การให้ทาน ที่ไม่ต้องเสียเงิน
แล้วยังได้นิพพาน
พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)
หนังสือคุณภาพในเครือเลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
การให้ทานที่ไม่ต้องเสียเงินแล้วยังได้นิพพาน โดย : พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)
บรรณาธิการ/รวบรวม : ไพยนต์ กาสี น.ธ. เอก, ป.ธ. ๖, พธ.บ., น.บ. ออกแบบปก/รูปเล่ม : สุกัญญา ศรีสงคราม ภาพประกอบ : อนันต์ กิตติกนกกุล, เทิดเกียรติ ปลูกปานย้อย, ธนรัตน์ ไทยพานิช พิมพ์ข้อมูล : ธนวรรณ ขันแข็ง พิสูจน์อักษร : มานิตย์ กองษา
ISBN 978-616-268-155-4
สร้างสรรค์และลิขสิทธิ์ บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด 105/95-96 ถนนประชาอุทิศ ซอย 45 แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ 10140 โทร./แฟกซ์ 02-872-7667 เชิญร่วมเผยแผ่เป็นธรรมทาน สาขาทุ่งครุ : โทร. 02-872-9191, 02-872-8181, 02-872-7227, 02-872-9898
LC2YOU@GMAIL.COM, LC2YOU@HOTMAIL.COM
WWW.LC2U.COM, WWW.พุทธะ.NET
สาขาสำ�ราญราษฎร์ : โทร. 02-221-1050, 02-221-4446
พิมพ์ที่ : หจก. แอลซีพี ฐิติพรการพิมพ์
105/66-67 ถนนประชาอุทิศ ซอย 45 แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ 10140
โทร./แฟกซ์ : 02-872-9577 www.thitiporn.com
“ค�ำว่า ‘ธรรม’ เพียงค�ำเดียว มีความหมายมากมายหลายประการ แต่ประการที่ส�ำคัญที่สุดนั้น ธรรมะ คือ หน้าที่ ที่มนุษย์จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง ตามกฎของธรรมชาติ ทุกขั้นตอนแห่งวิวัฒนาการของเขา เพื่อความมีชีวิตอยู่อย่างผาสุก ทัง้ โดยส่วนตัวและส่วนรวม หรือทัง้ โลก การพิมพ์หนังสือขึ้นเป็นธรรมทาน ในสมัยที่โลกก�ำลังขาดแคลน ธรรมะอย่างยิ่งเช่นนี้ เป็นสิ่งที่มีเหตุผล และควรแก่การอนุโมทนา จึงขอ อนุโมทนา” “ถ้าในอนาคตกาลนานไกล ยังมีผู้ใดหยิบหนังสือเล่มนี้ขึ้นอ่านอยู่ เพียงใด ก็จะกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้ายังไม่ตาย ยังมีชีวิตอยู่ด้วยกันกับท่าน ทั้งหลายอยู่เพียงนั้น และขอขอบคุณท่านทั้งหลายเหล่านั้นไว้ล่วงหน้า ในเพราะการกระท�ำเช่นนั้น ไว้แต่บัดนี้ ด้วยธรรมะพร และเมตตา อย่างสูงสุดชีวิตจิตใจแก่ท่านทั้งหลาย ตลอดกาลนาน”
ทาน รู้ความหมายจึงให้เป็น ทาน การให้ เป็นหลักธรรมที่เราได้ฟังและได้ปฏิบัติกันบ่อยครั้ง เพราะไม่ว่าไปยังที่ไหน ก็จะมีคนชักชวนให้ท�ำบุญท�ำทานกันอยู่ประจ�ำ และเมื่อพูดถึงการให้ก็สื่อความหมายถึงว่าต้องมีผู้รับ ดังนั้น ท่านจึง แบ่งประเภทของทานเป็น ๓ ระดับ ได้แก่ อามิสทาน การให้สิ่งของ เครื่องใช้, อภัยทาน การให้อภัย, และธรรมทาน การให้ความรู้ แต่ยังมีการให้อีกประเภทหนึ่งไม่ต้องมีผู้ให้ และไม่ต้องมีผู้รับ เป็นการให้ทไี่ ม่ตอ้ งเสียเงินทองอะไร แต่มอี านิสงส์ยงิ่ ใหญ่น�ำไปสูน่ พิ พาน รายละเอียดและวิธีปฏิบัติเป็นเช่นไรนั้นมีค�ำตอบในหนังสือเล่มนี้ หนังสือ การให้ทานที่ไม่เสียเงิน แล้วยังได้นิพพาน เล่มนี้ เป็น ผลงานพระเดชพระคุณพระธรรมโกศาจารย์ หรือหลวงพ่อพุทธทาส แห่งสวนโมกขพลาราม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งพระเดชพระคุณได้ อธิบายความหมายและจุดประสงค์ของทานไว้อย่างครบครันโดยเฉพาะ สุญญตาทานที่เป็นจุดประสงค์หลักของหนังสือเล่มนี้ ท่านอธิบายว่า “สุญญตาทาน คือ เรื่องบริจาคตัวกูของกู หรือความเห็นแก่ ตัวออกไปเสียให้หมด จิตที่ไม่เห็นแก่ตัว อันไม่ใช่ตัวกู ไม่ใช่ของกู เป็นจิตบริสุทธิ์ที่ไม่ได้ถูกยึดถือไว้ด้วยอุปาทาน พระพุทธเจ้าถือว่า จะไม่เกิดทุกข์ซึ่งก็คือ นิพพาน”
หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เมื่อท่านได้อ่านบทความปาฐกถาธรรมของ พระเดชพระคุณหลวงพ่อแล้วนั้น จักพัฒนาตัวท่านไต่ระดับขึ้นสู่การให้ ในขั้นสุญญตาทานในกาลต่อๆ ไป น.ธ.เอก, ป.ธ. ๖, พธ.บ., น.บ. บรรณาธิการสำ�นักพิมพ์ แอล ซี พี เด็กดีมีบุญ
วันนี้ จะพูดเรื่องเกี่ยวกับการให้ทานที่มีในพระบาลีต่างๆ ให้หมด ทุกเรื่อง เพื่อส่งเสริมให้รุดหน้าไปถึงพระนิพพานโดยเร็ว โดยปกติ ทั่วไปเขาถือกัน ว่า เรื่องการให้ท านนี้เป็นเรื่องตื้นๆ คือ เป็นเพียงบันไดไปสู่สวรรค์ นั้นมันหมายถึงการให้ทานอย่างเด็กๆ เพราะการให้ทานชนิดที่จะ เวียนว่ายไปในวัฏสงสารก็มีอยู่ ฉะนั้น ถ้าใครให้ทานเป็น ผลของทานก็จะ ท�ำให้ผู้นั้นไม่เวียนว่ายอยู่ในวัฏฏะ บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
5
ประเภทของทาน
ถ้าเอาเรื่องการให้ทานทั้งหมดมารวมกันเข้าแล้ว ก็แบ่งทานได้เป็น ๒ ชนิดอีกตามเคย คือ ทานชนิดที่ต้องมีผู้รับ และทานที่ไม่ต้องมีใครมารับ ทานที่ให้แล้วจะเวียนว่ายไปในวัฏฏะนั้น เป็นพวกทานชนิดที่ต้อง เสียเงิน และต้องมีผู้รับทั้งนั้น ส่วนทานที่ให้แล้วจะออกไปนอกวัฏฏะนั้น ไม่เสียเงิน และไม่ต้องมี ผู้รับ ทานที่เราคุ้นกัน ทานซึ่งต้องมีผู้รับ ก็คือ นั่นคือมีผู้ให้ ๑ และผู้รับ ๑. วัตถุทาน ให้วัตถุสิ่งของ ๒. อภัยทาน ให้อภัยโทษ และ ๓. ธรรมทาน ให้ธรรมะ ส่วนประเภทที่ไม่ต้องเสียเงิน และไม่ต้องมีคนอื่นมารับนั้น จะขอ เรียกเอาเองว่า สุญญตาทาน ซึ่งท�ำให้ไม่เวียนว่ายไปในวัฏฏะอีกต่อไป ๑ เรียกอีกอย่างว่า อามิสทาน แปลว่า ให้อามิส และค�ำว่า อามิส ในภาษาพระนั้น ท่านมัก
ใช้เป็นค�ำน�ำหน้าค�ำอื่น เพื่อให้ทราบว่า เป็นการให้ที่มีวัตถุสิ่งของเป็นเครื่องประกอบเสมอ เช่น อามิสบูชา บูชาด้วยสิง่ ของมีดอกไม้ เป็นต้น, อามิสปฏิสนั ถาร ท�ำการต้อนรับด้วยสิง่ ของ มีน�้ำข้าวปลาอาหาร เป็นต้น อนึ่ง ค�ำว่า อามิส แปลว่า เหยื่อล่อ, วัตถุเป็นเครื่องล่อใจ ฟังดูน่าหวาดเสียวใจคล้ายกับ อาการของคนตกปลาต้องหาเหยือ่ มาติดเบ็ด ซึง่ พระเดชพระคุณหลวงพ่อพุทธทาส ได้เมตตา ให้ข้อคิดไว้อีกว่า “อามิส ค�ำนี้ แปลว่า เหยื่อ ฟังแล้วน่าขยะแขยง อามิสนี้ หมายถึง ของที่จะกิน ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย แม้แต่ข้าวปลาอาหารนี้ เขาก็เรียก อามิส อามิสทาน เป็นทานที่มีผู้รับหรือต้องมีผู้รับ เพราะฉะนั้นจะต้องมีผู้รับที่ดี แล้วก็ ต้องมีวตั ถุทานทีด่ ี แล้วก็ตอ้ งมีการให้ทดี่ ี นีค่ อื หลักปฏิบตั เิ กีย่ วกับการให้วตั ถุทาน” ๑เสริมค�ำอธิบายโดย... ไพยนต์ กาสี ส�ำนักพิมพ์ แอล ซี พี เด็กดีมีบุญ 6
