อัตลักษณ์ วฒ ั นธรรมทางพุทธศาสนา จากวัดไทยในตุมปัต รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ผศ.นิพนธ์ ทิพย์ศรีนิมติ
ชาวมาเลเซียเชื้ อสายไทยในรัฐตอนเหนือของประเทศมาเลเซีย ประเทศมาเลเซียเป็ นประเทศที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม เนื่องจากมีประชากรที่ ประกอบ ไปด้วยกลุ่มชนหลายเชื้ อ ชาติ หลายเผ่าพัน ธุ์อาศัย อยู่ร วมกัน ในเอกสารของสานักงานอ้างอิ งทางประชากร (Population Reference Bureau) ได้ระบุถึงจานวนประชากรของประเทศมาเลเซียใน ค.ศ. 2003 (พ.ศ. 2546) ว่ามี จานวนประชากรทั้งสิ้น 25.1 ล้านคน1 จาแนกตามเชื้อชาติต่างๆ ได้ดงั นี้ มลายู ร้อยละ 58 จีนร้อยละ 26 อินเดีย ร้อยละ 7 และเชื้อชาติอื่นๆ อีกร้อยละ 92 ในจานวนกลุ่มเชื้อชาติอื่นๆ ซึ่ งประกอบไปด้วยกลุ่มชนประมาณ 30 เผ่านั้น มีประชากรที่เป็ นชาวมาเลเซียเชื้อสายไทยอยูป่ ระมาณ 80,000 คน คนไทย* คนไทยเหล่านี้ ส่วนใหญ่อาศัย อยูใ่ นรัฐตอนเหนือของประเทศมาเลเซีย โดยเฉพาะในรัฐเกดะห์ (ไทรบุรี) กลันตัน ปะลิส และตรังกานู ** ซึ่ งเป็ น ดินแดนที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศไทยและเคยเป็ นหัวเมืองในปกครองของราชอาณาจักรสยามมาก่อน คนไทยเหล่านี้ นับถือพระพุทธศาสนา ส่ วนใหญ่มีอาชี พทานา และทาสวนยางพารา พูดภาษาไทยใน ชีวิตประจาวัน (ภาษาไทยถิ่นใต้สาเนี ยงนครศรี ธรรมราชและสงขลา) ถ้ามีการติดต่อหรื อสมาคมกับชาวจีนก็ใช้ ภาษาจีน หรื อถ้าสมาคมกับชาวมาเลเซียก็ใช้ภาษามลายู เด็กไทยส่วนใหญ่จะเรี ยนภาษาไทยที่วดั โดยมีพระภิกษุ หรื อคนไทยอาสาสมัครเป็ นครู สอน สอนพออ่านออกเขียนได้ ไม่มีการเรี ยนการสอนภาษาไทยในระบบโรงเรี ยน เนื่ องจากรัฐบาลมาเลเซี ยยังไม่อนุญาตให้เปิ ดการเรี ยนการสอนภาษาไทยในโรงเรี ยน3 อย่างไรก็ตามแม้รัฐบาล มาเลเซียไม่มีนโยบายที่จะส่งเสริ มการเรี ยนการสอนภาษาไทย แต่ก็มีองค์กรและกลุ่มคนไทยที่พยายามฟื้ นฟูและ อนุรักษ์การเรี ยนการสอนภาษาไทยขึ้นในวัดไทย ทั้งนี้เพื่อต้องการให้เด็กไทยใช้ภาษาไทยเพื่อศึกษาหลักธรรมใน พระพุทธศาสนา องค์กรและกลุ่มคนไทยดังกล่าวได้แก่ สมาคมคนไทยในรัฐเกดะห์ สมาคมคนไทยในรัฐกลัน ตัน ศูนย์การศึ กษาพระพุทธศาสนาและภาษาไทยวัดบุญญาราม รัฐเกดะห์ (ไทรบุรี) มูลนิ ธิและศูนย์การสอน ภาษาไทย พุทธศาสนาและวัฒนธรรมวัดมัชฌิมาราม รัฐกลันตัน โรงเรี ยนสอนภาษาไทยในวัดต่างๆ ในเขต พื้นที่รัฐตอนเหนือของประเทศมาเลเซีย โดยมีมูลนิธิพระวิเชียรโมลี (แฉล้ม เขมปญฺ โญ) วัดชัยมงคล (พระอาราม หลวง) อาเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา เป็ นศูนย์กลางในการประสานงานกับทุกเครื อข่ายทั้งในประเทศไทยและ ประเทศมาเลเซีย ในด้านการดาเนิ นวิถีชีวิต คนไทยในมาเลเซี ยยังมีความเชื่อแบบดั้งเดิม คือเชื่อในสิ่ งเหนื อธรรมชาติและ อานาจไสยศาสตร์เร้นลับผสมผสานกับความเชื่อทางศาสนาพุทธและพราหมณ์ ซึ่ ง ความเชื่อดังกล่าวสะท้อนถึง ลักษณะจาเพาะที่ เป็ นตัวตนทางวัฒนธรรมของคนไทย ที่ มีลกั ษณะแตกต่างไปจากกลุ่มชาติ พนั ธุ์อื่นๆ ดังเช่ น ความเชื่ อและพิธีกรรมการรับ -ส่ งเทวดา พิธีกรรมในงานศพ ดนตรี กาหลอและพิธีกรรมโนราห์โรงครู เป็ นต้น นอกจากนี้ ยงั มีความเชื่ อเกี่ ยวกับพิธีกรรมทางศาสนาและการละเล่นพื้นบ้าน เช่น การทาพิธีในวันมาฆบูชา วัน อาสาฬหบูชา, วันเข้าพรรษา, วันออกพรรษา การบวช การตกแต่งเรื อพระในประเพณี ลากพระ เทศกาลลอย กระทง การเล่นมโนราห์หรื อหนังตะลุง เป็ นต้น ความเชื่อ พิธีกรรมทางพุทธศาสนาและการละเล่นดังกล่าวนี้ ปั จจุบนั ยังคงมีการสื บสานอยู่ในกลุ่มชาวมาเลเซี ยเชื้ อสายไทยในแทบทุกรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มคนไทยใน รัฐกลันตัน
รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย วิกิพีเดีย (Wikipedia) ได้กล่าวถึงรัฐกลันตันสรุ ปได้วา่ กลันตัน (Kelantan) (อักษรยาวี: )كلنتنเป็ น หนึ่งในสิ บสามรัฐที่ประกอบขึ้นเป็ นสหพันธ์มาเลเซีย มีชื่อเฉลิมเกียรติเป็ นภาษาอาหรับว่า ดารุ ลนาอิม ("ถิ่นที่อยู่ ที่สวยงาม") รัฐกลันตันเป็ นรัฐที่มีความสัมพันธ์กบั ราชอาณาจักรสยามมาแต่ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระมหาธรรม ราชา สมัยกรุ งศรี อยุธยา ดังที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดารงราชานุภาพ ทรงอธิบายเกี่ยวกับเมืองก ลันตันไว้ในเรื่ องพงศาวดารอันเป็ นมูลเหตุแห่งจดหมายหลวงอุดมสมบัติวา่ เมืองกลันตันนั้น เดิมเป็ นเมืองขึ้นของเมืองปัตตานี ต่อมาเมืองตรังกานูได้ไปเป็ นเมืองขึ้น พึ่งมา แยกออกเป็ นเมืองประเทศราชขึ้นกรุ งเทพฯ เมื่อในรัชกาลที่ 2 …สมัยสมเด็จพระนัง่ เกล้าเจ้าอยูห่ วั รัชกาล ที่ 3 ตอนปราบการกระด้างกระเดื่องของหัวเมืองประเทศราชมลายู ในส่วนของเมืองกลันตันนั้น พระ นริ นทร์กราบทูลว่า เมื่อกองทัพกรุ งออกไปปราบการแข็งเมือง ของเมืองกลันตันราบคาบแล้ว พลเมืองที่ อพยพหลบหนีเข้าป่ าไปนั้นได้กลับเข้ามาอยูต่ ามบ้านเรื อนของเขาสักส่วน 1 ยังอีก 2 ส่วน ซึ่งใน 2 ส่วนที่ ยังไม่กลับเข้ามาเมืองนั้น พระบาทสมเด็จพระนัง่ เกล้าเจ้าอยูห่ วั ตรัสถามว่า แขกหรื อไทย พระนริ นทร์ กราบทูลว่า เป็ นไทย 1 ในแง่ประวัติศาสตร์รัฐกลันตันมีความสัมพันธ์กบั เมืองนครศรี ธรรมราชมานาน เนื่องจากเคยเป็ น หนึ่งใน 12 เมืองนักษัตร ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้ าจุฬาฯ โลกทรงมอบกลันตันให้เมือง นครศรี ธรรมราชรับผิดชอบ 2 อย่างไรก็ตามแม้รัฐกลันตันจะอยูภ่ ายใต้การปกครองของสยาม แต่ทางสยามเองก็ มิได้ดูแลหรื อปกครองกลันตันเหมือนอย่างรัฐเกดะห์ (ไทรบุรี) เพียงแต่ให้ส่งเครื่ องบรรณาการตามธรรมเนี ยม เท่านั้น ซึ่งสอดคล้องกับที่ เอน.เจ.ไรอัน. ได้กล่าวถึงเรื่ องนี้วา่ ...ทางฝั่งทะเลตะวันออกของมลายู สานักสุลต่านทางภาคเหนือของกลันตันและ ตรังกานูมีความสัมพันธ์กบั สยามทานองเดียวกับเคดาห์ กล่าวคือประมุขยอมรับรู ้ อธิปไตยของสยามด้วยการส่ งเครื่ องบรรณาการประจาปี อันได้แก่ บุหงา เอมัส (ดอกไม้ ทอง) ไปให้ เครื่ องบรรณาการซึ่งมีสญ ั ลักษณ์เป็ นดอกไม้ทาด้วยทองนี้หมายถึงความ จงรักภักดีของผูใ้ ห้ แม้วา่ รัฐต่างๆ เหล่านี้ จะถูกปล่อยปละละเลยให้ดูแลกิจการของ ตนเอง โดยมีการควบคุมจากสยามเพียงเล็กน้อย... ทั้งนี้เนื่องจากรัฐเหล่านี้อยูใ่ ต้อิทธิพล ของสยามแต่ในนาม 3 เนื่องจากรัฐกลันตันเคยเป็ นเมืองขึ้นของปัตตานีมานาน และมีแหล่งที่ต้ งั อยูใ่ นเขตพื้นที่ที่ไม่ห่างไกลกัน มากนัก ดังนั้นความสัมพันธ์ของผูค้ นในรัฐกลันตันกับเมืองปั ตตานี หรื อกับหัวเมืองแขกทั้ง 7 หัวเมือง ( เมืองยะ หริ่ ง ยะลา สายบุรี หนองจิ ก ปั ตตานี รามันห์ ระแงะ) จึ งมีความแน่ นแฟ้ นมากกว่าความสัมพันธ์ที่มีต่อเมือง นครศรี ธรรมราชในฐานะที่เป็ น 1 ใน 12 เมืองนักษัตรหรื อเมืองหลวงที่กรุ งเทพฯ ซึ่ งสอดคล้องกับดังคาบอกเล่า ของพระครู สุวรรณวุฒิธรที่วา่ “คนแต่ก่อนบางกอกไม่เคยรู ้จกั ไกลสุ ดคือเมืองนคร ไปไหว้พระธาตุ คนแต่ก่อน ถ้าไปถึงเมืองนครก็ดงั เพราะไปได้ไกลมาก เหมือนคนไปเมกกะ แต่ถา้ ไปเมืองปั ตตานีไม่ยาก ข้ามไปทางตากใบ ไม่นานก็ถึงแล้ว” 4 จากพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ดงั ที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นจะเห็นได้วา่ ความสัมพันธ์ของรัฐกลันตัน ที่มีต่อสยามนั้นเป็ นเพียงหัวเมืองประเทศราชที่อยูห่ ่างไกลจากการควบคุมดูแล
