ทำเนียบภูมิปัญญาท้องถิ่น ตำบลเหล่าโพนค้อ

Page 1

1

ทำเนียบภูมิปัญญาท้องถิ่น

องค์การบริหารส่วนตำบลเหล่าโพนค้อ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร


2

สารบัญ เรื่อง

หน้า

1.ด้านเพาะพันธุ์ผักหวาน 2.ด้านหมอสมุนไพร 3.ด้านหมอแคน 4.ด้านอาหาร (น้ำรพิก) 5.ด้านจักสาน 6.ด้านเลี้ยงโคขุน 7.ด้านสมุนไพร (น้ำยาล้างจาน) 8.ด้านจักรสาน 9.ด้านทำพานบายศรี 10.ด้านไม้กวาดขวดพลาสติก 11.ด้านการเกษตร 12.ด้านท่อเสื่อ 13.ด้านทอผ้าไหม 14.ด้านนวดแผนไทย นวดแผนโบราน 15.ด้านฟ้อนภูไท 16.ด้านการต้มเกลือสินเธาว์ 17.ด้านดนตรี 18.ด้านก่อสร้าง 19.ด้านการทำปลาร้าบอง 20.ด้านการตัดเย็บเสื้อผ้า

1 4 10 13 17 21 24 27 30 34 35 39 44 46 49 53 56 58 61 65


1

ด้านเพาะพันธ์ผักหวาน

นายเร่ง ยางธิสาร บ้านเลขที่ ๙๕ หมู่ที่ ๙ ตำบลเหล่าโพนค้อ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร ประวัติความเป็นมาของกลุ่ม บ้านห้วยยาง หมู่ 6 และ หมู่ 9 ในอดีตเป็นหมู่บ้านที่ประชาชนส่วนใหญ่มีฐานะยากจนเนื่องจากมีพื้นที่ ทำกินต่อครอบครัวน้อยประกอบกับมีพื้นที่ส่วนใหญ่ติดกับเทือกเขาภูพาน ไม่สามารถขยายพื้นที่ในการทำการ เกษตรกรรมได้ ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา หาของป่าและรับจ้างทั่วไป การเพาะพันธุ์กล้าไม้ก็เริ่มจากการไปรับซื้อกล้าไม้มาเร่ขายเพื่อหารายได้เสริมให้กับครอบครัวนอกจากการทำ นา โดยเริ่มจากการไปรับซื้อกล้าไม้(มะกรูด ,มะนาว) จากกลุ่มเพาะพันธุ์กล้าไม้บ้านด่านม่วงคำ ตำบลด่านม่วง คำ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร มาเร่ขายแต่เพื่อให้ได้กำไรมากขึ้น นายเร่ง ยางธิสาร (ประธานกลุ่ม คนปัจจุบัน)ซึ่งเป็นพ่อค้าเร่ขายกล้าไม้เมื่อปี พ.ศ. 2525 จึงได้เรียนรู้การเพาะพันธุ์กล้าไม้ จากกลุ่มเพาะพันธุ์ กล้าไม้บ้านด่านม่วงคำ แล้วทำการเพาะกล้า มะกรูดและมะนาวด้วยตนเองก่อนนำไปเร่ขาย เมื่อปี พ.ศ.2528 ในเบื้องต้นมีผู้เพาะกล้ามะกรูด และมะนาวเพียงแค่ 3 คน เท่านั้น ต่อมาจึงได้มีผู้ทำการเพาะกล้าไม้เพิ่มขึ้น เรื่อยๆ และได้มีการจัดตั้งเป็นกลุ่มเพาะพันธุ์กล้าไม้ในปี พ.ศ. 2542 โดยมีสมาชิกในขณะนั้น จำนวน 27 คน และมีการเพาะกล้าไม้หลายชนิดเพิ่มมากขึ้น จนในปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน 62 คน จากบ้านห้วยยาง หมู่ 6 และ หมู่ 9 มีกล้าไม้ 62 ชนิด ประมาณ 3 ล้านต้น และมีกล้าไม้หมุนเวียนตลอดทั้งปีประมาณ 30 ล้านต้น สมาชิกมี รายได้จากการขายกล้าไม้ประมาณครอบครัวละ 10,000 - 15,000 บาทต่อเดือนและมีพ่อค้ามารับซื้อถึงสวนไม่ ต้องไปเร่ขายเหมือนแต่ก่อน


2 ข้อมูลกลุ่มเพาะพันธุ์กล้าไม้ บ้านห้วยยาง หมู่ที่ 6, บ้านห้วยยางเหนือ หมู่ที่ 9 ประธานกลุ่มฯ • •

นายเร่ง ยางธิสาร โทร. 081-0559155 นายทวีชัย ยางธิสาร

รองประธานกลุ่มฯ • • • •

นายไพวัน โต๊ะชาลี นายสุรัน โต๊ะชาลี นายมีพิมพ์ ยางธิสาร นายสมัย คำภูษา

การเงิน/การบัญชี/เหรัญญิก •

นายสุรัน โต๊ะชาลี

เลขานุการฯ • • • •

นายอนุสรณ์ พลราชม ประธานกรรมการ/ที่ปรึกษา นายสาคร ยางธิสาร กรรมการ/ที่ปรึกษา นายพายัพ โต๊ะชาลี กรรมการ/ที่ปรึกษา นายทวีชัย ยางธิสาร กรรมการ/ที่ปรึกษา สมาชิกกลุ่มเพาะพันธุ์กล้าไม้บ้านห้วยยาง หมู่ที่ 6, บ้านห้วยยางเหนือ หมู่ที่ 9 กลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 มีสมาชิกจำนวน 65 คน มีพันธุ์กล้าไม้จำนวน 62 ชนิด มีกล้าไม้ที่เพาะพันธุ์อยู่ในกลุ่ม จำนวน 2,511,050 ต้น

ยกเว้น 1. 2. 3. 4. 5. 6.

ผักหวานถุงเล็ก ราคาถุงละ 5 บาท ผักหวานถุงกลาง ราคาถุงละ 50 บาท ผักหวานถุงใหญ่ ราคาถุงละ 300 บาท ตอติ้ว ราคาถุงละ 15 บาท ยางนา ราคาถุงละ 10–15 บาท ไม้หอม ราคาถุงละ 5 บาท


3


4

ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประเภท หมอสมุนไพร

ชื่อ นายกมลรัตน์ พลราชม ชื่อ เล่น รัตน์ เกิด 4 กุมภาพันธ์ 2497 อายุ 65 ปี ที่อยู่ บ้านเลขที่ 32 หมู่ที่ 10 บ้านโพนสูง ตำบล เหล่าโพนค้อ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร ความสามรถพิเศษ รู้จักชนิด สรรพคุณของสมุนไพร ประวัติความเป็นมา นายกกมลรัตน์ พลราชม ชื่อเล่น รัตน์ เป็นคนบ้านโพนสูงโดยกำเนิด มีความสนใจด้าน สมุนไพร ตั้งแต่อายุ 10 ขวบเนืองจาก เคยเห็น ปู่ ย่า ตา ยาย เก็บสมุนไพรชนิดต่างๆ มาปรุงกินเองที่บ้าน จึงทำให้ นายกมลรัตน์ มีความสนใจ ศึกษา ค้นคว้าจากกตำรา ศึกษาจากผู้รู้ และใช้ประสบการณ์จริงไป หาสมุนไพรของจริง เดินป่า ขึ้นภูเขา จนทำให้รู้จริง รู้จักชนิด และสรรพคุณ ของสมุนไพรเป็นอย่างดี ข้อมูลแหล่งเรียนรู้หมอสมุนไพร สถานที่ บ้านเลขที่ 32 หมู่ที่ 10 บ้านโพนสูง ตำบล เหล่าโพนค้อ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร คุณสมบัติ 1. เป็นผู้ชำนาญการด้านสมุนไพร 2. เป็นวิทยากรด้านสมุนไพร แนะนำบอกชนิด และสรรรพคุณของสมุนไพร 3. เป็นหมอสมุนไพรประจำหมู่บ้าน จุดประสงค์ของแหล่งเรียนรู้สมุนไพร 1. เพื่อให้คนทีส่ นใจได้เรียนรู้เรื่องสมุนไพร 2. เพื่อให้คนเห็นความสำคัญของศาสตร์พื้นบ้าน และสืบทอดความรู้ต่อไป


5


6


7

ตัวอย่างสมุนไพร ต้นสาบเสือ สมุนไพรไทย สมุนไพร สาบเสือต้นสูงประมาณ 15-25 ซม.อยู่ในถุงขนาด 6 นิ้ว มีดิน แกลบ ปุ๋ย ขุยมะพร้าวมีประโยชน์ ทางยามาก ทั้งจากต้น ใบ ดอก หลายคนมักมอง“สาบเสือ”เป็นวัชพืชที่ไร้ค่าพบเห็นได้ทั่วไปตามสวน ผลไม้ สวนยางพาราหรือท้องทุ่งนา แต่หารู้ไม่ว่ามีสรรพคุณทางยา หลากหลายมาก นำมาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ตั้งแต่รากยันใบ สาบเสือมี ชื่อวิทยาศาสตร์ Chromolaena odorata (L.) R.M.King & H.Rob. จัด อยู่ในวงศ์ทานตะวัน (ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE) มีชื่อท้องถิ่น อื่น ๆ อีกหลายชื่อ เช่น หญ้าเสือหมอบ หญ้าดงร้าง หญ้าดอกขาว บ้านร้าง หมาหลง หญ้าดอกขาว หญ้าเลา ฮ้าง ปักษ์ใต้เรียกต้นขี้ไก่ คนจีนรู้จักในนามเฮียงเจกลั้งหรือปวยกีเช่า สมุนไพรสาบเสือ จัดเป็นวัชพืชที่มีถิ่น กำเนิดในแถบอเมริกากลาง โดยมีเขตแพร่กระจายตั้งแต่ทางตอนใต้ของรัฐฟลอริดาไปจนถึงทางตอนเหนือของ ประเทศอาร์เจนตินา และระบาดทั่วไปในเขตร้อนทั่วทุกทวีป ยกเว้นออสเตรเลียพบได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก เป็นพืชที่แตกกิ่งก้านสาขามากจนเหมือนทรงพุ่ม กิ่งก้านและลำต้นจะปกคลุมไปด้วยขน นุ่มอ่อน ๆ มีลำต้นสูงประมาณ 1-2 เมตรใบ มีใบเป็นใบเดี่ยวออกจากลำต้นที่ข้อแบบตรงกันข้าม ใบมีสีเขียว อ่อน ลักษณะของใบคล้ายรูปรีทรงรูปสามเหลี่ยม ปลายใบแหลม ฐานใบกว้าง ใบเรียวสอบเข้าหากัน มีขอบใบ หยัก ที่ใบเห็นเส้นชัดเจน 3 เส้น ผิวใบทั้งสองด้านมีขนอ่อนปกคลุม ใบและก้านเมื่อนำมาขยี้จะมีกลิ่นแรงคล้าย กลิ่นสาบเสือ ดอก ออกเป็นช่อ มีสีขาวหรือสีฟ้าอมม่วง มีดอกย่อยประมาณ 10-35 ดอก โดยดอกวงนอกจะบาน ก่อนดอกวงใน ที่กลีบดอกหลอมรวมกันเป็นหลอด ผล เป็นผลขนาดเล็ก มีรูปร่างคล้ายรูปห้าเหลี่ยม มีสีน้ำตาลหรือสีดำ มีหนามแข็งบนเส้นของผล ที่ ปลายผลมีขนสีขาว ช่วงพยุงให้ผลและเมล็ดสามารถปลิวตามลมได้ ส่วนสาเหตุที่ได้ชื่อว่า “สาบเสือ” ก็ เพราะว่าดอกของสมุนไพรชนิดนี้จะไม่มีกลิ่นหอม แต่จะมีแต่กลิ่นสาบคล้ายสาบเสือ คนโบราณเวลาวิ่งหนีสัตว์ ดุร้ายจะวิ่งเข้าดงสาบเสือเพื่อช่วยอำพรางให้ปลอดภัย เพราะสัตว์จะไม่ได้กลิ่นคน และยังมีการนำมาใช้ ประโยชน์ในด้านของสรรพคุณทางยามากมาย โดยส่วนที่นำมาก็มีทั้งจากต้น ใบ ดอก ราก เป็นต้น สรรพคุณของสาบเสือ ดอก สาบเสือมีสรรพคุณช่วยชูกำลัง แก้อาการอ่อนเพลีย ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยแก้กระหายน้ำ ช่วย แก้ไข้ ใช้เป็นยาแก้ร้อนใน ใบ ช่วยแก้ตาฟาง ตาแฉะ ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร แก้พิษน้ำเหลือง ช่วยถอนพิษแก้อักเสบ ใช้ในการ ห้ามเลือด ด้วยการใช้ใบนำมาโขลกและขยี้ แล้วนำมาพอกบริเวณบาดแผล ก็จะช่วยห้ามเลือดได้เป็นอย่างดี เพราะสาบเสือมีสารสำคัญหลายอย่างที่มีฤทธิ์ทำให้เส้นเลือดหดตัว และไปช่วยกระตุ้นสารที่ ทำให้เลือดแข็งตัว ได้เร็วยิ่งขึ้น แต่อาจจะแสบมาก ๆ แต่เมื่อแผลหายแล้วจะช่วยป้องกันแผลเป็นได้ ช่วยรักษาแผลเปื่อย


8

กำแพงเจ็ดชั้น

กำแพงเจ็ดชั้น หรือ SALACIA CHINEN-SIS LINN. CELASTRACEAE เป็นไม้กึ่งเลื้อย สูง 2-5 เมตร ดอกสีเหลืองอมเขียว “ผล” กลม ผลสุกสีแดงอมส้ม รับประทานได้หวานปนเปรี้ยว พบขึ้นทุกภาคของประเทศ ไทย มีชื่อเรียกอีกคือ ตะลุ๋มนก, ตาไก้, น้ำนอง, มะต่อมไก่ และ หลุมนก ตำรายาแผนไทยโบราณใช้เนื้อไม้สด หรือแห้งต้มน้ำเดือดดื่มแก้ปวดเมื่อยและเป็นยาระบายดีนัก และยังเข้ายาอื่นอีกเยอะ นอกจากนั้น เนื้อไม้ของ “กำแพงเจ็ดชั้น” เนื้อไม้เถาวัลย์เปรียง เนื้อไม้ฝาง และ เนื้อไม้เถารางแดง ทั้งหมดแบบแห้งน้ำหนักเท่ากัน 100 กรัม ใส่โหลแก้วเทเหล้าขาว 40 ดีกรีให้ท่วมยามากหน่อยแล้ว ปิดฝา ดองไว้ 1 เดือน เมื่อครบกำหนดเปิดฝา ดื่มครั้งละ 1 ส่วน 4 แก้ว ก่อนอาหารเช้าเย็น เป็นยาแก้ปวดเมื่อยตาม ร่างกายได้ยอดเยี่ยมมาก สามารถเติมเหล้าลงไปได้อีก 3-4 ครั้ง จึงเปลี่ยนเนื้อยาดองใหม่ถ้าดื่มแล้วดีครับ หนังสือ “สมุนไพรไม้ดอก ไม้ประดับหายาก” เล่มที่ 5 ของ “นายเกษตร” ไม่วางขายที่ไหน ราคาเล่มละ 600 บาท บวกค่าส่งกลับเล่มละ 30 บาท ส่งธนาณัติซื้อสั่งจ่าย “คุณนงลักษณ์ ศรี-อัชรานนท์” ตู้ ปณ.48 ปณ. สามแยกลาดพร้าว กทม. 10901 หรือสอบถามผลิตภัณฑ์สมุนไพร ยาต้มคลายเส้นไม้เท้าเฒ่าอาลี แก้ปวด เมื่อย แก้เกาต์ ลดเบาหวาน บำรุงไต, น้ำมัน 12 ประดง รักษาโรคผิวหนัง ฆ่าเชื้อ สมานแผล สะเก็ดเงิน เริม งูสวัด และแพ้เหงื่อ, ยาลดเบาหวานแคปซูล ทำจากสมุนไพรหลายชนิด, ยาบำรุงไตแคปซูล มีส่วนผสมของ สมุนไพรหลายอย่าง ไม่ใช่รักษาไต, ตรีผลาแคปซูล ลดไขมันในเส้นเลือด ลดไตรกรีเซอร์ไรด์, ดีบัวแคปซูล ขยายหลอดเลือดไปเลี้ยงสมองหัวใจ, ครีมโลดทนง รักษาสิวฝ้า รูขุมขนตีบลง, คอลลาเจลบริสุทธิ์ เป็นผงทา หน้าช่วยให้ผิวหน้ากระชับ, ข่อยขัดรักแร้ ดับกลิ่นเต่า รักแร้หายคล้ำ, เพชรสังฆาตแคปซูล แก้ริดสีดวงทวาร, แชมพูสูตร 5 ชนิด ช่วยให้รากผมแข็งแรง ขจัดรังแค คันศีรษะ, ว่านชักมดลูกแคปซูล แก้คาวปลากลิ่นเหม็น แก้ต่อมลูกหมากอักเสบ ไส้เลื่อนในบุรุษ และอื่นๆ

การนำสมุนไพรไปใช้ แปรรูป สมุนไพรถูกนำมาใช้สารพัดประโยชน์ และถูกแปรรูปออกมาในแบบต่างๆ สิ่งสำคัญที่สุดของการแปรรูป สมุนไพร คือ การปรุงยา การปรุงยาหมายถึง การสกัดเอาตัวยาออกมาจากเนื้อไม้ยา สารที่ใช้สกัดเอาตัวยาออกมาที่นิยมใช้กัน ได้แก่ น้ำและเหล้า