การให้ทานที่ไม่ต้องเสียเงิน
แล้วยังได้นิพพาน
เหตุใดจึงต้องให้วัตถุทาน
เหตุที่ให้วัตถุทานก็มีอยู่ ๔ อย่าง คือ ปฏิบัติดี มีผู้บูชา ๑. ให้เพราะสงสาร ๒. ให้เพราะเลื่อมใสในผู้ปฏิบัติ ๓. ให้เพื่อบูชาคุณของผู้มีคุณ และ ๔. ให้เพื่อใช้หนี้บุญคุณ การให้ วั ต ถุ ท าน ก็ ต ้ อ งเลื อ กผู ้ รั บ ที่ ส มควรจริ ง ๆ อย่ า ให้ ท านนั้ น มันไปได้แก่คนชั่ว แล้วต้องให้ไปด้วยเจตนาบริสุทธิ์ ไม่ใช่เพื่อตกเบ็ดคนอื่น เพื่อเอามาเป็นพรรคพวก แล้วก็แสวงหาประโยชน์ร่วมกัน อย่างนี้เจตนา ไม่บริสุทธิ์ การให้ก็ต้องเกิดจากการพอใจจริงๆ เมื่อให้เสร็จแล้วก็ยังอิ่มอก อิ่มใจ เวลาที่จะให้ก็ต้องเลือกให้มันเหมาะสม รวมความว่า ต้องเลือกสิ่งของ มันเป็นเวลา ที่ต้องช่วยกัน ขอบใจนะ ต้องเลือกเวลา ครับ ที่ช่วยเหลือกัน เลือกสถานการณ์ เลือกบุคคล เลือกประโยชน์ที่เขาจะได้ ดังพระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า เลือกเฟ้นเสียก่อนแล้วจึงให้ทาน นี้พระ สุคตสรรเสริญ๒ ๒ พืชพันธุ์ธัญญาหาร ถ้ารู้วิธีการปลูก และดินที่จะปลูกก็อุดมสมบูรณ์ดี ย่อมมีความเจริญ
งอกงาม ฉันใด การให้ทานที่บุคคลรู้จักเลือกให้ ก็จักส�ำเร็จประโยชน์โสตถิผลแก่ผู้ท�ำ ฉันนั้น ดังที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อพุทธทาส ท่านได้ให้ข้อคิดไว้ว่า “การให้ทดี่ นี นั้ ต้องมีการเลือกเฟ้น สิง่ ของทีจ่ ะให้กต็ อ้ งเลือกเฟ้นให้ถกู ต้องเหมาะสมแล้ว เวลาที่จะให้ก็ต้องเลือกเฟ้นให้เหมาะสม ถ้าเราไม่เลือกเวลาแล้วมันประดังเข้าคนรับทาน เขาจะเอาไปเททิ้ง อย่างการท�ำบุญท�ำทานของเราในบางโอกาส เหลือมากจนไม่รู้จะเอา ไปไหน” ๒ เสริมค�ำอธิบายโดย... ไพยนต์ กาสี ส�ำนักพิมพ์ แอล ซี พี เด็กดีมีบุญ บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
7
ข้อควรระวังเรื่องการให้วัตถุทาน ทั้งนี้ ขอเตือนว่าระวังให้ดี คือการให้วัตถุทานนี้ มันเป็นไปเพื่อเพิ่ม กิเลสก็มี ไม่เป็นไปเพื่อเพิ่มกิเลสก็มี มันอยู่ที่เจตนาหาก�ำไรหรือไม่ ถ้าท�ำบุญบาทหนึ่ง สาธุ...ขอให้... รวยๆ ๓ โดยหวังจะได้วิมานหลังหนึ่ง อย่างนี้เป็นการค้าก�ำไรเกินควร เป็นการให้ทานชนิดที่เป็นไปเพื่อกิเลส คือ เพิ่มความเห็นแก่ตัวให้มากขึ้น มีอุปาทานยึดถือมากขึ้น แล้วก็จะมีความทุกข์มากขึ้น เพราะความยึดถือนั้นๆ ส่วนทานที่ไม่เป็นไปเพื่อกิเลสนั้น คือ ให้ไปเพื่อท�ำลายความยึดมั่น ถือมัน่ ท�ำลายความตระหนี่ ท�ำลายความเห็นแก่ตวั ให้หมดไป เช่น บริจาค ไปโดยคิดว่า จงไปเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นเถิด เราไม่ต้องการอะไรตอบแทน เพราะฉะนั้น มันจึงเป็นไปเพื่อนิพพาน หรือการดับกิเลส แต่ถึงกระนั้นก็อย่า ให้อย่างหลับหูหลับตา เพราะมันจะท�ำให้มคี นขีเ้ กียจมากขึน้ มีคนเอาเปรียบ มากขึ้น ท�ำให้มีอลัชชีในพระพุทธศาสนามากขึ้น ๓ การท�ำคุณความดีแล้วตัง้ จิตจบอธิษฐานนัน้ เป็นของคูก่ นั กับการท�ำบุญของคนไทย อย่างไร
