Samut Sakhon

Page 1



สื่อการเรียนรู้สาระท้องถิ่น โดย


ชื่อ สำ�รวจเมืองสมุทรฯ เรื่อง นิรมล มูนจินดา โครงการ สร้างสรรค์สื่อการเรียนรู้สาระท้องถิ่น เลขมาตรฐานประจำ�หนังสือ 978-616-235-074-0 คณะบรรณาธิการอำ�นวยการ ทัศนัย วงศ์พิเศษกุล สุรีพันธ์ เป็งกาสิทธิ์ บรรณาธิการดำ�เนินงาน ระพีพรรณ พัฒนาเวช ภาพประกอบ วชิราวรรณ ทับเสือ กฤษณะ กาญจนาภา พิมพ์ครั้งแรก ๒๕๕๕ จำ�นวน ๓,๐๐๐ เล่ม สงวนลิขสิทธิ์ นิรมล มูนจินดา, วชิราวรรณ ทับเสือ และสำ�นักงานอุทยานการเรียนรู้ สำ�นักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) จัดพิมพ์โดย บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำ�กัด (มหาชน) ๖๕/๑๐๑-๑๐๓ ถนนชัยพฤกษ์ (บรมราชชนนี) ตลิ่งชัน กรุงเทพฯ ๑๐๑๗๐

เจ้าของโครงการ สำ�นักงานอุทยานการเรียนรู้ (สอร.) สังกัดสำ�นักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) ส่วนบริการ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น ๘ Dazzle Zone โทรศัพท์ ๐๒ ๒๕๗ ๔๓๐๐ โทรสาร ๐๒ ๒๕๗ ๔๓๓๒ ส่วนสำ�นักงาน ๙๙๙/๙ อาคารสำ�นักงานเซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น ๑๗ ถนนพระราม ๑ ปทุมวัน กรุงเทพฯ ๑๐๓๓๐ โทรศัพท์ ๐๒ ๒๖๔ ๕๙๖๓-๖๕ โทรสาร ๐๒ ๒๖๔ ๕๙๖๖ www.tkpark.or.th


ภารกิจสำ�คัญต่อสังคมประการหนึ่งของ สำ�นักงานอุทยานการเรียนรู้ คือการ ปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน และการกระจายโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ที่ทันสมัยและ สอดคล้องกับความสนใจของเด็ก เยาวชน และประชาชน ในรูปแบบห้องสมุดมีชีวิตที่ สร้างสรรค์บนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ โดยสำ�นักงานอุทยานการเรียนรู้ ได้ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภูมิภาคต่างๆ เพื่อขยายผลการดำ�เนินงานดังกล่าว การสร้างสรรค์สื่อการเรียนรู้สาระท้องถิ่น ให้มีรูปแบบการนำ�เสนอที่ทันสมัยและดึงดูด ความสนใจ เป็นเครื่องมือที่สำ�คัญอย่างหนึ่ง ซึ่งสำ�นักงานอุทยานการเรียนรู้เล็งเห็นว่า มีส่วนในการสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กและเยาวชนสนใจการอ่านและใฝ่หาความรู้อย่าง ต่อเนื่อง โดยนำ�เรื่องราวภูมิปัญญาสาระท้องถิ่นใกล้ตัวที่สอดคล้องกับวัย การดำ�รงชีวิต พร้อมกับสอดแทรกแนวคิดด้านคุณธรรม จริยธรรม มาเป็นเนื้อหาของสื่อการเรียนรู้ สำ�หรับเยาวชนตามช่วงวัย ตั้งแต่ ๐ – ๑๒ ปี สื่อการเรียนรู้สาระท้องถิ่น ภาคกลางและภาคตะวันออก ชุดนี้ สำ�นักงานอุทยาน การเรียนรู้ได้ร่วมกันสร้างสรรค์กับนักวิชาการและนักเขียนในท้องถิ่น เพื่อให้เด็กและ เยาวชน รวมทั้งประชาชนทั่วไปในภาคกลางและภาคตะวันออก ได้รับความรู้ และความ ภาคภูมิใจในวัฒนธรรมและท้องถิ่นตน รวมทั้งก่อให้เกิดความเข้าใจและการยอมรับใน วิถีชีวิตวัฒนธรรมที่หลากหลายตามบริบทพื้นที่และสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันออกไป สำ�นักงานอุทยานการเรียนรู้ มุ่งหวังว่าหนังสือชุดนี้จะเป็นสื่อการเรียนรู้อีกชุดหนึ่ง ที่จะส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งหมายถึงเป็นหนังสือที่ ผู้อ่าน อ่านอย่างมีความสุข สนุกในการอ่าน และก่อให้เกิดความตระหนักในคุณค่าของ ท้องถิ่นตนเองได้อย่างแท้จริง

สำ�นักงานอุทยานการเรียนรู้



เรื่อง นิรมล มูนจินดา ภาพ วชิราวรรณ ทับเสือ


ไม่ว่าโตขึ้นเราอยากจะเป็นอะไร อยากทำ�อาชีพไหน ในหัวใจ ทุกๆ คนล้วนเป็น ‘นักสำ�รวจ’ ด้วยกันทั้งนั้น เพราะอย่างนี้ มนุษย์เราจึงชอบเดินทางไปทุกหนแห่ง เพื่อสำ�รวจสิ่งใหม่ๆ แต่นักสำ�รวจไม่ได้เดินทางไปแต่ในที่ไกลๆ เสมอไป แม้ที่ใกล้ๆ นักสำ�รวจ ก็สามารถมองเห็นความพิเศษได้ และยังมีความสุขทุกทีที่เรียนรู้ เรื่องใหม่ๆ ได้เสมอ โดยเฉพาะใน ‘สมุทรสาคร’

คิดตรึกตรอง

ฟังสรรพเสียง อย่างตั้งใจ มองให้ทั่วๆ สังเกตดีๆ ได้กลิ่นทั้งหลาย ถามสิ่งที่สงสัย เรียนรู้ อย่างแจ่มใส

เป็นของดีที่มีติดตั้งไว้ กับตัวเราอยู่แล้ว เพียงแต่ ใช้ให้คุ้มค่าเท่านั้น

จดบันทึก วาดภาพ ฯลฯ

เดินอย่างระมัดระวัง


กันแดด กันหิวนํ้า ไม่ต้องซื้อหา

สวมสบาย ไม่กัด

ใส่อุปกรณ์อื่นๆ

ใช้จดและวาดภาพสิ่งที่พบเห็น

ทาง

้น ใช้ดูเส บันทึกภาพที่น่าสนใจ

ใช้ดูนกและสิ่งที่อยู่ไกลๆ

เคล็ดลับนักสำ�รวจ

นักสำ�รวจที่เก่งกาจมักเป็นนักอ่าน ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ ป้ายบอกทาง และป้ายข้อมูลต่างๆ ๗


‘แผนที่’ เป็นของสำ�คัญสำ�หรับนักสำ�รวจ ก่อนออกเดินทาง เราควรรู้ก่อนว่าจะไปที่ไหน ด้วยเส้นทางใด มีอะไรเป็นจุดสังเกต สมุทรสาครมีรูปร่างบนแผนที่เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า แบ่งเป็น ๓ อำ�เภอ คือ อำ�เภอเมืองสมุทรสาคร อำ�เภอกระทุ่มแบน และอำ�เภอบ้านแพ้ว มีเพื่อนบ้านทางเหนือเป็นจังหวัดนครปฐม ทางตะวันออกเป็นกรุงเทพฯ ทางตะวันตกเป็นสมุทรสงคราม และราชบุรี ส่วนทางใต้เป็นอ่าวไทย มีแม่นํ้าท่าจีนเป็นเส้นเลือด สำ�คัญไหลผ่านเลี้ยงเมือง

เป็นข้อมูลเบื้องต้นที่บอกบุคลิกลักษณะของจังหวัดได้ดี ‘เมืองประมง ดงโรงงาน ลานเกษตร เขตประวัติศาสตร์’ เป็นคำ�ขวัญที่พอจะบอกเราได้เบื้องต้นว่า สมุทรสาครทำ�อะไร มีอะไรเป็นของดีประจำ�ถิ่น เช่นเดียวกับตราจังหวัด รูปเรือสำ�เภาจีนที่กำ�ลังแล่นอยู่ในนํ้า ด้านหลังมีปล่องไฟ ก็ย่อมสื่อความหมายถึงคนจีน การค้าขาย และโรงงาน แต่ละอำ�เภอในสมุทรสาคร แบ่งออกเป็นตำ�บล ชื่อของสถานที่มักบอกถึงลักษณะบางอย่างเสมอ อาจเป็นสภาพของพื้นที่ พืชพรรณหรือ ชนิดของสัตว์ที่พบมากในบริเวณนั้น หรือนัยทางประวัติศาสตร์และเหตุการณ์สำ�คัญที่เกิดขึ้น เช่น ตำ�บลท่าจีน เคยเป็นเมืองท่าที่มีคนจีนมาค้าขาย ตำ�บลนาดีอาจปลูกข้าวได้ผลผลิตมาก หรือตำ�บลคลองมะเดื่อ ก็มีต้นมะเดื่ออยู่มากด้วย


