สวดพระคาถาโพชฌังคปริตร

Page 1



พุทธมนต์เสริมกำ�ลังใจปัดเป่าความเจ็บไข้ได้หายพลัน ธรรมโอสถ ยาสามัญประจำ�ใจที่ควรพกติดตัวไว้ในยามป่วย

โดย... ไพยนต์ กาสี


สวดพระคาถาโพชฌังคปริตร พิชิตโรค พิชิตทุกข์ สบสุขกาย-ใจ

บรรณาธิการ/เรียบเรียง : ไพยนต์ กาสี ออกแบบปก/รูปเล่ม : เสาวณีย์ เที่ยงตรง ภาพประกอบ : อนันต์ กิตติกนกกุล, เทิดเกียรติ ปลูกปานย้อย พิมพ์ข้อมูล : ธนวรรณ ขันแข็ง พิสูจน์อักษร : มานิตย์ กองษา ISBN 978-616-268-180-6

สร้างสรรค์และลิขสิทธิ์ บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด 105/95-96 ถนนประชาอุทิศ ซอย 45 แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ 10140 โทรศัพท์/โทรสาร 02-872-7667 เชิญร่วมเผยแผ่เป็นธรรมทาน

สาขาทุ่งครุ : โทร. 02-872-9191, 02-872-8181, 02-872-7227, 02-872-9898 สาขาสำ�ราญราษฎร์ : โทร. 02-221-1050, 02-221-4446 Email : LC2YOU@GMAIL.COM, LC2YOU@HOTMAIL.COM WWW.LC2U.COM, WWW.พุทธะ.NET

พิมพ์ที่ : หจก. แอลซีพี ฐิติพรการพิมพ์ 105/66-67 ถนนประชาอุทิศ ซอย 45 กรุงเทพฯ 10140 โทรศัพท์/โทรสาร 02-872-9577 www.thitiporn.com


หายป่วยกาย-ใจ ด้วยใช้ธรรมโอสถ กล่าวกันว่า ธรรมะ เป็นเสมือนยารักษาโรค เรียกกันว่า ธรรมโอสถ พอบอกว่าธรรมโอสถ สำ�หรับคนรุ่นใหม่บางรายก็อาจ มองเป็นเรือ่ งเหลวไหลไร้สาระหาความเป็นจริงไม่ได้ ทัง้ ทีเ่ ขาเหล่านัน้ ยังไม่เคยเปิดใจที่จะคิดเข้าไปพิสูจน์เพื่อให้รู้ว่ามันเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง และมีผู้ปฏิบัติได้ผลจริงมาแต่ครั้งพุทธกาลเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน การบอกยาธรรมโอสถ ถ้าจะให้ได้ผลดี และผู้รับนำ�ไปใช้ได้ทันที ต้องบอกให้ครบสูตร ๓ อย่าง คือ ๑. บอกตัวยา หมายถึง ธรรมโอสถที่เป็นฝ่ายปริยัติ คือ ส่วนที่เป็นหัวข้อธรรมสำ�หรับศึกษา ๒. บอกวิธีใช้ หมายถึง ธรรมโอสถที่เป็นฝ่ายปฏิบัติ คือ นำ�ความรู้ที่ได้จากการศึกษานั้นมาปฏิบัติ ๓. บอกสรรพคุณ หมายถึง ธรรมโอสถที่เป็นฝ่ายปฏิเวธ คือ ผลที่จะได้รับจากการปฏิบัติตามหลักธรรมนั้น สวดพระคาถาโพชฌังคปริตร พิชติ โรค พิชติ ทุกข์ สบสุข กาย-ใจ เล่มนี้ เป็นธรรมโอสถอีกขนานหนึ่ง ที่บริษัทสำ�นักพิมพ์ เลีย่ งเชียง เพียรเพือ่ พุทธศาสน์ จำ�กัด จัดพิมพ์เผยแผ่โดยคำ�นึงถึง หลักของการบอกยาธรรมโอสถดังกล่าว จึงมอบหมายให้ข้าพเจ้า เรียบเรียงขึ้น โดยมีหลักการว่า ต้องบอกครบสูตรของตำ�รับยา ธรรมโอสถ ได้แก่


บอกตัวยา คือ บอกความเป็นมา และความหมายโดยทำ� เป็นคำ�แปลไว้ พร้อมทัง้ แนะนำ�ให้สวด เพราะการสวดก็คอื การท่อง เพื่อให้จำ� อันเป็นวิธีการเรียนรู้ที่มีมาแต่โบราณ = ปริยัติ บอกวิธีใช้ คือ บอกถึงวิธีปฏิบัติตามความหมายในบท มนต์ = ปฏิบัติ บอกสรรพคุณ คือ บอกผลที่จะได้รับจากการปฏิบัตินั้น = ปฏิเวธ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือ สวดพระคาถาโพชฌังคปริตร พิชติ โรค พิชติ ทุกข์ สบสุขกาย-ใจ เล่มนี้ จักเป็นธรรมโอสถทีช่ ว่ ย รักษาป้องกัน และบรรเทาความเจ็บป่วยของท่านให้หายไปพลัน ทัง้ นีท้ า่ นต้องสละเวลานัง่ สงบใจ แล้วจึงสวดสาธยายทำ�ความเข้าใจ ความหมายในบทสวด และปฏิบัติตามวิธีที่แนะนำ�ไว้นั้น คุณความดีจากการจัดทำ�หนังสือเล่มนี้ ขอน้อมถวายเป็น พุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา มาตาปิตุคุณบูชา อาจริยบูชาแด่ ท่านผูป้ ระพันธ์พระคาถาไว้ และขอบุญกุศลทีท่ า่ นได้สวดมนต์ปฏิบตั ิ ตามที่แนะเป็นแนวทางนั้น โปรดอภิบาลคุ้มครองทุกท่านให้พ้น กรรมร้าย หายจากความเจ็บไข้ที่เป็นอยู่ด้วยเทอญ. ด้วยดวงจิตปรารถนา ให้ท่านหายป่วยไข้

น.ธ.เอก, ป.ธ. ๖, พธ.บ., น.บ. บรรณาธิการ สำ�นักพิมพ์ แอล ซี พี เด็กดีมีบุญ


สิ่งธรรมดาในชีวิต คืออะไร ? มนต์บทหนึง่ ซึง่ นิยมสวดกันหลังจากทำ�วัตรเช้า หรือทำ�วัตรเย็น คือ “อภิณหปัจจเวกขณะ” แปลว่า เรือ่ งทีค่ วรพิจารณาอยูเ่ ป็นประจำ� ทัง้ นี้ เพือ่ ต้องการให้ทา่ นผูส้ วดใช้ปญ ั ญาพิจารณาให้รเู้ ท่าทันความเป็นไป ของชีวิตว่าต้องประสบกับ ๕ สิ่งเหล่านี้ คือ ๑. เรามีความแก่เป็นธรรมดา จะล่วงพ้นความแก่ไปไม่ได้ ๒. เรามีความเจ็บเป็นธรรมดา จะล่วงพ้นความเจ็บไปไม่ได้ ๓. เรามีความตายเป็นธรรมดา จะล่วงพ้นความตายไปไม่ได้ ๔. เราจักพลัดพราก จากของรักของชอบใจทั้งหลาย ๕. เรามีกรรมเป็นของตน คนทำ�ดีย่อมได้ดี ทำ�ชั่วย่อมได้ชั่ว จากความหมาย ผูเ้ รียบเรียงจึงให้ชอ่ื ว่าเป็น มนต์กนั เมา เพราะ ช่วยให้เราไม่มวั เมาประมาทการดำ�เนินชีวติ ทุกด้าน อีกประการหนึง่ ทีจ่ ะ เน้นย�ำ้ เป็นพิเศษในทีน่ ้ี ก็คอื การพิจารณาเห็นความจริง ในชีวิตที่ต้องเกิดเจ็บไข้ว่า มันเป็นเรื่องธรรมดา แต่ก็ใช่ว่าจะไร้ทางแก้ และทางป้องกัน แต่จะแก้และกันอย่างไร ก็ต้องมาทำ�ความเข้าใจ ในเรื่องโรคภัยกันให้ดี บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด

