สวดมนต์ สร้างบารมี ไขกรรม

Page 1


สวดมนต์

สร้างบารมี ไขกรรม สมุนไพรรักษาโรค

นำเสนอสาระ : กฤษดา รามัญศรี บรรณาธิการสาระ : ศักดิ์สิทธิ์ พันธุ์สัตย์ ออกแบบปก : อนุชิต คำซองเมือง บรรณาธิการศิลปะ : อนุชิต คำซองเมือง ภาพประกอบ : ธนรัตน์ ไทยพานิช รูปเล่ม/จัดอาร์ต : ปริศนา พลภักดี


ร่วมสร้างเชือ้ เพือ่ สังคมทีเ่ ป็นสุข

ในโมงยามที่สังคมเกิดความแตกแยกทางความคิด บวกกับ สถานการณ์ข้าวยากหมากแพง ผู้คนเกิดความทุกข์ ท้อแท้ ไร้ซึ่ง กำลังใจ สิ่งที่จะช่วยรักษาหรือเพิ่มกำลังใจได้ก็คือ ธรรมะนิวเคลียร์ (Dhamma NuClear) นั่นเอง ธรรมะเปรียบดังน้ำใสไหลเย็น ทำให้ใจที่ห่อเหี่ยวมีชีวิตชีวา ประหนึ่งได้เชื้่อเพลิงมาขับเคลื่อนชีวิตออกจากความท้อแท้หดหู ่ อี ก ทั้ ง ยั ง ทำให้ เ กิ ด ปั ญ ญาที่ ส ามารถจะต่ อ สู้ กั บ อุ ป สรรคต่ า งๆ

ในสังคมได้อีกด้วย ว่ากันว่า “หนังสือ ๑ เล่ม สร้างความสุข

ให้คน ๑๐ คน หนังสือ ๑๐๐ เล่ม สร้างความสุข

ให้คน ๑,๐๐๐ คน...” ดังนั้นช่วยกันเติมเชื้อ

ธรรมะนิวเคลียร์นี้ด้วยการแจก

หนังสือธรรมะเล่มนี้เป็นธรรมทาน

เท่านี้สังคมก็จะเป็นสุขอย่างยั่งยืน โปรดใช้เล่มนี้ให้คุ้มสุดคุ้ม & อ่านแล้ว -> แบ่งกันอ่านหลายท่านนะจ๊ะ

อ่านสิบรอบ ระดมสมองคิดสิบหน ฝึกฝนปัญญา พัฒนาการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง ฉลาดใช้ เฉลียวคิด ชีวิตจักสนุก สงบ เย็น เฉกเช่นพระนิพพาน สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ ปรารถนาให้ทุกครอบครัวมีความสุข


คำนำ...นำสติ

คนทุกคนที่เกิดมา ตามหลักพระพุทธศาสนาเชื่อว่าเขามิได้เกิดมา ตัวเปล่า แต่ได้นำเอากรรมทีต่ นได้เคยสร้างไว้ตดิ ตัวมาด้วย กรรมที่ติดตัวมานั้น แยกได้ เ ป็ น ๒ ส่ ว นคื อ กรรมดี ซึ่ ง เรามั ก จะเรี ย กว่ า วาสนาหรื อ บารมี , กรรมชั่ว ซึ่งเรามักเรียกกันว่า บาป หรือเรียกว่า กรรมเฉยๆ กรรมทั้ง ๒ ส่วนให้ผลต่างกัน กรรมดีย่อมส่งผลให้ประสบแต่สิ่งที่ดี กรรมชั่วย่อมส่งผลให้ประสบแต่สิ่งที่เลวร้าย คนเราแต่ละคนมีชีวิตที่แตกต่างกัน เพราะกรรมที่สร้างไว้ในอดีตไม่เหมือนกัน คำว่า กรรมในอดีต ไม่ได้หมายถึงกรรมในชาติก่อนแต่เพียงอย่างเดียว แต่หมายถึงกรรมที่ผ่านมาในชาตินี้ด้วย เช่น กรรมที่สร้างไว้เมื่อสิบปีที่แล้ว เมื่อเดือนที่แล้ว เมื่อวาน เมื่อชั่วโมงที่แล้ว หรือเมื่อนาทีที่แล้ว ก็จัดเป็นกรรม ในอดี ต เช่ น กั น ชี วิ ต ที่ ก ำลั ง ดำเนิ น อยู่ นี้ มี กรรมเข้ า มาเกี่ ย วข้ อ ง ๒ ส่ ว น

คือ ส่วนที่ต้องรับผลกรรมเก่าส่วนหนึ่ง ส่วนที่สร้างกรรมใหม่ส่วนหนึ่ง บางครั้ง การรับผลกรรมเก่ากับการสร้างกรรมใหม่ ไม่มีความประจวบเหมาะกัน เช่น

คนทำชั่วแต่กลับได้ดีเพราะผลกรรมดีในอดีตช่วยพยุง คนทำดีกลับได้ชั่วเพราะ

ผลกรรมชั่ ว ในอดี ต กำลั ง ให้ ผ ล เป็ น ต้ น จึ ง มั ก ได้ยินคำพูดที่ว่า “ทำดีได้ดี

มีที่ไหน ทำชั่วได้ดี มีถมไป” หนั ง สื อ เล่ ม นี้ มี ค วามปรารถนาให้ ท่ า นผู้ อ่ า นได้ ต ระหนั ก ถึ ง

กฎแห่งกรรม และหลักของการสร้างกรรมดีเพื่อสร้างสมบารมีไว้แก่ตน เพราะ ชีวิตที่ขาดบุญบารมีแล้วก็ยากนักที่จะประสบสุขร่มเย็น กฤษดา รามัญศรี

ผู้สรรค์สาระในนามคณาจารย์

สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์


สารบั ญ

วีธีสร้างบุญบารมี ๕

๘ การให้ทาน

การรักษาศีล

๒๙ การเจริญภาวนา ๓๕ ต้นเหตุผลกรรม ๖๘

๙๕

สวดมนต์สร้างบารมี สะเดาะเคราะห์

สมุนไพรรู้ไว้ใช้ประโยชน์ ๑๓๘


สวดมนต์ สร้างบารมี ไขกรรม 5

วิธีสร้างบุญบารมี


สร้างบุญบารมี มีสุขติดตัว๑

อันกรรมบริสุทธิ์ เกิดจากจิตที่บริสุทธิ์

เพราะสงบความโลภ โกรธ หลง

ประกอบด้วยธรรมมีเมตตากรุณา เป็นต้น

จะเห็นได้จากจิตใจของผู้ที่ทำการบริจาค

ในการทำบุญต่างๆ ของผู้รักษาศีล

และอบรมจิตใจกับปัญญา ใครๆ ที่เคยทำทาน

รักษาศีลและอบรมจิตกับปัญญาดังกล่าว

ย่อมจะทราบว่ามีความสุขอย่างไร ตรงกันข้ามกับจิตใจที่เร่าร้อนด้วยกิเลสต่างๆ และแม้จะได้อะไร มาด้วยกิเลส มีความสุขตืน่ เต้น ลองคิดดูให้ดแี ล้วจะเห็นว่า เป็นความสุข จอมปลอมเพราะเป็นความสุขของคนที่หลงไปเสียแล้ว เหมือนความสุข ที่ ถู ก เขาหลอกลวงนำไปทำร้ า ย ด้ ว ยหลอกให้ ตายใจและดี ใ จด้ ว ย

