ขอมอบหนังสือเล่มนี้เป็นธรรมทาน แด่................................................................................................ ................................................................................................ ขอให้บุญกุศลในครั้งนี้ จงเกิดเป็นบารมี บรรเทาเคราะห์กรรมที่ตามติดมาแต่อดีตให้สิ้นสลายหายไป และขอให้เป็นปัจจัยส่งเสริมให้พบแต่ความสุขในปัจจุบัน เข้าถึงนิพพานในอนาคตอันใกล้ด้วยเทอญ. และขออุทิศส่วนบุญกุศลนี้ แด่................................................................................................ ................................................................................................
มองทุกข์ให้เห็น จึงเป็นสุข บรรณาธิการ : ศักดิ์สิทธิ์ พันธุ์สัตย์, สรรค์สาระ : มนิจ ชูชัยมงคล ออกแบบปก : อนุชิต คำซองเมือง, รูปเล่ม : กฤษณ์ ช่างเรือนกุล ภาพประกอบ : ชิชกาน ทองสิงห์, พิสูจน์อักษร : อรทัย คำแพง ISBN 978-616-268-127-1
สร้างสรรค์และลิขสิทธิ์ บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด 105/95-96 ถนนประชาอุทิศ ซอย 45 แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ 10140 โทร./แฟกซ์ 02-872-7667
เชิญร่วมเผยแผ่เป็นธรรมทาน โทร. 02-872-9191, 02-872-8181, 02-872-7227, 02-872-9898 LC2YOU@GMAIL.COM, LC2YOU@HOTMAIL.COM
WWW.LC2U.COM, WWW.พุทธะ.NET พิมพ์ที่ : หจก. แอลซีพี ฐิติพรการพิมพ์
105/66-67 ถนนประชาอุทิศ ซอย 45 กรุงเทพฯ 10140 โทร./แฟกซ์ 02-872-9577 www.thitiporn.com
คำนำ
“ทุ ก ข์ มี ไ ว้ ใ ห้ เ ห็ น ไม่ ไ ด้ มี ไ ว้ ใ ห้ เ ป็ น ” แต่คนส่วนมากมักเป็นทุกข์ มากกว่าที่จะเห็นทุกข์ คนที่มีความทุกข์ เพราะว่าใจขาดปัญญาในการพิจารณาให้เห็น
ทุกข์ ธรรมะ จะช่วยให้จิตใจของเรามั่นคง ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ใจเรา
ก็ยังอยู่ได้ ไม่กระเพื่อมขึ้น กระเพื่อมลง ธรรมะจะทำให้รู้ว่า ความทุกข์มันมาได้เพราะใจเรายอมรับสภาวะ
ที่กำลังปรากฏต่อหน้าต่อตาไม่ได้ เช่น เราจะต้องเจ็บป่วย เรายอมรับ
ไม่ได้ ความทุกข์ทางใจมันก็เกิดขึ้น อย่างนี้เป็นต้น หวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือ มองทุกข์ให้เห็น จึงเป็นสุข เล่มนี้ ที่ พระธรรมโกศาจารย์ หรือที่เรารู้จักในนามหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ ได้ อธิบายบรรยายธรรมไว้ จะทำให้เราเห็นทุกข์มากกว่าที่เราจะมาเป็นทุกข์ อันจะทำให้เราได้เข้าถึงสุขได้อย่างแท้จริง ด้วยจิตคิดปรารถนาให้ทุกท่านมีสุข มนิจ ชูชัยมงคล รวบรวม/เรียบเรียง
มหาอานิ สงส์*
แห่งการสร้างบุญบารมี พิมพ์หนังสือธรรมะแจกเป็นธรรมทาน
สาธุชนผู้เปี่ยมด้วยสติปัญญาพุทธธรรมได้พิจารณา จึงประจักษ์เห็นผลของบุญ ปรากฏมหาอานิสงส์ทั้งในปัจจุบัน อนาคต และชาติเกิดต่อๆ ไป ดังนี้
