รายงานการแก้ปัญหาการตกค้างของสารเคมีในผลผลิตทางการเกษตร

Page 1

สั มมนาแบ่ งกลุ่มระดมสมอง เรื่อง การแก้ ปัญหาการปนเปื้ อนหรือตกค้ างของสารเคมี ในกระบวนการผลิตด้ านเกษตรกรรม ของ อปท. ตัวอย่ างกรณีศึกษา อบต.คลองเขือ่ น อ.คลองเขือ่ น จ.ฉะเชิงเทรา โดยกลุ่มที่ 1 และ กลุ่มที่ 2

หลักสู ตร นักบริหารงานการเกษตร รุ่นที่ 1 อบรมระหว่ างวันที่ 1 – 26 สิ งหาคม 2559

สถาบันพัฒนาบุคลากรท้ องถิ่น คลองหนึ่ง กรมส่ งเสริมการปกครองท้ องถิ่น กระทรวงมหาดไทย อาเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12110


กลุ่มกิจกรรมที่ 1 รายชื่อ สมาชิกกลุม่ 1. นางกันทรารมย์ บุญวิเศษ 2. นางกาญจนาภรณ์ แสนประสิทธิ์ 3. นายกาธร โทแก้ว 4. นายกิตติชัย สุปัญบุตร 5. นางสาวกุลศิริ เกษรมาลา 6. นางกุสุมา ทรงโคตร 7. นายเกียรติศักดิ์ ขันทีท้าว 8. นางสาวขวัญนภัส จันใด 9. นางคนึงนิต สุดสะอาด 10. นางสาวจงจิต ไชยเฉลิม 11. นางจินดารัตน์ ภูธนกาล


กลุ่มกิจกรรมที่ 2 รายชื่อ สมาชิกกลุม่

1. น.ส.จุฑาพร แก่นอ้วน 2. น.ส.จุฑาพรรณ ใสยัน 3. น.ส.จุฬาวัลย์ พึ่งภพ 4. น.ส.โฉมศิริ แก้วเกตุ 5. นายชนาธิป ขวัญมา 6. นายชยานันต์ โยธาชัย 7. นายชัยนุชิต ภูโยสาร 8. น.ส.ชุตมิ า กอผจญ 9. นายณัฐวุฒิ เชื้อเมืองพาน 10. น.ส.ดารัตน์ สารวมรัมย์


คานา รายงานการระดมสมอง การแก้ปัญหาการปนเปื้อนหรือตกค้างของสารเคมีในกระบวนการ ผลิตด้านเกษตรกรรม ในพื้นที่ที่ นักบริหารการเกษตร รุ่นที่ 1 กลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 ปฏิบัติงาน ซึ่งมี พื้นที่อปท.ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จานวน 14 แห่ง ภาคเหนือ 4 แห่ง ภาคตะวัน ออก 1 แห่ง และภาคใต้ 1 แห่ง และ พื้นที่กรณีศึกษา อบต.คลองเขื่อน อาเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่ง ได้รวบรวมข้อมูลจากสมาชิกทั้งกลุ่ม 1 และ กลุ่ม 2 จานวน 21 คน โดยสมาชิกทั้งสองกลุ่มได้ร่วมกัน ประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) และตอบแบบสอบถาม เพื่อระดมสมองวิเคราะห์ข้อมูล การทา การเกษตร การใช้สารเคมีการเกษตรในพื้นที่ โรคพืชที่ระบาดในพื้นที่ แมลงศัตรูพืชที่พบและเป็น ปัญหาในพื้นที่ สัตว์ศัตรูพืชที่พบ การอบรมให้ความรู้เพื่อสร้างความตระหนักของเกษตรกรในการใช้ สารเคมีทางการเกษตร และการตรวจการตกค้างของสารเคมีทางการเกษตร ของอปท.ต่างๆ ทั้ง 21 แห่ง รวมทั้งได้ยกตัวอย่างกรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตาบลคลองเขื่อน อาเภอคลองเขื่อน จังหวัด ฉะเชิ ง เทรา ในการแก้ ไ ขปั ญ หาการปนเปื้ อ นหรื อ ตกค้ า งของสารเคมี ใ นกระบวนการผลิ ต ด้ า น เกษตรกรรม คณะผู้ จั ดทาหวังเป็น อย่างยิ่งว่ารายงานเรื่อง การแก้ ปัญหาการปนเปื้อนหรือตกค้างของ สารเคมีในกระบวนการผลิตด้านเกษตรกรรม ฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาการตกค้าง ของสารเคมีในกระบวนการผลิตด้านเกษตรกรรมของอปท. อื่นต่อไป อย่างไรก็ตามรายงานการระดม สมองฉบับนี้อาจมีข้อบกพร่องและความไม่สมบูรณ์ของเนื้อหาอยู่บ้างบางประการ ซึ่งคณะผู้จัดทาขอ อภัยไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย นักศึกษากลุ่มที่ 1 และ กลุ่มที่ 2 หลักสูตร นักบริหารงานการเกษตร รุ่นที่ 1 คณะผู้จัดทา 19 สิงหาคม 2559


สารบัญ หน้า บทที่ 1 บทนา ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ของการศึกษา ขอบเขตของการศึกษา ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ บทที่ 2 กรอบแนวคิด ทฤษฎี และเอกสารทีเ่ กีย่ วข้อง การใช้สารเคมีทางการเกษตร พิษภัยสารเคมีทางการเกษตร สารพิษตกค้างในผลผลิตทางการเกษตร กรอบแนวคิดในการศึกษา บทที่ 3 วิธีดาเนินการศึกษา สถานทีด่ าเนินศึกษา แหล่งข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์และนาเสนอข้อมูล บทที่ 4 ผลการศึกษา ผลการศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะ บทที่ 5 บทสรุป และข้อเสนอแนะ บทสรุป ข้อเสนอแนะ ภาคผนวก เอกสารอ้างอิง

1 2 2 2 4 7 12 14 15 15 15 16 17 23 24 26 42


สารบัญภาพ

หน้า ภาพที่ 1 กรอบแนวคิดที่ใช้ในการศึกษา

14


1

บทที่ 1 บทนา 1. ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา วิกฤตอาหารในสังคมไทยที่สาคัญไม่ใช่เรื่องอาหารไม่เพียงพอ แต่เป็นเรื่องของความไม่ ปลอดภัยของอาหาร จากการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจและสังคมไทยส่ง ผลต่อสถานการณ์ ความมั่นคงและความปลอดภัยของอาหาร ในการผลิตอาหารพบว่า กระบวนการผลิตทางการเกษตร เป็นการผลิตที่ใช้สารเคมีการเกษตรในปริมาณสูง จากข้อมูลของกรมวิชาการเกษตรพบว่า การนาเข้า สารเคมีป้องกันและกาจัดศัตรูพืชสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2555 มีการนาเข้าจานวน 134,480 ตัน มีมูลค่าสูงถึง 19,378 ล้านบาท คิดเป็นต้นทุนที่มากกว่า 1 ใน 3 ของต้นทุนการผลิตของเกษตรกร และข้อมูลของสานักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 ได้ตรวจสอบสารพิษตกค้างในผลผลิตทาง การเกษตรเขตภาคอีสานตอนบนในผลผลิตพืช 85 ชนิด จานวน 4,338 ตัวอย่าง ระหว่างปี 2551 – 2554 พบว่าสารพิษตกค้างในปริมาณที่ปลอดภัย 878 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 20 ของตัวอย่าง ทั้งหมด และพบสารพิษตกค้างเกินค่าความปลอดภัย 157 ตัวอย่าง คิดเป็น ร้อยละ 4 ของตัวอย่าง ทั้งหมด จากสถานการณ์การใช้ส ารเคมีทางการเกษตรของประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่ มสูงขึ้นทุกปี ในขณะที่ พื้นที่การเพาะปลูกยังคงมีอยู่เท่าเดิม ซึ่งเป็นการบ่งชี้ว่าเกษตรกรของไทยมีปริมาณการใช้ สารเคมีทางการเกษตรต่อไร่เพิ่มสูงขึ้น แม้ว่าสารเคมีทางการเกษตรจาพวกปุ๋ยจะเป็นประโยชน์ต่อการ เจริ ญเติบ โตของพืช อาหาร ช่ว ยลดความเสี่ ยง ในเรื่องความเสี ย หายต่อผลผลิ ต ทาให้ ผ ลิ ตภั ณฑ์ ทางการเกษตรเพิ่มสูงขึ้น สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร และเศรษฐกิจของประเทศ แต่การใช้สารเคมีที่ มากเกินความจ าเป็น และไม่ถูกต้องเหมาะสมก็จะทาให้ เกิดผลกระทบด้านต่างๆ กล่าวคือ ด้าน สุขภาพ พบว่า ในปี 2550 มีเกษตรกรที่มีความเสี่ยงและ ไม่ปลอดภัยจากสารเคมีกาจัดศัตรูพืชถึงร้อย ละ 39 ด้านสิ่งแวดล้อม พบการตกค้างของสารเคมี ในสิ่งแวดล้อม ส่วนในด้านผลผลิตทางการเกษตร ก็พบมีสารพิษตกค้างเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามแม้ว่าประเทศไทยและนานาประเทศได้พยายามกาหนดกลไก ในการควบคุม การใช้ส ารเคมี ทางการเกษตรให้ มีป ริม าณลดลงและเกิ ดความปลอดภัย ในการใช้ มากยิ่ งขึ้ น แต่ ผลกระทบเชิงลบ ใน ด้านต่างๆ ของประเทศไทยยังคงมีสถิติเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นเพื่อลดผลกระทบ เชิงลบจากการ ใช้สารเคมีทางการเกษตร ทุกภาคส่วนควรช่วยกัน โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วน ท้ อ งถิ่ น ซึ่ ง เป็ น หน่ ว ยงานของรั ฐ ที่ อ ยู่ ใ กล้ ชิ ด ประชาชนมากที่ สุ ด ควรสร้ า งความตระหนั ก รู้ ถึ ง ผลกระทบเชิงลบและปัญหาที่เกิดขึ้นจากการตกค้างของสารเคมีในผลผลิต ในการใช้สารเคมี ทาง การเกษตรที่มากเกินความจาเป็นและไม่เหมาะสม รวมทั้งร่วมกันปลูกฝังจิตสานึกความรับผิดชอบ สาหรับทุกคนที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่การผลิตอาหารและการเกษตร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเผยแพร่ ความรู้ในการใช้สารเคมีทางการเกษตรที่ถูกต้องและเหมาะสมแก่เกษตรกร รวมทั้งส่งเสริมการเรียนรู้ และรณรงค์ ใ ห้ เ กษตรกรปฏิ บั ติ ต ามมาตรฐานการปฏิ บั ติ ทางการเกษตรที่ ดี ส าหรั บ พื ช ( Good


2

Agricultural Practice : GAP) ส่งเสริมให้องค์กรผู้บริโภคหรือหน่วยงานที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับ การคุ้มครองผู้บริโภค มีบทบาทในการเข้ามากาหนดมาตรฐาน และกฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่อให้ผลผลิต ทางการเกษตรปราศจาก สารพิษตกค้าง แม้ว่าสารเคมีทางการเกษตรจะมีประโยชน์ต่อการควบคุมการระบาดของโรคและแมลง ศัตรูพืชได้ระดับหนึ่ง แต่ก็มีความเป็นพิษโดยตัวสารเคมีเองอยู่ด้วย ประกอบกับการใช้สารเคมี ที่ไม่ ถูกต้องของตัวเกษตรกร และการใช้ที่มากเกินความจาเป็น รวมทั้งการใช้โดยปราศจากนโยบาย และมาตรการทางกฎหมายที่ควบคุมอย่างเข้มงวด จึงส่งผลกระทบให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพเกษตรกร และผู้บริโภค เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเป็นปัจจัยที่ทาให้เกิดความสุญเสียทางเศรษฐกิจในระยะ สั้นและระยะยาว เหตุดังกล่าวจึงมีความจาเป็นต้องระดมสมองเพื่อศึกษาวิธีในการแก้ปัญหาสารเคมี ตกค้างในผลผลิตทางการเกษตร ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งยกตัวอย่าง กรณีศึกษามา ประกอบ เพื่อ ให้เกิด แนวทางที่ชัดเจนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการแก้ไขปัญหาสารเคมี ตกค้างในผลผลิตการเกษตรต่อไป 2. วัตถุประสงค์ของการศึกษา 2.1 เพื่อศึกษาการใช้สารเคมีการเกษตรในเขตพื้นที่การเกษตร ที่นักศึกษานักบริหาร การเกษตร รุ่นที่ 1 กลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 ปฏิบัติงาน 2.2 เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและการแก้ไขปัญหาสารเคมีตกค้างในกระบวนการผลิตด้าน เกษตรกรรม ในเขตพื้นที่ที่นักศึกษานักบริหารการเกษตร รุ่นที่ 1 กลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 ปฏิบัติงาน 3.

ขอบเขตของการศึกษา ในการศึกษาครั้งนี้ คณะผู้ศึกษาได้กาหนดเนื้อหาไว้ 2 ประเด็น คือ 3.1 ขอบเขตด้านเนื้อหา 3.1.1 แนวทางการดาเนินงาน เกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย 3.1.2 พิษภัยสารเคมีเกษตร 3.1.3 สารพิษตกค้างในผลผลิตทางการเกษตร 3.1.4 พ.ร.บ.วัตถุอันตราย 3.2 ขอบเขตด้านพื้นที่ คณะผู้ศึกษากาหนดขอบเขตด้านพื้นที่ไว้ที่ พื้นที่ในเขต รับผิดชอบของนักศึกษา นักบริหารการเกษตร รุ่นที่ 1 กลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 ปฏิบัติงาน จานวน 21 คน ซึ่งมีพื้นที่อปท. ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จานวน 14 แห่ง ภาคเหนือ 4 แห่ง ภาค ตะวันออก 2 แห่ง และ พื้นที่กรณีศึกษา อบต.คลองเขื่อน อาเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา 4. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 4.1 จะได้ ท ราบปั ญ หาการปนเปื้ อ นหรื อตกค้า งของสารเคมี ในกระบวนการผลิ ต ด้ า น เกษตรกรรม ในพื้นที่ที่นักศึกษา นักบริหารการเกษตร รุ่นที่ 1 กลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 ปฏิบัติงาน ซึ่ง มีพื้นที่อปท.ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จานวน 14 แห่ง ภาคเหนือ 4 แห่ง ภาคตะวันออก 2 แห่ง และพื้นที่กรณีศึกษา อบต.คลองเขื่อน อาเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา


3

4.2 จะได้ทราบแนวทางแก้ไขปัญหา การปนเปื้อนหรือตกค้างของสารเคมีเกษตร ใน กระบวนการผลิต ด้านเกษตรกรรม ในพื้นที่ที่นักศึกษา นักบริหารการเกษตร รุ่นที่ 1 กลุ่มที่ 1 และ กลุ่มที่ 2 ปฏิบัติงาน ซึ่งมีพื้นที่อปท.ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จานวน 14 แห่ง ภาคเหนือ 4 แห่ ง ภาคตะวั น ออก 1 แห่ ง และพื้ น ที่ ก รณี ศึ ก ษา อบต.คลองเขื่อ น อ าเภอคลองเขื่ อ น จั ง หวั ด ฉะเชิงเทรา


4

บทที่ 2 กรอบแนวคิด ทฤษฎีและเอกสารที่เกี่ยวข้อง การศึกษา เรื่อง การแก้ปัญหาการปนเปื้อนหรือตกค้างของสารเคมีในกระบวนการผลิต ด้ า นเกษตรกรรม ของอปท.ตั ว อย่ า งกรณี ศึ ก ษา อบต.คลองเขื่ อ น อ าเภอคลองเขื่ อ น จั ง หวั ด ฉะเชิงเทรา จะได้ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ จาเป็นต้องมีการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ ยวข้อง ใน บทนี้จะได้กล่าวถึงแนวคิด ทฤษฎี เอกสาร และกฏหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อนาผลมาวิเคราะห์ มาสรุป เป็นกรอบแนวคิดในการศึกษา โดยมีรายละเอียดตามลาดับต่อไปนี้ 1. การใช้สารเคมีทางการเกษตร 2. พิษภัยสารเคมีเกษตร 3. สารพิษตกค้างในผลผลิตการเกษตร 4. กรอบแนวคิดในการศึกษา 1. การใช้สารเคมีทางการเกษตร ปัจจุบันเกษตรกรมีการใช้สารเคมีกาจัดศัตรูพืชกันมากขึ้น เพราะต้องการให้ผลผลิตของตนที่ เพาะปลูกไว้ปราศจากโรคและแมลงมาทาลายจนก่อให้เกิดความเสียหาย สารเคมีกาจัดศัตรูพืชที่เลือก ใช้บางครั้งก็ไม่ตรงกับศัตรูพืชที่มารบกวนหรือใช้ผสมรวมกันหลากหลายชนิดและที่สาคัญสารแต่ละ ชนิด ที่ใช้มีความเป็นพิษร้ายแรงสูง อาจทาให้เกษตรกรได้รับอันตราย เกิดอาการและความเจ็บป่ว ย ต่างๆ ตามไปด้วยผู้บริโภคที่ซื้อผลผลิตของเกษตรกรมารับประทานก็อาจจะได้รับอันตรายตามไปด้วย นอกจากนี้การใช้สารเคมีกาจัดศัตรูพืชมากเกินความจาเป็นหรือไม่รู้จักวิธีการกาจัดหรือ ทาลายอย่างถูกต้องสารเคมีกาจัดศัตรูพืชนั้นก็อาจสะสมลงบนพื้นดินแม่น้าลาคลองส่งผล กระทบต่อ สิ่งแวดล้อมในชุมชนของตนและบริเวณใกล้เคียงได้ ดังนั้นเกษตรกรควรที่จะทาความเข้าใจอย่างถ่อง แท้เกี่ยวกับสารเคมีกาจัด ศัตรูพืช ตั้งแต่การเลือกซื้อการผสม การฉีดพ่น และการกาจัดหรือ ทาลาย อย่างถูกต้อง สารเคมีกาจัดศัตรูพืช หมายถึง สารหรือส่วนประกอบของ สารที่ ได้จากการสังเคราะห์ขึ้น หรื อ อาจสกัดจากธรรมชาติออกมาในรูปของสารเคมี มีประสิทธิภาพในการป้องกันควบคุมและทาลาย ศั ต รู พืช (แมลงและวัชพืช) ศัตรูสัตว์(เชื้อโรคแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะนาโรค เช่นหนู แมลงสาบเป็นต้น สารเคมีกาจัดศัตรูพืชสามารถแบ่งออกได้หลายประเภท ดังนี้ 1. สารกาจัดแมลง ได้แก่ สารที่ใช้ป้องกันกาจัด หรือขับไล่ศัตรูพืชและสัตว์เช่นสารในกลุ่มออร์กา โนคลอรีน ออร์กาโนฟอสเฟต คาร์บาเมท ไพรีทรอยด์ฯลฯ 2. สารกาจัดวัชพืช ได้แก่ สารที่ใช้ทาลายวัชพืช ที่แย่งน้าแย่งอาหาร และแสงสว่างจากพืชเพาะปลูก สารกลุ่มนี้ที่ใช้กันแพร่หลายได้แก่ พาราควอท ฯลฯ


