พระธรรมนำ�ทาง เดินตามพระไม่มีวันหลงทาง
................................................................................... ................................................................................................. ................................................................................................. ................................................................................................. ................................................................................................. ................................................................................................. ................................................................................................. ................................................................................... ข้าพเจ้าขอตั้งจิตอุทิศผล
บุญกุศลนี้แผ่ไปให้ไพศาล ถึงบิดามารดาครูอาจารย์ ทั้งลูกหลานญาติมิตรสนิทกัน คนเคยร่วมทำ�งานการทั้งหลาย มีส่วนได้ในกุศลผลบุญฉัน ทั้งเจ้ากรรมนายเวรและเทวัญ ขอให้ท่านได้กุศลผลนี้เทอญ
พระธรรมนำ�ทาง
บรรณาธิการสาระ : ศักดิ์สิทธิ์ พันธุ์สัทธ์ สรรค์สาระ : มนิจ ชูชัยมงคล ออกแบบปก : อนุชิต คำ�ซองเมือง ออกแบบรูปเล่ม : ธเนษฐ สัคคะวัฒนะ ภาพประกอบ : ชิชกาน ทองสิงห์ พิสูจน์อักษร : อรทัย คำ�แพง, หนูคล้าย กุกัญยา ISBN : 978-616-268-169-1 พิมพ์ครั้งแรก : มิถุนายน 2558
สร้างสรรค์และลิขสิทธิ์ บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด 105/95-96 ถนนประชาอุทิศ ซอย 45 แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ 10140 โทร./แฟกซ์ 02-872-7667 เชิญร่วมเผยแผ่เป็นธรรมทาน
สาขาทุง่ ครุ : โทร. 02-872-9191, 02-872-8181, 02-872-7227, 02-872-9898 สาขาสำ�ราญราษฎร์ : โทร. 02-221-1050, 02-221-4446 LC2YOU@GMAIL.COM, LC2YOU@HOTMAIL.COM
WWW.LC2U.COM, WWW.พุทธะ.NET
พิมพ์ที่
: หจก. แอลซีพี ฐิติพรการพิมพ์
105/66-67 ถนนประชาอุทิศ ซอย 45 แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ 10140 โทร./แฟกซ์ 02-872-9577 www.thitiporn.com
พระพรหมมังคลาจารย์ (หลวงปู่ปัญญานันทะ)
