เกิด แก่ เจ็บ ตาย เช่นนี้เอง
พระพรหมมังคลาจารย์ (หลวงปู่ปัญญานันทะ)
เกิด แก่ เจ็บ ตาย เช่นนี้เอง
โดย : พระพรหมมังคลาจารย์ (หลวงปู่ปัญญานันทะ) บรรณาธิการ/สรรค์สาระ : ศักดิ์สิทธิ์ พันธุ์สัตย์ ออกแบบปก : อนุชิต คำ�ซองเมือง รูปเล่ม : สุกัญญา ศรีสงคราม ภาพประกอบ : สมควร กองศิลา, ธนรัตน์ ไทยพานิช พิสูจน์อักษร : อรทัย คำ�แพง, หนูคล้าย กุกัญยา
ISBN : 978-616-268-161-5
สร้างสรรค์และลิขสิทธิ์ บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด 105/95-96 ถนนประชาอุทิศ ซอย 45 แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ 10140 โทร./แฟกซ์ 02-872-7667 เชิญร่วมเผยแผ่เป็นธรรมทาน สาขาทุ่งครุ : โทร. 02-872-9191, 02-872-8181, 02-872-7227, 02-872-9898
LC2YOU@GMAIL.COM, LC2YOU@HOTMAIL.COM
WWW.LC2U.COM, WWW.พุทธะ.NET
สาขาสำ�ราญราษฎร์ : โทร. 02-221-1050, 02-221-4446
พิมพ์ที่ : หจก. แอลซีพี ฐิติพรการพิมพ์
105/66-67 ถนนประชาอุทิศ ซอย 45 แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ 10140
โทร./แฟกซ์ : 02-872-9577 www.thitiporn.com
ค�ำน�ำ เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องที่เราท่านทั้งหลายจะต้องประสบ พบเจอด้วยกันอย่างเสมอภาค โดยไม่เลือกชนชัน้ วรรณะ ไม่เลือกฐานะ ยากดีมีจน เพราะเป็นกฎธรรมดาของธรรมชาติ ที่ทุกคนไม่อาจหนีพ้น แม้จะเป็นกฎธรรมดาของธรรมชาติที่ไม่อาจหนีพ้นก็จริง แต่ มนุษย์เราส่วนใหญ่กเ็ ป็นทุกข์กบั เรือ่ งธรรมดาเช่นนีอ้ ยูท่ กุ หนแห่ง ทีเ่ ป็น เช่นนั้นเพราะมนุษย์ทั้งหลายต่างมีความปรารถนาที่ขัดแย้งกับความ เป็นจริง คือไม่อยากแก่ ไม่อยากเจ็บ ไม่อยากตาย เมื่อธรรมชาติเป็น ไปตามกฎที่ควรจะเป็น มนุษย์จึงเป็นทุกข์ เพราะไม่ได้ดังใจต้องการ การจะเอาชนะความทุกข์ เอาชนะความเกิด แก่ เจ็บ ตายได้ มีเพียงวิธีเดียว คือ การยอมรับกับความจริงของธรรมชาติ หากยอมรับ กับความเป็นจริงของธรรมชาติได้ ความทุกข์ทั้งหลายก็จะหมดไป ปัญหาคือท�ำอย่างไรจึงจะยอมรับกับความเป็นจริงของธรรมชาติได้ หนังสือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย เช่นนี้เอง เล่มนี้ เป็นมรดกธรรมที่ ฝากไว้ของ พระพรหมมังคลาจารย์ (หลวงปู่ปัญญานันทะ) แห่ง วัดชลประทานรังสฤษฏ์ ซึ่งท่านได้แนะน�ำวิธีการปรับความคิดให้ ยอมรับกับความเป็นจริงของธรรมชาติได้อย่างไม่ต้องฝืนความรู้สึก เป็นบทธรรมเทศนาที่อ่านง่าย เข้าใจง่าย และลงมือปฏิบัติได้ผลจริง หวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเล่มนี้จักเกิดประโยชน์โสตถิผล แก่ทา่ นทัง้ หลายให้เอาชนะความทุกข์ และอยูก่ บั ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ได้อย่างเป็นสุข ด้วยความปรารถนาดี ส�ำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ เมษายน ๒๕๕๘
