กรรมตามทัน

Page 1


โครงการ “ระดมธรรม สันติสุข” กรรม เป็นเรื่องเฉพาะตัวบุคคล จะโอนให้คนอื่นรับผลแทนก็ไม่ได้ ใครผู้ใดเผลอไปก่อกรรมไว้ ไม่เร็วก็ช้าผลกรรมก็ตามมาถึง

กรรมตามทัน เรียนรู้กฎแห่งกรรม จากนิทานธรรมบท ประสบการณ์กรรม จากชีวิตจริง ของคนในปัจจุบัน

เค้าโครงเรื่อง : ธรรมจักร สิงห์ทอง บรรณาธิการสาระ : ศักดิ์สิทธิ์ พันธุ์สัตย์ ภาพประกอบเรื่อง : ชาญยุทธ ชีพดำรง พิมพ์ข้อมูล : ธนวรรณ ขันแข็ง

เรียบเรียง : ไพยนต์ กาสี บรรณาธิการศิลปะ : อนุชิต คำซองเมือง รูปเล่ม/จัดอาร์ต : สุกัญญา ศรีสงคราม พิสูจน์อักษร : มานิตย์ กองษา


ทุกชีวิต ล้วนมีกรรมคอยติดตาม คิดว่าท่านคงเคยดูสารคดีชีวิตสัตว์ ที่ถ่ายภาพของเสือ สิงโต สุนัข ขณะกำลังล่าเหยื่ออย่างไม่ละลด หากเหยื่อตัวที่ วิ่งหนีหมดแรงเมื่อใด มันก็จะตรงเข้าไปขย้ำให้สิ้นใจลงทันที มองเห็นภาพนี้เมื่อใด ให้นึกถึงการไล่ล่าของกรรมโดยเฉพาะ ที่เป็นกรรมชั่วว่าจะน่ากลัวขนาดไหน แล้วมีวิธีอะไรบ้างที่

พอจะชะลอแรงกรรมที่ติดตามไล่ล่า พระพุทธศาสนาสอนว่า กรรมที่ทำไปแล้วนั้น เราแก้ไข อะไรไม่ได้ แต่ว่าใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ โดยนำมาเป็นเครื่อง เตือนใจไม่ให้ทำผิดซ้ำ พร้อมทำกรรมใหม่ที่ดีขึ้นกว่าเดิม กรรมดีใหม่ที่ทำนี่แหละ เรียกว่า เป็นมือแห่งกุศลกรรมที่จะ ช่วยนำพาให้หนีการไล่ล่าของกรรมชั่วในอดีตได้ หนังสือ กรรมตามทัน เล่มนี้ สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียงมี เจตนารมณ์จัดพิมพ์เผยแผ่ เพื่อเป็นเครื่องมือในการช่วย แก้ไขกรรม ให้ทุกท่านมีความละอายชั่วกลัวบาป ซึมซาบรส กรรมดี เพื่อให้ชีวิตมีมือแห่งบุญเกื้อหนุนให้พ้นกรรม หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เมื่อได้อ่านประสบการณ์กรรมของ บุคคลตัวอย่างในเล่มนี้ จักมีส่วนช่วยชี้แนะประคับประคอง ชีวิตท่าน ให้ตั้งมั่นในกรรมดีได้ไม่มากก็น้อย ด้วยใจมุ่งหวังให้ทุกท่านหลุดพ้นบ่วงกรรมเวร น.ธ.เอก, ป.ธ. ๖, พธ.บ., น.บ. รวบรวม/เรียบเรียง ในนามคณาจารย์ สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์


เหนือฟ้ายังมีฟ้า แต่ไม่มีอะไรเหนือกว่า

กฎแห่งกรรม

เมื่อพูดคำว่า กฎ เรามักนึกถึงระเบียบข้อบังคับต่างๆ ที่ ต้องปฏิบัติตาม คำว่า กฎ อาจจัดเป็นได้ใน ๒ ลักษณะ คือ ๑. กฎที่แปรเปลี่ยนได้ เป็นต้นว่า กฎระเบียบสังคม จารีตประเพณี กฎหมาย เนือ่ งจากกฎเหล่านีม้ นุษย์เป็นผูต้ งั้ ขึน้ อาจเหมาะสมกับยุคสมัยหนึง่ ซึง่ เมือ่ เวลาผ่านไป อาจไม่เหมาะ ต่อการปฏิบัติตามก็ได้ ๒. กฎที่ ไ ม่ แ ปรเปลี่ ย น เป็ น สิ่ ง ที่ มี อ ยู่ ต ามธรรมชาติ ใครก็ไม่อาจบังคับให้เป็นอย่างอื่นได้ เช่น กฎไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือว่า กฎแห่งกรรม เป็นต้น และคำว่า กฎ ในภาษาไทย ยังมีคำที่ออกเสียงพ้องกัน อีกคำหนึ่งนั่นคือ กด มีความหมายว่า ใช้กำลังดันให้ลง จากคำนี้เอง พระเดชพระคุณหลวงพ่อจรัญ ิตธมฺโม ท่าน นำมาใช้อธิบายกับกฎที่ไม่เปลี่ยนแปลงว่า เจ้าประคู้ณ...

คำว่า กฎแห่งกรรม แปลว่าอะไร กฎ แปลว่า ดัน และผลัก กรรม แปลว่า การกระทำ แต่ละรายไม่เหมือนกัน ทำดีก็ดันไปทางดี ทำชั่วก็ดันไปทางชั่ว

ขอให้สอบติดทีเถ๊อะ ลูกจะเอาหัวหมู มาถวายอีกรอบ

*หน้า ๓-๙ โดย...ไพยนต์ กาสี 

สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ 


ไม่เข้าใจความหมาย ทำให้ไม่กลัวกรรม กล่าวเฉพาะกฎที่แปรเปลี่ยนไม่ได้ โดยเฉพาะในเรื่อง กฎแห่งกรรม ที่มีหลักสั้นๆ ว่า ทำดี ได้ดี ทำชั่ว ได้ชั่ว แต่แม้มีคำจำกัดความง่ายๆ ก็ยังมีคนจำนวนไม่น้อยที่ ไม่คอ่ ยเข้าใจ ซ้ำร้ายไม่เชือ่ ว่ากฎกรรมนีม้ จี ริง เป็นสิง่ ทีแ่ ต่งมาขู ่ ให้กลัวเท่านั้น บวกกับการที่เห็นคนทำชั่วมากมายแต่ยังได้ดี มีสขุ ทำให้เขามองว่า คนทำดีได้ดมี ที ไี่ หน คนทำชัว่ ได้ดมี ถี มไป ใครยังมองไม่ออกเรื่องการให้ผลของกรรม ลองศึกษา คำสอนพระเดชพระคุณหลวงพ่อจรัญ ิตธมฺโม ทีก่ ล่าวไว้วา่