อำ�เภอไหนมีตำ�บลอะไร แต่ละชื่อน่าจะมีที่มาอย่างไร ถึงเราจะเคยได้ยินกันจนคุ้นเคย แต่ใครรู้จักที่มาของตำ�บล ชื่อแปลกๆ เหล่านี้บ้าง : ท่าฉลอม โกรกกราก กาหลง บางกระเจ้า บางโทรัด บ้านแพ้ว เจ็ดริ้ว อำ�แพง ยกกระบัตร กระทุ่ม และหนองกกไข่ ลองถามผู้เฒ่าผู้แก่ที่อยู่อาศัยในท้องถิ่นมานาน จนรู้จักที่มากันดีไหม

รถไฟสายบ้านแหลม (ฝั่งท่าฉลอม) เชื่อมถึงแม่กลอง จ.สมุทรสงคราม

คนกรุงเทพฯ และมหาชัย ไปมาหาสู่กันได้ทุกวัน ด้วยรถไฟสาย วงเวียนใหญ่ – มหาชัย ในเวลา ๑ ชั่วโมง

หนังสือน่าสน

นามเนื่องเมืองสาครบุรี รวบรวมโดย อาจารย์สมพงษ์ เชาวน์แหลม รวบรวมที่มาของชื่อบ้านนามเมืองของตำ�บลต่างๆ ในสมุทรสาคร ห้องสมุดของโรงเรียนเรามีไหม ๙


เพราะสมุทรสาครโชคดีมี ‘สามนํ้า’ คือ นํ้าจืด (แม่นํ้า) นํ้าเค็ม (ทะเล) และนํ้ากร่อย (นํ้าจืดเจอนํ้าเค็ม) อยู่ด้วยกัน ธรรมชาติจึงก่อร่างสร้างแผ่นดิน สมุทรสาครอย่างน่าอัศจรรย์ ดินแดนที่มีแม่นํ้าไหลผ่าน มีผืนดินที่เกิดจาก โคลนตะกอนแม่นํ้าทับถมเนิ่นนาน แถมยังมีรอยต่อนํ้าจืดผสมนํ้าเค็มอย่างนี้ จึงมีความอุดมสมบูรณ์จากแร่ธาตุอาหารอย่างเหลือเฟือ เป็นแหล่งอาหารของ สัตว์ทะเลนานาชนิด

ดูเผินๆ อาจจะเหมือนๆ กัน แต่ผืนดินของสมุทรสาครไม่ได้ เป็นดินชนิดเดียวกันทั้งหมด ตอนบนของจังหวัดเป็นดินนา ปลูกพืชผักผลไม้ขึ้นงอกงาม ส่วนทางตอนล่าง เป็นดินเค็มเพราะอยู่ติดชายฝั่ง เลี้ยงปลานํ้ากร่อยก็ได้ ทำ�สวนมะพร้าวก็ดี

๑๐


ถ้าหากแผ่นดินเป็นสิ่งมีชีวิต แม่นํ้าท่าจีนที่ไหลผ่าน สมุทรสาครจากเหนือลงใต้ ออกอ่าวไทย ยาว ๗๐ กิโลเมตร ก็เป็นเหมือนเส้นเลือดใหญ่ที่ส่งนํ้าและอาหารหล่อเลี้ยง อวัยวะรอบๆ โดยมีลำ�คลองอีกราว ๑๗๐ สาย เป็นเหมือน เส้นเลือดฝอยลำ�เลียงนํ้าสู่ไร่นา

ชายฝั่งทะเลและริมแม่นํ้าแถว ปากอ่าวไทย มีป่าไม้ขึ้นหนาแน่น แม้ป่าไม้ของที่นี่ไม่เหมือนป่าบนภูเขา ที่ภาคเหนือ แต่ป่าชายเลนของสมุทรสาคร ที่เต็มไปด้วยไม้หน้าตาแปลกๆ สำ�คัญต่อชีวิตมนุษย์ และสัตว์ต่างๆ ไม่แพ้ป่าที่อื่นในโลกเลย

บางมุมของเมืองยังปลอดภัยพอที่สัตว์เล็กๆ เช่น นกเขาไฟ ได้อาศัยอย่างอิสระและไม่ถูกรบกวน

ต้นไม้และสัตว์ประจำ�จังหวัด

ต้นสัตบรรณ ไม้มงคลของจังหวัด เป็นไม้พื้นบ้านไทย ส่วนหอยพิมเป็นหอยหายาก แต่พบมากในสมุทรสาคร ๑๑


ถ้าได้เดินเข้าไปแล้ว เราจะพบว่าป่าชายเลนเป็นป่ามหัศจรรย์ ร่มเย็น เขียวขนัด สงบเงียบ แต่มีความเคลื่อนไหว และมีเสียงแปลกๆ! ป่าชายเลนเป็นที่อยู่ของพืชและสัตว์ที่ปรับตัวเก่ง จะบกก็ไม่บก จะนํ้าก็ไม่นํ้า เดี๋ยวมีคลื่น เดี๋ยวมีลม ดินก็เละ มีออกซิเจนน้อย แถมยังเค็มๆ อีก ต้นไม้และสัตว์ที่อาศัยอยู่ที่นี่จึงต้องปรับตัวให้เก่งกาจ และบางที ก็มีหน้าตาแปลกประหลาดไม่ซํ้าใคร

เพื่อให้มีชีวิตอยู่ได้ดี ต้นไม้ที่นี่จึงมีลักษณะพิเศษ ถ้าไม่มีรากใหญ่แตกแขนงออกมา คํ้ายันอย่างต้นโกงกาง ก็มีรากหายใจโผล่ขึ้นจากดินมารับออกซิเจนอย่างแสม มีใบอวบๆ ไว้เก็บนํ้าจืดอย่างลำ�แพน ลำ�พู โกงกาง หรือไม่ก็มีต่อมขับเกลือ อย่างเหงือกปลาหมอ

ป่าชายเลนเป็นบ้านของสัตว์หลากหลาย เช่น ลิงแสม นาก ค้างคาว งู กิ้งก่า เต่า จระเข้ ผีเสื้อกลางคืน หิ่งห้อย ฯลฯ ส่วนลูกกุ้งหอยปูปลา วัยอ่อนได้อาศัย หลบภัย ได้กินอาหาร และเติบโต อย่างปลอดภัยที่นี่ด้วย

๑๒


เห็นได้ง่าย เห็นบ่อยๆ ต้องปลาตีน ปลาตีนมีหลายชนิด บางชนิดมีจุดสีฟ้า บางชนิดมีจุดสีเหลือง หรือไม่ก็แถบดำ�ขาว แต่ขึ้นชื่อว่าเป็นปลาตีน นอกจากจะว่ายนํ้าได้แล้ว ก็ยังใช้ครีบหน้าพยุงตัวเดินได้ กระโดดได้บ้าง และปีนต้นไม้ได้ด้วย เสียงแปลกๆ ดังเปาะๆๆ หาที่มาไม่เจอ เป็นเสียงของกุ้งดีดขันผู้มีก้ามใหญ่พิเศษ ๑ ข้าง ดีดดังๆ บอกอาณาเขต

ป่าชายเลนเหมือนป่าอื่นๆ ตรงที่เป็นแหล่งผลิตออกซิเจน ให้เราหายใจ แต่ที่พิเศษกว่ามากๆ ก็คือเป็นป้อมปราการ ป้องกันชายฝั่งพังทลาย ป้องกันคลื่นลม และฟอกนํ้าสกปรก ให้สะอาด

นี่ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ ซะแล้ว! ก็ในปี ๒๕๑๘ สมุทรสาครยังมีป่าชายเลนตั้งแสนกว่าไร่ ผ่านไปถึงปี ๒๕๓๖ ป่าลดเหลือแค่ ๑๐,๐๐๐ ไร่ น้อยลงไปตั้ง ๑๐ เท่า เพราะคนบุกรุก ผ่านไปเกือบ ๒๐ ปี ตอนนี้จะเหลือเท่าไหร่กัน ๑๓


ย้อนกลับไปสัก ๕๐๐ ปีก่อน ชาวโปรตุเกสที่เข้ามาใน แผ่นดินสยามสมัยอยุธยาได้รู้จักชื่อ ‘บ้านท่าจีน’ เมืองท่าแสนคึกคัก มีเรือชาวมลายู และเรือสำ�เภาใหญ่ของชาวจีนมาจอดเพื่อค้าขาย ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นเมือง ‘สาครบุรี’ สมัยพระมหาจักรพรรดิ ถึงรัชกาลที่ ๔ ก็เปลี่ยนเป็น ‘สมุทรสาคร’ หมายถึง เมืองแห่งทะเลและแม่นํ้า แต่ถ้าย้อนกลับไปไกลแสนไกลถึง ๑๐,๐๐๐ ปีก่อน ที่ตรงนี้ยังเป็น ท้องทะเลอ่าวไทย ธรรมชาติใช้เวลานานจริงๆ ถึงจะถม ก้นทะเลให้กลายเป็นแผ่นดินได้อย่างที่เห็นในยุคนี้!

