ระวังจะเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน

Page 1



ระวังจะเกิดเป็น

สั ต ว์ เ ดรั จ ฉาน

เพียงเศษเสี้ยวหนึ่งของกรรมร้าย อาจนำ�ท่านสู่ก�ำ เนิดเดรัจฉานอย่างคาดไม่ถึง

จงสำ�รวมระวังตนให้ดีเถิด โดย

ศักดิ์สิทธิ์ พันธุ์สัตย์


ระวังจะเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน

บรรณาธิการ/เรียบเรียง : ศักดิ์สิทธิ์ พันธุ์สัตย์ ออกแบบปก : อนุชิต คำ�ซองเมือง รูปเล่ม : สุกัญญา ศรีสงคราม ภาพประกอบ : ธนรัตน์ ไทยพานิช พิสูจน์อักษร : อรัญ มีพันธ์, อรทัย คำ�แพง

ISBN 978-616-268-140-0

สร้างสรรค์และลิขสิทธิ์ บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด 105/95-96 ถนนประชาอุทิศ ซอย 45 แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ 10140 โทร./แฟกซ์ 02-872-7667 เชิญร่วมเผยแผ่เป็นธรรมทาน สาขาทุ่งครุ : โทร. 02-872-9191, 02-872-8181, 02-872-7227, 02-872-9898

LC2YOU@GMAIL.COM, LC2YOU@HOTMAIL.COM

WWW.LC2U.COM, WWW.พุทธะ.NET

สาขาสำ�ราญราษฎร์ : โทร. 02-221-1050, 02-221-4446

พิมพ์ที่ : หจก. แอลซีพี ฐิติพรการพิมพ์

105/66-67 ถนนประชาอุทิศ ซอย 45 แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ 10140

โทร./แฟกซ์ : 02-872-9577 www.thitiporn.com


คำ�นำ� หนังสือ ระวังจะเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน นี้ เป็นความตั้งใจ ตั้งแต่ต้นของผู้เขียน ที่ต้องการจะท�ำหนังสือมีเนื้อหาเกี่ยวกับ การเวียนว่ายตายเกิดในภพภูมติ า่ งๆ ทีม่ กี ล่าวไว้ในพระพุทธศาสนา เฉพาะที่เกี่ยวกับนรก สวรรค์ เปรต อสุรกาย และสัตว์เดรัจฉาน ออกมาให้ครบชุด จากความตัง้ ใจเบือ้ งต้นนัน้ น�ำไปสูก่ ารลงมือท�ำ ด้วยแรงวิรยิ ะ อุตสาหะ ในอันที่จะท�ำงานเพื่อเผยแผ่พระธรรมค�ำสอน น้อมถวาย เป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา บัดนี้มีต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ แล้ว ๔ เล่มด้วยกัน คือ “สวดมนต์พ้นนรก” “ตีตั๋วไปสวรรค์” “ระวังจะเกิดเป็นเปรต” และ “ระวังจะเกิดเป็นผี” ในแต่ละเล่ม ได้เจาะลึกเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ ผลกรรมที่ท�ำให้ไปเกิดใน ภพภูมนิ นั้ ตลอดถึงข้อปฏิบตั ใิ นอันทีจ่ ะท�ำให้ไปเกิดในสวรรค์ ไม่เกิด ในนรก หรือเกิดเป็นเปรต เป็นอสุรกาย ซึ่งหนังสือทั้ง ๔ เล่มนั้น ได้รับความสนใจจากผู้อ่านมากมาย โดยเฉพาะ “ตีตั๋วไปสวรรค์” มีผเู้ ห็นประโยชน์และจัดพิมพ์แจกเป็นธรรมทานจ�ำนวน ๕,๐๐๐ เล่ม ในคราวเดียว ขออนุโมทนากับท่านที่มีจิตศรัทธาไว้ ณ ที่นี้ด้วย ระวั ง จะเกิ ด เป็ น สั ต ว์ เ ดรั จ ฉาน ที่ ท ่ า นถื อ อยู ่ นี้ ถื อ เป็ น เล่มสุดท้ายของหนังสือชุดนี้ เดรัจฉานภูมิ หรือภูมิของสัตว์เดรัจฉานนั้น จัดเป็นหนึ่ง ในอบายภูมิทั้ง ๔ อันประกอบด้วย นรก เปรต อสุรกาย และ


สั ต ว์ เ ดรั จ ฉาน อั น เป็ น ทุ ค ติ ภู มิ คื อ ภู มิ ชั้ น ต�่ ำ ภู มิ เ ต็ ม ไปด้ ว ย ความทุกข์ทรมาน บรรดาอบายภูมิทั้ง ๔ นั้น นรก เปรต อสุรกาย ถือว่าเป็นภพภูมิที่ลึกลับส�ำหรับมนุษย์ คือไม่อาจมองเห็นหรือ สัมผัสได้ด้วยกายเนื้อ จึงท�ำให้ใครหลายคนไม่เชื่อว่านรก เปรต อสุรกายนั้นมีจริง ต่างจากสัตว์เดรัจฉาน เราสามารถสัมผัสได้ เห็ น ได้ เลี้ ย งเป็ น สั ต ว์ เ ลี้ ย งได้ ใช้ ง านได้ หรื อ แม้ ก ระทั่ ง ฆ่ า เป็นอาหารได้ เพราะฉะนั้นสัตว์เดรัจฉานจึงถือว่าเป็นอบายภูมิ ข้างกายมนุษย์ ที่ว่าข้างกายมนุษย์นี้มีความหมาย ๒ ประการ คื อ เป็ น อบายภู มิ ที่ อ ยู ่ ใ กล้ ชิ ด กั บ มนุ ษ ย์ ที่ สุ ด อย่ า งหนึ่ ง และ อีกอย่างหนึ่งคือ เป็นภูมิที่มนุษย์ส่วนใหญ่จะไปเกิดได้ง่ายที่สุด มนุษย์จะไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานได้อย่างไร ครุฑ นาค จัดเป็นสัตว์เดรัจฉานหรือไม่ กรรมอะไรที่ท�ำให้ไปเกิดเป็นช้าง ม้า วัว ควาย กุ้ง หอย ปู ปลา หรือหนอน แมลง และหากไม่อยาก เกิดเป็นสัตว์จะต้องท�ำอย่างไร หรือหากต้องการช่วยสัตว์เลี้ยง ให้ไปเกิดในภพภูมิที่ดีควรท�ำอย่างไร หนังสือเล่มนี้มีค�ำตอบให้ท่าน แล้ว ขอเชิญท่านศึกษาท�ำความเข้าใจได้ตามอัธยาศัย หวังเป็นอย่างยิง่ ว่า หนังสือเล่มนีจ้ กั เอือ้ ประโยชน์ให้กบั ผูอ้ า่ น ไม่มากก็น้อย าตุ จิรํ สตํ ธมฺโม ขอพระสัทธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้า จงด�ำรงอยู่สิ้นกาลนาน

ศักดิ์สิทธิ์ พันธุ์สัตย์ (ป.ธ.๗, พธ.บ.) (ผู้เรียบเรียง)


สารบัญ เดรัจฉาน อบายภูมิที่สัมผัสได้ - เดรัจฉาน เพื่อนร่วมโลกมนุษย์ ภูมิสูงสุดแห่งอบาย ๘ - ท�ำไมจึงเรียกสัตว์ว่า “เดรัจฉาน” ๑๒ - ประเภทของเดรัจฉาน ๑๘ - ความเป็นอยู่ของเดรัจฉาน ๒๕ กรรมกับการเกิดเป็นเดรัจฉาน - มรณาสันนวิถี วิถีจิตขณะใกล้ตาย ๓๕ - ท�ำกรรมไว้มาก แล้วกรรมไหนจะให้ผลก่อน ๓๙ - กรรมที่ท�ำให้เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน ๔๔ กรรมที่ท�ำให้เกิดเป็นสัตว์ประเภทต่างๆ - กรรมที่ท�ำให้เกิดเป็นนาค ครุฑ ๗๘, ๙๕ - กรรมที่ท�ำให้เกิดเป็นสุนัขและโค ๑๐๔ - กรรมที่ท�ำให้เกิดเป็นสัตว์กินหญ้า กินของสกปรก สัตว์น�้ำ อื่นๆ ๑๐๗ เดรัจฉานกับค�ำถามชวนสงสัย - ท�ำไมสัตว์เดรัจฉานถึงมีจ�ำนวนมากกว่าสัตว์ในภพอื่น ๑๑๘ - สัตว์ที่สูญพันธุ์แล้ว เพราะไม่มีผู้ท�ำกรรมที่ท�ำให้เกิดเป็นสัตว์ชนิดนั้นใช่หรือไม่ ๑๒๑ - ท�ำไมสัตว์เดรัจฉานบางตัวจึงแสนรู้และเข้าใจภาษามนุษย์ ๑๒๒ เดรัจฉานกับภพใหม่หลังความตาย - สัตว์มีโอกาสไปเกิดในสุคติภูมิได้หรือไม่ ๑๒๖ - ตัวอย่างสัตว์เดรัจฉานไปเกิดเป็นมนุษย์และเทวดา ๑๒๘ - เหตุที่ท�ำให้สัตว์ไปเกิดเป็นมนุษย์และเทวดา ๑๔๔ มาอย่างไรไม่ส�ำคัญ ส�ำคัญที่จะไปอย่างไร - เลือกเกิดไม่ได้ แต่เลือกที่จะตายดีได้ ๑๕๒ - เกิดเป็นคนอย่าให้อายเดรัจฉาน ๑๕๕ - ไม่ประมาทในการท�ำดี ก็มีโอกาสไปเกิดในภพภูมิที่ดี ๑๕๘


ยญฺจ กโรติ กาเยน วาจาย อุท เจตสา ตํ หิ ตสฺส สกํ โหติ ตญฺจ อาทาย คจฺฉติ. กรรมใด ท�ำไว้ด้วยกาย ด้วยวาจา หรือด้วยใจ กรรมนั่นแหละเป็นสมบัติของเขา ซึ่งเขาจะพาเอาไป. พุทธพจน์ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ ข้อ ๓๙๒


เดรัจฉาน

อบายภูมิที่สัมผัสได้ ในบรรดาภพภูมิทั้ง ๓๑ ภูมินั้น ภพภูมิที่ถือว่าใกล้กันมากที่สุดก็คือ มนุษย์กับสัตว์เดรัจฉาน เพราะภพภูมิทงั้ สองต่างก็อาศยั อยู่ในโลกใบเดียวกัน


เดรัจฉาน เพื่อนร่วมโลกมนุษย์ ภูมิสูงสุดแห่งอบาย เมื่อพูดถึงสัตว์เดรัจฉาน เราท่านทั้งหลายคงเข้าใจได้ไม่ยาก ว่าหมายถึงอะไร สัตว์เดรัจฉานบรรดาทีม่ ชี วี ติ หรือมีตวั ตนอยูใ่ นโลกนี้ มีมากมายหลายชนิดด้วยกัน บางชนิดก็รู้จักดี บางชนิดอาจไม่รู้จัก บางชนิดอาจไม่เคยรู้มาก่อนว่ามันมีอยู่ในโลก สัตว์บางชนิดอาจจะ สูญพันธุ์ไปแล้ว แต่บางชนิดอาจเพิ่งค้นพบใหม่ๆ สัตว์เดรัจฉานมีอยู่ทุกซอกทุกมุมของโลก เมื่อเทียบจ�ำนวน ประชากรของสัตว์กับมนุษย์แล้ว จ�ำนวนสัตว์เดรัจฉานมีมากกว่า มนุษย์หลายเท่านัก จะเรียกว่ามหาศาลเลยก็ได้ เพราะเพียงนับ เอาแค่ปลาในทะเลเท่านั้นก็มากกว่ามนุษย์หลายร้อยหลายพันเท่า นี่ยังไม่นับรวมสัตว์น�้ำชนิดอื่นๆ เช่น กุ้ง หอย ปู ปลิง แมงกะพรุน ตะพาบน�้ำ ฯลฯ และถ้าหากนับสัตว์บกที่เป็นสัตว์ปีก สัตว์ ๔ เท้า แมลงต่างๆ เข้าด้วย ก็จะเห็นว่าจ�ำนวนของสัตว์ในโลกนี้มีมากมาย มหาศาลเพียงใด ถึงแม้ว่าสัตว์เดรัจฉานจะมีจ�ำนวนมากมายมหาศาลกว่า มนุษย์ แต่ผทู้ ไี่ ด้ครอบครองโลกกลับเป็นมนุษย์หาใช่สตั ว์เดรัจฉานไม่ สัตว์หลายชนิดถูกมนุษย์จับกินเป็นอาหาร ใช้แรงงาน เลี้ยงไว้ดูเล่น 8