การที่คนเห็นว่า ทำดีไม่ได้ดี ทำชั่วไม่ได้ชั่ว เนื่องจาก

ไม่เข้าใจความหมายคำว่าได้ดี ได้ชั่ว ในทางโลก มักมอง เห็นการได้ดี ได้ชั่ว เป็นเรื่องทางวัตถุ เมื่อกล่าวว่าคนนั้น ได้ดี ก็หมายถึงว่า คนนั้นได้ลาภยศ ในทางธรรม การได้ดี ได้ชั่ว เป็นเรื่องจิตใจ การได้ดี หมายถึง การทำให้จติ ใจดีขนึ้ ทำให้จติ ใจเราสะอาด สว่าง สงบยิง่ ขึน้ ได้ชวั่ หมายถึง การทำให้จติ ใจเราต่ำลง เลวลง ทำให้จิตใจมืดมัวยิ่งขึ้น ในทางศีลธรรม คำว่า ได้ดี จึงหมายถึง

ความดี คำว่า ได้ชั่ว จึงหมายถึง

ความชั่ว

กรรมตามทัน 


อะไรคือความดี ? อะไรคือความชัว่ ? จากหัวข้อข้างต้น เป็นอีกปัญหาหนึ่งซึ่งเถียงกันมาก

แต่ในหลักพระพุทธศาสนา พระพุทธองค์ทรงให้แนวคิดไว้ว่า กรรมใด เมื่อทำแล้วไม่เดือดร้อนใจภายหลัง กรรมนั้นดี แต่กรรมใด ทำแล้วเดือดร้อนใจภายหลัง กรรมนั้นไม่ดี ในแง่นี้ ทำให้มีมุมมองอีกอย่างหนึ่งว่า การจะรู้อะไรดี อะไรชั่วนั้น ไม่ต้องใช้อะไรภายนอกตัวมาเป็นเครื่องพิสูจน์ ความจริง ให้ใช้สิ่งที่เรียกว่า สามัญสำนึก ในตัวเรานี่แหละ มาเป็นข้อกำหนด ว่าสิ่งที่ทำไปนั้น ก่อความเดือดร้อนแก่ตน และคนอื่นหรือไม่ ดังที่เจ้าประคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ได้ประทานข้อคิดเรื่องนี้ไว้ว่า ทุกๆ คนต่างมีสามัญสำนึกบอกตัวเองอยูว่ า่ ความดี และความชัว่ มีจริง เพราะเรารูส้ กึ ตัวของเราเองว่า คนนัน้ ทำดีแก่เรา คนโน้นทำชั่วร้ายแก่เรา ตัวเราก็มีความรู้สึก เหมือนกันว่า ตัวเราเองทำดีหรือไม่ดีอย่างไร จนถึงบางทีรู้สึกภูมิใจ ในความดีของเรา หรือเสียใจในความ ชั่วของเรา ในเมื่อเกิด รู้สึกตัวขึ้น

สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ 


ทำดี-ชั่วอะไรไว้ อย่างไรก็ต้องรับผล หลังจากบอกกล่าวให้รู้กันถึงเรื่องความดี ความชั่วแล้ว ก็มาถึงประเด็นเรื่องความดี ความชั่วที่ทำไป ใครจะเป็น

ผู้รับผล ในทางโลก บางอย่างที่เราสร้างมากับมือ อาจจะโอน สิทธิประโยชน์ไปให้คนที่รักถือครองได้ แต่เรื่องกรรมหาเป็นเช่นนั้นไม่ ใครทำ คนนั้นเป็นผู้รับ ผล จะโอนให้คนอื่นรับแทนก็ไม่ได้ เหมือนกับการกินอาหาร คนที่กินเท่านั้นถึงจะอิ่ม เราจะโอนความอิ่มไปให้คนไม่กิน

ก็ไม่ได้ ดังที่เจ้าประคุณสมเด็จพระญาณสังวรฯ ประทาน อรรถาธิ บายเรื่องนี้ไว้ว่า

คนทำดี ก็เป็นคนดีขึ้นเพราะกรรมของตน ใครจะ รู้จะชมหรือไม่ก็ตาม ผู้ทำก็รู้สึกตัวเองว่าทำดี คนที่ ทำไม่ดี ก็เป็นคนชั่วขึ้นเพราะกรรมของตน เมื่อทำดี ทำชั่วแล้วจึงปัดดี ปัดชั่วออกไปให้พ้นตัวเองไม่ได้ เพราะรู้สึกตัวเองอยู่ ทางจิตใจของตน ใครจะแย่งดีไป จะใส่ชั่วให้ก็ไม่ได้ นอกจากจะหลอก ให้คนอื่นเข้าใจผิดเท่านั้น ซึ่งไม่เป็นความจริง

กรรมตามทัน 


คนปลงใจเชื่อกรรม จะไม่ทำสิ่งชั่วร้าย ดังนั้น คนที่ทำกรรมโดยเฉพาะที่เป็นความชั่วความผิด อย่าคิดว่าเมื่อไม่มีใครรู้ใครเห็น จะทำให้ตนพ้นกรรมไปได้ แม้คนโบราณยังกล่าวให้คิดว่า ถึงคนไม่เห็น เทวดาก็เห็น คำว่า เทวดา ในทีน่ ี้ ถ้าตีความให้ชดั ตามหลักคำสอนของ พระพุทธองค์ จะตรงกับหลักธรรมทีช่ อื่ ว่า เทวธรรม ข้อปฏิบตั ิ ที่ทำให้คนเกิดเป็นเทวดา ๒ อย่าง คือ ๑) หิริ ความละอาย ใจในการทำชั่ว ๒) โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อผลกรรมชั่ว ดังนั้น คนมีเทวธรรมประจำใจ เขาจะไม่ทำสิ่งชั่วร้าย เพราะ ใจมีความอาย และความกลัวอยู่พร้อมในขณะเดียวกัน อนึ่ง การทำใจให้เกิดรู้สึกละอายชั่ว กลัวบาป เป็นการ สร้างกุศลกรรมทางใจทีส่ ำคัญยิง่ เพราะทุกสิง่ เกิดจากใจทัง้ นัน้ ดังที่พระเดชพระคุณพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) กล่าวไว้ว่า

ในกรรม ๓ อย่าง กรรมที่ละเอียดอ่อนที่สุด ได้แก่ มโนกรรม คือ กรรมทางใจ กรรมทางใจนี้ นอกจากเป็น เรื่ อ งละเอี ย ดอ่ อ นแล้ ว ก็ เ ป็ น จุ ด เริ่มอีกด้วย เพราะการกระทำที่

จะออกมาเป็ น กายกรรม วจีกรรมได้ ก็เกิดจากมโนกรรม คือ คิดขึ้นในใจก่อน แล้ ว ถึ ง จะทำชั่ ว พู ด ชั่ ว มโนกรรม จึ ง เป็ น สิ่ ง สำคัญที่สุด 

สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ 


ทำอย่างไร จะให้พ้นกรรมชั่ว ปัญหาอีกอย่างหนึ่ง ที่คนมักโทรศัพท์มาพูดคุยคือเรื่อง การแก้กรรม บางท่านก็พดู เหมือนกับรับสภาพว่าสิง่ ทีเ่ กิดขึน้ มี ผลจากกรรมเก่า เพือ่ ความเข้าใจเรือ่ งนีด้ ขี นึ้ ขอนำคำสอนของ พระเดชพระคุณพระพรหมคุณาภรณ์ ที่เมตตาแนะนำไว้ว่า

