การเลี้ยงผึ้งโพรงและชันโรง เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรและผู้ที่สนใจได้เรียนรู้ และนําความรู้ด้านการเลี้ยงผึ้งไป ขยายผล ต่อยอด ทําเป็นอาชีพเสริม เพื่อรายได้ให้กับครอบครัวอีกช่องทางหนึ่ง และผู้จัดทําหวังเป็นอย่างยิ่งว่า รายงานโครงการอบรมการให้ความรู้การเลี้ยงผึ้งโพรงและชันโรง ประจําปีงบประมาณ 2565 เล่มนี้จะเป็น ประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจ สามารถนําไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนา ต่อยอด ไม่มากก็น้อย กองส่งเสริมการเกษตร ตุลาคม 2565
7 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 7 การเก็บรวบรวมข้อมูล 7 การวิเคราะห์ข้อมูล 7 การนําเสนอข้อมูล 8 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 8 บทที่ 4 ผลการดาเนินงาน 9 บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ 12 สรุปผล 12 อภิปรายผล 12 ข้อเสนอแนะ 13 ภาคผนวก 14
สารบัญ เรื่อง หน้า บทที่ 1 บทนา 1 หลักการและเหตุผล 1 วัตถุประสงค์ 1 เป้าหมาย 1 วิธีการดําเนินการ 1 ระยะเวลาดําเนินการ 1 สถานที่ดําเนินการ 2 งบประมาณ 2 หน่วยงานที่รับผิดชอบ 2 ผลที่คาดว่าจะได้รับ 2 บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง 3 ผึ้งโพรง 3 ชันโรง แมลงผสมเกสรพืชชั้นยอด 5 บทที่ 3 วิธีดาเนินการ 7 กลุ่มเป้าหมายและผู้ให้ข้อมูล 7 ขั้นตอนการดําเนินงาน
1 บทที่ 1 บทนา หลักการและเหตุผล ผึ้งโพรงและชันโรงมีประโยชน์ในการช่วยผสมเกสรเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ทั้งปริมาณ และคุณภาพตลอดจนเป็นตัวบ่งชี้ความปลอดภัยของการผลิตพืชอาหาร เนื่องจากผึ้งจะเก็บน้ําหวานและเกสร จากพืชที่ปลอดภัยจากสารเคมี และการผลิตเมล็ดพันธุ์พืช สร้างความสมดุลทางธรรมชาติ และรักษา สภาพแวดล้อมให้ยั่งยืน ผึ้งโพรงเป็นผึ้งที่มีอยู่ในธรรมชาติ สามารถเลี้ยงได้ทุกภาค นิยมเลี้ยงกันมากในพื้นที่ ภาคใต้ ปัจจุบันปริมาณการผลิตน้ําผึ้งจากผึ้งโพรง ไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค และจําหน่ายน้ําผึ้ง ได้ในราคาสูง ขวดละประมาณ 200 300 บาท สามารถเลี้ยงผึ้งโพรงเป็นอาชีพเสริมในท้องถิ่น โดยเลือกพื้นที่ที่ มีอาหารผึ้งสมบูรณ์ในธรรมชาติ เช่น สวนมะพร้าว ปาล์ม ยางพารา เงาะ กาแฟ สาบเสือ ลําไย ลิ้นจี่ ทานตะวัน ข้าวโพด เป็นต้น ผึ้งนับเป็นดัชนีวัดความเป็นเกษตรอินทรีย์ได้อย่างยอดเยี่ยม เพราะหากบริเวณรอบ ๆ ที่เลี้ยง ผึ้งมีการใช้สารเคมี ผึ้งจะไม่อยู่รอดได้ ดังนั้น การเลี้ยงผึ้งจึงเป็นดัชนีวัดความเป็นเกษตรอินทรีย์ได้อีกทางหนึ่ง เพื่อส่งเสริมการทําการเกษตรแบบปลอดภัย และเพิ่มรายได้เสริมให้กับเกษตรกรหลายช่องทาง กองส่งเสริม การเกษตร องค์การบริหารส่วนตําบลเหล่าโพนค้อ จึงจัดทําโครงการอบรมการให้ความรู้การเลี้ยงผึ้งโพรงและ ชันโรงขึ้น วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเสริมสร้างความรู้และความเข้าใจให้กับเกษตรกรในตําบลเหล่าโพนค้อ
2.
