ประติมากรงานพัฒนาชุมชน

Page 1


ประติ ม ากร งานพัฒนาชุมชน

กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย www.cdd.go.th


ประติมากร : งานพัฒนาชุมชน ศึ ก ษ า อ ดี ต วิ เ ค ร า ะ ห์ ป ร ะ ส บ ก า ร ณ์ รั ง ส ร ร ค์ ง า น ชุ ม ช น

ปีที่พิมพ์ กันยายน 2551 จำนวน 1,000 เล่ม ข้อมูลทางบรรณานุกรมหอสมุดแห่งชาติ สรรค์ชัย อินหว่าง ประติมากร : งานพัฒนาชุมชน กรุงเทพฯ 120 หน้า คำสำคัญ 1.การพัฒนาชนบท 2.การพัฒนาชุมชน ISBN : 978-974--423-098-0 ผู้เขียน สรรค์ชัย อินหว่าง จัดพิมพ์โดย กรมการพัฒนาชุมชน อาคาร B ชั้น 5 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 โทรศัพท์ 02 1416207 โทรสาร 02 1438917 Web Site : www.cdd.go.th พิมพ์ที่ บริษัท รำไทยเพรส จำกัด 111/93-96 ซอยสามเสน ดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร./แฟกซ์. 0 2241 0352, 0 2243 5870, 0 2669 2611-2


กรมการพัฒนาชุมชน เป็นหน่วยงานที่ทำงานร่วมกับประชาชนอย่างเข้าใจ เข้าถึง สัมผัสทุกข์สุข ของประชาชนตลอดระยะเวลา 46 ปี รวมทั้งเป็นหน่วยสนับสนุนการพัฒนา โดยมีความมุ่งมั่นที่จะเป็น หน่วยงานหลักในการส่งเสริมการบริหารจัดการชุมชนให้เข้มแข็งอย่าง ยั่งยืน และมีเป้าหมายสำคัญในการเสริมสร้างให้ชุมชนเข้มแข็ง ประชาชนพึ่งตนเองได้ ครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุข

คำนำ

เอกสาร “ประติมากร : งานพัฒนาชุมชน” เล่มนี้ เป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้ในตัวบุคคลจาก ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาชุมชนที่มีประสบการณ์มายาวนาน คือ นายสรรค์ชัย อินหว่าง รองอธิบดีกรม การพัฒนาชุมชน ซึ่งเป็นผู้ถ่ายทอดประสบการณ์ผ่านปลายปากกาด้วยตนเอง เพื่อให้ข้าราชการกรมการ พัฒนาชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวกับการพัฒนาชนบท ได้มีต้นแบบในการทำงานพัฒนาชุมชน สามารถนำไปปรับใช้ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผลตอบสนองความต้องการของ ประชาชน

กรมการพัฒนาชุมชน กันยายน 2551


นายสรรค์ชัย อินหว่าง บ้านเลขที่ 23 หมู่บ้านประชานิเวศน์ 3 ซอย 14/9 ถนนสามัคคี ตำบลท่าทราย อำเภอเมืองฯ จังหวัดนนทบุรี 11000 โทรศัพท์/โทรสาร 02 589 2446, โทรศัพท์เคลื่อนที่ 089 968 5952


ดิมทีคิดว่าหลังเกษียณอายุราชการ ในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2551 แล้วจะปลีกวิเวกไป ทำงานที่ชอบ คือ การดำรงชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมกับการทำงานเป็น อาสาพัฒนาชุมชน โดยในแต่ละปีจะวางโปรแกรมไว้ว่า ฤดูฝน จะไปทำนา ตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ที่ ทุ่งกุลาร้องไห้ บ้านอีง่อง อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด โดยแบ่งพื้นที่เป็น 3 แปลง เท่ากับ จำนวนลูก เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้พวกเขา พื้นที่ประมาณแปลงละ 27 ไร่ เป็นที่มรดกของภรรยา ท่านเลขาธิการฯ กิ่งแก้ว (หงส์สิงห์) อินหว่าง ส่วนฤดูหนาวก็จะไปพักผ่อนทำสวนอยู่กระท่อมในหุบเขา ที่ภูมิลำเนาเดิม บ้านแม่กาษา อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ซึ่งมีที่พักผ่อนมีน้ำพุร้อน และน้ำตก อยู่ 2 แปลง ๆ ละ 12 ไร่เศษ ส่วนฤดูร้อนตั้งใจจะหลบร้อนไปเยี่ยมเพื่อน ๆ หรืออยู่บ้านที่เมืองนนท์ แล้วก็อาศัยเวลาสงบเงียบจัดการความรู้ ถอดบทเรียน เขียนเรื่องราวประสบการณ์ชีวิต แนวคิดแนวทางการ ทำงานพัฒนาชุมชน ตลอด 35 ปีเศษ (5 กุมภาพันธ์ 2516 ถึง 30 กันยายน 2551) ส่งเผยแพร่ในวารสาร พัฒนาชุมชน หรือสิ่งอื่น ๆ เพื่อน้อง ๆ คนรุ่นหลังได้ ศึกษาและนำไปประยุกต์ใช้ตามความเหมาะสม เป็นการแสดงความกตัญญูต่อกรมการพัฒนาชุมชน ที่ ชุบเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัวตลอดมา ก่อนที่องค์ความรู้จะมลายหายสูญไปพร้อมชีวิตตามกาลเวลา แต่ได้รับการทักท้วงจากน้องสาวที่รักมาก ๆ 2 ท่าน คือ คุณชูสม (หนู) รัตนนิตย์ ผู้เชี่ยวชาญระดับ 9 ชช และคุณชนมณัฐ (นุ่น) รอดบุญธรรม นักวิชาการพัฒนาชุมชน 8 ว กลุ่มงานนโยบายและ ยุทธศาสตร์ กองวิชาการและแผนงานว่า ไปเขียนหลังเกษียณอาจจะช้าเกินไป ไม่ทันใจน้อง ๆ ที่อยาก อ่าน อยากรู้ เผลอ ๆ ดำรงชีวิตพอพียงจนดื่มด่ำ ลืมเขียนไปเลยก็จะอดอ่านว่างั้น จึงขอให้รีบเขียนก่อน เกษียณอายุ และรับจะเป็นบรรณาธิการให้ จึงขอขอบคุณในความปรารถนาดีของน้องทั้งสอง และเมื่อต้องเขียนในเวลาจำกัดซึ่งต้องค้นหาข้อมูลที่บันทึกไว้พร้อมเอกสารอ้างอิงอื่น ๆ อาจจะ ได้ไม่มากเรื่อง หลายเรื่องราวตามที่อยากถ่ายทอดเล่าสู่กันฟัง รวมทั้งความสมบูรณ์ของเนื้อหา และ ความเนียนของภาษา สำนวนอาจไม่ได้ดังที่ตั้งใจไว้ ก็ต้องขออภัยจากท่านผู้อ่าน และท่านผู้ถูกพาดพิง ท่านผู้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ไม่ได้เอ่ยถึง เพราะบางทีอ่านที่ตนเองบันทึกไว้ไม่ออก เนื่องจาก กระดาษเก่าคร่ำคร่า กระดาษชำรุด ข้อความขาดหาย ไม่สัมพันธ์กัน จึงได้เรื่องราวเท่าที่ปรากฏ ส่วนที่ อยากจะเขียนอีกหลายเรื่องราวก็ขอติดค้างไว้ก่อน ทั้งนี้ก็ได้เลขานุการรองอธิบดี 2 คุณพิศมัย ศิริคุณ ช่วยพิมพ์แก้ไข ขัดเกลา คุณชนมณัฐ รอดบุญธรรม บรรณาธิการ ได้ช่วยจัดลำดับเรื่อง ตกแต่งสำนวน ดูแลความเรียบร้อยอย่างดียิ่ง ขอขอบคุณท่านอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน (นายปรีชา บุตรศรี) ที่กรุณาสนับสนุนการพิมพ์ หนังสือเล่มนี้ รวมทัง้ ท่าน ผอ.กองวิชาการและแผนงาน (นายเส่ง สิงห์โตทอง) ท่านผอ.กองคลัง (นางกมลทิพย์ นนท์พิทักษ์) ที่ช่วยจัดการจนสำเร็จ หากหนังสือเล่มนี้มีประโยชน์ต่องานพัฒนาชุมชน ขอให้กุศลที่เกิด จงดลบันดาลให้ทุกท่านที่เกี่ยวข้อง มีความสุข ความเจริญตลอดไป

คำปรารภ

สรรค์ชัย อินหว่าง กันยายน 2551


ในชีวิตนี้ได้จัดลำดับความสำคัญไว้แล้วว่า... หนึ่ง คือ ชาติ สอง คือ องค์กรที่สังกัด สาม คือ ครอบครัว สี่ คือ ญาติมิตร ห้า คือ ตนเอง


สารบัญ หน้า คำนำ คำปรารถ อาศิรวาท... ในหลวง อดีต - ประสบการณ์ ตำนานชาวดง 10 เส้นทางชีวิต คนบ้านนอก 16 รังสรรค์งานชุมชน พัฒนากร 2 เก่ง ผู้นำชุมชน 3 เก่ง 32 สี่ยุทธศาสตร์ การเพิ่มงบประมาณ 39 ตำนาน จปฐ. 49 กข.คจ. หวังใช้พระเจ้าเงินตรา... พัฒนาคน 55 ทฤษฎี 2 ขา ที่มาของ ศอช. 60 หมู่บ้านรางวัลพระราชทานเศรษฐกิจพอเพียง อยู่เย็น เป็นสุข... กลยุทธ์เชิงการนำ 70 ประติมากรรม 76 ฝากไว้ใน พช. ไปเก็บนาย....ที่เมืองนอก 88 พช. ปฏิวัติ 93 คำนิยม จดหมายจากเพื่อน 101 เขียนถึงท่านรองฯ สรรค์ชัย อินหว่าง 102 บันทึกความทรงจำ “ผู้บังคับบัญชาในดวงใน”...สรรค์ชัย อินหว่าง 104 มุมมองที่แลเห็น ท่านรองฯ สรรค์ชัย อินหว่าง 106 คนดี...ที่ทุกคนยอมรับ 107 ประวัติและผลงาน


อาศิรวาทองค์กษัตริย์ ดวงหทัยของปวงชน ธ เยื้อง ธ ย่างบาท ยลยินทุกข์สุขข้า ทรงงานปราชญ์เปรื่องเรื่อง เชี่ยวชาญทุกสาขา ทรงเปลี่ยนพืชเมืองหนาว ชนถิ่นภูเขาได้ ทรงประดิษฐ์เครื่องกลเติม ชัยพัฒนางามพิลาศ น้ำเสีย เป็นน้ำดี ทรงโปรดเชื้อเพลิงให้ ทรงใช้หลักพัฒนา ช่วยคนให้ช่วยตน เกษตรทฤษฎีใหม่ เพิ่มผลผลิตให้ เศรษฐกิจพอเพียงเลี้ยงชีพได้ สามห่วง สองเงื่อนไข คูณ พัฒนาชุมชน พร้อมภาคี เป็นแกนนำ มุ่งให้ ทรงเป็นทุกสิ่งอย่าง เศรษฐกิจพอเพียงคน พระราชทานเป็นปรัชญา แผนชาติ แผนสิบใช้ มองไปในทั่วหล้า หามีกษัตริย์อื่นใด ทรงห่วงหาอาทรไทย ยืนอยู่หกสิบสมัย ย่างเข้าแปดสิบชันษา ขออัญเชิญเทพไท้ ดลกายให้สดใส ทุกข์โศกในเหือดหาย

ประติมากร : งานพัฒนาชุ​ุมชน

ศึกษาอดีต วิเคราะห์ประสบการณ์ รังสรรค์งานชุมชน

ภูมิพล ทั่วหล้า ทั่วถิ่น ทุกผู้ ของพระองค์ พัฒนา อวดได้ จากฝิ่น อยู่ดี กินดี อากาศ เปลี่ยนได้ นามอุโฆษ ไบโอ-ดีเซล ชุมชน เองได้ ทรงเริ่ม อยู่ได้ พอเพียง สมดุล อยู่มั่น ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ ขับเคลื่อน ทธเจ้า นายสรรค์ชัย อินหว่าง ประชาชน อยู่ดี ข้าพระพุรองอธิ บดีกรมการพัฒนาชุมชน ของปวงชน อยู่ได้ ขับเคลื่อน เป็นหลัก พัฒนา ปฐพี เปรียบได้ ทุกผู้ จวบกระทั่ง ปัจจุบัน ทรงพระเจริญ ทั่วหล้า ปราศโรค จวบชั่ว กาลนาน...

อาศิรวาท


อดีต - ประสบการณ์ ตำนานชาวดง เส้นทางชีวิต คนบ้านนอก


“วิถีชีวิต ตั้งแต่วัยเด็กถึงวัยหนุ่ม จึงผูกพันอยู่กับป่าเขาลำเนาไพร เย็นไปวางเบ็ดในลำห้วย วางแร้ว หรือกับดักตามราวป่า เช้าขึ้นมาไปกู้ พร้อมกับเก็บผักเก็บเห็ด ปิดเทอมหรือวันหยุดไปป่าริมฝั่งเมยทั้งฝั่งไทย และลึกเข้าไปในเขตประเทศพม่าซึ่งเป็นป่าใหญ่”

ตำนานชาวดง

ผมถื อ กำเนิ ด เมื ่ อ วั น อาทิ ต ย์ ท ี ่ 14 กุ ม ภาพั น ธ์ 2491 ที ่ ห มู ่ บ ้ า นเล็ ก ๆ ในเขตป่ า ดิ บ แล้ ง ดงกะเหรี ่ ย ง ชายแดน ประเทศไทย ด้านทิศตะวันตก ติดกับประเทศพม่า คือบ้านป่าไร่ ตำบลขะเนจื้อ อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก อยู่ห่างจากตัวเมืองตาก ประมาณ 125 กิ โ ลเมตร อยู ่ ห ่ า งจากอำเภอแม่ ส อดไปทาง ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ 40 กิโลเมตร อยู่ห่างจากตัวอำเภอแม่ระมาดไปทางทิศเหนือ 7 กิโลเมตร ความทุรกันดารเรียกได้ว่าก่อนปี พ.ศ. 2514 เดินทางไปถึงโดยการเดินเท้า ม้า และเกวียนเท่านั้น สภาพพื ้ น ที ่ โ ดยทั ่ ว ไปของอำเภอแม่ ร ะมาดสมั ย ก่ อ น ท่ า นจำนง เทพหั ส ดิ น ณ อยุ ธ ยา อดี ต รองปลั ด กระทรวงมหาดไทย สมั ย ต้ อ งโทษถู ก ย้ า ยไปเป็ น นายอำเภอแม่ ร ะมาด ให้ ฉ ายาว่ า “คุกสีเขียว” ทั้งนี้เพราะตลอดฤดูฝน 6-7 เดือน ฝนตกชุกมาก เพราะอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตก เฉียงใต้ พัดจากอ่าวเบงกอล ผ่านประเทศพม่า ระยะทางประมาณ 160 กิโลเมตร ปะทะเข้ากับเทือกเขา ถนนธงชัยด้านทิศตะวันออก ทำให้ฝนตกชุกขนาดไม่เห็นแสงแดด เป็นเดือน ๆ สภาพป่าในสมัยที่ผมยังเล็ก และเดินเท้าไปเรียน ชั้นประถมศึกษาตอนปลาย – มัธยมศึกษาตอนต้นที่อำเภอแม่สอด นั ้ น เรี ย กว่ า ตลอดเส้ น ทางเดิ น 40 กิ โ ลเมตร แสงแดดแทบ ไม่ ส ามารถส่ อ งลอดใบไม้ ถ ึ ง พื ้ น ดิ น ได้ มี ส ั ต ว์ ป ่ า ชุ ก ชุ ม ทั ้ ง ช้ า ง กวาง กระทิง เสือ หมี วัวแดง ฯลฯ ที่แน่ ๆ ก็คือ ไข้ป่า(มาลาเรีย) ชุกชุมมาก ๆ ผมเองเป็นไข้ป่าตั้งแต่อายุ 3 – 4 ขวบ (พ่อเล่าให้ฟัง) จนถึงอายุ 16 ปี จึงหายขาด ผลที่ปรากฏอยู่ ในปัจจุบันก็คือ ข้อมือจะเล็กกว่าคนทั่วไป และสะโพก จะบุ๋มจากฤทธิ์เข็มฉีดยาของพ่อ ไม่รู้กี่ร้อยเข็ม

10

ประติมากร : งานพัฒนาชุ​ุมชน

ศึกษาอดีต วิเคราะห์ประสบการณ์ รังสรรค์งานชุมชน


ยังชีพในป่าได้......เหมือนพรานไพร

ชี ว ิ ต คนบ้านป่า : ป่าคือชีวิต เป็ น แหล่ ง อาหารเสมื อ น เป็นตลาดสด หรือ Supper Market เช้าขึ้นมา หิ้วตระกร้าเข้าป่าไป ก็จะได้ผัก ผลไม้ตามฤดูกาล ฤดูแล้งก็จะได้ดอกดิน ดอกก้าน ดอกเอื ้ อ งแลว ผั ก ตี น รุ ้ ง ต้ น ฤดู ฝ น ก็ จ ะได้ ส ะเดาดิ น (ที่บ้านเรียกผักขี้เขียด (สีเขียวอ่อน) และผักขี้ขวง (สีเขียวเข้ม) ผักหละ (ชะอม) ผักแคบ(ตำลึง) หน่อสามสิบ (หน่อไม้ฝรั่งป่า) กระเจียว เห็ดเผาะ เห็ดลม ผักข้าว ในน้ำมีเทา ผักแว่น ผักปราบ แพงพวย ริ ม ตลิ ่ ง มี ผ ั ก กู ด ผั ก หนาม ทุ ก ลำห้ ว ยลำธาร ส่ ว นฤดู ฝ นละก้ อ ไม่ ต ้ อ งห่ ว งมี ทุ ก ผั ก รวมถึ ง เห็ ด ละโงก (ภาษาพื้นบ้านเรียกเห็ดขะหล่านขะเหลือง) เห็ดโคน เห็ดตับเต่า และหน่อไม้ ส่วนฤดูหนาวก็จะมียวม สะแล เห็ดหล่ม (เห็ดหอมป่า) ฯลฯ ประเภทโปรตีน ในน้ำลำธารลำห้วย โดยเฉพาะห้วยขะเนจื้อ ห้วยหม่องวา ห้วยแม่ระมาด จนถึงแม่น้ำเมย มีปลา ปู กุ้ง หอย หาได้อย่างอุดม ในป่าจะมีตั้งแต่แมลงตั๊กแตน ตัวบึ้ง (แมงมุมดิน) จักจั่น และเงาะจักจั่น (ไข่ที่ฟักเป็นตัวอ่อนในดินก่อนออกขึ้นมาเป็นตัว) กุดจี่ แมงกินนูน แมงมัน ไข่ขี้เบ้า สัตว์เล็ก ได้แก่ แย้ กระแต กระรอก งูสิง งูเห่า อีเห็น อ้น ตุ่น นกเขา นกเปล้า นกแล (นกแก้ว) นกยูง ไก่ฟ้า เขียด อึ่งอ่าง กบ ,กบตู้ด (เขียดแลว) เต่า แลน (ตะกวด) ลิ่น ไก่ป่า สัตว์สี่เท้า ได้แก่ เก้ง กวาง กระทิง เสือ หมี กินได้โม้ด.. ส่วนผลไม้ในป่า นอกจากที่รู้จัก เช่นมะม่วง มะไฟ มะเม่า นมวัว นมแมว หมากคอนแลน(ลิ้นจี่ป่า) หว้า มะขามป้อม มะกอก ฯลฯ ก็สังเกตว่านก หรือสัตว์ กินได้ คนก็กินได้ ประเภทหัว ก็ให้กินแทนข้าวหรือแป้งได้ เช่น มันแกว มันเทศ ตามไร่ซาก หรือเกาะแก่ง มะเขือแจ้ดิน ตามเนินเขา เรียกว่า ข้าพเจ้าถ้าเข้าป่า ไม่ค่อยจะได้

พกพาเสบียงอาหารไปด้วยเลย หากินในป่าได้รสชาติ

ชีวิตชาวป่าเต็มที่

สรรค์ชัย อินหว่าง

11


ดังนั้น วิถีชีวิต ตั้งแต่วัยเด็กถึงวัยหนุ่ม จึงผูกพันอยู่กับ ป่าเขาลำเนาไพร เย็นไปวางเบ็ดในลำห้วย วางแร้ว หรือกับดัก

ตามราวป่า เช้าขึ้นมาไปกู้ พร้อมกับเก็บผัก เก็บเห็ด ปิดเทอม หรื อ วั น หยุ ด ไปป่ า ริ ม ฝั ่ ง เมย ทั ้ ง ฝั ่ ง ไทยและลึ ก เข้ า ไปใน เขตประเทศพม่ า ซึ ่ ง เป็ น ป่า ใหญ่ ไม่ ม ี บ ้ า นผู ้ ค นในรั ศ มี 30 – 50 กิ โ ลเมตร (ลั ก ษณะเหมื อ นป่า ในนวนิ ย ายเรื ่ อ ง เพชรพระอุ ม า ของพนมเทียน) โดยเฉพาะที่เด่น สู ง จะมี ก ระทิ ง กวาง ชุ ก ชุ ม มาก ที ่ บ ้ า นจะมี ว ิ ถ ี ช ี ว ิ ต ประจำอยู ่ อ ย่ า งหนึ ่ ง คื อ ช่วงเดือนมีนาคม จะรวมกลุ่มพรานไพร เป็นก๊วนละ 10 – 20 คน เข้าป่าฝั่งเมยนานเป็น 10 – 20 วัน ส่วนใหญ่จะยึดลำน้ำเมย เป็นแหล่งหากิน กลางวันจับปลาขนาดใหญ่ ที่ว่าขนาดใหญ่เพราะจำได้ว่า ตอนอายุ 11-12 ขวบ พ่อให้หาบปลา 2 ตัว เอาเถาวั ล ย์ ร ้ อ ยเหงื อ ก ใส่ ไ ม้ ค านข้ า งละตั ว ขึ ้ น บ่ า หางปลายังเขี่ยดินเลย หาบเดินไกลตั้ง 6 กม. เกือบแย่ เช่น ปลากะโห้ ปลากา ปลาตะเพียน ปลาแข้ ปลาคัง ปลากระทิง ปลาชะโด ฯลฯ แล้วย่างรมควันไว้ ตกเย็นค่ำ ไปนั่งห้าง เช้าขึ้นเขาไล่เหล่า ได้เนื้อสัตว์มากก็ย่างรมควัน แบ่งส่วน (ตกพูด) กันแล้ว ใส่ก๋วยหาบกลับบ้านไว้เป็นเสบียงอาหาร และต้ อ นรั บ แขกผู ้ ม าเยื อ น ในช่ ว งวั น สงกรานต์ หมายเหตุ ในสมั ย ก่ อ น พื ช ผั ก และสั ต ว์ ปา่ เป็ น แหล่ ง อาหารแห่งเดียวที่ธรรมชาติให้มา และเป็ น ทรั พ ยากรธรรมชาติ ท ี ่ ม ี ก ารเกิ ด ทดแทนได้ ถ้าถือหลักคิดเช่นเดียวกับประเทศในยุโรป คือเป็นอาหารที่พระเจ้าให้มา ใช้ประโยชน์อย่างสมดุล ไม่ใช่การค้า ก็จะเป็นคุณกับมนุษยชาติ ย่างเข้าต้นฤดูฝน หลังสงกรานต์ ในคืนเดือนหงาย พวกเราชาวบ้านจะไปจับจองที่นอนกันตาม เกาะทราย หัวแก่งในลำน้ำเมย เช่นวังปู่หม่น วังปู่มา สบห้วยหมี วังพระเจ้า แก่งม้าวิ่ง ฯลฯ คอยจับปลา ที่ขึ้นมาผสมพันธุ์ และวางไข่ที่แก่งหินยามดึกสงัด ซึ่งมีมากแบบมืดเต็มลำน้ำ เช้าขึ้นมาก็ชำแหละ ย่ า งรมควั น ไว้ เ ป็ น เสบี ย ง หรื อ ปรุ ง อาหารกิ น กั น ถ้าวันไหนไม่มีโชค ปลาไม่ขึ้นก็นอนบนทราย หงายท้องดูเดือนฟรี ๆ ในฤดูทำนา จะเป็นช่วงปิดเทอมใหญ่ ทั ้ ง ฤดู ฝ นที ่ ต ้ อ งไถนา ดำนา ทั ้ ง ฤดู ห นาว เกี่ยวข้าว นวดข้าว ข้าพเจ้าชอบที่จะติดตาม อาทองคำ และอาจาย ซึ่งเป็นน้องสาวและ น้ อ งเขยของพ่ อ ไปทำนาที ่ ทุ ่ ง ขะเนจื ้ อ เป็นนามรดกที่ปู่แบ่งให้ลูกทุกคน ๆ ละ ประมาณ 20 ไร่ เลี ้ ย งควาย ขี ่ ค วาย วางเบ็ ด ดั ก ตุ ้ ม ดั ก ไซ และดั ก แร้ ว 12

ประติมากร : งานพัฒนาชุ​ุมชน

ศึกษาอดีต วิเคราะห์ประสบการณ์ รังสรรค์งานชุมชน


ยิ่งตอนนวดข้าว ชอบทำอุโมงค์อยู่ใต้กองฟาง อากาศ ภายนอกจะหนาวเหน็บเพียงใด พวกเราก็อบอุ่นอยู่ใต้

กองฟาง โดยมิได้นึกถึงอัคคีภัยที่อาจเกิดขึ้น นึกย้อน กลับไปน่าหวาดเสียว เสี่ยงต่อการแปรสภาพเป็นไก่อบฟาง อย่างยิ่ง พูดถึงเลี้ยงควาย สมัยก่อนนั้นจะเลี้ยงเฉพาะ ฤดู ท ำนาและนวดข้ า ว เมื ่ อ เสร็ จ นาเสร็ จ งาน เจ้ า ของ ก็จะต้อนควายไปปล่อยป่า ควายก็จะอยู่อาศัยหากินในป่า แยกเป็ น ฝู ง ๆ กลางคื น ก็ จ ะนอนล้ อ มวงหั น หน้ า ออก เอาลู ก ตั ว เล็ ก ตั ว อ่ อ นแอไว้ ก ลางวงระวั ง ภั ย จากเสื อ นักล่าทั้งหลาย ใครไปเดินป่าพบควายของใครก็จะจำได้ และมาบอกข่ า วให้ เ จ้ า ของทราบ นาน ๆ เจ้ า ของก็

ไปตาม ไปเยี่ยมบ้าง รับรองวัวควายไม่มีหาย นั่นคือ สังคมอยู่เย็น เป็นสุข มีมานานแล้ว และกำลังหายากขึ้นเรื่อย ๆ ตามการรุกไล่ของวัตถุนิยมและ ความเสื่อมโทรมของศีลธรรม การเป็นนักเดินป่า ล่องไพร ทำให้ได้พบกับเพื่อนซี้ที่มีชีวิตเกี่ยวพันกันมาร่วมกว่า 40 ปี จนถึ ง วั น นี ้ ขนาดที ่ ว ่ า บั ง เอิ ญ ไปจี บ สาวคนเดี ย วกั น ยั ง หลี ก ทางให้ ก ั น เลย เพื ่ อ นคนนั ้ น คื อ ผอ.บุญเอื้อ โพชนุกุล ผอ.ศพช.เขต 6 และ 7 ขณะนั ้ น ประมาณ ปี 2510 - 2511 ในฤดู ร ้ อ น ปิดเทอมใหญ่ เพื่อนเรียนธรณีวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อาจารย์พาฝึกภาคสนาม เคาะหิน หาฟอสซิล ในป่าลุ่มน้ำเมย บริเวณถ้ำห้วยหมี ผมเป็นพรานป่า สามารถให้ข้อมูลเพื่อนได้ถูกคอกัน

ตั้งแต่นั้นมา วิถีชีวิตเราก็มาพบกันตอนเป็น พัฒนากร

สรรค์ชัย อินหว่าง 13


การเป็ น นั ก เดิ น ป่า ล่ อ งไพร ได้ น ำมาใช้ ป ระโยชน์ ก ั บ ชีวิตตนเองและการทำงานเพื่อประเทศชาติ คือ 1. ใช้ประโยชน์กับชีวิตตนเอง ตอนเดินทางไปเรียน หนังสือ ทำให้ไม่ต้องแบกหามสัมภาระประเภทอาหารให้หนักมาก มีข้าวสารกับเกลือและไม้ขีดไฟเป็นหลัก อาหารสด หาได้ในป่าภูเขา ตลอดทางเดิ น ทั ้ ง สองช่ ว งชี ว ิ ต นั ก เรี ย น คื อ การเรี ย นชั ้ น

ประถมศึกษาตอนปลายและมัธยมศึกษาตอนต้น (ป. 6 – ป. 7 และ ม.ศ. 1 – ม.ศ. 3) ที่โรงเรียนแม่สอดสรรพวิทยาคม เดินทางระหว่างอำเภอแม่ระมาด – อำเภอแม่สอด ระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร ตอนอายุประมาณ 12 -16 ปี (พ.ศ. 2503 – 2507) กับช่วงที่ 2 ตอนเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (ป.กศ.ต้น) ที่วิทยาลัยครู

พิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก ตอนอายุ 17- 18 ปี (พ.ศ. 2508 -2509) เดินทางระหว่างอำเภอ แม่ระมาด – แม่สอด – เมืองตาก (เดินถึงแยกน้ำตกลานสาง สถานีตำรวจภูธรตำบลแม่ท้อ อำเภอเมือง จังหวัดตาก จึงจะมีรถโดยสาร 2 แถว )ระยะทาง 135 กิโลเมตร 2. ใช้ประโยชน์กับการทำงานเพื่อชาติ คือในปีที่ 2 ของชีวิตที่เมืองเลย ได้สมัครเข้าร่วม ปฏิบัติการต่อสู้และปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ตามแผน พตท. 1617 โดยในเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม พ.ศ. 2517 ถูกส่งไปฝึกการรบพิเศษ พร้อมผู้บังคับบัญชาและเพื่อนพัฒนากรจำนวน 110 คน ณ กองพันพิเศษ กรมรบพิเศษที่ 4 (พลร่ม) ค่ายสฤษดิ์เสนา อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก ในการ ฝึกเดินป่ากลางคืนโดยไม่ใช้แสงไฟทุกชนิด ตลอดถึงการยังชีพในป่า ผมซึ่งเป็นผู้บังคับหมู่รบพิเศษ หมู่สุดท้าย จำนวน 12 นาย สามารถเดินทางถึงที่หมายเป็นที่หนึ่งทุกครั้ง และได้คะแนนรวมการยังชีพ ในป่าสูดสุดอีกด้วย หลังจากจบการฝึกแล้วไปปฏิบัติงานในพื้นที่สู้รบจริงในเขตอำเภอด่านซ้าย ภูเรือ นาแห้ว ภูหนิ ร่องกล้า ภูลมโล ภูขเ้ี ถ้า ก็สามารถยังชีพในป่าได้ โดยไม่มปี ญ ั หา ตลอดช่วงปี พ.ศ. 2517 – 2522 และในพื้นที่ พตท. 1718 อำเภอเมืองเลย อำเภอปากชม อำเภอนาด้วง ช่วงปี พ.ศ. 2523 - 2524 ภายใต้การบังคับบัญชาของ พันเอกอาทิตย์ กำลังเอก

14

ประติมากร : งานพัฒนาชุ​ุมชน

ศึกษาอดีต วิเคราะห์ประสบการณ์ รังสรรค์งานชุมชน


สรรค์ชัย อินหว่าง 15


“พ่อได้พูดคุยกับผมว่า พ่อเป็นครูบ้านนอกที่ยากจน คงจะหาทรัพย์สมบัติอื่นใดเป็น มรดกให้ลูกคงไม่ ได้ แต่พ่อก็ฝันไว้ว่าอยากให้มรดกกับลูกเป็นปากกา คนละเล่ม เพราะปากกา จะพาให้ลูกหาทรัพย์สินได้ ไม่จำกัด”

เส้นทางชีวิตคนบ้านนอก โรงเรี ย นบ้ า นป่า ไร่ เป็ น โรงเรี ย นที ่ ม ี อ าคารไม้ ช ั ้ น เดี ย ว หลังเดียวมุงหลังคาด้วยใบตองตึง คุณพ่อ ครูณรงค์ (ชื่อเดิม คำจันทร์ อินหว่าง) พาชาวบ้านตัดไม้แดง ไม้สัก เลื่อยเป็นแผ่นกระดานสร้างขึ้น และพ่อก็เหมาทุกตำแหน่ง ตั้งแต่ภารโรง ครูน้อย ครูใหญ่ เพราะเป็นครู อยู่คนเดียว สอนตั้งแต่ป.1 ถึง ป.4 เงินเดือนชั้นจัตวา จำได้ว่าตอน 4 – 5 ขวบ พ่อเงินเดือน 400 บาท ตอนพ่อถึงแก่กรรม ผมอายุ 17 ปี เงินเดือนพ่อ 900 บาท ได้บำเหน็จตกทอด 38,000 บาท นักเรียน มาจาก 3 หมู่บ้าน คือบ้านป่าไร่ บ้านหนองหลวง และบ้านหม่องวา ทั้งคนเมือง คนไตและกะเหรี่ยง เรียนรวมกันใช้ม้านั่งยาว ๆ แทนโต๊ะ ส่วนนักเรียนนั่งกับพื้นห้อง แถวละ 6 คน สมุดคือกระดานชนวน หนังสือมีชั้นเรียนละ 1 – 2 เล่ม เครื่องแต่งกายนักเรียน เสื้อผ้าขี้ริ้วหลังโหว่ กางเกงตูดขาด ชุดเดียวตลอดปี ส่วนรองเท้าติดตัวมา ตั้งแต่เกิด วันไหนเสื้อผ้าเปียกฝน ก็ใช้บริการซักแห้งด่วน คือเอาสุ่มไก่ครอบกองไฟแล้วย่างเสื้อผ้า พอ เปียกเหงื่อ ทั้งกลิ่นตัว กลิ่นควันไฟตลบอบอวลไม่รู้ของใครเป็นของใคร ก่อนแม่สิ้นลมผมไปโรงเรียน พ่ อ เกื อ บทุ ก วั น เพราะอายุ ย ั ง ไม่ ถ ึ ง เกณฑ์ ม ี เ พื ่ อ นเล่ น ที ่ ส นิ ท หลายคน จำได้ อ ยู ่ ค นหนึ ่ ง ชื ่ อ

ปั๋นแก้ว ลูกลุงปั๋นหล้า ที่สนิทเพราะลุงปั๋นหล้ามาช่วยพ่อทำนา และเราสองคนช่วยลุงมอย (คนรับใช้ใกล้ ชิดพ่อ มีอาคมแก่กล้าเคยสอนคาถา คงกะพัน (ทุบตีไม่เจ็บ) กับคาถากันผีให้ ตอนเป็นเด็กใช้ได้ผล ตอนนี้ถึงแม้ยังจำยังท่องได้ แต่ดูเหมือนจะเสื่อมแล้ว) เลี้ยง แพะ ซึ่งกะเหรี่ยงจะต้อนมาไว้ให้พ่อแกล้ม เหล้าปีละ 45 ตัว (เป็นบรรณาการที่เกิด จากบารมี พ ่ อ ที ่ เ ป็ น หมอเถื ่ อ น จำเป็ น รักษาชาวป่าชาวเขาที่เจ็บป่วย โดยไม่ คิดเงินทอง) ตอนเย็ น ที ่ บ ้ า นจะเป็ น ที ่ ชุมนุมของชาวบ้าน ฟังเสียงซอจาก แผ่นเสียงตรากระต่าย จากกล้องซอ 16

ประติมากร : งานพัฒนาชุ​ุมชน

ศึกษาอดีต วิเคราะห์ประสบการณ์ รังสรรค์งานชุมชน


(เครื่องเล่นแผ่นเสียง) ซึ่งใช้การไขลานขับเคลื่อน คนมาฟังต้องช่วยกันไขลานและ ฝนเข็ม จำได้ว่าแผ่นที่ฮิตที่สุดคือ แผ่นเสียงต๋ากระต่าย ซอเฮียกขวัญลูกแก้ว

(บทสอนนาค) ต่อจากนัน้ ก็จะมีวทิ ยุ 5 หลอด 8 หลอด ยีห่ อ้ RTA (Royal Thai Army) ใช้ถ่านไฟฉายขนาดใหญ่เป็นลัง ถึง 45 ก้อน เปิดได้สถานีเดียว คือสถานีวิทยุ 1 ปณ AM เสาอากาศอยู่บนยอดไม้สักที่สูงที่สุด บนยอดเขาหลังบ้าน ดังนั้น ที่บ้านของผมจึงเป็นเวทีแห่งการ เรียนรู้ของชาวบ้าน

ชีวิตลูกกำพร้า

เมื่อแม่สิ้นบุญ เนื่องจากการคลอดบุตรคนที่ 4 ประมาณปี พ.ศ. 2496 – 2497 (ผมอายุ 5-6 ขวบ) พ่อก็หันไปดื่มสุรา (เหล้า เถื่อน ปตอ. = ประชาชนต้มเอง) อย่างหนัก ครอบครัวเราก็แตก ระ หกระเหิน คุณยายดำ แสงแปง และน้า ๆ ทั้งหลาย จากบ้านแม่ กาษา อ.แม่สอด ก็เอาเกวียนมารับเรา 3 พี่น้อง (พี่ทองย้อย ผม และน้อง อ๊อดสุรชัย) ไปอยู่บ้านยาย พี่ทองย้อยต้องเลี้ยงน้อง ไม่ได้ เรียนหนังสือต่อ น้องอ๊อดคุณยายผะดี (น้องของคุณยาย) ซึ่งไม่มีลูก นำไปเลี้ยงดู โดยมีน้าแยง (สมบูรณ์) ซึ่งอยู่กับยายผะดี ก่อนแล้วเป็นพี่เลี้ยง สำหรับผมซึ่งยายรักมาก ไปไหนพาไปด้วยแม้กระทั่งไปอยู่จิบจับปลาลำน้ำแม่ละเมา (จิบ เป็นที่จับปลาใช้ไม้ไผ่ปักขวางตลอดลำน้ำ ลักษณะเหมือนโป๊ะของชาวทะเล ตรงกลางลำน้ำมีช่องว่างประมาณ 2 – 3 เมตร ให้ปลาผ่าน ทำห้าง กระท่อมครอบใช้ดาง(สวิงขนาดใหญ่) เป็นอุปกรณ์ดักปลา มีสายเชือกถือไว้ ถ้าปลาเข้าดาง จะชนสาย เชือกเป็นสัญญาณให้ยกโต่งขึ้นจับปลาใส่ ตะข้อง การอยู่จิบ จะอยู่ในตอนกลางคืน ถึ ง แม้ จ ะอยู ่ ก ั บ ยายอย่ า งมี

ความสุข แต่ผมเป็นคนรักหรือติดพ่อ ผมจะร้องไห้หาพ่อทุกวัน เจ็บไข้ตลอด จนอายุครบเกณฑ์เข้าโรงเรียน (7 ขวบ) พ่อก็ให้อานาค (น้องชายคนเล็กของพ่อ) รั บ จากบ้ า นยายที ่ แ ม่ ก าษาไปบ้ า น แม่ระมาด ซึ่งยายก็ให้น้าไสวไปส่งด้วย ความเป็ น ห่ ว ง การเดิ น ทางก็ ข ี ่ ห ลั ง

สรรค์ชัย อินหว่าง 17


อานาคบ้าง ขี่หลังน้าไสวบ้าง เดินเองบ้าง ตั้งแต่เช้ามืด ยันค่ำ เมื่อไปถึงผมจึงรู้ว่าพ่อแต่งงานใหม่กับ หญิงสาวชาวบ้านที่จัดอยู่ในขั้นสวย ชื่อมูน จึงอยู่อาศัยที่บ้านแม่น้า (แม่ใหม่) อยู่พักหนึ่ง พ่อพาไปฝาก เข้าโรงเรียนบ้านแม่ระมาดราษฎร์บำรุง ชั้นป. 1 ผมมีครูคนแรกชื่อครูเชิด (ครูชู) สวัสดี สอนทุกวิชา เริ่มตั้งแต่ อ่านไทย ซึ่งไม่ได้เริ่มสอน พยัญชนะ สระ ก เอ๋ย ก. ไก่ ข. ไข่ในเล้า ฯลฯ แต่สอนอ่าน หนังสือ “ไปโรงเรียน เด็กหญิงเรณู เด็กชายปัญญา ฉันชื่อเรณู เธอชื่อปัญญา” ผมมีความสุขกับการไป โรงเรียนมาก เพราะอยู่บ้านเราก็เป็นคนแปลกถิ่น ชีวิตเหมือนนิยายน้ำเน่า แม่เลี้ยง ลูกเลี้ยง เป็นไม้เบื่อ ไม้เมากันเมื่อไรไม่ทราบ อยู่ต่อมาไม่ นานนัก พ่อหลวงปัญญา น้องชายของปู่ (ปู่กำนันปิง อินหว่าง) เสียชีวิตลง บ้านบนหลังใหญ่เก่าแก่มาก อยู่บนเนินหลังที่ว่าการอำเภอแม่ระมาด ต้องร้าง พ่อจึงพาครอบครัว (พ่อ – แม่เลี้ยง –ผม) ไปอยู่อาศัย แทน โดยมีผู้หญิงคนหนึ่งชื่อ ติ๊บ ซึ่งพ่อหลวงปัญญาเก็บมาเลี้ยงไว้ อยู่อาศัยด้วย โดยพ่อเดินเท้าไป สอนหนังสือที่โรงเรียนบ้านป่าไร่ ที่ห่างไกลออกไปประมาณ 7 กิโลเมตร ดังนั้น พ่อจึงกลับบ้านบ้าง ไม่ กลับบ้าง ถ้าฝนตกหนักน้ำป่าหลาก หรือเมาติดลม หรือมีงานสังคมของชาวบ้าน แม่เลี้ยงเขาก็เริ่มตั้ง ครรภ์ อยู่บ้านบ้าง ไม่อยู่บ้าง ผมมีความเป็นอยู่แบบอด ๆ อยาก ๆ อยู่มาวันหนึ่ง ผมกลับจากโรงเรียน หิวข้าวมากจะกินข้าว พอเปิดสำรับออกปรากฏว่าหนูตายคาสำรับ ตั้งหลายตัว จึงบอกน้าติ๊บมาดู น้าติ๊บ จึงกันสำรับและซากหนูไว้ให้พ่อดู และพิสูจน์ได้ว่าแม่เลี้ยงเป็นคนวางยาเบื่อผม พ่อจึงทะเลาะแยกทาง กับแม่เลี้ยงที่ชื่อมูน ซึ่งตั้งครรภ์ได้ประมาณ 6 เดือน และหายสาบสูญไม่พบกันตั้งแต่นั้นมา ส่วนผมก็อยู่ ที่เดิมไปเรียนหนังสือชั้น ป.1 อาศัยกินข้าวตามบ้านคุณอา น้องทั้งหลายของพ่อ เช่น อาฟองคำ อาฟอง แก้ว อาสีทา (ครูศรศักดิ์ อินหว่าง คุณพ่อของคุณสุพิทย์ (อินหว่าง ) วีระใจ ผอ.สำนักบริหารกลาง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา) มื้อไหนที่ได้กินข้าวกับพ่อ มื้อนั้นอร่อยที่สุด อยู่ต่อมาอีกประมาณปี 2499 ผมเรียนชั้น ป. 2 เกือบปลายปี พ่อก็หาแม่ใหม่มาให้ เป็น

แม่ม่ายลูกติดมาหนึ่งคน ที่เป็นม่ายเพราะสามีตาย เป็นคนที่นิสัยดีมาก ชื่อทองคำ ส่วนลูกเล็ก ที่ติดมาเป็นหญิงชื่อ อัมพร พ่อไป ซื ้ อ บ้ า นใหม่ อ ยู ่ ใ กล้ โ รงเรี ย นที ่

ผมเรียนอยู่ มีพื้นที่กว้างประมาณ 2 – 3 ไร่ ด้ า นหลั ง บ้ า นติ ด ลำห้ ว ยแม่ ร ะมาด ซึ ่ ง ทำให้ ครอบครัวเราสามารถทำสวนครัว และปลู ก ไม้ ผ ล ไว้ ก ิ น ได้ มี ครกกระเดื่อง (ครกมอง) ตำข้าว (เนื ่ อ งจากทั ้ ง อำเภอยังไม่มีโรงสี ข้ า ว) ต้ อ งตื ่ น นอนแต่ เ ช้ า 18

ประติมากร : งานพัฒนาชุ​ุมชน

ศึกษาอดีต วิเคราะห์ประสบการณ์ รังสรรค์งานชุมชน


เอาข้าวเปลือกไปตำเป็นข้าวสารได้ 1 ถัง ถึงอาบน้ำแต่งตัวไปโรงเรียน วันไหนไม่ได้ตำข้าว ตอนเย็นก็

ไปวางเบ็ดในลำห้วย เช้าไปกู้ ได้ปลาก็นำไปขังไว้เป็นอาหาร ในปี 2502 พ่อก็ได้ลูกชายกับแม่คนใหม่ อีกหนึ่งคนชื่อ สุรชิต และเพื่อให้ครอบครัวเป็น เอกภาพมีความอบอุ่น พ่อจึงให้ทุกคนใช้นามสกุล อินหว่าง ร่วมกัน ดังนั้น ผมจึงมีพี่น้องร่วมครอบครัว คุณพ่อณรงค์ อินหว่าง ดังนี้

“ครอบครัว อินหว่าง”

ลูกกับแม่จันทรา แสงแปง คนที่ 1 เกิดปี 2486 นางทองย้อย แดงทองดี (ธรรมเสวี) ประกอบอาชีพ ธุรกิจร้านอาหาร คนที่ 2 เกิดปี 2491 นายสรรค์ชัย อินหว่าง กศ.บ. พบ.ม. (NIDA) อาชีพ รับราชการ ตำแหน่ง รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน คนที่ 3 เกิดปี 2494 นายสุรชัย อินหว่าง กศ.บ. กศ.ม. (ม.นเรศวร) อาชีพ รับราชการ ตำแหน่ง ผู้บริหารโรงเรียนระดับ 9 โรงเรียนแม่สอด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ลูกกับแม่ทองคำ แก้วกัณทา คนที่ 4 เกิดปี 2499 นางอัมพร บุญส่ง อาชีพ แม่บ้าน คนที่ 5 เกิดปี 2502 นายคมสัน (สุรชิต) อินหว่าง อาชีพ ธุรกิจ และในปลายปี 2502 พ่อได้ซื้อบ้านใหม่โดยขายบ้านเก่าเนื่องจาก ตั้งอยู่ในที่ลุ่มน้ำท่วมถึง เกรงอันตรายในฤดูฝน บ้านหลังใหม่อยู่ที่สูง ตั้งอยู่บนตลิ่งสูง ใกล้กับบ้านคุณปู่ (กำนันปิง อินหว่าง) เป็นบ้านไม้ขนาดใหญ่มีเสาประมาณ 60 ต้น มีเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ อยู่บนตลิ่งประมาณ 3 งาน และอยู่ริมห้วยประมาณ 1 ไร่เศษ มีหนองน้ำซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนทางเดินของน้ำอยู่ตรงกลาง มีปลา ชุกชุมมีต้นบอน ผักหนามและต้นไม้น้ำอื่น ๆ แม่ทองคำ จึงให้พวกเราเลี้ยงหมู เพื่อเป็นทุนไปเรียนต่อ ที่อำเภอแม่สอด ผมเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในปี 2501 ที่โรงเรียนบ้านแม่ระมาดราษฎร์บำรุง ซึ่งคุณครูอเนก รินมุกดา เป็นครูใหญ่ หน้าที่อีกอย่างหนึ่งของผมก็คือไปนอนวัดเป็นเพื่อนคุณปู่กำนันปิง อินหว่าง ทุกวันโกน วันพระ ที่วัดดอนแก้ว ซึ่งเป็นวัดที่มีพระพุทธรูปหินอ่อนใหญ่ที่สุดในโลก ปี 2502 ผมเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นเรียกว่าชั้นมัธยมปีที่ 1 (ม. 1) ซึ่งในปัจจุบัน สรรค์ชัย อินหว่าง 19


เป็นหลักสูตร ชั้นประถมศึกษาตอนปลาย หรือชั้น ป.5 ที่โรงเรียนบ้านแม่ระมาด เป็นโรงเรียนตั้งใหม่ อยู่ทางทิศเหนือของที่ว่าการอำเภอมีครูทิพย์ ปรวนแก้วมณี เป็นครูใหญ่กับมีครูอีก 3 คน คือ คุณครูทวีไทย วันคำ คุณครูรัตน์ สายสุด และคุณครูดาหวัน ตันตระกูล การเรียนการสอนที่ โรงเรียนนี้ค่อนข้างลำบาก เพราะเป็นโรงเรียนใหม่ อาคารสถานที่อุปกรณ์ไม่พร้อมแต่มีเรื่องที่ประทับใจ อยู่อย่างหนึ่งคือ นักเรียนคนใดทำผิด เช่น มาสาย ไม่ทำการบ้านหรือความผิดอื่น ๆ ครูก็จะลงโทษ โดยให้ขุดตอไม้ ปรับพื้นที่สนาม ก็ทำให้การพัฒนาโรงเรียนก้าวหน้าไปได้มาก ผลการเรียนของผมที่นี่ ครองที่หนึ่งตลอด

การเดินทางไกล..........เพื่อชีวิต

เดือนมีนาคม ปี 2503 คุณพ่อเห็นว่าเรียนที่โรงเรียนเดิมคงจะไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร ดังนั้นจึง พาเดินทางไกล ไปสมัครเรียนต่อที่โรงเรียนแม่สอด “สรรพวิทยาคม” อำเภอแม่สอด ซึ่งเป็นโรงเรียน มัธยมที่มีชื่อเสียงมานานหนึ่งในสองแห่งของจังหวัดตาก นักเรียนที่มุ่งมั่นสู่ความก้าวหน้าในพื้นที่ ภาคตะวั น ตกของจั ง หวั ด ตาก ทุ ก อำเภอจะต้ อ งมาเรี ย นที ่ น ี ่ แต่ เ นื ่ อ งจากระยะทางจากบ้ า นที ่ อำเภอแม่ระมาด ห่างจากอำเภอแม่สอดถึงประมาณ 50 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินเท้าถึง 12 -15 ชั่วโมง ผมจึงต้องย้ายมาอาศัยกับญาติของแม่น้า (แม่ทองคำ) ที่อำเภอแม่สอด ชื่อป้าปัง อ๊ะนา มีลูกสาวชื่อ พี่ทองคำ ที่มีลักษณะละม้ายคุณแม่ของข้าพเจ้า เป็นพี่เลี้ยง บ้านพักอยู่หลังตลาดสดวัดดอนไชย อยู่ทาง ทิศเหนือของตัวอำเภอ ห่างจากโรงเรียนสรรพวิทยาคมที่เรียนประมาณ 2 กิโลเมตร การมาแม่สอด ครั้งแรก ผมตื่นเต้นมาก เพราะเป็นครั้งแรกที่ได้เห็นไฟฟ้า รู้สึกว่าทำให้บ้านเมืองสว่างไสว สวยงามมาก ทั้ง ๆ ที่ขณะนั้นหลอดไฟเป็นหลอดไส้ธรรมดา และเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเป็นเครื่องยนต์ดีเซล เดินเครื่อง ถึง 24.00 น. ทุกวัน แต่ที่ไหนได้บ้านพักอยู่นอกเขตจ่ายกระแสไฟฟ้า จึงต้องอ่านหนังสือด้วย แสงตะเกียงน้ำมันก๊าดเหมือนเดิม เช้าขึ้นมาต้องแคะเขม่าสีดำออกจากจมูกทุกวัน และยังต้องเดินเท้า ตามถนนดินโคลนไปโรงเรียน ไป – กลับ วันละ 4 กิโลเมตรทุกวัน กิจกรรมหรือหน้าทีข่ องผมในบ้านพัก

