โพชฌังคปริตร พุทธฤทธิ์พิชิตโรค

Page 1



ขอเชิญร่วมสร้าง

เป็นภูมิคุ้มกันสังคมไทย

ในสังคมที่ดูจะสับสน วุ่นวาย มีข่าวอัปมงคลร้ายๆ กระจายให้เราเห็น ตามหน้าหนังสือพิมพ์ สื่อทีวี วิทยุไม่เว้นแต่ละชั่วโมง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้าน อาชญากรรม การทุ จ ริ ต คอร์ รั ป ชั่ น หรื อ การแตกแยกความคิ ด ทางสั ง คม เป็นต้น ทำไมหนอ? ในโลกสังคมวัตถุนิยมที่มองว่าโลกเจริญ แต่คนกลับมีความ ประพฤติในทางชั่วร้ายมากขึ้น นั่นเป็นเพราะคนมีความหลงคิดผิด, จิตเริ่มมี ความโลภ, ความโกรธจึงเกิดเป็นกิเลสตัวที่ ๓, คนในสังคมจึงสรุปว่า ศีลธรรม เสื่อม หากท่านใส่ใจคิดพิจารณาสภาพสังคม ท่านคงกล่าวได้ว่า

นี่ ! ไม่ใช่ศีลธรรมเสื่อม แต่เป็นคนเสื่อมจากศีลธรรม

ขอเชิญชวนท่านช่วยกันเติมเชื้อธรรมนิวเคลียร์ (Dhamma NuClear ; DNC) ด้ ว ยหนั ง สื อ ธรรมะเล่ ม น้ อ ยนี้ ให้ แ ก่ ผู้ อื่ น ได้ อ่ า นกั น อย่ า งแพร่ ห ลาย กระจายไปทุกมุมของสังคม เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันภัยให้คนไทยอยู่ร่วมกันได้อย่าง ร่มเย็นเป็นสุข ปรับตัวปรับใจอยู่ในท่ามกลางความเสี่ยงต่อภัยพิบัติธรรมชาติ ได้อย่างไม่ทุกข์นัก หนังสือ ๑ เล่ม สร้างความสุขให้คน ๑๐ คน หนังสือ ๑๐๐ เล่ม สร้างความสุขให้คน ๑,๐๐๐ คน ท่านเป็นผู้ที่ช่วยให้สังคมดีขึ้นได้ด้วยการให้ ของขวัญทางปัญญาแก่ลูกหลานญาติมิตรบุพการี เอ๊...! ท่านนายก อบต., เทศบาล, อบจ., พี่ๆ ใน กทม. จะมี เมตตาจิตจัดหาหนังสือเล่มนี้แจกให้หนูๆ ได้อ่านกันบ้างมั้ยน้อ...


มหาอานิสงส์ การให้หนังสือธรรมะเป็นทาน คำว่า “ธรรมะ” เพียงคำเดียว มีความหมายมากมายหลายประการ แต่ประการที่สำคัญที่สุดนั้น ธรรมะ คือ หน้าที่ ที่มนุษย์จะต้องปฏิบัติ ให้ถูกต้องตามกฎของธรรมชาติ ทุกขั้นทุกตอนแห่งวิวัฒนาการของเขา เพื่อความมีชีวิตอยู่อย่างผาสุก ทั้งโดยส่วนตัว และส่วนรวม หรือทั้งโลก การพิมพ์หนังสือธรรมะขึ้นเป็นธรรมทาน ในสมัยที่ โลกกำลังขาดแคลนธรรมะ อย่างยิ่งเช่นนี้ เป็นสิ่งที่มีเหตุผล และควรแก่การอนุโมทนา

ขออนุโมทนา


ส ามสหาย ส ร้ า งสุ ข ส ลายทุ ก ข์

๑ ศรัทธา ๓ มากรอบ ๒ ปัญญา มากสุข วิริยะ

โ พ ช ฌั ง ค ป ร ต ร

พระพุ ท ธเจ้ า ทรงอนุ ญ าต ให้สวดมนต์ เพื่อเป็นการรำลึกถึงคุณ ของพระรัตนตรัย, เพื่อท่องบ่นจดจำ หลักธรรมคำสอนไว้เป็นหลักปฏิบัติใน ชีวิตประจำวัน, และเพื่อให้เกิดผลแก่ การป้องกันขจัดภัยต่างๆ ทรงแสดงอีก ว่ า การสวดมนต์ นั้ น หากสวดโดย โยนิโสมนสิการ คือใช้ปัญญาพิจารณา ไปตามบทสวดอย่างแยบคาย ทำให้ผู้ สวดถึงจุดหมายสูงสุดของพุทธศาสนา คือความพ้นทุกข์หลุดจากวงจรวัฏสงสาร ๓๑ ภู มิ ไ ด้ ดั ง มี พุ ท ธดำรั ส ตรั ส ไว้

ในพระสุ ต ตั น ตปิ ฎ ก อั ง คุ ต ตรนิ ก าย ปัญจกนิบาต วิมุตตายตนสูตรว่า


“บุคคลบางคน หมั่นไหว้พระ สวดมนต์ หรือสาธยายข้อธรรมที่ ได้ เรียนมา และขณะที่สวดด้วยจิตเป็นสมาธินั้น เขาน้อมข้อธรรมมาปฏิบัติ ก็จักบรรลุถึงความพ้นทุกข์ ได้” การสวดมนต์จะศักดิ์สิทธิ์สัมฤทธิ์ผลดังปรารถนานั้น ต้องประกอบ ด้วย ๑. มีศรัทธา อย่างสุดชีวติ ๒. มีวริ ยิ ะ ความพยายามหมัน่ เพียรสวดมนต์ และปฏิบัติตามคำสวดในบทสวด ๓. มีปัญญา พิจารณาเนื้อหาบทสวด อย่างละเอียด ช่วยสนับสนุนให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น เช่น การสวด บทโพชฌังคปริตร เมื่อเรามีศรัทธาความเชื่อในเบื้องต้น แล้วเพียรลงมือ

สวดอย่างมุ่งมั่น ผลให้เกิดปีติ เกิดสมาธิ สมาธิทำให้เกิดปัญญาพิจารณา เนื้อหาบทสวดได้แล้ว เราชื่นชมเชื่อมั่นหลักธรรมในพระพุทธศาสนา

