สวดมนต์ สะเดาะกรรม เรียนรู้คำสอน พร้ อมคำสวด...
อานิสงส์ของการสวดพุทธคุณ จะเกื้อหนุนตนให้พ้นเคราะห์กรรม ด้วยการนำความหมายในบทสวด ไปประพฤติปฏิบัติตาม
แนะนำบทสวดโดย...
หลวงพ่อจรัญ ิตธมฺโม
ไพยนต์ กาสี
น.ธ.เอก, ป.ธ. ๖, พธ.บ., น.บ. เรียบเรียงในนามคณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง บรรณาธิการสาระ : ศักดิ์สิทธิ์ พันธุ์สัตย์ บรรณาธิการศิลปะ : อนุชิต คำซองเมือง ภาพประกอบเรื่อง : สมควร กองศิลา รูปเล่ม/จัดอาร์ต : สุกัญญา ศรีสงคราม
ความนำก่อนสะเดาะกรรม ด้วยสวดมนต์ บทสวด อิส๎วาสุ พาหุง มหากา ก็คือบทสวดมนต์ว่าด้วยการสวด สรรเสริญคุณของรัตนตรัยนัน่ เอง เพราะคำว่า อิ เป็นหัวใจของบท อิตปิ ิ โส ฯลฯ ภะคะวาติ, ส๎วา หัวใจบท ส๎วากขาโต ฯลฯ วิญญูหตี ,ิ สุ หัวใจบท สุปะฏิปนั โน ฯลฯ โลกัสสาติ, พาหุง เป็นชื่อย่อของพุทธชัยมงคลคาถา, มหากา ก็เป็น
คำย่อของบทชัยปริตร บทสวดนีม้ มี านานแต่ไม่คอ่ ยนิยมสวดกัน กระทัง่ พระเดช พระคุณหลวงพ่อจรัญ ิตธมฺโม นำมาเผยแผ่ในชือ่ ว่าอานิสงส์สวดพระพุทธคุณ จึงเริ่มเป็นที่รู้จักมักคุ้นของประชาชนมากขึ้น ดังที่หลวงพ่อกล่าวไว้ว่า “บทสวดพุทธคุณ มีมานานแล้ว ถ้าจะเรียกให้ครบถ้วนก็เรียกว่า ไตรรัตน์ คือ พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ อยูร่ วมกันเป็นพุทธคุณ คือ เป็นอำนาจของพระพุทธเจ้า การสวดมนต์ ควรสวดเป็นนิจ เพื่อให้
จิตสนิทแนบในคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ใจของท่านจะ
สงบเย็น เป็นบัณฑิต มีความคิดสูง ทิฐิมานะทั้งหลายก็จะคลายหายไปได้ เราจะได้รับอานิสงส์จากการสวดมนต์เป็นนิจอย่างนี้” จากคำกล่าวอานิสงส์ทหี่ ลวงพ่อสอนไว้ ช่วยให้เรามัน่ ใจได้วา่ การสวดมนต์ ด้วยตระหนักถึงคุณค่าของพระรัตนตรัย สามารถพัฒนาศักยภาพจิตใจให้ เข้มแข็ง เป็นแรงผลักดันให้พร้อมสำหรับการสร้างความดีงามต่างๆ ได้ และ การสวดมนต์ไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอะไร เพียงแค่เตรียมตัวเตรียมใจให้พร้อมเข้าไว้ ไม่ต้องเสียเงินทองแต่อย่างใด แต่ได้ความสุขเป็นกำไรมหาศาล
ขอทุกท่านโปรดสวดด้วยความเชือ่ มัน่ แล้วท่านจะรูเ้ อง เห็นเอง ว่า สวดมนต์นี้ดีจริงๆ น.ธ.เอก, ป.ธ.๖, พธ.บ. น.บ. เรียบเรียงในนามคณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
ความทรงจำในวันเก่า ก่อนเข้าสู่เนื้อหา ผู้เรียบเรียงอยากบอกความเก่า เล่าความหลังที่ ทำให้เกิดความประทับใจ ในตัวของพระเดชพระคุณหลวงพ่อจรัญสักนิดว่า ทำไมถึงได้ติดตามผลงานท่านตลอดมา โดยเฉพาะเรื่องที่หลวงพ่อแนะนำ ให้ญาติโยมสวดคาถาพาหุง มหากา กันทั่วบ้านทั่วเมือง ซึ่งคงไม่พ้นต้อง เล่าเรื่องประวัติชีวิตส่วนตัวสักเล็กน้อย เพื่อให้เห็นภาพความหลัง ผูเ้ รียบเรียงครัง้ เป็นเด็กบ้านนอกคอกนา เมือ่ จบการศึกษาชัน้ ป.๖ ชีวิตก็ได้เข้าพึ่งพาอาศัยร่มเงาบุญของพระพุทธศาสนา โดยบรรพชาเป็น สามเณรที่วัดบ้านเกิดจังหวัดเชียงราย เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๗ จนเรียนสำเร็จ นักธรรมชั้นเอก ได้เดินทางจากบ้านเกิดเมืองนอนมาศึกษาภาษาบาลีที่
วัดพระธาตุดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ และวัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงราย จนสอบผ่านเปรียญธรรม ๔ ประโยคตามลำดับ ก่อนเข้ารับการอุปสมบท เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๓ จากนั้นจึงได้เข้ามาศึกษาต่อที่กรุงเทพฯ พำนัก ณ
วัดราชสิทธาราม เขตบางกอกใหญ่ จนสอบได้เปรียญธรรม ๖ ประโยค ปริญญาตรีพุทธศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และในขณะเป็นพระภิกษุ อยู่ที่วัดราชสิทธารามนั้น ก็มีโอกาสเป็นพระพิธีธรรม สวดพระอภิธรรมงานศพหลวง สวดจตุรเวท ทำน้ำพระพุทธมนต์ ณ หอศาสตราคม ภายในพระบรมมหาราชวังบ้าง สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จากพุทธศักราช ๒๔๕๙
เล่าความประทับใจ ในวันพบหลวงพ่อจรัญ ย้ อ นถึ ง วั น ที่ ผู้ เรี ย บเรี ย ง มี โ อกาสกราบนมั ส การพระเดชพระคุ ณ