ทุกตอนเย็นวันธรรมดาและวันหยุดก็คือ กวาด ถูบ้าน ตักน้ำ ซึ่งลงไปตักน้ำที่บ่อทราย ลำห้วยแม่สอด ซึง่ อยูห่ า่ งจากบ้านพักประมาณ 200 เมตรหาบน้ำวันละ 5 -10 หาบ นอกจากนั้นก็ถางหญ้า ช่วยทำอาหารใน บางโอกาส ส่วนค่าใช้จ่ายเป็นค่าตอบแทนค่าอาหาร และที ่ พ ั ก จ่ า ยให้ เ จ้ า ของบ้ า นเดื อ นละ 70 บาท คุณพ่อส่งเงินมาให้เดือนละ 100 บาท (หนึ่งร้อยบาท ถ้วน) ดังนั้น จึงเหลือเงินเป็นค่าขนม ค่าใช้จ่ายอีก 30 บาท ตกวันละ1 บาท พอดีแต่พอใช้ เพราะขณะนั้น 20

ประติมากร : งานพัฒนาชุ​ุมชน

ศึกษาอดีต วิเคราะห์ประสบการณ์ รังสรรค์งานชุมชน


ก๋ ว ยเตี ๋ ย วชามละ 50 สตางค์ ขนมหวานถ้ ว ยละ 25 สตางค์ เดินทางกลับบ้านตอนปิดเทอม (หนึ่งปีมี 3 เทอม) ยังสามารถ ซื้อเสื้อผ้าหรืออาหารทะเลจาก เมื อ งเมี ย วดี ประเทศพม่ า (ขี ่ จ ั ก รยานไปซื ้ อ ระยะทาง 6 กิโลเมตร เสื้อผ้าราคาตัวละ 1 – 3 บาท) กลั บ ไปฝาก พ่อ – แม่ และน้อง ๆ ได้

สงครามกะเหรี่ยง

วันที่ 15 เดือนพฤษภาคม 2503 ก่อนโรงเรียนเปิดเทอมแรก 2 - 3 วัน (เปิดเทอมวันที่ 17 พฤษภาคม ของทุกปี) หลังจากพ่อเดินทางมาส่งที่แม่สอดแล้วกลับไป ก็เกิดสงครามกะเหรี่ยง โดย กองทัพกะเหรี่ยงอิสระจากฝั่งประเทศพม่าบุกเข้าโจมตีค่ายตำรวจตระเวนชายแดนและศูนย์ราชการ ปล้นตลาด และฆ่าล้างแค้นพ่อค้าชายแดนที่เคยเข้าไปค้าขายกับกะเหรี่ยง ทั้งที่อำเภอแม่สอดและอำเภอ แม่ระมาดพร้อมกัน เสียงปืนและระเบิดจากการต่อสู้กันระหว่างตำรวจ ตชด. ตำรวจภูธร กับกองโจร กะเหรี่ยงของนายพลโบเมี๊ยะ และพันเอกมะตอง ดังสนั่นหวั่นไหว ตลอดตั้งแต่เวลาประมาณ 2 นาฬิกา ถึงตอนสายของวันรุ่งขึ้น ผมอายุเพียง 12 ปี และเพิ่งจากบ้านห่างครอบครัวมารู้สึกกลัวมาก แสง เพลิงที่เผาศูนย์ราชการแม่สอดลุกโชติช่วง มีตำรวจ ตชด. ภูธรตายในสนามรบยี่สิบกว่านาย นาย อำเภอแม่สอดขณะนั้นชื่อนายบุรี พรหมลักขโณ วิ่งหนีเพื่อไม่ให้ถูกจับเป็นเชลย จากที่ว่าการอำเภอซึ่ง ถูกข้าศึกเข้าตีและวางเพลิง ไปหลบที่บ้านกำนันนวล พ่อของเพื่อนผมที่บ้านแม่ปะ ซึ่งอยู่ห่างออกไป ประมาณ 4 กิโลเมตร และที่สำคัญก็คือเพื่อนบ้านติดกันชื่อ อัมพร สอนโยธา พ่อที่เป็นตำรวจชื่อ ส.ต.ท. ศาสตร์ สอนโยธา เข้าเวรที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอแม่สอดเสียชีวิตในการสู้รบและศพถูกเผา พร้อมอาคารสถานีตำรวจ เวลาบ่ายของวันถัดมา จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์ นายกรัฐมนตรีและผู้ บัญชาการทหารสูงสุด ได้ส่งเครื่องบินขับไล่ทั้งเครื่องบินแบบใบพัด BAECAT และเครื่องบินไอพ่น T -33 เข้าไปขับไล่ข้าศึก และค่ำวันนั้นทหารราบและทหารปืนใหญ่จากค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จังหวัดพิษณุโลก กลับจากค่ายจิระประวัติ จังหวัดนครสวรรค์ ก็เคลื่อนมาขับไล่ข้าศึกออกไปจาก ประเทศไทย ผมยังได้พบคุณครูสุวรรณ ขันธเลิศ ซึ่งเคยสอนตอนอยู่ชั้นประถมปีที่ 4 และติดทหาร เกณฑ์ ร่วมอยู่ในกองทัพด้วยผลจากสงครามตอนนั้น ชาวบ้านขวัญหนีต้องอพยพไปนอนตามทุ่งนาทุก สรรค์ชัย อินหว่าง 21


ครั้งที่มีข่าวว่ากองทัพกะเหรี่ยงเคลื่อนพลมาใกล้ ชายแดน ตลอดเวลา 5 - 6 ปี ต่อมาสำหรับ ครอบครัวตำรวจผู้เสียสละ คือ ส.ต.ท.ศาสตร์ สอนโยธา นั้นมีลูกเล็ก ๆ 3 คน กำพร้าแม่ มาก่อนแล้ว ต้องมาสูญเสียพ่อในการสู้รบอีก จึงต้องผจญกับชะตากรรมที่ยากลำบาก ญาติ และเพื่อนบ้านจึงช่วยกันดูแล โดยทางราชการ กรมตำรวจจ่ายค่าเลี้ยงดูและส่งเสียให้ได้เรียน หนังสือ ผมจำได้พี่คนโตชื่อ เพ็ญ อายุเท่ากับผม คือ 12 ปี คนรองชื่อ ด.ช.อัมพร อายุ 10 ปี และ คนเล็กชื่อ ด.ช.วิโรจน์ อายุ 8 ปี ที่จำได้แม่นยำ เพราะผมมักจะไปชวนเล่น ชวนเรียนด้วยเสมอ และบ้านของเขาก็อยู่ริมลำน้ำห้วยแม่สอดที่ผมต้องไปตักน้ำ อาบน้ำทุกเช้า – เย็น หลังจากเรียนจบชั้น ม.ศ. 3 เมื่อปี 2507 แล้ว ก็ไม่ได้พบกันอีกเลย มาทราบภายหลังที่เขียนบันทึกนี้ได้ 2 วัน (วันพุธ ที่ 2 กรกฎาคม 2551) น้องคนเล็กที่ชื่อ วิโรจน์ สอนโยธา ได้โทรศัพท์มาหาผม เหมือนกับเราจะ ส่งกระแสจิตถึงกันอย่างน่าอัศจรรย์ว่า ได้ทราบข่าวจากหนังสือพิมพ์ว่าพี่จ๊อด (ชื่อเล่นผม) เป็นรองอธิบดี กรมการพัฒนาชุมชน จึงค้นหาเบอร์และโทรมาหาเพราะคิดถึง ตลอดเวลาที่จากกัน 44 ปี ขณะนี้เขา รับราชการสำนักงานพาณิชย์จังหวัดอุทัยธานี อีกวันถัดมาคนพี่ที่ชื่ออัมพร สอนโยธา ก็โทรศัพท์มาหา อีก บอกว่าหลังจากจบ มศ. 3 ได้เข้ารับราชการตำรวจ ตำแหน่งสุดท้าย เป็นจ่าสิบตำรวจ(จ.ส.ต.) อยู่ อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก เออลี่รีไทม์ เกษียณอายุราชการก่อนกำหนดมาแล้ว 9 ปี ส่วนพี่สาวที่ชื่อ เพ็ญ เสียชีวิตไปเมื่อ 3 ปีก่อน เราจึงนัดพบกันในวันสงกรานต์ 13 เมษายน 2552

ผู้มีพระคุณ

ช่วง 5 ปีของการเรียนที่อำเภอแม่สอดจากปี พ.ศ. 2503 – 2507 ผมได้อาศัยอยู่กับหลาย ครอบครัวตามสถานะ ความจำเป็นของเจ้าของบ้านคือ (1.) ครอบครัวป้าปัง + พี่ทองคำ อ๊ะนา (2.) ครอบครั ว ลุ ง ลอย + ป้ า นิ ่ ว อ๊ ะ นา (3) ครอบครัว จ.ส.ต. สุทัศน์ + ครูยุพา คงถาวร (4) อยู่รับใช้คุณครูยุพิน กาญจนคงคา ซึ่งสุขภาพ ไม่ ด ี ต ้ อ งไปนอนเฝ้ า ไข้ ท ี ่ โ รงพยาบาลบ่ อ ย ๆ (5) อยู่รับใช้คุณครู Devid R. Updigraff อาสา สมั ค รอเมริ ก ั น (Peacecore) (6) ครอบครั ว คุณครูใหญ่ ถนอม + ครูอัมพา สังขพิทักษ์ และ 22

ประติมากร : งานพัฒนาชุ​ุมชน

ศึกษาอดีต วิเคราะห์ประสบการณ์ รังสรรค์งานชุมชน


ครอบครัวพี่สาวพี่เขยตนเอง (7) พี่ทองย้อย + จ.ส.ต.สุชาติ ธรรมเสวี ซึ่งเป็นตำรวจ ตชด. รวมถึงเช่า บ้านอยู่กับเพื่อนชื่อ เมืองใจ ปัญญาดิษฐ์วงศ์ ซึ่งเป็นเพื่อนมาจากอำเภอแม่ระมาดด้วยกัน คนรุ่นผมที่ เดินเท้าไปเรียนที่อำเภอแม่สอดก็มีไม่ถึง 10 คน คือ 1. อาจารย์สีไพร อินหว่าง เชาวนจินดา ลูกของอาสีทา ครูศรีศักดิ์ อินหว่าง พี่สาวของ ผอ.สุพิทย์ วีระใจ 2. ดร.ภาคภูมิ อินทะวงศ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร สมัยนั้นชื่อ ด.ช.สนั่น ยวงคำ ซึ่งได้ทุนนักเรียนถิ่นกันดาร ไปเรียนต่อที่วิทยาลัยครูหมู่บ้านจอมบึง จังหวัดราชบุรี ตั้งแต่จบชั้นมัธยมปีที่ 3 (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 7) 3. ครูสนั่น บูลย์ประมุข บ้านอยู่ตำบลแม่จะเรา ซึ่งเดินใกล้กว่าพวกเรา 8 กิโลเมตร (ระยะเวลาเดินเท้า 2 ชั่วโมง) จบ ป.กศ.แล้วไปเป็นครูที่อำเภอท่าสองยาง 4. คุณเมืองใจ ปัญญาดิษฐ์วงศ์ จบม.ศ. 3 แล้วไม่ได้เรียนต่อ 5. ตัวผมเอง

นักเรียนแม่สอดสรรพวิทยาคม

สำหรับ ผลการเรียนทีโ่ รงเรียนแม่สอดสรรพวิทยาคมนัน้ ในเทอมแรกทีย่ า้ ยจากแม่ระมาดมาเรียน ชัน้ ม. 2 ปรากฏว่าผมซึง่ อยูแ่ ม่ระมาดได้ทห่ี นึง่ ตลอด กลับสอบตก ได้คะแนนไม่ถงึ 50 เปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะ ภาษาอังกฤษ และคณิตศาสตร์ อาการหนักกว่าเพื่อน ดังนั้น จึงต้องรีบปรับปรุงตนเอง จนในเทอมต่อมา ปีต่อมาก็เลื่อนขึ้นมาเรื่อย ๆ จนอยู่ในกลุ่มแถวหน้า ทำให้มีความหลังฝังใจว่า นักเรียนบ้านนอก เก่ง อย่างไร ก็สู้นักเรียนในเมืองไม่ได้ ดังนั้นถ้ามีลูกหลานควรส่งเสริมให้มีโอกาสได้เรียนโรงเรียนดีดีในเมือง เมื่อเรียนจบชั้นมัธยมต้น (ชั้น ม.3 หรือ ป.7 ในสมัยต่อมา) คุณพ่อก็พาไปสอบชิงทุนท้องถิ่น กันดาร เพื่อไปเรียนต่อที่วิทยาลัยครูหมู่บ้านจอมบึง จังหวัดราชบุรี ในโควตาของจังหวัดตาก สอบที่ สำนั ก งานศึ ก ษาธิ ก ารจั ง หวั ด ตาก ปรากฏว่ า สอบไม่ ไ ด้ คนสอบได้ ค ื อ เพื ่ อ นที ่ ช ื ่ อ สนั ่ น ยวงคำ ท่านศึกษาธิการจังหวัดบอกว่า ผมเป็นลูกข้าราชการครูต้องให้โอกาสลูกเกษตรกรก่อน จึงกลับไปเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม.ศ.1) รุ่นที่ 2 ที่โรงเรียนแม่สอดสรรพ วิทยาคมที่เดิม ในปีที่เรียนชั้น ม.ศ.3 ก็ต้องวางแผนการเรียนต่อเมื่อเรียนจบ สมัยนั้นยังไม่มีการแนะแนวการศึกษาต่อ นักเรียนจึงต้องขวนขวายติดต่อหา ที่เรียนกันเอง ส่วนใหญ่ก็จะชวนกันไปสอบเรียนต่อวิทยาลัยครู เพราะเพียง 2 ปี ก็ได้อาชีพรับราชการครู หากสามารถเรียนต่อได้ก็ได้เรียนหลักสูตร ละ 2 ปี จนถึงปริญญาตรี – โท – เอก ได้ ดูแล้วมีความมั่นคง แน่นอนกว่าไปเรียนทางอื่นดังนั้น จึงพากันไปสอบเรียนต่อวิทยาลัย ครูพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก สำหรับผม คุณปู่อยากให้

หลานชายคนโตเป็นนายทหาร จึงได้พาลง กรุงเทพฯ เข้าสมัครสอบ สรรค์ชัย อินหว่าง 23


โรงเรียนเตรียมทหาร โดยนำไปฝากไว้กับขุนโสภิตบรรณารักษ์ บิดาของจอมพลถนอม กิตติขจรที่บ้าน สวนอ้อย ซอย 4 ถนนราชวิถี เขตดุสิต กทม. ทั้งนี้ เนื่องจากขุนโสภิตบรรณารักษ์ เป็นอดีตนาย อำเภอแม่ระมาด คุณปู่เป็นกำนันคนสนิท เป็นครั้งแรกที่เห็นกรุงเทพฯ ตื่นตา ตื่นใจ ไปไหนไม่ค่อยถูก ก็ได้รับความกรุณาจากเรืออากาศโทยุทธพงศ์ กิตติขจร ยศสุดท้ายพลอากาศเอก รอง ผบ.ทอ. บุตร ชายคนที่สองของจอมพลถนอม กิตติขจร แนะนำ ผลออกมาผมสอบไม่ได้ เพราะเขาเอาความรู้ระดับ ม.ศ. 4 – 5 มาออกข้อสอบจึงกลับไปเรียนวิทยาลัยครู มีอยู่ช่วงหนึ่งที่เกิดความคิดว่า หากสอบเรียนต่อไม่ได้จะกำหนดอนาคตอย่างไร ช่วงที่หยุดพัก การเดินทางกลางป่า บริเวณห้วยบง เขตรอยต่อระหว่างอำเภอแม่สอด กับอำเภอแม่ระมาด ดูแล้วเป็น ที่ราบลุ่มอุดมสมบูรณ์ กว้างใหญ่ ไม่มีบ้านเรือนอยู่เลยจึงคิดจะจับจอง 500 -1,000 ไร่ เพื่อทำไร่ กาแฟ โดยไม่ต้องตัดโค่นต้นไม้ขนาดใหญ่ที่มีอยู่เดิม เพราะกาแฟเป็นพืชร่มเงา แต่เมื่อสอบเรียนต่อได้ จึงไม่มีโอกาสเป็นเจ้าของไร่กาแฟที่ยิ่งใหญ่ ปัจจุบันห้วยบงเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ มีรีสอร์ทและฟาร์ม หลายแห่ง การเดินทางระหว่างอำเภอเมืองตาก กับอำเภอแม่สอดสมัยก่อนปี 2512 นั้น เป็นถนนดินและ ลูกรังแคบ ๆ ลัดเลาะไปตามไหล่เขาสูง บางแห่งไต่ไปตามขอบเหวซึ่งลึกมาก เช่น แถวดอยรวก ดอย คา ดอยสน ดอยพะวอ ห้วยเตย ห้วยหินฝน เส้นทางสมัยนั้น จะผ่านบ้านมูเซอร์ บ้านห้วยยะอุ บ้านปางส้าน บ้านแม่ละเมา บ้านห้วยหินฝน ระยะทางประมาณ 120 กิโลเมตร ปัจจุบันหลังจากได้ รับความช่วยเหลือจากประเทศออสเตรเลีย มาสร้างทางให้เมื่อปี 2512 – 2515 ตัดทางลัดระหว่างห้วย เตยปางมโนราห์ – ผาละกา – ห้วยยะอุ และไม่ผ่านบ้านมูเซอร์เก่า ทำให้ระยะทางสั้นลงเหลือ 85 กิโลเมตร ในฤดูแล้งตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงเดือนเมษายน รถยนต์สามารถเดินได้โดยสลับวันกันคือวันคี่ รถจากตาก เข้าแม่สอด วันคู่รถออกจากแม่สอดไปอำเภอเมืองตาก เพราะทางแคบรถสวนกันไม่ได้ ลักษณะของรถโดยสารก็เป็นรถบรรทุก 6 ล้อ คนโดยสารก็นั่งบนสิ่งของที่บรรทุกไป ฝุ่นตลบหัวแดง ด้วยฝุ่น บางแห่งรถขึ้นเขาไม่ได้คนโดยสารก็ลงช่วยกันเข็น มีไม้หนุนล้อเมื่อรถหมดแรงหรือ เครื่องยนต์ดับ ค่าโดยสารผู้ใหญ่ 40 บาท เด็ก 20 -30 บาทตามขนาด เมือ่ ถึงฤดูฝน ปลายเดือนเมษายน หลังสงกรานต์ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ก็จะพัดเอาเมฆฝนจากทะเลอันดามันมา ปะทะภูเขาถนนธงชัย ฝนจะตกหนักตลอด จนถึงเดือนตุลาคม รถยนต์ธรรมดาก็วิ่ง ไม่ได้ วิ่งได้เฉพาะรถจิ๊ปขับเคลื่อน 4 ล้อ ซึ ่ ง จะมี เ พี ย ง 2 – 3 คั น ของบริ ษ ั ท วงศ์เจริญ จำกัด วิ่งไป 200 - 300 เมตร ก็ จ ะตกหล่ ม ต้ อ งใช้ ว ิ ๊ น (Winch) 24

ประติมากร : งานพัฒนาชุ​ุมชน

ศึกษาอดีต วิเคราะห์ประสบการณ์ รังสรรค์งานชุมชน


เด็กท้ายรถกับผู้โดยสารก็จะช่วยกัน ลากสลิงไปเกี่ยวกับต้นไม้แล้วกว๊าน รถที ่ จ มโคลนอยู ่ ข ึ ้ น ระยะเวลา เดินทางก็ 2 – 3 วัน เท่ากับเดินเท้า ค่าโดยสารก็คนละ 120 บาท ดั ง นั ้ น เมื ่ อ วิ ท ยาลั ย ครู เปิ ด เรี ย นก็ ล ่ ว งเข้ า เดื อ นมิ ถุ น ายน ซึ่งเป็นฤดูฝนแล้ว พวกเรานักเรียน วัยรุ่นทั้งหลายก็เลือกที่จะเดินเท้ากัน โดยเฉพาะผู้ชาย ส่วนพวกผู้หญิงเขาล่วงหน้าไปเช่าบ้านรอวิทยาลัยเปิดภาคเรียนก่อนฝนมา ดังนั้น เพือ่ นร่วมเดินทางของผมก็จะมีดงั นี้ นับระยะทางเดินเริม่ ต้นจากบ้านแม่ระมาดผมเดินคนเดียว ระยะทาง 8 กิโลเมตร ถึงบ้านแม่จะเรา สนั่น บูลย์ประมุข เดินกัน 2 คน ถึงอำเภอแม่สอด ระยะทางประมาณ กม.ที่ 48 – 50 พักค้างคืน รุ่งเช้าเดินทางจากแม่สอด มีเพื่อนเพิ่มอีก 2 คน คือ ขุนเพชร ใจปันทา กับเดช รักการ เดินผ่านศาลเจ้าพ่อพะวอ เดิมซึ่งอยู่ด้านตะวันตกของดอยพะวอ ถึงบ้านด่านแม่ละเมา ระยะทางประมาณ กม.ที่ 85- 90 พักค้างคืน หรือเดินทางต่อโดยมีเพือ่ นเพิม่ อีก 1 คน คือ สะอาด มโนวรรณ แล้วไปค้างคืนที่บ้านห้วยยะอุ เช้าอีกวันก็เดินทางต่อผ่านดอยสน ดอยคา ซึ่งสูงที่สุดบนเส้นทางสายนี้ ดอยมูเซอร์ ดอยรวก ลงถึงบ้านลานสาง สถานีตำรวจภูธรตำบลแม่ท้อ ที่ระยะทางประมาณ กม.ที่ 135 จึงขึ้นรถยนต์โดยสารสองแถวเข้าตัวเมืองตาก ระยะทางประมาณ 30 กม. พูดถึงจุดพักค้างแต่ละแห่งจะมีศาลาที่พักคนเดินทาง เป็นศาลาโล่ง ๆ ยกพื้นเป็นที่นอนมี เตาไฟ มีหิ้งเก็บอุปกรณ์หม้อ กระทะสำหรับหุงหาอาหารส่วนกลางคว่ำไว้ รอบ ๆ ศาลาจะมีการปลูก มะนาว ตะไคร้ มะกรูด พริก กะเพรา ผักพื้นบ้านไว้ คนเดินทางเพียงมีข้าวสาร อาหารแห้งหรืออาหารสด ที่หาได้ระหว่างการเดินทาง เช่น หน่อไม้ เห็ด ผักป่า ไก่ป่า นก กระรอก กระแต แย้ งูสิง งูเห่า แมลงต่าง ๆ นำมาหุงมาปรุง เมื่อกินเสร็จแล้วก็ล้างอุปกรณ์คว่ำไว้ให้คนที่มาทีหลังใช้ต่อไป แล้วก็

เดินทางต่อ วิถีชีวิตของคนเดินทางก็จะเป็นเช่นนี้ บางครั้งก็พบกับเหตุการณ์ทำให้หวั่นไหวเหมือนกัน เช่น ฝนตกหนัก ลมพัดแรง น้ำป่า ถ้าออกเดินทางแต่เช้ามืด หรือพลบค่ำแล้วยังไม่ถึงที่พักก็จะพบ รอยสัตว์ป่าขนาดใหญ่ ที่ออกหากินกลางคืน เช่น ช้างป่า และเสือ บางทีพบรอยเสือที่ผ่านไปก่อนหน้าเรา ไปถึงไม่นาน น้ำที่ขังในรอยเท้ายังขุ่น ๆ อยู่เลย ที่พบบ่อยก็คือช่วงระยะทางระหว่างบ้านห้วยยะอุ – บ้านปางส้าน - ด่านแม่ละเมา เมื่อเดินทางโดยรถโดยสาร 2 แถวถึงสถานีขนส่งเทศบาลเมืองตากแล้ว ก็โดยสารรถประจำทาง บริษัทสุโขทัยยานยนต์ หรือบริษัทพิษณุโลกยานยนต์ ถนนลูกรัง ตาก – สุโขทัยระยะทาง 80 กิโลเมตร และถนนลาดยางชั้น 3 จากสุโขทัย – พิษณุโลก ระยะทาง 60 กิโลเมตร พวกเราจะเดินทางกัน

แบบนี้ปีละ 1 – 2 ครั้ง สรรค์ชัย อินหว่าง 25


นักศึกษาวิทยาลัยครูพิบูลสงคราม

การเรียนที่วิทยาลัยครูพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก มีอาจารย์ชิดชม กาญจนะโชติ เป็น

ผู้อำนวยการนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ทุกคนต้องเข้าพักหอพักของวิทยาลัย ซึ่งตั้งอยู่คนละฟากเมือง โดย วิทยาลัยจะอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่าน ส่วนหอพักอยู่ฝั่งตะวันออก บริเวณที่เรียกว่าสนามบินเก่า ผมพักหอที่ 2 ชื่อ พัชรินทร์ มีอาจารย์ครองศักดิ์ ขันธเลิศ เป็นอาจารย์ผู้ปกครอง ซึ่งอาจารย์ได้

ฝึกให้ทุกคนมีระเบียบวินัย และมีศิลปะในการใช้ชีวิตร่วมกับคนอื่นได้อย่างดียิ่ง ด้านการเรียน มีการ แบ่งออกเป็น 9 ห้องเรียน คือ A1 - A3, B1 - B3, และ C1 - C3 ห้องละ 35 คน ผมอยู่ห้อง C3 ห้ อ งสุ ด ท้ า ย อาจารย์ ท ี ่ ส อนก็ ม ี อ.อุ ท ั ย วรรณ ตั น ฑสิ น ธุ ์ , อ.บุ ญ เที ย ม แสงศิ ร ิ , อ.น้ อ ย สี ป ้ อ , อ.ดร.มั ง กร ทองสุ ข ดี , อ.อดิ เ ทพ + อ.ฉลอง บั ณ ฑิ ต , อ.บุ ญ ยื น + อ.พรรณี จิ ร าพงศ์ , อ.ครองศักดิ์ ขันธเลิศ, อ.ไพรัช พืชพันธ์ ,อ.ละเอียด............. และอ.ดร.สงบ ลักษณะ ผมได้รับ ความเมตตาจากอาจารย์ทุกท่าน จึงมีกำลังใจในการเรียนได้เกรดไม่ต่ำกว่า 3.00 ทุกเทอม เมื่อขึ้นปีที่ 2 เทอมแรกก็ออกไปฝึกสอน ซึ่งส่วนใหญ่วิทยาลัยจะส่งนักศึกษาไปฝึกสอนตาม โรงเรียนประชาบาล (ชั้นประถมศึกษา) ในเขตอำเภอเมืองพิษณุโลก อำเภอวังทอง อำเภอพรหมพิราม อำเภอบางกระทุ่ม อำเภอบางระกำ สำหรับผมถูกเลือกให้ฝึกสอนที่โรงเรียนสาธิตวิทยาลัยครูพิบูล สงคราม คงไม่ต้องคุยนะว่าพวกระดับแนวหน้าทั้งนั้นที่ได้รับเลือกให้ฝึกสอนที่โรงเรียนสาธิต กิจกรรม พิเศษของผมในขณะที่เรียนอยู่ที่วิทยาลัยครูพิบูลสงครามคือ การทำงานด้านโสตทัศนศึกษา ภายใต้การ ควบคุมดูแลของท่านอาจารย์ครองศักดิ์ ขันธเลิศ ในปีที่ 1 มีพี่สี ซึ่งอยู่ปี 4 เป็นหัวหน้าในแผนก ในปีที่ 2 ท่านอาจารย์ให้ผมเป็นหัวหน้า (ข้ามรุ่นเลย) ทำให้ผมได้เรียนรู้เรื่องเครื่องขยายเสียง เครื่อง ฉายภาพยนตร์ เครื่องไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ การถ่ายรูป อัดล้างภาพถ่าย ทุกเช้าจะต้องดูแลเรื่อง การเปิดเครื่องขยายเสียง เปิดเพลง ประกาศข่าวต่าง ๆ การถ่ายทอดเสียง ภาคข่าวสถานีวิทยุกระจาย เสียงไปจนถึงการเข้าแถวเคารพธงชาติเวลา 8 นาฬิกา และช่วงเย็น ก็จะมีการส่งกระจายเสียงอีกจนค่ำ ช่วงปลายเดือนมิถนุ ายน 2509 คุณพ่อได้ไปส่งน้องอ๊อด (สุรชัย) ซึง่ ได้รบั ทุนถิน่ กันดารเข้าเรียน ทีว่ ทิ ยาลัยครูหมูบ่ า้ นจอมบึง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ขากลับได้นง่ั รถไฟแวะเยีย่ มพีท่ องย้อย ซึง่ ย้าย ติ ด ตาม จ.ส.ต.สุ ช าติ ธรรมเสวี สามี ท ี ่ ม ี อ ายุ เ กิ น ที ่ จ ะเป็ น ตชด. มาเป็นตำรวจภูธร ที่บ้านเกิดอำเภอ ตะพานหิน จังหวัดพิจติ ร แล้วคุณพ่อ ก็แวะมาเยี่ยมผมที่พิษณุโลก พ่อได้ พู ด คุ ย กั บ ผมว่ า พ่ อ เป็ น ครู บ ้ า น นอกที่ยากจน คงจะหาทรัพย์สมบัติ อื ่ น ใดเป็ น มรดกให้ ลู ก คงไม่ ไ ด้ 26

ประติมากร : งานพัฒนาชุ​ุมชน

ศึกษาอดีต วิเคราะห์ประสบการณ์ รังสรรค์งานชุมชน


แต่พ่อก็ฝันไว้ว่าอยากให้มรดก กั บ ลู ก เป็ น ปากกา คนละเล่ ม เพราะปากกาจะพาให้ ลู ก หา ทรัพย์สินได้ไม่จำกัด ผมก็ถาม พ่อว่า ปากกา ทีพ่ อ่ ว่านัน้ หมายถึง

อะไร พ่อก็บอกว่าถ้าลูกพยายาม เรี ย นจนจบปริ ญ ญา ลู ก จะรู ้ ความหมายที ่ พ ่ อ ว่ า ได้ อ ย่ า ง แท้จริง แล้วพ่อก็สั่งเป็นปริศนา ไว้วา่ หากพ่อจากโลกไปก่อนเวลา ก็ขอให้ลกู ไขว่คว้าสิง่ ทีพ่ อ่ มุง่ หวังให้ได้ แล้วพ่อก็เดินทางกลับบ้าน เพียง หนึ่งเดือนถัดมา คือวันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม 2509 คุณพ่อก็มรณกรรมด้วยเส้นเลือดในสมองแตก เมื่อผมได้รับโทรเลขข่าวการตายของพ่อ ก็รีบลาอาจารย์กลับบ้าน เดินทางโดยรถยนต์โดยสาร ถึง จังหวัดตาก นั่งเครื่องบินโดยสารบริษัทเดินอากาศไทย จำกัด เป็นเครื่องบินแบบใบพัด 2 เครื่องยนต์ รุ่น DC -3 ดาโกต้า ค่าโดยสาร 120 บาท (เป็นการนั่งเครื่องบินครั้งแรกของชีวิต) ถึงสนามบินแม่สอด ประมาณเที่ยงวันของวันที่ 2 สิงหาคม 2509 แล้วเดินเท้าต่อไปยังแม่ระมาด ผมเดินครึ่งวิ่งทำเวลาได้ ประมาณ 6 – 7 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เดินไปทันพี่ทองย้อยกับพี่สุชาติ ซึ่งออกเดินทางจากแม่สอดตั้งแต่ เวลาตี ส ี ่ (เวลา 04.00 น.) ที ่ ก ลางป่ า บริ เ วณหนองกอก ก่ อ นถึ ง บ้ า นแม่ จ ะเรา บ้ า นทุ ่ ง ห่ า งจาก บ้านแม่ระมาดประมาณ 16 – 17 กิโลเมตร จากนั้นก็เดินด้วยกัน จนถึงบ้านประมาณ 3 ทุ่ม การจัดงานศพพ่อก็ทุลัก ทุเลลำบากมาก เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูฝน ฝนตกชุกมาก บรรดา ข้าราชการครูและเพือ่ นบ้านก็มาช่วยกันตามประเพณีมากทุกวัน ครบ 7 วัน ก็ฌาปนกิจ ทีป่ า่ ช้าวัดดอนแก้ว ผมบรรพชาเป็นสามเณร หลังงานศพพ่อก็ยื่นเรื่องราวขอรับบำเหน็จตกทอด และเงินฌาปนกิจครู (ชพค.) ต่อสำนักงานศึกษาธิการอำเภอ และเดินทางกลับไปเรียนหนังสือต่อ ตามเส้นทางการเดินเท้า ระยะทาง 135 กิโลเมตร ตามทีก่ ล่าวมาข้างต้น (เนือ่ งจากไม่มเี ครือ่ งบินเหมือนขามา และต้องประหยัดเงิน ไว้เรียนหนังสือ) ส่วนแม่ทองคำก็ค้าขาย เล็ก ๆ น้อย ๆ เลี้ยงน้องอัมพร และน้องหล้า สุรชิต อยู่บ้าน

นักเรียนทุน

เมื่อสิ้นบุญคุณพ่อ ผมต้องพึ่งตนเอง แต่เนื่องจากเป็นเด็กกิจกรรม จึงได้รับความเมตตา จากท่านผู้อำนวยการชิดชม อ.ครองศักดิ์, อ.บุญยืน, อ.พรรณี ให้ได้รับทุนการศึกษา โดยไม่ต้องจ่าย ค่าบำรุงการศึกษา ค่าหอพัก และค่าอาหาร ส่วนเงินค่าใช้จ่ายอื่น ก็ได้จากการถ่ายรูป อัดรูปขายให้

เพื่อน ๆ การรับจ้างตัดหญ้า จัดสวน บ้านอาจารย์หรือบ้านญาติอาจารย์ และอื่น ๆ เมื่อจบการศึกษา ระดั บ ประกาศนี ย บั ต รครู ช ั ้ น ต้ น (ป.กศ.) ก็ ส อบได้ ทุ น กระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร ไปเรี ย นหลั ก สู ต ร สรรค์ชัย อินหว่าง 27


ประกาศนียบัตรชั้นสูง สาขาอุตสาหกรรมศิลป์ ที่วิทยาลัยครู พระนคร เขตบางเขน กรุงเทพฯ พร้อมกับเพื่อนซี้ชื่อ ยงยุทธ แก้วจันทร์ฉาย ทั้งนี้ด้วยความเมตตาสนับสนุนของท่านอาจารย์ ครองศักดิ์ ขันธเลิศ และท่านอาจารย์ดร. เพ็ญสิทธิ์ โพธิจินดา.. การเรียนทีว่ ทิ ยาลัยครู และวิทยาลัยวิชาการศึกษาพระนคร เป็นหลักสูตรพิเศษที่จะสร้างครูไปสอนโรงเรียนมัธยมแบบผสม สำหรับคนทีเ่ รียนจบชัน้ ปีท่ี 2 ระดับประกาศนียบัตรชัน้ สูง ส่วนคน ที่สามารถเรียนถึง 4 ปี จบปริญญาตรีก็จะไปเป็นอาจารย์สอน วิทยาลัยครูทั่วประเทศ ทุกคนเป็นนักเรียนทุนของกระทรวง ศึกษาธิการ เรียนจบต้องรับราชการใช้ทุนเป็นระยะเวลา 4 เท่า ของระยะเวลาที่เรียน เพราะทุนการศึกษา สนับสนุนค่าใช้จา่ ยทุกอย่าง ทัง้ ค่าเทอม ค่าทีพ่ กั ค่าอาหาร ผมเลือกเรียนสาขา อุตสาหการ ซึง่ นอกเหนือจาก เรียนวิชาสามัญแล้ว วิชาเอกทีเ่ รียนก็เป็นวิชาทีเ่ กีย่ วกับโรงงานอุตสาหกรรมนัน่ เอง เช่น การออกแบบ เขียนแบบ การตั้งโรงงาน การบริหารจัดการโรงงาน วิชาไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องกลโลหะการ เครื่องยนต์ ฯลฯ ดังนัน้ สิง่ ทีค่ นในแวดวง พช.สงสัยว่าผมทำอะไรได้ทกุ อย่าง คิดอะไร ไม่ออก ทำอะไรไม่ได้ บอก สรรค์ชัย ไม่ผิดหวัง จนถึงกับตั้งฉายาให้ว่า แมคไกรเวอร์ (MC.Griver) เมืองไทยนั้น ผมได้ความรู้มา จากไหน ก็คงได้คำตอบแล้วนะครับ เรียนรูจ้ ากหลักสูตรวิศวกรรมอุตสาหการ วิทยาลัยวิชาการศึกษาพระนคร รุ่นที่ 2 นี่เอง ส่วนความเชี่ยวชาญนั้น ได้จากการเอาความรู้ไปหาเงินเป็นค่าใช้จ่ายในช่วงการเรียน เช่น อาจารย์เสนะ พาไปรับเหมาสร้างบ้านแถวริมคลองสำเหร่ คลองวัดดาวดึงส์ อาจารย์วีระ พารับจ้าง ซ่อมรถยนต์ อาจารย์พิภพ พาไปหารายได้พิเศษตามโรงกลึง โรงหล่อ โรงชุบโลหะ แม้กระทั่งบางครั้งกับ เพื่อนยุงยุทธ ก็พากันไปรับจ้างเป็น Door man บ้าง Shoe boy ตามสถานบันเทิงแถวเอราวัณ เพลินจิต สุขมุ วิท เพชรบุรตี ดั ใหม่ พออายุ 20 ปี สอบใบขับขีไ่ ด้กพ็ ากันไปเช่ารถป้ายดำ มาทำแท็กซีเ่ ถือ่ น หาเงิ น ใช้ ก ั น (สมั ย นั ้ น แท็ ก ซี ่ ป ้ า ยเหลื อ งถู ก คุ ม จำนวน ผู ก ขาด ทำให้ ร ถแท็ ก ซี ่ ม ี น ้ อ ยไม่ พ อกั บ

ความต้องการ ค่าเช่า ค่าโดยสารแพง คนจึงนิยมแท็กซี่ป้ายดำ) ผมเรียนจบปีที่ 2 ด้วยคะแนนเป็นอันดับหนึ่งของรุ่นได้รับ รางวัล An Outstanding Student of the year จาก The British Council ได้ทุนเรียนต่อปีที่ 3 -4 เมื ่ อ เรี ย นปี ท ี ่ 3 ได้ ร ั บ เลื อ กเป็ น อุ ป นายกองค์ ก ารนั ก ศึ ก ษา จึ ง แสดงบทบาทนำนั ก ศึ ก ษาของ สถาบั น ไปร่ ว มทำกิ จ กรรม พิเศษกับสโมสร หรือองค์การ นั ก ศึ ก ษาสถาบั น อื ่ น โดยผ่ า น 28

ประติมากร : งานพัฒนาชุ​ุมชน

ศึกษาอดีต วิเคราะห์ประสบการณ์ รังสรรค์งานชุมชน


World University Service ประเทศไทย ซึ่ง

ตั ้ ง อยู ่ ท ี ่ ส ภาการศึ ก ษาแห่ ง ชาติ ถนนสุ โ ขทั ย เขตดุสิต ใช้จุดแข็งทางด้านช่างของสถาบัน ริเริ่มนำ นั ก ศึ ก ษาไปออกค่ า ยอาสาสมั ค ร ในปี 2512 สร้างหมู่บ้านชัฎป่าหวาย อำเภอจอมบึง (ปัจจุบัน อยู่ในเขตอำเภอสวนผึ้ง) จังหวัดราชบุรี โดยสร้าง บ้านพร้อมจัดที่ทำกินให้ราษฎรที่ประสบอุทักภัย

ลุ่มน้ำแม่กลอง แม่น้ำเพชรบุรี และแม่น้ำปราณบุรี จำนวน 60 ครอบครัว ที่ทรัพย์สินเสียหายสิ้นเชิง อพยพไปอยู่ ผมเป็นประธานค่าย มีนิสิตนักศึกษาจาก มหาวิทยาลัยต่าง ๆ เช่น จุฬาฯ, ธรรมศาสตร์ ศิลปากร เกษตรศาสตร์ มหิดล และประสานมิตร เป็นชาวค่าย ประมาณ 350 คน ดังที่ได้เล่าไว้ในตอนอื่นแล้ว จากนั้นก็ได้รับเลือกเป็นประธานนิสิต นักศึกษาอาสาสมัครแห่งประเทศไทย 2 ปี ทำค่ายปีละ 50 - 70 แห่ง ทำแบบกระจายไปยังทุก สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา ซึ่งสนุกมาก สามารถปลูกฝังอุดมการณ์รักชนบท ให้บัณฑิตที่จบ การศึกษาแล้วกลับไปทำงานให้ต่างจังหวัด หัวเมืองชนบท มากขึ้น เมื่อจบการศึกษาระดับปริญญาตรีแล้ว ก็ไปสมัครสอบเป็นอาจารย์สังกัดกรมการฝึกหัดครู เพื่อไปสอนวิทยาลัยครูแห่งใดแห่งหนึ่ง ด้วยความประมาท คิดว่าตนเองเรียนเก่ง และเป็นนักเรียนทุน มีชื่อเสียงในหมู่นักศึกษา อาจารย์ จึงไม่ค่อยได้เตรียมการสอบ กลับมาจากค่ายนักศึกษาอาสาสมัคร ก็ เ ข้ า ห้ อ งสอบเลย จึ ง ปรากฏผลว่ า เป็ น คนเดี ย วในรุ ่ น ที ่ ส อบตก ไม่ ไ ด้ บ รรจุ เ ป็ น ข้ า ราชการ ดังนั้นจึงหลบลี้หนีหน้าไปสมัครเป็นเจ้าหน้าที่ World University Service (WUS) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ อยู ่ ท ี ่ ก รุ ง Geneva ประเทศ Swizerland ขณะนั ้ น เลขาธิ ก ารใหญ่ เป็ น ชาวอิ น เดี ย ชื ่ อ Mr.S.Shirabana Nathan ผู ้ อ ำนวยการภาคพื ้ น ทวี ป ออสเตรเลี ย และเอเชี ย (Australasia) ชื่อ Mr.Hehma ผมได้เงินเดือน ๆ ละ 2,500 บาท (ซึ่งขณะนั้นถ้ารับราชการได้เงินเดือนเพียงเดือนละ 1,150 บาท) แถมมีรถโฟล์คตู้ใหม่เอี่ยมแกะกล่องจากศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาประเทศเยอรมัน มาให้ใช้ในเมืองไทยอีกด้วย ทำงานตามสัญญา 2 ปี (พ.ศ.2514 - 2515) เมื่อใกล้ครบสัญญา กระทรวงศึกษาธิการตรวจพบว่านักเรียนทุนหนีหายไปหนึ่งคน คือนายสรรค์ชัย อินหว่าง จึงตามให้

ไปสอนหนังสือใช้ทุนที่สถาบันที่จบมาคือ วิทยาลัยวิชาการศึกษาพระนครสอนได้ 6 เดือน แอบไป สอบพัฒนากรได้ จึงไปกราบขออาจารย์ ดร.กิ่งแก้ว อัตถากร ซึ่งเป็นอนุสาสกสมัยเรียน ไปขอ ความเมตตากั บ ท่ า นปลั ด กระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร (ดร.บุ ญ ถิ ่ น อั ต ถากร) บิ ด าอาจารย์ ขอไป เป็นพัฒนากรตามที่ชอบมาก ๆ โดยไม่ใช้ทุน ท่านบุญถิ่นฯ เมตตาอนุญาต แล้วกำชับว่า ขอให้ ไปอยู่หน่วยงานใหม่คือ กรมการพัฒนาชุมชนตลอดรอดฝั่ง อย่าเป็นคนจับจด แล้วจะเจริญรุ่งเรือง รั บ คำรั บ พรท่ า นแล้ ว วั น ที ่ 5 กุ ม ภาพั น ธ์ 2516 จึ ง มารายงานตั ว รั บ ราชการเป็ น พั ฒ นากรตรี รุ่นที่ 24 ครับผม. สรรค์ชัย อินหว่าง 29


30

ประติมากร : งานพัฒนาชุ​ุมชน

ศึกษาอดีต วิเคราะห์ประสบการณ์ รังสรรค์งานชุมชน


รังสรรค์งานชุมชน พัฒนากร 2 เก่ง ผู้นำชุมชน 3 เก่ง You will stand out from your peers สี่ยุทธศาสตร์ การเพิ่มงบประมาณ กรมฯ ตำนาน จปฐ. กข.คจ. หวังใช้พระเจ้าเงินตรา... พัฒนาคน ทฤษฎี 2 ขา ที่มาของ ศอช. หมู่บ้านรางวัลพระราชทานเศรษฐกิจพอเพียง อยู่เย็น เป็นสุข... กลยุทธ์เชิงการนำ ประติมากรรม


“การฝึกอบรมพัฒนากรก่อนประจำการ สมัยนั้นใช้เวลารวม 4 เดือน พวกเราได้รับการ อบรมอย่างเข้มข้น เพื่อที่จะให้ ไปทำงานในชนบทที่ยังทุรกันดารคนเดียวได้ เรียนทั้งหลักปรัชญา การพัฒนาชุมชนการใช้ชีวิตชนบท การเก็บข้อมูลพื้นฐานเพื่อการพัฒนาของหมู่บ้าน การวิเคราะห์ ข้อมูล การวางแผนพัฒนาหมู่บ้าน การประชุมชาวบ้าน ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอาชีพต่างๆ โดย เฉพาะเกษตรกรรม”

พัฒนากร 2 เก่ง ผู้นำชุมชน 3 เก่ง พัฒนากรรุ่นที่ 24

พัฒนากรตรีรุ่นที่ 24 รายงานตัวเข้ารับราชการที่กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2516 จากนั้นเดินทางไปเข้ารับการฝึกอบรม ภาคที่ 1 ที่ ศูนย์ฝึกอบรมการ พัฒนาชุมชน สวนมงคล บ้านหนองหงส์ หมู่ที่ 2 ตำบลสาลิกา อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครนายก ตั้ง อยู่บนถนนระหว่างน้ำตกสาลิกา กับน้ำตกนางรอง อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชนคือ นายพัฒน์ บุณยรัต พันธุ์ อาจารย์ของพวกเราประกอบด้วย นายชัยวัฒน์ หุตะเจริญ หัวหน้ากองฝึกอบรม นายประพฤติ กอร์ปไพบูลย์ หัวหน้าฝ่าย วิทยากรมีอาจารย์เคน หนองเสนา อาจารย์จรัส ส่งสกุล อาจารย์รัชนี สุคนธมัต อาจารย์ปรเมศว์ วิทยาสารณบุตและอาจารย์ผุสดี วิทยาสารณยุต ซึ่งเป็นอาจารย์ผู้ ปกครองด้วย ไปฝึกสนามครั้งแรกที่จังหวัดกาญจนบุรี ผมฝึกที่บ้านต้นลำไย ตั้งอยู่ริมน้ำแม่กลอง เป็นคน เดียวที่ต้องนอนวัด เนื่องจากบ้านผู้ใหญ่บ้านคับแคบ และผมก็ชอบนอนวัดอยู่แล้ว ถึงแม้จะร่ำลือกัน ว่าวัดนี้ผีดุ เพราะมีต้นไม้ใหญ่ ต้นโพธิ์ ต้นกร่าง กอไผ่ เมรุและที่เก็บศพอยู่ใกล้ศาลาที่ผมพัก ผมก็ อยู่ได้จนครบวันที่กำหนด จิ๊กโก๋นักเลงในละแวกนั้นยังทึ่ง ต่างมาถามผมว่ามีพระอะไรดี ถึงอยู่วัดนี้ ได้ ผมก็บอกไปว่ามีใจดี มีใจเข้มแข็ง ผมเป็นคนต่างถิ่น ผีทั้งหลายคงไม่รู้จักจึงไม่มารบกวน ไปฝึก ภาควิชาการภาคที่ 2 ที่ศูนย์ฝึกอบรมแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี และไปฝึกภาคสนาม ครั้งที่ 2 ที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ผมฝึกอยู่ที่บ้านนาบึง ตำบลหนองแปน อำเภอกมลาไสย คนอื่นเขาอยู่ กันหมู่บ้านละ 2 - 3 คน ส่วนผมอยู่คนเดียว พักอยู่บ้านผู้ใหญ่ค้ำ ศรีชะตา ผู้ใหญ่บ้านนาบึง ฝึก อยู่ได้ 2 สัปดาห์ ปรับปรุงจัดระเบียบหมู่บ้านได้ 1 ครั้ง สร้างส้วมซึม ถูกสุขลักษณะ เป็นตัวอย่างให้ กับบ้านผู้ใหญ่บ้าน (เป็นส้วมซึมแห่งแรกของหมู่บ้าน ) เพราะที่ผ่านมาชาวบ้านจะถ่ายไว้ตามป่าละเมาะ 32

ประติมากร : งานพัฒนาชุ​ุมชน

ศึกษาอดีต วิเคราะห์ประสบการณ์ รังสรรค์งานชุมชน


รอบ ๆ หมู่บ้านที่เรียกว่า บังเสียม (ถือเสียมเข้าป่า ขุมหลุมเล็กน้อยแล้วนั่งถ่ายใช้เสียมปักดินไว้ข้าง หน้ากันคนเห็น!) จากนั้นอาจารย์เคน ก็ให้ไปเป็นผู้ช่วยวิทยากร ทำหน้าที่ขับรถแลนด์โรเวอร์ และ ฉายหนังกลางแปลง เนื่องจากผมขับรถ ซ่อมรถ ฉายหนัง ซ่อมเครื่องฉายหนัง เครื่องกำเนิดไฟฟ้า และอื่น ๆ ได้ เพราะทุกอย่างที่ว่ามาเก่าคร่ำคร่ามาก เครื่องฉายหนังยี่ห้อ Victor กับยี่ห้อ Bell & Howell ขนาด 16 มิลลิเมตร ต้องฉายไป - ซ่อมไป เดินทางไปกับอาจารย์ทุกหมู่บ้านที่มีพัฒนากร ฝึกงานอยู่ มีอยู่วันหนึ่งไปที่บ้านดงลิง จำเป็นต้องซักจอหนัง ซึ่งเป็นจอผ้า เนื่องจากเปื้อนโคลน และสี คล้ำ ทำให้ภาพไม่ชัด การซักจอครั้งนี้มีพัฒนากรสาว ชื่อกิ่งแก้ว หงส์สิงห์มาช่วยซัก การฝึกอบรมพัฒนากรก่อนประจำการ สมัยนั้นใช้เวลารวม 4 เดือน พวกเราได้รับการอบรม อย่างเข้มข้น เพื่อที่จะให้ไปทำงานในชนบทที่ยังทุรกันดารคนเดียวได้ เรียนทั้งหลักปรัชญาการพัฒนา ชุมชน การใช้ชีวิตชนบท การเก็บข้อมูลพื้นฐานเพื่อการพัฒนาของหมู่บ้าน การวิเคราะห์ข้อมูล การ วางแผนพั ฒ นาหมู่บ้าน การประชุมชาวบ้าน ความรู ้ พ ื ้ น ฐานเกี ่ ย วกั บ อาชี พ ต่ า ง ๆ โดยเฉพาะ เกษตรกรรม ซึ่งไปฝึกวิชาที่วิทยาลัยเกษตรกรรมบางพระ ทั้งวิชาปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ซึ่งต้องตอนหมู ตอนไก่ได้ การทำเตาถ่าน การสร้างส้วมซึม โอ้ย.......สารพัด พัฒนากรตรี รุ่นที่ 24 มีอาสาพัฒนา (อสพ.) ที่สอบเป็นข้าราชการได้มาฝึกอบรมด้วย เราจึงมีประธานรุ่นชื่อ นายวิชล มนัสเอื้อศิริ (รองอธิบดี) ส่วนภาคที่ 2 อบรมเฉพาะพวกไม่ผ่านการเป็น อสพ. คือพวกมือใหม่หัดขับล้วน ๆ มีประธานรุ่นชื่อ นายเหรียญ หมื่นโห้ง ส่วนผมเพื่อน ๆ ไว้วางใจ เลือกให้เป็นรองประธานตลอด มารู้ตอนหลังว่าทำไมเพื่อน ๆ ถึงเลือก ทั้งคุณสายนต์ มังคละไชยา (พัฒนาการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์) คุณวัชระ พัฒนสวัสดิ์ (พัฒนาการจังหวัดกาญจนบุรี) และอีก