9 สมุนไพรที่นำมาเป็นยาตามภูมิปัญญาดัง้ เดิมมีรปู แบบ คือ 1.ยาต้ม เป็นการสกัดยาออกมาจากไม้ยาด้วยน้ำร้อน เป็นวิธีที่นิยมใช้มากที่สุด ใช้กับส่วนของเนื้อไม้ที่ แน่นและแข็ง เช่น ลำต้นและราก ซึ่งจะต้องใช้การต้มจึงจะได้ตัวยาที่เป็นสารสำคัญออกมา -ข้อดีของการต้ม คือ สะอาด ปลอดจากเชื้อโรค มี 3ลักษณะ +การต้มกินต่างน้ำ คือการต้มให้เดือดก่อนแล้วต้มด้วยไฟอ่อนๆอีก 10 นาที หลังจากนั้นนำมากิน แทนน้ำ +การต้มเคี่ยว คือ การต้มให้เดือดอ่อนๆ ใช้เวลาต้ม 20-30 นาที +การต้ม 3 เอา1 คือ การต้มจากน้ำ 3 ส่วน ให้เหลือเพียง 1 ส่วน ใช้เวลาต้ม 30-45นาที 2.ยาชง เป็นการสกัดตัวยาด้วยน้ำร้อน ใช้กับส่วนที่บอบบาง เช่น ใบ ดอก ที่ไม่ต้องการโดนน้ำเดือดนานๆ ตัวยาก็ออกมาได้ วิธีการชง คือ ให้นำยาใส่แก้วเติมน้ำร้อนจัดลงไป ปิดฝาแก้วทิ้งไว้จนเย็น ลักษณะนี้เป็นการปล่อยตัว ยาออกมาเต็มที่ 3. ยาน้ำมัน ตัวยาบางชนิดไม่ยอยละลายน้ำ แม้ว่าจะต้มเคี่ยวแล้วก็ตาม ส่วนใหญ่ยาที่ละลายน้ำจะไม่ละลายใน น้ำมันเช่นกัน จึงใชน้ำมันสกัดยาแทน แต่เนื่องจากยาน้ำมันทาแล้วเหนียว เหนอะหนะ เปื้อนเสื้อผ้า จึงไม่นิยมปรุงใช้กัน 4.ยาดองเหล้า เป็นการใช้กับตัวยาที่ไม่ละลายน้ำ แต่ละลายได้ดีในเหล้า ยาดองเหล้ามักมีกลิ่นแรงกว่ายาต้ม เนื่องจากเหล้ามีกลิ่นฉุน และหากกินบ่อยๆอาจทำให้ติดได้ จึงไม่ นิยมกินกัน จะใช้ต่อเมื่อกินยาเม็ดหรือยาต้มแล้วไม่ได้ผล 5.ยาต้มคั้นเอาน้ำ เป็นการนำเอาส่วนของต้นไม้ที่มีน้ำมากๆอ่อนนุ่ม ตำแหลกง่าย เช่น ใบ หัว หรือเหง้า นำมาตำให้ ละเอียด และคั้นเอาแต่น้ำออกมา ยาประเภทนี้กินมากไม่ได้เช่นกัน เพราะน้ำยาที่ได้จะมีกลิ่นและรสชาติที่รุนแรง ตัวยาเข้มข้นมาก ยากที่จะกลืนเข้าไปที่เดียว ฉะนั้นกินครั้งละหนึ่งถ้วยชาก็พอแล้ว 6.ยาผง เป็นการนำยาไปอบหรือตากแห้งแล้วบดให้เป็นผง ยาที่เป็นผงละเอียดมากยิ่งมีสรรพคุณดี เพราะจะถูกดูดซึมสู่ลำไส้ง่าย จึงเข้าสู้ร่างกายได้รวดเร็ว ยาผงชนิดใดที่กินยากก็จะใช้ปั้นเป็นเม็ดที่เรียกว่า "ยาลูกกลอน" โดยใช้น้ำเชื่อม,น้ำข้าวหรือน้ำผึ้ง เพื่อให้ติดกันเป็นเม็ด ส่วนใหญ่นิยมใช้น้ำผึ้งเพราะสามารถเก็บไว้ได้นานโดยไม่ขึ้นรา 7.ยาฝน เป็นวิธีการที่หมอพื้นบ้านนิยมกันมาก วิธีการฝน คือ หาภาชนะใส่น้ำสะอาดประมาณครึ่งหนึ่งแล้วนำหินลับมีดเล็กๆจุ่มลงไปในหินโผล่ เหนือน้ำเล็กน้อย ฝนจนได้น้ำยาสีขุ่นเล็กน้อยกินครั้งละ 1 แก้ว สมุนไพรถูกนำมาใช้สารพัดประโยชน์ และถูกแปรรูปออกมาในแบบต่างๆ สิ่งสำคัญที่สุดของการแปรรูป สมุนไพร คือ การปรุงยา การปรุงยาหมายถึง การสกัดเอาตัวยาออกมาจากเนื้อไม้ยา สารที่ใช้สกัดเอาตัวยา ออกมาที่นิยมใช้กัน ได้แก่ น้ำและเหล้า


10 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประเภท หมอแคน

ชื่อ นายทองดี ศรีนา ชื่อเล่น ทอง เกิด 1 มิถุนายน 2484 อายุ 79 ปี ที่อยู่ บ้านเลขที่ 4 หมู่ที่ 10 บ้านโพนสูง ตำบล เหล่าโพนค้อ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร ความสามรถพิเศษ เป่าแคน ประวัติความเป็นมาของแคน แคน เป็นเครื่องดนตรีประเภทเป่าที่เก่าแก่ชนิดหนึ่งของโลก สันนิษฐานว่ามีอายุไม่ต่ำกว่า 3,000 ปี ดังปรากฏหลักฐานจากการขุด ค้ น ซากแคนในชั้น หิน อายุ กว่า 2,000 ปีในมณฑลยูน นานของประเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีน และการขุดค้นทางโบราณคดี ที่เมืองดองซองริมแม่น้ำซองมา ในจังหวัดถั่นหัว ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามได้ค้นพบขวานสำริดจำหลักเป็นรู ปคนเป่าแคนน้ำเต้าอายุประมาณ 3,000 ปี คนไทยในภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือรู้จักเล่นดนตรีประเภทแคนมานานแล้ว โดยนำไปใช้ประกอบ การละเล่น การแสดงหมอลำ งานประเพณี พิธีกรรม ขบวนแห่ ต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันก็ยังนิยมเล่นอยู่ทั่วไป และ ได้มีการพัฒนารูปแบบของแคนให้ดียิ่งขึ้ นเรื่อยมา จนถึงปัจจุบันมีแคนหลายชนิด เช่น แคนหก แคนเจ็ด แคนแปด แคนเก้า และแคนสิบ แต่ที่นิยมใช้มากที่สุดคือแคนแปด เพลงแคน แคนเป็นเครื่องดนตรีที่สามารถนำไปใช้บรรเลงได้ทั้ งเพลงไทยเดิม เพลงไทยสากล และเพลงลูกทุ่ง และเมื่อนำมาใช้บรรเลงทำนองของเพลงพื้นบ้านอีสานเรียกว่า “ลายแคน” ดังนั้นคำว่า เพลง ซึ่งเป็นการ บรรเลงทำนองของแคนจึงมีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า ลาย ลายแคนที่เป็นแม่บทหรือลายหลักมี 6 ลายคือ ลายน้อย ลายใหญ่ ลายโป้ซ้ าย ลายสร้อย ลายเซ และลายสุดสะแนน และยังแบ่งย่อยออกเป็ นลายอื่น ๆ อีก สนอง คลังพระสี (2541:142-143) ให้ความหมายของคำว่า ลาย สรุปได้ดังนี้


11 1.ลาย หมายถึง เพลง และ/หรือทำนองใดทำนองหนึ่ง เช่น ลายต้อนวัวขึ้นภู ลายเต้ย ลายลมพัดพร้าว เป็นต้น 2.ลาย หมายถึง เพลง และ/หรือทำนองที่บรรเลงโดยเครื่องดนตรีแต่ละชนิด เช่น ลายแคน ลายพิณ และลายแซกโซโฟน เป็นต้น 3.ลาย หมายถึงลีลาการแสดงของนักดนตรีแต่ละคน 4.ลาย หมายถึงทางหรือระดับเสียง (Mode) ที่ใช้บรรเลงในแต่ละบท ทั้ง นี้ยึดลายแคนเป็นหลัก ลาย แคนแต่ละลายเกิดจากการผสมเสียงของลูกแคนอย่างเป็นระบบโดยอาศัยเสียง 5 เสียงและใช้เสียงเสพ (Drone) ซึ่งหมายถึงเสียงที่ดังอยู่ตลอดเวลาโดยไม่เปลี่ยนระดับเสียง เป็นเสียงหลักในการจำแนกลายแต่ ละลาย ประวัติความเป็นมาของหมอแคน นายทองดี ศรีนา เป็นคนที่ชอบเสียงเพลง รักการฟังเพลง และชอบแคนมาตั้งแต่เด็ก เพราสมัยก่อน เวลาที่หนุ่มจีบสาวก็จะใช้การเป่าแคนเป็นสื่อ เลยทำให้นายทองดีซึมซับกับเสียงแคนมาตั้งแต่เด็ก แต่เริ่มมา ฝึกเป่าแคน ตอนอายุ 14 ปี และก็เป่ามาเรื่อยๆจนมีความชำนาญ รูจักลายเพลงแคนเป็นอย่างดี จนเป็นที่ รู้จักชองคนในชุมชนเป็นอย่างดี และเป็นหมอแคนประจำหมู่บ้านด้วย ข้อมูลแหล่งเรียนรู้หมอแคน สถานที่ บ้านเลขที่ 4 หมู่ที่ 10 บ้านโพนสูง ตำบล เหล่าโพนค้อ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร คุณสมบัติ 1. เป็นผู้ชำนาญการด้านการเป่าแคน 2. เป็นวิทยากรสอนเป่าแคน 3. เป็นหมอแคนประจำหมู่บ้าน จุดประสงค์ของแหล่งเรียนรู้สมุนไพร 1. เพื่อให้คนที่สนใจได้เรียนรู้การเป่าแคน 2. เพื่อให้คนเห็นความสำคัญของศาสตร์พื้นบ้าน และสืบทอดความรู้ และสืบสานวัฒนธรรมชองท้องถิ่น ร่วมอนุรักษ์มรดกของชาติ


12

ประเภทของแคน แคนมีหลายประเภทตามจำนวนลูกแคน คือ 1.แคนหก มีลูกแคน 3 คู่ (6 ลูก) เป็นแคนขนาดเล็กที่สุด สำหรับเด็กหรือผู้เริ่มฝึกหัดใช้เป่าเพลงง่าย ๆ เพราะ เสียงไม่ครบ บางทีก็จะทำเป็นของที่ระลึกสำหรับนักท่องเที่ยว 2.แคนเจ็ด มีลูกแคน 7 คู่ (14 ลูก) เป็นแคนขนาดกลาง มีเสียงครบ 7 เสียง ตามระบบสากล และมีระดับ เสียงสูง ต่ำ ทั้ง 7 เสียง หรือที่เรียกว่า คู่แปด คือ โด เร มี ฟา ซอล ลา ที (คู่แปด คือทุกเสียงเช่นเสียงโด ก็จะมี ทั้งเสียงโดสูง และโดต่ำ ทุกเสียงมีคู่เสียงทั้งหมด) แคน 7 ไม่มีเสียงเสพที่เป็นเสียง ซอลสูง ด้านแพซ้าย และไม่ มีเสียงเสพที่เป็นเสียง ลาสูง ทางด้านแพขวา 3.แคนแปด ใหญ่กว่าแคนเจ็ด มีลูกแคน 8 คู่ (16 ลูก) คือ โด เร มี ฟา ซอล ลา ที โด เพิ่มคู่เสียงระดับสูงขึ้น ไปให้เป็นเสียงประสานในการเล่นเพลงพื้นเมือง ได้แก่ เสียง ซอลสูง ด้านแพซ้าย และเสียงเสพที่เป็นเสียง ลา สูง ทางด้านแพขวา 4.แคนเก้า มีลูกแคน 9 คู่ (18 ลูก) ใหญ่ที่สุด มีเสียงต่ำที่สุ ด เวลาเป่าต้องใช้ลมมาก มีจำนวนคู่เสียงครบ เช่นเดียวกับแคนแปด แต่ที่เพิ่มขึ้นมาอีกก็คือเพิ่มเสียงเสพประสานด้านแพซ้ายที่เป็นเสียงซอลสูงอีกหนึ่งเสียง และเพิ่มเสียงเสพประสานที่แพขวาซึ่งเป็นเสียงลาสูงอีกหนึ่งเสียง สรุปแล้วจึงมีลูกแคนทั้งหมด 9 คู่ และที่ สำคัญคือเป็นแคนเสียงต่ำที่ใช้เป่าให้เป็นเสียงเบสในการเป่าแบบแคนวง แต่ในปัจจุบันวงดนตรีพื้นเมืองนิยมใช้ พิณเบสหรือเบสของดนตรีสากล แคน 9 จึงไม่เป็นนิยมอีก จึงทำให้เยาวชนรุ่นหลังไม่มีโอกาสได้เห็ นได้ยินการ บรรเลงของแคน 9 อีกเลย 5.แคนสิบ เป็นแคนที่ปรับปรุงมาจากแคนแปด โดยผู้ประดิษฐ์และออกแบบ ชื่อ สำเร็จ คำโมง แต่ในระยะหลัง ไม่เป็นที่นิยมมากนักจึงไม่มีผู้สืบทอดผลงานนี้ไว้ แคนนอกจากบรรเลงเป็นวงแล้ว ก็ยังใช้บรรเลงประกอบการลำ (การขับร้อง) หรือใช้บรรเลงร่ว มกับพิณ โปงลาง ฯลฯ


13 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประเภท อาหาร (น้ำพริก)

ชื่อ นางประทุทอง เทพวงสา ชื่อ เล่น ดีด เกิด 25 กันยายน 2502 อายุ 61 ปี ที่อยู่ บ้านเลขที่ 244 หมู่ที่ 10 บ้านโพนสูง ตำบล เหล่าโพนค้อ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัด สกลนคร ความสามรถพิเศษ ตำน้ำพริก ประวัติความเป็นมา นางประทุมทอง เทพวงสา เป็นคนชอบในการประกอบอาหารมาตั้งแต่เด็ก ชอบชิมรสชาติอาหารชนิด ต่างๆโดยเฉพาะน้ำพริกจะชอบเป็นพิเศษ จึงได้ลงมือปรุงเองตำเอง จนได้รสที่อร่อยกลมกล่อมเป็นที่ชื่นชอบ ของคนในชุมชน จนมีการเรียกร้องให้นางประทุมทอง ตำน้าพริกออกมาจำหน่าย จนน้ำพริกของนางประทุม ทอง เป็นที่ชื่นชอบและรู้จักของชุมชน ข้อมูลแหล่งเรียนรู้การทำน้ำพริก สถานที่ บ้านเลขที่ 244 หมู่ที่ 10 บ้านโพนสูง ตำบล เหล่าโพนค้อ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัด สกลนคร คุณสมบัติ 1. เป็นผู้ชำนาญการตำน้ำพริก 2. เป็นวิทยากรสอนการตำน้ำพริก จุดประสงค์ของแหล่งเรียนรู้สมุนไพร 1. เพื่อให้คนที่สนใจได้เรียนรู้เรื่องการตำน้ำพริก 2. เพื่อให้คนเห็นความสำคัญของศาสตร์พื้นบ้าน และสืบทอดความรู้ต่อไป


14 น้าจิ้มแจ่วมะขามเปียก

น้าจิ้มแจ่วมะขามเปียก ถ้าพูดถึงอาหารไทยสิ่งที่คนไทยขาดไม่ได้เลยก็คือน้าจิ้ม ไม่ว่าจะเป็นเมนูไหนๆ เรามักเรียกหาน้าจิ้มกันเสมอไม่ ว่าจะผัด ทอด หรือย่าง เรียกได้ว่า ถ้าน้าจิ้มซีฟู๊ดคู่กับอาหารทะเล พริกน้าปลาคู่กับอาหารจานเดียว น้าจิ้มแจ่ว ก็ต้องคู่กับอาหารย่าง นั่นเอง น้าจิ้มแจ่วเป็นน้าจิ้มที่เรียกว่าครบเครื่อง เพราะมีทั้งความหวานเค็ม เปรี้ยวเผ็ด และกลิ่นหอมจากข้าวคั่ว วันนี้เรามีน้าจิ้มแจ่วสูตรน้ามะขามเปียกที่มีเอกลักษณ์คือมีความหอมหวานอมเปรี้ยว จากมะขาม รับรองว่ารสชาติอร่อยไม่แพ้สูตรอื่นแน่นอนเราไปดูวิธีทํากันเลยดีกว่า ส่วนผสม 1. น้ามะขามเปียก ¼ ถ้วย 2.น้าตาลปี๊บ 3 ช้อนโต๊ะ 3.น้าปลา ¼ ถ้วย 4.น้ามะนาว 3 ช้อนโต๊ะ 5.ข้าวคั่ว 2 ช้อนโต๊ะ 6.พริกขี้หนูป่น 2 ช้อนโต๊ะ 7.หอมแดงซอย 4 หัว 8.ผักชีฝรั่งซอย 2 ช้อนโต๊ะ 9.สเต๊กสันคอหมักพริกไทยดำ ตราซีพี สำหรับทานคู่ วิธีทำ 1. นำมะขามเปียกมาล้างน้ำให้สะอาด ก่อนนำไปใส่ชามและเทน้ำลงไป ใช้มือคั้นให้ได้น้ำมะขามเปียกที่สดใหม่ ไม่ ทำให้รสชาติน้ำจิ้มแจ่วนั้นเด็ดและสีไม่คล้ำ 2.ใช้ชามใบใหญ่เทน้ามะขามเปียกและน้าตาลปี๊บใส่ลงไป จากนั้นใช้ทัพพีคนจนน้าตาลละลายหมด 3.ใส่น้าปลาและ น้ามะนาวตามลงไป คนให้เข้ากันอีกครั้ง ชิมรสชาติตามใจชอบ 4.จากนั้นใส่พริกป่น ข้าวคั่ว หอมแดงและผักชีฝรั่งซอยลงไป คนให้เข้ากัน 5.นำ สเต๊กสันคอหมักพริกไทยดำ ตราซีพี มาย่างบนกระทะให้สุกเพื่อจัดเสิร์ฟคู่กับน้ำจิ้มแจ่วรสเด็ด


15 เคล็ดลับ 1.วิธีการคั่วข้าวให้ใส่สมุนไพรลงไปตอนคั่วพร้อมกับข้าวเช่น ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด จากนั้นจึงค่อยนําออกตอน คั่วเสร็จแล้ว จะได้ข้าวคั่วที่หอมสมุนไพรแนะนําให้คั่วข้าวทีละน้อยๆ พอจะใช้ในแต่ละครั้ง 2.หากมีพริกขี้หนูแห้งที่คั่วและป่นเองจะมีกลิ่นหอมกว่า พริกขี้หนูป่นที่ซื้อสําเร็จรูป