5


ความไม่มีโรค เป็นลาภอย่างยิ่ง คำ�ข้างต้นนี้ เป็นคำ�แปลของพระพุทธวจนะที่ว่า อโรคฺยปรมา ลาภา พระพุทธภาษิตนี้ ผูเ้ รียบเรียงได้เรียนมาตัง้ แต่ครัง้ ยังศึกษานักธรรม ชั้นตรี ปีพ.ศ. ๒๕๒๗ ในวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม ซึ่งสมัยนั้นก็มัก จำ�เพีย้ นๆ กันว่า อโรคฺยา ปรมา ลาภา ครัน้ พอเรียนบาลีถงึ ได้รวู้ า่ เขียน ผิดไป อย่างไรก็ตาม หลายท่านก็เกิดความสงสัยว่า แค่ไม่มีโรคนี่มันจะ เป็นลาภอย่างยิ่งได้อย่างไร ถ้าบอกว่า ความมีสมบัติพัสถาน คือ ลาภ อย่างยิ่ง นั่นล่ะถึงจะเป็นสิ่งที่ถูก อย่างนี้เป็นต้น เหตุที่คนคิดกันเช่นนี้ ก็เนื่องจากส่วนใหญ่ มักคิดความหมาย คำ�ว่า ลาภ ว่าได้แก่ การได้มาซึ่งสิ่งอันเป็นรูปธรรม คือ สิ่งที่เป็นวัตถุสัมผัสจับต้องได้ เช่น ทรัพย์สินเงินทอง ข้าวของไร่นา เป็นต้น และคนส่วนใหญ่ที่ทำ�งานชนิดหลังสู้ฟ้า หน้าสู้ดิน ทำ�มาหากิน อย่างหามรุ่งหามคำ�่ ก็เพราะต้องการลาภพรรค์อย่างว่ากันทั้งนั้น แต่ทั้งนี้ก็อยากให้ท่านไตร่ตรองกันดูว่า ถ้าสุขภาพไม่แข็งแรง สมบูรณ์ดี ท่านจะมีเรี่ยวแรงทั้งกาย-ใจที่ไหนไปหาทรัพย์สมบัติ หรือ แม้หากจะเกิดมาบนกองเงินกองทอง แต่ถ้าต้องสามวันดีสี่วันไข้ ชีวิตท่านยังจะมีความสุขอยู่กับทรัพย์สมบัติที่มีอยู่ไหม ? ความไม่มโี รคซึง่ เป็นลาภทางนามธรรม จึงเป็นพระพุทธดำ�รัส อันเป็นอมตวาจาทีแ่ น่แท้ และเป็นสัจธรรมทีต่ อ้ งตระหนักรูต้ ลอดเวลา

6

สวดพระคาถาโพชฌังคปริตร พิชิตโรค พิชิตทุกข์ สบสุขกาย-ใจ


กาย-ใจ สิ่งที่เป็นบ่อเกิดความเจ็บไข้ ดังทีก่ ล่าวแล้วว่า โรค ความเจ็บไข้เป็นสัจธรรมทีม่ นุษย์ทกุ นาม ยากจะเลี่ยงพ้นได้ และในความเป็นตัวตนของคนเรานั้น ประกอบด้วย ส่วนสำ�คัญอยู่ ๒ อย่าง คือ กาย กับ ใจ เพราะกายกับใจรวมกันเข้า ตัวเราจึงมีชีวิตลมหายใจอยู่จนทุกวันนี้ เจริญสุขเถิดหลานๆ

กายกับใจแม้จะมี ความต่างกันในด้าน กายเป็นรูปธรรม ใจเป็นนามธรรม แต่กม็ คี วามเป็นไป คล้ายกันหลายอย่าง เช่น..

กาย เราสามารถเลี้ยงดูให้เจริญเติบโตขึ้นไปตามวัย ใจ เราก็สามารถฝึกฝนให้เจริญก้าวหน้าขึ้นได้ กาย ถ้าไม่ดูแลรักษามันก็เสื่อมโทรมก่อนกาลเวลา ใจ ถ้าไม่ฝึกฝนให้ใฝ่ดีมันก็มีแต่จะเสื่อมทรามลงทุกวัน โรคเช่นกัน เวลาเกิดมันก็เกิดทีส่ ว่ นสำ�คัญของชีวติ คือ กาย กับใจ ในพระพุทธศาสนาท่านใช้คำ�ว่า กายิกโรโค โรคทางกาย และ เจตสิกโรโค โรคทางใจ เพื่อความเข้าใจจะอธิบายไปทีละอย่าง บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด

7


โรคทางกาย คืออะไร ? โรคทางกาย ก็คอื ความเจ็บไข้ได้ปว่ ยทัง้ หลาย ทีเ่ กิดขึน้ ทัง้ ภายใน และภายนอกกาย คำ�ว่า โรค มาจากคำ�ในภาษาบาลีว่า โรค (อ่านว่า โรคะ) แปลว่า สภาวะที่ทำ�ลายอวัยวะน้อยใหญ่, ผู้เสียดแทง มันแทงอย่างไร ? ใครเคยป่วยก็คงจะรู้ดี เช่นคนที่เป็นโรค บริเวณทรวงอก บางครัง้ จะรูส้ กึ เจ็บปวดจีด๊ เหมือนมีมดี มาแทง หรือแม้แต่ จะเป็นบริเวณแข้งขา ถ้าเจ็บป่วยแล้วนั้น บางรายถึงขั้น จะลุก จะนั่ง ก็ร้องครวญครางโอดโอย ด้วยรู้สึกเหมือนมีอะไรมาทิ่มแทงให้เจ็บร้าว พระพุทธศาสนาสอนว่า ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นแก่เราล้วนมีเหตุปัจจัย ความเจ็บป่วยทางกายก็เช่นกัน อาจเกิดขึน้ ได้ดว้ ยสมมติฐาน ๘ ประการ ดังข้อความในพระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค สิวกสูตร ว่า “ความเจ็บป่วย อาจมีสาเหตุจาก ดีเป็นเหตุ, เสมหะเป็น เหตุ, ลมเป็นเหตุ, มีทั้งดี ลม เสมหะเป็นเหตุ, ฤดูกาลแปรปรวน, บริหารร่างกายไม่สมำ�่ เสมอ, ถูกทำ�ร้าย, และผลกรรม” ๑. โรคทีเ่ กิดจากดี ดี เป็นอวัยวะภายในของคนและสัตว์ บรรจุ น้ำ�สีเขียวข้นหลั่งจากตับ ทำ�หน้าที่ย่อยอาหาร โรคที่เกิดจากดี เช่น ดีซ่าน, นิ่วในถุงนำ�้ ดี, ท่อน้ำ�ดีอักเสบ, ตับอ่อนอักเสบ, มะเร็งตับ, มะเร็ง ในท่อนำ�้ ดี เป็นต้น คัมภีร์ปรมัตถโชติกา อรรถกถาขุททกนิกาย กล่าวว่า