ชีวติ คนเราทีเ่ ป็นอยูน่ ี้ ควรอยูเ่ พือ่ พัฒนากรรม ไม่ใช่ อยูเ่ พือ่ ใช้กรรม เราจะต้องปฏิบตั ใิ ห้ถกู ต้องต่อกรรมทีแ่ ยก ออกเป็น ๓ ส่วนคือ กรรมเก่า กรรมใหม่ กรรมข้างหน้า ขอสรุปวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องต่อกรรมทั้ง ๓ ส่วนว่า กรรมเก่า (ในอดีต) เป็นอันผ่านไปแล้ว เราทำไม่ได้ แต่ เ ราควรรู้ เพื่ อ เอาความรู้ นั้ น มาใช้ ป ระโยชน์ ใ นการ แก้ไขปรับปรุงกรรมใหม่ให้ดียิ่งขึ้น กรรมใหม่ (ในปัจจุบัน) คือกรรมที่เราทำได้ และจะ ต้องตั้งใจทำให้ดีที่สุด ตรงนี้เป็นจุดสำคัญ กรรมข้างหน้า (ในอนาคต) เรา ยังทำไม่ได้ แต่สามารถวางแผน เพือ่ จะไปทำกรรมทีด่ ที สี่ ดุ ด้วยการ ทำกรรมปัจจุบันที่จะพัฒนาเราให้

ดีงามและงอกงามยิ่งขึ้น จนกระทั่ง เมื่อถึงเวลานั้น เราก็จะสามารถทำ กรรมทีด่ สี งู ขึน้ ไปตามลำดับ จนถึงขัน้ เป็นกุศลอย่างยอดเยี่ยม

จากนี้ ขอนำท่านเข้าสู่กรณีศึกษาชีวิตบุคคลผู้ประสบ ผลกรรมชั่ว เพื่อพัฒนาตัวให้ดียิ่งขึ้นๆ เป็นลำดับต่อไป กรรมตามทัน 


มันเก่งกว่าเรา ตรงไหน

ขอบคุณค่ะ

๑. ตาร้อนนอนเป็นทุกข์ มีคนเป็นจำนวนไม่นอ้ ยทีห่ ลงก่อกรรมทำชัว่ เพราะตัวเอง ตกอยู่ในอำนาจของความอิจฉา ซึ่งเป็นกิเลสอย่างหนึ่ง เจ้า กิเลสตัวนี้เกิดขึ้นกับผู้ใด มันจะครอบงำใจ บดบังปัญญา ปิด กั้นสำนึกผิดชอบชั่วดีของผู้นั้นไว้ได้หมดสิ้น ในคำสอนทางพระพุทธศาสนา คำพระท่านยังพูดไว้ว่า อรติ โลกนาสิกา ความอิจฉาริษยา ทำประชาโลกให้พนิ าศได้ พินาศอย่างไร ให้สังเกตคนที่มีนิสัยขี้อิจฉา จะเห็นว่า คนนั้นมักมีนิสัยหงุดหงิด ไม่พอใจอะไรได้ง่าย ยิ่งเห็นใครๆ ได้ดีกว่าตน ไม่ว่าคนนั้นจะเป็นพี่น้อง เพื่อน ผู้ร่วมงานก็ตาม เขาก็จะเกิดความหงุดหงิดงุ่นง่านไม่สบอารมณ์อยู่ตลอดเวลา ถ้ามีโอกาส ก็คิดจะทำลายความดีผู้อื่นให้หมดเสียร่ำไป เช่น ใช้วาจาถากถางประชดประชัน แสดงกิริยาอาการค้อนควัก เป็ น ต้ น ผลคื อ สร้ า งความแตกแยกในหมู่ ค ณะ นี่ ล่ ะ คื อ อำนาจความอิจฉาที่ทำโลกาให้พินาศ ดังพระท่านว่าไว้ เพื่อ ความเข้าใจชัด ให้ดูตัวอย่างในเรื่องต่อไปนี้ : 

สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ 


หลงลาภยศ ทำให้หมดคุณค่า* ในอดีตยาวไกล สมัยพระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ภิกษุรูปหนึ่ง มีศีลาจารวัตรเคร่งครัดในพระธรรมวินัย เจริญ วิปัสสนาอยู่ ณ วัดแห่งหนึ่ง โดยได้รับการอุปถัมภ์บำรุงจาก เศรษฐีผู้มั่งคั่งครอบครัวหนึ่ง ต่อมา มีพระอรหันต์องค์หนึ่งไปพักอาศัยอยู่ในวัดนั้น

ผู้อุปัฏฐากเห็นเข้าก็เกิดความเลื่อมใส นิมนต์ไปฉันภัตตาหาร ที่บ้านพร้อมกับพระเจ้าถิ่น ครั้นฉันเสร็จแล้ว โยมอุปัฏฐาก

ก็นิมนต์ให้อยู่ในวัดนั้นร่วมกับภิกษุเจ้าถิ่นสืบไป ฝ่ายภิกษุเจ้าถิ่นเกิดความระแวงว่า พระผู้มาใหม่จะยุยง ให้โยมอุปัฏฐากเอาใจออกห่างตน ครั้นรุ่งเช้า พอถึงเวลาจะ เคาะระฆังสัญญาณให้เข้าฉันในบ้าน ก็ใช้หลังเล็บเคาะระฆัง เพราะเกรงว่าท่านจะตื่น เพื่อต้องการกีดกันไม่ให้ไปบ้าน

โยมอุปัฏฐากอีก พอถึงเวลาเข้าไปฉัน ก็ไปเพียงองค์เดียว ครั้ น โยมถามหาพระเถระ พระภิ ก ษุ เจ้ า ถิ่ น ก็ ต อบว่ า

เมื่อวานนี้เห็นจะฉันอิ่มเกินไป อาตมาเคาะประตูตั้งนาน ก็

ไม่ตื่น เคาะระฆังก็ไม่ได้ยิน ไม่ทราบว่าท่านเป็นอย่างไรบ้าง

เสริมธรรม

โยม เป็นคำที่ภิกษุสามเณรใช้เรียกบิดามารดา หรือ ว่าบุคคลทั่วไปที่อายุมากกว่าตน และเรียกคนที่อุปการะ ภิกษุสามเณรเป็นการเฉพาะรูปว่า โยมอุปัฏฐาก

พระธรรมกิตติวงศ์

*หน้า ๑๐-๑๖ โดย...ธรรมจักร สิงห์ทอง

10 กรรมตามทัน 


โยมอุปัฏฐากได้ฟังดังนั้นก็รู้ว่า พระเจ้าถิ่นเกิดความ ริษยา กีดกันพระเถระที่มาใหม่แน่ๆ จึงพูดว่า ถ้าอย่างนั้น

