Dhamma Guide : D.G. : :
/
: : :
ระดมธรรมสันติสุข
คำนำสำนักพิมพ์
ธรรมบรรยายชุด “คูม่ อื มนุษย์” ของพระเดชพระคุณ พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาส อินฺทปญฺโญ) หรือ หลวงปูพ่ ทุ ธทาสภิกขุ แห่ง สวนโมกขพลาราม อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นหนึ่งในผลงานซึ่ง ถือว่าเป็นเพชรน้ำเอกที่ได้รับการยอมรับและเป็นที่นิยมชมชอบจาก ชาวพุทธอย่างกว้างขวาง จนมีการนำไปแปลเป็นภาษาต่างๆ ในหลาย ประเทศ ทั้งนี้ก็เพราะว่าท่านหลวงปู่พุทธทาสภิกขุได้บรรยายเรื่องที่ สำคัญที่สุดที่มนุษย์ทุกคนควรจะต้องรู้ และควรจะต้องปฏิบัติตามให้ จงได้ เพื่อความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบอย่างแท้จริง ธรรมบรรยายชุดนี้ หลวงปู่พุทธทาสได้บรรยายอบรมผู้ที่จะรับ การโปรดเกล้าฯ เป็นตุลาการ รุ่นปี ๒๔๙๙ ณ ห้องบรรยายของเนติบัณฑิตยสภา ระหว่างวันที่ ๒ - ๒๒ พฤษภาคม ๒๔๙๙ รวมทั้งหมด ๑๐ ครั้ง ๑๐ หัวเรื่อง ดังนี้ ครั้งที่ ๑ : ใจความสำคัญของพุทธศาสนา (พุทธศาสนามุ่งชี้อะไรเป็นอะไร) (๒ พ.ค. ๒๔๙๙) ครั้งที่ ๒ : ไตรลักษณ์ (ลักษณะสามัญของสิ่งทั้งปวง) (๔ พ.ค. ๒๔๙๙) ครั้งที่ ๓ : อุปาทานสี่ (อำนาจของความยึดติด) (๗ พ.ค. ๒๔๙๙) ครั้งที่ ๔ : ไตรสิกขา (ขั้นของการปฏิบัติศาสนา) (๘ พ.ค. ๒๔๙๙) ครั้งที่ ๕ : เบญจขันธ์ (คนเราติดอะไร) (๙ พ.ค. ๒๔๙๙) ครั้งที่ ๖ : สมาธิและวิปัสสนาตามธรรมชาติ (การทำให้รู้แจ้ง ตามวิธีธรรมชาติ) (๑๑ พ.ค. ๒๔๙๙)
ครั้งที่ ๗ : สมาธิและวิปัสสนาตามหลักวิชาในรูปเทคนิค (การทำให้รู้แจ้งตามหลักวิชา) (๑๔ พ.ค. ๒๔๙๙) ครั้งที่ ๘ : อริยบุคคลกับการละกิเลส (ลำดับแห่งความหลุดพ้นจากโลก) (๑๗ พ.ค. ๒๔๙๙) ครั้งที่ ๙ : พุทธศาสนากับคนทั่วไป (พุทธศาสนาสอนศิลปะการเป็นคน) (๑๗ พ.ค. ๒๔๙๙) ครั้งที่ ๑๐ : ตุลาการตามอุดมคติแห่งพระพุทธศาสนา (ภาคสรุปความ) (๒๒ พ.ค. ๒๔๙๙) ด้วยทาง สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ ได้เล็ง เห็นถึงคุณค่าและประโยชน์สุขที่ผู้อ่านจะได้รับจึงได้นำธรรมบรรยายชุด “คู่มือมนุษย์” ทั้ง ๑๐ หัวเรื่องมาจัดพิมพ์ใหม่ โดยจัดแยกเป็น ๑๐ เล่ม ตามหัวข้อ เพื่อความสะดวกแก่ผู้อ่านไม่ต้องถือหนังสือเล่มหนา ในการ จัดพิมพ์คู่มือมนุษย์ครั้งนี้ได้เน้นให้เป็นฉบับที่อ่านง่าย เข้าใจง่าย โดยได้ เพิ่มภาพประกอบพร้อมคำการ์ตูน ชูคำเด่น เน้นข้อความ สร้างหัวข้อ หน้า แบ่งวรรคตอน ซอยขึ้นบรรทัดใหม่ หน้าใหม่ ใส่สีสัน เสริมธรรม ให้ผู้อ่านอ่านได้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น เมื่ออ่านไปทีละเล่มทีละหัวเรื่องแล้ว จะทำให้ เราเข้ า ใจหลั ก ธรรมคำสั่ ง สอนและหลั ก ปฏิ บั ติ ที่ ถู ก ต้ อ งทาง พุทธศาสนาเพิ่มมากขึ้นทีละขั้น หนังสือ “คู่มือมนุษย์ ฉบับอ่านง่าย เข้าใจง่าย เรื่อง ใจความ สำคัญของพุทธศาสนา (พุทธศาสนามุ่งชี้อะไรเป็นอะไร)” เล่มนี้ เป็น การนำเสนอใจความสำคัญโดยย่อของพุทธศาสนาอย่างเรียบง่าย และ ชัดแจ้งที่สุดแก่บุคคลทั่วไปทุกประเภท
ดังคำกล่าวของท่านพุทธทาสภิกขุที่ว่า... “ถ้าใครรู้ว่าอะไรเป็นอะไรโดยถูกต้องครบถ้วนลึกซึ้งถึงที่สุด แล้ว คนคนนั้นได้ชื่อว่ารู้พุทธศาสนามากที่สุดเหมือนกัน” ดังนั้นจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเล่มนี้จะช่วยเป็นคู่มือชี้ทาง ให้เราทุกคนได้พบเจอแสงสว่างแห่งชีวติ เพือ่ มุง่ สูเ่ ส้นทางแห่งการดับทุกข์ อย่างสิ้นเชิง สมกับที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ในที่สุด ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ทุกท่าน
สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
มาช่วยกันระดมธรรม นำสันติสุขกันเถอะครับ ทุกๆ คน
โลกเรากำลังวุ่นวาย หากทุกคนมีธรรมะในใจแล้ว โลกเราจะมีแต่ความสงบสุขนะครับ
โปรดใช้เล่มนี้ให้คุ้มสุดคุ้ม & อ่านแล้ว -> แบ่งกันอ่านหลายท่านนะจ๊ะ
อ่านสิบรอบ ระดมสมองคิดสิบหน ฝึกฝนปัญญา พัฒนาการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน จิตมีสติสัมปชัญญะ รู้เท่าทันสรรพสิ่ง ฉลาดใช้ เฉลียวคิด ชีวิตจักสนุก สุข สงบ เย็น เฉกเช่นพระนิพพาน สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ ปรารถนาให้ทุกครอบครัวมีความสุข
กราบนมัสการและกราบสวัสดี ผู้มีบุญทุกท่าน
“มนุษย์ จำต้องมี “คู่มือมนุษย์” ด้วยหรือ??”
หลายๆ ท่ า นอาจจะเกิ ด ความสงสั ย ขึ้ น มาในใจ เมื่ อ ได้ เ ห็ น หนังสือชื่อแปลกๆ เล่มนี้นะครับ “เอ๊ะ!! แล้ว มนุษย์ คืออะไร??” “แล้วเราเป็น มนุษย์ หรือเปล่า??” “เราไม่ใช่ มนุษย์ หรือ??” “คนคือมนุษย์?? มนุษย์ก็คือคนนี่??” หากคุณเข้าใจง่ายๆ แบบนี้แล้วล่ะก็... “หนังสือคู่มือมนุษย์” ของท่านพุทธทาสภิกขุ ฉบับอ่านง่าย เข้าใจง่าย โดย สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
ที่ คุ ณ ถื อ อยู่ ใ นมื อ เล่ ม นี้ จ ะทำให้ ค ำถามของคุ ณ ได้ รั บ ความ กระจ่ างชัดมากขึ้นเรื่อยๆ จนคุณต้องอุทานออกมาว่า... “เราต้องกลับไปเป็น มนุษย์ ให้ได้!!” ในที่สุด
สารบัญ ศาสนา และ ศีลธรรม เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกคน ที่สุดของพุทธศาสนา คือ การสอนให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไร
๘
๑๑
รู้ว่าอะไรเป็นอะไรนั้น คือ รู้สิ่งทั้งปวงตามความเป็นจริง
๑๔
้งหมดในพุทธศาสนา แม้ “อริยสัจจ์ ๔” ๑๙ คำสอนทั ก็สอนให้ร้วู ่าอะไรเป็นอะไร เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา ก็สอนให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไร ๒๗ เป้าหมายในการออกบวชของพระพุทธเจ้า ก็เพื่อจะได้รู้ว่าอะไรเป็นอะไร
๓๑
หลัก “พระไตรลักษณ์” ก็มุ่งสอนให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไร ๓๓ “โอวาทปาฏิโมกข์” ประธานของคำสอนทั้งหมด ๓๗ ก็สอนให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไร
๔๗ ปฏิบัติจนรู้แจ้งว่าอะไรเป็นอะไร คือรู้แจ้งในพุทธศาสนาทั้งหมด ๕๓ “แวะเล่าชาดก” : สูกรชาดก ว่าด้วยหมูท้าราชสีห์ ๖๑ “ธรรมะสวัสดี” : วิธีปฏิบัติเมื่อถูกด่าว่า ใส่ใจ” ๖๘ “เสกมนต์
ศาสนา และ ศีลธรรม สำหรับทุกคน ท่านที่จะเป็นผู้พิพากษาทั้งหลาย
๑.
เป็นสิ่งจำเป็น
ศาสนาและศีลธรรม จำเป็นสำหรับคนทุกประเภท
หัวข้อที่อาตมาได้รับมอบหมาย สำหรับทำการอบรมในที่นี้นั้น เป็นที่ทราบ กันอยู่แล้วว่า คือ “หลักพระพุทธศาสนา, วิธีการปฏิบัติ และศีลธรรม”จากหัวข้อนี้ เราจะเห็นได้ว่ามีการแยกเป็น...
พุทธศาสนา และ ศีลธรรม ทั้งสองหัวข้อนี้ กล่าวได้ว่า เป็นวิชาความรู้ที่จำเป็นแก่บุคคลทั่วไปทุกประเภท และจำเป็น แก่บุคคลที่กำลังจะปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งเป็นหน้าที่สำคัญโดยตรง ของคนทุกๆ ประเภทด้วย แต่สำหรับในวันแรกนี้ อาตมาอยากจะชี้ให้เห็นความแตกต่าง ในระหว่างของสองสิ่งนี้เป็นส่วนใหญ่ เพราะฉะนั้น จึงให้หัวข้อคำอบรม ในวันนี้ว่า “พุทธศาสนานั้นคืออะไร??”
*บรรยายอบรมผู้ที่จะเป็นผู้พิพากษา ณ ห้องบรรยายของเนติบัณฑิตยสภา ๒ พฤษภาคม ๒๔๙๙ ขณะดำรงสมณศักดิท์ ี่ พระอริยนันทุมนุ ี 8 คู่มือมนุษย์ ๑ ฉบับอ่านง่าย เข้าใจง่าย เรื่อง “ใจความสำคัญของพุทธศาสนา”
ศาสนา มีความหมายกว้างขวางกว่า ศีลธรรม
เพื่ อ เราจะได้ เข้ า ใจสิ่ ง ที่ เรี ย กว่ า พุ ท ธศาสนา ให้ ชั ด เจนเป็ น ประการแรก แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังอยากจะทำการเปรียบเทียบเบื้องต้น ใน ระหว่างสิ่งที่เรียกกันว่า “ศาสนา” กับ “ศีลธรรม” พอเป็นหลักประกัน ความปนเปฟั่นเฝือเสียก่อน พอได้ยินคำว่าศาสนา ท่านทั้งหลายก็คงจะ รู ้สึกหรือสันนิษฐานเอาได้ว่า... คำว่า “ศาสนา” มีความหมายเป็นไปได้กว้างหรือลึกกว่า คำว่า “ศีลธรรม”
คำว่า ศีลธรรม หมายถึง ข้อปฏิบัติซึ่งเกี่ยวกับ ประโยชน์สุขในโลกนี้ในชั้นที่เป็นพื้นฐานทั่วไป มากกว่าอย่างอื่น และศีลธรรมเป็นหลักปฏิบัติ ที่กล่าวได้ว่ามีอยู่ตรงๆ กันทั่วๆไปแทบทุกศาสนา ส่วนคำว่า ศาสนา นั้นหมายถึง ระเบียบ วิธีปฏิบัติในขั้นสูง และมีความผิดแผกแตกต่างกัน ออกไปโดยเฉพาะเป็นศาสนาหนึ่งๆ ทีเดียว
ที่ เ ห็ น ได้ ชั ด ๆ ง่ า ยๆ เราจะเห็ น ได้ ว่ า คำว่ า ศี ล ธรรม ย่ อ ม หมายถึง ระเบียบการปฏิบัติเพียงเท่าที่เราจะเรียกได้ว่า เป็นการทำให้ เป็นคนดี เช่น มีศีล มีสัจจะ มีกตัญญูกตเวที มีการปฏิบัติที่ไม่เป็นไปเพื่อ เบียดเบียนตนหรือคนอื่น ตามหลักที่สังคมทั่วๆ ไปต้องการ สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
9
พุทธศาสนาไปได้ไกลกว่าศีลธรรมสากล ถึงกับพ้นทุกข์ได้เด็ดขาด
แต่ เ มื่ อ ได้ ป ฏิ บั ติ ค รบถ้ ว นตามนั้ น แล้ ว คื อ มี ศี ล ธรรมดี แ ล้ ว ปัญหาก็ยังคงมีเหลืออยู่ว่า คนนั้นยังไม่พ้นทุกข์ หรือหมดปัญหาที่เกิดมา จากความเกิดแก่เจ็บตาย ยังไม่พ้นทุกข์ ไม่พ้นจากการเบียดเบียนของ กิ เลส โดยเฉพาะคือ โลภะ โทสะ โมหะ
อำนาจของศีลธรรมได้สิ้นสุดลงเสียก่อนที่จะกำจัด โลภะ โทสะ โมหะ ให้สิ้นไปได้ และไม่สามารถจะกำจัดความทุกข์อันเกิดจากความ เกิดแก่เจ็บตาย เป็นต้นได้ ส่วนขอบเขตหรือหน้าที่ของศาสนานั้น ยังไป ได้ ไกลต่อไปอีก โดยเฉพาะ...