5

3. สารกาจัดเชื้อรา ได้แก่สารที่ใช้ป้องกันและฆ่าเชื้อราเช่น แคปแทน ฯล 4.สารกาจัดหนูหรือสัตว์กัดแทะอื่นๆ เช่น ซิงค์ฟอสไฟด์วอร์สฟาริน ฯลฯ สารเคมีกาจัดศัตรูพืชที่เกษตรกรนิยมใช้ ในปัจจุบันมีอยู่มากมายหลายชนิดหลากหลายชื่อ การค้าบางครั้งเกษตรกรใช้สารเคมีผสมรวมๆกันเพราะมีความเชื่อว่าจะได้ผลดี แ ต่ บ า ง ค รั้ ง ก็ ไ ม่ ทราบว่าเป็นชนิดเดียวกันและยังเป็นชนิดที่มีความเป็นพิษสูง เกษตรกรจึ ง มี โ อกาสเสี่ ย งที่ จ ะได้ รั บ อันตรายจากสารเคมีกาจัดศัตรูพืชมากยิ่งขึ้นดังนั้นเกษตรกรจึงต้องรู้ว่าสารเคมีกาจัดศัตรูพืชที่ตนใช้ นั้นมีความเป็นพิษอยู่ ในระดับใดโดยตรวจสอบได้จากชื่อสามัญที่ฉลาก ติ ด ภาชนะที่ บ รรจุ ส ารเคมี กาจัดศัตรูพืชนั้นๆแล้วนาไปสอบถามหรือขอข้อมูลจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจาสถานีอนามัย ระดับความเป็นพิษสามารถแบ่งออกได้ดังนี้ ระดับหนึ่งเอ หมายถึง สารเคมีกาจัดศัตรูพืชที่มีความเป็นพิษร้ายแรงยิ่ง ระดับหนึ่งบี หมายถึง สารเคมีกาจัดศัตรูพืชที่มีความเป็นพิษร้ายแรง ระดับสอง หมายถึง สารเคมีกาจัดศัตรูพืชที่มีความเป็นพิษปานกลาง ระดับสาม หมายถึง สารเคมีกาจัดศัตรูพืชที่มีความเป็นพิษเล็กน้อย ระดับสี่ หมายถึง สารเคมีกาจัดศัตรูพืชที่มีความเป็นพิษน้อยมาก นอกจากนี้เราสามารถดูระดับความเป็นพิษของสารเคมีได้จากสี ของฉลากภาชนะบรรจุได้แก่ ฉลากสีแดงแสดงถึงความเป็นพิษร้ายแรงยิ่งหรือร้ายแรงฉลากสีเหลืองแสดงถึงความเป็นพิษปานกลาง ฉลาก สีน้าเงินแสดงถึงความเป็นพิษเล็กน้อยอย่างไรก็ตามเมื่อเกษตรกร ทราบว่าสารเคมีที่ ใช้อยู่มี ความเป็นพิษอยู่ระดับไหน ทาให้สามารถ เลือกใช้สารเคมีชนิดอื่นที่มีคุณสมบัติในการทาลายศัตรูพืช เหมือนกันแต่มีความเป็นพิษต่ากว่าเพื่อความปลอดภัยของเกษตรกรเอง นอกจากการดูระดับ ความ เป็นพิษแล้ว เกษตรกรควรใช้สารเคมีกาจัดศัตรูพืชที่ตรงกับศัตรูพืชที่พบหรืออาจเลือกใช้สารชีวภาพ ในการกาจัดศัตรูพืชแทนการปลูกพืชหมุนเวียนการใช้แมลง เช่น ตัวห้ า ตัว เบียน กาจัดศัตรูพืช แทนการใช้สารเคมีเกษตรกรสามารถศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสารเคมีกาจัดศัตรูพืช ไ ด้ จ า ก ฉ ล า ก ติ ด ภาชนะบรรจุซึ่งจะมีข้อมูลเกี่ยวกับระดับความเป็นพิษอาการภายหลังจากการได้รับสารเคมี การปฐม พยาบาลเบื้องต้น วิธี ก ารป้ องกั น อัน ตรายอุ ปกรณ์ป้ อ งกัน อั นตรายส่ ว นบุ ค คลที่ ต้ องใช้ วิธี ก ารและ ขั้นตอนต่างๆเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินเช่น กรณีสารเคมีหกรด เปรอะเปื้อน หรือเกิดไฟไหม้ เป็นต้น เกษตรกรอาจได้รับอันตรายจากสารเคมีกาจัดศัตรูพืชเข้าสู่ร่างกายได้ 3 ทางคือ 1.ทางปาก การได้รับสารเคมีฯเข้าทางปากอาจเกิดขึ้นจากการทางานที่ไม่ปลอดภัย เช่นการดูดหรือเป่าหัวฉีดพ่น การดื่มหรือรับประทาน อาหารที่ปนเปื้อนสารเคมีโดยไม่ตั้ งใจฯลฯ สารเคมีจะเข้าสู่ระบบทางเดิน อาหารไปสู่กระเพาะอาหาร ถ้ามีกากอาหารอยู่พิษอาจลดลง และขั บ ออกจากร่ า งกายได้ โดยการ ขับถ่ายทางอุจจาระหรือปัสสาวะ แต่ถ้ามีการดูดซึมเข้าสู่ระบบโลหิตจะเกิดอันตรายขึ้น ซึ่งอันตรายจะ ขึ้นกับปริมาณของสารที่ได้รับ รวมทั้งอาจมีการสะสมในเนื้อเยื่อไขมันของตับไตหรือสมองได้ อย่างไร ก็ตามหากเกษตรกรปฏิบั ติตามวิธีใช้อย่างแท้จริงโอกาสที่สารเคมีจะเข้าทางปากเกิดได้น้อยมาก 2.ทางการหายใจสารเคมีที่ เข้ าสู่ ร่า งกายทางการหายใจนั้ น อาจอยู่ใ นรู ปฝุ่ นผงหรือ ละอองของ สารละลาย(สารเคมีกาจัดศัตรูพืชที่ผสมกับน้าหรือน้ายาอื่นๆ)ฝุ่นที่มีขนาดเล็กเข้าสู่ทางเดินหายใจได้ มากกว่าฝุ่นที่มีขนาดใหญ่เกษตรกรควรสวมหน้ากากที่สามารถป้องกั นสารเคมีหากทางานในบริเวณที่ มีการฉีดพ่นสารเคมีกาจัดศัตรูพืช เพื่อป้องกันอันตรายจากการได้รับทางการหายใจ 3.ทางผิวหนังเป็น ทางที่สารเคมีเข้าสู่ร่างกายได้มากที่สุดโดยสารเคมีจะซึมผ่านเข้าทางผิวหนังโดยการสัมผัสสารเคมี


6

ในขณะผสมขณะฉีดพ่นหรือขณะล้ างอุปกรณ์ล ะอองสารเคมีเหล่ านี้จะสัมผัส ผิว หนังและซึมเข้าสู่ ร่างกายโดยเฉพาะสารเคมีในกลุ่มที่สามารถละลายในไขมันได้ดี ซึมผ่านได้ง่าย เหตุการณ์ต่างๆที่เกษตรกรอาจได้รับอันตรายจากสารเคมีกาจัดศัตรูพืชสามารถเกิดขึ้นได้ ดังต่อไปนี้ 1. ในขณะเตรียมผสมสารเคมีกาจัดศัตรูพืช 2. ในขณะกาลังฉีดพ่นสารเคมีกาจัดศัตรูพืช 3. ในขณะซื้อมาจากร้านขายแล้วมาจัดเก็บไว้ที่บ้าน 4. ในขณะตรวจเช็คอุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้กับสารเคมีกาจัดศัตรูพืช 5. ในขณะเข้าไปในแปลงเพาะปลูกภายหลังจากการฉีดพ่น 6. ในขณะที่กาลังทาความสะอาดสารเคมีกาจัดศัตรูพืชหกเปรอะเปื้อน 7. ในขณะที่นาภาชนะบรรจุสารเคมีไปทาลายทิ้ง มิใช่แต่เพียงตัวเกษตรกรเองเท่านั้นที่อาจได้รับอันตรายคนในครอบครัวเพื่อนบ้าน และผู้ที่ อยู่ ใ กล้ เ คี ย งก็ อ าจได้ รั บ อั น ตรายตามไปด้ ว ย เกษตรกรมี โ อกาสได้ รั บ สารเคมี อ ยู่ ต ลอดเวลาจา กระบวนการ ต่างๆ ในการใช้สารเคมีตั้งแต่การเตรียม การฉีดพ่น การจัดเก็บ และการทาลาย วิธีการ ป้องกันที่ดีที่สุดก็คือ การหลีกเลี่ยงการสัมผั สสารเคมีกาจัดศัตรูพืช โดยอันตรายการได้รับสารเคมี กาจัดศัตรูพืชเกิดขึ้นได้เสมอ แม้ว่าจะเลือกใช้สารเคมีกาจัดศัตรูพืชที่มีระดับความเป็นพิษน้อยก็ตาม ควรหาวิธีป้ อง กันหากพบว่ากาลั งสั มผั ส สารเคมีกาจัดศัตรูพืช โดยตรง การฉีดพ่นสารเคมีกาจัด ศัตรูพืชบ่อยๆและ ใช้ สารเคมีกาจัดศัตรูพืชรวมๆกันหลายชนิด จะเป็นการเพิ่มอันตรายจากการได้รับ สารเคมีกาจัดศัตรูพืช วิธีปฏิบัติตนในการฉีดพ่นสารเคมีกาจัดศัตรูพืช การปฏิบัติตนก่อนการฉีดพ่นควรปฏิบัติดังนี้ 1.ก่ อ นที่ จ ะใช้ ส ารเคมี ก าจั ด ศั ต รู พื ช ควรอ่ า น ฉลากที่ติดมากับภาชนะบรรจุสารเคมีนั้นให้เข้าใจเกี่ยวกับวิธีใช้ขนาดปริมาณวิธีการป้องกันอันตราย และวิธีแก้พิษเป็นต้น 2.ผสมสารเคมีกาจัดศัตรูพืชให้ถูกต้องตามอัตราส่วนที่ระบุในฉลากสารเคมีกาจัด ศั ต รู พื ช หลายๆชนิ ด สามารถผสมใช้ ร่ ว มกั น ได้ แ ต่ ต้ อ งแน่ ใ จว่ า ผสมอย่ า งถู ก ต้ อ งได้ สั ด ส่ ว นอย่ า ง เหมาะสมและต้องเตรียมน้าสะอาดไว้เพียงพอสาหรับการชาระล้างร่างกายในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น เช่นสารเคมีกระเด็นเข้าตา หรือหกเปรอะเปื้อนร่างกาย เป็นต้น 3.ขณะทาการผสมสารควรกันบุคคลที่ ไม่เกี่ยวข้องให้พ้นจากบริเวณนั้น 4.ขณะผสมสารไม่ควรใช้มือเปล่ากวนควรใช้ไม้หรือวัสดุอื่นแทน และ ควรสวมถุงมือทุกครั้งในขณะตวงหรือรินสาร 5.สวมเสื้อผ้าอุปกรณ์ป้องกันในขณะทาการผสมสารเคมี เช่น ถุงมือ เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว ฯลฯ 6. สารเคมีกาจัดศัตรูพืชทุกชนิดควรบรรจุในภาชนะที่ บรรจุมาแต่เดิม ถ้าจะถ่ายใส่ภาชนะใหม่ต้องปิดป้ายบอกชัดเจนว่าเป็นสารเคมีอะไร เพื่อป้องกันการ หยิบผิด และภาชนะใหม่ที่บรรจุต้องแน่ใจว่าปิดฝาสนิทไม่มีการรั่วซึมออกนอกภาชนะภายนอก 7. ห้ามกินอาหาร น้า หรือสูบบุหรี่ในขณะทาการผสมสารเคมี 8.หลีกเลี่ยงและระมัดระวังมิให้สารเคมีหก เลอะเทอะ ถ้าเกิดเหตุดังกล่าวให้รีบล้างด้วยสบู่และน้ามากๆทันที 9.สารเคมีกาจัดศัตรูพืชที่ผสมให้ พอดีหมดในครั้งเดียวแล้วหากใช้ไม่หมดควรจัดเก็บให้มิดชิดห่างไกลจากเด็กสัตว์เลี้ยงและไม่ปนเปื้อน แหล่งน้าหรืออาหาร 10. ตรวจเช็คอุปกรณ์การฉีดพ่นให้อยู่ในสภาพดีไม่ชารุดก่อนที่จะนาไปฉีดพ่น


7

การปฏิบัติตนขณะทาการฉีดพ่นควรปฏิบัติดังนี้ 1. สวมเสื้อผ้ามิดชิดเช่นกางเกงขายาวเสื้อ แขนยาวสวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เช่น หน้ากากที่มีไส้กรองอากาศ ถุงมือ หมวก เป็นต้น 2. ไม่ควรรับประทานอาหาร ดื่มน้า หรือสูบบุหรี่ ในขณะฉีดพ่นหรือในบริเวณที่ทาการฉีดพ่น 3.ขณะ ฉีดพ่นควรกันบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องให้พ้นจากบริเวณนั้น 4.ไม่ควรฉีดพ่นในขณะที่ลมแรงหรือฝนตกและ ควรยืนอยู่เหนือลมเสมอ 5.ห้ามใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่มีการรั่วซึมของสารในขณะทาการฉีดพ่น 6.ในกรณีที่หัวฉีดเกิดการอุดตันห้ามใช้ปากเป่าหัวฉีดพ่นนั้น ส่วนการปฏิบัติตนหลังทาการฉีดพ่นควร ปฏิบัติตัวดังนี้ 1.ในกรณีที่เกษตรกรมีการสัมผั สสารเคมีฯ ทางผิ ว หนังให้ ทาการล้ างช าระด้วยน้า สะอาดนานๆอย่างน้อย 15 นาที รีบอาบน้า ฟอกสบู่ เปลี่ยนเสื้อผ้าที่สะอาดทันที 2.การซักชุดที่ใส่ฉีด พ่นควรแยกซักจากเสื้อผ้าอื่นๆ และไม่นาชุดสวมใส่สาหรับฉีดพ่นสารเคมีมาใช้สวมใส่ ในกรณีอื่นๆ3. ชาระล้างอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ โดยแยกชาระล้างจากอุปกรณ์เครื่องมือปกติทันที 4. ไม่เข้าไปใน บริเวณที่ฉีดพ่นสารเคมีในระยะเวลาที่ ไม่ปลอดภัย 5.ไม่เก็บพืชผักมาขายหรือรับประทานก่อนเวลาที่ กาหนดไว้ในฉลาก 2. พิษภัยสารเคมีทางการเกษตร ผู้บริโภคส่วนใหญ่เลือกซื้ออาหารออร์แกนิค (อาหารที่ผลิตจากระบบเกษตรอินทรีย์) ก็เพราะ ความเป็นห่ วงในเรื่องพิษภัยจากสารเคมีการเกษตรที่ตกค้างปนเปื้อนในผลผลิตอาหารที่ผลิตจาก ระบบเกษตรทั่วไป แม้ว่าหน่วยงานราชการจะได้พยายามควบคุมการผลิตอาหารให้มีความปลอดภัย โดยการออกมาตรการต่างๆ แต่เนื่องจากการควบคุมตรวจตราที่ยังมีช่องโหว่ ทาให้ผลิตภัณฑ์อาหารที่ วางขายอยู่ทั่วไปยังมีปัญหาการปนเปื้อนสารเคมีการเกษตรอยู่มาก ทั้งปุ๋ยเคมี สารเคมีกาจัดศัตรูพืช สารเร่งการเจริญเติบโต สารเคมีกาจัดศัตรูพืชในทางการเกษตร ที่มีการจาหน่ายทางการค้า มีกว่า 1,000 ชนิ ด ซึ่ง แบ่ งออกเป็ น กลุ่ มใหญ่ ๆ ตามชนิ ดของสิ่ ง มีชีวิ ตที่ ใช้ ในการควบคุ มและกาจัด คื อ สารเคมีกาจัดแมลง สารป้ องกันกาจัดวัช พืช สารป้องกันกาจัดเชื้อรา สารกาจัดหนูและสัตว์แทะ สารเคมีกาจัดหอยและปู เป็นต้น 1. สารเคมีกาจัดแมลง สารเคมีกาจัดแมลงเป็นสารเคมีการเกษตรที่มีจานวนชนิดมากที่สุด สารเคมีกาจัดแมลงแบ่ง ออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ตามชนิดของสารเคมีได้ 4 ประเภท คือ 1.1 กลุ่มออร์กาโนคลอไรน์ ซึ่งเป็นกลุ่มของสารเคมี ที่มีคลอรีนเป็นองค์ประกอบ สารเคมีกาจัดแมลงในกลุ่มนี้ที่นิยมใช้กันมาก คือ ดีดีที (DDT), ดีลดริน (dieldrin), ออลดริน (aldrin), ท็อกซาฟีน (toxaphene), คลอเดน (chlordane), ลินเดน (lindane), เอนดริน (endrin), เฮป ตาครอ (heptachlor) เป็นต้น สารเคมีในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นสารเคมีที่มีพิษไม่เลือก (คือเป็นพิษต่อ แมลงทุกชนิด) และค่อนข้างจะสลายตัวช้า ทาให้พบตกค้างในห่วงโซ่อาหารและสิ่งแวดล้อมได้นาน บางชนิดอาจตกค้างได้นานหลายสิบปี ปัจจุบัน ประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลกจะไม่อนุญาตให้ใช้สารเคมีใน กลุ่มนี้ หรือไม่ก็มีการควบคุมการใช้ ไม่อนุญาตให้ใช้อย่างเสรี เพราะผลกระทบด้านสุขภาพและ สิ่งแวดล้อม 1.2 กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีฟอสฟอรัสเป็นองค์ประกอบ โดยสารเคมีใน กลุ่มนี้ที่รู้จักกันคือ มาลาไธออน (malathion), พาร&#12 June, 2009#3604;อาซินอน (diazinon), เฟนนิโตรไธออน (fenitrothion), พิริมิฟอสเมธิล (pirimiphos methyl), และไดคลอวอส