หลวงพ่อจรัญครั้งแรก ขณะนั้นยังเป็นพระนิสิตของมหาจุฬาฯ พ.ศ. ๒๕๓๗ และปีการศึกษานั้นกำหนดให้พระนิสิตปีที่หนึ่ง ไปปฏิบัติธรรมที่วัดอัมพวัน
ซึ่งเป็นที่กล่าวขานของพระนิสิตรุ่นพี่ว่ามีการปฏิบัติเคร่งครัดสุดๆ ทำให้รู้สึก หวัน่ ใจไม่ได้วา่ จะทนการฝึกหัดได้ขนาดไหน จนเมือ่ ได้เดินทางไปถึงทีว่ ดั อัมพวัน วันนั้นประมาณบ่ายโมงกว่าเลยเวลาเพล เพราะรถเสียกลางทาง ทำให้อดเพล กันเป็นแถว แต่เมื่อไปถึงที่วัดแล้ว พระเดชพระคุณหลวงพ่อให้พระเจ้าหน้าที่ของวัด ประกาศผ่านไมโครโฟนว่า ให้พระนิสิตที่มาอย่าพึ่งเอาข้าวของสัมภาระลงจาก รถ ให้เดินไปที่โรงฉันก่อน นิมนต์ฉันข้าวฉลองศรัทธาญาติโยมที่อุตส่าห์ทำไว้
รอก่อน เพื่อไม่ให้เป็นการตะขิดตะขวงใจ ท่านก็ให้พระในวัดฉันด้วย ยกเว้น
หลวงพ่อกับพระอาจารย์สอนกรรมฐานอีก ๒-๓ รูป ท่านให้เหตุผลว่า ที่เว้นไว้ก็ เพื่อให้เหลือพระมีศีลบริสุทธิ์สำหรับรับปลงอาบัติ ตลอดระยะเวลา ๑๐ วัน
ที่ปฏิบัติกรรมฐานอยู่นั้น ท่านก็เอาใจใส่ดูแลให้ข้อคิดทางธรรมแก่พระนิสิต
เป็นอย่า งดี
แม้ปัจจุบันนี้ผู้เรียบเรียง จะได้สิกขาลาเพศมาเป็นคฤหัสถ์ ก็ยังไม่ลืมจริยาวัตรอันงดงามของท่าน และหาโอกาสไปกราบนมัสการอยู่เสมอ โดยเฉพาะเมื่อทำต้นฉบับหนังสือ ของหลวงพ่อเสร็จแต่ละเล่ม จะนำไปแจกเป็นธรรมทานที่วัดอัมพวันก่อน
สวดมนต์สะเดาะกรรม
ความเป็นมาของ คาถาพาหุง มหากาฯ กลับมาเข้าเรื่องวิธีสวดมนต์สะเดาะกรรม ที่ผู้เรียบเรียงนำบทสวด อานิสงส์การสวดพระพุทธคุณที่หลวงพ่อจรัญแนะนำมาเรียบเรียงใหม่ ว่า หากสวดตามที่หลวงพ่อแนะนำ ช่วยสะเดาะกรรมให้ผู้สวดได้อย่างไร บทสวดมนต์ นี้ มี ชื่ อ เรี ย กเป็ น ทางการว่ า พุ ท ธชั ย มงคลคาถา
แปลว่า คาถาว่าด้วยชัยชนะอันเป็นมงคลของพระพุทธเจ้า หรือบท ถวายพรพระ มักจำกันง่ายๆ ตามคำขึ้นต้นว่า “คาถาพาหุง” เป็นบทสวด ที่ได้ยินได้ฟังบ่อยครั้ง เพราะในงานบำเพ็ญบุญต่างๆ พระท่านจะสวดบทนี้ เป็นประจำ เชื่อกันว่าเป็นบทสวดมีอานิสงส์มากนำสิริมงคลมาให้แก่ผู้ฟัง และผู้สวด ว่าไปแล้วความขลังของบทสวดนี้ หากพิจารณาให้ดีอยู่ที่สารธรรม
คือ พุทธวิธีที่ทรงเอาชนะมารแต่ละครั้งต่างหาก เพราะชัยชนะแต่ละครั้ง พระองค์มิได้ทรงใช้กำลังทางกายเข้าห้ำหั่นให้แต่ละฝ่ายต้องเสียเลือดเนื้อ แต่ทรงใช้คุณธรรมของพระองค์เอง คือ พระปัญญาคุณ พระบริสทุ ธิคณ ุ และพระกรุณาคุณ จึงเป็นชัยชนะทีไ่ ม่มกี อ่ เวรก่อภัยกับใคร ส่งผลให้ผู้แพ้ หันมายอมรับนับถือพระองค์ด้วยใจจริง ความเป็นมาของผู้แต่งคาถาบทนี้ มีท่านผู้รู้กล่าวไว้หลายความเห็น เช่น แต่งโดยพระมหาพุทธสิริเถระ ผู้รจนาคัมภีร์ฎีกาพาหุง ประมาณปี พ.ศ. ๒๐๐๖, แต่งโดยพระเถระชาวลังกา เพราะพระลังกาก็สวดคาถานี้ได้ แต่ตำนานที่ชาวไทยให้ความเลื่อมใสพร้อมใจนำไปสวด คือ ตำนานที่ หลวงพ่อจรัญท่านว่า แต่งโดยสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว จึงขอนำ เรื่องที่หลวงพ่อจรัญท่านเล่าไว้ มาใช้อ้างอิงดังต่อไปนี้ (หน้า ๖-๘) สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จากพุทธศักราช ๒๔๕๙
พบสมเด็จพระพนรัตน์ ในฝัน บทสวดพุทธชัยมงคลคาถา หรือพาหุง มหากาฯ หลวงพ่อจรัญ
ท่านกล่าวว่า ได้ตำราเก่าแก่แต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เป็นใบลานทองคำ จารึกของสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว ปัจจุบันเรียกว่าวัดใหญ่ชัยมงคล ได้รจนาถวายพระพรชัยมงคลคาถาแด่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช การที่ ท่านทราบและได้ตำรานี้ เกิดจากนิมิตที่ท่านกำหนดจิตในพระกรรมฐานอยู่ เสมอแม้แต่ในเวลาจำวัด โดยท่านเล่าว่า มีอยู่คืนหนึ่ง เมื่อจำวัดแล้วฝันไปว่า ได้เดินไปในที่ แห่งหนึ่ง พบภิกษุรูปหนึ่งครองจีวรคร่ำคร่า สมณสารูปน่าเลื่อมใส เมื่อเห็น ว่าเป็นพระอาวุโสผูร้ รู้ ตั ตัญญู หลวงพ่อจรัญจึงน้อมนมัสการท่าน ภิกษุรปู นัน้ หยุดยืนอยู่ตรงหน้า แล้วกล่าวกับหลวงพ่อว่า... “ฉันคือสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว แห่งกรุงศรีอยุธยา ฉันต้องการให้เธอ ได้ไปที่วัดใหญ่ชัยมงคลเพื่อดูจารึก ที่ฉันได้จารึกถวายพระเกียรติ แด่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชผู้เป็นเจ้า เนื่องในวาระที่สร้างเจดีย์ฉลองชัยชนะ เหนือพระมหาอุปราชแห่งพม่า และประกาศความเป็นอิสระของประเทศไทย จากกรุงหงสาวดีเป็นครั้งแรก เธอไปดูแล้วจดจำมาเผยแพร่ออกไป ถึงเวลาที่เธอจะได้รับรู้แล้ว” สวดมนต์สะเดาะกรรม
