9chaingkong8

Page 1

ปฏิสัมพันธของ ๙ กลุมชาติพันธุบนพื้นที่ทางวัฒนธรรมเชียงของ ปฏิสัมพันธดานการอพยพเขามาตั้งถิ่นฐาน หากนับรวมการอพยพในยุคแรกซึ่งเลาไวใน ตํานานตางๆ คนยวน คนลื้อ คนลาวไดอพยพลงใตจากดินแดนยูนนานของจีน ดวยสาเหตุการรุกราน ของชาวฮั่นเปนสวนใหญ และไดอพยพตามกันมาเรื่อยๆ เพราะการทํามาหากินถูกแยงชิงจากคนที่เขามา อยูใหมในดินแดนเดิม อยางไรก็ตาม หากดูจากแหลงที่มาของมง และเยา รวมทั้งเรื่องเลาการอพยพ ตางๆ ของบรรพบุรุษ คนมงและเยาก็นาจะอพยพเขามาในอาณาบริเวณแมน้ําโขงตอนบนในชวงตอมา ในยุคนี้ทองถิ่นเชียงของเวียงแกนยังมีความอุดมสมบูรณไปดวยทรัพยากรธรรมชาติมากมายจึง สามารถเลือกตั้งถิ่นฐานไดสะดวก อยางไรก็ตาม ผูมาใหมก็ตองมาเจอกับคนดั้งเดิมที่อาศัยอยูกอนแลว คือ ลัวะและกรอมหรือขมุ โดยพวกลัวะอาศัยอยูตามสันดอยตางๆ มีอาณาจักรแหงภูดอยเปนของตน คน ขมุอยูในบริเวณเชิงดอย พื้นที่บนที่สูงมีผูอาศัยอยูแลว ทําใหคนยวน คนลื้อ คนลาว เลือกตั้งถิ่นฐานใน พื้นที่ที่ราบมากกวา อีกทั้งยังเหมาะกับวิถีชีวิตการเพาะปลูกทํานาที่ผานมาของตนดวย และตอมาเมื่อ คนมง คนเยา อพยพตามมาจึงตองเลือกอยูบนสันภูดอยซึ่งเคยเปนที่อยูของลัวะ ในเวลานั้นกลุมคนยวน คนลื้ อ คนลาว ได ส ร า งบ า นแปงเมื อ งจนกลายเป น ชนส ว นใหญ ข องเขตแม น้ํ า โขงตอนบนแล ว คื อ อาณาจักรลานนาของคนยวน อาณาจักรลาวลานชาง อาณาจักรลื้อสิบสองปนนา คนลัวะและขมุเดิมได กลายเปนชนสวนนอย บางสวนไดถูกกลืนไปแลว บางสวนไดอพยพลงใตหรือเขาไปอยูในปาขุนดอยที่ลึก ลงเขาไป เชน เมืองนาน พื้นที่บนที่สูงจึงสามารถใหคนมงและคนเยาเลือกตั้งหลักแหลงทํามาหากินได สะดอกกวาพื้นที่ราบและริมน้ําซึ่งไดมีคนลาว คนยวน คนลื้อไดอาศัยอยูทั่วไปแลว การตั้งถิ่นฐานในยุค แรกนอกจากสามารถเลือกอาศัยไดอิสระเพราะมีทรัพยากรธรรมชาติอยูมากมายแลว ทั้งในพื้นที่ราบลุม น้ําอิง โขง งาวและบนดงดอยตางๆ คนที่มาใหมยอมตองไดรับการรับรองจากกลุมที่มาอยูกอน โดยแสดง ผานการสวามิภักดิ์ตอเจาเมืองนั่นในอาณาจักรลานนา โดยมอบหมายใหหัวหนากลุมชาติพันธคนหนึ่ง เปนคนดูแลคนในกลุมทั้งหมด มีตําแหนงเรียกกัน พญา การอพยพโยกยายในยุคใหมคือหลังจากประเทศในอินโดจีนกลายเปนอาณานิคมของฝรั่งเศส และเกิดการเก็บสวยเขาหลวง สวนใหญจะเปนคนลาว คนขมุ คนลาหู และคนมง คนเยาบางสวนที่อพยพ เขามาในเขตเชียงของเวียงแกน โดยสวนใหญหนีการเก็บคาหัวของเจาอาณานิคมฝรั่งเศส การอพยพมาตั้งถิ่นฐานของคนลาหู มาอยูบนพื้นที่สูงในปจจุบัน เปนเพราะวิถีชีวิตเดิม คําวาลา หูหรือมูเซอสะทอนชัดเจนตามคําแปลวา “คนลาเสือ” ลาหูเริ่มตนมาอยูพื้นราบ ทํานา เพาะปลูกขาว แต ดวยวิถีชีวิตเดิมคือชาวดอย ชาวปา หาของปา ลาสัตว ทําไร จึงขยับขยายขึ้นบนพื้นที่ดอยหลวง ตาม เสนทางการอพยพแลวคนลาหูมีความสัมพันธกับคนไทลื้อบานหวยเม็ง และลื้อในฝงลาวบริเวณเมืองเมิง เมืองสิงหเปนอยางมาก กลุมชาติพันธุตาง ๆ เหลานี้ ลวนเลือกสภาพภูมิประเทศในแบบที่ตนคุนชิน จึงไมเกิดความ ขัดแยงกัน เมื่อกลุมใดพบวาตรงไหนมีคนตั้งถิ่นฐานอยูแลว ก็จะเลือกพื้นที่ที่อยูถัดไป มิฉะนั้นก็ปรับตัว ใหอยูได ดังพอหลวงบานมงหวยคุที่เลาวา คนมงมีวิถีทั้งพื้นราบและดงดอย หรือในกรณีที่ปรับตัวไมได ก็จะอพยพตอไปเพื่อหาที่เหมาะสม เชนกรณีของชาวลาหู เปนตน


ในยุคสงครามเย็นกลุมที่ไดอพยพมามากที่สุด คือ จีนฮอซึ่งไดตอสูกับกองกําลังคอมมิวนิสตจีน จนถอยรนลงมาเรื่อยๆ ในกลุมจีนฮอหรือทหารจีนคณะชาตินี้มี คนอาขา ไทลื้อ เยา ที่เปนภรรยาอพยพ ติดตามเขามาดวย และเขามาในชวงที่รัฐไทยจัดการรวมอํานาจเชียงของเขาสูสวนกลางเรียบรอยแลว การจัดการตางๆตอผูอพยพหรือการตั้งถิ่นฐานขึ้นอยูกับอํานาจนโยบายสวนกลางเปนสวนใหญ ไมใช ขึ้นอยูกับทําเลที่ตั้ง หรือความอุดมสมบูรณของแผนดิน คนฮอ อาขา มง เยา ลื้อ ในยุคหนีภัยคอมมิวนิสตนี้ มีความสัมพันธกันอยางดีเพราะการแตงงาน ขามเผากับทหารจีนฮอในระหวางที่อพยพถอยรนลงมา โดยจีนฮอถือวาตัวเองอยูเหนือกวา อยางไรก็ตาม ในชวงนี้มีการอพยพในระยะใกลหรือภายในเกิดขึ้นแกชนบนที่สูงโดยเฉพาะมง และเยาที่เดิมอยูบริเวณดอยยาว ดอยผาตั้งดอยผาหมนเปนจํานวนมาก โดยขึ้นอยูกับสถานการณ สงครามเย็นในขณะนั้น การอพยพในแตละชวงกินเวลาแตกตางกัน และเมื่อมาตั้ง หลักแหลงแลว ใชวาจะไมอ พยพ โยกยายอีก เพราะมีการอพยพโยกยายภายในแบบสั้น ๆ อีกหลายครั้ง ทั้งคนยวน ลื้อ ลาว มง และเยา เชน เหตุการณหลังพมาเขายึดลานนาและเชียงแสน คนเชียงของไดอพยพโยกยายไปเมืองนาน จนมีชื่อ บานเชียงของอยูในจังหวัดนานจนปจจุบัน และไดอพยพกลับมาสรางเมืองใหมอีกครั้งโดยคนยวน ลื้อ และมีขมุจากเมืองนานตามมาดวย