เป้าหมาย เกษตรกรตําบลเหล่าโพนค้อ จํานวน 40 คน วิธีการดาเนินการ 1. ขออนุมัติการจัดทําโครงการ 2. ประสานขอความอนุเคราะห์วิทยากรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3. จัดฝึกอบรมการเลี้ยงผึ้งโพรงและชันโรง 4. ติดตามและประเมินผลการดําเนินงานตามโครงการ ระยะเวลาดาเนินการ วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม 2565 สถานที่ดาเนินการ หอประชุม องค์การบริหารส่วนตําบลเหล่าโพนค้อ อําเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร
ในการเลี้ยงผึ้ง โพรงและชันโรง
เพื่อสร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกรจากการเลี้ยงผึ้งโพรงและชันโรง
2 งบประมาณ จากข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปี 2565 แผนงานการเกษตร งานส่งเสริม การเกษตร งบดําเนินงาน หมวดรายจ่าย ค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุ ตั้งจ่ายไว้ 10,000 บาท โดยมี รายละเอียดค่าใช้จ่าย ดังนี้ 1. ค่าอาหาร 50 บาท/คน/วัน จํานวน 40 คน เป็นเงิน 2,000 บาท 2. ค่าอาหารว่าง 25 บาท/คน/วัน จํานวน 2 มื้อ 40 คน เป็นเงิน 2,000 บาท 3. ค่าตอบแทนวิทยากร จํานวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท 4. ค่าจัดซื้อวัสดุสาธิตการทํากล่องเลี้ยงผึ้งโพรงและชันโรง เป็นเงิน 1,300 บาท ไม้อัดขนาด 1.20 x 2.40 เมตร หนา 15 มิลลิเมตร จํานวน 2 แผ่น ๆ ละ 550 บาท เป็นเงิน 1,100 บาท ตะปูตอกไม้ ขนาด 2 นิ้ว จํานวน 4 กิโลกรัม ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 200 บาท 5. ค่าป้ายโครงการ (ป้ายไวนิล ขนาด 1 x 3 เมตร) จํานวน 1 ป้าย เป็นเงิน 450 บาท รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมด 9,350 บาท หน่วยงานที่รับผิดชอบ กองส่งเสริมการเกษตร องค์การบริหารส่วนตําบลเหล่าโพนค้อ ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. เกษตรกรที่เข้าร่วมฝึกอบรม ร้อยละ 80 มีความรู้ความเข้าใจในการเลี้ยงผึ้งโพรงและชันโรง 2. เกษตรกรที่เข้าฝึกอบรมสามารถเป็นต้นแบบในการเลี้ยงผึ้งโพรงและชันโรง 3. เกษตรกรมีรายได้เสริมจากการเลี้ยงผึ้งโพรงและชันโรง
3 บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง โครงการอบรมการให้ความรู้การเลี้ยงผึ้งโพรงและชันโรง ผึ้งโพรง ผึ้งโพรง เป็นผึ้งชนิดหนึ่งที่อยู่ทั่วทุกภาคของเมืองไทย ซึ่งในธรรมชาติของผึ้งโพรง จะทํารัง ด้วยการสร้างรวงซ้อนเรียงกันอยู่ในโพรงไม้หรือโพรงหิน โดยมีปากทางเข้าออกค่อนข้างเล็ก เพื่อป้องกันศัตรู จากภายนอก แต่ภายในจะมีพื้นที่กว้างพอให้ผึ้งสร้างรวงได้ ผึ้งโพรงเป็นผึ้งที่มีอัตราการแยกรังค่อนข้างบ่อย และทิ้งรังเดิมเมื่อสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม เช่น ขาดแคลนอาหารหรือมีศัตรูรบกวน ฉะนั้น การเลี้ยงผึ้งโพรงให้ประสบความสําเร็จนั้น ผู้เลี้ยงผึ้งจะต้องมีใจรักผึ้ง อดทน มีเวลา มีความรู้ในเรื่องชีววิทยาของผึ้ง พฤติกรรมของผึ้ง การจัดการรังผึ้ง และอาศัยประสบการณ์ในการเลี้ยงผึ้ง เพื่อ จะได้จัดการรังผึ้งได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสบความสําเร็จ วงจรชีวิตของผึ้งโพรง 1. ระยะไข่ ลักษณะของไข่จะยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร หัวท้ายมนโค้งงอเล็กน้อย มีสีขาว ไข่จะถูกวางเอาส่วนท้ายติดกับก้นของหลอดรวงตั้งขึ้นมา เมื่อไข่ใกล้จะฟักก็จะล้มลงนอนอยู่ที่ก้นหลอดรวง 2. ระยะตัวหนอน เมื่อไข่มีอายุได้ประมาณ 3 วัน ก็จะฟักออกมาเป็นตัวหนอนขนาดเล็ก ๆ สีขาว นอนลอยอยู่บนอาหารที่ก้นหลอดรวง 3. ระยะดักแด้ ในระยะดักแด้ ตัวหนอนจะเปลี่ยนรูปร่างเห็นอวัยวะต่าง ๆ แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัว ส่วนตัว และส่วนท้อง 4. ระยะตัวเต็มวัย เมื่อดักแด้โตเต็มที่จะลอกคราบเป็นตัวเต็มวัย ซึ่งมีอวัยวะครบทุกส่วน การเริ่มต้นเลี้ยงผึ้งโพรง 1. การล่อผึ้ง เป็นการหาพันธุ์ผึ้งโพรงโดยเลียนแบบธรรมชาติ เพื่อนําพันธุ์โพรงที่ได้มาเลี้ยงใน กล่องเลี้ยงผึ้ง โดยวิธีการนํากล่องหรือรังเลี้ยงไปวางล่อผึ้งตามธรรมชาติในสถานที่ร่มรื่นมีแหล่งน้ําและอาหารที่ สมบูรณ์ เพื่อล่อผึ้งที่อพยพหนีรัง แยกรัง หรือผึ้งที่แสวงหาที่อยู่ใหม่ จะได้เข้ามาอาศัยในรังล่อผึ้งที่ตั้งเอาไว้ ก่อนที่จะทําการเคลื่อนย้ายรังผึ้งโพรงนี้ไปยังสถานที่ที่ต้องการเลี้ยงหรือตัดรวงผึ้งบังคับตอนต่อไป 1.1 รังล่อผึ้ง วัสดุที่เหมาะสมในการทํารังล่อผึ้ง ควรทําด้วยไม้เก่า ๆ ใบมะพร้าว ใบจาก หรือวัสดุต่าง ๆ ที่หาได้ในท้องถิ่น 1.2 ไขผึ้งโพรงบริสุทธิ์ ก่อนที่จะนํารังล่อผึ้งโพรงไปวางในสถานที่ที่เตรียมไว้ ให้นําไข ผึ้งโพรงบริสุทธิ์มาหลอมละลายทาด้านในของผารังผึ้งเพื่อดับกลิ่นยางไม้และเป็นการกระตุ้นให้เกิดกลิ่นเสน่ห์ ในการเรียกผึ้งเข้ารังล่อผึ้ง 1.3 สถานที่ตั้ง สถานที่ตั้งรังล่อผึ้ง ควรมีพืชอาหารสําหรับผึ้ง มีผึ้งอาศัยอยู่ เช่น ในสวนมะพร้าว เงาะ ทุเรียน กาแฟ เป็นต้น และต้องเป็นสถานที่ร่มรื่น ใกล้แหล่งน้ํา ห่างจากศัตรูของผึ้ง 1.4 การจัดการ หมั่นตรวจดูรังล่อผึ้งอย่างสม่ําเสมอเพื่อไม่ให้มด แมลงสาบ แมงมุม ปลวก และศัตรูอื่น ๆ เข้าไปในรังล่อผึ้ง ขาตั้งรังล่อผึ้ง หรือ เสารังล่อผึ้งควรใช้เสาไม้ที่ระดับความสูงประมาณ 1 เมตร และใช้ผ้าชุบน้ํามันเครื่องพันรอบเสา เพื่อป้องกันมดและแมลง