ก็ตามที เนื้อหาของค�ำอธิษฐานนี้ ก็ควรจะสมส่วนกับความดีที่ท�ำ มิเช่นนั้นจะเป็นเหมือน การค้าก�ำไรเกินงาม ดังค�ำที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อพุทธทาส ท่านได้ให้ข้อคิดไว้ว่า “การให้ทานชนิดที่เป็นไปเพื่ออาสวะ คือเพิ่มความเห็นแก่ตัวให้มีมากขึ้น เขาก็มิได้ ต�ำหนิว่าผิดอะไรนัก แต่ระบุให้เห็นว่า นี้เป็นอาสวัฏฐานียะ คือที่ตั้งแห่งกิเลสแห่งอาสวะ ที่มาก เมื่อก่อนเรายึดถือน้อย ทีนี้พอได้ผลมากเข้าก็เลยยึดถือมาก ก็กลับจะมีความทุกข์ เพราะความยึดถือมาก” ๓ เสริมค�ำอธิบายโดย... ไพยนต์ กาสี ส�ำนักพิมพ์ แอล ซี พี เด็กดีมีบุญ 8
การให้ทานที่ไม่ต้องเสียเงิน
แล้วยังได้นิพพาน
อภัยทาน เป็นการให้ทสี่ งู กว่าวัตถุทาน อภั ย ทาน๔ หมายถึง ให้อภัย อภัยนี้ แปลว่า ไม่ต้อ งกลัว เช่น ให้อภัยโทษ ยอมรับการขมาโทษ การไม่เบียดเบียน ไม่ประทุษร้ายใครทาง ร่างกาย และทางน�้ำใจ หรือแผ่เมตตาจิตอยู่เป็นปกติ อภัยทานนัน้ ไม่ตอ้ งลงทุนสักสตางค์เดียว ถ้าเราสร้างโบสถ์หลังหนึง่ ก็ ต้องเสียหลายแสนบาท แต่ให้อภัยทานนี้ไม่ต้องเสียสตางค์ เป็นเพื่อนกัน เราไม่โกรธ เหมือนเดิมนะ แล้วยังจะมีผลสูงกว่าเสียด้วย กันแล้วนะ เพราะมันท�ำยากกว่าที่จะให้วัตถุ มันเป็นเรื่องจิตใจสูงมากขึ้นไปอีก ถ้ามนุษย์มีการให้อภัยทานซึ่งกันและกัน การเบียดเบียนกันหรือสงคราม ก็จะไม่เกิดขึ้นในโลก ๔ ผู้รวบรวมเคยได้รับค�ำถามจากแฟนหนังสือของเลี่ยงเชียงท่านหนึ่งซึ่งโทรศัพท์มาถามว่า
การให้อภัยจัดเป็นทานหรือไม่ โดยส่วนตัวผู้ถามเข้าใจว่าไม่น่าใช่ เพราะมันไม่เหมือน ให้สิ่งของที่เป็นรูปธรรม หรือการให้ความรู้อันเป็นนามธรรม ซึ่งตอนนั้นก็ให้ค�ำตอบเขาไป สั้นๆ ว่า ถ้าลองขึ้นชื่อว่าเป็นการให้แล้ว ก็ต้องจัดเป็นทาน แล้วสาธยายไปตามที่เข้าใจก็ ไม่ทราบว่าผู้ถามจะได้รับความกระจ่างมากน้อยแค่ไหน แต่พอได้อ่านค�ำที่พระเดชพระคุณ หลวงพ่อพุทธทาสให้ข้อคิดไว้นี้ จึงหวนร�ำลึกถึงค�ำถาม เลยน�ำมาลงเพิ่มเติมให้เข้าใจ ซึ่งหลวงพ่อพุทธทาสท่านกล่าวไว้ว่า “บางคนอาจคิดว่า ให้อภัยนี้ไม่ใช่ทาน นี่มันพูดไปทั้งที่ไม่รู้ การให้อย่างนี้เรียกว่า ให้ทาน เขาเรียกว่า อภัยทาน เป็นสิ่งที่ให้กันได้ ให้ได้ทั้งทางกาย ให้ได้ทั้งทางวาจา ให้ได้ ทั้งทางจิตใจ ทางร่างกาย เขามาขอขมาขออภัยเราก็รับ ทางวาจา บอกอโหสิกรรม ทาง จิตใจ เราก็สลัดความโกรธ ความอาฆาตจองเวร อย่างนี้ก็เรียกว่า อภัยทาน ทั้งนั้น อนึ่ง ขอให้รู้ไว้ว่า คนที่ถือตัว ใครมาขอขมาก็ไม่ยอมให้ แถมท�ำผู้อื่นเดือดร้อนอยู่เรื่อย ไม่รัก ผู้อื่น ไม่เห็นใจผู้อื่น นี่เรียกว่า ไม่มีอภัยทาน” ๔ เสริมค�ำอธิบายโดย... ไพยนต์ กาสี ส�ำนักพิมพ์ แอล ซี พี เด็กดีมีบุญ
บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
9
ธรรมทาน คือการให้ความรูท ้ ท ี่ ำ� ให้พน ้ ทุกข์ ธรรมทาน๕ คือ ให้ธรรมเป็นทาน หมายถึง ความรู้ที่จะท�ำให้พ้น ทุกข์ได้ ไม่คอ่ ยเป็นไปเพือ่ กิเลส นอกจากท�ำไปเพือ่ ความโอ้อวดอยากดัง หรือ หวังประโยชน์ตอบแทน ธรรมทานนี้ ท�ำโดยตรงหรือโดยอ้อมก็ได้ เช่น อาตมาก�ำลังอธิบายธรรมะอยู่อย่างนี้ ทําดีได้ดี ก็เรียกว่าให้ธรรมทานโดยตรง ทําชั่วได้ชั่ว ส่วนผู้ที่ช่วยพิมพ์หรือสนับสนุน กลัวบาปก็ อย่าทํานะโยม การพิมพ์หนังสือธรรมะ ของอาตมาให้มันแพร่หลาย ก็เป็นผู้ให้ธรรมทานโดยอ้อม แต่ก็ถือเป็นบุญเท่ากัน เพราะมีเจตนาเป็นกุศลอย่างเดียวกัน เป็นการ เผยแพร่ธรรมอย่างเดียวกัน แม้ค�ำด่าเพื่อให้เพื่อนมนุษย์เป็นคนดีมีศีลธรรม หายจากความโลภ โกรธ หลงงมงาย หรือให้หมดความเห็นแก่ตัว ก็เป็นธรรมทานเหมือนกัน พระพุทธเจ้าตรัสเองว่า ให้ทุกคนถือว่าค�ำด่าด้วยเจตนาเช่นนี้ เป็นการชี้ ขุมทรัพย์อันมีค่าอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้น ค�ำด่าชนิดนี้จึงเป็นธรรมทาน ถ้าเรา ไม่ได้อาศัยธรรมทานชนิดนี้ เราคงเหลวไหลกว่านี้ คนชั่วในบ้านเมืองจะมี มากกว่านี้ ๕ หลายท่านเคยถามว่า โกหกคนอื่นเพื่อให้เขาท�ำดีจะมีบาปแก่ตนหรือไม่ เมื่อก่อนก็
จะตอบคนที่ถามไปว่า ถ้าบาปก็น่าจะน้อยเพราะเจตนาอ่อน แต่พออ่านเจอค�ำสอนของ หลวงพ่อพุทธทาสในเรื่องนี้ ท�ำให้ได้รู้ว่า เป็นการให้แสงสว่างทางจิตใจ ทางปัญญาแก่ผู้อื่น อีกทางหนึ่ง ดังใจความที่หลวงปู่กล่าวไว้ว่า “แม้แต่ค�ำโกหก ถ้าโกหกด้วยความหวังดี ให้คนประพฤติดี มันก็เป็นธรรมทาน แต่ถ้า โกหกเพื่อลักล้วงเอาประโยชน์ของเขานี้ไม่ใช่ ค�ำโกหกอย่างนี้พาลงไปนรก ส่วนค�ำโกหก ที่ท�ำให้คนบางคนกลับดีได้ นี้เป็นธรรมทานโดยอ้อมชั้นพิเศษ” ๕ เสริมค�ำอธิบายโดย... ไพยนต์ กาสี ส�ำนักพิมพ์ แอล ซี พี เด็กดีมีบุญ 10
การให้ทานที่ไม่ต้องเสียเงิน
แล้วยังได้นิพพาน
ให้นพ ิ พานเป็นทาน ทีนี้อยากจะแถมทานอีกอย่างหนึ่งคือให้นิพพานเป็นทาน หลายคน ชอบพูดว่า ท่านพุทธทาสนั้น ชอบว่าเอาเอง พูดเอาเอง ไม่ใช่เรื่องจริง ไม่ใช่ เรือ่ งมีในคัมภีร์ ฉะนัน้ จึงขอยืนยันว่า ไม่ใช่พดู เอาเองมันอยูใ่ นคัมภีร์ แต่เรียก ชื่อไม่เหมือนกัน ให้นิพพานเป็นทานนี้ ก็คือการท�ำให้คนได้ชิมรสของพระ นิพพาน คือความสงบความเย็นใจ อย่างว่าสวนโมกข์นี้ ได้จัดอะไรไว้หลายๆ อย่าง พอใครมาสวนโมกข์แล้ว ก็เย็นอกเย็นใจ สงบ เย็นใจ เพราะมันลืมเรื่องตัวกูของกู สบายใจ จิตมันเกิดว่าง มันเลยสงบเย็น นี่คือตัวอย่างของการชิมรสพระนิพพาน ถึงจะไม่ใช่นิพพานแท้ นิพพานถาวร นิพพานตลอดกาล แต่ก็มีรสชาติอย่างเดียวกัน คือเย็นใจ สบายใจอย่างบอกไม่ถูก พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ ในบรรดาทาน ทั้งหลายนั้น ธรรมทานชนะทานทั้งหลายทั้งปวง นี่ ! พระพุทธเจ้าท่าน สรรเสริญธรรมทาน๖ ที่เป็นธรรมะจริง และดับทุกข์ได้มากกว่าทานประเภท อื่นๆ ๖ การให้ธรรมทาน หลวงพ่อพุทธทาสแบ่งเป็น ๓ ระดับ คือ ๑) ความรูข้ นั้ พืน้ ฐาน, ๒) ความรู้
