กฎแห่งกรรมและวิธีตอบแทนพระคุณพ่อแม่

Page 1



พุทธธรรมคำสอนพร้อมคำสวด สำหรับดับทุกข์กายทุกข์ใจ สร้างความสุขสดใสให้ชีวิต

รวมธรรมคำสอน

พระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ิตธมฺโม)

ไพยนต์ กาสี น.ธ.เอก, ป.ธ.๖, พธ.บ., น.บ. รวบรวมเสริมสารธรรมในนามคณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง บรรณาธิการ : ศักดิ์สิทธิ์ พันธุ์สัตย์ ภาพประกอบ : สมควร กองศิลา ออกแบบปก : อนุชิต คำซองเมือง ศิลปกรรม : จันทรา มุงคุณคำชาว, สุกัญญา ศรีสงคราม


คำนำสำนักพิมพ์

หลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาแม้จะมีอยู่มากมายหลายเรื่อง แต่ก็มีเรื่องที่ควรสอนให้พุทธศาสนิกชน ตระหนักถึงความสำคัญอยู่ ๒ เรื่อง คือ ๑. เรื่องกรรมกับการให้ผลของกรรม เพราะหากมีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องนี้มีผลทำให้คนอยู่ร่วมกันได้อย่างเป็นปกติสุข เพราะทุกท่านจะดำเนิน ชีวิตดุจเทวดา คือมีเทวธรรม (ข้อปฏิบัติที่ทำคนให้เป็นเทวดา) อยู่ประจำใจ นั่นคือ มีหิริ ความละอายใจในการทำชั่ว มีโอตตัปปะ ความเกรงกลัวว่าตนจะ ได้รับผลจากการทำชั่วนั้น ๒. เรื่องความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ ผลจากการสร้างคุณธรรม ข้อนีใ้ ห้เกิดมีในตน ก็เหมือนเป็นการวางรากฐานอันมัน่ คงให้กบั ชีวติ ทีไ่ ม่มวี นั ตกต่ำ แต่ใครที่ขาดความกตัญญูกตเวที ก็ถือได้ว่าขาดพื้นฐานความมั่นคงของชีวิต เพราะแม้จะมีความดีอย่างอื่นอีกสักกี่ร้อยพันก็ตาม เมื่อขาดคุณธรรมข้อนี้ก็จะ มีความเจริญรุ่งเรืองอยู่ได้ไม่นาน ดังนั้น พระเดชพระคุณหลวงพ่อจรัญ ิตธมฺโม ท่านจึงวางหลักการ สอนผู้คนไว้ว่า “การแนะแนว ไม่ใช่มาถึงวัดก็สอนแต่เรื่องทำบุญไปสวรรค์ ทำบาปไปนรกเท่านั้น ต้องสอนกรรมฐานแก้กรรมได้อย่างไร ใครเอาไปใช้ ปฏิบัติเป็นประจำจะแก้กรรมได้จริงๆ” สำนักพิมพ์เลีย่ งเชียง เพียรเพือ่ พุทธศาสน์ โดยผูร้ วบรวม ได้จดั หัวข้อย่อย ซอยหน้า เสริมคำอธิบายเพิม่ เติม ให้ฝา่ ยศิลปกรรมวาดภาพประกอบ เพือ่ ให้ผู้อ่าน เข้าใจง่ายขึ้น นำไปใช้ได้ทันทีในชีวิตประจำวัน ด้วยดวงจิตที่ปรารถนาให้ทุกท่านเกิดสันติสุขในใจ ไพยนต์ กาสี (น.ธ. เอก, ป.ธ. ๖, พธ.บ., น.บ.) รวบรวมและเสริมสารธรรมในนามคณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง


อนุโมทนาทานกถา

ทานมีหลายทาน ยกตัวอย่าง คนกำลังจะจมน้ำเราก็ช่วยเขา เราได้บุญ นี่ก็เป็นทาน เขาไม่มีข้าวปลาอาหารรับประทาน เราก็เอาไปให้เขา เขาเป็นคน ยากไร้ไม่มีผ้าผ่อนท่อนสไบห่ม เราก็เอาไปให้ นี่ก็เรียกว่าทานอีกเหมือนกัน ก็ช่วยเหลือกันไป ตามตำราเขาว่า เรายิ่งให้ยิ่งได้ แต่ถ้าเราหวงมันอด หมดก็ ไม่มีมา แต่ว่าทานอะไรก็ไม่ล้ำเลิศประเสริฐ เท่ากับการให้ความดีเป็นทาน หรือให้ธรรมะเป็นทาน การทีเ่ ราช่วยให้เขาเป็นคนดีนะดีทสี่ ดุ แล้ว เพราะฉะนัน้ ทานอะไรหนอ ทานน้ำใจใสสะอาด ปราศจากมลทินที่เราให้จะประเสริฐเท่ากับให้ธรรมะ ให้ ธรรมะเป็นทานนี่ประเสริฐที่สุด การทำคนให้เป็นคนดี ให้ละชั่วประพฤติดี รักษาจิตให้ผ่องใส นั่นแหละ คือทานชั้นสูง แต่การที่จะช่วยคนอื่นให้ให้ละชั่วประพฤติชอบได้ ก็ด้วยเรามี โอกาสได้ชี้แจงให้เขาได้ประพฤติธรรมในพระพุทธศาสนาบ้าง ด้วยการพิมพ์ หนังสือแจกจ่ายเป็นบ้าง เพราะการช่วยให้โจรเป็นคนดี ให้คนชั่วเป็นคนดีได้ และให้คนไม่มีความรู้มีความรู้ได้ เป็นการทานอันประเสริฐยิ่ง สมจริงตาม พระพุทธดำรัสว่า สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ การให้ธรรมะ ชนะการให้ทั้งปวง ขออำนวยพร พระธรรมสิงหบุราจารย์


ทำดี ดี ทำชั่ว ชั่ว ชัวร์ที่สุด

๑ กฎแห่งกรรม กรรม คือ กฎธรรมชาติ คำว่า กฎแห่งกรรม แปลว่าอะไร ? กฎ แปลว่า ดัน และผลัก, กรรม แปลว่า การกระทำ

แต่ละรายแต่ละรูปไม่เหมือนกัน ทำดีก็ดันไปทางดี ทำชั่วก็ดันไปทางชั่ว กฎ ตัวนี้ คือ กฎแห่งธรรมชาติ กฎ แปลว่า กดลงไป และดันขึ้นมา