ระวังจะเกิดเป็น สั ต ว ์ เ ดรั จ ฉาน


หรือแม้กระทั่งเอามาใช้เป็นเกมกีฬา เพาะพันธุ์ท�ำเป็นอาหารส่ง เป็นสินค้าขายทั่วโลก สร้างความร�่ำรวยแบบมหาศาลก็มี สัตว์เดรัจฉานในมุมมองของมนุษย์จึงเป็นทั้งเพื่อนร่วมโลก อาหาร ทาส ของเล่น แม้กระทั่งเป็นศัตรู หรือเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ มีสัตว์มากมายถูกมนุษย์ฆ่าทั้งที่เขาไม่รู้ตัวด้วยซ�้ำว่าเขาท�ำผิดอะไร หรือแม้แต่มนุษย์ผู้ฆ่าเองก็ไม่รู้เหมือนกันว่าฆ่าท�ำไม สัตว์เดรัจฉาน ตามหลักพระพุทธศาสนาจัดเป็น ๑ ใน ๔ ของ อบายภูมิ (ภูมิชั้นต�่ำ ภูมิที่ไม่เจริญ) อันได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย และสัตว์เดรัจฉาน

สัตว์ เดรัจฉาน

อบายภูมิ ๔

เปรต

อสุรกาย

นรก

บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด

9


นรก ถือเป็นภพภูมิที่ทุกข์ทรมานที่สุด เพราะผู้ที่เกิดในภูมินี้ จะถูกลงโทษทัณฑ์ให้ทุกข์ทรมานอยู่ตลอดเวลา ไม่มีหยุดพัก เปรต เป็นภพภูมิที่เต็มไปด้วยความหิวกระหาย อยากกิน ไม่ ไ ด้ กิ น แม้ กิ น ได้ ก็ เ พี ย งเล็ ก น้ อ ย ดี ก ว่ า สั ต ว์ น รกเล็ ก น้ อ ยที่ ยังมีเวลาหยุดพักจากความทุกข์ทรมานบ้าง ประจวบเหมาะหาก ได้รบั ส่วนบุญจากญาติทเี่ ขาอุทศิ ให้กอ็ าจเปลีย่ นความเป็นอยูใ่ ห้ดขี นึ้ เทียบเท่ากับเทวดาเลยก็มี อสุรกาย หรือที่คนไทยเรียกกันว่า ผี เช่น ผีปอบ ผีกระสือ ผีกระหัง ผีเจ้าที่เจ้าทาง เป็นต้น เป็นภูมิที่มีความเป็นอยู่ที่ดีกว่า เปรตนิ ด หนึ่ ง คื อ พวกอสุ ร กายนี้ ก็ หิ ว โหยเหมื อ นกั บ พวกเปรต แต่ดีกว่าพวกเปรตตรงที่สามารถหากินได้ อิ่มได้ มีความสุขได้ เช่น ผีบางตนมนุษย์สร้างศาลให้อยู่ และบูชาด้วยเครื่องเซ่นไหว้ ทุกวัน ไม่ต้องล�ำบากในเรื่องการอยู่การกิน สัตว์เดรัจฉาน เป็นภพที่มีโทษเบาบางกว่าอบายภูมิทั้ง ๓ ที่กล่าวมา ท่านกล่าวเรียงล�ำดับของการเสวยผลกรรมเอาไว้ว่า ผู้ที่ ท�ำกรรมหนักเอาไว้จะต้องไปชดใช้กรรมในนรกก่อนเป็นอันดับแรก เมื่อชดใช้กรรมในนรกเสร็จแล้ว หากยังมีกรรมติดตัวอยู่ก็จะมาเกิด เป็นเปรตเสวยผลกรรม เมื่อเป็นเปรตชดใช้กรรมแล้ว แต่หากยังมี กรรมติดตัวอยู่ก็จะมาเกิดเป็นอสุรกายชดใช้กรรมต่อ เมื่อเกิดเป็น อสุรกายชดใช้กรรมแล้ว แต่ยังมีเศษกรรมเหลืออีก ก็จะมาเกิดเป็น สัตว์เดรัจฉานชดใช้กรรม เมือ่ ชดใช้กรรมหมดจากสัตว์เดรัจฉานแล้ว จึงจะไปเกิดเป็นมนุษย์ ซึ่งเขียนเป็นแผนภูมิได้ดังนี้ 10

ระวังจะเกิดเป็น สั ต ว ์ เ ดรั จ ฉาน


มนุษย์

๔ เดรัจฉาน ๓ อสุรกาย ล�ำดับของ การชดใช้กรรม ในอบายภูมิ ๔

๒ เปรต ๑ นรก ดั ง นั้ น เดรั จ ฉานภู มิ ภู มิ ข องสั ต ว์ เ ดรั จ ฉานนี้ จึ ง จั ด เป็ น อบายภูมทิ ตี่ ำ�่ แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นภูมทิ ถี่ อื ว่ามีชวี ติ ความเป็นอยู่ ที่ดีกว่า นรก เปรต อสุรกาย ที่ว่าดีกว่าก็เพราะมีกรรมเบาบางกว่า การเสวยผลกรรมก็ ไม่เผ็ดร้อนเท่ากับนรก เปรต อสุรกาย คือสามารถใช้ชีวิตเสวยสุข กิน นอน พักผ่อน สนุกสนาน มีความสุขได้ ไม่ต้องเสวยผลกรรม อยู่ตลอดเวลาเหมือนกับสัตว์นรก ไม่หิวโหยอยู่ทุกขณะอย่างเปรต หรือไม่ต้องเร่ร่อน อดอยากหิวโหย รอเครื่องเซ่นสรวงจากมนุษย์ เหมือนอสุรกาย หรือผีต่างๆ บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด

11


ท�ำไม

จึงเรียกสัตว์ว่า “เดรัจฉาน” ก่ อ นที่ จ ะรู ้ ค วามหมายของค�ำว่ า เดรั จ ฉาน เรามารู ้ จั ก ความหมายของค�ำว่า สัตว์ กันก่อน เพราะถ้าเข้าใจค�ำนี้แล้ว ก็จะเข้าใจค�ำว่าเดรัจฉานได้ชัดเจนขึ้น สั ต ว์ มาจากค�ำสั น สกฤตว่ า สตฺ ว (สั ด -ตะ-วะ) ตรงกั บ ค�ำว่า สตฺต (สัด-ตะ) ในภาษาบาลี มีความหมายหลายนัย หมายถึง ชีวิตินทรีย์ สิ่งที่มีชีวิตก็ได้ หมายถึงทรัพย์สมบัติก็ได้ หมายถึง ความดีก็ได้ นอกจากนี้ สัตว์ ยังหมายถึงผู้ข้องอยู่ หรือติดอยู่ใน วัฏสงสาร คือยังเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสาร ๓๑ ภูม๑ิ ดังนั้นค�ำว่า สัตว์ ตามความหมายเดิมแท้ๆ จึงหมายถึงสิ่งที่ มีชวี ติ ทุกอย่างทีย่ งั เวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสาร ๓๑ ภูมิ เพราะฉะนัน้ สิ่งที่มีชีวิตทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ สัตว์เดรัจฉาน สัตว์นรก เปรต อสุรกาย เทวดา พรหม ทั้งหมดจึงได้ชื่อว่าเป็นสัตว์ทั้งสิ้น ดังพุทธภาษิตว่า สัตว์โลก ย่อมเป็นไปตามกรรม ซึ่งค�ำว่าสัตว์โลกนี้ ท่านหมายเอาสิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่ตกอยู่ภายใต้อ�ำนาจของกรรม ๑ วั ฏ สงสาร

๓๑ ภู มิ ภพภู มิ ที่ สั ต ว์ ผู ้ ยั ง มี กิ เ ลสจะต้ อ งเวี ย นว่ า ยตายเกิ ด ตามกรรมที่ตนได้สร้างไว้ มี ๓๑ ภูมิ คือ นรก ๑, เปรต ๑, อสุรกาย ๑, สัตว์เดรัจฉาน ๑, มนุษย์ ๑, สวรรค์ ๖, รูปพรหม ๑๖, อรูปพรหม ๔ 12

ระวังจะเกิดเป็น สั ต ว ์ เ ดรั จ ฉาน


หากว่ า ตามนี้ จ ะเห็ น ได้ ว ่ า ค�ำว่ า สั ต ว์ นั้ น ท่ า นไม่ ไ ด้ ใช้ หมายเอาเฉพาะสัตว์เดรัจฉานเท่านั้น แต่หมายรวมเอาสิ่งมีชีวิต ทัง้ หมด แม้แต่ค�ำว่า “พระโพธิสตั ว์” ก็ยงั ใช้ค�ำว่า “สัตว์” อยูน่ นั่ เอง ทีนี้มาดูความหมายของค�ำว่า เดรัจฉาน หรือบางครั้งเรียกว่า ดิรัจฉาน ค�ำนี้มาจากค�ำบาลีว่า ติรจฺฉาน (ติ-รัด-ฉา-นะ) ซึ่งแปลได้ ๒ อย่าง คือ

๑. ติรัจฉาน แปลว่า ผู้ไปขวาง

มีความหมายเป็น ๒ นัย คือ - นัยที่ ๑ หมายถึง ผู้มีร่างกายเจริญเติบโตไปทางขวาง คือ ขนานกับแผ่นดิน เวลาเดิน วิ่ง หรือเคลื่อนที่ ก็จะไปทางขวาง ขนานกับพื้น ซึ่งต่างจากคนที่เจริญเติบโตตามแนวสูง ตั้งฉากกับ แผ่นดิน เวลาเดิน วิ่ง ก็ไปในแนวตั้งฉากกับแผ่นดิน สังเกตได้จาก สัตว์เดรัจฉานทั่วไป เช่น นก หมู ปลา ช้าง ม้า วัว ควาย เหล่านี้ ล้วนแต่เจริญเติบโตไปตามแนวขวางทั้งนั้น และในยามเคลื่อนที่ ก็ไปตามแนวขวาง อกขนานกับพื้น

มนุษย์เจริญเติบโต ตั้งฉากกับพื้น สัตว์เจริญเติบโต ขนานกับพื้น บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด

13


- นัยที่ ๒ หมายถึง เป็นผู้ขวางต่อพระนิพพาน คือมีอุปนิสัย สันดาน หรือสติปญ ั ญาไม่มากพอทีจ่ ะบรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคล ได้ แม้ว่าจะเป็นสัตว์ที่มีบุญบารมีมาก สามารถแสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้ ดังเช่น พญานาค ก็ไม่อาจบรรลุธรรมได้ อย่าว่าแต่บรรลุธรรมเลย แม้แต่จะออกบวชเป็นพระภิกษุนุ่งเหลืองห่มเหลืองปฏิบัติธรรม ถื อ ศี ล ก็ ไ ม่ ไ ด้ ดั ง จะเห็ น ได้ จ ากในสมั ย พุ ท ธกาล มี น าคมาณพ ตนหนึ่ง มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก และมี ความปรารถนาอยากบวชเป็นภิกษุ จึงได้แปลงกายเป็นมาณพ มาขอบวช ซึ่งเมื่อบวชแล้วได้เผลอนอนหลับกลางวัน ท�ำให้ร่าง กลับคืนเป็นนาค เพื่อนภิกษุมาพบเข้าก็ตกใจร้องเรียกพระในวัด มาดูกัน นาคครั้นรู้สึกตัวก็ใช้ฤทธิ์คืนร่างเป็นมนุษย์ และขอบวช เป็นพระต่อไป ความทราบถึงพระพุทธเจ้า พระองค์ไม่ทรงอนุญาต และ ให้สึกเสีย เพราะสันดานแห่งสัตว์เดรัจฉานเอาแน่เอานอนไม่ได้ ขืนบวชอยู่ต่อไปอาจเป็นอันตรายต่อเพื่อนภิกษุด้วยกัน อีกอย่าง หากชาวบ้านรู้ว่ามีนาคเข้ามาบวชในวัดก็จะเป็นที่เกรงกลัว หรือ ถ้าหากพวกนักบวชนอกศาสนารูเ้ ข้าก็จะโจมตีเอาได้วา่ พระพุทธเจ้า รั บ สั ต ว์ ม าเป็ น บริ ว าร เอาสั ต ว์ ม าบวชให้ ค นกราบ เช่ น นี้ ก็ จ ะ ส่งผลเสียต่อพระศาสนาเป็นอย่างมาก ขอให้ข้าพเจ้า ได้บวชต่อไปเถิด

ไม่ได้ หรอกนะ

14

ระวังจะเกิดเป็น สั ต ว ์ เ ดรั จ ฉาน


๒. ติรัจฉาน แปลว่า ผู้ยินดีในเหตุ ๓ อย่าง

คือ มีความเป็นอยู่หรือด�ำเนินชีวิตวนเวียนอยู่แต่ในเหตุ ๓ ประการนี้เท่านั้น ได้แก่

กิน นอน

ชีวิตเรา พอใจแค่น้ี

สืบพันธุ์

ด้วยเหตุที่สัตว์ทั้งหลายยินดีหรือด�ำรงชีพอยู่แต่เฉพาะกับ การกิน การนอน การสืบพันธุ์ ๓ อย่างนี้เท่านั้น จะไม่แสวงหา ขวนขวายหรือดิ้นรนเพื่ออย่างอื่นนอกจาก ๓ อย่างนี้ ท่านจึง เรียกว่า ติรัจฉาน ผู้ยินดีแต่เฉพาะเหตุ ๓ อย่าง มาจากค�ำว่า ติ (๓) + รัจฉาน (ชื่นชมยินดี) ความชืน่ ชมยินดีในการกิน การนอน และการสืบพันธุน์ นั้ ไม่ใช่ มีแต่เฉพาะสัตว์เดรัจฉานเท่านั้น มนุษย์เราก็มีความยินดีในเหตุ ๓ อย่างนั้นเหมือนกัน เพียงแต่มนุษย์มีวัฒนธรรมในการกิน การนอน การสืบพันธุซ์ งึ่ สัตว์ไม่มี เช่น มนุษย์มกี ารปลูกข้าวปลูกผัก เลีย้ งสัตว์ ไว้เป็นอาหาร และไม่กินมนุษย์ด้วยกันเอง มีที่นอนเป็นหลักแหล่ง ไม่ใช่นอนตามอ�ำเภอใจ อยากนอนไหนก็นอนเหมือนกับเดรัจฉาน บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด

15


ส่วนการสืบพันธุ์ มนุษย์จะมีธรรมเนียมกฎกติกามารยาท ไม่หลับนอนหรือเสพสังวาสกับพ่อแม่ หรือบุคคลที่ร่วมสายโลหิต เดี ย วกั น หรื อ ถ้ า หากชายหญิ ง จะอยู ่ ด ้ ว ยกั น ก็ ต ้ อ งมี ก ารสู ่ ข อ หมั้นหมายจากผู้หลักผู้ใหญ่และต้องมีการจัดพิธีแต่งงาน แตกต่าง จากเดรัจฉานซึ่งไม่มีพิธีรีตอง ไม่ต้องมีสินสอด จะสืบพันธุ์กันที่ไหน เมื่อไร ก็กระท�ำโดยโจ่งแจ้ง เพราะโดยธรรมชาติของสัตว์ไม่รู้จัก อาย ไม่รู้จักแยกแยะว่าอะไรควรไม่ควร ท�ำแล้วก็ไม่ต้องถูกต�ำหนิ จากสังคมสัตว์ด้วยกัน แต่ส�ำหรับมนุษย์แล้ว หากกระท�ำอย่างโจ่งแจ้งอย่างเดรัจฉาน แล้วก็จะถูกต�ำหนิจากพ่อแม่ ญาติพี่น้อง หรือคนในสังคมรอบข้าง อย่างรุนแรง ว่าสร้างความเสื่อมเสียแก่ตระกูล หรือถูกตราหน้าว่า หน้าด้านไม่มียางอาย นี่คือข้อแตกต่างระหว่างมนุษย์กับเดรัจฉาน และทีส่ �ำคัญคือ มนุษย์สามารถพัฒนาตนให้เจริญในศีล สมาธิ ปัญญา เข้าถึงความเป็นพระอริยบุคคลได้ ส่วนเดรัจฉานไม่สามารถพัฒนาได้ ด้วยเหตุนี้ท่านจึงเรียกมนุษย์ว่า สัตว์ประเสริฐ สัตว์ที่มีใจสูง เดี๋ยวพี่ จะให้พ่อแม่ ไปขอนะ

พูดจริงนะ

มนุษย์มีวัฒนธรรม แต่สัตว์ไม่มี 16

ระวังจะเกิดเป็น สั ต ว ์ เ ดรั จ ฉาน

ไม่ต้องมี พิธีรีตอง


แต่ ถ ้ า หากมนุ ษ ย์ ค นใดมี จิ ต ใจที่ ไ ม่ เจริ ญ ขาดคุ ณ ธรรม จริยธรรม มีความประพฤติกักขฬะ ไร้เมตตา มีความประพฤติที่ โหดร้าย กระท�ำกรรมต�่ำช้าไม่ต่างจากพฤติกรรมของสัตว์ เช่น พ่อที่ข่มขืนลูก ลูกที่ฆ่าพ่อแม่ หรือผู้ที่มีพฤติกรรมเสพสมแบบ ไม่เลือก มนุษย์ผู้นั้นก็หาได้ชื่อว่าเป็นมนุษย์ไม่ คงได้ชื่อว่าเป็น สัตว์เดรัจฉานอยู่นั่นเอง เพราะเขามีคุณสมบัติของสัตว์อยู่เต็มตัว ขาดคุณธรรมจริยธรรมอันเป็นคุณสมบัติของมนุษย์ ดังนั้น จึงมี บ่อยครัง้ ทีม่ นุษย์บางคนมีพฤติกรรมเยีย่ งสัตว์แล้วถูกมนุษย์ดว้ ยกัน ด่าว่า ไอ้สัตว์ ทั้งๆ ที่ร่างกายเป็นมนุษย์ นี่ก็เป็นข้อคิดว่าจะเป็นคน เป็นมนุษย์หรือเป็นสัตว์เดรัจฉาน อาจไม่ได้วดั กันทีร่ ปู กายภายนอก เท่านั้น แต่ต้องวัดกันที่จิตใจและความประพฤติด้วย ไอ้พวกหมาหมู่

พฤติกรรม เหมือนเราเลย

ปัจจุบันค�ำว่า สัตว์ ในภาษาไทยใช้ในความหมายที่แคบเข้า คือใช้หมายถึงสัตว์ที่เกิดในภพเดรัจฉานอย่างเดียว ดังนั้น ถ้าพูดถึง สัตว์ คนทั่วไปก็มักนึกถึงสัตว์เดรัจฉานเท่านั้น ไม่รวมถึงสิ่งที่มีชีวิต จ�ำพวกอื่น มีบ้างบางครั้งที่เมื่อต้องการสื่อความหมายอย่างชัดเจน จะระบุชัดลงไปว่า สัตว์เดรัจฉาน สัตว์นรก สัตว์ประเสริฐ บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด

17


ประเภทของ

“เดรัจฉาน” สัตว์เดรัจฉานที่มีชีวิตปรากฏตัวตนอยู่ในโลกนี้มีมากมาย มหาศาล จนไม่อาจคาดเดาหรือประมาณออกมาเป็นตัวเลขได้ ไม่ต้องถึงกับนับจ�ำนวนเป็นตัว เอาแค่บอกชนิดของสัตว์แต่ละ ประเภทว่ามีอะไรบ้างก็ยังยาก เช่น สัตว์ทะเลมีกี่ชนิด สัตว์บก มีกี่ชนิด หรือเจาะจงให้แคบเข้าไปอีกว่าสัตว์ประเภทหอยมีกี่ชนิด เพียงเท่านี้ก็มากมายเกินกว่าจะตอบได้ ด้วยเหตุนี้พระพุทธเจ้า จึ ง ตรั ส เอาไว้ ใ นมหาวารวรรค สั ง ยุ ต ตนิ ก าย (พระไตรปิ ฎ ก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๑๙ หน้า ๕๕๑ ข้อที่ ๑๗๑๙) ว่า

“ภิกษุทั้งหลาย ! เปรี ยบเหมือนบุรษุ ตัดหญ้า ไม้ กิ่งไม้ และใบไม้ ในชมพูทวีปนี้ น�ำมารวมไว้ ในที่เดียวกัน ครั้นน�ำมา รวมไว้ ในที่เดียวกันแล้ว กระท�ำให้เป็นหลาว ครั้นท�ำให้ เป็นหลาวแล้ว ก็เสียบสัตว์ ใหญ่ๆ ในมหาสมุทรด้วยหลาว ขนาดใหญ่ เสียบสัตว์ขนาดกลางๆ ในมหาสมุทรด้วยหลาว ขนาดกลาง เสียบสัตว์ขนาดเล็กๆ ในมหาสมุทรด้วยหลาว ขนาดเล็ก 18

ระวังจะเกิดเป็น สั ต ว ์ เ ดรั จ ฉาน


ภิกษุทั้งหลาย ! สัตว์ ใหญ่ๆ ในมหาสมุทรยังไม่ทันจะ หมด แต่หญ้า ไม้ กิง่ ไม้ และใบไม้ ในชมพูทวีปนีก้ ห็ มดเสียแล้ว ภิกษุทงั้ หลาย ! สัตว์เล็กในมหาสมุทรขนาดทีเ่ สียบด้วย หลาวได้โดยยากนั้น มีมากกว่านั้นมากนัก” ตามเนื้ อ ความแห่ ง พระด�ำรั ส ขององค์ ส มเด็ จ พระผู ้ มี พระภาคเจ้าที่ยกมาข้างต้นนี้ จะเห็นได้ชัดเจนว่า จ�ำนวนของ สัตว์เดรัจฉานที่มีอยู่ในโลกนี้มากมายมหาศาลยิ่งนัก มากมาย ขนาดไหน พระพุทธองค์ทรงยกอุปมาให้เห็นว่า หากเอาต้นไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ ใบหญ้า บรรดามีอยู่ในชมพูทวีป๑ นี้ มาท�ำเป็นหลาว เสียบร้อยสัตว์ และน�ำใบไม้ใบหญ้าทุกใบมาห่อสัตว์ เฉพาะที่ อาศัยอยู่ในมหาสมุทรเท่านั้น ก็ยังไม่เพียงพอที่จะร้อยหรือห่อ สัตว์ในมหาสมุทรได้หมด ด้วยเหตุทสี่ ตั ว์เดรัจฉานมีจ�ำนวนมากดังกล่าวมา พระพุทธเจ้า จึงได้ทรงก�ำหนดประเภทของสัตว์เอาไว้อย่างกว้างๆ เพื่อให้ง่าย ต่อการจดจ�ำ มี ๔ ประเภท คือ

๑ ชมพูทวีป มีสองความหมายคือ ความหมายแรกหมายถึง อาณาเขตสมัย

พุทธกาล ปัจจุบันคืออาณาเขตของประเทศอินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ เนปาล, อีกความหมายหนึ่ง หมายถึง ๑ ในทวีปทั้ง ๔ อันเป็นที่อาศัยของ มนุษย์ ได้แก่ อุตตรกุรุทวีป บุพพวิเทหทวีป อรโคยานทวีป และชมพูทวีป ซึ่งชมพูทวีปตามความหมายนี้ก็คือโลกของเรา บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด

19


อปทติรัจฉาน สัตว์ไม่มีเท้า ไม่มีขา

ทวิปทติรัจฉาน สัตว์ ๒ เท้า ๒ ขา

จตุปทติรัจฉาน สัตว์ ๔ เท้า ๔ ขา

พหุปทติรัจฉาน สัตว์มีขามากกว่า ๔ ขา

นี่เป็นการจัดประเภทของสัตว์ตามจ�ำนวนขา ปัจจุบันมีการ จ�ำแนกสัตว์เป็นประเภทแตกต่างกันออกไป เช่น แบ่งตามที่อยู่ ออกเป็น ๓ ประเภท คือ สัตว์บก สัตว์น�้ำ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน�้ำ หรือแบ่งตามลักษณะของการเลี้ยงลูก คือ แบ่งเป็นสัตว์ประเภท เลี้ ย งลู ก ด้ ว ยนม สั ต ว์ ไ ม่ ไ ด้ เ ลี้ ย งลู ก ด้ ว ยนม นอกจากนี้ ยั ง แบ่ ง ประเภทเป็นอย่างอื่นอีกมากมาย เช่น สัตว์ปีก สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์เลือดอุ่น สัตว์เลือดเย็น สัตว์กินพืช สัตว์กินเนื้อ เป็นต้น จะเห็นได้ว่าสัตว์เดรัจฉานนั้นมีความหลากหลาย ยากที่จะจ�ำแนก แยกแยะได้ครบถ้วน 20

ระวังจะเกิดเป็น สั ต ว ์ เ ดรั จ ฉาน


“เดรัจฉาน” อบายภูมิที่สัมผัสได้ พระพุทธศาสนา แบ่งแยกภพหรือภูมิที่สัตว์ทั้งหลายจะต้อง ไปเกิด ออกเป็น ๒ ส่วน คือ ๑ ส่วนที่ไม่ดี เรียกว่า ทุคติภูมิ หรืออบายภูมิ มี ๔ ภูมิ ด้วยกัน คือ

๑. นรก

๓. อสุรกาย

๒. เปรต

๔. เดรัจฉาน

บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด

21


ทั้ง ๔ ภูมินี้ เรียกว่า ทุคติภูมิ เพราะเป็นภูมิที่ไปเกิดแล้ว มีแต่ความทุกข์ หาความสุขได้ยาก ที่เรียกว่า อบายภูมิ เพราะเป็น ภูมิที่มีแต่ความเสื่อมหาความเจริญไม่ได้ ที่ว่าเสื่อมคือเสื่อมจากศีล สมาธิ ปัญญา เสื่อมจากมรรค ผล นิพพาน คือผู้ที่เกิดในภูมิทั้ง ๔ นี้ ไม่สามารถทีจ่ ะบรรลุธรรมอันเป็นของอริยบุคคลได้ อย่าว่าแต่ธรรม ของพระอริยบุคคลเลย แม้แต่ธรรมอันเป็นของมนุษย์ กล่าวคือ เบญจศีล-เบญจธรรม๑ ก็ยังไม่อาจที่จะรักษาได้ ๒ ส่วนที่ดี เรียกว่า สุคติภูมิ ภูมิที่มีความสุขความเจริญ สามารถที่จะพัฒนาตนตามหลักของศีล สมาธิ ปัญญา ให้เข้าถึง มรรค ผล นิพพานได้ มีทั้งหมด ๒๗ ภูมิด้วยกัน คือ

๑ เบญจศีล ได้แก่ ศีล ๕, เบญจธรรม ได้แก่ ธรรมที่ต้องปฏิบัติคู่กับศีล ๕ ได้แก่ ๑) เมตตา กรุณา ๒) สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีพชอบ ๓) สทารสันโดษ ยินดีเฉพาะคู่ครองของตน ๔) สัจจวาจา การพูดแต่ค�ำสัตย์จริง ๕) สติสัมปชัญญะ 22 ระวังจะเกิดเป็น สั ต ว ์ เ ดรั จ ฉาน


ในทั้ง ๓๑ ภูมินั้น ภพภูมิที่ถือว่าใกล้กันมากที่สุดก็คือ มนุษย์ กั บ สั ต ว์ เ ดรั จ ฉาน เพราะภพภู มิ ทั้ ง ๒ ต่ า งก็ อ าศั ย อยู ่ ใ นโลก ใบเดียวกัน และอยู่ในมิติเดียวกัน คือสามารถติดต่อสื่อสารกัน ทางประสาทสัมผัสทั้ง ๕ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กายได้ เห็นตัวกันได้ ฟังเสียงกันได้ จับต้องสัมผัสกายกันได้ และทั้งรักกันเกลียดชัง กันได้ โดยไม่ตอ้ งผ่านจิตสัมผัสเหมือนกับสัตว์ในภพอืน่ ๆ เช่น เปรต อสุรกาย เทวดา เป็นต้น สัตว์เดรัจฉานกับมนุษย์จึงเปรียบเสมือนเพื่อนร่วมโลกที่อยู่ ในมิติเดียวกัน รักสุขเกลียดทุกข์ และเผชิญกับความแก่ เจ็บ ตาย เหมือนกัน แต่ถงึ แม้จะเป็นเพือ่ นร่วมโลกกัน มีเพียงมนุษย์สว่ นน้อย เท่านัน้ ทีจ่ ะเห็นว่าสัตว์เดรัจฉานเป็นเพือ่ นร่วมโลก โดยมากมักถูกฆ่า น�ำมาเป็นอาหาร ถูกเลี้ยงไว้ใช้แรงงาน หรือเพาะเลี้ยงค้าขาย เพือ่ ความสวยงาม สัตว์บางตัวก็ถกู ล่าเพือ่ น�ำอวัยวะมาประดับบารมี หรือท�ำยาโด๊ป ตามความเชื่อผิดๆ ของมนุษย์ ยิ่งกว่านั้น สัตว์บางตัวบางชนิดถูกเลี้ยงไว้เพื่อเป็นเกมกีฬา สร้างความสนุกสนานให้กับมนุษย์เท่านั้น สัตว์บางชนิดอยู่กับ มนุษย์แท้ๆ กลับถูกจับแลกครุส่งขายไปเป็นอาหาร กลายเป็น สินค้ายอดนิยมข้ามชาติไปซะงั้น พฤติกรรมของมนุษย์ที่กระท�ำ ต่อสัตว์เดรัจฉานนั้น บางครั้งก็ท�ำให้สงสัยว่าระหว่างมนุษย์กับสัตว์ ใครกันแน่ที่เป็นเดรัจฉาน หรือต�่ำทรามกว่ากัน นึกๆ แล้ว ถือว่าเป็นความโชคดีของเปรต อสุรกาย และ เทวดา ที่ไม่ได้มาร่วมโลกในมิติเดียวกันกับมนุษย์ เพราะหากอยู่ บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด

23


ในมิติเดียวกัน ไม่แน่ว่าอาจถูกมนุษย์จับมาแสดงกล หรือน�ำมา ใช้แรงงานเหมือนกับสัตว์เดรัจฉานก็ได้ นี่ขนาดผี เทวดาอยู่ต่างมิติ กันกับมนุษย์ บางตัวบางตนก็ยังถูกมนุษย์ใช้เวทมนตร์คาถา หรือ ถูกมนุษย์หลอกใช้งานอยู่บ่อยๆ ดังที่เรามักได้ยินว่าหมอผีจับผี ไปถ่วงน�้ำ หรือถูกหมอผีเอาเทียนไปลนคางเอาน�้ำมันพราย หรือว่า รุกขเทวดาทั้งหลายถูกมนุษย์บุกรุกตัดไม้ท�ำลายป่า จนต้องหนี กระเซอะกระเซิงเป็นเทพพเนจรไร้ที่อยู่ เทพเทวดาหรือผีบางตนไม่เป็นอันกินอันนอน เพราะถูก มนุษย์รบกวนให้บันดาลสิ่งนั้นสิ่งนี้ให้ โดยเฉพาะขอให้บอกหวย เอาเฉพาะการขอหวยเรื่องนี้เรื่องเดียว เทพเทวดา เจ้าพ่อเจ้าแม่ ตามศาลต่างๆ ก็แทบไม่ต้องท�ำอะไรอย่างอื่นเลย สรุปว่า มนุษย์ติดต่อสัมพันธ์กับสัตว์ภพภูมิใดได้ ก็มักจะ สร้างแต่ความเดือดร้อนให้กับเขาอยู่ร�่ำไป นั่นเป็นเพราะมนุษย์ มี กิ เ ลสตั ณ หา มี ค วามอยากที่ ไ ม่ รู ้ จั ก พอ ไม่ มี ข อบเขต ดั ง ค�ำ ที่ว่า

แม้จะให้สมบัติทั้งโลกแก่มนุษย์คนเดียว ก็ ไม่อาจที่จะสนอง ความอยากของมนุษย์ผู้เดียวนั้นให้เต็มอิ่มได้ มนุษย์จึงเป็นตัวอันตรายส�ำหรับสัตว์ ในทุกภพทุกภูมิ

24

ระวังจะเกิดเป็น สั ต ว ์ เ ดรั จ ฉาน


ความเป็นอยู่

ของ “เดรัจฉาน” ชีวิตความเป็นอยู่ของสัตว์เดรัจฉาน หากมองแบบผิวเผิน ก็ดูจะมีความสุขดี สัตว์บางตัวอาจมีความเป็นอยู่ที่สุขสบายกว่า มนุษย์หลายคนเสียด้วยซ�้ำ เช่น สุนัขที่เป็นสัตว์เลี้ยงของเศรษฐี หลายตัวได้รบั การปรนนิบตั ดิ แู ลอย่างดีจากเจ้าของ อาหารแต่ละมือ้ ที่ได้กิน บางครั้งแพงกว่าค่าอาหารของคนบางคนทั้งเดือน แต่นนั่ ก็ถอื ว่าเป็นส่วนน้อยของสัตว์เดรัจฉานทีจ่ ะเกิดมาโชคดี มีชีวิตที่สุขสบายอย่างที่ว่ามา หากคิดเป็นเปอร์เซ็นต์แล้วอาจไม่ถึง ๑ เปอร์เซ็นต์ด้วยซ�้ำ เมื่อเทียบกับสัตว์เดรัจฉานที่ต้องทุกข์ทรมาน เทียบให้เห็นง่ายๆ ระหว่างสุนัขที่ถูกเลี้ยงอย่างดีกับสุนัขที่ถูกจับไป ฆ่าเป็นสินค้าส่งออก อย่างไหนมีปริมาณมากกว่ากัน ค�ำตอบก็คือ สุนัขที่ถูกฆ่ามีจ�ำนวนมากกว่า โลกของสัตว์เดรัจฉาน พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นโลกแห่ง ความทุกข์ ทุกข์เพราะความระแวงหวาดกลัว หวาดกลัวต่ออะไร ก็หวาดกลัวที่จะถูกจับกินเป็นอาหารทั้งจากสัตว์ด้วยกันเอง และ จากมนุษย์เพื่อนร่วมโลก ล�ำพังภัยจากสัตว์ด้วยกันนั้นยังพอท�ำเนา บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด

25


แต่ภัยจากมนุษย์นี่สิสาหัสยิ่งนัก เพราะมนุษย์ไม่ได้ฆ่าสัตว์เพื่อกิน เป็นอาหารส�ำหรับตนเท่านั้น แต่มนุษย์ล่าสัตว์เพื่อการค้าขาย แสวงหาความรำ�่ รวย คือฆ่าสัตว์เพือ่ สนองความโลภ หาผลประโยชน์ ใส่ตนเอง ซึ่งความโลภของมนุษย์แม้นแลกด้วยชีวิตของสัตว์ทั้งโลก ก็ไม่อาจถมให้เต็มได้