เนื่องจากการปกครองของไทยไม่เข้มงวดมากนัก และถึงแม้วา่ สยามจะต้องมอบอานาจการปกครองรัฐทางตอน เหนือทั้ง 4 ให้แก่องั กฤษในปี พ.ศ. 2452 แล้วก็ตาม แต่ความสัมพันธ์ของผูค้ นในรัฐ กลันตันกับคนไทยใน ประเทศไทยก็มิได้สิ้นสุด โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในกลุ่มชาวมาเลเซียเชื้อสายไทย ปั จจุบนั กลันตันเป็ นรัฐหนึ่ งของประเทศมาเลเซี ย ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉี ยงเหนื อของคาบสมุทร มลายู ทิศเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศไทย ทิศใต้ติดต่อกับรัฐตรังกานู และรัฐ ปาหัง ทิศตะวันออกจรด ทะเลจี นใต้ ทิ ศตะวันตกติ ดต่อกับ รั ฐเประ สุ ลต่านมี พระนามว่า สุ ลต่านอิ สมาอิ ล เปตรา อิ บนี อัลมาร์ ฮุม สุ ลต่านยะยาห์ เปตรา (Tuanku Ismail Petra Ibni Al-Marhum Sultan Yahya Petra) มีเมืองหลวงชื่อ โกตาบารู (Kota Bharu) มีประชากร 1,313,014 คน ในจานวนนี้ เป็ นเชื้อสายมลายูร้อยละ 95 เชื้อสายจีนร้อยละ 3.8 เชื้อ สายอินเดี ยร้อยละ 0.3 ที่ เหลืออีกร้อยละ 0.9 เป็ นเชื้อสายอื่นๆ รวมทั้งเชื้ อสายไทยด้วย มีขนาดพื้นที่ 14,922 ตาราง กิโกเมตร ประกอบไปด้วยอาเภอต่างๆ 10 อาเภอ ได้แก่ โกตาบารู (Kota Bharu) ปาเสมัส (Pasir Mas) ตุมปั ต (Tumpat) ตาเนาะแมเราะ (Tanah Merah) ฆัวมูสัง (Gua Musang) บาเจาะ (Bachok) ปาเซร์ ปูเตะ (Pasir Puteh) มาจัง (Machang) เยอลี (Jeli) และ กัวลาเกอราย (Kuala kerai) อาชีพหลักของประชากร ได้แก่ การทานา ทาไร่ ยาสูบ ปลูกปาล์ม และทาเหมืองทอง
คนไทยในรัฐกลันตัน รัฐกลันตัน มีอาณาเขตติดต่อกับอาเภอสุ ไหงโก-ลก และอาเภอตากใบ จังหวัดนราธิ วาส ของประเทศ ไทย เป็ นรัฐที่อุดมสมบูรณ์ดว้ ยทรัพยากรธรรมชาติ มีหมู่บา้ นชาวประมง มีการทานา ทาไร่ ยาสู บ ปลูกผักและทา สวนปาล์ม รัฐกลันตันถือเป็ นแหล่งอารยธรรมของวัฒนธรรมอิสลาม ดังคาบอกเล่าของพระปลัดเพียง ฐานุตฺตโร วัดพิกลุ ทองวราราม ตอนหนึ่ งว่า “กลันตันเป็ นแหล่งอารยธรรมด้านวัฒนธรรม เป็ นศูนย์กลางของประเพณี และ ศาสนาอิสลามของมาเลเซีย” 1รัฐกลันตันมีชาวมาเลเซียเชื้อสายไทยอาศัยอยูห่ นาแน่นเป็ นอันดับสองรองจากรัฐเก ดะห์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน 7 อาเภอ ได้แก่อาเภอตุมปั ต อาเภอปาเสมัส อาเภอปาเสปูเต๊ะ อาเภอตาเนาะแมเราะ อาเภอมาจัง อาเภอบาเจาะ และอาเภอโกตาบารู ทั้ง 7 อาเภอมีหมู่บา้ นคนไทยอยู่ 65 หมู่บา้ น มีวดั 20 วัด กับอีก 3 สานักสงฆ์ 1 และมีคนไทยอาศัยอยูใ่ นรัฐแห่ งนี้ ประมาณ 25,000 คน ส่ วนใหญ่ประกอบอาชีพทาสวนยางพารา ปลูกผัก และไร่ ยาสูบ พูดภาษาไทยสาเนียงกลันตันคล้ายภาษาไทยถิ่นใต้กลุ่มตากใบ จังหวัดนราธิ วาส เด็กๆส่ วน ใหญ่นอกจากเรี ยนหนังสื อในโรงเรี ยนของรัฐแล้ว ยังนิยมเรี ยน ภาษาไทยและธรรมศึกษาที่วดั รัฐกลันตัน แม้จะมีความสัมพันธ์กบั สยามด้วยเหตุผลทางการเมือง แต่ถา้ พิจารณาถึงความสัมพันธ์ ของผูค้ นในรัฐนี้กบั คนไทยในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยแล้ว กล่าวได้วา่ มีความสัมพันธ์ในฐานะที่ เป็ นญาติและเป็ นมิตรที่ ดีต่อกันมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสัมพันธ์กบั ผูค้ นในจังหวัดปั ตตานี และ จังหวัดนราธิวาส
อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของคนไทยในรัฐกลันตัน คนไทยในรั ฐกลันตันมี อตั ลักษณ์ ท างวัฒนธรรมที่ มี ลกั ษณะเฉพาะ อันเกิ ดจากระบบความเชื่ อและ พิธีกรรม ระบบการผลิต และระบบการอยูร่ ่ วมเป็ นสังคมซึ่งสามารถจาแนกได้ดงั นี้ 1. อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่เกิดจากความเชื่อและพิธีกรรม