ถ้าหากว่าเรามีคุณธรรม ได้อบรมมาดีแล้ว มันจะดันและผลักไปในทางดี ให้มีปัญญา ถ้าการกระทำของเรา ไม่สมส่วนควรกัน ไม่สมเนื้อสมน้ำ เพราะจิตใจที่อบรมมาไม่ดี มันจะดันไปในทางที่ ไม่ดี และกดให้จมให้ลงต่ำไปโผล่ ไม่ขึ้น

อาตมาประสบมามากมายหลายคน บางคนไม่ ใ ส่ ใจในเรื่ อ งกรรมดี กรรมชั่ว ต้องการอายุมั่นขวัญยืน ต้องการให้มีความสวยงามผิวพรรณผ่องใส ต้องการให้สุขภาพอนามัยดี และต้องการให้กิจการสำเร็จตามเป้าหมาย แต่เขาไม่ได้สร้างเหตุดีที่จะส่งผลให้อายุยืน กลับไปทำเหตุให้อายุสั้น ไปฆ่าสัตว์ตัดชีวิต เบียดเบียนชีวิตเขา อาฆาตเคียดแค้นพยาบาทริษยาเขา รับรองผู้นั้นจะอายุสั้นพลันตายตั้งแต่อายุยังน้อย


เกิดเป็นมนุษย์ สุดแสนจะยาก ขอให้ลูกแม่ มีอวัยวะสมบูรณ์ ด้วยเถิด

พระท่านสอนไว้ว่า

“กิจฺโฉ มนุสฺสปฺปฏิลาโภ” (กิด-โฉ, มะ-นุด-สับ-ปะ-ติ-ลา-โพ) “การเกิดเป็นมนุษย์แสนจะยาก” ลำบากเหลือเกินที่จะเกิดมา โสภาภาคย์ มีหน้าตาดียิ่งหายากที่สุด ท่ า นต้ อ งมี ญ าณมา มี ปั ญ ญามา มี วิ ช ชามา มี ค วามรู้ ข องมนุ ษ ย์ คื อ มี คุณสมบัติของมนุษย์ครบ คือ คุณธรรม มีศีล ๕ ครบ จึงจะเกิดเป็นมนุษย์ที่ โสภาได้ บางคนมีศีลมาไม่ครบ มีคุณสมบัติไม่ครบ เกิดมาขี้ริ้วขี้เหร่ บางคน เกิดมาง่อยเปลี้ยเสียขา บางคนตาบอดหูหนวก บางคนแถมยังปัญญาอ่อนอีก บางคนแก่ชราเป็นอัมพาต บางคนมีทานดีมาแต่ชาติก่อน ก็มาเกิดเป็นลูกมหาเศรษฐีมั่งมีศรีสุข แต่ เ มื่ อ ชาติ ก่ อ นเขาได้ ท ำการเบี ย ดเบี ย นสั ต ว์ ม า ชาติ นี้ จึ ง สามวั น ดี สี่ วั น ไข้ เข้าโรงพยาบาลไม่พัก มีเงินก็ช่วยไม่ได้ บางคนไม่ได้สร้างเหตุแห่งปัญญามา ถึงเกิดเป็นลูกเศรษฐี เงินก็ช่วย ซื้ อวิ ช าไม่ ไ ด้ เงิ น ก็ ช่วยให้ลูกเล่าเรียนจบเป็นดอกเตอร์ ไ ม่ ไ ด้ เพราะเหตุ ใ ด เพราะทำบุ ญ มาไม่ ค รบ บางคนบ้ า นใหญ่ โ ตราวกั บ วั ง แต่ กิ น ข้ า วกั บ น้ ำ ตา ไม่เว้นแต่ละวัน


เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที ต้องทำความดีไว้เป็นตรา ไหนๆ จะตายจากโลกไป ก็จะต้องมีความดีติดไปด้วย และทิ้งความดี ไว้ ในโลกมนุษย์ คือ มีความดีเป็นตรา ถ้าใครทำกรรมฐานได้ลึกซึ้ง จะรู้เหตุผลของชีวิตได้อย่างดีที่สุด เป็นประโยชน์ แก่ชีวิตประจำวัน แก้ ไขปัญหาเกิดขึ้นเฉพาะหน้าได้ ท่านทั้งหลายโปรดทราบ เรื่องสังข์ทองเป็นปริศนาธรรม หกเขย คือ หน้าโง่ โง่ทางอายตนะ ตาโง่ไม่มีกำหนดเห็นหนอ เห็นด้วยโง่ๆ ไม่เห็นลึกซึ้ง ไม่เห็นนิสัยใจคอคน ดูคนไม่เป็น ดังโบราณว่า ดูคนให้ดูหน้า ดูผ้าให้ดูเนื้อ ดูเสื่อ ให้ดูลาย ดูชายให้ดูพ่อ จะได้ไม่ย่อท้อใจ ! ท่านทั้งหลายเพิ่งเริ่มเข้ามาปฏิบัติไม่กี่ชั่วโมงจึงอาจจะไม่ลึกซึ้งถึงขั้นที่ ดูหน้าดูตาก็จะรู้ได้ ดูคนให้ดูหน้า ดูโหงวเฮ้ง การแนะแนวไม่ใช่มาถึงวัดสอนบุญ บาป ทำบุญไปสวรรค์ ทำบาป ไปนรกเท่านั้น ต้องสอนแนะแนวถึงกรรมฐาน แก้กรรมได้อย่างไร ใครเอาไปใช้ปฏิบัติ เชิญนั่งครับ ขอบคุณค่ะ เป็นประจำจะแก้กรรมได้จริงๆ ถ้าใช้ไม่จริงก็เหมือนถ้วยชา เขา ให้มาแล้วเอาไปใส่ตู้ไว้ไม่ค่อยใช้ ให้เป็นประโยชน์เลย ตัวเรานี้มีประโยชน์มาก แต่ใช้ตัวไม่เป็น ไปใช้ในเรื่อง ไร้สาระเสียมาก ไม่ใช้ให้เป็น ประโยชน์ต่อตัวเอง เกิดมา เสียชาติเกิดไม่ประเสริฐล้ำเลิศ


อันตราย = ผลของกรรม ได้ดิบได้ดีขนาดนี้ เพราะประจบสอพลอ ความสามารถน่ะเหรอ ไม่มีหรอก ฮ่า ๆ ๆ

ปัจจุบัน บางคนเริ่มสงสัย ในเรื่องกฎแห่งกรรม บางคนก็ ไม่ยอมเชื่อเรื่องนี้ ถึงกับมีคนเขียนเป็นคำกลอนว่า “คนทำดี ได้ดีมีที่ ไหน คนทำชั่วได้ดีมีถมไป”