ก็ไม่เป็นไรหรอกพระคุณเจ้า แล้วจัดข้าวต้มถวายพระเจ้าถิ่น พอท่านฉันเสร็จ ก็จัดข้าวต้มฝากไปถวายพระเถระที่มาใหม่ เททิ้งดีกว่า อย่ าฉันเลย เมื่อพระเจ้าถิ่นรับฝากข้าวต้ม เดินไปถึงระหว่างทาง ฉุกคิดขึ้นได้ว่า ถ้าภิกษุรูปนั้นได้ฉันเกิดติดใจในรสชาติอาหาร เดี๋ยวจะไม่ยอมไปจากวัดของเรา เททิ้งดีกว่าอย่านำไปให้เลย แล้วจึงเทข้าวต้มทิ้งกลับวัดไป ส่วนพระเถระทีม่ าใหม่ เมือ่ ทราบวาระจิตอันเต็มไปด้วย ความริษยาของพระเจ้าถิ่น จึงออกไปเที่ยวบิณฑบาตเสียที่ อื่นแล้วเหาะไปอาศัยอยู่ตำบลข้างหน้า ครั้นพระเจ้าถิ่นกลับถึงวัด รู้ว่าพระเถระหนีไปแล้วก็คิด แน่ใจว่า ท่านผูน้ คี้ งเป็นพระอรหันต์ จึงเกิดความเสียใจ ไม่เป็น อันกินอันนอน ซูบผอมลงจนมรณภาพ 

สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์  11


ความอิจฉา นำพาไปเกิดในทุคติ เพราะความริ ษ ยาของท่ า น เมื่ อ มรณภาพแล้ ว ต้ อ ง

ตกนรกหลายพันปี พ้นจากนรก มาเกิดเป็นยักษ์ และสุนัข อย่างละห้าร้อยชาติ ในระหว่างที่เกิดเป็นยักษ์ และสุนัขนี้

ไม่เคยได้รับอาหารจนอิ่มท้องเลยแม้แต่ชาติเดียว าหมอง ใจเศร้ ต้องไปทุคติ มีเรื่องเล่าว่า ตอนเกิดเป็นยักษ์ ทั้งชีวิตได้กินอาหาร

พออิ่มเพียงมื้อเดียว คือ รกเด็กแรกเกิด ครั้นเกิดเป็นสุนัข ก็ได้กินอาเจียนพออิ่มท้องเพียงวันเดียว ครั้นพ้นจากกำเนิด สุนัขแล้ว ได้ไปเกิดในตระกูลคนเข็ญใจ ตระกูลนั้น ตั้งแต่เด็กคนนี้ถือกำเนิด ก็กลายเป็นคน ยากจนอดอยากปากแห้ง พ่อแม่ตั้งชื่อเขาว่า มิตตวินทุกะ

พอเจริญเติบโตรู้เดียงสา ก็ปล่อยให้ไปเที่ยวขอทานกินตาม ลำพังโดยไม่สนใจ

เสริมธรรม

ความอิจฉา จัดเป็นอุปกิเลส คือ สิ่งที่เข้าไปทำใจให้ เศร้าหมองต้องชำระล้างด้วยมุทิตาธรรม ความชื่นชมยินดี ต่อผู้อื่น ไพยนต์ กาสี 12 กรรมตามทัน 


คนมีกรรม แม้มีผู้อุปถัมภ์ก็ไม่ก้าวหน้า อาจารย์ทิศาปาโมกข์ เห็ น เข้ า เกิ ด สงสารจึ ง นำ

ไปเลี้ ย งไว้ เ ป็ น ศิ ษ ย์ แต่ มิ ต ตวิ น ทุ ก ะไม่ เ อาใจใส่ ต่อการศึกษาเล่าเรียน ไม่ เชื่อฟังโอวาทของอาจารย์ ครั้นเป็นหนุ่มก็หนีอาจารย์ไป ต่อมา ได้แต่งงานอยู่กินกับหญิงเข็ญใจคนหนึ่ง ขณะที่ อยู่ในหมู่บ้านแห่งนั้น มีเหตุการณ์ก่อให้เกิดความเสียหาย จนชาวบ้านเดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า ชาวบ้านรู้จึงเนรเทศเขา ออกจากหมู่บ้านพร้อมครอบครัว เมื่อเขาออกเดินทางเพื่อหาที่อยู่ใหม่ แต่ไม่มีที่ให้เขา

พอแม้แต่จะซุกหัวนอนได้ จึงพาเมียเข้าป่าหวังจะหาที่พอจะ ประกอบอาชีพเลี้ยงชีพได้ แต่เมียก็ต้องเป็นไข้ป่าเสียชีวิตไป เขาจึงย้ายที่อยู่ใหม่ ไปเป็นลูกจ้างพ่อค้าเรือขายสินค้า แต่ พ อเรื อ แล่ น

ออกไปได้ไม่นาน เรื อ ก็ ห ยุ ด กลาง ทะเล ไม่สามารถ ที่ จ ะเคลื่ อ นไป ต่อได้ โดยที่ไม่รู้ สาเหตุ 

สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์  13


คนกาลกิณี มีแต่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน พ่อค้าเห็นอาเพศเช่นนั้น สงสัยว่าจะมีคนกาลกิณีอยู่

ในเรือ จึงให้จับสลากหาตัว นายมิตตวินทุกะจับได้ถึงเจ็ดครั้ง พ่อค้าจึงทำแพไม้แล้วปล่อยให้เขาลอยแพไปตามยถากรรม นายมิ ต ตวิ น ทุ ก ะ ครัน้ ลอยแพไปในสมุทร ก็ได้ไปพบนางเทพธิดา อยู่ในวิมานแก้วผลึก ๔ นาง, วิมานเงิน ๘ นาง, วิมานแก้วมณี ๓๒ นาง เขาได้ อ ยู่ กั บ นางเทพ ธิดาเหล่านั้น แห่งละ ๖ วันบ้าง ๗ วันบ้าง ครั้นเขารู้ว่า แท้ที่ จริงแล้ว นางเทพธิดาเหล่านั้น คือ นางเปรตอยู่ในร่างของ นางเทพธิดา เพียงไม่เกิน ๗ วัน พอถึงวันที่ ๘ ก็กลายเป็น เปรตน่าเกลียดน่ากลัวยิ่งนัก นายมิตตวินทุกะต้องเผ่นหนี แทบไม่คิดชีวิต

เสริมธรรม

เวมานิ ก เปรต แปลว่ า เปรตอยู่ ในวิ ม าน เปรต ประเภทนี้ จะเสวยสุข หรือทุกข์สลับกันไป บางตนเสวย สุขตอนกลางวัน ครั้นกลางคืนก็กลายเป็นเปรต เป็นต้น ผลกรรมที่ทำให้เสวยสุขหรือทุกข์สลับกันไปเช่นนี้ ก็เพราะ ขณะทำคุณความดี มิได้มีความเต็มใจทำ หรือทำเพราะ ถูกบังคับ เป็นต้น ไพยนต์ กาสี 14 กรรมตามทัน 