ค�ำน�ำ เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นสิ่งที่ธรรมชาติก�ำหนดมาส�ำหรับชีวิตมนุษย์ ทุกรูปนามโดยเท่าเทียมกัน ดังค�ำบาลีที่ว่า “มรณธมฺโมมฺหิ มรณํ อนตีโต (มะระณะธัมโมมหิ มะระณัง อะนะตีโต) เรามีความตายเป็นธรรมดา จะล่วงพ้น ความตายไปไม่ได้” ธรรมชาติของน�้ำ คือ ความเหลว ธรรมชาติของคน คือ ความตาย แม้วา่ ความตายจะเป็นสิง่ ทีม่ นุษย์กลัวกันมาก แต่กไ็ ม่เคยมีใครหลีกหนีพน้ ฉะนั้น เมื่อมนุษย์ทุกคนมีความตายเป็นของคู่กับการเกิดจึงไม่ควรเกรงกลัวกับ ความตายจนเกินเหตุ แต่สิ่งที่ควรค�ำนึงคือการกระท�ำเมื่อยังมีชีวิตอยู่ หนังสือ พระธรรมน�ำทาง เล่มนี้ เป็นพระธรรมเทศนาของพระพรหมมัง คลาจารย์ (หลวงปูป่ ญ ั ญานันทะ) ทีแ่ สดงไว้เมือ่ ครัง้ ยังมีชวี ติ อยู่ เป็นบทธรรมเทศนา ทีเ่ ทศน์สอนเตือนสติในการใช้ชวี ติ ให้ถกู ต้องดีงาม เพือ่ เป็นประโยชน์สขุ ทัง้ แก่ตน และคนรอบข้าง ตลอดสังคมประเทศชาติ ในการจัดพิมพ์ครัง้ นีไ้ ด้จดั วรรคตอน ท�ำย่อหน้า ใส่สเี น้นค�ำ ตัง้ หัวข้อใหม่ และวาดภาพประกอบเพือ่ อ�ำนวยความสะดวกแก่ผอู้ า่ นให้เข้าใจในเนือ้ หาธรรมได้ เร็วขึน้ ประหยัดเวลาและได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ ในส่วนเนือ้ ความทีเ่ ป็นเนือ้ พระ ธรรมเทศนานัน้ ได้คงไว้ตามต้นฉบับเดิมมิได้ดดั แปลงแต่อย่างใด ความดีทเี่ กิดจาก หนังสือเล่มนีข้ อยกถวายให้พระเดชพระคุณพระพรหมมังคลาจารย์ (หลวงปูป่ ญั ญานันทะ) หากมีขอ้ ผิดพลาดอันใดเกิดขึน้ ข้าพเจ้าขอน้อมรับ ไว้เพือ่ ปรับปรุงแก้ไขใน ล�ำดับต่อไป ด้วยจิตคิดปรารถนาดี สรรค์สาระ
เมื่อเรียกว่าท่านผู้จะต้องตาย คนที่ได้ฟังคงจะนึกเคืองในใจว่า พระคุณเจ้าท่านมาแช่งเราเสียแล้ว ในการทีม่ าเรียกว่าท่านผูจ้ ะต้องตาย ความจริงนั้นเราทุกคนก็จะต้องตายด้วยกันทั้งนั้น ทั้งผู้ฟัง ทั้งผู้ แสดงปาฐกถาก็จะต้องตายด้วยกันทุกคน หนีความตายไปไม่พ้น แต่ถา้ ใครมาพูดว่า “คุณนีไ่ ม่ชา้ จะต้องตาย” จะไม่มใี ครชอบสัก คนเดียว ก็เพราะว่าคนเราต้องการจะอยู่ในโลกนานๆ ไม่อยากตาย ตามปกติคนเราไม่ต้องการความทุกข์ ความเดือดร้อน และไม่ อยากตาย การอยู่ในโลกนั้นมันยุ่ง แต่เราก็อยากจะอยู่นานๆ อันนี้เป็น เรื่องความต้องการของมนุษย์ เพราะฉะนั้น เมื่อได้ยินเสียงทักทายว่า “ท่านผู้จะต้องตายทั้ง หลาย” ญาติโยมก็อย่าไปโกรธไปเคือง แต่ให้เข้าใจว่าท่านเตือนให้เรา ทั้งหลายรู้เนื้อรู้ตัวว่า เรานี้จะต้องตายสักวันหนึ่ง แต่ว่าก�ำหนดไม่ได้ว่า จะต้องตายวันไหน
ตาย-เกิด เป็นของคู่กัน วันนี้เรามาประชุมกันที่ฌาปนสถานแห่งนี้ ก็มาประชุมกัน เนือ่ งจากเรือ่ งเกิดเรือ่ งตาย เพราะมีเรือ่ งเกิดก่อนแล้วจึงมีเรือ่ งตายตามมา เรามาประชุมกันด้วยเรือ่ ง ๒ ประการนี้ แต่โดยมากเรามักจะพูดแต่เรือ่ ง ตาย ไม่ได้พดู โยงไปถึงเรือ่ งของการเกิด ความจริงการตายนัน้ มันเนือ่ งมา จากการเกิด ถ้าไม่มกี ารเกิดก็ไม่มกี ารตาย แต่เวลาใดมีเรือ่ งการตายก็พดู แต่เรือ่ งเฉพาะหน้า ในเรือ่ งเฉพาะหน้า ในเรือ่ งของการตายประการเดียว ขอให้เราทัง้ หลายเข้าใจว่า “ตาย” กับ “เกิด” เป็นของคูก่ นั เราทุกคนก�ำลังเกิดอยู่และทุกคนก�ำลังตายอยู่ ตายอยู่เกิดอยู่ ตลอดเวลา นับตัง้ แต่ลมื ตาขึน้ ดูโลก เราก็เรียกว่าคนเกิด ความจริงคนนัน้ ก็ตายแล้วในขณะนัน้ การตายการเกิดจึงเป็นของคูก่ นั ตลอดไปไม่มกี าร หยุดยัง้ จนกว่าจะถึงเวลาการเกิดมันหมดไป เพราะว่าเครือ่ งปรุงแต่งมัน ไม่มี ก็เรียกว่าเป็นความตายกันไปตอนหนึง่ ปิดฉากไปตอนหนึง่ ในขณะนี้ เราอยูใ่ นสภาพมาดูคนอืน่ เขาปิดฉาก คือตายไปคนหนึง่ เราทัง้ หลายก็มา ช่วยกัน การช่วยกันในรูปแบบนีเ้ ป็นการกระท�ำตามประเพณี เพราะเรา ทัง้ หลายเป็นผูอ้ ยูใ่ นโลก
หนังสือเล่มนี้บรรจุพระธรรมคำ�สอนของพระพุทธเจ้าและพระอริยสงฆ์
โปรดใช้หนังสือเล่มนี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด คุ้มค่าที่สุด เมื่อไม่อ่านแล้ว กรุณาส่งต่อให้ผู้อื่นเพื่อเป็นการเผยแผ่ธรรมและบำ�เพ็ญทานบารมีแก่ตน
6
พระธรรม น�ำทาง
ไม่มีประเพณีก็เท่ากับไม่มีอารยธรรม คนทีเ่ จริญทัง้ หลายนัน้ ต้องมีประเพณี อันตนจะต้องจัดต้องท�ำ ตามฐานะ คนที่ไม่มีพิธีรีตองหรือไม่มีประเพณีอะไรเลยนั้น ก็มักจะเป็นคนประเภทป่าเถื่อน ที่ยังไม่มีความก้าวหน้า เขาเรียกว่า ไม่มีอารยธรรมเป็นหลักปฏิบัติ
แต่ถ้าเป็นคนที่มีความเจริญพอสมควร ก็ย่อมจะมีระเบียบ ประเพณีอนั ตนจะต้องปฏิบตั ดิ ว้ ยกันทัง้ นัน้ อย่าว่าแต่คนในบ้านในเมือง เลย แม้แต่คนตามป่าตามดง ซึ่งเรียกว่าชาวป่าชาวเขา อันยังไม่เจริญ เหมือนกับพวกเราชาวเมือง เขาก็มขี นบธรรมเนียมประเพณีอนั เกีย่ วกับ การเกิดการตาย โดยเฉพาะในเวลาตายนัน้ เขาก็มปี ระเพณีอนั จะต้องจัด ต้องท�ำกันตามสมควรแก่ฐานะ ใช้เวลาน้อยบ้าง ใช้เวลายืดยาวบ้าง เป็น เรือ่ งทีต่ อ้ งท�ำด้วยกันทัง้ นัน้ บางแห่งก็เผา
บางแห่งก็ฝัง
เกิดมาก็เท่านี้ ไม่มี ใครหนีพ้น บริษัท ส�ำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
7
ศาสนาเกี่ยวเนื่องกับประเพณี คนเราเมื่อเกิดก็ต้องตาย เรื่องเกิดท�ำเรื่องอย่างใด เวลาตายก็ ต้องท�ำเรือ่ งอย่างเดียวกัน ส�ำหรับเราอยูใ่ นบ้านในเมืองมีความคิดความ อ่าน เราจึงต้องจัดพิธีเกี่ยวกับการตายหลายสิ่งหลายประการ พิธีเกี่ยว กับการตายนัน้ มักจะเกีย่ วเนือ่ งกันในทางศาสนา เพราะเป็นเรือ่ งบ�ำเพ็ญ คุณงามความดีตามหลักค�ำสอนในทางศาสนา ทุกๆ ศาสนามีประเพณี เกี่ยวกับการตายทั้งนั้น
