คู่มือมนุษย์ เล่ม 8 พระอริยบุคคลกับการละกิเลส

Page 1


ขอมอบธรรมะเล่มนี้ แด่ ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ......................................................................................

ข้าพเจ้าขอตั้งจิตอุทิศผล ถึงบิดามารดาครูอาจารย์ คนเคยร่วมทำงานการทั้งหลาย ทั้งเจ้ากรรมนายเวรและเทวัญ

บุญกุศลนี้แผ่ไปให้ไพศาล ทั้งลูกหลานญาติมิตรสนิทกัน มีส่วนได้ในกุศลผลของฉัน ขอให้ท่านได้กุศลผลนี้เทอญ.


บทอธิษฐานขออโหสิกรรม กายะกัมมัง วะจีกัมมัง มะโนกัมมัง สัญจิจจะกัมมัง อะสัญจิจจะกัมมัง ขะมันตุ เม อะโหสิกัมมัง ภะวะตุ เม.

กรรมใดๆ ไม่ว่าจะเป็นกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่ข้าพเจ้า

ได้ทำล่วงเกินแก่ผู้ใด ทั้งโดยตั้งใจก็ดี ไม่ได้ตั้งใจก็ดี ในภพชาติใดก็ตาม ขอให้ เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย จงโปรดยกโทษให้เป็นอโหสิกรรมแก่ข้าพเจ้า อย่าได้ จองเวรจองกรรมต่อกันอีกเลย แม้แต่กรรมใดที่ใครๆ ทำแก่ข้าพเจ้าก็ตาม ข้าพเจ้าขออโหสิกรรมให้ ทั้งสิ้น ยกถวายพระพุทธเจ้าเป็นอภัยทาน ขอจงดลใจให้เขาเหล่านั้นกลับมี เมตตาจิต คิดเป็นมิตรกับข้าพเจ้า เพื่อจะได้ไม่มีเวรกรรมต่อกันตลอดไป ด้วยอานิสงส์แห่งอภัยทานนี้ ขอให้ข้าพเจ้าพร้อมทั้งครอบครัว ตลอดจน วงศาคณาญาติ ผู้มีอุปการคุณของข้าพเจ้า พ้นจากความทุกข์ยากลำบากเข็ญใจ ความทุกข์อย่าได้ใกล้ ความเจ็บไข้อย่าได้มี ขอให้มีความสุขสวัสดีมีชัย เสนียดจัญไร และอุปัทวันตรายทั้งหลาย จงเสื่อมสิ้นหายไป นึกคิดปรารถนาสิ่งใด

ที่เป็นไปโดยชอบประกอบด้วยธรรมแล้ว ขอให้สิ่งนั้นจงพลันสำเร็จ จงพลัน สำเร็จ จงพลันสำเร็จเทอญ

นิพพานะปัจจะโย โหตุ


Dhamma Guide : D.G. ณัฐพันธ ปนทวีเกียรติ บรรณาธิการสาระ : ศักดิ์สิทธิ์ พันธุสัตย ออกแบบปก : อนุชติ คำซองเมือง บรรณาธิการศิลปะ : อนุชิต คำซองเมือง ภาพประกอบ : สมควร กองศิลา รูปเลม/จัดอารต : วันดี ตามเที่ยงตรง


คำนำสำนักพิมพ์ ธรรมบรรยายชุ ด “คู่ มื อ มนุ ษ ย์ ” ของพระเดชพระคุ ณ

พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาส อินฺทปญฺโญ) หรือหลวงปู่พุทธทาสภิกขุ แห่งสวนโมกขพลาราม อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นหนึ่งใน ผลงานซึ่งถือว่าเป็นเพชรน้ำเอกที่ได้รับการยอมรับและเป็นที่นิยมชมชอบ จากชาวพุทธอย่างกว้างขวางจนมีการนำไปแปลเป็นภาษาต่างๆ ในหลาย ประเทศ ทั้งนี้ก็เพราะหลวงปู่พุทธทาสภิกขุได้บรรยายเรื่องสำคัญที่สุด

ที่มนุษย์ทุกคนควรจะต้องรู้ และควรจะต้องปฏิบัติตามให้จงได้ เพื่อ ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบอย่างแท้จริง ธรรมบรรยายชุดนี้ หลวงปู่พุทธทาสได้บรรยายอบรมผู้ที่จะรับ การโปรดเกล้าฯ เป็นตุลาการ รุ่นปี ๒๔๙๙ ณ ห้องบรรยายของเนติบัณฑิตยสภา ระหว่างวันที่ ๒-๒๒ พฤษภาคม ๒๔๙๙ รวมทั้งหมด

๑๐ ครั้ง ๑๐ หัวเรื่อง ดังนี้ ครั้งที่ ๑ : ใจความสำคัญของพุทธศาสนา (พุทธศาสนามุ่งชี้อะไรเป็นอะไร) (๒ พ.ค. ๒๔๙๙) ครั้งที่ ๒ : ไตรลักษณ์ (ลักษณะสามัญของสิ่งทั้งปวง) (๔ พ.ค. ๒๔๙๙) ครั้งที่ ๓ : อุปาทาน ๔ (อำนาจของความยึดติด) (๗ พ.ค. ๒๔๙๙) ครั้งที่ ๔ : ไตรสิกขา (ขั้นของการปฏิบัติศาสนา) (๘ พ.ค. ๒๔๙๙) ครั้งที่ ๕ : เบญจขันธ์ (คนเราติดอะไร) (๙ พ.ค. ๒๔๙๙) ครั้งที่ ๖ : สมาธิและวิปัสสนาตามธรรมชาติ (การทำให้รู้แจ้งตามวิธีธรรมชาติ) (๑๑ พ.ค. ๒๔๙๙)


ครั้งที่ ๗ : สมาธิและวิปัสสนาตามหลักวิชาในรูปเทคนิค (การทำให้รู้แจ้งตามหลักวิชา) (๑๔ พ.ค. ๒๔๙๙) ครั้งที่ ๘ : อริยบุคคลกับการละกิเลส (ลำดับแห่งความหลุดพ้นจากโลก) (๑๗ พ.ค. ๒๔๙๙) ครั้งที่ ๙ : พุทธศาสนากับคนทั่วไป (พุทธศาสนาสอนศิลปะการเป็นคน) (๑๗ พ.ค. ๒๔๙๙) ครั้งที่ ๑๐ : ตุลาการตามอุดมคติแห่งพระพุทธศาสนา (ภาคสรุปความ) (๒๒ พ.ค. ๒๔๙๙) ด้วยทาง สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ ได้เล็งเห็น คุณค่าและประโยชน์สุขที่ผู้อ่านจะพึงได้รับ จึงได้นำธรรมบรรยายชุด

“คู่มือมนุษย์” ทั้ง ๑๐ หัวเรื่องมาจัดพิมพ์ใหม่ โดยจัดแยกเป็น ๑๐ เล่ม ตามหัวข้อ เน้นให้เป็นฉบับที่อ่านง่าย เข้าใจง่าย เพื่อความสะดวกในการ ศึกษาแก่ผู้อ่าน โดยได้เพิ่มภาพประกอบพร้อมคำการ์ตูน ชูคำเด่น เน้น ข้อความ ตั้งหัวข้อใหญ่ หัวข้อย่อย แบ่งวรรคตอน ซอยย่อหน้าใหม่