หลาย ๆ คน ให้เหตุผลว่า เห็นขยันขัดส้วม ถางหญ้า จัดที่นอนให้เพื่อนที่ทำไม่เรียบร้อยไว้ก่อนอาจารย์ มาตรวจ ฯลฯ อุตส่าห์ภูมิใจ ที่ไหนได้....... เพื่อนเลือกเพื่อเอาไว้รับใช้นี่เอง...พับผ่า สรรค์ชัย อินหว่าง 33


ชีวิตพัฒนากรเริ่มต้นที่...อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย

เมื่อฝึกอบรมเสร็จ ผมได้รับการบรรจุเข้ารับราชการครั้งแรกที่อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ซึ ่ ง ไม่ เ คยไปมาก่ อ นดู จ ากแผนที ่ ต ั ้ ง อยู ่ ช ายแดนบนฝั ่ ง ขวาของแม่ น ้ ำ โขง เดิ น ทางจากกรุ ง เทพฯ โดยรถยนต์ โ ดยสาร บขส. สี ส ้ ม ติ ด พั ด ลม ถื อ ว่ า เป็ น รถยนต์ โ ดยสารชั ้ น หนึ ่ ง แล้ ว ถนนช่วงชัยภูมิ - แก้งคร้อ “ภูเขียว - ชุมแพ - ภู ก ระดึ ง - วั ง สะพุ ง ถึ ง จั ง หวั ด เลย ยังเป็นถนนลูกรัง ฝุ่นแดง จากอำเภอเมืองเลย ไปอำเภอเชียงคาน ระยะทาง 50 กิโลเมตร ยิ ่ ง หนั ก เพราะยั ง เป็ น ลู ก รั ง บ้ า ง ดิ น บ้ า ง ไปรายงานตั ว ณ ที ่ ท ำการ พั ฒ นาชุ ม ชนจั ง หวั ด เลย พร้ อ มกั บ พี ่ ป ระสิ ท ธิ ์ สารธรรม ซึ ่ ง บรรจุ ท ี ่ อำเภอปากชม ไกลกว่าผมเลยอำเภอ เชี ย งคานไปทางจั ง หวั ด หนองคาย อี ก 45 กิ โ ลเมตร ท่ า นพั ฒ นาการ จั ง หวั ด เลย (นายเสน่ ห ์ เฉลิ ม ผล) ท่านให้เราทั้ง 2 คน ศึกษางานและช่วยจัดระบบสารบรรณของที่ทำการพัฒนาชุมชนจังหวัดก่อน ซัก 2 สัปดาห์ เราจึงได้อาศัยพักบ้านของพัฒนาการอำเภอเชียงคาน (นายมนตรี ดีบุรี) ซึ่งได้รับ

ความกรุณาจากหัวหน้ามนตรี และคุณพี่สุปรีดี ดีบุรี ซึ่งเป็นคนมีเมตตาสูงเป็นอย่างมาก เมื ่ อ จั ง หวั ด ส่ ง ตั ว ไปอำเภอ ผมได้ ร ั บ มอบหมายให้ ป ระจำตำบลบุ ฮ ม ซึ่งมีหมู่บ้านเรียงรายไปตามแม่น้ำโขง 7 หมู่บ้าน อยู่ในหุบเขาลึกเข้าไปทาง ภูควายเงิน เพียงหมู่บ้านเดียวคือบ้านอุบมุง เมื่อไปเป็นพัฒนากรจริง ๆ เครื ่ อ งมื อ ประกอบอาชี พ ที ่ ส ำคั ญ ที ่ ข าดไม่ ไ ด้ ค ื อ ยานพาหนะ ดังนั้น จึงต้องไปเช่าซื้อรถมอเตอร์ไซด์ใหม่มาคันหนึ่ง ยี่ห้อ ฮอนด้า รุ ่ น AZ-100 Scrabble บุ ก ตะลุ ย ได้ ทุ ก สภาพภู ม ิ ป ระเทศ ปัจจัยที่ 2 ก็คือบ้านพัก ข้าราชการบรรจุใหม่ถูกรังแกตั้งแต่แรก ก็คือ ไม่มีสิทธิเช่าบ้าน หัวหน้า (พัฒนาการอำเภอ) จึงกรุณาให้ อยู่บ้านที่หัวหน้าเช่าไว้เพราะอยู่บ้างไม่อยู่บ้าง (ไปท้องที่บ้าง กลับในเมืองบ้าง) ได้หัวหน้าใจดีเราก็มีความสุข ไม่ต้องควักเนื้อ 34

ประติมากร : งานพัฒนาชุ​ุมชน

ศึกษาอดีต วิเคราะห์ประสบการณ์ รังสรรค์งานชุมชน


เงินเดือนเป็นค่าเช่าบ้าน แต่ส่วน ใหญ่แล้วผมจะไปนอนพักค้างที่ ศูนย์พัฒนาตำบลที่บ้านผาแม่น ตำบลบุ ฮ ม ที ่ ผ มได้ ป รั บ ปรุ ง เป็นที่พัก ถึงแม้จะตั้งอยู่หน้า ป่าช้า แต่เป็นชัยภูมิที่ดี ขณะ นั้นตำบลนี้ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ แต่มี แผนการติ ด ตั ้ ง เสาไฟฟ้ า แล้ ว โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ปัก เสาส่งไฟแรงสูงขยายเขตจากตัวอำเภอ ถึงบ้านผาแม่น ระยะทาง 6 กิโลเมตรไว้แล้ว แต่ยังไม่ได้พาด สาย ผมจึงใช้ศูนย์พัฒนาตำบลเป็นที่ฝึกอาชีพเยาวชน ด้านช่างไฟฟ้า เพื่อรับจ้างเดินสายติดตั้งไฟฟ้า ในครัวเรือน การซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้า ช่างเครื่องยนต์ ช่างก่อสร้าง โดยใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ได้รับ การสนับสนุนจาก World University Service ที่ผมเคยทำงานอยู่ เนื่องจากมีลำเหมืองส่งน้ำไหล ผ่าน ผมจึงร่วมกับผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน (ผู้นำ อช. ) ชื่อพี่สุทิน พลหมอ สาธิตการปลูกผักสวนครัว ตลอดปี (ชาวบ้านจะปลูกเฉพาะฤดูหนาว ฤดูอื่นก็ไม่มีผักกิน) เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ โดยกู้เงินจาก สหกรณ์ออมทรัพย์ กรมการพัฒนาชุมชนไปลงทุน นอกจากนี้ยังไปตัดไม้บนภูควายเงิน มาทำสนาม เด็กเล่น ตกเย็นก็ไปวางเบ็ด วางมอง (ตาข่าย ) จับปลาในแม่น้ำโขง ไปนอนพักค้างกับผู้ใหญ่บ้าน อาสาพัฒนาชุมชน (อช.) ทั่วทุกหมู่บ้าน พาชาวบ้านทำฝายทดน้ำ (ฝายแม้ว) ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของภาค เหนือบ้านเกิดผม วิชาที่ได้รับการฝึกอบรมมา ที่ผมใช้เป็นเครื่องนำทางเข้ากับชาวบ้านได้ดี คือ การตอน หมู ผมมีชื่อเสียงเรื่องการตอนหมูมาก ชาวบ้านมาตามให้ไปตอนหมูทุกหมู่บ้าน นับเป็นร้อย ๆ ตัว ชีวิตการเป็นพัฒนากรมีความสุขที่สุด มีอิสระเสรีในการทำงาน สามารถสร้างสรรค์งานได้ไม่จำกัด เพียงเรารู้จักแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติ อย่างมีประสิทธิภาพเท่านั้น นอกจากนี้ผมได้ติดตามเรียนรู้ การทำงานของรุ่นพี่ ๆ ทั้งหลาย ทั้งพี่เกรียงศักดิ์ กงชัยภูมิ ตำบลปากตม (บ้านเกิดท่านอธิบดี ไพโรจน์ พรหมสาส์น) พี่หรีด ศิริชัย เกิดขวัญ ตำบลเขาแก้ว พี่ประศักดิ์ ศิริหล้า พี่แหว อุไร วรรณ ศิริหล้า ตำบลนาซ่าว พี่สมเกียรติ เกียรติก้องอำไพ คุณตรีพลา สุขธงษา ตำบล ธาตุ พี่ดารา จันทร์อ่อน แล้วศึกษาชีวิตกับ การทำงานของผู้นำชุมชน ทั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กรรมการหมู่บ้าน อช. และผู้นำอช. กับปราชญ์ ชาวบ้าน เช่น ป้ายม ซึ่งเป็นผู้นำดีเด่นเคยได้รับ รางวัลจากกรมฯ ให้ไปศึกษาดูงานต่างประเทศ ถึงไต้หวันมาแล้ว สรรค์ชัย อินหว่าง 35


แล้วความสุขที่เชียงคานก็สิ้นสุดลง เมื่อกรมฯ ประกาศรับสมัครพัฒนากรเข้าไปร่วมต่อสู้ ปราบปรามคอมมิ ว นิ ส ต์ ในเขตสู ้ ร บสี แ ดง รอยต่ อ จั ง หวั ด พิ ษ ณุ โ ลก เลย และเพชรบู ร ณ์ ตามแผน พตท. 1617 ครั้งแรกจะไม่ไปแต่เมื่อท่านพัฒนาการจังหวัด เสน่ห์ เฉลิมผล บอกว่า เป็นความอยู่รอดของประเทศชาติ นะโว้ย ทำให้ปฏิเสธไม่ได้ เพราะในชีวิตนี้ ได้จัดลำดับความสำคัญ

ไว้แล้วว่า หนึ่งคือชาติ สององค์กรที่สังกัด สามครอบครัว สี่ญาติ มิตร และห้าตนเอง

ทำไมถึงได้ข้อสรุปว่า พัฒนากร 2 เก่ง ผู้นำชุมชน 3 เก่ง

เมื ่ อ ผ่ า นการฝึ ก การรบพิ เ ศษ จากค่ า ยสฤษดิ ์ เ สนาแล้ ว ก็ไ ด้ ร ั บ คำสั ่ ง จาก ผอ.รมน.จว.เลย.ไปปฏิบัติการที ่ ชุ ด คุ ้ ม ครอง ตำบลโคกงาม กอ.รมน.อ.ด่านซ้าย โดยเป็นหัวหน้าชุดปฏิบัติการ ทางการเมื อ งและจิ ต วิ ท ยา มี พ ั ฒ นากรร่ ว มชุ ด 4 คน จากนั้นก็ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้านักวิชาพัฒนาชุมชน รับผิดชอบการนิเทศงาน ในเขตพื้นที่ พตท. 1617 จั ง หวั ด เลย คื อ อำเภอด่ า นซ้ า ย อำเภอภู เ รื อ และอำเภอนาแห้ ว แล้ ว เลื ่ อ นเป็ น พั ฒ นาการ อำเภอด่านซ้าย 3 ปี พัฒนาการอำเภอเมืองเลย 2 ปี วิ เ คราะห์ ป ระสบการณ์ สรุ ป การทำงาน พัฒนาชุมชนได้ว่า 36

ประติมากร : งานพัฒนาชุ​ุมชน

ศึกษาอดีต วิเคราะห์ประสบการณ์ รังสรรค์งานชุมชน


เป้าหมาย ชุมชุมเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ชุมชนเข้มแข็ง คือ ผู้นำชุมชนเก่ง ถ้าผู้นำชุมชนเก่ง = สร้างพลังชุมชนได้ เมือ่ มีพลังชุมชน จะสามารถใช้พลังชุมชน ในการพัฒนาชุมชนของตนเองได้ ถามว่า : จะทำให้ผู้นำชุมชนเก่งได้อย่างไร แนวทาง : 1. ต้องฝึกอบรมให้รู้หลักการและเก่งในการปฏิบัติ = การบริหารจัดการชุมชน 2. แบบฝึกหัดที่ใช้คือ เรื่องที่เป็นวิถีชีวิตของชุมชน ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม 3. วิธีการ On the job Training (ทำไปเรียนรู้ไป) 4. จัดการความรู้ (KM) วิจัยและพัฒนา (R&D) 5. ส่งเสริมเผยแพร่ / สร้างการเรียนรู้ การที ่ จ ะทำงานให้ บ รรลุ เ ป้ า หมาย ตาม แนวทางดั ง กล่ า วจะต้ อ งมี ผู ้ ท ำงาน (ผู ้ ก ระทำ) และผู้ถูกกระทำ (กลุ่มเป้าหมาย) ที่ชัดเจน ดังนั้น ผู ้ ก ระทำหลั ก ของงานพั ฒ นาชุ ม ชนคื อ พั ฒ นากร ผู ้ ถู ก กระทำ ที ่ เ ป็ น เป้ า หมายหลั ก ของงานพั ฒ นา ชุ ม ชน คื อ ผู ้ น ำชุ ม ชน ชุ ม ชนจะเข้ ม แข็ ง ได้ ค น ทั้ง 2 กลุ่ม จะต้องเก่งการฝึกอบรมและการมอบ นโยบายมอบภารกิจทั้งหลายมากมายให้พัฒนากร นำไปปฏิบัติกับให้ผู้นำชุมชนไปทำนั้น ถ้าทำแบบขาดความชัดเจน ขาดการจัดการ ก็จะทำแบบขอเพียง ได้ทำ ขอแค่ให้งานเสร็จ สะเปะสะปะ แบบมวยวัด แต่ถ้าจะทำแบบสามารถสร้างพลังชุมชนได้นั้น พัฒนากร จะต้องเก่ง 2 ด้าน ได้แก่ เก่งที่ 1 : คือ เก่งในเรื่องการเป็นวิทยากรกระบวนการ เพราะจะทำให้ทำงานได้ดี 2 เรื่อง คือ 1. การถ่ายทอดหลักวิชาการ และองค์ความรู้ให้กับผู้นำชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ 2. การจัดเวทีประชาคม จะสามารถระดมทรัพยากรหรือปัจจัยในการทำงานทุกโครงการ ทุกกิจกรรมได้ ไม่ว่าจะเป็น ด้านคน ด้านเงิน ด้านวัสดุ และ ด้านองค์ความรู้ เก่งที่ 2 : คื อ เก่ ง ในเรื ่ อ งการวิ จ ั ย และพั ฒ นา (R&D : Research and Development) โดยเฉพาะการวิ จ ั ย แบบมี ส่วนร่วม (PAR) ทั้งนี้ เพื่อที่จะได้สร้างองค์ความรู้และพัฒนางาน ให้มีความแหลมคมอยู่เสมอ สรรค์ชัย อินหว่าง 37


ส่ ว นผู ้ ถู ก กระทำหรื อ กลุ ่ ม เป้ า หมายคื อ ผู ้ น ำ ชุมชน เป็นตัวจักรสำคัญที่จะทำให้ชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่ง ยืน จะต้องพัฒนาให้เก่งใน 3 ด้าน คือ เก่งที่ 1 : ได้แก่ เก่งในเรื่องการวางแผน ทั้งแผน ชีวิต แผนขององค์กรต่าง ๆ ที่ตนเองเป็นกรรมการหรือผู้ บริหารอยู่ และแผนชุมชนทั้งในเรื่องของการจัดเก็บ ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการบูรณาการแผน เก่งที่ 2 : ได้แก่ เก่งในเรื่องการถอดแผนมาเขียน เป็นโครงการ ลงรายละเอียดวัตถุประสงค์ ขั้นตอน วิธี การดำเนินงาน การกำหนดงบประมาณ จนถึงตัวชี้วัด ความสำเร็จ และสามารถชี้แจงอธิบายโครงการต่อแหล่ง ทุน หรือหน่วยสนับสนุนเงินงบประมาณได้อย่างชัดเจน สามารถโน้มน้าวให้ผู้สนับสนุน จัดสรรงบประมาณให้ได้ อย่างสบายใจ เก่งที่ 3 : ได้แก่ เก่งในเรื่องของการบริหารจัดการ ทั้งในการบริหารกลุ่ม องค์กร และการดำเนิน งานตามโครงการ กิจกรรมต่าง ๆ จนประสบความสำเร็จ แล้วจัดทำรายงานผลต่อผู้สนับสนุนงบ ประมาณและสาธารณะหรือชุมชนได้ การทำงานพัฒนาชุมชนระดับปฏิบัติการเก่งเท่านี้ก็เพียงพอแล้วครับ ไม่ต้องเก่งทุกด้าน เดี๋ยว จะไม่มีภาคีร่วมทำงาน ควรค้นหาและพัฒนาความเก่งของตนเองให้เป็นที่ประจักษ์ แล้วนายจะเลือกท่าน ไปทำงานระดับที่สูงขึ้นได้อย่างเชื่อมั่น You will stand out from your peers.

38

ประติมากร : งานพัฒนาชุ​ุมชน

ศึกษาอดีต วิเคราะห์ประสบการณ์ รังสรรค์งานชุมชน


“พัฒนากรไม่ออกท้องที่ วิเคราะห์แล้วสาเหตุใหญ่ก็คือความเชื่อมั่นในตนเองลดลง

ความศรัทธาของประชาชนเสื่อมถอยที่ ไ่ม่ค่อยได้รับการสนับสนุนแผนงาน โครงการที่เสนอ

ปีแล้วปีเล่า อย่างเก่งก็ได้โครงการละ 500 บาท 1,000 บาท จึงอ่อนล้าล่าถอย ถูกกวดขัน

ก็ทำท่าขี่มอเตอร์ ไซด์ออกไปเลี้ยวซ้ายเข้านาเลี้ยวขวาเข้าสวน หรือไปอย่างขอไปที”

สี่ยุทธศาสตร์ การเพิ่มงบประมาณ กรมฯ เมื ่ อ สิ ้ น ปี ง บประมาณ 2529 สำนั ก งานโครงการเงิ น กู ้ (New Villege Development Programme : NVDP) ได้ปิดลงเนื่องจากสิ้นสุดโครงการ บรรดาผู้มาช่วยราชการและลูกจ้างทั้งหลาย รวมถึงเจ้าหน้าที่ชาวต่างประเทศ ก็แตกทัพแยกย้ายกันกลับที่ตั้งเดิมหรือไปรับจ้างที่อื่น บรรดาลูกจ้าง ที่สามารถสอบเข้าเป็นข้าราชการได้ก็ได้เป็นข้าราชการ เช่นคุณอี๊ด ดวงสุดา,คุณสี สมศรี ฯลฯ ส่วนคน ที ่ ส อบเข้ า รั บ ราชการไม่ ไ ด้ ท ่ า น ผอ.สมมิ ต ร คอวนิ ช และดร.ไพโรจน์ สุ ข สั ม ฤทธิ ์ ก็ ไ ด้ ฝ ากฝั ง

ได้เข้าทำงาน สอ.พช. (สหกรณ์ออมทรัพย์กรมการพัฒนาชุมชน) ส่วนผม ท่านอธิบดีสุวนัย ทองนพ และดร.สุรพล กาญจนะจิตรา ผอ.กองวิจัยและประเมินผล แต่งตั้งลงในตำแหน่งหัวหน้างานแผนงาน (เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน 6) ฝ่ายนโยบายและแผน ซึ่งมีหัวหน้าสุวิช ฤกษ์จำนง เป็น หัวหน้าฝ่าย สังกัดกองวิจัยและประเมินผล จึงได้เป็นข้าราชการส่วนกลางเต็มตัว หลังจากช่วยราชการ มา 5 -6 ปี เอาเงิ น เดื อ นระเหเร่ ร ่ อ น จากตำแหน่ ง ผู ้ ช ่ ว ยพั ฒ นาการจั ง หวั ด เลย (ซี 6 รุ ่ น 14 คนแรกที่เป็น ผช.พจ.)

สรรค์ชัย อินหว่าง 39


ไปอยู ่ เ ป็ น พั ฒ นาการอำเภอแม่ลาน้อย จังหวัด แม่ ฮ ่ อ งสอน พั ฒ นาการอำเภอแม่ ร ะมาด จังหวัดตาก (ฝันอยากไปพัฒนาบ้านเกิด แต่วาสนา ไม่ได้ไป : ฝันค้าง) พัฒนาการอำเภอกุดข้าวปุ้น จังหวัดอุบลราชธานี หน้าที่หัวหน้างานแผนงาน ในปีเริ่มต้น ยุ ท ธศาสตร์ ก ารพั ฒ นาชนบทแห่ ง ชาติ (กชช.) ก็ ค ื อ การประสานกั บ สภาพั ฒ น์ ฯ และสำนั ก

งบประมาณ ในการออกแบบระบบแผนงาน และงบประมาณของกรมการพั ฒ นาชุ ม ชน ดั ง นั ้ น แบบ กชช. 1 - 2 - 3 - 4 - 5 - 6 -7 จึงหลั่งไหลออกจากสมอง ส่วนใหญ่จะตื่นขึ้นมาคิดได้ตอนเวลา ตี 2 ตี 3 อาศัยที่จำคำสอนของท่านอธิบดีฯ พัฒน์ บุณยรัตพันธ์ ว่าให้เตรียมสมุดบันทึกและดินสอ/ ปากกา ไว้ที่หัวเตียง ความคิดดี ๆ จะแล่นผ่านมาตอนดึก ๆ จงจดบันทึกไว้แล้วเอามาทำ ถ้าจะทระนงว่า ความจำแม่ น ไม่ จ ด ไม่ บ ั น ทึ ก ความคิ ด ดี ๆ นั ้ น ก็ จ ะลอยตามลมไป เมื ่ อ ได้ ร ั บ มอบงานจาก หัวหน้าฝ่ายศึกษาแล้วก็ถึงบางอ้อว่า ทำไมตอนเราเป็นพัฒนากร ถึงฤดูวางโครงการ พช. 3 เราก็ร่วมกับ ผู ้ น ำชุ ม ชน วาง/เขี ย นโครงการอย่ า งตั ้ ง อกตั ้ ง ใจ ส่ ง ให้ อ ำเภอ - จั ง หวั ด - กรมฯ แล้ ว พอใกล้

สิ้นปีงบประมาณ (ประมาณเดือนสิงหา - กันยา) ก็ตากหน้าแห้ง ๆ ไปบอกกับผู้นำชุมชนและชาวบ้าน ว่ า โครงการที ่ เ ราช่ ว ยกั น ส่ ง ไปไม่ ไ ด้ ร ั บ อนุ ม ั ต ิ เ นื ่ อ งจากงบประมาณมี น ้ อ ย (เป็ น อย่ า งนี ้ ป ระจำ ขนาดก่อนส่งก็บนบานศาลกล่าว เจ้าพ่อ เจ้าปู่ที่ไหนศักดิ์สิทธิ์ ไก่ เป็ด หมู วัว เหล้า ก็สังเวยแล้ว แต่แล้วก็กินแห้วทุกที) ตอนเป็นพัฒนาการอำเภอ 5 ปี ก็เกิดสถานการณ์ทั่วประเทศว่าพัฒนากรไม่ออกท้องที่ จนผู ้ บ ั ง คั บ บั ญ ชา (กรม - จั ง หวั ด ) คาดโทษพั ฒ นาการอำเภอให้ ก วดขั น ลูกน้องให้ออกท้องที่ ซึ่งวิเคราะห์แล้วสาเหตุใหญ่ก็คือความเชื่อมั่น ในตนเองลดลง ความศรัทธาของประชาชนเสื่อมถอยที่ไม่ค่อย ได้ ร ั บ การสนั บ สนุ น แผนงาน โครงการที ่ เ สนอปี แ ล้ ว ปี เ ล่ า อย่ า งเก่ ง ก็ ไ ด้ โ ครงการละ 500 บาท 1,000 บาท จึ ง อ่ อ นล้ า ล่ า ถอย ถู ก กวดขั น ก็ ท ำท่ า ขี ่ ม อเตอร์ ไ ซด์

ออกไปเลี ้ ย วซ้ า ยเข้ า นา เลี ้ ย วขวาเข้า สวน หรื อ ไป อย่ า งขอไปที คำตอบที ่ ว ่ า ถึ ง บางอ้ อ ก็ ค ื อ ปี ง บประมาณ 2530 กรมฯ มี ง บประมาณ เงิ น อุ ด หนุ น เพี ย ง 44 ล้ า น 4 แสนบาท ทำมา 25 ปี ( พ.ศ. 2505 - 2530 ) มีงบสนับสนุน พัฒนากรทั่วประเทศแค่เนี๊ยะ 40

ประติมากร : งานพัฒนาชุ​ุมชน

ศึกษาอดีต วิเคราะห์ประสบการณ์ รังสรรค์งานชุมชน


ถามรุ ่ น พี ่ ๆ ว่ า ทำไมถึ ง เป็นอย่างนี้ ได้รับคำตอบอมตะ ว่า สำนักงบประมาณให้เพิ่มใน แต่ละปีได้ไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ พุทโธ ธัมโม สังโฆ ที่ฝันไว้แต่ แรกเมื่อคำสั่งตั้งเป็นหัวหน้างาน แผนงานออกว่ า จะทำให้ พัฒนากรมีเงินติดมือไป สนั บ สนุ น การพั ฒ นาหมู ่ บ ้ า น ตำบลได้ อ ย่ า งน้ อ ยตำบลละ หนึ่งแสนบาทนั้น รวมทั่วประเทศก็จะต้องได้งบประมาณเงินอุดหนุนราว 700 ล้านบาท คิดแล้วจากฐาน 44.4 ล้านบาท โตปีละ 10 เปอร์เซ็นต์ กว่าจะถึง 700 ล้านบาท สงสัยเกษียณก่อนหลายรอบ ดังนั้นถ้า จะให้สำเร็จภายในเวลา 2 -3 ปี จึงต้องหาทางแหกกฎของสำนักงบประมาณให้ได้ เลิกเป็นเด็กดีเสียที เรื่องนี้ได้นำเรียนที่ประชุมพัฒนาการจังหวัดทั่วประเทศ ณ วิทยาลัยการพัฒนาชุมชน บางละมุง ซึ่งสร้างเสร็จใหม่ ๆ มีเสียงฮือฮากันมากว่าจะเป็นไปได้อย่างไร เริ่มต้นวิเคราะห์งาน เห็นว่า หน่วยงานที่มีอำนาจในการที่จะสนับสนุนให้เพิ่มงบประมาณได้คือ สภาพัฒน์ฯ กับสำนักงบประมาณ ดังนั้นต้องเจาะเข้าไปผูกเสี่ยว ผูกสัมพันธ์ กับเขาให้ได้ ด้านสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ : สศช. (สภาพัฒน์)

สายงานที่เกี่ยวข้องก็คือ กองประสานการพัฒนาชนบท มีท่านไพโรจน์ สุจินดา ,กิรศักดิ์ จันทรจรัสวัส, กิตติศักดิ์ สินธุวนิช, ชำนาญ รุ่งแสง, เตชะพล ,พจนี, ศุภรัตน์, เรวดี(เล็ก), อมรรัตน์ (มะลอ), ดร.เขียว ลูกอิ๋ว ลูกกุ้ง ลูกต้อม ลูกนก ลูกอ้อย ลูกนิด ลูกจิ๋ม ลูกไฝ เด็กสาว ๆ จะเรียกเราว่า ป๋า มาถึงทุกวันนี้ เพราะพาไปดูงานพื้นที่ พากิน พาเที่ยวไม่อั้น จนเขาเข้าใจงาน ถามว่าเอาทุนมาจากไหน คำตอบก็คือ เอามาจากองบุญสมัยอยู่เงินกู้ ไม่รับซองขาว เปลี่ยนฝากไว้เป็นความช่วยเหลือเมื่อ องค์กร (กรม) ต้องการ เจ้ามือ ทั ้ ง หลายก็ ส ามารถเอาใบเสร็ จ ไปเป็ น ค่ า ใช้ จ ่ า ยที ่ บ ริ ษ ั ท

สามารถนำไปลดภาษี ไ ด้ ด ้ ว ย win - win ด้านสำนักงบประมาณ สายงานที ่ เ กี ่ ย วข้ อ งก็ ค ื อ กองวิ เ คราะห์ ง บประมาณด้ า น สาธารณสุ ข และสาธารณู ป การ สรรค์ชัย อินหว่าง 41


มี ท่านนงลักษณ์ ,ท่านพวงเพชร กล้ า หาญ, ท่ า นหมู ด วงสมร วรฤทธิ ์ , คุ ณ เสกสรร, คุ ณ ประสิทธิ์ คุณประเสริฐ ลูกติ๋ม ลูกแดง ลูกต้อย ฯลฯ ใช้กลวิธี เช่ น เดี ย วกั บ สภาพั ฒ น์ ฯ ร่ ว ม ด้วยช่วยทำ สัมพันธ์เยี่ยมเยียน ไม่ห่างหายทุกโอกาส แล้ ว 4 ยุ ท ธศาสตร์ การเพิ่มงบประมาณแบบทวีคูณ ก็เกิดขึ้นจากการสนับสนุนของ เสี่ยวเกลอ ทั้ง 2 หน่วย คือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 ขอมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) อยากได้งบประมาณเพิ่มก็ต้องเสนอแผนงานหรือโครงการเพื่อขอมติคณะรัฐมนตรี (มติ ครม.) เมื่อ ครม. เห็นชอบหน่วยงานก็ใช้มติ ครม. ไปขอตั้งงบประมาณได้ แต่กว่าจะผ่านเป็น มติ ครม. นั้น ต้องผ่านความเห็นชอบจากหน่วยงานหลัก คือ สภาพัฒน์ฯ และ สำนักงบประมาณ หรือคณะกรรมการ เฉพาะด้านนั้น ๆ ก่อน ดังนั้น การใช้ประโยชน์จากความสัมพันธ์ระดับเสี่ยวเกลอ ของหน่วยงานทั้งสอง ยกตัวอย่างเช่น โครงการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำ ครม. เห็นชอบให้กรมการพัฒนาชุมชน จั ด ตั ้ ง กลุ ่ ม ผู ้ ใ ช้ น ้ ำ ฝึ ก อบรมและส่ ง เสริ ม กิ จ กรรมการใช้ ป ระโยชน์ จ ากแหล่ ง น้ ำ 20,000 กลุ ่ ม

ในวงเงิน 450 ล้านบาท ระยะเวลา 3 ปี เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2533 มีกรรมวิธี ดังนี้ ลั ก ษณะงานของกรมการพั ฒ นาชุ ม ชน ในสายตาและความรู้สึกของคนภายนอกนั้น จะเป็น งานที ่ ซ ้ ำ ซ้ อ นกั บ งานของหน่ ว ยงานอื ่ น คำถามนี ้ เป็นคำถามแรก ๆ ที่จะต้องเจอทุกด้าน ต้องตอบ ให้ ไ ด้ ว ่ า “งานพั ฒ นาชุ ม ชนคื อ งานพั ฒ นาคน โดยเฉพาะผู้นำชุมชน อาสาสมัครและคณะกรรมการ กลุ ่ ม ต่ า ง ๆ (ผู ้ น ำ องค์ ก รและเครื อ ข่ า ยชุ ม ชน) ให้ ม ี ค วามสามารถในการบริ ห ารจั ด การเพื ่ อ พั ฒ นาชุ ม ชนของตนเองให้ เ ข้ ม แข็ ง อย่ า งยั ่ ง ยื น ได้ ” และเครื่องมือ/กิจกรรมที่ดีที่สุดที่จะนำมาฝึกอบรมหรือให้ผู้นำชุมชนได้รู้ ได้ฝึกทักษะการบริหาร จัดการคือ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคน ของชุมชน ครอบคลุมทั้งด้านเศรษฐกิจ (อาชีพ) สั ง คม การเมื อ ง วั ฒ นธรรมและสิ ่ ง แวดล้ อ ม ผลที ่ เ กิ ด ด้ า นรู ป ธรรมที ่ เ ป็ น ผลผลิ ต (Out put) 42

ประติมากร : งานพัฒนาชุ​ุมชน

ศึกษาอดีต วิเคราะห์ประสบการณ์ รังสรรค์งานชุมชน


ซึ ่ ง อาจเป็ น สิ ่ ง ปลู ก สร้ า งผลิ ต ภั ณ ฑ์ เงิ น หรื อ รายได้ การพัฒนาชุมชนถือเป็นเพียงผลพลอยได้ เท่านั้น แต่ผลลัพธ์ (Out come) ที่การพัฒนา ชุ ม ชน ถื อ เป็ น ผลผลิ ต หลั ก ก็ ค ื อ ความรู ้ ความสามารถในการบริ ห ารจั ด การที ่ เ กิ ด ขึ ้ น

ในตัวผู้นำชุมชน โดยเฉพาะแผนงานโครงการ ที ่ เ กี ่ ย วข้ อ งกั บ อาชี พ นั ้ น เป็ น แบบฝึ ก หั ด สร้างผู้นำชุมชนให้ดีที่สุด เพราะได้ประโยชน์ร่วมด้วย (มีอาชีพ มีรายได้) ได้ความรู้ ความสามารถไป พร้อมกัน เรื่องนี้จะต้องอธิบายให้บุคคลภายนอกและเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนได้เข้าใจ ทีนี้ละก้อ ถึงคราวจะต้องค้นหาแผนงาน โครงการดี ๆ ไปขอมติ ครม. ต้องไปคุยกับที่ปรึกษา คื อ ที ม สภาพั ฒ น์ ฯ ได้ ท ราบว่ า คณะกรรมการแหล่ ง น้ ำ แห่ ง ชาติ ซึ ่ ง มี ดร.อภิ ช าติ อนุ กู ล อำไพ เป็นเลขาธิการ ได้ศึกษาวิเคราะห์ว่า ประเทศไทยมีแต่หน่วยงานที่สร้างแหล่งน้ำ ทั้งเขื่อน ฝาย อ่างเก็บน้ำ สถานีสูบน้ำไฟฟ้า สถานีสูบน้ำด้วยเครื่องยนต์ คลองส่งน้ำ ฯลฯ จำนวนกว่า 20,000 แห่ง ทั้งที่เป็น ผลงานของกรมชลประทาน รพช. กรมพัฒนาที่ดิน ฯลฯ แต่ไม่มีหน่วยใดที่มีหน้าที่ในการจัดตั้งกลุ่ม ผู้ใช้น้ำ ฝึกอบรมและส่งเสริมกิจกรรมการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำ เมื่อเข้าไปติดต่อเจ้าหน้าที่ชื่อ เบนซ์ ก็ได้รับการต้อนรับอย่างดี ได้รับการสนับสนุนจาก สำนั ก งานคณะกรรมการแหล่งน้ำแห่งชาติ สำนักงานปลั ด สำนั ก นายกรั ฐ มนตรี และสภาพั ฒ น์ ฯ จัดทำแผนงานและโครงการมาเสนออธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน และผ่านกระทรวงมหาดไทย ไปยัง สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ซึ่งก่อนนำเข้าที่ประชุม ครม. ก็มีการถามความเห็นชอบไปยัง

คณะกรรมการแหล่งน้ำแห่งชาติ กับสภาพัฒน์ฯ ก็ตอบกลับว่าเห็นด้วย เหมาะสม ถามไปยังสำนัก งบประมาณ ก็ตอบกลับว่า เหมาะสม เห็นชอบ มีงบประมาณให้ (นี่คือผลของการผูกเสี่ยวและการทำ ตามภาษิตจีนที่ว่า “ทุกการเจรจาธุรกิจ สำเร็จบนโต๊ะอาหาร”) ทีนี้พอเรื่องเข้าครม. ก็มีปัญหาอีก หาคนไปชี้แจง ไม่ ไ ด้ เ พราะมี ข ้ อ บั ง คั บ ว่ า ต้ อ งอธิ บ ดี ห รื อ รองอธิ บ ดี เท่านั้น งานเราก็ชี้แจงยากด้วย เจอคำถามแรกว่า เป็นงานซ้ำซ้อนกับหน่วยงานอื่น เหมือนที่เกริ่น มาตอนต้ น ก็ ท ำท่ า จะตกม้ า ตายเอาง่ า ย ๆ อธิ บ ดี ก ็ ไ ปราชการที ่ ป ระเทศโปรตุ เ กส รองอธิ บ ดี ก ็ ไ ปราชการต่ า งจั ง หวั ด กั น หมด จึ ง ต้ อ งอาศั ย การวางแผน การนำเสนอที ่ ทั น สมั ย โดยใช้ ค อมพิ ว เตอร์ โ น้ ต บุ ๊ ค ซึ ่ ง

สมัยนั้นหายาก ราคาแพง ร่วมสองแสนบาท สรรค์ชัย อินหว่าง 43


และยั ง ไม่ ม ี โ ปรแกรม Power point (จำชื ่ อ โปรแกรมได้ว่าใช้โปรแกรม Photo shop) ไม่มี โปรเจคเตอร์ ฉายขึ ้ น จอใหญ่ ก็ ถ อดจอ Note book ขึ้นปิ้งบนเครื่องฉาย Overhead โดยไปยื ม จากสถาบั น ประมวลผลข้ อ มู ล เพื่อการพัฒนา (สปข.) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ ่ ง ผอ. ดร.ทวี ศ ั ก ดิ ์ อาจารย์ ป ี เ ตอร์ อาจารย์หม่อมป่อง (มรว.พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิ์วัตน์) ให้ ย ื ม และตามมาช่ ว ย (เป็ น ความสามารถของ หั ว หน้ า ชริ น ทร์ อาสาวดี ร ส ผู ้ ป ระสานงาน) กับใช้ชื่อเสียงและความเก่งของ ผอ.กองวิจัยฯ ดร.สุ ร พล กาญจนะจิ ต รา เป็ น ผู ้ แ ทนกรมการ พัฒนาชุมชน นำเสนอทำให้ ครม.ชวน หลีกภัย ตื่นเต้นกับเทคโนโลยีใหม่และความสามารถใน การนำเสนอ ผ่านความเห็นชอบ ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการทำเนียบรัฐบาล นี่คือความสำเร็จแรก ของกลยุทธ์ที่ 1 ในการเพิ่มงบประมาณให้กรม ที่เล่ามาอย่างละเอียด ก็เพื่อคนรุ่นหลังจะได้เรียนรู ้

อย่างลึกซึ้งและเป็นฐานในการขอมติ ครม. ในแผนงานโครงการอื่น ๆ ต่อไป ยุทธศาสตร์ที่ 2 การขอเอี่ยว มติ ครม. ได้ศึกษาวิเคราะห์มติ ครม. ที่ให้หน่วยงานกลางต่าง ๆ ไว้ มีแผนงานโครงการงบประมาณใด ที่สอดคล้องกับภารกิจของกรมการพัฒนาชุมชน และเขาต้องการคนช่วย ก็เดินไปอาสาขอมีส่วนร่วม กับเขา (ขอเอี่ยว) ก็พบว่า กอ.รมน. สมัยพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เป็น ผบ.ทบ. และ ผอ.กอ.รมน. ได้รับความเห็นชอบจาก ครม. ให้ดำเนินการโครงการน้ำพระทัยจากในหลวง (โครงการอีสานเขียว) กำลังทำแผนงานโครงการโดยมีพลตรีธงชัย เกื้อสกุล (ยศภายหลังพลเอก)หรือพี่เกื้อ เป็นเลขานุการ โครงการ จึงเดินขึ้นไปประสานงานกับฝ่ายนโยบายและแผน โชคดีเจอแต่เพื่อนสนิทที่ร่วมรบกันมา ครั ้ ง อยู ่ พตท. 1617 (ภู ห ิ น ร่ อ งก้ า หล่ ม สั ก หล่มเก่า ด่านซ้าย : พิษณุโลก - เพชรบูรณ์ - เลย) กั บ พตท. 1718 (เลย-หนองคาย-อุ ด รธานี ) ในช่ ว งปี 2517 - 2524 มาเกื อ บทั ้ ง หมด ทั ้ ง

พี่ประสาท (พลเอกประสาท แทนขำ รับผิดชอบ แผนงานพัฒนาอาชีพ) พี่บุญเกิด (พลเอกบุญเกิด วาดวารี รับผิดชอบแผนงานโครงสร้างพื้นฐาน) 44

ประติมากร : งานพัฒนาชุ​ุมชน

ศึกษาอดีต วิเคราะห์ประสบการณ์ รังสรรค์งานชุมชน


พี่มนตรี (พลเอก ดร.มนตรี ศุภาพร อดีตรอง ปลั ด กระทรวงกลาโหม รั บ ผิ ด ชอบโครงการ มหาวิทยาลัย) ซึ่งขณะนั้น พี่ ๆ ทั้งหลายมียศ พันเอกกันทั้งหมด ได้รับการต้อนรับอย่างดียิ่ง จึงได้นำความมาเรียนท่านอธิบดีศักดา อ้อพงษ์ ว่ามีช่องทางที่จะเพิ่มงบประมาณได้ แต่ต้องทำ แผนงานโครงการให้เสร็จภายใน 7 วัน ท่านอธิบดี บอกว่ า คุ ณ จั ด ที ม ไปทำเลยอยากทำอะไรก็ ท ำ แต่ ผ มขออย่ า งหนึ่ง ผมชอบนุ่น (ต้นนุ่นนะ ไม่ใช่ น ้ อ งนุ ่ น ชนมณั ฐ ฯ เพราะตอนนั ้ น ยั ง ไม่ เ กิ ด ) ปีหน้าผมจะกลับไปเป็นผู้ว่าขอนแก่น ผมจะส่งเสริมการปลูกนุ่น เมื่อได้ไฟเขียว ผมจึงกระวีกระวาดชวน น้องรักสองคนคือ คุณปกรณ์ สุขพินิจ (ปัจจุบันเป็นผอ.ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานภาคใต้ระดับ 9) กับคุณสมบูรณ์ สอนประภา (ปัจจุบันเป็นหัวหน้าสำนักงานจังหวัดนครพนม ระดับ 9) หิ้วกระเป๋า ไปทำงานอยู ่ ก ิ น นอน หามรุ ่ ง หามค่ ำ ที ่ กอ.รมน. โดยน้ อ งทั ้ ง สองให้ ช ่ ว ยรั บ ผิ ด ชอบโครงการ มหาวิทยาลัย ร่วมกับพันโทพิชิต ยุวะนิยม (ยศสุดท้ายพลโท บก.สูงสุด) น้องทั้งสองจึงได้อานิสงส์ ติดลมบนไปเป็นคนของท่านพลเอกชวลิต และขอโอนไปสังกัดหน่วยงานอื่นได้ดิบได้ดีตามที่กล่าว ข้างต้น ความสำเร็จของการขอเอี่ยวจึงได้งบประมาณมาจากโครงการอีสานเขียว ปี 32 = 160 ล้านบาท ปี 33 = 276 ล้านบาท ปี 34 = 480 ล้านบาท แนวคิดในการทำแผนงานโครงการอีสานเขียวก็คือต่อยอดแผนงานโครงการเดิมของกรม ให้มีพลัง ยกเลิกจิ๊บจ๊อยโครงการ 500 - 1,000 บาท เพิ่มงบเป็นโครงการละไม่ต่ำกว่า 10,000 บาท ทั้งหมดเช่น

สรรค์ชัย อินหว่าง 45


1. โครงการถนนคอนกรีตเสริมไม้ไผ่ ระยะทาง 1 กม. วงเงิน 1,000,000 - 1,200,000 บาท (กรมไม่เคยมี โ ค ร ง ก า ร ใ ห ญ ่ ข น า ด น ี ้ ) วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื ่ อ เป็ น รางวั ล ให้

หมู ่ บ ้ า นที ่ ช นะเลิ ศ การประกวด หมู ่ บ ้ า นพั ฒ นาประจำปี ระดั บ จังหวัดจะดึงดูดให้เกิดการแข่งขันกันพัฒนาหมู่บ้านต่อไป 2. โครงการกองทุนปุ๋ยเคมี วงเงิน 300,000 บาท วัตถุประสงค์เพื่อเสริมพลังเพิ่มทุนให้กับ

กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตที่ตั้งมาไม่น้อยกว่า 3 ปี ซึ่งมีในภาคอีสาน 600 กลุ่ม 3. โครงการศาลาอีสานเขียว วงเงิน 250,000 บาท วัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้าน การปั้นอิฐดินซีเมนต์ ให้กับชาวบ้าน โดยลงมือทำเอง ได้อิฐแล้วนำมาปลูกสร้างศาลา อเนกประสงค์กลางหมู่บ้าน เป็นตัวอย่างในการนำไปสร้างบ้านเรือน ที่อยู่อาศัยที่ราคาถูก เหมาะสมกับชนบท 4. โครงการด้ า นอาชี พ ต่ า ง ๆ ทั ้ ง ปลู ก พื ช เลี ้ ย งสั ต ว์ หั ต ถกรรม ก็ ใ ห้ ว งเงิ น ตั ้ ง แต่ 50,000 บาท ขึ้นไป และในปีงบประมาณถัดไป ก็กระจายวงเงินเหล่านี้ไปยังภาคเหนือ กลาง ใต้ ส่วน ภาคอีสานก็ตั้งวงเงินใหม่ ยุทธศาสตร์ที่ 3 ขอ สส. แปรญัตติให้ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง พช. กับสส. (สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร) เราเหมือนไม้ตะเกียบ ในชุมชน ควรต่างอาศัยศักยภาพของกันและกัน คือ 1) พช. มีโครงการมาจากชาวบ้านเยอะแยะ แต่บ่จี๊ไม่มีเงิน 2) สส. มีเงินในมือ คนละ 10-20 ล้านบาท แต่ไม่มีโครงการรองรับ ดั ง นั ้ น 1 ต้ อ ง + 2 คิ ด ได้ ด ั ง นั ้ น จึ ง ร่ ว มกั บ เพื ่ อ นซี ้ คุ ณ บุ ญ เอื ้ อ โพชนุ กู ล หั ว หน้ า งานงบประมาณ และคุ ณ ไพโรจน์ ฯ กองคลัง จัดทำบัญชีโครงการ ได้ 165 โครงการ มีตั้งแต่ กำจัดยุงลาย เครื่องครัว, เต๊นท์ + เก้าอี้, อาชี พ ต่ า ง ๆ จนถึ ง ถนนคอนกรี ต เสริ ม ไม้ ไ ผ่ แล้วโรเนียวแบบคำขอแปรญัตติงบประมาณหอบ ไปนั่งรอ สส. อยู่ชั้นล่างของห้องประชุมรัฐสภา 46

ประติมากร : งานพัฒนาชุ​ุมชน

ศึกษาอดีต วิเคราะห์ประสบการณ์ รังสรรค์งานชุมชน


สส.ท่านใดออกจากห้องประชุมมาทำธุระส่วนตัว สูบบุหรี่ ดื่มกาแฟ เปลี่ยนอิริยาบถ พวกเราก็ เข้าไปสวัสดีท่าน สส. ขอแปรญัตติงบประมาณให้ กรม พช. บ้าง ยื่นบัญชีโครงการและแบบฟอร์มให้ สส.ก็ดใี จได้ประโยชน์ได้เสียงร่วมกัน แปรญัตติผา่ น พช. ลงเขตเลือกตั้งตนเอง จึงได้งบประมาณจาก การแปรญัตติปลี ะหลายร้อยล้านบาท ความมาแตก ตอนว่ า ที ่ ร.ต.ไพโรจน์ สุ ว รรณฉวี สส.โคราช แฉกลางสภาฯ ว่า มีการแย่งกันประมูลยากำจัดลูกน้ำยุงลาย งบพัฒนาชุมชน เลยดังกันใหญ่ ส่วน ไอ้โม่งเก็บตัวเงียบ ยุทธศาสตร์ที่ 4 เพิ่ม 10 เปอร์เซ็นต์ตามกฎ สงป. เมื่อได้งบประมาณจาก 3 ยุทธศาสตร์มาแล้วก็อย่าทำโก้ ถือว่าเป็นโครงการพิเศษ ซึ่งจากบท เรียนในปีถัดไปจะไม่มีประโยชน์เพราะสิ้นสภาพในแต่ละปี ดังนั้น จึงตบแผนงาน โครงการและงบ ประมาณทั้งหมดเข้าสู่ระบบปกติ ซึ่งขณะนั้นก็คือ ระบบ กชช. ผลก็คือในแต่ละปี จะมีงบประมาณเพิ่ม ขึ้นหลายร้อยล้านบาท 10 เปอร์เซ็นต์ ของวงเงินหลายร้อยล้านบาท ก็จะเป็นหลายสิบล้านบาท ดังนั้น ในปีที่สามของยุทธศาสตร์ ( ปี 2532 - 2534) งบประมาณเงินอุดหนุนของกรมฯ จึงเกิน กว่าหนึ่งพันล้านบาท เกินกว่าเป้าหมายที่ประเมินไว้ที่ 700 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังใช้ยุทธการ “แย่งเนื้อ จากปากเสือ” คงจำโครงการสร้างงานในชนบท (กสช.) กันได้ เริ่มต้นตั้งไว้ที่ กรมการปกครอง ปลัดอำเภอเป็นผู้จัดการ เสมียนตราอำเภอเป็นผู้เบิกจ่าย จากการที่ซี้กับสภาพัฒน์ จึงได้ข้อมูลจากการติดตามผลว่าไม่ Work เชิงคุณภาพ นำความมาเล่า ให้ ท ่ า น ผอ.ดร.สุ ร พลฯ ฟั ง ท่ า นเกิ ด ไอเดี ย ขึ ้ น มาเลยว่ า ไปขออาสาทำโดยวิ ธ ี จู ่ โ จม ในการประชุ ม คณะกรรมการ กสช. จึ ง มี ว าระจร ลงมติ ย้ า ยงบ กสช. มาให้ กรมการพั ฒ นาชุ ม ชน รั บ ผิ ด ชอบ ดั ง นั ้ น พั ฒ นากรจึ ง มี เ งิ น ไปทำงานกั บ ประชาชนเพิ ่ ม ขึ ้ น อี ก ปี ล ะ 2,000 - 7,000 ล้านบาท จากยุ ท ธศาสตร์ ทั ้ ง 4 ทำให้ ก รมมี ง บประมาณไปทำงาน ลงถึงชาวบ้านมากที่สุด พัฒนากร ก็ขยันออกท้องที่ สรรค์ชัย อินหว่าง 47


พั ฒ นาการอำเภอ จั ง หวั ด ก็ เชี ่ ย วชาญระเบี ย บสำนั ก นายก รั ฐ มนตรี ว ่ า ด้ ว ยการพั ส ดุ บางคนลื ม ระเบี ย บกระทรวง มหาดไทยว่ า ด้ ว ยเงิ น อุ ด หนุ น การพัฒนาชุมชน จึงประสบภัย กั น หลายคนเป็ น เรื ่ อ งที ่ น ่ า เสี ย ดาย ที ่ ม ี โ ครงการมาก แต่ แ ทนที ่ โ ครงการเหล่ า นั ้ น

จะเป็ น เหมื อ นแบบฝึ ก หั ด ให้ อาสาพัฒนาชุมชน ผู้นำสตรี ผู้นำกลุ่ม ผู้นำชุมชนได้ฝึกปฏิบัติเรื่องการบริหารจัดการ ได้มีความรู้ ได้กำไรเป็นรายได้ไปพัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างความเข้มแข็งในชุมชน กลับเป็นว่า เอาโครงการเหล่านั้น ไปให้อาโก อาแปะ อาตี๋ ผู้รับเหมาในตลาดเป็นคนทำ กลุ่มคนเป้าหมายเป็นเพียงผู้ตรวจรับพัสดุ รับงาน ดังนั้นจึงสร้างพลังชุมชน ใช้พลังชุมชน ในการพัฒนาชุมชน ตามปรัชญาที่ท่านอธิบดีพัฒน์ บุณยรัตพันธ์ ได้มอบไว้ให้ไม่ได้มากอย่างที่ควรจะเป็น ที น ี ้ เ มื ่ อ ได้ เ งิ น มาแล้ ว ก็ ม าคิ ด วิ ธ ี ว ่ า จะจั ด สรรเงิ น อุ ด หนุ น ให้ ร วดเร็ ว ได้ อ ย่ า งไร ถ้ า ช้ า เหมือนเดิม ๆ ที่เคยมา หัวหน้าสุธรรม บุณยพิพัฒน์ เล่าว่ากว่าเงินอุดหนุนจะจัดสรรเสร็จก็ปาเข้าไป งวดที่สาม ที่สี่ สิ้นปีงบประมาณใช้ไม่ทันต้องตกไปนี่ขนาดเงิน 30 - 40 ล้านบาท เท่านั้น ทั้งนี้ เพราะระเบียบสำนักงบประมาณ ว่าด้วยการบริหารงบประมาณปี 2525 บอกว่า เมื่อ พรบ.งบประมาณ ประจำปีผ่านสภาฯ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว หน่วยงานต้องมาเสนอคำขอจัดสรรงบประมาณ เป็นรายงวด โดยแสดงรายละเอียดการใช้จ่ายประกอบ กรมอื่นเขามี ไม่กี่โครงการและเงินก้อนใหญ่ ๆ แต่กรมการพัฒนาชุมชน มีมากกว่าหมื่นโครงการ วงเงินโครงการน้อย ๆ เจ้าหน้าที่ สงป.ก็รำคาญ ไม่อยากทำ ดังนั้น ก็ไปปรึกษาเพื่อนเสก (คุณเสกสรร วานิชยานุเคราะห์ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์งบประมาณ) จึ ง ได้ ท างออกคื อ จั ด ทำมาตรฐานโครงการไปขอความเห็ น ชอบในหลั ก การต่ อ ผู ้ อ ำนวยการ สำนั ก งบประมาณไว้ ก ่ อ น ไม่ ต ้ อ งทำรายละเอี ย ดเป็ น รายโครงการ และเมื ่ อ เสนอแบบคำขอ จัดสรรเงินประจำงวดไปแล้ว ก็ตามไปช่วยประทับตรา สงป. ลงแบบ ง.201- ง.202 - ง.203 ฯลฯ ส่งให้เจ้าหน้าที่ สงป. ผู้ได้รับมอบอำนาจลงนาม ก็ช่วยทุ่นเวลาจากเดิมจัดสรรเงินประจำงวดเสร็จ ในงวดที่ 3 - 4 ก็เลื่อนมาเป็น งวดที่ 2 งวดที่ 1 ในปีถัด ๆ มาได้ จังหวัด อำเภอ ก็มีเวลาทำงาน มากขึ้น คุณภาพของผลงานก็ดีตามขึ้นมาด้วย 48

ประติมากร : งานพัฒนาชุ​ุมชน

ศึกษาอดีต วิเคราะห์ประสบการณ์ รังสรรค์งานชุมชน


สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชกระแสชมว่า จปฐ. “เป็นข้อมูลพื้นฐานที่ดีที่สุดเท่าที่เคยทรงพบเห็นมา ขอให้นำมาถวายทุกปี เพราะจะใช้ทรงงาน ถวายพระเจ้าอยู่หัวฯ”

ตำนาน จปฐ.

