สวด๑ ได้๑๐๐ พระคาถาชินบัญชร มนต์สมเด็จโต

Page 1



สวดบทนี้บทเดียวทุกวัน พลันเกิดอานิสงส์ ๑๐๘ ประการ เป็นหนี้หมดหนี้ ดวงร้ายกลายเป็นดี แคล้วคลาดปลอดภัย ค้าขายดีมีกำไร ตกงานได้งาน พระรักษาเทวดาคุ้มครอง ศัตรูกลายเป็นมิตร ไร้ลาภจะมีลาภ ไร้ยศจะได้ยศ เจ็บป่วยหายป่วย และแม้กระทั่งให้บรรลุธรรม


สวด ๑ ได้ ๑๐๐ พระคาถาชินบัญชร มนต์สมเด็จโต

เรียบเรียง : ศักดิ์สิทธิ์ พันธุ์สัตย์ ออกแบบปก : อนุชติ คำซองเมือง, รูปเล่ม : ธเนษฐ สัคคะวัฒนะ ภาพประกอบ : ธนรัตน์ ไทยพานิช พิสูจน์อักษร : อรัญ มีพันธ์ ISBN 978-616-268-132-5

สร้างสรรค์และลิขสิทธิ ์ บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด 105/95-96 ถนนประชาอุทิศ ซอย 45 แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ 10140 โทร./แฟกซ์ 02-872-7667

เชิญร่วมเผยแผ่เป็นธรรมทาน โทร. 02-872-9191, 02-872-8181, 02-872-7227, 02-872-9898 LC2YOU@GMAIL.COM, LC2YOU@HOTMAIL.COM

WWW.LC2U.COM, WWW.พุทธะ.NET

พิมพ์ที่ : หจก. แอลซีพี ฐิติพรการพิมพ์ 105/66-67 ถนนประชาอุทิศ ซอย 45 กรุงเทพฯ 10140 โทร./แฟกซ์ 02-872-9577 www.thitiporn.com


คำนำ หนังสือ สวด ๑ ได้ ๑๐๐ พระคาถาชินบัญชร

มนต์สมเด็จโต เล่มนีเ้ กิดขึน้ จากความตัง้ ใจจริงของผูเ้ ขียน

ทีอ่ ยากจะเผยแผ่บทสวดพระคาถาชินบัญชร อันเป็นสุดยอด พระคาถาศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ด้วยจุดประสงค์ ๒ ประการ คือ ๑. เพือ่ บูชาคุณของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์

(โต พรหมรังสี) ซึ่งเป็นครูบาอาจารย์ที่ข้าพเจ้าให้ความ เคารพบูชาและเลื่อมใสศรัทธายิ่ง เฉกเช่นลูกศิษย์คนอื่นๆ ด้วยความเลื่อมใสศรัทธาที่อยากทำอะไรเพื่อเป็นการบูชา คุณของท่าน จึงได้เรียบเรียงหนังสือเล่มนี้ขึ้น ๒. เพื่ อ ให้ ผู้ อ่ า นทุ ก ท่ า นทั้ ง ที่ ส วดพระคาถาชิ น บั ญ ชรประจำอยู่ แ ล้ ว หรื อ ที่ เ คยสวดหรื อ ไม่ เ คยสวด

ก็ตาม ได้หันมาสวดพระคาถาชินบัญชรด้วยความเข้าใจ และสวดอย่างจริงจัง ซึ่งพระคาถาชินบัญชรนี้หากผู้ใด


สวดด้วยความตั้งใจ ด้วยความเคารพอย่างจริงจังแล้ว

ผู้นั้นจะได้รับอานิสงส์มากมายถึง ๑๐๘ ประการ สมดังที่ เจ้าประคุณสมเด็จฯ กล่าวไว้วา่ มีอานิสงส์ฝอยท่วมหลังช้าง และที่ ส ำคั ญ ที่ สุ ด ก็ คื อ มี อ านิ ส งส์ ส ามารถทำให้ ผู้ ส วด

เข้าถึงการบรรลุธรรมได้ด้วย ดังนั้น ชื่อหนังสือที่ว่า สวด ๑ ได้ ๑๐๐ หมายถึง สวดพระคาถาชินบัญชรบทเดียวจะได้อานิสงส์หนึ่งร้อย อย่างนั้นจึงไม่ใช่คำกล่าวที่เกินจริง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นท่าน