ก่อให้เกิดศรัทธาเพิ่มขึ้น ยิ่งทำให้มีกำลังใจสวดมากขึ้น ปีติจะเพิ่มขึ้น สมาธิก็เพิ่มขึ้นตามมา ปัญญายิ่งพิจารณาไตร่ตรองได้ละเอียดมากขึ้น ขบวนการหมุนเวียนตอกย้ำซ้ำๆ นี้ ต้องใช้วิริยะความเพียร ยิ่งทำ มากรอบ ยิ่งเพิ่มพลังความศักดิ์สิทธิ์ ทุกรอบของการเกิดปีติชื่นชมยินดี ร่ า งกายจะมี ก ารเปลี่ ย นแปลงทางเคมี ใ นเลื อ ด ในน้ ำ เหลื อ ง ในเส้ น

พุ ท ธ ฤ ท ธ พ ช ต โ ร ค


ประสาท ในทุกอย่างที่อยู่ภายในกาย ช่วยให้เรามีโอกาสหายป่วยได้

ที่ป่วยหนักจะทุเลาเบาลง ที่เบาก็บางจางหายไป นี่เป็นหลักวิทยาศาสตร์ ที่พิสูจน์ได้ บทสวดโพชฌังคปริตรแนะให้เราปฏิบัติตามบทสวดนี้ เราจะได้ บุญสูงมาก ทำให้หลุดพ้นจากความทุกข์เข้าสู่นิพพาน หรือหากปรารถนา เป็นมนุษย์ต่อไป ก็จะมีความสุขความพร้อมต่อการดำเนินชีวิตในทุกภพ ทุกชาติ ขออานิ ส งส์ จ ากการสวดมนต์ ด้ ว ยใจศรั ท ธาที่ เ ต็ ม เปี่ ย มใน พระปริ ต รธรรมของผู้สวด จงบังเกิดเป็นเครื่องต้านทานป้องกัน และ บรรเทาให้ท่านหายจากโรคในเร็ววัน เทอญ. ไพยนต์ กาสี

น.ธ.เอก, ป.ธ.๖, พธ.บ., น.บ. เรียบเรียงในนามคณาจารย์

สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ อาสาฬหบูชา ๒๕๕๑

โ พ ช ฌั ง ค ป ร ต ร

ขอพระสัทธรรมจงดำรงอยู่ ในดวงจิตของทุกท่าน ตลอดกาลนาน


รู้จักโรค + รู้จักวิธีสวด = หายป่วย การจะสวดโพชฌังคปริตร๑ ให้เกิดเป็นพุทธฤทธิ์รักษาโรค ควร ทำความเข้าใจก่อนว่า โรคคืออะไร? และการสวดมนต์ ช่วยให้หายจาก โรคอย่างไร? คำว่า โรค แปลว่า ความเจ็บไข้ หรือ ความเจ็บป่วย โรคภัย ไข้เจ็บเป็นสิ่งหนึ่งที่กล่าวได้ว่าเป็นสมบัติติดตัวมนุษย์ตั้งแต่เกิด ดังมี หลักธรรมบทหนึ่งชื่อว่า อภิณหปัจจเวกขณะ๒ แปลว่า ธรรมที่ทรงแนะนำ ให้พิจารณาอยู่เป็นประจำ ในบทนี้มีข้อหนึ่งพูดถึงเรื่องความเจ็บป่วยว่า

๑ ๒ อ่านว่า โพด-ชัง-คะ-ปะ-ริด. โพชฌังค องค์แห่งการตรัสรู้ + ปริตร ต้านทาน, ป้องกัน

อ่านว่า อะ-พิน-หะ-ปัด-จะ-เวก-ขะ-หนะ

พุ ท ธ ฤ ท ธ พ ช ต โ ร ค


พฺยาธิธมฺโมมฺหิ พฺยาธึ อนตีโต๑ แปลว่า เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา จะ ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปไม่ได้ ฉะนัน้ จงอย่าตกใจกลัวโรคภัยไข้เจ็บทีเ่ กิดขึน้ เลย คนไม่มีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียนจึงเป็นผู้มีโชควาสนาอย่างที่สุด ดังพระพุทธดำรัสที่ตรัสไว้ในพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ว่า อาโรคฺยปรมา ลาภา๒ แปลว่า ความไม่มีโรค เป็นลาภอย่างยิ่ง โรค เมื่อแยกโดยประเภทแล้วมีอยู่ ๒ ชนิด ได้แก่ โรคทางกาย คือ ความเจ็บป่วยต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอกกายเรา โรคทางใจ คือ อาการที่จิตใจเกิดความแปรปรวนไปตามอำนาจกิเลส ดังมีหลักฐานใน คัมภีร์พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต โรคสูตร ว่า

อยากเซา (หาย) ไข้ อ่านหนังสือ เล่มนี้เด้อ สิบอกให่

“คนที่ ไม่มี โรคทางกายตั้งแต่มีอายุ ๑ ปี จนถึงเกิน ๑๐๐ ปี ยังพอหาได้ แต่คนที่ ไม่มี โรคทางใจ แม้เพียงครู่เดียวหาได้ยาก เว้นแต่ท่านผู้หมดกิเลส คือพระอรหันต์”

อ่านว่า พะยา-ทิ - ทั ม -โมม-หิ พะยา-ทิ ง อะ-นะ-ตี - โต (พะยา ออกเสี ย งสระอะ ตรงคำว่ า ๒ พะ เร็วๆ ออกครึ่งเสียง; ตามหลักไวยากรณ์บาลี เรียกว่าการออกเสียง กึ่งมาตรา) อ่านว่า อา-โร-คะยะ-ปะ-ระ-มา ลา-พา (คะยะ ออกเสียงสระอะ ตรงคำว่า คะ เร็วๆ ออกครึ่งเสียง) โ พ ช ฌั ง ค ป ร ต ร


โรคทางกาย อาจเกิดขึน้ ได้ดว้ ยสมมติฐาน ๘ ประการ ดังหลักฐาน ในคัมภีร์พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค สิวกสูตร๑ ว่า “อาพาธ คือ ความเจ็บป่วยบางอย่างอาจมีสาเหตุมาจาก ๑. มีดเี ป็นเหตุ ๒. มีเสมหะเป็นเหตุ ๓. มีลมเป็นเหตุ ๔. มีทั้งดี ลม และเสมหะเป็นเหตุ