8

(dichlorvos หรือ DDVP) เป็นต้น สารเคมีในกลุ่มนี้จะมีพิษรุนแรงมากกว่ากลุ่มอื่น โดยเป็นพิษทั้งกับ แมลงและสัตว์อื่นๆ ทุกชนิด แต่สารในกลุ่มนี้จะย่อยสลายได้เร็วกว่ากลุ่มแรก 1.3 กลุ่มคาร์บาเมต ซึ่งมีคาร์บาริลเป็นองค์ประกอบสาคัญ โดยสารเคมีกาจัดแมลงที่รู้จัก และใช้กัน มาก คือ คาร์ บ าริ ว (carbaryl ที่มีชื่อการค้ า Savin), คาร์ โ บฟุแรน (carbofura), โพรพ็อกเซอร์ (propoxur), เบนไดโอคาร์บ (bendiocarb) สารเคมีในกลุ่มคาร์บาเมตจะมีความเป็น พิษต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมน้อยกว่าพวกออร์กาโนฟอสเฟต 1.4 กลุ่มสารสังเคราะห์ไพรีทอย เป็นสารเคมีกลุ่มที่สังเคราะห์ขึ้นโดยมีความสัมพันธ์ตาม โครงสร้างของไพรีทริน ซึ่งเป็นสารธรรมชาติที่สกัดได้จากพืชไพรีทรัม สารเคมีในกลุ่มนี้มีความเป็นพิษ ต่อแมลงสูง แต่มีความเป็นพิษต่อสัตว์เ ลือดอุ่นต่า อย่างไรก็ตาม สารเคมีกลุ่มนี้มีราคาแพงจึงไม่ค่อย เป็น ที่นิ ยมใช้ สารเคมีกาจั ดแมลงในกลุ่ มนี้ ได้แก่ เดลตาเมธริน (deltamethrin), เพอร์เมธริน (permethrin), เรสเมธริน (resmethrin), และไบโอเรสเมธริน (bioresmethrin) เป็นต้น 2. สารป้องกันกาจัดวัชพืช สารเคมีกาจัดวัชพืชแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ พวกที่มีพิษทาลายไม่เลือกกับพวกที่มี พิษเฉพาะกลุ่มวัช พืช คือ ทาลายเฉพาะวัช พืช ใบกว้าง หรือวัชพืชใบแคบ สารกาจัดวัช พืช ที่มีพิษ ทาลายไม่ เ ลื อ ก คื อ พาราควอท (paraquat) ส่ ว นที่ มีพิ ษ ทาลายเฉพาะ คื อ พวก แอทราซิ น (atrazine), 2,4-D, 2,4,5-T เป็นต้น 3. สารกาจัดเชื้อรา มีอยู่หลายกลุ่มมาก บางชนิดมีพิษน้อย แต่บางชนิดมีพิษมาก กลุ่มสาคัญของสารกาจัดเชื้อ ราในการเกษตร (สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค 2546)ได้แก่ กลุ่ม Dimethey dithiocarbamates (Ziram, Ferbam, Thiram) มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ Acetaldehyde dehydrogenase เกิด antabuse effect ในคนที่ดื่มสุราร่วมด้วย กลุ่ม Ethylenebisdithiocarbamates (Maneb, Mancozeb, Zineb) กลุ่มนี้จะถูก metabolize เป็น Ethylene thiourea ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งในสัตว์กลุ่ม Methyl mercury ดูดซึมได้ดีทางผิวหนังและมีพิษต่อระบบประสาท กลุ่ม Hexachlorobenzene ยับยั้งเอนไซม์ Uroporphyrinogen decarboxylase มีพิษต่อตับ ผิวหนัง ข้อกระดูกอักเสบ กลุ่ม Pentachlorophenol สัมผัสมากๆ ทาให้ไข้สูง เหงื่อออกมาก หัวใจเต้นเร็ว 4. สารกาจัดหนูและสัตว์แทะ (Rodenticides) สารกาจัดหนูและสัตว์แทะที่นิยมใช้กัน ส่วนใหญ่เป็นสารกลุ่มที่มีฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของ เลือด ตัวอย่าง เช่น Warfarin หยุดยั้งการสร้างวิตามิน เค ทาให้เลือดออกตามผิวหนัง และส่วนต่างๆ ของร่างกาย เม็ดเลือดขาวต่า ลมพิษ ผมร่วง ผลกระทบต่อการเกษตร หลายคนมักจะเชื่อว่า การใช้สารเคมีการเกษตรช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรได้ แต่ที่จริง หาเป็นเช่นนั้นไม่ อีกทั้งการใช้สารเคมียังมีผลกระทบต่อระบบนิเวศการเกษตรได้อีกด้วย 1. แมลงพัฒนาภูมิต้านทานสารเคมี ผลที่เกิดขึ้นอย่างหนึ่งกับแมลงศัตรูพืช เมื่ อมีการใช้ สารเคมี ก าจั ด แมลงอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง ก็ คื อ การพั ฒ นาภู มิ ต้ า นทานสารเคมี ซึ่ ง เป็ น คุ ณ สมบั ติ ท าง วิวัฒนาการของแมลงในการเอาดารงเผ่าพันธุ์ของตัวเอง เพราะการพัฒนาความสามารถในการทนต่อ


9

สารเคมีที่มีพิษได้ และถ่ายทอดภูมิต้านทานดังกล่าวสู่ลูกหลาน จะทาให้เผ่าพันธุ์ของแมลงสามารถอยู่ รอดได้ จากการศึกษาของนักวิจัยพบว่า เพียง 50 ปีที่เริ่มมีการใช้สารเคมีนั้น มีแมลงมากกว่า 400 ชนิดที่ได้พัฒนาภูมิต้านทานยาฆ่าแมลงชนิดต่างๆ ซึ่งทาให้ต้องใช้ยาฆ่าแมลงที่เข้มข้นมากขึ้น หรือ เปลี่ยนไปใช้ยาฆ่าแมลงชนิดใหม่ เช่น ในกรณีของหนอนเจาะสมอฝ้าย ในช่วงเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2503 ที่มีการใช้สารดีดีทีเพื่อฆ่าหนอน จะใช้สารดีดีทีเพียง 0.03 มิลิกรัม/น้าหนักตัวของหนอนหนึ่งกรัม แต่ เพียง 5 ปีหลังจากนั้น ต้องเพิ่มปริมาณเป็น 1,000 มิลิกรัมจึงจะทาให้หนอนตายได้ (Raven, Berg, Johnson 1993, 500) ผลที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ เกษตรกรต้องใช้สารเคมีกาจัดแมลงในปริมาณที่มาก ขึ้น หรือไม่ก็เปลี่ยนไปใช้สารเคมีชนิดใหม่ๆ เพื่อควบคุมกาจัดแมลง แต่ผลก็คือ แมลงศัตรูพืชก็จะเร่ง การวิวัฒนาการให้สามารถต้านทานสารเคมีการเกษตรได้เร็วขึ้นด้วย 2. การทาลายสมดุลของระบบนิ เวศ ไม่เพียงแต่แมลงศัตรูพืชที่ตายลง เมื่อมีการใช้สารเคมี การเกษตร แต่สิ่งมีชีวิตต่างๆ ในระบบนิเวศการเกษตร โดยเฉพาะแมลงที่เป็นประโยชน์ ที่ทาหน้าที่ใน การควบคุมศัตรูพืช หรือแมลงผสมเกษตร ก็จะได้รับผลกระทบจากสารเคมีการเกษตรด้วยเช่นกัน จากการศึกษาวิจัย พบว่า ศัตรูธรรมชาติ ที่กินแมลงศัตรูพืชเป็นอาหาร เช่น แมงมุม ด้วงดิน เต่าทอง ด้วงเพชรฆาต จะมีประชากรลดลงอย่างมากหลังจากที่มีการใช้สารเคมีกาจัดแมลงฉีดพ่น เนื่องจาก ศัตรูธรรมชาติเหล่านี้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากสารเคมี และโดยอ้อมจากการที่มีแมลงศัตรูพืชลดลง จนทาให้มีอาหารไม่เพียงพอ แต่หลังจากนั้นไม่นาน แมลงศัตรูพืชจะขยายประชากรเพิ่มขึ้นอย่าง รวดเร็ว ในขณะที่ศัตรูธรรมชาติจะต้องใช้ระยะเวลานานกว่า จึงจะเพิ่มจานวนประชากรได้ สมดุลของ ระบบนิเวศจึ งเสี ยไป ทาให้ เกิดการระบาดของแมลงศัตรูพืชขึ้นอีก ดังนั้น จึงกลายเป็นว่า การใช้ สารเคมีกาจัดศัตรูพืชไม่ได้ช่ว ยป้องกันการระบาดของแมลงศัตรูพืชได้จริง ซึ่งตรงกับผลงานวิจัยใน สหรัฐอเมริกา ที่ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2488 - 2532 มีการใช้สารเคมีกาจัดแมลงเพิ่มขึ้นกว่า 33 เท่า ตัว แต่อัต ราการสู ญเสี ย ผลผลิ ตจากการระบาดของแมลงยั งคงอยู่ในระดับ 13% เท่า เดิ มไม่ เปลี่ยนแปลง (Raven, Berg, Johnson 1993, 501) นอกจากนี้ แมลงที่ในอดีตอาจไม่ได้เป็นศัตรูพืช เนื่องจากมีศัตรูธรรมชาติควบควบคุมประชากรให้อยู่ในระดับต่า แต่เมื่อมีการใช้สารเคมีกาจัดศัตรูพืช ทาให้ศัตรูธรรมชาติลดลงจนเกือบหมด แมลงในกลุ่มนี้ก็จะสามารถขยายจานวนประชากรได้อย่าง มากมาย จนกลายเป็นแมลงศัตรูพืชขึ้น เช่น กรณีไรแดงยุโรป ซึ่งไม่เคยพบระบาดในสวนแอปเปิ้ลใน สหรัฐอเมริกา เริ่มมีการระบาดอย่างมากหลังจากที่ได้เริ่มมีการใช้สารเคมีกาจัดแมลง (Raven, Berg, Johnson 1993, 502) 3. การสะสมของสารเคมีในห่วงโซ่อาหาร สารเคมีกาจัดศัตรูพืชนั้นไม่ได้ค งอยู่เฉพาะในบริเวณ พื้นที่การเกษตร แต่มักจะแพร่กระจายออกไปในสิ่งแวดล้อม เพราะน้าที่ไหลผ่านแปลงเกษตร ที่มีการ ฉีดพ่นสารเคมีกาจัดศัตรูพืช จะไหลลงไปสู่แหล่งน้าธรรมชาติ ทาให้เกิดการปนเปื้อนของสารเคมีใน ระบบนิ เวศอย่ างกว้างขวาง สิ่ งมีชีวิตในแหล่ งน้าอาจได้รับผลกระทบโดยตรงจากสารเคมีเหล่ านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลต่อระบบภูมิต้านทานของปลา ทาให้ปลาเป็นโรคต่างๆ ได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ สารเคมีเหล่านี้ โดยเฉพาะในกลุ่มออร์กาโนคลอไรน์ ซึ่งย่อยสลายช้า อาจจะไปสะสมอยู่ในร่างกาย ของสิ่ งมีชีวิตต่างๆ และถ่ายทอดไปยังสิ่งมีชีวิตที่อยู่ด้านบนของห่ ว งโซ่อาหาร เกิดการสะสมของ สารพิษในปริมาณที่เข้มข้นขึ้น (biological magnification) ดังตัวอย่างในรูป ซึ่งเป็นการสะสมของ DDT ในห่วงโซ่อาหาร ที่เริ่มจากการปนเปื้อนของ DDT ในน้าในอัตราเพียง 0.000003 ส่วนในล้าน ส่วน แต่ในสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ในน้า เช่น พวกไรแดง หนอนแดง จะพบว่ามีการสะสมของ


10

DDT ในสัตว์เหล่านี้เพิ่มขึ้นเป็น 0.04 ส่วนในล้านส่วน และในปลาที่กินสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กเป็นอาหาร จะมีการสะสมของ DDT ในตัวปลามากถึง 2 ส่วนในล้านส่วน และเมื่อถึงนกที่กินปลาเป็นอาหาร จะมี DDT สะสมในตัวได้มากถึง 25 ส่ว นในล้ านส่ วนทีเดียว แม้ว่า นกจะมีการสะสม DDT ในตัว ค่อนข้างมาก แต่การสะสมนี้อาจไม่ได้ทาให้นกตายลงทันที่ แต่ก็มีผลกระทบด้านอื่นๆ ได้ เช่น DDT ที่ อยู่ในตัวนกจะทาให้เปลือกไข่บางลง ส่งผลให้ไข่แตกขณะที่กาลังฟักอยู่ ส่งผลให้ประชากรของนก ลดลงได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งปัญหานี้ ไม่ได้เกิดเฉพาะกับนกที่กินปลา แต่รวมถึงนกที่กินแมลง และนกที่ กินผลไม้ด้วยเช่นกัน การเจาะเลือดตรวจคัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยง จากพิษสารกาจัดศัตรูพืช การตรวจวิเคราะห์เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อสารเคมีกาจัดศัตรูพืช แบ่งได้เป็น การตรวจวิเคราะห์ทาง ห้องปฏิบัติการ และการตรวจวิเคราะห์ภาคสนามการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการตามวิธี มาตรฐานเพื่อประเมินความเสี่ยงต่อสารเคมีกาจัดศัตรูพืช ที่สามารถดาเนินการโดยศูนย์อ้างอิงทาง ห้องปฏิบัติการและพิษวิทยา สานักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ - การวิเคราะห์หาสารกาจัดศัตรูพืชกลุ่มออร์กาโนคลอรีนโดยการตรวจหาปริมาณไดออร์กา โน คลอรีนตกค้างในตัวอย่างเลือด - การวิเคราะห์หาสารกาจัดศัตรูพืชกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตโดยการตรวจหาปริมาณได แอลคิลฟอสเฟตในตัวอย่างปัสสาวะ - การวิเคราะห์หาสารกาจัดศัตรูพืชกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตหรือกลุ่มคาร์บาเมต โดยการ ตรวจหาการทางานของเอนไซม์คลอรีนเอสเตอเรสในตัวอย่างเลือด - การวิเคราะห์หาสารกาจัดศัตรูพืชกลุ่มคาร์บาเมต โดยการตรวจหาปริมาณสาร 1 – แนฟธัล ในปัสสาวะ - การตรวจหาปริมาณคาร์บาเมตตกค้าง ในปัสสาวะ - การตรวจหาปริมาณสารพาราควอท ในปัสสาวะ - การวิเคราะห์หาสารกาจัดวัชพืชกลุ่มไกลโฟเสท โดยการตรวจหาปริมาณไกลโฟเสท ใน ปัสสาวะ เนื่องจากปัจจุบันการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการตามวิธีมาตรฐานมีค่าใช้จ่ายสูงและใช้ เวลามากกว่า ดังนั้นในการตรวจประเมินความเสี่ยงต่อสารเคมีกาจัดศั ตรูพืช เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจึง นิยมใช้การตรวจวิเคราะห์ภาคสนามซึ่งดาเนินการได้เองในพื้นที่อย่างสะดวกรวดเร็วการตรวจหา เอ็นไซม์คลอรีนเอสเตอเรสโดยใช้กระดาษทดสอบพิเศษ ในปี พ .ศ. 2530 กองอาชีว อนามั ย ซึ่ งปัจ จุบันคื อส านักโรคจากการประกอบอาชี พและ สิ่งแวดล้อม ได้ดัดแปลงวิธีการตรวจของBigg method มาใช้ตรวจในภาคสนามสามารถตรวจการ ทางานของเอ็นไซม์ โคลีนเอสเตอเรสในน้าเลือด (Psuedocholinesterase)ซึ่งจาลองวิธีการตรวจให้ เกิดบนกระดาษทดสอบ Reactive paperใช้เวลาในการตรวจ 7 นาที ปัจจุบันกระดาษทดสอบนี้ใช้ใน การจัดบริการเชิงรุกเพื่อตรวจคัดกรองการแพ้พิษสารกาจัดศัตรูพืชซึ่งมีองค์การเภสัชกรรมเป็นผู้ผลิต และจาหน่ายขั้นตอน การตรวจคัดกรองการตรวจคัดกรองทาโดยการเจาะเลือดจากปลายนิ้วของ เกษตรกรหรือผู้มีความเสี่ยง แล้วใช้หลอดคาปิลารี (capillary tube) ที่เคลือบheparin ดูดเลือดไว้ เกือบเต็มหลอด ทาการอุดปลายหลอดด้านที่ไม่มีขีดแดงด้วยดินน้ามันแล้วนาไปตั้งทิ้งไว้หรือใช้เครื่อง


11

ปั่นให้มีการแยกส่วนระหว่างเซลเม็ดเลือดแดง และซีรั่ม หลังจากตั้งทิ้งไว้จนได้ซีรั่ม แยกชั้นชัดเจนจึง หักหลอดคาปิลารีตรงส่วนแยกระหว่างเม็ดเลือดและซีรั่มนาซีรั่มมาหยดในกระดาษทดสอบรอให้ซีรั่ม ทาปฏิกิริยา 7 นาทีก่อนอ่านผลโดยดูการเปลี่ยนสีของกระดาษทดสอบ การแปลผลเทียบกับแผ่นสี มาตรฐานแบ่งได้ 4 ระดับคือ ระดับ 1 สีเหลือง แสดงระดับปกติ หรือระดับเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรสมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 100 หน่วยต่อมิลลิลิตร ระดับ 2 สีเหลืองอมเขียว แสดงระดับปลอดภัย หรือระดับเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรสมีค่ามากกว่าหรือ เท่ากับ 87.5 หน่วยต่อมิลลิลิตร ระดับ 3 สีเขียว แสดงระดับมีความเสี่ยง หรือระดับเอ็นไซม์โคลีน-เอสเตอเรสมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 75 แต่ไม่ถึง 87.5 หน่วยต่อมิลลิลิตร ระดับ 4 สีเขียวเข้ม แสดงระดับไม่ปลอดภัยหรือระดับเอ็นไซม์โคลีน-เอสเตอเรสมีค่าต่ากว่า 75 หน่วย ต่อมิลลิลิตร ในกรณีที่ใช้การตรวจหาเอ็นไซม์คลอรีนเอสเตอเรสโดยกระดาษทดสอบพิเศษเพื่อการเฝ้า ระวังควรทาการเจาะเลือด 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 เพื่อเป็นค่าพื้นฐานควรทาในช่วงที่เกษตรกรไม่มีการใช้สารเคมีกาจัดศัตรูพืช และก่อน เริ่มฤดูกาลฉีดพ่น หากไม่สามารถทาได้ให้ตรวจภายใน 3 วันแรกของการเริ่มใช้ ครั้งที่ 2 ทาการเจาะทดสอบหลังจากการใช้สารเคมี ภายในฤดูกาลฉีดพ่นหรือหลังจากนั้นไม่เกิน 30 วัน ถ้าผลการตรวจปกติหรือปลอดภัยให้ตรวจเฝ้าระวังปีละ 1 ครั้ง ในกรณีที่ผลการตรวจครั้งที่ 2 เมื่อเปรียบเทียบกับค่าพื้นฐานก่อนการใช้สารเคมีพบว่ามี ระดับเปลี่ยนแปลงไปมากกว่า 1 ระดับ เช่นครั้งที่ 1 มีระดับปกติ(สีเหลือง) ครั้งที่ 2 มีระดับมีความ เสี่ ย ง (สี เ ขี ย ว)หรื อ ไม่ ป ลอดภั ย (สี เ ขี ย วเข้ ม ) ต้ อ งเจาะติ ด ตามทุ ก 30 วั น จนกว่ า ผลการตร วจ เปรียบเทียบกับค่าพื้นฐาน ไม่เกิน 1 ระดับ หรือระดับปลอดภัยซึ่งมีสีเหลืองอมเขียว และควรเจาะ ติดตามหลั งจาก 6 เดือน เพื่อเฝ้าระวังการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ส าธารณสุ ขและการให้ คาแนะนา เกษตรกรในกรณีหลังการทดสอบพบว่าระดับเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรสต่ากว่าปกติหยุดการรับสั มผัส โดยหยุดการใช้สารเคมีที่มีความเป็นพิษร้ายแรงและสวมอุปกรณ์ป้องกันทุกครั้งที่มีการใช้สารเคมีใช้ สมุนไพรที่ได้รับการยอมรับทางการแพทย์ในการลดล้างพิษ 3. สารพิษตกค้างในผลผลิตการเกษตร “สารพิษตกค้าง” ในความหมายของพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 ออกตามประกาศ กระทรวงสาธารณสุขฉบับที่163 (พ.ศ.2538) ให้หมายถึง “สารเคมีกาจัดศัตรูพืชหรือสัตว์ หรือกลุ่ม อนุพันธ์ของสารเคมีดังกล่าวได้แก่ สารในกระบวนการเปลี่ยนแปลง (conversion products) สารใน กระบวนการสร้างและสลาย(metabolites) สารที่เกิดจากปฏิกิริยา (reaction products) หรือสิ่ง ปลอมปนที่มีความเป็นพิษซึ่งปนเปื้อนหรือตกค้างในอาหาร” “สารเคมีป้องกันกาจัดศัตรูพืชหรือสัตว์ (pesticides) ”หมายถึง สารเคมีที่มีจุดมุ่งหมายใน การใช้เพื่อป้องกัน ฆ่า ทาลาย ดึงดูด ขับไล่ หรือควบคุมศัตรูพืชหรือสัตว์ที่ไม่พึงประสงค์ , สารเคมี กาจัดแมลง(insecticides) ,สารเคมีกาจัดเชื้อรา(fungicides) , สารเคมีกาจัดวัชพืช(herbicides) ,


