ด้วยสำ�นึกในพระคุณคว�มดี จึงขอปฏิบัติต�มคำ�ที่หลวงพ่อสั่งสอน
ใช้กรรมชาตินี้ ดีกว่ามีหนี้กรรมติดไปชาติหน้า สวดพาหุงมหากาฯ ไว้คุ้มครองรักษาตน โดย...พระธรรมสิงหบุราจารย์
บรรณาธิการ/เรียบเรียง : ไพยนต์ กาสี ออกแบบปก/รูปเล่ม : เสาวณีย์ เที่ยงตรง ภาพวาดประกอบ : อนันต์ กิตติกนกกุล, เทิดเกียรติ ปลูกปานย้อย พิมพ์ข้อมูล : ธนวรรณ ขันแข็ง พิสูจน์อักษร : ประดิษฐ์ เจาจารึก ISBN 978-616-268-213-1
สร้างสรรค์และลิขสิทธิ์ บริษัท สำานักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำากัด 105/95-96 ถนนประชาอุทิศ ซอย 45 แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ 10140 โทรศัพท์/โทรสาร 02-872-7667 เชิญร่วมเผยแผ่เป็นธรรมทาน
สาขาทุ่งครุ : โทร. 02-872-9191, 02-872-8181, 02-872-7227, 02-872-9898 สาขาสำาราญราษฎร์ : โทร. 02-221-1050, 02-221-4446 Email : LC2YOU@GMAIL.COM, LC2YOU@HOTMAIL.COM WWW.LC2U.COM, WWW.พุทธะ.NET พิมพ์ที่ : หจก. แอลซีพี ฐิติพรการพิมพ์ 105/110-112 ถนนประชาอุทิศ ซอย 45 กรุงเทพฯ 10140 โทรศัพท์/โทรสาร 02-872-9577 www.thitiporn.com
มีชีวิตอย่าให้ติดหนี้ มีพระพุทธพจน์บทหนึง่ ใจความว่า “อิณาทานำ ทุกขฺ ำ โลเก ความเป็น หนี้ เป็นทุกข์ ในโลก” พระพุทธพจน์บทนีม้ อี ยูใ่ นคัมภีรฉ์ กั กนิบาต อังคุตตรนิกาย จากความหมายแสดงให้เห็นว่า การเป็นหนี้เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดทุกข์โทษ แก่ผู้มีหนี้ ว่ากันว่าชีวิตคนเรามีหนี้ที่ควรระวังใหญ่ๆ อยู่สามหนี้ คือ หนี้สิน เพราะจะทำาให้ชวี ติ มีทกุ ข์กงั วล ไหนจะห่วงต้นพะวงถึงดอกเบีย้ ทีจ่ ะบานปลาย ถ้าหาใช้เขาไม่ทัน, หนี้บุญคุณ ถ้าท่านเป็นหนี้บุญคุณใครแล้วไม่หาทางใช้ ก็ จ ะเป็ น ทุ ก ข์ เ พราะถู ก ตราหน้ า ว่ า เป็ น คนอกตั ญ ญู ห รื อ เนรคุ ณ ได้ , และ ประการสุดท้าย หนี้กรรม หนี้อันนี้ยิ่งให้ผลร้ายกว่าหนี้ชนิดอื่น เพราะให้ผล เป็นความทุกข์ที่ข้ามภพข้ามชาติได้ หนังสือ “ใช้กรรมชาตินี้ ดีกว่ามีหนี้กรรมติดไปชาติหน้า” เล่มนี้ เป็นบทพระธรรมเทศนาของพระเดชพระคุณพระธรรมสิงหบุราจารย์ หรือ หลวงพ่อจรัญ ิตธมฺโม ที่แสดงไว้ตั้งแต่เมื่อครั้งดำารงสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระภาวนาวิสุทธิคุณ ทางสำานักพิมพ์โดยผู้รวบรวม เล็งเห็นคุณค่าในคำาสอนของหลวงพ่อจรัญที่เน้นย้ำาให้ทุกคนตั้งมั่นในกรรมดี จึงนำามาจัดพิมพ์เผยแผ่ โดยได้จัดทำารูปเล่มให้ดูสวยงามน่าอ่าน พร้อมทั้ง จัดทำาหัวข้อในแต่ละหน้าเพื่อความสะดวกในการจดจำาและนำาไปปฏิบัติตาม คุณงามความดีที่เกิดจากการจัดทำานี้ ขอน้อมถวายอุทิศแด่หลวงพ่อที่แม้จะ ลาลับจากพุทธศาสนิกชนในด้านสังขารร่างกาย แต่ในส่วนของคุณงามความดี และคำาสอนที่มีประโยชน์หาได้ลาจากตามไปด้วยไม่ ด้วยสำานึกในพระคุณ น.ธ.เอก, ป.ธ. ๖, พธ.บ., น.บ. บรรณาธิการ สำานักพิมพ์ แอล ซี พี เด็กดีมีบุญ
