6dansai5

Page 1

การจัดการทรัพยากรน้ําในลุมน้ําหมัน ลําน้ําหมันเกิดจากภูเขาคอนไก (ภูลมโล) ภูเขาลูกนี้มีพื้นที่ครอบคลุม ๓ จังหวัด คือ จังหวัดเลย จังหวัดเพชรบูรณ และจังหวัดพิษณุโลก ไหลยอนไปทางทิศเหนือ ผานตําบลกกสะทอน ตําบลดานซาย ตําบลนาหอ ตําบลนาดี ไปบรรจบแมนํา้ เหืองที่ตําบลปากหมัน (ตําบลดังกลาวที่อยูในเขตอําเภอดานซาย ทั้งหมด) สภาพของลําน้ํา เปนลําน้ําสายเล็กๆ และแคบ แตมีน้ําไหลตลอดป มีลําหวยมากมายที่ไหลลงสู ลําน้ําสายนี้ ตนน้ําในชวงที่น้ําไหลผานตําบลกกสะทอน สภาพพื้นที่เปนภูเขาสูงต่ําลดหลั่นและสูงชัน มี แกงและโขดหินติดตอกันเปนระยะทางไกล บางชวงน้ําจะไหลลอดโขดหิน หนาแลงจะมองไมเห็นน้ํา (ชาวบานเรียกวาน้ําดั้น ดั้นแปลวาลอด) ฤดูฝนน้ําไหลเชี่ยวมาก สภาพของลําน้ําในชวงที่ไหลผานตําบล ดานซาย คือ หมูบานหัวนายูง บานเหนือ บานเดิ่น บานหนองคู บานนาเวียง และบานนาหอ ตําบลนาหอ เปนพื้นที่ราบ กระแสน้ําไหลไมแรงนัก ในอดีต (เมื่อ ๕๐–๖๐ ปกอน) ในหนาฝนผูคนจะใชน้ําฝนที่รองจาก หลังคาบานของแตละครัวเรือน เก็บใสโองใสตุมไวดื่มไวใชจนตลอดฤดู (มีฝนตกตามฤดูกาล) สวน หนาแลงตั้งแตเดือนพฤศจิกายน-เดือนพฤษภาคม น้ําในลําน้ําหมันจะใสสะอาด ผูคนที่ตั้งบานเรือนอยูริมฝงน้ํานี้จะใชน้ําในลําน้ําหมัน สําหรับดื่ม อาบ และซักลางสิ่งของตางๆ ไดตลอดป แตละหมูบานจะมีทาน้ําเปนของตนเอง และมีเสนทางลําน้ําเชื่อมกับถนนสายหลักของหมูบาน ตอนเชาของแตละวันคนในครัวเรือนจะนําภาชนะ (คุ-ถัง) ลงไปตักน้ําในลําน้ําขึ้นมากักเก็บไวในโองหรือ ตุม (สวนมากเปนหนาที่ของฝายหญิง) ใหพอดื่มกินไดตลอดทั้งวัน จะมากหรือนอยขึ้นอยูกับจํานวนผูคน ในครัวเรือน และตักน้ําสําหรับใชมาเก็บไวในโองหรือตุมอีกทีหนึ่ง เพื่อใชลางถวยชามและภาชนะอื่นๆ ใน ครัวเรือน การซักเสื้อผาและเครื่องนุงหมอื่นๆ ชาวบานจะนําไปซักที่ทาน้ําในตอนเย็นทุกวัน ชาวบานทุก คนจะลงไปอาบน้ําที่ทาน้ําในหมูบานของตนเอง สวนมากจะอาบน้ําวันละครั้ง คือ ตอนเย็นของแตละวัน หลังจากทํางานเหน็ดเหนื่อยมาแลวทั้งวัน การใชน้ําในการเกษตร หนาแลง ชาวบานจะปลูกพืช ผัก เชน หอม กระเทียม ผักชี ผักกาด กะหล่ําปลี กะหล่ําดอก เปนตน ตามริมฝงทั้งสองฟาก โดยใชน้ําในลําน้ําหมันรดพืชที่ปลูกไว ในหนาฝน ชาวบานหัวนายูง บานเดิ่น บานเหนือ และบานหนองคู จะไมใชน้ําในลําน้ําหมันชวยในการทํานา เพราะที่ นาอยูสูงจากระดับน้ําและไดน้ําฝนจากลําหวยที่ไหลจากภูเขาซึ่งมีปริมาณมากพอสําหรับการทํานาอยู แลว แตชาวบานนาเวียง บานนาหอ ที่มีที่นาอยูใกลลําน้ําหมัน เขาจะใชน้ําจากลําน้ําชวยในการทํานา เรียกวา นาน้ําพัด โดยการทําพัด (ระหัด) วิดน้ําเขานา ซึ่งจะทํานาไดปละครั้ง คือ ในหนาฝนเทานั้น ใน ปจจุบันยังพอมีพัดใหเห็นอยูบาง ระบบ “น้ําภูเขา” กอนป ๒๕๐๖ ชาวบานหนองคู บานเหนือ บานเดิ่น และบานหัวนายูงใชน้ํา จากลําน้ําหมัน สําหรับดื่ม อาบ และอื่นๆ หลังจากนั้นมา สุขาภิบาลดานซายไดจัดสรางประปาภูเขาจาก หวยน้ําอุน (หวยน้ําอุน เปนสาขาหนึ่งของหวยน้ําศอกและลําน้ําหมัน ตนน้ําอุนเกิดจากภูเขาในหมูบาน กกเหี่ยนและบานกางปลา ทางทิศตะวันออกเฉียงใตของบานเดิ่น) โดยกั้นเปนฝายน้ําลน (ฝายคอนกรีต)