แจ่วน้ำปลาพริกป่น ประมาณว่าเป็นน้ำจิ้มแจ่วสูตรเบสิกที่ใครๆ ก็ทำได้ ง่ายๆ แค่มีพริกป่น น้ำปลา บีบมะนาวหน่อย จะเติมหวาน ด้วยน้ำตาลทรายหรือไม่ก็ได้ ให้รสเค็มนำเปรี้ยวหรือเปรี้ยวนำเค็มแล้วแต่ชอบ ถ้าขยันจะซอยหอมแดงบางๆ และผักชี หรือเติมข้าวคั่วป่นก็ยิ่งดี เอาไว้กินกับไข่เจียว ไก่ย่าง ปลาดุกย่างได้หมด ทำติดสำรับไว้ไม่ผิดหวัง แจ่วน้ำมะขาม เป็นน้ำจิ้มแจ่วสูตรแอดวานซ์ขึ้นอีกนิดเพราะต้องเพิ่มขั้นตอนการปรุงอีกหน่อย โดยเติมหวานด้วยน้ำตาลปีบ เติมเปรี้ยวด้วยน้ำมะขาม ตั้งไฟเคี่ยวให้น้ำแจ่วข้นขึ้น แล้วเติมข้าวคั่วป่นลงไป บางสูตรอาจใส่งาขาวคั่วป่นแทน แจ่วจะหอมขึ้นเมื่อเครื่องเคราโดนความร้อน ซอยต้นหอม ผักชีฝรั่ง หรือใบสะระแหน่ตาม เหมาะมากกับเมนู ปิ้งย่างอย่างคอหมูย่าง ไส้ย่าง ปลาเผา สเต๊กนุ่มๆ หรือแค่ข้าวเหนียวจิ้มแจ่วก็ยังฟินเล้ยย แจ่วหอมเจียว หรือใครอยากจะลองทำเองโดยการลองนำแจ่วสูตรที่ทำไม่ยากอย่างแจ่วน้ำมะขามที่มีครบรสทั้งเค็ม เปรี้ยวหวานกลมกล่อม มาเพิ่มท็อปปิ้งให้มีความน่าสนใจมากขึ้นด้วยหอมเจียว แค่นี้เพิ่มมิติของกลิ่นและรสที่ น่าสนใจได้แล้ว เพราะน้ำจิ้มแจ่วมีสูตรหลากหลายตามแต่ใครจะหยิบจับวัตถุดิบมาสร้างสรรค์สูตรของตัวเอง ขึ้นมา อย่างสูตรนี้ได้เจอตอนไปกินชุดสุขนัว ชุดอาหารพิเศษของเชนร้านอาหารปิ้งย่างในห้างอย่างบาร์บีคิว พลาซ่า ที่เน้นความอร่อยนัวในสไตล์ไทย มีจำหน่ายอยู่ในช่วงนี้ ซึ่งชุดนี้ นอกจากจะมีเครื่องเทศไทยๆ หลาก


16 ชนิด ข้าวคั่วให้เติมในน้ำซุปสไตล์จิ้มจุ่มตามคอนเซ็ปต์ความนัวแล้ว ยังมีการเสริฟน้ำจิ้มแจ่วทีมีหอมเจียวโรย หน้ามาสำหรับให้จิ้มกับอาหารประเภทปิ้งย่าง หมูสไสล์ หมูสันคอชาบู เบคอน หรือคอหมูย่าง เป็นการนำ น้ำจิ้มแจ่วรสชาติคุ้นเคย มาเพิ่มสีสันและรสชาติให้กับมื้ออาหารในรูปแบบใหม่ๆ อีกด้วย สูตรแจ่ว แจ่วน้ำปลาร้าพริกสด แจ่วสูตรนี้เหมาะกับเมนูนึ่งๆ ลวกๆ ทั้งหลาย ทั้งปลานึ่ง ไก่นึ่ง ไข่ต้ม ผักลวก ผักสด หรือแม้แต่ข้าวเหนียวจิ่ม แจ่วก็แซบอีหลี เครื่องแจ่วมีหลายอย่างทั้งพริกสด พริกชี้ฟ้า ข่า หอมกระเทียม คั่วไฟหรือปิ้งให้สุกหอมแล้ว โขลกพอหยาบพร้อมผักชีซอย ปรุงรสเติมเสน่ห์ความหอมด้วยน้ำมะนาวและน้ำปลาร้า (ถ้าชอบปลาร้าต่อนก็ หย่อนลงไป) ได้รสชาติจัดจ้านเผ็ดเปรี้ยวเค็มเต็มๆ คำ แจ่วมะเขือเทศ อาจจะดูเก๋ๆ สวยๆ แต่น้ำจิ้มแจ่วสูตรนี้อร่อยไม่ใช่ย่อย แถมยังดูเฮลตี้เพราะได้วิตามินและเบตาแคโรทีนจาก มะเขือเทศอีกต่างหาก เครื่องแจ่วมาแนวเดียวกับแจ่วน้ำปลาร้าพริกสด แต่เพิ่มมะเขือเทศให้เป็นนางเอกของ เมนู อาจเปลี่ยนพริกชี้ฟ้าเป็นพริกแห้งก็ได้ แล้วนำทั้งหมดมาคั่วอบหรือปิ้งให้สุกหอม โขลกพอหยาบแล้วปรุง รสด้วยมะนาว น้ำปลาหรือน้ำปลาร้าให้ถูกปาก กินกับปลานึ่ง ผัก และข้าวสวยร้อนๆ อร่อยโล้ดดด เสน่ห์ของน้ำจิ้มแจ่วที่อยู่คู่มื้ออาหารอีสานยังขยายฐานความอร่อยไปยังอาหารประเภทอื่นๆ อีก เพราะกินคู่กับ อาหารได้แบบไม่มีข้อจำกัดเฉพาะเมนูพื้นบ้านเท่านั้น ใครยังไม่เคยลองสูตรไหนลองเสาะหามากินกันดู


17 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประเภท จักสาน

ชื่อ นางวัฒนา พลราฃม ชื่อเล่น วัฒน์ เกิด 8 เมษายน 2492 อายุ 71 ปี ที่อยู่ บ้านเลขที่ 195 หมู่ที่ 10 บ้านโพนสูง ตำบล เหล่าโพนค้อ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัด สกลนคร ความสามรถพิเศษ สานกระติ๊บข้าว ประวัติความเป็นมา จากการที่ นางวัฒนา ได้เคยเห็นพ่อเกี่ยวกับการจักสาน เช่น กระบุงหาบ กระทอใส่หญ้า ซึมซับงานจัก สานตั้งแต่ตอนเป็นเด็กทำให้รักการจักสาน มาเริ่ม จักสานกระติ๊บข้าวตอนอายุประมาณ 30 ปี แต่ไม่ได้ทำ เป็นงานหลัก จะใช้ช่วงเวลาที่ว่างจากการทำงานหลัก มาสานกระติ๊บข้าวไว้ใช้ในครัวเรือน และสานจำหน่าย บ้าง แต่ไม่มาก เพราะต้องใช้วัตถุดิบที่หาค่อนข้างจะลำบาก และต้องใช้เวลาในการจักสาน จนทุกวันก็ยัง สานกระติ๊บข้าวจนชำนาญ และเป็นที่รู้จักของชุมชน ข้อมูลแหล่งเรียนรู้เรื่องจักสาน สถานที่ บ้านเลขที่ 195 หมู่ที่ 10 บ้านโพนสูง ตำบล เหล่าโพนค้อ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัด สกลนคร คุณสมบัติ 1. เป็นผู้ชำนาญการสานกระติ๊บข้าว 2. เป็นวิทยากรสอนการสานกระติ๊บข้าว จุดประสงค์ของแหล่งเรียนรู้สมุนไพร 1. เพื่อให้คนที่สนใจได้เรียนรู้เรื่องการสานกระติ๊บข้าว 2. เพือ่ ให้คนเห็นความสำคัญของศาสตร์พื้นบ้าน และสืบทอดความรู้ต่อไป


18

งานจักสานวัสดุในท้องถิน่ ทรงคุณค่าจากฝีมือตายาย ถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นว่าแต่ละชุมชนล้วนแล้วแต่มีของดีอยู่ โดยเฉพาะพืชประจำท้องถิ่นที่สามารถนำมาพัฒนา เป็นงานหัตถศิลป์ อาทิ ต้นกก ไม้ไผ่ กระทั่งทางมะพร้าวที่ช่วยให้ผู้สูงอายุใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ที่สำคัญ ยังสุขผลดีต่อสุขภาพ หากว่างานฝีมือชิ้นนั้นๆ ผู้สูงวัยได้เป็นผู้ถ่ายทอดให้กับคนในท้องถิ่น จากการสอบถามไป ยัง ผศ.สาวิตรี สิงห์หาด อาจารย์ประจำคณะพยาบาลศาสตร์ ม.อุบลราชธานี มีคำแนะนำเกี่ยวกับอาชีพ ท้องถิ่นที่เหมาะกับผู้สูงอายุ ซึ่งถือเป็นต้นแบบให้กับคนวัยเก๋าในพื้นที่อื่นๆ ได้หันมาหยิบจับทำงานฝีมือโดยใช้ วัสดุในท้องถิ่นที่มีอยู่ ว่า “อันที่จริงแล้วสูงอายุถือเป็นปูชนียบุคคล และเป็นผู้ที่มีคุณค่าทางสังคม อีกทั้งมีความเพียบพร้อมใน ความรู้ที่สามารถเป็นต้นแบบในการถ่ายทอดภูมิปัญญาที่สั่งสมมาจากอดีตสู่ปัจจุบันให้กับลูกหลานและคนใน ชุมชน โดยเฉพาะงานหัตถศิลป์ที่สร้างทั้งรายได้และส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและสุขภาพที่ดีขึ้นจากการหา กิจกรรมทำ เพื่อป้องกันโรคซึมเศร้า โรคอัลไซเมอร์ ตลอดจนโรคเรื้อรังอื่นๆ เฉกเช่นผู้สูงวัยที่อยู่ใน ต.บัววัด อ. วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ซึ่งเป็นชุมชนที่ตั้งอยู่รอบๆ ม.อุบลราชธานี ที่ผู้สูงอายุสามารใช้เวลาว่าง ในการ สร้างงานหัตถศิลป์ โดยใช้ไม้ไผ่ที่ปลูกไว้ในชุมชน โดยทำเครื่องจักสานอย่าง “การสานพัดไม้ไผ่” ที่ถือได้ว่าเป็น งานฝีมือจากภูมิปัญญาท้องถิ่นและใช้วัสดุรอบตัวอย่างต้นไผ่ที่นำมาแปรรูป หรือจักตอกให้เป็นเส้น และนำไป ย้อมสี ประกอบกับเมื่อชิ้นงานสำเร็จออกมา ก็จะมีความสวยงามและทรงคุณค่า โดยเอกลักษณ์ของพัดไม้ไผ่จากชุมชนบ้านบัววัดทำขึ้นจะมีความคงทน อีกทั้งประณีต เนื่องจากตัวพัดจะใช้ไม้ ไผ่อ่อนในการสาน ส่วนด้ามก็จะเลือกใช้ไม้ที่มีลักษณะแข็งขึ้นมานิดหน่อย เพื่อให้ถือได้สะดวกเวลาที่ใช้งาน เรียกได้ว่างานฝีมือดังกล่าวสร้างความภูมิใจ ให้กับผู้สูงวัยในชุมชนบ้านบัววัดเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะหากคน สูงวัยได้ถ่ายทอดงานภูมิปัญญาดังกล่าวในรูปแบบของปราชญ์ชาวบ้านไปให้ลูกหลานและคนในชุมชน รวมถึง นักศึกษาได้เรียนรู้ อีกทั้งยังเป็นกิจกรรมที่สามารถเป็นต้นแบบให้กับชุมชนอื่นๆ เช่นกัน ปิดท้ายกันที่งานภูมิปัญญาพื้นบ้านที่ทำใช้เองก็ได้หรือจะทำขายกันในชุมชนก็มีประโยชน์ทั้งสิ้น อย่างการ “สานไม้กวาดทางมะพร้าว” ที่ถือได้ว่าเป็นงานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน เพราะในแต่ละชุมชนก็มักจะปลูกต้น มะพร้าวจำนวนมากอยู่แล้ว เพียงแค่ตัดทางมะพร้าวมารีดใบออกให้เหลือแต่ก้าน นำไปตากแดดให้แห้ง จากนั้นนำมามัดให้เป็นแพ ต่อด้วยการทำด้ามไม้ไผ่เสียบเข้าไป และใช้ตะปูตอกเพื่อยึดด้ามและปลายไม้กวาด ให้ติดกัน เพื่อป้องกันหลุดขณะใช้งาน สิ่งที่เกิดขึ้นไม่เพียงทำให้ผู้สูงวัยมีกิจกรรมทำ แต่ท่านยังได้เคลื่อนไหว ร่างกาย และจะมีประโยชน์ทางใจอย่างมาก หากว่าได้ทำงานฝีมือที่กล่าวมาทั้ง 3 ประเภท เพื่อมอบให้ ลูกหลานและเพื่อนบ้านเป็นของขวัญปีใหม่ ที่มาจากฝีมือและความตั้งใจของคนรุ่นปู่ย่าตายาย


19 ชุมชนไหนที่มีวัสดุใกล้เคียงกับที่กล่าวมา คุณตาคุณยายก็สามารถนำดัดแปลงให้เป็นงานฝีมือที่ทรงคุณค่า และสวยงามน่าใช้ ซึ่งไม่เพียงแต่จะมอบเป็นของขวัญปีใหม่เท่านั้น แต่หากพัฒนาให้มีความสวยงาม และมี ฟังก์ชันการใช้งานที่หลากหลาย ก็จะถือได้ว่าจะสร้างประโยชน์นานัปการให้คุณตาคุณยายที่เป็นเจ้าของไอเดีย รวมถึงลูกหลานในชุมชนก็มีกิจกรรมยามว่างที่ช่วยให้ห่างไกลยาเสพติดและสิ่งเมามัว เพราะทุกมิติที่กล่าวมา ล้วนเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกัน...งานนี้เชื่อว่าคุณลุงคุณป้าคงมีงานฝีมือในดวงใจเมื่อครั้งในอดีต ที่รอการนำมาปัด ฝุ่นให้สวยงามและน่าใช้...จริงไหมค่ะ. ขั้นตอนการสานกระติบช้าว

ขั้นตอนที่ 1 จักรตอกให้เป็นแผ่นเล็กบางๆ ขั้นตอนที่ 2 เหลาตอกให้เรียบเนียน ขั้นตอนที่ 3 นำตอกมาตากแดด ขัน้ ตอนที่ 4 เริ่มสานเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาวพอที่จะทำโค้งเข้าหากัน ขั้นตอนที่ 5 นำโค้งเข้าหากันแล้วสานเป็นวงกลม ขั้นตอนที่ 6 นำก้านตาลมาเหลาให้เป็นวงกลมเล็กแล้วนำมาโค้งใส่ก้อกระติบข้าว ขั้นตอนที่ 7 สานในแต่ละส่วนเสร็จก็นำมาประกอบกัน ขัน้ ตอนที่ 8 กระติบข้าวแบบธรรมดาไม่ใส่สี ขั้นตอนที่ 9 กระติบข้าวมีสีสานเป็นตัวอักษร การสานกระติบข้าว


20


21

ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประเภท เลี้ยงโคขุน

ชื่อ นายจิระศักดิ์ นนท์คำวงค์ ชื่อเล่น ศักดิ์ เกิด 7 กันยายน 2516 อายุ 47 ปี ที่อยู่ บ้านเลขที่ 186 หมู่ที่ 10 บ้านโพนสูง ตำบล เหล่าโพนค้อ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัด สกลนคร ความสามรถพิเศษ เลี้ยงโคขุน ประวัติความเป็นมา เนื่องจาก เดิอนกรกฎาคม ปี พ.ศ 2546 นายจิระศักดิ์ นนท์คำวงค์ ได้มีโอกาสเช้าทำงานที่ สหกรณ์โคขุน โพนยางคำ จึงได้เห็นการทำงานในระบบสหกรณ์ และได้คลุกคลีกับการเลี้ยงโคขุน จึงจุดเริ่มต้นในการเลี้ยง โคขุน เพื่อป้อนเป็นสินค้าให้กับ สหกรณ์โพนยางคำและเลี้ยงต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบัน จนเกิดความชำนาญใน การเลี้ยงโคขุน ข้อมูลแหล่งเรียนรู้เรื่องการเลี้ยงโคขุน สถานที่ บ้านเลขที่ 186 หมู่ที่ 10 บ้านโพนสูง ตำบล เหล่าโพนค้อ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัด สกลนคร คุณสมบัติ 1. เป็นผู้ชำนาญการเลี้ยงโคขุน 2. เป็นเกษตรกรต้นแบบในการเลี้ยงโคขุน จุดประสงค์ของแหล่งเรียนรู้สมุนไพร 1. เพื่อให้คนที่สนใจได้เรียนรู้เรื่องการเลี้ยงโคขุน 2. เพื่อให้คนเห็นความสำคัญของศาสตร์พื้นบ้าน และสืบทอดความรู้ต่อไป


22 โคขุนที่ขนุ แล้วพร้อมจะส่งต่อ ให้สหกรณ์โพนยางคำ

โคขุนโพนยางคำ จากความรักของลุงใจดีชาวฝรั่งเศสสู่ผลลัพธ์ความพรีเมียมเมดอินสกลนคร โรงเรือนที่โพนยางคำ

เกษตรกรผู้ขุนโค วิถีแห่งทีร่ าบสูงและความตั้งใจของคุณลุงฟรังซัว

โคขุนโพนยางคำ จากความรักของลุงใจดีชาวฝรั่งเศสสู่ผลลัพธ์ความพรีเมียมเมดอิน สกลนคร


23 ให้อาหารโคขุน


24 ด้านสมุนไพร(น้ำยาล้างจาน)