เป็นชื่อที่เรียกติดปากแทนตัวเมืองสมุทรสาคร มหาชัยเป็นชื่อ ตำ�บลหนึ่งในอำ�เภอเมือง ซึ่งเรียกตามชื่อ ‘คลองมหาชัย’ หรือ คลองโคกขามที่ถูกขุดในสมัยพระเจ้าเสือแห่งกรุงศรีอยุธยา

ตำ�บลท่าฉลอมเป็นสุขาภิบาลแห่งแรกของประเทศไทย ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นตัวอย่างการปรับปรุงเมือง ให้สะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อย

๑๔


ต้องขอบคุณความอุดมสมบูรณ์ของทรัพย์ในดิน สินในนํ้า ผู้คนจึงได้ทำ�มาหากินหลากหลาย สมุทรสาครจึงเป็น จังหวัดที่ผู้คนมีรายได้ต่อหัวต่อปีสูงเป็นอันดับ ๒ ของประเทศ รองจากระยอง

ชาวตะวันตกเป็นชนชาติชอบจดบันทึกและ วาดแผนที่ เพื่อรู้จักดินแดนที่สำ�รวจอย่าง ละเอียดถี่ถ้วนเป็นประโยชน์หลายทาง คนไทยเองก็ได้เรียนรู้จากเอกสารโบราณ เหล่านั้นว่าภูมิประเทศในยุคนั้นเป็นอย่างไร ชาวต่างชาติมองเราอย่างไร แผนที่วาดโดยวิศวกร ชาวฝรั่งเศสนี้มีอายุกว่า ๒๕๐ ปีแล้ว แสดงที่ตั้งของ บ้านท่าจีน (Taquin) ด้วย แผนที่ CARTE DU COURS DU MENAM Depuis Siam. Jusqua la Mer. วาดโดย Jacques Nicolas Bellin www.geographicus.com/mm5/graphics/00000001/L/Bangkok-bellin-1749.jpg

มหาชัย & แม่กลอง ใครๆ มักเปรียบสมุทรสาคร (มหาชัย) เป็นเมืองพี่น้องกับสมุทรสงคราม (แม่กลอง) เพราะทั้งสองจังหวัดนี้มีพื้นที่เป็นเรือกสวนลุ่มนํ้า เหมือนกัน มีแม่นํ้าสำ�คัญและคลองมากมายไหลผ่าน เหมือนกัน มีปากอ่าวเป็นหาดโคลนเช่นเดียวกัน และเคยมีป่าชายเลนอุดมสมบูรณ์เหมือนกัน ๑๕


ตั้งแต่โบราณกาล เมื่อคนไทยสร้างบ้านแปงเมืองแล้ว จะยกเสาหลักเมืองขึ้น เพื่อเป็นรากฐานและสิริมงคล คู่บ้านเมือง ประชาชนมีขวัญมีกำ�ลังใจดำ�เนินชีวิต และทำ�มาหากินด้วยจิตใจอันมั่นคง บ้านเมืองผาสุก หลักเมืองและศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรสาคร ตั้งอยู่บริเวณป้อมวิเชียรโชฎก ริมแม่นํ้าท่าจีน

สร้างจากไม้ชัยพฤกษ์ โดยได้ไม้มาจาก อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี และ อ.นํ้าโสม จ.อุดรธานี มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๕๐ ซม. และสูง ๒.๘ เมตร

รูปเจ้าพ่อหลักเมืองหรือ ‘เจ้าพ่อวิเชียรโชติ’ แกะสลักบนไม้ต้นโพธิ์ ตั้งอยู่ภายในศาลเจ้าพ่อ หลักเมือง เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของคน สมุทรสาคร ทุกๆ ปีจึงมีการแห่เจ้าพ่อหลักเมือง ไปรอบเมืองมหาชัยทั้งทางนํ้าและทางบก

๑๖


เป็นเก๋งจีนสร้างใหม่แทนศาลเดิมที่สร้างสมัยรัชกาลที่ ๓ ภายในมีงานแกะสลักและภาพวาดศิลปะจีนที่วิจิตรงดงามมาก โดยเฉพาะซุ้มไม้รูปต้นไม้ มังกร หงส์ สิงโต ช้าง และนก เสามังกร และลายปูนปั้นนูนตํ่ารูปเซียนด้านหน้าศาล

เป็นหนึ่งในป้อมตามหัวเมืองที่มีทางออกสู่ทะเล สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ โดยพระยาโชฎึก ราชเศรษฐี (ทองจีน) มีปืนใหญ่โบราณ ตั้งเรียงราย แต่ละกระบอกมีรอยสลัก ปี ค.ศ. ที่น่าจะเป็นปีผลิตแตกต่างกันไป

เจ้าเมือง

สมัยก่อนเจ้าเมืองเป็นผู้ที่พระมหากษัตริย์ แต่งตั้งขึ้นเพื่อดูแลทุกข์สุขและสร้างความ เป็นธรรมแก่ประชาชน สมัยรัชกาลที่ ๑ เจ้าเมืองท่าจีนได้บรรดาศักดิ์เป็น ปัจจุบันเจ้าเมืองก็คือตำ�แหน่ง นั่นเอง ๑๗


คนต่างถิ่นจะรู้จักถิ่นที่ตนไปเยือนได้ไม่น้อยจากตลาดสด ตื่นเช้าๆ ไปดูว่า ตลาดสดของเมืองมีอะไรขายบ้าง ก็จะรู้ว่าที่นี่มีข้าวปลาอาหาร อุดมสมบูรณ์ขนาดไหน มีอะไรเป็นสินค้าหลัก บ้านเมืองรํ่ารวย หรือสมถะ คึกคักหรือสงบเสงี่ยม

ตลาดที่อาจนับเป็นตัวแทนของมหาชัยได้คงหนีไม่พ้น ตลาดมหาชัย ตั้งอยู่บริเวณสถานีรถไฟติดต่อกันไปจนถึง ตลาดแม่พ่วงและตลาดแม่เน้ย ขายอาหาร ผัก ผลไม้ คึกคักเหมือนตลาดทั่วไป แต่ที่โดดเด่นก็คงเป็นอาหาร ทะเลทั้งสดและแห้ง ใต้ท้องทะเลมีสัตว์อะไรอยู่บ้าง จึงเรียนรู้ได้จากที่นี่

๑๘


อาหารทะเล เอกลักษณ์มหาชัย แช่แข็งเป็นอาหาร ราคาแพงขึ้นทุกที เพราะถูกจับจนลดน้อยลงเรื่อยๆ ปัจจุบันมีราคา ๖๐๐ บาทต่อครึ่งกิโลฯ

ปลาทูหน้างอคอหัก ของขึ้นชื่อของสมุทรสงคราม ก็มีมาขายที่ตลาดมหาชัย

สถานีมหาชัยสะอาดกว่านี้ได้ไหมนะ

ใครเคยไปคงได้เห็นกับตา คำ�ถามนี้มีไว้ให้ลองคิดดู เผื่อใครรู้ว่าจะต้องทำ�อย่างไร ๑๙


สมุทรสาครได้ชื่อว่ามีความเชี่ยวชาญทางการประมงมาก เป็นศูนย์กลางการค้าอาหารทะเลและแปรรูปอาหารทะเล ของเมืองไทย ทุกวันมีรถบรรทุกห้องเย็นจากทั่วประเทศ วิ่งเข้าออกเพื่อซื้อขายกุ้งหอยปูปลา ที่เป็นอย่างนั้นได้ นอกจากจะเป็นเพราะการเป็นเมือง อยู่ติดทะเลแล้ว ชาวสมุทรสาครยังได้ชื่อว่าเชี่ยวชาญด้านการ ต่อเรือและเดินเรืออย่างหาตัวจับยาก

นอกเหนือจากตลาดต่างๆ ในมหาชัยแล้ว ยังมี สะพานปลาอีก ๓ แห่ง ที่เป็นแหล่งซื้อขายประมูล ปลาขนาดใหญ่ ได้แก่ สะพานปลาเทศบาล สะพานปลาสมุทรสาคร และตลาดทะเลไทย

‘เรือมหาชัย’ นับเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ ถ่ายทอดจากช่างฝีมือชาวจีนจากรุ่นสู่รุ่นนาน ร่วม ๑๐๐ ปี มีลักษณะเฉพาะคือเป็นเรือไม้ ที่ทำ�จากไม้ตะเคียนและไม้ประดู่ด้วยฝีมือ ประณีต เดี๋ยวนี้ไม้ที่ใช้ต่อเรือหายากขึ้นทุกที อู่ต่อเรือแบบดั้งเดิมในมหาชัยจึงเหลือไม่กี่แห่ง

๒๐


เรือประมง เมื่อใช้ไป ๑ - ๒ ปี ก็ต้องนำ�ขึ้นมา ตรวจสภาพและซ่อมแซม โดยถูกนำ�มา ‘ขึ้นคาน’ และอยู่อย่างนั้นไปจนกระทั่งซ่อมแซมเสร็จ และมี ‘สาลี่’ มารับออกไปลงนํ้า ขึ้นคานยังใช้เปรียบเปรยถึงผู้หญิงที่ ไม่แต่งงานเหมือนเรืออยู่บนคาน

เพราะในอ่าวไทยเหลือปลาน้อยลง จึงทำ�ให้เรือประมงจากมหาชัย ต้องออกหาปลาไปไกลถึงทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย เวียดนาม พม่า กระทั่งถึงแอฟริกา