บนภูเขาในเขตหมูบานเดิ่น แลวตอทอเหล็กเชื่อมติดตอกันเขามาในหมูบานเดิ่น บานหนองคู บานเหนือ และบานหัวนายูง ใหชาวบานใชดื่ม อาบ และอื่นๆ (ใชน้ําจากธรรมชาติ ไมตองผานกรรมวิธีทําน้ําให สะอาดแตอยางใด เพราะชาวบานเชื่อวา น้ําที่ไหลจากภูเขานั้นสะอาดอยูแลว) สุขาภิบาลดานซายเก็บ คาบริการการใชน้ําประปาภูเขาครัวเรือนละ ๒๐ บาทตอเดือน ตอมาราวป ๒๕๓๘ สุขาภิบาลดานซายไดโอนกิจการประปาภูเขาใหกับการประปาสวนภูมิภาค สาขาดานซาย การประปาสวนภูมิภาคยังคงใชน้ําจากหวยน้ําอุนและน้ําจากลําน้ําหมันมาผลิตเปนน้ํา สะอาด จําหนายใหแกชาวบานในเขตเทศบาลตําบลดานซายไปทางทิศใตประมาณ ๖ กิโลเมตร หาก เขื่อนนี้สรางเสร็จ สามารถกักเก็บน้ําไดจํานวนหนึ่ง คงชวยบรรเทาความเดือดรอนจากภัยน้ําทวมของ หมูบานใตเขื่อนไดในระดับหนึ่ง จึงเห็นไดวา คนสมัยกอนการมาตั้งถิ่นฐานที่อยูอาศัย การทํามาหากินจะตองหาทําเลที่มีแหลง น้ํา มีพื้นที่ทําการเพาะปลูกพืชตางๆ มีพื้นที่ในการเลี้ยงสัตว ที่สําคัญที่สุดคือแหลงน้ํา ไมวาจะน้ําดื่ม น้ํา ใชในครัวเรือน น้ําที่ใชในการเพาะปลูก ชาวบานนาหอก็อาศัยแหลงน้ํา คือลําน้ําหมัน สมัยกอนผูคนยังไม มากจึงทําใหลําน้ําหมันสะอาด สามารถใชดื่มได ครั้นตอมาเมื่อมีผูคนมากขึ้นจึงทําใหลําน้ําหมันสกปรก ไมสามารถใชดื่มได ชาวบา นจึ ง หาวิ ธีทําน้ํา ดื่มโดยการขุดบอ น้ํ าตามเชิงเขาที่มีน้ํา ซึมใตดิน การทํ า การเกษตรตองอาศัยลําน้ําหวยบนภูเขาที่สูงแลวทํารองน้ําลงมาหาพื้นที่แปลงเกษตร น้ําหวยบนภูเขาจะ ไหลตลอดป ถาพื้นที่ทําการเกษตรอยูใกลลําน้ําหมันชาวบานก็จะทําพัดเพื่อเอาน้ําขึ้นไปบนแปลงเกษตร ถาพื้นที่ทําการเกษตรอยูสูงกวาลําน้ําหมัน ก็อาศัยลําหวยบนภูเขาที่สูงทํารองน้ําไหลลงสูแปลงที่ทํา การเกษตร โดยอาศัยลําหวยน้ําตับที่อยูดานภูผาแดด ปจจุบันชาวบานก็ยังอาศัยลําหวยน้ําตับนี้อยู “พัด” หรือระหัดวิดน้ํา หมูบานนาหอตั้งอยูติดกับแมน้ําหมัน ที่นาทําการเกษตรก็อยูติดแมน้ํา หมัน การจะเอาน้ําจากแมน้ําหมันขึ้นไปบนพื้นที่นา เมื่อสมัยกอนยังไมมีเครื่องยนตสูบน้ํา ชาวบานนาหอ จึงหาวิธีวิดน้ําขึ้นพื้นที่นา โดยการทําพัดหรือระหัดวิดน้ํา ทําดวยไมไผ ใชงานไดเพียง ๑ ป เทานั้น ถึงป ตอไปก็ทําใหม ปจจุบันนี้หมูบานนาหอยังมีการทําพัดใชอยู จึงกลาวไดวาพัดมีประโยชนหลายอยางตอชาวบานในลุมน้ําหมัน โดยเฉพาะเกษตรกรผูทํานาได อาศัยพัดวิดน้ําเพื่อทํานา ปลูกพืช และเลี้ยงสัตวไดอยางเพียงพอ โดยไมตองรอน้ําฝน สวนการใชพัดทาง การเกษตรจะใชไดเฉพาะคนที่มีที่นาอยูใกลลําน้ําหมันเทานั้น หางออกไปไมสามารถใชไดเนื่องจาก น้ําที่ พัดขึ้นมาอาจสงแรงไปไมถึง ขั้นตอนการทําพัด เริ่มตนจากการตัดลําไมไผเปนทอนๆ ยาว ๒ เมตร แลวนํามาตอกลงกลางลํา น้ําหมัน เปนแนวสลับฟนปลา และวางรูปเฉียงลงตามลําน้ําหมัน ซึ่งเรียกกันวา “ลงหลักหรวย” เพื่อใหน้ํา ไหลไปทางเดียวกัน คือลงไปที่พัด พัดก็จะหมุนขึ้น พอตอกลงหลักเสร็จแลวคอยนําใบมะพราวหรือปลาย ไมไผมาใสทับไวใหแนนหนา สวนเสาทวนหรือแกนกลางทําจากแกนไมเนื้อแข็งมีความยาวประมาณ ๖-๗ เมตร เสาทวนนี้จะตองมีความทนทานมาก ขณะที่ดุมพัดทําจากแกนไมเนื้อแข็งมีความยาวประมาณ ๒ เมตร หนาประมาณ ๒๐ เซนติเมตร เปนทอนยาวกลม ดุมจะตองเจาะใหเปนรูเพราะจะไดเอาธนูเสียบ โดยธนูทําจากไมที่อยูในไร จะเปนไม