ใส่สีสัน เสริมธรรมให้ผู้อ่านอ่านได้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น เมื่ออ่านไปทีละเล่ม

ทีละหัวเรื่องแล้ว จะทำให้เราเข้าใจหลักธรรมคำสั่งสอนและหลักปฏิบัติ ที่ถูกต้องทางพุทธศาสนาเพิ่มมากขึ้น หนังสือ “คู่มือมนุษย์ ฉบับอ่านง่าย เข้าใจง่าย เรื่อง อริยบุคคล กับ การละกิเลส (ลำดับแห่งความหลุดพ้นจากโลก)” เล่มนี้ จัดเป็น ธรรมบรรยายลำดับที่ ๘ มีเนื้อหาสาระสำคัญมุ่งเน้นให้ผู้อ่านได้เห็นชัดว่า หากต้องการพ้นโลกเป็นพระอริยบุคคลทั้ง ๔ ประเภท คือ พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ ต้องรู้จักและทำลายกิเลส ชั้นละเอียดทั้ง ๑๐ ประการ หรือ “สังโยชน์ ๑๐” ตามลำดับ เพื่อบรรลุ


“โลกุตตรธรรม” เข้าถึงความสิ้นทุกข์ สิ้นกิเลส เข้าถึง “พระนิพพาน” อันเป็นเป้าหมายของพระพุทธศาสนาให้ได้ ดังคำกล่าวของหลวงปู่พุทธทาสภิกขุที่ว่า...

“พระนิพพาน เป็นสิ่งที่มุ่งหมายปลายทางของพระพุทธศาสนา ที่จะต้องศึกษาให้รู้ ให้เข้าใจ และต้องลุถึงได้ตามสมควร จึงจะได้ชื่อว่าเห็นแจ้งหรือเข้าถึงตัวพุทธศาสนาจริง”

ดังนั้น จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นคู่มือช่วยชี้ทาง ให้เราทุกคนได้พบเจอแสงสว่างแห่งชีวิต เพื่อมุ่งสู่เส้นทางแห่งการดับทุกข์ อย่างสิ้นเชิง สมกับที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ในที่สุด

ขออนุโมทนา สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

โปรดใช้เล่มนี้ให้คุ้มสุดคุ้ม & อ่านแล้ว -> แบ่งกันอ่านหลายท่านนะจ๊ะ

อ่านสิบรอบ ระดมสมองคิดสิบหน ฝึกฝนปัญญา พัฒนาการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน จิตมีสติสัมปชัญญะ รู้เท่าทันสรรพสิ่ง ฉลาดใช้ เฉลียวคิด ชีวิตจักสนุก สุข สงบ เย็น เฉกเช่นพระนิพพาน สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ ปรารถนาให้ทุกครอบครัวมีความสุข


สารบัญ ๑. “โลกุตตรภูมิ” คือ ภูมิเหนือโลก ตรงข้ามกับ “โลกียภูมิ” ทั้ง ๓ ๒. “สังโยชน์ ๑๐” คือ กิเลสเครื่องผูกสัตว์ให้ติดโลก ๓. โลกุตตรภูมิอันดับที่ ๑ “พระโสดาบัน” ละสังโยชน์ ๓ ข้อแรกได้ ๔. โลกุตตรภูมิอันดับที่ ๒ “พระสกิทาคามี” ละสังโยชน์ ๓ กิเลสเบาบางกว่าพระโสดาบัน ๕. โลกุตตรภูมิอันดับที่ ๓ “พระอนาคามี” ละสังโยชน์ข้อที่ ๔ และ ๕ ได้ ๖. โลกุตตรภูมิอันดับที่ ๔ “พระอรหันต์” ละสังโยชน์ได้ครบทั้ง ๑๐ ข้อ ๗. พระอริยเจ้าทั้ง ๔ ประเภท อยู่เหนือโลก บรรลุ “โลกุตตรธรรม” แวะเล่าชาดก : น้ำบริสุทธิ์

๘ ๑๘ ๓๓ ๓๕ ๓๗ ๔๓ ๖๓ ๖๙


ั ๑. “โลกุตตรภูมิ” คือ ภูมิเหนือโลก ตรงข้ามกับ “โลกียภูมิ” ทั้ง ๓ สาธุ พวกเรา จะตั้งใจศึกษา และ นำไปปฏิบัติครับ

ตั้งใจศึกษา ให้ดีนะ

ท่ า นที่ จ ะเป็ น ผู้ พิ พ ากษาทั้ ง หลาย อาตมาได้ ก ล่ า วมาแล้ ว

เมื่อวานนี้ ถึงแนวของสิ่งที่เรียกว่า

วิปัสสนา๒ โดยสังเขป เป็นการแสดงถึงวิธีปฏิบัติในทางจิต เพื่อให้จิตมีความเจริญสูง ถึงขนาดทีค่ วามทุกข์ครอบงำไม่ได้ ที่เรียกว่าพ้นทุกข์ ด้วยอำนาจของการที่จิตรู้แจ้งสิ่งทั้งหลายทั้งปวงตามที่เป็นจริง

โดยใจความก็คือ

บรรยายอบรมผู้ที่จะเป็นผู้พิพากษา ณ ห้องบรรยายของเนติบัณฑิตยสภา ๑๗ พฤษภาคม ๒๔๙๙ ขณะนั้นท่านพุทธทาสภิกขุดำรงสมณศักดิ์ที่ พระอริยนันทมุน ี ๒ ติดตามอ่านหัวข้อนี้ได้ใน คู่มือมนุษย์ ฉบับอ่านง่าย เข้าใจง่าย เล่ม ๗ : สมาธิ และวิปัสสนาตามหลักวิชาในรูปเทคนิค (การทำให้รู้แจ้งตามหลักวิชา) โดย สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง

8

คู่มือมนุษย์ ๘ เรื่อง อริยบุคคล กับ การละกิเลส (ลำดับแห่งความหลุดพ้นจากโลก)


จะเข้าใจโลกุตตรภูมิได้ง่าย ต้องเข้าใจเรื่องโลกียภูมิก่อน รู้แจ้งว่าไม่มีอะไรที่น่ายึดถือ จนกระทั่งสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ในโลกทุกๆ โลก ไม่มีอิทธิพลที่จะนำจิต ให้หลงรักหรือหลงชังได้อีกต่อไป เรียกว่า จิตอยู่เหนือโลก หรือเหนือวิสัยของโลก ขึ ้นถึงขั้นสถานะอันใหม่ที่ท่านเรียกว่า “โลกุตตรภูมิ”๑

เพราะฉะนั้น เราควรเข้าใจเรื่องของ โลกุตตรภูมิ คือชั้นหรือฐานะ ที่อยู่เหนือโลกให้แจ่มแจ้งตามสมควร การที่เราจะเข้าใจโลกุตตรภูมิได้ ชัดเจน เราจำเป็นจะต้องรู้เรื่องที่ตรงกันข้าม คือ โลกียภูมิ ด้วยเหมือนกัน

การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เป็นหนทางสายเดียวที่จะทำให้พ้นทุกข์จากการ

