ธรรมะรักษา ผู้ปฏิบัติธรรม

Page 1



โดย

พระราชสั ง วรญาณ (หลวงพ่อพุธ €านิโย)


ธรรมะรักษา ผู้ปฏิบัติธรรม บรรณาธิการ : เรียบเรียง : ออกแบบปก : รูปเล่ม : ภาพประกอบ : พิสูจน์อักษร : ISBN : พิมพ์ครั้งแรก :

ศักดิ์สิทธิ์ พันธุ์สัทธ์ มนิจ ชูชัยมงคล อนุชิต ค�ำซองเมือง วิฑูรย์ โถน้อย สมควร กองศิลา อุธร นามวงศ์, หนูคล้าย กุกญั ยา, อรัญ มีพนั ธ์ 978-616-268-201-8 พฤษภาคม 2559

สร้างสรรค์และลิขสิทธิ์ บริษัท ส�ำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จ�ำกัด 105/95-96 ถนนประชาอุทิศ ซอย 45 แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ 10140 โทร./แฟกซ์ 02-872-7667

เชิญร่วมเผยแผ่เป็นธรรมทาน สาขาทุ่งครุ : โทร. 02-872-9191, 02-872-8181, 02-872-7227, 02-872-9898 สาขาส�ำราษราษฎร์ : โทร.02-221-1050, 02-221-4446 LC2YOU@GMAIL.COM, LC2YOU@HOTMAIL.COM WWW.LC2U.COM, WWW.พุทธะ.NET

พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์เลีย่ งเชียง 223 ถนนบ�ำรุงเมือง กรุงเทพฯ 10200 โทร. 02-221-1050, 02-221-4446, 02-223-8979


ค�ำน�ำ ธรรมะรักษา ผู้ประพฤติปฏิบัติธรรม หลวงพ่อพุธ านิโย ได้ให้ แนวทางการปฏิบัติธรรมส�ำหรับคฤหัสถ์ผู้ครองเรือนไว้ ผู้เรียบเรียงได้น�ำ ธรรมค�ำสอนของท่านที่ได้แสดงธรรมเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติธรรมของคฤหัสถ์ มาจัดหัวข้อ ย่อหน้าใหม่ ใส่ภาพประกอบ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจในข้อธรรม และวิธีปฏิบัติตนตามแนวทางที่หลวงพ่อได้แสดงธรรมเอาไว้ได้ง่ายยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังได้เสริมสาระความรู้เพิ่มเติมให้ผู้ที่สนใจ ได้รับรู้ถึง วิธีการเป็นชาวพุทธที่ดี เพื่อการพิจารณาให้เห็นถึงความเป็นจริงของชีวิต มนุษย์ จะได้ไม่หลงใหลไปกับโลกิยะสุขมากจนเกินไป หวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์กับท่านผู้อ่าน ทุกท่าน ที่ค้นหาแนวทางการปฏิบัติธรรม เพื่อความสงบสุขในชีวิต เพื่อ ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบ

ขอความสุขสวัสดีจงมีแด่ทุกท่าน


คฤหัสถ์กับการปฏิบัติธรรม วันนีร้ สู้ กึ ว่าเป็นโอกาสดีทอี่ าตมาได้มโี อกาสแสดงธรรมเพือ่ การ ชดใช้ปจั จัย ๔ ทีท่ า่ นทัง้ หลายได้อปุ การะบ�ำรุงมา ซึง่ ชีวติ ของอาตมามี ความเจริญเติบโตขึ้นมาเพราะก้อนข้าวของชาวบ้าน ตั้งแต่อายุ ๑๖ ปี เป็นต้นมา และถือเป็นโอกาสดีที่เราจะได้ประกอบกรณียกิจ อัน เป็นการสนองพระเดชพระคุณของผูม้ พี ระคุณทัง้ หลาย ฉะนัน้ จึงถือว่า โชคดีและเป็นโอกาสที่จะได้สนองพระเดชพระคุณของผู้ที่มีพระคุณ ตามวิสัยกตัญญูกตเวที ธรรมะย่อมรักษา ผู้ปฏิบัติธรรม

สาธุ....