สัตว์เดรัจฉานเก่งแค่ไหน ก็แพ้มนุษย์

และไม่เฉพาะแต่การฆ่าเพื่อเอาเนื้อมาขาย เพื่อประกอบ อาหารเท่านั้น มนุษย์ยังฆ่าเพื่อเอาอวัยวะ เช่น งา เขา เขี้ยว หนัง กระดูกไปท�ำเป็นเครื่องประดับ เครื่องใช้ กระเป๋าแบรนด์เนม น�ำมาประดับเสริมบารมีให้เป็นที่เกรงขาม หรือไปท�ำของขลัง ห้ อ ยคอให้ อ ยู ่ ย งคงกระพั น โดยลื ม คิ ด ไปว่ า ช้ า ง หมู เสื อ ที่เป็นเจ้าของงา เจ้าของเขี้ยวแท้ๆ ยังเอาตัวไม่รอดจากการถูกยิง 26

ระวังจะเกิดเป็น สั ต ว ์ เ ดรั จ ฉาน


ถูกฆ่าเลย ไฉนจะรักษาคุ้มครองผู้อื่นที่ไม่ใช่เจ้าของได้เล่า เพราะ ขนาดเจ้าของแท้ๆ ยังคุ้มครองไม่ได้ นับประสาอะไรกับผู้ที่ไม่ใช่ เจ้าของ จะคุ้มครองได้หรือ ที่กล่าวมานั้นเป็นภัยโดยตรงที่สัตว์เดรัจฉานได้รับจากมนุษย์ ยังไม่นับภัยโดยอ้อม เช่นการฆ่าเพื่อก�ำจัดทิ้งในฐานะที่เป็นพาหะ น�ำโรค ดั ง เช่ น เมื่ อ ปี ที่ ไข้ ห วั ด นกระบาด มี ก ารฆ่ า ไก่ ที่ เ ลี้ ย งไว้ จ�ำนวนมหาศาล หรือฆ่าในฐานะเป็นศัตรูต่อพืช ผัก ที่มนุษย์ เพาะปลูกไว้ หรือการบุกรุกท�ำลายป่า การจุดไฟเผาป่า ซึ่งเป็นการ ท�ำลายแหล่งอาหาร ท�ำลายวงจรการเจริญเติบโตของสัตว์ เหล่านี้ เป็นผลท�ำให้สัตว์บางชนิดสูญพันธุ์ไปก็มี นี่แหละท่านจึงกล่าวว่า โลกของสัตว์เดรัจฉาน เป็นโลก แห่งความหวาดกลัว มีภยั อยูร่ อบด้าน อาจตกเป็นเหยือ่ เป็นอาหาร และถูกก�ำจัดได้โดยง่าย พระอาจารย์ภาสกร ภูริวฑฺฒ โน (ภาวิ ไ ล) ได้ ก ล่ า วสรุ ป ลักษณะความเป็นอยู่ของสัตว์ในแต่ละภพภูมิเอาไว้ ในการบรรยาย ธรรมครั้งหนึ่งว่า

- มนุษย์กล้า - เดรัจฉานกลัว - เปรตหิวกระหาย - อสุรกายลามก - นรกเร่าร้อน บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด

27


มนุษย์กล้า หมายถึง กล้าท�ำความดี

ความชั่วได้แบบสุดๆ พระพุทธเจ้าที่ได้รับ ยกย่องว่าเป็นผู้เลิศที่สุดใน ๓ ภพ พระองค์ ก็ ท รงเป็ น มนุ ษ ย์ และบุ ค คลที่ ต กอยู ่ ใ น โลกันตนรก นรกขุมที่ลึกที่สุด มีไว้ส�ำหรับ ลงโทษผู้ที่กระท�ำบาปหนักที่สุด ก็ไปจาก มนุษย์นี้เช่นเดียวกัน ดังนั้น มนุษย์จึงได้ ชื่อว่า เป็นผู้กล้าหรืออาจหาญในการท�ำบุญ หรือบาปจนถึงที่สุด เดรั จ ฉานกลั ว หมายความว่ า โลกของสั ต ว์ เ ดรั จ ฉานนั้ น เป็ น โลกที่ เ ต็ ม ไปด้ ว ยภั ย อั น ตราย อาจถู ก ฆ่ า หรื อ ถู ก ท�ำร้ายได้ตลอดเวลา ทั้งจากสัตว์เดรัจฉาน ด้วยกัน หรือจากมนุษย์ ต้องคอยหลบซ่อน ระแวดระวังอยู่ทุกขณะของการใช้ชีวิต เปรตหิวกระหาย หมายความว่า ในโลกของเปรตนั้น เป็นโลกที่เต็มไปด้วย ความอดอยากหิ ว โหย อยากกิ น ไม่ ไ ด้ กิ น บางครั้งกินได้แต่เพียงเล็กน้อย เพราะมีปาก เท่ารูเข็มแต่มีท้องใหญ่เท่าภูเขา กินได้ไม่พอ อิม่ ทีเ่ ป็นเช่นนีเ้ พราะผลกรรมจากความโลภ บันดาลให้ต้องอยากต้องหิวอยู่ตลอดเวลา 28 ระวังจะเกิดเป็น สั ต ว ์ เ ดรั จ ฉาน

มนุษย์กล้า

ไว้ชีวิต ฉันเถอะ

เดรัจฉานกลัว ช่วยท�ำบุญ ให้หน่อย ข้าหิว

เปรตหิวกระหาย


อสุรกายลามก ค�ำว่า ลามก แปลว่า

สกปรก เลวทราม อสุรกายก็มคี วามเป็นอยู่ คล้ า ยกั บ เปรต ต่ า งกั น แต่ ว ่ า เปรตหิ ว แต่ กิ นไม่ ไ ด้ ส่วนอสุร กายหิวก็หากินได้ อิ่มท้องได้ เพียงแต่อาหารที่กินนั้นมักเป็น ของสกปรก เช่น ของเซ่ น ที่ เขาทิ้ ง ตาม สี่แยก รกคนหรือรกสัตว์ เป็นต้น และ ต้องคอยหลบๆ ซ่อนๆ เพราะมีหน้าตา ที่น่าเกลียด

กินของสกปรก ดีกว่าอดอยาก

อสุรกายลามก

นรกเร่าร้อน คือ สัตว์นรกในนรก

ทุ ก ขุ ม จะถู ก ไฟแผดเผาให้ เร่ า ร้ อ นอยู ่ ตลอดเวลา นรกบางขุมให้กนิ ก้อนเหล็กแดง บางขุ ม ถู ก จั บ โยนลงในกระทะทองแดง บางขุ ม ถู ก ภู เขาไฟไล่ บ ดขยี้ ด้ ว ยเหตุ ที่ สั ต ว์ นรกต้ อ งเจอกับไฟร้อนของนรกอยู ่ ตลอดเวลาเช่นนี้ ท่านจึงว่านรกเร่าร้อน

นรกเร่าร้อน

หากสังเกตลักษณะการเสวยผลกรรมของสัตว์ในอบายภูมิ ๔ คือ สัตว์นรก เปรต อสุรกาย และสัตว์เดรัจฉาน จะเห็นได้ว่า สัตว์เดรัจฉานดูจะเบาที่สุด ที่ว่าเบาที่สุดเพราะสัตว์นรกนั้นต้องถูกแผดเผาให้เร่าร้อน อยู่ตลอดเวลาไม่มีหยุดพัก ได้รับความทุกข์ทรมานอยู่ตลอดเวลา บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด

29


ส่วนเปรตนั้นดีกว่าสัตว์นรกตรงที่ได้รับโทษที่เบากว่านรก แถมยั ง มี โ อกาสได้ รั บ ส่ ว นบุ ญ ที่ ญ าติ อุ ทิ ศ ไปให้ ด ้ ว ย ซึ่ ง เปรต หลายตนที่ ไ ด้ รั บ ส่ ว นบุ ญ ที่ ญ าติ อุ ทิ ศ ไปให้ แ ล้ ว ก็ พ ้ น จากความ เป็นเปรต กลายเป็นเทวดาไปก็มี ส่วนอสุรกายนั้นดีกว่าเปรตตรงที่เปรตหิวแต่กินไม่ได้ หรือ กินได้แต่ไม่อิ่มต้องหิวอยู่ตลอดเวลา แต่อสุรกายหิวก็หากินได้ อิ่มได้ แม้อาหารที่กินจะไม่ดีเท่าไรก็ตาม

ส�ำหรับเดรัจฉาน นอกจากไม่ต้องรับโทษอยู่ตลอดเวลา เหมือนกับสัตว์นรกแล้ว ในเรื ่ องของอาหารการกิน การนอน ก็มีความสุขมากกว่าเปรต อสุรกาย แถมยังมีความสุขกับการสืบพันธุ์อีกด้วย จึงถือว่า มีความเป็นอยู่ที่ดีกว่าสัตว์ ในอบายภูมิทั้งหมด พระพุทธเจ้าตรัสท�ำนายเอาไว้ว่า ในอนาคตกาลข้างหน้า บ้านเมืองใดหรือประเทศใดที่มีผู้น�ำไร้ศีลธรรม ประชาชน มัวเมาในอบายมุข ก่อการทุจริต บ้านเมืองนั้นจะประสบกับภัยพิบัติ ทางธรรมชาติ แผ่นดินไหว ภัยแล้ง บ้านเมืองวุ่นวาย ประเทศไทยเรา ก�ำลังเข้าข่าย มาช่วยกันฟืน้ ฟูบา้ นเมือง คืนความสุขสูป่ ระเทศด้วยการ ตั้งอยู่ในธรรมและเจริญเมตตากันเถิด ตอนนี้ยังทันการณ์อยู่

30

ระวังจะเกิดเป็น สั ต ว ์ เ ดรั จ ฉาน


กรรม

กับการเกิดเป็นเดรัจฉาน ก่อนตาย ผู้มีจิตเศร้าหมอง ย่อมไปทุคติ ถ้าจิตผ่องใส ย่อมไปสุคติ


กรรม เป็นตัวก�ำหนดการเกิด ตามหลักค�ำสอนทางพระพุทธศาสนา พระพุทธองค์ตรัสเอาไว้วา่

กมฺมุนา วตฺตตี โลโก สัตว์โลก ย่อมเป็นไปตามกรรม

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ ข้อที่ ๗๐๗

ค�ำว่า สัตว์โลก ในที่นี้ไม่ได้หมายเอาเฉพาะมนุษย์ หรือ สัตว์เดรัจฉานในโลกนี้เท่านั้น แต่พระองค์หมายเอาสรรพสัตว์ที่ ก�ำลังท่องเที่ยวอยู่ในวัฏสงสาร ๓๑ ภูมิ ทั้งหมดทั้งสิ้น ค�ำว่า เป็นไปตามกรรม หมายความว่าเป็นไปตามอ�ำนาจ แห่งกรรมที่ตนได้ท�ำไว้ ทั้งที่เป็นกรรมในอดีตและกรรมที่ท�ำใน ปัจจุบัน การที่สัตว์จะไปเกิดภพภูมิไหน เกิดเป็นอะไร จะสุขหรือ ทุกข์อย่างไร ล้วนเป็นไปตามอ�ำนาจกรรม ดังพระพุทธพจน์ที่ หลายคนเคยสวดหรือเคยฟังอยู่บ่อยๆ ว่า

กมฺมสฺสโกมฺห ิ กมฺมทายาโท กมฺมโยนิ

เรามีกรรมเป็นของของตน เราเป็นผู้รับผลของกรรม เรามีกรรมน�ำมาเกิด

32 ระวังจะเกิดเป็น สั ต ว ์ เ ดรั จ ฉาน


กมฺมพนฺธุ เรามีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ กมฺมปฏิสรโณ เรามีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย ยํ กมฺมํ กริ สฺสามิ เราจักท�ำกรรมอันใดไว้ กลฺยาณํ วา ปาปกํ วา ดีหรื อชั่วก็ตาม ตสฺส ทายาโท ภวิสฺสามิ เราจักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้นไป