ทั้งหลายอย่าได้เชื่อตามที่ข้าพเจ้าบอก อยากให้ท่านทั้ง หลายทดลองสวด ลงมือพิสจู น์ดว้ ยตัวของท่านเอง อย่างน้อย เริ่มสวดวันนี้ ก่อนนอนติดต่อกัน ๑ สัปดาห์ ๑ เดือน

ด้วยความตั้งใจจริง เชื่อเหลือเกินว่าจักเกิดผลดีอย่างใด อย่างหนึ่งแก่ท่านแน่นอน สาธุ

ผู้เรียบเรียง


กรรมเก่าไม่มีใครลบล้างได้ กรรมปัจจุบันจะช่วยเจ้าเอง

จงจำไว้ลกู เอ๋ย กรรมทีท่ ำด้วยเจตนา ไม่วา่ ดี ห รื อ ชั่ ว ย่ อ มมี ผ ลต่ อ ผู้ ก ระทำทั้ ง สิ้ น ไม่ มี พรหมเทพองค์ ใ ดช่ ว ยเจ้ า ลบล้ า งกรรมนั้ น ได้ เจ้ า ต้ อ งช่ ว ยเหลื อ ตนเอง ด้ ว ยการสวดมนต์ ภาวนา แผ่ เ มตตา ผลแห่ ง ผลอั น เป็ น กรรม ปัจจุบันนี้จะช่วยเจ้าเอง โอวาทธรรม สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)


อานิสงส์การสวดมนต์

“คนส่ ว นมากที่ เ ข้ า ใจว่ า การสวดมนต์ มี ประโยชน์น้อย และเสียเวลามากหรือฟังไม่รู้เรื่อง ความจริ ง แล้ ว การสวดมนต์ มี ป ระโยชน์ ม ากมาย เพราะการสวดมนต์เป็นการกล่าวถึงคุณความดีของ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าพระองค์เป็นผู้วิเศษ เช่นไร พระธรรมคำสอนของพระองค์มีคุณอย่างไร และพระสงฆ์อรหันตอริยเจ้ามีคุณเช่นไร การสวดมนต์ด้วยความตั้งใจจนจิตเป็นสมาธิ แล้วใช้สติพิจารณาจนเกิดปัญญาและความรู้ความ เข้าใจ ประโยชน์สูงสุดของการสวดมนต์นั่นคือจะทำ ให้ท่านบรรลุผลจนสำเร็จเป็นพระอรหันต์”

โอวาทธรรม สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)


พระคาถาชินบัญชร จากลังกาสู่สยามประเทศ เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า พระคาถาชินบัญชรที่เราชาวพุทธนิยมสวดกันอย่างแพร่หลาย

ในปัจจุบันนี้ เดิมทีเป็นพระคาถาเก่าแก่ที่ถูกจารึก ไว้ในคัมภีรใ์ บลานทีเ่ จ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) นำมาดัดแปลงแก้ไขให้มีถ้อยคำ

สละสลวย ไพเราะ และเปี่ยมด้วยพลังมากยิ่งขึ้น ดังมีบันทึกในประวัติของเจ้าประคุณฯ ตอนหนึ่ง

ว่า คราหนึ่ง เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์

(โต พรหมรังสี) ได้สวดพระคาถาชินบัญชรถวาย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั (รัชกาลที่ ๔)

เมือ่ สวดจบพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั

มีรับสั่งว่าเป็นคาถาที่มีถ้อยคำไพเราะดี และทรง ซักถามว่า “ขรัวโตได้มาจากไหน แต่งเองหรือเปล่า” สวด ๑ ได้ ๑๐๐ พระคาถาชินบัญชร มนต์สมเด็จโต

7


เจ้าประคุณสมเด็จฯ ถวายพระพรตอบว่า “หามิได้ เป็นสำนวนเก่าของเมืองเหนือ นำมาแก้ไขดัดแปลง ใหม่ ตัดตอนให้สนั้ เข้า ของลังกายาวกว่านี”้ จากบันทึกดังกล่าวทำให้เราทราบว่า พระคาถาชินบัญชรมีต้นกำเนิดมาจากประเทศลังกา