ในเรื่องกฎแห่งกรรม ได้กล่าวถึงอันตรายที่เกิดแก่สัตว์โลก ๕ อย่าง คือ ๑. กิเลสันตราย อันตรายที่เกิดจากกิเลส เช่น มีความโลภ ความโกรธ ความหลง ตายตามถนนหนทางมีมากมาย ตายอย่างน่าเสียดาย ๒. กัมมันตราย อันตรายที่เกิดจากความชั่วที่ทำไว้ในปัจจุบัน คือ เกิด อันตรายในปัจจุบันไม่ต้องไปเอาในชาติหน้า เห็นทันตาเลยกลางถนนหนทางนี้ ๓. วิปากันตราย อันตรายที่เกิดจากวิบาก คือ ผลของกรรมที่ทำใน อดีต ออกมาประสบในขณะนี้ในปัจจุบันนี้เอง ๔. ทิฏฐิอันตราย อันตรายที่เกิดจากทิฐิที่ผิด คือ คิดผิด คิดไม่ถูกต้อง ทำอะไรไม่มีตามคลองธรรม เป็นมิจฉาชีพ ไม่เป็นสัมมาทิฏฐิแต่ประการใด เกิดอันตรายในปัจจุบันนี ้ ๕. อริ ยู ป วาทั น ตราย อั น ตรายที่ เ กิ ด จากการจ้ ว งจาบผู้ มี บุ ญ คุ ณ ผู้ทรงศีลทรงธรรม พระอริยเจ้า เช่น กล่าวจ้วงจาบพระสงฆ์องค์เจ้า หรือ

ครูบ าอาจารย์ ที่ ส อนหนั งสือ เป็ นอัน ตรายในปั จจุ บั น นี้ จ้ ว งจาบกั บ คุ ณ พ่ อ คุณแม่เป็นอันตราย ในปัจจุบันนี้แน่นอน


ทำกรรมชั่วร้าย ระวังประสบอันตรายในชาตินี้ ท่านพีน่ อ้ งทีร่ กั อย่าคิดว่าจะไปเอาในชาติหน้า ทำบุญแล้วก็จะได้บญ ุ ในชาติหน้า ทำบาปแล้วจะได้บาปในชาติหน้า ชาตินเี้ ห็นทันตา แน่นอนทีส่ ดุ ยกตั ว อย่ า งให้ เ ห็ น ที่ วิ ท ยาลั ย ครู เ ทพสตรี ซึ่ ง ตอนนี้ เ ปลี่ ย นชื่ อ เป็ น สถาบันราชภัฏเทพสตรี จังหวัดลพบุรี เมื่อปี ๒๕๐๙ – ๒๕๑๐ จำไม่ได้ละเอียด มีการมาอบรมที่วัดอัมพวัน มาอยู่ที่วัดแล้วก็มาเล่นกองไฟ กินเหล้าเมายากัน นี่ปริญญาครุศาสตร์ เกิดต่อยปากครู ลงไปชกปากครูเลย ดูสิ อย่างนี้ จะมีอริยูปวาทันตรายเกิดขึ้นไหม ครูก็ใจดี ครูก็เป็นมหาเปรียญ ๖ ประโยค ตอนบวชเณร แล้วก็ไปเรียน วิชาความรู้วิชาครูแล้วมาบรรจุที่วิทยาลัยครูเทพสตรี ไม่ต้องกล่าวนาม เดี๋ยวนี้ ปลดเกษียณไปแล้ว “ผมไม่โกรธเขาแล้วครับ เขาต่อยปากผมไม่เป็นไร เขาเมา” เราก็เรียกเด็กมา “หนู เป็นบาปไปแล้ว นี่อริยูปวาทันตราย เธอไป ขออโหสิกรรมกับครูเสีย” ไม่ยอมไปขอ เปลี่ยนพฤติกรรมไปทางเมา เมาแล้วก็ เปลี่ยนพฤติกรรม เปลี่ยนชีวิตกลายเป็นคนเหลวไหล นี่มันเปลี่ยนพฤติกรรมได้ เพราะหลักกรรมอันนี้ ออกมานี่ชัดเจนมาก

ขอเจริญพรนะ... อยู่มาไม่ถึง ๗ วัน ขับมอเตอร์ ไซค์ ที่ท่าวุ้ง ถูกรถสิบล้อขยี้รถมอเตอร์ ไซค์ พังหมด เขาหัวเละตายคาที่เลย นี่แหละ อริยูปวาทันตราย อันตรายเกิดจากที่จ้วงจาบผู้มีบุญคุณ

เชื่อแล้วว่า กรรมมีจริง


ดวงดี ดวงร้าย ใครเป็นผู้กำหนด บางคนชอบไปหาหมอดู หมอดูบอกว่าต้องสอบได้ที่หนึ่งแต่ปรากฏว่า สอบตก หมอดูว่าสอบตกกลับสอบได้เพราะเราขยัน

เราต้องสร้างความดี ให้กับดวง หาใช่ดวงทำให้เราดี ไม่ ต้องสร้าง อยู่เฉยๆ ดี ได้อย่างไร มันต้องเกิดจากการกระทำ คือ กฎแห่งกรรม นั่นเอง

ทำงานได้ ดี​ีมาก งานออกมา ดีจริง ๆ

การสร้างความดีให้กับดวง ก็คือสร้าง ศีล สมาธิ ปัญญาให้เกิดขึ้นแก่ตัวเรา แล้วเราจะอบอวลทวนลม ผู้ที่มีสมาธิจะ เป็นคนขยันหมั่นเพียร และเป็นผู้มีปัญญา คนที่มีปัญญาแหลมลึก แหลมหลัก ต้องมีสามคม คมกริบ ไว้ภายในจิตไม่บอกใคร แสดงออกในเมื่อมีความจำเป็นจะต้องใช้ คมคาย มันยังเป็นหลุมเป็นบ่อไม่เสมอ ก็เอาบุ้งมาแทงอย่างนี้เป็นต้น คมสัน มันต้องใช้ขวานตอกย้ำลงไป จึงจะเข้าเรียบร้อยดี นี่มันมีในลักษณะศีล สมาธิ ปัญญาครบ ศีล คือ สถาปนิก ออกรูปแบบพื้นฐานให้คนชอบ สมาธิ คือ วิศวกร รู้วาระจิต รู้จักน้ำหนัก รู้จักชั่งตวงวัด รู้จักวาระจิตของคนในฐานะเช่นไร ควรทำกับเขาอย่างไร รู้กาลเทศะ รู้จักบาป รู้จักบุญ รู้จักคุณ รู้จักโทษ รู้จักสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ ปัญญา คือ นายช่าง ลงมือทำหน้าที่ มิได้รอรีแต่ประการใด ถ้าใครเป็นทั้งสถาปนิก วิศวกร และนายช่างแล้ว รับรองคนนั้น เอาตัวรอดปลอดภัยในอนาคต