นางวชิรา นามูลแสน เกิดวันที่ 3 พฤษภาคม 2508 อายุ 55 ปี 5 หมู่ 1 ต.เหล่าโพนค้อ อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร 47280 ความเป็นมา น้ำยาอเนกประสงค์สมุนไพร เริ่มทำเมื่อปี พ.ศ.2560 จนถึงปัจจุบันนั้น ที่ตำบลเหล่าโพนค้อ เป็น พื้นที่อุดมไปด้วยพืชผักสมุนไพรเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะพืชสมุนไพรที่มีรสเปรี้ยว เช่น มะกรูด มะนาม มะเฟือง เป็นต้น ซึ่งในแต่ละปีจะออกผลผลิตเป็นจำนวนมาก จึงทำให้บริโภคไม่หมดและเหลือทิ้งโดยเปล่า ประโยชน์ จึงได้คิดริเริ่มนำมาแปรรูปเป็นน้ำยาอเนกประสงค์สมุนไพรขึ้น เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ใน ชีวิตประจำวันได้ เช่น น้ำยาล้างจาน น้ำยาซักผ้า น้ำยาล้างห้องน้ำและทำความสะอาดพื้นได้ ส่วนประสม 1. น้ำมะกรูด 1 ลิตร 2. น้ำมะนาว 1 ลิตร 3. น้ำมะเฟือง 1 ลิตร (ถ้าไม่ครบทั้ง 3 ชนิดให้ใช่อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้) 4. น้ำเปล่า 12 ลิตร 5. N 70 (สารช่วยให้เกิดฟอง) 1 กิโลกรัม 6. เกลือ 1 กิโลกรัม วิธีทำ 1. นำน้ำสมุนไพรทั้ง ชนิด เทรวมกัน ต้มกับน้ำสะอาด 3 ลิตร


25

2. ผสม N 70 และเกลือกวนให้เข้ากัน

3. ผสมน้ำต้มสมุนไพรลงไปโดยใช้น้ำสมุนไพร 6 ลิตร ผสมกับน้ำสะอาด 6 ลิตร ค่อยๆเทลงไปกวน ให้เข้ากัน ทิ้งไว้ 1 คืนเพื่อให้ฟองยุบ


26

4. บรรจุขวดนำไปใช้ได้ตามต้องการ


27

ด้านการจักสาน

นายสูง แสนธิจักร บ้านเลขที่ 23 หมู่ 9 บ้านห้วยยาง ตำบลเหล่าโพนค้อ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร การจักสานตะกร้าไม้ไผ่ ประวัติความเป็นมา การจักสานตะกร้าไม้ไผ่ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นงานหัตถกรรมที่สืบต่อกันมาจากบรรพบุรุษ สามารถทำเป็นเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันซึ่งมีประโยชน์ในการดำรงชีวิตจะเห็นได้ว่างานหัตถกรรมการจักสานมี มานานแล้ว และได้มีการพัฒนามาตลอดโดยอาศัยการถ่ายทอดความรู้จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง ดังนั้นการถ่ายทอดความรู้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่ทำให้ภูมปัญญาท้องถิ่นนั้นคงอยู่ ต่อเนื่องและยั่งยืน การจักสานตะกร้าไม้ไผ่ 1. วัตถุดิบประกอบด้วย 1. ไม้ไผ่ 2.เชือก

3.หวาย

2. ขั้นตอนการจักสาน วิธีการจักตอก 1. การจักตองปื้น แบ่งไม้ไผ่ออกเป็นชิ้นๆตามขนาดที่ต้องการ ใช้มีดจักตอกเอาส่วนในออก จักใน ส่วนที่เหลือออกเป็นเส้นยาวๆ แล้วเหลาให้เรียบร้อยตากแดดให้แห้ง 2. การจักดอกตะแคงใช้วิธีเดียวกับการจักตอกปื้น แต่การจักให้เป็นเส้นตอกจะทำการจักทางผิวเป็น เส้นเล็กกว่าตอกปื้นเหล่าให้เรียบร้อยแล้วนำออกตากแดด 3. การจักไพลใช้วิธีเดียวกับการจักตอกตะแคงแต่การเหล่าจะเหล่าให้เป็นเส้นกลมแบบเท่ากันแล้ว นำออกไปตากแดด


28 3.วิธีการสาน ก่อฐานล่างด้วยเส้นตอกสองชนิด คือ ตอกยืนซึ่งมีลักษณะคอดตรงกลางต่างจากตอกทั่วๆไป และตอกนอนที่มีขนาดกว้างเท่ากันและเท่ากันทั้งเส้นตอกปกติเหตุที่ตอกยืนมีลักษณะพิเศษเนื่องมาจากเมื่อ สานเสร็จจะได้ตะกร้าที่มีฐานเล็กและค่อยๆบานขึ้นบริเวณปากแล้วนำไปใช้ประโยชน์ ได้ตามต้องการ

ภาพประกอบการจักสานตะกร้าไม้ไผ่


29 นายประเสริฐ คำเครือ บ้านเลขที่ 156 หมู่ 9 บ้านห้วยยาง ตำบลเหล่าโพนค้อ อำเภอโคกศรี สุพรรณ จังหวัดสกลนคร ประวัติความเป็นมา การสานมวยซึ่งเป็นภาชนะอย่างหนึ่งสำหรับใช้นึ่งข้าวเหนี่ยวที่คนไทย อีสานรับประทานกัน ในตอนแรกสานขึ้นเพื่อใช้ในครัวเรือนภายในหมู่บ้าน ต่อมาจึงมีผู้เห็นความสำคัญของการจักสานมวย ว่าน่าจะเป็นอาชีพเสริมมี รายได้ให้แก่ครอบครัว จึงมีการทำขึ้น เพื่อนำไปจำหน่าย ทำให้มีรายได้ เพิ่มขึ้น 1. วัตถุดิบประกอบด้วย 1. ไม้ไผ่ 2. เชือก 3. หวาย 2. ขั้นตอนการจักสานมวย 1. นำไม้ไผ่บ้านที่มีอายุ 2 ปี มาตัดเป็นปล้องๆแล้วผ่าออกตามชิ้นที่ต้องการ 2. นำไม้ไผ่มาเหล่าให้เกลี้ยงจกเป็นตอกแล้วนำไปแช่น้ำเพื่อให้ไม้มีความนิ่มไม่แข็งจนเกินไป 3. นำตอกที่จักได้มาก่อเป็นลายสามและจรดกันเป็นวงกลม 4. สานก้นมวยส่วนใหญ่จะสานด้วยลายขัดนำมาซ้อนกันกับตัวมวยเพื่อความแข็งแรง 5. การทำขอบปากมวยนำไม้ไผ่มาผ่ากว้างขนาดหนึ่งนิ้วเหล่าให้อ่อนพอเหมาะแล้วขดเป็น วงกลมวัดตามขนาดของปากมวยมัดให้แน่นด้วยเส้นเสร็จแล้วนำไปนึ่งข้าวเหนี่ยวได้ตาม ต้องการ ภาพประกอบการจักสานมวยนึ่งข้าวเหนี่ยว


30

ด้านการทำพานบายศรี

นางบุญมี พลราชม อายุ 64 ปี บ้านเลขที่ 219 หมู่ 1 บ้านโพนค้อ ตำบลเหล่าโพนค้อ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร

ความเป็นมา


31

บาศรี หรือพาขวัญ หรือพานบายศรี การทำพานบายศรีของภาคอีสานจะไม่นิยมประกอบบายศรีในลักษณะที่คว่ำลง และมีขนาดใหญ่กว่า บายศรีปากชาม จัดทำใส่ในภาชนะที่ใหญ่มากขึ้น เช่น พาน โตก พานบายศรีสู่ขวัญถือเป็นพานเบญจขันธ์ ประกอบด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ พิธีสู่ขวัญ หรือพิธีสูดขวัญเป็นพิธีเก่าแก่ของชาวไทยทุกภาค แม้จะจัดพิธีกรรมแตกต่างกันไป แต่ยึด หลักใหญ่ และจุดมุ่งหมายเดียวกัน สำหรับชาวอีสานจะประกอบพิธีนี้ทุกงาน เช่น สูดขวัญเด็กแรกเกิด ทำขวัญ เดือนเด็ก สูดขวัญบวชเณร บวชนาค สูดขวัญบ่าวสาว สูดขวัญรับขวัญผู้ที่ได้เลื่อนยศหรือเลื่อนตำแหน่ง สูด ขวัญส่งขวัญผู้เดินทางไกล ๒. ขันหมากเบ็ง ประวัติความเป็นมาของขันหมากเบ็งนั้น ผู้เฒ่าผู้แก่ทางภาคอีสานได้เล่าให้ฟังว่า แต่โบราณมีต้นหมาก เบ็ง ลักษณะเป็นพุ่ม และมีดอก ชาวบ้านนิยมนำดอกหมากเบ็งมาสักการบูชาพระพุทธรูปตามถ้ำ หรือตาม บ้านเรือน ต่อมาต้นหมากเบ็งได้สูญพันธุ์ ชาวบ้านจึงได้คิดประดิษฐ์ขันหมากเบ็งใช้แทนต้นหมากเบ็งที่ได้สูญ หายไป ขันหมากเบ็งอีกความหมายหนึ่งคือ ทิศทั้ง ๔ ทิศที่มีเทวาธิราช ๔ พระองค์ทรงปกครอง ได้แก่ ธตรฐ มหาราช ปกครองเทพนครที่ตั้งอยู่ทิศตะวันออก และมีอำนาจปกครองหมู่คนธรรพ์ วิรุฬหกมหาราช ปกครอง เทพนครที่ตั้งอยู่ทิศใต้ และมีอำนาจปกครองหมู่กุมภัณฑ์ วิรูปักษมหาราช ปกครองเทพนครที่ตั้งอยู่ทิศ ตะวันตก และมีอำนาจปกครองหมู่นาคา เวสสุวัณมหาราช ปกครองเทพนครที่ตั้งอยู่ทิศเหนือ และมีอำนาจ ปกครองหมู่ยักษ์


32

ขันหมากเป้ง


33

ภาพประกอบการทำพานบายศรี

ด้านไม้กวาดขวดพลาสติก ด้านไม้กวาดขวดพลาสติก ด้านไม้กวาดขวดพลาสติก


34 ด้านไม้กวาดขวดพลาสติก

นายมั่น บุตรชาติ 54 หมู่ 4 ต.เหล่าโพนค้อ อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร 47280 ความเป็นมา ขยะ หมายถึง สิ่งต่างๆที่ผู้คนไม่ต้องการ และทิ้งมันไป ขยะมีมากมายหลายรูปแบบ ทั้งที่เป็นของแข็ง ของเหลว ขยะที่ย่อยสลายได้และที่ย่อยสลายไม่ได้ ของที่ใช้ประโยชน์ได้และที่ใช้ประโยชน์ไม่ได้ และขยะมีพิษ ต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมถ้าหากว่ามีการจัดการกำจัดที่ไม่ถูกต้อง ขยะส่วนมากแล้วเกิดขึ้นมาจากผลของการใช้ชีวิตประจำวันของมนุษย์ในแต่ละวัน วันหนึ่งๆมีสิ่งของต่าง ๆ ที่ เหลือใช้และถูกทิ้งในปริมาณที่มากมายจนเกิดปัญหาขยะล้นเมือง จะเห็นได้ในแทบทุกพื้นที่ที่มีมนุษย์อาศัยอยู่ ทั้งในเมืองและในชนบทปัญหาในโรงเรียนส่วนมากเกิดจากมีขยะมากและส่วนมากจะเป็นขยะจำพวกขวดน้ำซึ่ง เป็นวัสดุที่ใช้เวลาย่อยสลายยากและเป็นมลพิษซึ่งอาจก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน ดังนั้นกลุ่มของข้าพเจ้าคิดว่าขวดน้ำสามารถนำมารีไซเคิลได้โดยการนำขวดน้ำที่ไม่ใช้แล้วมาประดิษฐ์ เป็นไม้กวาดจากขวดน้ำซึ่งใช้งานได้จริงและประหยัด วัตถุประสงค์ 1) ต้องการลดขยะจำพวกขวดน้ำ 2) เพื่อนำขวดน้ำที่ไม่ใช้แล้วมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ 3) ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

ไม้กวาดขวดพลาสติก

ร่มโพธิ์ทองบ้านหนองเหียน ณ ศาลาร่มโพธิ์ทอง บ.หนองเหียน ต.เหล่าโพนค้อ อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร กระบวนการดำเนินงาน 1. เครื่องมือและอุปกรณ์ 1. ขวดพลาสติก 2. เครื่องมือที่ใช้ 3. ไม้ไผ่


35

ด้านการเกษตร ทำนาทำสวน

นายพรศรี จองสระ บ้านเลขที่ ๒๖๑ หมู่ ๙ บ้านห้วยยางเหนือ ตำบลเหล่าโพนค้อ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร ความเป็นมา การทำนา หรือการปลูกข้าว ซึ่งเป็นวัฒนธรรมไทยที่สืบต่อกันมาแต่โบราณ และการทำนาก็ต้องพึ่งพา ธรรมชาติ คนในเกษตรสังคมจึงให้ความสำคัญและเคารพธรรมชาติ ทำให้มีพิธีกรรมและความเชื่อมากมาย ทุก ขั้นตอนของกระบวนการผลิตข้าว มีทั้งพิธีกรรมส่วนครอบครัว ส่วนชุมชน ส่วนชุมชนที่พระมหากษัตริย์และ ราชการจัดขึ้น เป็นการปลูกฝังพฤติกรรมทางจริยธรรม ผูกจิตวิญญาณของคนไทยไว้กับข้าวจนเกิดเป็น วัฒนธรรม อาชีพทางเกษตรกรรม ในประเทศไทยมักมีความหมายถึงอาชีพปลูกข้าวเป็นหลัก ชาวนาในประเทศ ไทยนับว่าเป็นคนกลุ่มใหญ่ที่สุด เพราะข้าวเป็นอาหาร หลักของคนไทย อาชีพทำนาเป็นอาชีพดั้งเดิมของคน ไทย ที่สืบทอดมายังอนุชนรุ่นหลัง โดยส่วนใหญ่แล้วชาวนาจะใช้ชีวิตอยู่โดยสงบเงียบในชนบท การทำงานของชาวนาจะเริ่มทำงานตั้งแต่เช้าจรดค่ำตลอดทั้งปี เพราะหลังจากฤดูกาลเก็บเกี่ยว ประจำปีแล้ว พวกเขาก็จะเริ่มปลูกข้าวนาปรัง หรือพืชเศรษฐกิจอื่นๆ ต่ออีก หรือไม่ก็เลี้ยงปศุสัตว์หรือสัตว์อื่น ๆ เสริม เช่น ปลา และ เป็ด เป็นตัน โดยปกติปลาจะอาศัยอยู่ตามธรรมชาติในนาข้าว ดังนั้น ต้นกล้าและปลา จะเติบโตไปพร้อม ๆ กัน หลังช่วงฤดูเก็บเกี่ยวชาวบ้านห้วยยางส่วนใหญ่ จะทำอาชีพเสริม คือการทำสวนเพาะพันธุ์กล้าไม้ ทำสวนปลูกข้าวโพด ทำสวนกล้วย ปลูกมันฝรั่ง ปลูกแตงกวา ปลูกพืชผักสวนครัว เป็นต้น เพื่อเป็นรายได้เสริม ให้แก่ครอบครัว ความรู้เกี่ยวกับการทำนา การเตรียมพันธุ์ข้าว เมื่อนำเมล็ดข้าวไปงอก โดยแช่น้ำนานประมาณ ๑ -๒ ชั่วโมง แล้วนำ เมล็ดขึ้นจากน้ำและเก็บไว้ในที่ที่มีความชื้นสูงเมล็ดจะงอกภายใน ๔๘ ชั่วโมง จึงนำเมล็ดที่เริ่มงอกเหล่านี้ไป ปลูกในดินที่เปียก ส่วนที่เป็นรากจะเจริญเติบโตลึกลงไปในดิน ส่วนที่เป็นยอดก็จะสูงขึ้นเหนือผิวดินแล้ว เปลี่ยนเป็นใบ ต้นข้าวเล็กๆ นี้เรียกว่า ต้นกล้า หลังจากต้นกล้ามีอายุประมาณ ๔๐ วัน จะมีหน่อใหม่เกิดขึ้น โดยเติบโตออกจากตาบริเวณโคนต้น ต้นกล้าแต่ละต้นสามารถแตกหน่อใหม่ประมาณ ๕-๑๕ หน่อ ทั้งนี้ขึ้นอยู่ กับพันธุ์ข้าว ระยะปลูก และความอุดมสมบูรณ์ของดิน แต่หน่อต้นกล้าให้รวง แต่รวงข้าวมีเมล็ดข้าว ประมาณ ๑๐๐-๒๐๐ เมล็ด โดยปกติต้นข้าวที่โตเต็มที่แล้วจะมีความสูงจากพื้นดินถึงปลายรวงที่สูงที่สุด ประมาณ ๑๐๐-๒๐๐ เซนติเมตร ซึ่งแตกต่างไปตามพันธุ์ข้าวตลอดจนถึงความอุดมสมบูรณ์ของดินและความ ลึกของน้ำ