12

สารเคมีกาจัดหนอนพยาธิ(nematocides) , สารรมควัน(fumigants) , สารควบคุมการเจริญเติบโต ของพืช(plant growth regulators) ตลอดจนสารเคมีที่มีการใช้ในขั้นตอนต่างๆของกระบวนการผลิต อาหาร เริ่มตั้งแต่การเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตร การเก็บรักษา การขนส่ง การจัดจาหน่าย และยัง รวมถึงสารเคมีที่ใช้กับพืชผลผลิตทั้งก่อนหรือหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อป้องกันการเสื่อมเสีย การเก็บ รักษาผลผลิต และการขนส่งต่างๆ จากความหมายของสารพิ ษ ตกค้ า งและสารเคมี ป้ อ งกั น ก าจั ด ศั ต รู พื ช ในผลผลิ ต ทาง การเกษตร จะเห็นได้ว่า ครอบคลุมถึงสารที่อาจจะมีการใช้ทุกประเภท ตั้งแต่กระบวนการผลิต ไป จนถึงมือผู้บริโภค ซึ่งสารเหล่านี้เมื่อมีการใช้แล้ว จะต้องไม่มีการตกค้างหรือมีการตกค้างในผลผลิตได้ แต่ต้องอยู่ในระดับที่ไม่เกินค่าความปลอดภัยต่อผู้บริโภคตามที่กฎหมายอาหารกาหนด ตามประกาศ กระทรวงสาธารณสุขฉบับที่163 (พ.ศ.2538) กาหนดค่ามาตรฐานเป็นบัญชีแนบท้ายเป็น 2 ลักษณะ คือ 1.) บัญชีที่ 1 กาหนดปริมาณสารพิษตกค้างที่ปนเปื้อนจากสาเหตุที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ (ERL= Extraneous Residue Limit) โดยกาหนดไว้ในกลุ่มสารประกอบคลอรีน 4 ชนิด คือ คลอร์เดน ดีดีที ออลดรินและ ดิลดริน เฮปตาคลอร์ 2.) บัญชีที่ 1 กาหนดปริมาณสารพิษตกค้างอันเนื่องมาจากการใช้ (MRL= Maximum Residue Limit) โดยมีการกาหนดค่าสาร 11 ชนิด จาแนกค่าตามชนิดของพืชผลผลิตแต่ละชนิด รวม เป็น 250 ค่า ประเภทของสารพิษตกค้าง สารพิษตกค้างส่วนใหญ่หมายถึง สารเคมีป้องกันกาจัดศัตรูพืชหรือสัตว์(Pesticides) มีการ แบ่งประเภทได้หลายแบบ เช่น ตามลักษณะการออกฤทธิ์ของสาร เช่น สารกาจัดแมลง ,สารเคมีกาจัด เชื้อรา, สารเคมีกาจัดวัชพืช, สารเคมีกาจัดหนอนพยาธิ, สารรมควัน, สารกาจัดไร เป็นต้น แต่ในการ จาแนกตามสูตรเคมี แบ่งประเภทใหญ่ๆดังนี้ 1. กลุ่มสารประกอบคลอรีน (Organochlorine Compounds or Chlorinated Hydrocarbon) เช่น organochlorine ดีดีที(DDT)Dichloro Diphenyl Trichloroethane เป็นกลุ่ม สารที่มีการใช้มากในการเกษตรยุคแรกๆ แต่ต่อมาพบว่าสารกลุ่มนี้เป็นสารที่สลายตัวช้า มีพิษตกค้าง ปนเปื้อนอยู่ในสภาวะแวดล้อมยาวนาน จึงมีประกาศห้ามใช้ทางการเกษตร 2. กลุ่มสารประกอบฟอสเฟต (Organophosphorous Compounds) เช่น พาราไธออน เม็ทธิลพาราไธออน โมโนโครโตฟอส เป็นต้น เป็นกลุ่มสารที่มีการใช้มาก มีพิษค่อนข้างสูง แต่สลายตัว ได้เร็ว 3. กลุ่มสารคาร์บาเมท (Carbamates group) เช่น คาร์บาริลหรือเซวิน 85, คาร์โบฟูแรน หรือ ฟูราดาน, เม็ทโธมิล เป็นต้น carbamates 1-Naphthyl methyl carbamate คาร์บาริล (Carbaryl)เป็นกลุ่มสารที่มีการใช้มาก มีพิษค่อนข้างสูง แต่สลายตัวได้เร็ว 4. กลุ่มสารสังเคราะห์ไพรีทรอยด์ (Synthetic Pyrethroids) เช่น ไซเปอร์มีทริน เฟนวา ลิเรท เป็นต้น สารในกลุ่มนี้ออกฤทธิ์เร็ว มีความเป็นพิษในสัตว์เลือดอุ่นค่อนข้างต่า สลายตัวได้เร็ว นิยมใช้แพร่หลายเช่นเดียวกับกลุ่มที่ 2 และ 3 อันตรายจากสารเคมีเกษตร


13

ปกติผู้ที่สัมผัสกับสารเคมีกาจัดศัตรูพืชโดยตรง ได้แก่ เกษตรกรผู้ฉีดพ่น และผู้ที่ทางาน เกี่ยวข้องกับการบรรจุ ขนส่ง จะได้รับพิษโดยตรง แต่สาหรับผู้บริโภคจะได้รับพิษทางอ้อม ซึ่งเกิดจาก การบริโภคผลผลิตทางการเกษตรที่มีสารเคมีปนเปื้อนหรือตกค้างอยู่ ซึ่งการได้รับสารพิษตกค้างใน อาหาร แม้อาจจะได้รับในปริมาณต่า แต่การที่ได้รับเป็นประจาๆ สารพิษอาจสะสมเป็นปัญหาเรื้อรัง และส่งผลกระทบต่อระบบการทางานต่างๆในร่างกาย เช่น - ส่งผลกระทบต่อระบบประสาท ซึ่งสารเคมีกาจัดศัตรูพืชจานวนมาก มีอันตรายต่อระบบ สมองและประสาท โดยจะก่อให้เกิดปัญหาทางด้านความจาเสื่อม สมาธิสั้นต่างๆ , - ส่งผลกระทบต่ออวัยวะภายในของร่างกาย ซึ่งร่างกายจะมีกลไกตามธรรมชาติในการกาจัด สารพิษที่ได้รับ โดยอวัยวะที่มีหน้าที่หลักในการกาจัดสารพิษคือ ตับ รองลงมาคือไต หากร่างกาย ได้รับสารพิษเข้าไปเป็นประจาก็จะทาให้อวัยวะเหล่านี้ทางานหนัก จนอาจเกิดปัญหาต่างๆ ตามมาได้ - ส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งสารเคมีกาจัดศัตรูพืชบางชนิด รบกวนการ ทางานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทาให้ร่างกายอ่อนแอลง ทาให้ง่ายต่อการติดเชื้อต่างๆได้ - ส่งผลกระทบต่อระบบสมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย โดยส่งผลกระทบต่อต่อมไร้ท่อ (Endocrine gland) ที่มีหน้าที่ในการผลิตหรือสร้างฮอร์โมน ทาให้ต่อมไร้ท่อเหล่านี้ทางานผิดปกติไป เช่นทาให้เป็นหมัน ,การผลิตอสุจิมีจานวนน้อยลงในเพศผู้ - ส่งผลกระทบก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีและเกิดการเปลี่ยนแปลงระดับเซลล์ของ ร่างกาย จนอาจเป็นสาเหตุทาให้ร่างกายอ่อนแอ ก่อให้เกิดการเจ็บป่วย และการเกิดโรคมะเร็งต่างๆ เหล่านี้เป็นอันตรายหรือผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้กับผู้บริโภคที่มีร่างกายแข็งแรง แต่สาหรับผู้บริโภค อีกกลุ่มหนึ่งที่เป็นทารกและเด็กเล็กที่ส่วนต่างๆของร่างกายยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ หรือยังไม่สมบูรณ์ และผู้ป่วยที่ร่างกายไม่แข็งแรง จะมีความไวต่อการได้รับสัมผัสสารพิษตกค้างแม้ว่าจะได้รับในปริมาณ ที่ต่า และมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดการกลายพันธุ์ จากข้อมูลของคณะทางานด้านสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (Environmental Working Group) รายงานว่า การเกิดโรคมะเร็งสมองและ มะเร็งเม็ดเลือดขาวในเด็กชาวอเมริกัน ตั้งแต่ปี 2516 มีเพิ่มขึ้น 33% และ สาเหตุการตายเนื่องจากมะเร็งมากกว่าโรคอื่นๆ สาหรับช่วงอายุที่ พบจะพบมากในเด็กที่มีอายุต่ากว่า 14 ปี และจากผลการศึกษาวิจัยระดับการตกค้างของสารพิษใน อาหารของเด็กทารก 8 ชนิด พบว่า มีสารเคมีกาจัดศัตรู พืชตกค้างสูงถึง 52 % ชนิดสารที่พบมีถึง 16 ชนิด อาหารที่พบส่วนใหญ่จะพบสารพิษมากกว่า 2 ชนิดในตัวอย่างเดียวกัน และในบรรดาสารพิษ 16 ชนิดที่ตรวจพบนี้ พบว่าส่วนใหญ่เป็นสารในกลุ่มที่มีผลกระทบต่อระบบประสาท (Neurotoxin) ได้แก่สารพิษในกลุ่มสารประกอบฟอสเฟตและคาร์บาเมท โดยระดับของการตรวจพบเชื่อว่าปลอดภัย ต่อผู้ใหญ่ แต่อาจไม่ปลอดภัยต่อเด็กและทารก ทั้งนี้เนื่องจากค่าปลอดภัยต่อการบริโภค ได้กาหนดไว้ สาหรับผู้ใหญ่ ไม่ครอบคลุมการศึกษาผลกระทบในเด็กที่อายุต่ากว่า 14 ปี นอกจากนี้ผลของการได้รับ สัมผัสสารพิษตั้งแต่ 2 ชนิดรวมกันในตัวอย่างอาหารเดียวกัน จะยิ่งทาให้เกิดพิษสะสมหรือเกิดการ เสริมฤทธิ์ซึ่งกันและกัน ทาให้ความเป็นพิษเพิ่มสูงขึ้น 4. กรอบแนวคิดในการศึกษา จากการที่ได้ศึกษาทบทวนแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องดังกล่าวแล้วในข้อ 1 – 3 คณะผู้ศึกษา


14

ได้วิเคราะห์สรุปสาระออกมาและสามารถกาหนดเป็นกรอบแนวคิดในการศึกษาได้ดังนี้ ตัวแปรอิสระ(Independent Variable) 1. ปัจจัยการเกษตร - พืชเศรษฐกิจ - สารเคมีทางการเกษตร 2. ปัจจัยศัตรูพืช - โรคพืช - แมลงศัตรูพืช - สัตว์ศัตรูพืช 3. ปัจจัยความรู้ด้านอื่นๆ - ความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมีทาง การเกษตร - ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพของเกษตร - ความรู้เกี่ยวกับฉลากวัตถุอันตรายทาง การเกษตร

ตัวแปรตาม(dependent Variable) - ความตระหนักของเกษตรกรในการใช้สารเคมีทาง การเกษตร - สุขภาพอนามัยของเกษตรกร - จิตสานึกความรับผิดชอบในการใช้สารเคมีทาง การเกษตร

ภาพที่ 1 กรอบแนวคิดในการศึกษา

บทที่ 3 วิธีดาเนินการศึกษา การศึกษาเรื่อง การแก้ปัญหาการปนเปื้อนหรือตกค้างของสารเคมีในกระบวนการผลิตด้าน เกษตรกรรม ในพื้นที่ที่ นักบริหารงานการเกษตร รุ่นที่ 1 กลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 ปฏิบัติงาน ซึ่งมี พื้นที่อปท.ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จานวน 14 แห่ง ภาคเหนือ 4 แห่ง ภาคตะวันออก 2 แห่ง และ พื้นที่กรณีศึกษา อบต.คลองเขื่อน อาเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นการศึกษาโดยใช้ ข้อมูลเชิงคุณภาพ(Qualitative Research) ซึ่งคณะผู้ศึกษา ได้ศึกษาทบทวนแนวคิด ทฤษฎีและ กฏหมายที่เกี่ยวข้องแล้ว รวมทั้ง รวบรวมการใช้สารเคมีเกษตรและการแก้ไขปั ญหาการปนเปื้อนหรือ ตกค้างของสารเคมีในกระบวนการผลิตด้านเกษตรกรรมในพื้นที่ต่างๆที่นักศึกษาปฏิบัติหน้าที่ และ เพื่อให้การรวบรวมข้อมูล เป็นไปด้วยความเรียบร้อยตามกรอบแนวคิด ในการศึกษา การแก้ไขปัญหา


15

การปนเปื้อนหรือตกค้างของสารเคมีในกระบวนการผลิตด้านเกษตรกรรม ในบทนี้ จะได้กล่าวถึง วิธีดาเนินการศึกษาเพื่อแสดงขั้นตอนการศึกษา โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 1. พื้นที่ดาเนินการศึกษา พื้นที่ที่ นักบริหารงานการเกษตร รุ่นที่ 1 กลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 ปฏิบัติงาน ซึ่งมีพื้นที่อปท.ใน เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จานวน 14 แห่ง ภาคเหนือ 4 แห่ง ภาคตะวันออก 2 แห่ง และ พื้นที่ กรณีศึกษา อบต.คลองเขื่อน อาเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา 2. แหล่งข้อมูล แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษา ผู้ศึกษาได้มาจาก 2 แหล่ง ได้แก่ 3.1 ข้อมูลปฐมภูมิ(Primary Data) เป็นแหล่งข้อมูลที่คณะผู้ศึกษา ได้มาจากการระดม สมองประชุมกลุ่มย่อย(Focus Group) เพื่อรวบรวมข้อมูลปัญหาและการแก้ปัญหาการปนเปื้อนหรือ ตกค้างของสารเคมีในกระบวนการผลิตด้านเกษตรกรรม ในพื้นที่ที่ นักบริหารงานการเกษตร รุ่นที่ 1 กลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 ปฏิบัติงาน ซึ่งมีพื้นที่อปท.ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จานวน 14 แห่ง ภาคเหนือ 4 แห่ง ภาคตะวันออก 2 แห่ง และ พื้นที่กรณีศึกษา อบต.คลองเขื่อน อาเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา 3.2 ข้อมูลทุติยภูมิ(Secondary Data) เป็นแหล่งข้อมูลที่ผู้ศึกษาได้มาจากการศึกษาค้นคว้าจาก ข้อมูล แนวคิด กฎหมาย และ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 3. การเก็บรวบรวมข้อมูล ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คณะผู้ศึกษาได้ดาเนินการระดมสมองประชุมกลุ่มย่อย(Focus Group) เพื่อรวบรวมข้อมูลปัญหาและการแก้ปัญหาการปนเปื้อนหรือตกค้างของสารเคมีใน กระบวนการผลิตด้านเกษตรกรรม ในพื้นที่ที่ นักบริหารงานการเกษตร รุ่นที่ 1 กลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 ปฏิบัติงาน ซึ่งมีพื้นที่อปท.ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จานวน 14 แห่ง ภาคเหนือ 4 แห่ง ภาค ตะวันออก 2 แห่ง และ พื้นที่กรณีศึกษา อบต.คลองเขื่อน อาเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา 4. การวิเคราะห์และนาเสนอข้อมูล เนื่องจากการศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษา โดยใช้ข้อมูลเชิงคุณภาพ เพราะฉะนั้นข้อมูลที่ ได้มาจาก บทความ แนวคิด กฏหมาย เอกสารวิชาการต่างๆ และจากการรวบรวมปัญหาและการ แก้ ปั ญ หาการปนเปื้ อนหรื อ ตกค้ า งของสารเคมี ในกระบวนการผลิ ตด้ า นเกษตรกรรม ในพื้ น ที่ ที่ นั กบริ ห ารงานการเกษตร รุ่ น ที่ 1 กลุ่ มที่ 1 และกลุ่ มที่ 2 ปฏิบั ติงาน ซึ่งมีพื้นที่ อปท.ในเขตภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ จานวน 14 แห่ง ภาคเหนือ 4 แห่ง ภาคตะวันออก 2 แห่ง และ พื้นที่กรณีศึกษา อบต.คลองเขื่อน อาเภอคลองเขื่อน จั งหวัดฉะเชิงเทรา จากการระดมสมองประชุมกลุ่มย่อย(Focus Group) และตอบแบบสอบถาม แล้ว นาข้อมูลที่เกี่ยวข้องที่ได้มาทั้งหมดนี้ วิเคราะห์เนื้อหา(Content Analysis) แล้วนาเสนอในรูปความเรียง


16

บทที่ 4 ผลการศึกษา การศึกษาเรื่อง การแก้ปัญหาการปนเปื้อนหรือตกค้างของสารเคมีในกระบวนการผลิต ด้านเกษตรกรรม ในพื้นที่ที่ นักบริหารงานการเกษตร รุ่นที่ 1 กลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 ปฏิบัติงาน ซึ่งมี พื้นที่ อปท. ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จานวน 14 แห่ง ภาคเหนือ 4 แห่ง ภาคตะวันออก 2 แห่ ง และ พื้ น ที่ ก รณี ศึ ก ษา อบต.คลองเขื่ อ น อ าเภอคลองเขื่ อ น จั ง หวั ด ฉะเชิ ง เทรา โดยมี วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการใช้สารเคมีทางการเกษตร ในการทาเกษตรกรรมในเขตพื้นที่ที่นักศึกษา นักบริหารการเกษตร รุ่นที่ 1 กลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 ปฏิบัติงานและ เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหาการ ปนเปื้ อ นหรื อ ตกค้ า งในกระบวนการผลิ ต ด้ า นเกษตรกรรม และการแก้ ไ ขปั ญ หาต่ า งๆ ให้ เ กิ ด ผลสั ม ฤทธิ์ ในเขตพื้ น ที่ ที่ นั ก ศึ ก ษา นั ก บริ ห ารงานการเกษตร รุ่ น ที่ 1 กลุ่ ม ที่ 1 และกลุ่ ม ที่ 2 ปฏิบัติงาน พร้อมกรณีตัวอย่าง อบต.คลองเขื่อน อาเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา คณะผู้ศึกษา