ดังนั้น ธรรมะที่จะออกสู่สายตาของท่านทั้งหลายในวันนี้ ในฐานะที่เราเป็นลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้าก็แล้วกัน แต่ความจริง ธรรมะที่ชื่อว่าเป็นค�ำสอนของพระพุทธเจ้านั้น บางอย่างอาจมีมาก่อน ที่พระพุทธเจ้าเกิดก็ได้ 4

ธรรมะรักษา ผู้ปฏิบัติธรรม


สภาวธรรม คือ สังขาร ธรรมะที่มีมาก่อนพระพุทธเจ้าเกิดนั้น หมายถึง สภาวธรรม สภาวธรรมที่จ�ำเป็นต้องเรียนรู้ หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ใน จักรวาลนีท้ งั้ สิน้ ถ้าจะว่ากันตามหลักวิทยาศาสตร์เขาก็เรียกว่า อณู ปรมาณู และมวลสารที่เกาะกลุ่มกันเป็นก้อนใหญ่โตจนหาประมาณมิได้ รวมทั้ง สิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต และสิ่งที่มนุษย์เสกสรรปั้นแต่งขึ้น ซึ่งตามหลัก ของพระพุทธศาสนาท่านเรียกว่า "สังขาร" สังขาร ตามความหมายของศาสนาพุทธมีอยู่ ๒ อย่าง อย่างที่หนึ่ง อุปาทินนกสังขาร หมายถึง มนุษย์ สัตว์ ตลอดทั้งเทวดา อินทร์ พรหม ยมยักษ์ ทั้งหลาย อันนี้เป็น สังขารที่มีใจครอง

อย่างที่สอง อนุปาทินนกสังขาร หมายถึง ดิน ฟ้า อากาศ ต้นไม้ ภูเขา รถ เรือ อันนี้เป็น สังขารที่ไม่มีใจครอง บริษัท ส�ำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จ�ำกัด

5


สภาวธรรม เป็นไปตามกฎไตรลักษณ์ สังขารทั้งสองอย่างตามที่กล่าวมานี้ คือ สภาวธรรมตาม ความหมายในทางพระพุทธศาสนา กฎธรรมชาติของสภาวธรรม ที่จะพึงเป็นไปตามกฎแห่งความ เป็นจริง เราเรียกว่า กฎไตรลักษณ์ หมายถึง อนิจจตา ความไม่เที่ยง ทุกขตา ความเป็นทุกข์ อนัตตตา ความไม่เป็นตัวของตัว หรือไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ตามที่ภาษาทางวิทยาศาสตร์ เขาว่า ทุกสิ่งทุกอย่าง ในจักรวาลนี้ ย่อมมี ปรากฏการณ์ขึ้นในเบื้อง ต้น ทรงตัวอยู่ขณะหนึ่ง ในที่สุดย่อมสลายตัว แต่พระพุทธเจ้าท่านเรียกว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ความ หมายก็เป็นอันเดียวกัน เพราะฉะนั้น ในเมื่อเราท�ำความเข้าใจใน กฎของธรรมชาติ ในกฎของสภาวธรรม เราจะได้ความว่าทุกสิ่งทุก อย่างมีความ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป... 6

ธรรมะรักษา ผู้ปฏิบัติธรรม


สภาวธรรม คือ กายกับใจ กฎการเกิ ด ขึ้ น ตั้ ง อยู ่ ดั บ ไป ที่ เ รายอมรั บ ว่ า สิ่ ง เหล่ า นี้ เป็นค�ำสอนของพระพุทธเจ้า ก็เพราะเหตุว่าพระพุ ท ธเจ้ า ทรงรู ้ ก ฎ แห่งความเป็นจริง แล้วก็น� ำกฎแห่งความจริงมาตีแผ่ให้ชาวโลก ได้รู้ นี่เป็นค�ำสอนของพระพุทธเจ้าในฝ่ายสภาวธรรม ซึ่งจะเป็นไป ตามกฎของธรรมชาติ สภาวธรรมอันนี้ พระพุทธเจ้าจะเกิดก็ตาม ไม่ เกิดก็ตาม จะมีก็ตาม ไม่มีก็ตาม เขาก็ย่อมมีอยู่โดยธรรมชาติมาแล้ว แต่ไหนแต่ไรมา ในเมื่อเรามองมาใกล้ๆ ตัวเรา ถ้าหากจะมีปัญหาถามว่า