36 การปลูกข้าว การปลูกข้าวนาดำ หรือเรียก การปักดำ ซึ่งวิธีการปลูกแบ่งเป็น ๒ ตอน ตอนแรกได้แก่การตก กล้าในแปลงขนาดเล็กและตอนที่สองได้แก่กาถอนต้นกล้านำไปปักดินในผืนที่ใหญ่ ดังนั้น การปลูกแบบปักดำ อาจเรียกว่า Indirect Seeding ซึ่งต้องเตรียมดินที่ดีกว่าการปลูกข้าวไร่ ซึ่งมีการไถดะ การไถแปร และการ คราด ปกติการไถและคราดในนาดำมักจะใช้แรงวัวควายหรือแทรกเตอร์ขนาดเล็กที่เรียกว่า ควายเหล็ก หรือไถ ยนต์เดินตาม ทั้งนี้เป็นเพราะพื้นที่นาดำมีคันนาแบ่งกั้นออกเป็นแปลงเล็กๆ ขนาดแปลงละ ๑ ไร่ หรือเล็กกว่า คันนามีไว้เพื่อกักเก็บ ปล่อยน้ำทิ้งจากแปลงนา นาดำจึงมีการบังคับน้ำในนาไว้ได้บ้างพอสมควรการไถดะ หมายถึง การรถครั้งแรกเพื่อทำลายวัชพืชในนาและพลิกกลับหน้าดิน แล้วปล่อยทิ้งไว้ประมาณ ๑ สัปดาห์ จึง ทำการไถแปรซึ่งหมายถึงการไถตัดกับรอยไถตัดกับรอยไถดะ การไถแปรอาจไถมากกว่าหนึ่งครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ระดับน้ำในนาตลอดจนถึงชนิดและปริมาณของวัชพืช เมื่อไถแปรแล้วทำการคราดได้ทันที การคราดก็คือการ คราดเอาวัชพืชออกจากผืนนา และปรับพื้นที่นาให้ได้ระดับเป็นที่ราบเสมอกัน ด้วยที่นาที่มีระดับเป็นที่ราบจะ ทำให้ต้นข้าวได้รับน้ำเท่าๆ กัน และสะดวกต่อการไขน้ำเข้าออก การตกกล้า หมายถึง การนำเมล็ดหว่านให้งอก ใช้เวลาประมาณ ๒๕-๓๐ วัน นับจากวันหว่านเมล็ด จะเจริญเติบโตเป็นต้นกล้าที่มีขนาดโตที่จะถอนนำไปปักดำได้ การปักดำ คือ การนำต้นกลาที่ถอนขึ้นจากแปลงแล้วมดรวมกันเป็นมัดๆ จะต้องสลัดดินโคลนที่ราก ออก แล้วนำไปปักดำในพื้นที่นาให้ได้เตรียมไว้ ถ้าต้นกล้าสูงมากก็ตัดปลายใบทิ้ง พื้นที่นาที่ใช้ปักดำควรมีน้ำขัง อยู่ประมาณ ๕-๑๐ เซนติเมตร เพราะต้นข้าวอาจถูกลมพัดจนพับลงได้เมื่อนานั้นไม่มีน้ำขังอยู่เลย ถ้าระดับน้ำ ในนั้นลึกมากต้นที่ปักดำอาจจมน้ำในระยะแรกและข้าวจะต้องยืดต้นมากกว่าปกติจนผลให้แตกกอน้อย การปัก ดำที่ได้ผลผลิตสูงจะต้องปักดำให้เป็นแถวเป็นระยะห่างระหว่างกอมากพอสมควร การปลูกข้าวนาหว่าน เป็นการปลูกข้าวโดยเอาเมล็ดพันธุ์หว่านลงในพื้นที่นาที่ไถเตรียมไว้ โดยตรง ซึ่งเรียกว่า Direct Seeding การเตรียมดิน ก็คือการไถดะและไถแปร ชาวนาจะเริ่มไถนาสำหรับปลูก ข้าวนาหว่านตั้งแต่เดือนเมษายน เนื่องจากพื้นที่นาสำหรับปลูกข้าวนาหว่านไม่มีคันนากั้นจึงสะดวกแก่การไถ ด้วยแทรกเตอร์ขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตามยังมีชาวนาจำนวนมากใช้แรงงานวัวและควายไถนา การปลูกข้าวนา หว่านมีหลายวิธีด้วยกัน เช่น การหว่านสำรวย การหว่านคราดกลบหรือไถกลบ การหว่านหลังขี้ไถ และการ หว่านน้ำตม การหว่านสำรวย การหว่านวิธีนี้ชาวนาจะหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ยังไม่ได้เพาะให้งอกลงในพื้นที่นา เตรียมดินโดยการไถดะและไถแปรไว้แล้วโดยตรง เมล็ดพันธุ์ที่หว่านลงไปตกลงไปอยู่ในซอกระหว่างก้อนดิน และรอยไถ เมื่อฝนตกพื้นดินเปียกและเมล็ดได้รับความชื้นเมล็ดข้าวจะงอกเป็นต้นกล้า การหวานวิธีนี้ใช้ เฉพาะท้องที่ซึ่งดินมีความชื้นพออยู่แล้ว การหว่านคราดกลบหรือไถกลบ ชาวนาจะทำการไถดะและแปร แล้วจึงนำเมล็ดที่ยังไม่ได้เพาะ ให้ งอกหว่านลงไปทันทีแล้วคราด หรือไถเพื่อกลบเมล็ดที่เมล็ดที่หว่านลงไปอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากดินมีความชื้น อยู่แล้วเมล็ดจะเริ่มงอกทันทีหลังจากหว่านลงดิน การตั้งตัวของต้นกล้าจะตั้งตัวกว้าการหว่านสำรวย เพราะ เมล็ดที่หว่านถูกกลบฝังลึกลงในดิน การหว่านน้ำตม การหว่านแบบนี้นิยมใช้ในพื้นที่มีน้ำขังประมาณ ๓-๕ เซนติเมตร และพื้นที่นา เป็น ผืนใหญ่ขนาดประมาณ ๑-๒ ไร่มีคันนากั้นเป็นแปลงการเตรียมดินทำเหมือนกับการเตรียมดินสำหรับนาดำ ซึ่ง มีการไถดะ ไถแปร และคราดเพื่อเก็บวัชพืชออกจากพื้นนาแล้วจึงทิ้งให้ดินตกตะกอนจนเห็นว่าน้ำใส จึงนำ เมล็ดพันธุ์ที่เพาะให้งอกแล้วหว่านลงและไขน้ำออกเมล็ดจะเจริญเติบโตเป็นต้นข้าวและเจริญเติบอย่าข้าวๆ ตามปกติการหว่านแบบนี้นิยมทำกันในท้องที่จังหวัดฉะเชิงเทราที่ทำการปลูกข้าวนาปรัง


37 การดูแลรักษา ในระหว่างการเจริญเติบโตของต้นข้าว ตั้งแต่การหยอดเมล็ด การหว่านเมล็ดการ น้ำและปุ๋ยสำหรับการเจริญเติบโต ในระหว่างนี้ต้นข้าวอาจถูกโรคและแมลงศัตรูข้าวหลายชนิดเข้าทำหลายต้น ข้าว โดยทำให้ต้นข้าวแห้งตายหรือผลผลิตต่ำและคุณภาพเมล็ดไม่ได้มาตรฐาน เพราะฉะนั้นนอกจากจะมี วิธีการปลูกที่ดีแล้วกำจัดโรคแมลงศัตรูที่อาจเกิดระบาดขึ้นได้ การเก็บเกี่ยว สามารถทำได้ในสัปดาห์ที่สี่หลังจากข้าวออกดอกแล้วประมาณ ๒๘-๓๐ วัน ชาวนา ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางใช้เคียวสำหรับเกี่ยวข้าวที่ละหลายๆ รวง ส่วนชาวนา ภาคใต้ใช้แกระสำหรับเกี่ยวข้าวที่ละรวง เคียวที่ใช้เกี่ยวข้าวมี ๒ ชนิด ได้แก่ เคียวนาสวนและเคียวนาเมือง เคียวนาสวนเป็นเคียวกว้าง ใช้สำหรับเกี่ยวข้าวนาสวนที่ปลูกไว้แบบปักดำ ส่วนเคียวนาเมืองเป็นเคียววงแคบ และมีด้ามยาวกว่าเคียวนาสวน เคียวนาเมืองใช้เกี่ยวข้าวนาเมืองที่ปลูกไว้แบบหว่าน ข้าวที่เกี่ยวเคียวไม่ จำเป็นต้องมีคอรวงยาว เพราะข้าวที่ถูกเกี่ยวมาจะถูกมัดเป็นกำๆ ส่วนข้าวที่ถูกเกี่ยวด้วยแกระจำเป็นต้องมีคอ รวงยาวเพราะชาวนาต้องเกี่ยวรวงที่ละรวงที่แล้วมัดเป็นกำๆ ข้าวที่ถูกเกี่ยวด้วยแกระชาวนาจะเก็บไว้ในยุ้งฉาง ซึ่งโปร่ง มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก และจะทำการนวดเมื่อต้องการขายหรือต้องการสีเป็นข้าวสาร ข้าวที่เกี่ยว ด้วยเคียวซึ่งปลูกไว้แบบปักดำชาวนาจะทิ้งไว้ในนาบนตอซังเพื่อตากแดดให้แห้งเป็นเวลา ๓-๕ วัน สำหรับข้าว ที่ปลูกแบบหว่านพืน้ ที่นาจะแห้งในระยะเก็บเกี่ยว ข้าวจึงแห้งก่อนเก็บเกี่ยว ข้าวที่เกี่ยวแล้วจะถูกกองทิ้งไว้บน พื้นที่นาเป็นรูปต่างๆ กันเป็นเวลา ๕-๗ วัน เช่น รูปสามเหลีย่ ม แล้วจึงนำมาที่ลานนวด ข้าวที่นวดแล้วจะถูก นำไปเก็บในยุ้งฉางหรือส่งไปขายที่โรงสี ชาวบ้านห้วยยางจะเริ่มทำนาในช่วงเดือนมีนานาคม โดยเริ่มจากการไถกลบหน้าดินหรือไถดะก่อนเพื่อ เป็นการทำลายวัชพืชแล้วหลังจากนั้นในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายนจึงมาไถแปรดินอีกรอบและนำเมล็ดข้าว มาหว่านแล้วคราด หรือไถเพื่อกลบเมล็ดข้าวที่หว่านลงไปอีกครั้งหนึ่ง ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝน เมื่อ ๓ เดือน ผ่านไป ข้าวที่ปักดำหรือหว่านเอาไว้จะสุกงอมเต็มที่พร้อมเก็บเกี่ยว และในระยะที่ต้นข้าวกำลังเจริญเติบโตนั้น ชาวนาก็จะมาใส่ปุ๋ยเพื่อให้ต้นข้าวเจริญอกงาม และพลถึงฤดูการเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม เมื่อเห็นว่าต้นข้าวในแปลงสุกแก่เสมอกันดีการเก็บเกี่ยวแล้วนวดทันที ไม่ควรตากข้าวไว้ในนา เพราะอาจจะถูก ฝน ทำให้คุณภาพข้าวเสื่อมไปได้ การนวดข้าว ควรแยกข้าวส่วนอื่นและแน่ใจว่าเครื่องนวดไม่มีเมล็ดข้าวอื่น ตกค้างอยู่ ตากแดด ๑-๒ แดด ฝัดให้สะอาดแล้วบรรจุกระสอบเก็บไว้ในที่แห้งร่มเย็น ภาพประกอบการทำนา


38

ภาพประกอบการทำสวน


39

ทอเสื่อผือ

ชื่อ นางต้อง สุขกุล ชือ่ เล่น ต้อง เกิด 13 เมษายน 2505 อายุ 57 ปี ที่อยู่ บ้านเลขที่ 66 หมู่ที่ 5 บ้านเหล่า ตำบล เหล่าโพนค้อ อำเภอ โคกศรีสุพรรณ จังหวัด สกลนคร ความสามารถพิเศษ วิธีการท่อเสื่อด้วยต้นผือ ประวัตความเป็นมา นางต้อง สุขกุล ชื่อเล่น ต้อง เป็นคนบ้านเหล่าโดยกำเนิด มีความสนใจด้านการทอ เสื่อตั้งแต่ อายุ 10 ขวบ เนื่องจากพ่อ แม่ พี่น้อง ลุง ป้า น้า อา ได้มีการนำต้นผือที่เกิดใน ทุ่งนามาทอเป็นเสื่อไว้ใช้เองในครอบครัว จึงทำให้นางต้อง มีความสนใจ ศึกษา ค้นคว้า จากตำรา ศึกษาจากผู้รู้ และใช้ประสบการณ์จริงโดยการเรียนรู้ ด้วยตนเองที่บ้านที่พ่อ แม่ ได้มีการทอเสื่อไว้ใช้ในครอบครัว จึงทำให้ นางต้องมีเวลาช่วยพ่อแม่ทอเสื่อเอง และ ทำให้มีความรู้ความสามารถความชำนาญทางด้าน การทอเสื่อผือเป็นพิเศษ และสร้างรายได้ให้กับครอบครัว ด้วย ข้อมูลแหล่งเรียนรู้การเสื่อ สถานที่ บ้านเลขที่ 1 หมู่ที่ 5 บ้านเหล่า ตำบลเหล่าโพนค้อ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัด สกลนคร คุณสมบัติ 1.เป็นผู้มีความสามารถในการทอเสื่อ 2.เป็นวิทยากรด้านภูมิปัญญาท้องของชุมชน 3.เป็นผู้นำ กลุ่มทอเสื่อ ของหมู่บ้าน จุดประสงค์ 1.เพื่อให้คนที่สนใจได้มาศึกษาเรียนรู้เรื่องการ การทอเสื่อด้วยผือ 2.เพื่อให้คนเห็นความสำคัญของ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และสืบทอดความรู้ที่มีคุณค่าต่อไ


40

การทอเสื่อผือ : ภูมิปญ ั ญาวิถีชุมชน

อ่านบทความอื่นจาก อุษา การทอเสื่อผือ เป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมารุ่นต่อรุ่นของชุมชนในภาคอีสาน ซึ่งการทอเสื่อนั้นจะ แสดงออกถึงความเป็นแม่บ้านแม่เรือนของผู้หญิงในสมัยก่อนนั้นหญิงสาวจะต้องหัดทอเสื่อเพื่อให้มีไว้ติดบ้าน และเก็บไว้ใช้สอย หรือฝากญาติพี่น้อง ในปัจจุบัน ตามชุมชนค่อนข้างมีน้อยคนที่จะยังทอเสื่ออยู่ เนื่องจากสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป ที่วัยรุ่นให้ ความสนใจกับสื่อออนไลน์มากกว่าการเรียนรู้วิถีชุมชน ยังคงเหลือแค่บางบ้านที่มีผู้เฒ่าผู้แก่ยึดถือการทอเสื่อ เป็นอาชีพ สร้างรายได้ให้กับตนเองและเก็บไว้ฝากญาติพี่น้อง ซึ่งวิธีการทอเสื่อผือนั้น มีดังนี้ ขั้นตอนการทอเสื่อผือ

1. นำต้นผือที่ตัดมา มาตัดส่วนปลายที่เป็นใบออก และวัดให้มีขนาดเท่า ๆ กัน


41 2. นำต้นผือที่ตัดจนมีขนาดเท่า ๆ กัน ไปผึ่งแดดพอหมาด ๆ

3. สอยเส้นผือออกเป็นเส้นเล็ก ๆ ตามเหลี่ยมของต้นผือ

4. นำเส้นผือที่สอยเเล้วไปผึ่งแดดให้แห้ง


42 5. นำมาย้อมสีโดยใช้สีย้อมกก ย้อมผือ สีที่นิยมคือ สีชมพู สีแดง สีเขียว สีเหลือง สีม่วง โดยนำไปต้มในปี๊บ ต้ม น้ำให้เดือดแล้วใส่สีลงไปตามด้วยผือที่ต้องการย้อม

6. นำผือที่ย้อมแล้วมาล้างด้วยน้ำเปล่า จากนั้นนำไปผึ่งแดดให้แห้ง

7. กางโฮงสำหรับทอเสื่อโดยนำเชือกไนลอนสำหรับทอเสื่อมาโยงใส่ฟืมจนเสร็จนำเส้นผือที่ย้อมสีตากจนแห้ง แล้วนำมาทอเสื่อ ลายตามต้องการ


43 8. พอทอเสร็จก็ตัดแล้วหลังจากนั้นก็นำไปตากแดดเพื่อให้สีไม่ออก หลังจากนั้นก็นำมาเก็บในที่ร่ม

9.ทอเสร็จแล้วตัดออกจากกี่แล้วนำไปเย็บให้เป็นผืนเล็ก-ใหญ่แล้วแต่ชอบหรือให้ทันสมัยก็นำไปเย็บเป็นเสื่อ

พับง่ายต่อการเก็บและสะดวกในการนำไปใช้

เห็นได้ว่า ไม่ง่ายเลยกว่าจะได้เสื่อผือแต่ละผืนออกมา ดังนั้นราคาจึงอยู่ที่ ผืนละ 200-600 บาท ทั้งนี้ก็ ขึ้นอยู่กับความสวยงามของลวดลายอีกด้วย เสื่อผือนั้นนอกจากจะแสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นของคนใน ชุมชน ที่นำพืชมาทอเป็นเครื่องใช้ภายในบ้านแล้วยังแสดงให้เห็นถึงความคิดสร้างสรรค์และความประณีตใน การคิดค้นลวดลายใหม่ ๆ ที่มีความสวยงามและตั้งใจทอออกมาเพื่อเพิ่มราคาให้เสื่อผือนั้นมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น


44

ด้านทอผ้า การทอผ้าไหม

นางทองหนุน เกี้ยวก้าว บ้านเลขที่ ๑๐๙ หมู่ ๖ บ้านห้วยยาง ตำบลเหล่าโพนค้อ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร ความเป็นมา การทอผ้าเป็นอาชีพเสริมที่สำคัญของหมู่บ้านห้วยยาง จากคำบอกเล่าต่อกันมาจากสมัย ปู่ ย่า ตา ยาย การทอผ้าเป็นหน้าที่สำคัญอย่างหนึ่งขอผู้หญิงถ้าครัวเรือนไหนมีลูกสาวต้องสอนให้ทอผ้าเป็น จะเป็นที่ หมายปองของหนุ่มๆในหมู่บ้านแต่ถ้าผู้หญิงคนไหนทอผ้าไม่เป็น ก็เป็นข้อหนึ่งที่ที่ญาติฝ่ายชายไม่เลือกเอามา เป็นสะใภ้ดังนั้นลูกสาวทุกครัวเรือนจะทอผ้าเป็นทั้งนั้น กลุ่มทอผ้าไหม เกิดจากการรวมกลุ่มของสตรีที่อยู่ในชุมชนรวมกันก่อตั้งกลุ่มขึ้นกลุ่มผู้สนใจมีความรู้ ความสามารถในการทอผ้าเป็นอย่างดี โดยมีการเรียนรู้ การมัดหมี่การทอจากบรรพบุรุษ สืบสานต่อกันมา ส่วน ใหญ่นิยมทอผ้าในช่วงเสร็จจากอาชีพหลักคืออาชีพทำนาข้าว เวลาว่างก็ทอผ้า ทั้งทอผ้าไหม ทอผ้าฝ้าย ส่วน ใหญ่เป็นการเพื่อใช้เอง ทอผ้าไหมก็เริ่มจากการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม สาวไหมเป็นเส้นแล้วมาผ่านกระบวนการ ทอจนทำให้เป็นผืนผ้าและเก็บไว้ใช้เอง ต่อมาจนถึงปัจจุบันการทอผ้าไหมจะเป็นการซื้อเส้นไหมสำเร็จรูปจากตลาดมาทอ การทอส่วนใหญ่ นอกจากใส่องล้า เป็นการทอเพื่อจำหน่ายมากขึ้น สามารถเป็นอาชีพเสริมซึ่งทำเงิน ทำรายได้ให้แก่ครอบครัว บ้านห้วยยางไม่น้อย ส่วนผสม ในการผลิต ๑. เส้นไหม ที่มีขนาดตามต้องการไหมเล็กเรียกว่า ไหมน้อย หรือไหมใหญ่ เรียกตามภาษา ชาวบ้าน “ไหมหลื้บ” ๒. กี่ ทอผ้าด้วยมือ ๓. ฟืมทอผ้า ๔. กระสวย ขั้นตอนในการผลิต ๑. นำเส้นไหมมาฟอกจากไหมสีเหลืองเป็นสีขาวจะทำให้ย้อมสีติดทนนานและสีไม่ตก ๒. การแก่งไหม (แกว่งไหม)ทำให้ไหมเส้นเล็กเหนียวไม่ขาดง่าย ปั่นไหมใส่ไน ๓. การค้นหูก มีอุปกรณ์ “หลักเผีย”เตรียมไหมให้เป็นเส้นยาวพอดีกบขนาดฟืม(ไหมทางยืน) ๔. ขั้นตอนการมัดหมี่ เป็นการกำหนดลวดลายขอผ้าไหมก่อนนำไปย้อมโดยนำไหมมายึดกับโฮง แล้วก็ จะมัดเส้นไหมเป็นลายตามที่ต้องการด้วยเชือกฟางให้แน่นป้องกันไม่ให้สีย้อมหลุดหรือซึมเข้าในส่วนที่ไม่ ต้องการ