ต้องรีบท�ำ ต้องรักษาศีลเสีย เมื่อยังมีชีวิตอยู่ต้องให้ทาน ต้องเจริญภาวนา หรือว่าอะไรที่เป็นคุณเป็นค่าอยู่ในชีวิต ก็ท�ำเสียก่อนที่จะหมดลมหายใจ หมดลมหายใจแล้ว คนอื่นท�ำให้ แม้จะอุทิศไปให้ มันก็ไม่แน่ว่าจะได้รับหรือเปล่า พระพรหมมังคลาจารย์ (หลวงปู่ปัญญานันทะ)
เกิด แก่ เจ็บ ตาย
เช่นนี้เอง พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ) ชาตกาละ ๑๑ พฤษภาคม ๒๔๕๔ มรณกาละ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๐
ญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลาย ต่อไปนี้ ขอให้ทุกท่านอยู่ในอาการสงบ ตั้งอกตั้งฟังด้วยดี เพื่อให้ได้ประโยชน์อันเกิดขึ้นจาการฟังตามสมควรแก่เวลา ที่วัด แห่งนี้ ถ้าหากมีการตัง้ ศพบ�ำเพ็ญบุญก็มกี ารสวดเพียงจบเดียว แล้ว ก็มีบรรยายธรรมะสู่กันฟัง เพื่อจะให้ญาติโยมที่มาในงานได้สิ่งที่ เป็นกุศลกลับไปบ้านบ้าง ตามสมควรแก่ฐานะ บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
5
ร้องไห้เป็นเครื่องหมาย แห่งความทุกข์ ชีวิตของเราก็เป็นอย่างนั้น ตั้งต้นด้วยการถือปฏิสนธิในครรภ์ ของมารดา แล้วก็ค่อยๆ เจริญขึ้นตามล�ำดับ สิบเดือนก็ออกจากครรภ์ ลืมตาดูโลก พอลืมตาขึ้นก็ร้องไห้ การร้องไห้นั่นแสดงอยู่ในตัวแล้วว่า ทุกข์หนอ
แง
แง
แง
โลกนี้มันไม่สบาย โลกนี้มันมีความทุกข์ มีความเดือดร้อน เพราะฉะนั้น เด็กทารกทุกคนจึงร้องไห้ การร้องไห้นั้น เป็นเครื่องประกาศ ให้เราทั้งหลายรู้ว่า ชีวิตมันเป็นทุกข์ แล้วก็ทุกข์จริงๆ สุขนั้นมันมีน้อย
เป็นเด็กแล้วก็เจริญเติบโตขึ้นตามล�ำดับ แล้วผลที่สุดก็แก่ชรา แตกดับไปตามสังขารร่างกาย
บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
7
ชีวิตเหมือนใบไม้ เกิด แก่ ตาย ธรรมดา วันนี้เราทั้งหลายมาประชุมกันก็เพื่อไว้อาลัยแก่บุคคลผู้หนึ่ง ซึ่ ง ถึ ง แก่ ก รรมไปแล้ ว ร่ า งกายคนเรานั้ น เมื่ อ แก่ ช ราเต็ ม ที่ แ ล้ ว ก็เหมือนกับใบไม้ เราเดินมาในช่วงนี้ จะเห็นว่าบนถนนมีใบไม้แห้ง เต็มไปหมด นั่นเป็นเครื่องแสดงให้เราเห็นว่า
ชีวิตคนเราก็เหมือนกับใบไม้ เริ่มต้นด้วยแตกใบอ่อน แล้วก็เป็นใบเพสลาด แล้วก็เป็นใบแก่ เป็นใบเหลือง แล้วผลที่สุดก็หลุดออกจากขั้ว กระจุยกระจายไปตามพื้นดิน เป็นปุ๋ยของต้นไม้ต่อไป หากหนังสือเล่มนี้หมดประโยชน์แก่ท่านแล้ว กรุณา ส่งต่อให้กบั ผูอ้ นื่ ได้อา่ นต่อๆ ไป เพือ่ เป็นการบ�ำเพ็ญธรรม ทานบารมีแก่ตนเอง และช่วยสืบสาน รักษา เผยแผ่พระธรรม ค�ำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ด�ำรงอยู่สืบไป ขออนุโมทนาสาธุ. 6