1.1 การมีวัดไทยเป็ นศู นย์ รวมวัฒนธรรมของหมู่บ้าน เนื่ องจากคนไทยเหล่านี้ มีความเชื่ อความ ศรัทธาในพระพุทธศาสนา ดังนั้นทุกหมู่บา้ นจึงนิยมสร้างวัดไว้ใจกลางหมู่บา้ น กล่าวได้วา่ ที่ไหนมีวดั ทีนนั่ ต้องมี คนไทย วัดไทยเหล่านี้จะมีรูปแบบและเอกลักษณ์ที่แปลกต่างไปจากวัดในศาสนาอื่นๆ 1.2 ความเชื่อในเรื่องผี การทานาย และการให้ ความเคารพในสิ่งศักดิ์สิทธิ เช่น เชื่อเรื่ องผีกระสื อ ผี หลังกลวง ผีพราย เชื่อในลางสังหรณ์ คาทานายเรื่ องดวงชะตา ตลอดจนการให้ความเคารพในสิ่ งศักดิ์สิทธิ เช่น พระพุทธรู ป พระที่มีอาวุโส หรื อผูท้ ี่มีคาถาอาคม เป็ นต้น 1.3 ความเชื่อเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่ งที่อยู่เหนือธรรมชาติ เช่น เชื่อในเรื่ องธาตุท้ งั 4 ได้แก่ (ดิน น้ า ลม ไฟ) การปลูก ไม้มงคล เช่น มะยม ขนุน ต้นรัก บานไม่รู้โรย การเคารพบูชาสิ่ งที่อยูเ่ หนื อธรรมชาติ เช่น การเคารพเจ้าที่ เทพารักษ์ ครู หมอพิธี หมอยา หมอทาเสน่ห์ หมอปลงศพ หรื อเรื่ องที่เกี่ยวกับไสยศาสตร์ 2. อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่เกิดจากระบบการผลิต การประกอบอาชีพทางเกษตรกรรม คนไทยส่วนใหญ่ยงั คงประกอบอาชีพการเกษตรซึ่ งเป็ นการผลิต เพื่อการเลี้ยงชีพ โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในกลุ่มที่มีอายุ 40 ปี ขึ้นไป ยังคงมีอาชีพหลักในการทานา ทาสวนผลไม้ และ สวนยางพารา แต่สาหรับคนรุ่ นใหม่อตั ลักษณ์ทางวัฒนธรรมในส่ วนนี้ เริ่ มจางลง เนื่ องจากมีแนวคิดใหม่ที่มุ่ง ประกอบอาชีพตามความรู ้ที่ได้ศึกษามามากกว่าการทาเกษตรกรรมแบบดั้งเดิม โดยเฉพาะอาชีพรับจ้างหรื อขาย แรงงาน เช่น การเป็ นพนักงานบัญชี พนักงานขาย พนักงานโรงแรม หรื อทางานในโรงงาน เป็ นต้น 3. อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่เกิดจากการอยู่ร่วมเป็ นสังคม 3.1 การดาเนินชีวติ แบบวิถีชนบท สังคมของคนไทยในกลันตัน ยังคงเป็ นสังคมแบบชนบทที่ยึดเอา วัดเป็ นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมของหมู่บา้ น เป็ นที่ประกอบศาสนกิจและประกอบพิธีกรรมต่างๆ โดยมีพระสงฆ์ เป็ นศูนย์รวมจิตใจของชุมชน มีผูใ้ หญ่บา้ นเป็ นแกนนาในการบริ หารจัดการในส่ วนที่เกี่ยวกับภาครัฐ มีวิถีชีวิต และความเป็ นอยูท่ ี่เรี ยบง่าย ไม่ค่อยสนใจเรื่ องการเมืองมากนักจึงไม่มีพรรคการเมืองเป็ นของตนเอง 3.2 ระบบครอบครัวทีย่ งั เป็ นครอบครัวขยาย และอยู่ภายใต้ การดูแลของพ่ อแม่ แต่ละครอบครัวมี สมาชิ ก 4-5 คน มีที่ดินมากพอที่จะแบ่งให้ลูกๆ ฝ่ ายชายจะเป็ นผูน้ าในการหารายได้ส่วนการอบรมสั่งสอนและ ดูแลบุตร จะเป็ นภาระหน้าที่ของแม่ เรื่ องที่สอนลูกจะสอนให้รักความเป็ นไทย ให้เรี ยนรู ้วฒั นธรรมไทย ถ้ามีลูก ชายต้องให้บวชเรี ยนก่อนแต่งงาน นิ ยมให้ลูกรับราชการ ในชุมชนแต่ละครอบครัวจะให้การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เป็ นอย่างดี 3.3 การเคารพและยึดมัน่ ในพระพุทธศาสนา มีวดั เป็ นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมของหมู่บา้ น เจ้าอาวาส และพระภิกษุสงฆ์เป็ นศูนย์รวมใจของชุมชน ส่ วนใหญ่จะยึดมัน่ ในศาสนกิจอย่างเคร่ งครัด นิ ยมให้ลูกๆ ทั้งหญิง และชายไปเรี ยนภาษาไทยและธรรมศึ กษาที่ วดั การบวชเรี ยนถื อเป็ นจารี ตสาหรั บเด็กชายเพราะนอกจากได้ ทดแทนคุณบิดามารดาแล้ว ยังถือว่าได้ผา่ นการศึกษาและเป็ นคนที่สมบูรณ์ เป็ นที่ยอมรับของสังคม 3.4 การใช้ ภาษาไทยกลันตันในชีวิตประจาวัน แม้วา่ การเรี ยนภาษาอังกฤษและภาษามลายูจะเป็ น ภาษาที่ภาครัฐกาหนดให้เรี ยนในโรงเรี ยน แต่คนไทยในรัฐกลันตันก็ยงั คงใช้ภาษาไทย กลันตัน (ภาษาถิ่น) ในการ ติดต่อสื่ อสารในชีวติ ประจาวัน ภาษาไทยกลันตันถือเป็ นอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่มีลกั ษณะโดดเด่นของคนไทย ในรัฐนี้ เนื่องจากเป็ นภาษาที่มีลกั ษณะเฉพาะที่ไม่เหมือนกับภาษาของคนไทยในรัฐอื่นๆ 3.5 การบวชเรียนถือเป็ นจารีตที่ต้องปฏิบัติ คนไทยในกลันตันนิ ยมให้เด็กชายได้บวชเรี ยนก่อน แต่งงานเพราะถือว่าการบวชจะทาให้เป็ นคนที่สมบูรณ์ นอกจากนี้ ยงั ต้องการให้บุตรหลานได้รับการศึกษาชั้นสู ง ได้รับราชการเพราะถือว่าเป็ นเกียรติแก่ครอบครัว นอกจากนี้ ยงั นิ ยมถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมซึ่ งถือเป็ นอัตลักษณ์