4 2. การบังคับผึ้งเข้าคอน คือ การนําผึ้งที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติ เช่น โพรงไม้ ซอกหิน ชายคา บ้าน ที่อื่น ๆ หรือผึ้งที่ได้จากรังล่อผึ้ง นํามาตัดรวงบังคับเข้าคอน แล้วนําไปวางเลี้ยงในกล่องผึ้งที่เตรียมไว้ โดย มีขั้นตอนการปฏิบัติงาน ดังนี้ 2.1 การเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ต่าง ๆ ให้พร้อม ผู้ปฏิบัติงานจะต้องแต่งกายชุดจับ ผึ้งให้รัดกุม 2.2 ลักษณะของรังผึ้งที่เข้าคอนได้ รังจะต้องสมบูรณ์ คือ มีน้ําผึ้ง เกสร ไข่ หนอน ดักแด้ และมีประชากรผึ้งที่หนาแน่น ลักษณะรวงรังมีอายุไม่ต่ํากว่า 25 วัน รวงผึ้งประมาณ 5 8 รวง 2.3 ใช้เครื่องพ่นควันพ่นใส่รังผึ้งเบา ๆ โดยยืนด้านข้างรัง ไม่ยืนหน้ารัง แล้วเปิดฝา รังผึ้งออก 2.4 ทําการตัดรวงผึ้งทีละรวง จากชั้นนอกออกก่อน ด้วยมีดบาง ๆ หรือคัตเตอร์ 2.5 นํารวงผึ้งที่ตัดมาเข้าคอน โดยการทาบรวงผึ้งกันคอนที่ขึงลวดแล้ว 1 รวง / 1 คอน แล้วใช้มีกรีดที่รวงผึ้ง ลึกประมาณครึ่งหนึ่งของความหนาของรวงผึ้งตามแนวเส้นลวด และกดเส้นลวดลง เข้าไปตรงกึ่งกลางของรวงผึ้งที่กรีดร่องไว้แล้ว 2.6 นํารวงผึ้งที่เข้าคอนเรียบร้อยแล้ว ไปวางในกล่องเลี้ยงผึ้งที่เตรียมไว้ เรียงลําดับ ของรวงผึ้งตามธรรมชาติ (ทําตามข้อ 2.4 2.6 ของทุก ๆ คอน ตามลําดับชั้นของรวงผึ้ง) 2.7 จับนางพญาผึ้งใส่กลักขัง นําไปแขวนในกล่องผึ้งตรงกลางระหว่างคอน
ไปวางไว้บริเวณที่เดิมก่อน 1 3 วัน แล้วค่อยปล่อย นางพญาผึ้ง ก่อนที่จะเคลื่อนย้ายกล่องเลี้ยงผึ้งไว้ในที่ต้องการเลี้ยงต่อไป วัสดุอุปกรณ์การจับและการบังคับผึ้งโพรงเข้าคอน ลังผึ้งพร้อมคอน ขาตั้งลัง ถุงมือยาง หมวกและตาข่ายกันผึ้ง กลักขังนางพญา แปรงปัดผึ้ง หลังคากันฝน อุปกรณ์ในการเลี้ยงผึ้งโพรง 1. รังล่อผึ้งโพรง ผู้เลี้ยงผึ้งโพรงจะต้องใช้รังล่อควบคู่ไปกับการเลี้ยงตลอดเวลา เพื่อป้องกันผึ้ง หนีรังหรือแยกรัง ขนาดรังล่อไม่จํากัดขนาดแล้วแต่ผู้เลี้ยงจะกําหนดขนาด แต่ถ้าหากสามารถทําได้ ควรทํา เท่ากับรังเลี้ยงเพื่อใช้ทดแทนกันได้ยามรังเลี้ยงไม่พอ 2. ไขผึ้ง ใช้สําหรับทาฝารังล่อ เพื่อล่อให้ผึ้งเข้ารังล่อ 3. เครื่องพ่นควัน เป็นเครื่องมือที่สําคัญที่นักเลี้ยงผึ้งทุกคนจะต้องมีและนําไปใช้ทุกครั้งเวลา ทํางานอยู่กับรังผึ้ง โดยใช้เชื้อเพลิงจากพวกกากมะพร้าวแห้ง หรือใช้ใบไม้ ใบหญ้าแห้ง ๆ ก็ได้ 4. รังเลี้ยงผึ้งมาตรฐานกรมส่งเสริมการเกษตร ความหนาของแผ่นไม้ 1.4 ซม. ความสูง 25 ซม.