เจ้าประคู้น...ขอให้ สอบติดทีเถ๊อะ ลูกจะ เอาหัวหมูมาถวายอีก

ดี-ชั่ว อยู่ที่ตัวทำ

สำหรับศาสนาพุทธของเรานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้ชัดเจน บุคคลจะได้ดีหรือชั่ว ได้รับสุขหรือทุกข์ ก็เพราะกรรม จะเปลี่ยนพฤติกรรมหรือเปลี่ยนแปลงชีวิตนี้ มันอยู่ที่หลักกรรมจากการกระทำนั้นแน่นอนที่สุด ขอเจริญพรอย่างนั้น นี่แหละพระพุทธเจ้าตรัสไว้ชัดเจนมาก

พระพุทธศาสนาสอนว่า “บุคคลจะได้ดีหรือชั่ว ได้รับสุขหรือทุกข์ ก็เพราะกรรม คือการกระทำของตนเองทั้งสิ้น” หากเราไม่ดำเนินตามทางที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้ แม้จะสวดมนต์ หรือวิงวอนขอร้องพระเจ้า หรือไปบนกับผี ไปดีกับพระ ที่โยมไปหาผีเข้าทรงมา อ้อนวอนให้ผีช่วย เสียใจด้วยนะ ต้องช่วยตัวเองสิ อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ (อัด-ตา, หิ, อัด-ตะ-โน, นา-โถ) แปลว่า ตนแลเป็นที่พึ่งของตน นี่กลับไปให้

ผีช่วย ผีช่วยได้หรือ ไปวัดนี่ถือดอกไม้ธูปเทียน เอาไปให้พระช่วย แต่เสียใจด้วย ตนต้องเป็นที่พึ่งของตน ๑. ตนต้องช่วยตนเองได้ ๒. ต้องพึ่งตนเองได้ ๓. ต้องสอนตัวเองได้ ถ้าสามหลักนี้ไม่มีกับโยมคนใด คนนั้นจะเป็นที่พึ่งไม่ได้ พระท่านจะ ช่วยเราได้อย่างไร พระพุทธองค์ก็ไม่อาจจะช่วยให้เราพบความดีและความสุขได้

10


ศรัทธากับกฎแห่งกรรม ความดี ทำได้ง่าย ไม่ต้องรอเดี๋ยว

ตามคำสอนในพระพุทธศาสนา ชาวพุทธควรมีศรัทธา ๔ อย่าง คือ ๑. ตถาคตโพธิสทฺธา (ตะ-ถา-คะ-ตะ-โพ-ทิ-สัด-ทา) เชื่อในการตรัสรู้ ของพระพุ ท ธเจ้ า คื อ เชื่ อ ว่ า พระพุ ท ธเจ้ า ได้ ต รั ส รู้ จ ริ ง เป็ น ผู้ ป ระกอบด้ ว ย พระปัญญาคุณ พระวิสุทธิคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ จริงๆ ๒. กมฺมสทฺธา (กำ-มะ-สัด-ทา) เชื่อเรื่องกรรม คือ เชื่อว่ากรรมมีจริง หลักกรรมที่เราทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วมีจริง ๓. วิปากสทฺธา (วิ-ปา-กะ-สัด-ทา) เชื่อเรื่องผลของกรรม คือ เชื่อว่า กรรมที่บุคคลทำไม่ว่าดีหรือชั่วย่อมให้ผลเสมอ จึงจะเปลี่ยนกิจกรรมความ เปลี่ยนแปลงของชีวิตไปในทางที่เชื่อถือ และถูกต้องได้ ๔. กมฺมสฺสกตาสทฺธา (กำ-มัด-สะ-กะ-ตา-สัด-ทา) เชื่อว่าสัตว์มีกรรม เป็นของตน คือ เชื่อว่าผลที่เราได้รับเป็นผลแห่งการกระทำของเราเอง ซึ่งอาจ จะเป็นกรรมที่ทำในปัจจุบันหรืออดีตชาติ หรือจะทำในภพใด จะเห็นได้ว่า ความเชื่อ หรือศรัทธา ๔ อย่างนั้น เป็นความเชื่อในเรื่อง เกี่ยวกับกรรมถึง ๓ ประการ

11


กฎแห่งกรรม หลักธรรมสำคัญ ในพระพุทธศาสนา กฎแห่งกรรม เป็นคำสอนสำคัญในพระพุทธศาสนา ผู้เป็นชาวพุทธ ทุกคนจึงควรเชื่อในเรื่องกฎแห่งกรรม ควรพยายามศึกษาทำความเข้าใจเรื่อง กฎแห่งกรรม ชาวพุทธที่ไม่เชื่อกฎแห่งกรรม หาใช่ชาวพุทธที่แท้จริงไม่ เขาเป็น เพียงชาวพุทธแต่เพียงในนาม ศาสนาพุทธมีประโยชน์แก่เขาเพียงใช้กรอก แบบฟอร์ม เพื่อไม่ให้ถูกว่าเป็นคนไม่มีศาสนาเท่านั้นเอง

คนที่เชื่อในเรื่องกรรม ย่อมได้เปรียบกว่าคนที่ ไม่เชื่อ คนที่เชื่อในเรื่องกรรมย่อมสามารถ อดทนรับความทุกข์ยากลำบาก ความผิดหวัง ความขมขื่น และเคราะห์ร้ายที่เกิดแก่ตนได้ เพราะถือว่าเป็นกรรมที่ทำมาแต่อดีต ชาวพุทธแท้ ๆ ไม่ตี โพยตีพายว่าโลกนี้ ไม่มีความยุติธรรม ต้องเชื่อ กฎแห่งกรรม ตนไม่ ได้รับความเป็นธรรม ทำดีแล้วไม่ ได้ดี

คนที่เชื่อในเรื่องกรรม จะยึดมั่นอยู่ในการทำความดีต่อไป จะเป็นผู้ สามารถให้อภัยแก่ผู้อื่น และจะเป็นผู้มีหิริโอตตัปปะ คนส่วนมากเข้าใจว่า กรรม คือ การกระทำ ความเข้าใจนี้ก็ไม่ผิด แต่ เป็นความเข้าใจที่ยังไม่รัดกุม และถูกต้องทั้งหมด เพราะมีการกระทำบางอย่าง ที่ไม่นับว่าเป็นกรรม