อัศจรรย์ ใจพบคัมภีร์ ใบลานทองคำ ตามนิมิต หลวงพ่อจรัญเล่าต่อไปว่า เมื่อทราบว่าเป็นสมเด็จพระพนรัตน์
จึงรับปากท่านในฝัน สมเด็จฯ ก็บอกตำแหน่งให้ พอรุ่งเช้าจึงทบทวนฝันว่า เรานั้นกำหนดจิตด้วยกรรมฐาน มีสติอยู่เสมอ เรื่องฝันฟุ้งซ่านเป็นไม่ม ี และในวันนั้นหลวงพ่อก็ได้ข่าวว่า กรมศิลปากรได้บูรณปฏิสังขรณ์
พระเจดีย์ใหญ่วัดชัยมงคลแล้วเสร็จ จะทำการบรรจุบัวยอดพระเจดีย์ จึงได้ ขอร้อง ดร.กิ่งแก้ว อัตถากร ช่วยพูดกับนายภิรมณ์ ชินเจริญ ผู้ควบคุมงาน ให้เลื่อนการปิดยอดบัวไปอีกวันหนึ่ง เพื่อนำพระซุ้มเสมาชัย ซุ้มเสมาขอ ไปบรรจุไว้ที่ยอดพระเจดีย์ด้วย วันต่อมาเมื่อหลวงพ่อ เดินทางไปถึง ท่านเล่าว่าได้เดินขึ้นไปบนเจดีย์ตอน ชั้ น บนที่ สุ ด บั น ไดแล้ ว มองเห็ น โพรงที่ เขาทำไว้ สำหรับลงไปด้านล่าง มีร้านไม้พอไต่ลงไปภายใน ตั้ ง ใจเด็ ด เดี่ ย วว่ า ลงไปคราวนี้ ถ้ า พลาด ตกลงไปจากนั่ ง ร้ า นไม้ ก็ ย อมตาย คนที่
เดิ น ทางมาด้ ว ยมั ว แต่ ไ ปบนลานชั้ น บน แต่หลวงพ่อตรงดิ่งลงไปชั้นล่างตามที่ สมเด็จฯ ท่านบอกที่เก็บคัมภีร์ใบลาน ทองคำเอาไว้ มี ไ ฟฉายดวงหนึ่ ง
ขณะนั้ น ประมาณ ๐๙.๐๐ น. เมื่อลงไปถึงที่แล้วก็พบคัมภีร์ ดังที่สมเด็จพระพนรัตน์ท่านได้ บอกไว้จริงๆ สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จากพุทธศักราช ๒๔๕๙
ชีวิตก้าวหน้า เพราะรักษาสัจจะ จากเรื่องที่หลวงพ่อเล่ามานั้น อาจมีหลายท่านคลางแคลงใจว่าเป็น จริงหรือไม่ หรือเพื่อให้คนมีศรัทธาสวดมนต์มากขึ้น ทำไมหลวงพ่อไม่นำ คัมภีร์นั้นออกมาให้ดู ซึ่งเรื่องนี้หลวงพ่อท่านกล่าวว่า คัมภีร์ใบลานทองคำ จารึกบทสวดมนต์ชัยมงคลคาถา ท่านให้สัญญากับสมเด็จฯ ไว้ว่าจะ
ไม่ให้ใครดู มิเช่นนั้นตัวท่านจะถึงแก่มรณภาพ และยังย้ำอีกว่า ใครจะ เชื่อหรือไม่ ไม่เป็นไร แต่ท่านเชื่อหมื่นเปอร์เซ็นต์ เพราะท่านฝันเอง โดด ลงไปในโพรงนี้เอง จนได้คัมภีร์ตามที่สมเด็จพระพนรัตน์มาเข้าฝันบอก นับแต่นั้นมา หลวงพ่อจึงแนะนำญาติโยมให้สวดพาหุง มหากา เพราะเป็นบทสวดมนต์ที่มีค่าที่สุด มีผลดีที่สุด เป็นชัยชนะอย่างสูงสุด
ที่ พ ระพุ ท ธองค์ ท รงได้ ม าด้ ว ยอิ ท ธิ ป าฏิ ห าริ ย์ และด้ ว ยอำนาจแห่ ง
บารมีธรรม ผู้ใดสวดเป็นประจำ จะมีแต่ชัยชนะ มีความเจริญรุ่งเรือง
ตลอดกาลนาน มีสติระลึกได้ จะตายก็ไปสู่สุคติภูมิ ความเป็นมาที่หลวงพ่อจรัญว่าไว้ ผู้อ่านจะมีความเห็นประการใด
ก็อยู่ที่วิจารณญาณของท่านเอง แต่ผู้เรียบเรียงอยากกล่าวว่า ถ้าหลวงพ่อ ท่ า นเป็ น คนเหลวใหลไร้ สั จ จะแล้ ว ไฉนเลยท่ า นจะพั ฒ นาวั ด อั ม พวั น
ที่เกือบจะร้างให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างได้ ในส่วนตัวของท่านก็มีความเจริญ ก้าวหน้าทั้งในหน้าที่การงานทางคณะสงฆ์ นับแต่เป็นเจ้าอาวาสวัดอัมพวัน จนถึงขั้นเป็นเจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี ในด้านสมณศักดิ์ ก็ได้รับพระราชทาน ตั้งและเลื่อนขึ้นเป็นลำดับถึงขั้นดำรงสมณศักดิ์พระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมสิงหบุราจารย์ และประชาชนให้ความเคารพเลือ่ มใสว่าเป็นสุดยอด พระวิปัสสนาจารย์ผู้สอนกรรมฐานได้เข้าใจอย่างแจ่มแจ้งปฏิบัติตามได้จริง สวดมนต์สะเดาะกรรม
วิธีสวดมนต์สะเดาะกรรม สะเดาะ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๔๒ ให้คำนิยาม
ว่า “ทำให้หลุดออกมา, ทำให้หมดสิ้นไป หรือเบาบางลง” ส่วนคำว่า กรรม (ในที่นี้มุ่งถึงอกุศลกรรม) ให้คำนิยามว่า “การกระทำที่ส่งผลร้าย มายังปัจจุบัน หรือจะส่งผลร้ายต่อไปในอนาคต” ดังนั้น สะเดาะกรรม