17

ได้ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล จากการระดมสมองประชุมกลุ่มย่อย(Focus Group) และตอบ แบบสอบถาม แล้วนาข้อมูลที่เกี่ยวข้องที่ได้มาทั้งหมดนี้ วิเคราะห์เนื้อหา(Content Analysis) แล้ว นาเสนอในรูปความเรียง ออกมาเป็นผลการศึกษาที่ตอบวัตถุประสงค์ตามประเด็นต่างๆ โดยสรุป การศึกษาเป็นกลุ่มจังหวัด ดังนี้ 1. พื้นที่อีสานตอนบน ได้แก่พื้นที่ อบต.หนองกุงทับม้า จังหวัดอุดรธานี อบต.บ้านฝาง จังหวัดหนองคาย อบต.เหล่าโพนค้อ จังหวัดสกลนคร อบต.เขือน้า จังหวัดอุดรธานี อบต.ทับกุง จังหวัดอุดรธานี และ ทต.โนนสะอาด จังหวัดหนองบัวลาภู จากการประชุมกลุ่มย่อย(Focus Group) และตอบแบบสอบถาม เพื่อระดมสมองวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า พืชที่ปลูกส่วนใหญ่ ได้แก่ ข้าว อ้อย มันสาปะหลัง สารเคมีเกษตรที่ใช้ในพื้นที่ ได้แก่ ปุ๋ยเคมี สารเคมีกาจัดแมลง สารเคมีป้องกันโรคพืช สารกาจัด วัชพืช โรคพืชที่ระบาดในพื้นที่ ได้แก่ โรคไหม้ข้าว โรคใบขาวอ้อย แมลงที่พบการระบาดในพื้นที่ ได้แก่ เพลี้ยกระโดดสีน้าตาล เพลี้ยแป้งมันสาปะหลัง สัตว์ศัตรูพืชที่พบและเป็นปัญหาในพื้นที่ ได้แก่ หอยเชอรี่ การอบรมให้ความรู้ในการใช้สารเคมีเกษตร ได้แก่ การอบรมความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการใช้สารเคมี ด้านการเกษตร การตกค้างสารเคมีในกระบวนการผลิตด้านเกษตรกรรม : มีการสุ่มตรวจสารพิษตกค้างในเลือด ของเกษตรกร พบว่ามากกว่าร้อยละ 80 ของเกษตรกรที่สุ่มตัวอย่าง มีสารพิษตกค้างในเลือด การแก้ไขปัญหา สรุปได้ดังนี้ - การฝึกอบรมส่งเสริมการทาปุ๋ยอินทรีย์ และส่งเสริมการใช้ปุ๋ยพืชสด - การฝึกอบรมส่งเสริมการป้องกันกาจัดศัตรูพืชโดยชีววิธี - การฝึกอบรมส่งเสริมการใช้สารชีวภัณฑ์ในการป้องกันกาจัดศัตรูพืช ได้แก่ เชื้อราไตรโค เดอร์มา บิวเวอร์เรีย แบคทีเรียบาซิลลัส ทูริงเจเนซิส แมลงช้างปีกใส - การฝึกอบรมการทาเกษตรอินทรีย์ผลิตข้าวและพืชตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ - การฝึกอบรมการใช้พืชสมุนไพรไล่แมลงแทนการใช้สารเคมีเกษตร 2. พื้นที่อีสานตอนล่าง ได้แก่พื้นที่ อบต.วังหมี จังหวัดนครราชสีมา อบต.ศรีละกอ จังหวัด นครราชสีมา อบต.ท่าหาดยาว จังหวัดร้อยเอ็ด อบต.มะเกลือเก่า จังหวัดนครราชสีมา อบต.ถ้าวัวแดง จังหวัดชัยภูมิ อบต.แพง จังหวัดมหาสารคาม และ อบต.เมืองฝ้าย จังหวัดบุรีรัมย์ จากการประชุมกลุ่ม ย่อย(Focus Group) และตอบแบบสอบถาม เพื่อระดมสมองวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า พืชที่ปลูกส่วนใหญ่ ได้แก่ มันสาปะหลัง ข้าว อ้อย หอมแดง สารเคมีเกษตรที่ใช้ในพื้นที่ ได้แก่ ปุ๋ยเคมี สารเคมีกาจัดแมลง สารเคมีป้องกันโรคพืช สารกาจัด วัชพืช สารกาจัดหอย ปูนา และหนูนา โรคพืชที่ระบาดในพื้นที่ ได้แก่ โรคไหม้ข้าว โรคใบไหม้ โรคใบขาวอ้อย โรคเหี่ยว โรคหัวและราก เน่า


18

แมลงที่พบการระบาดในพื้นที่ ได้แก่ เพลี้ ยแป้ง เพลี้ ยไฟ เพลี้ยกระโดดสีน้าตาล หนอนกระทู้ หนอนกอ สัตว์ศัตรูพืชที่พบและเป็นปัญหาในพื้นที่ ได้แก่ หอยเชอรี่ หนูนา ปูนา การอบรมให้ความรู้ในการใช้สารเคมีเกษตร ได้แก่ การอบรมความรู้การใช้สารเคมีเกษตรอย่าง ถูกต้อง การตกค้างสารเคมีในกระบวนการผลิตด้านเกษตรกรรม : มีการสุ่มตรวจสารพิษตกค้างในเลือด ของเกษตรกร พบว่า มีสารพิษตกค้างในเลือด การแก้ไขปัญหา สรุปได้ดังนี้ - ฝึกอบรมเผยแพร่ความรู้การใช้สารเคมีทางการเกษตรที่ถูกต้องและเหมาะสมแก่เกษตรกร รวมทั้งส่งเสรมการเรียนรู้และรณรงค์ให้เกษตรกรปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการการเกษตรที่ ดีสาหรับพืช - ฝึกอบรมส่งเสริมการทาปุ๋ยอินทรีย์ - ฝึกอบรมส่งเสริมการป้องกันกาจัดศัตรูพืชโดยชีววิธี - ฝึกอบรมส่งเสริมการใช้สารชีวภัณฑ์ในการป้องกันกาจัดศัตรูพืช ได้แก่ เชื้อราไตรโคเดอร์ม า บิวเวอร์เรีย แบคทีเรียบาซิลลัส ทูริงเจเนซิส แมลงช้างปีกใส 3. พื้นที่ภาคเหนือ ได้แก่พื้นที่ อบต.ทับผึ้ง จังหวัดสุโขทัย อบต.น้าอ่าง จังหวัดอุตรดิตย์ อบต แม่สิน จังหวัดสุโขทัย และ อบต.วังทับไทร จังหวัดพิจิตร พืชที่ปลูกส่วนใหญ่ ได้แก่ มันสาปะหลัง ข้าว อ้อย ส้มเขียวหวาน ยาสูบพันธุ์เบอร์เลย์ มะม่วง สารเคมีเกษตรที่ใช้ในพื้นที่ ได้แก่ ปุ๋ยเคมี สารเคมีป้องกันกาจัดแมลง สารเร่งการเจริญเติบโต สารเคมีป้องกันกาจัดโรคพืช สารเคมีกาจัดวัชพืช สารกาจัดปูนา หอย และหนู และสารเคมี อื่นๆ โรคพืชที่ระบาดในพื้นที่ ได้แก่ โรคไหม้ข้าว โรครากเน่าและโคนเน่าส้ม โรคแอนแทรคโนส ใน มะม่วงและส้ม โรคใบจุดส้ม โรคใบแก้วส้ม แมลงที่พบการระบาดในพื้นที่ ได้แก่ เพลี้ยไฟและไรแดงในมันสาปะหลัง ไรสนิมส้ม หนอนแก้วส้ม เพลี้ยไฟและเพลี้ยแป้งในส้ม หนอนชอนใบส้ม เพลี้ยไฟและเพลี้ยแป้งในมะม่วง สัตว์ศัตรูพืชที่พบและเป็นปัญหาในพื้นที่ ได้แก่ ไม่พบว่ามีศัตรูพืชในพื้นที่ การอบรมให้ความรู้ในการใช้สารเคมีเกษตร ได้แก่ - การฝึกอบรมความรู้การใช้สารเคมีเกษตรอย่างถูกต้อง และอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับระบบการ ทาเกษตรปลอดสารพิษและเกษตรอินทรีย์ การตกค้างสารเคมีในกระบวนการผลิตด้านเกษตรกรรม : มีการตรวจพบการตกค้างของสารเคมี ในกระบวนการผลิต การแก้ไขปัญหา สรุปได้ดังนี้ - การฝึก อบรมเผยแพร่ความรู้การใช้สารเคมีทางการเกษตรที่ถูกต้องและเหมาะสมแก่ เกษตรกร รวมทั้งส่งเสริมการเรียนรู้และรณรงค์ให้เกษตรกรปฏิบัติตามมาตรฐานการ ปฏิบัติตน ตามวิธีการใช้สารเคมีที่ถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญ


19

4. พื้นที่ภาคตะวันออก ได้แก่พื้นที่ อบต.มาบยางพร จังหวัดระยอง อบต.คลองเขื่อน จังหวัด ฉะเชิงเทรา และ อบต.หินเหล็กไฟ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พืชที่ปลูกส่วนใหญ่ ได้แก่ มันสาปะหลัง อ้ อย ยางพารา ข้าว พริก กล้วย เสาวรส และถั่ว เขียว สารเคมีเกษตรที่ใช้ในพื้นที่ ได้แก่ ปุ๋ยเคมี สารเคมีป้องกันกาจัดแมลง สารเคมีกาจัดวัชพืช สาร กาจัดหนู และสัตว์แทะ และสารเคมีกาจัดเชื้อรา โรคพืชที่ระบาดในพื้นที่ ได้แก่ โรคใบไหม้ข้าว โรคถอดฝักดาบ โรคใบจุดสีน้าตาล โรคไหม้มัน สาปะหลัง โรครากเน่าและโคนเน่าในยางพารา โรคแอนแทรคโนส โรคใบจุด โรคเหี่ยวจากเชื้อรา โรครากและโคนเน่า และโรคจากไวรัสในพริก โรคเหี่ยวในสับปะรด แมลงที่พบการระบาดในพื้นที่ ได้แก่ เพลี้ยไฟในนาข้าว เพลี้ยกระโดดสีน้าตาล หนอนชนิ ดต่างๆ และเพลี้ยแป้ง สัตว์ศัตรูพืชที่พบและเป็นปัญหาในพื้นที่ ได้แก่ ไม่พบว่ามีศัตรูพืชในพื้นที่ การอบรมให้ความรู้ในการใช้สารเคมีเกษตร ได้แก่ การฝึกอบรมตามโครงการรณรงค์ลดการใช้ สารเคมีการเกษตรและการตรวจหาสารพิษในร่างกาย โครงการส่งเสริมพัฒนาศักยภาพเกษตรกร (เทคโนโลยีการป้องกันกาจัดศัตรูมะพร้าว) และจัดทาแปลงสาธิตเกษตรอินทรีย์ การตกค้างสารเคมีในกระบวนการผลิตด้านเกษตรกรรม : มีการตรวจสารเคมีในเลือดของเกษตรกร การแก้ไขปัญหา เจ้าหน้าที่สาธารณสุขแนะนาให้เกษตรกรขับสารพิษออกโดยทางเหงื่อและปัสสาวะ ให้ออกกาลังกาย อบสมุนไพร หรือรับประทานรางจืด ให้ความสาคัญในการให้คาแนะนาและ รณรงค์ให้เกษตรกรลดการใช้สารเคมี ตัวอย่างกรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตาบลคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา ในการแก้ไขปัญหา การปนเปื้อนหรือตกค้างของสารเคมีในกระบวนการผลิตด้านเกษตรกรรม อบต.คลองเขื่อน ได้เล็งเห็นความสาคัญเรื่องสุขภาพของเกษตรกรและประชาชน จึงได้มี การ จัดทาโครงการรณรงค์การลดการใช้สารเคมีทางการเกษตรและการตรวจหาสารพิษในร่างกาย โดย องค์การบริหารส่วนตาบลคลองเขื่อน บูรณาการร่วมกับ สานักงานสาธารณสุขอาเภอคลองเขื่อน , โรงพยาบาลส่งเสริมสุ ขภาพตาบล หมู่ที่ 3 , หมู่ที่ 5 โดยมี วัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อเป็นข้อมูล วิเคราะห์ในการแก้ไขปัญหาสุขภาพสาหรับหน่วยงานต่างๆ 2. เพื่อให้เกษตรกรที่มีผลเลือดอันตราย และมีความเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3. เพื่อให้เกษตรกรตระหนักถึงการดูแลสุขภาพ และ 4. เพื่อเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพของประชาชนจากโรคที่เกิดจากสารเคมีสะสมในเลือด โดยมีการตรวจ เลือดจานวน 2 ครั้งครั้งที่ 1 ตรวจเลือด , แจ้งผลเลือด และแจกเอกสารแผ่นพับประชาสัมพันธ์ในการ ปฏิบัติตนแก่เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ ซึ่งเป็นเกษตรกรและประชาชน หมู่ที่ 1 – หมู่ที่ 6 จานวน 150 คน ดาเนินการ ในระหว่าง วันที่ 7 – 15 กุมภาพันธ์ 2556 การตรวจเลือดครั้ง 2. ผู้ที่มีผลเลือด ระดับที่มีความเสี่ยง , อันตรายและผู้สนใจ หมู่ที่ 1 –หมู่ที่ 6 จานวน 80 คน และการดาเนินงานที่ ผ่านมา พบว่า ประชาชนที่ตรวจอีกจานวนปรากฏยังมีผลเลือดที่มีความเสี่ยงและเป็นอันตราย ดังผล การตรวจเลือดพบว่า


20

จาการตรวจเลือดของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการรณรงค์การลดการใช้สารเคมีการเกษตร และตรวจหาสารพิษในร่างกาย ดังนี้ ครั้งที่ 1 เกษตรกรเข้าร่วมโครงการจานวน 38 ราย ผลการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด พบว่า ปริมาณของเกษตรกรที่มีความเสี่ยงของสารเคมีในเลือดค่อนข้างสูง โดยมีเกษตรกรที่มีความ เสี่ยง ดังนี้ ระดับ 4 ไม่ปลอดภัย มีจานวน 12 ราย ระดับ 3 มีความเสี่ยง มีจานวน 14 ราย ระดับ 2 มีความปลอดภัย มีจานวน 2 ราย ระดับ 1 ปกติ มีจานวน 10 ราย จะเห็นได้ว่า เกษตรกรมีสารเคมีตกค้างค่อนข้างสูง ผลการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด ครั้งที่ 2 เกษตรกรเข้าร่วมโครงการจานวน 38 ราย ผลการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด (รายเดิม ) พบว่า ปริมาณของเกษตรกรที่มีความเสี่ยงของสารเคมีในเลือดเพิ่มขึ้น โดยมีเกษตรกรที่มี ความเสี่ยง ดังนี้ ระดับ 4 ไม่ปลอดภัย มีจานวน 14 ราย ระดับ 3 มีความเสี่ยง มีจานวน 24 ราย ระดับ 2 มีความปลอดภัย มีจานวน ไม่มี ระดับ 1 ปกติ มีจานวน ไม่มี จะเห็นได้ว่า ปริมาณเกษตรกรมีแนวโน้มในปริมาณสารเคมีตกค้างในเลือด ใน ระดับ4 เพิ่มขึ้นจานวน 2 ราย และระดับ 3 เพิ่มขึ้น จานวน 10 ราย จาการตรวจเลือดของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการรณรงค์การลดการใช้สารเคมีการเกษตร และตรวจหาสารพิษในร่างกายคิดเป็นค่าร้อยละ ดังนี้ ครั้งที่ 1 คิดเป็นค่าร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการรณรงค์การลดการใช้สารเคมีการเกษตรและ ตรวจหาสารพิษในร่างกาย ดังนี้ ระดับ 4 ไม่ปลอดภัย คิดเป็นร้อยละ 31.57 ระดับ 3 มีความเสี่ยง คิดเป็นร้อยละ 36.84 ระดับ 2 มีความปลอดภัย คิดเป็นร้อยละ 5.26 ระดับ 1 ปกติ คิดเป็นร้อยละ 26.31 ครั้งที่ 2 คิดเป็นค่าร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการรณรงค์การลดการใช้สารเคมีการเกษตรและ ตรวจหาสารพิษในร่างกาย เพิ่มขึ้นจากครั้งที่ 1ดังนี้ ระดับ 4 ไม่ปลอดภัย คิดเป็นร้อยละ 36.81 ระดับ 3 มีความเสี่ยง คิดเป็นร้อยละ 63.15 ระดับ 2 มีความปลอดภัย คิดเป็นร้อยละ 0 ระดับ 1 ปกติ คิดเป็นร้อยละ 0 สรุปจาก ผลการตรวจเลือดในครั้งที่ 1 พบว่า การตรวจหาเอ็นไซม์คลอรีนเอสเตอเรสโดย กระดาษทดสอบพิเศษ มีเกษตรกรที่มีผลการตรวจเลือด ระดับ 4 สีเขียวเข้ม แสดงระดับไม่ปลอดภัย หรือระดับเอ็นไซม์โคลีน-เอสเตอเรสมีค่าต่ากว่า 75 หน่วยต่อมิลลิลิตร คิดเป็นร้อยละ 31.57 มีผลการ