สภาวธรรมคืออะไร ? เราอาจจะต้องตอบอย่างง่าย ๆ ว่า สภาวธรรม คือ กายกับใจ ท�ำไมกายกับใจจึงเป็นสภาวธรรม ก็ เพราะกายกับใจก็อยู่ในกฎของธรรมชาติ ๓ อย่าง คือ ไตรลักษณ์ เกิดขึ้น ทรงอยู่ ดับไป... เกิดขึ้น ทรงอยู่ ดับไป บริษัท ส�ำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จ�ำกัด

7


ไตรลักษณ์ความจริงที่ควรรู้ ร่ า งกาย มี ค วามเจริ ญ เติ บ โตขึ้ น นั บ แต่ วั น คลอดออกมา ก็มีชีวิตอยู่จนถึงวันสุดท้ายคือวันตาย ช่วงระยะตั้งแต่เกิดถึงวันตาย เป็นการทรงตัวอยู่ ในเมื่อตายแล้วก็มีการสลายตัวคือหายสาบสูญไป ไม่มีอะไรเหลือ ส่วนความรู้สึกนึกคิดก็ย่อมมีการเกิดขึ้น ทรงอยู่ ดับไป... เกิดขึ้น ทรงอยู่ ดับไป ตลอดเวลา อันนี้เป็นความเป็นจริงโดย กฎของธรรมชาติ กฎของสภาวธรรม ทีนสี้ ภาวธรรมของเรานี้ ซึง่ มีกายกับใจเป็นหลัก ส่วนประกอบ ก็มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ สิ่งใดที่ผ่านเข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ สิ่งนั้นในเมื่อเราประสบสัมผัสแล้ว ก็มิใช่ว่าเขาจะทรงอยู่กับเราตลอดกาล ในเมื่อผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ความที่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไปนี้ เป็นการแสดงถึงลักษณะแห่ง ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ตามหลักของไตรลักษณ์ อันนี้ ก็เป็นจุดหนึ่งที่เราจะต้องศึกษาให้รู้สภาพความเป็นจริง

8

ธรรมะรักษา ผู้ปฏิบัติธรรม


รูค้ วามจริงได้ ต้องใช้ศลี สมาธิ ปัญญา ในหลักธรรมะท่านว่า รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เป็นวัสดุ กามหรือวัตถุกาม แต่ความจริงรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เป็นของ กลางๆ ไม่ได้ไปท�ำความเดือดร้อนให้แก่ใคร แต่จิตใจของเราที่ยังไม่มี สมรรถภาพเพียงพอที่จะอยู่เหนือสิ่งทั้งปวง เมือ่ สิง่ เหล่านั้นผ่านเข้ามา แล้ว เราก็เกิดความยินดียินร้าย พอใจ ไม่พอใจ แล้วเราก็โทษสิ่งเหล่า นั้นว่ามายั่วยุให้เราเกิดกิเลส แท้ที่จริงกิเลสของเรา มีอยู่เป็นเดิมพันอยู่แล้ว ถ้ากิเลสไม่มี ใครจะมายั่วยุอย่างไร มันก็ไม่มีอาการแสดงออก ลิเวอร์พูล กาก...

แมนยู กาก...

เพราะฉะนั้ น เพื่ อ ที่ จ ะเป็ น แนวทางให้ ส าธุ ช นได้ มี ค วามรู ้ และความเข้าใจถึงกฎความจริงของสภาวธรรมนี้ ท่านจึงมีแนวทางให้ เราปฏิบัติ ซึ่งเรียกว่าค�ำสอน ค�ำสอนประเภทนี้คือ ศีล สมาธิ ปัญญา อันเป็นทฤษฎีหลัก ให้เราศึกษาเพื่อท�ำความเข้าใจแล้วน�ำไปเป็น