นอกจานี้ในยุคใหมคนยวนไดอพยพออกจากศูนยกลางที่เรียกกันวา เวียงเชียงของไปอยูรอบนอกเพื่อหาแหลงทํากินใหม เพราะในเวียงเริ่มหาที่อยูที่กินลําบาก โดยสรุป การอพยพสวนใหญมีปจจัยที่ทําใหเกิดการอพยพโยกยายคือ ๑. หนีภัยสงคราม รวมไปถึงหนีการถูกเกณฑเปนแรงงานไพร หนีการสงสวยหรือหนีการ เก็บคาหัว เชน คนลาวบางสวนจึงอพยพขามฝงแมน้ําโขงระหวางลานนา ลานชางตลอดมา ดวยพวกเขา มีความคิดวา “หมูคนลาว ออกจากน้ําของ บไดกินหยั่ง” ๒. แสวงหาที่อยูที่ทํากินใหมซึ่งอุดมสมบูรณและเหมาะสมกับวิถีชีวิตดั้งเดิมของกลุมตน เชน คนลาหูไดอพยพไปอยูบนสันดอยหลวง การอพยพของคนยวน จากแพร ลําปาง เพื่อหาแหลงทํามา หากินที่ดี โดยเฉพาะเรื่องการหาพื้นที่ทํานา และเมื่อในเขตเวียงเชียงของแนนไปดวยผูคน การทํามาหา กินในทางการเกษตรจํากัดลง การบุกเบิกหาพื้นที่ราบเชิงดอยใหมจึงเกิดความจําเปน คนบานวัดหลวงจึง อพยพไปบุกเบิกที่ทางทํานาในพื้นที่เดิมของคนลาหูซึ่งเริ่มตนทํานามากอนแตไมเหมาะกับความเปนคน ลาหู นอกจากนี้การอพยพโยกยา ยสวนใหญข องขมุในระยะแรกก็ขึ้นอยูกับความอุดมสมบูร ณของ ธรรมชาติและหาที่ตั้งหลักแหลงบริเวณลําหวยเชิงดอยหรือสันดอย โดยจะมาตั้งหลักแหลงใกลคนเมือง และคนลื้อ เชน การอพยพติดตามมากับคนลื้อจากเมืองนาน ๓. โรคภัยและการตายภายในชุมชนหรือความขัดแยงภายในชุมชน เชน เหตุการณอพยพ ไปอยูดอยหลวงของลาหู สวนหนึ่งเพราะคนลมตายดวยไมหลนทับ นอกจากนี้เมื่อครั้งไปอยูบนดอย หลวงแลว เกิดความขัดแยงระหวางผูนําทางจิตวิญญาณกับผูนําทางการปกครองเรื่องผิดลูกเมีย ทางผูนํา ฝายจิตวิญญาณจึงอพยพแยกบานมาอยูที่หวยตุ


๔. การอพยพโยกยายเพราะแรงกดดันทางเศรษฐกิจ การอพยพนี้เกิดขึ้นในยุคหลังสงคราม เย็นมาจนถึงยุคเชียงของในวันนี้ การอพยพนี้เปนการอพยพเปนรายครอบครัวหรือรายบุคคลมากกกวา อพยพกั น ทั้ ง หมู บ า นหรื อ กลุ ม ชาติ พั น ธุ เช น การอพยพของคนม ง เย า ลาหูไ ปทํ า งานในเมื อ งใหญ เชียงราย เชียงใหม กรุงเทพฯ เพราะความจําเปนจากการที่ทรัพยากรธรรมชาติลดลงและถูกจํากัดเขตการ ทํามาหากินเพราะกฏหมายปาไมและการไรสิทธิในการเปนคนไทย ทําใหกลุมชาติพันธุในพื้นที่สูงตองลง มาหาอาชีพใหมในเมือ งทํา นอกจากกลุมคนบนพื้นที่สูง แลว คนพื้นราบอยางคนเมืองที่มีหนี้สินและ ขอจํากัดของที่ทํากินและทรัพยากรธรรมชาติลดลง บางคนก็ขายที่ดินไปทํางานในเมืองกรุงเชนกัน ในบางครั้งการอพยพโยกยายเขามาของผูมาใหมใชวาจะไดรับการยอมรับจากกลุมคนที่อยูมา กอนเสมอไป ในยุคสงครามเย็นเปนตนมา การอพยพของผูมาใหมนํามาซึ่งการตอตานและขัดแยงจากผู อยูกอนบาง กลุมชาติพันธุทั้งหมดมีวัฒนธรรมรากเดิมที่คลายกันคือการนับถือผี ไมวาจะเปนผีปูตาตายาย บรรพบุรุษของคนมง คนเยา คนจีน และการถือผีสละโลกของขมุ หรือการถือผีบาน ผีเฮือน ผีแมน้ํา ของ คนยวน คนลื้อ คนลาว คนลาหู คนขมุ การนับ ถือ ผีถือ ไดว าเป นวัฒนธรรมความเชื่อ ที่มีอ ยูทั่ว ไปใน ประเทศลุมแมน้ําโขง และเปนความเชื่อกอนการเขามาของวัฒนธรรมความเชื่อแบบฮินดู แบบพุทธ ศาสนา การมีวัฒนธรรมความเชื่อที่คลายกันและอยูในพื้นที่ลักษณะภูมิศาสตรกับประวัติความเปนมาที่ เหมือนกันนํามาสูการไปมาหาสูและสัมพันธกันทางวัฒนธรรมไดงายกวากลุมที่ตางออกไป เชน คนไทย วน ไทลื้อ และลาว เขามาอยูในเชียงของเวียงแกนจนกลายเปนคนกลุมที่เรียกหมายรวมกันวาพื้นราบ หรืออยูในพื้นที่หรือแหลงอพยพจากพื้นที่ใกลเคียงกันจึงสามารถไหลวัฒนธรรมเขาหากันงาย เชน คนลา หูที่อพยพจากเมืองเมิงของลื้อในลาวก็ยังมีความสัมพันธในดานวัฒนธรรมถึงกัน แมจะมีรากวัฒนธรรมที่ ตางกันเกือบจะสิ้นเชิง นอกจากนี้ยังมีกลุมคนมง เยา จีนฮอ อาขาที่มีฐานวัฒนธรรมเดิมคลายกันและมา อยูในภูมิศาสตรบนสันดอยเหมือนกัน อยางไรก็ตาม มีบางเหตุการณที่สะทอนใหเห็นการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมระหวางกลุม ชาติพันธุอยางชัดเจน เชน กรณีที่หมูบานลาหูเกิดไฟไหม กลุมไทยลื้อเปนผูเรียกขวัญให นอกจากนี้ ชาวลาหูยังมีความเชื่อเรื่องไหวแมน้ํา และเมื่อจบพิธีจะพูดวา สาธุ ซึ่งนาจะไดอิทธิพลมาจากคนลื้อหรือ คนเมือง หรือกลุมคนเมืองและคนลื้อที่นับถือพุทธศาสนา ก็จะมีประเพณีในวันสําคัญทางศาสนารวมกัน กลุมคนลาวและขมุก็มีประเพณีการเลี้ยงผีพญาแกวรวมกัน ปฏิสัมพันธอีกกรณีหนึ่งเปนผลมาจากการแตงงานขามชาติพันธุ การแตงงานขามเผาพันธุเกิด ขึ้นอยูตลอดเวลา หากแตการแตงงานที่เกิดขึ้นในสมัยเกาเปนเรื่องยากกวาในปจจุบันดวยขอกําหนดทาง วัฒนธรรมของแตละกลุมชาติพันธุ ซึ่งหากมีการแตงงานขามกลุมชาติพันธุเกิดขึ้นชาติพันธุกลุมนอยจะ ถู ก กลื น ไปเมื่อ มี ลูก เกิ ด ขึ้ น ลู ก ก็ ก ลายเป น คนของกลุ ม ชาติ พั น ธุ ใ หญ ก ว า หรือ มีโ อกาสทางการบ า น การเมืองสูงกวา เชน กรณีของคนยวนกับคนลื้อ โดยปกติแลวคนยวนหรือคนเมือง มีความเชื่อวา ตนเอง เปนกลุมชนที่เหนือกวาคนลื้อ ทั้งในดานเชื้อชาติและวัฒนธรรมความเปนอยู เพราะคนลื้อเปนคนสวน