๕. ฤดูกาลเปลีย่ น ๖. รักษาสุขภาพไม่สม่ำเสมอ ๗. ถูกทำร้าย ๘. ผลกรรม” การเจ็ บ ป่ ว ยที่ เ กิ ด จากสมมติ ฐ าน ๗ ประการแรก อาจป้ อ งกั น และรักษาให้หายได้ดว้ ยยา แต่ทมี่ สี าเหตุจากกรรมเก่าตามสมมติฐานสุดท้าย ไม่อาจป้องกันหรือรักษาได้ด้วยยาอย่างเดียว ต้องอาศัยการรักษาทางใจ ด้วยการสวดมนต์ไหว้พระ และการทำสมาธิภาวนา๒ เข้าช่วยอีกทางหนึง่ สอนว่า...ป่วย พระอาจารย์ ด้วยกรรมเก่า ต้องเข้า กรรมฐานและสวดมนต์ ฉันเลยลองนั่งกรรมฐานดู

นั่งทำอะไรเหรอเธอ

๑ ๒ อ่านว่า สุด-ตัน-ตะ-ปิ-ดก สัง-ยุด-ตะ-นิ-กาย สะ-ลา-ยะ-ตะ-นะ-วัก สิ-วะ-กะ-สูด

สมาธิ + ภาวนา สมาธิ แปลว่า ความตั้งมั่นแห่งจิต ภาวนา แปลว่า การเจริญ การอบรม รวมความแล้วจึงหมายถึง การเจริญหรืออบรมจิตให้มีความมั่นคงหนักแน่น

พุ ท ธ ฤ ท ธ พ ช ต โ ร ค


โรคทางใจ มีสมมติฐานที่เกิดจากกิเลส คือ ความโลภ โกรธ หลง เมื่อกิเลส ๓ ตัวนี้เกิดขึ้นทำให้ผู้นั้นมีความตริตรึกนึกคิดไปในทางชั่ว ทั้งสิ้น ภาษาพระเรียกว่า “อกุศลวิตก” เช่น มีความโลภเกิดขึ้นก็นึกคิด อยากได้มาเป็นของตน มีความโกรธเกิดขึ้นก็นึกคิดจองล้างจองผลาญ มี ความหลงเกิ ดขึ้นก็นึกคิดไปในทางเบียดเบียนผู้อื่น เป็นต้น เนื่ อ งจากกายกั บ ใจมี ค วามสั ม พั น ธ์ กั น อย่ า งแนบแน่ น ความ เจ็บป่วยด้านหนึ่งอาจส่งผลถึงอีกด้านหนึ่งได้ เช่น คนเจ็บป่วยทางกาย

ถ้าใจตก หรือใจเสีย ที่ป่วยน้อยก็ป่วยมาก ที่ป่วยมากก็ทรุดหนักลงไปอีก หรื อ โรคทางใจบางอย่ า งก็ ส่ ง ผลให้ เ กิ ด โรคทางกายได้ โ ดยตรง เช่ น มีความวิตกกังวล หรือความเครียดมากๆ ก็ทำให้ปวดหัว หน้ามืดตาลาย หรื อเป็น โรคกระเพาะได้ มีเรื่องแปลกแต่จริง คนป่วยส่วนใหญ่ ยอมกินยาตามแพทย์สั่ง และคนป่วยส่วนใหญ่อีกเช่นกัน ไม่ยอมสวดมนต์อย่างศรัทธาแรงกล้า

แม้ผู้ป่วยจะรู้ว่าการสวดมนต์และทำสมาธิภาวนาเป็นการรักษาบำรุงใจ ให้แข็งแรง แต่ก็อาจรู้แบบผิวเผิน ครั้นเมื่อได้เพลิดเพลินกับหนังสือเล่ม

โ พ ช ฌั ง ค ป ร ต ร

10


ที่ถืออยู่นี้ คงทำให้ผู้ป่วยเกิดศรัทธาแรงกล้า ปรารถนาและลงมือปฏิบัติ สวดมนต์อย่างจริงจัง ไม่หาข้ออ้างผัดวันประกันพรุ่ง การเป็ น ผู้ ป่ ว ยที่ น่ า รั ก ทำตามคำชี้ แ นะของหมอยา คื อ หมอ ที่รักษาทางสรีระร่างกาย และทำตามคำชี้แนะของหมอญาณ คือ หมอ ผู้ให้ความรู้ในการรักษาใจ ผู้ป่วยจักได้รางวัลคือหายป่วย หรือแม้ยังไม่ หายขาด แต่ก็ไม่เบื่อหน่ายในความทรมาน กลับได้รับความสงบกาย สงบใจ ใจนิ่งได้ กายนิ่งดี แม้ต้องวายชีวีเพราะป่วยหนักด้วยเวรกรรม เกินเยียวยาก็ยังได้ตายแบบไปดี มีสติในการจากลา ถือว่าชนะใน ศึกชิงภพ ไปสู่สุคติภพได้ง่ายจริง ขอให้ทุกท่านหายเจ็บ หายไข้ หายป่วย หายทุกข์ หายหลงใน ความยึดมั่นในสรรพสิ่งว่าเป็น “ของกู”๑ ๑

โปรดพิ จ ารณาดู เ ถิ ด ว่ า คนเราไม่ สิ้ น กิ เ ลส เพราะยึ ด มั่ น กั บ วั ต ถุ ความรู้ สึ ก อารมณ์ เกียรติยศ ศักดิ์ศรี ชีวิตเรา ชีวิตเขา เอามา ถื อ ว่ า เป็ น ของของตน ให้ ต นมี ค วามรู้ สึ ก เป็นเจ้าของไม่มากก็น้อย จึงต้องเวียนว่าย ตายเกิดอยู่ร่ำไป 11

กำลังใจ ้ค่ะ ได สร้างเอง

พุ ท ธ ฤ ท ธ พ ช ต โ ร ค


โรคกายไม่เท่าไร โรคใจหนักกว่า ความเจ็บป่วยไม่ว่าทางกายหรือทางใจเมื่อเกิด ขึ้นทำให้เป็นทุกข์ เพราะเป็นทุกข์ประจำสังขาร วิธีแก้ ทุกข์ยามเจ็บป่วย พระเดชพระคุณพระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ. ๙, ราชบัณฑิต) ท่านแนะนำว่า๑