8

สวดพระคาถาโพชฌังคปริตร พิชิตโรค พิชิตทุกข์ สบสุขกาย-ใจ


“ดี มี ๒ ชนิด คือ ดีนอกถุงน�ำ้ ดี ดีในถุงน�ำ้ ดี เมือ่ ดีนอกถุงน�ำ้ ดี กำ�เริบ ทำ�ให้ตาเหลือง เวียนศีรษะ ตัวสั่น คันตามเนื้อตัว เป็นต้น แต่เมื่อดีในถุงนำ�้ ดีกำ�เริบ ทำ�ให้สัตว์เป็นบ้า อาจทำ�ในสิ่งที่ไม่ควรทำ� พูดในสิ่งไม่ควรพูด คิดในสิ่งที่ไม่ควรคิดได้ ภาษาพระท่านเรียกว่า คนดีกำ�เริบ” ๒. โรคที่เกิดจากเสมหะ เสมหะ หมายถึง น้ำ�เมือกที่ออกจาก ลำ�คอ ทรวงอก และลำ�ไส้ เกิดจากการระคายเคือง หรืออักเสบของ ระบบทางเดินหายใจและปอด ทำ�ให้รา่ งกายผลิตน�ำ้ คัดหลัง่ ทีม่ ลี กั ษณะ เป็นน�ำ้ เมือกเหลวใส ถ้าไหลออกทางจมูก เรียกว่า น้ำ�มูก ออกทางปาก เรียกว่า เสลด เสมหะ ที่ขังในระบบทางเดินหายใจ ทำ�เป็นโรคหวัดชนิดต่างๆ ไซนัสอักเสบ มีอาการไอ จาม ถ้าขังในปอด ทำ�ให้ร่างกายมีออกซิเจนต่ำ� เกิดการอ่อนเพลียหน้ามืด เป็นต้น ๓. โรคที่เกิดจากลม ลม เป็นหนึ่งในธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ� ไฟ ลม ที่ประชุมกันเป็นกาย ธาตุลมในร่างกาย เช่น ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ� ลมในท้อง ลมในไส้ ลมพัดไปตามตัว ลมหายใจ เป็นต้น เมื่อธาตุลมในร่างกายแปรปรวน ไม่ทำ�งานเป็นปกติ ทำ�ให้ เกิดโรคได้ เช่นวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด คลื่นไส้อาเจียน เป็นต้น บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด

9


๔. โรคที่เกิดจากดี เสมหะ ลม โรคชนิดนี้ภาษาพระ เรียกว่า อาพาธสันนิบาต คือ โรคที่เกิดจากการประชุมกันของสมมติฐานทั้ง ๓ นั้น ภาษาทางการแพทย์ เรียกว่า ไข้สันนิบาต ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการ เป็นไข้ ชักกระตุก และบ่นเพ้อ เป็นต้น ๕. โรคที่เกิดจากฤดูกาลแปรปรวน ฤดูกาล ในที่นี้หมายถึง สภาวะดินฟ้าอากาศ เกิดความเปลี่ยนแปลง เช่น หนาวจัด ร้อนจัด เป็นต้น ก็เป็นเหตุให้ร่างกายปรับตัวไม่ทัน ทำ�ให้ไม่สบายได้ ๖. โรคที่เกิดจากบริหารร่างกายไม่สม่ำ�เสมอ หมายถึง โรคที่เกิดจากการจับจดอยู่กับอิริยาบถ ๔ คือ เดิน ยืน นั่ง นอน อย่างใดอย่างหนึ่ง นานจนเกินไป เป็นสาเหตุให้เกิดโรคได้ เช่น นั่งนานๆ ก็ท�ำ ให้ปวดหลัง เป็นโรคริดสีดวงทวาร เป็นต้น ๗. โรคทีเ่ กิดจากการถูกทำ�ร้าย หมายถึง โรคทีเ่ กิดจากกระทำ� ของคน สัตว์ทำ�ให้ได้รับบาดเจ็บ เช่น ถูกแทง ถูกสุนัขกัด เป็นต้น ๘. โรคทีเ่ กิดจากผลกรรม หมายถึง โรคทีเ่ กิดจากการทำ�ทุจริต ทางกาย วาจา ใจ ทั้งในอดีตชาติ ปัจจุบันชาติ กรรมในอดีตโดยมาก มักเกิดจากการผิดศีล เช่น ชอบฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ชาตินี้จึงเป็นโรคร้ายที่

10

สวดพระคาถาโพชฌังคปริตร พิชิตโรค พิชิตทุกข์ สบสุขกาย-ใจ


รักษาไม่หาย หรือชอบทำ�ร้ายเบียดเบียนสัตว์ ชาตินี้ทำ�ให้ป่วยเรื้อรัง ๓ วันดี ๔ วันไข้ เป็นต้น โรคจากสมมติฐาน ๗ ประการแรก อาจรักษาได้ดว้ ยยา แต่ถา้ มีเหตุจากกรรมเก่า ไม่อาจรักษาด้วยยาอย่างเดียว ต้องรักษาทางใจ ด้วยการสวดมนต์ ทำ�บุญกุศล และเจริญสมาธิภาวนา รวมถึงใช้ยา ธรรมโอสถ คือ เปลี่ยนพฤติกรรมในปัจจุบันให้เป็นคนทำ�ดี พูดดี คิดดี เข้าช่วยอีกทาง ดังเช่น พระนางโรหิณี เจ็บแค่นี้สบายมาก น้องสาวพระอนุรุทธะเป็นโรคเรื้อนจากกรรมเก่า พระพีช่ ายจึงแนะนำ�ให้สร้างหอฉัน ปูลาดอาสนะ จัดน�ำ้ ดืม่ ถวายพระ เมือ่ นางปฏิบตั ติ ามทำ�ให้หาย จากโรคเรื้อน

ในหลักอภิธรรมท่านว่า โรค เกิดจากสมมติฐาน ๔ ประการ คือ กรรม ในอดีต เช่นเคยทำ�ร้ายเบียดเบียนสัตว์ ในปัจจุบัน เช่นพฤติกรรมในการดำ�รงชีวิต จิต สภาวะจิตใจที่เครียดเกินไปก็ส่งผลให้เกิด โรคได้เช่นกัน อุตุ สภาพอากาศที่ แ ปรเปลี่ ย นก็ มี ผ ลต่ อ สุขภาพ อาหาร การกิ น ที่ ม ากหรื อ น้ อ ยเกิ น ไปก็ ส่ ง ผลให้ เกิดโรคภัยไข้เจ็บ บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด

11


ช่าง สังเกต จะเห็นเหตุผิดปกติของกาย ที่จริง ความเจ็บป่วยทางร่างกาย ถ้าเป็นคนที่ใส่ใจในสุขภาพ สักหน่อยนั้น ก็อาจจะรู้กันล่วงหน้าได้ว่าตนกำ�ลังจะมีความเจ็บป่วยไข้ มาเยือนหรือไม่ เช่น เกิดอ่อนเปลี้ยเพลียแรง เบื่ออาหาร ทานอะไร ก็ไม่คอ่ ยได้ น�ำ้ หนักลดหายลงไปอย่างผิดปกติ เป็นต้น ผู้เรียบเรียงเคยอ่านบทความของอาจารย์ปิ่น มุทุกันต์ ที่ท่าน เขียนเรื่องวิธีสังเกตอาการความเจ็บป่วยทางกาย โดยท่านว่า ได้ฟังมา จากหมอแผนโบราณอีกทีหนึ่ง ความว่า “โรคทางกาย มีอาการ ๗ อย่าง คือ ๑) เจ็บ, ๒) ปวด, ๓) แสบ, ๔) ร้อน, ๕) เย็น, ๖) คัน, ๗) ชา อาการทีเ่ หลือนอกจากนี้ อูย..! เป็นเพียงอาการผสม เช่น คันจริงๆ เลย มีอาการเจ็บด้วย ปวดด้วย ก็เรียก เจ็บปวด ถ้าเจ็บกับคันผสมกัน ก็เรียก เจ็บๆ คันๆ บางทีกผ็ สมกันถึง ๓ อาการ คือ ปวด แสบ ร้อน ก็พดู กันว่า ปวดแสบปวดร้อน” จากอาการของโรคที่ท่านอาจารย์ว่ามานั้น ก็ทำ�ให้เราเห็นภาพ ของความป่วยไข้ทางกายได้ชัดเจนขึ้น เพราะความเจ็บป่วยบางอย่างก็ รวมอาการเหล่านี้อยู่ในโรคเดียวกัน เช่น ปวดหัวเป็นไข้ ก็ทำ�ให้รู้สึก เจ็บปวดเมื่อยล้าไปทั้งกาย นี่เพียงแค่โรคไข้หวัดธรรมดา มันยังแสดง อาการทางกายได้ตั้งมากมาย

12

สวดพระคาถาโพชฌังคปริตร พิชิตโรค พิชิตทุกข์ สบสุขกาย-ใจ


โรค ทางกาย อะไรเป็นโรคอย่างยิ่ง ? เคยสังเกตไหม เวลามีเหตุให้ตอ้ งไปโรงพยาบาล สิง่ หนึง่ ทีเ่ ห็นกัน จนชินตา คือว่า ทำ�ไมมีคนเดินขวักไขว่ มาครัง้ ใดคนไข้แน่นทุกที แต่โรค ที่คนมารักษาที่โรงพยาบาลเมื่อเทียบอัตราส่วนกับคนป่วยด้วยโรค อีกชนิดหนึง่ นัน้ เทียบกันแทบไม่ตดิ เพราะทุกคนล้วนเคยเป็นโรคยอดฮิตนี้ ทั้งนั้น ทว่าคนส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้สึกตัวว่าเป็นกัน โรคที่ว่านั้นคือ โรคหิว ทำ�ไมความหิวถึงเป็นโรคอย่างยิ่ง ? ดูกันง่ายๆ โรงพยาบาล ที่สร้างไว้รักษาคนไข้ด้วยโรคอื่นๆ นั้น ตำ�บล อำ�เภอ จังหวัดหนึ่งๆ มีกันไม่กี่แห่ง แต่โรงพยาบาลรักษาโรคหิวต้องลงทุนลงแรงสร้างไว้ใน บ้านกันทุกครัวเรือนเห็นจะได้ หรือโรคทางกายอย่างอื่นที่เป็นกันง่าย เช่น ปวดหัวตัวร้อนนั้นนานๆ เป็นกันที ทานยาดีเข้าไปอาการป่วย ก็หาย แต่โรคหิวนีเ่ ป็นกันทุกวันๆ ละ ๓ เวลา รักษาอย่างไรไม่หายขาด ได้แต่บำ�บัดเป็นมื้อๆ ไป พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสว่า “ชิคจฺฉา ปรมา โรคา” แปลเป็นไทยว่า “ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง” และสิ่งมีชีวิตที่ยังเป็นปุถุชนทั้งหลาย ย่อมรักตัวกลัวตายเป็นธรรมดา จึงได้หาอาหารมาประทังชีวิต ซึ่งนั่นก็ไม่ใช่สิ่งที่ผิด แต่อยากให้ฉุกคิดสักนิด ถึงวิธีที่จะได้ข้าวปลาอาหารมาเลี้ยงชีพ เพราะบางคนใช้วธิ แี สวงหาในทางทีผ่ ดิ ศีล ผิดธรรม ผิดกฎหมาย ใครหากินเลี้ยงปากเลี้ยงท้องทำ�นองนี้ แม้จะรักษาโรคหิวเพื่อเลี้ยงชีวิต ของตนได้ แต่ก็หนีไม่พ้นเวรกรรมที่จะนำ�สู่อบายในสัมปรายภพ บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด

13


อา หารต้านทานโรค พอพูดถึงเรื่องกินแล้ว ก็ต้องพูด เลยไปถึงสิง่ ทีค่ นกินคือ อาหาร อันแปลว่า สิง่ ค�ำ้ จุนชีวติ ซึง่ มิได้หมายเอาเฉพาะของ ทีก่ นิ ทางปากเท่านัน้ แต่รวมถึง สิง่ ทีท่ า่ น สัมผัสรับรูแ้ ล้วสบายใจ ดังคำ�ทีว่ า่ อาหารตา อาหารใจ ในพระพุทธศาสนา จึงจัดอาหาร เป็น ๔ ชนิด ๑. กวฬิงการาหาร อาหารคือคำ�ข้าว คนทัง้ ทีป่ ว่ ยและไม่ปว่ ย ก็ต้องรับประทาน เพราะทุกชีวิตอยู่ได้ด้วยอาหารชนิดนี้เป็นหลัก ๒. ผัสสาหาร อาหารคือการสัมผัสสิ่งที่ผ่านเข้ามาทางตา หู เป็นต้น คนป่วยบางคนเวลาอยู่โรงพยาบาล จิตใจห่อเหี่ยวคิดถึง ลูกหลาน ครั้นคนเหล่านั้นมาเยี่ยมกอดสัมผัสลูบไล้ จิตใจก็แช่มชื่น เบิกบานขึ้นมา ๓. มโนสัญเจตนาหาร อาหารคือมโนสัญเจตนา เจตนา เป็น ปัจจัยให้การทำ� พูด คิด สำ�เร็จเป็นกรรม ซึ่งอาหารชนิดนี้ก็น�ำ มาเลี้ยง ชีวติ ได้ คนไข้บางรายเมือ่ นึกถึงบุญทีเ่ คยทำ�ไว้ ก็เกิดกำ�ลังใจรักษาตัว บางท่านนี่ไม่กลัวตาย เพราะรู้ว่าได้เตรียมเสบียงบุญไว้พร้อมสรรพ ๔. วิญญาณาหาร อาหารคือความรับรู้ ได้แก่ รับรู้ถึงสิ่งที่ ตนได้รบั ผ่านผัสสะ อย่างขณะนีท้ า่ นป่วยมีทกุ ขเวทนาทางกาย ก็ให้รู้ และยอมรับมันให้ได้ ความป่วยก็จะหยุดอยู่แค่ที่กาย แต่ใจไม่ป่วยด้วย