นอยกวาและอพยพเขามาอยูทีหลัง จึงคอนขางถูกดูถูกวาดอยกวา แตตอมาภายหลังมีการแตงงานขาม กลุมชาติพันธุระหวางคนเมืองและคนลื้อมากขึ้น ความรูสึกดังกลาวจึงมีนอยลงและจนหลอมรวมเปน กลุมเดียวกันเปนชื่อใหมวา คนพื้นราบเหมือนกัน ในปจจุบนั คนยวนและคนลื้อแตงงานกับคนกลุมชาติพันธุอื่น เชน ลาว ลาหู มง เยา ขมุ มากกวา ในอดีต สวนใหญจะเปนผูชายจากพื้นราบแตงงานกับผูหญิงของกลุมชาติพันธุบนที่สูง เชน ผูชายลื้อ แตงงานกับหญิงลาหูผูซึ่งเปนลูกอดีตผูนําจนในปจจุบันคนลื้อผูนั้นสามารถดํารงตําแหนงผูนําชุมชนอยาง เปนทางการได นอกจากนี้ยังมีการแตงงานระหวางกลุมชาติพันธุมงกับเยา มงกับจีนฮอ มงกับอาขา จีนฮอกับ อาขา จีนฮอกับลื้อ จีนฮอกับมง จีนฮอกับเยา โดยเห็นไดชัดเจนในบานเวียงหมอกซึ่งประกอบไปดวย หลายกลุมชาติพันธุในหมูบานวา คนจีนฮอ มีสถานสูงสุด รองลงมาเปนมง ลื้อ เยาและอาขาและขมุมี สถานภาพที่ใกลเคียงกัน กลาวคือ จากการศึกษากรณีของหญิงอาขาคนหนึ่ง แตงงาน ๔ ครั้ง ครั้งแรก แตงงานกับจีนฮอ ครั้งที่สองแตงงานกับคนอาขา ครั้งที่สามแตงงานกับมง ครั้งสุดทายแตงงานกับจีนฮอ เมื่อถามวาแลวลูกเปนชาวอะไร เขาตอบวาถาแตงงานกับจีนฮอ ลูกก็เปนจีนฮอ ถาแตงงานกับมงลูกก็ เปนมง หากอาขาแตงงานกับใครลูกจะเปนกลุมนั้น แตหากมงแตงงานกับจีนฮอ ลูกจะเปนจีนฮอ ลื้อ แตงงานกับจีนฮอ ลูกก็จะเปนจีนฮอ คือหากแตงงานกับจีนฮอ ทุกคนจะใหลูกเปนจีนฮอทําใหตองไหว บรรพบุรุษตอนตรุษสารทอันเปนประเพณีของจีน ความสัมพันธนี้จะเห็นชัดเจนขึ้นในรุนลูก เพราะลูกจะมี ประเพณีทั้งทางจีน และอาขา สวนการแตงงานของคนยวนกับคนจีนฮอพบวา ลูกจะกลายเปนคนเมืองหรือยวนเพราะเปนชน กลุมใหญ แตในปจจุบันการแตงงานและการบอกสถานภาพของลูกเมียนั้นขึ้นอยูกับปจจัยทางโอกาส เศรษฐกิจมากกวาการยึดถือดานประเพณีวัฒนธรรมของใครสูงกวาใครหรือใครเปนกลุมชนที่มากกวาใคร การปรับเปลี่ยนทางวัฒนธรรมเพื่อใหไดสถานภาพทางสังคมแสดงออกผานการแตงงานขาม กลุมชาติพันธุ ในกรณีของอาขา มง จีน ฮอบานเวียงหมอกชี้ใหเห็นชัดเจนที่สุด ในขณะที่คนขมุซึ่ง มี ความสัมพันธกับคนลื้อ คนเมืองมาตลอดในฐานะผูถูกอุปถัมภและการเปนแรงงานรับจางใหคนเมืองคน ลื้อ ไดปรับตัวมารับนับถือผีของคนลื้อ และการปรับตัวจนกลายกลืนเปนคนพื้นราบเชนเดียวกับคนเมือง และคนลื้อ คนขมุรุนเกาแทบจะแยกไมออกกับคนเมืองและคนลื้อ กลุมชาติพันธุทั้งเกากลุมในปจจุบันถูกมองจากคนภายนอกและคนรุนใหมในพื้นที่เองวา มีอยู สองกลุ มใหญ คื อ คนพื้น ราบ เช น คนเมื อ ง คนลื้อ คนลาว คนขมุ กับ คนบนพื้ น ที่ สูง หรือ ชาวเขาใน ความหมายที่ไมใชชาวเราคนพื้นถิ่น อันไดแก คนมง คนเยา คนลาหู คนจีนฮอ คนอาขา แมคนเหลานั้น จะถูกผลักดันลงมาในพื้นที่ราบตั้งแตครั้งสงครามเย็นพื้นที่สีแดงดังที่กลาวมาแลว แตอยางไรก็ตาม คน ในทองถิ่นและคนรุนเกากลับสามารถแยกแยะไดมากกวาสองกลุม คือเปนไปตามลักษณะเฉพาะของแต ละกลุม ชาติพั น ธุ แม จ ะมีก ารเปลี่ย นแปลงของคนส ว นใหญเ ป น ไปตามวั ฒ นธรรมสมั ย ใหม แ ทบจะ หมดแลว หากไมหลงเหลือภาษาสําเนียงของตนไว ฉะนั้นจะเห็นพิธีกรรมกับการแตงกายตามแบบของ กลุมชาติพันธุในงานสําคัญของกลุมเทานั้น เชน งานศพ งานปใหม


แนวการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมของแตละกลุมจะเริ่มตนจากคนเมือง คนลื้อ คนลาวเปน กลุมแรกๆที่มีการเปลี่ยนแปลงไปกอน โดยรับแนวการเปลี่ยนแปลงจากผลของคนรัฐไทยสวนกลาง โดย เปนเรื่องของการพยายามสรางวัฒนธรรมรัฐชาติใหเห็นแบบเชิงเดี่ยว โดยไมดูถึงความหลากหลายของ วัฒนธรรมเดิม เชน การบังคับใหเขียนหรือเรียนภาษาไทยกลางอยางเดียว และในระยะตอมาคือการ เปลี่ยนแปลงเมื่อโครงสรางสังคมและเศรษฐกิจอื่นๆไดเปลี่ยนแปลงไปกอน เชน การเขามาของถนนและ ไฟฟานํามาซึ่งการเขามาของคนตางถิ่น และเทคโนโลยีเครื่องใชดานความบันเทิงสมัยใหม การเขามา ของการสงเสริมนโยบายการปลูกพืชเศรษฐกิจนําซึ่งการกูหนี้ยืมสินและการใชเทคโนโลยีทางการเกษตร สมั ย ใหม เช น ปุ ย ยา และนํ า มาซึ่ ง การต อ งพึ่ ง พากลไกตลาดซึ่ ง จะกล า วอย า งละเอี ย ดในหั ว ข อ ปฏิสัมพันธทางดานเศรษฐกิจการคา ปฎิสัมพันธดานการเมืองการปกครอง การเมืองการปกครองเปนเรื่องของอํานาจ แตกอน อํานาจจะรวมอยูที่กษัตริยของแตละอาณาจักร ชน กลุมใดเปนใหญในอาณาจักรก็ไดดวยการสงคราม