เครื่องล่ออย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่มีอะไรจะช่วยคนประเภทนี้ได้นอกจาก การทำบุญ เพราะการทำบุญทุกครั้ง เป็นการฟอกชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ สะอาดขึ้นทุกที

พระวรคติธรรม สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

คัดจากพระนิพนธ์เรื่อง “ชีวิตลิขิตได้ด้วยตนเอง”


วิธีสร้างบุญ บารมี

บุญ ความหมายตามพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ของ พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) กล่าวว่าบุญ คือ เครื่องชำระสันดาน, ความดี,

ความสุข, ความประพฤติชอบทางกาย วาจา ใจ, กุศลธรรม บารมี คือ คุณความดีทบี่ ำเพ็ญอย่างยิง่ ยวดเพือ่ บรรลุจดุ หมายอันสูงยิง่ การสร้างบุญบารมีในทางพุทธศาสนามี ๓ ขั้นตอนคือ

๑. ทาน

๒. ศีล

๓. ภาวนา

การให้ทานนั้นเป็นการทำบุญที่มีผลน้อยที่สุด เพราะบุญที่ได้จากการ

ทำทาน ไม่ว่าจะทำเพียงใด บุญที่ได้ก็ไม่เท่ากับการรักษาศีล แต่การรักษาศีล

ไม่วา่ จะมากแค่ไหน บุญที่ได้ก็ไม่เท่ากับการเจริญสติภาวนาแค่ครัง้ เดียว กล่าวคือ การเจริ ญ สติ ภาวนาเป็ น การสร้ า งบุ ญ บารมี ที่ สู ง ที่ สุ ด และได้ บุ ญ มากที่ สุ ด

เพื่อความเข้าใจอันดี จึงขอชี้แจงการสร้างบุญบารมีอย่างไรจึงจะเป็นการลงทุน น้อยที่สุด แต่ได้บุญบารมีมากที่สุดเป็นลำดับๆ ต่อไป ๑

พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก


การให้ทาน

การให้ทาน คือ การสละทรัพย์สมบัติส่วนตัวให้แก่ผู้อื่น โดยมี จุ ด ประสงค์ ใ ห้ ผู้ รั บ ทานได้ รั บ ประโยชน์ และความสุ ข ด้ ว ยจิ ต เมตตา ของตน แต่ ท านที่ ไ ด้ ท ำไปนั้ น จะส่ ง ผลบุ ญ กลั บ มาถึ ง ผู้ ใ ห้ ม ากแค่ ไ หน ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ ๓ ประการ คือ

๑) วัตถุที่ให้ทานต้องบริสุทธิ์

๒) เจตนาในการให้ทานต้องบริสุทธิ์

๓) เนื้อนาบุญต้องบริสุทธิ์


สวดมนต์ สร้างบารมี ไขกรรม 9

๑. วัตถุทานที่ให้ต้องบริสุทธิ์

วัตถุทาน ได้แก่ สิ่งของหรือทรัพย์สมบัติที่ตน

ได้สละให้เป็นทาน ของเหล่านั้นต้องเป็นของที่บริสุทธิ์

ต้องเป็นของที่แสวงหามาด้วยความบริสุทธิ์

ไม่ได้จากการเบียดเบียนผู้อื่น

ไม่ไปลักขโมย ไม่เป็นสิ่งของที่

โกง ปล้น ยักยอก ฯลฯ

ขอเนื้อแกไปต้ม ถวายพระ พรุ่งนี้นะจ๊ะ แล้วฉันจะแบ่งบุญให้

ไม่เบียดเบียนผู้อื่น เช่น ฆ่าสัตว์ เพื่อ นำเนื้อไปปรุงอาหารถวายพระ แค่เริ่มก็เป็น บาปแล้ว เพราะการฆ่าสัตว์การเบียดเบียนชีวิต ผู้ อื่ น เป็ น การผิ ด ศี ล ข้ อ ที่ ห นึ่ ง หรื อ เรี ย กว่ า ปาณาติบาต แม้จะนำเนื้อสัตว์ที่เราฆ่าไปปรุง อาหารแล้วถวายพระย่อมได้บุญน้อยมากจนถึง ไม่ได้เลย

แต่ถ้าเป็นเนื้อสัตว์ที่เรา

ไม่ ได้มีสว่ นร่วมในการฆ่า

หรือสัตว์นนั้ ตายเองก็ด ี เนื้อสัตว์นั้นย่อมเป็นวัตถุทานที่บริสุทธิ์ เมื่อนำมาทำทานย่อมได้บุญมาก

NO


10 สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

ทำบุญด้วยของที่ไม่บริสุทธิ์ ได้ บาป มากกว่า บุญ

การลักทรัพย์ ยักยอกทรัพย์ ปล้นชิงวิ่งราว ฉ้อโกง เป็นต้น เป็นการ

ได้ทรัพย์มาโดยการไม่ชอบธรรม หรือเจ้าของเดิมไม่เต็มใจที่จะให้ ย่อมเป็นของ ที่ไม่บริสุทธิ์ และเมื่อนำไปกินไปใช้ เรียกว่า “บริโภคความเป็นหนี้” เป็นบาป

ถึงแม้จะเอาทรัพย์นั้นไปทำบุญ ก็จะไม่ได้รับบุญ ดั ง ตั ว อย่ า ง ในสมั ย รั ช กาลที่ ๓ มี หั ว หน้ า สำนั ก นางโลมชื่ อ ว่ า

“ยายแฟง” ได้เรียกเก็บเงินจากหญิงโสเภณีในสำนักของตนจากอัตราที่ได้มา ครั้ ง หนึ่ ง ๒๕ สตางค์ เมื่ อ ได้ ม าแกก็ จ ะเก็ บ เอาครั้ ง ละ ๕ สตางค์