ที่ โดดเด่ น ในความเป็ นไทยให้แก่ ลูก หลาน เช่ น การราไทย การรามโนราห์ การเล่ นหนังตะลุ ง รวมทั้งการ ถ่ายทอดความรู ้ในอาชี พเฉพาะทาง เช่น การนวดแผนโบราณ การเป็ นหมอยา หมอสมุนไพร และหมอพิธีกรรม เป็ นต้น 3.6 มีความภาคภู มิใจในความเป็ นคนไทย คนไทยในกลันตันแม้จะเปลี่ยนสัญชาติเป็ นชาว มาเลเซียเชื้อสายไทย แต่แนวคิดของความเป็ นเชื้อชาติไทยยังมีอยูไ่ ม่เสื่ อมคลาย เพราะเชื่อว่าบรรพบุรุษของตนเอง ถือกาเนิดและตั้งรกรากในดินแดนแหลมมลายูมาช้านาน เช่นเดียวกับกลุ่มชาติพนั ธุ์มลายูซ่ ึ งเป็ นชนกลุ่มใหญ่ของ ประเทศ คนไทยเหล่านี้ยงั มีความภาคภูมิใจในการเป็ นคนสยามดั้งเดิม (Orang Siam) เพราะถือว่าตนเองมีชาติซ่ ึ ง เป็ นอาณาจักรยิง่ ใหญ่และเคยปกครองดินแดนแถบนี้มาก่อน แนวคิดและความภาคภูมิใจเหล่านี้เห็นได้จากคาสอน ที่มุ่งเน้นให้บุตรหลานแต่งงานกับคนไทยด้วยกันมากกว่าการไปแต่งงานกับกลุ่มชาติพนั ธุ์อื่น 3.7 ความมีน้าใจและการเป็ นมิตรที่ดีกับเพื่อนบ้ าน สังคมคนไทยในกลันตันมักจะได้รับการสั่ง สอนให้เป็ นพุทธศาสนิกชนที่ดีท้ งั ในด้านการปฏิบตั ิตนและการมีส่วนร่ วมในกิจกรรมของชุมชนโดยเฉพาะอย่าง ยิง่ การเข้าร่ วมกิจกรรมทางศาสนา หรื อการไปช่วยเหลือกิจกรรมของเพื่อนบ้านทั้งที่เป็ นคนไทยด้วยกันหรื อเป็ น กลุ่มชาติพนั ธุ์อื่น เช่น การไปร่ วมงานบวช งานแต่งงาน งานฮารี รายอ ตรุ ษจีน หรื อการไปร่ วมงานศพซึ่ งถือเป็ น เรื่ องจาเป็ นที่ตอ้ งกระทาแม้ไม่ได้รับเชิญจากเจ้าภาพก็ตาม 3.8 รักสงบและรู้ จักประนีประนอม คนไทยในกลันตันมีวิถีชีวิตที่เรี ยบง่าย รักความสงบและไม่ ชอบใช้ความรุ นแรง จึงไม่ค่อยมีบทบาทและสร้างปั ญหาให้กบั ภาครัฐมากนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งปั ญหาทางด้าน การเมือง ซึ่งต่างจากกลุ่มชาติพนั ธุ์อื่นๆ อย่างเช่น จีนหรื ออินเดียที่มีแนวคิดและมีความต้องการที่จะเข้าไปมีส่วน ร่ วมในการบริ หารประเทศ
อัตลักษณ์วฒ ั นธรรมทางพระพุทธศาสนาของคนไทยในรัฐกลันตัน : การธารงและ แนวโน้มของการเปลีย่ นแปลง คนไทยในรัฐกลันตันมีรูปแบบการธารงอัตลักษณ์วฒั นธรรมทางพระพุทธศาสนา โดยการสร้างระบบเครื อข่ายทางสังคมเพื่อคอยให้การช่วยเหลื อ ส่ งเสริ มและสนับสนุ นซึ่ งกันและกัน ระบบ เครื อข่ายดังกล่าวได้แก่... 1. เครือข่ ายวัดไทย : วัดไทยทุกวัดที่ต้ งั อยูใ่ นประเทศมาเลเซีย ถือเป็ นศูนย์กลางพื้นที่ทาง วัฒนธรรมของหมู่บา้ นคนไทย เนื่องจากคนไทยส่วนใหญ่จะสร้างบ้านเรื อนอยูใ่ กล้บริ เวณวัด เครื อข่ายวัดไทยใน อดีตจะทาหน้าที่เชื่อมโยงวิถีชีวิตและจิตวิญญาณของผูค้ นในหมู่บา้ น เพราะชาวบ้านจะใช้เครื อข่าย ดังกล่าวเป็ น ศูนย์กลางในการพบปะสังสรรค์หรื อทากิจกรรมร่ วมกัน โดยมีพระสงฆ์เป็ นผูน้ าและเป็ นผูก้ ล่อมเกลาให้ชาวบ้าน เกิดความรัก ความสามัคคีต่อกัน ทั้งนี้ เพื่อความสงบสุ ขในสังคม แต่กาลเวลาที่ล่วงเลยและประกอบกับดินแดน แห่ งนี้ ถูกเปลี่ ยนผ่านจากเดิ มซึ่ งเคยอยู่ในปกครองของราชอาณาจักรสยาม ไปอยู่ในปกครองของอังกฤษและ มาเลเซียตามลาดับ ทาให้เครื อข่ายวัดไทยที่เดิมทีมีแต่เฉพาะกลุ่มคนไทย กลับมีชาวมาเลเซี ยเชื้อสายจีน และเชื้อ สายอินเดียเข้ามาร่ วมอยูใ่ นเครื อข่ายวัดไทยด้วย ซึ่ งสิ่ งนี้ สะท้อนให้เห็นถึงความศรัทธา และการหลอมรวมจิตใจ ของผูค้ นในพื้นที่ วฒั นธรรมที่สามารถดารงไว้ซ่ ึ งความเป็ นมิตรไมตรี ที่ดีต่อกัน ทั้งในกลุ่มของตนเองและกลุ่ม เพื่อนบ้าน รวมทั้งยังช่วยให้วดั ไทยในมาเลเซียดารงอยูแ่ ละยังคงเป็ นศูนย์กลางพื้นที่วฒั นธรรมในหมู่บา้ นคนไทย จนถึงปั จจุบนั (ปั จจุบนั มีวดั ไทยในประเทศมาเลเซียทั้งสิ้น จานวน 84 วัด กับอีก 14 สานักสงฆ์)