การตี เ มือ งหรื อ การกิน เมื อ ง นอกจากนี้ ยั ง มี ก ารแตง งานข า มกลุ ม ชนเพื่ อ ให ก ารกิ น เมือ งหรื อ ขยาย อาณาจักรกวางขวางขึ้น กรณีของคนไทยวนคืออาณาจักรลานนา และคนลาวคืออาณาจักรลานชาง และ คนไทลื้อแหงสิบสองปนนาก็มีความสัมพันธเชนนี้เสมอมา เชน ในสมัยของเจาไชยเชษฐาธิราช และใน สมัยเจาฟางุม สวนชนกลุมอื่นที่มีชาติพันธุตางออกไปอยางชัดเจนจะตกเปนแรงงาน ไพรหรือตองสงสวย เชน ลัวะ ขมุหรือขาในลาว หรือตกเปนชนผูถูกปกครองและจะมีสายสัมพันธทางการเมืองหรืออํานาจ แตกตางกันออกไป ในยุคที่เชียงของตกอยูภายใตอํานาจสยามและการเขามาเจาอาณานิคม ทําใหความสัมพันธ ทางอํานาจทางการเมืองเริ่มเปลี่ยนแปลงไปตามแนวทางการสรางรัฐชาติเชิงเดี่ยว กับการปรับตัวตอการ กดดันของชาติอาณานิคมในการตองการดินแดนในพื้นที่ลุมน้ําโขงหรืออินโดจีนทั้งหมด รัฐสวนกลางจึง จําเปนตองจัดการปกครองเมืองแบบใหมเขามาแทนระบบเจาเมืองแบบเกา และเปนยุคที่เปลี่ยนผาน ซึ่ง ในกรณีที่กลาวมานี้สามารถศึกษาไดจากการเปลี่ยนผานจากการปกครองโดยเจาเมืองมาเปนนายอําเภอ ของเมืองเชียงของ ลักษณะการปกครองเชียงของในอดีต มีเจาหลวงเชียงของเปนผูปกครองสูงสุด ซึ่งมีการสืบทอด ตําแหนงตามสายโลหิต ที่อยูของเจาหลวงตั้งอยูบ ริเวณตรงขามกับธนาคารทหารไทยในปจจุบัน เจา หลวงเปนศูนยกลางอํานาจในการปกครอง เจาหลวงแตงตั้งพญา (กํานัน) ไปควบคุมแควนตาง ๆ (แควน เทียบเทาตําบลในปจจุบัน) สําหรับในหมูบานแตละหมูบานมีผูใหญบาน หรือเรียกวา “พอหลวง” บาง “แกบาน” บาง ขึ้นตรงตอเจาหลวง เปนหัวหนาทําหนาที่ปกครอง และไกลเกลี่ยความขัดแยงกันภายใน ชุมชน เชน การทะเลาะวิวาทกันระหวางคนในหมูบานบาง ความขัดแยงเรื่องที่ทํากินบาง คูกรณีคนใดคน หนึ่งนําเรื่องไปแจงพอหลวง พอหลวงก็จะบอกใหคูกรณีทั้งสองฝายที่ขัดแยงกันโดยจะตองนําญาติผูใหญ ผูชาย (พออุยหรือลุง) เขารวมกระบวนการไตสวนเหตุการณนั้น เพื่อหาขอยุติเหตุการณนั้น หรือหาทาง ประนีประนอมภายใตจารีตประเพณีที่สืบทอดกันมา เพื่อใหทางสองฝายพอใจและปรองดองกัน เรียก เหตุการณที่เกิดขึ้นนี้วา “ขึ้นบานแกบานหรือพอหลวง” การขึ้นบานพอหลวงในลักษณะนี้ถือเปนเรื่องใหญ


มากที่ผูคนใหความสนใจ และเหตุการณนี้อาจจะขยายกวางออกไป หรือเปนชนวนทําใหเกิดปญหาใน หมูบานได นอกจากนั้นผูใหญบานในอดีตยังมีหนาที่มากมาย โดยเฉพาะการแกปญหาตาง ๆ ที่เกิดขึ้น ในหมูบาน ชาวบานจะตองปรึกษาเพื่อนําไปสูการแกปญหารวมกันของหมูบาน เชน มีเหตุการณควายวัว หาย หรือถูกขโมยลักไป ผูใหญบานจะตองนําชาวบานออกตามหาวัวจนกวาจะไดกลับคืนมา หรือใหรูวา ไมได เพราะถูกนําไปฆาแลว เปนตน ดังนั้น พอหลวงจึงเปนบุคคลที่ชาวบานเคารพนับถือและไดรับการ ยอมรับจากชาวบาน ในหมูบานมีจารีตขอหนึ่งวา ในฤดูการทํานาแตละครัวเรือนในหมูบานจะตองสง แรงงานหนึ่งคนมาทํานาชวยพอหลวง เชน วันนี้จะดํานาของพอหลวงก็จะชวยกันทั้งหมดใหแลวเสร็จ เพื่ อเป นการตอบแทนคุณ งามความดี ของผูใหญบา น นอกจากนั้น ผูใหญบา นยัง มีอํา นาจอีก หลาย ประการ เชน ถาลูกบานไมมีที่ทํากินก็จะไปขอที่ทํากินจากผูใหญบาน ๆ มีสิทธิที่จะใหหรือไมใหก็ได สวนมากแลวผูใหญบานก็จะอนุญาต การถางปาก็จะใชเครื่องมือพื้นบาน เชน มีด ขวาน จอบ และ ผูใหญบานก็บอกใหลูกบานถางปาเพื่อตนเองดวย จึงไมตองแปลกใจที่ผูใหญบานมีพื้นที่ทํากินมากและมี ฐานะความเปนอยูที่ดีกวาคนอื่นในหมูบาน ผูที่จะเปนพอหลวงจะตอ งไดรับการคัดสรรจากสภาผูเฒาของหมูบาน กระบวนการคัดสรร เริ่มตน เมื่อพอหลวง หรือแกบานคนเดิมเสียชีวิต หรือชรามากแลวไมอาจปกครองหมูบานตอไปได พอ หลวงก็เชิญผูเฒาผูแกของหมูบานมาประชุมกันที่บานของตน ในเวลากลางคืนหรือ หลังรับประทาน อาหารเย็นแลว เพื่อขอลาออกจากการเปนพอหลวง ตามจารีตที่เคยปฏิบัติมาตัวแทนผูเฒาผูแกหนึ่งคน จะขอยั้บยั้งการลาออกและซักถามถึงสาเหตุของการลาออก ผูเฒาทั้งหมดก็จะชวยกันหวานลอมใหแก บานดํารงตําแหนงตอไป แกบานบางคนก็จะไมลาออก แตถาแกบานยังยืนยันตามความตองการของตน ผูเฒาผูแกก็จะปรึกษาสรรหาบุคคลที่จะมาเปนแกบานคนตอไป คุณสมบัติจะตองเปนผูที่มีคุณธรรม เขาใจจารีตประเพณีของสังคมและมีความรูทางหนังสืออานออกเขียนได เพื่อจะติดตอกับบุคคลภายนอก หมูบาน โดยทั่วไปแลวจะเลือกผูชวยแกบานขึ้นมาเปนแกบาน ระยะเวลาในการดํารงตําแหนงก็คือเปนไป จนกวาจะลาออกจากตําแหนง ตอ มารั ฐ ไทยเข ามาจัด การเลือ กผูใ หญ บา น ระยะแรกเริ่ มถา หมูบา นไม มีแกบา นหรือ แกบา น ลาออก กํานัน ปลัดอําเภอและเจาหนาที่ทางการปกครองนัดประชุมชาวบานแลวแจงวาจะมีการเลือกตั้ง ผูใหญบานใหเสนอชื่อบุคคลที่สมควรเปนผูใหญบานใหในที่ประชุมพิจารณา