และเผยแผ่เข้าสู่สยามประเทศผ่านหัวเมืองทาง

ภาคเหนือของไทย เมื่ อ เร็ ว ๆ นี้ มี ผู้ ค้ น พบหลั ก ฐานสำคั ญ เป็ น คัมภีร์ใบลานที่จารด้วยอักษรล้านนา โดยพระชัยมังคละ ซึง่ เป็นมหาเถระชาวเมืองหริภญ ุ ไชย จารไว้ เมื่ อ พ.ศ.๑๙๘๑ เนื้ อ หาในคั ม ภี ร์ เ ป็ น บั น ทึ ก

การเดิ น ทางไปกราบนมั ส การพระเขี้ ย วแก้ ว ที่ ประเทศลังกาของท่าน ซึ่งการเดินทางคราวนั้น ท่านได้พบกับครูบานักปราชญ์ชาวลังการูปหนึง่ ได้ มอบใบลานจารึก “คาถาชัยบัญชร” จำนวน ๑๔ บท พร้อมด้วยประวัตกิ ารแต่งคาถาให้ 8

บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด


เมือ่ พระชัยมังคละกลับมาลำพูนได้สวดคาถา นัน้ ถวายพระเจ้าติโลกราช กษัตริยล์ า้ นนา ในคราว เสด็จนมัสการพระธาตุหริภญ ุ ไชย จากนั้น พระเจ้าติโลกราชโปรดให้นำมาเป็น บทสวดประจำราชสำนัก เพื่อขจัดปัดเป่าเสนียดจัญไรและให้เกิดสิริมงคลแก่บ้านเมือง พร้อมให้

คัดลอกกระจายไปสูว่ ดั วาอารามต่างๆ ทัว่ ภาคเหนือ จนถึงราชสำนักอยุธยา ซึง่ ตรงกับสมัยพระเจ้าบรมไตรโลกนาถ ทำให้พระคาถาบทนี้เป็นที่รู้จักและ นิยมสวดกันอย่างแพร่หลาย ทั้งในราชสำนักและ วัดวาอาราม กล่าวกันว่าในยุคที่บุเรงนองตีล้านนา แตก ก็ได้นำคาถาชัยบัญชรจากราชสำนักล้านนา

มาท่องเป็นคาถาประจำกายในยามออกศึกแทน มนตราดั้งเดิมของพม่า หากว่าตามหลักฐานนี้จะเห็นได้ว่าพระคาถา ชินบัญชรมีมาก่อนเจ้าประคุณสมเด็จฯ ถือกำเนิด สวด ๑ ได้ ๑๐๐ พระคาถาชินบัญชร มนต์สมเด็จโต

9


๓๕๐ ปี เพราะเจ้าประคุณสมเด็จถือกำเนิดเมื่อ พ.ศ.๒๓๓๑ ส่วนคาถาชินบัญชรถูกนำมาเผยแผ่ที่ ลำพูนเมื่อปีพ.ศ.๑๙๘๑ (๒๓๓๑-๑๙๘๑=๓๕๐) หรือถ้านับถึงปัจจุบนั พ.ศ.๒๕๕๗ ก็เท่ากับ ๕๗๖ ปี

ปฐมเหตุแห่งการแต่ง พระคาถาชินบัญชร เนื้อความจากคัมภีร์ใบลานที่พระชัยมังคละ

นำมาพร้อมกับพระคาถาชินบัญชร ได้เล่าถึงปฐม เหตุการแต่งพระคาถาชินบัญชรเอาไว้อย่างละเอียดว่า

...พระมเหสีของพระราชาลังกาพระองค์หนึง่ ได้ประสูติพระโอรสพระองค์หนึ่ง ถูกโหรหลวง ทำนายว่าดวงชะตาของพระโอรสจะสิ้นพระชนม์ เมือ่ อายุ ๗ ปี ๗ เดือน ด้วยต้องอสุนบี าต แรกๆ พระราชาไม่ทรงเชื่อมากนัก แต่พอ พระโอรสเจริญวัยขึน้ ใกล้ครบ ๗ ปี พระองค์กท็ รง 10

บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด


กังวลพระทัย เกรงว่าคำทำนายของโหรหลวงจะ เป็นจริง จึงนำเรือ่ งดังกล่าวปรึกษากับพระมหาเถระ ชัน้ ผูใ้ หญ่ ๑๔ รูปให้ชว่ ยหาทางป้องกันภัยอันตราย ทีจ่ ะเกิดแก่พระโอรส พระมหาเถระทัง้ ๑๔ รูปได้ประชุม และตกลง กันว่าจะแต่งคาถาขึ้นบทหนึ่งที่อาราธนาคุณของ พระพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์ อาราธนาคุณของพระปริ ต ร (พระธรรม) ที่ ท รงพลานุ ภ าพ และ อาราธนาคุณของพระอรหันตขีณาสพ ๘๐ มารวม ไว้ดว้ ยกัน โดยแบ่งกันแต่งคนละ ๑ บท รวมทัง้ สิน้ ๑๔ บท เพื่อใช้เป็นบทสวดป้องกันคุ้มครองภัยแก่ พระราชโอรส พระมหาเถระทั้ ง หมดร่ ว มกั น แต่ ง คาถา

บนปราสาท ๗ ชั้นของพระราชาซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับ

“ปล่องเบ็งชร” (ช่องหน้าต่าง) จึงเป็นที่มาของชื่อ คาถาว่า “ชัยบัญชร” หน้าต่างแห่งชัยชนะ ซึง่ ต่อมา สวด ๑ ได้ ๑๐๐ พระคาถาชินบัญชร มนต์สมเด็จโต

11


เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้เปลีย่ นชือ่ เป็น “ชินบัญชร” ซึง่ แปลว่า กรงแห่งพระชินสีห์ หรือกรงแห่งชัยชนะ อันหมายถึงบทสวดสำหรับเป็นเกราะป้องกันให้มี ชัยเหนืออันตรายทั้งปวงนั่นเอง พระเถระทัง้ ๑๔ รูป เมือ่ แต่งเสร็จแล้วได้มอบ ให้พระโอรสนำไปท่องบ่นเป็นประจำทุกวันจนจำ ขึ้นใจ กระทั่งถึงวันที่อายุครบ ๗ ปี ๗ เดือนเต็ม วันนั้นได้เกิดฟ้าผ่าลงกลางกรุงลังกาเสียงดังสนั่น ตามคำทำนายของโหรหลวงจริง แต่สายฟ้าที่ฟาด ลงมาไม่ตกต้องกายของพระโอรส แฉลบไปผ่าเอา ก้อนหินที่อยู่ถัดออกไปด้านข้างแตกกระจาย จากเหตุการณ์ครัง้ นัน้ ทำให้เป็นทีโ่ จษจันกัน ไปทัว่ เมืองว่าพระโอรสรอดจากความตายในครัง้ นัน้ เป็นเพราะความขลังความศักดิ์สิทธิ์ของพระคาถา ชัยบัญชรโดยแท้ 12

บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด


ข้ามไปดูตวั อย่าง หน้า 20-25


ขมหาศาล สวดวันละ ๑ จบจะพบสุ 20

บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด


สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สถิตตามร่างกาย การสวดชินบัญชรแต่ละครัง้ คือการอัญเชิญ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระอรหันตสาวกให้มา สถิตในร่างกายของตน เมื่อพระพุทธ พระธรรม

พระสงฆ์สถิตในร่างกายแล้ว ก็เท่ากับว่าเราได้เสก กายของเราให้เกิดความเป็นมงคล ให้เกิดความ

ศักดิ์สิทธิ์มีฤทธิ์อำนาจ ดังต่อไปนี้ ๑. กลางกระหม่อม เป็นศูนย์กลางแห่ง ชีวิต เป็นส่วนที่เป็นยอดสุดของร่างกาย ถือเป็น อวัยวะสูงสุด ในแง่หนึ่งจึงเป็นที่ตั้งของเป้าหมาย สูงสุดแห่งชีวิตเราด้วย พึงเสกกลางกระหม่อมด้วยพระคาถาที่ ๑ และ ๒ ดังมีคำแปลว่า พระพุทธเจ้าองอาจในหมู่ ชน ประทับ ณ ชัยอาสน์บลั ลังก์ ทรงชนะพญามาร ผู้ พ รั่ ง พร้ อ มด้ ว ยเสนามาร เสวยอมตรส คื อ

