5pattanee4

Page 1

สถาบันการศึกษาทางศาสนาอิสลามใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต และสถาบันการศึกษาที่บานดาโตะกับบานภูมี พื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใตของไทยอันประกอบไปดวย ปตตานี ยะลา และนราธิวาส มีประชากร ส ว นใหญ ที่ นั บ ถื อ ศาสนาอิ ส ลามกว า ร อ ยละ ๗๓ ในจํ า นวนนี้ ร อ ยละ ๘๐ พู ด ภาษามลายู ท อ งถิ่ น ใน ชีวิตประจําวัน นอกจากนี้ประชากรมุสลิมในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใตยังมีความเครงครัดในการนับถือ ศาสนาอิสลาม ซึ่งเรียกไดวา ลักษณะโครงสรางของประเพณี วัฒนธรรม รวมถึงวิถีการดํารงชีวิตของคนพื้นที่นี้ ไดดําเนินไปตามวิถีทางของอิสลามเปนหลัก ดังไดกลาวมาแลววา ชาวไทยมุสลิมเครงครัดทางศาสนามาก เนื่องจากศาสนากําหนดใหมุสลิมทุกคน ตองแสวงหาความรู โดยเฉพาะความรูท่ีทําใหตนเองมี “จิตวิญญาณทางคุณธรรม จริยธรรม และความรู เรื่องอาชีพใหสามารถดํารงครอบครัวตามอัตภาพ” โดยสามารถเรียนรูไดโดยผานการถายทอดจากพอแม ผูอาวุโส และผูรูในชุมชน ประกอบกับศาสนาอิสลามนั้นเปนวิถีชีวิตประจําวันของมุสลิมทุกคน การเรียนวิชา ศาสนาอิสลามจึงเปนความตองการและเปนความจําเปนของมุสลิมทุกคน เพื่อใหสามารถปฏิบัติศาสนกิจใน ชีวิตประจําวันไดดวยตนเอง ดวยเหตุนี้ในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใตจึงมีสถาบันการศึกษาวิชาศาสนา อิสลามเกิดขึ้นโดยทั่วไป ทั้งอยางเปนทางการและไมเปนทางการ การศึกษาศาสนาที่ไมเปนทางการเชน การไปเรียนศาสนาในบานของผูรูศาสนาในเวลาเย็นหลังเลิก เรียนหรือเลิกงาน หรืออาจเปนวันเสาร-อาทิตย ในบางชุมชนอาจมีการเรียนการสอนศาสนาที่มัสยิด ในการ เรียนศาสนาเชนนี้ไมมีขอจํากัดทางดานอายุ ชาวมุสลิมคนใดมีความสนใจอยากไปเรียนรูศาสนาเพิ่มเติ ม สามารถไปเรียนรูไดตลอดชีวิต ผูสอนนั้นคือผูที่มีความรูทางศาสนา ในการสอนสวนใหญมักไมคิดคาเรียน เนื่องจากการสอนศาสนานับเปนกุศลอันยิ่งใหญ การศึกษาศาสนาอยางเปนทางการ คือการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษาซึ่งมีแยกยอยหลายแบบ คือ สถาบันฝกทองจําอัล-กุรอาน (ฮาฟส) สถาบันการฝกทักษะการอานอัล-กุรอานระบบกีรออาตี โรงเรียนตาดี กา และสถาบันการศึกษาปอเนาะ ในที่นี้จะกลาวถึงสถาบันการเรียนศาสนาเพียง ๓ แบบคือ สถาบันการฝก ทักษะการอานอัล-กุรอานระบบกีรออาตี โรงเรียนตาดีกาซึ่งมีที่หมูบานดาโตะ และสถาบันการศึกษาปอเนาะ ซึ่ง แบงยอยออกเปน ๒ ประเภท คือ ปอเนาะดั้งเดิม และโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สวนของปอเนาะนี้จะ กลาวโดยละเอียด โดยใชกรณีศึกษาปอเนาะภูมี ที่บานภูมี สถาบันการฝกทักษะการอานอัล-กุรอานระบบกีรออาตี เปนระบบใหมเพื่ อสอนทักษะในการ อานอัล-กุรอาน ในสมัยกอนนั้นจะเปนระบบการสอนที่ใชหลักสูตร “บัฆดาดี” ซึ่งหลักสูตรนี้จะเนนการทองจํา พบวาเด็กที่เรียนในหลักสูตรนี้มักจะเรียนแลวลืม และไมรูจักพยัญชนะ การเรียน การสอนศาสนาในหมูบานดา โตะในสมัยกอนนั้น เด็กๆ จะเรียนอัลกุรอานกับโตะครู โตะอิหมาม หรือทานผูรูศาสนาอื่นๆ โดยแตละทานที่ทํา การสอนนั้นจะมีนักเรียนจํานวนมากมาเรียน ทําใหสอนไดไมทั่วถึง การสอนแบบตัวตอตัวโดยยึดครูเปนสําคัญ เด็กตองใชเวลาในการเรียนยาวนานทําใหเด็กไมสนใจที่จะเรียน นอกจากนี้ในปจจุบันครูสอนอัล-กุรอานที่มี ทักษะการสอนและทุมเทในการสอนมีจํานวนนอยลงทุกขณะ