2. เครือข่ ายพีส่ อนน้ อง : คนไทยในมาเลเซีย แม้จะถูกโอนสัญชาติไปเป็ นมาเลเซียตั้งแต่เริ่ มแรก ที่ประเทศมาเลเซียได้รับเอกราช (พ.ศ. 2500) แต่ในการดาเนินวิถีชีวติ ประจาวัน คนไทยเหล่านี้ก็ยงั คงใช้ภาษาไทย ติดต่อสื่ อสารกันทั้งในระดับครอบครัว ระดับเพื่อนบ้านและระหว่างรัฐ อย่างไรก็ตามแม้จะมีการใช้ภาษาไทยกัน อยู่จ นถึ ง ปั จ จุ บัน แต่ก็ถื อว่ายัง ใช้กันอยู่ในวงแคบเฉพาะในกลุ่ม คนไทย หรื อกลุ่มเพื่อนบ้า นต่า งชาติ พ นั ธุ์ ที่ สามารถพูดภาษาไทยได้เท่ านั้น ทั้งนี้ เนื่ องมาจากรั ฐบาลของประเทศมาเลเซี ยกาหนดให้ใช้ภาษามาลายูและ ภาษาอังกฤษเป็ นภาษามาตรฐานของการสื่ อสาร รวมทั้งใช้สอนในสถานศึกษาทุกระดับ การที่ไม่มีการเรี ยนการ สอนภาษาไทยในสถานศึกษา นับเป็ นสาเหตุสาคัญที่ทาให้เกิดเครื อข่ายพี่สอนน้อง เนื่ องจากการจัดการเรี ยนการ สอนภาษาไทยและธรรมศึกษาในวัดมีขอ้ จากัดที่ครู ผสู ้ อนซึ่ งส่ วนใหญ่จะเป็ นพระสงฆ์ ดังนั้นปี ใดที่มีพระสงฆ์ จาพรรษาน้อย ครู ผูส้ อนจะขาดแคลน ทาให้ตอ้ งอาศัยรุ่ นพี่ที่จบชั้นประถมปี ที่ 4 หรื อรุ่ นพี่ที่พอจะอ่านเขียน หนังสื อไทยได้ให้มาช่ วยสอนรุ่ นน้องแทน เครื อข่ายพี่สอนน้องจึ งมี ความสาคัญเพราะเป็ นการแสดงออกถึ ง จิ ตสานึ กของความเป็ น เชื้ อชาติไทย และมี ภาษาไทยที่ ตอ้ งคอยอนุ รักษ์สืบทอด เป็ นสานึ กของจิ ตวิญญาณที่ ต้องการให้ได้รับการขัดเกลาในกระบวนการเรี ยนรู ้โดยมี พระและรุ่ นพี่เป็ นผู ้ ถ่ายทอด คอยชี้แนะแนวทางที่จะ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการดาเนินชีวติ
3. เครือข่ ายของการช่ วยเหลือโดยอาศัยความเป็ นคนในพืน้ ทีเ่ ดียวกัน และนับถือศาสนา พุทธเหมือนกัน เครื อข่ายทางสังคมลักษณะนี้มีอยูห่ ลายรู ปแบบ ตัวอย่างเช่น… -เครือข่ ายปลงศพ : เมื่อมีคนตายในหมู่บา้ น จะมีการบอกกล่าวหรื อส่งสัญญาณให้ รับรู ้วา่ มีคนตายในพื้นที่ที่ทุกคนจะต้องมาช่วยเหลือ เพราะทุกคนรู ้ดีวา่ งานศพเป็ นงานที่ไม่สามารถทาได้เพียงคน เดียว แต่ตอ้ งช่วยดูแลกัน ถ้าใครรู ้แล้วเพิกเฉยหรื อไม่ไปร่ วมงาน ก็จะถูกมองว่าไม่มีน้ าใจและคนอื่นๆ ก็จะไม่ไป ช่วยเหลือถ้าบ้านของเขามีคนตาย ในงานศพพระภิกษุจะได้รับนิ มนต์ไปสวดศพและบังสุ กุลให้แก่ผูต้ าย โดยมี ความเชื่อว่าการมีพระมาสวดเท่กบั พระเป็ นผูน้ าทางไปสู่สุขคติได้ -เครือข่ ายใส่ บาตร : การทาบุญตักบาตรถือเป็ นการประกอบศาสนกิจที่คนไทยในรัฐกลันตันถือปฏิบตั ิ อย่างเคร่ งครัด แม้วา่ ส่วนใหญ่จะมีอาชีพทาสวนยางพารา ซึ่งต้องตื่นนอนตั้งแต่ ตี 3 หรื อตี 4 เพื่อไปกรี ดยาง และ กว่าการกรี ดยางจะแล้วเสร็ จก็ถึงเวลาประมาณ 9 โมงเช้าเป็ นอย่างน้อย การมี อาชี พกรี ดยางพาราแม้จะเป็ น อุปสรรคต่อการใส่บาตรพระในตอนเช้า แต่ดว้ ยสานึกในจิตวิญญาณของการเป็ นพุทธศาสนิกชนที่ดี ทาให้ชุมชน ร่ วมกันหาทางแก้ปัญหา โดยใช้วธิ ีจดั เวรสลับกัน วันละ 2-3 ครอบครัวเพื่อนาอาหารไปถวายพระที่วดั ทั้งในช่วง เช้าและช่วงเพล ครอบครัวใดที่ตอ้ งจัดอาหาร ถวายพระก็จะงดการกรี ดยางในวันนั้นๆ วิธีการดังกล่าวทาให้ ทุ ก ครั วเรื อ นได้มี โ อกาสท าอาหารถวายพระ และได้มี ส่ ว นร่ ว มรั บ ผิ ด ชอบต่ อ องค์ก