ที่ผู้เรียบเรียงมุ่งถึงก็คือ การทำให้ตนหลุดพ้นจากการทำ พูด คิด ทาง
ชั่วช้า อันจะนำผลร้ายมาให้ในปัจจุบันและอนาคต ทีนี้มาถึงประเด็นว่า สวดมนต์มีผลสะเดาะกรรมได้อย่างไร ? แท้จริง บทสวดที่นำมาสวดนั้น มีเนื้อหาพรรณนาถึงคุณความดีของ พระรัตนตรัย เมื่อท่องบ่นซ้ำๆ จนจำได้ ทำให้ใจเราติดตรึงอยู่กับความดี เรียกว่า ได้สร้างบุญบารมีด้วยหลักไตรสิกขาจากการสวดมนต์ คือ ขณะสวดมนต์ เรามีความสำรวมทางกาย วาจาก็กล่าวแต่คำที่เป็น สุภาษิต เรียกว่า ศีล, ขณะสวดมนต์ จิตของเราไม่วอกแวกฟุ้งซ่านไปที่อื่น มีจิตสงบนิ่งในอารมณ์เดียว เรียกว่า สมาธิ, ในการสวดมนต์ เรามีความ เพียรละสิ่งเป็นอกุศล นึกคิดแต่สิ่งดีงาม มีความรู้ตัวว่ากำลังทำความดีอยู่ จนเกิดความรู้ว่า กรรมดีต้องทำ กรรมชั่วต้องละเว้น เรียกว่า ปัญญา ดังนั้น การสวดมนต์ ก็คือ วิธีฝึกฝนอบรมตนให้เป็นคนมีศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งหากว่าผู้สวดทำด้วยศรัทธาในเบื้องต้น มีผลทำให้จิตสงบตั้งมั่น เป็นฐานให้เกิดความรู้แจ้งเห็นจริง ในสิ่งที่เป็นบาปบุญคุณโทษได้
การสวดด้ ว ยความเข้ า ใจเช่ น นี้ มี ผ ลช่ ว ยให้ เ กิ ด สติ ปั ญ ญา
ในการ ระมัดระวัง (ศีล), ตั้งใจ (สมาธิ), ไตร่ตรอง (ปัญญา) ของ ทุกการกระทำ คำที่พูด เรื่องที่คิด มิให้เป็นไปในทางผิดศีลธรรม ช่วยสะเดาะกรรมชั่วให้ห่างจากตัวได้ฉะนี้แล
สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จากพุทธศักราช ๒๔๕๙
พาหุง มหากาฯ สวดและใช้อย่างไร ผูเ้ รียบเรียงขอแนะนำการสวดบทอิสว๎ าสุ พาหุง มหากา ว่าสวด อย่างไรจะเกิดอานิสงส์แก่ตน ขัน้ ต้นต้องสร้างพลัง ๒ อย่าง ให้เกิดขึน้ ก่อน คือ ๑. สร้างพลังศรัทธา คือ ความเชือ่ มัน่ ในคุณพระรัตนตรัย ว่าเป็นที่ พึ่งที่กำจัดภัยได้จริง การตระหนักคุณค่าพระรัตนตรัยเช่นนี้ ทำให้จิตไม่ เบื่อหน่ายในขณะสวด ยิ่งสวดบ่อยเข้า จิตของเราก็จะตั้งมั่นเป็นสมาธิ ดังคำทีห่ ลวงพ่อจรัญ ท่านกล่าวว่า “การสวดคาถาพาหุง มหากา ให้เกิดอานิสงส์ เบือ้ งต้นผูส้ วดต้องมีศรัทธา คือ ความเชือ่ ความเลือ่ มใส ในการสวด ถึงจะเป็นอานิสงส์ในศรัทธาของเขาก่อน” ๒. สร้างพลังปัญญา คือ ความรูค้ วามเข้าใจความหมายในบทสวด เพราะการสวดมนต์ คือ การท่องจำคำสอนอย่างหนึ่ง การท่องบ่นซ้ำๆ
จนจำได้ มีผลให้ได้นำข้อธรรมนั้นไปพิจารณาจนเกิดความรู้ว่า อะไรดี
อะไรชั่ว อะไรควรทำ ควรเว้น เป็นต้น ดังที่หลวงพ่อจรัญ แนะนำไว้ว่า “สวดมนต์นตี่ อ้ งการอะไร ให้ระลึกถึงตัวเอง มีสติสัมปชัญญะ ให้สวดเข้าไป ท่องไป อ่านให้ดังๆ ให้คล่องปาก พอคล่องปาก แล้วก็คล่องใจ พอคล่องใจ ติดใจแล้ว มันก็เกิดสมาธิ พอเกิดสมาธิ จิตก็เข้าถึง พอถึงหนักเข้า จะซึง้ ใจ พอซึง้ ใจแล้ว ก็จะซึ้งธรรม เมื่อซึ้งธรรมแล้วมันจะใฝ่ดี 10 ไม่ใฝ่ชั่วแต่ประการใด” สวดมนต์สะเดาะกรรม
ให้เกิดผลเป็นการสะเดาะกรรม การไหว้พระสวดมนต์ เป็นการฉีดวัคซีนคุณธรรม คือ พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ เข้าสู่ร่างกาย จิตใจของตน เพื่อให้เป็นคน
มีคุณธรรม คือ ความสะอาด (ศีล), สงบ (สมาธิ), สว่าง (ปัญญา) แต่ ก ารสวดมนต์ในพระพุทธศาสนา มิใช่การอ้อนวอนให้เกิดผล
ดลบันดาล เหตุนี้ การสวดมนต์จะมีผลต่อการสะเดาะกรรมออกจากตัว ได้เร็วขึน้ ก็ดว้ ยนำความหมายสารธรรมในบททีส่ วดด้วยวาจา มาเปลีย่ น เป็นการปฏิบัติด้วยตน ให้เกิดผลที่เรียกว่า อนุสาสนีปาฏิหาริย์ ได้แก่