ลองคิดดู

แม้การทำ�ประมงจะเป็นอาชีพสำ�คัญ แต่การทำ� ประมงเกินขนาดเช่นในทุกวันนี้ กำ�ลังทำ�ให้ปลาและสัตว์ทะเล หลายชนิดสูญพันธุ์ เมื่อเทียบกับ ๑๐๐ ปีก่อน ท้องทะเลทั่วโลกมีปลาลดลง ไปถึง ๖ เท่า ในขณะที่ประชากรโลกเพิ่มขึ้น ๔ เท่า ๒๑


ดท้ นี่ ี่ สมทุ รสาคร รู้ไหมว่าอะไรอยู่ไหนบ้าง ง ิส่ เหลา่ นพี้ บเหน็ ไ

๒๒


๒๓

๑. ศาลพันท้ายนรสิงห์ ต.โคกขาม อ.เมือง ๒. โรงงานกะปิหลังคามุงจาก ต.ท่าฉลอม ๓. ปล่องเหลี่ยม เตาไฟโรงงานนํ้าตาลทรายโบราณ อ.กระทุ่มแบน ๔. ป้อมแสดงแผนที่ มีทั่วไป โดยเฉพาะในเมืองมหาชัย ๕. หอนาฬิกา ท่าเรือรับลม มหาชัย ๖. กระถางต้นไม้บนถนน ต.บางหญ้าแพรก ๗. เสาไฟนางเงือก วัดโกรกกราก ริมนํ้าท่าจีน ๘. วงเวียนนํ้าพุ หน้าเทศบาลเมืองสมุทรสาคร ๙. เสาไฟแบบต่างๆ ๙.๑ เสาเรือประมงบนถนน ต.บางหญ้าแพรก ๙.๒ เสาพันท้ายนรสิงห์ ต.โคกขาม ๙.๓ เสาสำ�เภาทอง วัดช่องลมและหน้าบ้านศิลาสุวรรณ ๑๐. ถนนเขียวขจีและคนขี่จักรยาน อ.บ้านแพ้ว


โดยทั่วไปโบสถ์วิหารที่เราพบเห็นมักเป็นโบสถ์ก่ออิฐถือปูน แต่ทำ�ไมวัดบางแห่งในมหาชัยถึงมีโบสถ์ที่สร้างจากไม้ ช่างโบราณผู้สร้างโบสถ์ในเมืองที่ตั้งแถบปากอ่าวติดทะเลอย่างสมุทรสาคร สมุทรสงคราม หรือเพชรบุรีรู้ดีว่า ดินริมแม่นํ้าติดปากอ่าวแบบนี้เป็นดินเลน เละเหลวๆ รับนํ้าหนักอิฐปูนไม่ไหว แถมสมัยก่อนยังไม่มีการตอกเสาเข็ม จึงหาทางออกด้วยการสร้างโบสถ์เป็นไม้ เพราะไม้เบากว่า ทนลม และทนนํ้าเค็ม ที่ท่วมถึงได้ดีอีกด้วย

ตั้งอยู่ริมแม่นํ้าท่าจีน ใกล้ปากอ่าวไทย ตัวโบสถ์เป็นไม้สัก ทรงไทย หลังคามุงกระเบื้องและมีเสาไม้กลมรองรับ มีประตูเข้าออกด้านหน้าและด้านหลัง ผนังเป็นฝาปะกน หน้าบันเรียบ ช่องลมประดับลายไม้ฉลุงดงาม

๒๔


ทั้งหลวงพ่อปู่ - พระประธานในโบสถ์ และรูปหลวงปู่กรับ อดีตเจ้าอาวาสวัดโกรกกราก ในวิหารข้างโบสถ์ต่างใส่แว่นตาดำ�ที่มีคนมาถวาย ด้วยความศรัทธา เพราะเคยมีคนบนบานขอให้ อาการเจ็บป่วยที่ดวงตาหายขาด จากนั้นจึงมีผู้นิยม นำ�แว่นตามาถวายสืบมา

วัดแหลมสุวรรณารามมีโบสถ์ไม้สัก เก่าแก่เหมือนกัน แต่มีลักษณะการ ก่อสร้างที่ต่างกันออกไป นั่นคือมีลาย ปูนปั้นประดับที่หน้าต่าง ผนังด้านนอก มีปูนปั้นพระพุทธรูป ปูนปั้นนูนสูง โดยรอบ ที่หน้าบันมีปูนปั้น รูปพญานาคประดับกระเบื้อง ช่างสวยงามจริงๆ

ทำ�ไมวัดนี้ถึงชื่อโกรกกราก

หนังสือบางเล่มให้เหตุผลว่า เป็นเสียงของ เครื่องมือปั่นด้ายเพื่อทำ�อวนจับสัตว์นํ้าในชุมชน ชาวประมงในละแวกนั้น แต่ที่ป้ายภายในโบสถ์ กลับบอกถึงที่มาที่แตกต่างออกไป อยากรู้ไหมว่าคืออะไร

สืบเสาะข้อมูล

การพูดคุยสอบถามกับพระสงฆ์หรือ ผู้เฒ่าผู้แก่เกี่ยวกับประวัติความเป็นมา และชื่อของวัด จะทำ�ให้นักสำ�รวจ ได้ข้อมูลสนุกๆ เพิ่มเติมมากขึ้น ๒๕


ที่นับโบราณวัตถุและโบราณสถาน เป็น ‘ของดี’ ก็เพราะนอกจากจะงดงาม บอกถึงฝีไม้ลายมือของช่างผู้สร้างสรรค์แล้ว ของดีเหล่านี้ยังเป็นร่องรอยเชื่อมโยงถึงอดีต ให้คนปัจจุบันได้เข้าใจถึงผู้คนและบ้านเมือง ในยุคก่อนด้วย

สมทุ รสาครเป็นเมืองที่มีของดีอ เราเคยไปที่ไหนมาแล้วบ ยู่ไม่น้อย ้าง

๒๖


เดาดูเล่นๆ

คนสมุทรสาครนับถือศาสนาไหนมากที่สุด เฉลย คนสมุทรสาครนับถือศาสนาพุทธมากที่สุด รองลงมาเป็นศาสนาคริสต์ และอิสลาม ตามลำ�ดับ

๒๗


แม้ชื่อจะคล้ายกัน ‘นกแอ่น’ กับ ‘นกนางแอ่น’ ก็เป็นนกต่างชนิดกันและมีวิวัฒนาการแตกต่างกัน ‘นกแอ่นกินรัง’ ถูกตั้งชื่อแบบนี้เพราะรังของมันกินได้ พ่อแม่นกใช้เวลาสร้างรังนานกว่าเดือน เพื่อวางไข่ และเลี้ยงลูก โดยทั่วไปนกชนิดนี้จะทำ�รัง ตามถํ้าในภาคใต้

ในวิหารหลวงปู่แก้ว วัดสุทธิวาตวราราม หรือวัดช่องลม มีนกแอ่นกินรังเป็นพันๆ ตัวมาทำ�รังอยู่ นกฝูงนี้เริ่มต้น มาอาศัยอยู่ที่วัดตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๒ ในสมัยหลวงปู่แก้ว (พระเทพสาครมุนี) เป็นเจ้าอาวาส

ประกาศที่มีข้อความบอกว่า ทางวัดไม่เก็บรังนกไปขาย เว้นแต่จะเป็นรังเก่า ที่ถูกแม่นกทิ้งแล้ว

๒๘


ถูกปล่อยออกมาครั้งแล้วครั้งเล่าเพื่อทำ�เป็นรัง คน เชื่อว่ารังนกเป็นอาหารบำ�รุงชั้นเลิศ จึงเก็บรังของนกไปขาย พอรังถูกเก็บไป พ่อแม่นก ต้องสร้างรังใหม่อีกครั้งแล้วครั้งเล่า จากรังสีขาวรุ่นแรกก็กลายเป็นสีแดงเพราะมีเลือดปน

เป็นตึกแถวแปลกๆ ที่ไม่มีหน้าต่าง คนสร้างขึ้นและหลอกให้นกมาอยู่ ด้วยการเปิดเสียงนกที่บันทึกไว้

สำ�รวจเพิ่มเติม อ่านเรื่องของนกแอ่นแห่งวัดช่องลม แบบเต็มๆ ได้ที่ www.chonglom.com

ลองคิดดู

ถ้าเราอยากแข็งแรง เราจะเลือกกินอาหารให้ครบ ๕ หมู่ ออกกำ�ลังกาย และนอนให้เพียงพอ แทนการกินรังนกได้ไหม ๒๙


ความที่สมุทรสาครเป็นเมืองชายฝั่งทำ�เลดี บ้านเมืองสงบสุข ที่นี่จึงเป็นดินแดนแห่งความหลากหลายเชื้อชาติ คนจีน มอญ และลาวโซ่งรุ่นก่อนที่หนีภัยสงครามและความลำ�บาก ในบ้านเกิดเมืองนอนมาตั้งถิ่นฐานและขับเคลื่อน ประวัติศาสตร์ตลอดมา

คนจีนเป็นคนต่างถิ่นที่บุกเบิก ‘บ้านท่าจีน’ มีบันทึกในประวัติศาสตร์มาตั้งแต่ ๕๐๐ ปีก่อน จนถึงวันนี้คนไทยเชื้อสายจีนยังทำ�มาค้าขาย ทำ�ประมง นาสวน ฯลฯ สืบมา

ศาลเจ้าและโรงเจมีให้เห็นทั่วไป ในตำ�บลท่าฉลอม ก่อสร้างและประดับ ตกแต่งด้วยศิลปะแบบจีน