ใช้กรรมชาตินี้
ดีกว่ามีหนี้กรรมติดไปชาติหน้า
อารัมภกถา เจริญสุขญาติโยมพุทธบริษทั ญาติโยมได้มาพร้อมใจกันสวดมนต์ ไหว้พระเจริญกุศลภาวนาตามลำาดับแล้ว จงอโหสิกรรมแก่ท่านสาธุชน และหมู่กรรมทั้งหลายให้มารับเวรรับกรรมรับภัยที่เราขออโหสิกรรม จะได้หมดเวรหมดกรรมหมดภัยหมดโทษ เราก็จะโฉลกดีเป็นเบื้องต้น การสวดมนต์เป็นนิจนี้ มุ่งให้จิตแนบสนิทติดในคุณของ พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ จิตใจจะสงบเยือกเย็นเป็นบัณฑิต มีความคิดสูง ทิฏฐิมานะทั้งหลายก็จะคลายหายไปได้ เราจะได้รับ อานิสงส์เป็นผลของตนเองอย่างนี้จากสวดมนต์เป็นนิจ การอธิษฐานจิตเป็นประจำา นั้นมุ่งหมายเพื่อแก้กรรม ของผู้มีกรรม จากการกระทำาครั้งอดีตที่เรารำาลึกได้ และจะแก้กรรม ปัจจุบันเพื่อสู่อนาคต
4
ใช้กรรมชาตินี้ ดีกว่ามีหนี้กรรมติดไปชาติหน้า
กรรมเก่ายอมชดใช้ กรรมใหม่ทำให้ดี ก่อนที่จะมีเวรมีกรรมก่อนอื่นใด เราทราบเราเข้าใจแล้ว โปรด อโหสิกรรมแก่สัตว์ทั้งหลาย เราจะไม่ก่อเวรก่อกรรมก่อภัยพิบัติ ไม่มี เสนียดจัญไรติดตัวไป เรียกว่าเปล่า ปราศจากทุกข์ ถึงบรมสุขคือ นิพพานได้
เราจะรู้ได้ว่ากรรมติดตามมา และเราจะแก้กรรมอย่างไร ในเมื่อกรรมตามมาทันถึงตัวเรา เราจะรู้ตัวได้อย่างไร เราจะแก้อย่างไร เพราะมันเป็นเรื่องที่แล้วๆ มา นี่ข้อหนึ่ง ข้อสอง แก้แล้วเราจะรับกรรมหรือไม่ และเราจะสร้างเวรกรรมใหม่ ประการใด และจะแก้กรรมอย่างไรในอนาคต เผื่อเป็นผู้โชคดีเป็น ผู้มีกรรมดีในอนาคต ชีวิตต่อไปในเบื้องหน้า เราไม่สามารถจะทราบได้ จะทราบได้ ด้วยวิธีเดียวคือ การเจริญสติปัฏฐาน ๔ การปฏิบัติให้มีสติสัมปชัญญะ โยคีผู้บำาเพ็ญเพียรจะรู้ได้ จะทราบด้วยญาณวิถีของตนเป็นปัจจัตตัง คำาว่า ญาณวิถีของตนนั้น หมายความว่า ความรู้ให้เกิดผลได้ อานิสงส์ เป็นผู้มีปัญญา ปรีชาสามารถ เฉลียวฉลาดในการปฏิบัติธรรม แก้กรรมได้ และกรรมนั้นจะไม่ส่งผลในอนาคตข้างหน้าได้แน่นอน บริษัท สํำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศ�สน์ จํำ�กัด
5
สติปัฏฐาน ๔ คือวิธีแก้ไข เปลี่ยนแปลงตน ผู้ที่จะแก้ไขปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตัวเอง แก้กรรมได้ ผู้นั้นต้องเจริญสติปัฏฐาน ๔ ปฏิบัติด้านกายของตน กายนอกกายในภายในจิต กายทิพย์ ทิพยอำานาจของใจ ได้มาเป็นกายทิพย์ ทิพย์นี้หมายความว่าภายนอกภายใน รู้ภายในใจ
กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน กายานุปัสสนา ข้อที่หนึ่ง หมายความว่า ผู้ปฏิบัตินั้นรู้กายใน กาย คือรู้สักแต่ว่ากาย ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตนเรา เขา ไม่มีเขา ไม่มีเรา มีกายอยู่ในตัวตน จิตจะได้รู้ว่าการที่กายเคลื่อนย้ายไหวติงประการใด มันอยู่ที่ใจทั้งหมด จิตก็กำาหนดยืน เดิน นั่ง นอน จะเหลียวซ้ายแลขวา คู้เหยียด เหยียดขา จะมีสติสัมปชัญญะควบคุมดูแลกาย เมื่อจิตผ่องใส ใจสะอาดบริสุทธิ์จึงเรียกว่า กายในกาย ภายในจิตผ่องใส ภายนอกจิต ผ่องใส ภายนอก กายจะเคลื่อนย้ายมันก็เคลื่อนอย่างช้าๆ มี ๓ ระยะ เคลือ่ นไปทางไหนก็มจี งั หวะ จะยืนเดินนัง่ นอนอันใด ก็มจี งั หวะมีระเบียบ มีวินัย มีสังขารปรุงแต่งเกิดกาย เรียกว่า กายทิพย์ เพราะเรามีจิตเป็น กุศล สมาธิก็ดี สติก็ดี ควบคุมจิตไว้ดีแล้ว จะรู้กายในกาย
6
ใช้กรรมชาตินี้ ดีกว่ามีหนี้กรรมติดไปชาติหน้า
คนมีสติสัมปชัญญะจะรู้ชั่ว-ดี รู้กายในกายนี้ จะรู้ได้ด้วยตัวกำาหนด เช่น ยืนหนอ ๕ ครั้ง เป็นต้น จะรู้กายภายนอก สภาวธรรมอยู่ภายใน จิตใจก็ดีเยือกเย็น สติกค็ วบคุมไว้ได้อย่างดี เราก็เป็นผูม้ ปี ญ ั ญา จิตก็ใส ใจก็สะอาดหมดจด เรียกว่าบริสุทธิ์ ในเมื่อจิตเข้าขั้นบริสุทธิ์แล้ว เราจะรู้ว่าใจของเราเป็น ประการใด มันอยู่ภายในจิต เรียกว่ากายในกาย จะรู้แจ้งแก่ใจของเรา เช่น ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ กายนอกดูความเคลือ่ นย้ายของสกนธ์กาย เรียกว่าสภาวรูป รูปเคลือ่ นย้ายและโยกคลอนได้ เคลือ่ นไปทีไ่ หน มันก็ ดับทีน่ น่ั จิตใจก็เข้าไปรูใ้ นภายใน รูปกับนามก็แยกออกไป นีแ่ หละกาย ภายนอกและกายภายใน จิตใจก็รู้เรียกว่า นามธรรม คำาว่า นามธรรม ในที่นี้คือจิตที่ลึกซึ้ง รู้ว่ากายเคลื่อนไหว มีมารยาท มีวินัยดี กายก็เคลื่อนย้ายโดยสภาวะ สุนทรวาจาก็กล่าว ไพเราะ เหมาะเจาะด้วยเหตุและผลข้อเท็จจริง ทั้งหมดล้วนเกิดขึ้น จากจิต เพราะจิตเป็นหัวหน้า มันจะสั่งให้กายเคลื่อนย้ายไปหยิบอะไร ก็ได้ ในเมื่อกายในถึงที่แล้ว แยกรูปแยกนามออกได้ แล้ว ก็เรียกว่า นามธรรม นามธรรมนี้ แปลว่าตัวรู้ ตัวเข้าใจ ตัวมีเหตุมีผลเพราะจิต ของผู้ปฏิบัติประกอบด้วยสติปัฏฐาน ๔ มีสติดี ควบคุมจิตไว้ได้ จึงจะ รู้แจ้งแห่งจิต เรียกว่ากายในกาย กายภายใน คนที่มีสติดี มีสัมปชัญญะรู้ตัว รู้ทั่ว รู้นอกรู้ใน รู้ว่าผิดหรือว่า ถูก รู้เข้าใจ รู้แจ้งแห่งจิต รู้เหตุผลต้นปลายทุกประการแล้ว อย่างนี้ เรียกว่ากายในกาย มันจะเกิดทิพยอำานาจเกิดกายทิพย์