ความจริงพระพุทธศาสนาของเรานั้น เรื่องประเพณีมีน้อย มุง่ การปฏิบตั ธิ รรมเป็นส่วนใหญ่ แต่วา่ ศาสนาอยูก่ บั คน คนอยูใ่ นสังคม เรือ่ งเกีย่ วกับสังคมนี้ ก็ตอ้ งมีเรือ่ งปฏิบตั ติ อ่ กันเพือ่ เป็นการผูกมิตรไมตรี กัน เพือ่ แสดงออกซึง่ ความรูส้ กึ ในทางจิตว่าเราได้มสี ว่ นเกีย่ วข้อง มีความ สัมพันธ์กับบุคคลนี้ในรูปอย่างใด เราจึงได้ประพฤติตามประเพณีที่ได้ เคยกระท�ำกันมาโดยเฉพาะผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนา 8
พระธรรม น�ำทาง
ฟังสวดด้วยอาการอันสงบ
เมือ่ มีการตายเกิดขึน้ เราก็นมิ นต์พระมากระท�ำพิธใี นทางศาสนา นับตัง้ แต่เริม่ สวดพระอภิธรรมบ้าง การเทศนาบ้าง การสนทนาธรรมกัน ในงานศพนั้นบ้าง อันการกระท�ำในรูปดังที่กล่าวนี้ ก็เป็นไปในรูปของ การศึกษา ในรูปของการปฏิบัติ ในรูปของการเผยแผ่ธรรมแก่คนที่ ยังไม่รู้ไม่เข้าใจ ให้เกิดความรู้ความเข้าใจนั้นเอง เช่น การนิมนต์พระมา สวดพระอภิธรรม ความจริงเวลาพระท่านสวดพระอภิธรรมนั้น เราฟังไม่รู้เรื่อง เพราะพระท่านสวดเป็นภาษาบาลี แต่ถึงจะฟังไม่รู้เรื่อง พอพระท่าน ขึ้นว่า นะโม... เราทุกคนนั่งอยู่ในอาการสงบ พนมมือเรียบร้อย ไม่มี การพูดการคุยกัน เว้นแต่พวกขี้เมาบางคน ที่เล่นหมากรุกก็ไม่เลิกเล่น คุยกันก็ไม่เลิกคุย พวกนั้นเป็นพวกนอกวงนอกบัญชี เขายกเว้นให้พวก หนึ่ง แต่พวกที่อยู่ในวงหรือว่าในบัญชีนั้น โดยมากเมื่อพระเริ่มสวด “นะโม” ก็นั่งด้วยอาการสงบเรียบร้อย บริษัท ส�ำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
9
บาปไม่เกิด เมื่อจิตเกิดสมาธิ อาการที่นั่งสงบนั้น เราได้ความสงบในทางวาจา ใจของเราก็ จดจ่ออยู่กับเสียงของพระ พระท่านสวดไป หูเราก็ฟังเสียงนั้น เอาเสียง นั้นเป็นอารมณ์ ไม่ให้ใจฟุ้งซ่านไปในเรื่องอื่น ให้อยู่กับเสียงที่พระท่าน สวดตลอดเวลา การกระท�ำในรูปเช่นนั้นก็เป็นการปฏิบัติในด้านสมาธิ คือการกระท�ำสมาธิ คนเราถ้าใจเป็นสมาธิก็ย่อมจะเกิดความรู้บางประการ แล้วก็จะได้ความสงบทางใจ ในขณะที่จิตเป็นสมาธิ อยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะในเรื่องเกี่ยวกับธรรมะ บาปไม่เกิดขึ้นกับเราในขณะนั้น
เราก็มีความสุขความสงบทางใจ นี่คือประโยชน์ที่เราได้รับจาก การฟังพระท่านสวดพระอภิธรรม
บุญเกิดจากการฟัง เพราะฉะนั้ น จึ ง ให้ ถื อ เป็ น ธรรมเนี ย มว่ า เมื่ อ พระเริ่ ม สวด พระอภิธรรม เราก็นั่งด้วยอาการสงบตลอดเวลา พระท่านสวดก็ไม่ยาว มีระยะหยุด คือจบไปทีหนึง่ ก็หยุดเสียทีหนึง่ ญาติโยมได้พกั ผ่อนเปลีย่ น อิริยาบถ พระผู้สวดเองก็ได้พักผ่อนเปลี่ยนอิริยาบถด้วยเหมือนกัน แต่ถา้ เรามีความเข้าใจ คือรูค้ ำ� แปล ความหมายของเรือ่ งทีพ่ ระท่านสวด แล้ว เราก็จะได้ความซาบซึ้ง อันนี้ก็เป็น “บุญกิริยา” คือการกระท�ำที่ เป็นบุญส่วนหนึ่งในรูปของการศึกษาและปฏิบัติ สาธุ