อะไรก็ไดแตตองมีอายุประมาณ ๑-๒ ป สวนขื่อจะทําดวยไมไรเชนกัน ทําเปนวงกลม ใชไมไรยาวมัดตอ กันเปนวงลอมกลม สําหรับกรงจะใชไมไรที่เสียบกับดุมจรดวงพัดเปนวงกลม สวนใบพัดใชไมไผผาสับเปนซีกเล็กแลวเอามาสานเปนแพติดไวเปนระยะๆ ตรงกรงและขื่อ ระยะ ชวงหางใหเทากัน เสร็จแลวตอดวยไมไผเปนทอนยาวประมาณ ๑.๕๐เมตร ไมไผนี้จะตองทะลุปลองออก เพื่อที่จะไดตักน้ําขึ้นไปเทใสรางน้ําซึ่งอยูขางบนเรียกวา “บั้งพัด”

พัดหรือระหัดวิดน้ํา ภูมิปญญาทองถิ่นวัฒนธรรมลุมแมน้ําหมัน ปจจุบนั ชาวบานยังคงใชพัดนี้อยูที่บานนาเวียงและนาหอ

ขณะที่บั้งพัดใชไมไผตัดเปนกระบอกยาวประมาณ ๒ ปลอง และจะตองทะลุปลองแลวเอามามัด ตัดกับขางใบพัด โดยมัดเปนรูปเฉียง เสร็จแลวพัดก็จะหมุนไปเรื่อย ๆ สงน้ําไปตามรางน้ํา ซึ่งจะมีทั้งราง น้ําสั้น คือรางน้ําที่รองน้ําจากบั้งพัด และรางน้ํายาว คือตองใชไมไผเปนทอนยาวที่ทะลุปลองแลวมาตอ กันเปนทอนยาว ที่สงน้ําไหลไปหานา นอกจากนี้ยังตองทําแพพื้น คือพื้นน้ําขางลางตรงพัดหมุนจะตองทําแพไวใต เพราะกันน้ําเซะพื้น โดยใชไมไผสับใหเปนแพ (เรียกวาฟาก) ปูลงพื้นดินในน้ําหรือจะใชไมเปนทอนลํายาวก็ไดเหมือนกัน จึงกลาวไดวา พัดถูกนํามาใชประโยชนเพื่อวิดน้ําทํานามานานแลว พัดจึงมีประโยชนตอคนลุม น้ําหมันมาก เพราะนอกจากไดใชน้ําทํานาแลวยังไดหาปูหาปลางายสะดวกสบาย เพราะเปนแหลงที่อยู อาศัยของสัตวน้ํา เมื่อกอนคนที่มีพัด เรียกไดวาเปนคนที่มีฐานะดีมาก เพราะวาไดทํานามีน้ําทํานาตลอด ทั้งป ไมตองรอน้ําจากฝน ไดทํานามีขาวไวกินและขายตลอดทั้งป ปจจุบันหลายครอบครัวในบานนาเวียง และนาหอยังคงใชพัดอยูเชนเดิม การสรางบานเรือนในชุมชนลุมน้ําหมัน สวนสภาพบานเรือนของชุมชนลุมน้ําหมันทั้ง ๓ ชุมชนมีลักษณะคลายๆ กัน กลาวคือ การดํารงชีวิตของคนรุนปู ยา ตา ยาย เมื่อ ๖๐–๗๐ ปกอน การ สรางที่อยูอาศัย วัสดุอุปกรณในการกอสรางที่อยูอาศัยหาไดจากปาบริเวณรอบหมูบานตรงบริเวณโคกวัว (ปจจุบันคือ โรงเรียนศรีสองรัก) หรือบริเวณโคกนอยที่ตั้งทหารพราน ภูแกงขี้ควายบานนาหวา การขนไม


