ประวัติศาสตร์ลาวสมัยใหม่ผ่านการฟื้นฟูอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานลาวในยุคอาณานิคม

Page 1

ประวัตศิ าสตร์ ลาวสมัยใหม่ ผ่านการฟื้ นฟูอนุรักษ์ คมั ภีร์ใบลานลาวในยุคอาณานิคม และ ข้ อคิดเห็นเกีย่ วกับการเขียนประวัตศิ าสตร์ ลาวสมัยใหม่  The Modern History of Laos through the Revitalization of Lao Palm Leaf Manuscripts in Colonial Period and the point of view about the Modern History of Laos บัวไข เพ็งพระจันทร1 ______________________________________ บทคัดย่ อ บทความนี้ มุ่งนาเสนอประวัติศาสตร์ ลาวสมัยใหม่ โดยมองผ่านการฟื้ นฟูอนุรักษ์คมั ภีร์ใบลานลาวในยุคอาณานิ คม (ค.ศ. 1893-1975) ที่ นาไปสู่ การสร้างอัตลักษณ์แห่ งชาติลาว การฟื้ นฟูคมั ภีร์ใบลานในบริ บทดังกล่าวเป็ นพื้นที่ แห่ งการช่วงชิ งความหมาย ระหว่างเจ้าอาณานิ คมกับปั ญญาชนลาว ซึ่ งต่างก็ใช้คมั ภีร์ใบลานเพื่อรับใช้วตั ถุประสงค์ของตน โดยฝ่ ายอาณานิ คมต้องการสร้างอัต ลักษณ์ลาวแบบใหม่ให้แตกต่างจากสยามซึ่ งเคยปกครองลาว โดยการเสนอให้นาอักษรโรมัน มาใช้เขียนภาษาลาว และให้การศึกษา ทางพุทธศาสนาของลาวออกจากแบบฉบับของสยาม รวมทั้งต้องการรวมลาวเข้าเป็ นส่ วนหนึ่ งของสหพันธ์อินโดจีน และยังต้องการ เป็ นเจ้าอาณานิคมทางปั ญญาของลาวอีกด้วย ขณะเดียวกันปั ญญาชนลาวก็ได้ใช้คมั ภีร์ใบลานต่อสูก้ บั อาณานิคมเพื่อให้หลุดพ้นจากการ เป็ นอาณานิคมทางปั ญญา โดยเฉพาะการต่อต้านแนวคิดของเจ้าอาณานิคมที่ตอ้ งการนา อักษรโรมันมาใช้เขียนภาษาลาว สาหรับการสารวจความป็ นไปในประวัติศาสตร์ลาวสมัยใหม่น้ นั ผูเ้ ขียนได้ทบทวนประวัติศาสตร์ลาวสมัยใหม่ท้ งั ที่เขียนโดย นักวิชาการลาวและนักวิชาการต่างประเทศ ซึ่ งสังเกตเห็นว่า การขียนประวัติศาสตร์ ลาวสมัยใหม่ ส่ วนใหญ่นกั วิชาการใช้ขอ้ มูลหรื อ อ้างอีงจากเอกสารที่บนั ทึก หรื อเรี ยงเรี ยงเขียนไว้ในคัมภีร์ใบลาน (ซึ่งต่อมานักวิชาการสมัยใหม่ได้นามาใช้เป็ นเอกสารอ้างอิง เพื่อเรี ยบ เรี ยงเขียนประวัติศาสตร์ลาวสมัยใหม่) หรื อกล่าวได้วา่ นักวิชาการใช้ขอ้ มูล หรื อหลักฐานทางโบราณคดีนอ้ ยมาก โดยความเป็ นไปได้ แล้ว ข้อมูล หลักฐานทางโบราณคดี ถือว่าเป็ นข้อมูล หลักฐานสาคัญไม่นอ้ ยไปกว่าข้อมูลที่บนั ทึกในคัมภีร์ใบลาน หรื อจารึ กต่างๆ ซึ่ ง สามารถพิจารณา พิสูตร และอ้างอิงได้ ทาไมการเขียนประวัติศาสตร์ ลาวสมัยใหม่จึงเป็ นเช่นนั้น ผูเ้ ขียนมีขอ้ คิดเห็นจานวนหนึ่ งที่จะ กล่าวในเนื้อหาของบทความเรื่ องนี้ บทนา บทความนี้ ต้องการชี้ให้เห็นถึงการฟื้ นฟูอนุ รักษ์คมั ภีร์ใบลานที่นาไปสู่ การสร้างอัตลักษณ์แห่ งชาติลาวภายใต้บริ บทอาณา นิคม ประเด็นสาคัญจะกล่าวถึงความหมายและความสาคัญของคัมภีร์ใบลานในสังคมลาวยุคก่อนสมัยใหม่2 (Pre-modern) จากนั้นจะ 

บทความนี ้ เป็ นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เรื่อง “การฟื น้ ฟูคมั ภีร์ใบลานในยุคจินตนาการใหม่ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว” หลักสูตรปรัชญาดุษฎี บัณฑิต สาขาวิชาไทศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 1 บรรณารักษ์ หอสมุดแห่งชาติ กระทรวงแถลงข่าวและวัฒนธรรม สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2 สังคมลาวยุคก่อนสมัยใหม่ (Pre-modern) หมายถึง ยุคก่อนอาณานิคมฝรั่งเศสเข้ ามาปกครองลาว (หรือ ก่อนปี ค.ศ. 1893) โดยผู้เขียนพิจารณาจาก พัฒนาการของระบบการเมืองการปกครองของลาว ซึง่ หลังจากฝรั่งเศสเข้ ายึดปกครองลาวแล้ ว ฝรั่งเศสได้ เปลี่ยนแปลงระบบการเมืองการปกครองของลาวที่ มีมาแต่เดิมก่อนปี ค.ศ. 1893 นัน้ ให้ เป็ นไปตามแนวคิด โลกทัศน์ และจักรวาลวิทยาของเจ้ าอาณานิคมฝรั่งเศส หนึ่งในแนวคิดที่สาคัญก็คือ แนวคิดเกี่ยวกับ “การทาให้ ลาวเป็ นแผนที”่ โดยฝรั่งเศสได้ กาหนดอาณาเขตพรมแดนของลาว ด้ วยการขีดเส้ นแบ่งเขตแดนทางภูมิศาสตร์ ของลาวกับรัฐใกล้ เคียง เพื่อ ครอบครองทังผู ้ ้ คนและพื ้นที่ทางกายภาพของลาว


2 กล่าวถึงการฟื้ นฟูอนุรักษ์คมั ภีร์ใบลานลาวในยุคอาณานิคม (Colonial Period) ซึ่งได้มีการส่งเสริ มสารวจรวบรวมคัมภีร์ใบลาน การส่ ง ส่วยเป็ นคัมภีร์ใบลานของประชาชนลาวให้แก่เจ้าอาณานิคม การปริ วรรตคัมภีร์ใบลานและการสร้างอัตลักษณ์ลาวในยุคอาณานิคม 1. ความหมายและความสาคัญของคัมภีร์ใบลานในสังคมลาวยุคก่ อนสมัยใหม่ สังคมลาวยุคก่อนสมัยใหม่ คัมภีร์ใบลานมีความหมายและความสาคัญอย่างยิ่ง ถือว่าเป็ น‚วัฒนธรรมภาษา‛ หรื อ ‚วัฒนธรรม การเขียน‛ ของ ‚ชุมชนพุทธศาสนาเถรวาท‛ (Keyes. 1995) ซึ่ งมีมานานกว่าสองพันปี นับตั้งแต่มี ‚การเขียน‛ คัมภีร์พระไตรปิ ฎก อัน เป็ นคาสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็ นลายลักษณ์อกั ษรลงบนใบลานครั้งแรกที่ศรี ลงั กา เมื่อพระพุทธเจ้าปริ นิพพานได้ 500 ปี (จานงค์ ทองประเสริ ฐ. 2534 : 444) จากนั้น ‚วัฒนธรรมการเขียน‛ ทาง พุทธศาสนาได้แพร่ ขยายกว้างออกไปพร้อมๆ กับพุทธศาสนา ที่เผยแพร่ ออกไปในอาณาจักรต่างๆ และหนึ่งในนั้นมีอาณาจักรล้านช้าง ซึ่งมีหลักฐานชัดเจนว่าพุทธศาสนาเถรวาทได้เข้ามาเผยแพร่ ใน สังคมลาวเมื่อปี ค.ศ. 1357 ภายหลังจากที่พระเจ้าฟ้ างุ่มรวบรวมหัวเมืองลาวในเขตลุ่มแม่น้ าโขงตอนกลางทั้งสองฟากฝั่งเข้าเป็ อาณาจักร ล้านช้างให้เป็ นปึ กแผ่นในปี ค.ศ. 1353 โดยมีเมือง เชียงทอง (หลวงพระบาง) เป็ นศูนย์กลาง พระองค์ทรงมีพระประสงค์ให้ไพร่ ฟ้า ราษฎรได้รับการศึกษา มีศีลธรรม และประพฤติชอบตามคาสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงได้ทรงส่ งราชทูตไปขอนักปราชญ์ อาจารย์ พระสงฆ์ และคัมภีร์พระไตรปิ ฎก พร้อมด้วยพระพุทธรู ป (พระบาง) ต้นโพธิ์ และเครื่ องดนตรี พ้นื เมือง จากพระเจ้าอินทะปั ตถา เจ้านครเขมรสมัยนั้น (สิ ลา วีระวงส์ และ นวน อุเทนสักดา. 1967 : 64-110) การนาพุทธศาสนาเถรวาทเข้ามาในสังคมลาว นับว่าเป็ นการสร้างความเป็ นปึ กแผ่นและสร้างวัฒนธรรมใหม่ในสังคมลาว เพราะในช่วงเวลานั้นประชาชนส่ วนใหญ่ประกอบไปด้วยชนเผ่าขอม-เผ่าลาวเทิง หรื อละว้า-ลัวะ ซึ่ งนับถือผีสาง เทวดา ฟ้ าแถน พระ อาทิตย์ พระจันทร์ และวิญญาณของบรรพบุรุษและบุคคลสาคัญ ก็เปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนาแทน และในยุคนี้ก็เริ่ มจารคัมภีร์ใบลาน3 แทนการเขียนลงบนแผ่นหิ น กระดูก หนังสัตว์ ติ้วไม้ กระดาษสา และอื่นๆ (กระทรวงแถลงข่าวและวัฒนธรรม. 2000 : 121, 126) รวมทั้งยังได้มีการสร้างวัด พระธาตุเจดีย ์ พระพุทธรู ป และอื่นๆ อีกด้วย จากการศึกษาพบว่า คัมภีร์ใบลานในสังคมลาวยุคก่อนสมัยใหม่ มีความหมายและความสาคัญต่อสังคมลาว 2 ประการ คือ 1) มีความสาคัญทางศาสนาจักร ในฐานะเป็ นตัวบททางศาสนา คือ คัมภีร์พระวินยั ปิ ฎก พระสุ ตตันตปิ ฎก และพระอภิธรรมปิ ฎก โดยใช้ อัก ษรธรรมเป็ นตัว จาร นอกจากนี้ ย งั มี คัม ภี ร์ อรรถกถา ฎี กา อนุ ฎีกา คัมภี ร์ป ระเภท ‚ฉลอง‛ (อานิ สงส์ ) ประเภท ‚มงคล‛ และ ‚อวมงคล‛ (สาลิด บัวสี สะหวัด. 1994 b : 19-21) คัมภีร์ดา้ นศาสนานี้ มีความหมายและความสาคัญในฐานะรักษา สื บทอด และ เผยแพร่ พุทธศาสนา รวมทั้งมีการอบรมบ่มสอนศีลธรรม ให้ความรู ้ ให้การศึกษาแก่ผูย้ ึดถือ วางหลักปฏิบตั ิอนั เป็ นแบบแผนในการ ดาเนินชีวติ 2) คัมภีร์ใบลานมีความหมายและความสาคัญทางอาณาจักร ในฐานะเป็ นบันทึกความเป็ นมาของกลุ่มชาติพนั ธุ์ลาว ที่สาคัญ คือ ‚พื้นขุนบรมราชาธิ ราช‛ ซึ่ งมีหลายฉบับ และจาร สื บต่อกันมาหลายรัชกาล โดยเริ่ มมีการจารไว้เป็ นลายลักษณ์อกั ษรด้วยอักษร ลาวโบราณเมื่อปี ค.ศ. 1512 ในรัชกาลของพระเจ้าวิชุลราช ค.ศ. 1501-1520 (สิ ลา วีระวงส์ และ นวน อุเทนสักดา. 1967 : ก-ข) จนถึงฉบับสุ ดท้าย ปี ค.ศ. 1936 จารไว้ในรัชกาลพระเจ้าศรี สว่างวงศ์ (สุ เนด โพทิสาน. 1996 : 48-62) นอกจากนี้ ยงั มีคมั ภีร์ ‚ท้าวฮุ่ง ท้าวเจือง‛ ‚ตานานอุรังคธาตุ‛ ‚ตานานพระบาง‛ ‚ตานานพระแก้วมรกต‛ ‚ตานานพระแทรกคา‛ ‚พื้นเมืองพวน‛ ‚พื้นเมืองหลวงพระ บาง‛ ‚พื้นเมืองเวียงจันทน์‛ (เจ้าอนุวงศ์) ‚พื้นเมืองจาปาศักดิ์‛ ฯลฯ คัมภีร์เหล่านี้ นักวิชาการและนักประวัติศาสตร์ ลาวสมัยใหม่ถือว่า เป็ นหลักฐานอ้างอิงสาคัญที่ใช้ในการเขียนประวัติศาสตร์ลาวปั จจุบนั คัมภีร์ทางด้านกฎหมาย มี 9 คัมภีร์ คือ ‚ธรรมศาสตร์ขนุ บรม‛ (กรมวรรณคดี. 1967) ‚สร้อยสายคา‛ ‚มูลตันไต‛ (สาลิด บัวสี สะหวัด. 1992) ‚สุวรรณมุกขา‛ (สาลิด บัวสี สะหวัด. 1994 a) ‚พระธรรมศาสตร์หลวง‛ ‚ราชศาสตร์‛ (สาลิด บัวสี สะหวัด. 1995) ‚โพสาราช และ