12


เจตนา มี กรรม มา เจตนา ไม่มา กรรม ไม่มี

กรรมที่แท้จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ ๒ ประการ คือ หลักเกณฑ์ข้อที่ ๑ ผู้ทำมีเจตนา มีหลักการที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ ในนิพเพธิกสูตร ฉักกนิบาต อังคุตตรนิกาย ว่า เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ (เจ-ตะ-นา-หัง, พิก-ขะ-เว, กำ-มัง, วะ-ทา-มิ) แปลว่า ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าว ว่าเจตนาเป็นกรรม เจตนา ได้แก่ ความตั้งใจหรือความรับรู้ ซึ่งแบ่งได้เป็น ๓ อย่าง คือ ๑. บุพเจตนา เจตนาก่อนทำ ๒. มุญจนเจตนา เจตนาในเวลาทำ ๓. อปราปรเจตนา เจตนาเมื่อได้ทำไปแล้ว การกระทำโดยมีเจตนาเกิดขึ้นในตอนใดตอนหนึ่งถือว่าเป็นกรรมทั้งสิ้น ส่วนการกระทำที่ไม่มีเจตนา คือใจไม่ได้สั่งให้ทำไม่จัดว่าเป็นกรรม เช่น คนเจ็บ ซึ่งมีไข้สูง เกิดเพ้อคลั่ง แม้จะพูดคำหยาบออกมา เอามือหรือเท้าไปถูกใครเข้าก็ ไม่เป็นกรรม ในทางวินัยก็ยกเว้นให้พระที่วิกลจริตซึ่งล่วงเกินสิกขาวินัยไม่ต้อง อาบัติ ทั้งนี้ก็โดยหลักที่ว่าถ้าผู้ทำไม่มีเจตนา การกระทำนั้นก็ไม่เป็นกรรม ส่วนหลักเกณฑ์ข้อที่ ๒ การกระทำนั้นจะต้องให้ผลเป็นบุญหรือบาป ก็เพื่อแยกการกระทำของพระอรหันต์ออกจากการกระทำของปุถุชน เนื่องจาก พระอรหันต์ เป็นผู้หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะ ไม่มีความยึดถือใน ตัวตน การกระทำ เรียกว่า อัพยากฤต ไม่นับว่าเป็นกรรมดีหรือ ชั่ว บุญและบาปไม่มี การกระทำของพระอรหันต์ จึงไม่เรียกว่า กรรม แต่เรียกว่า กิริยา ส่วนปุถุชน ยังมีความยึดมั่นถือมั่นใน ตัวตนอยู่ จะทำอะไรก็ยังยึดถือว่าตนเป็นผู้กระทำ การกระทำ ของปุถุชนจึงเป็นกรรม ย่อมจะก่อให้เกิดวิบากหรือผลเสมอ กรรมดีก็ก่อให้เกิดบุญ ส่วนกรรมชั่วก็ก่อให้เกิดบาป

13


กรรมมีทั้ง ดีและชั่ว กรรมชั่วทำง่าย กรรมดีทำยาก

คนบางคนเข้าใจว่า กรรม หมายถึง สิ่งไม่ดีคู่กับเวรหรือบาป เช่นที่เรียกว่า เวรกรรม หรือบาปกรรม ตรงกันข้ามกับฝ่ายข้างดี ซึ่งเรียกว่า บุญ

ทั้งนี้ เพราะเราได้ใช้คำว่ากรรมในความหมายไม่ดี เช่น เมื่อเห็นใครต้อง ประสบเคราะห์ร้าย และถูกลงโทษ เราก็พูดว่า มันเป็นเวรกรรมของเขา หรือ เขาต้องรับบาปที่เขาทำไว้ แต่ความจริง คำว่า กรรมเป็นคำกลางๆ หมายถึง การกระทำตามที่กล่าวมาแล้วจะมุ่งไปในทางดีก็ได้ทางชั่วก็ได้ ถ้าเป็นกรรมดี เราเรียกว่า กุศลกรรม ถ้าเป็นกรรมชั่ว เราก็เรียกว่า อกุศลกรรม ในกรรมบถ ๑๐ แบ่งกรรมที่เป็นฝ่ายอกุศลและฝ่ายกุศลออกเป็นการ กระทำทางกาย ทางวาจา และทางใจ ดังนี้ ๑. กายกรรม คือ กรรมทางกาย แบ่งเป็นฝ่ายละ ๓ คือ ฝ่ายอกุศล ได้แก่ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ และผิดประเวณี ฝ่ายกุศล ได้แก่ เว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นจากการลักทรัพย์ และเว้นจากการผิดประเวณี ๒. วจีกรรม คือ กรรมทางวาจา แบ่งเป็นฝ่ายละ ๔ คือ ฝ่ายอกุศล ได้แก่ พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ และพูดเพ้อเจ้อ ฝ่ายกุศล ได้แก่ เว้นจากการพูดเท็จ เว้นจากการพูดส่อเสียด เว้นจากการพูดคำหยาบ และเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ๓. มโนกรรม คือ กรรมทางใจ แบ่งเป็นฝ่ายละ ๓ คือ ฝ่ายอกุศล ได้แก่ เพ่งเล็งทรัพย์ผู้อื่น ปองร้าย และเห็นผิดจากคลองธรรม ฝ่ายกุศล ได้แก่ ไม่เพ่งเล็งทรัพย์ผู้อื่น ไม่ปองร้าย และเห็นชอบตามคลองธรรม

14


คิดไม่ดีก็มีโทษ ตามที่กล่าวมาในข้อมโนกรรม จะเห็นได้ว่า แม้แต่การนึกคิดก็จัดว่า เป็นกรรมแล้ว เช่น เราคิดจะลักทรัพย์ หรือทำร้ายคนอื่น แม้จะยังไม่ได้ลงมือ ทำก็ถือว่าเป็นกรรมชั่ว ซึ่งจะต้องมีผลตอบแทนแล้ว ผิดกับการลงโทษตามกฎหมายอาญา ซึ่งจะลงโทษได้ก็ต่อเมื่อผู้กระทำ ได้เตรียมการหรือลงมือกระทำแล้วเท่านั้น ลำพังความคิดที่จะกระทำความผิด ยังหามีโทษไม่ การที่กฎหมายอาญาไม่เอาโทษการคิดที่จะกระทำความผิด ก็เพราะ เป็นการยากที่จะพิสูจน์ความนึกคิดของบุคคล และเห็นว่ายังไม่มีความเสียหาย เกิดขึ้น

แต่หลักของกรรม ถือความคิดชั่ว เป็นความผิด ก็เนื่องจากว่า แม้ว่าคนอื่นยังไม่เสียหาย ผู้คิดเองก็เสียหาย ฉะนั้น จึงต้องมีวิบากติดตามมา จะเห็นได้ว่าการ