จากปาสูหมูบานจะอาศัยแรงคนชวยกันแบกหาม ถาเกินกําลังคนก็อาศัยแรงงานสัตว (ควาย) เปน พาหนะลากจูง การปลูกบานแลวแตฐานะของแตละครอบครัว ผูมีฐานะดีจะสรางบานถาวร เปนเสาไมเนื้อแข็ง (ไมจริง) ถากเปนเสากลมๆ พื้นแปน ฝากระดาน (พื้นแปน ฝาแปน หมายถึง ไมกระดานที่เลื่อยเปนแผนๆ จากไมเนื้อแข็ง) หลังคามุงดวยแปนเกร็ด (กระเบื้องไม) บานเปนทรงมะลิลา มีจั่ว มีระเบียงหนาบาน กั้น ฝาระหวางหองนอนกับระเบียง มีประตู ๒ ขาง เวนหองกลาง มีหนาตางดานขางเปนชวงแคบๆ เรียกวา ปองเอี้ยมหรือปองเยี่ยม สวนระเบียงดานหนาปลอยโลง หองนอนโลง แตจะใชผากั้น (ผามาน) กั้นเปน หองนอนของพอ-แมและลูกอยางเปนสัดสวน พื้นที่ของตัวบานจะมีขนาด ๘ X ๑๖ ศอก ปลูกเรือนไฟ (เรือนครัว) แยกตางหาก โดยสรางฐานติดตอกัน ระหวางเรือนนอนกับเรือนไฟจะมีฮาน (ราน) โองน้ํากิน สวนน้ําใชแยกตั้งไวใกลเรือนครัว น้ํากินน้ําใชไดจากลําน้ําหมัน ใชภาชนะคุบรรจุ (ตัก) หาบขึ้นมาใสโอง น้ํากิน น้ําใช น้ํากินตองรีบตักแตเชาๆ เพราะน้ําจะใสสะอาดดีในตอนเชา รั้วบาน (ฮั้ว) รอบบริเวณบานจะปลูกไมมะเยา (ไมสบู) เปนเสาหลัก ใชไมขาวหลาม หรือไมหาง ชาง (ไมไผชนิดหนึ่ง) เปนเคราใชตอกมัด (ไมตอกทําจากไมไผที่มีอายุไมเกิน ๑ ป) บานสวนมากจะไมมี รั้วจะปลอยโลงๆ สะดวกในการติดตอของเพื่อนบานที่อยูบานใกลเรือนเคียง ผูมีฐานะปานกลางจะปลูกบานตามฐานะของตนเอง คือ วัสดุอุปกรณที่ใชจะเปนไมไผ มี เฉพาะ เสาเทานั้นที่จําเปนจะตองใชไมเนื้อแข็ง (เสาไมแกนหมายถึงไมเนื้อแข็งที่ตายแลว สวนที่เปนกระพี้หายไป เหลือเฉพาะแกน ปลวกกัดกินยาก) พื้นฝาทําดวยฟากใชไมไผสับแลวเล็มเปนแผนๆ กอนนําไปแชน้ําเพื่อ ลดปริมาณน้ําตาลในเนื้อไม