แนวทางปฏิบัติ

บริษัท ส�ำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จ�ำกัด

9


สมาธิ มีทั้งถูกและผิด ...ปฏิบัติเพื่ออะไร ปฏิบัติเพื่อให้จิตใจบรรลุถึงความรู้สภาพ ความเป็นจริงของสภาวธรรมนัน่ เอง ทีนกี้ ารท�ำสมาธิตามหลักการ เรา อาจจะท�ำโดยทีไ่ ม่ตอ้ งมีศลี ก็ได้ เช่น อย่างสมาธิของพวกนักไสยศาสตร์ ผู้ที่ท�ำวิชาอาคมครอบหนังบังฟัน ท�ำคุณไสย เขาใช้พลังของสมาธิ เหมือนกัน แต่วิชาการอันนี้เป็นสมาธิเพื่อท�ำร้ายคนอื่น แต่เขาก็ท�ำ ส�ำเร็จได้ อาศัยพลังสมาธิ แต่สมาธิไม่มีศีล จึงย่อมจะสามารถใช้ไป ในทางที่ผิดได้

สัมมาสมาธิ

มิจฉาสมาธิ

เพราะฉะนั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ว่า สมาธิมี ๒ อย่าง มิจฉาสมาธิ เป็น สมาธิผิด เป็นมิจฉาสมาธิ สัมมาสมาธิ เป็น สมาธิที่ถูกต้อง เป็นสัมมาสมาธิ ทีนี้ส�ำหรับผู้ที่ปฏิบัติธรรมเพื่อจะให้บรรลุมรรค ผล หรือจะให้ เป็นแนวทางที่จะน�ำสมาธิไปใช้ประโยชน์ในทางที่ไม่ผิดกฎหมาย และศีลธรรม เราต้องอาศัยศีล สมาธิที่มีศีลเท่านั้น ที่จะน�ำวิถีจิต ของผู้บ�ำเพ็ญให้ด�ำเนินไปสู่สัมมาสมาธิโดยถูกต้อง 10

ธรรมะรักษา ผู้ปฏิบัติธรรม


ศีล ๕ พื้นฐานความเป็นมนุษย์ทสี่ มบูรณ์ ดังนั้นวันนี้ท่านผู้ที่มาฟังธรรมอยู่ในสมาคมนี้ บางทีอาจจะ ได้อธิษฐานจิตสมาทานอุโบสถศีล หรือบางท่าน หรือหลายๆ ท่าน อาจจะได้สมาทานศีล ๕ เป็นหลักปฏิบัติประจ�ำ อาตมาเห็นว่า การทีเ่ รามาตัง้ ใจรักษาศีล ๕ ให้บริสทุ ธิบ์ ริบรู ณ์ นีเ้ ป็นการถูกต้องและเป็นการชอบแล้ว และยังเหมาะสมกับภาวะความ เป็นอยู่ของเราที่เป็นคฤหัสถ์

ผู้ที่ตั้งใจปฏิบัติรักษาศีล ๕ ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ ตามชั้นภูมิของความเป็นคฤหัสถ์ ได้ชอื่ ว่า เป็นการปรับพืน้ ฐานของความเป็นมนุษย์ให้สมบูรณ์

จ�ำไว้นะคะ คนเราต้องมีศีล ครับ

ค่ะ

บริษัท ส�ำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จ�ำกัด

11


เจริญสมาธิและปัญญา พาให้ศีลบริบูรณ์ ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ที่คู่ควรแก่การจะบ�ำเพ็ญคุณความดี เพื่อให้เกิดมรรค ผล นิพพาน หรือรู้จริงเห็นจริงในธรรมะตามความ เป็นจริง เราจะต้องอาศัยศีล ๕ เป็นพื้นฐาน อย่าเพิ่งทะเยอทะยานว่า เราจะต้องรักษาศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ เมื่อเรามีความมั่นใจในการรักษาศีล ๕ ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ พร้อมๆ กับท�ำสมาธิเจริญปัญญาให้เกิดขึน้ ศีลอืน่ ๆ ซึง่ จ�ำนวนมากกว่า นั้น แม้เราไม่ได้ตั้งใจที่จะเพิ่ม โดยกฎธรรมชาติแห่งความดีที่เรา บ�ำเพ็ญให้ถึงพร้อม ศีลเราจะเพิ่มขึ้นเองโดยไม่ได้ตั้งใจ