คำสอนที่ให้เกิดผลเป็นอัศจรรย์ คือ สอนให้เห็นจริง ยิ่งหากนำไปปฏิบัติ ทำให้ได้ผลจริงตามสมควรแก่การปฏิบตั ิ มิใช่หวังผลทีเ่ กิดจากอิทธิปาฏิหาริย์ ได้แก่ ฤทธิ์ที่ให้ผลเป็นอัศจรรย์ อันเกิดจากการบริกรรมคาถา ในบทที่ สวดอย่างเดียว ดังนั้น ผู้เรียบเรียงจึงได้ทำเชิงอรรถ แนะวิธีประยุกต์ใช้สารธรรมในคาถาแต่ละบท กำกับไว้ด้วยหวังให้ผู้อ่านได้มีแนวทางในการ สวด หากท่านสวดอยู่เป็นนิตย์ จิตของท่าน จะผ่องใส อันเป็นผลจากใจที่สงบตั้งมั่นเป็น สมาธิ ไม่มีเวรกรรมติดตาม อันเป็นผลจาก การที่ท่านตั้งจิตระลึกถึงหลักธรรมคำสอน แล้วนำไปเป็นหลักปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ทำให้การสวดมนต์ของท่านพร้อมด้วยพลังศรัทธา ความเชื่อมั่นในสิ่งดีงาม มีผลช่วยให้เกิดการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่า และทำให้เกิดพลังปัญญา มีผลช่วยให้เกิดสติปัญญาสะเดาะปัญหา 11 ต่างๆ ที่เป็นกรรมของชีวิตได้อย่างถูกต้องเหมาะสม สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จากพุทธศักราช ๒๔๕๙
บูชายกย่อง เทิดทูน คุณค่า แห่งความดี มีประโยชน์
๑. บทบูชาพระรัตนตรัย
อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง อะภิปูชะยามิ. อิมินา สักกาเรนะ ธัมมัง อะภิปูชะยามิ. อิมินา สักกาเรนะ สังฆัง อะภิปูชะยามิ.
บูชา หมายถึง การยกย่องเทิดทูนด้วยความนับถือในคุณความดี การบูชาบุคคลที่ ควรบูชา เป็นมงคลชีวิตอย่างหนึ่ง ซึ่งอานิสงส์ของการบูชา แม้ว่าจะเป็นอามิสบูชาก็มีผล มากทำให้เกิดในสวรรค์ได้ กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ในชาติใด จะเป็นผู้มีเกียรติยศชื่อเสียง วิธบี ชู าทำได้ ๓ วิธี คือ ๑) ปัคคหะ บูชาด้วยการยกย่องสรรเสริญ เช่น เราสวดมนต์ สรรเสริญพระรัตนตรัย เป็นต้น, ๒) สักการะ บูชาด้วยวัตถุสิ่งของ เช่น ดอกไม้ ธูป เทียน เรียกอีกอย่างว่า อามิสบูชา, ๓) สัมมานะ บูชาด้วยการยอมรับนับถือ เช่น เรานับถือ พระพุทธศาสนาก็ยอมรับเอาคำสอนมาประพฤติปฏิบัติ เรียกว่า ปฏิบัติบูชา การยกย่องบูชาบุคคลผู้ควรบูชา ช่วยสะเดาะกรรมในยามที่เกิดความรู้สึกท้อถอย หดหู่ ขาดกำลังใจ เพราะทำให้เรามีจิตใจไม่ว้าวุ่น รู้สึกมีที่พึ่งในยามมีปัญหา ทั้งยังมีผล ช่วยดึงใจมิให้หลงใหลใฝ่ต่ำ เพราะเมื่อเรายกย่องบูชาคนดี ก็ย่อมจะยึด เอาคนดีมาเป็นบุคคลต้นแบบในการดำเนินชีวิตของตน ทนต่อสู้อุปสรรค จึงเป็นดั่งการสะเดาะ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่เป็นไปในทางบาป 12 ทางอกุศลให้พ้นจากตัว สวดมนต์สะเดาะกรรม
๒. บทกราบพระรัตนตรัย อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา,
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ. (กราบ) ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, ธัมมัง นะมัสสามิ. (กราบ) สุปะฏิปนั โน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สังฆัง นะมามิ. (กราบ) น้อมกราบคุณสมบัติศักดิ์สิทธิ์ ที่ดีงามตามพระรัตนตรัย
กราบ หมายถึง การแสดงความเคารพด้วยวิธีนั่งประนมมือยกมือขึ้นเสมอหน้าผาก แล้วน้อมศีรษะลงจรดติดกับพืน้ การกราบพระรัตนตรัย นิยมกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ คือ อวัยวะ ๕ ส่วน มีฝ่ามือ ๒, หัวเข่า ๒, หน้าผาก ๑ ราบติดกับพื้น คนเราจะกราบไหว้สิ่งใดๆ ได้ ก็เพราะมีคารวธรรม (ความเคารพ) ประจำใจ ซึ่งธรรม ข้อนี้ เป็นมงคลอันสูงสุดของชีวิตอีกอย่างหนึ่ง มีอานิสงส์ทำให้เกิดมาชาติใดจะมีอายุมั่น ขวัญยืนยาวนาน มีผิวพรรณผุดผ่องใส มีความสุขกายสบายใจ มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง การกราบ การไหว้ ช่วยสะเดาะกรรมที่เกิดจากความอวดดื้อถือดีของตน เพราะคน
ทีร่ จู้ กั กราบไหว้ แสดงว่าเป็นคนมีสมั มาคารวะ รูจ้ กั ทีต่ ำ่ ทีส่ งู เป็นทีร่ กั ใคร่เอ็นดูแก่ผพู้ บเห็น โปรดสังเกตว่า ต้นไม้ที่ตายย่อมไม่มีใครใส่ใจรดน้ำพรวนดินให้ คนที่มี นิสยั มือกระด้างคางแข็ง ขาดสัมมาคารวะ ก็ยอ่ มไม่มผี ใู้ ดใส่ใจไยดี เวลามีภยั ก็ไม่มีใครอยากช่วยเหลือ แต่ยกมือไหว้ไม่เสียตังค์ ส่งยิ้มแก่กันอีกสักครั้ง 13 ได้ รับพลังบุญสะเดาะกรรมร้าย เพราะทำให้มีใจปรารถนาดีต่อกันได้แล สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จากพุทธศักราช ๒๔๕๙
นอบน้อม ตอกย้ำ ความเคารพ พระพุทธเจ้า
๓. บทนอบน้อมพระพุทธเจ้า (สวด ๓ จบ)
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ.