บริษัท สํำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศ�สน์ จํำ�กัด
7
รู้กายนอก-กายใน เรียกว่ามีกายทิพย์ได้ กายทิพย์นี้ หมายความว่า สภาพสกนธ์กายคือสภาวรูป รูป เคลื่อนย้ายเกิดขึ้น แล้วก็แปรปรวนแล้วดับไป แล้วก็เข้ามาถึงจิตใจเรา ว่า อ๋อ..! นามธรรม จิตนี้มันก็เป็นนามธรรม มีคุณสมบัติอยู่ข้อหนึ่ง คือรู้กายในกาย รู้ภายในจิต จะเคลื่อนย้ายไปทางไหนก็รู้จะคู้เหยียด ประการใด มันจะมี ๓ ระยะ แต่ ๓ ระยะนั้นมันจะบอกชัดไปในกาย ของตนว่า จะเคลื่อนอย่างนี้ จะหยิบแก้วน้ำา ก็มีระเบียบ ไม่มีเสียงดัง เพราะคนนั้นรู้นามธรรม มีสติควบคุมจิต และก็เคลื่อนย้ายไปอย่าง ละเอียดอ่อน จะวางช้อน จาน หม้อ ไห ก็เป็นระเบียบเรียบร้อย อย่างนี้ เรียกว่า กายในกาย รูก้ ายเคลือ่ นย้าย จะหยิบอะไรก็หยิบหนอ เคลือ่ นมา ช้าๆ แล้วก็วางหนอ อย่างนี้เรียกว่ารู้ในกายใน
ความรู้ในภายในตัวนี้เรียกว่ารับรู้ เพราะมีสติดีมีสัมปชัญญะดีแล้ว ความรู้ตัวนั่นแหละ เป็นการรู้ในภายใน รู้เข้าใจ รู้ความถูกต้อง รู้กาลเทศะ รู้อย่างนี้จึงเป็นการถูกต้อง เรียกว่ากายทิพย์ กายทิพย์น้ี หมายความว่า มีรปู สภาวะ มีจติ สภาวะ มีสติควบคุม เคลื่ อ นย้ า ยได้ ใ นสภาวรู ป เรี ย กว่ า กายนอก รู้ ภ ายในบริ สุ ท ธิ์ ว่ า จะ เคลื่อนย้ายรูปไปอย่างไรจะหยิบอะไรจะมีระเบียบ มีวินัย จะต้องตั้งไว้ ที่ไหน ถูกต้องประการใด อย่างนี้เรียกว่ากายภายใน
8
ใช้กรรมชาตินี้ ดีกว่ามีหนี้กรรมติดไปชาติหน้า
ทุกสรรพสิ่ง ไม่มีอะไรให้ยึดมั่นถือมั่น จะกล่าวเป็นข้อที่สามว่า ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เรียกว่า กายานุปสั สนาสติปฏั ฐาน กายรูเ้ ข้าใจในกายในคือจิต จิตรูแ้ ล้ว เข้ า ใจถู ก ต้ อ ง เรี ยกว่ า นามธรรม เป็ น กิ จกรรมของจิต จิ ตก็ ผ่ อ งใส ใจสะอาดหมดจด จะทำาอะไรเปรอะเปื้อน จะกล่าวอะไรออกมาก็เป็น ธรรม เป็นกิจกรรมที่ถูกต้อง นี่แหละก็เข้าในหลักที่ว่ากายในกาย ไม่ใช่ สัตว์ บุคคล ไม่ใช่ตวั ตน เรา เขา เรียกว่ากายานุปสั สนาสติปฏั ฐาน คำาว่า ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เรียกว่าอะไร เรียกว่ากายภายใน รู้ภายในว่า อ๋อ..! อะไรเป็นสัตว์ อะไรเป็นบุคคล มือคลำาไม่ได้ เลย แยกรูปออกไป แยกนามออกมาแล้วก็รู้ว่ากายในกายภายในเป็น กายทิพย์ กายทิพย์นี้มองไม่เห็นตัว อย่างนี้เรียกว่า นามธรรม แสดง กิจกรรมออกมาทางรูป หน้าตาน่าดูพิสมัย จิตใจก็เบิกบาน หน้าก็ ไม่เศร้า ใจก็ไม่หมอง เรียกว่ากายภายใน มีสติดมี สี มั ปชัญญะ รูต้ วั ด้วย เหตุผล รู้ตัวและเข้าใจในกาย รู้เข้าใจในจิต รู้ความผิดความถูก รู้ชอบ มันรู้อยู่อย่างนี้