12

ธรรมะรักษา ผู้ปฏิบัติธรรม


ปฏิบัติศีล ๕ ไม่ขาด ดีกว่าพลาดเพราะโลภในศีล ทีนถี้ า้ หากว่าเราไปรับศีลมากๆ แต่เราปฏิบตั ใิ ห้ขาดตกบกพร่อง เดิมเรามีศีล ๕ การท�ำบาปที่จะเรียกว่าท�ำบาป ผิดธรรม ผิดวินัย ผิดค�ำสอนของพระพุทธเจ้า ที่จะยังผู้ท�ำให้ตกนรกกันจริงๆ มีแต่ ศีล ๕ ข้อเท่านั้น ผู้มีศีล ๕ รับประทานข้าวเย็นก็ได้ ประดับตกแต่ง ด้วยระเบียบของหอมเครื่องย้อมเครื่องทาก็ได้ ดูการประโคมขับดนตรี หรือเราจะแสดงเองก็ได้ไม่ผดิ ศีล แต่ถา้ เราไปสมาทานเพิม่ เข้าอีก ๓ ข้อ ข้างปลาย ปฏิบัติไม่ได้ ผิดทันที เพราะฉะนั้น จึงใคร่ที่จะขอเตือนท่านผู้ที่มีความโลภในศีล ให้พึงรับไปพิจารณา และสังวรระวังไว้ให้ดี ซึ่งอยู่ดีๆ แล้วเรารับประทานข้าวเย็น ไม่ตกนรก แต่เราไปตัง้ เจตนางดเว้นเข้า และเราปฏิบัติไม่ได้ ไปละเมิดเข้า ตกนรกทันที จะเป็นการดีอยู่หรือ ที่เราจะไปสร้างนรกให้กับตัวเอง โดยไม่จ�ำเป็น

บริษัท ส�ำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จ�ำกัด

13


อย่าโลภในศีล ทีนี้ถ้าหากสมมติว่าผู้ที่ไปบวชในวัด เป็นสงฆ์หรือสามเณร เราเป็นคฤหัสถ์ เราดายหญ้าก็ได้ ฟันต้นไม้ก็ได้ หยิบของที่เขาไม่ได้ ประเคนมากินก็ได้ ไม่เป็นโทษ แต่เมื่อบวชเป็นพระแล้ว ของที่เขาไม่ยื่นให้เอามาฉันก็เป็น อาบัติ และหลายๆ อย่างที่ท�ำให้เป็นอาบัติด้วยเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เมื่อ เราเป็นคฤหัสถ์ เราดายหญ้าก็ได้ ถางป่าก็ได้ ไม่ตกนรก แต่เมื่อบวช เป็นพระแล้ว ไปท�ำอย่างนั้นไม่ได้ เป็นบาปเป็นอาบัติทันที กินก่อนนะแม่

ระวังร้อน ! นะลูก

เจริญพรโยมแม่...

14

ธรรมะรักษา ผู้ปฏิบัติธรรม


เด็ดใบไม้ ตายเป็นนาค อย่างมีเรือ่ งเล่าว่าในอดีตกาล ตัง้ แต่สมัยศาสนาของพระพุทธเจ้า วิปัสสี มีพระภิกษุองค์หนึ่งนั่งไปในเรือ ซึ่งในขณะที่น�้ำไหลเชี่ยว ได้เอื้อมมือไปจับใบไม้สดๆ ใบหนึ่ง จับแล้วไม่วาง ไม่ปล่อย เรือวิ่ง ไปด้วยความเร็วใบไม้ขาด เป็นอันว่าพระองค์นั้นเด็ดใบไม้ให้ขาดไป ตามวินัยท่านว่าต้องอาบัติปาจิตตีย์ ท่านก็ถือว่าเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ไม่ได้สนใจที่จะปลงอาบัติ เพราะโทษอันนี้

ท่านบ�ำเพ็ญเพียรอยู่ถึง ๘ หมื่นปี ไม่สามารถที่จะบรรลุ คุณธรรม ไม่รู้ธรรมเห็นธรรมตามความเป็นจริง แต่เมื่อใกล้จะตาย มี นิมติ เปรียบเหมือนใบไม้มารัดคอให้ใจขาด แล้วผลสุดท้ายก็ตายไปเกิด เป็นนาค เพราะโทษทีเ่ ด็ดใบไม้ ใบเดียว พิภพของนาคเป็นภูมขิ องสัตว์ เดรัจฉาน ต�่ำกว่าความเป็นมนุษย์ลงไป นี่เพียงเล็กๆ น้อยๆเท่านี้ บริษัท ส�ำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จ�ำกัด