ผูคิดคนหลักสูตรกีรออาตีนี้ คือ ฮัจยีดะฮลัน ซัรการซี ชาวเมืองสามารัง ประเทศอินโดนีเซีย เกิดเมื่อป พ.ศ. ๒๔๗๓ ประกอบอาชีพพอคาขายผาเมื่ออายุ ๒๔ ป เริ่มสนใจที่จะศึกษาการสอนอัล-กุรอาน ทานจึงเขา ศึกษาที่ปอเนาะ ๑ ป และกลับมาสอนอัล-กุรอานแกลูกทาน โดยใชหลักสูตรบัฆดาดี ซึ่งทานพบวาลูกของทาน เรียนหนาลืมหลัง ไมรูจักพยัญชนะ ทานคนหาหลักสูตรตางๆ หรือวิธีการสอนแบบตางๆ เพื่อใหการเรียนการ สอนอัล-กุรอานไดผลและรวดเร็ว จึงไดจัดทําหลักสูตรกีรออาตี ที่เหมาะกับการพัฒนาการเรียนรูของผูเรียน ซึ่ง มีการพัฒนาหลักสูตรเรื่อยมา จากเดิมที่มีเพียงแตหลักสูตรเฉพาะสําหรับเด็กเล็กชุด ๘ เลม เหลือเพียง ๕ เลม การเรียนการสอนตามหลักสูตรกีรออาตี เริ่มตนในประเทศไทยตั้งแตป พ.ศ. ๒๕๓๘ เริ่มทําการสอนกี รออาตี ที่ โ รงเรี ย นตาดี ก าในหมู บ า นดาโต ะ เมื่ อ วั น ที่ ๙ กั น ยายน ๒๕๔๖ โดยการสนั บ สนุ น ของสถาบั น พัฒนาการเรียนการสอนอัล-กุรอานแหงประเทศไทย ผูที่จะทําการสอนตองผานการอบรมในการพัฒนาเทคนิค การสอนอัล-กุรอาน โดยใชระบบกีรออาตีเปนเวลา ๑ สัปดาห ขณะนี้ในหมูบานดาโตะมีครูสอนกีรออาตี ๑๓ คน ซึ่งจํานวนครูไมเปนที่แนนอน เนื่องจากครูบางสวนเปนครูที่มาจากที่อื่น การเรียนการสอนจะจัดขึ้นทุกวัน หลังละหมาดมัคริบ คือตั้งแต ๑๘.๐๐-๒๐.๓๐ น. ขณะนี้การเรียนการสอนหลักสูตรกีรออาตีไดแพรหลายมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้หมูบานใกลเคียงหมูบานดาโตะ คือหมูบานบูดี หรือหมูบานตรงขามเชนบานบางปู ไดทําการสอนตามหลักสูตรกีรออาตีดวย นอกจากนี้ยังมีการ จัดทํากีรออาตีสําหรับผูใหญชุดละ ๓ เลม กีรออาตีสําหรับนักเรียนระดับอนุบาล แบบเรียนฆอริบแบบเรียนตัจ วีด และสื่อการเรียนการสอนอีกมากมาย ปจจุบันไดมีการเปดโรงเรียนครูอัล-กุรอานกีรออาตี เพื่อผลิตบุคคลากรที่มีความรูและทักษะในการ สอนอัลกุรอาน ซึ่งจะใชเวลาเรียน ๑ ป เหมาะสําหรับเด็กอายุ ๕-๑๒ ขวบ นอกจากนั้นกีรออาตีไดพัฒนาวิธีการ เรียนการสอนเรื่อยมา ขณะนี้มีพัฒนาการการสอนของกีรออาตี ๔ ระดับ ดังนี้คือ การสอนแบบ Individual ๑๙๖๓-๑๙๘๖ เปนการเรียนการสอนแบบกีรออาตีทั้งเลมแบบตัวตอตัว ครู ๑ คน ตอนักเรียน ๑๕-๒๐ คน ชวงที่สองการสอนแบบ Klasikal Individual ๑๙๙๓-๑๙๙๘ เปนการสอนกีรออาตี แบง ๒ ชวง ชวงแรกเรียน เปนกลุม ชวงที่ ๒ เรียนตัวตอตัว ชวงที่สาม การสอนแบบ Klasikal Baca Simak ๑๙๙๓-๑๙๙๘ เปนการสอน แบบกีรออาตี เลม ๑-๒ เรียนเปนกลุม เลม ๓-๕ เรียนแบบอานพรอมกัน ชวงที่สี่การสอนแบบ Klasikal Simak Murni ๑๙๙๘ เปนการสอนกีรออาตีเลม ๑-๕ แบบอานพรอมกันชวงละ ๒๐ หนาจนจบ การดําเนินงานกีรออาตีอยูภายใตการบริหารของ YAYASAN PEN DIDIKAN ALQURAN RAUDNATUL MUJAUSWIDIN ซึ่งจะมีตัวแทนกีรออาตีในระดับตางๆ ทั้งในประเทศอินโดนีเซีย และ ตางประเทศ หลักการสอนกีรออาตี ใชภาษางายๆ เพื่อสามารถทําใหเห็นภาพตาม มีเทคนิคในการสอน ทําใหเด็กๆ ไมเบื่อ อางอิงประสบการณที่ผานมา การใหกําลังใจ เสริมแรงการเรียนรูตลอดเวลา เรียนรูดวยตนเอง ครูเปน เพียงผูตรวจสอบและชี้แนะเทานั้น หลักสูตรกีรออาตีเปนหลักสูตรที่คํานึงถึงจิตวิทยา และความเหมาะสมกับระดับการ เรียนรูของผูเรียน ทําใหผูเรียนมีการพัฒนาความรูตามลําดับ จากหลักการงายๆ ขึ้นไปจนจบหลักสูตร ซึ่งจะตองใชเทคนิคการ


สอนของผูสอนเปนตัวกระตุนในการเรียนรู ในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย และประเทศไทย ไดทดลองสอนกีรอ อาตี ใชเวลาประมาณ ๑ ป ผูเรียนสามารถเรียนจบหลักสูตร เปดอัล-กุรอานหนาไหนก็อานไดทันที การนําหลักสูตรกีรออาตีมาใชในโรงเรียน มัสยิด ตาดีกาตางๆ จึงเปนสิ่งที่นาสนใจอยางยิ่งเพื่อสราง เยาวชนอัล-กุรอานใหเกิดขึ้นในสังคมมุสลิม อยางไรก็ตามหลักสูตรนี้มีเทคนิคและวิธีการที่ผูสอนจะตองอบรม และผานการทดสอบ จึงจะใชกีรออาตีไดผล ความสําคัญของกีรออาตี การเรียนการสอนกีรออาตีชวยเสริมสรางทักษะการอานอัล-กุรอานใหดีขึ้นใน ระยะเวลาที่สั้น ชวยพัฒนาทักษะการเรียนการสอนอัล-กุรอานใหดียิ่งขึ้น ชวยกระตุนผูเรียนใหพัฒนาการ เรียนรูอัล-กุรอานดวยตนเอง และชวยแบงเบาภาระหนาที่ในการสรางเยาวชนของสังคมมุสลิม โรงเรียนตาดีกา ตาดีกา (TADIKA) เปนภาษามลายูจากประเทศมาเลเซีย ที่ยอมาจากคําเต็มวา Taman DIdikan Kanak มีความหมายตามคําศัพทวา Tanam แปลวาสวน Didikan แปลวาเลี้ยงดู ดูแล Kanak แปลวาเด็กเล็ก ๆ โรงเรียนตาดีกาในพื้นที่จังหวัดปตตานีหมายถึงโรงเรียนมุงเนนใหเด็กเล็ก โดยเริ่มรับเด็กตั้งแตอายุ ๗ ขวบขึ้นไป มุงเนน ใหเด็กรู จักพื้นฐานทางศาสนาที่จํา เปนและเหมาะสมกับวัย โดยมีกรอบเนื้อหาวิชาหลัก โดยทั่วไป คือ กลุมวิชาชารีอัติ (Syariyat) เปนวิชาวาดวยเรื่องของกฎหมายในศาสนาอิสลาม กลุมวิชาอาดาบีย ยัติ (Adabiyyat) เนื้อหาที่เกี่ยวของกับวรรณกรรมตางๆ กลุมวิชาเตาฮีด (Tauhid) ที่มีเนื้อหาหลักเกี่ยวกับเรื่อง การรูจักพระเจา หลักศาสนา ความเชื่อ ความศรัทธา และการสรางความเชื่อมั่นที่ยิ่งใหญ ความกรุณาปรานี และการตอบแทนของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) และกลุมวิชาอัคลาค (Akhlakh) วิชาเกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรมในการ ดํารงตน และการอยูรวมกันในสังคม โรงเรียนตาดีกาของหมูบานดาโตะเปดทําการเรียนการสอนครั้งแรกเมื่อป พ.ศ. ๒๕๒๙ โดยความ รวมมือกันระหวางเยาวชนชายหญิงในหมูบาน แตภายหลังจากเปดไมนาน เกิดปญหาขาดครูผูสอนทําให โรงเรียนตาดีกาตองปดไป ในป พ.ศ. ๒๕๔๓ ชาวบานไดรวบรวมเงินเพื่อสรางอาคารโรงเรียนตาดีกาหลังใหม ซึ่งเปนความภูมิใจของชาวบานเปนอยางมาก ในป พ.ศ. ๒๕๔๕ โรงเรียนตาดีกาไดรับการจดทะเบียนจัดตั้ง โรงเรียนตาดีกา ป พ.ศ. ๒๕๔๖ และ พ.ศ. ๒๕๔๗ นักศึกษามหาวิทยาลัยแหงชาติสิงคโปรไดมาทํากิจกรรม สรางอาคารและสนามบาสใหเปนสาธารณะประโยชนแกนักเรียนดาโตะ ขณะนี้โรงเรียนตาดีกามีครูผูสอนทั้งหมด ๘ คน ครูเหลานี้เปนชาวดาโตะทุกคน นักเรียนที่มาเรียน ประมาณ ๒๐๐ คน โรงเรียนตาดีกาจะจัดการเรียนการสอนในวันเสารและอาทิตย เวลา๘.๐๐-๑๕.๓๐ น. รายไดของโรงเรียนที่เปนรายไดประจําจะไดจากกรมศาสนา มัสยิด สวนรายไดอื่นๆ ไดรับจากการบริจาคจาก ผูปกครองของนักเรียนประมาณสัปดาหละ ๕ บาท และจากผูที่มีความศรัทธาในศาสนา ในปการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ โรงเรียนตาดีกามีรายได ๑๖๙,๐๐๐ บาท ไดรับจากกรมการศาสนา ๘,๐๐๐ บาท จากมัสยิด ๒๐,๐๐๐ บาท จากการบริจาคทั่วไป ๓๐,๐๐๐ บาท ไดรับบริจาคจากนักศึกษามหาวิทยาลัยแหงชาติสิงคโปร ๑๑๑,๐๐๐ บาท รายไดทั้งหมดใชเปนคาตอบแทนครู ๔๐,๐๐๐ บาท คาวัสดุอุปกรณ ๑๕,๓๒๐ บาท และเปนคากอสราง สนามบาสฯ ๑๑๓,๖๘๐ บาท จากรายไดแ ละรายจายของปการศึกษาที่ผานมา แสดงใหเห็นวารายไดของ โรงเรียนที่เปนรายไดประจํา ไดรับการสนับสนุนจากภาครัฐมีเพียง ๘,๐๐๐ บาทตอป รวมกับรายไดจากมัสยิด