3

“การจาร” คัมภีร์ใบลาน ยังหมายรวมถึง “การเขียน” “การแต่ง” “การบันทึก” “การจารึก” และ “การสร้ าง” คัมภีร์ใบลาน เป็ นต้ น


3 สังคหปกรณ์ ‛ (สาลิด บัวสี สะหวัด. 1996 a) และ ‚คัมภีร์อาณาจักรและธรรมจักรแห่ งธรรมศาสตร์ ‛ (สาลิด บัวสี สะหวัด. 1997) คัมภีร์เหล่านี้ ส่วนใหญ่ไม่ปรากฏชื่อผูแ้ ต่ง และปี ที่บนั ทึก4 คัมภีร์ ด้านกฎหมายนี้ สะท้อนให้เห็นว่า พระมหากษัตริ ย ์ เจ้าพระยา ขุน นาง เสนาอามาตย์ ข้าราชบริ พาร รวมถึงชาวบ้านธรรมดาทัว่ ไป ต้องประพฤติปฏิบตั ิตนอย่างไร ตัวบทกฎหมายซึ่ งเป็ นหลักการ ฮีตคอง ธรรมเนียมปฏิบตั ิ ที่มีการบันทึกไว้ในคัมภีร์ใบลาน นอกจากเป็ นหลักฐานที่ สาคัญแล้ว ยังสะท้อน ให้เห็นถึงความรู ้ ภูมิปัญญา และความคิดของคนลาวยุคก่อนสมัยใหม่อีกด้วย คัมภีร์ดา้ นวรรณกรรม คือ ‚ท้าวฮุ่งท้าวเจือง‛ ‚สังศิลป์ ไชย์‛ ‚สาส์นลึพสูญ‛ สามคัมภีร์น้ ีนกั วิชาการลาวถือว่าเป็ น วรรณกรรม ชั้นเอกของลาว5 นอกจากนี้ยงั มีคมั ภีร์ พระลักพระราม อินทิยานสอนลูก ปู่ สอนหลาน หลานสอนปู่ นางตันไต จาปาสี่ ตน้ เชียงเหมี่ยง เสี ยวสะหวาด ฯลฯ (หุ มพัน รัดตะนะวง. 1989 : 12-29) วรรณกรรมพื้นเมืองเหล่านี้ มีบทบาทสาคัญต่อการกาเนิ ด และการขยายตัว ของวรรณคดีลาวในเวลาต่อมา นอกจากคัมภีร์ใบลานที่กล่าวมาแล้ว ยังมีคมั ภีร์ดา้ นตารายา คาถาอาคม และประเพณี พิธีกรรม ซึ่ งมี ความหมายและความสาคัญในด้านการเมือง การปกครอง การทหาร และต่อวิถีชีวิตของคนลาว อีกทั้งยังเป็ นหลักฐานสาคัญที่สะท้อน ให้เห็นถึงสังคม วัฒนธรรม และความรู ้ ความคิดของคนลาวยุคก่อนสมัยใหม่เช่นกัน จากข้างต้น จะเห็ นได้วา่ คัมภีร์ใบลานเป็ นมรดกที่ ล้ าค่า เป็ นสมบัติของชาติลาว คัมภีร์ใบลานได้เขียนบันทึ กเกี่ ยวกับตัวตน หรื ออัตลักษณ์ของลาว ซึ่งมีความหมายและความสาคัญต่อสังคมและวิถีชีวติ ของคนลาวยุคก่อนสมัยใหม่ท้ งั ทางโลกและทางธรรม และ อยูใ่ นสถานะที่มีคุณค่า และความศักดิ์สิทธิ์ โดยจะเก็บรักษาไว้ที่สูง เก็บไว้ในตูค้ มั ภีร์ บนหอไตร และมีการกราบไหว้บูชา นอกจากนี้ ยังมีขอ้ ห้ามในการปฏิบตั ิต่อคัมภีร์ โดยผูห้ ญิงไม่สามารถจับต้องและศึกษาจากคัมภีร์ ใบลานได้โดยตรง ในยุคสมัยต่อมาเมื่อฝรั่งเศส เข้ายึดปกครองลาวแล้ว ฝรั่งเศสนาความรู ้วทิ ยาศาสตร์วทิ ยาการสมัยใหม่และวัฒนธรรมแบบฝรั่งเศสเข้ามาในสังคมลาว ได้มีผลกระทบ ต่อคัมภีร์ใบลาน ในสังคมลาว เช่น ด้านการศึกษา ฝรั่งเศสได้ใช้พ้นื ที่วดั และแม้กระทัง่ โบสถ์ซ่ ึ งเป็ นพื้นที่ศกั ดิ์สิทธิ์ ของประชาชนลาว และเป็ นพื้นที่แห่ งการศึกษาแบบเดิมของลาว เป็ นพื้นที่สถาปนาและขยายการศึกษาของฝรั่งเศส อีกทั้งยังใช้พระสงฆ์ลาวเป็ นครู สอน ภาษาฝรั่งเศสและสอนความรู ้วิทยาศาสตร์ วิทยาการสมัยใหม่ของฝรั่งเศสด้วย หรื อในด้านสาธารณสุ ข ฝรั่งเศสมองว่า ขณะเดียวกัน ฝรั่งเศสและปั ญญาชนลาวได้ส่งเสริ มฟื้ นฟูคมั ภีร์ใบลานเพื่อรับใช้บริ บททางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปในยุคอาณานิคมฝรั่งเศส 2. การฟื้ นฟูคมั ภีร์ใบลานในยุคอาณานิคม อาณาจักรล้านช้างที่สถาปนาโดยพระเจ้าฟ้ างุ่มในกลางศตวรรษที่ 14 มีความรุ่ งเรื องมา สามร้อยกว่าปี ครั้นมาถึงรัชกาลของ พระเจ้าสุริยะวงศาธรรมิกราช อาณาจักรล้านช้างเกิดการแย่งชิงราชบัลลังก์กนั ระหว่างกลุ่มเชื้อพระวงศ์ภายในอาณาจักร จึงนาไปสู่ การ แตกแยกออกเป็ นสองอาณาจักรในปี ค.ศ. 1699 คือ อาณาจักรหลวงพระบาง และอาณาจักรเวียงจันทน์ และในปี ค.ศ. 1713 ได้แตกแยก ออกเป็ นอีกหนึ่ งอาณาจักร คือ อาณาจักรจาปาศักดิ์ ในระยะต่อมาศูนย์กลางอานาจของทั้งสามอาณาจักรได้อ่อนแอลง จึงกลายเป็ น เป้ าหมายให้แก่การขยายอาณาเขตของอาณาจักรใกล้เคียง จนกระทัง่ สามอาณาจักรตกเป็ นเมืองขึ้นของสยามในปี ค.ศ. 1779 ในช่วงเวลา 4

เท่าที่ปรากฏหลักฐาน มีเพียง 3 คัมภีร์ คือ “ธรรมศาสตร์ ขนุ บรม” เขียนขึ ้นปี ค.ศ. 1512 ในรัชกาลของพระเจ้ า วิชลุ ราช โดยพระมหาเทพหลวง พระมหา มงคลสิทธิ และพระเจ้ าวิชลุ ราช พร้ อมด้ วยเสนาข้ าราชการ (สุเนด โพทิสาน. 1996 : 48-62) “คัมภีร์สร้ อยสายคา” แต่งในรัชกาลของพระเจ้ าโพธิสารราช ปี ค.ศ. 1520-1527 (สาลิด บัวสีสะหวัด. 1996 b : ค) และ “คัมภีร์ พระธรรมศาสตร์ หลวง” แต่งขึ ้นปี ค.ศ. 1660 ในรัชกาลพระเจ้ าสุริยะวงศา-ธรรมิกราช (สาลิด บัวสีสะหวัด. 1993 : 10) ซึง่ เป็ นช่วงที่อาณาจักรล้ านช้ างมี ความรุ่งเรืองสูงสุด 5 เรื่อง “ท้ าวฮุง่ ท้ าวเจือง” เป็ นเรื่องทีเ่ ด่นในด้ านการแต่งด้ วยคาร้ อยกรองที่มีความยาวและมีหลายรูปแบบ จนได้ รับการขนานนามจากนักวิชาการลาวว่า เป็ น “มหากาพย์” รวมทังยั ้ งมีความเก่าแก่ มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยศัพท์ สานวน ภาษา และสะท้ อนให้ เห็นถึงสังคมวัฒนธรรมของหลายกลุม่ ชาติพธั ์ทุ ี่อาศัยอยู่ ในลุม่ แม่น ้าโขงตอนกลางก่อนพุทธศาสนาเถรวาทจะเข้ ามามีอิทธิพลอยูใ่ นแถบนี ้ด้ วย เรื่อง “สังศิลป์ไชย์” (กระทรวงธรรมการ. 1949) เป็ นเรื่องที่เด่นในด้ าน การแต่งด้ วยคาร้ อยกรองที่มี ศัพท์ สานวน ไพเราะ อ่านง่าย และสะท้ อนให้ เห็นถึงการต่อสู้ระหว่างความเป็ นธรรมกับความไม่เป็ นธรรม และผู้มีอานาจด้ อย กว่ากับผู้มีอานาจมากกว่า (กงเดือน เนตตะวง. 2550 : สัมภาษณ์ ; โอทอง คาอินซู. 2550 : สัมภาษณ์) เรื่อง “สาส์นลึพสูญ” เป็ นเรื่องที่เด่นในด้ านการ แต่งที่ใช้ ศัพท์สานวนปริศนา ลึกลับ ซับซ้ อน และสะท้ อนให้ เห็นถึงการเมืองในช่วงอาณาจักรล้ านช้ างตอนปลายได้ เป็ นอย่างดี (โสมสี เดชากาพู. 1978 : คา นา)