เกิด แก่ เจ็บ ตาย เช่นนี้เอง
ทุกสิ่งเป็นของยืมจากธรรมชาติ ชีวิตของคนเรานั้นเหมือนกับเดินบนสะพานโค้ง เช่นเราขึ้น สะพานพระปิน่ เกล้า นีเ่ ห็นง่ายเพราะมันโค้งมาก เวลาเดินขึน้ ไปๆ ก็ถงึ กลางสะพาน พอถึงกลางสะพานแล้วจะไปยืนอยู่บนนั้นก็ไม่ได้ จะไป พักอยูบ่ นนัน้ ก็ไม่ได้ มันต้องลงไปข้างใดข้างหนึง่ ไม่กลับมาฝัง่ กรุงเทพฯ ก็ต้องกลับไปฝั่งธนบุรี ใครจะไปยืนอยู่บนนั้นไม่ได้ นั ก ปราชญ์ ช าวจี น โบราณเขาจึ ง พู ด ไว้ ว ่ า “ชี วิ ต เหมื อ นกั บ สะพาน อย่าไปสร้างบ้านลงบนนัน้ ” การทีพ่ ดู ว่า อย่าไปสร้างบ้านนัน้ หมายความว่ า อย่ า ไปยึ ด ถื อ ในสิ่ ง อะไรต่ า งๆ จนเป็ น เหตุ ใ ห้ เ กิ ด ความทุกข์
ให้เรารู้ว่าสิ่งทั้งหลายที่เรามีเราได้ไว้กินไว้ใช้ เป็นของยืมชั่วครั้งชั่วคราว เรายืมมาจากธรรมชาติ ธรรมชาติเป็นเจ้ามือใหญ่ เป็นธนาคารใหญ่ ที่เราจะยืมอะไรได้ทุกอย่าง ไม่นานร่างกายเรา ก็ต้องคืนธรรมชาติ เหมือนกัน
8
เกิด แก่ เจ็บ ตาย เช่นนี้เอง
ยืมแล้วต้องส่งคืนเป็นธรรมดา
อย่ายึดถือ
ยืมอาหารเครื่องนุ่งห่มที่อยู่อาศัย หยูกยาส�ำหรับแก้ไข้ แม้ ร่างกายนี้เราก็ยืมมาใช้ครั้งคราว พอถึงก�ำหนดก็ต้องส่งคืนให้แก่ ธรรมชาติคือตายแล้วก็ส่งคืนไป ลงไปฝังดินต่อไป เผาเป็นขี้เถาแล้ว ก็ต้องมอบไว้แก่แผ่นดิน แผ่นดินถือเป็นธรรมชาติ เป็นเจ้าหนี้ใหญ่เรา เราก็ส่งคืนไป ถ้าใครไปยึดไปถือก็เป็นทุกข์ไปเปล่าๆ เราจึงควรพิจารนาให้เห็นว่า อะไรๆ มันก็เป็นอย่างนี้แหละ ไม่มี อะไรทีค่ งทีถ่ าวรอยูส่ กั อย่างเดียว การคิดอย่างนีท้ �ำให้เกิดความสบายใจ ในเมื่อเราต้องสูญเสียอะไรต่างๆ ไป เพราะเราคิดไว้ล่วงหน้า ได้เตรียม ตัวไปแล้วว่า อะไรมันจะเกิดขึ้น เช่นเรามีบิดามารดาเป็นที่รักที่เคารพ ท่านแก่ชราลงไปแล้วท่านก็จะต้องจากเราไป
เรามีความแก่เป็นธรรมดา
เราต้องคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา ที่จะต้องเป็นอย่างนั้น หนีความเป็นอย่างนั้นไปหาไม่ได้ ให้เราได้พิจารณาศึกษา ในรูปแบบอย่างนี้ จะท�ำให้จิตใจสบายขึ้น คลายจากความทุกข์ความเดือดร้อน อันเป็นปัญหาในชีวิตประจ�ำวัน
บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
9