ที่ให้แสงสว่างทางวิญญาณ, ๓) ความรู้ที่ท�ำให้สงบเย็น ดังมีใจความว่า “การให้ความรู้พื้นฐาน ก. ข. ก. กา ให้มันรู้จักกิน รู้จักนอน รู้จักอะไร ก็เรียกว่า ธรรมทานขั้นต้น, ทีนี้ให้แสงสว่างแก่จิตใจ ให้ทางเดินของชีวิตถูกต้อง ให้ชีวิตเดิน ถูกทาง อย่างนี้เรียกว่าเป็นธรรมทานแท้, ทีนี้ให้ผลเป็นความสงบเย็นเลย ที่นี่และ เดีย๋ วนีเ้ ลย ก็เรียกว่าให้นพิ พานเป็นทาน รวมทัง้ ๓ ประการนี้ เรียกว่า ธรรมทานทัง้ นัน้ ” ๖ เสริมค�ำอธิบายโดย... ไพยนต์ กาสี ส�ำนักพิมพ์ แอล ซี พี เด็กดีมีบุญ บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
11
สุญญตาทาน ให้ความว่างเป็นทาน ส�ำหรับทานที่ไม่ต้องมีผู้รับ และไม่ต้องเสียเงินนั้น จะต้องวินิจฉัยค�ำ บางค�ำกันเป็นพิเศษเสียก่อน คือ ค�ำว่า ทาน แปลว่า ให้ ค�ำว่า บริจาค แปลว่า สละออกไปรอบด้าน แล้ว ปฏินิสสัคคะ แปลว่า สลัดคืน หรือให้คืน เข้าใจค�ำ ๓ ค�ำนี้แล้ว จะเข้าใจเรื่องสุญญตาทานได้ สุ ญ ญตาทาน นี้ อาตมาตั้ง ชื่อเอาเอง จะหาชื่ออย่างนี้ไม่พบใน พระไตรปิฎก แต่เรื่องราวนั้นมีเยอะแยะไปหมด คือ เรื่องบริจาคตัวกูของกู หรือความเห็นแก่ตัวออกไปเสียให้หมด ทานนี้ ไม่ต้องมีผู้รับ ไม่ต้องรู้สึกว่าตัวเราผู้ให้ คือ ถ้าท�ำได้จริง ท�ำได้ ถึงที่สุด ก็จะไม่มีตัวกูผู้ให้ทาน ถ้าถามว่าเอาอะไรให้ ก็ตอบว่า เอา “ตัวกู” นั่นแหละให้ คือ บริจาค อุปาทานความยึดมั่นถือมั่นว่า นี้เป็นตัวกู นี้เป็นของกูให้หมดไป แล้วมันจะ เหลือแต่ความว่าง คือ อะไรๆ มันก็ไม่ใช่ของเรา เหลือแต่จิตที่ประกอบอยู่ด้วยสติปัญญา จิตที่ไม่เห็นแก่ตัว อันไม่ใช่ตัวกู ไม่ใช่ของกู แต่เป็นจิตบริสุทธิ์ หรือเบญจขันธ์บริสุทธิ์ ที่ไม่ได้ถูกยึดถือไว้ด้วยอุปาทาน ซึ่งพระพุทธเจ้าถือว่าจะไม่เกิดทุกข์เลย ซึ่งก็คือ “นิพพาน” นั่นเอง 12
การให้ทานที่ไม่ต้องเสียเงิน
แล้วยังได้นิพพาน
จงปล่อยวาง แล้วจะไม่ทุกข์
สุญญตาทาน คือ การสละตัวกู ของกู ค�ำว่า บริจาค นี้ มันต้องสละออกไปหมด มันจึงจะเป็นบริจาค ใครบริจาคแล้วยังหวังสิ่งตอบแทน อย่างนี้มันไม่ใช่บริจาค มันเป็นการลงทุนค้าขายหาก�ำไร เป็นบริจาคที่คดโกง การบริจาคนี้ มันต้องท�ำ ด้วยความสุจริตใจจึงจะได้บุญ
ของข้า ทั้งนั้นเลย
ยึดมั่นอย่างนี้ ทุกข์ไปอีกนาน
อนึ่ง ต้องศึกษาธรรมะในชั้นแรกอีกข้อหนึ่งว่า ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นของ ธรรมชาติ และธรรมชาตินี้ไม่ใช่ตัวตนของใคร ธรรมชาติมันปรุงแต่งกันอยู่ ตามธรรมชาติ มีบาลีว่า “สุทฺธธมฺมํ สมุปฺปนฺนํ” เป็นธรรมชาติเกิดขึ้นล้วนๆ “สุทฺธสงฺขารํ สนฺตติ” เป็นการสืบต่อของธรรมชาติล้วนๆ ฉะนั้น ก้อนดิน ก้อนหิน ต้นไม้ เลือดเนื้อ ร่างกาย ชีวิตจิตใจของเรานี้ จึงเป็นการเกิดขึ้น เป็นการปรุงแต่งขึ้นของธรรมชาติล้วน มันจึงไม่เป็นอะไร ของใคร แต่จิตมันโง่ไปยึดถือว่า เป็นตัวตนของตน คือ ความโง่ที่แสนจะโง่ เกิดขึ้นแล้วในใจ แล้วก็ไม่รู้ว่าเป็นความโง่ คิดว่าเป็นความจริง ดังนั้น ความยึดมั่นว่าเป็นตัวกูของกูมันก็เกิดขึ้นในใจ เห็นว่าร่างกาย กับจิตใจนั้นเป็นตัวกู แล้วก็ยังมีอะไรๆ เป็นของกูไปหมด ฉะนั้น เราจะต้อง หัดสละคืนให้ธรรมชาติเป็นล�ำดับๆ ไป บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