4 ที่อยูภ่ ายใต้อานาจของสยามนั้นได้มีความพยายามที่จะปลดแอกออกจากสยามแต่ไม่สาเร็ จ สุ ดท้ายนาไปสู่ การปราบปรามโดยสยาม อย่างรุ นแรงในต้นศตวรรษที่ 19 ในช่วงเวลาดังกล่าวนี้คมั ภีร์ใบลานถูกนามาใช้ในฐานะเป็ นเครื่ องมือปลุกจิตสานึ กของชนชาติลาวใน สองฝั่งโขง ซึ่งสะท้อนให้เห็นใน คัมภีร์ ‚พื้นเมืองเวียงจันทน์‛ ‚ท้าวเหลาคา‛ (เจ้าราชวงศ์) สาส์นลึพสูญ เป็ นต้น (ดูเพิ่มเติมใน ประทีป ชุมพล. 2525 ; ธวัช ปุณโณฑก. 2526 ; หอสมุดแห่งชาติ. 1973 ; คณะกรรมการวรรณคดี. 1967) ปลายศตวรรษที่ 19 อังกฤษและฝรั่งเศส ได้แย่งชิงกันขยายอิทธิพลเข้ามายังดินแดนเอเชียตะวันออกเฉี ยงใต้ เมื่ออังกฤษเข้ายึด พม่าและมาเลเชีย ฝรั่งเศสก็รีบเข้ายึดครองเขมรในปี ค.ศ. 1863 เข้ายึดครองเวียดนาม ในปี ค.ศ. 1883 ต่อมาเข้ายึดครองลาวพร้อมทั้ง กาหนดอาณาเขตพรมแดนและโครงสร้างทางการเมืองการปกครองใหม่ให้แก่ลาวในสนธิ สัญญาฝรั่งเศสกับสยามเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 1893 (กระทรวงแถลงข่าวและวัฒนธรรม. 2000 : 497-504) จากนั้นชะตากรรมของลาวก็ตกอยูภ่ ายใต้อานาจการปกครองของอาณา นิคมฝรั่งเศสจนถึงปี ค.ศ. 1953 ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวลาวถูกผนวกเข้ากับเวียดนามและเขมร ภายใต้ชื่อว่า ‚อินโดจีนฝรั่งเศส‛ ซึ่ งมี ศูนย์กลางอานาจอยูท่ ี่กรุ งฮานอย ประเทศเวียดนาม และในช่วงที่ประเทศลาวอยูภ่ ายใต้การปกครองของฝรั่งเศสนี้ ฝรั่งเศสและสยามเกิด กรณี พิพาทกันขึ้นหลายครั้งเกี่ยวกับอาณาเขตพรมแดนของลาว และในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 อานาจของฝรั่งเศสในอินโดจีนอ่อนแอ ลง ญี่ปุ่นเข้ายึดอินโดจีน แต่ได้ไม่นานฝรั่งเศสได้กลับเข้ายึดปกครองลาวอีกครั้ง ฝรั่งเศสจึ งได้พยายามสร้างอัตลักษณ์ลาวเพื่อรักษา อานาจและเสถียรภาพของตนในการปกครอง ให้เป็ นที่ยอมรับของคนลาว และเพื่อต่อต้านการแทรกแซงจากอานาจของสยามที่พยายาม เข้ามามีบทบาทอีกครั้งหนึ่งในลาว เมื่อฝรั่งเศสเข้ายึดครองประเทศลาว ฝรั่งเศสไม่เพียงใช้กาลังทางทหารเข้ายึดครองประเทศลาวเท่านั้น แต่ฝรั่งเศสยังยึดครอง ลาวโดยการ ‚ยึดครองหัวใจของคนลาว‛ (กระทรวงแถลงข่าวและวัฒนธรรม. 2000 : 518) หรื อเป็ น ‚เจ้าอาณานิ คมทางปั ญญา‛ ของ ลาวด้วย เพราะฉะนั้น คัมภีร์ใบลานซึ่ งเป็ น ความรู ้ ความคิด ภูมิปัญญา โลกทัศน์ และจักรวาลวิทยาของลาวจึงได้รับความสนใจเป็ น อย่างยิง่ จากอาณานิคมฝรั่งเศส (คาเพา พอนแก้ว. 2549 : สัมภาษณ์ ; กงเดือน เนตตะวง. 2550 : สัมภาษณ์) หรื อเป็ นเจ้าอาณานิ คมทาง ปั ญญาของลาวด้วย 2.1 การสารวจและรวบรวมคัมภีร์ใบลาน เมื่อฝรั่งเศสเข้ายึดปกครองลาวแล้ว การสารวจและรวบรวมคัมภีร์ใบลาน เป็ นกิจกรรมหนึ่ งที่ฝรั่งเศสให้ความสนใจและให้ การสนับสนุน ซึ่ งมีท้ งั ชาวลาวและชาวฝรั่งเศส ได้ทาการสารวจในหัวเมืองใหญ่ ที่หลวงพระบาง เวียงจันทน์ จาปาศักดิ์ และคาม่วน รวมทั้งหมด 7 ครั้ง ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1900 ถึง ค.ศ. 1953 ดังเช่น ในปี ค.ศ. 1900 สารวจโดยเจ้ามหาอุปราชจิตราช ในวัดต่างๆ ที่เมืองหลวง พระบางจานวน 13 วัด พบคัมภีร์ใบลานจานวน 67 เรื่ อง ในปี ค.ศ. 1900-1916 เจ้ามหาอุปราช จิ ตราชร่ วมกับท่านไมเย (Maier) สารวจในวัดต่างๆ ที่เมืองหลวงพระบาง พบคัมภีร์ใบลานจานวน 563 เรื่ อง ปี ค.ศ. 1912 สถาบันค้นคว้าภาคตะวันออกไกลฝรั่งเศส สารวจในวัดที่แขวงคาม่วนพบคัมภีร์ใบลานจานวน 13 เรื่ อง ปี ค.ศ. 1914 เจ้ามหาอุปราชเพชรราช สารวจในวัดต่างๆ ที่เมืองฮอน และ เมืองเชียงลม แขวงหลวงพระบางจานวน 9 วัด พบคัมภีร์ใบลานจานวน 43 เรื่ อง ปี ค.ศ. 1917 Louis Finot (1917) ผูอ้ านวยการสถาบัน ค้นคว้าภาคตะวันออกไกลฝรั่งเศส สารวจในวัดต่างๆ ที่เมืองหลวงพระบาง พบคัมภีร์ใบลานจานวน 1,163 เรื่ อง ปี ค.ศ. 1934-1936 พุทธบัณฑิตสภาจันทบุรี นาพาโดยเจ้ามหาอุปราชเพชรราช สารวจในวัดต่างๆ ในแขวงเวียงจันทน์และแขวงภาคใต้ของประเทศลาว พบ คัมภีร์ใบลานจานวน 526 เรื่ อง ปี ค.ศ.1953 ท่านเดดีเอ (Dedié) สารวจในวัดต่างๆ ที่เมือง หลวงพระบาง พบคัมภีร์ใบลานจานวน 1,300 เรื่ อง6 (สถาบันค้นคว้าศิลปะวรรณคดีแห่งชาติ. 1989 : 195-197) 6

เป็ นที่สงั เกตว่า หลังปี ค.ศ. 1953 ฝรั่งเศสและปั ญญาชนลาวยังให้ ความสนใจในการสารวจและรวบรวมคัมภีร์ใบลานอย่างต่อเนื่อง ดังเช่น ปี ค.ศ. 1958 สารวจโดยท่านเกน (Thao Kéne. 1958) หนึ่งในคณะกรรมการกรมวรรณคดีลาว สารวจที่แขวงเวียงจันทน์ และแขวงอื่นๆ ของประเทศลาว พบคัมภีร์ใบ ลานจานวน 1,163 เรื่อง ปี ค.ศ. 1959 สารวจโดย Pierre-Bernard Lafont (1958) ที่หลวงพระบาง เวียงจันทน์ และจาปาศักดิ์ จานวน 83 วัด พบคัมภีร์ใบ ลานจานวน 1,634 เรื่อง ปี ค.ศ. 1960 สารวจโดยท่านเกน (1960) ที่แขวงเวียงจันทน์ พบคัมภีร์ใบลานจานวน 526 เรื่อง และที่แขวงอื่นๆ ของประเทศลาว พบคัมภีร์ใบลานจานวน 553 เรื่อง และปี ค.ศ. 1973 ราชบัณฑิตสภาลาว สารวจที่หลวงพระบาง เวียงจันทน์ และจาปาศักดิ์ พบคัมภีร์ใบลานจานวน 1,343 เรื่อง (สถาบันค้ นคว้ าศิลปวรรณคดีแห่งชาติ. 1989 : 195-197)


5 จากการสารวจคัมภีร์ใบลานลาวในยุคอาณานิ คมฝรั่งเศส จานวน 11 ครั้ง ที่กล่าวมานี้ เป็ นที่สังเกตได้วา่ รู ปแบบและวิธีการ สารวจนั้น เป็ นการนาคัมภีร์ใบลานในวัดต่างๆ ไปรวม ณ สถานที่ใดหนึ่ ง เช่น สานักพระราชวัง หอสมุด หรื อวัดใดวัดหนึ่ งที่เป็ นวัด ศูนย์กลางของเมืองหรื อแขวงเพื่อทาการสารวจ และเมื่อสารวจเสร็ จแล้ว คัมภีร์ใบลานที่รวบรวมมานั้นส่ วนใหญ่ไม่ได้นาไปคืนวัดเดิม นอกจากนี้ขา้ ราชการฝรั่งเศสยังส่งคัมภีร์ใบลานจานวนหนึ่งที่รวบรวมมานั้น รวมทั้งคัมภีร์ใบลานที่ เก็บจากส่ วย ส่ งไปไว้ที่สถาบันค้นคว้าภาคตะวันออกไกลฝรั่งเศส หอสมุด ศูนย์ขอ้ มูลข่าวสาร ฯลฯ ทั้งในประเทศฝรั่งเศสและใน ประเทศเวียดนาม กล่าวคือ คัมภีร์ใบลานถูกย้ายออกจากพื้นที่และ ถูกเปลี่ยนสถานะ จากเดิมอยูใ่ นวัดหรื ออยูใ่ นบริ บทที่มีความหมาย และความสาคัญในท้องถิ่น ไปอยูใ่ นพื้นที่และบริ บททางสังคมของผูค้ นที่มีวฒั นธรรมแตกต่างจากเดิมมาก คัมภีร์ใบลานได้กลายเป็ น วัตถุหรื อเอกสาร (Museum Object) ที่เก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ และเก็บไว้ในหอสมุดเพื่อคอยบริ การ ผูม้ าชมและผูศ้ ึกษาค้นคว้า 2.2 ส่วยคัมภีร์ใบลาน นอกจากการสารวจและรวบรวมคัมภีร์ใบลานแล้ว ฝรั่งเศสยังให้ความสาคัญกับคัมภีร์ ใบลานในฐานะเป็ นส่ วย กล่าวคือ ในทศวรรษ 1910-1920 หลังจากที่ฝรั่งเศสทาการสารวจคัมภีร์ ใบลานในประเทศลาวได้ระยะหนึ่ ง และทราบว่าทุกวัดที่ได้ทาการ สารวจนั้น มีคมั ภีร์ใบลานจานวนมาก ในช่วงทศวรรษ 1930 ฝรั่งเศสจึงออกคาสั่งให้ทุกหมู่บา้ นหรื อทุกวัดทัว่ ประเทศลาว ‚เสี ยส่ วย‛ (ส่งส่วย) คัมภีร์ใบลานให้แก่ฝรั่งเศส วัดละ 1 เรื่ อง ดังนั้น ในช่วงที่ขา้ ราชการฝรั่งเศสสารวจคัมภีร์ ใบลานที่หลวงพระบาง เวียงจันทน์ และคาม่วน เมื่อฝรั่งเศสสารวจเสร็ จ ก็ได้นาคัมภีร์ใบลานจานวนหนึ่ งไปเก็บไว้ที่ประเทศฝรั่งเศส และประเทศเวียดนามด้วย (บุนยก แสนสุนทอน. 2549 : สัมภาษณ์ ; กงเดือน เนตตะวง. 2550 : สัมภาษณ์) สาหรับแขวงจาปาศักดิ์ เมื่อฝรั่งเศสสารวจคัมภีร์ใบลานเสร็ จ และนอกจากจะนาคัมภีร์ ใบลานจานวนหนึ่ งไปด้วยแล้ว ฝรั่งเศสยังบังคับให้ทุกวัดส่ งส่ วยคัมภีร์ใบลานให้แก่ฝรั่งเศส วัดละ 1 เรื่ อง เมื่อเจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสบังคับประชาชนให้ส่งส่ วยคัมภีร์ ประชาชนมิอาจจะขัดขืนอานาจของฝรั่งเศสได้ จากนั้นข้าราชการฝรั่งเศสได้ขนคัมภีร์ใบลานไปตามทางรถไฟเหมือนกันกับสิ นค้า ประเภทอื่นๆ แล้วขนลงกาปั่ นส่งไปยังประเทศฝรั่งเศส ชาวบ้านเล่าว่า คัมภีร์ใบลานจานวนหนึ่ งจมลงไปในน้ าอย่างน่าเสี ยดาย (บุนยก แสนสุนทอน. 2549 : สัมภาษณ์) การที่ฝรั่งเศสเก็บส่วยคัมภีร์ใบลานจากประชาชนแขวงจาปาศักดิ์เช่นนั้น ประการหนึ่งอาจเป็ นเพราะว่าแขวงจาปาศักดิ์อยูใ่ กล้ ท่าเรื อ มีความสะดวกในการขนส่ง เพราะการขนส่ งสิ นค้าและวัตถุสิ่งของต่างๆ ที่เก็บได้จากส่ วย จากภาษี ฯลฯ ไปยังประเทศฝรั่งเศส ขณะนั้นต้องส่ งไปทางเรื อที่ จาปาศักดิ์ เท่านั้น และถ้าจะเก็บคัมภีร์ใบลานจากแขวงอื่นๆ แล้วขนส่ งไปยังแขวงจาปาศักดิ์ ก็มีความ ลาบาก เพราะการคมนาคมในประเทศลาวช่วงนั้นทั้งทางบกและทางน้ าตั้งแต่เหนื อถึงใต้ ยังไม่สะดวก อีกประการหนึ่ งอาจเป็ นเพราะ ผูป้ กครองท้องถิ่นจาปาศักดิ์มีสถานะเป็ นเจ้าครองนคร ไม่เหมือนที่หลวงพระบางที่ยงั มีพระมหากษัตริ ยเ์ ป็ นประมุข และที่เวียงจันทน์มี เจ้ามหาอุปราช เพชรราช ซึ่งมีตาแหน่งเป็ น ‚เจ้ามหาอุปราช‛ เป็ นที่ปรึ กษาผูส้ าเร็ จราชการฝรั่งเศสประจาประเทศลาว และเป็ นผูต้ รวจ ราชการแผ่นดินของประเทศลาวประจาอยูท่ ี่นครเวียงจันทน์ ข้าราชการฝรั่งเศส มีความเกรงใจและให้ความเคารพนับถือ ในช่วงแรกเริ่ มของการเข้ายึดครองลาวของฝรั่งเศส หรื อช่วงที่ยงั ไม่มีสนธิ สัญญาระหว่างฝรั่งเศสและสยาม พื้นที่แขวงจาปา ศักดิ์อยูห่ ่างไกลจากอานาจของทั้งฝรั่งเศสและสยาม และเป็ นพื้นที่ ‚ช่วงชิง‛ ระหว่างสองประเทศ เมื่อฝรั่งเศสได้พ้ืนที่แขวงจาปาศักดิ์ ฝรั่งเศสจึงมีอานาจเบ็ดเสร็ จในการจัดการการปกครอง และบังคับประชาชน เกณฑ์แรงงาน เก็บภาษี เก็บส่วยให้มากเท่าที่จะมากได้ ช่วง ปลายทศวรรษ 1930 ฝรั่งเศสต้องการสื บต่อเก็บส่วยคัมภีร์ใบลานที่แขวงจาปาศักดิ์อีก โดยให้เหตุผลว่าพระสงฆ์ก็เหมือนกันกับชาวบ้าน ทัว่ ไปต้องเสี ยส่ วยเช่ นกัน (บุ นยก แสนสุ นทอน. 2549 : สัมภาษณ์) แต่เมื่อฝรั่งเศสจะเก็บส่ วยคัมภีร์ใบลานที่ แขวงจาปาศักดิ์ อี ก ชาวบ้านเล่าว่า สมเด็จลุน7 ไม่ยอม และยังบอกให้ชาวบ้านพร้อมด้วยพระสงฆ์สามเณรทัว่ แขวงจาปาศักดิ์ว่า ไม่ตอ้ งเสี ยส่ วยคัมภีร์ใบ ลานให้ฝรั่งเศสอีก เพราะพระสงฆ์สามเณรไม่มีรายได้ อาศัยฉันข้าวกับชาวบ้าน คัมภีร์ใบลานคือพระพุทธพระธรรม ไม่ใช่วตั ถุสิ่งของ เจ้ าอาวาสวัดบ้ านคอน เมืองจาปาศักดิ์ แขวงจาปาศักดิ์ เป็ นบุคคลที่ประชาชนแขวงจาปาศักดิ์ร้ ูจกั ดีวา่ ท่านมีความรู้ด้านคาถาอาคมมาก 7