กรมการพัฒนาชุมชน เป็นหน่วยงานหลักหน่วยหนึ่งในยุทธจักรของการพัฒนาประเทศ นับตั้ง แต่ก่อตั้งกรมเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2505 ซึ่งเป็นปีแรกของการประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2505 - 2509)

ความเป็นมาของ จปฐ.

กรมการพั ฒ นาชุ ม ชน เป็ น กรมแรกที ่ เ ห็ น ความสำคั ญ ของข้ อ มู ล ของหมู ่ บ ้ า นและนำมา วางแผนพัฒนาจึงมีการเก็บข้อมูลเบื้องต้นเมื่อเปิดเขตพัฒนา จนกระทั่งถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสั ง คมแห่ ง ชาติ ฉบั บ ที ่ 5 (พ.ศ. 2525 - 2529) มี ก ารจั ด เก็ บ ข้ อ มู ล พื ้ น ฐานระดั บ หมู ่ บ ้ า น ในพื้นที่พัฒนาชนบทยากจน 38 จังหวัด ในปี 2525 - 2527 - 2529 และสภาพัฒน์ฯ ร่วมกับองค์การ อนามัยโลก (WHO) สนับสนุนให้มีการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ภายใต้โครงการ ปี ร ณรงค์ พ ั ฒ นาคุ ณ ภาพชี ว ิ ต ของคนในชาติ ซึ ่ ง มี พ ี ่ อ ่ อ น อรทิ พ ย์ ตั น สกุ ล เป็ น ผู ้ จ ั ด การและมี คณะกรรมการ ซึ ่ ง ส่ ว นใหญ่ เ ป็ น คุ ณ หมอ แห่ ง กระทรวงสาธารณสุ ข เช่ น นพ.อมร นนทสุ ด ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.ไพโรจน์ นิงสานนท์ นพ.ไพจิตร ปวะบุตร ซึ่งภายหลังทุกท่านที่กล่าวมา ได้ ก ้ า วหน้ า ดำรงตำแหน่ ง ปลั ด กระทรวงสาธารณสุ ข นอกจากนั ้ น ก็ ม ี นพ.ประพนธ์ ปิ ย ะรั ต น์ แห่งสำนักงานสาธารณสุขอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นแกนนำ ส่วนในด้านการนำไปปฏิบัติสู่ชุมชนนั้น ก่อนหน้านี้ใน ช่วงที่ท่านอารีย์ วงศ์อารยะ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย ดำรงตำแหน่ ง ผู ้ ว ่ า ราชการจั ง หวั ด สุ พ รรณบุ ร ี ได้ดำเนินการ “โครงการสุพรรณบุรี” มีการ พัฒนาเครื่องชี้วัดความสำเร็จของการพัฒนา ถึ ง 57 ตั ว ชี ้ ว ั ด มี ห มู ่ บ ้ า นที ่ เ ป็ น ตั ว แบบ ความสำเร็ จ คื อ บ้ า นมะขามล้ ม สำหรั บ โครงการที่โด่งดังที่สุดในช่วงของปีรณรงค์ คุ ณ ภ า พ ช ี ว ิ ต ข อ ง ค น ใ น ช า ต ิ ก ็ ค ื อ สรรค์ชัย อินหว่าง 49


“ โ ค ร ง ก า ร โ ค ร า ช พ ั ฒ น า ” ซึ ่ ง ขั บ เคลื ่ อ นโดยท่ า นไสว พราหมณี อดี ต รองปลั ด กระทรวงมหาดไทย อดีตปลัด กระทรวงแรงงานสวั ส ดิ ก าร สังคม สมัยเป็นรองผู้ว่าราชการ จั ง หวั ด นครราชสี ม า ผลงาน นี ้ ส ่ ง ให้ ท ่ า นได้ เ ลื ่ อ นขั ้ น ดำรง ตำแหน่ ง ผู ้ ว ่ า ราชการจั ง หวั ด มหาสารคาม แล้ ว ท่ า นก็ ไ ป ทำโครงการมหาสารคามพัฒนาต่อ พลพรรคที่ช่วยท่านไสว ขับเคลื่อนงานที่พวกเรารู้จักดีขณะนี ้

ก็คือ ป๋าดำ ท่าน ผอ.พิชัย หวัดสูงเนิน อดีต ผอ.ศพช.เขต 4 และคุณจรินทร์ จักกะพาก รองอธิบดี

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น นี่คือเรื่องราวฉบับย่อของ จปฐ. ก่อนมาถึงกรมการพัฒนาชุมชน

พช.เจ้าภาพจัดเก็บข้อมูล กชช.2 ค

ในปี พ.ศ. 2532 ภายหลังจากที่กรมการพัฒนาชุมชนได้จัดเก็บข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (กชช. 2 ค) ปี 2525 - 2527 - 2529 คณะรั ฐ มนตรี จ ึ ง ได้ ม ี ม ติ ใ ห้ กรมการพั ฒ นาชุ ม ชน กระทรวงมหาดไทย รับผิดชอบการจัดเก็บข้อมูล กชช.2 ค ทุก 2 ปี สมัยนั้นผู้บุกเบิกทำงานหนักในเรื่อง ข้อมูล ก็คือ ดร.สุรพล กาญจนะจิตรา รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ขณะเป็นผู้อำนวยการกองวิจัยและ ประเมิ น ผล คุ ณ ภั ท รา (นิ ด ) โรจนลั ก ษณ์ หั ว หน้ า ฝ่ า ยสำรวจและสถิ ต ิ คุณสุพิทย์ (อินหว่าง) วีระใจ คุณชรินทร์ อาสาวดีรส ฯลฯ เมื่อเก็บข้อมูลจากทุก หมู่บ้านแล้ว จังหวัดส่งถึงกรมฯ ก็นำไปบันทึกข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาด ใหญ่ (Mainflame) ที่สำนักงานประมวลข้อมูลเพื่อการศึกษาและพัฒนา (สปข.) ของสภาพัฒน์ ฯ ตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (สำนักงานนี้สนับสนุน

งบประมาณการจัดตั้งโดยรัฐบาลญี่ปุ่น) ทำงานกันวันละ 18 ชั่วโมง ตั้งแต่ 6 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน เป็นระยะเวลา 4 เดือนกว่าจะประมวลผล เสร็จก็ใช้เวลาถึง 9 เดือน เมื่อ ครม.มีมติให้กรมฯ รับผิดชอบการจัดเก็บข้อมูล กชช.2 ค แล้ ว ผู ้ น ำที ่ เ ก่ ง และมี ว ิ ส ั ย ทั ศ น์ ไ กลอย่ า ง ดร.สุรพล กาญจนะจิตรา ก็ถือเป็นโอกาสที่จะสร้างกรมฯ 50

ประติมากร : งานพัฒนาชุ​ุมชน

ศึกษาอดีต วิเคราะห์ประสบการณ์ รังสรรค์งานชุมชน


ให้เป็นมหาอำนาจทางข้อมูลให้ได้ จึงคิดที่จะทำให้มีข้อมูลครบทั้งระดับหมู่บ้าน (กชช.2 ค) และข้อมูล พื้นฐานระดับครัวเรือน เมื่อเห็นว่า โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชาติ (พชช.) สิ้นสุดลงในปี 2530 แล้วสภาพัฒน์ ก็ไม่ได้ดำเนินการอะไรต่อ เพราะเงินช่วยเหลือจากองค์การอนามัยโลก (WHO) หมดแล้ว กระทรวงสาธารณสุขที่รับผิดชอบการจัดเก็บข้อมูล ก็จัดเก็บได้เพียง 200,000 หมู่บ้าน ไม่ ครบทุกหมู่บ้านทั่วประเทศ ดร.สุรพลฯ ท่านก็ไปขอรับ จปฐ.จากสภาพัฒน์ฯ มาดำเนินการตั้งแต่ปี 2533 ขณะนั้นผมถูกย้ายจากฝ่ายนโยบายและแผน มาเป็นหัวหน้าฝ่ายศูนย์ข้อมูลเพื่อการพัฒนาชนบทคนแรก ที่เปลี่ยนชื่อจากฝ่ายสำรวจและสถิติพร้อมพี่นิดภัทรา ได้ลาออกจากราชการไปเป็นแม่บ้านอยู่เป็นเพื่อน สามีที่เกษียณอายุราชการจากตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา

กลยุทธ์ การจัดเก็บข้อมูล จปฐ.

ในการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ระยะแรกซึ่งมี 6 หมวด 32 ตัวชี้วัด กำหนดหลักการให้การขับ เคลื่อนกระบวนการ จปฐ. ให้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ของประชาชน วางกลยุทธ์ในการดำเนินการ ดังนี้ 1. เพื่อให้เกิดการยอมรับว่าเป็นข้อมูลกลาง จึงยังคงใช้สภาพัฒน์ฯ เป็นศูนย์กลางในการ ประสานการกำหนดตัวชี้วัด เพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ประกาศใช้อยู่ ใช้จปฐ.เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ดังนั้น ผลการจัดเก็บ ข้อมูล จปฐ. ก็คือผลลัพธ์ (Outcomes) ของการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชาติ ที่ทุกภาคส่วนร่วม กันทำงาน ทั้งประชาชนในครัวเรือน ทุกหน่วยราชการ และองค์การพัฒนาเอกชน มีการจัดตั้งคณะ กรรมการอำนวยการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชนบท (พชช.) ประกอบด้วย ปลัดกระทรวง มหาดไทย เป็นประธาน ปลัดกระทรวงที่มีภารกิจเกี่ยวข้องกับการพัฒนาชนบททุกกระทรวง เลขาธิการ สภาพัฒน์ฯ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา เป็นกรรมการ อธิ บ ดี ก รมการพั ฒ นาชุ ม ชน เป็นกรรมการและเลขานุการ 2. ในการกำหนดตัว ชี้วัดและเกณฑ์ ให้ส่วนราชการที่ มีภารกิจเกี่ยวข้องเป็นเจ้าภาพตัว ชี้วัด รวมถึงการแก้ไขปัญหา และพั ฒ นาคุ ณ ภาพชี ว ิ ต ของ ประชาชนที่ปรากฏในผลการจัด เก็บข้อมูลตัวชี้วัดนั้น ๆ ด้วย สรรค์ชัย อินหว่าง 51


3. ให้มีอนุกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของ ประชาชน ในระดับจังหวัด และอำเภอ มีคณะทำงาน สนับสนุนการปฏิบัติการพัฒนาตำบล (คปต.) เป็นผู้รับผิด ชอบในระดับตำบล 4. การจัดเก็บข้อมูล กำหนดให้คณะกรรมการ หมู่บ้าน (กม.) เป็นแกนนำ อาจใช้ผู้นำชุมชน (กรรมการ กลุ่มต่าง ๆ ) อาสาสมัครเป็นผู้ช่วย แบ่งหน้าที่รับผิดชอบกัน เป็นคุ้มบ้าน จำนวนคุ้มบ้านละ 15 - 20 ครัวเรือน เพื่อกระจาย ความรับผิดชอบและใช้เวลาไม่มากเกินไป จะได้ไม่รบกวนเวลาใน การทำมาหากิน และงานอื่น ๆ ของคนในชุมชน วิธีจัดเก็บใช้การ สนทนาระหว่างผู้เก็บข้อมูลกับหัวหน้าหรือสมาชิกในครัวเรือนเป็นการเรียน รู้และร่วมกันพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในครัวเรือนไปด้วย 5. ระยะเวลา จัดเก็บข้อมูล จปฐ. ปีละหนึ่งครั้งกำหนดเวลาที่คนมีเวลาว่างจากการประกอบ อาชีพมากที่สุด คนที่ออกจากบ้านไปทำงานต่างถิ่นกลับมาภูมิลำเนามากที่สุดคือ ช่วงที่ครอบคลุมวันปี ใหม่ วันตรุษจีน วันสงกรานต์ ฯลฯ และอยู่ในปีปฏิทิน คือตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม ถึง 30 เมษายน ของทุกปี รวมเวลา 4 เดือน ถ้า กม. และผู้นำชุมชนใช้จปฐ. เป็นเครื่องมือในการเยี่ยมครัวเรือนลูก บ้านทุกปี ทั้งสองฝ่ายก็จะได้ซึมซับเรียนรู้ตามกระบวนการ จปฐ. ทำให้การพัฒนาคุณภาพชีวิตของ คนในชาติบรรลุวัตถุประสงค์ จำง่าย ๆ ว่า “สร่างเมา ปีใหม่เก็บข้อมูล สร่างเมาสงกรานต์ ส่งข้อมูล” 6. มีคณะกรรมการติดตามสนับสนุนการทำงานทุกระดับ มีการตรวจสอบและรับรองความ ถูกต้องของข้อมูลทุกระดับทั้งผู้ใหญ่บ้าน หัวหน้า คปต. (กำนัน) จนถึงนายอำเภอ 7. มีแบบจัดเก็บข้อมูล (จปฐ. 1) ของทุกครัวเรือน ใช้จัดเก็บตลอดอายุของแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (แผนชาติ 5 ปี ) มีแบบสรุป จปฐ. 1 สำหรับติดไว้ที่ครัวเรือน เพื่อให้ สมาชิกในครัวเรือนได้รับรู้และร่วมมือกันพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในครัวเรือนตน มีแบบสรุปข้อมูล ของทุกหมู่บ้าน (จปฐ.2) ส่งให้ตำบล อำเภอ จังหวัด กรมส่วนกลางไปบันทึกเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์และ ประมวลผลออกมาใช้ประโยชน์ และมีแผ่นโปสเตอร์ขนาดใหญ่สรุปข้อมูลการพัฒนาของหมู่บ้าน (จปฐ. 3) เพื่อปิดไว้ที่ศูนย์กลางของหมู่บ้าน / ชุมชน ให้ สาธารณชนได้รับรู้และร่วมมือกันพัฒนาชุมชนของ ตนเอง 8. การเผยแพร่และใช้ประโยชน์ข้อมูล เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ข้อมูลอย่างกว้างขวาง และครบวงจร คณะกรรมการ พชช. และกรมฯ จึงได้คิดกลยุทธ์ ดังนี้ 52

ประติมากร : งานพัฒนาชุ​ุมชน

ศึกษาอดีต วิเคราะห์ประสบการณ์ รังสรรค์งานชุมชน


8.1 มีแบบสรุปข้อมูล จปฐ. 1 ติดไว้ที่ครัวเรือนและโปสเตอร์สรุปข้อมูลทุกหมู่บ้าน (แบบ จปฐ. 3) ติดไว้ที่หมู่บ้าน เพื่อให้ชาวบ้านเจ้าของข้อมูลได้รับทราบ ร่วมกัน

แก้ไขปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ด้วยตนเอง ตลอดจนนำไปใช้ในการวาง แผนชุมชน (เน้นย้ำจากที่ได้อธิบายไว้ในข้อ 7) 8.2 เมื่อบันทึกข้อมูลลงคอมพิวเตอร์ และทำการประมวลผลแล้ว ก็จะได้ข้อมูลสำหรับผู้ บริ ห ารและผู ้ ป ฏิ บ ั ต ิ ง านทุ ก ระดั บ คื อ ภาพรวมทั ้ ง ประเทศ ภาพรวมรายภาค รายจังหวัด รายตำบลและรายหมู่บ้าน ตลอดจนถึงสามารถรู้ถึงรายครัวเรือน 8.3 จัดทำหนังสือ “รายงานคุณภาพชีวิตของคนไทย” จากข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ประจำปีและเล่มแรกตั้งแต่ปี 2533 (ปีแรกที่เก็บข้อมูล) ผมเป็นคนตั้งชื่อ หนังสือ ส่วนคนวิเคราะห์และเขียนคือ คุณอารีย์ (กึง) จรรยาชัยเลิศ ปัจจุบันโอนไป สำนักงาน ก.พ. ต่อมาก็เป็นคุณรุ่งนภา (บุญคุ้ม) เพชรพรหมศร ปัจจุบันโอนไปอยู่ สภาพัฒน์ฯ ส่วนข้อมูล กชช.2ค ก็เขียนหนังสือชื่อ “หมู่บ้านชนบทไทย” คนเขียน เล่มแรกปี 2533 เช่นกันคือ ดร.สุรพล กาญจนะจิตรา กับคุณชรินทร์ อาสาวดีรส ส่วนผมเป็นเพียงคนตั้งชื่อหนังสือ 8.4 นำข้อมูลเพื่อการพัฒนาชนบท (ทั้งจปฐ. และ กชช. 2 ค) ขึ้นกราบบังคมทูลถวาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระราชทานพระราชวโรกาสให้สมเด็จพระเทพ รั ต นราชสุ ด าฯ สยามบรมราชกุ ม ารี ทรงงานนี ้ แ ทน ทั ้ ง นี ้ โดยคุ ณ วรลั ก ษณ์ มนัสเอื้อศิริ ผอ. ศพช.เขต 2 ขณะดำรงตำแหน่งนักวิชาการพัฒนาชุมชน ฝ่ายศูนย์ ข้อมูลฯ ประสานงานกับคุณสำเริง เอื่ยมสะอาด รอง ผอ.กองราชเลขานุการใน พระองค์ส มเด็จ พระเทพฯ จนคณะกรรมการ อำนวยการ พชช. เข้ า เฝ้ า ถวายข้ อ มู ล ได้ สำเร็จ ตั้งแต่ปี 2534 เป็นการถวายข้อมูล ของ ปี 2533 ซึ ่ ง ทรงมี พ ระราชกระแส ชมว่า “เป็นข้อมูลพื้นฐานที่ดีที่สุดเท่าที่เคยทรง

พบเห็นมา ขอให้นำมาถวายทุกปี เพราะจะใช้

ทรงงานถวายพระเจ้าอยู่หัวฯ” ซึ่งได้ขอพระราชทานพระราชานุญาต นำพระกระแส ดังกล่าวพิมพ์ไว้ที่ปกแบบสอบถามข้อมูล จปฐ. 1 ทุกเล่ม ไว้เตือนสติผู้รับผิดชอบ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา 8.5 ขอมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2536 เรื่อง ให้ทุกส่วนราชการภาครัฐ

และเอกชนใช้ ป ระโยชน์ ข ้ อ มู ล จปฐ. และ กชช. 2 ค ในการกำหนดนโยบาย การวางแผน การดำเนินงาน และการติดตามผลการพัฒนาในทุกระดับ สรรค์ชัย อินหว่าง 53


8.6 กองวิ ช าการและแผนงาน ได้ จ ั ด ที ม วิ ท ยากร ออกไปนำเสนอผลการจั ด เก็ บ ข้ อ มู ล เพื ่ อ การพั ฒ นาชนบท ต่ อ หน่ ว ยงานต่ า ง ๆ ทุ ก ปี ซึ่งเรื่องนี้ต้องให้เครดิตกับคุณวาทกานต์ ช่อแก้ว ซึ่งเป็นต้นคิด และส่งข้อมูลมอบให้องคมนตรี สมาชิ ก สภาผู ้ แ ทนราษฎร สมาชิ ก วุ ฒ ิ ส ภา ส่วนราชการทุกหน่วยงาน รวมถึงห้องสมุดและ สถานศึกษาทุกแห่ง นำไปใช้ประโยชน์ 8.7 มีการวิจัยและพัฒนา เครื่องชี้วัดและวิธีการจัดเก็บ การบริหารจัดการอยู่ตลอดเวลา ตัวอย่างเช่น สมัยที่ผมดำรงตำแหน่งพัฒนาการจังหวัดเพชรบูรณ์ (พ.ศ. 2537 - 2539) ก็ได้พบว่า หลังจากได้รับแบบ จปฐ. 2 (ข้อมูล จปฐ. ของหมู่บ้าน) มาแล้ว นำมาศึกษาข้อมูล พบว่ามีข้อน่าสงสัยเพราะผมออกท้องที่พักค้างในหมู่บ้านมาก จึงขอแบบ จปฐ.1 มาดูเอง เพื่อสรุปเปรียบเทียบ ก็พบว่าไม่มี เพราะไม่ได้จัดเก็บ

ข้อมูลตามกระบวนการ/ ขั้นตอน ผมจึงต้องขอแบบ จปฐ. 1 ของทุกครัวเรือนมา ศึกษาดูที่บ้านพักพัฒนาการจังหวัด หลังจากขอไป 3 เดือนจึงได้แบบ จปฐ. 1 มา ครบ 150,000 ครัวเรือน ผมตรวจสอบศึกษา กินนอน บนกองแบบ จปฐ. 1 เป็น เวลาร่วมเดือน ก็ได้ข้อสรุปว่าต้องยกเลิกแบบ จปฐ. 2 และให้บันทึก จปฐ. 1 เข้า

เครื่องคอมพิวเตอร์แล้วประมวลผลเป็น จปฐ. 2 โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ แต่ก็

มีปัญหาเรื่อง Programme ใครจะมาช่วยทำให้ ซึ่งต่อมาก็มีสหายพันธมิตร 4 มหาวิทยาลัย อาสามาช่วย คือ 1) รศ. บุญส่ง วัฒนกิจ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2) รศ.ดร.ไชยวัฒน์ รุ่งเรืองศรี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 3) รศ.ม.ร.ว. พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัฒน์ (หม่อมป่อง) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ 4) รศ.ดร.ศักดิ์ชัย ปรีชาวรกุล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตั้งแต่นั้นมา ก็มีการพัฒนา จปฐ.มาตลอด ทั้งนี้ ขอให้สติพวกเราว่า โปรดใช้กระบวนการ จปฐ. เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน การ

เรียนรู้ของคน สร้างความตระหนักให้ชาวบ้าน เห็นความสำคัญและรู้สึกเป็นเจ้าของข้อมูล ให้ได้ ไม่ใช่ มุ่งเอาข้อมูล จปฐ. มาเสนอนาย เอาความชอบทำจปฐ. เป็นข้อมูลของกรมฯ ของทางราชการ หากเป็น เช่นดังว่า จปฐ.จะมลายหายไปในที่สุด และจะหาอะไรไปถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม ราชกุมารี ตามที่มีพระราชกระแสรับสั่งไว้ 54

ประติมากร : งานพัฒนาชุ​ุมชน

ศึกษาอดีต วิเคราะห์ประสบการณ์ รังสรรค์งานชุมชน


“การส่งเสริมการใช้ประโยชน์ข้อมูล ต้องทำให้ข้อมูลมีอำนาจ ในการชี้เป้าและกำหนดงบ ประมาณ ดังนั้น เป้าสำคัญที่จะเรียกร้องความสนใจจากผู้บริหารระดับสูงและคณะรัฐบาลได้ก็คือ ความยากจน”

กข.คจ. หวังใช้พระเจ้าเงินตรา ...พัฒนาคน ในปี 2535 ผมดำรง ตำแหน่ง หัวหน้าฝ่ายศูนย์ข้อมูล เพื ่ อ การพั ฒ นาชนบทคนแรก (พ.ศ. 2533-2536) ภายหลังจาก คณะกรรมการพั ฒ นาคุ ณ ภาพ ชีวิตของคนในชนบท (พชช.) ได้ เข้าเฝ้ากราบบังคมทูลฯ สมเด็จ พระเทพรั ต นราชสุ ด าฯ สยาม บรมราชกุ ม ารี ท รงทราบฝ่ า ละอองพระบาทถึ ง รายงานผล การจั ด เก็ บ และประมวลผล ข้อมูล กชช. 2 คน และ จปฐ. ซึ่ง ดร.สุรพล กาญจนะจิตรา ผอ.กองวิชาการและแผนงาน ใน ขณะนั้นได้ตั้งโจทย์ให้คิดหาทางส่งเสริมการใช้ประโยชน์ข้อมูล ว่าจะมีวิธีการอย่างไร ? จึงตอบท่านไป ว่า ต้องทำให้ข้อมูลมีอำนาจ ในการชี้เป้าและกำหนดงบประมาณ ดังนั้น เป้าสำคัญที่จะเรียกร้องความ สนใจจากผู้บริหารระดับสูงและคณะรัฐบาลได้ก็คือ ความยากจน ซึ่งมีปรากฏอยู่ในรายงานการ ประมวลผลข้อมูล กชช. 2 ค และจปฐ. ซึ่งเป็นเป้าระดับหมู่บ้าน (หมู่บ้านล้าหลัง “ปานกลาง-ก้าวหน้า หรือเร่งรัดพัฒนาอันดับ 1-2-3) และเป้าระดับครัวเรือน (ครัวเรือนที่ตกเกณฑ์ จปฐ.มากที่สุด โดยเฉพาะ เรื่องรายได้) จึงนำข้อมูลต่าง ๆ เหล่านั้นมาพิจารณาและเขียนโครงการดู (ขณะนั้นโต๊ะทำงานอยู่ด้าน ทิศตะวันตกติดกับเสากลางห้องกองวิชาการและแผนงาน) เขียนแล้วเอาไปให้นายดู สรรค์ชัย อินหว่าง 55


ปรากฏว่ายังไม่โดนใจ จนอยู่มาวันหนึ่ง ท่ า นประมวล รุ จ นเสรี รองปลั ด กระทรวง มหาดไทย ซึ ่ ง กำกั บ ดู แ ลกรมการพั ฒ นาชุ ม ชน ได้เรียกไปใช้ (ในฐานะคนเมืองเหนือเหมือนกัน ท่านเป็นคนแม่ฮ่องสอน ผมเป็นคนตาก) โดยบอก ให้ ไ ปเขี ย นโครงการแก้ ไ ขปั ญ หาความยากจน ของพื้นที่ชนบท เหมือนชะตาฟ้าลิขิตให้โป๊ะเชะ ตรงกั บ ที ่ ไ ด้ ย กร่ า งไว้ พ อดี จึ ง นำไปให้ ท ่ า นดู ซึ่งท่านก็ได้แนะนำให้แก้ไขบางเรื่อง และบอกว่าจะรีบเสนอขอใช้งบประมาณของกระทรวงมหาดไทย ในปีนี้เลย (ปีงบประมาณ 2536) โดยให้คุณกาญจนา สู่พานิช ผอ.กองพัฒนาเศรษฐกิจสังคม สป.มท. (ตำแหน่งก่อนเกษียณอายุราชการคือ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท) ขณะนั้นเป็นเจ้าของเรื่อง เมื่อกรม การพัฒนาชุมชนยกร่างโครงการมาแล้วก็พากันไป Defense ชี้แจงโครงการต่อสภาพัฒน์ฯ และสำนักงบ ประมาณ โครงการนี้จึงเป็นโครงการแรกที่ดำเนินการไปก่อนมีมติครม.รองรับ และต่อมาจึงขอมติ ครม. รองรับภายหลัง เพื่อขยายผลในปีถัดไป ซึ่งมีสาระดังนี้ 1. หลักการของโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน 1.1 ใช้หมู่บ้านยากจนล้าหลัง (เร่งรัดพัฒนาอันดับ 1) ตามข้อมูล กชช.2ค ปี 2533 เป็น เป้าหมายซึ่งขณะนั้นทั่วประเทศมี 11,608 หมู่บ้าน ขั้นต้นดำเนินการจำนวน 1,000 หมู่บ้าน 1.2 ให้คณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) เป็นองค์กรบริหาร เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้นำ ชุมชนของตนเอง ให้มีความสามารถในการบริหารจัดการชุมชนของตนเองเป็นการสร้างบารมีให้กับผู้นำ สามารถดับทุกข์ให้กับลูกบ้านตนเองได้ 1.3 ให้งบประมาณผ่านกรมการพัฒนาชุมชน ในวงเงินหมู่บ้านละ 300,000 บาท แบ่งจ่าย เป็นงบสำหรับเตรียมชุมชน (จัดเวทีประชาคม สร้างความรู้ความเข้าใจ ปลูกฝังอุดมการณ์) 10,000 บาท งบติดตามนิเทศ สนับสนุนการดำเนินงาน ให้วิทยากรมืออาชีพไปช่วยแนะนำอาชีพ ครัวเรือนที่กู้ยืมเงิน 10,000 บาท และงบ อุดหนุนเป็นเงินสดเพื่อเป็นเงินทุน ให้ครัว เรือนยากจนเป้าหมาย ตามข้อมูล จปฐ. ของหมู่บ้าน 280,000 บาท ลักษณะเป็นเงิน ทุนหมุนเวียนในหมู่บ้าน แต่จ่ายในลักษณะ หมวดเงินอุดหนุน (หมวด 800) หรือ หมวดรายจ่ายอื่น (หมวด 900 ) ซึ่งจ่ายใน 56

ประติมากร : งานพัฒนาชุ​ุมชน

ศึกษาอดีต วิเคราะห์ประสบการณ์ รังสรรค์งานชุมชน


ลั ก ษณะเงิ น อุ ด หนุ น เพื ่ อ จ่ า ย ขาดให้ เ ป็ น สมบั ต ิ ข องหมู ่ บ ้ า น เนื่องจากขณะนั้นยังไม่มีระเบียบ หรือกฎหมายใด ๆ รองรับ เรื่อง การจ่ายงบประมาณเป็นเงินสด ให้หมู่บ้าน ตำบล และเพื่อไม่ให้ เกิ ด ภาระดอกเบี ้ ย (ไม่ ม ี ด อก เบี้ย) ระหว่างรัฐบาล กับหมู่บ้าน ถ้าระบุจ่ายเป็นเงินทุนหมุนเวียน มีดอกเบี้ย ก็จะผิดหลักการที่ ต้องการให้คณะกรรมการหมู่บ้านบริหาร การหมุนเวียนของเงินก็จะเป็นวงจรที่ใช้เวลามาก ในส่วน เงิน คืนจะต้องผ่านกรมบัญชีกลาง และดอกเบี้ยก็จะตกเป็นรายได้แผ่นดิน ซึ่งไม่เป็นประโยชน์โดยตรงกับ หมู่บ้าน ดังนั้นจึงขอย้ำว่าเรื่อง ไม่มีดอกเบี้ย หมายความถึง ไม่มีดอกเบี้ยระหว่างรัฐบาลกับหมู่บ้าน ส่วน ดอกเบี้ยที่ครัวเรือนผู้กู้ยืมกับคณะกรรมการหมู่บ้าน เพื่อน ๆ นักเศรษฐศาสตร์ทั้งที่สภาพัฒน์ฯ สำนัก งบประมาณ ให้ข้อคิดเห็นว่าจะต้องมีดอกเบี้ย จะมากหรือน้อยก็ต้องมี แต่ต้องไม่เกินกว่าที่กฎหมาย กำหนด ทั้งนี้เป็นไปตามมติประชาคมหมู่บ้าน ซึ่งต้องเป็นดอกเบี้ยที่ต่ำที่สุด ไม่เช่นนั้นครัวเรือนยากจน จะไม่สามารถเก็บออมมีทุนเป็นของตนเองได้เร็ว เหตุผลที่ว่าต้องมีดอกเบี้ยเพราะในภาษาอังกฤษดอก เบี้ย คือ Interest ซึ่งหมายถึง สิ่งกระตุ้นทำให้เกิดการตื่นตัว เกิดความสนใจ เพราะถ้ากู้ยืมไปแล้ว จะ ต้องเร่งเอาไปประกอบการตามวัตถุประสงค์ เพื่อให้เกิดผลผลิต เกิดรายได้ เพื่อนำไปใช้คืนทุนให้เร็ว ที่สุด ไม่ให้เสียดอกเบี้ยมาก ส่วนกองทุนก็จะมีรายได้สำหรับใช้จ่ายในการบริหารจัดการ และมีเงินทุน งอกเงยเพิ่มขึ้นไว้ให้บริการกับครัวเรือนอื่นต่อไป 1.4 เงินทุน กข.คจ. จำนวน 280,000 บาท ถือเป็นสมบัติส่วนกลาง เป็นเหมือนมรดกที่ พ่อแม่ (รัฐบาล) มอบให้ลูก (หมู่บ้าน) ดังนั้น ชาวบ้านทุกคนจึงมีสิทธิและเป็นเจ้าของร่วมกัน แต่ให้ โอกาสคนจนเป็นกลุ่มเป้าหมายแรกที่จะได้รับประโยชน์หรือได้กู้ยืมเงินก่อนเพื่อให้พ้นจน มีคุณภาพชีวิต ทัดเทียมกับเพื่อน ส่วนคนที่มีฐานะปานกลาง ก็ทำหน้าที่เป็นคนกลาง หรือลูกขุนในศาลคอยดูแลให้เกิด ธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการเงินทุนของคณะกรรมการหมู่บ้าน และดูแล ติดตามการนำเงินทุน ไปใช้ของครัวเรือนผู้กู้ยืม ให้เกิดผลตามวัตถุประสงค์ ไม่เกิดความเสียหาย ไม่มีการชักดาบ ดังนั้น ในการเตรียมชุมชน จึงต้องเน้นการสร้างความเข้าใจกับ ชาวบ้านทุกคนให้ตระหนักถึงความ

เป็นเจ้าของเงินทุนร่วมกัน

1.5 ต้องจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตในหมู่บ้าน กข.คจ. อย่างช้าในปีที่ 2 เพื่อเป็น ที่บริการให้ครัวเรือนมีการออมทรัพย์สะสมทุน ปลูกฝังคุณธรรม 5 ประการ ทำให้ครัวเรือนพ้นความ ยากจน มีทุนเป็นของตนเองได้ในที่สุด สรรค์ชัย อินหว่าง 57


2. แนวทางการดำเนินงานของคณะกรรมการหมู่บ้านในการบริหารจัดการกองทุน 2.1 วิเคราะห์ข้อมูล จปฐ. ค้นหาครัวเรือนยากจนที่ตกเกณฑ์ จปฐ. แล้วจัดทำแผนชุมชน 2.2 จัดทำแผนพัฒนาตนเอง โดยครัวเรือนยากจนเป้าหมาย จัดทำโครงการพัฒนาอาชีพ เพื่อขอกู้ยืมเงินทุน กข.คจ.ไปลงทุน 2.3 การพิจารณาให้กู้ยืมต้องพึงวิเคราะห์ว่า คนยากจนทำไมถึงยากจน มีสาเหตุจากอะไร ซึ่งจากการศึกษาแล้วพบว่าลักษณะของคนยากจนจะมีดังนี้ ก. ขี้เกียจ ไม่ขยันทำกิน ไม่แสวงหาความรู้ นำมาพัฒนาอาชีพ พัฒนาคุณภาพชีวิต ตนเอง ข. ติดอบายมุข ที่เป็นหลุมบ่อ รั่วไหลของทรัพย์สิน เงินทอง เช่น ติดการพนัน ติดสุรา ติดบุหรี่ ฯลฯ ค. ไม่ร่วมพัฒนา งานบวช งานบุญ งานสาธารณะ ไม่ร่วมกระทั่งกิจกรรมของส่วน รวมที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง (เห็นแก่ตัว) ดังนั้น หากคณะกรรมการหมู่บ้านผู้บริหารเงินทุน กข.คจ. ออกกฎเกณฑ์ว่า ผู้ขอกู้ยืมรายใดมี ลักษณะตามข้อ 2.3 (ข้อ ก - ค) ก็ยงั ไม่อนุมตั โิ ครงการให้กยู้ มื ได้ ต้องไปปรับปรุงตนเองและคนในครัวเรือน ให้เป็นที่เชื่อถือได้ว่าไม่ขี้เกียจ ไม่ติดอบายมุข และเข้าร่วมพัฒนา มาตรการนี้ ในยุคที่คนนับถือเงินตรา เป็นพระเจ้า ฟันธงได้เลยว่าพระเจ้าเงินตรา จะดัดให้คนเหล่านัน้ กลับมาเป็นคนดีของสังคมได้ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งจะช่วยส่งผลให้ชุมชนจะเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง “อยู่เย็น เป็นสุข” ในที่สุด เมื ่ อ ได้ ง บประมาณ 300 ล้ า นบาท จากสำนั ก งานปลั ด กระทรวงมหาดไทยมาแล้ว ก็หมดภาระหน้าที่ของกองวิชาการและ แผนงาน ในฐานะทำหน้าที่ด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ ดังนั้น หน้าที่ในการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ จึงเป็นหน้าที่ของกองที่ทำ หน้าที่ด้านปฏิบัติการ คือ กองพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งขณะ นั ้ น กรมฯ ได้ แ ต่ ง ตั ้ ง ให้ ห ั ว หน้ า ประมิ น ทร์ แสนประสิ ท ธิ ์ พัฒนาการจังหวัดอุดรธานี มาเป็นผูอ้ ำนวยการโครงการ และกองวิชา การและแผนงานได้มอบหมายให้คณ ุ นาถเฉลียว ยังนันทวัฒนา หัวหน้าฝ่ายวิชาการกับคุณกอบแก้ว จันทร์ดี นักวิชาการฝ่ายศูนย์ข้อมูลเพื่อการพัฒนาชนบท ไปเป็นคณะทำงาน กรมการพัฒนาชุมชน ได้ดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน มา 2 ระยะ (ระยะที่ 1 ปี 2536 - 2539 ระยะที่ 2 ปี 2540 - 2544) รวม 29,234 หมู่บ้าน มีเงินทุน 8,185.52 ล้านบาท ปรากฏว่ารูปแบบการดำเนินงานโครงการ กข.คจ. เป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่มี ประสิทธิภาพโดยพบ NPL ไม่ถึง 2 % กองทุน กข.คจ. นี้ยังดำรงอยู่ในชุมชนจวบจนปัจจุบัน ในฐานะ คนทำงานที่มีส่วนริเริ่มกองทุนนี้มาตั้งแต่ต้น อดคิดไม่ได้ว่า ทำไมรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายก รัฐมนตรีคงนำรูปแบบการบริหารจัดการกองทุน กข.คจ. ไปใช้ในการออกนโยบายกองทุนหมู่บ้านและ 58

ประติมากร : งานพัฒนาชุ​ุมชน

ศึกษาอดีต วิเคราะห์ประสบการณ์ รังสรรค์งานชุมชน


ชุ ม ชนเมื อ ง แต่ ไ หงดั น ลื ม หลั ก การสำคั ญ ของกองทุ น กข.คจ. อีกบางส่วนไปซะได้ เช่น การสอนให้ชาวบ้านรู้จักวิเคราะห์ตนเอง การพัฒนาตนเอง การบูรณาการกับกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลูกฝังให้ชาวบ้านได้มีความรู้สึกเป็นเจ้าของ กองทุนร่วมกัน แหม ! ผมละแสนเสียดายจริง ๆ ไม่งั้นกองทุนหมู่บ้าน และชุมชนเมืองคงไปโลดกว่านี้ (เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน) สมดังเจตนารมณ์กองทุน กข.คจ. ที่กรมการพัฒนาชุมชนได้วาง พื้นฐานไว้ ไม่ต้องตกเป็นเหยื่อให้นักวิชาการได้พากันวิพากษ์เหมือนที่ผ่านมาเป็นแน่แท้

ข้อคิดเกี่ยวกับการนำนโยบาย กข.คจ. ไปปฏิบัติ ก็คือ

1. ใช้หลักเอื้ออาทรกับครัวเรือนยากจนเป้าหมายมากเกินไป โดยไม่ได้ปรับทัศนคติและการ ปฏิบัติตน ให้ลด ละ เลิก ขี้เกียจ อบายมุข ไม่มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนก่อน ให้เงินยืม คือ ให้เงิน ยืม ตามลำดั บ ความยากจนเป็นหลัก จึงไม่ได้ใช้พ ระเจ้ า เงิ น ตรามาพั ฒ นาคน (ตามหลั ก การที ่ ใ ห้ กม.พิจารณา) เมื่อเน้นการให้คนจนจากจนมากไปหาจนน้อยกว่า ตามข้อมูล จปฐ. โดยไม่ได้คัดกรอง คุณภาพคนจน จึงมีผลกระทบทางจิตใจต่อคนจนจำนวนหนึ่งที่เป็นคนมีคุณภาพมากกว่า แต่จนน้อย กว่า ที่ต้องเฝ้ารอต่อธรรมะที่ว่า “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” 2. คู ่ ม ื อ แนวทางการนำนโยบายไป ปฏิบัติมีลักษณะเป็นนามธรรมมาเกินไป เช่นคำว่า แผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง ไม่มีคำอธิบายให้เข้าใจ ง่าย ๆ เป็นต้น 3. การถ่ายทอดสื่อสารนโยบายไปสู่ผู้ ปฏิบัติในส่วนภูมิภาค ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร 4. การเตรียมชุมชนไม่เพียงพอที่จะสร้าง ความมีส่วนร่วม ความตระหนัก ในการเป็นเจ้าของกองทุนของทุกครัวเรือน ทุกคนในหมู่บ้าน 5. การใช้งบประมาณในการนิเทศ แนะนำ ช่วยเหลือให้ความรู้ การประกอบอาชีพของครัว เรือนยากจนเป้าหมาย ไม่เป็นไปตามแนวทางที่วางไว้ 6. การไม่ให้มีการคิดดอกเบี้ยเงินยืมกับครัวเรือนยากจนเป้าหมาย ทำให้ ไม่เกิดการกระตุ้น ในการใช้เงินทุนไปประกอบอาชีพให้มีรายได้เพิ่ม และเร่งรัดการส่งเงินทุนคืนกับขาดแรงจูงใจในการ บริหารจัดการของคณะกรรมการหมู่บ้าน (ตามหลักการที่ผ่านสภาพัฒน์ฯ และสำนักงบประมาณเรื่อง ไม่มีดอกเบี้ย หมายถึง ไม่มีดอกเบี้ยระหว่างรัฐบาลกับหมู่บ้าน) สรรค์ชัย อินหว่าง 59


“หากตำบลเปรียบเสมือนคน ซึ่งสามารถจะเคลื่อนไหวไปมาได้ด้วย 2 ขา คนๆ นั้นก็ จะต้องมีขาที่สมบูรณ์เท่ากัน ถ้าขาข้างหนึ่งใหญ่ขาข้างหนึ่งลีบ ก็จะเป็นคนพิการ องค์ประกอบ ของตำบลที่เปรียบประดุจดังขาข้างหนึ่งก็คือ องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ส่วนขาอีกข้าง หนึ่ง คือ ภาคประชาชน”

ทฤษฎี 2 ขา ที่มาของ ศอช. ตลอดชีวิตของนักพัฒนาชุมชน นับตั้งแต่การเป็นชาว ค่ายนักศึกษาอาสาสมัคร ครั้งเรียนชั้นปีที่ 3 มศว.บางเขน ในปี พ.ศ. 2511 - 2512 กับการเป็นผู้บริหารค่ายอาสาพัฒนาของ องค์การ World University Sevice : WUS แห่งประเทศไทย และภูมิภาค Australia & Asia ช่วงปี พ.ศ. 2513 - 2515 แล้ว ต่อมาสอบเข้าบรรจุเป็นพัฒนากรตรี รุ่นที่ 24 (5 กุมภาพันธ์ 2516) จนถึงตำแหน่งรองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ในปัจจุบันรวมเวลามากกว่า 35 ปี ได้ทำการวิจัย และพัฒนา (R&D) มาโดยตลอด สรุปเป็นความคิดรวบยอด โดยใช้หลักธรรมที่พระพุทธเจ้าได้เทศนา เป็นแนวทางการพัฒนาคนไว้ 2 แนวทาง คือ 1. หลักทาน คือการให้ หรือการสงเคราะห์ ในสิ่งซึ่งทำให้คนทุกข์ได้พ้นทุกข์ ซึ่งเป็นสิ่งที่คนนิยมทำ เพราะ เชื่อว่าทำแล้วได้บุญกุศลทำให้ชีวิตในอนาคตเจริญงอกงาม ตายแล้วได้ไปสวรรค์ สำหรับนักการเมือง แล้ว ทำให้คนมีสิทธิเลือกตั้งนิยมชมชอบ ชนะการเลือกตั้ง ได้เสวยสวรรค์ ตั้งแต่ยังไม่ตาย คุณหญิง คุณนายก็หน้าตาเบิกบาน ได้ยศ ได้ศักดิ์ ส่วนคนรับทานก็มีความสุข ได้รับการสงเคราะห์สิ่งที่ตน ต้องการโดยไม่ต้องออกแรงให้เหนื่อยยาก ดังนั้นแนวทางนี้จึงรุ่งเรืองอย่างยิ่งในเมืองไทย คนขอทานทั้ง ในระบบและนอกระบบยิ่งจะมากขึ้น ๆ ทุกวัน พูดถึงเรือ่ ง ขอทาน ผมมีประสบการณ์เมือ่ ครัง้ ยังเป็นผูน้ ำนักศึกษา ไปร่วมประชุมองค์การนักศึกษา นานาชาติ (World University Service : WUS) ทีป่ ระเทศอินเดีย ณ เมือง Madras เมือ่ ปี 2512 ซึง่ ใน จำนวนผูน้ ำนักศึกษาไทยทีไ่ ด้รบั เชิญครัง้ นัน้ มีดว้ ยกัน 8 คน ประกอบด้วย นายแพทย์อดุ มศิลป์ ศรีแสงนาม มหาวิทยาลัยมหิดล พี่เพิ่มศักดิ์ นีลวัฒนานนท์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พี่ธีระชัย เชมนะสิริ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ม.ร.ว. ไพศาลสิทธิ์ กัลยาณวงศ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คุณแก้วใจ 60

ประติมากร : งานพัฒนาชุ​ุมชน

ศึกษาอดีต วิเคราะห์ประสบการณ์ รังสรรค์งานชุมชน


... มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คุณอรพินท์ (เอื้อง) ... มหาวิทยาลัยศิลปากร คุณสมนึก มศว.ประสานมิตร และผม สรรค์ชัย อินหว่าง มศว.บางเขน พวกเราเดินทางโดยสายการบิน Air India จากกรุงเทพฯ ไปลงเมื อ ง Culcutta และต่ อ สายการบิ น ในประเทศ ไปเมื อ ง Madras โดยแวะพั ก ค้ า งคื น ที ่ Culcutta ทั้งไปและกลับ ตอนกลับต้องเสียเวลาพักค้างที่ Culcutta หลายคืน เนื่องจากเกิดจลาจล ทางการห้ามชาวต่างประเทศออกนอกที่พักโรงแรม เนื่องจากคนจน คนขอทานบุกยึดที่ดินทำกินและ ทำลายทรัพย์สินของคนรวย ซึ่งเมื่อยึดมาแล้วก็ไม่รู้จะทำอย่างไรต่อ ต้องยอมจำนนกลับคืนสถานะเดิม สำหรั บ ข้ อ มู ล ด้ า นประชากรของทั ้ ง สองเมื อ งนั ้ น Culcutta มี พ ลเมื อ งประมาณ 11 ล้ า นคน เป็นขอทานประมาณ 3 ล้านคน ตอนกลางคืนหลังสามทุ่มครึ่งไปแล้ว ถ้าไปเดินข้างนอก จะต้องเดิน

ในทางรถรางไฟฟ้า เพราะไม่ว่าจะฟุตบาทหรือผิวถนนจะมีคนขอทานนอนเต็มไปหมด คนที่มีฐานะ ดีกว่าเพื่อนก็คือนอนแล้วมีกระสอบป่านหรือผ้าห่มเก่า ๆ ห่ม เช้าขึ้นมาก็แปลก จะเห็นคนบางตา ลงกว่ากลางคืน สอบถามก็ได้ความว่าคนที่พอมีกำลังก็จะไปรับจ้างเข็นรถ ลากรถ ขนสิ่งของ และมี ส่วนหนึ่งจะไปรออยู่หลังร้านอาหาร/ภัตตาคาร รอรับเศษอาหารจากที่พนักงานนำมาทิ้งในถังประทังชีวิต เหมือนแร้ง กา เฝ้ารอซากสัตว์ ดูแล้วเหมือนนรกบนดินชัด ๆ ส่วนคนที่อยู่ในวรรณะกษัตริย์หรือแพทย์ ก็จะเป็นเหมือนมหาราชา กินอยู่ดีเหมือนในสวรรค์ ฉะนั้น ถ้าอยากจะดูสวรรค์และนรกบนดินใน ชาติภพนี้ ให้ไปดูที่อินเดีย ถามเพื่อนนักศึกษาชาวอินเดียดูว่า ทำไมถึงเป็นเช่นนี้ ก็ได้รับคำบอกเล่าว่า สมัยก่อนครั้งพุทธ กาลที่พระพุทธศาสนาเจริญมาก ๆ ในอินเดีย เศรษฐี มหาเศรษฐี มีทรัพย์สินเป็นสิบเป็นร้อยโกฏิ มีมาก เช่น อนาถบิณฑิกคฤหบดี นางวิสาขามหาอุบาสิกา ฯลฯ ต่างก็ตั้งโรงทาน เพื่อทำบุญได้ไปสวรรค์ในภพ ชาติหน้า เมื่อไม่มีกิน ไม่มีใช้ก็ไปโรงทาน กินอิ่มแล้วก็นอน มั่วสุมไม่ทำงาน ขยันแต่ผลิตลูก มีลูกออก มา ก็พาเข้าโรงทาน ไม่คิดอ่านสอนลูกหลานให้รู้จักทำมาหากิน อยู่แบบนี้เป็นร้อยเป็นพันปี ทำให้คนรุ่น หลังก็ไม่มีศักยภาพในการทำมาหากิน พึ่งตนเองไม่ได้ จึงกลายเป็นขอทานสะสมอย่างที่เห็น ก่อนกลับ ผมจึงถ่มน้ำลายรดดินว่าจะไม่ขอเหยียบแผ่นดินอินเดียอีก และภาวนาว่าขออย่าให้เมืองไทยเป็นเหมือน อินเดีย และฝังใจไม่ให้เงินทองกับพวกขอทานมาจนทุกวันนี้ ใครจะว่าใจดำอย่างไรก็เชิญ ซึ่งนัยยะแห่งทานที่พระพุทธเจ้าเทศนาไว้ ทรงมีพระประสงค์ว่าช่วยคนที่ช่วยตนเองไม่ได้ ให้แข็งแรงพอที่จะช่วยตนเองต่อไปได้ ถ้าปฏิบัติครึ่งเดียว ช่วยตลอดก็จะเป็นเหมือนอินเดีย 2. หลักอัตตาหิ แนวทางนี ้ พ ระพุ ท ธเจ้ า ทรงมี