ซวยซ้ำซ้อน ผลสะท้อนของกรรมชั่ว นายมิ ต ตวิ น ทุ ก ะ ครั้ น จากนางเทพธิ ด าไปแล้ ว ก็ ไ ด้ ลอยแพมาถึงเมืองยักษ์ ในเกาะกลางสมุทร พบกับยักษ์ตน หนึ่งซึ่งจำแลงเพศเป็นแพะ เขากำลังหิวจนตาลายจึงตรง เข้าไปหมายจับนำมาฆ่าเป็นอาหาร แต่พอมือของเขาคว้าถูกข้อเท้าแพะเท่านั้น แพะก็ดีด เขากระเด็นไปตกที่เมืองพาราณสี พอดีกับขณะคนเลี้ยงแพะ ได้รับคำสั่งให้สืบจับโจรผู้ขโมยแพะของเจ้าพาราณสี เผอิญ พวกโจรได้จับแพะตัวนั้นไปผูกซุ่มไว้ใกล้ที่ที่นายมิตตวินทุกะ กระเด็นไปตกลง เขาเห็นแพะเข้าก็ดีใจ คิดจะให้แพะดีดตนไปตกในวิมาน ของนางเทพธิดาอีก จึงตรงเข้าไปจับแพะตัวนัน้ เจ้าแพะแทนที่ จะดีดกลับร้องลั่นขึ้น คนเลี้ยงแพะกำลังหากันวุ่นอยู่ ได้ยิน เสียงแพะร้อง ก็พากันวิ่งกรูเข้าไปจับนายมิตตวินทุกะ เพราะ คิดว่าเป็นขโมย จากนัน้ พากันมัดมือไพล่หลังคุมตัวออกจากป่า ตรงเข้าเมืองเพือ่ ให้กบั ทางการดำเนินการตามกบิลเมืองต่อไป จับมัน ผมไม่ได้ ขโมยนะ

สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์  15


แต่เป็นเคราะห์ดีขณะเขาถูกจับตัวนำไป ระหว่างทาง อาจารย์ทิศาปาโมกข์เดินทางสวนมาพบเข้า จึงขอร้องให้ ปล่อยตัวเขาไป พร้อมกับกล่าวเตือนมิตตวินทุกะให้ได้สติว่า อาจารย์ ช่วยด้วยครับ มิตตวินทุกะ คนไม่ยอมเชื่อฟังคำของผู้คิดช่วยเหลือ แนะนำในทางทีช่ อบ ย่อมได้รบั ความเศร้าโศก ทุกข์ยาก ลำบาก อย่างเจ้านี่แหละ ครั้นแล้วอาจารย์ก็จากไป ปล่อยให้เขาไป ตามทางของเขาเอง จะเห็นได้ว่า คนที่ชอบริษยามีจิตใจร้อนรนทนอยู่ไม่ได้ เมื่อเห็นผู้อื่นได้ดี กลัวคนอื่นเด่นเท่าตน หรือดีเด่นกว่าตน มักประสบผลเคราะห์กรรมอันแสนเลวร้ายในบั้นปลายชีวิต อ่านสิบรอบ คิดสิบหน ฝึกฝนปัญญา ฉลาดใช้ เฉลียวคิด ชีวิตมีมหาสติ จักสนุก สุข สงบ เย็น เฉกเช่นนิพพานในปัจจุบัน

16 กรรมตามทัน 


ร้อนรุ่มเป็นไฟ เพราะใจริษยา* อารมณ์อย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นกับผู้ใด มีผลทำให้คนผู้นั้นมี ความร้อนรุ่มกระวนกระวาย บางรายเป็นหนักถึงขั้นกินไม่ได้ นอนไม่หลับไปก็มี อารมณ์ที่ว่านี้คือ ความอิจฉา ความอิจฉาริษยา นัยว่าเป็นเหมือนไฟ จึงเรียกกันว่า

ไฟริษยา เหตุที่อุปมาเหมือนไฟ เพราะอารมณ์นี้เกิดกับผู้ใด มันเผาใจให้อยู่ร้อนนอนทุกข์หมดความสุขในชีวิตตลอดเวลา ที่ยังมีอารมณ์นี้ค้างคาอยู่ในจิต พระเดชพระคุณพระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ท่านกล่าวถึงผลร้ายของใจที่มีไฟอิจฉาไว้ว่า

คนที่มีความอิจฉาริษยา จะหมด ความสุขไปเลยโดยไม่รู้สึกตัว เห็ น อะไรขวางหู ข วางตาไป หมด หงุ ด หงิ ด งุ่ น ง่ า นง่ า ย พาลดะไปหมด ไม่ ว่ า สามี ภรรยาลูกเต้าก็ไม่เว้น ความ อิจฉาริษยานี้ร้ายแรงร้อนแรง มาก ถึงกับฆ่ากันได้ก็มี ดังนัน้ ต้องระวังอารมณ์ชนิดนีไ้ ว้ เพราะถ้าคิด ให้ดี ใจเราที่อิจฉาริษยาเขา คนที่จะเดือดร้อนจริงๆ ก็คือ

ตัวเรา มิใช่เขา แล้วเรื่องอะไรเราจะเก็บเอาไฟริษยามาไว้ ในอกให้ร้อนรุ่มโดยใช่เรื่อง ดูจะเป็นคนไม่ฉลาดเลย *หน้า ๑๗-๑๙ โดย...ไพยนต์ กาสี 

สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์  17


วิธีแก้ความอิจฉาตาร้อน ความอิจฉาริษยา นับว่าเป็นโรคทางใจ คำพระท่านยัง กล่าวไว้ว่า เป็นมลทินใจ เพราะเป็นสิ่งที่ทำให้ใจมัวหมอง

ไม่ผ่องใส และขึ้นชื่อว่าโรคทางใจนั้น รักษากันได้ไม่ง่ายนัก เพราะ ใจ เป็นสิ่งที่เห็นได้ยาก แต่ใช่ว่าจักหมดทางรักษา หากว่าได้ใช้ยาธรรมโอสถเข้าไปแก้ไข พระเดชพระคุณพระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ท่านเมตตาแนะนำธรรมโอสถเพื่อรักษาโรคนี้ไว้ว่า วิธีแก้ความอิจฉาริษยากัน ทำได้ดังต่อไปนี้ ๑) ทำความเข้าใจข้อเท็จจริงว่า ในโลกนีม้ คี นดีคนเก่ง มากมาย เป็นแต่ดแี ละเก่งคนละด้าน การทีค่ นเราต่างกัน จึงเป็นเรื่องธรรมดา ๒) ลดความยึดมัน่ ว่าตัวเองเก่ง ดี เด่น ดัง ลงบ้าง ๓) พยายามทำใจยอมรับความเก่ง ความดีของคนอืน่ ๔) เมื่อเห็นใครดีกว่าตัว ดังกว่าตัว พยายามฝืนใจ ไปร่วมแสดงความยินดีกับเขาบ้าง เพราะการเข้าไปยินดี เมื่อคนอื่นได้ดี พระ ขอบใจเพื่อน ยินดีด้วยนะ ท่ า นว่ า เป็ น มุ ทิ ต า มุ ทิ ต าตั ว นี้ แ หละที่ เป็นตั ว ยารั ก ษาโรค อิจฉาริษยาขนานแท้ ชนิ ด เป็ น ต้ น ตำรั บ เดิมทีเดียว

