คู่มือ แนวทางการดำ�เนินงาน
สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน
โครงการจัดทำ�สื่อส่งเสริมการดำ�เนินงานสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน
คู่มือ แนวทางการดำ�เนินงาน
สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน
คำ�นำ�
กรมการพัฒนาชุมชนได้สนับสนุนให้มีการจัดตั้งสถาบันการ จัดการเงินทุนชุมชน โดยให้กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตที่มีความพร้อม เป็นแกนนำ�ในการจัดตั้ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การบริหารจัดการ ทุนชุมชนเป็นเอกภาพ และมีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาของชุมชน โดยชุมชน เป็นแหล่งทุนและสวัสดิการ ตอบสนองความต้องการที่หลากหลาย และเป็นศูนย์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ของชุมชน โดยเริ่มดำ�เนินการนำ�ร่อง มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 ปัจจุบันมีการจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ขึ้นจำ�นวนทั้งสิ้น 312 แห่ง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 กรมการพัฒนาชุมชนได้ปรับ แนวทางการดำ�เนินงานสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบางส่วน เพื่อ การดำ�เนินงานสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนมีประสิทธิภาพสุงสุด และได้ดำ�เนินการจัดทำ�สื่อคู่มือแนวทางการดำ�เนินงานสถาบันการจัดการ เงินทุนชุมชนในรูปแบบการ์ตูนตามแนวทางการดำ�เนินงานที่ปรับใหม่ เพื่อสนับสนุนการดำ�เนินงานสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนในพื้นที่ ต่อไป..
คณะผู้จัดทำ� มีนาคม 2554
แนะนำ�ตัวละคร ผู้ใหญ่หนู : ผู้ใหญ่บ้านที่ยึดหลัก คุณธรรมในการปกครองดูแล ลูกบ้าน สนใจไฝ่รู้ ในงานพัฒนาชุมชน
ทิดปื๊ด : คนหนุ่มไฟแรง
ขยันขันแข็งในการทำ�งาน เป็นผู้นำ� ในหมู่บ้านหลายตำ�แหน่ง ทั้งสมาชิก อบต. ผู้นำ�อช. ฯลฯ
ป้าสอางค์ : ประธานกลุ่มอาชีพ
ทำ�กล้วยกวนในหมู่บ้าน ผู้หญิงเก่งที่ สนใจความเป็นมาเป็นไปของคนใน หมู่บ้าน อย่างชนิดที่เรียกว่าใครทำ� อะไรรู้หมด
พัฒนากรต๋อย : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนที่มีความมุ่งมั่น ขยันขันแข็งในการทำ�งาน เข้ากับชาวบ้านและผู้นำ� ชุมชนได้เป็นอย่างดี 4
คู่มือ แนวทางการดำ�เนินงานสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน
ณ หมู่บ้านหัวลำ�พูน้อย อำ�เภอคลองสองเขื่อน หมู่บ้านที่เต็ม ไปด้วยธรรมชาติที่สวยงามร่มรื่น ลำ�ธารใสสะอาดตา เป็นหมู่บ้าน ที่ความอุดมสมบูรณ์ของสภาพแวดล้อมอยู่มาก คนในหมู่บ้าน ส่วนใหญ่มีอาชีพทำ�การเกษตร กินอยู่แบบพอเพียง ไม่เดือดร้อน มีความสุข ....... อยู่มาวันนึง
คู่มือ แนวทางการดำ�เนินงานสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน
5
6
คู่มือ แนวทางการดำ�เนินงานสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน
ณ บ้านผู้ใหญ่หนู ขณะที่ผุู้ใหญ่นั่งอยู่ระเบียงหน้าบ้าน นั่นเอง ป้าสอางค์ ก็วิ่งกระหืดกระหอบมาพร้อมตะโกนเสียงดังลั่น