รทางศาสนาในฐานะ พุทธศาสนิกชนที่ดี -เครือข่ ายครัววัด : ความมีน้ าใจและการมีจิตศรัทธาในการประกอบกรรมดีตาม หลักธรรมในพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ความช่วยเหลือแก่ผูท้ ี่ ได้รับความยากลาบาก หรื อการ ต้อนรับผูม้ าเยือนด้วยไมตรี จิต คุณสมบัติเหล่านี้ ถือเป็ นลักษณะเฉพาะของคนไทยที่มีผลมาจากการได้รับคาสั่ง สอนและกล่อมเกลาตามแนวทางในพระพุทธศาสนา จึ งทาให้คนไทยเป็ นคนที่ มี “น้ าใจ” ชอบช่วยเหลือผูอ้ ื่น อย่างเช่น การเข้าร่ วมเป็ นเครื อข่ายครัววัดของกลุ่มแม่บา้ น เพื่อร่ วมแรงร่ วมใจกันในกรณี ที่มีเทศกาลงานวัดหรื อมี แขกจากที่อื่นมาเยีย่ มเยียนหมู่บา้ น กลุ่มแม่บา้ นจะมารวมกันที่โรงครัวของวัด และจะช่วยกันปรุ งอาหารเพื่อถวาย
พระหรื อเลี้ยงแขกที่มาในงาน กลุม่ พ่อบ้านก็จะช่วยกันล้างจาน ช่วยกันจัดโต๊ะ หรื อกางเต็นท์ที่ใช้ในกิจกรรม นั้นๆ การมาช่วยเหลือในเครื อข่ายครัววัดถือเป็ นเรื่ องจาเป็ นที่ทุกคนจะไม่ปฏิเสธ เพราะเป็ นการบอกบุญจากพระ ให้มาร่ วมกันทาบุญทากุศล งานทุกอย่างจึงดูราบรื่ นและทุกคนต่างมาช่วยกันอย่างเต็มใจ ทั้งนี้ เพราะความศรัทธา ที่มีอยูใ่ นจิตวิญญาณของแต่ละคน ประการสาคัญวัดและพระถือเป็ นศูนย์รวมใจของผูค้ นในพื้นที่วฒั นธรรมแห่งนี้ การได้ทาบุญทากุศลถือเป็ นการทาความดีที่จะส่งผลถึงชาติหน้า -เครือข่ ายครู หมอ : เป็ นรู ปแบบความสัมพันธ์ที่เกิดจากความเชื่อในสิ่ งศักดิ์สิทธิ์ที่ ตนเองเคารพนับถือและเชื่อว่า หากเซ่นดีพลีถูกก็จะเกิดสิ ริมงคลแก่ตนเอง ในพื้นที่วฒั นธรรมบ้านบ่อเสม็ดและ หมู่บา้ นใกล้เคียง ผูค้ นยังมีความเชื่อและความกลัวในเรื่ องผีและการถูกคุณไสย ทาให้มีคนจานวนไม่นอ้ ยต้องฝาก ความหวังไว้กบั ครู หมอ ทั้งนี้เพื่อต้องการให้ครู หมอช่วยขจัดปั ดเป่ าสิ่ งชัว่ ร้ายและช่วยให้คลาดแคล้วจากภยันตราย ต่างๆ ครู หมอบ้านบ่อเสม็ดไม่เพียงแต่เป็ นที่รู้จกั และเป็ นที่พ่ งึ ทางใจให้แก่ผคู ้ นในหมู่บา้ นเท่านั้น แต่ยงั มีเครื อข่าย โยงใยไปถึงหมู่บา้ นอื่นๆและในกลุ่มชาติพนั ธุ์อื่นๆ ด้วย ความเชื่อและความศรัทธาของผูค้ นทาให้บรรดา "ครู หมอ" ทั้งหลายกลายเป็ นคนสาคัญ และมีรายได้ในการประกอบอาชีพค่อนข้างสูง หรื อบางครั้งก็มีบทบาทไม่ดอ้ ย ไปกว่าพระสงฆ์มากนัก เครื อข่ายครู หมอสะท้อนให้เห็ นวิถีชีวิตและจิ ตวิญญาณของผูค้ นที่ ตอ้ งการการพึ่งพิง ตัวอย่างเช่นหมอปลงศพ ซึ่ งถ้ามีการตายเกิ ดขึ้น ทุกศพจะต้องมีหมอปลงศพคอยทาพิธีให้ที่บา้ นตั้งแต่วนั แรก จนกระทัง่ เผาศพ การมีหมอปลงศพเชื่อว่าจะทาให้เจ้าของบ้านปลอดภัย นอกจากหมอปลงศพแล้ว ผูค้ นในพื้นที่ วัฒนธรรมบ้านบ่อเสม็ดยังมีความเชื่อในเรื่ องครู หมอตายาย เชื่ อว่าจะช่วยปกป้ องคุม้ ครองให้อยูเ่ ย็นเป็ นสุ ข หมอสิ หลัดและหมอโนราห์ ช่วยปั ดเป่ าอันตรายและก่อให้เกิ ดสิ ริมงคล หรื อการตั้งเจ้าที่ เ จ้าทางเพื่อให้คอย คุม้ ครองบ้าน ตลอดจนบวงสรวงเทวดา หรื อการกราบไหว้พระสงฆ์ที่ตนเองนับถือและเชื่อว่าศักดิ์สิทธิ์ เช่น การ เคารพบูชาหลวงพ่อทวดเหยียบน้ าทะเลจืด ทั้งนี้ เพื่อขอให้แคล้วคลาดจากภัยอันตราย หรื อเพื่อให้เกิดความอุดม สมบูรณ์และความเจริ ญรุ่ งเรื องในหน้าที่ การงาน ความเชื่อเหล่านี้ เป็ นการเยียวยาจิตใจเพื่อก่อให้เกิดความหวัง และความอยูร่ อดในยามที่มนุษย์ขาดที่พ่ งึ พิงทางใจ ซึ่งไม่เฉพาะแต่ผคู ้ นในอาเภอตุมปั ตเท่านั้น แต่ยงั มีคนบ้านอื่น หรื อคนชาติพนั ธุ์อื่นยังมาพึ่งพิงครู หมอบ้านบ่อเสม็ด จนมีคากล่าวกันทัว่ ไปว่า ถ้าจะหาครู หมอดีๆ มาทาพิธีตอ้ ง หาครู ห มอที่ เ ป็ นคนไทย หรื อ มี ค ากล่ า วในกลุ่ ม มลายูว่า “อย่า ไปมี เ รื่ องกับ คนไทย เพราะคนไทยจะมี วิช า คาถาอาคมที่จะทาให้เกิดอันตรายต่อคนที่เป็ นศัตรู ได้”