45 ๕. การย้อมสี ตามสีที่ต้องการโดยการย้อมสีอ่อนไปยังสีเข้ม โดยใช้สีเคมีหรือสีจากธรรมชาติที่ต้องการ ต้มในหม้อย้อมเริ่มจากน้ำอุ่นๆแล้วเริ่มเร่งความร้อนแรงขึ้นหมั่นพริกไหมกลับไปกลับมาป้องกันไม่ให้สีด่าง ใช้ เวลาย้อมประมาณ ๓๐ – ๕๐ นาที แล้วนำไหมขันมาล้างออกให้สะอาดผึ่งให้แห้ง ๖. การกวกหมี่ เป็นการแบ่งไหม จากปอยใหญ่เป็นปอยเล็กโดยการปั่นไหม มาต่อกับอัก พันไหมจาก กงมาใส่อัก แล้วแยกส่วนไหนเป็นไหมทางยืนใส่กี่ ส่วนไหนใช้เป็นทางทอเตรียมก็ไว้ทอ ๗. การปั่นไหม นำไหมทางทอมาปั่นเป็นลายให้เป็นหลอดร้อยลงเชือกใส่ไว้ เพื่อสะดวกเวลาทอ หยิบ ใส่กระสวย ทอได้ทันที จะได้ลายหมี่ที่ต้อเนื่องสวยงาม ๘. การทอผ้า การใช้เวลาการทอถ้าทอต่อเนื่องกันทุกวัน ๑ เดือนจะได้ ๑ ผืน ภาพประกอบการทอผ้าไหม


46

นวดแผนไทย นวดแผนโบราณ

ชื่อ นางประมง ยาธิสาร ชื่อเล่น มง เกิด 5 มกราคม พ.ศ. 2499 อายุ 64 ปี ที่อยู่ บ้านเลขที่ 1 หมู่ที่ 7 บ้านเหล่า ตำบล เหล่าโพนค้อ อำเภอ โคกศรีสุพรรณ จังหวัด สกลนคร ความสามารถพิเศษ การนวดแบบโบราณ ประวัตความเป็นมา นางประมง ยางธิสาร ชื่อเล่น มง เป็นคนบ้านเหล่าเหนือ โดยกำเนิด มีความสนใจด้าน การในการนวดเนื่องจากพ่อ แม่ พี่น้อง ลุง ป้า น้า อา ได้ให้ตนเองนวดตามเนื้อตามตัวเพื่อให้ผ่อนคลาย แก้ ปวดเมื่อย จากการทำงาน จับเส้น ส่วนใหญ่จะเป็นการนวด “สายราชสำนัก หรือการนวดแผนโบราณ” จึงทำ ให้นางประมง ความสนใจ ศึกษา ค้นคว้า จากตำรา ศึกษาจากผู้รู้ และใช้ในประสบการณ์จริงโดยการเรียนรู้ จาก รพสต.และได้ไปเข้ารับการอบรม “หลักสูตรนวดไทยเพื่อสุขภาพ”จากสำนักงานสาธารณสุข จังหวัด สกลนคร และได้นำความรู้มาใช้ในการดำรงชีวิต และ การทานในองค์กร ในชุมชนด้วย และใช้ประสบการณ์ จริงโดยการ จึงทำให้ นางประมง มีอาชีพเสริมให้กับตนเอง และทำให้มีความรู้ความสามารถความชำนาญ ทางด้าน การการนวดเป็นพิเศษ ข้อมูลแหล่งเรียนรู้การนวดแผนโบราณ สถานที่ บ้านเลขที่ 1 หมู่ที่ 7 บ้านเหล่าเหนือ ตำบลเหล่าโพนค้อ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร คุณสมบัติ 1.เป็นผู้มีความสามารถในการนวดแผนโบราณ 2.เป็นวิทยากรด้านภูมิปัญญาท้องของชุมชน 3.เป็นผู้นำ กลุ่ม นวดแผนไทย ของหมู่บ้าน จุดประสงค์ 1.เพื่อให้คนที่สนใจได้มาศึกษาเรียนรู้เรื่องการ การนวดแผนโบราณ 2.เพื่อให้คนเห็นความสำคัญของ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และสืบทอดความรู้ที่มีคุณค่าต่อไป


47 การนวดแบบทั่วไป (นวดเชลยศักดิ์) หมายถึงการนวดโดยวิธีของสามัญชนในสมัยโบราณมาจนถึงปัจจุบันที่ได้รับการฟื้นฟูให้เป็นที่นิยม โดยทั่วไป ก่อนเริ่มต้นนวด หมอจะต้องพนมมือเพื่อไหว้ครูเสียก่อน ในขณะที่ผู้ป่วยนอนอยู่กับพื้น หลังจากนั้น หมอจึงเริ่มต้นนวด จากเท้าขึ้นไปที่หัวเข่า ไปสู่โคนขา และนวดท้อง หลัง ไหล่ ต้นคอ และศีรษะ

การนวดแบบทั่วไป (นวดเชลยศักดิ์) หมายถึงการนวดโดยวิธีของสามัญชนในสมัยโบราณมาจนถึงปัจจุบันที่ได้รับการฟื้นฟูให้เป็นที่นิยม โดยทั่วไป ก่อนเริ่มต้นนวด หมอจะต้องพนมมือเพื่อไหว้ครูเสียก่อน ในขณะที่ผู้ป่วยนอนอยู่กับพื้น หลังจากนั้น หมอจึงเริ่มต้นนวด จากเท้าขึ้นไปที่หัวเข่า ไปสู่โคนขา และนวดท้อง หลัง ไหล่ ต้นคอ และศีรษะ


48 การนวดแบบทั่วไป (นวดเชลยศักดิ์) หมายถึงการนวดโดยวิธีของสามัญชนในสมัยโบราณมาจนถึงปัจจุบันที่ได้รับการฟื้นฟูให้เป็นที่นิยม โดยทั่วไป ก่อนเริ่มต้นนวด หมอจะต้องพนมมือเพื่อไหว้ครูเสียก่อน ในขณะที่ผู้ป่วยนอนอยู่กับพื้น หลังจากนั้น หมอจึงเริ่มต้นนวด จากเท้าขึ้นไปที่หัวเข่า ไปสู่โคนขา และนวดท้อง หลัง ไหล่ ต้นคอ และศีรษะ

การนวดแบบทั่วไป (นวดเชลยศักดิ์) หมายถึงการนวดโดยวิธีของสามัญชนในสมัยโบราณมาจนถึงปัจจุบันที่ได้รับการฟื้นฟูให้เป็นที่นิยม โดยทั่วไป ก่อนเริ่มต้นนวด หมอจะต้องพนมมือเพื่อไหว้ครูเสียก่อน ในขณะที่ผู้ป่วยนอนอยู่กับพื้น หลังจากนั้น หมอจึงเริ่มต้นนวด จากเท้าขึ้นไปที่หัวเข่า ไปสู่โคนขา และนวดท้อง หลัง ไหล่ ต้นคอ และศีรษะ

ด้านการฟ้อนรำภูไท บ้านห้วยยาง


49 ด้านฟ้อนภูไท

นางปรานี โต๊ะชาลี 117 หมู่ 6 ต.เหล่าโพนค้อ อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร 47280 ความเป็นมา การฟ้อนภูไทในจังหวัดสกลนคร เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยที่เริ่มสร้างองค์พระธาตุเชิงชุมซึ่งเป็นพระ ธาตุคู่บ้านคู่เมืองของชาวสกลนครทุกชนเผ่า (คือมีการดัดแปลงปราสาทหินแบบเขมรแล้วครอบทับสร้าง เป็นพระธาตุในศิลปะแบบล้านช้างขึ้นแทน) ชาวภูไทเป็นชนเผ่าที่รับอาสาที่จะเป็นผู้ปฏิบัติรักษาหา เครื่องสักการบูชาพระธาตุ ทุกๆปีเมื่อถึงฤดูข้าวออกรวง จะมีการเก็บเกี่ยวข้าวบางส่วนเพื่อนำไปทำเป็น “ข้าวเม่า” ซึ่งชาวภูไทจะนำเอาข้าวเม่ามาถวายการสักการะองค์พระธาตุเชิงชุม ซึ่งมักจะมีขบวนแห่ เรียกว่า “แห่ข้าวเม่า” และมีการฟ้อนรำรอบๆองค์พระธาตุ แต่เดิมเป็นการฟ้อนรำของผู้ชายเพื่อบูชาพระธาตุในเทศกาลสักการะองค์พระธาตุ แต่ ภายหลังก็ได้เปลี่ยนผู้ฟ้อนมาเป็นผู้หญิงทั้งหมด เพราะท่วงท่าและลีลาการฟ้อนซึ่งจะดูสวยงามและ อ่อนหวานมากกว่า ผู้ฟ้อนหญิงชาวภูไทจะแต่งกายตามแบบสตรีชาวภูไทสกลนคร และมีการสวมเล็บ ยาวในการฟ้ อนรำอีกด้วย ต่อมาชาวภูไทในท้องถิ่นอื่นในจังหวัดสกลนครได้มาพบเห็นจึงได้น ำไป ประยุกต์ท่าฟ้อนขึ้นอีก และมีการแต่งเนื้อร้องประกอบการแสดงเพิ่มเติมอีกด้วย ภูไท หรือผู้ไท เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใหญ่รองลงมาจากไทยและลาว ตามตัวเลขที่มีปรากฏรำในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ มีพวกผู้ไทอยู่ประมาณสองแสนคน กลุ่มที่ใหญ่ที่สุดอยู่แถบลุ่มแม่น้ำโขงและ เทือกเขาภูพาน ได้แก่ จังหวัดนครพนม สกลนคร เลย และกาฬสินธุ์ ผู้ไทเป็นคนที่ทำงานขยันขันแข็ง มัธยัสถ์ และโดยทั่วไปแล้วเจริญก้าวหน้ามากกว่าพวก ไทย-ลาวที่อยู่ใกล้เคียง เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่พัฒนาได้เร็ว นอกจากนี้ยังปรากฏว่าชาวผู้ไทยังคงรักษา ขนบธรรมเนียมประเพณีเดิมของตนไว้ได้มากกว่าชนกลุ่มอื่นๆ คนผู้ไทนั้นเป็นชาติพันธุ์ที่มีหน้าตา สวยงาม ผิวพรรณดี กิริยามารยาทแช่มช้อย มีอัธยาศัยไมตรีดีด้วย การฟ้อนภูไทนี้ เป็นการละเล่นพื้นเมืองอย่างหนึ่งของชาวผู้ไท เดิมที่นั้นการร่ายรำแบบนี้เป็นการ ร่ายรำเพื่อถวายพระธาตุเชิงชุมแต่อย่างเดียว ต่อมาได้ใช้ในงานแสดงในงานสนุกสนาน รื่นเริงต่างๆด้วย การแต่งกาย เสื้อ นิยมทำเป็นเสื้อแขนกระบอกติดกระดุมธรรมดา กระดุมเงิน หรือเหรียญสตางค์ เช่น เหรียญ สตางค์ห้า สตางค์สิบ มาติดเรียงเป็นแถว นิยมใช้เป็นผ้าย้อมครามเข้มจนดำมีผ้าขลิบแดงติดชายเสื้อ เช่น ที่คอ สาบเสื้อ ปลายแขนปัจจุบัน นุ่งผ้าซิ่นพื้นสีดำต่อตีนซิ่นขิดยาวกรอมเท้า


50 ผ้าเบี่ยงนิยมใช้ผ้าแพรขิดสีแดง พาดไหล่ซ้ายแล้วไปมัดที่เอวด้านขวา สวมส่วยมือยาว(เล็บ)ทำมาจาก กระดาษหรือโลหะพันด้วยด้ายและมีพู่ที่ปลายเล็บสีขาวหรือแดง ผมเกล้ามวยมัดมวยผมด้วยผ้าแดงบางครั้งก็ ทัดผมด้วยดอกไม้สีขาวหรือไม่ก็ฝ้ายภูไท และสวมเครื่องประดับเงิน เช่น สร้อยคอ ต่างหู กำไล ดนตรี เครื่องดนตรีประกอบที่ใช้ในการเล่น ประกอบด้วย กลองสั้น กลองยาว ตะโพน ม้าล่อรำมะนา แคน ฉิ่ง ฉาบ โอกาสที่แสดง จัดขึ้นในงานพิธีมงคลต่างๆ หรือในงานบุญต่างๆ


51 ท่าการฟ้อนภูไท

ท่าบัวตูม

ท่าแซงแซวลงหาด

ท่าบัวบาน

ท่านางไอ่เรียบหาด


52

ท่าบังแสง

ท่านาคีม้วนหาง

ท่านาคีม้วนหาง

ท่าสอดสร้อยมาลา


53 ด้านการต้มเกลือสินเธาว์

นางกงจันทร์ เรืองรื่น 160 หมู่ 4 ต.เหล่าโพนค้อ อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร 47280 ความเป็นมา เกลือสินเธาว์ หมายถึง เกลือที่ได้จากดินเค็ม โดยนำเอาน้ำเกลือจากการละลายหินเกลือที่อยู่ใต้ ดินมาต้มเคี่ยวจนได้เกลือเนื้อละเอียดสีขาว พื้นที่ภาคอีสานครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศ มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบสูง โครงสร้างทางธรณีวิทยาเป็น 2 ลักษณะ คือ เป็นแอ่ง (Basin) และขอบแอ่งที่เป็นภูเขาสูง (Mountain Range) แบ่งได้ 2 แอ่ง เรียกว่า ”แอ่งโคราช และ แอ่งสกลนคร” ทั้ง 2 แอ่งมีชั้นเกลือหินที่รองรับอยู่ใต้ดิน เป็นโดมเกลือ (Salt Dome) ขนาดใหญ่ ชั้นเกลือหินจะสัมผัสกับชั้นน้ำบาดาลเกิดการละลายเป็นชั้นน้ำเค็ม บางพื้นที่ชั้นน้ำเค็มพุ่งขึ้นถึงผิวดินที่มีอุณหภูมิสูง ก็เกิดการระเหยอย่างรวดเร็วทิ้งผลึกเกลือเล็กๆ อยู่บนผิวดิน เป็นคราบสีขาว สภาพพื้นที่ที่เป็นดินเค็มมีคราบเกลือนี้เอง ชาวอีสานนำไปผลิตเกลือสินเธาว์ที่มีคุณประโยชน์ มหาศาลตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ในภาคอีสานมีชุมชนที่ผลิตเกลือในระดับอุตสาหกรรมโบราณ มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ดัง หลักฐานทางโบราณคดีที่พบในบริเวณบ่อพันขัน เขตทุ่งกุลาร้องไห้ จังหวัดร้อยเอ็ด และบริเวณลุ่มน้ำสงคราม แอ่งสกลนคร หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ ในหน้าแล้งช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ตามท้องนาจะมีดินเอียด หรือที่ชาวอีสาน เรียกว่า ขี้ทา (ดินเค็มที่มีละอองหรือส่าเกลือ) ขึ้นมาบนผิวดินให้เห็นเป็นสีขาวหรือสีเทา ชาวบ้านลงมือขูดดิน เอียดเพื่อนำมาเป็นวัตถุดิบในการต้มเกลือ ก่อนต้มเกลือชาวบ้านจะทำพิธีบอกกล่าวเจ้าที่ เพื่อเป็นศิริมงคล ขอให้การต้มเกลือไม่มีอุปสรรค และให้ได้ผลผลิตมากตามต้องการ จากนั้นจึงเริ่มดำเนินการต้มเกลือ ปัจจุบันในภาคอีสานมีการผลิตเกลืออยู่ 3 รูปแบบ คือ การผลิตเกลือแบบดั้งเดิม ดังที่กล่าวมาข้างต้น นิยมผลิตทั่วไปในบริเวณจังหวัดสกลนคร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อุบลราชธานี กาฬสินธุ์ แต่ปัจจุบันผู้ผลิตเกลือลักษณะนี้เริ่มลดจำนวนลง เนื่องจากสภาพ สิ่งแวดล้อมธรรมชาติที่เปลี่ยนไป ป่าไม้ถูกเปลี่ยนให้กลายเป็นพื้นที่ทำการเกษตร ชาวบ้านไม่มีฟืนมาใช้ในการ เคี่ยวหุงเกลือ และสาเหตุจากเกษตรกรใช้สารเคมีในการทำนา ทำให้เกิดสารเคมีตกค้างในดิน ดินเอียดก็ไม่ สามารถนำมาผลิตเกลือได้ รวมถึงคนรุ่นใหม่ไม่สนใจที่จะเรียนรู้ภูมิปัญญาการผลิตเกลือแบบดั้งเดิม หรืออาจ เป็น เพราะยุคสมัย ใหม่ความสะดวกสบายมีมากขึ้น และเกลือไอโอดีนที่ได้รับการรับรองจากกระทรวง สาธารณสุขมีจำหน่ายตามท้องตลาดทั่วไป การผลิตและบริโภคเกลือแบบดั้งเดิมของชาวอีสาน จึงไม่เป็นที่นิยม เท่าที่ควร