ป้าสอางค์ : ผู้ใหญ่ ๆ ๆ ๆ เกิดเรื่องใหญ่แล้ว ผู้ใหญ่หนู : เอ้าใครมา อ้อ ป้าสอางค์ มีใครเป็นอะไร
หรือป้า เอ้าพักให้หายเหนื่อยก่อนแล้วค่อย ๆ พูด
ป้าสอางค์ : แฮก ๆๆ ไม่คิดว่าวิ่งเร็ว ๆ จะเหนื่อยขนาดนี้ เมื่อกี้ป้าไปตลาดเห็นเจ้าจุกมันถูกรุมทำ�ร้าย อาการเป็นตายเท่ากันเลย
ผู้ใหญ่หนู : เรื่องเป็นมายังไงล่ะป้า
ป้าสอางค์ : คนแถวนัน ้ เล่าให้ฟังว่าเจ้าจุกมันไปกู้เงินนอก
ระบบมาแล้วไม่มีส่งใช้เขานะซิ เขาก็เลยส่งคนมา ข่มขู่ทำ�ร้ายเอา น่าสงสารมันนะผู้ใหญ่ นี่ก็ไม่รู้ อาการเป็นไงบ้าง
ผู้ใหญ่หนู : เอ....ชักจะไม่เข้าทีละซิ อาทิตย์ก่อนก็เห็นมี
คนในหมู่บ้านเราถูกทำ�ร้ายแบบนี้เหมือนกัน สาเหตุมันเกิดจากอะไรน่ะ
ในขณะที่ผู้ใหญ่หนูและป้าสอางค์ พูดคุยกันอยู่นั้น ทิดปื๊ดก็เดิน เข้ามาพร้อมกับยื่นเอกสาร ให้ผู้ใหญ่หนู
คู่มือ แนวทางการดำ�เนินงานสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน
7
ทิดปื้ด
สวัสดีผู้ใหญ่ สวัสดีป้าสอางค์ และนี่ข้อมูลการ ดำ�เนินงานตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของหมู่บ้านเรา ที่ผู้ใหญ่ให้รวบรวมมาครับ กำ�ลังคุยอะไรกันอยู่เหรอครับเนี่ย :
ผู้ใหญ่หนู : ก็เจ้าจุกนะซิ มันถูกทำ�ร้ายเมื่อเช้านี้ เห็นป้า
สอางค์ว่าเป็นตายเท่ากันกำ�ลังคิดว่ามันเกิดอะไรขึ้นกับหมู่บ้าน ของเราอาทิตย์ก่อนก็มีข่าวคราวเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นเหมือนกัน
ทิดปื้ด : วันที่ 15 ที่จะถึงนี้เราจะส่งใช้เงินกู้กองทุนเพื่อ
พัฒนาอาชีพเห็นเจ้าจุกมันบ่น ๆ ว่ายังไม่รู้จะเอาที่ไหนมาคืน 8
คู่มือ แนวทางการดำ�เนินงานสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน
กลุ่มอาชีพ กข.คจ. กทบ. กลุ่มออมทรัพย์ เพื่อการผลิต
สงสัยคงจะไปยืมเงิน นายทุนมาเห็นว่าเขามี อิทธิพลมาก ครบกำ�หนด ไม่มีเงินส่งเงินค่างวด ก็เลยส่งคนมาสั่งสอนเฮ้อ ! ใจร้ายจริง ๆ
ป้าสอางค์ : สิ้นเดือนนี้
ก็ถึงกำ�หนดส่งคืนเงินกู้กลุ่ม ทำ�อาชีพกล้วยกวนของป้า ด้วยเหมือนกัน เห็นเมีย เจ้าจุกมันว่า กำ�ลังหมุนเงินเพื่อให้ทันวันสิ้นเดือนอยู่ นี่สงสัย กู้เงินแทบทุกกลุ่มกองทุนแน่ ๆ เลย ก็เลยเกิดปัญหาหมุนเงิน ไม่ทัน กู้โน่นโปะนี่ แล้วนี่ยังมาโดนทำ�ร้ายอีกนะ จะช่วยกัน ยังไงละเนี่ย ผู้ใหญ่หนู : เอ..ระบบเศรษฐกิจของหมู่บ้านเราถือได้ว่า อยู่ในระดับดีนี่นา คนหมู่บ้านก็มีงานทำ� มีแหล่ง ทุนในการประกอบอาชีพ ทั้งกลุ่มออมทรัพย์ เพื่อการผลิต กองทุนหมู่บ้าน กองทุน กข.คจ.กลุ่ม อาชีพทำ�กล้วยกวน กองทุนเพือ่ พัฒนาอาชีพ กลุม่ ปุย๋ เพือ่ เกษตรกร โอย!! นี่ครบหรือยังเนี่ยทิดปี๊ด
ทิดปื้ด : ยังไม่ครบครับผู้ใหญ่ ยังขาดกลุ่ม ส่งเสริมการเกษตรแบบพอเพียงที่พึ่งจะจัดตั้ง ไปได้ไม่กี่เดือนนี่เองครับ
คู่มือ แนวทางการดำ�เนินงานสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน
9
ผู้ใหญ่หนู : ปัญหามันเกิดจากอะไรกันนะ? ทิดปื้ด