(โดย ขณะตัดรวงแต่ละรวง ก็หานางพญาไปพร้อม ๆ กันด้วย) 2.8 นํากล่องเลี้ยงผึ้งใหม่ที่ได้
(Sakagami))
(T.pogdeni (Schwarz))
5 ความยาวภายนอก
ซม ความยาวภายใน
ซม. ความกว้างภายนอก
ซม. ความกว้างภายใน
ซม. ชันโรง แมลงผสมเกสรพืชชั้นยอด ชันโรง (Stingless bee) เป็นแมลงผสมเกสรจําพวกผึ้งชนิดหนึ่งไม่มีเหล็กใน ชันโรงเป็นแมลง ผสมเกสรประจําถิ่น ทั่วโลกพบชันโรงมากกว่า 400 ชนิด ในประเทศไทยพบชันโรง 37 ชนิด เกษตรกรนิยม เลี้ยงชันโรงเพื่อเป็นแมลงผสมเกสรในสวนผลไม้ พืชผัก เช่น เงาะ ลิ้นจี่ ลําไย มะพร้าว ส้มโอ พริก แตงกวา ฟักทอง เป็นต้น เนื่องจาก ระยะบินหากินไม่ไกล หากเลี้ยงในสวนที่เป็นเกษตรอินทรีย์ น้ําผึ้งชันโรงที่ได้ก็จะ เป็นน้ําผึ้งอินทรีย์ด้วยเช่นกัน ชันโรงช่วยให้อัตราการติดผลเพิ่มขึ้น 80 90% ช่วยผสมเกสรดอกไม้พืชเศรษฐกิจที่บานอยู่ในรัศมีหากินได้เกือบทุกชนิด ชันโรงบินออกหาอาหาร เก็บเกสรและน้ําต้อยในรัศมีประมาณ 300 เมตร ชันโรงไม่มีพฤติกรรมทิ้งรัง เลี้ยงชันโรงได้ทั้งในรูปแบบอยู่กับที่หรือเคลื่อนย้ายไปตามแหล่งอาหาร ประเภทของชันโรงในประเทศไทย 1.
ชันโรงขนเงิน
ชันโรงรุ่งอรุณ
ชันโรงเป็นแมลงสังคมแท้จริง แบ่งหน้าที่ทางานตามวรรณะ 1. วรรณะนางพญา (Queen caste) วางไข่และควบคุมรังไข่ 2. วรรณะชันโรงงาน (Worker caste) ทํางานทุกอย่างในรังและนอกรัง ออกหาอาหาร เก็บเกสร น้ําหวาน ยางไม้ 3. วรรณะชันโรงตัวผู้ (Male caste) ผสมพันธุ์กับนางพญาพรหมจรรย์ ผลิตผลและการใช้ประโยชน์จากชันโรง น้ําผึ้งชันโรง มีลักษณะเด่น คือ มีสีค่อนข้างดําหรือสีเข้ม มีความเป็นกรดสูง มีรสเปรี้ยว น้ําผึ้งชันโรงมีคุณประโยชน์สูง มีสารอาหารมากกว่า 22 ชนิด เช่น คาร์โบไฮเดรท กรดอะมิโน วิตามิน แร่ธาตุ และเอนไซม์ต่าง ๆ นอกจากนี้ น้ําผึ้งชันโรงนําไปผสมกับเครื่องสําอางเพื่อบํารุงผิวพรรณได้หลากหลาย เช่น สบู่ โลชั่น ครีม ยาสระผม เป็นต้น
53.50
50.70
30.50
27.70
ชันโรงป่า เช่น ชันโรงสิรินธร (T.sinindhronae (Michener and Boongird)) เป็นต้น 2. ชันโรงกึ่งป่า กึ่งบ้าน เช่น ชันโรงใต้ดิน (T.collina (Smith)) ชันโรงญี่ปุ่น (T.hirashimai
3. ชันโรงบ้านหรือผึ้งจิ๋ว เช่น ชันโรงหลังลาย (T.fuscobalteata (Cameron))
(T.laeviceps (Smith))
6 ชันของชันโรง (Propolis) เป็นสารปฏิชีวนะในธรรมชาติ มีสารประกอบฟลาโวนอยส์ (Flavonoid) และสารต้านอนุมูลอิสระจากพืชที่มีคุณสมบัติต่อต้านการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น ต่อต้านเชื้อ แบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อรา และมีคุณสมบัติยับยั้งการอักเสบได้ดี ใช้เป็นสื่อผสมเกสรพืช ใช้ได้กับไม้ผล พืชผักเศรษฐกิจ เช่น ทุเรียน มะม่วง ลําไย เงาะ เป็น ต้น อาชีพเพาะเลี้ยงชันโรง ผู้ที่จะเพาะเลี้ยงชันโรงเป็นอาชีพหลัก จําเป็นต้อง... 1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับชันโรง เช่น ชีววิทยาของชันโรง พฤติกรรมการผสมพันธุ์ การหาอาหาร ได้แก่ เกสร น้ําต้อย และชันผึ้ง 2. มีพื้นที่ทําการเกษตร เพื่อใช้เป็นสถานที่ตั้งรังชันโรงทั้งแบบถาวรและชั่วคราว 3. ต้องมีข้อมูลสภาพพื้นที่ ปริมาณชันโรงต่อพืชอาหารของชันโรง 4. มีจุดหมายชัดเจนในการเพาะเลี้ยงชันโรงเพื่อผลิตน้ําผึ้ง ชันผึ้ง หรือการจําหน่ายรัง หรือ เพื่อบริการผสมเกสรไม้ผล