18 กรรมตามทัน 


๒. เปลวไฟจากอเวจี กฎกรรมมีอยู่สั้นๆ ว่า บุคคลทำกรรมใดไว้ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เขาย่อมได้รับผลแห่งกรรมนั้น แต่เนื่องจากกรรมบางอย่าง หรือการกระทำบางคราว ไม่มผี ลปรากฏชัดในทันที เป็นเหตุให้เกิดความสับสน เข้าใจผิด คิดไขว้เขวไปว่า ทำดี ได้ดี มีที่ไหน ทำชั่ว ได้ดี มีถมไป เพือ่ คลายสงสัย ขอเสนอกฎแห่งกรรมในนิทานธรรมบท ให้พิสูจน์ดูว่ากฎแห่งกรรม มีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงไร จะได้ไม่เดือดร้อนภายหลัง มีสติยับยั้งชั่งใจก่อนไปทำกรรม ชั่วนานาชนิด ดังเรื่องนายจุนทสูกริกต่อไปนี้ : 

สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์  19


ก่อกรรมด้วยการฆ่าสัตว์อย่างทรมาน* ในคราวที่เกิดภัยแล้ง ชาวบ้านกำลังประสบกับปัญหา อดอยาก ข้าวยากหมากแพงเดือดร้อนกันทุกหย่อมหญ้า

มี พ่ อ ค้ า หมู หั ว ใสในทางทำบาปคนหนึ่ ง ชื่ อ นายจุ น ทะ

กลับหาช่องทางเอารัดเอาเปรียบชาวบ้าน จึงจัดแจงบรรทุก ข้าวเปลือกให้เต็มเกวียน ตระเวนไปตามชนบทที่แห้งแล้ง กันดาร เพื่อนำไปแลกลูกหมูของชาวบ้าน เมื่ อ ได้ ลู ก หมู ม าแล้ ว ก็ ตายซะเถอะเอ็ง ล้อมสถานที่แห่งหนึ่งตรง หลั ง บ้ า นทำเป็ น คอกไว้ ปลู ก ผั ก เลี้ ย งลู ก หมู ใ นที่ นั้นเอง เมื่อหมูอ้วนพี โต เต็ ม ที่ แ ล้ ว นายจุ น ทะก็ จัดการมัดหมูตัวที่ตนจะ ฆ่า โดยใช้วิธีที่โหดเหี้ยม ทารุ ณ ทรมานสั ต ว์ เ ป็ น อย่างยิ่ง นั่นคือ

เสริมความรู้

การละเมิดศีลข้อ ๑ ปาณาติบาต มี ๓ อย่าง คือ ๑) การฆ่าให้ตายหมายเอาทัง้ คนและสัตว์ ๒) การทำร้าย คนให้ ได้ รั บ บาดเจ็ บ ๓) การทรมานสั ต ว์ การที่ ท่ า น บั ญ ญั ติ ไ ว้ เป็ น ข้ อ ต้ น ของศี ล ๕ ก็ เ พื่ อ ว่ า ป้ อ งกั น การ เบียดเบียนกัน ไพยนต์ กาสี *หน้า ๒๐-๒๔ โดย...ธรรมจักร สิงห์ทอง

20 กรรมตามทัน 


เขาจะจั บ หมู ม ามั ด ติ ด กั บ หลั ก ที่ ต อกไว้ อ ย่ า งมั่ น คง

แน่นหนา เพื่อว่ามันจะได้ไม่ดิ้นหนี แล้วทุบตีตามร่างกายมัน ด้วยไม้พลองสี่เหลี่ยม ด้วยต้องการให้เนื้อหมูพองหนาขึ้น เวลานำไปปรุงอาหารจะทำให้เนื้อนิ่ม รสชาติอร่อยลิ้น เอาน้ำร้อน ล้างท้องมันเลย เมื่อหมูสิ้นใจตายไปอย่างทุกข์ทรมาน เขาก็จัดการใช้ เหล็กง้างปาก งัดให้เปิดอ้าขึ้น สอดไม้เข้าไปในระหว่างฟัน แล้วใช้กระบวยตักน้ำร้อนเดือดพล่าน กรอกเข้าปากของหมู น้ำนั้นไหลเข้าไปเดือดพล่านในท้อง ขับเอาอุจจาระไหล พุ่งออกมาทางทวารหนัก เขากรอกน้ำร้อนซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนกว่าน้ำที่กรอกลงไปจะไหลออกมาเป็นน้ำใสๆ จากนั้น เขาก็ราดน้ำร้อนที่เหลือลงบนหลังหมู ลอกเอา หนั ง ที่ ด ำด่ า งให้ ห ลุ ด ออกไป เอาไฟที่ จุ ด จากคบหญ้ า ลน เผาขน แล้วตัดศีรษะด้วยดาบอันคมกริบ รองโลหิตซึ่งกำลัง ไหลออกด้วยภาชนะ ชำแหละเนื้อหมูแยกไว้เป็นส่วนๆ เมื่อ ชำแหละเสร็จแล้ว ก็นำเนื้อหมูมาขยำกับโลหิต นั่งปิ้งกินกับ บุตรภรรยา ขายเนื้อที่เหลือต่อไป 

สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์  21


ใกล้เกลือกินด่าง จึงห่างไกลธรรม เขาเลี้ยงชีวิตโดยวิธีการนี้ จนเวลาล่วงเลยไปถึง ๕๕ ปี ไม่เคยสร้างคุณงามความดีใดๆ ให้กับตนเองและครอบครัว ทั้งๆ ที่พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหารซึ่งตั้งอยู่ ไม่ไกล แต่ก็ไม่เคยแม้แต่ถวายข้าวสักทัพพี น้ำสักแก้ว และแล้ววันหนึ่ง โรคร้ายได้เกิดขึ้นในร่างกายของเขา เกิดเป็นความปวดแสบปวดร้อนดัง่ ไฟในมหานรกอเวจีแผดเผา ปรากฏแก่เขาทั้งที่ยังมีชีวิต

ครั้นความร้อนเกิดขึ้นเช่นนั้น ทำให้เขาร้องลั่นออกมา เป็นเสียงเหมือนหมูถกู ฆ่า คุกเข่าคลานไป-มาในบ้าน ไม่อาจ นิ่งอยู่ได้ ต้องทุกข์ทรมานเหลือร้าย เหมือนตกนรกทั้งเป็น ฝ่ายภรรยาและลูกหลาน ไม่รู้จะช่วยอย่างไร ไม่รู้จะหา หมอดี ที่ ไ หนมารั ก ษา ประชาชนที่ อ ยู่ บ้ า นใกล้ เรื อ นเคี ย ง

ไม่สามารถข่มตาหลับลงได้

เสริมธรรม

กรรมที่ปรากฏแก่นายจุนทะ เรียกว่า อาสันนกรรม กรรมที่ ร ะลึ ก ได้ ข ณะใกล้ ต าย ซึ่ ง เป็ น อารมณ์ ก รรมที่ ปรากฏในมรณาสันวิถี วิถีจิตเมื่อใกล้จะตายมีผลให้จิต เศร้าหมองจึงต้องไปสู่ทุคติ ไพยนต์ กาสี 22 กรรมตามทัน 


