรรมให้ฟังว่า “สิ่งใดเกิดแต่เหตุ สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนดับแต่เหตุ พระศาสดา เป็นผู้มีปกติกล่าวสอนเช่นนี้” เมื่อฟังธรรมประโยคนี้จบลงอุปติสสปริพาชกก็ได้ดวงตา เห็นธรรม สำ�เร็จเป็นพระโสดาบันในทันที ดังนั้น ในข้อนี้จึงสรุปได้ว่า ความชอบ ความศรัทธาที่เกิด จากการเห็นรูปคือกิริยามารยาทนั้น ให้คุณมากกว่าการเห็นรูป ที่เป็นร่างกาย เพราะไม่ย้อมด้วยราคะ อีกทั้งปลอดภัยสำ�หรับผู้ที่ ถูกมองถูกเห็นอีกด้วย
บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
33
ด้วยเหตุน้ี ในทางพุทธศาสนาจะเน้นสอนให้ส�ำ รวมระมัดระวัง หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่แสดงออกทางกิริยา การเดิน นั่ง นอน กิน ทำ� พูด การนุ่งห่ม ให้อยู่ในท่าทางพอเหมาะสมก่อเกิดศรัทธา แก่ผู้พบเห็น ดังเช่นในพระวินยั ของพระสงฆ์ ก็ทรงบัญญัตสิ กิ ขาบททีเ่ รียกว่า เสขิยวัตร ซึ่งมีข้อระเบียบที่จะต้องสำ�รวมระวังในการนุ่ง การห่ม การฉัน การเข้าบ้าน มากถึง ๗๕ ข้อ และรวมถึงหลักที่เกี่ยวกับ กิริยามารยาทที่เหมาะแก่สมณะที่เรียกว่า อภิสมาจาร อีกมากมาย เพราะทรงให้ความสำ�คัญกับความงามทางกิริยามารยาทมากกว่า หน้าตานั่นเอง เราท่านทั้งหลายก็ควรหันมาให้ความสำ�คัญ กับความงามทางกิริยามารยาท ให้มากกว่ารูปร่างหน้าตาเถิด เพราะจะช่วยลดปัญหาความวุ่นวายในสังคม อันเกิดจากการเห็นรูปนี้ได้มากทีเดียว
ศ รั ท ธ า กุญแจสู่ความสำ�เร็จ ร่ำ�รวย เปิดประตูสู่นิพพาน 34
๒.
โฆสัปปมาณิกา เสียงทำ�ให้เกิดศรัทธา ถ้าท่านกล่าวคำ�ที่น่าฟัง ท่านจะได้ทรัพย์ ถ้ากล่าวคำ�ไม่น่าฟัง ท่านจะเสียทรัพย์
“ลากไปๆ เจ้าโคขีโ้ กง ลากไปๆ เจ้าโคขีเ้ กียจ”๑ เสียงออก คำ�สั่งที่พราหมณ์ร้องสั่งให้โคของตนออกแรงลากเกวียน ๑๐๐ เล่ม ทีบ่ รรจุดว้ ยข้าวสารเต็มเกวียน โดยมีเงินหนึง่ พันกหาปณะเป็นเดิมพัน โคทีล่ ากเกวียนเจ้าของตัง้ ชือ่ ให้วา่ นันทิวสิ าล เป็นโคโพธิสตั ว์ มีพละกำ�ลังมากกว่าโคทัว่ ไป โคนันทิวสิ าลประสงค์จะช่วยหาทรัพย์ ให้กับเจ้าของที่เลี้ยงตนมา จึงบอกอุบายให้เจ้าของไปท้าพนัน ลากเกวียน ๑๐๐ เล่มทีบ่ รรทุกข้าวสารเต็มลำ� ถ้าหากว่าโคสามารถ ลากไปได้ถือว่าชนะ แต่ถ้าลากแล้วเกวียนไม่เคลื่อนถือว่าแพ้พนัน โคนั น ทิ วิ ส าลได้ ยิ น เสี ย งออกคำ � สั่ ง ของพราหมณ์ ผู้ เ ป็ น เจ้าของที่ออกคำ�สั่งด้วยคำ�หยาบ ก็หมดกำ�ลังใจยืนนิ่งไม่ยอมลาก เกวียน ส่งผลให้พราหมณ์ผเู้ ป็นเจ้าของต้องแพ้พนันเสียเงินพันกหาปณะ กลับมานั่งซึมเศร้าเพราะเสียดายเงินที่เสียไป ๑
วิ.ม. (ไทย) ๒/๑๘๓/๒๐๕-๒๐๖. บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
35