6 จะนามาเสี ยส่วยไม่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม ข้าราชการฝรั่งเศสก็ไม่สนใจ ยังจะบังคับเก็บคัมภีร์ใบลานให้ได้ ในที่สุดสมเด็จลุนทนไม่ไหว จึงได้ต่อสูก้ บั เจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสโดยใช้ความรู ้ดา้ นคาถาอาคมที่ท่านได้ศึกษาเล่าเรี ยนจากคัมภีร์ ใบลาน โดยแสดงอิทธิ ปาฏิหาริ ย ์ ให้ขา้ ราชการฝรั่งเศสได้เห็นเป็ นประจักษ์ และก่อนหน้าที่ท่านจะแสดงอิทธิปาฏิหาริ ยน์ ้ นั ท่านได้สั่งให้ประชาชนทัว่ แขวงจาปาศักดิ์วา่ ถ้าฝรั่ งเศสต้องการคัมภี ร์ให้ไปเอากับท่ าน อยู่มาวันหนึ่ ง ในช่ วงที่ ขา้ ราชการฝรั่ งเศสพยายามจะเก็บส่ วยคัมภี ร์ใบลานเพิ่มอี กนั้น ชาวบ้านพร้อมด้วยพระสงฆ์สามเณรไม่ยอมให้ พร้อมทั้งกล่าวต่อข้าราชการฝรั่งเศสดังที่สมเด็จลุน สัง่ ไว้ เมื่อสมเด็จลุนรู ้วา่ ข้าราชการ ฝรั่งเศสจะเข้าไปวัดบ้านคอน สมเด็จลุนจึงดึ่มเหล้า เมื่อข้าราชการฝรั่งเศสเข้าไปวัดบ้านคอนเห็นสมเด็จลุนกาลังดึ่มเหล้าอยู่ ข้าราชการ ฝรั่งเศสจึงจะคุมตัวท่านไปกักขัง แต่ท่านกล่าวบอกให้ขา้ ราชการฝรั่งเศสลองดึ่มน้ าในขวดดู ปรากฏว่าน้ าในขวดเป็ นน้ าหวานไม่ใช่น้ า เหล้า ขณะเดี ยวกันสมเด็จลุนได้บอกให้ขา้ ราชการฝรั่งเศสลงไปตักน้ าในแม่น้ าโขงมา แล้วให้ขา้ ราชการฝรั่งเศสดึ่ม ปรากฏว่าเป็ นน้ า เหล้า จนทาให้ขา้ ราชการฝรั่งเศสมืนเมาไม่รู้สึกตัว (บุนยก แสนสุนทอน. 2549 : สัมภาษณ์ ) ชาวบ้านเล่าต่อว่า ต่อมาข้าราชการฝรั่งเศสนิ มนต์สมเด็จลุนไปประเทศเขมร โดยจะพาท่าน ขี่กาปั่ นไป พอลงไปท่าเรื อ ท่าน กล่าวต่อข้าราชการฝรั่งเศสว่า ท่านไม่เคยขี่กาปั่ นกลัวกาปั่ นจมน้ า ข้าราชการฝรั่งเศสกล่าวต่อท่านว่า กาปั่ นลาใหญ่ บรรทุกสิ นค้าได้ หลายตัน คนขี่ได้เป็ นร้อย ไม่จมน้ าง่ายๆ พอข้าราชการฝรั่งเศสกล่าวเสร็ จ สมเด็จลุนก็กา้ วเหยียบไม้กระดานพาดขอบเรื อลงไปหากาปั่ น แต่เดินได้กา้ วเดียว ขอบกาปั่ นข้างที่ไม้กระดานพาดอยูเ่ กือบจมน้ า สมเด็จลุนจึงถอยก้าวกลับคืน ส่ วนข้าราชการฝรั่งเศสทั้งอยูใ่ นกาปั่ น และอยูท่ ี่ท่าเรื อพากันงุนงง ตกใจ เพราะไม่เคยเห็นปรากฏการณ์เช่นนี้มาก่อน จากนั้นสมเด็จลุนบอกข้าราชการฝรั่งเศสว่าให้ขี่กาปั่ นไป ก่อนแล้วค่อยไปพบกันที่ท่าเรื อบ้านขี้นาก เมื่อข้าราชการฝรั่งเศสไปถึงท่าเรื อบ้านขี้นาก ได้เห็นสมเด็จลุนรออยูท่ ี่ท่าเรื อบ้านขี้นากแล้ว ข้าราชการฝรั่งเศสจึ งพากันเกรงกลัวสมเด็จลุน ต่อมามีหลายเหตุการณ์ที่ สมเด็จลุนแสดงอิทธิ ปาฏิหาริ ยใ์ ห้ขา้ ราชการฝรั่งเศสเห็ น ข้าราชการฝรั่งเศสจึงไม่กล้าเก็บส่ วยคัมภีร์ใบลานจากชาวบ้านอีก หากสมเด็จลุนไม่ขดั ขืน คัมภีร์ใบลานอีกหลายกาปั่ นอาจจะถูกขน ออกจากประเทศลาวไปยังประเทศฝรั่งเศส (บุนยก แสนสุนทอน. 2549 : สัมภาษณ์) สาหรับฝรั่งเศสแล้ว เบื้องหลังความคิดของการเก็บส่ วยคัมภีร์ใบลานก็คือ ฝรั่งเศสต้องการยึดความรู ้ เป็ น ‚เจ้าอาณานิ คมทาง ปั ญญา‛ ของลาว กล่าวคือ ต้องการนาคัมภีร์ใบลานไปศึกษา ทาความเข้าใจ ความรู ้ ความคิด ภูมิปัญญา และสังคมวัฒนธรรมของลาวที่ บันทึกอยูใ่ นคัมภีร์ใบลาน เพื่อจะได้ปกครองลาวง่ายขึ้น หรื อสามารถปกครองอยูเ่ หนือปั ญญาของคนลาวได้ เกี่ยวกับเบื้องหลังความคิด ดังกล่าวของฝรั่งเศสได้ปรากฏให้เห็นเป็ นประจักษ์ประการหนึ่ งก็คือ ในช่วงที่หลังจากฝรั่งเศสพยายามจะเก็บส่ วยคัมภีร์ใบลานนั้นไม่ นาน ที่วดั บ้านคอน เมืองจาปาศักดิ์ แขวงจาปาศักดิ์ ซึ่ งเป็ นวัดที่สมเด็จลุนจาพรรษาอยู่ มีชาวฝรั่งเศสบวชชีเรี ยนภาษาบาลี-สันสกฤต หนังสื อธรรมและหนังสื อลาว (บุนยก แสนสุ นทอน. 2549 : สัมภาษณ์) นัน่ คือหนึ่ งในหลายๆ กิจกรรมที่ปฏิบตั ิดาเนิ นงานอยูภ่ ายใต้ แนวคิดอุดมการณ์ดงั กล่าว นอกจากนี้ที่ประเทศเวียดนามซึ่งเป็ นศูนย์กลางของอินโดจีนฝรั่งเศส ได้มีสถาบันค้นคว้าภาคตะวันออกไกล ฝรั่งเศสประจาอินโดจี น และมีนักวิชาการฝรั่งเศสศึ กษาค้นคว้าเกี่ ยวกับสังคมวัฒนธรรมของประเทศในอิ นโดจี น และในประเทศ ฝรั่งเศส โดยเฉพาะในโรงเรี ยนอาณานิคม (École Coloniale) ได้มีการสอนเกี่ยวกับพุทธศาสนา ภาษา และสังคมวัฒนธรรมของประเทศ ในอินโดจีน ซึ่งนอกจากส่งคนลาวไปเรี ยนภาษาฝรั่งเศส และเรี ยนความรู ้วิทยาศาสตร์ วิทยาการสมัยใหม่แล้ว คนฝรั่งเศสเองก็พยายาม ศึกษา เรี ยนรู ้ ภาษาลาว ภาษาบาลี-สันสกฤต หนังสื อธรรม หนังสื อลาว และสังคมวัฒนธรรมของลาวกับคนลาวซึ่ งถูกส่ งไปรับราชการ อยูท่ ี่ประเทศฝรั่งเศส หรื อส่งไปเป็ นครู สอนอยูท่ ี่โรงเรี ยนแห่ งนี้ และแห่ งอื่นๆ ด้วยนั้น จากนั้นข้าราชการฝรั่งเศสที่ได้เรี ยนรู ้ภาษา และ สังคมวัฒนธรรมของลาว (หรื อประเทศอาณานิ คมอื่นๆ ของฝรั่งเศส) ได้ถูกส่ งไปเป็ นผูป้ กครองในระดับต่างๆ ที่ ประเทศลาว หรื อ ประเทศอาณานิคมอื่นๆ ของฝรั่งเศส (กงเดือน เนตตะวง. 2550 : สัมภาษณ์) 2.3 การปริ วรรตคัมภีร์ใบลานและการสร้างอัตลักษณ์ลาวในยุคอาณานิคม สื บเนื่องมาจากความต้องการของเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศส เกี่ยวกับการศึกษาเพื่อรู ้และเข้าใจสังคมวัฒนธรรมของบรรดาประเทศ ในอินโดจีนฝรั่งเศส โดยเฉพาะสังคมวัฒนธรรมของลาว เพื่อให้ง่ายต่อการปกครอง และเพื่อรู ้เท่าทันภูมิปัญญาของลาว Louis Finot ผูอ้ านวยการสถาบันศึกษาภาคตะวันออกไกลฝรั่งเศสประจาอินโดจีน ทั้งเป็ นผูร้ ับผิดชอบการศึกษาเกี่ยวกับวัฒนธรรมของประเทศใน อินโดจี น ซึ่ งทาให้ Louis Finot ทราบข้อมูลเบื้ องต้นเกี่ ยวกับวัฒนธรรมลาว โดยเฉพาะเกี่ ยวกับคัมภีร์ใบลาน และพุทธศาสนาใน