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ ข้อที่ ๕๗

ในบทสวดนั้นมีท่อนหนึ่งที่ว่า กมฺมโยนิ เรามีกรรมน�ำมาเกิด หรือบางส�ำนวนอาจแปลว่าเรามีกรรมเป็นก�ำเนิด โดยความหมาย ก็อย่างเดียวกัน คือ เราทุกคน สิ่งมีชีวิตทุกอย่างล้วนเกิดจาก อ�ำนาจกรรมจัดสรรให้มาเกิด จะเกิดเป็นสัตว์ เป็นเปรต เป็น อสุรกาย เป็นมนุษย์ เทพเทวดา ก็ล้วนแต่กรรมเป็นผู้จัดสรร ปัญหาคือกรรมจัดสรรสัตว์ให้มาเกิดอย่างไร คือ

ในพระพุทธศาสนาแบ่งกรรมทีใ่ ห้ผลตามหน้าทีเ่ อาไว้ ๔ อย่าง

๑. ชนกกรรม กรรมที่แต่งให้เกิด กรรมที่เป็นตัวน�ำไปเกิด ๒. อุปัตถัมภกกรรม กรรมสนับสนุน คือกรรมที่ท�ำหน้าที่ ต่อจากชนกกรรม โดยเข้าสนับสนุนกรรมฝ่ายดี และซ�้ำเติมกรรม ฝ่ายชั่ว ๓. อุปปีฬกกรรม กรรมบีบคั้น ท�ำหน้าที่บีบคั้นกรรมฝ่าย ตรงข้ามไม่ให้ส่งผลได้เต็มที่ ๔. อุปฆาตกกรรม กรรมตัดรอน ท�ำหน้าที่เข้าไปตัดกรรม ฝ่ายตรงข้ามให้หมดโอกาสให้ผล หรือให้ผลไม่ได้อีกต่อไป บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด

33


ณ ที่นี้จะกล่าวละเอียดเฉพาะ ชนกกรรม คือ กรรมท�ำหน้าที่ น�ำสัตว์ไปเกิด กรรมชนิดนีจ้ ะท�ำหน้าทีเ่ ข้าปรุงแต่งจิตในวาระสุดท้าย ก่อนตาย และน�ำพาจิตไปเกิดในภพภูมใิ หม่หรือร่างใหม่ทเี่ หมาะสม กับสภาวะของจิตขณะสิน้ ใจ จิตทีเ่ กิดใหม่นที้ า่ นเรียกว่า ปฏิสนธิจติ ซึ่งปฏิสนธิจิตจะไปเกิดในร่างกายแบบใด ในภพภูมิไหน ขึ้นอยู่กับ กรรมก่อนตายว่าจะปรุงแต่งจิตให้มีสภาพเป็นเช่นไร กล่ า วคื อ หากกรรมชั่ ว เข้ า ปรุ ง แต่ ง จิ ต จิ ต ก็ จ ะมี ส ภาพที่ เสื่อมโทรม เศร้าหมอง เร่าร้อน ไม่ผ่องใส เมื่อไปเกิดก็จะไปเกิด ในร่างที่เสื่อมโทรม เศร้าหมอง ตกต�่ำ เช่น เกิดในร่างของสัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน หรือเกิดเป็นมนุษย์แต่เป็นร่างทีไ่ ม่งาม ไม่สมบูรณ์ มีโรคร้ายเบียดเบียน มีความเป็นอยู่ที่ทุกข์ทรมาน แต่ถ้าหากว่าในวาระสุดท้ายก่อนตาย กุศลกรรมเข้าปรุงแต่ง จิต จิตก็จะมีสภาพที่ผ่องใส สงบเย็น มีคุณภาพดี เมื่อไปเกิด ก็สามารถที่จะไปเกิดในร่างหรือในภพภูมิที่ดี เช่น เกิดเป็นมนุษย์ ที่มีร่างกายสมบูรณ์ หรือเกิดเป็นเทวดา เป็นพรหม เป็นต้น สอดคล้องกับพระพุทธพจน์ว่า

จิตฺเต สงฺกิลิฏฺเ ทุคฺคติ ปาฏิกงฺขา จิตฺเต อสงฺกิลิฏฺเ สุคติ ปาฏิกงฺขา เมื่อจิตเศร้าหมอง ทุคติเป็นอันหวังได้ เมื่อจิตไม่เศร้าหมอง สุคติเป็นอันหวังได้

พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๑๒ ข้อที่ ๙๒

34

ระวังจะเกิดเป็น สั ต ว ์ เ ดรั จ ฉาน


มรณาสันนวิถี

วิถีจิตขณะใกล้ตาย เพือ่ ให้เข้าใจหลักของชนกกรรมหรือกรรมทีน่ �ำสัตว์ไปเกิดนัน้ น�ำไปเกิดได้อย่างไร ขอยกล�ำดับความเป็นไปของจิตในขณะใกล้ตาย ตามหลักอภิธรรมมาแสดงเพิ่มเติม เพื่อให้มองเห็นภาพชัดเจนขึ้น ว่ากรรมน�ำสัตว์ไปเกิดได้อย่างไร ตามหลักอภิธรรมท่านกล่าวไว้ว่า ธรรมดาว่าสัตว์ทั้งหลาย ที่ยังไม่ส�ำเร็จเป็นพระอรหันต์ ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ สัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน เทวดา หรือพระพรหมก็ตาม เมื่อจวนเจียน ใกล้ตาย จะมีอารมณ์ ๓ ประการเกิดขึ้น คือ คติ

กรรมารมณ

กรร

มิ ิต มน

นมิ ิต

บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด

35


๑. กรรมารมณ์ ได้แก่ อารมณ์ที่เกี่ยวกับกรรม คือ การ

กระท�ำที่ตนได้เคยกระท�ำเอาไว้ ซึ่งอาจเป็นกรรมที่เป็นกุศลหรือ เป็นอกุศลก็ได้ กรรมที่เป็นกุศลก็เช่น ตอนมีชีวิตอยู่เคยท�ำบุญ ให้ทาน รักษาศีล ฟังธรรม เจริญภาวนา หรือท�ำความดีอย่างใด อย่ า งหนึ่ ง ที่ ใ ห้ จิ ต เกิ ด ความปี ติ เ อิ บ อิ่ ม เมื่ อ จวนใกล้ ต ายจิ ต ได้ น้ อ มนึ ก ถึ ง ความสุ ข ความปี ติ เ มื่ อ ตอนได้ ท�ำบุ ญ นั้ น ก็ ท�ำให้ จิ ต ขณะใกล้ตายนั้นมีปีติสดชื่นเบิกบาน ตายไปอย่างสงบและไปเกิด ในภพที่ดี แต่ถา้ เป็นกรรมารมณ์ทเี่ ป็นฝ่ายอกุศลมาปรากฏในดวงจิต เช่น เมื่อจวนใกล้ตายจิตได้น้อมนึกถึงกรรมที่ตนเคยด่า หรือทุบตีพ่อแม่ เคยฆ่าสัตว์ตดั ชีวติ ผิดลูกผิดเมียคนอืน่ หรือนึกถึงคนทีต่ นเกลียดชัง จิตใกล้ตายก็จะมีสภาพเศร้าหมอง หดหู่ เร่าร้อนและกระวนกระวาย ครั้นตายลงจิตก็จะเก็บอารมณ์นั้นไปเกิดในภพที่ไม่ดี

๒. กรรมนิมิตารมณ์ ได้แก่ อารมณ์ที่เกี่ยวข้องกับวัตถุ

สิ่งของหรือกิริยาอาการที่ตนเคยท�ำกรรมนั้นๆ เอาไว้ เช่น ถ้าเป็น กรรมนิมิตฝ่ายดี บางคนก็เห็นภาพโบสถ์ วิหาร เห็นพระพุทธรูป เห็นข้าวน�้ำที่ตนเคยใส่บาตร หรือเห็นภาพที่ตนเคยจัดงานบวช ลูกหลาน ภาพตนเคยถวายกฐิน ภาพเคยกราบเท้าพ่อแม่ ถ้าเป็นกรรมนิมติ ฝ่ายชัว่ บางคนก็เห็นภาพขวาน มีด ปืน ทีต่ น เคยใช้ฆา่ เขา เห็นภาพสัตว์ทตี่ นเคยท�ำร้าย เคยรังแก หรือเคยทรมาน เช่น คนที่เคยเชือดคอหมู ภาพหมูถูกเชือด ดิ้นทุรนทุราย ก็มา ปรากฏให้เห็น บางครั้งภาพที่เห็นจะส่งผลให้ผู้นั้นแสดงพฤติกรรม ต่างๆ ออกมาทางกาย เช่น กรีดร้องเหมือนหมูถูกเชือด บางคน 36

ระวังจะเกิดเป็น สั ต ว ์ เ ดรั จ ฉาน


ร้องว่าร้อนๆ ดิ้นเหมือนสัตว์ถูกต้มทั้งเป็น มีอยู่รายหนึ่งพระผู้ใหญ่ ชั้นสมเด็จเคยเล่าไว้ว่า มีโยมผูช้ ายคนหนึง่ อาศัยอยูแ่ ถวบางล�ำพู ใกล้แม่นำ�้ เจ้าพระยา คืนหนึ่งเกิดไฟไหม้บ้านที่ฝั่งตรงข้าม ไฟลุกลามมาก ชาวบ้าน ต่างพากันขนของหนีไฟ โยมคนนี้เห็นเป็นโอกาสดีจึงได้พายเรือไป เทียบฝั่ง ร้องบอกให้เขาเอาทรัพย์มีค่าลงเรือของตน เมื่อสบโอกาส ก็แอบพายเรือเอาทรัพย์ของเขาหนีไป กาลต่อมาไม่นาน โยมคนนัน้ ป่วยเป็นโรคประหลาดอยากกินน�้ำ ครั้นมีผู้เอาน�้ำเย็นมาให้ก็เททิ้ง แกต้องการน�้ำร้อนและต้องร้อนแบบเดือดๆ ด้วย เมื่อดื่มน�้ำเดือด เข้าไปก็ท�ำท่าชื่นอกชื่นใจเหมือนได้ดื่มน�้ำเย็น ที่สุดเขาก็ตายเพราะ ถูกน�้ำร้อนลวกอวัยวะภายในตาย การที่โยมผู้นั้นร้องอยากกินน�้ำร้อน เพราะกรรมที่เขาแอบ เอาทรัพย์ของชาวบ้านผู้ที่ก�ำลังเดือดร้อนมาเป็นของตน แสวงหา ผลประโยชน์ใส่ตนบนความเดือดร้อนของคนอื่น คือเห็นความ เดือดร้อนของคนอืน่ เป็นโอกาสสร้างสุขแก่ตน กรรมนิมติ จึงบันดาล ให้เขาเห็นน�้ำเดือดๆ เป็นน�้ำที่สร้างความสุขเย็น เป็นการชดใช้ กรรมที่สาสมกัน

กรรมใหผ้ ลสาสมแก่บาปที่ททำเสมอ บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด

37


๓. คตินิมิตารมณ์ ได้แก่ ภาพนิมิตอันเป็นเครื่องหมาย

บ่งบอกถึงคติที่ตนจะไปเกิดในโลกหน้า ซึ่งท่านจ�ำแนกเอาไว้ว่า ถ้าบุคคลใดเห็นภาพปราสาทราชวัง เห็นวิมานบนสรวงสวรรค์ เห็นเทพบุตร เทพธิดา แสดงว่าผู้นั้นตายไปจะไปเกิดบนสวรรค์ ชั้นใดชั้นหนึ่ง ถ้าบุคคลใดเห็นภาพครรภ์ของมารดา เห็นภาพบ้านเรือน ความเป็นอยู่ของผู้คน แสดงว่าผู้นั้นจะต้องไปเกิดเป็นมนุษย์ ถ้าผู้ใดเห็นภาพนิมิตเป็นเปลวไฟแผดเผาเร่าร้อน เห็นภาพ สั ต ว์ ถู ก ทรมานในขุ ม นรก หรื อ ภาพนายนิ ร ยบาล เห็ น แร้ ง กา สุนัขตาแดงไล่กัดเป็นต้น แสดงว่าผู้นั้นจะต้องไปเกิดเป็นสัตว์นรก ถ้าผู้ใดเห็นภาพนิมิตเป็นความอดอยากหิวโหย เห็นแกลบ เห็นทะเลทราย เห็นภาพคนร้องขอส่วนบุญ แสดงว่าผู้นั้นจะต้อง ไปเกิดเป็นเปรต แต่ถ้าก่อนตายเห็นภาพนิมิตเป็นของสกปรก เห็นเลือด เห็น เนื้อดิบๆ เห็นเครื่องเซ่นไหว้ เห็นป่า ถ�้ำมืดมิด แสดงว่าผู้นั้นจะต้อง ไปเกิดเป็นอสุรกาย สุ ด ท้ า ย ถ้ า ก่ อ นตาย เห็ น ภาพนิ มิ ต เป็ น สั ต ว์ ต ่ า งๆ เห็ น น�้ ำ ทะเล แม่ น�้ ำ ป่ า เขา ทุ ่ ง หญ้ า หรื อ ถิ่ น ที่ อ ยู ่ อ าศั ย ของสัตว์ต่างๆ แสดงว่าผู ้ นั้ น เมื่อตายไปจะต้องไปเกิดเป็น นิมิตที่เห็นก่อนตาย สัตว์เดรัจฉาน คือเครื่องหมายบอกภพที่เกิด

38

ระวังจะเกิดเป็น สั ต ว ์ เ ดรั จ ฉาน


ท�ำกรรมไว้มาก แล้วกรรมไหนจะให้ผลก่อน ดังที่กล่าวมาแล้วว่า สัตว์ตายไปแล้วจะไปเกิดเป็นอะไรนั้น ขึ้นอยู่กับกรรมที่มาปรากฏในจิตวาระสุดท้ายก่อนตาย ซึ่งอาจ เป็นได้ทั้งกรรมดีและกรรมชั่ว ถ้าเป็นกรรมดีมาปรากฏปรุงแต่งจิต ก็จะท�ำให้ไปเกิดในสุคติภมู ิ แต่ถา้ เป็นกรรมชัว่ มาปรากฏปรุงแต่งจิต ก็จะท�ำให้ไปเกิดในทุคติภูมิ ค�ำถามคือ แล้วกรรมตัวไหนล่ะทีจ่ ะให้ผลในจิตใกล้ตาย เพราะ ในชีวติ ของเราคนหนึง่ ตัง้ แต่เกิดจนตายได้สร้างกรรมเอาไว้มากมาย ทั้งดีและไม่ดีปะปนกัน เฉพาะในวันเดียวกรรมที่เราท�ำทางกาย ทางค�ำพูด ทางความคิด ก็มีมากมายเกินจะนับได้ เมื่อถึงคราว ใกล้ตายแล้วกรรมอันไหนจะมาปรากฏในจิตวาระสุดท้าย ค�ำตอบคือ กรรมที่หนักมีโอกาสให้ผลก่อนกรรมที่เบา ที่ กล่าวเช่นนี้เพราะกรรมหนักจะปรากฏขึ้นในใจได้ชัดเจนมากกว่า กรรมที่มีน�้ำหนักเบา เช่น ขณะนี้ให้เรานึกถึงกรรมชั่วหรือกรรมดี ที่เคยท�ำ ภาพที่จะปรากฏขึ้นในใจก่อนย่อมเป็นภาพกรรมหนัก หรือกรรมที่ท�ำด้วยเจตนาอันแรงกล้า เช่น คนที่ฆ่าพ่อฆ่าแม่ ภาพที่ เขาจะนึกได้ก่อนกรรมอย่างอื่นก็คือภาพฆ่าพ่อฆ่าแม่ ข้อนี้ฉันใด กรรมทีจ่ ะปรากฏในใจก่อนตายก็ยอ่ มเป็นกรรมทีม่ นี ำ�้ หนักมากกว่า บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด

39


ด้วยเหตุนี้ท่านจึงจัดล�ำดับของกรรมที่จะมาปรากฏในจิต ในวาระสุดท้ายออกเป็น ๔ ล�ำดับ ดังนี้

๑ ครุกรรม

๔ กตัตตา กรรม

๒ อาสันนกรรม

๓ อาจิณณกรรม

๑. ครุกรรม คือ กรรมหนัก

ฝ่ายชั่ว ได้แก่ อนันตริยกรรม ๕ ประกอบด้วย ๑) ฆ่ามารดา เรียกว่า มาตุฆาต ๒) ฆ่าบิดา เรียกว่า ปิตุฆาต ๓) ฆ่าพระอรหันต์ เรียกว่า อรหันตฆาต ๔) ท�ำร้ายพระพุทธเจ้าถึงพระโลหิตห้อ เรียกว่า โลหิตุปปาท ๕) ท�ำสงฆ์ให้แตกกัน เรียกว่า สังฆเภท l

40

ระวังจะเกิดเป็น สั ต ว ์ เ ดรั จ ฉาน


ฝ่ายดี ได้แก่ สมาบัติ ๘ ประกอบด้วย

l

รูปฌาน ๔

อรูปฌาน ๔

๑. ปฐมฌาน ๒. ทุติยฌาน ๓. ตติยฌาน ๔. จตุตถฌาน

๑. อากาสานัญจายตนะ ๒. วิญญาณัญจายตนะ ๓. อากิญจัญญายตนะ ๔. เนวสัญญานาสัญญายตนะ

ถ้าบุคคลใดกระท�ำครุกรรมฝ่ายชั่วอย่างใดอย่างหนึ่งเอาไว้ ครุกรรมฝ่ายชัว่ นีก้ จ็ ะแซงหน้ากรรมอืน่ ๆ มาปรากฏในจิตดวงสุดท้าย ก่อน ไม่ว่าจะท�ำครุกรรมไว้เมื่อไรก็ตาม ในทางตรงกันข้ามถ้าท�ำครุกรรมฝ่ายดีเอาไว้ เช่น เจริญสมาธิ จนได้ฌานขัน้ ใดขัน้ หนึง่ ใน ๘ ขัน้ นัน้ ในขณะใกล้ตายเมือ่ อยูใ่ นฌาน กรรมนี้ก็จะเข้าประกอบจิต และน�ำจิตไปปฏิสนธิในพรหมโลก อาจมีบางท่านสงสัยว่า ถ้าหากบุคคลท�ำครุกรรมทั้งสองฝ่าย ครุกรรมฝ่ายไหนจะให้ผลก่อน ค�ำตอบก็คอื คนคนหนึง่ ไม่สามารถทีจ่ ะ ท�ำครุกรรมทัง้ สองฝ่ายได้ เพราะผลครุกรรมฝ่ายชัว่ จะปิดกัน้ บุคคลนัน้ ไม่ให้สามารถเจริญสมาธิถึงขั้นฌานได้ และในทางตรงกันข้าม บุคคลที่ได้บรรลุฌานแล้ว ก�ำลังแห่งฌานก็จะรักษาคุ้มครองเขา ไม่ให้พลาดไปท�ำครุกรรมฝ่ายชั่วได้ นอกเสียจากว่าผู้นั้นได้เสื่อม จากฌานเสียก่อนแล้ว ดังเช่น พระเทวทัตที่เคยได้ฌานมาก่อน ภายหลังเสื่อมจากฌาน จึงได้ท�ำอนันตริยกรรมถึง ๒ อย่าง คือ ท�ำร้ายพระพุทธเจ้าจนพระโลหิตห้อ และท�ำสงฆ์ให้แตกกัน บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด

41


๒. อาสันนกรรม คือ กรรมที่ท�ำหรือระลึกขึ้นได้เมื่อใกล้

ตาย กล่าวคือ ถ้าบุคคลใดไม่ได้ท�ำครุกรรมเอาไว้ กรรมที่ท�ำหรือ ระลึ ก ขึ้ น ได้ ข ณะใกล้ ต ายนี้ ก็ จ ะเข้ า ให้ ผ ลแทน และท�ำหน้ า ที่ ปรุงแต่งจิตให้ไปเกิดในภพภูมติ ่างๆ ยกตัวอย่างเช่น คนทีฆ่ า่ ตัวตาย กรรมที่ให้ผลก่อนก็คืออาสันนกรรม และอาสันนกรรมของคนที่ ฆ่ า ตั ว ตายเกื อ บทั้ ง หมดเป็ น อาสั น นกรรมฝ่ า ยชั่ ว เพราะคนที่ ฆ่าตัวตายล้วนมีผลจากความผิดหวัง ความเครียด ความน้อยเนื้อ ต�่ำใจ กรรมเหล่านี้เมื่อเข้าปรุงแต่งจิต ก็จะน�ำจิตให้ไปเกิดในภพ ของอสุรกาย หรือไปเกิดเป็นผีแทบทั้งสิ้น ดังที่คนทั่วไปมักจะพบ วิญญาณของคนที่ฆ่าตัวตายอยู่เสมอๆ ก็เพราะเจ้า ฆ่าตัวตายน่ะสิ

ผมท�ำดีไว้มาก ท�ำไมให้ผมไปนรก ละครับท่านยม

รู้ไหม ฆ่าตัวตาย ลงนรก ทุกราย และถ้าหากบุคคลใกล้จะตายมีจติ น้อมนึกไปถึงสัตว์เดรัจฉาน เช่น นึกชื่นชมในสัตว์ หรือมีความเป็นห่วงในสัตว์ บุคคลนั้นก็จะ เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานได้ ดังเช่นเรื่องของนายกุโตหลิกที่นึกชื่นชม ในสุนัขที่นายโคบาลเลี้ยงไว้ว่า สุนัขตัวนี้ช่างมีบุญจริงหนอ ได้กิน อาหาร ได้ทนี่ อนดียงิ่ กว่าเรา ขณะทีค่ ดิ อยูน่ นั้ เขาได้สนิ้ ชีวติ และไปเกิด ในท้องของสุนัขตัวนั้นทันที (อ่านเรื่องโดยละเอียดได้ในหน้า ๖๕) 42

ระวังจะเกิดเป็น สั ต ว ์ เ ดรั จ ฉาน


๓. อาจิณณกรรม คือ กรรมที่ท�ำจนเคยชิน หรือกรรมที่ท�ำ เป็นประจ�ำ ฝ่ายชั่วก็เช่น คนที่ท�ำผิดศีลข้อ ๕ เป็นประจ�ำ แม่ค้า ที่ต้องฆ่าสัตว์ทุกวัน ส่วนฝ่ายดีก็เช่น คนที่ท�ำบุญใส่บาตรทุกวัน สวดมนต์ก่อนนอนทุกคืน กรรมในลักษณะนี้เรียกว่า อาจิณณกรรม ถ้าไม่มีครุกรรมและอาสันนกรรม อาจิณณกรรมนี้จะมาปรากฏใน จิตสุดท้ายก่อนตายเป็นอันดับแรก และจะท�ำหน้าที่น�ำจิตไปเกิดใน ภพใหม่ ๔. กตัตตากรรม คือ กรรมสักว่าท�ำ กรรมทีท่ �ำด้วยเจตนาอ่อน กรรมที่ท�ำด้วยความไม่เต็มใจ ท�ำสักแต่ว่าให้แล้วไป เช่น มีคน ชักชวนท�ำบุญใส่ซองผ้าป่า ก็ท�ำไปพอให้ผ่านๆ ไม่ได้ใส่ใจนัก ให้ท�ำ ก็ท�ำไปอย่างนั้น หรือต่อยคนอื่นประสงค์จะหยอกเล่นแต่พลาด ไปถูกจุดส�ำคัญท�ำให้เขาเสียชีวิตเป็นต้น หากกรรมทั้ง ๓ ข้างต้น ไม่มี กรรมนี้ก็จะเข้าปรุงแต่งจิตก่อนตายและน�ำจิตไปเกิดในภพภูมิ ใหม่ สรุปได้ว่า กรรมแม้เราจะท�ำไว้เยอะก็จริงอยู่ แต่เมื่อให้ผล ย่อมให้ผลตามล�ำดับดังที่กล่าวมาแล้ว ล�ำดับของการให้ผลของ กรรมนี้ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยที่ต้องท�ำความเข้าใจอีกมาก เช่น กรรมที่มีน�้ำหนักเท่ากัน เป็นอาจิณณกรรมเหมือนกัน กรรมไหน จะให้ผลก่อนหลัง เป็นต้น ในที่นี้ขอกล่าวไว้กว้างๆ แต่พอเป็นหลัก พิจารณาเพียงเท่านี้ก่อน

บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด

43


กรรมที่ทำ� ให้

เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน ตามที่กล่าวมาแล้วว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมเป็นไปตามกรรม การเกิดเป็นอะไรในภพภูมิไหนก็ขึ้นอยู่กับกรรมที่เข้าปรุงแต่งจิต ในวาระสุดท้ายก่อนตาย จิตที่ประกอบด้วยกรรมแบบไหน จะไป เกิดในภพใด มีสภาพชีวติ ร่างกายเป็นอย่างไรนัน้ กรรมเป็นผูจ้ ดั สรร ทั้งหมด ดังพระพุทธพจน์ที่ว่า

กมฺมํ สตฺเต วิภชติ ยทิทํ หีนปฺปณีตตาย กรรม ย่อมจ�ำแนกสัตว์ คือให้ทรามและประณีตต่างกัน

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ ข้อที่ ๕๙๖

แล้วกรรมชนิดไหนทีจ่ ะท�ำให้ไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน ก่อนที่ จะทราบถึงผลกรรมที่ท�ำให้ไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน ควรทราบ ก่อนว่า สัตว์ในภพภูมิไหนบ้างที่มีโอกาสไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน ค�ำตอบก็คือสัตว์ในทุกภพทุกภูมิมีโอกาสไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน ได้ทั้งหมด เพราะมีพุทธพจน์ตรัสเอาไว้ว่า ก�ำเนิดของสัตว์ที่ยังมี กิเลสในสันดาน เป็นของไม่แน่นอน ยกตัวอย่างเช่น 44

ระวังจะเกิดเป็น สั ต ว ์ เ ดรั จ ฉาน


แม่ไก่ตวั หนึง่ เกิดในสมัยของพระพุทธเจ้าพระนามว่า กกุสนั ธะ อาศัยอยู่ใกล้โรงฉันแห่งหนึ่ง ได้ฟังเสียงภิกษุรูปหนึ่งสาธยายธรรม เป็นประจ�ำ วันหนึ่งแม่ไก่สิ้นใจตายขณะฟังธรรม ได้ไปเกิดเป็น พระราชธิดาของพระเจ้า อุ พ พารี วันหนึ่งพระนางเสด็จเข้าไป ในที่ถ่ายอุจจาระ เห็นหมู่หนอนไต่ยั้วเยี้ยในกองอุจจาระ ได้น้อม อารมณ์ นั้ น มาเป็ น อารมณ์ ก รรมฐาน เจริ ญ สติ จ นได้ ป ฐมฌาน ครั้ น สิ้ น พระชนม์ ไ ด้ ไ ปเกิ ด ในพรหมโลก หลั ง จากที่ เ สวยสุ ข ใน พรหมโลกจนสิ้ น อายุ ขั ย แล้ ว ได้ ล งมาเกิ ด เป็ น ลู ก สุ ก รในเมื อ ง ราชคฤห์ วั น หนึ่ ง พระพุ ท ธเจ้ า ไปพบลู ก สุ ก รตั ว นี้ เข้ า จึ ง ทรงแย้ ม พระโอษฐ์ พระอานนท์ได้กราบทูลถามถึงเหตุที่ทรงแย้ม พระองค์ ตรัสว่าเห็นลูกสุกรนั่นไหม เดิมทีลูกสุกรนั้นเป็นแม่ไก่ในสมัยของ พระพุทธเจ้าพระนามว่า กกุสันธะ ได้ฟังการสาธยายธรรมแล้ว ไปเกิดเป็นราชธิดา ในชาตินั้นได้เจริญกัมมัฏฐานจนได้ปฐมฌาน ไปเกิดเป็นพรหม แต่หลังจากเกิดเป็นพรหมแล้วกลับมาเกิดเป็น ลูกสุกรตัวนี้นี่แล จากนั้นทรงสรุปเป็นค�ำสอนในเรื่องนี้ว่า

“ตราบใดทีส่ ตั ว์ยงั มีตณ ั หาในสันดาน ตราบนัน้ ความทุกข์ ก็ยังไม่สิ้น แลก�ำลังแห่งตัณหานี้ย่อมชักพาให้สรรพสัตว์ มีก�ำเนิดที่ ไม่แน่นอน” เรื่องนี้มีเล่าไว้ในหนังสือ พระธัมมปทัฏฐกถา แปล ภาค ๘ หน้า ๑๒ เรื่อง นางลูกสุกร ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันได้ว่าสรรพสัตว์ ทีย่ งั มีกเิ ลสในทุกภพทุกภูมสิ ามารถเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานได้ทงั้ หมด ยกเว้นแต่พระอริยบุคคล ผู้ละกิเลสได้เด็ดขาดแล้ว ซึ่งถือว่าเป็น ผู้ปิดประตูแห่งอบายภูมิแล้ว บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด

45


ที่มาของสัตว์เดรัจฉานพอจะจ�ำแนกได้ ๒ ทาง คือ ๑. มาจากภพเบื้องต�่ำ คือมาจากนรก เปรต อสุรกาย หรือ จากสัตว์เดรัจฉานด้วยกัน การเกิดในลักษณะนี้จะเกิดด้วยอ�ำนาจ ของเศษกรรม กล่าวคือ ผูท้ ที่ �ำกรรมชัว่ หรือกรรมหนักเอาไว้ เมือ่ ตาย ก็จะไปชดใช้กรรมในนรกก่อน ชดใช้กรรมในนรกจนเบาบางแล้ว แต่ยังมีเศษกรรมติดตัวอยู่ ซึ่งเศษกรรมนั้นไม่หนักพอที่จะชดใช้ ในนรก ก็จะไปเกิดเป็นเปรตชดใช้เศษกรรมนั้น และเมื่อเกิดเป็น เปรตชดใช้กรรมแล้วแต่เศษกรรมยังไม่หมด ก็จะไปเกิดเป็นอสุรกาย ชดใช้กรรม และเมื่อชดใช้กรรมเป็นอสุรกายแล้ว แต่ยังมีเศษกรรม ติดตัวอยูอ่ กี ก็จะมาเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานชดใช้กรรมต่อไป การเกิด เป็นสัตว์ในลักษณะอย่างนี้ เรียกว่า เกิดด้วยอ�ำนาจของเศษกรรม ๒. มาจากกรรมปัจจุบัน คือ เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานเพราะ กรรมนั้นๆ ที่ตนท�ำโดยตรง ไม่ใช่เพราะเศษกรรมที่เหลือจากกรรม หนัก เช่น ชาติกอ่ นเป็นมนุษย์แต่ไปประกอบกรรมไม่ดบี างอย่างเข้า ท�ำให้มาเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานในชาตินี้ ยกตัวอย่างจากเรื่องของ พรหมที่มาเกิดเป็นลูกสุกรที่กล่าวมาแล้ว จะเห็นได้ว่าพรหมไม่มี เศษกรรมอะไรที่ต้องชดใช้ เพียงแต่ก่อนที่จะจุติมีความสับสนกับ คติของตนเอง ซึง่ จัดเป็นกรรมประเภทอาสันนกรรม กรรมทีเ่ กิดขึน้ ก่อนจุติหรือก่อนตายเท่านั้น จึงท�ำให้มาเกิดเป็นลูกสุกร ก่อนจะมาเกิด เป็นตุ๊กแก ท่านเคยเกิดเป็นอะไร ข้อนี้ก็ไม่รู้ เหมือนกัน

46

ระวังจะเกิดเป็น สั ต ว ์ เ ดรั จ ฉาน


ที นี้ ม าดู กั น ว่ า กรรมที่ จ ะท�ำให้ ผู ้ ก ระท�ำไปเกิ ด เป็ น สั ต ว์ เดรัจฉานนั้นท่านกล่าวไว้อย่างไรบ้าง ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่มที่ ๒๐ หน้า ๗๐ ว่า

“พราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนีท้ �ำแต่กายทุจริต ไม่ท�ำกาย สุจริต ท�ำแต่วจีทุจริต ไม่ท�ำวจีสุจริต ท�ำแต่มโนทุจริต ไม่ท�ำมโนสุจริต สัตว์บางพวกในโลกนี้ หลังจากตายไปแล้วจึงไปเกิดในอบาย (เดรัจฉาน) ทุคติ (อสุรกาย) วินิบาต (เปรต) นรก” และกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกเล่มเดียวกัน หน้า ๗๕ ว่า

“ผู้มีการงานปกปิดไว้ พึงหวังได้คติอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ นรกหรือก�ำเนิดสัตว์เดรัจฉาน…” “ผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ พึงหวังคติอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ นรก หรือก�ำเนิดสัตว์เดรัจฉาน…” “สถานที่รองรับคนทุศีล ๒ แห่ง คือ นรกหรือก�ำเนิดสัตว์ เดรัจฉาน…” และยังกล่าวไว้ในพระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๓๐ หน้าที่ ๓๔ ข้อที่ ๑๑๗ อีกว่า

“ดูกรภิกษุทงั้ หลาย โดยทีแ่ ท้ นรก ก�ำเนิดสัตว์เดรัจฉาน ปิตติวิสยั หรือทุคติ อย่างใดอย่างหนึง่ แม้อนื่ ย่อมปรากฏเพราะกรรมเกิดแต่ โลภะ เพราะกรรมเกิดแต่โทสะ เพราะกรรมเกิดแต่โมหะ. อกุศลมูล ๓ ประการนี้ เพื่อความเกิดแห่งอัตภาพในนรก ในก�ำเนิดสัตว์เดรัจฉาน ในปิตติวิสัย” บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด

47


และยังตรัสไว้ในพระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๓๙ ข้อที่ ๑๔๙ อีกว่า

“คนเหล่าใดในโลกนี้ เป็นคนตระหนี่เหนียวแน่น ดีแต่ว่าเขา ท�ำการกีดขวางคนเหล่าอืน่ ผู้ให้อยูฯ่ คนเหล่านัน้ ย่อมเข้าถึงนรก ก�ำเนิด สัตว์เดรัจฉาน หรือยมโลก ถ้าหากถึงความเป็นมนุษย์ ก็เกิดในสกุล คนยากจน ซึ่งจะหาท่อนผ้า อาหาร ความร่าเริงและความสนุกสนาน ได้ โดยยาก” ตามเนื้อความแห่งพระพุทธพจน์ที่ยกมานี้ พอสรุปกรรมที่ ท�ำให้ไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานได้ดังนี้ หมวดที่

ได้แก่

๑. กายทุจริต การท�ำชั่วทางกาย ซึ่งจ�ำแนกไว้ ๓ อย่าง

ได้แก่ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม ๒. วจีทจุ ริต การท�ำชัว่ ทางวาจา พูดไม่ดี จ�ำแนกไว้ ๔ อย่าง ได้แก่ พูดปด พูดส่อเสียด พูดค�ำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ๓. มโนทุจริต การท�ำชั่วทางใจ ทางความคิด จ�ำแนกไว้ ๓ อย่างคือ คิดโลภอยากได้ของเขา คิดพยาบาทปองร้ายเขา เห็นผิดจากท�ำนองคลองธรรม (มิจฉาทิฏฐิ) ซึง่ ถ้ารวมกายทุจริต ๓ วจีทจุ ริต ๔ มโนทุจริต ๓ ก็จะมีทงั้ หมด ๑๐ อย่าง ท่านเรียกรวมกันว่า อกุศลกรรมบถ ๑๐ 48

ระวังจะเกิดเป็น สั ต ว ์ เ ดรั จ ฉาน


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.