สนองผลของกรรม มีขอบเขตกว้างขวาง กว่าการลงโทษ ของกฎหมายบ้านเมืองมาก

ต้องฉกเอามา เป็นของเราให้ ได้

เพียงแค่คิดผิด ชีวิตก็มี โทษ

15


กรรมของตน โอนไม่ได้

คนที่ประกอบกรรมทำชั่วทางกาย วาจา ใจ ส่วนใหญ่เป็นคนไม่เชื่อ เรื่องกรรม ไม่เชื่อเรื่องบุญและบาป ไม่เชื่อเรื่องตายแล้วเกิด คนพวกนี้เกิดมาจึง มุ่งแสวงหาทรัพย์สมบัติ ความสุขสบายให้แก่ตัว โดยไม่คำนึงว่าทรัพย์สมบัติ หรือความสนุกที่ตนได้มาถูกหรือผิด ทำให้คนอื่นได้รับความเดือดร้อนหรือไม่

สัตว์ทั้งหลาย มีกรรมเป็นของตน กรรมนั้นเป็นของเราโดยเฉพาะ เห็นผล ทันตาเลยเรา เราจะเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น จะโอนให้ผู้อื่นไม่ ได้ เช่น เราทำกรรมชั่วอย่างหนึ่ง เราจะต้องรับผลของกรรมชั่วนั้น จะลบล้างหรือโอนไปให้ผู้อื่นไม่ ได้ แม้ผู้นั้นจะยินดีรับโอนกรรมชั่ว ของเราก็ตาม

ไปขโมยของเพื่อนทำไม ลูกทำผิดแม่ต้องลงโทษ

กรรมดีก็เช่นเดียวกัน ผู้ใดทำกรรมดี กรรมดีย่อมเป็นของผู้กระทำ โดยเฉพาะ จะจ้างหรือวานให้ทำแทนกันหาได้ไม่ เช่น เราจะเอาเงินจ้างผู้อื่น ให้ ป ระกอบกรรมดี แล้ ว ขอให้ โ อนกรรมดี ที่ ผู้ นั้ น ทำมาให้ แ ก่ เราย่ อ มไม่ ไ ด้ หากเราต้องการกรรมดีเป็นของเรา เราก็ต้องประกอบกรรมดีเอง เหมือนกับการ รับประทานอาหาร ผู้ใดรับประทาน ผู้นั้นก็เป็นผู้อิ่ม

16


กรรม ชั่ว-ดี มีผล ๒ ชั้น

มีคนบางคนที่ทำกรรมชั่ว แต่กลับเป็นคนร่ำรวย มีอำนาจวาสนา มีคน เคารพยกย่อง บางคนทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ขยันขันแข็ง กลับมีชีวิตอยู่ ด้วยความยากลำบาก เหตุต่างๆ เหล่านี้ จึงทำให้คนคิดไปว่า กฎแห่งกรรมไม่มี จริง คำสอนที่ว่า กลฺยาณการี กลฺยาณํ ปาปการี จ ปาปกํ (กันละ-ยา-นะ- กา-รี, กันละ-ยา-นัง, ปา-ปะ-กา-รี, จะ,ปา-ปะ-กัง) ซึ่งแปลว่า ทำดีได้ดี ทำชั่ว ได้ชั่ว คงจะไม่เป็นความจริงเสียแล้ว การที่บางคนเห็นว่า ทำดีไม่ได้ดี ทำชั่ว ไม่ได้ชั่ว เนื่องจากความไม่เข้าใจสองประการ คือ ประการแรก ไม่เข้าใจการให้ผลของกรรม ประการสอง ไม่เข้าใจความหมายของคำว่า ได้ดีและได้ชั่ว การให้ผลของกรรมมี ๒ ชั้น คือ การให้ผลของกรรมในชั้นธรรมดา และการให้ผลของกรรมในชั้นศีลธรรม การให้ผลของกรรมในชั้นธรรมดา เป็นการให้ผลโดยไม่คำนึงถึงว่า ถูกหลักความชอบธรรมหรือไม่ เช่น นาย ก. โกงเงินหลวง หรือขโมยทรัพย์มา นาย ก. ก็จะได้เงินนัน้ มา และถ้านาย ก. ใช้เงินซือ้ บ้าน นาย ก. ก็จะได้อยูบ่ า้ นนัน้ นี่เป็นการให้ผลของกรรมชั้นธรรมดา

แต่การให้ผลของกรรม หาได้หยุดให้ผลแต่เพียงเท่านั้นไม่ กรรมที่ทำลงไปยังจะให้ผล ในชั้นศีลธรรมอีกคือ ถ้าทำดีจะต้อง ได้รับผลดีอย่างแน่นอน และถ้าทำชั่วก็จะต้อง ได้รับผลชั่วอย่างหลีกไม่พ้น

17

ขายยาบ้าเนี่ย รวยไม่รู้เรื่องเลย เวรกงเวรกรรมมีที่ ไหน

กรรมชั่วยังไม่ ให้ผล คนก็มักมองว่าดี


คนไม่เชื่อกฎแห่งกรรม เพราะมองเพียงผลในชั้นธรรมดา

คนที่ไม่เชื่อในเรื่องกรรม มักจะมองผลของกรรมชั้นธรรมดา เป็นผู้มี สายตามืดมัว มองไม่เห็นการให้ผลของกรรมชั้นศีลธรรม กรรมจ๋า... ปล่อยฉันไปเถอะ ฉันจะให้ ๑๐ ล้าน แง... แง...

บุคคลเหล่านี้มักจะเป็นคน ไม่เชื่อในเรื่องตายแล้วเกิด คิดว่าคนเราเกิดมาเพียงชาตินี้ ชาติเดียวก็สิ้นสุดลง คนพวกนี ้ เมื่อทำความชั่ว และความชั่ว ยังไม่ ให้ผลก็คิดว่าตนเป็นคนฉลาด ดูถูกพวกที่เชื่อเรื่องกรรม ว่าเป็นคนโง่งมงาย