14

สวดพระคาถาโพชฌังคปริตร พิชิตโรค พิชิตทุกข์ สบสุขกาย-ใจ


โหราศาสตร์

อีกแขนงวิชาที่ใช้หาสาเหตุโรคทางกาย โหราศาสตร์ วิชาว่าด้วยการทำ�นายทายทักโดยอาศัยหลักโคจร ของดวงดาว เป็นอีกเรือ่ งหนึง่ ทีฝ่ งั ลึกอยูใ่ นความเชือ่ ของสังคมไทย โดย ปราชญ์ผมู้ คี วามชำ�นาญในด้านนี้ วางหลักเกณฑ์ชะตาไว้เป็นเบือ้ งต้นว่า ทุกคนที่เกิดมาในแต่ละวัน มีเทวดาพระเคราะห์ประจำ�วันเกิด และ พระเคราะห์อื่นเข้ามาเสวยหรือแทรกอายุตน (ผู้สนใจเรื่องนี้ อ่านได้ใน หนังสือวิธสี วดมนต์แก้กรรมสะเดาะเคราะห์ โดยสำ�นักพิมพ์เลีย่ งเชียง) และพระเคราะห์ทจ่ี รมาก็มที ง้ั ทีเ่ คราะห์ดแี ละร้าย พระเคราะห์ ดวงใดเป็นศุภเคราะห์ คือ เป็นคุณแก่เจ้าชะตาก็จะนำ�พาให้พบกับสุข ดวงใดเป็นปาปเคราะห์ คือ เป็นทุกข์โทษแก่เจ้าชะตาเมื่อจรมาเสวย หรือแทรกเวลาใดก็จะทำ�ให้พบกับความทุกข์ร้อนใจต่างๆ นานา และ เพื่อให้รู้ว่าพระเคราะห์ไหนจะลักษณะดี-ร้าย ท่านจึงได้ทำ�นายเป็น เบือ้ งต้นในแต่ละวันไป หนึง่ ในจำ�นวนนัน้ คือ เรือ่ งดาวเคราะห์ของผูเ้ กิด ในแต่ละวัน สามารถทำ�นายว่าจะเกิดโรคอะไรขึ้นได้บ้างดังนี้ ผูเ้ กิดวันอาทิตย์ ให้ระมัดระวังการเกิดโรคตา โรคกระเพาะ อาหาร น้ำ�ย่อยพิการ น้ำ�เหลืองเสีย เนื้องอก มะเร็งเต้านม มดลูก

ผู้เกิดวันจันทร์ ให้ระมัดระวังการเกิดโรคเลือด ลม หัวใจ กล้ามเนื้ออักเสบ ความดันโลหิต บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด

15


ผู้เกิดวันอังคาร ให้ระมัดระวังการเกิดโรคประสาท ต่อม น้ำ�เหลือง หลอดลม ปอดอักเสบ หอบหืด ปัสสาวะพิการ พยาธิในลำ�ไส้

ผู้เกิดวันพุธ (กลางวัน) ให้ระมัดระวังการเกิดโรคผิวหนัง หวัด ปวด-ตามข้อ กระดูก ลมในข้อ โรคประสาท

ผูเ้ กิดวันพุธ (กลางคืน) ให้ระมัดระวังการเกิดโรคเกีย่ วกับ อวัยวะเพศ กามโรค ปวดข้อกระดูก ไขมัน โรคผิวหนัง บางชนิด

ผู้เกิดวันพฤหัสบดี ให้ระมัดระวังการเกิดโรคลมทุกชนิด โรคพิษสุราเรื้อรัง โรคที่เกิดจากสิ่งเสพติด โรคซึมเศร้า

ผูเ้ กิดวันศุกร์ ให้ระมัดระวังการเกิดโรคหัวใจ ไข้หวัดต่างๆ ผิวหนัง ปอด หัวใจพิการ ตา

ผู้เกิดวันเสาร์ ให้ระมัดระวังการเกิดโรคหัวใจ เยื่อหุ้มปอด เนื้องอกริดสีดวง ไต

ดังนัน้ เมือ่ นักโหราศาสตร์ท�ำ นายทายทักไว้เช่นนี้ โบราณาจารย์ไทยที่แม้นับถือพระพุทธศาสนา ก็ได้หาทางออกเพื่อให้พุทธศาสนิกชน คนทีย่ งั มีความเชือ่ เรือ่ งนีม้ คี วามสบายอกสบายใจไม่เสียขวัญ คือให้หมัน่ สวดมนต์ไหว้พระเพื่อคลายความวิตกกังวลนั้น เพราะถ้าเชื่อมั่นว่า การสวดมนต์น้ี เป็นการทำ�กรรมดี เป็นบุญกุศลใหญ่ ก็จะทำ�ให้ใจของท่าน ผ่องใสเบิกบาน จะเป็นกำ�ลังใจอันสำ�คัญทีช่ ว่ ยให้ทา่ นต่อสูก้ บั ความเจ็บไข้

16

สวดพระคาถาโพชฌังคปริตร พิชิตโรค พิชิตทุกข์ สบสุขกาย-ใจ


โรคกายไม่เท่าไหร่ โรคใจหนักกว่า เมื่อพูดถึงโรคทางกาย อีกสิ่งที่จะขาดไม่ได้ คือ โรคทางใจ โรคทางกาย เกิดเมื่อใดมักทำ�ให้ร่างกายก็อ่อนแอ โรคทางใจ เช่นกันมันเกิดคราใดก็ท�ำ ให้จติ อ่อนแอเศร้าหมอง ไม่ผ่องใส ในภาษาพระจึงเรียกอีกอย่างว่าโรคกิเลส โรคทางกาย สังเกตได้จากอาการอ่อนเพลียระโหยโรยแรง รูส้ กึ ไม่กระปรี้กระเปร่า ร้อนๆ หนาวๆ อย่างไรบอกไม่ถูก โรคทางใจ ก็สงั เกตอาการได้จากความรูส้ กึ หิวกระหาย, ร้อนรนกระวนกระวาย, หน้ามืดตาลายไม่รถู้ กู รูผ้ ดิ เป็นต้น เพราะคนทีเ่ ป็นโรคทางใจนี้ มีสมมติฐานเกิดจากกิเลส โดยเฉพาะกิเลสทีเ่ ป็นตัวการใหญ่ คือ ความโลภ โกรธ หลง

เพราะเมือ่ กิเลส ๓ ตัวนีเ้ กิดขึน้ ทำ�ให้ผนู้ น้ั มีความตริตรึกนึกคิด ไปในทางชัว่ ทัง้ สิน้ ภาษาพระเรียกว่า อกุศลวิตก เช่น ความโลภเกิดขึน้ ก็คิดอยากได้เป็นของตน มีความโกรธเกิดขึ้น ก็คิดจองล้างจองผลาญ มีความหลงเกิดขึ้น ก็คิดไปในทางเบียดเบียนผู้อื่น เป็นต้น บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด

17


คนทีเ่ ป็นโรคทางใจ อันเกิดจากกิเลสรุมเร้าจิต เรียกอีกอย่างว่า เป็นโรคภูมิแพ้ทางใจ คนที่เป็นโรคนี้ จะมีปฏิกิริยาต่อสิ่งที่มากระทบ ประสาทสัมผัสผิดปกติไปจากคนส่วนใหญ่รสู้ กึ กัน เช่น ตาเห็นของสวยงาม คนทั่วไปคิดว่าเป็นธรรมดา ทว่าคนเป็นโรคใจไม่คิดอย่างนั้น กลับเกิด ความหวัน่ ไหวในจิต คิดอยากได้มาครอบครองจนเกินขอบเขต เป็นเหตุ ให้ท�ำ ทุจริตเพือ่ ให้ได้สง่ิ นัน้ เป็นต้น

คนเป็นโรคภูมแ ิ พ้ทางใจ จึงมีผลร้ายกว่ามากมายนัก โรคภูมแิ พ้ทางกาย แพทย์วนิ จิ ฉัยว่า เกิดจากภูมคิ มุ้ กันร่างกาย บกพร่อง โรคภูมแิ พ้ทางใจ พระพุทธเจ้าวินจิ ฉัยว่า เกิดจากภูมคิ มุ้ กัน กิเลสบกพร่อง โรคภูมิแพ้ เป็นโรคที่รักษาได้ คือ โรคภูมิแพ้ทางกาย ก็อาศัย ยาตามแพทย์สั่ง หรืออยู่ในที่อากาศดีก็มีโอกาสหายขาด แต่โรคภูมิแพ้ ทางใจ ต้องอาศัยธรรมโอสถของพระพุทธองค์ มาประพฤติปฏิบตั ขิ ดั เกลา จริตอัธยาศัยให้กิเลสค่อยๆ บรรเทาเบาบาง จนกระทั่งจางหายจากใจ ในที่สุด