พุทธศาสนาของเราย่อมมุ่งหมายโดยตรงที่จะกำจัดกิเลส คือ โลภะ โทสะ โมหะให้สิ้นเชิง หรือดับความทุกข์ทั้งหลายที่ จะเกิดเป็นปัญหาขึ้นจากความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นต้น ให้ สูญสิ้นไป สิ่งที่เรียกว่าศาสนาไปไกลกว่าศีลธรรมเช่นนี้ จึงเป็นการชี้ให้เห็น ได้ชัดๆ ว่า ศาสนากับศีลธรรมนั้นต่างกันอย่างไร โดยเฉพาะ พุทธศาสนาไปได้ ไกลกว่าศีลธรรมสากลของโลกทั่วๆ ไป อย่างไร
เมื่อเราเข้าใจความแตกต่างระหว่างคำว่า ศาสนา กับคำว่า ศีลธรรม ดังนี้แล้ว เราจะได้สนใจกับสิ่งที่เรียกกันว่า พุทธศาสนา โดย เฉพาะกันสืบไป 10
คู่มือมนุษย์ ๑ ฉบับอ่านง่าย เข้าใจง่าย เรื่อง “ใจความสำคัญของพุทธศาสนา”
๒.
ที่สุดของ พุทธศาสนา คือการสอนให้รู้ว่า อะไรเป็นอะไร รู้ว่าอะไรเป็นอะไร คือ รู้ว่าสิ่งทั่งปวงเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เมื่อตั้งปัญหาว่า พุทธศาสนาคืออะไร อาตมาอยากจะให้คำ จำกัดความหรือบทนิยามที่เหมาะสมแก่ท่านทั้งหลายในที่นี้ ที่สุดว่า...
พุทธศาสนา คือ วิชารวมทั้งระเบียบปฏิบัติ สำหรับจะให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไร เท่านั้นเอง
ผู้ที่จำเป็นจะต้องรับการอบรมทางพุทธศาสนาอาจจะเข้าใจว่า ถ้าอย่างนั้นตัวเองก็เป็นผู้ที่ไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไรไป ดังนั้นหรือ อาตมาก็อยากจะยืนยันว่าเรื่องมันเป็นอย่างนั้นจริงๆ ถ้าใครรู้ว่า อะไรเป็นอะไรโดยถูกต้องครบถ้วนลึกซึ้งถึงที่สุดแล้ว คนนั้นชื่อว่ารู้พุทธศาสนาถึงที่สุดด้วยเหมือนกัน สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
11
เมื่อรู้ว่าอะไรเป็นอะไร ก็เข้าใจพุทธศาสนาได้ง่าย
ขอให้ทำความเข้าใจในคำจำกัดความที่ว่า พุทธศาสนา คือวิชา และระเบียบปฏิบัติสำหรับให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไร ให้มากเป็น พิเศษ ที่ได้วางหลักเกณฑ์ดังนี้ ก็เพื่อประโยชน์ที่จะให้ท่าน ทั้งหลายเข้าใจพุทธศาสนาได้โดยเร็ว หรือโดยง่ายนั่นเอง ไม่ใช่เป็นการเล่นโวหารให้เปลืองเวลา และว่าโดยที่แท้จริงแล้ว ก็เป็นคำจำกัดความที่ถูกต้องที่สุดตามความมุ่งหมาย ของพระพุทธเจ้า หรือของพระพุทธศาสนา คำทีว่ า่ ให้รวู้ า่ อะไรเป็นอะไร นัน้ มีความหมายลึกซึง้ มาก เดีย๋ วนี้ ท่านทั้งหลายลองพิจารณาดูว่า เรารู้จักว่าอะไรเป็นอะไรกันหรือเปล่า แม้แต่จะรู้จักว่า ตัวของตัวเองนั้นเป็นอะไร ชีวิตนี้คืออะไร การงานคือ อะไร หน้าที่หรืออาชีพคืออะไร แม้ที่สุดแต่เงินทองทรัพย์สมบัติ ข้าวของ เกียรติยศชื่อเสียงเหล่านี้คืออะไรก็ตาม ถ้าใครกล้ายืนยันว่ารู้ถึงที่สุดว่า สิ่งเหล่านี้คืออะไร ก็ลองพิจารณาดูให้ดีๆ หรือฟังคำอธิบายดูต่อไปว่า ตามความหมายอันแท้จริงแล้ว สิ่งเหล่านี้คืออะไรกันแน่ 12
คู่มือมนุษย์ ๑ ฉบับอ่านง่าย เข้าใจง่าย เรื่อง “ใจความสำคัญของพุทธศาสนา”
รู้จริง ปฏิบัติถูก ทุกข์ไม่เกิด
ถ้าจะกล่าวโดยโวหารธรรมะว่าใครเป็นผู้รู้ธรรมะแล้ว ก็ต้อง กล่าวว่าเขารู้ว่าสิ่งทั้งปวงคืออะไร คือถ้าผู้ใดรู้ว่าสิ่งทั้งปวงคืออะไร ผู้นั้น จะเป็นผู้รู้พุทธศาสนา ถ้ารู้หมดจนสิ้นเชิง ก็เท่ากับว่ารู้พุทธศาสนาหมด จนสิ้นเชิงได้
เมื่อเรารู้ว่าอะไรเป็นอะไรจริงๆ แล้ว เราย่อมไม่ปฏิบัติผิดต่อสิ่งทั้งปวง แต่ย่อมจะปฏิบัติถูกต่อสิ่งทั้งปวง เมื่อปฏิบัติถูกต่อสิ่งทั้งปวงแล้ว ก็เป็นอันแน่นอนว่าความทุกข์จะเกิดขึ้นไม่ได้
เดี๋ยวนี้เรายังไม่รู้จักสิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่มันเป็นจริงว่ามันเป็น อะไร เราจึงปฏิบัติผิดต่อสิ่งทั้งปวงไม่มากก็น้อย ความทุกข์ก็เกิดขึ้นตาม ส่วน ตัวอย่างเช่น ไม่รู้จักว่าชีวิตนี้คืออะไร หน้าที่การงานคืออะไร เราย่อมปฏิบัติผิดต่อสิ่งเหล่านี้ และความทุกข์ก็ต้องเกิดขึ้นตามส่วนที่ไม่ รู้ การที่รู้ว่า สิ่งทั้งปวงคืออะไรนั้น เป็นเครื่องช่วยให้เราปฏิบัติถูกต่อ สิ่งทั้งปวงโดยตรง สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ 13
๓.