ถ้าไม่คิดก็มองไม่เห็นประโยชน์ เรามาในงานศพนี่ก็เหมือนกัน ทุกคนที่มาในงานศพจะต้องรู้ว่า มาท�ำไม เรามาในงานศพนี่ท�ำไม มาแล้วเราจะได้อะไร ท�ำอย่างไร จึ ง จะได้ เป็ น ปั ญ หาที่ เราควรจะได้ คิ ด ทุ ก คราวที่ ไ ปในงานศพ นี่ประการหนึ่งของการท�ำถูกต้องในเรื่องมางานศพเพื่อศึกษา อีกประการหนึ่ง ในงานศพนั้นมีจุดหมายอยู่เป็นประการที่สอง คือ เรามาในงานก็เพื่อท�ำถูกต้องในทางสังคม ประโยชน์ในทางสังคม นัน้ เพราะเรามักคุน้ กับเจ้าภาพ รูจ้ กั กันในฐานะเป็นญาติ ในฐานะมิตร ในฐานะเป็นผู้มีคุณงามความดี เราก็มาร่วมกันบ�ำเพ็ญกิจในทางบุญ ทางกุศล การมาอย่างนี้ เราเรียกว่า มาเพื่อประโยชน์ในทางสังคม เพราะ เราอยู่คนเดียวไม่ได้
ชีวิตมนุษย์นี้ มีความเกี่ยวข้องกับคนอื่นตลอดเวลา ถ้าเราไม่คิดมันก็มองไม่เห็น แต่ถ้าคิดสักเล็กน้อย เราจะเห็นว่าชีวิตเรามันเนื่องด้วยกับคนอื่น 10
เกิด แก่ เจ็บ ตาย เช่นนี้เอง
ทุกชีวิตต่างพึ่งพาอาศัยกัน มองง่ายๆ ว่า เราเกิดมานี้ เราเกิดมาจากใคร เราเกิดมาจาก คุณพ่อคุณแม่ เราอาศัยคุณพ่อคุณแม่ท�ำให้เราเกิดขึ้นมา
ถ้าไม่มีคุณพ่อคุณแม่เราก็เกิดไม่ได้ แล้วเวลาเกิดก็เกิดคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหมอ แพทย์ ผดุงครรภ์ นางพยาบาลช่วยเหลือ ในการให้เราเกิดมาได้ และเมื่อเรามีชีวิตอยู่ก็ต้องอาศัยคนอื่นทั้งนั้น ตัวอย่างง่ายๆ อาหารที่เรากินเข้าไปค�ำหนึ่ง ถ้าเราคิดดูให้ดีแล้วมีมือจ�ำนวนมาก ที่ท�ำให้เกิดค�ำข้าวนั้นขึ้นมา ลองคิดทบทวนดูเถิดว่า ตั้งแต่ข้าวนี้ มันอยู่ในนา เขาไปเก็บไปเกี่ยวมาสีเป็นข้าวสาร กว่าจะมาขายเป็น ข้าวสุกให้เรารับประทานได้นั้น จะต้องอาศัยมือคนสักเท่าไร...จ�ำนวน ไม่ใช่น้อย ข้าวค�ำเดียวจ�ำนวนคนมิใช่น้อย เสื้อผ้าที่เรานุ่งห่มก็ต้องอาศัยคนจ�ำนวนมิใช่น้อย ยาแก้ไข้ที่เรากินแก้ปวดหัวปวดท้องนั้น กว่าจะเป็นยาส�ำเร็จรูป ขึ้นมาได้ต้องอาศัยคนจ�ำนวนเท่าไร
บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
11
คนดีมีนำ�้ ใจ คือไทยแท้ เมืองไทยเรา นับว่าดีมาก ในเรื่องการช่วยเหลือเจือจุนกัน ช่วยกันทุกเรื่องตั้งแต่เรื่องเกิด เรื่องแก่ เรื่องตาย แต่วา่ เรื่องอื่นนั้นช่วยกันน้อย เรื่องตายนี้ช่วยกันแข็งแรง ดูในชนบทบ้านนอกทัว่ ๆ ไป ถ้ารูว้ า่ มีใครตายขึน้ ทีบ่ า้ นใดเรือนใด ชาวบ้านใกล้เรือนเคียงต้องมากันหมดเลย มาช่วยเหลือกัน ต่างคน ต่างมาช่วยเหลือเจือจุนกัน ช่วยจัดนั่นจัดนี่ตามฐานะที่จะช่วยได้ ถนั ด ทางใดก็ ช ่ ว ยทางนั้ น แล้ ว การมาก็ ไ ม่ ไ ด้ ม าเปล่ า เอาข้ า วสาร มาขันหนึ่ง เอาเงินมาสลึงหนึ่ง หรือมีลูกขนุน มีผักก็เอามาด้วย ท�ำไมเขาจึ ง เอาสิ่ ง ของ แม่จะไปช่วย เหล่านั้นมา เขารู้ว่าความจ�ำเป็น งานศพ ลู ก จะไปด้ วยไหม มันได้เกิดขึ้นแล้ว เมื่อมีการตาย ไปจ้ะ เกิดขึ้นคนต้องมาในงาน เมื่อมา ในงานก็ต้องกินกัน ชาวบ้านนอก เขาไม่ได้สต็อกข้าวสารไว้มากๆ เขามีน้อย ฉะนั้น ทุกคนจึงเห็นใจ กันเอามาช่วยกันตามมีตามเกิด อันนี้เป็นเรื่องที่มีอยู่ทั่วไป 12