๑. ผลให้จิตใจเบิกบานแจ่มใส หน้าตาสดใสมีสง่าราศี ๒. ให้สติปัญญาดีเลิศ คิดสิ่งใด ก็คิดออกได้ง่ายและถูกต้องกว่าแต่ก่อน ๓. ได้คนรอบตัวดีดี มีเพื่อนแท้แก้ทุกข์สู้งานใหญ่ ๔. ได้เพื่อนธรรมกัลยาณมิตร ชวนกันคิดชวนกันทำกรรมดี เพื่อการสั่งสมบุญบารมี ๕. เจ้ากรรมนายเวรไล่ล่าเราไม่ทัน เปรียบเสมือนได้ลบล้างหนี้เวรกรรม ๖. โรคภัยไข้เจ็บอันเกิดจากเจ้ากรรมนายเวรก็ทุเลาหายไปเพราะเราอุทิศบุญให้ ๗. ทำให้ชีวิตตนและครอบครัวมั่นคง ทรัพย์สมบัติ กิจการค้า ตำแหน่งการงาน เจริญรุ่งเรืองและมั่นคงยิ่งๆ ขึ้น ๘. ช่วยดึงและดันให้สั่งสมบุญบารมีขั้นสูงกว่า คือการรักษาศีลและการเจริญภาวนา เมื่อทำก็ทำได้ง่ายไร้อุปสรรค ๙. ได้สร้างเสริมเจริญเมตตาธรรม ฝึกตนให้เป็นพระพรหมมีจิตใจครบ ๔ หน้า คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เมื่อเป็นผู้ที่มีพรหมวิหารทั้ง ๔ ก็ย่อมให้อภัย ไม่พยาบาท ทำดีได้ง่ายขึ้น เข้าสมาธิและฌานได้ง่าย ๑๐. สมาชิกในครอบครัว ในธุรกิจ ในหน่วยงาน มีความรักสามัคคี มีเมตตาไมตรีต่อกันมาก ๑๑. เทวดาคุ้มครองปกป้องรักษาความปลอดภัยแก่สมาชิกในครอบครัว ในธุรกิจ ในรถ เรือ บ้านเรือน อาคาร ๑๒. สร้างธรรมทานด้วยหวังขจัดกิเลสและด้วยจิตใจเบิกบานทั้ง ๓ ระยะ คือ ก่อนสร้าง ขณะสร้าง และหลังสร้าง ญธรรมทาน ชาติหน้าเกิดมาก็จักรวยตั้งแต่เกิด รวยมั่นคงจนถึงปลายชีวิต เพราะชาตินี้สร้างธรรมทาน ด้วย บุความยิ นดี มีจิตเบิกบานตลอด ๓ ระยะ ๑ ๓. อุทิศบุญกุศลให้บุพการีและผู้มีพระคุณ บุญส่งให้ท่านเหล่านั้นได้อยู่ในภพภูมิที่ดีๆ ๑๔. คิดหาวิธเี องได้ ทีจ่ ะทำให้ตนและผูอ้ นื่ พ้นทุกข์นอ้ ยใหญ่ ไล่ความโง่ เติมความงามแก่กายใจ ๑๕. ช่วยให้คนทั้งโลก แม้ต่างเชื้อชาติ ศาสนา มีความสุขสงบร่มเย็น เป็นเพื่อนเกื้อกูลกัน ๑๖. ขจัดความตระหนี่ถี่เหนียว ลดความยึดมั่นถือมั่น ตัดความงกความเป็นเจ้าของออกจากใจ ๑๗. ไล่ตัวมารแห่งความโลภ ขจัดความโศกที่เกิดจากการดิ้นรนอยากมีวัตถุสิ่งของเกินความจำเป็น ๑๘. เห็นทางเดินตามพระราชปรัชญาแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในเรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง” ๑ ๙. เพิ่มวิปัสสนาปัญญา คือเห็นความไม่เที่ยงแท้แน่นอนของสรรพสิ่งดั่งสมบัติผลัดกันชมผลัดกันใช้ ๒๐. ได้เปลี่ยนความคิดเห็นที่ผิดที่ไม่ถูกต้อง (มิจฉาทิฏฐิ) เป็นความคิดเห็นที่ถูกต้อง (สัมมาทิฏฐิ) ๒๑. เมื่อได้เสริมบุญธรรมทานด้วยการรักษาศีล และเจริญภาวนาทำสมาธิเป็นเนืองนิตย์ หากตายไปจักได้เกิดเป็น เทวดาอย่างแน่นอน พอจิตอิ่มบุญบารมีสุดๆ ก็จักเข้าสู่นิพพาน ไม่เกิดเป็นอะไรอีกแล้ว ๒๒. สร้างความสุขให้ชาวโลกในอนาคต เพราะท่านเติมเชื้อธรรมะนิวเคลียร์เล่มนี้ไว้ในปฐพี อีก ๑๐๐ ปี มีผู้เห็น หนังสือเล่มนี้ที่ท่านพิมพ์แจก เขาก็จักฟื้นฟูดูแลพระพุทธศาสนา เราท่านเกิดมาในชาติหน้าจะเป็นพุทธบริษัท
ที่สมบูรณ์ * = กว้างขวาง, เจริญยิ่ง, งอกงาม, ทางดี, อานิสงส์ = ผลแห่งกุศลกรรม, ผลบุญ โปรดพิจมหา ารณาให้ละเอียดอย่างโยนิโสมนสิการและใช้หลัก “ความเป็นเหตุเป็นผลต่อเนื่องกันไป” ท่ านจักเห็นจริงดังที่ได้นำมาเสนอ ๒๒ ข้อ และท่านอาจเห็นได้มากกว่านี้อีก... ขออนุโมทนา www.fm9525.org