54 การผลิตเกลือโดยวิธีสูบน้ำเกลือจากใต้ดินขึ้นมาเคี่ยวหุง ชุมชนที่ผลิตเกลือลักษณะนี้คือ บ่อเกลือหัว แฮด บ้านท่าสะอาด ตำบลท่าสะอาด อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ การผลิตเกลือด้วยวิธีสูบน้ำเค็มจากใต้ดินขึ้นมาตากแดด ที่เรียกว่า นาเกลือ อยู่ที่อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี และอุตสาหกรรมเกลือบริสุทธิ์ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา วิธีการทำ 1.โดยนำดินเอียดผสมแกลบข้าว หรือเศษฟาง ใส่ในรางเกรอะน้ำเกลือ มีลักษณะคล้ายเรือความยาว ประมาณ 2 - 4 เมตร หรือบางท้องที่อาจใช้อ่างปูนซีเมนต์แทน เมื่อเทน้ำสะอาดใส่ในรางเกรอะเกลือ น้ำเอียด ที่ผ่านการกรองแบบธรรมชาติจะไหลออกจากรูลงในภาชนะ ที่รองไว้ด้านล่างของรางเกรอะ เมื่อได้น้ำเอียดที่ เพียงพอต่อการต้มแต่ละครั้ง ชาวบ้านจะใช้ภูมิปัญญาการวัดความเค็มจากน้ำที่รองได้ มี 2 วิธี คือ - นำไข่เป็ดที่ยังไม่สุกมาลอยในน้ำเอียด ถ้าไข่เป็ดไม่จมน้ำแสดงว่าความเค็มมากสามารถนำมาต้มเป็นเกลือได้ ถ้าไข่เป็ดจมน้ำแสดงว่าความเค็มยังไม่เพียงพอที่จะนำมาต้มเป็นเกลือ - ใช้ครั่งหรือขี้ครั่งขนาดก้อนเท่าหัวแม่มือนำมาลอยในน้ำเอียด ถ้าก้อนครั่งลอยแสดงว่ามีความเค็มมาก เช่นเดียวกับการวัดด้วยไข่เป็ด

ในภาพชาวบ้านกำลังเทน้ำสะอาดใส่ดินเอียดในรางเกรอะน้ำเกลือ ด้านข้างจะมีภาชนะรองน้ำเอียดที่หยดลง จากราง 2. เมื่อได้น้ำเอียดที่สามารถต้มเป็นเกลือได้แล้ว ขั้นตอนต่อไปคือนำน้ำเอียดมาเคี่ยวหุง โดยใช้กะทะที่ ทำจากแผ่นสังกะสี สุมไฟไปตลอด จนน้ำระเหยกลายเป็นผลึกเกลือสีขาวขุ่น จากนั้นตักเกลือใส่ตระกร้าไม้ไผ่ ผึ่งเกลือไว้ให้แห้ง เสร็จแล้วก็นำเกลือมาบรรจุกะทอที่ทำด้วยไม้ไผ่สาน อย่างชะลอมเป็นรูปทรงกระบอก ขนาด ของกะทอขึ้นอยู่กับผู้ใช้ ส่วนใหญ่ขนาดพอบรรจุเกลือที่มีน้ำหนัก 1 หมื่น (12 กิโลกรัม) ก่อนบรรจุเกลือใช้ ใบไม้รองด้านใน เกลือกะทอของชาวอีสานในอดีตเป็นทั้งสินค้าซื้อขาย และแลกเปลี่ยนของพ่อค้าทางไกล ชาว อีสานเรียกว่า “นายฮ้อยเกลือ” เกลือกะทอสามารถเก็บไว้บริโภคได้นานแรมปี เกลือกะทอหนัก 12 กิโลกรัม ราคาประมาณ 150 – 200 บาท (พ.ศ.2559) ระยะเวลาการผลิตเกลือสินเธาว์อยู่ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ไปจนถึงปลายเดือนเมษายนของทุกปี


55

การเคี่ยวน้ำเอียดให้น้ำระเหยกลายเป็นเกลือ ชาวบ้านตักออกมากผึ่งแดดให้แห้งก่อนที่จะบรรจุใส่กะทอ

เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต ภาชนะสำหรับต้มเกลือควรเป็นภาชนะเคลือบมันวาว เพราะเมื่อต้มเกลือจนแห้งแล้ว เกลือจะเป็น ตะกรันก้อนแข็งจับก้นภาชนะ ท้าให้แกะหรือล้างออกยาก ถ้าตากเกลือไม่แห้งสนิท เกลือที่ได้จะไม่ขาวสะอาด อาจมีสีเหลืองปนและเกลือจะมีรสขม ระหว่างต้มเกลือต้องคอยเติมไฟให้ลุกสม่ำเสมอ เกลือจะตกผลึกเม็ดสวยสม่ำเสมอและใช้เวลาต้มไม่ นาน อย่างไรก็ตามถึงแม้เกลือจะเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิต การอุปโภค บริโภคของประชาชนและใช้ใน อุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ แต่การผลิตเกลือสินเธาว์ ในพื้นที่ใดใด ย่อมเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรประเภทอื่นในหลายๆ ด้าน เช่น กาแพร่กระจาย ของดินเค็ม ทำให้พื้นที่เกษตรกรรมเสียหายเป็นจำนวนมาก และแผ่นดินทรุดจากการสูบน้ำเกลือใต้ดิน ซึ่งต้อง หาวิธีการป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในระยะยาว ข้อดีเกลือสินเธาว์ เป็นเกลือที่เหมาะใช้ในการอุตสาหกรรม เพราะมีความชื้น และแมกนีเซียม (Mg) แคลเซียม (Ca) ค่อนข้างต่ำ


56

ด้านดนตรี วงกลองยาว

นายจบ ยางธิสาร บ้านเลขที่ ๕ หมู่ ๙ บ้านห้วยยางเหนือ ตำบลเหล่าโพนค้อ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร ความเป็นมา กลองยาวและรำกลองยาว เป็นศิลปะการ แสดงพื้นบ้านที่ชาวบ้านห้วยยาง ได้รับการถ่ายทอดจากภูมิ ปัญญาชาวบ้าน จากรุ่นสู่รุ่นจนกลายเป็นวัฒนธรรมของท้องถิ่น กลองยาว และการรำ กลองยาว ใช้เล่นกัน อย่างแพร่หลาย โดยนิยมใช้เล่นในงานบุญ งานประเพณีต่าง ๆ ของท้องถิ่น เช่น งานแห่นาค งานทอดกฐิน งานประเพณีสงกรานต์ งานประเพณีถวายเทียนพรรษา เป็นต้น แต่ปัจจุบันศิลปะการแสดงพื้นบ้านกลองยาว เริ่มลดบทบาทลง ประชาชนให้ความสำคัญน้อยลง เนื่องจากอิทธิพลของวัฒนธรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อเป็นการสร้างจิตสำนึกให้เด็กและเยาวชน รักและภาคภูมิใจในภูมิปัญญาท้องถิ่น ตระหนักและช่วยกัน อนุรักษ์ สืบทอดมรดกอันล้ำค่าด้านดนตรี ศิลปะการแสดงพื้นบ้านกลองยาว ซึ่งเป็นวัฒนธรรมอันดีงามของ ท้องถิ่นให้คงอยู่สืบไป ประโยชน์ ๑. การได้เรียนรู้และถ่ายทอด ด้านดนตรี ศิลปะ การแสดงพื้นบ้าน ๒. เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ๓. ป้องกันโรคคอหอยพอก ๔. การรักษาภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไว้ให้คงอยู่สืบไป ๕. เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้ความเป็นมา รู้คุณค่า และเกิดทักษะด้านดนตรี ศิลปะการแสดงพื้นบ้าน วัสดุที่ใช้ทำกลองยาว ๑. ท่อนไม้ตามขนาดกลองยาวที่ต้องการใช้ทำตัวกลอง ตอนหน้าของกลองใหญ่ ส่วนตอนท้าย ลักษณะ เรียวแล้วบาน ตอนปลาย เป็นรูปดอกลำโพง มีหลายขนาด ๒. ข้าวสุก ใช้เป็นกาวโดยบดผสมกับขี้เถ้าติดตรงกลางของหน้ากลองเพื่อถ่วงเสียง ๓. ผ้าสีต่าง ๆ ใช้เย็บหุ้มตกแต่งรอบหน้ากลองให้สวยงาม ๔. หนังสัตว์ใช้ทำหนังขึ้นกลอง ๕. สายสะพาย เป็นผ้าขาวม้า หรือเชือกถักแบบแบนใช้ผูกกลองไว้คล้องสะพายบ่า อุปกรณ์และวิธี เล่น กลองยาวเป็นกลองหน้าเดียว รูปร่างทรงยาว ด้านล่างกลึงเป็นรูปคล้ายปากแตร ส่วนบนป่องเล็กน้อยปิด ด้วยหนังวัว ขึงด้วยเชือกให้ตึง กลองยาวมีหลายขนาดขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของผู้เล่น ตกแต่งด้วยผ้าสี สวยงาม มีสายสะพายคล้องบ่าเพื่อสะดวกในการเดินตีผู้เล่นกลองยาวจะใช้มือตีทั้งสองมือ บางครั้งตีแบบ โลด โผนเพื่อความ สนุกสนาน ใช้กำปั้น ศอก เข่า ศีรษะ หรือต่อตัวในการตีกลอง ซึ่งต้องใช้ทักษะและความชำนาญ ในการตีก่อนเล่น มีการบูชาไหว้ครูโดยจุดธูปเทียน ดอกไม้สุรา และเงิน ๑๒ บาท


57 การเริ่มต้นเล่นกลองยาว กลองยาวจะเริ่มเล่นจากการใช้เสียงโหม่งตีเป็นตัวนำโดยผู้ตีจะต้องตีจังหวะ สม่ำเสมอตลอดการ เล่น กลองยาว ส่วนเครื่องดนตรีชิ้นอื่น ๆ จะเล่นล้อตาม ขัด หรือสอดรับกับจังหวะโหม่ง การเล่นกลอง ยาวจะ สนุกสนานครื้นเครงขึ้นอยู่กับเสียงของดนตรีแต่ละชิ้นที่เล่นส่งเสียงและจังหวะประชัน กัน ประกอบ กับการแสดง ท่าทางของผู้เล่นดนตรีและกระบวนรำแสดงออกท่าทางโยกย้ายตามจังหวะลีลา ของเครื่อง ดนตรีและจังหวะเพลง นั้น ๆ ภาพประกอบการเล่นดนตรี (วงกลองยาว)


58

ด้านการก่อสร้าง

นายอรุณ พลราชม บ้านเลขที่ ๓๗ หมู่ ๕ บ้านเหล่า ตำบลเหล่าโพนค้อ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร ความเป็นมา การก่อสร้าง หมายถึง กระบวนการอย่างหนึ่ง ซึ่งจัดขึ้นเพื่อประกอบโครงสร้างพื้นฐานจนก่อ ขึ้นมาเป็นตัว อาคาร บ้านเรือนหรือระบบสาธารณูปโภค ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการใช้งานของมนุษย์ สำหรับวิชาการ ก่อสร้างในระดับมหาวิทยาลัยนั้นจะไม่ได้สอนเพียงวิธีสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมาเฉพาะแค่แรงงานเท่านั้น ทว่ายัง สอนให้ได้เรียนรู้ถึงการจัดหาทรัพยากร การบริหารในส่วนของงบประมาณและด้านความปลอดภัยตามมา ประเภทของงานก่อสร้าง แบ่งได้ทั่วไป 4 ประเภท 1. ประเภทที่อยู่อาศัย 2. ประเภทที่ใช้ในด้านอุตสาหกรรม 3. ประเภทที่ใช้ในเชิงพาณิชย์ 4. ประเภทงานโยธาเพื่อใช้ในส่วนสาธารณูปโภค เนื่องจากที่อยู่อาศัยกลายเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญสำหรับการดำรงชีพของมนุษย์ ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีจึงมีนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อนำมาใช้พัฒนาในส่วนของงานก่อสร้างมาก ขึ้นอย่างต่อเนื่อง การก่อสร้างแต่ละโครงการ ผู้รับเหมาก่อสร้างย่อมต้องมีองค์ความรู้ต่างๆ หลายด้าน และองค์ความรู้ที่นับว่า จำเป็นได้แก่ เทคโนโลยีของการก่อสร้างที่เกี่ยวข้องกับวิธีและขั้นตอนของการก่อสร้าง เพราะสิ่งเหล่านี้เป็น ปัจจัยที่จะช่วยปรับเปลี่ยนสิ่งที่สถาปนิกหรือวิศวกรเขียนแบบและรายการก่อสร้าง จนกลายมาเป็นสิ่งปลูก สร้างขึ้นอย่างสมบูรณ์แบบต่อไป ดังนั้น นับว่าจำเป็นอย่างมากที่ทางผู้รับเหมาก่อสร้างจะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับ ด้านเทคโนโลยีในการก่อสร้างต่างๆ อย่างครบวงจร


59

ชนิดของงานก่อสร้าง โดยทั่วไป งานก่อสร้างมักหมายถึง งานด้านวิศวกรรมโยธา ซึ่งมีหน้าที่ทำงานครอบคลุม เกี่ยวกับงานด้าน ก่อสร้างทั้งหมด ตั้งแต่งานก่อสร้างระดับขนาดเล็กๆ ไปจนกระทั่งถึงงานก่อสร้างระดับที่มีขนาดใหญ่ โดยงาน ก่อสร้างนั้นจะสามารถแบ่งออกไปตามประเภทงานได้ดังนี้ 1. งานอาคาร เป็นงานก่อสร้างที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนต่างๆ ได้แก่ พื้น คาน ฐานราก เสา ประตู หน้าต่าง กำแพงและหลังคา โดยยังรวมไปถึงงานในด้านระบบไฟฟ้า ระบบประปา ระบบปรับอากาศ ระบบ สุขาภิบาล ระบบตกแต่งภายใน ลิฟต์และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้งานในอาคาร ยกตัวอย่างงานอาคาร เช่น งาน ก่อสร้างบ้านหรือที่พักอาศัย ห้างสรรพสินค้า โรงงาน โรงแรม คอนโดมิเนียม ฯ สำหรับงานอาคารจะสามารถ แบ่งเป็นประเภทย่อยๆ ออกได้ดังนี้ - อาคารสูง เป็นอาคารที่มีระดับความสูงโดยจำเป็นจะต้องใช้อุปกรณ์พิเศษเพื่อการก่อสร้าง เช่น ลิฟต์ ปั้นจั่น และนั่งร้านสำหรับแบบหล่อคอนกรีต เป็นต้น - อาคารสำเร็จรูป เป็นอาคารที่จะประกอบไปด้วยชิ้นส่วนต่างๆ โดยอาจจะทำมาจาก คอนกรีตหรือเหล็ก แต่ โดยทั่วไปแล้วมักจะทำจากโรงงาน การประกอบอาคารก็มักจะนิยมใช้เครื่องจักรที่มีขนาดใหญ่ในการช่วยยก ติดตัง้ - บ้านพักอาศัย เป็นอาคารที่มีขนาดเล็กและเบา เพราะโดยทั่วไปมักจะมีระดับความสูง 1-2 ชั้น - อาคารที่พักชั่วคราว อันได้แก่ ที่พักคนงานหรือสถานที่ทำการในระยะชั่วคราวเพื่อใช้ สำหรับการบริหาร โครงการ 2. งานวิศวกรรมโยธา (Civil Engineering work) ได้แก่ งานด้านถนน ทางหลวง สะพาน งานวาง ท่อประปา งานอาคารใต้ดิน งานเขื่อน งานก่อสร้างท่าเทียบเรือ ฯ โดยงานโยธา เป็นงานที่จะต้องใช้เครื่องจักร หนักๆ เป็นอุปกรณ์หลักในการทำงาน เพราะมีปริมาณของงานมาก ขอบเขตหรือพื้นที่ในการปฏิบัติงานยัง ค่อนข้างกว้าง ลึกหรือทั้งกว้างและลึก ลักษณะของแรงงานที่ใช้ก็จะใช้พลังงานในรูปของแรงอัด แรงสั่นสะเทือน แรงดัน แรงกระแทก แรงเหวี่ยง ฯ 3. โรงงานอุตสาหะกรรมและงานโรงไฟฟ้า (Process and Power Plant) เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับ กระบวนการผลิต อย่างเช่น โรงงานปิโตรเคมี โรงกลั่นน้ำมัน โรงงานปูนซีเมนต์ โรงงานโม่หิน ฯ โดยค่า ก่อสร้างจะได้มาจากค่าสร้างระบบเสียส่วนใหญ่ 4. งานก่อสร้างประเภทอื่นๆ นอกจากงานทั้ง 3 ประเภทแรกแล้วนั้น ยังมีงานในประเภทอื่นๆ เช่น งานรื้อถอน งานก่อสร้างแท่นเจาะสูบก๊าซธรรมชาติ และงานน้ำมันดิบในทะเล


60 นอกเหนือจากนี้ งานโครงการก่อสร้างหนึ่งๆ อาจจะประกอบไปด้วยงานก่อสร้างหลากหลายอย่าง เช่น โครงการก่อสร้างเขื่อนซึ่งนอกจากจะทำการสร้างเขื่อนแล้ว ยังสร้างอาคารที่ทำการ อาคารซ่อมบำรุงฯ และโครงการสำหรับก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมัน เป็นต้น


61

ด้านการทำปลาร้าบอง

นางศิวพร ขันทีท้าว บ้านเลขที่ ๑๒ หมู่ ๕ บ้านเหล่า ตำบลเหล่าโพนค้อ อำเภอโคกศรี สุพรรณ จังหวัดสกลนคร

ความเป็นมา ในปัจจุบันนี้โลกเรามีความเจริญก้าวหน้าอย่างมากแต่กลับทิ้งบางสิ่งไว้ข้างหลังนั่นก็คือ วัฒนธรรมประเพณีต่างๆที่มีอยู่เดิมแล้วทำให้มันค่อยๆจางหายไป อาหารอีสานเริ่มหมดไปพร้อมกับวัฒนธรรมที่เสื่อมถอยเนื่องจากคนในปัจจุบันได้นำเอาวัฒธรรม ตะวันตกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันเพื่อเป็นการอนุรักษ์สูตรอาหารอีสานคณะผู้จัดทำจึงจัดทำ โครงงานเล่มนี้ขึ้นเพื่อศึกษาค้นคว้าสูตร และวิธีทำแจ่วบองซึ่งเป็นอาหารอีสานชนิดหนึ่งและได้รวบรวมไว้ใน โครงงานเล่มนี้ เพื่อให้บุคคลที่สนใจได้ศึกษาและเป็นแนวทางต่อไป