ซึ่งอาจเปนจํานวนที่ไมแนนอน เมื่อรวมกันแลวไมเพียงพอที่จะเปนคาตอบแทนครู และคาอุปกรณสื่อการสอน ตาง ๆ รวมทั้งอุปกรณกีฬา สถาบันการศึกษาปอเนาะ จากระเบียบกระทรวง ขอ ๓ วาดวยสถาบันศึกษาปอเนาะ พ.ศ. ๒๕๔๗ ไดใหคํานิยาม คําวา “สถาบันปอเนาะ” ดังตอไปนี้ สถาบันศึกษาปอเนาะ หมายความวา สถาบันสังคมของชุมชนอิสลามที่เสริมสรางการเรียนรูในทาง ศาสนาอิสลามและวัฒนธรรมอิสลาม เพื่อเสริมสรางใหสมาชิกในชุมชนมีความรูและความประพฤติที่ดีงาม ใน การดํารงชีพอยางสันติสุข และมีความรับผิดชอบตอสังคมและประเทศชาติ ปอเนาะ เปนภาษามลายูตามสําเนียงของชาวไทยมุสลิมใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต ในประเทศ มาเลเซียเรียกสถาบันลักษณะนี้วา “Pondok” ในอินโดนีเซียเรียกวา “Persantrain” ซึ่งทั้งหมดมาจากรากศัพท ของภาษาอาหรับ คือ Pundook ซึ่งมีความหมายวา ที่พักคนเดินทาง สําหรับความหมายหรือความเขาใจของ ผูคนในแถบแหลมมลายู ทั้งในประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน ฟลิปปนส สิงคโปร รวมทั้งไทยและกัมพูชา จะ หมายความถึงกระทอมหรือที่พักเล็กๆ การเรียนรูในลักษณะเดียวกับปอเนาะสันนิษฐานวามีมาแลวกวา ๑,๐๐๐ ป และไมไดมีเฉพาะใน แหลมมลายูเทานั้น ในแถบเอเชียใต คือประเทศอินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ ก็มีลักษณะการเรียนรูแบบนี้ แต จะถูกเรียกวา มัดรอซะฮฺ หรือ ดารุลอุลุม ซึ่งมีเปนหมื่นๆ แหง ถึงแมวาจะมีสถาบันที่ใหการศึกษาในลักษณะนี้ อยูทุกแหงที่มีมุสลิม มีการเรียนการสอนในวิชาความรู หลักการศาสนาเหมือนกัน แตสิ่งที่ผูเรียนไดรับนั้นจะมี ความแตกตางกันตรงแนวทางของวิถีชีวิตตามวัฒนธรรมของแตละพื้นที่ จากหลักฐานทางประวัติศาสตรเปนที่ยอมรับกันวา ปอเนาะจัดขึ้นครั้งแรกที่จังหวัดปตตานี และเปน สถานศึกษาที่เกาแกที่สุดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต ผูนําทางศาสนาและนักศึกษาศาสนาคนสําคัญสวนใหญ ไดรับการศึกษาศาสนาอิสลามจากผูรูชาวปตตานี นอกจากไดศึกษาหาความรูแลว บุคคลเหลานั้นไดจัดทํา ตํารา แนวทางในการสอนและการเผยแพร ซึ่งผลิตและคิดคนโดยผูรูชาวปตตานี การจัดการศึกษาในลักษณะ ปอเนาะไดดําเนินการสืบทอดเจตนารมณของศาสนา และระบบการศึกษาเรื่อยมาจากอดีตจนถึงปจจุบัน บาง ชวงผูสอนอาจจะ มีการเปลี่ยนแปลงในรายละเอียดของเนื้อหาหลักสูตรและวิธีการไปบาง แตไมไดแตกตางไป จากเดิมมากนัก กลาวคือ ยังคงรักษาระบบการศึกษาไวเชนเดิม เพียงแตการเนนหนักในเนื้อหาวิชา ซึ่งตอง เนนหนักไปตามความถนัดของผูสอน ปอเนาะเปน สถาบัน การศึก ษาที่มีป ระวัติค วามเปน มาตั้ง แตมีชุม ชนมุส ลิม เกิด ขึ้น สถานศึกษา ปอเนาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใตที่มีชื่อเสียงในอดีตมี ๒ แหง คือ ปตตานีดารุสลาม และเมืองอาเจะห บน เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซียปจจุบัน ปอเนาะคือระบบการเรียนรูและการถายทอดคุณธรรมทางศาสนา ที่ยังคงดํารงอยูอยางมั่นคงในสังคม มุสลิม อาจจะกลาวไดวามีลักษณะรูปแบบบางอยางที่คลายกับสํานักตักศิลาในวิถีทางของฮินดู พราหมณ หรือ พุทธศาสนา เปนกระบวนการเรียนรูในเชิงลึกในสาขาใดสาขาหนึ่ง คือเมื่อใดมีผูรูในสังคม ผูคนในและนอกชุมชน จะมาขอสมัครเปนลูกศิษย