เวียนว่ายตายเกิดและเข้าถึงซึ่งพระนิพพาน มีสอนเฉพาะในพระพุทธศาสนาเท่านั้น

ปฏิบัติด้วยการฝึกสติเพื่อเห็นแจ้ง “ไตรลักษณ์” อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในกายใจของ ผู้ปฏิบัติ คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าต้องไปปฏิบัติที่วัดหรือสถานที่ปฏิบัติธรรมเท่านั้น แต่จริงๆ แล้ว การปฏิบัติต้องปฏิบัติให้ได้ตลอดเวลา ทุกอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน ในชีวิตประจำวัน เมื่อเห็น กายและใจแสดง “ไตรลักษณ์” จนใจยอมรับความจริงมากขึ้นเรื่อยๆ แล้ว ใจจะค่อยๆ คลายความ ยึดมั่นถือมั่นและปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นในที่สุด ๑

โลกุตตรภูมิ อ่านว่า โล-กุด-ตะ-ระ-พูม สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

9


“โลกียภูมิ” ภูมิของจิตที่ยังพอใจในกาม รูปภพ อรูปภพ กามาวจรภูม ิ

รูปาวจรภูมิ

อรูปาวจรภูมิ

“โลกียภูมิ” ก็คือ ภูมิของจิตที่ต่ำ อยู่ในขนาดทีส่ ิ่งต่างๆ ในโลก มีอิทธิพลเหนือจิตได้

โลกียภูมิ นั้นท่านแบ่งโดยสรุปที่สุดออกเป็น ๓ พวกด้วยกัน กล่าวคือ กามาวจรภูมิ หมายถึง ภูมิของจิตที่ยังต่ำจนพอใจในกามทั้งปวง นี้เป็นภูมิแรก ภูมิถัดไปคือ รูปาวจรภูมิ ได้แก่ ฐานะของจิตที่ไม่ต่ำจนถึงกับพอใจในกาม แต่ว่ายังพอใจในความสุขที่เกิดมาแต่สมาบัติที่มีอารมณ์เป็นรูปธรรม สิ่ง ใดๆ ก็ได้ที่ไม่เกี่ยวกับกาม ภูมิที่ถัดไปอีกคือ อรูปาวจรภูมิ ได้แก่ สถานะของจิตที่ยังพอใจในความสุขหรือ ความสงบที่สูงขึ้นไปกว่านั้นอีกชั้นหนึ่ง ได้แก่ ความสุข หรือความสงบ

อันเกิดแต่สมาบัติที่มีสิ่งที่ไม่มีรูปเป็นอารมณ์ รวมทั้งสิ้นจึงได้เป็น ๓ ภูมิ ด้วยกัน 10 คู่มือมนุษย์ ๘ เรื่อง อริยบุคคล กับ การละกิเลส (ลำดับแห่งความหลุดพ้นจากโลก)


ภพกับภูมิมีความหมายต่างกัน ภพหมายถึงที่อยู่ ภูมิหมายถึงระดับของจิต ถ้าจะจัดให้เป็นคู่ๆ กัน ระหว่าง ภูมิ กับ ภพ ก็มีทางที่จะทำได้ ภูมิ หมายถึง สถานะหรือระดับ แห่งจิตใจของสัตว์นั้นๆ ส่วน ภพ หมายถึง โลกเป็นที่อยู่ ที่เหมาะสมกับสัตว์ที่มีภูมิแห่งจิตใจ เช่นนั้นๆ ฉะนั้น อาจจะจับคู่กันได้คือ กามาวจรภูมิ คู่กันกับ กามาวจรภพ รูปาวจรภูมิ คู่กันกับ รูปาวจรภพ อรูปาวจรภูมิ คู่กันกับ อรูปาวจรภพ และผู้สังเกตอาจจะเข้าใจได้เองว่า

เข้าใจแล้ว ภพ หมายถึง ที่อยู่ ภูมิ หมายถึง ระดับ ของจิต

คำว่า ภูมิ หมายถึง สถานะทางจิตที่เป็นอยู่อย่างไร คำว่า ภพ หมายถึง ที่อยู่อาศัยของสัตว์ซึ่งมีจิตต่างๆ กันเป็น ๓ ภูมิ จึงได้เป็น ๓ ภพ ๓ ภูมิ ภูมิทั้ง ๓ นี้ เรียกว่า “โลกียภูมิ” เพราะว่าล้วนแต่ยังอยู่ในการข้องเกี่ยวกับโลก หรือยังตกอยู่ภายใต้วิสัยที่โลกจะครอบงำได้ตามชั้นตามลำดับ จึงนับเป็นวิสัยโลกทั้งนั้น สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

11


ผู้มีจิตติดพันในกามและสมาบัติ ชื่อว่าตกอยู่ ใน “โลกียภูมิ”

สัตว์ที่อยู่ในกามภพ ก็ถูกครอบงำด้วยรสของกาม มีจิตใจต่ำ

จนติดพันอยู่ในกาม สัตว์ที่อยู่ในรูปภพ ก็มีจิตใจติดพันอยู่ในความสุขที่เกิดมาแต่ ความสงบชนิดที่ยังหยาบ คือชนิดที่ได้จากสมาบัติอันมีรูปธรรมเป็นอารมณ์ ส่วนสัตว์ที่อยู่ในอรูปภพ ก็มีจิตที่พัวพันอยู่ในความสุข หรือ ความสงบที่ประณีตขึ้นไปอีกชั้นหนึ่ง คือความสงบอันเกิดจากสมาบัติ

ที่มีสิ่งที่ไม่มีรูปเป็นอารมณ์

“โลกียภูมิ” คือ ภูมิของสัตว์ทั่วๆ ไป แม้จะแตกต่างกันอย่างไร คือ เป็นมนุษย์ เป็นเทวดา เป็นพรหมในเบื้องบน หรือว่าเป็นสัตว์เดรัจฉาน เป็นสัตว์นรกในเบื้องต่ำก็ตาม ก็รวมอยู่ใน ๓ ภูมิน ี้ 12 คู่มือมนุษย์ ๘ เรื่อง อริยบุคคล กับ การละกิเลส (ลำดับแห่งความหลุดพ้นจากโลก)


คนเราเปลี่ยนแปลงภพได้ทุกขณะ ตามสถานะหรือภูมิของจิต คนเราคนหนึ่งๆ ในโลกนี้อาจจะมีจิตตกอยู่ใน ๓ ภูมินี้ ภูมิใด

ภูมิหนึ่ง ในเวลาใดเวลาหนึ่งได้ด้วยกันทั้งนั้น ไม่เป็นการเหลือวิสัย แต่ว่า ส่วนมากจะต้องตกอยู่ในกามาวจรภูมิเป็นธรรมดา คือ จิตของมนุษย์เรา โดยปรกตินั้น ตกต่ำอยู่ใต้อิทธิพลของสิ่งที่เรียกว่า “กาม” แต่ในบางคราวบางโอกาสอาจจะออกมาได้จากอิทธิพลของกาม เพราะอาศัยการทำจิตให้ไปจดจ่ออยู่ที่ความสงบสุขอันเกิดจากสมาบัติ