แกทำอย่างนี้เรื่อยมาจนมีเงินเก็บถึง ๒,๐๐๐ บาท จากนั้น ก็นำเงินที่ ได้

ไปสร้างวัดแห่งหนึ่ง ยายแฟงปลื้มมากที่ได้สร้างวัด จึงนำความดีที่ตัวเองทำ

ไปนมัสการถามหลวงพ่อโต วัดระฆัง ว่าการสร้างวัดครั้งนี้ตนจะได้บุญมาก ขนาดไหน หลวงพ่อโตตอบกลับไปว่า ได้แค่สลึงเดียว การที่ยายแฟงได้บุญน้อย เนื่องจากเงินที่แกนำไปสร้างวัดเป็นเงินที่ได้มาแบบไม่บริสุทธิ์นั่นเอง เงินเดือนเดือนแรก วัตถุทานที่หามาได้ โดยสุจริต ผมร่วมสร้างโบสถ์กับหลวงพ่อ ครับ นับว่าเป็นสิ่งที่บริสุทธิ์ และไม่จำเป็นว่าจะเป็นของดีหรือว่าของเลว มากหรือน้อย มีค่ามากหรือมีค่าน้อยนั้นไม่สำคั ญ สาธุ สำคัญที่เจตนาและความศรัทธาของผู ้ ให้ทาน

วัตถุทานบริสุทธิ์ = บุญมาก


สวดมนต์ สร้างบารมี ไขกรรม 11

๒. เจตนาในการให้ต้องบริสุทธิ์

จุดมุ่งหมายที่แท้จริงของการให้ทานนั้น คือ ๑. เพื่อขจัดความโลภ ความหวงแหนหลงใหลในทรั พย์ สมบั ติ ข องตน อั น เป็ น กิ เ ลส

อย่ างหยาบ ให้บรรเทาเบาบาง หรื อหมดไป

ขอบคุณครับ

ทานเยอะๆ นะจ๊ะเด็กๆ เติมได้ตลอดนะ ค่อยๆ ทานนะจ๊ะ

๒. เพื่ อ เป็ น การสงเคราะห์ ผู้ อื่ น

ให้ได้รับความสุข ด้วยเมตตาธรรม ของตน อันเป็นบันไดก้าวแรกใน การเจริญเมตตาพรหมวิหารธรรม ในพรหมวิหาร ๔ ให้เกิดขึ้น

หากให้ทานด้วยเจตนาดังกล่าวแล้ว เรียกว่า มีเจตนาในการทำทานบริสุทธิ์


12 สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

เจตนาบริสุทธิใ์ น ๓ กาล ทานมีผลยิ่ง

นอกจากนี้ผู้ให้ต้องมีเจตนาที่บริสุทธิ์ใน ๓ กาลคือ ๑. ก่อนจะให้ทาน ก่อนทีจ่ ะให้ทาน แก่ผู้อื่น ผู้ ให้ทานต้องมีจิตที่ร่าเริง ยินดี

ร่วมทำบุญดีกว่า ในการให้ทาน จุดประสงค์เพื่อสงเคราะห์

ผู้อื่นให้ได้รับความสุขเพราะสิ่งของที่ตนให้ ขอร่วมทำบุญ ด้วยคนครับ ช่วยน้อง คลายหนาว ๒. ขณะให้ทาน ขณะที่กำลัง ให้ทานอยู่ ผู้ที่ให้ทานต้องมีจิตที่โสมนัส ยิ น ดี ร่ า เริ ง และเบิ ก บานในทานที่ ต น ขออนุโมทนาค่ะ กำลังให้ผู้อื่น ทำบุญแล้วสบายใจ ๓. หลั ง ให้ ท านแล้ ว หลั งให้ทาน เสร็จใหม่ๆ ก็ดี นานมาแล้วก็ดี เมื่อหวนกลับ มาคิดถึงทานที่ตนทำครั้งใด ก็มีจิตโสมนัสร่าเริง เบิกบานยินดีในทานนั้นทุกครั้งไป

การให้ทานทั้ง ๓ ระยะ ผู้ ให้ทานต้องมีจิตที ่ประกอบด้วย

เมตตาธรรม คือ โสมนัส ยินดี ร่าเริง และเบิกบานในทานที่กำลังทำ เพื่อให้ทานที่ทำบริสุทธิ์และได้บุญมาก


สวดมนต์ สร้างบารมี ไขกรรม 13

ได้บุญมากขึ้นถ้าให้ทานโดยไม่ยึดมั่นถือมั่น

สำหรับเจตนาจะบริสุทธิ์หรือไม่ ให้ดูที่ภาวะของจิตว่ามีความโสมนัส ร่าเริง ยินดีในทานที่ทำหรือไม่ หรือความมีเมตตาจิตที่มุ่งสงเคราะห์ผู้อื่นให้พ้น ความทุกข์และให้ ได้รับความสุขเพราะทานของตนมีมากน้อยอย่างไร ถ้ามี

นับว่าเป็นเจตนาที่บริสุทธิ์ในเบื้องต้น แต่เจตนาที่บริสุทธิ์เพราะเหตุดังกล่าวมาแล้วนี้ จะทำให้ยิ่งบริสุทธิ์มาก ขึ้นไปอีก หากผู้นั้นทำทานด้วยวิปัสสนา กล่าวคือ ไม่ใช่ทำทานอย่างเดียว แต่ ทำทานพร้อมกับมีวิปัสสนาปัญญา โดยใคร่ครวญถึงวัตถุทานที่ให้ทานนั้น ว่า


14 สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

อันบรรดาทรัพย์สิ่งของทั้งปวง

ที่ชาวโลกนิยมยกย่องหวงแหนเป็นสมบัติกัน ด้วยความโลภนั้น

ไม่ ใช่ของของเรา ได้มาแล้วก็เสียไปอยู่อย่างนี้

ทุกๆ สิ่งแท้ที่จริงแล้วก็เป็นเพียงวัตถุธาตุประจำโลก

เป็นสมบัติกลาง ไม่ ใช่ของผู้ ใดโดยเฉพาะ

เป็นของที่มีมาก่อนที่เราจะเกิดขึ้นมา

และไม่ว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตาม

วัตถุธาตุก็มีอยู่เช่นนั้น

ได้ผ่านการเป็นเจ้าของของผู้อื่นมาแล้วหลายชั่วคน

ซึ่งต่างก็ ได้ล้มหายตายจากไปทั้งสิ้น

จนในที่สุดก็ ได้ตกทอดมาถึงเรา

แล้วก็ตกทอดสืบเนื่องไปเป็นของคนอื่นๆ ต่อๆ ไปเช่นนี้

นับว่าเป็นเพียงสมบัติผลัดกันชมเท่านั้น

อย่างน้อยเราก็ต้องจากต้องทิ้งเมื่อเราได้ตายลง

นับว่าเป็นอนิจจัง คือ ไม่เที่ยงแท้แน่นอน จึงไม่อาจจะยึดมั่นถือมั่นว่านั่นเป็นของเราได้ถาวรตลอดไป ทรัพย์สิ่งของไม่เที่ยงแท้ ที่แน่กว่าคือบุญ