ปองกันมอดกัดกิน ถือเปนภูมิปญญาชาวบานที่ไมตองใชสารเคมีมีพิษ ไมไผ นี้จะนํามาปูพื้นและกั้นฝา หลังคามุงดวยหญาแฝก (แฝกคือหญาคา นําตนที่มีความสูงประมาณ ๑ วา ทําเปน “ตับ”) การทําหลังคานั้นจะตองทําใหเปนทรงแหลมมีจั่ว ภาษาถิ่นเรียกวา “แปลญอก” (ออกเสียง ที่จมูก) ทั้งนี้เพื่อใหเม็ดฝนที่ตกลงมาไหลเร็วไมตกคางบนหลังคา ปองกันการผุพังของแฝก ใหมีอายุใช การไดนานๆ การจัดตับบนหลังคาจะใชไมตอกผูกมัดติดกันใหแนน บานประเภทนี้มีอายุใชงานประมาณ ๑๐–๑๕ ป ก็จะตองซอมแซมทุกๆ ป สวนเรือนครัวและเรือนไฟ จะปลูกแยกตางหาก สวนผูที่มีฐานะยากจนจะปลูกบานเปนตูบ (กระตอบ) วัสดุอุปกรณจะเปนไมไผเกือบทั้งหมด เสา อาจจะเปนไมจิงหรือไมแกนลอน หรือไมก็ไมมอกปอกลื่ม ไมจิงจะตองทุบเปลือกออก หลังคามุงแฝกใช หวายหรือไมตอกผูกมัดกันโยก มีอายุการใชงาน ๓-๕ ป บานก็ชํารุดตองซอมแซมหรือไมก็รื้อถอนปลูก สรางใหม เปนที่นาสังเกตวาการปลูกสรางบานสมัยกอนจะใชหวายหรือไมตอกแทนตะปู การปลูกบานของ คนยุคนั้นจะใชแรงงานของคนในหมูบาน อาจเปนเพื่อนบานหรือญาติพี่นองชวยกันทํา จะจายคาจาง เฉพาะสวนที่ทําไมเปน เชน บานประตูและหนาตางตองจางคนจากที่อื่น บานสวนใหญนิยมปลูกบานใต ถุนสูง ใชเปนที่ผูกวัวควาย เลาไก และตั้งที่ทอผา เก็บฟน และทํางานอื่นๆ ที่ตองอาศัยรมเงา ชาวบานจึง ใชใตถุนบานไดสารพัดประโยชนและคุมคา


ปจจุบันชาวบานในชุมชนลุมน้ําหมันมักไมใชไมในการสรางบาน กลับหันมานิยมการปลูกบาน ดวยการกออิฐฉาบปูน ใชหลังคาโครงเหล็ก เวนแตประตูหนาตางที่ยงั คงใชไม ทั้งนี้เพราะชาวบานมองวา การปลูกบานทีม่ ีลักษณะแบบนี้ดูทันสมัยและนาอยูมากกวา


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.