ที่มีรูปธรรมหรืออรูปธรรมเป็นอารมณ์ แล้วแต่สมาธิที่จะเจริญ ฉะนั้น ในบางคราวจิตของมนุษย์เราจึงอยู่ในลักษณะที่เป็นรูปาวจรภูมิ หรือ อรูปาวจรภูมิก็มี ถ้าสำหรับครั้งพุทธกาล คือยุคโบราณในอินเดียนับว่ามีมาก เพราะว่าผู้ที่ออกแสวงหาความสงบสุขชั้นรูปาวจรภูมิ หรืออรูปาวจรภูมิ นั้นอาจจะกล่าวได้ว่าเต็มไป ทั่วๆ ไปตามในป่า สำหรับบัดนี้นั้นเชื่อว่า

มีน้อย แต่ถึงอย่างนั้นก็กล่าวได้ว่าอยู่ในขอบเขตที่คนทั่วๆ ไปจะเข้าถึงได้ อยู่นั่นเอง ทั้งยังกล่าวได้อีกว่า

เมื่อใดจิตของผู้ใดตั้งอยู่ในภูมิใด เมื่อนั้นโลกที่เขากำลังอาศัยอยู่นั้น ก็จะกลายเป็นภพชื่อนั้นไปทันที

สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

13


สาธุ

เช่น ใครคนหนึ่งในโลกนี้กำลังเป็นสุขอยู่ในรูปาวจรสมาบัติ โลกนี้ ก็จะกลายเป็นรูปาวจรภพสำหรับเขาไปทันที เพราะเขาไม่รู้สึกในสิ่งอื่นใด นอกจากรูปาวจรธรรม โลกนี้ในขณะนั้น และสำหรับเขาผู้นั้นก็มีค่าเท่ากับ รูปาวจรภพไป จนกว่าภูมิแห่งจิตใจของเขาจะเปลี่ยนเป็นอื่นไป

14 คู่มือมนุษย์ ๘ เรื่อง อริยบุคคล กับ การละกิเลส (ลำดับแห่งความหลุดพ้นจากโลก)


“โลกุตตรภูมิ” ภูมิของจิตที่อยู่เหนือกาม รูปภพ อรูปภพ สัตว์ที่ยังอยู่ในภูมิทั้ง ๓ ภูมินี้ ยังถอนตัวไม่ได้ ยังมีอัสมิมานะ๑ เต็มที่ และไม่เคยมีความรู้เรื่องการถอนตัวตน ถึงแม้จะได้รับความสุข ความสงบชนิดที่เหมือนกับว่าเป็นก้อนหิน ก้อนดิน ท่อนไม้ไปแล้ว ก็ยัง เต็มอยู่ด้วยความยึดถือตัวตน ยังอาศัยตัณหาต่างๆ ชนิด ตลอดถึงตัณหา ชนิดที่ละเอียดที่สุด เช่น วิภวตัณหา๒ เป็นต้น เป็นเหตุให้ท่องเที่ยว

ไปในภพต่างๆ หรือมีการประกอบกรรมต่างๆ ด้วยอำนาจของตัณหานั้น เพราะฉะนั้นจึงไม่เรียกว่าอยู่เหนือวิสัยโลก และจัดไว้เป็นโลกียภูมิเช่นกัน

ส่วนโลกุตตรภูมนิ ั้นตรงกันข้าม และไม่ได้เอาลักษณะของจิตทั้ง ๓ อย่าง ที่กล่าวมาแล้ว เป็นหลักเกณฑ์ แต่เอาความที่มีจิตอยู่สูงเหนือวิสัยโลก มองเห็นโลกโดยความเป็นของไม่มีตัวตน มีจิตอยู่เหนือความต้องการสิ่งใดๆ ในโลก หรือในภพทั้งปวง

ดังกล่าวแล้ว พวกที่ตั้งอยู่ในโลกุตตรภูมินี้ก็ยังแบ่งเป็นชั้นๆ ได้ เหมือนกันตามลำดับสูงต่ำ ๑

อัสมิมานะ หมายถึง ความถือตัวว่าเป็นเรา ความถือเขาถือเรา จัดเป็นกิเลส อย่างหนึ่งที่ทำให้คนเราเกิดความเย่อหยิ่งผยองตน ๒ วิภวตัณหา คือ ความอยากไม่ให้เป็นอย่างนั้น ไม่ให้เป็นอย่างนี้ ตามที่ตนอยาก จะไม่ให้เป็น ติดตามอ่านหัวข้อนี้ได้ใน คู่มือมนุษย์ ฉบับอ่านง่าย เข้าใจง่าย เล่ม ๓ : อุปาทาน ๔ (อำนาจของความยึดติด) โดย สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

15


พระพุทธศาสนาแบ่งโลกุตตรภูมิ เป็นมรรคผล ๔ ชั้น ตามหลักของพุทธศาสนาแบ่งโลกุตตรภูมิออกเป็นมรรคผล ๔ ชั้น ด้วยกัน ซึ่งเป็นคำที่ท่านทั้งหลายคงจะเคยได้ยินกันทั่วๆ ไปว่า

ชั้นพระโสดาบัน ชั้นพระสกิทาคามี ชั้นพระอนาคามี และชั้นพระอรหันต์ ความเป็นพระอริยบุคคล ๔ จำพวกนี้ หมายถึงโลกุตตรภูมิในที่นี้

คำว่า “โลกุตตระ” แปลว่า “อยู่เหนือโลก” แต่ภาษาไทยเรา เขียนแผลงจนอ่านไปได้เป็นคำอีกคำหนึ่งซึ่งฟังเขวได้ คำนั้นก็คือคำว่า

“โลกอุดร” ชาวบ้านทั่วๆ ไปใช้คำว่าโลกอุดร และต้องการจะไปจากโลก อุดร แต่คำที่เป็นภาษาบาลีนั้นคือคำว่า โลกุตตระ โลกุตตร = โลก + อุตตร อุตตระ แปลว่า ยิ่ง หรือ เหนือ ฉะนั้น โลกุตตระ จึงแปลว่า ยิ่งไป กว่าโลก หรือ เหนือไปกว่าโลก ส่วนคำที่แผลงไปเป็นโลกอุดรนั้น อาจทำให้เข้าใจผิดว่าโลกทาง ทิศเหนือ คือโลกทางทิศอุดรไปก็ได้ นี่มันทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าเป็น โลกไปเสียอีก ฉะนั้น ต้องระวังให้ดี อย่าไปใช้คำว่าโลกอุดรอย่างที่ชาวบ้าน เขาใช้จะดีกว่า ที่ถูกควรจะใช้คำว่า โลกุตตระ ตามหลักของคำภาษาบาลี ซึ่งไม่มีทางที่จะหลงเข้าใจเป็นโลก แต่อาจเข้าใจได้ว่าเหนือโลก นี่ก็เป็น เรื่องที่ควรจะเข้าใจไว้ด้วยเหมือนกัน 16 คู่มือมนุษย์ ๘ เรื่อง อริยบุคคล กับ การละกิเลส (ลำดับแห่งความหลุดพ้นจากโลก)