พระประสงค์ให้คนรู้จักพึ่งตนเอง ก่อน คิ ด พึ ่ ง คนอื ่ น อั ต ตาหิ อั ต โน นาโถ มีศักดิ์ศรีเคารพในความสามารถของตน หลักนี้แหละคือ หลักการพัฒนาชุมชน ซึ่ง สรรค์ชัย อินหว่าง 61


ผู้คนที่เป็นนักการเมือง ผู้บริหารราชการระดับสูง และประชาชนจะไม่ชอบ เพราะต้องออกแรงคิด ออกแรงทำ มีส่วนร่วมยากลำบาก เห็นผลช้าไม่ทันใจ ไม่ได้คะแนน ดังนั้น งานพัฒนาชุมชนจึงเหมือน พายเรือทวนกระแสน้ำ น้ำไหลแรงเท่าไหร่ ยิ่งต้องเหนื่อยมาก และถึงเป้าหมายช้าขึ้น เท่านั้น เมื่อรวมเอาแนวทางการพัฒนาที่พระพุทธเจ้าเทศนาไว้ บวกกับประสบการณ์ ทั้งจากการศึกษา และอบรมการปฏิบัติมากว่า 35 ปี จึงมีความคิดรวบยอดว่างานพัฒนาชุมชน เชิงปฏิบัติการมี 3 ทฤษฎี คือ 1. ทฤษฎีไม้กระถาง 2. ทฤษฎีคนตกปลา 3. ทฤษฎี 2 ขา

อัตตาหิ

ทาน 1. ทฤษฎีไม้กระถาง ขออธิบายว่า : ถ้าคนหรือกลุ่มองค์กรหรือชุมชน เปรียบเสมือนต้นไม้ หากใช้ หลักทาน หรือสงเคราะห์ มาทำการพัฒนาก็จะเอาต้นไม้นั้น มาปลูกลงในกระถาง รดน้ำใส่ปุ๋ยเพื่อให้ต้นไม้เจริญ งอกงาม ออกดอก ออกผล ย้ายไปโชว์ในที่ต่าง ๆ ได้ ส่วนข้อจำกัดของไม้ในกระถางก็คือ พึ่งตนเองไม่ ได้ งอกรากหาน้ำหาปุ๋ยเองไม่ได้ ถ้าไม่มีคนบำรุงดูแลรักษาให้ ก็จะอดตาย ส่วนผลผลิต ดอกและผล ถ้า มีก็พอได้ชื่นชมเท่านั้น ถ้าจะขาย ก็ต้องยกกระถางขาย หากใช้หลักอัตตาหิ หรือหลักพึ่งตนเอง ต้องปลูก ต้นไม้ลงดิน รดน้ำพรวนดิน ใส่ปุ๋ยพอต้นไม้ตั้งหลักได้ต้นไม้ก็จะงอกขยายรากหาน้ำ หาอาหารได้เอง แตกกิ่งก้านสาขา ขยายเติบใหญ่ได้อย่างไม่จำกัด ออกดอก ออกผลที่มีคุณภาพ กินอร่อย และขายได้ บทบาทหน้าที่ของพัฒนากร ก็คือ การส่งเสริมและพัฒนาให้คนมีความสามารถที่จะพึ่ง ตนเองให้ได้อย่างยั่งยืนทั้งในระดับปัจเจก ระดับกลุ่มองค์กร หรือระดับเครือข่ายเพื่อที่จะบริหารจัดการ ชุมชนได้ ถ้าอธิบายด้วยทฤษฎีไม้กระถาง ก็คือ การนำต้นไม้ในกระถาง หรือถุงเพาะชำไปบ่มเพาะให้แข็ง แรงแล้วนำไปปลูกลงดิน แล้วเพียรรดน้ำพรวนดินใส่ปุ๋ย เพื่อให้ต้นไม้นั้นมีรากหยั่งลึกแข็งแรงตั้งตัวได้ แล้วปล่อยให้ธรรมชาติได้หล่อเลี้ยงต้นไม้นั้นให้เจริญเติบโตเอง ผลิดอก ออกผลแพร่พันธุ์อย่างกว้าง ขวางต่อไป 62

ประติมากร : งานพัฒนาชุ​ุมชน

ศึกษาอดีต วิเคราะห์ประสบการณ์ รังสรรค์งานชุมชน


จับปลาได้เอง จะมีปลากินชั่วชีวิต 2. ทฤษฎีคนตกปลา เป็นการอธิบายกระบวนการทำงานของพัฒนากรภายใต้ภาษิต คำพังเพย ที่ว่า “ให้ปลากิน มีกินเป็นครั้งครา สอนจับปลา มีกินชั่วชีวา” กระบวนการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของผู้นำชุมชนและชุมชนเริ่มต้นด้วยการเรียนรู้ เรียนรู้จากองค์ความรู้ที่มีอยู่แล้ว เรียนรู้ด้วยตนเอง เรียนรู้จากสิ่งแวดล้อม แล้วฝึกฝนทำเพิ่มทักษะ ความชำนาญ สังเคราะห์และจัดการความรู้ ยกตัวอย่าง ต้องการให้คนรู้วิธีตกเบ็ดเพื่อจับปลาได้เอง ใน ขั้นต้นก็คือสอนหรืออบรมวิธีใช้เบ็ด ขั้นที่ 2 ต่อมาควรสนับสนุนอุปกรณ์ และวัสดุ คือให้เบ็ดและเหยื่อ ให้เพื่อนำไปตกปลา แล้วเขาก็จะตกปลาได้เท่าที่เหยื่อมี ถ้าเหยื่อหมดก็คงต้องหยุด ดังนั้นจึงต้องสอน วิธีการหาเหยื่อ เช่นขุดหาไส้เดือน ลูกปลา ลูกกุ้ง เศษเนื้อ ลูกกบ เขียด ผลไม้ เศษผัก ใบไม้ แล้วแต่ ชนิดปลาที่จะจับว่าเป็นประเภทปลากินเนื้อ หรือปลากินพืช เขาก็จับปลาได้นานขึ้น ซึ่งเหมือนกับการ รู้จักจัดหาเริ่มต้นไว้ให้ ขั้นสุดท้ายต่อไปก็คือการรู้จักบำรุงรักษาหรือเก็บออมทุน เพื่อไว้จัดหาอุปกรณ์ ทดแทน อุปกรณ์เบ็ด หรืออุปกรณ์ตกปลาทีช่ ำรุด หรือหมดอายุการใช้งาน ก็จะสามารถมีอปุ กรณ์เครือ่ งมือ ดำเนินงานต่อไปได้อย่างต่อเนื่องไม่มีสิ้นสุดยั่งยืนตลอดไป ยกตั ว อย่ า งโครงการพั ฒ นาอาชี พ สตรี ต ั ด เย็ บ เสื ้ อ ผ้ า ขั้นแรก ก็อบรมสอนวิธีการตัดเย็บเสื้อผ้า ขั้นที่ 2 ก็มอบ จักรเย็บผ้าพร้อมอุปกรณ์กับผ้าที่จะใช้ตัด เข็มและด้าย ให้ เป็นทุนหมุนเวียน ขั้นที่ 3 สอนการตลาด การขาย การ บำรุงรักษาอุปกรณ์ ขั้นสุดท้าย ส่งเสริมการออมเงินไว้เป็น ทุนของกลุ่มต่อไป หลังจากแบ่งปันกำไรค่าแรงกันไว้แล้ว สรรค์ชัย อินหว่าง 63


องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น

ชุมชน

องค์กรชุมชน

3. ทฤษฎี 2 ขา เรื่องนี้ ได้เริ่มศึกษาตั้งแต่ได้มีการตราพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วน ตำบล พ.ศ. 2537 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2538 ขณะนั้น ผมดำรงตำแหน่งพัฒนาการจังหวัด เพชรบูรณ์ มีประกายความคิดขึ้นว่า ถ้าเอา Road Map ที่ท่านอธิบดีสาย หุตะเจริญ ได้พูดไว้ว่า “เป้าหมายของงานพัฒนาชุมชน คือชุมชนเข้มแข็ง สามารถปกครองและบริหารการพัฒนาได้ด้วย ตนเอง” การที่ตำบลยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ตามนโยบายกระจายอำนาจนั้น ใช่ หมายความว่า ตำบลนั้นเป็นชุมชนเข้มแข็งได้จริงหรือไม่ ถ้าเป็นความจริงแสดงว่า กรมการพัฒนาชุมชน ประสบความสำเร็จ บรรลุเป้าหมายแล้ว เมื่อได้มีโอกาสได้ศึกษาเข้าจริงก็พบปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นใน ชุมชนว่า ชาวบ้านที่เคยมีส่วนร่วมในการพัฒนา เช่น เคยดูแลความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ถนนหน้าบ้านของตนเอง เคยกำจัดขยะในครัวเรือนด้วยตนเอง ด้วยหลุมเปียก หลุมแห้ง ฝังกลบขยะ ให้เป็นปุ๋ย หรือเผาทำลายแบบกระจายเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ทีละครอบครัวไม่สร้างมลพิษ การดูแลบำรุงรักษา สาธารณสมบัติก็ร่วมกันทำตามเทศกาลหรือโอกาสต่าง ๆ แต่พอเป็น อบต.แล้ว ประชาชนกลับผลักภาระ ตามที่กล่าวข้างต้นให้เป็นภาระของ อบต. ทำให้ อบต. ต้องมีค่าใช้จ่ายมากขึ้น ต้องหาบุคลากรมาเพิ่ม ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการเพิ่มขึ้นเป็นการทวนกระแสนโยบาย ลดจำนวนข้าราชการแต่กลับมา เพิ่มจำนวน ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น เมื่อเกิดปรากฏการณ์เช่นนี้ แสดงว่าคุณภาพของงาน พัฒนาชุมชนยังไม่ถึงขั้นบรรลุเป้าหมาย ต้องปรับกลยุทธ์ในการทำงาน โดยส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามี ส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นของตนเองมากยิ่งขึ้น ในปี 2539 เมื่อไปดำรงตำแหน่งพัฒนาการจังหวัดเชียงใหม่ ก็ได้มีโอกาสศึกษาเรื่องนี้ซ้ำอีก ครั้ง ซึ่งก็ปรากฏผลเช่นเดียวกับ ในปี 2540 ครั้งดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการกองวิชาการและแผนงาน ก็ ตั้งใจจะทำการวิจัยและพัฒนาเรื่องนี้ เพื่อกำหนดเป็นนโยบายของกรมฯ แต่ปรากฏว่างานของกองวิชา การและแผนงาน ทำให้ไม่สามารถทำงานเชิงรุกได้ ส่วนใหญ่เป็นงานเชิงรับ ต้องประชุม ต้องทำเอกสาร ทำข้อมูล ตรวจติดตามงาน วิ่งตามสนองนโยบายของฝ่ายการเมืองและผู้บริหารระดับสูงแค่นี้ก็แทบไม่มี เวลาไปทำเรื่องอื่น ๆ แล้ว ก็เหนื่อยแล้ว หมดเวลาแล้ว 64

ประติมากร : งานพัฒนาชุ​ุมชน

ศึกษาอดีต วิเคราะห์ประสบการณ์ รังสรรค์งานชุมชน


ดังนั้น ในปี 2541 จึงขอเรียนท่าน อธิบดีไพโรจน์ พรหมสาส์น เพื่อย้ายไปเป็นผู้ อำนวยการกองพัฒนาอาสาสมัครและผู้นำท้องถิ่น ซึ่งเป็นกองขนาดเล็กลำดับเกือบบ๊วย แต่ในความ เห็นของผมกลับเห็นว่า เป็นกองที่ยิ่งใหญ่ งาน ของกองนี้คือแก่นงานพัฒนาชุมชน ถ้าทำให้กอง นี้ ทำงานให้เต็มใบจะเป็นกองหรือสำนักที่ยิ่งใหญ่ ได้อย่างแน่นอน ที่ผ่านมาทำงานได้เพียงครึ่งใบ คืองานด้านอาสาสมัคร เท่านั้น ส่วนงานด้านผู้นำชุมชน กลุ่มองค์กรชุมชน และเครือข่ายองค์กรชุมชน ยังไม่ได้ทำ จึงตั้งใจว่าจะมาทำ และจะทำให้กองบ๊วย กลายเป็นกองอันดับหนึ่งหรือยกฐานะเป็นสำนัก ภายในเวลา 3 ปี เพราะการพัฒนางานเล็ก ๆ ให้เป็นงานใหญ่ ๆ นี้มีองค์ความรู้จากที่ท่าน ดร.สุรพล กาญจนะจิตรา ได้สอนและพาทำ ในการพัฒนางานของกองวิจัยและประเมินผล ซึ่งเดิมเป็นกองเล็ก อันดับ 6 มาเป็นกองวิชาการและแผนงาน เป็นกองอันดับหนึ่ง มีหน้าที่กำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ ของกรมการพัฒนาชุมชน เมื่อรับงานต่อจาก ผอ.อรุณ เกตุสุริยงค์ ซึ่งเกษียณอายุราชการ ก็เริ่มปรับปรุงงาน โดยโยก งาน อช. ผู้นำ อช. จากฝ่ายพัฒนาผู้นำท้องถิ่น ไปอยู่ฝ่ายพัฒนาอาสาสมัคร ซึ่งเดิมทำเฉพาะงานอาสา พัฒนา (อสพ.) อย่างเดียวปล่อยให้ฝ่ายพัฒนาผู้นำท้องถิ่น ซึ่งมีหัวหน้าประพันธ์ ภู่สุดแสวง เป็น หัวหน้าฝ่ายไม่มีงานทำ เพื่อให้คิดหางานใหม่ทำได้สะดวก เสริมทัพด้วยฝ่ายวิชาการ มีคุณกิ่งแก้ว อินหว่าง ซึ่งเป็นคนแรกที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตร นักวิจัยทางสังคมศาสตร์ ของสภาวิจัยแห่ง ประเทศไทย อย่างมีคุณภาพ เป็นนักวิชาการพัฒนาชุมชน ระดับ 7 วและ 8 ว คนแรกที่ผ่านการ พิจารณาอนุมัติตำแหน่ง จาก ก.พ. โดยตรง มาเป็นแม่งาน ขอตัวคนเก่งคือคุณเพ็ญแข ศรีสุทธิกุล ขณะนั้นดำรงตำแหน่งพัฒนาการอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี มาร่วมพัฒนางาน พร้อมทีมงาน นักวิชาการดาวรุ่งอีกหลายคน โครงการวิจัยเพื่อการพัฒนาเริ่มด้วยการตั้งสมมติฐานว่า หากตำบลเปรียบเสมือนคน ซึ่ง สามารถจะเคลื่อนไหวไปมาได้ด้วย 2 ขา คน ๆ นั้นก็จะต้องมีขาที่สมบูรณ์เท่ากัน ถ้าขาข้างหนึ่งใหญ่ขา ข้างหนึ่งลีบ ก็จะเป็นคนพิการ องค์ประกอบของตำบลที่เปรียบประดุจดังขา ข้างหนึ่งก็คือ องค์การ บริหารส่วนตำบล (อบต.) ที่ประชาชนในท้องถิ่นเลือกขึ้นมา ทำหน้าที่ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนายก อบต. และ ทีมบริหาร และฝ่ายตรวจสอบ ฝ่ายสภา อบต. ส่วนขาอีกข้างหนึ่ง คือ ภาคประชาชน หรือผู้รับบริการ ซึ่งหากฝ่ายนี้รอรับบริการอย่างเดียวตามปรากฏการณ์ที่กล่าวมาข้างต้น ก็จะมีสภาพเสมือนขาที่ลีบ พิการ ไร้พลัง ดังนั้น โจทย์วิจัยก็คือ ทำอย่างไรถึงจะทำให้ภาคประชาชน จะเป็นขาที่สมบูรณ์ ไม่ลีบ และมีพลัง ซึ่งหากสามารถถอดรหัสออกมาได้ก็จะเป็นการพัฒนานโยบายและทิศทางการทำงานของกรม การพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืนไปได้อีกนาน สรรค์ชัย อินหว่าง 65


เมื่อพร้อมจะขับเคลื่อนแนวความคิด ทีมวิจัย จึงได้ไปกราบเรียนเชิญ รองศาสตราจารย์ ดร.ทิตยา สุวรรณะชฎ อดีตอธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) ครูบาอาจารย์ของ พวกเรา มาเป็นที่ปรึกษา โดยเลือกพื้นที่ศึกษาในเบื้องต้น 2 ตำบลคือ ตำบลเจดีย์ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นตัวแทนตำบลที่มีความอุดมสมบูรณ์ เศรษฐกิจดี กับตำบลบ้านโข้ง อำเภอ อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นตัวแทนตำบลที่แห้งแล้ง เศรษฐกิจไม่ดี ระยะที่ 1 ปี 2542 ศึกษา กระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาของประชาชน โดยใช้องค์การบริหารส่วนตำบลเป็นศูนย์กลาง (ตามเจตนารมณ์ของ พรบ.สภาตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ที่ฝ่ายปกครองเข้าใจ) ให้ผู้แทนจากองค์กรชุมชน และผู้ปกครองท้องที่ ได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อาสาพัฒนาชุมชน ผู้นำสตรี ผู้นำกลุ่มอาชีพ กลุ่มออมทรัพย์ และอาสาสมัครอื่น ๆ ในตำบลเป็นแนวร่วม ผลที่ออกมาก็คือส่วนใหญ่มีแนวโน้มในลักษณะเหมือนการทำประชาคมเพื่อจัดทำแผนชุมชน ของตำบลจะมีแผนงานโครงการที่เป็นความต้องการสนับสนุนงบประมาณจาก อบต. ดังนั้น ในระยะที่ 2 ปี 2543 -2544 จึงปรับกลยุทธ์เป็นการวิจัยแบบมีส่วนร่วม (PAR) ขยายพื้นที่การศึกษาออกไปทุกภาค นำร่อง จำนวน 22 ตำบล โดยใช้ผู้นำชุมชนผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ ตามระยะที่ 1 เป็นกลุ่มเป้าหมาย แต่ละช่วงเวลา ให้มีการสัมมนาหรือประชุมเชิงปฏิบัติการจัดการความรู้ ที่ศูนย์ฝึกอบรมการพัฒนา ชุมชนนครนายก รวมถึง 6 ครั้ง ในที่สุดก็สามารถถอดรหัสการพัฒนามาได้ว่า ถ้าจะให้ประชาชนมีส่วน ร่วมในการพัฒนาอย่างสมบูรณ์ยั่งยืน จะต้องให้แต่ละกลุ่ม/องค์กรเลือกผู้แทนของกลุ่ม/องค์กร ๆ ละ 1-2 คน โดยเรียกผู้แทนของกลุ่มองค์กรที่มารวมกันนั้นว่า “คณะกรรมการกลาง” มีการเลือกตั้งประธาน รองประธาน เลขานุการ และกรรมการฝ่ายต่าง ๆ ตามที่เห็นสมควร คณะกรรมการกลางที่ว่านี้ได้ร่วม กันกำหนดภารกิจที่จะทำร่วมกันในการเป็นองค์กรหนุนเสริมการทำงานขององค์การบริหารส่วนตำบลใน ลักษณะ “คู่ขากัน” เรียกว่า “ศูนย์ประสานงานองค์กรชุมชน หรือมีชื่อย่อว่า ศอช.” จำแนกบทบาทหน้าที่ ของขาแต่ละข้างได้ดังนี้ 66

ประติมากร : งานพัฒนาชุ​ุมชน

ศึกษาอดีต วิเคราะห์ประสบการณ์ รังสรรค์งานชุมชน


ภารกิจ ศอช.ต. ภารกิจ อบต. (ขาข้างซ้าย) (ขาข้างขวา) 1. ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต 1. สนับสนุนการจัดเก็บข้อมูล จปฐ.และข้อมูลกชช. ในครัวเรือน ให้กับคนในชุมชนและผู้นำชุมชน 2ค นำมาบันทึกและประมวลผลเพื่อประโยชน์ใน โดยให้กรรมการหมู่บ้าน (กม.) และผู้นำกลุ่มองค์กร การวางแผนและสำเนาข้อมูลส่งให้ครัวเรือนใช้ จัดเก็บข้อมูล จปฐ. แบ่งความรับผิดชอบตามจำนวน ในการพัฒนาตนเอง กับส่งให้ ศอช.ต. ใช้ในการ คุ้มบ้าน คุ้มละ 10 - 20 ครัวเรือน ทุกปี สนับสนุนหมู่บ้านวางแผนชุมชน 2. วิเคราะห์ข้อมูลและส่งเสริม/สนับสนุนให้ 2. นำแผนชุมชน/แผนตำบลมาจัดทำเป็นแผนท้องถิ่น คณะกรรมการหมู่บ้านและผู้นำชุมชนวางแผนชุมชน 3. บูรณาการแผนชุมชนของทุกหมู่บ้านเป็นแผนตำบล 3. สนับสนุนงบประมาณอุดหนุนกิจกรรม/โครงการ ส่งให้ อปท.และอำเภอ จังหวัด ตามแผนชุมชน/แผนตำบล ให้ ศอช.ต ไปดำเนินการ แจกจ่ายให้องค์กรเจ้าภาพหลัก กำหนดไว้ในแผนชุมชน ทั้งโครงการกิจกรรมที่ เจ้าภาพรอง ตามภารกิจ หรือความรับผิดชอบ 4. สนับสนุนให้หมู่บ้านดำเนินงานตามกิจกรรมที่ 4. ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานของ ศอช. พึ่งตนเองและกิจกรรมที่ได้รับเงินงบประมาณ/เงิน อุดหนุนช่วยเหลือจากภายนอกชุมชน โดยแบ่งหน้าที่ กันเป็นผู้รับผิดชอบ เจ้าภาพหลัก เจ้าภาพร่วมตาม ลักษณะงานที่สอดคล้องกับภารกิจของแต่ละองค์กร 5. จัดประชาคมหมู่บ้าน ตำบล เพื่อแก้ไขปัญหาหรือ 5. ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ ผลงาน พัฒนาตามข้อ 1-4 6. ติดตามประเมินผลการพัฒนาหมู่บ้าน ตำบลและ รายงาน อบต. เทศบาล อบจ. อำเภอ และแหล่งทุน 7. จัดการความรู้ วิจัยและพัฒนา องค์ความรู้ด้านต่าง ๆ บันทึกไว้ในศูนย์เรียนรู้ชุมชน 8. ประชาสัมพันธ์งานสื่อสารสร้างการเรียนรู้

สรรค์ชัย อินหว่าง 67


ปลายปี 2544 ได้สรุปผลการศึกษาวิจัย โดยทุกฝ่ายต่างมีความเห็นร่วมกันว่า ควรมีการจัดตั้ง ศูนย์ประสานงานองค์กรชุมชน ทุกระดับในพื้นที่ที่มีองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ซึ่งก็คือ ตำบล มี ศอช.ต. เป็น คู่ขากับ อบต. อำเภอ มี ศอช. อ. เป็น คู่ขากับ เทศบาล และอำเภอ จังหวัด มี ศอช. จ. เป็น คู่ขากับ อบจ.และจังหวัด ทั้งนี้ได้นำเสนอผู้บริหารให้ความเห็น ชอบโดยใช้กลไกทางกฎหมาย คือ ระเบียบกรม การพั ฒ นาชุ ม ชน ว่ า ด้ ว ยการดำเนิ น งานศู น ย์ ประสานงานองค์กรชุมชน พ.ศ. 2544 รองรับเป็น แนวทางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่และได้มีการ กำหนดเป็นนโยบายประจำปี 2545 - 2547 ที่จะ ขับเคลื่อนส่งเสริมการจัดตั้งศูนย์ประสานงาน องค์กรชุมชน ให้ครบทุกตำบล อำเภอ จังหวัด ในช่วงของการขับเคลื่อนนโยบาย ผมก็ได้นำแนวคิดทฤษฎี 2 ขา และศอช. ไปเผยแพร่กับ เครือข่ายภาคีการพัฒนาทั้ง พอช. คุณหมอนักพัฒนาทั้งหลาย และแม้กระทั่งอดีตรองนายกรัฐมนตรีซึ่ง เป็นนักพัฒนาภาคเอกชนยังแซวแบบติดตลกว่า พช.คิดตั้ง ศอช.ต.ได้อย่างไง เท่ากับกางมุ้ง เต็มห้อง เต็มตำบล ใครมาตั้งกลุ่มอะไรในตำบล ก็อยู่ในมุ้ง ศอช.ต.ทั้งหมด คุณหมอราษฎรอาวุโสยังชมและให้ ข้อคิดเห็นอีกว่า เป็นเรื่องที่ดีควรร่วมมือกันขับเคลื่อน แต่ขออย่าใช้นิสัยมหาดไทย ที่ชอบออกระเบียบ กฎหมายมาเป็นกฎเกณฑ์บังคับชาวบ้านจะทำให้เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ ให้ สอดคล้องกับภูมิสังคม ซึ่งผมได้เคารพแนวคิดของท่านตลอดมา แต่ไหง! พอมีอำนาจกลับพยายามออก พรบ.สภาองค์กรชุมชน ขึ้นมาบังคับชาวบ้าน/ส่วนราชการ ซะนี่ ผมก็ ง ง? แต่ ก ็ ไ ด้ พ ยายามถกเถี ย งและคั ด ค้ า นกั น อย่ า ง กว้ า งขวาง จนในเบื ้ อ งต้ น นั ้ น คณะกรรมการกฤษฎี ก า ไม่ผ่าน อย่างไรก็ตามสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) สาย NGO ก็ ไ ม่ ล ะความพยายามเสนอ พรบ.ดังกล่าวเข้ามาอีกจนผ่านสภาฯ และประกาศ ในราชกิ จ จานุ เ บกษาใช้ ก ั น ก่ อ นเลื อ กตั ้ ง 23 ธันวาคม 2550 แต่โครงสร้างองค์ประกอบของ สมาชิกสภาองค์กรชุมชนได้ปรับเปลี่ยนไป จากร่างเดิมฯเป็นมาจากผู้แทนหมู่บ้าน ๆ ละ 4 คน กั บ ผู ้ แ ทนชุ ม ชน 2 คน 68

ประติมากร : งานพัฒนาชุ​ุมชน

ศึกษาอดีต วิเคราะห์ประสบการณ์ รังสรรค์งานชุมชน


ต่างจาก ศอช. ซึ่งมีองค์ประกอบของคณะกรรมการ มาจากประธานหรือผู้แทนทุกกลุ่มองค์กรชุมชน จำนวนรวม 9 -25 คน ดังนั้น กระทรวงมหาดไทย จึงออกระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วย การ ดำเนินงานศูนย์ประสานงานองค์การชุมชน พ.ศ. 2551และได้ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 125 ตอนพิเศษ 42 ง วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2551 ผลการขับเคลื่อนเป็นนโยบายกรมการพัฒนาชุมชน 3 ปี (พ.ศ. 2545 - 2547) มี ศอช.ต. ดีเด่น ระดับแนวหน้าในทุกจังหวัด ทุกเขต เช่น ศอช.ต.วังหมัน อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท ศอช.ต. เนินฆ้อ อ.แกลง จ.ระยอง ศอช.ต. โนนชัยศรี อ.โพนทอง จ.ร้อยเอ็ด ศอช.ต.ลำเลียง อ.กระบุรี จ.ระนอง และอื่น ๆ อีกมากมาย ผู้นำ ศอช.ต. ทั้งหลายได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ และเข้าเฝ้าทูลละอองพระบาท สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา แม้กรมฯ ไม่ได้ประกาศให้ ศอช. เป็นนโยบายประจำปี เพราะ ต้องการให้ ศอช.ขับเคลื่อนไปตามธรรมชาติ ขึ้นอยู่กับภูมิสังคมและสภาวการณ์ของแต่ละพื้นที่ แต่มี ศอช.หลายแห่งกลับได้รับการยอมรับจากหน่วยงานต่าง ๆ ได้ใช้กลไกของ ศอช.ต. ขับเคลื่อนภารกิจของ หน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กรมคุ้มครองสิทธิ์และเสรีภาพ วิทยาลัยการจัดการทางสังคม ป.ป.ช. เป็นต้น เหตุการณ์ที่ผ่านมาย่อมแสดงความสำเร็จในการยืนหยัด ต่ออุดมการณ์พัฒนาชุมชน เพื่อเสริมสร้างองค์การเครือข่ายพัฒนาชุมชน หรือ ศอช. ให้เข้มแข็ง เคียงคู่ ไปกับองค์การบริหารส่วนตำบล รวมทั้งส่วนราชการได้อย่างสมดุลเฉกเช่นทฤษฎีสองขาดังกล่าวก็ยังถือ เป็นนโยบายหรือเครื่องมือ กลไกที่สำคัญ ในการขับเคลื่อนชุมชน หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ให้เป็น ชุมชนที่เข้มแข็ง ยั่งยืนตลอดไป

สรรค์ชัย อินหว่าง 69


“เมื่อหมู่บ้านใดได้รับรางวัลพระราชทาน หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง “อยู่เย็นเป็นสุข” แล้วก็ขอให้จัดหาที่ประดิษฐานรางวัลอย่างสมพระเกียรติโดดเด่นจากรางวัลอื่นๆ เพราะถือว่าเป็น รางวัลเกียรติยศที่สูงยิ่งของหมู่บ้านเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ต้องเทิดทูน เหมือนธงชัยของหมู่บ้าน”

หมู่บ้านรางวัลพระราชทาน เศรษฐกิจพอเพียง “อยู่เย็น เป็นสุข” กลยุทธ์เชิงการนำ ขอกล่าวถึงนโยบายที่ดีดี นโยบายหนึ่งที่บรรพบุรุษของชาวพัฒนาชุมชนได้สร้างสรรค์ไว้ ก็คือ “การประกวดหมู่บ้านพัฒนาดีเด่น” โดยนโยบายดังกล่าว นอกจากจะเป็นการทำให้คนในหมู่บ้านสามัคคี กัน แข่งขันกันทำความดี เพื่อพัฒนาไปสู่ความเป็นชุมชนเข้มแข็งแล้ว ยังเป็นกุศโลบายที่จะเพาะนิสัย ประชาชนเป็นนักพัฒนา รักความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อย เรียนรู้การาบริหารจัดการการ พัฒนา (สร้างพลังชุมชน) ซึ่งมีกลยุทธ์ในการดำเนินงานทุกปี ดังนี้ 1. เมื่อย่างเข้าฤดูแล้งหลังเก็บเกี่ยวพืชผลการเกษตรเสร็จก็จัดการประกวดหมู่บ้านพัฒนาดี เด่ น ระดั บ ตำบล ให้ ทุ ก หมู ่ บ ้ า นทำการพั ฒ นาปรั บ ปรุ ง สิ ่ ง แวดล้ อ มชุ ม ชน จั ด ระเบี ย บชุ ม ชน จั ด กระบวนการพัฒนาทุกกิจกรรมทุกโครงการ ฯลฯ เพื่อคัดเลือกหมู่บ้านชนะที่หนึ่ง ส่งเข้าประกวดใน ระดับอำเภอ ซึ่งก็จะทำให้ทุกหมู่บ้านได้รับการพัฒนาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 70

ประติมากร : งานพัฒนาชุ​ุมชน

ศึกษาอดีต วิเคราะห์ประสบการณ์ รังสรรค์งานชุมชน


2. การประกวดระดับอำเภอ ให้ทุกตำบลส่งหมู่บ้านที่ชนะเลิศระดับตำบลเข้าประกวด ก็จะทำให้หมู่บ้านตัวแทนได้รับการพัฒนาเป็นปีละ 2 ครั้ง 3. การประกวดระดับจังหวัด ให้ทุกอำเภอส่งหมู่บ้านชนะเลิศระดับอำเภอเข้าประกวด ก็จะ ทำให้หมู่บ้านตัวแทนได้รับการกระตุ้นให้ตื่นตัวร่วมมือกันพัฒนาเป็น ปีละ 3 ครั้ง หากมีการประกวดในระดับเขต ระดับภาค ระดับประเทศ หมูบ่ า้ นทีเ่ ป็นตัวแทนก็จะมีการพัฒนา หลายครัง้ ขึน้ ตามจำนวนครัง้ ทีม่ กี ารประกวด ถ้าดำเนินการตามกระบวนการทีก่ ล่าวมาทุกปี ป่านนี้ 46 ปีแล้ว

คงสามารถสร้างนิสัยนักพัฒนาให้ทุกหมู่บ้านเป็นระเบียบเรียบร้อย สิ่งแวดล้อมดี ชุมชนเข้มแข็งไปแล้ว มากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนหมู่บ้านทั่วประเทศแน่นอน แต่ที่ผ่านมากลับไม่ใช่พวกเรามุ่งที่จะเอาชนะเลิศ อย่างเดียว จึงละเลยหลักการทั้ง 3 ข้อที่กล่าวมา ถึงเวลาก็ไปจับเอาหมู่บ้านที่มีแววว่าจะชนะมาประกวด หมู่บ้านอื่น ๆ จึงไม่ได้รับการส่งเสริม นี่คือความผิดพลาดที่เกิดขึ้น เพราะความเป็นวัตถุนิยมสุดโด่ง แทนที่พัฒนากรจะถอยออกมาให้ผู้นำชุมชนได้บริหารจัดการชุมชนด้วยตนเอง กลับเกาะติดอยู่ด้วย ความภาคภูมิใจในผลงาน ผู้บังคับบัญชาไปตรวจงานหรือมีบุคคลหมู่คณะใด ไปขอดูงานก็จะเป็นตัวตั้ง ตัวดีในการจัดการลืมปรัชญาการทำงานทีว่ า่ “นักพัฒนาต้องทำงานแบบปิดทองหลังพระ เพือ่ ให้ชาวบ้าน

ได้ก้าวไปข้างหน้าอย่างองอาจ” เมื่อพัฒนากรไม่ยอมถอยไปยืน เป็นโค้ชหรือผูจ้ ดั การ ผูน้ ำชุมชนก็ขาดความเชือ่ มัน่ ฮึกเหิม ในทีส่ ดุ

ก็กลับไปอ่อนแออยู่ในสภาพเดิม ดังนั้น เวลาจัดประกวดหมู่บ้าน หรือกิจกรรมงานพัฒนาชุมชน เรามักจะถูกบางคน บางกลุ่ม พูดจาถากถางว่า “ปลูกผักชีิ” อีกแล้ว เมื่อเป็นดังนี้ เราก็ไม่อาจ นับผลสำเร็จของการพัฒนาได้ว่า สร้างชุมชนเข้มแข็งได้แล้ว กี่หมู่บ้าน กี่ชุมชน มีผู้นำชุมชนที่เข้มแข็งแล้วกี่คน มีกลุ่มองค์กรชุมชนและเครือข่ายองค์กรชุมชนที่ เข้มแข็งยั่งยืนแล้วเท่าไร คำถามเหล่านี้สาธารณะต้องการคำตอบโดยเฉพาะกรรมาธิการงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร.) และอื่น ๆ แล้วเราก็ทำซ้ำ ๆ ทำอย่างเก่าอย่างนี้ มาตลอด เมื่อรัฐบาลปฏิรูประบบราชการในปี 2545 กรมการพัฒนาชุมชนเมื่อไม่ได้ถูกตัดโอนไปสังกัด กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ตามโครงสร้างที่วางไว้เดิม ก็ต้องมีคู่แข่ง และ ทำงานยากลำบากมากยิ่งขึ้น เพราะตอนออกแบบได้ถูกออกแบบครบถ้วนสมบูรณ์ทั้ง 4 M ตามหลักการ บริหาร แต่เมื่อถูกดึงออกมาเฉพาะกำลังคนกับเงินเดือนและงบบริหารติดตัว ส่วนเงินที่ใช้สนับสนุนการ ทำงานของผู้นำชุมชน กลุ่มองค์กรและเครือข่าย ไม่ได้กลับมาด้วย จึงเท่ากับกองทัพที่ปราศจากอาวุธ ต้องใช้ภูมิปัญญาไปแสวงหาเอาเอง โดยการพัฒนาเครื่องมือที่เรียกว่า แผนชุมชน ไปเชื่อมต่อเอางบ ประมาณกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และยุทธศาสตร์จังหวัด หรือหน่วยงานอื่น คู่แข่งที่สำคัญก็คือ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ซึ่งพัฒนามาจากหน่วยทำหน้าที่ R&D ของกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ มา เป็นหน่วยปฏิบัติการที่มีเขี้ยวเล็บแหลมคม ดังนั้น ความอยู่รอดของกรมการพัฒนาชุมชนก็คือ การ สรรค์ชัย อินหว่าง 71


ทำงานให้มีเป้าหมาย ผลงานที่ชัดเจน สามารถตอบคำถามดั ง กล่ า วข้ า งต้ น ต่อสาธารณชนได้ จึงต้องคิดหากลยุทธ์ เพื่อชิงการนำให้ได้ เรื่ อ งแรกที่ต้องดำเนินการ ก็คือ การมีมาตรฐานงานชุมชน (มชช.) ซึ่งจะต้องมีการพัฒนาเครื่องชี้วัดและ เกณฑ์ว่าผู้นำชุมชน กลุ่มองค์กรชุมชน เครื อ ข่ า ยองค์ ก รชุ ม ชนและชุ ม ชน/ หมู่บ้านที่เข้มแข็งมีอะไรเป็นเครื่องบ่งบอก วัดได้อย่างไร เมื่อพัฒนาเครื่องชี้วัด มชช.และระบบ มชช.ได้ ก็ ใ ช้ เ ป็ น แนวทางการพั ฒ นากลุ ่ ม เป้ า หมายของงานดั ง กล่ า ว ผู ้ ท ี ่ ช ่ ว ยบุ ก เบิ ก พั ฒ นาระบบ มชช. ได้สำเร็จต้องยกเครดิตให้ ส่วนนโยบายและแผนพัฒนาศักยภาพชุมชน สำนักส่งเสริมและพัฒนา ศักยภาพชุมชน (สศช.) นำโดย ผอ. เพ็ญแข (เหมี่ยว) ศรีสุทธิกุล หัวหน้ากลุ่มงานฯ คุณอรษา โพธิ์ทอง และที ม งาน ประกอบด้ ว ย คุ ณ ศยามล (ลู ก ปุ ้ ม ) ลั ก ขณาสถิ ต , คุ ณ ประภา (สาว) พร้ อ มมู ล คุณวจิรา (เข็ม) เดชารัตน์ ฯลฯ เรื่ อ งที่ ส อง ก็คือ ต้องหางานหรือโครงการกิจกรรมที่โดดเด่นสอดคล้องกับพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทิศทางการพัฒนาของประเทศ ที่เป็นความยั่งยืนไม่ว่ารัฐบาล ยุคใด สมัยใดไม่สามารถปฏิเสธการสนับสนุนได้ มาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาที่ประชาชนทุกระดับ ได้รับผลประโยชน์ ผู้นำชุมชนและภาคีเครือข่ายการพัฒนายอมรับ คิดได้ตอนตั้งงบประมาณประจำปี 2548 ว่าต้องเป็น “เศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งเป็นปรัชญาพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ทรงมีพระราชดำรัสครั้งแรกในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรต่อบัณฑิตของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อปี 2517 และทรงเตือนรัฐบาลและพสกนิกร ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา อีกครั้งในปี พ.ศ. 2535 และ พ.ศ. 2542 ก็ได้พระราชทานให้สภาพัฒน์ฯ ไปหาทางขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งสภาพัฒน์ฯ ก็ได้ตั้งคณะทำงานขับเคลื่อน มีดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา รองเลขาธิการสำนักงาน พระราชวัง เป็นหัวหน้า สำหรับส่วนราชการแล้วพูดไปจะหาว่าคุย เพื่อน ๆ และลูก ๆ ที่สภาพัฒน์ฯ ยกย่องว่า มองไปใต้หล้าฟ้าเมืองไทย ไม่มีหน่วยงาน ไหน จะสร้างความมั่นใจได้ว่า “สามารถขับเคลื่อน ปรั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพี ย งให้ เ ป็ น วิ ถ ี ช ี ว ิ ต ของ ประชาชนระดับตำบลหมู่บ้านได้ดีเท่า กรมการพัฒนา ชุม ชน” แม้ก รมส่งเสริมการเกษตร ก็ทำได้เฉพาะ เกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งไม่ครอบคลุมทุกกลุ่มประชาชน กรมอื่น ๆ ก็เหมือนกัน 72

ประติมากร : งานพัฒนาชุ​ุมชน

ศึกษาอดีต วิเคราะห์ประสบการณ์ รังสรรค์งานชุมชน


ดังนั้น ในปีงบประมาณ 2548 -2549 เราจึงได้งบประมาณมาขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอ เพียง มีการกำหนดเป้าหมายตัวชี้วัดและเกณฑ์ความสำเร็จ ประกอบกับเมื่อ ดร.นิรันดร์ จงวุฒิเวศย์ ได้รับแต่งตั้งมาดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน มีนโยบายดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหา ความยากจนแบบเข้าถึงทุกครัวเรือน โดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาขับเคลื่อน กำหนด ตัวชี้วัด 6X2 มาเป็นแนวทางปฏิบัติที่ให้ชาวบ้านสามารถปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมในระดับครัวเรือน และระดับหมู่บ้าน/ชุมชน ทั้งในด้านการลดรายจ่าย การเพิ่มรายได้ การออมทรัพย์ การเรียนรู้ การ พัฒนาสิ่งแวดล้อม และการเอื้ออารีต่อกัน มีตัวชี้วัดด้านละ 2 ตัวชี้วัด กำหนดเกณฑ์การวัดที่ค่า ระดับคะแนน 1 - 2 - 3 รวมคะแนนเต็ม 36 คะแนน หมู่บ้านที่ผ่านร้อยละ 50 คือ 18 คะแนน ถือว่าผ่านเกณฑ์ เครื่องชี้วัดที่กล่าวมานี้ ถือเป็นขั้นต่ำที่ยอมรับได้ จังหวัดใด หน่วยงานใด จะไปเพิ่ม ให้มากให้แข็งกว่านี้ก็ไม่ว่ากัน ซึ่งตัวชี้วัด 6X2 นี้ ได้นำปรึกษากูรูผู้รู้ที่ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาททั้ง 2 ท่านคือ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา และ ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา รองเลขาธิการสำนักงานพระราชวัง หัวหน้าคณะทำงานขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สภาพัฒน์ฯ แล้วเห็นว่าเป็นรูปธรรม ยอมรับได้ กระทรวงมหาดไทยจึงรับเป็นตัวชี้วัดคำรับรองการ ปฏิบัติราชการ ซึ่งมีบางคนไม่ทราบเรื่องราวก็วิพากย์วิจารณ์ว่า ไม่สมควรที่จะแปรเปลี่ยนปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง ที่ว่า เดินสายกลาง พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน ด้วย 2 เงือนไข คือ เงื่อนไขความรู้ คู่กับคุณธรรม เพื่อให้เกิดความก้าวหน้าอย่างสมดุลมั่นคง และยั่งยืน ถามว่าแล้วจะ ไปบอกให้ชาวบ้านทำอะไร ทำอย่างไร ก็ตอบไม่ได้ชัดเจน แต่ถ้าไปบอกชาวบ้านทำตามตัวชี้วัด 6 X 2 แล้วถามว่ามันเกิดผลครอบคลุมทุกประเด็นของปรัชญาหรือไม่ ลองคิดดู ! เรื่ อ งที่ ส าม กลยุทธ์สร้างแรงจูงใจ สร้างศรัทธาต่อประชาชน สร้างการยอมรับจากทุก

ภาคส่ ว นและชิ ง การนำ ได้ น ำเอาประสบการณ์ โ ครงการประกวดหมู ่ บ ้ า นพั ฒ นาดี เ ด่ น ที ่ ม ี ม าแต่

ช่วงแรก ๆ ของการตั้งกรมฯ มาวิเคราะห์หาจุดเด่น จุดด้อย และพัฒนาให้เป็นโอกาส ถ้าทำอย่างเดิม ก็เหมือนเดิมซึ่งขาดความน่าเชื่อถือและความศักดิ์สิทธิ์ไปแล้ว หน่วยงานอื่น ๆ ก็ทำเช่นเดียวกับเรา แถมมี เ งิ น ก้ อ นโต ๆ เป็ น รางวั ล ยิ ่ ง ล่ อ ให้ ส ั ง คมวั ต ถุ น ิ ย มถลาบิ น เข้ า หา งานของกรมฯ ก็ จ ะยิ ่ ง ด้ อ ยค่ า ไปทุ ก วั น จึ ง ได้ นำแนวคิดเรื่องการมอบโล่รางวัล ให้กับหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ขอพระราชทานฯ โล่ รางวั ล ดังกล่าว ปรึกษากับท่านอธิบดี ดร.นิ ร ั น ดร์ จงวุ ฒ ิ เ วศย์ โดย ให้ เ หตุ ผ ลว่ า เพื ่ อ เรี ย กศรั ท ธา และสร้ า งความศั ก ดิ ์ ส ิ ท ธิ ์ ต่ อ ประชาชนกลับคืนมา พร้อมกับ * สรรค์ชัย อินหว่าง 73


คาดการณ์ ไ ว้ แ ล้ ว ่ า แผนพั ฒ นาเศรษฐกิ จ และสั ง คมแห่ ง ชาติ ฉ บั บ ที ่ 10 ซึ ่ ง จะประกาศใช้ ต ั ้ ง แต่ ปีงบประมาณ 2551 (1 ตุลาคม 2550) เป็นต้นไป จะใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขับเคลื่อน ดัง นั ้ น กรมการพั ฒนาชุมชนมีผลงานที่ชัดเจนมาตั ้ ง แต่ ป ี 2548-2549 แล้ ว ควรที ่ จ ะชิ ง การนำขอ พระราชทานรางวัลก่อนที่หน่วยงานอื่นจะตื่นตัวทำตามและว่าจะต้องหามาตรการที่เชื่อมั่นได้ว่าทำไปแล้ว จะไม่เกิดประวัติซ้ำรอย พวกเราขาดความจริงจัง ทำให้รางวัลที่พระราชทานมาขาดความศักดิ์สิทธิ์ ทำให้ ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาทฯ ดังนั้น หลังจากได้รับไฟเขียวจากนาย จึงมอบหมายให้หัวหน้ากลุ่มงาน ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพเครือข่ายชุมชน น.ส.สุมนา (แจ๋ม) สุดรัก ดำเนินการยกเรื่องภายใต้ การสนับสนุนของ ผอ.ส่วนส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพชุมชน น.ส.เพ็ญศรี เจริญสุทธิพันธ์ ส่วนสายวังก็ ประสานขอการสนับสนุนจากคุณท้าวหน่อย น.ส.สมลักษณ์ วงศ์งามขำ ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักพระราชวัง (เพื่อนร่วมรุ่น นบส. 1 รุ่นที่ 30) คุณสำเริง เอี่ยมสะอาด ผู้ช่วยผู้อำนวยการกองราชเลขานุการใน พระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ท่านผู้หญิงอารยา พิบูลย์นครินทร์) ว่า

ทรงพระราชทานโล่รางวัลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง “อยู่เย็น เป็นสุข” ให้กระทรวงหาดไทย โดยกรมการ พัฒนาชุมชน ดำเนินการคัดเลือกหมู่บ้านที่ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาดำเนินงานจนทำให้ ชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน และพระราชทานพระราชานุญาตให้จัดพิธีรับพระราชทานโล่ ให้กับหมู่บ้าน ดีเ ลิ ศ ในแต่ ล ะปี อย่างเหมาะสม และเพื่อเป็นการลดพระราชภาระ ก็ ใ ห้ จ ั ด รั บ พระราชทานโล่ ต ่ อ

พระฉายาลักษณ์ หรือพระสาทิสลักษณ์ จากนั้นก็จะทรงพระราชทานพระราชวโรกาสให้ผู้นำชุมชนเข้าเฝ้า ตามแต่จะทรงพระกรุณา ซึ่งในปี 2549 มีหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง อยู่เย็น เป็นสุข ดีเลิศ ได้รับพระราชทานรางวัล และเข้าเฝ้าจำนวน 164 หมู่บ้าน ปี 2550 ก็มีอีก 75 หมู่บ้าน ซึ่งผมเชื่อว่า ต่อจากนี้ไปทราบเท่าที ่

กรมการพัฒนาชุมชนมีความจริงจัง ต่อเนื่องสามารถสร้างความศักดิ์สิทธิ์ให้รางวัลพระราชทานนี้อย่าง ยั่ ง ยื น ก็ จ ะไม่ ม ี หน่วยงานใดขอพระราชทานรางวั ล ซ้ ำ กั บ กรมฯ อย่ า งแน่ น อน ซึ ่ ง เท่ า กั บ ว่ า เรา กรมการพัฒนาชุมชนได้ชงิ การนำในยุทธจักรเศรษฐกิจพอเพียงไปแล้ว พูดไปจะหาว่าคุยโม้ คุณสังเกตไหม ว่าวิสัยทัศน์ ของผู้บริหารกรมก้าวไกลขนาดไหน ขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงก่อนหน่วยอื่น 2 - 3 ปี ขอรั บ พระราชทานโล่ ร างวั ล หมู ่ บ ้ า น เศรษฐกิ จ พอเพี ย งอยู ่ เ ย็ น เป็ น สุ ข ก่ อ น หน่วยอื่น ซึ่งได้รับพระราชทานมาเมื่อวันที่ 26 มิ ถุ น ายน 2549 ก่ อ นที ่ ร ั ฐ บาล คณะรั ฐ ประหาร (คมช.) จะเกิดเมื่อ 19 กันยายน 2549 และพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีจะประกาศนโยบายรัฐบาล โดยใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขับเคลื่อน และก่อนประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจ 74

ประติมากร : งานพัฒนาชุ​ุมชน

ศึกษาอดีต วิเคราะห์ประสบการณ์ รังสรรค์งานชุมชน


และสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 (1 ตุลาคม 2550) ที่กำหนดวิสัยทัศน์ประเทศไทยเป็น สังคม อยู่เย็น เป็นสุข (Green and Happiness Society) สุดท้ายนี้ ขอเสนอแนะแนวทางการ ดำรงความศรัทธาเชื่อถือ และความศักดิ์สิทธิ์ ของรางวั ล พระราชทานหมู ่ บ ้ า นเศรษฐกิ จ พอเพียง อยู่เย็น เป็นสุข อย่างยั่งยืน ก็คือ ขอให้น้อง ๆ รุ่นหลังให้ความจริงจัง ต่อเนื่องในการประเมินคัดสรรหมู่บ้านดีเลิศระดับจังหวัด ในแต่ละปีและเมื่อหมู่บ้านใดได้รับรางวัลพระราชทานนี้แล้ว ก็ขอให้จัดหาที่ประดิษฐานรางวัลอย่าง สมพระเกียรติโดดเด่นจากรางวัลอื่น ๆ เพราะถือว่าเป็นรางวัลเกียรติยศที่สูงยิ่งของหมู่บ้านเป็น

สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ต้องเทิดทูน เหมือนธงชัยของหมู่บ้านและควรจำลองโล่พระราชทานขนาดใหญ่มั่นคงถาวร ไว้ที่ศูนย์กลางหรือที่ชุมนุมของประชาชนในหมู่บ้าน กับทำป้ายชื่อหมู่บ้านที่ทางเข้า - ออก หมู่บ้านว่า “บ้าน.....................หมู่บ้านรางวัลพระราชทานเศรษฐกิจพอเพียง อยู่เย็น เป็นสุข พ.ศ....................” ทั้งนี้เพื่อให้คนในชุมชนทุกรุ่นได้รับรู้และภูมิใจร่วมกันรักษาคุณงามความดีที่ได้รับสืบต่อเนื่องกัน

ไปตลอดกาลนาน นอกจากนี้ยังทำให้ผู้คนภายนอกที่มาเยือนหมู่บ้านเกิดความเลื่อมใส ศรัทธาคน หมู่บ้านตั้งแต่แรกเห็นอีกด้วย ในส่วนของกรมการพัฒนาชุมชน หมู่บ้านใดที่ได้รับรางวัลพระราชทานแล้ว ผู้นำชุมชนคนใด กลุ่มองค์กรใด และเครือข่ายองค์กรชุมชนใดที่ผ่านการประเมินได้รับประกาศนียบัตรมาตรฐานงาน ชุมชน (มชช.) แล้วให้ลงทะเบียน ถือว่าเป็นผู้ได้รับปริญญาบัตรเป็นบัณฑิตของการพัฒนาชุมชนแล้ว ถือเป็นชุมชนเข้มแข็ง ผูน้ ำชุมชน กลุม่ องค์กร เครือข่ายทีเ่ ข้มแข็ง นับความสำเร็จได้ แล้วก็ตอ้ งปลดปล่อย ให้เขาบริหารจัดการชุมชนด้วยตนเอง หน่วยงานใดจะมาต่อยอดก็เชิญ ไม่ถือเป็นเจ้าของเหมือนให้เขาได้ ศึกษาต่อปริญญาโท - เอก กับสถาบันอื่น ทั้งนี้ เราก็ถอยออกไปเป็นที่ปรึกษาให้เขา แล้วเราก็ไปสร้าง ความเข้มแข็งให้กับชุมชนอื่น หมู่บ้านอื่น คน หรือกลุ่มองค์กรเครือข่าย อื่น ๆ ต่อไป ทั้งนี้ ต้องไม่ลืม กระบวนการตามทฤษฎีไม้กระถาง และทฤษฎีคนตก ปลา ที่กล่าวไว้ ณ ตอนต้น ๆ หากสามารถสร้างพลัง ชุมชน ให้ชุมชนใช้พลังของชุมชน พัฒนาชุมชนได้ เอง ก็จะลดภาระงานของพัฒนากรลงทุกปี จนใน ที ่ สุ ด พั ฒ นากรก็ จ ะเลื ่ อ นระดั บ เป็ น ผู ้ จ ั ด การการ พัฒนา สมดุลกับอัตรากำลังที่ลดลง ตามหลักการ ปฏิรูประบบราชการ และสัมพันธ์กับความเข้มแข็ง ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เพิ่มขึ้น สรรค์ชัย อินหว่าง 75


“นักพัฒนาชุมชนที่เป็นนักสร้างสรรค์ตัวจริง จะต้องเหมือนกับประติมากรที่สามารถรัง สรรค์ปั้นแต่งชุมชนให้เข้มแข็งอย่างสมบูรณ์ ได้ผู้นำชุมชน กลุ่ม/องค์กรชุมชนและเครือข่าย องค์กรณ์ชุมชนที่เก่ง ดี มีคุณธรรม การสร้างความเข้มแข็งดังกล่าวจะต้องทำให้เนียนทุก องคาพยพ ทั้งส่วนปลีกย่อย รายละเอียดและองค์รวม”

ประติมากรรม ขึ้นชื่อเรื่องว่า ประติมากรรม คงสงสัยกันว่างานพัฒนาชุมชนไปเกี่ยวข้องอะไรกับงานศิลปะ ประติ ม ากรรม เป็ น การรั ง สรรค์ ป ั ้ น แต่ ง ให้ เ ห็ น เป็ น รู ป ร่ า งทุ ก มิ ต ิ เป็ น สุ ด ยอดของงานศิ ล ปะ นักพัฒนาชุมชนทีเ่ ป็นนักสร้างสรรค์ตวั จริง จะต้องเหมือนกับประติมากรทีส่ ามารถรังสรรค์ปน้ั แต่งชุมชนให้

เข้มแข็งอย่างสมบูรณ์ ได้ผู้นำชุมชน กลุ่ม/องค์กรชุมชนและเครือข่ายองค์กรชุมชนที่เก่ง ดี มีคุณธรรม การสร้างความเข้มแข็งดังกล่าวจะต้องทำให้เนียนทุกองคาพยพ ทั้งส่วนปลีกย่อย รายละเอียดและองค์ รวม ตลอดชีวิตของการเป็นนักพัฒนาชุมชน ก็สำนึกในเรื่องนี้ตลอด โดยเฉพาะช่วงอาสามาดำรง ตำแหน่งผู้อำนวยการกองพัฒนาอาสาสมัครและผู้นำท้องถิ่น 3 ปี กับเป็นผู้อำนวยการศูนย์ช่วยเหลือทาง วิชาการพัฒนาชุมชนเขต 2 ปี เป็นผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพชุมชน 3 ปี สิ่งที่ควร จะทำควรจะปั้นได้ทำได้ปั้นไปแล้วส่วนหนึ่ง และมีสิ่งที่ยังไม่ได้เริ่มทำอีกหลายเรื่อง สำหรับเรื่องที่ได้ปั้น ได้ทำไว้แล้ว กล่าวได้ว่ายังไม่มีเรื่องใดที่สมบูรณ์ เป็นเพียงรูปหรือหุ่นปั้นที่ขึ้นโครงไว้แล้วส่วนหนึ่ง

บางเรื่องก็ได้ปั้นแล้วเกือบสมบูรณ์เพียงต้องตกแต่งต่อเติมอีกบ้าง ที่ผ่านมาประติมากรรมทางชุมชน และสังคมเกิดขึ้นมากมาย ด้วยฝีมือของ บรรพบุรุษของชาวพัฒนาชุมชนในอดีต และนักพัฒนาชุมชน ในปัจจุบัน ทั้งทดลองปั้น เพื่อนำเสนอขอความเห็นชอบต่อผู้มีส่วนร่วม และที่ตั้งใจปั้นเพื่อให้สำเร็จ อย่างสมบูรณ์ ประติมากรรมที่อยากยกมาเป็นตัวอย่าง ดังเช่น

*กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์

76

ประติมากร : งานพัฒนาชุ​ุมชน

ศึกษาอดีต วิเคราะห์ประสบการณ์ รังสรรค์งานชุมชน


1. อาสาพัฒนา (อสพ.) กรมการพัฒนาชุมชนได้ดำเนินงานโครงการ อาสาพัฒนา (อสพ.) มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508 โดยรับสมัคร หนุ่มสาวที่สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรชั้นสูง (ปวส.) และปริญญาตรี ทุกสาขามาเป็นอาสาพัฒนา โดย มุ ่ ง ที ่ จ ะปลู ก ฝั ง จิ ต สำนึ ก สาธารณะอาสาสมั ค รไปทำงาน พัฒนาหมู่บ้าน ตำบลเป็นระยะเวลา 1 ปี โดยมีค่า ตอบแทนตามคุณวุฒิเป็นรายเดือน และเงินรางวัลเมื่อทำงานครบปีตามสัญญาอีกคนละ 5,000 บาท ถ้าลาออกก่อนกำหนด ก็จะต้องจ่ายค่าปรับมากน้อยตามช่วงเวลาที่ระบุในระเบียบและสัญญา อาสา พัฒนาเหล่านี้ทำงานเหมือนพัฒนากร เมื่อพ้นจากการเป็นอาสาพัฒนาแล้ว ใครที่รักอาชีพด้านนี้ก็สมัคร สอบบรรจุเข้ารับราชการในกรมการพัฒนาชุมชนได้ หากไปรับราชการสังกัดอื่น หรือไปประกอบอาชีพ อื่น ก็จะมีความรู้ ประสบการณ์และจิตวิญญาณอาสาสมัครติดตัวไปเป็นพื้นฐานเป็นประโยชน์ต่อหน่วย งานและประเทศชาติ เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ บางครั้ง บางช่วงที่ไม่มีการเปิดรับสอบเข้ารับราชการ อสพ. ที่มีผลงานดีแต่ไม่มีทางอื่นไปหรือยังรักงานนี้อยู่ก็สามารถขอต่อสัญญาได้เป็นปี ๆ ไป ซึ่งมีอยู่ ช่วงหนึ่งที่บางคนต่ออายุถึง 5 -6 ปี เมื่อผมมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองพัฒนาอาสาสมัครและ ผู้นำท้องถิ่น จึงได้ศึกษาและปรับปรุงงาน อสพ. ให้มีการเปลี่ยนแปลงโดยวิเคราะห์สภาพปัญหา ดังนี้ ประเด็นแรก คือ การเป็นซ้ำหลายปี ทำให้การผลิตอาสาสมัครเข้าสู่สังคมน้อยกว่าวัตถุประสงค์และงบ ประมาณที่จ่ายไปเพราะนับซ้ำอยู่ในคน ๆ เดียวหลายครั้ง โครงการก็กลายเป็นศาลาที่พักคนตกงานของ บางคนที่ไม่มีอุดมการณ์อาสาสมัคร ประเด็นที่สอง ในด้านส่วนตัวของ อสพ.เองก็เสียโอกาสในการสร้างความมั่นคงให้กับชีวิต หลงเสน่ห์ งานอาสาอยู่ในวังวนเดิม ไม่มีอนาคตที่สดใส อายุมากขึ้นก็หางานที่มั่นคงยากขึ้น ประเด็นที่สาม ด้านเศรษฐกิจ อสพ.ไม่มีรายได้หรือสวัสดิการอื่น นอกจากค่าตอบแทนรายเดือนและค่า รักษาพยาบาลซึ่งภายหลังเมื่อมีสวัสดิการบัตรทอง 30 บาท รักษาทุกโรคก็เบิกค่ารักษาพยาบาลไม่ได้ เมื่ออยู่ห่างไกลภูมิลำเนาก็มีค่าใช้จ่ายในการเดินทางกลับไปเยี่ยมภูมิลำเนาหรือครอบครัวมากขึ้น ประเด็นที่สี่ อสพ.มีโอกาสในการศึกษาต่อน้อยเพราะงานในหน้าที่เร่งรัด ปฏิบัติงานในชนบทกันดาร และไม่มีค่าใช้จ่ายเพียงพอ ดังนั้น จึงได้ร่วมกับทีมงาน ซึ่งมีคุณเพ็ญแข ศรีสุทธิกุล เป็นหัวหน้า พัฒนาโครงการใน 2 แนวทาง คือ สรรค์ชัย อินหว่าง 77


แนวทางแรก ร่วมกับสภาสถาบันราชภัฏ จัด โครงการประกาศนียบัตรบัณฑิตสำหรับ อสพ. โดยเฉพาะสถาบันราชภัฏเชียงราย อาสาสมัคร เป็นแกนกลาง ประสานงานกับสถาบันราชภัฏ ทั่วประเทศ ใช้งานของ อสพ. เป็นวิชาหลักใน การศึกษา เพื่อทำงานไปเรียนไปจบหนึ่งปีได้เพิ่ม คุณวุฒิที่สูงกว่าปริญญาตรี ซึ่งแนวทางนี้ไม่ ประสบความสำเร็ จ มากนั ก เนื ่ อ งจาก อสพ. ไม่ค่อยสนใจสมัครเรียน ส่วนใหญ่มุ่งไปหาสมัครสอบเข้าทำงานที่มั่นคงกว่า เปิดได้ 2 ปี ก็หยุด แนวทางที่สอง โครงการอาสาพัฒนา “รักบ้านเกิด” เริ่มดำเนินการในปี 2548 โดยร่วมกับมูลนิธิพัฒนา ชีวิตชนบทเครือเจริญโภคภัณฑ์ ซึ่งมีคุณสุปรี เบ้าสิงห์สวย ผู้จัดการมูลนิธิ อดีตนักวิชาการพัฒนาชุมชน กับคุณอภัยชนม์ วัชรสินธุ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่เครือเจริญโภคภัณฑ์ เป็นผู้สนับสนุนการ ฝึกอบรม กับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ซึ่งมี รศ.บำเพ็ญ เขียวหวาน และคณะ เป็นวิทยากร เน้นเรื่อง การวิจัยชุมชนแบบมีส่วนร่วม (PAR) โครงการอาสาพัฒนา รักบ้านเกิดนี้ รับสมัครหนุ่มสาวที่ เพิ่งจบปริญญาตรีทุกสาขา อายุไม่เกิน 25 ปี เข้าร่วมโครงการ ปฏิบัติงานที่บ้านเกิด ระยะเวลา 1 ปี ไม่ต่ออายุหรือรับซ้ำ มีการทำสัญญาการทำงาน และมีการติดตามประเมินผลงานตลอดโครงการนี้ ประสบความสำเร็จมาก สามารถแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้นได้เกือบสมบูรณ์ มีอยู่ครั้งหนึ่ง ในการชี้แจงงบประมาณกับคณะกรรมาธิการวิสามัญสภาผู้แทนราษฎร เมื่อ หลายปีก่อน ได้รับคำชมเชยว่าเป็นโครงการที่ดี ควรที่จะให้เป็นหลักการว่าให้ทุกส่วนราชการที่จะรับ บุคคลเข้าบรรจุเป็นข้าราชการควรรับจากผู้ผ่าน อสพ. เพราะจะได้คนที่เข้าใจชาวบ้าน ตระหนักในทุกข์ ของชาวบ้าน มีชีวิตเรียบง่าย ไม่เจ้ายศ เจ้าอย่าง จึงมีมติให้สภาพัฒน์ และสำนักงานข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) รับไปดำเนินการ แต่ก็เงียบหายจ้อยจนถึงวันนี้ ก็คิดว่าโครงการ อสพ.รักบ้านเกิดนี้ ก็ได้ปั้นได้ เสริมจากที่บรรพบุรุษก่อร่างสร้างโครงไว้ให้สวยงามได้ระดับหนึ่ง จึงขอส่งมอบให้น้อง ๆ พช. รุ่นต่อไป ได้ต่อเติมเสริมแต่งต่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ 2. อาสาพัฒนาชุมชน (อช.) และผู้นำ อช. เป็นอาสาสมัครชาวบ้าน ที่เกิดขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2512 มี ระเบียบกระทรวงไทยรองรับ เดิมมี อช. ระดับหมู่บ้าน ๆ ละ 2 คน เป็นชายหนึ่งคน หญิงหนึ่งคน เป็นอาสาสมัครอเนกประสงค์ของชุมชน กลุ่มแรกของประเทศทำงานทุกด้านที่ชุมชนต้องการไม่ม ี

ค่าตอบแทนเป็นเงิน นอกจากจะสามารถเขียนโครงการด้านอาชีพหรืออื่น ๆ ขอรับงบประมาณมา สนับสนุนได้ แต่ละตำบลก็มีการเลือก อช. ขึ้นมาเป็นผู้นำ อช. ตำบลละ 2 คน ชายหนึ่ง หญิงหนึ่ง 78

ประติมากร : งานพัฒนาชุ​ุมชน

ศึกษาอดีต วิเคราะห์ประสบการณ์ รังสรรค์งานชุมชน


มีคา่ ตอบแทนเป็นรายปีตง้ั แต่แรก ๆ ปีละ 400 บาท เพิ่มเป็น 800 บาท จนเป็น 2,000 บาท มาหลายปี จนถึงปัจจุบัน กล่าวได้ว่าโครงการ อช.นี้ ประสบ ความสำเร็ จ มากพอสมควร อช.และผู ้ น ำ อช. จำนวนไม่น้อยสามารถพัฒนาตนเอง สร้างบารมีให้ ประชาชนยอมรับ เลือกไปเป็นผู้ใหญ่บ้าน กำนัน สมาชิกสภาตำบล/องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ตลอดจนเป็นนายก อบต. แต่อย่างไรก็ตามโครงการ นี้ก็มีปัญหาต้องแก้ไข ต้องพัฒนาหลายด้าน เช่น การไม่ได้รับการยอมรับ เพราะการสรรหาลัดขั้นตอน ตามที่ระบุไว้ ในระเบียบกระทรวงมหาดไทย การไม่ได้รับการเพิ่มศักยภาพทั้งด้านความรู้และปัจจัย สนับสนุนการทำงาน ไม่มีพลังเพียงพอในการขับเคลื่อนงาน พัฒนากรส่วนใหญ่ไม่ได้คิดทำการพัฒนา ศักยภาพผู้นำชุมชน เพื่อสร้างพลังชุมชนให้อช. และผู้นำ อช. ให้เกิดภาวะผู้นำ 3 เก่ง อย่างจริงจัง เหมือน อสม. พัฒนาการอำเภอก็ไม่ได้ติดตามกวดขันอย่างจริงจัง ดังนั้น เมื่อสิ้นปีงบประมาณจึงมี ปัญหาเรื่องการจ่ายเงินค่าตอบแทน 2,000 บาท ไม่เหมาะสม เมื่อมารับผิดชอบงานนี้ จึงได้คิดปั้นเติม เสริมแต่งให้ อช. ผู้นำ อช. เป็นประติมากรรมชิ้นเอกของกรมการพัฒนาชุมชน โดยปรับปรุงระเบียบ กระทรวงมหาดไทยใหม่ กำหนดเป้าหมายไว้ว่าจะส่งเสริมและพัฒนาให้ชาวบ้านทุกคนเป็นอาสาสมัคร เพราะถ้าชาวบ้านมีจิตวิญญาอาสาสมัครมากเท่าไร การคิดพึ่งตนเองและเอื้ออาทรสังคมก็จะมีมากขึ้น เท่านั้น ปัญหาก็จะลดน้อยลง การพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งก็จะง่ายขึ้น จึงระบุจำนวน อช.ไว้ว่ามี ทุกหมู่บ้าน จำนวนไม่น้อยกว่า หมู่บ้านละ 4 คน มีสัดส่วนหญิง ชาย เท่ากัน โดยมาจากการอาสาสมัคร และประชาคมหมู่บ้านเห็นชอบ เสนอให้นายอำเภอแต่งตั้ง ส่วนผู้นำ อช. ก็มาจากเลือกกันเองของ อช.ใน ตำบลจำนวน 2 คน เหมือนเดิมเสนอให้ อบต. (ทั้งสภาและฝ่ายบริหาร) รับทราบเห็นชอบแล้วนายอำเภอ เสนอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้ง มีการเปลี่ยนแปลงระบบจ่ายค่าตอบแทน เป็นการจ่ายตามไตรมาสปี ละ 4 ครั้ง ครั้งละ 500 บาท โดยเมื่อสิ้นไตรมาสให้พัฒนาการอำเภอจัดประชุมเชิงปฏิบัติการผู้นำ อช. ทั้งอำเภอ อบรมเพิ่มความรู้ให้ แล้วให้ทุกคนแถลงผลงานในรอบ 3 เดือน ที่ผ่านมาและเสนอแผน งานที่จะทำในรอบ 3 เดือนถัดไปให้ที่ประชุมรับ ทราบ รับรองเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แล้วถึง จ่ายค่าตอบแทนให้ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นให้ผู้นำ อช. ทำงานตลอดปี ในขณะเดียวกันก็เป็นการแก้ เกมความรู้สึกที่ว่า อสม. ประชุมได้เบี้ยประชุม เดือนละ 50 บาท ปีละ 600 บาท แต่การทำวิธี การนี้จะทำให้พวกเขารู้สึกได้ว่า ผู้นำอช. ประชุม ได้เบี้ยประชุมครั้งละ 500 บาท ปีละ 2,000 บาท สรรค์ชัย อินหว่าง 79


ถึงแม้จะเป็นความคิดวิธีการหนักทางวัตถุนิยม แต่ก็ต้องใช้หลักการหนามยอกต้องเอาหนามบ่ง นะครับ จึงขอฝากอาสาสมัครกลุ่มนี้ (อช. และ ผู้นำอช.) ให้น้อง ๆ ได้ปั้นแต่งให้งดงามสมบูรณ์ ต่ อ ไป ซึ ่ ง จะต้ อ งส่ ง เสริ ม ให้ เ ป็ น หั ว หน้ า คุ ้ ม / กลุ่มบ้าน กรรมการหมู่บ้าน ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้อง ถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น ต่อไป ในด้านการสร้างเครือข่าย อช./ผู้นำ อช. ได้มีการส่งเสริมให้มีการรวมตัวกันเป็นชมรม อาสาพัฒนาชุมชนอำเภอ จังหวัด และเขต ชมรมอาสาพัฒนาชุมชนภาคตะวันออก (ศพช.เขต 2) เป็น ชมรมที่ตั้งก่อนในสมัยท่านรองอธิบดี กุศล บุณยมาลิก เป็นผู้อำนวยการ ศพช.เขต 2 มีการรวมตัวกัน อย่างเหนียวแน่น มีกิจกรรมตลอด บริหารจัดการกันเองอย่างเข้มแข็ง สมัยผมเป็นผู้อำนวยการ กองพัฒนาอาสาสมัครและผู้นำท้องถิ่น ได้ส่งเสริมให้ทุกจังหวัด ทุก ศพช.เขต มีชมรมอาสาพัฒนาชุมชน จากนั้น ก็ให้ยกระดับเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย คือจดทะเบียนเป็นสมาคมระดับประเทศคือสมาคม ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนไทย เมื่อวันที่ 30 เดือนกันยายน พ.ศ. 2542 ใช้ศูนย์ฝึกอบรมการพัฒนาชุมชน เลขที่ 88 บ้านสวนหงส์ หมู่ที่ 2 ตำบลสาริกา อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครนายก เป็นที่ตั้งสำนักงานถาวร ด้วยคาดหมายว่าในอนาคตจะมีการปฏิรูประบบราชการ มีการกระจายอำนาจ มีการปรับปรุงวิธีการ งบประมาณ ให้สามารถสนับสนุนองค์กรชุมชนได้โดยตรง ดังนัน้ จึงเตรียมความพร้อมไว้กอ่ น คณกรรมการ สมาคมฯ ชุดแรก มีนายวีระ เทียมถวิล จากจังหวัดจันทบุรี เป็นนายกสมาคม นายพัฒนา ถวิลคำ จากจังหวัดนครราชสีมา เป็นเลขาธิการ นางอัมพร ตรีลพ จากจังหวัดพิษณุโลก เป็นเหรัญญิก อยู่

ครบวาระ 4 ปี (พ.ศ. 2542 - 2546) คณะกรรมการสมาคมฯ ชุดที่ 2 ปี 2546 - 2550 มีนายประชุม เสือใจ จากจังหวัดกาญจนบุรี เป็นนายก นางอารีรัตน์ ไทยด้วง จากจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นเลขานุการ คณะกรรมการชุดที่ 3 ปี 2551 - 2554 มี นายสุรชัย ฉัตรภิญญาคุปต์จากจังหวัดราชบุรี เป็นนายกสมาคม นางอุมาภรณ์ ประชาชัย จากจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นเลขานุการ และเพื่อสะดวกในการทำงานจึงให้มี สำนักงานติดต่อชั่วคราว ซึ่งคณะกรรมการสมาคมแต่ละชุดจะกำหนด ต่อมาเมือ่ มีการประกาศใช้พระราชบัญญัตแิ ผนขัน้ ตอนการกระจายอำนาจ ปี 2542 และคาดหมาย ว่าจะมีการตั้งงบประมาณประจำปีในระดับจังหวัด ประกอบกับการการขับเคลื่อนกิจกรรมต่าง ๆ ของ สมาคมระดับประเทศทำได้ยาก และมีค่าใช้จ่ายสูง ใช้เวลามากจึงปรับตัว ให้มีการตั้งสมาคมผู้นำอาสา พัฒนาชุมชนไทยระดับเขตและจังหวัด เพื่อจะได้เป็นองค์กรนิติบุคคลที่สามารถเชื่อมต่อขอรับการ สนับสนุนงบประมาณและอื่นๆ จากผู้ว่าราชการจังหวัด และองค์การบริหารส่วนจังหวัดหรือเทศบาลหรือ อบต. ได้สะดวก ส่วนสมาคมระดับประเทศ กำหนดภารกิจให้เป็นองค์กรประสานงาน กำหนดนโยบาย ทิศทางการทำงาน และเชื่อมต่อกับภาคีการพัฒนาทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน หรือองค์การระหว่างประเทศ เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนงานของสมาคมในระดับเขต จังหวัด 80

ประติมากร : งานพัฒนาชุ​ุมชน

ศึกษาอดีต วิเคราะห์ประสบการณ์ รังสรรค์งานชุมชน


ประติมากรรมชิ้นนี้ยังต้องการการตกแต่งให้สมบูรณ์ต่อไป โดยเฉพาะการเสริมสร้างศักยภาพ ให้คณะกรรมการสมาคมมี 3 เก่ง คือ เก่งวางแผน เก่งการเขียนและเสนอโครงการ และเก่งบริหาร จัดการฝากน้อง ๆ ทำต่อนะครับ 3. กองทุนส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพชุมชน ปี 2542 ขณะดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองพัฒนาอาสาสมัครและผู้นำท้องถิ่น เมื่อชำระ สะสางงานเข้าที่แล้ว ค้นพบว่า กรมฯ มีโครงการต่าง ๆ ที่เคยได้รับความช่วยเหลือจากต่างประเทศหลาย โครงการ ส่วนใหญ่เป็นโครงการพัฒนากลุ่มคน แยกตามเพศ ตามวัย และโครงการเหล่านั้นสิ้นสุด

มานานแล้ว มีเงินคงเหลือค้างตามบัญชีต่าง ๆ ไว้จำนวนไม่น้อย ทั้งเงินที่ได้จากอัตราแลกเปลี่ยนและ ดอกเบี้ย ดังนั้นจึงได้ตั้งกองทุนตามที่มาของเงินขึ้น เช่น กองทุนส่งเสริมอาชีพเยาวชน กองทุน

สิ่งแวดล้อม (ของ อช.) ฯลฯ เพื่อนำมาส่งเสริมกิจกรรมของกลุ่มองค์กรต่าง ๆ โดยในครั้งแรกได้จัดการ เงินกองทุนสิ่งแวดล้อม ซึ่งรวบรวมได้ประมาณ 1,400,000 บาท ให้ชมรมอาสาพัฒนาชุมชนเขต ยืมไป ลงทุนเป็นทุนหมุนเวียน เขตละ 100,000 บาท ส่งเงินต้นคืนภายใน 2 ปี ปรากฏผลว่าบางเขตได้ผลดี บางเขตมีปัญหาเพราะขาดความสามารถในการบริหารจัดการ ซึ่งก็เป็นบทเรียนบทหนึ่งว่า ถ้าเจ้าหน้าที่ แทรกแซงมาก ผู้นำองค์กรก็ขาดความเชื่อมั่น หรือถ้าเจ้าหน้าที่ปล่อยปละละเลยมาก ผู้นำองค์กรก็

ขาดทิศทาง ขาดความรู้ในการบริหารจัดการ ดังนั้น ต้องรักษาสมดุลให้ดี ดำเนินการตามทฤษฎี

การพัฒนาที่เรียกว่า ทฤษฎีไม้กระถาง กับทฤษฎีคนตกปลา ให้เหมาะสม เมื่อดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 2 ในปี 2544 2546 ก็ได้ติดตามศึกษา ทำการวิจัยและพัฒนาเรื่อง การบูรณาการกองทุน โดยมีหัวหน้าทีมคือ คุณจันทนี ศรีจารุพฤกษ์ (หลิมเจริญ) พัฒนาการจังหวัดระยอง ขณะดำรงตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มงาน ส่งเสริมและพัฒนา ศพช.เขต 2 มีพื้นที่ศึกษาที่ตำบลป่ายุบใน อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง กับที่ ตำบลหาญทราย อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ได้ความรู้มาอย่างหนึ่งว่า ควรรวมกองทุนย่อย หลาย ๆ กองทุน ในชุมชน ให้เป็นกองทุนเดียว ถึงจะมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ เทคนิคการ รวมต้ อ งใช้ ม ติ เ วที ป ระชาคม ดังนั้น เมื่อกลับมาเป็นผู้อำนวย การสำนั ก ส่ ง เสริ ม และพั ฒ นา ศักยภาพชุมชน จึงได้เอาความรู้ ดังกล่าวมาวิเคราะห์กองทุนต่าง ๆ ที่ตั้งไว้ และมารวมอยู่ในสำนัก ส่ ง เสริ ม และพั ฒ นาศั ก ยภาพ ชุมชน ภายหลังการปฏิรูประบบ ราชการ กองพั ฒ นาสตรี เ ด็ ก สรรค์ชัย อินหว่าง 81


และเยาวชน โอนไปอยู่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์แล้ว คนไป งานไป แต่ กองทุนยังอยู่ ดังนั้น จึงตัดสินใจขอความเห็นชอบจากท่านอธิบดีชัยสิทธิ์ โหตระกิตย์ บูรณาการกองทุน โดยเอาเงินกองทุนสิ่งแวดล้อม (อช.) กองทุนพัฒนาและส่งเสริมอาชีพสตรี กองทุนพัฒนาและสิ่งเสริม อาชีพเยาวชน ฯลฯ มารวมกันตั้งเป็น กองทุนส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพชุมชน ได้เงินประเดิมและเงิน หาเพิ่มรวมแล้ว 7,750,000 บาท มีระเบียบกรมฯ รองรับ ให้สามารถนำไปลงทุนตราสารของรัฐบาลหรือ สหกรณ์เพื่อหากำไรมาใช้จ่ายในการพัฒนาศักยภาพขององค์กรชุมชนต่าง ๆ ที่กรมรับผิดชอบอยู่ ดังนั้น จึงนำเงินไปลงทุนซือ้ ตราสารของสหกรณ์ออมทรัพย์กรมการพัฒนาชุมชน (สอ.พช.) จำนวน 7,000,000 บาท (เจ็ดล้านบาทถ้วน) ส่วนอีก 750,000 บาท (เจ็ดแสนห้าหมื่นบาทถ้วน) รวมทั้งดอกเบี้ยและผลประโยชน์ ที่ได้จากการลงทุน ฝากไว้ในบัญชีออมทรัพย์ เพื่อสำรองไว้จ่ายในงานส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพชุมชน นี่เป็นประติมากรรม อีกชิ้นหนึ่งที่อยากฝากให้น้อง ๆ ได้ต่อเติมเสริมแต่งให้งดงามต่อไป 4. สมาคมผู้นำสตรีพัฒนาชุมชนไทย การพัฒนาสตรีก็เริ่มด้วยการมีสตรีอาสาในระดับ หมู่บ้าน มีองค์กรที่เรียกว่าคณะกรรมการพัฒนาสตรีระดับหมู่บ้าน (กพส.ม.) คณะกรรมการพัฒนาสตรีระดับตำบล (กสพ.ต.) คณะ กรรมการพัฒนาสตรีระดับอำเภอ (กพส.อ.) และคณะกรรมการ พั ฒ นาสตรี ร ะดั บ จั ง หวั ด (กพส.จ.) โดยมี ร ะเบี ย บกระทรวง มหาดไทย ว่าด้วยคณะกรรมการพัฒนาสตรี พ.ศ. 2538 รองรับ ต่อมาในปี 2540 ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ชื่อว่า สมาคมผู้นำ สตรีพัฒนาชุมชนไทย มีนางเตือนใจ บุรพรัตน์ จากจังหวัดพิจิตร เป็นนายกสมาคมคนแรก และเป็น ติดต่อกันมาถึงปัจจุบันเป็นสมัยที่ 4 สมาคมผู้นำสตรีพัฒนาชุมชนไทยถือว่าเป็นองค์กรที่แข็งแกร่งที่สุด ของกรม สามารถขับเคลื่อนงานด้วยตนเอง มีการประชุมสม่ำเสมอ ในปี 2546 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระราชทานให้วันที่ 1 สิงหาคม ของทุกปี เป็นวันสตรีไทย ตามที่กระทรวง มหาดไทยโดยกรมการพัฒนาชุมชนขอพระราชทาน ทั้งนี้ โดยคุณวรลักษณ์ มนัสเอื้อศิริ ผู้อำนวยการ ศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 2 ขณะดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการส่วนส่งเสริมและพัฒนา ศักยภาพชุมชน เป็นหัวเรี่ยวหัวแรง และกรมการพัฒนาชุมชนร่วมกับสมาคมผู้นำสตรีพัฒนาชุมชน ไทย ได้จัดงานวันสตรีไทยครั้งแรก ณ สวนอัมพร พระราชวังดุสิต กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 1 สิงหาคม 2546 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธาน ยังความ ปลาบปลื้มและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณต่อกรมฯ และสมาชิกพร้อมคณะกรรมการสมาคมผู้นำสตรี พัฒนาชุมชนไทยทุกคน จนถึงปัจจุบัน จากการปฏิรูประบบราชการเมื่อปี 2545 กองพัฒนาสตรีเด็กและเยาวชน ได้ถูกโอนไปอยู่ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ข้าราชการของกรมการพัฒนาชุมชน นำโดย 82

ประติมากร : งานพัฒนาชุ​ุมชน

ศึกษาอดีต วิเคราะห์ประสบการณ์ รังสรรค์งานชุมชน


นางกิ่งแก้ว อินหว่าง ผู้อำนวยการกองพัฒนาสตรี กับข้าราชการจำนวน 60 กว่าชีวิต ก็ต้องโอนไป ตามงานด้วย ทำให้ข้าราชการกรมการพัฒนาชุมชนในภูมิภาคเข้าใจว่างานพัฒนาสตรีเด็ก และเยาวชน ทั้งหมด กรมการพัฒนาชุมชนไม่ต้องทำแล้ว เวลาผู้นำสตรีไปติดต่อขอคำปรึกษาหรือการสนับสนุนการ ทำงานของ กพส.จ./กพส.อ./กพส.ต./กพส.ม./ บางส่วนก็ปฏิเสธว่าตนเองไม่ได้รับผิดชอบแล้ว ให้ไป ติดต่อกับพัฒนาสังคมและสวัสดิการจังหวัด ซึง่ สร้างความปัน่ ป่วนให้กบั คณะกรรมการพัฒนาสตรีไม่นอ้ ย กรมฯ ต้องทำความเข้าใจว่า พันธกิจตามยุทธศาสตร์ของกรมการพัฒนาชุมชนที่ว่า กรมฯ มีหน้าที่พัฒนา ผู้นำชุมชน กลุ่ม/องค์กร และเครือข่ายองค์กรชุมชนอยู่ ดังนั้นการทำงานในส่วนภูมิภาคยังเหมือนเดิม งานที่โอนไปสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ มนุษย์ เป็นงานทางด้านนโยบายการพัฒนาสตรี และการสนับสนุนกิจกรรมของสตรีเท่านั้น กรมการ พัฒนาชุมชนยังคงมีหน้าที่พัฒนาศักยภาพผู้นำและองค์กรเครือข่ายสตรีอยู่ ขอย้ำว่าเราไม่ได้มุ่งที่การทำ กิจกรรม แต่เรามุ่งที่จะใช้กิจกรรมสอน/ฝึก การบริหารจัดการให้กับผู้นำสตรีมีความเก่ง ขอทำความ เข้าใจตามนี้นะครับ เมื่อมี พรบ.กระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและมีงบประมาณตามยุทธศาสตร์ จังหวัด ในฐานะผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพชุมชน จึงปรับกลยุทธ์สนับสนุนให้มีการ จัดตั้งสมาคมผู้นำสตรีพัฒนาชุมชนไทย ระดับจังหวัดและเขต เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการเสนอ แผนงานขององค์กร เข้าสู่แผนชุมชนและแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับ กับ แผนยุ ท ธศาสตร์ ข องจั ง หวั ด ส่ ว นสมาคมผู ้ น ำสตรี พ ั ฒ นาชุ ม ชนไทยส่ ว นกลางที ่ เ ป็ น สมาคมแม่ ก็ทำหน้าที่ด้านการกำหนดนโยบาย แนวทางการทำงานขององค์กรสตรีระดับต่าง ๆ รวมทั้งเป็นศูนย์ ประสานงานกับภาครัฐ ภาคเอกชน หรือองค์การระหว่างประเทศ เช่นเดียวกับสมาคมผู้นำอาสาพัฒนา ชุมชนไทย น้อง ๆ นักพัฒนาชุมชนที่รักครับ สมาคมผู้นำสตรีพัฒนาชุมชนไทยและองค์กรพัฒนาสตรี

ทุกระดับ เป็นประติมากรรมที่น่าปั้นเสริมเติมแต่งให้อลังการได้อย่างไม่จำกัด สามารถสร้างพลังชุมชนได้ อย่างไม่สิ้นสุด ขอเชิญน้อง ๆ ปั้นต่อนะครับ. 5. โครงการพัฒนาผู้นำแห่งอนาคตเพื่อการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น ในการพัฒนาเยาวชน กรมการพัฒนาชุมชนได้กำหนดเป้าหมายเน้นไปที่เยาวชนนอก ระบบโรงเรียน คือจบการศึกษาภาคบังคับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 แล้ว ไม่ได้เรียนต่อ เพื่อพัฒนา ศักยภาพและสร้างจิตสำนึกการเป็นพลเมืองดี รักท้องถิ่นของตนเอง มีจิตใจอาสาสมัครกำหนดช่วง อายุระหว่าง 15 -25 ปี โดยส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มเยาวชน จัดค่ายเยาวชน จัดตั้งคณะกรรมการ พัฒนาเยาวชนระดับหมู่บ้าน (กยม.) ระดับตำบล(กยต.) มีศูนย์เยาวชนตำบลเป็นศูนย์กลางในการ บริหารและประสานงานของเยาวชน มีการฝึกอบรมและส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตรและอาชีพทางเลือก มีอยู่ช่วงหนึ่งประมาณปี 2520 - 2525 ได้รับความช่วยเหลือจากองค์การเยาวชนนานาชาติ (IHAPP) สรรค์ชัย อินหว่าง 83


ในด้ า นวิ ช าการและเงิ น ทุ น งานพั ฒ นาเยาวชนเป็ น กอง ภายในของกรมฯ มาตลอด ถึงกระนั้นก็ตามได้ทำงานเป็นที่ ยอมรับอย่างกว้างขวาง และได้ รั บ พระมหากรุ ณ าธิ คุ ณ จาก พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ ห ั ว พระราชทานตรา “พนย.เยาวชน คืออนาคตของชาติ” สำหรับติด กระเป๋าเสื้อสีฟ้า ด้านซ้ายและทำ เข็มกลัดเครื่องหมาย พร้อมพระราชทานธงประจำศูนย์เยาวชนตำบล ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร เป็นองค์ประธานพระราชทานธงประจำศูนย์เยาวชน ตำบลดีเด่นทุกปี ๆ ละ 300 -500 ตำบล ใช้เวลาถึง 24 ปี จึงมีธงพระราชทานครบ 6,965 ตำบล ในด้านการแลกเปลี่ยนเยาวชนกับต่างประเทศ กรมฯ มีโครงการแลกเปลี่ยนเยาวชนกับ ประเทศแคนาดา โดยองค์การ CWY ซึ่งดำเนินการมาถึง 22 ปี กับประเทศสวีเดน โดยองค์การ CIU ดำเนินการจึงถึงปัจจุบันเป็นปีที่ 15 กับประเทศอังกฤษโดยองค์การ UST ดำเนินการได้เพียง 6 ปี ก็ยุติ เช่นเดียวกับประเทศสิงคโปร์ และกลุ่มประเทศอาเซียน ก็ดำเนินการได้เพียง 2-3 ปีก็ยุติ เพราะเป็นภาระกับงบประมาณของประเทศไทย เมื่อมีการปฏิรูปราชการงานพัฒนาเยาวชนถูกโอนไปอยู่ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ศูนย์เยาวชนตำบลถูกถ่ายโอนไปให้องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น กรมการพัฒนาชุมชนจึงไม่สามารถตั้งงบประมาณประจำปีสนับสนุนการพัฒนา เยาวชนได้ แต่ว่าพันธกิจ/ภารกิจ ที่จะต้องพัฒนาผู้นำกลุ่มองค์กรและเครือข่ายของเยาวชนอยู่ อีกทั้ง องค์กรเยาวชนต่างประเทศโดยเฉพาะ CIU ประเทศสวีเดนยังต้องการทำงานร่วมกับกรมการพัฒนา ชุมชนอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น จึงต้องหาทางออกด้านงบประมาณ ในที่สุดก็ลงตัวที่ทำเป็นโครงการของกลุ่ม ภารกิจด้านพัฒนาชุมชน และส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ภายใต้ชื่อ “โครงการ พัฒนาผู้นำแห่งอนาคตเพื่อการพัฒนาชุมชน” ซึ่งอธิบดีของทั้ง 2 กรม เป็นผู้เสนอโครงการ ซึ่งท่าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายโภคิน พลกุล) อนุมัติโดยมีหลักการว่าจะดำเนินการพัฒนา เยาวชนที่มีจิตใจอาสาสมัครรักท้องถิ่น ให้เป็นผู้นำท้องถิ่นในอนาคตร่วมกับองค์การเยาวชนต่างประเทศ โดยเปิดรับสมัครองค์การบริหารส่วนจังหวัดเข้าร่วมโครงการจับคู่เป็นเมืองคู่แฝดหรือเมืองคู่พันธสัญญา กับเมืองต่าง ๆ ในประเทศแคนาดา และสวีเดนที่เข้าร่วมโครงการซึ่งได้แบ่งหน้าที่กันรับผิดชอบ ดังนี้ 1. กรมการพัฒนาชุมชน เป็นผู้บริหารโครงการ 2. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นผู้ออกนโยบายและแนวทางให้องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นเข้าร่วมโครงการได้ 84

ประติมากร : งานพัฒนาชุ​ุมชน

ศึกษาอดีต วิเคราะห์ประสบการณ์ รังสรรค์งานชุมชน


3. องค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นท้ อ งถิ ่ น โดยขั ้ น ต้ น นี ้ ใ ห้ อ งค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นจั ง หวั ด สมั ค ร เข้าร่วมโครงการ สนับสนุนงบประมาณที่ต้องใช้ดำเนินการภาคประเทศไทย ระยะเวลา 3 เดือน คัดเลือกเยาวชนในท้องถิ่นเข้าร่วมโครงการ ร่วมคัดเลือกครอบครัวรับรอง ชุมชนรับรองภาคประเทศไทย ร่วมดำเนินการกิจกรรมตามโครงการภาคประเทศไทย สุดท้ายคือ การสนับสนุนและใช้ประโยชน์จากเยาวชนที่ผ่านโครงการกลับมาให้เกิด ประโยชน์กับท้องถิ่น 4. องค์การเยาวชนต่างประเทศ เป็นผู้คัดเลือกเยาวชนประเทศของตนเข้าร่วมโครงการ จัดครอบครัวรับรองและชุมชนรับรอง พร้อมสนับสนุนค่าเดินทางพาหนะเครื่องบิน และค่าใช้จ่าย ภาคต่างประเทศระยะเวลา 3 เดือน โครงการนี้ ดำเนินการมาแล้ว 5 ปี ตั้งแต่ผมเป็นผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ ชุมชน ในปี 2546 ผู้ที่มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนงานคือ คุณพรรณศิริ โจนส์ หัวหน้ากลุ่มงาน พัฒนาผู้นำ และผู้อำนวยการส่วนส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพชุมชน คุณเพ็ญศรี เจริญสุทธิพันธ์ คุณดำรง ใจยศ คุณนิมิต งามละม่อม คุณขนิษฐา ปิ่นกระจ่าย และนักวิชาการพัฒนาชุมชน ผู้นำกลุ่มทุกรุ่น องค์การบริหาร ส่ ว นจั ง หวั ด ที ่ เ ข้ า ร่ ว มโครงการได้ แ ก่ ชลบุ ร ี 3 รุ ่ น สุราษฎร์ธานี กับนครศรีธรรมราช จังหวัด ละ 2 รุ่น บุรีรัมย์ ปราจีนบุรี นนทบุรี และปทุมธานี จังหวัดละ 1 รุ่น มีเยาวชน ผ่านโครงการแล้วหลายร้อยคน ผลประโยชน์มหาศาลที่เกิดขึ้น ก็คือ 1. ตัวเยาวชนมีศักยภาพสูงขึ้น ทั้งภาวะผู้นำ ภาษาต่างประเทศ มีเพื่อนและเครือข่ายทั้งใน ประเทศและต่างประเทศ ทำให้มีงานทำ มีการติดต่อค้าขายผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) เกิดขึ้น เยาวชนมีความเชื่อมั่นในการที่จะเป็นผู้นำท้องถิ่นในอนาคต 2. มีความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวเยาวชน ครอบครัวรับรอง ทัง้ ในประเทศ และต่างประเทศ 3. มีความสัมพันธ์ระหว่างชุมชน และองค์การบริหารส่วนจังหวัด กับเมืองคู่แฝดต่าง ประเทศเกิดขึ้น 4. ความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งประเทศไทย กั บ ประเทศผู ้ เ ข้ า ร่ ว มโครงการ (CANADA& SWEDEN)มีความเน่นแฟ้นยิ่งขึ้น 5. เกิดการบูรณาการ การทำงานของกลุ่มภารกิจด้านพัฒนาชุมชน และส่งเสริมการปกครอง ท้องถิ่น ด้วยการมีโครงการร่วมกัน ผนึกกำลังและทรัพยากรมาทำงานต่อชุมชน ประติมากรรมชิ้นนี้ ก็เป็นอีกชิ้นหนึ่ง ที่นำเสนอต่อน้อง ๆ ได้สร้างเสริมเติมแต่งต่อไป ขอเรียนว่าการทำงานบูรณาการกับภาคีอื่น ๆ นั้นเป็นเรื่องยาก แต่ก็เป็นเรื่องท้าทายความสามารถ และสนุกมาก ๆ สรรค์ชัย อินหว่าง 85


6. โครงการพัฒนาภาวะผู้นำชุมชนระหว่างประเทศ เมื ่ อ มี ก ารปฏิ รู ป ระบบราชการในปี 2545 งานพั ฒ นาสตรี ไ ด้ ถ ่ า ยโอนไปกระทรวง การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โครงการแลกเปลี่ยนผู้นำสตรีไทย - อเมริกัน กับ มหาวิทยาลัยมิสซูรี สหรัฐอเมริกา ที่ดำเนินการมาตั้งแต่สมัยท่านเดือนเพ็ญ สังขฤกษ์ เป็นผู้อำนวยการ กองพัฒนาสตรี ก็สะดุดหยุดลง ในปี 2546 - 2547 ผมคิดว่าโครงการนี้เป็นประโยชน์ ควรทำต่อใน รูปแบบที่เป็นการพัฒนาผู้นำชุมชน จึงได้ปรึกษากับทีมงาน ยกร่างโครงการพัฒนาภาวะผู้นำชุมชนระหว่างประเทศขึ้น โดยใช้โครงการเดิมเป็นฐาน กลุ่มเป้าหมายนอกจากผู้นำสตรี แล้ว ก็เป็นผู้นำองค์กรจากสมาคมผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนไทย สมาคมกลุ ่ ม ออมทรั พ ย์ เ พื ่ อ การผลิ ต สมาคมผู ้ น ำอาชี พ ก้าวหน้า (สิงห์ทอง) และมูลนิธิร่มเกล้าเยาวชน ไปเจรจากับ

ผู้บริหารมหาวิทยาลัยมิสซูรี่โดย Dr.Sandra Hodge กับ คุณพรรณศิริ โจนส์ เป็นผู้ประสานงานหลัก เป็นที่ตกลงกันว่าจะดำเนินการโครงการแลกเปลี่ยนผู้นำ ชุมชนทั้งสองประเทศ โดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ด้าน “การลดความขัดแย้งใน ชุมชน” นอกเหนือจากการแลกเปลี่ยนด้านวัฒนธรรม ความรู้ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและอื่น ๆ มีข้อตกลงว่าจะร่วมกันลงขันเรื่องงบประมาณ เมื่อผู้นำไทยไปศึกษาดูงานในสหรัฐอเมริกา ค่าเครื่องบิน อเมริกาออกให้ ส่วนเมื่อผู้นำชุมชนอเมริกามาเยือนเมืองไทย เขาจะออกค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด ดังนั้นในปี 2547 ผมจึงนำผู้นำชุมชนไทยจำนวน 16 คน ไปศึกษาดูงานที่รัฐมีสซูรี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา พวกเราได้ รับการต้อนรับจากผู้ว่าการรัฐ เลี้ยงรับรองที่ทำเนียบผู้ว่าการรัฐที่เมือง เจฟเฟอร์สัน อย่างหรูหรา และ เดินทางไปศึกษาดูงานด้านการพัฒนาชุมชน และการจัดการกับความขัดแย้งหลายเมือง เช่น St.Louis, Columbia, Jefferson, Kansas city ฯลฯ และในปี 2548 ผู้นำชุมชนของอเมริกากว่า 20 คน ก็มา ศึกษาดูงานที่ประเทศไทย เราก็พาไปศึกษาดูงานที่สถาบันพระปกเกล้า ด้านการขจัดความขัดแย้ง

ในชุมชน (ศึกสามน้ำ : น้ำจืด : น้ำกร่อย : น้ำเค็ม) ที่บ้านแพรกหนามแดง อำเภอเมืองฯ จังหวัด สมุทรสงคราม ด้านการพัฒนาชุมชนที่จังหวัดลำปาง จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดเพชรบุรี พักค้างคืนกับ ครอบครัวรับรองในหมู่บ้าน เช่นเดียวกับที่ผู้นำชุมชนไทยไปพักค้างคืนกับครอบครัวรับรองที่อเมริกา ล่อภาษาใบ้สื่อสารกันเกือบตาย มันมาก ๆ ประติมากรรมนี้ ยังตั้งใจจะทำต่อ ถ้าหาภาคีการพัฒนาได้เช่นเดียวกับโครงการพัฒนาผู้นำ แห่งอนาคต (เยาวชน) เชื่อว่าขายไอเดียโครงการนี้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กับองค์การพัฒนา ระหว่างประเทศได้ สนใจก็ปั้นต่อนะครับ มีประติมากรรมอีกหลายเรื่องที่อยากจะบอกต่อ แต่เดี๋ยวบรรณาธิการจะปิดเล่มไม่ลง ดังนั้น ขอยกยอดไปเขียนหลังเกษียณอายุราชการนะครับ สวัสดี 86

ประติมากร : งานพัฒนาชุ​ุมชน

ศึกษาอดีต วิเคราะห์ประสบการณ์ รังสรรค์งานชุมชน


ฝากไว้...ใน พ.ช. ไปเก็บนาย...ที่เมืองนอก พช. ปฏิวัติ

สรรค์ชัย อินหว่าง 87


“กลับมาถึงบ้าน ถึงกรม ก็ยังอัศจรรย์ ใจว่าเราทำได้อย่างไร นึกทึ่งกับสิ่งที่ทำไป ไม่ ได้ หวังผลอะไรกับตนเอง ทำได้ด้วยพลังฮึดที่มองไม่เห็น เหมือนคนแบกตุ่มน้ำ แบกตู้เย็นหนี ไฟ ภูมิ ใจที่นายเห็นความสามารถและใช้เรา”