18

สวดพระคาถาโพชฌังคปริตร พิชิตโรค พิชิตทุกข์ สบสุขกาย-ใจ


ไหว้พระสวดมนต์ ดลให้หายโรคอย่างไร ? การรักษาโรคทางแพทย์ หมอจะรักษาตามอาการที่ปรากฏ ทางกายหรือสมมติฐานของโรคเป็นหลัก แต่การรักษาโรคของพระพุทธเจ้า ทรงแนะให้รกั ษาโรคทางกายไปพร้อมกับการรักษาใจ เพราะ ทรงมองว่ากายกับใจนัน้ มีความสัมพันธ์กนั อย่างแนบแน่น การรักษาโรค จึงต้องทำ�ควบคู่กันไป การไหว้พระสวดมนต์ เป็นอีกหนทางหนึ่งที่ผู้ป่วยสามารถนำ� มาใช้รักษากายและใจในยามเจ็บไข้ เพราะการสวดมนต์นั้น...

เป็นดุลยภาพบำ�บัดความเจ็บไข้ เสียงสวดอักขระของ

บทมนต์มีผลกระตุ้นอวัยวะภายใน กระตุ้นอย่างไร ? เบื้องต้นก็อยาก ถามก่อนว่า ท่านเคยนั่งเก้าอี้นวดไฟฟ้าหรือไม่ ที่พอนั่งแล้วมันก็เกิด รูส้ กึ สะเทือนเหมือนมีอะไรมานวดให้ผอ่ นคลาย นีแ่ ค่สง่ิ กระตุน้ ภายนอก ซึ่งไม่มีชีวิตจิตใจเรายังรู้สึกสบาย แต่การสวดมนต์เป็นสิ่งกระตุ้นที่เกิด จากสิง่ ทีย่ งั มีชวี ติ จิตใจ คือผูป้ ว่ ยสวดเอง หรือผูอ้ น่ื สวดให้ฟงั ทัง้ ยังเป็น การเปล่งถ้อยคำ�ทีม่ คี วามศักดิส์ ทิ ธิ์ เป็นเสียงเปล่งถ้อยคำ�ทีม่ พี ลังในตัวเอง และเสียงเปล่งที่ออกมานั้น มีความสูงตำ�่ ทุ้มแหลมแตกต่างกันไป ตาม ลักษณะของฐานกรณ์ของเสียงนั้นๆ การสั่นของเสียงนี้จะช่วยเข้าไป กระตุ้นต่อมประสาทต่างๆ ในร่างกาย เช่น เสียง โอ กระตุ้นหัวใจ, อู บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด

19


หรือ อุ กระตุ้นม้าม, อี กระตุ้นระบบขับถ่าย เป็นต้น ต่อมประสาท ส่วนไหนที่กำ�ลังเสื่อมเมื่อถูกกระตุ้นบ่อยเข้า ก็มีโอกาสคืนสู่สภาวะเป็น ปกติ จึงมีผลเป็นการช่วยรักษาโรคทางกาย

ทำ � ให้ ท ราบชั ด ในสัจธรรม เพราะเมือ่ ว่า

โดยความหมายของบทที่ สวดกันนั้น ล้วนเป็นคำ�ที่มี ความดีงาม ทัง้ ยังเป็นสัจธรรม ที่สอนให้ยอมรับความจริงว่า สิ่งทั้งหลายล้วนอยู่ภายใต้กฎ ของไตรลักษณ์ คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เมื่อมีความรู้ความเข้าใจใน ชีวติ ตนว่าก็ตอ้ งเป็นเช่นนีเ้ ช่นกัน ก็ท�ำ ให้ผปู้ ว่ ยไม่มคี วามเครียดวิตกกังวล รูจ้ กั มองโลกในแง่ดี มีก�ำ ลังใจต่อสูก้ บั โรคร้าย เมือ่ ผูป้ ว่ ยมีก�ำ ลังใจเข้มแข็ง ก็เป็นแรงผลักดันให้หายโรคได้

ทำ�ให้ดม่ื ด�ำ่ ในพระพุทธคุณ การสวดมนต์ทจ่ี ะให้เกิดผล

แก่จิตใจในด้านรักษาโรคนั้น ท่านแนะนำ�ว่า เบื้องต้นต้องน้อมใจเชื่อ ในคุณของพระรัตนตรัย มีศรัทธาคือความเลื่อมใสในพระปริตรที่ตน สวดก่อน เพราะหากจิตใจไม่เลื่อมใส ใจไม่เชื่อมั่น แม้ท่านจะสวดไป ใจก็ไม่เกิดสมาธิ เมื่อไม่มีสมาธิก็ไม่มีพลังจิตพอที่จะไปบรรเทารักษา อีกประการหนึ่ง ที่พระอรหันต์เจ้าทั้งหลายท่านฟังสาธยาย

20

สวดพระคาถาโพชฌังคปริตร พิชิตโรค พิชิตทุกข์ สบสุขกาย-ใจ


โพชฌงค์แล้วหายป่วยก็เพราะท่านเข้าใจความหมายในบทสวดแล้ว น้อมใจพิจารณาไปตามนั้น ในเล่มนี้ผู้เรียบเรียงจึงทำ�คำ�แปลบทสวด ไว้ดว้ ย เพือ่ ให้ทา่ นได้ทราบและน้อมใจพิจารณาตาม จะสวดคำ�แปลด้วย หรือไม่ก็แล้วแต่ความสะดวก ต่อไปก็ขอเชิญท่านทั้งหลายลงมือสวดมนต์ตามลำ�ดับที่จัดไว้ แต่เนื่องจากในเล่มนี้ประสงค์ให้ท่านมีสมาธิจิตในการรักษาความเจ็บไข้ จึงได้นำ�บทสวดมนต์มาให้สวดหลายบท เพราะการสวดมนต์ถ้าจะให้ เป็นมนตราบำ�บัดนั้น ควรจะใช้เวลาสวดแต่ละครั้งเป็นเวลา ๑๕-๒๐ นาทีขึ้นไป ท่านจึงอาจแบ่งสวดในแต่ละครั้ง แต่ละวันดังนี้ v บทสวดหมวดบูชาพระรัตนตรัย (สวดนำ�ทุกครั้ง)

● มหากัสสปโพชฌังคสูตร

● มหาโมคคัลลานโพชฌังคสูตร ● มหาจุนทโพชฌังคสูตร

เลือกสวดในแต่ละวัน ตามลำ�ดับ

● มนต์พระปริตรพิชิตโรค

v ทำ�สมาธิแผ่เมตตารักษาโรคกาย-ใจ (ปฏิบัติทุกครั้งหลังสวด)

สามสหายสลายทุกข์ ศรัทธา เชื่อมั่นสุดชีวิต วิริยะ ตั้งจิตเพียรลงมือทำ� ปัญญา นำ�มาพิจารณาจนเห็นจริง แล้วจะเกิดสิ่งดีดีตามมานะจ๊ะ บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด

21


บูชาพระรัตนตรัย จิตใจไม่ไร้ที่พึ่ง คนเราเวลาเกิดเหตุการณ์ อะไรให้สะดุ้งตกใจ ก็มักกล่าวคำ� อุทานอะไรออกไปต่างๆ นานา แต่ถา้ เป็นผูม้ น่ั คงในพระพุทธศาสนาก็มกั กล่าวคำ�ว่า “พุทโธ ธัมโม สังโฆ” เช่น พุทโธ ธัมโม คุณพระคุณเจ้าช่วย” ซึง่ การเปล่งอุทานรำ�ลึกนึกถึง คุณพระรัตนตรัยลักษณะนี้ มีมาแต่ครั้งพุทธกาล ดังมีตำ�นานเล่าขาน ในพระไตรปิฎกว่า นางพราหมณีคนหนึง่ เวลาสะดุง้ ตกใจอะไรก็จะกล่าวว่า “นะโม ตัสสะ” เป็นต้น ผลก็คือทำ�ให้นางเรียกสติเรียกขวัญกำ�ลังใจให้ มาอยู่กับตัวได้อย่างทันทีทันใด ในบุคคลผู้เจ็บป่วยไข้ก็เช่นกัน จิตใจของท่านส่วนใหญ่ก็มัก วิตกกังวล กลัวว่าตนจะเป็นอะไรมากไหม เมือ่ ไหร่ความเจ็บไข้จะหาย เพือ่ เป็นการเตรียมสภาพใจของเรา ให้พร้อมทีจ่ ะเผชิญกับความเจ็บไข้ อย่างไม่หวัน่ ไหว จึงได้น�ำ บทสวดมนต์ทเ่ี กีย่ วกับการบูชาพระรัตนตรัย มาแนะให้สวดกัน เพื่อใจท่านผู้เจ็บป่วยมีที่พึ่งพิงอาศัย ทั้งเป็นการ รักษาขนบธรรมเนียมจารีตอันดีงามของไทย ทีจ่ ะทำ�อะไรก็ให้นกึ ถึงคุณ ของสิ่งนั้นเรียกว่าเป็นการ “ไหว้ครู” ก่อนสวดมนต์บทอื่นๆ ต่อไป

22

สวดพระคาถาโพชฌังคปริตร พิชิตโรค พิชิตทุกข์ สบสุขกาย-ใจ


บทบูชาพระรัตนตรัย อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง อะภิปูชะยามิ.

ข้าพเจ้า ขอบูชาอย่างยิ่ง ซึ่งพระพุทธเจ้า ด้วยเครื่องสักการะนี้.

อิมินา สักกาเรนะ ธัมมัง อะภิปูชะยามิ.

ข้าพเจ้า ขอบูชาอย่างยิ่ง ซึ่งพระธรรม ด้วยเครื่องสักการะนี้.

อิมินา สักกาเรนะ สังฆัง อะภิปูชะยามิ.

ข้าพเจ้า ขอบูชาอย่างยิ่ง ซึ่งพระสงฆ์ ด้วยเครื่องสักการะนี้.

บทกราบพระรัตนตรัย อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา,

พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพระอรหันต์, ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์ สิ้นเชิง, ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง,

พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ.

ข้าพเจ้าอภิวาทพระผูม้ พี ระภาคเจ้า, ผูร้ ู้ ผูต้ น่ื ผูเ้ บิกบาน. (กราบ)

ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,

พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสไว้ดีแล้ว, ธัมมัง นะมัสสามิ. ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม. (กราบ)

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,

พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว, สังฆัง นะมามิ. ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์. (กราบ) ดอกไม้พวงมาลัยที่ผ้ปู ่วยนำ�มากราบบูชาพระ ก็น�ำ มาเป็นคติสอนใจได้วา่ ดอกไม้นน้ั มันสวยสดอยูไ่ ด้ เพียงวันสองวันก็ต้องทิ้งไป ร่างกายเราที่ป่วยไข้นี้ก็ เป็นสิง่ ชัว่ คราวทีย่ มื ธรรมชาติมาใช้ เมือ่ ถึงเวลาก็ตอ้ ง คืนธรรมชาติไป คิดได้อย่างนี้ท่านจะสบายทั้งกาย-ใจ แม้ในยามเจ็บไข้

บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด

23


บทชุมนุมเทวดา ผะริตว๎ านะ เมตตัง สะเมตตา ภะทันตา, อะวิกขิตตะจิตตา ปะริตตัง ภะณันตุ, สัคเค กาเม จะ รูเป คิริสิขะระตะเฏ จันตะลิกเข วิมาเน, ทีเป รัฏเฐ จะ คาเม ตะรุวะนะคะหะเน เคหะวัตถุมหิ เขตเต, ภุมมา จายันตุ เทวา ชะละถะละวิสะเม ยักขะคันธัพพะนาคา, ติฏฐันตา สันติเก ยัง มุนิวะระวะจะนัง สาธะโว เม สุณันตุ, ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา, ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา, ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา. ขอท่านผู้เจริญทั้งหลาย จงมีจิตเมตตาแผ่ไป แล้วอย่าได้มีจิต ฟุ้งซ่าน ตั้งใจสวดพระปริตรเถิด, ข้าพเจ้าขออัญเชิญหมู่เทวดาทั้งหลาย ทีส่ ถิตอยูบ่ นสวรรค์ชน้ั กามภพก็ดี รูปภพก็ดี บนยอดเขา และทีห่ บุ เหวก็ดี ที่วิมานบนอากาศก็ดี, ที่เกาะก็ดี ที่แว่นแคว้นก็ดี ที่บ้านก็ดี ที่ต้นไม้ใหญ่ และป่าชัฏก็ดี ที่เรือนก็ดี ที่ไร่และนาก็ดี, รวมถึงยักษ์ คนธรรพ์ และ พญานาค ทีอ่ าศัยอยูใ่ นน�ำ้ บนบก ทีล่ มุ่ ทีด่ อนทัง้ หลาย จงมาประชุมกัน, ขอเทวดาผู้เป็นสาธุชนทั้งหลาย ผู้มายืนอยู่ ณ ที่ใกล้แล้ว จงสดับคำ�สอน อันประเสริฐของพระมุนี จากข้าพเจ้า, ดูกอ่ นท่านผูเ้ จริญทัง้ หลาย เวลานี้ เป็นเวลาฟังธรรม. เทวดานั้ น มี ทั้ ง ที่ เ ป็ น สั ม มาทิ ฐิ แ ละมิ จ ฉาทิ ฐิ อ ย่ า งพญามารที่ ม าผจญ ขัดขวางพระพุทธเจ้าก่อนตรัสรู้ นั่นก็เป็นเทวดาอยู่ในสวรรค์ชั้นที่ ๖ เรียกว่า ชั้น ปรนิมมิตวสวัตดี ป่วยครานีอ้ าจมีเหตุจากถูกเทวดามิจฉาทิฐเิ บียดเบียนเอา แต่ถา้ เราสวดมนต์ภาวนาอยู่ประจำ� ทำ�ให้เทวดาต้องมีเมตตาจิตต่อเราเป็นแน่

24

สวดพระคาถาโพชฌังคปริตร พิชิตโรค พิชิตทุกข์ สบสุขกาย-ใจ


คำ�สมาทานศีล ๕ ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ. อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ. กาเมสุ มิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ. มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ. สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ. การสมาทานศีลก่อนสวดมนต์ ก็เพื่อให้เรามีความบริสุทธิ์ครบทั้ง ๓ ทาง คือ กาย วาจา ใจ เพราะต้องไม่ลืมว่า การทำ�ผิดศีล เช่น ศีลข้อ ๑ ชอบฆ่าสัตว์ตดั ชีวติ ทำ�ให้เป็นผูม้ จี ติ ใจหยาบช้า เกิดชาติหน้า จะมีอายุสน้ั พลันตาย ซ้�ำ มีโรคร้ายเบียดเบียน เป็นต้น ดังนัน้ การสวดสมาทานศีล ๕ ก็เพื่อเป็นการ ปฏิญาณตนว่า เราจะรักษาศีลไม่ให้ขาด เพื่อตัดเหตุที่จะต้องรับผลกรรมจาก การผิดศีล

บทนอบน้อมพระพุทธเจ้า นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

อะระหะโต, สัมมาสัมพุทธัสสะ.