ผู้มีกายอยู่ ในโลก แต่ ใจพ้นจากโลก เรียกว่า ตั้งอยู่ ในโลกุตตรภูมิ คำว่า “โลกุตตระ” หรืออยู่เหนือโลกนี้ หมายถึงจิตใจ มิได้ หมายถึงร่างกาย ร่างกายนั้นจะอยู่ในโลกไหนภพไหนที่สมควรกันก็ได้ เช่น อยู่ใน โลกมนุษย์นี้ก็ได้ซึ่งเป็นส่วนใหญ่ หรือจะเกิดในสวรรค์ชั้นเทวโลก พรหมโลกก็ได้ เพราะว่าโลกเหล่านี้เป็นโลกที่พอสมควร สำหรับเป็นที่ตั้งอาศัย ของสัตว์ที่มีจิตอันตั้งอยู่ในโลกุตตรภูมิ ส่วนโลกที่ต่ำไปกว่านั้น เช่น กำเนิด เดรัจฉานหรือนรกเหล่านี้ ไม่ได้เป็นภพที่สมควร นี้เพื่อชี้ให้เข้าใจว่า

ร่างกายจะอยู่ที่ไหนนั้นไม่สำคัญ แต่เอาเป็นหลักเป็นเกณฑ์กันที่ตรงจิตใจ ถ้าจิตใจอยู่เหนือการครอบงำของโลก ซึ่งหมายถึงการอยู่เหนือความครอบงำของกิเลสตัณหา อันเป็นเหตุให้เกี่ยวข้องในโลกทุกๆ โลก ทุกๆ ภพนั่นเอง ก็เรียกว่า “ผู้นั้นตั้งอยู่ในโลกุตตรภูมิ” ตามชั้นตามส่วน ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ๔ ชั้น ดังกล่าวแล้ว

พระพุทธเจ้าตรัสว่า สัพพะทานัง ธัมมะทานัง ชินาติ การให้ธรรมะเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง ไม่มีทานใดจะยิ่งใหญ่และมีอานิสงส์มากเท่า เพราะการให้ทานด้วยธรรมะ เป็นการช่วยคนให้มีปัญญา ให้เป็นคนดี พ้นทุกข์ มีสุข จึงควรให้ธรรมทาน สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

17


๒. “สังโยชน์ ๑๐” คือ กิเลสเครื่องผูกสัตว์ให้ติดโลก

เมื่อเราศึกษา เรื่องสังโยชน์ ๑๐ ก็เท่ากับศึกษาเรื่อง ตัวเราเอง

เมื่อโลกุตตรภูมิแบ่งออกเป็น ๔ ชั้นเช่นนี้ เราต้องรู้ความแตกต่าง ระหว่างชั้นนั้นๆ เพื่อความเข้าใจดีขึ้น เพื่อจะรู้ความแตกต่าง เราก็ต้อง รู้จักสิ่งที่ทำให้เกิดความแตกต่างเป็น ๔ ชั้นเหล่านั้น ซึ่งได้แก่กิเลสต่างๆ ที่ท่านจำแนกไว้สำหรับโลกุตตรภูมิชั้นนั้นๆ จะพึงละให้ขาดไป กิเลสในชั้นนี้ คือตัวกิเลสแท้ หรือตัวกิเลสที่ละเอียด เป็น กิเลสจริงๆ ท่านจำแนกไว้เป็น ๑๐ อย่างด้วยกัน เรียกโดยทั่วๆ ไปว่า

สังโยชน์ คำว่า “สังโยชน์” นี้ สัง แปลว่า พร้อม โยชนะ หรือ โยชน์ นั้น แปลว่ า ผูกพัน จึงแปลว่า ผูกพันเต็มที่อย่างพร้อมพรั่ง

กิเลสเครื่องผูกพัน ๑๐ อย่างนี้ ผูกพันคนทุกคนหรือสัตว์ทั้งหลายทั้งหมดให้ติดอยู่ในโลก คนจึงตกอยู่ในวิสัยของโลกและเป็นโลกียภูมิ ฉะนั้น ถ้าตัดเครื่องผูกพันเหล่านั้นออกไปเสียได้ จิตก็จะค่อยๆ หลุดออกมาจากโลกตามลำดับ เมื่อตัดได้หมดก็เป็นอันว่าจิตหลุดออกมาสู่ความอยู่เหนือโลก เป็นโลกุตตรภูมิโดยสมบูรณ์

18 คู่มือมนุษย์ ๘ เรื่อง อริยบุคคล กับ การละกิเลส (ลำดับแห่งความหลุดพ้นจากโลก)


สังโยชน์มีอัดแน่นในตน แต่ ไม่คิดค้นศึกษาเพราะไม่รู้ ทุกคน มีสังโยชน์ ๑๐ ต้องศึกษาและกำจัด ให้หมดไปนะครับ

แท้ที่จริงแล้วกิเลสที่ผูกพันคนเราอยู่เป็นปรกติธรรมดานั่นเอง

ที่เรียกว่า สังโยชน์ ในที่นี้ แต่เราไม่ศึกษา ไม่สนใจ ไม่เอาใจใส่กัน จึง

ไม่รู้จักและเห็นเป็นของแปลกประหลาดไป ถ้ามีอะไรมาทำให้เราสนใจ หรือศึกษากันมาแต่แรกเริ่มเดิมที จนรู้จักกันมาตั้งแต่เล็กๆ แล้ว การ ศึกษาพระพุทธศาสนาจะเป็นของง่ายอย่างยิ่ง แต่โดยเหตุที่ไม่มีขนบธรรมเนียมให้ศึกษากันเช่นนั้น และไม่มี

ผู้ที่เอาใจใส่ในเรื่องเหล่านั้นด้วยตัวเอง จึงไม่รู้จักสิ่งเหล่านั้นทั้งๆ ที่มี

เต็มอัดอยู่ในตัวอย่างเต็มเปี่ยม และเป็นเครื่องผูกพันตนเองให้ติดอยู่กับ โลกหรือกับความทุกข์ตลอดเวลา

เมื่อเราศึกษาเรื่องสังโยชน์ ๑๐ ประการนี้ ก็เท่ากับศึกษาเรื่องตัวเราเอง ที่เกี่ยวกับตัวเราเองโดยตรง หากแต่ว่าเป็นชั้นลึก เป็นส่วนที่ลึก สมกับที่ท่านเรียกว่ากิเลสชั้นละเอียดเท่านั้น สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

19


สังโยชน์ข้อที่ ๑. “สักกายทิฏฐิ” ความเห็นว่าร่างกายนี้เป็นตน เป็นของตน ถึงเราจะรูปไม่หล่อ แต่เราก็ฉลาดที่สุด อิอิ

ต้องแก้ความหลงผิด ด้วยการพิจารณาร่างกาย ให้เห็นตามความเป็นจริง นะครับ

ในสังโยชน์หรือกิเลสชั้นละเอียดที่ผูกพันเราทั้ง ๑๐ ประการนี้ ประการแรกที่สุดเรียกว่า

“สักกายทิฏฐิ” แปลว่า ความเห็นว่ากายเป็นของตน ได้แก่ ความเข้าใจผิด สำคัญผิด ว่าเป็นตัวเป็นตน ว่าร่างกายนี้เป็นของตน

อย่างที่เคยอธิบายมาแล้วในข้อที่ว่าด้วย อุปาทาน๑ ทุกคน

มีความเข้าใจว่าเราเป็นเรา เหมือนอย่างคำสอนของ Descartes๒ ที่ว่า

“เราคิดได้ เรามีอยู่” หรือว่า “ตัวเราต้องมีอยู่ เพราะเราคิดได้อยู่” ดังนี้ เป็นต้น ความคิดว่า “ตัวเรา” มีอยู่นั่นแหละ คือความสำคัญผิดในที่น ี้ ๑