ถาเสนอเพียงหนึ่งคน ก็ถือ วาผูนั้นเปนผูใหญบา น หากมีการเสนอชื่อ หลายคนก็ใชวิธีการลงคะแนนเสียงดวยการยกมือ ผูที่ได คะแนนมากที่สุดก็จะเปนผูใหญบาน ระยะเวลาการตําแหนงผูใหญบานหรือแกบานในยุคนี้สิ้นสุดลงเมื่อ อายุ ๖๐ หรือเกษียณอายุราชการ หลังจากพระราชบัญญัติการปกครองทองที่ที่วาดวยผูใหญบานจะตองมาจากการเลือ กตั้ง มี ระยะเวลาการดํารงตําแหนง ๕ ปตามแนวคิดแบบประชาธิปไตยของรัฐ ผูใหญบานจะตองไดรับการ เลือกตั้ง จากประชาชนในหมูบาน การเลือกตั้งสวนใหญใชวิธีการลงคะแนนเสียงทางลับเหมือนการ เลือกตั้งสมาชิกสภาผูแทนราษฎร หมูบานตาง ๆ ที่ผูใหญบานเกษียณอายุราชการแลวจึงมีผูที่ตองการจะ เปนผูใหญบานจํานวนหลายคน กระบวนการเลือกตั้งจะเริ่มตั้งแตประกาศรับ สมัครผูที่จะสมัครเปน


ผูใหญบาน แลวประกาศใหชาวบานทราบวามีใคร หมายเลขใดบาง และวันเวลา สถานที่ โดยทั่วไปแลว ชาวบานมักรูกอนที่ราชการประกาศแลววามีใครลงสมัครบาง ผูสมัครก็จะหาเสียงกับชาวบานจนถึงกอน วันเลือกตั้ง ในวันเลือกตั้งกํานันและปลัดอําเภอก็จะออกมาชี้แจงการเลือกตั้งผูใหญบานพรอมกับแตงตั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้ง ชาวบานที่สิทธิมีหนาที่ปฏิบัติตามระเบียบการเลือกตั้งที่กําหนดไว จนกระทั่ง ถึงเวลาปดหีบเลือกตั้งนับคะแนนจึงจะรูวาใครไดเปนผูใหญบาน ผูที่ไดรับเลือกเปนผูใหญบานมักทําการ เฉลิมฉลองกัน โดยการฆาวัวบาง หมูบาง เพื่อนํามาประกอบอาหารเลี้ยงผูที่สนับสนุน ถือเปนการตอบ แทน ในงานมีการจางดนตรีมาขับกลอมใหผูที่มารวมงานไดรับความเพลิดเพลิน นอกจากนั้นก็จะทําพิธีสู ขวัญใหกับผูใหญบานคนใหม การเลือกตั้งผูใหญบานแบบที่รัฐกําหนดนั้น ชาวบานแบงเปนกลุม ๆ ตาม จํานวนผูสมัคร ยิ่งถามีผูสมัครหลายคน ชาวบานก็แบงเปนกลุมหลายกลุมเชนเดียวกัน ผูที่ไดรับเลือกเปน ผูใหญบานสวนมากจะเปนผูที่มีเครือญาติจํานวนมาก ดังนั้น การเลือกตั้งจึงอิงอาศัยกลุมเครือญาติ ใน ปจจุบันผูใหญมีบทบาทสําคัญ คือ การรับนโยบายจากรัฐมาปฏิบัติเพียงดานเดียว กลาวไดวาจุดเปลี่ยนของการเมืองการปกครองในเชียงของเริ่มตนจากการเขามาของสยามและ ประเทศเจาอาณานิคมฝรั่งเศส ซึ่งแตเดิมเชียงของมีระบบเจาเมืองดูแลคนทั้งแวนแควน และแมจะขึ้นตรง ตอเมืองนานแตก็มีอิสระในการปกครองดูแล ไดกลายเปนเขตปกครองพิเศษในความหมายของรัฐสยาม และฝรั่งเศส โดยยังมีอิสระในการปกครองอยูโดยเปนเขตที่เรียกกันวา ๒๕ กิโลเมตรเขามาทางฝงแมน้ํา โขงจากเชียงแสนถึงเชียงของเปนดินแดนปลอดการทหารและการเมืองทั้งสองฝาย และเมื่อเกิดเรื่องเงี้ยว ปลนเมืองเชียงของจึงเปนปจจัยทําใหทหารสยามเขามาจัดการไดสะดวก เมื่อสยามเจรจาสงครามกับ ฝรั่งเศสกันเรียบรอยในป ๒๔๔๖ ป ๒๔๔๗ จึงเปนการเขาสูอํานาจสยามอยางเต็มรูปและสยามก็ปรับ การปกครองแบบใหมใหเมืองเชียงของอยูหลายปจนกระทั่งการปกครองแบบเทศาภิบาลโดยมีนายอําเภอ แทนเจาเมืองเกิดขึ้นใน ป ๒๔๕๗ อยาไรก็ตาม การปกครองระดับลางมีการเปลี่ยนแปลงที่แตกอนให ความสําคัญกับพญา(กํานัน)ตามแบบการปกครองของลานนา มาใหความสําคัญในระดับที่ลึกลงระดับ หมูบานคือพอหลวงบาน(ผูใหญบาน)ดังที่กลาวแลว และเกิดการเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครองใน ระดับทองถิ่นที่สรางความเปนฝกฝายอีกครั้งเมื่อรัฐเขามาจัดการเลือกผูใหญบานทําใหพอหลวงบาน กลายเปนเหมือนเจาหนาที่รัฐ ไมใชตัวแทนชาวบานในหมูบาน ผูใหญบานมีหนาที่นํานโยบายของรัฐมา ปฏิบัติเทานั้น ไมเหมือนแตกอนที่ตองดูแลชวยเหลือชาวบานจากปญหาที่เปนจริงของบาน กระทั่งการ เปลี่ยนแปลงตอมาคือการมีพระราชบัญญัติปกครองทองที่ที่วาผูใหญบานตองมาจากการเลือกตั้ง มี ระยะเวลาดํารงตําแหนง ๕ ป มีการเลือกเหมือนการเลือกตั้งผูแทนคือการเลือกทางลับ ทําใหเกิดการ แตกแยกของชุมชนตามฐานะบารมีของผูสมัครผูใหญบานแตละคน การเมืองการปกครองแบบเกาจะ มุงเนนวัฒนธรรมการปกครองที่ผานมาและปรับใชใหเกิดการดูแลหมูบานได ขณะที่การปกครองแบบ ใหมในยุคเลือกโดยรัฐมุงการจัดการหมูบานใหอยูภายใตการสังการของรัฐมากกวาการมองถึงวัฒนธรรม การปกครองของแตละกลุมชาติพันธุหรือหมูบานที่มาแตเดิม