ทุกข์เท่านั้น เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เรื่องของความสุขนั้นเป็นสิ่งที่ เราต้องการกันทั้งนั้น ไม่มีใครเลยต้องการความทุกข์ความเดือดเนื้อร้อน ใจ แต่ว่าโดยธรรมะชั้นสูงของพระพุทธศาสนานี้ พระพุทธเจ้าท่านสอน
ให้เรารู้ว่าในโลกนี้ไม่มีความสุข มันมีแต่ความทุกทั้งนั้น ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น
ทุกข์เท่านั้นที่ตั้งอยู่ ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป นอกจากทุกข์หามีอะไรไม่
พระพุทธศาสนาสอนเรื่องความทุกข์ สอนเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ สอน เรื่องทุกข์เป็นเรื่องที่ดับได้ แล้วก็สอนวิธีว่าจะดับทุกข์ได้อย่างไร อันนี้เป็น สัจจะ ๑ เป็นความจริงที่มีอยู่ในโลก ความสุขนั้นหามีไม่ มีแต่ความทุกข์ แต่ เราก็เรียกว่าความสุข
๑ สัจจะ ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระอริยะ คือ อริยสัจ ๔
๑. ทุ ก ข์ ความทุ ก ข์ ความที่ ก ายและใจทนสภาพบี บ คั้ น ได้ ย าก เป็ น สิ่ ง ที่ ต้ อ ง
กำหนดรู้ เป็นผลที่เนื่องมาจากเหตุ ๒. สมุ ทั ย เหตุ ที่ เ กิ ด ทุ ก ข์ คื อ กิ เ ลสตั ณ หาที่ ก ระตุ้ น จิ ต ใจให้ ส่ า ยแส่ ห าอารมณ์
ที่ปรารถนา อยากได้ อยากมี อยากเป็น และอยากพ้นไปจากภาวะไม่ปรารถนา ๓. นิโรธ ความดับทุกข์ คือภาวะที่เป็นผลจากการดับตัณหาและสามารถพ้นจากทุกข์ ได้เด็ดขาด เป็นภาวะที่ต้องทำให้ประจักษ์แจ้ง ๔. มรรค ข้อปฏิบัติให้ลุถึงความดับทุกข์ ซึ่งมีองค์ประกอบ ๘ ประการ สรุปเป็นหลัก ปฏิบัติสำคัญได้ ๓ ประการ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
6
มองทุกข์ให้เห็น จึงเป็นสุข : หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ
ที่สุดของความทุกข์
ที่ เรี ย กว่ า มี ค วามสุ ข ก็ เ พราะว่ า ทุ ก ข์ มั น ลดน้ อ ยลงไป สมมติ ว่ า ตั ว เลขเป็ น ความทุ ก ข์ เ ท่ า กั บ ๑๐๐ ถ้ า ลดลงไป ๕ เราก็ เรี ย กว่ า เป็ น ความสุข แต่เป็นความสุขเพียง ๕ เท่านั้นเอง ที่เหลืออีก ๙๕ นั้นยังเป็น ความทุ ก ข์ อ ยู่ หรื อ ถ้ า ลดลงไปอี ก สั ก ๑๐ เราก็ มี ทุ ก ข์ อ ยู่ อี ก ตั้ ง ๙๐ ลดลงไปอีก ๙๕ ก็ยังมีทุกข์อยู่อีกตั้ง ๕ มันก็ยังมีทุกข์อยู่นั่นเองมันเป็น อย่างนี้ โลกนี้มีแต่ความทุกข์ ถ้าทุกข์ลดลงไปหน่อยก็เรียกว่า เป็นความสุข เท่านั่นเอง แต่ ว่ า ท่ า นก็ ไ ม่ เ รี ย กว่ า เป็ น ความสุ ข อี ก แหละ ท่ า นเรี ย กว่ า นั่ น คื อ
ที่สุดของความทุกข์ ใช้คำบาลีว่า “อันโต ทุกขัสสะ” แปลว่า นั่นเป็นที่สุด ของความทุ ก ข์ คื อ ว่ า ทุ ก ข์ มั น จบเพี ย งเท่ า นั้ น หมดทุ ก ข์ ก็ ถึ ง นิ พ พาน
นิพพานก็คือการดับทุกข์ได้ ตราบใดที่ยังมีชีวิตถ้าจิตยังไม่ถึงปัญญา เราก็ยังจะต้องมีความทุกข์ ที่จะต้องทนต่อไป ทนเรื่อยไป จนกว่าเราจะมีปัญญารู้แจ้งเห็นจริงในสิ่ง นั้นตามสภาพที่เป็นจริง แล้วเราก็จะไม่ต้องทนทุกข์อีกต่อไป จิตของเรา
ก็จะไปถึงจุดหมาย คือที่สุดของความดับทุกข์... หนังสือเล่มนี้มีไว้เพื่อส่งเสริมการอ่านเพื่อความสุขสวัสดีแก่ตน อ่านแล้วอย่าลืมมอบความสวัสดีแก่คนที่ท่านรัก ด้วยการพิมพ์แจกเป็นธรรมทานสานสุขสู่ใจ หรือพิมพ์ถวาย ๙ วัด จะเป็นสิริมงคลพบสุขมหาศาล สาธุ.
บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด
ความจริง “ความไม่จริง” ความมี “ความไม่มี”
7
“ผู้ ไ ม่ รู้ ” คือไม่เข้าใจหลักแห่งความจริงของสิ่งทั้งหลาย เมื่อไม่ เข้ า ใจความเป็ น จริ ง เวลาสิ่ ง นั้ น มั น เกิ ด ขึ้ น ก็ เ ป็ น ทุ ก ข์ ไม่ ส บายอกไม่
สบายใจ เพราะไม่รู้ว่ามันเป็นเรื่องเช่นนั้น มันต้องเป็นอย่างนั้น ธรรมดา มันเป็นอย่างนั้น เช่ น เรื่ อ งความพลั ด พรากจากของรั ก ของชอบใจ เรามี วั ส ดุ มี สิ่งของอะไรเราก็ พออกพอใจในสิ่งนั้น เวลาสิ่ ง นั้ น สู ญ หายไป เราก็ ไ ม่ สบายใจ ความจริง “ความไม่จริง” มันเป็นของเดิม “ความมี” น่ะมันมาทีหลัง เราไม่ได้นึกว่า “ความไม่มี” มันเป็นของเดิม แต่ไปนึกถึง “ความมี” ตลอดเวลา
8
มองทุกข์ให้เห็น จึงเป็นสุข : หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ
สมมติ ว่ า ในบ้ า นเรา เมื่ อ ก่ อ นมั น ไม่ มี อ ะไร เราก็ ไ ปซื้ อ หามาใส่
ให้มันรกบ้าน เอาโต๊ะตัวนั้นมาวางตรงนั้น ไอ้นั้นมาวางตรงนี้ วางให้เต็ม ไปหมดเลย มีของอะไรเป็นเครื่องประดับประดาตามสมัยนิยม ชาวบ้าน เขานิยมอะไร ก็เอามาประดับประดาไว้ เอามาอวดไว้ในบ้าน ตื่นเช้าขึ้นมาก็มองไป เออ!...ยังอยู่ มองไอ้นั่นก็ยังอยู่ มองไอ้นี่ก็ยัง อยู่ สบายใจ ดูแล้วมันสบายใจ แต่ ไ ม่ ไ ด้ คิ ด ว่ า วั น หนึ่ ง มั น อาจจะเคลื่ อ นที่ ไ ปก็ ไ ด้ เพราะมี ค น ประเภทหนึ่ง ที่มีฤทธิ์มีเดชมาเคลื่อนที่ไป กลางค่ำกลางคืนเราเผลอๆ มันก็มาเคลื่อนเอาไปเสีย อาจจะถึงวันนั้นเข้าสักวันหนึ่งก็ได้ พระพุทธเจ้าตรัสหน้าที่ของบุตรที่ต้องทำต่อบิดามารดาไว้ ๕ ประการ คือ ๑. ท่านเลี้ยงมาแล้วเลี้ยงท่านตอบ ๒. ช่วยทำกิจของท่าน ๓. ดำรงวงศ์ตระกูล ๔. ทำตัวดีเหมาะแก่การรับทรัพย์มรดก ๕. เมื่อท่านสิ้นชีวิตทำบุญอุทิศให้ท่าน
บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด
วันนี้เจ้าอยู่กับฉัน พรุ่งนี้มันไม่แน่
9
เมื่อเราไม่ได้คิดไว้ล่วงหน้าว่ามันจะเป็นอย่างนั้น พอมันเป็นขึ้นมา จริงๆ ตื่นเช้าขึ้นใจหาย หายใจเกือบไม่ออก นี่เพราะไม่ได้เตรียมตัวเอาไว้ ก่อน พอเจอแล้วมือตบอก โอ๊ะ! ตายแล้วตายแล้ว!! ตายแล้ว! ดูตรงนั้น มันเอาหมด หายไปหมดแล้ว ไม่ได้คิดไว้ก่อน เรียกว่า ไม่รู้ว่ามันจะจาก ไป ความจริงเขียนติดไว้ที่ของบ้างก็ได้ “วันนี้เจ้าอยู่กับฉัน พรุ่งนี้มันไม่ แน่” เขียนติดไว้ที่แจกันสวยๆ ที่ตู้ ที่วิทยุ ที่โทรทัศน์ อะไรต่างๆ เขียน ตัวพออ่านได้ มองเห็นแต่ไกล “วันนี้เจ้าอยู่กับฉัน พรุ่งนี้มันไม่แน่” เขียน ไว้อย่างนั้น ทีนี้ถ้าวันไหนมันเกิดหายไป ใครมายกไปเราก็พูดว่า เหมือนที่นึกไว้ ไม่ผิด หรือพูดว่า “กูว่าแล้ว ว่ามันจะหายไปสักวันหนึ่ง แล้วมันก็หาย จริ ง ๆ” อย่างนี้แล้วก็สบายใจเรียกว่ายิ้มออกทันที ยิ้มออกเพราะอะไร เพราะเรารู้ เราเตรียมตัวไว้ต้อนรับสถานการณ์ ว่ามันต้องหายไปสักวัน หนึ่ง เรานึกไว้อย่างนั้น ถ้านึกไว้อย่างนั้นแล้วก็สบายใจ... คนเป็นทาสของกิเลส จึงวุ่นวาย เป็นทุกข์ ช่วยเพื่อนมนุษย์ให้เอาชนะกิเลส พบสุขได้ ด้วยการพิมพ์หนังสือเล่มนี้แจกเป็นธรรมทาน ยิ่งมาก บุญยิ่งเพิ่มทวี
10
มองทุกข์ให้เห็น จึงเป็นสุข : หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ
มันเป็นเช่นนั้นเอง