ติดตามอ่านหัวข้อนี้ได้ใน คู่มือมนุษย์ ฉบับอ่านง่าย เข้าใจง่าย เล่ม ๓ : อุปาทาน ๔ (อำนาจของความยึดติด) โดย สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง ๒ Descartes (เดสการ์ตส์) เป็นนักคณิตศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ และนักปรัชญา ชาวฝรั่งเศส

20 คู่มือมนุษย์ ๘ เรื่อง อริยบุคคล กับ การละกิเลส (ลำดับแห่งความหลุดพ้นจากโลก)


“สักกายทิฏฐิ” คือกิเลสตัวแรกที่ต้องรู้จัก และต้องละเพื่อเอาชนะโลก แต่โดยเหตุที่คนเราทั่วๆ ไป ไม่รู้จักอะไรมากไปกว่าร่างกายหรือ จิตที่เนื่องอยู่กับร่างกาย จึงเหมาเอาของ ๒ อย่างนี้เป็นตัวตน โดย

มีความเข้าใจว่ากายพร้อมทั้งจิตนี้ เป็นตัวตน เป็นเรา เป็นข้าพเจ้า หรือถ้าหลงหนักขึ้นไปอีก ก็เอาร่างกายล้วนๆ เป็นตัว เป็นตน เอาวัตถุล้วนๆ เป็นตัวตน ถึงกับโกรธสิ่งที่ไม่มีชีวิต ถึงกับขว้างปา ทุบตี เอาชนะสิ่งของได้ หรือเด็กๆ เซไปโดนเสา ก็ต้องเตะเสาต่อยเสาแก้แค้น ให้ได้ อย่างนี้เป็นต้น ความรู้สึกตามสัญชาตญาณพื้นฐาน คือสัญชาตญาณมูลฐาน

ว่ามีตัวเรานี้เอง เป็นไปหนักแน่นมาก ถึงกับเอาอะไรๆ เป็นตัวตนก็ได้ ตามความรู้สึกของตน และเรียกว่า สักกายทิฏฐิ ในที่นี้ ทั้งนี้อาจเห็นได้ สืบไปว่า ไม่ว่าใครย่อมมีความสำคัญว่าตัวตนประจำใจอยู่ทั้งนั้น เพราะ เป็นมูลฐานที่จะทำให้ชีวิตมีอยู่ เป็นอยู่ ทำให้ต่อสู้อันตราย ทำให้แสวงหา อาหาร หรือสืบพันธุ์ เป็นต้น

แต่ที่เรียกว่าสักกายทิฏฐิในที่นี้ ประสงค์เอาชั้นหยาบๆ ที่เป็นเหตุให้เห็นแก่ตัวจัดในเบื้องต้นก็พอ จัดเป็นกิเลสตัวแรก ที่ผู้ที่เริ่มรู้จักโลก หรือว่าจะข้ามขึ้นจากโลก จะต้องรู้จักกิเลสตัวแรกตัวนี้ และจะต้องละให้ได้ สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

21


กิเลสนี้เรียกชื่อเป็นบาลีว่า สักกายทิฏฐิ คำ สักกายะ ถ้าแปล ตามตัวหนังสือก็ว่า “กายของตน” และควรจะเข้าใจไว้เสียด้วยว่า คำว่า กาย ในที่นี้ รวมทั้งจิตส่วนพื้นฐานที่ต้องเนื่องกันอยู่กับกายนี้เป็นธรรมดา อีกด้วย หากแต่ท่านเพ่งถึงกายเป็นส่วนใหญ่ เพราะสัตว์ทั่วไปรู้จักกาย ยิ่งกว่าใจ และยึดที่กายรวมๆ กันไป ส่วนคำว่า ทิฏฐิ แปลว่า ทิฏฐิ หรือ ความเห็น สักกายทิฏฐิ จึง แปลว่า ความเห็นว่ากายนี้เป็นของตน อีกอย่างหนึ่งเป็นการจำเป็นที่

เราจะต้องใช้คำบาลีในเรื่องบางประเภท เช่น คำว่า สักกายทิฏฐิ ในที่นี้ เพราะไม่อาจจะเอาคำไทยไปใช้แทนได้ เราต้องอดทนสักหน่อยในการ

ที่จะต้องจดหรือจำคำภาษาบาลี เราควรจะเห็นว่าพระพุทธเจ้าท่านมิได้ทรงเอาเรื่องอย่างอื่น นอกลู่นอกทาง หรือนอกวงนอกขอบเขตมาให้เราศึกษาหรือละกันเล่น หากแต่ท่านได้ทรงชี้ให้เห็น ให้ละสิ่งที่มีอยู่ประจำอยู่แล้วในเราทุกคน ให้มองเห็นแล้วให้ละเสีย สักกายทิฏฐินี้ เป็นกิเลสข้อแรกที่สุดที่ใครๆ จะต้องละเพื่อการเอาชนะโลก

พระพุทธเจ้าตรัสสอนกรรมฐานกองสำคัญสำหรับใช้พิจารณา เพื่อละความ

หลงผิดในร่างกาย คือ กายคตานุสสติกรรมฐาน และอสุภกรรมฐาน พิจารณาร่างกาย

อันประกอบไปด้วยธาตุ ๔ (ดิน น้ำ ลม ไฟ) และ อาการ ๓๒ (ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ตับ ไต ไส้ ปอด อาหารใหม่ อาหารเก่า อุจจาระ น้ำเลือด น้ำหนอง ฯลฯ) เต็มไปด้วยสิ่งปฏิกูล สกปรก โสโครก เป็นรังของโรค เต็มไปด้วยความทุกข์ ความเจ็บป่วย ความหิวกระกาย ต้องดูแล ชำระทำความสะอาดทุกวัน มีความเสื่อมสลาย ต้องตายไปในที่สุด เมื่อพิจารณาร่างกายจนเกิด ปัญญา เราจะเห็นแจ้งตามความเป็นจริงว่า เราไม่ใช่ร่างกาย ร่างกายไม่ใช่เรา ร่างกายไม่ใช่ของเรา ความหลงผิดหรือความยึดมั่นถือมั่นในร่างกายของตนเองและบุคคลอื่นก็จะถูกทำลายจนสิ้นไป

22 คู่มือมนุษย์ ๘ เรื่อง อริยบุคคล กับ การละกิเลส (ลำดับแห่งความหลุดพ้นจากโลก)


สังโยชน์ข้อที่ ๒. “วิจิกิจฉา” ความลังเลสงสัยเพราะไม่รู้แจ้งเห็นจริง นรก-สวรรค์ คงไม่มีจริง อิอิ หากิน กับความงมงายของ ชาวบ้านดีกว่า เฮ้อ...ตายไปคงไม่พ้น นรกอเวจี