7 บทที่ 3 วิธีดาเนินการ วิธีดาเนินการ การดําเนินงาน โครงการอบรมการให้ความรู้การเลี้ยงผึ้งโพรงและชันโรง มีวิธีดําเนินการดังนี้ 1. กลุ่มเป้าหมายและผู้ให้ข้อมูล 2. ขั้นตอนการดําเนินงาน 3. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 4. การเก็บรวบรวมข้อมูล 5. การวิเคราะห์ข้อมูล 6. การนําเสนอข้อมูล 7. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 1. กลุ่มเป้าหมายและผู้ให้ข้อมูล เกษตรกรในตําบลเหล่าโพนค้อที่มีความสนใจ 2. ขั้นตอนการดาเนินงาน 1. จัดทําโครงการฯ เพื่อขออนุมัติต่อผู้บริหารท้องถิ่น 2. ประชาสัมพันธ์โครงการ ฯ ผ่านทางหอกระจายข่าว 3. ส่งหนังสือประชาสัมพันธ์ให้ผู้นําชุมชนแต่ละหมู่บ้าน ประกาศและรับสมัครเกษตรกรที่ สนใจ 4. ติดต่อประสานงานบุคคล หน่วยงานราชการ เอกชนที่เกี่ยวข้องรวมทั้งสํารวจข้อมูล จัดหา สถานที่ที่จะดําเนินโครงการฯ เพื่อขอรับการสนับสนุนวิทยากรและสถานที่ 5. จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการแก่เกษตรกรในพื้นที่ตําบลเหล่าโพนค้อ 6. สรุปและรายงานผลการดําเนินงานตามโครงการ ฯ เสนอต่อผู้บริหารท้องถิ่น 3. เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล แบบทดสอบและแบบสอบถาม 4. การเก็บรวบรวมข้อมูล สอบถามผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมโครงการฯ 5. การวิเคราะห์ข้อมูล ทําการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามของผู้เข้าร่วมกิจกรรมโครงการฯ 6. การนาเสนอข้อมูล การนําเสนอข้อมูล เป็นการเสนอในรูปความเรียง ประกอบรายละเอียดในตาราง 7. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 7.1 ค่าเฉลี่ย 7.2 ค่าร้อยละ
8 บทที่ 4 ผลการดาเนินงาน ผลการดาเนินงาน ผู้เข้าร่วมโครงการจํานวน 40 คน ผลการประเมินก่อนและหลังการฝึกอบรมปรากฏผลดังนี้ 1. การประเมินความรู้ การทดสอบก่อนและหลังการอบรม โดยใช้แบบทดสอบจํานวน 10 ข้อ ข้อละ 1 คะแนน คะแนนเต็ม 10 คะแนน พบว่า ก่อนการอบรมผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ด้านการเลี้ยงผึ้ง โพรงและชันโรง คะแนนเฉลี่ย 6 คะแนน คะแนนต่ําสุด 4 คะแนน คะแนนสูงสุด 7 คะแนน หลังการอบรมมี คะแนนเฉลี่ย 8 คะแนน คะแนนต่ําสุด 5 คะแนน คะแนนสูงสุด 10 คะแนนเต็ม จากผลคะแนนดังกล่าวแสดง ให้เห็นว่า ผู้เข้ารับอบรมหลังได้รับความรู้จากการบรรยายและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการเลี้ยงผึ้งโพรง และชันโรง มีความรู้เพิ่มขึ้น เป็นไปในทิศทางเดียวกับความคิดเห็นการประเมินความรู้ของผู้เข้ารับอบรม ตารางที่ 1 การประเมินความรู้ ก่อนและหลังการอบรม จํานวน 40 คน ทดสอบความรู้ คะแนนเต็ม คะแนนต่าสุด คะแนนสูงสุด ค่าเฉลี่ย ก่อนการอบรม 10 4 7 6 หลังการอบรม 10 5 10 8 2. การประเมินผลการฝึกอบรมการให้ความรู้การเลี้ยงผึ้งโพรงและชันโรง เป็นการประเมินผล ตามแบบประเมินความพึงพอใจขององค์การบริหารส่วนตําบลเหล่าโพนค้อ ซึ่งประกอบด้วย ตอนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้เข้ารับการอบรม ตอนที่ 2 แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการฝึกอบรม ตอนที่ 3 ข้อเสนอแนะอื่น ๆ 2.1 แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้เข้ารับการอบรม จากผู้เข้ารับการอบรมจํานวน 40 คน ตารางที่ 2 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม จํานวน 40 คน สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ร้อยละ เพศ หญิง 37.5 ชาย 62.5 ต่าสุด สูงสุด ค่าเฉลี่ย อายุผู้เข้ารับการอบรม 18 65 45 2.2 ความพึงพอใจที่มีต่อการฝึกอบรม จากผู้เข้ารับการอบรมจํานวน 40 คน ตารางที่ 3 แสดงผลการสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดกิจกรรมโครงการอบรมการให้ความรู้การเลี้ยงผึ้ง โพรงและชันโรง จากผู้ตอบแบบสอบถาม จํานวน 40 คน รายการ ระดับความพึงพอใจ คะแนน เฉลี่ย คิดเป็น
26 9 5 0 0 181 4.53 90.5
26 12 1 0 1 182 4.55 91.0
271 90 37 1 1 1829 4.57 914.5
67.8 22.5 9.3 0.3 0.3 91.5 91.5 91.5
9 5 4 3 2 1 ที่ได้ ร้อยละ 1.ก่อนอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการเลียงผึ้ง โพรงและชันโรงมากน้อยเพียงใด 16 7 16 1 0 158 3.95 79.0 2.ความรู้ที่ได้รับจากฝึกอบรม 30 8 2 0 0 188 4.70 94.0 3.การนําความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์และ ประกอบอาชีพเสริม 26 12 2 0 0 184 4.60 92.0 4.ความพึงพอใจในการจัดฝึกอบรมโดยภาพรวม 34 5 1 0 0 193 4.83 96.5 5.สถานที่จัดฝึกอบรมมีความเหมาะสมมากน้อย เพียงใด 33 5 2 0 0 191 4.78 95.5 6.อุปกรณ์ในการประกอบการฝึกอบรมมีความ เหมาะสมมากน้อยเพียงใด 29 8 3 0 0 186 4.65 93.0 7.ท่านคิดว่าสามารถนําความรู้ไปขยายผลต่อ ยอดได้ 21 15 4 0 0 177 4.43 88.5 8.การให้ความรู้ในการเลี้ยงผึ้งโพรงและชันโรง ของทีมวิทยากร
9.ระยะเวลาในการฝึกอบรมมีความเหมาะสม
จากตารางที่ 3 พบว่า ผลการสอบถามความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมโครงการอบรมการ ให้ความรู้การเลี้ยงผึ้งโพรงและชันโรง ได้คะแนน 1,829 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 91.5 อยู่ในระดับดีมาก 2.3 ข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมอบรมจํานวน 40 คน สรุปได้ดังนี้ 1) การจัดการฝึกอบรม อยากให้มีการไปศึกษาดูงาน 2) ระยะเวลาการฝึกอบรม ระยะเวลาการฝึกอบรมน้อยไป 3) อื่น ๆ อยากให้ทีมงาน อบต. จัดทํากล่องและติดตั้งสําหรับผู้ที่สนใจโดยเสียค่าใช้จ่ายเอง ควรเน้นกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าอบรมที่มีอายุระหว่าง 25 35 ปี เพราะเป็นกลุ่มที่กําลัง อยากหารายได้
30 9 1 0 0 189 4.73 94.5
มากน้อยเพียงใด
10.ท่านคิดว่าควรให้หน่วยงานจัดกิจกรรมนี้อีก มากน้อยเพียงใด
รวม
คิดเป็นร้อยละ
93.0