ชาวพุทธเราควรจะอยู่ด้วยความไม่เป็นทุกข์ในอะไรๆ ที่เกิดขึ้น ให้ ทำใจให้เป็นสุขอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าสิ่งใดจะเกิดขึ้น ฝนจะตก ฟ้าจะร้อง หรือว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นในชีวิตของเรา เราก็จะไม่เป็นทุกข์ในเรื่องนั้น เรา จะใช้สติปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา แล้วรู้จักปลง รู้จักวางในสิ่งนั้นๆ ไม่ เข้าไปยึดถือด้วยความโง่ความเขลา เพราะถ้าเราเข้าไปยึดไปถือด้วยความโง่ความเขลา เราก็เป็นทุกข์ มันไม่ได้ประโยชน์อะไรแม้แต่น้อยที่จะมานั่งเป็นทุกข์ แต่เป็นการลงโทษ
ตัวเอง ลงโทษสุขภาพจิต สุขภาพกาย ทำให้จิตเสื่อม ทำให้ร่างกายทรุด โทรม แก่เร็ว แล้วก็ตายเร็วด้วย เพราะว่ามีความทุกข์มาก มีความกลุ้ม ใจมาก ตัดทอนสุขภาพทั้งกายทั้งใจ ไม่เป็นเรื่องดีแม้แต่น้อย ความทุกข์เป็นเหมือนน้ำร้อน เราคิดให้มันเป็นทุกข์ก็เหมือนเอาน้ำร้อนมารดตัว ตั้งแต่หัวถึงเท้า ถลอกปอกเปิกเป็นคนดำๆ ด่างๆ มันจะได้เรื่องอะไร เราไม่ควรจะคิดเช่นนั้น
บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด
11
เมื่อมีอะไรเกิดขึ้นเฉพาะหน้าให้พยายามคิดว่า “ดีแล้ว” “พอแล้ว” หรือ “เท่านี้ก็ดีถมไปแล้ว” อย่างนี้ใจก็สบาย เช่น คนทำมาค้าขาย เป็น นักธุรกิจต่างๆ บางคราวมันก็ได้กำไร บางคราวมันก็ขาดทุน บางคราว ก็พอเสมอตัว ถ้าหากว่าจิตใจของเราตื่นเต้นกับสิ่งเหล่านั้น พอได้ก็ดีใจ เกิดใจฟู ขึ้น พอไม่ได้ก็แฟบลงไป ขึ้นแล้วก็ลง ขึ้นแล้วก็ลงอยู่อย่างนี้ เหมือนกับ วานรมันเต้นอยู่ในกรงของมัน ดิ้นรนอยู่ แต่ออกไม่ได้ มันเป็นสุขที่ตรง ไหน ในการที่จิตของเราเป็นอย่างนั้น ไม่เป็นความสุขอะไรเลย เราจึงควรทำความพอใจในสิ่งที่มันเกิดขึ้น นึกว่า “ธรรมดา มัน เป็นเช่นนั้นเอง” คำนี้สำคัญมาก เรียกว่าเป็นคาถาวิเศษสำหรับเอาไปใช้ ในชี วิ ต ประจำวั น คื อ คำว่ า “ตถตา” แปลว่ า “มั น เป็ น เช่ น นั้ น เอง” อะไรๆ มันก็เป็นอย่างนั้นแหละ เราจะไปบังคับมันก็ไม่ได้ จะไปฝืนมันก็ไม่ ได้ มันไม่ได้อยู่ในอำนาจของเรา เราจึงควรคิดว่า “เออ! ธรรมดามันเป็น อย่างนั้น” เรานึกอย่างนี้ก็พอปลง พอวาง สภาพจิตก็พอจะรู้เท่ารู้ทันใน สิ่งนั้นๆ ความทุกข์ก็จะเบาไป คือไม่หนักอึ้ง เพราะรู้จักวาง รู้จักพักผ่อน ทางใจ ใจก็สบาย... อ่านให้รู้ รู้แล้วลงมือทำ ทำ ทำ ทำ เท่านั้น จึงจะเป็นสุข สุข ทุกข์ อยู่ที่ใจ ใจใคร ใจเขา อัตตา หิ อัตตะโน นาโถ ตนแลเป็นที่พึ่งของตน ที่พึ่งของตนที่ดีที่สุด คือ ความดี คิดดี ทำดี พูดดี สิ่งดีๆ จะตามมา พาพ้นทุกข์ สุขทุกขณะ สาธุ สาธุ สาธุ
12
มองทุกข์ให้เห็น จึงเป็นสุข : หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ
สร้างความพอใจเฉพาะหน้า
เรื่ อ งของธรรมชาติ ฝนฟ้ า อากาศมั น ก็ ต้ อ งตกไปตามเรื่ อ ง
ตามราว เราอยู่ ใ นโลกก็ ต้ อ งการทั้ ง แดดทั้ ง ฝน แต่ ว่ า ความต้ อ งการ
ของมนุ ษ ย์ นั้ น บางที มั น ก็ ขั ด กั น บางที ฝ นตกไม่ ช อบ บางที แ ดดออก
ไม่ชอบ ลมพัดก็ไม่ชอบ อย่างโน้นอย่างนี้ ก็ไม่ใคร่เป็นที่ชอบใจ อะไรๆ ในโลกนี้ ก็ ไ ม่ ใ คร่ เ ป็ น ที่ ช อบใจ อะไรๆ ในโลกนี้ จ ะเหมื อ นใจทุ ก อย่ า ง
ไม่ได้ สิ่งทั้งหลายก็เป็นไปตามอำนาจของธรรมชาติ เราก็ต้องปลูกความรู้สึกในใจให้เกิดความพอดีกับสิ่งเหล่านั้น คือให้ รู้สึกพอใจแล้วก็สบายใจ แต่ถ้าไม่รู้สึกพอใจในเรื่องอะไรๆ ก็เกิดความ ทุกข์ความเดือดร้อนในชีวิตประจำวัน ในทางธรรมะจึงสอนเราให้รู้จักสันโดษ หมายความว่า พอใจในสิ่งที่เราประสบอยู่เฉพาะหน้า คืออะไรเกิดขึ้นเฉพาะหน้า เราก็นึกพอใจในสิ่งนั้น ความพอใจในสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า คือสันโดษ เป็นศิลปะของความสุขความสบายทางจิตใจ
บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด
มองทุกอย่างตามความเป็นจริง
13
ในขณะที่เรามีความพอใจในเรื่องอะไรๆ ที่เกิดขึ้น เราก็รู้สึกสบาย ใจ ยิ้ ม ได้ แต่ ว่ า ในขณะใดที่ เรารู้ สึ ก ขั ด ใจ ไม่ ช อบใจ ในสิ่ ง ที่ เ กิ ด มี อ ยู่ เฉพาะหน้า ในขณะนั้นเราก็มีความทุกข์ มีความไม่สบายใจ อั น ความทุ ก ข์ ค วามเดื อ ดร้ อ นใจนี้ ใครๆ ก็ ไ ม่ ค่ อ ยชอบ ไม่ ค่ อ ย ต้องการ แต่ว่าพอเผลอความทุกข์ก็เกิดขึ้นในตัวเราได้ ที่ ค วามทุ ก ข์ เ กิ ด ขึ้ น ได้ ก็ เ พราะความประมาท เผลอไป ไม่ ไ ด้ ใช้ ปัญญาคิดนึกตรึกตรองในเรื่องนั้น มองอะไรก็มองแต่เพียงแง่เดียว ไม่ มองไปในแง่ ที่ ว่ า มันเป็นความจริงอย่างไร คุ ณ โทษ ประโยชน์ มิ ใช่ ประโยชน์ ของสิ่งนั้นเป็นอย่างไร เรามองไม่ชัดเจนตามที่เป็นจริง เมื่อ มองเห็นอะไรๆ ไม่ชัดเจนตามที่มันเป็นจริง ก็เป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ ความเดือดร้อนในใจได้ เพราะฉะนั้น ในทางพระพุทธศาสนา จึงมีหลักคำสอนว่า
จงมองทุกสิ่งทุกอย่างตามที่มันเป็นจริง
ท่านใช้ศัพท์เทคนิคในทางธรรมะว่า
ยถาภูตญาณทัสสนะ (ยะถาภูตะญาณะทัสสะนะ)
ถ้าแปลก็หมายความว่า “เห็นอะไรๆ ทุกอย่างตามที่มันเป็นจริงๆ”
14
มองทุกข์ให้เห็น จึงเป็นสุข : หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ
ใช้ธรรมะ เป็นแว่นส่องในการมอง
ความจริงของสิ่งนั้นมันเป็นอย่างไร เราก็ต้องมองให้เห็นชัดในสิ่งนั้น ในขณะใดที่เรามองเห็นสิ่งนั้นชัดแจ้งตามที่มันเป็นจริง ความหลงไม่มี ความยึดถือในสิ่งนั้นก็ไม่มี ใจเราก็ว่างจากความยึดถือ เมื่อใจว่างจาก ความยึดถือเราก็มีความสงบใจ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าท่านจึงสอนเราให้หัดมองอะไร
ทุ ก อย่ า งที่ ผ่ า นเข้ า มาในวิ ถี ชี วิ ต ของเรา ให้ รู้ ชั ด เห็ น ชั ด ตามที่ เ ป็ น จริ ง
อยู่ตลอดเวลา อันการที่เราจะมองอะไร ให้เห็นชัดนั้น ก็ต้องศึกษา ให้รู้ธรรมะ เพื่อเอามาใช้ เป็นแว่นประกอบการมอง ประกอบการพิจารณาในสิ่งนั้นๆ จะได้รู้และเข้าใจชัดเจนขึ้น เราจึงต้องมาวัดฟังธรรมบ้าง อ่านหนังสือ ธรรมะบ้าง สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ในด้านธรรมะกับผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจบ้าง
บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด
ฟังแล้วคิดพิจารณา
15
แต่ ว่ า ในเรื่ อ งการสนทนากันนั้น อยากจะแนะนำไว้ อ ย่ า งหนึ่ ง ว่ า
อย่าสนทนากันด้วยความยึดติดในทิฐิความคิดความเห็นของตน คนเราเวลาที่ ส นทนาอะไรกั น มั ก จะโต้ เ ถี ย งกั น หน้ า ดำหน้ า แดง การเถียงกันในรูปอย่างนั้น เป็นการพูดธรรมะที่ไม่เป็นธรรมะ แต่ว่าเอา ตัวของตัวเข้าไปพูด ตัวของตัวก็เป็นตัวแห่งความยึดติดในทิฐิบางสิ่งบาง ประการ สำคัญว่าเรื่องของตัวนั้นเป็นเรื่องถูก เรื่องของผู้อื่นเป็นเรื่องผิด ทีนี้เมื่อไปคุยกับใคร ถ้าเขาพูดอะไรไม่ตรงกับความคิดความเห็นของตัว ก็ คัดค้านสิ่งนั้นไปหมด อย่างนี้ก็ไม่เกิดปัญญา พระพุทธเจ้าของเราท่านแนะนำในเรื่องนี้ไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอได้ฟังใครก็ตาม พูดอะไรๆ ที่เกี่ยวกับธรรมะ เกี่ยวกับข้อปฏิบัติเธออย่าคัดค้าน อย่ายอมรับในเรื่องนั้น” ท่านให้หลักไว้ ๒ ประการ คือ อย่าคัดค้าน แล้วก็อย่ายอมรับทันที ให้เธอฟังไว้แล้วเอาไปพิจารณาด้วยปัญญาของเธอ