15


ศีล ๕ เหมาะแก่ความเป็นคฤหัสถ์ ถ้าเราไม่ได้ตั้งใจที่จะเป็นพระ เราจะถางป่าเก็บใบไม้ก็ไม่เกิด โทษอันใด แต่เมื่อเราเป็นพระจะท�ำอย่างนั้นไม่ได้ เกิดบาปเกิดโทษ ทันที ดังเรื่องพระที่เล่ามาให้ฟังเป็นตัวอย่าง

เพราะฉะนั้น ท่านผู้มุ่งความเจริญในการปฏิบัติจริงๆ ในฐานะที่เป็นคฤหัสถ์จะต้องสร้างโลกอย่างดี ก็ให้เคร่งในศีล ๕ ข้อนี้เป็นพอ... พอเหมาะพอควรแก่ความเป็นคฤหัสถ์แล้ว อย่าไปทะเยอทะยานว่าเราจะต้องรักษาศีลให้มากๆ

ทีนถี้ า้ หากว่าคุณโยมผูช้ ายท่านใดทีค่ ดิ จะออกไปบวช ให้ทดลอง รักษาศีล ๕ ดูก่อน จนแน่ใจว่าเรามีสมรรถภาพท�ำศีล ๕ ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์เต็มที่ได้แล้ว จึงค่อยสละฆราวาสไปบวช และก่อนที่จะบวช นัน้ ก็ควรจะศึกษาระเบียบวินยั หรือหัดภาวนาให้เป็นเสียก่อน แล้วค่อย ไปบวช บวชแล้วจะไม่ขาดทุน อันนี้ขอเสนอแนะเอาไว้อย่างนี้ 16

ธรรมะรักษา ผู้ปฏิบัติธรรม


ปฏิบัติตามธรรมนำ�ประโยชน์สู่ใจ ทีนี้ท่านทั้งหลายเป็นนักฟังและนักศึกษาธรรมะ และเข้าใจว่า ท่านคงจะเข้าใจเรื่องธรรมะมากพอสมควร เช่น มีพระไทยไปปาฐกถา ในประเทศเยอรมัน พอปาฐกถาจบสมาคมชาวพุทธเยอรมันเขาก็พดู ขึน้ ว่า เรือ่ งปริยตั พิ ระคุณเจ้าไม่ตอ้ งมาสอนพวกข้าพเจ้า พวกข้าพเจ้าเรียน มามากพอสมควร ยังงงอยูต่ รงทีว่ า่ “เราจะเอาธรรมะของพระพุทธเจ้า มาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ชีวิตประจ�ำวันได้อย่างไร” คือหมายความว่า เขายังสงสัยในเรือ่ งการทีจ่ ะปฏิบตั ธิ รรมให้เกิดประโยชน์แก่จติ ใจจริงๆ เพราะฉะนัน้ เรือ่ งเกีย่ วกับเรือ่ งปริยตั จิ ะไม่ขอพูดถึงให้เสียเวลา ท่านทัง้ หลายก็คงจะพึงสังเกตส�ำหรับเราๆ ท่านๆ ทีอ่ ยูใ่ นระดับปัญญาชน คือเวลานีค้ ณาจารย์ทสี่ อนพระกรรมฐานทัง้ หลายในเมืองไทยเรา ส่วนมากท่านก็ยงั มีการขัดแย้งในระเบียบวิธกี ารเกีย่ วกับการปฏิบตั ิ แต่ ความจริงแล้วไม่น่าจะเป็นอย่างนั้นเลย

บริษัท ส�ำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จ�ำกัด

17


รู้รัก ความสามัคคี ก็มีธรรม ธรรมะค�ำสอนของพระพุทธเจ้าสอนให้คนมีความรักกัน มี ความสามัคคีกัน แต่พุทธบริษัทเรานี่ยังสั่งสอนธรรมะเพื่อความ แตกแยกสามัคคีกนั จึงเห็นว่ายังไม่เหมาะสม ใคร่ทจี่ ะขอฝากบรรดาท่าน ปัญญาชนทั้งหลายไปพิจารณาว่า บรรดาคณาจารย์ทั้งหลายเหล่านั้น มีส่วนเป็นบ่อนท�ำลายความมั่นคงของประเทศชาติ ศาสนา หรือไม่ ?