ภาระหนี้สินที่เกิดจากการกู้เงินหลายกองทุนไงครับ ผู้ใหญ่เนื่องจากหมู่บ้านเรามีกลุ่มกองทุนเยอะมาก แล้วทุกกลุ่ม ก็มีกิจกรรมการกู้ยืมเงินเพื่อไปประกอบอาชีพคล้าย ๆ กัน อีกอย่างหนึ่ง คนในหมู่บ้านส่วนมากก็เป็นสมาชิกของทุกกลุ่ม กองทุนอยู่แล้ว เมื่อไม่มีเงินทุนประกอบอาชีพก็กู้กองทุนบาง กองทุนมีเงินทุนน้อย กู้ไปก็ไม่พอต่อการประกอบอาชีพก็เลย ต้องกู้ทุกกองทุน เลยเข้าลักษณะหมุนเงินกู้กองทุนโน้น ส่งกองทุนนี้ ประมาณนี้ละครับผู้ใหญ่ :
ป้าสอางค์ : ป้าก็ว่าอย่างนั้นแหละ ดูอย่างเจ้าุกซิ ดูท่าแล้ว
คงจะหมุนเงินไม่ทันก็เลยต้องกู้หนี้นอกระบบมา แล้วไม่มีใช้ เขาก็เลยต้องมารับกรรมแบบนี้
ผู้ใหญ่หนู : ไม่ได้การแล้ว เราต้องหาวิธีการอะไรซักอย่าง
มาแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ไม่งั้นหมู่บ้านเราต้องไม่สงบสุขแน่ ๆ 10
คู่มือ แนวทางการดำ�เนินงานสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน
ทิดปื้ด : เมื่อวานผมเข้าไปหาพัฒนากรต๋อยที่อำ�เภอมา
เขาเล่าให้ฟังว่าตอนนี้กรมการพัฒนาชุมชนเขามี แนวคิดการ บริหารจัดการกองทุนแนวใหม่ ไม่รู้จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับ หมู่บ้านเราได้หรือเปล่าลองไปคุยกับเขาดีมั้ยผู้ใหญ่เผื่อจะมี ทางออกที่ดีก็ได้นะครับ ผู้ใหญ่หนู : เออดี ๆๆ งั้นพรุ่งข้าจะเข้าไปพบคุณพัฒนากร เขาซะหน่อย เช้าวันรุ่งขึ้น ณ อำ�เภอคลองสองเขื่อน สำ�นักงานพัฒนาชุมชนอำ�เภอคลองสองเขื่อน ยินดีต้อนรับ
พัฒนากรต๋อย : หวัดดีผู้ใหญ่
เชิญนั่งก่อนครับ วันนี้ผมว่าจะ เข้าไปหาผู้ใหญ่อยู่พอดีเลย ช่วงนี้งานเยอะน่าดู ที่คุยกันไว้ ว่าจะไปทานข้าวบ้านผู้ใหญ่ก็เลย ยังไม่ได้ไปซักที ว่าแต่ว่ามาวันนี้ มีอะไรเป็นพิเศษเหรอครับ
คู่มือ แนวทางการดำ�เนินงานสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน
11
ผู้ใหญ่หนู : ก็มีเรื่องจะปรึกษาคุณพัฒนากรนิดหน่อย
ช่วงนี้หมู่บ้านผมมีเรื่องราวไม่ค่อยจะดีเกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ อาทิตย์ก่อนก็มีคนในหมู่บ้านถูกทำ�ร้ายร่างกาย เมื่อวานก็เกิดขึ้น อีก สองคดีนี้ล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นจากภาวะหนี้นอกระบบทั้งนั้น ได้คุยกับทิดปึ๊ด และป้าสอางค์เมื่อวาน คิดว่าต้นเหตุของ ปัญหาน่าจะเกิดจากการหมุนเงินกู้จากกองทุนที่มีอยู่ในหมู่บ้าน พอหมุนไม่ทันก็เลยต้องกู้เงินนอกระบบมาเมื่อไม่มีคืนให้เขา ก็เลยถูกข่มขู่ทำ�ร้ายเอา เห็นทิดปื๊ด เขาว่าคุณพัฒนามีวิธีมัน เป็นยังไงละ เผื่อว่าจะใช้แก้ปัญหาในหมู่บ้านผมได้บ้าง
พัฒนากรต๋อย : ผมว่าทุกปัญหามีทางออกอยู่แล้วละครับ
ผู้ใหญ่ เมื่อเรารู้ถึงสาเหตุของปัญหาเราก็รีบจัดการกับปัญหานั้น เข้าเรื่องกันดีกว่าเนอะ ไอ้แนวคิดการบริหารจัดการ กองทุนแนวใหม่เนี่ย ชื่อทางการของเขาก็คือ “สถาบันการจัดการ เงินทุนชุมชน” กรมการพัฒนาชุมชน ได้ส่งเสริมให้มี การจัดตั้งมาตั้งแต่ปี 2551 แล้วละครับ วิธีการก็คือ 12
คู่มือ แนวทางการดำ�เนินงานสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน
ให้กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตเป็นแกนนำ�ในการจัดตั้ง วัตถุประสงค์ก็เพื่อเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงการบริหารจัดการ กองทุนชุมชนให้เป็นระบบและมีประสิทธิภาพเกิดประโยชน์ สูงสุดกับชุมชน และปัจจุบันในแต่หมู่บ้านมีความหลาก หลายของกองทุนอยู่มาก แต่ละกองทุนก็มีคณะกรรมการ มีระเบียบ มีสมาชิก มีเงินทุนบ้างไม่มีบ้าง ทำ�ให้เกิด ปัญหาในการบริหารจัดการหลายด้าน
ผู้ใหญ่หนู : แล้วถ้าจะจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุน
ชุมชนต้องทำ�ยังไง
พัฒนากรต๋อย : เราต้องวิเคราะห์สถานการณ์ความพร้อม
ของหมู่บ้านก่อนโดยเฉพาะกลุ่มกองทุนที่มีอยู่ในหมู่บ้าน เขาพร้อมที่จะเข้าร่วมบริหารจัดการกองทุนในรูปแบบของ “สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน” หรือไม่ พรุ่งนี้ผู้ใหญ่ ช่วยนัดประชุมประชาคมผู้นำ�กลุ่ม/กองทุน ให้ด้วยนะครับ จะได้เอารายละเอียดไปคุยในที่ประชุมกัน
ผู้ใหญ่หนู : ได้ครับ งั้นพรุ่งนี้ 10 โมงเช้าเจอกันที่ศาลา
ประชาคมหมู่บ้านนะครับ วันนี้ลาละครับ
พัฒนากรต๋อย
:
ครับสวัสดีครับผู้ใหญ่
คู่มือ แนวทางการดำ�เนินงานสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน
13
ณ ศาลาประชาคมหมู่บ้านหัวลำ�พูน้อย
พัฒนากรต๋อย : สวัสดีครับท่านคณะกรรมการทุกท่าน 14
ผู้ใหญ่คงแจ้งให้ท่านทราบแล้วนะครับว่าวันนี้เราจะมาพูดคุยกัน
คู่มือ แนวทางการดำ�เนินงานสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน
เรื่อง “การจัดตั้งสถาบันการจัดการ เงินทุนชุมชน” ก่อนอื่นเลยเราต้อง รู้ว่าสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน คืออะไร สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน คือ สถาบันการเงินของชุมชน ทีจ่ ดั ตัง้ ขึน ้ โดยมีการบูรณาการเชื่อมโยง กลุ่ม องค์กร กองทุนการเงินต่างๆ ร่วมกันบริหารจัดการเงินทุนในชุมชน เพื่อให้เกิดการใช้เงินทุนในชุมชนอย่างคุ้มค่าเกิดประโยชน์ สูงสุด ดังผังแสดงการดำ�เนินงานสถาบันการจัดการเงินทุน ชุมชน ต่อไปนี้
.
ปัจจุบันกองทุนชุมชนในหมู่บ้านมีมาก บางกองทุน ยังดำ�เนินกิจกรรมอยู่บางกองทุนมีเงินแต่ไม่มีกิจกรรมแล้ว คณะกรรมการบริหารกองทุนก็มีหลายคณะ เกิดการสับสน ในวิธีการบริหารงาน ประชุมบ่อยบ้างทำ�ให้ไม่มีเวลา ในการประกอบอาชีพ และ 1 ครัวเรือนเป็นสมาชิกหลาย กองทุนทำ�ให้เกิดปัญหากู้เงินทุกกองทุนภาระหนี้สินเพิ่มขึ้น
คู่มือ แนวทางการดำ�เนินงานสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน
15
สาเหตุที่ต้องมีการจัดตั้งสถาบันฯ ก็เพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ขั้นตอนแรกของการจัดตั้ง เราต้องร่วมกันวิเคราะห์ สถานการณ์กองทุนร่วมกันเพื่อจะได้ทราบถึงการบริหาร จัดการ ปัญหาของแต่ละกองทุนเหมือนหรือแตกต่างกัน อย่างไร จะได้ช่วยกันกำ�หนดแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน ป้าสอางค์ : อิฉันอยากจะรู้ว่าไอ้ “สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน” มันจะแตกต่างจากกองทุนอื่นยังไง หล่ะพ่อพัฒนากร