รู้ว่าอะไรเป็นอะไรนั้น คือ รู้สิ่งทั้งปวงตาม ความเป็นจริง เรามีหน้าที่ปฏิบัติให้รู้ว่า สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเป็น “ไตรลักษณ์” อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สาธุ..ครับหลวงปู่ ผมจะนำไปพิจารณา ครับ เมื่อกล่าวถึงการปฏิบัติตามหลักของพุทธศาสนา หรือจะเรียกว่า การปฏิบัติพุทธศาสนาก็ตาม ย่อมเป็นการปฏิบัติเพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงตาม ที่เป็นจริงนั่นเอง เพราะว่าถ้าเราปฏิบัติจนถึงกับรู้ว่า สิ่งทั้งปวงคืออะไร เสียแล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นจะต้องปฏิบัติอะไรอีกต่อไป ขอให้ฟังให้ ชัดเจนหรือให้ดี ในที่ตรงนี้อีกครั้งหนึ่ง ว่า...
14
การปฏิบัติของเรานั้น เราปฏิบัติเพื่อให้รู้ว่า สิ่งทั้งปวงคืออะไร ตามที่เป็นจริงอย่างไร เท่านั้น ถ้าลงได้รู้ในเรื่องนี้แล้วการปฏิบัติก็ไม่จำเป็นอะไรต่อไปอีก คู่มือมนุษย์ ๑ ฉบับอ่านง่าย เข้าใจง่าย เรื่อง “ใจความสำคัญของพุทธศาสนา”
การปฏิบัติทั้งหมดตามหลักพุทธศาสนา มุ่งสอนให้รู้ว่า สิ่งทั้งปวงคืออะไร ตามความเป็นจริง
การปฏิบัติอย่างที่เรียกกันว่า ปฏิบัติศีล สมาธิ ปัญญา ปฏิบัติ กรรมฐานภาวนาอะไรก็ตาม ทั้งหมดนั้น ล้วนแต่มุ่งผลในที่สุด เพื่อให้รู้ ว่าสิ่งทั้งปวงคืออะไร เมื่อรู้ว่าสิ่งทั้งปวงคืออะไรก็ย่อมหมายถึงการบรรลุ มรรคผลชั้นใดชั้นหนึ่งหรือถึงที่สุด เพราะว่าความรู้นั้นเองเป็นตัวทำลาย กิ เลสไปในตัว และเป็นการรู้ผลของการหมดกิเลสไปในตัว
เมื่อรู้ว่าสิ่งทั้งปวงเป็นอะไรจริงๆ แล้ว การเบื่อหน่ายคลายกำหนัดและความหลุดพ้นที่เรียกว่า นิพพิทา๑ วิราคะ๒ และวิมุตติ๓ นั้น ย่อมเกิดขึ้นเองเป็น อัตโนมัติ ไม่ต้องทำความเพียรหรือปฏิบัติอะไรอีกต่อไป เรามีหน้าที่ที่จะทำความเพียรหรือ ปฏิบัติก็แต่ขั้นที่ว่ายังไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไรเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือไม่รู้ว่า สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน
นิพพิทา หมายถึง ความเบื่อหน่าย ในสิ่งต่างๆ ที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็น ตามความเป็นจริงว่าทุกสิ่ง แม้กระทั่งกายและใจที่เราว่าเป็นเรา เป็นของของเรานั้น ล้วน แต่ตกอยู่ในสภาพที่เป็น “ไตรลักษณ์” อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่น่ายึดมั่นถือมั่นทั้งสิ้น ถ้ายึดมั่นถือมั่นแล้วต้องเป็นทุกข์ และเมื่อพิจารณาตามความเป็นจริงจนเกิดปัญญา แก่รอบแล้วก็จะเกิด ๒วิราคะ คือ ความสิ้นกำหนัด เมื่อเกิดความสิ้นกำหนัดก็จะนำไปสู่ ความหลุดพ้น นั่นก็คือ วิมุตติ ๓วิมุตติ คือ ความหลุดพ้น ความพ้นจากกิเลส - D.G. - ๑
สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
15
เมื่อรู้ว่าอะไรเป็นอะไรถึงที่สุด จักหลุดพ้นจากทุกข์
บ้านเมืองวุ่นวาย เรามาพัฒนาใจ ด้วยธรรมะกันเถอะ
ใช่ๆ ถ้าทุกคนรู้ตามความเป็นจริง ว่าสิ่งทั่งปวงเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็จะไม่ทุกข์เหมือนที่เป็นอยู่
ระดมธรรม สันติสุข เรามาช่วยกัน นี่เป็นการกล่าวตามหลักพระพุทธศาสนา เมื่อการปฏิบัติกรรมฐานภาวนานั้ น ได้ เ ป็ น ไปจนกระทั่ ง เกิ ด ความเห็ น แจ้ ง สิ่ ง ทั้ ง ปวงเป็ น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาเด็ดขาดสิ้นเชิงลงไปจริงๆ แล้วนั้น ย่อมหมายถึง ที่สุดของความรู้และการปฏิบัติ เพราะว่าความรู้เช่นนั้นย่อมทำลายกิเลส เองอยู่ในตัว จนหมดไปในตัว เราไม่ต้องทำความพยายามในข้อที่จะให้ ความรู ้นั้นทำลายกิเลส
เราพยายามแต่เพียงให้เกิดความรู้อันนั้นขึ้นมา คือให้เป็น ความรู้ที่รู้ว่าอะไรเป็นอะไรถึงที่สุดจริงๆ เท่านั้น โดยสรุปก็คือ ความรู้ว่าสิ่งทั้งปวงเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตานั่นเอง
เหมือนอย่างเดี๋ยวนี้ เมื่อเราไม่รู้ว่า ชีวิตนี้ หรือสิ่งทั้งปวงนี้ หรือ อะไรๆ ที่เรากำลังหลงรักใคร่ยินดีนี้เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วก็ หลงรักยินดีติดพันยึดถือในสิ่งเหล่านั้น ครั้นเรารู้จริงตามวิธีรู้ของทาง พระศาสนา คือไม่ใช่รู้อย่างวิธีของโลกๆ แต่เป็นการรู้ตามวิธีของพุทธศาสนาโดยเฉพาะ จนมองเห็นชัดว่า สิ่งทั้งปวงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็น อนัตตา ไม่มีอะไรที่น่าผูกพันตัวเราเข้าไปกับสิ่งนั้นๆ จริงๆ แล้วก็จะเกิด ความหลุดพ้นจากสิ่งเหล่านั้นขึ้นมา ดังนี้ 16