นอบน้ อ ม หมายถึ ง การแสดงความเคารพนั บ ถื อ อย่ า งสู ง สุ ด ความนอบน้ อ ม
ต่อผู้ควรเคารพนอบน้อม พระพุทธองค์ตรัสว่าเป็นมงคลอันสูงสุดของชีวิตอีกอย่างหนึ่ง
ซึ่งคนเราจะแสดงความเคารพอ่อนน้อมต่อใครๆ ได้ก็ด้วยมีนิวาตธรรม (ความนอบน้อม) ประจำใจ ในจูฬกัมมวิภังคสูตร กล่าวถึงอานิสงส์ของความเป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตนไว้ว่า เกิดมาในชาติใดจะเกิดในตระกูลสูงศักดิ์ ความอ่ อ นน้ อ มถ่ อ มตน ช่ ว ยสะเดาะกรรมในด้ า นทำให้ เราไม่ เ ป็ น คนเย่ อ หยิ่ ง จองหองพองขนทะนงตนว่าเหนือกว่าใคร ลองใช้ปัญญาไตร่ตรองดูว่า เวลาเกิดพายุ
ลมแรง ต้นไม้ที่ยืนแข็งทื่อ ย่อมล้มระเนระนาดเพราะแรงลมพายุ ฉันใด คนที่ขาดความอ่อนน้อมถ่อมตนก็เช่นกัน เวลามีอุปสรรคปัญหาผ่านเข้า มาในชีวิต ก็ย่อมต้องต่อสู้อย่างโดดเดี่ยวเดียวดาย สุดท้ายก็ต้องล้มลง 14 ไม่ เป็นท่า เพราะว่าไม่มีผู้ใดอยากยื่นมือมาค้ำชู สวดมนต์สะเดาะกรรม
ขอขมา สารพัดผิด จิตโปร่งใส สบายใจทั้งสองฝ่าย
๔. บทขอขมาพระรัตนตรัย
วันทามิ พุทธัง สัพพัง เม โทสัง ขะมะถะ เม ภันเต. วันทามิ ธัมมัง สัพพัง เม โทสัง ขะมะถะ เม ภันเต. วันทามิ สังฆัง สัพพัง เม โทสัง ขะมะถะ เม ภันเต.
ขมา หมายถึ ง การกล่ า วคำขอโทษ เป็ น วิ ธี ห นึ่ ง ที่ ช่ ว ยหยุ ด เวรกรรมที่ ท ำกั บ
ผู้อื่นได้ โดยเฉพาะกรรมที่ทำกับพระรัตนตรัย มีผลทำให้ชีวิตไม่เจริญก้าวหน้า เพราะ
ขนาดว่ า พระพุ ท ธเจ้ า ในสมั ย เสวยพระชาติ เ ป็ น พราหมณ์ ชื่ อ โชติ ป าละ ไม่ เ ลื่ อ มใสใน
พุ ท ธศาสนา ซ้ ำ ยั ง กล่ า วติ เ ตี ย นพระกั ส สปพุ ท ธเจ้ า ว่ า ไม่ ไ ด้ ต รั ส รู้ จ ริ ง จากผลกรรมนี้
ทำให้พระองค์ต้องหลงผิดมาบำเพ็ญเพียรทุกรกิริยาชดใช้กรรมก่อนตรัสรู้ถึง ๖ ปี การขอขมาลาโทษเมื่อรู้ว่าตนผิด จะช่วยสะเดาะกรรมทำให้แต่ละฝ่ายหยุดการ อาฆาตพยาบาทจองเวรจองกรรมกันต่อไป เพราะในเกมชีวิตก็เหมือน กับเกมกีฬา ถ้าทุกฝ่ายต่างรู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ก็จะทำให้อยู่ร่วมกันได้ อย่างสงบสุข สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จากพุทธศักราช ๒๔๕๙
15
๕. บทไตรสรณคมน์
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ. ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ. สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ. ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ. ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ. ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ. ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ. เรามีที่พึ่งทางใจ ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ. ทางปัญญา ด้วยพึ่งพาพระไตรรัตน์ ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ.
ไตรสรณคมน์ หมายถึง การถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งของจิตใจ
ข้าวของเครื่องใช้ที่ทำที่จับที่ถือไว้ ทำให้ใช้งานได้คล่อง เช่น จอบเสียมที่มีด้ามขุดดินก็ง่าย กระเป๋ามีสาย หิ้วก็สบาย สะพายก็สะดวก เป็นต้น จิตใจของคนเช่นกันก็ควรมีที่จับที่พึ่ง ซึ่งท่านก็ทราบดีอยู่แล้วว่า พระรัตนตรัย เป็นที่พึ่งอันสูงสุดของชาวพุทธ การนับถือพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง ช่วยสะเดาะกรรมทำให้เราเป็นที่พึ่งของตนเองได้ เพราะเมือ่ ยอมรับพระรัตนตรัยเป็นทีพ่ งึ่ ก็ยอ่ มพร้อมจะพึง่ พาคำสอนของพระพุทธศาสนา ที่ชี้แนวทางการดำเนินชีวิตอย่างถูกต้องให้แก่ตน แต่เมื่อตนเห็นแนวทางนั้น ต้องลงมือ
ปฏิ บั ติ ต ามด้ ว ยจึ ง จะได้ รั บ ผล เหมื อ นการเรี ย น ต้ อ งเรี ย นเองถึ ง จะรู้
การพึ่งพระรัตนตรัยลักษณะนี้ จะมีผลทำให้ตนเป็นที่พึ่งตนเองได้ เพราะ ตนจะยิ่งทำความดีงามให้มากขึ้น จนเป็นที่พึ่งอันยั่งยืนของตนเองต่อไป ในที่สุด 16 สวดมนต์สะเดาะกรรม
เดินตามคุณสมบัติ ของพระพุทธเจ้า ช่วยเราพ้นกรรม
๖. บทสรรเสริญพระพุทธคุณ อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ.