พัฒนากรต๋อย : แตกต่างซิครับ สถาบันการจัดการเงิน
ทุนชุมชนเป็นองค์กรในการเชื่อมโยงกองทุนในชุมชนให้มี การบริหารจัดการร่วมกัน เพื่อการบริหารจัดการเงินทุน ชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อชุมชน ไม่ใช่ต่างคนต่างทำ�อยู่อย่างเช่นปัจจุบัน
ผู้ใหญ่หนู : แล้วใครจะเป็น
ผู้บริหารจัดการสถาบันฯ
16
คู่มือ แนวทางการดำ�เนินงานสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน
พัฒนากรต๋อย : คณะกรรมการสถาบันฯ ครับ คณะกรรมการ
ได้มาจากผู้แทนกรรมการจากกลุ่ม กองทุนชุมชนต่าง ๆ ที่ตัดสินใจเข้าร่วมจัดตั้งสถาบันฯ ในหมู่บ้านเรานี่แหละ และอาจมีผู้ทรงคุณวุฒิ ปราชญ์ชาวบ้าน ด้วยก็ได้ จำ�นวน คณะกรรมการก็แล้วแต่ความเหมาะสมวิธีการก็ไม่ยุ่งยากเลือก และรับรองผ่านเวทีประชาคมครับ
ทิดปื้ด
แล้วเงินทุนในการ ดำ�เนินงานของสถาบันฯ เราจะเอามาจากไหนครับ :
พัฒนากรต๋อย : ทุนในการ
ดำ�เนินงานได้มาจากการลงหุ้นของ กลุ่มกองทุน ที่เป็นสมาชิกองทุนครับ อาจมีกิจกรรมการ รับฝากเงินก็ได้แต่ต้องฝากในนามกลุ่ม ห้ามฝากเป็นราย บุคคล และถ้าทุนดำ�เนินการไม่พอก็สามารถกู้ มาจากสถาบัน การเงิน เช่น ธนาคารได้ครับ
ผู้ใหญ่หนู : จัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนแล้วจะ ดำ�เนินการอย่างไร
พัฒนากรต๋อย : สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน
ต้องมีข้อตกลงร่วมกัน คือ การกำ�หนดระเบียบข้อบังคับ เพื่อใช้เป็นแนวทางการดำ�เนินงานของสถาบันฯ โดยเวที
คู่มือ แนวทางการดำ�เนินงานสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน
17
ประชาคมหมู่บ้านครับ เมื่อมีระเบียบก็สามารถดำ�เนินการ ขับเคลื่อนกิจกรรมได้แล้วครับ อ้อ! สำ�หรับกิจกรรมของ สถาบันฯ จะดำ�เนินการใน 3 ประเภท ดังนี้ครับ 1. กิจกรรมประเภทการลงทุน หรือ แสวงหารายได้ โดยจะดำ�เนินการในลักษณะของการสนับสนุนเงินทุนให้ กลุ่มกองทุนต่าง ๆ ยืมเงินไปดำ�เนินกิจกรรม หรือการรับ ฝากเงินจากกลุ่มกองทุนต่าง ๆ นอกจากนั้น สถาบันการ จัดการเงินทุนชุมชน ยังดำ�เนินกิจกรรมที่กลุ่มกองทุนต่าง ๆ ไม่สามารถดำ�เนินการได้ เช่น รับฝาก/ถอน กู้ยืมเงินทุน ศูนย์สาธิตการตลาด เบี ้ยยังชีพ.... การรับซื้อผลผลิต ปั๊มน้ำ�มัน ธุรกิจ ชุมชน ฯลฯ 2. กิจกรรมประเภทสวัสดิการ เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้หมู่บ้านและ ชุมชนสร้างระบบการพึ่งพาตนเองและ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยการจัด ระบบสวัสดิการให้กับประชาชนใน หมู่บ้านและชุมชนของตนเองในรูป แบบต่าง ๆ เช่น สวัสดิการเกี่ยวกับ เด็กแรกเกิด/คลอดบุตร สวัสดิการเกี่ยวกับ การเจ็บป่วย/รักษาพยาบาล สวัสดิการ ผู้สูงอายุ สวัสดิการกรณีเสียชีวิต สวัสดิการ คนด้อยโอกาส/คนพิการ สวัสดิการเพื่อ พัฒนาอาชีพ สวัสดิการเพื่อการศึกษา 18
คู่มือ แนวทางการดำ�เนินงานสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน
เย้!!