การเมืองการปกครองที่กลาวมาขางตนถูกใชกับหมูบานคนลื้อเชนกัน และหากเปนกลุมชาติ พั น ธุ ที่ ม าอยู ใ หม ก็ ต อ งอยู ภ ายใต ก ารดู แ ลของพ อ หลวงบ า นที่ อ ยู ก อ น เช น ในกรณี ข องจี น ฮ อ ก็ จ ะ กลายเปนกลุมบานหรือปอกบานในการดูแลของคนมงเดิมของบานเวียงหมอก อยางไรก็ตาม ในกรณีของคนลื้อแมจะอพยพตามมาอยูกับเจาเชียงของ แตยังขึ้นตอเมืองนาน โดยการสงสวยแกเจาเมืองนาน ซึ่งทําใหเห็นการขามอาณาเขตภูมิศาสตรของการปกครองแบบเกา แตจะ คงตามวัฒนธรรมมากกวา อยางไรก็ตามชาวไทลื้อที่อพยพมาใหมในป ๒๔๔๓ ในเขตเวียงแกนจะขึ้นกับ เจาเชียงของ และตําแหนงพญาของแตกลุมชาติพันธุมีอิสระในการดูแลคนของตนพอสมควรจึงทําใหคน ลื้อมีมีความเชื่อถือและเคารพผูนําคอนขางสูง สมัยกอนการฆาหมู ฆาวัวหรือควาย ทุกตัวจะมีการแบง ใหผูนําหมูบาน โดยนําไปสงใหถึงบาน เพื่อแสดงความเคารพวาไมมีการลักขโมยหรือไมใชไดมาโดยมิ ชอบ เมื่อมีคดีความในหมูบาน นอกจากผูใหญบาน, กํานันจะเปนผูดําเนินการไกลเกลี่ยความขัดแยง และตัดสินคดีความ มักจะเชิญผูอาวุโสในหมูบานมารวมพิจารณาดวยทุกครั้ง ทําใหสามารถหาขอยุติได โดยสันติวิธี จากการศึกษาพบความสัมพันธภายในการปกครองกันเองจะมีระบบวัฒนธรรมผูอาวุโสหรือผูนํา ทางจิตวิญญาณเขามาเกี่ยวของดวยเสมอ คือใหเปนการคานอํานาจกันทั้งในเรื่องความเชื่อศรัทธาและ คุณความดีเกี่ยวของอยูดวยเสมอ เชน ในกรณีของลาหู เยา ในกรณีของมงเองก็มีผูอาวุโสของแซตระกูล อีกดานหนึ่งดวย ในกรณีของคนเมืองจะมีหมื่นวัด ซึ่งจะดูแลเรื่องที่เกี่ยวกับวัดหรือเลขานุการของวัด อาจารย หรือผูที่เคยบวชเรียนมาเปนหนานแลว มีความสามารถในการทําพิธีกรรมตางๆ อาจารยมีทั้งอาจารยที่ ไมเปนมัคนายก และอาจารยวัดคือทําไดทั้งพิธีกรรมทั่วไปและพิธีกรรมทางพุทธศาสนา นอกจากนี้ยังมี กลุมหัวหมวด กลุมเครือญาติ อันความสัมพันธของการบานการเมืองเชนนี้ยังมีศูนยกลางอยูที่ศาสนา หรือความเชื่อตางๆซึ่งเปนกลไกหนึ่งในการปกครองสังคม สวนการปกครองของคนลาหู คนมง คนเยา ยังมีรองรอยในยุคระบบเจาเมือง ดังนี้ ลาหูมีผูนําบานซึ่งเรียกนําหนาชื่อวา พญา หรือแสน หรือจา สวนมากผูนําลาหูบานหวยสานี้มัก เปนเครือญาติเดียวกัน เชน พญาเฒาจะบุติ ตอมาแสนเปามอนซึ่งเปนลูกเขยก็สืบทอดตอ ตอมาก็เปน จะคะติ ซึ่งเปนลูกของแสนเปามอน มีเวนไปหนึ่งชวง ที่ไมไดสืบเชื้อสายเดียวกัน ตอมาก็เปน นายเบญจมิ นทร วงคชัย ชาวไทลื้อมาจากอําเภอแมสาย ซึ่งเปนลูกเขยของจะคะติ การคัดเลือกผูนําบานหรือปจจุบัน เรียกวาพอหลวงบานมาจากการเลือกตั้งของคนในชุมชน แตกอนนั้นเปนการสืบทอดกันเปนหัวหนาบาน และการไดรับการยอมรับจากชาวบานและผูนําหมูบานอื่นๆที่อยูใกลเคียงดวย เชน กรณีการตั้งเปนแสน เปามอนก็ตองผานการตั้งจากพญาเฒาของคนลื้อบานหวยเม็งซึ่งเปนชุมชนที่อยูในหุบเขาเดียวกันและ ชี้ใหเห็นวาแตกอนคนลาหูนาจะขึ้นกับคนลื้อบานหวยเม็ง ในกรณีของคนมง คนเยา ชาวบานหวยคุเลาวา แตเดิมมงในเขตดอยผาตั้ง ผาหมน มีพญาเลา อูเ ป น ผูนํา และในเขตดอยยาวเลยไปจนถึ ง ในเขตเชี ย งรายทั้ ง หมด มีพ ญาภิ ภั ก ดิ์ เ ปน ผูนํ า คอยดู แ ล


หลังจากพญาภิภักดิ์และพญาเลาอูสิ้นแลวไดมีผูนําที่ดูแลตอมาเปนคนเยาในบานหนองเตาชื่อเลาเพียะ ทั้งมงและเยาตองอยูภายใตการดูแลของผูนําคนนี้ รวมถึงการติดตอราชการในเวียงเชียงของดวย เหตุที่มีพญาดูแลแทนเจาเมืองและมีสิทธิอิสระในการดูแลคนของตนเพราะพื้นที่เดินทางหางไกล การคมนาคมไมสะดวก ซึ่งสวนใหญก็อยูบนสันภูดอย ลักษณะเชนนี้เหมือนกันกับสมัยเจาแสนพูมาสราง เมืองเชียงแสนใหมตรงที่เมืองปจจุบัน และใหอิสระกับชนเผาบนภูดอยพวกลัวะหรือมิลักขุก อันมีพญา เปนคนดูแล แตคนพวกนี้ตองยอมสวามิภักดิ์และสงสวย การเมืองการปกครองแบบสมัยใหมไดเขาไปจัดการใหคนเชียงของเวียงแกนทั้ง ๙ กลุมชาติพันธุ ไดมาอยูในความสัมพันธเดียวกันคือในชวงตั้งแตพุทธศักราช ๒๕๐๕ เปนตนมาซึ่งเขาสูชวงสงครามเย็น และในเวลาตอมาก็กลายเปนพื้นที่สีแดง นั่นคือการอพยพยายคนบนภูดอยลงมาอยูเชิงดอยหรือพื้นราบ เพื่อใหเปนแนวรว มในการตอตานคอมมิวนิสต หรือไมก็กลัว วา คนเหลานี้จะกลายเปนฝายตรงขาม อํานาจรัฐซึ่งสวนใหญจะถูกกลาวหาวาไมใชคนไทย เชนเดียวกับนักศึกษาที่ถูกกลาวหาวาเปนแกว เปน จีนบาง ดังนั้น ลาหูบนดอยหลวงตองลงมาอยูบานสองพี่นองปจจุบัน มงดอยหลวงตองลงมาอยูทุงนา นอย เยาบนดอยยาวก็ตองลงมาอยูบานไทยพัฒนา ใกลบานทุงคําในพื้นราบเวียงแกน ระยะเวลานั้น กลุมชาติพันธุที่มาอยูใหมไมนาน เชน จีนฮอ ไดรวมกับฝายรัฐรบกับฝายซายหรือ คอมมิวนิสต เพื่อใหไดมาซึ่งสิทธิการเปนคนไทย ในขณะคนที่มาอยูในพื้นราบอยางลาหู มง เยาซึ่งไดชื่อ เปนฝายขวาไปก็ไดเริ่มมีสัมพันธกับคนเมือง คนลื้อ คนลาว เพิ่มมากขึ้น มากกวาจะเกิดจากการคา แลกเปลี่ยนของปาเล็กๆนอยๆเพื่อจะไดเกลือกลับไปสูชุมชน เปนการยายมาทํามาหากินบนพื้นที่จํากัด ของพื้นราบซึ่งมีคนยวน คนลื้ออยูแนนหนากอนแลว ทําใหการบุกเบิกแยงชิงพื้นที่วางเปลาทางไหลดอยมี เพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรในการปลูกพืชเศรษฐกิจบนพื้นที่ดินเดิมและการใชสาย เคมีอยางเขมขนที่ดินอยางเขมขนจนมีปญหาแมน้ําเต็มดวยสารพิษ โดยสวนใหญคนมงจะเชาที่ดินคน เมือง คนลื้อทําการเกษตรและรายไดไมแนนอน เชน คนมงบานทุงทราย คนมงบานทุงนานอยดอยหลวง กรณีความขัดแยงทางอุดมการณในยุคนี้ ทําใหกลุมชาติพันธุไดเรียนรูเรื่องสิทธิของตนเองในการ ถูกปกครองและเรียนรูที่จะปรับตัวอยางไรในบริบทของรัฐไทยสมัยใหม โดยเฉพาะคนมงกลาวไดวา ได เขาไปมีสวนในขั้วอํานาจทั้งสองฝาย คือทั้งซายและขวา จึงมีการเลากันวา ในแซหนึ่งจะมีทั้งมงซายและ ขวา นั่นก็คือพี่นองมารบกัน พอเฒาเลาเปา แซลี เลาวา คนมงเขามาอยูในเมืองไทยไดประมาณ ๓ ชั่ว อายุคน หรือประมาณ ป พ.