คู่มือมนุษย์ ๑ ฉบับอ่านง่าย เข้าใจง่าย เรื่อง “ใจความสำคัญของพุทธศาสนา”
ฉะนั้ น การปฏิ บั ติ จึ ง เป็ น การปฏิ บั ติ เ พี ย งเพื่ อ ให้ รู้ สิ่ ง ทั้ ง ปวง ถูกต้องตามที่เป็นจริง คือ ยิ่งกว่าที่รู้ๆ กันอยู่ตามธรรมดาโลก หรือตาม ที่ตนเข้าใจว่ารู้เท่านั้นเอง
อาตมาขอยืนยันคำจำกัดความข้อนี้ ว่าเป็นคำจำกัดความที่เพียงพอ และเหมาะสมสำหรับท่านนักศึกษาทั้งหลาย จะเอาไปใช้สำหรับดำเนินการปฏิบัติของตน ด้วยการสืบสาววิธีรู้และวิธีปฏิบัติ ให้ออกไปจากหลักที่ว่า เราจะต้องรู้ว่าอะไรเป็นอะไรเท่านั้น
พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอเห็นตามความเป็นจริงจะเกิดความ เบื่อหน่าย เมื่อเกิดความเบื่อหน่ายจึงคลายกำหนัด เมื่อคลายกำหนัดจึงพ้นทุกข์” หน้าที่ ของเราทุกคนก็คือการฝึกการเจริญสติ เจริญวิปัสสนากรรมฐาน คอยตามรู้กายรู้ใจแล มองเห็น “พระไตรลักษณ์” อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในกายในใจ ในทุกอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน จนจิตเกิดความตื่นรู้จากกิเลส และเริ่มยอมรับตามความเป็นจริงว่า ทุกสิ่งนั้น ผ่านไปผ่านมาเพียงแค่ชั่วคราว ทนอยู่ไม่ได้ ต้องเกิดดับไปในที่สุด สิ่งใดที่เราบังคับ ไม่ได้ มันไม่ใช่เรา มันไม่ใช่ของของเรา แม้กระทั่งกายและใจที่เราว่าเป็นเรา เป็นของของ เรา หรือเราบังคับกายและใจของเราให้มีแต่ความสุข ไม่ให้มีความทุกข์ได้ ? ลอง พิจารณากันดู - D.G. – สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
17
เมื่อรู้ว่าอะไรเป็นอะไร เท่ากับรู้ใจความทั้งหมดของพระไตรปิฎก
ถ้าถามขึ้นเป็นคำถามกลางๆ ในที่ทั่วไปว่าศาสนาคืออะไร ก็มี ทางที่ จ ะตอบได้ ม ากทางด้ ว ยกั น จนกระทั่ ง ท่ า นทั้ ง หลายฟั่ น เฝื อ ตัวอย่างเช่น จะถามไปกลางๆ ว่า ศาสนาคืออะไร ดังนี้แล้ว ศาสนากลุ่ม หนึ่ง หรือประเภทหนึ่งก็จะตอบว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ส่งมาจากพระเป็น เจ้า ดังนี้เป็นต้น เป็นคำตอบที่มีมากมายในหลายศาสนาในโลกนี้ ซึ่ง นิ ยมถืออย่างนั้น นิยมตอบอย่างนั้น
แต่สำหรับพุทธศาสนาแล้วไม่มีการกล่าวเช่นนั้นเลย ความรู้ที่ว่า อะไรเป็ น อะไรนี้ จะมาจากใครก็ ไ ด้ ถ้ า เป็ น ความรู้ ที่ ถู ก ต้ อ งว่ า อะไร มาจากอะไรจริงๆ แล้ว ก็เป็นพุทธศาสนาทันที การที่จะไปตอบว่า พุทธศาสนาคือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้นแทบจะไม่มีประโยชน์ เพราะว่า เรายังไม่ได้รับประโยชน์อะไรมากกว่ารู้ว่าเป็นดังนั้นเท่านั้น ถ้าจะถามว่า ทำไมจึ ง ไม่ อ้ า งบาลี ข้ อ นั้ น ข้ อ นี้ ม าตอบเพื่ อ จะชี้ ใ ห้ เ ห็ น ชั ด ว่ า พุ ท ธศาสนาคืออะไร อาตมาก็อยากจะตอบว่า คำกล่าวที่ว่าความรู้ว่าอะไร เป็ น อะไรนั่ น แหละ คื อ ใจความของพระบาลี ห มดทั้ ง พระไตรปิ ฎ ก เพราะเหตุว่า...
หลักคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งพระไตรปิฎก ก็ล้วนแต่เป็นการบ่งระบุ ให้รู้ว่า อะไรเป็นอะไร เท่านั้นเอง
18
คู่มือมนุษย์ ๑ ฉบับอ่านง่าย เข้าใจง่าย เรื่อง “ใจความสำคัญของพุทธศาสนา”
๔.
คำสอนทั้งหมดในพุทธศาสนา แม้ “อริยสัจจ์ ๔*” ก็สอนให้รวู้ า่ อะไรเป็นอะไร
อริยสัจจ์ ๔ ก็มุ่งสอนให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไร ถ้าถือเอาตามหลักที่ท่านทั้งหลายคงจะเคยได้ยินได้ฟังกันอยู่ ทั่วไปแล้วสักอย่างหนึ่งมาอ้างก็ได้ เช่น หลักเรื่อง อริยสัจจ์ ๔ ประการ
อริยสัจจ์ข้อที่ ๑ บรรยายเรื่อง ความทุกข์ที่มีประจำอยู่ ในสิ่งมีชีวิตทั้งปวง อริยสัจจ์ข้อที่ ๒ บรรยายเรื่อง มูลเหตุของความทุกข์ ซึ่งได้แก่ความอยากได้ อยากมี อยากเป็น และอยากไม่ให้มี อยากไม่ให้เป็น อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งรวมเรียกว่า ความอยาก อริยสัจจ์ข้อที่ ๓ บอกถึงความที่ว่า ถ้าดับความอยากเสีย ได้แล้ว ความทุกข์ก็จะต้องดับไปตาม เพราะว่าความทุกข์ย่อม มาจากความอยาก อริยสัจจ์ข้อที่ ๔ บอกวิธีที่จะดับความอยากเสียให้ได้ด้วย วิธีอย่างไร
* พจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน เขียนเป็น อริยสัจ เขียนตามบาลีใช้เป็น อริยสัจจ์ สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
19
วค อื อ รยิ สจั จ
มรรค
นิโรธ สมุทัย
20
,๐๐ ๐พ
๔
ทุกข์
ด๘ ทั้งหม พระธรรม
์๔
ดีย เ ื อ ำม ก ระธรร น ้ ใ ม มขนั ธ์ สรปุ ลงไว้เพียงใบไ
เมื่อถือว่าหลักอริยสัจจ์ ๔ ประการนี้ เป็นใจความสำคัญของพุทธศาสนา
เราก็ควรจะนำมาเปรียบเทียบกับข้อที่อาตมาได้ยืนยันว่า คำจำกัดความของพระพุทธศาสนานั้น คือ “วิชาหรือระเบียบปฏิบัติที่ให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไร” ดูว่าจะลงรูปลงรอยกันได้อย่างไรสืบไป
คู่มือมนุษย์ ๑ ฉบับอ่านง่าย เข้าใจง่าย เรื่อง “ใจความสำคัญของพุทธศาสนา”
อริยสัจจ์ข้อ ๑ บอกให้รู้ว่า สิ่งทั้งปวงเป็นทุกข์ คือ บอกให้รู้ว่า สิ่งทั้งปวงเป็นอะไร
เงินคือทุกอย่างของชีวิต ฉันต้องหาเงินให้ได้เยอะๆ อริยสัจจ์ขอ้ ที่ ๑ ทีแ่ สดงว่า สิง่ ทัง้ ปวงเป็นทุกข์ หรือสังขารทัง้ ปวง เป็ นทุกข์ นี่ก็คือบอกตรงๆ ว่า สิ่งทั้งปวงหรืออะไรเป็นอะไรนั่นเอง
ุทกข์
คำว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ นั่นก็คือคำตอบที่ว่า สิ่งทั้งปวง เป็นที่ตั้งแห่งความทุกข์ แต่สัตว์ทั้งหลายไม่ทราบ ไม่รู้ ไม่เห็น ว่าสิ่งทั้งปวงเป็นความทุกข์ เพราะฉะนั้นจึงได้มีความอยาก อย่างใดอย่างหนึ่งในสิ่งทั้งปวง
ถ้ารู้ว่ามันเป็นความทุกข์ ไม่น่าจะอยาก ไม่น่าจะยึดถือ ไม่น่า จะไปผูกพันตัวเองเข้ากับสิ่งใดแล้ว ก็คงจะไม่อยาก นี่เพราะไม่รู้ว่าอะไร เป็นอะไรโดยถูกต้องตามความเป็นจริงนั่นเอง จึงได้ไปอยากเข้า คือ ปฏิบัติผิดต่อความจริงของสิ่งทั้งปวง สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
21
อริยสัจจ์ข้อ ๒ บอกให้รู้ว่า ความอยากเป็นเหตุให้ เกิดทุกข์ คือ สอนว่า อะไรเป็นเหตุให้เกิดทุกข์
ขอดีๆ ไม่ให้ มันก็ต้องเจอแบบนี้ แม้ อริยสัจจ์ข้อที่ ๒ ที่แสดงว่าความอยากนั้นๆ เป็นเหตุแห่ง ความทุกข์ สัตว์ทั้งหลายก็ไม่ได้รู้ ไม่ได้เห็น ไม่ได้เข้าใจ ว่าความอยาก นี้แหละ เป็นเหตุของความทุกข์ จึงได้พากันอยากนั่น อยากนี่ ร้อย แปดพันประการ และอยากทุกสิ่งทุกอย่างอยู่โดยไม่เห็นว่าความอยากนี้ เป็นที่ตั้งของความทุกข์ เป็นที่เกิดของความทุกข์ นี่ก็เพราะไม่รู้จักตัว ความอยาก ว่าความอยากนั้นคืออะไร นี่ก็เรียกว่ารู้ว่าอะไรเป็นอะไรอีก นั่นเอง สังขาร = สิ่งที่ถูกปรุงแต่งขึ้น หมายถึง สรรพสิ่งทั้งที่มีชีวิต และไม่มีชีวิต รวมถึง ความคิดที่จิตคิดนึกขึ้นด้วย - D.G. – 22
คู่มือมนุษย์ ๑ ฉบับอ่านง่าย เข้าใจง่าย เรื่อง “ใจความสำคัญของพุทธศาสนา”
อริยสัจจ์ข้อ ๓ บอกให้รู้ว่า เพราะไม่รู้จักความดับ ทุกข์คืออะไร จึงไม่มีใครปรารถนาจะดับทุกข์
อย่ามายุ่งกับเงินฉัน ไม่รู้จักปล่อยวางเหรอเจ้าโจร ถูกจับแล้วยังโลภอยู่อีก อริยสัจจ์ข้อที่ ๓ ที่แสดงว่านิโรธ หรือพระนิพพาน คือการดับ ตัณหาเสียให้สิ้น เป็นความไม่มีทุกข์ นั้น สิ่งที่เรียกว่านิโรธหรือนิพพานนั้นก็เป็นสิ่งที่สัตว์ทั้งหลายยิ่งไม่ รู้จักกันใหญ่มากขึ้นไปอีก ทั้งๆ ที่เป็นสิ่งที่อาจจะลุถึงได้ในที่ทั่วๆ ไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ก็หาพบได้ตรงที่มีความอยากและดับมันเสียได้ นั่นเอง นี่ก็คือไม่รู้อะไรเป็นอะไร จึงไม่มีใครปรารถนาที่จะดับความ อยาก หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือไม่ปรารถนาพระนิพพาน เพราะไม่มี ความรู้ว่าอะไรเป็นพระนิพพาน สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
23
อริยสัจจ์ขอ้ ๔ บอกให้รวู้ า่ เพราะไม่รจู้ กั มรรคคือะไร จึงไม่มีใครไปถึงความดับทุกข์ ปล่อยฉัน!! เอาเงินฉันคืนมา!! ที่นี้ก็มาถึง อริยสัจจ์ข้อที่ ๔ อันเป็นข้อสุดท้ายที่เรียกว่า มรรค อันได้แก่วิธีดับความอยากนั้นๆ เสีย ไม่มีผู้ใดรู้เห็นเข้าใจว่า การทำ อย่างนี้เป็นวิธีดับเสียซึ่งความอยากหรือทำตนให้ถึงความดับทุกข์ ไม่มี ใครสนใจเรื่อง อริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ ซึ่งล้วนแต่เป็นการดับเสีย ซึ ่งความอยาก นี้ก็คือว่า ไม่รู้จักว่าอะไรเป็นอะไรอีกนั่นเอง ไม่รู้จักว่าอะไรเป็น ที่พึ่งแก่ตนได้ ไม่รู้จักว่าอะไรเป็นสิ่งที่ควรขวนขวายพยายามอย่างยิ่ง จึง ไม่มีใครสนใจกับเรื่องอริยมรรคอันมีองค์ ๘ ประการของพระพุทธเจ้า ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุดในบรรดาวิชาความรู้ของมนุษย์ เราในโลกนี้หรือโลกอื่นๆ รวมทั้งเทวโลกอะไรๆ ด้วยกันก็ได้ ถ้าหากจะมี 24