พระองค์นั้น, ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส, ตรัสรูช้ อบได้โดยพระองค์เอง. (สวด ๓ จบ)

บทนี้ เป็นบทมนต์ตั้งกระแสจิต ดังนัน้ มาสร้างพลังพุทธานุภาพให้เกิด ด้วยอวัยวะ ๑๒ อย่าง คือ มือ ๒ ข้าง กับ นิ้วทั้ง ๑๐ ประคองไว้ระหว่างอกใกล้หัวใจ แล้ว สวดมนต์บทนะโมไปด้วยจิตสงบเย็น ก็จะเป็น พลังใจรักษาตัวให้หายเร็วขึ้น

บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด

25


บทขอขมาพระรัตนตรัย วันทามิ พุทธัง, สัพพัง เม โทสัง ขะมะถะ เม ภันเต.

ข้าพเจ้า ขออภิวาทพระพุทธเจ้า, ขอพระพุทธองค์ โปรดทรง ยกโทษทั้งปวงที่ข้าพเจ้าทำ�ล่วงเกินด้วยเทอญ.

ข้าพเจ้า ขออภิวาทพระธรรม, ขอพระธรรม โปรดยกโทษทั้งปวง ที่ข้าพเจ้าทำ�ล่วงเกินด้วยเทอญ.

ข้าพเจ้า ขออภิวาทพระสงฆ์, ขอพระสงฆ์ โปรดยกโทษทั้งปวง ที่ข้าพเจ้าทำ�ล่วงเกินด้วยเทอญ.

วันทามิ ธัมมัง, สัพพัง เม โทสัง ขะมะถะ เม ภันเต. วันทามิ สังฆัง, สัพพัง เม โทสัง ขะมะถะ เม ภันเต.

ความเชือ่ เรือ่ งการลบหลู่ ดูหมิน่ สิง่ ศักดิส์ ทิ ธิ์ โดยเฉพาะทีท่ �ำ กับ วัดวาอาราม สาธุค่ะ สาธุครับ พระสงฆ์องค์เจ้า ว่าอาจทำ�ให้ชีวิต เราเดือดร้อนนั้น มีมาแต่โบราณ และการทำ�ผิดพลาดพลั้งต่อพระรัตนตรัย หรือศาสนสถานทำ�ให้ตนพบ เคราะห์ร้าย ผู้เรียบเรียงเคยมีประสบการณ์ได้เห็น ขณะยังบวชเป็นสามเณรอยู่ที่ จังหวัดเชียงราย ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๓๓ มีพี่ชายท่านหนึ่ง ได้แอบไปปัสสาวะ ข้างต้นโพธิ์ หลังจากนัน้ ๒ วัน อัณฑะเขาก็บวมโตและเจ็บปวดขึน้ มา จะไปหาหมอ ก็อาย จึงให้ผมู้ อี าคมในหมูบ่ า้ นทำ�น้�ำ มนต์ให้กนิ หลังกินน้�ำ มนต์ ๓ วัน อาการ ก็ทเุ ลา แต่เจ้าอัณฑะยังไม่หายบวม จึงกลับไปหาลุงทีท่ �ำ น้�ำ มนต์อกี ได้รบั คำ�แนะนำ�ว่า พิจารณาดูให้ดีก่อนหน้านี้ไปทำ�อะไรดูหมิ่นสิ่งศักดิ์สิทธิ์บ้างไหม ทำ�ให้นึกขึ้นได้ เลยนำ�ดอกไม้ธปู เทียนไปกราบไหว้ขอขมาต้นโพธิ์นั้น ต่อมาอาการบวมก็หาย

26

สวดพระคาถาโพชฌังคปริตร พิชิตโรค พิชิตทุกข์ สบสุขกาย-ใจ


บทไตรสรณคมน์

พุทธัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ, ธัมมัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ, สังฆัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ,

ข้าพเจ้าถือเอาพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง ตราบเท่าถึงพระนิพพาน,

แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้าถือเอาพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง ตราบเท่าถึงพระนิพพาน,

แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้าถือเอาพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง ตราบเท่าถึงพระนิพพาน.

ทุติยัมปิ พุทธัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ, ทุติยัมปิ ธัมมัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ, ทุติยัมปิ สังฆัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ, ตะติยัมปิ พุทธัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ, ตะติยัมปิ ธัมมัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ, ตะติยัมปิ สังฆัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ.

ไตรสรณคมน์ แปลว่า การถึงทีพ่ ง่ึ ๓ อย่าง บทนี้ จึงสวดเพือ่ ปฏิญาณตน รับเอาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นทีพ่ ง่ึ อาศัยหรือให้มพี ระรัตนตรัยเป็น ผูน้ �ำ ในชีวิต การสวดบทไตรสรณคมน์ส�ำ หรับรักษาความเจ็บป่วย หรือสวดสะเดาะเคราะห์ต่อชะตา ให้เพิ่มคำ�สวดว่า “ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง” ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ป่วย มีก�ำ ลังใจ และไม่ลมื จุดหมายสำ�คัญของพระพุทธศาสนาคือพระนิพพานแม้ใน ยามเจ็บป่วย

บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด

27


บทสรรเสริญพระพุทธคุณ อิติปิ โส ภะคะวา, พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น, อะระหัง, เป็นผู้ไกลจากกิเลส, สัมมาสัมพุทโธ, เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง, วิชชาจะระณะสัมปันโน, เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ, สุคะโต, เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี, โลกะวิทู, เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง, อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ, เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า,

สัตถา เทวะมะนุสสานัง,

เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย, พุทโธ, เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม, ภะคะวาติ. เป็นผู้มีความจำ�เริญ จำ�แนกธรรมสั่งสอนสัตว์. พระพุทธเจ้าเรานั้น ทรง... เป็นผู้รู้ หมายถึง ทรงรู้แจ้งในธรรม เป็นเครื่องตรัสรู้คืออริยสัจ ๔, ผู้ตื่น หมายถึง ทรงตื่นจากความหลับด้วย อำ�นาจกิเลส, ผู้เบิกบาน หมายถึง ทรงเป็นผู้มีความสุข ความอิ่มใจในภาวะ ที่พ้นจากกิเลสทั้งหลาย แต่ถ้าจะว่าไปในเรื่องธรรมดาสังขาร พระพุทธเจ้านั้นขณะยังทรงพระชนม์ ก็มคี วามเจ็บไข้เป็นครัง้ ครา แต่กท็ รงอดกลัน้ ด้วยอธิวาสนขันติรกั ษา พระองค์ไป ฉะนั้น ท่านผู้ก�ำ ลังป่วยก็ให้คิดย้อนกลับว่า เราเป็นคนธรรมดา สามัญชน ก็คงหนีไม่พน้ ความเจ็บไข้ไปได้ แต่เมือ่ กายมันเจ็บไข้ นอกจาก รักษากายต้องรักษาใจมิให้ป่วยตามด้วย คุณของพระพุทธเจ้าจึงช่วยให้ หายป่วยฉะนี้แล

28

สวดพระคาถาโพชฌังคปริตร พิชิตโรค พิชิตทุกข์ สบสุขกาย-ใจ


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.