ศ.๒๔๐๐ โดยเดินทางมาอยูบริเวณดอยยาวแตเปนลักษณะคลายไปมาอยู ตลอดเวลา เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๘ เกิดความขัดแยงกับเจาหนาที่ไทยขุนหวยชมภูเกี่ยวกับการถางปาเพื่อทําไร จึงเขารวมกับพรรคคอมมิวนิสตแหงประเทศไทย ตอมาหลัง ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ มีนักศึกษาเขาไปอยู อาศัยกับมงและเปนฐานที่มั่นของฝายซาย พ.ศ.๒๕๒๔–๒๕๒๕ ไดเขารายงานตัวเปนผูรวมพัฒนาชาติ ไทย มงจึงมีบทบาททางการเมืองอยางยิ่ง อยางไรก็ตาม บทเรียนจากครั้งนั้น ทําใหคนมงในปจจุบันรูจักการรวมกลุม การเรียกรอง การ ตอสูเพื่อสิทธิโดยเฉพาะมงฝายซาย และไดเขาสูฐานอํานาจการเมืองสมัยใหมหลายอยาง เชน อบต. ประธานอบต.ในตําบลของเวียงแกนอยางนอยตองมีคนมงสนับสนุน เพราะการเลือกตั้งสมัยใหมตองใช


เสียงขางมาก และคนมงเปนกลุมชาติพันธุที่มีการเพิ่มประชากรเพิ่มขึ้นจํานวนมากอยางรวดเร็ว ผูนํา บานมงในเขตเวียงแกนกลาวถึงสาเหตุของการที่พวกเขามีลูกมากอยางตรงไปตรงมาวา ไวใชในการ เลือกตั้งผูนํา นอกจากนี้ในยุคสงครมเย็นยัง ทําใหคนมง ฝายขวาจากลาวไดอพยพไปประเทศที่สาม อยางเชนอเมริกา และเปนสาเหตุตอมาของการคาขามพรมแดนทวีปในยุคเชียงของวันนี้ นอกจากกลุมมงแลวยังมีกลุมจีนฮอ ที่ไดรับบทบาททางการเมืองและเศรษฐกิจเปลี่ยนไปจาก เดิมอยางมาก สวนใหญจะเขาสูการไดสิทธิเปนคนไทยเพื่อนําไปสูการคาขามแดนกับจีน โดยคนจีนฮอมี ฐานะภาพทางสังคมบนดอยสูงอยูแลว และยังไดรับการยอมรับจากรัฐไทยกวากลุมอื่นๆ นอกจากนี้ยัง สามารถสื่อสารกับคนจีนในเมืองกรุงเทพและเมืองใหญอื่นๆ รวมทั้งในเมืองจีน ทําใหเกิดโอกาสชองทาง ทั้งดานเศรษฐกิจการคาและการเงินมากกวากลุมอื่นในปจจุบัน หลังจากยุคสงครามเย็นจบลง ทําใหการเคลื่อนยายของกลุมชาติพันธุตางๆยากลําบาก เพราะ ดวยนโยบายดานความมั่นคงชายแดนและนโยบายปาไมซึ่งคนเหลานี้เพิ่งรับรูวา อํานาจรัฐไทยเดินทาง มาถึงยอดดอยแลว เมื่อพื้นที่ถูกจํากัดประกอบกับประชากรมากขึ้น ทรัพยากรก็ลดลงจากการบุกรุกทั้ง คนพื้นราบเขาไปและคนบนดอยดวยกันทําให การอพยพไปใชแรงงานของคนหนุมสาวชาวดอยเกิดขึ้น และสวนใหญจะเปนไปแนวทางเดียวกันกับขมุที่ไดกลายเปนคนพื้นราบไปกอนหนา คือขายแรงงาน ขาย บริหาร รับจางทั่วไป ในเมืองใหญเชนเชียงราย เชียงใหม หรือไปไกลถึงกรุงเทพและภาคใต โดยปจจัย หนุนเสริมใหเกิดสิ่งเหลานี้รวดเร็วขึ้นคือระบบเศรษฐกิจการคาแบบใหม ปฏิสัมพันธดานเศรษฐกิจการคา การคาขายแตเดิมอยูในลักษณะการแลกเปลี่ยนสิ่งที่ตนไม มีและผลิตไมไดมากกวา เชน คนมงสวนใหญทําไร คนลื้อคนเมืองสวนใหญทํานา ผลผลิตที่ไดจะมีการ แลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน ในลักษณะพืชไรแลกขาว หรือขายใหแกกัน นอกจากนี้ยังมีคาขายกันในกลุม ชาติพันธุหรือพื้นที่ใกลๆ กลาวคือ คนมง เยา ลาหู เอาของปามาขาย คนยวน คนลื้อ รับซื้อสินคา และเพื่อ จะนําไปสงขายตอทั้งที่เชียงแสน เชียงราย หลวงพระบาง หลวงน้ําทา โดยทางเรือ และคนยวน คนลื้อจะ ซื้อสินคาอุปโภค บริโภค เชน เกลือ ปลาทูเค็ม ขายตอไปใหคนดอย การคาขายระหวางกันจะใชลําน้ําโขงและลําน้ําสาขา เชน แมน้ํากก สวนใหญจะคาของปา ใบ ยา เกลือ และของอุปโภคบริโภค เกิดอาชีพชาวเรือรับจางระหวางไทยลาว และในยุคหลังสงครามโลกครั้ง ที่สองจนถึงกอนยุคพื้นที่สีแดง คือใน ป ๒๕๐๗ เปนยุคที่เศรษฐกิจการคาเชียงของ-หลวงพระบางคึกคัก เปนอยางมาก นอกจากนี้ระบบเศรษฐกิจของแตละกลุมชาติพันธุไมไดขึ้นอยูกับการคาเพียงอยางเดียว ในระยะ ที่ทรัพยากรธรรมชาติ ปาและแมน้ํายังอุดมสมบูรณ คนยวน คนลื้อ มีเศรษฐกิจชุมชนขึ้นอยูกับการทํานา การหาปลา และหากมีเหลือจึงจะแลกขายใหคนบนดอย สวนคนดอยยังลาสัตว ทําไร เปนสวนใหญ แรงงานรับจางในยุคนี้คือขมุ เชน ขมุมารับจางเบิกขุดนาใหคนไทลื้อที่บานขวาก ขมุมารับจางขนขาว ลากแบกขาววันละ ๓ สตางค นอกจากนี้ขมุยังรับจางตัดหญา ดายหญาใหคนเมือง คนลื้อ และขมุยังเปน แรงงานรับจางในยุคตอมาดวย ในลาวจึงเรียกขมุวาขาหรือขา อันเปนคําที่ถูกเหยียดหยัน กลาวไดวา หลังจากกรอมสุวรรณโคมคําแลว กรอมหรือขมุไมเคยมีอาณาจักรที่ยิ่งใหญของตนเลย เปนชนที่ถูก