๓๐


เป็นเรือนขนมปังขิงไม้สักทองเก่าแก่อายุ ๙๐ ปี ของตระกูลศิลาสุวรรณ ต้นตระกูลเป็นคหบดี ชาวจีนทำ�กิจการโป๊ะและนํ้าปลา ตั้งอยู่บน ถนนถวาย หน้าบ้านปูอิฐแบบฟันปลา จำ�ลองจากถนนถวายในสมัยรัชกาลที่ ๕

ประเพณีไม่ได้มีแต่ความสนุกสนานหรือจริงจัง ผ่านทางประเพณี เช่น กินเจ ไหว้เจ้า เช็งเม้ง แห่เจ้าพ่อ หลักเมือง เราจึงได้เข้าใจถึงคุณค่าที่ชาวไทยเชื้อสายจีน ให้ความสำ�คัญ เช่น ความกตัญญู ความเมตตากรุณา ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และความสามัคคี

ผสมผสานกลมกลืน

แม้จะเป็นโบสถ์ไทย แต่ช่างชาวจีนก็สามารถ ผสมผสานศิลปะจีนได้อย่างกลมกลืน สถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพล จากศิลปะจีนมีให้เห็นได้ทั่วไป ในสมุทรสาคร

๓๑


แทบจะแยกไม่ออกเลยว่าใครเป็นไทย ใครเป็นมอญ เพราะเรามีหน้าตาเหมือนๆ กัน ลูกหลานมอญรู้ดีว่า ปู่ย่าตาทวดชาวมอญเดินทางไกล มาอาศัยอยู่ในสมุทรสาครเมื่อเกือบ ๒๐๐ ปีก่อน และค่อยๆ ทยอยอพยพเข้ามาอีกหลายระลอก มอญมีภาษาพูด และอักษรเขียนเป็นของตนเอง ทั้งมอญและไทยอยู่กันได้อย่างกลมกลืนเพราะมีวิถีชีวิต อุปนิสัย และประเพณีคล้ายคลึงกัน ที่สำ�คัญชาวมอญเลื่อมใสศรัทธา ในพุทธศาสนาเหมือนคนไทย วัดมอญจึงมีให้เห็นอยู่ทั่วไป

ในสมุทรสาครมีวัดมอญประมาณ ๓๐ แห่ง วัดไหนเป็นวัดมอญสังเกตได้จาก :

(

พระพุทธรูป กย้าจก์-ตรัว) ศิลปะมอญ

ศาลชุมชน ( ฮ็อย-ปา-โหนก) เป็นที่สักการะของชาวบ้าน

(

เสาหงส์ แธะ-หย่าง-บ่าบ) วัดมอญทุกแห่งมี เสาหงส์เป็นเอกลักษณ์ ธงตะขาบ ( โหน่) เอกลักษณ์คู่กับเสาหงส์

พระเจดีย์ ( กย้าจก์-เจ-ตอย) ทรงมอญป้านกว่าเจดีย์ไทย

๓๒


ในขณะที่มอญกับไทยมีประเพณีหลายอย่างคล้ายกัน เช่น สงกรานต์ เข้าพรรษา โกนจุก แต่ก็มีอีกหลายอย่างที่ แตกต่างออกไปเป็นเอกลักษณ์ เช่น ประเพณีล้างเท้าพระ ช่วงออกพรรษา ตักบาตรนํ้าผึ้ง สร้างเสาหงส์ และการรำ�ผี เป็นต้น

หญิงชาวมอญจะเกล้ามวย สวมเสื้อแขนทรงกระบอก นุ่งผ้านุ่ง ( แกะ-หนิ่น) และห่มสไบ ( หยาด-โด๊ด)

อาหารยอดนิยมของใครๆ เช่น ขนมจีน ข้าวแช่ ที่จริงแล้วเป็นอาหารมอญ คนมอญกินข้าวกับแกงคล้ายคนไทย แต่แกงมอญดั้งเดิมไม่ใส่กะทิ เช่น แกงเลียง แกงป่า แกงมะตาด ฯลฯ

ไม่เล่นตุ๊กตา

เด็กๆ มอญไม่เล่นตุ๊กตา เพราะเชื่อกันว่า คนโบราณนิยมใช้ตุ๊กตาทำ�พิธีเสียกบาล จึงไม่ควรนำ�ตุ๊กตามาเล่น ๓๓


ไม่ว่าเราจะชอบหรือไม่ สมุทรสาครก็เป็น ‘ดงโรงงาน’ จริงๆ อย่างที่คำ�ขวัญว่าไว้ เพราะมีโรงงานมากมายเกือบ ๕,๐๐๐ แห่ง พุ่งพรวดมากกว่าเมื่อ ๑๐ ปีก่อนเกิน ๒ เท่า และมีโรงงาน เปิดใหม่ราว ๒๐๐ แห่งทุกปี ทำ�ไมใครๆ ก็มาเปิดโรงงานที่นี่ล่ะ

ความที่สมุทรสาครเป็นจังหวัด ‘ปริมณฑล’ อยู่ติดกับกรุงเทพฯ มีเส้นทางการขนส่งถนนหนทาง ที่สะดวกสบาย และมีเหตุผลเหมาะสมอีกหลายอย่าง ทำ�ให้โรงงานมาตั้งอยู่ที่นี่มากมาย

ในปี ๒๕๕๒ อำ�เภอที่มีโรงงานตั้งอยู่ มากที่สุดคือ มหาชัย (๒,๖๓๗ แห่ง) รองลงมาคือ กระทุ่มแบน (๑,๙๗๒ แห่ง) และน้อยที่สุดคือ บ้านแพ้ว (๑๐๒ แห่ง)

๓๔


ส่วนใหญ่มักเป็นโรงงานที่ผลิตสิ่งของ เช่น ท่อโลหะ เหล็กโครงสร้าง พลาสติก กระดาษ เสื้อผ้าสำ�เร็จรูป เป็นต้น และเพราะสมุทรสาครเป็น ‘เมืองประมง’ โรงงานที่เกี่ยวข้องกับอาหารทะเล จึงมีมากมายเป็นพิเศษ ตั้งแต่การเก็บสัตว์นํ้า ห้องเย็น โรงงานทำ�ปลาแช่แข็ง ปลาป่น ทำ�ปลากระป๋อง แปรรูปอาหาร ตลอดจนผลิตกระป๋องด้วย

พนักงานในโรงงานมักแต่งตัวเหมือนๆ กัน เดินเข้าออกจากโรงงานเป็นร้อยๆ คน แต่เราไม่รู้ว่าเขาทำ�อะไร สิ่งที่พอจะ บอกเราได้คร่าวๆ ว่าโรงงานไหนทำ�อะไร ก็คือชื่อของโรงงาน แค่อ่านดูป้าย เราก็พอจะรู้ว่า โรงงานนี้ผลิตอะไร เช่น ชื่อโรงงานที่มีคำ�ว่า ‘ห้องเย็น’ หรือ ‘อาหาร’

แต่โรงงานไม่น้อยมักใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษ เช่น การ์เมนต์ (Garment) โฟรเซ่น (Frozen) แคน (Can) สตีล (Steel) ไวเนอรี่ (Vinery) พริ้นติ้ง (Printing)

จากร่องรอยทางภาษา เรารู้ไหมว่า โรงงานไหนทำ�อะไร อยากรู้เพิ่มเติม ติดตามได้ที่นี่ www.samutsakhon.go.th ดูที่

เฉลยศัพท์โรงงาน

การ์เมนต์ = เสื้อผ้า/สิ่งทอ โฟรเซ่น = แช่แข็ง/ห้องเย็น แคน = กระป๋อง/ทำ�อาหารกระป๋อง สตีล = โลหะ/เหล็ก ไวเนอรี่ = ทำ�ไวน์ พริ้นติ้ง = สิ่งพิมพ์ ๓๕


ความที่สมุทรสาครมีงานให้ทำ�มากมาย แต่ไม่ค่อยมี แรงงานไทยทำ� แรงงานต่างถิ่นที่มาจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า ลาว กัมพูชา จึงนิยมเข้ามาทำ�งานที่นี่ แต่ที่มีมากที่สุดคือแรงงานจากประเทศพม่าหรือเมียนมาร์ ที่หนีภัยสงคราม การกดขี่ข่มเหง และความยากจน ในประเทศ โดยหวังว่าจะมีชีวิตที่ดีกว่า

ไม่น่าเชื่อว่า ผู้ใช้แรงงานที่ถูกเรียกว่า ‘พม่า’ กลับมีพม่าจริงๆ อยู่ น้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นชาวมอญที่อาศัยอยู่ใกล้เขตชายแดน ที่เหลือเป็นชนชาติกะเหรี่ยง ไทยใหญ่ เป็นต้น

เมื่อมีแรงงานต่างถิ่นเข้ามาอาศัยมาก ก็ไม่แปลกเลยที่จะต้องมีป้ายภาษาพม่า ติดอยู่ตามร้านค้า ตู้โทรศัพท์ คลินิก และที่สาธารณะทั่วไปเพื่อคนต่างเมือง