คู่มือมนุษย์ ๑ ฉบับอ่านง่าย เข้าใจง่าย เรื่อง “ใจความสำคัญของพุทธศาสนา”
มรรค
นิโรธ
สมุทัย
ทุกข์
ไม่ มี ค วามรู้ อั น ใดที่ จ ะสู ง สุ ด ยิ่ ง ไปกว่ า หลั ก ธรรมที่ เรี ย กว่ า อริยมรรคมีองค์ ๘ แต่แล้วก็ไม่มีใครสนใจในความรู้ข้อนี้กันนักเหมือนกัน นี่ แ หละ คื อ การที่ ไ ม่ รู้ ว่ า อะไรเป็ น อะไรอย่ า งน่ า หวาดเสี ย ว ไม่ รู้ ว่ า อริยมรรคนี้จะดับความทุกข์ให้เด็ดขาดลงไปได้อย่างไร
ทั้งหมดนี้ เราจะเห็นได้ว่า อริยสัจจ์ ๔ ประการ นั้นคือ ความรู้ที่บอกให้เห็นชัดว่า อะไรเป็นอะไรอย่างครบถ้วน นั่นเอง
อริยมรรคมีองค์ ๘ = ศีล สมาธิ ปัญญา มีอะไรบ้าง ? ๑. เห็นถูกต้อง คือ เห็น ความจริงของอริยสัจ ๔ ๒. คิดถูกต้อง คือ ใจบริสุทธิ์ เป็นอิสระจากความโลภ โกรธ หลง เป็นไปด้วยความสุข ความเมตตา ๓. พูดถูกต้อง คือ พูดในสิ่งที่เป็นจริง เป็น ประโยชน์ ถูกกาลเทศะ สุภาพอ่อนโยน ๔. ทำถูกต้อง คือ ประพฤติตนให้อยู่ในศีลใน ธรรม ๕. อาชีพบริสุทธิ์ คือ การประกอบอาชีพที่ไม่ผิดหลักศีลธรรมและกฎหมาย ๖. เพียรถูกต้อง คือ เพียรในการละบาปเก่า ระวังบาปใหม่ เพียรสร้างกุศล และรักษา กุศลที่สร้างไว้ไม่ให้เสื่อม ๗. สติถูกต้อง คือ การฝึกสติระลึกในกายใจอยู่เนืองๆ เช่น ระลึกไปตามฐานทั้ง ๔ คือ มหาสติปัฏฐาน ๔ - กาย เวทนา จิต ธรรม ๘. สมาธิถูกต้อง คือ เมื่อจิตสงบ จิตจะตั้งมั่น เมื่อจิตตั้งมั่น ปัญญาจะเกิดแลมองเห็นพระไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในกายใจ - D.G. – สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
25
เพราะมี “อวิชชา” ครอบงำจิตจึงไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร ในเรื่องความทุกข์นั้น บอกให้รู้ว่าอย่าไปเล่นกับมัน มันจะเป็น ความทุกข์เกิดขึ้นมา และเราก็ไม่รู้ มีคนบอกให้ก็ไม่เข้าใจ ยังขืนไปเล่น กับความทุกข์กันอยู่ และมากยิ่งขึ้นจนเต็มไปด้วยความทุกข์ ดังนี้แหละ เรียกว่าเป็นความโง่เขลาหรือเป็น อวิชชา เป็นความไม่รู้ว่าอะไรเป็น อะไร ตามที่เป็นจริง
เพราะมีอวิชชา จึงไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร จึงปฏิบัติผิด ต่ออะไรๆ ไปทุกอย่าง ปฏิบัติถูกบ้าง ก็เล็กน้อยเกินไป และถูก แต่ตามความหมายของคนที่มีกิเลสตัณหา ซึ่งถือว่าถ้าได้อะไรมา ตรงตามความต้องการของตนแล้ว ก็ถือว่าเป็นการปฏิบัติถูก แต่แล้วความทุกข์ก็ยังเหลือเต็มไปหมด เช่นนี้ ตามทางธรรม ไม่ถือว่าปฏิบัติถูก ทั้งๆ ที่ชาวโลกเขาจะถือว่าเป็นการปฏิบัติ ถูกที่สุดก็ตาม
เพราะฉะนั้น เราจึงไม่ถือว่านั่นคือการรู้ที่ถูกต้องว่าอะไรเป็น อะไร ถือเป็นเพียงความรู้อย่างโลกๆ และถูกต้องเพียงนิดเดียวแม้อย่าง โลกๆ ส่วนที่เป็นทางธรรมแล้ว ก็ยังนับว่าไม่รู้อะไรเลย ดังนี้ นี้เรียกว่า ถ้าจะพิจารณากันโดยหลักอริยสัจจ์ ๔ ประการ ซึ่งท่านทั้งหลายอาจ ได้ยินได้ฟังกันอยู่ตามปรกติ ก็ยังจะเห็นได้ชัดว่า พระพุทธศาสนานั้น คือวิชาที่บอกให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไรนั่นเอง ดังนี้ อวิชชา = ความไม่รู้ หรือความไม่รู้แจ้ ง เป็นความไม่รู้แจ้งในอริยสัจ ๔ และเป็น รากเหง้ า ที่ แ ท้ จ ริ ง ของกิเลสในใจทั้งหมด - D.G. – 26 คู่มือมนุษย์ ๑ ฉบับอ่านง่าย เข้าใจง่าย เรื่อง “ใจความสำคัญของพุทธศาสนา”
๕.
เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา ก็สอนให้รู้ว่า อะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งหลาย เกิดมาแต่เหตุ
พระพุทธเจ้าทรงแสดงเหตุของสิ่งเหล่านั้น พร้ อมทั้งแสดงความดับสิ้นเชิง เพราะหมดเหตุ ของสิ่งเหล่านั้น ทีนี้ เราจะลองถือเอาหลักบาลี ที่รู้กันโดยมากทั่วไปอีกข้อหนึ่ง ที่เรียกกันว่า หัวใจของพระพุทธศาสนา หรือ พระคาถาของพระอัสสชิ มาเป็ นเครือ่ งพิจารณา เมื่อพระอัสสชิได้พบกับพระสารีบุตรแต่ก่อนบวช พระสารีบุตร ได้ถามถึงใจความของพระพุทธศาสนาว่ามีอยู่อย่างไรโดยย่อที่สุด พระ อัสสชิได้ตอบว่า โดยย่อที่สุดแล้ว ก็คือ เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา เตสํ เหตุํ ตถาคโต เตสญฺจ โย นิโรโธ จ เอวํวาที มหาสมโณ เป็นใจความสั้นๆ เพียงเท่านี้ ถ้าแปลเป็นภาษาไทยเรา ก็ว่า...