สวัสดิการด้านอุบัติภัย/อัคคีภัย /วาตภัย ทุนการศึกษาหนู.... และอุทกภัย การจัดตั้งกองทุนประกัน ความเสี่ยง เป็นต้น 3. กิจกรรมประเภทการพัฒนา และเสริมสร้างความเข้มแข็ง เป็นการ พัฒนาบุคลากรของสถาบันการจัดการ เงินทุนชุมชน ประกอบด้วยคณะกรรมการ บริหารและสมาชิกของสถาบันการจัดการ เงินทุนชุมชน ให้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีความสามารถในการบริหารจัดการ ภารกิจและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องของ สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนได้โดย การจัดฝึกอบรม/สัมมนาคณะกรรมการ บริหาร และสมาชิกถาบันฯ ตลอดจน การจัดทัศนะศึกษาดูงานการที่จะทำ�ให้สถาบันฯ ดำ�เนินการ สำ�เร็จเกิดประโยชน์กับหมู่บ้านจริง ๆ นั้นจะต้องมีการ จัดทำ�แผนการดำ�เนินงานอย่างชัดเจน มีการประชุมกัน เป็นประจำ�สม่ำ�เสมอ และ หัวใจสำ�คัญ คือ ต้องมีการดำ�เนิน กิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เห็นมั้ย ครับ การจัดตั้งสถาบันการ จัดการเงินทุนชุมชนนั้นไม่ได้ยากอย่างที่คิดเลย
ทิดปื้ด : แล้วไอ้ที่ว่า กิจกรรมประเภทสวัสดิการ
มันเป็นยังไง ฟังดูมันน่าสนใจจริง ๆ นะครับ
คู่มือ แนวทางการดำ�เนินงานสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน
19
พัฒนากรต๋อย : เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น ผมขอนำ�เสนอ โครงสร้างการดำ�เนินงานชุมชนสวัสดิการด้วยโปสเตอร์ เป็นดังนี้ครับ
โครงสร้างชุมชนสวัสดิการ กรมการพัฒนาชุมชน รัฐสวัสดิการ
(สวัสดิการที่รัฐจัดให้ประชาชน) - รักษาพยาบาลฟรี - เรียนฟรี - เบี้ยผู้สูงอายุ - โครงสร้างพื้นฐาน
กรมการพัฒนาชุมชน
- การสร้างความเข้าใจกับผู้เกี่ยวข้อง - เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน - ภาคีการพัฒนา - คณะกรรมการบริหารสถาบันฯ กลุ่มออมทรัพย์ฯ และเครือข่าย กองทุนชุมชน - เอกสาร สิ่งพิมพ์ วีดิทัศน์ - แนวทางการขับเคลื่อนโครงการ สวัสดิการชุมชนของกรมการพัฒนาชุมชน - โปสเตอร์/แผ่นพับ/วิดิทัศน์
รูปแบบชุมชนสวัสดิการ
- สวัสดิการเกี่ยวกับเด็กแรกเกิด/คลอดบุตร
- สวัสดิการเกี่ยวกับการเจ็บป่วย/รักษาพยาบาล
สถาบันการจัดการ เงินทุนชุมชน
- สวัสดิการผู้สูงอายุ
- สวัสดิการกรณีเสียชีวิต
- สวัสดิการคนด้อยโอกาส/คนพิการ - สวัสดิการเพื่อพัฒนาอาชีพ - สวัสดิการเพื่อการศึกษา
- สวัสดิการด้านอุบัติภัย อัคคีภัย วาตะภัย
และอุทกภัย
งบประมาณ
- ผลกำ�ไร หรือ เงินกองทุนขององค์กรการเงินชุมชน - กรมการพัฒนาชุมชน
พัฒนากรต๋อย : พวกเราคงทราบแล้วนะครับว่ารัฐบาล
ได้จัดบริการของภาครัฐเพื่อให้บริการแก่ประชาชนในรูปแบบ ของ “รัฐสวัสดิการ” ตัวอย่างเช่น บัตรทองหรือการรักษาพยาบาลฟรี การส่งเสริมการเรียนฟรี 12 ปี ตามเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับ 20
คู่มือ แนวทางการดำ�เนินงานสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน
เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ และการให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐาน ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ไฟฟ้า น้ำ�ประปา เป็นต้น จากการให้ บริการของภาครัฐดังกล่าว พวกเรารู้สึกว่า บางครั้งมันไม่ตรงกับ ความต้องการของเรา หรือมันมีหลักเกณฑ์ ระเบียบและวิธีการมาก จนทำ�ให้เราใช้บริการมันไม่ได้เลยใช่มั๊ยครับ ด้วยเหตุนี้แหละ สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน จึงมีแนวความคิดว่าชุมชน ควรจะจัดสวัสดิการให้แก่คนในชุมชนด้วยวิธีการและรูปแบบ ของชุมชนเอง ด้วยวิธีการที่ง่ายต่อการให้บริการ และยังเป็นการ สนับสนุนการบริการของรัฐในส่วนที่ไม่ตรงกับความต้องการของ ประชาชน ในรูปแบบของ “ชุมชนสวัสดิการ” ซึ่งสถาบันการ จัดการเงินทุนชุมชน เป็นผู้จัดสวัสดิการให้แก่สมาชิกหรือคนใน ชุมชน โดยใช้งบประมาณจากผลกำ�ไรหรือเงินกองทุนภายใน ชุมชนเอง ซึ่งสวัสดิการที่จัดให้แก่ชุมชนนั้น จะขึ้นอยู่กับศักยภาพ และความพร้อมของแต่ละสถาบันฯ เช่น สวัสดิการมอบเงินขวัญถุง ให้กับเด็กแรกเกิดเพื่อเป็นการส่งเสริมการออมเงิน สวัสดิการเกี่ยว กับการรักษาพยาบาลและเงินค่ารถสำ�หรับไปรักษาพยาบาล สวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ สวัสดิการเงินช่วยเหลือ ค่าปลงศพ สวัสดิการสำ�หรับผู้พิการและผู้ด้อยโอการส เป็นต้น จากที่อธิบาย ให้พวกเราฟังคร่าวๆ พวกเราพอจะเข้าใจหรือยังครับว่า ชุมชน สามารถจัด “ชุมชนสวัสดิการ” กันได้อย่างไร