สวด ๑ ได้ ๑๐๐ พระคาถาชินบัญชร มนต์สมเด็จโต

21


อริยสัจ ๔ ประการ ขออัญเชิญพระพุทธเจ้าผู้เป็น ผู้ น ำสั ต ว์ โ ลกทั้ ง ๒๘ พระองค์ มี พ ระนามว่ า

พระตั ณ หั ง กรพุ ท ธเจ้ า เป็ น ต้ น ทุ ก พระองค์

มาประดิษฐานเหนือกลางกระหม่อมของข้าพเจ้า ๒. ศีรษะ สมองซีกซ้ายใช้ขบคิดพิจารณา

หาเหตุผล สมองซีกขวาใช้จินตนาการสร้างสรรค์

เป็นศูนย์กลางแห่งความคิด การวางแผน สร้าง เป้าหมาย และวิธีการที่จะให้บรรลุเป้าหมายนั้น พึงเสกศีรษะด้วยพระคาถาที่ ๓ ซึง่ มีคำแปลว่า ขออัญเชิญพระพุทธเจ้าประดิษฐานบนศีรษะ ๓. เส้ น ผม เกิ ด ขึ้ น จากต่ อ มใต้ ผิ ว หนั ง

บนศีรษะ โดยทั่วไปสำหรับชาวตะวันออกมีสีดำ ขลับ ส่วนชาวตะวันตกมีสีทอง พึ ง เสกเส้ น ผมด้ ว ยพระคาถาที่ ๖ ซึ่ ง มี

คำแปลว่า ขอพระมุนีผู้ประเสริฐ คือพระโสภิตะ

ผู้เพียบพร้อมด้วยสิริอันเรืองรองดังพระอาทิตย์ 22

บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด


ทอแสง มาสถิตอยูท่ กุ เส้นผมทัง้ ด้านหน้าและข้างหลัง

๔. หน้าผาก เป็นอวัยวะที่สะท้อนความ ผ่องใสหรือขุ่นมัวในจิตใจ และหน้าผากยังเป็น อวัยวะที่เราใช้เผชิญกับโลกภายนอก เพราะเป็น ส่วนที่เราต้องเปิดอยู่ตลอดเวลา ตามตำรานรลักษณ์ศาสตร์กล่าวถึงลักษณะ ของหน้าที่ดีและงดงามไว้หลายแบบ แต่ศาสตร์

ว่าด้วยการเสกนั้นไม่ได้ให้ความสำคัญว่าท่านจะ มีหน้าผากลักษณะอย่างไร เพียงแต่ท่านต้องเสก ด้วยพระคาถาที่ ๘ ดังมีคำแปลว่า พระมหาเถระ

ทั้ง ๕ คือ พระปุณณะ พระองคุลิมาล พระอุบาลี พระนันทะ และพระสีวลี จงปรากฏเป็นกระแจะ จุณเจิมที่หน้าผาก พระเถระที่ปรากฏนามในพระคาถาที่ ๘ นี้

มีคุณสมบัติที่น่าสนใจดังนี้ สวด ๑ ได้ ๑๐๐ พระคาถาชินบัญชร มนต์สมเด็จโต

23


พระปุณณเถระ ท่านสนใจในปัญหาว่า เหตุใด มนุ ษ ย์ ใ นโลกจึ ง พากั น บู ช ายั ญ บวงสรวงเทวดา

ครั้ ง ท่ า นได้ รั บ ฟั ง การวิ สั ช นาจากพระพุ ท ธองค์

ก็บรรลุพระอรหันต์ พระองคุลิมาลเถระ ก่อนบวชท่านหลงผิด

กลายเป็ น โจรใจหยาบฆ่ า ฟั น ผู้ ค นไม่ เ ลื อ กหน้ า ภายหลังได้บวชและซึมซับธรรมจากพระพุทธองค์ จนบรรลุพระอรหันต์ ได้ชื่อว่าเป็นโจรกลับใจที่แท้ จริง พระอุบาลีเถระ ท่านเคยเป็นนายช่างกัลบก (ช่ า งตั ด ผม) มาก่ อ น ครั้ น บวชและบรรลุ พ ระอรหันต์แล้ว ท่านได้รับยกย่องด้านพระวินัย คือ ทรงจำและแตกฉานพระวิ นั ย มากกว่ า สาวกรู ป อื่นๆ พระนันทเถระ หลังจากบวชแล้วปรากฏว่า