เมื่อกรรมสนอง เงินทองก็ ไร้ความหมาย คนพวกนี้เหมือนคนกินขนมเจือยาพิษ ตราบใดที่ยาพิษยังไม่ให้ผล ก็คิด ว่าขนมนั้นเอร็ดอร่อย ดังพุทธภาษิตที่ว่า “มธุวา มฺติ พาโล ยาว ปาปํ น มุจฺจติ (มะ-ทุ-วา, มัน-ยะ-ติ, พา-โล,ยา-วะ, ปา-ปัง, นะ, มุด-จะ-ติ) แปลว่า คนโง่ย่อมจะเห็นบาปว่าเป็นน้ำผึ้ง ตราบเท่าที่บาปยังไม่ให้ผล” การให้ผลของกรรม ยังแบ่งเป็นการให้ผลทางจิตใจ และให้ผลทางวัตถุ การให้ผลทางจิตใจ เป็นเรื่องเกี่ยวกับผู้ทำโดยเฉพาะ ไม่เกี่ยวข้อง กับคนอื่น เมื่อทำไปแล้วก็ได้ผลทันที คือ เมื่อทำกรรมดีก็จะได้รับความสุข ความปีติ แต่ถ้าทำกรรมชั่วก็จะทำให้จิตใจเศร้าหมองเป็นทุกข์ ส่วนการให้ผลทางวัตถุ เป็นเรื่องที่ต้องเกี่ยวเนื่องกับผู้อื่น จะทำให้ได้ดี ยากมาก

18


ต่างกรรม ต่างให้ผล ต่างวาระ กรรมบางอย่างอาจให้ผลในชาตินี้ เรียกว่า ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม กรรมบางอย่างอาจให้ผลในชาติหน้า เรียกว่า อุปปัชชเวทนียกรรม กรรมบางอย่างอาจให้ผลในชาติต่อๆ ไป เรียกว่า อปราปริยเวทนียกรรม

การปลูกพืชหรือต้นไม้ ไม่ ใช่พอหว่านเมล็ดลงไปในดิน ต้นกล้าคุณธรรม คือ พืชหรือต้นไม้นั้น ฝึกจิต ให้คิดใฝ่ดี จะโตขึ้นหรือให้ผลทันที พืชบางอย่างก็ ให้ผลเร็ว ๓ ปีก็ ได้กิน พืชบางอย่างก็ ให้ผลช้าเป็นปี ๆ ผลแล้ว เช่น ข้าว เพียง ๔-๕ เดือน ก็ ให้ผล แต่ต้นมะพร้าวหรือทุเรียน กว่าจะให้ผลก็ ใช้เวลาถึง ๕ ปี

การที่คนทำชั่วยังได้ดีมีสุขอยู่ จึงเป็นเพราะกรรมชั่วยังไม่ให้ผล กรรมดี ที่เขาเคยทำยังเป็นอุปัตถัมภกกรรม๑ คอยสนับสนุนอยู่ เมื่อใดที่กรรมดีอ่อน กำลังลง กรรมชั่วก็จะมาเป็นอุปฆาตกกรรม๒ ทำให้ผู้นั้นต้องเปลี่ยนสภาพ ไปอย่างพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ เช่น เศรษฐีอาจจะต้องเป็นยาจก เคยเป็น ผู้ยิ่งใหญ่ มี อ ำนาจวาสนา อาจจะถูกฟ้องร้องต้องโทษจำคุ ก หรื อ ต้ อ งเที่ ย ว หลบหนีเร่ร่อนไม่มีแผ่นดินจะอยู่ ๑ ๒

อุปัตถัมภกกรรม อ่านว่า อุ-ปัด-ถำ-พะ-กะ-กำ หมายถึง กรรมที่ให้การสนับสนุน อุปฆาตกกรรม อ่านว่า อุ-ปะ-คา-ตะ-กะ-กำ หมายถึง กรรมที่เข้าไปทำลาย (เสริมสาระโดย...ไพยนต์ กาสี คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง)

19


ทำดี ได้ดี ต้องทำให้ถึงดี

คนทำดีจะให้ได้ดีทางวัตถุ ต้องประกอบด้วยหลัก ๔ ประการ คือ ๑. คติสมบัติ ทำดีให้ถูกสถานที่ ๒. อุปธิสมบัติ ทำดีให้ถูกตัวบุคคล ๓. กาลสมบัติ ทำดีให้ถูกเวลา ๔. ปโยคสมบัติ ต้องทำดีให้ติดต่อกันไปเรื่อยๆ การที่คนทำกรรมดี และหวังผลในทางวัตถุ เช่น หวังลาภ ยศ และ สรรเสริญ แต่ไม่ได้รับผลดีตามต้องการ อาจเพราะไม่เข้าตามหลัก ๔ ประการ ข้างต้น คือ ไปทำความดีกับบุคคลที่ไม่มีความดี เช่น เราทำงานด้วยความ ซื่อสัตย์สุจริต แต่เจ้านายของเราเป็นคนคอร์รัปชั่น การทำความดีของเราย่อม ไม่เป็นที่ชื่นชมของเจ้านาย การทำความดีกับบุคคลเหล่านี้ก็ไม่ต่างอะไรกับเอา เมล็ดพืช ทิ้งลงไปบนหินหรือพื้นดินแห้งแล้ง ฉะนั้น การทำความดีเราควรจะ หวังผลในทางจิตใจมากกว่าวัตถุ บริษัทขาดสภาพคล่อง เรายินดีทำงานล่วงเวลา

บางคน อาจจะทำความดีจริง ไม่คิดโอทีก็ ได้ถือว่าช่วย ๆ กัน แต่อาจจะทำไม่ถึงดี คือ ทำดีเพียงเล็กน้อย แล้วก็หวังผล แห่งความดีนั้น เมื่อไม่ ได้รับ ผลตอบแทน ก็หมดกำลังใจ แล้วก็บอกว่าทำดี ไม่เห็นได้ดี ทำงานเพือ่ งาน คนพวกนี้ก็เหมือนคนปลูกพืช สำราญสุข รดน้ำพรวนดินนิดหน่อย ก็หวังที่จะให้พืชได้ผล

20


สภาพจิตเป็นเครื่องวัดผลกรรม

ความหมายของคำว่า ได้ดีและได้ชั่ว ในทางโลกกับในทางธรรม มีความหมายแตกต่างกัน ในทางโลก มักจะมองเห็นการได้ดี และได้ชั่วเป็นเรื่องทางวัตถุเมื่อ กล่าวว่า คนนัน้ ได้ดี ก็มกั จะหมายถึงว่า ผูน้ นั้ ได้ลาภและยศ เช่น ได้ทรัพย์สมบัติ ได้อำนาจวาสนา หรือได้ตำแหน่งหน้าที่การงานดีขึ้น เมื่อไม่ได้สิ่งเหล่านั้นก็ เข้าใจว่าไม่ได้ดี ในทางธรรม การได้ดีหรือได้ชั่ว เป็นเรื่องของจิตใจ การได้ดี หมายถึง การทำให้จิตใจดีขึ้น ทำให้ธาตุแห่งความดีในตัวของ เรามีมากขึ้น ทำให้จิตใจของเราสะอาด สว่าง สงบยิ่งขึ้น การได้ชั่ว หมายถึง การทำให้จิตใจต่ำลง เลวลง ทำให้จิตใจมืดมัวยิ่งขึ้น เฮ้อ...เสร็จสักที