“ให้ตัดความทุกข์ที่ ไม่จำเป็นลงเสียบ้าง คือ บางครั้งตัวทุกข์มัน มีอย่างเดียว แต่คนก็ ไปเพิ่มทุกข์ที่ ไม่จำเป็นอีกมากมาย ทำให้ทุกข์ เพิ่ ม ขึ้ น เช่ น เจ็ บ ป่ ว ยขึ้ น มา ทุ ก ข์ ตั ว จริ ง ๆ คื อ ป่ ว ย แต่ บ างคนก็ เลยเถิด ป่วยก็ป่วย ยังคิดต่อไปว่า หมอไม่เอาใจใส่ ยาไม่ดีทำให้หายช้า พยาบาลไม่ดูแล ลูกผัวเพื่อนฝูงไม่มาเยี่ยม คิดเรื่อยเปื่อย ความจริง ทุกข์มันมีอยู่อย่างเดียวคือป่วย นอกนั้น เป็นทุกข์นอก รายการที่เจ้าตัวเชิญมาทั้งนั้น เป็นทุกข์ โดยไม่จำเป็นเลย ทุกข์ประเภท หลังนี้ หมอก็รักษาไม่ ได้ เจ้าตัวต้องจัดการเชิญออกไปเอง” ๑

คัดจากหนังสือไขข้อข้องใจ จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง โ พ ช ฌั ง ค ป ร ต ร

12


สมมติฐานโรค กับ ๑ โหราศาสตร์

โหราศาสตร์ เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ฝังลึกอยู่ในความเชื่อของสังคมไทย โดยนักโหราศาสตร์เชื่อว่า ผู้เกิดในแต่ละวันมีดาวพระเคราะห์ประจำตัวที่ บ่งบอก ลักษณะดี - ร้าย ต่างๆ ได้ หนึ่งในจำนวนนั้นคือเรื่องดาวเคราะห์ของ ผู้เกิดในแต่ละวันสามารถทำนายความน่าจะเกิดโรคอะไรขึ้นได้บ้างดังนี้ ๑

ผู้สนใจรายละเอียด วิธีป้องกันตามแนวโหราศาสตร์อ่านได้ในหนังสือพรหมลิขิตชีวิตคุณ โดย ศักดิ์สิทธิ์ สิทธินันท์ จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง 13

พุ ท ธ ฤ ท ธ พ ช ต โ ร ค


วันอาทิตย์ ปาง ให้ระมัดระวัง โรคตา โรคกระเพาะอาหาร น้ำย่อยพิการ ถวาย เนตร น้ำเหลืองเสีย เนื้องอก มะเร็งเต้านม มดลูก วันจันทร์ ปาง ห้าม ให้ระมัดระวัง การเกิดโรคเลือด โรคลม โรคหัวใจ พยาธิ โรคกล้ามเนื้ออักเสบ โรคความดันโลหิต วันอังคาร

ปางไสยาสน์

ให้ระมัดระวังเกีย่ วกับ โรคประสาท ต่อมน้ำเหลือง หลอดลม ปอดอักเสบ หอบหืด ปัสสาวะพิการ พยาธิในลำไส้

วันพุธ (กลางวัน) ปาง ให้ระมัดระวัง โรคผิวหนัง โรคหวัด โรคปวดตามข้อ อุ้ม บาตร โรคกระดูก โรคลมในข้อ โรคประสาท


วันพุธ (กลางคืน) ปาง ให้ระมัดระวัง โรคเกี่ยวกับอวัยวะเพศ กามโรค ป่า โรคปวดข้อ โรคกระดูก ไขมันอุดตัน โรคผิวหนังบางชนิด เลไลยก์ วันพฤหัสบดี

ให้ระมัดระวัง โรคลมทุกชนิด โรคพิษสุราเรื้อรัง โรคที่เกิดจากสิ่งเสพติด โรคซึมเศร้า

ปาง สมาธิ วันศุกร์

ให้ระมัดระวัง โรคเกี่ยวกับหัวใจ โรคไข้หวัดต่างๆ โรคผิวหนัง โรคปอด โรคตา ให้ระมัดระวัง โรคหัวใจ โรคเยื่อหุ้มปอด โรคเนื้องอก โรคริดสีดวง โรคไต

ปาง รำพึง วันเสาร์ ปาง นาค ปรก


วิธีปฏิบัติตนในยามเจ็บป่วย เมือ่ ยามเจ็บป่วย เราก็ตอ้ งหาทางรักษาตน และยัง ต้องเกีย่ วข้องสัมพันธ์กบั คนอืน่ ๆ เช่น หมอ พยาบาล ญาติ สนิทมิตรสหาย เป็นต้น ในเรื่องนี้ท่านเจ้าคุณอาจารย์ พระราชวิจิตรปฏิภาณ (สุนทร าณสุนฺทโร) ได้เขียน แนะนำถึงวิธปี ฏิบตั ติ นของบุคคลต่างๆ ไว้อย่างครบครันว่า๑ “เมื่อเราป่วย ความปั่นป่วนก็เกิดขึ้น เพราะคนป่วยก็อยากหายป่วย จึงฝากความหวังไว้กับแพทย์และพยาบาล แพทย์และพยาบาลก็ก้มหน้า ก้มตารักษากันไป คนป่วยหายป่วยแล้วก็หายหน้า ถ้าเกิดตายขึ้นมาก็พากัน ด่าหมอ บางทีก็ฟ้องร้องเป็นความขึ้นโรงขึ้นศาล หมอเลยพาลถูกยึดใบ ประกอบโรคศิลป์ ไปก็มี ดูดูแล้วก็น่าเห็นใจหมอ คนป่ ว ย... ไม่ น้ อ ยกว่ า ๔๐% ตอนมี ชี วิ ต อยู่ มี พ ฤติ ก รรมเอาแต่ ทำลายสุขภาพตนเอง เช่น สูบบุหรี่จัด ดื่มจัด ทำงานกับสารพิษก็ ไม่หา เครื่องป้องกัน ใช้เวลาทำลายสุขภาพมา ๔๐-๕๐ ปี พอร่างกายทนทานต่อไป ไม่ ไหว เกิดกลัวตายเพราะความประพฤติเน่าๆ ของตนเอง อยากมีชีวิต ๑