ทิดปื้ด : ยังงี้กด็ ีสิครับ ชุมชนของพวกเราจัดสวัสดิการให้ พวกเราเองในส่วนที่รัฐบาลดูแลไม่ทั่วถึง และยังถูกใจตรงกับ ความต้องการของเรามากกว่า นะครับ
คู่มือ แนวทางการดำ�เนินงานสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน
21
ป้าสอางค์ : แล้วเรื่อง “การแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบ” ที่เป็นเรื่องคอขาดบาดตายอยู่นี่หล่ะ อิฉันอยากรู้ว่าไอ้ “สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน” มันจะช่วยแก้ไขปัญหา ให้กับหมู่บ้านของเราได้ยังไง พ่อพัฒนากร
พัฒนากรต๋อย : เหมือนเดิมครับ ผมขอนำ�เสนอ
โครงสร้างการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบด้วยโปสเตอร์ เป็นดังนี้ครับ
ขั้นตอนการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ บัญชี 1 ลงทะเบียนแต่ ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือ
สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน
ลูกหนี้นอกระบบ บัญชี 2 ไม่ได้ลงทะเบียน
อนุมัติ
ไม่อนุมัติ
รายงานอำ�เภอ/จังหวัด 22
คู่มือ แนวทางการดำ�เนินงานสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน
พัฒนากรต๋อย : เพื่อความเข้าใจในเบื้องต้น ผมจะขออธิบาย
ถึงการแกไขปัญหาหนี้นอกระบบโดยสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ให้ฟังคร่าว ๆ กันก่อนนะครับ คืออย่างนี้ครับ ปัญหาหนี้นอก ระบบ เป็นปัญหาที่รัฐบาลให้ความสำ�คัญและเร่งแก้ไขปัญหา อย่างต่อเนื่องซึ่งยังคงมีลูกหนี้นอกระบบรอรับความช่วยเหลือ อยู่จำ�นวนมากถ้าพิจารณาให้ดีแล้ว ลูกหนี้นอกระบบจะแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ กลุ่มที่ 1 ลูกหนี้นอกระบบที่ผ่านกระบวนการในขั้นตอน การลงทะเบียนการเจรจา แต่ยังไม่ได้รับการอนุมัติสินเชื่อจาก ธนาคารจะด้วยสาเหตุุใดสาเหตุหนึ่ง อาทิ การขาดหลักประกัน ที่เพียงพอหรือการไม่เข้าหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่จะได้รับความช่วยเหลือ กลุ่มที่ 2 ลูกหนี้นอกระบบที่ไปกู้ยืมเงินมาใช้จ่ายจริง แต่ไม่ได้ลงทะเบียนกับทางราชการจะด้วยเหตุผลใดก็ตามแต่ คนกลุ่มนี้ก็ยังคงต้องแบกรับภาระดอกเบี้ยที่แสนแพง ด้วยหนี้สิน ที่เกิดจากความจำ�เป็นหรือความเดือดร้อนของตนเองและครอบครัว ที่ต้องหาทางออกด้วยการกู้ยืมนอกระบบเป็นกลุ่มบุคคลที่ต้องเร่ง หาทางออกหรือหาทางช่วยเหลืออีกกลุ่มหนึ่ง สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน เป็นองค์กรการเงินชุมชน รูปแบบหนึ่งที่มีอยู่ในหมู่บ้าน และประชาชนเป็นเจ้าของร่วมกัน ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบตาม นโยบายของรัฐบาลซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2553 ภายหลังที่กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทยได้สนับสนุน ให้สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนที่มีความพร้อมเข้าร่วมแก้ไข ปัญหาดังกล่าว ซึ่งเป็นทางเลือกหนึ่งในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ ที่นอกเหนือจากการใช้ช่องทางของธนาคารพาณิชย์ ให้เกิดความต่อเนื่อง
คู่มือ แนวทางการดำ�เนินงานสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน
23
และเห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยเหตุผลสองสามประการ ดังนี้
ประการที่ 1 ข้อมูลเชิงลึกของลูกหนี้นอกระบบ ครอบครัวมีสมาชิก กี่คน มีใครบ้างประกอบอาชีพอะไร หรือไม่ได้ประกอบอาชีพ ความประพฤติเป็นอย่างไร ติดเหล้า ติดการพนันหรือไม่ ข้อมูล เหล่านี้ สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน จะสามารถนำ�มาใช้ประกอบ การพิจารณาให้ความช่วยเหลือกับลูกหนี้นอกระบบ ประการที่ 2 มูลค่าหนี้นอกระบบที่แท้จริง สถาบันการจัดการเงิน ทุนชุมชน จะรู้ว่าลูกหนี้นอกระบบคนนี้ ไปกู้เงินใครมา กู้มาเท่าไร เอาไปทำ�อะไร ซึ่งข้อมูลเหล่านี้คนในหมู่บ้าน จะรู้กันอยู่ ไม่สามารถ ตบแต่งตัวเลขมูลค่าหนี้ให้สูงขึ้นได้หรือไม่ได้เป็นหนี้แต่แจ้งว่าเป็น หนี้ก็ไม่สามารถทำ�ได้ ประการที่ 3 ทรัพย์สินหรือบุคคลที่ใช้เป็นหลักประกันในการกู้ยืม บางทีลูกหนี้นอกระบบบางคนไม่สามารถหาหลักประกันดังกล่าวได้ เนื่องจากเป็นบุคคลที่ยากจนอยู่แล้ว ปัญหานี้สถาบันการจัดการ เงินทุนชุมชนอาจจะให้น้ำ�หนักน้อยกว่าธนาคารพาณิชย์ แต่จะไป ดูที่การประพฤติปฏิบัติตน ความขยันหมั่นเพียร หรือองค์ประกอบ อื่น ๆ เข้ามาร่วมในการพิจารณาให้ความช่วยเหลือหรืออาจจะให้ คนในหมู่บ้าน ให้การรับรองหรือค้ำ�ประกัน ด้วยเหตุผลดังกล่าว ในปีนี้ กรมการพัฒนาชุมชน จะผลักดัน ให้การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบตามนโยบายของรัฐบาลเกิดความ ต่อเนื่องเห็นผลเป็นรูปธรรมชัดเจน โดยมุ่งเน้นให้ภาคประชาชนโดย สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนในหมู่บ้าน เข้ามามีส่วนร่วมในการ แก้ไขปัญหาดังกล่าว อันเป็นทางเลือกหนึ่ง ที่สำ�คัญของการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ ซึ่งจะเป็นการสร้างความสุขและรอยยิ้ม ให้เกิดขึ้นกับประชาชน 24
คู่มือ แนวทางการดำ�เนินงานสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน
พัฒนากรต๋อย : สำ�หรับเทคนิค วิธีการแก้ปัญหาหนี้
นอกระบบและการจัดทำ�ชุมชนสวัสดิการ พวกเราสามารถศึกษา ข้อมูลได้จากสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนที่มีการดำ�เนินงาน ในเรื่องนี้ หรือสามารถศึกษาข้อมูลได้จาก เว็บไซต์ของสำ�นัก พัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน www.fund.cdd.go.th นะครับ
ผู้ใหญ่หนู : ต้องขอบคุณกรมการพัฒนาชุมชนจริง ๆ
ที่คิดนโยบายดี ๆ อย่างนี้มาให้ ถ้าหมู่บ้านของเราจัดตั้งสถาบัน การจัดการเงินทุนชุมชนแล้ว คงจะช่วยลดปัญหาความวุ่นวายที่ เกิดขึ้นของหมู่บ้านเราได้บ้าง เจ้าจุกมันคงสบายใจขึ้น ไม่ต้อง มาเป็นหนี้นอกระบบอีกแล้ว ถ้าอย่างงั้นเราจะมัวรีรออะไรอยู่หล่ะ ไปจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนกันเล้ย ! ! พวกเรา
คู่มือ แนวทางการดำ�เนินงานสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน
25
สรรสร้าง โดย...
นายณรงค์ บุ่ยศิริรักษ์ ผู้อำ�นวยการสำ�นักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน ที่ปรึกษา นายสุรศักดิ์ อักษรกุล หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมองค์กรการเงินชุมชน นางกาญจนา อุบลบัณฑิต นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำ�นาญการ นางอารยาภรณ์ ฐิตะสิริ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำ�นาญการ นายชาคริต ถิระสาโรช นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำ�นาญการ นางสาวปรียาวดี บุญแฮด นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำ�นาญการ นางสาวบุตรตรา ใจพันธ์ นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ
เนื้อเรื่อง
นางกาญจนา อุบลบัณฑิต นายชาคริต ถิระสาโรช นางสาวบุตรตรา ใจพันธ์
นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำ�นาญการ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำ�นาญการ นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ
เรียบเรียง/ออกแบบรูปเล่ม นางสาวบุตรตรา ใจพันธ์
วาดภาพประกอบ
นางสาวศนิชา เหล่าชัย
เจ้าของ...
นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ
นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำ�นาญการ
สำ�นักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน
“แหล่งทุนและสวัสดิการ” ของคนในชุมชน
“...หนึ่งชีวิต ที่มีความรู้ความสามารถ ช่วยเพ่ิมศักยภาพให้กับกลุ่ม เพื่อที่จะ ทำ�งานร่วมกันให้สำ�เร็จลุล่วงได้...”
สำ�นักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 อาคาร B ชั้น 5 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์/โทรสาร 0 2143 8909 , www.fund.cdd.go.th