โคนันทิวิสาลเห็นเจ้าของนั่งเศร้าเช่นนั้น ก็พอจะรู้ความ จึงเข้าไปหา และเอ่ยปากบอกถึงสาเหตุที่ตนไม่ยอมลากเกวียนนั้น เป็นเพราะตนได้ฟงั คำ�สัง่ ทีห่ ยาบของพราหมณ์แล้วทำ�ให้หมดกำ�ลังใจ ทีจ่ ะลากเกวียน แล้วบอกว่า “คราวนี้เอาใหม่ ขอให้ท่านไปท้าพนันใหม่ บัดนี้ขอให้ท้า ลากเกวียน ๒๐๐ เล่ม ให้วางเดิมพันเป็น ๒ เท่า และขอให้ทา่ น กล่าวคำ�ที่ไพเราะกับเราเถิด แล้วเราจักลากเกวียนนั้นไปให้ท่าน ชนะพนันอย่างแน่นอน” และผลก็เป็นดังทีโ่ คนันทิวสิ าลกล่าวกับพราหมณ์ผเู้ ป็นเจ้าของ ไว้จริง เพราะเมื่อเข้าเทียมเกวียนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พราหมณ์ได้ กล่าวคำ�สุภาพอ่อนหวานกับโคนันทิวิสาลว่า “โครูปงาม ผู้ทรงพลังมหาศาล ขอท่านจงลากเกวียนนี้ไป แสดงกำ�ลังแห่งตนให้ผู้คนเหล่านี้ได้ประจักษ์เถิด” จบคำ� โคนันทิวิสาลก็ออกแรงลากเกวียน ๒๐๐ เล่มที่เต็ม ไปด้วยข้าวสารให้เคลื่อนที่ไปได้อย่างสบายราวกับปุยนุ่น ทำ�ให้ พราหมณ์ผู้เป็นเจ้าของได้ทรัพย์กลับคืนมาเป็น ๒ เท่า ด้วยเหตุนี้จึงมีคำ�พูดของพราหมณ์กล่าวทิ้งท้ายเอาไว้ว่า “คนเรา ควรพูดจาด้วยถ้อยคำ�ที่ทำ�ให้เกิดความพอใจ ไม่ควรพูดถ้อยคำ�ที่หยาบคาย ไม่น่าฟัง เพราะเมื่อไหร่ที่พูดจาดี สร้างความพอใจ เมื่อนั้น เขาจะได้ทรัพย์และสิ่งที่ปรารถนา”
ศ รั ท ธ า กุญแจสู่ความสำ�เร็จ ร่ำ�รวย เปิดประตูสู่นิพพาน 36
คำ�พูดทีด่ ี ฟังแล้วรืน่ หู ชวนให้เกิดความยินดีนน้ั ไม่เฉพาะแต่ มนุษย์เท่านั้นที่ชอบฟัง สัตว์เดรัจฉานทั่วไป เช่น สุนัข แมว หมู ไก่ เขาก็ชอบฟังคำ�ที่ไพเราะเหมือนกัน ดูอย่างโคนันทิวิสาลลากเกวียน ได้ตั้ง ๒๐๐ เล่ม ทำ�ให้เจ้าของชนะพนันได้ทรัพย์มาก็เพราะได้ฟัง คำ�ที่ไพเราะอ่อนหวานแท้ทีเดียว คำ�พูดหรือเสียงจึงมีส่วน หรือถือเป็นประมาณได้ว่าเป็นสิ่ง ที่สามารถทำ�ให้คนเราเกิดศรัทธา ความเชื่อ และเกิดกำ�ลังในอันที่ จะลงมือทำ�กิจอย่างใดอย่างหนึ่งให้ส�ำ เร็จได้ การยึดถือในเสียงศัพท์บาลีเรียกว่า โฆสัปปมาณิกา แปลว่า ผู้ถือเสียงเป็นประมาณ หมายถึงผู้ที่ชื่นชอบหรือนิยมในเสียงเป็น สำ�คัญ กลุม่ คนประเภทนีม้ มี ากในสังคมปัจจุบนั เช่น ผูน้ ยิ มฟังเพลง ฟังดนตรีบรรเลง การขับร้องที่มีท่วงทำ�นอง เป็นต้น เสียงแบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ ๑) เสียงทีไ่ ม่ใช่ค�ำ พูด อาจเป็นเสียงทีเ่ กิดจากธรรมชาติ เช่น เสียงลมพัด เสียงน้ำ�ตก เสียงนกร้อง จิ้งหรีดร้อง เป็นต้น อย่างหนึง่ อาจเป็นเสียงทีม่ นุษย์สร้างขึน้ อย่างหนึง่ เช่น เสียงดนตรี เสียงเพลง เสียงขับร้องต่างๆ ทีม่ งุ่ ให้ผฟู้ งั เกิดจินตนาการหรืออารมณ์ ความรู้สึกอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ใช่เพื่อตอบโต้สื่อสารกันแบบใช้ ภาษาพูด บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