อาหารพื้นบ้านอีสาน สภาพภูมิศาสตร์ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือภาคอีสานมีผลต่ออาหารการกินของคนท้องถิ่น อย่างมาก เนื่องจากพื้นที่บางแห่งแห้งแล้ง วัตถุดิบที่ นำมาประกอบอาหารซึ่งหาได้ตามธรรมชาติส่วนใหญ่ ได้แก่ ปลา แมลงบางชนิด พืชผักต่างๆ การนำวิธีการ ถนอมอาหารมาใช้เพื่อรักษาอาหารไว้กินนานๆ จึงเป็น ส่วนสำคัญในการดำรงชีพของคนอีสาน ชาวอีสานจะมี ข้าวเหนียวนึ่งเป็นอาหารหลัก เนื้อสัตว์ที่นำมาปรุง อาหารได้แก่ สัตว์ที่หามาได้ เช่น กบ เขียด แย้ แมลง ต่างๆ ที่มาของรสชาติอาหารอีสาน เช่น รสเค็มได้จากปลาร้า รสเผ็ดได้จากพริกสดและพริกแห้งรสเปรี้ยว ได้จากมะกอก ส้มมะขาม และมดแดงในอดีตคนอีสานนิยมหมักปลาร้าไว้กินเองเพราะมีปลาอุดมสมบูรณ์ ประกอบกับเป็นแหล่งเกลือสินเธาว์ ทำให้การทำปลาร้าเป็นที่แพร่หลายมาก จากปลาร้าพื้นบ้านอีสานได้มีการ พัฒนาทั้งวิธีการทำและรสชาติ จนกลายเป็นตำรับปลาร้าที่ส่งขายต่างประเทศในปัจจุบัน


62 ภาคอีสานมีผลต่ออาหารการกินของคนท้องถิ่นอย่างมาก เนื่องจากพื้นที่บางแห่งแห้งแล้ง วัตถุดิบที่ นำมาประกอบอาหารซึ่งหาได้ตามธรรมชาติส่วนใหญ่ได้แก่ ปลา แมลงบางชนิด พืชผักต่างๆ การนำวิธีการ ถนอมอาหารมาใช้เพื่อรักษาอาหารไว้กินนานๆ จึงเป็นส่วนสำคัญในการดำรงชีพของคนอีสาน ชาวอีสานจะมี ข้าวเหนียวนึ่งเป็นอาหารหลัก เนื้อสัตว์ที่นำมาปรุงอาหารได้แก่ สัตว์ที่หามาได้ เช่น กบ เขียด แย้ แมลงต่างๆ ที่มาของรสชาติอาหารอีสาน เช่น รสเค็มได้จากปลาร้า รสเผ็ดได้จากพริกสดและพริกแห้งรสเปรี้ยวได้จาก มะกอก ส้มมะขามและมดแดงในอดีตคนอีสานนิยมหมักปลาร้าไว้กินเองเพราะมีปลาอุดมสมบูรณ์อีสานมีวิถี ชีวิตที่ปลูกติดกับแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่แตกต่างหลากหลาย ซึ่งความแตกต่างของทรัพยากรธรรมชาติทำ ให้ระบบอาหารและรูปแบบการจัดอาหารของชุมชนแตกต่างกันอาหารของชาวอีสานจึงมีหลากรสหลาย รูปแบบ มีความอร่อยที่แตกต่างจากภาคอื่น ๆ

ลักษณะการปรุงอาหารอีสาน

1.ลาบ เป็น อาหารประเภทยำที่มีเนื้อมาสับละเอียดหรือหั่นเป็นชิ้นเล็กๆบางๆปรุงรสด้วย น้ำปลาร้า พริก ข้าว คั่ว ต้นหอม ผักชี 2.ก้อย เป็น อาหารประเภทยำที่จะนำเนื้อย่างมาหั่นเป็นชิ้นๆผสมกับผักพื้น เมืองนิยมใช้กับเนื้อปลาหมูวัวควาย และไก่ ทานกับผักสดนานาชนิด 3.ส่า เป็น อาหารประเภทยำ ที่นำหนังหมู เนื้อหมูย่างสับมาผสมกับหัวปลี วุ้นเส้น 4.อ่อม เป็น อาหารประเภทแกงแต่มีน้ำน้อยมีผัก พื้นเมืองหลายชนิดนิยมใช้กับเนื้อ ไก่และปลาหรือเนื้อกบเนื้อ เขียดหรือเนื้อสัตว์อื่นๆแต่เน้นที่ปริมาณผัก 5.อ๋อ ลักษณะ คล้ายอ่อมแต่ไม่ใส่ผัก(ใส่เพียงต้นหอม ใบมะกรูด ตะไคร้ ใบแมงลัก) นิยมใช้ปลาตัวเล็ก กุ้ง หรือไข่ มดแดงปรุง ใส่น้ำพอให้อาหารสุก 6.หมก เป็น อาหารประเภทหนึ่งที่ใช้ใบตองห่อนิยม ใช้กับเนื้อปลา ไก่ แมลง กบ เขียด ผักและหน่อไม้ หมกหรือห่อ หมกของภาคอีสานจะไม่ใส่กะทิ 7.อู๋ คล้ายหมกแต่ไม่ใช้ใบตอง นิยมใช้กับเนื้อปลาโดยเฉพาะปลาตัวเล็กๆ กับพวกลูกอ๊อดกบ 8.หม่ำ คือ ไส้กรอกเนื้อวัวผสมตับ ตะไคร้และเครื่องเทศอื่นๆหม่ำ ขี้ปลา มีลักษณะคล้ายปลาร้าชนิดหนึ่งรสชาติ ค่อนข้างเปรี้ยว หมักกับข้าวเหนียว 9.แจ่ว คือ น้ำพริกของชาวอีสานนิยมใส่ปลาร้าสับหรือน้ำปลาร้า เพราะมีขั้นตอนการทำที่ไม่ยุ่งยาก 10.ตำซั่ว เป็นอาหารประเภท ส้มตำชนิดหนึ่ง แต่ใส่ส่วนประกอบมากกว่า คือ ใส่ขนมจีน ผักดอง ผัก(เหมือนที่ใส่ ขนมจีน) และมะเขือลาย หรือผักอื่นๆตามต้องการลงไปในตำมะละกอด้วย 5


63 วิธีปรุงอาหารพื้นเมืองของแต่ละท้องถิ่น มีลักษณะแตกต่างกันออกไป และสอดคล้องกับ ธรรมชาติ และทรัพยากรอาหาร ที่มีอยู่ในท้องถิ่นนั้น ๆ เป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่การเลือกวิธีการปรุง ที่เหมาะสมกับชนิด ของวัตถุดิบ และเป็นที่ถูกปากและพึงพอใจแก่ผู้บริโภค สิ่งเหล่านี้มิได้เกิดขึ้น อย่างอิสระหรือโดยบังเอิญ หากแต่เป็นผลจากการกลั่นกรอง ภูมิปัญญาของชาวบ้านที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ โดยการเลือกสรรอาหารที่มี ประโยชน์สอดคล้องกับวิถีชีวิต และตัดสิ่งที่เกิดโทษออกไป สำหรับชาวอีสาน มีกรรมวิธีปรุงอาหารที่เรียบง่าย สะดวก รวดเร็วและมีรสชาติแตกต่างกันออกไป จะ สังเกตได้ว่า อาหารหลายอย่างของพื้นเมืองนิยมใส่ ข้าวคั่ว และข้าวเบือ อาหารที่นิยมใส่ข้าวคั่วได้แก่ ลาบ ก้อย ซุบ ส่า แกงอ่อม (บางครอบครัว) ส่วนข้าวเบือนิยมใส่ใน แกงหน่อไม้ และ แกงอ่อม เพื่อให้อาหารมีลักษณะสัมผัสดี มีความข้นของน้ำแกงพอเหมาะ เมื่อปั้นข้าวเหนียว จิ้ม จะทำให้ติดข้าวเหนียวได้มาก จะได้รสชาติดียิ่งขึ้น

แจ่วบอง “แจ่วบอง” อาหารอีสานอีกชนิดหนึ่งที่ขึ้นชื่อและเป็นที่รู้จักกันดี จุดกำเนิดของแจ่วบองนั้นมาจากทาง ประเทศลาวและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ“แจ่ว” หรือ “แก่ว” ในภาษาอีสานหมายถึงน้ำพริก ส่วนคำ ว่า “บอง” นั้นพ้องมาจากคำว่าง “บ้อง” หมายถึงบ้องไม้ไผ่ หรือ กระบอกไม้ไผ่ รวมกันเป็น “แจ่ว บอง” หรือ “แจ่วบ้อง” คือแจ่วที่ประกอบด้วยพริก ข่า ปลาร้า และส่วนผสมสมุนไพรอื่น ๆ ที่หาได้ทั่วไปใน ท้องถิ่น แจ่วบองบางตำรับผสมหนังควายลงไปด้วย แจ่วบองใช้เป็นเครื่องจิ้มกินกับข้าวเหนียว ผักสดหรือนึ่ง ใช้เป็นเครื่องปรุงรสสำหรับอาหารว่างของลาวที่เรียกว่า ไคแผ่น ซึ่งเป็นอาหารขึ้นชื่อของหลวงพระบาง สมัยก่อนเก็บไว้ในกระบอกไม้ไผ่ทำให้แจ่วบองสามารถเก็บไว้ได้นานโดยไม่เน่าเสียง่าย และเวลาเดินทางไปไหน มาไหนไกลๆ พกพาได้สะดวกอีกด้วย จึงเป็นที่มาของคำว่า “แจ่วบอง” จนถึงทุกวันนี้ ปลาร้าบอง หรือเรียก แจ่วบอง จัดเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากปลาร้า ด้วยการนำปลาร้ามาสับหรือใส่ ทั้งตัว พร้อมกับผสมกับเครื่องเทศแล้วคลุกผสมให้เข้ากันจนได้ปลาร้าบองที่มีรสเค็ม มัน และเผ็ดหรือรสอื่น ตามเครื่องปรุงที่ใส่ ปลาร้าบอง/แจ่วบอง เป็นอาหารพื้นบ้านของชาวอีสานที่เป็นต้นตำรับทำกันมาตั้งแต่สมัย โบราณตามวัฒนธรรมอีสานที่ทำปลาร้าบองสำหรับรับประทานกับข้าวเหนียว ทั้งในยามที่อยู่บ้านหรือออกทุ่ง นา ซึ่งสามารถทำได้ง่าย พกพาง่าย เพียงขนาดสองสามช้อนก็ทำให้อิ่มได้ ในช่วงแรกๆ ปลาร้าบองยังเป็น ผลิตภัณฑ์ที่ทำกันสำหรับรับประทานเฉพาะในครัวเรือน แต่ปัจจุบัน มีการพัฒนาการผลิตให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ สามารถจำหน่ายในท้องตลาดได้ด้วยการบรรจุในบรรจุภัณฑ์ชนิดต่างๆทั้งขวดแก้ว และพลาสติก พร้อมติด ฉลากยี่ห้อให้มีความน่าเชื่อถือขึ้น

ชนิดปลาร้าบอง/แจ่วบอง ตามลักษณะปลาร้าที่ใช้ 1. ปลาร้าบองสับ เป็นปลาร้าบองที่นำตัวปลาร้ามาสับให้ละเอียด ก่อนนำคลุกหรือตำผสมกับเครื่องเทศ ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งปลา ร้าที่มีขนาดใหญ่ และปลาร้าขนาดเล็ก แต่ส่วนมากมักเป็นปลาร้าที่เป็นตัวขนาดกลางถึงใหญ่ 2. ปลาร้าบองตัว เป็นปลาร้าบองที่นำทั้งตัวปลาร้ามาคลุกผสมหรือตำกับเครื่องเทศ โดยไม่มีการสับตัวปลาร้าให้ละเอียด ทั้งนี้ ปลาร้าบองชนิดนี้ นิยมใช้ปลาร้าที่เป็นปลาขนาดเล็ก และชาวอีสานนิยมทำเฉพาะปลาร้าบองดิบ ไม่นิยมทำสุก


64

ชนิดปลาร้าบอง/แจ่วบอง ตามการปรุง 1. ปลาร้าบองดิบ เป็นปลาร้าที่อาจทำได้ทั้งจากชนิดปลาร้าสับ และปลาไม่สับที่นำมาคลุกผสมเครื่องเทศ ก่อนจะรับประทาน โดยไม่มีการผ่านความร้อนหรือทำให้สุกก่อน 2. ปลาร้าบองสุก เป็นปลาร้าที่อาจทำได้ทั้งจากชนิดปลาร้าสับ และปลาไม่สับที่อาจคลุกผสมเครื่องเทศแล้วจึงนำมาผ่านความ ร้อนจนสุกหรือทำปลาร้าให้สุกก่อนนำมาคลุกผสมเครื่องเทศ ทั้งนี้ การคลุกผสมเครื่องเทศก่อนที่จะนำไปทำสุกจะทำให้ได้ปลาร้าบองสุกที่มีกลิ่นหอมมากกว่าปลาร้าบองสุก ที่ผสมเครื่องเทศทีหลัง เพราะความร้อนจะช่วยให้กลิ่นหอมของเครื่องเทศออกมามากขึ้น

วัสดุอุปกรณ์และเครื่องปรุงในการทำปลาแดกบองหรือปลาร้าสับค่ะ • • • • • • • • • •

ปลาร้า 1 กก. (เอาแต่ตัวค่ะไม่เอาน้ำค่ะ) ตะไคร้ 10 ต้น หอมแดง 1 ถ้วย กระเทียมไทย 1 ถ้วย ใบมะกรูด 30 ใบหรือ 1 ถ้วย ข่าแก่ 2 แง่ง หรือ ซอยละเอียดแล้วให้ได้ 1 ถ้วย พริกแห้ง 2 ถ้วย (ชอบทานเผ็ดค่ะ แต่ท่านไหนไม่ค่อยชอบเผ็ดค่อยๆใส่ก็ได้ค่ะไม่ต้องใส่หมด) น้ำตาลปิ๊บ 1 ช้อนโต๊ะ น้ำมะขามเปียก 2 ทัพพี ผงปรุงรส แล้วแต่ความชอบในรสชาติความนัวค่ะ


65

ด้านการตัดเย็บเสื้อ ผ้า

นางจิระวรรณ บุตตะโคษา อายุ 63 ปี บ้านเลขที่ 233 หมู่ 1 บ้านโพนค้อ ตำบลเหล่าโพนค้อ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร

ความเป็นมา การตัดเย็บเสื้อผ้า เป็นอุตสาหกรรมสิ่งทอ การตัดเย็บเสื้อผ้ามีทั้งการตัดเย็บเสื้อผ้าด้วยมือ จักรเย็บผ้า และการใช้จักรอุตสาหกรรมเข็มเดี่ยวฝีเข้มตรง สิ่งที่สำคัญอย่างมากในการประกอบอาชีพนี้คืออุปกรณ์ เครื่องใช้ที่ช่างตัดเย็บเสื้อผ้าทุกคนจะต้องเรียนรู้เรื่องอื่นๆทงานตัดเย็บเสื้อผ้านั้นต้องการความเที่ยงตรงเป็น หลัก เครื่องมือเครื่องใช้ที่ถูกต้อง เที่ยงตรงจะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงาน เกิดนิสัยที่ละเอียดถี่ถ้วน

อุปกรณ์ 1. สายวัดตัว 4. ไม้โค้งเอนกประสงค์ 7. กรรไกรตัดเส้นด้าย 10. ดินสอ 13. ลูกกลิ้ง 16. เข็มจักร 19. ด้ายเย็บ

2. ไม้บรรทัด 5. กรรไกรตัดผ้า 8. ที่เลาะผ้า 11. ยางลบ 14. กระดาษกดรอย 17. เข็มหมุดการใช้งาน 20. จักรเย็บผ้า

3. ไม้บรรทัดโค้งส่วนสะโพก 6. กรรไกรตัดกระดาษ 9. กระดาษสร้างแบบ 12. ชอล์กขีดผ้า 15. เข็มมือ 18. ด้ายเนา 21. จักรพันริม

กระบวนการ/ขั้นตอน 1. ขั้นตอนการวัดตัว เป็นการวัดขนาดเพื่อตรวจสอบความกว้าง ความยาว ความหนา ของสัดส่วน ซึ่ง การวัดตัวนี้สำคัญมาก เพราะว่าจะส่งผลถึงลักษณะของผลสำเร็จ 2. ขั้นตอนการสร้างแบบและแยกแบบ ทำได้โดยการนำสัดส่วนที่ได้วัดขนาดไว้หรือการออกแบบมา สร้างแบบตัดหรือแพ็ทเทิร์น (Pattern) ลงกระดาษสร้างแบบ ตามกระบวนการของการสร้างแบบเสื้อผ้าแต่ละ ชนิด เช่น สร้างแบบตัดเสื้อ สร้างแบบตัดกระโปรง สร้างแบบตัดกางเกง เป็นต้น


66 3. ขั้นตอนการคำนวณผ้า เลือกผ้า การตัดเย็บเสื้อผ้านั้นเราควรคำนวณผ้าให้ถูกต้องเพื่อความ ประหยัดและเลือกผ้าให้เหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอย โดยคำนึงถึงคุณสมบัติของผ้า ซึ่งผลิตจากเส้นใยแต่ละ ชนิด เช่น ผ้าฝ้าย จะเป็นผ้าที่ได้จากเส้นใยของเมล็ดฝ้าย ซับน้ำได้ดี ทนต่อความร้อนสูง แต่ยับง่าย, ผ้าไนลอน เป็นผ้าใยสังเคราะห์ ไม่ทนต่อความร้อนและแสงแดด จับจีบได้ คงรูป เป็นต้น 4. ขั้นจัดเตรียมผ้า เป็นการจัดเตรียมวัสดุที่เกี่ยวข้องกับการเย็บทุกชนิด เช่น เข็ม ด้าย กรรไกร ผ้า จักรเย็บผ้าบริเวณปฏิบัติงาน และแสงสว่าง เป็นต้น 5. ขั้นตอนการวางแบบตัดและตัดผ้า ในขั้นตอนนี้ควรระมัดระวัง โดยอ่านรายละเอียดบนแบบตัด การทำเครื่องหมายต่างๆ ที่เขียนไว้ และกดรอยผ้าเส้นเย็บทุกเส้น เพื่อเป็นเครื่องหมายหรือเป็นเส้นแนวในการ เย็บ 6. ขั้นตอนการตรวจสอบคุณภาพ เป็นการตรวจสอบคุณภาพของงาน ซึ่งในการตรวจสอบคุณภาพ ของงานตัดเย็บเสื้อผ้าที่สวยงาม ไม่ผิดพลาด ควรตรวจสอบทั้งขณะทำการเย็บ เช่น เนาลองตัว ตรวจสอบการ ประกอบการเย็บทุกขั้นตอน ตรวจสอบความเรียบร้อยของตะเข็บ เป็นต้น 7. ขั้นตอนการแก้ไขจุดบกพร่อง ในการตัดเย็บผ้าทุกชนิด เมื่อพบข้อบกพร่องไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ ควร ดำเนินการแก้ไขเพื่อให้ได้ผลงานที่สวยงาม

ภาพประกอบด้านการตัดเย็บเสื้อ ผ้า


67


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.