สังโยชน์หรือกิเลสชั้นละเอียดข้อที่ ๒ เรียกว่า วิจิกิจฉา

“วิจิกิจฉา” ในที่นี้ หมายถึง ความสงสัย คือความรู้มีไม่เพียงพอ เป็นเหตุให้สงสัยลังเล ไม่กล้าหาญ ไม่แน่ใจ ความลังเลสงสัยในที่นี้ ส่วนใหญ่ที่สุดประสงค์เอาความสงสัยลังเล ในเรื่องการปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์

หรื อ ถ้ า ลดลงมาก็ คื อ ความสงสั ย ในความดี ค วามงามความ ยุติธรรมอะไรต่างๆ ที่ว่าส่วนใหญ่หมายถึงความลังเลในเรื่องความพ้น ทุกข์นั้น หมายถึง ลังเลเพราะไม่รู้ สงสัยก็เพราะไม่รู้แจ้ง และลังเลสงสัย ว่าเรื่องนี้มันยังไงกันแน่ เป็นเหตุให้ไม่แน่ใจในการที่จะปฏิบัติให้พ้นทุกข์ ว่ามันเป็นของที่เหมาะสมแก่ตนหรือไม่ ตนจะทำได้หรือไม่ มันดีกว่า

สิ่งอื่นจริงหรือไม่ ฯลฯ ดังนี้เป็นต้น สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

23


ส่วนเรื่องที่รองลงมาก็เป็นการลังเลในเรื่องความดี ว่าความดีนี้ ยังไงกันแน่ ? ทำดีได้ดีจริงหรือเปล่า ? ดังนี้เป็นต้น บางทีก็ไปเข้าข้างฝ่าย กิเลส ถือเอาการได้แล้วเป็นดี บางทีก็ไปเข้าทางฝ่ายธรรมะ คือเอาความ ถูกต้อง ความจริงนั้นเป็นความดีก็มี แม้ที่สุดแต่หลักเกณฑ์ต่างๆ ที่ตน

จะเข้ายึดถือเป็นเครื่องตัดสินใจในปัญหาต่างๆ ก็ลังเลไม่แน่นอน ความลังเลนี้ยังขยายไปถึงลังเลในศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี หรือในวิชาการต่างๆ ที่ตนถือหรือตนรับปฏิบัติอยู่ตลอดเวลา อย่าง

ในพุทธศาสนา เราก็ลังเลในพระพุทธเจ้า ลังเลในพระธรรม ลังเล

ในพระสงฆ์ การกล่าวอย่างนี้เป็นการกล่าวรวมหมด ถ้าลองปฏิบัติ ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน แล้วจะสิ้นสงสัย ด้วยตัวเองนะคะ

ลังเลในพระพุทธเจ้า คือ ลังเลว่าจะไม่เป็นบุคคล ที่ตรัสรู้ถูกต้องจริง หรือเป็นบุคคลที่หลุดพ้นจากความทุกข์จริง ลังเลในพระธรรม คือ ลังเลในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หรือในการปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้านั้นว่า จะไม่อาจนำไปสู่ความดับทุกข์จริง หรือจะไม่จริงตามนั้น ลังเลในพระสงฆ์ คือ ลังเลในผู้ปฏิบัตวิ ่าผู้ปฏิบัติพ้นทุกข์นั้น คงไม่ปฏิบัติได้จริง หรือไม่อาจมีบุคคลชนิดนั้นในโลกนี้ เพราะเป็นสิ่งเหลือวิสัย เป็นต้น 24 คู่มือมนุษย์ ๘ เรื่อง อริยบุคคล กับ การละกิเลส (ลำดับแห่งความหลุดพ้นจากโลก)


คนคุ้นชินกับโลก จึงลังเลเรื่องเหนือโลก ความลังเลทีอ่ าจถือได้ว่าครอบคลุมความลังเลทั้งปวง ก็คือ ความลังเลในธรรม ได้แก่ ความลังเลในเรื่องความพ้นทุกข์ ลังเลในความดี ลังเลในแบบแผนขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ แม้ที่สุดวิชาความรู้ที่ตนมีอยู่หรือกำลังใช้ปฏิบัติอยู่ก็มีความลังเล มูลเหตุของความลังเลก็คือ ความไม่รู้ หรืออวิชชา ซึ่งก่อให้เกิดกิเลสตัณหาอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นอีกทางหนึ่ง

แล้วกิเลสตัณหานั้นก็คอยดึงกระชากไปทางนั้นอยู่เรื่อย จิตจึง เคยชินแต่ในการไหลไปทางต่ำ เหมือนกับปลาที่เคยชินอยู่แต่ในน้ำ ไม่รู้ เรื่องบก พอพูดเรื่องบก มันก็ไม่เชื่อ ถ้าเชื่อก็เชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่ง เป็นการ ลังเลอยู่เสมอไป คนเราที่จมอยู่ในโลกหรือในกามก็เหมือนกัน เคยชิน

กับกามเหมือนปลาอยู่ในน้ำ เมื่อพูดถึงเรื่องอยู่เหนือกาม เหนือโลก

ก็เข้าใจไม่ได้ ส่วนใดที่เข้าใจได้บ้างก็ลังเล ถ้าเราจะใช้โวหารที่เราเคยใช้ในการศึกษาเล่าเรียนกันโดยมาก ก็กล่าวได้ว่า ความรู้สึกฝ่ายต่ำนั้นมีอยู่เป็นพื้น เป็นวิสัย ส่วนความรู้สึก ฝ่ายสูงนั้นเพิ่งจะก่อรูป การทะเลาะกันระหว่างความรู้สึกฝ่ายสูงกับ ความรู้สึกฝ่ายต่ำนั้นคือการลังเล และถ้ากำลังใจไม่เพียงพอ ในที่สุด ความรู้สึกฝ่ายต่ำมักจะชนะ สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

25


พิจารณาเห็นโทษของความลังเล ก็ละมันได้ง่าย ข้าพเจ้าสิ้นสงสัยแล้ว ทำไมต้องบังคับเรา นั่งสมาธิด้วยนะ

ข้าพเจ้าขอยึด พระรัตนตรัย เป็นสรณะ

เราจะต้อ งเข้าใจต่อ สิ่ง ที่เรี ยกว่า วิ จิ กิ จ ฉา หรื อความลัง เล

ในความดี ซึ่งเป็นของมีประจำอยู่ในคนทุกคนมาตั้งแต่เกิด และสำหรับ บางคนที่ได้รับการอบรมมาผิดๆ อาจจะแรงมากขึ้นทุกปีที่อายุมากขึ้นๆ ว่ามันมีอยู่ในคนทุกคนอย่างไร โดยเฉพาะของเราเอง

เราจะต้องรู้ให้แจ่มแจ้ง คือรู้จักมันให้ดี ถ้าไม่อย่างนั้นก็จะไม่เห็นโทษ และไม่สามารถจะเกลียดมัน ถ้าจะละมัน จะต้องพิจารณาให้เห็นโทษของความลังเล

ซึ่งมีแทรกแซงอยู่ในการงานในชีวิตประจำวัน จนเป็นผู้ไม่อาจจะ ยึดมั่นในความดี ความงาม ความถูกต้อง ความยุติธรรม เป็นต้น ว่ามัน

มีอยู่อย่างไร ยิ่งพิจารณาให้เห็น ก็จะยิ่งเกลียดมันมากขึ้นเองตามลำดับ ซึ่งจะเป็นเหตุให้ละมันได้ง่ายขึ้น นี้คือกิเลสเป็นเครื่องผูกพันสัตว์ให้ติด อยู่กับความทุกข์หรือโลก เป็นข้อที่ ๒

ความสงสัยในคุณพระรัตนตรัยจักสูญสิ้นไป เมื่อผู้ปฏิบัติทดลองปฏิบัติตาม

พระธรรมของพระพุทธเจ้าและพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย รวมถึงใช้ปัญญาพินิจพิจารณา

ในสิ่งที่พระพุทธองค์ตรัสสอนด้วยตนเอง เมื่อปฏิบัติตามแล้วจักรู้แจ้งเองว่าพระธรรม เป็นของจริงไหม ? พ้นทุกข์ได้จริงไหม ?