7 ประเทศลาว โดยทราบว่า การศึกษาทางพุทธศาสนาของลาวในช่วงทศวรรษ 1910-1920 นั้น อยูใ่ นแบบฉบับของสยาม8 ดังนั้นฝรั่งเศส จึงพยายามอย่าง เต็มที่เพื่อเปลี่ยนแปลงการศึกษาพุทธศาสนาของลาวให้แตกต่างไปจากแบบฉบับของสยาม ให้เป็ นแบบฉบับของอิน โดจีนฝรั่งเศส หรื อให้ประเทศอาณานิคมของตนที่นบั ถือพุทธศาสนาเถรวาทในลาวและเขมรหันหน้าเข้าหาซึ่ งกันและกัน (กรานท์ เอ แวนส์. 2006 : 75) ปี ค.ศ. 1929 ฝรั่ งเศสได้เริ่ มฟื้ นฟูพุทธศาสนาและการศึ กษาทางพุทธศาสนาในประเทศลาว เช่ น สถาบันการศึ กษาภาค ตะวันออกไกลฝรั่งเศสได้ออกข้อกาหนดเกี่ยวกับการอนุรักษ์โบราณสถาน โบราณวัตถุ วัดวาอาราม พระพุทธรู ป พระธาตุเจดีย ์ (สิ ลา วี ระวงส์. 2001 : 249) และได้ส่งพระสงฆ์ลาวไปศึกษาที่ประเทศเขมร เพราะฝรั่งเศสได้สนับสนุนสร้างตั้งสถาบันพุทธศาสนาขึ้นก่อน แล้วที่ประเทศเขมรในปี ค.ศ. 1930 ต่อมาในปี ค.ศ. 1931 ฝรั่งเศสได้สนับสนุนจัดตั้งสถาบัน การศึกษาทางพุทธศาสนาขึ้นที่เวียงจันทน์ โดยเจ้าเพชรราชเป็ นประธาน พร้อมกันนี้ ได้สร้างตั้งโรงเรี ยนบาลี โรงเรี ยนช่างศิ ลป์ และหอสมุดแห่ งประเทศลาวขึ้ น แล้วทาการ รวบรวมคัมภีร์ใบลาน มาไว้ที่หอสมุดในขณะเดียวกันได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการชุดหนึ่ งขึ้นมา เรี ยกว่า ‚พุทธบัณฑิตสภาจันทบุรี‛ ประกอบด้วย 10 คน โดยมีเจ้าเพชรราชเป็ นนายก และมหาสิ ลา วีระวงส์ เป็ นกรรมการและเลขานุการ (สิ ลา วีระวงส์. 1995 : 32) ซึ่ ง ทั้งโรงเรี ยนบาลี โรงเรี ยนช่างศิลป์ และหอสมุดได้ข้ ึนตรงต่อ ‚พุทธบัณฑิตสภาจันทบุรี‛ นี้ท้ งั หมด ด้วยการสนับสนุนของฝรั่งเศสที่ตอ้ งการจะเปลี่ยนแปลงการศึกษาทางพุทธศาสนาของลาวออกจากแบบฉบับของสยาม และ ขณะเดียวกันกลุ่มปั ญญาชนลาว ซึ่งมีเจ้ามหาอุปราชเพชรราชทรงสนับสนุนส่ งเสริ มอนุรักษ์วฒั นธรรมเดิมของลาวเป็ นพื้นฐาน และยัง ส่งเสริ มฟื้ นฟูพทุ ธศาสนามาโดยตลอดก่อนที่ฝรั่งเศสจะมาให้การสนับสนุนนั้น จึงได้เปิ ดการประชุมปรึ กษาหารื อเพื่อปรับปรุ ง ภาษา ลาวขึ้นอย่างเร่ งด่วน รวมทั้งสร้างคู่มือการสอนภาษาลาว ไวยากรณ์ลาว และสร้างคู่มือการสอนภาษาบาลีดว้ ย ดังนั้นในช่วงต้นทศวรรษ 1930 จึงเป็ นช่วงของการปรับปรุ งภาษาลาวเพื่อให้สามารถศึกษาได้ท้ งั ทางธรรมและทางโลก ในขณะที่มีการปรับปรุ งภาษาลาวนั้น ได้มีการปริ วรรตคัมภีร์ใบลานเป็ นภาษาลาวสมัยใหม่ และนาไปพิมพ์ในรู ปแบบสิ่ งพิมพ์ สมัยใหม่ โดยในช่วงแรกเริ่ ม คัมภีร์ใบลานที่นามาปริ วรรตจะมีเป็ นนิ ทานชาดกต่างๆ เช่น เรื่ อง ท้าวเตเม (ค.ศ. 1932) ท้าวสุ วนั นะสาม (ค.ศ. 1932) ท้าวมหาชนก (ค.ศ. 1933) ฯลฯ เรื่ องเหล่านี้ เป็ นเรื่ องเกี่ยวกับอดีตชาติของพระพุทธเจ้า เป็ นเรื่ องเกี่ยวกับการให้ทาน ความ เมตตา กรุ ณา ความเพียรพยายาม ความอดทน บุญ กรรม ความดี ความชัว่ นรก สวรรค์ ฯลฯ ซึ่ งไม่มีเนื้ อหาต่อต้านฝรั่งเศส ตรงกันข้าม เจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสให้การสนับสนุนส่ งเสริ ม การใช้ความรู ้และเนื้ อหาในคัมภีร์นิทานชาดกต่างๆ นี้ อบรมกล่อมเกลาประชาชน ลาวเพื่อให้มี ความอ่อนน้อมถ่อมตนต่อเจ้านาย หรื อมีความยินดีรับใช้ฝรั่งเศสเสมือนว่าตนไม่ถูกบังคับ พร้อมกันนี้ ฝรั่งเศสยังตีความ เกี่ยวกับเรื่ อง ความดี-ความชัว่ ในพุทธศาสนาว่า ทุกคนจะดีหรื อชัว่ แล้วแต่โชคชะตา ไม่ข้ ึนอยูก่ บั การกระทา (กรรม) ความดี ความชัว่ เกิดขึ้นเอง (กระทรวงแถลงข่าวและวัฒนธรรม. 2000 : 570) สาหรับปั ญญาชนลาว การปริ วรรตคัมภีร์นิทานชาดก หรื อวรรณคดีเรื่ องต่างๆ ของลาวในช่วงแรกเริ่ มนั้น มีวตั ถุประสงค์เพื่อ ปรับปรุ งภาษาลาวสมัยใหม่ เพื่อฟื้ นฟูพทุ ธศาสนา และเพื่อเผยแพร่ วรรณคดี วรรณกรรม รวมทั้งวัฒนธรรมของลาวที่บนั ทึกในคัมภีร์ใบ ลาน ให้ประชาชนลาวทัว่ ไปได้อ่าน ได้ฟัง ได้รับรู ้ และช่วยกันรักษาวรรณคดี และคติธรรมอันล้ าค่าเอาไว้ เพื่อเป็ นมรดกตกทอดไปถึง อนุชนคนรุ่ นหลังต่อไป (กรมวรรณคดี. 1958 : คานา) อย่างไรก็ตาม เป็ นที่ สังเกตว่า การปริ วรรตคัมภีร์ใบลานลาวในช่ วงทศวรรษ 1930 และช่ วงทศวรรษ 1940 มีความหมาย แตกต่างกัน ทั้งนี้ ข้ ึนอยูก่ บั สถานการณ์ทางการเมืองทั้งภายในและภายนอกประเทศที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงด้วย กล่าวคือ ในปี ค.ศ. 1938 ช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ฝรั่งเศสใกล้จะแพ้สงครามจากการบุกโจมตีของกองทัพเยอรมัน ขณะเดียวกันรัฐบาลไทย ภายใต้การนาของจอมพล ป. พิบูลสงครามก็เตรี ยมการจะทวงเอาดินแดนที่เคยเป็ นเมืองขึ้นของสยามกลับคืนมา และมีจุดประสงค์จะ รวมประเทศให้เป็ นปึ กแผ่นและยิ่งใหญ่ภายใต้ คาว่า ‚ไทย‛ พร้อมกันนี้ ยงั มีจุดมุ่งหมายรวมคนเชื้อชาติ ‚ไท‛ (ไต) ทั้งในพม่าและใน อินโดจีนให้เป็ น ‚คนไทย‛ จึงได้ทาการรณรงค์ภายใต้คาว่า ‚ไทยรวมไทย‛ โดยการสนับสนุนจากญี่ปุ่น (Gunn. 1988 : 99) 8

การฟื น้ ฟูพทุ ธศาสนา ได้ เริ่มกระทามาโดยปั ญญาชนลาวตังแต่ ้ ปี ค.ศ. 1916 อยูท่ ี่สานักพระรางวังพระนครเวียงจันทน์ (บริเวณหอคาปั จจุบนั ) นาพาโดย

มหาแก้ ว ราชวงศ์ไช ซึง่ จบเปรียญ 3 จากสยาม (กระทรวงแถลงข่าวและวัฒนธรรม. 2000 : 564 ; สิลา วีระวงส์. 1995 : 31).


8 ในช่วงปี ค.ศ. 1940 ถึงต้นปี ค.ศ. 1945 ฝรั่งเศสถูกข่มขูจ่ ากญี่ปุ่น ญี่ปุ่นมีความทะเยอทะยานอยากเป็ นใหญ่ในเอเชีย จึงเข้ายึด ประเทศในอินโดจีนโดยใช้เวลาเพียง 24 ชัว่ โมงเท่านั้น และได้เข้ายึดเวียงจันทน์ในวันที่ 10 มีนาคม 1945 พร้อมทั้งขับไล่ฝรั่งเศสออก จากประเทศลาว หลังจากนั้นเพียง 4 เดื อน (ในเดื อนสิ งหาคม 1945) ฝรั่งเศสก็กลับเข้ามายึดครองประเทศลาวอีกครั้งในช่วงหลัง สงครามโลกครั้งที่ 2 และขับไล่ญี่ปุ่นออกจากประเทศลาว ดังนั้นในช่วงที่ฝรั่งเศสกลับเข้ามาปกครองลาวอีกครั้งนี้ ฝรั่งเศสจึงเร่ งสร้าง โรงเรี ยนเพิม่ ขึ้นโดยระดมคนรุ่ นหนุ่มลาวเข้าศึกษาในโรงเรี ยนที่ฝรั่งเศสสร้างขึ้น เพื่อเป็ นกาลังต่อต้านญี่ปุ่น และเพื่อรักษาประเทศลาว ไว้ภายใต้การปกครองของตนต่อไป (กระทรวงแถลงข่าวและวัฒนธรรม. 2000 : 567) สาหรับประเทศไทย ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้น วันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 1941 จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ประกาศ สงครามกับฝรั่งเศส โดยฝ่ ายไทยได้เข้ายึดแขวงไชยบุรีและจาปาศักดิ์ (ซึ่ งอยูฝ่ ั่งขวาของแม่น้ าโขง) รวมไปถึงเมืองพระตะบองและ เสี ยมเรี ยบของเขมร (Gunn. 1988 : 99) พร้อมกันนี้ท้ งั ฝรั่งเศสและไทยต่างก็ใช้เครื่ องบินทิ้งระเบิดตามชายแดนลาว-ไทยหลายพื้นที่ ทา ให้ประชาชนที่อาศัยอยูร่ ิ มสองฝั่งแม่น้ าโขงล้มตายเป็ นจานวนมาก รวมทั้งอาคารบ้านเรื อน ทรัพย์สินต่างๆ ฯลฯ ถูกทาลายจากสงคราม ในครั้งนั้น คนลาวที่อาศัยอยูร่ ิ มสองฝั่งแม่น้ าโขง กลับเกลียดชังร้องด่ากันเหมือนกับว่าไม่ใช่ญาติพี่นอ้ งกัน เช่น คนลาวที่อยูร่ ิ มฝั่งขวา แม่น้ าโขงร้องด่าคนลาวที่อยูร่ ิ มฝั่งซ้ายแม่น้ าโขงว่า ‚หมาฝรั่ง‛ และคนลาวที่อยูร่ ิ มฝั่งซ้ายแม่น้ าโขงก็ร้องด่าคนลาวที่อยูร่ ิ มฝั่งขวาแม่น้ า โขงว่า ‚หมาข้อยไทย‛ (สิ ลา วีระวงส์. 2001 : 259) ขณะเดียวกันไทยได้โฆษณารณรงค์ต่อต้านอานาจฝรั่งเศสในอินโดจีน รวมทั้งเรี ยกร้องดินแดนที่ไทยอ้างว่าเคยเป็ นของสยาม มาก่อนกลับคืน และเรี ยกร้องประชาชนในอินโดจีนให้รวมเข้าไปเป็ น ‚ไทย‛ ดังคาว่า ‚หากพวกเขาจะย้ายกลับมาอยูใ่ นมาตุภูมิไทย ก็ จะได้รับการช่วยเหลือจาก ชาวไทย‛ (อาทร ฟุ้ งธรรมสาร. 2527 : 9-10) นอกจากนี้ยงั มีการแจกจ่ายใบปลิวแก่ประชาชนในดินแดนที่ ไทยอ้างว่าเป็ นของสยามให้ต่อต้านฝรั่งเศส (Gunn. 1988 : 99) และมีการกระจายเสี ยงผ่านวิทยุกระจายเสี ยง เช่น มีการจัด ‚รายการ สนทนาของนายมัน่ ชูชาติ และ นายคง รักไทย‛ ซึ่งเป็ นรายการสนทนาทางวิทยุที่มีบทบาทสาคัญในการเป็ นกระบอกเสี ยงให้แก่รัฐบาล ไทยในช่วงเรี ยกดินแดนคืนในปี ค.ศ. 1940 เป็ นอย่างมาก (ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. 2544 : 386) มีการแต่งเพลง ปลุกใจ เช่น เพลง ‚ข้าม โขงมาสู่ไทย‛ โดยหลวงวิจิตรวาทการ และจัดตั้งสถานีวทิ ยุเคลื่อนที่ 12 สถานี ทาการกระจายเสี ยงทั้งภาคภาษาลาว เขมร และญวน ข้าม ไปยังอินโดจีน จากพรมแดนเหนื อสุ ดที่อาเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย จนถึงอาเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด อีกทั้งยังขยายเครื อข่าย สถานีวทิ ยุเขต 1 ที่จงั หวัดหนองคายเพื่อคลอบคลุมถึงจังหวัดเลย อุดรธานี สกลนครและนครพนม เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนใน อินโดจีนต่อต้านฝรั่งเศส (ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. 2544 : 388) จากการรณรงค์ของฝ่ ายไทยทาให้ทหารที่อยูฝ่ ั่งซ้ายแม่น้ าโขงจานวนหนึ่ ง ข้ามไปยังฝั่งขวาแม่น้ าโขง (สิ ลา วีระวงส์. 2001 : 259) ส่วนฝรั่งเศส เมื่อลัทธิ ‚ไทยเป็ นใหญ่‛ (Pan-Thai) แผ่ขยายเข้าไปในอินโดจีน อันเป็ น การท้าทายสถานะและอานาจของ ฝรั่งเศสในอินโดจีนจึงทาให้ฝรั่งเศสจาเป็ นต้องนิ ยามความหมาย ‚ความเป็ นลาว‛ (Lao-ness) เพื่อสร้าง ‚อัตลักษณ์ลาว‛ (Lao Identity) ให้แตกต่างจาก ‚ไทย‛ หรื อใช้ต่อสู ้กบั ไทย ดังนั้น ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1941 พลเรื อเอก Jean Decoux ผูส้ าเร็ จราชการฝรั่งเศสประจา อินโดจีนจึงประกาศและออกคาสัง่ ให้ปฏิบตั ิแผนการที่มีชื่อว่า ‚โครงการปฏิรูปลาวเพื่อฟื้ นฟูชาติ‛ ซึ่ งมีเป้ าหมายหลักสองประการ คือ ประการแรก ต้องการสร้างอัตลักษณ์ลาว ไม่ใช่เพื่อคนลาวเอง แต่เพื่อต้องการจะรวมลาวเข้าในสหพันธ์อินโดจี น และทาให้ลาวเป็ น สมาชิกที่มีศกั ยภาพใน การพัฒนาสหพันธ์รัฐอินโดจีน ประการที่สอง ฝรั่งเศสต้องการต่อต้านลัทธิ ‚ไทยเป็ นใหญ่‛ ของ จอม พล ป. พิ บู ล สงคราม ที่ ต ้อ งการรวมลาวเข้า ไปเป็ นไทย ด้ว ยการอ้า งว่า ดิ น แดนลาวเคยเป็ นของสยามมาก่ อ น อย่า งไรก็ ต าม ใน ขบวนการสร้างอัตลักษณ์ลาว ซึ่งหนึ่งในกิจกรรมสาคัญก็คือการฟื้ นฟูคมั ภีร์ใบลาน ได้กลายเป็ นพื้นที่แห่ งการช่วงชิงความหมาย และ เป็ นพื้นที่แห่งความขัดแย้งระหว่างประชาชนลาวโดยเฉพาะปัญญาชนลาวกับข้าราชการฝรั่งเศส โดยฝรั่งเศสได้รณรงค์ประชาชนลาวให้ ปฏิบตั ิคาขวัญต่างๆ เช่น ‚ความดุมนั่ [ขยัน] -ครอบครัว-ชาติ‛ ‚เตรี ยมพร้อมรับใช้ชาติแม่‛ ‚ลาวในสหพันธ์ฝรั่งเศส‛ และอื่นๆ พร้อม กันนี้ฝรั่งเศสได้จดั ตั้งสถานีวทิ ยุกระจายเสี ยง และหนังสื อพิมพ์ ‚ลาวใหญ่‛ ขึ้นในปี ค.ศ. 1941 เพื่อต่อต้าน ‚ลัทธิ ไทยใหญ่‛ และยุยงให้ คนลาวเกลียดไทย ระมัดระวังต่อญี่ปุ่น ให้รักชาติ เคารพบูชาคนฝรั่งเศส และรู ้บุญคุณฝรั่งเศส (กระทรวงแถลงข่าวและวัฒนธรรม. 2000 : 573-575) ในช่วงเวลาของการสร้างอัตลักษณ์ลาวโดยฝรั่งเศสนั้น นอกจากสื่ อวิทยุแล้ว สื่ อสิ่ งพิมพ์สมัยใหม่ได้มีบทบาทสาคัญ และ ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ ว ในช่วงนั้นประการสาคัญ ความรู ้วฒั นธรรมดั้งเดิมของลาว โดยเฉพาะความรู ้วฒั นธรรมที่บรรจุในคัมภีร์ใบ