พุทธคุณ หมายถึง พระคุณของพระพุทธเจ้า ในหนังสือนวโกวาท ให้ความหมายไว้วา่ “พระพุทธเจ้า รู้ดีรู้ชอบด้วยพระองค์เองก่อน แล้วสอนผู้อื่นให้รู้ตาม” ตามความหมายนี้ แบ่งพุทธคุณได้เป็น ๒ อย่าง คือ ๑) คุณความดี ได้แก่ ทรงรู้ดีรู้ชอบด้วยพระองค์เอง คือ ตรัสรู้ธรรมโดยไม่มีครูสอน ๒) คุณประโยชน์ ได้แก่ ทรงสอนผู้อื่นให้รู้ตาม คือ พระธรรม ที่พระองค์ตรัสรู้นั้น เป็นทรัพย์สินทางปัญญาของพระองค์ จะทรงสอนใครหรือไม่ก็ได้
แต่ เ พราะทรงมี พ ระกรุ ณ าต่ อ ประชาโลก จึ ง ทรงยอมเหน็ ด เหนื่ อ ยพระวรกายเผยแผ่
พระศาสนาเป็นเวลาถึง ๔๕ ปี พระพุทธคุณ ช่วยสะเดาะกรรมทำให้เราเกิดความเพียรในการ สร้างความดีตามอย่างพระพุทธองค์ เช่น พยายามแสวงหาความรู้เพื่อ เสริมสร้างปัญญา มีความเมตตากรุณาต่อสรรพสัตว์และเพื่อนมนุษย์ ทำ จิตให้บริสุทธิ์ผ่องใส ครองตนครองใจให้ห่างไกลจากกิเลสที่เข้ามายั่วยุ 17 เป็นต้น สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จากพุทธศักราช ๒๔๕๙
คำสอนของพระพุทธเจ้า อัศจรรย์จริงๆ ยิ่งปฏิบัติตาม ยิ่งพบความอัศจรรย์
๗. บทสรรเสริญพระธรรมคุณ ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก
อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ. (อ่านว่า วิน-ยู-ฮี-ติ)
ธรรมคุณ หมายถึง คุณของพระธรรม หนังสือนวโกวาท ให้ความหมายว่า “พระธรรม ย่อมรักษาผูป้ ฏิบตั มิ ใิ ห้ตกไปในทีช่ วั่ ” ตามความหมายนี้ แบ่งธรรมคุณได้เป็น ๒ อย่าง คือ ๑) คุณความดี ได้แก่ เป็นสัจธรรม คือ เป็นจริงตามที่สอน เช่น สอนว่า ทำดีได้ผลดีจริง ทำชั่วก็ได้ผลชั่วจริง เป็นต้น ๒) คุณประโยชน์ ได้แก่ รักษาผู้ปฏิบัติมิให้ตกไปในที่ชั่ว คือ บุคคลที่ปฏิบัติตนอยู่ในกุศลธรรมความดีทั้งปวง ย่อมไม่ตกไปอยู่ในที่อันต่ำช้าทั้งในโลกนี้ และโลกหน้า พระธรรมคุณ ช่วยสะเดาะกรรมทำให้รู้จักตัวตนที่แท้จริงของเราได้มากขึ้น เพราะ คำว่า “ธรรมะ ความจริง” ก็คือความเป็นจริงของตัวเราทั้งสิ้น เช่น ในชีวิตประจำวันได้ทำ พูด คิด อะไรบ้าง ถูกผิดอย่างไรย่อมรู้แก่ใจตัวเองดี แม้บางทีอยากปิดบังคนอื่นจึงปฏิเสธ
ไปว่า ไม่ได้ทำ พูด คิด เรื่องนั้นๆ แต่ไม่มีวันปฏิเสธตัวเองไปได้ ดังนั้น ธรรมะ จึงเป็นเหมือนกระจกเงาบานใหญ่ที่สะท้อนภาพของตนเอง และ เป็นเหมือนประทีปทางปัญญาที่ส่องสว่างกลางใจให้คนดำเนินชีวิตไปใน ทางที่ถูกที่ควรได้ 18 สวดมนต์สะเดาะกรรม
๘. บทสรรเสริญพระสังฆคุณ
สุปะฏิปันโน
ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลิกะระณีโย พระอริยสงฆ์เป็นตัวอย่าง อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง ให้เราเห็นว่าท่านเหล่านั้น เดินตามคำสอน โลกัสสาติ.
สังฆคุณ หมายถึง คุณของพระสงฆ์ หนังสือนวโกวาท ให้ความหมายว่า “พระสงฆ์ ปฏิบตั ชิ อบตามคำสอนของพระพุทธเจ้า แล้วสอนผูอ้ นื่ ให้ปฏิบตั ติ าม” ตามความหมายนี้ แบ่งสังฆคุณได้เป็น ๒ อย่าง คือ ๑) คุณความดี ได้แก่ ปฏิบัติชอบตามที่พระพุทธเจ้า สอน ๒) คุณประโยชน์ ได้แก่ สอนผู้อื่นให้ปฏิบัติตาม คือ เมื่อท่านปฏิบัติได้ตามที่ พระพุทธองค์สอนแล้ว ก็นำสิ่งที่ตนรู้ และปฏิบัตินั้นมาสอนให้เราได้ปฏิบัติตามต่อๆ มา พระพุทธศาสนาดำรงถึงปัจจุบันนี้ ก็เพราะอาศัยพระสงฆ์เป็นผู้สืบทอดคำสอน พระสังฆคุณ ช่วยสะเดาะกรรมทำให้เรารู้จักปรับตัวอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่าง สงบสุข เพราะคำว่า “สงฆ์” หมายถึง หมู่ชนผู้มีความเป็นอยู่เสมอกัน ทั้งทางด้านความเห็น และความประพฤติ จึงเป็นที่มาของความสามัคคี และความสงบสุขของหมู่คณะ ดังนั้น หากเราดำเนินชีวิตร่วมกันตามแบบ 19 อย่างพระสงฆ์ สังคมก็ไม่มีความร้าวฉาน สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จากพุทธศักราช ๒๔๕๙
มารร้าย พ่ายแพ้ความดี
๙. พุทธชัยมงคลคาถา (พาหุง) (๑) พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง ค๎รีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ.