21

ตรวจเลือดระดับ 3 สีเขียว แสดงระดับมีความเสี่ยง หรือระดับเอ็นไซม์โคลีน -เอสเตอเรสมีค่ามากกว่า หรือเท่ากับ 75 แต่ไม่ถึง 87.5 หน่วยต่อมิลลิลิตร คิดเป็นร้อยละ 36.84 มีผลการตรวจเลือด ระดับ 2 สีเหลืองอมเขียว แสดงระดับปลอดภัย หรือระดับเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรสมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 87.5 หน่วยต่อมิลลิลิตร คิดเป็นร้อยละ 5.26 มีผลการตรวจเลือด ระดับ 1 สีเหลือง แสดงระดับปกติ หรือระดับเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรสมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 100 หน่วยต่อมิลลิลิตร คิดเป็นร้อยละ 26.31 ผลการตรวจเลือดครั้งที่ 2 พบว่า การตรวจหาเอ็นไซม์คลอรีนเอสเตอเรสโดยกระดาษ ทดสอบพิเศษ มีเกษตรกรที่มีผลการตรวจเลือด ระดับ 4 สีเขียวเข้ม แสดงระดับไม่ปลอดภัยหรือระดับ เอ็นไซม์โคลีน-เอสเตอเรสมีค่าต่ากว่า 75 หน่วยต่อมิลลิลิตร คิดเป็นร้อยละ 36.81 มีผลการตรวจ เลือดระดับ 3 สีเขียว แสดงระดับมีความเสี่ยง หรือระดับเอ็นไซม์โคลีน -เอสเตอเรสมีค่ามากกว่าหรือ เท่ากับ 75 แต่ไม่ถึง 87.5 หน่วยต่อมิลลิลิตร คิดเป็นร้อยละ 63.15 มีผลการตรวจเลือด ระดับ 2 สี เหลืองอมเขียว แสดงระดับปลอดภัย หรือระดับเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรสมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 87.5 หน่วยต่อมิลลิลิตร คิดเป็นร้อยละ 0 มีผลการตรวจเลือด ระดับ 1 สีเหลื อง แสดงระดับปกติ หรือระดับเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรสมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 100 หน่วยต่อมิลลิลิตร คิดเป็นร้อยละ 0 จากผลการตรวจเลือดดังกล่าว องค์การบริหารส่วนตาบลคลองเขื่อน ได้รณรงค์เพื่อสร้างความเข้าใจ ให้เกษตรกรตระหนักถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับตนเอง ส่งเสริม ให้มีสุขภาพที่ดีลดปัญหาการเกิดโรค ที่มีสาเหตุจากสารเคมีสะสมในร่างกาย และทราบวิธีในการบาบัดสารพิษออกจากร่างกาย โดยให้ เกษตรกรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเกษตรกร ตลอดจนบาบัดสารเคมีที่ตกค้างออกร่ายกายโดยใช้ สมุนไพรรางจืดชนิดแคปซูล ให้กับเกษตรกรที่มีความเสี่ยง และนัดหมายให้เกษตรมาตรวจสารพิษใน ร่างกายอีก ทุก 30 วัน จนกว่าผลการตรวจเปรียบเทียบกับค่าพื้นฐาน ไม่เกิน 1 ระดับ หรือระดับ ปลอดภัยซึ่งมีสีเหลืองอมเขียว และควรเจาะติดตามหลังจาก 6 เดือน เพื่อเฝ้าระวังการปฏิบัติของ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและการให้คาแนะนาเกษตรกรในกรณีหลังการทดสอบพบว่าระดับเอ็นไซม์โคลีน เอสเตอเรสต่ากว่าปกติหยุดการรับสัมผัสโดยหยุดการใช้สารเคมีที่มีความเป็นพิษร้ายแรงและสวม อุปกรณ์ป้องกันทุกครั้งที่มีการใช้สารเคมี ใช้สมุนไพรที่ได้รับการยอมรับทางการแพทย์ในการลดล้าง พิษ นอกจากนี้ อบต.คลองเขื่อนยังได้มีการดาเนิ นโครงการในการรณรงค์ล ดการใช้ส ารเคมีใน ป้องกันกาจัดศัตรูพืช ได้แก่โครงการผลิตเชื้อบิวเวอเรียเพื่อป้องกันกาจัดแมลงศัตรูข้าว ผลิตเชื้อไตร โครเดอม่า เพื่อป้องกันกาจัดโรคข้าว หลังจากหว่านข้าวแล้ว 20 วัน การป้องกันกาจัดแมลงศัตรู มะพร้าว โดยวิธีผสมผสาน เช่น ตัดทางใบมาเผาทาลาย การพ่นเชื้อ บีที และการปล่อยศัตรูธรรมชาติ แตนเบียนบราคอน (Bracon hebeter) ซึ่งการปล่อยแตนเบียนบราคอน เป็นวิธีการควบคุมพื้นที่ ไม่ให้มีการระบาดขยายวงกว้างและต้องปล่อยแตนเบียนอย่างต่อเนื่องจะสามารถป้องกันกาจัดได้ อย่างยั่งยืน


22

บทที่ 5 บทสรุป และข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไข การศึกษาเรื่อง การแก้ปัญหาการปนเปื้อนหรือตกค้างของสารเคมีในกระบวนการผลิตด้าน เกษตรกรรม ในพื้นที่ที่ นักบริหารการเกษตร รุ่นที่ 1 กลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 ปฏิบัติงาน ซึ่งมีพื้นที่ อปท.ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จานวน 14 แห่ง ภาคเหนือ 4 แห่ง ภาคตะวันออก 2 แห่ง และ พื้นที่กรณีศึกษา อบต.คลองเขื่อน อาเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้ผลสรุปดังนี้ 1.บทสรุป การศึกษาโดยการวิเคราะห์ข้อมูลจากพื้นที่ อปท.ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จานวน 14 แห่ง ภาคเหนือ 4 แห่ง ภาคตะวันออก 2 แห่ง ได้บทสรุปดังนี้ พืชเศรษฐกิจในพื้นที่ พื้นทีภ่ าคอีสานตอนบน พืชเศรษฐกิจที่สาคัญ คือ ข้าว อ้อยและ มันสาปะหลัง ภาคอีสานตอนล่าง พืชเศรษฐกิจที่สาคัญ คือ มันสาปะหลัง ข้าว อ้อย ภาคเหนือพืชเศรษฐกิจที่สาคัญ มันสาปะหลัง ข้าว อ้อย ภาคตะวันออก พืชเศรษฐกิจที่สาคัญ คือ มันสาปะหลัง อ้อย ยางพารา สารเคมีทางการเกษตรที่ใช้ พื้นที่ภาคอีสานตอนบน สารเคมีทางการเกษตรที่ใช้ คือ ปุ๋ยเคมี สารเคมี กาจัดแมลง สารเคมีป้องกันโรคพืช พื้นที่ภาคอีสานตอนล่าง สารเคมีทางการเกษตรที่ใช้ คือ ปุ๋ยเคมี สารเคมีกาจัดแมลง สารเคมีป้องกันโรคพืช สารกาจัดวัชพืช พื้นที่ภาคเหนือ สารเคมีทางการเกษตรที่


23

ใช้ คือ ปุ๋ยเคมี สารเคมีป้องกันกาจัดแมลง สารเร่งการเจริญเติบโต พื้นที่ภาคตะวันออก สารเคมี ทางการเกษตรที่ใช้ คือ ปุ๋ยเคมี สารเคมีป้องกันกาจัดแมลง สารเคมีกาจัดวัชพืช โรคพืชที่ระบาดในพื้นที่ พื้นที่ภาคอีสานตอนบน โรคพืชที่ ระบาดในพื้นที่ คือ โรคไหม้ข้าว โรคใบ ขาวอ้อย พื้นที่ภาคอีสานตอนล่าง โรคพืชที่ระบาดในพื้นที่ คือ โรคไหม้ข้าว โรคใบไหม้ โรคใบขาว อ้อย พื้นที่ภาคเหนือ โรคพืชที่ระบาดในพื้นที่ คือ โรคไหม้ข้าว โรครากเน่าและโคนเน่า พื้นที่ภาค ตะวันออก โรคพืชที่ระบาดในพื้นที่ คือ โรคใบไหม้ข้าว โรคถอดฝักดาบ โรคใบจุดสีน้าตาล แมลงศัตรูพืชที่พบระบาด พื้นที่ภาคอีสานตอนบน แมลงศัตรูพืชที่พบระบาด คือ เพลี้ยกระโดดสี น้าตาล เพลี้ยแป้งมันสาปะหลัง พื้นที่ภาคอีสานตอนล่าง แมลงศัตรูพืชที่พบระบาด คือ เพลี้ยแป้ง เพลี้ยไฟ เพลี้ยกระโดดสีน้าตาล พื้นที่ภาคเหนือ แมลงศัตรูพืชที่พบระบาด คือ เพลี้ยไฟและไรแดงใน มันสาปะหลัง ไรสนิมส้ม พื้นที่ ตะวันออก แมลงศัตรูพืชที่พบระบาด คือ เพลี้ยไฟในนาข้าว เพลี้ย กระโดดสีน้าตาล หนอนชนิดต่างๆ สัตว์ศัตรูพืชที่ระบาด พื้นที่ภาคอีสานตอนบน สัตว์ศัตรูพืชที่พบระบาด คือ หอยเชอรี่ พื้นที่ภาคอีสาน ตอนล่าง สัตว์ศัตรูพืชที่พบระบาด คือหอยเชอรี่ หนูนา ปูนา พื้นที่ภาคเหนือ ไม่พบว่ามีศัตรูพืชใน พื้นที่ พื้นที่ภาคตะวันออก ไม่พบว่ามีศัตรูพืชในพื้นที่ การอบรมให้ความรู้ เกษตรกร พื้นที่ภาคอีส านตอนบน การอบรมความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการใช้ สารเคมีด้านการเกษตร พื้นที่ภาคอีสานตอนล่าง การอบรมความรู้การใช้สารเคมีเกษตรอย่างถูกต้อง พื้นที่ภาคเหนือ การฝึกอบรมความรู้การใช้สารเคมีเกษตรอย่างถูกต้อง และอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับ ระบบการทาเกษตรปลอดสารพิษและเกษตรอินทรีย์ พื้นที่ภาคตะวันออก การฝึกอบรมตามโครงการ รณรงค์ลดการใช้ส ารเคมีการเกษตรและการตรวจหาสารพิษในร่างกาย โครงการส่ งเสริมพัฒนา ศักยภาพเกษตรกร (เทคโนโลยีการป้องกันกาจัดศัตรูมะพร้าว) และจัดทาแปลงสาธิตเกษตรอินทรีย์ การตกค้างสารเคมีในกระบวนการผลิตด้านเกษตรกรรม พื้นที่ภาคอีสานตอนบน มีการสุ่มตรวจ สารพิษตกค้างในเลือดของเกษตรกร พบว่ามากกว่าร้อยละ 80 ของเกษตรกรที่สุ่มตัวอย่าง มีสารพิษ ตกค้างในเลือด พื้นที่ภาคอีสานตอนล่าง มีการสุ่มตรวจสารพิษตกค้างในเลือดของเกษตรกร พบว่า มี สารพิษตกค้างในเลือด พื้นที่ภาคเหนือ มีการตรวจพบการตกค้างของสารเคมีในกระบวนการผลิต พื้นที่ภาคตะวันออก มีการตรวจสารเคมีในเลือดของเกษตรกร การแก้ไขปัญหา พื้นที่ภาคอีสานตอนบน การฝึกอบรมส่งเสริมการทาปุ๋ยอินทรีย์ และส่งเสริมการใช้ ปุ๋ยพืชสด การฝึกอบรมส่งเสริมการป้องกันกาจัดศัตรูพืชโดยชีววิธี และการฝึกอบรมส่งเสริมการใช้สาร ชีวภัณฑ์ในการป้องกันกาจัดศัตรูพืช ได้แก่ เชื้อราไตรโคเดอร์มา บิวเวอร์เรีย แบคทีเรียบาซิลลัส ทู ริงเจเนซิส แมลงช้างปีกใส พื้นที่ภาคอีสานตอนล่าง ฝึกอบรมส่งเสริมการทาปุ๋ยอินทรีย์ ฝึกอบรม ส่งเสริมการป้องกันกาจัดศัตรูพืชโดยชีววิธี และฝึกอบรมส่งเสริมการใช้สารชีวภัณฑ์ในการป้องกัน กาจัดศัตรูพืช ได้แก่ เชื้อราไตรโคเดอร์มา บิวเวอร์เรีย แบคทีเรียบาซิลลัส ทูริงเจเนซิส แมลงช้างปีก


24

ใส พื้นที่ภาคเหนือ การฝึกอบรมเผยแพร่ความรู้การใช้สารเคมีทางการเกษตรที่ถูกต้องและเหมาะสม แก่เกษตรกร รวมทั้งส่งเสริมการเรียนรู้ และรณรงค์ให้เกษตรกรปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติตน ตามวิธีการใช้สารเคมีที่ถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญ พื้นที่ภาคตะวันออก ให้ความสาคัญในการให้คาแนะนา และรณรงค์ให้เกษตรกรลดการใช้สารเคมี สรุปปัญหาและการแก้ไขปัญหาภาพรวม เกษตรกรส่วนใหญ่ยังมีการใช้สารเคมีทางการเกษตรกันอย่างแพร่หลายในแต่ละพื้นที่ โดยที่ เกษตรกรมีเจตนาเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร และเกษตรกรส่วนใหญ่มีพฤติกรรมในการใช้สารเคมี ทางการเกษตรไม่ถูกต้องปลอดภัยซึ่งปัจจุบันสารเคมีทางการเกษตรหาซื้อง่าย การใช้ไม่ยุ่งยากเห็นผล รวดเร็ว เกษตรกรจึงมีการใช้สารเคมีทางการเกษตรเป็นจานวนมากและเกินความจาเป็น จนเกิด ปัญหาคือต้นทุนการผลผลิตสูง สุขภาพของเกษตรกรแย่ลง เกิดการปนเปื้อนของสารเคมีในดิน แหล่ง น้า และอากาศ ก่อให้เกิดผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม แนวทางแก้ไข 1. จั ดฝึกอบรมในด้านการใช้สารเคมีทางการเกษตร พิษตกค้างในร่ างกาย จากหน่วยงานทึ่ เกี่ยวข้อง เช่น กรมวิชาการเกษตร สาธารณสุขจังหวัด กรมส่งเสริมการเกษตร เป็นต้น 2. รณรงค์การใช้สารสกัดจากธรรมชาติทดแทน 3. ออกข้อบัญญัติหรือเทศบัญญัติ ห้ามติดป้ายโฆษณาสารเคมีในพื้นที่ 4. ส่งเสริมให้เกษตรกรปฏิบัติตามหลัก เกษตรดีที่เหมาะสม gap พืชแต่ละชนิด 5. ตรวจสารพิษตกค้างในเลือดของเกษตรกรในพื้นที่ 2. บทสรุป กรณีศึกษาอบต.คลองเขื่อน อาเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา สรุปได้ดังนี้ จาการตรวจเลือดของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการรณรงค์การลดการใช้สารเคมีการเกษตร และตรวจหาสารพิษในร่างกายคิดเป็นค่าร้อย ดังนี้ ครั้งที่ 1 คิดเป็นค่าร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการรณรงค์การลดการใช้สารเคมีการเกษตรและ ตรวจหาสารพิษในร่างกาย ดังนี้ ระดับ 4 ไม่ปลอดภัย คิดเป็นร้อยละ 31.57 % ระดับ 3 มีความเสี่ยง คิดเป็นร้อยละ 36.84 % ระดับ 2 มีความปลอดภัย คิดเป็นร้อยละ 5.26 % ระดับ 1 ปกติ คิด เป็นร้อยละ 26.31 % ครั้งที่ 2 คิดเป็นค่าร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการรณรงค์การลดการใช้สารเคมีการเกษตรและ ตรวจหาสารพิษในร่างกาย เพิ่มขึ้นจากครั้งที่ 1ดังนี้ระดับ 4ไม่ปลอดภัย คิดเป็นร้อยละ 36.81 % ระดับ 3 มีความเสี่ยง คิดเป็นร้อยละ 63.15 ระดับ 2 มีความปลอดภัย คิดเป็นร้อยละ 0 %ระดับ 1 ปกติ คิดเป็นร้อยละ 0% จากผลการตรวจเลือดดังกล่าว องค์การบริหารส่วนตาบลคลองเขื่อน ได้รณรงค์เพื่อสร้าง ความเข้าใจให้เกษตรกรตระหนักถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้น กับตนเอง ส่งเสริมให้มีสุขภาพที่ดีลดปัญหา การเกิดโรคที่มีสาเหตุจากสารเคมีสะสมในร่างกาย และทราบวิธีในการบาบัดสารพิษออกจากร่างกาย โดยให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเกษตรกร ตลอดจนบาบัดสารเคมีที่ตกค้างออกร่ายกายโดย


25

ใช้สมุนไพรรางจืดชนิดแคปซูล ให้กับเกษตรกรที่มีความเสี่ยง และนัดหมายให้เกษตรมาตรวจสารพิษ ในร่างกายอีก ทุก 30 วัน จนกว่าผลการตรวจเปรียบเทียบกับค่าพื้นฐาน ไม่เกิน 1 ระดับ หรือระดับ ปลอดภัยซึ่งมีสีเหลืองอมเขียว และควรเจาะติดตามหลังจาก 6 เดือน เพื่อเฝ้าระวังการปฏิบัติของ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและการให้คาแนะนาเกษตรกรในกรณีหลังการทดสอบพบว่าระดับเอ็นไซม์โคลีน เอสเตอเรสต่ากว่าปกติหยุดการรับสัมผัสโดยหยุดการใช้สารเคมีที่มีความเป็นพิษร้ายแรงและสวม อุปกรณ์ป้องกันทุกครั้งที่มีการใช้สารเคมี ใช้สมุนไพรที่ได้รับการยอมรับทางการแพทย์ในการลดล้าง พิษ นอกจากนี้ อบต.คลองเขื่อ นยังได้มีการดาเนินโครงการในการรณรงค์ลดการใช้สารเคมีใน ป้องกันกาจัดศัตรูพืช ได้แก่โครงการผลิตเชื้อบิวเวอเรียเพื่อป้องกันกาจัดแมลงศัตรูข้าว ผลิตเชื้อไตร โครเดอม่า เพื่อป้องกันกาจัดโรคข้าว หลังจากหว่านข้าวแล้ว 20 วัน การป้องกันกาจัดแมลงศัตรู มะพร้าว โดยวิธีผสมผสาน เช่น ตัดทางใบมาเผาทาลาย การพ่นเชื้อ บีที และการปล่อยศัตรูธรรมชาติ แตนเบียนบราคอน (Bracon hebeter) ซึ่งการปล่อยแตนเบียนบราคอน เป็นวิธีการควบคุมพื้นที่ ไม่ให้มีการระบาดขยายวงกว้างและต้องปล่อยแตนเบียนอย่างต่อเนื่องจะสามารถป้องกันกาจัดได้ อย่างยั่งยืน

ภาคผนวก


26

เครื่องมือชุดที่ 1 แบบสอบถาม เรื่อง ปัญหาการปนเปื้อนหรือตกค้างของสารเคมีในกระบวนการผลิตด้านเกษตร อปท.ของท่านมีแนว ทางแก้ไขอย่างไร 1. พืชเศรษฐกิจที่สาคัญในพื้นที่ของท่านคือ……………………………………………………………………. 2. สารเคมีทางการเกษตรที่เกษตรกรในพื้นที่ของท่านใช้คือ……………………………………………….. 3. โรคพืชที่ระบาดในพื้นที่ของท่านคือ………………………………………………………………………….. 4. แมลงศัตรูพืชที่พบและเป็นปัญหาในพื้นที่ของท่านคือ…………………………………………………… 5. สัตว์ศัตรูพืชที่พบและเป็นปัญหาในพื้นที่ของท่านคือ……………………………………………………. 6. ในพื้นที่ของท่านมีการอบรมให้ความรู้ ในการใช้สารเคมีทางการเกษตรหรือไม่อย่างไร……….. 7. ในพื้นที่ของท่านมีปัญหาหรือตรวจพบการตกค้างของสารเคมีในกระบวนการผลิตด้านเกษตรกรรม หรือไม่ มีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร


27

เครื่องมือชุดที่ 2 การสนทนากลุ่ม (Focus Group) การสนทนากลุ่ม(Focus Group) คณะผู้ศึกษาได้กาหนดประเด็นการสนทนาซักซ้อม ความเข้าใจในการจัดสนทนาเตรียมประเด็นการสนทนา เพื่อให้ได้ประเด็นสนทนาที่ตรงตาม วัตถุประสงค์และกาหนดประเด็นไม่ให้มีหลายประเด็นเกินไปแต่ให้ครอบคลุมสาระสาคัญซึ่งมีประเด็น การสนทนากลุ่มดังนี้ 1. สภาพปัญหาการปนเปื้อนหรือตกค้างของสารเคมีในกระบวนการผลิตด้านเกษตรกรรม ในพื้นที่ที่นักศึกษานักบริหารการเกษตร รุ่นที่ 1 กลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 ปฏิบัติงาน ซึ่งมีพื้นที่อปท.ใน เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จานวน 14 แห่ง ภาคเหนือ 4 แห่ง ภาคตะวันออก 1 แห่ง และพื้นที่ กรณีศึกษา อบต.คลองเขื่อน อาเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา 2. ข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาการปนเปื้อนหรือตกค้างของสารเคมีในกระบวนการ ผลิตด้านเกษตรกรรมในพื้นที่ที่นักศึกษานักบริหารการเกษตร รุ่นที่ 1 กลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 ปฏิบัติงาน ซึ่งมีพื้นที่อปท.ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จานวน 14 แห่ง ภาคเหนือ 4 แห่ง ภาค ตะวันออก 1 แห่ง และพื้นที่กรณีศึกษา อบต.คลองเขื่อน อาเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อดาเนินการสนทนากลุ่มครบทุกประเด็นแล้ว ผู้ดาเนินการสนทนากลุ่ม ได้เปิดโอกาสให้ ผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่มได้แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติ เพื่อหาข้อสรุปแนวทางการแก้ไขปัญหาการปนเปื้อน หรือตกค้างของสารเคมีในกระบวนการผลิตด้านเกษตรกรรมในพื้นที่ที่นักศึกษานักบริหารการเกษตร รุ่นที่ 1 กลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 ปฏิบัติงาน


28

โครงการรณรงค์การลดการใช้สารเคมีการเกษตรและการตรวจหาสารพิษในร่างกาย โดย องค์การบริหารส่วนตาบลคลองเขื่อน บูรณาการร่วมกับ สานักงานสาธารณสุข อาเภอคลองเขื่อน , โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบล หมู่ที่ 3 , หมู่ที่ 5 1. หลักการและเหตุผล ตามพระราชบัญญัติสภาตาบลและองค์การบริหารส่วนตาบล พ.ศ. 2537 แก้ไข เพิ่มเติม ( ฉบับที่ 5 )พ.ศ.2546 มาตรา 68 ( 7 ) องค์การบริหารส่วนตาบลมีหน้าที่บารุงและ ส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร และพระราชบัญญัติกาหนดแผนและขั้นตอนการกระจาย อานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 มาตรา 16 ( 19 ) เรื่องการสาธารณสุข การ อนามัยครอบครัวและการรักษาพยาบาล เป็นอานาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตาบล ประชาชนในเขตพื้นที่อ งค์การบริ ห ารส่ ว นตาบลคลองเขื่อนส่ ว นใหญ่มีอาชีพ ท า การเกษตรคิดเป็นร้อยละ 80 จากสภาพเศรษฐกิจและสังคมยุคปัจจุบันการแข่งขันให้ได้ผลผลิตทาง การเกษตรเพื่อให้มีกาไรมากที่สุด ใช้ระยะเวลาในการผลิตน้อยลง เกษตรกรจึงคิดค้นหาวิธีการใหม่ๆ รวมทั้งการใช้สารเคมีเพื่อเร่งผลผลิต หรือกาจัดศัตรูพืชอย่างแพร่หลาย เป็นผลให้เกษตรกรมีความ เสี่ยงที่จะได้รับสารเคมีเข้าสะสมในร่างกายและตกค้างในกระแสเลือดได้ ซึ่งสารเคมีเหล่านี้มีทั้งที่ทาให้ เกิดพิษต่อร่างกายทันที อาจมีอาการเล็กน้อย จนถึงขั้นรุนแรง ได้แก่ อาการปวดศีรษะ วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด ตาลาย ปวดแน่นท้อง บางรายมีอาการรุนแรง ได้แก่ ชัก ตับวาย หัวใจวายและตายในที่สุด สารเคมีบางชนิดที่สะสมในร่างกายนานๆจะก่อพิษเรื้อรังทาอันตรายต่อตับ ไต กดภูมิคุ้มกันในร่างกาย ทาให้เกิดโรคแทรกซ้อนแก่เกษตรกรได้ง่าย องค์การบริหารส่วนตาบลคลองเขื่อนได้เล็งเห็นความสาคัญเรื่องสุขภาพของ เกษตรกรและประชาชน จึงได้ดาเนินการตรวจสารเคมีในเลือดมาทุกปีแต่การดาเนินการที่ผ่านมา พบว่า ประชาชนที่ตรวจเลือดอีกจานวนมากปรากฏยังมีผลเลือดที่มีความเสี่ยงและเป็นอันตราย และ ยังมีประชาชนอีกจานวนหนึ่งที่ยังไม่ได้ตรวจเลือด องค์การบริหารส่วนตาบลคลองเขื่อน จึงได้จัดทา โครงการเพื่อกระตุ้นเตือนให้ประชาชนได้ตระหนักถึงการดูแลสุขภาพ ตลอดจนวิธีดูแลรักษาและ บาบัดสารเคมีออกจากร่างกาย 2.วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเป็นข้อมูลวิเคราะห์ในการแก้ไขปัญหาสุขภาพสาหรับหน่วยงานต่างๆ 2. เพื่อให้เกษตรกรที่มีผลเลือดอันตรายและมีความเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยน พฤติกรรม 3. เพื่อให้เกษตรกรตระหนักถึงการดูแลสุขภาพ


29

4. เพื่อเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพของประชาชนจากโรคที่เกิดจากสารเคมีสะสมในเลือด 3.เป้าหมาย ตรวจเลือดครั้งที่ 1. เกษตรกรและประชาชน หมู่ที่ 1 – หมู่ที่ 6 จานวน 150 คน ตรวจเลือดครั้ง 2. ผู้ที่มีผลเลือดระดับที่มีความเสี่ยง , อันตรายและผู้สนใจ หมู่ที่ 1 –หมู่ที่ 6 จานวน 80 คน 4.วิธีการดาเนินงาน 1. ขั้นตอนเตรียมการ 1.1 เขียนโครงการฯ เพื่อขออนุมัติงบประมาณ 1.2 ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าร่วมโครงการ 1.3 จัดเตรียมวัสดุและสิ่งของตามโครงการฯ 1.4 วางแผนการดาเนินงานออกตรวจเลือดร่วมกับโครงการจัดทาแผนฯ 1.5 ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สาธารณสุขอาเภอคลองเขื่อน ,รพ.สต. คลองเขื่อน หมู่ที่ 3 และ หมู่ที่ 5 และประสานวิทยากรให้ความรู้ในการบาบัดสารพิษออกจาก ร่างกายในการตรวจเลือด ครั้งที่ 2 2. ขั้นตอนการดาเนินการ 2.1 ดาเนินการตามแผนปฏิบัติงาน คือ 2.1.1. ครั้งที่ 1 ตรวจเลือด , แจ้งผลเลือด และแจกเอกสารแผ่นพับ ประชาสัมพันธ์ในการปฏิบัติตนแก่เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ วันที่ 7 – 15 กุมภาพันธ์ 2556 2.2.2 ตรวจเลือดครั้งที่ 2 หลังจากตรวจครั้งแรก ประมาณ 6 เดือน เพื่อ ประเมินผลการปฏิบัติตนของผู้เข้าร่วมโครงการ 3. ขั้นตอนการประเมินผล - ประเมินผลจากผู้เข้าร่วมโครงการฯ 4. สรุปผลรายงานเสนอผู้บังคับบัญชา 5.สถานที่ดาเนินการ หมู่ที่ 1 –หมู่ที่ 6 ตาบลคลองเขื่อน อาเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา 6. ระยะเวลาดาเนินการ - การเตรียมโครงการระหว่างเดือน มกราคม 2556 – เดือนกุมภาพันธ์ 2556 และ ดาเนินโครงการครั้งที่ 1 วันที่ 7-15 กุมภาพันธ์ 2556, ดาเนินโครงการครั้งที่ 2 หลังจากตรวจครั้ง ที่ 1 แล้ว 6 เดือน รายละเอียดดังนี้ การดาเนินการ ระยะเวลาดาเนินการ เดือน เดือน เดือน เดือนส.ค.56 เดือนกันยายน ม.ค. ก.พ มี.ค. 2556 56 56 56


สัปดาห์ที่ 1 สัปดาห์ที่ 2 สัปดาห์ที่ 3 สัปดาห์ที่ 4 สัปดาห์ที่ 1 สัปดาห์ที่ 2 สัปดาห์ที่ 3

30

1.เขียนขอนุมัติจัดทาโครงการ 2.ประชาสัมพันธ์โครงการให้ เกษตรกร 3.ประสานงานกับสาธารณสุขอาเภอ 4.ตรวจเลือดครั้งที่ 1 และแจ้งผล เลือดพร้อมแผ่นพับประชาสัมพันธ์ การปฏิบัติตนและอบรมให้ความรู้ใน การใช้สารเคมีอย่างถูกต้องและ ปลอดภัย 5.ประชาสัมพันธ์ผู้มีผลเลือด 3 , 4 และผู้สนใจร่วมตรวจเลือดครั้งที่ 2 6.ตรวจเลือดครั้งที่ 2 และแจ้งผล เลือด พร้อมกับ 7.รายงานผลการดาเนินโครงการให้ ผู้บริหารทราบ 7.ผู้รับผิดชอบโครงการ 1. ส่วนส่งเสริมการเกษตร องค์การบริหารส่วนตาบลคลองเขื่อน 2. สานักงานสาธารณสุขอาเภอคลองเขื่อน 3. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบลคลองเขื่อน หมู่ที่ 3 ,หมู่ที่ 5 8.งบประมาณ เบิกจ่ายงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนตาบลคลองเขื่อน ส่วนส่งเสริม การเกษตร หมวดค่าใช้สอย ตามโครงการรณรงค์การลดการใช้สารเคมีการเกษตรและตรวจหา สารพิษในร่างกาย หน้า 79 จานวน 10,000.-บาท รายละเอียดดังนี้ ดาเนินการครั้งที่ 1 1. ป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1.20*3.0 ม. จานวน 1 ป้าย จานวน 800 บาท 2. วัสดุอุปกรณ์ในการตรวจ (คงเหลือจากการตรวจครั้งที่แล้ว ) ดาเนินการครั้งที่ 2 1. อาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม 1 มื้อ จานวน 80 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท 2. ค่าวัสดุในการตรวจ(แถบตรวจเลือด ) เป็นเงิน 5,000 บาท


31

รวมงบประมาณทั้งสิ้น 7,800 บาท ( เจ็ดพันแปดร้อยบาทถ้วน ) หมายเหตุ ทุกรายการสามารถถัวจ่ายได้ทุกรายการเท่าที่จ่ายจริง 9.ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. เกษตรกรเข้าใจและตระหนักถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับตนเอง 2. เกษตรกรมีสุขภาพที่ดีลดปัญหาการเกิดโรคที่มีสาเหตุจากสารเคมีสะสมใน ร่างกาย 3. เกษตรกรทราบวิธีในการบาบัดสารพิษออกจากร่างกาย ลงชื่อ ...................................... ผู้เสนอโครงการ ( นางสาวจุฑาพร แก่นอ้วน ) หัวหน้าส่วนส่งเสริมการเกษตร ลงชื่อ.จ.อ.....................................ผู้เห็นชอบโครงการ ( สุนทร กลิ่นไม้ ) รองปลัดองค์การบริหารส่วนตาบลคลองเขื่อน ลงชื่อ......................................ผู้เห็นชอบโครงการ ( นายนรศิษฐ์ ทิพยทัศน์ ) ปลัดองค์การบริหารส่วนตาบลคลองเขื่อน ลงชื่อ.....................................ผู้อนุมัติโครงการ ( นายประวิทย์ สมบูรณ์ ) นายกองค์การบริหารส่วนตาบลคลองเขื่อน


32

กาหนดการโครงการรณรงค์การลดการใช้สารเคมีการเกษตรและตรวจหาสารพิษในร่างกาย โดย องค์การบริหารส่วนตาบลคลองเขื่อน บูรณาการร่วมกับสานักงานสาธารณสุข อาเภอคลองเขื่อน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบลคลองเขื่อน หมู่ที่ 3 ,หมู่ที่ 5 ***********************************

ลาดับที่ วัน / เดือน /ปี 1 7 กุมภาพันธ์ 2556 2 7 กุมภาพันธ์ 2556 3 8 กุมภาพันธ์ 2556 4 11 กุมภาพันธ์ 2556 5 15 กุมภาพันธ์ 2556 6 15 กุมภาพันธ์ 2556

เวลา เวลา 09.00 – 12.00 น. เวลา 13.30 – 16.00 น. เวลา 09.00 – 12.00 น. เวลา 09.00 – 12.00 น. เวลา 09.00 – 12.00 น. เวลา 13.30 – 16.00 น.

สถานที่ ณ ศาลาประชาคม หมู่ที่ 1 ณ ศาลาประชาคม หมู่ที่ 4 ณ ศาลาประชาคม หมู่ที่ 5 ณ ศูนย์สาธิตการตลาด หมู่ที่ 2 ณ หอประชุม ร.ร.วัดคลองเขื่อน ณ ศาลาประชาคมหมู่ที่ 6


33

โครงการส่งเสริมการลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรโดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง 1.หลักการและเหตุผล ตามพระราชบัญญัติสภาตาบลและองค์การบริหารส่วนตาบล พ.ศ. 2537 แก้ไข เพิ่มเติม ( ฉบับที่ 5 )พ.ศ.2546 มาตรา 68 ( 7 ) องค์การบริหารส่วนตาบลมีหน้าที่บารุงและส่งเสริม การประกอบอาชีพของราษฎร เป็นอานาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตาบล และพระราชบัญญัติ กาหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 มาตรา 16 ( 6 ) การส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพ และ มาตรา 16 ( 7 ) การพาณิชย์ และการส่งเสริมการ ลงทุน เมื่อมีการกล่าวถึง เศรษฐกิจพอเพียง ในฐานะแนวความคิดหรือปรัชญาในการ ดารงชีวิต "ทฤษฎีใหม่" ก็มักจะได้รับการกล่าวอ้างถึงควบคู่กันเสมอในฐานะตัวอย่างหรือแนวทางใน การนา หลักเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติเพราะทฤษฎีใหม่ คือการเลี้ยงตัวเองได้ในระดับชีวิตที่ ประหยัด มีการผลิตที่พึ่งตนเองได้ด้วยวิธีง่าย ๆ ค่อยเป็นค่อยไปตามกาลัง ให้พอมีพอกินไม่อดอยาก มีการผลิต ข้าวบริโภคพอเพียงประจาปี หลักการของเกษตรทฤษฎีใหม่ คือ การทาไร่นาสวนผสมและ การเกษตรผสมผสาน มีการ ปลูกพืชผักสวนครัว การทาปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกและใช้วัสดุเหลือใช้มาเป็น ปัจจัยการผลิตปุ๋ย เพื่อลดค่า ใช้จ่าย และบารุงดิน เช่น การเพาะเห็ดฟางจากวัสดุเหลือใช้ในไร่นา การ ปลูกไม้ผลสวนหลังบ้าน และไม้ใช้สอยในครัวเรือน การปลูกพืชสมุนไพร ช่วยส่งเสริมสุขภาพอนามัย การเลี้ยงปลาในร่อง สวน ในนาข้าวและแหล่งน้า เพื่อเป็นอาหารโปรตีนและรายได้เสริม การเลี้ยงไก่ พื้นเมือง และไก่ไข่ ประมาณ ๑๐-๑๕ ตัว ต่อครัวเรือน เพื่อเป็นอาหารในครัวเรือน โดยใช้เศษอาหาร รา และปลายข้าว จากผลผลิตการทานา ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากการปลูกพืชไร่ และการทาก๊าซชีวภาพ จากมูลสัตว์ ที่เลี้ยงไว้ รวมทั้งการประกอบอาชีพเสริม เช่น การจักสาน ถัก ทอ แปรรูปอาหาร เป็นต้น การทาการเกษตรทฤษฎีใหม่นั้น กิจกรรมทุกอย่างจะพึ่ง กันและกัน เช่น การเลี้ยงปลาในนาข้าว ผลผลิตจากข้าวเป็นอาหารปลา ในขณะที่ปลาจะกินแมลงศัตรูข้าว และมูลปลาเป็นปุ๋ยต้นข้าว การ ปลูกผักกับการเลี้ยงไก่ ไก่กินเศษพืชผัก มูลไก่เป็นปุ๋ย สาหรับผัก การใช้ทรัพยากรในไร่นา มูลสัตว์ทา เป็นปุ๋ยคอก เศษหญ้า ใบไม้ทาปุ๋ยหมัก เศษพืชผักเป็นอาหารปลา ฟางข้าว ใช้เพาะเห็ด