9 ลานได้นามาปริ วรรต และจัดพิมพ์เผยแพร่ ในหน้าหนังสื อพิมพ์ ‚ลาวใหญ่‛ มากขึ้น และมีความหลากหลายในด้านเนื้ อหา เช่น มีท้ งั นิทานชาดก ประเพณี พิธีกรรม คาสอน ตานาน ประวัติศาสตร์ และอื่นๆ เป็ นที่สังเกตได้วา่ นอกจากจะมีการปริ วรรตคัมภีร์ใบลานที่มี เนื้ อหาทางประวัติศาสตร์ เช่น ‚พื้นขุนบรมราชาธิ ราช‛ ‚พื้นเมื องหลวงพระบาง‛ ‚พื้นเมืองพวน‛ ‚พื้นเมื องจาปาศักดิ์ ‛ ‚พื้นเมื อง เวียงจันทน์‛ ‚ตานานอุรังคธาตุ ‛ ‚ตานานพระบาง‛ ‚ตานานพระแก้วมรกต‛ ‚ตานานพระแทรกคา‛ และอื่ นๆ แล้ว ยังมี การเขี ยน ‚ประวัติศาสตร์ สมัยใหม่‛ ของลาว โดยเรี ยบเรี ยงเขียนขึ้นด้วยการตัดเนื้ อหา ข้อมูลที่ เป็ นเรื่ องเกี่ยวกับสิ่ งเหนื อธรรมชาติออก ทาให้ ประวัติศาสตร์ลาว ‚เป็ น‛ ประวัติศาสตร์ที่มีฉบับเดียว ตัวอย่างเช่น ‚พงศาวดารลาว‛ เขียนโดยมหาสิ ลา วีระวงส์ ในขณะที่ดารงตาแหน่งเป็ นเลขานุการคณะกรรมการกรมวรรณคดี พงศาวดารเล่มนี้พิมพ์ในปี ค.ศ. 1957 และถือว่าเป็ นประวัติศาสตร์เล่มแรกของรัฐชาติลาวสมัยใหม่ การเขียน ‚พงศาวดารลาว‛ ของมหา สิ ลา วีระวงส์ มีวตั ถุประสงค์ที่จะสร้างสานึ กชาตินิยมให้เกิดแก่ประชาชนลาว เรี ยกร้องประชาชนลาวให้มีน้ าใจ รักชาติ ดังปรากฏ ในหน้าคานาพงศาวดารเล่มนี้วา่ ‚... การเรี ยนประวัติศาสตร์ หรื อ พงศาวดารของชาติ เป็ นทางจูงใจให้เกิดความรักชาติอย่างแก่กล้า...สมัยนี้เรา ทั้งหลายพวม [กาลัง] ทาการฟื้ นฟูประเทศชาติ เพื่อให้เราเป็ นชาติที่อยูไ่ ด้ และให้เจริ ญทันชาติอื่น ดังนั้น การเรี ยนรู ้ พงศาวดารของชาติตน จึงเป็ นการจาเป็ นและสาคัญยิง่ เพราะความรักชาติอย่างแก่กล้าแท้จริ งนั้นเกิดจากการเรี ยนรู ้ ประวัติศาสตร์ หรื อ พงศาวดารของชาติน้ นั เอง ...‛ (กระทรวงศึกษาธิการ. 1967 : ก) อย่างไรก็ตาม ‚พงศาวดารลาว‛ ที่เขียนโดยมหาสิ ลา วีระวงส์ แม้วา่ เขียนขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1953 จนถึงปี ค.ศ. 1957 (หรื อ หลังจากที่ประเทศลาวประกาศเอกราชจากฝรั่งเศสอย่างสมบูรณ์ ในวันที่ 22 ตุลาคม ค.ศ. 1953 แล้ว) กระทรวงศึกษาธิ การจึงได้ นามาจัดพิมพ์เป็ นครั้งแรก เพราะก่อนหน้านั้น แม้ฝรั่งเศสจะส่ งเสริ มสร้างอัตลักษณ์ลาว และสร้างสานึ กในความเป็ นลาวให้แก่คนลาว แต่ฝรั่งเศสไม่สนับสนุนงานเขียนที่มีเนื้อหาต่อต้านฝรั่งเศส (กระทรวงแถลงข่าวและวัฒนธรรม. 2000 : 675) โดยเฉพาะเรื่ องที่มีเนื้ อหา เกี่ยวกับการต่อสูข้ องผูไ้ ม่มีอานาจกับผูม้ ีอานาจ เช่น เรื่ องเชียงเหมี่ยง เสี ยวสวาด ท้าวเหลาคา สาส์นลึพสูญ ฯลฯ แต่หลังจากประเทศลาว ได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสอย่างสมบูรณ์แล้ว คัมภีร์ใบลานหลายเรื่ องจึงถูกนามาปริ วรรต พิมพ์เผยแพร่ และนาไปสู่ การสร้างสานึ กความ เป็ นชาติลาวให้แก่คนลาว ต่อสู ้กบั จักรวรรดิ นิยม โดยเฉพาะต่อสู ้กบั สหรัฐอเมริ กาที่เข้ามามีอานาจในลาวช่วงทศวรรษ 1960 ถึงต้น ทศวรรษ 1970 อย่างเห็นได้ชดั ยกเว้นคัมภีร์ใบลานเรื่ อง ‚พื้นเมืองเวียงจันทน์‛ ซึ่ งเป็ นเรื่ องเกี่ยวกับการต่อสู ้ของเจ้าอนุวงศ์เพื่อ ปลด แอกออกจากสยาม ภายในเรื่ องกล่าวถึงการเผาทาลายเมืองเวียงจันทน์ของสยาม กล่าวถึงความขมขื่น ความลาบาก และความเจ็บปวด ทรมานของประชาชนสองฝั่งแม่น้ าโขงที่ถูกเกณฑ์แรงงาน ถูกกวาดต้อนให้พลัดพรากจากบ้านเกิดเมืองนอน ถูกบังคับให้ทางานหนัก ถูกบังคับให้ สักเลก และอื่นๆ (ประทีบ ชุมพล. 2525) ในช่วงต้นทศวรรษ 1800 นั้น ได้ถูกนามาปริ วรรต และพิมพ์เผยแพร่ ในหน้า หนังสื อพิมพ์ ‚ลาวใหญ่‛ (Ivarsson. 2002 : 67) เพื่อต่อสูก้ บั ลัทธิไทยเป็ นใหญ่ในช่วงทศวรรษ 1940-1950 เป็ นต้น ปี ค.ศ. 1944 ในขณะที่ กาลังปฏิ บตั ิและดาเนิ นการ ‚โครงการปฏิ รูปลาวเพื่อฟื้ นฟูชาติ‛ เพื่อสร้างอัตลักษณ์ลาวโดยการ สนับสนุ นอย่างออกหน้าออกตาของฝรั่งเศส อันมีหนังสื อพิมพ์ ‚ลาวใหญ่‛ เป็ นสื่ อกลางสาคัญในการกระจายข้อมูลข่าวสารให้แก่ ประชาชนลาวทัว่ ประเทศได้รับรู ้ เพื่อให้เกิดสานึกเกี่ยวกับชาติลาว และเพื่อเป็ นพลัง/รากฐานสาคัญให้แก่การสร้างอัตลักษณ์ลาว โดย หนังสื อพิมพ์ ‚ลาวใหญ่‛ ซึ่ งมี 10 หน้านั้น 2 หน้าจะนาเสนอหรื อพิมพ์เป็ นภาษาฝรั่งเศส และ 8 หน้า จะนาเสนอเป็ นภาษาลาว (Stuart-Fox. 1997 : 55) และเป็ นที่นิยมมากของประชาชน โดยเฉพาะผูท้ ี่ไม่มีโอกาสได้เรี ยนภาษาฝรั่งเศส จนทาให้หนังสื อพิมพ์ ‚ลาว ใหญ่‛ กลายเป็ นพื้นที่สร้างสถานะบทบาทให้แก่ภาษาลาว หรื อสร้างความเป็ นมาตรฐานให้แก่ภาษาลาว (Ivarsson. 2002 : 69-76) และ นาไปสู่ความต้องการสร้างภาษาลาวให้เป็ น ‚ภาษาแห่งชาติ‛ ขึ้นของปั ญญาชนลาวในโอกาสต่อมา กระนั้นก็ดี ความพยายามในการสร้างภาษาลาวให้เป็ น ‚ภาษาแห่งชาติ‛ นั้น ข้าราชการฝรั่งเศสไม่เห็นด้วย จึงเกิดความขัดแย้ง กันขึ้นระหว่างปั ญญาชนลาว โดยเฉพาะคณะกรรมการ พุทธบัณฑิตสภาจันทบุรีซ่ ึ งมีเจ้าเพชรราชเป็ นประธาน กับข้าราชการฝรั่งเศส โดยเฉพาะ Charles Rochet ผูอ้ านวยการฝรั่งเศสด้านการศึกษาสามัญในนครเวียงจันทน์ (French Director of Public Education in Vientiane) โดย Charles Rochet เสนอให้ใช้ตวั อักษรโรมันมาเขียนภาษาลาว (Stuart-Fox. 1997 : 55) โดยให้เหตุผลว่า เป็ นการสะดวก ในการพิมพ์หนังสื อ และเพื่อก้าวไปสู่ ความเจริ ญ (กระทรวงแถลงข่าวและวัฒนธรรม. 2000 : 675) แต่เจ้ามหาอุปราชเพชรราชไม่ทรง