“สิ่งทั้งหลายเหล่าใดเกิดมาแต่เหตุ พระตถาคตเจ้าท่านทรงแสดงเหตุของสิ่งเหล่านั้น พร้อมทั้งแสดงความดับสิ้นเชิงของสิ่งเหล่านั้นเพราะหมดเหตุ พระมหาสมณเจ้าตรัสดังนี้” สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
27
สิ่งทั้งปวงเกิดแต่เหตุ เมื่อดับเหตุได้ทุกอย่างก็ดับ
แม้แต่ความทุกข์ก็เป็น เช่นเดียวกันหรือขอรับ ใช่ พระอัสสชิ สารีบุตร นีเ่ ป็นคำตอบของพระอัสสชิ แต่ถอื กันว่าเป็นหัวใจของพระพุทธ- ศาสนา ในทุกประเทศที่เป็นพุทธบริษัทถึงกับมีการจารึกลงในแผ่นอิฐ มาตั้งแต่ครั้งใกล้สมัยพุทธกาล คือยุคสมัยพระเจ้าอโศกเป็นต้นมาทีเดียว เป็นตัวอักษร ๔ บรรทัดนี้เท่านั้น ถือกันว่าเป็นคำศักดิ์สิทธิ์ในฐานะเป็น ใจความของพุทธศาสนา ถ้าเอาตามหลักนี้ก็กล่าวได้ว่า ใจความของ พุทธศาสนานั้น คือการบอกให้รู้ว่า
“สิ่งทั้งปวงนั้น มันมีเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้นมา มันดับไม่ได้จนกว่าจะดับเหตุเสียก่อน” แม้ใจความสำคัญนี้ ก็เป็นการชี้ให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไร นั่นอีกเหมือนกัน
คือเป็นการชี้ให้รู้ว่า...
อย่าไปเห็นว่าปรากฏการณ์อะไรเป็นตัวตนที่ถาวร ไม่มีอะไรที่เป็นตัวตนถาวร มีแต่สิ่งที่เกิดงอกงามออกมาจากเหตุ และงอกงามเจริญต่อไปโดยอำนาจของเหตุ และจะดับไปเพราะความสิ้นสุดของตัวเหตุ
28
คู่มือมนุษย์ ๑ ฉบับอ่านง่าย เข้าใจง่าย เรื่อง “ใจความสำคัญของพุทธศาสนา”
พุทธศาสนาสอนให้รู้ว่า ทุกข์เกิดจากเหตุ ถ้าดับเหตุได้ ก็ดับทุกข์ได้
เหตุดี ผลดี เหตุชั่ว ผลชั่ว ทุกอย่างเป็นไปตามเหตุปัจจัย
โว้ย..แค่กินเหล้า เมายา มาสาย ทำไมต้องไล่ผมออกด้วย โลกนี้ไม่ยุติธรรมเลย...ฮือๆๆๆๆ
ยัง...ยังไม่รู้ตัวอีกคนหนอคน
คำว่า “เหตุ” ในที่นี้หมายถึงสิ่งที่มีอำนาจปรุงแต่ง ซึ่งเราอาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ปัจจัย” ก็ได้
สิ่ ง หนึ่ ง ๆ ก็ เ ป็ น เหตุ เ ป็ น ปั จ จั ย ปรุ ง แต่ ง สิ่ ง อื่ น ๆ สื บ ต่ อ กั น ไป เพราะฉะนั้นสิ่งที่ปรากฏอยู่ในบัดนี้ หรือปรากฏการณ์ทั้งหลายที่ปรากฏ อยู่ในโลกนี้ ล้วนแต่เป็นผลิตผลของสิ่งที่เป็นเหตุ ไม่มีตัวมันเองที่เป็น ของอิสระตายตัว เป็นแต่ความเลื่อนไหลไปในฐานะเป็นผลของสิ่งที่เป็น เหตุ ที่ปรุงทะยอยกันมาไม่หยุด เพราะอำนาจของธรรมชาติมีลักษณะ ปรุงไม่หยุดยั้ง สิ่งต่างๆ จึงปรุงแต่งกันไม่หยุด และเปลี่ยนแปลงกันไม่ หยุด สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
29
พุทธศาสนาจึงบอกให้รู้ว่าสิ่งทั้งหลายไม่มีตัวตน มีแต่ความที่เหตุปัจจัยปรุงแต่งกันไป และเป็นความทุกข์รวมอยู่ในนั้นด้วย เพราะไม่มีอิสระในตัวเอง ต้องเป็นไปตามอำนาจของเหตุ จะไม่มีความทุกข์ก็ต่อเมื่อหยุดหรือดับ จะหยุดหรือดับก็ต่อเมื่อดับเหตุ ทำเหตุนั้นให้หยุดให้ดับ ไม่ให้มีการปรุงสืบไป
ข้อนี้เป็นการบอกให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไรอย่างลึกซึ้ง อย่างสุด สามารถที่คนเราหรือว่าผู้มีสติปัญญาตามธรรมดาจะบอกได้ นับว่าเป็น หัวใจพุทธศาสนาจริงๆ การบอกนี้คือบอกให้รู้ว่าสิ่งทั้งปวงเป็นแต่เรื่อง ของมายา คือเหตุปจั จัยทีป่ รุงแต่งกันขึน้ เท่านัน้ อย่าไปหลงยึดถือจนชอบ หรือชังมันเข้า ทำใจให้เป็นอิสระจากความชอบหรือความชังดีกว่า
เมื่อทำใจให้เป็นอิสระจากความชอบหรือความชัง ในสิ่งทั้งปวงได้จริงๆแล้ว นั่นแหละ คือการออกมาเสียได้ จากอำนาจแห่งเหตุ เป็นการดับเหตุเสียได้ ไม่ทำให้ความทุกข์ เกิดได้ เพราะความชอบหรือความชังอีกต่อไป
ข้อนี้เห็นได้ว่า หลักหัวใจพระพุทธศาสนานั้นก็เป็นการชี้ในข้อ ที่ว่า “อะไรเป็นอะไร” อย่างถูกต้องลึกซึ้งที่คนทั่วไปตามธรรมดาไม่เคย ได้ยินได้ฟังนั่นเอง อีกอย่างเดียวกัน 30
คู่มือมนุษย์ ๑ ฉบับอ่านง่าย เข้าใจง่าย เรื่อง “ใจความสำคัญของพุทธศาสนา”
๖.
เป้าหมายในการออกบวชของพระพุทธเจ้า ก็เพื่อจะได้รู้ว่า อะไรเป็นอะไร เราจักออกแสวงหาว่า อะไรเป็นกุศล สาธุ.. อีกทางหนึ่งนั้น อาตมาอยากจะชี้ให้ท่านทั้งหลายสังเกตเห็น สักนิดหนึ่งถึงวัตถุประสงค์แห่งการออกผนวชของพระพุทธเจ้า ว่าท่าน ออกผนวชจากความสุขในราชสมบัตินั้น โดยพระประสงค์อย่างใด พระพุทธภาษิตที่ตรัสในข้อนี้มีอยู่อย่างชัดเจนว่า พระองค์ใช้ คำว่า กึ กุสลคเวสี หมายถึงพระองค์ในขณะที่เป็นผู้ออกจากเรือน บวช แสวงหาอยู่ว่า อะไรเป็นกุศล ฟังดูให้ดี ที่พระองค์ทรงออกบวชจากบ้านจากเรือน ก็เพื่อแสวงหาความรู้ที่ว่า อะไรเป็นกุศล ? แต่คำว่า “กุศล” ของพระองค์ในที่นี้ หมายถึงความรู้ หมายถึงความฉลาด
สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
31