16
มองทุกข์ให้เห็น จึงเป็นสุข : หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ
พูดและฟังด้วยใจสงบ จะพบปัญญา
เปรี ย บเที ย บกั บ สิ่ ง ที่ เราเคยรู้ เ คยเข้ า ใจ ถ้ า สิ่ ง นั้ น มั น เข้ า กั น ได้
กับเรื่องที่เคยเรียนเคยศึกษา ก็ยอมรับสิ่งนั้นได้ แต่ถ้าหากว่าเอาไปคิด
ไปตรองด้วยอุบายที่แยบคายแล้ว แต่มันเข้ากันไม่ได้กับอะไรๆ หลายๆ อย่างหลายประการ เราก็ไม่ไปยึดในความคิดความเห็นนั้น การสนทนากันในแง่อย่างนี้ ไม่มีเรื่องทะเลาะกับใครไม่มีการที่จะ เถียงอะไรๆ กัน ให้เป็นความวุ่นวาย เพราะเรารับฟัง ใครพูดอะไรเรา
ก็ฟังด้วยความใจเย็น ถ้าจะพูดคัดค้านหรือท้วงติง ก็พูดด้วยใจเย็นๆ ไม่ พูดด้วยอารมณ์ร้อน อันการพูดเรื่องอะไรก็ตาม ถ้าเราพูดด้วยอารมณ์ร้อน มักจะเสีย เปรียบ แต่ถ้าพูดด้วยอารมณ์เย็นๆ มักจะได้เปรียบ เพราะปัญญามันจะไม่เกิด เมื่อไฟกำลังลุกอยู่ในใจ แต่ปัญญาจะเกิด เมื่อใจสงบ
เพราะฉะนั้น บุคคลใดที่ทำอะไรด้วยใจที่ร้อน มักจะเสียหาย แต่ถ้า ทำอะไรๆ ด้วยใจที่เย็น ความทุกข์ความเดือดร้อนจะไม่เกิดขึ้น
บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด
อย่าพูดอวดตัว อวดกิเลส อันเป็นเหตุทำให้ไร้สาระ
17
อันนี้มันก็ต้องฝึกฝนเหมือนกัน เมื่อจะไปพูดอะไรกับใคร หรือจะ ต้องสนทนาพาทีในเรื่องใด ก็ต้องเตือนตัวเองไว้ก่อนว่า เย็นๆ อย่าร้อน อย่าพูดด้วยอารมณ์ แต่พูดด้วยเหตุผล สิ่งใดไม่ควรพูดก็อย่าพูด สิ่งใดที่ ควรพูดจึงพูด แล้วเรื่องที่ควรพูดก็เหมือนกัน ต้องดูเวลา ต้องดูบุคคล ต้องดูสถานที่ ต้องดูเหตุการณ์ว่าถ้าเราพูดออกไปแล้ว มันจะขัดกับอะไร บ้าง เป็นประโยชน์แก่ผู้ฟัง หรือเป็นประโยชน์แก่เราผู้พูดหรือไม่ ถ้ า หากว่ า เราพู ด ออกไปแล้ ว ไม่ ไ ด้ เรื่ อ ง คื อ ไม่ ใ ห้ ป ระโยชน์ แ ก่
ผู้ฟัง เราเองผู้พูดก็ไม่ได้ประโยชน์อะไร เป็นการพูดออกไปเพื่อจะแสดงว่า เรารู้ในเรื่องนั้น เป็นการพูดเพื่ออวดตัว อวดกิเลส อันมีอยู่ในใจของตน ให้คนอื่นรู้ว่าตัวมีกิเลสเท่านั้น การพูดในรูปเช่นนั้นไม่ได้สาระอะไร
18
มองทุกข์ให้เห็น จึงเป็นสุข : หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ
พูดด้วยปัญญา นำมาซึ่งประโยชน์
แต่ถ้าหากว่าเราพูดด้วยปัญญา เราก็พิจารณาเสียก่อนว่า เรื่องที่ เราจะพูดออกไปนั้น เป็นเรื่องจริงเรื่องดีมีประโยชน์ เหมาะแก่เวลา แก่ บุคคล แก่เหตุการณ์สถานที่ที่เราจะพูดหรือไม่ ถ้าได้คิดทบทวนไตร่ตรอง อย่างนี้แล้วผู้นั้นจะเป็นผู้พูดแต่เรื่องดีมีประโยชน์ ปากของคนนั้นจะไม่เสีย แล้วใครๆ ก็ไม่ติไม่ว่าบุคคลนั้น ในเรื่องเกี่ยวกับการพูดเป็นอันขาด อันนี้ เป็นเรื่องสำคัญอยู่ เพราะว่ า คนเราในสั ง คมต้ อ งมี ก ารพบปะกั น มี ก ารสนทนากั น
ในเรื่องอะไรต่างๆ อยู่ตลอดเวลา จึงต้องใช้หลักธรรมะเข้าไปเป็นเครื่อง ประกอบ ให้การพูดจาวิสาสะได้เป็นไปในทางที่ถูกที่ชอบตามกฎเกณฑ์ ตามหลักพระพุทธศาสนา อันนี้เป็นเรื่องที่อยากจะขอฝากญาติโยมทั้ง หลาย ได้นำไปใช้ในการปฏิบัติในกิจในชีวิตประจำวัน ประการหนึ่ง
บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด
ธรรมนูญสำหรับชีวิต
19