อานิสงส์แห่งการฟัง ได้ฟังเรื่องใหม่ ได้ใส่ใจเรื่องเก่า ได้ขัดเกลาข้อกังขา ได้สัมมาทิฏฐิ มีจิตใจผ่องใส
ปริยัติ รู้จัก, ปฏิบัติ รู้จริง, ปฏิเวธ รู้แจ้ง ดำ�รงชีวิตตามพระสัทธรรมเช่นนี้ มีผลทำ�ให้เป็นคน รู้ดี ทำ�ดี มีคุณภาพ (จริงหรือไม่ ? ใคร่พิจารณา) บริษัท ส�ำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
11
ฟังธรรมะระงับความโศก การเผยแผ่ธรรมะในงานศพขณะที่ศพตั้งอยู่ในบ้าน นอกจาก การสวดพระอภิธรรมแล้ว บางทีเราก็นมิ นต์พระมาแสดงธรรมด้วย การ แสดงธรรมในงานศพนัน้ ก็เพือ่ จะเอาธรรมะมาระงับจิตใจของเราผูเ้ ป็น เจ้าภาพ เพราะว่าผู้ที่เป็นเจ้าภาพแต่ละคนนั้น มีความเศร้าโศกอยู่ ในใจ มีความทุกข์ มีปัญหา ความเศร้าโศกหรือความทุกข์ทเี่ กิดขึน้ ในใจนัน้ เกิดขึน้ จากอะไร ? ก็เกิดขึ้นจากความยึดถือว่า สิ่งนั้นเป็นตัวเรา เป็นของเรา เช่น เราถือว่า มารดาบิดาของเรา สามีภรรยาของเรา ลูกหญิงลูกชายของเรา สิง่ นัน้ สิง่ นีเ้ ป็นของเรา ความยึดถือในเรือ่ งใดเกิดขึน้ ย่อมเป็นทุกข์เพราะเรือ่ งนัน้ มรณธมฺโมมฺหิ มรณํ อนตีโต เรามีความตายเป็นธรรมดา จะล่วงพ้นความตายไปไม่ได้
เมือ่ มีความนึกความคิดในเรือ่ งอันใดก็ยอ่ มจะมีทกุ ข์ โดยเฉพาะ ความทุกข์ เมื่อจากกันด้วยเรื่องเกี่ยวกับความตายนั้น นับว่าเป็นความ ทุกข์ขนาดหนัก เพราะว่าเมื่อตายแล้วจะไม่ได้เห็นหน้ากันอีก ทุกคนก็ ย่อมมีความทุกข์ทางใจ 12
พระธรรม น�ำทาง
ความทุกข์ คือ โรคเรื้อรัง ความทุกข์นนั้ เป็นโรคอย่างหนึง่ ซึง่ เกิดขึน้ ในใจของใครแล้ว มัก จะเป็นโรคเรื้อรัง ถ้าไม่มีการรักษาเยียวยา โรคนั้นก็มักตั้งอยู่นานๆ เรียกว่า ตรมตรอมใจ แล้วก็มีความทุกข์เรื่อยไปตลอดเวลาเมื่อมีความ คิดถึงบุคคลนั้น เช่น ได้เห็นที่นั่งก็เป็นทุกข์ ได้เห็นที่นอนก็เป็นทุกข์ ได้ เห็นเครื่องใช้ไม้สอยอันเตือนให้นึกถึงผู้ที่ตายจากไป เราก็มีความทุกข์ เวลากินเคยกินด้วยกัน เมือ่ ขาดไปคนหนึง่ เราก็มคี วามทุกข์ อันเป็นด้วย เรื่องของการยึดติดในเรื่องนั้น ฮือๆ ที่รักไหนบอก จะอยู่ด้วยกันจนวันตาย ท�ำไม รีบด่วนจากไป ทิ้งฉันไว้คนเดียว
พี่เค้าไปดีแล้ว ท�ำใจบ้างเถอะ
ความยึดถือความติดพันนี้ เกิดเพราะเราไม่รู้ชัดตามความเป็น จริงในเรื่องซึ่งควรจะรู้ ควรจะเข้าใจ คือไม่รู้ว่าคนเราเกิดมาแล้วจะต้อง มีการพลัดพรากจากของรักของชอบใจเป็นธรรมดา บริษัท ส�ำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
13