๓๖


วัดศรีบูรณาวาสหรือ วัดโคก เป็นหนึ่ง ในวัดมอญเกือบ ๓๐ แห่งของสมุทรสาคร เป็นแหล่งรวมใจของคนไทยมอญ และแรงงานชาวมอญ โดยเฉพาะ ในเทศกาลสงกรานต์และเข้าพรรษา

ไี วเ้ ตอื นใจนี้ ม สกั หมายว่า ‘ส ู้’ าม

รอย มีคว

ใช่ว่าจะทำ�งานได้ทุกอย่าง แรงงานต่างถิ่นถูกจำ�กัดให้ ทำ�งานได้แค่ ๑๐ อาชีพ นั่นคือ ประมง กิจการต่อเนื่องจาก ประมง (เช่น แพปลา ห้องเย็น ฯลฯ) เกษตร โรงสีข้าว โรงทำ�อิฐ ทำ�นํ้าแข็ง ขนถ่ายสินค้าทางนํ้า ก่อสร้าง เหมืองแร่ และลูกจ้างในครัวเรือน

อยู่ไกลบ้านแต่กาย ใจยังคิดถึงอาหารและข่าวสาร จากบ้านเกิด ร้านขายของชำ�และร้านอาหารที่มีสินค้า และกับข้าวที่คุ้นเคย ทำ�ให้คนต่างถิ่นใช้ชีวิตที่คุ้นเคย ได้ตามสมควร

ข่าวสารจากบ้านเกิด

ไม่ว่าจะเป็นข่าวนักร้องยอดฮิตหรือข่าวผู้นำ� ทางการเมือง ทีวีดาวเทียมก็เชื่อมโยงคนห่างบ้าน ให้รู้สึกใกล้ชิดจากแผ่นดินเกิดได้ดีทั้งนั้น ๓๗


คนเราอยู่ไม่ได้ถ้าขาดเกลือ ความที่เกลือเป็นแร่ธาตุหนึ่ง ในร่างกาย แถมยังพึ่งพาเกลือในกิจการต่างๆ อีกมากมาย ตั้งแต่ปรุงรสชาติและถนอมอาหาร จนถึงกลั่นน้ำ�มัน และทำ�ฝนเทียม แต่ก่อนชาวนาเกลือสมุทรสาครหลายร้อยครอบครัว เคยผลิตเกลือสมุทรได้มากมายถึงร้อยละ ๗๐ ของที่ผลิตทั้งประเทศ เดี๋ยวนี้เหลือเพียงไม่กี่บ้าน ที่ยังยืนหยัดทำ�นาเกลืออยู่

แม้เกลือสมุทรจะมีความบริสุทธิ์ไม่มากเท่าเกลือสินเธาว์ ของภาคอีสาน แต่กลับมีแร่ธาตุสำ�คัญต่อร่างกาย เป็นส่วนประกอบอยู่ด้วย โดยเฉพาะไอโอดีน

เดี๋ยวนี้หาเกลือสมุทรได้ยากขึ้นทุกที มีแต่เกลือสินเธาว์ (เติมไอโอดีน) ครองตลาด รู้ไหมว่าเกลือในครัว และบนโต๊ะอาหารของเราเป็นเกลือชนิดไหน

๓๘


การทำ�นาเกลือนั้น ไม่ธรรมดาอย่างที่เห็นตาเปล่า ต้องอาศัยความรู้ความเชี่ยวชาญของชาวนาเกลือ ที่สืบทอดกันมา จึงจะผลิตเกลือสมุทรได้

หลังหมดฤดูฝน ชาวนาเกลือต้องบดอัดผืนดินให้แน่นด้วย รถติดลูกกลิ้ง แล้วจึงไขนํ้าทะเลเข้ามาตากในวังขังนํ้า และนาชั้นต่างๆ ตั้งแต่นาประเทียบ นาตาก นารองเชื้อ นาเชื้อ และได้เมล็ดเกลือ ที่นาปลง จากนั้นจึงรื้อเกลือ ลอมเป็นลูก ทิ้งให้สะเด็ดนํ้า และขนเข้าไปเก็บในยุ้งฉาง

เรียนรู้เรื่องนาเกลือ

เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ถ่ายทอดภูมิปัญญา การทำ�นาเกลือจากคนรุ่นก่อน ให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ และอยู่แบบโฮมสเตย์ ๓๙


นกอพยพ หายาก

เมื่อใครสักคนเริ่มดูนก เขาก็จะใส่ใจความสุขของนก จนไม่อาจจับนก ใส่กรงขังไว้ใกล้ตัวได้ และเพราะอยากให้นกทั้งหลายอยู่สบายดี คนรักนกจึงสนใจ สภาพถิ่นอาศัยของนก ที่ไหนที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์ มีที่อาศัย ปลอดภัย ทำ�รังและเลี้ยงลูกได้ ไม่ถูกมนุษย์ล่าหรือรบกวน พวกนกก็จะอยู่ได้อย่างมีความสุข

นกอพยพและนกอพยพผ่าน หายาก

สมุทรสาครเป็นบ้านของนกชายเลนใกล้สูญพันธุ์ เช่น นกชายเลนปากช้อน (เหลือไม่ถึง ๔๐๐ ตัว ทั่วโลก) และนกอีกหลายชนิด

นกประจำ�ถิ่นและนกอพยพ พบบ่อย

๔๐


นกอพยพผ่าน หายาก

นกอพยพ หายาก

ก็เพราะที่นี่มีอาหารมากมาย นํ้าทะเลที่ถูกไขเข้ามาในนาเกลือ มีสัตว์ทะเลตัวเล็กๆ และแร่ธาตุ อุดมสมบูรณ์ จนเป็นภัตตาคาร และโรงแรมชั้นดีของหมู่นก

นกอพยพ หายากมาก

ชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติโคกขาม

ต.โคกขาม อ.เมือง จ.สมุทรสาคร เป็นแหล่งดูนกและเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับนกชายเลน โทร. ๐๘๗ ๐๘๒ ๘๔๘๑, ๐๘๗ ๐๘๒ ๘๔๘๖

๔๑


บ้านแพ้ว ช่างเป็นอำ�เภอที่เขียวขจี และเงียบสงบเสียจริง เพราะดินดีของบ้านแพ้วทำ�ให้อำ�เภอเล็กๆ แห่งนี้เหมาะกับการทำ�นาและ ปลูกพืชผักผลไม้ มะพร้าวนํ้าหอม องุ่น มะนาว มะม่วง ฝรั่ง พุทรา มะขามเทศ แก้วมังกร ส้มเขียวหวาน มังคุด ละมุด กล้วยหอม ลำ�ไย และชมพู่ ล้วนเป็นผลไม้ขึ้นชื่อของจังหวัด

ในอดีต บ้านแพ้วเคยเป็นป่ารกชัฏ มีสัตว์อย่างเก้ง เสือ จระเข้ หมูป่า คนที่เข้ามาล่าสัตว์ในป่าจึงทำ�เสาธงมีผ้าผูกไว้ที่ปลายเสา เรียกว่า ‘แพ้ว’ เพื่อให้สังเกตง่าย

๔๒

คลองดำ�เนินสะดวกที่ผ่านอำ�เภอบ้านแพ้ว ยังเป็นเส้นทางสัญจร ที่ผู้คนนิยมใช้อยู่จนทุกวันนี้ แม้แต่ ธนาคารและหน่วยงานราชการ ยังหันหน้าเข้าหาคลอง


เฟื่องฟ้าและดอกไม้นานา เบ่งบานเต็มที่ริมทางเล็กๆ ที่ทอดไปตามลำ�คลองและเรือกสวน ชื่นใจผู้ปลูกและผู้ชม

ตลาดเก่าแก่บ้านแพ้ว มีสินค้าอุปโภคบริโภค พร้อมพรั่งให้เลือกซื้อใกล้บ้าน สะดวกสบายและเป็นกันเอง

นอกจากผลไม้แล้ว บ้านแพ้วยังขึ้นชื่อเรื่อง การปลูกกล้วยไม้ไม่แพ้ อำ�เภอกระทุ่มแบนทีเดียว

หลายเชื้อชาติ

บ้านแพ้วมีคนหลายเชื้อชาติทั้งไทย จีน มอญ และลาว อาศัยอยู่ด้วยกัน และทำ�สวนไร่นาเหมือนๆ กัน ๔๓


ยังมีใครคิดว่าวาฬกับโลมาเป็นปลาอยู่บ้างไหมนะ ทั้งสองเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเหมือนพวกเรา แต่อยู่ในทะเล และออกลูกเป็นตัว การที่อ่าวมหาชัยก็มีวาฬและโลมา ซึ่งเป็นสัตว์ทะเลหายากและใกล้สูญพันธุ์อาศัยอยู่ แสดงว่าบริเวณนี้ยังมีอาหารให้พวกมันกิน ที่ไหนที่มีสัตว์หลายชนิดทั้งเล็กและใหญ่ อาศัยอยู่ด้วยกัน ที่นั่นย่อมอุดมสมบูรณ์ น่าดีใจที่อ่าวมหาชัยมีวาฬและโลมาให้ชม