เกิด แก่ เจ็บ ตาย เช่นนี้เอง
ปริศนาจากการแบกท่อนฟืน แล้วก็ช่วยกันจนเอาศพไปป่าช้า...ก็ช่วยกันหามไป ท�ำการหาบ หามกันหลายคน แล้วทุกคนก็แบกไม้ไปคนละดุ้นเอาไปเพื่อจะเผาศพ เวลาแบกไม้ไปนี้เขาแบกเอาปลายเป็นสัญลักษณ์ว่าไม่ฟื้นแล้ว ไม้เอา ปลายลงนี้มันไม่ฟื้นแล้วละ
เขาท�ำเป็นปริศนาให้เห็นว่า แบกไม้เอาปลายไปนี้ หมายความว่าไปเผาศพ แต่ถ้าเอามาใช้ที่บ้านท�ำฟืน ท�ำอะไรนี่ เอาโคนไป เป็นเครื่องหมายกันอยู่อย่างนี้ ใครเห็นเขารู้ว่าไปเผาศพ ถ้ า เป็ น คนอายุ ม ากๆ เป็ น ผู ้ เ ฒ่ า ผู ้ แ ก่ ใ นบ้ า นนั้ น ไม้ ฟ ื น กองพะเนินเทินทึกเลย เผาศพไม่หมดก็เหลือเก็บไว้ส�ำหรับวัดได้ เอาไปใช้ต่อไป นี่คือการช่วยเหลือกันในสังคมบ้านนอกทั่วๆ ไป
การปฏิรูปพระพุทธศาสนาที่แท้จริง ก็คือการปฏิรูป ตัวของเราให้ตั้งอยู่ในหลักค�ำสอนของพระพุทธเจ้า โดยเริม่ ปฏิรปู การละเว้นความชัว่ ช�ำระกิเลสคือความโลภ โกรธ หลง ให้ลดน้อยลง จากนัน้ จึงปฏิรปู ด้วยการท�ำความดี มีการ ให้ทานเพือ่ ละความเห็นแก่ตวั รักษาศีลเพือ่ รักษาความประพฤติ ให้ดีงาม เจริญภาวนาเพื่อละโมหะความหลงผิดทั้งหลาย หากปฏิรปู ได้ดงั นี้ พระพุทธศาสนาย่อมเจริญสืบไป บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
13
ไปร่วมงานศพ เป็นเรื่องใหญ่และส�ำคัญ การมาในงานศพของเราแต่ละคนนั้น อย่านึกกันว่า เป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ให้ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่เป็นเรื่องส�ำคัญ เพราะว่าเราที่มาในงานแต่ละคนนั้น ถ้าเปรียบก็เหมือนยาหอมมาชโลมใจเจ้าภาพ ให้ผ่อนคลายความทุกข์ความเดือดร้อน คนเรานี่ถ้าใครตายจากต้องเป็นทุกข์เป็นธรรมดา ทุกบ้านที่ไม่มี ใครตายไม่มี...มีทั้งนั้น และเรารู้ว่าใครตายจากเรานี่ เราจะรู้สึกอย่างไร พ่อแม่ตายจากเรา เรารู้สึกอย่างไร คนที่เรารักเช่นสามีภรรยาตายจาก นี่เรารู้สึกอย่างไร ลูกที่เรารักตายจาก เรารู้สึกอย่างไร ถ้าใครเคยมีเรื่องอย่างนี้ ก็จะ ขอบคุณ ท่านมากค่ะ เห็นด้วยตนเองว่ามันแสนจะหนักอก หนักใจ แสนจะเป็นทุกข์ บางทีทุกข์ จนพูดไม่ออกบอกไม่ได้ หากเห็นใคร มาก็สบายใจขึ้นอีกหน่อยหนึ่ง ใจชื้น ขึ้นอีกหน่อยหนึ่ง ยิ่งได้ท่านที่มีหน้า มีตามีเกียรติมีชื่อเสียงกรุณามาร่วม ในงาน เจ้าภาพก็สบายใจ 14
เกิด แก่ เจ็บ ตาย เช่นนี้เอง
ไปในงาน คือการแบ่งเบาความทุกข์ เพราะฉะนั้น