26 คู่มือมนุษย์ ๘ เรื่อง อริยบุคคล กับ การละกิเลส (ลำดับแห่งความหลุดพ้นจากโลก)


สังโยชน์ข้อที่ ๓. “สีลัพพตปรามาส” การยึดถือศีลและข้อวัตรแบบผิดๆ

เมื่อได้ทำความดี ให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา มีความปีติสุขจริงๆ

ไตรสิกขา ศีล สมาธิ ปัญญา พาพ้นทุกข์ เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน

ทีนี้มาถึงสังโยชน์หรือกิเลสชั้นละเอียดข้อที่ ๓ เรียกเป็นบาลีว่า

“สีลัพพตปรามาส” แปลว่า การจับฉวยศีลและวัตร ผิดความมุ่งหมายที่ถูกต้อง

เรื่องนี้ได้อธิบายไปมากแล้ว เมื่ออธิบายเรื่อง สีลัพพตุปาทาน๑ ในการบรรยายอันว่าด้วย อุปาทาน ๔ ประการ เมื่อกล่าวโดยใจความ

สีลัพพตปรามาสก็คือการติดแน่นยึดมั่นในสิ่งที่ตัวเคยประพฤติปฏิบัติมา ด้วยความเข้าใจผิดในสิ่งที่ตนเห็นว่าดีที่สุดหรือถูกต้องที่สุด ๑

ติดตามอ่านหัวข้อนี้ได้ใน คู่มือมนุษย์ ฉบับอ่านง่าย เข้าใจง่าย เล่ม ๓ : อุปาทาน ๔ (อำนาจของความยึดติด) โดย สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

27


ปฏิบัติแบบพุทธ แต่มีจุดมุ่งหมายอย่างไสยศาสตร์ จัดเป็นสีลัพพตปรามาสด้วย ความเข้าใจผิดในการปฏิบัติเช่นนี้ ส่วนมากที่สุดเป็นเรื่องเกี่ยวกับ ลัทธิศาสนา แต่อาจกินความรวมไปถึงเรื่องที่ไม่ใช่ศาสนาก็ได้ แล้วยึดมั่น ไว้ด้วยความเข้าใจผิด คงปฏิบัติสิ่งนั้นๆ อยู่จนบัดนี้ด้วยความเข้าใจผิด ตัวอย่างเช่น เข้าใจผิดในเรื่องทางไสยศาสตร์ และการปฏิบัติอย่างไสยศาสตร์ต่างๆ ซึ่งไม่อาจเลิกถอนได้ นี้ก็เป็นสีลัพพตปรามาสโดยไม่ต้อง สงสัย แม้เป็นเรื่องของศาสนา เช่น การปฏิบัติตามวิธีที่สอนกันอยู่ใน ศาสนา แต่ถ้าปฏิบัติไปด้วยความเข้าใจผิด ว่าจะเกิดความขลัง เกิดความ ศักดิ์สิทธิ์ เกิดอำนาจศักดิ์สิทธิ์ขึ้นมา แล้วก็คุ้มครองเราได้ อย่างนี้ก็ยัง เรียกว่าเป็นสีลัพพตปรามาสอยู่นั่นเอง ตัวอย่างเช่น

การสมาทานศีลหรือประพฤติวัตรต่างๆ ที่แท้ก็เพื่อจะกำจัดกิเลส แต่ถ้าเข้าใจไปว่าจะทำให้เกิดอำนาจศักดิ์สิทธิ์ เพราะศีลหรือวัตรปฏิบัตินั้นๆ เช่น จะเป็นคนมีวาจาศักดิ์สิทธิ์ มีการเหาะเหินได้ มีอำนาจพิเศษต่างๆ หรือให้เกิดความขลังมาก่อน แล้วใช้ความขลังนั้นตัดกิเลสได้ อย่างนี้เป็นต้น ความยึดถืออย่างนั้นก็ยังเป็นสีลัพพตปรามาสอยู่นั่นเอง แม้ว่าตนจะกำลังปฏิบัติครบถ้วนตามสิกขาบท ที่ระบุอยู่ในวินัยทั้งหมดก็ตาม 28 คู่มือมนุษย์ ๘ เรื่อง อริยบุคคล กับ การละกิเลส (ลำดับแห่งความหลุดพ้นจากโลก)


ปฏิบัติดี แต่ยึดถือแบบงมงาย ก็กลายเป็นสีลัพพตปรามาส

ข้อนี้หมายความว่า

การปฏิบัติอย่างเดียวกันเหมือนกันแท้ แต่ถ้ามีอำนาจความเข้าใจผิด ยึดมั่นถือมั่นในทำนองไร้เหตุผล หรือกลายเป็นของขลังของศักดิ์สิทธิ์ไปแล้ว ย่อมเป็นสีลัพพตปรามาสไปทั้งสิ้น

เกี่ยวกับเรื่องนี้แม้คนที่เป็นมหาเปรียญสูงๆ ก็ยังถือเอาความหมาย ของคำว่า สีลัพพตปรามาส นี้แคบเกินไป โดยถือเอาแต่ตามที่อรรถกถา บางแห่งกล่าวไว้ ว่าได้แก่การประพฤติปฏิบัตินอกรีตนอกรอยของพุทธศาสนา เช่น ของพวกเดียรถีร์ต่างๆ เช่น การนอนบนหนาม การถือปฏิบัติ อย่างวัว อย่างสุนัข โดยเข้าใจว่าจะเกิดการหมดกิเลส อย่างนี้เป็นต้น ถ้าถือเอาใจความแคบๆ เช่นนั้นก็จะกลายเป็นว่า คนทั่วไปก็ไม่มี ใครที่มีสีลัพพตปรามาสเลย เพราะตามปรกติก็ไม่มีใครประพฤติอย่าง สุนัขอย่างวัวอยู่แล้ว แต่ถ้าจะพิจารณาดูให้ชัดเจนละเอียดทั่วถึงดีแล้ว จะเห็นได้ว่า ความมุ่งหมายอันแท้จริงของท่าน มุ่งหมายถึงการปฏิบัติ ยึดมั่นถือมั่นด้วยอำนาจของความเข้าใจผิด หรือไร้เหตุผลทุกชนิดทีเดียว แม้การปฏิบัติในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าโดยตรง ถ้าทำไป ด้วยความเข้าใจผิด ยึดมั่นเป็นเรื่องขลังเรื่องศักดิ์สิทธิ์ไปแล้ว ก็เป็น เรื่องสีลัพพตปรามาสด้วยกันทั้งดุ้น สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

29


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.