10 บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ สรุปผล การจัดทําโครงการอบรมการให้ความรู้การเลี้ยงผึ้งโพรงและชันโรง ประจําปีงบประมาณ 2565 มีการประเมินโดยใช้แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม สรุปผลจากการสอบถามความพึง พอใจที่มีต่อการจัดกิจกรรมโครงการอบรมการให้ความรู้การเลี้ยงผึ้งโพรงและชันโรง สรุปผลได้ดังนี้ หัวข้อ คะแนนเฉลี่ย คิดเป็นร้อยละ 1.ก่อนอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการเลียงผึ้งโพรงและชันโรงมากน้อย เพียงใด 3.95 79.0 2.ความรู้ที่ได้รับจากฝึกอบรม 4.70 94.0 3.การนําความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์และประกอบอาชีพเสริม
4.ความพึงพอใจในการจัดฝึกอบรมโดยภาพรวม
สถานที่จัดฝึกอบรมมีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด
10.ท่านคิดว่าควรให้หน่วยงานจัดกิจกรรมนี้อีกมากน้อยเพียงใด
รวม
ภาพรวมจาการประเมินโดยใช้แบบสอบถามความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมโครงการให้ ความรู้การเลี้ยงผึ้งโพรงและชันโรง ประจําปีงบประมาณ 2565 คะแนนเฉลี่ย 4.57 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 91.5 อยู่ในระดับดีมาก อภิปรายผล จากการจัดทําโครงการอบรมการให้ความรู้การเลี้ยงผึ้งโพรงและชันโรง ประจําปีงบประมาณ 2565 จากการประเมินการจัดกิจกรรมอยู่ในระดับดีมาก ได้รับความร่วมมือจากคณะผู้บริหารและสมาชิก องค์การบริหารส่วนตําบลเหล่าโพนค้อ เจ้าหน้าที่ พนักงาน วิทยากรผู้ให้ความรู้ เกษตรกร และประชาชน ผู้สนใจที่เข้าร่วมโครงการนี้ ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องต่าง ๆ เป็นอย่างดี และสามารถดําเนินโครงการดังกล่าวได้ บรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้กําหนดไว้ โดยเกษตรกรได้ให้ความสนใจที่พัฒนา ต่อยอด นําความรู้ไปใช้ในการสร้าง เป็นอาชีพเสริม เพื่อหารายได้ให้กับครอบครัวต่อไป ประโยชน์ที่ได้รับ 1. เกษตรกรได้รับความรู้และความเข้าใจในการเลี้ยงผึ้งโพรงและชันโรง สามารถทําเป็นอาชีพ เสริมและเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร 2. เกษตรกรมีรายได้เสริมจากการเลี้ยงผึ้งโพรงและชันโรง
4.60 92.0
4.83 96.5 5.
4.78 95.5 6.อุปกรณ์ในการประกอบการฝึกอบรมมีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด 4.65
7.ท่านคิดว่าสามารถนําความรู้ไปขยายผลต่อยอดได้ 4.43 88.5 8.การให้ความรู้ในการเลี้ยงผึ้งโพรงและชันโรงของทีมวิทยากร 4.73 94.5 9.ระยะเวลาในการฝึกอบรมมีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด 4.53 90.5
4.55 91.0
4.57 91.5
11 3. เกษตรกรได้รับแนวคิดใหม่ ๆ สามารถนําไปต่อยอด และพัฒนาการเลี้ยงผึ้งโพรงและ ชันโรงให้ได้ผลผลิตที่ดีกว่าเดิม
12
ภาคผนวก
13 ภาพกิจกรรมโครงการอบรมการให้ความรู้การเลี้ยงผึ้งโพรงและชันโรง ภาพพิธีเปิดโครงการฯ
14 ยายให้ความรู้การเลี้ยงผึ้งโพรงและชันโรง
15 ภาพฝึกปฏิบัติการทากล่องเลี้ยงผึ้ง เอกสารอ้างอิง ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตร ด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร, เอกสารวิชาการ “การเลี้ยงผึ้งโพรง” สมนึก บุญเกิด, ชันโรง แมลงผสมเกสรพืชชั้นยอด, สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