ปอเนาะ ในพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต แ บงออกเปน ๒ แบบดว ยกัน คือ ปอเนาะดั้ งเดิ ม ที่ สอน ศาสนาอยางเดียว และโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ปอเนาะแบบดั้งเดิมแบงยอยออกเปนปอเนาะ ดั้งเดิมที่ไมไดจดทะเบียน และปอเนาะดั้งเดิมที่จดทะเบียนกับรัฐ โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม (ปอเนาะ) ที่จดทะเบียนกับรัฐและเปดสอนวิชาสามัญควบคูไปกับ วิชาศาสนา แบงออกเปนโรงเรียนสอนวิชาสามัญ และศาสนาทั่ว ไปที่ ไ ดมาตรฐาน อาจแบงย อ ยไดเ ปน ๓ ประเภทคือ โรงเรียนที่ไดรับอนุญาตบุคคลธรรมดา (จะไดรับเงินสนับสนุนจากรัฐบาล ๔๐%) โรงเรียนที่จดทะเบียน เปนนิติบุคคล (จะไดรับเงินสนับสนุนจากรัฐบาล ๖๐%) โรงเรียน ที่จดทะเบียนเปนนิติบุคคลกอนป พ.ศ. ๒๕๓๙ (จะไดรับเงินสนับสนุนจากรัฐบาล ๑๐๐%) โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามอีกแบบคือ โรงเรียนที่สอนวิชา สามัญและศาสนาเชนเดียวกัน แตอาจจะมีอุปกรณการเรียน การสอนไมครบหรือไมไดมาตรฐาน ซึ่งโรงเรียน ดังกลาวจะไดรับเงินอุดหนุนเปนรายป ปอเนาะดั้งเดิม วิถีชีวิตในปอเนาะดั้งเดิม เปนวิถีชีวิตมุสลิมตามหลักซุนนะห (หลักการดําเนินชีวิต ของทานศาสดามูฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ชีวิตมีแตเรื่องศาสนาลวนๆ ดวยรูกันวาศาสนานั้นเขามาเปนสวนหนึ่งของ ชีวิตมนุษย ตั้งแตเกิดจนกระทั่งตาย เมื่อมีโตะครูเขามาสอนใหความรูศาสนา คนในปอเนาะจะเลือกเวลาเรียน เวลาไหนก็ไดแลวแตสะดวก คนในปอเนาะมีโตะครูเปนตนแบบความประพฤติ และจะเคารพนับถือ มีความ กตั ญ ู กั บโต ะครู มาก เพราะถือ วา โตะ ครู นั้นเปน ผู มี พระคุณ ให ความรู การศึ กษา เด็ กผู ช ายมี โตะ ครูเป น แบบอยางความประพฤติ สําหรับเด็กผูหญิงมีภรรยาของโตะครู (มามา) เปนตนแบบ เด็กปอเนาะจะอยูแบบนักเรียนประจํา เรียกเด็กปอเนาะวา “โตะปาเก” (เด็กหอ) มีบานพักลักษณะ เหมือนกระตอบเล็กๆ หรือหองแถว โดยจะปลูกไวใกลบริเวณบานโตะครู ภายในหองมีที่นอนและที่ทํากับขาว โดยตองหาอาหารหรือทํากับขาวเอง ใชหองน้ํารวม การใชประโยชนจากปอเนาะ ใชเปนที่พักผอน อานหนังสือ หรือหลับนอนในเวลากลางคืน เด็กปอเนาะใชเวลาหลัง ๒๑.๐๐ น. ทองอานหนังสือเพื่อคนควาหาความรู และ จะนอนประมาณ ๒๒.๐๐-๒๓.๐๐ น. อุดมการณและหลักการสําคัญของปอเนาะ องคอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงมีพระประสงคใหมนุษยอยูรวมกัน อยางสันติ และปฏิบัติศาสนกิจตอพระองค คนจะทําอะไรไดดีในทางศาสนาก็ตองศึกษาศาสนาใหแตกฉาน กอน ปอเนาะจึงไดรับการจัดตั้งขึ้นดวยจิตวิญญาณที่จะสืบทอดเจตนารมณขององคอัลเลาะฮ (ซ.บ.) คือเพื่อให มนุษยภักดีและศรัทธาตอพระองค สถาบันศาสนาเปนสื่อเชื่อมโยงระหวางพระเจากับมนุษย และสรางสัมพันธ ไมตรีที่ดีระหวางมนุษยตอมนุษยดวยกัน หลักการของปอเนาะจึงเพื่อปกปองและดูแลรักษาศาสนา เผยแผ ศาสนา พัฒนาและชวยเหลือจิตวิญญาณของสังคม ใหเพื่อสวนรวม ไมบูชาเงินและวัตถุ เปาหมายคือรับใชพระ เจา การจัดการปอเนาะมักมีสวนในการชวยดูแลความสงบเรียบรอย ความปลอดภัย โดยเนนหลักของการให อุดมการณของการศึกษาในระบบปอเนาะมองวา การศึกษาคือสาระของชีวิต เปนการแสวงหาความรู เพื่อใหเขาใจชีวิต เขาใจตนเอง มุงผลิตบุคคลเพื่อรับใชสังคม ไมใชเปนการแสวงหาความรูเพื่อใหไดมาซึ่งอาชีพ และรายไดเพียงอยางเดียว โครงสรางของปอเนาะ โตะครู


คณะกรรมการที่ปรึกษา ผูชวยโตะครู ครูสอนวิชา

อาหรับ

มลายู

อัล-กุรอาน

ฟกฮ

วิชาอื่นๆ

นักเรียนเริม่ เรียนตั้งแต ๐๕.๓๐-๒๑.๓๐ น. หลังละหมาดทุกเวลา การเรียนจะสลับกันไปทุกวิชา

ลักษณะพิเศษของปอเนาะ ปอเนาะนอกจากจะเปนโรงเรียนสอนศาสนาโดยทั่วไปแลว ยังมีลักษณะ พิเศษกวาสถาบันการศึ กษาอื่นๆ โดยทั่วไป คือเปนการศึ กษาโดยไมคิดคา เลา เรียน ผูสอนสอนดวยความ บริสุทธิ์ใจ โดยมุงตรงตอพระเจาเปนสําคัญ และไมไดหวังผลตอบแทนเปนจํานวนเงิน นักเรียนทุกคนเรียนฟรี ไมตองจายคาเลาเรียน ปอเนาะไมมีการเก็บคาบํารุง ไมวารวยหรือจนก็สามารถเขาเรียนปอเนาะไดทั้งสิ้น การ เรียนในปอเนาะเปนการศึกษาตลอดชีวิต ผูที่ศึกษาในปอเนาะนั้นจะมีทุกเพศทุกวัย โดยอาจเปนคนในทองถิ่น ในชุมชน จากตางจังหวัด หรือประเทศใกลเคียง ดังนั้นผูที่มาเลาเรียนจึงมีหลายวัย ตั้งแตวัยเด็กไปจนถึงวัยชรา (อายุระหวาง ๑๕-๖๐ ป โดยประมาณ) นอกจากนี้การศึกษาในปอเนาะยังเปนการศึกษาตามอัธยาศัย ผูเรียนสามารถเลือกวิชาเรียน ครูผูสอน ไดตามที่ตนเองสนใจ โดยไมใชระบบเรียนแบบตายตัว มีความยืดหยุน ผูเรียนสามารถประเมินตนเองไดวามี ความรูในระดับใด จากนั้นจึงเลือกเรียนตามระดับความสามารถของตน ปอเนาะเปนสถานที่ฟอกคนใหเปนคนดี ปอเนาะเปรียบเสมือนโรงงานผลิตคนดี รีไซเคิลคนไมดีใหกลับตัวกลับใจหันหนาเขาสูศาสนา สั่งสอนคนดีใหมี ความรูและเปนคนที่ดียิ่งๆ ขึ้นไป เนนการปฏิบัติและอุทิศตนเพื่อศาสนาและสังคม ผูที่เรียนปอเนาะดวยความ มุงมั่น ตั้งใจจริง จะประสบความสําเร็จเปนคนดีที่นานับถือของสังคม ปอเนาะคือเปนการจําลองสังคมมุสลิม ตัวอยาง การอยูในปอเนาะฝกการเปนผูนําที่ดี ผูตามที่ดี การใหความเคารพผูหลักผูใหญ รักใครเอื้อเฟอเผื่อแผซึ่ง กันและกัน อยูกันอยางพี่นอง ใชชีวิตตามหลักศาสนา หางไกลจากสิ่งมะอซียัต (อบายมุข) บุคลากรของโรงเรียนปอเนาะ ครูบาอาจารยสวนหนึ่งมาจากเครือญาติและครอบครัวเดียวกัน อีก สวนเปนผูเรียนในปอเนาะที่ร่ําเรียนจนมีความรูแตกฉาน สามารถเปนผูสอนได ซึ่งมีความคิดที่จะเสียสละ เผย แผและสอนหนังสือ โดยทุกคนใชเวลาวางของตนเอง เชาบางเย็นบางมาชวยสอนหนังสือใหกับนักเรียนใน ปอเนาะ โดยใชหลักพึ่งพาตนเอง ไมหวังคาตอบแทน ครูสวนใหญเปนศิษยเกาของปอเนาะ ซึ่งหลังจากศึกษา จบก็มีครอบครัว แลวตั้งถิ่นฐานอยูในบริเวณอาณาเขตของปอเนาะ โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม เปนโรงเรียนที่ทําการสอน ทั้งวิชาศาสนาและวิชาสามัญหรืออาชีพควบคูกันไป (ตั้งแตระดับชั้น ม.๑-ม.๖ หรือบางแหงตั้งแตระดับชั้น อนุบาลถึงม.๓) หรือบางโรงเรียนสอนเฉพาะวิชาศาสนาเพียงอยางเดียว


โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามนี้ มีอยูทั่วไปในจังหวัดชายแดนภาคใต หมายถึง จังหวัดยะลา ป ต ตานี นราธิ ว าส สตู ล และสงขลา เป น สถานศึ ก ษาสั ง กั ด สํ า นั ก งานคณะกรรมการการศึ ก ษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ ที่มีการจัดการศึกษาตั้งแตระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ ตั้งแตระดับประถมศึกษาถึง ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามเปนโรงเรียนเอกชนตามมาตรา ๑๕ (๑) และ มาตรา ๑๕ (๒) ตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ.๒๕๓๕ ที่พัฒนามาจาก “ปอเนาะ” ซึ่งโตะครูผูมี ความรูทางดานศาสนาเปนผูจัดตั้งขึ้นเพื่อสอนหลักธรรมของศาสนาอิสลาม สอนการปฏิบัติศาสนกิจอันถือเปน หนาที่จําเปนของมุสลิมใหแกเยาวชนที่นับถือศาสนาอิสลาม และไดมีการปรับปรุงเรื่อยมา จากปอเนาะมาเปน โรงเรียนราษฎรสอนศาสนาอิสลาม และเปลี่ยนชื่อมาเปน “โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม” โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม มีการจัดการเรียนการสอน ๒ ลักษณะ คือสอนวิชาศาสนาอยาง เดียว และสอนวิชาศาสนาควบคูกับวิชาสามัญหรือวิชาชีพ โดยใชหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ ๒ ลักษณะ ดังนี้ วิชาศาสนา ๑. หลักสูตรอิสลามศึกษาตอนตน พุทธศักราช ๒๕๒๓ ใชเวลาเรียน ๔ ป (อิบติดาอีย) ๒. หลักสูตรอิสลามศึกษาตอนกลาง พุทธศักราช ๒๕๒๓ ใชเวลาเรียน ๓ ป (มูตะวัตซิต) ๓. หลักสูตรอิสลามศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช ๒๕๒๓ ใชเวลาเรียน ๓ ป (ซานาวี) วิชาสามัญและวิชาชีพ ๑. หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนตน พุทธศักราช ๒๕๒๑ ๑. หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช ๒๕๒๔ ๒. หลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนตน พุทธศักราช ๒๕๓๐ ๓. หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นของกรมการศึกษานอกโรงเรียนและกรมอาชีวศึกษา ในเวลาตอมา กระทรวงศึกษาธิการไดมีการจัดทําหลักสูตรวิชาสามัญ เพื่อใหโรงเรียนเอกชนสอน ศาสนาอิสลามเลือก สําหรับการจัดการเรียนการสอนอีก ๒ หลักสูตร คือ ๑. หลักสูตรอิสลามศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนตน พุทธศักราช ๒๕๓๕ ๒. หลักสูตรอิสลามศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช ๒๕๓๕ สําหรับการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม มีอยู ๒ ลักษณะคือ ๑. การจัดตารางเรียนแบงแยก เชา-บาย ระหวางวิชาสามัญกับวิชาศาสนา ๒. จัดการเรียนการสอนรวมกันระหวางวิชาสามัญและวิชาศาสนา ทั้งเวลาเชาและบาย โดย มีครูผูสอน ๒ ประเภท คือ ครูสอนวิชาศาสนา โรงเรียนจัดหามาเอง มีฐานะเปนครูโรงเรียนเอกชน ครูสอนวิชา สามัญหรือวิชาชีพ ซึ่งจะแบงเปนขาราชการครูที่ทางรัฐบาลสงไปชวยสอนในโรงเรียน และครูโรงเรียนเอกชน ที่ โรงเรียนจัดหามา การสอนดานศาสนาในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามนั้น โดยมากจะแบงออกเปน ๓ ระดับ คือ ระดับอิบติดาอีย (ชั้นตน) ใชเวลาเรียน ๔ ป ระดับมูตะวัตซิต (ชั้นกลาง) ใชเวลาเรียน ๓ ป ระดับซานาวี (ชั้นสูง) ใชเวลาเรียน ๓ ป ตารางเปรียบเทียบรายละเอียดของความแตกตางระหวางปอเนาะกับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม เรื่อง

ปอเนาะดั้งเดิม

โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม


เรื่อง

ปอเนาะดั้งเดิม

โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม

งบอุดหนุนจากภาครัฐ

ไมมี

มี

การชวยเหลือจากภาครัฐ คาเทอม/คาบํารุง ที่พัก เปดสอนสามัญ เวลาเรียน

มาก มี มี (สวนใหญ) มี ๐๘.๐๐-๑๖.๓๐ น.

ความสัมพันธกับครูผูสอน พิธีทางศาสนาของนร.กับชุมชน สามารถศึกษาตอตางประเทศ

นอย ไมมี มี ไมมี (บางแหงเปดเปน การศึกษานอกโรงเรียน) ครอบคลุมตลอดวัน (๐๕.๐๐-๒๑.๐๐ น.) แบงตามความรูที่ไดเรียนมา ระดับชั้นแบงตาม ความยากงายของหนังสือที่เรียน มาก มี ได

เรียนตามลําดับ ชั้นปกติ โดยมีการเลื่อ น ชั้นเมื่อครบปการศึกษา นอย มี ได

การเรียนรูและไดปฏิบัติจริง

มาก

นอย

ครูผูสอนจบจาก (สวนใหญ) เครื่องแบบ (สวนใหญ)

ปอเนาะ เสื้อกูรงแขนยาว นุงผาโสรง ครอบหมวกขาว

ตางประเทศ เสื้อเชิ้ต-กางเกงขายาว ปกชื่อหรือเลขรหัส ประจําตัว

การแบงระดับชั้น

ตารางเปรียบเทียบกลุมโตะปาเก (ผูเรียน) ของปอเนาะแบบดั้งเดิมกับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ปอเนาะ กลุมที่ตองการเรียนทางดานศาสนาเพื่อนําไปใชประโยชนใน ชีวิตประจําวัน/นําไปสอน/เปนผูนําศาสนาในทองถิ่น เปนการ เรี ย นแบบลึ ก ซึ้ ง โดยมี ก ารเรี ย นและปฏิ บั ติ ค วบคู กั น ไป มี ผูดูแลและใหคําปรึกษาตลอด ๒๔ ชั่วโมง

รร.เอกชนสอนศาสนาอิสลาม กลุ ม ที่ ต องการเรี ย นศาสนาควบคูไ ปกั บ สามั ญ โดยกลุ ม หนึ่ ง ตองการเรียนสามัญเปนหลักเพื่อสอบเขามหาวิทยาลัยตอไป แต ก็ตองการหาความรูดานศาสนาควบคูไปกับดานสามัญ อีกกลุม เปนกลุมที่ตองการเรียนศาสนาโดยตรง และมีเปาหมายที่จะไป ศึกษาตอตางประเทศ กลุ ม ที่ มี ฐ านะยากจน (ส ว นใหญ ) ไม มี ทุ น ทรั พ ย เ พื่ อ เป น ฐานะปานกลางหรือพอมีพอใชเปนอยางนอย คาใชจายในการเลาเรียน ไมจํ ากั ดอายุข องผูเ รียน โดยเฉพาะผู ที่มี อายุ เ กิ นวัยเรีย นก็ ผูที่มีอายุอยูระหวาง ๑๓-๒๕ ป สามารถเรียนปอเนาะได