* คำที่ขีดเส้นใต้ ถ้าสวดให้ผู้อื่น เปลี่ยน เม เป็น เต ทุกแห่ง
บทที่ ๑ กล่าวถึงชัยชนะของพระพุทธองค์ที่ทรงมีต่อพญามารในวันตรัสรู้ ด้วยธรรมวิธ ี พุทธชัยมงคลคาถาบทนี้ ช่วยสะเดาะกรรมทำเราให้ไม่ย่อท้อในการทำดีแม้มี อุปสรรค เพราะเนื้อหาในบทนี้กล่าวถึงว่า พระพุทธองค์กว่าจะตรัสรู้ก็ยังมีมารมาผจญ ขัดขวาง แต่ก็ยังไม่ทรงท้อพระทัย กลับทรงนึกถึงความดีที่ทรงบำเพ็ญมาในอดีตชาติ
นับไม่ถ้วน ก็เพื่อให้บรรลุถึงจุดหมายคือโพธิญาณเท่านั้น เราซึ่งเป็นศิษย์พระตถาคตก็ เช่นกัน การทำดีเพื่อไปให้ถึงจุดหมายปลายทางคือความสำเร็จในชีวิต ก็ย่อมมีอุปสรรคปัญหาเข้ามาเผชิญบ้าง แต่ก็ต้องไม่ละทิ้งความตั้งใจ เดิม ให้คิดเสียว่าอุปสรรคปัญหาต่างๆ นั้นเป็นมารเข้ามาทดสอบความ 20 แข็ งแกร่งของจิตใจ ดังคำที่ว่า “มารบ่มี บารมีบ่เกิด” สวดมนต์สะเดาะกรรม
อดทน อดกลั้น ชนะคนดื้อรั้น
(๒) มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ.
บทที่ ๒ กล่าวถึงชัยชนะของพระพุทธเจ้า ที่ทรงมีต่ออาฬวกยักษ์ ด้วยขันติธรรมวิธี พุทธชัยมงคลคาถาบทนี้ ช่วยสะเดาะกรรมทำให้เราเป็นคนมีความอดทนอดกลั้น เพราะเนื้อหาในบทนี้กล่าวถึงว่า พระพุทธเจ้ากว่าที่จะทรงเอาชนะอาฬวกยักษ์ ได้ทรงใช้ ความอดทนต่อการออกคำสั่งของเขาให้เดินเข้า-ออกจากที่อยู่ถึง ๓ ครั้ง ๓ ครา จนสุดท้าย เมื่อยักษ์ทูลถามปัญหาก็ทรงตอบได้เป็นที่แจ้งแก่ใจ ในฐานะเราเป็ น พุ ท ธศาสนิ ก ชน
เมื่อเจอคนรุกราน ไม่อยากให้เหตุการณ์บานปลายต้องใช้ความอดทนอดกลั้นให้มาก ประการหนึง่ ความอดทน เป็นสัญลักษณ์ของนักสูช้ วี ติ ทีไ่ ม่หวัน่ ไหว ต่ออุปสรรคใดๆ เข้าในลักษณะที่ว่า ยิ้มได้เมื่อภัยมา ไม่โสกาเมื่อภัยมี
ความสำเร็จของงานทุกอย่างนั้น เป็นผลงานของความอดทนอดกลั้น 21 ทั้งสิ้น สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จากพุทธศักราช ๒๔๕๙
มีเมตตาธรรม ประจำใจ แม้สัตว์ร้าย ก็ไม่แผ้วพาน
(๓) นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ.
บทที่ ๓ กล่าวถึงชัยชนะของพระพุทธเจ้าที่ทรงมีต่อช้างนาฬาคิรี ด้วยเมตตาธรรมวิธ ี พุทธชัยมงคลคาถาบทนี้ ช่วยสะเดาะกรรมทำให้เราเป็นคนมีเสน่ห์น่ารักใคร่ ถ้า เป็นคนมีน้ำใจเมตตาเอื้อเฟื้อ เพราะเนื้อหาในบทนี้กล่าวถึงว่า พระศาสดาทรงเอาชนะ ช้างนาฬาคิรีตัวดุร้ายด้วยทรงเปล่งกระแสจิตที่มีเมตตาธรรมเข้าสู่จิตใจของช้างนั้น
ตัวเราก็เช่นกันจะเป็นคนมีเสน่ห์น่าคบหาก็เพราะว่ามีเมตตาปรารถนาดีต่อผู้อื่น คนที่ หยิบยื่นเมตตาให้ผู้อื่นนั้น เป็นคนมีน้ำใจ เป็นผลให้ได้รับความรักใคร่นับถือจากเพื่อนบ้าน เหมือนมีป้อมปราการป้องกันภัยอันศักดิ์สิทธิ์ ทำให้มีชีวิตอยู่ในโลกอย่างไม่ว้าเหว่ ความมีน้ำใจ เป็นสมบัติติดตัวที่มีอยู่แล้วโดยธรรมชาติ แต่ก็มิได้ แสดงออกมาทุกคนไป เพราะมีอุปสรรคยิ่งใหญ่สำคัญที่คอยพัดพาน้ำใจ
มิ ใ ห้ ป รากฏ อุ ป สรรคที่ ว่ า นี้ ก็ คื อ “ความเห็ น แก่ ตั ว ” นั่ น เอง เร่ ง
สะเดาะกรรมคือความเห็นแก่ตัวออกจากใจได้เมื่อใด ท่านก็จะกลายเป็น 22 คนมีเสน่ห์น่าคบหาเมื่อนั้น สวดมนต์สะเดาะกรรม
สร้างใจให้มีฤทธิ์ พิชิตสารพัดศัตรู
(๔) อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ.
บทที่ ๔ กล่าวถึงชัยชนะของพระพุทธเจ้าที่ทรงมีต่อองคุลิมาลโจร ด้วยอิทธิวิธ ี พุทธชัยมงคลคาถาบทนี้ ช่วยสะเดาะกรรมทำให้เป็นคนไม่คิดอิจฉาริษยาความ สำเร็จของใคร เพราะในบทนีก้ ล่าวถึงว่า อหิงสกมาณพ ก่อนพบจุดจบเป็นองคุลิมาลโจรนั้น เพราะถูกศิษย์สำนักเดียวกันอิจฉา จึงกล่าวเท็จยุยงอาจารย์ให้หาทางกำจัดออกไป จากเหตุการณ์ที่มีผลให้อหิงสกมาณพต้องเสียคนนั้น ก็เพราะความอิจฉาริษยาทำให้ นึกถึงพระพุทธพจน์ว่า “อรติ โลกนาสิกา ความอิจฉาริษยา ทำโลกาให้พินาศได้” ดังนั้น ไม่ว่าจะอยู่ในสังคมใด ขอให้หัดยินดีปรีดาในความสำเร็จของผู้อื่น รู้สึกชื่นใจไปกับผู้อื่น ในเมื่อเขาได้ดีบ้าง แล้วท่านจะรู้ว่าความสุขสดชื่นใจที่ไม่มีความอิจฉา กันนั้น มันหอมหวานอย่างไร ต่างจากใจที่คิดอิจฉาริษยาผู้อื่นอย่างไร จงดับทุกข์ในใจเพราะไฟอิจฉาให้มอดมิด แล้วความเย็นในจิตจะตามมา 23 แน่นอน สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จากพุทธศักราช ๒๔๕๙