10 เห็นด้วยกับความคิดของ Charles Rochet ในที่สุดความคิดของเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสที่ตอ้ งการใช้ ‚ตัวอักษรโรมันมาเขียนภาษาลาว‛ ก็ ถูกระงับไป การคัดค้านของเจ้ามหาอุปราชเพชรราชต่อการเสนอให้ใช้ตวั อักษรโรมันมาเขียนภาษาลาวของข้าราชการฝรั่งเศสครั้งนั้น นัก ประวัติศาสตร์ชาวออสเตรเลีย Martin Stuart-Fox ได้ต้ งั ข้อสังเกตว่า เป็ นชัยชนะและเป็ นการส่ อแสดงให้เห็นถึงลัทธิ ชาตินิยมกาลังก่อ ตัวขึ้น และได้แพร่ ขยายเติบโตภายใต้อิทธิพลของฝรั่งเศส (Stuart-Fox. 1997 : 55) ชัยชนะของเจ้ามหาอุปราชเพชรราชเป็ น ชัยชนะ แห่ งการต่อสู ้เพื่อ ‚เอกราชทางปั ญญา‛ ของลาวให้หลุดรอด ‚อาณานิ คมทางปั ญญา‛ ของฝรั่งเศส กล่าวคือ หากฝรั่งเศสผลิตตัวอักษร หรื อตัวเขียนของลาวขึ้นมาใหม่ โดยใช้ตวั อักษรโรมันมาเขียนภาษาลาว แน่นอนขนบธรรมเนียมการเขียนของลาวที่เขียนอยูใ่ นขณะนั้น รวมทั้งระบบโบราณที่ใช้อกั ษรธรรม และอักษรลาวโบราณบันทึกในคัมภีร์ใบลาน กระดาษสา ศิลาจารึ ก ฯลฯ นั้น ก็จะหมดสิ้ นไปด้วย หรื อเป็ นการทาลายขนบธรรมเนียมประเพณี รวมทั้งความรู ้ ความคิด มโนทัศน์ จักรวาลวิทยาแบบเดิมของลาวทั้งหมด ในกรณี ดงั กล่าว นี้ ไม่ได้เป็ นการใช้กาลังทางทหารเข้ายึดพื้นที่ของประเทศลาวเหมือนดังที่ฝรั่งเศสเข้ายึดครองลาวในช่วงปี ค.ศ. 1893 นั้น แต่เป็ นการ หวังที่จะยึดสมอง ยึดปั ญญา หรื อเป็ น ‚เจ้าอาณานิคมทางปั ญญา‛ ของลาว ช่วงปลายทศวรรษที่ 1940 เป็ นต้นมา ถือว่าเป็ นช่วงแห่ งการขยายตัวของนักชาตินิยมลาวกลุ่มต่างๆ ซึ่ งส่ วนหนึ่ งเป็ นผลอัน เนื่องมาจากการสนับสนุนสร้างอัตลักษณ์ของลาวโดยฝรั่งเศส และการสร้างสานึ กความเป็ นลาวโดยคนลาวเอง โดยมีคมั ภีร์ใบลานเป็ น ส่ วนสาคัญ เรื่ องเล่าและตานานของนักต่อสู ้ผูก้ ล้าหาญ เช่น เจ้าฟ้ างุ่ม เจ้าสามแสนไท เจ้าไชยจักรพรรดิแผ่นแผ้ว เจ้าไชยเชษฐาธิ ราช หรื อเจ้าอนุวงศ์ และเจ้าราชวงศ์ ผูเ้ ป็ นแม่ทพั สาคัญของลาวในการต่อสูเ้ พื่อปลดแอกออกจากสยามในปี ค.ศ. 1827 (Grabowsky. 1997 : 145-165) และบุคคลอื่นๆ ในฐานะเป็ น ‚วีรบุรุษ‛ ที่ต่อสู ้กบั อานาจของต่างชาติน้ นั มีอิทธิ พลมากต่อขบวนการปฏิวตั ิลาวที่กาเนิ ดขึ้น ในช่วงปลายทศวรรษ 1940 โดยนาชื่อวีรบุรุษที่กล่าวมาข้างต้นไปเป็ นชื่อกองทัพของตน เช่น ‚กองฟ้ างุ่ม‛ ‚กองสามแสนไท‛ ‚กองไชย จักรพรรดิ‛ ‚กองไชยเชษฐา‛ ‚กองราชวงศ์‛ ฯลฯ โดยกองสามแสนไทและกองไชยจักรพรรดิ มี เจ้าสุพานุวงศ์เป็ นผูบ้ ญั ชาการ และกอง ราชวงศ์ มีท่านไกสอน พมวิหาน เป็ นผูบ้ ญ ั ชาการ เป็ นต้น (คณะชี้ นาค้นคว้าทฤษฎีและพฤติกรรมศูนย์กลางพรรค. 1997 : 56-58 ; กระทรวงแถลงข่าวและวัฒนธรรม. 2000 : 747-748) ประวัตศิ าสตร์ ลาวสมัยใหม่ ประวัติศาสตร์ลาวสมัยใหม่ที่เขียนหรื อเรี ยบเรี ยงโดยนักวิชาการลาว เล่มแรก ชื่อ 1. ‚พงศาวดารลาว‛ เรี ยงเรี ยงโดย มหาสิ ลา วีระวงส์ พิมพ์เมื่อปี ค.ศ. 1957 หลังจากลาวได้รับเอกราชจากอาณานิ คม ฝรั่งเศส ซึ่ งจริ งๆ แล้ว มหาสิ ลา วีระวงส์ เรี ยงเรี ยงเสร็ จตั้งแต่ปี ค.ศ. 1953 แต่หลังจากนั้น 4 ปี จึงได้รับการจัดพิมพ์ เนื่ องจาก ในช่วงนั้นสถานกาณ์ทางการเมืองในประเทศลาวมีความสับสน ประชาชนลาวกาลังต่อสูเ้ พื่อให้ได้เอกราชจากอาณานิคมฝรั่งเศส 2. ‚พระราชประวัติวงศ์วงั หน้าราชตระกูลเจ้าอุปราชอุ่นแก้ว‛ เรี ยบเรี ยงโดยเจ้าคาหมั้น วงกตรัตนะ พิมพ์เมื่อปี ค.ศ. 1971 3. ‚‛ คา จาปาแก้วมณี ประวัติศาสตร์ลาวสมัยใหม่ที่เขียนหรื อเรี ยบเรี ยงโดยนักวิชาการต่างประเทศ Martin Stuart-Fox 1. ‚Buddhist Kingdom Marxist State : The Making of Modern Laos‛ พิมพ์ที่ Bangkok : White Lotus เมื่อปี ค.ศ. 2002. 2. ‚A History of Laos‛ . Cambridge : Cambridge University Press, 1997.


11 ข้ อคิดเห็นเกีย่ วกับประวัตศิ าสตร์ ลาวสมัยใหม่ ดังข้าพเจ้าได้กล่าวไปแล้วในช่วงต้นว่า คัมภีร์ใบลานถือว่าเป็ นมรดกที่ล้ าค่า เป็ นสมบัติของชาติลาว คัมภีร์ใบลานได้เขียน บันทึกเกี่ยวกับตัวตนหรื ออัตลักษณ์ของลาว ซึ่ งมีความหมายและความสาคัญต่อสังคมและวิถีชีวิตของคนลาวยุคก่อนสมัยใหม่ท้ งั ทาง โลกและทางธรรม และอยูใ่ นสถานะที่มีคุณค่า และความศักดิ์สิทธิ์ ด้วย อย่างไรก็ตาม เกี่ยวกับการเขียนประวัติศาสตร์ ลาวสมัยใหม่ นั้น เพื่อให้ได้ประวัติศาสตร์ ที่เขียน หรื อเรี ยบเรี ยงขึ้นมีความสมบูรณ์ท้ งั ด้านข้อมูลหลักฐาน และใกล้ความเป็ นจริ งที่ สุด ข้าพเจ้ามี ข้อคิดเห็นว่า ข้อมูลที่นามาเขียน หรื อนามาเรี ยบเรี ยงจะใช้เพียงข้อมูลที่จารึ กไว้ในคัมภีร์ใบลาน สิ ลาจารึ ก และบันทึกการเดินทาง จะ เป็ นการไม่เพียงพอ เท่าที่ขา้ พเจ้าได้ทบทวนประวัติศาสตร์ลาวสมัยใหม่ท้ งั ที่เขียนโดยนักวิชาการลาวและนักวิชาการต่างประเทศ สังเกตได้วา่ ส่วนใหญ่ใช้ขอ้ มูลที่มีการบันทึก หรื อจารึ กไว้ โดยเฉพาะข้อมูลที่บนั ทึกในคัมภีร์ใบลาน ซึ่ งเป็ นเอกสารชั้นต้น และเอกสารชั้นสองซึ่งเป็ นเอกสารที่เขียนหรื อเรี ยบเรี ยงจากเรื่ องราวที่บนั ทึกไว้ในคัมภีร์ใบลาน สิ ลาจารึ ก บันทึก การเดินทาง ฯลฯ หรื อกล่าวอี กนัยหนึ่ งก็คือ นักวิชาการส่ วนใหญ่ไม่ได้เน้นให้ความสาคัญกับข้อมูลหลักฐานทางโบราณคดี สถานโบราณ โบราณวัตถุ รวมทั้งภูมินิเวศ ซึ่ งยังมีร่องรอย หลักฐาน หรื อเป็ นข้อมูลสาคัญที่ สามารถนามาพิจารณา พิเคราะ อธิ บาย หรื อช่วยทา ความเข้าใจประวัติศาสตร์ลาวได้ชดั เจนหรื อใกล้ความเป็ นจริ งมากยิง่ ขึ้น การที่นกั ประวัติศาสตร์ลาวสมัยใหม่ ทั้งนักวิชาการลาวและนักวิชาการต่างประเทศ มีการนาเสนอ รวมทั้งความคิด มุมมอง และวิธีการเขียนประวัติศาสตร์ลาวสมัยใหม่เช่นนั้น ข้าพเจ้า มีขอ้ คิดเห็นว่า - กรณี หนึ่ งอาจจะเป็ นเพราะ ผูเ้ รี ยบเรี ยงหรื อผูเ้ ขียนประวัติศาสตร์ ลาวสมัยใหม่ ไม่มีความรู ้ทางด้านโบราณคดีอย่างลึกซึ้ ง หรื อไม่สามารถวิเคราะห์ พิเคราะห์ พิจารณา ตี ความ อธิ บาย และ ทาความเข้าใจข้อมูลหลักฐานทางโบราณคดี สถานโบราณ โบราณวัตถุ รวมทั้งภูมินิเวศ ได้อย่างถูกต้องแม่นยา - กรณี ที่สองอาจเป็ นเพราะ ทาเนี ยมในการเขียนประวัติศาสตร์ สมัยใหม่ ซึ่ งผูเ้ ขียน หรื อ ผูเ้ รี ยบเรี ยงประวัติศาสตร์ ลาว สมัยใหม่ อาจได้ศึกษา เรี ยนรู ้จากครู อาจารย์ รวมทั้งสถาบันการศึกษาที่ผเู ้ ขียน หรื อผูเ้ รี ยบเรี ยงเข้าศึกษานั้น - กรณี ที่สามอาจเป็ นเพราะ กระแสนิ ยมในการเขียนประวัติศาสตร์ สมัยใหม่ ในแต่ช่วง แต่ละสมัย ซึ่ งในแต่ละช่วง แต่ละ สมัยอาจจะมีความนิยม หรื อมีการเน้นมุมมอง และแนววิธีการเขียนแตกต่างกันไป อย่า งไรก็ ต าม ประวัติ ศ าสตร์ ล าวสมัย ใหม่ ที่ ถู ก เขี ย น หรื อ ถู ก เรี ย บเรี ย งขึ้ น มาทั้ง โดยนัก วิช าการลาว และนัก วิช าการ ต่างประเทศนั้น มีลกั ษณะร่ วมกันก็คือ อย่างน้อยมีวตั ถุประสงค์เพื่อรับใช้สถาบัน ผูใ้ ห้ทุน หรื อผูส้ นับสนุน สรุป อาจกล่าวได้วา่ คัมภีร์ใบลานในสังคมลาวยุคอาณานิ คมมีสถานะเปลี่ยนแปลงไปในยุคก่อนสมัยใหม่คมั ภีร์ใบลานมีความ ศักดิ์สิทธิ์ เป็ นบันทึกพระธรรมคาสอนทางพุทธศาสนา เป็ นบันทึกความทรงจาทางประวัติศาสตร์ รวมทั้งเป็ นความรู ้ ความคิด ภูมิ ปั ญญา จารี ต ประเพณี พิธีกรรม ความเชื่อ ฯลฯ ของสังคมลาวในยุคนั้น และมีความสาคัญต่อวิถีชีวิตของคนลาว ครั้นเมื่อฝรั่งเศสเข้ามา ปกครองประเทศลาว พร้อมด้วยวัฒนธรรม ความรู ้ โลกทัศน์ และจักรวาลวิทยาแบบฝรั่งเศสเข้ามาในสังคมลาว จึงมีผลต่อวัฒนธรรม คัมภี ร์ใบลานเป็ นอย่างมาก ฝรั่ งเศสมองว่าวัฒนธรรม ประเพณี ความรู ้ โลกทัศน์ และจัก วาลวิทยาแบบเดิ มของลาวล้าสมัย ควร ปรับเปลี่ยนให้ทนั สมัย และเจริ ญก้าวหน้า ดังนั้น คัมภีร์ใบลานจึงมีความหมายเปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือ ถูกย้ายออกจากพื้นที่และบริ บท เดิม ไปอยูใ่ นพื้นที่หรื ออยูใ่ นโลกของผูค้ นที่มีวฒั นธรรมแตกต่างจากวัฒนธรรมเดิม ยิ่งกว่านั้นคัมภีร์ใบลานยังถูกให้นิยามความหมาย ใหม่เป็ น วัตถุ เอกสาร (museum object) ธรรมดา เก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์ หอสมุด ไว้คอยบริ การผูม้ าชม และผูม้ าศึกษาค้นคว้า