37
๒) เสียงที่เป็นคำ�พูด สื่อด้วยถ้อยคำ�ภาษาให้อีกฝ่าย
เข้าใจ เกิดความคิดและคุยโต้ตอบกันได้ อาจเป็นในรูปแบบสนทนา การสอน การปาฐกถา การบรรยาย เป็นต้น ในเสียง ๒ ประเภทนั้น เสียงที่เป็นวาจาคำ�พูด มีความ สำ�คัญมากกว่าเสียงที่ไม่ใช่คำ�พูด เพราะคำ�พูดหากพูดไม่ดี หรือ พูดแล้วแต่ผฟู้ งั ฟังไม่ดี ย่อมก่อให้เกิดการเข้าใจผิดได้งา่ ย แต่ถา้ หาก พูดดี พูดด้วยสติปัญญา พูดคำ�จริง มีสารประโยชน์ ย่อมก่อเกิด ศรัทธาในทางที่ดีได้มากมายทีเดียว ด้วยเหตุนี้พระพุทธองค์จึงทรง สอนให้ระมัดระวังในการพูด และทรงเน้นการพูดต้องประกอบด้วย ลักษณะ ๔ อย่าง คือ คำ�พูดนั้นต้อง
๑. เป็นจริง
๒. มีประโยชน์
๓. ไพเราะ
๔. ถูกกาลเทศะ
ศ รั ท ธ า กุญแจสู่ความสำ�เร็จ ร่ำ�รวย เปิดประตูสู่นิพพาน 38
ลักษณะเสียงของพระผู้มีพระภาคเจ้า ในพระไตรปิฎก๑ สาริปุตตสูตร ได้กล่าวถึงลักษณะเสียง ของพระพุทธเจ้าไว้ว่า พระศาสดาผู้มีพระสุรเสียงอันไพเราะอย่างนี้ คือมีเสียงอันเสนาะเป็นที่ตั้งแห่งความรัก ดูดดื่มหทัย เสียงเพราะ ดังเสียงนกการเวก คราใดที่ตรัสแสดงพระสัทธรรม เสียงที่เปล่ง ออกจากพระโอษฐ์จะมีองค์ประกอบ ๘ ประการ คือ
๑. เป็นเสียงไม่ขัดข้อง
๒. เป็นเสียงผู้ฟังทราบได้ง่าย
๓. เป็นเสียงไพเราะ
๔. เป็นเสียงน่าฟัง
๕. เป็นเสียงกลมกล่อม
๖. เป็นเสียงไม่แปร่ง
๗. เป็นเสียงลึก ๑
๘. เป็นเสียงก้องกังวาน
ขุ.ม. (ไทย) ๒๙/๘๘๕/๔๒๗. บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
39
เมื่อใดมีพุทธประสงค์ตรัสเฉพาะเจาะจง กระแสแห่งพระดำ�รัสจะจำ�กัดวงอยู่แต่ในบริเวณพุทธบริษัทซึ่งนั่งฟังพระสัทธรรม อยูเ่ ท่านัน้ จะมีเสียงเหมือนเสียงพรหม ผูใ้ ดได้ฟงั ธรรมจากพระโอษฐ์ ก็อดประทับใจไม่ได้ ความปรารถนาเพือ่ จะฟังจึงไม่เคยลดไปจากใจ ของผู้ฟังแม้สักคน เล่ากันว่าพระสุรเสียงที่ตรัสแสดงธรรมทุกครั้ง ราวกับแทงทะลุผิวหนังเข้าไปในเนื้อผ่านกระดูกลงไปถึงเนื้อเยื่อ คุณสมบัติเช่นนี้ จึงเป็นที่โปรดปรานของกลุ่มคนที่ถือเสียง เป็นเกณฑ์ในการเลื่อมใสศรัทธา “หม่อมฉันมีใจเลือ่ มใส ตัง้ ใจฟังพระธรรมเทศนาของพระองค์ ที่พระองค์ทรงแสดงประกอบไปด้วยเหตุต่างๆ ประกอบไปด้วย ประโยชน์ พระองค์ทรงเปล่งพระสุรเสียงอันไพเราะ ดับความ กระวนกระวายใจของหม่อมฉันได้ ข้าแต่พระสมณเจ้าผู้ทรงนำ� ความสุขมาให้หม่อมฉัน ขอพระองค์จงทรงมีชนม์ชีพยืนนานเถิด” เป็นคำ�ทูลชมเชยพระธรรมเทศนาของพระนางมัลลิกาเทวี ต่อพระพักตร์พระบรมศาสดา๑ แม้ประชาชนทั่วไปและพระสาวกทั้งหลายก็พากันกล่าว คำ�ยกย่องพระดำ�รัสของพระบรมศาสดาเป็นเสียงเดียวกันทุกครั้ง ที่ได้ฟังธรรม หรือสนทนาธรรมด้วย ๑
ขุ.ชา.อ. (ไทย) ๒๗/๒๑๖๓/๓๗๙
ศ รั ท ธ า กุญแจสู่ความสำ�เร็จ ร่ำ�รวย เปิดประตูสู่นิพพาน 40