เราเป็นนักปฏิบัติธรรมนักศึกษาธรรม และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาตมา ญาติโยมทั้งหลายเขาก็ยกย่องให้เป็นนักสอนธรรมในสายการ ปฏิบัติกรรมฐานในสายพระป่า ก็ใคร่ที่จะแนะน�ำบรรดาท่านทั้งหลาย ในฐานะที่ท่านเป็นนักศึกษาและนักปฏิบัติธรรม 18

ธรรมะรักษา ผู้ปฏิบัติธรรม


ธรรมชาติกบั ธาตุ ๔ นีส้ ัมพันธ์กัน การปฏิบตั ธิ รรมเราไม่สมควรทีจ่ ะรูจ้ กั เพียงแค่ค�ำว่า “ธรรม” เท่านั้น ควรจะรู้จักค�ำว่า “ชาติ” ด้วย ชาติ ในทีน่ ี้ อาตมาขอหมายถึง แผ่นดิน ขอเทศน์เรือ่ งแผ่นดิน แผ่นดินในขอบเขตประเทศของเราคือแผ่นดินของเรา แผ่นดินของเรา คือชาติของเรา ทีนี้ชาติของเราในภายในนี้ก็มีแผ่นดิน ธรรมะท่านว่าร่างกายของเราประกอบไปด้วยธาตุ ๔ ดิน น�้ำ ลม ไฟ ในท�ำนองเดียวกัน ผืนแผ่นดินที่เราอาศัยอยู่นี่ก็ประกอบไป ด้วย ธาตุ ๔ ดิน น�ำ้ ลม ไฟ เหมือนกัน ธาตุ ๔ ดิน น�้ำ ลม ไฟ ในภายนอก ย่อมเป็นประโยชน์แก่ธาตุ ๔ ดิน น�้ำ ลม ไฟ ในภายใน เพราะฉะนั้ น เราจึ ง ได้ ส งวน รักษา...รักษาดิน น�้ำ ลม ไฟ ในภายนอก เพื่อเอาไว้จุนเจือดิน น�ำ้ ลม ไฟ ภายในกาย

บริษัท ส�ำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จ�ำกัด

19


ธาตุ ๔ ภายนอกต้องรักษา ธาตุ ๔ ภายในมีไว้พิจารณา ในแนวทางแห่งการปฏิบัติเรียกว่า “รักษาปัจจัย ๔ หรือ ธาตุ ๔” ดังที่กล่าวมานโยบายของผู้ปกครองบ้านเมือง ก็มาตั้งกรม ที่ดินขึ้น ผู้รักษาที่ดินเรียกว่า กรมที่ดิน ผู้รักษาน�้ำ กรมน�้ำเรียกว่า กรมชลประทาน ผู้รักษาลมเรียกว่า กรมอุตุนิยมวิทยา ผู้รักษาไฟ เรียกว่า องค์การไฟฟ้า เรามีเจ้าหน้าที่คุ้มครองรักษาธาตุ ๔ ดิน น�้ำ ลม ไฟ ของเรา ไว้ จนกระทั่งตั้งเป็นกระทรวง ทบวง กรมใหญ่โตเพราะเพื่อจะรักษา ชาติเอาไว้... รักษาชาติเอาไว้ทำ� ไม ? รักษาชาติเอาไว้สำ� หรับนั่งภาวนา แต่ถ้าเราจะมารู้จักแต่คำ� ว่าภาวนา อย่ า งเดี ย ว ไม่ รู ้ จ� ำ ค� ำ ว่ า ชาติ ด ้ ว ย ในเมื่อ ชาติสลายตัวลงไปแล้ว เรา จะพากันไปนั่งภาวนา ณ ที่ไหน อันนี้ขอฝากให้บรรดาท่านนักศึกษา ธรรมะรับไว้พิจารณา 20

ธรรมะรักษา ผู้ปฏิบัติธรรม


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.