ปกครองมาตลอดและยังถูกกวาดตอนไปเชียงทองหรือหลวงพระบางแทบยกครัวในสมัยเจาฟางุม การถูก ปกครองหรือการเปน ขา ทํ าให ไมมีสิทธิในนาหรื อ ที่ดิน ใด และยิ่ง ไมมีสิท ธิ ในที่ ดิน หรือ อํา นาจในการ ปกครองตนเองนานเขาจึงเกิดเหตุการณที่เรียกวา “ผีเกล็ดข้ําขมุ” หรือที่เชื่อวา หากมีการจัดระเบียบ วัฒนธรรมคนขมุใหมจะมีเจาเจืองมาเกิดใหม เพื่อใหขมุกลับมามีอํานาจยิ่งใหญขึ้นอีกครั้ง เหตุการณนี้ คือแบบอยางของการตกเปนเบี้ยลางของชนสวนนอยทั้งในดานเศรษฐกิจและการเมืองการปกครองอยู นานจนเกิดภาวะแสวงหาการปลดปลอย อยางไรก็ตาม แมในปจจุบันคนขมุก็ยังมีอาชีพรับจางเปนสวน ใหญ และมีฝมือในการสานหัตถกรรมขาย อยางไรก็ตาม การที่คนขมุอยูใตเบี้ยลางคนอื่นในทางอํานาจการเมืองและเศรษฐกิจอยูแลว จึง เปนการงายที่จะปรับตัวหรือถูกกลืนไปยอมรับหรือเปนสวนหนึ่งของวัฒนธรรมอื่นที่มีโอกาสทางเศรษฐกิจ และการเมืองดีกวา ดังนั้น การไปมีพิธีกรรมไหวเจาหลวงของคนขมุจึงเปนการสรางการยอมรับขึ้นมา อยางหนึ่งในการเปนคน นอกจากนี้ระบบเศรษฐกิจแบบพึ่งพาอาศัยกันยังมีใหเห็นในคนยวน คนลื้อ และคนมง คนเยา ในชวงกอนที่ระบบการผลิตเพื่อการขายหรือระบบเศรษฐกิจสมัยใหมจะเกิดขึ้นคือ การเลี้ยงวัวแบงลูกกัน เปนการชวยเหลือกันแตตางฝายก็ไดผลประโยชน ระบบเศรษฐกิจการคาที่เขาสูการผลิตเพื่อขายตลาดเริ่มตนในเชียงของหลังจากน้ําทวมเชียงของ หนักในป ๒๕๐๙ ซึ่งทําใหชาวบานตองพบความลําบากในดานอาหารการกิน ขาวนาเสียหายมีผลตอ เศรษฐกิจในครัวเรือน ไมใชเฉพาะตอคนพื้นราบที่ไดรับผลกระทบจากน้ําทวม คนลาหูก็ไดรับผลดวย เพราะหนูหนีน้ําไปกินขาวไรเสียหายหมด หลังจากนั้นจึงเกิดการสงเสริมพืชเศรษฐกิจ คือขาวโพด นอกจากนี้ยังมีพืชตัวอื่นตามมามาอีกมากมาย เชน ขิง พืชเหลานี้ตองการพื้นที่ขนาดใหญซึ่ง เปนสาเหตุของการบุกรุกพื้นที่ปาเพิ่มขึ้น ในกรณีของคนมง เยา ลาหู ไดรับการสงเสริมพืชเศรษฐกิจ พวกสม สมโอ ลิ้นจี่ ใหปลูกทดแทนฝน แมจะมีรายไดลดลงแตดวยฝนเปนพืชที่ผิดกฎหมาย คนมงจึงหัน มาบุกเบิกปาปลูกพืชเศรษฐกิจกันขนาดใหญ คนไทลื้อบางสวนปรับตัวไปปลูกพืชเชิงพานิชยคือสมกันมากมาย มีพื้นที่การผลิตขนาดใหญ และแหงแรกของเชียงของคือหวยเม็ง ในขณะที่คนลื้อสวนใหญยังทําสวน ทํานา ปลูกพืชผัก ผลไม ผูหญิง จะทอผา ปกผาจนเปนรายไดเสริม กลาวไดวา คนไทลื้อเปนกลุมชาติพันธุที่ประหยัดขนาดหอขาวเปลาไป กินกับน้ําเปลาที่สวน หลังจากยุคการผลิตเพื่อการคาแลว กลไกหลักของเศรษฐกิจจากที่เคยอยูกับการเกษตรเริ่ม เปลี่ยนไปสูการรับจางหรือภาคบริการการทองเที่ยวในยุคเปลี่ยนสนามรบเปนสนามการคา คนไทยวน ขายที่ใหคนตางทองถิ่น เพื่อทํา บานพักรีสอรทรับนักทองเที่ยว โดยเฉพาะที่ดินที่อยูริมฝงโขงถูกขาย เปลี่ย นมือ ไปเกื อ บหมด แล ว คนพื้น ราบไปรุก ที่ดิ น คนบนดอย เพื่อ ทํ า การเกษตรทํ า ไร ทํ า สวน และ หลังจากจายเงินคาที่ดนิ หมดบางคนก็ตองกลับมาเชาที่ดินตัวเองปลูกขาวโพดหรือยาสูบในราคาไรละ ๑, ๐๐๐ บาท ซึ่งมองใหเห็นวาสวนหนึ่งของคนยวน จากชนผูปกครองมีอาณาจักรแผนดินไดกลายเปนผูมี หนี้และขายที่ดินแลวกลับมาเชาที่ดินตนทําการเพาะปลูกใหเห็นภาพไปเชนเดียวกับคนขมุ


ความสั ม พั น ธ ข องคนในยุ ค เศรษฐกิ จ การค า แบบใหม นี้ จึ ง ขึ้ น อยู กั บ ตั ว เงิ น โดยละทิ้ ง เรื่ อ ง วัฒนธรรมไป คนมง คนจีนฮอจึงไดลงมาทําการเชาบานหองแถวอาคารพาณิชยเพื่อการคา บางสวน กระจัดกระจายไปขายของอยูตางถิ่นถึงภาคใต บางสวนก็ไปอยูเพื่อรองรับแหลงทองเที่ยว เชน ภูชี้ฟา ไป เรขายสินคาวัฒนธรรมเชน ผาปก กําไล ในเมืองเชียงราย เชียงใหม และที่ขายผาปกแบบมงอยางดีสงไป ขายไกลถึงอเมริกาในราคาชิ้นละ ๕๐๐ ดอลลารอเมริกา โดยสงไปใหญาติที่อพยพไปในคราครั้งสงคราม เย็น ซึ่งทําใหเห็นการคาขายขามพรมแดนทวีปของมงไดอยางดี ภาพการอพยพลงดอยเพื่อไปเปนแรงงานทั้งภาคการผลิตและบริการของคนบนดอย ภาพการ เปลี่ยนจากเกษตรกร คนทํานา หาปลา กลายเปนคนรับจางกอสราง หรือกรรมกรแบกหามของคนยวนจึง เปนภาพปจจุบัน ในพื้นที่เชียงของเวียงแกนซึ่งทรัพยากรธรรมชาติมีจํากัดและถูกทําลายไปมากแลว ในขณะที่ยังไมแนชัดจากผลของระบบการเปดการคาเสรีตามนโยบายของรัฐ รวมไปถึงเขตเศรษฐกิจ พิเศษชายแดนและนโยบายเรื่องสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ ซึ่งในเบื้องตนมีการระเบิดแกงแมน้ําโขง การสราง เขื่อน เพื่อทําลายทรัพยากรธรรมชาติที่เหลืออยูในลุมน้ําโขงไปใชใหมากยิ่งขึ้นเพื่อปอนใหระบบเศรษฐกิจ ไดหมุนเร็วขึ้น


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.