สิ่งที่ควรพิจารณาเป็นประจ�ำ ความจริงพระท่านก็สอนให้เราพิจารณา เช่น อภิณหปัจจเวกขณ์ ๕ ประการ ที่ท่านสอนให้เราพิจารณาว่า เราจะต้องแก่เป็นธรรมดา หนีจากการแก่ไปไม่พ้น เราจะต้องเจ็บไข้เป็นธรรมดา หนีจากความเจ็บไข้ไปไม่พ้น เราจะต้องตายเป็นธรรมดา หนีจากความตายไปไม่พ้น เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจเป็นธรรมดา เราหนีจากเรื่องนั้นไปไม่พ้น เราท�ำสิ่งใดไว้ เราก็ต้องได้รับผลอันเกิดจากการกระท�ำนั้น เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องธรรมดาหนีไม่พ้น พิจารณาให้เห็นตาม ความเป็นจริงนะโยม
อันนี้เป็นบทส�ำหรับพิจารณาเพื่อให้เกิดความรู้แจ้งชัดในเรื่อง นั้นๆ ตามความเป็นจริง เพื่อจะได้ไม่เศร้าโศก อาลัยอาวรณ์มากเกินไป เพราะการเศร้าโศก ท�ำให้เกิดความทุกข์ ต้องเสียน�้ำตา ต้องเหี่ยวแห้ง ใจ บางทีก็รับประทานไม่ได้ นอนไม่หลับ ถ้าเป็นหลายๆ วันก็ท�ำให้อายุ สั้น ท�ำให้ตนไม่สบาย มากเรื่อง 14
พระธรรม น�ำทาง
ธรรมะ เป็นยารักษาโรคทางใจ ฉะนั้นในเวลาที่มีงานศพอยู่ในบ้าน เราจึงนิมนต์พระมาเทศน์ การนิมนต์พระมาเทศน์กเ็ ท่ากับว่า เราเชิญหมอมาช่วยรักษาโรคทางใจ ของเรานั่นเอง เพราะว่าพระธรรมค�ำสอนนี้เป็นยารักษาโรคทางใจ พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทรงค้นพบแล้ววางไว้เป็นบทเป็นแบบ เพือ่ ให้เราน�ำมาใช้แก้โรคทางใจ เราก็ไปหาหมอคือพระให้ชว่ ยจ่ายยาให้ แก่เรา เราจึงได้ฟังธรรมเทศนาในขณะที่อยู่ในงานศพ
การกระท�ำในรูปเช่นนัน้ ก็เป็นการศึกษาเป็นการปฏิบตั ธิ รรมไป ในตัว แล้วก็เป็นการเผยแผ่ธรรมะไปในตัว เพราะในงานศพมีคนหลาย พวกหลายเหล่ามาชุมนุมกัน เมือ่ เขามาแล้วอย่าให้เขามาเปล่า ให้เขาได้ อะไรๆ กลับไปบ้านตามสมควรแก่ฐานะ การกระท�ำอย่างนีจ้ งึ นับว่าเป็น ประเพณีที่ดีงาม อันเราทั้งหลายได้กระท�ำกันอยู่ บริษัท ส�ำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
15
ไม่ควรมีสิ่งเหลวไหล ตัวโง่นะยาย...
รอตัวไหนหนอ
ความจริงในงานศพทัว่ ๆ ไปนัน้ เราควรจะมุง่ เผยแผ่ธรรมะ ปฏิบตั ิ ธรรม ศึกษาธรรมให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ไม่ควรจะมีสิ่งเหลวไหล เข้ามาเจือปนในงานศพ เช่น ความสนุกไม่เข้าเรื่อง หรือเลี้ยงกันให้สิ้น เปลืองด้วยเรือ่ งไม่เป็นเรือ่ งทีไ่ ม่ควรเลีย้ ง หรือว่าการเล่นในเรือ่ งทีไ่ ม่ควร จะเล่นอันนี้เป็นเรื่องท�ำลายเศรษฐกิจ ที่ไม่ได้ประโยชน์ทางใจ เราควรจะมุ่งเอางานศพนั้นเป็นสถานที่ ที่เป็นวัตถุส�ำหรับศึกษาเพื่อให้เกิดปัญญา เกิดความรู้แจ้งชัดในเรื่องของชีวิต ของเราเองตามความเป็นจริง
อันนี้จะเป็นการชอบการควรประการหนึ่ง 16
พระธรรม น�ำทาง