กรรมตามทันอย่างสาสม เขาทนทุกข์ทรมานอยู่อย่างนี้ ผ่านไป ๗ วัน ครั้นถึง วันที่ ๘ จึงเสียชีวิตลงด้วยอาการทุรนทุราย และบังเกิดขึ้น ในอเวจีมหานรก กล่าวถึงพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า ที่เดินเข้าไป บิณฑบาตในหมู่บ้าน ผ่านทางบ้านนายจุนทะนั้น ครั้นได้ยิน เสียงร้องของเขา เข้าใจว่าเป็นเสียงร้องของหมูที่ถูกเชือดฆ่า เมื่อกลับมาถึงวัด จึงกราบทูลพระบรมศาสดาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นายจุนทะ ปิดประตูบ้านทำการ ฆ่าหมูตลอด ๗ วัน วันนี้ เงียบเสียงลงแล้ว คงไม่แคล้วจะมี งานใหญ่บางอย่างในเรือนของเขาเป็นแน่ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ขณะที่นายจุนทะฆ่าหมูเป็น จำนวนมากมายเช่นนี้ แสดงว่าเป็นผู้ไม่มีความเมตตา ความ กรุณาในใจแม้แต่น้อยนิด คนผู้มีจิตหยาบช้าโหดร้ายทารุณ ขนาดนี้ พวกข้าพระองค์ไม่เคยเห็นมาก่อนเลยพระเจ้าข้า 

สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์  23


พยากรณ์คติของคนทำกรรมชั่ว พระพุทธองค์ ทรงไขปริศนาพยากรณ์คตินายจุนทะ ตรัสให้ภิกษุทั้งหลายเข้าใจตามความจริงว่า ในระยะเวลา ๗ วันนี้ นายจุนทะไม่ได้ฆ่าหมูแต่อย่างใด แต่เป็นผลกรรมที่

ทำไว้ ทำให้เปลวไฟจากนรกอเวจี มีปรากฏแผดเผาเขาทั้งที่ ยังมีชีวิตอยู่ ต้องคลานหนีวนเวียนเหมือนหมูที่เคยจับมาฆ่า และในวันนี้ เขาได้สิ้นใจตายไปเกิดในนรกอเวจี สาสมกับ กรรมที่ทำมาตลอด ๕๕ ปี นั่นเอง จะเห็นว่า กรรมที่บุคคลทำขณะมีชีวิต ไม่ได้สูญหาย

ไปไหน ย่ อ มติ ด ตามผู้ ท ำอยู่ ทุ ก ฝี ก้ า ว สบโอกาสเมื่ อ ใด

ย่อมให้ผลเมื่อนั้น กรรมชั่วทำให้ชีวิตตกต่ำลำบาก ยังผู้ทำให้ ได้รับผลชั่ว ที่ว่า ได้ชั่ว ก็เพราะมีนิสัยชั่วเกิดขึ้นในจิต ถ้าทำบ่อย เข้าก็พอกพูนขึ้นจนเกาะแน่นเป็นอุปนิสัยของผู้นั้น ยากที่จะ แก้ไขได้ ความชั่วที่พอกพูนขึ้นเรื่อยๆ นั้น ย่อมชักนำเขาไป ในทางที่ชั่ว ในที่สุด เขาก็จะพบกับหายนะอย่างหลีกเลี่ยง

ไม่ได้ เพราะวิบากชั่วซึ่งแฝงอยู่ในจิตของเขา จะคอยกระซิบ กระตุ้นเตือนให้บุคคลนั้น คิด พูด ทำ ในสิ่งอันนำไปสู่ผลร้าย พิจารณาในแง่นี้แล้ว ควรเว้นกรรมชั่ว สั่งสมแต่กรรมดี เพื่อ จะได้มีวิบากอันดีอยู่ในจิตใจ คนเป็นทาสของกิเลส จึงวุ่นวาย เป็นทุกข์

ช่วยเพื่อนมนุษย์ให้เอาชนะกิเลส พบสุขได้ ด้วยการพิมพ์หนังสือเล่มนี้แจกเป็นธรรมทาน ยิ่งมาก บุญยิ่งทวี

24 กรรมตามทัน 


ก่อกรรมทำเวรกับสัตว์ไว้มากมาย ทำให้ชีวิตมีเจ้ากรรมนายเวร* จากเรื่องของนายจุนทะพ่อค้าสุกร ที่มีความเร่าร้อน ก่อนสิ้นใจอย่างทรมาน คงเป็นอุทาหรณ์เตือนใจให้ท่านได้ ระมัดระวังการก่อกรรมทำเวรได้มากขึ้น ไม่ว่ากรรมนั้นจะทำ แม้กับสัตว์ก็ตาม อีกอย่างหากเราไม่เข้าข้างตัวเองจนเกินไป มิใช่แต่นายจุนทะที่เคยก่อกรรมอย่างนี้ ตัวเราเองปัจจุบันก็ ก่อกรรมทำเวรนี้ไว้มิใช่น้อย เพราะบ่อยครั้งที่เราเคยฆ่าสัตว์ หรื อ ซื้ อ สั ต ว์ ที่ เขาฆ่ า มาปรุ ง อาหาร ดั ง นั้ น ตั ว เราก็ ย่ อ มมี

เจ้ากรรมนายเวรคอยเอาคืนอยู่เช่นกัน พระเดชพระคุ ณ พระราชญาณกวี หรื อ ที่ รู้ จั ก กั น ดี

ในนาม ปิยโสภโณภิกขุ ท่านกล่าวเรื่องนี้ว่า เจ้ากรรมนายเวร คือ สัตว์น้อย สั ต ว์ ใ หญ่ ที่ เ รากิ น เป็ น อาหาร เราชอบกิ น หมู เจ้ า กรรมนายเวรเราคือหมู ชอบกินไก่ เจ้ากรรมนายเวรเราคือไก่ เรา ชอบกินเป็ด เจ้ากรรมนายเวร เราคือเป็ด แม้กุ้ง หอย ปู ปลา ที่เรากินมาตั้งแต่เกิดกระทั่งถึง วันนี้นับไม่ถ้วนว่ากี่ร้อยชีวิต ก็คือเจ้ากรรมนายเวรทั้งสิ้น เนื้อหนังมังสาของเรา อวัยวะทุกส่วน ล้วนแล้วแต่ มีหุ้นส่วนของชีวิตสัตว์น้อยใหญ่ทั้งสิ้น