เรื่องสำคัญที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านนำมาสอนแก่ชาวโลกทั้ง หลาย คือเรื่องอริยสัจ ๔ อันเป็นเรื่องหลักเรื่องสำคัญ เป็นคำสอนใน ทางพระพุทธศาสนา ซึ่งเราควรจะได้ศึกษาแล้วนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน พระผู้มีพระภาคตรัสเรื่องนี้ขึ้นไว้ ก็เพราะว่าพระองค์ทรงทราบดีว่า ชีวิตของมนุษย์นี้มีความทุกข์ มีความเดือดร้อน ด้วยปัญหาต่างๆ หลาย อย่างหลายประการ ทรงต้องการจะให้มนุษย์รู้จักวิธีแก้ไขปัญหาชีวิตของ ตน จึงได้วางหลักอริยสัจ ๔ ประการเหล่านี้ไว้ ถ้าจะพูดกันไปแล้ว ก็ หมายความว่า อริยสัจ ๔ ประการเป็นธรรมนูญสำหรับชีวิตที่เราควรจะ นำมาใช้ในชีวิตประจำวัน ถ้าเรานำหลักนี้มาใช้ในชีวิตประจำวันอย่าง จริงจัง เราก็จะอยู่ด้วยความสุขความสงบในโลกนี้ ไม่มีความทุกข์ความ เดือดร้อนในชีวิตจิตใจของเรา จึงเป็นเรื่องที่ควรจะได้ทำความเข้าใจกัน ในเรื่องต่อไปนี้
20
มองทุกข์ให้เห็น จึงเป็นสุข : หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ
ทุ สะ นิ มะ หัวใจอริยสัจ
เรื่องที่ควรจะทำความเข้าใจกันก็คือข้อธรรมะ ที่เราจะพึงเรียนใน เรื่องอริยสัจ ๔ นี้ คือ เรื่องของความทุกข์ เรื่องเหตุให้เกิดความทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ เรียกตามภาษาธรรมะ ว่า สมุทัย แปลว่าเหตุให้เกิดทุกข์ การดับทุกข์ได้ เรียกว่า “นิโรธ” ทางที่จะปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เรียกว่า “มรรค” เรียกย่อๆ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค คนโบราณเขาต้องการให้คน จำอะไรง่ายๆ จึงเอาแต่ตัวนำของชื่อนั้นๆ มา เขาเรียกว่า หัวใจ หั ว ใจของอริ ย สั จ ๔ ก็ คื อ “ทุ ” หมายถึ ง ความทุ ก ข์ “สะ” หมายถึง สมุทัย “นิ” หมายถึง นิโรธ “มะ” หมายถึง มรรค เขาจึงจำ ง่ายๆ ว่า ทุ สะ นิ มะ แต่ ว่ า คนโบราณเขาสอนเพื่ อ ให้ จ ำ คนที่ ไ ด้ หั ว ใจอริ ย สั จ ไปแล้ ว
ไม่ได้เอาไปใช้ในทางแก้ทุกข์ แต่เอาไปใช้เป็นคาถาอาคมไป เอาไปใช้เป็น คาถานั่นคาถานี่ ฝอยกันร้อยแปด เป็นเรื่องไสยศาสตร์ ไม่ใช่เรื่องของ
พระพุทธศาสนา ค่อยๆ อ่าน ค่อยๆ คิด พิจารณา คราคิดติดขัด หยุดพักสักนิด ทำจิตให้สงบ จักพบทางออก
บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด
หัวใจนี้ มีไว้ให้ระลึกถึงตัวจริง
21
เรื่องของพระพุทธศาสนาเขาให้จำหัวใจ ก็เพื่อจะให้ระลึกกันง่ายๆ เช่น เราท่องได้ว่า ทุ สะ นิ มะ เวลาเราจะนึกถึงตัวจริงของอริยสัจ เรา ก็รู้ว่า ทุ คือ ทุกข์ สะ คือ สมุทัย นิ คือ นิโรธ หมายถึงความดับทุกข์ มะ คือ มรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ในเรื่องอื่นๆ ท่านก็มักผูกหัวใจสั้นๆ ให้คนเราไปท่องจำ เพราะ สมัยก่อนนี้ไม่มีหนังสือตำรับตำรา ไม่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร คนที่ไปเรียนอะไรนี่ต้องท่องจำ ทีนี้การท่องจำ ถ้าจะท่องจำให้หมดก็ต้อง ใช้เวลานาน จึงต้องย่อสิ่งที่จะเรียนนั้น เอาแต่หัวใจ เพื่อให้จำง่าย แล้ว จะได้เอาไปเป็นหลักในการศึกษาต่อไป เพราะฉะนั้น จึงขอให้ญาติโยมจำเอาหัวใจนี้ไว้ด้วยว่า ทุ สะ นิ มะ ทุ คือ ทุกข์ สะ คือ สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์ นิ คือ นิโรธ หมายถึงความดับทุกข์ได้ มะ คือ มรรค ประกอบด้วยองค์ ๘ อันเป็นข้อปฏิบัติเพื่อให้ถึง ความดับทุกข์
ร่วมสร้างสายใยสัมพันธ์รักแห่งครอบครัวให้อบอุ่น ด้วยการมอบหนังสือเล่มนี้ให้คนที่รัก โรงเรียน ห้องสมุด เยาวชน เพื่อสานสุขให้สังคมน่าอยู่ยิ่งขึ้น