13
วิธกี ารให้สญ ุ ญตาทาน ขั้นที่ ๑
สละมานะทิฏฐิอย่างหยาบๆ
ความด อื้ รนั้ จ
อง องห
มานะทิฏฐิจองหองพองขนหยาบๆ นี้ ที่ไม่ยอมใครนี้ สละเสียก่อนเถอะ สละให้ใครก็ไม่มีใครรับ นี้เราก็สละคืนให้ธรรมชาติเจ้าของเดิม ไปเป็นธรรมชาติของกิเลส
มันอยู่ที่ไหนก็ตามใจเราไม่ต้องรู้ สละคืนให้ธรรมชาติ นี่อันที่ ๑ สละ มานะทิฏฐิ ที่ท�ำให้จองหองพองขน เป็นต้น
สละความเห็นแก่ตัว
ความเห็นว่าของกูนี้ เรียกว่า “อัตตนียา” แปลว่า ของกู อะไรที่ว่า ของกูๆๆๆ นั้น เลิกเป็นนกเขากันเสียที ถ้าได้ยินนกเขาขันเมื่อไรละก็ให้รู้ว่ามันบ้า
ต่ วั ็นแก
เห
ค
วาม
ขั้นที่ ๒
เราเอาเสียงนกเขามาเปิดให้ฟังกันบ่อยๆ ให้รู้จักเปรียบเทียบว่า ไอ้ของกูนี้มันบ้า เพียรละความเห็นแก่ตัว ที่เอาเข้ามาข้างตัว ที่ว่าของกูๆ เหมือนนกเขากันเสียก่อน 14
การให้ทานที่ไม่ต้องเสียเงิน
แล้วยังได้นิพพาน
ขั้นที่ ๓
ตําแหน่งหน้าที่ หัวโขนทั้งนั้น
ก็สละอัสมิมานะ
ตัวสุดท้าย คือตัวกูนั่นแหละ ละตัวกู ทีนี้ตัวกูก็อย่าได้มีเลย คือสิ่งที่เรียกว่า “อัตตา” อัตตานี้ เป็นแกนกลางของกิเลส เป็นแกนกลางของความรู้สึกที่ผิดๆ ทั้งนั้น ให้ละอัตตานี้ออกไปเสีย บริจาคออกไปเสีย เหวี่ยงคืนไปให้เจ้าของเดิมคือธรรมชาติเสีย ถ้าสามารถละอัตตาหรือตัวกูเสียได้มันก็เป็นนิพพาน เพราะนิพพาน คือความว่างจากตัวกูว่างจากกิเลส ว่างจากทุกข์ ว่างจากความว่ายเวียน ว่างจากตัณหาอุปาทาน มันจึงเป็นความสงบสุขที่เยือกเย็น เวลาที่ใจของเรา สงบเพราะไม่ถูกปรุงแต่งด้วยอารมณ์เลย นั่นแหละเป็นตัวอย่างของนิพพาน อย่างนี้เรียกว่า สุญญตาทาน แล้วประการสุดท้าย เย็นกาย เย็นใจ เพราะไม่ยึดมั่น
ขั้นที่ ๔
ก็คือ สละนิพพาน สละนิพพานนั่นแหละ ออกไปเสียอีกทีหนึ่ง ไม่ใช่นิพพานเป็นของกู ไม่ใช่นิพพานของนิพพาน ไม่ใช่นิพพานของอะไร นิพพานนั้นเป็นความว่าง และเป็นความว่างอย่างยิ่ง เหลืออยู่แต่ ความว่างอย่างยิ่ง นี้คือผลของสุญญตาทาน หรือทานที่เนื่องด้วยสุญญตา ไปๆ มาๆ ก็ไม่เหลืออะไรให้เหลือแต่ความว่าง บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
15
สุญญตาทาน ไม่เสียเงินและยังได้นพ ิ พาน