วาฬที่เข้ามาหากินอาหารในอ่าวไทยช่วงเดือน พฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์คือ วาฬบรูด้า เมื่อโตเต็มที่ มีขนาด ๑๔ - ๑๕ เมตร ชอบกินแพลงก์ตอน ลูกกุ้ง ลูกปลา มักเห็นนกทะเลอย่างนางนวลมาร่วมวงกินปลากับเขาด้วย ส่วนโลมาที่พบมากแถบนี้คือ โลมาอิระวดี พบได้ตลอดปี ขนาด ๒ - ๒.๕ เมตร ว่ายนํ้าช้า และชอบโผล่หัวเหนือนํ้า

นอกจากทำ�นาเกลือและเป็นแหล่งดูนกแล้ว โคกขามยังเป็นแหล่งชมโลมาของสมุทรสาครอีกด้วย

๔๔


ช่วงหลังมานี้เรามักได้ยินข่าวโลมาตายบ่อยๆ อาจเป็นเพราะนํ้าเสียที่ปล่อยลงอ่าวไทย มลพิษจากการ ขนส่งถ่านหิน ติดอวน หรือถูกเรือเฉี่ยวชน นอกจากนี้ ในอ่าวไทยยังมีการสำ�รวจหานํ้ามันปิโตรเลียม ด้วยการใช้ คลื่นไหวสะเทือน ซึ่งเป็นอันตรายต่อโลมาและวาฬ ถึงขั้นทำ�ให้ แก้วหูแตก และตายได้

โลมา เต่า และสัตว์ทะเลจำ�นวนมาก ต้องตายเพราะเผลอกินถุงพลาสติก และขยะที่ถูกทิ้งหรือพลัดไปกับนํ้าและลม ก่อนตายมันต้องทนทุกข์ทรมาน เพราะย่อยพลาสติกไม่ได้ และขาดอาหารตายในที่สุด

เหลือน้อยแล้ว

แม้อ่าวมหาชัยยังมีโลมาอยู่ แต่ก็เหลือเพียง ๒๐ - ๓๐ ตัว เท่านั้น โลมาจึงนับเป็นสัตว์ เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ที่ต้องช่วยกันคุ้มครอง ๔๕


ท้องถิ่นแต่ละแห่งล้วนมีคนสำ�คัญที่ทำ�ประโยชน์ และสร้างแรงบันดาลใจแก่ผู้คนจำ�นวนมาก ผู้ใหญ่เหล่านี้ต่างก็เป็นคนสำ�คัญที่มาจากจังหวัดสมุทรสาครทั้งนั้น น่าสังเกตว่าสมุทรสาครเป็นจังหวัดที่มีศิลปินนักแต่งเพลง นักประพันธ์ อยู่หลายคนทีเดียว เป็นเพราะอะไรนะ ว่าแต่เราพอจะรู้จักใครในนี้บ้างไหมล่ะ

๔๖


เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ : นายกรัฐมนตรีคนที่ ๑๕ (พ.ศ. ๒๔๖๐ - พ.ศ. ๒๕๔๖) ชาวตำ�บลมหาชัย อำ�เภอเมืองสมุทรสาคร ชาลี อินทรวิจิตร : ศิลปินนักแต่งเพลง (พ.ศ. ๒๔๖๖ - ) ชาวตำ�บลท่าฉลอม อำ�เภอเมืองสมุทรสาคร

ธานินทร์ อินทรเทพ : ศิลปินนักร้อง นักแสดง ชาวตำ�บลมหาชัย อำ�เภอเมืองสมุทรสาคร

กำ�พล วัชรพล : ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ (พ.ศ. ๒๔๖๒ - พ.ศ. ๒๕๒๙) ชาวตำ�บลดอนไก่ดี อำ�เภอกระทุ่มแบน

ฉลอง ภู่สว่าง : ศิลปินนักแต่งเพลง (พ.ศ. ๒๔๘๑ - ) ชาวตำ�บลบางโทรัด อำ�เภอเมืองสมุทรสาคร

ชาติ กอบจิตติ : นักเขียนรางวัลซีไรต์ (พ.ศ. ๒๔๙๗ - ) ชาวคลองสุนัขหอน ตำ�บลบ้านบ่อ อำ�เภอเมืองสมุทรสาคร

ใครแต่งนะเพลงนี้

“พี่อยู่ไกลถึงท่าฉลอม แต่พี่ไม่ตรอมเพราะรักพยอมยามยาก...” เพลงท่าฉลอม เป็นเพลงดังสมัยก่อนที่ไพเราะมาก และทำ�ให้คนทั่วประเทศได้รู้จักท่าฉลอมกับมหาชัย รู้ไหมว่าใครในหน้านี้ที่เป็นผู้ประพันธ์เนื้อร้อง (ตอบ = ชาลี อินทรวิจิตร) ๔๗


๔๘


พูดได้เต็มปากว่า สมุทรสาคร เป็นแหล่งอาหารทะเล ทั้งสดและแห้ง ของฝากขึ้นชื่อของสมุทรสาคร จึงหนีไม่พ้นปลาแห้ง หมึกแห้ง (หมึกไม่ใช่ปลา ใครเรียกปลาหมึกเชยสุดๆ) กุ้งแห้ง ทั้งยังมีน้ำ�ตาลมะพร้าวบ้านแพ้ว เครื่องเบญจรงค์กระทุ่มแบน และหมี่กรอบแสนอร่อย

๔๙


ให้เทียบกับเมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯแล้ว สมุทรสาครก็ยังเป็นเมืองที่น่ารัก มีทั้งมุมคึกคักและเงียบสงบ รํ่ารวยด้วยโบราณสถานและวัฒนธรรมของคน หลายเชื้อชาติ มีเรือกสวนไร่นา ป่าชายเลนและพื้นที่ชุ่มนํ้า อันเป็นที่พึ่งพิง ของนกหายากและสัตว์น้อยใหญ่หลากหลายชนิด พอๆ กับที่ถิ่นนี้เป็นบ้านของเรา สมุทรสาครจึงมีค่าควรให้เรารัก ใส่ใจ และ ถนอมรักษาเอาไว้ ให้เป็นถิ่นน่าอยู่ไปนานๆ ที่ไหนที่มีนํ้าสะอาด อากาศดี ดินอุดม ป่าหนาแน่น เขียวขจี มีพืชสัตว์หลากหลายชนิดอาศัยอยู่ ที่นั่นผู้คนมีสุขภาพดี จิตใจแจ่มใส มีชีวิตชีวา

เพราะเราทุกคนใช้นํ้าและปล่อยนํ้าเสีย สู่แม่นํ้าลำ�คลอง และไหลลงสู่ทะเล เราจึงช่วยได้ ถ้าเราลดการใช้นํ้า ลดการใช้สารเคมีที่จะทำ�ให้นํ้าปนเปื้อน

๕๐


เพราะเราหลายคนใช้พลาสติกและทิ้งถุงขนม กรุบกรอบ ซึ่งย่อยสลายยากมาก และสัตว์นํ้า อาจเผลอกินเข้าไปจนตายเพราะย่อยอาหารไม่ได้ เราจึงช่วยได้ ถ้าเราลดการกินขนมกรุบกรอบ ไม่รับถุงพลาสติก และพกถุงผ้าไปซื้อของ เพราะเมื่อเรารู้จักนกและ พืชสัตว์ต่างๆ มากอีกนิด เราก็จะเข้าใจว่าชีวิตของคนเรา และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เชื่อมโยงกันเสมอ เราจึงช่วยได้ ถ้าเราเรียนรู้ดูนกและ ทำ�ความรู้จักกับถิ่นอาศัยของพืชสัตว์แบบต่างๆ โดยเฉพาะป่าชายเลน และเพราะสมุทรสาครมีคนมากมายหลายเชื้อชาติ จึงเป็นการดี ถ้าเราจะได้ลองทำ�ความรู้จักกับประเพณีและ วัฒนธรรมของเพื่อนต่างเชื้อชาติ เพราะเราจะเข้าใจกันได้ก็ด้วยการ เปิดใจ แค่ไม่กี่อย่าง แต่ถ้าเราลงมือทำ�จริง สมุทรสาครจะเป็นถิ่นน่าอยู่ไปอีก นานแสนนาน

๕๑


คุณลุง ่อเรือ ช่างต หัวหน้า นักสำ�รวจตัวจริงอาจนึกสนุก ไม่หยุดอยู่เพียงหนังสือเล่มเล็กเล่มนี้ การสำ�รวจเพิ่มเติมอาจทำ�ได้หลายวิธี ได้แก่ ๑. ชวนผู้ใหญ่ไปสถานที่จริง ๒. พูดคุยกับผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญ หรือพี่ป้าน้าอาในท้องถิ่นนั้นๆ ๓. อ่านหนังสือและเว็บไซต์เพิ่มเติม

คุณลุงหัวหน้าช่างซ่อมเรือ

คุณอานักปั่นสามล้อ ทำ�กะปิ น า ง ง ร โ ง ขอ คุณลุงเจ้า ังคามุงจาก หล

๕๒


นักวาดภาพ จิตรกรรมฝาผนัง

หลวงพ่อเจ้าอาวาส ข้อมูลทั่วไป : สมุทรสาคร โดย มรกต งามภักดี, สมุทรสาคร โดย สมัย สุทธิธรรม www.sakhononline.com, www.samutsakhon.go.th ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม เอกลักษณ์ และภูมิปัญญา : http://webhost.m-culture.go.th/province/samutsakhon/default.html มอญ : ต้นธารวิถีมอญ โดย องค์ บรรจุน, http://monstudies.com คู่มือดูนก : คู่มือดูนกเมืองไทย โดย น.พ.บุญส่ง เลขะกุล, Thailand Bird Guide โดย รุ่งโรจน์ จุกมงคล