ฉะนั้น ในทางศีลธรรม คำว่า ได้ดี จึงหมายถึง ความดี และคำว่า ได้ชั่ว จึงหมายถึง ความชั่ว หากเราจะพูดว่า ทำดี ได้ความดี ทำงาน จ ต ิ ท ก ุ ทำชั่วได้ความชั่วก็จะทำให้เข้าใจ ข์ไมส่ นเพอ่ื เงนิ กุ กบั งา น ในเรื่องได้ดีและได้ชั่วดีขึ้น ดังนั้น บุคคลที่ทำกรรมอะไรลงไป ย่อมจะได้รับผลในทางจิตใจทันที เมื่อทำกรรมดี เช่น ทำบุญตักบาตร ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้อื่น ก็จะทำให้จิตใจดี ขึ้น มีความปีติ และความสุขในกรรมดีที่ตนทำ ในเมื่อกรรมที่ทำเป็นกุศลกรรม จริ ง ๆ คื อ ทำด้ ว ยจิ ต ใจที่ เ ป็ น กุ ศ ล ทำด้ ว ยความบริ สุ ท ธิ์ ใจ ไม่ ใช่ ท ำด้ ว ย ความโลภ หรือด้วยอกุศลเจตนา หรือหวังผลตอบแทน

21


เจริญกรรมฐานด้วยสติปัฏฐาน ๔ ปิดอบายภูมิได้ ญาติ โยมเอ๋ย โปรดทราบไว้เถอะว่า บุญกรรมนั้นมีจริง บาปกรรมมีจริง ยมบาลจดนั้นไม่มี จิตนี้เป็นผู้จด จดทุกวันคืออารมณ์ เรื่องจริงแน่ บันทึกใส่จิต จดทุกกระเบียดนิ้ว บาปบุญคุณโทษบันทึกเข้าไว้ ชีทำดี วิตเป็นสุขร่มเย็น ถ้าเราทำกรรมดี ก็ ไปบังเกิดในสวรรค์ ทำชั่วก็ลงนรกไป วันนี้ อาตมาขออนุโมทนาสาธุการส่วนกุศลที่ท่านทั้งหลายมาบำเพ็ญกุศล เจริญวิปัสสนากรรมฐานให้แก่ตนเอง โดยเฉพาะด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ๔ เจริญกาย เวทนา จิต ธรรม พิจารณาโดยปัญญาตลอดกระทั่งยืน เดิน นั่ง นอน จะคู้เหยียดขาทุกประการก็มีสติครบ รับรองได้เลยว่าถ้าโยมทำถึงขั้น ปิดประตูอบายได้เลย เพราะเหตุ ใ ด เพราะกิ เ ลสทั้ ง หลายโลภะ โทสะ โมหะเกิ ด ขึ้ น โยมก็ กำหนด ขณะมีโลภะก็กำหนดโลภะ โลภะก็หายไป จิตวิญญาณตายขณะมีโลภะ ตายไปเป็นเปรต กำลังมีโทสะตายไปขณะนั้นลงนรก มีโมหะรวบรวมอยู่ในจิตใจ ไว้มากตายไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน แต่ถ้ามีสติปัฏฐาน ๔ มีสติสัมปชัญญะดี อบายภูมิก็ไม่ต้องไป ปิดนรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน ทางอายตนะ ธาตุ อินทรีย์ดังที่กล่าวมาแล้วนี้ทุกประการ ขอกุศลที่ญาติโยมได้บำเพ็ญไว้แล้ว จงเป็นพลวปัจจัยย้อนกลับเป็นบุญ กุศลให้แก่ญาติโยมทั้งหลายประสบความสุขสันต์นิรันดรทุกท่าน และจงพยายาม ก้าวผ่านเกาะแก่งทุรกันดาร คือ บรรดาสรรพกิเลส เพือ่ ให้ถงึ ฝัง่ ฟากคือพระนิพพาน โดยทั่วหน้ากัน ณ โอกาสบัดนี้เทอญ.

22


๒ วิธีตอบแทนพระคุณพ่อแม่ ทำตัวให้มีดี ชื่อว่าได้ใช้หนี้พ่อแม่ วิธีใช้หนี้พ่อแม่ไม่ยากเลย จงสร้างความดีให้กับตัวเอง และนี่ก็เป็น การใช้หนี้ตัวเอง ตัวเราพ่อให้หัวใจ แม่ให้นํ้าเลือดน้ำเหลืองอยู่ในตัวแล้ว จะไป แสวงหาพ่อที่ไหน จะไปแสวงหาแม่ที่ไหน

พ่อแม่เป็นพระอรหันต์ของลูก ไม่ต้องไปตามพระอรหันต์ ที่ ไหนหรอก เหลียวดูพ่อแม่ ในบ้านบ้าง แล้วท่านจะรู้สึกว่า ได้ทำดีตั้งแต่วันนี้แล้ว

เป็นเด็กดี ให้พ่อชื่นใจ นะจ๊ะลูก

ท่านโปรดจำไว้ วันเกิดของลูก คือ วันตายของแม่ เพราะวันทีล่ กู เกิดนัน้ แม่อาจต้องเสียชีวิต การออกศึกสงครามเป็นการเสี่ยงชีวิต สำหรับคนเป็นพ่อ ฉันใด การคลอดลูก ก็เป็นการเสี่ยงตาย สำหรับคนเป็นแม่ฉันนั้น ถ้าวันเกิดเลี้ยงเหล้า จดไว้ได้เลย จะอายุสั้น จะบั่นทอนอายุให้สั้นลง น่าจะสวดมนต์ ไหว้พระปฏิบัติธรรมให้พ่อแม่ วันเกิดของเรา คือ วันตายของแม่ เราไปกราบพ่อกราบแม่ ขอพรพ่อแม่ รับรองพ่อแม่ให้พรลูกรวยทุกคน ไปเลี้ยง พ่อเลี้ยงแม่ให้อิ่มค่อยไปเลี้ยงเพื่อน สอนเด็กว่า วันเกิดของเรา อย่าพาเพื่อนมา ให้พ่อแม่ทำครัวเลี้ยงนะ เธอจะบาป ทำมาหากินไม่ขึ้น เธอต้องเลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่ ให้อิ่มก่อน แล้วจึงไปเลี้ยงเพื่อนทีหลัง

23


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.