34

องค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นต าบลคลองเขื่ อ น ร่ ว มกั บ ศู น ย์ บ ริ ก ารและถ่ า ยทอด เทคโนโลยีการเกษตรประจาตาบล จึงจัดทาโครงการส่งเสริมการลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรโดย ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง ในแปลงสาธิต จานวน 1 ไร่ เพื่อเป็นต้นแบบให้ประชาชนในตาบลคลอง เขื่อนได้ศึกษาและนาแบบอย่างการจัดสรรพื้นที่ไปประยุกต์ใช้ในแปลงนาตนเอง 2.วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเป็นต้นแบบการจัดสรรพื้นที่ในแปลงนาและเกษตรกรสามารถนาไปปฏิบัติใน พื้นที่ตนเอง 2. เพื่อให้เกษตรกรสามารถพึ่งตนเองได้ โดยใช้วัสดุเหลือใช้ภาคการเกษตรมาผลิต เป็นปุ๋ยลดการพึ่งพาจากภายนอก 3. เพื่อเป็ นการย้ อนวิถีชีวิตให้ สั งคมมีการช่ว ยเหลือ แบ่งปันกัน และสร้างความ สามัคคีในชุมชน 3.เป้าหมาย เกษตรกรตาบลคลองเขื่อน ร่วมกับคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอด เทคโนโลยีการเกษตรประจาตาบลคลองเขื่อน ร่วมกันดาเนินกิจกรรมในแปลงสาธิต ตลอดฤดูการผลิต 4.วิธีดาเนินการ 1.ขั้นเตรียมการ 1.1 ประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอด เทคโนโลยีการเกษตรประจาตาบล และคัดเลือกแปลงสาธิต โดย นายกองค์การบริหารส่วนตาบล คลองเขื่อนยินยอมให้ใช้ที่ดิน จานวน 1 ไร่ 1.2 ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สานักงานเกษตรอาเภอคลอง เขื่อน เพื่อจัดเตรียมรายละเอียดโครงการ 1.3 ประสานงานวิทยากรจากสถาบันเศรษฐกิจพอเพียงและมูลนิธิกสิกรรม ธรรมชาติ และจัดสรรพื้นที่ในการทาการเกษตร 2.ขั้นตอนการดาเนินการ 2.1 เตรียมพื้นที่ตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ ( รายละเอียดตามเอกสาร ภาคผนวก ) 2.2 ลงแขกทาเรือนเพาะชา จานวน 1 หลัง 2.3 ปลูกข้าวแปลงสาธิต ( พันธุ์ข้าวไรเบอรี่ ) โดยมีการลงแขกหว่านข้าว 2.4 ฝึกอบรมการลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรโดยใช้หลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง และสาธิตการทาน้าหมักสมุนไพรไล่แมลง 7 รส , ฮอร์โมนพืช ,ปุ๋ยหมักแห้ง ปรับปรุงดิน 2.5 ผลิตเชื้อบิวเวอเรียเพื่อป้องกันกาจัดแมลงศัตรูข้าว และผลิตเชื้อไตร โครเดอม่า เพื่อป้องกันกาจัดโรคข้าว หลังจากหว่านข้าวแล้ว 20 วัน 2.6 ลงแปลงสารวจแปลงนาเรียนรู้โดยกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรข้าว อย่างน้อย 3 ระยะ ระยะที่ 1 หลังหว่านข้าว แล้ว 20 วัน ระยะที่ 2 ข้าวอายุ45 วัน ระยะที่ 3 ข้าวอายุ 60 วัน และมีการสรุปผลการลงสารวจแปลงนา


35

2.7 เก็บเกี่ยวข้าวโดยการลงแขก 3.ขั้นตอนการประเมินผล 1.ติดตามประเมินผลทุก 15 วัน โดยลงพื้นที่สารวจแปลงนาดูการ เจริญเติบโตโดยกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรข้าว 2.เปรียบเทียบต้นทุนและผลผลิต หลังเก็บเกี่ยว 4.สรุปผลรายงานเสนอผู้บังคับบัญชา 5.สถานที่ดาเนินการ แปลงสาธิต หมู่ที่ 4 ตาบลคลองเขื่อน อาเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา 6.ระยะเวลาดาเนินการ ระหว่างเดือนกรกฎาคม – 15 กันยายน 2557 7. งบประมาณ ส่วนส่งเสริมการเกษตร องค์การบริหารส่วนตาบลคลองเขื่อน งบดาเนินงาน ( 530000 ) หมวดค่าใช้สอย (532000 ) ประเภท รายจ่ายเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติราชการที่ไม่เข้า ลักษณะรายจ่ายหมวดอื่นๆ ( 320300 ) จากบัญชีแก้ไขการเปลี่ยนแปลงคาชี้แจงงบประมาณ ครั้งที่ 2 / 2557 วันที่ 2 กรกฎาคม 2557 จานวน 40,000 บาท ( สี่หมื่นบาทถ้วน ) รายละเอียด ดังนี้ กิจกรรมอบรม 1.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม 1 มื้อๆละ 25 บาท / คน จานวน 60 คน เป็นเงิน 1,500 บาท 2.ป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 3.0 ม. *1.0 ม. ราคา 800 บาท 3.ค่าอาหารกลางวันพร้อมน้าดื่ม 1 มื้อๆละ 75 บาท / คน จานวน 60 คน เป็นเงิน 4,500 บาท 4.ค่าวิทยากร 2 ชั่วโมงๆละ 600 /คน จานวน 2 คน เป็นเงิน 2,400 บาท 5.สมุด + ปากกา 15 บาท / ชุด จานวน 60 ชุด เป็นเงิน 900 บาท 6.ถังขนาด 200 ลิตร พร้อมฝา จานวน 3 ใบ เป็นเงิน 2,100 บาท 7.ถังขนาด 120 ลิตร พร้อมฝา จานวน 9 ใบ เป็นเงิน 5,400 บาท 8.กากน้าตาล ขนาด 20 ลิตร /แกลลอน จานวน 5 แกลลอน เป็นเงิน 1,400 บาท 9.อี.เอ็ม จานวน 3 แกลลอน เป็นเงิน 2,100 บาท 10. พันธุ์ข้าวปลูก จานวน 30 กิโลกรัม เป็นเงิน 900 บาท ค่าเตรียมพื้นที่แปลงสาธิต โดยใช้เครื่องจักร ขุด,เกลื่อน และค่ารถไถนา จานวน 4,500 บาท วัสดุอุปกรณ์การผลิตเชื้อบิวเวอเรีย +เชื้อไตรโครเดอม่า เป็นเงิน 1,000 บาท ประกอบด้วย 1.ถุงร้อน ขนาด 7 * 11 นิ้ว + ยางเส้นเล็ก จานวน 1 แพ็ค 2.ข้าวสาร ( จ้าว ) ถุงละ 5 กิโลกรัม จานวน 6 ถุง 3. ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม 1 มื้อๆ จานวน 20 คน


36

4. เชื้อบิวเวอเรีย +เชื้อไตรโครเดอม่า ได้รับการสนับสนุนจากสานักงานเกษตร อาเภอคลองเขื่อน วัสดุอุปกรณ์ในการลงแปลงสารวจแมลง ตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรข้าว จานวน 3 ครั้ง เป็นเงิน 2,000 บาท ประกอบด้วย 1.ถุงใสขนาดใหญ่สาหรับใส่แมลง จานวน 1 แพ็ค 2.อาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม 1 มื้อๆละ 20 คน จานวน 3 ครั้ง 3. กระดาษฟาง จานวน 12 แผ่น 4.แว่นขยาย + สวิงช้อนแมลง ได้รับการสนับสนุนจากสานักงานเกษตรอาเภอคลอง เขื่อน กิจกรรมลงแขกเกี่ยวข้าว 1. ค่าอาหารกลางวันพร้อมน้าดื่ม 1 มื้อๆละ 75 บาท จานวน 60 คน เป็นเงิน 4,500 บาท 2. ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม 1 มื้อๆละ 25 บาท จานวน 60 คน เป็นเงิน 1,500 บาท วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในแปลงสาธิต เช่น จอบ เสียม พลั่ว เสียมพรวน มีดอีโต้ เคียว เกี่ยวข้าว ฯลฯ จานวน 4,500 บาท รวมงบประมาณทั้งสิ้นเป็นเงิน 40,000 บาท ( สี่หมื่นบาทถ้วน ) หมายเหตุ ค่าใช้จ่ายทุกรายการสามารถถัวจ่ายทุกรายการ 8. หน่วยงานรับผิดชอบโครงการ 1. ส่วนส่งเสริมการเกษตร องค์การบริหารส่วนตาบลคลองเขื่อน 2. ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจาตาบล 3. สานักงานเกษตรอาเภอคลองเขื่อน 9.ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1.เกษตรกรสามารถนาแนวทางจัดสรรพื้นที่ไปปรับใช้ในที่ดินของตนเอง ส่งผลให้ เกษตรกรสามารถพึ่งตนเองได้ มีข้าวไว้บริโภคในครัวเรือน 2.เป็นการทาการเกษตรอินทรีย์ ส่งผลให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น เนื่องจาก มีการใช้น้าหมัก สมุนไพร และมีการใช้สารชีวภัณฑ์ป้องกันกาจัดโรคและแมลงศัตรูข้าว 3. ผลผลิตที่ได้มีความปลอดภัย


37

โครงการส่งเสริมพัฒนาศักยภาพเกษตรกร “เทคโนโลยีการป้องกันกาจัดแมลงศัตรูมะพร้าว” ๑. หลักการและเหตุผล ตาบลคลองเขื่อน มีพื้นที่ทาการเกษตรทั้งสิ้ น 19,276 ไร่ และเป็นสวนมะพร้ าว จานวน 901 ไร่ ปัจจุบันมีแมลงศัตรูพืชของมะพร้าวเข้าทาลายหลายชนิด เช่น แมลงดาหนาม หนอนหั ว ดามะพร้ าว ด้ ว งต่ างๆฯลฯ และที่ เป็ นปัญ หาที่ สุ ด ในตอนนี้ คือ หนอนหั ว ดามะพร้า ว ทาลายใบแก่มะพร้าว ส่งผลให้มะพร้าว ในพื้นที่เสียหายจานวนมาก หนอนหัวดามะพร้าวเป็ น แมลงศัตรูมะพร้าวที่ระบาดตั้งแต่ปี 2550 จนถึงปัจจุบันสร้างความเสียหายให้กับเกษตรกรผู้ปลูก มะพร้าวในพื้นที่ตาบลคลองเขื่อนเป็นอย่างมาก ซึ่งการป้องกันกาจัดต้องใช้วิธีผสมผสาน เช่น ตัด ทางใบมาเผาทาลาย การพ่นเชื้อ บีที และการปล่อยศัตรูธรรมชาติ แตนเบี ยนบรา คอน (Bracon hebeter) ซึ่งการปล่อยแตนเบียนบราคอน เป็นวิธีการควบคุมพื้นที่ไม่ให้มีการ ระบาดขยายวงกว้างและต้องปล่อยแตนเบียนอย่างต่อเนื่องจะสามารถป้องกันกาจัดได้อย่างยั่งยืน องค์การบริหารส่วนตาบลคลองเขื่อนเห็นความสาคัญของเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าว จาเป็นต้องเร่งป้องกันกาจัดแมลงศัตรูพืชชนิดนี้ เพื่อป้องกันการระบาดอย่างรุนแรง จึงได้มีการ จัดทาโครงการดังกล่าวเพื่อให้เกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวมีความเข้าใจในวงจรการระบาดของแมลง ศัตรูมะพร้าว ๒. วัตถุประสงค์ของโครงการ ๑. เพื่อตัดวงจรการระบาด ลดความรุนแรงและผลกระทบต่อผลผลิตของเกษตรกร 2. เพื่อสร้างความเข้มแข้งให้ชุมชน ด้านการป้องกันกาจัดและควบคุมการระบาดของ หนอนหัวดามะพร้าวได้อย่างยั่งยืน ๓.ลดการใช้สารเคมีทาให้ต้นทุนการผลิตลดลง ๓. เป้าหมายของโครงการ เกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าว ตาบลคลองเขื่อน จานวน ๖๐ คน ๔. วิธีดาเนินการ ๑.ประสานงานวิทยากร และกาหนดวันอบรม ๒.จัดหาวัสดุฝึกอบรม เช่น ราละเอียด ปลายข้าว ๓. อบรมให้ความรู้การผลิตแตนเบียน


38

๔. ผลิตขยายแตนเบียนบราคอน -อบฆ่าเชื้อ อาหารเลี้ยงหนอนผีเสื้อข้าวสาร -ใส่ไข่ หนอนผีเสื้อข้าวสารในอาหาร -คัดแยกหนอน ที่ได้ขนาด ใส่ภาชนะเบียน -เบียนหนอนผีเสื้อข้าวสารจาก พ่อแม่แตนเบียน -ดูแลหนอนผีเสื้อข้าวสารที่ถูกเบียนแล้ว - ครบกาหนด แตนเบียนจะออกเป็นตัวพร้อมปล่อยสู่สวนมะพร้าวเพื่อไป เบียนหนอนหัวดาในสวนมะพร้าว ๕. สรุปประเมินผลรายงานต่อผู้บังคับบัญชา ๕. ระยะเวลาดาเนินการ วันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๘ ๖. สถานที่ดาเนินการ ห้ อ งประชุ มองค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นต าบลคลองเขื่อ น ตาบลคลองเขื่ อน อ าเภอคลองเขื่ อ น จังหวัดฉะเชิงเทรา และศาลาประชาคม หมู่ที่ ๔ ตาบลคลองเขื่อน ๗. ผู้รับผิดชอบโครงการ ส่วนส่งเสริมการเกษตร องค์การบริหารส่วนตาบลคลองเขื่อน ๘. งบประมาณ จากส่ วนส่งเสริมการเกษตร องค์การบริห ารส่ว นตาบลคลองเขื่อน หน้า ๖๒ งบ ดาเนิน งาน หมวดค่าใช้สอย ประเภทรายจ่ายเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติราชการที่ไม่เข้าลักษณะ รายจ่ายหมวดอื่นๆ โครงการส่งเสริมพัฒนาศักยภาพเกษตรกร จานวน ๓๐,๐๐๐ บาท ดังนี้ ๑. ค่าอาหารกลางวัน จานวน ๖๐ คนๆละ ๗๕ บาท เป็นเงิน ๔,๕๐๐ บาท ๒. ค่าอาหารว่าง+เครื่องดื่ม จานวน ๖๐ คนๆละ๒๕ บาท เป็นเงิน ๑,๕๐๐ บาท ๓. ค่าวิทยากรบรรยาย จานวน ๖ ชม.ๆละ๖๐๐ บาท เป็นเงิน ๓,๖๐๐ บาท ๔. ค่าวัสดุฝึกอบรม เช่น ราละเอียด ปลายข้าว,น้าผึ้ง เป็นเงิน ๓,๐๐๐ บาท ๕. ป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด ๓.๐ * ๑.๒๐ เป็นเงิน ๘๐๐ บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๑๓,๔๐๐ บาท ( หนึ่งหมื่นสามพันสี่ร้อยบาทถ้วน ) หมายเหตุ ค่าใช้จ่ายสามารถถัวจ่ายได้ทุกรายการ ๙. ผลที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการ ๑. เกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวสามารถบริหารจัดการศัตรูมะพร้าวได้ด้วยตนเอง และ ป้องกันกาจัดได้อย่างยั่งยืน ๒. ลดต้นทุนการผลิตในการซื้อสารเคมีกาจัดแมลงศัตรูมะพร้าว ๓. ผลผลิตมีความปลอดภัยสูง


40 รายชื่อผู้เข้าร่วมโครงการรณรงค์การลดการใช้สารเคมีการเกษตรและตรวจหาสารพิษในร่างกาย ครั้งที่ 2 วันที่ 16 สิงหาคม 2556 ณ.หอประชุม ร.ร.โสภณประชาเทวารุทธารักษ์ โดย อบต.คลองเขื่อน ร่วมกับ สนง.สาธารณสุขอาเภอคลองเขื่อน , รพ.สต.คลองเขื่อน ม.5 , ม.3

ที่ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19

ชื่อ - สกุล นางสุมาลี เขตรเขื่อน นางยุพนิ พิศวาส นางสมอน นุชธิสาร นางลาเพย ตันสุทัศน์ นางเฉลียง นิลรัตน์ นายวิโรจน์ บุญคง น.ส.ประแจง นุชธิสาร นายสังเวียน นิลรัตน์ นางสมนึก พิมพ์แก้ว นางวรรฤดี จันทร์อ่า นางบุญสม ลืมสวัสดิ์ นางถวัลย์ เอีย่ มศิริ นางสมปอง รุ่งเรือง นางอุไร นาคสิทธิเลิศ นายอุดร นาคสิทธิเลิศ นายมิน จาระไน นางยุวรี โตสงค์ นางสุภาพ พูลกสิ น.ส.นกเอีย้ ง เกตุแก้ว

การปฏิบัตติ นก่อนทีจ่ ะมาตรวจสารพิษในร่างกายประมาณ 2 -7 วัน ฉีด / บริโภคผัก บริโภคอาหารบรรจุ ดมกลิ่น ดืม่ น้า ใช้ยารักษา ตรวจ ตรวจ ฉีดยาฆ่าแมลง ออกกาลังกาย จุดยากันยุง ท้องตลาด ถุงพลาสติก /โฟม สารเคมี สมุนไพร โรค ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 2 4 3 1 3 3 1 4 3 1 นานๆครั้ง 4 3 1 3 1 4 4 1 4 4 1 4 4 1 บางครั้ง ขมิน้ ,รางจืด 4 4 1 รางจืด 3 4 1 กินยารักษาความดัน 3 3 2 2 3 2 นานครั้ง 3 4 2 นานๆครั้ง ไขมัน ,ความดัน ,เบาหวาน 3 2 ยาหวัด 3 2 น้ามะพร้าว 4 4 2 น้ากระเจี๊ยบ 3 2 น้ากระเจี๊ยบ 3 3 3 3

หมูท่ ี่


41

รายชื่อผู้เข้าร่วมโครงการรณรงค์การลดการใช้สารเคมีการเกษตรและตรวจหาสารพิษในร่างกาย ครั้งที่ 2 วันที่ 16 สิงหาคม 2556 ณ.หอประชุม ร.ร.โสภณประชาเทวารุทธารักษ์ โดย อบต.คลองเขื่อน ร่วมกับ สนง.สาธารณสุขอาเภอคลองเขื่อน , รพ.สต.คลองเขื่อน ม.5 , ม.3

ที่

ชื่อ - สกุล

หมูท ่ ี่

20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38

นายบรรเทิง พุม่ อรุณ นางยุวรี พุม่ อรุณ น.ส.ธิดารัตน์ กลิ่นไม้ นางมาลี เขตเขื่อน นางทวีทรัพย์ ธรรมธร นางประนอม อุยโต นางประนอม วงค์คลองเขื่อน

3 3 3 4 4 3 4

การปฏิบัตติ นก่อนทีจ่ ะมาตรวจสารพิษในร่างกายประมาณ 2 -7 วัน ฉีด / บริโภคผัก บริโภคอาหารบรรจุ ดมกลิ่น ออก ดืม่ น้า ใช้ยารักษา ตรวจ ตรวจ ฉีดยาฆ่าแมลง จุดยากันยุง ท้องตลาด ถุงพลาสติก /โฟม สารเคมี กาลังกาย สมุนไพร โรค ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 บางครั้ง 3 3 4 3 4 4 3 บางครั้ง 3 3 3 3 บางครั้ง 3 3 4 4 บางครั้ง ขมิน้ ,รางจืด 4 4 รางจืด 3 4 กินยารักษาความดัน 3 3 2 3 นานครั้ง 3 4 นานๆครั้ง ไขมัน ,ความดัน ,เบาหวาน 3 ยาหวัด 3 น้ามะพร้าว 4 4 น้ากระเจี๊ยบ 3 น้ากระเจี๊ยบ 3 3 3


41

เอกสารอ้างอิง คู่มือเกษตรกรปลอดโรค ปลอดภัย อปท.ค้นเมื่อ วันที่ 20 สิงหาคม 2559, http://envoccnkp.blogspot.com/2014/04/blog-post.html สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.(2558)คู่มือสร้างการพึ่งตนเองด้านอาหารของ ครอบครัวและชุมชน.พิมพ์ครั้งที่ 1 ศูนย์สนับสนุนวิชาการการขับเคลื่อนด้านการเกษตร เพื่ออาหารปลอดภัย. สารตกค้างในผลผลิตทางการเกษตรอปท.ค้นเมื่อ วันที่ 20 สิงหาคม 2559, http://www.gttestkit.com/aboutpest_poison.htm สารเคมีทางการเกษตร.ค้นเมื่อ วันที่ 20 สิงหาคม 2559, http://www.greennet.or.th/article/263


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.