ธรรมทานเป็นสิ่งมีค่า ในพิธีงานศพของเมืองไทยเรานี้ มีประเพณีดีงามอยู่อันหนึ่งคือ เมื่อมีการเผาศพ ก็มักจะมีการพิมพ์หนังสือเพื่อแจกจ่ายให้ผู้ที่มาร่วม ในงานศพ การพิมพ์หนังสือนีเ้ กิดขึน้ ในยุคกรุงรัตนโกสินทร์เรานีเ่ อง ทีไ่ ด้ ท�ำขึ้นก็เพราะเห็นว่าคนไม่มีหนังสือจะอ่าน เมื่อมีงานศพก็ควรจะท�ำ ทานในด้านธรรมะไปด้วย จึงได้พิมพ์หนังสือธรรมะบ้าง หรือหนังสือที่ เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ศิลปกรรม หรือเรื่องอัน ใดอันหนึง่ ทีน่ า่ ศึกษา เราไปในงานศพเราก็ได้หนังสือติดไม้ตดิ มือมาด้วย หนังสือทีไ่ ด้มานัน ้ ควรจะถือว่าเป็นของมีคา่ มีราคา ที่ คณะเจ้าภาพเขาเสียสละ เพื่อให้เกิดปัญญาแก่ผู้ที่ได้รับทุก คน เราก็ควรเก็บหนังสือนั้นไว้ในที่เหมาะที่ควร แล้วควรจะ อ่านให้เกิดความรู้ความเข้าใจ อย่าเอาไปทิ้งๆ ขว้างๆ มันจะ ไม่ได้ประโยชน์อะไร
ในสมัยนีน้ บั ว่าดีขนึ้ มาก ในเรือ่ งหนังสือแจกในงานศพ เพราะมี คนอยากได้ มีคนอ่าน มีคนศึกษา บางทีพิมพ์แล้วไม่พอแจกเพราะคน เอาไปอ่าน คนอื่นเห็นเข้าก็อยากจะได้เลยไม่พอแจก อันนี้นับว่าดีขึ้น เรียกว่าเป็นความเจริญก้าวหนึ่งในด้านการศึกษาธรรมะ ด้วยการพิมพ์ หนังสือแจก
บริษัท ส�ำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
17
พิมพ์หนังสือแจกเป็นธรรมทานในงานศพเป็นเรือ่ งดีงาม อันการพิมพ์หนังสือแจกนั้นควรจะท�ำ แต่ว่าไม่ต้องใหญ่เกินไป เราท�ำตามฐานะ ในงานศพถ้าเราเอาเงินไปจ้างลิเกมาแสดงโรงหนึ่ง ตัง้ พันกว่าบาท แต่ถา้ พิมพ์หนังสือแจกในงาน ๕๐๐-๖๐๐ บาทก็พอแล้ว ก็ได้ประโยชน์คุ้มกัน แล้วก็ได้ประโยชน์สิ้นกาลนานด้วย จึงควรได้ท�ำ กันให้แพร่หลาย
เป็นการเผยแผ่ธรรมะ เผยแผ่วิทยาทานให้คนได้ ศึกษาได้ความรูค้ วามเข้าใจ เป็นเรือ ่ งดีเรือ ่ งงามประการหนึง่ เหมือนกัน
อีกประการหนึ่ง ในขณะที่เรามาประชุมกันในงานศพอย่างนี้ เรามาฟังธรรม โดยเฉพาะในขณะนี้ ไม่เหมือนกับการฟังธรรมในที่ทั่วๆ ไป คือในเวลาอืน่ นัน้ เราก็ฟงั อย่างนัน้ แหละ เพราะไม่มอี ะไรเป็นอารมณ์ ไม่มีข้อเตือนจิตสะกิดใจ เหมือนกับบทเรียนที่ไม่มีของเป็นตัวอย่าง แต่ว่าในศาลาฌาปนสถานหรือในป่าช้าแห่งนี้ เรามีวัตถุเป็น พยานวางอยู่เฉพาะหน้า สิ่งนั้นคือหีบศพ ซึ่งในขณะนี้ก็ได้ยกไปวางไว้ บนเมรุเรียบร้อยแล้ว เราทุกคนก็มารู้เห็นความจริง รู้เห็นมาตั้งแต่บ้าน ว่า เรามาวันนี้เรามาเพื่ออะไร เรามาเพื่อท�ำการเผาศพ เราได้นึกถึงศพ เห็นศพเป็นอารมณ์
รักแผ่นดินไทย ส่งเสริมเด็กไทยให้ได้ใกล้ชิดธรรมะ ด้วยการพิมพ์หนังสือเล่มนี้ แจกเป็นธรรมทานแก่เด็ก โรงเรียน มหาวิทยาลัย ห้องสมุด สถานพยาบาล ร้านค้า โรงแรม ประจำ�บ้าน ฯลฯ เพื่อให้เด็กได้อา่ นเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม สนใจติดต่อ : ๐๒-๘๗๒-๙๑๙๑, ๐๒-๘๗๒-๗๒๒๗
18
พระธรรม น�ำทาง