ไปเก็บนาย...ที่เมืองนอก เหตุเกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2531 ในสมัยท่านอธิบดี ศั ก ดา อ้ อ พงษ์ ซึ ่ ง มารั บ ตำแหน่ ง อธิ บ ดี ก รมการพั ฒ นาชุ ม ชน โดยย้ายมาจากผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2531 ขณะที ่ ผ มเดิ น ทางไปตรวจราชการโครงการอี ส านเขี ย ว กั บ คณะของพั น เอกพิ ช ิ ต ยุ ว ะนิ ย ม โดยรถยนต์ ข อง กอ.รมน. ซึ่งส่วนใหญ่คณะตรวจเยี่ยมจะแวะตามค่ายทหารเมื่อเดินทางไปถึง ค่ายสีวะรา จังหวัดสกลนคร ก็ได้รับแจ้งว่า ให้ไปรอรับโทรศัพท์

ทางไกลจากต่างประเทศ ที่สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสกลนคร ซึ่งขณะนั้นเป็นเวลาบ่ายของวันที่ 22 พฤศจิกายน 2531 ก็ได้รับโทรศัพท์จากประเทศเกาหลี ผู้พูดคือ ดร.สุรพล กาญจนะจิตรา ผู้อำนวยการกองวิจัยและประเมินผล ซึ่งนำคณะผู้บริหารโครงการพัฒนา ทุ่งกุลาร้องไห้ (ไทย-ออสเตรเลีย) จำนวน 8 คน ไปศึกษาดูงานที่ประเทศเกาหลีใต้ ประกอบด้วย 1. นายศักดา อ้อพงษ์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน 2. นายเกษม นาครัตน์ รองอธิบดี 3. นายประพันธ์ รัตนนิตย์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาชุมชนเขตที่ 4 จ.อุดรธานี 4. นายปริวุฒิ ทรรศนะสฤษดิ์ พัฒนาการจังหวัดขอนแก่น 5. นายบุญล้อม สาระมาน พัฒนาการจังหวัดร้อยเอ็ด 6. นายอิทธิพล ชะเนติยัง พัฒนาการจังหวัดสุรินทร์ 7. ดร.สุรพล กาญจนะจิตรา ผู้อำนวยการกองวิจัยและประเมินผล 8. นายศรัณย์ เชื้อเล็ก พัฒนากรผู้ประสานงานโครงการพัฒนาทุ่งกุลาร้องไห้ ฝ่ายพัฒนาชุมชน 88

ประติมากร : งานพัฒนาชุ​ุมชน

ศึกษาอดีต วิเคราะห์ประสบการณ์ รังสรรค์งานชุมชน


ข้ อ ความที ่ ส ั ่ ง มาทางโทรศั พ ท์ ระบุ ว ่ า ทางการ ออสเตรเลีย ไม่อนุมัติให้คณะผู้บริหารโครงการฯ ทั้งหมด ไปศึกษาดูงานที่ฮ่องกง และจีน ในวันที่ 26-29 พฤศจิกายน 2531 เพื่อรักษาเครดิตของกรมฯ ต่ออธิบดีฯ ใหม่ ขอให้ สรรค์ชัยไปจัดการทุกอย่างตามกำหนดเดิม ผมก็ตอบไปว่า ผมไม่ใช่หัวหน้าฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ หน้าที่นี้ควรจะเป็นคุณยาใจ (ยาใจ ศรีวิโรจน์) เพราะผมเป็นนักเรียนบ้านนอก ไม่ใช่นักเรียนนอก คงทำอะไรได้ไม่เรียบร้อยนัก ก็ได้ รับคำตอบว่าอย่างเถียง..! ให้ไปจัดการ ไม่ได้ให้ไปแปลภาษา ผมจึงแยกทางกับคณะพันเอกพิชิตฯ นั่งรถ โดยสารกลับกรุงเทพฯ ในคืนนั้นตลอดการเดินทางจากสกลนครถึงกรุงเทพฯ ไม่ได้หลับ นั่งคิดมาตลอด คืนว่าจะจัดการอย่างไร งานที่ถูกสั่งมาซึ่งเป็นงานที่ไม่ถนัด จะสำเร็จได้และมีเวลาเตรียมการแค่ 3 วัน จึงกำหนดแผนปฏิบัติการได้ทันทีว่าวันที่ 23 - 24 - 25 พฤศจิกายน 2531 จะทำอะไรบ้าง ดังนี้ วันที่ 23 พฤศจิกายน 2531 1. เช้าถึงกรมฯ ติดต่อกองการเจ้าหน้าที่ ขออนุญาตไปต่างประเทศ ซึ่งหัวหน้าสมบูรณ์ เมฆหมอก รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่ ได้กรุณาทำเรื่องถึงปลัดกระทรวง มหาดไทยให้ 2. เรื่องหนังสือเดินทาง (Passport) แน่นอน ขอหนังสือเดินทางราชการ(สีน้ำเงิน) ไม่ทัน ต้องใช้หนังสือเดินทางส่วนบุคคล(สีน้ำตาล) ซึ่งมีพร้อมอยู่แล้ว เหลือเวลาจะหมดอายุ 9 เดือน ยังใช้ได้ (ถ้าเหลือเวลา จะหมดอายุ น้อยกว่า 6 เดือน จะใช้ไม่ได้) 3. ภารกิ จ ที ่ ช ั ด เจน ต้ อ งตี ค วามคำว่ า จั ด การ หมายถึ ง อะไร มี ข อบเขตกว้ า งขวาง แค่ไหน ก็ได้ความกระจ่างจากคุณอ๊อด อรรถนนท์ โบสุวรรณ เลขานุการอธิบดี (ปัจจุบันเป็นนายอำเภอ ไทรโยค) ว่า 3.1 จัดการเรื่องโรงแรมที่พักของทุกคน ขณะนี้ยังจองไม่ได้ เพราะโรงแรมที่ฮ่องกงเต็ม

เกือบทุกแห่ง เนือ่ งจากมีงานมหกรรมเครือ่ งจักรกลการเกษตร ทีเ่ มืองหางโจว ประเทศจีน 3.2 จัดการเรื่องสถานที่ศึกษาดูงาน คือการประปาของฮ่องกง ตลาดสินค้าเกษตรฮ่องกง เขื่อนยางใน ประเทศจีน(ที่แม่น้ำ INDUS ใกล้ พรมแดนจีน - ฮ่องกง) 3.3 จัดการเรื่องอาหาร การกินทุกมื้อ 3.4 จัดการเรื่องการเดินทาง ซึ่งต้องใช้ Minibus 1 คัน สรรค์ชัย อินหว่าง 89


3.5 จัดการเรื่องของฝาก (ผลไม้ต่างประเทศ) ให้ทุกคนหิ้วกลับบ้าน 3.6 จัดการเรื่อง การเดินทางและที่พักของตนเอง 3.7 จัดการเรื่อง เงิน ค่าใช้จ่ายตั้งแต่รายการที่ 3.1 - 3.6 เพราะไม่มีงบประมาณของทาง ราชการหรือแหล่งใด ๆ ให้ ได้คำจำกัดความของคำว่า “จัดการ” แล้วแทบสลบ ข้าราชการนักเรียนบ้านนอก ยากจน เพิ่งมาได้ ซี 6 ที่กรมอย่าง เรา จะทำได้อย่างไร คิดแล้วท้อแท้ แทบจะขอย้าย ขอโอน แต่ มาคิดดูอีกทีเอ๊ะทำไมนายใช้เราไม่ใช้คนอื่น ท่านคงต้องเชื่อมั่น ว่าเรามีความสามารถ จึงฝากความหวังไว้ที่เรา ขณะที่ถูก ลอยแพอยู่ในต่างประเทศ กลายเป็นประเด็นท้าทายที่อยาก ลองของ ลองทำดู คิดถึงพ่อแก้ว แม่แก้ว เมียแก้ว ...แล้วก็ ช่วยไม่ได้ คิดถึงเพื่อนแก้ว... ติดต่อแล้ว มีแววว่าช่วยได้ จึง บากหน้าไปหาเพื่อนที่บางนา และสุรวงศ์ ขอใช้ TELEX ก็ได้ รับความช่วยเหลือจากเพื่อนกำธร วังอุดม MD. ของ KPC Enterprise ที่สุรวงศ์ ติดต่อไปยัง SUMITOMO ที่ญี่ปุ่น กับ คุณเกรียงฯ แห่ง เกรียงสินอุตสาหกรรมการยาง ที่บางนา ติดต่อไปยัง Dr. Yang ที่ NANYA Plastic Industries กรุงไทเป ประเทศไต้หวัน (Taiwan R.O.C) ว่ามีเรื่องสำคัญขอความช่วยเหลือ นัดพบกัน ที่สนามบินนานาชาติไคตั๊ก ฮ่องกง ก่อนบ่ายสองโมง วันที่ 26 พฤศจิกายน 2531 และที่สำคัญให้เอา เงินไปด้วย เพื่อนเกรียงฯ มอบเงินให้ติดกระเป๋าเป็นค่าใช้จ่าย 80,000 บาท (แปดหมื่นบาทถ้วน) ซึ่ง เป็นค่าตอบแทนของที่ปรึกษาโครงการเขื่อนยางแม่น้ำจันทบุรี ที่หมู่บ้านจันทร์พินิจ อำเภอเมือง จังหวัด จันทบุรี (เล่าให้ฟังอย่าหาว่าโม้ ตอนนั้นขึ้นหม้อ นอกกรม ขนาดเป็นที่ปรึกษาโครงการสร้างเขื่อนยาง 2 แห่ง คือที่แม่น้ำจันทบุรี ใช้ยางของไต้หวัน กับที่แม่น้ำวัง เทศบาลเมืองลำปาง ใช้ยางของซูมิตโตโม ญี่ปุ่น นะ...จะบอกให้ ทั้งนี้มีชื่อเสียงจากการเป็นนักวิจัยหลัก โครงการพัฒนาแผ่นยางปูสระน้ำกับ โครงการพัฒนาเขื่อนและฝายยาง ซึ่งต่อมาเมื่อ 25 พฤษภาคม 2533 ได้รับรางวัลเกียรติคุณเหรียญ ทอง ของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วท.) และปีนั้นได้รับรางวัลระดับ เหรียญทองเพียง 2 คน อีกคนหนึ่งคือ ศาสตราจารย์ ดร.สมิธ คำเพิ่มพูน) 4. รี บ ไปซื ้ อ ตั ๋ ว โดยสารเครื ่ อ งบิ น กรุงเทพ-ฮ่องกง-กรุงเทพ ส่วนที่พัก ไปหาเอาเมื่อ ถึงฮ่องกง (ไปตายเอาดาบหน้า) วันที่ 24 พฤศจิกายน 2531 ตรวจสอบทุกอย่างพร้อมจัดเตรียมกระเป๋า 90

ประติมากร : งานพัฒนาชุ​ุมชน

ศึกษาอดีต วิเคราะห์ประสบการณ์ รังสรรค์งานชุมชน


วันที่ 25 พฤศจิกายน 2531 เช้าบอกลาเมียและลูก จับแท็กซี่ ไปดอนเมือง ความที่ รีบร้อนแต่งตัวมะล๊อคมะแล๊ก กระเป๋าใบใหญ่น้ำหนักเบาจึงถูก เจ้าหน้าที่สนามบินเรียกตรวจ แสดงหลักฐานและวัตถุประสงค์ ของการเดินทาง ถูกถามว่าไปราชการทำไมใช้พาสปอตส์ ส่วน บุคคล ก็ตอบว่าทำไม่ทัน ไปราชการแต่ใช้เงินราชกู คงฟังขึ้น มั๊ง เจ้าหน้าที่ก็หัวเราะชอบใจ ปล่อยผ่าน ถึ ง สนามบิ น ไคตั ๊ ก นั ่ ง แท็ ก ซี ่ ไ ปที ่ YMCA International House ซึ่งเคยมาพักครั้งสุดท้ายเมื่อปี 2515 สมัยเป็นเจ้าหน้าที่ World University Service : WUS ครั้งนั้นเดินทางมาจากประเทศฟิลิปปินส์ ตอนนั้นตึกไม่สูงระฟ้าเหมือนครั้งนี้ ติดต่อ ขอเช่าห้องพัก ได้ห้องเล็ก ๆ พอมุดหัวนอนได้หนึ่งคืน ราคาค่าเช่า 2,400 บาท/คืน รีบโทรศัพท์ไปหา เพื่อนสมัยเป็นชาวค่ายที่ San Antonioด้วยกัน ชื่อ Luke Wong อยู่ที่ North Point ให้ช่วยหา โรงแรมสำหรับอธิบดีและคณะพัก 3 คืน ไปได้โรงแรมที่ฝั่งเกาะฮ่องกง จำได้ว่าชื่อ Perl International Hotel เป็นห้อง Deluxe 3 ห้อง ราคาห้องละ 15,000 บาทต่อคืน นับว่าแพงน่าดูสำหรับสมัยนั้น อย่างไรก็ต้องตกลงไว้ก่อน สำหรับเรื่องงาน ต้องติดต่อผ่านสถานกงสุลไทย ประจำฮ่องกง ก็ได้รับ บริการอย่างดีจากเลขานุการชื่อ ชูศักดิ์ เป็นรุ่นน้อง ดร.สุรพล ที่รัฐศาสตร์ จุฬาฯ ใช้เวลาเพียงค่อนวัน ติดต่อทุกงานเรียบร้อย วันที่ 26 พฤศจิกายน 2531 เช้า Check- out ออกจาก YMCA International House นั่งแท็กซี่ Benz 250 SL อย่าง โก้ ไปที่สนามบินไคตั๊ค นั่งรออยู่ถึง 11 โมงกว่า Dr.Yang ก็บินมาจากไต้หวัน มีเชลยมาเป็นเจ้ามือ แล้ ว หนึ ่ ง คน ค่ อ ยใจชื ้ น หน่ อ ย พู ด คุ ย กั น ตามประสาเพื ่ อ นที ่ ไ ม่ เ จอกั น หลายปี พอบ่ า ยโมง Mr.Masakasu Toyada จาก Sumitomo ก็บินมาจากญี่ปุ่นครบทีม อธิบายให้เข้าใจวางแผนกันว่าจะ ทำอะไรบ้าง ตกบ่าย 2 โมงครึ่ง คณะของอธิบดีศักดาก็มาถึงฮ่องกง ต้อนรับแนะนำกันแล้ว ก็นั่งรถ Minibus เช่าเหมาไปโรงแรม ทีนี้ละก็มีห้องพักอยู่ 3 ห้อง สำหรับ 9 คน อธิบดีก็อยากพักคนเดียว หนึ่งห้อง ที่เหลือก็ 2 ห้อง 8 คน ดังนั้น จึงมีคนนอนบนเตียง 4 คน นอนบนโซฟา 2 คน และบน พื้นห้อง 2 คน ซึ่งแน่นอน ผมกับ คุณศรัณย์ นอนพื้นแหง ๆ ทีนี้ก็มาถึงเรื่องการกิน การศึกษาดูงาน การเที่ยว ดร.สุรพล ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ ท่าน Order มาว่า เรื่องกิน อาหารเช้าต้องได้กิน โจ๊กเป๋าฮื้อ ที่ซิมซาจุ่ย กลางวันต้องได้กิน นกพิราบย่างที่ซา ถิ่น เย็นต้องได้กินพระกระโดดกำแพง ย่านฝั่งเกาลูน ที่บันทึกราคาไว้ก็คือ โจ๊กหอยเป๋าฮื้อ ชามละ 350 บาท กินคนละ 1 - 2 ชาม ตามความชอบ นกพิราบย่างตัวละ 300 - 350 บาท พระกระโดดกำแพงหม้อ ละ 8,000 บาท อาหารมื้อหนึ่งสำหรับ 9+3 = 12 คน จะตกอยู่ที่ อาหารเช้า 3,500 - 4,500 บาท สรรค์ชัย อินหว่าง 91


กลางวันและเย็นจะตกมื้อละ 10,000 - 25,000 บาท ซึ่งเป็นเรื่องของเจ้ามือทั้งสองราย สำหรับการ เที่ยวกลางคืน และการดูงานตามที่กล่าวข้างต้น คุณชูศักดิ์ฯ เจ้าหน้าที่กงสุล ก็เป็นผู้จัดการ เรื่องใดมี ค่าใช้จ่าย ก็เป็นเรื่องของเจ้ามือทั้งสองอีกเช่นเคย ช่วงการเดินทางจากฮ่องกงเข้าไปจีน พวกเราตื่นเต้นมาก ที่ในเขตฮ่องกงยังเห็นคนไถนา โดยใช้ ควายลาก ส่วนเขื่อนยางที่ INDUS ใช้ยางเทียมของ Sumitomo เป็นเขื่อนขนาดเล็ก ใช้ประโยชน์ในการ ควบคุมมลภาวะขี้หมู ซึ่งเลี้ยงกันมากในจีน และไหลมาตามลำน้ำ มีผลกระทบกับฝั่งฮ่องกง วันที่ 29 พฤศจิกายน 2531 เดินทางกลับกรุงเทพฯ สำหรับเพื่อนญี่ปุ่นและไต้หวัน ขอตัวกลับตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน แล้ว ตอน Check - in ก็โกลาหลกันนิดหน่อย เนื่องจากเจ้านายทั้งหลายขนผลไม้ต่างประเทศตั้ง 26 ลัง ต้องล๊อบบี้ฝากน้ำหนักเฉลี่ยกับผู้โดยสารอื่น (พวกไปเล่นการพนันที่มาเก๊า ตัวเบากลับบ้าน) คุณศรัณย์เอง ถึงแม้จะตัวใหญ่แต่ก็อ้วนและเหนื่อยง่ายเอาตัวเองแทบไม่รอด (ตอนหลังเสียชีวิตด้วย โรคหัวใจวายขณะเป็นพัฒนาการอำเภอทุ่งฝน จังหวัดอุดรธานี) ภาระเรื่องน้ำหนักทั้งหลายตกอยู่ที่ สรรค์ชัยคนเดียว เมื่อถึงเมืองไทยมีคนจากสำนักงานเลขานุการกรมไปรับช่วงค่อยสบายขึ้น กลับมาถึงบ้าน ถึงกรม ก็ยังอัศจรรย์ใจว่าเราทำได้อย่างไร นึกทึ่งกับสิ่งที่ทำไป ไม่ได้หวังผล อะไรกับตนเองทำได้ด้วยพลังฮึดที่มองไม่เห็นเหมือนคนแบกตุ่มน้ำ แบกตู้เย็นหนีไฟ ภูมิใจที่นายเห็น ความสามารถและใช้เรา ไม่เสียดายแม้สูญเงินทองที่ควรได้ (ค่าตอบแทนที่ปรึกษาโครงการเขื่อนยาง) ไป หลายหมื่นหลายแสนบาท แต่มันยังมาไม่ถึงมือเรา (ยังไม่ได้จับเงินเลยไม่รู้สึกเสียดาย )มีความสุขทั้ง ๆ ที่ไม่ได้รับคำขอบคุณ ขอบใจจากนายแม้คำเดียว สุขเพราะพี่ปริวุฒิ พี่บุญล้อม พี่อิทธิพล ซาบซึ้งในตัว เรา บอกกล่าวให้คนทั่วไปได้ทราบ และนำมาเล่าหรือคุยกันอย่างมีความสุข ทุกครั้งที่ได้พบกัน และ รำลึกถึงความหลังร่วมกัน

*ผู้นำชุมชน มลรัฐมิสซูรี สหรัฐอเมาิกา 92

ประติมากร : งานพัฒนาชุ​ุมชน

ศึกษาอดีต วิเคราะห์ประสบการณ์ รังสรรค์งานชุมชน


พช.....ปฏิวัติ กรมการพัฒนาชุมชน มีเหตุการณ์ที่สร้างความ สั่นสะเทือนเก้าอี้ของผู้บริหารระดับสูงของกรมฯ และ กระทรวงมหาดไทย อยู่เหตุการณ์หนึ่ง ที่ผมมีส่วน เข้าไปร่วมเป็นแกนนำสำคัญหรือเป็นผู้ร่วมก่อการด้วย นั่นคือ การประท้วง ขับไล่อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน (นายสุจริต นันทมนตรี) เมื่อปี 2545 - 2546 ซึ่งภาย หลังมีหลายคนหลายท่าน อยากทราบเหตุผลและความ เป็นมา ซึ่งเดิมตั้งใจว่าจะไม่เล่าความหลังที่เจ็บปวดครั้งนี้ ทั้ง ๆ ที่เป็นชัยชนะ ของฝ่ายก่อการ เพราะ ถ้าเล่าหรือเขียนเรื่องราวให้คนอ่าน คนฟัง จะมีบางคนเป็นพระเอก มีบางคนเป็นผู้ร้าย ซึ่งยังเดินเชิด หน้าอยู่ในสังคม สู้ให้ผ่านประสบการณ์นี้เก็บฝังความดี ความชั่วไว้กับตัวตลอดไป น่าจะเป็นสิ่งที่ดี แต่เมื่อได้ตระเวนไปตรวจราชการหลายจังหวัด และร่วมวงสนทนากับน้อง ๆ ในกรมฯ หลาย ครั้ง เสียงส่วนใหญ่ปรารภว่า เมื่อเหตุการณ์นี้เป็นประวัติศาสตร์ตอนหนึ่งของกรมฯ คนที่รู้เรื่องที่สุดน่า จะเป็นคนบันทึกไว้เป็นบทเรียนของผู้บริหารและคนรุ่นหลังได้รับรู้เป็นอุทาหรณ์สอนใจ แต่เมื่อให้เขียนก็ จะไม่ขอเอ่ยถึงชื่อผู้ร้ายให้กระเทือนซาง (ทราง) หมองหมางต่อกัน ทำลายความสมานฉันท์ที่ดี ตกลง ตามนี้นะครับ สาเหตุพื้นฐานที่เป็นไฟสุมขอน จนระเบิดลุกเป็นไฟขึ้นในกรมการพัฒนาชุมชน ซึ่งไม่มีใครคิด ว่าจะเกิดขึ้นเพราะตลอดระยะเวลา ตั้งแต่ตั้งกรมฯ ขึ้นมาเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2505 คนทั่วไปเห็นว่า เป็นเหมือนเด็กดีมาตลอดนั้น มี 2 เหตุปัจจัยด้วยกันคือ 1. การปฏิรูประบบราชการ 2. การถูกทำลายความสมดุลแห่งอำนาจบริหารระดับสูงของกรมการพัฒนาชุมชน สรรค์ชัย อินหว่าง 93


เหตุปัจจัยแรก

การปฏิรูประบบราชการในปี พ.ศ. 2544 สมัยรัฐบาลพรรคไทยรักไทย (ทักษิณ 1) เป็น 20 กระทรวง ความจริงการปฏิรูประบบราชการนี้ เริ่มมานานแล้ว ตั้งแต่สมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ (ชวน หลีกภัย) ครัง้ นัน้ ได้ตง้ั คณะกรรมการปฏิรปู ระบบราชการโดยมีรองนายกรัฐมนตรี นายพิชยั รัตนกุล

เป็นประธาน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นรองประธาน มีเลขาธิการ ก.พ. เป็นเลขานุการ เมื่อปี พ.ศ. 2540 ผมเป็นผู้อำนวยการกองวิชาการและแผนงาน ได้ร่วมกับเพื่อนพ้อง 4 - 5 คน ยกร่าง พระราชกฤษฎีกาปรับปรุงส่วนราชการกรมการพัฒนาชุมชน โดยใช้ทฤษฎี 2 ขาที่ทำ R&D มาตั้งแต่

เริ่มมี พรบ. สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ครั้งดำรงตำแหน่งพัฒนาการ จังหวัดเพชรบูรณ์และเชียงใหม่ มาใช้เป็นพื้นฐาน โดยมีแนวคิดให้กรมการพัฒนาชุมชนมี 2 สำนักใหญ่ คือ สำนักพัฒนาศักยภาพองค์กรชุมชน กับตัดโอนเอาสำนักบริหารราชการส่วนท้องถิน่ จากกรมการปกครอง มาอยู่ด้วย เมื่อยกร่างเสร็จก็คิดจะนำเสนอ จึงนำไปปรึกษาท่านรองอธิบดี (ท่านประสาท พงษ์ศิวาภัย) ท่านก็มคี วามเห็นว่าเป็นเรือ่ งทีด่ ี แต่ถา้ หากเสนอตามสายการบังคับบัญชา คิดว่าคงไม่ผา่ น ให้ไปคิดหาทาง นำเสนอเอง ผมจึงทำหนังสือลงนามเองถึงประธานและรองประธานคณะกรรมการปฏิรูปราชการ เลขาธิการ ก.พ. กับเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ผลก็คือทั้งท่านรองนายกพิชัย รัตนกุล กับ ท่านรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ท่านน่ารักมาก ท่านจึงเกษียนสั่งการในท้ายหนังสือส่งเรื่องให้เลขานุการ คณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายส่วนท้องถิ่น รับไปดำเนินการ แล้วนำเสนอคณะกรรมการปฏิรูปราชการ ปรากฏว่าเกิดการฮือฮาขึ้นในกระทรวงมหาดไทยและกรมการปกครอง เพราะว่าเลขานุการคณะ กรรมการปรับปรุงกฎหมายส่วนท้องถิ่นก็คือ อธิบดีกรมการปกครอง เมื่อกรมการปกครองนำเรื่องเสนอ ให้รองปลัดกระทรวงมหาดไทยสั่งการ ผมจึงถูกเจ้านายเรียกไปพบ และให้ชี้แจง แต่เจ้านายที่ว่านั้นท่าน เคยเป็ น อธิ บ ดี ก รมการพั ฒ นา ชุมชน ในช่วงปี 2536 - 2539 คื อ ท่ า นอภั ย จั น ทนจุ ล กะ ตอนท่านเป็นอธิบดี ท่านดุมาก ชนิ ด ที ่ ว ่ า เห็ น ลู ก น้ อ งเป็ น โจร แต่ พ อท่ า นพ้ น ไปแล้ ว ท่ า นก็ ด ี

ใจหาย แบบหน้ามือเป็นหลังมือ (ซึ ่ ง ผมวิ เ คราะห์ เ ป็ น กลยุ ท ธ์ การป้ อ งกั น ไม่ ใ ห้ ผู ้ ใ ต้ บ ั ง คั บ บั ญ ชาทำผิ ด วิ น ั ย ของท่ า น) เมื ่ อ ชี ้ แ จงเหตุ ผ ลกั บ ท่ า นแล้ ว ท ่ า น ก ็ ถ า ม ค ำ สุ ด ท ้ า ย ว ่ า 94

ประติมากร : งานพัฒนาชุ​ุมชน

ศึกษาอดีต วิเคราะห์ประสบการณ์ รังสรรค์งานชุมชน


การทำแบบนี้เป็นการข้ามผู้บังคับบัญชา จะแก้ตัวว่าอย่างไร ผมก็เลยตอบไปว่าถ้าทำตามขั้นตอนก็

รับรองว่า ไม่ผ่าน จึงใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 มาตรา 39 เสนอเอง ท่านก็สำทับว่าจริงรึและ เปิดลิ้นชักโต๊ะเอาหนังสือรัฐธรรมนูญมาดู แล้วก็พูดว่า เออ.....รอดตัวไป คราวหน้าคิดจะทำอะไรดี ๆ ให้มาคุยกันก่อน กลับไปได้ ผมก็เลยรอดตัวไป ความทราบถึงภรรยาสุดที่รักของผม จึงเห็นว่าผมของขึ้นอีกแล้วเดี๋ยวจะเดือดร้อนกันอีก จึงให้ เอาเอกสารทั้งหลายไปเผาทำลาย แต่มีอยู่ชุดหนึ่งซึ่งรอดไปถึงมืออาจารย์บอย (นายทรงพล วิชัยขัทคะ) ยังเตริ์กรุ่นใหม่นำเอาไปติดบอร์ดไว้ให้นักศึกษา นพก./นพส. รุ่นสมัยนั้นอ่าน ที่วิทยาลัยการพัฒนา ชุมชนบางละมุง เรื่องจึงเงียบไป จนกระทั่งเมื่อการปรับปรุงส่วนราชการกระทรวงมหาดไทยเสร็จ

สำนักบริหารราชการส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง จึงถูกยกขึ้นเป็นกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และถูกผูกเอวกับการพัฒนาชุมชน ให้เป็นกลุ่มภารกิจ (Cluster) เดียวกัน คือกลุ่มภารกิจด้านพัฒนา ชุมชน และส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ผมดีใจอยู่ลึก ๆ ที่ทฤษฎี 2 ขา เป็นรูปธรรมขึ้นมาบ้าง เมื่อมีการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ในปี 2544 พวกเรายังเตริ์กทั้งหลาย โดยเฉพาะผู้ที่ ผ่านการเป็นผู้อำนวยการ หรือ เจ้าหน้าที่ กองวิชาการและแผนงาน กองการเจ้าหน้าที่ กองคลัง ซึ่งมี ความรู้สึกว่าการทำงานที่ผ่านมา กรมการพัฒนาชุมชนไม่ได้รับการปฏิบัติจากกระทรวงมหาดไทยเสมอ ส่วนราชการอื่น โดยเฉพาะ กรมการปกครอง และสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ทั้งในเรื่องของการ ตั้งงบประมาณประจำปี หรือการได้รับงบประมาณพิเศษอื่น ๆ มักจะถูกกีดกัน ถ้ามีงบเพิ่มหรืองบเหลือ และมักจะถูกตัดถ้ากระทรวงมีงบโป่ง หรือถูกสำนักงบประมาณตัดมา ในทำนองเดียวกัน ตำแหน่ง

ความก้าวหน้าในหน้าที่ราชการก็ถูกกีดกันด้วย พวกเรามีความรู้สึกว่าพวกเราเป็นเสมือนลูกเมียน้อย หรือคนรับใช้ บ่าว ทาส ประมาณนั้น ทีงานยัดให้ตั้งความคาดหวังสูง ทีรางวัลควรได้กลับละเลย เพิกเฉย กีดกัน พวกเรามีความรู้สึกเช่นนี้สะสมมายาวนาน เมื่อมีโอกาสเราก็คิดจะอพยพไปหา ความยุติธรรม หรือความเป็นหนึ่งในกระทรวงใหม่ที่ตั้งขึ้น เป้าหมายที่เล็งไว้ก็คือกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จึงส่งทีมไปล๊อบบี้ กรรมการปฏิ รู ป ราชการ สำนั ก งาน ก.พ. และกรรมาธิ ก ารวิ ส ามั ญ ของวุ ฒ ิ ส ภา ซึ ่ ง มี ป ๋ า ไหว (ท่านไสว พราหมณี สว.โคราช และอดีต รองปลัดกระทรวงมหาดไทย อดีตปลัดกระทรวงแรงงาน) เป็น ประธาน ซึ่งเห็นด้วยตั้งแต่ครั้งทำ จปฐ. มาด้วยกันว่า กรมการพัฒนาชุมชน อยู่ผิดที่ผิดทาง วัฒนธรรม องค์กรก็แตกต่างจากมหาดไทย (วัฒนธรรมที่ว่า คือ หลักคิดและการปฏิบัติต่อประชาชน นักปกครอง เห็นว่า ประชาชนคือ เครื่องมือ แต่นักพัฒนาเห็นว่า ประชาชน คือ นาย) ดังนั้น จึงไปออกแบบโครงสร้างของกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ภายใต้แนวคิดสามเหลี่ยม เขยื้อนภูเขา คือกลุ่มคนที่อ่อนด้อย ก็ให้กรมประชาสงเคราะห์ดูแล กลุ่มคนที่มีศักยภาพสามารถพัฒนา ให้เข้มแข็งได้ ให้กรมการพัฒนาชุมชน ดูแล ส่วนเรื่อง การวิจัยและพัฒนา ให้สถาบันพัฒนาองค์กร ชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. ดำเนินการ ถ้าเป็นดังนี้ จะทำให้การพัฒนาสังคมและชุมชน ครบวงจร มีประสิทธิภาพและพวกเรายังคิดต่อยอดฝันไปเลยว่า ถ้ากรมเราไปอยู่กระทรวงใหม่

สรรค์ชัย อินหว่าง 95


จะเป็ น กรมหลั ก และใหญ่ ท ี ่ สุ ด มี ข ้ า ราชการที ่ ม ี อ าวุ โ สสู ง มีป ระสิ ท ธิ ภ าพสู งมากที่สุด เพราะลำพังทุกกรมที ่ ม ารวมกั น ทั้งกรมประชาสงเคราะห์ สำนักงานเยาวชนแห่งชาติ สำนักงาน กิจการสตรี มีอัตรากำลังเพียงไม่ถึง 4,000 คน ส่วนกรมการ พัฒนาชุมชน ขณะนั้น มีอัตรากำลังถึง 8,000 กว่าคน มีทั้ง ศพช.เขต พัฒนาการจังหวัด มีโอกาสเป็นผู้แทนกระทรวงสูง ระดับซี 9 ลอยอยู่แค่เอื้อม ผอ.ศพช.เขต ทั้งหลาย มีโอกาสเป็น รองอธิบดี เป็นผู้ตรวจราชการกระทรวง พร้อมที่จะเป็นอธิบดี กันมาก ความก้าวหน้าไม่ต้องรอคอยกินน้ำใต้ศอกเหมือนอยู่กระทรวงมหาดไทย พวกเราจึงขับเคลื่อน กันอย่างเงียบ ๆ เพราะมีกระแสถูกต่อต้าน จากผู้บริหารระดับสูง ทั้งปัจจุบันและอดีต กับบางคน บางพวกที่มีหัวอนุรักษ์นิยม ผู้บริหารระดับกระทรวงระดับสูงก็มีความรู้สึกเหมือนเจ้านายที่นังแจ๋ว คนรับใช้ขอลาออกไปมีเหย้าเรือน อดีตอธิบดีทั้งหลายก็กลัวประวัติศาสตร์จะสูญหาย พวกอนุรักษ์นิยม ก็กลัวว่าเวลาแต่งเครื่องแบบแล้ว ที่คอเสื้อไม่ได้ติดสิงห์ จะดูด้อยไม่มีอำนาจ คิดถึงแต่เรื่องตัวเอง บดบังวิสัยทัศน์ที่ก้าวหน้าแบบคนจีนโพ้นทะเล ที่หนีความอดอยากยากจน ลงเรือเสื่อผืน หมอนใบ ไปสร้ า งความมั ่ ง คั ่ ง ในแผ่ น ดิ น ใหม่ เฉกเช่ น เจ้ า สั ว ชิ น โสภณพณิ ช เจ้ า ของธนาคารกรุ ง เทพ เจ้าสัว อื้อจือเหลียง ผู้ก่อตั้งมูลนิธิปอเต็กตึ้ง และเจ้าสัวทั้งหลายทั่วโลก ภายใต้การรอคอยทีเ่ ปีย่ มด้วยความหวัง เพราะกรรมาธิการวิสามัญวุฒสิ ภา ทีม่ ที า่ นไสว พราหมณี

เป็ น ประธานมี ก รรมาธิ ก ารที ่ ส นั บ สนุ น เช่ น อดี ต ผู ้ ว ่ า ราชการจั ง หวั ด อุ ด รธานี ท่ า นสุ พ ร ศุ ภ สร คุณมาลีรัตน์ แก้วก่า ฯลฯ ลงมติมีความเห็นชอบให้นำเสนอต่อที่ประชุมวุฒิสภาอยู่แล้วอีก 2 - 3 วัน กลับมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น อุ บ ั ต ิ เ หตุ ท ี ่ ว ่ า คื อ คำสั ่ ง แต่ ง ตั ้ ง ปลั ด กระทรวงมหาดไทยคนใหม่ ยั ง ไม่ ม ี ท ี ท ่ า จะออกมา อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน นายสุจริต ปัจฉิมนันท์ ซึ่งเป็นแคนดิเดท 1 ใน 4 คนอยู่ด้วย ก็หวั่นไหวว่า ถ้าปล่อยกรมการพัฒนาชุมชนไปสังกัดกระทรวงใหม่ ตนเองเท้าก็จะหลุดลอย จึงไปดึงเอารัฐมนตรี ว่าการกระทรวงมหาดไทย ศาสตราจารย์ ร.ต.อ. ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ ซึ่งขณะนั้นมีพลังบารมีมาก ดุ จ พญาช้ า งเอราวั ณ ไปดึ ง กรมการพั ฒ นาชุ ม ชน มาอยู ่ ก ระทรวงมหาดไทยตามเดิ ม ป๋ า ไหว ได้โทรศัพท์มาบอกว่าถูกให้ทบทวนมติกรรมาธิการใหม่ ป๋าพยายามหลีกเลี่ยงแล้ว กรรมาธิการทั้งหลาย ก็ ป ล่ อ ยมื อ ถอดใจ เลยไม่ รู ้ จ ะช่ ว ยอย่ า งไร เรื ่ อ งนี ้ พ วกเราไม่ พ อใจมาก ๆ โดยเฉพาะพี ่ ใ หญ่ หัวหน้าขบวน ผอ.ศพช.เขต 4 พี่พีระศักดิ์ ศรีศักดิ์วิชัย อดีต ผอ. กองวิชาการและแผนงาน จึงขับเคลื่อนสร้างพลังต่อรองโดยใช้ลายชื่อ มติของที่ประชุมรอบไตรมาส ทั้งพัฒนาการจังหวัด พัฒนาการอำเภอ ในเขต 4 กว่า 90 คน ก็ถูกอธิบดี รองอธิบดีในสายงาน อัดจนน่วม เหตุปัจจัยนี้ จึงเป็นไฟสุมขอน กองแรก 96

ประติมากร : งานพัฒนาชุ​ุมชน

ศึกษาอดีต วิเคราะห์ประสบการณ์ รังสรรค์งานชุมชน


เหตุปัจจัยที่สอง

การถูกทำลายความสมดุลแห่งอำนาจบริหารระดับสูงของกรมการพัฒนาชุมชน วันที่ 1 ตุลาคม 2545 ผลัดเปลี่ยนแผ่นดิน นายเสริมศักดิ์ พงษ์พาณิช อธิบดีกรมโยธาธิการ ได้เป็นปลัดกระทรวงมหาดไทย นายสุจริต ปัจฉิมนันท์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ไปเป็น

อธิบดีกรมการปกครอง นายสุจริต นันทมนตรี ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเป็นผู้ว่า CEO ดีเด่น ได้เป็นอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน อธิบดีคนใหม่ มีพื้นฐานมาจาก รพช. ตั้งแต่เล็กจนเป็นรอง เลขาธิการ รพช. ถึงแม้จะโดนคนในสำนักผังเมืองขับไล่ เมื่อไปเป็นเบอร์หนึ่งของที่นั่น แต่เมื่อไปเป็น

ผู้ว่าราชการจังหวัดแล้วก็มีชื่อเสียงไม่น้อย พวกเราจึงคิดว่าจะได้นายที่เห็นหัวอกของพวกเรา แต่เหตุการณ์กลับไม่ใช่ พฤติกรรมต่าง ๆ ตรงข้ามกับที่พวกเราคิด พวกเราหวัง เหมือนเสือไป จระเข้มา ไม่เห็นคุณค่าและเคารพศักดิ์ศรีของ คนในองค์กร จะเอาลูกตัวเอง ลูกเขย ลูกน้องเก่าเข้ามาดำรงตำแหน่งในระดับแกนนำทั้งหมด ทั้งใน สำนักงานเลขานุการกรม กองการเจ้าหน้าที่ กองคลัง ฯลฯ ชนิดที่ว่าไม่มั่นใจที่จะเดินมาคนเดียวอย่าง ผู้นำที่สง่างาม แต่ดันจูงหมามาด้วย ที่สุดทนจนทนไม่ได้ก็คือ การเอารองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ (นายจารุพงศ์ พลเดช) มาเป็นรองอธิบดีแทนตำแหน่งที่ว่างจากการเกษียณอายุราชการของรองวีระ กองแก้ว ซึ่งเป็นโควตาของคนในกรมด้วย ทั้ง ๆ ที่ไม่มีใครได้ไปเป็นรองผู้ว่าราชการจังหวัดในปีนั้น พวกเราจึงมาปรึกษาหารือ และลงความเห็นว่า ความสมดุลแห่งอำนาจบริหารของกรม ที่มีมาแต่ครั้ง อดีต ถูกทำลายลง ถ้านิ่งเฉยความเสียหาย จะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างไม่สามารถจะพรรณนาได้ จะต้อง เคลื่อนไหวขับไล่ เราไม่ได้ต่อต้านรองจารุพงศ์ ซึ่งพวกเราทราบว่าเป็นผู้มากความสามารถ เพียงแต่มา ไม่ถูกที่ ถูกเวลาเท่านั้น แต่เราต่อต้านอธิบดีผู้ทำลายความสมดุลแห่งอำนาจที่ว่าคือ 1. ผู้บริหารระดับสูงของกรมมี 4 เสือ คือ อธิบดี และรองอธิบดี 3 คน 2. ตำแน่งอธิบดี ตั้งแต่ตั้งกรมมา เป็นคนนอกบ้าง เป็นลูกหม้อคนในบ้าง ตามความ เหมาะสมเป็นอำนาจของกระทรวง ซึ่งพวกเรายอมรับ 3. ตำแหน่งรองอธิบดี คนหนึ่ง เป็นโควตาของคนนอก พวกเรายอมรับ เพราะกรมการ พั ฒ นาชุ ม ชนควรจะมี ค นนอกมาร่ ว มบริ ห าร เพื ่ อ นำความต่ า ง (Outside in) มาพัฒนาองค์กร 4. ส่วนตำแหน่งรองอธิบดีอีก 2 คน ควรเป็นโควตาของลูกหม้อคนใน เพื่อที่จะเป็นช่องทาง ความก้าวหน้าของคนในกรมและที่สำคัญก็คือ เป็นการถ่วงดุลระหว่างคนนอกกับคนใน ทั้งด้านการบริหารงานบุคคล และด้านนโยบายทั่วไป สรรค์ชัย อินหว่าง 97


5. ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดนั้น เราถือเป็นตำแหน่งส่วนกลาง กองกลางที่คนของทุก

กรมในสั ง กั ด กระทรวงมหาดไทย สามารถขึ ้ น ไปครองได้ ไม่ ใ ช่ เ ป็ น โควตาที ่ ต ้ อ ง แลกเปลี่ยน หรือหน่วยใดหน่วยหนึ่งผูกขาดความเป็นเจ้าของ สถานการณ์ขณะนั้น อธิบดีมาจากคนภายนอก รองอธิบดีคนที่ 1 คือ ท่านสยุมพร ลิ่มไทย มาจากสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี ถือเป็นคนภายนอก รองอธิบดีคนที่ 2 คือ ท่านวิชล มนัสเอื้อศิริ ซึ่งเป็นลูกหม้อคนภายใน อีกหนึ่งรองอธิบดีที่ว่างก็ควรจะเป็นของคนภายใน แต่เมื่อตั้งรองจารุพงศ์ ซึ่งเป็นคนภายนอกเข้ามา สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ มีคนภายนอก 3 คน คนภายในเพียง 1 คน ถ้าเกิด เหตุการณ์ 3 รุม 1 มีหรือที่ลูกหม้อ 1 คน จะต้านได้ และถ้าเกิดเหตุการณ์ 3 คนภายนอกบอก ว่ามาเพียงเหยียบหัวเรือที่จะก้าวต่อไปทุกเรื่องราวยกให้ลูกหม้อหนึ่งเดียวจัดการ กรมหรือองค์กรย่อม เสียโอกาสดีดีไป ส่วนลูกหม้อหนึ่งเดียวก็จะเป็นศูนย์รวมของอำนาจ และผลประโยชน์ ถ้าระดับ

คุณธรรมไม่สูงพอ ก็จะกลายเป็นมาเฟีย เจ้าพ่อ แต่ถ้าคุณธรรมสูงพอก็จะต้องแบกหามภารกิจที่หนักอึ้ง ไม่มีคนถ่วงดุลหรือแบ่งเบาภาระ และถ้าครั้งนี้เปลี่ยนแปลงได้โดยไร้บรรทัดฐาน คนในกรมจะมองเห็น อนาคตที่สดใสได้อย่างไร ดังนั้น การรวมตัวต่อต้านจึงเกิดขึ้นภายใต้เหตุผลดังกล่าว ผม ผอ.ศพช.เขต 2 จึงสื่อสารถึง ผอ.ทุ ก เขต ผอ.ทุ ก กอง นั ด หมายรวมตั ว แต่ ง ชุ ด ดำเข้ า กรมและยื ่ น หนั ง สื อ ประท้ ว งในวั น ที ่ 25 พฤศจิกายน 2545 พวกเราถูกอธิบดี สั่งรองอธิบดีบางคนสกัดกั้น แต่ก็มีผู้กล้ามาร่วมประชุมที่ห้อง ประชุมชั้น 4 อาคารดำรงราชานุภาพ และร่วมลงชื่อครั้งแรกถึง 75 คน นำโดย ผอ.พีระศักดิ์ ศรีศักดิ์ชัย ผอ. ศพช.เขต 4 หัวหน้าคณะผู้ก่อการ ผอ.ศพช.เขต 2 สรรค์ชัย อินหว่าง เลขาธิการคณะผู้ก่อการ, ผอ.กองฝึกอบรม บุญเอื้อ โพชนุกูล ,ผอ.กองคลัง อัจฉราพรรณ ห่อทองคำ ,เลขานุการกรม จุฑามาศ เข็มเจริญ,ผอ.อนุศักดิ์ มูลวงษ์ ,ผอ.สุชาติ สุวรรณ, หัวหน้าหนู ชูสม ,ดร.ติ๋ม ขนิฎฐา, หน.เพ็ญศรี , หน.เหมี่ยว เพ็ญแข, หน.หลง พรรณศิริ โจนส์ ,หน.ตั้ว คำแข , พัฒนาการจังหวัด ขอนแก่น พี่เกรียงศักดิ์ ชุนนะวรรณ์ , พัฒนาการจังหวัดยโสธร ปรียา โสภณา, พัฒนาการจังหวัด เพชรบุรี กฤษณา สุพรรณพงศ์ ,และนักวิชาการ เจ้าหน้าที่ทุกระดับ จนถึงนักการภารโรงแม้กระทั่ง

98

ประติมากร : งานพัฒนาชุ​ุมชน

ศึกษาอดีต วิเคราะห์ประสบการณ์ รังสรรค์งานชุมชน


เจ้ า อ่ า ง ขวั ญ ชั ย นาคทอง พนั ก งานขั บ รถ แล้ ว ยื ่ น หนั ง สื อ ประท้ ว ง ถึ ง อธิ บ ดี ก รม การพั ฒ นาชุ ม ชน ปลั ด กระทรวงมหาดไทย รั ฐ มนตรี ว ่ า การและช่ ว ยว่ า การกระทรวง มหาดไทยกับสื่อมวลชน หลั ง จากนั ้ น พวกเราก็ ส ื ่ อ สารถึ ง พัฒนาการจังหวัด พัฒนาการอำเภอ พัฒนากร สร้างแนวร่วมและร่วมลงชื่อก็ได้แนวร่วมจากทุก จังหวัดในพื้นที่ ศพช.เขต 2 ศพช.เขต 4 บางจังหวัดในศพช. 3 เขต 11 เขต 1 เขต 7 เขต 6 เขต 5 และเขต 12 จำนวน 2,490 คน ส่วนเขต 8 และ 9 รวมถึงจังหวัดศรีสะเกษ ไม่สามารถสื่อสารถึงได้ เพราะมีแรงต้าน เมื่อได้รายชื่อมาแล้วก็มารวบรวมเสนอเป็นหลักฐานประกอบไปยังกระทรวงมหาดไทย และตัวจริงก็มอบให้คนที่ไว้ใจที่สุดคือ ผอ. อัจฉราพรรณ ห่อทองคำ เก็บรักษา ในช่วงเริ่มต้น พวกเราวางกลยุทธ์การต่อสู้อย่างเปิดเผย รบบนดิน เชิญอดีตผู้บังคับบัญชา และสมาชิกชมรมวัยทอง มารับทราบและปรึกษาหารือ ปรากฏว่าสูญเปล่าทั้งเวลาและเงินทอง ไม่ สามารถเชื่อมโยงกันได้ มิหนำซ้ำนอกจากจะมีคนฉกฉวยโอกาสสร้างความก้าวหน้าในชีวิตราชการ สร้าง ความยากลำบากให้กับพวกเราแล้ว ยังมีแนวร่วมบางคนถอดใจไปขอขมา ขอความก้าวหน้า เป็นไส้ศึก มากขึ้นเรื่อย ๆ จึงวางกลยุทธ์การต่อสู้ใหม่ ทำสงครามใต้ดิน งัดเอาตำราพิชัยสงครามเก่าสมัยรบกับ คอมมิวนิสต์ที่เมืองเลย ทั้งซุ่นวู เหมาเจอตุง โฮจิมินท์ และโวเหวียน เกิ๊ยบ สามก๊ก ออกมากาง ศึกษาทบทวน และเอาไปใช้ สร้างเครือข่ายเจาะเข้าถึงปลัดกระทรวง ซึ่งไม่ยากเพราะเคยนอนสนาม เพลาะรบกับคอมมิวนิสต์กับท่านสมัยอยู่เมืองเลยมานาน ไป - มาหาสู่เป็นประจำ มีพรรคพวกอยู่ใน สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมกับสร้าง ความเข้าใจ ความเชื่อมั่นให้กับแนวร่วมและพันธมิตร ถึงแม้พวกเราจะถูกแยกกลุ่ม ถูกสั่ง ถูกกล่อมให้ เป็นฝ่ายตรงข้าม เราก็ใช้กลยุทธ์จัดชั้นกลุ่มมวลชนฝ่ายเรา ให้คนที่มีสมรรถนะ เหมาะสมเข้าแทรกซึม ปฏิบัติการทางจิตวิทยา ยกตัวอย่างเช่น ท่านเลขานุการกรม พี่ตุ๋ย จุฑามาศ สิงห์แดง เมื่อถูกถามใน วงการสิงห์แดงว่าร่วมลงชื่อไล่อธิบดีกับเขาด้วยหรือไม่ พี่แกก็ตอบเสียงดังฟังชัดได้ยินกันหลายคนเลย ว่า ลงชื่อเป็นคนแรก ๆ เลย ท่านเหล่านั้นก็ถึงบางอ้อเลยว่า แม้แต่เลขาใกล้ตัวยังไล่เลย มันก็ไม่ควร จะอยู่แล้ว ประมาณเดือนเมษายนต่อ พฤษภาคม 2546 อธิบดีพาครอบครัวไปตรวจงานภาคตะวันออก ผมในฐานะเจ้าของพื้นที่กับ ผอ.ตั้ว คำแข ธรรมนิยาย ซึ่งเป็นหัวหน้าวิทยาลัยการพัฒนาชุมชน ก็ร่วม เดินทางไปด้วย เมื่อไปถึงจังหวัดตราด แม่บ้านและลูกสาวของอธิบดีก็พูดกับผอ.คำแขว่า ผอ.สรรค์ชัย ดูดูเขาก็เป็นคนดี คนเรียบร้อย ขยันขันแข็งทำงานนะ แต่ทำไมเป็นแกนนำขับไล่อธิบดี แล้วคุณคำแข ร่วมกับเขาด้วยหรือไม่ ผอ.คำแขก็ตอบอย่างชัดเจน ร่วมลงชื่อไล่อธิบดีด้วย จึงสร้างความหวาดหวั่น สรรค์ชัย อินหว่าง 99