ปอเนาะกับการเปลี่ยนแปลงจากอดีตสูปจจุบัน ตลอดระยะเวลาที่ปอเนาะเกิดขึ้นในดินแดนฟา ตอนีดารุสลาม จนกระทั่งเปลี่ยนมาเปนจังหวัดปตตานีในปจจุบัน การศึกษาหาความรูในวิถีชีวิตแบบอิสลามใน สถาบันปอเนาะไดดําเนินมาอยางตอเนื่อง ไมวาแผนดินแหงนี้จะประสบภัยพิบัติใดก็ตาม ไมวาจะเปนภัย สงคราม การศึกษาหลักการอิสลามตามวิถีของคนมุสลิมใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใตก็ยังคงมีอยู ปอเนาะ จอมพล ป. ออกกฎหมายชาตินิยม สงผล กระทบตอปอเนาะ

๒๔๘๕

ประกาศระเบียบกระทรวงใหปอเนาะขึ้น ทะเบียน

๒๕๐๔


บานภูมีเปนที่ตั้งของปอเนาะที่มีชื่อเสียงแหงหนึ่งชื่อวาปอเนาะภูมีหรือบืรมิง ซึ่งมีอายุเกือบหนึ่ง รอยปแลว ปอเนาะภูมี หรือ โรงเรียนนูรุลอิสลามภูมีวิทยา, ปอเนาะภูมี, ปอเนาะบืรมิง เดิมชื่อ นูรุล อิสลามอัลบืรมีนียะห ปอเนาะภูมีเปนบอเกิดแหงชุมชน เปนจุดเริ่มตนของทุกสิ่งทุกอยางในปจจุบัน คําวา “ภูมี” เปนชื่อหมูบานที่ทางราชการตั้งให ซึ่งเพี้ยนมาจากคําวา “บืรมิง” การเรียกที่อยูหรือ หมูบานในอดีตมักจะอิงอยูกับสภาพแวดลอมนั้นๆ และบืรมีเปนชื่อตนไมเนื้อแข็ง ใชรักษาคนโรคหัวลาน ซึ่งมีมากในพื้นที่แถบนั้นในอดีต แตปจจุบันไมมีใหเห็นแลว ความเปนมาของปอเนาะภูมี ปอเนาะภูมีตั้งอยูบนเสนทางสายยะหริ่ง-มวงหวาน ตําบลยามู อําเภอยะหริ่ง จังหวัดปตตานี เปนปอเนาะเกาแก มีอายุประมาณหนึ่งรอยป ไดผลิตบุคลากรทางศาสนา ขัดเกลาคุณธรรม จริยธรรมใหแกเด็กนักเรียนมากมาย ที่มาจากทุกสารทิศ ทั้งในประเทศไทยและประเทศ ใกลเคียง ปอเนาะภูมีกอตั้งขึ้นโดยการสนับสนุนของเจาเมืองยะหริ่ง (พระยาพิพิธภักดี) เดิมทีปอเนาะภูมี เปนพื้นที่ที่อยูหางไกลจากชุมชน และเปนพื้นที่ที่อยูในเขตปาไมที่มีสัตวปานานาชนิดอาศัยอยู มีลําธาร ไหลผาน สะดวกตอการดําเนินชีวิตประจําวันของนักศึกษา ผูกอตั้งปอเนาะคนแรกคือ ทานไซคุนา หะยี วันมูฮําหมัด หรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งวา “โตะเยาะหสะแต” ทานเปนผูบุกเบิกฟนฝาอุปสรรคและตั้งปอเนาะ อยูริมคลองในปาใหญแหงนี้เมื่อประมาณรอยกวาปที่ผานมา การที่จะเปนปอเนาะไดไมใชจะใชเวลา เพียงชั่วครู แตมันเปนกาลเวลาที่สืบตอกันมาถึง ๓ อายุคนแลว ปอเนาะภูมีเปนที่รูจักกันทั่วไปทั้งใน ประเทศและตางประเทศ เชน เขมร พมา มาเลเซีย อินโดนีเซีย บุคคลตางถิ่นฐาน ตางพื้นที่ ไดเขามา ศึกษาหาความรูในสถาบันแหงนี้ จนกระทั่งมีวิชาความรูเปนที่พอใจแลวจึงกลับไปสอนยังภูมิลําเนาของ ตัวเอง ปอเนาะภูมีไดขยายอาณาเขตโดย หะยีวันอะหหมัด เบน วันหะยีอิริซ ใหกวางขึ้นและใหญขึ้น ใน สมัยไซคุนาอะหหมัดผูนี้ ทานมีลูกศิษยประมาณ ๖๐๐ คน และมีนักศึกษาระดับแนวหนามากมาย เรียก กันวาปอเนาะที่มีอยูทุกวันนี้มิใชนอยเลยที่เปนศิษยเกาปอเนาะภูมี ยุคของทานเรียกไดวาเปน “ยุคทอง” ของปอเนาะภูมีก็วาได

ปอเนาะภูมี อําเภอยะหริ่ง ปอเนาะสะมาลา

ปอเนาะบือนังกือบง อ. ปอเนาะเมาะโง อ.ยะรัง ั

ปอเนาะจอแม ปอเนาะบือนารา เมาะ, ปอเนาะตะลูบัน อําเภอ สายบุรี


แผนผังแสดงเครือขายปอเนาะของผูสําเร็จการศึกษาจากปอเนาะภูมี

ปจจุบันปอเนาะภูมีเปนสถาบันการศึกษาอิสลามที่มีชื่อเสียงแหงหนึ่งในจังหวัดปตตานี ปอเนาะ ภูมีไดจดทะเบียนเปนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๔ แตในขณะเดียวกันก็ยังคง ธํารงรักษาความเปนเอกลักษณตามวิถีของปอเนาะดั้งเดิมไวไดอยางเหนียวแนน กลาวคือแมวาจะมีการ จดทะเบียนเปนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม แตลักษณะความเปนอยู วิธีการสอน ยังคงรูปแบบ ของปอเนาะแบบดั้งเดิมอยู ปจจุบันผูเปนโตะครูคือ หะยีมูหัมมัด อาดํา

ปอเนาะภูมี กอตั้งปอเนาะภูมี โดยโตะครูหะยี วันอะหหมัด บินวันอิดริส

๒๔๖๓

สรางบาลาเซาะหเพื่อรองรับจํานวน ลูกศิษย ปอเนาะขยายเปนหมูบาน เกิดตลาดนัด

๒๔๗๒

ปอเนาะภูมีเจริญสูงสุด

๒๔๗๓

โตะครูหะยีวันอะหหมัดรวมกอตั้ง คณะผูปฏิบัติบทบัญญัติศาสนา และ ไดรับเลือกเปนกอฎี (ผูพิพากษา) จังหวัดปตตานี ไดรับแตงตั้งเปนที่ ปรึกษาศาสนาของเจาเมืองยะหริ่ง

๒๔๘๕

โตะครูหะยีวันอะหหมัด บินวันอิดริส เสียชีวิต,หะยีอับดุลเราะหมาน บิน หะยีนู รุดดีน อาดํา ทําหนาที่เปนโตะครูคนที่ ๒