เขียนเองก็ได้นะ

แม้ผู้ใหญ่จะเขียนหนังสือหรือทำ�เว็บไซต์ ไว้มากมายก็จริง แต่สมุทรสาครก็ เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เรามาทำ�หนังสือ หนังสือพิมพ์ หรือเขียนบทความ ลงเว็บไซต์ เพื่อเสนอข้อมูลและ ความคิดเห็นของตัวเองบ้าง จะดีไหม

เจ้าของร้าน

๕๓


หนังสือเรื่อง สำ�รวจเมืองสมุทรฯ เป็นหนังสือที่สร้างสรรค์ขึ้นจากข้อมูลท้องถิ่น จังหวัดสมุทรสาคร รวบรวมสถานที่ บุคคล สิ่งของ และกิจกรรมที่น่าสนใจของเมืองเอาไว้ เปิดเรื่องด้วยการกระตุ้นให้เด็กได้เป็นนักสำ�รวจ และร้อยเรียง เล่าเรื่องราวตามหัวเรื่องที่เป็นคำ� คล้องจองกันตลอดทั้งเรื่อง เช่น เริ่มด้วยหัวเรื่อง ก่อนอื่นเลย เป็นการเตรียมพร้อมสำ�หรับเด็กผู้จะเริ่มเป็น นักสำ�รวจ ว่าจะต้องเตรียมตัวอย่างไร มีอุปกรณ์อะไรที่จำ�เป็น แล้วเริ่มออกสำ�รวจกันได้ จากนั้นก็ มาถึงตอน คุ้นเคยเพื่อนบ้าน คือเนื้อหาที่แนะนำ�ให้เด็กได้รู้จักจังหวัดที่มีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดที่ตัวเอง อาศัยอยู่ และตอน สนุกสนาน ‘สามนํ้า’ และ สำ�คัญป่าชายเลน สำ�หรับ ๒ ตอนนี้ เสนอสภาพพื้นที่ ที่มีความโดดเด่นของสมุทรสาครคือ เป็นเมืองที่มีสามนํ้า ได้แก่ นํ้าเค็ม นํ้าจืด และนํ้ากร่อย และมีป่าชายเลนที่เป็นทรัพยากรอันอุดมสมบูรณ์ การให้ข้อมูลสำ�หรับเด็ก เป็นข้อมูลสั้นๆ ง่าย และกระชับ ทั้งนี้นักเขียนมุ่งหวังจะให้เด็กได้ อ่านเพื่อจุดประกายความอยากรู้ อยากศึกษา แล้วไปค้นคว้าหาข้อมูลและเรียนรู้จากแหล่งข้อมูลอื่นๆ ต่อไป โดยได้เขียนแนะนำ�เอาไว้ในเล่มทั้งหมดแล้ว เช่น ค้นคว้าเพิ่มเติมจากหนังสือเรื่องอะไร สอบถาม ข้อมูลบุคคล หรือออกค้นหาคำ�ตอบจากสถานที่จริงด้วยตนเองได้อย่างไร ดังนั้นหนังสือเรื่อง สำ�รวจ เมืองสมุทรฯ จึงเป็นหนังสือการเรียนรู้ท้องถิ่นเล่มแรกๆ ของเด็กชั้นประถมศึกษา หลักคิดในการจัดทำ� หนังสือเรื่อง สำ�รวจเมืองสมุทรฯ เกิดขึ้นจากการคำ�นึงถึงวัยและประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้อ่านเป็น สำ�คัญ ด้วยความมุ่งหวังให้เป็นหนังสือเพื่อสร้างแรงบันดาลใจสำ�หรับเด็กระดับประถมศึกษา และมีความ เชื่อมั่นว่า หากเด็กๆ ได้มีโอกาสเรียนรู้เรื่องราวท้องถิ่นของตนเองอย่างสนุก และอย่างเป็นธรรมชาติ จิตสำ�นึกรักท้องถิ่นย่อมจะเกิดขึ้นในตัวของเด็ก โดยธรรมชาติ จากสิ่งที่พวกเขาได้รู้ ได้เห็น ได้สำ�นึกด้วยตนเอง หลายครั้งที่เด็กๆ ได้มีโอกาสสำ�รวจชุมชน เด็กควรจะได้ทำ�บันทึกในรูปแบบที่ตัวเองถนัด ดังนั้นเมื่อคุณครูได้พาเด็กๆ ทัศนศึกษาด้วยการเดินเท้า ได้สำ�รวจ เก็บข้อมูล และบันทึกเรื่องราวแล้ว คุณครูควรจะแนะนำ�ให้เด็กได้จัดทำ�รายงานในรูปแบบใหม่ๆ ที่ไม่ใช่รายงานที่แห้งแล้งตามแบบเดิมๆ และควรสนับสนุนให้เป็นรายงานที่เพื่อนๆ ก็อยากรู้ อยากอ่าน อันจะเป็นการส่งเสริมการทำ�สื่อ และส่งเสริมการอ่านไปด้วยในตัว ฉะนั้นวิธีการนำ�เสนอรายงานการบันทึกเดินเท้าท่องท้องถิ่น ของเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ - ๖ ที่ทำ�ต่อเนื่องจากหนังสือชุดนี้ จึงควรเป็นการบันทึกรายงานที่มี รูปแบบ สีสัน และชั้นเชิงที่ไม่จำ�กัด นอกจากกิจกรรมทัศนศึกษาแบบเดินเท้าแล้ว ยังมีกิจกรรมน่าสนุกสำ�หรับเด็กอีกมากมายที่ คุณครูต่อยอดไปจากหนังสือ ทั้งการศึกษาดูนกในธรรมชาติ การศึกษาธรรมชาติในป่าชายเลน ศึกษา ศิลปะและวัฒนธรรมที่แตกต่างในท้องถิ่น การชมโบสถ์ ชมโบราณสถานในท้องถิ่น ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดนี้ คุณครูและเด็กๆ เพียงเริ่มต้นจากการอ่าน การดูหนังสือในชุดสื่อการเรียนสาระท้องถิ่นชุดนี้ แล้วดำ�เนิน กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้อันหลากหลาย ซึ่งมีเพียงสิ่งเดียวเท่านั้นที่คุณครูต้องคำ�นึงถึงเสมอคือ จัดกิจกรรมอย่างไรเพื่อให้เด็กสนุกกับการเรียนรู้ เพราะเมื่อไรก็ตามที่เด็กรู้สึกสนุก ความกระตือรือร้น ที่จะเรียนรู้ก็จะตามมา

๕๔


ประวัติผู้เขียน นิรมล มูนจินดา เคยแต่เขียนสารคดีสำ�หรับผู้ใหญ่ เมื่อมาเขียนหนังสือเด็กจึงต้องเรียนรู้ใหม่ ปัจจุบันทำ�งานกับองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมแห่งหนึ่ง และเขียนคอลัมน์ขนาดกลางในนิตยสาร พร้อมๆ กับเรียนรู้เรื่อง แมลงนํ้า พืชสัตว์ชายหาด และไลเคนไปด้วยกันกับเด็กๆ หลายคน ใช้จักรยานและรถเมล์เป็นพาหนะ และชอบกินผักและเห็ด

ประวัติผู้วาด วชิราวรรณ ทับเสือ และ กฤษณะ กาญจนาภา จบการศึกษาจากคณะมัณฑนศิลป์ ภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ทั้งสองคนมีผลงานนิทานร่วมกัน อาทิ ขนมของแม่ สี่สหายผจญภัย รางวัลชมเชยจากคณะกรรมการ พัฒนาหนังสือแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ เรื่อง สี่สหายตะลุยสวนสนุก ปัจจุบันสนุกกับการทำ�หนังสือนิทานสำ�หรับเด็ก งานภาพประกอบ สะสมของเล่น และเลี้ยงแมว

ขอบคุณช่างภาพ

ขอบคุณ

ประเวช ตันตราภิรมย์ สมิทธิ์ สุติบุตร์ องค์ บรรจุน

พระมหาอำ�พล กตทีโป เจ้าอาวาสวัดศรีบูรณาวาส (วัดโคก) เจ้าอาวาสวัดโคกขาม คุณลุงไพบูลย์ รัตนมหาวิชัย คุณลุงนคร จุริยานนท์ คุณวีณา ศิลาสุวรรณ คุณนิรมล ศิลาสุวรรณ คุณประเวช ตันตราภิรมย์ คุณสมิทธิ์ สุติบุตร์ คุณองค์ บรรจุน คุณลุงช่างต่อเรือ ศูนย์ข้อมูลและ Photo Bank นิตยสาร สารคดี ดร. สรณรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ คุณสุธาทิพย์ เกตุแก้ว คุณจักรกริช พวงแก้ว พี่ประโยชน์ นักปั่นสามล้อแห่งท่าฉลอม อุปกรณ์พื้นฐานนักสำ�รวจดัดแปลงจาก ‘นักสืบทุนน้อย’ โครงการนักสืบโลกสีเขียว มูลนิธิโลกสีเขียว

๕๕


สื่อการเรียนรู้สาระท้องถิ่น ทั้ง ๗ เล่ม

๕๖




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.