*หน้า ๒๕-๒๗ โดย...ไพยนต์ กาสี 

สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์  25


แผ่เมตตาจิต พิชิตเจ้ากรรมนายเวร เวรกรรมนัน้ เป็นโรคชนิดหนึง่ เรียกว่าโรคเวรโรคกรรม โรคนี้ เ ป็ น บ่ อ เกิ ด ภยั น ตรายอี ก มากมาย ทำ อย่างไรจะบรรเทาผลร้าย เรื่ อ งนี้ พระเดชพระคุ ณ พระราชญาณกวี แนะวิธีว่า บางครั้ง เราไม่เคยแผ่เมตตาให้สัตว์ที่กินเข้าไป ทุ ก วั น ทั้ ง ที่ เ ขาสละชี วิ ต เพื่ อ ต่ อ ชี วิ ต เราให้ ยื น ยาว ต่อไป ก็น้อยใจที่ถูกเพิกเฉย ความน้อยใจของเขาทำ ให้เราเกิดโรคร้าย เช่น มะเร็ง เป็นต้นได้ ทุกครั้งที่ ไหว้พระสวดมนต์ขอให้แผ่เมตตาให้สัตว์ที่เรากินเป็น อาหาร การแผ่เมตตาให้เขา แท้จริงก็คือแผ่เมตตาให้ เรานัน่ เอง เพราะเขาอยูก่ บั เรา เขาคือร่างกายของเรา เขาสละชีวิตมาเป็นพลังงานชีวิตเรา การแผ่ เ มตตาทำได้ ง่ า ย เพี ย งแต่ ใ ห้ นึ ก ถึ ง เขา เสมอๆ คิดถึงความดีของเขา ที่ส่งเสริมให้เรามีชีวิต อยู่ได้ถึงวันนี้ หลับตาน้อมจิตอธิษฐาน ขออย่าให้เรา เกิดโรคภัยไข้เจ็บ ให้มีความปลอดภัยในชีวิต การแผ่เมตตาให้สัตว์ที่เรากินเป็นอาหาร จึงเป็น สิ่งควรทำอย่างยิ่ง เป็นการแสดงความขอบคุณ และ ให้อภัยต่อกันและกัน ให้เขามีความรู้สึกว่ามีส่วนร่วม ในชีวิตเรา 26 กรรมตามทัน 


๓. ทำบาปร่วมกันสูญพันธุ์ทั้งคู่ ลูก... เป็นความหวัง และพลังใจของพ่อแม่ ที่กล่าว เช่นนี้ เพราะเชื่อว่า สามี-ภรรยาที่ตกลงปลงใจแต่งงานกัน เมื่อคิดว่าตนมีความพร้อมเป็นพ่อแม่คนแล้ว ต่างก็ปรารถนา มีลูกน้อยไว้เป็นโซ่ทองคล้องใจด้วยกันทั้งนั้น แต่ความหวังเช่นนี้ ใช่วา่ จะสุขสมหวังด้วยกันทุกคู่ บางคู่ แม้จะมีฐานะเลี้ยงดูเด็กได้เป็นสิบ เป็นร้อยชีวิต แต่ก็ไม่มี สิทธิ์ได้ทำตามฝัน นั่นเป็นเพราะเหตุอะไรทำให้เขาเหล่านั้น ไม่มีบุตรชาย-หญิง ไว้สืบสกุล ในเรื่องดังกล่าวนี้ พระพุทธองค์ได้ตรัสชี้ผลกรรมไว้ใน นิทานธรรมบท เรื่องโพธิราชกุมาร ดังความต่อไปนี้ : *หน้า ๒๘-๓๒ โดย...ธรรมจักร์ สิงห์ทอง 

สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์  27


อธิษฐานเสี่ยงทายขอให้มีบุตร ในกาลสมัยที่พระพุทธเจ้า ยังดำรงพระชนมชีพอยู่นั้น พระโพธิราชกุมาร รับสั่งให้นายช่างสร้างปราสาทหลังหนึ่ง โดยออกแบบไม่ให้เหมือนปราสาทใดๆ ในโลก พระกุมาร ทรงโปรดมาก เพื่ อ ความเป็ น สิ ริ ม งคล จึ ง ทู ล อาราธนา พระพุทธองค์มาเพื่อทำบุญฉลอง โดยตกแต่งประดับประดา อย่างสวยงาม ส่วนตรงทางเข้า รับสั่งให้ปูด้วยผ้าขาวอย่างดี ครั้นตกแต่งสถานที่เสร็จแล้วก็ดำริว่า เราอภิเษกสมรส เป็นเวลานาน ยังไม่มีโอรส-ธิดาเลย เอาเถอะ การทำบุญ ครั้งนี้ ขอให้เป็นการเสี่ยงทาย ถ้าเราจักมีโอรส-ธิดาไซร้

ขอให้พระพุทธเจ้า ทรงเหยียบผ้าขาวที่ปูลาดไว้นี้เถิด ขอให้ พระพุทธองค์ทรง เหยียบผ้าด้วยเถิด

เสริมธรรม

เสี่ยง หมายถึง การตั้งจิตอธิษฐานเพื่อรู้ความเป็นไป ในภายหน้าของตนหรือคนอื่น ถ้าใช้บุญเป็นเครื่องเสี่ยง เรี ย ก เสี่ ย งบุ ญ ถ้ า ใช้ เ ที ย น เรี ย ก เสี่ ย งเที ย น แต่

โดยมากคุ้นกับคำว่า เสี่ยงโชค ที่จริงไม่น่าเรียกเสี่ยงโชค เพราะต้องเอาทุนเดิมของตนลงไปก่อน ทั้งที่สอนกันอยู่ เสมอว่า เงินต่อเงินเจ๊ง งานต่อเงินรวย ไพยนต์ กาสี 28 กรรมตามทัน 


เมื่ อ พระบรมศาสดา เสด็ จ มาในวั น งานทำบุ ญ ฉลองปราสาท พระกุมาร ทรงกราบถวายบังคมด้วย เบญจางคประดิ ษ ฐ์ รั บ บาตรจากพระหั ต ถ์ แล้ ว กราบทูลว่า ขอเชิญพระองค์ เสด็จเข้าไปในปราสาทเถิด พระศาสดาประทั บ ยืนนิ่ง พระกุมารกราบทูลถึง ๓ ครั้ง พระองค์ก็ไม่เสด็จ เข้าไป ได้แต่แลดูพระอานนท์ พระอานนท์ทราบว่า พระศาสดาไม่ทรงเหยียบผ้าขาวที่ เขาปูลาดไว้ จึงทูลให้พระกุมารสั่งทหารเก็บผ้าออกทั้งหมด จากนั้น พระพุทธองค์จึงเสด็จเข้าไปสู่ปราสาท พระกุมาร ได้ถวายอาหารบิณฑบาตแด่พระพุทธองค์ พร้อมพระสงฆ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว ขณะที่ประทับอยู่ต่อหน้า พระพุทธองค์ จึงทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเป็น ทายกอุปัฏฐาก ขอถึงพระองค์เป็นที่พึ่งโดยตลอด หม่อมฉัน ได้พระองค์เป็นที่พึ่งจึงรู้ดีรู้ชั่ว บัดนี้ พระองค์ไม่ทรงเหยียบ แผ่นผ้าที่หม่อมฉันให้ปูลาดไว้ เป็นเพราะเหตุใด พระเจ้าข้า เชิญเสด็จพระเจ้าข้า

เสริมความรู้

เบญจางคประดิษฐ์ แปลว่า การตัง้ ไว้เฉพาะซึง่ องค์ ๕ หมายถึง การกราบโดยให้อวัยวะของร่างกาย ๕ ส่วน คือ หัวเข่าทัง้ สอง ฝ่ามือทัง้ สองและหน้าผาก จรดติดลงกับพืน้ ไพยนต์ กาสี 

สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์  29


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.