๒๕๐๙

ปอเนาะภูมี จดทะเบียนปอเนาะ

๒๕๑๔

หะยีอับดุลเราะหมาน ไดรับเลือก เปนหัวหนาชมรมอุลามะอ

๒๕๑๙


ลําดับเหตุการณสําคัญของปอเนาะภูมี

ทัศนคติของนักเรียนตอการเรียนที่ปอเนาะภูมี จากการสํารวจความคิดเห็นของนักเรียนเรื่องทัศนคติของนักเรียนตอการเรียนที่ปอเนาะภูมี โดย สุมสํารวจจากกลุมตัวอยาง ๓๐ คน ชาย ๒๐ คน หญิง ๑๐ คน ชวงอายุระหวาง ๑๔-๒๕ ป ไดความคิด เห็นและสถิติที่นาสนใจดังตอไปนี้ (ทําการสํารวจ ณ วันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๔๗) ขอมูลเบื้องตน - ภูมิลําเนาเดิมของนักเรียน ปตตานี ๗๔ % ภาคใตตอนลาง ๑๔ % ภาคใตตอนบน ๒% ภาคกลาง ๑๐ % - เกณฑเฉลี่ยของผูที่ศึกษาปอเนาะภูมี ๓ ป ๖ เดือน (ระยะเวลาสูงสุด ๑๐ ป) ทัศนคติ ๑. สาเหตุที่มาเรียนปอเนาะ - ตองการศึกษาหาความรู ๔๕ % - ตองการเรียนศาสนาโดยเฉพาะ ๒๒.๒๐ % - ผูปกครองสงมา ๑๔.๒๙ % ๑๑.๑๑ % - เพื่อปรับปรุงตัว - อยากรูภาษา ๗.๔๐ % ๒. สาเหตุที่เลือกมาเรียนปอเนาะภูมี - เปนปอเนาะเกาแก ๒๑.๗๖ % - ตั้งใจมาเรียนเพราะชอบ ๒๑.๗๒ % - ใกลบาน ๒๑.๗๑ % - ผูปกครองเลือก ๑๓.๐๔ % - สอนดีมีประสิทธิภาพ ๘.๖๐ % - ใกลแหลงชุมชน ๘.๖๐ % - เครงครัดในเรื่องศาสนา ๔.๕๗ % ๓. ปอเนาะภูมีตางจากปอเนาะอื่นอยางไร - ไมแตกตาง ๐.๗๖ % - มีการเรียนการสอนแบบดั้งเดิม ๒๓.๐๗ % - การสอนหลากหลาย ๑๙.๒๓ % - มีการสอนในระดับสูง ๑๕.๓๘ % - มีอิสระในการเรียน ๗.๖๐ % - ผูสอนมีความเปนผูนําสูง ๓.๙๖ % ๔. สิ่งที่คาดหวังวาจะไดรับหลังจากเรียนจบแลว - อยากไดความรูมากๆ ครอบคลุมทุกเนื้อหา ๓๗.๕๐ % - สามารถเผยแพรความรู, สอนผูอื่นได ๓๓.๓๓ %


- นําความรูที่มีไปใชประโยชนในชีวิตประจําวันได ๒๐.๘๓ % - เปนคนดี, เปนแบบอยางของชุมชน ๘.๓๗ % ๕. วางแผนไวอยางไรในอนาคต - เปนอาจารยสอนศาสนา ๓๘.๔๖ % - เรียนตอไปเรื่อยๆ จนมีความรูเพียงพอ ๒๓.๑๓ % - เปดปอเนาะ, เปนผูนําชุมชน ๑๙.๒๓ % - เรียนตอในระดับสูง ๗.๖๙ % - อยากลองไปศึกษาปอเนาะอื่นดูบาง ๗.๖๙ % ๓.๘๐ % - เรียนจนกระทั่งมีครอบครัว ๖. คิดเห็นอยางไรกับคํากลาวที่วา “ปอเนาะมีสวนรวมในการกอการราย” ในสวนนี้นักเรียนทั้งหมดตอบวา ไมเห็นดวย และใหเหตุผลของคํากลาวนี้วา - เกิดจากการเขาใจผิด ๔๑.๖๖ % - ผูพูดไมรูจักปอเนาะดีพอ ๒๙.๑๘ % - ถูกใสราย ๒๙.๑๖ %

ดวยสถิติจากแบบสอบถามความคิดเห็นและทัศนคติของเด็กปอเนาะขางตน ทําใหเราไดทราบ วา นักเรียนสวนใหญที่มาเรียนปอเนาะภูมีหวังที่จะไดวิชาความรูดานศาสนา การที่ปอเนาะภูมีเปน ปอเนาะที่เกาแก มีชื่อเสียงมาแตอดีตนั้นเปนสาเหตุหลักที่ทําใหนักเรียนเลือกมาเรียนที่นี่ สวนความ มุงหวังของนักเรียนตอการเรียนปอเนาะคือตองการความรูไปใชในชีวิตประจําวัน สามารถเปนแบบอยาง ที่ ดีตอชุมชนได และนักเรียนสวนใหญก็หวังที่จะเปนครูสอนศาสนาตอไปในอนาคตอีกดวย ผลสําเร็จของปอเนาะภูมี ปอเนาะเปนแหลงถายทอดวิทยปญญาและวัฒนธรรมอิสลาม เปนเสาหลักในการเสริมสรางผูรูใน สังคมมุสลิม เปนสถานที่เรียนรูขัดเกลาจิตใจและอบรมจริยธรรมอิสลามแกเยาวชน เปนแหลงเรียนรู เกี่ยวกับวิทยาการอิสลามสําหรับมุสลิมและผูสนใจทั่วไป เปนสถานที่พักพิงทางจิตวิญญาณแกผูสูงอายุ ผูหลงผิด และผูเคยหลงใหลกับกระแสบริโภคนิยม ประสานงานและดําเนินงานรวมกับองคกรภายนอกทั้ง ภาครัฐและเอกชนในกิจกรรมที่สอดคลองกับหลักการศาสนา ตลอดจนเปนกลไกหนึ่งของสังคมในการจัด สวัสดิการแกชุมชน การศึกษาตอของเด็กปอเนาะ จากการสัมภาษณอาจารยมูหัมมัด อาดํา โตะครูปอเนาะภูมี เกี่ยวกับการศึกษาตอของเด็กปอเนาะ ทําใหเราไดเห็นภาพไดชัดเจนยิ่งขึ้นวามีผูเรียนสามารถเรียนตอใน ระดับสูงหรือเรียนตอในรูปแบบอื่นๆ ไดอยางไร โดยอาจารยมูหัมมัดไดอธิบายใหฟงวา ”ผูเรียนบางคนจะทําการยายที่เรียนไปเรื่อยๆ แหงละ ๔-๕ ปบา ง หรือ ระยะเวลาตามที่ตนเห็ นวา เหมาะสม บางคนก็เ รี ยนแห งเดียว ปอเนาะเดี ยวตลอด การศึกษาก็ได” ทั้งนี้ปอเนาะแตละแหงจะมีรูปแบบและลีลาการสอนไมเหมือนกัน มีจุดเดนที่แตกตางกัน และแต ล ะแห ง ก็ มี ค วามแตกฉานในแต ล ะวิ ช าแตกต า งกั น (หากจะเปรี ย บเที ย บกั บ การศึ ก ษาใน ระดับ อุดมศึกษาของไทยในปจจุบัน ก็คลายๆ กับการที่เราตองการเรียนหรือชอบทางดานศิลปกรรม จิตรกรรม ก็ตองเขาเรียนที่มหาวิทยาลัยศิลปากร ชอบทางดา นการเมือ ง การปกครอง ก็ตองเรียนที่


มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร ดานสถาปตยกรรม อักษรศาสตร ก็ตอ งเรียนที่จุฬาลงกรณมหาวิท ยาลัย เหลานี้เปนตน ซึ่งปอเนาะภูมีในอดีตมีความเชี่ยวชาญทางดานวิชาฟกฮ-นิติศาสตรอิสลาม และวิชาอูซู ลุดดีน-หลักการศรัทธา) ทั้งนี้โดยทั่วไปแลวระยะเวลาที่ผูเรียนคนหนึ่งๆ จะมีความแตกฉานถึงขั้นเปนผูรู ไดนั้น จะตองใชเวลา ๑๐ ปขึ้นไป ในสวนของการศึกษาตอในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามนั้น นักเรียนปอเนาะสามารถทําได โดยทางปอเนาะจะออกใบรับรองให (ใบรับรองนี้เรียกวา “ชะฮาดะห”) โดยการกําหนดหลักเกณฑคราวๆ โดยการเทียบเรียนเปนจํานวนปและความรู วาเทียบไดกับชั้นอะไรของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ที่ตองการจะศึกษาตอ เชน หากเรียนปอเนาะ ๗ ป จะสามารถเขาศึกษาตอชั้นซานาวี (ชั้นสูง ๘-๑๐) ของ โรงเรียนเอกชนได สําหรับเรื่องการสงเสริมความรูดานสายสามัญนั้น อาจารยมูหัมมัดไดอธิบายใหฟงวา ทางปอเนาะ ไดรับความรวมมือจากศูนยการศึกษานอกโรงเรียนเขามาทําการสอนนักเรียน ในสวนนี้เองที่ทําใหนักเรียนมี ความรูดานสายสามัญและสามารถนําไปศึกษาตอและประกอบอาชีพไดในอนาคต ซึ่งระดับวุฒิการเรียน เทียบนั้นขึ้นอยูกับตัวนักเรียนเองดวยวาตองการเรียนถึงระดับใด ซึ่งที่ผานมาก็มีเรียนจบทั้งชั้น ม.๓ และ ม.๖ สวนการศึกษาตอระดับสูงของเด็กปอเนาะในตางประเทศ โดยสวนใหญของปอเนาะจะไมเนน การศึกษาตอในตางประเทศ ขึ้นอยูกับตัวนักเรียนวามีความตั้งใจและมีทุนทรัพยในการศึกษาตอหรือไม นักเรียนที่ไปเรียนตอจะตองทําการเทียบความรูกับทางสถาบันที่ตองการเขาเรียน ซึ่งตรงนี้เองที่นักเรียนที่ จบการศึกษามาจากโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจะไดเปรียบโรงเรียนปอเนาะเพราะเทียบชั้นได งายกวา ประกอบกับทางปอเนาะ (แทบทุกปอเนาะ) มีหลักสูตรการสอนที่ทําใหผูเรียนมีความแตกฉาน เปนอุลามะอ (ผูรู) ในตัวอยูแลว หากเรียนสําเร็จก็จะมีความแตกฉานไมตางกับผูที่ไปเรียนตางประเทศ บทบาททางสังคมของปอเนาะ กิจกรรมโดยทั่วไปทางสังคมของปอเนาะภูมีมีอยูหลากหลาย กิจ กรรมแตละอยางแตละประเภทเปนการเชื่อมความสัมพันธ การทําประโยชนระหวางปอเนาะกับ หมูบาน กับโรงเรียน กับชุมชน หรือกับปอเนาะดวยกันเอง กิจกรรมเหลานั้นไดแก จั ด กลุ ม นั ก เรี ย นออกเผยแผ ศ าสนาตามชุ ม ชน การออกเผยแผ ศ าสนา หรื อ ที่ เ รี ย กกั น ว า “ดะอวะห” นั้น เปนแบบฉบับที่สําคัญอยางหนึ่งที่ทานศาสดามูฮําหมัด (ซ็อลฯ) ไดสั่งใหประชากรของ ทานปฏิบัติ การออกเผยแผศาสนามี ๒ ประเภท ประเภทแรกเปนการเรียกรอง เชิญชวน อธิบายใหคน ศาสนาอื่นๆ หันมานับถือพระเจาองคเดียวและเขารับอิสลาม ประเภทที่ ๒ เปนการตักเตือน เชิญชวน และเรียกรองใหชาวมุสลิมทั้งหลายซึ่งมีความศรัทธาในศาสนาอิสลามอยูแลว ใหมีความยึดมั่น แนวแน ในศาสนามากยิ่งขึ้น การออกเผยแผศาสนาของปอเนาะภูมีเปนแบบประเภทที่ ๒ ทางปอเนาะจะจัดกิจกรรมนี้เดือน ละ ๑ ครั้ง โดยแบงนักเรียนออกเปนกลุม (หรือที่เรียกกันวา “ยุมเอาะห”) กลุมละ ๖-๑๒ คน ออกไปอยู คางคืนตามมัสยิดตางๆ เปนเวลา ๒๔ ชั่วโมง หรือหากมีเวลามากพอก็จะใชเวลา ๓ วัน โดยมากแลว


มัส ยิด ตามหมูบ า นที่ท างปอเนาะจัด นัก เรีย นออกดะอว ะหนั้น จะอยูใ นรัศ มีไ มเ กิน ๑๐ กิโ ลเมตร เพราะสะดวกในการเดินทาง และทางปอเนาะสามารถติดตอกับนักเรียนไดในเวลาอันรวดเร็ว วัตถุประสงคประการแรกของการออกเผยแผศาสนานั้น คือการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงตัวเองของ ผูเรียน ผึกใหสํานึกในหนาที่และความรับผิดชอบที่มีตอศาสนาและสังคม ผูที่ออกเผยแผศาสนาจะไดทํา กิจกรรมตางๆ ซึ่งอยูในกรอบของศาสนาตลอด ๒๔ ชั่วโมงอยางแทจริง เพราะใชเวลาสวนใหญอยูใน มัสยิด อันเปนสถานที่ประกอบศาสนกิจ ผูเรียนจะงดการพูดจาไรสาระ งดพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องตางๆ ของ ทางโลก ฝกการเปนผูนําและผูตามที่ดี ฝกการเขาสังคม วัตถุประสงคป ระการตอมา คือเป นการเชื่อมความสัม พันธกัน ระหวางมุสลิม ดวยกัน เชื่อ ม ความสัมพันธกันระหวางคนตางถิ่นกับคนในทองถิ่น และเปนการเชื่อมความสัมพันธกันระหวางปอเนาะ ซึ่งเปนสถานศึกษากับหมูบาน สิ่งเหลานี้จะชวยทําใหเกิดความสัมพันธอันดี มีความปรองดองระหวางกัน วัตถุประสงคประการสุดทาย คือการชักชวน เชิญชวน กระตุนใหชาวบานมีความเขมแข็งและยึด มั่นในศาสนาอิสลามมากยิ่งขึ้น ใหมีกําลังในการประกอบศาสนกิจทั้งที่เปนสวนตัวและสวนรวม เพราะ หนาที่หนึ่งซึ่งสําคัญที่สุด ที่มุสลิมพึงปฏิบัติ คือการตักเตือนพี่นองมุสลิมดวยกันไมใหหันเหออกจาก ศาสนา การปฏิบัติกิจกรรมลักษณะดังกลาวนี้ จะทําใหสังคมคงไวซึ่งความปกติสุขเรียบรอย ความมี คุณธรรม จริยธรรม ซึ่งหาไดยากในชวงเวลาปจจุบันที่คนสวนใหญพากันอยูแบบตัวใครตัวมัน ไมไดใสใจ วาสังคมหรือหมูบานที่เราอยูนั้นมีอบายมุข หรือเกิดสิ่งใดๆ บางที่จะทําใหสังคมตกต่ําลงในอนาคต และ เมื่อสังคมตกต่ําลงก็มักจะพยายามออกกฎระเบียบตางๆขึ้นมาควบคุมทีหลัง ซึ่งเปนการแกปญหาที่ ปลายเหตุ และไมไดทําใหปญหาลดนอยลง อยางดีที่สุดก็เปนเพียงการยับยั้งไมใหปญหาขยายตัวเทานั้น คลายๆ กับสุภาษิตคําพังเพยที่วา “วัวหายลอมคอก” แตหากเราปองกันดวยการสอดสองดูแล ตักเตือน กันตั้งแตเนิ่นๆ ปญหาที่จะเกิดในอนาคตก็ไมมีทางเกิดขึ้นได


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.