ค่อย ๆ อ่าน ค่อย ๆ คิด

คราคิดติดขัด หยุดพักสักนิด ทำจิตให้สงบ จักพบทางออก


สวดมนต์ สร้างบารมี ไขกรรม 15

ให้ทานหวังตอบแทนจะได้บาปไม่ได้บุญ

จุดประสงค์ของการให้ทาน คือ

การขจัดความโลภให้หมดไปจากตัวเรา

การให้ทานแล้วหวังผลตอบแทน

ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบใด มันก็คือ

การให้ทานเพื่อเพิ่มความโลภ ไม่ ใช่ขจัดความโลภ

ผมบริจาคเยอะขนาดนี้ ต้องมีช ื่อผมติดอยู่ที่วัดนี้ ด้วยนะครั บหลวงพ่อ

ทำบุญหวังผลอย่างนี้ คงได้แต่บาป

เช่น ทำทานเพราะอยากทำเอาหน้า ทำอวดผู้อื่น เช่น สร้างโรงเรียน สร้ างโรงพยาบาล เพื่อจุดประสงค์ที่จะได้บันทึกชื่อ ถ่ายภาพของตนลงสื่อต่างๆ เพื ่ อ ให้ ได้รับความเคารพยกย่อง โดยแท้ จ ริ ง แล้ ว ตนมิ ไ ด้ มุ่ ง สงเคราะห์ ผู้ ใ ด

เรี ยกว่า ทำทานด้วยความโลภ ไม่ได้ทำเพื่อขจัดความโลภ ทำทานด้วยความ อยากได้ คือ อยากได้หน้า ได้เกียรติ ได้สรรเสริญ ได้ความนิยมนับถือ


16 สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

ให้ทานเพราะโลภ ย่อมไม่ได้บุญ

ให้ ท านด้ ว ยความโลภ คื อ ให้ ท านเพราะอยากได้ นั่ น อยากได้ น ี่ อยากเป็นนั่นอยากเป็นนี่ อันเป็นการทำทานโดยหวังผลตอบแทน ไม่ใช่ทำโดย

มีจุดมุ่งหมายในการขจัดความโลภ ความตระหนี่หวงแหนในทรัพย์ของตน เช่น ให้ทานแล้วขอให้ชาติหน้าได้เกิดเป็นเทวดา นางฟ้า ขอให้รูปสวย ขอให้ทำมาค้าขึ้น ขอให้ร่ำรวยเป็นเศรษฐี มหาเศรษฐี ทำบุญ ๑๐๐ บาท แต่ขอให้ร่ำรวย นับล้าน ขอให้ถูกสลากกินแบ่งกินรวบ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นสมบัติสวรรค์ หากชาติก่อนไม่เคยได้ทำบุญใส่บาตรฝากสวรรค์เอาไว้ อยู่ๆ มาขอเบิกในชาตินี้ จะมีที่ไหนมาให้เบิก การให้ทานด้วยความโลภเช่นนี้

ย่อมไม่ ได้บุญอะไรเลย สิ่งที่จะได้พอกพูนให้มากขึ้นและหนาขึ้น

ก็คือ “ความโลภ” โลภน้อยๆนะจ๊ะ จะได้บุญเยอะๆ

คนเป็ น ทาสของกิ เ ลส จึ ง วุ่ น วาย เป็ น ทุ ก ข์ อย่ า งรู้ ตั ว หรื อ ไม่ รู้ ตั ว

สำนักพิมพ์เลีย่ งเชียง เชิญชวนทุกท่านร่วมกันช่วยเพือ่ นมนุษย์ให้เอาชนะกิเลส พบสุขได้ ด้วยการพิมพ์หนังสือเล่มนี้แจกเป็นธรรมทาน ยิ่งมาก บุญยิ่งทวี (โปรดใช้ปัญญาพิจารณาเรื่องจริงนี้)


สวดมนต์ สร้างบารมี ไขกรรม 17

ให้ทานด้วยความเสียดาย สุดท้ายคือได้ บาป

ทำด้วยความเสียดาย เช่น มีพวกพ้องมาเรี่ยไร ตนเองไม่มีศรัทธาที่จะ ทำ หรื อ มี ศ รั ท ธาอยู่ บ้ า งแต่ มี ท รั พ ย์ น้ อ ย เมื่ อ มี เ พื่ อ นมาเรี่ ย ไรบอกบุ ญ

ด้วยความเกรงใจเพื่อนหรือกลัวเสียหน้า จึงต้องฝืนใจในการสละทรัพย์ โห..เจ้าพวกนี้ ทำบุญกันหมด ถ้าเราไม่ทำก็เสียหน้าแย่ อืม..ไม่อยากทำเลย ทำทานไปด้วยความจำใจ ย่อมเป็นการทำทานด้วยความตระหนี่หวงแหน ทำทานด้วยเสียดาย ไม่ ใช่ทำทานด้วยจิตที่มุ่งสงเคราะห์ผู้อื่น

ซึ่งยิ่งคิดก็ยิ่งเสียดาย ให้ ไปแล้วก็เป็นทุกข์ ใจ บางครั้งนึกโกรธผู้ที่มาบอกบุญ เช่นนี้ จิตย่อมเศร้าหมอง ได้บุญน้อย หากเสียดายมากๆ จนเกิดโทสจริตแล้ว นอกจากจะไม่ ได้บุญแล้ว ที่จะได้คือ บาป


18 สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

๓. เนื้อนาบุญต้องบริสุทธิ์

คำว่า “เนื้อนาบุญ” ในที่นี้ได้แก่ บุคคลผูไ้ ด้รบั การให้ทานของผูใ้ ห้ทาน นั่นเอง นับว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด แม้ว่าองค์ประกอบในการให้ทาน

ข้อ ๑ และ ๒ จะงามบริสุทธิ์ครบถ้วนดีแล้ว กล่าวคือ วันนี้กระเป๋าตุง วัตถุที่ทำทานนั้น เป็นของที่

อีกแล้วเรา แสวงหาได้มาด้วยความบริสุทธิ์

เจตนาในการทำทานก็งามบริสุทธิ์ทั้ง ๓ ระยะ

แต่ตวั ผูร้ บั ทานเป็นคนที่ ไม่ดี

ไม่ ใช่ผู้ที่เป็นเนื้อนาบริสุทธิ์ เป็นเนือ้ นาบุญทีเ่ ลว

ทานที่ทำไปนั้นก็ ไม่ผลิดอกออกผล ัตว์ ช่วยส่ร่อน เร การให้ทานก็เปรียบเสมือนกับการหว่านเมล็ดข้าวเปลือกลงในพื้นนา

๑ กำมือ แม้เมล็ดข้าวนั้นจะเป็นพันธุ์ที่ดี พร้อมจะงอกงาม (วัตถุทานที่บริสุทธิ์) และผู้หว่าน คือ กสิกร ก็มีเจตนาจะหว่าน เพื่อทำนาให้เกิดผลิตผลเป็นอาชีพ (เจตนาบริสุทธิ์) แต่ ถ้ า หากนาที่ ท ำนั้ น เป็ น ที่ ที่ ไ ม่ เ สมอกั น เมล็ ด ข้ า วที่ ห ว่ า นลงไป ก็งอกเงยไม่เสมอกัน โดยเมล็ดที่ตกไปในที่ดินดี ปุ๋ยดี มีน้ำอุดมดี ก็จะงอกเงย เป็ น ผลิ ต ผลที่ ส มบู ร ณ์ ส่ ว นเมล็ ด ที่ ไ ปตกบนพื้ น นาที่ แ ห้ ง แล้ ง มี แ ต่ กรวด