12 นอกจากนี้คมั ภีร์ใบลานยังถูกฟื้ นฟูเพื่อนาไปใช้ในการสร้างอัตลักษณ์ลาวภายใต้บริ บทของอาณานิคมฝรั่งเศส การฟื้ นฟูคมั ภีร์ ใบลานในยุคอาณานิ คมฝรั่งเศส จึงเป็ น ‚การเมืองเรื่ องวัฒนธรรม‛ (Politics of Culture) และเป็ น ‚พื้นที่แห่ งการช่วงชิงความหมาย‛ (Contested Space) ทั้งถูกนาไปใช้ในการเพิ่มอานาจ และสร้างความชอบธรรมให้แก่เจ้าอาณานิ คม ขณะเดียวกันก็ถูกนาไปใช้ในการ ต่อสูก้ บั อาณานิคมฝรั่งเศสโดยปั ญญาชนลาวเพื่อให้ได้มาซึ่งเอกราชทางปั ญญา โดยเฉพาะเอกราชทางภาษา ‚เขียน‛ ของลาว ส่วนการเขียนประวัติศาสตร์ลาวสมัยใหม่น้ นั บรรณานุกรม ภาษาลาว กรมวรรณคดี. 1967. พืน้ ขุนบรมราชาธิราช ฉบับโบราณแท้ . เวียงจันทน์ : กรมวรรณคดี. _______. 1958. หนังสือท้ าวสุ ริวง เล่ ม 1. เวียงจันทน์ : กรมวรรณคดี. กระทรวงแถลงข่าวและวัฒนธรรม. 2000. ประวัติศาสตร์ ลาว (ดึกดาบรรพ์ -ปัจจุบัน). เวียงจันทน์ : กระทรวงแถลงข่าวและวัฒนธรรม. กระทรวงธรรมการ. 1949. สังศิลป์ ไชย์ . เวียงจันทน์ : กระทรวงธรรมการ. กระทรวงศึกษาธิการ. 1967. พงศาวดารลาว. เวียงจันทน์ : กระทรวงศึกษาธิ การ. กรานท์ เอแวนส์. 2006. ประวัติศาสตร์ โดยย่อของประเทศลาว: เมืองอยู่ใจกลาง แผนดินใหญ่ เอเชียอาคเนย์ . เชี ยงใหม่: Silkworm Books. คณะกรรมการวรรณคดี. 1967. สาส์ นลึพสู ญ. เวียงจันทน์ : คณะกรรมการวรรณคดี. คณะชี้ นาค้นคว้าทฤษฎีและพฤติกรรมศูนย์กลางพรรค. 1997. ประวัติศาสตร์ พรรคประชาชน ปฏิวตั ิลาว (โดยสังเขป). เวียงจันทน์ : คณะชี้ นาค้นคว้าทฤษฎีและพฤติกรรม ศูนย์กลางพรรค. ท.เกน. 1960 a. บัญชีรายชื่อหนังสื อวรรณคดีลาว เวียงจันทน์ = Cataloque des Manuscripts de la Litterature Lao Vientiane. เวียงจันทน์ : กรมวรรณคดี. _______. 1960 b. บัญชีรายชื่อหนังสื อวรรณคดีลาว ตามแขวงต่ างๆ = Cataloque des Manuscripts de la Littérature Lao des Provinces du Laos. เวียงจันทน์ : กรมวรรณคดี. สถาบันค้นคว้าศิลปะวรรณคดีแห่งชาติ. 1989. สัมมนาใบลานทั่วประเทศครั้งที่ 1 วันที่ 10-13 มีนาคม 1988 ที่นครหลวงเวียงจันทน์ . เวียงจันทน์ : สถาบันค้นคว้าศิลปะวรรณคดี แห่งชาติ. สิ ลา วีระวงส์. 2001. ประวัติศาสตร์ ลาวแต่ โบราณถึง 1946. เวียงจันทน์ : หอสมุดแห่ งชาติ. _______. 1995. ประวัติหนังสือลาว. เวียงจันทน์ : หอสมุดแห่ งชาติ. สิ ลา วีระวงส์ และ นวน อุเทนสักดา. 1967. นิทานขุนบรมราชาธิราชฉบับที่ 1 ประวัติศาสตร์ ลาวฉบับเดิม. เวียงจันทน์ : กระทรวงธรรมการ. สุเนด โพธิสาน. 1996. ‚ความสาคัญของพื้นขุนบรมต่อประวัติศาสตร์ ลาว,‛ ใน วิทยาสารมรดก ล้านช้ าง. 1(1) : 48-62 ; มกราคม-มิถุนายน. สาลิด บัวสี สะหวัด. 1993. คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ หลวง. เวียงจันทน์ : โครงการปริ วรรต กฎหมายโบราณลาว มูลนิธิโตโยต้า แห่งประเทศญี่ปุ่น. _______. 1996 a. คัมภีร์โพสราช และสังคหปกรณ์ . เวียงจันทน์ : โครงการปริ วรรตกฎหมาย โบราณลาว มูลนิธิโตโยต้า แห่งประเทศญี่ปุ่น. _______. 1992. คัมภีร์มูลตันไต. เวียงจันทน์ : โครงการขึ้นบัญชี ใบลาน กระทรวงแถลงข่าวและ วัฒนธรรม มูลนิธิโตโยต้า แห่งประเทศญี่ปุ่น. _______. 1995. คัมภีร์ราชศาสตร์ . เวียงจันทน์ : โครงการปริ วรรตกฎหมายโบราณลาว มูลนิธิ


13 โตโยต้า แห่งประเทศญี่ปุ่น. _______. 1994 a. คัมภีร์สุวรรณมุกขา. เวียงจันทน์ : โครงการปริ วรรตกฎหมายโบราณลาว มูลนิธิโตโยต้า แห่ งประเทศญี่ปุ่น. _______. 1997. คัมภีร์อาณาจักรและธรรมจักรแห่ งธรรมศาสตร์ . เวียงจันทน์ : โครงการ ปริ วรรตกฎหมายโบราณลาว มูลนิ ธิโตโยต้า แห่ งประเทศญี่ปุ่น. _______. 1994 b. ‚เราได้อะไรจากการสารวจขึ้นบัญชีหนังสื อใบลาน?,‛ ใน โครงการ ขึน้ บัญชีหนังสือใบลาน กระทรวงแถลงข่ าวและวัฒนธรรม มูลนิธิโตโยต้ า ประเทศ ญี่ปุ่น. หน้า 19-21. เวียงจันทน์ : โครงการขึ้นบัญชีหนังสื อใบลาน. _______. 1996 b. สร้ อยสายคา. เวียงจันทน์ : โครงการปกปักรักษา หนังสื อใบลานลาว (การร่ วมมือ ลาว-เยอรมัน). โสมสี เดชากาพู. 1978. เผยสาส์ นลึบบ่ สูญ. เวียงจันทน์ : สานักพิมพ์จาหน่าย ส. ป. ป. ลาว. หอสมุดแห่งชาติ. 1973. ท้ าวเหลาคา (เจ้ าราชวงศ์ ). เวียงจันทน์ : สมาคมห้องสมุดแห่ ง ราชอาณาจักรลาว. หุมพัน รัดตะนะวง. 1989. ‚วิวฒั นาการของหนังสื อใบลานในลาว,‛ ใน สัมมนาใบลาน ทั่วประเทศครั้งที่ 1 วันที่ 10-13 มีนาคม 1988 ที่นครหลวงเวียงจันทน์ . หน้า 12-29. เวียงจันทน์ : สถาบันค้นคว้าศิลปวรรณคดีแห่ งชาติ. ภาษาไทย จานงค์ ทองประเสริ ฐ. 2534. ประวัติศาสตร์ พระพุทธศาสนาในเอเชียอาคเนย์ . กรุ งเทพฯ : องค์การค้าคุรุสภา. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. 2544. ‚ลัทธิชาตินิยม-ลัทธิทหาร: รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม 24812487,‛ ใน บันทึกการสั มมนา จอมพล ป. พิบูลสงครามกับการเมืองไทยสมัยใหม่ . บรรณาธิการโดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ธารงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ และ วิกลั ย์ พงศ์พนิตานนท์. กรุ งเทพฯ : มูลนิธิโครงการตาราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. ประทีป ชุมพล. 2525. พืน้ เวียง : วรรณกรรมแห่ งการกดขี่. กรุ งเทพฯ : สานักพิมพ์อดีต. ธวัช ปุณโณฑก. 2526. พืน้ เวียง: การศึกษาประวัติศาสตร์ และวรรณกรรมอีสาน. กรุ งเทพฯ : สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. อาทร ฟุ้ งธรรมสาร. 2527. รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามและสงครามแปซิฟิก. กรุ งเทพฯ : มูลนิธิโครงการตาราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. ภาษาฝรั่งเศส Finot, Louis. 1917. ‚Recherches sur la Litérature Laotienne.‛ In Bulletin de l’Ecole Française d’Extrême-Orient. Tome XVII, No. 5. Hanoi: Imprimerie d’ExtrêmeOrient. Lafont, Pierre-Bernard. 1965. ‚Inventaire Des Manuscripts des Pagodes du Laos,‛ in Bulletin de l’École Française d’Extrême-Orient. Tome LII, Fasc. 2. p. 429-545. Paris : École Française d’Extrême-Orient. Thao Kéne. 1958. Cataloque des Manuscripts de la Littérature du Laos. Vientiane : Edition du Comité Littéraire. ภาษาอังกฤษ Gunn, Goeffrey C. 1988. Political Struggles in Laos 1930-1954. Bangkok : Editions Duangkamol. Grabowsky, Volker. 1997. ‚Lao and Khmer Perceptions of National Survival : the Legacy of the Early Nineteenth Century,‛ in Nationalism and Cultural Revival in Southeast


14 Asia : Perspectives From the Centre and the Region. edited by Sri Kuhnt Saptodewo, Volker Grabowsky and Martin GroBheim. p. 145-165. Wiesbaden : Harrassowitz. Ivarsson, Soren. 2002. ‚Toward a new Laos : Lao Nhay and the Campaign for a National ‘Reawakening’ in Laos 1941-1945,‛ in Laos Culture and Society. edited by Grant Evans. p. 61-78. Chiang Mai : Silkworm Books. Keyes, Charles F. 1995. ‚Who are the Tai? Reflections on the Invention of Identities,‛ in Ethnic Identity : Creation Conflict, and Accommodation. edited by Lola Romanucci-Ross and George A. De Vos . 3rd ed. p. 136-160. Walnut Creek, CA : Alta Mira Press. Lorrillard, Michel. 2006. ‚The Earliest Lao Buddhist Monasteries According to Philological and Epigraphic Sources,‛ Études Thématiques, EFEO, p. 187-191 ; 2003. Pholsena, Vatthana. ‚The Changing Historiographies of Laos : A Focus on the Early Period,‛ Southeast Asian Studies. Vol. 35, Issue 2, p. 235-263 ; 2004. Stuart-Fox, Martin. 1997. A History of Laos. Cambridge : Cambridge University Press. Stuart-Fox, Martin. 1997. ‚On the writing of Lao history : continuities and discontinuities,‛ Southeast Asian Studies. Vol. 24, Issue 1, p. 106-116 ; 1993. รายนามผู้ให้ สัมภาษณ์ กงเดือน เนดตะวง เป็ นผูใ้ ห้สมั ภาษณ์, บัวไข เพ็งพระจันทร์ เป็ นผูส้ มั ภาษณ์, ที่หอสมุดแห่ งชาติ ถนนเชษฐาธิราช เมืองจันทบุรี นครหลวงเวียงจันทน์ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2550. คาเพา พอนแก้ว เป็ นผูใ้ ห้สมั ภาษณ์, บัวไข เพ็งพระจันทร์ เป็ นผูส้ มั ภาษณ์, ที่บา้ นเลขที่ 276 หมู่ที่ 16 บ้านโพนสวรรค์เหนือ เมืองสี สตั นาค นครหลวงเวียงจันทน์ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2549. บุนยก แสนสุนทอน เป็ นผูใ้ ห้สมั ภาษณ์, บัวไข เพ็งพระจันทร์ เป็ นผูส้ มั ภาษณ์, ที่บา้ นเลขที่ 309 หมู่ที่ 25 บ้านดงเมี่ยง เมืองจันทบุรี นครหลวงเวียงจันทน์ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2549. โอทอง คาอินซู เป็ นผูใ้ ห้สมั ภาษณ์, บัวไข เพ็งพระจันทร์ เป็ นผูส้ มั ภาษณ์, ที่กระทรวงแถลงข่าวและ วัฒนธรรม นครหลวงเวียงจันทน์ เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2550.


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.