ท่านได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้สำรวมระวังในทุก 24

บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด


อิริยาบถ ไม่ปล่อยให้เป็นไปตามกระแสของโลกธรรม ท่านฝึกตนเช่นนี้จนได้บรรลุพระอรหันต์ พระสีวลี ท่านเป็นผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็น

ผู้มีลาภมากกว่าพระสาวกทั้งปวง ท่านจึงเป็นที่ รู้จักในพุทธบริษัทว่าเป็นเทพเจ้าแห่งโชคลาภ ๕. ดวงตา หรือจักษุประสาท เป็นสิ่งที ่ ทำให้เรามองเห็น เพือ่ เข้าใจสิง่ ต่างๆ มีคำกล่าวว่า ดวงตาคือหน้าต่างของหัวใจ ฉะนัน้ เมือ่ จิตใจขุน่ มัว หวาดกลัว กังวล ย่อมสะท้อนออกมาทางสายตา หรือเมื่อจิตใจอ่อนโยนมีเมตตา มีความปีติยินดี

ก็จะพบแววตาทีอ่ อ่ นโยน นุม่ นวลและร่าเริง เป็นต้น

พึงเสกดวงตาด้วยพระคาถาที่ ๓ ดังมีคำ แปลว่า อัญเชิญพระธรรมมาสถิตทีด่ วงตาทัง้ สองนี้

มีนยั ว่าเพือ่ ให้เกิดดวงตาเห็นธรรม สวด ๑ ได้ ๑๐๐ พระคาถาชินบัญชร มนต์สมเด็จโต

25


ข้ามไปดูตวั อย่าง หน้า 35-48


๑. บทกราบพระรัตนตรัย อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา,

พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพระอรหันต์ ดับเพลิง กิเลสเพลิงทุกข์สนิ้ เชิง ตรัสรูช้ อบได้โดยพระองค์เอง

พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ.

ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น

สวด ๑ ได้ ๑๐๐ พระคาถาชินบัญชร มนต์สมเด็จโต

35


ผู้เบิกบาน. (กราบ)

ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,

พระธรรมเป็ น ธรรมที่ พ ระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า

ตรัสไว้ดีแล้ว

ธัมมัง นะมัสสามิ.

ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม. (กราบ)

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,

พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติ ดีแล้ว

สังฆัง นะมามิ.

ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์. (กราบ)

๒. บทนอบน้อมพระพุทธเจ้า นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ. (ว่า ๓ จบ)

36

ขอนอบน้อมแด่พระผูม้ พี ระภาคเจ้า พระองค์นนั้

บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด


ซึง่ เป็นผูไ้ กลจากกิเลส ตรัสรูช้ อบได้โดยพระองค์เอง.

๓. บทไตรสรณคมน์

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ.

ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ, แม้ครั้งที่ ๒..., แม้ครั้งที่ ๓... สวด ๑ ได้ ๑๐๐ พระคาถาชินบัญชร มนต์สมเด็จโต

37


๔. บทสรรเสริญพระพุทธคุณ อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมา-

สัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้ไกล

จากกิเลส, เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง, เป็น ผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ, เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี, เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง, เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษ

ที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า, เป็นครูผู้สอน ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย, เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม, เป็นผู้มีความจำเริญจำแนกธรรม สั่งสอนสัตว์ ดังนี้. 38

บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด


๕. บทสรรเสริญพระธรรมคุณ ส๎ ว ากขาโต ภะคะวะตา ธั ม โม

สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ. พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ ดี แ ล้ ว , เป็ น สิ่ ง ที่ ผู้ ศึ ก ษาและปฏิ บั ติ พึ ง เห็ น ได้ ด้วยตนเอง, เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้และให้ผลได้ไม่จำกัด กาล, เป็ น สิ่ ง ที่ ค วรกล่ า วกะผู้ อื่ น ว่ า ท่ า นจงมา ดูเถิด, เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว, เป็นสิ่งที่ผู้รู้ ก็รู้ได้เฉพาะตน ดังนี้.

สวด ๑ ได้ ๑๐๐ พระคาถาชินบัญชร มนต์สมเด็จโต

39


๖. บทสรรเสริญพระสังฆคุณ สุปะฏิปนั โน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,

อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สามีจปิ ะฏิปนั โน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุรสิ ะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลิกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ.