กับทราย และขาดน้ำก็จะแห้งเหี่ยว หรือเฉาตายไป หรือไม่งอกเงยเสียเลย


สวดมนต์ สร้างบารมี ไขกรรม 19

ปลูกข้าวต้องดูนา ให้ทานต้องดูผู้รับ

การให้ทานนั้น ผลิตผลของผู้ให้ทานจะได้รับ คือ “บุญ” หากผู้ที่ได้รับ การให้ทานไม่เป็นเนื้อนาที่ดีสำหรับการทำบุญแล้ว ผลของทานคือบุญก็จะ

ไม่เกิดขึ้น แม้จะเกิดก็ไม่สมบูรณ์ เพราะแกร็นหรือแห้งเหี่ยวเฉาไปด้วยประการ ต่างๆ ขอบคุณมากครับ ฉะนั้น ในการให้ทาน

ดิฉันให้หนังสือธรรมะเล่มนี้ ผมจะอ่านแล้วปฏิบัติตาม ตัวบุคคลผู้ที่รับของที่เราให้ทาน ลองไปอ่านดู ดีมากเลยนะ จึงเป็นเงื่อนไขที่สำคัญที่สุด เราผู้ ให้ทานจะได้บุญมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับคนพวกนี ้ คนที่ ได้รับการให้ทานนั้น หากเป็นผู้ที่มีศีลธรรมสูง ก็ย่อมเป็นเนื้อนาบุญที่ดี ทานที่เราได้ทำไปแล้วก็เกิดผลบุญมาก

หากผู้รับการให้ทานเป็นผู้ ไม่มีศีลไม่มีธรรม ผลของทานก็จะไม่เกิดขึ้น คือ ได้บุญน้อย ฉะนั้น คติโบราณที่ว่า “ทำบุญอย่าถามพระ ตักบาตรอย่าเลือกพระ” เห็นจะใช้ไม่ได้ในสมัยนี้ เพราะในสมัยนี้ไม่เหมือนกับท่านในสมัยก่อนๆ ที่บวช เพราะมุ่งจะหนีสงสาร โดยมุ่งจะทำมรรคผลและนิพพานให้แจ้ง ท่านจึงเป็น

เนื้อนาบุญที่ประเสริฐ


20 สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

คนมี บุญวาสนาจึงจะพบเนื้อนาบุญที่ดี เหมื อนซื้อหวยต้องมีดวงถึงจะถูก

แต่ในสมัยนี้มีอยู่บางคนที่บวชด้วยคติ ๔ ประการ คือ

๑. บวชเป็นประเพณี ๒. บวชหนีทหาร ๓. บวชผลาญข้าวสุก ๔. บวชสนุกตามเพื่อน

ธรรมวินยั ใดๆ ท่านไม่สนใจ เพียงแต่มผี า้ เหลืองห่มกาย ท่านก็นกึ ว่าตน เป็นพระและเป็นเนื้อนาบุญเสียแล้ว ซึ่งป่วยการที่จะกล่าวไปถึงศีลปาติโมกข์ ๒๒๗ ข้อ แม้แต่เพียงแค่ศีล ๕ ก็ยังเอาแน่ไม่ได้ว่าท่านจะมีหรือไม่

ปัญหาว่าทำอย่างไรถึงจะได้พบกับ

ขอให้ข้าพเจ้าถูกหวยด้วยเถิด ท่านที่เป็นเนื้อนาบุญที่ประเสริฐ

ข้อนีย้ อ่ มขึน้ อยูก่ บั วาสนาของเราผูท้ ำทานเป็นสำคัญ

หากเราได้เคยสร้างสมอบรมบารมี

อยากถูกหวยก็ต้องทำ มาด้วยดี ในอดีตชาติแล้ว

บุญเยอะๆ นะครับ บารมีนั้นก็จะเป็นพลังวาสนา

น้อมนำให้ ได้พบกับท่าน

ที่เป็นเนื้อนาบุญที่ประเสริฐ เช่ น เดี ย วกั บ การซื ้ อ สลากกิ น แบ่ ง สลากกิ น รวบ หากมี ว าสนาบารมี เพราะได้เคยทำบุญฝากกับสวรรค์ไว้ในชาติก่อนๆ ก็ย่อมมีวาสนาให้ถูกรางวัลได้ มีวาสนาเพราะไม่เคยทำบุญฝากสวรรค์เอาไว้เลย ก็ไม่มีสมบัติสวรรค์ หากไม่ อะไรที ่จะให้เบิกได้ อยู่ๆ ก็จะมาขอเบิกเช่นนี้ก็ยากที่จะถูกรางวัลได้

เจ้าประคู้ณ....


สวดมนต์ สร้างบารมี ไขกรรม 21

ให้ทานแก่ใครดี จึงมีผลมากที่สุด

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสถึงอานิสงส์ของการถวายทาน

จะมากหรื อ น้ อ ยขึ้ น อยู่ กั บ ผู้ รั บ ทานไว้ ใ น เวลามสู ต ร พระไตรปิ ฎ กฉบั บ

มหาจุฬาฯ : หน้า ๔๗๐ เอาไว้ว่า เมื่ อ ครั้ ง ที่ พ ระพุ ท ธเจ้ า ทรงเป็ น พระโพธิ สั ตว์ เ สวยชาติ เ ป็ น เวลามพราหมณ์ ได้บริจาคอาหารของกินของเคีย้ วต่างๆ มากมาย แก่มหาชน เป็นเวลา ๗ ปี ๗ เดือน ในวันสุดท้ายได้บริจาคทรัพย์สินเงินทอง ช้าง ม้า โคนม รถ หญิงสาว เครือ่ งประดับและอืน่ ๆ อย่างละ ๘๔,๐๐๐ ซึง่ จัดเป็น มหาทาน ทีย่ งิ่ ใหญ่ การให้ ม หาทานที่ ยิ่ ง ใหญ่ แ ก่ ปุ ถุ ช นตลอด ๗ ปี ๗ เดื อ นเช่ น นี้ มีผลน้อยกว่าการถวายข้าวแด่พระโสดาบันเพียงองค์เดียว ถวายข้าวแด่พระโสดาบัน ๑๐๐ องค์ มีอานิสงส์น้อยกว่าถวายข้าวแด่พระสกทาคามีองค์เดียว ถวายข้าวแด่พระสกทาคามี ๑๐๐ องค์ มีอานิสงส์น้อยกว่าถวายข้าวแด่พระอนาคามีองค์เดียว ถวายข้าวแด่พระอนาคามี ๑๐๐ องค์ มีอานิสงส์น้อยกว่าถวายข้าวแด่พระอรหันต์องค์เดียว ถวายข้าวแด่พระอรหันต์ ๑๐๐ องค์ มีอานิสงส์น้อยกว่าถวายข้าวแด่พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์เดียว ถวายข้าวแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า ๑๐๐ องค์ มีอานิสงส์น้อยกว่าถวายข้าวแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์เดียว ถวายข้าวแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีอานิสงส์น้อยกว่าถวายข้าวแด่สงฆ์ที่มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข


22 สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

ถวายข้าวแด่สงฆ์ ที่มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข มีอานิสงส์น้อยกว่า การสร้างวิหารทานถวายแด่สงฆ์ผู้มาจากทิศทั้ง ๔

สร้างวิหารทาน๑ถวายแด่สงฆ์ผู้มาจากทิศทั้ง ๔ ยังมีอานิสงส์น้อยกว่า การถึงไตรสรณคมน์ ยังจิตของตนให้เลื่อมใสในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ การถึงไตรสรณคมน์ ยังจิตของตนให้เลื่อมใสในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ยังมีอานิสงส์น้อยกว่าการสมาทานศีลและรักษาศีล (ข้อนี้จัดเป็นการ ทำบุญด้วยการรักษาศีล) การสมาทานศีลและรักษาศีล ยังมีอานิสงส์นอ้ ยกว่าการเจริญเมตตาจิต๒

แม้เพียงชั่วหนึ่งลมหายใจเข้าออก (ข้อนี้จัดเข้าในการทำบุญด้วยการเจริญ ภาวนา ประเภทสมถะ) การเจริญเมตตาจิตแม้เพียงชั่วหนึ่งลมหายใจเข้าออก ยังมีอานิสงส์ น้อยกว่าการเจริญอนิจจสัญญา๓ แม้เพียงชั่วลัดนิ้วมือ (ข้อนี้จัดเข้าในการทำบุญ ด้วยการเจริญภาวนา ประเภทวิปัสสนา)

วิหารทาน ได้แก่ การสร้างหรือร่วมมือสร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ ศาลาโรงธรรม

ศาลาท่าน้ำ ศาลาที่พักอาศัยคนเดินทาง อันเป็นสาธารณะประโยชน์ อนึ่ง การสร้างสิ่งที่เป็น

สาธารณะประโยชน์ หรือสิ่งที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน แม้จะไม่เกี่ยวกับกิจพระพุทธ-

ศาสนา เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน บ่อน้ำ แท็งก์น้ำ ศาลา ป้ายรถเมล์โดยสารประจำทาง

สุสาน เมรุเผาศพ ก็ได้บุญมากในทำนองเดียวกัน ๒ เจริญเมตตาจิต หมายถึง การทำจิตให้เป็นสมาธิดว้ ยการแผ่เมตตา จัดเป็นหนึง่ ในสมถกรรมฐาน

๔๐ อย่าง จัดเป็นการทำบุญระดับสมถภาวนาที่สูงกว่าทานและศีล ๓ เจริญอนิจจสัญญา หมายถึง การกำหนดพิจารณาขันธ์ ๕ ให้เห็นเป็นของไม่เที่ยง มีความ

แปรปรวนไปเป็นธรรมดา จัดเป็นการทำบุญระดับวิปัสสนาภาวนาที่สูงกว่าสมถภาวนา


สวดมนต์ สร้างบารมี ไขกรรม 23

ถวายทานแด่สงฆ์มีอานิสงส์ มากกว่าถวายแด่พระพุทธเจ้า

อนึ่ง ในทักขิณาวิภังคสูตร พระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๔ หน้า ๔๒๗ พระพุทธเจ้าตรัสถึงอานิสงส์แห่งทานว่ามากหรือน้อยขึน้ อยูก่ บั ผูร้ บั ทาน ไว้ ดังนี้ ๑. ให้ทานแก่สัตว์ดิรัจฉาน ชนิดใดชนิดหนึ่งจนพอแก่ความต้องการ ด้วยจิตบริสุทธิ์ เมตตาสงสาร ไม่หวังสิ่งตอบแทน จะมีอานิสงส์ตอบแทนคืนมา ๑๐๐ อัตภาพ คือ ส่งผลให้มีอายุ (ความมีอายุยืน), วรรณะ (ผิวพรรณผ่องใส), สุขะ (ความสุขใจ), ความพละ (สุขภาพเข็งแรง) และปฏิภาณ (ความฉลาด) ร้อยชาติ ๒. ให้ ท านแก่ ปุ ถุ ช นผู้ ทุ ศี ล เช่ น ชาวประมงที่ ฆ่ า สั ตว์ เ ป็ น ประจำ

จะมีอานิสงส์ตอบแทนคืนมา ๑,๐๐๐ อัตภาพ ๓. ให้ทานแก่ปุถุชนผู้มีศีล เช่น ผู้เว้นจากการฆ่าสัตว์ ประกอบอาชีพ สุจริต หรือผูถ้ อื ศีลพรตแต่ยงั ไม่ได้บรรลุฌาน เป็นต้น จะมีอานิสงส์ตอบแทนคืนมา หนึ่งแสนอัตภาพ ๔. ให้ทานแก่บุคคลนอกศาสนาผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม เช่น ฤๅษี ชีพราหมณ์ นักพรต ที่บรรลุฌานสมาบัติขั้นใดขั้นหนึ่งจนสามารถข่มกิเลส บางอย่างได้ จะมีอานิสงส์ตอบแทนคืนมาแสนโกฏิอัตภาพ ๕. ให้ทานแก่ผู้ปฏิบัติตนเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งพระโสดาบัน๑มีอานิสงส์ ตอบแทนคืนมามากมายจนไม่อาจนับได้

ผู้ปฏิบัติตนเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งพระโสดาบัน ได้แก่ บุคคลผู้ถึงไตรสรณคมน์, บุคคลผู้ตั้งมั่น ในศีล ๕ ศีล ๘, สามเณรผู้บวชในวันนั้น, ภิกษุบวชใหม่, ภิกษุสมบูรณ์ด้วยวัตร, ภิกษุผู้ปฏิบัติ

วิปัสสนา, ภิกษุผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค


24 สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

๖. ให้ทานแก่พระอริยบุคคล ที่เป็นพระโสดาบัน พระสกทาคามี

พระอนาคามี พระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

มีอานิสงส์นับไม่ได้ มากขึ้นไปตามลำดับ การถวายทานตั้งแต่ข้อ ๑-๖ นั้น จัดเป็นปาฏิปุคคลิกทาน เป็นการ ถวายเจาะจงบุคคล แม้จะมีอานิสงส์มากแต่ก็ยังมีอานิสงส์น้อยกว่าการถวาย “สังฆทาน” คือ การถวายแก่สงฆ์ ดังพระพุทธดำรัสที่ตรัสแก่พระอานนท์ที่ปรากฏใน ทักขิณาวิภังคสูตร พระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๔ หน้า ๔๓๐ ว่า