บทสรุป คนไทยในรัฐกลันตันแม้จะมีความพยายามที่จะธารงไว้ซ่ ึ งอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมทางพุทธศาสนา แต่ โลกในยุคของการเปลี่ยนแปลงก็มีส่วนทาให้อตั ลักษณ์บางอย่างของคนไทยเหล่านี้ สูญสลาย มีการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งมีการสร้างอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมขึ้นใหม่บนพื้นฐานของความคิดและความเชื่อที่วา่ “คนกลุ่มน้อยต้อง ยอมรับวัฒนธรรมของคนกลุ่มใหญ่ ต้องเรี ยนรู ้วฒั นธรรมของคนกลุ่มใหญ่ แต่ท้ งั นี้ จะต้องไม่ลืมอัตลักษณ์ของ ตนเอง” การคงไว้ซ่ ึงวัดไทยและภาษาไทย รวมทั้งการถ่ายทอดความรู ้ดา้ นศิลปวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่ องกับศาสนา และพิธีกรรมให้แก่บุตรหลาน จึงเป็ นอีกแนวทางหนึ่งของการธารงไว้ซ่ ึงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมทางพุทธศาสนา ของกลุ่ม ซึ่ งนอกจากจะเป็ นประโยชน์ต่อการประพฤติปฏิ บตั ิตนและการดาเนิ นชี วิตโดยตรงแล้ว ยังเป็ นการ ปลูกฝังความเป็ นไทยให้ลูกหลานได้เกิดเกิดความรัก ความหวงแหนในความเป็ นกลุ่มชาติพนั ธุ์ของตนเอง ให้เป็ น คนดีมีศีลธรรมและสามารถอยูร่ ่ วมกับคนอื่นๆ ได้อย่างมีความสุข
เอกสารอ้างอิง เกดะห์ดารุ อามัน. http://www.kedah.gov.my/kedah/ สืบค้ นเมือ่ 26 เมษายน 2550 เทริ์ นบุลล์. ซี. แมรี่ ประวัติศาสตร์มาเลเซีย สิ งคโปร์และบรู ไน. แปลโดย ทองสุก เกตุโรจน์, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ครุ ุสภา, ศูนย์พฒ ั นาหนังสือ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ, 2540. ดารงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. จดหมายเหตุหลวงอุดมสมบัติ. กรุ งเทพฯ : งานพระราชทานเพลิงศพ พระรัตนธัชมุนี (อิสฺสรญาณเถระ), 2505. ------. พระราชพงศาวดารกรุ งรัตนโกสิ นทร์ รัชกาลที่ 2. กรุ งเทพฯ : องค์การค้าคุรุสภา, 2505. ------. อธิบายเรื่ องพงศาวดาร อันเป็ นมูลเหตุแห่งจดหมายหลวงอุดมสมบัติ. นครหลวง กรุ งเทพธนบุรี :โรงพิมพ์พระจันทร์, อนุสรณ์พระราชทานเพลิงศพคุณหญิงบุญเกื้อ เบญจกาญจน์ จ.จ. 2515. ประพนธ์ เรื องณรงค์. “ชาวไทยที่ไทรบุรีหรื อที่เคดาห์มาเลเซีย : ศึกษาเฉพาะความเชื่อและพิธี กรรม”, วารสารรามคาแหง. 19(2) : 19-30 ; เมษายน – มิถุนายน 2545. ปราโมทย์ ปราสาทกุล. “ ประชากรโลก 2003,” ประชากรและการพัฒนา. 24(1) : 5 ; ตุลาคม-พฤศจิกายน 2546. ไรอัน. เจ. เอน. การสร้างชาติมาเลเซียและสิ งคโปร์. แปลโดย ม.ร.ว. ประกายทอง สิ ริสุข. กรุ งเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช, 2526
Arun A/L Boontiang. Kesedaran den Tindakan Politik di Kalangan Masyarakat Minoriti Siam: Satu Kajian Kes di Daerah Pendang, Kedah Darulaman. Master Thesis, Universiti Kebangsaan, Malaysia, 1990. Bastin, John, and Winks, Robin W. Malaysia Selected Historical Readings. Tokyo : Oxford University Press, 1966. Gullick J. M. Malaysia and Its Neighbours. London : Routledge and Kegan Paul, 1967. Keiko Kuroda. The Siamese in Kedah under nation-state Making. 2002. Mohammed Yusoff Ismail. Buddhism and Ethnicity Social Organization of a Buddhist Temple in Kelantan. 1983. Pramote Prasatkul. “World Population 2003,” Population and Development. 24(1): 5; October -November 2003. Steward, H. Julian. Theory of culture change. Urbana Chicago London : University of Illinois, 1963.
The Ministry of Foreign Affairs. Malaysia. MALAYSIA IN BRIEF. 2000.