ทุกท่านที่มาในงานเท่ากับมาแบ่งเบาความทุกข์ ของเจ้าภาพให้คลายลงไม่น้อย การช่วยแบ่งเบาความทุกข์ของคนอื่นให้น้อยลงไปนั้น นับว่าเป็นสิ่งที่ควรกระท�ำ เป็นกุศล เป็นบุญ อย่างหนึ่งที่เราควรกระท�ำกัน
คนไทยเรามีน�้ำใจอย่างนี้ ฉะนั้น จึงได้กระท�ำกันอยู่เป็นอาจิณ เสมอมาดั ง ที่ ป รากฏอยู ่ ถื อ ว่ า เป็ น วั ฒ นธรรมประจ�ำชาติ ซึ่ ง เรา ควรจะรักษาวัฒนธรรมนี้ไว้ให้ยั่งยืนถาวรต่อไป อย่างนี้เรียกว่ามา เพื่อประโยชน์ในทางสังคม นี่ส่วนประโยชน์แรก บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
15
มางานศพคือมาศึกษาความจริง อีกประการหนึ่งที่ว่า เรามาในงานศพก็มาเพื่อประโยชน์แก่ การศึกษานั้น ญาติโยมฟังแล้วก็ชักจะสงสัยว่ามางานศพนี่มาศึกษา อะไร งานศพไม่ใช่โรงเรียนภาคค�่ำ ไม่ใช่โรงเรียนผู้ใหญ่ ที่เราไป เรียนกัน แต่อาตมาอยากจะบอกว่า...งานศพนี่แหละคือโรงเรียนของ ผู้ใหญ่ หรือเป็นโรงเรียนส�ำหรับเด็กด้วย เป็นเรื่องส�ำหรับคนทั่วไปที่ ควรจะศึกษา เรามางานศพมาศึ ก ษาอะไร ? ก็ ม าศึ ก ษาเรื่ อ งชี วิ ต ของเรา แต่ละคน ให้รู้ว่าชีวิตนี้มันคืออะไร มันเป็นไปอย่างไร มีที่สุดของชีวิต เป็นอย่างไร เป็นเรื่องที่จะศึกษาได้จากงานศพ
เวลาอื่นก็ศึกษาได้ แต่วา่ มันไม่ดี ไม่เหมือนกับเวลามีงานศพ เพราะในงานศพนั้น มีแบบสาธิตให้ดู วางอยู่เฉพาะหน้า ให้เราได้เห็น เป็นเครื่องเตือนใจ
16
เกิด แก่ เจ็บ ตาย เช่นนี้เอง
คนเราก็แค่น้ี ตายแล้วก็เอาอะไร ติดมือไปไม่ได้
เฮ้อ...สุดท้าย ก็ไม่เหลือ อะไรเลย
ความตาย
คือความจริงที่ไม่อาจหนีพ้น ญาติ โ ยมเข้ า มานั่ ง ในศาลานี้ สิ่ ง ที่ อ ยู ่ เ ฉพาะหน้ า ก็ คื อ หี บ ใส่ศพ ซึ่งประดับประดาด้วยดอกไม้สวยงามเรียบร้อย ในหีบนั้น มีสรีระร่างกายของคนๆ หนึ่ง ซึ่งในสมัยหนึ่งเรารู้จักดีว่าอยู่อย่างไร เป็ น อย่ า งไร เรารู ้ แต่ เวลานี้ ค นๆ นั้ น หมดลมหายใจหมดไออุ ่ น หมดความรู้สึก นอนนิ่งประดุจท่อนไม้ท่อนฟืนอยู่ในหีบ ไม่พูดกับใคร แล้ว ไม่ทักกับใครแล้ว นี่คือแบบสาธิตให้เราได้เห็นเป็นตัวอย่างว่า
ชีวิตมันก็ต้องเป็นอย่างนี้ ที่สุดท่านมันก็ต้องเป็นอย่างนี้ หนีความเป็นอย่างนี้ไปหาได้ไม่ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ธรรมดาของชีวิต อย่ากังวลเลย
ท่านจึงแต่งเป็นค�ำพูดให้ เราพิจารณาว่า เอวํ ภาวี เอวํ อนตีโต แปลว่า เราจะต้อง เป็นอย่างนี้ เราจะหนีความ เป็นอย่างนี้ไปหาได้ไม่ ทุกคน จะต้ อ งเป็ น อย่ า งนี้ ด ้ ว ยกั น ทั้งนั้น หนีความเป็นอย่างนี้ไป ไม่ได้สักรายเดียว
บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
17