“อานนท์ ก็ ในอนาคตกาล จักมีแต่เหล่าโคตรภูภิกษุ

มีผ้ากาสวะพันคอ เป็นผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม

ชนทั้งหลายจักถวายทานเจาะจงพระสงฆ์ ได้ ในภิกษุผู้ทุศีลเหล่านั้น

แม้ ในเวลานั้น เราก็ยังกล่าวทักษิณาที่ถวายในสงฆ์

ว่ามีอานิสงส์นับไม่ ได้ ประมาณไม่ ได้

แต่ว่าไม่กล่าวปาฏิปุคคลิกทานว่ามีผลมากกว่า

ทักษิณาที่ถวายในสงฆ์ โดยปริยายไรๆ เลย”

บางท่านอาจมีข้อสงสัยว่า ธรรมทาน การให้ธรรมะเป็นทาน กับ อภัยทาน

เมื่อนำมาเทียบกับการให้สังฆทานนั้นอย่างไหนมีผลมากกว่ากัน ข้อนีข้ ออธิบายว่า การให้ทยี่ กขึน้ มากล่าวข้างต้นนัน้ ว่าด้วยทานที่ประกอบด้วยองค์ ๓ คือ ๑) ผู้ให้ ๒) วัตถุที่ให้

๓) ผู้รับ ซึ่งถ้าว่าการให้ที่มีองค์ประกอบทั้ง ๓ อย่างนี้ การถวายวิหารแก่สงฆ์มีอานิสงส์มาก ที่สุด แต่สำหรับ ธรรมทาน และ อภัยทาน มีองค์ประกอบที่ไม่เข้ากับหลัก ๓ ประการ

ข้างต้น คือ วัตถุทใี่ ห้ เป็นนามธรรมและอานิสงส์มากน้อยก็ไม่ได้ขนึ้ กับตัวผู้รับ เช่น ให้ความรู้ หรื อ ให้ อ ภั ย ทานระหว่ า งพระอรหั น ต์ กั บ ปุ ถุ ช นวั ด กั น ไม่ ไ ด้ ว่ า อย่ า งไหนให้ ผ ลมากกว่ า กั น

เพราะฉะนั้น ธรรมทานและอภัยทาน จึงอยู่นอกเหนือหลักเกณฑ์ที่จะยกมาเปรียบเทียบกับ

การให้วัตถุเป็นทาน


สวดมนต์ สร้างบารมี ไขกรรม 25

ทำทานครบ ๓ องค์ประกอบ ย่อมได้มนุษยสมบัติและสวรรค์สมบัติ

ผลหรืออานิสงส์ของการทำทานที่ครบองค์ประกอบ ๓ ประการนั้น ย่อมมีผลให้ได้ซึ่งมนุษยสมบัติ สวรรค์สมบัติ แม้ว่าจะไม่ได้ตั้งเจตนาเอาไว้

ล่วงหน้าก็ตาม เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นผลที่สืบเนื่องมาจากเหตุ เมื่อทำหน้าที่

ครบถ้วนย่อมมีผลเกิดขึ้นตามมาเอง

ล้ว

ดแ

หม

บุญ

ให้

ส่งผล

บริจาคทาน

สำหรั บ ผลของทานนั้ น หากน้ อ ยหรื อ มี ก ำลั ง ไม่ ม ากนั ก

ก็ ย่ อ มน้ อ มนำให้ บั ง เกิ ด ในมนุ ษ ยชาติ หากมี ก ำลั ง แรงมากก็ อ าจ

น้อมนำให้ ได้บังเกิดในเทวโลก ๖ ชั้น เมื่อได้เสวยสมบัติ ในเทวโลก

จนสิ้นบุญแล้ว ด้วยเศษของบุญที่อาจยังหลงเหลืออยู่บ้าง ประกอบกับ ไม่มีอกุศลกรรมอื่นแทรกให้ผล ก็อาจน้อมนำให้มาบังเกิดเป็นมนุษย์

อีกครั้งหนึ่ง


26 สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

เกิดมารวยทันที เพราะเจตนาดีก่อนให้ทาน

อยากทำบุญมานานแล้ว

ได้โอกาสละ

ตั้งใจดีตั้งแต่ต้น

ทรัพย์สินหมื่นล้าน แม่ยกให้ลูกแล้วกันนะ

ส่งผลให้รวยแต่ยังเด็ก

การที่ร่ำรวยตั้งแต่วัยต้น เพราะผลของทาน

ที่ ได้ตั้งเจตนาไว้บริสุทธิ์ดี ตั้งแต่ก่อนที่จะทำทาน

คือ ก่อนที่จะลงมือทำทานก็จะมีจิตเมตตา

โสมนัส ร่าเริง ยินดี ในทานที่ตนจะได้ทำเพื่อสงเคราะห์ผู้อื่น แล้วก็ ได้ลงมือทำทานไปตามเจตนานั้น

เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ย่อมโชคดี โดยเกิดในตระกูลที่ร่ำรวย ชีวิตในวัยต้น อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพย์ ไม่ยากจนข้นแค้น ไม่ตอ้ งขวนขวายหาเลีย้ งตนเองมาก ทานที่ผู้ ให้มีเจตนาที่บริสุทธิ์ มีจิตเมตตา ความยินดี ร่าเริงในทานที่ตนให้

ย่อมส่งผลให้เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ จะมีความเจริญ ร่ำรวย มั่งคั่ง ทรัพย์สมบัติ

ไม่บรรลัย ไม่วอดวาย ไม่สาบสูญ อุดมด้วยทรัพย์สม่ำเสมอตั้งแต่เกิดจนตาย


สวดมนต์ สร้างบารมี ไขกรรม 27

ก่อนให้ไม่ยินดี ยินดีขณะให้ จะร่ำรวยในวัยกลางคน

การที่ร่ำรวยในวัยกลางคนนั้น สืบเนื่องมาจากผลของทานที่ ได้ทำ เพราะเจตนางามบริสุทธิ์ ในระยะที่ ๒ กล่าวคือ ไม่งามบริสุทธิ์ ในระยะแรก เพราะก่ อ นที่ จ ะลงมื อ ทำทานก็ มิ ไ ด้ มี จิ ต ศรั ท ธา ไม่ คิ ด ที่ จ ะทำทานมาก่ อ น แต่ก็ได้ตัดสินใจทำทานไปเพราะเหตุบางอย่าง แต่เมื่อขณะทำทานได้เกิดจิต ที่โสมนัส รื่นเริง ยินดีในทานที่ทำอยู่ ๒. โตขึ้นขยัน ๑. ตอนเด็กยากจน