ให้คณะอธิบดีรีบกลับกรุงเทพฯ นี่เพียง 2 ตัวอย่างนะ พวกเราจะมีเซฟเฮาส์ และสถาน ที่นัดพบกันอยู่ที่โรงแรม Lake Eastin เมืองทองธานี ที่บ้านผม และร้านอาหารบัว แจ้ ง วั ฒ นะ พบกั น ทุ ก สั ป ดาห์ ถึ ง แม้ พี ่ พ ี ร ะศั ก ดิ ์ ก ั บ ผมจะถู ก อธิ บ ดี เ รี ย กพบ และเจรจา ที่โรงแรมรามาการ์เด้น เราก็ ใช้กลยุทธ์ประวิงเวลา แม้จะถูกรองอธิบดี และผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่ไล่ล่า เพื่อบังคับให้ลงนามในสนธิสัญญาหย่าศึก เราก็ใช้กลยุทธ์ “เอ็งมา ข้ามุด” กลยุทธ์ผลักกาน้ำชาร้อนใส่ตักคู่เจรจา ประวิงเวลารอผลการปฏิบัติการใต้ดิน จนเมื่อวันจันทร์ที่ 3 มิถุนายน 2546 เวลาประมาณ 11 นาฬิกา ก็ได้รับทราบจากพรรค พวกที่สำนักงานรัฐมนตรีว่า มท.1 ลงนามในหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี เรื่องย้ายข้าราชการระดับ 10 จำนวน 7 คน เสนอเข้าวาระการประชุม คณะรัฐมนตรีสัญจรที่จังหวัดภูเก็ต ในวันอังคารที่ 4 มิถุนายน 2546 แล้ว เพื่อความมั่นใจว่าไม่ถูกสกัด ผมจึงขอให้รีบนำหนังสือไปส่งให้ บิ๊กโกร่ง ที่ สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี รีบเสนอนายกรัฐมนตรี อนุมัติให้บรรจุเข้าวาระการประชุม แล้วให้ บิ๊กโกร่งรีบหอบเอกสารทั้งหมดไปเตรียมเข้าประชุมที่จังหวัดภูเก็ต เวลาประมาณ 14 นาฬิกา ก็ได้รับ แจ้งจากบิ๊กโกร่งว่า ทุกอย่างเรียบร้อย และเป็นความลับอย่างยิ่ง วันที่ 4 มิถุนายน 2546 มติ ครม. ออกมาเห็นชอบการย้ายนายสุจริต นันทมนตรี อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ไปเป็นรอง เลขาธิการนายกรัฐมนตรี (ฝ่ายบริหาร) ซึ่งปกติจะไม่มีงานทำเพราะเขาใช้ฝ่ายการเมืองเป็นคนทำงาน (เรียกภาษาชาวบ้านว่าตำแหน่งเทกระโถน) แล้วย้ายนายชัยสิทธิ์ โหตระกิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัด อุบลราชธานี ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน พวกเราไชโยโห่ร้องด้วยความยินดี ท่านอธิบดี ชัยสิทธิ์ ท่านน่ารักมาก เป็นสุภาพบุรุษ ให้เกียรติและเคารพศักดิ์ศรีของคนในกรมตลอดเวลา 2 ปี 4 เดือน ที่ท่านดำรงตำแหน่ง พวกเรามีความสุข อ่านดูได้จากหนังสือ นินทานาย ที่ ผอ.กองคลัง กมลทิพย์ นนท์พิทักษ์ เป็นบรรณาธิการ ดูได้ ท่านทำให้เราไม่มีความรู้สึกเสียสมดุลแห่งอำนาจ คาด ว่าต่อแต่นี้ไปเหตุการณ์ซ้ำรอยคงไม่มีอีก ส่วนรองอธิบดีบุคคลภายนอก ก็ถูกดองไว้คนละ 5 ปี 7 ปี คงหาคนที่ดูตาม้า ตาเรือเป็นเข้ามาแย่งชิงคนภายในไม่มีอีกแล้ว ความสำเร็จของการปฏิวัติครั้งนี้ ขอสดุดีวีรชนผู้กล้า ผอ.พีระศักดิ์ ศรีศักดิ์วิชัย ที่เดินนำหน้า พวกเราต่อสู้อย่างกล้าหาญ ขอกราบพี่ท่านด้วยความคารวะอย่างสูง 100 ประติมากร : งานพัฒนาชุ​ุมชน

ศึกษาอดีต วิเคราะห์ประสบการณ์ รังสรรค์งานชุมชน


คำนิยม

30 ก.ย. 51 เรียน ท่านรองฯ เริ่มแต่จุดกำเนิด ทุกชีวิตต่างดิ้นไป...บนเส้นทางแสวงหา...แสวงหาความหมาย ภูมิใจเถิดท่านที่ท่านจบชีวิตราชการได้อย่างมีความหมาย ขอให้ท่านอิ่มเอิบและภูมิใจใน ความหมายแห่งชีวิตที่ท่านได้จารึกไว้ในแผ่นดินนี้...อย่างประณีตละเอียดอ่อน และมีความหมาย Starting from birth, every life stauggles on its journey of seeking’duking the meaning of life Be proud of your ending from the official hle, meaningfully. Be gratified in the maining of life, engraving on this land, earfully and mingfully (the rist of your life). จากใจจริง (นายสนิทศักดิ์ สนิทศักดิ์) ทนายความอิสระ

สรรค์ชัย อินหว่าง 101


เขียนถึงท่านรองฯ สรรค์ชัย อินหว่าง กมลทิพย์ นนท์พิทักษ์ ความจริงผู้เขียนกับท่านรองฯ สรรค์ชัย อินหว่าง อายุก็พอ ๆ กัน เพียงแต่ผู้เขียนเกิดปลายปี จึงได้ยืดเวลาเกษียณออกไปอีก 1 ปี รู้จักท่านรองฯ โดยคุณสามีแนะนำ เพราะเพื่อนเขาอยู่ในแวดวงของ เจ้าหน้าที่โครงการเงินกู้จากต่างประเทศ (คุณอนันต์ คุณากร ขออนุญาตกล่าวถึง) ซึ่งสมัยนั้นท่านรองฯ ดูแลรับผิดชอบโครงการเงินกู้จากต่างประเทศ ด้วยบุคลิกของท่าน สะท้อนให้รู้จักตัวตนของท่าน ว่าท่านเป็นกันเองกับทุกคน โดยเฉพาะ ผู้นำภาคประชาชน จะรู้จักสนิทสนมกับท่านเป็นพิเศษ เพราะท่านเป็นลูกหม้อ พ.ช. ที่คงเคยใช้หลัก 5 ร่วมในการทำงาน เด็ก ๆ รุ่นหลังอาจจะแค่เคยได้ยิน แต่ท่านรองฯ ได้ผ่านการปฏิบัติมาแล้ว คือ ร่วมกิน (เหล้า) ร่วมนอน (ค้างในหมู่บ้าน) ร่วมคิด (วิเคราะห์ปัญหากับชาวบ้าน) ร่วมตัดสินใจ (วางแผน) และสุดท้าย ร่วมปฏิบัติ (ลงมือทำด้วย) หลัก 5 ร่วมที่ผู้เขียนกล่าวถึง มิใช่หลัก 5 ร่วมที่นักวิชาการสมัย ก่อนเขียนไว้ แต่เป็นหลัก 5 ร่วมที่ผู้เขียนเคยเห็นนักพัฒนาชุมชนที่เป็นที่รักยิ่งของชาวบ้านสมัยก่อนเขา ปฏิบัติกัน ก่อนเข้าหมู่บ้านต้องหิ้วขวด (เหล้า) ไปด้วย (เอาไปฝากชาวบ้าน) พอไปถึงหมู่บ้านก็จะมีการ ตั้งวง งานการก็คุยกันตอนอยู่ในวงเหล้า และก็ประสบผลสำเร็จในวงเหล้านั่นแหละ ยิ่งกว่านั้นบางคนก็ กลายเป็นเขยในหมู่บ้านก็มี นี่ก็เป็นวิถีชีวิตของชาวบ้านในยุค 30 ปีที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนกับ ผู้นำชุมชน และชาวบ้านรักใคร่กันเหมือนญาติพี่น้อง คิดว่าท่านรองฯ ก็ผ่านจุดนี้มาเช่นกัน เพราะสังเกต ว่าท่านกลับไปเยี่ยมถิ่นเก่าเมื่อไหร่ ผู้นำท้องถิ่นและชาวบ้านรู้จักคุ้นเคยกับท่านอย่างดียิ่ง ช่วงที่ผู้เขียนเป็นเลขานุการกรม และท่านเป็นผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ ชุมชน ความที่ผู้เขียนเป็นข้าราชการบ้านนอก จึงไม่ค่อยรู้จักสนิทสนมกับใครในส่วนกลางเป็นพิเศษ หน้าที่ของเลขาฯ ในส่วนที่ได้เกี่ยวข้องกับท่าน คือ ไม่รู้จะพึ่งใครก็ขอพึ่งท่าน กรณีท่านอธิบดีฯ ไป ราชการต่างประเทศ หรือต่างจังหวัด และกระทรวงแจ้งกะทันหันให้ท่านอธิบดีฯ ไปราชการร่วมกับท่าน มท.1 หรือ มท.2 ให้บังเอิญอยู่เรื่อยว่า ท่านรองอธิบดีแต่ละท่านติดราชการและภารกิจอื่นๆ ผู้เขียนก็ ต่อโทรศัพท์ถึงท่านสรรค์ชัยเป็นประจำ ท่านเห็นเบอร์โทร แรก ๆ ท่านก็ถามว่ามีอะไรหรือเปล่า ก็เรียน ว่าจะขอความกรุณาท่านเป็นผู้แทนท่านอธิบดีฯ ไปราชการร่วมกับท่าน มท.1 หรือบางทีก็ท่าน มท.2 ท่าน ไม่เคยปฏิเสธสักครั้ง คำตอบ “ว่าง o.k. เมื่อไหร่” บางทีโทรศัพท์เรียนท่านวันศุกร์ (ค่ำ) เช้าวันเสาร์ก็ 102 ประติมากร : งานพัฒนาชุ​ุมชน

ศึกษาอดีต วิเคราะห์ประสบการณ์ รังสรรค์งานชุมชน


ปฏิบัติแล้ว อย่างนี้เป็นประจำ ตอนหลัง ๆ ท่านเห็นเบอร์เลขานุการกรม ท่านก็จะดักคอว่า “ไปไหน เมื่อ ไหร่” หน้าที่เลขาฯ ถัดจากนั้นก็โทรศัพท์ รายงานท่านอธิบดีฯ ว่าท่านสรรค์ชัย กรุณาเป็นผู้แทนท่านไป ร่วมกิจกรรมแล้ว เสร็จแล้วก็โทรเรียนท่านรองอธิบดีฯ (เจ้าของพื้นที่) ว่าท่าน ผอ.สศช. ได้กรุณาไปแทน ท่านแล้ว ด้วยความกรุณาของท่าน ก็ทำให้งานในหน้าที่เลขานุการกรม ในส่วนนี้เป็นไปด้วยความ เรียบร้อย ต้องขอขอบคุณท่านรองฯ สรรค์ชัย ไว้ ณ โอกาสนี้ด้วยค่ะ อีกเรื่องหนึ่ง ที่อดจะกล่าวถึงไม่ได้ กรณีการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ เช่น จัดงานปีใหม่ ผู้ บริหารมีนโยบายให้ทุกสำนัก/กอง มีส่วนร่วมโดยนำข้าวหม้อแกงหม้อมาทานร่วมกัน ท่านสรรค์ชัยท่าน ให้การสนับสนุนจนทางสำนักงานเลขานุการกรม เกรงใจ บางครั้งก็นำเงินเหลือใส่ซองไปคืนท่าน ท่านก็ จะไม่ยอมรับ บอกว่าเอาไว้ใช้งานอื่นต่อ (ท่านคงรู้ว่าสำนักงานเลขานุการกรม ยากจน) แต่เราก็คืนท่าน จนได้ เรื่องประสบการณ์ในงานพัฒนาชุมชน ท่านก็ไม่รองใคร จปฐ., กชช. 2 ค ท่านก็ปั้นมากับมือ สระน้ำปูพลาสติกที่เป็นที่ฮือฮาในสมัยก่อน ท่านก็เป็นผู้ริเริ่มนำมาดำเนินการ มาตรฐาน มชช. ก็เกิดขึ้น ในสมัยท่านเป็นผู้อำนวยการสำนักฯ งานริเริ่มใหม่ ๆ ของกรมการพัฒนาชุมชนหลายงานเกิดขึ้นโดยข้อ เสนอของท่าน ท่านบอกกับผู้เขียนว่า เกษียณแล้วจะไปทำนาที่ทุ่งกุลาร้องไห้ (เป็นบ้านเมีย) ท่านว่าอย่าง นั้น ก็หวังอย่างยิ่งว่า นาของท่านคงจะเป็นศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ของชาวนาไทย เพราะท่านคงริเริ่มทำ อะไร ๆ อีกหลายอย่างที่เกี่ยวกับการทำนา ซึ่งก็จะเป็นประโยชน์แก่ชาวนาทั้งหลายด้วย ผู้เขียนเกษียณ แล้วก็อาจจะไปขอความรู้จากท่าน เพื่อไปทำนาของตัวเองบ้างก็ได้ ก็หวังว่าท่านคงไม่หวงวิชา และถ้าท่าน อยากให้พวกเราได้ชิมข้าวฝีมือการปลูกของท่าน เวที OTOP ประจำปี ที่อิมแพค เมืองทองธานี พวกเรา คงอยากเห็นข้าวถุงยี่ห้อ “ข้าวอนามัย สรรค์ชัย อินหว่าง” หรือ “ข้าวทุ่งกุลาร้องไห้ สรรค์ชัย อินหว่าง” หรือ “ข้าวเหรียญทอง ของสรรค์ชัย อินหว่าง” หรือ “ข้าวปลอดสารพิษ ผู้ผลิตคือสรรค์ชัย” หรือ “รับราชการไม่รวย ช่วยซื้อข้าวสรรค์ชัย” ฯลฯ ผู้เขียนลงทุนคิด Brand ไว้ให้ล่วงหน้า โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายนะคะ เผื่อว่าท่านรองฯ นึกสนุกลุก ขึ้นมาทำจริง พวกเราก็จะได้เจอท่านทุกปี อย่างน้อยปีละครั้ง สุดท้าย ภาพที่พวกเราเห็นและได้ยินบ่อยๆ ท่านมักจะกล่าวถึงภริยาและครอบครัวของท่าน อย่างภาคภูมิใจ ยกย่องให้เกียรติเสมอ ๆ ไม่ใช่ในฐานะที่ภริยาท่านเป็นอธิบดีอีกหน่วยงานหนึ่ง ใน สังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ แต่ในฐานะสุภาพบุรุษ Family Man ทำให้ พวกเราได้รับรู้ถึงความผูกพันกันในครอบครัว พ่อ-แม่-ลูก ของท่าน ซึ่งในสังคมปัจจุบันนี้ทุกคนต่างมุ่ง หน้าทำงาน จนลืมความเป็นครอบครัว ทำให้ผู้เขียนต้องหันกลับมาพิจารณาตัวเอง และตั้งใจทำหน้าที่ให้ สรรค์ชัย อินหว่าง 103


สมบูรณ์และสมดุลยิ่งขึ้นระหว่างงานและครอบครัว ขอบคุณท่านรองฯ สรรค์ชัย อินหว่าง ที่ได้กรุณา ให้ความช่วยเหลือ และเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งให้ผู้เขียนได้ยึดเป็นแบบอย่าง เพราะตลอดเวลาผู้เขียนจะ เตือนตัวเองเสมอว่า “เราเป็นข้าราชการที่มาจากบ้านนอก ไม่มีพวกพ้อง ดังนั้นต้องเจียมเนื้อเจียมตัวให้ มากเป็นพิเศษ” ก็มีท่านเป็นเทียนอีกหนึ่งเล่มที่ทำให้มีความรู้สึกดี ๆ และอุ่นใจเมื่ออยู่ในกรมการพัฒนา ชุมชนนี้ แม้ว่านอกจากที่เขียนถึงแล้ว ผู้เขียนก็ยังไม่เคยไปรบกวนท่านด้วยเรื่องส่วนตัวให้รำคาญใจ นาน ๆ เจอท่านก็สวัสดี ขอบคุณอีกครั้งค่ะ ท่านรองฯ สุดท้ายจริง ๆ ก็ขอให้อำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย โปรดประทานพรให้ท่านรองฯ สรรค์ชัย อินหว่าง และครอบครัวมีความสุขตลอดไปนะคะ...

บันทึกความทรงจำ ผู้บังคับบัญชาในดวงใจ...สรรค์ชัย อินหว่าง

ประภา พร้อมมูล “ดี... มาช่วยกันทำงาน” เป็นคำพูดแรกที่พัฒนากรบ้านนอก ซึ่งอาสาเข้ามาทำงานในเมือง ได้ยินในวันที่เข้าไปรายงานตัวต่อผู้บังคับบัญชาในห้องทำงานของผู้อำนวยการกองอาสาสมัครและผู้นำ ท้องถิ่น รู้จักชื่อว่าท่านชื่อสรรค์ชัย อินหว่าง ด้วยความที่เป็นข้าราชการบ้านนอกจริงๆ ทำงานในพื้นที่จน ไม่มีเวลาเปิดดูไดอารีกรมฯ ว่าใครเป็นใครในกรม กอง แค่คำว่า “พัฒนาการจังหวัด” ก็ขนหัวลุกแล้ว นี่ จะต้องเข้ามาอยู่ในกรมฯ ต้องเจอ “ผู้อำนวยกอง” “รองอธิบดี” “อธิบดี” ความรู้สึกในวันนั้นจะหวั่นๆ ขนาดไหน แต่สิ่งที่ได้พบเห็นกับสิ่งที่คิดต่างกันมาก ในวันที่ได้พบท่านวันแรกความรู้สึกคือท่านเป็น ผู้ใหญ่ใจดี คำพูดแค่นั้น สั้นๆ แต่ แววตา จริงใจของท่าน ทำให้ก้าวแรกในการเข้ามาทำงานในกรมฯ ได้ ตั้งจิต ตั้งใจว่าจะ “ช่วยกันทำงาน” ให้ดีที่สุด ในช่วงระยะเวลาที่ได้ทำงานที่กองอาสาสมัครฯ ภายใต้การกำกับ ดูแลของท่านๆ ยังจดจำมีคำ พูด และการกระทำของท่านหลายๆอย่างไว้เสมอ ซึ่งล้วนเป็นคำพูดและการกระทำที่สะท้อนให้เห็นถึง สไตล์การทำงาน วิธีคิด มุมมองของท่านที่มีต่องานพัฒนาและผู้ใต้บังคับบัญชา เป็นอย่างดี “ไม่มีขอให้บอก มีปัญหาอะไรให้มาหาคนนี้ ปรึกษาคนนี้” เวลาพวกเรา นักวิชาการคิดงาน หรือโครงการอะไรขึ้นมา บางครั้งคิดงบประมาณไม่รอบคอบ จะมีค่าใช้จ่ายอะไรต่อมิอะไรงอกออกมา เรื่อยๆ ก็จะทำให้หัวหน้ากับลูกน้องเริ่มระหอง ระแหง ต่อว่า ต่อขานกัน แต่พอเรื่องไปถึงหูท่านทุกอย่าง ก็เรียบร้อย สงครามเล็กๆ ก็สงบ อีกคำพูดหนึ่งคือ “บาดเจ็บหรือเปล่า.. บอกมา จะให้ช่วยอะไร” คำพูด นี้ท่านจะใช้เวลาท่านเข้าไปเยี่ยมโครงการนำร่องในพื้นที่ ที่กรมฯ ดำเนินการเอง เพราะท่านรู้ดีว่างบ ประมาณที่ตั้งไว้เข้าเนื้อเกือบทุกครั้ง 104 ประติมากร : งานพัฒนาชุ​ุมชน

ศึกษาอดีต วิเคราะห์ประสบการณ์ รังสรรค์งานชุมชน


ความห่วงใยที่ท่านมีให้ลูกน้องมีมากเหลือเกิน หากท่านมีโอกาสไปเยี่ยมโครงการต่างๆ ที่ ลงพื้นที่หรือศูนย์ฝึกอบรม เมื่อท่านไปถึงท่านก็จะมีของฝากติดไม้ ติดมือ และจะถามไถ่สารทุกข์ สุขดิบ พวกเราก่อนเสมอ “มีถุงนอนแล้วยัง เขาค้อเย็นมากเลยนะ ผมมีให้ยืม” ในบางครั้งไปเยี่ยมวันเสาร์ อาทิตย์ โดยไม่ได้บอกล่วงหน้า ไม่พบใครอยู่ในสถานที่อบรมเลยก็มี พวกเรากลับเข้ามาก็ได้รับความ ชื่นใจที่เห็นขนม ของที่ท่านอุตสาห์ซื้อมาฝากวางกองไว้แทนความรัก ความห่วงใยที่ท่านมีให้ต่อลูกน้อง ท่านห่วงลูกน้องเสมอว่าจะกิน อยู่ หลับนอนอย่างไร แต่สำหรับตัวท่านเอง ท่านบอกเสมอ “ไม่ต้อง ห่วงๆ ทำงานไป” “ได้ที่นอนแล้ว ไม่ต้องห่วง” บางครั้งคำว่าได้ที่นอนของท่านก็คือกางมุ้งนอนในห้อง โถงของผู้ใหญ่บ้าน กางเต็นท์นอนบริเวณลานกว้าง.....แค่นั้นเอง ท่านเรียบง่าย สมถะเป็นอย่างยิ่ง หาก ท่านต้องเดินทางไปไหน ถ้าไม่จำเป็นจะไม่รบกวนจังหวัดเลย “ไม่เป็นไรครับ ไปเองได้ มีละอ่อนไป โตย 2 คน” ว่าแล้วท่านผอ.กองก็ชวนพวกเราใช้บริการรถบัสสีส้มของ บขส. เดินทางจากขอนแก่น ไป เพชรบูรณ์ เพื่อดำเนินโครงการจุดตัวอย่างการฝึกอบรมด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ด้วย กระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างยั่งยืนระดับเขต ต่อมาท่านได้เลือ่ นตำแหน่งสูงขึน้ เป็นผอ.ศพช.เขต 2 ระยะหนึง่ และกลับเข้ามาเป็นผูอ้ ำนวยการ สำนักส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพชุมชน จึงก็ได้มีโอกาสทำงานใกล้ชิดท่านอีกระยะหนึ่ง ตอนนี้ท่าน ซี 9 แล้วเป็นผู้บริหารระดับสูงคนหนึ่งของกรมฯ แต่ท่านยังเสมอต้น เสมอปลายไม่เคยเปลี่ยน “สุขสันต์วันวาเลนไทน์ ขอให้ได้รับความรักจากคนทั้งโลก........สรรค์ชัย-กิ่งแก้ว” เป็น SMS วันวาเลนไทน์ที่ท่านจะส่งให้ลูกน้องที่เคยทำงานใกล้ชิดตลอดมา เนื่องจากวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ตรงกับ วันคล้ายวันเกิดของท่าน ได้แต่คิดว่าท่านช่างมีความปรารถนาดี และแบ่งปันความรัก ความสุขให้กับคน รอบข้างเสมอ แม้กระทั่งมดงานตัวเล็กๆ เด็ก ซี 6 อย่างเราก็ยังได้รับเมตตาจากท่าน เมื่อถึงเทศกาล ปีใหม่ สงกรานต์ SMS อวยพรส่งความสุขของท่านก็จะส่งไปยังน้องๆ มดงานในสำนักฯ เสมอ แม้ กระทั่งท่านได้รับตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงขึ้น ท่านก็ยังคงปฏิบัติเหมือนเดิม ไม่ต้องพูดถึงงานแต่งงาน งานศพ งานอื่นๆของลูกน้อง ถ้าท่านรู้ และมีเวลาท่านต้องเดินทางไปด้วยตนเองทุกงาน โดยเฉพาะงาน แต่งงานท่านบอกเสมอ ถ้าลูกน้องสำนักฯ นี้แต่งงาน ใส่ซอง 10,000 บาท ที่ผ่านมาก็มีหนึ่งคนที่ได้รับ เมตตาจากท่าน ซึ่งสาวโสดในสำนักฯ หลายคนได้พยายามอย่างสุดความสามารถแล้วแต่ยังไม่มีโอกาสได้ รับซองปึกหนาๆ จากท่าน ซึ่งท่านจะท้าทายความสามารถเรื่องนี้กับพวกเราอยู่เสมอ สำหรับเรื่องงานท่านได้ริเริ่ม ปูทางไว้หลายเรื่อง ไม่ว่าการก่อตั้งสมาคมผู้นำสตรีไทย สมาคม ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนไทย เรื่องศอช. ก็มาคิดค้นหารูปแบบกันในยุคของท่าน แม้กระทั่งเรื่อง มชช. ท่าน ก็มาต่อยอดงานให้เป็นที่รู้จักกันทั่วไป ท่านเป็นเจ้าของ ทฤษฎีหลายทฤษฎี ซึ่งได้ฟังท่านพูดถึงหลายครั้ง ในหลายวาระ หลายโอกาส เช่น ทฤษฎีต้นไม้ในกระถาง ที่บอกว่าต้นไม้ในกระถางจะเติบโตไปเป็นต้นไม้ ใหญ่ไม่ได้เลย ต่างจากต้นไม้ที่ปลูกลงดินจะเจริญเติบโตแข็งแรง อย่างยั่งยืน เปรียบเทียบได้กับการ ทำงานพัฒนาผู้นำชุมชน กลุ่ม/องค์กร เครือข่าย ที่ต้องเติบโต เก่งกล้าบนพื้นฐานของการพึ่งตนเอง มาก กว่าการโอบอุ้มของหน่วยงานราชการ หรือ ทฤษฎีสามขา ซึ่งขาเป็นฐานราก หรือเสาเข็มของงานพัฒนา สรรค์ชัย อินหว่าง 105


ซึ่งหากมีสามขา จะล้มยาก มั่นคง แข็งแรง โดยมี อบต.เป็นเสาที่หนึ่ง เสาที่สองคือประชาชน และเสาที่ สามคือราชการ นอกจากนั้นท่านยังเปรียบเทียบพัฒนากรว่าเป็น “วิศวกรสังคม” แต่ถ้าไปแบกหาม ทำงานเองทุกเรื่องก็เป็นเหมือน “กรรมกร” หรือ ทฤษฎีโปรยรำล่อปลา เปรียบเทียบกับใส่งบประมาณไป ให้บ้างในช่วงแรกๆ เพื่อดึงดูดความสนใจจากสังคมทั่วไป เราไม่ได้หวังแค่ปลาตัวเล็ก แต่ต้องการได้ปลา ตัวใหญ่ หรือประโยชนที่จะเกิดขึ้นในระยะยามมากกว่า ในวันที่ท่านได้รับแต่งตั้งเป็น “รองอธิบดี” ลูกน้องทุกคนดีใจมากที่สุด ว่าในที่สุดวันของท่านก็ มาถึง แม้กระทั่งท่านได้รับตำแหน่งสูงขึ้นเป็นถึงรองอธิบดีท่านก็ยังเป็นท่านคนเดิม ไม่เคยเปลี่ยนแปลง ท่านยังคงเป็นทั้งผู้บังคับบัญชาระดับสูง และเป็นกัลยาณมิตรของน้องๆ ทุกคนเสมอ แต่พวกเรากลับ รักษาระยะห่างจากท่าน จนท่านบ่นว่า “ทุกวันนี้ จะหาเพื่อนกินยังยากเลย” เห็นท่านที่ไหนก็มีการเดิน ห่างๆ หลบๆ ด้วยเกรงบารมีของท่าน แต่ถึงแม้ระยะห่างระหว่างมดงานอย่างพวกเรา กับผู้บริหารระดับ สูงอย่าง “รองอธิบดี” นับวันจะห่างไกลกัน แต่ทุกครั้งที่พบเจอท่าน หรืออ่านข่าวคราวของท่าน ยังจำคำที่ ท่านเคยบอกไว้ตั้งแต่วันแรกว่า “...มาช่วยกันทำงาน...” วันนี้ ถึงแม้ท่านสรรค์ชัย อินหว่าง จะส่งไม้ต่อให้น้องๆรุ่นหลังรับภารกิจในการสร้างสรรค์ สังคม แต่จะเป็นผู้บังคับบัญชาที่อยู่ในใจของมดงานอย่างพวกเราตลอดไป

มุมมองที่แลเห็น ท่านรองสรรค์ชัย อินหว่าง

เพ็ญแข ศรีสุทธิกุล พัฒนาการจังหวัดเลย

“แมคไกเวอร์” ทำได้ทุกอย่าง “เจ้านายที่ลูกน้องทุกคนรัก” “ผู้บริหารที่เข้าถึงชีวิตจิตใจของผู้นำชุมชนมากที่สุด” “เพื่อนที่ดีของเพื่อนทุกคน” “หัวหน้าครอบครัวที่สร้างครอบครัวที่สมบูรณ์ให้กับสังคม” “มนุษย์ที่มีจิตใจดีที่สุดคนหนึ่ง” ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ไม่มีอะไรเกินจริง จากมุมมองที่มีโอกาสได้รู้จักได้ทำงานกับท่านรองสรรค์ ชัย อินหว่าง ในฐานะผู้ใต้บังคับบัญชาของท่านมาเป็นเวลา ยาวนาน 2 รอบ นับรวมได้ประมาณ 7 ปีภาพ ที่เห็นมาโดยตลอด ท่านรองฯ... บุกงาน... ต่อสู้... เรียนรู้... เพื่อสร้างงานที่มีคุณค่าให้แก่กรมฯ ท่านใช้ เวลาของชีวิตอย่างคุ้มค่าเพื่อกรมฯ 106 ประติมากร : งานพัฒนาชุ​ุมชน

ศึกษาอดีต วิเคราะห์ประสบการณ์ รังสรรค์งานชุมชน


เชื่อมั่นว่า... เมื่อท่านเกษียณอายุราชการในเดือน ตุลาคม 2551 แล้ว จะเป็นการเริ่มมิติใหม่ ของชีวิตนักพัฒนาอีกแบบหนึ่งของท่านอย่างแน่นอน เพราะอย่างไรก็ตามท่านยังมีพลัง มีความรัก ในกรมฯ เกินกว่าที่จะหยุดงานพัฒนาทุกอย่างลงตามระยะเวลาของการเกษียณ พธ. ชุ ม ชน และประชาชน ยิ น ดี ต ้ อ งรั บ ท่ า นรองฯ สู ่ ก ารเป็ น ... ผู ้ น ำ... ปราชญ์ . .. ผู้ทรงคุณวุฒิ... ผู้...ของแผ่นดินค่ะ

คนดี...ที่ทุกคนยอมรับ

ชูสม รัตนนิตย์ นักวิชาการพัฒนาชุมชน 9ชช.

“องค์กรไม่มีวันล้มละลายถ้ามีการพัฒนาทั่วทั้งองค์กร นับตั้งแต่บุคลากรระดับล่าง ระดับกลาง และผู้บริหารระดับสูง” “ผู้บริหารที่ได้พัฒนาจิตใจของตัวเอง เป็นเรื่องสำคัญ เพราะใจเป็นบ่อเกิดของความชั่วและความดีและส่งผลกระทบต่อพฤติกรรม ให้เข้มแข็งพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงเพื่อองค์กร” ท่านรองอธิบดีสรรค์ชัย อินหว่าง เป็นผู้บังคับบัญชาที่ครอบครัวรัตนนิตย์มีโอกาสได้รู้จักท่านหลายมุม “ลูกรู้จักหัวหน้าสรรค์ชัย กับ กิ่งแก้ว อินหว่าง ที่อยู่กรมฯ มั้ยลูก สองคนนี้เคยทำงานกับพ่อมา ก่อน เป็นคนดีมาก ตั้งใจทำงานและมีความรับผิดชอบทั้งคู่เลย เขาเป็นคนเสมอต้นเสมอปลายนะลูก ไม่ ว่าเขาจะเจริญก้าวหน้าอย่างไร แต่กับเพื่อนที่ร่วมงาน ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมาเขาให้เกียรติทุกคน” ...(ประพันธ์ รัตนนิตย์) “ผมเห็นอาสรรค์ชัยมาตั้งแต่เด็ก มาเจอกันอีกทีตอนรับราชการอยู่ที่กรมฯ แล้ว คนนี้ลูกน้องรัก มาก คนในกรมฯ บอกว่าเขาเป็นคนดี และเก่ง นายไว้ใจ” ...(ประศาสน์ รัตนนิตย์) ดิฉันคิดว่าไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะบอกว่าเรารู้จักใครอย่างแท้จริง หากว่าเราไม่เคยได้ร่วมงานด้วย กัน ไม่เคยร่วมทุกข์ร่วมสุข เราจะไม่มีวันรู้จักใครจริง... ในช่วงเวลาปลายปี 2537 - 2541 ดิฉันทำงานที่ กองวิชาการฯ ช่วงนั้นมีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารบ่อยมาก จากผู้อำนวยการวิสุทธิ์ พาณิชกุล ...มาเป็นผู้ อำนวยการเฉวียน กาญจนสุนทร ...มาเป็นผู้อำนวยการวีระพงษ์ ชูชื่นกลิ่น และจนปี 2541 จึงเป็นผู้ อำนวยการสรรค์ชยั อินหว่าง ซึง่ เดิมดำรงตำแหน่งพัฒนาการจังหวัดเชียงใหม่ ด้วยความทีท่ า่ นเป็นลูกหม้อ

กองวิชาการฯ มาก่อนทุกอย่างจึงไม่เป็นศึกหนักสำหรับท่านแต่อย่างใด เด็กสมัยนี้คงบอกว่า...ชิล ชิล...

สรรค์ชัย อินหว่าง 107


๑. จิตใฝ่รู้วิทยาการ ๒. จิตรู้จักคิดวิเคราะห์ ๓. จิตแห่งการสร้างสรรค์ Creative Mind ๔. จิตแห่งความเคารพ เคารพบุคคลอื่นที่มีคุณค่า ของสังคม ๕. จิตแห่งคุณธรรม มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ต่อประชาชน

108 ประติมากร : งานพัฒนาชุ​ุมชน

ศึกษาอดีต วิเคราะห์ประสบการณ์ รังสรรค์งานชุมชน


ครอบครัวต้นแบบ

สรรค์ชัย อินหว่าง 109


ท่องต่างแดน

110 ประติมากร : งานพัฒนาชุ​ุมชน

ศึกษาอดีต วิเคราะห์ประสบการณ์ รังสรรค์งานชุมชน


ประวัติและผลงาน 1. ชื่อ - สกุล นายสรรค์ชัย อินหว่าง 2. ตำแหน่งปัจจุบัน รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน

กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย อัตราเงินเดือน 59,770 บาท (ท.10 เต็มขั้น) 3. วัน เดือน ปีเกิด วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 4. ภูมิลำเนาเดิม อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก 5. ที่อยู่ปัจจุบัน บ้านส่วนตัว เลขที่ 21 และ 23 หมู่บ้านประชานิเวศน์ 3 ซอย 14/9 ถนนสามัคคี ตำบลท่าทราย อำเภอเมืองฯ จังหวัดนนทบุรี 11000 6. สถานภาพครอบครัว 6.1 ภรรยา นางกิ่งแก้ว อินหว่าง วุฒิการศึกษา การศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.), พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต (พบ.ม.) อาชีพ รับราชการ ตำแหน่ง เลขาธิการ (นักบริหาร 10) สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

สรรค์ชัย อินหว่าง 111


6.2 บุตร 2 คน ธิดา 1 คน 6.2.1 นายเกียรติพงษ์ อินหว่าง อายุ 32 ปี วุฒิการศึกษา สถาปัตยกรรมศาสตร์บัณฑิต อาชีพ สถาปนิก บริษัท Creative Kingdom Dubai LLC. Dubai, United Arab Emirate (UAE.) 6.2.2 น.ส.สาวิตรี อินหว่าง อายุ 30 ปี วุฒิการศึกษา B.Sc,M.Sc (AIT) อาชีพ วิศวกรคอมพิวเตอร์ 6.2.3 นายณรงค์ฤทธิ์ อินหว่าง อายุ 27 ปี วุฒิการศึกษา วท.บ.(ประมง) MBA. อาชีพ ที่ปรึกษาระบบงาน Software บริษัท Exact Software International Co.Ltd.

7. วุฒิการศึกษา

7.1 ปริญญาตรี : การศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) สาขาอุตสาหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางเขน กรุงเทพฯ พ.ศ. 2513 7.2 ปริญญาโท : พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต (พบ.ม.) ทางการพัฒนาสังคม (เกียรตินิยมดี) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) กรุงเทพฯ พ.ศ. 2538 7.3 ประกาศนียบัตร 7.3.1 Certificate in Rural Development Supervisors and Coordinators. APDAC : Asian and Pacific Development Administration Centre, KualaLumpur, Malaysia. 1978. 7.3.2 Certificate in Promotion of Rural - based small Industries. APO : Asian Productivity Organization, Tehran. Islamic Republic of Iran. 1998 112 ประติมากร : งานพัฒนาชุ​ุมชน

ศึกษาอดีต วิเคราะห์ประสบการณ์ รังสรรค์งานชุมชน


7.4 การฝึกอบรม 7.4.1 หลักสูตรพัฒนากรตรี รุ่นที่ 24 พ.ศ. 2516 7.4.2 หลักสูตรการรบพิเศษ เพื่อต่อสู้ปราบปรามคอมมิวนิสต์ ตามแผน พตท. 1617 ค่ายสฤษดิ์เสนา กรมรบพิเศษที่ 4 พลร่มที่ 1 หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ พ.ศ. 2517 7.4.3 หลักสูตรนักบริหารงานพัฒนาชุมชนระดับสูง (นพส.) รุ่นที่ 3 พ.ศ. 2536 วิทยาลัยการพัฒนาชุมชน 7.4.4 หลักสูตร การสร้างภาวะผู้นำ สู่ความเป็นเลิศทางการบริหาร สำหรับผู้บริหารระดับกลาง ในสังกัดกระทรวงมหาดไทย สถาบันดำรงราชานุภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2542 7.4.5 หลักสูตรนักบริหารระดับสูง (นบส.1) รุ่นที่ 30 วิทยาลัยนักบริหาร สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน สำนักงาน ก.พ. พ.ศ. 2543 7.4.6 สอบผ่านการประเมินสมรรถนะหลักทางการบริหารสำหรับ ตำแหน่งนักบริหารระดับสูง (SES : Senior Executive Service) ของสำนักงาน ก.พ. ขึ้นบัญชีวันที่ 6 กันยายน 2544 รหัส IT 025 7.5 การศึกษาดูงาน 7.5.1 ด้านกิจการนักศึกษาอาสาสมัครขององค์การ WUS : World University Service ที่ประเทศอินเดีย (พ.ศ. 2512) ประเทศ ฟิลิปปินส์ และฮ่องกง (พ.ศ. 2515) 7.5.2 ด้านการพัฒนาชุมชน การบริหารเครื่องจักรกล และการพัฒนาแหล่งน้ำ ประเทศสิงคโปร์, เกาหลีใต้, ไต้หวัน, จีน, เนเธอแลนด์, เยอรมันนี, ออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ พ.ศ. 2525, 2526, 2536, 2538 และ 2539

สรรค์ชัย อินหว่าง 113


7.5.3 7.5.4 7.5.5

ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เพื่อพัฒนาหลักสูตรนานาชาติ ว่าด้วยการฝึกอบรมและส่งเสริมการประกอบการธุรกิจชุมชน (Community Entrepreneurship) ณ ประเทศสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน ปี 2540 ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เพื่อพัฒนาหลักสูตร การฝึกอบรมผู้นำชุมชน ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ALS) ณ สถาบันภูมิศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งกรุง Bern ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พ.ศ. 2543 เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายไทยในการเจรจาทำบันทึกข้อตกลง และดำเนินงานโครงการ สร้างผู้นำในอนาคตเพื่อการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น ( FLE ) กับ โครงการพัฒนา ภาวะผู้นำชุมชนระหว่างประเทศ ( GLE ) ณ ประเทศ สหรัฐอเมริกา แคนาดา สวีเดน อังกฤษ ปี 2546 2547 และ 2548

8. ประวัติการรับราชการ พ.ศ. 2516 พ.ศ. 2517 พ.ศ. 2519 พ.ศ. 2522

เริ่มรับราชการ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2516 ตำแหน่งพัฒนากรตรี อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย พัฒนากรตรี (ตามแผน พตท. 1617) อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย พัฒนาการอำเภอ (เจ้าหน้าที่บริหารงานพัฒนาชุมชน 4 - 5) อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย (ปฏิบัติงานตามแผน พตท.1617) พัฒนาการอำเภอ (เจ้าหน้าที่บริหารงานพัฒนาชุมชน 5) อำเภอเมือง จังหวัดเลย (ปฏิบัติงานตามแผน พตท.1718)

114 ประติมากร : งานพัฒนาชุ​ุมชน

ศึกษาอดีต วิเคราะห์ประสบการณ์ รังสรรค์งานชุมชน


พ.ศ. 2525 พ.ศ. 2530 พ.ศ. 2533 พ.ศ. 2537 พ.ศ. 2539 พ.ศ. 2540 พ.ศ. 2541 พ.ศ. 2544 พ.ศ. 2546

ผู้ช่วยพัฒนาการจังหวัดเลย (ช่วยราชการสำนักงานโครงการเงินกู้เยนเครดิต : NVDP : New Village Development Programme) หัวหน้างาน (เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน 6) งานแผนงาน ฝ่ายนโยบายและแผน กองวิชาการและแผนงาน หัวหน้าฝ่าย (เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน 7) ฝ่ายศูนย์ข้อมูลเพื่อการพัฒนาชนบท กองวิชาการและแผนงาน พัฒนาการจังหวัดเพชรบูรณ์ (ระดับ 8) พัฒนาการจังหวัดเชียงใหม่ (ระดับ 8) ผู้อำนวยการกองวิชาการและแผนงาน (ระดับ 8) ผู้อำนวยการกองพัฒนาอาสาสมัครและผู้นำท้องถิ่น (ระดับ 8) ผู้อำนวยการ (ระดับ 9) ศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 2 จังหวัดชลบุรี ผู้อำนวยการ (ระดับ 9 ) สำนักส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย 6 พ.ย. 2549 รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

9. เกียรติประวัติ 9.1 9.2 9.3

พ.ศ. 2511 รางวัล An Outstanding Student of the Year จาก The British Council พ.ศ. 2517 สอบได้ที่ 1 (จากผู้เข้าฝึก 110 คน) หลักสูตรการรบพิเศษเพื่อปราบปรามคอมมิวนิสต์ ตามแผน พตท.1617 กรมรบพิเศษที่ 4 (พลร่ม) ค่ายสฤษดิ์เสนา พ.ศ. 2522 สอบได้ที่ 1 ของประเทศ ในการสอบแข่งขัน เพื่อเลื่อนระดับ ตำแหน่งพัฒนาการอำเภอ (เจ้าหน้าที่บริหารงานพัฒนาชุมชน 5) สรรค์ชัย อินหว่าง 115


9.4 9.5 9.6 9.7 9.8 9.9

พ.ศ. 2526 กรรมการวิชาการ คณะที่ 449 (กว.449) สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ผลงานออก มอก. 555/2528 และ มอก. 575/2528 พ.ศ. 2533 รางวัลเกียรติคุณเหรียญทอง สาขาวิจัยอุตสาหกรรมเคมี สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วท.) (ได้รับรางวัลเพียง 2 คน กับ ศาสตราจารย ดร.สมิทธิ์ คำเพิ่มพูล ผู้ว่าการ วท.) พ.ศ. 2538 รางวัลเรียนดี สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) พ.ศ. 2541 รางวัลเกียรติยศ เพื่อประกาศเกียรติคุณเป็น “บุคคลตัวอย่าง ประจำปี 2541” มูลนิธิเพื่อสังคมไทย (รับรางวัลพร้อมกับ ศาสตราจารย์ ร.ต.อ. ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์) พ.ศ. 2543 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิประจำหลักสูตรนานาชาติบัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ศาสตราจารย์ ดร.กำจร มนูญปิจุ เป็นประธานกรรมการ) พ.ศ. 2544 อนุกรรมการพัฒนาระบบสวัสดิการชุมชน สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.)

10. ผลงานดีเด่น 10.1 โครงการ “เย็นศิระ” ฐานปฏิบัติการบ้านหมากแข้ง ตำบลกกสะทอน อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย (อยู่ในหุบเขาภูลมโล เขตสมรภูมิ ภูหินร่องก้า แผน พตท. 1617) ในฐานะ หน.กร.ศอป.รมน. อ.ด่านซ้าย ระยะเวลา 5 ปี (ปี 2517 - 2522) 10.2 โครงการพั ฒ นาแหล่ ง น้ ำ โดยริ เ ริ ่ ม ใช้ เ ทคโนโลยี แ ผ่ น พลาสติ ก กรุ ป ้ อ งกั น การรั ่ ว ซึ ม ตามโครงการพัฒนาชนบทยากจน (NVDP : New Village Development Programme) จำนวน 806 แห่ง ใน 38 จังหวัด (ปี 2525 - 2529) 10.3 การพัฒนาระบบแผนงานและงบประมาณของกรมการพัฒนาชุมชน ตามแผนพัฒนาชนบท (กชช. - กชช.ภ - กนภ.) ได้เสนอ 4 กลยุทธ์ ในการเพิ่มงบประมาณจนสามารถเพิ่มงบประมาณ เงินอุดหนุน (หมวด 800) ของกรมฯ จาก 44.4 ล้านบาท เป็นมากกว่า 1,000 ล้านบาท ได้ภายใน 3 ปี (ปีงบประมาณ 2530 - 2533) 116 ประติมากร : งานพัฒนาชุ​ุมชน

ศึกษาอดีต วิเคราะห์ประสบการณ์ รังสรรค์งานชุมชน


10.4 พั ฒ นาระบบข้ อ มู ล พื ้ น ฐานเพื ่ อ การพั ฒ นาชนบท (ข้ อ มู ล จปฐ. และข้ อ มู ล กชช. 2ค) จนสามารถถวายสมเด็ จ พระเทพรั ต นราชสุ ด าฯ สยามบรมราชกุ ม ารี ในปี 2534 และ ทรงโปรดมีพระราชกระแสให้นำผลการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลไปถวายทุกปี จนถึงปัจจุบัน

และดำเนินการขอให้คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2536 ให้ทุกส่วนราชการ ใช้ข้อมูล จปฐ. กับข้อมูล กชช.2ค. ในการวางแผนการอนุมัติ งบประมาณ และการติดตาม ผลการพั ฒ นาชนบทได้ ในฐานะหั ว หน้ า ฝ่ า ยศู น ย์ ข ้ อ มู ล เพื ่ อ การพั ฒ นาชนบทคนแรก (ปี 2533 - 2537) 10.5 เป็ น ผู ้ ย กร่ า งโครงการแก้ ไ ขปั ญ หาความยากจน (กข.คจ.) ระยะที ่ 1 ปี 2536 - 2540 ซึ ่ ง เป็ น โครงการตามกลยุ ท ธ์ ส ่ ง เสริ ม การใช้ ป ระโยชน์ จากข้ อ มู ล กชช. 2ค และ จปฐ. ตามนโยบายของรองปลั ด กระทรวงมหาดไทย ฝ่ า ยพั ฒ นา (นายประมวล รุ จ นเสรี ) พ.ศ. 2535 ใช้ ง บประมาณของสำนั ก งานปลั ด กระทรวงมหาดไทย ปี 2536 ดำเนิ น การ ในปี แ รก 1,000 หมู ่ บ ้ า น วงเงิ น 300 ล้ า นบาท แล้ ว จึ ง ดำเนิ น การต่ อ ในปี ง บประมาณ 2537 - 2540 ด้ ว ยงบประมาณของกรมการพั ฒ นาชุ ม ชน ได้ ต ามมติ ค ณะรั ฐ มนตรี เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2536 จนครบ 11,806 หมู่บ้าน ตามจำนวนหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนา อันดับ 1 (ล้าหลัง) ที่ปรากฏตามผลการวิเคราะห์ข้อมูล กชช. 2ค ปี 2533 10.6 เป็ น ผู ้ ร ิ เ ริ ่ ม พั ฒ นาระบบรายงานอี เ ลคทรอนิ ก ส์ (E - Report) ทางระบบคอมพิ ว เตอร์ File Transfer หรือ Online เพื่อลดภาระการรายงานของ เจ้าหน้าที่ระดับอำเภอ จังหวัด เขต เมื่อปี 2535 (หัวหน้าฝ่ายศูนย์ข้อมูลฯ) พัฒนาต่อในปี 2540 (ผอ.กองวิชาการฯ) แล้วทำนำร่อง สำเร็จที่ ศพช.เขต 2 ในปี 2545 (ผอ.ศพช.เขต 2) 10.7 เป็นหัวหน้าทีมวิจัยและพัฒนา “การพัฒนาองค์กรชุมชนและเครือข่าย” เพื่อค้นหาแนวทาง การพัฒนา เพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชนอย่างยั่งยืน ตามปรัชญาของการพัฒนาชุมชนที่ว่า

“สร้างพลังชุมชน และใช้พลังชุมชนในการพัฒนาชุมชน” ตั้งแต่ปี 2541 - 2544 จนก่อให้เกิด

นโยบาย “ศูนย์ประสานงานองค์กรชุมชน (ศอช.)” ซึ่งถือเป็นนโยบาย/แนวทางหลัก ในการ ดำเนินงานพัฒนาชุมชน ตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นไป สรรค์ชัย อินหว่าง 117


10.8 เป็ น หั ว หน้ า คณะทำงาน ปรั บ ปรุ ง แผนงานงบประมาณของกรมการพั ฒ นาชุ ม ชน จาก หลายแผนงานเป็นแผนงานเดียว คือ“แผนงานพัฒนาศักยภาพองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรชุมชน” เมื่อปี 2544 เพื่อเตรียมพร้อมรองรับการปฏิรูประบบราชการ และได้ เริ่มใช้แผนงานงบประมาณดังกล่าว ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2545 (ก่อนการปฏิรูประบบราชการ แล้วเสร็จ)

11. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ที่ได้รับ 11.1 เหรียญราชการชายแดน เหรียญพิทักษ์เสรีชน เหรียญกาชาดสดุดี เหรียญจักรพรรดิมาลา 11.2 จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย (จม.) ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ตม.) ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ทม.) 11.3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ตช.) ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ทช.) 11.4 ปถมาภรณ์มงกุฎไทย ( ปม.) 11.5 ปถมาภรณ์ช้างเผือก (ปช.)

12. การปฏิบัติราชการพิเศษ 12.1 ปฏิบัติราชการต่อสู้และปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ แนวชายแดนจังหวัดเลย ตามแผน พตท. 1617 และ 1718 ระหว่างวันที่ 15 สิงหาคม 2517 ถึงวันที่ 24 มีนาคม 2524 12.2 ปฏิบัติราชการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) สวนรืน่ ฤดี กรุงเทพฯ ตามโครงการน้ำพระทัยจากในหลวง (อีสานเขียว) ระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2533 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2534

118 ประติมากร : งานพัฒนาชุ​ุมชน

ศึกษาอดีต วิเคราะห์ประสบการณ์ รังสรรค์งานชุมชน


12.3 ปฏิบัติราชการ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนากองทัพภาคที่ 3 ส่วนหน้า จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 16 ตุลาคม 2539 ถึงวันที่ 10 ตุลาคม 2540

13. อายุราชการ รวม 45 ปี 2 เดือน 8 วัน แยกเป็น

13.1 อายุราชการปกติ 35 ปี 7 เดือน 24 วัน 13.2 อายุราชการทวีคูณ 9 ปี 6 เดือน 14 วัน

สรรค์ชัย อินหว่าง 119


ประติมากร : งานพัฒนาชุมชน ผู้เขียน ประสานงาน พิมพ์

สรรค์ชัย อินหว่าง ชูสม รัตนนิตย์ กมลทิพย์ นนท์พิทักษ์ เส่ง สิงห์โตทอง เพ็ญแข ศรีสุทธิกุล ชนมณัฐ รอดบุญธรรม ปโยธร พัทธรัตน์ ยุพดี หาญอักษรณรงค์ ชฎาพร ร่มธรรมกุล ประภา พร้อมมูล วจิรา เดชารัตน์ พิศมัย ศิริคุณ

120 ประติมากร : งานพัฒนาชุ​ุมชน

ศึกษาอดีต วิเคราะห์ประสบการณ์ รังสรรค์งานชุมชน



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.