คัดจากหนังสือพระพุทธเจ้าเยี่ยมไข้ จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง โ พ ช ฌั ง ค ป ร ต ร

16


อยู่ต่อ จึงฝากความหวังไว้กับหมอ พอหมอรักษาไม่หายก็พากันด่าหมอ แช่งหมอ แต่บางรายก็ดื้อหมอ หมอห้าม ข้าจะทำ หมอให้ทำ ข้าเพิกเฉย แต่ ก็ยังอยากหายป่วย คนไข้แบบนี้ เรียกว่า “คนไข้เน่าๆ” ครั้นเมื่อจะต้องใช้ จ่ายมากๆ เพราะแต่ละโรคของคนไข้ที่มีพฤติกรรมเน่าๆ เป็นโรคร้ายแรง ทั้งนั้น เช่น ดื่มจัดจนตับแข็ง ดื่มจัดจนไตเสีย บางรายอยู่กับสารพิษโดยไม่ ป้องกันจนเกิดเป็นมะเร็ง บางรายชอบกินอาหารพิสดารจนเกิดพยาธิ ในถุง น้ำดี บางรายเลือดเสียทั้งตัว ค่าใช้จ่ายก็ต้องสูงกว่าคนที่เขามุ่งรักษาสุขภาพ รัฐต้องจ่ายค่ารักษา น้าจ๋า พฤติกรรมอย่างนี้ พยาบาลแก่คนไข้ที่ ตับแข็ง มะเร็งปอด ถามหาแน่ เลิกเหอะน้า มี ค วามประพฤติ เน่าๆ มากกว่าคนที่ รั ก ษาสุ ข ภาพ แต่ ครั้นเครื่องมือไม่พอ ก็พาลพาโลด่าหมอ ด่ า จนโรงพยาบาล เสียชื่อไปก็มี 17

พุ ท ธ ฤ ท ธ พ ช ต โ ร ค


คนเฝ้าไข้...บางราย แทนที่จะตั้งใจกำหนดจดจำที่หมอสั่งให้ปฏิบัติไข้ แต่ทำเป็นไม่สนใจ บางรายเป็นผู้ช่วยคนไข้ ให้อาการกำเริบด้วยการตามใจ ให้กินของแสลงแล้วพากันปิดบังหมอ หมอ...บางคนแต่น้อยนักที่ ไม่ประกอบวิชาชีพอย่างสุจริต เบื่อหน่าย คนไข้ที่ยากจน มุ่งแต่รักษาคนรวย ก็พอมีอยู่บ้าง หรือแกล้งทำดีกับคนไข้

แต่รักษาไม่จริง ด้วยหวังว่าถ้าคนไข้ตายจะขอ ไต กับ ตา เพื่อหาประโยชน์ พฤติกรรมของคนไข้ คนเฝ้าไข้ หมอ สับสนจนไม่รู้ว่าใครผิดใครถูก เรื่องของแพทย์ - พยาบาล - คนไข้ - คนเฝ้าไข้ จะเป็นเรื่องง่าย ต่อการรักษา จะเป็นคุณแก่ทุกฝ่าย ถ้าทุกฝ่ายทุกคนนำเอาคำสอนของ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปปฏิบัติ อ่านแล้วจะรู้ว่า พระพุทธเจ้าทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อสัตว์ โลก ้อ อย่างเหลือเกิน สมกับคำว่า พุทธรัตนะ คือ ขอบคุณกู้คนตี้จ้วยฮื ผมหายป่วยแต๊ๆ ก๊า ดวงแก้วเนรมิตของสัตว์ โลก และเพื่อให้ง่ายต่อการกำหนดหน้าที่ จึง ได้นำมาผูกเป็นข้อปฏิบัติของแต่ละฝ่ายไว้เพื่อ จำให้แม่น ปฏิบัติ ให้มั่น” โ พ ช ฌั ง ค ป ร ต ร

18


ท่าน เจ้าคุณฯ ย้ำว่า

คุณสมบัติของแพทย์-พยาบาลที่ดี

จำให้แม่น ปฏิบัติให้มั่น

๑. ทำอาชีพด้วยใจรัก ๒. รู้จักจัดยา ๓. ตามบันทึกอาการ ๔. อย่าให้รับประทานของแสลง ๕. อย่าแสดงอาการเบื่อหน่าย

คุณสมบัติของเจ้าของไข้และคนเฝ้าไข้ที่ดี ๑. ให้กำลังใจคนไข้ ๒. ให้ความร่วมมือกับโรงพยาบาล คุ ณ สมบัติของคนไข้ที่ดี ๑. เล่าอาการโดยไม่ปิดบัง ๓. ให้ทานแต่ยาที่แพทย์สั่ง ๒. เชื่อฟังแพทย์พยาบาล ๔. ให้ระวังของแสลง ๓. อดทนต่อการรักษา ๕. ชี้แจงอาการอย่าปิดบัง ๔. กินยาตามแพทย์สั่ง ๖. อย่าส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่น ๕. ให้ระวังของแสลง 19

พุ ท ธ ฤ ท ธ พ ช ต โ ร ค


รวยบุญด้วยการดูแลรักษาผู้ป่วย ธรรมดาผู้ ป่ ว ยย่ อ มมี สุ ข ภาพ ร่างกายไม่แข็งแรง จะลุกจะนั่งก็ลำบาก สภาวะจิตใจก็แปรเปลี่ยนได้ง่าย การ ปรนนิ บั ติ ดู แ ลผู้ ป่ ว ยได้ บุ ญ อย่ า งไร พระเดชพระคุ ณ พระธรรมกิ ต ติ ว งศ์

(ทองดี สุรเตโช ป.ธ. ๙, ราชบัณฑิต) ท่านกล่าวแนะนำไว้ว่า๑ “การรักษาพยาบาลผู้ป่วย ถือว่าเป็นการปลดเปลื้องทุกข์ ให้แก่ เขา ช่วยชีวิตเขาให้รอดจากความตาย จากความทุกข์ทรมาน หากผู้ป่วย นั้นเป็นคนสำคัญ มีประโยชน์ต่อสังคมต่อครอบครัวด้วยแล้ว เท่ากับว่า ได้ ช่ ว ยสั ง คม ช่ ว ยครอบครั ว ของเขาให้ พ้ น ทุ ก ข์ ไปด้ ว ย นั บ เป็ น การทำ ประโยชน์อย่างสูง เมื่อช่วยให้เขาได้ชีวิตคืนมา ช่วยให้เขาพ้นจากทุกข์ภัย ๑

คัดจากหนังสือไขข้อข้องใจ จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง โ พ ช ฌั ง ค ป ร ต ร

20


ไข้เจ็บ ผู้รักษาพยาบาลก็ย่อมได้ผลสนอง คือ เกิดในภพใดชาติ ใดก็จะ ไม่ เป็ น คนขี้ โรคอ่ อ นแอ จะเป็ น คนมี อ ายุ ยื น ดั ง มี ห ลั ก ฐานปรากฏใน จูฬกัมมวิภังคสูตร๑ ตอนหนึ่งว่า ‘ผู้ที่ ไม่มี โรค เพราะทำกรรมคือไม่เบียดเบียนผู้อื่น มีจิตศรัทธาบริจาคเภสัชรักษาโรคเป็นประจำ ทั้งยังสร้างห้องน้ำห้องส้วมถวายพระสงฆ์สามเณรด้วย’ ก็เป็นเครื่องชี้ ให้เห็นว่า ผู้รักษาพยาบาลนั้น แม้จะไม่บริจาคยา ด้วยตนเอง ก็เท่ากับให้ยา บอกยา แก่คนไข้ ทำให้เขาหายโรคหายทุกข์ ดังกล่าวแล้ว ย่อมได้รับผลเช่นผู้บริจาคยาเหมือนกัน อนึ่ง หากรักษาพยาบาลภิกษุไข้สามเณรป่วย หรือผู้ทรงศีล ด้วยแล้ ว ยิ่ ง มี ผ ลมาก ย่อมได้รับบุญมากเท่าๆ กับได้รักษาพยาบาล พระพุ ทธเจ้าทีเดียว ดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย ผู้ ใดรักษาพยาบาลบำรุงภิกษุไข้ ก็เท่ากับรักษาพยาบาลบำรุงเราตถาคต’ ” ๑

อ่านว่า จู-ละ-กำ-มะ-วิ-พัง-คะ-สูด แปลว่า สูตรว่าด้วยการจำแนกกรรมสูตรเล็ก 21

พุ ท ธ ฤ ท ธ พ ช ต โ ร ค


สวดมนต์รักษาโรคได้จริง

หลั ง จากนำเสนอเรื่ อ งโรคตามความหมาย ของศัพท์ สาเหตุที่ทำให้เกิดโรค และวิธีรักษาข้างต้น ที่ผ่านมา ซึ่งพอจะประมวลได้ว่าเป็นการรักษาโรคที่ เกิดทางกายเป็นหลัก แต่ทั้งนี้ไม่ว่ากายจะเกิดโรค อะไรก็ ต าม เราผู้ เ ป็ น พุ ท ธศาสนิ ก ชน ก็ ต้ อ งไม่ ลื ม รักษาใจ ไม่ให้ป่วยตามไปด้วย ทีนี้ก็มาถึงประเด็นว่า พระพุทธมนต์มีผล ต่อการรักษาโรคอย่างไร? ตามประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา มีปรากฏ หลักฐานว่าพระพุทธเจ้าทรงรักษาพระสาวกผู้อาพาธด้วยพระพุทธมนต์

อยู่ ห ลายครั้ ง หลายรู ป หรื อ แม้ แ ต่ พ ระองค์ เ องเมื่ อ ประชวร ได้ ใ ห้

พระสาวกสวดสาธยายพระพุทธมนต์ถวายเพื่อบรรเทาความเจ็บไข้ นี่จึง เป็ น เรื่ อ งยื น ยั น ได้ ว่ า พระพุ ท ธมนต์ มี อ านุ ภ าพรั ก ษาโรคทางกายและ โรคทางใจได้ ซึ่งมีนัยว่า โรคทางกายและโรคทางใจเกี่ยวข้องกันอย่างแยก ไม่ออก จะต้องรักษาควบคูก่ นั ไป และมีความสำคัญเท่าๆ กัน พุทธศาสนิกชน พึงเอาใจใส่ดูแลสุขภาพทางกายและใจ อย่าละเลยอย่างใดอย่างหนึ่ง โ พ ช ฌั ง ค ป ร ต ร

22


ดังคำที่พระเดชพระคุณพระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุ ท ธ์ ปยุตฺโต) ท่านแนะนำไว้ว่า๑ “เป็ น ธรรมดาว่ า กายกั บ ใจนั้ น เป็ น สิ่ ง ที่ อ าศั ย กั น และกั น พอกายเจ็ บ ป่ ว ยไม่ ส บาย คนทั่ ว ไปก็ มั ก จะพาลจิ ต ใจไม่ ส บาย เศร้ า หมอง กระวนกระวาย กระสับกระส่ายไปด้วย และในทำนองเดียวกัน เมื่อจิตใจ ไม่สบายก็พลอยให้กายไม่สบายไปด้วย เริ่มต้นตั้งแต่รับประทานอาหาร ไม่ ได้ ร่างกายเศร้าหมอง ผิวพรรณซูบซีด เป็นสิ่งที่เนื่องอาศัยกัน ในทางตรงกันข้าม คือในทางที่ดี ถ้าจิตใจดีสบาย บางทีก็กลับมา ช่วยกาย เช่นในยามเจ็บป่วย ถ้าจิตใจสบาย เช่นมีกำลังใจ หรือจิตใจ ผ่ อ งใสเบิ ก บาน โรคที่ เป็ น มากก็ ก ลายเป็ น น้ อ ย หรื อ ที่ จ ะหายยากก็ หายง่ายขึ้น ยิ่งถ้าหากว่ากำลังใจที่ดีนั้นมีมากถึงระดับหนึ่ง ก็ ไม่เพียงแต่ ให้ โรคบรรเทาเท่านั้น แต่อาจจะช่วยรักษาโรคไปด้วยเลย ทั้งนี้ก็อยู่ที่ว่า