๓. รวยเมื่ออายุ 40 ปี ด้วยผลทานชนิดนีย้ อ่ มส่งผลให้บงั เกิดในตระกูลทีย่ ากจนคับแค้น ต้องต่อสู้สร้างตนเองมากในวัยต้น เมื่อถึงวัยกลางคน กิจการหรือธุรกิจ ที่ทำก็ประสบความสำเร็จ และหากเจตนาในการทำทานงามบริสุทธิ์

ในระยะที่ ๓ ด้วย กิจการหรือธุรกิจนั้นย่อมส่งผลรุ่งเรืองตลอดจน บั้นปลายชีวิต


28 สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

ไม่ยินดีก่อนให้ และขณะให้

แต่หลังให้ยินดี จะร่ำรวยตอนแก่

ร่ำรวยในบั้นปลายชีวิตสืบเนื่องมาจากผลทานที่ผู้กระทำมีเจตนาไม่งาม บริสุทธิ์ ในก่อนให้ และในขณะที่ลงมือทำทานอยู่นั้น ก็มิได้มีจิตโสมนัสยินดี

ในการให้ทานนั้นแต่อย่างใด แต่ทำลงไปโดยบังเอิญ เช่น ทำตามๆ พวกพ้องไป อย่างเสียไม่ ได้ แต่เมื่อทำไปแล้วได้กลับมาหวนคิดถึงผลทานนั้น ก็มีจิตใจ โสมนัสยินดี กว่าจะมีวันนี้ได้ ก็เหนื่อยหนักหนา

ผลทานชนิ ด นี้ จ ะน้ อ มนำให้ ม าบั ง เกิ ด เป็ น มนุ ษ ย์ ในตระกู ล ที่

ยากจนคับแค้น ต้องต่อสู้ดิ้นรนศึกษาเล่าเรียน และขวนขวายสร้าง ตนเองมากตัง้ แต่วยั ต้น จนล่วงวัยกลางคนไปแล้วกิจการงานหรือธุรกิจนัน้ ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ แต่ครั้นถึงบั้นปลายชีวิตก็ประสบช่องทาง เหมาะ ทำให้กิจการงานนั้นเจริญรุ่งเรือง ทำมาค้าขึ้นและร่ำรวยอย่าง ไม่คาดหมาย


สวดมนต์ สร้างบารมี ไขกรรม 29

การรัก ษาศีล

ศีล แปลว่า ปกติ คือ สิ่งหรือกติกาที่บุคคลจะต้องระวังรักษาตามเพศ และฐานะ ศีลนั้นมีหลายระดับ คือ ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ และศีล ๒๒๗

และในบรรดาศีลก็ยังจัดแยกออกเป็น ศีลระดับต้น ได้แก่ ศีล ๕, มัชฌิมศีล

(ศีลระดับกลาง) ได้แก่ ศีล ๔ ศีล ๘ และ อธิศีล (ศีลอย่างสูง ศีลอย่างอุกฤษฏ์) ได้แก่ ศีล ๒๒๗ คำว่า “มนุษย์”

คือ ผู้ที่มี ใจอันประเสริฐ คุณธรรมที่เป็นปกติของมนุษย์

ที่จะต้องทรงไว้ ให้ตลอดไปก็คือ ศีล ๕ บุคคลที่ ไม่มีศีล ๕

ไม่เรียกว่า มนุษย์ แต่อาจจะ เรียกว่า “คน” ซึ่งแปลว่า“ยุ่ง” ในสมั ย พุ ท ธกาล ผู้ ค นมั ก จะมี ศี ล ๕ ประจำใจกั น เป็ น นิ จ ศี ล ๕ จึงเป็นเรื่องปกติของบุคคลในสมัยนั้น และจัดว่าเป็น “มนุษยธรรม”๑ ส่วนหนึ่ง ในมนุษยธรรม ๑๐ ประการ ผู้ที่จะมีวาสนาได้เกิดเป็นมนุษย์ จะต้องถึงพร้อม ด้วยมนุษยธรรม ๑๐ ประการเป็นปกติ (ซึ่งรวมถึงศีล ๕ ด้วย) รายละเอียดจะมี ประการใดจะไม่ขอกล่าวในที่นี้ ๑ อ่านว่า มะ-นุด-สะ-ยะ-ทำ แปลว่า ธรรมทีท่ ำให้เป็นมนุษย์ มี ๑๐ ประการ อันได้แก่ เบญจศีล ๕,

เบญจธรรม ๕ (เมตตา, สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ, สันโดษในกาม, สัจจะวาจา พูดคำจริง,

สติปัญญา ไม่ประมาท)


30 สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

บำเพ็ญบุญทีส่ งู กว่าทาน คือการรักษาศีล

การรักษาศีลเป็นความเพียรพยายามเพื่อระงับโทษทางกายและวาจา อันเป็นเพียงกิเลสหยาบมิให้กำเริบขึ้น และเป็นการบำเพ็ญบุญบารมีที่สูงขึ้นกว่า การให้ทาน การถือศีลก็ยังได้บุญมากและน้อยต่างกันไปตามลำดับต่อไปนี้ คือ

๑. การให้ทานแม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่า การตั้งใจสมาทานศีล ๕ และรักษาไว้ด้วยดี ไม่ ให้ขาดแม้เพียง ๑ วัน ๒. การถือศีล ๕ ให้บริสุทธิ์ ๑๐๐ วัน มีอานิสงส์น้อยกว่า การสมาทานและรักษาอุโบสถศีล (ศีล ๘) ให้บริสุทธิ์แม้เพียง ๑ คืน ๑ วัน ๓. การสมาทานรั ก ษาศี ล อุ โ บสถให้ บ ริ สุ ท ธิ์ ๑๐๐ วั น

มีอานิสงส์น้อยกว่า การบวชเป็นสามเณร รักษาศีล ๑๐ ให้บริสุทธิ์

แม้เพียง ๑ วัน ๔. การบวชเป็นสามเณร รักษาศีลให้บริสุทธิ์นาน ๑๐๐ วัน

มี อ านิ ส งส์ น้ อ ยกว่ า การอุ ป สมบทเป็ น พระภิ ก ษุ ใ นพระพุ ท ธศาสนา

และรักษาศีล ๒๒๗ ให้บริสุทธิ์แม้เพียงวันเดียว

ฉะนั้น ถ้าว่าในฝ่ายศีลแล้ว การได้อุปสมบทเป็นพระในพระพุทธศาสนาได้บุญบารมีมากที่สุด เพราะสมณะมีกฎระเบียบและข้อปฏิบัติที่เคร่งครัด สำหรับขัดเกลากิเลสในกมลสันดานให้บรรเทาเบาบาง หรือลดน้อยมากกว่า

ใครอื่น ทั้งมีโอกาสมีเวลาในการศึกษาธรรมะ ตลอดถึงเจริญสมถภาวนาและ วิปัสสนาภาวนา เพื่อให้รู้แจ้งเห็นจริงในนามรูป จนสามารถละกิเลสทั้งหมด บรรลุถึงมรรค ผล นิพพาน เป็นลำดับไป


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.