40

บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด


สงฆ์ ส าวกของพระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า หมู่ ใ ด ปฏิ บั ติ ดี แ ล้ ว , ปฏิ บั ติ ต รงแล้ ว , ปฏิ บั ติ เ พื่ อ รู้ ธ รรม เป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว, ปฏิบัติสมควรแล้ว, คือคู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ ควรแก่ สั ก การะที่ เ ขานำมาบู ช า, เป็ น ผู้ ค วรแก่ สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ, เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน, เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี, เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้.

การสวดมนต์ ช่วยให้เรามีสติ ขับรถปลอดภัย ใจเย็น และไม่ทุกข์ง่าย

สวด ๑ ได้ ๑๐๐ พระคาถาชินบัญชร มนต์สมเด็จโต

41


๗. พระคาถาชินบัญชร ปุตตะกาโม ละเภ ปุตตัง ธะนะกาโม ละเภ ธะนัง อัตถิ กาเย กายะญายะ เทวานัง ปิยะตัง สุตว๎ า. ผู้ปรารถนาบุตร พึงได้บุตร ผู้ปรารถนาทรัพย์ พึ ง ได้ ท รั พ ย์ บั ณ ฑิ ต ได้ ฟั ง มาว่ า ความเป็ น ที่ รั ก

ของเหล่าเทวดาและมนุษย์มีอยู่ในกาย (เรา) เพราะรู้ ได้ด้วยกาย 42

บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด


๑. ชะยาสะนาคะตา พุทธา เชต๎วา มารัง สะวาหะนัง จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เย ปิวิงสุ นะราสะภา

พระพุ ท ธเจ้ า ผู้ อ งอาจในหมู่ ช น ประทั บ ณ ชัยอาสน์บัลลังก์ ทรงชนะพญามารผู้พรั่งพร้อมด้วย เสนามาร แล้วเสวยอมตรส คือ อริยสัจ ๔ ประการ อันทำให้ผรู้ แู้ จ้งข้ามพ้นจากทุกข์ทงั้ ปวงเป็นผูอ้ งอาจได้ สวด ๑ ได้ ๑๐๐ พระคาถาชินบัญชร มนต์สมเด็จโต

43


๒. ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเก เต มุนิสสะรา

พระพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์ มีพระผู้ทรงพระนามว่าตัณหังกร เป็นต้น ขออัญเชิญพระพุทธเจ้า ผู้ เ ป็ น จอมมุ นี ทุ ก พระองค์ มาประดิ ษ ฐานกลาง กระหม่อมของข้าพเจ้า 44

บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด


๓. สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร

ขออัญเชิญพระพุทธเจ้าประดิษฐานบนศีรษะ พระธรรมอยู่ที่ดวงตาทั้งสอง พระสงฆ์ผู้เป็นบ่อเกิด ความดีทกุ อย่างอยูท่ อี่ ก

สวด ๑ ได้ ๑๐๐ พระคาถาชินบัญชร มนต์สมเด็จโต

45


๔. หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะ ทักขิเณ โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัส๎มิง โมคคัลลาโน จะ วามะเก

ขอพระอนุ รุ ท ธะอยู่ ที่ หั ว ใจ พระสารี บุ ต รอยู่ เบือ้ งขวา พระมหาโมคคัลลานะอยูเ่ บือ้ งซ้าย พระอัญญาโกณฑัญญะอยู่เบื้องหลัง 46

บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด


๕. ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะราหุลา กัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเก

พระอานนท์กับพระราหุลอยู่หูขวา พระกัสสปะ กับพระมหานามะอยูท่ หี่ ซู า้ ยของข้าพเจ้า สวด ๑ ได้ ๑๐๐ พระคาถาชินบัญชร มนต์สมเด็จโต

47


๖. เกสันเต ปิฏฐิภาคัส๎มิง สุริโยวะ ปะภังกะโร นิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิปุงคะโว

พระมุนีผู้ประเสริฐ คือ พระโสภิตะ ผู้เพียบพร้อมด้วยสิริอันเรืองรองดังพระอาทิตย์ทอแสง อยู่ที่ ทุกเส้นผมตลอดทุกเส้นทั้งข้างหน้าและข้างหลัง

48

บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.