จะช่วยทำใจของเราหรือรักษาใจของเราได้มากแค่ ไหน ๑

คัดจากหนังสือโพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ จัดพิมพ์โดยมูลนิธิพุทธธรรม 23

พุ ท ธ ฤ ท ธ พ ช ต โ ร ค


พระพุทธเจ้า และพระมหาสาวกนั้น ท่านมีจิตใจที่พัฒนาให้ดีงาม เต็มที่ มีสุขภาพด้านจิตที่สมบูรณ์แล้ว เมื่อถึงเวลาที่ต้องการ ก็จึงเรียก เอาด้านจิตมาช่วยด้านกายได้เต็มที่ ถ้าไม่เหลือวิสัยของเหตุปัจจัย ก็เอา ของดีที่มี ในใจออกมารักษากายที่เป็นโรคให้หายไปได้” นอกจากนั้น การใช้ธรรมโอสถรักษาโรคทางใจ พระเดชพระคุณพระโพธิญาณเถร หรือที่เรารู้จักกันดี ในนามหลวงปู่ชา สุภทฺโท ท่านเมตตาแนะนำไว้ว่า๑ “พวกแพทย์พวกหมอเขาปรุงยา ปราบโรคทางกาย จะเรียกว่าสรีรโอสถก็ ได้ ส่วนธรรมของพระพุทธเจ้านั้น ใช้ปราบโรคทางใจ เรียกว่าธรรมโอสถ... โรคทางใจเป็นได้ ไว และเป็นได้ทุกคนไม่เว้นเลย เมื่อท่านรู้ว่าเป็นไข้ ใจ จะไม่ ใช้ธรรมโอสถรักษาบ้างดอกหรือ” ๑

คัดจากหนังสือ ๔๘ พระธรรมเทศนา พระโพธิญาณเถร (หลวงปู่ชา สุภทฺโท) จัดพิมพ์โดย ศูนย์

เผยแผ่มรดกธรรม พระโพธิญาณเถร (หลวงปู่ชา สุภทฺโท) วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี โ พ ช ฌั ง ค ป ร ต ร

24


ผู้เรียบเรียงมีโอกาสรู้จักคุณผู้หญิงท่าน หนึ่ ง ชื่ อ “คุ ณ อารี ย์ อาจน้ อ ย หรื อ พี่ เ ปี ย ” เจ้ า ของร้ า นคุ ณ เปี ย ซึ่ ง ขายของที่ ร ะลึ ก ให้ กั บ

นักท่องเทีย่ วอยูแ่ ถวท่าช้าง สนามหลวง กรุงเทพฯ เมื่อครั้งไปปฏิบัติธรรมที่เชียงใหม่ต้นปี ๒๕๕๑ นี่เอง เธอเล่าให้ฟังว่า “ตลอดชีวิตที่ผ่านมา พี่ไม่เคยเจ็บป่วยหนัก ถึงขั้นต้องล้มหมอนนอนเสื่อเลย จนกระทั่งเมื่อปี ๔๕ พี่ไม่สบายต้องเข้า โรงพยาบาล หมอบอกว่าพี่เป็นมะเร็งระยะสุดท้าย มีเวลาอีกไม่เกิน ๖ เดือน แรกทีเดียวพี่ตกใจ ท้อใจมาก แต่ก็ทำใจได้ในที่สุด เลยปลงตกว่า ไหนๆ ก็จะตายแล้ว ขอทำความดีก่อนตายดีกว่า จะ ได้มีบุญช่วยให้ขึ้นสวรรค์ ตั้งแต่นั้นมาจึงได้ไหว้พระสวดมนต์ ทำบุญ

ทำทาน และทำสมาธิตลอด ไม่ว่าที่บ้านหรือมีโอกาสไปวัด นับจนบัดนี้ เป็นเวลาถึง ๖ ปีแล้ว พี่ก็ยังไม่ตาย นอกจากไม่ตายแล้ว การค้าขายของพี่ กลับดีขึ้น บางวันมีรายได้ไม่ต่ำกว่าสอง-สามหมื่นบาท” เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของคนยุคปัจจุบัน ซึ่งได้อานิสงส์จากการ ไหว้พระสวดมนต์ ทำสมาธิภาวนารักษาโรค ที่เห็นด้วยตาเนื้อของเรา 25

พุ ท ธ ฤ ท ธ พ ช ต โ ร ค


แต่ใช่ว่าการสวดมนต์จะช่วยรักษาโรคให้หายได้ทุกอย่าง ทั้งนี้ขึ้น อยู่กับเหตุปัจจัย ๓ ประการ ดังที่พระนาคเสนเถระได้กล่าวเป็นอุทาหรณ์ เปรียบเทียบไว้ใน หนังสือมิลินทปัญหา ว่า “อาหารตามปกติแล้วเป็นสิ่งรักษาชีวิต แต่หากทานเกินขนาด และธาตุไฟหย่อนไม่ย่อยเผาผลาญแล้ว เป็นเหตุ ให้ถึงตายได้ อาหารจึงรักษาชีวิตไว้ ไม่ ได้เสมอไป พระปริตรที่สวดก็เช่นกันบางทีก็รักษาได้ บางทีก็รักษาไม่ ได้ เพราะมีเหตุ ๓ ประการ คือ ปู่ทานเยอะดิ นอนตีพุงเลย ๑. ถูกแรงกรรมปิดกั้น ๒. ถูกกิเลสปิดกั้น ๓. มีจิตไม่เชื่อในพระปริตร” เมื่อทำความเข้าใจทั้งเหตุให้เกิดโรค และการสวดมนต์รักษาโรค ได้อย่างไรแล้ว จึงขอแนะนำวิธีการสวดมนต์ให้ได้ผลตามที่ประสงค์ต่อไป โ พ ช ฌั ง ค ป ร ต ร

26


วิธีสวดโพชฌังคปริตรพิชิตโรค

การสวดมนต์ให้เกิดอานุภาพรักษาความเจ็บไข้อาจทำได้ ๒ วิธี คือ ผู้ป่วยสวดด้วยตนเอง หรือให้ผู้อื่นสวดให้ฟัง โดยสามารถสวดได้ ทุ ก ที่ ไ ม่ จ ำกั ด ขอเพี ย งแต่ มี ค วามตั้ ง ใจที่ จ ะสวด เนื่ อ งจากคำสวดเป็ น 27