ถ้าใครท�ำได้อย่างนี้ ก็ไม่ต้องไปสนใจเรื่องศีล เรื่องสมาธิ เรื่องปัญญา ก็ได้ เพราะมันเป็นศีล เป็นสมาธิ เป็นปัญญาอยู่หมดแล้วในการให้ทาน แบบนี้ การปฏิบตั ธิ รรมมันก็หมดกันแค่นนั้ เพราะมันได้นพิ พานแล้ว ดังนั้น ที่อาตมาอธิบายนี้ จริงหรือไม่จริงก็ลองไปคิดดู มันลัดที่สุดหรือ ไม่ลัด อาตมาว่าเอาเอง หรือพระพุทธเจ้าท่านว่า เพราะพระพุทธเจ้าท่าน ยืนยันเองว่า “เรื่องที่มันเนื่องด้วยสุญญตานั้นแหละ คือเรื่องที่ฉันพูด นอกจากนั้นไม่ได้พูด” (เย เต สุตตันตา = สุตตันตะทั้งหลายเหล่าใด ตถาคตภาสิตะ = อันตถาคตบัญญัติแล้ว คัมภีรา = ลึกซึ้ง คัมภีรัตถา = มีเนื้อความอันลึกซึ้ง เหนือโลก โลกุตตรา = สุญญตัปปฏิสังยุตตา = คือเรื่องที่เนื่องด้วยสุญญตา) ถ้าใครไม่อยากจะท�ำอะไรมาก ไม่อยากเสียเงิน ไม่อยากจะยุ่งยาก ก็ขอให้ทานอย่างที่วา่ นี้เถิด แล้วยังได้นิพพาน และไม่มีทางที่ จะถูกใครเขาหลอกเอาด้วย 16
การให้ทานที่ไม่ต้องเสียเงิน
แล้วยังได้นิพพาน
พระพุทธเจ้าให้ละเหยือ ่ ของโลก ทีนี้ มีพุทธภาษิตบทหนึ่งว่า
อจฺเจนฺติ กาลา ตรยนฺติ รตฺติโย
(อัด-เจน-ติ กา-ลา ตะ-ระ-ยัน-ติ รัด-ติ-โย) แปลว่า เวลาย่อมล่วงไป วันและคืนย่อมล่วงไป ชั้นแห่งวัยย่อมละล�ำดับไป
กาโล ฆสติ ภูตานิ สพฺพาเนว สหตฺตนา
(กา-โล คะ-สะ-ติ พูู-ตา-นิ สับ-พา-เน-วะ สะ-หัด-ตะ-นา) แปลว่า เวลาย่อมกินซึ่งสรรพสัตว์พร้อมทั้งตัวมันเอง
เอตํ ภยํ มรเณ เปกฺขมาโน อถ โลกามิสํ ปชฺชเห สนฺติเปกฺโข
(เอ-ตัง พะ-ยัง มะ-ระ-เณ เปก-ขะ-มา-โน อะ-ถะ โล-กา-มิ-สัง ปัด-ชะ-เห สัน-ติ-เปก-โข)
แปลว่า เมื่อพิจารณาเห็นภัยในความตายเช่นนี้แล้ว พึงหวังความสงบละเหยื่อในโลกนี้เสีย
นี่เป็นค�ำเตือนของพระพุทธเจ้า ส่วนปุถุชนธรรมดาสามัญ แม้พวกเทวดา (คนมีเงิน) กลับแนะน�ำว่า เมื่อมองเห็นภัยในความตายแล้ว ควรรีบกระท�ำบุญอันจะน�ำสุขมาให้ พระพุทธเจ้าแย้งว่า “เรายังไม่ถือว่าการกล่าวอย่างนั้น เป็นการกล่าวที่ถูกต้อง แต่เรากล่าวว่า เมื่อยิ่งเห็นภัยในความตายแล้ว พึงหวังความสงบ โดยละเหยื่อในโลกนี้เสีย” บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
17
บุญ คือเหยือ ่ ล่อ ยิง่ กว่าเหยือ ่ ล่ออย่างอืน ่ สิง่ ทีเ่ รียกว่า บุญ ก็ยงั จัดไว้ในพวกทีเ่ ป็นเหยือ่ ในโลก เพราะเป็นเครือ่ ง ล่อให้บุคคลหลงใหลพอใจด้วยตัณหา หรือความต้องการที่จะไปเกิดในสุคติ หวังความสุขสนุกสนาน หรือสบายอย่างนั้นอย่างนี้
ในบรรดาสิ่งเครื่องล่อใจทั้งหลาย ย่อมไม่มีอะไรล่อใจผู้คนให้หลงใหลมัวเมายิ่งไปกว่าบุญ ดังนั้น ผู้ที่ท�ำอะไรๆ เพื่อหวังเอาบุญนั้น ควรพิจารณาเรื่องบุญกัน เสียใหม่ให้ดีๆ เพราะพระพุทธเจ้าท่านกล่าวว่า
ผู้ใด ก�ำจัดความอยากเสียได้ ผู้นั้น ย่อมกินซึ่งเวลาแทนที่จะถูกเวลากัดกิน ข้อนี้ เป็นธรรมะในขัน้ ทีเ่ ป็นเครือ่ งท�ำให้เราออกไปจากวัฏฏะการเวียน ว่ายตายเกิด หรือน�ำขึ้นสู่ภาวะที่เรียกว่าอยู่เหนือโลกโดยประการทั้งปวง ที่ว่าเวลาครอบง�ำหรือกัดกินคนนั้น หมายความว่า เวลาเป็นเครื่องท�ำให้สัตว์ ให้เดือดร้อนทนทุกข์ทรมาน เมื่อยังไม่ได้สิ่งที่ตนต้องการ ก็ร้อนใจเหมือนกับตกนรก ครั้นได้มาแล้วก็กลัวจะวิบัติพลัดพรากไป และในที่สุดก็วิบัติพลัดพรากไปจริงๆ เพราะอ�ำนาจของเวลา แล้วก็เกิดความทุกข์ขึ้นมาอีก 18
การให้ทานที่ไม่ต้องเสียเงิน
แล้วยังได้นิพพาน
เบื่อจริง เมื่อไหร่จะได้ เลื่อนขั้นเสียที