ในเมื่อมีความรู้ความเข้าใจดีเช่นนี้แล้ว ไหนเล่าจะเป็นตัวตน ใครจะด่า เราจะรู้ว่าด่าตรงไหน อะไรเป็นกายอะไรเป็นจิต มันแยกรูปแยกนามออกไป กายส่วนหนึ่ง จิตส่วนหนึ่ง สลายไปแล้วก็มีธาตุ ดิน น้ำา ไฟ ลม บริษัท สํำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศ�สน์ จํำ�กัด
9
ปัญหาจะหมดไป ถ้าคลายความยึดมั่น
สิ่ ง ที่ เ ป็ น ของเหลวก็ ก ลายเป็ น ธาตุ น้ำา สิ่ ง ที่ แข็ ง ก็ ก ลายเป็ น ธาตุดิน สิ่งอบอุ่นในร่างกายก็กลายเป็นธาตุไฟ และความเย็นใจก็ เกิดขึ้น ไหวติงอยู่เสมอ ลมก็พัดเข้ามาเยือกเย็นอยู่ในเส้นโลมาเป็น ธาตุลม ก็เป็นเพียงธาตุทั้งสี่ประกอบกรรมทำาดีในร่างกาย สังขาร ปรุ ง แต่ ง มั น ก็ อ ยู่ อ ย่ า งนี้ เ ป็ น ต้ น ไหนล่ ะ มี ตั ว ตน ถ้ า เราไปยึ ด ถื อ ว่ า เป็นเราเป็นเขา ก็ต้องทะเลาะกัน เขาด่าเราๆ อยู่ที่ไหน หาตัวเราให้พบ
นี่แหละท่านจึงบอกว่า คนที่รู้ซึ้งในกายภายในแล้ว จะไม่มีตัวตน สัตว์ บุคคล ทั้งหลายแต่ประการใด เขาด่าเราจะโกรธประการใดเล่า เลยความโกรธก็ไม่มีเพราะเหตุนี้ ความเกลียดก็ไม่มีเพราะเหตุนี้ ความรักโดยกามตัณหาราคะ ก็ไม่มีในส่วนนี้ มีแต่เมตตาอยู่ในตัวตน นี่คืออรรถาธิบายสำาหรับกายานุปัสสนาสติปัฏฐานข้อที่หนึ่ง เรียกว่ากายในกายหนอเกิดขึ้นตั้งอยู่แล้วก็เคลื่อนย้ายดับไป ไม่มีอะไร เป็นตัว เป็นตน มีแต่กุศลอยู่ในจิตใจทำานองนี้เป็นต้น
10
ใช้กรรมชาตินี้ ดีกว่ามีหนี้กรรมติดไปชาติหน้า
ที่มีปัญหา เพราะว่าไม่รู้ตามเป็นจริง อันนี้เป็นกายภายในจิต เรียกว่าจิตแสดงเคลื่อนย้าย แล้วเรา ก็แยกออกมาได้ กายเคลื่อนย้ายทั้งหมดเรียกว่ารูป สติดีคุมจิตไว้ใน ภายใน จิตรู้ว่าเคลื่อนย้ายไป มือเท้าเหยียดแข้ง เหยียดขา คู้เหยียด เคลื่อนย้ายไปด้วยความถูกต้องทุกประการแล้ว ความเป็นระเบียบก็ เกิดขึ้น ความหมองใจที่มีก็หายไป และเราก็รู้ว่านี่แหละคือนาม มีธรรมะคือสติสัมปชัญญะควบคุมจิตเรียกว่านามธรรม ถ้าเรา แยกรูปแยกนามในด้านกายานุปัสสนาได้แล้ว เราจะรู้เองว่าไม่มีตัว ไม่มีตน ไม่มีเขาไม่มีเรา และจะไปโกรธเขาทำ าไมเล่า ไปโกรธตัวตน เกลียดหนังมังสัง เกลียดเหงื่อขี้ไคล เกลียดขี้หูขี้ตา ใช้ไม่ได้
คนประเภทนี้ยังติดอยู่ในรูป ติดอยู่ในกามคุณ ติดอยู่ในสิ่งที่ไร้สาระ เลยแยกนามรูปไม่ออก บอกไม่ได้ ใช้ไม่เป็น เห็นแก่ตัวตาย จะคลายทิฏฐิไม่ได้ เห็นความเกิดดับในจิตไม่ได้ เลยก็ไม่รู้จริงเป็นอย่างนี้ นักปฏิบตั ธิ รรมโปรดทำาความเข้าใจ ต้องกำาหนดตัง้ สติทกุ อิรยิ าบถ ท่านจะซึง้ ในรสพระธรรม ท่านจะดืม่ รสพระธรรมด้วยทางกายและทางใจ บริษัท สํำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศ�สน์ จํำ�กัด
11