พุ ท ธ ฤ ท ธ พ ช ต โ ร ค


ภาษาบาลีอาจสวดผิด-ถูกบ้างก็ไม่เป็นไร สวดบ่อยเข้าจะชินไปเอง จะสวด คำแปลด้วยหรือไม่สวดก็ได้ แต่ควรอ่านคำแปลเพื่อจะได้รู้ความหมาย ของบทสวด ทำให้เกิดความศรัทธามากขึ้น และการสวดไม่ใช่การบ่น

ในใจ จึงควรสวดออกเสียงให้ดังพอประมาณและไม่เร็วเกินไป โดยสวด ตามลำดับดังนี้ ๑๐. บทแผ่เมตตาแก่ตัวเอง ๑. บทกราบพระรัตนตรัย ๑๑. บทแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์ ๒. บทนอบน้อมพระพุทธเจ้า ๑๒. บทแผ่ส่วนกุศล ๓. บทไตรสรณคมน์ ๑๓. บทอธิษฐานจิต ๔. บทสรรเสริญพระพุทธคุณ ๕. บทสรรเสริญพระธรรมคุณ สวดบาลีตัวสีน้ำเงินครับ สวดคำแปลตัวสีแดงค่ะ ๖. บทสรรเสริญพระสังฆคุณ ๗. บทโพชฌังคปริตร ๘. บทสัพพมงคลคาถา ๙. ทำสมาธิ โ พ ช ฌั ง ค ป ร ต ร

28


๑ บทกราบ พระรัตนตรัย๑ อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา,

พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพระอรหันต์, ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง;

ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน. (กราบ)

พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ. ๑

บทนี้ เป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงแต่งขึ้นเพื่อให้มี คำสำหรับไหว้พระครบทั้ง ๓ รัตนะ ผู้กราบไหว้พระรัตนตรัยเป็นประจำทำให้มีจิตใจโน้มเอียงไปใน การทำความดีอยู่เสมอ จึงเป็นที่รักของเทวดาและมนุษย์ 29

พุ ท ธ ฤ ท ธ พ ช ต โ ร ค


ส๎วากขาโต๑ ภะคะวะตา ธัมโม,

พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสไว้ดีแล้ว;

ธัมมัง นะมัสสามิ.

ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม. (กราบ)

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,

พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว;

สังฆัง นะมามิ.

ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์. (กราบ)

ในหนังสือเล่มนี้ พยัญชนะที่มีเครื่องหมายยามักการ ( ) ให้อ่านออกเสียง อะ กึ่งมาตรา (อ่านออก เสี ย ง อะ ครึ่ ง เสี ย ง ควบกั บ พยั ญ ชนะหลั ง และว่ า เร็ ว ขึ้ น ) ทุ ก แห่ ง เช่ น ส๎ ว ากขาโต อ่ า นว่ า สะหวาก-ขา-โต

โ พ ช ฌั ง ค ป ร ต ร

30


๒ บทนอบน้อม พระพุทธเจ้า๑ (สวด ๓ จบ)

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า,

อะระหะโต, สัมมาสัมพุทธัสสะ. ๑

พระองค์นั้น; ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส; ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง.

บทนี้ สวดเพื่อแสดงความนอบน้อมเคารพพระคุณของพระพุทธเจ้า ๓ ประการ คือ พระกรุณาคุณ (ภะคะวะโต) พระบริสุทธิคุณ (อะระหะโต) พระปัญญาคุณ (สัมมาสัมพุทธัสสะ) เป็นเสมือน บทไหว้ครู ก่อนสวดมนต์ หรือการประกอบพิธีกรรมใดในพระพุทธศาสนาต้องสวดบทนอบน้อม พระพุทธเจ้าทุกครั้ง 31

พุ ท ธ ฤ ท ธ พ ช ต โ ร ค


๓ บทไตรสรณคมน์๑

พุทธัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ, ธัมมัง ชีวติ ัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ, สังฆัง ชีวติ ัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ,

ข้าพเจ้าถือเอาพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง ตราบถึงพระนิพพาน; ๑

บทนี้ สวดเพื่อปฏิญาณตนรับเอาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่ง หรือเป็นผู้นำในชีวิต คือ ยอมมอบกายถวายชีวิตอยู่ภายใต้การนำของพระรัตนตรัย ในที่นี้จะแตกต่างจากการสวดโดย ทั่วไป เพราะมีความนิยมว่า หากสวดให้ผู้ป่วยฟัง หรือสวดสะเดาะเคราะห์ต่อชะตาให้เพิ่มคำสวดว่า “ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง” แปลว่า ตราบถึงพระนิพพาน โ พ ช ฌั ง ค ป ร ต ร

32


ทุติยัมปิ พุทธัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ, ทุติยัมปิ ธัมมัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ, ทุติยัมปิ สังฆัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ,

ตะติยัมปิ พุทธัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ, ตะติยัมปิ ธัมมัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ, ตะติยัมปิ สังฆัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ.

แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้าถือเอาพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง ตราบถึงพระนิพพาน;

แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้าถือเอาพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง ตราบถึงพระนิพพาน. วิถีชีวิตไก่สอนว่า อย่ากินทิ้ง

กินขว้าง ต้องขยันทำมาหากิน

33

พุ ท ธ ฤ ท ธ พ ช ต โ ร ค


๔ บทสรรเสริญ พระพุทธคุณ๑ อิติปิ โส ภะคะวา, พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น; 1 อะระหัง, เป็นผู้ไกลจากกิเลส; 2 สัมมาสัมพุทโธ, เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง; 3 วิชชาจะระณะสัมปันโน, เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ๒; ๑ ๒ บทนี้ เป็นการสวดสรรเสริญพระคุณ ๙ ประการ ของพระพุทธเจ้า (ดูตามเลขอารบิค)

วิชชา อ่านว่า วิด-ชา หมายถึง ความรู้แจ้ง (วิชาการ) จรณะ หมายถึง ความประพฤติดี (วิธีการ) โ พ ช ฌั ง ค ป ร ต ร

34


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.